ผู้เขียน หัวข้อ: http://www.larnbuddhism.com/grammathan/  (อ่าน 3200 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ooo

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 483
    • ดูรายละเอียด
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/
« เมื่อ: 21 ก.ย. 2550, 08:31:06 »
 
คำบูชาพระรัตนตรัย   คำขอขมาพระรัตนตรัย   คำสมาทานพระกรรมฐาน




คำบูชาพระรัตนตรัย

โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมเหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ สาธุโน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า 3 จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

คำสมาทานพระกรรมฐาน
ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ศิษย์หลวงพ่อปาน
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ)
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า(ทั้งหลาย) ขอมอบกาย ถวายชีวิต แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า(ทั้งหลาย) ขออาราธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย สืบ ๆ กันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปีติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฎ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดนี้เถิด

ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะแห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิตรู้ภาวการณ์ต่าง ๆ ทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบันได้ทุกขณะจิต ที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้ว ขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใส และพยากรณ์ได้ ตามความเป็นจริงทุกประการ เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้น ได้โดยมิต้องกำหนดจิต แม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด





กฎการปฏิบัติกรรมฐาน


       การปฏิบัติพระกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีกฎของการปฏิบัติเพื่อผลของการบรรลุเป็นระดับไป ดังจะยกมาโดยย่อดังนี้

อธิศีลสิกขา

      อธิ แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน คำว่า ยิ่ง หมายถึง การปฏิบัติยิ่งกว่า หมายถึง การปฏิบัติเคร่งครัดกว่าปกติ หรือรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิตนั่นเอง เกิน ก็หมายถึงปฏิบัติกเกินกว่าที่ปฏิบัติกันตามปกติ ล่วง ก็หมายถึงการปฏิบัติล่วง คือ เกินที่กระทำกันตามปกติ การปฏิบัติตามนี้จัดเป็นอธิศีล การปฏิบัติเป็นอธิศีล ท่านได้แนะนำไว้ดังนี้ จะรักษาศีลไว้ด้วยดี มิให้ขาด มิให้ทำลาย แม้แต่ศีลจะมัวหมอง ก็มิยอมให้เป็น คือ ไม่แนะนำให้คนอื่นทำลายศีล และไม่ยินดีต่อเมื่อเห็นผู้อื่นทำลายศีล การปฏิบัติพระกรรมฐาน ก่อนที่จะหวังให้ฌาณสมาบัติอุบัติแก่จิตใจนั้น ต้องมีศีลบริสุทธิ์เสียก่อน เมื่อรักษาศีลได้แล้ว จนถึงขั้นไม่ต้องระวัง หมายความว่า ละเสียได้จนชินไม่มีการพลั้งเผลอแล้ว ขั้นต่อไปปฏิบัติดังนี้

ระงับนิวรณ์ 5


เห็นโทษของกามฉันทะ
เห็นโทษของการจองล้างจองผลาญ
คอยกำจัดความง่วงเหงาหาวนอน
คอยควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่าน
ตัดความสงสัยในมรรคผลเสีย
เจริญพรหมวิหาร 4
แผ่เมตตา แผ่ไปทั่วทุกทิศโดยคิดไว้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเราจะเป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก
กรุณา จะสงสารหวังสงเคราะห์สัตว์และมนุษย์ทั้งปวง
มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลาย จะส่งเสริมและรู้สึกเมื่อผู้อื่นได้ดีมีโชค
อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้ง ไม่ซ้ำเติม และตั้งใจหวังสงเคราะห์เมื่อมีโอกาส
      การรักษาศีลบริสุทธิ์ ด้วยการไม่ล่วงเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นล่วง และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นล่วง และตัดความพอใจในนิวรณ์ 5 โดยระงับนิวรณ์ได้ เมื่อขณะปฏิบัติ และทรงพรหมวิหาร 4 ได้อย่างครบถ้วนอย่างนี้ อารมณ์จิตเป็นฌาน และฌานจะไม่รู้จักเสื่อมเพราะพรหมวิหาร 4 อุ้มชู สมาธิตั้งมั่น วิปัสสนาผ่องใส เรียกว่า พรหมวิหาร 4 เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ

      การรักษาศีลบริสุทธิ์ เป็นอธิศีลสิกขา การกำจัดนิวรณ์ และทรงพรหมวิหาร เป็นอธิจิตตสิกขา คือทรงฌานสมาบัติไว้ได้ เรียกว่า มีความดีในระดับเปลือกของความดีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

ความดีระดับกระพี้

      ท่านมีศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ทรงพรหมวิหาร 4 แล้ว สร้างฌานพิเศษ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่ล่วงมาแล้วได้โดยไม่จำกัดชาติ ทำได้อย่างนี้ท่านเรียกว่า มีความดีระดับกระพี้ของความดีในพระพุทธศาสนา

ความดีระดับแก่น

      เมื่อท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ปุพเพนิวาสสานุสสติญาณ และบรรลุทิพยจักษุญาณ สามารถรู้ว่าสัตว์ตายแล้วไปเกิดที่ไหน สัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน อาศัยกรรมอะไรเป็นเหตุ นี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นความดีที่ทรงความเป็นสาระแก่นสาร ความดีระดับนี้เป็นความดีระดับวิชชาสาม ผู้ใดทรงความดีตามที่กล่าวมาแล้วนั้นได้ครบถ้วนแล้ว ถ้าจะปฏิบัติเพื่อธรรมเบื้องสูงเพื่อพรหมจรรย์แล้ว อย่างช้าไม่เกิน 7 ปี อย่างกลางไม่เกิน 7 เดือน อย่างเร็วไม่เกิน 7 วัน ก็จะเข้าถึงอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลระดับยอด ถ้าจะปฏิบัติเพื่อมรรคผลและพระนิพพาน มีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

บารมี 10
      บารมี แปลว่า ทำให้เต็มไม่บกพร่อง ไม่ละเลยเหินห่่างและบกพร่อง ประคับประคองไว้เป็นปกติ

ทาน ทาน แปลว่า การให้ ต้องมีจิตใจจดจ่อเพื่อการให้ด้วยจิตใจที่หวังการสงเคราะห์อยู่เป็นปกติ การมีให้ด้วยการสงเคราะห์มีแก่เราเมื่อใด เมื่อความความสบายสุขใจ การให้นี้ต้องไม่พิจารณาบุคคลถึงสุขภาพและฐานะ ถือเอาเพียงว่าเขาต้องการความช่วยเหลือจากเรา ก็ช่วยตามต้องการ และไม่หวังการตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
ศีล ศีลแปลว่า ปกติ การรักษาอาการตามความพอใจของปกติชนที่มีความปรารถนาอยู่เป็นสุข เราก็ไม่ทำลายปกติความปรารถนาความพอใจของชาวโลก ฉะนั้น ศีลท่านจึงแปลว่า ปกติ คือรักษาอารมณ์ปกติของจิตใจของคนและสัตว์ไม่ต้องการให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ทำให้ศีลขาด ไม่แนะนำให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำผิด รักษาได้ระดับนี้จึงจะเป็นศีลเพื่อมรรคผล
สัจจะ สัจจะแปลว่า ความตั้งใจจริง เราจะไม่ยอมเลิกละความตั้งใจเดิม แม้แต่จะต้องตายก็ตาม
วิริยะ วิริยะแปลว่า ความเพียร ถ้ามรรคผลนิพพานที่เราปรารถนานี้ยังไม่ปรากฎเพียงใด เราจะไม่ละความพยายามประพฤติปฏิบัติไป โดยไม่คำนึงถึงอุปสรรค
เนกขัมมะ เนกขัมมะแปลว่า การถือบวช หมายถึงการอดในกามารมณ์ โดยตัดใจไม่ไยดีในอารมณ์ยั่วเย้าด้วยอำนาจกามฉันทะ คือความพอใจในกามารมณ์
ปัญญา ปัญญาแปลว่า ความรู้ ที่เกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา แปลว่า ความเฉลียวฉลาดก็ได้ ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของ ความเกิด แก่ เจ็บ พลัดพราก ว่าเป็นทุกข์ จนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายต่อการเกิดในชาติภพ จนกระทั่งได้สังขารุเปกขาญาณ คือไม่มีความหวั่นไหวในเมื่อความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นแก่สังขาร
ขันติ ขันติแปลว่า ความอดทนหรืออดกลั้น ไม่ยอมให้อารมณ์ฝ่ายชั่วเข้ามาล้างอารมณ์วิปัสสนาญาณได้
เมตตา เมตตาแปลว่า ความรักที่ปราศจากความใคร่ด้วยอำนาจกิเลส หมายถึง รักด้วยความปรานี ไม่มีอารมณ์ในส่วนของกิเลสเจือปน
อธิษฐาน อธิษฐานแปลว่า ความตั้งใจมั่น ทั้งนี้หมายถึงตั้งใจไว้ถูกต้อง
อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย มายถึงเฉยต่ออารมณ์ที่เป็นทุกข์และสุขอันเป็นวิสัยของโลกีย์

