ผู้เขียน หัวข้อ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒  (อ่าน 2096 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 07:19:36 »
เป็นตอนต่อจาก......   บทสาธยายยอดธรรมยอดคาถา พระคุณเจ้าดาบส สุมโน
โดยคุณ powertom เมื่อ: ๐๕ ก.พ. ๕๓
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=15178.msg135532
=======================
แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอน 2
ในหลักยอดธรรมยอดคาถาสูตร ของอาศรมเวฬุวัน เชียงราย
โดยท่านเจ้าพระคุณเจ้าหลวงพ่อ ดาบส สุมโน


คำนำ

     หนังสือเล่มนี้ ถอดใจความและขยายความ จากหนังสือยอดธรรมยอดคาถาสูตร ที่ใช้ประจำในอาศรมเวฬุวัน ทั้งได้นำเอาพระสูตรบางสูตร ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เรื่องการทำสมาธิแบบนี้ มาประกอบยืนยันด้วย
หลักปฏิบัติ คือ การทำสมาธิในแบบนี้ ทั่วๆไปมักไม่ได้นำมาปฏิบัติกัน จึงไม่ค่อยปรากฏในวงการปฏิบัติ อาจจะเห็นว่าหลักนี้ไม่มีพิธีอะไร หรือเห็นว่ามันง่ายเกินไป ไม่มีหลักจับ หรือมิฉะนั้น ก็จะเห็นว่ามันสูงเกินไป เกินที่จะเอื้อมถึง
คนส่วนมาก มักจะเลื่อมใสและชอบไปในแบบที่มีพิธีต่างๆ หรือที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จึงมองข้ามการทำจิตให้ผ่องใส สงบระงับกันไปเสีย
การปฏิบัติแบบนี้ แม้จะมีความหมายมุ่งไปสู่ฝั่งโน้น คือ ความสงบล่วงแดน แต่เมื่อไม่ถึงตามความหมาย ก็ไม่เกิดโทษอะไร คงได้ผลเท่าที่ได้ การทำแบบนี้ ทำได้เสมอ เพราะเป็นการทำจิต ซักฟอกจิตให้สะอาด มีแต่ได้ ไม่ต้องลงทุน แม้ไม่มีอาจารย์ควบคุมหรือสอบอารมณ์ก็ทำได้

หลักทำสมาธิภาวนา

การทำสมาธิภาวนา ในอาศรมเวฬุวัน หลักใหญ่ทำแบบในยอธรรมยอดคาถาสูตร
หลักในยอดธรรมยอดคาถาสูตร ก็คือ ทำจิตของเราให้ว่างจากความนึกความคิด และอารมณ์ที่เกาะที่ถือใดๆทั้งปวง
ไม่ให้มีที่ภายในและที่ภายนอก
ไม่ให้มีที่ล่วงไปแล้วและที่ยังมาไม่ถึง ไม่ให้มีแม้ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันเฉพาะหน้าขณะนี้
ด้วยวิธีทำในจิตในใจ สละปล่อยคลายวางอารมณ์ต่างๆ ที่นึกที่คิดและที่เกาะถือ ให้จิตว่าง เข้าถึงความสงบผ่องใส
ประหนึ่งผู้ขมักเขม้นทำความสะอาดดวงแก้ว อันเป็นที่รักที่ถนอมของตน หรือภาชนะเงินคำ(ทองคำ) ที่มีฝุ่นละอองเกาะกุมหนาแน่น ทำการปัดเป่าเช็ดถู ให้หมดจดสุกปลั่งใสสะอาดแวววาว โดยรอบฉะนั้น ฯ

การสละปล่อยคลายวาง เป็นทางดับทุกข์ ล่วงทุกข์ทั้งหลาย เป็นทางเข้าถึงฝั่งอมตะนิพพาน ที่คนทั้งหลายเข้าถึงได้โดยยาก ฝั่งอมตะนิพพานนี้ เป็นธรรมประเสริฐ เป็นธรรมยอดเยี่ยม ที่พระตถาคตผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงไว้ดีแล้ว ฯ
เนื้อความหรือใจความ ในยอดธรรมยอดคาถาสูตร ก็มีเนื้อความใจความสำคัญ เท่านี้แล ฯ


การทำสมาธิภาวนา

ผู้ทำสมาธิภาวนา ก็เหมือนกับผู้จะข้ามฟาก จากฝั่งนี้ไปสู่ฝั่งโน้น ฝั่งนี้มีทุกข์ภัย ฝั่งโน้นไม่มีทุกข์ภัย
พระพุทธองค์ตรัสไว้ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้จะข้ามห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้น่าเกลียด มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งโน้นเกษมไม่มีภัย ถ้ากระไรเราถึงรวบรวมหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้าข้ามไป
บุรุษนั้น กระทำตามดำรินี้ พึงข้ามไปสู่ฝั่งโน้น ด้วยความสวัสดีได้ ฯ


