ผู้เขียน หัวข้อ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ  (อ่าน 1929 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« เมื่อ: 29 มิ.ย. 2554, 07:02:53 »
คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ


ภาพพลังศรัทธาญาติโยมอย่างล้นหลาม ที่นำอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัด รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อาจจะป็นดัชนีชี้วัดความ
สำเร็จของการโหมงบโฆษณาของ ททท.

   แต่เชื่อหรือไมว่า อาหารคาวหวานที่ญาติโยมเตรียมใส่ภาชนะไปเป็นอย่างดี ถูกจัดเตรียมมาล่วงหน้าเป็นวัน หลังจากใส่บาตรแล้วถูกถ่ายลงกระสอบปุ๋ยราวกับของไร้ค่า เรื่องที่พระจะนำไปฉันนั้นไม่ต้องพูดถึง บางแห่งถูกทิ้งอย่างไร้ค่า ที่ดีหน่อยก็ถูกนำไปมอบต่อยังสถานสงเคราะห์ต่างๆ
 
 มีคำพูดหนึ่งที่น่าคิด คือ "การทำบุญอยู่ที่เจตนาอันบริสุทธิ์ ไม่ได้อยู่ที่สถานที่ ตักบาตรเทโว ณ วัดใกล้บ้านก็ได้บุญไม่แพ้กัน"
 สำหรับที่นิยมตักบาตรเทโวของภาคกลาง จะทำบุญเป็น ๒ วัน คือ วันออกพรรษากับวันเทโว ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ และวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษา ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล

 ในภาคใต้ก็มีประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระ มี ๒ กรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ ถึงแม้ภาคนี้จะมีความแตกต่างไปจากภาคอื่น ภาคใต้ก็มีจุดประสงค์ปรารภเหตุ การเสด็จลงมาของพระพุทธเจ้าจากเทวโลกมาถึงพื้นโลก ในวันปวารณาออกพรรษาเช่นเดียวกัน

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ตักบาตรเทโว" หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
 คำว่า "เทโว" ย่อมาจากคำว่า "เทโวโรหนะ" ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก
 ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ ๗ นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ แล้ว จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสะนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก

 เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง ๓ เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า "ตักบาตรเทโวโรหนะ" ต่อมามีการเรียกกร่อนไป เหลือเพียง "ตักบาตรเทโว"

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20101022/76972/ คำวัด-ตักบาตรเทโวโรหนะ.html
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 29 มิ.ย. 2554, 07:08:01 »
คำวัด - พระเจ้าเข้านิพพาน กับ นิพพาน

พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน หรือ "พระเจ้าเข้านิพพาน" นั้นถือเป็นพระพุทธรูปปางที่ไม่ค่อยพบเห็นในวัดทั่วๆ ไป เท่าที่ทราบ องค์ที่สมบูรณ์ที่สุดต้องยกให้พระเจ้าเข้านิพพาน ที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังเก่า วัดท่าฬ่อ ต.ท่าฬ่อ อ.เมือง จ.พิจิตร ส่วนอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน หรือวิหารแกลบ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) อ.เมือง จ.พิษณุโลก

แต่ถ้าเป็นพระนอน สร้างเท่าขนาดคนจริงสมัยโบราณ คือ พระนอนหงาย วัดพระนอน ต.พิหารแดง อ.เมือง อันเป็นวัดเก่าแก่สมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ ในขณะที่พระนอนหงายที่ใหญ่สุด คือ หลวงพ่อสนอง พระนอนหงาย วัดทุ่งน้อย ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีขนาดยาว ๕.๗๐ เมตร กว้าง ๑.๕๐ เมตร ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก


 ส่วนประวัติพระพุทธรูปบรรทมหงาย วัดราชคฤห์วรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระเอกาทศรถ เมืองธนบุรีเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เพราะมีการติดต่อการค้ากับต่างชาติ (ชาวจีน) ต่อมาเกิดการอาเพศขึ้น ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองล้มตายด้วยโรคต่างๆ ขาดความสามัคคี ทำให้เกิดความเดือดร้อน เจ้าเมืองจึงไปขอคำปรึกษากับพระเอกาทศรถ โดยพระองค์ท่านบอกให้ไปกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช

 ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช ตรัสบอกให้โหรได้ตรวจดูว่า เป็นเพราะวางหลักเมืองไว้ไม่ถูกต้อง ให้รีบแก้ไขดวงเมืองเสียใหม่ โดยหาฤกษ์ยามที่ดีวางเสาหลักเมือง แล้วสร้างพระบรรทมหงาย เป็นการแก้ว่าร้ายให้กลับกลายเป็นดี เจ้าเมืองกลับมาจึงรีบแก้ดวงเมืองทันที จากนั้นมาเมืองธนบุรีก็มีความรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้สถาปนาให้เป็นราชธานีชื่อว่า "กรุงธนบุรี" สืบมา

