ชื่อ วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง)
ที่ตั้ง เลขที่ 10 หมู่ 1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ประวัติความเป็นมา
วัดมุจลินทวาปีวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชนิดสามัญ พระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม (เกลี้ยง) เจ้าเมืองหนองจิก เป็นผู้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2388
โดยเมื่อพระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม (เกลี้ยง) ได้อพยพผู้คนมาตั้งเมืองหนองจิกใหม่ ณ บริเวณตำบลตุยง ที่ตั้งอำเภอหนองจิกในปัจจุบัน เมื่อ
สร้างที่ว่าการเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านและพระอาจารย์พรหม ธมมสโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านได้ตระเวณเลือกชัยภูมิเพื่อสร้างวัด เล่า
กันว่าท่านได้เดินทางไปพบเนินทรายขาวแห่งหนึ่งซึ่งมีต้นชะเมาใหญ่ปกคลุมเงียบสงัด ได้เห็นเสือตัวใหญ่นอนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เลย
ถือเป็นนิมิตรมงคล เลือกสถานที่แห่งนั้นเป็นที่สร้างวัด มีชื่อเรียกว่า "วัดตุยง" ตามนามหมู่บ้าน
เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเยี่ยมเยียนพสกนิกรหัวเมืองปักษ์ใต้ ได้เสด็จมาถึงเมืองหนองจิกเมื่อ
วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ซ. 2433 วัดตุยงเป็นวัดที่ใช้ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในสมัยนั้น แต่พระอุโบสถและเสนาสนะ
ยังทรุดโทรมอยู่หลายหลัง พระองค์จึงมีพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์ เป็นเงินจำนวน 80 ชั่ง มอบให้พระยามุจลินทร์สราภิธานนัคโรปการ
สุนทรกิจมหิศราชภักดี (ทัด ณ สงขลา) เจ้าเมืองหนองจิกไปดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ แล้วพระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดมุจลินทวาปี-
วิหาร" เพื่อให้สอดคล้องกับนามเมืองหนองจิก (มุจลินท หมายถึง ไม้จิก, วาปี หมายถึง หนองน้ำ) และได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์แก่
วัดมุจลินทรวาปีวิหารด้วย
พระยามุจลินทรฯ ได้มอบหมายให้หลวงจีนคณานุรักษ์ (จูล่าย) หัวหน้าชาวจีนเมืองตานีเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และให้นายอินแก้ว รัตนศรีสุข
เป็นนายช่าง เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันศุกร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีเดียวกัน มีผู้
ร่วมพระราชกุศลสมทบรวมกับพระราชทรัพย์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานไว้ เป็นเงินค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 2405 เหรียญ กับ 4 อัฐ
ในปี พ.ศ. 2488 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จออกตรวจราชการมณฑลปักษ์ใต้ ทราบว่าพระอุโบสถวัดมุจลินทวาปีวิหารยังไม่มีพระประธาน ดังนั้นเมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพฯ ก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน หน้าตักกว้าง 1 เมตร 4 นิ้ว ซึ่ง
เป็นองค์หนึ่งในจำนวนพระพุทธรูปโบราณ 1248 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อัญเชิญมาจากสุโขทัยและหัวเมือง
ฝ่ายเหนือ ลงมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มอบให้พระยาเพชราภิบาลนฤเบศรวาปีเขตมุจลินนฤบดินทร์สวามิภักดิ์ เจ้า
เมืองหนองจิกนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานประจำอุโบสถวัดมุจลินทวาปีวิหาร
วัดมุจลินทวาปีวิหาร มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่น่าสนใจ ดังนี้
1.พระเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุของสมเด็จพระอรหันต์ ซึ่งพระภิกษุแดง ได้มาจากประเทศเมียนม่า
2.พระหล่อโลหะรูปเหมือนพระอาจารย์นวล เจ้าอาวาสองค์ที่ 3
3.พระหล่อโลหะรูปเหมือนพระครูพิบูลย์สมณวัตร เจ้าอาวาสองค์ที่ 4
4.พระหล่อโลหะและขี้ผึ้งรูปเหมือนพระราชพุทธรังษี เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 และพระเครื่อง
5.พระบูชา เหรียญมงคล ของเกจิอาจารย์ทั้ง 3 องค์
วิหารยอดหรือมณฑปที่ประดิษฐานพระหล่อโลหะรูปเหมือน ของเจ้าอาวาสทั้ง 3 องค์ ซึ่งสร้างเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่ย่อส่วนมาจากพระที่นั่งไอสวรรค์ทิพย-อาสน์ ในพระราชวังบางปะอิน
6.สถูปบรรจุพระอัฐิ ของพระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม (เกลี้ยง) เจ้าเมือง หนองจิก และเป็นผู้สร้างวัดมุจลินทวาปีวิหาร
วัดมุจลินทวาปีวิหาร ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลกแห่งแรกของมณฑลปัตตานี ทางโลกหรือสายวิชาสามัญ ได้เปิดโรงเรียนสอนตามหลักสูตรชั้นประถมศึกษาสมัยนั้นขึ้น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2444 ต่อมาปี พ.ศ. 2449 ทางราชการได้ย้ายโรงเรียนออกมาจากวัด มาดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คือ โรงเรียนบ้านตุยง (เพชรานุกูล) ในปัจจุบัน สายธรรม เปิดโรงเรียนสอนธรรมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2473 ต่อมาปี พ.ศ. 2475 ก็ได้เปิดโรงเรียนปริยัติธรรมขึ้นอีก เพื่อสอนแผนกภาษาบาลี ต่อมาวัดได้ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาขึ้น เรียกว่า "โมลีธรรมพินิต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระราชพุทธิรังษี (หลวงพ่อดำ) และได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมสามัญศึกษาขึ้นชื่อว่า "โรงเรียนมุจลินท์ปริยัติธรรม" สายสามัญศึกษา สังกัดกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2518
ความสำคัญต่อชุมชน
วัดมุจลินทวาปีวิหาร เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญมากวัดหนึ่งของจังหวัดปัตตานี เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวพุทธโดยทั่วไป ทางวัดได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมขึ้นทุกปี และมีพุทธ-บริษัทมาร่วมปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ประชาชนทั่วไปรู้จักวัดนี้ได้จากอภินิหารของหลวงพ่อดำ ซึ่งทางวัดได้จัดทำพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องพระบูชา เหรียญมงคลของหลวงพ่อดำและพระเกจิอาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดมุจลินทวาปีวิหาร เพื่อให้พุทธบริษัทที่เลื่อมใสศรัทธาได้เก็บไว้เคารพบูชาโดยทั่วกัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
วัดมุจลินทวาปีวิหาร มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือ พระเจดีย์บรรจุพระสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ใหญ่รูประฆังคว่ำ แบบลังกา ก่อด้วยอิฐ ถือปูน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2429 อุโบสถรูปทรงไทย ก่อด้วยอิฐถือปูน หลังคาทรงไทย 3 ชั้น กุฏิเจ้าอาวาส เป็นกุฏิชั้นเดียว ทรงไทย ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มณฑปหรือวิหารยอด เป็นศาลาจตุรมุข ซึ่งจำลองมาจากปราสาทพระราชวัง บางปะอิน พระพุทธปฏิมาประธาน เป็นพระประธานสมัยเชียงแสน (สิงห์ 1) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุประมาณ 800 ปี เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
เดินทางจากจังหวัดปัตตานี เส้นทาง ถนนสายปัตตานี - โคกโพธิ์ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
ปัจจุบันทางวัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) ได้สร้างศาลาประดิษฐานรูปปั้นหลวงพ่อดำเพื่อให้พุทธศาสนิกชน
ได้เคารพสักการะหลวงพ่อดำ มีนามเดิมว่า ดำ นามสกุล จันทรักษ์ เกิดวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๗
ที่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บิดามีนามว่า หลวงจรานุรักษ์เขตร (พลับ จันทรักษ์) มารดามีนามว่า
นางพ่วนเหนี่ยว จันทรักษ์ เด็กชายดำ จันทรักษ์ เริ่มการศึกษาที่บ้าน โดยเรียนกับบิดาจนอ่านออกเขียนได้
จนถึงอายุได้ ๑๙ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนาทับ ได้ศึกษาหนังสือขอม ทั้งขอมไทยและขอมบาลีจนเชี่ยวชาญ
ระหว่างที่เป็นสามเณรได้เกิดอาพาธจึงได้ลาสิกขาชั่วคราว เหตุผลเพราะยาโบราณต้องผสมสุรา เมื่อหายอาพาธ
แล้วจึงได้กลับมาอุปสมบทในขณะที่มีอายุ ๒๒ ปี ได้นามฉายาครั้งแรกว่า "นนฺทิยมาโน" ต่อมาได้เดินทางไปกรุงเทพฯ
โดยได้ไปจำวัดที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์) วัดราชบพิธ
ได้ทรงเปลี่ยนนามฉายาให้ใหม่เป็น "นนฺทิโย" ซึ่งเป็นคำนาม แปลว่า "ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเพลิดเพลิน" แล้วทรงฝากให้
ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกสามัญและแผนกบาลีที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยท่านได้เดินทางกลับปัตตานี
อีกครั้ง มาประจำอยู่ที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จนถึงวาระมรณภาพ โดยมีตำแหน่ง
และสณศักดิ์ต่างๆ ดังนี้
วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นฐานานุกรมของพระครูพิบูลย์สมณวัตร (หลวงพ่อชุม) เจ้าอาวาส
วัดมุจลินทวาปีวิหารที่ "พระใบฎีกา"
วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
"เจ้าคณะหมวดตุยง"
วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระเทพญาณโมลี เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
"ผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงตุยง"
วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นที่ "พระครูกนิตสมณวัตร"
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งสาธารณูปการจังหวัดปัตตานี
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะ (เจ้าคุณ) ชั้นสามัญที่
"พระมุจลินทโมลี"
วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรเป็นพระราชาคณะ ชั้นราชที่
"พระราชพุทธิรังษี"
ท่านยังเป็น พระกรรมวาจาจารณ์ (พระคู่สวดของ อ. ทิม วัดช้างให้) อีกทั้งท่านยังเป็นประธานในพิธีปลุกเสก
วัตถุมงคลของวัดช้างให้มาโดยตลอดอีกด้วย
พระราชพุทธิรังษี หรือหลวงพ่อดำ ได้บริหารคณะสงฆ์และงานก่อสร้างสังฆเสนาสนะตลอดถึงงานทุกอย่าง
เสร็จเรียบร้อยประหนึ่งปาฏิหาริย์ ทั้งนี้เป็นเพราะปาฏิหาริย์ประพฤติดีประพฤติชอบ ท่านเดินจงกรมตั้งแต่
เวลา ๑๙.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. เป็นประจำ อีกทั้งยังเข้าห้องนั่งสมาธิตลอดมาจนถึงวาระสุดท้าย ท่านมรณภาพ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ รวมอายุได้ ๙๐ ปี
ผลงานของท่านเกี่ยวหลวงพ่อทวดวัดช้างให้
๑. ท่านเป็นประธานพิธีปลุกหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่นแรก ๒๔๙๗
๒. ท่านปลุกเสกหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ปี ๒๕๐๕ หลังจากมีพระปลอมออกมามาก
๓. ท่านปลุกเสกหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ รุ่น ๒
เว็บวัดตุยง http://www.wattuyong.org