ผู้เขียน หัวข้อ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร  (อ่าน 9159 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร

คมชัดลึก : "กรวดน้ำคว่ำขัน" และ "กรวดน้ำคว่ำกะลา" เป็นสำนวนที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ตัดขาดไม่คบหาสมาคมกันต่อไป สำนวนทั้ง ๒ นี้มีที่มาจากการกรวดน้ำ แต่เป็นการกรวดน้ำโดยคว่ำภาชนะที่ใช้ กรวดน้ำคว่ำขัน และกรวดน้ำคว่ำกะลา จึงมีความหมายว่า เลิก หรือ ตัดขาด"

  ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “กรวดน้ำ” หมายถึง การรินน้ำจากภาชนะด้วยความปรารถนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ทำไปให้แก่ผู้มีพระคุณ เรียกว่า “ตรวดน้ำ” ก็มี

  กรวดน้ำ มีวิธีทำดังนี้ เตรียมภาชนะสำหรับกรวดใส่น้ำสะอาดไว้ เมื่อพระรูปแรกเริ่มอนุโมทนาด้วยบทว่า “ยถา...” ก็เริ่มกรวดน้ำ โดยมือขวาจับภาชนะสำหรับกรวด มือซ้ายประคองรินน้ำใส่ภาชนะที่รองรับ พร้อมทั้งตั้งใจนึกอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รินไปกระทั่งพระรูปแรกว่าจบ เมื่อรูปที่สองรับว่า “สัพพี...” ให้เทน้ำให้หมด แล้วประนมมือรับพรพระต่อไป

 ทั้งนี้มีคำพูดเล่นๆ ว่า “ยถา ให้ผี สัพพี ให้คน” หมายความว่า ตอนที่พระท่านว่า ยถา เป็นการให้กุศลแก่คนตาย ตอนที่ว่า สัพพี เป็นการให้กุศลแก่คนเป็น

 ส่วนคำว่า คว่ำขัน ถือเป็นกริยา ทำให้จบให้สิ้น ให้ความสัมพันธ์ขาดกันไปเหมือนสายน้ำ (อาศัยอาการเทให้หมด ให้มันหมดสิ้นกันไป) คล้ายคลึงแต่แตกต่าง ในขณะที่สำนวน “คว่ำบาตร” ความหมายทางโลกหมายถึง การยุติการติดต่อกันในมิติใดมิติหนึ่ง ส่วนใหญ่การคว่ำบาตรจะใช้ในทางการค้า มักใช้ในระดับการค้าระหว่างประเทศโดยกลไกการคว่ำบาตรอาจจะมีทั้งการไม่ยอมขายสินค้า หรือบริการให้ประเทศคู่ค้า หรือไม่ซื้อสินค้า หรือบริการจากประเทศคู่ค้า หรืออาจจะทั้งสองกรณีก็ได้

 สำหรับความหมายในทางธรรมนั้น เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า การที่พระสงฆ์พร้อมใจกันทำสังฆกรรมสวดประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้คิดร้ายต่อพระพุทธศาสนา หรือพระสงฆ์เพื่อให้รู้สึกตัว และเข็ดหลาบ วิธีลงโทษคือไม่คบหา ไม่พูดคุยด้วย และไม่รับอาหารบิณฑบาต โดยอาการเหมือนคว่ำบาตรเสีย ไม่ยอมเปิดบาตรรับอาหารจากผู้นั้น

 ในพุทธศาสนาเมื่อมีคำ “คว่ำบาตร” ก็มีคำ “หงายบาตร” คู่กัน นั่นคือเมื่อประกาศ “คว่ำบาตร” ใครแล้ว ต่อมาคนผู้นั้นสำนึกรู้สึกตนกลับมาประพฤติดี คณะสงฆ์จึงประกาศเลิก “คว่ำบาตร” ยอมให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคม

"พระธรรมกิตติวงศ์"


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110623/101143/คำวัดกรวดน้ำคว่ำขันคว่ำบาตร.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 มิ.ย. 2554, 09:46:02 »
หงายบาตร