ฝั่งนี้ฝั่งโน้น

ฝั่งนี้……..ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ หรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ชื่อว่า ฝั่งนี้ หรือจะเรียกย่อๆว่า อารมณ์ทั้งหลายก็ใช่
ฝั่งโน้น……หมายถึงอมตะนิพพาน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ชี้ไว้ คือ ธรรมชาตินั่นสงบละเอียด ธรรมชาตินั่นประณีตยอดเยี่ยม(เอตังสันตัง เอตังปะณีตัง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่(อัตถิภิกขะเว ตะทายะตะนัง)
อมตะนิพพาน หมายถึงฝั่งโน้น คือ ฝั่งพ้นทุกข์ พ้นภัย อมตะ แปลว่า ไม่ตาย นิพพาน แปลว่า พ้นทุกข์ หรือ ไม่ทุกข์ อมตะก็ดี นิพพานก็ดี มักเข้าใจผิดกันว่า เป็นสภาพเปล่า สภาพสูญ ไม่มีอะไร แต่ความจริงตรงกันข้าม คือ หมายความว่ามีอยู่ และไม่เปล่า ไม่สูญ ทั้งไม่ตาย คือ มีอยู่ โดยเป็นธรรมชาติสงบละเอียด แลประณีตยอดเยี่ยม และเป็นอายตนะที่เหนืออายตนะใดๆทั้งนั้น และเป็นสุขอย่างยิ่ง

ฝั่งโน้นมี และผู้ที่ไปสู่ฝั่งโน้นแล้วก็มี มีพระพุทธเจ้า ทั้งสาวกสาวิกา นับจำนวนไม่ถ้วน
ปัจจุบัน ฝั่งโน้นก็ยังเป็นฝั่งโน้นอยู่เหมือนเดิม 2 พันกว่าปีมาแล้ว อย่างใดก็อย่างนั้น
แท้จริง อมตะนิพพาน ไม่มีอดีต อนาคต ไม่มีเบื้องต้นที่ตั้งขึ้นและเบื้องปลายที่ต้องสลาย เป็นกาลิโกและอนันตัง พระพุทธองค์จะพบธรรมนี้ได้ก็แสนยาก ครั้นเมื่อพบแล้ว ที่เรียกว่า ตรัสรู้ ก็ยังท้อพระหฤทัย ก็จะบอกจะสอนผู้อื่น เพราะมาทบทวนดูแล้ว เห็นว่าอมตะนิพพาน นี้เป็นธรรมล้ำลึก สงบประณีตยิ่งนัก ยากที่สัตว์ทั้งหลายจะรู้ได้ สอนไปแล้วเขาไม่รู้ ก็จะเป็นการลำบากเปล่า แต่แล้วภายหลังก็มาเห็นว่า เหมือนบัว4เหล่า ผู้ที่พอจะรู้ได้ก็มีอยู่ จึงกลับมีพระหฤทัยน้อมไปเพื่อจะโปรดสัตว์ตามปณิธาน ที่ได้สร้างพุทธบารมีมา 4 อสงไขยกับแสนกัลป์ อมตะนิพพาน หรือ ฝั่งโน้น อันเป็นฝั่งมีอยู่ และก็ไม่ใช่จะอยู่ไกล ที่จะต้องไปถึงได้ด้วยการเดินเท้าหรือด้วยยานใดๆ อยู่ใกล้ที่สุด คือ ที่ตัวเรา หรือ จิตของเรานี้เอง แต่เส้นผมบังภูเขา เราจึงมองไม่เห็น หมอกม่าน ฝ้าฟาง บังตาของเราอยู่ท่านผู้รู้บอกเราว่า ฝั่งอยู่ข้างหน้าเรานี้นี่แหละ เรามองไปข้างหน้าตามที่ท่านบอก ก็เห็นเพียงน้ำเขียวๆกับฟ้าสีครามเท่านั้น ไม่เห็นฝั่ง หากเราลงมือทำตามที่ท่านบอกไปตามทิศทางที่ท่านชี้ ย่อมไม่ผิดหวัง แม้จะยังไม่ถึงฝั่งโน้น ผลที่ได้ทันทีในขั้นแรก โดยไม่ทันรู้ตัว ก็คือ ความเบา ความปลอดโปร่ง ความเป็นตัวเอง ความอิ่มเอิบ ความเยือกเย็น เบิกบาน

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มิ.ย. 2554, 07:23:22 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 07:34:25 »
แก้วในกองดิน

   เรื่องแก้วในกองดินนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับ ฝั่งนี้ฝั่งโน้น ฝั่งโน้นมีอยู่ ที่จะข้ามไปถึงได้ แก้วในดินนี้ก็เหมือนกัน ผู้ประสงค์อยากจะได้แก้ว ก็ต้องขุดต้องคุ้ยเจาะเข้าไปในกองดิน ตามหมายบอกขุดคุ้ยเอาดิน ทั้งสิ่งที่ปิดกั้นนั้นออกเสีย ตราบใดที่ขุดเข้าไป ยังไม่พบแก้ว ก็ต้องขุดเข้าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบนั้นแหละจึงจะหยุด
 
