ผู้เขียน หัวข้อ: ...กายคตานุสติ...2  (อ่าน 2271 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
...กายคตานุสติ...2
« เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 08:27:53 »
ภาค 1 เป็นเรื่องที่ท่านพระอาจารย์ฯได้ได้บันทึกไว้นานแล้ว
ดังข้อความข้างล่างนี้
เนื่องจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาปฏิบัติแล้ขยายความ จึงได้นำบทความอื่นๆมาให้อ่านกัน

"ยสฺสกสฺสจิ กายคตาสติ อภาวิตา อพหุลีกตา
ลภติ ตสฺส มาโร โอตารํ ลภติ ตสฺส มาโร อารมฺมณํ"

   ภิกษุไม่เจริญกายคตาสติอยู่ประจำแล้ว
ย่อมตกเป็นทาสของมาร มารอยู่เหนืออารมณ์
              ...กายคตาสติสูตร ๑๕/๑๘๖...

ทบทวนในสติปัฏฐาน ๔...
เริ่มจากฐานกายในแต่ละบรรพ
โดยเจริญกายคตาสติควบคู่กันไปในบางอารมณ์
เริ่มจากกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก รู้ลมสั้น รู้ลมยาว รู้ลมหายใจปกติ
เจิญอยู่ในอานาปานบรรพจนจิตพบความสงบระงับแห่งลมหายใจ
จดจำทางเดินของจิตในแต่ละขั้นของอารมณ์ธรรมกรรมฐาน
เวลาเราเปลี่ยนอิริยาบทของกายก็ให้มีสติกำหนดรู้อยู่ตลอด
เป็นการเจริญสติพิจารณาอยู่ในอิริยาบทบรรพทุกขณะ
มีสัมปชัญญะรู้ตัวในการเคลื่อนไหวจิตอยู่ในสัมปชัญญะบรรพ
จิตพิจารณากายให้เห็นถึงความน่าเกลียดของร่างกาย
จนเกิดความจางคลายเบื่อหน่ายในตัวตนเป็นการเจริญสติในปฏิกูลปนสิการ
แยกกายของเราให้เห็นเป็นอาการสามสิบสอง ซึ่งประกอบมาจากธาตุทั้ง ๔
คืนร่างกายของเรานี้สู่ธรรมชาติเห็นกายเป็นเพียงธาตุที่จิตมาอาศัย
ไม่นานก็ต้องทิ้งไปตามกาลเวลาพิจารณาอยู่ในธาตุบรรพ
เมื่อจิตออกจากกายด้วยความสลายเสื่อมไปของธาตุที่รวมกัน
กายนั้นย่อมมีความเสื่อมสลายกลายเป็นซากศพมีลักษณะต่างๆ
๙อย่างของการเสื่อมสลายจนเกิดความจางคลายในกายนี้
จิตพิจารณาในนวสีถิกาบรรพลักษณะของกายที่เป็นซากศพ
จิตก็พบกับความเป็นจริงของกายนี้ที่จิตเข้ามาอยู่อาศัย
เกิดความรู้ความเข้าใจ จิตจางคลายจากการยึดถือในตัวตน
ฝึกฝนพิจารณาในฐานกายให้มีความช่ำชองในทุกบรรพของฐานกาย
เมื่อพื้นฐานหนักแน่นมั่นคงแล้วความเสื่อมในธรรมทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้น
มีแต่ความเพิ่มพูนงอกงามเจริญในธรรมเพราะมีพื้นฐานที่ดีและถูกต้องมั่นคง
การปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องเริ่มจากพื้นฐานซึ่งคือกายของเรานี้เอง....
 :059:แด่กายคตานุสติกรรมฐานที่เป็นพื้นฐานแห่งสติปัฏฐาน ๔ :059:
                  เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิต
                            รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒๗ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๒.๑๘ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ที่มา
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12608.0
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 08:31:12 »
กายคตานุสติ 1/8

              สำหรับวันนี้ ในเบื้องต้นขอกล่าวถึง ความมีสติสัมปชัญญะของเรา สติ คือความระลึกนึกได้ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว
              เราบวชเข้ามา เป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา เรามีความรู้ตัวบ้างหรือไม่ ว่า ตอนนี้ เราเป็นปูชนียบุคคลแล้ว เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเขากราบไหว้ เขาให้การเคารพบูชา เขาให้การเลี้ยงดูเป็นปกติ