หงายบาตร การระงับโทษอุบาสกซึ่งเคยปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย สงฆ์ประกาศ คว่ำบาตร ไว้มิให้ภิกษุทั้งหลาย
คบหาด้วย ต่อมาอุบาสกนั้นรู้สึกโทษตน กลับประพฤติดี สงฆ์จึงประกาศระงับโทษนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายคบกับเขาได้
อีก เช่น รับบิณฑบาต รับนิมนต์ รับไทยธรรมของเขาได้ เป็นต้น การที่สงฆ์ประกาศระงับการลงโทษนั้น เรียกว่า
หงายบาตร


เป็นคำที่ไม่ค่อยได้ยินเลย :045:

ที่มา
http://www.dhammathai.org/buddhistdic/box354.php

ออฟไลน์ arada

  • เรียนๆ รักๆ ปากกาถูกลัก ไม่พักเรียน
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1111
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - nuk_b@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 26 มิ.ย. 2554, 12:05:30 »
ขอบคุณครับ
ธรณีนี่นี้             เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์    หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร     เราชอบ

เรา บ่ ผิดท่านมล้าง    ดาบนั้นคืนสนอง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 26 มิ.ย. 2554, 08:03:21 »
คำวัด - สัตมวาร-ศตมวาร

ประชาชนจำนวนมากร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ทารก ๒,๐๐๒ ศพ ที่วัดไผ่เงิน

คมชัดลึก :"ปุพเพเปตพลี" หรือ "การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย" เริ่มมีมาในครั้งพุทธกาลสมัยที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวันถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้า แต่พระองค์ยังไม่กรวดน้ำอุทิศบุญให้พระญาติของพระองค์ที่ล่วงไปแล้ว ตกเย็นมาเหล่าเปรตที่เคยเป็นพระญาติของพระองค์ในชาติก่อนๆ ก็มาปรากฏให้เห็นในพระสุบินหรือความฝัน พระเจ้าพิมพิสารก็ตกพระทัยกลัว รุ่งเช้าเสด็จไปที่วัดถวายภัตตาหารและทูลความฝันนั้นให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ

   พระพุทธองค์ตรัสว่า เปรตเหล่านั้นเป็นพระญาติของพระองค์ในชาติก่อน มาปรากฏให้เห็นเพื่อที่จะขอส่วนบุญจากพระองค์

 ลำดับนั้นพระเจ้าพิมพิสารก็ได้กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญที่พระองค์ได้ทำให้แก่ญาติที่เป็นเปรตเหล่านั้น จนเป็นธรรมเนียมของการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ผู้ตายของชาวพุทธเราจวบจนปัจจุบันนี้

ดังนั้น เมื่อเรานึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ควรทำบุญอุทิศให้ผู้ตายโดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้องหรือญาติๆ ที่มีอุปการคุณแก่เรา เราควรตอบแทนบุญคุณท่านด้วยการทำบุญไปให้ เป็นหน้าที่อีกอย่างของบุตรธิดาที่ต้องทำเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา

การทำบุญอุทิศให้ผู้ตายในวาระครบรอบวัน นิยมมี ๓ วาระ คือ ครบรอบ ๗ วัน เรียกว่า ทำบุญสัตมวาร ครบรอบ ๕๐ วัน เรียกว่า ทำบุญปัญญาสมวาร และครบรอบ ๑๐๐ วัน เรียกว่า ทำบุญศตมวาร

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "สัตมวาร" อ่านว่า “สัด-ตะ-มะ-วาน” ไว้ว่า วันที่ครบ ๗, วันที่ ๗ ใช้ว่า สัตตมวาร ก็มี

 สัตมวาร ปกติใช้เรียกกำหนดการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายเมื่อครบ ๗ วัน เรียกว่า ทำบุญสัตมวาร เรียกทั่วไปว่า ทำบุญ ๗ วัน เช่นใช้ว่า

 “กำหนดการทำบุญบำเพ็ญกุศลสัตมวาร”
 “เนื่องในการทำบุญครบรอบสัตมวารของนาย...ขออาราธนาพระคุณเจ้าไปสวดพระพุทธมนต์และฉันภัตตาหารเพล...”