   จะขอนำเรื่องที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ เรื่องมีอยู่ว่า พราหมณ์ผู้ถึงเวท เรียก สุเมธะ ผู้เป็นสายโลหิตมา แล้วบอกว่า พ่อสุเมธะ ณ ตำบลนี้ มีจอมปลวก คือ กองดินอยู่แห่งหนึ่ง มีช่องทาง 6 ช่องทาง กลางคืนเป็นควัน กลางวันลุกเป็นเปลว เจ้าจงมา จงเป็นผู้ฉลาด ขุดลงตามช่องทางแห่งจอมปลวกนี้  สุเมธะ ผู้ฉลาด จึงเอาของมีคม ขุดลงไปตามร่องรอยช่องทางจอมปลวกนั้น ก็ได้พบสิ่งต่างๆ 6 อย่าง สิ่งที่พบอันแรก คือ “ลิ่มสลัก” จึงบอกท่านพราหมณ์ว่า ท่านขอรับ พบลิ่มสลัก ท่านพราหมณ์จึงบอกว่า เจ้าจงนำลิ่มสลักนั้นออกเสีย แล้วสุเมธะ ก็ขุดเข้าไปอีก ตามเส้นทางๆก็พบ “อึ่ง” พบ”หม้อกรองน้ำด่าง” พบ”เต่า” พบ “เขียงหั่นเนื้อ” แล้วพบ “เนื้อ”ตามลำดับ แต่ละอย่างๆเมื่อพบ ท่านพราหมณ์ก็บอกให้นำออกเสียทั้งนั้น สุเมธะผู้ฉลาด ก็ขุดเข้าไปอีกจน”สุดเส้นทาง”……ก็พบ “นาค” สุเมธะก็บอกท่านพราหมณ์ว่า นาคขอรับท่าน ท่านพราหมณ์ก็บอกสุเมธะว่า เจ้าจง”หยุด” จงนอบน้อมบูชา”นาค”เถิด” ฯ

สาระ หรือสิ่งที่ประสงค์ในที่นี้ ก็ได้แก่ “นาค” …….นาค ก็คือ “จิตเดิม” หรือ “จิตของตัวเอง” จะเรียกว่า”พุทโธ”ก็ใช่ อมตะธรรม อมตะนิพพานก็ใช่ จิตนี้ ไม่มีรูปร่างที่จะจับต้องได้ เป็นธรรมชาติไม่ตาย อาศัยกายเป็นคูหา ผู้ใดพบจิตของตน ผู้นั้น ก็จะหมดความหลง ไม่ต้องอาศัยกายอันน่ากลัวอีกต่อไปอีก จะมีอาสวะกิเลสสิ้นไปแล สิ่งต่างๆ ที่สุเมธะ ผู้ฉลาดขุดพบและท่านให้นำออกเสียทั้งหมดนั้น ก็เพราะสิ่งเหล่านั้น เป็นจำพวกหมายถึง สังขตะธรรม ส่วนนาคที่ขุดพบนั้น หมายถึง อสังขตะธรรม เป็นแก้วประเสริฐ คือ แก้วมโนมัย เป็นจิตเดิม เป็นพุทโธ เป็นอมตะธรรม ไม่เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีการไปการมาการจุติ เป็นสิ่งประเสริฐเหนือโลก นาคที่พบในวาระสุดท้าย ท่านจึงบอกให้นอบน้อมบูชา ผู้เข้าถึงนาคแล้ว กิจทุกอย่างก็สุดลง ฯ

อุบายสู่ฝั่งโน้น

   อุบายสู่ฝั่งโน้น ก็คือ วิธีทำจิตทำใจ ที่เรียกว่าสมาธิ แต่การทำสมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิไม่ต้องทำอารมณ์ ไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆทั้งนั้น แต่มีการทำในใจ คือ ทำในใจ คลายอารมณ์ เป็นการตรงกันข้ามกับการทำอารมณ์ ความหมายของการทำสมาธิแบบนี้ ก็คือ ทำให้จิตสงบ ว่างจากอารมณ์ที่นึกที่คิด และสิ่งที่เกาะที่ถือทั้งปวง ให้จิตเป็นเสมือนอากาศว่าง ไม่มีอะไรเลย แต่ไม่ใช่ไปเพ่งอากาศว่างเปล่า หรือไปนึกถึงอากาศว่างเปล่า มันว่างเปล่า……..”มันว่างเปล่า เพราะจิตสงบ ปล่อยวางอารมณ์ต่างหาก”