              ถ้าหากว่าเรามีสติระลึกได้ ก็นับว่าเข้าถึง แต่ถ้าเราไม่มีสติ ระลึกได้ตรงนี้ เราจะขาดทุนมาก เพราะว่า ถ้าเราระลึกได้เฉยๆ ว่าเป็นปูชนียบุคคล มันจะประกอบไปด้วยตัวมานะ ถือตัวถือตนอีกต่างหาก

              เราต้องนึกไปถึง ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บัญญัติศัพท์ขึ้นมาเรียกพวกเรา ท่านใช้คำว่าภิกขุ คือ ผู้ขอ หรือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร การเป็นผู้ขอ เพราะว่า เรามีปกติบิณฑบาตเลี้ยงชีพ ท่านใช้คำว่าสัมมาอาชีวะ อาชีพที่ถูกต้อง
              พระของเรามีงานประจำ เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ เพียงอย่างเดียว คือ ขอเขากิน เราเป็นขอทาน งานอื่นไม่ใช่งานของพระ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหาเงินหาทอง แบบไหนก็ตาม ไม่ใช่งานของพระทั้งหมด
              งานประจำมีอย่างเดียวคือ เช้าขึ้นมาออกบิณฑบาต ถ้าเราไม่มีความระลึกได้ตรงนี้ เราก็อาจจะไปในลักษณะ ทำตัวเป็นเจ้านายเขา ไปให้โยมเขาสงเคราะห์ เหมือนกับว่าเป็นหน้าที่โยมที่จะต้องเลี้ยงเรา

              ถ้าเป็นดังนี้ เราจะขาดทุนมาก เพราะว่าโบราณท่านใช้คำว่า โปรดสัตว์ คือ เราต้องรักษากาย วาจา ใจของเราให้ดีที่สุด ให้สะอาดบริสุทธิ์ที่สุด เท่าที่จะทำได้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลาแล้ว การที่ญาติโยมเขาสงเคราะห์เรา เขาจะได้อานิสงส์สูงสุดเท่าที่เขาจะพึงได้

              การทำบุญของญาติโยมส่วนใหญ่ คือ หวังผลเพื่อความสุขสบายในเบื้องหน้า ถ้าหากว่าศีล สมาธิ ปัญญาของเราดี มีความแจ่มใส มีความผ่องใส บริสุทธิ์เป็นปกติ ญาติโยมที่ทำบุญ ท่านก็จะได้บุญใหญ่ สมกับความตั้งใจของเขา
              สมกับที่โบราณท่านบัญญัติ ใช้คำว่าโปรดสัตว์ แต่ถ้ากำลังใจของเราไม่ดี ศีล สมาธิ ปัญญาของเราบกพร่อง เราออกไปในแต่ละวัน มันจะไม่ใช่การโปรดสัตว์ มันเป็นการไปให้สัตว์เขาโปรด โทษใหญ่ก็จะเกิดขึ้นกับเรา

              ทุกวันตัวเราขวนขวายหาความดีใส่ตัว แล้วในตอนเช้าๆ ญาติโยมก็จะมาเอาความดีไปจากเรา ถ้าเราไม่สามารถรักษาความดีให้ทรงตัวได้ มีความดีเพียงเล็กน้อย ญาติโยมจำนวนมากด้วยกัน ต่างคนต่างเอาไป ต่างคนต่างคว้าไป เราก็จะไม่มีอะไรเหลือ
              ไม่เหลือยังไม่ว่า อาจจะขาดทุน ติดลบอีกต่างหาก ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องทรงสติสัมปชัญญะ ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ เหลือบเห็นผ้าเหลืองเมื่อไร ให้รู้ตัวว่า ตอนนี้ เราเป็นพระแล้ว คลำศีรษะไม่มีผมหรือผมสั้น เราต้องรู้ตัวว่า เราเป็นพระแล้ว

              ท่านว่า บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว กริยาอาการใดๆ ที่เป็นของสมณะ เราต้องทำกริยาอาการนั้นๆ คือ ต้องมีความสำรวมในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นปกติ

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 08:38:52 »
กายคตานุสติ 2/8

   ในขณะที่บิณฑบาต ต้องมีสติระมัดระวังอยู่เสมอ กำลังใจให้ทรงตัวอยู่กับภาพพระให้เป็นปกติ กำลังใจให้ทรงตัวอยู่กับการภาวนาให้เป็นปกติ เมื่อโยมเขาสงเคราะห์ ก็ใช้เสขิยวัตรในการบิณฑบาตของเรา คือ สายตาลดต่ำ เหลือบดูอยู่แต่ในบาตร
   
