ผู้เขียน หัวข้อ: วิถีแห่งความรู้แจ้ง..(1)..พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช  (อ่าน 2133 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
วิถีแห่งความรู้แจ้ง 1-2 ฉบับสมบูรณ์ ของ พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช         



ผู้เขียน พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช นามเดิม นายปราโมทย์ สันตยากร อุปสมบทที่วัดบูรพาราม
อ.เมือง จ.สุรินทร์ เมื่อ พ.ศ.2544 ช่วงก่อนอุปสมบทท่านได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเจริญสติ เจริญวิปัสสนา หรือการดูจิต จากประสบการณ์ที่ได้รับการศึกษาและปฏิบัติมาจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล โดยใช้นามปากกาว่า อุบาสกนิรนามและสันตินันท์ หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้แสดงธรรมและเขียนหนังสือเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติภาวนา เพื่อพิมพ์แจกเป็นธรรมทานอีกหลายเล่ม
หนังสือวิถีแห่งความรู้แจ้ง แบ่งเป็นสองภาค คือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง 1 พิมพ์แจกเป็นธรรมทานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และวิถีแห่งความรู้แจ้ง 2 พิมพ์แจกเป็นธรรมทานครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 เป็นงานเขียนที่มุ่งชี้แนวทางการปฏิบัติธรรมอันลัดสั้น ตามหลักวิปัสสนากรรมฐาน หนังสือนี้ไม่ใช่เพื่อความรอบรู้ในทางวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเสมือนแผนที่บอกวิถีทางสู่ความ
พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง จนถึงขณะนี้หนังสือทั้งสองภาคได้รับการตีพิมพ์เป็นธรรมทานมาแล้วเกือบแสนเล่ม และเมื่อปีพ.ศ.2549 สำนักพิมพ์พรีม่า พับลิชชิ่ง ได้รับอนุญาตให้นำมาจัดพิมพ์และจัดจำหน่าย
วิถีแห่งความรู้แจ้ง 1 เป็นการรวบรวมงานเขียนของพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ครั้งยังเป็นฆราวาส แบ่งเป็น 4 บท ได้แก่ 1) แด่เธอผู้มาใหม่ ที่กล่าวถึงเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่าธรรมะ 2) แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป กล่าวถึงการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง โดยมีเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม อันได้แก่ สติ และสัมปชัญญะ 3) แนวทางปฏิบัติธรรมของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) กล่าวถึงเหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต โดยวิธีดูจิต และ 4) การดูจิต กล่าวถึงความหมาย วิธีการ และผลของการปฏิบัติ ซึ่งเป็นการอธิบายในเชิงวิชาการ
ส่วนวิถีแห่งความรู้แจ้ง 2 นั้นเป็นงานเขียนเมื่อได้อุปสมบทแล้ว หนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงสิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา อันได้แก่ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง มีเนื้อหาที่กล่าวถึงว่าทุกข์คืออะไร ความทุกข์เกิดจากอะไร และอะไรคือทางแห่งความดับทุกข์ รวมถึงการแจกแจงเรื่องของการเจริญสติ อันได้แก่การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ของรูปและนาม โดยการระลึกรู้ ถึง สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง เจริญสติรู้ทันความปรุงแต่ง จนพ้นจากความปรุงแต่ง เข้าถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
ประเด็นหลัก/คุณค่าที่คู่ควรกับจิตตปัญญาศึกษา: หนังสือทั้งสองเล่มนี้ มีรายละเอียดอย่างสมบูรณ์ ในเรื่องของการเรียนรู้ศึกษาจิตใจตัวเอง ด้วยการมีสติ มีสัมปชัญญะ เป็นการเรียนรู้จิตใจตัวเองจากประสบการณ์ตรง ด้วยการใช้ภาษาที่เรียบง่ายในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือ จึงทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง และสามารถปฏิบัติตามได้ไม่ยาก และเมื่อได้เรียนรู้จิตใจตัวเองจนเกิดปัญญา เข้าใจความจริงตามหลักของพุทธศาสนา คือเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของจิตใจตัวเองได้แล้ว ปัญญาอันเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของพุทธศาสนา ก็จะส่งผลไปสู่การพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการเข้าถึงความสุขที่แท้จริงต่อไป

ที่มา
http://www.jittapanya.com/index.php?option=com_content&view=article&id=202:-1-2-&catid=50:2010-03-01-08-40-53&Itemid=79
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
คํานํา

วิถีแหงความรูแจงถึงพระสัทธรรมทางพระพุทธศาสนา  ไดแกการเจริญสติ
นอกจากการเจริญสติแลว  ไมมีหนทางแห่งความรู้แจ้งทางที่สอง


การเจริญสติหรือการทําความรูตัว  เปนวิถีทางที่ตรงไปตรงมาที่สุด  ที่จะพาเรา
แหวกออกจากโลกของความปรุงแตง  หรือความคิดนึกทั้งหลาย  ซึ่งปดกั้นเราไวจากสัจธรรมที่แท้จริง 
ทันทีที่เราแยกตนเองออกจากโลกของความคิดปรุงแตงได  จิตของเราจะ
มีคุณภาพที่จะมองเห็นปรมัตถธรรมที่กําลังปรากฏและเกิดดับ  ไดแกจิตและเจตสิก  อัน
เปนฝายนามธรรมและรูปธรรมทั้งปวง  เมื่อจิตรูแจงและปลอยวางปรมัตถธรรม  ฝายรูปธรรมและนามธรรมไดแลว
เราก็จะบรรลุถึงสัจจะอันแทจริง  ซึ่งอยูเหนือความปรุงแต่งทั้งปวง

การบรรลุถึงสัจจะที่จะเหนือความปรุงแตง  จะกระทําไมไดดวยการปฏิบัติที่เปนความปรุงแตง 
อาทิ การทำทาน  การถือศีล  และการทําสมาธิที่ถูกตอง  (ไมตองกลาวถึงการทำทาน  การถือศีล 
และการทําสมาธิที่ผิด  คือเจือดวยโมหะและโลภะ)  ตัวอยางเชน  เมื่อเกิดความตระหนี่ก็ทําทานเพื่อลดความตระหนี่  เมื่อถูกราคะและโทสะครอบงําจิตใจ  จนลนออกมาเปนการทําผิดทางกายและวาจา  ก็ถือศีลเพื่อเปนกรอบกั้นการทําผิดทาง
กายและวาจาไวกอน  หรือเมื่อจิตฟุงซานก็ทําความสงบ  เมื่อมีกามราคะก็พิจารณาอสุภะฯลฯ
  สิ่งเหลานี้  แมจะเปนประโยชนมากและควรทํา  แตก็เปรียบเหมือนกับการแก
อาการของโรคเท่านั้น  ยังไมถึงขั้นการขจัดต้นตอหรือสาเหตของโรค ุ
การจะปฏิบัติจนจิตเขาใจถึงสภาพธรรมที่เหนือความปรุงแตง  จะกระทําไดดวย
การลืมตาตื่นออกจากโลกของความคิดฝนปรุงแตง  แลวหันหนามาเผชิญกับปรมัตถธรรม
ที่กําลังปรากฏดวยจิตที่เป็นกลาง  พนจากความหลงยินดียินรายแม้แต่กับกิเลสบาป
ธรรม  ไมเพงจอง  และไมเผลอเติมความคิดปรุงแตงลงในการรับรู  นี้คือวิถีที่จะรีด
กระแสความคิดปรุงแตงใหเรียวเล็กจนขาดลง  เมื่อกระแสของความปรุงแตงขาดลง 
สภาพธรรมที่พนจากความปรุงแต่งก็ จะปรากฏออกมาเอง
 