   สมาธิแบบนี้ มีทั้งคลายออกและน้อมเข้าพร้อมกันไป …..คลายออก ก็คือ คลายอารมณ์นึกคิด และสิ่งที่เกาะที่ถือนั่นเองออก………น้อมเข้า ก็คือ เขยิบจิตเข้าสู่ความสงบ เมื่อคลายออก หรือ สลัดอารมณ์ออกทิ้งไปแล้ว จิตก็ว่างได้ ความวกวุ่นเร่าร้อนและมืดมน ก็จะหายไป ความหนักและความทุกข์ก็จะหายไป…… ขณะที่จิตว่างนี้ เราต้อง”มีสติ” และ “ความรู้ตัว”อยู่ด้วย ตราบใดจิตของเรา ยังไม่เป็นตัวของตัวเองได้ ตราบนั้น เราก็ยังจะต้องมีการคืบคลานเข้าและนำออกอยู่อีก จนกว่าจะสุดทาง ล่วงทาง คือ จิตของเรา เป็นตัวของตัวเองได้…….
สุดทาง หรือไม่สุดทาง เราจะรู้ได้เอง ไม่ต่างอะไรกับที่เราตัดทอนต้นไม้ออก ทีแรกก็ตัดทอนกิ่งใบ แล้วก็มาลำต้น แล้วก็มาตอและราก จะไปสุดลงที่รากนั่นแล จิต เป็นตัวของตัวเอง ย่อมไม่ต้องตั้งอยู่กับอะไรๆ เป็นจิตล่วงพ้นหรือล่วงแดน เป็นอยู่เองได้ ไม่อาศัยอะไรๆอยู่ ไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน สงบสงัดว่างเปล่า ผ่องใสดั่งน้ำในภาชนะ ปราศจากตะกอน เปือกตม หรือเหมือนผ้าขาว อันซักด้วยน้ำสะอาดดีแล้ว หรือเหมือนแก้ว อันช่างเจียรไนดีแล้ว มีความแจ่มใสเต็มเปี่ยม ไม่ใช่หลับหรือเคลิบเคลิ้มหลงลืม ฯ


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

ออฟไลน์ ทวีศักดิ์

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 166
  • ศิษย์บางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 07:57:22 »
อนุโมทนา ครับท่าน  :001: :054: :002:
จงยิ้มสู้ จงอยู่อย่างยิ้มสู้กับสิ่งที่ลำบาก

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 08:04:15 »
สมาธิไม่ต้องทำอารมณ์แต่มีทำในใจ

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอ แลการที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่ถึงมีความสำคัญ………
ในธาตุดิน ว่าเป็นธาตุดิน…………….เป็นอารมณ์
ในธาตุน้ำ ในธาตุไฟ ในธาตุลม………เป็นอารมณ์
ในอากาสานัญจายตนะ………………เป็นอารมณ์
ในวิญญานัญจายตนะ………………..เป็นอารมณ์
ในอากิญจัญญายตนะ………………..เป็นอารมณ์
ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ……….เป็นอารมณ์
ในโลกนี้ ในโลกหน้า เป็นอารมณ์ ฯ
ไม่พึงมีความสำคัญ………..
ในรูป ที่ได้เห็น…………………………เป็นอารมณ์
เสียง ที่ได้ยิน ………………………….เป็นอารมณ์
กลิ่น ที่ได้ทราบ………………………..เป็นอารมณ์
รส ที่รู้แจ้ง……………………………..เป็นอารมณ์
โผฏฐัพพะ ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ที่ใจตรองตามแล้ว…….เป็นอารมณ์
ก็แต่ว่าถึง เป็นผู้มีสัญญาหมายรู้…………
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่แจ่มแจ้งในเนื้อความนี้ ขอพระองค์ จงประทานวโรกาส แสดงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ แก่พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับแล้ว จะทรงจำไว้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงจำใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธพจน์ว่า พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า…….
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่พึงมีความสำคัญ……….

ในธาตุดิน ในธาตุน้ำ ในธาตุไฟ ในธาตุลม………….
ในอากาสานัญจายตนะ
ในวิญญานัญจายตนะ
ในอากิญจัญญายตนะ
ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ
ในโลกนี้ ในโลกหน้า………เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญ………..
ในรูป ที่ได้เห็น
เสียง ที่ได้ยิน
กลิ่น ที่ได้ทราบ
รส ที่รู้แจ้ง
โผฏฐัพพะ ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ที่ใจตรองตามแล้ว……เป็นอารมณ์
ก็แต่ว่าถึง เป็นผู้มีสัญญา…….. หมายรู้ คือ ทำใจหมายรู้อย่างนี้ ว่า…………

(บาลี) เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง, ยะทิทัง สัพพะสังขาระ มะมะโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค,ตัณหักขะโย,วิราโค,นิโรโธ นิพพานัง. ฯ

ธรรมชาตินั่นสงบละเอียด ฯ ธรรมชาตินั่นประณีตยอดเยี่ยม ฯ
คือ ความสงบจากอารมณ์นึกอารมณ์คิดทั้งหลาย ฯ
และ ความสละคืนสิ่งทั้งปวงที่เกาะที่ถือ ฯ
ความวกวนเร่าร้อนทั้งหลาย ย่อมหายไป ฯ
ย่อมมีความผ่องใสไพบูลย์ สะอาดสะอ้านเกิดขึ้น ฯ
ย่อมเป็นสุขแท้ เพราะสังขารทั้งหลายดับสนิท ฯ

นี่แหละ ฝั่งอมตะนิพพาน ที่ล่วงพ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวง ฯ

(บาลี) เอตัง สันตัง,เอตัง ปะณีตัง ฯ
ยะทิทัง สัพพะสังขาระสะมะโถ ฯ
สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ฯ
ตัณหักขะโย ฯ
วิราโค ฯ
นิโรโธ ฯ
นิพพานัง ฯ

เนื้อความ หรือ ข้อความการปฏิบัติตามแนวพระสูตรนี้ ก็คือ การกระทำภายในใจหมายหา คือ โน้มใจหันเข้าหาความสงบอารมณ์ พร้อมทั้งมีการปล่อยอารมณ์ออกคู่กันไป เพื่อให้จิตเข้าถึงความเป็นจิตเดิม หรือเป็นตัวของตัวเอง ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฯ

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 30 มิ.ย. 2554, 08:20:12 »
คำถามคำตอบ
พระคุณเจ้าหลวงพ่อดาบส สุมโน

(ถาม)1.สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?

(ตอบ)1. เป็นสมาธิได้ ได้ดังนี้……..ขั้นต้น น้อมใจหมายเข้าหาธรรม ที่สงบละเอียดประณีต การน้อมใจ หมายถึง โน้มใจนี้นี่แหละ เป็นตัวสมาธิชี้ชัดอยู่แล้ว จะว่าใจเคลื่อนเข้าหาความสงบความละเอียดและความประณีต หรือมีทุกข์มีสังขารเป็นที่สิ้นไปก็ใช่ การโน้มใจถึงหรือโน้มใจหาธรรมชาติ ที่สงบละเอียดประณีตนี้นี่เอง อารมณ์อื่นๆ คือ อารมณ์นึก อารมณ์คิด ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เหมือนถูกตัดตอน ย่อมสงบไปเอง นอกจากอารมณ์ต่างๆที่กล่าวมานี้สงบไปเองแล้ว ความยึดถือเกาะกำ ที่เป็นเสมือนรากยึด อันลึกเข้าไปที่มีอยู่ ก็จะถูกถอนออกตามไปด้วย เพราะการน้อมเข้านำออก มีทั้งส่วนต้นและส่วนลึก ที่ยึด คือ เกาะกำ ชื่อว่าเป็นส่วนลึก อารมณ์นึกคิด ชื่อว่าส่วนตื้น

สมาธิแบบนี้ แม้ไม่มีอารมณ์ภาวนา ไม่ต้องทำอารมณ์ แต่ก็เหมือนมี เหมือนทำ เพราะมีการกระทำภายในใจแทน และความหมายก็ไปอีกอย่างหนึ่ง
การทำสมาธิทั่วไปส่วนมาก เปรียบเหมือนการทำการผูกมัดวัวควาย ให้อยู่กับหลัก แต่แบบนี้จะเหมือนการทำการ ปลดปล่อยวัวควาย ที่ถูกผูกมัดอยู่กับหลัก ให้ออกจากหลักไป พร้อมทั้งถอนหลัก ที่เป็นหลักผูกล่ามทิ้ง เลิกสิทธิ์เป็นเจ้าของวัวควายต่อไป
ผู้ผูกมัด ก็คือ การทำ ผู้ปลดปล่อย ก็คือ การทำ เป็นผู้ทำเหมือนกัน แต่ทำกันไปคนละแบบ คนละความหมาย
เมื่อทำการปลดปล่อยอารมณ์ จิตว่างใจว่าง หรือ อารมณ์สงบ ใจผ่องใสดังแก้วมณีไม่มีรอยแล้ว อะไรเล่าที่เป็นของหยาบ จะเข้ามาจับต้องหรือปลิวมาติดมาค้างได้
ถ้าจะมีการย้อนถามอีกว่า การทำสมาธิแบบนี้ เปรียบเหมือน ทำการปลดปล่อยวัวควายที่ผูกมัดไว้แล้ว ในที่นี้ก็หมายถึง วัวควายที่ถูกผูกมัดไว้แล้วนั่นเอง วัวควายก็หมายถึงจิต ที่ไปแล้วในอารมณ์ ต่างมีรูปอารมณ์ เป็นต้น อันรู้ได้ยาก เห็นได้ยาก แต่จิตจริงๆแล้ว ไม่ได้ไปอย่างนั้น นั่นมันเป็นเพียงอารมณ์จิต ที่กระจายออกไป เราก็รู้ว่า ต้นตอจิต ที่แท้มันอยู่ภายในนี่เอง ตัวที่อยู่ภายในนี้ มันถูกมัดถูกล่ามอยู่แล้ว คือ ไปมัดติดกับอารมณ์ต่างๆ หย่อนยานบ้าง เคร่งเครียดบ้าง เราเมื่อมารู้ว่า จิตนี้มันถูกมัดถูกผูกล่าม อยู่กับอารมณ์ อยู่ตลอดเวลามาแล้ว เราก็ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดอีก เพราะฉะนั้น การทำสมาธิในแบบนี้ จึงตัดปล่อยทั้งต้นแล้วทั้งปลายไปทั้งหมดเลย ทำไม่ให้มีที่ภายในทั้งภายนอก ทั้งต้นทั้งปลาย
สมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิย่อและรวบยอด เป็นองค์มรรค 8 หรือ ทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อม ที่ตั้งไม่มี ภพก็ขาดไป ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ก็ขาดไป ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงขาดไป เพราะจิตสงบจากสังขาร ข้ามพ้นล่วงแดน ฯ


(ถาม)2. จิตที่คลายอารมณ์ สละวางทุกสิ่ง ไม่เกาะอะไรแล้ว จิตจะยังมีรู้อะไรอยู่บ้างหรือไม่?