 ถ้าเป็นการทำบุญ ๕๐ วัน เรียกว่า ทำบุญปัญญาสมวาร อ่านว่า ปัน-ยา-สะ-มะ-วาน” ใช้ในการนับวันเวลาของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่มาบรรจบครบ ๕๐  วัน ปกติใช้นับวันเวลาการตายของบุคคล

  ส่วนคำว่า “ศตมวาร” อ่าว่า “สะ-ตะ-มะ-วาน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า วันที่ครบ ๑๐๐ วันที่ ๑๐๐ เขียนว่า สตมวาร ก็มี

 ศตมวาร ใช้ในการนับวันเวลาของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่มาบรรจบครบ ๑๐๐ วัน ปกติใช้นับวันเวลาการตายของบุคคล และมีการทำบุญอุทิศไปให้ผู้นั้นเนื่องในวันครบ ๑๐๐ วัน เรียกการนี้ว่า ทำบุญศตมวาร

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110325/92573/คำวัดสัตมวารศตมวาร.html

ออฟไลน์ tum_ohayo

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 64
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 26 มิ.ย. 2554, 10:10:50 »
สวัสดีครับทุกท่าน :114: :114: :114:

การกรวดน้ำเป็นวัฒนธรรมที่พบในคัมภีร์ต่างๆของอินเดีย ทั้งฝ่ายพราหมณ์และพุทธ หมายถึงการยืนยันเจตนารมย์นั้นๆ โดยอาศัยน้ำและผืนดินเป็นสื่อ บางครั้งอาจมีเรื่องเทพเจ้ามาเกี่ยวข้อง ในตำนานอินเดีย พระวิษณุอวตารลงมาปราบอสูรพลีโดยอวตารมาเป็นบุตรพ่อแก่กัสสปะ และอวตารปางนี้เรียกว่า"วามนะ"แปลว่า คนแคระ คนเตี้ย องค์วิษณุอวตารเดินทางไปหาอสูรพลี อสูรพลีบอกว่าต้องการสิ่งใดโปรดบอก องค์วิษณุผู้อวตารเป็นบุตรพ่อแก่กัสสปะขอพื้นดิน3ก้าว อสูรพลีรู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้คือพระผู้เป็นเข้าอวตารลงมา และต้องการขออะไรบางอย่าง อสูรพลีเลยเอาหม้อน้ำมารดน้ำใส่มือพราหมณ์ผู้นั้นเพื่อยืนยันว่าแผ่นดิน3ก้าวนี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้าแน่นอน พ่อแก่ศุกราจารย์ผู้เป็นครูเหล่าอสูรรู้ว่าท้าวพลีต้องเสียดินแดน เลยเนรมิตกายไปอุดรูน้ำไม่ให้รดมือ พราหมณ์เลยเอาหญ้าทิ้งในรู่ทำให้พระศุกร์ตาบอดข้างนึง และออกมาจากหม้อ หลังจากรดน้ำเรียบร้อยแล้ว ท่านก็เนรมิตกายใหญ่ขึ้น ก้าวแรกเหยียบพื้นโลก ก้าว2เหยียบถึงสวรรค์ ก้าวที่3ตรัสถามว่าวางเท้าไว้ที่ใด? อสูรตอบว่าให้บนหัวตน ท่านเลยเหยียบพระบาทกดอสูรพลีไปยังใต้บาดาลที่มีความสวยงามเหมือนแดนสวรรค์ และชาวฮินดูเชื่อว่าอสูรพลีเป็นสาวกองค์หนึ่งของพระวิษณุครับ

ในพระไตรปิฎกพระเจ้าพิมพิสารถวายสวนให้พระพุทธเจ้า ทำการรดน้ำบนฝ่ามือพระพุทธเจ้า ในตอนที่พระเจ้าพิมพิสารเจอผี ก็ทำแบบนี้เช่นกัน ในประวัติศาสตร์ไทยพระนเรศหลั่งน้ำทักษิโณทกเพื่อประกาศเจตนารมย์ว่าต่อไปนี้ตัดขาดกับหงสาวดีครับ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 08:58:15 »
คำวัด - อนุโมทนา- อนุโมทนาบัตร


