ผู้เขียน หัวข้อ: มาชมกันอีกซักครั้งครับ กับการสักของชาวไทยภาคเหนือ  (อ่าน 16731 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ส่วนใหญ่ค่านิยมการสักขาลาย ของหนุ่มๆทางเหนือนี่ค่อนข้างเป็นแฟชั่นยอดฮิตในสมัยนั้น
เพราะถ้าใครไม่มีลายสักที่ขาแล้ว ผู้หญิงเค้าก็จะไม่แลครับ แหะๆๆ
(จะมีแฟนซักคนต้องแลกกับความเจ็บปวดด้วยนะนี่) ^ ^



รูปนี้คือการสักที่พุงครับ จะสักตั้งแตพุงลงไปจนถึงเข่าหรือขาอ่อนครับ (ในสมัยรัชกาลที่ห้า เรียกกลุ่มผู้ที่สักแบบนี้ว่าลาวพุงดำครับ)
ยอมรับในความอึดจริงๆครับ เพราะสักตรงนี้เจ็บมากกกกกกกก :074:


 อันนี้ด้านหลังคับ


อีกรูปครับเกือบถึงหัวเข่าเลย  :075:


รูปนี้ของคุณตาอีกท่านนึงครับ
 :074:

การสักขาลายของทางเหนือ จะแบ่งเป็นหลักๆดังนี้ครับผม สักข่ามคง คือสักให้คงกระพันหนังเหนียว
สักข่ามพิษ คือสักเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษ หรือสัตว์กัดต่อย
สับขาลาย (สักขาลาย) สักเป็นคล้ายๆกับแฟชั่นสมัยนี้ครับ ไม่ได้ลงอักขระคาถาแต่อย่างใด
ไม่ได้มีแต่ผู้ชายที่สักนะครับ แม้แต่ผู้หญิงก็สักด้วย แต่จะสักเน้นไปทางข่ามพิษครับ ผู้หญิงสักไม่เยอะเท่าผู้ชาย  :095:
ทางเหนือนี่วัฒนธรรมการสัก ได้ยินว่าเริ่มจากพวกเงี้ยวครับ ต่อมาก็แพร่กระจายไป ถึงชาวไทยลื้อ ชาวไทยใหญ่(เรียกตัวเองว่าคนไต)
คนเมือง(คือชาวเชียงใหม่นี่แหละครับ) ^ ^
ผิดพลาดประการใด ขอภัยด้วยครับ
ข้อมูลจากหนังสือ ว่าด้วยรอยสักไทยใหญ่ ของผมเอง(เป็นหนังสือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ)  :006:
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ จากhttp://www.fm100cmu.com/blog/sai_tarn_silp/content.php?id=585

ประเพณีการสักหมึกของชายล้านนา
วัฒนธรรมประเพณีของล้านนาที่สืบทอดกันมาในสังคมคนเมืองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายอย่างที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตลอด แต่ก็ยังมีวัฒนธรรมล้านนาอีกหลายอย่างที่ถูกมองข้าม ทั้งแง่เอกลักษณ์และระบบสัญลักษณ์ที่ผู้ทำได้พยายามสื่อความออกมา  อย่างเช่น การสับหมึก หรือ การ ?สัก?ลวดลายลงบนร่างกาย ซึ่งนอกจากจะมีความเชื่อเรื่องการอยู่ยงคงกระพันแล้ว การสักหมึกยังมีความสำคัญต่อการเลือกคู่ครอง ของชายล้านนาอีกด้วย
ในอดีตการสักหมึก เป็นการแสดงออกถึงความเป็นลูกผู้ชาย หากชายใดขาขาวเพราะไม่สักหมึก สาวๆจะไม่เหลียวแล  การสักหมึกของชายหรือ ?บ่าว? ในล้านนานิยมสักตั้งแต่บริเวณเอวลงมาจนถึงเหนือหัวเข่า หากมองไกลๆจะเห็นเป็นแถบสีดำ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ?ลาวพุงดำ? ที่ชาวภาคกลางใช้เรียกขาน

