ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม  (อ่าน 15399 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด


ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย)
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
ชาติกำเนิด

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ มีนามเดิมว่า "น้อย" มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

เกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 เวลา 04.00 น. ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้

ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7 - นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่าเพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ?รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"
 

หลวงพ่อน้อย มีโยมบิดา ชื่อแสงโยมมารดาชื่อ อ่อน โยมพี่เป็นหญิง ชื่อ ปู๋ ซึ่งแต่ละท่านได้ถึงแก่ อนิจกรรมมานาแล้ว ตามที่สืบทราบมาได้ญาติคนสุดท้าย ของหลวงพ่อที่ยังอยู่บ้านหนองอ้อ คือ นายเอม มีศักดิ์เป็นหลาน

ตามความนิยมในประเพณี ของไทยแต่โบราณ วัดไม่เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเดียว วัดเปรียบเสมือนเป็นโรงพยาบาลของชาวบ้าน ใครเป็นโรคอะไรเดือดร้อนก็ต้องวิ่งไปหาพระที่วัดช่วยเป่ารักษาด้วยเวทย์มนต์ หายกันมาส่วนมาก วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน เด็กที่อยู่ใกล้วัดไหนก็มักจะไปเรียนหนังสือกันตามวัดมีพระเป็นครูวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้ แก่ลูกหลานชาวบ้านมาก พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็ช่วยเหลือถวายปัจจัย 4 แก่พระและช่วยสร้างถาวรวัตถุให้เป็นบางครั้งบางคราวจึงพูดกันเป็นบทเป็นกลอนติดปากว่า


วัดจะดี มีสถาน เพราะบ้านช่วย
บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย ยิ่งอวยชัย
ถ้าขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง

ดังนั้นในสมัยที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครู ปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลาในยุคนั้นเพื่อการศึกษา เล่าเรียนและรับการอบรม ตามความนิยมในประเพณีของไทยแต่โบราณ

การศึกษาและการบรรพชาอุปสมบท

 
ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ

เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนและได้รับการอบรมจากท่านพระครูปริมานุรักษ์(นวม)เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอมได้

พอหลวงพ่อมีอายุได้ 15 ปี โยมบิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการ "ชา" เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อการศึกษาต่อ เรียนอักขระสมัยภาษาขอม ภาษาไทย ได้ดีและเขียนอ่านได้อย่างแตกฉานจนพระอธิการชา เจ้าอาวาส วัดสามกระบือเผือก เป็นที่ชอบอกชอบใจในตัวหลวงพ่อ

จากนั้นจึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร ในระหว่างที่เป็นสามเณรนี้ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำจวบจนกระทั่งโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน หลวงพ่อจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพด้วยความกตัญญูกตเวที ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 มีพะอธิการทองวัดลมุด อำเภอนครชัยศรีเป็นพระอุปัชฌายะ พรครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกัมมวาจาจารย์และพระสมุห์แสง วัดใหม่ อำเภอนครชัยศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

นับแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความสมใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวทย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น จากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดลมุด พระครูปริมานนุรักษ์(นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์ แสงวัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาสรวมอยู่ด้วย โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่งคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคม ของท่านเป็นได้ความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยและบุคลิกของหลวงพ่อ

อุปนิสัยของหลวงพ่อ ท่านสงบเงียบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิจ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า หลวงพ่อนั้นมีดีอย่างไรจึงไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเท่าที่รู้ๆ กันนั้นก็ในหมู่ลูกศิษย์ เป็นสิ่งที่ปรากฏการณ์มาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละโลภะ โมหะ โหสะ ทั้งมวล หลวงพ่อมุ่งแต่ประกอบความเจริญให้กับผู้อื่นและส่วนรวม เคร่งครัดในศีลในธรรม และประกอบด้วยความมั่งคงในพรหมจรรย์อันเป็นจริยาวัตรเป็นที่ประจักษ์แต่ผู้พบเห็นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงว่า

หลวงพ่อแก่กล้าในญาณสมาบัตินั้นเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ทั่วไปว่า มีความแก่กล้าทันตามวัยวุฒิของหลวงพ่อในทางวิปัสสนาธุระมามากพอสมควร ดังปรากฏจากสิ่งแสดงออกหลายประการ อันได้แก่วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่า คือวานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของหลวงพ่อด้วย รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัดหลวงพ่อให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่อาจมีผู้ใดมาทำอันตรายได้ ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียวข่าวนี้ได้รำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้างจึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น

