ผู้เขียน หัวข้อ: สีลานุสติ  (อ่าน 2245 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
สีลานุสติ
« เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 08:19:21 »
สีลานุสติ 1/9


              มาว่าเรื่องกรรมฐานของเราต่อ จริงๆ แล้วการปฏิบัติกรรมฐานนั้น เราต้องเป็นคนจริงจัง สม่ำเสมอ และต้องมีปัญญาประกอบด้วย การที่เราจริงจังสม่ำเสมอ ผลของการปฏิบัติถึงจะมี
              เพราะว่าการที่เรามาปฏิบัติกรรมฐานกัน เป็นการฝืนกระแสโลก เหมือนกับการว่ายทวนน้ำ ถ้าหากว่าเราไม่พยายามว่ายเข้าไว้ ให้ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ มันก็จะลอยตามกระแสไป
              การปล่อยให้ลอยตามกระแสไปนั้น ถ้าเรากำลังยังดีอยู่ ถึงเวลาตะเกียกตะกาย ว่ายขึ้นมาใหม่ มันยังมีกำลังที่จะว่าย แต่ระยะทางอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะว่าเราปล่อยลอยไป สมมติว่าหนึ่งวัน แล้วเราก็ตั้งหน้าตั้งตาว่ายกลับมา
              พยายามที่จะทำ พยายามที่จะว่าย เป็นเวลาหนึ่งวัน ระยะห่างอาจจะได้เท่าเดิม แล้วเราปล่อยลอยไปอีก ว่ายใหม่ก็จะได้แค่เดิม หรือถ้าหากว่ามันล้าเสียแล้ว เราเองก็อาจจะได้ระยะทางไม่เท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม
              ถ้าปล่อยให้มันลอยไปอีก คราวนี้ระยะทางมันก็จะยิ่งไกลมากขึ้น กลายเป็นว่าเราเป็นคนขยัน ทำงานทุกวัน แต่ผลงานไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียว พอทำไป ทำไป หลายท่านก็หมดกำลังใจ ท้อ และก็เลิกทำไปโดยปริยาย

             บรรดากรรมฐานต่าง ๆ นั้น ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ มีถึง ๔๑ แบบ คือสมถกรรมฐาน ๔๐ กอง แล้วก็มีมหาสติปัฏฐาน ๔ อีกแบบหนึ่ง เพื่อให้มีกรรมฐาน ที่เหมาะกับจริต นิสัยของแต่ละคน ซึ่งมันแตกต่างกันไป

              จริต คือ ความเป็นไปของจิต มี ๖ อย่าง ด้วยกัน คือ


              พุทธิจริต ประกอบไปด้วยความฉลาดเป็นปกติ
              ศรัทธาจริต ประกอบไปด้วยน้อมใจเชื่อเป็นปกติ
              โทสะจริต เป็นคนมักโกรธเป็นปกติ
              วิตกจริต เป็นคนที่คิดไม่ได้ตรองไม่ตก ละล้าละลังเป็นปกติ
              โมหะจริต เป็นบุคคลที่มีกำลังใจมืดมนเป็นปกติ
              ราคะจริต เป็นบุคคลที่มีความรักสวยรักงามเป็นปกติ

             ในแต่ละจริตนั้น มันล้วนแล้วแต่มีอยู่ในใจของเรา ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง ๖ ประการ เพียงแต่ว่า อย่างใดอย่างหนึ่งที่มันจะเด่นขึ้นมา อันนี้ต้องสังเกตเอง เราเป็นคนฉลาด ฟังอะไรครั้งเดียวจำได้ สามารถที่จะทำอะไรได้คล่องตัว มีความเข้าใจแตกฉาน ในสิ่งต่าง ๆ หรือไม่ ?

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ก.ค. 2554, 08:20:24 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:03:28 »
สีลานุสติ 2/9

ถ้าใช่ เราก็เป็นพุทธิจริต เรามีความรักสวยรักงามเป็นปกติหรือไม่ ? ถ้าหากว่ามีความรักสวยรักงามเป็นปกติ จิตมีความปราณีตละเอียด ทำอะไรทำแล้วทำอีก ถ้าหากว่าไม่ดีไม่เลิก อันนี้แสดงว่า เราประกอบไปด้วยราคะจริต

              ถ้าหากว่าเขาว่าอะไรดี ที่ไหนดี เราก็เชื่อ และต้องการไปยังสถานที่นั้น ไปกระทำสิ่งนั้น ๆ อันนี้เป็นศรัทธาจริต ถ้าเป็นคนมักโกรธ ฟังอะไร กระทบอะไร เห็นอะไรไม่ได้ เกิดโทสะขึ้นมาโดยพลัน อันนี้เป็นโทสะจริต