      บารมีทั้ง 10 อย่างนี้ นักวิปัสสนาญาณต้องมีครบถ้วน แล้วต้องปฏิบัติได้เป็นปกติ ตามความพอใจเป็นปกติ 


 

.....เหลืออีกครึ่งชิวิต ที่ยังต้องการความรักตัวเองกลับมา......
....เก็บชีวิตที่เหลือ ๆ  ทำให้ดีจะได้ไหม  แล้วไม่นานจิตใจจะเต็มเหมือนเดิม........................

ออฟไลน์ ooo

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 483
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: http://www.larnbuddhism.com/grammathan/
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21 ก.ย. 2550, 08:32:34 »
สีของจิต
? ? ? สีของจิตนี้ บางแห่งก็เรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ การที่จะรู้อารมณ์จิตนั้นต้องมี เจโตปริยญาณ ก่อนจึงจะรู้อารมณ์ของจิต สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านกล่าวไว้ดังนี้

จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งมีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มตั่วหรือน้ำซาวข้าว
จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย เชื่อโดยไม่ใคร่ครวญทบทวนหาเหตุผล คนประเภทนี้ที่ถูกต้มตุ๋นอยู่เสมอ ๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำดี มีไหวพริบ คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึก หรือคล้ายน้ำกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร
สีของจิตโดยย่อ

? ? ? เพื่อให้เห็นกันง่าย ๆ ยิ่งขึ้น โดยแบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่างคือ

จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส
? ? ? กายในกาย สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้น ถือเอาอวัยวะภายในเป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนั้น เป็นกายประเภทอทิสมานกาย คือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกาย หรือกายซ้อนกายนี้ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่น จากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไปและทำอะไรต่ออะไรอยู่ ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริง จำเรื่องราวที่ไปทำได้ กายนั้นแหละที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่มีอยู่ในมหาสติปัฏฐาน กายในกายนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ

กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรย หน้าตาซูบซีด ไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา จะต่างกันตรงที่ผิวพรรณ สัดส่วน ขาวดำ งดงามต่างกัน แต่ลักษณะบอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหม และเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย
? ? ? ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดที่นั้น ๆ หมายถึงว่า ท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกที่ไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่า

? ? ? การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการรู้อารมณ์จิตของตนเองสำคัญมาก คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตว่า ขณะนี้เราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฎนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการคือสีใสคล้ายแก้ว ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน 4

ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบาง ๆ เคลือบไว้ภายนอก
ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง
ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่า ตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนในสั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย
ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนแก้วลอยอยู่ในอก
จิตของพระอริยะ

ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกายออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นเจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
ท่านที่บรรลุอรหันต์ กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก กระแสจิตที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจแสวงหาให้ได้ เอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้ เพราะถ้าได้จิตเป็นประกายก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ
 






การสร้างบุญบารมี
    ทาน     ศีล     ภาวนา


โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
        บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลธรรม

        บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา

        วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอนคือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา"

        ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด ดังนี้คือ "ทาน ศีล ภาวนา"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ก.ย. 2550, 08:36:14 โดย ooo »

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: http://www.larnbuddhism.com/grammathan/
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 ก.ย. 2550, 12:58:44 »
สาธุ...

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ ooo

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 483
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: http://www.larnbuddhism.com/grammathan/
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 24 ก.ย. 2550, 07:05:16 »
ธรรม
http://www.larnbuddhism.com/botsoud/anapana.html

http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/7280