ผู้เขียน หัวข้อ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า  (อ่าน 14718 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
อ้างถึงคำสอนของท่านพระอาจารย์และข้อความที่ท่านเคยเขียนไว้ดังนี้

ในหัวข้อ    สภาวะธรรม...ปิติ...
:054:"ปิติ" เป็นสมมุติบัญญัติที่ให้ความจำกัดความของสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะเจริญภาวนา  อาการปิตินั้นคือการปรับธาตุในตัวเราให้มีความเหมาะสมกับสภาวะจิตที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งจะปรากฏออกมาได้มากมายหลายอย่าง หลายประการ แต่จะสรุปเป็นหัวข้อใหญ่จำกัดไว้ได้ 5 ประการ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ ซึ่งอาการของปิตินั้น ที่แสดงอกมาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับธาตุในกายและจิตในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร จึงไม่เป็นไปเหมือนกันในแต่ละครั้งและแต่ละคน ปิติคือการเริ่มต้นที่จะเข้าสู่ความสงบ
 :059:ถ้าอยากจะศึกษาเรื่องอารมณ์ของปิติให้ละเอียดเราต้องไปศึกษาแนวการปฏิบัติของพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)คือการปฏิบัติแบบปิติ5
ซึ่งสมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านเคยปฏิบัติกันมา ก่อนที่จะหันมาภาวนา"พุทโธ"ในสมัยหลวงปู่มั่น และอานาปานุสติในสมัยหลวงพ่อพุทธทาส
ซึ่งแนวปฏิบัติกรรมฐานปิติ5นั้นจะแสดงอย่างละเอียดเรื่องอาการของปิติทั้งหลาย(ฝากไว้เป็นข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการแสวงหาความรู้)

 :054:อาการที่เรารู้สึกคล้ายกับกายเราโยกคลอนนั้นเกิดจากธาตุลมในกายของเรากำลังปรับให้มีความพอดี และจิตของเราในขณะนั้นเข้าไปจับอยู่กับลมในกาย คือการหายใจของเรา และเรากำลังรวมจิตเราเข้ากับลม ซึ่งสภาวะของธาตุลมนั้นมันพัดไหวเคลื่อนที่ไปตลอดเวลา มันจึงทำให้เรารู้สึกคล้ายว่า ร่างกายของเรากำลังโยกคลอน เอนไปเอนมา ทั้งที่กายของเรายังตั้งตรงอยู่ตามปกติ (อาจจะมีอาการก้มหน้าลงและเงยหน้าขึ้นบ้างในบางครั้ง)ถ้าเราไปตามลมทีหายใจเข้าและหายใจออก
 :059:เราอย่าไปกังวลใจว่าใครจะคิดอย่างไรในการปฏิบัติของเรา ขอให้เรามีสติระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไร และสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร
รู้เท่าทันอารมณ์ ไม่หลงไปในอารมณ์ที่เกิดขึ้น(ไปยินดีและพอใจอยากจะให้มันเกิดขึ้นอีก) ไม่ไปยึดติดในอารมณ์เหล่านั้น เพราะทุกอย่างตั้งอยู่ในพระไตรลักษณ์"เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"อารมณ์ปิติเหล่านั้นไม่เที่ยงแท้ ถ้าเข้าไปยึดถือก็เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้เพราะแปรเปลี่ยนไปตามเหตุและปัจจัย "จังหวะ เวลา โอกาศ สถานที่ และบุคคล" จงฝึกฝนปฏิบัติต่อไปอย่าหวั่นไหวและย่อท้อ และขอให้ความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายผู้ใฝ่ธรรม...
 :059:เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ไมตรีจิต-แด่มิตรผู้ใฝ่ธรรม :059:
                          รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๒๖ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย

ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=10614.0
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 09:04:40 »
ค้นข้อมูลในเวปบางพระแล้ว มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมครับ

สวยดีครับ
ปู่ฤาษีนารอดท่านจะมีบาตรตั้งไว้ข้างหน้าท่านเสมอครับ
เพราะท่านเป็นหมอยาและท่านรดน้ำมนต์ครับ
นารทก็ชื่อภาษาอืนเดียว่า นาโรดะปรากฎอยู่ทั้งในคำภีร์ ภควาตะปุรานะ และ รามยานะ เหาะในอากาสได้ (ซึ่งเป็นผลของการเข้าอรูปฌานและปิติ5 - เป็นผู้ประดิษฐ์ เครื่องบรรเลงซึ่งเรียกว่า พิณ (ภาษาฮินดูว่า Vina) ดนตรีที่ท่านได้แต่งก็ใช้ควบกับการท่องคาถาอาคม และสวดบทสรรเสริญเทพเทวา วึ่ง ส่วนใหญ่ ท่านก็จะอุทิศให้พระนารายณ์นะครับ. พระฤาษีนารท ก็เชี่ยวชานในการบัญญัติกฏหมายอีกด้วยนะครับ
นักเล่นดนตรีและศิลปินร้องเพลงแต่งเพลงก็นับถืบูชาพระนารอทกันเป็นครูบาอาจารย์ พระนารท ก็มีชื่ออื่น ว่า มานัสบุตร Manasabutra (โทษทีว่า อาตมาไม่ทราบว่าสะกดตัวอย่างไรเป็นภาาาไทยครับ)
เป็นฤาษีชั้นเทพ (เทวฤษี), เรียกว่า "มหาฌาน"


นี้ก็พระนารทตัวจริงของพราหมร์ฮินดูครับผม
อย่าลืมว่า ศาสนาพราหมร์กับพุทธก็ไม่ไช่สิ่งเดี่ยวกันครับ พระพุทธศาสนาไทยก็ชอบเอาของพราหมณื (เทพนิยม) มาแทรกในศาสนาพุทธ เป็นการบูชาเทพทีต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นสรณะ ที่แท้จริงก็ไม่ใช่นะครับ แตพระพุทธองค์ก็ไม่ได้ห้ามนะครับ การบูชาพวกพระฤษีก็คือการบูชาคนที่ตายแล้วนัครับ อันว่า บุคคลก็คือสังขาร ซึ่งเป็น อนิจจัง (ทุกขัง และ อนัตตา) นะคับ
อีกอย่างนึงก็คือ การบูขาวิญญานผีนะครับ คนที่บูชาครูที่เราไม่ได้ทราบจริงว่า ท่านคือใครจริง ก็มีอันตรายที่ว่า อาจคิดว่าพวกท่านก็คุ้มครองเราในระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ แต่พอเราก็ตายแล้วดับสังขารก็อาจตกเป็นบ่าวทาสเค้า ก็เป็นไปได้นะครับ
ขอใช้สามาญสำนึก และวิจารณญานในการเลือกสิ่งที่เราจะนิยมบูชาและรับใช้นะคับ
ขอให้ชาวพุทธอย่าลืมกันว่า สิ่งที่ได้มีเป็นที่พึ่งที่ถาวรและจะพาเราไปสวรรค์ ก็คือ พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ บวกการพระพฤติตัวในศีลปฏิบัติธรรมนะครับ
สัตว์ที่ได้บำเพญตบะฌานสมาบัติได้ฤทธิ์ก็ไม่จำเป็นว่าเป็นคนอยู่ในศีล ว่าฌานก็มาจาก จิตวิสุทธิ์มากกว่าศีลวิสุทธิ ก็ยังโกรธลงมือทำปาบแล้วตกนรกได้นะครับ
แต่ว่า การประพฤติพรหมมจรรย์ก็พาไปแต่สวรรค์นะคับ
ฤทธ์สามารถเกิดได้กับนักปฏิบัติทังสองฝ่ายได้ แต่การเล่นของอย่างไม่มีการถือศีลก็ไปนรกได้ง่ายนะครับ ต้องมีความบริสุทธิ์ในการปฏิบัติธรรม ถึงจะเป็นการบูขาครูที่พาไปสวรรค์ได้อย่างแน่นอนครับ
ขออัภัยในการวิเคราะวิจารย์ด้วยนะคับ ว่า ตัวอาตมาได้ศึกษาเรื่องนี้เป็นอย่างมากแล้วก็ห่วงเกี่ยวกะเรื่องนี้ ว่าสาธุชนก็ชอบบูชาเหล่าเทพโดยไม่สืบสานก่อนว่า ท่านครูคนนั้น ก็คือใคร .. ที่มา ฯฯ
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=9065.msg84616

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 09:09:39 »
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[226] ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)
       1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)
       2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)
       3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)
       4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)
       5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)

Vism.143   วิสุทฺธิ. 1/182.

ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=226

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 09:15:30 »
พระกรรมฐาน 40-พระปีติทั้ง 5-พระวิปัสสนาญาณ 9

กรรมฐาน-ที่ตั้งแห่งการงาน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ อุบายทางใจ วิธีฝึกอบรมจิต มี 2 ประเภท คือ 1)สมถกรรมฐาน-อุบายสงบใจ 2)วิปัสสนากรรมฐาน-อุบายเรืองปัญญา.....

กรรมฐาน 40-คือ กสิณ 10-อสุภะ 10-อนุสสติ 10-พรหมวิหาร 4-อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1-จตุธาตุววัตถาน 1-อรูป 4....

ปีติ 5-ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำในใจ ได้แก่ 1)ขุททกาปีติ-ปีติเล็กน้อยพอขนชัน น้ำตาไหล 2)ขณิกาปีติ-ปีติชั่วขณะ รู้สึกแปลบๆดุจฟ้าแลบ 3)โอกกันติกาปีติ-ปีติเป็นระลอก รู้สึกซู่ลงมาๆดุจคลื่นซัดฝั่ง 4)อุพเพคาปีติ-ปีติโลดลอย ให้ใจฟู ตัวเบาหรืออุทานออกมา 5)ผรณาปีติ-ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์กาย ซึ่งเป็นของประกอบกับสมาธิ

ญาณ-ความรู้ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้

ฌาน-การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

วิปัสสนาญาณ 9-ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา มี 9 อย่าง คือ 1)อุททัพพยานุปัสสนาญาณ-ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป 2)ภังคานุปัสสนาญาณ-ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา 3)ภยตูปัฏฐานญาณ-ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว 4)อาทีนวานุปัสสนาญาณ-ญาณคำนึงเห็นโทษ 5)นิพพิทานุปัสสนาญาณ-ญาณคำนึงเห็นความหน่าย 6)มุจจิตุกัมยตาญาณ-ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย 7)ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ-ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง 8)สังขารุเปกขาญาณ-ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร 9)สัจจานุโลมิกญาณ-ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ 4...

ที่มา
http://www.buddhapoem.com/index.php?

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 14 ก.ค. 2554, 09:57:21 »
ปีติ    5

1.    ขุททกาปิติ   มีลักษณะ   คือ


   1.1     เกิดอาการคล้ายหนังหัวพองและขนลุก  เป็นดังอาบน้ำในเวลาหนาว
   1.2     เกิดปรากฏเป็นดังเส้นผมดำละคายเพียงเล็กน้อย
   1.3    เกิดในหทัยวัตถุให้สั่นระรัวเป็นดั่งปั่นผลหมาก
   1.4    เกิดในกายเนื้อตัวหนักมึนตึงและเวียนอยู่

2.    ขณิกาปิติ   มีลักษณะ   คือ

   2.1    ให้ปรากฏในจักขุทวารเป็นดังฟ้าแลบและเป็นประกายดังตีเหล็กไฟ
   2.2    เกิดในกายทวารเป็นดังปลาซิวตอดในเวลาอาบน้ำ
   2.3    เกิดเนื้อเต้นและเอ็นกระดูก
   2.4    เกิดในกายให้ตัวร้อนทั่วไป
   2.5    เกิดแสบทั่วกาย  ให้กายแข็งอยู่
   2.6    เกิดเป็นดั่งแมลงเม่าไต่ตอมตามตัว
   2.7    เกิดในอกให้หัวใจและท้องร้อน
   2.8    เกิดในใจสั่นไหว
   2.9    เกิดในกายให้เห็นกายเป็นสีเหลือง   สีขาว  เป็นไฟไหม้   น้ำมันยางลามไปในน้ำ


3.     โอกกันติกาปิติ   มีลักษณะ   คือ

   3.1   กายไหวดังคลื่นกระทบฝั่ง
   3.2   เป็นดั่งน้ำกระเพื่อมเกิดเป็นฟองน้ำ
   3.3  เกิดเป็นดั่งขี่เรือข้ามน้ำมีระลอก
   3. 4  กายและใจเป็นดังไม้ปักไว้กลางสายน้ำไหล สั่นระรัวอยู่
   3.5   เป็นดังน้ำวน
   3.6   เป็นดังหัว   อก   ไหล่  และท้องน้อยหนัก  ผัดผันอยู่
   3.7   เกิดวาบขึ้นเป็นดังไฟลุก
   3.8   เกิดเป็นลมพัดขึ้นทั่วกาย

4.   อุพเพงคาปิติ   มีลักษณะ  คือ

   4.1   เกิดพองกายเนื้อตัวทั้งมวลหวั่นไหวอยู่
   4.2   เกิดเต้นเหยง ๆ ขึ้น  และลุกแล่นไป
   4.3   เกิดร้อนทั่วตัวและทั่วสันหลัง   ศรีษะ   สะเอว  และท้องน้อย
   4.4   เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั้งตัว   เป็นดังไอข้าวสุกร้อน
   4.5  เกิดปวดท้องและปวงน่องเป็นดังลงท้องเป็นบิด
   4.6  กายและเนื้อตัวเบาและสูงขึ้น
   4.7  หนักขาแข้ง   บั้นเอว  ศรีษะ   เป็นดังไข้จับ
   4.8  เกิดเป็นสมาธิหนัก  และเย็นอยู่


5.   ผรณาปิติ   มีลักษณะ   คือ

   5.1   เกิดในจักขุทวาร  ดูกายเนื้อตัวนั้นแผ่ไป  ดูใหญ่และสูงขึ้น
   5.2  เกิดแผ่ไปทั่วกาย  ให้ตัวเย็นเป็นดังลงแช่น้ำ
   5.3  กายยิบ ๆ แยบ ๆ  เป็นดังไรไต่
   5.4  เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจากกระบอก
   5.5  กายเบาเป็นดังนั่งและนอน อยู่เหนือสำลี
   5.6  กายหนาวสั่นตัวงอ   และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว
   5.7  กายอุ่นและไอขึ้น
   5.8  กายเย็นซาบซ่านทั่วตัว

ที่มา
http://www.navagaprom.com/oldsite/con1.php?con_id=408

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 15 ก.ค. 2554, 02:23:26 »
ธรรม   ๑๑   ประการ     ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติคือ

ระลึกถึงพระพุทธคุณ   ๑
ระลึกถึงพระธรรมคุณ   ๑
ระลึกถึงพระสังฆคุณ   ๑
ระลึกถึงศีล   ๑   
ระลึกถึงการบริจาค   ๑   
ระลึกถึงเทวดา  ๑   
ระลึกถึงคุณพระนิพพาน  ๑ 
ความหลีกเว้นคนเศร้าหมอง   ๑   
ความคบหาคนผ่องใส   ๑   
ความพิจารณาแห่งพระสูตรอันชวนให้เกิดความเลื่อมใส   ๑ 
ความน้อมใจไปในปีตินั้น  ๑.

ปีติที่ท่านจัดไว้ก็มีอยู่   5   ลักษณะคือ

1.   ขุททกาปีติ     ปีติเล็กน้อยพอขนลุกชัน – น้ำตาไหล
2.   ขณิกาปีติ       ปีติชั่วขณะรู้สึกเหมือนฟ้าแลบ
3.   โอกกันติกาปีติ    ปีติที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนระลอกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง
4.   อุพเพคาปีติ      ปีติโลดลอย    ที่ทำให้ร่างกายเบาหรือไม่สามารถที่จะเก็บเอาไว้ภายในได้ต้องเปล่งอุทานออกมา
5.   ผรณาปีติ     ปีติซาบซ่าน    เอิบอาบไปทั่วร่างกาย

ปีติก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบำเพ็ญเพื่อมรรค – ผล       
ทั้งในสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน    เมื่อทำเหตุในการเกิดขึ้นของปีติเป็นไปอย่างถูกต้อง
ปีติก็จะส่งผลสนัีบสนุนให้จิตใจเชื่อมั่นในธรรมขั้นสูงๆขึ้นไปเรื่อยๆ 
จนถึงการรู้เห็นอย่างชัดเจนในธรรมแต่ละขั้น    จิตก็สามารถปล่อยวางกิเลสตัณหาทั้งหลายได้     ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง

และปีติก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งโดยตรงของโพชฌงค์   
คือ  โพชฌงค์นี้   แปลว่า   องค์ประกอบแห่งการตรัสรู้มรรค - ผล

ที่มา
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=947.0

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 15 ก.ค. 2554, 05:02:42 »
อารมณ์ปิติเหล่านั้นไม่เที่ยงแท้ 36; 36;
                                           
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ :053: :053:
                                                                                                                       
ติดตามอยู่ครับ อ่านเพลินดีมากๆครับ และ ได้สาระความรู้มากๆครับผม :016: :015:
                                                                                                                                                                 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 15 ก.ค. 2554, 07:25:29 »
เมื่อคืนตอนตีสองครึ่งเกิดอาการคล้าย.....เช่นนี้

5.6  กายหนาวสั่นตัวงอ   และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว

จนต้องปิดแอร์(ตั้งแอร์ไว้ที่ 25 องศาซี)และห่มผ้านอน ไม่รู้ว่ามันใช่หรือมันเกี่ยวกันไหม
เป็นอาการที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ก.ค. 2554, 07:28:11 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ปีติ5...ปีติห้า....ปิติ5....ปิติห้า
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 15 ก.ค. 2554, 09:59:09 »
อารมณ์ของพระปีติ 5 และ พระยุคลธรรม 6

  อารมณ์ของพระปีติธรรม ๕ ประการ

 
๑.พระขุททกาปีติ ปิติเล็กน้อย สมาธิเล็กน้อย ขณิกสมาธ ขั้นที่ ๑
๒.พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ สมาธิชั่วขณะ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๒
๓.พระโอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ สมาธิเป็นพักๆ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๓
๔.พระอุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน สมาธิเต็มที่ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๔
๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน สมาธิแผ่ซ่าน ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๕[/color]

เข้าสับปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าสับปีติห้าเป็นปฏิโลม
     รวมตั้งที่นาภี             รวมตั้งที่นาภี

๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๓.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๓.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
๕.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๕.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๖.ผรณาปีติ (อากาศ) ๖.ขุททกาปีติ (ดิน)

 เข้าคืบพระปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าคืบพระปีติห้าเป็นปฏิโลม
          รวมตั้งที่นาภี            รวมตั้งที่นาภี

๑.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๓.ขุททกาปีติ (ดิน) ๓.ขุททกาปีติ (ดิน)
๔.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๔.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขณิกาปีติ (ไฟ)

เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นอนุโลม เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นปฏิโลม

๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๒.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขุททกาปีติ (ดิน)

             การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ออกวัด พระปีติห้า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำให้จิตชำนาญ แคล่วคล่อง เป็นวสี ในเบื้องต้น

อารมณ์ของพระยุคลธรรม ๖ ประการ

๑.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ กายสงบ จิตสงบ อุปจารสมาธิ สมาธิสงบ ขั้นที่ ๑
๒.กายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา อุปจารสมาธิ สมาธิเบา ขั้นที่ ๒
๓.กายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อุปจารสมาธิ สมาธิอ่อน ขั้นที่ ๓
๔.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน
    อุปจารสมาธิ สมาธิควรแก่การงาน ขั้นที่ ๔
๕.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายแคล่วคล่อง จิตแคล่วคล่อง
    อุปจารสมาธิ สมาธิแคล่วคล่อง ขั้นที่ ๕
๖.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา กายตรง จิตตรง อุปจารสมาธิ สมาธิตรง ขั้นที่ ๖

เข้าสับพระยุคลหกเป็นอนุโลม         เข้าสับพระยุคลหกเป็นปฏิโลม
รวมลงที่นาภี                                รวมลงที่นาภี

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๖.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๖.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๗.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๗.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๘.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๘.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

เข้าคืบยุคลหกเป็นอนุโลม                    เข้าคืบยุคลหกเป็นปฏิโลม
รวมลงที่นาภี                                    รวมลงที่นาภี

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม)
๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ) ๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๔.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๔.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ)
๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

เข้าวัดออกวัดสกดยุคลหก             เข้าวัดออกวัดสะกดยุคลหก
เป็นอนุโลม                                          เป็นปฏิโลม

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๒.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
๓.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๓.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๕.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๕.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

สุขสมาธิ ๒ ประการ

๑.กายสุข จิตสุข กายเป็นสุข(สบาย) จิตเป็นสุข(สบาย) อุปจารสมาธิขั้นประณีต    เป็นอุปจารฌาน หรือรูปเทียม ของปฐมฌาน
๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ อุปจารสมาธิเต็มขั้น เป็น อุปจารฌาน เต็มขั้น

          เข้าวัดออกวัด เข้าสะกดพระสุขพระพุทธา เข้าวัดออกวัดเข้าสะกดพระสุขพระพุทธาเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม

๑.พระกายสุข-จิตสุข ๑.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ
๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ ๒.พระกายสุขจิตสุข
           เมื่อปีติ ดำเนินไปถึงที่เต็มที่แล้ว ย่อมได้ความสงบแห่งจิตคือ ปัสสัทธิ เมื่อปัสสัทธิดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว ย่อมได้ ความสุข คือสุขสมาธิ สุขดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิคงที่
          อันห้องพระพุทธานุสสติ ขั้นแรกให้อาราธนาองค์พระกัมมัฏฐาน เอายัง พระลักษณะของ พระปีติ ๕ แต่ละองค์ พระยุคลธรรม๖ แต่ละองค์ พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์ เมื่อครบพระลักษณะกัมมัฏฐาน แล้วให้นั่งทวนอีกเที่ยวหนึ่ง เอายังพระรัศมี องค์พระปีติ ๕ แต่ละองค์ องค์พระยุคล ๖ แต่ละองค์ องค์พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์

          พระลักษณะ หรือ รูปนั้น เป็น บัญญัติ อาจ แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน นิมิตที่เกิดขึ้นอาจเป็นนิมิตลวง นิมิตหลอน นิมิตหลอก หรือนิมิตอันเกิดจากอุปาทานได้
          ฉะนั้นพระอาจารย์เจ้าแต่ปางก่อน ท่านให้อาราธนานั่งเอายัง พระรัศมี ดวงธรรม หรือ สี อันเป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถะ คือ จริงแท้แน่นอน ไม่แปรผัน การนั่งเอายังพระรัศมีองค์พระ เพื่อปรับจิต กันนิมิตหลอก นิมิตลวง กันนิมิตอุปาทาน ทำให้จิตมีอุปาทานในนิมิตน้อยลง เพราะพระพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้มีแต่ อุคคหนิมิตประการเดียว หามีปฏิภาคนิมิตไม่, อุคคหนิมิตนี้ ย่อมเกิดในมโนทวาร ฉะนั้นนิมิตอาจเป็นนิมิตที่นึกขึ้นเอง คิดขึ้นเองก็ได้

ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข

๑.พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะพองสยองเกล้า
๒.ขณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแล็บ
๓.พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี
๔.พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน
๕.พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย
๖.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน
๗.กายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๘.กายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณ์ธรรมได้บ้าง
๙.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์ วิจิกิจฉา
๑๐.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิตไม่เฉี่อยชา
๑๑.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต
๑๒.กายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต คือสมาธิ
๑๓. อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่ม
       นิวรณธรรมเป็น กามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน มีศีล เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ ๕ ประการ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ


ที่มาของเว็บและเนื้อหา
http://www.oocities.com/weera2548/tamnan/peeti.htm