การยกมือไหว้เหนือหัวแล้วกล่าวคำว่า "สาธุ" เมื่อเห็นคนอื่นทำบุญก็ได้บุญแล้ว

คมชัดลึก :"สาธุ" มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ และประกอบด้วย รู ปัจจัย (สาธ + รู = สาธุ) หมายถึง ผู้ใดยังประโยชน์ของตนและของผู้อื่น ย่อมให้สำเร็จ ดังนั้นผู้นั้นชื่อว่า สาธุ (ยังประโยชน์ของตนและชองผู้อื่นให้สำเร็จ) ดังเช่น ทายกที่ไปทำบุญมา เมื่อเจอญาติมิตรเพื่อนฝูง หลังจากเล่าเรื่องราวให้ฟังแล้วมักจะตามด้วยการให้ส่วนบุญว่า รับส่วนบุญด้วยนะ และโดยมากมักจะรับกันว่า สาธุ นั่นคือ การอนุโมทนา

   พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อนุโมทนา (อะ-นุ-โม-ทะ-นา) แปลว่า ความยินดีตาม ความพลอยยินดี หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญ หรือความดีของผู้อื่นทำ

 อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยคำพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น ได้ยินเสียงย้ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่า “สาธุ” เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย

 เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา
 เรียกบุญที่เกิดจากอนุโมทนาตามตัวอย่างข้าต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ

 ส่วนคำว่า “อนุโมทนาบัตร” (อะ-นุ-โม-ทะ-นา-บัด) เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า หนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญ เรียกว่า “ใบอนุโมทนา” ก็มี

 อนุโมทนาบัตร เป็นหลักฐานแสดงการบริจาคทรัพย์ให้แก่วัด เพื่อบำรุงศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุ ตั้งทุนบำรุงการศึกษา ถวายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร หรือ กิจกรรมอื่นใดในวัดนั้นๆ

 นอกจากเป็นหลักฐานสำหรับวัดแล้ว ยังเป็นการบำรุงศรัทธาสร้างวามปลื้มปีติแก่ผู้บริจาคเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะแสดงถึงความบริสุทธิ์ในการรับ ขณะเดียวกันอนุโมทนาบัตรยังใช้เป็นหลักฐานการขอลดภาษี หรือขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ด้วย

 อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ “สัมโมทนียกถา” (สัม-โม-ทะ-นี-ยะ-คา-ถา) แปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจ คำพูดที่ทำให้ประทับใจ เรียกว่า อนุโมทนากถา ก็ได้

 สัมโมทนียกถา ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณ หรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี หรือบุญกุศลที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆังไว้ในพุทธศาสนาว่า กล่าวสัมโมทนียกถา

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110617/100603/คำวัด-อนุโมทนา-อนุโมทนาบัตร.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 09:05:37 »
คำวัด - ฉัน - หอฉัน


อาคารหอฉัน มจร วังน้อย พระนครศรีอยุธยา มูลค่าก่อสร้าง ๘๕ ล้านบาท

คมชัดลึก :พุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยคิดว่า ภิกษุจะฉันได้แค่ก่อน เวลาเพล หรือก่อนเที่ยงวันเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ในพระวินัยปิฎก หมวด มหาวรรค บทที่ ๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) กล่าวไว้ว่า

   กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ

 ๑. ยาวกาลิก  รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้นเช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ

 ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต

 ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕ คือ ๑.สัปปิ หมายถึง เนยใส ๒.นวนีตะ หมายถึง เนยข้น ๓.เตละ หมายถึง น้ำมัน ๔.มธุ หมายถึง น้ำผึ้ง และ ๕.ผาณิต หมายถึง น้ำอ้อย

 ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา

 ทั้งพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ฉัน” ในคำวัดใช้ใน ๒ ความหมาย คือ

 ๑.ใช้แทนคำว่า กิน และ ดื่ม ของพระภิกษุสามเณร เช่นใช้ว่า “ฉันภัตตาหาร ฉันเช้า ฉันเพล” หรือ “ฉันน้ำปานะ ฉันน้ำส้ม”