           เมื่อถึงวาระของการเดิน ให้มองไปข้างหน้าแค่ชั่วแอก คือ ถ้าหากว่าเราอยู่บนเกวียน ก็มองไปสุดปลายแอก คือ แค่คอวัวเท่านั้น ถ้าในปัจจุบันนี้ก็คือ ทอดสายตาต่ำลงมองไปข้างหน้า ระยะประมาณสองเมตร
              ไม่ใช่สอดส่ายสายตาไปทั่ว ขาดการสำรวมระวัง ญาติโยมที่เป็นผู้หญิงเขาใส่บาตร แทนที่ใจของเราจะอยู่กับพระ แทนที่ใจของเราจะนึกอวยพรให้เขา ว่าขอให้เขาทั้งหลายมีความสุข มีความปรารถนาที่สมหวังทุกประการ

              เราก็จะไปยินดียินร้ายกับเขาอีก เห็นโยมผู้หญิงแก่หน่อยก็ อ้าว...ทำไมแก่จัง ? เห็นโยมผู้หญิงอ้วนหน่อยก็ อ้าว...ทำไมอ้วนจัง ? ไม่พอใจ เห็นโยมผู้หญิงหน้าตาดีหน่อย ใจก็ไปคิด เออ...หน้าตาดีนะ น่ารัก น่าปรารถนา น่าจะเป็นแฟนของเรา
              ถ้าในลักษณะนี้ เราจะขาดทุนมาก เพราะว่าราคะกับโทสะ จะกินใจเราอยู่ตลอดเวลา มันกินลึก มันซึมลึก กว่าเราจะรู้ตัว มันพาเราลงนรกไปนานแล้ว เราไปให้ญาติโยมเขาสงเคราะห์ ได้ข้าว ได้กับ ได้น้ำมา เพื่อที่จะเป็นเครื่องอาศัย
              คือฉันลงไปแล้ว ให้อัตภาพร่างกายนี้มันคงอยู่ได้ ไม่เกิดอาการกระวนกระวายมากนัก เราจะได้ปฏิบัติธรรมของเรา ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ได้ข้าว ได้กับ ได้น้ำ ได้ขนมแล้ว ยังคิดจะไปเอาตัวของเขาอีก มันก็เกินไป

              เพราะฉะนั้น ต้องมีความสำรวมระวังให้เป็นปกติ ตลอดระยะทาง ควรจะทำอย่างไร ควรจะปฏิบัติอย่างไร เรารู้อยู่ ถ้ากำลังใจของเราทรงตัวอยู่ในด้านดี สามารถรักษาความแจ่มใสของจิต ไม่ให้กิเลสมันเข้ามาแทรกได้ ญาติโยมที่ทำบุญกับเราก็จะมีบุญมาก
              ในแต่ละวัน เราฉันข้าวที่ญาติโยมเขาเลี้ยง ใช้สอยปัจจัย ๔ ที่ญาติโยมเขาสงเคราะห์ เท่ากับว่าชีวิตนี้ไม่ใช่ของเรา มันกลายเป็นของโยมไปแล้ว ในเมื่อชีวิตของเราก็เป็นของโยมเขาไปแล้ว จะเรียกง่ายๆ ว่า เป็นทาสของเขาไปแล้ว

              ลักษณะของทาส หรือว่าลูกจ้าง หรือคนที่เขาเลี้ยง คนที่เขาสงเคราะห์ ก็ต้องทำตัวให้ดีที่สุด เพื่อให้นายทาส หรือว่านายจ้าง หรือบุคคลผู้ให้การสงเคราะห์ เขาจะได้เมตตาสงเคราะห์เราไปเรื่อย
              ไม่ใช่ว่าออกไปในลักษณะที่ กำลังใจมันใช้ไม่ได้ เราเป็นพระ เป็นปูชนียบุคคล กำลังใจอย่างน้อยๆ ก็ต้องเป็นเทวดา เป็นพรหม หรือกำลังใจเป็นพระได้ยิ่งดี