บุคลิกของหลวงพ่อ

 
โดยปกติหลวงพ่อมีร่างเล็ก แกร่งแข็งแรง มีกิริยากระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเช่นผู้ชราบางคน มีความเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และเคร่งครัดต่อกิริยาบทของหลวงพ่อ จะปรากฏให้ผู้อื่นได้เห็นอยู่ตลอดเวลาในกิริยาสำรวมนี้

นอกจากนี้ หลวงพ่อท่านยังมีความนักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว แม้ในเรื่องการสร้างกุฎิให้หลวงพ่อก็เช่นกัน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ต่างเห็นว่าหลวงพ่อท่านจำวัดในห้องเล็กๆ ทึบ อบอวล เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัยชราของท่าน จึงมีความปรารถนาร่วมกันที่จะสร้างกุฏิให้หลวงพ่อใหม่ เพื่อบังเกิดความสะดวกสบายตามสังขารอันควรจะเป็นไป รวมทั้งจักได้มีที่รับรองลูกศิษย์ลูกหาให้เหมาะสมซึ่งจะมีไปนมัสการหลวงพ่อท่านเป็นประจำทุกวัน

การขอร้องในเรื่องนี้หลวงพ่อท่านไม่ยอมอนุญาตในระยะแรก โดยปฏิเสธว่าท่านจะอยู่อีกไม่นานนัก แล้วประกอบกับหลวงพ่อท่านได้พิจารณาเห็นว่า เป็นการส่วนตัวเฉพาะท่านเท่านั้น หลวงพ่อมีความปรารถนาแต่เพียง ต้องการให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวัดนี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อท่านก็ต้องยอม โดยขัดศรัทธาความรบเร้าจากลูกศิษย์บ่อยๆครั้งอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อจึงอนุญาตตามใจลูกศิษย์ การสร้างกุฏิ "อินทสโร"ในการปลูกกุฏินี้ปลูกทับลงที่เก่าระหว่างก่อสร้าง จึงทำเพิงที่พักให้กับหลวงพ่อเป็นการชั่วคราว

แล้วลูกศิษย์กับกรรมการช่วยกันเก็บข้าวของของหลวงพ่อออกจากพื้นที่ เพื่อการรื้นกุฏิหลังเดิมในการเก็บข้าวของนี้ได้พบซองใส่เงินอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังมิได้แก้ออกเลย ในซองมีทั้งปัจจัยและนามบัตรผู้ถวายบางซองกระดาษคร่ำคร่า อยู่ใต้ที่นอนของหลวงพ่ออันเป็นสิ่งแสดงว่า หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะเหล่านี้ ใครเขาถวายมาก็ได้แต่เก็บรวมๆ ไว้ในการรื้อกุฏิเก่าของหลวงพ่อครั้งนั้นรวมเป็นเงินได้ประมาณสองแสนกว่าบาท คณะกรรมการจึงได้นำเงินเข้าธนาคารต่อไป

การปกครองวัดในระยะแรกที่หลวงพ่อครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่อใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะโล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิจ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าวนี้ กรณีนี้ท่านผู้รู้ให้ทรรศนะว่าอันความสงบเงียบของสถานที่ ตามพระอารามเช่นนั้นจะเป็นแหล่งอำนวยประโยชน์ในการสร้างปัญญา โดยพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาศึกษาทั้งทางคันถธุระและวิปัสนาธุระ จะได้อาศัยในการพิจารณาหัวข้อและปัญหาธรรมทั้งมวล เพื่อความแตกฉานในภูปัญญา นอกจากนั้นสัตว์เล็กๆ ต่างก็จะได้อาศัยความร่มรื่นปราศจากภัยอันตรายเป็นที่พำนักพักพิงของนกกา

ในสมัยที่หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น หลวงพ่อท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดีและในฤดูกาลเข้าพรรษา มีพระภิกษุนวกะมากท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสมณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ กับหลวงพ่อ สำหรับการฉันจังหันของหลวงพ่อนั้นก่อนอื่นท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันหลวงพ่อจะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อจะฉันด้วยมือและใกล้ท่านต้องมีถ้วยใส่น้ำไว้คอยชุบมือ นอกจากหลวงพ่อจะฉันที่เป็นน้ำเช่น แกงจืด หลวงพ่อจึงจะใช้ช้อนโดยเฉพาะขนมครกหลวงพ่อชอบมาก เวลาท่านจะฉันหมาก หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์หรือญาติโยมที่นำมาถวาย ใส่ในตะบันและตำให้ละเอียดถ้าไม่กลับเอาข้างล่างขึ้นมาอยู่บนและตำใหม่อีกครั้งหลวงพ่อจึงจะฉัน แต่ถ้าลูกศิษย์หรือโยมบางคนไม่รู้เมื่อตำเสร็จส่งให้หลวงพ่อๆ จะไม่ฉันทั้งที่หลวงพ่อไม่ได้ดูการตำผู้เขียนเอายังงงว่าหลวงพ่อรู้ได้ยังไง

ในสมัยที่หลวงพ่อยังแข็งแรงนี้ หลวงพ่อได้มีโอกาสสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลานี้ ด้วยการแสดง พระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกนเพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประพฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนา
ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไปประกอบกับเป็นที่เลื่องลือในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมเกี่ยวกับการสนับสนุนในด้านการปกครองท้องถิ่นไปโดยปริยาย โดยจะไม่มีปรากฏว่าผู้ใดมาประพฤติชั่วในเขตวัดของหลวงพ่อ และลูกศิษย์บางคนที่จะคิดประพฤติชั่วในทางที่ไม่ควรลับหลังท่าน ถ้าระลึกถึงท่านได้แล้วมักจะระงับ ที่จะพฤติปฏิบัติเช่นนั้นเสีย

ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในกรณีที่ทางวัดได้ประกอบเป็นงานบุญขึ้น จะไม่บังเกิด เรื่องราวภายในวัดให้กระทบกระเทือนสถาบันทางพระศาสนา จึงมิต้องอาศัยเจ้าพนักงานของบ้านเมือง มารักษาความสงบสุข นี้ก็เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์เคารพนับถือตามคำสั่งสอนของท่าน หลวงพ่อยังได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรือง

? หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลหลังแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495
? ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499
? พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
? สะพานคอนกรีต และถนนทะยอยสร้างมาราว พ.ศ. 2502
? อาคารโรงเรียนประชาบาลหลังที่ 2 สร้าง พ.ศ. 2505
? ฌาปนสถานสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509
? ระบบน้ำบาดาล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510
? กุฏิสงฆ์ (อินทสโร) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511
? หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512

ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมานมัสการหลวงพ่อเพื่อขอพรจากท่าน หลวงพ่อมักจะแฝงการสั่งสอนธรรมะให้ด้วยเสมอๆ เป็นต้นว่ามีนักศึกษาจะไปสอบหลวงพ่อท่านก็จะให้พรขอให้สมตามความปราถนา แต่ก็ให้ขยันหมั่นเพียรดูหนังสือให้มากอย่าประมาทและผู้ที่มาขอให้หลวงพ่อเจิมรถอันมีอยู่เป็นประจำนั้น นอกจากหลวงพ่อให้พรเกี่ยวกับความปลอดภัยแล้วท่านก็จะเตือนสติให้การขับรถไว้ทุกราย ส่วนลูกศิษย์ที่เขาพบหลวงพ่อท่านเป็นประจำ ท่านก็มักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดีลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่า ท่านแฝงการสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา

การร่วมกุศลพิธีพุทธาภิเษก

โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิชาการฝังลูกนิมิต การเสกทรายและการลงไม้หลักมงคลซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธิวางศิลาฤกษ์นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วๆ ไปมานานแล้ว จนปรากฏว่าสังฆเสนาสนะทั้งหลาย ที่หลวงพ่อท่านได้สร้างแล้วนี้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์เท่าที่รู้เห็นกันก็คือผลอันปรากฏจากผู้มีใจบาปหยาบช้า เข้ามาโจรกรรมสิ่งของมีค่าภายในปูชนียสถานวัตถุเล่านั้นก็บังเกิดความงงงวย ไม่อาจจะเล็ดลอดออกไปได้ ถึงออกไปแล้วก็ต้องกลับมาให้จับจนได้ ดังปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับอภินิหารซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมไว้ในท้ายเรื่อง

