ผู้เขียน หัวข้อ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕  (อ่าน 1859 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 08:58:25 »
มรรค ๘ อินทรีย์ ๕

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

   บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

   สติปัฏฐานเป็นหลักปฏิบัติทั้งเพื่อสมาธิ และทั้งเพื่อปัญญา แต่ว่าก็ต้องเป็นสติปัฏฐานที่ปฏิบัติให้ตั้งขึ้นในจิต ให้จิตเป็นสติปัฏฐาน จึงจะเป็นสมาธิและเป็นปัญญาได้ ทางปฏิบัตินั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสั่งสอนไว้ และก็ปรากฏในพุทธประวัติ ว่าพระองค์ได้ทรงปฏิบัติมาแล้ว ดังที่มีเล่าว่าตั้งแต่เป็น ..ตั้งแต่ทรงเป็นพระราชกุมาร ได้ตามเสด็จพระพุทธบิดาไปในพระราชพิธีแรกนาขวัญ ขณะที่พระพุทธบิดาทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญอยู่ พระราชกุมารน้อยได้ประทับรออยู่ภายใต้ร่มหว้า ในขณะนั้นพระหทัยของพระองค์ก็รวมเข้ามา กำหนดลมหายใจเข้าออกของพระองค์เอง ก็ทรงได้สมาธิที่ท่านแสดงว่า ปฐมฌาน อันแปลว่าฌานที่ ๑ ซึ่งก็เป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น แต่ว่าสมาธิที่ทรงได้นั้นก็เสื่อมไป

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ก.ค. 2554, 08:59:01 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:05:46 »
วัตรปฏิบัติก่อนตรัสรู้

   ครั้นเมื่อพระองค์ได้เสด็จออกทรงพระผนวช และได้เสด็จจาริกไปทรงศึกษาในสำนักของสองคณาจารย์เจ้าลัทธิ ก็มีแสดงว่าได้ทรงศึกษาจบ และทรงปฏิบัติได้เท่าเทียมพระอาจารย์ทั้งสองนั้น คือทรงได้สมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ อันเป็นอัปปนาสมาธิ สมาธิที่แนบแน่นอย่างละเอียด แต่ก็ทรงพิจารณาเห็นว่ามิใช่ทางแห่งโมกขธรรม คือธรรมะเป็นเครื่องหลุดพ้น จึงได้เสด็จออกจากสองสำนักพระอาจารย์นั้น และก็ได้ทรงปฏิบัติในทุกรกิริยา ทรมานพระกายให้ลำบากต่างๆ ก็ทรงเห็นว่ามิใช่ทางอีก ก็ทรงหยุดทุกขกิริยา

  ก็ทรงระลึกได้ถึงสมาธิจิตที่ทรงได้ในขณะเมื่อเป็นพระราชกุมารน้อยครั้งนั้น จึงได้ทรงเริ่มจับทำสมาธิตามวิธีที่ทรงเคยได้ครั้งนั้น ก็เป็นอันว่าได้ทรงพบทางอันถูกต้อง เพื่อพระปัญญาตรัสรู้ ก็ได้ทรงปฏิบัติไปในทางอันถูกต้องนั้น ซึ่งพระองค์ได้ทรงประกาศไว้ในปฐมเทศนา โดยเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง อันได้แก่มรรคคือทางมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ
จึงได้ตรัสรู้พระธรรม อันได้แก่อริยสัจจ์ทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นจึงเท่ากับว่า มัชฌิมาปฏิปทาที่ทรงพบนั้น อันที่จริงได้ทรงเริ่มพบแล้วตั้งแต่เป็นพระราชกุมารน้อยนั้น และก็ได้ทรงแสวงหาไปในสำนักของคณาจารย์ต่างๆ ในวิธีต่างๆ


ที่ได้นับถือและปฏิบัติกัน ก็ได้ทรงพิจารณาเห็นได้ไปโดยลำดับว่าไม่ใช่ทาง เพราะไม่ทำให้ได้ปัญญาที่ตรัสรู้พระธรรม อันเป็นเหตุให้ละกิเลสและกองทุกข์ได้ กิเลสก็ยังมีอยู่ กองทุกข์ก็ยังมีอยู่

แม้ว่าจะได้สมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ ในสำนักของท่านสองคณาจารย์นั้น ในที่สุดก็ทรงกลับไปหาวิธีที่ได้ทรงพบเองเมื่อเป็นพระราชกุมารนั้น จึงอาจจะกล่าวเหมือนอย่างว่า พระองค์เองก็ได้เป็นครูของพระองค์เองนั้นเอง ก็คือพระราชกุมารน้อยนั้นก็คือพระองค์เอง และเมื่อทรงพระเจริญ และทรงหาทางแห่งความตรัสรู้ ก็ทรงแสวงหาไปๆ ในที่สุดก็กลับไปหาพระองค์เอง คือหาวิธีแห่งสมาธิที่ทรงได้ในขณะที่เป็นพระราชกุมารดังกล่าว

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:14:26 »
มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ

   ดั่งนี้ ก็จะพึงเห็นได้ว่า แม้ว่าจะเรียกว่าสมาธิอย่างเดียวกัน เรียกว่าฌานอย่างเดียวกัน แต่ว่าย่อมมีความแตกต่างกัน สมาธิหรือฌานบางอย่างไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ แต่สมาธิหรือฌานบางอย่างเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อันฌานหรือสมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้นั้น อันจะพึงเรียกตรงกันข้ามกับสัมมาสมาธิ ว่ามิจฉาสมาธิคือสมาธิที่ผิด แต่ก็เป็นสมาธิเป็นฌานเหมือนกัน จิตก็แน่วแน่ แนบแน่นเหมือนกัน และก็เป็นจิตที่บรรลุถึงญาณคือความหยั่งรู้ อันเป็นอุตริมนุษธรรม ธรรมที่ยิ่งของมนุษย์ หรือธรรมของมนุษย์ที่ยิ่งได้ทำนองเดียวกัน แต่ว่าไม่เป็นไปเพื่อปัญญาที่ตรัสรู้ อันเป็นเหตุให้สิ้นกิเลสและกองทุกข์

   แต่ว่าสมาธิที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ประกอบอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น ก็เป็นสมาธิเป็นฌานนั่นแหละ แต่ว่าเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ได้ จึงเรียกว่าสัมมาสมาธิ สมาธิชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ก็คือว่าให้ตรัสรู้พระธรรมได้

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 09:40:08 »
สมาธิในพุทธศาสนา

   จึงควรที่จะพิจารณาว่า สมาธิในพุทธศาสนานั้นเป็นสมาธิอีกลักษณะหนึ่ง และลักษณะอันใด อันเป็นลักษณะพิเศษแห่งสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา โดยปริยายคือทางอันหนึ่งที่จะพึงเห็นได้ก็คือว่า จะต้องเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยองค์มรรคอื่นๆ ในมรรคมีองค์ ๘ อันองค์มรรคอื่นๆ ในมรรคมีองค์ ๘ สนับสนุนสัมมาสมาธินี้ และสัมมาสมาธินี้ก็สนับสนุนองค์มรรคอื่นๆ ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น กล่าวคือจะต้องประกอบด้วยความเห็นชอบความดำริชอบอันเป็นทางปัญญา จะต้องมีปัญญานำสมาธิและสมาธิก็จะต้องนำปัญญา สนับสนุนปัญญา จะต้องประกอบด้วยวาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ อันเป็นส่วนศีล จะต้องมีศีลหนุน และก็จะต้องหนุนศีล ต้องประกอบด้วยความเพียรชอบและสติชอบ จะต้องมีความเพียรชอบสติชอบสนับสนุน ทั้งก็สนับสนุนเพียรชอบสติชอบด้วย จึงเป็นอันว่าจะต้องประกอบกันเป็นมรรคมีองค์ ๘