(ตอบ)2. ถ้าเข้านิโรธสมาบัติในขั้นสุด ความเสวยอารมณ์ไม่มี เพราะสัญญาความจำดับ แต่ถ้าไม่เข้านิโรธสมาบัติดังกล่าว ยังคงมีความรู้อยู่ แต่อยู่ในห้วงแห่งความสงบ เหนือความนึกคิด และรู้นี้จะอยู่กับความรู้เดิม และเป็นที่รู้ ที่รู้ทั่วพร้อม เป็นรู้เต็มเปี่ยมหรือเต็มรอบ เป็นรู้มีในทุกขุมขน ถ้าจะเปรียบก็เหมือนน้ำมีอยู่เต็มในสระใหญ่ ทั้งซึมซาบไปตามบริเวณรอบๆด้วยฉะนั้น ฯ

(ถาม)3. จิต ที่ไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีที่ตั้ง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร จิตจะอยู่ในแบบใด?

(ตอบ)3. จิต จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง เหมือนฟ้า ไม่ต้องอาศัยแผ่นดิน หรือดวงดาวอะไรๆทั้งนั้น แต่จะพูดว่าอาศัยธรรมนั้นก็ได้อยู่
จะเปรียบให้ฟังง่าย ทารกน้อยแรกเกิดมา ไม่อาจนั่งยืนเดินได้ เอาเพียงจะพลิกคว่ำพลิกหงายในที่นอนอยู่ ก็ทั้งยาก หมายความว่า เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ซิ นั่งนอนยืนเดินหรือจะทำอะไร ก็ย่อมทำได้ คือหมายความว่า เป็นตัวของตัวเองได้ อุปมาเปรียบนี้ก็ฉันนั้น


(ถาม)4. พุทโธ พุทธบริษัท มีพุทธรัตนะเป็นที่พึ่ง เป็นต้น เริ่มต้นเราก็นึกถึงพุทโธ เป็นอารมณ์ แม้ทำสมาธิภาวนา เราก็นึกถึงพุทโธเหมือนกัน แต่การทำสมาธิภาวนา แบบสงบจิตปล่อยวางคลายอารมณ์นี้ บอกว่าไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆ แม้คำว่าพุทโธ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะเอาอะไรมาเป็นที่หน่วงเหนี่ยวพึ่งพา มิเป็นการห่างไกลไปจากพุทโธหรือ?

(ตอบ)4. พุทโธ เป็นรัตนะอันประเสริฐ หาได้ยาก แม้เพียงพระนาม ก็หาได้ยินได้ยาก พุทโธ เป็นยิ่งกว่าแก้วทั้งหลายในโลก ผู้มีพุทโธ ย่อมไม่ไปอบาย ผู้ถึงพุทโธ ทุกข์ย่อมดับ การที่เราถึงพุทโธ นั้นก็ดีแล้ว แต่เรายังไม่ได้เข้าถึงพุทโธ การรู้เพียงพระนาม หรือเรียกพระนามถูก จะเป็นผู้เข้าถึงหามิได้ เรารู้กันหรือไม่ว่า พุทโธ นั้น ท่านเป็นอรหันต์ ไกลจากกิเลสแล้ว เป็นผู้ไปถึงฝั่งโลกุตรแล้ว ไปอยู่ฝั่งโน้นแล้ว
พระองค์ตรัสว่า…… โย ธัมมัง ปัสสะติ โส มังปัสสะติ…….ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดถึงธรรม ผู้นั้นถึงเรา………
ธรรม ณ ที่นี้ ไม่ใช่ธรรมที่เกิดที่ดับ ตามที่คนส่วนมากเข้าใจกัน ธรรม ณ ที่นี้ ก็คือ อมตะนิพพาน อันเป็นธรรมชาติสงบละเอียดประณีตยอดเยี่ยม ปัจจัยตกแต่งไม่ได้ เป็นอสังขตะธรรม

ในเมื่อเราอยากพ้นทุกข์ อยากถึงพุทโธ อยากเห็นพุทโธ อยากมีพุทโธ เป็นที่พึ่ง แต่เราอยู่ฝั่งนี้ พุทโธ อยู่ฝั่งโน้น ร้องหาพุทโธ หรือฝั่งโน้นให้มาหาเรา มารับเรา พุทโธ หรือฝั่งโน้น คงไม่มาหาเราแน่ หากจะมีบ้างก็เพียงฉายแสงวู่ๆวามๆ มาหาเรา เพื่อแสดงให้เรารู้ว่า พระองค์ท่านคอยเราอยู่ฝั่งโน้นแล้ว หากเรายังโง่ ไม่รีบติดตามข้ามฟากไป พุทโธ ก็คงช่วยอะไรเราไม่ได้……

การที่เราบางคน นั่งสมาธิภาวนาว่า พุทโธ หรือ นึกถึงพุทโธ ไปเรื่อยๆจนติด เราเหน็ดเหนื่อยงวยงง เฉยไปชั่วครู่บ้าง ว่างเปล่าไปบ้างเราก็เกิดมีความเบาสบายขึ้นมาเอง นี่ก็เหมือนกับว่า พุทโธร้องตอบร้องเรียกเรา ให้เราข้ามฟากไปสู่ฝั่งโน้น เพื่อจะได้เห็นพระองค์ถึงพระองค์
ตราบใด เราไม่ลงมือสละปล่อยคลายวาง หากเอาแต่เรียกร้องให้มากยิ่งขึ้นๆ จนเกินกว่าเหตุ ก็ซ้ำจะยิ่งเป็นการห่างไกลไปจากพุทโธหนักขึ้น การกล่าวว่าพุทโธ หรือ การนึกพุทโธ เป็นการปรุงสังขาร เมื่อใครมามัวปรุงสังขารอยู่ ก็จะถึงอมตะนิพพานไม่ได้ ผู้จะรู้จักอมตะนิพพาน ก็ต้องสงบสังขาร ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ……สังขารานัง ขะยังญัตตะวา อะกะตัญญู สิ พราหมะณะ…….ท่านรู้จักความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว จะเป็นผู้รู้จักอมตะนิพพาน ที่ปัจจัยทำไม่ได้นะพราหมณ์ ฯ

ก็เป็นอันว่า การจะถึงพุทโธ หรือเห็นพระพุทโธ ณ ที่นี้ ก็ด้วยการสงบสังขาร ปล่อยวางสงบเมื่อใด ปล่อยเมื่อใด ก็ย่อมจะถึงหรือเห็นพุทโธเมื่อนั้น และก็ไม่ต้องสงสัยหรอกว่า การปล่อยการวาง จะเป็นการเดินทางผิด เพราะทางถึงทางพ้นทุกข์ มีทางเดียว ทางอื่นไม่มี ยิ่งปล่อยวางได้ยาก ก็ยิ่งใกล้พุทโธมาก ยิ่งนึกคิดมากยึดถือมาก ก็ยิ่งไกลพุทโธออกไป ปล่อยได้รอบก็เหมือนจันทร์เต็มดวง
จิตที่ปล่อยวาง ว่างสงบแล้วนี้นี่แหละ เป็นแก้วผุดผ่องวิเศษ คือแก้วพุทธรัตน์ แก้วธัมรัตน์ แก้วสังฆรัตน์ ไม่มีแก้วใดในโลกจะยิ่งไปกว่านี้แล้ว ฯ


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 01 ก.ค. 2554, 08:22:27 »
(ถาม)5. เราไม่เคยเห็นเคยพบสิ่งนั้นแล้ว จะนึกถึงสิ่งนั้นได้อย่างไร?

(ตอบ)5. สิ่งนั้นในที่นี้ ก็คือ อมตะนิพพาน ธรรมชาติที่สงบละเอียด ที่ประณีตยอดเยี่ยม หรือที่เรียกว่าฝั่งโน้น จริงอยู่ เราไม่เคยเห็นเคยพบมาก่อนเลย แต่เราก็พอจะรู้ได้ โดยนัย เพราะธรรมดา มีให้เทียบให้รู้อยู่ตลอดกาล เช่น หนาวร้อน หนักเบา หยาบละเอียด สุขทุกข์ ดีเลว เราก็เทียบได้
ความสงบระงับเป็นอย่างไร เราไม่รู้ เราก็ย้อนดูสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ ดูที่ความนึก ความคิด ดูที่ความเกาะ ความถือ ก็สิ่งที่ตรงกันข้ามนั้นอย่างไรเล่า ก็ต้องไม่ใช่นึกใช่คิดใช่เกาะใช่ถือ ความนึกความคิดเป็นทุกข์ ความเกาะความถือเป็นทุกข์ ที่ไม่นึกไม่คิดไม่เกาะไม่ถือ ก็ต้องเป็น อมตะ นิพพาน เป็นฝั่งโน้น เป็นที่ล่วงทุกข์ล่วงแดนเป็นสุข
เพราะฉะนั้น อมตะนิพพาน ที่เราไม่เคยเห็นเคยพบมาก่อน ก็พึงนึกเทียบเคียงแล้วทำภายในใจ ให้ถึงให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเราปล่อยวางไป มันก็ไม่ได้ไปไหนได้ และเส้นทางปฏิบัตินี้ ก็เหมือนกันว่ามีเครื่องหมายชี้บอกอยู่ตลอดทาง และสุดทางไม่สุดทาง ผู้ปฏิบัติจะรู้ด้วยตัวเอง เหมือนตัดท่อนไม้ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

(ถาม)6. ผู้อยู่กับบ้านกับเรือน ไม่ได้โกนหัว นุ่งห่ม ผ้าย้อมฝาดอยู่กับวัด จะปฏิบัติสมาธิแบบนี้ได้หรือไม่?

(ตอบ)6. ได้ จะเป็นสมาธิแบบนี้หรือแบบอื่น ก็ได้ทั้งนั้น ทุกคนมีสิทธิ์จะได้จะถึง ไม่เลือกเพศเลือกชั้น ส่วนจะไดจะถึงมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับตัวเอง ฯ

(ถาม)7. การทำสมาธิแบบนี้ เราจะเริ่มต้นที่ไหนหรือทำอย่างไร?

(ตอบ)7. เริ่มต้นที่ใจเรานี่แหละทันที ไม่ต้องรอเวลาหรือมีพิธีอะไร จะอยู่ป่า อยู่โคนไม้ ศาลาว่าง กุฏิ นั่งนอนหรือเดิน แม้ไปในยามหลับตาทำหรือลืมตาทำก็ได้ ขอแต่ว่าปลอดภัยและไม่มีโทษ และมีความจริงใจที่จะทำ ฯ


(ถาม)8. ถ้าทำจิตให้สงบว่างจากอารมณ์นึกคิดไม่ได้ ตามแบบข้างต้น จะมีวิธีใดบ้างที่เป็นมูลฐาน ช่วยให้จิตสงบมีความว่างแจ่มใสได้?

(ตอบ)8. มีเหมือนกัน คือ ให้นึกถึงรูปร่างดอกดวง สีแสงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นอารมณ์ หยุดอยู่ในที่หนึ่งเสียก่อน จิตรวมตัวหยุดอยู่ที่หนึ่งนี้ จะเรียกว่า นิมิตก็ใช่ เมื่อจิตรวมกันเป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว แล้วเราก็เบนจิตออกจากอารมณ์หนึ่งนั้น โน้มเข้าหาความว่าง ความสงบทั่วรอบ ที่เรียกว่า โน้มเข้าหาฝั่งเพื่อขึ้นฝั่ง
ที่ว่า ให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงนั้น เป็นต้นว่า ดูส่วนอันใดอันหนึ่ง ในร่างกายเราท่านหรือศพ หรือวัตถุขาวเขียวแดงอะไรก็ได้ แต่อย่าลืมว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีย่อตัดตรง
อีกนัยหนึ่ง จะนึกถึงรูปร่างอัตภาพสังขาร ทั้งหลายภายนอกภายใน ว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไป ไม่มีส่วนเหลือ จิตก็เข้าสู่ความสงบว่างเปล่า ล่วงสังขารทั้งหลายไป เข้าถึงฝั่งพ้นทุกข์ อันเป็นฝั่งพ้นทุกข์ที่เดียวกันนั่นเอง หลักในยอดธรรมยอดคาถาตอนท้ายก็แสดงไว้อย่างนี้…….

(ถาม)9. ผู้อยู่ครองเรือน จะถึงอมตะนิพพานได้หรือไม่?

(ตอบ)9. ผู้อยู่ครองเรือน แต่ไม่ยึดถือเรือน ก็ถึงอมตะนิพพานได้ แต่คำว่าอยู่ครองเรือน อาจแยกออกเป็น 2 คือ ปุถุชนและตั้งแต่โสดาบันบุคคลถึงสกิทาคามีบุคคล ชื่อว่าผู้ยังมีเรือน อนาคามีบุคคลกับอรหันตบุคคล ชื่อว่าผู้ไม่มีเรือน ผู้ไม่มีเรือน อาจอยู่ในสถานที่มุง ที่บังเหมือนชาวบ้านผู้มีเรือนก็ได้ และอยู่ในเพศที่มีผมยาวนุ่งห่มเหมือนชาวบ้านก็ได้ ฯ

……………………………….

ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=334451&Ntype=4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ค. 2554, 08:23:36 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 01 ก.ค. 2554, 07:50:39 »
แบบทำสมาธิดับทุกข์ 36; 36;
                                                       
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความดีมากๆมาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
   
ติดตามอยู่ครับ อ่านแล้วเพลินดีมากๆครับ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณครับผม) :033: :033:
   
 

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ nsp8428

  • ก็หมวยนี่คะ
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 193
  • เพศ: หญิง
  • ชีวิตก้าวไปข้างหน้า วันเวลาไม่เดินถอยหลัง
    • ดูรายละเอียด
    • www.nsp8428@hotmail.com
    • อีเมล
ตอบ: แบบทำสมาธิดับทุกข์ ตอนที่ ๒
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 03 ก.ค. 2554, 04:33:31 »


         ขอบคุณมากค่ะ สำหรับสาระดีๆมีประโยชน์