              ถ้าเราเป็นคนที่คิดไม่ตก ตรองไม่ตก กังวลอยู่เสมอหรือไม่ ? ถ้าเป็น อันนี้ก็จัดเป็นวิตกจริต หรือว่าเป็นคนที่หาปัญญาไม่ได้ คนอื่นเขามองเห็นช่องทางง่าย ๆ ของเราเองทำแล้วทำอีก ควานแล้วควานอีก ไม่ตรงเป้าเสียที อันนี้ก็จัดเป็นโมหะจริต
              ในแต่ละจริตวิสัยนั้น ท่านกำหนดกองกรรมฐานเอาไว้ สำหรับปฏิบัติให้ตรงกับกำลังใจของตน เพื่อจะได้เกิดความคล่องตัว ทำให้ถูกต้องตรงกับจริต เพื่อจะได้ผลเร็ว
              พุทธิจริตนั้น ท่านให้ใช้ กายคตานุสติ มรณานุสติ คือการระลึกถึงความเป็นจริงของร่างกายนี้ ตลอดจนกระทั่งความตาย และอุปสมานุสติ คือการระลึกถึงพระนิพพานอยู่เสมอ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เหมาะแก่ท่านผู้ที่เป็นพุทธิจริต เพราะว่าปัญญาท่านมาก สิ่งที่คนอื่นมองเห็นได้ยาก ท่านก็เห็น

              ศรัทธาจริต ท่านให้ระลึกใน พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นปกติ ว่ามีคุณความดีอย่างไร ? ในสีลานุสติ จาคานุสติ ให้ระลึกถึงคุณของการรักษาศีล การบริจาคให้ทานเป็นปกติ
              ราคะจริต ท่านให้ใช้ อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ กอง พิจารณาให้เห็นว่า สภาพร่างกายของเรา ที่แท้จริงมันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร คนอื่นมันมีความไม่สวยไม่งามอย่างไร
              และให้ใช้กายคตานุสติกรรมฐาน คือให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ ว่ามันไม่สวยไม่งาม มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ประกอบไปด้วยอวัยวะภายนอก ภายใน ใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่ดูแล ไม่รักษา ไม่ขัดสีฉวีวรรณมัน แค่วันสองวัน กลิ่นมันก็เหม็นจนทนไม่ได้
              โทสะจริต ท่านให้ใช้ พรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ คือให้มีความรักเขา เสมอตัวเรา ความสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์ ความยินดี เมื่อเขาได้ดีมีสุข และเมื่อไม่สามารถที่จะทำอะไร ตามกำลังความสามารถได้แล้ว ก็ให้ปล่อยวาง
              หรือใช้วรรณกสิณทั้ง ๔ คือเพ่งสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาวเป็นปกติ เพื่อที่จะรักษาอารมณ์ทรงตัว ต่อต้านอารมณ์ของโทสะได้

              วิตกจริตกับโมหะจริต ท่านให้ใช้อานาปานสติกรรมฐาน คือ ดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว เพราะว่าสองจริตนี้ ถ้าให้ทำอย่างอื่น กำลังใจของท่าน จะก้าวไม่ถึงจุดนั้น เราเองก็มาพิจารณาดูว่า ตัวเราเหมาะกับจริตไหน สมควรแก่กรรมฐานกองไหน
              เพราะว่าจริตทั้งหกนี้ มันมีครบถ้วน ขึ้นอยู่กับว่า อันไหนที่มันเด่นออกมา เมื่อพิจารณาเห็นแล้ว ถ้ามีกรรมฐานหลายกอง ที่เหมาะกับจริตของเรา ให้เลือกกองที่เราชอบใจที่สุด รักมากที่สุด แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกองนั้นไป มันก็จะได้ผล

              จากการที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า ส่วนใหญ่แล้ว พวกเราจะอยู่ในลักษณะ ทำทำ ทิ้งทิ้ง ไม่สม่ำเสมอ เปรียบเหมือนกับ การขุดบ่อเพื่อจะหาน้ำ พอขุดลงไปได้สักสองวาสามวา ยังไม่ถึงน้ำเสียที คนอื่นบอกตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปขุดตรงโน้น
              ขุดลงไปได้สักวาสองวา คนอื่นบอกว่าตรงโน้นดี ก็เปลี่ยนที่ไปอีก การที่เราขาดความจริงจังสม่ำเสมอ ในทำการกรรมฐาน ทำให้มันไม่เกิดผล ดังนั้น เมื่อมันไม่เกิดผล หรือว่าเกิดผลน้อย เหมือนกับขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำเสียที เราอาจจะท้อ แล้วก็เลิกขุด
              เพราะฉะนั้น เมื่อท่านทรงอารมณ์กรรมฐานได้แล้ว ทรงตัวแล้ว ให้พยายามประคับประคองอารมณ์นั้น ให้อยู่กับเราให้นานที่สุด ให้ยาวที่สุด เพื่อความเคยชินของกำลังใจ มันจะได้ยอมรับอารมณ์นั้น ๆ ต่อไปมันก็จะทรงอารมณ์นั้น ได้ยาวนานยิ่งกว่าเดิม และถ้ามีความคล่องตัวจริง ๆ ก็จะทรงได้ตลอดเวลาที่ต้องการ


ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:28:27 »
สีลานุสติ 3/9

การปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น มีสิ่งที่มาขวาง ก็คือมารทั้งหลาย เขามีความฉลาด จะทำให้เราเกิดอารมณ์กระทบ ไม่พอตา ไม่พอใจก็ดี ชอบอกชอบใจก็ดี แล้วเราก็จะพลาดไปจากจุดที่เราปรารถนา ที่เราต้องการ

              ให้สังเกตว่า เมื่อเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง รู้สึกว่ามันดีเหลือเกิน ทาน ศีล ภาวนาของเรา มีความก้าวหน้ามาก มีความคล่องตัวมาก แล้วอยู่ๆ มันก็พังไปเฉย ๆ
              ถ้าเราสังเกตตรงจุดนี้ หมั่นจับตรงจุดนี้บ่อย ๆ จะเห็นได้ว่า ทันทีที่เราปฏิบัติแล้ว ความดีเริ่มทรงตัว อยู่ ๆ มันก็จะพังไปทุกที มันจะเอาโลภะ โทสะ โมหะ เข้ามาอยู่ในใจแทน ก่อนกรรมฐานนั้น ๆ นี่คือฝีมือของมาร คือผู้ขวาง

              ขอให้ทุกท่านทราบไว้ว่า ขณะที่กำลังใจท่านฟุ้งซ่านที่สุด ความจริงแล้วเป็นเวลาที่ท่านใกล้ความดีที่สุด มารเขารู้ว่าเราจะพ้นจากมือเขาแล้ว เขาก็พยายามที่จะดึงเรา ให้เป๋ไปจากจุดที่เรามุ่งไป
              มันเหมือนกับเรายืนอยู่หน้าประตูแล้ว แค่เอื้อมมือไปเปิดประตู เราก็จะก้าวพ้นไปแล้ว แต่ว่าทุกครั้ง เขาสามารถหลอกให้เราสนใจสิ่งอื่นได้ แล้วก็เลี้ยวตามเขาไป จนกระทั่งพอรู้ตัวขึ้นมา เอ๊ะ..ก่อนหน้านี้ทำไมเราทำแล้วรู้สึกดีเหลือเกิน ? ทำไมตอนนี้กำลังใจมันถึงแย่ขนาดนี้ ? ทำไมมันถึงเลวขนาดนี้ ?
              ถ้าท่านรู้จักตรอง โดยการคิดย้อนกลับไป ให้รู้ว่าตัวเองตอนนั้นคิดอย่างไร ? พูดอย่างไร ? ทำอย่างไร ? อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ? กำลังใจเราถึงได้ดี ถึงได้ทรงตัว ก็ให้คิดแบบนั้น พูดแบบนั้น ทำแบบนั้น สร้างสิ่งแวดล้อมแบบนั้นขึ้นมา
              เราก็จะก้าวไปสู่จุดที่เคยทำได้อีก แล้วคราวนี้ ให้ใช้สติระมัดระวัง ควบคุมเอาไว้ อย่าให้คล้อยตามกำลังของมาร ที่มาหลอกลวงและดึงเราไปอีก ถ้ารู้จักพินิจพิจารณา ในลักษณะนี้บ่อย ๆ เราก็จะเริ่มชนะเขาได้บ้าง
              หลังจากนั้นก็จะชนะมากขึ้น มาอยู่ในลักษณะก้ำกึ่งกัน ตอนนี้ จะเป็นตอนที่สนุกที่สุดของการปฏิบัติ คือมันจะช่วงชิงไหวชิงพริบกันว่า คะแนนต่อไปจะเป็นของเราหรือของเขา


              ถ้ามาถึงตรงจุดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ดูละคร จะสิ่งใดก็ตาม ไม่มีความน่าสนใจไปกว่าการดูใจตัวเอง การสร้างกำลังใจตัวเอง ต่อสู้กับกิเลส ถ้าเรายิ่งใช้สติ ใช้ปัญญา ควบคุมมันให้มากขึ้น หมั่นพินิจพิจารณา สร้างกำลังของตนให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น เราก็จะชนะมากกว่าแพ้ แล้วในที่สุดก็จะก้าวไปสู่จุดที่ไม่แพ้อีก
              สิ่งต่างๆ รอบข้าง มันล่อลวงเราอยู่ตลอดเวลา เรื่องของราคะ มันเห็นรูปสวย มันก็พลอยยินดีด้วย ไปคลุกคลีตีโมง ไปฟุ้งซ่านอยู่ตรงจุดนั้น กำลังใจเราก็เสีย
              มันได้ยินเสียงเพราะ มันก็พลอยยินดีด้วย มันก็ใฝ่ฝันที่อยากจะฟัง พยายามที่จะเสาะหามา หรือไปอยู่ใกล้สิ่งนั้น ก็เสียผลการปฏิบัติ
              มันได้กลิ่นหอม มันก็พลอยยินดีด้วย มันได้รสอร่อย มันก็พลอยยินดีด้วย มันได้สัมผัสที่นุ่มนวลชอบใจ มันก็พลอยยินดีด้วย
              ทำให้เราไปหลง ไปยึด ไปติดอยู่ตรงจุดนั้น สิ่งที่เราปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น มันก็พังไป หรือว่าเราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราได้รส เราสัมผัส ไม่ชอบใจสักอย่างเดียว โทสะมันก็เกิด ในเมื่อความชั่วมันเกิด ความดีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าความชั่ว มันมาอาศัยอยู่แทนเสียแล้ว เราก็เสียผลการปฏิบัติเช่นกัน

              ดังนั้นการปฏิบัติกรรมฐาน นอกจากจะทำอย่างสม่ำเสมอ จริงจังแล้ว ยังต้องมีสติสัมปชัญญะ ยังต้องมีปัญญา ต้องคอยตามดู ตามรู้ ตามระมัดระวัง อย่าให้กิเลสมันมาชักจูงเราไปได้
              สำหรับวันนี้ เรามาศึกษาเรื่องของสีลานุสติกรรมฐาน เราจะมาดูว่าศีลมีคุณสมบัติอย่างไร ? มีความดีอย่างไร ? ศีลก็คือความเป็นปกติ ปกติของปุถุชนทั่วๆ ไป ต้องมีศีลอย่างน้อย ๕ ข้อ เรียกว่ามนุษยธรรม
              คือจะต้องเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักขโมย เว้นจากการละเมิดคนที่มีเจ้าของ เว้นจากการพูดปด เว้นจากการดื่มสุราเมรัย หรือสิ่งของที่ทำให้เมามายขาดสติสัมปชัญญะ ถ้าเราละเมิดข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม อบายภูมิจะรอเราอยู่ข้างหน้า ตายเมื่อไหร่ได้ไปแน่ ๆ ศีลเป็นเครื่องกั้นเราจากอบายภูมิ กั้นไม่ให้เราเป็นสัตว์นรก ไม่ให้เป็นเปรต ไม่ให้เป็นอสุรกาย ไม่ให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
              นี่คือทุนของศีลขั้นต้น รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปสู่ทางที่ชั่ว ถ้าเราตกลงไปในทางที่ชั่ว คือลงสู่อบายภูมิแล้ว เมื่อสิ้นกรรมอันนั้น มาเกิดเป็นคน เศษกรรมอันนั้นก็ยังมาทำอันตรายเราได้อีก

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:41:12 »
สีลานุสติ 4/9

ถ้าเคยฆ่าคนฆ่าสัตว์ไว้เป็นปกติ ก็จะอายุสั้นพลันตาย หรือถ้าหากว่ายังดำรงชีวิตอยู่ ก็จะมีแต่ความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอ ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับตน เพราะเศษของกรรมมันตามมา

              ถ้าหากว่าเคยลักขโมยเขาเอาไว้ เกิดมาทรัพย์สินจะเสียหาย จะโดนไฟไหม้บ้าง โดนทำลายด้วยลมด้วยน้ำบ้าง เกิดแผ่นดินไหวบ้าง ทรัพย์สมบัติทั้งหมด จะสลายตัวไป ทรงตัวอยู่ไม่ได้ เพราะเศษกรรมมันเกิดขึ้น มันตามมาสนอง

              ถ้าหากว่าเคยละเมิดลูกเขาเมียใคร คนที่เขามีคนรักมีคนเขาหวง เกิดมาชาติใหม่ เศษกรรมก็จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ บังคับบัญชาคนอื่นไม่ได้ เป็นคนไม่มีอำนาจ ไม่มีใครเชื่อฟัง

              ถ้าโกหกคนอื่นเป็นปกติ เกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมก็จะทำให้เรา ไม่มีโอกาสจะได้ฟังความเป็นจริง พูดอะไรคนก็ไม่เชื่อ ถ้าเราไม่ต้องการให้เศษกรรมข้อนี้ สร้างความลำบากให้กับเรา เราก็อย่าพูดปด

              ถ้าเราดื่มสุราเมรัย หรือว่าเครื่องดองของเมาอะไร ที่ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ทำแต่น้อย เกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมก็จะทำให้มีโรคปวดศีรษะเป็นปกติ ถ้าหากว่าปานกลาง ก็จะเป็นโรคประสาท สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์

              ถ้าหากว่าทำมากเป็นปกติ ทุกวัน ๆ เศษกรรมตัวนี้ จะทำให้เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็จะอยู่ในลักษณะไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ กลายเป็นคนบ้า
              ถ้าเรารักษาศีลได้บริสุทธิ์สมบูรณ์ อบายภูมิทั้งหลาย ไม่สามารถจะนำเราไปได้ อย่างน้อยเกิดเป็นมนุษย์ ก็มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เป็นที่ชอบใจ และเศษกรรมทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏแก่เรา
              นี่คือคุณของศีลขั้นต้น และกำลังของศีล ยังจะส่งผลให้เรา เกิดเป็นเทวดาได้ เกิดเป็นพรหมได้ ไปสู่พระนิพพานได้ ถ้าเรามีศีลเป็นปกติ ตายจากมนุษย์ ก็จะเป็นเทวดาชั้นใดชั้นหนึ่ง
              ถ้าหากว่าศีลของเรา ทรงตัวอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าทรงศีลเป็นฌาน เราก็จะเกิดเป็นพรหมตามกำลังของฌานที่เราทรงอยู่ หรือถ้าเราตั้งใจรักษาศีล เพราะจะไปพระนิพพาน ถ้าจิตไม่ยึดไม่เกาะร่างกายจริง ๆ เราก็จะสามารถเข้าสู่พระนิพพานได้
              ดังนั้น ในแต่ละวัน ให้ทุกคนใคร่ครวญศีล ตามสภาพของตน เป็นฆราวาสก็รักษาศีล ๕ เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ศีล ๘ หรือถ้ารักษากรรมบถ ๑๐ ได้ก็ยิ่งดี เป็นสามเณรก็ศีล ๑๐ เป็นพระก็ศีล ๒๒๗ ข้อพร้อมอภิสมาจาร
              หากว่าเราสร้างสติสัมปชัญญะของเรา ได้สมบูรณ์ เพียงแค่ขยับตัว เราก็รู้แล้วว่าศีลจะขาด จะพร่องหรือไม่ ? ให้เราทบทวนศีลตามสภาพของตนอยู่ทุกวัน อาจจะประเภทว่า ตื่นเช้าขึ้นมาก็เริ่มใคร่ครวญ ทบทวนไปเลย


              มีสิกขาบทไหนที่ยังพร่องไม่สมบูรณ์ ให้ตั้งใจว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ศีลทุกสิกขาบทของเราจะสมบูรณ์บริบูรณ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตารักษาไป ในขณะที่สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์ การพร่องในศีลย่อมมีเป็นปกติ แต่ว่าอย่าให้พร่องโดยเจตนาของเรา
              เพราะว่าเจตนานั้น เป็นตัวกรรมใหญ่ ที่จะพาเราไปสู่อบายภูมิ หรือไปสู่สุคติ ถ้าเจตนาของเราละเว้น ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ เราก็ไปสู่สุคติแน่นอน แต่ถ้าหากว่าเจตนาของเราตั้งใจละเมิด อบายภูมิก็เป็นที่ไปของเราแน่นอนเช่นกัน

              เมื่อเราใคร่ครวญในศีลเป็นปกติแล้ว มั่นใจแล้วว่า วินาทีนี้เป็นต้นไป ศีลทุกข้อของเราจะสมบูรณ์บริบูรณ์ ก็ให้เราจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาต่อไปเลย
              จะเป็นการจับภาพของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมลมหายใจเข้าออกก็ได้ ใช้คำภาวนาว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆก็ได้ แล้วแต่เราถนัด เมื่ออารมณ์ใจของท่านตั้งมั่น ก็แปลว่าท่านทรงฌานในสีลานุสติกรรมฐาน



ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 09:57:03 »
สีลานุสติ 5/9

  ให้ท่านตั้งใจว่า เรารักษาศีลเพราะเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรารักษาศีล เพราะเราต้องการไปพระนิพพาน พอกำลังใจทรงตัว ก็ประคับประคองรักษากำลังนั้นเอาไว้ มีใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับภาพของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งใจว่าพระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่หนึ่งที่ใดเลย นอกจากพระนิพพาน เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน
 
            ตั้งใจว่า อานิสงส์ของศีลที่เราตั้งใจพิจารณานี้ ที่เราตั้งใจปฏิบัติด้วยการงดเว้นนี้ ขอให้เป็นปัจจัย ส่งผลให้เราเข้าสู่พระนิพพานแห่งเดียว หายใจเข้า ศีลทุกข้อของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์ หายใจออก ศีลของเราก็สมบูรณ์บริบูรณ์

              ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรา อยู่กับศีล ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรา อยู่กับพระ ให้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของเรา อยู่กับนิพพาน พยายามทรงกำลังใจแบบนี้ให้เป็นปกติ จึงจะชื่อว่า ท่านปฏิบัติในสีลานุสติกรรมฐานได้ทรงตัว


              การปฏิบัติกรรมฐาน กองใดกองหนึ่งก็ตาม ถ้าเราทำได้แล้ว ก่อนที่จะขึ้นกรรมฐานกองอื่น ให้เราทวนของเก่าเสียก่อน ถ้าเราทำในพุทธานุสติ ก็จับภาพพระพร้อมกับคำภาวนา ให้ทรงตัว แจ่มใส

              ถ้าเราปฏิบัติในธัมมานุสติ ก็จับภาพของดอกมะลิแก้ว หรือดอกมะลิทองคำ ที่เราใช้แทนธัมมานุสติกรรมฐาน ให้เป็นปกติ ทรงตัว แจ่มใส ถ้าปฏิบัติในสังฆานุสติ ก็จับภาพหลวงปู่หลวงพ่อ องค์ใดองค์หนึ่ง ที่เราเคารพท่าน จนภาพปรากฏชัดเจนแจ่มใส อย่างนี้เป็นต้น
              พอกำลังใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ค่อยถอยกำลังใจออกมา เริ่มต้นปฏิบัติกรรมฐานกองใหม่ เราต้องมีการย้อน ทวนหน้าทวนหลัง ซักซ้อมเพื่อความคล่องตัว อย่างนี้อยู่เสมอ เพื่อว่า ถึงวาระถึงเวลา กำลังใจมันมีจริตไหนปรากฏขึ้น จะได้ใช้กรรมฐานกองนั้น ๆ ต่อสู้กับมันได้ทันท่วงที

              ดังนั้น เมื่อทำได้แล้ว ของเก่าห้ามทิ้ง ต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน เมื่อกำลังใจทรงตัวแล้ว ก็ทำกองใหม่ต่อไป หรือถ้าเราไม่มีความจำเป็น ต้องศึกษามันให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เราชอบใจกองไหน ให้เรายึดมั่นกองนั้นของเราไป