              ไม่ใช่กำลังใจของเรา เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วไปให้มนุษย์เขาสงเคราะห์
              ถ้าลักษณะนั้น เขาสงเคราะห์เรา อานิสงส์เขาก็น้อย ขาดทุน เราก็จะไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาไว้
              เราเป็นพระภิกษุสงฆ์ หน้าที่ของเราคือ อันดับแรก ชำระจิตใจของเราให้ผ่องใส ให้มีกิเลสอยู่ในใจให้น้อยที่สุด ถึงหมดไปได้เลยยิ่งดี อันดับที่สองก็คือ สงเคราะห์ญาติโยมเขา ตามกำลังตามความสามารถของตน

              ไม่ว่าจะเป็นการสงเคราะห์ ในลักษณะเนื้อนาบุญก็ดี สงเคราะห์ในการ สอนญาติโยมให้รู้ธรรมก็ดี การสงเคราะห์ข้อหลังนี้ จัดเป็นการเผยแผ่พระศาสนา ให้กว้างไกลออกไปด้วย

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 09:01:51 »
กายคตานุสติ 3/8

   ถ้าเรายังทำไม่ได้ เรายังปฏิบัติไม่ได้ เราจะเอาอะไรไปสอนญาติโยมเขา สอนตัวเองยังไม่สำเร็จ สอนคนอื่นมันจะสำเร็จได้อย่างไร ? ตราบใดที่เรายังทำไม่ได้ ยังไม่รู้จริง ตราบนั้นสิ่งที่เราพูด ก็ไม่แน่ว่าจะถูกต้อง สิ่งที่เราสอน ก็ไม่แน่ว่า จะเป็นไปตามพระสัทธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
   
           ปัจจุบันนี้ นักบวชต่างๆ ตลอดจนกระทั่งฆราวาส ทำให้พระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตกต่ำเหลือเกิน แต่ละคนอ้างสิทธิ อ้างเสรีภาพ ในการที่จะวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
              มันเป็นการใช้การวิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย ด้วยโลกียปัญญาในลักษณะของปริยัติ คือศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่การปฏิบัติ จนตีราคาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตกต่ำลงไปทุกวัน ไร้ค่าลงไปทุกวัน

              หน้าที่ของเราคือ ต้องทำให้ได้ เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา เราจะได้ยืนยันกับเขา เราจะได้มีหลักฐานบอกเขาว่า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่แท้จริงเป็นอย่างนี้
              ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ เราถึงจะเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส คือเป็นลูกที่พระพุทธ เจ้าท่านรักมาก แต่ถ้าเราทำไม่ได้ สักแต่ว่าอาศัยผ้าเหลือง ให้โยมเขาสงเคราะห์ไปวันหนึ่งวันหนึ่ง สักแต่ว่าอาศัยพระศาสนาเป็นที่อาศัย เป็นที่อยู่ที่กินไปวันหนึ่งวันหนึ่ง

              เราตายเมื่อไร เรามีหวังลงอเวจีมหานรก อบายภูมิเปิดรอเราอยู่ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราต้องทบทวนศีลของเรา ให้บริสุทธิ์ เราต้องรักษาสมาธิของเรา ให้ตั้งมั่นทรงตัว เราต้องมีปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงสภาพร่างกายนี้ และสภาพของโลกนี้
              จงถอนความยินดี อยากได้ใคร่มี ในร่างกายนี้ ในโลกนี้เสีย เพื่อจะได้หลุดพ้น ไปพระนิพพานให้ได้ เพื่อที่เราจะได้เป็นบุคคล ที่ญาติโยมเขาสงเคราะห์แล้ว ได้อานิสงส์มาก เพื่อที่เราจะได้เผยแผ่ พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ขจรขจายออกไป เพื่อที่ญาติโยมทั้งหลายจะได้รู้ว่า นักบวชที่ดีจริงๆ ยังมีอยู่

              แม้มันจะดีถึงที่สุดไม่ได้ ก็ให้มันดีในลักษณะของพระโยคาวจร คือ ผู้ตั้งใจปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น แม้จะไม่ได้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ขึ้นชื่อว่าพระโยคาวจร ก็ยังไม่ขาดทุนมาก
              คราวนี้ การที่เราจะรู้เท่าทันร่างกาย รู้เท่าทันในโลกนี้ เราต้องรู้จักคิด รู้จักพิจารณา ศึกษาตามคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาปฏิบัติให้เห็นผล

              สำหรับวันนี้ จะกล่าวถึงกายคตานุสติกรรมฐาน คือการระลึกถึงสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ กายคตานุสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่สำคัญมาก ผู้ที่จะเป็นพระอริยเจ้าทุกท่าน ต้องผ่านกรรมฐานกองนี้
              ถ้าไม่เคยปฏิบัติ ในกายคตานุสติกรรมฐาน เราจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ กายคตานุสติ การตามระลึกถึงกาย คือ ดูให้รู้ ให้เห็น ในสภาพความเป็นจริงของร่างกาย ดูว่าสภาพที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ?

