ผู้เขียน หัวข้อ: หมอชีวกโกมารภัจจ์  (อ่าน 3672 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
หมอชีวกโกมารภัจจ์
« เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 09:38:08 »
ชีวกโกมารภัจจ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเดิม:    ชีวกโกมารภัจจ์
พระนามอื่น:    ชีวกโกมารภัจจ์
สถานที่ประสูติ:   กรุงราชคฤห์
ตำแหน่ง:   แพทย์ประจำพระพุทธเจ้า
เอตทัคคะ:   ผู้เป็นที่รักของปวงชน
อาจารย์:   พระอาจารย์แห่งกรุงตักสิลา
สถานะเดิม
ชาวเมือง:   ราชคฤห์
นามพระบิดา:   พระเจ้าอภัยราชกุมาร
นามพระมารดา:   นางสาลวดี
วรรณะเดิม:   กษัตริย์
ราชวงศ์:   หารยังกะ
การศึกษา:   วิชาแพทย์
อาชีพ:   แพทย์, หมอ

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี นครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นตำแหน่งนี้มีเกียรติยศต่างจากในสมัยนี้ นางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ
เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้ง แต่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้า จึงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
ชื่อ ชีวก ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามของพระองค์ที่ตรัสถามว่า เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า มหาดเล็กกราบทูลว่า ยังมีชีวิตอยู่(ชีวโก)
ส่วนคำว่า โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือ กุมารในราชสำนัก หมายถึง บุตรบุญธรรม นั่นเอง
เมื่อเติบโตขึ้นชีวกถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า เจ้าลูกไม่มีพ่อ ด้วยความมานะ จึงหนีพระบิดาไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่น

วิชาที่เลือกเรียนคือวิชาแพทย์ แต่เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียน จึงอาสารับใช้พระอาจารย์ เมื่อเรียนอยู่ถึง 7 ปี จึงลาอาจารย์กลับบ้าน ระหว่างทางอาจารย์ให้ไปหาต้นไม้ที่ทำยาไม่ได้
ให้เก็บตัวอย่างมาให้ดู ปรากฏว่ากลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้ อาจารย์บอกว่าเขาได้เรียนจบแล้ว จึงอนุญาตให้กลับได้
หลังจากกลับเมืองมาแล้ว ได้รักษาพระเจ้าพิมพ์พิสารให้หายขาดจากภคันทลาพาธ (โรคริดสีดวงทวาร)ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวง และได้รับพระราชทานสวนมะม่วง
แต่ต่อมาหมอชีวกก็ได้ถวายสวนนี้ให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย และได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย
ด้วยความที่เป็นคนบำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกฐานะ จึงได้รับการยกย่อจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ ในด้าน เป็นที่รักของปวงชน
ในวงการแพทย์แผนโบราณในปัจจุบันนี้ ถือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น บรมครุแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พ.ค. 2554, 09:38:40 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 09:44:37 »
ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้น พอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตน จึงได้เดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักสิลา ศึกษาอยู่ ๗ ปี อยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบ อาจารย์ให้ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ ๑ โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ยา ชีวกไม่พบ กลับมาบอกอาจารย์ๆ ว่าสำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้ว และมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์

       เมื่อเสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมืองสาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้า เดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์ นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็นค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเอง ไม่ทรงรับเอา และโปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์

       ต่อมาไม่นาน เจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่พระเจ้าพิมพิสาร จอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้ว จะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ นางให้เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับ ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

       หมอชีวกได้รักษาโรครายสำคัญหลายครั้ง เช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขา เพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ

       หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในอัมพวัน คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก)

       เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
       ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติ ข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วย ด้วยโรคบางชนิด
       นอกจากนั้น หมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล
 

จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ที่มา
http://nkgen.com/218.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 09:52:26 »
ชีวิตตัวอย่าง หมอชีวกโกมารภัจจ์
นายแพทย์ประจำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


คำนำ

ชีวิตตัวอย่าง : หมอชีวกโกมารภัจจ์ นี้ ผมเรียบเรียงขึ้นจากข้อมูลที่กระจัดกระจาย อยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งพระไตรปิฎก และอรรถกถา ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ และได้นำลงตีพิมพ์ในนิตยสาร “พลังชีวิต” อีกครั้งหนึ่ง ติดต่อกันจนจบ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ เห็นสมควรตีพิมพ์ซ้ำอีก
เพื่อประโยชน์แก่ผู้สนใจ หวังว่าหนังสือเล่มเล็กๆ นี้ คงมีประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้าง ไม่มากก็น้อย

เสฐียรพงษ์ วรรณปก
๑๙ เมษายน ๒๕๔๐

ในที่นี้จะเสนอเพียงบางตอนเท่านั้น   

ธรรมสภาได้รับมอบหมายจาก ท่านอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
ให้จัดพิมพ์ ‘ชีวิตตัวอย่าง : หมอชีวกโกมารภัจจ์’ ขึ้นในปีพระพุทธศักราช ๒๕๔๘

สารบัญ

๑. ความนำ
๒. แรงอธิฐาน
๓. กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
๔. ศึกษาวิชาแพทย์ที่กรุงตักกศิลา
๕. รักษาภรรยาเศรษฐีเมืองสาเกต
๖. รักษาพระโรคพระเจ้าพิมพิสาร
๗. ผ่าตัดใหญ่สองรายซ้อน
๘. ถวายพระโอสถแด่พระผู้มีพระภาค
๙. พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงพระประชวร
๑๐. หมอชีวกถวายผ้าแด่พระพุทธเจ้า
๑๑. ปัญหาของหมอชีวก
๑๒. เหตุการณ์ระทึกใจในสวนมะม่วง

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 09:53:56 »
๒. แรงอธิษฐาน

ย้อนหลังจากภัทรกัปนี้ไปแสนกัป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตระ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ประสูติที่เมืองจัมปา เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอสมะ กับพระนางอสมา ก่อนเสด็จออกทรงผนวช ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอุตรา มีพระโอรสพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า รัมมะ ภายหลังทรงรู้สึกเบื่อหน่ายในเพศผู้ครองเรือนจึงเสด็จออกทรงผนวชบำเพ็ญพรต จนสำเร็จเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเสด็จไปประกาศพระศาสนา โดยได้แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกชื่อ ธนัญชุยยานสูตร ไม่นาน มีผู้เลื่อมใสมอบตนเป็นสาวกมากขึ้นตามลำดับ ในจำนวนนี้มีพระภราดาทั้งสองของพระองค์คือ เจ้าชายสาละ กับเจ้าชายอุปสาละ รวมอยู่ด้วยซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาในตำแหน่งเอตทัคะ เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา และฝ่ายซ้าย ตามลำดับ (๑)

สมัยนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ เกิดทันเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาเห็นชายคนหนึ่งท่าทางภูมิฐาน เดินเข้าเดินออกพระอารามที่ประทับของพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ อยากรู้ว่า ชายคนนี้ไปวัดทำไมบ่อยๆ วันหนึ่ง จึงได้ไปดักรออยู่นอกประตูวัด พอชายคนนั้นเดินออกนอกประตูมา เขาจึงกรากเข้าไปถามว่า

“นี่คุณ ผมเห็นคุณเดินเข้าเดินออกวัดทุกวัน ผมอยากทราบว่าคุณไปทำไม”

สุภาพบุรุษคนนั้น มองเขาแวบหนึ่ง แล้วตอบอย่างสุภาพว่า

“ผมเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ผมไปเฝ้าพระองค์ทุกวัน เพื่อรับพระโอวาท และถวายการรักษาในคราวที่ทรงพระประชวร”

“แหมคุณช่างมีตำแหน่งน่าสรรเสริญจริงๆ ทำอย่างไงผมจะได้เป็นอย่างคุณบ้างนะ”

“หน้าที่อย่างนี้ ชั่วพุทธกาลหนึ่งก็มีเพียงคนเดียว ถ้าคุณอยากเป็นอย่างผมก็ตั้งอธิษฐานไว้ชาติหน้าสิ ผมไปละจะรีบไปดูคนไข้ในเมือง”

แล้วหมอก็รีบผละไป ปล่อยให้เขายืนคิดอยู่คนเดียว “ถ้าคุณอยากเป็นอย่างผม ก็ตั้งอธิษฐานไว้ชาติหน้าสิ” คำพูดของหมอยังก้องอยู่ในใจ ชาติหน้ามีจริงหรือ ? อธิษฐานจิตมีผลถึงชาติหน้าจริงหรือ ? ฯลฯ คำถามเหล่านี้เรียงคิวเข้ามาสู่สมองของเขาเป็นทิวแถว แต่ก็ให้คำตอบแก่ตัวเองไม่ได้ พลันนึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ยังพระอารามกราบทูลถามข้อข้องใจต่างๆ พระองค์ก็ทรงประทานวิสัชนาให้เป็นที่หายสงสัยหมดสิ้น เป็นครั้งแรกที่เขามีโอกาสได้เข้าเฝ้าและสนทนาอย่างใกล้ชิดกับพระผู้เป็นศาสดาเอกในโลก ให้รู้สึกปีติดีใจเหลือพรรณนา หลังจากได้รับรสพระธรรมจากพระองค์เป็นที่ชุ่มชื่นใจแล้ว เขาได้กราบทูลอาราธนาพระองค์ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของเขาพร้อมกับภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

หลังจากถวายภัตตาหาร แด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกแล้ว เขาเข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท กล่าวคำอธิษฐาน ต่อพระพักตร์ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายภัตตาหารครั้งนี้ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าจงเป็นแพทย์ประจำพระพุทธเจ้าในอนาคต เช่นเดียวกับนายแพทย์ผู้อุปัฏฐากพระองค์เถิด”

“เอวํ โหตุ ขอให้สัมฤทธิ์ดังปรารถนาเถิด”

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงดำรัสตอบ ทรงประทานอนุโมทนากถา เสร็จแล้วเสด็จกลับไปยังพระอาราม (๒)

ดับขันธ์จากชาตินั้นแล้ว เขาได้เวียนว่ายตายเกิดในภพต่างๆ ดีบ้าง ชั่วบ้าง ตามแรงกรรมที่ก่อสร้างไว้ กาลผ่านไปเป็นระยะเวลานานนับได้แสนกัป ในที่สุด “แรงอธิษฐาน” ของเขาก็สัมฤทธิ์ผล เมื่อเขาได้มาถือกำเนิดเป็น ชีวกโกมารภัจจ์ โอรสบุญธรรมของเจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร เจ้าแห่งมคธรัฐ โปรดติดตามเรื่องราวของเขาต่อไปเถิด


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 09:58:07 »
๘. ถวายพระโอสถแด่พระผู้มีพระภาค

ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน วัดแห่งแรกที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย พระเจ้าพิมพิสารนั้น ได้พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งแรก ตั้งแต่พระองค์เสด็จออกบรรพชาใหม่ๆ ได้ชักชวนพระพุทธองค์ลาพรตมาครองราชย์สมบัติด้วยกัน หากพระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ และถวายพระพรว่า พระองค์ทรงมุ่งแสวงโมกขธรรม ทางหลุดพ้นจากสังสารทุกข์ พระเจ้าพิมพิสารทรงเสื่อมใสและขอพรว่า ค้นพบโมกขธรรมทางหลุดพ้น ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไร ก็ขอทรงพระกรุณาเสด็จมาโปรดให้ได้ลิ้มรสอมตธรรมบ้าง ครั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้วทรงรำลึกถึงคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้แด่พระเจ้าพิมพิสาร จึงเสด็จมาแสดงธรรมโปรดจนพระเจ้าพิมพิสารได้บรรลุโสดาปัตติผลภายหลังพระเจ้าพิมพิสารได้มอบถวายสวนไผ่ หรือเวฬุวันถวายเป็นวัดที่ประทับของพระพุทธองค์กับภิกษุสงฆ์ดังกล่าวแล้ว

เมื่อพระพุทธองค์ประทับประจำในวัดแห่งนี้ ทรงบำเพ็ญพุทธกิจต่างๆ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ มิได้เห็นแก่ความเหนื่อยยาก จนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน

พระพุทธกิจนั้นในตำราท่านกล่าวว่ามีอยู่ห้าประการคือ

๑. เวลาเช้ามืด ทรงเล็งญาณดูเวไนยสัตว์ที่ควรโปรด คือพิจารณาว่าวันนี้จะไปโปรดใครบ้าง

๒. เช้าถึงเพล เสด็จออกบิณฑบาต หรือเรียกอย่างสามัญว่า เสด็จออกโปรดสัตว์คือ ไปรับอาหารบิณฑบาตจากชาวบ้าน และถือโอกาสแสดงธรรมไปในตัว

๓. เวลาเย็น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัท

๔. เวลาค่ำ ทรงให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์

๕. เวลาดึก ทรงแก้ปัญหาเทวดา

กล่าวกันว่าพวกเทวดามักมาทูลถามปัญหาเวลาดึกๆ (บางท่านกล่าวว่า พวกข้าราชการผู้ใหญ่ หรือพระราชามหากษัตริย์มักว่างรัฐกิจ และราชกิจตอนดึกๆ จึงหาโอกาสมาเฝ้าพระพุทธเจ้าในเวลานี้)

เมื่อพระพุทธองค์ทรงนำเพ็ญพุทธกิจเหล่านี้ตลอดทั้งวันทรงมีเวลาพักผ่อนน้อย “พระวรกายของพระองค์จึงเกิดหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ” (โทสาภิสนฺโน) (๘) เข้าใจว่าเป็นโรคถ่ายไม่ออก เพราะท้องผูกอย่างแรง เนื่องจากนั่งมาก พระอานนทเถระ พุทธอุปัฏฐาก จึงไปหาหมอชีวก แจ้งพระอาการของพระพุทธองค์ให้ทราบ แล้วขอร้องให้หมอชีวกไปถวายพระโอสถแด่พระพุทธองค์

ได้ฟังดังนั้น หมอหนุ่มรู้สึกปลาบปลื้มใจเป็นกำลัง ที่จะได้มีโอกาสถวายการบำรุงพระพุทธองค์ ที่เขารอคอยมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่สบโอกาสสักที แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเขาต้องการให้พระพุทธองค์ทรงพระประชวร จะได้มีโอกาสไปรักษา

หากแต่จะหาโอกาสอื่นไปเฝ้าพระพุทธองค์ก็ไม่กล้าเพราะยังไม่รู้จักคุ้นเคยกับพระองค์ ครั้นท่านพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก มาเอ่ยปากขอร้องคราวนี้ จึงเป็นโอกาสอันเหมาะยิ่งนักที่จะได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด เขาจึงหาก้านอุบลมาสามก้านแล้วนำมาอบอย่างดีด้วยกรรมวิธีของแพทย์ นำไปถวายให้พระพุทธองค์ทรงสูดก้านละครั้ง เมื่อทรงสูดยาที่หมอชีวกอบก้านอุบลถวายแล้ว ก็ทรงถ่ายพระบังคนหนัก (อุจจาระ) ระบายสิ่งที่เป็นโทษออกจากพระวรกายหมดสิ้น ครบกำหนดแล้วทรง สนานด้วยน้ำอุ่น พระวรกายของพระพุทธองค์ได้กลับเป็นปรกติดังเดิม

ด้วยความใกล้ชิดต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งนี้หมอชีวกรู้สึกเลื่อมใสในพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงกราบทูลถวายตัวเป็นคิลานุปัฏฐากของพระองค์เป็นประจำ พระพุทธองค์ก็ทรงเมตตารับไว้ เป็นอันว่าแรงอธิษฐานแต่หนหลังของเขาสัมฤทธิ์ผลดังปรารถนาแล้ว ด้วยประการฉะนี้


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 09:59:30 »
๙. พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงพระประชวร

คราวนี้ขอเชิญท่านผู้อ่าน นึกไปถึงเมืองอีกเมืองหนึ่งอยู่ห่างเมืองราชคฤห์ ด้านทิศตะวันตกไปอีกไกลมาก เมืองนี้มีชื่อว่าอุชเชนี หรืออุชเชน มีพระราชาทรงพระนามว่า ปัชโชต ครองราชสมบัติ ปัชโชต เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นกษัตริย์ที่ดุร้ายมาก ใครทำอะไรขัดพระทัยแม้นิดหน่อยก็จับตัดคอทันทีจนได้สมญานามว่า “จัณฑปัชโชต” แปลว่า “ปัชโชตผู้โหดร้าย”

ปัชโชตมีโรคร้ายประจำอยู่อย่างหนึ่งคือ “ปัณฑุโรค” (โรคดีซ่าน) (๙) ได้ทราบว่าที่เมืองราชคฤห์มีหมอวิเศษอยู่คนหนึ่ง จึงทรงส่งพระราชสาส์นไปยังพระเจ้าพิมพิสาร ขอนายแพทย์มารักษาพระโรค พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงส่งหมอชีวกไปถวายการรักษา พร้อมทั้งรับสั่งให้หมอระมัดระวังตัวให้ดีด้วยเพราะทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ดุนักพลาดท่าพลาดทางอาจโดนตัดหัวก็ได้

หมอชีวกเดินทางไปถึงเมืองอุชเชนี เข้าเฝ้าพระเจ้าจัณฑปัชโชต ก็แจ้งประจักษ์แก่ใจว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ มีพระนิสัยหงุดหงิด ดุร้ายจริงตามคำเล่าลือ เขาลงมือตรวจพระอาการเสร็จแล้ว กราบทูลในหลวงว่าก่อนจะรักษาโรคให้หายได้ต้องขอให้ทรงให้สัญญาก่อน

“สัญญาอะไรวะ ข้าเอาแกมารักษาโรค มิใช่ให้มาสัญญา” ปัชโชตตวาด พระเนตรเขียวปัด

“ขอเดชะฯ พระอาการค่อนข้างน่าวิตก ข้าพระพุทธเจ้าจึงอยากจะกราบทูลพระกรุณา ขอพระราชทานสัญญาว่าจะทรงเสวยพระโอสถที่ข้าพระพุทธเจ้าประกอบถวายพ่ะย่ะค่ะ” หมอหนุ่มกราบทูล พยายามทำเสียงให้เป็นปรกติ

“ยาอะไรแกให้ข้ากินได้ทั้งนั้นแหละ ขออย่างเดียวอย่าให้มีเนยใสไม่ได้ เข้าใจไหม”

หมอหนุ่มสะดุ้ง เพราะยาที่จะผสมให้เสวย จะต้องใช้เนยใสเสียด้วย ถ้าขาดเนยใสมาผสมเป็นกระสายโรคอย่างนี้จะไม่หาย จึงสู้สะกดใจไว้ กราบทูลอีกว่า