   แต่ว่าในขณะปฏิบัติที่ยังไม่สมบูรณ์นั้น ก็จะต้องเข้าทางอันถูกต้องที่เรียกว่าชอบนั้น คือว่าเป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสั่งสมกิเลสและกองทุกข์ด้วยกัน และต่างก็สนับสนุนซึ่งกันและกัน ขึ้นไปโดยลำดับ ก็จะมียิ่งบ้างหย่อนบ้างกว่ากันไปตามเรื่องในขณะที่กำลังปฏิบัติ แต่ว่าในที่สุดก็จะต้องบรรลุถึงความสมบูรณ์ด้วยกัน ร่วมกันเป็นอันเดียวกัน ที่เรียกว่าเป็น มรรคสมังคี ความพร้อมเพรียงกันขององค์มรรค
ฉะนั้น สมาธิในพุทธศาสนาที่เป็นสัมมาสมาธิ ตลอดจนถึงปัญญาที่เป็นความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น จึงต้องเป็นส่วนที่ชอบด้วยกัน ประกอบกันดังกล่าว พร้อมกับศีล ก็เป็นอันว่าทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา แยกกันไม่ได้ ต่างก็อบรมสนับสนุนซึ่งกันและกันเป็นไป และก็เป็นไปเพื่อความสิ้นกิเลสและกองทุกข์

อันความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ก็อยู่ที่จิตนี้เอง ฉะนั้น การปฏิบัติศีลก็ต้องปฏิบัติจิตนี่แหละให้เป็นศีล การปฏิบัติสมาธิก็ต้องปฏิบัติจิตนี่แหละให้เป็นสมาธิ การปฏิบัติปัญญาก็ต้องปฏิบัติจิตนี่แหละให้เป็นปัญญาขึ้นมา เพื่อวิมุติคือความหลุดพ้น บรรลุนิพพาน คือความสิ้นกิเลสและกองทุกข์ด้วยประการทั้งปวงในที่สุด เพราะฉะนั้นจึงต้องรวมเข้ามาในภายใน ศีลก็ต้องดูเข้ามาที่ภายใน ดูจิตพร้อมทั้งกายวาจาใจของตนเองว่าเป็นศีลหรือไม่ สมาธิก็ต้องรวมเข้ามาที่จิต ดูที่จิตนี้เอง ให้จิตนี้สงบตั้งมั่นอยู่ในทางที่ดีที่ชอบ


ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ก.ค. 2554, 09:40:28 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 ก.ค. 2554, 10:33:52 »
อำนาจของกิเลส

   แต่ว่ามีเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้า ก็คือกิเลสนี้เอง เป็นต้นว่า  ตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ราคะโทสะโมหะที่ตั้งขึ้นในอารมณ์คือเรื่องทั้งหลาย ที่เข้ามาสู่จิตนี้ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจของทุกๆ คน อยู่ทุกขณะ ก็มาเป็นอารมณ์ จิตก็จับอารมณ์เหล่านี้ก่อกิเลสตัณหาต่างๆ ขึ้นมา ก็เป็นนิวรณ์ที่ปล้นจิตใจ

   กลุ้มรุมจิตใจ อันทำจิตใจให้กลัดกลุ้ม ทำจิตใจให้ไม่สงบ ทำจิตใจให้ฟุ้งซ่าน ถ้าหากว่าบรรดาอารมณ์และกิเลสเหล่านี้แรง การที่จะปฏิบัตินำจิตสู่มรรคมีองค์ ๘ จะเป็นหมวดศีลก็ตาม หมวดสมาธิก็ตาม หมวดปัญญาก็ตาม ก็ทำได้ยาก แต่ถ้าหากว่ามีกำลังแห่งศรัทธา แห่งความเพียร แห่งสติ แห่งสมาธิ แห่งปัญญา ที่ตนได้ปฏิบัติอบรมสั่งสมมา มีกำลังแรงก็สามารถที่จะควบคุมจิตได้ นำจิตให้สละอารมณ์อันเป็นที่ตั้งของกิเลส พร้อมทั้งกิเลสเหล่านั้น ให้มาตั้งอยู่ศีลในสมาธิในปัญญาได้