 ๒.ใช้แทนตัวเองเมื่อพระภิกษุสามเณรพูดกับชาวบ้านที่คุ้นเคยกัน หรือ ไม่เป็นทางการ คือ ใช้แทนคำว่า อาตมา หรือ อาตมภาพ ซึ่งเป็นภาษาเขียน และค่อนข้างเป็นทางการ เช่นใช้ว่า "วันนี้ฉันไม่ว่าง ขอไปวันอื่นก็แล้วกัน" หรือ "ฉันขอร้องโยมละ ค่อยๆ พูดกันก็ได้"

 ฉัน ในความหมายหลังนี้ มาจากคำเต็มว่า ดีฉัน ซึ่งเป็นคำที่ผู้ชายพูดแทนตัวเองในสมัยก่อน ปัจจุบันคำว่า ดีฉัน ไม่นิยมใช้กันแล้ว ใช้ว่า ฉัน เฉยๆ

 ส่วนคำว่า “หอฉัน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า อาคารหรือศาลาที่สร้างไว้สำหรับเป็นที่ฉันอาหารของพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า โรงฉัน หรือ ศาลาหอฉันก็ได้

 หอฉัน ปกติจะเป็นศาลาโถงที่โปร่งไม่อับทึบ มองเห็นได้ทุกทิศทุกทาง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นิยมสร้างเป็นสัดส่วนไว้ท่ามกลางวัด หรือ ท่ามกลางหมู่กุฏิหมู่ ใช้เป็นที่ฉันรวมกันของภิกษุสามเณรทั้งวัด หรือเฉพาะในแต่ละคณะสำหรับวัดที่มีหลายคณะ

 หอฉัน คำเดิมใช้ว่า อุปัฏฐานศาลา หมายถึง ศาลาเป็นอุปัฏฐากพระ  และ อาสนศาลา หมายถึง ศาลาสำรับนั่งฉัน

"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110610/99975/คำวัด-ฉัน-หอฉัน.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 11:34:38 »
คำวัด - ญาณ-ฌาน


ภาพวาดพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก ในวันอาสาฬหบูชา


คมชัดลึก :จริต คือ ลักษณะนิสัยพื้นฐานที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมตามสภาพของจิตใจอันเป็นปกติของบุคคลนั้น โดยแบ่งออกเป็น ๖ แบบ คือ ๑.ราคจริต ๒.โทสจริต ๓.โมหจริต ๔.วิตกจริต ๕.ศรัทธาจริต และ ๖.พุทธิจริต

    การรู้จริตของตน ทำให้เกิดการรับรู้ว่า จะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร มีสิ่งใดที่เหมาะสมอยู่แล้ว มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น การรู้จริตสามารถเลือกแนวทางการปฏิบัติธรรมได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตน

 
 อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมมีคำอยู่ ๒ คำ ที่ออกเสียงคล้ายหรือใกล้เคียงกัน รวมทั้งมีคนมักเข้าใจมีความหมายคล้าย หรือเหมือนกัน คือ คำว่า "ญาณ" และ "ฌาน"

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ญาณ" อ่านว่า “ยาน” ไว้ว่า ความรู้ คือปรีชาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา

วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ ความรู้แจ่มแจ้ง ความรู้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ตรัสรู้” ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากการบำเพ็ญวิปัสสนา มิใช่ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือ การนึกคิดคาดคะเนเอา

 คำว่า “ญาณ” ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้แจ้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาโพธิญาณ ซึ่งมีอยู่ ๓ อย่าง คือ

 ๑.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึง ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ในอดีตได้ คือ ระลึกชาติได้นั่นเอง

 ๒.จุตูปปาตญาณ หมายถึง ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ

 ๓.อาสวักขยญาณ หมายถึง ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป

ส่วนคำว่า “ฌาน” อ่านว่า “ชาน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า การเพ่ง ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนจิตสงบนิ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ หรือ ภาวะที่จิตสงบนิ่งอันเนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์