การทําความรูตัว  เปนสิ่งที่เราไมคุนเคย  เพราะเราคุนเคยแตกับความไมรูตัวแลว
หลงอยูในโลกของความคิดฝน  จึงจําเปนที่เราจะตองศึกษา  ทําความเขาใจ  แลวลงมือ
ปฏิบัติอย่างจริงใจ หนังสือเลมนี้  ไดนําเสนอขอเขียนบางสวนของอุบาสกนักปฏิบัติผูหนึ่งคือ 
นาย ปราโมทย สันตยากร / “สันตินันท” / “อุบาสกนิรนาม”  ทั้ง 4 เรื่อง  มีสาระเดียวกันคือ 
นํา เ ส น อ แ น ว ท า ง ก า ร เ จ ริญส ติ   เ พีย ง แ ต มีค ว า ม ย า ก งา ย ใ น ก า ร อ ธิบ า ย แ ต ก ตา ง กัน 
นับตั้งแต(1)  เรื่อง “แดเธอผูมาใหม:  เรื่องเรียบงายและธรรมดาที่เรียกวาธรรมะ”    จะเปนการนําเสนอสําหรับผูที่ไมคุนเคยกับศัพททางพระพุทธศาสนา  (2)   เรื่อง “แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป”    เปนการขยายความใหลึกลง  (3)  เรื่อง  “แนวทางปฏิบัติธรรมของพระราชวุฒาจารย  (หลวงปูดูลย  อตุโล)”   เปนการแจกแจงการปฏิบัติแบบหนึ่ง ของศิษยผูหนึ่ง  ซึ่งไดรับการชี้แนะแกนคําสอนในเชิงปฏิบัติจากหลวงปูดูลย  (ควรเขาใจ
วา  ศิษยทานอื่นก็อาจมีวิธีการปฏิบัติตามแกนคําสอนของหลวงปู แตกตางกันบางตามจริตนิสัย)  และ (4)  เรื่อง “การดูจิต :  ความหมาย  วิธีการ  และผลของการปฏิบัติ”  เปนการอธิบายในเชิงวิชาการ   เพื่อสร้างความเข้าใจที่ ตรงกันระหว่างนักปริยัติกับนักปฏิบัติ
ขอชาวพุทธจงรูจักวิถีแหงความรูแจง  และมีสวนแหงความรูแจงตามรอยบาทของพระศาสดาโดยทั่วถึงกันเทอญ
(1 พฤศจิกายน 2544)

ที่มา
http://02.learndhamma.com/pramote/books/vidhi.pdf

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
“เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อดับสังขารขันธ์
หรือเวทนาและสัญญาขันธ์
แต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้ทันความเกิดดับของมัน
ด้วยจิตที่เป็นกลาง ถ้าคิดจะดับมัน จิตจะเกิด
ความรำคาญใจขึ้นมาเล็กๆแบบไม่รู้ตัวครับ
เรียกว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่เรารู้ไม่ทัน
จิตจึงไปปฏิเสธสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่”


อ่านทั้งหมดได้ที่นี่ฟรี!!
http://02.learndhamma.com/pramote/books/vidhi.pdf

ถ้าท่านผู้ใดประสงค์จะพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
โปรดพิมพ์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
หากพิมพ์เพื่อจำหน่าย ขอสงวนสิทธิ์

ออฟไลน์ saken6009

  • อย่ากลัวคนจะมาตำหนิ แต่จงกลัวว่าตัวเองจะทำผิด อย่ากลัวที่จะรับรู้ความบกพร่องของตน แต่จงกลัวว่าตนจะเป็นคนที่ดีได้ไม่จริง
  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 893
  • เพศ: ชาย
  • ชีวิตของข้า เชื่อมั่นศรัทธา หลวงพ่อเปิ่น องค์เดียว
    • ดูรายละเอียด
วิถีแห่งความรู้แจ้ง ของ พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช 36; 36;
                               
ขอบคุณท่าน ทรงกลด ที่นำบทความธรรมะที่ดีมากๆ มาให้พี่น้องศิษย์วัดบางพระได้อ่านครับ
                                                                                                                 
(ขออนุญาตเข้ามาอ่าน เพื่อเป็นความรู้ ขอบคุณมากครับ) :033: :033:

กราบขอบารมีหลวงพ่อเปิ่น คุ้มครองศิษย์ทุกๆท่าน ให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง สาธุ สาธุ