ผู้เขียน หัวข้อ: การดูแลวัตถุมงคลที่เป็นเหรียญโลหะ(พระ)เบื้องต้น  (อ่าน 6980 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนาพุทธ มีความศรัทธาในพระพุทธ พระสงฆ์ จึงได้มีการสร้างสัญลักษณ์ หรือตัวแทนความศรัทธาต่อสิ่งเหล่านี้ในรูปของ รูปภาพ รูปหล่อเหมือน เหรียญพระห้อยคอ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เคารพบูชา ประชาชนส่วนใหญ่จะมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในครอบครอง เพราะฉะนั้นจึงควรมีความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ การผลิต การใช้สิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน การดูแลรักษา การทำความสะอาด การเก็บรักษา ให้คงสภาพเดิมให้อยู่ได้นานเท่าที่จะนานได้
เหรียญส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย จะเป็นเหรียญโลหะ ซึ่งก็มีหลายชนิด เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง ชิน เป็นต้น ซึ่งจะแยกอธิบายทีละชนิด
ทองคำเป็นโลหะหนัก มีสีเหลืองเป็นมันวาว มีสัญลักษณ์ทางเคมี (Au) มีจุดหลอมเหลวที่ 1063 องศาเซลเซียล เป็นโลหะที่เฉื่อยต่อปฏิกิริยา คือจะคงสภาพเป็นทองคำอยู่เช่นนั้น ไม่เป็นสนิมแต่ที่ผลิตเป็นเหรียญทั่วไปจะไม่อยู่ในสภาพที่เป็นทองคำบริสุทธิ 100%แต่จะมีส่วนผสมของทองแดงอยู่บ้างในปริมาณที่น้อยมากๆเพื่อเพิ่มให้เนื้อโลหะมีความแข็งมากขึ้นไม่ให้นิ่มจนเกินไป สิ่งที่เหรียญทองคำเหล่านี้จะเกิดการเสียหายก็อาจจะมาจากการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นการเสียดสีกับลำตัวโดยตรงจากการห้อยคอ มีคราบฝุ่นคราบสบู่อยู่ หรือเห็นว่าเหรียญมีความสกปรกแล้วนำไปทำความสะอาดตามร้านทองทั่วไปซึ่งทำโดยนำไปแช่ในน้ำยาล้างทองซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ กรดกัดทอง น้ำยาประสานทอง ล้วนแล้วแต่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งซึ่งเป็นการทำลายไม่ใช่การรักษา สำหรับการเสียดสีแก้ไขโดยการใส่กรอบเสีย และถ้าสกปรกเราก็จะใช้แอลกอฮอล์เช็ดออก หรือนำไปแช่ในน้ำอุ่นแล้วก็เช็ดออกด้วยผ้าแห้งนุ่มๆ สำหรับการเก็บรักษาไม่ควรห่อรวมกับชิ้นอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดการขัดสีกัน
เงินเป็นโลหะสีขาวมันวาว เนื้อค่อนข้างนิ่ม มีสัญลักษณ์ทางเคมี(Ag) มีจุดหลอมเหลว 961 องศาเซลเซียล เป็นโลหะที่ค่อนข้างเฉื่อยต่อปฏิกิริยาเช่นเดียวกับทองคำ แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดสนิมได้มากกว่าทองคำ ซึ่งสนิมที่กล่าวถึงอาจจะมีสีขาวเทาซึ่งเป็นสนิมที่เกิดจากคลอไรด์ เรียกว่าเงินคลอไรด์(AgCl)ซึ่งมาจากน้ำซึ่งมีอนุมูลของคลอไรด์โดยเฉพาะน้ำประปา สภาพแวดล้อมทั่วๆไปบ้าง และสนิมอีกชนิดจะมีสีออกดำเกิดจากซัลไฟล์เรียกว่าเงินซัลไฟล์(AgS) เกิดจากเหงื่อไคล สภาพแวดล้อมที่มีซัลเฟอร์ ที่มีเขม่าควันของรถยนต์ โรงงาน สนิมสีดำที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเอาออกเพราะชั้นของสนิมมีคุณสมบัติที่เป็นฟิล์มป้องกันเนื้อเงินที่ลึกลงไป ถ้าเห็นว่าไม่สวยอยากจะเอาออกก็ไม่ควรขัดด้วยน้ำมะขามเปียกเพราะเป็นกรด ควรใช้น้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะแต่ก็ไม่สมควรขัดบ่อยเพราะเป็นการขัดเนื้อเงินออกไปด้วย ยิ่งขัดยิ่งหายไปถ้าสกปรกจากฝุ่นละออง คราบไคล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดออก สำหรับการเก็บรักษาควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมข้างต้นซึ่งอาจจะใส่กรอบพลาสติกที่ปราศจากซัลเฟอร์ แต่ก็อยู่ได้ชั่วระยะหนึ่งก็อาจจะดำได้เพราะอากาศเข้าได้ อย่าเก็บรวมกับของอย่างอื่นเพราะจะเกิดการเสียดสีกันได้