           

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 27 ก.ค. 2554, 09:50:47 »
กายคตานุสติ 4/8

ร่างกายของเรา มันปกปิดเอาไว้ด้วยหนัง เราดูเมื่อไร ก็ไปติดอยู่ที่หนัง เราก็จะยินดีกับมัน พอใจกับมัน เราลองนึกถึงสภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ว่าสภาพความเป็นจริงของมันเป็นอย่างไร
              ลองค่อยๆ นึกไปว่า ถ้าเราลอกหนังออกไปชั้นหนึ่ง สภาพข้างในมันมีอะไร พอเราถลกหนังมันออก พวกเลือด น้ำเหลืองก็ไหลโทรมไป ผ่านใต้หนังกำพร้า ต่อไปก็เป็นหนังแท้ มีความหนามากกว่าหนังกำพร้า เป็นสีขาว
              ใต้หนังแท้ลงไป เป็นเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วยเลือด น้ำเหลือง ลักษณะเป็นมัดกล้าม แทรกเอาไว้ด้วยไขมัน ลักษณะของมัดกล้ามก็จะยาวเรียว ไปตามลักษณะของร่างกายส่วนนั้นๆ
              มีชั้นของไขมันแทรกอยู่ มีเส้นเลือดแทรกอยู่ มีเส้นประสาทแทรกอยู่ ถ้าหากว่า ยกเอาเนื้อออกไป เอาเส้นเลือดออกไป เอาเส้นประสาทออกไป มันก็จะไปถึงกระดูก ที่มีเส้นเอ็นรัดอยู่ มัดอยู่
              ถ้าหากว่า ยกเส้นเอ็นออก กระดูกมันก็หลุดสลายไป ไม่สามารถจะคุมเป็นรูปเป็นร่างอยู่ได้ คราวนี้เรามาดูว่า ตรงกลางของร่างกาย มันประกอบไปด้วยอวัยวะภายในใหญ่น้อย ลักษณะเป็นเครื่องจักรกล ทำงานของมันอยู่ตลอดเวลา


              มีหัวใจ มีปอด มีตับ มีม้าม มีไต มีถุงน้ำดี มีกระเพาะอาหาร มีกระเพาะปัสสาวะ มีลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก มีหลอดอาหาร มีหลอดลม ถ้าหากว่าในลักษณะนี้ อยู่ๆ เราเดินไปเจอตอนกลางคืน มีใครมีรูปร่างลักษณะนี้เดินมา เรามั่นใจได้เลยว่าผีหลอก
              แต่ว่าเจ้าผีนี่อยู่กับเราตลอดเวลา ไม่ว่าผู้หญิง ไม่ว่าผู้ชาย ไม่ว่าสัตว์ทั้งหลาย เจ้าพวกผีนี่มันอยู่ด้วยตลอดเวลา มันหลอกเราอยู่ตลอดเวลา มันเอาหนังมาคลุมเข้าไป ไม่ให้เราเห็นเลือด ไม่ให้เราเห็นเนื้อ ไม่ให้เราเห็นน้ำเหลือง
              ไม่ให้เราเห็นอวัยวะภายใน ที่กำลังเต้นอยู่ กำลังทำงานของมันอยู่ เราก็หลงไปยึด ไปติดอยู่กับมัน ติดอยู่แค่หนัง หนังมันประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ก็ประกอบไปด้วยเส้นขน มีต่อมเหงื่อ มีต่อมไขมัน
              ถึงวาระ ถึงเวลา ร่างกายมันก็จะหลั่งไขมัน ออกมาหล่อเลี้ยงผิวกาย หลั่งเหงื่อออกมา เพื่อที่จะหล่อร่างกายให้มันเย็น ไม่ให้มันร้อนจนเกินไป ความสกปรกต่างๆ นี้ จับอยู่ที่ร่างกายเป็นปกติ
              ตั้งแต่ศีรษะจรดไปถึงปลายเท้า ตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาถึงศีรษะ มีแต่ส่วนของความสกปรกทั้งนั้น มีแต่ขี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะ ขี้หัว ขี้หู ขี้ตา ขี้ไคล ขี้ฟัน กระทั่งขี้เล็บ มากมายเต็มไปหมด
              ไม่อาบน้ำสักวันหนึ่ง ตัวเราเองก็จะทนไม่ได้แล้ว อย่าว่าแต่คนอื่นเลย สภาพร่างกายของเรา ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็มีสภาพดังนี้ ถ้าไม่อาบน้ำสักสองวันสามวัน ก็เหม็นจนทนไม่ได้
 

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 07:00:20 »
กายคตานุสติ 5/8

 ส่วนใหญ่ที่เราเห็น ที่เราพบคือ เขาทำการขัดสีฉวีวรรณมาดีแล้ว เราก็คิดว่าสะอาด เขาเอาน้ำอบ น้ำหอม มากลบกลิ่นเหม็นของร่างกาย เราก็ไปชอบกลิ่นนั้น เอาเสื้อผ้ามาปิดมาบังในร่างกาย เราก็ไปชอบความสวยของเสื้อผ้านั้นๆ
              ถ้าเราลองเอาเสื้อผ้าออก เอาหนังออก ถลกไปถึงเนื้อ อวัยวะภายใน มันจะไม่มีอะไรเป็นสาระ เป็นแก่นสาร มีแต่เลือด น้ำเหลือง ไขมัน เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เส้นเลือด เส้นประสาท
              สภาพความเป็นจริงของร่างกาย มันเป็นอย่างนี้ ตัวเราก็เป็นอย่างนี้ คนอื่นก็เป็นอย่างนี้ ผู้หญิงก็เป็นอย่างนี้ ผู้ชายก็เป็นอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้ มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ
              แล้วร่างกายก็ยังมีกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งบรรจุเต็มไปด้วยน้ำปัสสาวะ มีลำไส้ใหญ่ที่ประกอบไปด้วยกากอาหารคืออุจจาระ ทั้งหมดที่เรากินลงไปดีๆ แท้ๆ แต่พอผ่านการย่อยสลายเหลือกากออกมาแล้ว บางทีถ่ายออกมาเหม็นไปสามบ้านแปดบ้าน


              เราเองเคยนึกถึงตรงนี้ไหม ? เออ ถ้าเป็นเพศตรงข้าม หน้าตาสวยๆ หล่อๆ แต่เวลาเข้าส้วมทีเหม็นไปสามบ้านแปดบ้าน มันมีอะไรให้น่าใคร่ น่ายึดถือ สภาพความเป็นจริงของมันเห็นๆ อยู่ แต่ว่าทุกคนก็พยายามปิดบังมัน
              สภาพร่างกายของเรานี้ มันเหมือนกับถุง ที่บรรจุเอาไว้ด้วยของสกปรก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เหมือนกับถุงที่บรรจุไปด้วยเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าว เป็นถั่ว เป็นงา ถึงวาระมัดปากถุงเอาไว้ ก็เห็นว่าถุงมันสวยงาม
              แต่พอเปิดถุงเทออกมา ให้เห็นความจริงว่า ข้างในเป็นข้าว ข้างในเป็นถั่ว ข้างในเป็นงา สิ่งที่ไปยึดไปถือว่าถุงนั้นสวยก็ไม่มี คราวนี้นั่นมันเป็นเพียงพืช เป็นข้าว เป็นถั่ว เป็นงา แล้วถุงที่เราอาศัยมันอยู่นี้ มันไม่ใช่ธัญพืช

              มันประกอบไปด้วยเลือด ด้วยเนื้อ ด้วยน้ำเหลือง น้ำหนองต่างๆ ด้วยอุจจาระ ด้วยปัสสาวะ มีแต่ความเหม็นเน่า มีแต่ความสกปรกเป็นปกติ ถ้าหากว่าเราเปิดถุงไถ้นี้ออกมา เราก็จะวิ่งหนี เพราะทนความโสโครกของมันไม่ได้
              ยังไม่ทันจะตายเลย มันก็เน่าแล้ว มันก็เหม็นแล้ว ร่างกายที่ประกอบไปด้วยทวารทั้ง ๙ มีแต่ความสกปรก หลั่งไหลออกมาทุกวัน ถ้าไม่ดูแล ไม่อาบน้ำ ไม่ขัดสีฉวีวรรณ ไม่ล้าง ไม่ชำระมัน แม้กระทั่งเราเองก็ทนไม่ได้
              สิ่งสกปรกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ดี ขี้หัว ขี้หู ขี้ตา ขี้ฟัน ขี้ไคล อะไรก็ตาม ถึงเวลาถ้ามันกองอยู่ตรงหน้า เราก็รังเกียจ ทนมันไม่ได้ หนีมันไปเสีย หลีกมันไปเสีย แล้วลองนึกดูว่า ในร่างกายของเรา ก็มีสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ แล้วเรายังจะไปยินดี อยากมีอยากได้ในมันอยู่อีกหรือ ?
              ร่างกายของคนอื่น ของสัตว์อื่นก็เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย ก็เป็นอย่างนี้ เรายังจะไปยินดีมันอีกหรือ ? ยังไปอยากได้มันมา ประคับประคองเอาไว้อยู่หรือ ?
              ลักษณะของมัน ก็คือถุงที่บรรจุเอาไว้ด้วยขี้และเยี่ยว คืออุจจาระปัสสาวะนั่นเอง แล้วมันก็ซึมออกมานอกถุงอยู่ตลอดเวลา ส่งความเหม็นอยู่ตลอดเวลา เรายังอยากได้มันอยู่อีกหรือไม่ ? ยังต้องการมันอยู่หรือไม่ ?

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ค. 2554, 07:02:53 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 07:55:15 »
กายคตานุสติ 6/8

 เกิดมาเมื่อไร ก็มีแต่ร่างกาย ที่สกปรกโสโครกอย่างนี้ เกิดมาเมื่อไร ก็จะพบคนพบสัตว์ ที่มีแต่ความสกปรกโสโครกอย่างนี้ ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการมัน ก็จงเลิกความปรารถนาในมัน
              ไม่ว่าจะเป็นร่างกายของตนเอง ร่างกายของคนอื่น ร่างกายของสัตว์อื่น เมื่อไม่ปรารถนาในตัวตนของเรา ไม่ปรารถนาในตัวตนของผู้อื่น ก็ต้องไม่ปรารถนาในการเกิด เพราะว่าเกิดเมื่อไร เราก็ต้องพบกับมันอย่างนี้อีก
              มีแต่ร่างกายที่สกปรกโสโครก หาความดีไม่ได้ อยู่ไปก็มีแต่ความทุกข์ เพราะว่าร่างกายคือรังของโรค มีความทุกข์เป็นปกติ มีความสกปรกเป็นปกติ เป็นสมบัติของโลกนี้ ในเมื่อมันเป็นสมบัติของโลก ถึงวาระถึงเวลาก็ต้องคืนให้กับโลกไป
              มันพยายามที่จะทวง ที่จะดึง ที่จะเอาคืนอยู่ตลอดเวลา คือมันทรุดโทรมไปตลอดเวลา หมดสภาพลงไปตลอดเวลา นี่คือความไม่เที่ยงของมัน ถ้าเราไปยึดถือมั่นหมาย หวังจะให้มันดี หวังจะให้มันทรงตัว มันไม่เป็นไปตามนั้น เราก็มีแต่ความทุกข์

              ในเมื่อเราเห็น สภาพความเป็นจริงแล้ว ว่าร่างกายนี้มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายสุดสภาพร่างกาย ที่สกปรกโสโครกนี้ มันก็ยังตาย ยังพัง ยังเน่าเปื่อย ผุพังเป็นดินไป
              ไม่เหลืออะไรไว้เลย กลายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ คืนให้กับโลกไป สภาพของเราก็ดี ของเขาก็ดี ของคนหรือสัตว์ก็ตาม เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุดดังนี้ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้
              เกิดใหม่เมื่อไร ก็เป็นอย่างนี้เมื่อนั้น ดังนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดใหม่ ไม่ควรจะมีสำหรับเราอีก เราก็เอาใจเกาะพระนิพพานเข้าไว้ ตั้งใจว่า เราตายเมื่อไร ขอไปพระนิพพานแห่งเดียว ตายเมื่อไร ขึ้นชื่อว่าการเกิดมา มีร่างกายแบบนี้ จะไม่มีสำหรับเราอีก การเกิดมาในโลก ที่ทุกข์ยากเร่าร้อนนี้ ไม่มีสำหรับเราอีก ตั้งใจว่า ตายแล้วเราขออยู่พระนิพพานแห่งเดียว
              เอาใจเกาะพระนิพพานให้มั่นคง ภาวนาให้อารมณ์ทรงตัว ก็ขึ้นชื่อว่าเราปฏิบัติในกายคตานุสติกรรมฐาน ตามที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สอนเรามา
              ถ้าเรารู้แจ้งเห็นจริง สภาพจิตของเรายอมรับว่า ร่างกายนี้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ขึ้นชื่อว่าการเกิด เราไม่พึงปรารถนา ขึ้นชื่อว่าร่างกายนี้ โลกนี้ เราไม่พึงปรารถนา เราก็จะได้อยู่ในพระนิพพานจริงๆ
              ให้รักษาอารมณ์ใจอย่างนี้ไว้ ให้อยู่กับเราให้ได้ ทุกวัน ทุกเวลา เมื่อถึงวาระ ถึงเวลา เราจะได้ก้าวพ้นความเกิด ไปอย่างที่เราต้องการ เราจะได้อยู่ในพระนิพพานอย่างที่เราต้องการ ?