ชาวล้านนาในอดีต  ชายล้านนานิยมการสักขาลายมาก เมื่อมีอายุย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะทำการสักแทบทุกคน  การสักชนิดนี้ใช้หมึกสีดำไม่มีการเสกคาถากำกับแต่อย่างใด เพราะเป็นการสักเพื่อความสวยงามตามจารีตประเพณีนิยม  เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเข้มแข็งของลูกผู้ชาย  ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตคนส่วนใหญ่จะนิยมอาบน้ำในแม่น้ำหรือลำห้วย  โดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ชายและกลุ่มผู้หญิง ในสมัยนั้นผู้ชายที่มีรอยสักหมึกตามร่างกาย  โดยเฉพาะที่ขาต้องสักขาลายด้วยจึงถือว่าเป็นผู้ชายเต็มตัว  หากชายคนใดไม่ได้สักขาลาย  ถ้าไปอาบน้ำก็จะถูกล้อเลียนว่าขาขาวเหมือนผู้หญิงควรจะไปอยู่กับกลุ่มผู้หญิง  ทำให้ชายผู้นั้นได้รับความอับอายมากและผู้หญิงก็ไม่ชอบผู้ชายขาขาวถือว่าเป็นคนอ่อนแอไม่สมควรเอามาเป็นคู่ครอง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายในสมัยนั้นจึงนิยมสักขาลายแทบทุกคน   
ส่วนความเชื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวกับการสักหมึก  ตัวอย่างเช่น  ความมั่นใจ อยู่ยงคงกระพัน  ให้โชคลาภหรือรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  เป็นต้น  จะพบน้อยมากเป็นเพราะว่าเป็นความเชื่อเฉพาะบุคคล ไม่ได้เป็นเหตุผลสำคัญ  จึงไม่มีอิทธิพลต่อผู้สักเท่าไหร่ จะพบเพียงไม่กี่คนที่สักเพื่อจุดมุ่งหมายเฉพาะตัว
การสักขาลายทุกครั้งนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและความอดต่อความอดทนต่อการเจ็บปวดที่ได้รับ
จากการสัก บางคนบอกว่าเจ็บพอทนได้ บางคนบอกว่าเจ็บเหลือประมาณ    โดนหลักสักแทงไม่กี่ครั้งก็บอกเลิกกลางคันก็มี  การสักนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะใช้หลักสักซึ่งเป็นเหล็กแหลม ทำจากเหล็กทั้งแท่งตรงปลายแหลมมาก และข้างในเป็นรูกลวงมาตามยาวเพื่อใส่สี ซึ่งมีความยาวตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตรส่วนหัวหล่อทองเหลืองเป็นรูปต่างๆ เทวดาบ้าง สิงห์บ้าง แตกต่างกันออกไป เพื่อให้มีน้ำหนักในการกระแทกเหล็กสัก จิ้มให้เป็นลวดลายต่างๆ ลงไปใต้ผิวหนังในเนื้อขาซึ่งมีความเจ็บปวดมาก ฉะนั้นผู้ที่ถูกสัก  จะต้องดื่มเหล้า สูบฝิ่น หรือสูบกัญชา เพื่อให้เมาและมึนเสียก่อน เพื่อระงับความเจ็บปวด   ลักษณะการสักหมึกบนร่างกาย มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปดังนี้