ทองแดงเป็นโลหะค่อนข้างจะออกสีแดง สามารถดึงเป็นเส้นได้ นำไฟฟ้าได้ดี มีสัญลักษณ์ทางเคมี(Cu) มีจุดหลอมเหลว 1083 องศาเซลเซียล ทองแดงสามารถเกิดสนิมหรือปฏิกิริยาได้ง่ายกว่าโลหะทองคำและเงิน เหรียญทองแดงสามารถเกิดสนิมได้หลายชนิด ที่พบส่วนมากได้แก่ สนิมของออกไชด์ เรียกว่า Copper Oxide ซึ่งจะมีสีออกน้ำตาลแดง เช่นสนิม คิวไปรท์ (Cu2O) สนิมคาร์บอเนต เรียกว่า copper carbonate จะมีสีเขียวเข้ม เช่น มาลาไคต์ Cu2CO3(OH)2 และสนิมของคลอไรด์ เรียกว่า Copper Chloride เช่น Cu2Cl(OH)3 จะมีสีเขียวออ่นเป็นขุยๆ จะเห็นได้ว่าทองแดงสามารถเกิดสนิมได้มากมาย เป็นทั้งสนิมที่ดีและสนิมที่ไม่ดี สนิมที่เกิดจากออกไซด์ และคาร์บอเนตจะเป็นสนิมที่ดีจะเกิดเป็นฟิล์มป้องกันการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาอื่นๆได้และถ้าเป็นสนิมสีเขียวปกคลุมเสมอกันทั้งเหรียญก็จะมองดูสวยงาม สำหรับสนิมที่เกิดจากคลอไรด์จะเป็นสนิมที่อันตรายเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะกัดกร่อนเนื้อของเหรียญให้เกิดความเสียหายได้ สาเหตุส่วนใหญ่ก็จะมาจากสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น มีออกซิเจน และมีอนุมูลของคลอไรด์ เช่นใกล้น้ำทะเล เพราะฉะนั้นควรป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเพราะถ้าเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถทำให้กลับคืนดังเดิมได้ การป้องกันก็ควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมข้างต้น อาจจะทำกรอบใส่เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง สำหรับการทำความสะอาดก็ใช้แอลกอฮอล์เช็ดคราบไคล ไขมัน ความเป็นกรดออกและอาจจะเคลือบผิวด้วย Acrylic Polymer ก็ได้ที่สำคัญควรหมั่นตรวจดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบ่อยๆเพราะจะได้แก้ไขทันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ทองเหลืองเป็นโลหะที่ผสมระหว่าง ทองแดง(Cu) และ สังกะสี (Zn) โดยมีทองแดงประมาณ 80%ขึ้นไป และอาจมีโลหะอื่นผสมอยู่ด้วยในปริมาณเล็กน้อย ทองเหลืองจะมีสีออกเหลืองแดง เป็นมันวาวสามารถทำปฏิกิริยาได้เช่นเดียวกับทองแดงเพราะองค์ประกอบหลักคือทองแดง สนิมที่เกิดขึ้นมีทั้งสนิมดำ แดง เขียว การดูแลก็เช่นกันป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง การทำความสะอาดก็ใช้แอลกอฮอล์เช็ดและทำให้แห้ง อย่าใช้น้ำมะขามเปียกในการขัดให้เหลืองอร่ามเพราะจะเป็นการทำลายโดยใช่เหตุ เราอาจจะใช้น้ำยาที่ใช้เฉพาะทองเหลืองเท่านั้น แต่ก็ไม่สมควรขัดบ่อยเพราะเนื้อโลหะจะหลุดออกไปด้วย
ชินเป็นโลหะที่ผสมระหว่างดีบุก(Sn)และตะกั่ว(Pb)มีปริมาณของดีบุกประมาณ 80% โลหะจะมีสีขาวค่อนข้างมันวาวสามารถเกิดสนิมได้มีสีขาวอมเทาเรียกว่า Basic lead carbonateซึ่งสนิมนี้เกิดขึ้นแล้วอาจจะขยายตัวขึ้นทำให้ผิวโลหะแตกเป็นรอยร้าว สนิมนี้จะเปราะและแตกหักง่ายและเนื้อโลหะจะเกิดสนิมจนเป็นรูและทะลุในที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากที่ชินได้สัมผัสกับไอกรดจำพวกAcetate ควรหลีกเลี่ยงการเก็บชินไว้ในตู้ที่เป็นไม้เพราะจะมีไอกรดเหล่านี้ทำให้ทำลายเนื้อชินโดยตรง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมนี้ และไม่ควรให้สัมผัสกับความชื้นและออกซิเจน สำหรับการทำความสะอาดก็ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดเฉพาะที่มีฝุ่นและคราบใคลเท่านั้นและอาจจะเคลือบผิวด้วย Acrylic Polymer ซึ่งเป็นการป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับสภาพแวดล้อม