 อย่างไรก็ตาม เมื่อพระยาพิชัยดาบหักได้บูรณปฏิสังขรณ์วิหารเล็กแล้ว ก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปบรรทมหงายให้ใหญ่กว่าเดิม เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เพื่อนทหาร ทหารที่เป็นข้าศึก และชาวบ้านที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะตนเป็นต้นเหตุ
 จากเหตุผลการสร้างดังกล่าว ปัจจุบันชาวบ้านมีคติความเชื่อว่า การกราบไหว้พระพุทธรูปบรรทมหงาย สามารถ ขอไถ่เวร ไถ่กรรม และขอพร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีโชคลาภกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งใครปรารถนาสิ่งใด ก็ได้สิ่งที่ต้องการนั้นตามที่เล่าบอกกันมา

อย่างไรก็ตาม คำว่า "นิพพาน" พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด หมายถึง ความดับสนิทกิเลสและกองทุกข์ ภาวะที่กิเลสหมดไปโดยไม่เกิดขึ้นอีกเลย เหมือนไฟที่สิ้นเชื้อแล้ว ผู้ถึงภาวะนี้เรียกว่า พระอรหันต์
 นิพพาน ที่ใช้สำหรับพระสาวก แปลว่า ตาย เช่น สาวกนิพาน สำหรับพระพุทธเจ้าใช้ คำว่า ปรินิพพาน เช่น พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
 นิพพาน มี ๒ อย่าง คือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ กิเลสดับ แต่เบญจขันธ์ยังเหลือ (ยังมีชีวิตอยู่) และ อุปาทิเสสนิพพาน กิเลสดับ และเบญจขันธ์ไม่เหลือ (นิพพานแล้ว)
 นอกจากนี้แล้วยังมีคำอื่นๆ ที่ใช้แทนคำว่า นิพพานอีกหลายคำ เช่น นิโรธ โมกขธรรม วิราคะ วิมุตติ วิโมกข์ สันติวรบท อมตธรรม อมตบท อสังขตธรรม เป็นต้น

"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110204/87799/ คำวัดพระเจ้าเข้านิพพานกับนิพพาน.html

ออฟไลน์ tum_ohayo

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 64
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 10:24:38 »
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

เพิ่มเติมนะครับ
ผมว่าไม่น่าเกี่ยวกับพระเอกาทศรถนะครับ และวัดนี้สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ผมคิดว่าอาจเป็นพระเจ้าเอกทัศน์ก็ได้นะครับ(ตรงนี้ผมคิดเอง)

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 12:02:14 »
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

เพิ่มเติมนะครับ
ผมว่าไม่น่าเกี่ยวกับพระเอกาทศรถนะครับ และวัดนี้สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ผมคิดว่าอาจเป็นพระเจ้าเอกทัศน์ก็ได้นะครับ(ตรงนี้ผมคิดเอง)
คงไม่เกี่ยวกับพระเอกาทศรถครับ
--------------------------------------------

ประวัติวัดราชคฤห์วรวิหาร

แขวงบางยี่เรือ  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร
**********
ความเป็นมาของวัดราชคฤห์วรวิหาร


                             นามเดิม  ชื่อวัดวังน้ำวน   เพราะวัดตั้งอยู่ติดคลองน้ำ ๓ สาย  คือ ๑. คลองบางกอกใหญ่ (อยู่ด้านทิศเหนือคือของวัด) ๒. คลองบางน้ำชน (อยู่ทิศตะวันตกของวัด) ๓. คลองท่าพระ (อยู่ด้านทิศพายัพของวัด) มาจดชนติดกันเป็นเหมือนสี่แยก เวลานำทะเลหนุนขึ้น  น้ำเค็มไหลทะลักเข้ามาตามคลองบางกอกใหญ่บ้าง  ไหลทะลักเข้ามาทางคลองบางน้ำชนบ้าง ส่วนคลองบางกอกใหญ่ตามปกติน้ำจืดจะไหลมาตามคลองทางเขตภาษีเจริญ ก็ไหลมาชนกับน้ำเค็ม  ตรงกันข้ามระหว่างคลองท่าพระน้ำจืดก็ไหลมาชนกับคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้น้ำที่ไหลมานั้นชนกัน  ทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียนเป็นวังวนขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แถบนั้นว่าวังน้ำวน เมือชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นจึงเรียกวัดนั้นว่า "วัดวังน้ำวน" เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา  ตอนปลาย  โดยมีชาวมอญกลุ่มหนึ่งซึ่งได้อพยพม่าโดยทางเรือจากกาญจนบุรี เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แทบริมคลองบางกอกใหญ่  และสถานที่แถบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก  จึงเรียกสถานที่นี้ว่า  ตำบลบังยิงเรือ  ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าบางยี่เรือ  พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น  โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธาน เพื่อจะได้ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือ"   แก้เป็นคำว่า   "เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แถบริมคลองบางกอกใหญ่  แล้วได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือกันที่วัด  โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธานในการสร้างวัด   ต่อมา  เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้ตั้งค่ายรวมพลทหาร ณ สถานที่โพธิ์สามต้น เพื่อกู้ชาติ และเมื่อข้าศึกพม่ารู้ว่า ค่ายทหารพระเจ้าตากสินอยู่ที่โพธิ์สามต้น  จึงได้ยกทัพเรือมาเพื่อรบตีทหารให้แตก  พระเจ้าตากสินผู้รู้หลักตำราพิชัยสงคราม  จึงรับสั่งให้ทหารหารมีพระยาพิชัยดาบหักเป็นต้น แบ่งทหารออกเป็นกองๆ  เพื่อดักซุ่มโจมตีทหารพม่าที่มาตามคลองนำ โดยให้อยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ริมข้างคลองนำทุกๆ สายที่มาทางโพธิ์สามต้น และพระยาพิชัยดาบหัก  พาทหารหารมาดักซุ่มโจมตีที่วัดราชคฤห์  โดยยิงปืนใส่ทหารพม่าที่มาจอดเรืออยู่ที่วังนำวน  จึงทำให้ทหารพม่าล้มตายบ้าง  บางท่านก็ลบหนีไปได้   เมื่อกอบกู้ชาติได้แล้ว   พระองค็จึงคิดบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้  โดยรับสั่งมอบหมายให้พระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกราชองค์รักษ์  มาควบคุมดูแลบูรณปฏิสังขรณ์การก่อสร้างวัด  ต่อมา เมื่อพระเจ้าตากสินสิ้นพระชนม์แล้ว  โดยอาศัยสถานที่นี้เป็นที่ยิงเรือรบของข้าศึก    และสถานที่แทบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก  จึงเรียกสถานที่นี้ว่า  วัดบังยิงเรือ พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น  โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธาน เพื่อจะได้ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือ  ต่อมาเนื่องจากมีวัดอยู่ใกล้กัน  ๓  วัด  จึงเรียกชื่อตามตำบล  วัดนี้ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำไหลจึงเรียกว่า  วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์)  วัดบางยี่เรือกลาง  (วัดจันทาราม)  วัดบางยี่เรือใต้  (วัดอินทาราม)  แต่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า “วัดมอญ”  สัณนิฐานว่าคนมอญช่วยกันสร้างและพระมอญอยู่จำพรรษาประจำอยู่วัดนี้มาก  จึงเรียกชื่อว่าวัดมอญ   


พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ


ภูเขาจำลอง  (ภูเขามอ)


                             ต่อมา  สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ได้กู้ชาติไทยได้เสร็จแล้ว  จึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่  ให้เป็นราชธานี สถาปนา ชื่อว่า  "กรุงธนบุรี"  และได้ขึ้นครองราชย์  จากนั้น  พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจ  คือพระยาสีหราชเดโช  (พระยาพิชัยดาบหัก)  ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือเหนือ มีสร้างพระอุโบสถสร้างพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ  อยู่ทั้ง  ๔  ด้านของพระอุโบสถ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นำมาจากกรุงราชคฤห์แห่งประเทศอินเดียสร้างพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง และสร้างภูเขาจำลอง  (ภูเขามอ)  พร้อมทั้งสถูปนำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่พุทธศาสนิกชนสืบมา  ต่อมา  พระเจ้าตากสินมหาราชได้สวรรคต ส่วนพระยาสีหราชเดโช  ได้สิ้นชีวิตลงตามพระเจ้าตากสิน  ได้นำเอาศพบรรจุไว้ที่วัดบางยี่เรือ

ที่มา
http://www.watrajkrueh.com/History1.htm

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 12:34:49 »
คำวัด - ภัตตาหาร-สลากภัต


คำว่า “สลากภัต” มาจากภาษาบาลี คือ สลาก + ภตฺต สองคำมารวมกันเป็น “สลากภัต” แปลว่า อาหารถวายพระภิกษุสงฆ์โดยวิธีจับสลาก นับเข้าในสังฆทาน เพราะเป็นการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มักกระทำกันในเดือนที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ หรือปีที่เศรษฐกิจดี หรือมีการก่อสร้างศาสนวัตถุในวัดที่ขาดแคลน พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า เป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งที่ภิกษุสามเณรจะได้รับถวายได้ไม่จำกัดกาล ทั้งทรงยกย่องการถวายทานแบบไม่เจาะจงนี้ว่า มีอานิสงส์มากแล

  ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ภัตตาหาร” (อ่านว่า ภัด-ตา-หาน) อาหาร คือ ภัต หมายถึง อาหารสำหรับพระสงฆ์ฉัน เช่น พูดว่าพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ก็หมายความว่า พระสงฆ์ฉันอาหาร นั่นเอง

 
 ภัต หมายถึง ข้าว อาหาร ของกิน เขียนว่า ภัตร ก็ได้
 ภัต หรือ ภัตตาหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับ และฉันได้มีหลายประเภท เช่น
 สังฆภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายพระสงฆ์
 นิมันตนภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายในที่นิมนต์
 สลากภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายตามสลาก
 อาคันตุกภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายพระอาคันตุกะ
 นิตยภัต หมายถึง อาหารที่เขาถวายเป็นประจำ
 ส่วนคำว่า "สลากภัต" (อ่านว่า สะ-หลาก-กะ-พัด) เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า อาหารที่เขาถวายตามสลาก
 สลากภัต  ใช้เรียกวิธีถวายทานอย่างหนึ่งที่ถวายโดยการจับสลาก นิยมทำกันในฤดูกาลที่ผลไม้ออกผล เช่น สลากภัตมะม่วง สลากภัตลิ้นจี่ ถือว่าได้บุญมาก และเป็นมงคลแก่สวนผลไม้ของตน


 วิธีการสลากภัต คือ ทายกทายิกาจัดอาหารคาวหวาน และผลไม้ประจำฤดูกาลนำไปรวมกันที่วัด จัดวางไว้เป็นส่วนๆ เขียนชื่อหรือหมายเลขประจำตัวของตน ใส่กระดาษแล้วม้วนไปให้พระภิกษุสามเณรจับ รูปใดจับได้ของผู้ใดก็ออกไปรับของผู้นั้น
 อีกแบบหนึ่งเขียนเลขประจำตัวของพระตามลำดับอาวุโส ใส่กระดาษแล้วม้วนให้ทายกทายิกาจับ ผู้ใดจับได้หมายเลขใดก็นำของไปถวายพระตามหมายเลขนั้น
"พระธรรมกิตติวงศ์ "

ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110513/97383/ คำวัดภัตตาหารสลากภัต.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 01:20:48 »
คำวัด - พระบรมสารีริกธาตุ
“วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเน สุปะติฏฐิตัง สารีริกะธาตุง พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา ตัสสานุภาเวนะ สัพพะสิทธิ ภะวะตุ เม”
 นี่เป็นคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในพระบรมธาตุเจดีย์ของวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และวัดหนึ่งที่มีพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานเช่นกัน คือ วัดคฤหัสบดี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม.


 
สำหรับความหมายของ “พระบรมสารีริกธาตุ” (อ่านว่า พระ-บอ-รม-มะ-สา-รี-ริก-กะ-ทาด) พระเทพคุณาภรณ์ (ปธ.๙) รองเจ้าคณะภาค ๑๓ และเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร ได้อธิบายความหมายไว้ว่า "กระดูกของพระพุทธเจ้าในจำนวน ๒๘ พระองค์ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทีปังกร มาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระสมณโคดม” 
 "พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ ไม่ได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ

 ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
 ๑.พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ "พระธาตุ" พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบมากในประเทศศรีลังกา ไทย จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงหรือใกล้เคียงตามลักษณะที่ปรากฏในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ตามวัดต่างๆ ทั่วไป
 ๒.พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ "กระดูกคน" พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบเฉพาะเขตโบราณสถานในประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย ๒ ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ ๒ รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน

ส่วนคำว่า "พระธาตุ" คือ กระดูก หรือส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย "ธาตุ" ซึ่งหากมองโดยไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
 นอกจากนี้แล้ว คำว่า "พระบรมธาตุ" และ "พระธาตุ" ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ


ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20110429/96095/ คำวัดพระบรมสารีริกธาตุ.html

ออฟไลน์ boomee

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 339
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: คำวัด - ตักบาตรเทโวโรหนะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 02:51:56 »
พึ่งได้เข้ามาอ่าน ขอบคุณสำหรับความรู้นี้นะครับ :002:
หากตัวท่านไรซึ่งความหวัง  กายท่านจะคงอยู่เพื่อสิ่งใด