ในชีวิตเบื้องปลายของหลวงพ่อท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่อื่นๆ อยู่เนืองๆ เช่นเมื่อปี พ.ศ. 2500 พระครูกัลยานุกูล( ) ได้นิมนต์หลวงพ่อไปร่วมชุมนุมพระอาจารย์ 1782 รูปเข้าพิธีพุทธาภิเษกสร้างพระสมเด็จและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นอนุสรณ์กึ่งพุทธกาลโดยบันทึกประวัติในหนังสือชุมนุมพระอาจารย์ ความสำคัญมีว่า

พระอาจารย์น้อย อินทสโต อายุ 77 ปี พรรษา 57 เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลาลงทางมหาอุตย์กันกระทำ มหานิยม คลอดบุตรง่าย - ปลอดภัยกันภยันตรายต่างๆ เลี้ยงบุตรง่าย ก็เด็กขี้อ่อน กันแท้งลูก ใส่ก้งถุง - มีเงินใช้ไม่ขาด มีอำนาจ"

และในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดประสาทบุญญาวาท เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2508 หลวงพ่อท่านร่วมลงแผ่นโลหะปลุกเสกไปเข้าพิธีด้วย และปรากฏว่าแผ่นโลหะที่หลวงพ่อปลุกเสกนี้ เมื่อใส่ไปในเบ้าหลอมกลับไม่ละลายซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพระอาจารย์ที่ปรากฏการณ์แบบเดียวกันอันเป็นที่โจษจรรย์ในอิทธิปาฏิหาริย์มาแล้วครั้งหนึ่งในหมู่ลูกศิษย์ย่อมรู้กันดี ในระยะหลังที่ได้ของดีจากหลวงพ่อไปแล้วต่างได้ประสบการณ์ในอิทธิปาฏิหาริย์ ใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงหวงแหนมาก
มูลเหตุการสร้างอิทธิวัตถุ

หลวงพ่อได้ศึกษาวิชาการทางพุทธคุณพร้อมกับเจริญด้วยวิปัสสนาธุระมาเป็นเวลานาน แต่ก็มิได้แสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบ แต่จากจริยาวัตรของท่านที่เห็นแต่ภายนอกก็สร้างความศรัทธาให้กับบุคคลผู้พบเห็นจวบจนระยะวัยชรา ศิษย์ทั้งหลายต่างก็พร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อ ได้สร้างอิทธิวัตถุเพื่อเป็นมงคลแก่บรรดาศิษย์ทั้งมวล เมื่อไปขอท่านแต่ละครั้งท่านก็ให้เหตุผลว่า สมัยนี้มีคนประพฤติชั่วกันมากของท่านหากสร้างขึ้นมาก็อาจจะมีบุคคลนำไปใช้ในทางที่ผิด แล้วความเสื่อมเสียก็จะมีมาถึงหลวงพ่ออันเป็นสิ่งไม่บังควรในสภาวะการครองสมณเพศ

แต่ในเวลาต่อๆ มา บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ไม่ละความพยายามที่จะขอให้หลวงพ่อท่านสร้างอิทธิวัตถุมงคลให้ได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดกล้าจัดพิธีการสร้างเพราะทุกคนต่างกลัว เกรงใจและรักเคารพต่อหลวงพ่อเป็นเคารพเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่อยากทำอะไรให้เป็นที่ขัดความประสงค์

จวบจนมาในระยะหลังๆ มีลูกศิษย์ผู้หนึ่งได้ไปพบพระเมฆพัดที่ร้านจำหน่ายพระมีไว้ให้เช่าพระเมฆพัดนี้ พิมพ์เดียวกันกับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเป็นผู้ปลุกเสก เพื่อแจกทหารเรือในสมัยสงครามอินโดจีน มีลักษณะเป็นรูปพระสมาธิสี่ด้านและมาเรียกกันว่าพิมพ์พรหมสี่หน้าเมื่อ 30 ปีก่อนผู้เขียนก็เคยพบพระพิมพ์นี้เหมือนกัน ที่ร้านจำหน่ายพระพุทธและเครื่องบวชในสะพานหัน และเข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างเกินจำนวนจากการสร้างถวายหลวงพ่ออี๋ในปี พ.ศ. 2433

