ผู้เขียน หัวข้อ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่าครับ  (อ่าน 5746 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ adangookpop009

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตามหัวข้อครับ

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ไม่สักให้ เยาวชน
โดยเฉพาะ หลวงพี่ติ่ง ไม่สักให้เยาวชน อายุไม่ถึง 20 ปี แม้นว่า ผู้ปกครองจะอนุญาต
เพื่อ ป้องกัน ท่านเยาวชน ทั้งหลาย ที่ไปเสพยาเสพติดแล้ว มีอาการทางจิต แต่ผู้ปกครอง
ไม่ทราบ เกิดอาละวาดขึ้นมา ท่านผูปกครอง ก็จะไปกล่าวหาโทษพระ ว่าสักอะไรให้ ทำให้
ของขึ้น เกิดอาละวาด ควบคุมตัวเองไม่ได้
เรื่องจริง นะครับ เกิดขึ้นมาแล้ว
อิติ สุคคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ  ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร
มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม

ออฟไลน์ tum_ohayo

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 64
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คือผมอายุ 15 อยากจะสักน้ำมัน ได้เปล่า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 29 ต.ค. 2554, 11:40:40 »
อยากให้ไปศึกษาอะไรให้มากกว่านี้นะครับ เยาวชนสมัยนี้เห็นการสักยันต์ เหมือนการใส่เหล็กดัดฟัน อยากสักเป็นแฟชั่น พูดไม่ออกจริงๆ

ขออนุญาตแสดงความเห็น เพราะเห็นว่าอายุน้องแค่15เท่านั้นนะครับ
อยากให้ศึกษาอะไรให้มากกว่านี้เกี่ยวกับสิ่งที่น้องสนใจ เหมือนคนจะทำงานกับต่างชาติ ต้องเรียนภาาาของชาตินั้นๆ
พี่ขออนุญาตอัญเชิญพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าร.6 คือ มงคลสูตรคำฉันท์ ให้น้องอ่านทำความเข้าใจก่อน

๑. อเสวนา จ พาลานํ      ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล      เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต      เพราะจะพาประสพผล
หนึ่งกราบและบูชา      อภิบูชะนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๒. ปฏิรูปเทสวาโส จ      ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความอยู่ประเทศซึ่ง      เหมาะและควรจะสุขี
อีกบุญญะการที่      ณ อดีตะมาดล
อีกหมั่นประพฤติควร      ณ สะภาวะแห่งตน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๓. พาหุสจฺจญฺะ สิปฺปญฺจ      วินฺโย จ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความได้สดับมาก      และกำหนดสุวาที
อีกศิลปะศาสตร์มี      จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน      นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน      ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน      จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๔. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ      ปุตฺต ทารสฺส สํคโห
อนากุลา จ กมฺมนฺตา      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
บำรุงบิดามา-      ตุระด้วยหทัยปรีย์
หากลูกและเมียมี      ก็ถนอมประหนึ่งตน
การงานกระทำไป      บ่มิยุ่งและสับสน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๕. ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ      ญาตกานญฺจ สํคโห
อนวชฺชานิ กมฺมานิ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ให้ทาน ณ กาลควร      และประพฤติสุธรรมศรี
อีกสงเคราะห์ญาติที่      ปฏิบัติบำเรอตน
กอบกรรมะอันไร้      ทุษะกลั้วและมัวมล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๖. อารตี วิรติ ปาปา      มชฺชปานา จ สํยโม
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
ความงดประพฤติบาป      อกุศลบ่ให้มี
สำรวมวรินทรีย์      และสุราบ่เมามล
ความไม่ประมาทใน      พหุธรรมะโกศล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๗. คารโว จ นิวาโต จ      สนฺตุฏฺฐิ จ กตญฺญุตา
กาเลนฺน ธมฺมสฺสวนํ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
เคารพ ณ ผู้ควร      จะประณตและน้อมศีร์
อีกหนึ่งมิได้มี      จะกระด้างและจองหอง
ยินดี ณ ของตน      บ่มิโลภทยานปอง
อีกรู้คุณาของ      นรผู้ประคองตน
ฟังธรรมะโดยกา-      ละเจริญคุณานนท์
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๘. ขฺนตี จ โสวจสฺสตา      สมณานญฺะ ทสฺสนํ
กาเลนฺน ธมฺมสากจฺฉา      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
มีจิตตะอดทน      และสถิต ณ ขันตี
อีกหนึ่งบ่พึงมี      ฤดิดื้อทนงหาญ
หนึ่งเห็นคณาเลิด      สมณาวราจารย์
กล่าวธรรมะโดยกาล      วรกิจจะโกศล
ทั้งสี่ประการล้วน      จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๙. ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ      อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
เพียรเผากิเลสล้าง      มละโทษะยายี
อีกประการหนึ่งประพฤติดี      ดุจะพรหมพิสุทธ์สรรพ์
เห็นแจ้ง ณ สี่องค์      พระอะรียะสัจอัน
อาจนำมนุษผัน      ติระข้ามทเลวน
อีกทำพระนิพพา-      นะประจักษะแก่ชน
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๑๐. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ      จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ      เอตมฺมํคลมุตฺตมํ
จิตใครผิได้ต้อง      วรโลกะธรรมศรี
แล้วย่อมบ่พึงมี      จะประหวั่นฤกังวล
ไร้โศกธุลีสูญ      และสบายบ่มั่วมล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