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
วันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๗

ที่มา
http://www.grathonbook.net/book/grammathan40/05.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 11:07:32 »
กายคตานุสติ 7/8
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


[youtube=425,350]uu6nUsfTfok[/youtube]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ก.ค. 2554, 11:08:02 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 28 ก.ค. 2554, 12:03:13 »
เจริญกายคตานุสสติ



ออฟไลน์ Noname

  • อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 166
  • เพศ: ชาย
  • อะไรอะไรก็พระไตรลักษณ์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 30 ก.ค. 2554, 04:34:37 »
ธรรมมมะของพระพุทธเจ้านั้นถ้าเราท่านทั้งหลายสนใจศึกษานั้นจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป
ที่จริงสำหรับเราท่านทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องทำในเรื่องศีลสมาธิปัญญา
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าบุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรและการปฏิบัตินั้นก็เป็นของเฉพาะตน
รู้ได้เฉพาะตนสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในขณะต่างๆนั้นก็รู้ได้เฉพาะบุคคลแต่เป็นของจริงปฏิบัติเกิดผลได้จริง
และสภาวะธรรมบางอย่างยังเห็นผลเป็นอัศจรรย์เกิดขึ้นได้จริงๆถ้าเราดำเนินตามรอยบาทพระศาสดาแล้ว
ทางดับทุกข์นั้นก็จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนและยังมีธรรมมะหลายประการที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตของเราเช่น
เราใช้แค่ธรรมที่มีอุปการะมาก คือ สติ และ สัมปะชัญญะ ก่อน คิดก่อนทำก่อนพูด ขณะคิดขณะทำขณะพูด
เช่นนี้ก็ง่ายมากมากหากเรามีสติพิจารณาตามธรรมข้อนี้ก็จะส่งผลดีให้เราในด้านต่างๆที่จะตามมา
หรือเราจะใช้แนวทางมรรค8ก็ได้ทุกๆอย่างก็สอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งสิ้นและธรรมอันใดหล่ะที่ยิ่งใหญ่
จะเป็นธรรมที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงธรรมนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงสอนไว้ว่าให้เราดำเนินไปถึงพระนิพพานคือความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
จึงจะสามารถพ้นจากวัฏจักรสังสารวัฏไปได้คือหยุดการเวียนว่ายตายเกิดจบชาติภพนั่นเองเพราะทุกๆอย่างไม่มีอัตตามีแต่อนัตตา
ถ้าเราละให้ได้ในความยึดมั่นถือมั่นแล้วชีวิตเราก็จะเป็นสุขได้หากเรามีธรรมมะประจำใจในการดำรงชีวิต...
การเกิดนั่นแหล่ะเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
การบริหารขันธ์นั่นแหล่ะทุกข์
พระนิพพานนั่นแหล่ะคือทางดับทุกข์

ออฟไลน์ โบตั๋นสีขาว

  • ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 146
  • เพศ: หญิง
  • จะสูงจะต่ำอยู่ที่เราทำตัวจะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ...กายคตานุสติ...2
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 31 ก.ค. 2554, 06:20:45 »
ขอบคุณมากคะ สำหรับบทความดีๆ อ่านแล้วได้ความรู้มากคะ :090: :050: :090:
เคารพ กตัญญู บูชา หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ทั้งครอบครัวคะ