ดังนั้นศิษย์หลวงพ่อน้อยที่มาพบพระพิมพ์พรหมสี่หน้าที่กรุงเทพฯ นี้อาจจะได้จากร้านพระพุทธรูปบูชาในสะพานหันและเสาชิงช้าก็ได้ จึงได้เช่าไปประมาณ 200 กว่าองค์ เมื่อเช่ามาได้แล้วจึงพากันไปหาหลวงพ่อ แล้วถวายหลวงพ่อเพื่อการปลุกเสก

พร้อมกับมีผู้เรียนหลวงพ้อว่าพระจำนวนนี้เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว จัดได้แจกจ่ายให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดทั้งหลายคงจะไม่มีผู้ใดนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะแต่ละคนมีความเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของหลวงพ่อทั้งสิ้น โดยลักษณะนี้หลวงพ่อท่านจำยอมรับมาปลุกเสกให้ ในการปลุกเสกหลวงพ่อท่านทำทุกวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ก็ไม่มีผู้ใดจำว่านานเท่าใด จึงได้แต่เชื่อว่าประมาณ 1 พรรษาหลวงพ่อจึงนำมาแจกจ่ายให้กับศิษย์ทั้งหลาย พระชุดนี้จึงถือว่าเป็นพระชุดแรกที่หลวงพ่อท่านปลุกเสกให้

ในระยะต่อมาก็มีลูกศิษย์อีกหลายคนที่ยังมิได้รับพระปลุกเสกครั้งแรกจากหลวงพ่อ ต่างก็มาขอร้องให้ท่านสร้างหรือเหรียญเพื่อจักได้ให้เป็นที่ระลึกโดยทั่วถึง ความปรารถนาของศิษย์ทั้งหลายที่หลวงพ่อได้รับรู้นี้ ท่านได้ใช้เวลาไตร่ตรองอยู่เป็นนานพอสมควร และในโอกาสที่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งมีความมักคุ้นกันมากหลวงพ่อท่านก็ได้ปรารภความปราถนาของศิษย์ดังกล่าวให้หลวงพ่อเงินทราบ หลวงพ่อเงินท่านก็สนับสนุน ควรจะตอบสนองความศรัทธา

หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อบรรดาลูกศิษย์ นำเรื่องนี้เรียนกับหลวงพ่ออีก หลวงพ่อท่านก็ไม่กล่าวความแต่อย่างใด กลุ่มลูกศิษย์จึงถือว่าท่านอนุญาตแล้วจึงเริ่มตั้งต้นการสร้างเหรียญของท่านก่อนเป็นปฐมฤกษ์

แต่ในครั้งแรกนี้ในฐานะที่แต่ละคนยังไม่เคยสร้างพระ หรือสร้างเหรียญมาก่อน จึงใช้วิธีการติดต่อช่างว่าจ้างให้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อขึ้นจำนวนหนึ่ง เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญรุ่นอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมที่แก่ทองแดงพิมพ์เสมา มีขนาดค่อนข้างเล็ก

ด้านหน้าเบื้องบนอักษรไทยตัวนูนว่า "หลวงพ่อน้อย" ขอบด้านหน้ามีลายกนกกิ่งกลางด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ลอยเด่นอยู่ตรงกลาง มีใบหน้าหนุ่มและรู้สึกดูด้านล่างของรูปหลวงพ่อประมาณแนวอก ตัดตรงและไม่มีส่วนใดชิดเส้นขอบ

สำหรับด้านหลังเรียบมียันต์นะปถมังอยู่ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมา ดังนั้นเหรียญรุ่นนี้จึงนับว่าเป็นรุ่นแรก ที่หลวงพ่อได้สร้างและปลุกเสกจากมูลเหตุที่จะมีการสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อขึ้นดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าลูกศิษย์ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าหลวงพ่อจะอนุญาตซึ่งการสร้างเหรียญชุดแรกขึ้นนี้ ท่านก็คงมุ่งหวังแต่เพียงเป็นของที่ระลึกสำหรับลูกศิษย์ในกาลอนาคตที่ท่านจากไปแล้ว

ส่วนก่อนหน้านี้สิ่งที่หลวงพอกระทำอันเกี่ยวกับพุทธาคมก็มีเรื่องการลงไม้หลักมงคล การรดน้ำมนต์การเสกทราย การทำตะกุดโทน เป็นอาทิ

"อิทธิวัตถุของพระครูภาวนากิตติคุณ"

 
รูปหล่อ หลวงพ่อน้อย

หลวงพ่อน้อย อินทสโร หรือท่านเจ้าพระคุณภาวนากิตติคุณองค์นี้ได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง 50 กว่าชนิด การสร้างนั้นท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน และผ้าป่า งานสร้างศาลาการเปรียญ-สร้างพระอุโบสถ-สร้างโรงเรียน-สร้างหอระฆัง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการฉลองสิ่งก่อสร้างทางสงฆ์ภายในวัดธรรมศาลา

"หลวงพ้อน้อย เป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองด้วยวิทยาคุณ" การปลุกเสกก็มักจะเป็นไปในทำนองเกจิอาจารย์ทั้งหลายคือ มักจะปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่ปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษก อันเป็นงานใหญ่ของวัด โดยคณะกรรมการวัดได้นิมนต์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และคุ้นเคยชอบพอกับหลวงพ่ออีกหลายแห่ง มาร่วมการปลุกเสกกับหลวงพ่อ เช่นในงานสมโภชที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูภาวนากิตติคุณเมื่อเดือนมีนาคม 2512 เป็นต้น

นอกจากนั้นหลวงพ่อก็เคยรับนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกที่อื่นๆ อยู่เสมอแต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันควรทราบก็คืออิทธิวัตถุต่างๆ ที่ปลุกเสกนี้ หลวงพ่อจะเก็บเอาไว้นานอย่างน้อยก็ 1 พรรษา ระหว่างที่เก็บ ท่านก็จะปลุกเสกของท่านไปทุกวัน ตามเวลาจะเอื้ออำนวย กว่าจะนำเอาออกมาให้สาธุชนสักการะบูชาได้ก็ร่วมขวบปีผ่านไปแล้ว โดยลักษณะดังกล่าวนี้อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อแต่ละชิ้นจึงนับว่ามีกฤติยาคมหนักแน่นจริงๆ จนปรากฏข่าวทางอภินิหารเกิดขึ้นเสมอ ผู้เขียนเองก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อและเคยมีประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน เมื่อสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

 
เหรียญปั๊มหลวงพ่อน้อยรุ่นแรก เนื้อทองแดง

นอกจากนั้นอิทธิวัตถุจากที่อื่นๆ ก็มีอยู่หลายครั้งที่นำถวายหลวงพ่อให้ท่านช่วยปลุกเสก เมื่อแล้วเสร็จท่านก็มอบคืนไป และผู้รับก็มักจะแบ่งถวายหลวงพ่อท่านไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อมีใครมาขอท่านก็ให้ไปจนหมด อิทธิวัตถุเหล่านี้มีผู้มาติดตามเพื่ออยากได้อยู่หลายราย โดยเฉพาะภายหลังที่หลวงพ่อมรณะภาพแล้ว ทางวัดก็มิรู้จะหาที่ไหน สอบรายละเอียดก็มิใช่ทางวัดสร้าง แต่เขาก็ยืนยันว่ารับไปจากหลวงพ่อ กว่าจะเข้าใจเรื่องราวตรงกันก็ต้องสืบถามคนเก่าๆ อยู่นานถึงได้รู้แล้วหลวงพ่อได้แจกไปจริง

อิทธิวัตถุต่างๆ ที่สร้างนี้ในยุคแรกๆ มีทั้งเนื้อโลหะและเนื้อผง บางส่วนจัดสร้างขึ้น โดยเฉพาะภิกษุเป็นช่างกันเองภายในวัดนั้น ดังนั้นของจำพวกหล่อที่แท้จริงไปบ้างส่วนจำพวกเหรียญอัดพิมพ์( ปั๊ม) นั้นก็มีการว่าจ้างโรงงานผลิตขึ้น ความปราณีตงดงามจึงสวยกว่าเป็นไปตามแบบมาตราฐานทั่วไป ที่มาของ "เหรียญหน้าเสือ" กรณีนี้ได้เล่าสู่กันว่า เหรียญหน้าเสือและเหรียญคอน้ำเต้ายุคแรกเมื่อออกมาใหม่ๆ ลูกศิษย์ให้ความสนใจกันน้อยเพราะด้อยในความปราณีตและสวยงาม เมื่อช่างหล่อเทพิมพ์และถอดออกมาจะพบเหรียญนี้ใบหน้าจะเทไม่ค่อยติด ช่างได้บอกกับหลวงพ่อว่า "หน้าเสีย" หลวงพ่อได้ยินก็ตอบช่างว่าไม่ใช่ "หน้าเสือ" แต่เมื่อลูกศิษย์ที่นำใช้ติดตัว เมื่อประสบผลทางกฤติยาคมกันเข้า ต่างก็เสาะหา แสวงหา จนเป็นของหายากในยุคนี้ไปเสียแล้ว

 
เหรียญหล่อรุ่นแรก เนื้อทองผสม(เหรียญหน้าเสือ) หลวงพ่อน้อย 

ในกรณีที่คนไปนมัสการหลวงพ่อ เพื่อจะขอของจากท่านและแทบทุกครั้งเมื่อเขาจะเอ่ยปาก หลวงพ่อท่านเห็นท่า ท่านก็ยิ้มก่อน แล้วลุกไปนำออกมา โดยไม่ต้องรอคำขอ เมื่อเลือดได้แล้วจึงจะส่งให้หลวงพ่อท่านประสาทให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่ท่านหยิบให้เองมักจะเป็นของชนิดที่ตรงกับผู้ขอมาต้องการ ซึ่งได้สร้างความแปลกใจกันในหมู่ลูกศิษย์เสมอมา

มรณกาล

เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา 34 นาที ความเศร้าโศกก็ได้ครอบงำตำบลธรรมศาลา เมื่อได้ทราบข่าวมรณภาพของหลวงพ่อด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 67 การนี้มีศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ 100 วัน และทางวัดก็ได้ตั้งศพของท่านที่กุฏิอินทรสรจวบจนในปี พ.ศ.2516 พระอธิการบำเพ็ญปญญาโภได้สร้างวิหารจตุรมุขเมื่อวัยที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2516 เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือท่านได้มีความสะดวกมาสักการะบูชาต่อไปจวบจนทุกวันนี้
 


ข้อมูลจากเวป http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=801

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 02 ก.พ. 2552, 04:00:26 »





ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 02 ก.พ. 2552, 05:34:46 »
ขอบคุณมากท่านเอ็ม :015:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 02 ก.พ. 2552, 09:16:14 »
พระคณาจารย์ระดับแนวหน้าของจังหวัดนครปฐม นมัสการหลวงพ่อน้อยครับ ขอบคุณครับผม  :054:

ออฟไลน์ bomnoi

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 60
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 24 เม.ย. 2552, 11:02:52 »
อยากเห็นภาพพระเครื่องทุกรุ่นของท่านจังครับ ไม่ทราบพอมีให้ชมบ้างไหมครับ

ออฟไลน์ benzbtx3

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 7
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 30 เม.ย. 2552, 07:57:15 »
อ้าวรูปเก่งหรอนั้นทำไปได้555

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 01 พ.ค. 2552, 09:14:36 »
อ้าวรูปเก่งหรอนั้นทำไปได้555
สวัสดีคัรบเพื่อนเบ้น เข้าเป็นสมาชิกแล้ว ยินดีต้อนรับนะครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับผม มีอะไรแนะนำกันได้ครับ  :001:

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 01 พ.ค. 2552, 09:17:18 »
สาธุกราบนมัสการหลวงพ่อน้อยครับ
ท่านเป็นหนึ่งใน พระอาจารย์ของหลวงปู่อั๊บด้วยครับ  :054:
สาธุ และขอบคุณสำหรับเนื้อหาครับเอ็ม :001:
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 01 พ.ค. 2552, 09:24:35 »
ขอบคุณค่ะ :054: ท่านเอ็ม ไร่ขิง :017: และขอขอบคุณสำหรับพระนะคะ ท่านbenz สวยดีค่ะ :054: :054:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พ.ค. 2552, 09:26:50 โดย porvfc(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ PeAwPeed

  • I'm not MosT girls I'm Smile. I'm an angel in disguise. I'm angry. I'm a devil inside.
  • ผู้ดูแล
  • *****
  • กระทู้: 1574
  • เพศ: หญิง
  • Stay happy all...=^.*=
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 01 พ.ค. 2552, 09:34:50 »
ขอบคุณ คุณเอ็ม  ที่นำประวัติของ หลวงพ่อน้อย มาให้ได้ศึกษากันนะคะ    :089:
What can I say it all started with a simple hello
Now look at us we’ve come a long way from just a simple

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 01 พ.ค. 2552, 09:39:23 »
ขอบคุณท่านเอ็ม สำหรับประวัติ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นะครับ... :016:

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