   เพราะฉะนั้น จึงปรากฏว่าทุกๆ คนนั้นก็บ่นกันว่า ทำสมาธิไม่ค่อยได้ ปฏิบัติในศีลไม่ค่อยได้ หรือปฏิบัติทางปัญญาก็ไม่ค่อยจะเห็นจริงอะไร ทั้งนี้ก็เพราะว่ากำลังของอารมณ์และกิเลสต่างๆ นั้นยังแรง แต่ว่ากำลังของศรัทธาความเพียรเป็นต้นยังอ่อนอยู่ ฉะนั้นจึงต้องอาศัยที่มีขันติความอดทน อดทนใจของตัวเองนี่แหละสำคัญ อดทนปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญาไป

   หากว่าจะเกิดมีความเบื่อหน่าย มีความอิดหนาระอาใจต่างๆ ก็ให้ทำความรู้สึกว่านั่นเป็นด้วยอำนาจของกิเลส กิเลสย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมปฏิบัติ เพราะธรรมปฏิบัตินั้นเป็นไปเพื่อข่มกิเลสเพื่อละกิเลส ในขณะที่กิเลสครองจิตอยู่ ก็ดึงเอาจิตไปเป็นฝ่ายกิเลส เมื่อดึงเอาจิตไปเป็นฝ่ายกิเลส จึงทำให้ไม่มองเห็นประโยชน์ในธรรมปฏิบัติ ให้เบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัติ

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 07:00:00 »
อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยครับ 36; 36;
                                           
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                                             
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:
       

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 09:07:46 »
กำลังของศรัทธาความเพียร

ฉะนั้นจึงต้องมีความอดทน ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยความเพียรเป็นต้น เอาจริงเอาจัง ไม่ยอมที่จะตามใจกิเลส หรือว่าตามใจใจของตัวเอง ก็คือตามใจกิเลสนั้นเอง
ฝืนที่จะปฏิบัติในศีลในสมาธิในปัญญาไปตามที่กำหนดไว้ หรือตามที่ได้ตั้งใจเอาไว้ และเมื่อหัดปฏิบัติอยู่ดั่งนี้บ่อยๆ แล้ว กำลังของศรัทธาของความเพียรเป็นต้นก็จะแรงขึ้น กำลังของศรัทธาของความเพียรเป็นต้นนี้ก็คือว่าพละ ๕ นั่นแหละ ศรัทธาพละกำลังศรัทธา วิริยะพละกำลังความเพียร สติพละกำลังของสติ สมาธิพละกำลังของสมาธิ ปัญญาพละกำลังของปัญญา ก็คือที่อดทนปฏิบัติไปนั่นแหละ และเมื่อปฏิบัติอยู่บ่อยๆ แล้ว ก็จะได้ศรัทธาได้ความเพียรได้สติได้สมาธิได้ปัญญา มาเป็นพื้นฐานในจิต ก็เริ่มเป็นพลัง ก่อพลังขึ้นในจิตไปโดยลำดับ

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5

ออฟไลน์ puyusuk1

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 970
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 11:21:28 »
ขอบคุณมากครับ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 12:53:13 »
อินทรีย์ ๕

    และเมื่อก่อพลังขึ้นในจิตได้แล้ว ก็จะปรากฏเป็นอินทรีย์คือเป็นใหญ่ ศรัทธาก็จะเป็นใหญ่ เป็นใหญ่เหนือความไม่เชื่อ ความดื้อถือรั้นไปในทางที่ผิดต่างๆ วิริยะคือความเพียรก็จะเป็นใหญ่เหนือความเกียจคร้าน เอาชนะความเกียจคร้านได้ สติก็จะเป็นใหญ่เหนือความหลงลืมสติ คือสติเองก็จะตั้งมั่นยิ่งขึ้น สมาธิก็จะเป็นใหญ่เหนือความฟุ้งซ่าน จิตจะได้ความสงบ จะข่มจิตให้สงบได้ ปัญญาก็จะเป็นใหญ่เหนือทุปัญญาคือความรู้ชั่วรู้ผิด เหนือความหลงเข้าใจผิด อันนี้แหละเรียกว่าอินทรีย์

    อินทรีย์นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ก็หมายความว่าธรรมปฏิบัติที่ทุกคนได้ปฏิบัติมาแล้วนั่นแหละ ปฏิบัติขึ้นปลูกขึ้นในจิต มีขึ้นในจิต และก็สั่งสมเพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ ก็ปรากฏเป็นพละคือกำลัง เป็นกำลังฝ่ายดี จนถึงเป็นอินทรีย์คือเป็นใหญ่ เป็นใหญ่เหนือความชั่วได้ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วกำลังของกิเลสต่างๆ อันเป็นฝ่ายมารผู้ฆ่าผู้มุ่งร้ายก็ลดน้อยลงไป เมื่อฝ่ายกิเลสฝ่ายมารถอยกำลังลง กำลังฝ่ายดี คือพละอินทรีย์นี้ก็ทวียิ่งขึ้น นี่แหละการปฏิบัติก็จะสะดวกขึ้น จะดีขึ้น และบุคคลก็จะน้อมไปในฝ่ายดี คือในฝ่ายศีล ในฝ่ายสมาธิ ในฝ่ายปัญญายิ่งขึ้น

  คือจิตก็จะน้อมไปในฝ่ายดีดังกล่าวนี้ดียิ่งขึ้นไปโดยลำดับ เพราะฉะนั้นจึงปรากฏในพุทธประวัติมากแห่งว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมะสั่งสอน ย่อมทรงกำหนดทราบถึงพละอินทรีย์ดังกล่าวของ เวไนยะ คือผู้ที่พึงอบรม เมื่อมีอินทรีย์ยังอ่อนก็ทรงอบรมไปในเบื้องต้น ให้ปฏิบัติเพิ่มอินทรีย์ให้แก่กล้าขึ้น และเมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าขึ้นในระดับใด ก็ทรงแสดงธรรมะสั่งสอนให้เหมาะแก่ระดับนั้น และให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงเมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าถึงที่สุด จึงจะทรงแสดงธรรมะสั่งสอนให้ความสว่าง เกิดปัญญาเห็นธรรรมะขึ้นในที่สุด

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.ค. 2554, 12:54:36 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: มรรค ๘ อินทรีย์ ๕
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 23 ก.ค. 2554, 04:53:17 »
วิธีปฏิบัติเพิ่มอินทรีย์พละ

   เพราะฉะนั้นอินทรีย์พละนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมก็ไม่ควรที่จะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจตัวเอง ว่ายังมีอินทรีย์มีพละน้อยปฏิบัติไม่ได้
เพราะว่าวิธีที่จะเพิ่มอินทรีย์พละให้แก่กล้าขึ้นนั้น ก็ต้องฝืนปฏิบัติอาศัยขันติ คือความอดทนนี่แหละ ทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไปโดยลำดับ แล้วจะเป็นพละอินทรีย์มาปลูกขึ้น เติบโตเจริญขึ้นในจิตใจเอง แก่กล้าขึ้นเอง แล้วการปฏิบัติก็จะดียิ่งขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น และจะเข้าทางยิ่งขึ้น แต่ข้อสำคัญนั้น ไม่มุ่งออกไปในภายนอก แต่มุ่งเข้ามาที่ภายในคือที่จิต พร้อมทั้งกายวาจาใจนี้เอง ปฏิบัติที่จิตที่กายที่วาจาที่ใจนี้แหละ

   การปฏิบัติทำสติกำหนดลมหายใจเข้าออกอันเป็นอานาปานสตินั้น ก็กำหนดที่ลมหายใจ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ และพระอาจารย์ก็ได้สอนอธิบายไปในทางต่างๆ ก็สุดแต่ใครจะเลือกปฏิบัติตามวิธีไหน ซึ่งจะได้อธิบายในโอกาสต่อไป

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

ที่มา
https://sites.google.com/site/smartdhamma/mrrkh-8-xinthriy-5