              ให้ทำดังนี้อยู่เป็นปกติทุกวันๆ ถือเป็นภาระเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องทรงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ให้ได้ในแต่ละวัน อย่าให้จิตของเรา ไปฟุ้งซ่านกับความรัก โลภ โกรธ หลง เพื่อรักษาอารมณ์แจ่มใสของจิตให้เป็นปกติ

             ถ้าทำได้ดังนี้ ถึงเวลาเราตาย เราก็ไปสู่สุคติ ถ้าเราไม่ต้องการการเกิด ไม่มีความปรารถนาในร่างกายนี้ ไม่มีความปรารถนาในโลกนี้ เราก็จะไปสู่พระนิพพานตามความต้องการของตน
              ตอนนี้ ขอให้ทุกคน รักษากำลังใจ ให้ทรงตัวอยู่กับอารมณ์ที่เราทำได้ แล้วแบ่งกำลังใจส่วนหนึ่ง ควบคุมร่างกายไว้ตามปกติ เพื่อจะได้สวดมนต์ทำวัตรของเราต่อไป ?


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๗

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ก.ค. 2554, 09:58:45 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 10:01:20 »
สีลานุสสติกรรมฐาน 6/9

จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

สีลานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์ คำว่าศีล แปลว่า ปกติ สิกขาบทของ ศีล เป็นสิกขาบทที่บังคับให้เป็นไปตามปกติของความรู้สึกและพอใจของมวลชนโลก ทั้งที่เป็นสัตว์ และมนุษย์ จะได้พูดให้ฟังแต่โดยย่อ

ปกติของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมาร่วมโลกนี้ แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างเพศ ต่างตระกูลกันเพียงใดก็ตาม สิ่งที่มีความปรารถนาเสมอกันเป็นปกติ มีอยู่ ๕ ข้อ คือ

๑. ไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าตน และไม่ปรารถนาให้ผู้ใดมาทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถึงตาย ก็ตาม

๒. ไม่ต้องการให้ใครมาลักขโมย หรือยื้อแย่ง หลอกลวงเอาทรัพย์ของตนไปโดยที่ตนไม่ เต็มใจอนุญาต

๓. ไม่มีความประสงค์ให้ใครมาทำลายหัวใจในด้านความรัก จะเป็นสามีภรรยา บุตร หลาน หรือแม้แต่คนในปกครองที่มิใช่บุตรหลาน โดยที่ตนเองยังไม่เห็นชอบด้วย

๔. ไม่ปรารถนาให้ใครมาใช้วาจาที่ไม่ตรงความจริง ในเมื่อในขณะนั้นต้องการรู้เรื่องราว ตามความเป็นจริง

๕. ไม่ต้องการให้ใครเห็นว่าตนเป็นคนบ้า ๆ บอ ๆ ด้วยอาการที่เป็นคนคุ้มดีคุ้มร้ายเพราะ เหตุใดก็ตาม

เมื่อความต้องการของปวงชาวโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ มีความปรารถนาเสมอกันเป็น ปกติอย่างนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทตามความต้องการเป็นปกติของ ชาวโลกไว้ ๕ ข้อ ที่เรียกว่า ศีล ๕ หรือปกติศีล

ส่วนศีล ๘ หรือเรียกว่าศีลอุโบสถ มีสิกขาบท ๘ เหมือนกันหรือศีล ๑๐ ของสามเณร ศีล ๒๒๗ ของพระ ศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณี ก็เป็นศีลที่บัญญัติตามปกติของท่านนั้นๆ

การที่ท่านสอนให้ระลึกถึงศีลเนืองๆ นั้น หมายถึงให้สำรวมใจ ระมัดระวังความประพฤติศีล เพื่อมิให้ศีลบกพร่อง เพราะศีลเป็นบาทที่จะสนับสนุนใจให้เข้าถึงสมาธิ ศีลนี้ผู้ใดปฏิบัติไม่ขาดตกบกพร่องแล้วย่อมมีอานิสงส์คือ จะไม่ได้รับความเดือดร้อน เพราะอำนาจอกุศลกรรม จะเป็นที่รักของ ปวงชน จะมีเกียรติคุณความดีฟุ้งไปในทิศานุทิศ จะเป็นผู้แกล้วกล้าอาจหาญ ในเมื่อมีคนโจษจันถึง เรื่องศีล เมื่อใกล้จะตายอารมณ์จิตจะผ่องใส อกุศลกรรมไม่สามารถเข้ามาข้องได้ เมื่อตายแล้วจะได้ เกิดในสวรรค์

ก่อนตายศีลนี้จะเป็นสะพานใหญ่ให้อารมณ์สมาธิหลั่งไหลมาสู่จิต จะทำให้จิตตั้งมั่นใน สมาธิ เป็นพื้นฐานให้ได้วิปัสสนาญาณ ได้ถึงพระนิพพานในที่สุด ท่านที่คิดถึงศีลและระมัดระวังรักษา ศีลเป็นปกติ แล้วใคร่ครวญพิจารณาศีลเป็นปกติอย่างนี้ ท่านว่าจะมีอารมณ์สมาธิถึงอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิเป็นที่สุด


เมื่อเข้าถึงสมาธิตามที่กล่าวแล้ว ถ้าท่านน้อมเอาวิปัสสนาญาณมาพิจารณา ท่านก็จะได้ บรรลุมรรคผลภายในไม่ช้า

(ขอยุติสีลานุสสติไว้แต่โดยย่อเพียงเท่านี้)


ที่มา
http://www.luangporruesi.com/485.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ก.ค. 2554, 10:02:58 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 10:14:39 »
สีลานุสติ 7/9

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย


เมื่อเราระลึกตามศีลที่เรารักษาว่า ข้อนั้น ๆ เรางดเว้นไปแล้ว มันเป็นการระลึกถึงความดีของเรานั่นแหละ

สีลานุสติ ก็ระลึกถึงความดีของศีลที่มีอยู่ในตัวของเรานั่นเอง ระลึกถึงศีลในที่นี้ไม่ได้หมายถึงศีลทีอยู่ภายนอก หมายถึง ศีลที่อยู่ในตัวของเรา รักษาตัวของเราให้เป็นคนดีขึ้นมา

ผู้นับถือพุทธศาสนาต้องมีศีล ๕ เป็นฐาน ศาสนาจะตั้งอยู่ได้มั่นคงเพราะคนปฏิบัติตามหลักของศีล ถ้าเราไม่มีศีล ๕ เสียแล้ว จะเอาอะไรมารักษาพุทธศาสนา เราต้องรักษาศีล ๕ นี้เป็นพื้นเสียก่อน

พื้นฐานจริง ๆ ของพุทธศาสนานั้นมี ๕ ประการ คือ


๑. นับถือพระพุทธเจ้า

๒. นับถือพระธรรม

๓. นับถือพระสงฆ์

๔. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถือโชคลาภเครื่องรางของขลัง คือ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดีกับตนเอง

๕. ไม่นับถือศาสนาอื่น ลัทธิอื่น ไม่ถืออะไรทั้งหมดนอกจากพุทธศาสนา

อุบาสก อุบาสิกา ต้องมี ๕ ประการนี้เป็นเครื่องอยู่เสียก่อน แล้วจึงค่อยมีศีล ๕ เป็นนิตย์ เป็นข้อที่ ๖

ถ้าหากถือศีล ๕ ประจำเป็นนิตย์ไม่ขาดตกบกพร่องเลย ท่านให้เกียรติยศชื่อว่า โสดาบันบุคคล อีกด้วยแน่นอนทีเดียว เมื่อเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมแล้ว ที่จะไม่รักษาศีล ๕ ไม่มี เพราะความชั่วที่ทำผิดในศีลนั้น ๆ ก็เป็นกรรมอยู่โดยตรง

เมื่อเราเชื่อกรรมอย่างลึกซึ้ง เข้าถึงจิตเข้าถึงใจจริง ๆ แล้ว การรักษาศีล ๕ ย่อมทำได้ง่าย จะรู้สึกว่าศีล ๕ ไม่ใช่ของยาก เป็นของรักษาง่ายนิดเดียว และศีลย่อมตามรักษาตัวเราอีกด้วย เลยไม่ต้องรักษาศีล ศีลกลับมาคุ้มครองรักษาตัวเราเองให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากอุปัทวอันตรายทั้งปวง



ที่มา
http://www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=51

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 26 ก.ค. 2554, 10:29:05 »
สีลานุสติ 8/9

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย


ศีล ๕ ข้อนั้นจะจาระไนก็ยืดยาว คงเข้าใจกันดีแล้วทุกคน เรื่องศีลท่านพูดไว้มีอรรถ ๔ คือ

สีลนฏโฐ แปลว่า ปกติ ผู้รักษาศีลมีปกติ กาย วาจา ใจ ไม่ให้กำเริบ คือไม่ทำ กาย วาจา ใจ ให้ผิดปกตธรรมดา คนเราเกิดมามิใช่เกิดเพื่อมาฆ่า เพื่อจะขโมยของ กันและกัน เพื่อประพฤติผิดประเพณี เพื่อพูดเท็จหลอกลวง หรือเพื่อดื่มสุราเมรัย ของเหล่านี้ล้วนแต่มาฝึกหัดเอาใหม่ทั้งนั้น

สีลฏโฐ แปลว่า หินแข็ง หินแข็งเป็นหินปกติ ไม่หวั่นไหว ผู้รักษาศีลก็เช่นนั้นเหมือนกัน คือมีใจกล้าแข็งไม่ยอมทำตามอำนาจความชั่วให้ผิดจากศีล

สีตลฏโฐ แปลว่า เย็น ผู้รักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว ย่อมได้รับความเยือกเย็น ไม่มีวิปฏิสาร คือ ความเดือดร้อนใจในการติเตียนเราเองด้วยศีลข้อนั้น ๆ ไม่บริสุทธิ์

สีสฏโฐ แปลว่า ยิ่ง เป็นของสูง ศีลนี้เป็นของสูง ยากที่จะมีผู้รักษาได้ เมื่อผู้ใดรักษาได้แล้ว ผู้นั้นก็เป็นผู้สูงด้วยคุณธรรมคือ ศีลนั้น ศีลเป็นของเลิศประเสริฐในโลกนอกจากศีลแล้วไม่มีอะไร

สิรฏโฐ แปลว่า วิเศษ หรือยอด (เหมือนสีสฏโฐ)