เหรียญโลหะอื่นๆ
โลหะชนิดอื่นๆก็ล้วนแต่มีปัญหาของสนิมมาจากสภาพแวดลอ้มที่มีความชื้น ออกซิเจน และกรด อยู่จึงควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมข้างต้น ควรมีสิ่งป้องกันไม่ให้โลหะสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง ไม่ควรใช้สารเคมีต่างๆกับโลหะโดยตรงเพราะอาจจะเป็นการทำลายฉะนั้นถ้าเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาเบื้องต้นเหรียญวัตถุมงคลของเราก็จะอยู่กับเราได้อีกนานสิ่งที่สำคัญควรหมั่นตรวจดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสมอถ้ามีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นก็หาข้อมูลเพื่อใช้แก้ไขได้ทันท่วงที


มหาผล   
ขอขอบคุณจากเวป http://mail.vcharkarn.com/vcafe/61400 มาก ครับ

และขอบคุณพี่บอล ที่เซิดความรู้ ของเวปนี้มาให้ผมลงอีกที ครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ขอบคุณข้อมูลครับผม นึกถึงตอนเรียนเคมีเลย  :093:

ออฟไลน์ Hanu-Marn_Neverdie

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 535
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณข้อมูลครับผม นึกถึงตอนเรียนเคมีเลย  :093:

ไม่อยากจะไปจำเลยครับ  ไม่รู้ว่าเรียนผ่านจุดนั้นมาได้ไง   เกือบตาย :058:
คุณคิดว่าวันนึง คุณตายไปกี่ครั้ง ???พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"คนเราควรคิดว่าเรา จะตายทุกลมหายใจเข้า-ออก  "

อย่าไปคิดว่าจะทำพรุ่งนี้ :069:  แต่จงลงมือทำเลย

และจงทำทุกอย่างให้สุดความสามารถ ณ ตอนที่ยังมีโอกาส

เพื่อที่จะได้ทำความดี สิ่งดีๆ ให้แก่ผู้อื่น

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณข้อมูลครับผม นึกถึงตอนเรียนเคมีเลย  :093:

ไม่อยากจะไปจำเลยครับ  ไม่รู้ว่าเรียนผ่านจุดนั้นมาได้ไง   เกือบตาย :058:

ผมท่องตารางธาตุทั้งวันทั้งคืน  ท่องจำนวนโมเลกุล และอะตอมของธาตุ  นึกแล้วน่าปวดหัว  แต่พอมาอ่านกระทู้นี้  วิชาเคมีมันก็มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วยแหะ  อิอิ

ขอบคุณท่านเอ็มมากๆครับ
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด