ผู้เขียน หัวข้อ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต  (อ่าน 2597 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   25 พฤษภาคม 2554 05:35 น.


       มีชายหนุ่มผู้หนึ่งสวมเสื้อผ้าเก่าขาด ท่าทางเฉื่อยชา เอาแต่นั่งทอดหุ่ยปล่อยให้แสงแดดโลมเลียร่างกาย สลับกับหาวหวอดๆ เป็นระยะ
       
       เมื่ออาจารย์เซนเดินผ่านมาพบคนผู้นี้เข้า จึงเกิดความประหลาดใจจนต้องเอ่ยถามว่า "พ่อหนุ่ม อากาศดีๆ ในฤดูกาลที่นานๆ จะเวียนมาถึงเช่นนี้ เหตุใดเอาแต่มานั่งเปล่าประโยชน์ ใยไม่ไปลงมือทำสิ่งที่ต่างๆ ควรทำ เจ้าไม่เสียดายช่วงเวลาดีๆ เช่นนี้หรอกหรือ?"
       
       ชายหนุ่มถอนใจครั้งหนึ่ง พลางตอบว่า "บนโลกใบนี้ นอกจากร่างกายแล้ว ไม่มีสิ่งใดเป็นของข้าสักอย่าง เช่นนั้นใยต้องสิ้นเปลืองแรงกายแรงใจไปกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยเล่า?"
       
       "เจ้าไม่มีบ้านหรือ?" อาจารย์เซนถาม
       "ไม่มี หากมีบ้านก็ต้องเป็นภาระคอยดูแล เช่นนั้นไม่ต้องมีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มตอบ
       
       "เจ้าไม่มีคนที่เจ้ารักหรือ?" อาจารย์เซนถามต่อ
       "ไม่มี หากมีคนรัก เมื่อหมดรักก็กลายเป็นความเกลียดชัง สู้ไม่มีเสียเลยดีกว่า" ชายหนุ่มว่า
       
       "แล้วมิตรสหายเล่า มีหรือไม่?" อาจารย์เซนไม่ละความพยายาม
       "ไม่มี เมื่อมีเพื่อน สักวันก็ต้องสูญเสียเพื่อน แล้วจะมีไปทำไม" ชายหนุ่มท้วง
       
       "เจ้าไม่คิดจะทำงานหาเงินบ้างหรือ?" อาจารย์เซนยังคงถามต่อไป
       "ไม่คิด ได้เงินมาสุดท้ายก็ต้องจับจ่ายออกไป เช่นนั้นใยต้องไปสิ้นเปลืองพลังงานหามาตั้งแต่ต้น" ชายหนุ่มกล่าวแย้ง
       
       "อ้อ" สุดท้ายอาจารย์เซนพยักหน้ารับรู้ แต่ยังคงกล่าวว่า "ท่าทางข้าต้องรีบไปหาเชือกมามอบให้เจ้าสักเส้นหนึ่งแล้ว"
       "เหตุใดต้องมอบเชือกให้ข้า?" ชายหนุ่มถามด้วยความสงสัยใจ
       "ให้เจ้าผูกคอตาย" อาจารย์เซนตอบ
       ชายหนุ่มได้ยินก็ถามกลับไปด้วยความโมโหว่า "ท่านอยากให้ข้าตายหรือไง?"
       
       อาจารย์เซนจึงตอบว่า "ถูกแล้ว เพราะคนเราทุกคนล้วนต้องตาย หากคิดตามตรรกกะของเจ้า ในเมื่อสุดท้ายต้องตายแล้วคนเราจะเกิดมาทำไม และหากเป็นเช่นนั้นก็แปลว่าการมีชีวิตมีตัวตนของเจ้าในวันนี้นับเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์ด้วยเช่นกัน ก็ในเมื่อเปล่าประโยชน์แล้ว ใยไม่รีบผูกคอตายไปเสียเลยเล่า?"
       

       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000063255
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ berm

  • สิ่งที่ควรทำคือความดี..สิ่งที่ควรมีคือคุณธรรม..สิ่งที่ควรจำคือ...บุญคุณ
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1008
  • เพศ: ชาย
  • อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่กับมิตรระวังวาจา
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 มิ.ย. 2554, 09:17:34 »
 :053:ชีวิตคือการต่อสู้อยู่จนกว่าจะหมดลมหายใจ
ทุกคนย่อมมีปัญหาของตัวเองเกิดขึ้นตลอดเวลา  อยู่ที่ใครเลือกที่จะเดินหนีปัญหา...หรือเลือกที่จะแก้ไขปัญหา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 มิ.ย. 2554, 10:25:01 »
นิทานเซน : พุทธะกับมูลวัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   1 มิถุนายน 2554 08:27 น.

       ครั้งหนึ่ง "ซูตงโพ(苏东坡)" ยอดนักกวีและนักปกครองในสมัยซ่งใต้เดินทางไปนั่งวิปัสนากับอาจารย์เซนฝออิ้น ณ วัดจินซาน โดยเมื่อเริ่มนั่งสมาธิไปได้สักพัก ซูตงโพ รู้สึกตลอดร่างปลอดโปร่งโล่งสบาย จึงหันไปถามอาจารย์เซนว่า "อาจารย์ ท่านว่าในยามนี้ ข้าดูเป็นอย่างไรบ้าง?"
       
       อาจารย์เซนตอบว่า "เคร่งครึม สง่างามดุจดั่งพุทธะ" เมื่อซูตงโพได้ยินดังนั้นก็พอใจเป็นอันมาก
       
       อาจารย์เซนฝออิ้นจึงถามกลับว่า "แล้วท่านเล่า เห็นว่าตัวอาตมาในยามนี้เป็นอย่างไร?"
       
       ซูตงโพสบโอกาสที่จะล้อเลียนอาจารย์เซน จึงได้ตอบไปในทันทีว่า "คล้ายดั่งมูลวัวกองหนึ่ง"
       
       มิคาด เมื่ออาจารย์เซนฝออิ้นได้ยินดังนั้นกลับแย้มยิ้มไม่ตอบโต้ ทำให้ซูตงโพได้ใจคิดว่าอาจารย์เซนจำนนต่อถ้อยคำหยอกล้อของตน แสดงว่าตนเหนือกว่าอาจารย์เซน จากนั้นเขาจึงนำเรื่องดังกล่าวไปป่าวประกาศให้ผู้อื่นฟังว่าตนสามารถเอาชนะอาจารย์เซนได้
       
       เมื่อเหตุการณ์นี้ได้ยินถึงหูของน้องสาวของซูตงโพ ผู้เป็นน้องจึงเอ่ยถามว่า "ท่านพี่ ที่แท้ท่านเอาชนะอาจารย์เซนได้อย่างไร?"
       
       ซูตงโพ จึงเล่าเรื่องราวโดยละเอียดให้น้องสาวฟังด้วยความลิงโลดใจอีกรอบหนึ่ง ซึ่งน้องสาวของซูตงโพคนนี้เป็นหญิงสาวที่เฉลียวฉลาดนัก เมื่อฟังเรื่องที่พี่ชายเล่าจบ จึงกล่าวแย้งออกมาว่า "ท่านพี่ ที่แท้คนแพ้คือท่าน เนื่องเพราะในใจท่านอาจารย์เซนมีพุทธะ จึงมองเห็นสรรพสิ่งล้วนคือพุทธะ ตรงกันข้าม ในใจท่านกลับเต็มไปด้วยมูลวัว ดังนั้นท่านจึงมองเห็นมูลวัวในตัวผู้อื่นอย่างไรเล่า"
       
       เมื่อซูตงโพได้ฟังคำชี้แจงของน้องสาว จึงค่อยตระหนักว่า ที่แท้ตนเองยังห่างชั้นกับอาจารย์เซนฝออิ้นมากนัก :004:
       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000065932

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 08:01:05 »
นิทานอาจารย์เซนฝออิ้น 36; 36;
                                                   
ขอขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
   
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
   
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม) :054: :054: 
 
 

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 02:56:50 »
นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

 นิทานเรื่องที่ ๗ ของเขามีว่า นิทานเรื่องนี้ ชื่อเรื่อง "พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง" ในนครโตเกียว สมัยศักราชเมจิ มีอาจารย์ที่เก่งๆ อยู่สองคน คนหนึ่ง ชื่อ อันโช เป็นครูบาอาจารย์ ในนิกาย ชินงอน คนนี้ ไม่ดื่มเลย อีกคนหนึ่ง ชื่อ แตนแซน หรือ ตานซาน ก็แล้วแต่จะเรียก เป็น ครูบาอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยด้วย ไม่เคยถือศีลเลย จึงดื่มจัด หรือ ละโมบ ในการบริโภค

วันหนึ่ง อาจารย์อันโช ไปเยี่ยม อาจารย์ตานซาน กำลังดื่มอยู่พอดี อาจารย์ตานซาน ก็ถามว่า จะไม่ดื่มบ้าง เทียวหรือ คือกล่าวชักชวน ให้ดื่ม นั่นเอง อันโชก็ บอกว่า ไม่เคยดื่มเลย ตานซานก็ว่า คนที่ไม่เคยดื่ม เลยนั้นน่ะ ไม่ใช่คน ฝ่ายอันโช ก็ฉุนกึก นิ่งเงียบไป ขณะหนึ่ง ในที่สุด พูดขึ้นมาได้ว่า ท่านว่าฉันไม่ใช่คน เพราะเพียงแต่ฉันไม่ดื่ม ถ้าฉันไม่ใช่คนแล้ว ฉันจะเป็นอะไร อาจารย์ตานซาน ก็บอกว่า เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แล้วนิทานของเขาก็จบ

นี่เราจะฟังเป็นเรื่อง การโต้ตอบ ด้วยโวหาร ก็ได้ แต่ความจริง มันเป็นเรื่อง ที่มุ่งหมาย จะสอน ตามแบบวิธีของเขา ที่ให้คนสำนึกว่า คนนั้น ยังไม่เป็น พระพุทธเจ้า คนหนึ่ง ต่างหาก ที่ว่าเป็น พระพุทธเจ้า คนหนึ่ง ก็เพื่อจะสอนให้รู้ว่า ยังไม่เป็น พระพุทธเจ้า เลยมากกว่า ซึ่งทำให้ อาจารย์ คนนั้น ก็ชงักกึก ไปอีก เหมือนกัน เพราะมันก็รู้ตัวอยู่ว่า เราก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า สักที แล้วเราก็ ไม่ใช่เป็นคนแล้ว มันจะเป็นอะไรกัน คนก็ไม่เป็น พระพุทธเจ้าก็ไม่เป็น แล้วเป็นอะไร

ฉะนั้น เราเองก็เหมือนกัน เราเป็นครู ตามอุดมคติ หรือยัง หรือว่า ถ้าไม่เป็นครู มันก็ไม่ใช่ครู ถ้าเป็นครู ก็ต้องเป็นครู และการที่เขาว่า เราไม่ใช่คน เราไม่ควรจะโกรธเลย หรือแม้ว่า ครูจะถูกกล่าวหาว่า อย่างนั้น อย่างนี้ เราก็ไม่โกรธ ถ้าจะพูดถึง พุทธะตามแบบ นิกายเซ็น ก็คือว่า ถ้าเรายังเป็นครู ตามอุดมคติ ไม่ได้ เราก็ยังเป็น พุทธะ ไม่ได้ อยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราจะพยายาม ทำตน ไม่ให้เป็น อะไรเลย ให้มีจิตว่าง ไม่รู้สึกเป็นอะไรเลย ซึ่งหมายความว่า ให้อยู่เหนือ การถูกว่า หรือเขาว่ามา มันก็ไม่ถูก เราเป็นชนิดนั้น กันจะดีไหม คือว่า เราเป็นอะไร อย่างหนึ่ง ซึ่งใครจะว่าอะไร อย่างไรมา มันก็ไม่ถูกเรา มันก็คงไม่มีอะไร นอกจากเราเป็น "ว่างจากตัวเรา" ถ้าเราเป็นอย่างนี้ มันก็จะเป็นอย่างภูเขา ซึ่งลมจะพัดมา กี่ทิศกี่ทาง ก็ไม่สามารถ ทำให้ ภูเขา หวั่นไหวได้ :054:

ในบาลี มีคำกล่าวอยู่ ถ้าภูเขาเป็นหินแท่งหนึ่ง ฝังอยู่ในดิน ๑๖ ศอก โผล่อยู่บนดิน ๑๖ ศอก ลมไหนจะพัดให้หวั่นไหวได้ ถ้าเราว่างจาก ความยึดมั่นถือมั่น ว่าเรามีเกียรติ อย่างนั้นอย่างนี้ เราเป็นอะไร อย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อนั้นแหละ เราจะเป็นบุคคล ที่ลมไหน พัดมาก็ไม่ถูก
----------------------------------------------------------------------------------------
 
นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา

ที่มา
http://www.buddhadasa.com/zen/zen07.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 05:07:17 »
พบแล้ว

ป้ายชี้ทางแห่งความสงบได้สว่างขึ้นแล้ว
ช่างสงบและเยือกเย็น ไร้คำบรรยาย
ความสว่างชัดปรากฏอยู่ตรงหน้า
เมื่อท่านตรึกนึกถึงมัน ท่านจะกลายเป็นผู้เบ่งบาน
เมื่อท่านซ้อนสรรพเป็นหนึ่งเดียวกับมัน
สภาวะจิตของท่านจะเจิดจรัสและเบิกบาน
เมื่อเปรียบเทียบกับ
ความสว่างไสวของน้ำค้างใต้แสงจันทร์
ความสว่างไสวของดวงดาวจำนวนมหาศาล
ความขาวโพลนของหิมะบนยอดสน
หรือเมฆขาวบนยอดดอย
ในความมืดมิดแล้ว มันสว่างเจิดจ้าที่สุด
แต่ถ้าซ่อนมันไว้
ความกระจ่างชัดทั้งหมดในความรู้สึก
จะเพิ่มมากขึ้น

- ฮองชิ เซ็งจู (พ.ศ. 1634 - 1700)


ที่มา
http://fws.cc/leavesofeden/index.php?topic=817.0

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นิทานเซน : ตรรกะในการใช้ชีวิต
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 07 มิ.ย. 2554, 06:12:17 »


ที่มา
http://www.kaewjamfa.org/catalog-4.php