ศีลเป็นของวิเศษอยู่ในตัว ถ้ามารักษาศีล คือมีศีลอยู่ในตัวเข้าก็วิเศษไปด้วย วิเศษจนสามารถกระทำให้พ้นจากความชั่วช้าได้เป็นขั้น ๆ นอกจากศีลแล้วมีสิ่งใดที่จะขจัดความชั่วในตัวคนเราได้

   ชนชั้นต่ำคือคนมีความเลวทรามอยู่ในตัว ไม่สามารถจะจับเอาศีลนี้ไว้ในตัวได้ คนไม่ศรัทธา ไม่กอปรด้วยปัญญาจะรักษาศีล ๕ ไม่ได้ ถึงรักษาก็ไม่อยู่ในตัวของเรา บางคนบอกว่ารักษาศีล ๕ เป็นของยาก ขอบอกไว้เลยว่า ถ้าเรามีศรัทธาแล้วเป็นของไม่ยากเลย เจตนา “งดเว้น” ตัวเดียวเท่านั้นแลเป็นศีลแล้ว เหมือนกฎหมายบ้านเมือง ถ้าคนไม่ทำผิดอย่างเดียวตำรวจ ทหาร และตุลาการก็ไม่ต้องมี นี่ก็เหมือนกัน เพราะมีคนประพฤติผิดนั่นแหละพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้รักษาศีล อย่างเด็กเกิดมาใหม่ ๆ มันไม่รู้ภาษาอะไร มันไม่ทำอะไร นอนอยู่บนผ้าอ้อมดิ้นแด่ว ๆ อยู่อย่างนั้น มันจะมีศีลอะไร ศีลอยู่ที่เจตนา เจตนางดอันนั้นแหละเป็นศีล

เรางดเว้นจากฆ่าสัตว์ เราระลึกถึงว่าเราเคยฆ่าสัตว์เดี๋ยวนี้เรางดเว้นได้แล้วจิตใจมันก็เบิกบานแช่มชื่น เราเคยเป็นขโมยลักฉกสิ่งของเขาต่าง ๆ เวลานี้เรางดเว้นการลักขโมยได้แล้วจิตใจก็แช่มชื่นเบิกบาน แต่ก่อนเราเคยประพฤติผิดในมิจฉาจารกล่าวมุสาวาท ดื่มสุราเมรัย เราเคยประพฤติผิดเป็นอาจิณ หรือประพฤติเป็นบางครั้งบางคราวโดยเราไม่กลัวโทษ เห็นว่าเป็นการสนุกเฮฮา เมื่อมีสติครอบงำคุ้มครองจิตได้แล้ว มันเลยไม่กล้าทำความสนุกอันนั้น เมื่อไม่กล้าทำก็เกิดความละอาย งดเว้นจากโทษอันนั้น จิตใจมันก็เบิกบาน

  เราเกิดขึ้นมาได้ชื่อว่ามาสร้างคุณงามความดี ถ้าไม่มีศีลแล้วจะไปสร้างอะไร ชีวิตวันหนึ่ง ๆ ก็หมดไปเปล่า ๆ อย่างน้อยที่สุดมีศีลสักข้อหนึ่งก็ยังดี ถึงแม้ไม่เต็มไม่สมบูรณ์ เปรียบเหมือนกับคนพิการขาหักไปข้างหนึ่ง แขนด้วนไปข้างหนึ่ง มันไม่สมบูรณ์ แต่ยังดีกว่าไม่มีศีลเลย

  การรักษาศีลนี้ ขอให้พากันตั้งใจรักษาจริงๆ เถิดไม่ใช่ของยาก รักษาข้อหนึ่งให้ได้จริงๆ เมื่อมันสมบูรณ์จริง ๆ จัง ๆ แล้ว ข้อต่อ ๆ ไปก็เป็นของง่ายนิดเดียว บางคนเกิดขึ้นมาตั้ง ๔๐-๕๐ ปี หรือจนเฒ่าตายไปเสียเปล่า ๆ ศีลไม่เคยสมบูรณ์เลยสักที จะต้องขาดไป ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ หรือข้อใดข้อหนึ่งให้ได้ เข้าวัดเข้าวาก็พากันสมาทานศีล พอกลับไปยังไม่ทันพ้นเขตวัด ศีลก็กลับคืนมาหาพระเสียแล้ว ให้เข้าใจว่าศีลไม่ใช่ข้อรักษา เป็นข้องดเว้น เป็นข้องดเว้นต่างหาก

ผู้มีศีล ๕ ประการได้ชื่อว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกา ที่สมบูรณ์แล้ว ถือพุทธศาสนาสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว

ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นที่ตัวของเรา ถ้าปฏิบัติแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะเกิดขึ้นที่ตัวของเรา ท่านสอนให้ระลึกถึงศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ก็แล้วแต่ ตามฐานะของตน เมื่อมีศีลแล้วพึงระลึกถึงศีลของตนให้แน่วแน่เป็นอันหนึ่งอันเดียว นั่นแหละเรียกว่า สีลานุสติ


จากหนังสือ ธรรมลีลา ฉบับที่ 40 มีนาคม 2547

ที่มา
http://www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=51

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 06:43:36 »
สีลานุสสติ (7/18) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ืที่มา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สีลานุสติ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 07:09:37 »
เพลง สีลานุสสติกัมมัฏฐาน

ที่มา