๑๑. เอตาทิสานิ กตฺวาน      สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ      ตนฺเตสํ มํคลมุตฺตมนฺติ
เทวามนุษทำ      วรมงคะลาฉนี้
เป็นผู้ประเสริฐที่      บ่มิแพ้ ณ แห่งหน
ย่อมถึงสวัสดี      สิริทุกประเทศดล
ข้อนี้แหละมงคล      อดิเรกอุดมดี

ถ้าน้องเข้าใจหมดแล้ว ค่อยสักก็ไม่สายไปครับ เพราะสมัยโบราณผู้ชายผ่านการบวชเรียนศึกษาธรรมมาแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ต.ค. 2554, 11:42:28 โดย tum_ohayo »

ออฟไลน์ adangookpop009

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุณนะครับ ที่ช่วยเตือนช่วยบอก

งั้นผมรอ 20 ก่อนก็ได้ครับ  :002:

ออฟไลน์ pheter

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ผมก็อายุ16ปีผมอยากสักน้ำมันครับผมอยากช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าผมควรจะสักอะไรดีครับ ผมไม่ได้อยากสักตามแฟชั่นนะครับ

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ผมก็อายุ16ปีผมอยากสักน้ำมันครับผมอยากช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่าผมควรจะสักอะไรดีครับ ผมไม่ได้อยากสักตามแฟชั่นนะครับ

พี่โยคีบอกไว้แล้วครับ ด้านบน

ออฟไลน์ pheter

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
แต่ผมไม่เสพสิ่งเสพติดนะครับ

ออฟไลน์ ตั้นคนเมืองโอ่ง

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 266
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
คือ...ความคิดผมนะ..
คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนจะทำอะไรครับ.
ถามตัวเองว่า .... สักมาแล้วรักษาได้ใหม... ผิดคำครูใหม... ถ้าผิดไปก็เท่านั้นครับ..
อย่างที่น้องบอกว่าต้องการเอาไปช่วยเหลือคนที่อ่อนแอกว่านั้น ในความคิดผมภาวะในวัยนี้ึคนที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุดคือ "พ่อ แม่"
ลองเปิดอกคุยกับ "พ่อ แม่" ดูครับว่าเค้าจะบอกเราว่ายังไง
บอกเค้าไปอย่างที่บอกกับพวกพี่ในเว็ปบอร์ดครับ...
แล้ว "พ่อ แม่" ท่านจะให้คำตอบที่น้องต้องการมาเองครับ. เชื่อผมจะทำอะไรคิดดีๆ ก่อนครับ..

ออฟไลน์ time329

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 55
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
 แขวนพระเครื่อง หรือเครื่องรางไปก่อน คนดีย่อมมีสิ่งดีๆ คุ้มครอง
เมื่อถึงเวลา สิ่งที่ต้องการจะตามมาครับ
 ผิดพลาดคำใดขอ อภัยด้วย :054: :054: :054:
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่  มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน  ร่างแม้ตนเขาก็เอาไปเผาไฟ
   เมื่อเรามามีอะไรมาด้วยเล่า  เราจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เรามามือเปล่าเราจะเอาอะไร  เราก็ไปมือเปล่าเหมือนเรามา

ออฟไลน์ 0817275412

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 5
  • คำพูดไม่เสริมคน ถ้าต้องการ จนกระทำ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ผมก็ 15นะครับ เรื่องพวกนี้ผมชอบนะ ชอบมานานแล้ด้วยล่ะ

เอ่อคุณ tum_ohayo ครับ บทเหล่านี้ เป็นบทชี้นำคนใช่หรือไม่ครับ ผม่านเข้าใจแล้วนะ ลึกซึ้งกินใจมาก ....
กรรมใดใครกระทำ กรรมนั้นย่อมกลับคืน
กรรมดีใครกระทำ   กรรมนั้นย่อมส่งผล
กรรมชั่วใครกระทำ  กรรมนั้นย่อมสอนคน
กรรมทั้งมวลคิดไตรตรอง  ก่อนกระทำ