 ฌาน แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ รูปฌาน และอรูปฌาน ซึ่งมีความหมายดังนี้

 รูปฌาน คือ การเพ่งรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ ตามอารมณ์ที่ประณีตขึ้นไปตามลำดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน

 อรูปฌาน คือ การเพ่งอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ คือ  อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

 เรียกการที่ผู้ได้ฌานนั่งสงบจิตเพ่งอารมณ์นิ่งแนวอยู่ว่า เข้าฌาน


"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110408/94207/คำวัดญาณฌาน.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 03:21:51 »
คำวัด - เปรต-อสุรกาย


ภาพประกอบข่าว

คมชัดลึก :คำพูดหนึ่งที่พูดกันติดปากเมื่อเอ่ยถึงชื่อวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) และวัดสุทัศนเทพวราราม คือ "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์" ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ คือ เรื่องของวัดสระเกศ ในช่วงรัชกาลที่ ๒ เกิดโรคห่าระบาดเมือง มีคนตายชนิดที่ขุดและเผาไม่ทัน ต้องกองศพทิ้งไว้เน่าเหม็นมีแร้งนับพันตัวมากินศพ


  ส่วนที่วัดสุทัศน์ เล่ากันว่า วัดแห่งนี้มักมีเปรตปรากฏกายในเวลากลางคืนเป็นที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เรื่องเล่าเปรตวัดสุทัศน์นั้น มาจากภาพวาดบนฝาผนังในพระอุโบสถ ที่เป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่ และมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่เลื่องลือกันของผู้ที่ไปที่วัดแห่งนี้ว่าต้องไปดู และสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าเป็นเปรตนั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณวัดแห่งนี้มายาวนานบอกว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่อยู่หน้าวัด ในสายหมอกยามเช้าต่างหาก

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "เปรต"  ไว้ว่า ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว ผู้ตายไปแล้ว

เปรต ในคำวัด หมายถึง สัตว์พวกหนึ่งที่เกิดในเปรตวิสัย ซึ่งเป็น ๑ ในอบายภูมิ ๔ มีหลายประเภท เช่น ประเภทหนึ่งเรียกว่า ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยส่วนบุญที่มีผู้ทำอุทิศให้ มีรูปร่างสูงโย่งเท่าต้นตาล ผมยาว คอยาว ผอมโซ ตัวดำ ท้องโต มือท่าใบตาล มีปากเท่ารูเข็ม

 หากไม่มีผู้อุทิศส่วนบุญให้ก็จะกินเลือดและหนองของตัวเองเป็นอาหาร มักจะร้องเสียงโหยหวนในเวลากลางคืนเพื่อขอส่วนบุญ


 เรียกการพลีกรรมแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายว่า เปตพลี หรือ บุปเปตพลี
 ส่วนคำว่า “เปรตวิสัย” (อ่านว่า เปรด-วิ-ไส) เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า ภูมิหรือที่กำเนิดของเปรต โลกของเปรต

 เปรตวิสัย ใช้ว่า เปรตวิษัย เปตวิสัย ก็มี
 เปรตวิสัย จัดเป็นอบายภูมิ ๑ ใน ๔ อย่าง คือ นรก เปรต อสุรกาย และเปรตวิสัยเปรตวิสัย ดิรัจฉาน เป็นดินแดนที่เกิดหลังจากล่วงลับ หรือตายไปแล้วของผู้มากด้วยโลภะ ผู้ที่ไม่เคยให้ทาน หรือเสียสละแก่ใคร เป็นดินแดนที่มีความอดอยาก ผู้เป็นเปรตมีแต่ความทุกข์ทรมานด้วยไม่มีอาหารจะกิน แม้มีอยู่ก็กินด้วยความยากลำบาก

 ผู้ที่เกิดเป็นเปรตอยู่ในเปรวิสัย เป็นอยู่ได้ด้วยข้าวน้ำที่มีผู้อุทิศไปให้ ที่เรียกว่า เปตพลี ถ้าไม่มีใครทำบุญไปให้ก็อดตายอยู่อย่างนั้น

ในขณะที่คำว่า “อสุรกาย” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นเป็นศัตรูกับเทวดา ได้แก่ พวกอสูร มาร หรือ ยักษ์

 อสุรกาย ในคำวัดหมายถึง อบายภูมิอย่าง ๑ ในจำนวน ๔ อย่าง นอกจากนี้แล้วยังใช้เรียกสัตว์ที่เกิดในอบายภูมินั้นด้วย นัยว่าชอบเที่ยวหลอกหลอนคนเหมือนผี ป็นคู่กับพวกเปรต


"พระธรรมกิตติวงศ์"

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110422/95364/คำวัดเปรตอสุรกาย.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - กรวดน้ำ-คว่ำขัน-คว่ำบาตร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 27 มิ.ย. 2554, 04:28:43 »
คำวัด - อบายภูมิ-อบายมุข


ปูนปั้นเปรตวัดม่วง ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

คมชัดลึก :คำว่า "อสุรกาย" นั้น ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเพียงแต่ชื่อ รายละเอียดภพของอสุรกายเป็นอย่างไร ท่านก็ไม่ได้แสดงเอาไว้ แต่ว่าจากความหมายของรูปศัพท์ ก็หมายถึงชีวิตชนิดหนึ่งเป็น อทิสสมานกาย คือบุคคลไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เป็นจำพวกปีศาจ ที่บางครั้งบางคราวก็มีการหลอกหลอนคน ดังนั้นจึงมีส่วนหนึ่งที่อยู่ในโลกนี้ และมีอยู่ในโลกอื่นๆ ที่ท่านใช้คำว่า ปรโลก

   พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า อบาย (อะ-บาย ) ตามรูปศัพท์แปลว่า จากไป (ไปปราศ) ไปเป็นอย่างอื่น ใช้ในความหมายต่างๆ ที่มีลักษณะไปจากความสุข ไปจากความเจริญรุ่งเรือง ไปจากกำไร

อบาย ทั่วไปแปลว่า ความเสื่อม ความหายนะ ความฉิบหาย ความสูญเสีย ความรั่วไหล การขาดทุน นิยมใช้ในรูปคำเดียวคำนำหน้าคำอื่น เช่นใช้ว่า
 - เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
 - ผู้ใดระลึกชาติก่อนๆ ได้ เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุถึงความสิ้นชาติ
 - อบายโกศล คือ ความฉลาดในความเสื่อม

ส่วนคำว่า “อบายภูมิ” (อะ-บาย-ยะ-พูม) เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ภูมิหรือดินแดนที่ปราศจากความเจริญ หมายถึง ภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดของผู้ทำบาปกรรมไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผลแห่งบาปกรรมนั้นจะส่งเขาไปเกิดในอบายภูมิ หลังจากเขาตายแล้ว

 อบายภูมิ มี ๔ ตาระดับบาปกรรมของคน คือ
 - นรก เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโทสะ ชอบฆ่าฟัน ชอบท้าผู้อื่น
 - เปรต เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโลภะ ชอบฉ้อโกง ลักขโมย เบียดบังทรัพย์
 - อสุรกาย เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโลภะ
 - ดิรัจฉาน เป็นที่เกิดของคนที่มากด้วยโมหะ หลงงมงาย อกตัญญูเห็นผิด
 
 ในขณะที่คำว่า “อบายมุข” (อะ-บาย-มุก) เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า ทางแห่งความฉิบหาย ทางแห่งความเสื่อม สาเหตุให้ถึงความเสื่อมเสีย มี ๒ หมวด คือ

 อบายมุข ๔ ได้แก่ เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน และคบคนชั่วเป็นมิตร

 อบายมุข ๖ ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และ เกียจค้านทำการงาน

อบายมุขทั้งหมดนี้ หากประพฤติเข้าแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย ให้เกิดความเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สิน  แก่เกียรติยศชื่อเสียง หรือ แก่ชีวิตร่างกายได้เหมือนกันทุกข้อ

"พระธรรมกิตติวงศ์ "


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110603/99298/คำวัดอบายภูมิอบายมุข.html