ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าของเต๋า  (อ่าน 1620 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
คุณค่าของเต๋า
« เมื่อ: 15 พ.ย. 2554, 05:18:44 »
คุณค่าของเต๋า

คนปัญญาระดับสูง พอได้ฟัง ..เต๋า.. ก็พากเพียรปฏิบัติ

คนปัญญาระดับกลาง แม้นมีวาสนาได้ฟัง ..เต๋า..แต่มักพากเพียรในเต๋าไม่ตลอด

คนปัญญาระดับต่ำ เนื่องจากความรู้น้อย จึงไม่แจ้งความสำคัญของเต๋า ประกอบด้วยจิตหลงมัวเมา ดีแต่แสวงหาความสุขทางโลก พอได้ฟัง..เต๋า..ก็หัวร่อเยาะ

555 ถ้าคนโง่พวกนี้ไม่หัวร่อย่อสิ ก็ไม่รู้ว่า คุณค่าของ.เต๋า..อยู่ที่ไหน
เขียนโดย : อมิตตาพุทธ

ที่มา
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=4504
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พ.ย. 2554, 05:19:19 โดย ทรงกลด »
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของเต๋า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 15 พ.ย. 2554, 05:20:37 »

ผู้รู้ในกาลก่อนได้กล่าวคำปรัชญาไว้ว่า

1 ผู้รู้แจ้งในเต๋า มักทำตัวเป็นคนโง่

2 ผู้บำเพ็ญธรรม ( เต๋า ) มักไม่สนใจทางโลกีย์

3 ผู้มีคุณธรรม มักไม่พูดหรือทำเรื่องไร้สาระ

4 ผู้มีคุณธรรมสูง น้ำใจกว้างขวางดี่งหุบเขาที่รองรับ

สรรพสิ่ง

5 ผู้ที่มีจิตใจสะอาด เหมือนดั่งดอกบัวโผล่พ้นโคลนตม

6 ผู้สร้างคุณธรรมความดี มักไม่โอ้อวด

น้ำใจของปราชญ์ซื่อตรงและกว้างขวางดุจจักรวาลอันไร้ขอบเขต

เขียนโดย :อมิตตาพุทธ

ที่มา
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=4504

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของเต๋า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 15 พ.ย. 2554, 05:21:43 »
ในโลกนี้จะสร้างสิ่งใดสำเร็จสักอย่าง จำต้องผ่านกาลเวลาเนิ่นนานจึงจะสำเร็จ จะเป็นคนยิ่งใหญ่เช่นกัน จำต้องผ่านการทดสอบของกาลเวลา และนิสัยใจคอ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้

รถยนต์เวลาวิ่งหรือเครื่องบิน ขณะบินอยู่มีเสียงดัง จักรวาลก็มีเสียงดังเช่นกัน คนอาศัยอยู่ในจักรวาล ก็เหมือนคนนั่งอยู่ภายในเครื่องบิน แต่ไม่ได้ยินเสียงของเครื่องบิน

สิ่งที่รูปร่างความใหญ่ย่อมมีจำกัด มีแต่สิ่งไร้รูปร่างความใหญ่จึงไม่จำกัด เช่น ความกว้างใหญ่ไพศาลแห่งอนันตจักรวาล ( บีอเก๊ก)

เขียนโดย :อมิตตาพุทธ

ที่มา
http://www.firodosia.com/showdetail.asp?boardid=4504

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: คุณค่าของเต๋า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 28 พ.ย. 2554, 05:42:42 »
แถมนิทานนี้ให้ท่าน saken6009 และสหายทั้งปวง


นิทานเซน : ความว่างเปล่า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   23 พฤศจิกายน 2554 08:37 น.   


ภาพจาก nipic.com
《四大皆空》

       
       มีนิทานเซนที่น่าสนใจหลายเรื่อง เกี่ยวกับ "ซูตงโพ(苏东坡)" ยอดนักกวีและนักปกครองในสมัยซ่งใต้ เรื่องหนึ่งเล่าเอาไว้ว่า...
       
       ครั้งหนึ่งซูตงโพได้ยินว่า อาจารย์เซนฝออิ้น ณ วัดจินซานขึ้นแสดงธรรมเทศนา เขาจึงรีบเดินทางมาฟังธรรมที่วัด ทว่าเมื่อมาถึง ปรากฏว่าศาสนิกชนล้วนมาจับจองที่นั่งฟังธรรมกันจนเต็มบริเวณไปหมดแล้ว เมื่ออาจารย์เซนฝออิ้น เห็นซูตงโพจึงเอ่ยทักว่า "ผู้คนนั่งเต็มแล้ว ในที่นี้ไม่มีที่นั่งสำหรับท่านแล้ว"
       
       ซูตงโพพอได้ฟังก็โต้ตอบอาจารย์เซนโดยเหน็บแนมแฝงธรรมมะที่คิดว่าตนเองเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งกลับไปว่า "ในเมื่อไม่มีที่ว่างให้นั่ง งั้นข้าขอนั่งบน ธาตุ4 ขันธ์5 ของท่านอาจารย์ก็แล้วกัน" (ธาตุ4 หมายถึงวัตถุอันเป็นที่ตั้งมูลฐานของสิ่งทั้งปวงประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ส่วนขันธ์5 หรือ เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
       
       อาจารย์เซนฝออิ้น จึงตอบกลับมาว่า "อาตมามีคำถามข้อหนึ่ง หากท่านตอบได้ พระชราเช่นอาตมาจะยอมให้ท่านนั่งบนร่างกายของอาตมา แต่หากตอบไม่ได้ ท่านจงมอบชิ้นหยกประดับเข็มขัดของท่านให้กับวัดเป็นที่ระลึกเถิด"
       
       ซูตงโพได้ยินดังนั้นก็รับคำท้าทันทีเพราะมั่นใจในสติปัญญาของตนว่าอย่างไรก็ต้องชนะ
       
       อาจารย์เซนฝออิ้นจึงเอ่ยถามขึ้นทันที่ว่า "ในเมื่อธาตุทั้ง4 ล้วนว่างเปล่าอยู่แต่เดิม ขันธ์5 ก็ไม่มีอยู่ แล้วท่านจะนั่งที่ใดกันเล่า?"
       
       ซูตงโพได้ฟังคำถามจึงค่อยเข้าใจว่าตนเองพลาดพลั้งให้กับอาจารย์เซนแล้ว สุดท้ายจึงได้แต่มอบหยกประดับเข็มขัดให้กับทางวัดเป็นที่ระลึกไป
       
       ปัญญาเซน : ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ทุกขณะ ตามหลักไตรลักษณ์ นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     

       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000149102