ออฟไลน์ tum_ohayo

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 64
    • ดูรายละเอียด
เป็นบทมงคลสูตรครับ อันนี้คือมงคลสูตรคำฉันท์ เป็นพระราชนิพนธ์ร.6
ส่วนเรื่องสักยันต์อยากจะบอกแค่ว่าผมไม่ห้าม แต่อยากถามว่ารับประกันได้ไหมว่าตนเองจะไม่ทำเรื่องที่ผิดศีลธรรมอันเป็นเหตุให้พลังอำนาจของยันทร์ที่สักมันเสื่อม สาเหตุที่เสื่อมเพราะผู้สักละเลยที่ปฏิบัติ ดื่มเหล้าเมาตบตีนลูกเมีย หรือผิดลูกเมียคนอื่น ถ้ายังประพฤติตนแบบนี้ การสักยันต์ก็มีค่าแค่การสักสวยงาม มีค่าแค่หมักที่จารึกบนผิวหนักเป็นคาถาต่างๆซึ่งไม่มีอานุภาพอะไร เพราะผู้ปฏิบัติยังไม่เข้าถึงไม่เข้าใจหลักธรรมใดๆ ซึ่งถือเป็น"ด่าน"แรกของการสักยันต์ คือมีความเข้าใจในหลักธรรมพื้นฐาน อันเป็นสิ่งที่ช่วยให้"ยันต์"บนร่างกายมีอานุภาพและมีความขลังโดยไม่ต้องไปปลุกเรื่อยๆ การปลุกให้ขลังแสดงถึงความเสื่อมอย่างหนึ่ง ของมันไม่เที่ยงเป็นธรรมชาติ คนเรามันยังง่วงได้ ประสาอะไรกับยันต์ที่สักมันจะไม่เสื่อม ยันต์เสื่อมต้องมีการปลุกเรื่อยๆ พอไปให้อาจารย์ปลุกก็กำชับถึงข้อห้ามนั่นนู่นนี่นั่น แรกๆก็รับปากรับคำพอนานๆเผลอไปหน่อย ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ยันต์ แต่อยู่ที่ผู้รับการสักยันต์มากกว่า ถ้าเป็นคนดีมีศีลธรรมไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ยันต์และนานาอักขระมันขลังเองโดยไม่ได้ไปเที่ยวตรัเวณปลุกตามสำนักนั้นสำนักนี้ อีกอย่างหนึ่ง พุทธคุณไม่มีคำว่า"เสื่อม"การสักยันต์ที่อาศัยอำนาจ"พุทธคุณ"มีความขลังในตัวเองอยู่แล้ว สิ่งใดที่มีพุทธคุณสิ่งนั้นนำความสุขความเจริญแก่ผู้ประพฤติดี

สมณะชีพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวทาง ย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์ควรแก่กราบกราบไหว้ ตรัสสิ่งใดสิ่งนั้นย่อมมีความเจริญเสมอ ความเป็นมงคลไม่ใช่ความเป็นสมณะชีพราหมณ์ แต่อยู่ที่การปฏิบัติตนตามหลักการของสมณะชีพราหมณ์อันพึงมีพึงปฏิบัติ
ลายยันต์อยู่บนร่างผู้ใด หรืออยู่บนร่างสมณะชีพราหมณ์ทุศีล ยันต์ก็ไม่มีความขลังใดๆ พระสงฆ์ถือศีล227ข้อ ถ้าเที่ยวผู้หญิงดื่มเหล้าหรือประพฤติตนผิดวินัยปาราชิกนับร้อยๆข้อ ต่อให้สักยันต์เต็มตัวมันก็เสื่อมครับ ถ้าสมณะชีพราหมณ์ปฏิบัติดีชอบ ต่อให้สักมากแค่ไหนก็มีความขลังอยู่แล้วแม้อักขระตัวเดียวก็ขลังได้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ไปเจอคำถามนี้ตอนสอบเข้าปริญญาโท

"อริยสัจ ๔ สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างไร?"

ก็ต้องขยายความกันก่อนในเบื้องต้นว่า อริยสัจ ๔ คืออะไร? ประกอบด้วยอะไรบ้าง? และสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์อะไร,ได้อย่างไร?

   อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมความจริงอันประเสริฐ ประกอบด้วย

๑.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก จึงเรียกว่า"ทุกข์"

๒.สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็คือ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี ๓ ประเภทคือ กามตัณหา(ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่)๑ ภวตัณหา(ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่)๑ วิภวตัณหา(ความไม่อยากมีไม่อยากเป็นโน่นนี่)๑ ตัณหาทั้ง ๓ กองนี้เอง ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

๓.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หมายถึงความดับตัณหาได้อย่างสิ้นเชิง จนทำให้ทุกข์ดับหมดไป จึงได้ชื่อว่า"นิโรธ"

๔.มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
โดยการใช้ปัญญาอันเห็นชอบพิจารณาว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้คือความดับทุกข์ นี้ชื่อว่า"มรรค" มี ๘ ประการคือ

สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ),สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ),สัมมาวาจา(เจรจาชอบ),สัมมากัมมันตะ(การงานชอบ),สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ),สัมมาวายามะ(เพียรชอบ),สัมมาสติ(ระลึกชอบ),สัมมาสมาธิ(ตั้งใจมั่นชอบ)

ซึ่งธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ เป็นสามัคคีธรรมที่ต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันทำให้มีกำลังมาก และสามารถยังใหผู้ปฏิบัติบรรลุผลอันเลิศ คือ อริยมรรค อริยพล และพระนิพพานในที่สุด ตามสมควรแก่การปฏิบัติ

เมื่อเข้าใจความหมายและหัวข้อธรรมต่างๆที่ประกอบรวมอยู่ในอริยสัจ ๔ ดังนี้แล้ว จึงมาสู่การวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามในข้างต้นต่อไป

ํํํํํํํํํํํํัํํํํ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

คำตอบ - อริยสัจ ๔ ไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้!!!

เหตุเพราะ อริยสัจ ๔ เป็นธรรมในโลกุตระ เป็นธรรมชั้นสูง เป้าประสงค์เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏฏะ สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ โสดาบัน,สกิทาคามี,อนาคามี,อรหันต์ จึงไม่สามารถนำมาใช้กับทาง"โลกียะ"ได้ เหตุผลที่นำมาสนับสนุนได้เป็นอย่างดีมีมาในธรรมข้อ "โพธิปักขิยธรรม ๓๗" หมายถึงธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เรียกอีกอย่างว่า "อภิญญาเทสิตธรรม" หมายถึง ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อให้บุคคลรู้แจ้งเห็นจริงใน"อริยสัจ" ประกอบด้วย

สติปัฏฐาน ๔,สัมมัปปธาน ๔,อิทธิบาท ๔,อินทรีย์ ๕,พละ ๕,โพชฌงค์ ๗,มรรคมีองค์ ๘ รวม ๓๗ ข้อ

จึงเป็นที่มาของข้อสรุปที่ว่า "อริยสัจ ๔ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ในที่สุด"

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ย้อนกลับมาพิจารณา จะเปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิมาเป็นสัมมาทิฏฐิ เปลี่ยนกันได้ยาก

ยิ่งนำศีลมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความขลังในเรื่องข้อปฏิบัติต่างๆ ,เพื่อนำความบริสุทธิ์ไปข่มผู้อื่น ,ประพฤติพรตเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อม

ก็เท่ากับว่า รักษาศีลไปเพื่อเพิ่มพูนกิเลส ทำให้มีกิเลสเกิดมีมากขึ้น

กิเลสกองนี้ เป็นกิเลสเครื่องผูกมัดสัตว์ไว้ให้ติดอยู่ในภพเป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน

ที่เรียกว่า"สังโยชน์" จัดเข้าในข้อ "สีลลัพพตปรามาส" นั่นเอง

ทั้งที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของศีลนั้น มีไว้เพื่อละเพื่อขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง มิใช่นำศีลมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์อย่างที่ปฏิบัติกันอยู่แต่อย่างใด.


ไม่ผิดศีล...แต่ผิดธรรม

"ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ"  แปลว่า "ธรรมแลย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม"

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

น้อมระลึกบูชาคุณอดีตพระอาจารย์ผู้สอนธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติทุกท่าน ด้วยควมเคารพยิ่ง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 พ.ย. 2554, 02:23:56 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ 0817275412

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 5
  • คำพูดไม่เสริมคน ถ้าต้องการ จนกระทำ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ขอบคุณครับพี่ tum_ohayo สรุปง่ายๆว่า ของขรัง จะขรังเมื่อ เราอยู่ในธรรมอันควร ใช่หมครับ

ถ้าไมม่มีธรรม ก็จะ ไม่มีอะไรคุ้มครองเราได้.....

ก็เหมือนกับเราเป็นคนกำหนดเอง หนอ....