“ข้าพระพุทธเข้าขอกราบทูลพระกรุณาพระราชทานของสามสิ่งคือ

๑) ห้องพิเศษสำหรับปรุงยา
๒) ให้เปิดประตูวังให้ตลอดคืน
๓) ขอช้างทรงหรือม้าทรงที่มีฝีเท้าเร็วที่สุดหนึ่งตัว”

“รักษาโรคสวรรค์วิมานอะไรของแกวะ ขอให้เปิดประตูวังตลอดคืน ขอช้างขอม้าฝีเท้าเร็ว ไอ้ข้อแรกก็พอมีเหตุผลอยู่หรอก แต่สองข้อหลังนี่จะเอาไปทำไม” ปัชโชตทรงซักถามด้วยขุ่นพระทัย

“ขอเดชะฯ เวลาต้องการเครื่องยาสมุนไพรที่จำเป็นบางอย่างกะทันหัน ข้าพระพุทธเจ้าจะได้รีบขึ้นช้างหรือม้าไปเอามาพ่ะย่ะค่ะ”

“เออ ตกลง รักษามากี่หมอแล้ว มีแกนี่แหละยุ่งที่สุด” ทรงบ่นอุบอิบ

เมื่อได้ของตามต้องการแล้ว หมอชีวกจึงเข้าห้องพิเศษปรุงยาตามที่เล่าเรียนมา ใส่เนยใสผสมเป็นกระสายก่อไฟตั้งเตาปิดประตูหน้าต่างห้องอย่างมิดชิด ป้องกันกลิ่นเนยระเหยออกไปข้างนอก ใส่สมุนไพร ดับกลิ่นเนยอย่างดี เคี่ยวยาอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ได้ยาสกัดออกมาประมาณถ้วยขนาดใหญ่ ลองดมดูไม่มีกลิ่นเนยหลงเหลืออยู่แม้นิดเดียว เสร็จแล้วนำเข้าถวายในหลวงกราบทูลวิธีเสวยและอาการหลังจากเสวยว่า

“หลังจากเสวยแล้ววันแรกจะมีอาการแน่น ถ้ามีพระอาการอย่างไรก็ขอให้ทรงอดทน พอตกถึงวันที่สองจะทรงเรอออกมาแล้ว อาการของโรคจะค่อยหายไป”

เสร็จแล้ว หมอหนุ่มรีบเข้าไปโรงช้างขึ้นช้างพังชื่อภัททวดีซึ่งมีฝีเท้าเร็ววิ่งได้วันละ ๕๐ โยชน์ ออกไปจากพระนคร สั่งมหาดเล็กให้กราบทูลในหลวงว่าจะรีบไปเก็บสมุนไพรมาเพิ่มเติมออกจากวังไปก็รีบไสช้างวิ่งหนีมุ่งหน้าไปยังเมืองราชคฤห์ ไปได้หลายสิบโยชน์ เห็นว่ามาไกลพ้นเขตอันตรายแล้ว จึงหยุดช้างลงไปนั่งพักเหนื่อยใต้ต้นมะขามป้อมต้นหนึ่ง

กล่าวถึงพระเจ้าจัณฑปัชโชต พอเสวยยาเข้าไปวันแรกก็เกิดอาการแน่น อึดอัด ตามที่หมอบอก แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอะไรรุนแรงนัก พอรุ่งเช้าขึ้นวันที่สองทรงเรอออกมา เนยใสที่ผสมเป็นกระสายยาระเหยออกมาเตะนาสิก รู้สึกว่าโดนหมอหลอกให้เสวยเนยใสเข้าแล้วเท่านั้น ก็ทรงอาเจียนโอ้กอ้ากทันทีได้พระสติจึงแหวออกมาทั้งๆ ที่เกือบจะไม่มีพระกำลังอยู่แล้วรับสั่งให้ตามมหาดเล็กชื่อกากะ มาทันที

“มึงรีบตามไอ้หมอชีวกมาให้กูให้ได้ ไอ้หมอเจ้าเล่ห์กูจะตัดหัวมันให้สมที่มันโกหกกู” ทรงตะโกนก้องด้วยความพิโรธ

กากะ มหาดเล็กผู้ซื่อสัตย์ซึ่งได้เร็ววันละ ๖๐ โยชน์ รีบวิ่งออกจากพระราชวังทันที

“เฮ้ย เดี๋ยวก่อน” ทรงรับสั่งไล่หลังมหาดเล็ก

“ไอ้หมอคนนี้มันเล่ห์เหลี่ยมมาก มึงอย่าเสือกกินอะไรที่มันให้เป็นอันขาดนะ”

กากะวิ่งบ้างเดินบ้าง ตามรอยชีวกไปจนทันที่ป่ามะขามป้อม เห็นหมอชีวกผูกช้างไว้ข้างต้นไม้ นั่งกินอาหารอยู่จึงจู่เข้าไปจับแขนจะลากกลับเมืองอุชเชนีทันที

“ตายละซิ นึกว่ามาพ้นแล้ว เจ้าบ้านี่ตามมาจนได้”

หมอชีวกคิด ฉับพลันนั้นไวเท่าคิด เขาจึงพูดขึ้นว่า

“เดี๋ยว ขออนุญาตผมกินข้าวอิ่มก่อนได้ไหม ข้าวยังมีอยู่แยะ เชิญกินข้าวด้วยกันก่อนค่อยกลับไปในหลวง”

“ไม่” เขาสั่นศีรษะ

“ในหลวงรับสั่งว่าคุณมารยามากห้ามกินอะไรที่คุณเอาให้เด็ดขาด”

“ในหลวงคงทรงกลัวผมจะวางยาพิษกระมัง ก็เราไม่ได้เป็นศัตรูอะไรกัน ผมจะวางยาคุณทำไม” หมอรบเร้าให้เขาร่วมวงให้ได้

“เชิญคุณตามสบายเถิด คำสั่งต้องเป็นคำสั่ง ไม่งั้นหัวผมขาด” กากะกล่าวยืนยันความตั้งใจเดิม