หมึกขาตัน  คือการสักหมึกที่สักจนดำเป็นพืดทั้งขา
หมึกขาลาย คือสักลายสัตว์ต่างๆ ในกรอบไว้ห่างๆ พอเห็นเนื้อหนังได้บ้าง
หมึกขายาว คือสักลายจากเอวถึงกลางน่อง
หมึกขาก้อม คือสักลายจากเอวถึงต้นขา
 ซึ่งการสักลายในแต่ละแบบนั้น ก็เป็นการแสดงถึงความอดทน เข้มแข็งทั้งกายและใจด้วย
จนในบางครั้งอาจจะได้ยินคำหยอกล้อกันในหมู่ชายล้านนาว่า... ?น้ำหมึกขายาว เอาไว้แป๋งฮาวผ้าอ้อม น้ำหมึกขาก้อมเอาไว้กล่อมแม่ญิงนอน?
 ลวดลายส่วนใหญ่มักจะสักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ คือ เสือ แมว ลิง ค้างคาว ช้าง มอม ที่เด่นอยู่ในบรรดาสัตว์ร้ายทั้งหลายก็คือ ราชสีห์ในนิยาย  แต่มีบางพื้นที่ในแถบลุ่มน้ำโขง เช่นเมืองลื้อสิบสองปั้นนา เมืองหลวงพระบาง  มักจะสักเป็นลายเกล็ดนาค เพราะเชื่อว่าพวกตนเป็นลูกหลานของพญานาค ซึ่งการสักลายดังกล่าว ก็เพื่อให้พญานาคที่ตนนับถือ มาปกป้องคุ้มครองตน  นอกจากนี้ก็ยังมียันต์ต่างๆ  ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้อยู่ยงคงกะพัน โดยส่วนใหญ่จะสักเฉพาะขาถึงเข่า แต่บางคนก็สักทั้งตัว  ชายล้านนารวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงนิยมสักหมึกกันอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นเอกลักษณ์ของคนแถบนี้  โดยเห็นได้จากตอนที่สยามเข้ามามีบทบาทการปกครองหัวเมืองเหนือ โดยเรียกล้านนาว่า มณฑลพายัพ เมื่อข้าหลวงของสยามเข้ามามีบทบาทในพื้นที่แถบนี้ ก็พบเห็นการสักของชายล้านนา จนเป็นที่สนใจของข้าหลวงชาวสยามและเรียกชาวมณฑลพายัพว่า ลาวพุงดำ เพราะชายชอบสักมอม ตั้งแต่พุงไปถึงเข่า


จากงานเขียนของคาร์ล บอร์ค นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่เข้ามาสำรวจดินแดนไทยทางด้านภูมิศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1881(พ.ศ. 2424) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนที่สองที่ได้เดินทางขึ้นมาถึงล้านนา   ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการสักของคนเมืองไว้ในหนังสือท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวงไว้ว่า  การสักใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นลูกผู้ชาย ความกล้าหาญและความอดทนที่สามารถฝึกฝนให้เคยชินต่อความเจ็บปวดได้ด้วยความสมัครใจ เหมือนดังที่ผู้หญิงดยัคส์(ในเกาะบอร์เนียว) นิยมสักร่างกายไว้ล่อใจชาย  พวกชายลำปางก็สักไว้ล่อใจหญิง ธรรมเนียมนี้เป็นที่แพร่หลายทั่วไป จนยากที่จะหาชายไหนที่ไม่ได้สัก
การสักหมึก ไม่ว่าจะสักเพื่อจุดประสงค์ใดก็ตาม   รูปรอยที่ปรากฏออกมาย่อมแฝงไว้ซึ่งความงามทางด้านทัศนศิลป์ เป็นที่ตรึงตาตรึงใจแก่ผู้พบเห็น  การสักลายมิใช่แค่เน้นในด้านความสวยงาม  แต่มีความเชิงแอบแฝงมากับลวดลายต่างๆ ที่สักอีกด้วย  ในสังคมล้านนาประมาณ 60 ปีให้หลังนี้  พบว่าการสักขาลายนั้น ไม่เป็นที่นิยมและไม่ทำการสักกันอีกแล้ว  เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเมืองล้านนา  ไปเป็นสังคมเมืองที่ศิวิลัย การเลือกคู่ครองของหญิงสาวชาวล้านนา  จึงไม่ต้องพึ่งพาความเจ็บปวดที่เกิดจากสักขาลายของชายอีกต่อไป  เนื่องจากปัจจัยทางสังคมใหม่ๆ ได้กลับกลายมาเป็นตัวเลือกให้กับหญิงสาวเลือกคู่ครอง ซึ่งทำให้แนวความคิด ประเพณีปฏิบัติการสักขาลายของชายล้านนาหมดไปจากสังคมนี้โดยสิ้นเชิง  เหลือเพียงร่องลอยสักเก่าๆ บนผืนหนังอันเหี่ยวแห้ง ของพ่ออุ๊ยที่ยังคงฝากฝังไว้ให้เราได้เห็น ได้ศึกษากันในปัจจุบัน


ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com


ลายสักสิงห์มอม หรือตัวมอม สัตว์ในวรรณคดียอดนิยมของล้านนาครับ เข้มปึ้ดเลย

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
 :016: :016: สุดยอดครับ น้องก๊อต ข้อมูลแน่นมาก

 "ลูกผู้ชายขาขาว สาวบ่สน"  :005: :005:

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ขนาดผมคนเหนือแท้ๆศึกษาเรื่องสักมายังไม่เคยเจอรูปสวยๆแบบนี้ท่านเจ้าของกระทู้เก่งจริงๆหามาได้ไง สุดยอด :053:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มี.ค. 2552, 07:15:50 โดย ชลาพุชะ »

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ขนาดผมคนเหนือแท้ๆศึกษาเรื่องสักมายังไม่เคยเจอรูปสวยๆแบบนี้ท่านเจ้าของกระทู้เก่งจริงๆหามาได้ไง สุดยอด :053:

ขอบคุณครับพี่ศักดา ตอนแรกจะถ่ายของตัวเองมาลงก็เกรงใจ แหะๆ
เพราะไม่ใช่สายเหนือโดยตรงนัก เลยต้องพึ่งหนังสือและกูเกิลเสียหน่อยครับผม

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
สักวันผมจะต้องสักทางสายเหนือให้ได้ 13;

ออฟไลน์ ๛][รัตu:][๛

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 719
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
สวยมากครับ อยากได้มั้ง จัง แต่!! กลัวเจ็บ!!  :005:
ถึงสูงศักดิ์  อัครฐาน  สักปานใด
ถึงวิไล      เลิศฟ้า    สง่าศรี
ถึงฉลาด    กาจกล้า  ปัญญาดี
ถ้าไม่มี      คุณธรรม  ก้อต่ำคน

ออฟไลน์ TTTUTTT

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 834
  • เพศ: ชาย
  • สร้างสรรค์แต่สิ่งดี
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ข้อมูลน่าสนใจมากครับ...{^_^}...

TUM

  • บุคคลทั่วไป
1

มอม หรือ สิงห์มอม เป็นสัตว์หิมพานต์ รูปร่างลักษณะคล้ายแมว ลูกเสือหรือลูกสิงโต ปรากฏให้เห็นในรูปของยันต์ที่ชายชาวล้านนาโบราณนิยมสักช่วงล่างของร่างกายบริเวณขาที่เรียก "สักขาลาย" "สักขาก้อม" หรือไม่ก็ปรากฏเป็นลวดลาย หรือรูปปั้นตามซุ้มประตูของวัด ต่าง ๆ และบา
โดยสนั่น ธรรมธิ จากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์
มอม หรือ สิงห์มอม เป็นสัตว์หิมพานต์ รูปร่างลักษณะคล้ายแมว ลูกเสือหรือลูกสิงโต ปรากฏให้เห็นในรูปของยันต์ที่ชายชาวล้านนาโบราณนิยมสักช่วงล่างของร่างกายบริเวณขาที่เรียก "สักขาลาย" "สักขาก้อม" หรือไม่ก็ปรากฏเป็นลวดลาย หรือรูปปั้นตามซุ้มประตูของวัด ต่าง ๆ และบางแห่งมีการแกะสลักตัวมอมไว้ตามฐานชุกชี ฐานพระเจดีย์เป็นต้น

