ผู้เขียน หัวข้อ: จริตของคนประเภทต่างๆ (จริต หรือ จริยา 6)  (อ่าน 3199 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
จริตของคนประเภทต่างๆ (จริต หรือ จริยา 6)         

จริต หรือ จริยา 6 (ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน)
ตัวความประพฤติเรียกว่า "จริยา" บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า "จริต"
1.ราคจริต (ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม) กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ อสุภะและกายคตาสติ
2.โทสจริต (ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด) กรรมฐานที่เหมาะ คือ พรหมวิหารและกสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ
3.โมหจริต (ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางเขลา เงื่องงง งมงาย) กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ อานาปานสติและพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู
4.สัทธาจริต (ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบานน้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย) พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น พิจารณาอนุสติ 6 ข้อต้น
5.พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา) พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ เช่น พิจารณาไตรลักษณ์ กรรมฐานที่เหมาะ คือ มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐานและอาหาเรปฏิกูลสัญญา
6.วิตกจริต (ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปฏิบัติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน) พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) หน้า 189-190
http://www.buddha4u.org/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=74
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต

      นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4

ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต

      สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้

1. ราคจริต
      ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

2. โทสจริต
      คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป

3. โมหะ และ วิตกจริต
      อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป


ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด

4. สัทธาจริต
      ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ

พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน

     ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต
      คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง

มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน
      กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป


ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit2.html

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
อ่านแล้วได้ความรู้มากๆครับ 36; 36;
                                             
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                       
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