เมื่อเห็นว่าจะเข้าตาจน เพราะเจ้าหมอนั่นรักษาคำสั่งของเจ้าเหนือหัวอย่างเคร่งครัด จึงคว้าผลมะขามป้อมที่หล่นอยู่ข้างๆ มาผลหนึ่ง กัดก่อนแล้วดื่มน้ำ พลางหยิบมะขามป้อมที่พึ่งหล่นจากต้นไม้ยื่นให้กากะ ชวนให้กินแก้กระหายน้ำบ้าง กากะเห็นว่ามะขามป้อมพึ่งหล่นจากต้นหยกๆ คงไม่เป็นไร จึงรับมากัดกินบ้างหารู้ไม่ว่า ก่อนส่งให้หมอหนุ่มได้เอาเล็บจิกผิวมะขามป้อมนิดหนึ่ง ปล่อยยาซึ่งซ่อนอยู่ปลายเล็บซึมเข้าไปในผลมะขามป้อม พักเดียวได้เรื่องเจ้าหมอนั่นรู้สึกปวดท้องกะทันหันไม่ทันกล่าวอะไรออกมา อุจจาระก็ไหลออกมาดังสายน้ำพุ่งออกจากท่อ

“โอย ได้โปรดไว้ชีวิตชีวิตผมด้วยเถิด คุณหมอ” มหาดเล็กผู้น่าสงสารอ้อนวอน

“ไม่เป็นไร เพื่อนยาก ขี้ออกหมดแล้วก็จะหายเองแหละไม่ใช่ยาพิษอะไรหรอก” หมอหนุ่มกล่าว พร้อมกับหัวเราะร่าเริง

“ฝากนำช้างไปถวายคืนเจ้านายด้วย ลาก่อนนะ”

เวลาผ่านไปประมาณ ๓๐ นาที มหาดเล็กชื่อกากะจึงค่อยมีกำลังขึ้นบ้าง เดินโผเผไปแก้ช้างออกจากโคนต้นมะขามป้อมขี่ช้างกลับมายังพระราชวัง เข้าไปกราบทูลแด่ในหลวงด้วยตัวสั่นงันงก พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทอดพระเนตรเห็นมหาดเล็ก รูปร่างอิดโรยผิดปรกติ ก็ทรงรู้ทันทีว่า คงเสียทีหมอหนุ่มเสียแล้ว จึงรับสั่งด้วยอารมณ์ดีว่า

“กูบอกแล้ว อย่ากินอะไรที่มันให้ มึงก็เสียทีมันจนได้ปล่อยมันเถอะวะ กูหายดีแล้ว ยามันวิเศษจริงๆ”

พอหายประชวรแล้ว พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงนึกถึงบุญคุณของหมอชีวก คิดจะพระราชทานรางวัลให้สมใจ จึงทรงเลือกได้ผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน ที่ทอที่เทศสีพี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น ทรงมอบผ้าสองผืนให้อำมาตย์นำไปให้หมอชีวกถึงกรุงราชคฤห์พร้อมกับมีพระราชสาส์นไปขอบพระทัยพระเจ้าพิมพิสาร ที่ทรงประทานหมอวิเศษไปรักษาโรคให้จนหายสนิท


ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 10:01:09 »
๑๐. หมอชีวกถวายผ้าแด่พระพุทธเจ้า

หมอชีวก ได้ผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืนแล้ว นึกถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้นมาทันที เห็นว่าผ้านี้เป็นผ้าเนื้อดีหาได้ยาก ควรจักนำไปถวายพระพุทธเจ้า จึงนำไปยังเวฬุวนารามตั้งใจจะถวายแด่พระพุทธองค์

แต่สมัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอย่างเดียวคือ ท่านแสวงหาเศษผ้าที่ชาวบ้านเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพ (๑๐) มาเย็บทำจีวรเอง และให้สอยเพียงสามผืนเท่านั้น พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้รับผ้าจีวรที่คฤหัสถ์ทำถวาย หมอชีวกจึงขอพรพระพุทธเจ้าให้ทรงรับผ้าเนื้อสีทองที่เขาน้อมถวาย และให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าหรือจีวรที่ชาวบ้านผู้มีศรัทธาจัดถวายด้วย พระพุทธองค์ทรงรับจีวรของหมอชีวก และอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์รับคฤหบดีจีวรได้ตามคำขอของหมอชีวก แต่บัดนั้นมา

ชาวบ้านได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าหรือจีวรที่ชาวบ้านถวายได้ ต่างก็ดีใจ พากันนำจีวรมาถวายพระเป็นจำนวนมาก เนื้อดีบ้าง เนื้อหยาบบ้าง ทอด้วยวัตถุดิบต่างๆ กัน พระสงฆ์เลยเกิดความสงสัยว่าจีวรชนิดไหนควรจักรับ ชนิดไหนไม่ควรรับ จึงนำความเข้าทูลถามพระพุทธองค์ๆ จึงตรัสอนุญาตไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ ทำด้วยฝ้าย ๑ ทำด้วยไหม ๑ ทำด้วยขนสัตว์ ๑ ทำด้วยป่าน ๑ ทำด้วยของ (ทั้งห้าอย่างนั้น) เจือกัน ๑” (๑๑)

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 10:13:50 »

๑๑. ปัญหาของหมอชีวก

หมอชีวกเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามาก มีเวลาว่างจากดูแลคนไข้เมื่อไร เป็นถือโอกาสไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทันทีเขาจึงมักจะเทียวไปเทียวมาระหว่างตัวเมืองกับสวนมะม่วงของเขาเสมอ สวนมะม่วงที่ว่า นี้เป็นสมบัติส่วนตัวของเขาเป็นสถานที่สงบสงัด เหมาะแก่ผู้ใคร่วิเวกเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังหมอชีวกได้มอบถวายให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้า เมื่อว่างจากภารกิจเมื่อใด เขาก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามข้อข้องใจในธรรมอยู่เสมอ ในพระไตรปิฎกมีพระสูตรบันทึกบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับหมอชีวกอยู่หลายแห่ง เป็นเรื่องมีสาระน่ารู้ทั้งสิ้น จึงขอถือโอกาสถ่ายทอดให้ทราบเพียงสองแห่ง ดังต่อไปนี้ (๑๒)

๑. วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของหมอชีวก หมอชีวกเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าตามปกติแล้ว ได้กราบทูลถามปัญหาพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนปฏิบัติตัวได้แค่ไหน ถึงจะเรียกว่าเป็นอุบาสก”

“ผู้ที่นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะจึงจะเรียกว่าเป็นอุบาสก”

“อุบาสกชนิดไหน เรียกว่าอุบาสกมีศีล”

“อุบาสกที่งดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัย เรียกว่าอุบาสกมีศีล”

“อุบาสกชนิดไหน เรียกว่าเอาตัวรอดคนเดียว”

“อุบาสกที่มีศรัทธา มีศีล มีจาคะ มีทัศนะ (ความเห็นถูกต้อง) ใคร่เห็นพระสงฆ์ ใคร่สดับธรรม ฟังธรรมแล้วจดจำได้จดจำได้แล้วพิจารณาไตร่ตรอง รู้ข้อธรรมแล้วประพฤติปฏิบัติตามถูกต้อง อุบาสกชนิดนี้เรียกว่าเอาตัวรอดคนเดียว”

“แล้วอย่างไหน ชื่อว่าเอาตัวรอดด้วย ช่วยคนอื่นด้วย”

“คนที่ประกอบด้วยคุณธรรมดังกล่าวข้างต้น แล้วชักชวนให้คนอื่นทำตาม ชื่อว่าช่วยตัวด้วย ช่วยคนอื่นด้วย”

๒. คราวหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงเช่นเดียวกัน หมอชีวกเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลถามปัญหา ดังนี้

“ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินคนเขาตำหนิพระองค์ว่า พระองค์สอนให้คนอื่นงดฆ่าสัตว์ แต่เสวยอาหารที่เขาฆ่าถวาย เป็นความจริงเพียงไร ?”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ถ้าได้เห็น, ได้ยิน, และสงลัยว่าเขาฆ่าเจาะจงถวาย พระองค์ไม่เสวยเนื้อนั้น แต่ถ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงถวายพระองค์เสวยเนื้อนั้น

พระองค์ตรัสอธิบายต่อไปว่า ภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และแผ่คุณธรรมเหล่านี้ ไปยังสรรพสัตว์ทั่วโลก อยู่ด้วยจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทต่อใครเลี้ยงชีพด้วยอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านเขาถวายเมื่อมีคนเขานิมนต์ไปฉันอาหาร ท่านก็ไป เขาถวายอาหารชนิดใด จะเลว หรือประณีต ท่านก็ฉันพอดำรงอัตภาพ ไม่ติด หรือยึดมั่นในอาหารที่ฉันนั้น

เสร็จแล้วพระองค์ย้อนถามหมอชีวกว่า

“พระภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนี้ จะเรียกว่าเบียดเบียนคนอื่นหรือไม่”

“ไม่ พระเจ้าข้า” หมอชีวกกราบทูล

“อาหารอย่างนี้ไม่มีโทษ (คือกินได้ ไม่เรียกว่าเป็นการสนับสนุนให้เขาฆ่าสัตว์) มิใช่หรือ”
“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

พระองค์ตรัสต่อไปว่า ใครก็ตามถ้าฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระตถาคต หรือพระภิกษุสงฆ์สาวก ย่อมก่อลาปกรรมทั้งแก่ตนเองและแก่คนอื่น ด้วยสถานะ ๕ ประการคือ

๑) สั่งให้คนอื่นนำสัตว์ตัวโน้นตัวนี้มา (เท่ากับชักนำเอาคนอื่นมาร่วมทำบาปด้วย)

๒) สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่า ถูกลากถูกลู่ถูกังมา ได้รับความเจ็บปวดเป็นอันมาก

๓) ออกคำสั่งให้เขาฆ่าสัตว์นั้น (ตัวเองก็บาป คนฆ่าก็บาป)

๔) สัตว์ที่ถูกฆ่าได้รับทุกขเวทนาจนสิ้นชีพ

๕) ทำให้คนอื่นเขาหาช่องว่าพระตถาคตและพระสงฆ์สาวก ด้วยเรื่องเนื้ออันไม่ควร (จริงอยู่ ถ้าพระไม่รู้ไม่เห็น ไม่สงสัยว่าเขาเจาะจงฆ่าถวาย ไม่ต้องอาบัติ แต่คนภายนอกอาจหาว่าพระรู้แต่แกล้งทำไม่รู้ หรือปากว่าตาขยิบ ก็ได้)

หมอชีวกได้สดับวิสัชนาจากพระพุทธองค์จนแจ่มแจ้งหายสงสัยแล้ว ในที่สุดได้กล่าวขึ้นว่า ตนเคยแต่ได้ยินได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่าว่า “พระพรหม” นั้นมีจิตประกอบด้วย พรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แต่ไม่เคยเห็น “พระพรหม” ตัวจริงสักที ที่แท้ “พระพรหม” ก็คือพระพุทธองค์นั่นเอง เพราะพระองค์ทรงมีคุณธรรมเหล่านี้ในพระทัย เป็นพยานที่เห็นได้

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“พรหมที่ว่านี้ ถ้าชีวกหมายถึงผู้ที่ไม่มีความพยาบาท ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ตถาคตละกิเลสเหล่านี้ได้เด็ดขาดแล้ว”

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 10:16:00 »
๑๒. เหตุการณ์ระทึกใจในสวนมะม่วง

คราวหนึ่งเหตุการณ์ที่ใครๆ ไม่คาดฝัน ก็อุบัติขึ้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถูกลอบทำร้าย โดยคนใจบาป เจ้าวายร้าย นั้นปีนขึ้นเขาคิชฌกูฏ กลิ้งก้อนหินลงมา หมายใจจักให้หินทับพระพุทธองค์ ขณะที่กำลังนั่งเข้าฌานสมาบัติอยู่ที่ถ้ำมัททกุจฉิ เชิงเขาคิชฌกูฏ แต่เดชะพระบารมีของพระพุทธองค์ ก้อนหินนั้นกลิ้งลงมาปะทะง่อนผา เบื้องบนพระเศียร กระเด็นไปทางอื่น แต่กระนั้น สะเก็ดหินก็กระเด็นไปต้องพระบาททำให้ห้อพระโลหิต ได้รับทุกขเวทนาเป็นอันมาก พระสงฆ์สาวกช่วยกันหามพระพุทธองค์หนีออกมายังสวนมะม่วงของหมอชีวก

หมอชีวกกำลังตรวจคนไข้อยู่ในเมือง พอได้ทราบข่าวว่าพระพุทธองค์ถูกลอบทำร้ายอาการสาหัส วิ่งแจ้นไปสวนมะม่วงทันที ได้ถวายการรักษา โดยชะล้าง และพันแผลให้พระพุทธองค์แล้ว ทูลลาไปดูคนไข้ในเมืองต่อ

ขอย้อนกล่าวถึงสาเหตุที่พระพุทธองค์ถูกลอบทำร้ายตัวการผู้ก่อมหันตกรรมครั้งนี้คือ พระเทวทัต

พระเทวทัตคือใคร ?

พระเทวทัต โดยเชื้อสายดั้งเดิมเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ลูกพี่ลูกน้อง (บางแห่งว่าเป็นพี่) ของพระนางยโสธราหรือพิมพาเมื่อสิทธัตถราชกุมาร ออกผนวชสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระราชบิดา และพระประยูรญาติที่ กรุงกบิลพัสดุ์ พวกเจ้าชายในตระกูลศากยะเป็นจำนวนมาก ได้ออกผนวชเป็นพุทธสาวก เทวทัตกุมารได้ถือโอกาสออกผนวชตามในคราวนั้นด้วย แรกๆ ก็ คงด้วยเจตนาดีคือหวังทางสิ้นทุกข์จึงปรากฏว่าได้บำเพ็ญสมณธรรมจนได้ฌานขั้นโลกีย์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ครั้นต่อมาเกิดขัดพระทัย เพราะเรื่องลาภสักการะเป็นเหตุ

เรื่องก็มีอยู่ว่า ชาวบ้านนำภัตตาหารบ้าง ของถวายอย่างอื่นบ้าง ไปถวายพระ ต่างก็ถามหาพระองค์อื่นๆ ไม่มีใครถามหาพระเทวทัตเลย จึงเกิดมานะขึ้นในใจว่า พระเหล่านั้นก็เป็นกษัตริย์ออกบวช เราก็เป็นกษัตริย์เหมือนกันทำไมจึงไม่เห็นความสำคัญของเรา พวกนี้มันรู้จักเทวทัตน้อยเสียแล้ว คิดดังนี้จึงวางแผนเข้าไปสนิทชิดเชื้อกับพระเจ้าอชาตศัตรูสมัยยังเป็นพระราชกุมาร แสดงฤทธิ์เดชให้ดู จนเจ้าชายเลื่อมใส มอบตนเป็นศิษย์ก้นกุฏิ แต่นั้นมาลาภสักการะก็ไหลมาเทมาสมเจตนานึกเพราะบารมีของศิษย์ก้นกุฏิ

เมื่อคนขนาดมกุฎราชกุมารยกย่องนับถือเป็นพระอาจารย์ เทวทัตก็ลู่ทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ กำเริบเสิบสานถึงขั้นคิดจะกุมอำนาจการปกครองคณะสงฆ์แทนพระบรมศาสดา ทูลขอให้พระองค์มอบอำนาจการปกครองคณะสงฆ์ให้ตน โดยอ้างว่าตนเองมีความปรารถนาดีต่อพระธรรมวินัย ใคร่จะจัดการให้พระศาสนาเจริญก้าวหน้า พระพุทธองค์ทรงพระชราภาพมากแล้ว ซ้ำยังมีพระภารกิจอย่างอื่นที่จะทรงกระทำเป็นอันมากขอให้ประทานอำนาจการปกครองให้ตนเถิด จะได้ช่วยแบ่งเบาพระภาระ พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นเจตนาอันลามกของพระเทวทัต จึงไม่ประทานอำนาจการปกครองคณะสงฆ์ให้ ทั้งยังทรงตักเตือนสั่งสอนด้วยคำแรงๆ เพื่อให้สำนึก แต่แทนที่พระเทวทัตจะสำนึก กลับผูกใจเจ็บพระพุทธองค์หนักขึ้น หาว่าพระพุทธองค์ทำให้อับอายต่อหน้าธารกำนัล

ด้วยเจตนาหยาบช้า อยากใหญ่ ของพระเทวทัต ฤทธิ์โลกีย์ที่เคยมีเคยได้ก็เสื่อมหมด เมื่อแผนการขั้นแรกล้มเหลว จึงหันไปเดินวิธีใหม่ โดยยุให้อชาตศัตรูกุมาร หาอุบายกำจัดพระราชบิดาเสีย แล้วตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง ส่วนตนเองก็จะฆ่าพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นพระพุทธเจ้าแทน อชาตศัตรูกุมารตกหลุมพรางพระเทวทัต เห็นผิดเป็นชอบ จับพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชบิดา ขังคุกทรมานได้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์ แล้วได้ตั้งตนเป็นพระราชาสำเร็จ ฝ่ายพระเทวทัตก็พยายามหาทางกำจัดพระพุทธองค์ให้ได้ ครั้งแรกไปขอแรงพระเจ้าอชาตศัตรูให้ส่งนายขมังธนูไปยิงพระศาสดา แต่แผนการณ์ล้มเหลวอีกเป็นครั้งที่สอง

“เมื่อแผนการที่วางไว้อย่างรัดกุมเช่นนี้ ยังล้มเหลวคราวนี้เห็นจะต้องแสดงเอง”

เจ้าใจบาปคิด จึงค่อยด้อมๆ มองๆ หาโอกาสเหมาะพอดีวันหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่ถ้ำมัททกุจฉิเชิงเขาคิชฌกูฏ พระเทวทัตจึงแอบปีนเขาขึ้นไป ผลัก ก้อนหินลงมาเพื่อให้ทับพระศาสดาให้สิ้นพระชนม์ แต่บังเอิญก้อนหินกลิ้งลงมาปะทะง่อนผาเหนือพระเศียร กระเด็นห่างออกไป สะเก็ดหินกระเด็นไปกระทบพระบาท ยังผลให้ห้อพระโลหิต ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

หมอชีวกมัววุ่นอยู่กับการดูแลคนไข้ในเมือง จนถึงเย็นพลันนึกขึ้นมาได้ว่า ถึงเวลาแก้ผ้าพันแผลพระพุทธองค์แล้ว จึงรีบมุ่งหน้าไปยังสวนมะม่วง พอดีได้เวลาประตูเมืองปิดเขาจึงไม่สามารถออกไปเฝ้าพระพุทธองค์

“ตายละซิ ถึงเวลาแก้ผ้าพันแผลที่พระบาทแล้วด้วย ถ้าไม่แก้คืนนี้ทั้งคืน พระองค์จักมีอาการร้อนใน”

เขาคิดเสียใจ ที่ปฏิบัติต่อองค์พระศาสดาเอกแห่งโลกเหมือนกับคนไข้ธรรมดาคนหนึ่ง

ขณะที่หมอชีวกคิดกลุ้มใจอยู่นั้น พระบรมศาสดาทรงทราบกระแสความคิดของเขา จึงตรัสเรียกพระอานนท์มาแก้ผ้าพันแผลออก

ตื่นเช้าขึ้น หมอชีวกได้รีบเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลถามละล่ำละสักว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้พระองค์ทรงมีพระอาการร้อนในหรือเปล่า ?”

ทรงทราบดีว่าเขาหมายถึงอะไร แต่พระพุทธองค์ตรัสยิ้มว่าๆ ว่า

“ตถาคตดับความร้อนทุกชนิดได้สนิทแล้ว ตั้งแต่วันตรัสรู้สัมมาสัมโพธิฌาณ ณ โคนต้นโพธิ์ ผู้ที่เดินมาจนสุดทางแห่งสงสารวัฏ หมดความโศก หลุดพ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆ แล้วไม่มีความร้อนหรอก ชีวก ไม่ว่าร้อนนอกหรือร้อนใน” (๑๓)

ตรัสจบ ก็ทรงยื่นพระบาทข้างที่บาดเจ็บให้หมอชีวกดูพร้อมทั้งตรัสบอกเขาว่า พระองค์ได้รับสั่งให้พระอานนท์แก้ผ้าพันแผลให้ตั้งแต่เย็นวานนี้ ตรงกับเวลาที่เขานั่งคิดกลุ้มใจอยู่ข้างประตูเมืองนั่นแหละ

หมอชีวกมองดูพระบาท เห็นแผลหายสนิทดีแล้ว รู้สึกปลาบปลื้มที่ได้ถวายการรักษาพระบรมศาสดาจนหายประชวร

เรื่องราวหมอชีวกโกมารภัจจ์ เท่าที่เก็บปะติดปะต่อจากพระไตรปิฎก และอรรกถามีเท่านี้ สังเกตดูตามประวัติจะเห็นได้ว่า ตลอดชีวิตเขายุ่งอยู่แต่กับการรักษาโรคคนทั้งเมืองจนแทบหาเวลาปฏิบัติธรรมไม่ได้ อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เขาไม่ได้ออกบวช หรือบรรลุคุณธรรมแม้เพียงขั้นโสดาปัตติผล แต่เขาได้ใช้วิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา บำเพ็ญประโยชน์แก่ชนหมู่มาก นับว่าเป็น “อุบาสกผู้ช่วยตัวเองด้วยช่วยผู้อื่นด้วย” ต้องตามพระพุทธพจน์ทุกประการ คนเช่นนี้ชื่อว่าไม่เสียชาติเกิดโดยแท้ และคนเช่นนี้เราควรเอาเยี่ยงอย่างเป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ ?



>>>>> จบบริบรูณ์ >>>>>

ที่มา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 10:24:02 »
สุดยอดหมอ ชีวกโกมารภัจจ์ 25; 25;
                                           
ขอขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
 
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้ความรู้ดีมากๆครับผม :016: :053: :015:
   
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณครับผม) :054: :054:
   
   

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ Lizm Club

  • “The one thing you cannot teach a person is COMMON SENSE.”
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 309
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 19 พ.ค. 2554, 12:24:38 »
ขอบคุณสำหรับพุทธประวัติ ของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อวันวิสาขบูชา ที่ผ่านมาตัวข้าพเจ้าเองก็ได้ไปกราบขอพร มาด้วย........

ขอบคุณมากค่ะ........... :054: :054: :054:
"ก่อนทีท่านจะว่าผู้อื่น ลองหันมองดูตัวเองก่อนเถิดว่าตัวเองนั้นเป็นเช่นไร ถ้าเราไม่ได้ดีกว่าเขาก็อย่าว่าเขาเลย".......

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 20 พ.ค. 2554, 10:39:36 »

ประวัติย่อเสฐียรพงษ์ วรรณปก



- เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ขณะเป็นสามเณร) อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) และปริญญาโท สาขาภาษาตะวันออกโบราณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

- เคยรับราชการเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ ๙ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

- ปัจจุบันเป็นราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประเภทปรัชญา สาขาศาสนศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน

- เป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน และเป็นอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และจริยธรรมตามสถาบันต่างๆ

- กรรมการร่างหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

- เป็นผู้แต่งตำราเรียน วิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

- เป็นประธานกรรมการจัดทำคู่มือการสอนพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

- เป็นประธานกรรมการผลิตตำราระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน

- เป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือนหลายฉบับ

- เป็นนักเขียน มีงานเขียนทั้งทางวิชาการและกึ่งวิชาการพิมพ์เผยแพร่ไม่ต่ำกว่า ๖๐ เล่ม อาทิ พุทธวจนะในธรรมบท, พุทธศาสนาทัศนะและวิจารณ์, พุทธจริยาวัตรพากย์ไทย - อังกฤษ, บทเพลงแห่งพระอรหันต์, เพลงรักจากพระไตรปิฎก, พระไตรปิฎกวิเคราะห์, สองทศวรรษในดงขมิ้น, สูตรสำเร็จแห่งชีวิต, สู่แดนพุทธภูมิ, ไปไหว้พระบาทพระพุทธองค์, เนื้อติดกระดูก, นิทานปรัชญาเต๋า, พุทธวิธีแก้ทุกข์, สัมผัสพระพุทธเจ้าด้วยใจ, ยุทธจักรดงขมิ้น, ใต้ร่มใบบุญ, สวนทางนิพพาน, พุทธศาสนสุภาษิต, พจนานุกรมไทย - อังกฤษ ฯลฯ

คัดลอกจาก...คุณ Alexalek
http://larndham.net/index.php?showtopic=20070

ออฟไลน์ ArDET

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 63
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 21 พ.ค. 2554, 12:45:44 »
ขอบคุณสำหรับพุทธประวัติ ของท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์

ออฟไลน์ arada

  • เรียนๆ รักๆ ปากกาถูกลัก ไม่พักเรียน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1111
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - nuk_b@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หมอชีวกโกมารภัจจ์
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 21 พ.ค. 2554, 05:00:46 »
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้
ธรณีนี่นี้             เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์    หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร     เราชอบ

เรา บ่ ผิดท่านมล้าง    ดาบนั้นคืนสนอง