บทบาทของมอม

ชาวล้านนาโบราณรวมทั้งชาวไทยเผ่าอื่นที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันนิยมสักลายเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ หรือตัวอักขระคาถาบนร่างกายส่วนต่าง ๆ โดยเชื่อกันว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน มีเมตตามหานิยม รอดพ้นจากอันตราย ๆ ตลอดทั้งเขี้ยวพิษจากสัตว์ร้ายได้ นอกจากนี้ การสักลายยังแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของความเป็นชายทั้งในความหมายของความอดทนและความเป็นผู้กล้าหาญในการศึกสงครามเป็นที่เกรงขามแก่ผู้พบเห็น ทั้งนี้ในส่วนของร่ายกายที่นิยมสักกันมากจะสักบริเวณบั้นเอวลงไปถึงขา ชายใดไม่มีลายสักบริเวณดังกล่าว ขาจะขาวเหมือนผู้หญิง ไม่เป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม โดยเฉพาะผู้หญิงจะถือว่าชายนั้นไม่สามารถคุ้มครองภัยอันตรายหรือเป็นที่พึ่งพาได้ และที่สำคัญรูปสัตว์ที่นิยมสักได้แก่ รูปมอม หรือ สิงห์มอม

ศิลปกรรมตามโบสถ์วิหารหรือศาสนสถานในวัดมักมีรูปมอมปรากฏโดยทั่วไป อาจเป็นภาพเขียน รูปแกะสลักหรือรูปปั้น บางแห่งมีรูปเทวดายืนอยู่บนหลังมอม ซึ่งผู้รู้หลายท่านมีความเห็นตรงกันว่าเป็นเทวดาที่ชื่อ "ปัชชุนนะ" ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฝน การที่มีรูปเทวดาองค์นี้ก็เพราะมีความเชื่อว่า บ้านเมืองจะอุดมสมบูรณ์ฝนไม่ขาดฟ้า และที่ยืนบนหลังมอม แสดงให้เห็นว่ามอมเป็นสัตว์พาหนะของเทพเจ้าแห่งฝน ดังนั้นในเชิงปฏิบัติทางวัฒนธรรมตามความเชื่อจึงมีการนำมอมมาแห่ตามพิธีกรรม เพื่อขอให้ฝนตก

ปีใดก็ตาม หากเกิดภาวะฝนแล้ง ชาวบ้านจะนำ รูปสลักมอม ขึ้นใส่เสลี่ยง แล้วจัดขบวนแห่แหนไปรอบ ๆ หมู่บ้าน ในขบวนแห่จะมีการสาดน้ำตัวมอมให้ชุ่มตลอดเวลา ผู้ที่เข้าร่วมขบวนจะแสดงพฤติกรรมตลกคะนอง ผิดธรรมชาติ เช่น ชายแต่งกายเป็นหญิงนุ่งห่มเสื้อผ้ากลับหน้ากลับหลัง บางคนถือรูปอวัยวะเพศ บางคนแต่งหน้าทาปากเป็นที่ตลกขบขัน ด้วยเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เทวดาร้อนใจและบันดาลให้ฝนตกในที่สุด

ปัจจุบัน การแห่มอมหาดูได้ยาก อาจเป็นเพราะสังคมเกษตรอ่อนกำลังลง หรือเป็นผลมาจากมอมนั้นหายากก็เป็นได้ อย่างไรเสีย ยังมีวิธีที่คล้ายกัน คือการจับแมวมาแต่งหน้านุ่งผ้าใส่เสื้อ แล้วแห่แหนในลักษณาการเดียวกัน แต่วิธีนี้พบว่ามีปรากฏในกลุ่มคนไทถิ่นอื่นด้วย ที่เรารู้จักกันดีคือ พิธีแห่นางแมวของฝน แต่ความมีมนต์ขลังดูจะสู้มอมไม่ได้ เพราะมอมเป็นสัตว์รับใช้ของปัชชุนน เทวดา น่าจะสามารถนำ ความทุกข์ร้อนของมนุษย์ไปรายงานได้โดยตรง

จะอย่างไรก็ตาม ความสำคัญคงไม่มีเพียงแค่นี้ เมื่อมือชี้ตัวมอมให้คนอื่นมอง ปากคงต้องบอกเล่าให้เข้าใจได้โดยละเอียด ซึ่งเรื่องนี้คงต้องมีการค้นคว้าในเชิงลึกกันต่อไป.

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ  ข้อมูลละเอียดมาก  :054: :054:

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ถ้าผมได้ไป นมัสการครูบาอริยชาติ ผมจะถ่ายรู้ ตัวมอมที่อยู่หน้า กุติ ท่านมาให้ดู สวย ๆๆ มากกกก :005:

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ถ้าผมได้ไป นมัสการครูบาอริยชาติ ผมจะถ่ายรู้ ตัวมอมที่อยู่หน้า กุติ ท่านมาให้ดู สวย ๆๆ มากกกก :005:

ขอบคุณมากๆ ครับ

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
เขาว่าเป็นต้นกำเนิดในไทยเลยนะ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ ปาท่องโก๋

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 56
  • เพศ: หญิง
  • ไม่เสียสละ ชัยชนะไม่เกิด
    • MSN Messenger - thongma4@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ลายสักสวยมากค่ะ เนื้อหาความรู้ดีขอบคุณมากค่ะ :016: :015:

  ไม่เสียสละ  ชัยชนะไม่เกิด 

ออฟไลน์ prathomsak

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 631
  • เพศ: ชาย
  • โอม หนุมานะ
    • MSN Messenger - prathomsak-pong@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • www.hi5.com
    • อีเมล
ข้อมูลดีๆน่าสนใจมีมาให้ชมกันอีกแล้วครับท่าน  ขอบคุณพี่น้องชาวเวป ที่ช่วยกันนำสิ่งดีๆมาเสนอแด่พวกเรา
เวลาของเรามีน้อยนัก หมั่นทำบุญทำกุศลกันเถิด จักเกิดผล

ออฟไลน์ SIC

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 938
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - diasberm@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • Marlboro Photographer
    • อีเมล
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  :016:

ออฟไลน์ [= Jo_o* =]

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 862
  • เพศ: ชาย
  • =ลูกศิษย์วัดบางพระคนหนึ่ง=
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
สักขา  น่ากลัว  เจ็บๆๆๆ แน่ๆๆๆ

พุงยิ่งแล้วใหญ่ โอย :054:
[shake]หากอยากจะเป็นผู้รับ ท่านต้องเริ่มจากการเป็นผู้ให้เสียก่อน[/shake]

ออฟไลน์ น้องลิงน้อย

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1127
  • เพศ: หญิง
    • ดูรายละเอียด
ขนาดผมคนเหนือแท้ๆศึกษาเรื่องสักมายังไม่เคยเจอรูปสวยๆแบบนี้ท่านเจ้าของกระทู้เก่งจริงๆหามาได้ไง สุดยอด :053:


:062: มันแต่ทำอะไรอยู่คะพี่ศักดา  :095:

 :026: :090: ตามหารักแท้อยู่ดิ รีบๆ เลยนะ  :073: 

 :007: ไหนของดีเมือแพร่ จัดมาเร็ว  :053:

 :086: ถ้าน้องลิงน้อย จะไปสักทางเหนือด้วยคนจะว่าไงเนี่ย :093:

 :058: คิดไว้แล้วนะว่าจะสักอะไร แต่ไม่มีไกด์ดิ :050:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด
ขาคงเจ็บกว่าหลังเยอะ ผมเลยไม่กล้าจะสักขานัก ... สาธุ ...  :089:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
สักขา  น่ากลัว  เจ็บๆๆๆ แน่ๆๆๆ

พุงยิ่งแล้วใหญ่ โอย :054:

ขาคงเจ็บกว่าหลังเยอะ ผมเลยไม่กล้าจะสักขานัก ... สาธุ ...  :089:

...เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ สักที่ขาคงจะเจ็บแย่เลย...

..ผมก็ไม่กล้าสักเหมือนกันครับ 11;..

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
สักขา  น่ากลัว  เจ็บๆๆๆ แน่ๆๆๆ

พุงยิ่งแล้วใหญ่ โอย :054:

ขาคงเจ็บกว่าหลังเยอะ ผมเลยไม่กล้าจะสักขานัก ... สาธุ ...  :089:

...เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ สักที่ขาคงจะเจ็บแย่เลย...

..ผมก็ไม่กล้าสักเหมือนกันครับ 11;..

แหม๋ๆ ขาขาวๆ ทั้งนั้นเลยนะครับพี่น้อง   :004: :004: