แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ธรรมะรักโข

หน้า: [1]
1
ขอบคุณมากมายที่นำภาพมาให้ชมกันนะครับ

2
ขอขอบคุณ   ที่นำข้อมูลความรู้ดีๆ เกี่ยวกับหลวงปู่...

และภาพบรรยากาศ"วัดทุ่งนานางหรอก"มาฝากครับ


 :016: :015:

4
สวยงามครับ
ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ

5



  ขอบคุณมากมายครับสำหรับภาพบรรยากาศ :016:

7
เคล็บลับการทำบุญสมัยพุทธกาล "ลงทุนน้อยกว่า ได้บุญมากกว่า"























                      .............

                         .......

                           ...

                            .

            หลัง จากนั้น ขอบ ฟ้าก็ได้เริ่มไตร่ตรอง
            หาคำตอบของการทำบุญที่แท้จริง





















      นอกจาก นี้หลวงพ่อก็ยังเล่าเรื่องราวสมัย
      พุทธกาล เกี่ยวกับการทำบุญ

      ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเอาไว้ให้ฟัง...












เขายัง ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆอีกมากมายจาก หลวงพ่อ...















   หนังสือเล่ม นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระนิพนธ์ใน
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังราช

    เพื่อให้สังคมไทยเข้าใจการทำบุญอย่างแท้จริง



8


                    สวยงามมากมายครับพี่เจมส์

9
เคยมีผู้ใหญ่บอกว่าใครได้ห้อยพระหลวงปู่ทวดไม่มีวันตายโหงแน่นอนครับ แม้ไม่ได้ผ่านการปลุกเสกพระหลวงปู่ทวดท่านก็มีความขลังและความศักดิ์สิทธ์อยู่ข้างในพระหลวงปู่ทวดอยู่แล้ว

เคยมีเรื่องเล่าว่า..มีกระทาชายนายหนึ่งใสซื่อมือสะอาดมาจากทางภาคใต้

เดินทางมาเที่ยวที่กรุงเทพฯและคิดว่าจะมีของฝากอะไรดีไปฝากญาติๆ

วันนึงได้ไปเที่ยวแถวๆสนามหลวงและได้เห็นแผงพระที่แบกับดินแถวๆ

ข้างวัดมหาธาตุวางให้เช่ากันเต็มไปหมด ก็เลยนึกขึ้นได้ว่าเช่าพระหลวง

ปู่ทวดไปฝากญาติๆดีกว่า และได้สอบถามราคาว่าให้เช่าองค์ละเท่าไหร่...

เขาตอบมาว่าองค์ละ 10 บาท ก็คิดว่าเอ๊ะถูกดีโดยไม่รู้ว่าเป็นของเก๊ทำ

เทียมเลียนแบบ ก็เลยเช่าไป 20 องค์ เพื่อเป็นของฝากเพราะคนใต้จะ

ศรัทธาหลวงปู่ทวดมาก.


และแล้วเมื่ออยู่ท่องเที่ยวที่กรุงเทพฯและปริมณฑลจนหนำใจแล้ว...

ก็ได้เดินทางกลับใต้ในวันรุ่งขึ้น...

ในระหว่างการเดินทางที่ขับรถกระบะ..กลับใต้นั้น..ได้ประสพอุบัติเหตุ

รถชนประสานงาและพลิกคว่ำ..ใจก็ระลึกนึกถึงแต่หลวงปู่ทวดที่เช่ามา

ขอให้ช่วยลูกช้างด้วย...รถพังยับเยิน..ส่วนคนขับและที่มาด้วย 2คน

ไม่เป็นอะไรเลย...เป็นแค่รอยถลอก..ขีดข่วน..นิดหน่อยเท่านั้นเอง.

ใครมาเห็นซากรถก็คิดว่าตายทั้งนั้น..ไม่น่าจะรอดได้

โดยที่ไม่มีพระเครื่องหรือเครื่องรางอย่างอื่นเลย...มีแต่

พระหลวงปู่ทวดเก๊ๆที่เช่ามา 20 องค์นี้เท่านั้น


จึงเห็นว่าแม้แต่พระหลวงปู่ทวดของเก๊..ก็ใช้ได้อยู่ที่เราเชื่อมั่นและศรัทธานะครับ

10

                             

ประสบการณ์ส่วนหนึ่งของ หลวงปู่แหวน ขณะอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว มีดังนี้ :

ในระหว่างพรรษา วันหนึ่งประมาณ ๕ โมงเย็น หลวงปู่แหวน กำลังเดินจงกรมอยู่ ก็มีเสียงดังโครมครามเหมือนกิ่งไม้ใหญ่หักลงมา จึงเหลียวไปดู กลายเป็นสัตว์ร่างใหญ่ร่างหนึ่ง เอาเท้าเกาะอยู่บนกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา มีผมยาวรุงรัง เสียงร้องโหยหวน

หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่ได้นึกกลัว และไม่ได้ให้ความสนใจ ยังคงเดินจงกรมต่อไป
เมื่อร่างนั้นเห็นว่า หลวงปู่ไม่สนใจ ก็หนีหายไป
สองสามวันต่อมา ก็มาปรากฏให้เห็นอีก แต่หลวงปู่ก็เดินจงกรมโดยไม่สนใจ หลังจากนั้นจึงมาปรากฏตัวให้เห็นทุกเย็น แต่ไม่ได้เข้ามาใกล้หลวงปู่ คงแสดงอาการเหมือนเดิมทุกครั้ง

วันหนึ่ง หลวงปู่ได้กำหนดจิตถามไปว่า ที่มานั้นเขาต้องการอะไร ทีแรกเขาทำเฉยเหมือนไม่เข้าใจ หลวงปู่จึงกำหนดจิตถามอีก เขาจึงบอกว่า ต้องการมาขอส่วนบุญ

หลวงปู่ จึงกำหนดจิตถามต่อไปว่า เขาเคยทำกรรมอะไรมา จึงต้องมาทุกข์ทรมานอยู่ในสภาพเช่นนี้
ร่างนั้นได้เล่าถึงบุพกรรมของเขาว่า เขาเคยเป็นคนอยู่ที่เชียงดาวนี้ มีอาชีพลักขโมยและปล้นเขากิน ก่อนไปปล้น เขาจะเอาดอกไม้ธูปเทียน ไปขอพรและขอความคุ้มครองกับพระพุทธรูปองค์หนึ่งในถ้ำ

เขาทำอย่างนี้ทุกครั้ง และก็แคล้วคลาดตลอดมา.............................
อยู่มาวันหนึ่ง เขาไปขอพรพระพุทธรูป แล้วออกไปปล้นเช่นเคย บังเอิญเจ้าของบ้านรู้ตัวก่อน จึงเตรียมต่อสู้ เขาถูกเจ้าของบ้านฟันบาดเจ็บสาหัส จึงหนีตายเอาตัวรอดมาได้

ด้วยความโมโหว่า พระไม่คุ้มครอง เขาจึงกลับไปที่ถ้ำแล้วเอาขวานทุบเศียรพระพุทธรูป จนคอหัก ขณะเดียวกัน ก็ยังคงแค้นอยู่ ตั้งใจว่า บาดแผลหายแล้ว จะกลับไปแก้แค้นเจ้าของบ้านให้ได้

เผอิญบาดแผลที่ถูกฟันนั้นสาหัสมาก เขาจึงต้องตายในเวลาต่อมา วิญญาณเขาจึงต้องมาเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานอยู่ที่เชียงดาวแห่งนี้ จึงได้พยายามมาขอส่วนบุญ เพื่อให้พระท่านช่วยแผ่ให้ จะได้คลายความทุกข์ทรมานลงไปได้บ้าง

หลวงปู่แหวนท่านเล่าว่า บุพกรรมของเปรตตนนั้น หนักมากเหลือเกิน ท่านได้รวบรวมจิต อุทิศบุญกุศลไปให้ ตั้งแต่นั้นมา ร่างนั้นก็ไม่ปรากฏให้เห็นอีก แต่จะได้รับบุญกุศลเพียงใดขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง




ขอขอบพระคุณที่มา...เว็บพลังจิตดอทคอม

11



 
      หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน พระมหาเถราจารย์ 5 แผ่นดิน

ประวัติปฎิปทา " หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล "

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม” หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี " มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์  หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และหลวงพ่อผุยเป็นพระ
กรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น " จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่างๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป

ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น

ในช่วงปี 2475-2482 เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ ในระยะแรกหลวงปู่เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เป็นการชั่วคราว โดยมีครูทองอินทร์ เป็นครูสอนของวัดเทพธิดาราม เป็นผู้เอื้อเฟื้อจัดหาที่พำนักให้ ท่านได้ให้หลวงปู่อยู่ที่วัดวัดอรุณราชวราราม พำนักอยู่กับพระพิมลธรรม(นาค) ศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพ โอกาสนี้หลวงปู่ได้ร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณอันเก่าแก่ของคณะสงฆ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นตำราที่ละเอียดลึกซึ้ง แตกฉานพระบาลีว่าด้วยคัมภีร์อรรถกถายากยิ่งที่จะมีผู้เรียนได้สำเร็จ ปัจจุบันวิชานี้ได้ยกเลิกไปแล้ว

หลวงปู่หมุนได้เข้าสอบวิชามูลกัจจายน์ นั้น ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งการสอบในสมัยนั้นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน และสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ และพระเถราจารย์เป็นผู้ทดสอบด้วย โดยมีการถามตอบแบบมุขปาฐะ (ปากเปล่า) ถ้าถามตอบบาลีผิดเกิน 3 คำ ให้ปรับเป็นตกทันที ด้วยความรู้ความสามารถที่แตกฉานในคัมภีร์หลวงปู่สามารถสอบได้เปรียญธรรมถึง 5 ประโยคในคราวเดียวเท่านั้น

หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ใช้วิชาความรู้อย่าง คุ้มค่า โดยได้เป็นครูสอนมูลกัจจายน์อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม (ฝั่งธนบุรี) เป็นเวลานานหลายปี มีลูกศิษย์มากมาย นอกจากนี้ในช่วงหนึ่งหลวงปู่มาพักกับสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่วัดสุทัศน์ฯ และได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับสมเด็จพระสังฆราชแพอีกด้วย

จากนั้นก็เก็บ บริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจาก อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย เพื่อจะเรียนวิชากับพ่อท่านครน วัดบางแซะ ใช้เวลาธุดงค์อยู่ถึง 7 วัน แต่ไม่พบจึงตัดสินใจกลับวัดช้างให้

ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจาก พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้ วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม

ช่วงที่ท่าน ธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับ หลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่มหานิกาย

หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของ วิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหา ความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สห
ธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น

ในตอนที่หลวงปู่หมุนไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารภกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติ ปฏิบัติ และปฎิเวธ ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก "

หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน 2 อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลมๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ 8 พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป ต่อมาหลวงปู่มีความกังขาสงสัยในกัมมัฏฐานในเรื่องของ จตุธาตุวัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติในธาตุทั้ง 4 เป็นมูลฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จึงได้เดินทางไปกราบของความรู้เพิ่มเติมจาก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ก็ได้รับความกระจ่าง จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

ต่อมาไม่นานก็ ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่

หลวงปู่หมุน นับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหา สมเด็จลุน (สำเร็จลุน) เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะสม เด็จลุน แต่ไม่พบ แล้วมาพักอยู่กับหลายพ่อมหาเพ็ง วัดลำดวน ในช่วงนั้นหลวงปู่ได้ใช้เวลาค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฏก ในเรื่องพระวินัยปิฏก และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงการ
เจริญกัมฏฐานล้วนๆ ประมาณ 2 เดือนกว่า แล้วก็ออกธุดงค์กลับสู่ประเทศไทยเข้ากรุงเทพฯ มาพักนักที่วัดหงส์รัตนาราม

ต่อมาธุดงค์ไปทางอีสานเข้าสู่ประเทศลาวอีก หลายครั้ง จนกระทั่งท่านมีอายุ 30 ปีกว่าแล้ว คราวนั้นหลวงปู่ได้พบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้แนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุนปรมาจารย์ ใหญ่ที่สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุน

ในการฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า 50 รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ 3 รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว

สำหรับพิธีครอบครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ 1.ผ้าไตรจีวร 2.บาตร 3.ทองคำหนัก 10 บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่
ในการครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา วิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย

หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น

นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วยเหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่น ที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน

ไม่เปียกฝน

เจ้าของโรงเลื่อยย่านวัฒนานครได้ประสบการณ์แปลกประหลาดเกี่ยวกับหลวงปู่คือ เมื่อช่วงกรกฏาคม 2542 เขาได้เข้าไปทำธุระยังประเทศลาว ขากลับได้อาศัยรถกระบะนั่งกลับในช่วงกลางคืน ระหว่างทางมีฝนตกฟ้าคะนองรุนแรง เขาได้นั่งอยู่ท้ายรถกระบะที่ไม่มีหลังคาคลุม ซึ่งนั่งรวมกับคนงานไทยประมาน 7-8 คน มีความกลัวมากจึงตั้งจิตอธิษฐานถึงหลวงปู่หมุนให้มาช่วยคุ้มครอง พอถึงที่หมายแถวกบินทร์บุรี ผลปรากฏว่าเจ้าของโรงเลื่อยผู้นั้นไม่เปียกฝนเลย ส่วนคนงานอื่นๆ ที่นั่งท้ายรถมาด้วยกันเปียกฝนทุกคน พอมีเวลาจึงเข้าไปกราบหลวงปู่ขอสร้างกุฏิถวาย เพราะช่วงนั้นท่านเพียงกลางกลดนอนในกระต๊อบเก่าๆ เท่านั้น

กล้องแตก

เมือประมานเดือนสิงหาคม 2542 มีชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งมาเที่ยวที่วัด เพราะเห็นมีธรรมชาติสมบูรณ์ ผ่านมาเห็นหลวงปู่หมุน จึงถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก หลวงปู่ยกมือห้ามไม่ให้ถ่ายแล้วพูดว่า “ถ่ายบ่ได้กล้องซิแตก” ฝรั่งเหล่านั้นฟังไม่เข้าใจ จึงกดชัตเตอร์ถ่ายภาพออกไป ผลปรากฏว่ากล้องราคาแพงนั้นเกิดเลนส์ร้าวขึ้นมาทันที ทำให้ฝรั่งกลุ่มนั้นเกิดแปลกประหลาดใจ และเกิดความเลื่อมใสจึงเข้ามากราบหลวงปู่และถวายเงินสดประมานสามหมืนกว่าบาท ท่านรับเงินนั้นแล้วก็โยนเงินปึกนั้นคืนให้แล้วบอกว่า “ข้าบ่ได้มาหากิน เอาเงินของเอ็งคืนไป”

ผีมาฉีดยากุฏิสั่นสะเทือน

เมื่อกลางพรรษานี้หลวงปู่ได้ปลุกเสกลูกอมชานหมาก และมวลสารต่างๆ เพื่อจะนำมาสร้างพระรุ่นแรกของท่าน ในกลางดึกสงัดปรากฏว่ามีเสียงสุนัขเห่าหอนกันอย่างโหยหวนอย่างที่ไม่เคยเป็น มาก่อน พอรุ่งเช้าพระอธิการจ่อยได้เข้ากราบนมัสการถามเรื่องนี้ หลวงปู่ตอบแบบเป็นปริศนาธรรมว่า “นายผีเขามา พาพวกผีป่าต่างๆ มาฉีดยา” นายผีที่ว่านี้อาจจะเป็นเจ้าแห่งภูติผีคือท่านท้าวเวสสุวรรณก็เป็น ไปได้ ส่วนพวกผีป่าที่มาฉีดยานั้น ก็พากันมาขอส่วนบุญส่วนกุศล พอดึกสงัดคืนที่ 2 ปรากฏว่ามีเสียงกุฏิท่านสั่นสะเทือนเหมือนเกิดแผ่นดินไหว พอรุ่งเช้าท่านบอกว่า “ครูบาอาจารย์มาช่วยกันปลุกเสกให้จนกุฏิสั่น” หลวงปู่จึงยกมือไหว้ครูบอกว่า “ขลังพอแล้ว เดี่ยวกุฏิจะพัง”

หนึ่งไม่มีสอง

คุณดารารัตน์ เจ้าของร้านสาวสวย ขายผลิตภัณฑ์พลาสติก ย่านสำเพ็ง ซึ่งเป็นคนที่ปฏิบัติธรรมจนได้มโนมยิทธิ จากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าหลังจากที่น้องชายได้เหรียญและลูกอมชานหมากมาก็ได้ อธิษฐานขอชมบารมี ปรากฏว่าวัตถุมงคลนั้นมีพลังมากเกินกว่าที่สัมผัสได้ เสมือนตัวเองยืนอยู่บนพื้นดินแล้วแหงนหน้าดูดวงอาทิตย์ฉันนั้น พอตกกลางคืนก็ฝันเห็นพระสูงอายุมายืนบนหัวนอนแล้วยืนชูนิ้วชี้ขึ้นมาพูดว่า “หนึ่งไม่มีสอง”

หลวงตามหาบัว บอกให้ไปหา

ช่วงที่พระอาจารย์ตั้ว ศิษย์เอกหลวงพ่อกวยตระเวนหาพระอาจารย์ที่เก่งๆ ได้เข้าไปกราบหลวงตามหาบัว และขอของดีจากท่าน ปรากฏว่าท่านบอกว่าไม่มี ถ้าชอบในวัตถุมงคลอิทธิปาฏิหาริย์ให้ไปหาหลวงตาหมุนโน่น ซึ่งกว่าพระอาจารย์ตั้วจะค้นหาหลวงปู่หมุนได้เป็นเวลาถึง 15 ปี กว่าจะได้เจอ โดยคำบอกเล่าของพระอาจารย์มงคล วัดสุทัศน์ จึงได้เดินทางไปกราบนมัสการด้วยกัน

คุ้นเคยกับพระคณาจารย์ยุคเก่า

ในช่วงหนึ่งพระคุณเจ้าทั้งสองได้เรียนถามหลวงปู่ว่า “รู้จักหลวงพ่อกวยไหม” ท่านตอบว่ารู้จักซิ องค์นี้เก่ง เคยพบกันในป่า ซึ่งคำตอบนี้ยังความปลื้มปีติแก่พระอาจารย์ตั้วเป็นอย่างมาก เพราะก่อนหน้านั้นหลวงพ่อกวยสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้บอกกับพระอาจารย์ตั้วว่า “มีพระที่เก่งมากอยู่รูปหนึ่งอยู่ในป่าแถบขอนแก่น ท่านสำเร็จแล้ว ต้องไปหาท่านให้พบ ชื่อหลวงพ่อหมุน” ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของหลวงพ่อกวยโดยตรง

ช่วงก่อนเข้าพรรษาปี 2543 หลวงปู่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ญาติโยมทะยอยมากราบนมัสการจนท่านรับแขกไม่ไหวโดยเฉพาะวัน เสาร์และอาทิตย์ ผู้คนหลายร้อยคนจะเดินทางมาจากทุกสารทิศ จนท่านปรารภบอกกับพระอาจารย์จ่อยว่า "ถ้าอยากให้ท่านอยู่นานๆอย่าให้ท่านอยู่ที่นี่ "ด้วยความรักเคารพสำนึกในบุญคุณของหลวงปู่พระอาจารย์จ่อยจึงนมัสการพาหลวงปู่กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จ.ศรีษะเกษตามเดิมพร้อมทั้งนำวัตถุมงคล " รุ่น ไตรมาศ รวยทันใจ " นำไปให้หลวงปู่ปลุกเสกตลอด ๓เดือนเต็ม ภายในกุฎิของท่าน เพื่อรอวันทำพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ครั้งสุดท้ายในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๓

ก่อนถึงวันทำพิธีใหญ่

หลวงปู่สรวง หลวงปู่ครูบาเที่ยงธรรม พระเหนือโลกผู้ไม่ติดในสมมุติบัญญัติก็ได้เมตตา มาอธิฐานเดี่ยว พร้อมสุดยอดเคล็ดลับวิชา เปิดโลกธาตุ ๑๖ ชั้นฟ้าให้
๑. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
๒. หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
๓. หลวงปู่ทิมวัดพระขาว
๔. หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ
๕. หลวงปู่คีย์วัดศรีลำยอง
๖. หลวงพ่อรวย วัดตะโก
๗. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
๘.หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน
๙. หลวงปู่ประสาน วัดโนนผึ้ง (สหธรรมมิกผู้น้องของหลวงปู่หมุน )
๑๐. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อมอยุทธยา (แหวนไม่ไหม้ไฟ )
๑๑. หลวงพ่อสม วัดด่าน
๑๒.หลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอวัฒนานครผู้เข้มขลังพลังฤทธิ์

ร่วมจิตอธิฐานเป็นเวลาประมาณ ๕ชั่วโมง ในขณะที่หลวงปู่หมุนท่านกำหนดจิตเข้าสู่ณานสมาบัติชั้นสูงจนเป็นอภิญญาอยู่นั้นผู้ที่อยู่ในพิธีเห็นหลวงปู่หมุนใช้ไม้ครูเขียนยันต์กลางอากาศ ( ทุกครั้งใช้มือ ) แล้วส่งพลังจิตสูงสุดผ่านปลายไม้เท้าสู่วัตถุมงคลสักครู่ท่านลืมตายกไม้เท้าขึ้นเหมือนสะกิดใคร พร้อมได้ยินท่านพูดและเห็นกิริยาเหมือนท่านนั่งสนธนากับใครอยู่ ( แต่ไม่มีใครเห็นคู่ สนธนาของท่าน )เมื่อเสร็จพิธีอาจารย์จ่อย ซึ่งเห็นเหตุการณ์โดยตลอดได้กราบเรียน ถามหลวงปู่ว่าก่อนเสร็จพิธีหลวงปู่พูดคุยกับใคร ท่านกล่าวตอบว่า " เมื่อตะกี้ ผมเห็นหลวงพ่อเอียวัดบ้านด่าน ท่านมายืนเสกของอยู่ข้างหน้าเลยใช้ ไม้เท้าสะกิดเรียกท่านและพูดคุยกันท่านเสกของให้เต็มที่เลย "
พระชุดนี้ของผมต่อไปจะหาไม่ได้อีกแล้วผมเสกให้สุดๆวิชาอะไร ก็ใส่ให้หมด เสกนานที่สุด ศักดิ์ที่สุดตั้งแต่สร้างพระมาวิหารที่ก่อสร้างจะได้เสร็จผมจะได้หมดห่วงเสียที

จากนั้นพระอาจารย์จ่อยได้กราบเรียนถามครูบาอาจารย์องค์สำคัญที่มาร่วมอธิฐานจิตอาทิ หลวงพ่อคีย์ วัดศรีลำยอง เจ้าตำหรับ น้ำมันเทพยดาท่านเล่าว่าตอนเข้าฌาณสมาบัติเห็นท้าวมหาพรหม ก็มา
พระอินทร์ก็มา เทวดานับไม่ถ้วนฤาษีก็มาหลายองค์
พระชุดนี้ดีเยี่ยมด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์
หลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริบอกว่า ดาบเหล็กน้ำพี้นี้แรงจริงๆ
หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม บอกพิธีกรรมดีมากเทวดาร่วมอนุโมทนามากมาย
หลวงปู่ทิมวัดพระขาว บอกเสกให้เต็มที่เลย เมตตามหานิยม เป็นที่หนึ่ง

หลวงปู่ละมัยบอกเหล็กน้ำพี้ศักดิ์สิทธิ์ มีเทวดารักษา (ท่านบอกให้ลูกศิษย์ท่านสร้างรูปเหมือนของท่านด้วยเหล็กน้ำพี้)

หลวงพ่อเอียดบอกแคล้วคลาดก็มีครบ

หลวงพ่อรวย บอกชื่อเป็นมงคล " รวยทันใจ " แถมมีครูบาอาจารย์มาช่วยเยอะ ( รวย เพิ่ม พูน ) วัตถุมงคลชุดนี้ดีมากจริงๆหลวงปู่หมุนกำหนดจิตญาณสมาบัติชั้นสูงผ่านปลายไม้เท้าครูบรรจุพลังอันเป็นทิพย์อำนาจสู่วัตถุมงคล เล่นหากันราคาสูงครับรูปแบบหลวงปู่นั่งขัดสมาธิบนยันต์ นะมะพะทะ ด้านหลังเขียนคำว่า ที่ระฤก ร.ศ.218 หลวงปู่หมุนใช้คำว่า ระฤก แบบโบราณแทนคำว่า ระลึก และใช้ ร.ศ. 218 (รัตนโกสินทร์ศก 218) แทนคำว่า พ.ศ.2543

จนกระทั่งเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎี สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=37551

12
ขอขอบพระคุณมากมายครับพี่...สำหรับข้อมูลข่าวสารดีๆ อย่างนี้  :016: :015:

เป็นประโยชน์อย่างมากมายเลยครับ.............. :090:


13
สวยสดงดงามมากมาย ไร้ที่ติสมกับเป็นเซียนเนื้อเงินตัวจริง :016: :015:

ขอบคุณครับ ที่นำมาให้ชมกัน(ถ่ายภาพได้เจ๋งมาก...ขอชม)

14
ขอบคุณมากมายครับ...สำหรับภาพที่นำมาให้ชมกัน :016:

15

                     


พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

          ๑. สวากขาตธรรม เป็นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยา
กฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

          ๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำหน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

          ๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

          ๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

                    นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

          อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

          อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น



ขอขอบพระคุณที่มาจาก...หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข

16
ธรรมะ / หลักแห่งพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: 27 มี.ค. 2554, 09:10:49 »

พุทธศาสนาคือวิชาและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้รู้สิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งทั้งปวง มีสภาพตามที่เป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวหรือของตัว ; แต่สัตว์ทั้งหลายยังหลงรัก หลงยึดติดสิ่งทั้งปวง เพราะอำนาจของการยึดมั่นที่ผิด ในพุทธศาสนามีวิธี ปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ตัดการติดการยึดมั่นนั้นเสีย อุปาทาน การยึดมั่นนั้นมีสิ่งที่ลงเกาะหรือจับยึด คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      เมื่อรู้จักขันธ์ทั้งห้า ตามที่เป็นจริง ก็จะสามารถเข้าใจสิ่งทั้งปวงจนถึงกับเบื่อหน่ายคลายความอยาก ไม่ยึดอะไร ติดอะไร และเราควรจะมีชีวิตอยู่อย่างที่เรียกว่า "เป็นอยู่ชอบ" คือให้ วันคืนเต็มไปด้วยความปีติ ปราโมทย์ อันเกิดมาจากการกระทำที่ดีที่งามที่ถูกต้องอยู่เป็นประจำ แล้วระงับความฟุ้งซ่าน เกิดสมาธิ เกิดความเห็นแจ้งได้เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ความคลายออก ความหลุดพ้น และนิพพานได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อม
      ถ้าเราจะรีบเร่งทำให้ได้ผลเร็วขึ้น ก็มีแนวปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนาธุระ เริ่มตั้งแต่มี ความประพฤติบริสุทธิ์ มีใจบริสุทธิ์ มีความเห็นบริสุทธิ์ เรื่อยขึ้นไปจนถึงมีปัญญา คือความเห็นแจ้งบริสุทธิ์ ในที่สุดก็จะตัดกิเลสที่ผูกมัดคนให้ติดอยู่กับวิสัยโลกออกเสียได้ เรียกว่า การบรรลุมรรคผล



ที่มา:ท่านพุทธทาสภิกขุ : คู่มือมนุษย์

17

   


การปฎิบัติธรรมทางด้านจิต

จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออกและทุกอิริยบท
เว้นเสียแต่หลับ เมื่อรู้ทันจิตแล้ว ต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต
จงดูจิตเคลื่อนไหวเหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเกหรือละคร
ด้วย เราเป็นเพียงผู้นั่งดู อย่าหวั่นไหวไปตามจิต
จงดูจิตพฤติการณ์ของจิตเฉย ๆ ด้วยอุเบกขา จิตไม่มีตัวตน
แต่สามารถกลิ้งกลอกล้อหรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้
ฉะนั้นต้องนึกเสมอว่าจิตไม่มีตัวตน อย่ากลัวจิต อย่ากลัวอารมณ์
เราหรือสติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต

ความนึกคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต
แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิตธรรมชาติคือผู้รู้อารมณ์
คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน แต่แล้วมันต้องดับไปเข้าหลักเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ ดับไป คือไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนทนได้ยากเป็นทุกข์
และสลายไปไม่ใช่ตัวตน มันจะเกิดดับ ๆ อยู่ตามธรรมชาติ
เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้ เราก็จะสงบไม่วุ่นวาย
เราในที่นี้หมายถึงสติปัญญา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรม (สิ่งทั้งปวง )
เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน

นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ ประการ คือ

๑ . เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพนิมิตและเสียงให้รู้เห็น

๒. นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง

นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม
ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้สติปัญญาให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา
อย่าเพิ่งหลงเเชื่อทันทีจะเป็นความงมงาย
ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสียอย่าไปสนใจให้เอาจิตทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต

เมื่อจิตสงบรวมตัว จิตถอนตัวออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก
หากปรากฎนิมิตอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ
หลายครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นของจริงเชื่อถือได้
แต่อย่างไรก็ตามนิมิตที่มาปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ นิมิตต่าง ๆ
จึงเป็นความจริงน้อย แต่ไม่จริงเสียมาก
จงมุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ อย่าสนใจนิมิต หากทำได้อย่างนี้
จิตจะสงบตั้งมั่น เข้าถึงระดับฌานจะเกิดผลคือสมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ
จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะตามมาเองด้วยอำนาจของฌาน



ขอขอบพระคุณที่มา...http://onknow.blogspot.com/2010/01/blog-post_1324.html

18

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ ภิกษุสองรูป ซึ่งอยู่ร่วมรักกันสนิทเป็นสัทธิงวิหาริกของท่านพระมหากัสสปะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุสองรูปนั้น ใช้สอยสมณบริขารร่วมกันมีความคุ้นเคย สนิทกันอย่างยิ่ง แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไปร่วมกัน ไม่สามารถที่จะพรากจากกันได้ ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความคุ้นเคยกันของภิกษุทั้งสองรูปนั้นแหละในธรรมสภา
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้ คุ้นเคยกันในอัตภาพนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ก็บัณฑิตทั้งหลายแต่ก่อนนั้น แม้ถึงจะท่องเที่ยวไประหว่างสามสี่ภพ ก็ไม่ละทิ้งความสนิทสนมกันฐานมิตรเลย เหมือนกันแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้าอวันตีมหาราช เสวยราชสมบัติในกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี ในกาลนั้น ด้านนอกกรุงอุชเชนีมีหมู่บ้านคนจัณฑาลตำบลหนึ่ง พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดในหมู่บ้านนั้น ต่อมา น้าหญิงของพระมหาสัตว์นั้นก็ให้กำเนิดบุตรขึ้นมาเหมือนกันคนหนึ่ง ในกุมารทั้งสองนั้น คนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อจิตตกุมาร คนหนึ่งซึ่งเป็นบุตรน้าสาวชื่อสัมภูตกุมาร กุมารแม้ทั้งสองเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว ก็ได้เรียนศิลปะศาสตร์ที่ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ
วันหนึ่งทั้งสองก็ชักชวนกันไปแสดงศิลปศาสตร์ ที่ใกล้ประตูพระนครอุชเชนี โดยคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตูด้านทิศใต้ ก็ในพระนครนั้น ได้มีนางทิฏฐมังคลิกา (นางผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นสิ่งที่ชั่ว ที่เป็นอวมงคล) สองคน คนหนึ่งเป็นธิดาของท่านเศรษฐี อีกคนหนึ่งเป็นธิดาของท่านปุโรหิตาจารย์ นางทั้งสองได้ให้บริวารชนถือเอาของขบเคี้ยว และของบริโภค ทั้งดอกไม้และของหอมเป็นต้นเป็นอันมากไป ด้วยคิดว่า จักเล่นในอุทยาน คนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศเหนือ อีกคนหนึ่งออกทางประตูด้านทิศใต้
นางทิฏฐมังคลิกากุมารีทั้งสองนั้น เห็นบุตรของคนจัณฑาล สองพี่น้องแสดงศิลปะอยู่ จึงถามว่าคนเหล่านี้เป็นใคร ๆ ได้ฟังว่าเป็นบุตรของคนจัณฑาล จึงคิดว่า เราทั้งหลายได้เห็นบุคคลที่ไม่สมควรจะเห็นแล้วหนอ แล้วเอาน้ำหอมล้างตาพากันกลับ
มหาชนที่ไปด้วยพากันโกรธ กล่าวว่า เฮ้ย ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว เพราะอาศัยเจ้าทั้งสอง พวกเราจึงไม่ได้ดื่มสุราและกับแกล้มที่ไม่ต้องซื้อหา แล้วพากันโบยตีพี่น้องแม้ทั้งสองเหล่านั้น ให้ถึงความบอบช้ำย่อยยับ พี่น้องทั้งสองเหล่านั้นกลับได้สติฟื้นขึ้นมา จึงลุกขึ้นเดินไปยังสำนักของกันแลกันเมื่อมาพร้อมกัน ณ สถานที่แห่งหนึ่งแล้วบอกเล่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั่นสู่กันฟัง ต่างร้องไห้คร่ำครวญ ปรึกษากันว่า เราทั้งสองจักทำอย่างไรกันดี แล้วพูดกันว่า เพราะอาศัยชาติกำเนิด ความทุกข์นี้จึงเกิดแก่เราทั้งสอง พวกเราไม่สามารถจะกระทำงานของคนจัณฑาลได้จึงตกลงกันว่า เราทั้งสองปกปิดชาติกำเนิดแล้ว ปลอมแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาณพ ไปสู่เมืองตักกศิลา เล่าเรียนศิลปวิทยากันเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางไปในพระนครตักกศิลานั้น เริ่มเรียนศิลปศาสตร์ในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เล่าลือกันไปทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า คนจัณฑาลสองพี่น้องปกปิดชาติกำเนิดหนีไปเรียนศิลปศาสตร์.
ในพี่น้องทั้งสองคนนั้น จิตตบัณฑิตเล่าเรียนศิลปศาสตร์สำเร็จ แต่สัมภูตกุมารยังเรียนไม่สำเร็จ อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์ชาวบ้านผู้หนึ่ง มาเชิญอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่า ข้าพเจ้าจักกระทำการสวดมนต์ (ในพิธีมงคล) ในคืน วันนั้นเอง ฝนตกเอ่อล้นซอกมุมเป็นต้นในหนทาง อาจารย์จึงเรียกจิตตบัณฑิต มาแต่เช้าตรู่ ส่งไปแทนตนโดยสั่งว่า พ่อมหาจำเริญ เราไม่สามารถจะไปได้ เธอจงไปสวดมงคลกถา พร้อมด้วยมาณพทั้งหลาย บริโภคอาหารส่วนที่พวกเธอได้รับ แล้วนำอาหารส่วนที่เราได้มาให้ด้วย จิตตบัณฑิตรับคำอาจารย์แล้วพามาณพทั้งหลายมาแล้ว คนทั้งหลายคดข้าวปายาสตั้งไว้ หมายว่า กว่ามาณพทั้งหลายจะอาบน้ำล้างหน้าเสร็จ ก็จะเย็นพอดี เมื่อข้าวปายาสยังไม่ทันเย็น มาณพทั้งหลายพากันมานั่งในเรือนแล้ว มนุษย์ทั้งหลายจึงให้น้ำทักษิโณทก ยกสำรับมาตั้งไว้ข้างหน้าของมาณพเหล่านั้น
สัมภูตมาณพ เป็นเหมือนคนมีนิสัยละโมบในอาหาร รีบตักก้อนข้าวปายาสใส่ปาก ด้วยสำคัญว่าเย็นดีแล้ว ก้อนข้าวปายาสซึ่งร้อนระอุเหมือนเหล็กแดงก็ลวกปากของเขา เขาสะบัดหน้า สั่นไปทั้งร่าง ตั้งสติไม่อยู่ มองดูจิตตบัณฑิตเผลอกล่าวเป็นภาษาจัณฑาลไปอย่างนี้ว่า "ขลุ ขลุ" ฝ่ายจิตตบัณฑิต ก็ตั้งสติไว้ไม่ได้เหมือนกัน ส่งภาษาจัณฑาลตอบไปอย่างนี้ว่า "นิคคละ นิคคละ" มาณพทั้งหลายต่างมองหน้าแล้วพูดกันว่า นี้ภาษาอะไรกัน ? จิตตบัณฑิตกล่าวมงคลกถาอนุโมทนาแล้ว มาณพทั้งหลายจึงออกไปภายนอก แล้วนั่งวิพากย์วิจารภาษากันอยู่ในที่นั้น ๆ เป็นพวก ๆ พอรู้ว่าเป็นภาษาจัณฑาลแล้วจึงด่าว่า เฮ้ย ! ไอ้คนจัณฑาลชาติชั่ว พวกเจ้าหลอกลวงว่าเป็นพราหมณ์มาตลอดเวลาแล้วช่วยกัน โบยตีมาณพทั้งสอง.
ลำดับนั้น สัตบุรุษผู้หนึ่งจึงห้ามว่า ท่านทั้งหลายจงหลีกไป แล้วกันตัวสองมาณพออกมา แล้วส่งไปโดยพูดว่า นี้เป็นโทษแห่งชาติกำเนิดของท่าน ทั้งสองจงพากันไปบวชเลี้ยงชีพ ณ ประเทศแห่งใดแห่งหนึ่งเถิด มาณพ ทั้งหลายกลับมาแจ้งเรื่องที่มาณพทั้งสองเป็นจัณฑาลให้อาจารย์ทราบทุกประการ แม้มาณพทั้งสองก็เข้าป่า บวชเป็นฤๅษี ต่อมาไม่นานนัก ก็จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในท้องของแม่เนื้อ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา นับแต่คลอดจากท้องแม่เนื้อแล้ว มฤคโปดกทั้งสองพี่น้องก็เที่ยวไปด้วยกัน ไม่อาจพรากจากกันได้
วันหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่ง มาเห็นมฤคโปดกทั้งสองคาบเหยื่อกลับมา แล้วยืนเอาหัวต่อหัว เอาเขาต่อเขา เอาปากต่อปากจรดติดชิดกัน ยืนขนชัน ตั้งอยู่ ณ ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงพุ่งหอกไปที่สัตว์ทั้งสองให้สิ้นชีวิต ด้วยการ ประหารทีเดียวเท่านั้น
ครั้นมฤคโปดกทั้งคู่จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในกำเนิดนกเขา อยู่ที่ริมฝั่งน้ำรัมมทานที แม้ในอัตภาพนั้นก็มีนายพรานดักนกผู้หนึ่งมาเห็นลูกนกเขาทั้งสองเหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ไปเที่ยวคาบเหยื่อ แล้วมายืนเอาหัวซบหัว เอาจะงอยปากต่อจะงอยปากแนบสนิทชิดเรียงยืนเคียงกัน จึงเอาข่ายครอบฆ่าให้ตายด้วยการประหารทีเดียวเท่านั้น
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว จิตตบัณฑิตเกิดเป็นบุตรของปุโรหิตในพระนครโกสัมพี สัมภูตบัณฑิตไปเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอุตตรปัญจาลราช นับแต่กาลที่ถึงวันขนานนาม กุมารเหล่านั้นก็ระลึกชาติหนหลังของตน ๆ ได้ สัมภูตบัณฑิตราชกุมาร ไม่สามารถระลึกชาติในระหว่างชาติที่เกิดเป็นสัตว์ได้ คงระลึกได้เฉพาะชาติที่ ๔ ซึ่งเกิดเป็นคนจัณฑาลเท่านั้น ส่วนจิตตบัณฑิตกุมารระลึกได้ตลอด ๔ ชาติ โดยลำดับ
ในเวลาที่มีอายุได้ ๑๖ ปี จิตตบัณฑิตออกจากเรือนเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่ฌาน ฝ่ายสัมภูตราชกุมาร เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นเสวยราชสมบัติแทน ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ด้วยความเบิกบานพระราชหฤทัย กระทำให้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองมงคล ท่ามกลางมหาชน ในวันเฉลิมฉัตรมงคลนั่นเอง
นางสนมกำนัลก็ดี นักฟ้อนรำทั้งหลายก็ดี ได้สดับคาถาเพลงขับนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า นี้เป็นเพลงขับเฉลิมฉลองเนื่องในวันมงคลของพระราชาของเราทั้งหลาย จึงพากันขับร้องบทเพลง พระราชนิพนธ์นั้นทั่วกัน ประชาชนชาวพระนครทั้งหมดทราบว่า เพลงขับนี้เป็นที่โปรดปรานพอพระราชหฤทัยของพระราชา ก็พากันขับร้องบทพระราชนิพนธ์นั่นแหละ ต่อ ๆ กันไปโดยลำดับ
ฝ่ายพระจิตตบัณฑิตดาบส อยู่ในหิมวันตประเทศนั่นแล ใคร่ครวญพิจารณาดูว่า สัมภูตบัณฑิตผู้น้องชายของเรา ได้ครอบครองเศวตฉัตรแล้วหรือว่ายังไม่ได้ครอบครอง ทราบว่าได้ครอบครองแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้เรายังไม่สามารถเพื่อจะไปสั่งสอนพระราชาซึ่งได้เสวยราชสมบัติใหม่ให้ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมวิเศษได้ก่อน เราจักเข้าไปหาท้าวเธอในเวลาที่ทรงพระชราภาพ กล่าวธรรมกถา แล้วชักนำให้บรรพชา ดังนี้แล้วจึงมิได้เสด็จไปตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี
ในเวลาที่พระราชาทรงเจริญด้วยพระโอรสและพระธิดาแล้ว จึงเหาะมาทางอากาศด้วยฤทธานุภาพ ลงที่พระราชอุทยาน นั่งพักอยู่บนแท่นมงคลศิลาอาสน์ราวกับพระปฏิมาทองคำ ขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่งขับเพลงบทพระราชนิพนธ์ เก็บฟืนอยู่ จิตตบัณฑิตดาบสเรียกเด็กนั้นมา เด็กก็มาไหว้พระดาบสแล้วยืนอยู่ ทีนั้นพระจิตตบัณฑิตดาบส จึงกล่าวกะเด็กนั้นว่า ตั้งแต่เช้ามา เจ้าขับเพลงขับบทเดียวนี้เท่านั้น ไม่รู้จักเพลงอย่างอื่นบ้างเลยหรือ ?
เด็กตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมรู้บทเพลงอย่างอื่นเป็นอันมาก แต่บทเพลงทั้งสองบทนี้ เป็นบทที่พระราชาทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัย เพราะฉะนั้น กระผมจึงขับร้องเฉพาะเพลงบทนี้เท่านั้น
พระดาบสถามต่อไปว่า ก็มีใคร ๆ ขับร้องเพลงขับตอบบทพระราชนิพนธ์บ้างหรือไม่ ?
เด็กตอบว่า ไม่มีเลยขอรับ
พระดาบสจึงกล่าวว่า ก็เจ้าเล่า จักสามารถเพื่อจะขับบทเพลงตอบอยู่หรือ ?
เด็กตอบว่า เมื่อกระผมรู้ ก็จักสามารถ
พระดาบสกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงขับบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสองแล้ว เจ้าจงจำเอาบทเพลงขับที่สามนี้ไปร้องขับตอบเถิด แล้วสอนเพลงขับนั้นให้เด็กส่งไป พร้อมกับสั่งว่า เจ้าไปขับร้องในสำนักของ พระราชา พระราชาทรงเลื่อมใสจักพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่เจ้า
เด็กนั้นรีบไปยังสำนักของมารดาให้ช่วยประดับตกแต่งตนแล้ว ไปยังประตูพระราชนิเวศน์ สั่งราชบุรุษให้กราบทูลพระราชาว่า ได้ยินว่า มีเด็กคนหนึ่งจักมาขับร้องบทเพลงตอบกับด้วยพระองค์ ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วเด็กนั้นจึงเข้าไปถวายบังคม ครั้นเมื่อพระราชาตรัสถามว่า พ่อเด็กน้อย เขาว่าเจ้าจักมาร้องเพลง ตอบกับเราหรือ ?
ก็กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า เป็นความจริง พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลให้พระราชามีพระราชโองการให้ราชบริษัททั้งหลายมาประชุมกัน เมื่อราชบริษัทประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ขอพระองค์โปรดทรงขับร้องเพลงบทพระนิพนธ์ของพระองค์ก่อนเถิด ข้าพระ พุทธเจ้าจักขับบทเพลงถวายตอบทีหลัง พระราชาได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผล
เสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผล
เป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเรา ผู้ชื่อว่า สัมภูตะ มี
อานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ เพราะกรรม
ของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อม
มีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้
ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จแล้ว แม้ฉันใด
มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชษฐาของเรา ก็คง
สำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ ดังนี้.

เมื่อพระเจ้าสัมภูตะขับเพลงคาถาสองบทจบลง กุมารเมื่อจะขับเพลง ตอบถวาย จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กรรมทุกอย่างที่
นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม
แม้จะเล็กน้อยที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี มโนรถของ
พระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์โปรดทราบ
เถิดว่า มโนรถของจิตตบัณฑิต ก็สำเร็จแล้วฉันนั้น
เหมือนกัน.

พระราชาทรงสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสถามเด็กนั้นว่า เจ้าหรือคือจิตตบัณฑิต หรือเจ้าได้ฟังคำนี้มาจากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้า เพลงนี้เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วยร้อยตำบลแก่เจ้า.
ลำดับนั้น กุมารกราบทูลพระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าหาใช่จิตตะไม่ ข้าพระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น ฤๅษีองค์หนึ่งนั่งอยู่ในพระอุทยานของพระองค์เป็นผู้ได้บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้า แล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถานี้ ตอบถวายพระราชา หากพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว จะพึงพระราชทานบ้านส่วยให้แก่เจ้าบ้างกระมัง.
พระเจ้าสัมภูตราชทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ชะรอย พระดาบสนั้น จักเป็นจิตตบัณฑิตผู้เชษฐภาดาของเรา เราจักไปพบพระเชษฐ าดาของเรานั้น เมื่อจะตรัสใช้ให้ราชบุรุษเตรียมกระบวน จึงตรัสว่า
ราชบุรุษทั้งหลาย จงเทียมราชรถของเรา จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้งดงามวิจิตร จงผูกรัดสายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์จงขึ้นประจำคอจงนำเอาเภรีตะโพนสังข์มาตระเตรียม เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมยานพาหนะโดยเร็ว วันนี้แลเราจักไปเยี่ยมเยียนพระฤๅษี ซึ่งนั่งอยู่ ณ อาศรมสถานให้ถึงที่ทีเดียว.
เมื่อกระบวนยาตราได้เตรียมพร้อมแล้ว พระเจ้าสัมภูตราช ก็เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง เสด็จไปโดยพลัน จอดราชรถไว้ที่ประตูพระราชอุทยาน แล้วเสด็จเข้าไปหาพระดาบสจิตตบัณฑิต นมัสการพระดาบสแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มีพระราชหฤทัยชื่นชมโสมนัส ตรัสว่า
คาถาที่ข้าพเจ้าขับกล่อมในท่ามกลาง บริษัทในวันฉัตรมงคลของข้าพเจ้านั้น เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้พบพระฤๅษีผู้เข้าถึงศีลและพรตแล้ว ถึงความปิติโสมนัสหาที่เปรียบมิได้ นับว่าข้าพเจ้าได้ลาภอันดียิ่งทีเดียว.
นับแต่ได้พบพระจิตตบัณฑิตดาบสแล้ว พระเจ้าสัมภูตราช ทรงชื่นชมโสมนัสยิ่ง เมื่อจะมีพระราชดำรัสตรัสสั่ง ซึ่งราชกิจมีอาทิว่า ท่านทั้งหลายจงลาดบัลลังก์เพื่อเชษฐภาดาของเรา จึงตรัสคาถาที่ ๙ ความว่า
ขอเชิญท่านผู้เจริญ โปรดรับอาสนะ น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้ายินดีต้อนรับท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาคู่ควรแก่การต้อนรับขอท่านผู้เจริญ เชิญรับสักการะอันมีค่าของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.
ครั้นพระเจ้าสัมภูตบัณฑิต ทรงทำการปฏิสันถาร ด้วยพระดำรัสอันอ่อนหวานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแบ่งราชสมบัติถวายกึ่งหนึ่ง จึงตรัสว่า
ขอเชิญพระเชษฐาทรงสร้างปรางค์ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์สำหรับพระองค์เถิด จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นารีทั้งหลาย โปรดให้โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้เราทั้งสองก็จะครอบครองอิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.
พระจิตตบัณฑิตดาบสฟังพระดำรัส ของพระเจ้าสัมภูตราชแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมเทศนาถวาย จึงกราบทูลว่า
ดูก่อนมหาบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ทรงเห็นแต่ผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพ เห็นทั้งผลแห่งทุจริตและสุจริตทีเดียว ด้วยผลแห่งทุจริต เราทั้งสองได้บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล ในชาติที่ ๔ นับจากชาตินี้ และเมื่อพากันรักษาศีลอยู่ในชาตินั้นไม่นาน ด้วยผลแห่งศีลอันสุจริตนั้น พระองค์ก็ทรงบังเกิดในตระกูล กษัตริย์ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ เพราะอาตมาภาพเห็นผลแห่งทุจริตและสุจริตอันเคยสั่งสมดีแล้ว ว่าเป็นวิบากใหญ่อย่างนี้ จึงจักสำรวมตนเท่านั้น ด้วยความสำรวมคือศีล จะปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือธนสารสมบัติ ก็หามิได้.
ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ มีกำหนดสิบปีสิบหน คือร้อยปีเท่านั้น ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบเหล่านี้ คือ มันททสกะ สิบปีแห่งความเป็นเด็กอ่อน ๑ ขิฑฑาทสกะ สิบปีแห่งการเล่นคึกคะนอง ๑ วัณณทสกะ สิบปีแห่งความสวยงาม ๑ พลทสกะ สิบปีแห่งความมีกำลังสมบูรณ์ ๑ ปัญญาทสกะ สิบปี แห่งความมีปัญญารอบรู้ ๑ หานิทสกะ สิบปีแห่งความเสื่อม ๑ ปัพภารทสกะ สิบปีแห่งความมีกายเงื้อมไปข้างหน้า ๑ วังกทสกะ สิบปีแห่งความมีกายคดโกง ๑ โมมูหทสกะ สิบปีแห่งความหลงเลอะเลือน ๑ สยนทสกะ สิบปีแห่งการ นอนอยู่กับที่ ๑
ชีวิตนี้ย่อมไม่ถึงขั้นลำดับทสกะเหล่านี้ครบทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ โดยที่แท้ยังไม่ทันถึงเขตที่กำหนดนั้นเลย ก็ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ดังไม้อ้อที่ถูกตัดแล้วฉะนั้น ถึงแม้สัตว์เหล่าใดมีอายุอยู่ได้ครบ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์ รูปธรรมและอรูปธรรมของสัตว์แม้เหล่านั้น อันเป็นไปในมันททสกะถูกตัดแล้ว ย่อมผันแปรเหือดแห้งอันตรธานไป ในระยะมันททสกะนั่นเอง ดุจไม้อ้อที่เขาตัดแล้วตากไว้ที่แดดฉะนั้น ที่จะล่วงเลยกำหนดนั้น จนถึงขั้นขิฑฑาทสกะ หามิได้ วัณณทสกะเป็นต้น อันเป็นไปแล้วในขิฑฑาทสกะเป็นต้นก็อย่างเดียว กัน.
เมื่อชีวิตนั้นต้องซูบซีดเหี่ยวแห้งไปด้วยอาการอย่างนี้ ความเพลิดเพลินยินดีเพราะอาศัยเบญจกามคุณ จะมีประโยชน์อะไร ? การเล่นคึกคะนองด้วยสามารถแห่งการเล่นทางกายเป็นต้น จะมีประโยชน์อะไร ความยินดีด้วยสามารถแห่งความโสมนัส จะมีประโยชน์อะไร ? การแสวงหาธนสารสมบัติจะมีประโยชน์อะไร ? ประโยชน์อะไร ด้วยลูก ด้วยเมียของ อาตมาภาพ อาตมาภาพหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูกคือบุตรและภรรยานั้น.
ดูก่อนมหาราชเจ้า เมื่อก่อน นับถอยหลังจากนี้ไป ๔ ชาติ เราทั้งสองได้เกิดเป็นคนจัณฑาลอยู่ในพระนครอุชเชนี แคว้นอวันตีรัฐ เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว เราทั้งสอง ได้เกิดเป็นมฤคโปดก อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานที มีนายพรานผู้หนึ่งฆ่าเราทั้งสอง ซึ่งยืนพิงกันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น จนสิ้นชีวิต เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปเกิดเป็นนกเขา อยู่ร่วมกันที่ฝั่งน้ำรัมมทานที มีพรานนกผู้หนึ่งดักข่ายทำลายเราให้ถึงตายด้วยการประหารคราวเดียวเท่านั้น ครั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาในชาตินี้ เราทั้งสองเกิดเป็นพราหมณ์ และกษัตริย์ คือ อาตมาภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครโกสัมพี พระองค์เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครนี้
ครั้นพระโพธิสัตว์ประกาศชาติกำเนิดอันลามกต่ำต้อยที่ผ่านมาแล้ว แก่พระเจ้าสัมภูตราชนั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล้วแสดงว่า อายุสังขาร แม้ในชาตินี้มีเวลาเล็กน้อย ให้พระเจ้าสัมภูตราชทรงเกิดอุตสาหะในบุญกุศลทั้งหลาย ได้กล่าวต่อไปว่า
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายมีทุกข์เป็นกำไรเลย อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีทุกข์เป็นผลเลย อย่าทรงทำกรรมทั้งหลาย อันมีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยกิเลสธุลี อย่าทรงทำกรรมที่ให้เข้าถึงนรกเลย.
เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ากล่าวอยู่อย่างนี้ พระเจ้าสัมภูตราชทรงรู้สึกพระองค์ แล้วตรัสว่า
ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้เป็นคำจริงแท้ทีเดียว ข้าแต่ภิกษุผู้เชษฐภาดา ท่านละกิเลส ทั้งหลาย สามารถดำรงตนอยู่ได้แล้ว ส่วนข้าพเจ้ายังจมอยู่ในเปลือกตม คือ กามกิเลส เพราะเหตุนั้น คนเช่นข้าพเจ้าละกามกิเลสเหล่านั้นได้ยากยิ่ง
ช้างจมอยู่ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้ด้วยตนเองฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือกามกิเลส ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ฉันนั้น ข้าพเจ้าไม่สามารถจะบรรพชาได้ ขอท่านจงโปรดให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าผู้ดำรงอยู่ในฆรวาสวิสัยนี้ เท่านั้นเถิด
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะมีความสุขได้ด้วยวิธีใด มารดาบิดาพร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้นฉันใด ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความสุขอื่นนานได้ด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า ด้วยวิธีนั้น ฉันนั้นเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะพระเจ้าสัมภูตราชนั้นว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ผู้จอมนรชน ถ้ามหาบพิตร ไม่สามารถละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่การกระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหาบพิตรเลย
มหาบพิตรจงส่งทูตทั้งหลายไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณะพราหมณ์ทั้งหลายมา จงทรงบำรุงสมณะพราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ และคิลานปัจจัย จงเป็นผู้มีกมลจิตอันผ่องใสทรงอังคาสสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่ติเตียนเถิด
ดูก่อนมหาราชเจ้า ถ้าหากความมัวเมาจะพึงครอบงำพระองค์ คือ ถ้าหากความมานะถือตัว ปรารภกามคุณมีรูป เป็นต้น หรือปรารภความสุขเกิดแต่ราชสมบัติจะพึงบังเกิดขึ้นแก่พระองค์ ผู้ห้อมล้อมด้วยหมู่สนมนารีทั้งหลายไซร้ ทันทีนั้นพระองค์พึงทรงจินตนาการว่า ในชาติปางก่อนเราเกิดในกำเนิดจัณฑาล ได้หลับนอนในที่กลางแจ้ง เพราะไม่มีแม้เพียงกระท่อมมุงด้วยหญ้ามิดชิด ก็แลในกาลนั้น นางจัณฑาลีผู้เป็นมารดาของเรา เมื่อจะไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนและผักเป็นต้น ให้เรานอนกลางแจ้งท่ามกลางหมู่ลูกสุนัข ให้เราดื่มนมของตนแล้วไป เรานั้นแวดล้อมไปด้วยลูกสุนัข ดื่มนมแห่งแม่สุนัข พร้อมด้วยลูกสุนัขเหล่านั้น จึงเจริญวัยเติบโต เราเป็นผู้มีเชื้อชาติต่ำช้ามาอย่างนี้ แต่วันนี้เกิดเป็นผู้ที่ประชาชนเรียกว่ากษัตริย์
ดูก่อนมหาราชเจ้า เพราะเหตุนี้แล เมื่อพระองค์จะทรงสอนตนเองด้วยเนื้อความนี้ พึงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางหมู่ชนว่า ในชาติปางก่อนเราเป็นสัตว์นอนอยู่ใน อันโภกาสกลางแจ้ง เมื่อนางจัณฑาลีผู้มารดาไปสู่ป่า เที่ยวไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง เป็นผู้อันแม่สุนัขสงสาร ให้ดื่มนม คลุกคลีอยู่กับพวกลูก ๆ จึงเจริญ เติบโตมาได้ แต่วันนี้ เรานั้นอันใคร ๆ เขาเรียกกันว่าเป็นกษัตริย์ ดังนี้.
พระมหาสัตว์ครั้นให้โอวาทแก่พระเจ้าสัมภูตราชอย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า อาตมาภาพถวายโอวาทแก่พระองค์แล้ว บัดนี้พระองค์จงทรงผนวชเสียเถิด อย่าทรงเสวยวิบากแห่งกรรมของตนด้วยตนเลย แล้วเหาะขึ้นไปในอากาศยังลอองธุลีพระบาทให้ตกเหนือเศียรเกล้าของพระราชา แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศทันที
ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรดูพระดาบสนั้นไปแล้ว เกิดความสังเวช สลดพระทัย ยกราชสมบัติให้แก่ราชโอรสองค์ใหญ่ ตรัสสั่งให้พลนิกายกลับไปแล้ว บ่ายพระพักตร์เสด็จไปยังหิมวันตประเทศเพียงองค์เดียว
พระมหาสัตว์เจ้า ทรงทราบการเสด็จมาของพระราชาแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่ฤๅษี เป็นบริวารมาต้อนรับพระราชาให้ทรงผนวชแล้วสอนกสิณบริกรรม พระสัมภูตดาบส บำเพ็ญฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว พระดาบสทั้งสองแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาครั้นนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในครั้งก่อน แม้จะท่องเที่ยวไป ๓ - ๔ ภพ ก็ยังเป็นผู้มีความคุ้นเคยรักใคร่สนิทสนม มั่นคงอย่างนี้โดยแท้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สัมภูตดาบสในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนจิตตบัณฑิตดาบส ได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.


ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.dharma-gateway.com/chadok-nibat-index-page.htm

19

      พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

ปัญหา อะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ?

พุทธดำรัส ตอบ “..... ดูก่อนอานนท์ เมื่อกรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ.... ในรูปธาตุ.... ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพ... รูปภพ.... อรูปภพ พึงปรากฏบ้างหรือหนอ (เมื่อพระอานนท์ทูลตอบว่า ไม่พึงปรากฏเลย ได้ตรัสต่อไปว่า) ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณ.... เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างเลว... อย่างกลาง... อย่างประณีต... ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดใหม่ในภพต่อไปอีก.

นวสูตร ติ. อํ. (๕๑๖)
ตบ. ๒๐ : ๒๘๗-๒๘๘ ตท. ๒๐ : ๒๕๒-๒๕๓
ตอ. G.S. I : ๒๐๓-๒๐๔



20



ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา

ปริยัติ เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ปฏิบัติ ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้

ปฏิเวธ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป

ทีนี้จะพูดถึงหลักความจริงแล้วมันจะกลับกันจากความเข้าใจของคนทั่วไป คือ ปริยัติเกิดมาจากปฏิเวธ ปฏิเวธจะเกิดได้เพราะปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงปฏิเวธ ไม่มีปฏิเวธ เมื่อไม่มีปฏิเวธ คือไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็บัญญัติไม่ถูก (บัญญัติ ก็คือปริยัติ) บัญญัติไม่ถูกก็ไม่มีปริยัติ เมื่อพูดตามความเป็นจริงแล้วมันต้องเป็นอย่างนั้น

ที่ท่านตั้งเป็นแนวไว้ว่า ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ คือเรียนรู้เสียก่อน เมื่อรู้เรื่องแล้วจึงค่อยปฏิบัติ ปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยถึงปฏิเวธ อันนี้ก็จริงอยู่แต่ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปเรียนให้มากๆ จนได้นักธรรม ตรี โท เอก เป็นมหาเปรียญเสียก่อนแล้ว จึงค่อยปฏิบัติไม่ใช่อย่างนั้น

การเรียนนั้นไม่ต้องไปเรียนตามตำรับตำราอะไรมากมาย คือเราเข้าหาสำนักครูอาจารย์หรือผู้ที่ท่านจะอธิบายธรรมะข้อใดบทใดให้ฟังก็ตามเรียกว่า การฟัง นั่นแหละนับว่าเป็นการเรียนในที่นี้ เมื่อเรียนแล้วก็เกิดความเข้าใจและเห็นคุณประโยชน์ในการเรียนจึงตั้งใจปฏิบัติตาม เมื่อเราปฏิบัติด้วยตนเองแล้วจึงเกิดปฏิเวธในธรรมปริยัติข้อนั้นๆ ขึ้นมา ดังนั้น ปริยัติต้องออกมาจากปฏิเวธแน่นอน

คำว่า ศึกษาธรรมะ นั้นไม่ใช่การเรียนปริยัติ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าศึกษาปริยัตินั้นอันหนึ่ง ศึกษาธรรมะก็อีกอันหนึ่งแตกต่างกัน โดยมากเข้าใจกันว่า ศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาตามตำรับตำรา บทบัญญัติ และพระธรรมคำสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้แล้วก็เป็นปฏิเวธ แต่การศึกษาอันที่จะนำให้เกิดปฏิเวธนั้นไม่ใช่ศึกษาแต่ปริยัติดังที่เข้าใจกันเช่นนั้น หากเป็นการศึกษาอุบายแยบคายโดยเฉพาะในการที่จะปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดปฏิเวธ

ในสมัยพุทธกาลเมื่อยังไม่ได้ทรงบัญญัติพระธรรมคำสอนเลย แต่สาวกได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัส บางองค์เพียงบาทคาถาเดียวก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สามเณรลูกศิษย์พระสารีบุตรยังไม่ได้ฟังเทศน์ด้วยซ้ำ ขณะปลงผมจะบรรพชาเท่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว นี่แสดงว่าการศึกษาธรรมะที่แท้จริงกับการศึกษาปริยัติเป็นคนละเรื่องกัน ที่ศึกษาในปริยัติก็จริงอยู่แต่ยังไม่ถูกทีเดียว ต้องศึกษาแนวทางปฏิบัติด้วยถึงจะถูกโดยสมบูรณ์

ปฏิบัติ การศึกษาที่จะให้เกิดการปฏิบัตินั้น จะศึกษาบัญญัติแล้วนำมาปฏิบัติก็ได้ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปศึกษามากมายเพียงหยิบยกเอาอุบายอันใดอันหนึ่งขึ้นมาพิจารณาก็เรียกว่าศึกษา หรือไม่ได้ศึกษาบัญญัติแต่มันเกิดเองรู้เองก็เรียกว่าการศึกษาเหมือนกัน การที่จะรู้เองเช่นนั้นมีได้ในบางคน เช่นมองดูตัวของเรานี้เวลามันจะเกิดอุบายขึ้นมาก็ไม่รู้ตัว โดยที่เราไม่ได้คิดไม่ได้ตั้งใจที่จะให้มันเป็น แต่ว่ามันปรากฏขึ้นมาเองภายใน มันวิตกวูบขึ้นมา เอ๊ะ ! ตัวอันนี้มันเป็นตัวอะไรนี่ ที่เรียกว่าคน คนนั้นมันอยู่ตรงไหนกัน ส่วนที่เกิดขึ้นมาเองอันนี้มันเป็นอุบายที่ถูกใจของเรา ถูกนิสัยของเราแล้ว เมื่อสนใจเรื่องนั้นใจก็ปักมั่นแน่วแน่คิดค้นแต่ในเรื่องนั้นเรื่องเดียว จนกระทั่งมันรู้ชัดขึ้นมาตามความเป็นจริง อันนั้นแหละเรียกว่า แยบคาย

อุบาย คือที่เราจับได้ในเบื้องต้นและมีแยบคาย คือพิจารณาจนเกิดผลนั่นแหละ คือ การศึกษาธรรมะ เวลามันเกิดเฉพาะของใครของมัน ไม่มีใครสอนถูก มันรู้ชัดเห็นชัดเอาจริงๆ ทีเดียว แยบคายจึงเป็นของสำคัญยิ่งกว่าอุบาย คือด้วยปัญญาขั้นละเอียด
สำหรับผู้ที่ไม่เกิดเองเป็นเองก็ต้องอาศัยแนวทางปฏิบัติ คือยกเอาอุบายขึ้นมาพิจารณาจนให้เกิดแยบคาย อุบายในการภาวนาท่านกล่าวไว้มีมากมายเรียกว่ากัมมัฏฐาน ๔๐ เช่นพิจารณา อุสุภะ อานาปานสติ กายคตาสติ สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ เป็นต้น อุบาย เป็นเพียงสิ่งที่ใช้นำจิตให้มาอยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วจะมี แยบคาย เกิดขึ้น รู้ชัดเห็นชัดตามเป็นจริงด้วยตนเอง เรียกว่า ปฏิเวธ เกิดขึ้นแล้วในบุคคลนั้น

ปฏิเวธ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นมาเฉพาะตน เช่นพิจารณากายของเราจนกระทั่งเห็นกายนี้เป็นกองทุกข์ทั้งหมด ความรู้ชัดที่เกิดขึ้นเองนี้บางคนไม่ได้เรียนปริยัติเสียด้วยซ้ำ แต่เขาพิจารณาเห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะจริงๆ มองดูสิ่งใดๆ ในโลกนี้เห็นว่าเป็นทุกข์ภัยทั้งนั้นมีแต่ความเดือดร้อนตลอดเวลา แม้แต่ตัวของเราเองจะดูตรงไหนๆ ก็เป็นแต่ก้อนทุกข์มีแต่โรคภัยไข้เจ็บตลอดเวลา เกิดโรคได้ทุกส่วนที่ตา หู จมูก ลิ้น ฯลฯ แม้แต่เส้นผมแต่ละเส้นๆ ก็มีโรคประจำอยู่ ความรู้เห็นเช่นนี้ไม่ได้ไปศึกษาที่ไหน มันเกิดขึ้นโดยตนเอง เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้วมีผลให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายเสียจากความยินดีพอใจในอัตภาพร่างกายของตน หายหลงกายอันนี้เห็นว่าของอันนี้ไม่จีรังถาวร ของอันนี้ไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ปล่อยวางลงได้ ใจเข้าถึงความสงบเป็นสมาธิแน่วแน่เต็มที่เรียกว่า ปฏิเวธ เกิดขึ้นแล้ว

ความเป็นจริงนั้นจิตมันอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วละอุปาทานที่มันเป็นทุกข์นั่นแหละ มันไม่ได้ส่งสายไปที่อื่นมันแน่วแน่อยู่แต่ในเรื่องทุกข์นั้น ขณะนั้นจิตสงบลงแล้วมันจึงค่อยเห็นชัดแจ้งขึ้นมา ถ้าจิตไม่สงบก็ไม่เห็นชัด อย่างเช่นเราเรียนรู้กันเรื่องอาการ ๓๒ สวดกันอยู่บ่อยๆ คล่องปากทีเดียว แต่จิตมันไม่อยู่มันส่งสายไม่แน่วแน่ลงเฉพาะในเรื่องเดียว ก็เลยเป็นสักแต่ว่าสวดไม่ทำให้เกิดความสลดสังเวช ไม่เป็นเหตุให้เบื่อหน่ายคลายความพอใจในรูปอัตภาพ เช่นนี้เรียกว่าปฏิเวธยังไม่เกิด เป็นเพียงเรียนตามปริยัติ ท่องจำปริยัติเป็นสัญญาไม่ใช่ปฏิเวธ

การที่จะเกิดปฏิเวธขึ้นนั้น จิตต้องมีสมาธิเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดสมาธิและปฏิเวธ ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นสมาธิเลย มันเข้าถึงสมาธิและเกิดปฏิเวธโดยไม่รู้ตัว เหตุนี้จึงเคยพูดเสมอว่า แยบคายของแต่ละบุคคลนั้นเป็นของสำคัญที่สุด คือมองดูของสิ่งเดียวกันเห็นเหมือนกันหมดทุกคนนั้นแหละ แต่ว่าบางคนไม่มีแยบคายที่จะประคองจิตให้มันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว จนกระทั่งจิตเห็นชัดขึ้นมาตามความเป็นจริง

ปริยัติ พอปฏิเวธเกิดขึ้นมาแล้ว ทีนี้จะพูดอะไรบัญญัติอะไรก็ถูกต้องตามเป็นจริงทุกประการ แต่จะต้องบัญญัติใหม่เสียก่อน เพราะความรู้ตามเป็นจริงนั้นจะพูดให้คนที่ไม่รู้ตามเป็นจริงเข้าใจยาก ต้องมาเรียบเรียงคำพูดใหม่เสียก่อนจึงจะเข้าใจเป็นเรื่องเป็นราว ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ทั้งหมดที่เรียกว่า ปริยัติ เช่นคำว่า ขันธ์ห้า, อายตนะ ทีแรกเขาไม่ได้เรียกว่าขันธ์ห้า เขาเรียกว่าคน ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ความเป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ ต่างหาก จึงได้ทรงแยก “คน“ ออกเป็นขันธ์ คือ ขันธ์ห้า บางทีทรงแยกเป็น ธาตุสี่ และบางทีเป็น อายตนะ เป็น อินทรีย์

ทำไมจึงทรงแยกอย่างนั้น นั่นคือความแยบคายของพระองค์ พระปัญญาเฉียบแหลมของพระองค์ คำว่าแหลมในที่นี้ทั้งแหลมทั้งลึกทั้งละเอียด เช่นทรงเห็นชัดแจ้งตลอดในสรีระร่างกายอันนี้ว่า แท้จริงไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ มันเป็นเพียงก้อนธาตุประชุมกัน พร้อมกับที่ทรงเห็นว่าเป็นก้อนธาตุประชุมกัน ก็ทรงเห็นการแตกสลายดับไปของก้อนธาตุอันนั้นร่วมไปด้วย จึงได้ทรงสมมติบัญญัติร่างกายอันนี้ว่า รูป รูปก็คือของสลายแตกดับ คำว่า รูป ในที่นี้เลยครอบไว้หมดทั้งเกิดและดับ หรือรูปก็คือลบนั่นเอง เป็นรูปขึ้นมาแล้วก็ลบหาย (สลาย) ไป นี่เป็นแยบคายของพระองค์ คำว่า ขันธ์ หมายถึงจับกันเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นหมู่

ดังนั้นที่พระองค์ทรงแยกคนออกเป็นขันธ์ ก็คือ สิ่งที่ข้นแข็งจับกันเป็นก้อนมองเห็นได้เรียกว่า รูป และส่วนที่ละเอียดมองไม่เห็น แต่ก็มีอยู่เรียกว่า นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อทั้งสองส่วนมาประชุมกันเข้าจึงเป็น ขันธ์ห้า หมายถึงห้ากองนี่เอง ทั้งห้ากองนี่ต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่คงทนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเหมือนๆ กัน รูปนั้นเกิดดับช้าหน่อย ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้นเกิดดับเร็วกว่ารูป

ถ้าพิจารณาตามจนเห็นชัดจริงๆ แล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงรอบรู้อย่างละเอียดละออและลึกซึ้งลงไปถึงที่สุด โดยที่ไม่ทรงศึกษามาจากสำนักไหนจากอาจารย์ใดเลย วิชชาของพระองค์จึงน่าสรรเสริญยิ่งนัก เมื่อตรัสรู้แล้วก็ทรงบัญญัติขึ้น บัญญัติของพระองค์สมจริงเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดกาล แม้ใครจะเกิดมาภายหลังอีกกี่ร้อยกี่พันปี กี่ภพกี่ชาติก็ตาม หากมาศึกษาพิจารณาค้นคว้าบัญญัติของพระองค์นี้แล้ว ไม่มีผิดแผกแตกต่างกันเลย ตรงทุกสิ่งทุกประการ แต่เรายังไม่ทันเห็นจริงด้วยตนเองเท่านั้นแหละ

คำสั่งสอนของพระองค์ที่เราศึกษากันอยู่ทุกวันนี้ ก็ยังไม่ลึกซึ้งเข้าไปถึงความรู้อันแท้จริงของพระองค์ ยกตัวอย่างอันเดิมคือ รูป นี่แหละ พระองค์ตรัสไว้ว่า รูป เป็นก้อนธาตุมาประชุมกัน เกิดขึ้นแล้วมีแตกสลายดับไป ลองนำมาพิจารณาดูเถิดบรรดารูปที่ปรากฏเห็นได้ด้วยสายตาของเราในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา ฯลฯ มันเหมือนกันหมด คือ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นก้อนธาตุ เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับสลายไป แม้แต่พื้นปฐพีกว้างใหญ่อันนี้ก็มีวันหนึ่งข้างหน้าที่มันจะสลาย (มีอธิบายไว้ถึงเรื่องการแตกสลายของโลกในหนังสือไตรโลกวิตถาร) มันตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ที่เขาศึกษากันในปัจจุบันนี้

พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนวิทยาศาสตร์อย่างพวกเรา ทำไมพระองค์จึงไปทรงทราบถึงเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด และตรงกับของเขาอย่างจริงจังด้วย สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ยังมีอีกมากที่วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาแพทย์ปัจจุบันนี้ก็ยังเข้าไปไม่ถึง จึงว่าพระปัญญาของพระองค์น่าสรรเสริญยิ่งนัก แทงตลอดถึงที่สุดในทุกสิ่ง

ทีนี้ บัญญัติ ทั้งหลายเหล่านี้พระพุทธองค์ก็ไม่ให้เอาเช่น ขันธ์ห้า นี่แหละ พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้เอา ไม่เป็นของเอา ทรงสอนให้รู้จักต่างหาก ทรงสอนให้รู้จักเรื่องสรีระร่างกาย ให้รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของมัน หน้าที่ของมันเป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ รูปมันก็เกิด-ดับ นามก็เกิด-ดับ หน้าที่ของอายตนะก็เกิด-ดับเหมือนกัน

ตา สำหรับมองรูป เห็นรูปนี้แล้วพอเห็นรูปใหม่รูปอันเก่าก็ดับไปหมดไป หูได้ยินเสียงก็เช่นเดียวกัน ได้ยินแล้วก็ดับไปหมดไป จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัสต่างๆ ใจคิดถึงเรื่องต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ก็เกิด-ดับเหมือนกันทั้งนั้น เรื่องแรกเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา แล้วจะเอาอะไรมาเป็นเราเป็นของเรา มันไม่มีของเราสักอย่าง มันทำหน้าที่ของมันต่างหาก เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้วมันก็คลายเสียจากความยึดถือ ความยึดมั่นว่าตัวเราตัวเขา ของเราของเขา ก็จะมาเข้าใน สภาวะธรรม

ถ้าลงถึง สภาวะธรรม แล้วก็ถึงที่สุดไม่มีทางไป เพราะมันเป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติของมัน เมื่อเราไม่เอาขันธ์มาเป็นตัวเราของเราแล้ว การปฏิบัติก็ไม่มีอะไรอีก เพราะจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติก็คือให้ปล่อยวางจากความยึดมั่น สำคัญเอาขันธ์ว่าเป็นตัวเราของเรา อันการที่จะปล่อยวางได้นั่นซิมันยากนักหนา เพราะเราถือว่าเป็นตัวตนของเรามานานแสนนานแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พิจารณาหลายด้านหลายทาง ให้พิจารณาแยกแยะออกไปเสียอย่าให้เป็นตัวคน จึงได้บัญญัติให้เป็นชื่อไว้แต่ละอย่างๆ เป็นสัดเป็นส่วน ต่างก็ทำหน้าที่ของมันตามเรื่องของมัน เมื่อแยกอย่างนี้มันก็จะไม่เป็นคน ไม่เป็นตัวเป็นตน จิตมันก็จะปล่อยวาง

เมื่อเราปฏิบัติกันจริงๆ จังๆ พิจารณาจนเกิดปัญญาเห็นความจริงดังที่อธิบายมาแล้วมันต้องวาง เมื่อปล่อยวางแล้วก็เรียกว่าเห็นธรรม เข้าถึงธรรมได้ธรรม เลยกลายเป็นธรรมขึ้นมา นี่แหละที่เรียกว่าเรียนปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ที่ต้องแท้ ถึงเล่าเรียนปริยัติจากตำราต่างๆ แล้วอย่าไปถือเอาเป็นของจริง อันนั้นเป็นแนวทางที่จะให้ถึงของจริง เข้าถึงของจริงในที่นี้คือ รู้จักหน้าที่ของมัน มันเป็นจริงอยู่อย่างนั้น แล้วมันจะปล่อยวางเอง

ปล่อยวางแล้วทีนี้มันจะได้อะไร ?

เราจะทราบว่าอันคำว่า ปล่อยวาง นั้นแหละมันยังมีเหลืออยู่ มันยังมีคำว่าไม่มีอะไร ผู้รู้ อันนี้มันปรากฏขึ้นมาเมื่อจิตสงบเท่านั้น ถ้าจิตไม่สงบคือยังไม่ปล่อยวางอุปาทาน ผู้รู้ อันนี้จะไม่ปรากฏ เพราะมันไปยึดเอาบัญญัติตำราไว้หมด เมื่อเราวางบัญญัติได้ สำรอกบัญญัติออกหมดแล้ว จิตสงบจะปรากฏแต่ ‘ผู้รู้’ อยู่อันเดียว แล้วจึงค่อยมาชำระผู้รู้นั้นอีก มันจะมีอะไรสำคัญเกิดมาที่ตรงนั้น ต้องชำระกันตรงนั้น

สรุป การศึกษาธรรมมะ เบื้องต้นท่านตั้งเป็นแนวไว้คือ ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ หากมาพิจารณาดูมันจะย้อนกลับตรงกันข้าม คือ ปฏิเวธ แล้วจึงมาบัญญัติ ปริยัติ ที่ตั้งเป็นปริยัติไว้เพื่ออะไร เพื่อจะรู้ของจริงตามเป็นจริง เช่น ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ เป็นต้น แล้วจะไม่เข้าไปยึดถือ ถ้ายังยึดอยู่ยังใช้ไม่ได้ ยังรู้ไม่ถูก หากนำมาพิจารณาจนกระทั่งเห็นลงเป็น สภาวะธรรม มันเป็นจริงเช่นนั้นแล้วจะปล่อยวางไม่ยึด มันก็ว่าง นั่นแลเรียกว่า ปฏิบัติ

เมื่อรู้จักว่าว่างมันก็ยังมี ผู้รู้ ว่าว่างเหลืออยู่ ยังยึดผู้ว่างอยู่ก็ต้องชำระว่า ผู้ว่าง นั้นอีกทีหนึ่ง การปฏิบัติต้องให้มันมีหลักอย่างนี้ ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าผิดๆ ถูกๆ แล้วแต่มันจะเป็นไปอย่างไร แล้วแต่ว่ามันจะถึงอะไร แบบนั้นมันเป็นการเสียเวลาเปล่า ถึงแม้ว่าภาวนาเป็นหลักแล้วหากจับหลักไม่ถูกหรือไม่มีหลักการภาวนาก็สามารถที่จะเสื่อมเร็วไม่ค่อยจะเจริญก้าวหน้า ถ้าหากปฏิบัติเข้าถึงธรรมของจริงแล้ว ธรรมทั้งหลายมันไปรวมกันได้ไม่ว่าพิจารณาอะไร เช่นพูดถึง ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ก็เข้าถึงธรรมได้เหมือนกัน พูดถึงเรื่องกรรม กรรมดี กรรมชั่ว กรรมไม่ดีไม่ชั่ว ก็เข้าถึงธรรมได้ พิจารณาเกิด-ดับ ก็เข้าถึงธรรมได้ ฯลฯ

ตกลงสิ่งทั้งปวงก็เลยเป็นธรรมทั้งหมด เมื่อเป็นธรรมแล้วก็หมดเรื่อง เพราะไม่ใช่อะไรทั้งหมด เรียกว่า ธรรม คือของว่างเปล่า ไม่มีสาระ เมื่อไม่มีสาระใจก็ไม่เข้าไปยึด ใจว่างหมดทุกสิ่ง และไม่เข้าไปยึดอะไรอีก

อธิบายเรื่องปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ มาในวันนี้ก็ยุเพียงเท่านี้ เอวํฯ

ทุกๆ คนเมื่อได้อ่านธรรมบรรยายนี้
ขอให้จดจำนำเอาไปใช้ นำไปพิจารณา
ปรับปรุงตนให้เข้ากับธรรม จนให้บรรลุ
เห็นแจ้งในใจด้วยตนเองจึงจะเป็นของตัว

พระราชนิโรธรังสี

ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php?topic=126.0

21



ตัวหนังสือ และหน้าตาหลวงพ่อทวด ต้องคมชัดเจน
มุมซ้ายบน จะมีเส้นทะแยงลากผ่าน ต้องคม,ชัด ที่มาของบล็อคนิยม พื้นเหรียญด้านหน้ามีเส้นรัศมีกระจายทั่วเหรียญ ซึ่งเกิดจากแรงปั๊มจากบล็อค





พื้นเหรียญด้านหลังมีเส้นรัศมีกระจายทั่วเหรียญ ชัดเจนกว่าด้านหน้า ซึ่งเกิดจากแรงปั๊มจากบล็อค เรียกว่าพลิกหลังดูก็แท้แล้ว



 
ที่มาของการสร้างเหรียญกระโดดบาตร โดยคุณแล่ม จันท์พิศาโล นิตยสารพระเครื่อง “ลานโพธิ์” วันหนึ่งขณะเดินทางไปทำธุระ ระหว่างทางก็ได้เห็นคนกำลังมุงดูอะไรบางอย่างอยู่ จึงได้ชะลอรถเพื่อดู ภาพที่เห็นคือ มีมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ คันหนึ่งได้ล้มคว่ำอยู่ข้างทาง มีผู้หญิงและผู้ชายนอนตายอยู่ใกล้ ๆ กัน และมีเด็กอายุประมาณ 2-3 ขวบ กำลังร้องไห้เรียกหาพ่อแม่ซึ่งนอนตายอยู่ พร้อมทั้งกอดศพพ่อและแม่ ภาพที่เห็นนั้นรู้สึกสลดใจยิ่งนัก จึงเกิดความคิดสร้างพระแจกให้คนทั่ว ๆ ไปได้มีพระเอาไว้ติดตัวคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ เผื่อคนจนจะได้มีพระไว้บูชาด้วย

        เป็นพิมพ์หลวงปู่ทวดนั่งสมาธิอยู่ในกรอบ พระทรงสี่เหลี่ยม กว้าง 1.5 ซม. สูง 2.0 ซม. เป็นเนื้อทองแดงรมน้ำตาลเพียงอย่างเดียวไม่มีเนื้ออื่น
จำนวนสร้าง 20,000 เหรียญ โดยคุณช้าง ราชดำเนิน เป็นผู้นำไปฝากไว้ที่วัดสะแกด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อนำเหรียญที่สร้างทั้งหมดมาให้หลวงปู่ดู่ท่านอธิษฐาน พร้อมทั้งบอกจุดประสงค์ในการสร้างว่ามีเจตนาเพื่ออะไร พอหลวงพ่อดู่ท่านทราบ ท่านก็พูดออกมาดัง ๆ ว่า “ข้าขออนุโมทนากับแกด้วย” จึงฝากเหรียญทั้งหมดไว้ให้หลวงปู่ปลุกเสกเป็นเวลาหนึ่งไตรมาสตลอดพรรษาปี 2530

        เมื่อครบกำหนดออกพรรษาแล้ว ทางผู้สร้างและคุณช้างจึงกลับไปที่วัดสะแกอีกครั้ง พร้อมกับขอรับเหรียญหลวงปู่ทวดที่ฝากไว้กลับคืน โดยได้ให้คำมั่นสัญญากับหลวงปู่ว่า “จะเอาเหรียญนี้ไปแจกแก่ผู้ซื้อหนังสือลานโพธิ์ และผู้ทำคุณประโยชน์แก่สาธารณกุศลเท่านั้น โดยจะไม่นำไปจำหน่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างเด็ดขาด”
       
        หลวงปู่ดู่ ได้กล่าวอนุโมทนาและได้เมตตานั่งปรกอธิษฐานจิตให้อีกครั้งหนึ่งนานประมาณ 30 นาที โดยท่านได้บอกกับลูกศิษย์ที่ไปนั่งปฏิบัติธรรมบนกุฏิว่า “ ขอให้ทุกคนนั่งสมาธิตั้งจิตอธิษฐานมาที่กล่องเหรียญหลวงปู่ทวดนี้ด้วย ” ซึ่งทุกคนก็ได้ปฏิบัติตามที่หลวงพ่อสั่งไว้ ( มีผู้ที่นั่งสมาธิในวันนั้นบอกว่า เห็นแสงสว่างสุกปลั่งไสว เป็นแสงสีนวลบนกล่องเหรียญ )
        หลังจากที่หลวงปู่นั่งสมาธิอธิษฐาน จิตเสร็จแล้ว ท่านได้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วทุกกล่องพระ ทางผู้สร้างได้แบ่งเหรียญใส่พานถวายท่าน 2 ถุง (2,000 เหรียญ) กราบเรียนท่านว่า “ขอให้รับไว้เพื่อแจกแก่ผู้ที่มากราบหลวงพ่อ” หลวงพ่อรับเหรียญแล้วก็แกะถุงพลาสติก หยิบเหรียญออกมาแจกแก่ทุกคนที่อยู่บนกุฏิในวันนั้น
       
        ในเวลานั้นผู้ สร้างได้มีโอกาสคุยกับลูกศิษย์ที่มีความนับถือหลวงปู่ดู่ด้วยกันหลายคน หนึ่งในลูกศิษย์นั้นเล่าว่า มีคนนำเหรียญรูปหลวงปู่ทวดมาให้หลวงพ่อดู่ปลุกเสก เหรียญรุ่นนั้นหลวงพ่อดู่ท่านเมตตาปลุกเสกอย่างเต็มที่ ลูกศิษย์ผู้นั้นกล่าวต่อว่า เดิมที่เหรียญนั้นอยู่ในกล่องกระดาษ และได้มีลูกศิษย์มาพบ เห็นว่าเหรียญนั้นเป็นเหรียญรูปหลวงปู่ทวด จึงนำเหรียญเหล่านั้นมาใส่ไว้ในบาตรพระแทน

        ในการปลุกเสกคราวหนึ่ง คนที่ศรัทธาหลวงปู่กลับไปหมดแล้ว ท่านว่างจึงได้ทำการอธิษฐานจิตปลุกเสกเหรียญหลวงปู่ทวดตอนนั้นเป็นเวลาเย็น มากแล้ว ซึ่งมีเพียงตาแกละที่คอยเก็บกาน้ำชา และคอยทำความสะอาดอยู่บริเวณนั้น ตาแกละได้เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อดู่ท่านได้ปลุกเสกเหรียญทั้งหมดจนเหรียญตั้งขึ้นได้ทุกองค์แล้ว เหรียญทุกองค์ก็ได้ลอยขึ้นมาจากบาตร เมื่อตาแกละเห็นดังนั้นจึงนั่งลงกราบ แล้วหลวงพ่อดู่ก็ลืมตาขึ้นมามองทางตาแกละ วันนั้นหลวงพ่อท่านอารมณ์ดีเป็นพิเศษ ตาแกละก็เลยกล่าวกับหลวงพ่อว่า “เหรียญรุ่นนี้หลวงพ่อปลุกเสกจนเหรียญลอยเลยนะครับ” หลวงพ่อท่านเมตตาตอบว่า “คนสร้างเหรียญรุ่นนี้เขามีเจตนาดี อยากให้ผู้อื่นแคล้วคลาดปลอดภัยทำมาหากินเจริญ คนแบบนี้หาได้ยาก ด้วยเจตนาอันเป็นกุศลนี้ข้าเลยอนุโมทนาให้เขาเต็มที่ เหรียญที่ปลุกเสกนี้เมื่อนำไปใช้ก็จะเจริญร่ำรวย มีโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตา สมกับเจตนาที่ตั้งไว้ ข้าเสกเหรียญนี้ไว้ในบาตรพระ ก็เพราะบาตรพระเป็นภาชนะที่ญาติโยมนำข้าวปลาอาหาร กล้วยสุกลูกไม้ มาให้ด้วยความศรัทธา บาตรพระนี้แหละแกเอ๋ย ดีเป็นที่สุดเลย” หลวงพ่อยังพูดต่อว่า “เหรียญหลวงปู่ทวด ที่ข้าปลุกเสกนี้ อีกหน่อยจะหายากจนแทบพลิกแผ่นดินหากันแหละแก”
        เมื่อผู้สร้างได้ฟัง เรื่องต่าง ๆ ถึงกับขนลุกขึ้นถึงหัวเลยทีเดียว คนที่เล่าก็ไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง นี้คือที่มาของเหรียญหลวงปู่ทวดกระโดดบาตร อีกหลายปีผ่านไปก็เป็นอย่างที่หลวงพ่อดู่ได้กล่าวไว้ว่า เหรียญนี้มีพุทธคุณต่างๆ นาๆ ผู้ที่ใช้มักมีปาฏิหาริย์มาเล่าให้ฟังกันต่าง ๆ




ขอขอบพระคุณที่มาจาก... http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1398.0

22
ธรรมะ / เรื่องจิตนี้...
« เมื่อ: 20 ก.พ. 2554, 10:28:51 »

               


 การปฏิบัติเรื่องจิตนี้...ความจริงจิตนี้ไม่เป็นอะไร มันเป็นประภัสสรของมันอยู่อย่างนั้น มันสงบอยู่แล้ว ที่จิตไม่สงบทุกวันนี้ เพราะจิตมันหลงอารมณ์ตัวจิตแท้ๆ นั้นไม่มีอะไรเป็นธรรมชาติอยู่เฉยๆเท่านั้น ที่สงบ ไม่สงบ ก็เป็นเพราะอารมณ์มาหลอกลวง จิตที่ไม่ได้ฝึกก็ไม่มีความฉลาด มันก็โง่อารมณ์ก็มาหลอกลวงไปให้เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ จิตของคนตามธรรมชาตินั้นไม่มีความดีใจ เสียใจ ที่มีความดีใจเสียใจนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นอารมณ์ที่มาหลอกลวง จิตก็หลงไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปตามอารมณ์ เพราะยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ฉลาด แล้วเราก็นึกว่าจิตเราเป็นทุกข์นึกว่าจิตเราสบาย ความจริงมันหลงอารมณ์

พูดถึงจิตของเราแล้วมันมีความสงบอยู่เฉยๆ มีความสงบยิ่งเหมือนกับใบไม้ที่ไม่มีลมมาพัดก็อยู่เฉยๆ ถ้ามีลมมาพัด ก็กวัดแกว่ง เป็นเพราะลมมาพัด และก็เป็นเพราะอารมณ์ มันหลงอารมณ์ ถ้าจิตไม่หลงอารมณ์แล้วจิตก็ไม่กวัดแกว่ง ถ้ารู้เท่าอารมณ์แล้วมันก็เฉย เรียกว่าปกติของจิตเป็นอย่างนั้น ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อใหเห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุข สร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบ เรื่องแค่นี้เองที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีอยู่ เป็นอยู่นั้น มันเป็นสักแต่ว่า "อาศัย" เท่านั้น ถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่า รู้เท่าตามสังขาร ทีนี้แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี ได้ก็เหมือนเสีย เสียก็เหมือนได้.... 

 

 
ขอขอบพระคุณที่มา : http://www.watnongpahpong.org

23
งดงามมากมายครับพี่เจมส์    :016: :015:

24
ขอร่วมตั้งชื่อด้วยคนนะครับ

น้อง...ฤทธิโชค...ฤทธิธรรม  :016: :015:

26
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน :016:
จะเป็นกำลังใจให้...สะสมพระเครื่องและวัตถุมงคล
ของหลวงพ่อเปิ่น...ต่อไปครับ

27
งดงามมากมายครับ
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

28
ขอร่วมแสดงความยินดีด้วยคนครับ...งดงามมากมาย
ขอบคุณครับที่ลงรูปมาให้ชมกัน

29
ขอบคุณมากมายครับ...สำหรับภาพบรรยากาศวัดในประเทศญี่ปุ่นและเกร็ดความรู้ต่างๆ
ได้ชมแล้วเสมือนได้ไปเที่ยวด้วยเลยครับ...ขอบคุณอีกครั้งครับ :054:

30
งดงามมากมายครับ   :016: :015:

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน

31

ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ

32
ขอบคุณครับ...สำหรับข้อมูลความรู้ (แน่นจริงๆ)

33
รูปเหมือนปั๊มรุ่นพรหมเกศา เนื้อเงินด้วยครับ ของดีอีกแล้วครับพี่เจมส์ :016:


พี่~เสน่ห์ack01~เห็นแล้วบอกว่าเนื้อเงิน...นี่ซิของชอบละ :058:

งดงามมากมายครับ...พี่เจมส์  สมกับเป็นศิษย์หลวงพ่อพรหม จริงๆ ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมเพื่อศึกษา

34
แสนจะงดงามมากมายครับ :016:

35
กราบนมัสการหลวงพี่โด่งครับ   :054:

ขออนุโมทนาบุญกุศลในครั้งนี้กับทุกท่านด้วยนะครับ...สาธุ

36
งดงามมากมายครับอาจารย์ดอน :016:

ขอขอบคุณครับที่นำมาให้ชมเพื่อศึกษา

37
สวัสดีครับ...ผมลีครับ


38
เป็นภาพที่หาชมได้ยากยิ่งครับ

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม :016:

39
งดงามมากมายครับ

40
สุราษฏร์ธานี เมืองคนดี มาแล้วครับ

41
เมื่อทราบข่าวแล้ว!!!!...รู้สึกใจหายเหมือนกันว่าเอ๊...น้องเค้าหายไปไหน...ที่แท้ก็...
ขอแสดงความเสียใจกับน้องเค้าด้วย...หลับให้สบายเถิด...

นี่...คือข้อความ pm ที่น้องแจ๊คเคยเขียนมาปรึกษาหลังไมค์
ผมมีเรื่องรบกวนขอคำแนะนำหน่อยครับ
คือทุกครั้งที่นั่งสมาธิ ผมจะทำสมาธิได้น้อยมาก ไม่กี่นาที ก็จะมีเรื่องนั้นเรื่องนี้มาในหัว ไม่สามารถ ตั้งจิตให้สงบได้ ควรจะทำอย่างไรดี อยากทำใจให้สงบมาก นานๆ เพื่อจะได้พิจารณาตัวตนเอง แต่ก็ทำไม่ได้ อย่างไร ผมขอรบกวนแนะนำด้วยครับ


ก็ได้แนะนำน้องเค้าไปบ้าง...แต่ไม่เห็นตอบกลับมาเลย...ก็สงสัยอยู่เหมือนกัน...เพิ่งจะทราบวันนี้นี่เอง
ขอขอบคุณพี่ตี๋ครับ...ที่แจ้งข่าว...

42
งดงามอีกตามเคย...แล้วจะคอยติดตามต่อไป

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน  :016: :015:

43
งดงามมากมายครับ  :016:
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

44


ประวัติ พระครูบุญญาภินันท์ (พระอาจารย์หรีด) วัดปาโมกข์

พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด เป็นบุตรของนายอนันต์ ณ นคร และนาง สุรีย์ ณ นคร เกิดเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ที่บ้าน อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เมื่อครั้งวัยเยาว์ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัด คีรีเขต อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ณ วัดศรีนิคม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยพระครูพิริยพงษ์พิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอกะปง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโสภณวิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปาโมกข์ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูอินทรคุณูปถัมป์ วัดอินทภูมิ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ต่อมาพระอาจารย์หรีดได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนได้นักธรรมเอกแล้ว ได้เดินทางไปศึกษาด้านสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ วิเวกอาศรม ในสำนักวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระอาสภมหาเถระ เจ้าคุณพระพิมลธรรม พระเทพสิทธิมุนี (โชดก) เป็นพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน

หลังจากนั้นได้ธุดงค์วัตรไปอยู่ตามภูเขาเลาเนาไพรทางภาคเหนือ แถบอำเภอจอมทอง อำเภอ ฝาง จำพรรษากับพระอาจารย์บุญช่วย ประมาณ 7 ปี ได้ไปศึกษาเล่าเรียนและเจริญสมาธิภาวนากับ ครูบาธรรมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน เป็นต้น

ต่อมาพระอาจารย์หรีดได้เดินทางกลับภาคใต้ ไปเล่าเรียนวิชากับ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ จ.นครศรีธรรมราช ตลอดจนครูบาอาจารย์สายเขาอ้อทั้งบรรพชิตและฆราวาส

จากนั้น พระอาจารย์หรีด ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดปาโมกข์ กับพระครูโสภณวิริยาภรณ์ เจ้าอาวาส และเมื่อเจ้าอาวาส มรณภาพลง พระอาจารย์หรีด ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา ได้ใช้วิชาความรู้สร้างและพัฒนาวัดปาโมกข์ ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูบุญญาภินันท์”

   หลวงพ่อหรีด วัดป่าโมกข์ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังมากในจังหวัดพังงาและใกล้เคียง หลวงพ่อหรีดท่านเป็นคนตะกั่วป่า ท่านศึกษาวิทยาคมจาก หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า สายหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก หลวงพ่อท่านมักได้รับนิมนต์ไปพุทธาภิเษกจตุคามรามเทพ และพระเครื่องดังๆอยู่บ่อยๆ เพราะท่านเต็มไปด้วยเมตตาและพลังจิตที่แก่กล้า จนท่าน ดร.ไมตรี บุญสูง เสาหลักแห่งวงการพระเครื่องไทยให้ความเคารพบูชาเป็นอาจารย์ใหญ่ต่อจากหลวงพ่อเปิ่นทีเดียว โดยคุณไมตรีมักจะสร้างพระถวายอยู่บ่อยๆเพื่อให้ท่านแจกและให้บูชาเพื่อร่วมสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อหรีดวัดป่าโมกข์ท่านยังเป็นพระเกจิที่คุณชินพร สุขสถิตย์ ศิษย์เอกแห่งหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่นิมนต์ไปปลุกเสกพระเครื่องที่กองทุนให้อยู่บ่อยๆ จนเป็นที่ยอมรับกันว่าพลังจิตของ หลวงพ่อหรีดเป็นเอกอุและเข้มขลังมากนัก แม้แต่พระเกจิดังๆท่านอื่นๆยังต้องให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อหรีดท่านปลุกเสกเหรียญรุ่นแรกนี้ให้กับ คุณไมตรี บุญสูง ซึ้งตอนนั้นท่านได้สร้างมาถวายให้หลวงพ่อเพื่อจัดหาทุนสร้างวัด บันไดโบสถ์ หลวงพ่อได้กำหนดฤกษ์ยามปลุกเสก โดยนิมนต์พระเกจิมาอีกก็คือ หลวงพ่อนวล วัดไสหร้า หลวงปู่อ่อน วัดลุมพินี (มรณภาพแล้ว ท่านเคยเพ่งพระจนสายสิญจน์ขาดไหม้ด้วยแรงกสิณท่านครับ) หลวงพ่อพริ้ง วัดหลักแก่น (เป็นที่เคารพของเหล่าลูกทัพเรือในละแวกนั้น พระท่านดีทางเหนียว น้ำมนต์ท่านสุดยอดครับ ใครเจ็บไข้ได้ป่วยมาขอหายหมดครับ) หลวงพ่อท่านปลุกเสก โดยมีการบันทึกภาพไว้ ปรากฏว่ากล้องถ่ายไม่ติดครับ ถามที่วัดดูได้ หลังพิธีจึงมีการลองยิง ปรากฏว่า กระสุนด้านไป3-4นัดครับ แรกๆท่านยังไม่มีชื่อเสียงเหรียญนี้จึงแถมๆกันไป ต่อมามีข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงข่าวว่า เด็กวัยรุ่นที่พังงาตีกัน แล้วโดนยิงไม่เข้าจึงโด่งดังและราคาแพงขึ้นมาครับ ต่อมามีประสบการณ์คนในตลาดโดนปล้น แต่มีดฟันไม่เข้าบ้าง รอดจากรถตกเหวที่ป่าตองบ้างครับ จนดังมา กลายเป็นเหรียญที่ทุกคนต่างเก็บเงียบครับ หลังจากที่คุณไมตรีได้สิ้นบุญลง หลวงพ่อหรีดท่านจึงไม่ค่อยสร้างวัตถุมงคลใดๆครับ นอกจากที่ท่านไปนั่งปรกให้เท่านั้น




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.tumsrivichai.com/

45



หลวงพ่อเกษม เขมโก เผชิญอสูรกายที่ป่าช้าแม่อาง

อันชื่อเสียงกิตติคุณของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง เมื่อครั้งที่ท่านยังไม่ละสังขารขันธ์ ขจรขจายเลื่องลือกว้างไกล ไปในหมู่พุทธบริษัท ณ ที่ท่านจำพรรษา มีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้สักการะด้วยความเคารพศรัทธาท่าน เนืองแน่นทุกวัน แม้จะไม่ได้พบตัวท่าน ก็ขอได้กราบนมัสการกุฏิหลังน้อยที่ท่านพักผ่อนอยู่ภายใน ก็เกิดปีติปราโมทย์แล้ว เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ ผู้ใกล้ชิดที่สุดได้มาจากบันทึกสั้นๆ เป็นคำบอกเล่าของ เจ้าประเวศ ณ ลำปาง ซึ่งเป็นหลานของท่าน มีความว่า....

เวลานั้นเจ้าประเวศบวชเป็น สามเณร คอยรับใช้อุปัฏฐากหลวงพ่อเกษม อยู่ที่ป่าช้าแม่อาง ปฏิปทาของหลวงพ่อเกษม ท่านพอใจจำพรรษาในป่าช้ามาโดยตลอด เสนาสนะของท่านคือกระต๊อบหลังเล็กๆ ที่ญาติโยมปลูกสร้างถวาย ขณะที่เกิดเหตุนี้ สามเณรประเวศนอนอยู่กับพระหวันอีกที่หนึ่ง (พระหวันบวชหน้าไฟเพียง ๗ วัน เนื่องจากบุพการีเสียชีวิต แล้วนำศพมาเผาที่ป่าช้าแม่อาง ในวันนั้นพระหวันบวชแล้ว ก็ขออยู่ในป่าช้ากับหลวงพ่อเกษม)

เช้าวัน รุ่งขึ้น....สามเณรประเวศมาหาหลวงพ่อเกษมที่กระต๊อบกุฏิเพื่อปรนนิบัติท่าน เมื่อพบหน้ากันหลวงพ่อเกษม ถามสามเณรหลานด้วยความสงสัย

“เมื่อคืนนี้ มาที่นี่หรือ ? ใครบุกเข้ามาเมื่อคืนนี้ มาจับมือเรา”

“ผมไม่ได้ขี้นไปครับ ผมอยู่ข้างล่าง....” สามเณรเจ้าประเวศตอบตามความเป็นจริง

“ถ้าอย่างนั้น อสูรกายก็มาจับมือเรา....”

จากนั้นหลวงพ่อเกษมได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ให้สามเณรเจ้าประเวศฟังว่า...

เมื่อ คืนนี้เวลาประมาณตีหนึ่ง ขณะหลวงพ่อเกษมนั่งภาวนาอยู่ในกระต๊อบกุฏิ ท่านรู้สึกว่ามีมือใครคนหนึ่งเอื้อมมาจับข้อมือท่าน ซึ่งกำลังประสานฝ่ามือไว้บนหน้าตัก จับข้อมือไว้แล้วบีบเสียแน่น แม้จะมีผู้ล่วงเกินท่านขณะกำลังเจริญภาวนา หลวงพ่อเกษมก็มิได้สะดุ้งหวั่นไหว ท่านคงเจริญภาวนาต่อไป โดยท่านเล่าว่า

“จับ มือเราก็ให้จับ ภาวนาติ๊กๆ....” หมายถึงหลวงพ่อเกษมภาวนาไปเรื่อยๆ ครู่หนึ่งมือลึกลับที่มาจับข้อมือของท่าน ก็ถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมผละจากไปเลย กลับมาบีบนวดที่เอวของท่านแทน จนท่านอดรนทนไม่ไหวเอื้อมมือมาจับแขนนั้น เพื่อห้ามมิให้รบกวนท่านอีก สัมผัสที่หลวงพ่อเกษมรับรู้ ก็คือแขนข้างนั้นรุงรังไปด้วยขนหยาบๆ แล้วแขนข้างนั้นก็อันตรธานหายไป แต่มีเสียงกระซิบที่หูท่านว่า “อยู่ดีๆ เน้อพ่อเน้อ....”

ต่อจากนั้นก็ไม่มีอะไรมารบกวนท่านอีกตลอดคืน ตราบได้อรุณของวันใหม่

เจ้า ประเวศเล่าว่าตอนเช้าที่มาหาหลวงพ่อเกษม และถูกท่านซักถามดังกล่าวข้างต้น เจ้าประเวศยังจับข้อมือของหลวงพ่อเกษมมาดู เห็นรอยแดงเป็นจ้ำตรงข้อมือท่านชัดเจน

นี่คือประสบการณ์เกี่ยวกับ วิญญาณที่หลวงพ่อเกษม เขมโก เล่าไว้เพียงเรื่องเดียวในอัตประวัติของท่าน อาจจะมีวิญญาณที่ทุกข์ทรมาน มาขอความเมตตาจากพระอริยะสงฆ์เช่นท่านอีกก็ได้ เพียงแต่ไม่เป็นที่เปิดเผยเท่านั้น....




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.sookjai.com/index.php?topic=2374.0

46
งดงามมากมากหลาย
มีรูปยืนส่องพระด้วย...เท่จริงๆ

47
งดงามมากมายครับพี่เจมส์
เดี๋ยวคราวหน้า รุ่นนี้พี่เป็ปซี่
คงจะนำมาจัดกิจกรรมทาย
ปัญหาธรรมะในเว็บอีกเป็นแน่...คลาดเดาเอานะครับ
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน :016:

48



"พระครูประกาศิตธรรมคุณ" หรือ "หลวงพ่อเพชร อินทโชติ" อดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอาวาสรูปแรก ถือเป็นเพชรเม็ดงามแห่งวัดวชิรประ ดิษฐ์ บ้านเฉงอะ ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจน ดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า เพชร แซ่ตั้น (ภายหลังมีพระราชบัญญัตินามสกุล ท่านใช้นามสกุลว่า ยี่ขาว) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปี ฉลู พุทธศักราช 2395 (ในรัช กาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ณ บ้านประตูไชยเหนือ ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรม ราช โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายขาวและนางกิม ล้วน แซ่ตั้น

ครั้นอายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้นำท่านไปฝากศึกษาเล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของท่านพระครูการาม (จู) วัดมเหยงค์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จนอายุได้ 13 ปี จึงลาอาจารย์ออกจากวัดมเหยงค์ ไปอาศัยอยู่ที่บ้านพระศิริธรรมบริรักษ์ (ขั้น) เจ้าเมืองนคร ศรีธรรมราช

ในขณะที่อาศัยอยู่กับพระสิริธรรมบริรักษ์ ท่านได้ช่วยกิจการหลายอย่าง แต่ภารกิจที่สำคัญ คือ ครั้งหนึ่งเกิดจีนฮ่อยึดเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองของไทยตอนใต้ ท่านเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ทราบข่าว จึงได้ส่งท่านพร้อมพรรคพวกจำนวนหนึ่งไปปราบจีนฮ่อที่มายึดเมืองไทรบุรี จนกระทั่งได้รับชัยชนะ จีนฮ่อแตกหนีไป

กระทั่งอายุได้ 30 ปี โยมบิดา-มารดา ถึงแก่กรรม หลังจากที่ท่านออกจากบ้านพระศิริธรรมบริรักษ์แล้ว ได้ประกอบอาชีพส่วนตัวอยู่ที่บ้านของตน ในระหว่างนี้เองท่านได้ถือโอกาสไปศึกษาเล่าเรียนกับท่านอาจารย์ ในด้านการอยู่ยงคงกระพันและอื่นๆ

ครั้นเมื่ออายุท่านได้ 42 ปี เกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้าน ตัดสินใจออกเดินทางจากบ้าน เพื่อไปเยี่ยมน้องชาย ซึ่งประกอบอาชีพอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เดินทางมาได้เพียงแค่ถึงบ้านดอน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ ธานี ก็เกิดเจ็บป่วยลงอย่างกะทันหัน ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ได้เข้าไปขอพักอาศัยและรักษาตัวอยู่กับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดไทรจนกระทั่งหายป่วยเป็นปกติดี

ท่านก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้เปลี่ยนใจขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่ วัดกลาง บ้านดอน โดยมี พระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าอาวาสวัดกลาง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกากล่อม วัดโพธิ์ไทรงาม (หรือวัดโพธาวาส ในปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร บ้านดอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อินทโชติ ซึ่งแปลว่า ผู้รุ่งเรืองดุจพระอินทร์

ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่กับพระแดง เจ้าอาวาสวัดไทร เป็นเวลาถึง 2 พรรษา

พ.ศ.2442 ชาวบ้านเฉงอะเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติ ได้พากันนิมนต์หลวงพ่อเพชรไปอยู่จำพรรษาที่วัดวชิรประดิษฐ์ (ขณะนั้นเรียกว่า วัดดอนตะเคียน) ท่านหลวงพ่อเพชรได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้วัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับจนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสและนิยมยกย่องของชาวบ้านเป็นอันมาก

พ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีฐานะเป็นวัดโดยถูกต้องตาม กฎหมาย โดยมีชื่อว่า "วัดวชิรประดิษฐ์ ซึ่งหมายความว่า วัดที่ท่านหลวงพ่อเพชรเป็นผู้สร้างขึ้น" ท่านได้ดำเนินการจัดการขอวิสุงคามสีมา ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา และท่านยังได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ และอุโบสถก็ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยในปีเดียวกันนี้

พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัช ฌาย์และเจ้าคณะแขวงกาญจนดิษฐ์

พ.ศ.2461 หลวงพ่อเพชรได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูประกาศิตธรรมคุณ

หลวงพ่อเพชร เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรและพรหมวิหารธรรม มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาชอบให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ท่านเป็นคนพูดจริงทำจริง พูดเช่นใดก็มักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ



 ด้านศาสนบุคคล
ในสมัยหลวงพ่อเพชร มีชีวิตอยู่ ท่านอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ให้ดำรงตนเป็นคนดีของสังคม ฝ่ายบรรพชิต เช่น พระครูดิตถารามคณาศัย (ชม คุณาราโม) อดีตเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์และเจ้าอาวาสวัดท่าไทร, พระอุปัชฌาย์พุ่ม ฉนโท อดีตเจ้าคณะตำบลกรูดและอดีตเจ้าอาวาสวัดปากคู พระครูกัลยาณานุวัต อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ (วัดบ้านเฉงอะ) พระครูพินิต เขมิเขต (สะอิ้ง จนทาโภ) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ (กิตติมศักดิ์) และเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว (กิตติมศักดิ์) ฝ่ายคฤหัสถ์ เช่น คุณครูกล่ำ พัฑสุนทร, ครูน้อม แดงสุภา, นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ (รุ่น ๑ ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลายสมัย เป็นต้น โดยเฉพาะในการพัฒนาด้านการศึกษาของชุมชนตำบลเฉงอะ (ตะเคียนทองในปัจจุบัน)

  ด้านศาสนสถาน (วัตถุ)
เป็นที่ทราบกันดีกว่า หลวงพ่อเพชร เป็นพระมหาเถระที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ท่านได้รวบรวมจตุปัจจัยที่ญาติโยมผู้มีศรัทธาถวายท่าน จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญเงินจำนวน ๗๗ องค์ (รุ่น ๑ ) เพื่อให้ไว้เป็นที่ระลึกและการบูชาคุณของหลวงพ่อเพชรแก่คณะศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท ซึ่งในปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายากมากที่สุดเหรียญหนึ่งในวงการพระเครื่องของประเทศไทย เป็นที่รักและหวงแหนของผู้มีไว้ครอบครองเพื่อสักการะบูชา ซึ่งหลวงพ่อเพชรหัวใจพระคาถาที่แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม คือ น ฬ อ ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ในหลักล้านต้นๆ (เฉพาะรุ่น ๑ ) มีผู้ประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่เสมอ ซึ่งประสบเหตุถึงแก่ชีวิตแคล้วคลาดปลอดภัยอยู่เสมอมิได้ขาด เป็นที่กล่าวขวัญของมวลมหาชนในพลังอนุภาพแห่งพุทธคุณ หากใครมีไว้ครอบครอง นับว่าเป็นผู้มีบุญอย่างใหญ่หลวงยิ่งนัก
  ด้านศาสนพิธี
 หลวงพ่อเพชรได้วางรากฐานในเรื่องของศาสนพิธี ซึ่งเป็นพิธีกรรมของชาวพุทธ ได้ถือปฏิบัติสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่น พิธีกรรมในเดือนสิบ รับ-ส่ง ตายาย เป็นต้น ที่สำคัญคือ ท่านเป็นพระมหาเถระที่รับเอาภาระธุรกิจการคณะสงฆ์ของวัด ในฐานะเจ้าอาวาสและกิจการคณะสงฆ์ ในฐานะองค์พระอุปัชฌาย์และเจ้าคณะแขวงหรือเจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นใน
  ด้านการปกครอง
 คือ การใช้หลักสามัคคีธรรม และบทบัญญัติแห่งองค์พระธรรมวินัยของศาสนา คือ การข่ม บุคคลที่ทำผิด ยกย่องในบุคคลที่บำเพ็ญคุณงามความดี
  ด้านการศึกษา
 การส่งเสริมให้บุคคลได้รับการศึกษาเล่าเรียน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ในระยะแรก หลวงพ่อเพชรได้ทำหน้าที่ครู ผู้อบรมสั่งสอนผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ในเรื่องชนชั้น วรรณะ หรือสถานภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล
  ด้านการศึกษาสงเคราะห์
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ด้วยการส่งเสริมให้มีโรงเรียนประชาบาลบ้านเฉงอะ ซึ่งต่อมาคือ โรงเรียนวัดวชิรประดิษฐ์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นในชุมชน โดยขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบและในสมัยรัฐบาล นายพันเอกพหลพล พยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีและในปีเดียวกันนี้เอง รัฐบาลกลางของสยามประเทศประกาศให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นในส่วนกลาง โดยมีท่านศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ รัฐบุรุษอาวุโสคนแรกของสยามประเทศ
  ด้านเผยแผ่
 หลวงพ่อเพชรเป็นพระมหาเถระ ที่เน้นย้ำเอาจริงเอาจังในด้านเทศนาเผยแผ่ แนะนำ สั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ตั้งมั่นในคุณงามความดี จนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ไกล
  ด้านสาธารณูปการ
หลวงพ่อเพชรเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชนบ้านเฉงอะ และอำเภอกาญจนดิษฐ์ได้ชักนำชาวบ้านสร้างถาวรวัตถุเสนาสนะที่มั่นคงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป เช่น กุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ อุโบสถ เป็นต้น
  ด้านสาธารณสงเคราะห์
ท่านเป็นผู้นำชาวบ้าน ในการสร้างถนนหนทาง ขุดลอกคูคลอง โดยท่านจะต้องไปนั่งเป็นประธาน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินงานร่วมกับราษฎรและราชการ จนเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งหลาย ทั้งยังเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายในการช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หายไป เป็นหมอแผนโบราณ เป็นนักโหราศาสตร์ เป็นต้น เหล่านี้คือ ความเป็นที่พึ่งของจิตวิญญาณทั่วไปของประชาชน



ในช่วงบั้นปลายชีวิต ด้วยเหตุที่ท่านชราภาพลงและมีอาการอาพาธเป็นประจำ ต่อมา หลวงพ่อเพชร ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2480 สิริอายุได้ 85 พรรษา 42

คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดให้มีการบำเพ็ญ กุศลศพเป็นเวลา 3 วัน ก่อนเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลตามประเพณีและได้จัดให้มีการสวดพระพุทธมนต์ทุกวันธรรมสวนะ จากนั้นได้จัดให้มีการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2481 ณ วัดวชิรประ ดิษฐ์





ขอขอบพระคุณที่มา...ข่าวสดออนไลน์
                        ...http://www.teochewsurat.com/re_include/infor_view?infor_id=51


.

49
งดงามมากมายครับ...
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน

50
วัดเขาแก้วตั้งอยู่...บนเขาแก้ว อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฏร์ธานี

ชมภาพบรรยากาศ...ภายในวัด


ซุ้มประตูทางเข้าวัดเขาแก้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2518


พระอุโบสถ



บันไดทางขึ้นลง...สู่ยอดเขาแก้ว


ผู้พิทักษ์บนยอดเขาแก้ว



พระวิหารบนเขาแก้ว




พระพุทธบาทจำลอง



วิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด


วิหารพระพุทธรูปเก่าแก่


หอระฆัง


------------------------------------------------------------------------------------------



51
กฎแห่งกรรม / วิบากกรรมของแม่ชี...
« เมื่อ: 27 ก.ย. 2553, 01:40:07 »
...เป็นเรื่องวิบากกรรมของแม่ชีสมบุญ รัฐถาวร อายุ ๖๓ ปี อยู่ที่ ๙๗/๒ ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น


แม่ชีสมบุญเล่าเรื่องกฎแห่งกรรม หรือกรรมตามสนองตัวของแม่ชีเองให้ฟัง เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ และ อีกอย่างหนึ่งเพื่อเป็นการสารภาพบาปต่อเจ้ากรรมนายเวร เป็นการไถ่บาปที่ตนเองได้หลงไปกระทำกรรม ด้วยคิดไม่ถึงว่า บาปกรรมจะหนักหนามาจนทุกวันนี้

ในสมัยที่ยังไม่ได้ออกมาบวชเป็นชีนั้น ยังครองคู่อยู่กินฉันสามีภรรยา สามีรับราชการทหาร บ้านพักก็อยู่บ้าน พักของทางราชการ

ตอนนั้นอายุประมาณ ๔๐ กว่าปี ได้เลี้ยงสุนัขพลัดหลงเอาไว้ตัวหนึ่ง เพราะความเมตตาและสงสารมัน เป็นสุนัขตัวเมีย พอมันโตเป็นสาวก็ได้ผสมพันธุ์ ปีแรกนั้นก็ออกลูกมา ๗ ตัว พอปีต่อมาก็ออกลูกมาอีก ๙ ตัว พอลูกๆของมันโตขึ้นมา ก็ได้แจกจ่ายให้ผู้คนเขาเอาไปช่วยเลี้ยง โดยแถมเงินเป็นค่าเลี้ยงดูให้เขาอีกด้วย

ปีต่อมาแม่ก็คิดว่า มันคงจะผสมพันธุ์และออกลูกเป็นภาระอีกเป็นแน่ เลยปรึกษากันว่า เราควรไปตามหมอ สัตว์มาทำหมัน ให้กับสุนัขของเราเสียที

ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย แม่ก็ได้ไปตามหมอสัตว์มาเพื่อทำหมัน พอคุณหมอมาถึง ก็ได้จัดการฉีดยาสลบให้ กับสุนัขตัวนั้น สลบไปได้สักพัก หมอก็ได้ทำการผ่าท้อง

ในขณะที่คุณหมอผ่าท้องให้กับสุนัขตัวนั้นอยู่ แม่ก็ได้ไปยืนดูด้วย หมอก็ได้อธิบายว่า
"ดูนะหมอจะตัดท่อรังไข่ของมันออก หากตัดท่อรังไข่นี้แล้ว สุนัขตัวนี้ก็จะไม่สามารถมีลูกได้อีกเลย"

ความคิดของแม่ก็คิดว่า มันคงจะไม่บาปหรอก เพราะเราไม่ได้ฆ่ามันนี่

หลังจากที่หมอได้ตัดท่อรังไข่ของสุนัขตัวนั้นแล้ว ก็เย็บแผลจนเสร็จ แล้วรับเงินค่าทำหมัน จากนั้นคุณหมอ ก็ลาจากไป

แม่ได้มายืนดูสุนัขตัวนั้น สักพักใหญ่ๆมันถึงได้ฟื้น กระดุกกระดิกตัว สังเกตดูมันคงอยากจะรีบลุกขึ้นยืน เดิน เหมือนอย่างที่มันเคยทำมา แต่เพราะฤทธิ์ยาสลบ มันจึงลุกไม่ขึ้น แต่กระนั้นขาหลังของมันทั้งสองข้าง ก็ยังแข็งแรงอยู่ มันจึงพยายามเอาขาหลังตะกุยตะกายพื้นดิน แล้วดันไปข้างหน้า

พอขาหลังของมันดันไปข้างหน้า หัวของมันก็ไถตามพื้นดินไปทั่ว ทีนี้แม่ก็ยืนดูมัน สาเหตุที่ดูเพราะเมื่อคืนนี้ ฝนตก มีน้ำขังพื้นดินอยู่แถวๆนั้น กลัวจมูกของมันจะสำลักน้ำ ดูอยู่ไม่นานมันก็ฟื้น ลุกขึ้นเดินได้ทั้งสี่ขา พอ เห็นว่ามันปลอดภัยดีแล้ว แม่ก็เลิกดูมัน

ในขณะที่แม่ครองคู่อยู่กับสามีนั้น ไปจำศีลที่วัดทุกวันพระไม่เคยขาดเลย ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๒ แม่เลยขอ พ่อบ้านออกไปบวชชี สาเหตุเพราะจิตมันเชื่อเรื่องของบาปบุญ และน้อมใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ไปบวชกับหลวงพ่อสมศรี สิริปัญโณ ที่วัดเขาถ้ำพระ บ้านห้วยหินฝน อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ บวชอยู่ ๙ วันก็สึกออกมา (ขอพ่อบ้านไปบวชได้ ๙ วัน) แล้วก็กลับมาทำหน้าที่เป็นแม่บ้านอยู่กับครอบครัว เพราะมี ลูก ๓ คนตอนนั้นเขายังเล็กอยู่

ปีพ.ศ. ๒๕๓๖ ขอสามีไปบวชอีกครั้ง เพราะติดใจในรสของพระธรรม พ่อบ้านก็ไม่ให้ไปเพราะเหตุผลว่า ลูก ยังเล็กอยู่ และแม่ก็ขาหักเพราะตกบันไดบ้าน(หมายถึงแม่ของแม่ชี) ต้องรับแม่มาเลี้ยงดูด้วย

คราวต่อมาก็ขอผู้เป็นพ่อบ้านเพื่อจะไปบวชอีก ขอทีไรพ่อบ้านก็ไม่ให้ไปสักที เลยรบเร้าขออยู่เรื่อยๆ ครั้งหลัง สุด...พ่อบ้านคงจะคิดว่า หักใจไปไม่ได้แน่ เพราะแม่ก็ขาหัก ช่วยตัวเองไม่ได้ ลูกๆก็ยังเล็กอยู่ พ่อบ้านเลยทำ เสียงอ่อน ตอนนั้นก็คิดไปเองว่า พ่อบ้านเขาอนุญาตเราแล้ว ถ้าไปต่อหน้าเขาคงจะไม่อนุญาตแน่ หากเรา หลบหนีไปคนเดียว ก็ห่วงแม่ของแม่ชีที่ขาหัก เลยคิดวางแผนว่า จะต้องเอาแม่ไปอยู่ด้วย

จากนั้นก็ได้แอบไปติดต่อรถ ให้มาขนของหนี ตอนที่พ่อบ้านออกไปซื้อกับข้าวที่ตลาด เหมารถให้ไปส่งที่วัด ซำถ้ำยาว บ้านดงเย็น อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น บวชเป็นชีครั้งที่ ๒ ที่วัดแห่งนี้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๖

จนมาถึงปี พ.ศ.๒๕๔๐ กรรมและวิบากที่เคยทำเอาไว้ในอดีตก็ตามมาทัน วันหนึ่งไปขุดดินเพื่อปลูกต้นไม้ งัดก้อนหินก็ไม่ได้งัดแรงอะไร แต่มันรู้สึกเสียวแปล๊บตรงท้องน้อยใกล้ขาหนีบข้างขวา พอวันสองวันก็เกิดขา ขวาแข็งเดินก้าวขาไม่ได้ จนต้องเดินลากขา ต่อมาก็เริ่มเป็นตกขาว เพื่อนๆแนะนำให้ไปหาหมอ หมอเลยขอ ตรวจดูภายใน ตอนนั้นรู้สึกอายหมอมากเลย หมดค่ายาไป ๓,๐๐๐ บาท พอได้ยามากิน อาการเลยค่อยดี ขึ้นบ้าง

เลยคิดอยากจะไปแสวงหาครูอาจารย์ที่วัดกำแพง ฝั่งธนบุรี ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับแม่ชีพิมพา อุ้มปรีชา ประมาณไม่ถึงอาทิตย์ก็เกิดแพ้กลิ่นยากันยุง รู้สึกเวียนศีรษะอย่างแรง

พอดีคุณวันเพ็ญและสามีชื่อนิรันดร์ ผลตระกูล ซึ่งเป็นญาติธรรมบ้านอยู่ใกล้วัด ได้เชิญชวนให้ไปพักอยู่ที่ บ้าน แม่ชีเลยตกลงไปพัก ภายในหนึ่งอาทิตย์ที่ได้ย้ายมาอยู่ ก็เกิดมีอาการเวียนศีรษะมากจนลุกไม่ขึ้น ได้ แต่นอนตะแคงอยู่ข้างเดียว จะพลิกตัวก็ไม่ได้ จะหันหน้าหันหลังก็ไม่ได้ มันรู้สึกวิงเวียนหัว บ้านนี้หมุนไป หมดเลย คงเหมือนสุนัขที่โดนยาสลบ แล้วฟื้นขึ้นมาใหม่ๆ อย่างไรก็อย่างนั้น

เพื่อนบ้านข้างเคียงคือ คุณถาดทิพย์ ผูกศรี และเพื่อนๆของเขาหลายคน ต่างก็พากันมาดูอาการป่วยของ แม่ชี เขามียาอะไรก็เอามาให้แม่ชีกัน แต่อาการป่วยของแม่ชีก็ไม่ดีขึ้นมาเลย พวกเขาเลยถามแม่ชีว่า "จะเอา อย่างไร จะไปโรงพยาบาลศิริราชไหม"

ตอนนั้นแม่ชีก็คิดถึงแต่บ้าน อยากจะกลับมาป่วยอยู่ที่บ้าน ไม่อยากให้คนอื่นเขาเป็นภาระ เลยบอกให้โทร.มาหาน้องสะใภ้ และพ่อบ้านที่ขอนแก่น พวกเขาก็เลยบอกว่า ให้เหมารถตู้กลับมาขอนแก่น

คุณวันเพ็ญเลยออกไปเหมารถตู้มาให้ พอแม่ชีรู้ว่ารถมาจอดรอแล้ว ตอนนั้นแม่ชีนอนอยู่บนบ้านชั้น ๒ ก็ เตรียมตัวจะลุกขึ้นเพื่อลงมาหารถ แต่ก็ลุกไม่ขึ้น พวกคุณวันเพ็ญและคุณถาดทิพย์ ตลอดจนคุณนิรันดร์ ต่างก็พากันมาห้อมล้อม พอเห็นแม่ชีลุกไม่ขึ้นต่างก็จะมาอุ้มเอาแม่ชีลงไปที่รถ แต่แม่ชีก็ส่ายหัว ใจหนึ่งก็ อยากจะให้เขาช่วยเหมือนกัน แต่ลึกๆมันก็เกรงใจเขา

ตอนนั้นเวียนหัวจนลืมตาไม่ขึ้น เลยไถตัวไปเอาขาตะกายออกมาจากห้อง มาตามพื้นบ้านเหมือนสุนัขตัวนั้น ตอนที่มันโดนยาสลบแล้วฟื้นมาใหม่ๆ เอาขาตะกายดินดันไปข้างหน้า

แม่ชีนอนตะแคงเอาขายันพื้นบ้าน ไถตัวจนมาถึงบันไดบ้าน พวกเขาคงจะแปลกใจในการกระทำของแม่ชี ในคราวนั้น แม่ชีนี้อายแสนอาย แต่พอถึงบันไดบ้านแล้ว กลับลุกขึ้นยืนและเดินได้ ราวกับว่าแม่ชีไม่เคยเป็น อะไรมาก่อนเลย

พอแม่ชีเดินมาถึงรถตู้ ก็ล้มตัวลงนอน แล้วก็รู้สึก วิงเวียนศีรษะเหมือนเดิม จากนั้นรถตู้พากลับมาถึงขอน แก่น พวกญาติๆของแม่ชีเลยพาไปหาหมอ ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น รักษาเยียวยาอยู่หนึ่งคืน อาการก็ ค่อยยังชั่วขึ้น

ปัจจุบันนี้แม่ชีจำพรรษาอยู่ที่วัดมรรคสำราญ บ้านดอนย่านาง ต้องเที่ยวเข้าออกระหว่างวัดกับบ้านอยู่เสมอ เพราะหาสมุนไพรมาปรุงยารักษา เพื่อชดใช้โรคกรรมและวิบากที่เคยทำมาแต่กาลก่อน....



ขอขอบพระคุณที่่มา...เทพบุตร

52
กฎแห่งกรรม / พบ...นายยมบาล
« เมื่อ: 27 ก.ย. 2553, 01:17:09 »
ในปีนั้นในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ป่ากรุงชิงจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระธุดงค์ ชื่อหลวงพ่อธรรมงาม เล่าเรื่องให้ฟังว่า……


“ พระพุทธศาสนา เป็นบ่อเกิดแห่งมหาสมบัติสารพัดอย่าง ในไตรภพ แดนมนุษย์ เป็นสถานที่สถิตย์แห่งศาสนธรรมอันล้ำค่า"

ผู้ประสงค์สมบัติจากศาสนธรรมจึงไม่ควรปล่อยโอกาสที่มีอยู่ให้ผ้านพ้นไป จะเสียใจในภายหลัง เพราะเกิดมาเป็นมนุษย์ที่บริสุทธิ์เต็มภูมิอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี้ มิได้เป็นของหาได้อย่างง่ายดาย

ในทางธรรมท่านกล่าวไว้ว่า “ ความเป็นมนุษย์เป็นของหายาก “


ผู้ไม่มีภูมิควรแก่ความเป็นมนุษย์ แต่จะโผล่มาผุดมาเกิดเป็นมนุษย์เอาเลยนั้น ย่อมผิดวิสัย เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน แม้ฝืนมาเกิดก็เป็นทำนองสัตว์นรกตนหนึ่ง ที่ยังไม่พ้นโทษ แต่ขโมยเกิดเป็นมนุษย์ และมาบวชเป็นสามเณรในพุทธศาสนา พำนักอาศัยอยู่ในวัด

ในปีพรรษาที่พระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามได้ธุดงค์มาจำพรรษาในทางภาคใต้ โดยเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราชนิมนต์ลงมาเปิดสำนักพระ
กรรมฐานที่ถ้ำเขาเหล็ก ตำบลนบพิตำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช….


ในปีนั้น คืนวันหนึ่ง หลวงพ่อธรรมงาม ผู้ทรงธุดงควัตรและเป็นที่เคารพนับถือของชาวปักษ์ใต้ทุกชนชั้นเป็นอันมาก ได้นั่งสมาธินิมิตเห็นว่า มีนายยมบาลรูปร่างใหญ่และสูงเสมอกุฏิ ลักษณะท่าทางน่ากลัวมาก เข้ามาหาหลวงพ่อธรรมงามแล้วถามหาตัวโยมผู้ชายชื่อว่า นายสมาน ผู้มีกรรมเบาบางแล้วจวนจะพ้นโทษจากนรกภูมิ เธอได้รับความผ่อนผันจากการควบคุมเช่นเดียวกับนักโทษในเมืองมนุษย์ ที่จวนจะพ้นโทษได้รับการผ่อนผันพอประมาณฉะนั้น แต่พอได้โอกาสมีจังหวะดี ก็คิดเป็นขโมยสองชั้น กล่าวคือ เมื่อชาติก่อนเป็นมนุษย์เธอก็เคยขโมยเขาเก่งจนถึงต้องตกนรกเพราะกรรมที่ทำนั้น ครั้นพอไปอยู่ในนรก พอมีโอกาสจากการผ่อนผัน เธอก็ขโมยหนีจากนรกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ทราบว่าได้หลบมาบวชเป็นเณร อยู่ในเขตวัดถ้ำเขาเหล็กแห่งนี้ใช่ไหม และเณรสมานอยู่ที่นี่ มีหรือเปล่า ? …

ฝ่ายพระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามก็แปลกใจ และบอกด้วยความจริงว่า มีสามเณรชื่อดังกล่าวมาบวช และอยู่ในวัดแห่งนี้จริง แต่ท่านจะมาเที่ยวตามหาเธอไปทำไม เวลานี้สามเณรเธอกำลังบวชประพฤติศีลธรรมอยู่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ควรจะให้อภัยเธอบ้างมิได้หรือ

นายยมบาลบอกว่า “ไม่ได้ท่าน” จะต้องเอาตัวสามเณรกลับไปนรก เพราะยังไม่พ้นโทษ เธอต้องกลับไปเสวยกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่สามเณรสร้างไว้เสียก่อน เมื่อพ้นจากโทษนั้นแล้วจะมาบวชอีก หรือจะไปที่ไหนทางนรกมิได้สนใจเกี่ยวข้อง แต่เวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำตัวเธอกลับไปนรก

ทางฝ่ายพระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามก็พูดย้ำขอความผ่อนผันอีกว่า เวลานี้เณรก็กำลังบวชปฏิบัติบำเพ็ญด้วยความตั้งอกตั้งใจ ทั้งไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่า แต่ก่อนตนได้เคยทำอะไรไม่ดีไว้บ้างจึงน่าสงสารและเห็นใจอย่างยิ่ง ไม่อยากให้เธอต้องพลัดพรากจากเพศเณรอันเป็นเพศที่เย็นตาเย็นใจเลื่อมใสของมวลมนุษย์ผู้รู้จักบุญบาปอยู่บ้าง และเธอก็เป็นเด็กที่มีความเมตตาปรานี้เพราะก่อนหน้าที่เณรจะมาอยู่วัดนี้ เณรเคยอยู่ในวัดที่มีสมภารรูปหนึ่งอายุพรรษามากแล้ว ทราบว่าเป็นคนมาจากถิ่นอื่น เมื่อวัดนั้นว่างตำแหน่งเจ้าอาวาสลง ท่านสมภารรูปนั้นจึงมาอยู่รับตำแหน่งนั้น แล้วอยู่จำพรรษาในวัดนั้นเรื่อยมา แม้ว่าท่านจะไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมที่เข้าถึงธรรม และมิใช่ธรรมกถึกผู้ปราดเปรื่องในธรรมแต่ประการใดก็ตาม ก็ยังเป็นที่เคารถนับถือของผู้คนในถิ่นนั้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากว่าท่านเป็นคนพูดเก่ง สังคมเก่ง เข้ากันได้ดีกับคนทุกชั้น และประการสำคัญท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อรูปหนึ่งในถิ่นนครปฐมนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าตะกรุดและผ้ายันต์ของท่านมีชื่อเสียงในทางเมตตามหานิยม ! วัดของท่านน่าอยู่ มีกุฏิหลายหลังปลูกไว้เป็นระเบียบสวยงามทันสมัยลานวัดมีทรายขาวสะอาดตา กลางวันเย็นสบายด้วยร่มไม้ที่ปลูกไว้เป็นหย่อม ๆ ชวนนั่งเล่น

ในเช้าวันหนึ่ง วันนั้นไฟฟ้าดับ สามเณรสมานลูกศิษย์องค์น้อย อายุ ๑๒ ขวบ ของท่านต้องลงไปต้มน้ำที่โรงเตาข้างกุฏิ ขณะสมภารกำลังง่วนอยู่กับอะไรบนกุฏิชั้นสอง

“ อ้อ มาใหม่อีกตัวแล้ว ออกมาซิฉันจะต้มน้ำ “ เสียงใส ๆ ของสามเณรสมานนั้นฟังดูยังไร้เดียงสานัก ขณะเธอค่อย ๆ จับลูกแมวตัวหนึ่งออกมาจากเตา เพื่อจัดแจงก่อไฟต้มน้ำถวายพระอาจารย์

“แกยังไม่ได้กินข้าวละซิเช้านี้ แย่จังปลาทูหมดเสียแล้ว เพื่อนของแกตัวหนึ่งอยู่ข้างบนนั่นแน่ะ เดี๋ยวจะพาไปให้อยู่ด้วยกัน “ เธอพูดกับลูกแมวตัวนั้นราวกับว่ามันรู้เรื่อง ขณะมันคลอเคลียอยู่ใกล้ ๆ อย่างประจบ…

ในขณะที่สามเณรน้อยนั่งคอยน้ำเดือดอยู่หน้าเตา พลางลูบหัวลูบตัวมันเล่นด้วยความเมตตาปรานีนั้นเอง ได้มีก้อนดำ ๆ มากองอยู่กับพื้นซีเมนต์ใกล้ ๆ กับโรงเตา พร้อมกับเสียงหนึ่งที่จำได้ว่าเป็นเสียงของท่านสมภารดังไล่หลังลงมาด้วยว่า “ สัตว์ขี้ไม่เลือกที่ “

“ โธ่ อาจารย์ ลูกแมวผม “ สามเณรสมานร้องขึ้นอย่างตกใจในทันทีที่เหลือบไปเห็น พร้อมกับลุกถลาขึ้นไปยังลูกแมวตัวนั้น ดูเหมือนว่าเธอลืมกาน้ำร้อนบนเตาไฟ และลูกแมวตัวใหม่ไปชั่วขณะหนึ่ง เธอค่อย ๆอุ้มประคองมันขึ้นมาจากพื้นอย่างเบามือที่สุดด้วยเกรงว่ามือน้อย ๆ ของเธอจะทำให้มันเจ็บปวดมากไปกว่านั้น แมวมันชักกระตุกอยู่ในมือของเธอครู่เดียวก็แน่นิ่งไป

“ โธ่ “ เสียงของเณรเธอหลุดลอดออกมาเพียงคำเดียว แค่นั้น ขณะเธอหันไปมองหน้าต่างห้องของพระอาจารย์ด้วยสายตาที่งงงันและมีน้ำตาคลอเบ้า

ด้วยเหตุนี้รู้สึกว่ามันมีความหมายประจักษ์ชัดในวันนั้นเองว่า

“ อันความเมตตาปรานีนั้น มันมิได้เจริญงอกงามขึ้นตามวัยและสังขารของมนุษย์ที่นับวันยิ่งแก่หง่อม หากแต่มันจะกลับเหือดหายไปจากใจจนแทบไม่เหลือ เมื่อเรา ๆท่าน ๆ ไม่ใส่ใจในการเจริญเมตตาภาวนา “

ในเวลาต่อมา ณ วัดสำนักแห่งนี้ ซึ่งอยู่ตรงทางแยกเข้าป่าชัฎอันเป็นที่อยู่ของผีดิบและพวกเปรตที่หิวโหย เห็นผู้คนมากมายชุลมุนกันอยู่กับการเซ่นไหว้ “ เจ้าพ่อเจ้าแม่แห่งจอมปลวก “ โดยมีเจ้าอาวาสวัดพระสงฆ์เป็นผู้นำพิธี แต่ทำตามนิ้วชี้ของชาวบ้านผู้ศรัทธา ขณะสมภารเจ้าอาวาสกล่าวคำอาราธนาพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ให้เสด็จมาประทับในพิธี สามเณรน้อยร้องตะโกนออกไปว่า

“พระพุทธเจ้าไม่มาหรอกโว้ย ในพิธีบ้าบอเช่นนี้ “ แล้วเณรน้อยก็ต้องรีบวิ่งจีวรปลิวว่อนออกจากสำนักวัดแห่งนั้นทันทีที่วัตถุหลายอย่างปลิวว่อนเข้าหาเณร จากมือที่ชูสลอนนับร้อยนับพัน

แต่น่าประหลาดเหลือที่วัตถุเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่ไร้น้ำหนักไปในฉับพลัน เมื่อล่องลอยมาถูกเณรน้อยชิ้นแล้วชิ้นเล่าประดุจดังปุยนุ่น แต่ทว่ามีอยู่ชิ้นหนึ่งที่ไม่ยอมกลายเป็นปุยนุ่นเหมือนอย่างของคนอื่น คือ เศษอิฐหินจากมือสมภารเจ้าสำนักมันลอยละลิ่วมาโดนเอาหัวเณรสมานเสียบวมเป่ง….

…..เณรน้อยวิ่งหนีออกมาจนอ่อนกำลังล้มหลับลงที่หน้าวัดถ้ำเขาเหล็กแห่งนี้ ขณะลืมตาขึ้นมาในความมืด เณรสมานเผลอเอามือลูบศรีษะตรงที่โดนเศษอิฐของสมภารผู้มาจากถิ่นนครปฐมนั้น ก่อนจะลุกเข้ามาอยู่ในวัดแห่งนี้ในคืนวันนั้น แล้วท่านไม่เห็นใจเณรที่จะต้องกลับไปเป็นเพศสัตว์นรกทรมานเช่นนั้นอีก อาตมาขอบิณฑบาตเณรไว้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป กรรมที่ยังเหลือเล็กน้อยนั้น ก็ขอได้เป็นอโหสิกรรมไปเสีย อย่าต้องมาทำลายเพศและความดีของเณรให้เสียไปเลย ขอท่านจงเห็นใจและอนุญาตให้เณรได้มีโอกาสทรงเพศนี้ต่อไปจนสุดความสามารถแห่งศรัทธาของเธอ จะพอผ่อนผันให้ได้หรือไม่อย่างไร

ฝ่ายนายยมบาลก็พูดยืนคำว่า “ไม่ได้ ท่านธรรมงาม ! “ ไม่ว่าท่าน ไม่ว่าผม และไม่ว่าใคร ๆ จะขอร้องไม่ได้ทั้งนั้นเพราะเป็นเรื่องสุดวิสัย ขึ้นชื่อว่ากรรมแล้ว ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมไม่ดี ล้วนเป็นสิ่งที่มีอำนาจมาก เหนือการขอร้อง การบังคับและการวิงวอนใด ๆ ทั้งนั้น ถ้าเป็นการผ่อนผันได้บ้าง ตัวผมเองก็ไม่มาตามหาเณรให้ลำบากและเสียเวลา ผมยอมให้การผ่อนผันไปแล้ว แต่นี่มิใช่เรื่องของผมซึ่งพอพูดกันได้ หากเป็นเรื่องของกรรมซึ่งมิใช่ฐานะจะพอเป็นไปตามคำขอร้องของใคร ๆ แม้ผมมานี้ก็มาในนามของกรรมเณรเอง มิใช่ตัวผมเองเป็นผู้มา แต่เป็นตัวกรรมต่างหากเป็นผู้มา จึงไม่มีอคติแก่ผู้ใด ต้องเป็นไปตามกรรมเท่านั้น

พระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามเกิดสงสัยถามว่า “ ไม่ใช่ตัวผมอย่างไร อาตมาไม่เข้าใจเลย เพราะก็เห็นท่านเดินเข้ามาหาอาตมา และถามหาเณรสมานอยู่เดี๋ยวนี้อย่างสด ๆ ร้อน ๆ ถ้าไม่เป็นท่านแล้วจะเป็นที่ไหนกันอีก “

นายยมบาลพูดกับหลวงพ่อธรรมงามว่า “ เป็นผมจริงในร่างยมบาล แต่มิใช่ผมในรูปแห่งกรรมและอำนาจแห่งกรรม ทั้งสองนั้นเป็นเรื่องกรรมของเณร ไม่ใช่เรื่องของผมพอจะพูดขอความผ่อนผันกันได้ แม้เณรเองถ้าทราบว่าถูกตามหาตัว เธอก็จะเสียใจเอาอย่างมาก และอาจสลบหรือตายไปในขณะนั้นก็ได้ เธอเองก็ไม่ปรารถนา แต่ก็ได้ทำกรรมนั้นมาเสียแล้ว จึงสุดวิสัยที่จะแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากต้องยอมให้เป็นไปตามหลักกรรมอันเป็นหลักตายตัวเท่านั้น ไม่มีทางหลบหลีกเอาเลยท่าน เพราะคำว่ากรรมชั่วนี้ใครจะเป็นผู้ทำขึ้นก็ตาม ต้องเป็นไปในทำนองนี้ทั้งนั้น “

เมื่อต่างฝ่ายต่างร้องขอต่องรองกันไม่เกิดผลแล้ว พระธุดงค์หลวงพ่อธรรมงามจึงถามยมบาลว่า “ เณรสมานนี้ขโมยหนีมาจากนรกนานเท่าไรถึงได้ตามมา “

เขาบอกว่า “ มาได้ครู่เดียวเท่านั้นก็ตามมา ทำไมถึงได้ทันมาเกิดเป็นมนุษย์มนาและบวชเป็นเณรได้เร็วหนักหนา เวลาของเมืองมนุษย์นี้นับว่าเร็วเสียจริง ๆ แล้วเวลานี้อายุเณรได้เท่าไรแล้วท่านธรรมงาม “

หลวงพ่อธรรมงามตอบว่า “ ได้ ๑๓ ปีแล้ว “

เขาอุทานว่า “ โอ้โฮ ! ตายจริงน่าสงสารเณร กรรมนี้เหลือประมาณไม่ยอมลดหย่อนผ่อนผัน พอให้เณรได้ประพฤติพรหมจรรย์สืบพระศาสนาต่อไปบ้างเลย “ เขาพูดอย่างอ่อนใจ ประหนึ่งเป็นเชิงเห็นใจเณรที่ไม่รู้อะไรกับเรื่องนี้เลย ในขณะนั้นมัวแต่นอนหลับฝันเพลินไปตามประสาคนไม่รู้ แม้สิ่งที่ตนทำแล้วกลับมาเป็นภัยแก่ตนที่เรียกว่า กรรมตามทัน เวลาเขามาหาหลวงพ่อธรรมงามเป็นยามดึกสงัด และพูดเป็นเชิงสงสารหลวงพ่อผู้เป็นอาจารย์ ซึ่งเณรเคารพเลื่อมใสมากและกำลังจะหลุดมือจากอ้อมอกอันอบอุ่นไปในวันรุ่งขึ้นอยู่แล้ว ตามคำที่ยมบาลบอกกับท่านว่าราว ๓ ทุ่ม ของวันรุ่งขึ้น จะมารับสามเณรไป….

พอนายยมบาลลาจากไปแล้ว ท่านก็เริ่มรู้สึกตัวถอนออกจากสมาธิ ตื่นขึ้น เกิดความสะดุ้งตกใจ และเสียใจเป็นกำลังแทบสลบไปในเวลานั้น เพราะท่านหลวงพ่อจำนิมิตฝันได้แม่นยำมากตลอดมา ทั้งท่านหลวงพ่อเองก็เป็นพระพุทธสาวก สิ้นสุดในสาวกภูมิชาตินี้ ท่านก็เคยปรารภความมุ่งมั่นต่ออรหัตภูมิของตนให้ใครฟังอย่างออกหน้าออกตา ไม่มีความสะทกสะท้านเลย

พอรุ่งขึ้นก็ให้เณรไปนิมนต์พระที่ท่านสนิทและไว้ใจมาหาและเล่ากระซิบเรื่องนิมิตให้ฟังพร้อมกับกำชับไม่ให้พูดให้เณรสมานรู้และไม่ให้ใคร ๆ รู้ด้วย แม้นิมิตนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตามเพราะกลัวจะเป็นภัยแก่เณรเอง และเป็นเรื่องอื้อฉาวไปในที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม หลวงพ่อธรรมงามกับพระที่ทราบเรื่องเณรแล้วต่างก็รู้กันเป็นการภายใน และรอดูเหตุการณ์ตามวันเวลาที่นายยมบาลบอกไว้…

นับแต่เช้าถึงเย็นวันนั้น หลวงพ่อมีความกังวลวุ่นวายอยู่กับนิมิต และเณรที่เป็นต้นเหตุตลอดเวลา จนไม่เป็นอันขบฉันและพักผ่อนร่างกายและจิตใจ ตลอดการงานและการปฏิสันถารต้อนรับประชาชน พระเณรที่มาพบปะเยี่ยมเยียนก็ระงับไปทั้งวันเก็บตัวอยู่ลำพังภายในห้องกุฏิ และพิจารณาใคร่ครวญเฉพาะเรื่องนิมิตอย่างเดียว ด้วยความประหลาดใจ และสงสารเณรเป็นล้นพ้นที่สุดวิสัยจะช่วยได้ เพราะนิมิตประเภทที่แปลกประหลาดดังที่ปรากฏคืนก่อนนี้ไม่เคยมีมาก่อน แม้ผู้ที่ปรากฏให้เป็นเรื่องในนิมิตก็เป็นบุคคลที่แปลกเหลือที่จะประมาณถูก ทั้งรูปร่างก็ใหญ่โตกว่ามนุษย์ธรรมดามาก ทั้งความสูงก็สูงเสมอกุฏิตึกสองชั้นที่หลวงพ่อพักอยู่ ซึ่งก็นับว่าเกินประมาณที่มนุษย์ในโลกจะเป็นได้ ลักษณะท่าทางก็น่ากลัวมาก คำพูดที่เขาพูดกับหลวงพ่อผู้ทรงศีลและธุดงควัตร มีอำนาจทางธรรมภายในใจก็เป็นคำพูดที่เฉียบขาดบาดใจ แม้จะเป็นคำพูดกันอย่างสามัญธรรมดา มิได้เป็นคำกระแทกแดกดัน ก็ยังเป็นคำพูดที่เต็มไปด้วยอำนาจราชศักดิ์อยู่นั่นเอง เป็นที่น่ากลัวและเกรงหาผู้เสมอมิได้ในแดนมนุษย์

ในวันนั้นทั้งวัน หลวงพ่อธรรมงามภาวนาและใคร่ครวญกับนิมิตอย่างไม่ยอมขยับเขยื้อนไปมาในทิศทางใด มีความสนใจและเศร้าใจในเหตุการณ์เป็นอย่างมาก ราวกับได้นั่งดูเปลวไฟนรกกำลังเผาผลาญสัตว์โลกอยู่ในขณะนั้นอย่างน่าใจหาย ทั้งรอเวลาที่เหตุการณ์นั้นจะมาถึงตามกำหนดเวลาที่ทราบไว้ในนิมิตฝันนั้น กรรมช่างรู้ซอกแซกไปจนกระทั่งเวลานาทีของนาฬิกาในเมืองมนุษย์ตีบอกเวลาอะไรเช่นนั้น

พอเวลา ๓ ทุ่มเศษนิดหน่อย ก็เห็นพระองค์ที่ทราบเหตุการณ์ด้วยกันวิ่งตะลีตะลานขึ้นมากุฏิที่ท่านหลวงพ่อธรรมงามพัก พร้อมกับเรียนขึ้นด้วยเสียงสั่นเครือแทบจะไม่เป็นเสียงมนุษย์ว่า “ เณรสมานเจ็บท้องถ่ายออกมาเป็นเลือดสด ๆ มีอุจจาระติดออกมาเล็กน้อย และเริ่มไปส้วมถ่ายได้สองครั้งแล้ว กระผมก็รีบมานี่อาการเป็นที่น่าวิตกมาก และการถ่ายนั้นห่างระยะกันเพียง ๔ - ๕ นาทีเท่านั้น จึงน่าวิตกมาก “

 
หลวงพ่อธรรมงามถามว่า “ เณรเริ่มเป็นเวลาเท่าไร “

“ เริ่มเวลรา ๓ ทุ่ม ตามเวลาที่นิมิตบอกไว้ไม่มีผิดเลย “ พระตอบหลวงพ่อให้ทราบ

พอจบประโยคคำพูดทั้งหลวงพ่อธรรมงามและพระที่มาตามก็รีบวิ่งลงไปที่กุฏิเณรสมานและถามอาการ เณรก็ได้เล่าถวายว่าเห็นจะไม่พ้นคืนนี้แน่ เพราะความรู้สึกที่เคยมีต่อโลกปรากฏว่า เริ่มขาดความสืบต่อกันหมดแล้ว ความหวังที่จะได้อยู่ในโลกอีกต่อไปไม่มีความรู้สึกเลย มีความจากไปเท่านั้นที่เต็มอยู่ในธาตุขันธ์และจิตใจ

ท่านหลวงพ่อก็เตือนเณรเพื่อมีสติในเวลาดับขันธ์ด้วยอุบายที่เข้าใจไว้ก่อนแล้วว่าจะไปไม่รอดดังนิมิตบอก อุบายที่หลวงพ่อธรรมงามสอนเณรก็พอเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปอยู่อย่างเร่งรีบ รวมประหนึ่งแทบจะหายใจไม่ทัน ต้องไปถ่ายส้วมบ่อยที่ไปด้วยเลือดสด ๆ ทั้งนั้น การเจ็บปั่นป่วนอยู่ภายในนั้นเหมือนมีเครื่องจักรเครื่องยนต์ตั้งโรงงาน และทำงานอยู่ภายในด้วยเครื่องจักรชนิดต่าง ๆ ที่หมุนไม่มีการหยุดยั้งราวกับว่าอวัยวะภายในจะขาดออกมาเป็นจุณมหาจุณต่อหน้าต่อตา

ฉะนั้น หลวงพ่อธรรมงามก็รีบให้โอวาทอย่างกะทัดรัดถือเอาเฉพาะใจความเท่าที่จะได้มีว่า…..โรคชนิดที่เณรเป็นนี้ หลวงพ่อเองก้ไม่เคยพบเห็นมาก่อน คงจะเป็นด้วยโรคกรรมตามทันเสียแล้วกระมัง ที่อยู่ ๆ ก็เป็นขึ้นมาอย่างปุปปัปกะทันหันอย่างนี้ การถ่ายก็กลายเป็นเลือดสด ๆ ไหลออกมาอย่างรีบร้อน ไม่มีหยูกยา อะไรหยุดยั้งได้เลย ซึ่งทำให้แปลกอกแปลกใจและน่าหวั่นวิตกมากเพื่อความไม่ประมาทและอย่าให้ได้พลาดท่าเสียที เมื่อถึงเวลาจำเป็นจริง ๆ เณรจงตั้งสติให้ดีและทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าองค์ผู้ประเสริฐสุดเข้ามาไว้ที่ดวงใจโดยบริกรรมว่า พุทโธ ๆ อย่าให้เผลอ เผื่อถึงเวลาจากไปก็ขอให้ได้ตายกับท่านที่เป็นองค์สรณะของใจ และยึดไว้จนสิ้นลมจะช่วยเณรได้ อย่างอื่นหลวงพ่อมองไม่เห็น นอกจากพระธรรมดวงเอกนี้เท่านั้น แม้จิตเณรจะหมดความหวัง จงพึ่ง “ พุทโธ “ และให้ตายกับ “ พุทโธ “ นี้เท่านั้น เณรอย่าได้เสียใจ เพราะการตายนี้โลกทั้งโลกจะต้องตายเหมือนเณรนี้ทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงก่อนหรือหลังเท่านั้น แม้หลวงพ่อเองผู้กำลังบอกทางแก่เณรอยู่ขณะนี้ ก็ต้องตายเช่นเดียวกับเณร และหลวงพ่อก็กำลังเตรียมตัวก่อนตายด้วยความไม่ประมาท ทั้งทำสมาธิภาวนาและความดีต่าง ๆ ที่สามารถทำได้อยู่แล้ว

เณรประนมมือรับโอวาทของท่านหลวงพ่อด้วยท่าทางอันสงบยิ้มแย้ม และบริกรรมภาวนาด้วยท่าทางองอาจกล้าหาญไม่สะทกสะท้านต่อโรคและมรณภัย ซึ่งเป็นที่น่าสงสารเหลือประมาณอย่างพูดไม่ออกบอกไม่ถูก ถึงกับน้ำตาหลวงพ่อธรรมงามและพระที่รู้เหตุการณ์ด้วยร่วงพรูลงในขณะนั้น ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับขณะที่เณรสิ้นลมด้วยท่าอันสงบตลอดมา นับแต่ขณะที่ได้รับโอวาทจากหลวงพ่อเป็นต้นมาในเวลาประมาณ ๔ ทุ่มพอดี ธรรมสังเวชได้เกิดแก่หลวงพ่อธรรมงามและพระเณร ตลอดประชาชนที่ไปเยี่ยมอาการของเณร สุดวิสัยที่จะอดกลั้นไว้ได้ในเวลานั้น เพราะความสงสารเณรสุดจะกล่าวออกมาได้

เฉพาะหลวงพ่อธรรมงาม เกิดความสลดใจต่อกรรมซึ่งเป็นสิ่งลึกลับเหลือวิสัยที่คนธรรมดาสามัญจะทราบได้ แม้จะเป็นทางนิมิตฝัน แต่ก็ช่างตรงตามคำบอกและเวลาอะไรเช่นนั้น ทั้งที่เคยเชื่อกรรมอย่างฝังใจมาก่อนอยู่แล้ว ยิ่งมาเห็นเรื่องเณรเป็นประจักษ์พยานก็ยิ่งทำให้ซึ้งต่อกรรมที่เกี่ยวพันต่อชีวิตจิตใจของมวลมนุษย์ว่า เป็นเหมือนผักปลาเครื่องสังเวยต่อกรรม ไม่มีทางหลีกเลี่ยงและไม่มีสิ่งใดในตัวมนุษย์ปุถุชนจะฉลาดรู้ และแผลงฤทธิ์ว่า ตัวมีอำนาจเหนือกรรมผู้ครองไตรภพแต่สิ่งเดียว

หลวงพ่อได้ยึดเหตุการณ์ที่ประสบนั้นเป็นเทวทูตหรือธรรมทูตเครื่องเตือนสติอันยอดเยี่ยมประจำใจตลอดมา ชีวิตร่างกายจิตใจทั้งมวลอันเป็นสมบัติประจำองค์ของหลวงพ่อธรรมงามได้อุทิศต่อความเชื่อกรรมโดยสิ้นเชิง ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้เพื่อการหลบหลีกปลีกตัวแต่อย่างใด แต่เป็นความเชื่อและมั่นใจอย่างมั่นคงว่า ถึงอย่างไรก็ขอให้ได้บำเพ็ญบุญกุศลความดีอย่างพอใจเสียก่อน ก่อนที่ยมบาลหรือพระยากรรมเจ้ากรรมนายเวรจะมาเอาตัวไป จะไม่ต้องเสียใจภายหลังว่าเรายังขาดอะไรบ้าง บรรดาความดีที่ควรทำในชีวิตที่ลมหายใจยังมีอยู่ เผื่อเวลาสิ้นลมจะได้สิ้นเรื่องหมดกังวลไปพร้อม ๆ กัน

เท่าที่ชีวิตได้รับความผ่อนผันจากเหตุการณ์ที่น่าสลดสังเวชใจเหลือประมาณมา และได้มีโอกาสบำเพ็ญหพรหมจรรย์ตามหน้าที่ของนักบวชมาถึงวันนี้ นับว่าเป็นผู้มีบุญวาสนาพอจะอวดตัวเองได้ว่า มิใช่ผู้ขโมยกรรมอันลามกที่ตนสร้างไว้มาเกิดโดยไม่ยอมรับโทษให้สิ้นกรรมก่อน แต่เป็นผู้มีกรรมพามา พาอยู่พาไป เหมือนโลกที่มีกรรมทั่ว ๆ ไป นี่เป็นคำรำพังรำพันของหลวงพ่อธรรมงามที่ได้รับจากเหตุการณ์ของเณร แล้วนำมาพร่ำสอนตน ซึ่งเป็นอุบายที่น่าจับใจไพเราะอย่างยิ่ง ยากจะได้พบบุคคล และอุบายทำนองนี้ แม้ผู้เล่าเองก็อดจะวาดภาพไปตามด้วยความสลดสังเวชมิได้ และยังรู้สึกประทับใจตลอดมาทั้ง ๆ ที่เชื่อกรรมอยู่แล้วตามศรัทธาที่มี.




ขอขอบพระคุณที่มา... http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=65

53
ธรรมะ / การเวียนว่ายตายเกิด...
« เมื่อ: 27 ก.ย. 2553, 12:39:19 »
หลักกรรมกับสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หลักกรรมจะดำรงอยู่ไม่ได้หรือถ้าได้ก็ไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีเรื่องสังสารวัฏ เพราะชีวิตเดียวสั้นเกินไป ไม่พอพิสูจน์กรรมให้หมดสิ้นได้ มีปัญหาหลายอย่างที่น่าสงสัย เช่น ทำไมคนดีบางคนจึงมีความเป็นอยู่อย่างต้อยต่ำลำบาก สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ ร่างกายอ่อนแอ ส่วนคนที่ใคร ๆ เห็นว่าชั่วบางคนกลับมีความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญ มีร่างกายแข็งแรง เราไม่อาจคลายความสงสัยได้ ถ้าพิจารณาชีวิตกันเพียงชาติเดียว หลักกรรมและการเกิดใหม่จะบอกเราว่า คนที่เราเห็นว่าชั่วนั้น เขาย่อมต้องเคยทำกรรมดีมาบ้างในอดีต และคนที่เราเห็นว่าดีอยู่ในเวลานี้ ย่อมต้องเคยทำกรรมชั่วมาบ้างเหมือนกัน กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว ตามอิทธิพลของมัน เที่ยงตรงที่สุดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

อนึ่ง หลักทางพระพุทธศาสนา (ตามปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) มีอยู่ว่า ...ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่เขาย่อมต้องทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง กรรมดีย่อมมีวิบาก (ผล) ดี กรรมชั่วมีวิบากชั่ว วิบากดีก่อให้เกิดสุข วิบากชั่วก่อให้เกิดทุกข์ สุขทุกข์เหล่านั้นย่อมมีชาติ คือความเกิดเป็นที่รองรับ ปราศจากความเกิดเสียแล้ว ที่รองรับสุขทุกข์ย่อมไม่มี กรรมก็เป็นหมันไม่มีผลอีกต่อไป พูดอย่างสั้นว่า ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่ เขาย่อมเกิดอีกตราบนั้น บุคคลที่ยังพอใจอยู่ในกาม คือยังไม่อิ่มในกาม ยังมีความกระหายในกาม ใจยังแส่หากาม ย่อมเกิดอีกในกามภพ เพื่อเสพกามตามความปรารถนาของดวงจิต ที่มีกามกิเลสห่อหุ้ม พัวพัน คลุกเคล้า อยู่ บุคคลที่หน่ายกามแล้ว เลิก ละ กามแล้ว แต่จิตยังเอิบอิ่มอยู่ในฌานสมาบัติเบื้องต้น ๔ ขั้น ที่ท่านเรียกว่ารูปฌาน เขาย่อมเกิดอีกในรูปภพ เพื่อเสพสุขอันเกี่ยวกับฌานในภพนั้น ท่านผู้พอใจในความสุขอันประณีตกว่านั้น ที่เรียกว่าความสุขในอรูปฌาน ย่อมเกิดอีกในอรูปภพ ผู้เบื่อหน่ายต่อความสุขอันยังเจืออยู่ด้วยกิเลสดังกล่าวมาแล้ว ละกิเลสได้หมด ไม่มีกิเลสเหลือ ก็เข้าถึงนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อีกต่อไป เป็นผู้พ้นจากสภาพที่จะเรียกได้ว่า เป็นอะไร เป็นอย่างไร พ้นจากสุขทุกข์ทั้งปวง ภพคือที่ถือกำเนิดของสัตว์จึงมี ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ พ้นจากนี้แล้วไม่เรียกว่าภพ

ในภวสูตร พระอานนท์เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ... ภพมีได้เพราะเหตุใด? พระผู้มีพระภาคตรัสถามย้อนว่า ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับกามจักไม่มีแล้ว กามภพจักมีได้หรือไม่? ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับรูปธาตุ (รูปฌาน) หรือที่เกี่ยวกับอรูปธาตุ (อรูปฌาน) จักไม่มีแล้ว รูปภพ อรูปภพ จักมีหรือไม่? พระอานนท์ทูลตอบว่า มีไม่ได้เลย

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เพราะเหตุนี้แหละอานนท์ (ในการเกิดใหม่นั้น) กรรมจึงเป็นเสมือนเนื้อนา วิญญาณเสมือนพืช ตัณหาเป็นเสมือนยางเหนียวในพืช (กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญานํ พีชํ ตณฺหา สิเนโห) ดูก่อนอานนท์ ความตั้งใจ ความจงใจ (เจตนา) ความปรารถนาของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม มีตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดได้ตั้งลงแล้วในธาตุอันเลว (กามธาตุ) ธาตุปานกลาง (รูปธาตุ) และธาตุประณีต (อรูปธาตุ) เมื่อเป็นดังนี้ การเกิดในภพใหม่ก็มีขึ้นได้อีก.....(อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร)

                 

ตามพระพุทธภาษิตนี้ ชี้ชัดทีเดียวว่า การเกิดใหม่ของสัตว์ ย่อมต้องอาศัยกรรม กิเลส (ตัณหา) และวิญญาณ มีความสัมพันธ์กันเหมือนเนื้อนาหรือดิน พืช และยางเหนียวในพืช อันทำให้พืชมีคุณสมบัติในการเกิดขึ้นใหม่ได้อีก เมื่อมีสภาวะแวดล้อมเหมาะสม พืชที่ถูกคั่วให้แห้ง หรือเอาเหล็กแหลมเจาะทำลายเม็ดในเสียแล้ว ย่อมไม่อาจเพาะหรือปลูกให้ขึ้นได้อีก ไม่ว่าสภาวะแวดล้อม เช่นดิน น้ำ ปุ๋ย จะดีสักเพียงไร ฉันใด วิญญาณที่ไม่มียางเหนียวคือตัณหา หรือกิเลสห่อหุ้มผูกพันอยู่ ก็ย่อมไม่ต้องเกิดอีก ไม่ควรเพื่อการเกิดใหม่ ฉันนั้น ตามนัยนี้ แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณที่ยังมีกิเลสและกรรม ยังมีเจตนา มีความปรารถนาในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ สัตว์จะไปเกิดในภพใดก็สุดแล้วแต่กิเลสและกรรมของเขาที่เกี่ยวกับภพนั้น เหมือนบุคคลฝึกสิ่งใด พอใจกระทำสิ่งใด ย่อมได้รับผลของสิ่งนั้น

การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดลง ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นได้พัฒนาจิตจนถึงที่สุด ละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง สิ้นกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดอีก เรื่องกิเลส กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและอย่างจำเป็น คือแยกกันไม่ได้ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฏ จัดเป็นหลักคำสอนสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ดังพรรณนามาดังนี้ ....




ขอขอบพระคุณที่มา...จากหนังสือหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด.....อาจารย์วศิน อินทสระ)

54
ธรรมะ / เราอย่าดูจิตคนอื่น...
« เมื่อ: 20 ก.ย. 2553, 09:07:59 »
เราอย่าดูจิตคนอื่น..................
ให้ดูจิตของเราที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ในความคิดความปรุงความสำคัญมั่นหมายนี้
มันเคยเบื่ออะไรบ้างมีใหม.....ไม่เคยมี
คิดปรุงวันยังค่ำ......เพลินคิดวันยังค่ำ
ไม่เคยเบื่อความคิดความปรุงของตนเลย
สำคัญมั่นหมายอันใดกับอารมณ์ใดก็ตาม
ขึ้นชื่อว่าเป็นกิเลสแล้ว
มันพออกพอใจหมุนติ้วกันอยู่ทั้งวันทั้งคืน
เพราะฉะนั้นการเกิดการตายจึงไม่มีคำว่า...แก่ คำว่า...ชรา...คร่ำคร่า
จะต้องมีเกิดมีตายไปเรื่อยอย่างนี้
เพราะธรรมชาติกิเลสอันนี้ไม่เคยมีคำว่า..ชรา..คร่ำคร่าลงไป
แม้กฏ อนิจฺจํ ของธรรมท่านว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา
สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงไม่แน่นอน ถือเป็นตัวของตัวไม่ได้
แต่เรื่องของกิเลสจะแปร...ก็แปรไปเพื่อกิเลส
เป็นทุกข์ก็เพราะ...กิเลสเป็นผู้บีบให้เป็นทุกข์
อนตฺตา ก็กิเลสเป็นผู้เสกสรรปั้นยอว่าเรา
ว่าของเราเอาเสียอย่างดื้อ ๆ ด้าน ๆ ที่ให้เราได้เชื่อได้เห็นอยู่
ทั้ง ๆ ที่ธรรมพระพุทธเจ้าประกาศกังวานอยู่นั้นแล
นี่ในเวลาที่จิตของเรายังไม่สามารถ...มันเป็นได้อย่างนี้ ดูหัวใจเราก็รู้


ขอขอบพระคุณที่มา....ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาองค์หลวงตาพระมหาบัว “จิตที่อยู่ในวงล้อมของกิเลส”
 เทศน์เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒


55


พ่อทิดพรหมมา เป็นคนหลวงพระบาง ได้อพยพพาลูกหลานมาตั้งหลักแหล่งอยู่แม่แตงแม่งัด ญาติพี่น้องอีกหมู่หนึ่งแยกไปอยู่ทางเชียงราย

เฒ่าทาเป็นญาติของพ่อทิดพรหมมานี้ล่ะ ที่มาเล่าเรื่องมังกรขึ้นมาอยู่จำศีล บนตระพังน้ำแม่ทาแล้วพวกชาวบ้าน พรานล่าเนื้อ ๑๖ คน ปืน ๑๖ กระบอก ยิงพร้อมกัน มังกรตัวนั้นก็ตายเมื่อตายแล้วก็เอาเนื้อมากิน

เฒ่าทาเล่าให้ฟังว่า อยู่บ้านแม่ทา น้ำแม่ทา อยู่ในช่วงเขตพรรษา น้ำมากน้ำหลาก พวกพรานเนื้อพรานปืนก็เป็นคนบ้านแม่ทา รวมทั้งหมดไปหาล่าเนื้อด้วยกัน ๑๖ คน ออกไปแต่เช้า แต่วันนั้นทั้งวัน สัตว์ป่าจะมาผ่านหน้าผ่านปลายกระบอกปืนก็ไม่มีสักตัว นกหนูปูปีกก็ไม่มีมา ให้ได้ยิงเลยตลอดวัน จนบ่ายแก่ใกล้ค่ำมืดก็ต่าวหน้ากลับคืนบ้าน พากันเลาะริมแม่น้ำ พอลงมาจนใกล้ปากแม่น้ำที่จะตกลงแม่โขง หวังว่าจะได้ดักยิงสัตว์ป่าลงมากินน้ำตอนค่ำ แต่ก็ไม่ได้เห็นสัตว์ป่าตัวน้อยใหญ่ใดๆ เลย ก็เป็นที่น่าแปลกใจ อัศจรรย์อยู่ เลาะริมน้ำลงมาเรื่อย มาเห็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง นอนขดพาดลำตัวไปตามตระฝั่งน้ำ ลำตัวยาวเหมือนงู แต่มีสันหลังเป็นทอยจนสุด เกล็ดเขียวงามดังจุดลายของนกยูง มี ๔ ขา เล็บเหมือนกับเล็บนกเล็บเหยี่ยว เขาออกเหมือนกวางผู้

“ตัวอะไรนั่น?”






“อะไรก็อะไรเต๊อะ คงเป็นปลาแม่น้ำของขึ้นมาผิงแดดอ่อนแลง เอ้า! ทุกคน ให้เตรียมปืน” พวกนายพราน ว่ากัน........

เมื่อทุกคนเตรียมปืนพร้อมแล้ว ผู้เป็นหัวหน้าก็ให้สัญญาณว่ายิง  แล้วนับ หนึ่ง สอง สาม ลูกสมุนก็กดดีดนกปืน พร้อมกันเสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหว ได้ยินไปถึงหมู่บ้าน สัตว์ประหลาดตัวนั้นก็ตายสนิท ไม่มีการขดการดิ้น ตายยาวเหยียด คนพราน ๑๖ คนนั้น ช่วยกันลาก สัตว์ประหลาดงูใหญ่ ปลาน้ำตัวนั้นไม่ยอมเคลื่อนตัวเลย ก็เลยตกลงกันทำครัวชำแหละ กันคาที่คาศพอย่างนั้น หาฟืนไม้แห้งมาเผาลนเกล็ด ขอดเกล็ดออกแล้วแล่เอาเนื้อ ตัดไม้ไผ่มาจักเป็นเส้นตอก แล้วร้อยเอาเนื้อเป็นชิ้นๆ ได้หลายพวงพูดเนื้อ คน ๑๖ คน ได้หาบเนื้อมังกรตัวนั้น คนละหาบหนักเต็มแรง แต่นั่นก็ยังเอาไม่หมด ข้างหางสุดก็เหลือ แต่ขาหน้าไปทางหัวก็ยังเหลืออยู่ เนื้อแดงงาม ไม่คาว เส้นเนื้อละเอียด เลือดสีแดงกับเขียวจางๆ เกล็ดถูกไฟเผาแล้วขาวเผือดคล้ายเกล็ดปลา


พวกผู้หญิงลูกเล็กเด็กน้อย ลูกบ้านพอได้ยินเสียงปืนก็เตรียมข้าวคั่ว เกลือ พริก เครื่องปรุงรสต่างๆ เพราะเป็นที่รู้อยู่แล้วว่า เมื่อได้ยินเสียงปืนแบบนี้ต้องได้เนื้อตัวใหญ่แน่นอน

คน ๑๖ คน แบกปืนหาบเนื้อเซซัดเซซ้ายกลับเข้าบ้าน คนในหมู่บ้านเรียกมาหมด ใครมีเหล้าไห เหล้าสาโทก็เอามากินแกล้มกับเนื้อปลาน้ำตัวยาวแปลก ทั้งปิ้ง ทั้งย่าง ทั้งต้ม ทั้งแกง ก่อไฟกองใหญ่กลางหมู่บ้านแล้วก็กินกัน สนุกสนาน แต่หัวค่ำจนดึกก็ไม่เลิก

เฒ่าทา นี้เคยบวชอยู่ด้วยกับพ่อทิดพรหมมาเป็นญาติพี่น้องกัน ลูกหลานลูกบ้านก็มาเรียกไปกินด้วย คนเฒ่าไปถามแล้วก็รู้ว่าความหายนะ จะมาถึงในวันนี้แน่นอน เพราะเมื่อถามถึงลักษณะแล้ว ก็รู้ว่าเป็นมังกรเจ้านายของนาคน้ำทั้งหลาย คงขึ้นมาจำศีลตลอดฤดูพรรษา เฒ่าทาไม่ยอมกิน กลับไปเรือน พิจารณาตามลำดับเรื่องราวในชาดกแล้วเทียบเคียงกับเรื่องเล่าในทำนองคล้ายกับเรื่องนี้

คนเฒ่าก็ไหว้พระสวดมนต์แล้ว เอาสะหนะที่นอนพับเข้าด้วยกัน เอาเชือกมัดไว้ มีของมีค่าอันใดก็เอาใส่ไว้ มัดปากให้แน่น แล้วมัดติดกับเอวไว้ คนพวกนั้นทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ลูกเล็กเด็กน้อย คนเฒ่าก็มี ที่กินเนื้อนั้นก็เมาทั้งเหล้า เมาทั้งเนื้อ นอนหลับก็มี ฟุบเมาแล้วก็มี คนกินน้อยก็ยังไม่เมา พูดคุยกัน เอะอะโหวกเหวกอยู่ สนุกสนานของเขาไป

ดึกเที่ยงคืนฟ้าฮ้องเสียงดังเสียงใหญ่ แต่ทางปลายน้ำ ท้องฟ้ามืดดับ ฝนฟ้าคะนองสนั่น พายุลมหัวกุดพัดมาแต่ปลายน้ำอึงคะนึงอยู่

ฝ่ายคนเฒ่าพ่อทา ก็เตรียมตัวอยู่แล้วว่าต้องมีเหตุมีลางแน่นอน สักพักฝนตกกระหน่ำ พร้อมลูกเห็บตกลงแต่ฟ้า น้ำหลากมากไหลทะลุลำห้วยลำน้ำลงมาถึดๆ คนเฒ่าก็ขึ้นนั่งสะหนะยัดงิ้วเตรียมตัวอยู่ คนเฒ่าว่าได้ยินแต่เสียงร้องครั้งสุดท้ายของพวกคนนายพราน ลูกเมีย ผู้หญิง ผู้ชายเหล่านั้น บ้านเรือน ข้าวของใดๆ สัตว์เลี้ยง ไหลไปตามน้ำหมด บ้านเรือนก็ไปทั้งหลัง หายนะไปภายในไม่ถึงชั่วโมง

คนเฒ่านั่งสะหนะที่นอน แล้วก็ลอยล่องอยู่เหนือน้ำได้ เหมือนกับมีสิ่งอันใดอันหนึ่งช่วยชูอยู่ น้ำก็พัดให้ไปติดต้นไม้สักขนาดลำขา คนเฒ่าก็เกาะกะพับขึ้นต้นไม้สักต้นนั้นแล้วขึ้นไปถึงคาคบไม้สักต้นใหญ่ นั่งตื่นตระหนกตกใจอาลัยลูกหลานอยู่ตลอดคืน จนฟ้าแจ้งแดงใสแล้วก็ลงมาสำรวจดูหมู่บ้าน หายนะ ฉิบหาย ไม่เหลืออะไรสักอัน ไม่เหลือคนสักคน เหย้าเรือน ยุ้งเย หายไปหมด เหลือแต่เสาครกมองตำข้าว กับผ้าผ่อนเสื้อซิ่นที่ติดตามกอไม้ไผ่ เดินไปทางปากน้ำตกลงน้ำของก็ไม่เห็นร่องรอยว่ามีน้ำป่าไหลหลากมากนองแต่อย่างใด หายไปไหนกันหมด น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก น้ำแม่ทานี้ใกล้ปากน้ำนั้นมีหินก้อนใหญ่กั้นตันไว้อยู่ เขาเรียกว่า หินปากเหว เลยหินปากเหวลงไปก็ตกลงแม่โขง เรื่องมังกรนี้ พ่อทิดพรหมมาเล่าให้ผู้ข้าฯ เพื่อให้ผู้ข้าพิจารณาว่าจะเป็นอย่างใด

พ่อทิดพรหมมาก็ฟังมาจากเฒ่าทาเล่าให้ฟัง แล้วยังพาไปดูถึงบ้านแม่ทานั้นด้วย พ่อทิดพรหมมาตั้งแต่สมัยเป็นคนหนุ่มอายุได้ ๓๐ ปี ก็ไปเสาะหาซื้อทองคำทางบ้าน ใกล้บ้านแม่ทานั้น เฒ่าทานั้นย้ายมาอยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งมีลูกหลานญาติพี่น้องอยู่มาก บ้านแม่ทานั้นเป็นหมู่บ้านย้ายไปอยู่ใหม่ ตั้งเหย้าตั้งเรือนตั้งบ้านกันได้ปีกว่า พวกเขามาขอให้เฒ่าทาไปอยู่เป็นคนเฒ่าคนแก่อุ่นบ้านอุ่นเมือง คนเฒ่าจึงได้ไปประสบกรรมกับพวกคนพรานเนื้อเหล่านั้น

พ่อทิดพรหมมาอายุ ๘๕ ปี ไปพบปะเหตุการณ์เรื่องเล่านี้ แต่อายุ ๓๐ ปี ก็นับได้ ๕๕ ปีผ่านมาจึงเอามาเล่าให้ผู้ข้าฯ ฟัง เรื่องราวเบื้องต้นแท้ๆ นั้น ชาวบ้านช่อแล เขาได้ยินเสียงฆ้องเสียงกลองปี่ พาทย์ ประโคมคนตรีดังขึ้นลงตามลำห้วยแม่งัด ขึ้นไปทางปลายห้วย แล้วก็ดังกลับลงมา เขาว่า แต่ก่อนเก่าหลายปี ผ่านมาก็ได้ยินอีกจะเป็นเหตุลางอันใด

พ่อทิดผู้เป็นเจ้าของที่ก็ว่าเห็นคนหนุ่มน้อย อายุ ๑๘ – ๑๙ ปี ประมาณได้ เดินขึ้นมาจากน้ำมากราบไหว้ ผู้ข้าฯ แล้วก็ลงไปในน้ำแล้วหายไป พ่อทิดก็ซอมดูทุกวันพระก็เห็นมาแล้ว ๓ ครั้ง จนมาถามผู้ข้าฯ ว่าเป็นอย่างใด ผู้ข้าฯ ก็ว่า พระยานาค เจ้านายนาคน้ำแม่งัด ๓ สหายเขาขึ้นมาหาทุกวันนั้นแหละ แต่พ่อทิดเห็นแต่วันพระ เพราะเขาทำให้เห็นหรอก พ่อทิดก็เอาไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านก็ตื่นเต้นกันบางคนก็กลัวเป็นเหตุเป็นลาง บ้านหลุบเมืองหล่มได้ ยกขบวนมาหาผู้ข้าฯ

ผู้ข้าฯ ก็ว่า รับรองได้ไม่เป็นเหตุลางอ้างร้ายแต่อย่างใด อาตมาอยู่นี้เขาดีใจจะได้กราบไหว้ฟังธรรม จึงมาประโคมดนตรีบูชาแค่นั้น อย่าตื่นตกใจกลัวไปเลย

เพราะเรื่องนาคน้ำแม่งัดนี้เอง พ่อทิดพรหมมาจึงเล่าเรื่องมังกรให้ฟังแล้วให้ผู้ข้าฯ พิจารณาว่าเป็นอย่างใด? จึงได้ถามพวกนาคแม่งัด เขาจึงบอกว่า เป็นเจ้านายของพวกนาคใหญ่อันดับ ๗ ของพิภพของนาคขึ้นมาจำศีล แต่มาถูกพวกมนุษย์ประหัตด้วยอาวุธ จึงตายจากนาคามังกร

แต่ผู้ข้าฯ พิจารณาได้ความว่า เป็นพระโพธิสัตว์ตนหนึ่ง กำลังบำเพ็ญอยู่ในฐานฐานะของพุทธภูมิ ต้องการอยากจะเป็นพระพุทธเจ้า องค์หนึ่ง

หากได้เป็นก็เป็นลำดับที่ ๔๐๐ นับแต่พระศรีอาริย์ไป เฒ่าทาคนนั้นจะได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้ใหญ่ที่หนึ่ง”
“อยู่จำพรรษาบ้านช่อแล จะว่าอยู่โปรดพวกนาคก็ว่าได้ เพราะผู้ข้าฯ ก็เมตตาให้เขาอยู่ทุกวัน เจริญวิรูปักเขหิเมเมตตัง ให้เขาอยู่ตลอด เวลาเราเทศน์ธรรมเขาก็มาฟังก็มีอยู่ แต่เวลาว่าศีลข้อ ๕ พวกเขาจะไม่ว่าตามเลย ข้อ ๕ ไม่พูด แต่ไปพูดเอาข้อ ๖ – ๗ – ๘ บางคนก็ไม่มาถือศีล มากราบไหว้แล้วก็ไป แต่พวกมาฟังเทศน์ธรรมนั้นมากันมาก มาขอฟังรัตนสูตร เราก็เทศน์ธรรมะรัตนสูตรให้ฟังเป็นลำดับๆ ไป นี้ก็แปลก คนเขาก็เชื่อยากเพราะไม่ได้เกิดกับเขาเอง มีแต่ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) องค์เดียวเท่านั้นที่รู้จักได้ดี

แม้ท่านอาจารย์สิม (พุทฺธจาโร) ก็รู้จักอยู่บ้างแต่สู้ท่านอาจารย์ตื้อไม่ได้ แต่วันใดที่ท่านอาจารย์ตื้อมาหา พวกนาคหาย ไปหมด กลัวท่านอาจารย์ตื้อ ถามพวกนาคว่า กลัวอะไรเพิ่น ? เขาว่ากลัวสายตาของเพิ่น จึงได้กราบเรียนท่านอาจารย์ตื้อว่า “ท่านอาจารย์ ขอท่านอาจารย์อย่าเอาเตโช ออกมาทางแสงตา พวกนาคเขาย้านเขากลัว”




ขอขอบพระคุณที่มา...จากหนังสือ ธรรมะประวัติหลวงปู่จาม  มหาปุญโญ   วัดป่าวิเวกวัฒนาราม  บ้านห้วยทราย
คำชะอี  จ.มุกดาหาร


56
ขอบพระคุณท่าน ooo มากครับที่แจ้งข่าว   

ขอให้หลวงพี่ตั๊ก หายเร็วๆนะครับ

57









ทีปภาวันธรรมสถาน
สร้างขึ้นมาจากการดำริของพระภาวนาโพธิคุณ หรืออาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาสสวนโมกขพลาราม ผู้ที่ต้องการจะนำความสงบเย็นคืนกลับมาสู่สมุย รวมไปถึงชาวไทย และชาวโลก โดยจัดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ดำเนินตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และแนวทางของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ทุกๆครั้งที่มีการอบรมท่านโพธิ์จะมาเป็นผู้สอนบรรยายธรรมและร่วมภาวนาเองแน่นอนว่าในการเข้าอบรมปฏิบัติธรรมผู้อบรมจะได้เรียนรู้ธรรมะอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาทั้งเรื่องทุกข์และการดับทุกข์อริยสัจจ์สี่ปฏิจจสมุปบาทและการปฏิบัติอานาปานสติภาวนา

หากเราจะมองให้เห็นองค์รวมแห่งการภาวนาเราจะเข้าใจได้ว่าทำไมการปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนาถึงได้พูดถึงเรื่องกายศีลจิตและปัญญาเพราะกายกับศีลนั้นถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกันคือเมื่อเรามีศีลก็ควบคุมกายได้หรือเมื่อคุมกายได้ก็รักษาศีลได้

การที่จะฝึกจิตให้รู้จักสมถะภาวนาจะช่วยให้เราถอยห่างออกมาเรื่อยๆจากความฟุ้งซ่านความเครียดความทุกข์ความอยากได้อยากมีอยากเป็นซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆกับการมีสติตระหนักรู้ได้เมื่อนั้นปัญญาก็เกิดเมื่อปัญญาเกิดมันก็ง่ายที่มนุษย์เราจะเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริงได้ดังนั้นสิ่งที่เราเคยคิดว่ามันเป็นปัญหาหรือเป็นทุกข์มันก็ไม่ทุกข์อย่างที่เราตีความหรือที่เราคิด
ทีปภาวันธรรมสถานมีโปรแกรมการปฏิบัติภาวนาสำหรับชาวบ้านเกาะสมุย เพื่อให้ไม่หลงติดกับโภคทรัพย์จากธุรกิจ และการหาทรัพย์ โปรแกรมดังกล่าวเรียกว่า “การภาวนาเพื่อหาอริยทรัพย์” จัดทุกวันเสาร์ต้นเดือน

จุดประสงค์การจัดอบรม
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ธรรมะระดับหัวใจของพระพุทธศาสนา คือเรื่องทุกข์และดับทุกข์, เรื่อง อริยสัจจ์สี่ และเรื่องปฏิจจสมุปบาท และปฏิบัติอานาปานสติ ภาวนา เป็นหลักสำคัญ

 รูปแบบการจัดอบรม : อานาปานสติภาวนา

 การปฏิบัติตน :
รับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ (งดเว้นเนื้อสัตว์) วันที่ 6 ของการอบรมจัดให้ฝึกเข้าอยู่อุโบสถศีล โดยรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว ฝึกหัดการนอนด้วยหมอนไม้ พร้อมเครื่องนอนที่เรียบง่ายที่สุด ฝึกการใช้ชีวิตเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้า ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองโดยลำพัง เพื่อให้สามารถศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ ภาวะจิตใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา

 การเตรียมตัว :
ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมพร้อมเรื่องหน้าที่การงาน เพื่อไม่ต้องกังวลในระหว่าอบรม, ในระหว่างอบรมต้องงดการติดต่อกับบุคคลทั้งภายนอก และภายใน งดใช้โทรศัพท์มือถือ มุ่งฝึกสติสัมปชัญญะตลอดเวลา ตามหลักสูตรการอบรม, การแต่งตัวต้องสุภาพเรียบร้อย ไม่นุ่งกางเกงขาสั้น, ต้องเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น ไฟฉาย สบู่ ยาสีฟัน เสื้อแขนยาวสำหรับอากาศเย็นในช่วงเช้าๆ กระดาษชำระ ผ้าขาวม้า หรือผ้าถุงสำหรับเปลี่ยนเวลาอาบน้ำ, ต้องเข้าร่วมปฏิบัติทุกรายการ ตามตารางอบรม, ผู้ปฏิบัติต้องมีศีลห้า หรือศีลแปด เป็นพื้นฐานในการอบรม, อาหารที่นี่ใช้มังสะวิรัติ รับประทานเพียง ๒ มื้อ มื้อเช้า ๐๗.๓๐ น. มื้อเที่ยง ๑๑.๓๐ น. ตอนเย็นทานน้ำปานะ

ตารางปฏิบัติธรรม :
วันที่ 12-17 ของทุกเดือน สำหรับภาคภาษาไทย, วันที่ 21-27 ภาคภาษาอังกฤษ

 ระดับการอบรม :
เริ่มต้นถึงปานกลาง

 
 


การเดินทางไป "ทีปภาวัน" ไม่ยากเลย ขับรถไปทางละไม หากไปจากเฉวงก็จะผ่านทางเข้าหินตาหินยายก่อน และขับไปอีกเล็กน้อย ก็จะเห็นวัดศิลางู ฝั่งตรงข้ามจะเป็นทางขึ้นเขาไป "ทีปภาวัน" ใช้เกียร์ต่ำ ขับช้าๆ ขึ้นเขาไปประมาณ 700-800 เมตร ก็จะเห็นและสัมผัสกับบรรยากาศบนเขาที่เงียบสงบและยังมีสภาพความเป็นป่าอย่างสมบูรณ์ ภายในสถานปฎิบัติธรรม ก็จะมีไก่แจ้ นกหลากหลายชนิดส่งเสียงร้องตลอดเวลา ยิ่งตอนเช้าๆจะยังมีหมอก และอากาศเย็นๆ ตามทางเดินก็จะมีป้ายคำสอนของท่านพุทธทาสอยู่เป็นระยะๆ




มีโรงอาหารที่เลี้ยงอาหารมังสวิรัติ โรงปฎิบัติธรรม ลานเดินจงกลม และเรือนพักแยกชายและหญิง สำหรับผู้ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร 5 วัน






สำหรับหลักสูตรระยะสั้นทุกเสาร์ต้นเดือน เรียกว่า "สุดสัปดาห์ตามหาอริยทรัพย์"

เริ่มจาก 7.00 น. นัดเจอกันตรงทางขึ้นเขา สำหรับคนที่ไม่มีรถขึ้นไป จะมีรถลงมารับที่ปากทางขึ้นไปที่ทีปภาวัน รับประทานอาหารเช้ากัน

8.00 - 9.00 น. ทำวัตรเช้า (สวดมนต์ตอนเช้า)

พัก 30 นาที

9.30- 11.00 น. อาจารย์โพธิ์เทศน์สั่งสอนและแนะนำวิธีฝึกสมาธิ และร่วมกันปฎิบัติ

11.00-12.45 น. พักรับประทานอาหาร

13.00 - 15.00 น. ร่วมกันฝึกสมาธิภาคบ่ายต่อ

15.00 - 16.00 น. สวนมนต์ทำวัตรเย็น





ขอขอบพระคุณที่มา... http://www.bangkokbiznews.com

58
ธรรมะ / ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
« เมื่อ: 01 ก.ย. 2553, 10:51:56 »
   

  ธ ร ร ม ด า ที่ ไ ม่ ธ ร ร ม ด า
พระศรีรัชมงคลบัณฑิต
อาจารย์ประจำคณะศาสนาและปรัชญา มมร.


เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”
แล้วบางท่านอาจทำความเข้าใจไปว่า
เป็นการพูดเล่นสำนวนหรือเปล่า
บอกตามความเป็นจริงว่า
ไม่ได้มีความต้องการจะพูดเล่นสำนวนแต่อย่างใดทั้งสิ้น

แต่จะเอาเรื่องที่เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ถึงแก่ชีวิต
ของสรรพสัตว์คือทั้งมนุษย์ทั่วไป
และสัตว์เหล่าอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ มาบอกกล่าวให้ได้ฟังกัน

ซึ่งเรื่องที่จะ บอกกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ทุกท่านรู้จักกันดีอยู่แล้ว
และเรื่องที่รู้จักกันดีอยู่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจ

คำว่าธรรมดานี้ท่านทั้งหลายอาจจะเคยได้ฟังมามากแล้ว
เช่นธรรมดาคนโง่ย่อมจะพูดจะคิดจะทำเรื่องอะไรก็
ความที่โง่ๆ เหมือนตัวเองธรรมดาคนที่เป็นบัณฑิต
คือคนฉลาดคนดีย่อมจะคิดจะพูดจะทำแต่ในสิ่งดีๆ

ธรรมดาคนที่ เป็นผู้นำต้องรู้จักหลักการเป็นผู้นำ
ธรรมดาคนจนต้องรู้จักเจียมตัว
ธรรมดาคนรวยก็ต้องทำตัวให้เหมาะสมกับที่ตนรวย
ธรรมดาคนแก่ต้องรู้จักความแก่ของตน
ธรรมดาชาวนาก็ต้องทำนา ชาวสวนชาวไร่ก็ต้องทำสวนทำไร่
ธรรมดาพ่อค้าก็ ต้องค้าขาย เป็นต้น

หรือธรรมดามนุษย์ปุถุชนย่อมจะมีความโกรธ
โมโห ความโลภ ความอยากได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ความหลง ยึด มั่นถือมั่น ราคะ
ความกำหนัดยินดีอย่างไร้ขอบเขต อคติ
ความลำเอียงด้วยความชอบพอ รักใคร่
โปรดปรานเป็นพิเศษหรือเป็นส่วนตัว
ลำเอียงด้วยความโกรธ ไม่ชอบหน้า ไม่ชอบนิสัย
ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว
หรือไม่ชอบอื่นๆ ลำเอียงด้วยความหลง

ยึดมั่นถือมั่นไม่รู้จักปล่อยวาง
จะเอาทุกอย่าง จะเอาให้ได้ดังใจทุกเรื่อง
ลำเอียงด้วยความกลัว เกรงใจ ขี้ขลาด
ทำอะไรเขาไม่ได้เพราะกลัวเขา
ไม่ว่าเขาจะผิดหรือยังไงก็ตาม
ย่อมจะปล่อยให้เป็นผู้ถูกต้องเสมออย่างนี้อันตราย

แต่ธรรมดาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงธรรมดาแบบที่ว่าของบนนี้
แต่จะหมายถึงเรื่องหรือสภาวะที่เป็นปกติ
ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์อะไร
เป็นเรื่องที่มีมาแต่เดิม ในปัจจุบันนี้ก็มีปรากฏให้เห็นกันอยู่
แม้ในอนาคตจะเป็นช่วงเวลาที่ยืดยาวไกลขนาดใดก็ตาม
ถ้ายังมีสรรพสัตว์อยู่ ธรรมดาเหล่านี้ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม

และข้อสำคัญก็คือธรรมดานี้มีแก่มนุษย์และอมนุษย์ทั้งมวล
โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีอคติโดยประการทั้งปวง

ท่านทั้ง ๓ นี้ หมดเชื้อที่ทำให้ต้องเกิดแล้ว
จึงไม่ต้องมาเกิดใหม่ เมื่อไม่เกิด
ธรรมดาที่ไม่ธรรมดาทั้ง ๓ นั้น จึงทำอะไรให้ท่านไม่ได้
เมื่อไม่เกิดแล้ว จะมีความแก่เป็นธรรมดามาแต่ที่ไหน
เมื่อไม่มีการเกิดแล้ว จะมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดามาแต่ที่ไหน
เมื่อไม่เกิดแล้ว จะมีความตายเป็นธรรมดามาแต่ที่ไหน

ดังนั้นท่านพระอริยบุคคลผู้ประเสริฐทั้ง ๓ นั้น
จึงสามารถข้ามพ้นจากสภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดาได้โดยสิ้นเชิง


ท่านทั้งหลายสภาพที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดานี้
ถึงแม้โดยธรรมชาติแล้วจะเป็นเรื่องไม่น่ากลัว
เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องมีอยู่โดยธรรมชาติกับชีวิต

แต่มนุษย์ปุถุชนทั้งมวลที่อยู่ในภาวะปกติจิต
ต่างก็พากันกลัวในธรรมดา ๓ อย่างนี้นัก
เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากแก่หาวิธีการป้องกันในรูปแบบต่างๆ
แต่ก็ต้องแก่ ที่ไม่อยากเจ็บป่วยหาอะไรต่อมิอะไรมากมาย
ช่วยแก้อาการเจ็บป่วยแต่ก็ต้องเจ็บป่วยจนได้

และในที่สุดท้ายปลายทางแห่งชีวิตแล้วแม้จะไม่อยากตายแท้ๆ
ก็ยังหนีความตายไม่ได้ เกิดเท่าไหร่ ตายเกลี้ยงไม่เหลือหลอ
ถึงผู้ดี เข็ญใจ ตายเกินพอ แม้แต่หมอก็ต้องตาย วายชีวัน

ธรรมดาที่ว่านี้มี ๓ ประการ คือ ชราธมฺโมมฺหิ
เรามีความแก่เฒ่าความชราความชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา
พฺยาธิธมฺโมมฺหิ เรามีความเจ็บไข้ ป่วยไข้ เป็นธรรมดา
มรณธมฺโมมฺหิ เรามีความตายเป็นธรรมดา

คำว่า เราในที่นี้ หมายถึงตัวเองของมนุษย์ทุกคน
และอมนุษย์คือสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์
เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน
เทวดา พระพรหม ทั้งหมด

ที่นี้ถ้ามีใครอยากจะถามว่า ใครเป็นคนบอกว่า
สภาพทั้ง ๓ นี้ เป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสัตว์
รวมทั้งมารโลก เทว โลก จนถึงพรหมโลก
ก็ตอบได้เลยว่า องค์สมเด็จพระบรมครูบรมศาสดาของชาวโลก
คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
เป็นผู้ตรัสไว้ใน ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
ชื่อพระสูตรชื่อ อภิณหปัจจเวกขณสูตร
ตั้งแต่สองพันกว่าปีที่ผ่านมา จนมาถึงแม้ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้

พระพุทธพจน์นั้นก็ยังคงเป็นอย่างนั้นมีผลสัมฤทธิ์อย่างนั้น
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นเสมอ
วัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าตรัสธรรมดาทั้ง ๓ ประการนี้ไว้
ก็เพื่อจะให้พุทธบริษัททั้งที่เป็นบรรพชิต
และคฤหัสถ์ทั้งที่เป็นสตรีและบุรุษหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ
พิจารณาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

เพื่อจะป้องกันไม่ให้คนประมาทแล้วไปทำเรื่องอื่นๆ
จนลืมธรรมดาซึ่งเป็นความจริงของชีวิต
ทำให้เกิดความหลงใหลไม่รู้จริง
หลงยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นเหตุแห่งทุกข์นานาประการ

ถ้ามนุษย์พุทธบริษัทหรือประชาชนทั่วไป
หมั่นพิจารณาธรรมดาทั้ง ๓ อย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ
เมื่อถึงวาระที่ต้องแก่ เมื่อถึงคราวป่วยไข้จะร้ายแรงเพียงใดก็ตาม
หรือแม้ถึงคราวต้องตายต้องละจากโลกนี้ไปในโลกอื่น
ก็ไม่เกิดความเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ คร่ำครวญ
จะมีสติสัมปชัญญะพร้อมที่จะยอมรับความเป็นจริง
คือธรรมดาทั้ง ๓ อย่างนี้ได้

ทำไมจึงบอกว่า สภาพทั้ง ๓ คือ
ความแก่ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และความตาย เป็นเรื่องธรรมดา

จะขอกล่าวเฉพาะประเด็นที่เป็นมนุษย์เป็นหลัก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
สรรพสัตว์อย่างอื่นนอกจากมนุษย์แล้วจะสามารถล่วงพ้น
หรือข้ามธรรมดาทั้ง ๓ นี้
โดยไม่ต้องแก่ ไม่ต้องมีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ต้องตาย ไปได้
สรรพสัตว์ทั้งหมดทั้งในโลกนี้
และในโลกอื่นล้วนตกอยู่ในกฎธรรมดาทั้ง ๓ นี้ เช่นกัน

ขึ้นชื่อมนุษย์หรือจะเรียกว่าคนก็ตามสุดแล้วแต่จะเรียกกัน
ไม่เคยมีมนุษย์ปุถุชนในอดีตชาติแม้แต่คนเดียวจะหลบหลีก
หรือหลีกเลี่ยงธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

เพียงแต่บางคนอาจจะตายแต่ในท้องมารดา
หรือตายตอนเป็นหนุ่มสาวอาจไม่ต้องแก่
หรือเจ็บไข้ได้ป่วยมากมายอะไรนัก
แต่ก็ข้ามธรรมดาที่ ๓ คือความตายเป็นธรรมดาไม่ได้

ถึงในปัจจุบันชาตินี้ก็ตามขอให้ช่วยคอยดูกันสังเกตกันไปว่า
จะมีใครสักคนไหมที่จะข้ามธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

แต่ก็จะบอกแบบฟันธงล่วงหน้าได้เลยว่า
ไม่มีแน่นอนสำหรับมนุษย์ปุถุชน
และแม้ในอนาคตชาติ ถึงแม้ธรรมดาทั้ง ๓ นั้น
มันยังมาไม่ถึงหรือยังไม่เกิดขึ้นก็สามารถบอกล่างหน้าได้เช่นกันว่า
สำหรับมนุษย์ปุถุชนยังไงๆ ก็ไม่สามารถที่จะข้ามธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

ที่นี้จะขอกล่าวในประเด็นที่ว่าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

ประเด็นนี้จะนำเอาเรื่องที่มีประจักษ์แก่ทุกคน
มาบอกเล่าให้ท่านทั้งหลายฟัง
ที่บอกว่าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา จะขอยกตัวอย่างเช่น

คนที่มีวาสนาบารมี มีข้าวของเงินทองยศถาบรรดาศักดิ์แบบล้นฟ้า
สามารถที่จะเอาสมบัติที่ตนมีอยู่นั้นไปแลกไปทำอะไรก็ได้
แต่ทำไมจึงเอาไปแลกไม่ให้แก่ชราไม่ได้
ทำไมจึงเอาไปแลกกับความตายคือทำให้ตนเองไม่ต้องตายไม่ได้

ยิ่งคนที่เรียนรู้มาในทางการแพทย์มีความรู้เต็มเปี่ยมสามารถ
ที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้นานาชนิดแต่แล้วทำไม
คุณหมอทั้งหลายจึงไม่สามารถข้ามพ้นความตายไปได้
หมายความว่า ทำไมคนที่เป็นหมอแท้ๆ จึงยังต้องตาย
ทำไมไม่คิดหายาชนิดไดก็ได้เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะทำให้ไม่ต้องตาย
อย่างก็บอกได้เลยว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

เรื่องที่น่าจะเป็นก็คือคนจนยากไร้ขาดการศึกษา
ขาดทรัพย์สมบัติทั้งปวง อยู่ในถิ่นทุรกันดารทำมาหากินก็แสนจะลำบาก
ขาดโอกาสในสังคมโดยประการทั้งปวง คนพิการลักษณะต่างๆ เท่านั้น
น่าจะแก่ น่าจะเจ็บ และน่าจะตาย

ส่วนคนที่มีการศึกษา คนร่ำรวย คนมีโอกาสทางสังคม
คนที่บอกกับตนเองว่า เป็นผู้ดี เป็นต้น
ไม่น่าจะแก่ ไม่น่าจะเจ็บไข้ และไม่น่าจะต้องตายเลย

ความธรรมดาที่ไม่ธรรมดานี้
ทำสรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจของตนได้ทั้งหมด

ไม่เว้นแม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเหนือมนุษย์และเหล่าเทวดา
ก็ยังต้องทรงชรา ทรงอาพาธ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน
แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยบุคคลที่เป็นพระอรหันต์
ก็ต้องแก่ ต้องเจ็บป่วย และต้องนิพพาน อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลย

เพราะเหตุไรเล่า ธรรมดาทั้ง ๓ นี้ จึงยุติธรรมดีแท้
เขาไม่แบ่งแยกมนุษย์เลย ไม่เห็นแก่หน้าใครทั้งสิ้น
ไม่มีการลำเอียงกับใคร ไม่ยอมให้ใครที่เกิดขึ้นมา
แล้วผ่านอำนาจของตนไปได้ ควบคุมได้ทั้งหมด
นี้สิจึงสมควรเรียกว่าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

ถ้าจะพูดถึงมนุษย์ปุถุชนในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นใคร
อยู่ในชาติใด นับถือศาสนาใดก็ตาม
เขามีการเหลื่อมล้ำกัน ไม่เสมอกันเกือบทุกเรื่อง
จะได้รับอภิสิทธิ์มากกว่ากัน ได้อะไรต่อมิอะไรมากน้อยกว่ากัน

จนกลายเป็นทิฏฐิมานะสำหรับคนบางคนหรือบางกลุ่มว่า
คนเช่นเราต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ต้องมีเกียรติ ต้องให้ความเคารพ ต้องเชื่อฟังเราเสมอไป
จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนๆ นั้น หรือกลุ่มนั้น

แต่ธรรมดาแบบที่ว่านี้มันเป็นเรื่องธรรมดา
จนกลายเป็นความเคยชินกันไปสำหรับคนั้นหรือกลุ่มนั้น
และทำให้คนในสังคมต้องแบ่งแยกกันโดยอัตโนมัติ
และธรรมดาแบบนี้เป็นธรรมดาที่ไม่ยุติธรรมแก่ทุกคน
คนที่มีส่วนได้จะบอกว่ายุติธรรมแต่คนที่ไม่ได้จะบอกว่าไม่ยุติธรรม

หากจะมีคำถามว่า แล้วจะมีใครบ้างไหมหละ
ที่จะสามารถก้าวล่วงข้ามพ้นจากสภาพธรรมดาที่ไม่ธรรมดาทั้ง ๓ นี้ได้

ขอตอบว่า มี

คือ องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตขีณาสพ
ท่านทั้ง ๓ นี้ หมดเชื้อคือกิเลสที่เป็นสิ่งต้องให้ทำกรรม
และเสวยผลแห่งกรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ท่านเปรียบอริยบุคคลทั้ง ๓ นี้ว่า
เหมือนเปลวไฟที่ไหม้เชื้อจนหมด ไม่มีเชื้อต่อไป
เมื่อดับไปก็ดับได้อย่างสนิท
ไม่กลับมาลุกเป็นไฟได้ใหม่เพราะหมดเชื้อเพลิงนั่นเอง
จะอย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันชาติท่านทั้ง ๓ นั้น
ก็ยังคงต้องแก่ ต้องเจ็บป่วย และต้องตาย อย่างหลีกหนีไม่ได้

ท้ายสุดแล้วก็ไม่มีใครก้าวล่วงธรรมดาที่ไม่ธรรมดานี้ได้

ขอขอบพระคุณที่มา...ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา โดย พระศรีรัชมงคลบัณฑิต
อาจารย์ประจำคณะศาสนาและปรัชญา มมร ใน www.mbu.ac.th.
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16812

59
ภูลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก เกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้กับบึงโขงโหลงและภูวัว ท้องที่จังหวัดหนองคาย เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านแพง แต่ในปัจจุบันเป็นพื้นที่ของอำเภอบึงโขงโหลง ใกล้กับอำเภอเซกา ภูลังกาเป็นตำนานอันลือเลื่อง เกี่ยวพันกับศาสนาและคติความเชื่อปรัมปรา

ภูลังกามีความลี้ลับอาถรรพ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องพูดยากอธิบายยากเพราะเป็นเรื่องของนามธรรม ที่ทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์ไม่ได้ แต่ทั้งๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีการศึกษาสูงๆ เป็นครู เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และระดับศาสตราจารย์ด็อกเตอร์จากต่างประเทศจำนวนไม่น้อยก็ยอมรับว่า เรื่องความลึกลับนามธรรมเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่ต้องรับฟังไว้เพื่อศึกษาพิจารณาค้นคว้าต่อไป จะปฏิเสธเสียเลยทีเดียวไม่ได้

ภูลังกา เป็นตำนานเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ นโมพุทธายะ และเป็นเมืองหลวงของชาวบังบดลับแล อันมีเมืองพญานาครวมอยู่ด้วย และยังเป็นสนามรบกับกองทัพกิเลส ที่กองทัพธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ส่งศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระธุดงค์กรรมฐานทุกรุ่นทุกสมัย มารบราฆ่าฟันกับกิเลสตัณหาที่ภูลังกา ไม่เคยเลิกรา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

พระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของมหาชน ที่เคยไปบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูลังกามา แล้วคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ครูบาวัง ฐิติสาโร พระอาจารย์สมชาย เขาสุกิม พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง พระอาจารย์โง่น โสรโย ฯลฯ

ตามตำนานพระเจ้าห้าพระองค์นั้นกล่าวว่า กาเผือกได้ตกไข่ 5 ฟองที่ภูลังกา วันหนึ่งเกิดลมพายุใหญ่หอบเอาไข่ปลิวไปตามลม ไข่นั้นได้ตกกระจัดกระจายไปในสถานที่หลายแห่ง ต่อมาไข่นั้นได้ฟักออกมาเป็นพระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโกนาคโม พระพุทธเจ้ากัสสโป พระพุทธเจ้าโคตโม และองค์ต่อไปได้แก่ พระศรีอาริยเมตรัยโย ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตอีกประมาณ 750 ล้านปี เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในภัทรกัปนี้ ( ตัวเลข 750 ล้านปี เป็นเพียงสันนิษฐานของปราชญ์ผู้รู้ อย่าได้ยึดเอาเป็นหลักฐานทางประวัติพุทธศาสนา )

และยังมีความพิสดาร แถมท้ายอีกว่า กาทั้งหลายไม่กล้าบินผ่านไป จะต้องถูกอำนาจอาถรรพ์ลึกลับที่ภูลังกา เป็นพายุใหญ่พัดพากาตัวนั้นให้เซถลาปลิวว่อนไปทางป่าเซกา ( เขตอำเภอเซกาในปัจจุบัน )

ภูลังกาในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อนโน้น เป็นดงหนาป่าทึบกว้างใหญ่ไพศาล ชุกชุมไปด้วยเสือสิงห์กระทิงแรด และโขลงช้างเถื่อน แต่ในปัจจุบันนี้ป่าใหญ่หายไปหมดสิ้น กลายเป็นทุ่งโล่งรกร้างและไร่นา จะพอมีป่าเหลืออยู่รอบๆ ภูลังกาบ้างเล็กน้อยพอเป็นยากระษัยเท่านั้น เห็นแล้วเศร้าใจ

รอบๆ ภูลังกามีวัดป่าตั้งอยู่ประมาณ 10 วัด มีทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต พระสงฆ์องค์เณรรูปใดถ้าบกพร่องในศีลพระวินัยแล้วจะอยู่ไม่ได้นาน ต้องมีอันเป็นไปเพราะพระภูมิหรือเจ้าที่เจ้าทางแรงมาก

หลวงปู่ตอง ถ้ำชัยมงคลภูลังกา เล่าให้ฟังว่า มีพระธุดงค์ทรงเครื่องคณะหนึ่งมาจากทางขอนแก่น ขึ้นไปแสวงวิเวกอยู่บนภูลังกา ใกล้กับถ้ำชัยมงคล เป็นพวกไม่รู้ประสีประสา มีวิทยุทรานซิสเตอร์ไปด้วย เปิดเพลงเปิดเทปกันดังลั่นสนุกสนาน ครองจีวรก็ไม่มีสังฆาฏิเพราะไม่ได้เอาสังฆาฏิมาด้วย หลวงปู่ตองเห็นแล้วได้แต่นึกในใจว่า

“พระผีบ้าพวกนี้ ไม่ได้ฉันข้าวเช้าแน่ๆ พรุ่งนี้”

และแล้วก็เป็นจริง เสียงเพลงหมอลำซิ่งจากเทปทรานซิสเตอร์ดังลั่นสนั่นหวั่นไหวอยู่พักหนึ่งก็เงียบไป เปลี่ยนเป็นเสียงทะเลาะวิวาทกันเสียแล้ว ไม่รู้ทะเลาะกันเรื่องอะไร แล้วก็พากันหอบข้าวของเครื่องบริขาร วิ่งลงจากภูลังกาไปคนละทิศละทาง วิ่งกันกระเจิดกระเจิงอย่างคนเสียสติ เข้าป่าเข้าดง หลงทางอยู่ในป่า ไม่ได้ฉัน ข้าวในวันต่อมา เป็นไปตามที่หลวงปู่ตองว่าไว้จริงๆ เพราะหลวงปู่ตองรู้ว่า เจ้าป่าเจ้าเขาที่ภูลังกาต้องเล่นงานพวกพระกำมะลอ เหยียบย่ำพระธรรมวินัยคณะนี้แน่ๆ เนื่องจากท่านมีประสบการณ์ นี่คือความเฮี้ยน ความอาถรรพ์ของภูลังกา

“ถ้าอยากจะรู้เรื่องพญานาค เรื่องเมืองลับแล เรื่องเหล็กไหล...ต้องไปหาหลวงปู่ตอง”

ผู้เขียนรู้จักกับหลวงปู่ตองได้ก็เพราะ ท่านเจ้าคุณพระราชเมธาการ เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี วัดโพธิสมภรณ์ (ธรรมยุต) ได้บอกว่า

“ถ้าอยากจะรู้เรื่องพญานาค เรื่องเมืองลับแล เรื่องเหล็กไหล...ต้องไปหาหลวงปู่ตอง เวลานี้ภูลังกา ถ้ำชัยมงคล มีหลวงปู่ตองเฝ้าถ้ำอยู่กับเณรน้อยชื่อเณรเคน หลวงปู่ตองอายุ 66 แล้ว ยังแข็งแรงมีวิชาตัวเบาหรือลูกเบา ท่านแบกปูนหนักถุงละ 25 กิโลกรัม ขึ้นไปสร้างพระเจดีย์ บนยอดภูลังกา วันละหลายเที่ยว สบายมาก อยากจะรู้เรื่องลึกลับ ผีสางเทวดา ปีศาจ ยักษ์มาร หรือเรื่องยาสมุนไพร ต้องถามหลวงปู่ตอง ถ้าเป็นพระกรรมฐานปฏิบัติธรรม มีศีลเสมอกัน ท่านถึงจะเล่าให้ฟัง เป็นฆราวาสญาติโยมชาวบ้าน ท่านจะปิดปากเงียบ ไม่ยอมพูดเรื่องนี้ ขืนพูดไปก็เป็นความผิด เข้าข่ายอวดอุตริมนุสธรรม ถูกปรับเป็นอาบัติ”

นอกจากจะบอกกล่าวแล้ว ท่านเจ้าคุณราชเมธากรได้มีเมตตา พาผู้เขียนไปกราบไหว้หลวงปู่ตอง ที่ถ้ำชัยมงคล ภูลังกาอีกด้วย ก่อนที่จะได้ฟังหลวงปู่ตองเล่าเรื่องเมืองลับแลนั้น มาฟังประวัติอัตโนย่อๆ ของท่านก่อน...

สถานะเดิมของท่านชื่อ ตอง ศรีสาพันธ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 พศ. 2475 ที่บ้านน้ำเที่ยง ตำบลบ้านส้ง (ซ่ง) อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เรียนหนังสือจบ ป. 4 บิดาและมารดาชื่อนายจอม และนางเภา ศรีสาพันธ์ บิดามารดาได้อพยพครอบครัวหนีความกันดารแห้งแล้ง มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ บ้านโนนสวนปอ อยู่ใกล้บึงโขงโหลง เขตจังหวัดหนองคาย

นายตอง ศรีสาพันธ์ ได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พศ. 2522 อายุได้ 47 ปี บวชเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว บวชที่วัดธรรมทูนุสรณ์ อำเภอบึงโหลง จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์อุ้ม หรือพระครูจันทเขตพิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอเซกา เป็นพระอุปัชฌาย์ อำเภอเซกานี้อยู่ใกล้กับบึงโขงโหลง เหตุที่บวชเป็นพระเมื่อแก่เริ่มผมหงอกแล้ว หลวงปู่ตองเล่าว่า

ความจริงท่านได้เลื่อมใสในพระศาสนามาตั้งแต่เป็นเด็ก ไปวิ่งเล่นในวัดแล้ว ครั้นเติบใหญ่ก็ไม่มีวาสนาได้บวช เพราะฐานะยากจน ต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาหาเลี้ยงชีพ แบบปากกัดตีนถีบ อยู่ชั่วนาตาปี ต้องผจญกับโลกธรรมต่างๆ มีทั้งสุขและทุกข์

ที่ว่าสุขนั้นก็เป็นความสุขอย่างแกนๆ แห้งๆ ไปอย่างนั้นเอง ความจริงแล้วมันมีความทุกข์เป็นตัวยืนโรง ดุจแผ่นดินเป็นที่ยืนเหยียบของคนเรา ถึงแม้จะหนีขึ้นไปอยู่บนต้นไม้หรือขึ้นไปอยู่บนบ้านมีความสุข ก็ต้องมีเหตุให้ลงมาเหยียบพื้นดิน ทำมาหากินอยู่บนดินอยู่นั่นเอง แม้กระทั่งตายลง ก็ต้องเอาศพฝังดิน หรือเผาที่กองฟอนบนดิน ชีวิตคนเราทุกคน เกิดมาเป็นเรื่องสมมติทั้งนั้น ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย

สมมติว่าเป็นตัวเราของเรา พากันหลงในสมมติ แข่งกันทำมาหากิน ไม่รู้จักพอ แก่งแย่งเบียดเบียนกัน ข่มเหงรังแกกัน เข่นฆ่ากันด้วยอำนาจ โลภโมโทสัน สนุกสนานมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขอันไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และแล้วในที่สุดก็ล้วนต้องเน่าเข้าโลง ตายไปเอาอะไรไปด้วยไม่ได้สักอย่าง ร่างกายอันเป็นที่รักยิ่งของตัวเองก็เอาไปด้วยไม่ได้ ตายไปแล้วร่างกายของเราก็ต้องเน่า กลายเป็นอาหารของฝูงหนอนชอนไชกัดกิน น่าขยะแขยง น่าหวาดเสียวยิ่งนัก ใครคนไหนคิดว่าตัวเองรูปสวยรูปงามนั้น แต่พอตายลงไปนอนขึ้นอืดอยู่ในโลง ก็ต้องเน่าเปื่อยเละเทะเป็นปลาร้าปลาเจ่า ยังไงยังงั้น

ชีวิตคนเราเกิดมาล้วนหลงผิด ดังที่ทางพระศาสนาได้กล่าวไว้ว่า การร้องเพลง ดูไปแล้วเหมือนร้องไห้ การฟ้อนรำเต้นรำดุจเป็นอาการของคนบ้า เสียงหัวเราะเฮฮาอ้าปากเห็นเหงือกเห็นฟัน เหมือนอาการของทารกเด็กอมมือในเบาะ

หลวงปู่ตองบวชในฝ่ายมหานิกาย เป็นพระอยู่ในบ้านในเมือง ไม่ค่อยจะถือเคร่งในธรรมวินัยเท่าไรนัก เป็นที่รู้กัน ไม่ว่ากันเพราะเป็นพระฝ่ายศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม ไม่ใช่พระป่าปฏิบัติกรรมฐานถือเคร่งในธุดงค์ 13 ข้อ

หลวงปู่ตองบวชมาได้ 3 พรรษา ก็รู้สึกเบื่อหน่ายวัด เพราะพระเณรในวัดไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พลอยทำให้ท่านประพฤติผิดในพระธรรมวินัยไปด้วย พระเณรในวัดมั่วสุมกันสนุกสนานมากกว่าที่จะปฏิบัติศาสนกิจ

ท่านระลึกนึกถึงพระธุดงค์ที่ไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในป่า แสวงหาความสงัดเงียบ บำเพ็ญเพียรจนได้พบกับความสุขในทางธรรมะ จึงอยากจะทำอย่างนั้นบ้าง เพื่อหาทางหลีกหนีพระเณรในวัดที่ย่อหย่อนธรรมวินัย ท่านได้เดินธุดงค์ไปที่ภูลังกาอยู่ห่างจากวัดไม่ไกลเท่าไรนัก โดยขึ้นทางด้านบ้านดงบัง อยู่ห่างจากถ้ำชัยมงคลออกไปไกลพอสมควร

บนภูลังกามีถ้ำมีเงื้อมผาให้เลือกเอาเป็นที่พักบำเพ็ญภาวนา มีลานหินกว้างเหมาะที่จะเดินจงกรม ดินฟ้าอากาศรื่นรมย์ กระแสลมพัดเย็นสบาย กลิ่นดอกไม้ป่าโชยชื่น บรรยากาศสัปปายะวิเวก เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมมาก เมื่อขึ้นมาอยู่บนภูลังกาแล้ว หลวงปู่ตองก็ปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติธุดงค์ 13 เหมือนพระป่าธุดงค์ทุกประการ นั่นคือ “กินน้อย...นอนน้อย”

กินน้อย คืออดอาหาร ฉันแต่น้ำลูบท้อง เป็นการทดสอบกำลังใจตัวเอง ว่าจะมีความทรหดอดทนขนาดไหน จะสร้างขันติบารมีได้ไหม กลัวเป็นลมตายเพราะอดข้าวไหม ?

นอนน้อย คือจะนอนพักผ่อนเอาเฉพาะตอนกลางคืน ไม่นอนมากนอนเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการเดินจงกรม สร้างวิริยะความเพียรและนั่งสมาธิ สงบกาย สงบจิต ให้จิตได้พักผ่อน เสพเสวยปิติ สุขในวิหารธรรม อันปราศจากนิวรณ์ 5

เมื่อนั่งสมาธิเสพสุขก็มักจะ ยึดติดเกิดเกียจคร้าน จึงต้องลุกขึ้นเดินจงกรม สร้างวิริยะความเพียร ขับไล่ความเกียจคร้าน สรุปแล้วก็คือมีการเดินจงกรมและนั่งสมาธิสลับกันไปทั้งวันและเกือบทั้งคืน

ผลของการทดลองอดอาหารปรากฏว่า สามารถอดได้หลายวัน ในวันแรกจะหิวมาก พอเข้าวันที่สองร่างกายจะปรับตัวเองได้ไม่หิว ฉันแต่น้ำ ตัวเบาสบาย ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเลย เกิดความขยันหมั่นเพียรอย่างแปลกประหลาด ไม่อยากหลับนอนอยากจะเจริญภาวนาลูกเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นเกิดจากอำนาจสมาธิ มันมีปิติแรงมาก เป็นปิติในธรรม

และ ในช่วงนี้แหละที่ทำให้หลวงปู่ตองได้ประสบเข้ากับ “มิติเร้นลับ” กายและจิตของท่านที่เป็น “กายวิเวก จิตวิเวก” ได้เชื่อมโยงเข้าหา “โลกวิญญาณ” หรือโลกอันเป็นทิพย์ คือโลกของภูตผีปีศาจ ยักษ์ มาร นาค ครุฑ คนธรรพ์ หรือบังบดลับแล และเทพเจ้าเหล่าพรหมทั้งหลาย ภาษาของปรจิตวิทยาเขาเรียกว่า กระแสจิตที่เป็นสมาธิอันมั่นคงแน่วแน่ ได้กลายเป็นคลื่นจิตในระดับคลื่นเดียวกันกับกระแสจิตของโลกวิญญาณ สามารถรับและส่ง สื่อความหมายทั้งเสียงและภาพติดต่อกันได้ (คงจะเหมือนการรับส่งโทรทัศน์ละกระมัง)

มาฟังหลวงปู่ตองเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ ท่านเล่าว่า...

"ตอนนั้นในราว 1 ทุ่ม มืดสนิท อากาศกำลังเย็นสบายๆ อาตมากำลังเดินจงกรมอยู่ที่พลาญหินบนภูลังกา เสียงแมลงกลางคืนจักจั่นและแม่ม่ายลองไน ส่งเสียงร้องก้องกังวานไปทั่วทั้งขุนเขา อาตมาแหงนดูท้องฟ้ามืด มีดวงดาวเกลื่อนกลาดมากมายเต็มท้องฟ้าไปหมด ดาวหลายดวงอยู่ใกล้ๆ ดูราวจะเอื้อมถึง เป็นคืนที่น่าดูมาก เบิกบานใจอย่างบอกไม่ถูก

ทันใดนั้น...เสียงจักจั่นและแม่ม่ายลองไนหยุดส่งเสียงกะทันหัน เกิดความเงียบสงบอย่างแปลกประหลาด

ความมืดได้ทวีมากยิ่งขึ้น เดินไม่เห็นทางเดินจงกรม เอ๊ะ! ทำไมมันมืดอย่างนี้ แหงนมองฟ้าก็ยังเห็นดวงดาวดารดาษส่องแสงระยิบระยับ ไม่มีเมฆฝนปิดบังไว้แต่อย่างใด

ขณะที่อาตมากำลังยืนงงๆ อยู่นั้น ก็ได้เห็นแม่ชีนุ่งห่มสีขาวเดินเข้ามาหา มี 5 คน นั่งคุกเข่าลงกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อาตมารู้สึกแปลกใจที่มีแม่ชีบนภูลังกาในยามค่ำคืน ใจคอไม่ดีเลย เพราะไม่มีพระเณรหรือลูกศิษย์อยู่ด้วย กลัวจะเป็นบาปอาบัติ ถูกตำหนิติเตียน ตอนนั้นลืมคิดไปถนัดว่า ในความมืดเหมือนอยู่ในถ้ำอย่างนั้น ทำไมสามารถมองเห็นแม่ชีทั้ง 5 คน ได้ถนัดชัดเจนเหมือนในยามกลางวัน ขณะที่อาตมายืนตัวแข็งทำอะไรไม่ถูกอยู่นั้น แม่ชีผู้เป็นหัวหน้าได้พูดขึ้นว่า...

“หลวงพ่อขึ้นมาปฏิบัติภาวนาบนนี้จะต้องมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถ้าหลวงพ่อย่อหย่อนในพระวินัยจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ มีพระสงฆ์องค์เณรขึ้นมาอยู่บนนี้หลายรูปแล้วแต่อยู่ไม่ได้”

ตอนนี้ อาตมาตั้งสติได้แล้วขนลุกซู่ขึ้นมาเฉยๆ ความรู้สึกบอกว่า ผีแน่ๆ เป็นผีแม่ชี แต่ก็ไม่กลัว เพียงแต่ขนลุกเท่านั้น เพียงแค่นึกรู้สึกขึ้นมาเท่านั้น หัวหน้าแม่ชีก็พูดชี้แจงในทันทีว่า

“พวกเราไม่ใช่ผี หลวงพ่ออย่าเข้าใจผิด พวกเราเป็นพรหม สมัยเป็นมนุษย์เป็นแม่ชีสำเร็จฌาน พรหมไม่มีเพศหญิง พวกเราเพียงแต่แสดงร่างที่เคยเป็นแม่ชีให้ดูเท่านั้น ภูลังกาเป็นแดนบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ หลวงพ่อมาอยู่ที่นี่จะต้องฉันมังสวิรัติ ขออย่าได้ฉันเนื้อสัตว์”

อาตมา พูดอะไรไม่ออก ได้แต่ยืนนิ่งฟังจะว่าถูกสะกดจิตก็ไม่เชิง นึกอยากจะถามแต่ไม่รู้จะถามอะไร ในที่สุดแม่ชีลึกลับทั้ง 5 คนนั้นก็ลาจากไป

การมาและการไปสวยงามมาก ย่อตัวลงคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ ตัวลอยอยู่เหนือพื้นตอนเข้ามาหา แต่ตอนจะกลับถอยหลังออกไป 3 ก้าว แล้วจึงนั่งคุกเข่าลงกราบลา ตอนลุกขึ้นยืนคล้ายๆ ลอยตัวขึ้นสง่างามมาก ไม่เหมือนมนุษย์ลุกขึ้น

เมื่อแม่ชีทั้งห้าไปแล้ว บรรยากาศอันเงียบงันอาถรรพ์ก็หายไป กลับเป็นปกติเหมือนเดิม จักจั่นเรไรเริ่มส่งเสียง กระแสลมที่หยุดนิ่งก็พัดมาโชยชื่น กลิ่นหอมดอกไม้ป่าพาให้รื่นรมย์ใจ ความมืดมิดคลายไป สามารถมองเห็นทางเดินจงกรมได้เหมือนเดิม

หลวงปู่ตองเป็นคนเชื่ออะไรยาก ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบโต้เถียงเรื่องผีสางเทวดาว่าไม่มีจริง เพราะไม่เคยเห็น ผีมีที่ไหน คนโบราณแต่งเรื่องผีๆ สางๆ หลอกให้คนกลัว เพื่อที่จะได้ปกครองกันง่ายเท่านั้นแหละ

แต่แล้วในที่สุด หลวงปู่ตองก็มาเจอผีแม่ชีเข้าให้ที่ภูลังกา เป็นการเจอผีตอนเป็นพระกรรมฐานเสียด้วย เหมือนถูกล้างสมองครั้งใหญ่ให้หายโง่ ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว เพราะได้เห็นอย่างจะแจ้งกับตา ได้ยินกับหู แถมยังถูกผีแม่ชียื่นคำขาดให้ฉันมังสวิรัติ ถ้าฉันเนื้อสัตว์ต่อไปจะอยู่ภูลังกาไม่ได้

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลวงปู่ตองต้องเลิกฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิดตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้ นับได้ 17 ปีเข้าให้แล้ว การฉันอาหารมังสวิรัติทำให้จิตสงบเร็วขึ้น การพิจารณาธรรมตามหลักไตรลักษณ์ก็ปลอดโปร่ง เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าแต่ก่อน การทดลองอดอาหาร ทรมานตัณหา ความอยาก ก็สามารถอดอาหารได้ถึง 1 เดือนเต็มๆ ท่านเล่าถึงตอนนี้ว่า...

วันนั้นทั้งวัน นั่งเข้าสมาธิเงียบเชียบไม่ ลุกขึ้นเลย จิตมันนิ่ง มันติดใจในรสสมาธิ หมูป่าฝูงใหญ่มาหากินใกล้ๆ แล้วมันก็ทะเลาะกันกัดกันอุตลุด อาตมาก็เห็น แต่ประสาทหูไม่ยอมรับเสียง ไม่ได้ยินเสียง รู้เห็นว่ามันกัดกันเท่านั้น แล้วจิตก็วิ่งเข้าไปอยู่ในภวังค์จ่อไป ประสาทหูมันดับ ไม่ยอมรับเสียง แปลกจริงๆ ดูคล้ายกับว่าจิตไม่ใช่อาตมา จิตเป็นตัวหนึ่งต่างหาก และตัวอาตมาก็เป็นตัวหนึ่งต่างหาก จิตกับตัวเรามันแยกจากกัน เพราะสมาธิมันมากเหลือเกิน

อาตมานั่งเข้าสมาธิอยู่ทั้งวันเหมือนฤๅษีเข้าฌาน จะลุกขึ้นในตอนใกล้ค่ำ ฉันน้ำแล้วก็เดินจงกรม การอดอาหารทำได้แต่น้ำต้องฉัน จะขาดไม่ได้ อันนี้เป็นกฎตายตัวสำหรับพระธุดงค์ในป่าที่อดอาหารหลายๆ วัน แต่อย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาดเพราะน้ำช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตเอาไว้

อาตมาบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ที่ภูลังกาหลายเดือน ได้รู้ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ลึกลับหลายอย่าง ด้วยอำนาจศีล อำนาจสมาธิ ที่อาตมาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกต้องพระธรรมวินัย

หลวงปู่ตองกลับไปจำพรรษาที่วัดเดิม วัดตานเทพมงคลใกล้บึงโขงโหลง ได้ดำริขบคิดจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เพื่อจะได้เข้าสู่สายพระกรรมฐานเป็นพระป่าอย่างแท้จริง ครั้นปรึกษากับญาติโยมชาวบ้านก็ไม่มีใครเห็นด้วยเลย ชาวบ้านอยากจะให้อยู่พัฒนาวัดเดิมให้เจริญรุ่งเรือง ถ้าหลวงปู่ตองไปเสียแล้ว พระเณรก็จะสึกกันหมด วัดก็จะร้าง

ด้วยเหตุนี้ เองทำให้หลวงปู่ตองต้องจำใจอยู่วัดนี้ต่อมาถึง 5 ปี เป็นหลักใจให้ชาวบ้าน หนักไปทางพิธีกรรมที่พระสงฆ์องค์เจ้าจะต้องทำ เช่น งานบุญต่างๆ งานบวช งานศพ ฯลฯ ตลอดถึงซ่อมแซมปฏิสังขรณ์กุฏิ ศาลาโบสถ์ วิหาร พัฒนาวัดวาอารามเป็นงานหลัก

เมื่อเห็นว่าได้ทำความเจริญให้วัดนี้ มั่นคงดีแล้ว ท่านจึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตเข้าสู่สายปฏิบัติกรรมฐานในปี พ.ศ. 2530 แต่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมเพราะญาติโยมยังไม่ยอมให้ท่านไปธุดงค์

อยู่มาคืนวันหนึ่งยังไม่ดึกนัก...ขณะที่หลวงปู่ตองนั่งเข้าสมาธิอยู่ที่กุฏิวัดตานเทพมงคล ริมบึงโขงโหลง อากาศคืนนั้นค่อนข้างเย็นจนท่านรู้สึกหนาว มีลมพัดแรงมาจากบึงโขงโหลง จนต้นไม้ใหญ่น้อยเอนลู่ซู่ซ่า เหมือนพายุฝนจะมา ท่านได้เห็นนิมิตในสมาธิ เป็นแสงสว่างสีขาวพุ่งปราดข้ามบึงโขงโหลง มาตกลงที่กุฏิที่ท่านนั่งอยู่

นิมิตภาพแสงสว่างนั้นได้แปรเปลี่ยนไป เป็นร่างชายคนหนึ่ง ผมเกรียนคล้ายทิดสึกใหม่ นุ่งขาวห่มขาว กิริยาท่าทางเรียบร้อยสำรวม ลักษณะอุบาสกผู้มีบุญ ได้เดินเข้ามายกมือไหว้และแนะนำตัวเองว่า

“เราคืออาจารย์วัง อยู่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา เวลานี้ เราไปเกิดเป็นพรหมอยู่บนพรหมโลก เราอยากจะให้ท่านไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา”

กล่าวแล้วก็เดินหายไป หลวงปู่ตองได้พิจารณาแล้วเห็นว่า นิมิตนี้เป็นเพียงจิตสังขารปรุงแต่งธรรมดา ดุจดังคนเรานอนหลับแล้วฝันไป ไม่ควรยึดถือเป็นเรื่องจริงจัง

ครั้นต่อมาอีกหลายวัน ก็เกิดนิมิตภาพนี้อีกขณะนั่งสมาธิ จิตสงบ วิญญาณอาจารย์วังซึ่งเป็นพรหมมาชวนให้ไปอยู่ถ้ำชัยมงคลเป็นครั้งที่สอง แต่หลวงปู่ตองก็ไม่สนใจ เพราะถือว่านิมิตต่างๆ เป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนานิมิต เป็นเพียงภาพล่อ ภาพหลอก ภาพลวง

ต่อมาอีกประมาณ 15 วัน ก็เกิดนิมิตในสมาธิอีก เป็นภาพอาจารย์วังนุ่งขาวห่มขาวมาหาเป็นครั้งที่ 3 พอมาถึงก็ถามว่า

“ท่านปั้นพระพุทธรูปได้ไหม ?” หลวงปู่ตองตอบในสมาธิว่า “เคยปั้นมาแล้ว แต่ไม่เก่ง” นิมิตภาพอาจารย์วังกล่าวต่อไปว่า “เราจะให้ท่านขึ้นไปอยู่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา ไปปั้นพระพุทธรูปหลายองค์ มีเจดีย์ธาตุอยู่บนยอดภูลังกา ใส่อัฐิธาตุของเรา แต่เวลานี้เจดีย์ธาตุนั้นได้ถูกคนร้ายใจบาปทุบทิ้งป่นปี้ ค้นหาสิ่งของเงินทอง เราต้องการให้ท่านไปช่วยสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ด้วย”

นิมิตภาพของอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็หายไปอีก คราวนี้หลวงปู่ตองชักเอะใจสงสัย เพราะนิมิตอาจารย์วังมาหาอย่างมีความมุ่งหมายขึงขังจริงจัง เป็นการออกคำสั่งให้ทำเลยทีเดียว บ่งบอกถึงอำนาจบังคับบัญชาดูน่ากลัว หากขัดขืนเห็นจะเกิดเรื่องเป็นแน่

หลวงปู่ตองจึงได้ออกสืบถามชาวบ้านว่า อาจารย์วังภูลังกามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ได้ความว่า พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เป็นพระธรรมกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือ อยู่ถ้ำชัยมงคลบนยอดภูลังกาใน สมัยปี พศ. 2480 - 2496...

ท่านเป็นศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และต่อมาได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ จึงได้เป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ดังๆ ในสมัยนั้น เช่นพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์สีโห เขมโก พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ เป็นต้น ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า “ครูบาวัง”

ศิษย์สำคัญๆ ของครูบาวัง หรือพระอาจารย์วังมีหลายรูป อาทิ พระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งภูเหล็ก สกลนคร พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี หลวงปู่โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พระครูอดุลธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม (ธรรมยุต) นครพนม เป็นต้น

พระครูอดุลธรรมภาณเป็นพระเพียงรูปเดียวที่รอดตาย เมื่อคราวเรือล่มในบึงโขงโหลง มีพระกรรมฐานภูลังกาจมน้ำถึงแก่มรณภาพ 3 รูป คือพระอาจารย์ปุ่น พระอาจารย์ทอง และพระอาจารย์ทองดี เรือล่มคราวนั้นเป็นเรื่องโด่งดังมาก ในปี พศ. 2499 ใกล้กึ่งพุทธกาลชาวบ้านเล่าลือกันว่า พญาอือลือผีเงือก (พญานาค) บึงโขงโหลง เป็นผู้เอาชีวิตพระกรรมฐานภูลังกา

พระอาจารย์วังเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางกสิณอภิญญา เป็นพระธุดงค์กรรมฐานมีฤทธิ์มาก พระอาจารย์พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวันครั้งนั้นยังไม่มรณภาพ เคยเล่าให้ศรัทธาญาติโยมคณะ “ธรรมทานทัวร์” ฟังเมื่อหลายปีมาแล้วว่า

คราวหนึ่งพระเณรและเถรชีที่ขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่บนภูลังกา ได้รับความลำบากกันมาก เพราะขัดสนอาหารบิณฑบาต และยังเจ็บไข้ได้ป่วย อาพาธด้วยโรคภัยไข้ป่าบ้าง แพ้อากาศบ้าง พระอาจารย์วังได้พาลงจากภูลังกามาส่งให้พ้นป่าใหญ่ ปรากฏว่ามีฝูงเสือโคร่งหลายตัวได้ติดตามมาด้วย ทำให้พระเณรเถรและชี (พ่อขาวแม่ขาว) หวาดกลัวกันมาก พระอาจารย์วังได้บอกให้พระภิกษุสามเณรตาเถรและแม่ชี พากันรีบเดินไปก่อน ส่วนองค์ท่านนั่งลงขวางทางเสือไว้ ฝูงเสือเห็นท่านนั่งก็พากันนั่งลงบ้าง

พระอาจารย์วังทำอย่างนี้อยู่หลายครั้ง ถ่วงเวลาไว้เพื่อให้คณะพระเณรเถรชีเดินทางพ้นป่าใหญ่ ระยะทางสิบกว่ากิโลเมตร ไปถึงหมู่บ้านที่ปลอดภัย ต่อจากนั้นพระอาจารย์วังจึงได้เดินทางกลับภูลังกา โดยมีฝูงเสือติดตามต้อยๆ ไป เหมือนสุนัขที่จงรักภักดีต่อเจ้าของ

พระอาจารย์พุธ ฐานิโย สรุปว่าทำไมฝูงเสือถึงได้จงรักภักดีพระอาจารย์วัง

คำตอบก็คือ พระธุดงค์กรรมฐานอย่างพระอาจารย์วังนั้น มีอำนาจจิตแรงกล้า และโดยเฉพาะมีเมตตามาก จะเข้าสมาธิระดับลึกมากอยู่ทุกวันคืน แล้วแผ่เมตตาไปทั่วทุกสารทิศ อันมีทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทั่วทุกโลกธาตุภพภูมิอันไม่มีขอบเขตเรียกว่า “แผ่เมตตาเจโตวิมุตติ”
การแผ่เมตตาเจโตวิมุตตินั้นคือ ต้องเข้าสมาธิให้ได้ระดับจตุตถฌาน เพื่อให้บรรลุภาวะดวงจิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว เรียกว่า เจโตวิมุตติ ประเภทยังไม่หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด เป็นแต่เพียงหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยอำนาจพลังจิตโดยเฉพาะด้วยกำลังฌาน 4 คือกิเลสทั้งหมดได้ถูกอำนาจอัปปนาสมาธิกดข่มไว้ หรือทับไว้ดุจก้อนหินใหญ่มหึมาทับหญ้าเอาไว้ฉะนั้น ตลอดเวลาที่อยู่ในฌาน 4 นั้นเรียกว่า “วิขัมภนะวิมุตติ”

การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติมีอานุภาพมาก เป็นกระแสคลื่นจิตตานุภาพอันชุ่มชื่นเยือกเย็น ภูตผีปีศาจยักษ์มาร เทวดา พรหม คนธรรพ์ นาคและมนุษย์ตลอดถึงสิงสาราสัตว์ดุร้ายทั้งหลาย เมื่อได้กระทบสัมผัสกระแสเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว จะบังเกิดความรู้สึกชุ่มชื่น เย็นกายเย็นใจ อิ่มเอิบเบิกบาน ปีติปราโมทย์ ดุจดังได้เสวยความสุขอันเป็นทิพย์สุดวิเศษ จะมีไมตรีจิตมิตรภาพ รักใคร่เคารพนับถือผู้ทรงศีลที่แผ่เมตตาเจโตวิมุตตินั้น ไม่กล้าคิดทำร้ายแต่ประการใดเลย

พระอาจารย์วังได้มรณภาพไปนานแล้ว ตั้งแต่ปี พศ. 2496 เมื่อนับถึงปี พศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่ตองได้นิมิตพระอาจารย์วังนั้น ก็เป็นเวลายาวนานถึง 38 ปี ทำให้หลวงปู่ตองข้องใจว่า นับตั้งแต่พระอาจารย์วังมรณภาพไป เหตุใดถึงไม่แสวงหาผู้มีวาสนาบารมีให้มาบูรณปฏิสังขรณ์ถ้ำชัยมงคล-ภูลังกา ทำไมปล่อยให้เวลาผ่านมาถึง 38 ปี จึงมาบอกให้ท่านไปบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งๆ ที่ท่านก็เป็นเพียงพระบ้านนอกธรรมดา ไม่มีบุญบารมีอะไรเลย แต่ด้วยความยำเกรงพระอาจารย์วังที่เป็นวิญญาณมาสั่งให้ไปอยู่ถ้ำชัยมงคล ภูลังกา หลวงปู่ตองจึงจำใจเดินทางขึ้นไปภูลังกา ทำการสำรวจถ้ำชัยมงคล ก็ได้เห็นสภาพความเป็นจริงว่า เจดีย์ธาตุบนยอดเขาภูลังกาที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์วังนั้น ได้ถูกพวกคนร้ายใจบาปทุบทำลายพังทลายลงมา เหลืออยู่เพียงฐานเจดีย์เท่านั้น อัฐิธาตุของพระอาจารย์วังตกอยู่กระจัดกระจายในบริเวณนั้น ทำให้หลวงปู่ตองเกิดความรู้สึกสลดสังเวชยิ่งนัก...

“ครั้นเมื่อไป ดูที่ถ้ำชัยมงคลก็พบกับสภาพถ้ำที่เสื่อมโทรมเต็มไปด้วยหยากไย่ใยแมงมุม พระพุทธรูปหลายองค์ที่พระอาจารย์วังปั้นไว้ ได้ถูกคนใจร้ายใจบาปจับกลิ้งไว้กับพื้นก็มี ที่ถูกขุดเจาะทำลายก็มี คนใจร้ายคงค้นหาเหล้กไหลในองค์พระพุทธรูป ยิ่งทำให้หลวงปู่ตองเศร้าสลดใจ

โอ หนอ...คนเราทำไมมันถึงได้ใจร้ายต่ำทรามถึงเพียงนี้ กล้าทำลายปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนา ไม่เกรงกลัวบาปกรรม นรกมหาอเวจี หลวงปู่ตองได้บอกตัวเองว่า

“ถ้ำชัยมงคลก็ดี ภูลังกาก็ดีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ จิตสัมผัสทำให้เราขนพองสยองเกล้าอยู่เป็นระยะ ที่นี่เป็นอาศรมสถานปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์มาตั้งแต่อดีต ไม่สมควรจะปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเศร้าหมอง เราจะต้องบูรณปฏิสังขรณ์ที่นี่ให้สำเร็จจงได้”

วันนั้นหลวงปู่ตองจึงพักค้างคืนในถ้ำชัยมงคล พอเข้าที่นั่งทำสมาธิภาวนาได้ไม่นาน วิญญาณพระอาจารย์วังก็มาหาอีก ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นุ่งขาวห่มขาวเหมือนเดิม วิญญาณพระอาจารย์วังพูดว่า อัฐิธาตุของเราที่ตกอยู่กระจัดกระจายนั้น เมื่อท่านได้เก็บรวบรวมไว้แล้ว ก็ให้เอาบรรจุใส่ไว้ในเจดีย์อย่างเดิม ถ้าท่านสงสัยอะไรให้ไปถามพระครูอดุลธรรมภาณ ที่วัดศรีวิชัย บ้านศรีวิชัย อำเภอศรีสงคราม พระครูอดุลฯ สมัยเป็นสามเณรเคยอยู่กับเราที่ถ้ำชัยมงคลนี้

นิมิตภาพพระอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็เดินออกจากถ้ำหายไป

หลวงปู่ตองได้เดินทางไปหาพระครูอดุลธรรมภาณในวันต่อมา เล่าเรื่องทั้งหมดที่ตนประสบให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ พระครูอดุลธรรมภาณได้ยินแล้วก็พิศวงงงงันไม่อยากจะเชื่อ ตนเองเป็นศิษย์ก้นกุฏิมาตั้งแต่เป็นสามเณรน้อยจนกระทั่งเป็นพระ อายุพรรษาแก่เท่าถึงวันนี้ยังไม่เคยเห็นวิญญาณพระอาจารย์วังมาหาเลย จึงถามว่า “ท่านตองจำรูปร่างหน้าตาพระอาจารย์วังที่เห็นในสมาธิได้แน่รึ ?”

หลวงปู่ตองตอบว่า “ผมจำได้ติดตา”

พระครูอดุลธรรมภาณลุกขึ้น เดินเข้าไปในห้องหยิบเอารูปถ่ายพระอาจารย์วังมาส่งให้หลวงปู่ตองดู ถามว่า “เหมือนรูปนี้ไหม ?”

หลวงปู่ตองได้เห็นรูปถ่ายของพระอาจารย์วังแล้วก็ตะลึง ขนพองสยองเกล้า ถึงกับรีบวางรูปถ่ายลง แล้วกราบรูปถ่ายด้วยความเคารพเลื่อมใส เพราะวิญญาณพระอาจารย์วังที่มาหานั้นเป็นคนๆ เดียวกันกับรูปถ่ายนี้ จึงได้กราบเรียนให้พระครูอดุลธรรมภาณทราบตามนั้น พระครูอดุลธรรมภาณได้ฟังแล้วก็อัศจรรย์ใจขนลุกไปทั้งตัว เหลียวซ้ายแลขวา เข้าใจไปว่าวิญญาณพระอาจารย์วังจะต้องติดตามหลวงปู่ตองมา ท่านพระครูอดุลฯ ได้ร้องว่า “ผมขนลุกไปหมดแล้ว ท่านพระอาจารย์วังอาจจะมาอยู่ในห้องนี้แล้วก็ได้”

ด้วยเหตุดังกล่าว นี้เองทำให้หลวงปู่ตองเกิดความเลื่อมใสพระอาจารย์วัง มีความเชื่ออย่างปราศจากข้อสงสัยว่า วิญญาณพระอาจารย์วังมีจริง เป็นเทพเจ้าชั้นสูงอยู่พรหมโลก มาวนเวียนอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา ด้วยความห่วงใย ดังนั้นหลวงปู่ตองจึงตัดสินใจมาอยู่ถ้ำชัยมงคลด้วยความเต็มใจ เคารพเลื่อมใสในองค์อาจารย์วังอย่างสุดจิตสุดใจทีเดียว

ขอหยุดเรื่องหลวงปู่ตองไว้ ชั่วคราวก่อน จะขอเล่าถึงเรื่องราวพิสดารของพระอาจารย์วัง เมื่อเล่าจบแล้วจึงจะได้เล่าเรื่องหลวงปู่ตองเป็นตอนสรุปส่งท้าย...

พระอาจารย์โง่น หรือหลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองฤทธิ์เชี่ยวชาญในกฤตยาคม สามารถพูดได้หลายภาษา เป็นต้นว่า ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย สเปน ลาตินอเมริกา จีน ญวณ เขมร และพม่า

เคยมีผู้กล่าวว่าหลวงปู่โง่นเก่งหลายภาษาเพราะสำเร็จ “อรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ” นั้น หลวงปู่โง่นตกใจมาก รีบปฏิเสธเป็นการใหญ่

“อย่าหาเรื่องให้ฉันตกนรก ! ฉันไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ! อย่าได้พูดเป็นอันขาดว่าฉันเป็นพระอรหันต์ ฉันเป็นเพียงพระธรรมดา เป็นหลวงตาแก่ๆ องค์หนึ่ง เหตุที่สามารถพูดได้หลายภาษา ก็เพราะศึกษาค้นคว้า หัดพูด หัดเขียนภาษาต่างๆ ด้วยความอยากรู้เท่านั้น”

หลวง ปู่โง่นสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มนั้น เคยสอนศาสนาคริสต์อยู่ที่เกาะลังกาหรือประเทศศรีลังกา เกิดเบื่อขึ้นมาเลยมาอยู่กับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่วัดป่าบ้านศรีเวินชัย ริมฝั่งแม่น้ำศรีสงคราม ต. สามผง อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ประมาณปี พศ. 2485 ปรารภอยากบวช พระอาจารย์วังจึงจับตัวให้นุ่งขาวห่มขาวเป็น “พ่อขาว” หรือ ชีปะขาว ถือศีล 8 ทดลองดูใจก่อนว่าจะเป็นนักบวชได้ไหม

หน้าที่ของพ่อขาวในวัดป่าก็ คือ รับใช้พระสงฆ์องค์เณรทุกอย่าง หัดหมอบ หัดคลาน หัดกราบไหว้ ล้างถาน (ส้วม) ล้างกระโถน ล้างเท้าพระ และเช็ดเท้าพระทุกรูปที่กลับจากบิณฑบาต ฯลฯ เป็นงานหนักมาก ต้องทำใจพร้อมที่จะถูกครูบาอาจารย์ดุด่า และประการสำคัญจะต้องท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนานให้ได้หมดอีกด้วย ถึงจะยอมให้บวชได้

หนุ่มโง่นอดีตนักเทศน์นักสอนศาสนาคริสต์ สามารถผ่านด่านทดสอบได้สบายมาก เพราะปัญญาไว สมองเปรื่องปราดมาแต่เกิดแล้ว พระอาจารย์วังจึงพาไปบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดนครพนม โดยมีหลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อบวชเป็นพระแล้ว พระอาจารย์วังก็พาออกธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา เป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิด มีสามเณรคำพันธ์ อายุ 14 ปีอยู่ด้วย (ต่อมาเป็นพระครูอดุลธรรมภาณ) ร่วมกับสามเณรอีก 3 - 4 รูป และอุบาสกหรือพ่อขาวถือศีลจำนวนหนึ่งจำไม่ได้ว่ากี่คน ดังนั้นพระอาจารย์โง่นและพระครูอดุลธรรมภาณ (อดีตสามเณรคำพันธ์) จึงเป็นผู้รู้เรื่องพระอาจารย์วังได้ดีที่สุด รู้เรื่องเมืองลับแล เรื่องพญานาคที่ภูลังกาได้ดีที่สุดอีกด้วย

ต่อไปนี้เป็นเรื่องที่พระอาจารย์โง่น หรือหลวงปู่โง่นเล่าให้ฟัง ท่านได้เล่าว่า...

พระอาจารย์วังเป็นชาวจังหวัดยโสธร บวชเป็นพระที่จังหวัดนครพนม หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วไปอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ปฏิบัติธรรมภาวนา “พุทโธๆ ๆ” ตามแนวทางของหลวงปู่เสาร์ เอาสมถกรรมฐานก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อให้จิตมีอำนาจแก่กล้า เพราะท่องเที่ยวธุดงค์กันอยู่แต่ในป่า สมัยนั้นชุกชุมไปด้วยเสือสางคางลายดุร้ายเหลือหลาย ถ้าพระธุดงค์กรรมฐานรูปไหนไม่ได้สมาธิ ไม่ได้ฌาน เสือคาบเอาไปกินแน่ๆ เมื่อชำนาญในฌานสมาบัติแล้ว จึงค่อยใช้สมาธิฌานนี้เป็นบาทฐาน เจริญวิปัสนาญาณ เอามรรคผลนิพพานเป็นขั้นสุดท้าย

เรียกวิธีการปฏิบัติธรรมแบบนี้ว่า “สมถยานิก” การปฏิบัติกรรมฐานแนวทางนี้ เป็นที่นิยมชมชอบกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เพราะพระอาจารย์มั่นเป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

พระอาจารย์วัง หรือครูบาวัง เชี่ยวชาญในกสิณสมาบัติ สำเร็จวิชชาอภิจิตอิทธาภิสังขาร คือ “ฉฬภิญโญ” หรืออภิญญาฤทธิ์ เมื่อมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา ท่านชอบอดอาหารครั้งละหลายๆ วัน ออกไปนั่งทำสมาธิวิปัสสนาที่ชะง่อนผาบนยอดภูลังกา ท้าทายมฤตยู พระเณรเถรชีศิษยานุศิษย์เห็นแล้วก็สยองใจหวาดเสียว พาลจะเป็นลมกลัวท่านจะตกเขาตาย

หน้าผาแห่งนั้นสูงชันลึกลิ่ว มีกระแสลมบนพัดแรงน่ากลัว การนั่งอยู่ที่นั่น ถ้าเผลอสติง่วงนอนสัปหงกวูบเดียว ก็จะหัวทิ่มดิ่งพสุธา ตกลงไปร่างแหลกเหลวตาย แต่พระอาจารย์วังสามารถนั่งอยู่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งวันทั้งคืน ด้วยความปลอดภัย น่าอัศจรรย์ บ่งบอกถึงจิตใจอันกล้าหาญแข็งแกร่งปานเพชรผิดมนุษย์มนา ไม่รู้สึกหวาดกลัวต่อความตายเลยแม้แต่น้อย จิตใจชนิดนี้แหละเรียกว่า “อภิจิต” มีจิตตาภินิหาร สามารถแสดงฤทธิ์ได้ทุกรูปแบบเป็นที่น่าอัศจรรย์

พระป่าบำเพ็ญธุดงค์กรรมฐาน ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้นล้วนเก่งกล้าทางสมาธิ ได้ “ฌาน” กันเป็นส่วนมาก แต่ที่ได้ฌานสมาบัติแล้วได้ตาทิพย์หรือทิพย์จักษุญาณ และอิทธิฤทธิ์ด้วยนั้นมีจำนวนน้อย ดังที่ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโ วัดป่าบ้านตาดได้กล่าวไว้ว่า
“จิตส่งออกรู้อะไรๆ ต่างๆ ด้วยอำนาจสมาธิ หรือทิพยจักษุนั้นจะมีร้อยละ 5 คนก็ทั้งยาก”

อันนี้เป็นการยืนยันว่า ถึงแม้บรรลุอัปปนาสมาธิ ได้ฌานสมาบัติแล้วก็ตาม มีจำนวนน้อยมากที่ได้อภิญญา 5 ส่วนผู้ที่ได้อภิญญา 5 นั้น จะต้องมี “ปุพเพกตปุญญตา” หรือความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในชาติปางก่อน มาส่งเสริมสนับสนุน จึงจะได้อภิญญาญาณ และที่ได้นั้นก็มีน้อยมากที่จะได้อภิญญา 5 ครบทั้งห้าประการ ส่วนมากจะได้กันเพียงบางประการเท่านั้น

พระอาจารย์ วัง ฐิติสาโร เป็นผู้มีวาสนาบารมีฌานลาภีบุคคล สำเร็จกสิณทั้งอิทธิวิธี (อิทธิฤทธิ์) และทิพยจักษุญาณเป็นที่แน่ชัด เพราะท่านติดต่อพูดจาปราศรัยกับพวกเทวดา พวกพรหม และภูตผีปีศาจ นาค คนธรรพ์ หรือลับแลได้สบายมาก แสดงถึงการรู้เห็นด้วยตาใน (ทิพยจักษุญาณ) ที่ท่านสามารถนั่งอยู่ที่ชะง่อนผาบนยอดเขาสูงได้ตลอดวันตลอดคืน 24 ชั่วโมงรวดโดยไม่เผลอสติง่วงโงกพลัดตกลงไปถึงแก่มรณภาพนั้น บ่งบอกถึงการใช้ฤทธิ์อภิญญา (อิทธิวิธี) รวมถึงที่ท่านสามารถบังคับฝูงเสือโคร่งได้ ท่านใช้ฤทธิ์ทางเมตตาเจโตวิมุติ

ส่วนอภิญญาข้ออื่นๆ อีก 3 ประการนั้น ไม่ทราบว่าท่านจะได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่กล้าเดาหรือสัณนิษฐานเพราะกลัวจะเป็นบาปโทษ

หลวงปู่โง่น โสรโย ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

ตอนที่พระอาจารย์วังมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาใหม่ๆ นั้น ท่านก็ประสบเข้ากับความลึกลับของวิญญาณอย่างแปลกประหลาด เหตุเกิดในตอนหัวค่ำคืนวันหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์วังนั่งเจริญภาวนาอยู่นั้น มีแสงสว่างสาดเข้ามาในถ้ำเป็นแสงเย็นๆ เหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญเข้าใจว่าเป็นแสงสว่าง หรือ “โอภาส” ตามปกติธรรมดาเวลาทำสมาธิมักจะเกิดขึ้นเสมอ

แสงนั้นสว่างไสวแรงกล้า ขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกรำคาญ จึงได้ลืมตาขึ้น ก็ได้เห็นคนนุ่งขาวห่มขาว 3 - 4 คน เดินเข้ามาหาเนิบๆ ดูลอยๆ พิกล แต่ละคนไม่แก่ไม่หนุ่ม รูปร่างหน้าตาเหมือนชาวบ้านทั่วไป แต่ผ่องใส มีสง่าราศีชวนให้สะดุดใจ พวกเขานั่งลงกราบอย่างสวยงามเบญจางคประดิษฐ์ คนที่เป็นหัวหน้าได้เอ่ยขึ้นว่า
“ได้เห็นพระอาจารย์วังขึ้นมาอยู่ที่ภูลังกาตั้งแต่วันแรกแล้ว เพิ่งมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนนมัสการในวันนี้”

ทีแรกพระอาจารย์วังเข้าใจว่า พ่อขาวทั้ง 4 คนเป็นนักปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำใดถ้ำหนึ่ง ในเทือกเขาภูลังกาอันกว้างใหญ่ พากันดั้นด้นมาเพื่อจะสนทนาธรรมด้วย แต่ก็คิดผิดไปถนัดเมื่อพ่อขาวผู้นั้นได้เล่าต่อไปว่า...พวกเขาไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นโอปปาติกะหรือวิญญาณมาจากสวรรค์แดนพรหมโลก มาบำเพ็ญบารมีแสวงบุญที่ภูลังกา เพราะเป็นสถานที่สงัดวิเวกและศักดิ์สิทธิ์มานานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

พวกเทวดาและพรหมชอบพากันมาเยือนโลก เพราะได้เห็นสถานภาพที่แท้จริงของโลกมนุษย์มีสภาวะ ความทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ทำให้เกิดสลดสังเวชรู้แจ้งในธรรมได้ง่ายกว่าอยู่บนสวรรค์ เพราะบนสวรรค์มีแต่ความสุขสารพัดอันเป็นทิพย์ มอมเมาให้หลงเพลิดเพลิน จึงยากที่จะปฏิบัติธรรมให้เห็นแจ้งในความทุกข์

พระอาจารย์วังได้ ฟังแล้วก็พิศวงงงงัน เกิดความสงสัยว่าตัวเองฝันไปหรือเปล่า ? ชายทั้งสี่ได้กล่าวอย่างรู้วาระจิตว่าพระอาจารย์วังไม่ได้ฝันไปแต่อย่างใด พวกเขาเป็นพรหมมาพบจริงๆ โดยการแสดงกายหยาบให้เห็นเป็นกรณีพิเศษ เพราะมีวาสนาบารมีเคยผูกพันกันมากับพระอาจารย์วังในอดีตกาล จึงสามารถแสดงกายหยาบให้เห็นได้ตามกฎแห่งกรรม ไม่ผิดหลัก “โอปปาติกธรรม” แต่ประการใด

พระอาจารย์วังได้ถามว่า พวกวิญญาณหรือที่เรียกกันตามภาษาบาลีว่า โอปปาติกะนั้นมีกายเป็นทิพย์ที่มนุษย์ไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เวลาจะแสดงกายหยาบให้มนุษย์เห็นจะต้องใช้เวทมนตร์คาถาไหม ?

พรหมทั้งสี่ได้กล่าวว่า พวกโอปปาติกะ หรือวิญญาณชั้นสูง เป็นต้นว่า เทวดา พรหม ที่มีบุญฤทธิ์ หรือเคยสำเร็จอัปปนาสมาธิมาก่อนในสมัยเกิดเป็นมนุษย์ สามารถแสดงกายหยาบได้ ทำที่โล่งแจ้งว่างเปล่าให้เป็นป่าไม้ภูเขาได้ ล่องหนหายตัวได้ แปลงกายเป็นอะไรก็ได้ เมื่อทำไปแล้วก็จะสูญเสียพลังทิพย์ ต้องมีการ “เข้ากรรม” คือรักษาศีลเจริญเทวธรรมและพรหมธรรม เพื่อเรียกเอาพลังอำนาจทิพย์นั้นกลับมาให้เหมือนเดิม

ที่พิเศษพิสดาร ได้แก่พวกปีศาจต่างๆ ได้แก่ ผีหรือเปรต เช่น มหิทธิเปรตและเปรตอีกหลายจำพวก ที่มีฤทธิ์ เป็นผีปีศาจดุร้าย แสดงกายหลอกหลอนได้ต่างๆ นานา สามารถทำร้ายมนุษย์และสัตว์ได้นั้น มีฤทธิ์เดชได้ด้วยผลกรรมเรียกว่า “กรรมวิปากชาฤทธิ์”

พวกโอปปาติกะหรือวิญญาณต่างๆ ที่มีบุญน้อยและเทวดาบางจำพวกที่มีบุญฤทธิ์น้อย (แต่มีเทวธรรมดีงาม) จะแสดงกายหยาบไม่ได้เลย แต่สามารถทำกลิ่นได้ เป็นต้นว่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นธูปเทียน กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหารคาวหวาน และทำให้เกิดเสียงต่างๆ ได้ เช่น เสียงขว้างปาหลังคาบ้าน เสียงพูด เสียงร้องไห้คร่ำครวญ หรือหัวเราะ เสียงลมพายุเป็นต้น แต่แสดงกายหยาบเป็นตัวตนไม่ได้ พวกผีหรือวิญญาณโอปปาติกะจำพวกนี้มีจำนวนมากที่สุดในโลกวิญญาณ
พรหมทั้งสี่ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ภูลังกามี 5 ลูก เป็นเทือกเขาบริเวณกว้างขวาง หนาแน่นด้วยต้นไม่ใหญ่น้อย เป็นสวนสมุนไพรนานาชนิด มีโอสถสารวิเศษหายาก มากไปด้วยคูหาเถื่อนถ้ำลึกลับ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับพิสดาร

ทางโลกวิญญาณได้แบ่งภูลังกาเป็นเขตเป็นภูมิต่างๆ เป็นต้นว่า เขตหรือภูมิของพรหม สำหรับพวกพรหมลงมาบำเพ็ญธรรมในโลก เขตหรือภูมิของพวกพญานาค เขตหรือภูมิของพวกปิศาจอสุรกาย เขตหรือภูมิของพวกลับแล (บังบดหรือคนธรรพ์) ซึ่งเป็นผีจำพวกหนึ่งที่มีกายหยาบใกล้เคียงกับมนุษย์เรียกว่า “อมนุษย์” ผีลับแลมีคุณธรรมสูงถือศีล 5 เคร่งครัด จะเป็นเทวดาก็ไม่ใช่จะเป็นผีก็ไม่เชิง จะเป็นมนุษย์ก็ก้ำๆ กึ่งๆ ครึ่งๆ กลางๆ เพราะมีบุญฤทธิ์พิเศษล่องหนหายตัวได้ และสร้างภพภูมิของพวกตนเป็นบ้านเป็นเมืองอยู่อาศัยได้ แต่เมื่อถึงคราวพวกลับแลสิ้นกรรม (หมดอายุขัย) บ้านเมืองของพวกเขาก็จะหายวับเป็นอากาศธาตุไปทันที ภูตผีปีศาจทั้งหลายมีความยำเกรงพวกลับแลมาก ไม่กล้าตอแยข่มเหงเบียดเบียน

พระอาจารย์วังพอใจในคำตอบของพวกพรหม จึงได้ถามว่า ที่มาในคืนนี้มีกิจธุระอันใด ?

พรหมทั้งสี่ได้ตอบว่า ถ้ำชัยมงคลที่พระอาจารย์วังมาอยู่นี้ อยู่ในเขตของพวกพรหมที่ลงมาปฏิบัติธรรมอยู่สมอ จึงอยากให้พระอาจารย์วังเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่าล่วงเกินธรรมวินัยเป็นอันขาด เพราะจะได้รับอันตรายจากพวกพญานาค พวกลับแลหรือบังบด และพวกยักษ์ที่รักษาป่าไม้ภูเขาเถื่อนถ้ำ ห้ามฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิด ให้ฉันได้ก็แต่อาหารพรหมหรืออาหารมังสวิรัติ (อาหารเจ) เพราะย่านถ้ำชัยมงคลบนภูลังกาเป็นภูมิหรือเขตบริสุทธิ์ของพวกพรหม

พระอาจารย์วังเห็นว่าคำขอร้องนี้เป็นเรื่องที่ดีงาม ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร การไม่ฉันพวกปลาพวกเนื้อของคาวๆ ก็ดีเหมือนกัน ให้พวกศิษย์ที่เป็นพ่อขาว (อุบาสก) และสามเณรไปหาหัวเผือกหัวมันในป่ามาขบฉันแบบฤาษีชีไพรก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ ได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร ดังนั้นท่านจึงได้ตอบตกลงที่จะทำตามคำขอร้องของพวกพรหมด้วยความยินดีไม่ขัดข้อง

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พวกพรหมอีกหลายองค์ ได้ผลัดเปลี่ยนกันมาสนทนาธรรมกับพระอาจารย์วังอยู่เสมอ ท่านบอกพระสหธรรมมิกร่วมสมัย เช่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน ว่าเรื่องของพรหมบนภูลังกาเป็นเรื่องลี้ลับพิสดารมาก ไม่อยากจะเล่าให้ใครฟังเลย กลัวเขาไม่เชื่อ หลวงปู่โง่น โสรโย ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

นอกจากจะสามารถติดต่อกับพวกพรหมจากสวรรค์ พรหมโลก...พระอาจารย์วังยังติดต่อกับชาวลับแลหรือบังบด หรือคนธรรพ์ได้ ติดต่อกับพวกพญานาคได้ รวมถึงยักษ์หรืออสูรหรือรากษสได้เป็นปกติ เพราะที่ภูลังกาเป็นภูมิหรือที่อยู่ของวิญญาณหลายภูมิดังกล่าวมาแล้ว

เกี่ยวกับพวกพญานาค พระอาจารย์วังได้ตักเตือนพระเณรที่อยู่ด้วยบนภูลังกาในสมัยแรกๆ นั้น ได้แก่ พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์คำ ยสกุลปุตโต พระอาจารย์วัน อุตตโม สามเณรคำพันธ์ (ปัจจุบันเป็น พระครูอดุลธรรมภาณ) สมาเณรสุบรรณ สามเณรใส สามเณรอุทัย มีความว่า...

ภูลังกาเป็นแดนอาถรรพ์ เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับภพภูมิผีสางเทวดาสิ่งลี้ลับ มีทั้งฝ่ายดีคือ สัมมาทิฐิ และฝ่ายชั่วคือมิจฉาทิฐิ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วได้จับตาดูพระสงฆ์องค์เณรอยู่ตลอดเวลา ว่าจะประพฤติผิดศีลวินัยข้อใดบ้าง เรียกว่าเขาคอยจ้องจับผิด ถ้าพบว่าพระสงฆ์องค์เณรรูปใด ทำผิดเป็นอาบัติ เขาจะเล่นงานทันที เป็นต้นว่า ทำให้เจ็บไข้อาพาธ ทำให้ถึงพิการหรือตายก็ได้

ฉะนั้นขอให้พระเณร ทุกรูปรักษาศีลทุกข้อให้เคร่งครัด ตามสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมความนึกคิดให้อยู่แต่ทางบุญกุศล อย่านึกคิดชั่วๆ ลามกจกเปรต คึกคะนองเป็นอันขาด

หลังจากที่พระอาจารย์วังได้กล่าวตัก เตือนแล้วได้ไม่กี่วัน ก็ปรากฏมีพวกงูจำนวนมากได้เลื้อยเพ่นพ่านอยู่ทั่วไป เป็นต้นว่า งูเห่า งูจงอาง งูสิงห์ดง งูเขียว งูเหลือม และงูสีสันแปลกๆ งูเหล่านี้เลื้อยเข้าๆ ออกๆ ถ้ำชัยมงคล ทำให้พระเณรหวาดกลัวกันมาก แต่งูก็ไม่ขบกัดใครผู้ใด

พระอาจารย์วังได้บอกพระเณรและพ่อขาวว่า ห้ามทำร้ายงู ห้ามดุด่า ให้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลให้งูทั้งหลายทุกโอกาสที่พบเห็น หรือเกิดการเผชิญหน้าอย่างคับขันอันตราย จิตที่เมตตาของเราจะทำให้งูมีความเป็นมิตร ไม่ทำอันตราย เพราะงูมีประสาทสัมผัสพิเศษทางใจ รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ได้

ในจำนวนงูทั้งหลายที่ปรากฏ มีงูประหลาดตัวหนึ่งชอบเลื้อยเข้าไปหาพระอาจารย์วังในถ้ำ บางครั้งในเวลากลางวัน บางครั้งในเวลากลางคืน เป็นงูใหญ่ขนาดต้นเทียนพรรษา หรือใหญ่โตขนาดต้นหมากทีเดียว ลักษณะแตกต่างจากงูทั่วไป ที่ลำคอพังพานสีแดง จะแผ่พังพานส่ายโงนเงนแล้วผงกคำนับ 3 ครั้ง

สามเณรและพ่อขาวมีความหวาดกลัวงูใหญ่คอแดงตัวนี้กันมาก เพราะบางวันมันจะปรากฏตัวอยู่ที่พลาญหินกว้างทางเดินจงกรมกลางแจ้ง แผ่พังพานโยกไปเยกมาคล้ายร่ายรำบูชาฟ้าดิน ใครที่เดินจงกรมอยู่ก็รีบเผ่นหนีลืมแผ่เมตตาตั้งสติไม่ทัน เมื่อพระเณรได้นำเรื่องนี้ไปบอกพระอาจารย์วัง ท่านได้กล่าวว่า

“ไม่ต้องกลัว เพราะไม่ใช่งูจริงๆ เป็นงูโอปปาติกะ หรือวิญญาณได้แก่พญานาคนั่นเอง เป็นพวกกายทิพย์อยู่เมืองบาดาลหรือนาคพิภพ เป็นสัตว์ประเสริฐศักดิ์สิทธิ์ เขตภูลังกาก็ดี บึงโขงโหลงก็ดี แม่น้ำศรีสงครามและแม่น้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำโขงก็ดี อยู่ในเขตปกครองของพญานาค เป็นมรรควิถีทางขึ้นลงนาคพิภพทั้งนั้น พญานาคคอแดงเป็นมิตรกับพระสงฆ์องค์เณร เป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนาและรักษาพุทธศาสนิกชนผู้อยู่ในศีลในธรรม ใครไม่อยู่ในศีลในธรรม ประพฤติตนเป็นคนเลวคนพาลพาโลขี้โมโหโกรธา พวกพญานาครังเกียจจะไม่พิทักษ์รักษา ตกน้ำก็ไหลตาย ตกไฟก็ไหม้ตายวอดวายไป”

นับตั้งแต่นั้นมา พระเณรและพ่อขาวก็ไม่ได้หวาดกลัวพญานาคคอแดงอีกต่อไป เพราะรู้แล้วว่าเป็นญาติธรรมในพระศาสนา มีความสนิทสนมกับพระอาจารย์วังอย่างลึกลับน่าอัศจรรย์ นอกจากพญานาคแล้ว พระอาจารย์วังยังได้พบปะกับชาวลับแลหรือบังบด เรื่องมีอยู่ว่า...

เจ้าหนุ่มบวร หลานชายของพระอาจารย์วังอยากจะบวชเป็นพระแต่อายุยังไม่ครบ พระอาจารย์วังให้นุ่งขาวห่มขาวถือศีล 8 เป็นพ่อขาวฝึกปฏิบัติธรรมไปก่อน วันหนึ่งบวรไปแสวงหาต้นตาวในป่าภูลังกา จะเอาต้นตาวมาต้มแกงถวายพระเณรในตอนเช้า บวรได้หายตัวไปไม่กลับมาเลย พระเณรและพ่อขาวได้ออกตามหา จนกระทั่งมืดค่ำก็ไม่พบร่องรอยใดๆ

พระอาจารย์วังได้นั่งสมาธิดูก็ได้พบว่า บวรไปอยู่กับสาวงามชาวลับแล อยู่กินเป็นผัวเมียกันเสียแล้ว เป็นไปตามเหตุปัจจัย บุพพวาสนาเก่าหรือบุพเพสันนิวาสบันดาลให้มาเจอกันเพราะเป็นเนื้อคู่กัน

บ้านเมืองของชาวลับแลนั้นคล้ายเงาสะท้อนของบ้านเรือนมนุษย์ตามยุคสมัยในถิ่นนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพราะมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันอย่างลึกลับตามกฏแห่งวิบากกรรม บ้านเรือนของชาวลับแลที่เห็นในสมาธินั้นเป็นบ้านใต้ถุนสูง หลังคามุงหญ้า และแฝกฝาบ้านทำด้วยไม้ไผ่หรือใบตองตึงและขัดแตะ พื้นบ้านปูไม้กระดานหยาบๆ หรือปูด้วยไม้ไผ่สับ ส่วนบ้านชาวลับแลผู้มีฐานะดีหรือคุณธรรมสูงเป็นตึกโบกปูน หลังคามุงกระเบื้อง บางหลังมุงด้วยไม้ ส่วนฝาบ้านเป็นไม้ประดิษฐ์เป็นตาตารางสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมงามเรียบ ๆ

ที่เห็นนี้เป็นสมัยเมื่อ 50 - 60 ปีก่อนโน้น (สมัยโลกาภิวัฒน์อย่างปัจจุบัน บ้านเมืองชาวลับแลก็คงจะเจริญพัฒนาเช่นเดียวกันกับโลกมนุษย์เราละกระมัง ?)

ชาวลับแลในสมัยนั้น พวกผู้ชายส่วนมากจะนุ่งผ้าขาวม้าขัดเตี่ยวผืนเดียว เดินเท้าเปล่าไม่มีรองเท้า ไม่ใส่เสื้อ ส่วนผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นมีผ้าคาดหน้าอกใช้แทนเสื้อเป็นส่วนมาก แต่สำหรับชาวลับแลที่มีฐานะดีหรือคุณธรรมสูง จะนุ่งห่มรัดกุมเรียบร้อยเหมือนอุบาสกอุบาสิกาในวันพระวันศีลอุโบสถ

บ้านเมืองชาวลับแลบังบด (ปักษ์ใต้เรียกคนธรรพ์) ไม่มีคนยากจน ไม่มีคนขอทาน ไม่มีหญิงโสเภณี ทุกคนมีอยู่มีกินสมฐานะ มีการทำไร่ไถนา มีสัตว์เลี้ยง วัว ควาย เป็ด ไก่ สุนัข หมู และวิหคนกกา เป็นสัตว์โอปปาติกะอบายภูมิตามกฎกรรมวิบากอันสลับซับซ้อนพิสดาร

ชาวลับแลมีคุณธรรมประจำหมู่เหล่า ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด ภูตผีปีศาจทั้งหลายรักษาศีลไม่ได้ ทำให้ชาวลับแลเป็นผีพิเศษที่มีอำนาจเป็นที่ยำเกรงของภูตผีปีศาจทั้งหลาย ชาวลับแลที่เป็นนักพรตหรือฤๅษีจะนุ่งขาวห่มขาวเกล้าผมมวย เรียกตัวเองว่า คุรุฤๅษี หรือ ดาบส

หัวหน้าชาวลับแลได้บอกกับพระอาจารย์วังว่า เจ้าหนุ่มบวรมาอยู่เมืองลับแลถูกต้องตามจารีตประเพณีของเมืองลับแล จะกลับออกไปไม่ได้จะต้องดำเนินชีวิตเหมือนชาวลับแลทุกอย่าง หากทำผิดกฏจารีตประเพณีก็จะถูกขับไล่กลับเมืองมนุษย์ ฉะนั้นในระหว่างนี้จะให้บวรกลับถ้ำชัยมงคลไม่ได้

พระอาจารย์วังเข้าใจกฏจารีตประเพณีนี้ก็อับจนปัญญา ไม่รู้จะช่วยบวรได้อย่างไร จะอธิบายให้ญาติพี่น้องฟังเขาคงจะไม่เชื่อ เพราะเรื่องเมืองลับแลพิสูจน์ไม่ได้เลย ที่เล่าๆ กันมาก็เป็นเชิงนิยายปรัมปราเอาสาระไม่ได้ ญาติพี่น้องคงจะเชื่อว่าบวรตกเหวตาย หรือถูกเสือถูกงูเหลือมกินไปแล้วมากกว่า

หัวหน้าชาวลับแลได้บอกว่า พระอาจารย์อย่าได้คิดวิตกเป็นทุกข์ไปเลย ถ้าใครสงสัยเรื่องบวรไปอยู่เมืองลับแล ก็ให้คนนั้นมาที่ภูลังกานุ่งขาวถือศีล 8 มานั่งสมาธิภาวนาอธิษฐานจิตขอเห็นเมืองลับแล อยากจะพบบวรก็จะได้พบสมความปรารถนาหายสงสัย โดยกระผมจะให้คนนำทางมารับเข้าเมืองลับแล ถ้าไม่กล้าเข้าไปในเมืองลับแล ก็ให้เลือกเอาวิธีออกไปยืนกลางแจ้งในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ร้องตะโกนดังๆ ว่า บวรอยู่ที่ไหน ? ก็จะมีเสียงของบวรตะโกนตอบออกมาจากเมืองลับแล จะซักถามอะไรก็ได้ แต่จะพบตัวบวรไม่ได้

พระอาจารย์วังได้เล่าเรื่องนี้ให้พระเณรฟัง ดังนั้นในวันต่อมาพระอาจารย์โง่น โสรโย กับพระเณรและพ่อขาวได้พากันไปพิสูจน์ ออกไปยืนอยู่กลางแจ้งบนภูลังกาในเวลากลางวันร้องตะโกนเรียกหาบวร ก็ปรากฏอัศจรรย์ว่า มีเสียงของบวรตะโกนตอบมาจากดงไม้ในหุบเขา เมื่อซักถามต่างๆ บวรก็ตอบได้ถูกต้องชัดเจนว่าเป็นบวรจริงๆ ไม่ใช่คนอื่นแอบอ้างเป็นตัวบวรแต่อย่างใด

บวรได้บอกว่าเขาอยู่สบายดี มีความสุขกับเมียสาวชาวลับแล ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลับแลเหมือนบ้านเมืองมนุษย์ทุกอย่าง ชาวลับแลไม่ใช่ภูตผี หากเป็นมนุษย์เผ่าหนึ่งที่หายตัวได้กำบังตาได้ ทำให้มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ ยกเว้นแต่ในกรณีที่ชาวลับแลอยากให้เราเห็นถึงจะเห็นได้

บวรยังได้บอก อีกว่าเขาพอใจจะอยู่ที่เมืองลับแล ไม่อยากกลับออกมาอยู่เมืองมนุษย์เลยขออย่าได้เป็นห่วงเป็นใย ใครได้มาอยู่เมืองลับแลแล้วก็จะติดใจ เพราะมีความสุขกายสบายใจเป็นแดนทิพยสุขมหัศจรรย์อธิบายไม่ถูก ต้องมาเห็นเองถึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง...

อยู่มาไม่นานก็มีหนุ่มอีกคนชื่อ “สวัสดิ์” เป็นชาวอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร มานุ่งขาวถือศีล 8 ปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์วัง ที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา สวัสดิ์ถือเคร่งในการปฏิบัติเดินจงกรมและนั่งสมาธิเอาจริงเอาจังมาก มักจะเล่าให้คนใกล้ชิดฟังว่า เขาไปเที่ยวเมืองลับแลมาแล้ว ไปในตอนกลางคืน แต่ไม่มีใครเชื่อเรื่องนี้

อยู่ต่อมาไม่นาน สวัสดิ์ได้หายตัวไปโดยไม่บอกกล่าวใคร สิ่งของเครื่องใช้และบริขารธุดงค์ยังอยู่ครบที่ถ้ำไม่ได้เอาไปด้วย กระเป๋าใส่สตางค์ก็ไม่เอาไป พระอาจารย์วังได้บอกกับพระเณรและพ่อขาวศิษย์ทุกคนว่า สวัสดิ์ได้ไปจำศีลภาวนาอยู่ในเมืองลับแลแล้ว ชาวลับแลให้ความเคารพเลื่อมใส นักพรต ฤๅษี มุนีในภพภูมินั้นเป็นผู้ชักชวนให้ไปอยู่ด้วย

เมื่อปฏิบัติธรรมไปจนถึงที่สุด สวัสดิ์จะเป็น “ผู้สำเร็จ” คล้ายผู้สำเร็จปรอทหรือวิทยาธร กินผลไม้เป็นอาหาร หรือกินปราณวาโยธาตุ มีสภาพกึ่งมนุษย์เทพยดา ไปไหนมาไหนตัวเบาเดินเท้าไม่ติดดิน เพียงแค่นึกอยากจะเหาะก็จะเหาะได้ทันทีด้วยอำนาจมหัศจรรย์ของ “ฌานสมาบัติ” บางทีก็เรียกว่า “สิทธาโยคี” เป็นโยคีมหัศจรรย์สำเร็จ "ไกวัลภูมิ” หรืออภิญญาฤทธิ์ ชอบไปๆ มาๆ อยู่ระหว่างพื้นพิภพโลกกับดวงอาทิตย์ (อยู่นอกโลกเหมือนดาวเทียมที่โคจรรอบโลกละกระมัง)
เรื่องพระอาจารย์ วัง ฐิติสาโร ได้เกี่ยวข้องกับพญานาคและชาวลับแลยังมีอีกมาก ครั้นจะเล่าต่อไปก็จะเฝือไป จึงขอยุติแต่เพียงแค่นี้

พระอาจารย์วัง กล่าวว่า ภูลังกาเป็นเมืองหลวงของชาวบังบดลับแล เพราะภูลังกาเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์มาแต่ดึกดำบรรพ์เกี่ยวข้องกับตำนานของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

ต่อไปนี้จะเป็นตอนที่หลวงปู่ตองเล่าถึงเรื่องพญานาคและชาวบังบดลับแล

เมื่อหลวงปู่ตองมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาในปี พ.ศ. 2535 ท่านก็ได้ทำทางขึ้นไปตามมีตามเกิด พอให้ปีนป่ายโหนต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นไปได้ช่วงไหนที่สูงชันอันตรายหวาดเสียว ก็ทำบันไดไม้พาดไว้อย่างง่ายๆ พอให้ไต่ขึ้นไปได้ ใครที่ร่างกายอ่อนแอขึ้นไม่ได้เลย ขนาดคนหนุ่มๆ ร่างกายแข็งแรงขึ้นไปก็หอบแอกๆ ไม่อยากขึ้นไปอีกเป็นครั้งที่สอง เรียกว่าเข็ดเหมือนตอนแมว แต่หลวงปู่ตองสามารถขึ้นไปได้สบายมาก ทั้งๆ ที่มีอายุได้ 60 ปีเศษแล้ว ร่างกายยังแข็งแรงเหมือนคนหนุ่ม ท่านแบกถุงทรายถุงปูนครั้งละ 2 - 3 ถุง ขึ้นไปวันละหลายเที่ยว สร้างเจดีย์สูง 13 เมตร สำหรับบรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์วังและรูปปั้นพระพุทธรูปหลายองค์

หลวงปู่ตองเปิดเผยวิธีการแบกถุงปูนถุงทรายขึ้นภูลังกาว่า ใช้วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ โดยกำหนดลมหายใจเข้าออกแบบอานาปานสตินั่นเอง เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วร่างกายจะเบาหวิวเหมือนปุยนุ่น สามารถเคลื่อนไหวได้ว่องไว แบกถุงปูนซีเมนต์และถุงทรายขึ้นไปได้สบายๆ

วิธีทำตัวเบาของหลวงปู่ตองนี้ฟังแล้วง่ายแต่ทำจริงๆ ยาก เพราะการทำจิตให้เป็นสมาธินั้นไม่ใช่ทำกันได้ทุกคน ต้องเป็นคนมีบุพวาสนาบารมีสนับสนุนถึงจะทำสำเร็จ วิธีทำตัวเบาของหลวงปู่ตองนี้คล้ายกับวิชา "ลูกเบา" ของบรรดาพระกรรมฐานสมัยโบราณคือต้องบริกรรมภาวนาจนจิตนิ่งแน่วเป็นสมาธิ เกิดอาการตัวเบาลอยตัวได้สามารถที่จะลอยตัวขึ้นไปบนต้นกล้วย แล้วเดินเล่นนอนเล่นบนก้านใบตองกล้วยได้ โดยที่ก้านกล้วยไม่หักแต่อย่างใด

เมื่อขึ้นไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาแล้ว หลวงปู่ตองก็ลงมือบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ปั้นพระพุทธรูปและซ่อมแซมพระพุทธรูป ซ่อมแซมถ้ำและเพิงผาผุพัง สร้างพระเจดีย์ขึ้นมาใหม่บนยอดเขา เทปูนทำสะพานขนาดเล็กข้ามหุบร่องน้ำลึกแคบให้เชื่อมกับถ้ำ ทำความสะอาดบริเวณเขตสงฆ์

ความขยันขันแข็งเอาจริงเอาจังกับงาน บูรณปฏิสังขรณ์นี้คงจะ "เข้าตา" สิ่งลึกลับหรือเทพพรหมหรือผีสางเทวดาทั้งหลายที่เฝ้าจับตามองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในวันหนึ่งต่อมาก็ส่ง "ทูต" มาหา เป็นทูตพิเศษที่ไม่ธรรมดา ทูตที่มาหานี้เป็น "งูจงอาง" ขนาดยักษ์สองผัวเมีย ลำตัวใหญ่ขนาดต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่ หรือขนาดโคนขาคนผู้ใหญ่ มีความยาวมากใครเห็นแล้วจะต้องขนหัวลุกตกใจกลัวเป็นลมหรือช็อกตาย

งูจงอางยักษ์ทั้งสองนี้มาหาหลวงปู่ตองในถ้ำชัยมงคล ขณะที่ท่านทำวัตรสวดมนต์ มันผงกหัวแสดงความเคารพแล้วก็แผ่พังพานยืดลำตัวขึ้น สูงเป็นวาแล้วผงกหัวทำความเคารพอีก จากนั้นก็ขดตัวที่มุมถ้ำไม่ยอมไปไหนมองดูท่านเฉยๆ ไม่แสดงปฏิกิริยาอะไรอีก ท่านรู้ด้วยจิตว่าไม่ใช่งูจงอางธรรมดาเพราะมันใหญ่โตผิดงูจงอางที่เคยเห็น

แต่เป็น "พญานาค" แปลงร่างมาเป็นงูจงอางยักษ์เพื่อทำหน้าที่อารักขาถ้ำชัยมงคลและเจดีย์ใหญ่ ที่สร้างขึ้นมาใหม่ !

หลวงปู่ตองเล่าให้ท่านเจ้าคุณราชเมธากรฟังว่า...

"เขามาแปลก! มาอยู่กับผมในถ้ำ เมื่อถึงเวลาหากินก็พากันเลื้อยออกไปหากินข้างนอกแล้วกลับมานอนในถ้ำ บางวันก็เข้าไปนอนในรูโพรงถ้ำ วันหนึ่งมีญาติโยมขึ้นมาหาผมมีเด็กหนุ่มรุ่นคะนองมาด้วย 2 - 3 คน พวกเด็กวัยคะนองวิ่งเล่นที่พลาญหิน แล้วเอาก้อนหินขว้างเล่นลงไปทางหน้าผาบ้าง ขว้างลงไปในหุบเหวป่าไม้บ้างเป็นที่สนุกสนาน ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้ว่าภูลังกาเป็นแดนอาถรรพ์ศักดิ์สิทธิ์ทำให้เจ้าป่าเจ้าเขาโกรธ”

หลวงปู่ตองเว้นระยะแล้วเล่าต่อ

“พญางูจงอางยักษ์สองผัวเมีย ได้เลื้อยปราดออกไปจากถ้ำชัยมงคลส่งเสียงร้องอย่างน่ากลัว เลื้อยพล่านไปทั่วพลาญหินบนยอดภูลังกา แผ่พังพานคุกคาม ผมเห็นท่าไม่ดีกลัวมันจะไล่ฉกกัดพวกเด็กๆ จึงได้ร้องห้ามไว้ไม่ให้ทำอันตราย เพราะเด็กวัยคะนองไม่รู้ประสีประสาอะไร...

อัศจรรย์มาก! งูจงอางยักษ์ทั้งสองเชื่อฟังผม ยอมเลื้อยกลับเข้าถ้ำแสดงถึงมันฟังภาษารู้เรื่อง"

ผู้เขียนได้ นมัสการถามบ้างว่า

"พวกเด็กขว้างก้อนหินเล่นมีความผิดอย่างไร?”

หลวงปู่ตองตอบว่า

"ตามหน้าผาก็ดี ตามซอกเขาหรือโตรกผาก็ดี ตามหมู่ไม้ใหญ่น้อยในหุบเหวข้างล่างก็ดี เป็นบ้านเป็นเมืองของชาวบังบดลับแลหรือคนธรรพ์ เป็นบ้านเป็นเมืองของพวกยักษ์หรือรากษสหรืออสูร เป็นบ้านเป็นเมืองของภูติผีปีศาจเปรตอสุรกาย บ้านเมืองหรือภพภูมิของพวกนี้มันสลับซับซ้อน มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นมันซ้อนกันอยู่เหมือนเอากระดาษซับกระดาษซึมมาสักแผ่น หนาๆ แล้วเราเอาน้ำสีต่างๆ หยอดลงไปบนกระดาษซึม สีต่างๆ เหล่านั้นก็จะอยู่รวมกันได้ในกระดาษซึมนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น ภูมิภพหรือแดนอยู่อาศัยของพวกวิญญาณก็อยู่กันได้อย่างสลับซับซ้อนเช่นนั้น แหละ เพียงแต่เรามองไม่เห็น แต่ถ้าพวกเขาอยากให้เราเห็น เขาก็จะทำให้เราเห็นได้ เมื่อพวกเด็กขว้างก้อนหินลงไปก็ไปถูกบ้านเรือนของชาวบังบดลับแล เขาก็ไม่พอใจ"

"หลวงปู่เคยเข้าไปในเมืองลับแลมั้ย?" ถามอีก

หลวงปู่ตอบว่า

"เคยเห็นแต่บ้านเมืองของชาวบังบดลับแลอยู่เสมอ เพราะชาวลับแลเขาเปิดให้เห็น แต่อาตมาไม่ได้เข้าไป"

"เหตุใดหลวงปู่ไม่เข้าไป"

"ถ้าเป็นบุคคลอื่นอาจจะอยากเข้าไปเมืองลับแล แต่สำหรับตัวอาตมาแล้วไม่อยากเข้าไปเลย ความรู้สึกลึกๆ ในใจได้เตือนว่า ถ้าตัวเรายังมีภูมิจิตภูมิธรรมน้อยอยู่ หากเข้าไปในเมืองลับแลแล้วอาจจะได้รับภัยอันตรายอย่างลึกลับ"

"ภัยอันตรายอย่างลึกลับหมายถึงอะไร"

"พวกลับแลหรือบังบดมาหาอาตมาอยู่บ่อยๆ มักจะมาตอนค่ำมืดแล้ว ถ้าลับแลนุ่งขาวห่มขาว เป็นพวกบวชแล้ว ถือศีล 10 ข้อ เรียกตัวเองว่าดาบสหรือมุนี เป็นนักพรตคล้ายฤาษี...

ถ้าแต่งตัวธรรมดาเหมือนชาวไร่ชาวนา แสดงว่าเป็นพวกลับแลที่ยังทำมาหากินเหมือนชาวบ้านทั่วไป แต่ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด...

ถ้ารูปร่างสูงใหญ่ผิวคล้ำหรือผิวดำ เป็นพวกพญานาคแปลงตัวมาเป็นมนุษย์ ภพภูมิของพญานาคและภพภูมิของชาวลับแลเขาไปมาหาสู่กันได้...

ถ้าชาวลับแลผิวขาว เป็นอีกเผ่าหนึ่งที่มีบุพกรรมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่มีผิวขาว เช่น ภูไท ลาวโซ่ง ชาติจีน ชาติญวน เป็นต้น โลกของชาวลับแลก็คือโลกของวิญญาณหรือโอปาติกะ เมื่อเราเป็นพระประพฤติพรหมจรรย์เข้าไปในโลกของชาวลับแล โอกาสที่จะถูกทดสอบหรือลองของเรื่องพรหมจรรย์มีมาก เป็นต้นว่า เอาลาภสักการะเพชรนิลจินดา สร้อยแหวนเงินทองสมบัติโบราณมาถวาย เอาสาวงามมาคอยปรนนิบัติวัฏฐาก หรือให้แม่ชีสาวๆ สวยๆ มาอยู่ใกล้ชิด เอาสุรายาฝิ่นมาถวาย อะไรๆ เหล่านี้ ถ้าพระเผลอไผลขาดสติไปแตะต้องเข้าโดยไม่รู้ว่าเป็นเหยื่อล่อ ก็จะถูกชาวลับแลลงโทษหมดโอกาสได้กลับออกมา”

หลวงปู่ตองเล่าต่อไปอีกว่า

"พวกบังบดลับแลเคารพนับถือพระภิกษุสงฆ์ ชอบฟังธรรมะ เชื่อในธรรมะ ชอบประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลกินในธรรมะ ไม่อยากได้ทรัพย์สินเงินทอง อยากได้แต่ธรรมะ อยากสำเร็จธรรมะ อยากไปเกิดในภพภูมิสูงๆ ขึ้นไป...

ชาวลับแลพากันขบขันที่มนุษย์ทั้งหลาย อยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากรวย อยากสวย อยากมีชื่อเสียงเกียรติยศ อยากใหญ่ อยากดัง อยากมีอายุยืนยาวไม่อยากแก่เฒ่า ชาวลับแลบอกว่าชาวโลกมนุษย์มีกิเลสตัณหาความโลภมากยิ่งนัก หลงใหลยึดถือในสิ่งสมมติ เมื่อตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้"

ผู้เขียนได้เรียนถามอีกว่า...

"กระผมเคยได้ยินได้ฟังมาจากปากของปราชญ์ผู้รู้บางท่าน ได้ให้อรรถาธิบายเรื่องลับแลว่า ชาวลับแลหรือบังบดก็ดี พวกคนธรรพ์ในป่าในถ้ำก็ดี เป็นเทวดาชั้นต่ำสุดอาศัยอยู่บนพื้นดินปะปนกับมนุษย์เรา มีรูปร่างหน้าตาผิวพรรณหยาบเหมือนมนุษย์ ทำมาหาเลี้ยงชีพเหมือนมนุษย์ แต่ถือศีลธรรมเคร่งครัดมาก มีหิริโอตัปปะละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป...วิบากกรรมแต่หนหลังทำให้มาเกิด เป็นพวกลับแลหรือคนธรรพ์ชั้นต่ำ แต่ก็ยังอยู่ภายใต้การปกครองของเทพเจ้าชั้นสูง คือ ท้าวธตรฐมหาราช จอมคนธรรพ์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาโลกมนุษย์อยู่ที่ทิศตะวันออก ไม่ทราบว่าเรื่องนี้จริงหรือเท็จ"

หลวงปู่ตองตอบว่า

"บังบดลับแลเป็นเรื่องลึกลับ อาตมารู้น้อยตอบไม่ได้"

"ขอถามเรื่องพญานาคอีก"

"พญานาคมีจริง เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์วิเศษ"

"หลวงปู่เคยเห็นหรือ?"

"อ้าว งูจงอางยักษ์สองผัวเมียในถ้ำชัยมงคลนั่นแหละ คือพญานาค"

"พญางูจงอางยักษ์ทั้งสอง บอกอย่างนั้นหรือ?"

"เปล่า"

"แล้วหลวงปู่รู้ได้อย่างไร?"

"พวกบังบดลับแลเป็นคนบอกว่า งูจงอางยักษ์สองผัวเมียคู่นั้นเป็นพญานาคอยู่ภูลังกามานานหลายหมื่นปีแล้ว เป็นสหายของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ผู้ล่วงลับมรณภาพไปแล้ว ดวงวิญาณของพระอาจารย์วังได้สั่งให้พญานาคทั้งสองมารักษาถ้ำชัยมงคลและรักษา อาตมา"

"นอกจากพญานาคทั้งสองที่แปลงร่างเป็นงูจงอางมา หลวงปู่เคยเห็นพญานาคตัวอื่นๆ มั้ย?"

"เห็นบ่อยไป เป็นงูสีแปลกๆ ตัวใหญ่ก็มีตัวเล็กก็มี มากันเป็นสิบเป็นร้อย เลื้อยเข้าออกถ้ำทุกวัน ที่เลื้อยเล่นเพ่นพ่านตามพลาญหินบนยอดภูลังกาก็มีเยอะ พอค่ำมืดลงพวกเขาก็แปลงเป็นมนุษย์มาสนทนาธรรมด้วย จึงได้รู้ว่าเป็นพญานาค”

“จะทำอย่างไรจึงจะได้พบเห็นพญานาคและชาวลับแลคนธรรพ์ได้โดยไม่ได้รับอันตราย?" ถามอีก

หลวงปู่ตองนิ่งอึ้งชั่วขณะ ก่อนตอบว่า

“เอ! เรื่องนี้มันไม่ง่ายนะ เป็นเรื่องยากมาก มันมีเหตุปัจจัยสนับสนุนหลายอย่างจึงจะได้ประสบพบเห็น เป็นต้นว่า เคยมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันมาในชาติปางก่อน อาจจะเคยเป็นญาติสนิทมิตรสหายกัน อาจจะเคยเป็นบิดามารดาหรือครูบาอาจารย์กันมาในปางก่อน หรืออาจเคยเป็นคู่ครองกัน อาจจะเคยตักบาตรร่วมขันทำบุญร่วมกัน เคยสนับสนุนค้ำชูกันให้เจริญรุ่งเรือง หรืออาจจะมีภาระหน้าที่ผูกพันกันบางอย่าง หรือเป็นศัตรูคู่แค้นจึงจะได้พบกัน”

“อย่างพระธุดงค์ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัย?”

“ถูกแล้ว! พระธุดงค์ก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยแต่ชาติปางก่อนมาสนับสนุน จึงจะสามารถพบเห็นพญานาคและชาวลับแลได้ ถึงแม้จะเป็นพระธุดงค์ผู้แก่กล้าในฌานสมาบัติ แต่ถ้าไม่มีบุพกรรมเกี่ยวข้องกันมาก่อนก็ไม่มีทางจะได้พบเห็นพญานาคและชาวลับแล สำหรับคนมีบุพกรรมเกี่ยวข้องผูกพันกันนั้น แม้จะเป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดาหาเช้ากินค่ำ ก็สามารถพบกับพญานาคและชาวลับแลได้ มีตัวอย่างหลายรายแต่ไม่อยากพูดถึง”

หลวงปู่ตองถ้ำชัยมงคลภูลังกา มีเรื่องผูกพันกับพญานาคและชาวลับแลอีกมากมายเป็นเรื่องลึกลับมหัศจรรย์ ท่านบอกว่าเล่าให้ใครฟังไม่ได้ เพราะเป็นความลับของฟ้าดิน ขืนเปิดเผยไปจะเกิดอาถรรพ์ฟ้าดินลงโทษเอาได้ง่ายๆ ชนิดคาดไม่ถึง

อย่างเมื่อไม่นานมานี้ ฟ้าคะนองเกิดพายุถล่มภูลังกา ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยงลงมาที่หม้อแปลงไฟฟ้าห่างจากหลวงปู่ตองประมาณสองวา ท่านสลบไปหลายชั่วโมงจีวรถูกไฟไหม้หมดแต่ไม่ตาย กลับฟื้นคืนชีวิตมาได้อย่างน่าอัศจรรย์เหลือเชื่อ!

เรื่องพญานาคที่ภูลังกาขอยุติลงเพียงเท่านี้!

*****************************************
"ครูบาวัง ฐิติสาโร" หรือ "พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร" แห่งวัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย เป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สลับสี เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2455 ที่ บ้านหนองคู ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมี หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครั้งหนึ่ง "หลวงปู่โง่น โสรโย" ในฐานะลูกศิษย์ของครูบาวัง ได้เล่าให้ฟังว่า

"...การเจริญภาวนาของครูบาวังนั้นเป็นการปฏิบัติขั้นอุกฤษฏ์ จริงๆ เป็นที่เล่าลือกันทั่วไปในหมู่พวกสหธรรมิกด้วยกัน ครูบาวังชอบไปนั่งบำเพ็ญเพียรที่ชะง่อนผาอันสูงลิบลิ่วบนยอดภูลังกา ชะง่อนผานั้นกว้างประมาณ 2 ศอก กำลังเหมาะเจาะพอดี เวลานั่งลงไป ถ้าเอียงซ้ายหรือเอียงขวานิดเดียวเป็นต้องร่วงลงไปในเหวลึก หรือถ้าสัปหงกไปข้างหน้าก็หัวทิ่มลงเหวอีกเหมือนกัน"

"การปฏิบัติ ธรรมขั้นอุกฤษฏ์ของครูบาวังนี้ เป็นการเอาชีวิตตัวเองเป็นเดิมพันกับความตาย ครูบาวังจะนั่งอยู่บนชะง่อนผามรณะนั้นนานนับชั่วโมง บางครั้งนั่งอยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นการเจริญมหาสติปัฏฐานแบบเจโตวิมุตติ โดยใช้อำนาจของอัปปนาฌานเป็นบาทฐาน เป็นการปฏิบัติแบบสมถกรรมฐานเจือปนวิปัสสนากรรมฐาน เจริญกายคตาสติพิจารณาอาการ 32 นั่นเอง..."

ครูบาวัง มีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุอยู่ 3 รูป คือ

1. ท่านเจ้าคุณสังวรวิสุทธิเถระ (หลวงปู่วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
2. พระอาจารย์โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
3. พระจันโทปมาจารย์ วัดศรีวิชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ทั้งสามรูปล้วนแต่มรณภาพไปแล้ว

ครูบาวัง ละสังขารมรณภาพลง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2496 สิริรวมอายุได้ 41 ปี

ตัวอย่างธรรมคำสอนอันหนึ่งของท่าน คือ

"ให้พิจารณาใคร่ครวญ ด้วยปัญญา ให้เห็นแจ้ง ตามความเป็นจริงแล้วอย่ายึดติด ในสมมติที่เราเป็น"




ขอขอบคุณที่มาจาก...จากหนังสือ “พญานาค...เมืองลับแล” โดยคุณนรเศรษฐ์

และขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก อ. กิตตินันท์ เจนาคม kittinun.com

จากหนังสือชื่อ ชำแหละกฎแห่งกรรม เขียนโดย ร.ต.เจ้าประเวศ ณ เชียงใหม่
__________________

60


ความลึกลับของภูลังกาหรือ(รังกา) อันเป็นดินแดนลี้ลับอย่างอาถรรพณ์ มีภูเขาห้าลูกเชื่อมโยงกันด้วยป่าไม้หนาแน่นสูงเฉียดฟ้าและหุบเหว มีเรื่องปรัมปราพื้นบ้านเล่าสืบทอดกันมาว่า

ภูลังกาในสมัยดึกดำบรรพ์ ยุคสร้างโลกเป็นที่สถิตอยู่ของ “รังกาเผือก” มีไข่ ๕ ฟอง วันหนึ่งขณะที่ กาเผือกสองผัวเมียออกไปหาอาหารได้เกิดลมพายุพัดเอารังกาพลิกไหว ไข่ทั้ง ๕ ฟอง ปลิวไปตามลมแรงกระจัดกระจายไปตกลงยังที่ต่างๆ

ไข่ฟองที่ ๑ ไปตกยังถิ่นของแม่ไก่ แม่ไก่นำไปเลี้ยงไว้ต่อมาก็คือพระกกุสันโธพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๒ ไปตกในเมืองพญานาค ท้าวพญานาคนำไปเลี้ยงไว้ ต่อมาได้เป็นพระโกนาคมพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๓ ไปตกในแดนของเต่า พญาเต่านำไปเลี้ยงไว้กลายเป็นพระกัสโปพุทธเจ้า
ไข่ฟองที่ ๔ ไปตกในแดนแม่โค แม่โคได้เลี้ยงไว้ ต่อมากลายเป็นพระสมณโคตมะพุทธเจ้า และ
ไข่ฟองที่ ๕ ไปตกที่แดนของพญาราชสีห์ พญาราชสีห์เอาไปเลี้ยงไว้กลายเป็นพระศรีอริยเมตไตรย รวมเป็นพระเจ้า ๕ พระองค์

เรื่องภูลังกาที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า ๕ พระองค์นี้ เป็นเรื่องพื้นถิ่นความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบันดาลใจให้ชาวบ้านเทิดทูนพระพุทธเจ้า ต้องการให้เห็นว่าพื้นถิ่นของตนนั้นมีความผูกพันเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าทั้ง ๕พระองค์อยู่ตลอดไปก็เลยเป็นว่าภูลังกาเป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์



ภูลังกา...ดินแดนพิสูจน์คนกล้า พระแกร่ง



ยอดเขาด้านหลังคือภูลังกา จากพื้นถึงยอดประมาณ ๒ กิโลเมตร

ภูลังกา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระป่าอันสัปปายะวิเวก ที่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนชอบแวะเวียนไปอยู่เสมอ ถึงแม้จะลำบากในเรื่องอาหาร ต้องอดแห้งอดแล้งท้องกิ่วเหมือนฤๅษีชีไพรและอาหารที่ไปบิณฑบาตมาได้จะเป็นเพียงข้าวเหนียว ๑ ก้อนเล็กๆ กับเกลือและพริกได้มาแค่ไหนก็ฉันกันแค่นั้น ไม่คิดมากไม่ถือว่าเรื่องอาหารเป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนา เพราะจิตมีความมุ่งหมายอยู่ที่การขูดเกลากิเลสตัณหาความทะยานอยากให้หมดไป เพื่อพ้นทุกข์ จิตสะอาดบริสุทธิ์ สว่าง สงบ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ดังนั้นพระป่าจึงไม่มีการบ่นว่า หิวเหลือเกิน อ่อนเพลียไม่มีแรงจะเป็นลม ต่างก็หุบปากเงียบ เฝ้าแต่เดินจงกรม กับนั่งสมาธิภาวนา กำหนดสติรู้คอยระมัดระวังกิเลสตัณหาในตัวเองอยู่ตลอดเวลา รู้เท่าทันกิเลส ใช้ขันติ ความอดทน อดกลั้น ในทุกสถานการณ์ ไม่ทำตามกิเลสทุกรูปแบบ บังคับตัวเองได้ เป็นนายตัวเองได้ ถ้าเจ็บไข้ อาพาธ ไม่ต้องไปหาหยูกยาใดๆ รักษาตัวเองด้วยการนั่งสมาธิภาวนา สลับกับเดินจงกรม ไม่ฉันอาหาร เพื่อให้กระเพาะลำไส้ได้หยุดพักผ่อน เรียกว่า รักษาด้วยธรรมโอสถ หายก็ดี ไม่หายก็ตาย ถ้าตายก็หายห่วง จะได้ดับให้สนิทไปเลย ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ความตายไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอะไร !



ภูลังกา ธรรมสถานแห่งพระอริยะ
พระป่าในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เคยไปอยู่จำพรรษา หรือไปเพื่อการวิเวก บนภูลังกาหลายองค์ เช่น พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นต้น

พระอาจารย์ชา สุภัทโธ ปรารถนาพบพระอาจารย์วัง
พระอาจารย์ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ อายุได้ ๓๑ พรรษาที่ ๑๑ ได้เดินธุดงค์ออกจากวัดป่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม บุกป่าฝ่าดงขึ้นสู่ภูลังกา ใกล้กับบึงโขงหลง เหตุที่พระอาจารย์ชาต้องบุกป่าฝ่าแดนอันตรายด้วยไข้ป่าและสัตว์ร้ายไปภูลังกา ก็เพราะว่าอยากจะพบปะสนทนากับ พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลืออยู่ในหมู่นักธรรมกรรมฐานว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ เชี่ยวชาญในเจโตสมาธิ ทั้งในด้านสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ปรารถนาพุทธภูมิ


ทางขึ้นสู่ยอดเขาสูงชัน บางตอนต้องใช้บันไดลิง

ตอนนั้นพระอาจารย์ชายังไม่เคยเห็นหน้าพระอาจารย์วังมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อเสียงอันบันลือของท่านเท่านั้น พระอาจารย์ชามีความปรารถนาอยากจะพบพระอาจารย์วังให้ได้ ระยะเวลานั้น พระอาจารย์ชามีความสับสนในธรรมปฏิบัติมาก ต้องการหาใครก็ได้ที่พอจะเป็นกัลยาณมิตร ช่วยชี้แนะแนวทางปฏิบัติธรรมให้ เหมือนกับว่าเดินไปถึงจุดๆ หนึ่งแล้วมีอันต้องสะดุดหยุดชะงักลง ไม่สามารถเดินต่อไปได้ มันมืดแปดด้าน ก็ระลึกถึงพระอาจารย์วังที่ขึ้นไปนั่งบำเพ็ญเพียรบนยอดภูลังกา แม้จะยังไม่เคยเห็นความแกร่งกล้าในการบำเพ็ญเพียรของพระอาจารย์วัง ว่าบรรลุถึงขั้นใดแล้วก็ตาม แต่พระอาจารย์ชาก็เชื่อมั่นอย่างหนึ่งว่า พระอาจารย์วังคงต้องมีดี อย่างใดอย่างหนึ่ง มิฉะนั้นคงไม่ขึ้นอยู่บนยอดเขา

เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำชัยมงคลบนยอดภูลังกาแล้ว ก็ได้พบว่าครูบาวังอยู่กับสามเณรเพียง ๒ รูปเท่านั้น บรรยากาศบนภูลังกาเงียบสงบ อากาศดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรยิ่งนัก พระอาจารย์ชา ได้ปรารภถึงความสับสนของตนในการบำเพ็ญเพียรภาวนา จึงได้บุกบั่นมาเพื่อขอให้ครูบาวังช่วยชี้แนะนำทางที่ถูกที่ควรให้
ครูบาวังได้ถามฉันเมตตาจิตว่า ความสับสนนั้นเป็นประการใด

พระอาจารย์ชาได้กล่าวว่า การทำสมาธิภาวนาเหมือนสะดุดอยู่กับที่ ไม่มีที่ไป แม้ย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ เพื่อหาทางต่อไป แต่ก็ไม่อาจทำได้ ยังคงหยุดอยู่กับที่เช่นเดิม

ครูบาวังได้นิ่งอยู่ครู่หนึ่ง หลับตากำหนดรู้ด้วยกระแสญาณ แล้วลืมตาขึ้น ได้ให้คำชี้แนะแก่พระอาจารย์ชาว่า ไม่ต้องกำหนดจิตไปไหน ให้หยุดอยู่ตรงนั้นแหล่ะ กำหนดรู้อยู่ตรงนั้น แล้วมันก็จะเปลี่ยนไปเอง เราไม่ต้องไปบังคับใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่ให้กำหนดรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นเอง เดี๋ยวจิตมันก็เปลี่ยนไปเอง เราไม่ต้องไปวุ่นวายอะไร อย่าเข้าใจว่าหมดสิ้นแล้ว เดี๋ยวมันจะมีขึ้นอีก เพียงแต่กำหนดสติรู้แล้วปล่อยวาง มันจะไม่เป็นอันตราย ถ้าเราไม่วิ่งตามมัน

พระอาจารย์ชาได้สดับตรับฟังแล้ว มีความรู้สึกว่า ความสับสนวุ่นวายในจิตได้หายไปเป็นปลิดทิ้ง เกิดความเข้าใจในความละเอียดอ่อนลึกซึ้งในธรรมปฏิบัติมากขึ้น มีความสบายอก สบายใจ ไม่รุ่มร้อนดังแต่ก่อน ได้กำหนดในใจว่า จะอยู่บำเพ็ญเพียรบนภูลังกาสัก ๓ วัน ต่อจากนั้นจะออกจาริกธุดงค์ต่อไป ไม่ติดที่อยู่อาศัย ท่องเที่ยวไปตามลำพังแต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เพียรพายามเผากิเลส เพื่อทำให้รู้แจ้งถึงที่สุดพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม อันเป็นสุดยอดปรารถนาของเหล่ากุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา
พระอาจารย์ชาได้พยามบำเพ็ญธรรมอย่างหนัก เร่งทำความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อให้ได้ผลเร็วขึ้น เมื่อมาอยู่ใกล้ครูบาวังผู้ล้ำลึกในธรรม ควรที่จะตักตวง มีอะไรสงสัยจะได้ถามท่านได้และก็ไม่ได้ผิดหวังเลย ครูบาวังได้ให้ความกระจ่างในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น ทำให้ พระอาจารย์ชาได้หลักการอย่างหนึ่งว่า นักปฏิบัติธรรมนั้นไม่สามารถจะไปเจริญภาวนาคนเดียวได้ แม้จะภาวนาได้ก็จริง แต่ชักช้าเนิ่นนานมาก แต่ถ้ามีกัลยาณมิตรคอยช่วยชี้แนะแนวทางให้ การปฏิบัติธรรมก็จะไปเร็วขึ้น ไปสู่ทางที่ปรารถนาเร็วขึ้น

อยู่ครบ ๓ วันแล้วพระอาจารย์ชาก็กราบลาครูบาวังลงมาจาก ภูลังกา ออกเดินธุดงค์แสวงหาโมกขธรรมต่อไป ดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอจักมีใจจดจ่ออยู่ในเสนาสนะป่าอยู่เพียงใด ความเจริญก็เป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย พึงเที่ยวไปคนเดียวดุจช้างม้าตังคะที่เที่ยวไปในป่าตัวเดียว เป็นสัตว์มักน้อยฉะนั้น


หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
หนังสือ ๑๐๐ ปีหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ได้กล่าวถึงการไปจำพรรษาของท่าน บนภูลังกาไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ อายุ ๔๕ ปี พรรษาที่ ๒๖ เดินทางกลับบ้านบัว เพื่อดูแลและเทศนาสั่งสอนอบรมสมาธิให้แก่โยมแม่เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเข้าพรรษา โยมแม่ก็เสียชีวิต ได้จัดการฌาปนกิจศพโยมแม่เสร็จแล้วจึงตั้งใจไปจำพรรษาที่ภูลังกา บ้านโพธิ์หมากแข้ง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอเซกา (ในขณะนั้น) จังหวัดหนองคาย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัวประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ได้ไปแวะที่วัดศรีวิชัยก่อนขึ้นไปจำพรรษาที่ภูลังกา เดินทางร่วมกับพระอาจารย์สวน และตาผ้าขาว ได้เลือกชะโงกหินเหนือถ้ำชัยมงคล บนยอดภูลังกาของพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร สหธรรมมิก ที่เคยร่วมกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่นเป็นที่จำพรรษา พระอาจารย์วังเคยจำพรรษาอยู่ก่อนถึง ๕- ๖ ปี ซึ่งต้องเดินขึ้นที่สูงเต็มไปด้วยโขดผาหิน ต้องไต่เขาและปีนป่ายขึ้นที่สูงชัน ใช้เวลาหลายชั่วโมง ในสมัยนั้นในป่าเขา เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด อีกทั้งเป็นฤดูฝน หนทางขึ้นลงก็ลำบาก ยากต่อการบิณฑบาต ความเป็นอยู่การขบฉันเป็นด้วยความลำบากยากแค้น มีชาวบ้านปวารณาตัว จึงนำเสบียงอาหารใส่เกวียน เดินทางจากหมู่บ้านศรีเวินชัยไปถึงภูลังกาใช้เวลา ๑ วัน ขึ้นไปส่งให้อาทิตย์ละครั้ง ต้องนอนพักค้างแรมอีก ๑ คืน อาหารหลักคือหน่อไม้ ลูกคอนแคน ยอดคอนแคนจิ้มน้ำพริก ตลอดจนหัวกลอย เป็นต้น แต่การภาวนาที่นี่เป็นที่พอใจมาก “ปรากฏธรรมอัศจรรย์” ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ปัจจุบันยังมีลายมือหลวงปู่ที่เขียนไว้ว่า “ถ้ำอยู่เย็นเป็นสุข ถ้ำอาจารย์สิม” ณ เงื้อมชะโงกผา ที่ท่านปักกลดจำพรรษาตลอดพรรษานั้นยังคงปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เคยมาจำพรรษาบนภูลังกา
จากประวัติหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ได้บันทึกการมาปฏิบัติธรรมของท่านบนภูลังกาเอาไว้ว่า ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านเจริญกัมมัฏฐานมาหลายปีทีเดียว แต่จะเป็นพรรษาที่เท่าไรนั้น ท่านก็มิได้บอกให้ทราบ ท่านเล่าแต่เพียงว่าเมื่อครั้งที่ท่านจำพรรษาที่ภูลังกา ท่านก็ได้ทำความเพียร ในขณะที่เร่งทำความเพียรอยู่ที่ภูลังกานั้น ถึงกับไม่ฉันข้าว ฉันน้ำ ท่านว่ามันจึงจะรู้จักโลก แจ้งโลก พอจิตบรรลุถึง “ โคตรภูญาณ ” จิตก็รู้ได้หมดได้ทั่วไปว่า วิญญาณพวกไหนที่อยู่ในโลก ก็สามารถรู้จักและเห็นหมดในโลกธาตุ ว่าเป็นอยู่อย่างไร

หลวงปู่สังข์ ออกธุดงค์ มาถึงภูลังกา
จากประวัติหลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ได้บันทึกว่าพรรษาแรกที่บรรพชาเป็นสามเณรอยู่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า หลังจากออกพรรษาแล้ว เคยไปกราบครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิหลวงปู่สีลา อิสฺสโร หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม เป็นต้น จากนั้นได้ไปเที่ยวรุกขมูลกับพระอาจารย์บุญส่ง โสปโก ตามทางหลวงปู่ตื้อเคยไป เช่น บึงโขงหลง แล้วไปถึงภูลังกา ได้พบกับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่ถ้ำชัยมงคล

หลวงปู่คำพันธ์ ธุดงค์ผ่านภูลังกา
จากประวัติหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ บันทึกว่า ท่านได้เดินรุกขมูลขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง เข้าเขตุอำเภอบ้านแพง ขึ้นภูลังกา ยามเย็นได้ไปยืนอยู่ที่หน้าผาฝั่งตะวันตก ในเขตบึงโขงหลง มองลงมาข้างล่าง เห็นฝูงช้างจำนวนมาก บางตัวก็มีลูกอ่อน พากันหักต้นกล้วยป่ากินเป็นอาหารแบบสบายอารมณ์ ฝูงละ ๕ ตัว ๖ ตัวบ้าง

จากการค้นคว้าประวัติครูบาอาจารย์ ทำให้รู้ว่าอาณาบริเวณถ้ำชัยมงคลโดยรอบคือ แดนพระอริยสงฆ์แต่อดีตถึงปัจจุบันได้ขึ้นบำเพ็ญภาวนาไม่ได้ขาด น่าเสียดายที่ทุกวันนี้ดินแดนแห่งนี้ กลับกลายเป็นแหล่งหาผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มไปเสียแล้ว

พระอาจารย์โง่น โสรโย ระลึกถึงอาจารย์
ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๖ เป็นเวลา ๙ ปี ที่พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคล ยอดภูลังกา มีพระภิกษุสามเณรเที่ยววิเวกแสวงธรรม แวะเวียนมาพักปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์วังตลอด มีช่วงหนึ่งที่พระอาจารย์โง่น โสรโย ได้แวะกลับมาเยี่ยมพระอาจารย์วัง ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน หลังจากทราบข่าวว่าพระอาจารย์วังได้ขึ้นมาจำพรรษาบนภูลังกาแล้ว ท่านจึงได้ตามขึ้นไปเพื่ออยู่อุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์วังเป็นเวลา ๒๐ วัน ในครั้งนั้น พระอาจารย์โง่น ได้นำดอกจิก ดอกรัง มาผสมกับดิน ปั้นรูปเสือและลิงเอาไว้ที่ถ้ำ จนปรากฏมาถึงทุกวันนี้



ขอขอบพระคุณ...http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm

61

               

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกกันว่า วัดเจ๊สัวหง, วัดเจ้าสัวหง หรือวัดเจ้าขรัวหง ซึ่งเป็นการเรียกตามชื่อเศรษฐีชาวจีน ชื่อ นายหง

ในสมัยธนบุรี วัดเจ๊สัวหง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด ใน พ.ศ.2319 พระราชทานนามว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร

วัดหงษ์อาวาสวิหารเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยธนบุรี พระบรมวงศานุวงศ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาทรงศึกษาพระธรรมและบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่เสมอ เช่น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมขุนอินทรพิทักษ์ ทรงผนวชและประทับที่วัดนี้ ด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต่อมาประชาชนจึงได้สร้างศาลของพระองค์ขึ้นเป็นที่เคารพสักการะ

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ขณะดำรงพระอิสริยยศกรมพระ ราชวังบวรสถานมงคลได้เสด็จประ ทับที่พระราชวังเดิม พระราชวังเดิมจึงมีฐานะเป็นพระบวรราชวังด้วย วัดหงษ์อาวาสวิหารจึงได้รับพระราช ทานนามใหม่ว่า วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหงส์อาวาสบวรวิหาร แต่ยังไม่แล้ว เสร็จก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับพระราชภาระแทนจนสำเร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมจนสำเร็จเรียบร้อยแล้วพระราชทานนามว่า วัดหงส์รัตนาราม

ดินแดนลาวในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีฐานะเป็นประเทศราชของไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า "ถ้าฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญ มีชื่อที่คนนับถืออยู่ที่วัดหงส์ เป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว พระชื่อพระแสนอยู่เมืองเชียงแตงอีกพระองค์หนึ่ง งามหนักหนา ฉันจะมีตราไปอัญเชิญมา...."

พระแสน ได้ถูกอัญเชิญลงมาถึงพระนคร เมื่อปีมะเมีย นักษัตร เอกศก จุลศักราช 1221 พุทธศักราช 2402 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดหงส์รัตนาราม ตราบถึงทุกวันนี้

พระแสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยล้านช้าง หน้าตักกว้าง 25.5 นิ้ว สูงตั้งแต่หน้าตักถึงยอดพระรัศมี 39 นิ้ว ฐานบัวสูง 4 นิ้ว ฐานล่าง 3 นิ้ว

กล่าวได้ว่า พระแสนเมืองเชียงแตง มีพุทธลักษณะอย่างพระเชียงแสน มีตำนานการสร้างและประวัติยาวนานมาก เมื่อครั้งพระครูโพนเสม็ด ผู้เป็นปราชญ์แห่งเมืองศรีสัตนาคนหุต ได้อพยพหนีราชภัยไปซ่อนอยู่ในหลายเมืองทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ได้สร้างพระแสนขึ้นไว้ ณ เมืองเชียงแตง ในแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นพระนวโลหะกว่า 160 ชั่ง คำนวณได้กว่าแสนเฟื้อง กลายเป็นที่มาของชื่อพระแสน

พระแสน เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ผู้ประสงค์หวังความก้าวหน้ามียศมีลาภ มักจะไปกราบไหว้บนบานขอ เมื่อถึงเทศกาลวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระแสนองค์จำลองออกไปให้ประชาชนได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปี



ขอขอบคุณที่มา...ข่าวสด

62
HBD.ครับน้องเอ็ม

ขอให้มีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง ร่ำรวยๆ

ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้สมความปรารถนาทุกประการ เทอญ

63
ไม่ใช่พระร่วงรางปืนครับ?

แต่เป็นพระยอดขุนพลและพระนาคปรกครับ

64


กราบขอบพระคุณท่าน ooo ด้วยครับที่แจ้งข่าว   

ขอร่วมไว้อาลัยกับการจากไป ของอาจารย์บุญมี ด้วยครับ

65

    คนดี...บารมีพระคุ้มครอง

พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา

รักษาด้วยนะโมพุทธายะ.....

ขอขอบคุณ...ที่นำประสบการณ์มาแบ่งปัน

66

       สุขสันต์วันเกิดนะครับพี่เจมส์ ขอให้มีความสุข ไม่เจ็บ ไม่จน ร่ำรวยๆ

67


ขอบคุณมากมายจ๊ะ...สำหรับรูปถ่ายบรรยากาศงานไหว้ครูวัดบางแวก

                    ที่นำมาให้ชมกันครับ :016: :015:

68
พระมเหศวร กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

กรุเดียวกับพระผงสุพรรณและพระมเหศวร ชินเงิน ครับ

แต่มีอีกที่หนึ่งกรุจังหวัดเพชรบุรี แต่พิมพ์น่าจะแปลกไปจากนี้หน่อยนึง!!!

69


           งดงามมากมายเลยครับ...เห็นแล้วอยากได้ไว้ครอบครองบ้าง :016: :015:

                        ขอขอบคุณนะครับที่นำมาให้ชม

70


           ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ  และขอร่วมไว้อาลัยด้วยครับ
                     ขอบคุณมากครับที่แจ้งข่าว...ครับ

71
วัดช่องสะเดา

ตั้งอยู่ที่บ้านดอนสันชัย หมู่ที่ ๖ ต.วังลึก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เดิมทีเป็นวัดร้างถูกพม่าเผาทำลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบันทางมหาเถรสมาคม ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบให้ยก วัดช่องสะเดา (ร้าง) ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ขึ้นเป็นวัดใหม่ และมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ที่ดินของวัดมีจำนวน ๑๘ ไร่ ๔๘ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๙๖๒๕

ปัจจุบันมีหลวงพ่อสาโรจน์ ฉนฺทโก เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นชาวอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ได้ทำการบูรณะวัดและใช้ชื่อว่า "วัดช่องสะเดา"
ปัจจุบันมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๘ รูป


 

ภาพหลวงพ่อสาโรจน์ ฉนฺทโก เจ้าอาวาส


ศาลาการเปรียญ


บริเวณภายในศาลาการเปรียญ


พระประธานภายในศาลาการเปรียญ


พระธาตุภายในศาลาการเปรียญ


ศาลเทพประจำวัด


ศาลเจ้าที่ด้านหน้าวัดติดแม่น้ำ


องค์พระพรหมใกล้ศาลเจ้าที่และจอมปลวก


หน้าวัดติดแม่น้ำ


บรรยากาศภายในวัด


กุฏิสงฆ์






โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปปางต่างๆ รูปเหมือนสมเด็จโต และ องค์ปู่ฤาษีต่างๆ




คติธรรม...คำสอน





72

ศิษย์ขอกราบนมัสการหลวงพ่อเปิ่น...ครับ :054:

         ขอขอบคุณต้นน้ำมากครับ

73



หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ท่านมรณภาพเมื่ออายุได้ ๑๐๘ ปี ชีวิตของท่านยืนยาวข้ามศตวรรษได้อย่างน่าขบคิด ปริศนาแห่งชีวิตเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในบั้นปลายของท่านน่าศึกษาอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่เป็นเกจิอาจารย์รูปหนึ่ง ของจังหวัดอุทัยธานี อดีตเจ้าอาวาสผู้สร้างวัดห้วยขานาง หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองยาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ท่านเป็นพระภิกษุ ที่ถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ ของเกจิอาจารย์หลายท่าน ด้วยความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของหลวงพ่อพลอย ท่านจึงมีลูกศิษย์ที่สำคัญของจังหวัดอุทัยธานีหลายองค์


ตำนานชีวิต ๑๐๘ ปี
หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ


ท่านเกิดที่บ้านจาร้า อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๒ คน คือ
๑.หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ นามสกุลเดิม อ่ำสุพรรณ
๒.นางขำ อ่ำสุพรรณ
บิดามารดา ของท่าน มีอาชีพ ทำนา อยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัว ของหลวงปู่พลอยนั้นนับว่าเป็นครอบครัวที่อบอุ่นเรียบง่ายสงบ สมัยที่ท่านยังเป็นเด็กท่านได้ศึกษาหาความรู้จนจบโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๔ ในสมัยนั้นถือว่าดีแล้วที่ใครสามารถจบชั้นประถมปีศึกษาที่ ๔ได้ และเมื่อ ถึงฤดูทำนาถ้าท่านไม่ได้ไปโรงเรียน ท่านจะไปกับ บิดา มารดา เพื่อ คอยดูแลเลี้ยงน้อง เพราะเมื่อถึงหน้าน้ำๆจะหลากท่วมท้องทุ่ง เจิ่งนองไปหมด บิดาของท่านได้ปลูกห้างนาเล็ก ๆ ไว้บนจอมปลวกสูง และในวันหนึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดก็เกิดขึ้นเมื่อในขณะที่ มารดา กำลังยุ่งกับการทำนาอยู่นั้น นางขำ ซึ่งกำลังเริ่มหัดคลานซุกซนมากและได้พลัดตกลงไปในสระน้ำ เด็กชายพลอยเมื่อเห็นน้องตกน้ำจึงร้องเรียกบอกแม่ว่า “แม่น้องตกน้ำ”เมื่อแม่ได้ยินเสียงเรียกจึงรีบ กระโดดลงไปงมหาลูกสาว หลวงปู่เองก็ยังเป็นเด็ก ก็ได้แต่ยืนจ้องดูแม่ ด้วยความห่วงใย เมื่อแม่ของท่านโผล่ขึ้นมาเพื่อหายใจครั้งหนึ่งท่านก็รีบถามว่า “ได้ไหมแม่” แม่ไม่ทันตอบก็ต้องรีบดำกลับลงไปใหม่ แม่ ดำผุด ดำโผล่อยู่อย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง จึงได้ลูกสาวขึ้นมาเด็กหญิงขำ รอดตายอย่างไม่น่าเชื่อ จนกระทั้ง เด็กชายพลอย และ เด็กหญิงขำ อ่ำสุพรรณ ย่างเข้าสู่วัยรุ่น ด้วยความชราภาพ บวกกับการแพทย์ยังไม่เจริญ พ่อ แม่ ของท่านทั้งสองได้ล้มป่วยลงจากการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน ๆ เพื่ออยากให้ลูกทุกคนมีความสุขสบาย แต่ความหวังของท่านทั้งสองยังไม่สมหวังดังที่ตั้งใจไว้ท่าน ก็เสียชีวิตลงทั้งคู่ ทิ้งให้นายพลอย และนางสาวขำอยู่ด้วยกันสองพี่น้อง นายพลอยจึงต้องรับภาระเลี้ยงดูน้องสาว ซึ่งเป็นเหตุให้ทั้งสองพี่น้องมีความรักผูกพันกันมาก นายพลอยจึงยึดอาชีพที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อ แม่มา คือการทำนา นายพลอยเป็นคนที่ขยันในการทำงานหาเลี้ยงดูแลน้องสาวมาจนกระทั้ง เมื่อท่านมีอายุ ๒๑ ปี ท่านก็ได้เข้าเป็นทหารเกณฑ์
การที่ท่านได้เป็นทหารเกณฑ์นี้เอง ทำให้ท่านได้มีโอกาส เรียนหนังสือเพิ่มเติม ฝึกฝนการอ่าน และการเขียนหนังสือ จนสามารถอ่านออกเขียนได้ดีพอสมควร ในช่วงที่ท่านเป็นทหารอยู่นี้เอง ท่านเป็นคนที่รักและห่วงน้องสาวเมื่อท่านไปเป็นทหารเกณฑ์ไม่เท่าไร ด้วยความที่ท่านเป็นห่วงน้องสาว กลัวน้องจะลำบาก ท่านจึงตัดสินใจที่จะหนีทหาร แต่ด้วยท่านมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของชายไทย ท่านได้หนีออกมาหาน้องสาวของท่านถึง ๒ ครั้งและก็กลับเป็นทหารอีกและครั้งสุดท้าย ท่านก็ได้ตัดสินใจหนีทหารอย่างเด็ดขาด และได้ พาน้องสาวหนีจากสุพรรณบุรีมาอยู่กับญาติพี่น้องที่บ้านหนองโพ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดชัยนาท ท่านพาน้องสาวมาอยู่ได้ไม่กี่ปี ด้วยเกรงว่า ทางจังหวัดสุพรรณบุรี จะรู้ที่อยู่ แล้วจะมาตามจับกลับไปเป็นทหารอีก ท่านจึงพาน้องสาวหนีจาก ชัยนาท มาอยู่ที่ บ้านเขาเชือก จังหวัดอุทัยธานี จนกระทั้งนางสาวขำ อ่ำสุพรรณ ได้มีครอบครัวได้สมรสกับ นายกุล วะชู ซึ่งเป็นคนบ้านวังน้ำขาว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และ นายพลอย ซึ่งกำลังเป็นหนุ่มฉกรรจ์ และนายพลอยเองก็ได้ผูกสมัครรักใคร่กับลูกสาวของหญิงหม้ายคนหนึ่ง (ไม่ทราบชื่อ) ในวันหนึ่งหญิงสาวคนรักได้นัดให้ นายพลอย ให้ไปขึ้นหาในตอนกลางคืน แต่แม่ของสาวคนรักนั้นซึ่งเป็นหญิงหม้าย ซึ่งแอบชอบนายพลอยอยู่ และคอยโอกาสอยู่ และวันที่รอคอยก็มาถึง เมื่อมารู้แผนการเรื่องที่ลูกสาว นัดให้ นายพลอยขึ้นหาในคืนนี้จึงเป็นโอกาสดีของหญิงหม้ายที่จะจับนายพลอยเป็นสามี จึงไล่ให้ ลูกสาว ซึ่งเป็นคนรักของนายพลอยไปนอนที่อื่น และหญิงหม้ายนั้นก็เริ่มแผนการนารีพิฆาต โดยเข้าไปนอนแทนที่ลูกสาว เพื่อจะเผด็จศึกนายพลอยในคืนวันนี้ ให้ได้ พอถึงเวลานัดหมายนายพลอยก็ขึ้นหาสาวคนรักตามสัญญา แต่กลับไม่เจอสาวคนรัก แต่เจอแม่ของสาวคนรักนอนรอการเผด็จศึกอยู่ ด้วยความมืดจึงไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ก่อนที่สงครามสร้างเผ่าพันธุ์จะเกิดขึ้นในความมืด นายพลอยรู้ตัวเสียก่อน เพราะว่า ผิดสัมผัส พอหญิงหม้ายรู้ว่านายพลอยรู้ตัว จึงโวยวายขึ้นมา เพื่อจะจับนายพลอยไว้เป็นทหารเอกของนางเอง เมื่อผิดแผนการที่วางเอาไว้กับสาวคนรัก จากการที่จะได้เป็นสามี แต่กลับจะได้เป็นพ่อเลี้ยงแทน นายพลอย จะกระโดดหนีแต่ไม่ทันเสียแล้ว จึงเสียใจมากที่ไม่สมหวังในความรัก นายพลอย จึงต้องตัดสินใจจากสาวคนรัก ด้วยความอาลัยในรักและจะไม่ยอมเป็นพ่อเลี้ยงของสาวคนรัก นายพลอยจึงหนีกลับไปสุพรรณบุรี นายพลอย เมื่อผิดหวังจากความรัก ก็เหมือนกับหนุ่มวัยรุ่นทั่วไป แต่ด้วยสวรรค์ยังเมตตา ท่านจึงตัดสินใจสละทางโลกออกบวช เป็นพระภิกษุ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เมื่อท่านบวชแล้วท่านได้ ทิ้งให้นางขำ วะชู ให้อยู่กับครอบครัว ที่ บ้านเขาเชือก นางขำ มีบุตรสาว ๑ คน คือนางพัน วะชู ต่อมาเกิดโรคห่าระบาดขึ้น “อหิวาตกโรค” ซึ่งการแพทย์ยังไม่เจริญ มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก นางขำ จึงพาครอบครัวอพยพไปอยู่ที่บ้านหนองมะสัง หรือหมู่บ้านทุ่งสาลีในปัจจุบัน และ นางพัน บุตรสาวได้ แต่งงาน กับนายมูล (ไม่ทราบนามสกุล) และ นาย กุล วะชู ผู้เป็นสามีนางขำได้เสียชีวิตลง นางขำจึงได้พาครอบครัวของบุตรสาวอพยพมาจับจองที่ทำกิน ที่บ้านห้วยขานาง ต่อมาสามีของนางพัน ได้เสียชีวิตลง และนางพันได้สมรสกับ นายเปล่ง ดวงหนองบัว ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยขานาง และ มีบุตรสาว ๑ คน คือ นางสะอาด ดวงหนองบัว นางขำใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านห้วยขานาง กับลูกหลาน ตลอดชีวิตของท่าน

ผลงานของหลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ

หลังจากที่หลวงปู่พลอยท่านได้อุปสมบทครั้งแรก ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยได้เดินธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆแสวงหา ครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ เพื่อจะศึกษาวิชาอาคมต่างๆ ท่านเล่าว่า ได้เดินธุดงค์ไปถึงเขตประเทศพม่า ท่านได้พบกับคนมอญ ท่านก็พูดมอญด้วย คนพวกนั้นเกรงว่าหลวงปู่จะรู้เรื่องที่คุยกัน จึงเปลี่ยนไปพูดภาษาพม่าแทน ท่านได้เดินธุดงค์อยู่หลายปี เมื่อท่าน
มีความรู้พอสมควรแล้ว ท่านได้เดินทางกลับและท่านได้มาจำพรรษา อยู่ที่วัดเนินเพิ่มอยู่ในเขต ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี วัดเนินเพิ่ม มีเนื้อที่ ประมาณ ๗ ไร่เศษ แต่ในปัจจุบันได้ยกเป็นวัดร้าง ซึ่งที่ดินวัดในปัจจุบัน ไม่มีใครเข้าไปใช้ประโยชน์ จึงเป็นที่รกร้าง ไม่มีสิ่งก่อสร้างอื่นใดให้เห็นเป็นรูปวัด จะเหลือต้นโพธิ์ ให้เห็นว่าเป็นวัด และศาลพระภูมิเก่า ๆ ที่ชาวบ้านนำมาทิ้งไว้เท่านั้น แต่จะมีพระธุดงค์ แวะเวียนเข้ามาอาศัยพักค้างแรมเป็นประจำ ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่วัดถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน โดยมีถนนลาดยางตัดผ่านพื้นที่วัด แต่ยังคงความร่มรื่น สมกับคำว่าอาราม เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของพระภิกษุสงฆ์จากทิศทั้งสี่ที่แวะเวียนมาปักกรดปฏิบัติธรรม และเนื้อที่วัดทั้งสองฟากถนน จะมีสระน้ำ สระน้ำทางทิศเหนือ เมื่อครั้งในอดีตในราวปี พุทธศักราช ๒๔๕๐ คุณโยมที่อาศัยอยู่ติดกับที่วัด ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านเป็นเด็ก แม่ของท่านเล่าให้ฟังว่าในสมัยที่หลวงปู่มาอยู่นั้นมีคนมาลักปลาในสระไปทำปลาร้ากิน เกิดเหตุที่จะคิดว่าไม่น่าจะ เกิดขึ้นได้คือ ไฟลุกอยู่ในไหปลาร้าเป็นคำบอกเล่า ผู้อ่าน ควรใช้วิจารญาณ เพราะเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หลังจากนั้นไม่นาน ชาวบ้านทุ่งกองโพธิ์ที่มีความศรัทธาในตัวหลวงปู่พลอย ได้ร่วมใจกันมาอาราธนา หลวงปู่ท่านให้ไปช่วยสร้างวัด ซึ่งในสมัยนั้น หนทางการสัญจรมีความลำบากมาก และ ในละแวกบ้านนั้นก็ไม่มีวัดให้ชาวบ้านได้ทำบุญกัน จะทำบุญกันแต่ละทีก็ต้องเดินทาง มาทำบุญที่วัดเนินเพิ่ม หรือไม่ก็จะไปทำบุญที่วัดหนองขุนชาติ หลวงปู่พลอยท่านเห็นความลำบากของชาวบ้านจึงรับอาราธนา และ ท่านได้เดินทางมาสร้างวัดทุ่งกองโพธิ์ ในปี พุทธศักราช ๒๔๕๒ บนเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๗๒ ตารางวา วัดทุ่งกองโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านทุ่งกองโพธิ์ หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ระยะทางห่างจากอำเภอหนองฉาง ๘ กิโลเมตร เมื่อ วัดทุ่งโพ เจริญมั่นคงดีแล้ว “แต่แล้วอนิจจาชีวิตคนไม่แน่นอน”หลวงปู่ก็เช่นเดียว ในช่วงที่ท่านอยู่ที่ วัด ทุ่งกองโพธิ์นั้น ท่านได้พบรัก อีกครั้ง กับหญิงหม้าย นางหนึ่ง “ผู้เขียนคิดว่า คงจะงามมากเลยละ” ที่สามารถผูกใจของหลวงปู่พลอย ได้และ ท่านลาสิกขาออกมา สร้างครอบครัว กับ หญิงหม้ายผู้โชคดี ที่ชื่อว่า “เทียน”(ไม่ทราบนามสกุล) ที่ว่าโชคดี นั้นเพราะว่าหลวงปู่ท่าน เป็นคนขยัน หมั่นเพียรในการทำงานประกอบอาชีพ สร้างฐานะด้วยความอดทนจนครอบครัวของ ท่านมีความมั่นคง ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ท่านไม่มีบุตร กับนางเทียน “อนิจจา ท่านต้องพบกับ ความพลัดพรากอีกครั้ง ” ชีวิตคู่ของหลวงปู่พลอย กำลังไปได้ดีมีความสุขกับครอบครัว ทั้งในด้านความรักและฐานะที่มั่นคง และแล้ว วันนั้นก็มาถึง เมื่อนางเทียน ได้ล้มป่วยลง จนหมอหมดทางรักษาและแล้ว นางเทียนก็ เสียชีวิตลงโดย ปัจจุบันทันด่วน หลวงปู่ท่านยังไม่ทันตั้งตัว ความเศร้าโศกเสียใจ ได้เกิดขึ้นกับท่าน เป็นครั้งที่สอง ดังคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” เมื่อท่านจัดงานศพนางเทียนเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เดินทางกลับไปจังหวัดสุพรรณบุรีอีกครั้ง เพื่อทบทวนความเป็นมาเป็นไปของชีวิตของท่านและแล้วท่านก็สามารถเป็นผู้ชนะใจของท่านเองได้อย่างเด็ดขาดท่าน สละทุกสิ่งทุกอย่างอีกครั้งแล้วจึงออกบวช โดยไม่หันหลังกลับอีกต่อไป เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับหมู่ญาติและภรรยา และท่านได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดทุ่งกองโพธิ์ ตามเดิม ขณะนั้นญาติพี่น้องของท่าน อยู่ที่บ้านสะเดาซ้าย อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างวัดสะเดาซ้าย ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีเมตตาและยึดมั่นในสัจจะธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญตั้งมั่นและมีความเจริญบนผืนแผ่นดินไทย เพื่อเป็นมรดกของลูกหลาน ที่นับถือพระพุทธศาสนาให้มีสถานที่บำเพ็ญบุญกุศล ทำความดี ท่านจึงรับนิมนต์และไปได้สร้างวัดสะเดาซ้าย หลังจากท่านได้สร้างวัดสะเดาซ้าย จนมั่นคงแล้ว หลวงปู่พลอย ท่านก็ได้เดินทางกลับมาจำพรรษา และพัฒนาวัดทุ่งกองโพธิ์ ตามเดิม ในช่วงเวลานั้น นางขำ น้องสาวของท่าน ที่ตั้งครอบครัวอยู่ที่บ้านห้วยขานาง นางขำท่านเป็นคนที่มีน้ำใจ โอบอ้อมอารี ต่อผู้คนทั่วไป ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านห้วยขานางและหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้คนจึงพากันเรียกท่านว่า “แม่แก่ขำ” แม่แก่ขำ ท่านมีจิตใจฝักใฝ่ในการทำบุญ ให้ทานด้วยความที่ท่านเป็นคนใจบุญ ท่านจะสั่งสอนและชักชวนลูกหลานให้ทำแต่ความดี และ แม่แก่ขำท่านจะพาลูกหลาน เดินทางไปทำบุญที่วัดทุ่งกองโพธิ์ทุกวันพระอยู่เสมอมิได้ขาด สาเหตุที่ท่านจะต้องเดินไปทำบุญที่วัดทุ่งกองโพธิ์ ก็เพราะว่าหมู่บ้านห้วยขานาง และหมู่บ้านใกล้เคียงโดยรอบยังไม่มีวัด และที่สำคัญคือ หลวงปู่พลอย ซึ่งเป็นพี่ชายคนเดียวของท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งกองโพธิ์ การที่จะเดินทางไปวัดทุ่งกองโพธิ์ในสมัยนั้นลำบากมากเพราะไม่มีรถยนต์ ใครมีเงินก็จะมีรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถจักรยาน แต่ส่วนมากการเดินทางจะใช้เกวียนเป็นพาหนะในการเดินทาง ๆ ไปในตัวจังหวัดต้องใช้เวลาในการเดินทางเป็นวันๆคือจะต้องนอนค้างคืน กันเลยทีเดียว และระยะทางจาก บ้านห้วยขานาง กับวัดทุ่งกองโพธิ์ ไกลกันพอสมควร และเมื่อแม่แก่ขำ ชราภาพลง เห็นว่าการจะไปทำบุญแต่ละครั้ง ทั้งไกล และ ลำบาก ท่านจึงมีความคิดที่จะย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งกองโพธิ์กับหลวงปู่พลอย ท่านจึงได้เก็บข้าวของเพื่อจะเดินทางไปอยู่กับหลวงปู่ที่วัดทุ่งกองโพธิ์ แต่ไม่ทันที่จะเดินทางไป หลวงปู่พลอย ท่านได้ทราบเรื่องเสียก่อน ด้วยความสงสารและเป็นห่วงน้องสาวกลัวลำบากที่ต้องเดินทางไปกลับ ท่านจึงได้พูดกับน้องสาวว่า “มึงไม่ต้องมาหลอก อีกหน่อยกูจะไปอยู่กับมึงที่ห้วยขานางเอง” หลังจากนั้น ไม่นาน หลวงปู่ท่านก็ได้พาพระลูกวัดทุ่งกองโพธิ์ เดินทางมาที่หมู่บ้านห้วยขานาง เพื่อมาปรับปรุงที่บริเวณลำห้วยขานางซึ่งเป็นที่ป่ารกมาก เมื่อฉันเช้าแล้วท่านก็จะเดินทางมาและระยะทางระหว่าง วัดทุ่งกองโพธิ์ กับ บ้านห้วยขานาง ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ท่านจะเดินทางมา เป็นประจำทุกวัน ในราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ ท่านได้สร้างกุฏิสงฆ์ และศาลาการเปรียญ พอจะเป็นที่อาศัยและบำเพ็ญสมณะกิจได้และให้ชาวบ้านอาศัยทำบุญได้ หลวงปู่พลอย ท่านได้ย้ายจากวัดทุ่งกองโพธิ์ มาอยู่จำพรรษา อยู่ที่วัดห้วยขานางตลอดชีวิตท่าน

วัดห้วยขานาง
สร้างเป็นวัดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ มีเนื้อที่ดิน ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๖๘ ตารางวา โดยมีผู้ใหญ่เปล่ง ดวงหนองบัว ซึ่งเป็นหลานเขยของหลวงปู่พลอย ถวายที่ดินให้ หลวงปู่พลอย ให้สร้างวัดห้วยขานางในช่วงนั้น และในปีเดียวกัน ผู้ใหญ่เปล่ง ดวงหนองบัว ได้ขออนุญาตทางการเพื่อสร้างโรงเรียนให้บุตรหลานหมู่บ้านห้วยขานางและหมู่บ้านใกล้เคียงได้มีที่เรียนหนังสือกัน โดยมีหลวงปู่ท่านเป็นคนสนับสนุน โรงเรียนวัดห้วยขานาง จึงเกิดขึ้น และได้ไปขอร้องให้ ครูหว้า ภู่พงษ์
 
ย้ายมาจากโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งนาให้มาสอนที่โรงเรียนวัดห้วยขานาง และ ครูหว้า ภู่พงษ์ ก็ได้รู้จักกับหลวงปู่พลอย และขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่พลอย ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ซึ่ง ก่อนที่ จะสร้างโรงเรียนนั้น โรงเรียนวัดห้วยขานางยังไม่มีสถานที่ตั้งอาคารเป็นของตัวเอง ได้อาศัยศาลาพักร้อนในบริเวณ วัดห้วยขานางเป็นที่เรียนหนังสือของเด็ก ๆ ส่วนครูหว้า ท่านได้อาศัยอยู่ข้างกุฏิ โดยหลวงปู่พลอยท่านได้ปลูกพาไล ข้างกุฏิให้อยู่ต่างหาก หลวงปู่ท่านจะเรียกครูหว้าว่า “ไอ้ครู” ซึ่งในช่วงนั้นครูหว้า เองก็มีอายุ ราว 23 ปี และ หลวงปู่เองท่านก็มีอายุมากแล้ว ไม่สะดวกในการเดินทางไปไหนมาไหน ก็ได้อาศัยครูหว้า ช่วยถือบาตรออกไปรับอาหารบิณฑบาตจากชาวบ้านในละแวกบ้านห้วยขานาง และหมู่บ้านใกล้เคียงแทน หลวงปู่ พอตกกลางคืนหลวงปู่ท่านก็จะเล่าประวัติ และประสบการณ์ ของท่านให้ครูหว้า ฟังหลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ท่านมีปฏิปทาในการปฏิบัติมาก ทุกๆวันโกน วันพระท่านเดินทางไปที่ ถ้ำเขาปูนเพื่อปฏิบัติธรรมในถ้ำและในถ้ำนั้นจะมีสระน้ำอยู่ซึ่งมีปลาอาศัยอยู่มากมาย และมีช่องทางน้ำไหลออกไปได้ เคยมีคนเอาแกลบข้าวโรยลงไปในทางน้ำ แกลบ จะไหลไปตามทางน้ำ และไปโผล่ในกลางทุ่งนาของชาวบ้าน ในปัจจุบันยังมีอยู่ ซึ่งอยู่ไกลมากจากถ้ำเขาเตาปูน ในปัจจุบันมีการ ทำโรงโม่หิน จนเขาลูกที่หลวงปู่พลอยท่านเข้าไปปฏิบัติธรรมในถ้ำและเขาที่อยู่ในบริเวณนั้น โดนระเบิดเหลือครึ่งลูกเท่านั้น แต่ยังรักษาถ้ำไว้ แต่หินหล่นทับปากถ้ำไปครึ่งลูก พอลงไปในถ้ำได้ หลังจากนั้นมาชื่อเสียงของหลวงปู่พลอย ก็เป็นที่รู้จักทั่วไปของชาวอุทัยธานี และจังหวัดใกล้เคียง เรื่องวัตถุมงคลและวาจาสิทธิ์ ในสมัยนั้น วัดห้วยขานาง ถือว่าห่างไกลจากตัวจังหวัดมาก แ ละ อยู่ในถิ่นทุรกันดารหนทางที่จะไปวัดลำบากมาก แต่ก็มีประชาชนที่มีความเคารพศรัทธาเดินทางมาสักการะท่านและนิมนต์ท่านไปในงานพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานที่บ้านหรืองานวัดเป็นประจำ โดยเอาเกวียนมารับท่านไป เพราะถือว่าถ้ามีหลวงปู่ท่านอยู่ในงาน ๆ งานจะเรียบร้อยไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเพราะทุกคนกลัววาจาสิทธิ์ของท่านครูหว้า ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ตลอดเวลาที่ท่านได้อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่พลอย นับวันก็ยิ่งประทับใจในคุณธรรมของหลวงปู่ และมีความเลื่อมใสศรัทธาในคุณงามความดีที่หลวงปู่ท่านได้กระทำต่อบุคคลทั่วไป ท่านเป็นที่พึ่งของคนทุกคน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ จะมีผู้คนมาจากทุกสารทิศมาหาท่านแทบทุกวันมิได้ขาดบ้างก็มาขอพรจากท่าน มาขอเครื่องรางของขลังบ้าง มากราบไหว้เพื่อความเป็นมงคลบ้าง บ้างก็มาขอพังธรรมจากท่านบ้าง หรือมาถามข้อข้องใจในธรรมของพระพุทธเจ้าบ้าง บ้างก็มาขอฝากตัว เป็นศิษย์ มาให้หลวงปู่เคาะกระบาลด้วยตะบันหมากบ้าง มาขอกรากหมากบ้างเพื่อให้อยู่ยงคงกระพันบ้างตามความเชื่อของตน และในสมัยก่อนนั้น วิชาการแพทย์ไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนปัจจุบัน หนทางที่จะเดินทางไปหาหมอที่ตัวอำเภอก็ไกลและการเดินทางต้องไปด้วยเกวียน กว่าจะถึงคนไข้ตายก่อนบ้างก็มีเป็นประจำ ชาวบ้านจึงยึดหลวงปู่พลอยเป็นที่พึ่งเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็จะมาให้ท่านรักษาให้ หลวงปู่ท่านก็จะรักษาให้ โดยใช้ยาสมุนไพร บวกกับอำนาจพุทธคุณที่ท่านล่ำเรียนมารักษาให้ มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนเป็นหน่อที่เท้าเป็นหนองจะเจ็บปวดทรมานมาก หลวงปู่ท่านก็จะใช้ ต้นไพรเผาจนร้อนแล้วให้คนช่วยกันจับคนป่วยกันดิ้น จี้ลงไปบนปากแผลที่เป็นหนอง คนป่วยจะดิ้นทุรนทุรายด้วยความเจ็บปวด ต่อมา ๒-๓ วันหน่อที่เป็นหนองก็หายนอกจากโรคในกายแล้ว ก็ยังมีคนเป็นโรคจิตประสาทมาให้ท่านรักษาท่านก็จะรักษาให้จนหาย บางคนมีกรณีพิพาทกันตัดสินกันไม่ได้ ก็มาสาบานต่อหน้าหลวงปู่เพื่อแสดงความจริงใจต่อกัน ถ้าคนผิดส่วนมากก็เป็นไปตามที่สาบานกับหลวงปู่ท่านจนเป็นที่เลื่องลือและเกรงขาม จนทุกวันนี้ก็จะมีคนมาสาบานในเรื่องต่างที่ทำผิดต่อกันต่อหน้ารูปหล่อของหลวงปู่พลอย

และท่านก็สอนให้ทำจิตใจให้สงบ โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็จะได้ไม่มาเบียดเบียนเนื่องจากสุขภาพใจ
เมื่อกล่าวถึงเรื่องวาจาสิทธิ์ และวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ของหลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ในสมัยท่านมาอยู่ที่วัดห้วยขานางใหม่ๆ ท่านเดินสำรวจบริเวณวัดได้มีกิ่งไม้หักตกลงมาโดนหัวท่านเข้า ท่านจึงพูดขึ้นว่า “ต้นไม้ต้นนี้เกิดมานานแล้ว สมควรที่จะตายได้แล้ว ด้วยวาจาของท่านต้นไม้ต้นนั้นก็ค่อยๆตายลง”
และใน สมัย ที่ท่านยังอยู่ที่วัดทุ่งโพเวลา จะไปไหนไกลๆ จะต้องอาศัยมอเตอร์ไซค์รับจ้าง พวกรถรับจ้างเมื่อเห็นหลวงปู่ท่านมาจะดีใจและแย่งกันขอไปส่งหลวงปู่ ๆท่านจะเลือกรถที่ท่านจะต้องไปด้วยท่านได้ลุงคนหนึ่งซึ่งลุงคนนี้ไม่มีที่ทางทำมาหากินแกได้อาศัยขับรถรับจ้างเลี้ยงครอบครัวเมื่อไปส่งหลวงปู่ถึงที่แล้ว หลวงปู่ท่านได้พูดกับลุงคนนั้นว่า “เออ เดี๋ยวมึงก็รวย” และต่อมาไม่นานลุงคนนั้นก็รวยตามวาจาของหลวงปู่ด้วยการขับรถรับจ้างนั้นเองใครๆก็ขึ้นแต่รถแก จนลุงคนนั้นเป็นคนรวยที่สุดในหมู่บ้านเกาะตาซ้ง ในสมัยนั้น และมีอยู่ครั้งหนึ่งมีงานเดือน สาม ที่วัดหนองขุนชาติ ได้มานิมนต์ท่านไปเป็นประธานในงาน และในคืนหนึ่งได้มีดนตรี ของ พรภิรมย์ และมีนักเลงคนหนึ่งไปยิง พรภิรมย์ แล้ววิ่งหนีไป มีคนนำเรื่องไปบอกหลวงปู่ ๆ ท่านได้พูดขึ้นว่า “มันหนีไปไหนไม่ได้หรอกเดี๋ยวมันก็มาหากู” และไม่นานนักเลงคนนั้นก็ขึ้นมาหาหลวงปู่ที่ศาลา ตอนหลังนักเลงคนนั้นได้เล่าให้หลวงปู่ฟังว่า “หาทางหนีออกจากวัดไม่เจอ และไม่รู้จะไปไหน เลยคิดว่ามาหาหลวงปู่ดีกว่า” ซึ่งในปัจจุบันนี้นักเลงผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่แต่ขอสงวนนามเพราะจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ ครูหว้าได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อทางราชการรู้ว่าชาวหมู่บ้านได้ร่วมใจกันจะสร้างโรงเรียนวัดห้วยขานางขึ้น จึงได้สนับสนุนมอบเงินทุนมาให้เพื่อดำเนินการสร้างโรงเรียน แต่งบประมาณที่ทางราชการให้มานั้นน้อยมากไม่พอที่จะสร้างอาคารเรียนได้ ครูหว้าจึงนำเรื่องมาปรึกษากับหลวงปู่พลอย เพื่อจะให้หลวงปู่ท่านร่วมเป็นประธานในการก่อสร้างอาคารเรียน ชาวบ้านจึงมีความเห็นร่วมกันว่าจะขออนุญาตหลวงปู่เพื่อสร้างวัตถุมงคล

สักรุ่นหนึ่ง เพื่อจะนำรายได้มาสร้างอาคารเรียน ในครั้งแรกหลวงปู่ท่านไม่เห็นด้วยและไม่อนุญาต ครูหว้าเลยต้องพูดอ้างเหตุผลและตัดพ้อหลวงปู่ ว่า “ตั้งแต่ที่ผมได้ร่วมสุขร่วมทุกข์กับหลวงปู่ ผมไม่เคยขออะไรหลวงปู่เลย ครั้งนี้ที่ขอไม่ได้ขอเพื่อตนเอง แต่จะสร้างอาคารเรียนเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านห้วยขานาง จะได้มีอาคารเป็นที่ศึกษาหาความรู้กัน” หลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า “ไม่ต้องลำเลิกหรอก ไปทำมา กูจะลงให้เอง” ครูหว้า และชาวบ้านห้วยขานาง ก็ได้ทำแหวนมาให้หลวงปู่ท่านลงให้ และนำออกจำหน่าย เมื่อได้เงินมาก็นำมาสร้างอาคารเรียนจนสำเร็จ และครูหว้า และชาวบ้านห้วยขานางก็ไปกราบขอบพระคุณหลวงปู่พลอย ซึ่งในขณะนั้นหลวงปู่ท่านชรามากแล้วอายุท่านประมาณ ๑๐๐ ปี ดวงตาของท่านมองไม่ค่อยเห็นแล้ว ครูหว้าและชาวบ้านช่วยกันนำหลวงปู่ท่านมาดูอาคารเรียน ที่ท่านมีส่วนร่วมในการสร้าง จนสำเร็จ โดยการพาท่านนั่งรถใสน้ำไปที่โรงเรียน แ ละครูหว้าได้อธิบายลักษณะของอาคารเรียนให้ท่านฟังและท่านก็ได้เอามือลูบคลำตัวอาคารเรียนและท่านก็พูดขึ้นว่า “ เออ ใหญ่ดี ” วัดห้วยขานางในสมัยที่หลวงปู่พลอย ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ถือว่าเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากวัดหนึ่ง จะมีผู้คนมาที่วันกันแทบทุกวัน ผู้ที่มีลูกชายอยากให้ลูกชายเจริญก้าวหน้าก็จะพามาฝากไว้เป็นศิษย์หลวงปู่พลอยและอาศัยอยู่ที่วัด ศึกษาเล่าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดห้วยขานาง ผู้ที่ได้เชื่อว่าเป็นศิษย์หลวงปู่ท่านก็จะมีความรู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจของวงษ์ตระกูล ชื่อเสียงของหลวงปู่พลอยท่านเลื่องลือไปในหลายจังหวัด เช่น นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ก็จะเดินทางมาหกราบท่าน แม้แต่ทหารเมื่อจะไปออกรบ มีอยู่ครั้งหนึ่งมีนายทหารได้นำเครื่องเฮลิคอปเตอร์ มาลงที่วัดเพื่อมาขอชานหมากจากปากของหลวงปู่ด้วยตนเอง ก่อนที่จะเดินทางไปสงครามเวียดนาม เพื่อความมั่นใจว่าตนเองจะต้องปลอดภัยกลับมา แม้แต่น้ำหมากที่หลวงปู่ท่านบ้วนทิ้ง ก็จะแย่งกันดื่มกิน เพราะถือว่า ใครได้ดื่มกินจะไม่มีวันที่จะตายโหง ซึ่งเป็นความเชื่อของส่วนบุคคล
หลวงปู่พลอยท่าน ได้ดำเนินชีวิตใน สมณะเพศ อย่างเรียบง่าย เป็นที่พึ่งให้แก่ผู้คนทั่วไปท่านได้สร้างประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาไว้อย่างมากมาย ถึงท่านจะเก่งเพียงใดก็ตามท่านย่อมเป็นไปตามธรรมชาติคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ท่านสละสังขารลงเมื่อวันพุธที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๒ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ รวมสิริอายุท่านได้ ๑๐๘ ปีโดยประมาณ ท่านได้ทิ้งไว้แต่ความดีที่สร้างมาไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ระลึกถึงพระคุณของท่าน และนำคำสอนของท่านมาประพฤติปฏิบัติตามปฏิปทาของท่าน รุ่นแล้วรุ่นเล่า ในการพัฒนาวัดห้วยขานาง ให้เจริญรุ่งเรืองสืบมา

 
สรุป
ทุกวันนี้ผู้คนที่สัญจรไปมาบนถนนสายบ้านไร่-อุทัยธานี เมื่อมาถึงบริเวณหน้าวัดห้วยขานาง หรือ วัดทุ่งโพ จะต้องบีบแตร ๓ ครั้ง หรือ พนมมือไหว้ท่านอธิษฐานของพรให้เดินทางปลอดภัย มีโชคลาภ เป็นการแสดงความคารวะด้วยความเคารพนับถือ เพราะทุกคนมีความเชื่อว่าหลวงปู่พลอยท่านมีอำนาจดลบันดาลความสุขความสมหวังแก่ตนและครอบครัว ครูหว้า ท่านบอกว่า ท่านถือว่าหลวงปู่พลอยท่านเป็นบุคคลที่ควรบูชาท่านหนึ่ง เพราะว่าท่านมีคุณธรรมสูงหลายประการ ท่าน คือ
๑.ท่านเป็นพระที่เป็นที่พึ่ง เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนที่ทุกข์ยาก ในสมัยที่ท้องถิ่นอยู่ห่างไกลความเจริญ เป็นขวัญกำลังใจให้ต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิตด้วยความเชื่อที่ว่าหลวงปู่ท่านยังอยู่กับทุกคนและสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่คิดดีปฏิบัติดี เป็นสุขสมหวัง ปลอดภัยในชีวิต
๒.ท่านเป็นครูผู้อบรมสั่งสอนศิษย์โดยท่านนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาสั่งสอน ให้คิดดี ปฏิบัติดีไม่เบียดเบียน รังแกผู้อื่น นอกจากนี้ท่านยังสนับสนุนการศึกษาสร้างอาคารเรียน
๓.ท่านเป็นผู้พิพากษา เมื่อมีผู้คนมีกรณีพิพาทที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ก็จะมาพึ่งหลวงปู่ท่านให้เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ทั้งคู่แสดงความบริสุทธิ์จริงใจต่อกัน (คือการสาบานนั้นเอง)
๔.ท่านเป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ในสมัยนั้นถ้าทางวัดใดมีงานประจำปี ก็จะมานิมนต์ท่านไป เป็นประธานในงานรับรองได้เลยว่างานที่วัดนั้นจะสงบเรียบร้อย เพราะผู้คนเกรงวาจาสิทธิ์ของท่าน พวกนักเลงอันธพาล ไม่กล้าที่จะทำความชั่ว หรือก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกันในบริเวณวัด เพราะกลัวคำสาปแช่ง
๕.ท่านยังเป็นหมอรักษาโรค ทั้งโรคทางใจ และทางจิต โดยท่านอาศัยสมุนไพรกับอำนาจพุทธคุณ สาสมารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้คนที่มาพึ่งท่านให้รักษา เพราะในสมัยนั้นการสาธารณสุขยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้
๖.ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในการปฏิบัติในกิจวัตรของสงฆ์มาก เช่นมีอยู่คราวหนึ่งช่วงที่หลวงปู่ท่านชราภาพมากแล้ว ท่านอาพาธดวง ตาของคนอายุร้อยกว่า ย่อมมองไม่ค่อยเห็นแล้วเป็นธรรมดา คนที่ดูแลท่านเพื่อจะให้ท่านฉันยา ได้นำอาหารป้อนท่าน ซึ่งเป็นเวลาเย็นมากแล้ว ท่านก็ฉัน ในขณะนั้นมีผู้ทักขึ้นว่า “หลวงปู่ฉันท่านอาหารตอนเย็นได้หรือ” เมื่อท่านได้ยิน ท่านก็ไม่ยอมเปิดปากรับอาหารอีกเลย โดยเฉพาะหลวงปู่ท่านมีปกตินิสัยประจำของท่าน
ทางกาย ท่านมีร่างกายที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง ว่องไว สะอาด ปราศจากกลิ่นตัว มีอาพาธน้อย ท่านจะสรงน้ำเพียงวันละครั้งเท่านั้น
ทางวาจา ท่านเสียงใหญ่ แต่พูดเบา พูดน้อย พูดสั้น พูดจริง พูดตรงปราศจากมารยาทางคำพูดคือไม่พูดเทียบเคียง ไม่โอ้อวด ไม่พูดปลอบโยน ไม่พูดประชด ไม่พูดนินทาไม่พูดขอร้องขออภัย ไม่พูดขอโทษ ไม่พูดถึงความฝัน
ทางใจ ท่านมีสัจจะ ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วทำจนสำเร็จ มีเมตตากรุณาเป็นประจำ สงบเสงี่ยม เยือกเย็น อดทน ไม่กระวนกระวายวู่วาม ไม่แสดงอาการอึดอัดหงุดหงิดรำคาญ ไม่แสวงหาของหรือสั่งสม ไม่ประมาทมีสติสัมปชัญญะเบิกบานอยู่เสมอ คุณธรรมของหลวงปู่พลอย เท่าที่ผมรู้จักยังมีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวได้อย่างครบถ้วน แต่อย่างน้อยข้อมูลประวัติของท่าน ที่ได้รวบรวมมานำเสนอไว้ ณ ที่นี้ คงจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า หลวงปู่พลอย ฐิติญาโณ ท่านเป็นบุคคลสำคัญรูปหนึ่ง ที่เป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีเกียรติคุณ งามความดี ควรค่าแก่อนุชนรุ่นหลังจะได้เจริญรอยตามปฏิปทาของท่าน และเคารพบูชาท่านได้อย่างสนิทใจ และท่านก็เป็นหนึ่งที่ชาวจังหวัดอุทัยธานีภาคภูมิใจ

พระเครื่องของหลวงปู่พลอย...บางส่วน


 เหรียญเนื้อเงินลงยาสีแดง...หลวงพ่อพลอย หายากมาก




ขอขอบพระคุณที่มา...http://sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=2746.0
                        ...http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=51298

74
แน่นอนจริงๆครับ...พี่โรนัลโด้ของเรา  :016: :015:


มีของดีมาให้เราชมกันอีกแล้ว...สวยงามมากมายครับ

ชอบหมดเลยทั้ง 3 องค์ 1.มหาอุดหยุดลูกปืน
                             2.แคล้วคลาดและได้สิ่งต่างๆมาแบบ...หมูๆ
                             3.เมตตามหานิยมและโชคลาภค้าขาย

ขอขอบพระคุณนะครับ...ที่นำมาให้ชมกัน...เพื่อเป็นวิทยาทานและศึกษา...กระผมไม่มีแบบนี้เลยสักกะองค์  :064:

75
แสน...จะงดงามยิ่งนัก... :016:

76
งดงามยิ่งนักครับ...น้องบอล(ราหู)... :016:

งบน้ำอ้อย...หลวงพ่อเนียม...สุดยอดครับ

งบน้ำอ้อย...หลวงพ่อโบ้ย...ก็ไม่ธรรมดาครับ

ขอขอบคุณนะครับที่...นำมาให้ชมกัน... :053:

77
:054: :054: :054: 17; กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ....จะหาโอกาสไปไหว้พระและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุให้ได้...เคยสอบถามเส้นทางมาครั้งหนึ่งแล้วพระอาจารย์ได้นำมาลงอีกทียิ่งเข้าใจยิ่งขึ้น.....กราบลาพระอาจารย์ครับ.. :054: :054: :054:

(จะบอกหลายครั้งแล้ว...ลืมทุกที)
ไม่ต้องเรียกพระอาจารย์หรอกครับ...ผมเป็นฆราวาส...ไม่ใช่พระภิกษุ

เรียกพี่...ก็พอครับ...ขอบคุณมากครับ

78
ปัญหา การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

พระอนุรุทธะตอบ “ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้พลังทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้... เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.... เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ.. เราย่อมรู้ฐานะที่เป็นไปได้ว่าเป็นไปได้และฐานะที่เป็นไปไม่ได้ว่าเป็นไปไม่ได้ ตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรม ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง.... เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้โลกที่มีธาตุต่าง ๆ มากมาย ตามความเป็นจริง..เราย่อมรู้อุปนิสัยต่าง ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง...เราย่อมรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น คนอื่น ตามความเป็นจริง... เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ และการเข้าออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง...เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังอุบัติ.... เราย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้...เพราะได้เจริญ ได้พอกพูนซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้...."


อิทธิสูตร มหา. สํ. (๑๒๘๗-๑๒๙๙ )
ตบ. ๑๙ : ๓๘๘-๓๙๐ ตท. ๑๙ : ๓๕๖-๓๕๙
ตอ. K.S. ๕ : ๒๖๙-๒๗๑
ขอขอบคุณที่มา : http://84000.org/true/499.html

79
หอจดหมายเหตุพุทธทาส


สวนโมกข์ในกทม เปิด1สิงหาคมนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนธรรม

เตรียมจัดงานเปิดตัวหอจดหมายเหตุพุทธทาส วันที่ 1 ส.ค.นี้ หลังการก่อสร้างอาคารใกล้เสร็จสมบูรณ์ เหลือตกแต่งรายละเอียด เชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมดื่มด่ำธรรมะจากสวนโมกข์แห่งกรุงเทพฯ พร้อมให้บริการห้องสมุดหนังสือธรรมะ ผลงานท่านพุทธทาสไว้ศึกษาค้นคว้า

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาส ว่า ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ 100% แล้ว เหลือเพียงการตกแต่งรายละเอียดเล็กน้อย เช่น ระบบไฟและการปรับปรุงภูมิทัศน์ คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นเราจะเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ให้พร้อมเปิดให้บริการ โดยมีกำหนดการจัดพิธีทำบุญเปิดหอจดหมายเหตุพุทธทาสในวันที่ 1 สิงหาคม และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการห้องสมุดและจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ ส่วนพิธีเปิดอย่างเป็นทางการจะกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในภายหลัง

นพ.บัญชากล่าวว่า การก่อสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาส ณ สวนวชิรเบญจทัศน์ (สวนรถไฟ) เกิดความล่าช้าเล็กน้อย เพราะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ จึงต้องเลื่อนกำหนดการเปิดให้บริการออกไปจากเดิมในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

สำหรับในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ จะมีพิธีเปิดตั้งแต่เช้า เริ่มเวลา 08.00 น. ตักบาตรสาธิตและถวายภัตตาหารแบบพุทธกาล บริเวณลานหินโค้งแห่งใหม่ จากนั้นเปิดห้องหนังสือและสื่อธรรม ลานนิทรรศการ เวทีกิจกรรมมหรสพทางปัญญา การแสดงธรรมกถาสมโภชพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด และภาพปูนปั้นพุทธประวัติจากสวนโมกขพลาราม โดยพระไพศาล วิสาโล

ในช่วงบ่ายจะมีการนำปฏิบัติธรรม โดยพระอาจารย์โพธิ์ จันทสโร ต่อด้วยการเปิดนิทรรศการนิพพานชิมลอง ซึ่งเป็นการนำสื่อผสมมาจัดแสดงให้ผู้ใช้บริการได้ลิ้มรสสัมผัสภาวะนิพพานว่าเป็นอย่างไร การจัดแสดงภาพศิลปะบูชาพุทธทาสของบรรดาศิลปิน กิจกรรมมหรสพทางวิญญาณ เช่น ดนตรีจีวันแบนด์ ละครมะขามป้อม ดนตรีเพื่อปัญญา นำพาสุขสู่สังคม อ่านบทกวีโดยนายอังคาร กัลยาณพงศ์ และนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ

"การสร้างหอจดหมายเหตุพุทธทาสตั้งอยู่บนแนวความคิดที่ว่า เป็นการนำสวนโมกข์เข้าหาสาธารณชน เป็นศูนย์กลางธรรมะในกรุงเทพฯ ที่สมบูรณ์แบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนธรรม และเป็นโรงมหรสพทางวิญญาณที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าวิจัยผลงานท่านพุทธทาสทั้งหมด" นพ.บัญชา กล่าว

สำหรับแนวคิดในการออกแบบตัวอาคารหอจดหมายเหตุพุทธทาส เน้นความเรียบง่ายตามแนวคิดท่านพุทธทาส โดยใช้สีที่เป็นธรรมชาติของวัสดุและไม่มีสิ่งแปลกปลอมกับอาคาร ชั้นล่างจะมองเห็นสวนรถไฟอยู่ด้านหน้า ส่วนชั้นสองออกแบบให้ลมพัดเข้าออกได้ตลอดทั้งวัน บรรยากาศสงบเงียบและเย็นสบาย เหมาะแก่การนั่งสมาธิ ทั้งนี้ สัญลักษณ์ที่โดดเด่นของหอจดหมายเหตุพุทธทาสก็คือ สระนาฬิเกร์ ซึ่งเป็นปริศนาธรรมของท่านพุทธทาส โดยมีที่มาจากเพลงกล่อมเด็กของภาคใต้ที่มีมาแต่โบราณ เป็นการสอนลูกหลานให้มุ่งสู่นิพพาน ส่วนสถาปัตยกรรมของหอจดหมายเหตุ ก็ยึดเอารูปแบบของโรงมหรสพทางวิญญาณที่สวนโมกข์มาสร้าง

นพ.บัญชา กล่าวอีกว่า ตัวอาคารหอจดหมายเหตุพุทธทาสมี 3 ชั้น ชั้นล่างสุดมีลักษณะโล่งกว้าง สำหรับนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม มีลานหินโค้ง ภาพแกะสลักนูนต่ำ ส่วนหนึ่งยกจากสวนโมกข์มาติดตั้งที่นี่ ห้องสมุดหนังสือธรรมะให้บริการยืมและค้นคว้าทำสำเนาไปใช้ในงานศึกษาวิจัย หรือจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม ชั้นกลางของหอจดหมายเหตุมีการนำเสนอภาพปริศนาธรรม ศูนย์ปฏิบัติธรรม อบรม สัมมนา และโรงมหรสพทางวิญญาณเพื่อนิพพานชิมลอง มีภาพยนตร์จอโค้งฉายหนังให้คนดูขบคิด เพื่อปฏิบัติมุ่งสู่นิพพาน ภาพยนตร์เรื่องแรกที่จะนำมาฉายสร้างโดยนายเป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง

ชั้นที่สามถือเป็นหัวใจของหอจดหมายเหตุพุทธทาส เรียกว่าเป็นขุมปัญญาพุทธทาส เพราะเป็นห้องเก็บรวบรวมเอกสารต้นฉบับ ผลงานการศึกษาค้นคว้าและสื่อธรรมะของท่านพุทธทาสที่มีมากกว่า 20,000 รายการ โดยห้องนี้จะปรับอุณหภูมิไว้ไม่ให้หนังสือหรือเอกสารอื่นได้รับความเสียหาย

"หอจดหมายเหตุแห่งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการสร้างศาสนอาคาร โดยก้าวข้ามการสร้างโบสถ์ วิหาร และเจดีย์เหมือนอดีต แต่จะเป็นต้นแบบให้วัดอื่น ๆ ได้นำรูปแบบไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเผยแพร่ทางธรรมต่อไป" เลขานุการคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวสรุป




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

80

ป้ายทางเข้าวัดหน้าศาลาการเปรียญทางทิศตะวันออก

ประวัติวัดโคกหิรัญ

วัดโคกหิรัญ  ตั้งอยู่ที่ 28 ต.บางชะนี  อ.บางบาล  จ.พระนครศรีอยุธยา  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย   มีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่  28 ไร่  2  งาน  80 ตารางวา
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา   ต้องประสบกับอุทกภัยเป็นประจำเกือบทุกปี   ประมาณปี 2533  พระครูประโชต  วรคุณ (หลวงพ่อเจือ) ได้ดำเนิน
การสร้างคันดินล้อมรอบวัดเพื่อป้องกันน้ำท่วมในเขตพื้นที่สังฆาวาสและศาสนสถาน มาจนถึงทุกวันนี้

อาคารเสนาสนะต่างๆ ของวัดโคกหิรัญมีดังนี้  อุโบสถ ขนาด กว้าง 10 เมตร ยาว 18 เมตร ก่ออิฐถือปูน,วิหาร ขนาด กว้าง  8 เมตร ยาว 13 เมตร,ศาลาการเปรียญ กว้าง  23 เมตร  ยาว 40 เมตร  สร้างด้วยไม้, กุฏิสงฆ์เป็นไม้ จำนวน 9 หลัง  เป็นตึกจำนวน 1 หลัง ,หอสวดมนต์เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น มณฑปประดิษฐานพระธรรมจักรและหลวงพ่อโบ ปูชนียวัตถุ มี  พระพุทธมงคลลาภ พระประธานในพระอุโบสถ  และหลวงพ่อโต  พระประธานในวิหาร  
  







                                      
ประวัติการสร้างวัด

วัดโคกหิรัญสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2305  สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ไม่มีประวัติการสร้างและผู้สร้างที่แน่นอน มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ปี 2400 เป็นต้นมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2347  โดยมีเขตวิสุงคามสีมากว้าง 22 เมตร  ยาว  34 เมตร   และมีโรงเรียนประถมอยู่ในบริเวณ
พื้นที่วัด 1 โรงคือโรงเรียนวัดโคกภู่พิพัฒน์บำเพ็ญ

ลำดับเจ้าอาวาส

ไม่มีข้อมูลจำนวนที่แน่นอน  เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามมี  ดังนี้
 1. หลวงพ่อผื้ง             ปี พ.ศ.2400 - 2445  
 2. พระอธิการเชื่่อง        ปี พ.ศ.2445 - 2460
 3. พระอธิการเฟื่อง        ปี พ.ศ.2460 - 2470
 4. พระครูโบ  ฐิติญาโณ  ปี พ.ศ.2470 - 2519
 5. พระครูประโชต  วรคุณ (ทองเจือ  ติสฺสดโชโต)  ปี พ.ศ.2519 - 2550
ปี พ.ศ.2551  ถึงปัจจุบัน  มี พระมหาเฉลิมพล อชิโต (ปธ.4) เป็นเจ้าอาวาส


 พระครูโบ  ฐิติญาโณ อดีตเจ้าอาวาส ปี พ.ศ.2470 - 2519


พระครูประโชต  วรคุณ (ทองเจือ  ติสฺสดโชโต)  ปี พ.ศ.2519 - 2550
พระเกจิอาจารย์ที่ผู้คนนับถือกันนัก ว่าน้ำมนต์ท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เจ้าตำหรับน้ำมนต์เดือด ท่านละสังขารแล้ว เมื่อเย็นวันที่ 23 ต.ค. 2550
ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อเงิน วัดดอยยายหอม ด้วยครับ



วัตถุมงคลที่หลวงพ่อเจือสร้างบางส่วน









ขอขอบพระคุณที่มา.... http://www.arty1.net/watkok1/wepage/Prawat.html                                                                

82
ยินดีด้วยครับ...ได้ของดีจากหลวงพี่ติ่งอีกแล้วนะครับ :016:

83
ขอบคุณครับท่านนก...สำหรับเหรียญ...ที่งดงามบาดตาบาดใจ

84


หลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย(พระครูสถิตวีรธรรม)

ผู้สืบทอดพุทธาคม จากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ


ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นศิษย์สืบสายพุทธาคมจาก “หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ”ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น”เทพเจ้าแห่งปากน้ำโพ” ที่ยังดำรงชีพอยู่และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วนั่นก็คือ “พระครูสถิตวีรธรรม” หรือ “หลวงปู่รอด” และที่เรียกขานกันด้วยความเคารพว่า “หลวงพ่อเสือ”

ปัจจุบันอายุ 83 ปี พรรษา 63 ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม และเจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก “หลวงปู่รอด” ชื่อเดิมว่า”บุญรอด แจ่มจุ้ย” เป็นบุตรของ นาย เพชร และ นางบุญมา นามสกุล “แจ่มจุ้ย” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พงศ. 2464 ณ. บ้านโคน ต.พญาปั่นแดน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์

หลวงปู่รอดได้ใช้ชีวิตเติบโตและร่ำเรียนวิชาความรู้ที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ครั้นอายุได้ 14 ปี ได้ย้ายบ้านไปอยู่ที่ บ้านป่ามะม่วง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย รวม ระยะเวลา 3 ปี จากนั้นจึงย้อนกลับไปอยู่ที่บ้านโคนซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด

กระทั่งอายุ 21 ปี จึงได้หันเหชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยการอุปสมบท เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่วัดเชิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก โดยมี พระครูญาณปรีชา วัดดอกไม้ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการพวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้ฉายาว่า “ฐิตฺวิริโย” พักจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงหวายเป็นเวลา 2 พรรษา จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่วัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ความรู้ทางธรรม
 
ปี พ.ศ. 2489 สามารถสอบไล่ได้นักธรรมโท สำนักวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณูโลก ซึ่งท่านมีความชำนาญทางด้านเทศนาธรรม
 การบรรยายธรรม การปาฐกถาธรรม วิปัสสากรรมฐาน และ การก่อสร้าง(นวกรรม) มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการเขียนและอ่านอักขระขอม

หน้าที่การงานที่ได้รับ

*พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันสันติกาวาส

*พ.ศ. 2491 เป็นพระกรรรมวาจาจารย์

*พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะตำบลวงฆ้อง

*พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการสงฆ์ฝ่ายสาธารณูปการ อำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2489-2499 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2509 เป็นพระอุปัชฌาย์

*พ.ศ. 2510 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2520 เป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม

*พ.ศ. 2544 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอต่อไปอีก 3 ปี

เรื่องราวชีวิต”พระดีศรีพรหมพิราม” พระครูสถิตวีรธรรม หรือหลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย เจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ท่านมีชีวิตที่น่าศึกษามิใช่น้อย

เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสท่านได้ชื่อว่าเป็น “ลูกผู้ชายตัวจริง” คนหนึ่งทีเดียว ท่านไม่ใช่นักเลง เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ แต่ก็อยู่ท่ามกลางหมู่นักเลงหลายก๊กหลายเหล่า เลยทำให้ชีวิตกล้าแกร่ง ค่อนข้างใจร้อน ใครพูดแสลงหูก็มีอารมณ์เหมือนกัน ถึงขนาดเคยมีเรื่องฟันแทงเกือบติดคุกทีเดียว แม้กระทั่งตอนจะบวชก็ยังมีมารมาผจญ

แต่ด้วยจิตใจที่หนักแน่น และไม่ยอมใครถ้าหากไม่มีเหตุผล ท่านจึงผ่านพ้นวิกฤตชีวิตที่น่าหวาดเสียวมาได้เสมอ

อำเภอพรหมพิรามสมัยก่อน เป็นศูนย์รวมของบรรดาโจรผู้ร้าย มีทั้งเสือที่เป็นสัตว์และไอ้เสือที่เป็นคนเยอะแยะไปหมด “เสือหลวย” เป็นเสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด นอกจากนี้ก็มี เสือเสงี่ยม,เสือดำ,เสือม้วน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น”เสือต่างถิ่น” เสียมากกว่า

หลวงปู่รอดเล่าให้ฟังว่า มีเสืออยู่คนหนึ่งเมื่อมันชอบลูกสาวบ้านใด มันก็จะถือเหล้าขวดเดียวเข้าไปสู่ขอเอาดื้อ ๆ เวลาขึ้นบ้านไหนมันก็จะพูดว่า “พ่อแม่มารับไหว้เดี๋ยวนี้ กินเหล้าแล้วผมขอลูกสาวไปเลยนะ”

โยมพ่อของหลวงปู่รอดเป็นคนที่มีวิชา แต่ท่านไม่ค่อยสนใจสักเท่าไร จนกระทั่งบวช เมื่อได้พบเจอเหตุการณ์ไอ้เสือปล้นต่าง ๆ ก็เลนขอรับการถ่ายทอดวิชาจากโยมพ่อเพื่อไว้ป้องกันตัว และช่วยเหลือคนอื่น

ลูกสาวชาวบ้านที่ถูกฉุดไป หลวงปู่รอดได้เมตตาตามไปช่วยกลับคืนมาได้เกือบหมด โดยไม่กลัวพวกเสือแต่อย่างใด เพราะสมัยนั้นพวกเสือต่าง ๆ ต้องมาพึ่งบารมีพ่อ ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณประจำตำบล

ตกคืนนั้นพวกเสือมันมาตามคืน ท่านกำลังท่องหนังสืออยู่ได้ยินเสียงลั่นไกปืน 2-3 ครั้ง พอรู้ว่าถูกลอบยิงก็รีบวิ่งเข้ากุฏิไปคว้าขวานออกมา พร้อมตะโกนท้าพวกมันให้ออกมาฟันกันซึ่ง ๆ หน้า แต่มันก็ไม่กล้าและล่าถอยไป ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ท่านยังมานั่งคิดว่า เป็นเรื่องแปลกดีที่ยิงไม่ออก

ช่วงหนึ่งหลวงปู่รอดเคยคิดจะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น เพราะพวกนักเลงเยอะ มีทั้งลักขโมย ปล้นสะดม และฆ่ากัน พระหลายรูปทนไม่ได้ต้องสึกออกไปเพราะความกลัว ตัวท่านเองตั้งใจจะเข้าไปเรียนบาลีที่กรุงเทพ ฯ แต่ญาติโยมไม่ยอมให้ไป ถึงขนาดนิมนต์เจ้าคณะตำบลและเจ้าคณะอำเภอมาช่วยอ้อนวอนไว้ จึงตัดสินใจอยู่ต่อมาจนถึงทุกวันนี้

เดิมทีหลวงปู่รอดท่านตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่ด้วยจิตยึดมั่นในทางธรรมก็ล่วงเลยไปถึงพรรษาที่ 9 และคิดจะลาสิขา แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะจิตใจอุทิศให้พระศาสนา อย่างเต็มเปี่ยม จนปัจจุบันย่างข้า 63 พรรษาแล้ว

ตลอด 62 พรรษาที่ผ่านมา แทบจะกล่าวได้ว่าท่านไม่เคยหยุดนิ่ง เริ่มการสร้างวัดสันติกาวาสจากสภาพวัดร้างให้พลิกฟื้นคืนความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการเรียกความศรัทธาชาวบ้านอย่างสูง แต่ด้วยความเป็นคนจริงบวกกับการประพฤติปฏิบัติตนที่ทำให้ผู้คนเกิดความเคารพเลื่อมใส เพียงไม่นานก็ทำให้วัดสันติกาวาส มีความสมบูรณ์ทั้งด้านเสนาสนะ และศาสนวัตถุต่าง ๆ

นอกจากนี้ หลวงปู่รอดยังได้ใช้วิชาความรู้มาช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ประสบทุกข์ร้อนทั้งร่างกาย และ จิตใจ อาทิ การเป่าหัว-เสกยารักษาโรค การดูดวง ซึ่งวิชาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วท่านจะเรียนรู้ด้วยตนเองจากตำรับตำราเก่า ๆ

ในช่วงที่ท่านได้อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพนั้น ก็ได้รับการถ่ายทอด “คาถารอบโลก” ซึ่งเป็นคาถาที่หลวงพ่อเดิมท่านใช้ประจำตัว ไม่ว่าจะการพรมน้ำมนต์ หรือการปลุกเสกวัตถุมงคล โดยหลวงปู่รอดได้นำมาใช้เป็นคาถาประจำตัวเช่นกัน ซึ่งพระคาถานี้มีด้วยกัน 7 บท อาทิ คาถาหายตัว,คาถามหานิยม,คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ

ทุกวันนี้หลวงปู่รอดได้เป็นที่พึ่งของชาวพรหมพิรามและใกล้เคียง มาให้เจิมรถบ้าง พรมน้ำมนต์ดูดวงต่อชะตาราศีบ้าง นอกจากนั้นเป็นเพราะท่านมีวิชาอาคมขลังแล้ว ยังมาจากชื่ออันเป็นมงคลนามว่า “รอด” ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้รอดพ้นจากเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ จากร้ายกลายเป็นดี

แต่ท่านก็มักเตือนสติลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอว่า ใครที่มีวัตถุมงคลของท่านแล้วจะให้รอดเหมือนชื่อนั้นจะให้รอดทุกคนเป็นไปไม่ได้ เพราะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งคู่กับมนุษย์ทุกคนไม่มีทางหนีความตายไปได้ จะตายช้าตายเร็ว ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่างรวมกัน

ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่รอดอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นหลายแบบด้วยกัน อาทิ จัดสร้างขึ้นในโอกาสจัดงานฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548

แม้ว่าอายุท่านจะล่วงเลยเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่กิจนิมนต์ของท่านแทบจะไม่มีวันเว้นว่าง

ต่อมา หลวงปู่รอด เข้าโรงพยาบาลพรหมพิราม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เนื่องจากมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ส่วนหนึ่งมาจากกิจนิมนต์ที่หลวงปู่ไม่เคยปฏิเสธ

ทุกวันท่านจะต้องเดินทางไกล เพื่อไปร่วมในพิธีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการอธิษฐานจิต ปลุกเสกวัตถุมงคล ด้วยท่านเป็นพระเกจิที่ได้รับความศรัทธา แต่ด้วยอายุที่มาก การพักผ่อนน้อย ทำให้ล้มป่วยอาพาธลง

แม้คณะศิษย์จะขอร้องให้ท่านงดรับกิจนิมนต์ แต่ท่านก็บอกว่า "เขามาเพราะเขาเชื่อมั่นศรัทธาจะปฏิเสธเขาได้อย่างไร"

หลังเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพรหมพิรามได้ 3 วัน อาการหลวงปู่รอดทรุดหนักลง จึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธชินราช โดยคณะแพทย์ได้พยายามรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้

ในที่สุด หลวงปู่รอด ได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 สิริอายุ 87 พรรษา 67

สร้างความอาลัยให้กับคณะศิษย์และชาวเมืองสองแควเป็นอย่างยิ่ง

พระเครื่องของหลวงปู่รอด บางส่วน






ถ้าเรื่องและเนื้อหาบางตอนซ้ำกับท่านโยคีและท่านโจรสลัด ที่เคยโพสเอาไว้ก่อนหน้านี้ต้องกราบขออภัย มา ณ.ที่นี้ด้วยครับ


ขอขอบคุณที่มา...http://www.pantown.com/board.php?id=10697&area=&name=board3&topic=15&action=view
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพพระเครื่องด้วยครับ

85




หลวงพ่ออิ่ม
วัดหัวเขา  ตำบลหัวเขา
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี



     ประวัติของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เลือนรางมาก ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีจอ เดือน ๗   ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖

     อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๖ ท่านเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางมาปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณบ้านหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ ท่านเห็นว่าอาณาบริเวณนี้มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การสร้างเป็นวัด จึงได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาชื่อว่า “วัดหัวเขา” และท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

     ในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่นั้น หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระคู่สวดให้ และในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อมุ่ยท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ประวัติกล่าวว่าหลวงพ่อมุ่ยแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม และหลวงพ่ออิ่มยังพาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย

     หลักฐานจากหนังสือพระราชทานเพลิงศพพระครูวรนาถรังษี หลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวด้วยว่า พ.ศ.๒๔๖๓ หลวงพ่อปุยก็เดินทางมาฝากตนเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม  และอาจารย์มนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือลานโพธิ์กล่าวว่า หลวงพ่ออิ่มยกย่องหลวงพ่อปุยว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว สอนอะไรก็เข้าใจง่าย ศึกษาได้รวดเร็ว ไม่ต้องจ้ำจี้จำไชเท่าไรนัก หลวงพ่อปุยเองก็เคยเล่าให้ศิษย์ฟังเสมอๆว่า หลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยมาก ญาณสมาบัติสูงมาก


สมัยที่หลวงพ่ออิ่มท่านได้ปกครองวัดหัวเขา ท่านพัฒนาวัดหัวเขาจนเป็นวัดที่เจริญวัดหนึ่งในสมัยนั้น และมีพระภิกษุสงฆ์เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย อาทิ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ , หลวงพ่อปุย วัดเกาะ , หลวงปู่แขก วัดหัวเขา และหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน เป็นต้น

หลวงพ่ออิ่มท่านมรณภาพเมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.๒๔๘๐ สิริอายุ ๗๔ปี


    ในยุคที่หลวงพ่ออิ่ม ครองวัดหัวเขา มีการสร้างเครื่องรางของขลังโบราณหลายชนิด เช่น ตะกรุดแบบต่างๆ รวมทั้งผ้ายันต์ เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อโบราณ รูปหล่อโบราณ(นางกวัก) แหวนแบบต่างๆ พระผงใบลาน เป็นต้น

พระเครื่องของหลวงพ่ออิ่มบางส่วน






     อันเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่ม เชื่อกันในหมู่ผู้บูชาตั้งแต่สมัยก่อนจวบจนปัจจุบันว่า ประสบการณ์ยอดเยี่ยม มีคุณวิเศษในด้านบันดาลความมั่งมีศรีสุข  เมตตามหานิยม ไปมาค้าขายดีมาก   ส่วนเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นก็เลิศ แบบแมลงวันไม่มีวันได้กินเลือด กล่าวขานกันอย่างนี้มาช้านาน ตั้งแต่สมัยเหล่าทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกแล้ว




ขอขอบคุณที่มา...http://www.sittloungpormhui.com/board/index.php?topic=113.msg6149

86



หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย

พระอริยสงฆ์แห่งวัดถ้ำพญาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ พระผู้มีปฏิปทาอันซ่อนเร้นดำรงตนอย่างช้างเผือกในหุบเขาอันห่างไกลความเจริญด้วยวัย ๗๕ ปี ๕๐ พรรษา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล พระผู้ร่วมธุดงค์พร้อมหลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อยท่านเป็นสหธรรมมิกองค์สำคัญของหลวงปู่บุญพิณ กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตและหลวงปู่หวัน จุลปัณฑิโต ด้วยปฏิปทาอย่างนี้อันเรียบง่าย สมถอย่างสวยงามขององค์หลวงปู่คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยรู้จักกันมาก
 
แม้กระทั่งองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าบ้านตาดยังออกปากชมท่านเสมอเพราะท่านเมตตาต่อองค์หลวงปู่อย่างลับๆมาโดยตลอดด้วยปฏิปทาของหลวงปู่ว่า " หลวงพ่อวิไลย์ ท่านสมเป็นช้างเผือกจริงๆ ศิษย์หลวงปู่ขาวน่ะอยู่อย่างช้างเผือก เป็นองค์ที่สำคัญมากอีกองค์หนึ่งของชัยภูมิ เป็นพระดี " องค์หลวงปู่ดำรงตนอย่างพระป่ามากท่านเน้นสอนในเรื่องของการปฏิบัติภาวนาเป็นสำคัญคนที่ไปหาท่านส่วนใหญ่ จึงเป็นนักปฏิบัติภาวนาที่ค่อนข้างเพรียบพร้อมทางด้านสมาธิภาวนา เพราะท่านขมักเขม้นเน้นหนักจริงๆต่อลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสในการอบรม
 
แต่เวลารับแขกองค์หลวงปู่เมตตาและอารมณ์ดีมากๆต่างกัน ท่านเคยบอกว่า หลวงตามหาบัวบอกให้ท่านหลวงปู่วิไลย์ว่า"ให้เอาอย่างหลวงตาเป็นแบบอย่างในการดำเนิน"หลวงปู่จึงมีลักษณะหลายประการที่คล้ายกับองค์หลวงตามหาบัวแต่ท่านก็พูดเสมอกับลูกศิษย์ว่า
"จะให้เป็นอย่างหลวงปู่วัดบ่านตาดนั้นทำไม่ได้หรอกนิสัยคนเราเกิดมาแตกต่างกันพระอรหันต์ก็มีนิสัยแตกต่างกัน"
 
ธรรมที่หลวงปู่สอนนั้นเป็นธรรมแบบป่าล้วนๆเข้าใจง่ายแล้วท่านก็มีเมตตามากๆทั้งต่อพระ, ญาติโยม และสัตว์ ท่านจึงเป็นพระที่พระทั้งจังหวัดชัยภูมิ,วัดถ้ำกลองเพลและต่างจังหวัดให้ความเคารพอย่างมาก เช่นหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต ,หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม ,หลวงปู่จื่อ วัดเขาตาเงาะฯลฯ แม้กระทั่งเกศาหลวงปู่ก็กลายเป็นพระธาตุสำหรับผู้ที่นำไปบูชา
 
สภาพวัดของท่านเป็นภูเขาน่าอยู่ภายในถ้ำมีการตกแต่งที่สวยงามด้วยการบูรณะของหลวงปู่ซึ่งถ้ำนี้เป็นถ้ำที่หลวงปู่คำดี ปภาโส หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านเคยอยู่มาก่อน หลวงปู่ออกจากวัดถ้ำกลองเพลจึงได้ธุดงค์มาพบถ้ำนี้ หลวงปู่บอกว่าที่นี้มีเทพเทวดาเยอะบางคืนจะมาฟังธรรมของท่านลูกศิษย์ของหลวงปู่เล่าว่ามีคนเคยเห็นแสงสว่างมากลอยมาจากถ้ำมาเข้ากุฏิหลวงปู่แสงนั้นสว่างจ้าทั่วบริเวณวัดชาวบ้านต่างๆก็เห็นกันเยอะ
 
เช้ามาหลวงปู่ท่านบอกว่า พวกเทพเทวดาเขามาฟังธรรมกันนะ จึงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากสำหรับบุคคลที่ได้ฟังและได้พบเห็น
 
และนอกจากนี้ท่านยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ด้วยครับ.   
 
 
 
 
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล...ลานธรรมเสวนา
                     credit ภาพ : http://aongar.multiply.com/journal/item/20


87
งดงามยิ่งนัก :016:

88




ในสมัยหนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ  เชตวันมหาวิหาร
เมืองสาวัตถี  พระโมคคัลลานะเถระ  ผู้บรรลุซึ่งธรรม บารมี  6
มีปณิธานอันแรงกล้า  ปรารถนาจักทดแทนพระคุณบุพการีชน

ดั่งนี้แล้ว  จึ่งได้เพ่งมองโลกด้วยอภิญญาญาณ  และแจ้งว่า.......
บัดนี้ผู้เป็นมารดาแห่งตนได้ไปถืออุบัติอยู่ ณ ท่ามกลางดวงวิญญาณ
หิวกระหาย  ไม่มีทั้งน้ำ  และอาหาร  ทั่วสรรพพางค์กาย
ปรากฏเพียงหนังหุ้มกระดูก  ได้รับทุกขเวทนายื่งนัก
พระโมคคัลลานะ  จึงนำผลาหารบรรจุเต็มบาตรเพื่อนำไปโปรด
ดวงวิญญาณของมารดา  ทันทีที่นางรับบาตรไป  ก็ลูบคลำด้วย
มืออันอ่อนแรง  มือขวากอบคำข้าวเพื่อหวังจะบริโภค
แต่ในบัดดล  ยังมิทันที่อาหารจะล่วงเข้าสู่ปากของนาง  ก็กลับกลาย
เป็นถ่านเพลิงเผาไหม้ทุกคราไป  ยังความสลดสังเวชแก่พระโมคคัลลานะ
เป็นที่ยิ่ง  ด้วยเหตุนี้แล้ว  พระโมคคัลลานะจึงกลับไปสู่  ณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า  แล้วกราบทูลถึงการณ์ทั้งปวงให้พระพุทธองค์ทรงทราบ

สมเด็จพระศาสดาได้มีพุทธดำรัสว่า.....

"ดูกร  โมคคัลลานะ  โดยเหตุที่มารดาของท่านสั่งสมซึ่งอกุศลกรรม
เป็นเนืองนิจ  อาศัยกำลัง(บุญกุศล)แห่งตน(พระโมคคัลลานะ)
แต่เพียงลำพัง  มิอาจบรรเทาอกุศลกรรมนั้นได้  ถึงแม้ว่าอำนาจ
แห่งความกตัญญูต่อบุพพการีชนของท่านจะสะเทือนถึงสวรรค์
โลกมนุษย์  ปีศาจ  มารร้าย  หรือแม้แต่พรหมโลกและจตุโลกบาลก็ตาม

ยังมีแต่พลานุภาพแห่งที่ประชุมพระอริยสงฆ์สาวก  ผู้มาจากทิศทั้งสิบ 
จึงสามารถปลดเปลื้องทุกข์แห่งมารดาท่านได้  บัดนี้พระตถาคตจักแสดง
ธรรมอันเป็นเครื่องปลดเปลื้อง  ความขัดข้อง  ความทุกข์  และอกุศลมูลทั้งหลาย

ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงมีดำรัสต่อพระมหาโมคคัลลานะว่า

"ในวันเพ็ญ  กลางเดือนเจ็ด  อันเป็นวาระแห่งวันปวารณาของพระสงฆ์
ทั่วทั้งทศทิศ  เพื่ออานิสงค์อันพึงจักสำเร็จแก่บุพพการีชน ทั่วถึง  7  ชั่วอายุ
โมคคัลลานะ  !!  เธอจงจัดเตรียมภาชนะอันบริสุทธิ์อุดมด้วยผลาหาร
ภักษาหารทั้ง  100  อย่าง  ผลไม้ทั้ง  5  กับสิ่งสักการะบรรดามี
ประทีป  ธูปเทียน  ชวาลา  อันเป็นเลิศทั้งปวง  ถวายแด่หมู่สงฆ์
ผู้มาจากทิศทั้ง  10

หากสาธุชนใดพึงได้ถวายทานดั่งนี้แล้ว  แด่ที่ประชุมมหาปวารณาสงฆ์
อานิสงค์อันประมาณมิได้  ย่อมบังเกิดแด่บุพพการีชนทั้งในปัจจุบัน
ตลอดจนถึง  7  ชั่วอายุ  แม้กระทั่งผู้อยู่ในคติทั้ง  6 
(สวรรค์  มนุษย์  เปรต  อสุรกาย  เดรัจฉาน  สัตว์นรก)
ท่านเหล่านั้นจักพ้นจากทุคติภูมิ  ได้บังเกิด  ณ  สุคติภพ
โภชนาหารกับทั้งพัสตราภรณ์อันปราณีต  จักบังเกิดแด่ท่านเหล่านั้น
แม้ผู้ยังชนม์อยู่ย่อมจักเป็นผู้มั่งคั่ง  จักเป็นผู้มีอายุยืน"

แลบัดนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงมีพุทธบรรหารแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลายให้ดำรงจิตแห่งตน  มั่นคงอยู่ในสมาธิภาวะ  แล้วจึง
สังวัธยายมนตร์  อุทิศให้บุพพการีชนทั้งหลาย  ครั้นแล้วหมู่สงฆ์ทั้งนั้น
พึงรับ มตกภัตต่อเบื้องหน้าพุทธานุสติเจดีย์ในท่ามกลางหมู่สงฆ์

ทันใดนั้น  มารดาแห่งพระมหาโมคคัลลานะก็ได้พ้นจากกัลป์แห่งเปรตภูมิ
ด้วยกุศลนั้น  พระมหาโมคคัลลานะ  อีกทั้งพระมหาโพธิสัตว์เจ้า
ก็บังเกิดปิติในผลแห่งกุศลเป็นอันมาก

พระมหาโมคคัลลานะ  ได้ประคองหัตถ์อัญชุลีต่อเบื้องพระพักตร์
พระผู้มีพระภาค  แล้วกราบทูลว่า.......

"บัดนี้  มารดาของข้าพระองค์  ได้รับอานิสงค์อันไม่มีประมาณ  ก็ด้วย
อาศัยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย  หากในกาลภายหน้า  บรรดา
พุทธสาวกทั้งหลายปรารถนาจักบำเพ็ญกุศลทานอุทิศให้แก่บุพพการีชน
ดั่งนี้บ้าง  บรรพชนทั้งหลายกับผู้ล่วงลับทั้ง  7  ชั่วอายุนั้น
จักได้รับอานิสงค์ดุจเช่นนี้หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า"

             

พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก  จึงมีพุทธดำรัสตอบว่า... 

"ประเสริฐแล้ว  สิ่งที่เธอกล่าวนั้นชอบแล้ว  หากในภายภาคเบื้องหน้า
สาธุชนทั้งหลายอันมีภิกษุ  ภิกษุณี  กษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์
ข้าราชบริพารทุกชนชั้นกับทั้งสามัญชนทั้งปวงปรารถนาที่จักบำเพ็ญ
กุศลทานอุทิศแด่บุพพการีชน  ผู้ให้กำเนิดแล้วไซร้

             
 
ในวันเพ็ญกลางเดือน  7  อันเป็นวันมหาปวารณาสงฆ์ 
เธอทั้งหลายพึงถวายโภชนาหาร 
กับทั้งของบริวารทั้งปวงแด่หมู่สงฆ์ผู้มาทิศทั้ง  10
แล้วตั้งใจอุทิศส่วนแห่งบุญนั้น  แด่บุพพการีชน 
ผู้ให้กำเนิดกับทั้งผู้ล่วงลับทั้ง  7  ชั่วอายุ  ให้ได้รับอานิสงส์เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมจักเป็นผู้พ้นจากทุคติภพ  ได้บังเกิดในท่ามกลางสุคติภูมิ
ได้เสวยผลบุญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

พุทธสาวกทั้งหลาย  ผู้มีมนสิการมั่นคงอยู่ในกตัญญุตธรรม 
ระลึกถึง  คุณแห่งบุพพการีชน  มีคุณบิดา  มารดา  เป็นต้น 
ในวันขึ้น  15  ค่ำของเดือน  7  ทุกปี  พึงประกอบกุศลกรรม
ถวาย  อุลลัมพนมตกภัต  แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้ง  10  ทิศ 
เพื่อแสดงซึ่งกตัญญุตาในผู้ให้กำเนิด  แลผู้มีพระคุณที่ได้บำรุงเลี้ยงดูมา"

เมื่อได้สดับฟังพระธรรมของพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว
พระมหาโมคัลลานะพร้อมด้วยพุทธบริษัท  4  ต่างปิติยินดีในธรรม
และน้อมรับไปปฏิบัติโดยทั่วกัน

พระสูตร  อันเป็นสัจจพจน์ที่ว่าด้วยธรรมอันเป็นกตัญญุตกตเวทิตธรรม
ต่อบุพพาการีชน  ก็ยุติลงด้วยประการฉะนี้

ขอกุศลผลทานที่ทุกท่านร่วมใจกันจะถวาย  อุลลัมพนมตกภัต  นี้
จงพึงบังเกิดแด่  บุรพชนต้นตระกูล  บรรพกษัตริย์  ผู้รักษาประเทศชาติ
บุพพการีชน  เหล่าญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วของทุก ๆ ท่าน
เป็นผู้พ้นจากทุคติภูมิ  ได้บังเกิดในสุขคติภูมิ 
ผู้ใดได้รับทุกข์  ก็จงพ้นจากความทุกข์
ผู้ใดมีสุข  ก็จงมีสุขยิ่ง ๆ  ขึ้นไป  เสวยผลบุญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญกุศลนี้จงพ้นจากความทุกข์  ความขัดข้องทั้งหลาย
จงมีความสุข  ความเจริญ  ไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นผู้มั่งคั่ง  อายุยืน
ดุจดังอานิสงส์แห่ง  "พระพุทธวจนะอุลลัมพนสูตร"  ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ.
 
 
 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=5927.0

89



ธรรมเนียมแห่งการกำหนดเขตพัทธสีมาอุโบสถจะต้องหมายเขตด้วยวัตถุบางอย่าง   เรียกว่า
นิมิตๆ  แปลว่าเครื่องหมาย   วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตนั้น   ระบุไว้ในบาลี 8 ชนิด ภูเขา 1 ศิลา 1 ป่าไม้ 1
ต้นไม้ 1 จอมปลวก 1 หนทาง 1 แม่น้ำ 1 น้ำ 1 ส่วนมากคณาจารย์ใช้ศิลาเป็นลูกนิมิต การปิดทอง
ลูกนิมิตด้วยจิตใจศรัทธาปสาทเลื่อมใส    ย่อมบังเกิดอานิสงส์มาก    เพราะลูกนิมิตเป็นสัญญา
ลักษณ์แทนองค์พระบรมศาสดากับพุทธสาวก ถึงแม้พระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว แต่รอย
พิมพ์พระคุณทั้งหลายของพระองค์ยังคงดำรงสถิตย์เสถียรปกป้องอวยสันติสุขแก่ผู้ที่ประพฤติ
ปฎิบัติตามพุทธศาสนิกมานมัสการปิดทองลูกนิมิตก็เสมือนปิดทองพระพุทธรูป ย่อมสำแดงออก
ซึ่งความนอบน้อมเคารพอย่างสูงยิ่ง ในพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกนิมิต 9 ลูก เป็นเครื่อง
หมายกำหนดเขตที่จะสร้างพระอุโบสถ อันเป็นธงชัยแห่งพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
อำนวยให้สังฆกรรมอุโบสถกรรมปวารณาสำเร็จได้ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ    สืบอายุพระบวร
ศาสนาให้ดำรงยั่งยืนตลอดกาล อนุชนรุ่นหลังได้ตีความ

ความหมายลูกนิมิตรในทิศทางต่างๆ อาทิ
ลูกที่ 1 อยู่ใจกลางอุโบสถ หมายถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ลูกที่ 2 ทิศบูรพาหมายถึงพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เลิศฝ่ายรู้จักกาลราตรีเป็นปฐมสาวก
ลูกที่ 3 ทิศอาคเนย์ หมายถึงพระมหากัสสป ผู้เลิสฝ่ายธุดงค์คุณ
ลูกที่ 4 ทิศทักษิณ หมายถึงพระสารีบุตรมหาอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศฝ่ายปัญญา
ลูกที่ 5 ทิศหรดี หมายถึงพระอุบาลีผู้เลิศฝ่ายวินัย
ลูกที่ 6 ทิศปัจฉิม หมายถึงพระอานนท์ผู้เลิศฝ่ายพหูสูต
ลูกที่ 7 ทิศพายัพ หมายถึงพระควัมปติ ผู้เลิศฝ่ายสูญญวิหารธรรม
ลูกที่ 8 ทิศอุดร หมายถึงพระโมคคัลลานะ มหาอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้เลิศฝ่ายอิทธิฤทธิ์
ลูกที่ 9 ทิศอีสาน หมายถึงพระราหุลพุทธบุตร ผู้เลิศฝ่ายความเพียร

อนึ่ง ในงานปิดทองลูกนิมิต ผู้มีจิตรศรัทธาแก่กล้าได้บริจาคสิ่งของอันมีค่า เช่น แก้ว แหวน เงิน
ทอง และร่วมกันบำเพ็ญกองการกุศลพร้อมด้วยตั้งจิตอธิษฐานขอผลแห่งทานสนองทดแทนคุณ
บิดามารดา ทั้งคณาญาติที่เลี้ยงดูอุปการะมา การมอบธนาทรัพย์ทั้งหลายเพื่อจักเป็นประโยชน์
แก่ทางวัดนำไปสร้างอุโบสถ หรือ หล่อหลอมพระพุทธปฎิมาประจำโบสถ์วิหารก็ดี ทรัพย์ที่ใส่ใน
หลุมนิมิต เช่น เข็ม โดยอธิษฐานให้มีปัญญารอบรู้แทงตลอดอริยสัจธรรม ใส่ด้ายสมุด ดินสอ ให้
ทรงไว้จำได้หมายรู้ไว้ทุกขณะ  ทรัพย์ทุกสิ่งทุกอันที่เจ้าภาพฝังไว้ในที่ผูกลูกนิมิตหลุมสีมาภาย
ใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา หรือสาธารณะกุศลก็ดี ชื่อว่าบุญญนิธี เป็นทรัพย์ที่ติดตามผู้สร้างดุจเงา
ตามตัว ส่งผลสำเร็จและปัจจัยแก่พระนิพพาน หมดกังวลห่วงใยไม่สูญหาย ใครๆ จะหยิบยกลัก
ฉกไปมิได้ และบุญญนิธีนี้สามารถอำนวยผลสนองตอบแทนแก่ผู้บำเพ็ญอย่างอเนกปริยาย

ผลานิสงส์ที่จะได้รับต่อไป คือ
เป็นที่รักใคร่สรรเสริญของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้มั่งคั่ง อุดมทรัพย์สมบัติ โภคสมบัติ
เป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่อง องอาจสง่างาม
เป็นผู้มีญาติมิตร สหายพวกพ้อง พี่น้อง บริวารมาก
เป็นผู้มีอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ น่าเลื่อมใส
เป็นผู้ที่เคารพนับถือของคนทุกชั้นทุกวัย
เป็นผู้ดำเนินไปสู่คติภพเบื้องหน้า
เป็นผู้มีปัญญาปรีชาญาณ รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งมวล
เป็นผู้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
เป็นผู้สำเร็จสาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ
อนุตรสัมโพธิญาณ

การปิดทองลูกนิมิตบำเพ็ญมหากุศลทานมีอานิสงส์ฉะนี้แล
 

 

ขอขอบคุณที่มา...http://allforblue.wordpress.com/

90

       


พระโมคคัลลานเถระ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม และความสามารถในอิทธิปาฏิหาริย์
เหนือกว่าพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ แต่ท่านก็เป็นผู้มีอัธยาศัย ใจกว้างไม่กีดกัน ไม่เบียดบังความดี
ความสามารถของคนอื่น ไม่ฉวยโอกาสชิงความดี ความชอบจากผู้อื่น ดังจะเห็นได้จากเรื่องต่อ
ไปนี้:

ในสมัยหนึ่ง มีเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ อยากจะเห็นพระอรหันต์ที่แท้จริงเพราะในเมือง
ราชคฤห์นั้นมีเจ้าลัทธิหลายสำนัก ซึ่งต่างก็โอ้อวดว่าตนเป็นพระอรหันต์ ทั้ง ๆ ที่การปฏิบัติและ
หลักคำสอนก็แตกต่างกันเป็นอย่างมาก และหาแก่นสารมิได้ จึงให้บริวาร กลึงไม้จันทน์แดง ทำ
เป็นบาตรแล้วผูกติดปลายไม้ไผ่ต่อกัน หลาย ๆ ลำตั้งไว้แล้วประกาศว่า “ใครเป็นพระอรหันต์ ก็
จงเหาะมาเอาบาตรใบนี้ไป”

เจ้าลัทธิทั้งหลายปรารถนาจะได้บาตร แต่ไม่สามารถเหาะมาเอาไปได้ จึงมาเกลี้ยกล่อม
เศรษฐีให้ยกบาตรให้ตน โดยไม่ต้องเหาะขึ้นไป แต่เศรษฐีก็ยังคงยืนยันว่าต้องเหาะขึ้นไปเอาเอง
เท่านั้นจึงจะได้

ขณะนั้น พระโมคคัลลานะเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชเถระ กำลังยืนห่มจีวรอยู่
บนก้อนหินใหญ่ เพื่อเตรียมตัวเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ได้ยินพวกชาวบ้านพูดกันว่า “ในโลกนี้
คงจะไม่มีพระอรหันต์ เพราะวันนี้เป็นวันที่ ๗ แล้วท่านเศรษฐีประกาศให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตร
แม้แต่ครูทั้ง ๖ ที่โอ้อวดนักหนาว่าเป็นพระอรหันต์ ก็ยังไม่สามารถเหาะขึ้นไปเอาบาตรได้เลย เราเพิ่ง
รู้วันนี้เองว่าพระอรหันต์ไม่มีในโลก”

พระเถระทั้งสอง ต้องการประกาศให้ประชาชนทั้งหลายรู้ว่าในพระพุทธศาสนามีพระ
อรหันต์อยู่จริง ดังนั้น พระโมคคัลลานะเถระ แม้จะมีฤทธิ์มีอานุภาพมากกว่า มีอายุพรรษา
มากกว่า แต่อาศัยความที่ท่านเป็นผู้มีใจกว้างมีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ต้องการให้คุณของพระเถระ
รูปอื่นปรากฏบ้าง จึงบอกให้ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เหาะขึ้นไปเอาบาตรนั้นลงมา จน
เศรษฐีและชาวเมืองพากันแตกตื่นมาดูกันอย่างโกลาหล

อีกเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อพระบรมศาสดา ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จขึ้นไปจำ
พรรษา ณ ดาวดึงส์เทวโลก มหาชนที่ประชุมกันอยู่ที่นั่นไม่ทราบว่าพระพุทธองค์หายไปไหน จึง
พากันเข้าไปถามพระโมคคัลลานะเถระ
 
แม้พระโมคคัลลานะเถระจะทราบเป็นอย่างดี แต่ท่านก็ไม่ตอบโดยตรง กลับบอกให้ไปถาม
พระอนุรุทธเถระ ทั้งนี้ ก็เพื่อยกย่องคุณความรู้ความสามารถของพระพุทธสาวกรูปอื่น ๆ ให้
ปรากฏบ้างนั่นเอง.




ขอขอบคุณที่มา...http://www.84000.org/

91


ในสมัยหนึ่ง  พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัย แห่งพระอรหัตของนักบวชนอกพระ
พุทธศาสนานามว่า “อัคคิทัต” จึงรับสั่งให้พระโมคคัลลานะเถระไปอบรมสั่งสอนให้ลดทิฏฐิ
มานะ ละการถือลัทธินั้นเสีย

พระโมคคัลลานะเถระรับพระพุทธบัญชาแล้ว ไปยังสำนักของอัคคิทัต นั้น  เมื่อไปถึง ได้กล่าวขอที่พัก
อาศัยสักราตรีหนึ่ง แต่อัคคิทัต ปฏิเสธว่าไม่มีสถานที่ให้พัก พระโมคคัลลานะเถระจึงกล่าวต่อไปว่า
“อัคคิทัต  ถ้าอย่างนั้น เราขอพักที่กองทรายนั่นก็แล้วกัน”

ก็ที่กองทรายนั้นมีพญานาคตัวใหญ่ มีพิษร้ายแรงอาศัยอยู่ อัคคิทัต เกรงว่าพระโมคคัลลานะเถระจะได้
รับอันตรายจึงไม่อนุญาต แต่เมื่อพระโมคคัลลานะเถระรบเร้าหนักขึ้นจนต้องยอมอนุญาต พระโมคคัลลา
นะเถระจึงเดินไปที่กองทรายนั้น
 
พญานาคเห็นพระโมคคัลลานะเถระเดินมาจึงรู้ว่าไม่ใช่พวกของตนจึงพ่นควันพิษเข้าใส่พระเถระฝ่าย
พระโมคคัลลานะเถระก็เข้าเตโชกสิณบังหวนควันไฟให้กลับไปทำอันตรายแก่พญานาคทั้งพระโมคคัลลานะ
เถระและพญานาคต่างก็พ่นควันพ่นไฟเข้าใส่กันจนเกิดแสงรุ่งโรจน์โชตนาการ พิษควันไฟไม่สามารถทำอัน
ตรายพระโมคคัลลานะเถระได้เลย แต่ทำอันตรายแก่พญานาคฝ่ายเดียว อัคคิทัต กับบริวารมองดูแล้วคิดตรง
กันว่า “พระเถระคงจะมอดไหม้ในกองเพลิงเสียแล้ว” พร้อมทั้งคิดว่า “สาสมแล้ว เพราะเราห้ามแล้วก็ไม่ยอมเชื่อฟัง”

รุ่งเช้า อัคคิทัตกับบริวารเดินมาดู ปรากฏว่าพระเถระนั่งอยู่บนกองทราย โดยมีพญานาค
ขดรอบกองทรายแล้วแผ่พังพานอยู่เหนือศีรษะ พระเถระจึงพากันคิดว่า “น่าอัศจรรย์ สมณะนี้มี
อานุภาพยิ่งนัก”

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงลงจากกองทรายแล้ว
เข้าไปกราบบังคมทูลอาราธนาให้เสด็จปะทับนั่งบนกองทรายแล้วกล่าวกับอัคคิทัตว่า “พระพุทธ
องค์ เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ๆ เป็นสาวกของพระพุทธองค์”

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้อัคคิทัต พร้อมทั้งบริวารเลิกละ
การเคารพบูชาภูเขา ป่า ต้นไม้ และจอมปลวก เป็นต้น ที่พวกตนพากันเคารพบูชาว่าเป็นที่พึ่ง
อันเกษมสูงสุด ให้หันมาระลึกถึงพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันเป็น
สิ่งประเสริฐสุดนำไปสู่การพ้นทุกข์ทั้งปวง
 
เมื่อจบพระธรรมเทศนา อัคคิทัต และบริวารได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด
แล้วกราบทูลขอบรรพชาในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาได้ประทานให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุ
อุปสัมปทา

 
 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.84000.org/

92
วัดพุทธปิยวราราม สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน
สมาคมพุทธไทย-เยอรมนี ดีเซ่นบาค์เชอร์ 6
63303 ไดรย์อายซ์-เกิ๊ตเซ่นฮายน์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน





พุทธศักราช ๒๕๒๘ (คศ.๑๙๘๕) พระเดชพระคุณพระเทพสิทธาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาส/เจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



ได้เดินทางมาประเทศเยอรมนีเป็นครั้งแรก วัตถุประสงค์เพื่อค้นหาพระไตรปิฎกบางฉบับที่ตกค้างอยู่ในประเทศเยอรมนี และได้เดินทางไปค้นหาพระไตรปิฎกที่หอสมุด Köln และได้ปรารภว่า “ในเยอรมนียังไม่มีวัดไทยเลย น่าจะรวมตัวกันตั้งพุทธสมาคมขึ้น”



ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ (คศ.๑๙๘๗) พระเดชพระคุณพระเทพสิทธาจารย์ ได้รับการอาราธนาจาก Buddhist Zentrum Wald-Haus เพื่อสอนวิปัสสนากรรมฐานแก่สมาชิกในสมาคม และได้ดำเนินการรวมกลุ่มสมาชิกและศิษยานุศิษย์ เพื่อเตรียมการก่อตั้งสมาคมขึ้น โดยการรวบรวมรายชื่อสมาชิกไว้ ณ เบื้องต้น



พุทธศักราช ๒๕๓๖ (คศ.๑๙๙๓) พระเทพสิทธาจารย์ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ที่แปลจากพระไตรปิฎกฉบับอักษรภาษาล้านนา มามอบถวายไว้สำหรับเพื่อการศึกษา ณ วัดพุทธเบญจพล ที่ Langenselbold โดยคณะทูตเป็นผู้รับมอบจากพระเทพสิทธาจารย์ เพื่อนำไปไว้ ณ วัดดังกล่าวจำนวน ๑ ชุด เพื่อการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจสืบต่อไป





ถึงปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ (คศ.๑๙๙๔) สมาคมชาวพุทธไทย ที่ Buddhisthau,Edelhofdamn, Berlin ได้อาราธนาพระเทพสิทธาจารย์ ให้มาสอนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่คณะศิษยานุศิษย์ และผู้สนใจ ณ สมาคมแห่งนี้ และในโอกาสครั้งนี้คณะศิษย์ได้จัดตั้งสมาคมขึ้น โดยใช้ชื่อสมาคมคือ “สมาคมชาวพุทธไทย-เยอรมัน เมืองแฟรงก์เฟิร์ต”



สำนักงานตั้งอยู่ที่ Unterster Zwerchweg 10,60599 Frankfurt โดยมี นายสัมพันธ์ จันทรบำรุง เป็นประธานสมาคม และต่อมาได้ย้ายสมาคมมาตั้ง ณ สถานที่แห่งใหม่ ซึ่งย้ายมาอยู่ที่เมือง Neu-lsenburg ซึ่งเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสะดวกต่อการปฏิบัติศาสนกิจของคณะสงฆ์ที่ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา





ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ (คศ.๑๙๙๗) สมาคมมีโอกาสซื้อสถานที่จัดตั้งวัดพุทธปิยวราราม ขึ้น ณ เมือง Dreieich-Götzenhain ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัด และได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน


ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดตั้งสมาคม และวัดดังกล่าวเพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทย พร้อมกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อันเป็นที่พึงและเป็นที่ระลึกยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย และผู้สนใจศึกษา



ดังนั้นในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเฉพาะปัจจุบันวัดเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ธรรม และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเผยแพร่วัฒนธรรมไทย แก่ผู้สนใจในทุกรูปแบบ และเป็นกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ กระทั่งมีนักเรียนเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา และวิถีวัฒนธรรมของไทย และได้อาราธนาพระสงฆ์เข้าไปบรรยายเรื่องต่างๆอันเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อันเป็นวิถีและวัฒนธรรมของชาวไทยในโรงเรียนต่างๆ ตามโอกาส และปัจจุบัน มี




พระเทพสิทธาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธปิยวราราม
เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



· พระครูสังฆรักษ์ชเนศร์ ชุตินฺธโร (ลิขิต) เป็นประธานสงฆ์วัดพุทธปิยวราราม วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
และพระสงฆ์จำพรรษาอีก ๓ รูป รวมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติศาสนกิจในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ จำนวน ๔ รูป

· คุณมิซาเอล ยุงเคอร์ เป็นประธานสมาคม


ที่ประเทศเยอรมัน ก็มีชาวต่างชาติสนใจมาปฏิบัติธรรมมากพอสมควร







 
ประวัติพระธรรมมังคลาจารย์ ทอง สิริมังคโล
http://dhamma-free.blogspot.com/2010/02/blog-post_04.html



ขอขอบพระคุณที่มา...เว็บพลังจิตดอทคอม

93
ขอบคุณครับท่าน.....ที่แจ้งข่าวหลวงปู่...

ขอให้หลวงปู่หายเร็วๆนะครับ

94


ประวัติ
 “หลวงพ่ออ๋อย” มีนามเดิมว่า “อ๋อย ถาวรวยัคฆ์” เป็นชาว อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยกำเนิดโดยเกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2413 บิดา-มารดาชื่อ “นายเสือ-นางสำริด” ในวัยเด็กได้เข้าเรียนหนังสือไทยที่ “วัดนางสาว” โดยเรียนรู้อักษรไทยสมัยเก่าแค่อ่านออกเขียนได้คล่อง จึงกลับไปช่วยงานทางบ้านกระทั่งอายุย่างสู่ปีที่ 26 จึงอุปสมบท ณ วัดนางสาว เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2439 โดยมี “หลวงพ่อเกิด วัดนกกระจอก” เป็นอุปัชฌาย์ได้รับฉายาว่า “ยโส” โดยสมัยนั้นมีพระที่บวชวัดเดียวกันซึ่งต่อมาได้เป็นสหายทางธรรมที่สนิทสนม กันคือ “หลวงพ่อคง” หลังจากจำพรรษาอยู่ที่วัดนางสาวได้ 1 พรรษา จึงย้ายไปจำพรรษาที่ “วัดไทร บางขุนเทียน” เพื่อทำการ ศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัยอันเป็นข้อปฏิบัติของสงฆ์

พร้อมทั้งร่ำเรียนอักษรขอมแล้วจึงหันมาสนใจ การศึกษาด้านพุทธาคมเวทมนต์คาถา กระทั่งเชี่ยวชาญและต่อมาได้เป็นสหายทางธรรมกับ “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ” และมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากจึงไปมาหาสู่กันเป็นประจำโดย “หลวงพ่อรุ่ง” จะเดินทางมาหา “หลวงพ่ออ๋อย” ที่ “วัดไทร” เป็นประจำพร้อมค้างแรมครั้งละหลายคืนเสมอเพราะ “พระคณาจารย์” ผู้เป็นสหายทางธรรมมักจะมีการแลกเปลี่ยนวิชากันนั่นเองเนื่องจาก “หลวงพ่ออ๋อย” เองเป็นชาวกระทุ่มแบนอันเป็นเขตที่ “วัดท่ากระบือ” ของ “หลวงพ่อรุ่ง” พระคณาจารย์ทั้งสองจึงชอบพอกันเป็นพิเศษ

ประกอบกับ “หลวงพ่ออ๋อย” โด่งดังด้าน “ยาสัก” โดยใช้ “สมุนไพร” สักลงบนผิวหนังเพื่อ “รักษาโรคภัยไข้เจ็บ” ให้ชาวบ้านหายขาดอยู่เสมอจึงมีชื่อเสียงโด่งดังมาก นอกจากนี้ยังได้เป็น เจ้าอาวาสวัดไทร พร้อมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูถาวรสมณวงศ์” และมรณภาพโดยความสงบขณะมีอายุ 89ปี เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2501 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1320

ในย่านบางขุนเทียน นอกจากชื่อเสียงอันเกริกไกรของหลวงปู่เอี่ยม (พระภาวนาโกศลเถระ) หรือ “เจ้าคุณเฒ่า” วัดหนังแล้ว “หลวงปู่อ๋อย วัดไทร”นับเป็นเกจิอาจารย์ดังอีกองค์หนึ่งที่มีวิทยาคมไม่เป็นสองรองใคร
ท่านเชี่ยวชาญด้านยาสัก และการเล่นแร่แปรธาตุจนสำเร็จเป็นทองคำ นาก เพชร พลอย รวมทั้งสร้างพระด้วยเนื้อผงผสมว่านต่างๆแจกลูกศิษย์ ซึ่งมีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางเหนียว แคล้วคลาด เมตตามหานิยม สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ เลื่อมใสมาก เวลาสร้างพระกริ่งและปลุกเสกคราวใดจะต้องนิมนต์ท่านมาด้วยทุกครั้ง

พลังจิตของท่านกล้าแข็งมาก สามารถเสกใบมะขามเป็นตัวต่อแตนได้ และเสกสิ่งของวัตถุมงคลอย่างใด ก็ล้วนแต่ขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

หน้าที่การงานและสมณศักดิ์
พ.ศ.2452 เป็นเจ้าอาวาสวัดไทร และเจ้าคณะหมวดบางประทุน พ.ศ.2457 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูถาวรสมณวงศ์” พระครูพิเศษชั้นตรี ผู้ช่วยเจ้าคณะแขวงล่าง
พ.ศ.2472 เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ในตำแหน่งได้ 29 ปี พ.ศ.2487 เลื่อนเป็นพระครูพิเศษชั้นโท ในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบางขุนเทียน
พ.ศ.2490 เลื่อนเป็นพระครูชั้นเอก ในตำแหน่่งผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอ

หลวงปู่อ๋อยท่านชอบธุดงค์เป็นชีวิตจิตใจ โดยระหว่างนั้นได้หาแร่ธาตุต่างๆที่เห็นว่าแปลกและต้องกับตำราว่ามีกฤตยานุภาพ ตลอดจนที่มีกล่าวไว้ในตำราเล่นแร่แปรธาตุ สะสมรวบรวมเอาไว้นอกจากนี้ ยังสะสมว่านต่างๆไว้มากมาย ทั้งว่านยา ว่านมหามงคล และว่านที่มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี โดยท่านจะนำบางอย่างมาใช้ทำเป็น “ยาสัก”อันเลื่องชื่อของท่าน

ด้วยความเป็นผู้ชอบศึกษาค้นคว้าและเป็นนักทดลอง สมัยที่ยังมีชีวิตจะเห็นตำรับตำรา เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆมากมาย และในยามว่างจากรักษาคนไข้แล้ว ท่านจะทดลองถลุงแร่ แปรธาตุต่างๆ เมื่อปฏิบัติเห็นผลแล้ว ท่านก็เลิกทำ เพราะเป็นเครื่องชักจูงให้ติดอยู่ในทางให้เกิดความโลภของลูกศิษย์

แพทย์แผนโบราณก็เป็นวิชาที่ท่านสนใจมากเช่นกัน วิชาที่รักษาโรคใดที่ยังไม่ได้เรียน ก็จะมุ่งมั่นค้นคว้าจากตำราจนสำเร็จ ทั้งนี้ การรักษาโรคด้วยยาสักมีเคล็ดอยู่ว่า “ถ้าใครไม่ขอร้องให้รักษา จงอย่าขันอาสารักษาให้”

น้ำมันมนต์ของท่านช่วยชีวิตคนที่เป็นโรคห่า (อหิวาตกโรค)ไว้มากมาย ข้าวสารเสกเลื่องลือมาก หากใครได้กินจะร่ำเรียนปัญญาดี คนบางขุนเทียนสมัยนั้นนิยมกันมาก แม้แต่คนกรุงเทพฯยังเอาไปให้ท่านเสกกันเป็นจำนวนมาก ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเสกทรายใส่ถุงเล็กๆแจกจ่ายทหารและชาวบ้านให้ไปพกติดตัว ปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายเลย เป็นเรื่องเล่าขานกันมาจนทุกวันนี้

สมัยนั้นตลาดน้ำวัดไทรเป็นที่ชุมนุมเรือขายของต่างๆมากมาย บางคนขึ้นมาถ่ายเบา-ถ่ายหนักท่านก็จะออกไปว่ากล่าวตักเตือนจนไม่มีใครกล้าทำ อีกเลย พระ-เณรในวัด ถ้าไม่ท่องหนังสือจะมาเดินเล่นหน้าวัดหรือบริเวณวัดไม่ได้ บางองค์ฟังวิทยุท่านก็จะบอกว่าการบันเทิงไม่ใช่กิจของสงฆ์
ท่านพูดเสียง ดังฟังชัด ชอบพูดตรงๆไม่อ้อมค้อม และชอบคนที่พูดตรงๆเช่นกัน ใบหน้าท่านเอิบอิ่ม ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ดวงตาของท่านกล้า แข็งเป็นที่เกรงกลัวกันมาก ทว่าใครก็ตามที่ได้สัมผัสใกล้ชิดแล้ว ต่างกล่าวขานถึงความเมตตาอันมากล้น โดยเฉพาะผู้ที่รอดพ้นจากความตายด้วย “ยาสัก”ของท่าน ต่างเชื่อมั่นในบารมีแห่งตัวท่านไม่เสื่อมคลาย เช่นเดียวกับผู้ที่ม ี“พระว่าน”หรือ” เหรียญรูปเหมือน” ของท่านติดตัวบูชา ต่างรู้ซึ่งถึงคุณค่าและพุทธคุณที่ล้ำเลิศจนน่าอัศจรรย์ใจ!!!






ขอขอบคุณที่มา...http://www.zone-it.com/forum/index.php?topic=119668.0;wap2

95


๏ อัตโนประวัติ

“พระครูสุภัทรธรรมโสภณ” หรือ “หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี” มีนามเดิมว่า ทรง วารีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2466 ตรงกับวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน ณ บ้านม่วงเตี้ย ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายกอง และนางจัน วารีรักษ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย

๏ การศึกษาเบื้องต้นและการอุปสมบท

ช่วงวัยเยาว์ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ในด้านต่างๆ เสมอมา ช่วยเหลือครอบครัวทำมาหากินมาตลอด และมีจิตใจฝักใฝ่ในทางศาสนา ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดยางมณี (ชวนประชาสรรค์) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6) ซึ่งในสมัยนั้นคนส่วนใหญ่จะจบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4) จึงเป็นการเรียนจบที่สูงสามารถเป็นครูสอนตามโรงเรียนได้ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการเพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยยังคงช่วยเหลือครอบครัวหาเลี้ยงชีพประกอบกิจการค้าขาย

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2486 ณ พัทธสีมาวัดยางมณี ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โดยมีพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อชวน) วัดยางมณี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการสุวรรณ วัดไร่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการชั้ว วัดตูม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและสรรพวิชาอาคม

หลังอุปสมบท ท่านได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อชวนระยะหนึ่ง จากนั้นได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดไร่และวัดศาลาดิน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัย สามารถสวดพระปาติโมกข์ได้อย่างคล่องแคล่ว

ขณะเดียวกัน ท่านได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากหลวงพ่อชวน วัดยางมณี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์, หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ ศึกษาโหราศาสตร์กับหลวงพ่อเข็ม วัดข่อย พระเกจิดังแห่งยุค ซึ่งได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาให้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ท่านได้เรียนวิทยาคมจากตำราโบราณที่รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ จนเชี่ยวชาญสามารถเขียนอ่านอักษรขอมได้

หลวงพ่อทรง เคร่งครัดปฏิบัติและชอบการปลีกวิเวก หมั่นฝึกฝนปฏิบัติวิชาอาคมต่างๆ ตามที่ได้ร่ำเรียนและได้รับการถ่ายทอดมา จนมีความชำนาญในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีพลังสมาธิญาณอย่างน่าอัศจรรย์

มีเรื่องเล่าขานกันว่า เมื่อปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อทรงท่านได้จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตพระอุโบสถ แล้วจัดสร้างเหรียญเสมาเป็นรูปท่านครึ่งองค์ เพื่อมอบให้สาธุชนเป็นที่ระลึก โดยนิมนต์พระธรรมมุนี (หลวงพ่อแพ เขมังกโร) วัดพิกุลทอง ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต วัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี และพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมรูปอื่นๆ มาร่วมนั่งปลุกเสก

หลังจากพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมคลายพลังสมาธิญาณ และผ่อนคลายอิริยาบถ หลวงพ่อทรงยังคงนั่งนิ่งส่งพลังสมาธิญาณ กระทั่งเหรียญเสมาที่อยู่ในบาตรบินลอยวนไปมา ส่งเสียงกระทบฝาบาตรอย่างน่าอัศจรรย์

จนหลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิโต วัดดอนไร่ เปรยว่า “พอแล้วท่านทรง จะปลุกเสกไปถึงไหน เดี๋ยวเหรียญก็ได้แตกป่นกันหมดพอดี” หลวงพ่อทรงจึงผ่อนคลายพลังสมาธิญาณ ต่อมาคณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งสมญานามเหรียญเสมารุ่นนี้ว่า “รุ่นเหรียญบิน” ตราบจนปัจจุบัน



หลวงพ่อทรง “รุ่นเหรียญบิน”   ปี 2513


หลวงพ่อทรง ได้รับการยอมรับและศรัทธาของศิษย์ทุกระดับชั้น เชื่อถือกันว่าท่านมีคาถาอาคมทรงพุทธคุณครอบจักรวาล โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม ความเจริญรุ่งเรือง และด้านมหาอำนาจปกป้องผองภัยสารพัด สิ่งมหัศจรรย์ที่บังเกิดทั้งปวง ศิษยานุศิษย์ต่างประจักษ์ สามารถให้คำตอบได้เป็นอย่างดี

๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2513 ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศาลาดิน (วัดมอญ) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

พ.ศ.2525 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ และเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2547 ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ

๏ ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามที่ “พระครูสุภัทรธรรมโสภณ”

๏ ผลงานด้านการพัฒนา

หลวงพ่อทรงได้ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ เมรุ ห้องน้ำ ห้องสุขา บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิม ให้เกิดความมั่นคงถาวร ทั้งหมดล้วนเกิดจากบารมีของหลวงพ่อทรงอย่างแท้จริง

ด้วยเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสของจังหวัดอ่างทอง ท่านจึงมักได้รับกิจนิมนต์จากวัดวาอารามทั่วประเทศ ให้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆ ซึ่งท่านมิเคยขัดข้องหากไม่ติดธุระด้านศาสนาหรือกิจธุระส่วนตัวเสียก่อน

๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย

วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้น ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีพุทธคุณครอบจักรวาล โดดเด่นในหลากหลายด้าน ที่เสาะหากันอยู่ขณะนี้ ได้แก่ เหรียญใบเสมา รุ่นเหรียญบิน ปี 2513, เหรียญบาตรน้ำมนต์, พระกริ่งบาเก็ง, สมเด็จยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ เป็นต้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อทรง มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี บังเกิดแก่บรรดาสาธุชน จนท่านได้รับสมญานามจากคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”

ท่านย้ำอยู่เสมอว่า “วัตถุมงคลทั้งหลายล้วนเข้มแข็งด้วยอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ”

รวมทั้ง ท่านจะกล่าวสอนอยู่เสมอว่า “การ ทำจิตใจให้สงบ รู้จักปล่อยวางในสิ่งต่างๆ อย่าไปยึดติดกับสิ่งต่างๆ มากเกินไป หมั่นสวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิระลึกถึงปฏิบัติในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคำสั่งสอนของท่านเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด หาคำสอนใดมาเปรียบเทียบมิได้เลยทีเดียว และการที่เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นอะไรที่ประเสริฐที่สุดแล้วในชาตินี้”

หลวงพ่อทรง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศาลาดิน (วัดมอญ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า เป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง แต่การเข้ากราบไหว้ขอพรจากท่าน มิใช่เรื่องยากเย็น ทุกคนมีโอกาสเสมอเหมือนกันหมด ไม่มีผู้ใดกีดกัน เพราะท่านเมตตาต่อทุกคน ไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชัง

ท่านมักจะนำวิชาความรู้ด้านวิทยาคมเป็นกุศโลบายในการอบรมสั่งสอนศีลธรรม แก่ประชาชนทั่วไป ให้ยึดหลักธรรมคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นวิถีสำคัญในการประพฤติปฏิบัติตน ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถ้ามีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ไหน จะต้องเห็นหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน นั่งปรกปลุกเสกกับพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัย ความเป็นเอกอุด้านไสยเวทวิทยาคมไม่แตกต่างกัน

๏ การมรณภาพ

อย่างไรก็ดี ด้วยสังขาร คือ อนิจจัง เป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ครั้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 เวลาประมาณ 21.00 น. หลวงพ่อทรงมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ หายใจขัด เนื่องจากมีกิจนิมนต์มาก เมื่อลูกศิษย์เห็นว่าอาการไม่ดี จึงรีบนำส่งโรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง คณะแพทย์ได้ทำการรักษา แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ ในที่สุด เมื่อเวลา 22.50 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2550 ท่านได้ละสังขารจากไปอย่างสงบ ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญ หลังจากเข้ารับการรักษาอาการท่อปัสสาวะอักเสบ มาก่อนหน้านี้ สิริอายุรวมได้ 83 ปี 8 เดือน พรรษา 64 ท่ามกลางความเศร้าสลดและความอาลัยเป็นยิ่งนักของบรรดาคณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป

หลวงพ่อทรง ท่านเป็นพระสงฆ์สุปฏิปันโนอย่างแท้จริง แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ ท่านได้ละสังขารตามกฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถือว่าวงการสงฆ์ต้องสูญเสียพระเถระรูปสำคัญ ผู้บำเพ็ญคุณูปการต่อชาวเมืองอ่างทอง ด้วยความอุตสาหวิริยะมาอย่างยาวนาน เหลือทิ้งไว้แต่ผลงานอันทรงคุณค่าที่อุทิศให้แด่พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำไว้เบื้องหลัง ทั้งนี้ ทางคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม และตั้งศพให้คณะสงฆ์ คณะศรัทธาญาติโยม และพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไหว้ เป็นเวลา 7 วัน ณ วัดศาลาดิน (วัดมอญ) จนกว่าจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป

๏ กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ

กำหนดการพระราชทานเพลิงศพของพระครูสุภัทรธรรมโสภณ (หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี) อดีตเจ้าคณะตำบลม่วงเตี้ย และอดีตเจ้าอาวาสวัดศาลาดิน (วัดมอญ) จ.อ่างทอง ตรงกับวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2552





ขอขอบคุณที่มา : http://www.dhammajak.net

96


ด้านหน้าและทางเข้าวัดถ้ำเขาอีโต้


หลวงพ่อเคน

หลวงพ่อเคน วัดถ้ำเขาอีโต้ เกจิผู้โด่งดังอีกรูปหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี ผู้มีอภินิหารมากมาย เช่น
หายตัวได้ ย่นระยะทางได้ ต่างๆนานา อยู่ในถ้ำเขาอีโต้ จนมรณะภาพ


หลวงพ่อเคน (หรือหลวงปู่เคน) เป็นพระเกจิอาจารย์ ยุคเก่า ที่พรรษาน่าจะมากกว่าหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จึงไม่ค่อยมีประวัติ
ของหลวงพ่อมากนัก  ด้วยปี พ.ศ.2513 อันเป็นปีที่หลวงพ่อเคนมรณะภาพ

ปีนั้นหลวงพ่อก็มีอายุถึง 111 ปีแล้ว วัตถุมงคลของหลวงพ่อ จะเน้นไปทางเมตตา มหานิยม การค้าขายดี เป็นต้น ท่านมีชื่อเสียงเรื่องการสร้าง ไซดักเงิน และนก
(ที่ทำจากไม้กาหลง)    วัตถุมงคลที่เราพบมากที่สุด เป็นงานสร้างด้วยมือล้วนๆ  ส่วนมากชุดนี้จะพบอยู่หลังภาพถ่ายของหลวงพ่อ มีด้วยกันหลายขนาด ขนาดสูง
เกิน 1 นิ้ว จะเป็นของผู้ชาย หากขนาดกลาง หรือเล็ก ตลอดจนจิ๋ว จะเป็นของผู้หญิง มีทั้งภาพถ่ายสี่เหลี่ยม ภาพกลม และรูปหัวใจเป็นต้น
 
วัตถุมงคลที่โด่งดัง ของหลวงพ่อเคน คือไซดักปลาเสก ที่เด่นทางเมตตา มหานิยมเเละค้าขายดี

พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อเคนบางส่วน





















ขอขอบพระคุณ....ท่านเจ้าของภาพพระเครื่องหลวงพ่อเคนด้วยครับ

97
ขอขอบคุณน้องเอ็มมากครับ

สำหรับเรื่องราวความรู้เรื่อง อิทธิบาท ๔  :016:

98


วัดบัวงาม จ.ราชบุรี 
พระอารามหลวง ชั้นตรี





วัดบัวงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองโพหักด้านทิศตะวันตก ที่หมู่บ้านบัวงาม ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เริ่มตั้งเป็นวัดขึ้นโดยการนำของผู้ใหญ่สี จันทสมา ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้เหตุผลกับนายกลีบ เจริญภักดี กับ นางทองดี พวงสุข ให้ร่วมกันสละที่ดิน จำนวน ๑๔ ไร่ ๗๐ วา ไว้เป็นที่ธรณีสงฆ์แล้วร่วมกันจัดสร้างวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ โดยอาราธนาพระอาจารย์หน่าย เขมวโร จากวัดดอนคลัง มาเป็นประธานดำเนินการจัดสร้างวัดโดยมีพระอาจารย์หน่าย เขมวโรเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และพร้อมใจกันให้ชื่อวัดในครั้งนั้นว่า วัดบัวลอย อาศัยนามตามท้องที่เหตุเป็นที่ราบลุ่มน้ำ ฤดูน้ำท่วมมีบัวลอยเกิดขึ้นมาก ทั้งออกดอกสะพรั่งสวยงาม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ นายกองเนียม ไกรสรราช สละทรัพย์จัดสร้างโรงอุโบสถ ๑ หลัง เป็นเรือนไม้ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ได้ทำพิธีผูกพัทสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕





ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๙ สมัยเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ พระอธิการเสาร์ สมโณ เป็นเจ้าอาวาส ขุนขจิตบัวงาม ( ย้อย แสงอากาศ ) กำนันตำบลบัวงามพร้อมด้วยชาวบ้าน ได้ร้องเรียนให้ทางราชการโอนที่ดิน ที่ตั้งวัดบัวลอยนี้ มาขึ้นอยู่ในเขต ตำบลบัวงาม เมื่อทางราชการอนุญาตแล้ว จึงพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ ให้ชื่อวัดว่า วัดบัวงาม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงบัดนี้









เจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสรูปที่ ๙ พระครูสุนทรปริยัติคุณ (โพธิ์ จนฺทสาโร-หวิงปัด)

๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


วัดบัวงาม
ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านบัวงาม หมู่ที่ ๑ ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

99


พระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ


" วัดเทพธิดารามวรวิหาร" หรือวัดเทพธิดาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ภายในกำแพงพระนคร ริมถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ อยู่ใกล้วัดราชนัดดา หันหน้าออกสู่คลองรอบกรุง หรือ กำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกในสมัยก่อน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพธิดาราม พ.ศ.2379 และสร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ.2382

คำว่า เทพธิดา หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงได้รับใช้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระราชบิดา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามด้วย

พระอารามนี้มีสิ่งก่อสร้างซึ่งประดับด้วยลวดลาย เครื่องกระเบื้องเคลือบและตุ๊กตาจีนมากอันเป็นเหตุสืบเนื่องจากความ รุ่งเรืองทางการค้าระหว่างจีนและไทย โดยในวัดจะแบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส เขตพุทธาวาสจะอยู่ด้านหน้าของวัด หันหน้าออกสู่คลองและถนนมหาชัย ส่วนเขตสังฆาวาสจะอยู่ทางหลังวัดด้านตะวันตก

จึงมิใช่เรื่องน่าแปลกแต่อย่างใด ที่ภายในวัดเทพธิดาราม จะมีสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีน มีตุ๊กตาจีนจำหลักทั้งรูปสัตว์และรูปคน ที่น่าสนใจ คือ บางตัวสลักเป็นรูปหญิงไทยไว้ผมปีกแบบโบราณนั่งอุ้มลูก ทั้งนี้ สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยมาจำพรรษาที่นี่ และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีบทพรรณนาลักษณะปูชนียสถานปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด บรรยายถึงความงามของพระอารามไว้ และเรียกว่า "กุฏิสุนทรภู่"

พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเทพธิดาราม ทั้งนี้ ไม่ปรากฏประวัติการสร้างหรือที่มา ปรากฏประวัติเพียงว่า พระพุทธเทววิลาสองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาบดินทร์ รัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามจำนวนมาก พุทธศักราช 2379 โปรดให้กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชาย ลดาวัลย์ ต้นราชสกุลลดาวัลย์) อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอมน้อย เป็นแม่กองสร้างวัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ผู้เป็นพระปิยราชธิดาอันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง ทรงพระปรีชาสามารถรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด เป็นที่ไว้วางพระราชฤหทัย

แต่เดิมชื่อว่าวัดพระยาไกรสวนหลวง สร้างเสร็จเมื่อพุทธศักราช 2382 พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดเทพธิดาราม" ซึ่งหมายถึงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีผูกพัทธสีมา ในวันที่ 22 ธันวาคม 2382 โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจำหลักด้วยศิลาขาว จากพระบรมมหาราชวังมาเป็นพระปฏิมากรประธาน

พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ เดิมเรียกกันแต่เพียงว่า "หลวงพ่อขาว" พ.ศ.2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เสด็จฯทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระกฐิน ทรงเฉลิมพระนามว่า "พระพุทธเทววิลาส ตามหนังสือราชเลขาธิการที่ รล.0002/2522 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2514

พระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนผสมสุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร จำหลักด้วยศิลายวงสีขาวบริสุทธิ์ มีความงดงาม

พระเพลากว้าง 14 นิ้ว สูง 19 นิ้ว หนา 8 นิ้ว พระอังสา (ไหล่) 9 นิ้ว รอบพระอุระ (อก) 18 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลาย หรือบุศบกท้ายเกริน ปิดทองประดับกระจกเกรียบ ลายประณีตบรรจงมาก รอบๆ แวดล้อมด้วยดีบุกปั้นเป็นรูปเทพนมและครุฑปิดทอง ด้านซ้ายขวาตั้งแต่งฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด 5 ชั้น 2 ดั้ง เหนือพระพุทธรูป กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน 5 ชั้น 1 ดั้ง

ด้านมุมซ้ายขวา ฐานบุษบก ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทร ประดับขัตติยะภูษิตาภรณ์ เรียกกันว่าพระทอง ดุจเดียวกันกับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) เบื้องบนพระทองสององค์ กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน 5 ชั้น 2 ดั้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเดิมทั้งสิ้น

หากมีโอกาสเดินทางไปที่วัดเทพธิดาราม เข้าไปกราบนมัสการพระพุทธเทววิลาส ชมศิลปะฝีมือของบรรพบุรุษชาวไทย นมัสการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลทำให้เราอิ่มเอิบใจในกุศลผลบุญและความโชคดีแก่ตัวเองตลอดไป





ขอขอบคุณที่มา...   http://www.tumsrivichai.com

100

วิธีโพสรูป...ลองศึกษาดูตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html


แนะนำวิธี Resize รูป เพื่อความเหมาะสมสำหรับโพสในเว็บบอร์ดครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,11663.html

101


ประวัติ พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ


" พระสัมพุทธพรรณี" เป็นพระประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดราชาธิวาสวิหาร ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ

ประวัติ พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 20 นิ้ว วัสดุโลหะกะไหล่ทอง

จำลองจากพระสัมพุทธพรรณี องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในการหล่อพระสัมพุทธพรรณี ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภจะทรงสถาปนาวัดราชาธิวาสวิหารที่รกร้างชำรุดทรุดโทรม ให้เป็นพระอารามที่งามยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระพุทธรูปมาประดิษฐานในพระอุโบสถ

พระราชดำริว่า พระอารามแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับเมื่อครั้งทรงพระผนวชและได้สถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้น เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ในพระอารามแห่งนี้ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปในพุทธลักษณะที่ทรงเห็นควรจะเป็น คือ ไม่มีพระเกตุมาลา แล้วทรงบรรจุดวงพระชะตาพระสุพรรณบัฏเดิมและพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระ พระราชทานนามว่า "พระสัมพุทธพรรณี" ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่พระตำหนัก ภายหลังเมื่อทรงย้ายไปประทับวัดบวรนิเวศฯ ก็โปรดให้เชิญไปด้วย

ครั้นเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญไปประดิษฐานไว้บนฐานชุกชีด้านหน้า ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม

ดังนั้นเพื่อทรงนมัสการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้ช่างปั้นหุ่นถ่ายแบบอย่างพระสัมพุทธพรรณีองค์นี้ขึ้นใหม่

พระสัมพุทธพรรณีหล่อใหม่สำหรับวัดราชาธิวาส มีแบบอย่างพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระสัมพุทธพรรณีองค์เดิม ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสอบสวนได้ คือ ไม่มีพระเกตุมาลา พระจีวรเป็นริ้วเช่นเดียวกับครองผ้าของพระภิกษุ

พระเกตุมาลาซึ่ง ไม่ปรากฏนี้ ในรัชกาลที่ 5 พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประ ดิษฐวรการ ได้ทรงแก้ไขแบบให้มีพระรัศมีเป็นเปลว เปลี่ยนพระรัศมีได้ตามฤดูกาล

พระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสจึงมีพุทธลักษณะตามแบบอย่างที่ได้แก้ไขแบบพระพุทธรูปแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อหล่อสำเร็จ ทรงประกอบพิธีกะไหล่ทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและสมโภชแล้ว แต่ยังไม่ทันได้เชิญประดิษฐานยังวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อน สิบปีให้หลังพระบาทสม เด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้เชิญไปประดิษฐานตามพระราชจำนง นับแต่พุทธศักราช 2462 สืบมาจนทุกวันนี้

ภายใต้พุทธบัลลังก์พระสัมพุทธพรรณี เป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

วัดราชาธิวาสวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุต สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1820 และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2310 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร มีเนื้อที่ตั้งวัด 34 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา

วัดราชาธิวาส เป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาจากวัดสมอราย ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชาธิวาสวิหาร" มีความหมายว่า "วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา" เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย

กาลล่วงมายังแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสืบสานพระราชประเพณีการทำนุบำรุงวัดต่อจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาสครั้งใหญ่ การบูรณะวัดในครานี้ปรับโฉมหน้าวัดไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากวัดราชาธิวาสหลังปรับปรุงนี้ ไม่มีโบสถ์ วิหาร หรือสิ่งก่อสร้างเดิมใดๆ เหลืออยู่เลย

ดังนั้น วัดหลวงแห่งนี้ จึงดูเหมือนวัดใหม่ที่สร้างขึ้นเพียงร้อยปีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทุกปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ และทรงถวายปัจจัยอยู่เสมอ

วัดราชาธิวาส มีลักษณะพื้นที่ดินตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ เจ้าพระยาตรงกับท่าวาสุกรี ภายในบริเวณวัดได้แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตจัดประโยชน์ และเขตสาธารณสงเคราะห์





ขอขอบคุณที่มา...   http://www.tumsrivichai.com

102

วิธีโพสรูป...ลองศึกษาดูตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html


แนะนำวิธี Resize รูป เพื่อความเหมาะสมสำหรับโพสในเว็บบอร์ดครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,11663.html

103

         ขอบพระคุณครับ   ที่แจ้งข่าวสาร  :054:

104

ขอบคุณครับสำหรับธรรมมะดีๆจากท่าน ว.วชิรเมธี

105



วัดสารนารถธรรมาราม
เจ้าคุณพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นราว พ.ศ. 2488 ก่อนที่ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะ สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ จึงได้นำแบบอย่างของโบสถ์วัดเกาะมาสร้างที่นี่บ้าง ระหว่างการก่อสร้าง คุณแม่บุณเรือน โตงบุญเติม ได้เป็นกำลังสำคัญในการหาวัสดุและปัจจัยมาร่วมสร้างจนแล้วเสร็จ







วัดสารนารถธรรมาราม ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 265 ถนนสุขุมวิท ตำบลทางเกวียน ปากทางเข้าอำเภอแกลง แยกซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร  มีมหาอุโบสถปูชนียสถานที่สวยงาม เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูป องค์พระประธานจำลองมาจากพระพุทธชินราช วัดมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก บริเวณมุมกำแพงแก้วรอบอุโบสถทั้ง 4 ได้จำลองเอาพระพุทธเจดีย์ที่สำคัญของแต่ละภาคไว้ คือ พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง และพระบรมธาตุไชยา













ขอขอบคุณที่มา...http://www.teawtourthai.com/rayong/?id=1920
                   ...http://www.tongteawthai.com/
                   ...http://www.moohin.com/060/060k007.shtml

106
   

   
            สร้างโดย หลวงพ่อกัสสปมุนี เถราจารย์



หลวงพ่อกัสสปมุนี

ที่มาของวัด 

หลวงพ่อกัสสปมุนี เป็นคนกรุงเทพฯ ท่านบวชเมื่ออายุ ๕๒ ปี เมื่อบวชแล้วท่านได้ไปฝากตัวอยู่กับพระอุปัชฌาย์ของท่าน คือ สมเด็จพระวันรัต (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) อยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) เมื่อบวชได้พรรษาเดียว ท่านได้ออกธุดงค์ไปบำเพ็ญเพียรภาวนาบนยอดเขาภูกระดึงในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๗ หลวงพ่อออกเดินทางจากที่พัก ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยตั้งใจว่าจะเดินทางเข้าจันทบุรี แล้วเข้าอำเภอไพลิน เลยเข้าเขมร

วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๐๗ นายเชาว์ ชาญกล และนายเยื้อน กับเพื่อนอีกสองคน ได้นิมนต์หลวงพ่อให้ไปพักอยู่ที่ไร่อ้อยของเขาที่ในป่า อำเภอบ้านค่าย เพื่อเป็นศิริมงคล หลวงพ่อได้บันทึกไว้ว่า “ความจริงอาตมาไม่เคยรู้จักอำเภอบ้านค่ายและป่าในท้องถิ่นนี้ และไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าในท้องถิ่นป่านี้เขาปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลังกัน เมื่อเขานิมนต์ขอร้องด้วยความศรัทธา ให้ไปพักอยู่ในไร่ของเขาเพื่อเป็นศิริมงคล และเราก็เป็นพระจาริกธุดงค์อยู่แล้ว ก็เห็นเป็นการสมควรที่จะรับคำนิมนต์ของเขา จึงตัดสินใจให้เขาพาเข้าไร่อ้อยในป่าบ้านค่าย โดยปราศจากการลังเล”
ขณะนั้นบริเวณไร่ยังเป็นป่าทึบ เต็มไปด้วยไข้มาเลเรีย เส้นทางทุรกันดาร ชาวบ้านปลูกอ้อยเป็นดงสูงท่วมหัว

หลวงพ่อพักในกุฏิไม้ระกำที่คนงานช่วยกันปลูกให้ชั่วคราว เช้าวันที่ ๔ ของการพักอาศัย หลวงพ่อได้รับนิมนต์ฉันเช้าจากคุณไพโรจน์ ติยะวานิช (เสี่ยไซ) เจ้าของโรงงานน้ำตาลและผู้สร้างโรงเรียนคลองขนุน เสร็จแล้วจะลากลับ แต่คุณไพโรจน์ได้ยั้งเอาไว้และกล่าวว่า
“ผมใคร่ขอความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อบางอย่าง คือ ในป่านี้ไม่มีวัดเลยครับ คนงานจะทำบุญใส่บาตรก็ไม่มีโอกาสจะทำ เอาข้าวของแกงกับออกไปทำที่วัดนอกป่า ข้าวแกงก็พอดีบูดเสีย ขอหลวงพ่อได้ช่วยชี้เอาในป่านี้ที่ใดที่หนึ่ง ผมจะสร้างวัดให้หลวงพ่อได้อยู่บำเพ็ญ หลวงพ่อโปรดมองพิจารณาดู ถ้าชอบใจป่าแห่งใดตรงหน้าออกไปนี่
ชี้เอาเลยครับ ผมจะสร้างให้”
หลวงพ่อชี้เลือกที่ป่าที่เป็นมงคล ลักษณะเหมือนช้างหมอบซึ่งอยู่ข้างหลังบ้านคุณศิริ ทองประจักษ์ นายช่างใหญ่โรงไฟฟ้า

หลวงพ่อพักอยู่ที่ไร่อ้อยของนายเชาว์และนายเยื้อนจนครบ ๗ วัน จึงเดินทางกลับวัดโพธิ์ และหลังจากออกพรรษา ท่านได้เดินทางจาริกไปประเทศอินเดีย
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ หลวงพ่อพำนักที่เมืองฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย
เดือนเมษายน ๒๕๐๘ หลวงพ่อได้รับโทรเลขจากคุณไพโรจน์ว่าได้เริ่มดำเนินการแผ้วถางที่เพื่อสร้างวัดแล้ว
กลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๘ หลวงพ่อเดินทางกลับเมืองไทยและเข้าไปที่ป่าโรงงานน้ำตาลบ้านค่าย คุณไพโรจน์ได้สร้างกุฏิมุงจากเล็กๆ ๒ หลัง โรงครัว ๑ หลัง ทำเป็นโรงฉันภัตตาหารไปในตัว ศาลาสวดมนต์กำลังสร้าง
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๐๘ หลวงพ่อได้กราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เข้ามาอยู่ประจำที่บ้านค่าย หลวงพ่อบันทึกไว้ว่า
“กุฏิยังไม่เสร็จดี ประตูยังต้องใช้พิงปิดไว้ ยังไม่ได้ใส่บานพับ เพราะเหตุที่ประตูกุฏิยังไม่เสร็จ ตอนคืนวันหนึ่งจำวัดถึงตี ๒ ได้ยินเสียงลมหายใจฟืดฟาด ผงกศีรษะขึ้นดูก็เห็นหมีตัวเขื่องตัวหนึ่ง กำลังเอาจมูกแหย่มาที่ช่องประตู ครู่หนึ่งก็ลงจากกุฏิไป”



กุฏิ ฉฬภิญญา

ต่อมาคุณไพโรจน์สร้างกุฏิตึกให้หลวงพ่อ ๑ หลัง หลวงพ่อให้ชื่อว่า “ฉฬภิญญา”
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ก่อนถึงเดือนเมษายน หลวงพ่อได้คำนึงถึงการทดแทนการอุปการคุณของคุณไพโรจน์และคุณนายประไพ ติยะวานิช จึงเข้า “สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ” (แปลว่าความดับเวทนาและความจำ ผู้ที่บรรลุมรรคผลตั้งแต่ชั้นอนาคามีเป็นต้นไปจึงสามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้) ปิดกุฏิในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๑๐ เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน 

 
ไฟไหม้ศาลาสวดมนต์
 
พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อนเข้าพรรษา คณะเจ้าหน้าที่ของโรงน้ำตาล นำเทียนพรรษาต้นใหญ่ขนาดกลางมาถวายเนื่องในวันเข้าพรรษา โยมสำเภาเข้าใจว่าเทียนพรรษาต้องจุดทิ้งไว้ทั้งกลางวันกลางคืน หลวงพ่อก็ไม่ทราบเพราะกำลังอยู่ในระหว่างเข้าเจโตสมาธิ เริ่มตั้งแต่คืนวันเข้าพรรษาเป็นเวลา ๕ คืน ๕ วัน ในวันที่ ๔ ของการเข้าเจโตสมาธิ เทียนพรรษาล้ม ทำให้ไฟไหม้ศาลาสวดมนต์ โต๊ะหมู่บูชาและพระพุทธรูปสามองค์ไฟไหม้หมด พระประธานคงเหลือบางส่วน พวกศิษย์ชาวบ้านให้ฉายาว่า “หลวงพ่อเฉย” หลวงพ่อนำไปไว้ที่โคนต้นโพธิ์ พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งไม่เป็นอะไรเลย คงครบบริบูรณ์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่หน้าพระประธานในหอสวดมนต์ (องค์ดำ)
 
 
สร้างศาลาสวดมนต์หลังใหม่
 
หลวงพ่อตั้งปณิธานไว้แน่วแน่ว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่สุดท้ายแห่งชีวิตสมณะ และจะทิ้งร่างไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ จึงตั้งใจจะสร้างศาลาสวดมนต์ใหม่ หลังจากออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๑๑ แต่ไม่รู้จะไปหาปัจจัยจากที่ไหนมาก่อสร้าง ในคืนวันที่ ๔ หลังจากศาลาถูกไฟไหม้ หลวงพ่อกำลังนั่งเข้าสมาธิภายในกุฏิ จนถึงเกือบตี ๒ ได้ยินเสียงใสเป็นเสียงผู้หญิงบอกว่า “ท่านสร้างก็แล้วกัน โยมจะหาให้” ท่านมองออกไปนอกกลด..... “เห็นผู้หญิงคนหนึ่ง นุ่งห่มสีชมพู นั่งพับเข่าราบ ทั้งๆในกุฏิมืดสนิท แต่ก็เห็นท่านผู้นี้อย่างกระจ่างชัดเหมือนมีรัศมี สายตาอันดำขลับดูเหมือนจะมองทะลุเข้ามาภายในกลด ลักษณะรูปร่างขนาดสาวอายุ ๑๘ ทรงเครื่องสีชมพูดูแพรวพราวไปทั้งร่าง การทรงตัวนั่งตรง คุกเข่าราบ สองมือวางไว้บนตัก แววตาใบหน้าอิ่มละไม ดูงามไปทุกส่วนไม่มีที่ติ” ... หลวงพ่อกล่าวคำอนุโมทนา ท่านก็ค่อยๆเลือนหายไป

หลวงพ่อได้ปัจจัยประเดิมเพื่อสร้างศาลาจากคุณโยมแม่ของหลวงพ่อ หนึ่งหมื่นบาท จากนั้นหลวงพ่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา ได้เงิน ๘๐,๐๐๐ บาท ช่างก่อสร้างประมาณว่าค่าก่อสร้าง ๑๒๐,๐๐๐ บาท ใช้เวลาก่อสร้างประมาณสองเดือน รูปทรงของศาลามีช่อฟ้า ๓ ตัว ๓ มุข หลวงพ่อทำพิธียกช่อฟ้าเอง ภายใต้ที่นั่งสวดมนต์ทำเป็นถังน้ำคอนกรีตผูกเหล็ก จุน้ำได้ประมาณ ๕ พันปีบ หน้าต่างทำเป็นบานเกล็ดกระจก หลวงพ่อสร้างเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑

ในหอสวดมนต์ที่สร้างเสร็จ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานพระนามว่า พระพุทธโคดมเทวะปฏิมา ส่วนพระประธานองค์นอกบนอาสนะสงฆ์พระนามว่า พระตถาคตเทพนิมิต หลวงพ่อเล่าว่า.... “นึกถึงพระประธานสององค์ให้นึกขัน คือตอนนั้นพระประธานหลวงพ่อพุทธโคดมเทวะปฏิมา อยู่ที่บ้านช่างหล่อฝั่งธนบุรี ส่วนพระประธานองค์นอก หลวงพ่อตถาคตเทพนิมิต อยู่ที่วัดธาตุทอง ถนนสุขุมวิท เวลาที่จะนิมนต์เชิญมาอยู่ที่วัด อาตมามัวยุ่งเป็นธุระกับพระตถาคตเทพนิมิต ที่ศาลาวัดธาตุทอง ส่วนหลวงพ่อพุทธโคดมเทวะปฏิมาได้มอบให้ศิษย์ ๒ คนเป็นธุระ ให้ขึ้นรถโฟล์คตู้ ขณะที่อาตมากำลังจะยกหลวงพ่อตถาคตเทพนิมิตอยู่นั้น พระผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของวัดธาตุทอง ก็เข้ามาบอกว่า มีโทรศัพท์มาจากบ้านช่างหล่อธนบุรี อาตมาก็ไปรับสาย เสียงบอกมาว่า “หลวงพ่อครับ พระประธานไม่ยอมขึ้นรถครับ นิมนต์หลวงพ่อมาช่วยกำกับที”

อาตมา (หลวงพ่อกัสสปมุนี) วางหูโทรศัพท์แล้ว กลับมามอบหมายให้ศิษย์สองคน และคนของวัดธาตุทอง ให้ช่วยกันนำพระปฏิมาขึ้นรถบรรทุกปิกอั๊พ แล้วให้คอยอยู่ก่อน จนกว่าจะนำพระทางฝั่งธนบุรีมาพร้อมกันที่วัดธาตุทอง อาตมาไปถึงบ้านช่างหล่อเกือบ ๑๑.๐๐ น. นายช่างหล่อรีบรายงานว่า “ศักดิ์สิทธิ์จริงครับหลวงพ่อ คนช่วยกันตั้ง ๔ – ๕ คน ท่านก็ไม่ยอมเขยื้อน หลวงพ่อช่วยอนุเคราะห์หน่อย”

อาตมาได้ฟังดังนั้น ก็ขอน้ำเย็นสะอาด ๑ ขัน จากนายช่างหล่อ ยกขึ้นจบหัวอธิษฐานว่า “ขอเดชะพุทธานุภาพแห่งศรัทธาของข้าพเจ้า ตลอดทั้งอานุภาพแห่งทวยเทพทั้งหลายที่แวดล้อมรักษาพระพุทธปฏิมากรนี้ ถ้าข้าพเจ้าจะเจริญในพระศาสนาต่อไป ณ เบื้องหน้าแล้วไซร้ ขอให้การอัญเชิญเคลื่อนพระปฏิมาองค์นี้ ไปสู่สถานสำนักสงฆ์ฯ ที่บ้านค่ายเป็นไปด้วยความสะดวก ปลอดอุปสรรคทุกประการเทอญ” ว่าแล้วอาตมาก็นำขันน้ำมนต์ หลั่งชะโลมลูบพระพักตร์ และองค์พระปฏิมา นายช่างหล่อ (ลืมชื่อเสียงแล้วจำไม่ได้) ก็พลอยมีศรัทธาเลื่อมใส ทั้งน้องสาวของแกด้วย ขอขันน้ำมนต์ ไปสรงองค์พระปฏิมาด้วย แกบอกว่า แกไม่เคยสรงน้ำพระปฏิมาที่แกรับจ้างหล่อเลย เพิ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตของแก อาตมาฟังแล้วก็อนุโมทนา และให้พรแก ทั้งน้องสาวแกด้วย แล้วการยกเคลื่อนองค์พระปฏิมา เข้ารถโฟลค์ตู้ เพียงใช้คน ๓ คน ก็ยกเคลื่อนได้สะดวก

ตอนค่ำคืนนั้น หลังจากยกพระประธานแล้ว อาตมาปิดกุฏิ นั่งเข้าสมาธิในกลด จนถึงเวลาสองยามเศษ น้อมจิตนึกถึงคุณโยมเจ้าแม่อยู่ในใจว่า “คุณโยมเจ้าแม่! อาตมาขอเจริญพร ขอบพระคุณคุณโยม ที่ได้มีจิตเมตตาอนุเคราะห์ ให้กิจของอาตมา ตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ได้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ กุศลกรรมและบุญบารมีใด ที่อาตมาได้ปฏิบัติบำเพ็ญมา แต่อดีตกาล ตราบจนทุกวันนี้ อาตมาขออุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่คุณโยม ขอคุณโยมเจ้าแม่ จงมีจิตชื่นชม ขออนุโมทนารับส่วนกุศลที่อาตมาได้อุทิศให้นี้ด้วยเทอญ”

“สาธุ! สาธุ! สาธุ! ดีแล้วเจ้าข้า โยมขออนุโมทนาในคำอุทิศของท่าน” เสียงใสแจ๋ว แผ่วเบาแต่ชัดเจน ดังอยู่ด้านหลังเบื้องขวาของอาตมา เหลียวไปดู เห็นโยมเจ้าแม่องค์เดิมที่เห็นคราวแรก คงนั่งพับเข่าในอิริยาบถเดิม เครื่องทรงสีชมพู งามระยับ ความงาม ความสง่า ทรงอำนาจ ต่างกับคุณโยมวิสาขาที่ภูกระดึง คุณโยมวิสาขานั้นรูปเรือนร่างของท่าน ที่อาตมาเห็นอยู่กลางแจ้งนั้น เหมือนหญิงสาวในวัย ๒ู๔ – ๒๕ ส่วนคุณโยมเจ้าแม่องค์นี้ เหมือนสาวอยู่ในวัย ๑๘ – ๑๙ แต่ดวงตาเท่านั้น ที่มีประกายความแจ่มใสเหมือนกัน อาตมายังมีความรู้สึกในตนเองว่า มีกระแสความคุ้นเคยหนักแน่นขึ้น ดีใจที่ท่านเอ่ยรับอนุโมทนาในส่วนกุศลที่อาตมาได้อุทิศให้ ต่างนั่งนิ่งพิศดูกันอยู่ครู่หนึ่ง ก็นึกขึ้นได้ จึงเอ่ยถามท่านขึ้นว่า

“อาตมาขอโอกาส อาตมาจะเรียกคุณโยมว่าอย่างไร”
ท่านตอบว่า “เรียกโยมว่า จำปากะสุนทรี เจ้าค่ะ” แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า
“ขอให้ท่านจงสถิตย์อยู่ ณ เขาสุนทรีบรรพตนี้ จนตลอดชนมายุของท่าน”
อาตมาก็ถามต่อไปว่า “แล้วอาตมา ควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป”
“ท่านก็สร้างสำนักสงฆ์แห่งนี้ ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป” คุณโยมเจ้าแม่ ตอบอย่างหนักแน่น
“อาตมาไม่มีเงิน ไม่มีปัจจัย จะสามารถสร้างวัดในป่า บนเขาได้อย่างไร...”
“ท่านคอยดูไป แล้วจะเห็นเอง” คุณโยมก็พูดทันควันแล้วก็หายวับไป คืนนั้นกว่าจะหลับ เวลาล่วงเข้าตีสองเศษพกความวิตกไปจนหลับว่า “จะสร้างได้อย่างไร”
ในเวลาต่อมา เจ้าแม่จำปากะสุนทรี ได้มาพบหลวงพ่ออีก และชี้กำหนดจุดสถานที่จะก่อสร้าง จุดนี้ๆจะสร้างอะไรก่อนหลัง ตั้งแต่เชิงเขาเรื่อยขึ้นมาจนถึงหลังเขา หลวงพ่อได้ปฏิบัติตามแนวของท่านทุกประการ ทำให้การก่อสร้างทั้งหมดเป็นไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ

 

 
สมเด็จพระวันรัตตั้งชื่อวัดปิปผลิวนาราม

๑๙ มีนาคม ๒๕๑๒ เจ้าประคุณสมเด็จพระอุปัชฌายะ สมเด็จพระวันรัตแห่งวัดโพธิ์ ท่าเตียน (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) ได้ประทานนามวัดจากเดิมที่หลวงพ่อตั้งไว้ว่า “สำนักสงฆ์มหากัสสปภพพนาวันอรัญญิกกาวาส” เป็น “วัดปิปผลิวนาราม” เพื่อเป็นการรักษาประวัติเดิมไว้ (ปิปผลิ เป็นชื่อก่อนบวชของพระมหากัสสปเถระในสมัยพุทธกาล)
 
ศาลาหงษ์ยนต์

สร้างโดย คุณสอาด หงษ์ยนต์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ รวบรวมปัจจัยได้ ๒ แสนบาทเศษ ใช้เพื่อต้อนรับผู้ที่มาทำบุญ หลวงพ่อได้สร้างตามคำแนะนำของเจ้าแม่จำปากะสุนทรี
 
สาเหตุที่ได้มาอยู่บำเพ็ญที่วัดปิปผลิ
 
ช่วงเที่ยงคืน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงพ่อได้ถามเจ้าแม่จำปากะสุนทรีว่าเพราะเหตุใดหรือกรรมแห่งชีวิตส่วนใดที่ทำให้ท่านต้องมาอยู่ ณ ป่านี้ และพอใจสภาพของป่านี้
เจ้าแม่ฯตอบว่า “ก็ท่านพี่วิสาขา บนภูกระดึงอย่างไรเล่าท่าน เป็นผู้ส่งท่านให้กลับมาอยู่ ณ สถานที่เก่าดั้งเดิมของท่านแต่ปางก่อน และได้มอบหน้าที่ให้โยม ผู้เป็นน้องสาวของท่าน รับภาระดูแลพิทักษ์ท่านต่อไป”
เมื่อหลวงพ่อถามถึงอายุของเจ้าแม่จำปากะสุนทรี ท่านตอบว่า “อายุของโยม นับด้วยปีของมนุษย์ได้ ๙๖๔๐ ปี โยมเป็นน้องของเจ้าพี่วิสาขา อายุอ่อนกว่าท่าน ๓๖๐ ปีมนุษย์” แล้วเจ้าแม่ฯได้กำชับเตือนหลวงพ่อ อย่านึกท้อถอยเหนื่อยระอา ขอให้ปฏิบัติธรรมและดำเนินการก่อสร้างสำนักสงฆ์ฯ ให้รุ่งเรืองแทนสถานที่เก่าดั้งเดิมต่อไป
 
สร้างบันไดลงตีนเขา

หลวงพ่อลงบิณฑบาตทุกวัน ทางลงก็แสนจะลำบาก ต้องระวังกลัวจะออกหัวออกก้อย เพราะเป็นทางน้ำตกจากเขา เต็มไปด้วยก้อนหินใหญ่น้อย กองก่ายซ้อนไม่เสมอกัน เป็นตะปุ่มตะป่ำ ทั้งลื่น และระยะทางลงยาวถึง ๗๘ เมตร หลวงพ่อนึกอยู่ในใจทุกวันที่ลงบิณฑบาตว่า จะต้องทำบันไดให้ได้
เมื่อการสร้างศาลาสวดมนต์เสร็จเรียบร้อย เจ้าแม่จำปากะสุนทรีได้แนะนำให้หลวงพ่อสร้างบันไดลงตีนเขา เพื่อจะได้ลงบิณฑบาตสะดวก ทั้งหลวงพ่อและผู้ติดตาม 
 
ศาลาหอฉัน
 
ในปี ๒๕๑๖ คุณสงวน พานิชกุล ได้สร้างศาลาหอฉัน ๑ หลัง มูลค่า ๕ หมื่น ๕ พันบาท เป็นโรงครัวและห้องคลัง เก็บสิ่งของชนิดเบา
 



 
บันไดขึ้นยอดเขาและพระอุโบสถ

การสร้างบันไดขึ้นยอดเขาและพระอุโบสถ เป็นการก่อสร้างที่ค่อนข้างหนักและเหน็ดเหนื่อย ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงพ่อสร้างบันไดยาว ๙๘ เมตร กว้าง ๒ เมตร รวมขั้นบันได ๓๓๘ ขั้น แบ่งเป็น ๔ ช่วง ใช้เวลาสร้าง ๑ ปีเต็ม
 
การสร้างอุโบสถ

หลวงพ่อเคยได้ปีนเขาขึ้นไปสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง เพราะท่านต้องการสร้างอุโบสถไว้บนยอดเขา เนื่องด้วยเป็นที่มงคล มีต้นไม้ใหญ่นานาชนิด จนไปประจันหน้ากับจ่าฝูงหมูป่า หลวงพ่อต้องยืนนิ่งท่ามกลางความร้อนและฝูงแมลงที่คอยสูบเลือด เป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมง กว่าหมูป่าจะหันหลังวิ่งกลับเข้าป่าไป แต่ก็คุ้มค่าเพราะได้พบพื้นที่ที่เหมาะสำหรับสร้างอุโบสถและบันไดทางขึ้น
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลาสองยามเศษ หลวงพ่ออยู่ในเจโตสมาธิ ใจก็ครุ่นคิดถึงอุโบสถที่จะสร้าง ว่าควรเป็นแบบไหนดี และแล้วมีภาพนิมิตปรากฏเป็นรูปเรือนปราสาทรางๆ เหมือนหมอกจางๆ ดูไม่ถนัด ในคืนถัดมา หลวงพ่อเข้าสมาธิอีก น้อมใจระลึกถึงภาพปราสาท ตั้งใจจะขอดูให้รู้ชัด ได้ยินเสียงเจ้าแม่จำปากะสุนทรีอยู่นอกกลดว่า “ขอนิมนต์ท่านเพ่งจับให้หนักแน่น มั่นคง อย่าสงสัย เพ่งให้ดี มองดูให้ชัด โยมจะช่วย อย่าลังเล”
หลวงพ่อเพ่งระลึกเรียกรูปนิมิตของเรือนปราสาท จนเห็นชัดเหมือนเรือนปราสาทจริงๆมาตั้งอยู่ข้างหน้า มี ๓ มุข ๕ ยอด สูงตระหง่าน มีความรู้สึกคล้ายๆกับเคยได้อยู่อาศัย นานมาแล้ว เสียงเจ้าแม่จำปากะสุนทรีพูดเบาๆแต่แจ่มใสชัดเจนว่า
“ท่านจงพิจารณาให้ถี่ถ้วน นี่คือมหาปราสาทอันสูงศักดิ์แต่เบื้องบรรพกาล มีนามว่า รัตนดุสิตมหาปราสาท เป็นเรือนแก้ว ที่ท่านได้สถิตอยู่ครองของท่าน ในกัปที่เก้าสิบสอง นับแต่ภัทรกัปนี้ย้อนขึ้นไป มหาปราสาทนี้มีสามมุข เจ็ดประตู ห้ายอด ขอท่านจงดูตามที่โยมบอกนี้ให้ดี ยอดมุขมีสามยอด กลางหลังคามหาปราสาทหนึ่งยอด เป็นยอดที่สูงเสียดฟ้า และยอดท้ายปราสาทอีกหนึ่งยอด มีความยาวตลอดองค์ปราสาทยี่สิบห้าเส้น ความกว้าง สิบห้าเส้น ตรงกลางมุขภายในเป็นที่เสด็จออกว่าราชการและเข้าเฝ้า ตรงกลางปราสาทเป็นท้องพระโรง มีห้องตำหนักนางพระสนมกำนัล จุได้แปดพันคน ตอนท้ายมหาปราสาทเป็นห้องพระบรรทมและที่รโหฐาน มีบานพระแกลสำหรับดูทิวทัศน์อุทยานภายนอก ภายในห้องพระบรรทมและห้องส่วนพระองค์ มีพระวิสูตรกั้นเป็นชั้นๆ ทอด้วยเส้นไหมทองรูปต่างๆ ขอท่านจงดูลานเฉลียงต่อท้ายมหาปราสาท ท่านจะเห็นสถานที่โล่ง ปูด้วยพื้นแก้วเป็นเงาวับ นั่นเป็นที่เสด็จนั่งเล่นส่วนพระองค์ มีแท่นทิพย์ตั้งอยู่กลางแจ้ง พื้นแท่นเป็นมรกต ผนึกด้วยกรอบทอง ฝังด้วยเม็ดทับทิมแดง ยอดปราสาทมุขมีสามยอด และยอดท้ายปลายยอดเป็นฉัตรเจ็ดชั้น ยอดกลางปลายยอดเป็นนพสูรย์ ขอท่านจงพินิจดูให้ชัด เพ่งดูให้ดี ท่านก็จะจำได้ ท่านจากมหาปราสาทองค์นี้ ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ถึงแสนล้านปีมนุษย์ ขอท่านจงระลึกและเพ่งดูให้ชัด”
หลวงพ่อพยายามจดจำรายละเอียดของปราสาท ร่างเป็นภาพคร่าวๆ แล้วได้มอบให้คุณพล จุลเสวก นายช่างสถาปนิกชั้นพิเศษ กรมกรมโยธาเทศบาล กทม เป็นผู้เขียนแบบแปลน ใช้เวลาสองปี เขียนเสร็จในพ.ศ. ๒๕๒๒ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
การก่อสร้างเริ่มเดือน ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๒๓ นายช่างคือ คุณสวัสดี ศรีรัตโนภาส ต้องเริ่มโดยหาเส้นทางให้รถแทรกเตอร์ขึ้นบนยอดเขา และสร้างรางรถสาลี่บรรทุกของขึ้นเขา ใช้เครื่องดึงรถขนาด ๒ ตัน พระอุโบสถยาว ๒๕ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ประตูหน้าต่างและหลังคา เป็นสเตนเลสทั้งหมด คนงานประมาณ ๒๖ คน การก่อสร้างไม่ต้องลงเสาเข็ม ใช้ผูกเหล็กเส้นทีเดียว ตัวองค์พระอุโบสถเสร็จเป็นรูป ใช้เวลา ๗ เดือน
วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ตัวอุโบสถเสร็จทาสีรองพื้น ภายในติดดาวเพดาน ไฟช่อ หลวงพ่อหาช่างปั้นภาพผนังนอกพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติด้านละ ๕ ช่อง สองด้านรวม ๑๐ ช่อง เป็นภาพพุทธประวัติ ๑๐ ภาพ จ้างนายสกนธ์ นพนุกูลวิเศษ ให้เขียนภาพผนังโบสถ์ภายใน ๘ ภาพ ภาพใต้ท้องสมุทร (ภาพที่ ๑) ใต้บาดาล (ภาพที่ ๒) ภาพเขาพระสุเมรุ (ภาพที่ ๓) ภาพป่านารีผล (ภาพที่ ๔) ภาพป่าฉิมพลี (ภาพที่ ๕) ภาพสระอโนดาษ (ภาพที่ ๖) ภาพสระโบกขรณี (ภาพที่ ๗) ภาพป่าหิมพานต์ (ภาพที่ ๘) หลวงพ่อบันทึกว่า “ขณะนี้ได้เขียนเสร็จเพียงสองภาพ อีกหกภาพยังคาราคาซัง ไม่ทราบว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด เพราะผู้เขียนใจไม่ตรง จึงจำเป็นต้องหาช่างต่อไป ภาพทั้ง ๘ ภาพนี้ เป็นภาพที่อาตมาได้พบเห็นด้วยตาตนเอง ซึ่งท่านผู้อ่านจะได้ทราบความจริงกันเสียที” หลวงพ่อมรณภาพก่อนที่ผู้เขียนภาพจะได้เริ่มเขียนภาพที่ ๓
พระประธานองค์ใหญ่ภายในพระอุโบสถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบ ปางสมาธิราบ หลวงพ่อถวายพระนามว่า “พระพุทธเทวาติเทวะศากยะมหามุนี” คุณหญิงอุไรลักษณ์ ชาญกล เป็นผู้สร้าง
พระสาวก ๓ องค์ในพระอุโบสถ ขนาดเท่ากับตัวคน องค์ขวามือพระประธาน นามว่า พระอุบาลี องค์กลาง พระมหากัสสป องค์ซ้าย พระอานนท์ ผู้สร้างคือคุณชวนศรี วีระรัตน์ และคณะโรงพยาบาลวังวโรทัย โดยหลวงพ่อให้คำอธิบายว่า “ถ้าผู้ดูหันหน้าเข้าหาพระประธาน พระสาวกที่นั่งทางขวามือพระประธาน คือท่านพระอุบาลี ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งพระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นผู้ชำนาญทางพระวินัย เรียกว่า เอตทัคคะฝ่ายพระวินัย และองค์ทางด้านซ้ายพระประธานคือ ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นพุทธอนุชา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงยกย่อง แต่งตั้งท่านไว้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางทรงจำพระพุทธวจนะได้เป็นเยี่ยม เรียกว่า เอตะทัคคะฝ่ายพระสูตร ส่วนองค์กลางคือ ท่านพระมหากัสสป ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ในระยะที่พระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านเป็นผู้ที่พระบรมศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นผู้มีคุณธรรมเสมอพระองค์ ทรงเปลี่ยนสังฆาฏิกับท่านพระมหากัสสป คือทรงประทานสังฆาฏิของพระองค์ให้ท่านพระมหากัสสปครอง แล้วทรงรับสังฆาฏิของท่านพระมหากัสสปมาทรงครอง ท่านพระมหากัสสปได้เป็นประธานในงานพิธีสังคายนาครั้งที่ ๑ พร้อมด้วยหมู่พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ดังนี้ก็เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า ท่านต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญ แม่นยำทั้งฝ่ายพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ถ้าไม่เป็นเช่นนี้แล้ว การทำสังคายนา ก็จะกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไม่ได้ ดังที่เราได้เห็นแล้วได้ศึกษาอยู่จนทุกวันนี้ ... เพราะฉะนั้นเพื่อตอบสนองในคุณของท่านทั้งสาม อาตมาจึงได้สร้างปฏิมาของท่าน ไว้เป็นอนุสรณ์”
เพดานอุโบสถเป็นเพดานโค้งคล้ายโดม และทำเป็นสองชั้น พื้นเพดานทาสีต่างกัน ๓ ตอน คือ ตอนเบื้องหน้าพระประธาน ทาเป็นสีแดงอ่อน หมายถึงรุ่งอรุณ หรืออดีตกาล สีเหลืองตอนกลาง หมายถึงเที่ยงวัน หรือปัจจุบันกาล สีเขียวแก่มืดในตอนท้าย หมายถึงราตรี หรืออนาคตกาล หลวงพ่อบอกว่า “ขอให้ทุกท่านที่แหงนดูเพดานพระอุโบสถ จงใช้ปัญญาพิจารณาและตีความ” ส่วนด้านหลังพระอุโบสถ เป็นลายปูนปั้น แสดงเรื่องชาดกของหลวงพ่อแต่ปางก่อน
เมื่อโบสถ์ใช้บวชได้ หลวงพ่อตั้งใจไว้ว่านาคประเดิมโบสถ์ต้องเป็นนาคที่บวชไม่มีกำหนดสึก ซึ่งก็ได้ใช้ในการบวชพระให้กับเณรซึ่งเปรียบเสมือนลูกของท่าน คือ มหาชาญชัย อภิชาโต ท่านเป็นเณรเปรียญด้วย


พระเครื่องของหลวงพ่อกัสสปมุนี...บางส่วน

เหรียญนิโรธสมาบัติ รุ่นแรก ปี 18 หลวงพ่อกัสสปมุนี




ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.vimokkhadhamma.com/watpipplaliwanaram.html
                        ...http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic18.html

107
     
       


พระครูสังฆกิจบูรพา หรือ พระอาจารย์บัว อายุ 82 ปี เดิมนั้นท่านชื่อ บัว มารศวารี เกิดวันเสาร์เดือน 5 ปีขาล ตรงกับขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ.

2469 เป็นบุตรของ นายเชี๋ยและนางเตี่ยน ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 3 หมู่ 3 ต.วังกะแจะ อ.เมือง จ.ตราด ตั้งแต่วัยหนุ่มท่านชอบศึกษาความรู้เกี่ยว

กับยาสมุนไพรและเชี่ยวชาญด้านช่างไม้ ช่างปูน ช่างปั้น จวบจนอายุครบ 23 ปี ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบุบผาราม ต.วังกะแจะ โดยมีพระครู

คุณวุฒิพิเศษ วัดบุบผารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวัตรรัตนวงษ์สิทธิ์ วัดหนองบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเรื่อย

มา จนใน พ.ศ. 2505 ก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะตะเคียน พ.ศ. 2508 สอบได้ชั้นนักธรรมเอก และ พ.ศ. 2513 เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครู

สังฆกิจบูรพา ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลวังกะแจะ


วัดศรีบูรพาราม หรือ วัดเกาะตะเคียน หมู่ 1 ต.วังกะแจะ อ.เมือง จ.ตราด มีเจ้าอาวาสรูปแรกและปัจจุบันคือ พระครูสังฆกิจบูรพา หรือ พระอาจารย์

บัว เป็นอีกหนึ่งสถานที่น่าเลื่อมใสในดินแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย หากเอ่ยชื่อวัดในภาคอื่น ๆ น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินชื่อหรือรู้จัก แต่

หากเป็นคนพื้นเพใกล้เคียง แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านล้วนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ใน “ของดี” ของวัดแห่งนี้เลื่อง

ลือไปทั่วแดนตะวันออก


เดิมวัดศรีบูรพารามเป็นสำนักสงฆ์เล็ก ๆ มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 มีญาติโยมและชาวบ้านที่ศรัทธา

บริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างเป็นวัดขึ้นมาใช้ชื่อว่า “วัดเกาะตะเคียน” ทำการฝังลูกนิมิตเมื่อปี พ.ศ. 2524 และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนเปลี่ยนชื่อ

เป็น “วัดศรีบูรพาราม” จวบจนปัจจุบัน





ขอขอบคุณที่มา...http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=173522


108
ขอบคุณครับท่าน Jakkrit  ที่นำมาให้ชม

109
น่าจะเป็นปิดตาสายเมืองนครศรีฯ...ครับท่านหอมเชียง

ผิดถูกยังไงรอผู้รู้ท่านอื่นๆมาแสดงความคิดเห็นบ้างครับ

110
วัดชื่ออะไรครับ ช่วยบอกหน่อยครับ

วัดทุ่งเว้า จ.มุกดาหาร ครับ

111

วิธีโพสรูป...ลองศึกษาดูตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html


แนะนำวิธี Resize รูป เพื่อความเหมาะสมสำหรับโพสในเว็บบอร์ดครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,11663.html

112
กราบนมัสการ...หลวงพี่ครับ :054:

ขอกราบขอบพระคุณ...สำหรับคลิปดีๆแบบนี้ครับ

113
                       

หลวงปู่นาค โชติโก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ร.ศ.35) ตรงกับปีกุน จ.ศ. 1177 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ณ พัทธสีมา วัดพระปฐมเจดีย์ ตรงกับปี พ.ศ. 2379 พระอุปัชฌาจารย์ไม่ปรากฏนาม ทราบแต่พระกรรมวาจาจารย์คือ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระปฐมเจติยานุรักษ์ (หลวงปู่กล่ำ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้รับฉายาว่า "โชติโก"

อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจำพรรษาอยู่วัดพระปฐมเจดีย์กับหลวงปู่กล่ำ เจ้าอาวาสทั้งสองเป็นสหธรรมิก มีความสนิทสนมกันดี หลวงปู่กล่ำเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาหลวงปู่นาคเป็นรองเจ้าอาวาส ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยดีตลอดมา ต่อมาปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯแต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ 1.พระครูปริมานุรักษ์ (นวม พรหมโชติ) วัดสรรเพชร รักษาด้านทิศตะวันออก 2.พระครูทักษิณานุกิจ (แจ้ง ธมมสโร) วัดศิลามูล รักษาด้านทิศใต้ 3. พระครูปัจฉิมทิศบริหาร (นาค โชติโก) วัดห้วยจระเข้ รักษาด้านทิศตะวันตก 4. พระครูอุตตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก รักษาด้านทิศเหนือ   หลวงปู่นาค ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ทำหน้าที่รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศตะวันตก และยังดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี ถ้าเปรียบสมัยนี้เท่ากับรองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม

  

                       


  
หลวงปู่นาค สร้างพระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด เมื่อ พ.ศ. 2432 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่หลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ หลวงปู่นาคท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างเนื้อเมฆพัดมาก การผสมเนื้อแร่ต่างๆ การปั้นพิมพ์ และการเทหล่อองค์พระท่านทำด้วยตัวท่านเอง องค์พระที่ท่านหล่อออกมาสวยงาม ไม่มีรอยตะเข็บ ไม่เป็นฟองอากาศ เนื้อพระเป็นสีดำอมเขียว สีดำเงาคล้ายปีกแมลงทับ สวยงามพิสดาร เนื้อพระผิวตึง สมบูรณ์แบบด้านรูปทรง ว่ากันว่า "หลวงปู่นาค" กับ"หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว" มีความสนิทสนมกัน เป็นสหธรรมิกรุ่นน้อง(หลวงปู่นาค มีอายุมากกว่าหลวงปู่บุญ 35 ปี) และมีการแลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันด้วย โดยหลวงปู่บุญขอเรียนวิชาการสร้างเนื้อเมฆพัดไปจากหลวงปู่นาคส่วนหลวงปู่นาคก็ได้ขอเรียนวิชาอื่นจากหลวงปู่บุญไปเป็นการแลกเปลี่ยน สำหรับหลวงปู่บุญท่านได้ก็สร้างพระเนื้อเมฆพัดขึ้นจำนวนหนึ่ง

ซึ่งพระเนื้อเมฆพัดของหลวงปู่บุญที่ท่านสร้างเองลักษณะเนื้อหาจะเหมือนๆ ของหลวงปู่นาคมากผิดกับเนื้อเมฆพัดพิมพ์กลีบบัว และพิมพ์ปิดตาที่วางตามสนามทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นพระที่สั่งทำจากโรงงานมาปลุกเสกทีหลังในการสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคท่านสร้างหลายครั้งด้วยกัน สร้างไปเรื่อยๆตามแต่จะมีโอกาส พระปิดตาของท่านจึงมีประมาณ 4-5 พิมพ์ นับแล้วพระปิดตาห้วยจระเข้ก็มีอายุร่วมๆ หนึ่งร้อยปีเห็นจะได้เอกลักษณ์ของพระปิดตาห้วยจระเข้นอกจากจะดูพิมพ์เป็นหลักแล้ว พระปิดตาห้วยจระเข้จะต้องมีการลงเหล็กจารทุกองค์ด้วย ในการลงเหล็กจารนั้นมีเรื่องเล่ากันว่าหลวงปู่นาคท่านนำเอาพระปิดตาที่สร้างเสร็จแล้วไปลงเหล็กจารที่ท่าน้ำข้างๆ วัด โดยท่านจะดำลงไปจารอักขระใต้น้ำ เมื่อจารเสร็จแล้วก็จะปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเหนือน้ำเองโดยมีลูกศิษย์ที่อยู่บนฝั่งคอยเก็บ ถ้าพระปิดตาองค์ไหนลงจารแล้วไม่ลอยน้ำขึ้นมา แสดงว่าพระปิดตาองค์นั้นไม่มีพลังพุทธคุณ อันอาจจะเกิดอักขระวิบัติจากการจารอักขระก็ได้การที่พระเกจิอาจารย์ท่านใดสามารถดำลงไปทำวัตถุมงคลใต้น้ำได้นานๆ แบบนี้ ก็แสดงว่าพระเกจิอาจารย์ท่านนั้น

สำเร็จวิชากสิณที่สามารถแปลงธาตุน้ำให้เป็นช่องว่างมีอากาศหายใจได้ นอกจากการจารอักขระพระปิดตาใต้น้ำแล้ว หลวงปู่นาคท่านก็มีวิธีการจารอักขระอีกวิธีหนึ่งคือ ท่านจะไปจารที่กลางทุ่งนา หรือในป่าริมคลองที่มีปูอาศัยอยู่มากๆ เมื่อไปถึง และหารูปูเจอแล้ว ท่านก็จะยืนโดยเอาหัวแม่เท้าขวาอุดที่ปากรูปู จากนั้นก็จะกำหนดจิตบริกรรมคาถา และลงเหล็กจารไปพร้อมๆ กัน ขณะนั้นทั่วทั้งทุ่ง และป่าริมคลองนั้นจะเงียบสงัดทันที เสียงนก หรือแมลงร้องจะไม่มีได้ยิน สัตว์ทุกตัวที่อยู่บริเวณนั้นจะหยุดนิ่งชะงักเป็นจังงังกันหมด เมื่อท่านผ่อนคลายกำหนดจิตจากการลงอักขระเสร็จแล้วนั่นแหละ ทุกอย่างจึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ก่อนที่จะกลับหลวงปู่นาคท่านจะทำน้ำมนต์รดที่รูปูนั้นเพื่อเป็นการคลายอาคม หากมิเช่นนั้นปูที่อยู่ในรูจะออกมาไม่ได้ หรือถ้าปูอยู่ข้างนอกก็จะกลับลงรูไม่ได้เหมือนกันอักขระที่ท่านใช้คือ "นะคงคา" เป็นตัวหลัก เพราะหลวงปู่นาคสำเร็จ อาโปกสิน วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกจึงหนักไปทางพลังเย็น เข้มขลังอย่างเอกอุ จากพิธีกรรมการสร้างอันเข้มขลังนี้เอง จึงทำให้พระปิดตาห้วยจระเข้เป็นจักรพรรดิของพระปิดตาเนื้อเมฆพัดทั้งปวง แต่พระปิดตาห้วยจระเข้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเนื้อเมฆพัดชนิดเดียว แต่ได้มีชนิดที่สร้างด้วย "เนื้อชิน" อีกด้วย ซึ่งพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินเป็นแบบ "ชินตะกั่ว" โดย

หลวงปู่นาคท่านนำเอาแผ่นตะกั่วมาลงอักขระแล้วหลอมเทเป็นพระปิดตา และลงเหล็กจารด้วยกรรมวิธีการเช่นเดียวกับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด กล่าวถึงพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินตะกั่วนี้ก็มีการสร้างในยุคแรกๆ เป็นพระปิดตาที่หลวงปู่นาคท่านสร้างขึ้นก่อนที่ท่านจะสร้างเนื้อเมฆพัดได้สำเร็จ แต่ในการเล่นหาพระปิดตาห้วยจระเข้เนื้อชินตะกั่วจะถูกกว่าเนื้อเมฆพัด

เมื่อ พ.ศ. 2441 หลวงปู่นาค โชติโก ได้ย้ายจากวัดพระปฐมเจดีย์ มาสร้างวัดห้วยจระเข้ เพื่อให้เป็นวัดบริวารขององค์พระปฐมเจดีย์ ตามพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นเป็นป่ารก มีสัตว์ป่าชุกชุม ลำห้วยมีจระเข้มาก ริมคลองเจดีย์บูชา อันเป็นคลองประวัติศาสตร์ที่ทรงโปรดฯให้ขุดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2407 เพื่อเชื่อมต่อกับแม่น้ำนครชัยศรี ให้เป็นเส้นทางเสด็จมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ทางชลมารค หลวงปู่นาคใช้เวลา 3 ปี จึงสร้างวัดสำเร็จ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 โดยให้ชื่อว่า "วัดห้วยจระเข้"หลวงปู่นาค จัดเป็นพระปรมาจารย์เมืองนครปฐมในสมัยแรก เป็นต้นตำรับพระปิดตาเนื้อเมฆพัด พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จประพาสพักแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ จะต้องเสด็จแวะกราบนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ และหลวงปู่นาคได้มอบพระปิดตาให้ทั้งสองพระองค์

ไว้บูชาคู่พระวรกายด้วย หลวงปู่นาค โชติโกได้เป็นผู้สร้างวัดห้วยจระเข้ร่วมกับประชาชน ปกครองวัดมานาน 11 ปี ถึงกาลละสังขารเมื่อปี พ.ศ. 2453 ด้วยโรคชรา รวมอายุได้ 95 ปี 74 พรรษา ก่อนที่หลวงปู่นาคท่านจะมรณภาพ ก็ได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างพระปิดตาให้กับ "หลวงปู่ศุข" ลูกศิษย์ซึ่งต่อมาหลวงปู่ศุขท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้ต่อจากหลวงปู่นาค หลวงปู่ศุขท่านนี้ก็เป็นพระเกจิอาจารย์ของเมืองนครปฐมที่มีชื่อเสียงรุ่นราวคราวเดียวกับ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และ "หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา" ที่มีคนนับถือมากเช่นกัน หลวงปู่ศุขท่านสร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัดพิมพ์แบบเดียวกับหลวงปู่นาคทุกอย่าง เพียงแต่ท่านไม่ได้ลงเหล็กจารเพื่อให้มีความแตกต่างไม่เป็นการวัดรอยเท้าอาจารย์

แต่ก็มีบ้างอยู่เหมือนกันที่มีการเอาพระปิดตาหลวงปู่ศุขมาลงเหล็กจารแล้วหลอกขายเป็นของหลวงปู่นาคเพื่อให้ได้ราคาสูง จึงควรพิจารณารอยเหล็กจารว่าต้องมีความเก่า ถ้าเป็นรอยจารใหม่แต่เป็นพิมพ์เดียวกันก็แสดงว่าเป็นของลูกศิษย์แน่ครับปัจจุบันพระปิดตาห้วยจระเข้กลายเป็นพระปิดตาที่หายากอีกสำนักหนึ่งของวงการ ราคาก็มีการเล่นหาสูงตั้งแต่หลักหมื่นอ่อนๆ ถึงหลักหมื่นกลางๆ จนเลยถึงหลักแสนไปแล้วก็มี แต่ของเก๊ก็เพียบเหมือนกัน  การ์ดไม่สูงโดนเหมือนกันหมด  




ขอขอบคุณที่มา...http://www.praboonporn.com/index.php?option=com_content&task=view&id=110&Itemid=48

114


ประวัติและปฏิปทา
พระอาจารย์ วิรพล ฉัตติโก (หลวงปุ่เณรคำ)
วัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ


อัตตโนประวัติ

“พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก” หรือ “หลวงปู่เณรคำ”ประธานสงฆ์แห่งวัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เป็นพระนักปฏิบัติจิตบำเพ็ญภาวนากัมมัฏฐานรุ่นใหม่ พระนักพัฒนา และพระนักเทศน์ชื่อดัง ที่มีความตั้งใจจะเป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนชาวเมืองศรีสะเกษ สร้างแรงศรัทธาเลื่อมใสให้กับชาวบ้านศรัทธาญาติโยม ให้ประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์

พระอาจารย์วิรพล มีนามเดิมว่า วิรพล สุขผล เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2522 ตรงกับวันอังคาร แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม ณ บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ คุณพ่อรัตน์ และคุณแม่สุดใจ สุขผล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 5 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด ท่านเป็นบุตรคนที่ 4


การศึกษาเบื้องต้น

อายุ 7 ขวบ ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ก็มีศรัทธาในการปฏิบัติจิต บำเพ็ญภาวนากรรมฐานมาโดยตลอด ซึ่งทุกวันพระจะหยุดเรียนและนุ่งขาวห่มขาว เข้าไปถือศีลบำเพ็ญภาวนาในวัด ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ จะมีอิริยาบถแห่งการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีการพลั้งเผลอแม้แต่น้อย ทั้งวันจะเดินจงกรมสลับกับการนั่งภาวนาใต้ร่มไทร


ช่วงกลางวันจะไปนอนในป่าช้า ตรงที่เป็นโบกปูนใช้สำหรับเผาผี โดยไม่เคยมีความกลัวหรือหวั่นวิตกอะไร จิตนั้นนิ่งโดยตลอด ทั้งๆ ที่ไม่เคยบำเพ็ญมาก่อนเลยในชาตินี้ ในปัจจุบันชาติเพิ่งจะเริ่มต้น แต่ผลของการปฏิบัติมันก็เกิดขึ้นทันที นี่เป็นสัญญาณบ่งบอก เป็นหมายเหตุบอกถึงความจริงในการบำเพ็ญบารมีของแต่ละคนว่า “แม้เราบำเพ็ญในชาตินี้หรือว่าชาติไหนๆ ผลของการปฏิบัติบำเพ็ญนั้นมันยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่เสื่อมไปไหน” วันธรรมดาก็ไปโรงเรียน พอพักเที่ยงจะไปนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ เลิกเรียนจะเข้าไปไหว้พระก่อนกลับจากโรงเรียน และเดินจงกรมกลับบ้านทุกวันเป็นกิจภายในที่ไม่มีใครรู้ได้นอกจากตัวเอง

เมื่ออายุ 12 ปี ได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งใจบวชเป็นสามเณร แต่โยมบิดาได้ขอร้องไว้โดยขอให้เรียนต่อมัธยมศึกษาตอนต้นเสียก่อน พอเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา คิดอยู่เสมอว่า “ถ้าเสร็จจากภารกิจทางโลกแล้ว เราจะไม่กลับมาทางโลกอีก เราคงเคยเกิดมาหลายชาติแล้ว เราคงพอแก่การเกิดได้แล้วในชาตินี้ เห็นอะไรก็เกิดความสลดสังเวชไปหมด จึงเป็นแนวทางทำให้รู้สึกเหมือนกับว่า เรารู้มาก่อน เห็นมาก่อน ตั้งแต่อดีตชาติ เหมือนกับเราจะได้ต่อเติมเส้นทางแห่งการปฏิบัติธรรมการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้น”

หลังเลิกเรียน จึงไปปักกลดนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่กระท่อมกลางน้ำที่ปลายนาของโยมบิดามารดาทุกวัน บางครั้งก็นั่งบำเพ็ญภาวนาทั้งคืนจนสว่าง ส่วนในวันพระจะถือกลดไปโรงเรียนด้วย พอเลิกเรียนจะเข้าไปปักกลดบำเพ็ญภาวนาที่วัด ปฏิบัติเช่นนี้เป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ


การบรรพชาและอุปสมบท

จากการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาตลอด ครั้นอายุย่าง 15 ปี ท่านได้ตัดสินใจที่จะออกบวชและได้บวชผ้าขาวที่วัดป่าดอนธาตุ บ้านทรายมูล ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมีหลวงปู่สมบูรณ์ ขันติโก เป็นผู้บวชผ้าขาวให้ ต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดภูเขาแก้ว ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมีพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงปู่โชติ อาภัคโค) เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมา ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดภูเขาแก้ว โดยมีพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงปู่โชติ อาภัคโค) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ฉตฺติโก”

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี ระยะหนึ่ง จากนั้นเดินทางจาริกธุดงค์ ปักกลดอยู่ถ้ำภูตึก บ้านคุ้มปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ขณะนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้น มีงูเหลือมตัวหนึ่งเลื้อยมาพาดขาบ้าง พาดตักบ้าง บางคืนนอนอยู่งูเหลือมจะเลื้อยมาขดอยู่บนหน้าอก หนักมาก แต่จิตไม่มีการวิตกกังวล หรือกลัวอันใดเลย เพราะชีวิตนี้บูชาคุณพระพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ที่สุด พระธรรมเป็นใหญ่ที่สุด พระอริยสงฆ์เป็นใหญ่ที่สุด ตอนนั้นท่านคิดแต่ว่า เราต้องทำหน้าที่ให้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า ให้ถึงซึ่งพระธรรม ให้ถึงซึ่งความเป็นพระอริยสงฆ์ ความกลัวทั้งหลายจึงไม่มี และได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในถ้ำภูตึกนั้นคนเดียว เป็นเวลานานถึง 3 เดือน

ต่อจากนั้นก็ลงจากถ้ำภูตึกไป และจาริกธุดงค์ไปเรื่อยๆ ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏว่าเริ่มเห็นสิ่งอัศจรรย์เยอะแยะมากมายเกิดขึ้น เช่น สิ่งลี้ลับต่างๆ ที่คนทั่วไปมองไม่เห็น มองเห็นมุมโลกสองมุม คือ มุมมืดและมุมสว่างแห่งการเวียนวายตายเกิด มองเห็นสวรรค์ มองเห็นอบายภูมิ ประกอบด้วยนรก เปรต และอสุรกาย และเริ่มออกทำการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน


การสร้างวัดป่าขันติธรรม

ต่อมาได้รับนิมนต์จากชาวบ้านยาง ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ให้ไปพำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านยาง ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 โดยมีเพียงกุฏิและศาลาเล็กๆ พออยู่อาศัยได้ ก่อนขยับขยายวัดไปอยู่ที่แห่งใหม่ ทั้งนี้ ได้ก่อสร้างวัดป่าขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดป่าขันติธรรม” โดยมีคุณป้าทองมี วุฒิยาสาร (แม่เหนาะ) อุบาสิกาแห่งพระพุทธศาสนาผู้มีจิตใจอันประเสริฐยิ่ง เกิดมาเพื่อสร้างสมบารมีอันยิ่งใหญ่ ได้สร้างมหากุศลโดยบริจาคที่ดินจำนวน 9 ไร่ ถวายแด่ หลวงปู่เณรคำ เพื่อสร้างวัดป่าขันติธรรมไว้เป็นสถานที่ให้บุคคลกระทำความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพื่อระงับกิเลสตัณหาให้น้อยลงจนถึงความหลุดพ้นจากกองกิเลส ตามพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินเพิ่มอีกจำนวน 2-1-00 ไร่ รวมที่ดินที่บริจาคทั้งสิ้น 11-1-00 ไร่

พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลสวงปู่สมบูรณ์ ขันติโกวัด ป่าดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี ได้มองเห็นถึงความอดทน ความอดกลั้น อันเป็นตบะเดชะสูงสุดเด่นชัดที่สุดของหลวงปู่เณรคำ ที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งอายุยังน้อยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งองค์หลวงปู่เณรคำ เองท่านได้ผ่านพญามารมาเยอะแยะมากมาย มารทั้งหลายปรากฏเกิดขึ้นที่ใด ท่านก็ดับมารไว้ที่ใจดับไว้ตรงนั้นเลย ดับที่ใจด้วยขันติ พระเดชพระคุณหลวงปู่สมบูรณ์จึงได้ตั้งชื่อให้นามว่า “วัดป่าขันติธรรม”

“ผู้มีขันติอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่แคบ ที่โล่ง ที่กว้าง ป่าดงรกชัฎ ผู้ที่ได้ศึกษาในเส้นทางของเรา (หลวงปู่เณรคำ) ขอให้มีขันติธรรมในใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวเหมือนกับเราได้บำเพ็ญในครั้งนี้ ทุกคนต้องทำได้เราเคยทำมาแล้ว ทุกคนต้องทำได้อย่างนั้น”

วัดป่าขันติธรรม ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวศรีสะเกษและทั่วประเทศที่ได้เข้ามาร่วมในการพัฒนาวัดอย่างเต็มที่


ที่มาของชื่อ หลวงปู่เณรคำ

เมื่อครั้งพระเดชพระคุณท่าน หลวงปู่เณรคำ ท่านไปจาริกเดินธุดงค์อยู่แถวจังหวัดกาฬสินธุ์ ศรัทธาญาติโยมชาวบ้านแถวนั้นได้พากันไปกราบนมัสการ และได้มองเห็นองค์หลวงปู่ซึ่งท่านนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในกลดบางๆ เป็นพระแก่ชรา แต่พอท่านเปิดกลดออกมา ก็กลับกลายเป็นสามเณรน้อยออกไปบิณฑบาต ขากลับจากบิณฑบาต ศรัทธาญาติโยมบางคนได้มองเห็นองค์หลวงปู่ท่านเป็นพระแก่ชรา อายุราว 80 ถึง 90 ปี ผมหงอก หลังค่อม เหี่ยวย่น หนังยาน บางคนฝันเห็น หลวงปู่เณรคำไปยืนอยู่บนหัวเตียง เดี๋ยวเป็นสามเณรอายุน้อยๆ เดี๋ยวก็กลายเป็นพระ ที่เเก่ชรามากบ้าง ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมาก็เริ่มมีคนเรียกขานชื่อของท่านตามที่เขาเห็นว่า

“หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่เณรคำ” ฉายาของท่านคือ “ฉตฺติโก” อ่านว่า ฉัตติโก


สร้างพระแก้วมรกตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 4 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาตี 2 ท้าวสักกเทวราช มหาราชองค์อินทร์ จอมเทวดาผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย ได้มาอาราธนาให้พระอาจารย์วิรพล ฉัตติโก (หลวงปู่เณรคำ) นำพาสาธุชนชาวพุทธได้ร่วมกันสร้างองค์พระแก้วมรกตจำลอง ปูนปั้นหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร โดยมหาราชองค์อินทร์จะเป็นผู้ช่วยอำนวยการสร้างให้ราบรื่น ให้แล้วเสร็จลงด้วยพลังใจ ด้วยพลังจิตอันยิ่งใหญ่ ของทั้งเทวดาและมนุษย์มิตรทั้งหลาย

“ได้ถึงกาลอันสมควรแล้ว ที่พระคุณเจ้าจะต้องทำการสร้างสิ่งที่เคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งอันควรในการสักการบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย เนื่องจากปัจจุบันในโลกมนุษย์ ชนทั้งหลายได้มีใจห่างเหินจากธรรมคำสอนขององค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก พระคุณเจ้าผู้เจริญ บารมีพระคุณเจ้ามีพอแก่การสร้างมาแล้ว พอแก่การทำให้อายุพระศาสนาวัฒนาถาวรแล้ว แม้อายุยังน้อย แต่ได้บำเพ็ญสมณธรรมมามากต่อมากชาติจนนับไม่ถ้วน จนถึงชาติปัจจุบัน การสร้างบารมีของพระคุณเจ้ามีมามากแต่ชาติปางก่อน จึงไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ขอพระคุณเจ้าจงตริตรองด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่เองเถิด



เมื่อถึงกาลนี้ ข้าพเจ้าจึงได้เสด็จลงมาด้วยปรารถนาจะขออาราธนาพระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้นำพามวลมนุษย์ชนทั้งหลาย สร้างองค์พระแก้วมรกตรัตนปฏิมากรจำลองคล้ายองค์จริง เพื่อเป็นพุทธบูชา ถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐในไตรโลกทั้งหลาย และเพื่อยังอายุพระศาสนาให้วัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาให้ครบ 5,000 ปี เพื่อเป็นที่อันควรสักการบูชาของเหล่าอินทร์ พรหม เทวดา มนุษย์มิตรทั้งหลาย”

ขณะนี้ หลวงปู่เณรคำ กำลังดำเนินการก่อสร้างพระแก้วมรกตจำลองขนาดใหญ่และสวยงามมากที่สุดในโลก ณ วัดป่าขันติธรรม ต.ยาง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ปูนปั้นหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 18 เมตร โดยองค์พระแก้วมรกตจำลองที่จะสร้างขึ้นจะมี 5 ชั้น มีลิฟต์ขึ้นลง ชั้นล่างสุดจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ชั้นบนสุดคือส่วนพระเศียรมีบุษบก เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ส่วนหัวใจของพระแก้วมรกตจำลอง จะเป็นพิพิธภัณฑ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ส่วนยอดชฎาบนเศียรพระแก้วมรกตทำด้วยทองคำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม สูง 7 เมตร เครื่องทรงสามารถถอดเปลี่ยนได้ ทำด้วยทองเหลือง เมื่อแล้วเสร็จจะทำการเปลี่ยนเครื่องทรง 3 ฤดู ตามหลังพระแก้วมรกตองค์จริง 1 วัน มูลค่าการก่อสร้างจนกว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา แด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2550

บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ได้ให้การยอมรับและเคารพนับถือ หลวงปู่เณรคำ เป็นอย่างยิ่งว่า เป็นพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จนบรรลุถึงความสิ้นไปแห่งกองทุกข์ ตามแนวทางคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

พระธรรมเทศนา

หลวงปู่เณรคำ ท่านมีเมตตาธรรมต่อสานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทุกท่าน อยากให้ทุกคนได้เข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ ท่านจึงได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติ ที่ท่านเคยบำเพ็ญมาตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงปัจจุบัน มาสอนให้เราท่านทั้งหลายออกจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ สอนให้เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งตามหลักการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นตามธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว

ธรรมะและแนวทางการปฏิบัติ ที่หลวงปู่ได้เมตตานำมาสอนนั้น เป็นแนวทางลัดในการปฏิบัติ ให้บรรลุธรรมกันได้ง่ายขึ้น สามารถเข้ากับจริตของทุกๆ คน ทุกๆ จิตใจ ถ้ามีความเพียร ถ้ามีความศรัทธาในองค์พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ความเพียรและความศรัทธาที่เด็ดเดี่ยวมั่นคงนั้น จะเป็นกำลังผลักดันให้เรามีตบะเดชะในใจ สามารถบำเพ็ญจนสำเร็จเป็นมรรคเป็นผลได้ในที่สุด นี่แหละ คือ เมตตาธรรมอันยิ่งใหญ่ที่หลวงปู่ท่านได้หยิบยื่นให้แก่เราท่านทั้งหลาย


ต่อไปนี้คือหลักคำสอน ของ หลวงปู่เณรคำ

- พระอริยเจ้าละสังขาร ไม่มีแดนเกิดแห่งกายนี้อีก ไม่ว่าจะเป็นกายสัตว์ กายอะไรก็ช่าง กายละเอียดกายหยาบไม่มีอีกต่อไป

- นักปฏิบัติต้องกำหนดรู้อยู่ในกายให้มาก ให้เห็นแจ้งรู้จริงในกาย เมื่อกำหนดรู้ในกายเด่นชัดแล้ว ก็จะรู้เองโดยอัตโนมัติว่า จิตเป็นยังไง กายเป็นยังไง ไม่ต้องไปถามใคร

- นักปฏิบัติต้องทบทวนดูพฤติจิตของตนเองให้ดี ให้เด่นชัด ให้ละเอียด เพราะกลเกมกลลวงของกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันเฉียบคม

- ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว อย่าเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหนๆ ก็ปฏิบัติได้ทั้งนั้น ปฏิบัติให้ตื่นรู้อยู่ในกายทุกอากัปกิริยา

- ขึ้นชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติแล้ว ไม่พึงแสวงหาวัตถุอย่างอื่นอันนอกเหนือจากความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

- การปฏิบัติธรรมนั้น แม้เกิดก็เกิดคนเดียว การจะเข้าถึงมรรคผลก็เข้าถึงคนเดียว ธาตุขันธ์จะแตกดับก็แตกดับคนเดียว

- การธุดงค์ป่านอกไม่มีผลสำเร็จดีเท่ากับเดินจาริกอยู่ในป่ามหานครกายและป่าใจของตัวเอง

- จงดำเนินองค์สติให้ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว ควบคุมความคะนองทางใจ สำรวมระวังความคิด เจริญกองบุญกุศลให้ถึงพร้อม และให้ละบาปอกุศลให้สิ้น

- ไม่ยึดถือเอาสัญญาเป็นเจ้าของ หลุดพ้นออกจากสัญญาแล้วความขุ่นข้องหมองใจ ความพยาบาทปองร้ายก็ดับไป

- พอใจในสิ่งที่เรามี พอใจในสิ่งที่ตนได้ ถ้าดิ้นรนมาก ก็จะกลายเป็นกิเลส ตัณหา

- ท่านทั้งหลายที่เป็นสาธุชนนั้น ต้องอาศัยการให้ทาน ต้องอาศัยวัตถุทาน เป็นตัวนำจิตให้เข้าถึงบุญกุศล เป็นสิ่งที่ทำง่ายสำหรับท่านทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจของท่านทั้งหลายยิ่งใหญ่ขึ้นในภายภาคหน้า

- การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารภพน้อยภพใหญ่นี้ มันทุกข์ร้อนมากๆ ผู้ไม่ปรารถนาที่จะมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ต้องปฏิบัติตนรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา ตั้งศรัทธาให้มั่นคง ปฏิบัติธรรมกำหนดรู้ ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งปวง ถอดถอนความยึดถือในโลกทั้งปวง ในธรรมทั้งปวง ความเป็นตัวเป็นตน ความแบกหาม เอาสมมุติทั้งหลายทิ้งไปให้หมด สละไปให้หมด จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

- ท่านผู้มีปัญญาย่อมมีธรรมปรากฏอยู่ในจิตใจเสมอ ปัญญาธรรมคือสิ่งที่เลิศที่สุดในชาติปัจจุบัน

- ธรรมทั้งปวงนั้นคือ เครื่องเตือนให้ท่านทั้งหลายตื่นจากการหลับใหลในความยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ให้รู้จักส่งคืนสิ่งยึดติดทั้งปวง ด้วยธรรมอันจิตไม่ยึดมั่น เห็นเด่นชัดนั่นเป็นสักแต่ว่า

- นักปฏิบัติต้องใช้สติปัญญาที่เฉียบคม ทบทวนดูผลของการปฏิบัติที่ผ่านมาให้ละเอียดมากลงไปเรื่อยๆ ว่ากิเลส ตัณหา อุปาทานที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจนั้น มันหมดไปมากน้อยแค่ไหน และทบทวนดูสภาพจิตของตัวเองให้ลุ่มลึกลงไปให้มาก ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้ว ทุกอย่างต้องดับไป

- นักปฏิบัติต้องทบทวนดูสิ่งที่ตนเห็นให้ดี เพราะสิ่งที่เห็น คือ อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นแล้วเดินจิตปลงลงสู่ความไม่ยึดถือ เดินกระแสจิตเข้าสู่ความดับ พอมันหลุดไปหมดแล้ว จะเห็นอะไรมันก็เห็นเป็นปกติ

- นักปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูรูป เวทนา ให้เด่นชัด เมื่อเด่นชัดแล้ว จิตก็จะถอดถอนออกโดยอัตโนมัติ เห็นเป็นเพียงสมมุติเท่านั้น

- สาธุชนทั้งหลายอย่าเห็นเรื่องฤทธิ์เดชเหล่านั้น สำคัญกว่าการละกิเลสให้ได้เด็ดขาดอย่างแท้จริง

- ท่านทั้งหลาย เราอย่าเข้าใจว่าพระพุทธเจ้านั้นสอนให้เราสร้างแต่บุญเพื่อไปเกิดในสวรรค์อย่างเดียว แต่หัวใจของพระพุทธเจ้าที่เน้นหนักลงมา คือ ให้เราได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดตามพระองค์

- อุเบกขานั้นไม่ใช่การวางเฉยไปเลย แต่เป็นการเฝ้าดูโดยความสงบนิ่งของจิต ไม่มีอารมณ์อื่นแทรกแซง ท่านทั้งหลายจงมีอุเบกขาแบบอุเบกขาผู้มีปัญญา อุเบกขาแบบผู้มีปัญญาคือ การเฝ้าดูอยู่ไม่ให้ตนเองพลาดพลั้ง ไม่มีสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศล

- เนื้อแท้ของธรรมชาติในโลกวัฏฏทุกข์นั้น ล้วนแล้วไม่ยั่งยืน แปรปรวนอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย จึงให้ทุกท่านเข้าไปรู้ความจริงของธรรมชาติแห่งวัฏฏทุกข์นั้น ด้วยสติปัญญาอันสุขุมละเอียด และด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ความจริงแจ้งชัดหายสงสัยปรากฏอย่างที่สุด หลุดพ้นทันที

- ความโง่ในโลกที่เราโดนหลอกเอย คนนั้นหลอก คนนี้หลอก มันไม่ใช่ความโง่ที่เรียกว่าหนักหนาอะไร แต่ที่หนักคือ เราโง่ให้กิเลสมาสับรางจิตใจของเราให้ไปผิดทาง

- ยุคนี้ คือ ยุคที่เราจะทำให้เป็นดั่งสมัยพุทธกาล คือ ให้มีผู้บรรลุสำเร็จเป็นอรหันต์มากที่สุด ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

- จิตที่หลงยึดติดว่าเราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราบรรลุแล้วจบสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว จิตที่หลงนี้ต้องกลับมาเกิดใหม่ และนำเอาจริตเดิม สันดานเดิมที่หลงติดไปด้วย


- ถ้าเรารักษาศีลไม่ดีก็เท่ากับว่าเรายังไม่แจ้งในศีล ถ้าเราบำเพ็ญภาวนาไม่ดีก็เท่ากับว่าเราไม่แจ้งในสติ ถ้าเราไม่มีความตั้งมั่นเพียงพอเท่ากับเราไม่ตั้งมั่นในสมาธิ ถ้าเราไม่มีความรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานเท่ากับเราไม่รู้แจ้งในปัญญา

- ถ้าเราได้จาบจ้วงพระอริยเจ้าองค์หนึ่ง ก็เหมือนเราได้จาบจ้วงทั้งหมด ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจนถึงปัจจุบันกาลนี้ ผลกรรมนั้นมันหนักหนาสากรรจ์มาก

- ให้เฝ้าดูอาการของจิตจนรู้จิตเด่นชัด การบรรลุธรรมจะปรากฏ รู้จิตเห็นธรรม

- จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง

- ทุกคนจงมาทำให้แจ้งในปัจจุบันนี้เลย อย่าทำเพื่อชาติหน้า อย่าทำเพื่ออนาคตอันยืดเยื้อยาวไกลไปมาก ทำปัจจุบันให้มันแจ้ง แจ้งทั้งกาย ให้มันแจ้งทั้งจิตใจ อย่าให้มีข้อลังเลสงสัย อย่าให้มันเกิดการพวักพวง ให้มันแจ้งไปหมด

- การขับเคลื่อนของสติปัญญานั้น ต้องเดินอย่างต่อเนื่อง

- เมื่ออำนาจสติมีกำลังพอเพียง จะสามารถเห็นความเป็นจริงได้ว่า สภาพจิตและกายไม่ได้เป็นเนื้ออันเดียวกัน มันแยกกันอยู่

- สัญญานั้นเหมือนเพลิงที่มาเผาจิตของเวไนยสัตว์ไม่ให้หลุดพ้น ออกจากกองทุกข์

- คำว่าขณะที่ปฏิบัตินี่ ไม่ใช่เฉพาะชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้นะ มันทุกอากัปกิริยา ทุกสภาวะในปัจจุบันนั้นๆ แต่ละลมหายใจเข้า-ออก แต่ละเวลา แต่ละชั่วโมง แต่ละนาที สภาพปัจจุบันด้วย

- ยศถาบรรดาศักดิ์ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณทั้งหมด เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เราก็ไม่ได้เอาไปด้วย เป็นสักแต่ว่าสมมุติในโลกนี้แค่นั้น ท่านจะเป็นมนุษย์ผู้มีสมบัติใหญ่โต มีชื่อแปลกๆ มีรถยนต์ นั่นคือเครื่องสมมุติ ผู้ที่บำเพ็ญตนให้พ้นจากกิเลสตัณหา เห็นสมมุติเหล่านั้นให้เด่นชัด เห็นทุกอย่างเป็นสมมุติ รู้สมมุติเหล่านั้นแล้วทิ้งสมมุติเป็นแดนเกิด ภพชาติจึงดับไป

- หัวใจแก่นแท้ของนักปฏิบัติธรรมตามธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ความไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของในสิ่งทั้งปวง

- คำว่าปฏิบัติให้ดี ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง คือ ไม่ให้เผลอ ไม่ให้หลงลืม ไม่ให้ด่างพร้อยไปตามอารมณ์

- การบำเพ็ญต้องบำเพ็ญด้วยสติล้วนๆ ปัญญาล้วนๆ ไม่ไปหลงกับอำนาจสมาธิ อำนาจความสุข ความปิติบางอย่าง ต้องตั้งสติให้มั่นคงเด็ดเดี่ยวขึ้นกว่าเดิม ตั้งกำลังปัญญาให้มันแกร่งขึ้นมากกว่าเดิม พิจารณาให้มันแตกฉานไปเสียหมดเลย จึงจะหลุดพ้น

- การบำเพ็ญนั้น ต้องบำเพ็ญด้วยความเด็ดเดี่ยว คำว่าเด็ดเดี่ยวหลักสำคัญ คือ ไม่ต้องไปลังเลสงสัยกับคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจกับเรื่องอื่น ให้นั่งทำใจของตนให้สงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปตามอารมณ์ต่างๆ

- การบำเพ็ญต้องหลีกเว้นออกจากสิ่งที่เคยยึดถือยึดมั่นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก เป็นตัวเริ่มต้นเลยในการถอน เมื่อเราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น เป็นเนื้อ หนัง เอ็น กระดูกแล้ว อย่างอื่นมันไม่ยึดถือกันอัตโนมัติ

- สภาพสติปัญญาที่จะน้อมนำธรรมคำสอนเข้าฝังในหัวใจ จะเข้าไปในจิตใจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาของแต่ละคนแต่ละท่านที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ เพราะว่าการบำเพ็ญบารมี ไม่ว่าจะเป็นการบำเพ็ญด้วยการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ของแต่ละคน แต่ละท่านนั้น สะสมกำลังบารมีส่วนนี้มาแตกต่างกัน

- ยิ่งรู้แจ้งในกายมากเท่าไหร่ สติปัญญายิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น

- ยอดที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจของสาธุชนทั้งหลายนั้น ต้องให้ถึงที่สุดแห่งองค์พุทธะ ให้ถึงที่สุดแห่งองค์ธรรมะ และให้ถึงที่สุดแห่งองค์พระสังฆอริยเจ้า ด้วยเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตนี้รวมเป็นหนึ่งหมุนเข้าสู่ความเป็นพระอริยเจ้านั้น นั่นแหละคือว่าเราได้ทำให้ถึงยอดของพระพุทธศาสนา

- นิพพานนั้นไม่มีแดนเกิด นิพพานนั้นดับได้หมดเลย นิพพานเหนือโลกทั้งมวล เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดทั้งหมด

- สาธุชนท่านใดปรารถนาให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิด ต้องทำให้แจ้งในมหานครกายและมหานครใจ แจ้งจนหายสงสัย เมื่อหายสงสัยแล้ว ส่งคืนไม่ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ

- แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น

- ถ้าจะหลุดพ้นแท้ๆ คือ ไม่เป็นในสิ่งที่เป็น ไม่มีสิ่งที่เป็นยึดถือในหัวใจ

- หลุดพ้นออกจากความหลุดพ้น นี่คือ ที่สุดของการปฏิบัติ

- การบรรลุมรรคผล จิตนั้นจะไม่มีอะไรแทรกแซงในจิตเลย แม้แต่ความเห็นว่าจิตของตนนั้นใสดั่งแก้ว ก็ไม่มีเลย

- การเดินย่ำไปในโลกธรรม ถ้าจิตเหนื่อยล้าก็จงพักเอากำลังแห่งสติปัญญาอันกล้าหาญ ไม่หวั่นไหวในสภาพทั้งปวง โลกธรรมมันยาวไกลไม่สิ้นสุด จิตหลุดพ้นแล้ว แม้โลกธรรมจะแสนไกลไร้ความหมาย เจริญธรรมอันเลิศแด่ท่านผู้ประเสริฐ

- ความเชื่อในทางโลกนั้นมีกำลังมากกว่าความเชื่อในทางธรรม เพราะว่าทางโลกนั้นมีรูปธรรมสัมผัสได้จับต้องได้ แต่ทางธรรมนั้นต้องใช้สติปัญญา มันจับต้องไม่ได้ด้วยมือเปล่า แต่กำหนดรู้เข้าไปที่จิตสำนึกได้เท่านั้น ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมได้ ต้องเป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติตั้งมั่นศรัทธาในศาสนาจนแก่กล้าจึงจะเข้าถึงรากได้

- เราก็ขอทุ่มเทให้กับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันชาติ แม้ว่าเราจะอาศัยเป็นบ้านเกิดหลังสุดท้าย แต่เราก็ขอทำคุณงามความดีให้แก่บ้านเกิดหลังสุดท้ายอย่างเต็มภาคภูมิ เพื่อประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายได้พึ่งพาต่อไปภายภาคหน้า ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคตต่อไป คุณงามความดีจักประจักษ์เด่นชัดในใจของเรานี่เอง ถ้าเราทำดี ความดีก็มีในใจของเรา ไม่ต้องไปโอ้อวดใครทั้งสิ้น

- นับเป็นชาติสุดท้ายที่เรานำท่านทั้งหลายสร้างบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่ จะไม่มีชาติอื่นปรากฏแก่เราอีกต่อไป ทำไปเถิด เมื่อมีโอกาสได้ทำ

- ท่านทั้งหลายอย่ายึดติดในอารมณ์ทั้งปวงเลย ทั้งร้อนและเย็นมันเป็นทุกข์ทั้งนั้น อารมณ์เปรียบดั่งทะเลเพลิง ถ้าจิตเหนืออารมณ์ ก็พ้นจากทะเลเพลิง ได้ถึงความหลุดพ้นในที่สุด

- ชีวิตทั้งหลายโดยมากลุ่มหลงในตน ยึดถือตนเป็นแก่นสาร เอาความเป็นตัวเป็นตนครอบงำจิต ชีวิตเหล่านั้นจึงเป็นทุกข์โดยไม่รู้ตัว จงดับความยึดถือในตน ทุกข์โดยไม่รู้ตัวจักดับไป

- ธรรมอันบริสุทธิ์คือ เครื่องตื่น ผู้รู้แจ้งในธรรมทั้งปวง เปรียบดั่งว่าเป็นผู้ตื่นแล้วจากโลกมืด อันเป็นบาปอกุศล อุปาทาน กิเลส ตัณหาทั้งปวง เมื่อตื่นแล้วหลุดพ้นถึงซึ่งความเกษมบันเทิงใจในธรรม จนดับขันธ์นิพพานไป ไม่หวนกลับมาเวียนตายเวียนเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป

- ให้ตัดความกังวล ให้ตัดความยึดถือทั้งปวง เพื่อจะได้หลุดพ้นต่อไปในภายภาคหน้า

- ให้มีพรหมวิหารธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ด้วยใจที่บริสุทธิ์ ด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว เมตตาก็เมตตาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว กรุณาก็กรุณาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว มุทิตาก็มุทิตาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว อุเบกขาก็อุเบกขาด้วยใจที่เด็ดเดี่ยวด้วย

- อุเบกขาที่มีปัญญาจะช่วยเราไปตลอดชีวิต นักปฏิบัติทุกวันนี้ รู้แต่ว่าการปล่อยวาง ปล่อยวาง นั่นสักแต่ว่าก็แค่นั้นเอง แต่ไม่รู้ว่าสักแต่ว่าแบบมีปัญญาเป็นยังไง

- เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา มีในหัวใจแล้ว เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีในหัวใจแล้ว อุเบกขามีหน้าที่ซุ่มดู เฝ้าระวังไม่ให้จิตใจตนเองเกิดอะไรขึ้นมาอีกเหมือนเดิม แล้วคอยประคองรักษาสภาพจิตนั้น ให้มันสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ

- นักบุญทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า ให้ทำกุศลฝ่ายในและกุศลฝ่ายนอกให้บริบูรณ์ เมื่อบริบูรณ์คราใด บารมีจักเกิดครานั้น จงพิจารณาธรรมเหล่านี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเถิด

- ชนทั้งหลายผู้จักได้เกิดในสวรรค์ชั้นต่างๆ นั้น ต้องหนักแน่นในศีลแลให้ทานพร้อมทั้งภาวนา ผลคือดวงจิตดวงนี้เกิดมีความปิติสุขโล่งเบาโดยตลอด ไม่ด่างพร้อย เมื่อถึงวันธาตุขันธ์ดับแล้ว จิตวิญญาณเหล่านั้นหมุนเข้าสู่สุขคติสวรรค์ทันที อย่างไม่ลังเลสงสัย

- จิตที่หลุดพ้นนั้น เหนือบุญ เหนือบาปทั้งปวง

- สติปัญญาของท่านผู้ปฏิบัตินั้น แจ้งกำหนดรู้ไปยังที่ใจ ย่อมรู้แจ้งแจ่มชัดในที่นั้นอย่างหายสงสัย เพราะอำนาจสติปัญญามีกำลังเพียงพอ อันเกิดจากความเพียรที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่านทั้งหลายจงแสวงหาและสร้างสติปัญญาของตนให้เด่นชัดในหัวใจ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างเต็มตัว หายสงสัยในสิ่งทั้งปวง

- ผู้มีปัญญาแก่กล้านั้น เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งใดแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากสิ่งนั้นด้วย โดยไม่ยึดไม่ถือเอาเป็นเจ้าของ ส่งคืนไปตามสภาพสมมุติหมด

- การบำเพ็ญเพียรเพื่อให้หลุดพ้น ต้องทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ทำด้วยใจที่เด็ดเดี่ยว ด้วยใจที่เต็มความภาคภูมิ เต็มไปด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ให้ด่างพร้อย ไม่ให้พลั้งเผลอเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าผลของการปฏิบัตินั้นจะมีมากเพียงใดก็ตาม

- บุญในอดีตชาติรวมเป็นหนึ่งกับบุญในปัจจุบันชาติ จักเกิดบารมีอันยิ่งใหญ่ สำเร็จประโยชน์ดังตั้งใจ

- สติ สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน รวมลงที่ใจโดยฝ่ายเดียว แต่ไม่ให้ยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ส่งคืนตามสภาพความเป็นจริงนั้นให้หมด

- ถ้าศีลไม่สะอาด มันจะรวมสติ สมาธิ ปัญญา ลงไปที่ใจไม่ได้ รวมไม่ได้เลย

- ปฏิบัติตนให้รู้แจ้งเห็นจริง รู้แจ้งในศีล รู้แจ้งในสติ สมาธิ ปัญญา

- แม้ว่าเราจะอยู่ในวัตถุของโลก แต่จิตเราไม่ยึดติดในวัตถุของโลก เหมือนกับน้ำบนใบบอนที่ใสสะอาด แม้อาศัยอยู่ในใบบอน แต่ก็ไม่ได้ติดด้วยใบบอนนั้น

- โลกยังคงหมุนไปตามธรรมชาติ สรรพสิ่งในโลกยังคงหมุนไปตามกรรม เรามาดับกิเลสตัณหาอุปาทานเพื่อระงับกรรมเหล่านั้น เหตุที่ทำให้กรรมยุติเบาบางลง คือ การดับกิเลส ตัณหา อุปาทานทั้งปวง

- การออกจากทุกข์ก็คือ เราอย่าไปมองแค่สวรรค์ เป็นนักปฏิบัติต้องมองถึงพระนิพพาน อย่าไปยุติไว้แค่สวรรค์ แม้ว่าไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะสูงส่งมากแค่ไหน เมื่อบุญหมด บารมีหมด ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่อีกไม่จบสิ้น แต่ที่มันจบก็คือความหลุดพ้น หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิเหล่านี้

- ให้เข้าใจถึงธาตุขันธ์ร่างกายโดยรวมคือ ธรรม จิตที่อาศัยร่างกายอยู่ก็คือธรรม ผู้ที่จะเข้าถึงความหลุดพ้นสิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดถึงพระนิพพานนั้น ต้องมีความแจ่มแจ้งหายสงสัยในธรรมเหล่านี้ ธรรมเหล่านี้ก็คือร่างกายและจิตใจ เพราะเหตุเหล่านี้แหละ เพราะความยึดถือในร่างกายและจิตใจนี้แหละ สัตว์โลกทั้งหลายจึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น

- รีบทำในวันนี้ อย่ารอวันพรุ่งนี้

- คำว่า “ขันติธรรม” นี้ ยิ่งใหญ่มาก เป็นคุณธรรมชั้นสูง

- การตั้งจิตอยู่ ปัญญาอยู่ ให้ถึงพร้อมทั่วทั้งกายดีที่สุด ทำให้ได้

- ฝึกจิตให้แก่กล้า ชนะอารมณ์ เป็นคนดีของสังคม

- สิ่งที่ดีที่สุดคือ ปัญญาของเรา ทำให้แจ้งทั้งหมดเลย ไม่แจ้งเฉพาะที่ตรงใดตรงหนึ่ง เอาจิตเข้าไปตามรู้ทันให้หมด

- แก่นแท้ของจิตนั้น เป็นอาการที่คิดปรุงแต่ง รับรู้อารมณ์ทั้งปวงที่ปรากฏ

- อำนาจจิตที่แก่กล้ามีพลังนั้น เกิดจากความเพียรในปัจจุบันกาล เรียกว่า สภาวะปัจจุบันนั้นมีองค์มหาสติครอบคลุมอยู่ตลอด อย่างไม่ด่างพร้อย จึงไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง ไม่จำกัดกาล เวลา และสมัย เมื่อสติปรากฏแจ่มชัด ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีความเพียร จิตจะแก่กล้าขึ้นโดยอัตโนมัติ

- พระอริยเจ้าเป็นผู้มีจิตที่เป็นกลาง ไม่แบกหามเอาสมมุติใดๆ ทั้งสิ้น มาหนักจิต แม้จิตนั้นดับไป ไม่มีเหลือ ไม่ได้ยึดถือจิตนั้นเป็นตัวเป็นตน วิญญาณนั้นก็ไม่มี ดับสิ้นไม่มีเหลือ สมมุติทั้งหลายสิ้นไปหมด ไม่มีอีกแล้ว หยุดลงแค่นั้น พรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังเป็นสมมุติแห่งพรหมจรรย์ เมื่อพรหมจรรย์จบสิ้นแล้ว สมมุตินั้นก็จบสิ้นไปด้วย ความยึดถือในพรหมจรรย์ทั้งหลาย แดนเกิดแห่งพรหมจรรย์จึงไม่มีอีกแล้ว เพราะพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ฉะนั้น เราต้องเข้าใจความเป็นจริงของสมมุตินั้น

- ยุคนี้พระอริยเจ้ายังไม่สิ้นนะ พระอริยเจ้ายังคงอยู่ยังคงมี ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ยังไม่สิ้นพระอริยเจ้า ปฏิบัติจริงก็ได้ของจริง เห็นของจริง

- เกลี้ยงทั้งใจ ใสทั้งกระดูก ชื่อว่าพระอริยเจ้าที่แท้จริง

- จะไปปฏิบัติยังไงก็ตาม เราอย่าไปเลือกที่ปฏิบัติ ที่ไหนที่ลมหายใจมันหมุนเข้าออกอยู่นั่นแหละ ปฏิบัติได้ตลอดไป ปฏิบัติได้ตลอดไม่จำเป็นต้องรอเวลาที่จะนั่งบำเพ็ญภาวนา รอเวลาที่จะต้องเดินจงกรม จะนั่งอยู่ที่ไหน จะเดินอยู่ที่ไหน ก็ต้องทำความเพียรได้ทั้งนั้นแหละ มันเป็นสากลไปเลยความเพียรอันนั้น

- บุคคลใดยังความทุกข์ ความลำบากให้แก่ผู้อื่น ความทุกข์ ความลำบากก็ย้อนกลับมาเป็นผลแก่ผู้นั้น แต่หากบุคคลใดยังความสุข ความสะดวกให้แก่ผู้อื่น ความสุข ความสะดวกก็จะย้อนกลับมาเป็นผลแก่ผู้นั้นเช่นกัน






ท่านใดสนใจและต้องการ CD พระธรรมเทศนาของ หลวงปู่เณรคำ วัดป่าขันติธรรม

สามารถเข้าไปโพสต์ชื่อที่อยู่ได้ ฟรี

ตามลิงค์นี้ครับ

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=140960

หรือ

http://larndham.net/index.php?showtopic=32550&st=0

115


หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์ทั้งตลอดชีวิตที่ประพฤติปฏิบัติในทางกรรมฐาน โดยเคร่งครัดเฉพาะเวลาวิกาลแล้วมักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และมีอายุยืนถึง๑๐๘ ปี หลวงพ่อเขียน เมื่อครั้งครองเพศฆราวาสท่านมีชื่อว่า เสถียร

ชาติกำเนิด
       เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็น สามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัด ทุ่งเรไรในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขระสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่าน สมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

       เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำ พรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัด ธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจจะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทาง ไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดิน ทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น

อ้ายยักษ์เขียวกัดหลวงพ่อ
       หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อตัวหนึ่ง และต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีก วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนเข้า มาหาหลวงพ่อ ตรงเข้าโขก และกัดท่านที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไป ไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อรีบลุกขึ้นและร้องห้ามไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า “อ้ายเขียว มันลอง หลวงพ่อน่อ” วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้า อ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายกนวม มรรคทายกเกิด โมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ด้วยลูกเก้า (ลูกแบบแตกปลาย) ลูกปืนถูกเจ้าเขียวยักษ์ อย่างจัง แต่ไม่ระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์เลย นางมาเมียมรรคทายกนวม เห็นดังนั้น ก็เกิดความ โมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้า ไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ

หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า “เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า” ต่อมาอีกไม่ กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูป เทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึง ปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้งม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่ เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไป ไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่านก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา

มรรคทายกยักยอกเงินก่อสร้าง
      ขณะที่หลวงพ่อเขียน จำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยพุทธบริษัท ได้ชวนกันสละทุนทรัพย์ ตามกำลัง และศรัทธา และได้ช่วยกันหาปัจจัย สร้างโบสถ์ กำแพงแก้ว ซุ้ม ประตู และเจดีย์ ตัวพระอุโบสถนั้นเพียงแต่ก่ออิฐ แต่ยังมิได้ฉาบปูน แต่ในระหว่างการก่อสร้าง มรรคทายกผู้หนึ่งเป็นผู้รักษาเงิน และบัญชี ได้ยักยอกเอาเงินก่อสร้าง อุโบสถไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยนำเงินไปซื้อไร่นา และปลูกบ้านเรือนใหญ่โต ทั้งได้ทำลายหลักฐานบัญชีเดิม แล้วทำบัญชีใหม่ปลอมแปลงแทน ครั้นถึงวันจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างแก่นายช่าง หลวงพ่อ ก็เรียกปัจจัยจากมรรคทายกผู้นั้น แต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉย ว่าเงินที่ตนเก็บไว้ได้ถูก เบิกจ่ายไปหมดแล้ว เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น การก่อสร้างอุโบสถจึงได้หยุดชะงักลงทันที ชาวบ้านที่รู้เรื่องก็พากันมาถาม หลวงพ่อ ท่านบอกแก่พวกเขาเหล่านั้นว่า “ใครโกงปัจจัยสร้างโบสถ์ ไม่ว่า

รายไหนก็รายนั้น เป็น ต้องคลานขี้คลานเยี่ยว มันจะต้องฉิบหายวายวอด ถือกะลาขอทานเขากิน ไม่จำเริญสักคนน่อ” อยู่ต่อมาไม่นาน ความวิบัติก็บังเกิดขึ้นแก่มรรคทายกผู้นั้น กับภรรยา ตลอดจนลูกสาว ลูกชาย ด้วย เกิดการเจ็บป่วยได้ไข้ ขึ้นมาพร้อมกันในวาระเดียว เริ่มด้วยเกิดคันลูกนัยน์ตา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนในที่สุด ตาบอดหมดทุกคน แม้หลานของมรรคทายกผู้นั้น ก็เกิดมาเสียลูกนัยน์ตาไปคนละข้าง ต้องทนทุกข์ทรมาน คลานขี้คลานเยี่ยว ดังหลวงพ่อท่านว่าไว้ไม่มีผิด ทองที่มีอยู่ ก็ถูกนำมาใช้จ่าย ในการรักษาจนหมดตัว ถึงกับขายไร่นา เพื่อนำเงินมาบำบัดรักษา และพลอยหมดสิ้นลงอีก ถึงกับต้อง จูงกันไปเที่ยวขอทานเขากิน ในที่สุด ก็ล้มหายตายจากกันไป ที่มีชีวิตอยู่ ก็ร่อนเร่ระเหระหน ไปคนละทิศละทาง จนสิ้นวงศ์วานหว่านเครือ ไม่มีเชื้อสายเหลือในตำบลวังตะกู แม้แต่คนเดียว !

       สมัยหนึ่ง มหาบุญเหลือ เจ้าอาวาส วัดชัยมงคล กับ มหาชั้น เจ้าอาวาส วัดท่าฬ่อ เดินทางไปเทศน์ ที่บ้านห้วยพุก เมื่อเทศน์จบ ก็ได้เวลาประมาณ ๔ โมงเย็นเศษๆ เข้าไปแล้ว จึงรีบออกเดินทางจาก บ้านห้วยพุก ฝ่าป่าฝ่าดงเรื่อยมา เพราะสมัยนั้นการสัญจรไปมา ต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นพื้น ท่านเจ้าอาวาสทั้งสอง ไม่คุ้นกับเส้นทาง จึงเดินวกวนอยู่ในดงช้านาน บ้านช่องผู้คนก็ไม่ค่อยจะมี นานๆ จึงจะพบสักหลังหนึ่ง เมื่อชาวบ้านป่าช่วยชี้หนทางให้ ก็เดินกันจนเท้าระบมแทบจะไปไม่ไหว จนถึงเวลากลางคืน ก็ไปถึงตำบลวังตะกู ท่านมหาบุญเหลือ จึงบอกท่านมหาชั้นว่า คงจะต้องนอนพัก ค้างคืนกับหลวงพ่อเขียนก่อน เพราะจะเดินทางต่อไปจนถึงบางมูลนากไม่ไหว ท่านมหาบุญเหลือรู้จัก กับ หลวงพ่อเขียนดี เมื่อไปถึงวัด ได้พากันตรงไปกุฏิหลวงพ่อ ก็เห็นประตูหน้าต่างปิดหมด แลเห็น แสงไฟทางช่องลมสลัวๆ ท่านมหาทั้งสองจึงกระซิบกระซาบกันว่า “อย่าไปเรียกท่านเลย จะเป็นการ รบกวนท่านเปล่าๆ เรานอนข้างนอกหน้ากุฏิท่านนี่แหละ” ท่านมหาชั้นจึงเอนกายลงนอน ด้วยความ อ่อนเพลีย แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียง หลวงพ่อเขียน ร้องทักมาจากในห้องว่า “โธ่เอ๋ย มหา ! เดิน หลงทางกันมาซิน่อ แย่เลยหนอ พักนอนกันเสียที่นี่ ไม่ต้องเกรงใจน่อ” พลางท่านก็เปิดประตูออกมาต้อนรับ

      เมื่อครั้งหลวงพ่ออยู่วัดวังตะกูนั้น ได้มีผู้นำสัตว์ป่าทั้งหลาย มาถวายอยู่เนืองๆ อาทิเช่น ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ เป็นต้น โดยเฉพาะลูกกวางนั้น หลวงพ่อได้เอาเศษจีวรผูกคอไว้ เพื่อ ให้คนทั้งหลายได้รู้ ว่าเป็นกวางของวัด เจ้ากวางตัวนี้เติบโตขึ้นมา และเชื่องมาก มันมักจะติดตาม หลวงพ่อไปไหนๆ อยู่เสมอ บางคราวมันก็จะหนีท่านไปกินข้าว หรือเหยียบย่ำข้าวในนา ของชาวบ้าน เสียหายบ่อยๆ หลวงพ่อจึงนำไปให้ ท่านอาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร เลี้ยงดูแทนท่าน ท่านได้บอก กับมันว่า “เอ็งไปอยู่กับ อาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณรน่อ แล้วไม่ต้องกลับมาหาข้าอีกน่อ” เมื่อหลวง พ่อให้ลูกศิษย์นำกวางไปให้ท่านอาจารย์เทินแล้ว ปรากฏว่าเจ้ากวางไม่เคยกลับมาที่วัดวังตะกูอีกเลย ทั้งๆ ที่วัดทั้งสองไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเท่าใดนัก เมื่อกวางไปอยู่กับท่านอาจารย์เทินแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับนิมนต์ไปที่บ้านใคร มันจะออกไปตามหาท่าน ถูกทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง ท่านจะออกไปจากวัด ขณะที่มันไม่ได้อยู่ในวัด แต่เมื่อมันกลับมา ก็จะออก ตามหาท่านอาจารย์ได้ถูกต้องทุกครั้ง อยู่มาวันหนึ่ง กวางออกไปหากินไกลวัด ในหมู่บ้านที่มันเคยไป ชาวบ้านไม่รู้ว่าเป็นกวางวัด นึกว่า เป็นกวางป่า จึงเอาปืนมาไล่ยิง แต่ไม่ถูกสักนัดเดียว เผอิญพวกนั้นเหลือบไปเห็นเศษจีวร ที่หลวงพ่อ เขียนผูกคอมันไว้ จึงรู้ว่าเป็นกวางวัด ก็ร้องบอกห้ามปรามกัน แต่กวางตกใจเสียงปืน มันก็วิ่งเตลิด ผ่านหน้าบ้านของชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นไม่รู้เรื่องราว ก็คว้าปืนลูกซองยิงสกัดออกไป ลูกปืนไปถูกลูก นัยน์ตาขวาของกวาง ถึงแก่ตาบอด แต่ต่อมาไม่ช้านาน เขาผู้นั้นไปตัดฟืนในป่า ถูกกิ่งไม้วัดเข้าที่ตา ข้างขวา ถึงกับตาแตก และบอดในเวลาต่อมา เป็นที่น่าอัศจรรย์... (ที่กรรมตามทันอย่างรวดเร็ว)
   
หลวงพ่อไปๆมาๆ
       หลวงพ่อได้อยู่วัดวังตะกู เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์รูปหนึ่ง เดินทาง มาจากจังหวัดนครราชสีมา ได้มาขอพักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่นานเข้าก็มีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาส โดยมีทายกบางคนให้การสนับสนุน จึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ ให้เรียงเป็น แถว เป็นระเบียบ ดูจะเป็นการขับไล่หลวงพ่อเขียนทางอ้อม โดยเว้นกุฏิของหลวงพ่อ ทิ้งไว้ให้โดด เดี่ยวอยู่องค์เดียว นอกจากนั้นยังได้สร้างเชิงตะกอนเผาศพ ไว้ด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กับกุฏิของ หลวงพ่อ เวลาเผาศพ กระแสลมก็จะพัดควัน และกลิ่นเข้าหากุฏิหลวงพ่อ จนตลบอบอวลไปหมด ทำ ให้ท่านได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะการเผาศพในสมัยนั้น กว่าจะไหม้หมดก็กินเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทรมานเพียงใด ท่านก็ทนอยู่ได้โดยใช้ขันติธรรมไม่ยอมไปไหน อีกทั้ง ในขณะนั้น ทายกเก่าๆ ก็ตายเกือบหมดแล้ว ท่านจึงขาดที่พึ่ง ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ บ้านสำนักขุนเณร ขณะนั้นยังเป็น กำนันตำบลวังงิ้ว เป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทั้งมีความเคารพนับถือหลวงพ่อมาก จึงพร้อมกับ คณะทายก อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อ ขอให้ไปจำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดวังตะกู ประมาณ ๕ กิโลเมตร คณะที่ไปนิมนต์หลวงพ่อได้รับปากกับท่านว่า จะช่วยสร้างกุฏิให้พอเพียงกับพระ ภิกษุสงฆ์ ที่ติดตามท่านไปด้วย ทั้งจะสร้างคอกม้าให้กว้างขวาง พอที่จะบรรจุม้าทั้ง ๗๐ ตัวของหลวง พ่อ ได้อย่างสบาย หลวงพ่อได้มองเห็นเจตนาดี และเสียอ้อนวอนมิได้ ก็รับนิมนต์ไปอยู่วัดสำนักขุนเณร  ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงพ่อจึงตัดสินใจที่จะไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร แต่ก่อนท่านจะจากไป หลวงพ่อได้ไปยืนทำสมาธิ ที่ใต้ต้นไม้ทุกต้น ภายในบริเวณวัดวังตะกู เสมือนหนึ่งท่านจะอำลา เทพยดา ที่ต้นไม้เหล่านั้น เพราะท่านอยู่ที่นี้มาถึง ๓๐ พรรษา เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย



หลวงพ่อไม่เปียกฝน
      เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย ก็พากันมานิมนต์หลวงพ่อให้กลับไปจำพรรษา ที่วัดวังตะกู ตามเดิม ด้วยความเมตตา ท่านก็กลับไปอยู่วัดวังตะกูอีก ๑ สัปดาห์ แล้วท่านก็ขอตัวกลับมาอยู่ วัด สำนักขุนเณร แต่นั้นมา สมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์ประทุม สุนทรเกล้า เจ้าอาวาสวัดวังตะกูสมัยหนึ่ง ได้ไปกราบนมัสการหลวง พ่อเขียน ที่สำนักวัดขุนเณร ได้ขออนุญาตท่านหล่อรูป และสร้างเหรียญหลวงพ่อ โดยจะจัดพิธีพุทธาภิเษก ให้ประชาชนบูชา เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดวังตะกู หลวงพ่อก็อนุญาต ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น ทางคณะกรรมการได้นิมนต์ พระอาจารย์สำคัญๆ หลายรูปมาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นอันมาก ในขณะประกอบพิธีอยู่นั้น ทั้งๆ ที่ท้องฟ้าแจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ก็ปรากฏว่า... สายฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พระอาจารย์ต่างๆ ที่กำลังทำพิธีต้องหนีขึ้นกุฏิหมด เหลือแต่หลวงพ่อองค์เดียว กรรมการก็รีบเข้าไปนิมนต์ท่าน ขึ้นกุฏิหลบฝน แต่ท่านกลับบอกว่า ถ้าท่านลุกจากที่นี้อีกองค์หนึ่ง พิธีก็ เสียหมด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า “ฝนมันตกไม่นานหรอกน่อ เพียง ๕ นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ ฤกษ์ดีน่อ” บรรดากรรมการทั้งหลาย ได้ฟังหลวงพ่อบอกเช่นนั้น ก็คอยจับเวลาดู ครั้นได้เวลาครบ ๕ นาที ฝนก็หยุดตก ขาดเม็ดทันที ! ท่านอาจารย์ประทุมคิดว่า สายฝนกระหน่ำอย่างนี้ หลวงพ่อคงจะเปียกฝน โชกไปทั้งตัว จึงนำเอาผ้า ไตรไปถวายหลวงพ่อ เพื่อให้ครองใหม่แทนผืนเก่า แต่หลวงพ่อบอกว่า “ไม่ เปลี่ยนน่อ” ปรากฏว่า ผ้าไตรที่หลวงพ่อครองอยู่นั้น ไม่เปียกฝนแม้แต่น้อย และบริเวณที่ท่านนั่งอยู่ ไม่มีแม้แต่ละอองฝน ประดุจมีคนมากางกลดเฉพาะตัวท่านฉะนั้น ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ฝนตกแต่ในบริเวณวัดเท่า นั้น นอกเขตวัดออกไป ไม่มีฝนตกเลย แม้แต่เม็ดเดียว

หลวงพ่อถูกร้องเรียน
      เนื่องจากสัตว์ป่า ที่ชาวบ้านเขานำมาถวายหลวงพ่อ มีจำนวนมากขึ้นทุกที และสัตว์เหล่านั้นมักจะไป เหยียบย่ำพืชผลของชาวบ้าน ได้มีบุคคลบางคนเขียนบัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนไปยังนายอำเภอ บางมูลนาก ทางอำเภอจึงส่งเรื่องให้เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรพิจารณา ทางเจ้าคณะจังหวัด ได้รับหนังสือจากนายอำเภอแล้ว จึงได้ตั้งคณะกรรมการไปสอบสวนหลวงพ่อ เขียน ประกอบด้วยผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และมีปลัดอำเภอบางมูลนากร่วมด้วย ทาง คณะสงฆ์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ไปสอบสวนให้ได้ตัวเจ้าทุกข์ ว่าเป็นความจริงตามคำร้อง เรียนหรือไม่ และให้สอบถามชาวบ้าน หากจะปลดหลวงพ่อเขียน จากตำแหน่งเจ้าอาวาส แล้วให้ พระที่อาวุโสรองลงมาเป็นเจ้าอาวาสแทน จะขัดข้องหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการเดินทางไปถึงวัด ได้เรียกประชุมชาวบ้าน ในเบื้องต้น ปลัดอำเภอฯได้สอบถาม หลวงพ่อเขียนว่า “หลวงพ่อเลี้ยงสัตว์ และผสมพันธุ์ จนมีเป็นจำนวนมาก ใช่หรือไม่ ? ” หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาไม่ได้เลี้ยง ชาวบ้านเขาพากันนำมาถวาย ขัดศรัทธาไม่ได้ก็รับไว้น่อ ทั้ง อาตมาก็ไม่ได้ผสมมัน พวกมันผสมกันเองน่อ” จากนั้น คณะกรรมการได้สอบถามหาตัวเจ้าทุกข์ผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวออกมา ครั้นคณะกรรมการสอบถามชาวบ้าน ถึงเรื่องจะเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส ว่าเห็นสมควรให้พระอาวุโสองค์ใด เป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อเขียน ก็ไม่มีผู้ใดเสนอ เมื่อสอบถามต่อไปว่า ผู้ใดเห็นควรให้หลวงพ่อ เขียนเป็นเจ้าอาวาสต่อไป ปรากฏว่าชาวบ้านสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ในที่สุดคณะกรรมการก็เอาผิด หลวงพ่อเขียนไม่ได้ และจำต้องให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

สร้างโรงเรียน
      หลวงพ่อเขียน พร้อมด้วยกำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ได้ ช่วยกันก่อสร้าง ถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ณ วัดสำนักขุนเณร หลายอย่าง ดังนี้ ๑. กุฏิหอสวดมนต์ ๒. หอประชุมสงฆ์ ๓. สร้างสะพานข้ามคลอง เชื่อมวัดกับหมู่บ้าน ๔. สร้างพระประธาน ๑ องค์ ๕. สร้างศาลาหลังใหญ่ กว้าง ๑๒ วา ยาว ๑๕ วา ๖. สร้างพระอุโบสถ ๑ หลัง เนื่องจาก กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ ได้ยกที่ดินให้ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน หลวงพ่อเขียน ท่านได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มอบปัจจัยจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทแก่ทางราชการ เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนแห่งนี้ เมื่อโรงเรียนสร้างเสร็จ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดสำนักขุนเณร (หลวงพ่อเขียนอุทิศ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งคุณความดีของหลวงพ่อ โรงเรียนแห่งนี้ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้น ประถมปีที่ ๑ ถึง ประถมปีที่ ๗ (ปัจจุบันเหลือแค่ ประถม ปีที่๖) นับว่าหลวงพ่อได้ช่วยสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนของชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ด้วยเมตตา ธรรมของท่านเป็นอย่างยิ่ง การเจริญกรรมฐานของหลวงพ่อนั้น ท่านมักจะปฏิบัติในเวลาดึกสงัด ปราศจากสรรพสำเนียงรบกวน ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่มีผู้ใดทราบ ว่าหลวงพ่อใช้เวลาเจริญกรรมฐานตอนไหน เพราะในยามค่ำคืน จะมีแสงไฟสลัวๆ ในกุฏิของหลวงพ่อเสมอๆ และมักจะดับเอาตอนรุ่งสางแล้ว ตามปกติในเวลากลางวัน ท่านก็ต้องออกมานั่งปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ชาวบ้าน ที่พากันหลั่งไหลมา นมัสการไม่ขาดสาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นประจำ

ท่านถึงแก่การมรณภาพ
 แม้กระทั่ง เมื่อสังขารของท่าน ทรุดโทรมมาก แล้วก็มิได้เว้น หลวงพ่อเขียน มีโรคประจำตัวท่านอยู่โรคหนึ่ง นั่นก็คือ โรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานท่านเป็นอย่าง มาก เมื่อเวลาโรคกำเริบ แต่หลวงพ่อจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา เพราะท่านระงับด้วยขันติธรรม ต่อมา เมื่อท่านชราภาพมากขึ้นทุกขณะ ท่านฉันภัตตาหารไม่ค่อยจะได้ ทำให้เรี่ยวแรงหมดไปทุกที คณะกรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษา ที่สถานพยาบาลในตลาดบางมูลนาก แต่ เนื่องจากความชรา และโรคกำเริบ สุดความสามารถของแพทย์จะรักษาท่านได้ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ด้วยอาการสงบ ในคืนวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เวลา ๒๓.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๑๐๘ ปี

หนีไม่พ้น
       หลวงพ่อเขียนท่านศักดิ์สิทธิ์ แม้เมื่อท่าน มรณภาพไปแล้ว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ได้มีคนร้าย ไม่ทราบจำนวนนำรถยนต์มาขน พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ที่หลวงพ่อเขียนได้หล่อไว้ ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดวังตะกู ประมาณ ๔๐ กว่าปี มาแล้ว ต่อมา พระอุโบสถพัง ทางวัดจึงย้ายไปประดิษฐานไว้ ในพระวิหารวัดวังตะกู พร้อมด้วยพระ ประธาน และรูปหล่อของหลวงพ่อ คนร้ายจำนวนดังกล่าว ได้ลอบไขกุญแจเข้าไปหามเอาพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ออกมาได้แล้ว แต่ยังไม่พ้นเขตวัด คนร้ายอีกจำนวนหนึ่ง เตรียมติดเครื่อง ยนต์คอยอยู่นอกวัด แต่กลุ่มที่อยู่ในวัด หาทางออกนอกวัดไม่ได้ รถที่อยู่นอกวัดก็เกิดขัดข้อง แก้ไข เท่าใดก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ คนร้ายที่ช่วยกันหามพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงจำเป็น ต้องนำพระทั้งสององค์ไปซุ่มไว้ ข้างที่บรรจุอัฐิ นายมานพ จันทร์พวง เหล่าคนร้ายทั้งหมด ได้กลับมา ที่รถ และ ช่วยกันแก้ไขรถ อยู่นานหลายชั่วโมง จนฟ้าเริ่มสาง เป็นเวลาที่ชาวบ้านจำนวนมาก มาตักน้ำในสระของวัด พอชาวบ้านมากันมากเข้า รถก็ติดพอดี คนร้ายไม่กล้าวกกลับไปขนเอาพระที่ซ่อน ไว้ จึงจำต้องขับรถหนีไป เมื่อคนร้ายไปแล้ว ชาวบ้านเห็นประตูวิหารเปิดอยู่ และไม่เห็นพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงนำ ความไปแจ้งแก่เจ้าอาวาส และช่วยกันหาอยู่นานก็ไม่พบ ในที่สุดเจ้าอาวาสวัดวังตะกู ได้จุดธูปเทียน บอกกล่าวแก่หลวงพ่อเขียน จึงได้พบพระ ถูกซ่อนไว้ในที่บรรจุอัฐิ... อำนาจจิตอันมหัศจรรย์ของหลวงพ่อเขียน ยังมีอีกมากมาย และเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันไป ควบคู่ กับคุณงามความดีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านบางมูลนาก จนตราบเท่าทุกวันนี้ 


 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.luangporthob.com/forum/index.php?topic=437.0

116
ขอแสดงความเสียใจกับท่านดอนด้วยนะครับ

117


พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์
สวัสดีครับ...เราขอนำท่านมาเที่ยวชมและสักการะ พระพุทธรูปแกะ
สลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ เราจะนำเรื่องราวและประวัติของสถานที่แห่งนี้มาให้ชมกัน
เขาชีจรรย์เริ่มมีการกล่าวขานมากขึ้น เมื่อได้มีการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉาย
ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 น้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาส
ทรงครองสิริราชสมบัติปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระพุทธรูปแบบ
ประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ความสูง 109 เมตร
 

 
ประวัติการสร้าง
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมี
ความสูง 248 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหิน
ฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอา
วาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่อ
อยู่คู่กับเขาชีโอนซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถาน
สำคัญทางพระพุทธศาสนาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดย
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปาง
มารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความ
สูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า " พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา " มีความหมายว่า " พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ "

ขั้นตอนการสร้าง
 การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้าง
พระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ และส่วนที่สองคือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา
เขาชีจรรย์ การก่อสร้างสถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชน
ที่เหมาะสมในการก่อสร้างซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์
ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นาย กนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ
และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ 2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นของ
องค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะ
ที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์
เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อ
การมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสง
เลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็
ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่
31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร
และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป 


ก่อนการก่อสร้าง


ระเบิดหิน


ทรงคุมงานก่อสร้าง


ยิงแสงเลเซอร์


ทรงบรรจุพระบรมธาตุ


ส่งขึ้นไปที่พระอุระ


ตำแหน่งพระอุระ
 

พระเนตรพระพุทธรูป
 

นำพระเนตรมาติดตั้ง


ทำพิธีเปิด

คำแนะนำการเที่ยวชม
การเยี่ยมชมสามารถเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น. การเยี่ยมชมควรแต่งกายด้วยความสุภาพ และปฎิบัติตาม
ป้ายเตือนอย่างเคร่งครัด และงดเสียงดัง และควรระวังไม่เข้าใกล้องค์พระเกินกว่าที่กำหนดเพราะอาจเกิดอันตรายจากหินที่อาจล่วงหล่นลงมาได้ สถานที่แห่งนี้จะอยู่
ใกล้กับ อเนกกุศลศาลา และวัดญาณสังวราราม ซึ่งสามารถเดินทางระหว่างสถานที่ได้อย่างสะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ แห่งนี้มี
ผู้เข้ามาเยี่ยมชมและแวะมาสักการะทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งเราควรช่วยกันดูแลรักษาให้อยู่สืบไป และการเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ เรือเอก สัมพันธ์ เสียงสืบชาติ ผู้ที่ให้ข้อมูลและภาพถ่ายในครั้งนี้ให้เรานำมาเผยแพร่ให้ได้รับชมกัน และหากท่านใดต้องการติดต่อเข้ามาเยี่ยมชมเป็น
พิเศษหรือต้องการใช้พื้นที่ในการนั่งกรรมฐานหรือประกอบกิจกรรมทางศาสนาซึ่งทางผู้ดูแลจะคอยอำนวยความสะดวกแก่ท่านในการใช้สถานที่ ก็ให้ติดต่อมาที่
คณะทำงานดูแลบำรุงรักษาพระพุทธมหาวิชรอุตตโมภาสศาสดา ฯ
หมู่ที่ 7 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20250


หมู่คณะมาทัศนศึกษา





ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูลและภาพ...
จาก...http://www.sattahipbeach.com/sheettoursattahippage13.html

118
ธรรมะ / คำสอน...ของพระอริยะ
« เมื่อ: 12 ก.ค. 2553, 12:20:47 »



     






credit : เว็บพลังจิต

119


พระครูสิทธิยาภิรัตน์ มีนามเดิมว่า เอียด ทองโอ่ เกิดที่บ้านดอนนูด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2425 เป็นบุตรของนายรอด นางพัด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแก้ว เริ่มการศึกษาหลังจากบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว โดยมารดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ร่ำเรียนจนรู้หนังสือขอมไทย เมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ มีพระอาจารย์ทองเฒ่า เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปทุมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ต่อมาทางวัดดอนศาลา ว่างเจ้าอาวาสลง คณะพุทธบริษัทของวัดดอนศาลา ได้พร้อมในกันนิมนต์อาจารย์เอียดมาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับในปี 2473 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี 2480 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสิทธิยาภิรัตน์ แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกท่านว่า " พ่อท่านเอียด " หรือ " พ่อท่านดอนศาลา " บางทีก็เรียกว่า " พระครูสิทธิ์ "

     พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค ใครมีความทุกข์ร้อนไปหาท่าน ถ้าท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที เป็นคนที่เคารพในเหตุผล จึงต้องเป็นตุลาการให้คนในหมู่บ้านอยู่เสมอ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้นำชาวบ้านดอนศาลาและบริเวณใกล้เคียงพัฒนาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัด และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรให้โรงเรียนวัดดอนศาลาเป็นผลสำเร็จ ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมาจนทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นผู้นำในการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ตัดถนนจากวัดเชื่อต่อกับถนนสายควนขนุน-ปากคลอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อกับตัวอำเภอได้สะดวกยิ่งขึ้น

     เมื่อ พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจีน ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบในสงครามครั้งนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารอาสาสมัคร และพลเรือนในยามสงคราม พระครูสิทธิยาภิรัตน์ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น พระเครื่อง ลูกอม ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ผ้ารองหมวก ตะกรุด ปลอกแขน โดยทำพิธีปลุกเสกที่วัดเขาอ้อ วัตถุมงคลเหล่านี้ได้แจกจ่ายให้แก่ ทหารอาสาสมัคร พลเรือน พระเครื่องที่สำคัญที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ พระมหายันต์ และพระมหาว่าน ขาว-ดำ การสร้างเครื่องรางของขลังในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสนองคุณแก่ประเทศชาติ เยี่ยงพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เคยช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมาแล้วในอดีต

     พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นพระเถระที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นอันมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 รวมอายุได้ 66 ปี





ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ " วัดดอนศาลา " โดย ธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น จำเริญ เขมานุวงศ์ พ.ศ.2532

120


ประวัติ

พ่อท่านสังข์ เดิมชื่อสังข์ ซ้ายคล้าย เป็นชาว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เกิดที่บ้านดอนตรอ ในรัชกาลที่ 5 ที่บ้านประดู่โพรง
เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เดือน กันยายน 2449 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม บิดาชื่อ คล้าย ซ้ายคล้าย มารดาชื่อ พูน ซ้ายคล้าย

บรรพชาเป็นสามเณรเมือ่อายุ 15 ปี เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบท ได้รับฉายาว่า "เรวโต" มีพรรษารวม 78 พรรษา
มรณภาพลงเมื่อ อายุ 98 ปี เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2547 โดยแพทย์ระบุว่าเส้นเลือดในสมองแตก ที่โรงพยาบาลมหาราช จ.นครศรีธรรมราช 

พ่อท่านสังข์เป็นพระอริยสงฆ์แดนใต้ สุดยอดเกจิแห่งดินแดนเชียรใหญ่ ที่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ   ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่พระครูเรวัตรศิลคุณ กิตติคุณของท่านก็เป็นที่กล่าวขวัญกันทางภาคใต้มานานนับเป็นหลายสิบปี  นอกจากนี้พ่อท่านสังข์ยังได้เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งสำคัญของภาคใต้หลายพิธีด้วยกัน เช่น จตุคามปี30   และยังเป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ร่วมปลุกเสกเหรียญพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง รุ่น 2 ซึ่งนอกจากจะเป็นเหรียญตายแล้ว ก็ยังเป็นเหรียญย้อน พ.ศ. อีกด้วย แต่กลับมีราคาเล่นหาอยู่หลักหมื่น ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากมีประสบการณ์สูงมาก เป็นพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องจากพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ว่ามีวิทยาคมสูงเป็นเลิศ




                              พ่อท่านสังข์ออกเหรียญรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของท่าน เมื่อ พ.ศ. 2514 ท่านปลุกเสกอยู่เป็นเวลานานถึงนำออกแจก ตอนเหรียญออกใหม่ๆไม่นานนัก มีชาวบ้านนำไปทดลองยิงปรากฏว่ากระสุนด้าน แต่พ่อนำลูกปืนลูกนั้นมายิงอีกครั้งโดยหันปากกระบอกปืนไปทางด้านอื่น ปรากฏว่ากระสุนระเบิดยิงออกทุกนัด พอข่าวแพร่ออกไปจึงมีชาวบ้านมาขอเหรียญกันมาก จนทำให้เหรียญหมดจากวัดไปในเวลาเพียงไม่กี่เดือน เป็นเหรียญประสบการณ์ สั่งสมเรื่องราว คำบอกกล่าว จากปากต่อปาก

เหรียญของท่านเป็นเหรียญที่มาในแรงก็ด้วยประสบการณ์ที่ชัดเจน จึงทำให้มีการเสาะหากันมากมาจนทุกวันนี้โดยเฉพาะพื้นที่แล้วสู้กันสุดๆ ด้านราคาก็อยู่ที่หลักพันปลายๆถึงหมื่นสวยจริงก็หมื่นกว่าตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ครั้นพอท่านมรณภาพไปแล้วก็ยิ่งมีคนเสาะหากันมากขึ้นไปอีก จึงทำให้ค่านิยมของเหรียญขณะนี้พุ่งขึ้นสู่หลักหมื่นกลางๆ แต่ก็ยังหาคนปล่อยยากครับ พ่อท่านสังข์นอกจากจะมีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของคนภาคใต้แล้ว ท่านยังมีอายุยืนยาวเฉียดๆ ร้อยปีเลยทีเดียวโดยวันที่ท่านมรณะภาพที่นครศรีฯไฟดับโดยไม่มีสาเหตุ และเป็นเกจิอีกรูปหนึ่งที่เผาไม่กินไฟเช่นเดียวกับเกจิก่อนหน้านี้ คือ พ่อท่านเขียว และพ่อท่านมุ่ย แถมสังขารท่านไม่เน่าเปื่อยครับ เหมือนพ่อท่านเขียว วัดหรงบล ซึ่งท่านทั้ง2 อยู่จ.นครศรีธรรมราชเช่นเดียวกัน          วัตถุมงคลที่ท่านสร้างนั้นมีประสบการณ์เข้มขลังมากด้านคุ้มครองแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน   คนในพื้นทื่รู้กันดีเพราะ ท่านเป็นเกจิที่ปฏิบัติดี มาตลอด คนเมืองคอนเคยบอกไว้ว่ายิ่งถ้าเป็นพระของท่าน ศักดิ์สิทธิ์ขนาดอธิษฐานให้ตัดรุ้งขาดได้เลยครับ




ขอขอบคุณที่มา...http://www.kreungrarngclub.com/forum/index.php?topic=587.0

121


ประวัติ

พระธรรมิสรานุวัตร หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก

ชาติภูมิ
กล่าวกันว่าหลวงพ่อแดง นามเดิมชื่อ แดง นามสกุล ต่างศรี นามฉายาอิสสโร
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่15 ตุลาคม 2430 ตรงกับขึ้น1ค่ำ เดือน1(อ้าย) ปีชวด ณ บ้านเหลียงเล้า
ตำบลน้ำดำ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ นามบิดา นายบุญช่วย นามมารดา นางพุ่ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6คน

ชีวประวัติของท่าน
เมื่อยามเยาว์วัย เด็กชายแดงได้ย้ายตามครอบครัวของบิดามารดา มาสู่บ้านโคกมัน ตำบลท่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเด็กเงียบขรึม แต่มีนิสัยช่างทำแม้ทำงานหนักบางสิ่งก็ไม่ปรกปากบ่น แต่ไม่ยอมคนง่ายๆตามนิสัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นท่านได้ออกจากบ้านเพื่อแสงหาโชคความก้าวหน้าในชีวิต ท่านได้เข้าทำงานเป็นที่ ชะมายเป็นผู้ดูแลสร้างทางรถไฟอยู่ประมาณปีกว่าๆ เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (หลวงพ่อแดง)จึงได้เข้าไปอยู่วัดหาดสูง

ยามบวชเรียน
หลวงพ่อแดง บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธ ที่ 16 กันยายน พ.ศ.2446 ตรงกับ แรม 10 ค่ำ เดือน10 ปีเถาะ อายุ16ปี ณ วัดหาดสูง ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช มีพระอธิการกลาย (หลวงปู่กลาย)เป็นพระอุปัชฌาย์ ชีวิตการศึกษา ท่านเล่าว่า เริ่มต้นตั้งแต่โสตนอโม อันเป็นอักษรโบราณทั้งภาษาขอม ไทย และบาลีเขียนกันที่กระดานชนวน ลบไปเขียนไป จนเข้าใจ ท่านได้เล่าเรียนคาถาพุทธาคม (ไสยศาสตร์ เลข ยันต์ตลอดถึงหมอโบราณ)จนมีความชำนิชำนาญ ท่านมีความสามารถในด้านความจำดีเยี่ยม (นี้เป็นคำพูดของหลวงพ่อท่านคล้ายได้เล่าให้ผู้เขียนฟัง ครั้งไปกราบท่านที่วัดพระธาตุน้อย ในครั้งหนึ่ง) ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่นานถึง 3ปีกว่า จน(หลวงพ่อแดง)มีอายุพรรษาครบอุปสมบทได้

อุปสมบท
สามเณรแดงได้อุปสมบทเมื่อ วันพุธ ที่20 สิงหาคม พ.ศ.2450 ขึ้น 11ค่ำ เดือน 7ปีมะแม ณ วัดหาดสูง โดยมีพระอธิการกลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอะการสังข์ วัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ชีวิตเป็นสมณะ เมื่ออุปสมบท แล้ว พระแดง อิสสโร(หลวงพ่อแดง) ก็ได้จำพรรษาที่วัดหาดสูง 1พรรษา
พ.ศ.2452 ออกจากวัดหาดสูงได้ไปจำพรรษษที่วัดท่ายาง
พ.ศ.2453 เดินทางไปอยู่ที่วัดอรัญคามวาสี (วัดกะชุม) ต.พ่วงพรหมคร อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านอยู่ที่นี่จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตำแหน่งฐานานุกรม ที่พระใบฎีกาแดง อิสสโร เป็นเวลานานถึง 29พรรษา

   (หลวงพ่อแดง)ท่านได้ปฏิบัติภารกิจทั้งงานปกครอง งานการศึกษา และงานด้านสาธารณูปการ ได้อบรมกุลบุตรกุลธิดา ให้ตั้งอยู่ในคุณงามความดี ให้มีการเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ได้อุปการะและส่งไปเล่าเรียนในสำนักต่างๆ ด้านการก่อสร้างท่านได้ สร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ ที่วัดกระชุมจนเป็นวัดโดยสมบูรณ์ทุกประการ พ.ศ.2480 หลวงพ่อแดงท่านจึงเดินทางทางกลับมารักษาการเจ้าอาวสาวัดภูเขาหลัก แทนพระครูนนทสิกกิจ ที่ได้มรณภาพลง

งานปกครอง
พ.ศ. 2480 รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2483 เป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2490 หลวงพ่อแดง เป็นเจ้าคณะตำบลทุ่งสัง
พ.ศ. 2491 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2491 เป็นเจ้าคณะกิ่งอำเภอท่ายาง
พ.ศ. 2500 เป็นเจ้าคณะอำเภอทุ่งใหญ่

งานศึกษา
พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2495 เป็นกรรมการและผู้อุปการะโรงเรียนวัดภูเขาหลัก
พ.ศ. 2480-2515 หลวงพ่อแดงท่านจัดการศึกษาแผนกธรรม ให้พระภิกษุสามเณร เรียนธรรมศึกษาทั้งแม่ชีและฆารวาส จนได้ชั้น ตรี โท เอก นศ. ตรี โท เอก มีจำนวนดังนี้ พระภิกษุ 1059รูป สามเณร 350รูป ธรรมศึกษา 140 รูป

งานเผยแพร่พระศาสนา
พ.ศ.2480 -พ.ศ.2515 หลวงพ่อแดงท่านได้อบรมพระภิกษุและสามเณรแนะนำการศึกษา ให้มีสมณะสัญญา รู้จักการปฏิบัติ เป็นอยู่ตามกฏระเบียบพระวินัย อบรมศีลธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกา

งานสาธารณูปการ
ตั้งแต่"หลวงพ่อแดง"ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาหลัก ได้จัดสร้างศาลาโรงธรรม กุฏิ หอสวดมนต์ และท้ายสุดในปลายชีวิตของท่านได้ก่อสร้างอุโบสถ และท่านยังเป็นประธานในการสร้างวัดต่างๆ ใว้หลายแห่งเช่น วัดควนสระบัว สร้างโรงเรียนวัดควนสระบัวให้ 1หลัง วัดธรรมิการาม ที่บ้านวังหิน เป็นต้น

สมณศักดิ์ "พระครูธรรมิสรานุวัตร"
พ.ศ.2485 ได้รับฐานานุกรม ที่ พระปลัดแดง ของพระครูถาวรบุญรัตน์
พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในราชทินนามว่า "พระครูธรรมิสรานุวัตร"
พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในราชทินนามเดิมว่า "พระครูธรรมิสรานุวัตร"

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก รุ่นแรก สร้างที่ วัดมกุฏิฯ เมื่อปี 2502 จำนวน 4,000 เหรียญ แล้วนำมาปลุกเสกที่วัดภูเขาหลัก พิธีใหญ่มาก มีท่านเขิม ซึ่งบวชที่วัดใหม่ ในตอนนั้น เป็นผู้ตะเตรียมงานพิธี หลวงพ่อแดง พ่อท่านคล้าย และอีกหลายท่าน จำไม่ค่ายได้แล้ว ร่วมกันปลุกเสกในโบสถ์ พอปลุกเสกเสร็จ ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก พ่อท่านแดงเก็บไว้ที่วัด เอาไว้แจกชาวบ้านที่มาทำบุญ และแจกคนผ่านไปผ่านมา จำนวน 2,000 เหรียญ และมีจำนวนหนึ่งที่หลวงพ่อแดง ได้ตัดหูเหรียญเองเพื่อเข้ากรอบ(หลวงพ่อแดง ตัดด้วยตัวเอง) .... อีกส่วนผู้ใหญ่ส้าน คนบ้านส้อง แบ่งไปแจกจ่ายให้กับวัดต่าง ๆ จำนวน 2,000 เหรียญ และในปี2502 ได้ปลุกเสกเนื้อว่านกัน โดยเนื้อว่านหลวงพ่อแดง จัดทำไว้เสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปี 2501 แต่เอามาร่วมปลุกเสกในปี 2502" แล้วต่อมาในปี2504 ก็ได้จัดสร้างอีก 2,000 เหรียญ

รูปหล่อหลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก รุ่นแรก สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 จำนวนการสร้าง 8,000 องค์ สร้างที่ข้างวัดคอกหมู ที่กรุงเทพ แล้วนำกลับมาปลุกเสกที่วัดภูเขาหลัก ซึ่งข้างในที่เป็นกริ่งดัง ถ้าใครบอกว่าเป็นเหล็กไหล อย่าไปเชื่อ เพราะฉานจำได้ ฉานเป็นคนนำไปทำเองกับมือเลย กริ่งนั้นทำจากตะปูตัวเล็ก เพราะเหล็กสมัยก่อนจะเป็นเหล็กดี เหล็กกล้า กริ่งเลยดังดี ไม่ใช่ดังดีเพราะเป็นเหล็กไหล อย่าไปเชื่อ" หลวงพ่อผดุงยืนยัน




หลวงพ่อผดุง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแดง


ซุ้มประตูทางเข้าวัดภูเขาหลัก



พระเจดีย์เก่าแก่ประจำวัด ศิลปะศรีวิชัย


รูปเหมือน"หลวงพ่อแดง ที่วัดภูเขาหลัก"


หลวงพ่อแดง ปกครองวัดตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2481 - 2515



ขอขอบพระคุณ
การจัดทำประวัติพระธรรมิสรานุวัตร หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก โดย...พระครูอดุลธรรมาภรณ์

122


พระอาจารย์นำ ชินวโร เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเก้า (สิงหาคม) พ.ศ.2434 ที่บ้านดอนนูด ตำบลปันแต (บ้านดอนนูดมีอาณาเขาติดต่อกับ 3 ตำบล คือ ตำบลปันแต ตำบลควนขนุน ตำบลมะกอกเหนือ) เป็นบุตรของนายเกลี้ยง นางเอียด แก้วจันทร์ มารดาได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ (หลังจากคลอดบุตรหญิงคนสุดท้อง) บิดาเป็นอาจารย์ที่เก่งกล้าทางไสยศาสตร์ ดังนั้นพระอาจารย์นำ จึงได้มีโอกาสศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์เบื้องต้นแต่เยาว์วัย นอกจากนั้น บิดายังได้นำไปฝากให้ศึกษาวิชาเวทมนตร์คาถากับพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากสมัยนั้น จนอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 6 พรรษา จึงลาสิกขา แล้วได้สมรสกับนางสาวพุ่ม มีบุตรชาย หญิง ด้วยกัน 4 คน
     จนกระทั่ง พ.ศ.2506 พระอาจารย์นำ ได้ป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ได้มีลูกศิษย์ของท่านประทับทรางหลวงพ่อที่วัดเขาอ้อ (บ้างก็ว่าท่านฝันเห็นพระอาจารย์ทองเฒ่า) บอกว่าหากจะให้หายป่วยจะต้องบวช ซึ่งท่านก็รับว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชทันที ปรากฏว่าอาการป่วยของท่านก็หายเป็นปกติ ดังนั้นพระอาจารย์นำจึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และได้อยู่ในเพศบรรพชิตตลอดมาจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2519 รวมอายุได้ 85 ปี ต่อมาในปี 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2520



พระอาจารย์นำ ชินวโร ได้ทำคุณประโยชน์หลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่

     1.การช่วยเหลือราชการปราบปรามโจรผู้ร้าย
     ในสมัยที่พระอาจารย์นำ ยังเป็นฆราวาส พ.ศ.2466 ทางมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ส่งพระยาวิชัยประชาบาล ผู้บังคับการตำรวจมณฑลนครศรีธรรมราช ไปปราบโจรผู้ร้ายในจังหวัดพัทลุง ไปตั้งกองปราบที่วัดสุวรรณวิชัย ปรากฏว่าพระอาจารย์นำ ได้เป็นกำลังสำคัญในการนำสืบจับโจรผู้ร้าย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามครั้งนั้นมาก จนสามารถปราบปรามโจรผู้ร้ายได้สงบราบคาบ
    2.การสร้างวัตถุมงคล
     พระอาจารย์นำ ได้สร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก ทั้งที่สร้างด้วยตัวท่านเองและสร้างร่วมกับคณาจารย์ผู้อื่นเช่น พ.ศ.2483 ร่วมมือกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ (เอียด) สร้างพระมหาว่าน ขาว-ดำ และพระมหายันต์ แจกให้ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน พ.ศ.2512 ได้สร้างพระเนื้อผงผสมว่าน จำนวน 4 พิมพ์ พ.ศ.2513 สร้างพระปิดตาเนื้อชิน ตะกั่ว พ.ศ.2519 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณะพันธุ์ยุคล ได้สร้างเหรียญรูปเหมือนพระอาจารย์นำ และพระกริ่งทักษิณ ชินวโร ซึ่งเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายของท่าน นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างตะกรุดและผ้ายันต์ไว้มากมาย วัตถุมงคลเหล่านี้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของประชาชนทั่วไป ในวงการพระเครื่องแสวงหากันมาก จนปัจจุบันกลายเป็นวัตถุมงคลที่หาได้ยากยิ่งอย่างหนึ่ง



    3.การสร้างอุโบสถ
     ท่านได้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อยในปี 2519 ซึ่งเป็นปีที่ท่านถึงแก่มรณภาพ พระอาจารย์นำ เป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา มีอุเบกขา ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่พบเห็น ท่านได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อสังคมโดยส่วนรวมมากมาย และยังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ปัจจุบัน ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อพระอาจารย์นำยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จและทรงเยี่ยมอาการป่วยของท่าน โปรดประทับอยู่ในกุฏินานถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์นำเป็นอย่างยิ่ง





อ้างอิง : หนังสือ " วัดดอนศาลา " โดย ธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น จำเริญ เขมานุวงศ์ พ.ศ.2532

ขอขอบพระคุณที่มา...http://prakrueng.muanglung.com/gajinum.htm


123
สวยงามมากมายครับท่านใหญ่

ชอบหมดทุกองค์เลย... :016:

125
ภาพถ่ายมุมต่างๆ...บรรยากาศของวัดถ้ำเสือ...สวยงามมากมายครับ

ดูแล้วเหมือนกับได้ไปอยู่ในสถานที่นี้จริงๆ...

ขอบพระคุณครับ...ที่นำเสนอภาพ...มาให้ชม :016:

126


ประวัติ


พระครูวิบูลย์ธรรมกิจ สถานะเดิม ชื่อบัวเกตุ นามสกุล กิจสุภาพศิริกุล เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๗ บิดาชื่อนายตงหริ่น แซ่สิ มารดาชื่อ เปีย แสงศรี เกิด ณ บ้านสวน ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี บรรพชาอุปสมบท ณ วัดช่องลม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อวันจันทร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะมเย ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เวลา๑๑.๐๕ น. โดยมีพระเทพกวี (จั่น วิจญฺจโล) ท่านเป็นพระที่ประพฤติปฏิบัติเคร่งครัด ตามหลักพระธรรมวินัย ไม่ยอมก้าวล่วงแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เป็นพระสงฆ์ที่กราบไหว้ได้สนิทใจ ท่านพระอาจารย์บัวเกตุ หรือพระครูวิบูลธรรมกิจ ท่านเป็นพระสายวัดเทพศิรินทราวาส และเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฎิบัติชอบ ตามรอยท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ) ซึ่งเป็นพระบูรพาจารย์ของท่าน ซึ่งประชาชนในภาคตะวันออก และทางภาคเหนือ เคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก บรรดาศิษยานุศิษย์ที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้สร้างวัตถุมงคลต่าง ๆ หลายอย่างให้ท่านได้อธิฐานจิตปลุกเสกเพื่อ แจกจ่ายให้บรรดาศิษยานุศิษย์ทั่วไป

พระเครื่องของหลวงพ่อ...บางส่วน

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อบัวเกตุ ปทุมสิโร วัดช่องลม นาเกลือ บางละมุง ชลบุรี








ขอขอบคุณที่มา...http://www.csn-advance.com/chon/index.php?c=showitem&item=907
                   ...http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=361105&storeNo=4280

127


วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์
พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร



วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ๒๐๒๖๐

   สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๑๙ นายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินจำนวน ๑๐๐ ไร่ ๑ งาน ๙๒ ตารางวา แด่ สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ปัจจุบันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน) เพื่อสร้างวัดในพระพุทธศาสนา และปรารถนาให้มีนามตามทินนามสมณศักดิ์ของสมเด็จฯ วัดนี้จึงมีชื่อว่า "วัดญาณสังวราราม"

   ในระยะแรกวัดนี้มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ และได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ และรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรเมนทรมหาภูมิพลมหาราช ทรงพระมหากรุณารับไว้เป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดญาณสังวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ปัจจุบันอาณาเขตของวัดมีพื้นที่ ๓๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑๑ ตารางวา นอกจากนี้ยังมีเนื้อที่ในเขตโครงการพระราชดำริประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่เศษที่ติดต่อกับอาณาเขตวัด

   เนื่องจากบริเวณพื้นที่สร้างวัดเป็นที่ราบเชิงเขาห่างจากถนนสุขุมวิทช่วงระหว่างบางละมุง-สัตหีบ โดยแยกเข้ามาจากถนนทางหลวงประมาณ ๕ กิโลเมตร ทางการจึงได้ทำการตัดถนนเข้ามาจนถึงวัดทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น จึงได้มีการก่อสร้างปูชนียวัตถุสถานขึ้นตามลำดับ เช่น พระอุโบสถ, พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์, พระมหามณฑป พระพุทธบาท ภปร. สก., ศาลาอเนกกุศลขนาดใหญ่สองหลัง สว.กว. (ศรีสังวาลย์กัลยาณิวัฒนา) และ มวก.สธ. (มหาวชิราลงกรณ์ สิรินธร)

   วัดญาณสังวรารามอาจถือเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากคณะผู้สร้างวัดได้พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

   วัดนี้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระกรุณานานัปการจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้ทรงอุปถัมภ์ในการก่อสร้างตลอดมา และทรงรับเป็นวัดในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นวัดในพระองค์อีกด้วย














วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี



ขอขอบคุณที่มา... http://www.dhammathai.org/watthai/east/watyanasangwararam.php
                   ...http://www.relicsofbuddha.com/page10-3.htm

128


พระมงคลศีลาจารย์ หรือหลวงปู่คร่ำ ยโสธโร

ชาววังหว้าและหมู่บ้านใกล้เคียงเรียกนามท่านว่า”ท่านพ่อคร่ำ”ท่านมีอายุ๑๐๐ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
ี่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา๘๐นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทย
รูปหนึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วประเทศ
หลวงปู่คร่ำเป็นพระภิกษุที่มีบุญญาบารมีเป็นที่ปรากฏแก่ประชาชนมาเป็นเวลานานแล้ว
ท่านมีคุณูปการแก่สังคมหลายวงการอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายศาสนจักรและ
อาณาจักรทั้งในจังหวัดระยองและจังหวัดอื่นๆและเป็นปูชนียบุคคลที่ได้รับการเคารพและ
คารวะศรัทธาเป็นอย่างสูงจากชาวพุทธทั่วประเทศ
เห็นได้จากงานพุทธาภิเษกที่สำคัญที่จัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้านเมือง หลวงปู่จะได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีเกือบทุกครั้ง

เนื่องจากมีผู้ให้ความเคารพศรัทธาหลวงปู่คร่ำจำนวนมากต่างพากันยึดหลวงปู่เป็นสรณะในยามที่ต้องเผชิญกับภาวะ
คับขัน ทั้งยังขอพรบารมีจากท่านช่วยบันดาลใช้ประสบโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
มีความสุขสมหวังในชีวิตจึงมีผู้ให้สมญานามท่านว่า”เทพเจ้าของชาวระยอง”บ้าง”ท่านพ่อแห่งฝั่งทะเลตะวันออก”
บ้าง”เทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก”ฯลฯรวมความว่าหลวงปู่คร่ำเป็นพระที่อยู่ในใจของทุกคน

กำเนิดหลวงปู่คร่ำมีนามเดิมว่า คร่ำ อรัญวงศ์ ท่านเกิด วันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา
ตรงกับวันที่๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านวังหว้า ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โยมบิดาชื่อ
นายครวญ อรัญวงศ์ โยมมารดาชื่อ นางต้อย อรัญวงศ์
หลวงปู่เป็นบุตรคนโต มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน๓คนเป็นชายสองหญิงหนึ่งคือ
๑. นางเลื่อม อรัญวงศ์
๒. นายเกิด อรัญวงศ์
๓. นายทองสุข อรัญวงศ์

ต้นตระกุลของหลวงปู่
ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามาช้านานหลายชั่วอายุคนมีญาติพี่น้องมากมายหลายสาย
หลายตระกุลครอบครัวของท่านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในย่านนั้น เฉพาะอย่างยิ่ง
อาชีพทำสวนพริกไทย ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อของอำเภอแกลงในสมัยนั้นเช่นเดียวกับจังหวัดจันทบุรี
ที่มีเขตแดนติดกัน(เดิมอำเภอแกลงขึ้นอยู่กับจันทบุรี)

เล่ากันว่าเมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๕ ปี หลังจากไปเรียนหนังสือที่วัดระยะหนึ่งแล้ว
ก็กลับมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพสวนพริกไทย ดังที่บรรพบุรุษทำกันมา แต่ครั้งนั้นได้เกิดฝนแล้งไปทั่ว
บรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้นทั้งหมดได้พากันเหี่ยวแห้งเฉาตายชาวบ้านแถบหมดตัวไปตามๆกันทุกครัวเรือนครอบครัว
หลวงปู่คร่ำจึงได้เลิกทำสวนพริกไทยและหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นมา
การศึกษา เมื่อเยาว์วัย หลวงปู่คร่ำเป็นเด็กฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณดี
เมื่ออายุได้ประมาณ๑๑ปีโยมบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ตรีเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ตำบลวังหว้า
ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน โดยจัดพานดอกไม้ธูปเทียน

เครื่องสักการะนำไปถวายในวันพฤหัสบดี(วันครู)ตามประเพณีการเล่าเรียนและการบวชเรียนของสังคมไทยเราแต่โบราณมา
ในสมัยนั้นต้องเรียนกันตามวัด อาศัยวัดเป็นโรงเรียน มีพระเป็นครูสอน
การเรียนไม่มีหลักสูตรกำหนดไว้ชัดเจนเช่นปัจจุบันแต่พระก็สอนจนลูกศิษย์สามารถอ่านออกและเขียนได้เป็นอย่าง
ดีทั้งอักษรไทยและอักษรขอมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากตำราต่างๆสมัยก่อนเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์ทาง
พุทธศาสนาจะเขียนด้วยอักศรขอมทั้งสิ้น ไม่มีหนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยเช่นทุกวันนี้
ผู้ที่เรียนหนังสือจะต้องเรียนภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาขอมด้วยเสมอ

การเรียนของหลวงปู่คร่ำนั้นมิได้เรียนเฉพาะที่วัดวังหว้าเท่านั้นท่านยังไปเรียนต่อกับสมภาร
หลำ ที่วัดพลงช้างเผือก ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลวังหว้าอีกด้วยเรียนอยู่จนอายุได้๑๕ปี
มีความรู้หนังสือดีแล้วจึงได้กลับไปอยู่กับบิดามารดาตามเดิม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพต่อไป
สมณเพศ เมื่ออายุครบ๒๐ปีหลวงปู่ได้อุปสมบทที่วัดวังหว้าเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง
ตรงกับวันที่๑๑มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับฉายาว่า”ยโสธโร”แปลว่าผู้ทรงไว้ซึ่งยศหรือผู้ดำรงยศ
พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูสังฆการบูรพทิศ (ปั้น อินทสโร) เจ้าคณะแขวงแกลงวัดราชบัลลังก์
พระกรรมวาจารย์ คือพระใบฎีกาหลำ ปัญญายิ่ง รองเจ้าคณะแขวงแกลง วัดพลงช้างเผือก
พระอนุสาวนาจารย์ คือพระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดวังหว้า

หลวงปู่คร่ำมุ่งศึกษาด้านพระธรรมวินัยซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพุทธศาสนาและหลักธรรมของ
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยนั้นวัดวังหว้ายังไม่มีสำนักสอนธรรม
หลวงปู่ต้องไปเรียนที่วัดพลงช้างเผือก และสอบได้นักธรรมตรีและโทเป็นลำดับ
นอกจากเรียนรู้พระธรรมวินัยเป็นพื้นฐานแล้ว ท่านยังศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ
และตำรับยาสมุนไพรจนมีความรู้ความสามารถนำไปใช้บำบัดรักษาช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ในสมันที่ยังไม่มีสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังเช่นทุกวันนี้ วิชาที่หลวงปู่ชำนาญเป็นพิเศษ คือ
กรรมวิธีต่อและประสานกระดูกอันเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ

มีผู้มารับการรักษาที่วัดวังหว้าเป็นประจำและหายกลับไปทุกคน จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว
การศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคม หลวงปู่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของ
พระครูนิวาสธรรมสาร(หลวงพ่อโต) วัดเขากะโดนและวัดเขาบ่อทอง
ซึ่งหลวงพ่อโตเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานชำนาญการธุดงควัตร เป็นผู้มีพลังจิตรแก่กล้า
และวิทยาคมขลังเป็นเลิศ
หลวงปู่คร่ำได้ร่ำเรียนด้วยอุตสาหะพากเพียรจนมีความรู้ความชำนาญในวิชาอาคมหลายด้านเมื่อกลับมาที่วัดวังหว้า
ก็ได้ฝึกฝนพลังจิตเจริญสมาธิภาวนาโดยตลอดมิได้ขาด
ในกาลต่อมาหลวงปู่ได้ใช้วิทยาคมที่ได้ฝึกฝนร่ำเรียนมานั้นให้เป็นประโยชน์
ต่อญาติโยมและบุคคลทั่วไปนานัปการจนชื่อเสียงเกียรติคุณขจรไกลไปทั่วเมืองไทยและต่างประเทศ
สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ยึดมั่นโดยตลอดคือ กตัญญุตาการรำลึกถึงคุณของบูรพาจารย์
ทุกปีของหลวงปู่จะประกอบพิธีไหว้ครู ตามหลักปฏิบัติสืบเนื่องมาไม่เคยขาด
จึงส่งผลให้หลวงปู่คร่ำเจริญยิ่ง ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณตลอดมา
การปกครองและอบรมสานุศิษย์หลังจากหลวงปู่อบรมได้ ๔ พรรษา

พระอธิการเผื่อนเจ้าอาวาสวัดวังหว้าได้มรณภาพลงหลวงปู่คร่ำได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสืบแทน
หลวงปู่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่พระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๖๔เป็นเจ้าอาวาสวัดวังหว้า
ปี พ.ศ. ๒๔๗๔เป็นเจ้าคณะหมวดเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙เป็นเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อหลวงปู่สูงอายุขึ้น สุขภาพพลานามัยไม่สมบูรณ์ จึงลาออกจากเจ้าคณะตำบลเนินฆ้อ
มุ่งสร้างเสนาสนะและปฎิสังขรณ์วัดวังหว้าจนเจริญรุ่งเรืองตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่คร่ำได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร ท่านได้กำหนดระเบียบการปกครองของวัดวังหว้า
ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติและระเบียบคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม รวมทั้งระเบียบต่างๆของทางราชการทุกประการ
กฎระเบียบของวัด ภิกษุสามเณรทุกรูปในวัด ต้องยึดถืออย่างเคร่งครัดต้องตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย
ต้องทำวัตรทุกเช้าเย็น ภายในบริเวณวัดงดเว้นอบายมุขทุกชนิด

ของดีหลวงปู่
วัตถุมงคล เครื่องรางของขลังของหลวงปู่คร่ำ มีมากมายหลายอย่าง ทั้งตะกรุดโทน
สีผึ้งเมตรตา ผ้ายันต์ น้ำมันงา และเหรียญแบบต่างๆสิ่งที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของหลวงปู่คร่ำ คือ
ผ้ายันต์พัดโบก ชื่อเต็มว่า”ผ้ายันต์พัดโบกมหาลาภหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง”แบ่งเป็นสองท่อน
ท่อนบนสีแดงท่อนล่างสีขาวประกอบด้วยรูปหลวงปู่และยันต์หลายชนิด
ผ้ายันต์พัดโบกนี้หลวงปู่ทำขึ้นเพื่อป้องกันวาตภัย ทั้งลมและฝนในยามที่มรสุมรุนแรง
จะพัดทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนผ้ายันต์พัดโบกจะโบกให้ลมเปลี่ยนทิศทาง
รวมทั้งโบกเอาความชั่วร้ายอื่นๆมิให้กล้ำกรายมาถึงบ้านเรือนของผู้ที่ครอบครองผ้ายันต์นี้ได้



ผ้ายันต์พัดโบก
เป็นยันต์พัดโบกให้ร้านค้าต่างๆโบกนำลาภผลเข้าสู่อาคารร้านค้าอีกด้วยบรรดาบ้านเรือนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก
เกือบทุกบ้านจะมีผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำไว้คุ้มภัยและเป็นมงคลแก่บ้านเรือน
รวมไปถึงกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศไทยก็ปรากฏยันต์พัดโบกของหลวงปู่คร่ำอยู่ทั่วไปแม้แต่ในประเทศ
ลาว ผ้ายันต์พัดโบกหลวงปู่คร่ำยังโบกสะบัดไปถึงเวียงจันทน์
ในประเทศเขมรซึ่งเป็นดินแดนแห่งไสยศาสตร์
ผ้ายันต์พัดโบกของหลวงปู่ก็โบกไปทั่วจากคนไทยที่ไปทำมาค้าขายที่นั่น

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
ตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัตร์หลวงปู่ปฏิบัติตนสำรวมในศีลอย่างเคร่งครัดได้รับความเคารพนับถือ
และศรัทธาจากสานุศิษย์และมหาชนทั่วประเทศที่เดินทางมานมัสการทุกวัน
หลวงปู่จะนั่งพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้พูดคุยด้วยถ้าพอมีเวลา
ใครขอให้ช่วยทำอะไรถ้าไม่ขัดต่อศีลธรรมและเป็นเรื่องที่ดีงามแล้ว
หลวงปู่ไม่เคยขัดช่วยทุกเรื่องตั้งแต่เริ่มเป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ไม่เคยอยู่นิ่งเฉยสร้างวัด
สร้างโรงเรียนหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลวังหว้าทุกโรงเรียน
หลวงปู่ได้มีส่วนช่วยก่อสร้างและทะนุบำรุงตลอดเวลา
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประทวน
พ.ศ. ๒๔๘๑
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท

พ.ศ. ๒๕๓๗
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่พระมงคลศีลาจารย์

อาพาธ
เนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมา
ต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมาย
หลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชา
จนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิด
มีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้ง
แต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลา
จึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จากดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
ตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือน

มรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพ
ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าว
ต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศล
นับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้


ขอขอบคุณจากหนังสือ
อนุสรณ์พระมงคลศีลาจารย์(หลวงปู่คร่ำ ยโสธโร
)

129


วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดปลายคลอง



ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2198) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุในวัด จวบจนปัจจุบันท่านพระครูสุวรรณสารวิบูล พร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สะอาดเรียบร้อย วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจ




พิพิธภัณฑ์
เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าไว้มากมายโดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดคู่บ้านเมือง และพระพุทธรูปต่างๆ รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป  กลองมโหระทึก แสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกกับเมืองท่าโพ้นทะเลในแถบเอเชียอาคเนย์ข้ามไปไกลถึงซีกโลกตะวันตก



    ภาพจิตรกรรม  ฝาผนังโบสถ์ และวิหารพระพุทธไสยาสน์เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นแต่ล้วนแล้วผสมกลมกลืนด้วยศิลปจีน และวรรณคดีจีน แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้ภายในวัดยังมี หมู่
กุฎิเล็กทรงไทย  ที่สร้างได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติมีขนาดพอแค่ภิกษุอยู่ได้รูปเดียวเท่านั้น หอสวดมนต์ เจดีย์ ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย




การเดินทาง 
จากตัวเมืองตราดไปตามทางหลวงหมายเลข 3 ( ถนนสุขุมวิท)  ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร


130


ประวัติหลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค)

ในปัจจุบันแม้ระยะเวลาจะห่างออกมาจากพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ปีกว่าๆสัจจธรรม
จากการตรัสรู้แท้ของพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่ไม่หนีหายไปไหน

แต่หากว่าได้อยู่กับสาวกผู้มีความเพียรต่อการศึกษา จดจำและปฏิบัติอย่างถูกต้องแท้จริงเท่านั้น
แม้สาวกผู้มีความเพียรดังกล่าวนี้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีสืบทอดต่อๆกันมามิได้ขาดสาย
ดังจะเห็นได้จากกรรมานุภาพของพระภิกษุบางรูป มีผลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์
ยากที่พระภิกษุธรรมดาอื่นๆ อีกจำนวนมากจะทำเช่นนั้นได้

หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทอด หลวงพ่อท่านคล้าย หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อโอภาสี
หลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงพ่อทิม หลวงพ่อครูบาอินโต หลวงพ่อถิร หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อชี่นพระอาจารย์ฝั้นและอื่นๆ ฯลฯ

เป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษในยุคใหม่นี้
และในยุคดังกล่าวนี้มีที่จะต้องกล่าวถึงอย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นพระภิกษุที่เปรียบเสมือนเป็น
“ช้างเผือก” ในพุทธอาจักร นั่นคือ หลวงพ่อหอมแห่งวัดซากหมาก
ซึ่งเป็นวัดเล็กๆทางจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศไทย
แต่กลับมีชื่อเสียงโดงดังในทางคุณวิเศษระบือลือลั่น
ไม่น้อยไปกว่าบรรดาท่านผู้ทรงคุณวิเศษที่ได้กล่าวนามมาแล้วนั้นเลย
ในมณฑลพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีสามัญ
ที่จัดให้มีขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในประเทศไทย เว้นเสียแต่หลวงพ่อหอม
วัดซากหมากจะอาพาธหรือติดศาสนกิจอย่างอื่นอยู่ก่อนเท่านั้น

จึงไม่มีรายชื่อของท่านรวมอยู่ในมณฑลพิธีนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะในหมู่ผู้นิยมวัตถุมงคลทุกระดับ
น้อยคนนักที่คงไม่ได้ยินกิติศัพท์ความเป็นเป็นผู้ทรงพุทธเวทย์อย่างยอดเยี่ยมของท่าน
จากวัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น สิงห์งาช้าง สีผึ้ง นางกวักงาช้าง ไซมงคล
พระกริ่งรูปเหมือน แหนบรูปเหมือน เหรียญรูปเหมือน แหวนทองแดงรูปเหมือน ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลอกเกต
หรือตะกรุด ที่ล้วนแต่ให้คุณวิเศษแก่ผู้ที่มีไว้บูชาทั้งสิ้น

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
ได้จัดให้มีงานฉลอง๒๕ พุทธศตวรรษขึ้นเป็นพิธีใหญ่ที่สุดในพุทธอาจักรของโลก โดยมีการจัดทำพระเครื่อง
พระบูชาและวัตถุมงคลต่างๆขึ้นไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก หลวงพ่อหอมแห่งวัดซากหมาก
ก็เป็น๑ในจำนวนพระเวทยาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ ๑๐๘ รูป ที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาราธนาไปเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ในมณฑลพิธี ณ.ท้องสนามหลวง

ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมาจากทุกมุมโลก
เพื่ออนุโมทนาในการประกอบพิธีอันเป็นมหามงคลครั้งนั้นอย่างมืดฟ้ามัวดินและด้วยเกียรติคุณอันสูงยิ่งของท่าน เมื่อท่านสำเร็จกิจกรรมในพระราชพิธีนั้นออกไปพักเป็นการชั่วคราว ที่วัดสุทัศน์เทพวนาราม
ก็ยังปรากฏว้าได้มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หลั่งไหลติดตามไปขอพร และวัตถุมงคลจากท่านมิได้ขาดสาย
จนศิษย์ผู้ทำหน้าที่อุปัฏฐากต้องขอร้องให้หลวงพ่อได้มีเวลาจำวัดพักผ่อนบ้างแต่ก็ไม่เป็นผล
เพราะตัวหลวงพ่อกลับพูดออกมาด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างยิ่งว่า”ช่างเขาเถอะลูก”และคำพูดคำนี้ภายหลังหลวงพ่อก็ได้ใช้เรื่อยมากับทุกๆคนจนตลอดอายุขัยของท่าน
เมื่อท่านเจ้าคุณพระอมรสุธี อดีตเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แห่งคณะ น.๑๘
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์ท่าเตียน)กรุงเทพฯ ดำริจะหาทุนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดชะอำคีรี
อำเภอชะอำ เพชรบุรี และสร้างกุฏิเจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
กับสร้างอุโบสถวัดดอนตัน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน จึงได้ร่วมกับพลตรี ประสิทธิ์ ชื่นบุญ
ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบก จัดทำพระแก้วมรกตจำลองฝังเพชรรุ่นวิสาขบูชา ผ้ายันต์ธงชัย
เหรียญหลวงพ่อวัดดอนตัน จ. น่าน

โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีใหญ่ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดซากหมากฯซึ่งเป้นพระภิกษุบ้านนอกจากชายฝั่งทะเลตะวันออกก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่คณะกรรมการผู้ดำเนินงานอาราธนาไปร่วมเป็นพระเวทยาจารย์ด้วย เมื่อวันที่๒๔พฤษภาคม
๒๕๑๘โดยครั้งนั้นพระอาจารย์กัสสปมุนีแห่งสำนักปิปผลิวนาราม อำเภอบ้านค่าย ก็ได้อาราธนาไปร่วมพิธีด้วยการได้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญๆของหลวงพ่อหอมนี้
หากจะนำมากล่าวทั้งหมดทุกๆครั้งก็ดูจะเป็นการลำบากเหลือเกินเพราะมิได้มีศิษย์ใกล้ชิดท่นใดจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเลย
ในสมัยที่หลวงพ่อหอมกำลังก่อสร้างวัดซากหมากฯอยู่นั้น ท่านได้เดินธุดงค์มาจากวัดมาบข่า
เมื่อปี๒๔๗๑มีพรรษาเพียงสองพรรษาเท่านั้นสันนิฐานว่าท่านคงประสงค์จะมาเยี่ยมบ้านเกิดของท่านที่บ้านสำนักท้อนแต่เมื่อผ่านบ้านซากหมาก ซึ่งขณะนั้นเป็นป่าคงดิบซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิดเช่น ช้าง เสือ หมูป่า ลิงค่าง และงูพิษอาศัยอยู่มากมาย มีบ้านเรือนอยู่เพียงไม่กี่หลัง คือครอบครัวนายแผน นายมาน นายแหว นายจิ๊ด  นางนก และนายไพร หลวงพ่อได้พบกับบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่สองหลังทรุดโทรมจนเกือบใช้การไม่ได้แล้วสอบถามชาวบ้านก็ทราบว่าเป็นสำนักสงฆ์ ซึ่งพระอาจารย์ล้าเคยอยู่มาก่อน
แต่ได้ปล่อยให้เป็นสำนักล้างมาประมาณ๑๐ปีเศษ

หลวงพ่อจึงตกลงใจที่จะฟื้นฟูสำนักสงฆ์แห่งนี้ให้เป็นวัดขึ้นมาให้ได้
จึงได้เข้าป่าไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเขานางหย่องเพื่อแสวงหาไม้ที่จะนำไปปลูกสร้างถาวรวัตถุของวัดที่ตั้งใจไว้ และในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ในถ้ำนั้นก็ปรากฏว่ามี ช้าง เสือ และสัตว์ร้ายอื่นๆ มาวนเวียนอยู่ใกล้ท่านตลอดเวลาแต่ก็เป็นที่น่ามหัศจรรย์ที่สัตว์ร้ายเหล่านั้นหาได้เข้าทำร้ายท่านไม่
ตรงกันข้ามเมื่อนานๆเข้ากลับปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นเชื่องได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสามารถพูดกับช้างป่ารู้เรื่องกันเป็นอย่างดี ถึงขนาดทำอะไรๆตามคำสั่งท่านได้
เมื่อท่านคัดเลือกไม้ที่ต้องการได้แล้วจึงได้นำชาวบ้านขึ้นไปตัดโค่นจนได้จำนวนพอแก่ความต้องการ
แต่ก็เกิดมีปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะชักลากไม้เหล่านั้นลงมาแปรรูปข้างล่างได้ เพราะเป็นระยะทางไกลถึง ๗กิโลเมตร จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่ขึ้นมาช่วยตัดโค่นต้นไม้กลับลงมาที่สำนักสงฆ์ชากหมากก่อน

เพื่อที่จะหาวิธีขึ้นไปชักลากไม้ลงมาจากเขานางหย่องให้ได้
แต่เมื่อได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านเป็นเวลาหลายวันก็ยังไม่พบวิธีที่ต้องการ
หลวงพ่อจึงย้อนขึ้นไปบนเขาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสำรวจดูเส้นทางให้ละเอียดเสียก่อนอีกครั้งหนึ่ง
พอหลวงพ่อไปถึงเชิงเขาก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าที่เชิงเขานั้นมีไม้ที่ตัดไว้บนเขา
ได้ลงมากองอยู่จนครบทุกท่อน กับได้เห็นรอยเท้าช้างป่าขนาดใหญ่รอบๆบริเวณกองไม้และทางขึ้นเขาเปรอะไปหมดซึ่งต่อมาหลวงพ่อก็ทราบว่าเป็นฝีมือช้างป่าที่คุ้นเคยกับท่านจำนวน ๗ เชือก ช่วยกันชักลากมาไว้นั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ชาวบ้านได้ประสบกับความมหัศจรรย์ในอภินิหาริย์ของหลวงพ่อและเริ่มบังเกิดความศรัทธาอย่างสูงมาตั้งแต่นั้น

เมื่อหลวงพ่อสร้างอุโบสถได้มีชาวบ้านใกล้ๆวัดเข้ามาหาหลวงพ่อบอกว่าช้างป่าเข้าไปในไร่เก็บกินพืชผลที่เขาปลูกเอาไว้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก เขาจะยิงก็เกรงใจหลวงพ่อขอให้หลวงพ่อช่วยเขาด้วยเถิด
เมื่อหลวงพ่อได้ทราบเช่นนั้นก็รับปากว่าจะช่วย และลุกเดินไปยืนบริกรรมอยู่สักครู่หนึ่งหน้าโบสถ์
แล้วร้องตะโกนขึ้นว่า” ลูกหลานพญาฉัททันต์ อย่าไปเหยียบย่ำไร่ของเขาเลย เจ้าของเขาจะยิงเอา
ของเรามีอยู่แล้วในแปลงขวามือไปกินได้”ซึ่งภายหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีช้างเข้าไปรบกวนชาวบ้านอีกต่อไปเลย แต่ตรงกันข้ามกับของหลวงพ่อที่มีอยู่ใกล้ๆ วัดกลับไม่มีพืชผลเหลืออยู่เลย เพราะฝีมือช้างป่านั้นเอง
อีกครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อสร้างความมหัศจรรย์แก่ชาวบ้านเอาไว้คือเมื่อประมาณปี ๒๔๘๑
ตอนนั้นหลวงพ่อบวชได้๑๒พรรษาแล้ว
วันหนึ่งได้มีนายพรานช้างมาขอพักที่วัดและตอบคำถามของหลวงพ่อว่าจะมาล่าช้างในป่าแถบๆนี้แต่เวลาใกล้คร่ำจึงขอพักเอาแรงที่วัดสักคืนก่อน หลวงพ่อก็อนุญาตให้พรานเหล่านั้นพักตามประสงค์
แล้วหลวงพ่อเดินไปยืนบริกรรมที่หน้าโบสถ์สักครู่ก็ตะโกนขึ้นว่า”ลูกหลานพญาฉัททันต์ทั้งหลายวันนี้อย่าออกไปหากินไกลวัดมีคนเขาจะมายิง
ให้หากินอยู่ในบริเวณวัดนี้”เมื่อนายพรานออกป่าเพื่อล่าช้างก็ปรากฏว่าไม่พบช้างเลยแม้แต่ตัวเดียว
เพราะช้างป่าเหล่านั้นได้ชวนกันมาหากินอยู่ภายในบริเวณวัดหมด นายพรานจึงต้องคว้าน้ำเหลวกลับไป
ต่อมาหลวงพ่อพร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๔ รูป ได้ชวนกันไปหากระเพรา ๗ อ้อม ด้วยการเดินธุดงค์
เมื่อเดินทางไปถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งหลวงพ่อบอกว่า

สงสัยจะเป็นเขตจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นท้องที่เดิมบางนางบวชในปัจจุบัน
ได้พบศาลายกพื้นสูงมากหลังหนึ่งอยู่ในป่าทึบ มีหนังสือเขียนไว้มีข้อความว่า”ใครผ่านมาทางนี้
เมื่อมืดแล้วให้ขึ้นไปอยู่ข้างบนเพราะมีสัตว์ชุกชุมมาก”แต่หลวงพ่อกลับบอกพระที่ไปด้วยกันว่าเราปักกลดกัน
อยู่ข้างล่างนี้แหละไม่ต้องขึ้นไปหลอกทั้งหมดก็ปักกลดอยู่ข้างล่างนั้นเองเมื่อปักกลดเสร็จหมดทุกองค์แล้ว
หลวงพ่อก็ได้เสกทรายซัดล้อมกลดไว้โดยรอบ และสั่งพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดว่าอย่าได้ออกไปนอกกลดเป็นอันขาดไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ชวนกันนั่งสมาธิเจริญภาวนาแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์โดยทั่วกัน
ซึ่งในคืนวันนั้นปรากฏว่ามีสัตว์ร้ายหลายชนิดมาวนเวียนอยู่แถวรอบๆกลดเหมือนกัน
แต่ไม่มีตัวใดเข้ามาทำร้ายจนรุ่งเช้าสัตว์เหล่านั้นก็หายไปในป่าหมด
หลวงพ่อจึงได้ชวนพระที่มาด้วยกันเดินทางต่อไป
ในการเดินทางต่อไปในช่วงนี้ หลวงพ่อเล่าว่าเป็นป่าเขาโดยตลอด
ขนาดเดินทางมาสามวันแล้วยังไม่พบบ้านเรือนคนเลยแม้แต่หลังเดียวต้องอดอาหารกันทั้งสามวัน
จนกระทั่งวันที่สี่จึงได้สวนทางกับชาวบ้านคนหนึ่งหาบขนมจีนผ่านมา
แล้วเอาขนมจีนนั้นถวายทุกองค์ได้ฉันกันจนอิ่ม
หลวงพ่อได้ถามชายคนนั้นว่า”ต่อจากที่นี่ไปอีกไกลไหมจึงจะถึงบ้านคน”ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า”พอพลบค่ำก็จะเห็นแสงไฟบ้านคน”แล้วเดินหายไปในป่านั้น หลวงพ่อจึงชวนพระที่ไปด้วยออกเดินทางต่อไป
ซึ่งตลอดทางที่เดินผ่านไปนั้นไม่พบบ้านคนเลยจึงหน้าสงสัยว่าคนที่ถวายขนมจีนนั้นเป็นใครกันแน่
เพราะถ้าเป็นคนธรรมดาจะอยู่แถวนั้นได้อย่างไรกันจนกระทั่งเวลาพลบค่ำจึงได้พบบ้านคนจริงตามที่ชายคนนั้นบอกไว้จึงชวนพระที่ไปด้วยกันทั้งหมดปักกลดพักที่บริเวณใกล้ๆกับหมู่บ้านนั้นและต่อมาก็เดินทางกลับวัดซากหมากฯโดยไม่ได้กระเพรา๗อ้อมมาตามต้องการเพาะไม่พบว่ามีอยู่ี่ที่ใดเลย ส่วนเรื่องที่พบคนเอาขนมจีนมาถวายกลางป่าทั้งๆบริเวณใกล้ๆนั้นไม่มีบ้านคนเลยก็คงเป็นปริศนาให้แปลกใจอยู่ตลอดมา
สมัยอู่ตะเภามีฐานทัพอเมริกันตั้งอยู่ ได้มีฝรั่งชาตินิโกร ซึ่งเป็นทหารนักบินคนหนึ่ง
มีเมียเช่าเป็นคนไทยภาคอีสานได้พากันไปหาหลวงพ่อที่วัดแล้วเช่าพระกริ่งรูปเหมือนของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวเป็นประจำ และมีอยู่ครั้งหนึ่งทหารฝรั่งนิโกรคนนี้ได้ถูกคำสั่งให้ขับเครื่องบินไปนครพนม
แต่บังเอิญไปเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกระหว่างทาง เครื่องบินนั้นได้รับความเสียหายจนใช้การไม่ได้
ทหารที่ไปด้วยกันก็เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสกันทุกคน แต่ฝรั่งนิโกร
ซึ่งเป็นนักบินคนนี้ไม่ได้รับบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย จึงบังเกิดความเลื่อมใสหลวงพ่อเป็นอย่างมาก
เมื่อมีโอกาสจะต้องมาหาหลวงพ่อที่วัดเป็นประจำ
เมื่อวัดหลวงพ่อมีงานก็จะมาช่วยงานอย่างแข็งขันทุกครั้งไป
เมื่อถูกส่งกลับไปอเมริกาแล้วก็ยังส่งเงินมาถวายหลวงพ่ออยู่เนืองๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าวัยรุ่นย่านบางรัก
กรุงเทพฯยกพวกต่อยตีกันเป็นมวยหมู่ มีการบาดเจ็บกันเป็นระนาว
แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่เป็นอะไรเลยทั้งๆที่ได้เข้าไปประจัญบานกับเขาด้วยอย่างเมามัน
ซึ่งภายหลังปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บนั้นล้วนแต่มี”สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ทั้งนั้น
สอบถามได้ความว่าเคยร่วมคณะกฐินจากกรุงเทพฯซึ่งไปถอดวัดซากหมากฯแล้วเช่า
“สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวกันคนละตัว ซึ่งครั้งแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้
จนได้ประสบเหตุเข้ากับตัวเองจึงเชื่อและพาพรรคพวกเพื่อนฝูงเดินทางไปขอเช่าที่วัดกันอีกหลายคนด้วยกัน
แต่หลวงพ่อก็เตือนว่า”ถ้ารังแกข่มเหงเขาสิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ”
ตามธรรมดาทุกๆปี ที่วัดซากหมากฯจะต้องมีงานประจำปี
และมีอยู่ปีหนึ่งหลวงพ่อได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนองค์หลวงพ่อขึ้นเป็นรุ่นแรก
ได้มีทหารจำนวนหนึ่งไปเที่ยวงานและเช่าพระกริ่งนี้คนละองค์
แล้วชวนกันไปหลังโรงเรียนวัดซากหมากซึ่งอยู่ใกล้วัดนั้นเอง เพื่อจะทดลองความศักดิ์สิทธิ์ดูให้แน่ใจ
จึงได้นำเอาพระกริ่งของหลวงพ่อออกมาวางรวมกันแล้วยิงด้วยปืน .๓๘ ก็ปรากฏว่ายิงกี่ครั้งๆก็ไม่ออก
แต่เมื่อเบนปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออกทุกนัด ทหารเรือกลุ่มนั้นจึงกลับเข้ามาในวัด
และขอเช่าเพิ่มกันอีกจนเงินหมดกระเป๋า
เมื่อกลับไปแล้วยังได้บอกกล่าวให้บรรดาเพื่อนฝูงพากันมาเช่ากันไปไว้ประจำตัวอีกมากมาย
และตั้งแต่นั้นมาเมื่อหลวงพ่อมีงานอะไรขึ้น
บรรดาทหารเรือจากฐานทัพเรือสัตหีบจะมาช่วยกันอย่างมากมายทุกครั้งไป
เมื่อนายสงั่น ไตร่ตรอง ได้เป็นกำนันตำบลสำนักท้อนใหม่ๆ
เคยขับรถยนต์ไปธุระที่สมุทรปราการพร้อมกับลูกบ้านอีก ๘ คน
แต่พอรถไปถึงโค้งบางปิ้งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโค้งผีสิง จะด้วยเหตุอันใดก็ไม่อาจทราบได้
รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำไปหลายตลบ เผอิญมีตำรวจอยู่ใกล้ๆกับบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์เข้า
คิดว่าจะต้องมีคนในรถได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายแน่ๆ
จึงรีบวิ่งเข้าไปเพื่อจะช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน
แต่เมื่อเข้าไปถึงก็ต้องประหลาดใจอย่างมากเพระไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดที่อยู่ในรถคันนั้นได้รับบาดเจ็บกันเลย
ซึ่งต่อมาเมื่อมีการสอบถามกันขึ้นด้วยความสงสัย จึงทราบว่าทุกคนที่ไปกันในรถคันนั้นต่างก็มี
“สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อหอมติดตัวกันทั้งนั้น


สิงห์แกะหลวงพ่อหอม

วิทยาเวทย์ที่เป็นคุณวิเศษของหลวงพ่อหอมวัดซากหมาก

อีกประการหนึ่งที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเคยได้เรียนรู้มาก่อนคือ”การต่อชะตาดิน”ซึ่งคุณวิเศษนี้ก็เป็นที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างมากทีเดียว
คือหากที่ดินของผู้ใดที่เคยอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการใดๆมาก่อน
เกิดอาการเสื่อมโทรมใช้ประโยชน์ไม่ได้ดีเหมือนเดิม
หรือกิจการบนดินนั้นเสื่อมโทรมลงหลวงพ่อก็จะไปทำพิธี”ฝังหิน”
ให้แล้วกิจการบนที่ดินแห่งนั้นก็จะกลับคืนเป็นคุณแก่เจ้าของดั่งเดิมอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
ซึ่งวิชาต่อชะตาดินนี้ได้เคยมีบรรดาศิษย์อยากจะเรียนจากหลวงพ่อ
แต่หลวงพ่อก็บอกว่าผู้ที่จะเรียนได้จะต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น
และเมื่อเรียนแล้วก็จะต้องตั้งมโนปนิธาณด้วยว่า
“จะบวชจนตายในผ้ากาสาวพัตร์”คือจะสึกออกไปครองเพศฆราวาสไม่ได้อย่างเด็ดขาด
ถ้าผิดไปจากนี้แล้วจะต้องถูก”ฟ้าผ่า”ทันที จึงไม่มีใครกล้าพอที่จะเรียนต่อจากท่าน
เพราะการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ใช่เป็นของง่ายนักที่จะประกาศตนว่าจะไม่สึกไว้ล่วงหน้า

นอกจากหลวงพ่อหอมวัดซากหมากจะเป็นผู้มีวิทยาคุณในทางเครื่องรางของขลังแล้วท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดอีกด้วย
ทั้งนี้เพราะท่านได้เคยศึกษาเล่าเรียนมาจากบิดาของท่านซึ่งเป็นแพทย์ประจำตำบล
ในสมัยเมื่อท่านยังเป็นฆราวาสอยู่ตามธรรมดาทุกๆวัน
จะมีคนป่วยด้วยโรคต่างๆมาหาท่านที่วัดเพื่อขอให้ท่านช่วยขจัดปัดเป่าโรคร้ายเหล่านั้นให้หาย
วันหนึ่งๆถึง
๔๐-๕๐ คน หลวงพ่อจึงเป็นพระภิกษุผู้ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง ทั้งที่เป็นคนไทย จีน แขกซิกส์
และฝรั่ง ดังจะเห็นได้จากเมื่อหลวงพ่อมรณภาพได้มีผู้หลั่งไหลกันไปเคารพศพของท่านอย่างล้นหลาม
โดยเฉพาะในวันถวายน้ำสรงศพของท่าน
เจ้าหน้าที่ได้จัดให้เรียงแถวกันเข้าไปต้องใช้เวลาถึงสามชั่วโมงเศษจึงหมดคนที่ไปถวายน้ำสรงท่าน
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค อดีตเจ้าอาวาสวัดซากหมาก หมู่ที่ ๒ ตำบล
สำนักท้อน กิ่งอำเภอบ้านฉาง(ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง) จังหวัดระยอง เดิมชื่อ หอม ทองสัมฤทธิ์
เกิดวันจันทร์ เดือน๑๐ ปีขาล พุทธศักราช๒๔๓๓ เป็นบุตรของนายสัมฤทธิ์ กับนางพุ่ม ทองสัมฤทธิ์
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสามคน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้องพี่ทั้งสองคนเป็นหญิงคนโตชื่อ นางวอน
คนรองชื่อนางเชื่อม
เมื่อเยาว์วัยอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่บ้านเกิดของท่านเอง ส่วนในการศึกษาเบื้องต้นนั้น
เป็นน่าเสียดายที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านได้ศึกษากับใครที่ไหนเพราะในสมัยนั้นโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญเช่นบ้านเกิดหลวงพ่อคงยังไม่มีตั้งขึ้นแน่นอน

การดำรงชีพของหลวงพ่อในสมัยนั้น

ก็เป็นการช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่และเก็บของป่าขายในตัวตลาด
ซึ่งการเดินทางไปตลาดบ้านฉางหรือตลาดสัตหีบในสมัยนั้นลำบากมาก เพราะยังไม่มีถนนอย่างเช่นในปัจจุบัน
ต้องอาศัยทางเกวียน ซึ่งผ่านป่าดงดิบแวดล้อมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด
ถ้าเป็นฤดูฝนด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความลำบากเป็นทวีคูณ
และคงจะเป็นเพราะว่าหลวงพ่อเคยมีชีวิตจำเจอยู่แต่ในป่าดงดิบนี่เอง
จึงทำให้ท่านพยายามพัฒนาป่าให้กลับกลายเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญขึ้นในทุกๆด้าน
โดยท่านเห็นว่าหากมีถนนตัดจากจากที่เจริญเข้าสู่หมู่บ้านได้เมื่อใด
ความเจริญนั้นก็ต้องขยายตัวของมันเองตามถนนไปด้วยอย่างแน่นอน จึงได้ร่วมกับ นายหยอย สุวรรณสวัสดิ์
กำนันตำบลสำนักท้อนคนก่อนชักนำชาวบ้านช่วยกันตัดถนนจากบ้านฉาง เข้าไปจนถึงบ้านซากหมากระยะทาง ๑๒
กิโลเมตรจนสำเร็จ และถนนสายนี้ในปัจจุบันได้กลายเป็นถนนสายอเนกประสงค์แล้วอย่างสมบูรณ์
เมื่อหลวงพ่ออายุครบ๒๑ปี ก็โอกาสทำหน้าที่ของลูกชายไทยอย่างเต็มภาคภูมิ
ด้วยการได้รับคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในกองทัพเรือ ในสมัยที่ฐานทัพเรือยังตั้งอยู่ที่บางพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสังกัดอยู่หน่วยไหน
และใครบ้างที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของท่าน ทราบแต่เพียงว่าในขณะที่ท่านรับราชการอยู่นั้น
ไม่เคยถูกลงโทษฐานกระทำผิดวินัยเลยทั้งไม่เคยมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับบรรดาเพื่อนๆด้วย
ตรงกันข้ามกับเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูงทุกคน เพราะปกติท่านเป็นคนมีนิสัยเยือกเย็น สุขุม
และโอบอ้อมอารีต่อทุกคนอยู่แล้ว
เมื่อรับราชการทหารครบ ๒ปี
ทางราชการก็ปลดออกจากประจำการจึงกลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพที่บ้านสำนักท้อนตามเดิม
และในช่วงนี้เองก็ได้แต่งงานกับ นางเจียม ซึ่งเป็นหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกันนั้น
และมีบุตรด้วยกัน๓คนคือ
นายพิน ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่ง ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่น ทองสัมฤทธิ์
การครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนของหลวงพ่อ ได้เป็นไปอย่างธรรมดาเรื่อยๆมา
โดยพร้อมกันนั้นก็ได้พยายามถ่ายทอดวิชารักษาโรคต่างๆจากบิดาไปด้วย
จนมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปจากบิดาของท่านแต่อย่างใด แล้วก็ได้ใช้วิชาความรู้นี้
ช่วยเหลือเพื่อนบ้านตลอดมา
หลวงพ่อหอม วัดซากหมากฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙
อายุ๓๖ ณ พัทธสีมาวัดทับมา ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยมีหลวงพ่อขาว
วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นอนุสาวนาจารย์
เมื่อหลวงพ่อหอมอุปสมบทใหม่ๆ
ยังเป็นนวกภิกษุผู้น้อยด้วยคุณวุฒิไม่อาจจะปกครองตนเองและผู้อื่นได้
จึงยังจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้นในฐานะอันเตวาสิกของหลวงพ่อชื่น อยู่ที่วัดมาบข่า
แต่เพียงชั่วระยะ ๒ พรรษาเท่านั้น
หลวงพ่อหอมก็เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างน่าอัศจรรย์เนื่องจากเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลศ
ยากที่จะหาพระภิกษุรูปใดในรุ่นเดียวกันเสมอเหมือนได้ แม้
หลวงพ่อชื่นเองก็ยังเคยปรารภให้พระภิกษุรูปอื่นๆฟังว่า”อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ”
และต่อมาหลวงพ่อหอมก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อผู้มีชื่อเสียงหอมทวนลมจริงดั่งคำของหลวงพ่อชื่นนั้น

เมื่อหลวงพ่อหอมได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระอาจารย์เบื้องต้นไปอยู่ที่วัดซากหมากใกล้ๆ
บ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ได้พยายามค้นคว้าศึกษาพุทธเวทย์เพิ่มเต็มอย่างจริงจัง
จนบังเกิดผลดังที่ได้ประจักษ์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์อย่างถ้วนหน้าแล้วนั้น
นอกจากท่านจะได้สร้างวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธ์ เพื่อให้ผู้มีไว้บูชาบังเกิดที่พึ่งทางใจอย่างได้ผลแล้ว
ก็ยังได้สร้างถาวรวัตถุขึ้นไว้ในวัดอีกหลายประการด้วยกัน เช่น อาคาร ศาลา หอระฆัง หอไตรกลางสระน้ำ
และอีกหลายๆอย่างที่ท่านได้สร้างไว้

ด้วยความที่หลวงพ่อหอมเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีให้ปรากฏในศาสนจักรและราชอาณาจักรมากมายนี่เอง
จึงได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่๙แห่งราชวงศ์จักรีพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีเป็นพระครูภาวนานุโยค
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗
นับเป็นเกียรติยศอย่างยิ่งแก่หลวงพ่อและบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วหน้ากัน
และในโอกาสนี้เองทีหลวงพ่อหอมได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือน
แหนบบูชารูปเหมือน(ชนิดสั้น)รูปปั้นเหมือนองค์จริงแบบบูชาเป็นรุ่นแรกขึ้น
กับได้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นสอง
แบบหน้านูนครึ่งองค์ด้านหลังเหมือนกับเหรียญรุ่นแรกพร้อมกับแหวนทองแดงรูปเหมือนและแบบเดียวกับที่สร้างเมื้อปีพุทธศักราช๒๔๙๘
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือพระครูภาวนานุโยค ได้อาพาธด้วยโรคชราและมรณภาพด้วยอาการสงบ
เมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐น.ของวันที่๑๓ เมษายน พุทธศักราช๒๕๒๐(นับวันเวลาสากล)ณ
โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์
ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมอายุได้๘๗ปี๕๑พรรษาและได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน
พุทธศักราช๒๕๒๑ ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว๓๗๕ วัน ณ. วัดซากหมากฯ หมู่ที่ ๒ ตำบล สำนักท้อน
กิ่งอำเภอบ้านฉาง(ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง)จังหวัดระยอง
ซึ่งเป็นวัดที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอดนั้นเอง


ขอขอบคุณที่มา
จากหนังสืออนุสรณ์
งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูภาวนานุโยค(หอม จนฺทโชโต)



131

วิธีการโพสรูป ลองทำดู...ตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

132


วัดมหาวัน  จ.ลำพูน



      วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย  เมื่อประมาณปี   พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ   และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน


    ซึ่งพระอารามนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกห่างจากประตู มหาวัน อันเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก  ประมาณ ๕๐ เมตร  หน้าพระอารามหันไปทางทิศตะวันออก  ตรงกันข้ามกับคูเมือง  ที่ตั้งวัดนี้เดิมเป็นมหาวนาราม พระอารามหลวง  ซึ่งพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ

 


 

     ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร  ได้มีการปฏิสังขรณ์์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘  ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป  พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก  เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น  อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (บ่อน้ำปัจจุบัน) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนี้ได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์วัดมหาวัน  พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการบูชา  แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด

 

     ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ  ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง  จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร)  และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้

 

     ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์  บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว

 

     ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้ว



พระรอด พิมพ์เล็ก วัดมหาวัน ลำพูน
กรุเก่า เนื้อจัด  พระใช้


พระรอดแขนติ่ง เนื้อผ่านดำ
เนื้อจัด พระใช้ เห็นตาและจมูกรางๆ
 


     สุกกทันตฤษี  วาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดงสีดอกพิกุล  เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว  นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้

 

     พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

                             

 

ขอขอบคุณที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
 
Navigator :  สท.ลำพูน > ลำพูนเมืองน่าอยู่ > วัฒนธรรมและประเพณี > พระรอด     

http://www.rd.go.th/lamphun/52.0.html

http://www.teeneelanna.com/moojoomhao/home/space.php?uid=303&do=blog&id=416

133


"หลวงพ่อฉุย" อดีตเจ้าอาวาสวัดคงคาราม จ.เพชรบุรี พระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะชาวเพชรบุรี เนื่องด้วยท่านเป็นผู้พัฒนาวัดคงคารามและสร้างความเจริญรุ่งเรืองมาจนเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน และวัตถุมงคลที่ท่านสร้างล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาทั้งสิ้น โดยเฉพาะ "เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อฉุย ปี 2465" ได้รับการยอมรับว่ามีความงดงามโดดเด่นและเป็นที่นิยมสะสมอย่างมากในแวดวงผู้นิยมสะสมพระเครื่องรวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไปครับผม

"วัดคงคาราม" เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาไม่ต่ำกว่า 200 ปี ได้รับการยกย่องและแต่งตั้งเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร แห่งแรกของ จ.เพชรบุรี กล่าวกันว่าพระเถระชาวเพชรบุรีที่เข้ามามีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ หลายรูป จะมีความเกี่ยวข้องกับวัดคงคาราม อาทิ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) และพระโพธิวงศาจารย์ (ผ่อง) เป็นต้น

หลวงพ่อฉุย สุขภิกฺขุ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 วันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2401 ที่บ้านสะพานช้าง ต.มะม่วง อ.คลองกระแชง จ.เพชรบุรี เริ่มศึกษาเล่าเรียนที่วัดคงคารามมาแต่ยังเยาว์ จนอายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดนี้ ได้รับฉายา "สุขภิกฺขุ"

ท่านมีความใส่ใจในการศึกษาหาความรู้ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐาน ได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ครุฑ วัดมหาธาตุ หลวงพ่อฉุยได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เรื่อยมาจนเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสุวรรณมุนี ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัด และได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 แห่งวัดคงคาราม สืบต่อจากพระพิศาลสมณกิจ (ริด) สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะชั้นโท มีราชทินนามที่พระสุวรรณมุนี นรสิห์ธรรมทายาท สังฆปาโมกข์ และได้เลื่อนเป็นเจ้าคณะจังหวัด ท่านทำการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างความเจริญแก่วัดคงคารามมาจนเป็นที่รู้จักเลื่องลือ ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2466 สิริรวมอายุ 65 ปี





"เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อฉุย ปี 2465" เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่สร้างในช่วงที่หลวงพ่อยังดำรงชีวิตอยู่ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานฉลองมณฑป วัดคงคาราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธชินราชจำลอง" "พระ พุทธชินสีห์จำลอง" และ "พระศรีศาสดาจำลอง" ในปี พ.ศ. 2465 มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มหูเชื่อม รูปไข่ เนื้อทองแดงรมดำ แม่พิมพ์ด้านหน้า รอบเหรียญแกะลวดลายดอกไม้ และโบประดับอย่างงดงาม ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อฉุยครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ภายในโบจารึกอักษรไทยด้านบนซ้ายว่า "พ.ศ." ด้านบนขวาว่า "65" ด้านล่างซ้ายว่า "พระสุวร" และด้านล่างขวาว่า "รณมุณี" ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลัง เป็น "ยันต์ห้า" คล้ายยันต์กระบองไขว้ ภายในยันต์รอบนอกเป็นอักขระขอมอ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ตรงกลางยันต์เป็นอักขระขอมอ่านว่า "สะ" แยกออกเป็น 2 พิมพ์คือ บล็อกโมมีไส้และบล็อกโมไม่มีไส้ โดยสังเกตที่ตัวอักขระขอมคำว่า "โม" ถ้ามีขีดขวางตรงกลางคือ "บล็อกโมมีไส้" ถ้าไม่มีคือ "บล็อกโมไม่มีไส้"

ด้วยพุทธลักษณะที่งดงามและพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏ จึงนับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสะสมอย่างสูง แต่ค่อนข้างจะหาดูยากพอสมควร เนื่องจากผู้มีไว้ครอบครองบูชาต่างก็หวงแหนมากครับผม



ขอขอบคุณที่มา...http://www.tumsrivichai.com

134


หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท
วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า)
ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี




อัตโนประวัติ

?พระวรพรตปัญญาจารย์? หรือ ?หลวงปู่เฮี้ยง ปุณฺณจฺฉนฺโท? อดีตเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลุบรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองชล เป็นผู้ได้รับสืบทอดตำราการสร้างพระปิดตาทั้ง ?เนื้อผง? และ ?เนื้อผงคลุกรัก? จากพระเกจิอาจารย์ดังหลายรูปของเมืองชลบุรี

หลวงปู่เฮี้ยง มีนามเดิมว่า กิมเฮี้ยง นาคไพบูลย์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กรุณยวธนิชย์) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2441 เวลา 17.45 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีจอ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี โยมบิดาชื่อ เร่งเซ็ง เป็นคนเชื้อสายจีน โยมมารดาชื่อ ผัน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 2


การศึกษาเบื้องต้น

เมื่อเจริญวัยอายุได้ประมาณ 9-10 ขวบ โยมมารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระวินัยธร (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดหนองไม้แดง (วัดราษฎร์สโมสร) ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี ต่อมาเมื่อพระวินัยธร (เส็ง) ได้มรณภาพลง จึงเลิกเรียน และกลับไปอยู่บ้านช่วยเหลือโยมบิดา-โยมมารดาประกอบอาชีพตามวิสัยที่พึงกระทำ ได้

ครั้นอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ท่านจึงได้ไปสมัครเป็นตำรวจภูธร และมาปลดประจำการ โดยเป็นเพียงกองหนุนชั้นที่ 1 ขณะอายุได้ 22 ปี


 เมื่อครั้งยังเป็นพระหนุ่ม       


การอุปสมบท

ในปี พ.ศ.2464 เมื่ออายุได้ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณี ณ พัทธสีมาวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2464 ตรงกับเดือน 8 ขึ้น 7 ค่ำ เวลา 14.00 น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ วัดเขาบางทราย ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระวินัยธร (เภา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดชื่น ธมฺมสาโร วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า ?ปุณฺณจฺฉนฺโท? มีความหมายว่า ?ผู้มีความพอใจอันเต็มเปี่ยม?

ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้มาพำนักจำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัด


ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง

ท่านมีอุปนิสัยสนใจด้านวิทยาคม ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดงหรือพระครูธรรมสารอภินันท์ วัดใหญ่อินทราราม (วัดหลวง) ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี ยอดพระเกจิอาจารย์ชาวเขมร เมืองพระตะบอง ที่มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่อินทราราม (วัดหลวง) เป็นเวลายาวนานถึง 53 ปี เป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคุณในทางสมถะ มีวาจาสิทธิ์เป็นที่เคารพยำเกรงของคณะศิษยานุศิษย์และเป็นที่เล่าขานตลอดมา จนถึงปัจจุบัน


การสร้างวัตถุมงคล

หลวงปู่เฮี้ยง ได้พัฒนาทั้งด้านการศึกษาและถาวรวัตถุเสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง นับได้ว่า วัดป่าหรือวัดอรัญญิกาวาสแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองด้วยอำนาจบารมีแห่งวัตถุมงคล พระเครื่องต่างๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ ทุกรุ่นเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยม เป็นที่ปรารถนาของเซียนพระเครื่องที่ต่างแสวงหาไว้ในครอบครอง ด้วยอำนาจความเข้มขลังที่เป็นอมตะแห่งผงเก่าของยอดพระเกจิอาจารย์ชาวบางปลา สร้อยในอดีต อาทิ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง มีส่วนเสริมให้วัตถุมงคลของหลวงปู่เฮี้ยง ทุกรุ่นทุกพิมพ์ ถูกเช่าบูชาไปจากตลาดพระเครื่องอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะหามาไว้ในครอบครอง

สำหรับวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) มีการสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่สมัยพระปลัดธรรมสาร (ชื่น ธมฺมสาโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 โดยสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เมื่อปี พ.ศ.2463 นับว่าเป็นเหรียญเก่าของชาวชลบุรีอีกเหรียญหนึ่ง การสร้างวัตถุมงคลของวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ที่นับว่าโด่งดัง หลวงปู่ได้ริเริ่มสร้างวัตถุมงคลครั้งแรก เมื่อปลายปี พ.ศ.2484-2486 โดยมีพระใบฎีกาแฟ้ม อภิรโต เป็นผู้ดำเนินการสร้างทั้งสิ้น โดยใช้ผงต่างๆ ของหลวงพ่อแก้วและหลวงพ่อเจียม เป็นส่วนผสมและทำการปลุกเสกอธิษฐานจิต



ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

พ.ศ.2467 เป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า)

พ.ศ.2473 เป็นสังฆรักษ์ ฐานานุกรมของเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี

พ.ศ.2479 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวรพรตศีลขันธ์

พ.ศ.2483 เป็นเจ้าคณะแขวงบางละมุง และเป็นพระอุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุต

พ.ศ.2486 เป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมชั้นตรี ในสนามหลวง

พ.ศ.2496 เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยอำเภอจังหวัดชลบุรี

พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ ?พระวรพรตปัญญาจารย์? ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

พ.ศ.2507 เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี-ฉะเชิงเทรา (พ้นหน้าที่นี้เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2508)

พ.ศ.2509 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย พระอารามหลวง จ.ชลบุรี (พ้นหน้าที่นี้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2509)

ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้การอุปสมบทกุลบุตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 มีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร และชาวบ้านในชุมชน ด้วยการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล และโรงเรียนมัธยมต้นขึ้นภายในวัดอรัญญิกาวาส


การมรณภาพ

หลวงปู่เฮี้ยง ได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2511 เวลา 19.50 น. ณ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จ.ชลุบรี สิริอายุรวม 70 พรรษา 47 และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อปี พ.ศ.2512 แม้ละสังขารจากไปนานร่วม 40 ปี แต่เกียรติคุณของหลวงปู่ยังเลื่องลือเป็นที่จดจำของบรรดาลูกศิษย์และพุทธ ศาสนิกชนทั่วไปอย่างไม่เสื่อมคลาย


พระปิดตาหลวงปู่เฮี้ยงบางส่วน
 
 
 
ขอขอบคุณที่มาจาก :: หนังสือพิมพ์ข่าวสด 
 
คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 โดย ศิริพงษ์ กลิ่นทวี

135
               ชีวิตที่แปรเปลี่ยนไป
                เริ่มแรกอาจไม่สดใสและสวยงาม
                แต่เมื่อก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤต
                ชีวิตนั้นย่อมแปรเปลี่ยนไป
                สีสรรค์ความสดใสเริ่มมีมา
                โดดเด่นตระการตาน่าชื่นชม
                 โอ้...เจ้าหนอนผีเสื้อ...


           กราบนมัสการหลวงพี่ครับ :054:
กราบขอบพระคุณสำหรับภาพปริศนาธรรมและบทกวีสอนใจครับ

136
กราบนมัสการหลวงพี่ครับ เป็นภาพๆหนึ่งที่แฝงไว้ด้วยปริศนาธรรมอย่างดียิ่งครับ

เปรียบเหมือนดั่งวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ดำเนินไปไม่หยุดนิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป

ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เป็นไปตามหลักของธรรมชาติ...

กราบขอบพระคุณครับ  :054:

138
ขอขอบพระคุณครับ :054:

และขอขอบพระคุณท่านโองการ...สำหรับกิจกรรมดีๆอย่างนี้นะครับ

139
ยินดีด้วยครับน้องเอ็ม...ได้ของดีอีกแล้วนะครับ

อ้อ...รูปถ่ายคู่เท่+น่ารักดีนะ...

142

  ขอตอบว่ามี  4  ครับ

 1.www.bp-th.org

 2.board.dserver.org/p/prabang01

 3.www.herdioncahyo.com/article/ิ๎๐๓

 4. http://www.bp.or.th/webboard/index.php

143

งดงามมากมายครับท่านมาสเซอร์ดอน :016:

144
ยินดีต้อนรับ...และยินดีที่ได้รู้จักครับ



วิธีโพสรูปลงบอร์ด...ลองศึกษาดูตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

145
ขออนุโมทนา...สาธุในบุญกุศลครั้งนี้ด้วยนะครับ

146
คงไม่มีกฎตายตัวน่ะครับ ว่าต้องยันต์ไหนก่อน แล้วแต่ความเหมาะสมด้วยน่ะครับ แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้เก้ายอดก่อนครับ แต่โดยส่วนตัว ผมได้รับยันต์เก้ายอดเป็นยันต์ที่9เลยน่ะครับ


ใช่ครับ...และโดยส่วนตัวผมหลวงพี่ติ่งขึ้นสาริกาตัวใหญ่ให้ที่หัวไหล่ซ้าย-ขวา เลยครับผม

147
ธรรมะ / จิตคือพุทธะ
« เมื่อ: 29 มิ.ย. 2553, 01:56:23 »
พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่งนอกจากจิตหนึ่งแล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย


จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย
มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และ ไม่มีทั้งรูปไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่มีการตั้งอยู่และไม่มีการตั้งอยู่
ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือเก่าไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก
ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด

จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆแต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น)กับมันเข้าดูซิเราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที
สิ่งนี้ เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้

จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลายเพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหาพุทธะภาวะจากภายนอก

การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิตแม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆเขาก็จะไม่สามารถลุถึงภาวะพุทธภาวะได้เลย

เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านั้นพุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และ พุทธะ คือสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง นั่นเอง


สิ่งๆ นี้ เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่

สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้องวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำ นวนมากก็ดีหรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่นํ้าคงคาก็ดีเหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิดเมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็น จิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้วเราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตร
ปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้ว อยู่เฉยๆก็แล้วกัน

ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธะ ก็ดีและถ้าเรายัง ยึดมั่นถือมั่น ต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆอยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดีแนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องเข้ารอยกันกับทางทางโน้นเสียแล้ว

จิตหนึ่ง นั่นแหละคือ พุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีกไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย

ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้นเท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสียแล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก
พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะของความยึดมั่นถือมั่น

การปฏิบัติปารมิตาทั้ง ๖ และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำ นวนนับไม่ถ้วนด้วยเจตนาที่จะเป็นพุทธะสักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดที่คืบหน้าทีละขั้นๆแต่พุทธะซึ่งมีอยู่ตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้นหาใช่พุทธะที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ตื่น และ ลืมตาต่อจิตหนึ่งนั้นเท่านั้น และ ไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไรนี่แหละคือพุทธะที่แท้จริง

พุทธะและสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่งนี้เท่านั้นไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย
จิตเป็นเหมือนกับความว่างซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ


ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้นย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลกเพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น
ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลกความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้นและเมื่อดวงอาทิตย์ตก
ความว่างก็ไม่ได้ มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเองจิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าเรามองดูพุทธะว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใสและรู้แจ้งก็ดีหรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่ามืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี
ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้นจะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุดถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปป์นับไม่ถ้วนประดุจเม็ดทรายในแม่นํ้าคงคงแล้วก็ตาม
มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้นและไม่มีสิ่งใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จะอิงอาศัยได้ เพราะ จิตนั้นเอง คือพุทธะ

เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระกล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบังจิต นั้นเสีย ด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเองพวกเราจะเที่ยวแสวงหา พุทธะ นอกตัวเราเอง

พวกเรายังคงยึดมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลายต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตรายและไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใด

เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้นโดยภายในแล้วย่อมเหมือนกับไม้หรือก้อนหิน คือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหวและโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรม หรือฝ่ายรูปธรรมมันไม่มีที่ตั้งเฉพาะไม่มีรูปร่างและไม่อาจจะหายไปได้เลย

จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่งมันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง


ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้นพวกเราเพียงแต่
สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้นพวกเราจะประสบความสำ เร็จทุกอย่าง

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเองซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรมซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต
จิตนั้น โดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิตแต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่มิใช่จิต

การที่จะกล่าวว่าจิตนั้นมิใช่จิตดังนี้นั่นแหละ ย่อมหมายถึง สิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด
ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้น เราอาจกล่าวได้ว่าคลองแห่งคำพูดก็ได้ถูกตัดขาดไปแล้ว และ พฤติของจิตก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว

จิตนี้คือพุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดีพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดีล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย

ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด

ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้นโดยความจริงอันสูงสุดแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่งสงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปนมันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง

จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้งโดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่งสิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว

จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด)มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมดนับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูงลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ตํ่าต้อยที่สุดซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่อีกด้วยและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องตํ่าสิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด
และทุกๆสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะอยู่ตลอดเวลา

ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จแล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้นมันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ

ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่างแล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป
มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆที่ไหนแม้แต่จุดเดียว

มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่หรือไม่มีความเป็นอยู่แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ
เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิดไม่มีใครทำ
ให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย

ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้นมันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด

เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนอง
ต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิดหรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้นมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่หรือไม่ใช่ความมีอยู่
ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำ หน้าที่สร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้นมันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กายและมโนทวารอยู่นั่นเอง


ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร
ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง
ดังนั้นเราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น

มูลธาตุทั้ง ๕ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของว่าง และมูลธาตุทั้ง ๕ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา
จิตจริงแท้นั้นไม่มีรูปร่าง และไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย
แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆของมันทั้งหมด

จิตของเรากับสิ่งต่างๆซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ
เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้นและเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป


เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียวเราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเขิงและเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น
เราจะได้ลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้นนี้แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้

สัมมาสัมโพธิเป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้วของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา

ปรัชญา คือการรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือจิตต้นกำเนิดดั้งเดิม ซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่าผู้กระทำ และสิ่งที่ถูกกระทำ คือจิตและวัตถุเป็นสิ่งๆ เดียวกัน นั่นแหละ จะนำเราไปสู่ความเข้าใจลึกซึ้ง และลึกลับเหนือคำพูดและโดยความเข้าใจอันนี้เองพวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจธรรมที่แท้จริงด้วยตัวเราเอง

สัจธรรมที่แท้จริงของเรานั้นไม่ได้หายไปจากเรา แม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดอยู่ด้วยอวิชชาและไม่ได้รับกลับมา

ในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่งภูตัตถตาในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฐิ มันเต็มอยู่ในความว่างเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้วอารมณ์ต่างๆที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรมจะเป็นสิ่งซึ่งอยู่ภายนอกความว่างนั้นได้อย่างไร

โดยหลักมูลฐานแล้วความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่คือปราศจากกิเลสปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา และปราศจากสัมมาทิฏฐิ

พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่าโดยแท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญไม่มีพุทธทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้นไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดอันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลยมันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิเป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง
และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้นมันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสีย


จริงๆ เราต้อง แยกรูปถอดด้วยวิชชามรรคจิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมดพ้นเหตุเกิด

สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วน

รวมแล้วมี รูปกับนามสองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กันเป็น เหตุเกิดตัวอวิชชาเกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป
รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้นคือ
รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหวและหมุนรอบตัวเองตาม
ปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ต้องมีนาม ความว่างคั่นระหว่างรูปรูปจึงเคลื่อนไหวได้
เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิตและไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์
เกิด ดับสืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้

จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาลมันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง
จากรูปนามไม่มีชีวิตเปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิต จากรูปนามที่มีชีวิตมาเป็นรูปนามมีชีวิตที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกันคงเหลือแต่ นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม

ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้นเป็นเหตุเกิด รูปนามพิภพ ต่างๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุดรูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต

ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได ้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็น เหตุเุป็นผลให้เ้กิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด)การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็นจึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต

เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิด จิตวิญญาณ การแสดงการเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม
สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่วสัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ


กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส ๕อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณูซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง
เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นไว้ได้หมดสิ้น

เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลงมี กรรมชั่ว อย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ

ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กองก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้
ด้วยการหมุนรอบตัวเองมิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณหรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กายนั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่
ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ยืนนานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้นรูปวิญญาณจึงจะสลาย

ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หูจมูก ลิ้น กาย ๕ กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่าจิต จึงมี สำนักงานจิตติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตาหูจมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณจึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูปรูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กายอยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ

เมื่อสัตว์ตายชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ)ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณจะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย

ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเองนี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบจะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่ากรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุนรูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิดก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป


ส่วนกิจกรรมดีธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณูคงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง

ฉะนั้นโดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่างบริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่านิพพาน

เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนาให้ก่อเกิดเป็นชีวิตอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้วพระพุทธองค์จึงได้ทรงละวิภวตัณหานั้น เสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพานคือเป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหาเป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรกก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่าเข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน

ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใดยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธเป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อยซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่ามันเป็นทุกข์


นี่แหละ กระบวนการกระทำ จิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าพระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำ มาตีแผ่เผยแจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม

เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้วจึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้ายเพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับดังนั้นจึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น
พระองค์เริ่มดับสังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อน วิภวตัณหาได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิตนั้นแลคือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ

เมื่อพระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อนแล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆของพระองค์เสียลงเพียงนั้นนี้ พระองค์เข้าสู่นิพพานอย่างจริงๆ อยู่ตรงนี้พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนดอก

เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับพร้อมไม่มีอะไรเหลือนั่นคือ พระองค์ดับ
เวทนาขันธ์ในภาวะจิตตื่นหรือวิถีจิตปกติของมนุษย์ ครบพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะไม่ถูก
ภาวะอื่นใดที่มาครอบงำ อำ พราง ให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้นเป็นภาวะแห่งตนเองอย่างบริบูรณ์
เมื่อ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแท้ๆ จริงๆ ได้ถูกทำลายลงอย่างสนิท จึงเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดสิ้นแล้วซึ่งสังขารธรรมและหมดเชื้อจิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ทั้งปวงใดๆ ในพระองค์ท่าน ไม่มีเหลือ คงทิ้งแต่ รูปขันธ์อันจะมีชีวิตนั้นไม่ได้แน่ เพราะรูปไม่ใช่ชีวิตหากสิ้นนามเสียแล้ว ก็คือแท่งคือก้อนวัตถุหนึ่ง เท่านั้นเองนั่นแล คือ ลำดับฌาน ที่พระอนุรุทธเถระเจ้าได้นำฌานจิตเข้าไปดู เป็นวิธีการดับโดยแท้ดับโดยจริงโดยพระองค์เป็นผู้ดับเองเสียด้วย




 
ขอขอบคุณที่มา :เอกสารคำสอน จิตคือพุทธะ ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

148
HBD:ครับน้องต้นน้ำ...ขอให้มีความสุขความเจริญ เฮง เฮง รวย รวย

คิดหวังสิ่งใดขอให้สมความปรารถนาทุกประการ เทอญ สาธุ

149
วิธีโพสรูปลงบอร์ด...ลองศึกษาดูตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ...
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

150
ภาพถ่ายสวยงามมากครับ..........

ขอบคุณครับที่เก็บภาพมาฝากกัน :016:

151
งดงามมากมายครับ...ยินดีด้วยครับ

ขอขอบคุณพี่ตี๋ด้วยครับที่นำมาให้ชม :016:

152
ขออนุโมทนา...สาธุด้วยครับ :054:ในบุญกุศลครั้งนี้
และขอร่วมแสดงความยินดีกับเว็บ...
หมู่บ้านคาถาอาคมที่ครบรอบ 3 ปี ครับ


153
กราบนมัสการ...หลวงพี่ครับ :054:

เป็นคำสอนและความรู้ที่มีประโยชน์มากมายครับ

ขอกราบอนุโมทนา...สาธุด้วยครับ

155
งดงามมากครับ

156
งดงามมากมายครับ

ชอบทั้งสององค์เลยครับ 15;

157
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ตอบ: wellcome back
« เมื่อ: 24 มิ.ย. 2553, 09:02:51 »
ขอบคุณครับที่แจ้งข่าว

ยินดีกับพี่ๆน้องๆด้วยนะครับ...โดยเฉพาะพี่ yout

158
ยันต์บารมี 30 ทัศให้พุทธคุณด้านไหนครับ
หลวงพี่หมีท่านเมตตาให้เมื่อเสาร์ที่ผ่านมาครับ





พุทธคุณครอบจักรวาลครับ...ทั้งเสน่ห์เมตตามหานิยม
แคล้วคลาดคงกระพัน ค้าขายโชคลาภ

159
จิ้งจกกำลังมีความสุขตามประสานะค่ะ คุณพี่ก็ไปแอบถ่ายคลิปมาได้

ที่นี้เวปบางพระนะค่ะ เขาห้ามโชว์ภาพที่ส่อไปในทางไม่ดีนะค่ะ  :069:

 :004:
ต้องขออภัยด้วยนะครับถ้าหากผม ละเมิดกฏข้อบังคับของเว็บ ถ้ายังไงรบกวนท่านผุ้ดูแลระบบท่านใดก็ได้ ช่วยลบโพสของผมด้วยครับเพราะผมเองไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้แล้วต้องรบกวนด้วยนะครับ

ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะส่อไปทางที่ท่านกล่าวมาแต่อย่างใด แต่อยากเอามานำเสนอในมุมมองของ เรื่องธรรมชาติที่หาดุได้ไม่บ่อยครั้งเท่านั้นเอง และพอดีผมก็ชอบถ่ายรูป ผมเห็นว่ามันแปลกดี ก็เลยนำมาให้เพื่อนสมาชิกได้ชมกัน และ ผมก็ไม่ได้เปิดกระทู้เองด้วยผม มาต่อกระทู้คนอื่นด้วยครับผม

ขออภัย สมาชิกทุกท่านอย่างสูงครับ กับการกระทำที่ละเมิดกฏเว็บไซต์วัดบางพระ ในครั้งนี้





น้องเค้าหยอกเล่นนะครับ...ไม่มีอะไรหรอกครับ

160









credit : โดย SunnyMan http://www.oknation.net/blog/print.php?id=110658

161

ภาพถ่าย ครูบาศรีวิชัย เมื่อคราวถูกกังขัง
ณ.ศาลาบาตร วัดศรีดอนชัย(ไชย) จังหวัดเชียงใหม่





2 ภาพนี้ ถ่าย ณ.พระธาตุจอมทอง ครั้งบูรณะวัดพระเจ้าตนหลวง
(วัดศรีโคมคำ) เมืองพะเยา อายุท่านได้ 45 ปี



ภาพถ่าย ณ.ต้นชบาบนพระธาตุจอมทอง
เมื่อครั้งสมโภชวัดพระเจ้าตนหลวง(วัดศรีโคมคำ)
และพระธาตุจอมทอง เมืองพะเยา อายุท่าน 46 ปี



ภาพถ่าย ณ.วัดพระธาตุช่อแฮ่ จังหวัดแพร่
เมื่อคราวออกจาริกไปบูรณะพระธาตุช่อแฮ่
และฉลองสมโภช 1 วัน 1 คืน อายุท่านได้ 47 ปี



ถ่ายพร้อมศิษย์ ณ.วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้ 13 พรรษา



ถ่าย ณ.วัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อครั้งเป็นประธาน ในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
อายุท่านได้ 58 ปี



ถ่าย ณ.วัดเบญจบพิตร กรุงเทพฯ
เมื่อครั้งถูกอธิกรณ์กล่าวหา ครั้งสุดท้าย
ปีพ.ศ.2478 อายุท่านได้ 58 ปี



ถ่าย ณ.หน้าวิหารวัดบ้านปางหลังเดิม
ก่อนที่ท่านจะรื้อแล้วสร้างขึ้นใหม่



ถ่าย ณ.วัดจามเทวี เมื่อครั้งเริ่มลงมือสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง
ระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน และท่านก็อาพาธ
จึงมารักษาตัวที่วัดจามเทวี



ถ่าย ณ.วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน อายุท่านได้ 60 ปี
เมื่อครั้งนิมนต์มาจากวัดบ้านปางเพื่อรักษา อาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวาร



โกฏิพระราชทาน งานพระราชทานเพลิงพระศพครูบาศรีวิชัย
ณ.วัดจามเทวี อัญเชิญเพลิงพระราชทานโดย
พลตรีพระยาพหลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น



162
ชะตาชีวิต เรื่องราวร้ายดี  มีอะไรกำหนด ?

เรื่อง ราวต่างๆ ในชีวิตคนๆหนึ่ง เมื่อบอกวันเดือนปีเวลาเกิดให้นักพยากรณ์ สามารถดูแนวโน้มสิ่งที่น่าจะเป็น ได้ตั้งแต่แรกเกิดเป็นทารกตัวน้อยๆ จากการคำนวณตามตำแหน่งดวงดาวในวันเวลาที่เกิด ว่าชีวิตน่าจะเป็นอย่างไร ดวงจะดีดวงจะร้าย จะกำพร้าบิดามารดา บิดามารดาจะเลิกกัน จะประสบภัยในที่ชุมนุมคนหมู่มาก สายตาไม่ดี ประสบอุบัติภัยทางน้ำ อุบัติภัยทางรถยนต์ จะมีคู่ครองร้าย จะเป็นหม้ายแบบแยกทาง จะเป็นหม้ายแบบตายจากกัน จะคิดฆ่าตัวตายแต่รอด จะคิดฆ่าตัวตายและไม่รอด ไฟไหม้บ้าน โดนหลอกซ้ำซาก อารมณ์แปรปรวน รักหลงง่าย เกิดท่ามกลางอบายมุข มักมัวเมาเที่ยวเตร่ สมองผิดปรกติ ร่างกายพิการ เก็บเงินไม่อยู่ โดนคนกลั่นแกล้ง เจ้านายไร้เหตุผล จะมีรูปร่างหน้าตางาม จะเป็นดารา จะมียศใหญ่ จะมีรถยนต์ได้ง่ายราคาแพง จะมีบ้านใหญ่โตสวยงาม โอกาสทางการเรียนดี สมองดี การศึกษาสูง ครอบครับอบอุ่น อุดมไปด้วยเพศตรงข้ามมาสนใจ ความรักสุขสมหวัง จะมีบุตรดีที่นำโชค จะสนใจศาสนา นั่งสมาธิเก่ง ฯลฯ

การพยากรณ์ได้ตั้งแต่แรกเกิดตลอดจนทำนายทายทักเรื่องราวตามช่วงอายุได้นี้ ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่ามีการลิขิตมีการบันดาลจากอะไรสักอย่าง หากเป็นนักโหราศาสตร์จะเชื่อว่าเป็นการกระทำของดวงดาว หากเป็นหมอดูฮวงจุ้ยเชื่อว่าเรื่องราวเกิดเพราะบ้านที่อยู่อาศัยและฮวงซุ้ย ที่ฝังบรรพบุรุษ สำหรับบางศาสนาเชื่อว่ามีพระพรหมลิขิตมีพระผู้สร้างผู้บันดาล หนังจีนกำลังภายในมักชอบตะโกนด่าฟ้าโทษสวรรค์เทวดาฟ้าดิน ฯลฯ

ตามความเป็นจริง การลิขิตการบันดาลนั้น ก็มีจริงๆ เสียด้วย การลิขิตนั้นมีชื่อว่า กรรมลิขิต แปลว่าลิขิตออกมาจากการกระทำ โดยผู้ลิขิตชีวิต เขียนชะตากรรมไม่ใช่ใครก็คือตัวของเรานั่นเอง

บท ความนี้จะอธิบายอย่างย่อ ถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวต่างๆ ว่าคนที่พบเจอเรื่องราวดีๆแบบไหนบ่อย แสดงว่าเคยไปทำกรรมดีแบบไหนมา และส่วนคนที่โชคร้ายซ้ำซากเรื่องไหนบ่อยๆ แสดงว่าไปทำอะไรไม่ดีแบบไหนไว้มาก และบทความนี้จะบอกวิธีให้คุณ เริ่มเขียนชะตาชีวิตของคุณใหม่ หลังจากที่คุณเขียนชะตาชีวิตที่ผ่านมา ให้ดีบ้าง ให้ร้ายบ้าง เขียนชะตาชีวิตไปด้วยความไม่รู้ในเรื่องกรรมและผลของกรรมมาเสียเนิ่นนาน

เริ่มต้นจาก ดวงดี อยากมีดวงที่ดี จะเขียนชะตาชีวิต อย่างไร ?
ถ้าอยากมีชะตาดี ดวงดี .... ก็ต้องทำดีครับ


เพราะดวงดีเกิดจากการกระทำดี หรือที่เรามักเรียกว่าการทำบุญทำกุศล
ส่วนทำบุญอย่างไรได้ผลเป็นแบบไหน จะส่งผลให้เกิดมาได้ชะตาดีในรูปแบบใด ก็ยังมีการแจกแจงลงไปได้อีกครับ แต่ก่อนอื่นจะทำบุญต้องทราบก่อนว่า

บุญคืออะไร

เมื่อพูดถึงบุญการทำบุญ ถ้าถามคนส่วนใหญ่ว่า การทำบุญคืออะไร ?
คนส่วนใหญ่จะนึกถึง ทาน การให้ และจะนึกถึงการทำสังฆทาน ถังสีเหลืองที่มีของหลากหลายบรรจุอยู่ในนั้น ความเป็นจริง บุญ การทำความดีนั้นจำแนกอย่างละเอียดนั้นมีอยู่ 10 อย่างครับ

มีการทำทานเพียงอย่างเดียวที่ต้องเสียเงินและต้องเสียสละเวลา ส่วนบุญอีก 9 อย่างที่เหลือ ไม่ต้องเสียเงินทั้งยังสะดวกทำได้โดยทันที และผลของบุญนั้นยังได้มากกว่าทานเสียอีกด้วยครับ

ศัพท์พระเขาเรียกกันว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 แปลว่าการกระทำที่เป็นบุญสิบอย่างครับ
ซึ่งไม่ว่าชาติไหนศาสนาไหนทำ ก็เป็นบุญทั้งสิ้นครับ

บุญกิริยาวัตถุ 10 มีอะไรบ้าง
1. ทำทาน
2. รักษาศีล
3. ภาวนาอบรมจิตใจ
4. อ่อนน้อมถ่อมตน
5. ขยันช่วยเหลือ
6. อุทิศกุศล แบ่งความดีให้ผู้อื่น
7. อนุโมทนา ยินดีในความดีของคนอื่น
8. ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้
9. สั่งสอนธรรม ให้ความรู้ผู้อื่น
10. เข้าใจโลกและชีวิต มีความเห็นตรง ไม่หลงผิด

ทาน - คนที่เกิดมามีฐานะร่ำรวย คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด มีมรดก ค้าขายอะไรก็กำไรดี เป็นผลมาจากการให้ด้วยความเมตตาด้วยจิตอนุเคราะห์ ให้ด้วยความสม่ำเสมอ ใจกว้าง ขยันให้คนอื่น ชอบช่วย เคยได้ช่วยคนดีที่ควรช่วย
(ส่วนคนทำทาน หวังรวย หวังถูกหวย หวังแก้กรรมฯลฯ อันนั้นได้บุญน้อยเพราะยังมีกิเลสตัวโลภทำให้บุญนั้นไม่บริสุทธิ์ และการทำบุญหวังผลนั้นจะให้ผลในชาติถัดไป)

ศีล – ส่วนคนรักษาศีล 5 ได้นั้น จิตใจแข็งแกร่งทนต่อแรงยั่วยุของกิเลสได้มาก ตั้งใจงดเว้นการกระทำที่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง จะเกิดมาเป็นคนที่หน้าตาผิวพรรณดี มีสง่าราศี มีคนรักที่ดี อายุยืน มีโรคน้อย รักษาทรัพย์ไว้ได้ ไม่พบคนหลอกลวง มีปัญญาดี

ภาวนา - คนที่หมั่นภาวนา สวดมนต์นั่งสมาธิ ฝึกจิตใจ จะเป็นคนที่ปล่อยวางได้ มีสมาธิดี ไม่คิดมาก ไม่คิดวกวนหาทางออกไม่ได้
อ่อนน้อม - คนที่อ่อนน้อมถ่อมตน มืออ่อน เจอผู้ใหญ่แล้วนอบน้อมไม่แข็งกร้าวไม่หยิ่ง ไม่ดูถูกคน กราบพระที่ควรกราบ จะเกิดมามียศ เกิดในสกุลสูง (ที่เกิดมามียศ มีตระกูลสูง เพื่อให้คนอื่นได้ไหว้กราบ เพราะทำบุญด้วยการเคารพกราบไหว้มาเยอะ ทำอย่างไรได้อย่างนั้น)

เพียรทำดี - คนที่ขยันช่วยเหลืองานบุญกุศล ช่วยคนอื่น ชวนคนทำบุญ จะได้มิตรสหายมาก คนนิยมชมชอบ ดวงสังคมดี มหาชนต้อนรับ ไม่ท้อถอยกลางครัน

อุทิศกุศล - คนที่อุทิศส่วนกุศลผลบุญให้คนอื่น จะพบแต่คนที่คิดดีด้วย คนหวังดีด้วย มีคนให้โอกาสมาก

อนุโมทนา - คนที่อนุโมทนา ยินดีในความดีของคนอื่นบ่อยๆ เห็นใครได้ดีทำความดีก็ดีใจด้วย จะเป็นคนที่ไม่มีใครอิจฉา ไม่มีใครขัดขวางความประสบความสำเร็จ

ฟังธรรม – คนที่ฟังมาก อ่านมาก ชอบศึกษาหาความรู้ ตั้งใจฟัง จะทำให้มีปัญญามาก และครองตนรักษาตนไว้ได้รอดตลอดไม่อับจนล้มเหลว เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรร้าย

สอนธรรม - คนที่สอนมาก ให้ความรู้ผู้อื่น ไม่หวงวิชา ตั้งใจให้คนทุกคนฉลาด อยากให้คนอื่นเจริญ จะทำให้มีความรู้แตกแขนงเข้าใจได้ลึกซึ้งพลิกแพลงได้ เกิดมาแล้วจะมีสมองใหญ่มีปัญญามาก ฉลาดหลากเรื่อง

ความเห็นตรง – ข้อสุดท้าย คนที่เข้าใจโลกและชีวิต มีความเห็นตรงความเป็นจริง ว่าชีวิตเกิดมาทำไม กายใจนี้ทำงานอย่างไร รู้แจ้งเรื่องกฎแห่งกรรม จะเป็นคนที่พอเพียงและมีความสุข เพราะในที่สุดแล้ว หากรวย ฉลาด มีอำนาจ หน้าตาหล่อสวย แต่ไม่มีความสุขอย่างเดียว ก็เหมือนทุกสิ่งที่แสนดีนั้นไม่มีค่าความหมายอะไรเลย

และยังมีตัวแปรอื่นๆอีก ที่จะทำให้บุญนั้น มากน้อย ส่งผลช้าหรือเร็ว ทั้งเรื่องของการตั้งจิต ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ ทำด้วยความเชื่อศรัทธา ทำด้วยความเข้าใจ ทำด้วยความกลัว ทำด้วยความมุ่งหวังปรารถนา ทำบุญที่บริสุทธิ์จากใจจริง หรือเจือด้วยความโลภ รายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อขนาดของบุญและลำดับเวลาที่จะได้รับด้วยครับ

เมื่อรู้แล้วว่าดวงดีเกิดจากกรรมอะไรบ้าง...ลองดูเรื่องราวที่เกิดในชีวิตที่ผ่านมาของเรา เราก็พอจะประเมินได้ว่าเรามีบุญเก่า มามากแค่ไหน ฐานะความเป็นอยู่ พ่อแม่ รูปร่างหน้าตา สุขภาพ การศึกษา สติปัญญา งาน ยศตำแหน่ง โอกาส ญาติ มิตร คู่ครอง มีมามากแค่ไหน ทำไว้มากน้อยอย่างไร ในด้านไหนบ้าง

พอทราบเรื่องบุญแล้ว ต่อมาก็เป็นเรื่องบาป คนเราจะได้ดวงร้าย จะดวงตก โชคร้ายนั้นเพราะเคยไปทำอะไรมา แล้ว...ถ้าไม่อยาก ดวงร้าย ไม่ควรไปทำอะไร ?

ไม่อยากดวงตก ดวงร้าย สั้นๆง่ายๆ ก็อย่าทำบาปครับ แต่ต้องทราบก่อนว่าอะไรเป็นบาปบ้าง ว่าโดยย่อบาปคือสิ่งที่ทำแล้วตนเองและคนอื่นสัตว์อื่นเกิดความเดือดร้อน ทั้งทำร้ายทางกาย ทำร้ายทางวาจา ทำร้ายทางใจ ศัพท์พระเขาเรียกกันว่า อกุศลกรรมบถ ครับ

อกุศลกรรมบถ 10 ทางอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์
1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
3. ประพฤติผิดในกาม
4. โกหก หลอกลวง
5. พูดส่อเสียด ดูถูก
6. พูดหยาบ
7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

ผลของอกุศลกรรมบถในแต่ละข้อ

- ผลของการทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์ จะเป็นคนรูปร่างไม่งาม มีโรคมาก สุขภาพไม่ดี กำลังกายอ่อนแอ เฉื่อยชา กลัวอะไรง่าย หวาดระแวง มีอุบัติเหตุบ่อย ตายก่อนวัยอันควร อายุสั้น

- ผลของการขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง จะเกิดมาฐานะไม่ดี อดอยาก หวังอะไรไม่สมหวัง ทำธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ ทรัพย์สินเสียหายพังพินาศ สิ่งของในครอบครองชำรุดเสียหาย

- ผลของการประพฤติผิดในกาม มีความต้องการทางเพศไม่ปกติ จะทำให้มีผู้เกลียดชัง เห็นหน้าแล้วก็ไม่ถูกชะตา เสียทรัพย์ไปเพราะกาม ถูกประจานได้รับความอับอายบ่อย ร่างกายไม่สมประกอบ วิตก ระแวงเกินปกติ พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก คนที่รักไม่ได้ ได้คนที่ไม่รัก พบแต่คนที่มีเจ้าของแล้วมาชอบ คู่มีตำหนิเช่นเจ้าชู้,หม้ายหรืออายุมาก

- ผลของการโกหก หลอกลวง มีจิตบิดเบี้ยวเข้าใจอะไรผิดง่ายๆ จะเป็นคนพูดไม่ชัด ฟันไม่เป็นระเบียบ ปากเหม็นแม้จะดูแลแล้ว ไอตัวร้อนจัด ตาไม่อยู่ในระดับปกติ ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย แม้จะฉลาดเพียงไหนก็จะพบเหตุที่ต้องเสียรู้คนอื่น

- ผลของการพูดส่อเสียด ดูถูก จะเป็นคนชอบตำหนิตนเอง จะถูกลือโดยไม่มีความจริง แตกจากมิตรสหาย จะเกิดในตระกูลต่ำ

- ผลของการ พูดหยาบ จะเป็นคนอยู่ในสถานที่ได้ยินเสียงที่น่ารบกวนไม่สงบ ทั้งบ้านและที่ทำงาน มักหงุดหงิดรำคาญในเสียงต่างๆได้ง่าย มีผิวกายหยาบ น้ำเสียงหยาบ แก้วเสียงไม่ดี เสียงเป็นที่ระคายโสตประสาทของผู้อื่น

- ผลของการพูดเพ้อเจ้อ นินทา จะเป็นคนไม่มีเครดิต ไม่มีใครเกรงใจ เวลาพูดไม่มีใครสนใจฟัง เป็นคนไม่มีอำนาจ มีจิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ สับสน

- ผลของการเพ่งเล็งอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน จะเป็นผู้รักษาทรัพย์สมบัติ รักษาคุณงามความดีไม่ได้ เกิดในครอบครัวอาชีพที่ต่ำต้อย ต้องได้รับคำติเตียนบ่นด่าว่าบ่อย หวังสิ่งใดไม่สมหวัง เสี่ยงโชคยังไงก็ไม่ได้

- ผลของการคิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท จะเป็นคนมีโรคมาก ผิวพรรณและรูปร่างดวงตาไม่สวย มีโรคทรมาน ตายทรมาน โดนทำร้ายตาย

- ผลของ เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว จะเกิดในถิ่นห่างไกลความเจริญ คนป่าคนดอย ด้อยการศึกษา ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะที่ทำให้ใจสงบให้ใจปล่อยวาง ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหมือนเกิดมาว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้

ส่วนบาปที่อยู่นอกเหนือ อกุศลกรรมบถ ก็จะมีเรื่องของศีลข้อที่ห้า คือการดื่มสุราเสพยาเสพติด

- ผลของการชอบดื่มสุราจนเมามาย เสพยาเสพติดกดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท จะทำให้เป็นคนโดนหลอกง่าย ต้องอยู่ร่วมทำงานกับคนพาลชวนทะเลาะ รักษาทรัพย์รักษาชื่อเสียงไว้ไม่ได้ เรียงลำดับการพูดไม่รู้เรื่อง สติปัญญาและสมองไม่แจ่มใส

ดวงชะตาคนคนหนึ่ง จะดีจะร้ายสัมพันธ์กับกรรมดีชั่วดังที่กล่าวมาครับ
เรื่องราวร้ายดีแค่ไหนที่เกิดขึ้นกับคุณบ่อยๆ นั่นก็แปลว่าคุณทำกรรมชนิดนั้นบ่อยๆ
ช่วงชีวิตคนคนหนึ่ง ดีบ้าง ชั่วบ้าง หน้าใสบ้าง หน้ามืดบ้าง ทำให้ดวงชะตานั้นๆก็ดีบ้างร้ายบ้าง

ผู้เขียนชะตากรรม กำหนดชะตาชีวิตนั้นก็คือตัวของคุณเอง ทั้งเป็นผู้เขียนมาแล้วในอดีตจนกลายมาเป็นปัจจุบัน และกำลังเขียนเรื่องราวในอนาคต ด้วยการกระทำในวันนี้

การรู้เรื่องกรรม จะทำให้คุณสามารถเขียนชะตาชีวิตของคุณใหม่ได้
ถ้าคุณอยากได้ดีมีความสุขคุณก็ต้องทำดี ถ้าคุณไม่อยากทรมานทุกข์ทนคุณก็อย่าไปทำความชั่ว

คนดวงตกก็คือคนเคยแพ้กิเลส ห้ามใจไม่ได้จาก ความโลภ ความโกรธ ความหลงมัวเมา

คนดวงดีก็คือคนที่ชนะกิเลสได้ ยิ่งชนะได้มากแค่ไหนหมั่นทำความดีแค่ไหน ดวงก็ดีมากเท่านั้นครับ

ท้ายสุด อยากฝากว่าไม่มีนักพยากรณ์คนไหนทำนายชีวิตคุณได้แม่นและสามารถหาวิธี แก้ไขกรรมเก่าของคุณได้มากเท่าตัวของคุณเองที่รู้เรื่องกฎแห่งกรรมครับ

ตัวเราเองเป็นผู้เขียนชะตาด้วยความไม่รู้ตัวไม่หยุดไม่สิ้นมาแสนนาน ทำบาปบ้าง ทำบุญบ้าง ดีบ้าง ชั่วบ้าง ตั้งแต่อดีตชาติไกลจนถึงปัจจุบันขณะตอนอ่านประโยคนี้ ตัวเราเอง เป็นทั้งผู้รับชะตากรรมเก่าแล้วเขียนชะตากรรมใหม่อยู่ตลอดเวลาในทุกขณะ

ใน เมื่อเราเป็นตัวการผู้ทำ ผู้ก่อเหตุไว้เองทั้งสิ้น สิ่งทั้งหมดที่ปรากฏขึ้น ทั้งดีทั้งชั่วที่เราได้รับ จึงไม่มีมากกว่า ไม่มีน้อยกว่า มีแต่เท่ากับเท่ากันกับสิ่งที่เราทำไว้ มีความยุติธรรมสมบูรณ์อย่างที่สุด สมบูรณ์ทั้งขนาดของสิ่งที่ได้รับ สมบูรณ์ทั้งลำดับเวลาที่จะได้รับตามคิวของกรรมครับ




ขอขอบคุณ...คุณสมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ

ที่มา...www.saringkan.com/chata.doc

163
พระเทวทัตเกิดในอเวจีถูกตรึงด้วยหลาวเหล็ก

จริงอยู่ พระเทวทัตนั้น จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า

อัฏฐิสสระ ในที่สุดแห่งแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ พระเทวทัตนั้นจมดินไปแล้ว

เกิดในอเวจี. และเธอเป็นผู้ไหวติงไม่ได้ ถูกไฟไหม้อยู่ เพราะเป็นผู้ผิด

ในพระพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหว. สรีระของเธอสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์

เกิดในก้นอเวจีซึ่งมีประมาณ ๓๐๐ โยชน์, ศีรษะสอดเข้าไปสู่แผ่นเหล็ก

ในเบื้องบน จนถึงหมวกหู, เท้าทั้งสองจมแผ่นดินเหล็กลงไปข้างล่าง

จนถึงข้อเท้า, หลาวเหล็กมีปริมาณเท่าลำตาลขนาดใหญ่ ออกจากฝา

ด้านหลัง แทงกลางหลังทะลุหน้าอก ปักฝาด้านหน้า, อีกหลาวหนึ่ง

ออกจากฝาด้านขวา แทงสีข้างเบื้องขวา ทะลุออกสีข้างเบื้องซ้าย ปักฝา

ด้านซ้าย, อีกหลาวหนึ่ง ออกจากแผ่นข้างบน แทงกระหม่อมทะลุออก

ส่วนเบื้องต่ำ ปักลงสู่แผ่นดินเหล็ก. พระเทวทัตนั้น เป็นผู้ไหวติงไม่ได้

อันไฟไหม้ในอเวจีนั้น ด้วยประการอย่างนี้.

ท่านพระเทวทัตได้ทำอนันตริยกรรม ตกอเวจีมหานรกแน่ แต่ ทิฏฐิความเห็นผิดไม่มีกำลัง

จนเป็น นิยตะมิจฉา(ความเห็นผิดมั่นคงจนดิ่งลึกลง) แม้ชื่อว่ากรรมหนักที่สุด แต่ความเห็น

ถูกมีกำลังเกิดจากการสะสมปัญญามาแล้วในอดีต ท่านพระเทวทัตจึงสามารถเป็นพระ

ปัจเจกพุทธเจ้าได้ ในทึ่สุดแห่งแสนกัลป์แต่นี้ เพราะฉะนั้นคำว่าอนันตริยกรรม เป็นกรรม

หนักที่สุดแล้วไม่ผิด แต่ไม่ใช่ว่าอกุศลเจตนาประเภทนี้จะมีกำลังจนเป็นพละได้ ซึ่งต่าง

จากกุศลที่เป็นวิวัฏฏะ (บารมี) มีกำลังมากกว่าสามารถสะสมเป็นพละ(โพธิปักขิยธรรม) เช่น

ท่านพระเทวทัตเมื่อสติเกิดระลึกถึงพุทธคุณและได้บูชาด้วยกระดูกคางและลมหายใจ กุศล

เหล่านี้ไม่ได้หายไปใหน เป็นธรรมะ เป็นอนัตตา เมื่อเจตนาของอนันตริยกรรมกั้นไว้ตาม

กำลังแม้หนักที่สุด แต่เมื่อเจตนาซึ่งเป็นกรรมปัจจัย หมดสภาพของกรรมไม่ให้อกุศลวิบาก

เกิด แต่กุศลที่เป็นปัญญาบารมีมีกำลังอยู่ก็สะสมการเจริญสติปัฏฐานไปอีก ดังจะเห็นได้ว่า

พุทธพยากรณ์ว่าพระเทวทัตนั้น จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าอัฏฐิสสระ ในที่สุดแห่ง

แสนกัลป์แต่กัลป์นี้






ขอขอบคุณที่มา...พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 199

164
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหินอันเป็นรัมณียสถานโชติช่วงด้วยแก้วต่างๆ ในละแวกป่าอันมีกลิ่นหอมต่างๆ ใกล้สระอโนดาต ตรัสชี้แจงบุพกรรมทั้งหลายของพระองค์ ณ. ที่นั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมที่เราทำแล้วของเรา....

เราเห็นภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้ถวายผ้าเก่า เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือการถวายผ้าเก่า ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า

ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะกระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้าย (ตอบ) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำกล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง

เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่ ก็เราได้เห็นฤๅษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายโดยบอกกะพวกศิษย์ของเราว่า ฤๅษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวง เที่ยวไปศึกษาในสกุลๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤๅษีผู้นี้มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้นก็ได้คำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา

ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์จับใส่ลงในซอกเขา และบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นพระเทวทัตจึงผลักก้อนหิน ทำให้สะเก็ดหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด

ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผา (ดัก)ไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อ ให้ฆ่าเรา

ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนีแม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นพระเทวทัตได้มอมเมาช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย ให้วิงแล่นเข้ามาเพื่อจะทำร้ายเรา

ในกาลก่อน เราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ ไฟนั้นยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป

ในกาลก่อนเราเป็นเด็ก (ลูก) ของชาวประมงอยู่ในบ้านเกวัฏฎคามเห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัสยินดี ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศรีษะ) ได้มีแล้วแก่เรา

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว
อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน

ในกาลนั้น เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้ห้ามบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) ได้มีแล้วแก่เรา

เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นโรคปักขันทิกาพาธจะมีแก่เรา

เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหนโพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติธรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้น จึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอันบุพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด (บัดนี้) เราเป็นผู้ลอยบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ ที่สระใหญ่อโนดาต ด้วยประการ ฉะนี้แลฯ

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติอันเป็นปุพจารีตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แลฯ



จากพุทธาปทานชื่อ ปุพพกรรมปิโลติ ที่ ๑๐
ว่าด้วยบุพจริยาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ ข้อ ๓๙๒

165
ขอให้มีความสุขความเจริญ...คิดหวังสิ่งใด

ขอให้สมความปรารถนาทุกประการเทอญ


         

166
ในสมัยสมเด็จพระผู้มีภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้
เพราะมีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม มีพระฉวีวรรณงดงาม  เหมือนดอกปทุม ไม่เปื้อนด้วยโลก
และเหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ  เป็นนักปราชญ์ มีพระอินทรีย์ดังใบปทุม และน่ารักเหมือน
ดอกปทุม ทั้งมีพระโอษฐ์ มีกลิ่นอุดม เหมือนกลิ่นในกลีบของดอกปทุม เพราะฉะนั้นพระองค์
จึงทรงพระนามว่า ปทุมุตระ พระองค์เป็นผู้เจริญกว่าโลกไม่ทรงถือพระองค์ เปรียบเสมือนเป็นนัยน์
ตาให้คนตาบอด มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่ฝังพระคุณ เป็นที่รองรับกรุณาและมติถึงในครั้งไหนๆ

พระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น ก็เป็นผู้อันพรหมอสูรและเทวดาบูชา สูงสุดกว่าชนในท่ามกลางหมู่ชนที่
เกลื่อนกล่นไปทั้งเทวดาและมนุษย์ เมื่อจะยังบริษัททั้งปวงให้ยินดีด้วยพระสำเนียงอันเสนาะ และ
ด้วยพระธรรมเทศนาอันเพราะพริ้ง จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า ภิกษุอื่นที่พ้นกิเลสด้วยศรัทธา
มีมติดี ขวนขวายในการดูเรา เช่นกับวักกลิภิกษุนี้ ไม่มีเลย ครั้งนั้น เราเป็นบุตรของพรามณ์ในพระ
นครหงสวดี ได้สดับพระพุทธภาษิตนั้น จึงชอบฐานันดรนั้น

ครั้งนั้น เราได้นิมนต์พระตถาคตผู้ปราศจากมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก ให้เสวยตลอด ๗ วัน
แล้วให้ครองผ้า เราหมอบศีรษะลงแล้วจมลงในสาครคืออนันตคุณของพระศาสดาพระองค์นั้น เต็มเปี่ยม
ไปด้วยปีติ ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระมหามุนี ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นกับภิกษุผู้สัทธาธิมุติ ที่พระองค์
ตรัสชมเชยว่าเลิศกว่าภิกษุผู้มีศรัทธาในพระศาสนานี้เถิด เมื่อเรากราบทูลดังนี้แล้ว พระมหามุนีผู้มีความ

เพียรใหญ่มีพระทรรศนะมิได้มีเครื่องกีดกัน ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า จงดูมาณพผู้นี้ ผู้นุ่ง
ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง มีอวัยวะอันบุญสร้างสมให้คล้ายทองคำ ดูดดื่มตาและใจของหมู่ชนในอนาคตกาล
มาณพผู้นี้จักได้เป็นพระสาวกของพระสมณโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย

ฝ่ายสัทธาธิมุติ เมื่อเขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตามจักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยโภค
ทรัพย์ทุกอย่าง มีความสุขท่องเที่ยวไป ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดามีนามชื่อว่าโคดม

จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลกมาณพผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรม
เนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่า "วักกลิ"

เพราะผลบุญที่เหลือนั้น และเพราะตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เรามีความสุขในที่ทุกสถาน ท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ได้เกิดในสกุลหนึ่งในพระนครสาวัตถี มารดา
ของเราถูกภัยปีศาจคุกคาม มีใจหวาดกลัว จึงให้เราผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น นุ่มนิ่มเหมือนใบไม้อ่อนๆ
ซึ่งยังนอนหงาย ให้นอนลงแทบบาทมูลของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโลกนาถ
หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์ ข้าแต่พระโลกนาถ ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเขาด้วยเถิด
 
ครั้งนั้น สมเด็จพระมุนีผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว พระองค์ได้ทรงรับเราด้วยฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม
มีตาข่ายอันท่านกำหนดด้วยจักร จำเดิมแต่นั้นมา เราก็เป็นผู้ถูกรักษาโดยพระพุทธเจ้า จึงเป็นผู้พ้นจาก
ความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่โดยสุขสำราญ เราเว้นจากพระสุคตเสียเพียงครู่เดียวก็กระสัน พออายุได้ ๗ ขวบ
เราก็ออกบวชเป็นบรรพชิต เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประเสริฐ เกิดพระบารมีทุกอย่าง มีดวงตาสีเขียว
ล้วน เกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสันฐานอันงดงาม ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงทราบว่า เรายินดีในพระพุทธรูป

จึงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่าก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม
บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น กายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วย

ต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่าง ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป พิจารณา
เห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย
 
เราอันสมเด็จพระโลกนาถผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ได้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกเขา
พระพิชิตมารผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา เมื่อจะทรงปลอบโยน เรา ได้ตรัสเรียกว่า วักกลิ เราได้ฟังพระดำรัส
นั้นเข้าก็เบิกบาน  ครั้งนั้น เราวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาสูงหลายร้อยชั่วบุรุษ แต่ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียว
ด้วยพุทธานุภาพ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์

ทั้งหลายอีก เรารู้ธรรมนั้นทั่วถึงแล้ว จึงได้บรรลุอรหัตผล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้มีพระปรีชาใหญ่ ทรงทำ
ที่สุดแห่งจรณะ ทรงประกาศในท่ามกลางมหาบุรุษว่า เราเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุติ ในกัปที่
แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จกิจแล้ว ดังนี้.




ขอขอบคุณที่มา:วักกลิเถราปทาน  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  บรรทัดที่ ๒๗๖๗ - ๒๘๔๑.  หน้าที่  ๑๒๒ - ๑๒๕.
     

167
สวยงามมากมายครับ..................... :016:
ขอบคุณครับสำหรับภาพบรรยากาศที่นำมาให้ชม
สำหรับวัตถุมงคลสวยงามทุกองค์ครับ...ถ้าเป็น
เนื้อเงินแล้วละก็...พี่เอ็กซ์01ชอบมากมายครับ

168
                       


      ขอให้มีความสุข ความเจริญ คิดหวังสิ่งใด ขอให้สมความปรารถนาทุกประการ เทอญ สาธุ


 

169
ลองศึกษาวิธีการโพสรูป...ลองดูตามลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

170
1.พ่อท่านแต่ง วัดนันทาราม ปี 05
2.พระอธิการเปิ่น วัดโคกเขมา ปี 06
3.พ่อท่านเขียว วัดหรงมล ปี 13
4.ตะกรุดหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
5.ตะกรุดหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
6.ตะกรุดหลวงโด่ง วัดทุ่งเว้า
7.เสือหลวงพ่อเปิ่น ปี43

171
ไม่ค่อยชอบชอบกินกาแฟอ่ะครับ ขอโกโก้ปั่นซักแก้วได้ไหมครับ....
ปล.ร้านอยู่แถวไหนครับ กิจการของคุณธรรมะรักโขหรือเปล่าครับ



โกโก้ก็มีครับ...อยู่แถวๆปากซอยคลองลำเจียก 21ใกล้กับถนนนวลจันทร์และเลียบทาง
ด่วนเอกมัย-รามอินทรา เป็นกิจการของพี่สมบัติ สมาชิกในเว็บนี้แหละครับ

172
รางวัลไม่ได้ ขอเอสเปรสโซ่เย็นแก้วนึงได้มั๊ยครับ  :095:

ได้ครับ...เชิญมาเลยครับน้องเอ็กซ์

173
เฉลยแล้วครับ...เดี๋ยวจะรอกันนาน... :075:











ภาพที่เห็นทั้งหมด...อยู่ในร้านกาแฟสด...รำมะนา ครับ

ท่านที่ตอบถูกมีดังต่อไปนี้...
1.!!!โบเด็กป่า!!! เหรียญเสมาเสือคู่
2.kajornsak     เหรียญรุ่นมงคลโชค
3.nayfertity     เหรียญไหว้ครูอเมซิ่ง
4.beer3515      มาตอบช้าดีกว่าไม่มามีรางวัลปลอบใจเป็นผานไถหลวงพ่อชื่น วัดในปราบ สุราษฏร์ธานี

ภาพของรางวัลครับยืมภาพเขามา...ขออนุญาตท่านเจ้าของภาพด้วยครับ













และได้สิทธิ์ดื่มกาแฟสดฟรีคนละ 1 ที่แบบใดรสใดก็ได้

ส่วนรายละเอียดว่าจะรับของรางวัลอย่างไรเดี๋ยวจะติดต่อ P.Mกลับหลังไมค์

ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่ร่วมสนุกกันเพื่อคลายเครียด...ธรรมะรักโข

174
ตอบถูกไปสองท่านแล้วละครับ

เหลืออีกท่านเดียวเท่านั้น

อนุญาตให้ตอบใหม่ได้ครับทุกท่าน :053:

175
ขอตั้งคำถามว่า...ภาพที่เห็นทั้งหมดนี้อยู่ในร้านขายอะไร...


















1.ร้านขายก๋วยเตี๋ยว
2.ร้านขายรองเท้า
3.ร้านขายของชำ
4.ร้านขายกาแฟสด
5.ร้านขายเครื่องเขียน
6.ร้านขายวัสดุก่อสร้าง
7.ร้านขายเสื้อผ้า
8.ร้านขายอาหารตามสั่ง
9.ร้านขายเครื่องไฟฟ้าทุกชนิด
10.โรงพิมพ์
11.โรงเบียร์
12.คลีนิคหมอฟัน

ของรางวัลสำหรับท่านที่ตอบถูกคนแรก...เหรียญเสมาเสือคู่หลวงพ่อเปิ่น ปี 2528 สวยกริ้บ

ของรางวัลสำหรับท่านที่ตอบถูกคนที่สอง...เหรียญหลวงพ่อเปิ่นรูปไข่กนกข้าง รุ่นมงคลโชค ปี 2539 สวยกริ้บ

ของรางวัลสำหรับท่านที่ตอบถูกคนที่สาม...เหรียญอเมซิ่งไหว้ครูทองแดงใน แบบมีห่วง ปี 2541 สวยกริ้บ


ขอเชิญร่วมสนุกกันได้เต็มที่เลยครับ...ขอบคุณครับ

176
คาถาอาคม / ตอบ: +++++ การตั้งธาตุ +++++
« เมื่อ: 15 มิ.ย. 2553, 10:43:35 »
ขอบคุณน้องเอ็ม มากครับได้ความรู้เรื่องการตั้งธาตุ...เยอะเลยครับ :016:

177
สวยงามมากมายทุกรายการที่นำมาให้ชม :016:

ว่าแต่ที่บ้านจะพอเก็บหรือปล่าว...เห็นว่าตู้ที่บ้าน

ก็น่าจะเต็มแล้วนะครับ คงต้องสั่งตู้เก็บเพิ่มละครับ :050:

วันหลังคงต้องไปรอดักแถวๆจตุจักร...บ้างละครับ :043:

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม... :053:

178
สวยงามมากมายครับ

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม :016:

179


ข่าวล่าสุด
หลวงปู่ฟัก สันติธัมโม มรณะภาพแล้ว
เมื่อเวลาประมาณ บ่ายโมง ของวันที่ 9 มิถุนายน 2553ที่โรงพยาบาลธนบุรี
ด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก















ขอกราบแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอกราบร่วมไว้อาลัยต่อหลวงปู่ฟักด้วยครับ

และขอกราบส่งหลวงปู่สู่พระนิพพานครับ




ขอบคุณที่มา...http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3002
                   และเว็บพลังจิตดอทคอม

180
ขอบคุณพี่เจมส์ครับ...สำหรับภาพบรรยากาศที่เก็บมาฝากกัน

181
ขอบคุณครับน้องนาวที่นำเสนอสายเสน่ห์...
สายนี้เค้าน่ารักทุกคนอยู่แล้วแหละ... :045:

เส้นสายลายสักจากหลวงพี่มาร์คสวยสดงดงามมากครับ
รู้สึกว่าทั้งตัวเกือบจะเต็มพื้นที่แล้วละครับตรงไหนว่าง
ก็จะเตรียมลงยันต์กันต่อไป...

อ้อ!มีนักร้องนำวงอะไรน้า..ที่ร้องเพลง อ็อด อ็อด มาร่วม
เป็นกำลังใจด้วยเหรอครับ :025:


ขอบคุณครับ... :052:

182
กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูปครับ

ภาพสวยงามมากมายครับ

ขอบคุณที่นำเสนอครับ

183
ทำดีแล้วครับ...ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น :016:

นี่แหละน้าที่เขาว่า "สวรรค์ในอกนรกในใจ"

ขออนุโมทนาบุญในการทำความดีครั้งนี้ด้วยครับ

184


   

หลวงพ่อสุ่นพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระผู้เป็นพระอาจารย์สองพระเกจิ
อาจารย์ชื่อดังคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ทั้งสองพระเกจิอาจารย์จัดว่าเป็นสุดยอดพระอาจารย์ดัง
ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเลยทีเดียว 

               หลวงพ่อสุ่นถึงแม้ชื่อเสียงท่านจะไม่โด่งดังเท่ากับศิษย์รักทั้ง 2 รูปที่กล่าวมานั้น แต่ในตัวหลวงพ่อเองจัดว่าเป็นพระอาจารย์ที่สำเร็จกรรมฐาน เป็นพระหมอยาที่มีชื่อเสียงมาก เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่ ชาวอำเภอเสนา อำเภอบางบาล บางไทร และใกล้เคียงต่างก็เคารพรักศรัทธาในตัวท่านมาก
             
                ประวัติหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอนั้น แทบจะหารายละเอียดไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะว่าสมัยท่านไม่มีใครบันทึกเรื่องราวเอาไว้  และผู้ที่พอจะรู้เรื่องของหลวงพ่อบ้างต่างก็เสียชีวิตกันหมดแล้ว  จึงเป็นที่น่าเสียดายมากสำหรับชีวประวัติ เรื่องราวของพระอาจารย์ดังที่เก่งในด้านวิชาอาคมต่างๆ ไม่มีการเล่าขานให้กระจ่างชัดเท่าที่ควร
       
                หลวงพ่อสุ่น เป็นสมภารปกครองวัดบางปลาหมออยู่นานพอสมควร อันว่าวัดบางปลาหมอนั้น ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยทางด้านทิศเหนือ อยู่ในท้องที่หมู่ 6  ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางบาลประมาณ 15 กิโลเมตร ใกล้กับค่ายสีกุกหรือวัดสีกุก ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังทำศึกกับพม่า  พระเจ้าหงสาวดีได้แบ่งกำลังส่วนหนึ่งยกเข้ามาตั้งค่ายที่สีกุก  เพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาเอาไว้แล้วเข้าโจมตีภายหลัง   
 
                เขตวัดบางปลาหมอขึ้นอยู่กับอำเภอบางบาล เป็นเขตแดนติดต่อกับตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบางปลาหมอในอดีตเคยเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาก่อน เพราะหลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระแก่กล้าทางวิทยาคมกอปรด้วยความเมตตา ท่านยังเป็นพระหมอช่วยผู้ที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยให้พ้นทุกข์เวทนา  อีกทั้งท่านยังเป็นพระนักพัฒนาทำนุบำรุงเสนาสนะหมู่กุฏิสงฆ์ให้เจริญรุ่งเรืองทางถาวรวัตถุอีกด้วย เหตุนี้จึงมีผู้ให้ความเคารพนับถือท่านมาก นัยว่ามีเจ้านายจากกรุงเทพฯ เคยมาพักที่วัดให้ท่านรักษาโรคด้วย 
             
                วัดบางปลาหมอสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน สันนิษฐานว่าคงสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ส่วนที่ได้ชื่อว่า “วัดบางปลาหมอ” นั้น สมัยก่อนมักนิยมเรียกขานชื่อหมู่บ้านตามภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมละแวกนั้น ที่หมู่บ้านบางปลาหมอเป็นพื้นที่ลาดลุ่มน้ำท่วมถึง  เข้าใจว่าคงจะมีปลาหมอมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ ชาว- บ้านจึงเรียกชื่อสภาพแวดล้อมตามที่เป็นอยู่ว่า “บ้านบางปลาหมอ”             



                มีผู้ใหญ่เล่าสืบต่อกันมาว่า “มีชาวบ้านบางปลาหมอทูลเกล้าฯ ถวายต้มปลาหมอแก่ในหลวงฯ” แต่ไม่ทราบว่ารัชกาลใด เมื่อมีการสร้างวัดขึ้นมา จึงใช้ชื่อตามหมู่บ้านเรียกขานกันว่า “วัดบางปลาหมอ” สภาพของวัดเริ่มแรกเข้าใจว่าพอจะเป็นที่บำเพ็ญกุศลในทางศาสนาได้เท่านั้น  แล้วมาต่อเติมภายหลังจนเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาทุกวันนี้ 
           
                สำหรับหลวงพ่อสุ่นนั้นไม่ทราบว่าท่านมาจากไหน  เพราะไม่มีหลักฐานหรือคำบอกเล่าปรากฏเลย และจากการลำดับเจ้าอาวาสของวัดเท่าที่ทราบ ก็มีหลวงพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก แต่ก่อนหน้านี้จะมีเจ้าอาวาสก่อนหลวงพ่อสุ่นอีกหรือไม่ก็ไม่ทราบได้  ลำดับเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อสุ่นก็มีหลวงพ่อจ้อย, เจ้าอธิการเชื้อ, พระอธิการณรงค์, พระครูสิริพัฒนกิจ จากวัดโคกเสือ มารักษาการเจ้าอาวาสอยู่พักหนึ่ง สมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสังฆรักษ์สงุ่น ต่อมาก็เป็นพระอธิการอู๋, พระครูโกวิทวิหารการ (ประยุทธ ชินวัฒน์) เป็นเจ้าอาวาสมาจนปัจจุบันนี้ 
     
                หลวงพ่อสุ่น เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานผู้ทรงอภิญญา  มีวิชาอาคมไสยเวทย์เปี่ยมล้น นอกจากนี้ยังเป็นพระหมอรักษาไข้ ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่สาธุชนทั่วไปอีกด้วย  ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อสุ่น ที่ปรากฏและเล่าสืบต่อกันมามีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน จากบันทึกของ “พระราชพรหมญาณ” หรือ “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้บันทึกไว้ว่า  “หลวงพ่อสุ่นเป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อปาน  ครั้นหลวงพ่อปานบวชแล้วก็ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อสุ่น ที่วัดบาง- ปลาหมอ  เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จากพระอาจารย์ ซึ่งหลวงพ่อสุ่นเองก็รักใคร่ ในตัวของหลวงพ่อปาน  ถ่ายทอดวิชาอาคม ต่างๆ ให้”    หลวงพ่อปานนั้น  มีความรักอยากจะเรียนทางหมอรักษาคนไข้  แต่หลวงพ่อสุ่นอยากให้ศิษย์รักรับวิชาอาคมต่างๆ เอาไว้ด้วย  ดังนั้นการเรียนการสอนจึงมีทั้งไสยเวทย์และทางหมอยาควบคู่กันไปด้วย   
           
                หลวงพ่อสุ่นท่านสำเร็จทางด้านกสิณ ท่านก็ให้หลวงพ่อปานเรียนกสิณให้เรียนทางวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งหลวงพ่อปานท่านก็ตั้งใจมานะศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์จนสำเร็จอภิญญาได้กสิณต่างๆ จนครบ ทั้งวิปัสสนากรรมฐานท่านก็ได้มา การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานใหม่ๆ นั้น หลวงพ่อสุ่นท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ไว้ให้ปรากฏหลายอย่างเช่น วันหนึ่งหลวงพ่อสุ่นท่านให้หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ให้คนไข้  หลวงพ่อปานเห็นน้ำมนต์ในตุ่มเหลือน้อยแล้ว ก็จะไปตักน้ำมาทำน้ำมนต์เพิ่มอีก หลวงพ่อสุ่ท่านก็ห้ามไว้ท่านบอกว่า “ไม่ต้องไปตักหรอกปานเอ๊ย พ่อตักไว้ให้แล้วรดไปเถอะ”     
     
                หลวงพ่อปานตักน้ำมนต์ในตุ่มรดคนไข้ ซึ่งหลวงพ่อปานเองมาเล่าให้ฟังภายหลังว่า วันนั้นรดน้ำมนต์ให้กับคนไข้ประมาณ 50 คน น้ำในตุ่มยังยุบไม่ถึงคืบ ตุ่มนั้นก็เป็นตุ่มเล็กๆ พอตอนหลังท่านไปถามหลวงพ่อสุ่นก็ได้รับคำ ตอบว่า “พ่อเอาใจตักแล้ว” จากนั้นท่านก็สอนวิชาใช้คาถาตักน้ำให้หลวงพ่อปาน ก็คือวิชาอาโปกสิณนั่นเอง
     
                หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่มีวิชาอาคมสูงมาก ท่านจะตรวจดูด้วยญาณทิพย์ของท่านเสมอ ก่อนที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แล้วก็รักษาตามโรคนั้น  ผู้ป่วยที่มาให้หลวงพ่อรักษาจะหายกลับไปทุกราย ยกเว้นผู้นั้นไปไม่ไหวถึงฆาตจริงๆ ก็ช่วยไม่ได้  ในเรื่องของอิทธิฤทธิ์ต่างๆ นั้น ท่านมักจะไม่ทำให้ผู้ใดเห็นเกรงว่าจะกลายเป็นพระผู้อวดคุณวิเศษไป  นอกจากหลวงพ่อปานที่ขณะเรียนวิชาอยู่กับท่านเท่านั้น  หลวงพ่อสุ่นอยู่วัดท่านก็ทำนุบำรุงซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ไปเรื่อยๆ ต่อเติมสิ่งที่ชำรุดไปทีละอย่างสองอย่างตลอด 

               ปัจจัยที่ญาติโยมให้มาจากการรักษาโรคท่านก็นำมาซ่อมสร้างวัด จะปรากฏชัดเมื่อปลายๆ สมัยหลวงพ่อสุ่นประมาณปี พ.ศ.2403 ได้มีการก่อสร้างครั้งใหญ่อันมีหลวงพ่อสุ่น คณะสงฆ์ ทายกทายิกา ชาวบ้านต่างก็ร่วมมือกันทำนุบำรุงวางแผนผัง ก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดต่างๆ กันใหม่ก็มีอุโบสถ มีลักษณะเป็นศิลปะแบบไทย ภายในมีภาพเขียนเรื่องราวประวัติของพระพุทธเจ้าฝีมือวิจิตรบรรจงสวยงาม  ส่วนพระประธานพุทธลักษณะงดงาม  ปัจจุบันทางวัดรื้อโบสถ์เก่าออก แล้วสร้างใหม่ขึ้นแทนเพราะของเก่าชำรุดทรุดโทรมเต็มที   
             
                วิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่หน้าอุโบสถ ศาลาการเปรียญเป็นเสาไม้แบบไทยๆ สร้างใหม่ของเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ.2494 ประดิษฐานรูปปั้น “บรมครูแพทย์ชีวกโกมารทัต” ด้วย ในยุคของหลวงพ่อสุ่นนั้น  นอกจากท่านจะช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านยังเป็นพระเถระผู้มีความสามารถในทางเทศนาอบรมสั่งสอนสาธุชนอีกด้วย  ท่านจะขึ้นเทศน์บนศาลาการเปรียญ ชาวบ้านทั้งไกลและใกล้จะเดินทางมาฟังธรรมจากท่านเป็นจำนวนมาก  และก็มาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดก็ไม่ใช่น้อย     
     
                วัดบางปลาหมอสมัยนั้นรุ่งเรืองมีผู้คนเข้าออกวัดแต่ละวันเป็นจำนวนมาก  มีทั้งไปปฏิบัติธรรมและไปรักษาไข้ หลวงพ่อสุ่นท่านละสังขารเมื่อปี พ.ศ. อะไรไม่ปรากฏแน่ชัด นับว่าเป็นการสูญเสียพระอาจารย์รูปสำคัญของชาวบ้านย่านบางปลาหมอเลยทีเดียว  ครั้นเมื่อสิ้นหลวงพ่อสุ่นไปแล้ว พระอธิการรูปต่อๆ มาขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนวัดบางปลาหมอก็ไม่เจริญรุ่งเรืองเหมือนยุคของหลวงพ่อสุ่น  บางระยะวัดแทบจะร้างไปเลยก็มี เสนาสนะต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมพังเป็นส่วนใหญ่  จนกระทั่งท่านพระครูโกวิทวิหารการ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่แทน ท่านก็ระดมกำลังทั้งสติปัญญาและแรงกายบูรณะวัดให้ฟื้นขึ้นใหม่ จนกระทั่งวัดเข้ารูปรอยเดิมและรุ่งเรืองยิ่งกว่าเดิม 

                พระครูโกวิทวิหารการ เดิมชื่อประยุทธ ชินวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 บิดาชื่อสุนทร  มารดาชื่อนางขาวผ่อง ชินวัฒน์  เป็นชาวตำบลน้ำเต้า อุปสมบทเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2512 ที่วัดโคกเสือ ตำบลบ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี พระครูอดุลวรวิทย์(พระอดุลธรรมวาที) วัดบางซ้ายใน ตำบลเต่าเล่า อำเภอบางซ้าย อยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุยุต วัดบางนมโคเป็นพระอนุสาวนาจารย์  และพระครูสิริพัฒนกิจ วัดโคกเสือ อำเภอเสนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์   
     
                พระครูโกวิทวิหารการ เข้าศึกษาเล่าเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนวัดน้ำเต้า  จนจบชั้น ประถมปีที่ 4 หลังจากนั้นก็อุปสมบทแล้วก็ศึกษาเล่าเรียนทางธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมโทเมื่อปี พ.ศ.2514 ที่สำนักเรียนวัดโคกเสือ  ต่อมาปี พ.ศ.2519 ได้มารักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ และขึ้นเป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520  เมื่อท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ก็พัฒนาวัดบางปลาหมอเป็นการใหญ่  จนทุกวันนี้วัดบางปลาหมอสวยงามเจริญรุ่งเรือง  นับว่าท่านเป็นพระนักพัฒนาอีกรูปหนึ่ง ที่สามารถบูรณะวัดที่ชำรุดทรุดโทรมมากให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ 

                สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อสุ่นนั้น เท่าที่สอบถามและค้นพบมา ทราบว่าท่านได้ จัดสร้างพระเนื้อดิน 3 แบบคือ พิมพ์กลีบบัว,พิมพ์กลีบบัฟันปลา, พิมพ์กลีบบัวปลายแหลม  เป็นพระที่หายากมาก ชาวบ้านบางปลาหมอให้ความนับถือ ใครมีต่างก็หวงแหนอย่างที่สุด  เพราะมีประสบการณ์มากมายในเรื่องของความคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย คุ้มครองเคหะสถานบ้าช่อง เรื่องลมพายุนั้น เล่ากันว่าใครมีพระเครื่องของหลวงพ่อสุ่น สามารถป้องกันภัยจากลมพายุฝนฟ้าคะนองได้ดีเยี่ยม เรื่องแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีก็ไม่เป็นรองใคร วัตถุมงคลของหลวงพ่อสุ่นนั้นมีคนรู้จักน้อยมาก  เพราะชื่อเสียงท่านไม่ขจรขจายเป็นเพียงพระเกจิอาจารย์ดังในท้องถิ่น พระแต่ละรุ่นมีดังนี้ 
             
                พระพิมพ์กลีบบัว เล่าว่าปี พ.ศ.2494 เจดีย์องค์หน้าโบสถ์หลังใหม่ สร้างสมัยหลวงพ่อสุ่นเกิดแตกร้าว กรุพระเครื่องเนื้อดินเผาที่หลวงพ่อสุ่นสร้างบรรจุไว้แตกออกมา ชาวบ้านพบเห็นเข้าจึงเก็บเอาไปมากบ้างน้อยบ้าง พอทางวัดทราบเรื่องกรุพระกลีบบัวแตกก็รีบไปเก็บมารักษาไว้ แต่ก็เหลืออยู่ไม่เท่าไหร่แล้ว ลักษณะของพระพิมพ์กลีบบัว เป็นทรงแบบกลีบบัว เนื้อพระสีแดง แบบพระเนื้อดินเผาทั่วไป กับอีกสีหนึ่งคือสีดำเนื้อละเอียด พุทธลักษณะด้านหน้าเป็นองค์พระปฏิมานั่งปางสมาธิเพชร พระพักตร์กลม ไม่มีพระเนตรและพระโอษฐ์ ลักษณะลำพระองค์กลมหนา พระชานุ(เข่า) โตทั้งสองข้าง ไม่มีอาสนะเนื้อพระแห้งสนิทอัดแน่น 

               พระพิมพ์กลีบบัวฟันปลา กรุแตกออกมาเมื่อครั้งที่พระครูโกวิทวิหารการ  เจ้าอาวาสทำการรื้อวิหารพระพุทธไสยาสน์องค์เล็กที่ชำรุดทรุดโทรมสมัยหลวงพ่อสุ่นสร้างไว้  ทางวัดต้องการบริเวณที่ดังกล่าวสร้างฌาปนสถาน เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2528 ปรากฏว่าพบพระพิมพ์กลีบบัวฟันปลา  บรรจุอยู่ในตุ่มใบเล็กๆ ตรงช่วงหมอนรองรับพระเศียรของพระพุทธไสยาสน์ในตุ่มมีพระ อยู่  300 องค์เท่านั้น  ท่านเจ้าอาวาสจึงเอาออกมาให้แก่ผู้ที่มาขอบูชา  รายได้ทั้งหมดนำไปตั้งเป็นกองทุน “มูลนิธิหลวงพ่อสุ่น” และพระก็หมดไปเพียงไม่กี่วันเท่านั้น 
 
                ลักษณะพระพิมพ์กลีบบัวฟันปลานี้คล้ายกับพิมพ์กลีบบัว แต่ด้านบนสุดจะป้านไม่แหลมเหมือนกลีบบัว เรียกว่าไม่ได้ตัดกรอบพิมพ์นั่นเอง  ฐานล่างใต้อาสนะเป็นกลีบบัวเล็กๆ สลับกัน องค์พระอวบหนา พระชานุโต(เข่า) พระพิมพ์กลีบบัวปลายแหลม คล้ายพิมพ์กลีบบัวเนื้อพระออกแห้ง สีนั้นบางองค์ออกแดงออกเหลืองบางองค์ก็มีดำแทรกเนื่องจาก เวลาเผาพระสุดแล้วแต่ว่าองค์ไหนจะอยู่ใกล้ไกลไฟเผามากน้อยแค่ไหน พระจะปรากฎคราบกรุจากดินปลวกบ้างประปราย แต่บางองค์ก็ไม่มี นอกจากพระเนื้อดินที่หลวงพ่อสุ่นจัดสร้างขึ้นมาแล้ว ทางวัดบางปลาหมอยังได้จัดทำเหรียญของหลวงพ่อสุ่นออกมาอีกหลายรุ่น เหรียญรุ่นแรกทำเมื่อปี พ.ศ.2508 เป็น เหรียญเสมาหลวงพ่อสุ่นเนื้อทองแดงเหรียญนี้

                ท่านพระครูสิริพัฒนกิจ วัดโคกเสือสมัยที่มารักษาการเจ้าอาวาส ตอนนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสังฆรักษ์สงุ่น เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นมา มีเนื้อเงินกับเนื้อทองแดง ต่อมาปี พ.ศ.2520 เมื่อ ครั้งที่พระครูโกวิทวิหารการ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปลาหมอ อย่างเป็นทางการ ท่านก็ได้จัดสร้างเหรียญเสมาเนื้อทองแดงขึ้นมาเป็นที่ระลึก ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อสุ่นนั่งเต็มตัว ด้านหลังเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นเหรียญสองหน้าสวยงามมาก 
       
                ในปี พ.ศ.2526 ทางวัดจัดสร้างเหรียญขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่ง เป็นเหรียญที่ระลึกหารายได้ บูรณะซ่อมแซมพระพุทธไสยาสน์ เป็นเหรียญอาร์มเนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อสุ่น ครึ่งองค์ด้านหลังเป็นยันต์ระบุวันที่จัดสร้าง 13 พฤศจิกายน  2526 
   
                ปีพ.ศ. 2532 จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อสุ่น เนื้อทองแดงหน้าตัก 5 นิ้ว และรูปหล่อชุด 3 คณาจารย์มีหลวงพ่อจง หลวงพ่อสุ่น และหลวงพ่อปาน นอกจากนี้ยังมีรูปหล่อลอยองค์เล็ก เนื้อเงินแท้กับเนื้อทองแดง และเหรียญ 5 เหลี่ยมเนื้อทองแดงอีก 1 ชุด วัตถุมงคลที่กล่าวมาทั้งหมดขณะนี้แทบไม่มีแล้ว โดยเฉพาะพระเนื้อดินหายากมาก ใครพบเห็นที่ไหนเก็บไว้ให้ดีๆ เถิด จะเป็นสิริมงคล แก่ตนเองยิ่งนัก 
             
                วัดบางปลาหมอการคมนาคมสมัยก่อน จะต้องนั่งกระเช้าข้ามแม่น้ำน้อยไปวัด สมัยนี้ทางรถเข้าถึงวัดแล้ว  ตั้งต้นสี่แยกเสนา จากปทุมธานี เรื่อยไปถึงสี่แยกเสนาจะมีไฟเขียวไฟแดงให้ตรงไปข้ามสะพานข้ามแม่น้ำน้อยแล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตรถึงวัด  แต่ถ้าถึงสี่แยกเสนาตรงไฟเขียวไฟแดงแล้วเลี้ยวขวาไปทางอยุธยา  จะผ่านปากทางเข้าวัดบางปลาหมอเลยไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงทางเข้าวัด ไปทางนี้ต้องจอดรถเอาไว้แล้วไปขึ้น กระเช้าข้ามแม่น้ำน้อยเข้าวัด   
                                                             
 


               
ขอขอบคุณที่มา...http://www.mongkolsoros.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=120

185





หลวงพ่อภู แห่งวัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร ประวัติดั้งเดิม เป็นชาวอยุธยาเกิดเมื่อเดือน 6 ปีเถาะ พ.ศ. 2398 ที่บ้านผักไห่ เป็นบุตรของนายแฟง นางขำ มีน้องร่วมท้อง 5 คน เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดาได้ย้ายภูมิสำเนามาหากินที่ บ้านหาดมูลกระบือ ( หาดขี้ควาย ) ตำบลไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี บิดามารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือขอม และไทยกับพระอาจารย์แช่ม ใน สำนักของพระอุปัชฌาย์อิน และได้เรียนหนังสือกับ อาจารย์ ( นิ่ม ) เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นเณร ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี ก็สึกออกมาช่วยบิดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนรักวิชาสนใจด้าน ไสยศาสตร์ หรือ ไสยเวทย์ เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปสักเล็กน้อย ? ไสย ? มาจากคำว่า? เสยย ? แปลว่าประเสริฐ ? ศาสตร์ ? หมายถึง วิชาการต่าง ๆ มีอาทิเช่น ทางเวทมนต์คาถาและการภาวนาเสกเป่า ฯลฯ ? ไสยศาสตร์ ? หรือ ? ไสยเวทย์ ? จึงแปลว่า ความรู้อันประเสริฐทางเวทมนต์ คาถา ซึ่งผู้ที่ทรงคุณในวิชาการด้านนี้ จะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ คือเป็นผู้รักษาศีลเสมอด้วยชีวิตหรือเป็นผู้มีอภินิหาร หมายถึง

บุญญาธิการของแต่ละรูปนาม คำว่า ? อภินิหาร ? พจานุกรมฯ หมายถึง บุญบารมีที่สร้างสมแต่ในอดีตชาติ จึงพอสรุปใจความโดยย่อได้ว่าผู้ที่ทรงคุณทางพระเวทย์วิทยาคม อย่างสูงสุดก็ดี หรือผู้ที่มีอภินิหาร คือ บุญญาธิการที่สร้างสมแต่ในอดีตชาตินั่นเอง ถ้าขาดคุณสมบัติสองประการ ดังกล่าวก็ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผล หรือถ้าจะมีอยู่บ้าง ก็คงไม่ได้รับผลชั้นสูง จนกระทั่งหลวงพ่อภู อายุได้ 23 ปี บรรดาญาติโยมจึงได้พาไปเข้าอุปสมบท ณ วัดเขื่อน อ.เมือง จ.พิจิตร เมื่อปี 2422 โดยมี พระครูศิลธรารักษ์ ( จัน ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌายะ พระอธิการนิ่ม จาก วัดหาดมูลกระบือ กับ พระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อเป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า ? ธมุนโชติ ? แปลว่า ผู้สว่างในทางธรรม และครั้นปี พ.ศ. 2437 ชาวบ้านท่าฬ่อก็ได้นิมนต์มาอยู่วัดท่าฬ่อ เพราะวัดท่าฬ่อสมัยก่อนชำรุดทรุดโทรมขาดการเหลียวแล

เมื่อท่านมาอยู่แล้วก็ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ จนครบครัน โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี เดิมท่านตั้งใจจะบวชระยะสั้นแต่แล้วก็ไม่คิดสึก กลับมุ่งศึกษาธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ เคยติดตาม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ฝึกจิตจนกล้าแข็ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจาก หลวงพ่อเงินมาก รวมทั้งพระอาจารย์อื่น ๆ ที่พบกันกลางป่า ท่านจึงได้วิทยาคมชั้นเยี่ยมมามาก นอกจากนี้ยังมีความรุ้เรื่องสมุนไพร และแพทย์แผนโบราณ ตามแบบอย่างหลวงพ่อเงิน ซึ่งเป็น อาจารย์ของท่าน และของขลังที่ท่าน หลวงพ่อภู ได้ทำไว้มีมากมายหลายอย่างจริง ๆ จากหลังฐานที่ ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ท่านมีความรู้ด้านภาษาขอมแตกฉานมาก ได้เขียนยันต์ต่าง ๆ เป็นหลักฐานไว้ บนกระดานชนวนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา สิ่งเหล่านี้ท่านทำไว้มากจริง ๆ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ในภาคเหนือ ก็จะมี หลวงพ่อภู เท่านั้น ที่มีครบทุกอย่าง ท่านสร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก กล่าวอย่างชาวบ้านก็ต้องว่า ? มีวิทยายุทธ ครบเครื่องเรื่อง อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดเมตามหานิยม ดีจริง ๆ

ท่านเป็นผู้มีสติปัญญารอบคอบ รู้เท่าทันการณ์และโอบอ้อมอารีทุกอย่าง ชอบทำการก่อสร้างเพื่อเป็นประโยชน์ในพระพุทธ - ศาสนาและมีวิชาความรู้ทางด้านวิปัสสนา ธรรมวินัย การช่างไม้ ช่างทอง การแสดง พระสัทธรรมเทศนาเทศมหาชาติชาดก 13 กัณฑ์ กับทั้งความรู้ทางเวชศาสตร์ และไสยศาสตร์ อีกด้วย จึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก หลวงพ่อภูมักจะ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย หลังจากสำเร็จพระปาฎิโมกข์ แล้ว 5 พรรษาต่อมา พระอุปัชฌาย์เกษ์ จึงได้ให้เป็นพระคู่สวด และต่อจากนั้นมาอีก 5 พรรษาเศษ ทางวัดท่าฬ่อเกิดทรุดโทรม ลงมาก ทั้งโบสถ์และกุฏิหักพังลงเพราะขาดพระอธิการที่จะบำรุงรักษา ให้คงทนถาวรอยู่ได้ชาวบ้านท่าฬ่อและบรรดาสานุศิษย์ต่าง ๆ ก็นิมนต์ หลวงพ่อภู จากวัดเขื่อน มาประจำพรรษาอยู่ วัดท่าฬ่อ ท่านได้ทำการก่อสร้างโบสถ์ กุฎิ หอสวดมนต์ พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และ ธรรมาศน์ จนเป็นผมสำเร็จทุกอย่าง ตั้งแต่นั้นมาวัดท่าฬ่อก็มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับตลอดมา และมีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ พรรษาละมาก ๆ ทุกพรรษา และที่สำคัญพระธรรมวินัยเป็น

ที่น่าเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ผู้ที่จะมาบำเพ็ญทางการกุศลยิ่งนัก ครั้งพุทธศักราชที่ 2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจราชการ คณะสงฆ์ในมณฑล ภาคเหนือ ได้ทรงมาประทับแรมที่ วัดท่าฬ่อ 1 ราตรี และรับสั่งชมเชยชัยภูมิวัดท่าฬ่อยิ่งนัก ท่าน ก็ได้กระทำการปฎิสันถาร คารวะต้อนรับ และทูลปราศรัยโดยถูกต้องตามระเบียบราชการทุก ประการ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ จึงทรงพระราชทานที่ถานันดรสมณศักดิ์ให้รับ พระราชทาน สัญญาบัตรพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ เป็น พระครูพิเศษ และได้รับพระราชทานตราเสมาธรรมจักรให้นั่งที่ พระอุปัชฌาย์อุปสมบทกุลบุตรใน แขวงอำเภอท่าหลวงและทั่วจังหวัดพิจิตร ยังความปลาบปลื้มแก่คณะศิษย์ของท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้แสดงมุฑิตาจิตสร้างเหรียญหางแมลงป่องถวาย และได้พัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนั้น แม้ฝรั่งที่ไปทำทางรถไฟสายเหนือ และไม่ได้นับถือพุทธศาสนายังสยบต่อท่าน ได้ความนับถือท่าน อย่างจริงใจ และในบริเวณวัดท่าฬ่อ ท่านได้เลี้ยงสัตว์ไว้มากสัตว์ป่าทุกตัวเชื่องแม้กระกวาง

และ ไก่ป่า , แพะ ข้าวสุกก็ดีหญ้าก็ดี ที่ท่านใช้เลี้ยงสัตว์ท่านจะเสกก่อนให้กินเสมอ ปรากฏว่าสัตว์ทุก ตัวเชื่องและคงกระพันยิงไม่ออก ถึงออกก็ไม่เข้า ของขลังหลวงพ่อภูที่สร้าง ได้แก่ พระเนื้อผงดำ พิมพ์สมาธิ ตรากระต่าย ฝังตะกรุด กระต่าย ก็คือปีเกิดของท่าน และเหรียญหางแมลงป่องตะกั่วชินเงิน ( ถ้ำชา ) พระรุ่นนีมีชื่อเสียงมากด้าน อยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกมีดถูกขวานจามไม่เคยเข้า และป้องกันภัยต่าง ๆ ดีแล ตะกรุดมหารุด และ แหวนพิรอด ตะกรุดสร้อยสังวาล ตะกรุดโทนยันต์ค้าขาย ผ้าประเจียด เหรียญใบมะยม เหรียญ แปดเหลี่ยม ฯลฯ ท่านก็ได้สร้างไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ตะพด ท่านทำให้อย่างวิเศษจริง ๆ

นอกจาก หลวงพ่อเงิน แล้ว หลวงพ่อภู ยังไปศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อโพธิ์ มาอีกด้วย หลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระมอญมาจากปทุมธานี สร้างกุฏิอยู่องค์เดียวที่วัดวังมหาเน่า ปัจจุบัน คือ ( วัดโพธิ์ศรี ) เป็นอาจารย์ที่เรืองเวทย์จริง ๆ ท่านจะเก่งด้าน ตะกรุด และยันต์อักขระ ขนาดเสาไม้กุฏิท่าน เวลาไฟไหม้หญ้าคามาใกล้กุฎิ และหลังคากุฎิของท่านก็ทำด้วยหญ้าคาก็ยังไม่ไหม้ ท่านก็นั่งอยู่ในนั้น ขณะไฟไหม้ ท่านไม่หนีก็แสดงว่ามีดีจึงอวดได้ บรรดาญาติกลับไปขนถึง 3 เที่ยว บรรทุกใส่เรือล่องลงมา ยังเมืองปทุม ถ้าไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ ใครเล่าจะขึ้นไปขนแค่เสาตอม่อเรือนเตี้ย ๆ อย่างนั้น ทางญาติของ หลวงพ่อโพธิ์จึงเก็บกลับมาที่จังหวัดปทุมธานีหมด เหลือแต่ตำนานว่า ตะกรุดของหลวงพ่อโพธิ์ นั้นศักดิ์สิทธิ์ ( ท่านมรณภาพก่อน พ.ศ. 2440 ) ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ ดอกที่สมบูรณ์มากที่สุด ดอกหนึ่ง ปัจจุบันนี้เป็นสมบัติของ หลวงพ่อเปรื่อง ท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ( ปัจจุบัน ) ผู้สนใจขอท่านชมได้ ท่านคงจะไม่หวง แต่ขอบูชาต่อไม่ได้ท่านหวงแน่ หลวงพ่อเปรื่องเล่าว่า ตะกรุดหลวงพ่อโพธิ์ดีทางคงกระพันเป็นเลิศ เขี้ยวเล็บของสัตว์ร้ายไม่เคย ได้กินเลือดของผู้ใช้ตะกรุดนี้อย่างแน่นอน คนถูกยิงมาก็มาก ไม่มีเข้า ตะกรุดของท่านมีประวัติดีมากด้านอยู่คง เจ้าของเดิมเป็นชาวบ้านแถบวัดวังหมาเน่านั่นแหละ พอถึงหน้าแล้ง น้ำในแม่น้ำตื้น พอเดินลุยข้ามได้ เจ้าของตะกรุดนี้ก็จูงควายข้ามแม่น้ำ ควายไม่ยอมลง แกก็ลงไปก่อน แล้วดึงเชือกสนตะพายให้ความเดินลงไปตาม พอดีมีจระเข้ขนาดใหญ่อยู่แถบนี้ เลยกัดตัวแกเข้าที่บั้นเอว แล้วคาบดำลงไปใต้น้ำ เจ้าของตะกรุดแกมีสติดี ชักมีดเหน็บที่เอว แล้วใช้มือคลำตาจระเข้ เอามีดแทงลูกตาของมัน มันจึงปล่อย

และหนีไป แกมีตะกรุดดอกนี้คาดอยู่ที่เอว จระเข้กัดยังไม่เข้า ปัจจุบัน ตะกรุดดอกนี้เป็นของหลวงพ่อเปรื่องท่านเจ้าอาวาสวัดบางคลานในขณะนี้ ? บรรดาศิษย์เอกหลวงพ่อโพธิ์มีอยู่ คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อภู วัดท่าฬ่อ หลวงพ่อเทียบ ยังต้องไปเรียนจากท่านหลวงพ่อโพธิ์ ที่มีวิชาผู้เรืองเวทย์ ในอดีตโอกาสไปเรียนกันท่านหลวงพ่อโพธิ์ และได้รับวิชามามาก หลวงพ่อภูได้สร้างคุณความดีต่อศาสนามาก จึงได้การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด และพระอุปัชฌายะ ตามลำดับ และได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ เจ้าคณะแขวง เมื่อพูดถึงการสร้างเครื่องราง ก็ต้องพูดถึงศิษย์เอกของท่านองค์หนึ่งคือ หลวงพ่อครุฑ ( พระครูศิล ธรารักษ์ ) ซึ่งหลายท่านบอกว่าเป็นหลานแท้ ๆ ของท่าน และต่อมาก็ได้ครอง วัดท่าฬ่อสืบต่อจากท่าน หลวงพ่อภู หลวงพ่อครุฑนี้เองที่ได้ช่วยเหลือท่านในการสร้างมงคลวัตถุใน ระยะหลังเมื่อท่านชราภาพแล้ว ผู้ที่ต้องการเช่าหาเครื่องรางของหลวงพ่อภูควรศึกษาอักขระลายมือ ของท่านให้แม่นยำ แต่ถึงแม้หลวงพ่อครุฑจะสร้างแทนแต่หลวงพ่อภูก็ปลุกเสกให้ใช้ได้ดีเช่นกัน หลวงพ่อภู ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเขื่อน และก็ได้นิมนต์มาประจำพรรษาอยู่ ณ วัดท่าฬ่อ ตลอดมาจนได้ 46 พรรษาเศษ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 10 พ.ศ. 2467 ตรงกับวันพุธ หลวงพ่อภู ท่าน ได้ลมเจ็บลงเพราะเป็นล้มอัมพาต พระสงฆ์ที่เป็นลัทธิวิหาริกและพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านท่าฬ่อ ก็ได้ตามแพทย์หลวงและแพทย์เชลยศักดิ์มาช่วยกันรักษาพยาบาล จนเต็มความสามารถ ก็มีแต่ ทรงกับทรุดลงจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2467 เวลา 04.00 น. เศษ ท่านก็ได้ละสังขารมรณภาพ ล่วงลับสู่ปรโลกก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง รวมอายุได้ 69 ปี ท่านก็เรียกบรรดาสานุศิษย์ ญาติ มิตร ทั้งหลายมีอาจารย์ครุฑซึ่งเป็นหลายของท่านเข้ามาสั่งการที่จะยกช่อฟ้าศาลาที่ทำค้างอยู่ ให้เป็นผลสำเร็จอีกต่อไปจึงทำให้บรรดาสานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนรักใคร่นับถือท่านมาก และ เมื่อท่านจากไปทุกคนก็เสียใจกันอย่างมากโดยเฉพาะบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่หลวงพ่อภูที่เลี้ยงไว้ ต่างพากันเดินร้องไห้

น้ำตาไหลนำหน้าศพหลวงพ่อภู ซึ่งเป็นที่หน้าแปลกใจยิ่งนัก ของสานุศิษย์และ พุทธศาสนิกชนทั่วไปที่หลั่งไหลเข้ามาในงานปณกิจศพหลวงพ่อภู ในเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ชักศพ วันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งเป็นวันฌาปนกิจที่วัดท่าฬ่อ ฉลองอัฐิธาตุเพื่ออุทิศส่วนกาละปะนาผลหิตานุหัต ประโยชน์ไปให้กับท่าน พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ ซึ่งเป็นที่เคารพนักถือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ว่าหลวงพ่อภูจะสิ้นไล่หลังหลวงพ่อเงินเพียง 5 ปี แต่ทว่าท่านอายุอ่อนกว่าหลวงพ่อเงินเกือบ 50 ปี เพราะหลวงพ่อเงินอายุยืนมากถึง 114 ปี ( หลวงพ่อเงินชาตะ 2348 ? มรณะ 2462 )




credit:เขียนโดย ฐกร...http://www.bkkamulet.com

186
ขออนุโมทนาในบุญกุศลของการบวช.....
และการปฏบัติธรรมในครั้งนี้ของพี่ pepsi  ด้วยครับ

187
งดงามมากมายเลยครับ...เส้นสายก็เล็กคมละเอียด...

วางยันต์ได้สวยงามทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน...

188
คิดถึงและระลึกถึงพระคุณของหลวงพ่อเสมอมาครับ

189
ขอแสดงความเสียใจและขอไว้อาลัยให้กับหลวงปู่ทองด้วยครับ

190


วัดพะโคะ (เดิมชื่อ วัดหลวง) ปัจจุบันชื่อ วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่ บริเวณเขาพัทธสิงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา



ปี พ.ศ. 1919-2039 สมัยอยุธยาตอนต้น ชาวเผ่าอินโดนีเซีย จากปลายคาบสมุทรมลายูบริเวณหมู่เกาะ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เจริญซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีการ ติดต่อกับชาวอาหรับเปอร์เซีย ตั้งแต่ตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ได้ส่งกองโจรสลัดมาทางมหาสมุทรเพื่อปล้นสะดมชุมชนต่าง ๆ ทางตอนกลางคาบสมุทรมลายูมีหลักฐานบันทึกในหนังสือเรื่องกัลปนาวัดในสมัยอยุธยากล่าวถึง โจรสลัดยกทัพยกกำลังเข้าปล้นตีเมืองพะโคะ แถบคาบสมุทรสทิงพระหลายครั้ง

พ.ศ. 2057 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้สร้างวัดพะโคะ (เดิมชื่อ วัดหลวง) ต่อมา ได้สร้างวัดพะโคะ บนเขาพะโคะ ปัจจุบันชื่อ เขาพัทธสิงค์

พ.ศ. 2091 - 2111 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้รับพระราชทานที่กัลปนาวัด เรียกว่า วัดราชประดิษฐาน

พ.ศ. 2148 - 2158 สมเด็จพระเอกาทศรถ ได้บูรณะพระมาลิกเจดีย์สูง 1 เส้น 5 วา และได้พระราชทานยอดพระเจดีย์เนื้อเบญจโลหะ ยาว 3 วา 3 คืบ





 ความสำคัญ
ใช้เป็นสถานที่กระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ประดิษฐานพระมาลิกเจดีย์พระพุทธไสยาสน์หรือพระโคตมะ
พระมาลิกเจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมภาคใต้แบบลังกาสมัยอยุธยา
บรรจุพระบรมธาตุ
พระพุทธบาทข้างซ้ายเหยียบประทับเป็นรอยอยู่บนหินความยาว 17 นิ้ว





วัดพะโคะหรือวัดพระราชประดิษฐาน ตั้งอยู่ห่างจากสงขลา 48 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ สมเด็จพะโคะหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งประชาชนให้ความนับถือเป็นอันมาก สร้างประมาณ พ.ศ.500 เล่ากันว่า วันหนึ่งมีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นสมเด็จพะโคะเดินอยู่มีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลายจึงใคร่จะลองดี โจรสลัดจอดเรือและจับสมเด็จพะโคะไป เมื่อเรือแล่นมาได้สักครู่เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวัน จนในที่สุดน้ำจืดหมดลงโจรสลัดเดือดร้อน สมเด็จพะโคะสงสาร จึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเลเกิดเป็นประกายโชติช่วง น้ำทะเลกลายเป็นน้ำจืด โจรสลัดเกิดความเลื่อมใสศรัทธากราบไหว้ขอขมา และนำสมเด็จพะโคะขึ้นฝั่ง ตั้งแต่นั้นมาประชาชนจึงพากันไปกราบไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ







การเดินทาง
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 407 ทางสะพานติณสูลานนท์ผ่านเกาะยอ แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 408 (สงขลา-ระโนด) หลักกิโลเมตรที่ 110 ทางซ้ายมือ จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดพะโคะ





ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
http://www.mochit.com/place/2176
http://travel.sanook.com/south/songkha/songkha_03807.php

191
ขอขอบพระคุณครับเรือสวยมากมายครับ :054:

เพิ่มเติมภาพบรรยากาศของวัดบางใบไม้ครับ...





ซุ้มประตูวัดบางใบไม้หันหน้าเข้าหาคลองใช้เป็นท่าเรือของวัด





อีกมุมหนึ่งของพระอุโบสถวัดบางใบไม้และหอระฆัง





เรือของวัดบางใบไม้ใช้ในพิธีงานชักพระ หรืองานเดือน 11 ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในเดือนตุลาคมของทุกปี



กุฏิเจ้าอาวาสวัดบางใบไม้



กุฏิสงฆ์ด้านหลังและข้างพระอุโบสถ


ศาลาศรีรักษ์สร้างถวายโดยคุณย่ากิ้มซ้วน  ศรีรักษ์
กลายเป็นสถานที่สำหรับชาวบ้านนั่งพักผ่อนหย่อนใจและสนทนากันแบบสภากาแฟ


ขอบคุณครับ... :054:

192
ขออนุญาตินำลิงค์ เกี่ยวกับสำนักวัดเขาอ้อ... ตักศิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้ จ.พัทลุง ของท่าน "ธรรมะรักโข" ที่ได้ตั้งกระทู้เอาไว้ เพื่ออ้างอิงข้อมูลและประวัติความเป็นมาของสำนักวัดเขาอ้ออย่างละเอียด ตามลิงค์ต่อไปนี้ -->http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,14720.html


ด้วยความยินดีครับ...ความเห็นของผม
เหมือนกับหลวงพี่โด่งครับ
(เรื่องธรรมะและความรู้ต่างๆไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ)

193
ภาพประกอบเรื่องเพิ่มเติมครับ...















ขอขอบพระคุณทุกๆท่านครับ

194
ลายสัก...สายอาจารย์พงษ์ วัดเกาะ สะพานใหม่ กรุงเทพฯ

นำมาให้ชมกันครับ...





















กราบขออภัยที่ภาพไม่ค่อยชัด...

ขอบคุณครับที่รับชม...

195
หนังสือสุทธิสมัยเป็นสามเณร ของท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ประยุทธ์ ปยุตฺโต)






















ขอขอบพระคุณที่มา...http://www.watnyanaves.net/th/home

196
ณ.มุมๆหนึ่ง...สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ...สำหรับครอบครัวและเด็กๆ

น่ารักดีครับ...ขอบคุณครับที่เก็บภาพบรรยากาศมาฝากกัน :114:

197
ยินดีด้วยครับ...

สำหรับศิษย์ใหม่เพิ่มอีก 1 ท่าน

198
วัดนิลาราม หรือชาวบ้านแถวๆนั้น เรียกกันว่าวัดกาซีใต้

ตั้งอยู่บริเวณทางโค้งปากคู ใกล้กับสะพานข้ามไปบ้านท่าดาน

ติดกับคลองยัน ชมภาพบรรยากาศของวัด...






ซุ้มประตูทางเข้าวัด



บริเวณรั้วหน้าวัดซึ่งกำลังปูอิฐทางเดินเท้า



พระอุโบสถวัดกาซีใต้



อาคารไม้หลังเก่า





พระพุทธรูปบูชาภายในศาลา





บริเวณภายในวัดและกุฏิสงฆ์





ด้านหลังวัดก็จะมีถ้ำกาซี ซึ่งเล่าลือกันว่ามีเหล็กไหล เคยมีผู้มีวิชาอาคมมากมายมาทำการตัดเหล็กไหล

แต่ไม่สามารถนำกลับออกไปได้ และอดีตท่านเจ้าอาวาสวัดกาซีท่านจะรู้ก่อนทุกครั้งไปและได้พยายาม

ห้ามปรามทุกครั้ง ภายในถ้ำลึกลับซับซ้อนวนไปเวียนมามีโอกาสหลงแน่นอน

เคยมีคุณศุภชัย อ่อนทอง เล่าว่าสมัยตอนเป็นเด็กได้เคยเข้าไปในถ้ำแห่งนี้กับเพื่อนหลายคน ทางออก

อีกทางทะลุไปที่คลองยัน เป็นปล่องลงไปสู่ลำคลองเล่าลือว่ามีพญานาค.


คุณศุภชัย  อ่อนทอง

199


วัดเกษมบำรุง (วัดขนาย) ต.บางงอน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี แต่เดิมมีชื่อว่า "วัดโคกพร้าว" ตามตำนานกล่าวกันว่ามีตาปะขาวหรือตาผ้า ขาว (ผู้มีวิชาอาคม ถือศีล นุ่งขาวห่มขาว) เป็นผู้สร้างวัดขึ้น แต่ไม่ทราบหลักฐานที่แน่นอนว่าสร้างขึ้น เมื่อใด ต่อมาเมื่อมีชาวบ้านชาวช่องเข้ามาตั้งหลัก ปักฐานทำมาหากินกันมากขึ้น จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่โตขึ้นเป็นหมู่บ้าน มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า "หมู่บ้าน ขอ-นาย"



ต่อมาเพี้ยนไปเป็น "ขนาย" ในที่สุด ส่วนวัดโคกพร้าวก็ได้เปลี่ยนมาเป็น "วัดขนาย" ตามชื่อหมู่บ้านไปด้วยในสมัยของ หลวงพ่อสำรวย หตาโส อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 8 ของวัดขนาย ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระสมุห์เกษม โดยที่ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ได้พัฒนาวัดขนายให้มีความเจริญก้าวหน้า และท่านยังเป็นพระที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพนับถือกันอย่างกว้างขวาง

จนพระปรีชาอุดม เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานีในสมัยนั้น เห็นความดีงามของท่าน และเพื่อเป็นเกียรติแก่พระสมุห์เกษมหรือหลวงพ่อสำรวย จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัด จากวัดขนาย มาเป็นวัดเกษมบำรุง จนถึงปัจจุบันนี้ แต่ชาวบ้านในละแวกนั้นก็ยังคงติดปากเรียกกันว่าวัดขนายอยู่เหมือนเดิม



วัดขนาย ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. 2375 พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2388 มีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแล้วจนถึงปัจจุบัน 10 รูป เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ "พระครูเกษมจิตตาภิรักษ์ หรือพ่อหลวงล้าน" ท่านได้ศึกษาศาสตร์วิชาต่อกระดูก และศึกษาหนังสือขอม เลขยันต์ จากหลวงพ่อพริ้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดขนายที่ได้ศึกษามาจากหลวงพ่อสำรวย หตาโส เจ้าอาวาสรูปก่อนอีกทีหนึ่ง

ทำเนียบเจ้าอาวาส
1.พ่อหลวงแดง
2.พ่อหลวงหวาน
3.พ่อหลวงเมาะ
4.พ่อหลวงขุ้ม
5.พ่อหลวงดำ
6.พ่อหลวงจูด
7.พ่อหลวงเกตุ
8.พ่อหลวงสำรวย (พระสมุห์เกษม)
9.พ่อหลวงพริ้ง (ฐานธมฺโม พระครูพิทักษ์ธรรมสาร)
10.พ่อหลวงล้าน เขมจิตฺโต (พระครูเกษมจิตตภิรักษ์)

นับได้ว่าศาสตร์วิชาต่อกระดูกและเลขยันต์เป็นสายวิชาของวัดขนายโดย ตรงเลยก็ว่าได้ ซึ่งอาจจะได้รับการสืบทอดกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น เจ้าของตำรับตำราอาจจะเป็น ตาปะขาวผู้ที่สร้างวัดก็ได้ และศาสตร์วิชาต่อกระดูกนี้ พ่อหลวงล้านยังได้เมตตาอนุเคราะห์รักษาญาติโยมที่ได้รับบาดเจ็บ เช่นผู้ป่วยกระดูกหัก, แตก, ร้าว พ่อหลวงก็รักษาให้หายทุกรายไป

จนถึงปัจจุบันนี้ยังมีผู้มาให้พ่อหลวงรักษาเกือบทุกวัน

ศาสตร์วิชาดีๆ สายวัดขนาย หลายๆ อย่างของหลวงพ่อสำรวย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อรวยนั้น ได้สืบทอดมาถึงพ่อหลวงล้าน นอกจากวิชาต่อกระดูกอันเลื่องชื่อแล้ว ยังมีเลขยันต์คาถาประสานกระดูก อิติปิโสแปดด้าน (กระทู้ 7 แบก), ยันต์มงกุฎพระเจ้า, พระเจ้า 16 พระองค์, ยันต์ฆเตสิ,

สำหรับยันต์ฆเตสินี้ พ่อหลวงล้านท่านได้ใช้อธิษฐานจิตปลุกเสกผ้ายันต์ ซึ่งก็ได้เห็นปาฏิหาริย์กัน มาแล้วมากมาย



 หลวงพ่อล้าน (พระครูพิทักษ์ธรรมสาร) อายุ 75 ปี เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

เส้นทางที่จะเดินทางมาวัดเกษมบำรุง(ขนาย) ถ้าเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ถึงสุราษฎร์ธานี ผ่านโค-ออฟ ข้ามสะพานทางรถไฟ ก่อนจะข้ามสะพานแม่น้ำพุมดวง ให้เลี้ยวลอดใต้สะพาน ไปทางเส้นทาง อำเภอคีรีรัฐนิคม ประมาณ 10 ก.ม. ให้สังเกตป้ายข้างทางที่บอกว่า บ้านศรีไพรวัลย์แล้วเลี้ยวขวา ไปตามเส้นทางประมาณ 3 ก.ม. ข้ามทางรถไฟเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 500 เมตรก็จะถึงวัดเกษมบำรุง (วัดขนาย)


พระเครื่องหลวงพ่อล้าน วัดขนาย...บางส่วน










ขอขอบคุณที่มา..ข่าวสด  ฉบับที่ 6281 คอลัมน์ สดจากหน้าพระ

และhttp://khuntalebuddha.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2376

200
เห็นภาพวัดวาอารามและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ...เห็นแล้วชื่นใจครับ

ทำให้หวลระลึกนึกถึงวันเก่าๆและร่องรอยของอดีตกาล..ที่ผ่านพ้นมา

ขอขอบพระคุณครับ...สำหรับเรื่องราวประวัติ...วัดเวียงสระ... :016:

201
เทคนิคการถ่ายภาพ...สวยงามมากมายครับ

ขอบคุณครับ..ที่นำมาให้ชมกัน

202
ขอขอบคุณนะครับที่นำมาให้ชม...ทั้ง 4ชุด

203
กราบนมัสการครับ

กระผมเองยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปที่วัดเขาอ้อเลย...

ไว้มีโอกาสจะต้องแวะไปให้ได้ครับ..ขอขอบพระคุณ

สำหรับภาพบรรยากาศของวัดที่เก็บมาฝากครับ :016: :015: :054:

204
กราบนมัสการ...

ขอขอบพระคุณสำหรับภาพบรรยากาศของวัดบ้านสวนครับ :054:


205
ขอขอบคุณน้องเอ็มมี่มากครับ

สำหรับความรู้ดีๆอย่างนี้...

กราบนมัสการพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ด้วยครับ

206


เมื่อเร็วๆ นี้ พระครูปภัสสรวรพินิจ (พระอาจารย์ไพโรจน์) เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ประกอบพิธีเททองหล่อส่วนเม็ดพระศก (ก้นหอย) "หลวงพ่อพระพุทธโสธรองค์ใหญ่" เนื้อโลหะผสม ขนาดกว้าง 14 เมตร 19 เซนติเมตร สูง 19 เมตร รวมฐาน 10 เมตร รวม 29 เมตร เป็นปฐมฤกษ์ และพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลหลวงพ่อทวด-พระพุทธโสธร โดยมีพระราชมงคลรังษี (วิ.) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิง เทรา เมตตาเป็นประธานในพิธี และมีพระเทพสิทธิวิมล เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดคลองวาฬ พระสงฆ์จำนวน 200 รูป เจริญพระพุทธมนต์ชัยมงคลคาถา พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นจำนวนมาก

พระครูปภัสสรวรพินิจเป็นศิษย์สืบสายวิชาอาคมจากหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัย ธานี ตลอดเวลาท่านมีความมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม เป็นพระนักพัฒนาที่มีความคิดกว้างไกล เห็นว่างานพัฒนาชาตินั้นจำเป็นต้องพัฒนาคนก่อน จึงได้เริ่มโครงการส่งเสริมการศึกษาด้วยการจัดหาทุนให้กับพระภิกษุ-สามเณร นักเรียน นักศึกษา เพื่อให้โอกาสได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาคน เพื่อเป็นกำลังของชาติที่มีคุณภาพในอนาคต
 


นับเป็นการวางพื้นฐานสร้างคุณภาพให้กับชีวิตถึงจุดรากหญ้า เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดเป็นเลิศทางวิชาการ ให้มีความรู้ควบคู่กับคุณธรรม เมื่อได้คนมีคุณภาพย่อมมีประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์งานและการสร้างชาติแปงเมืองได้อย่างมั่นคง เกิดสันติสุขโดยทั่วกัน

สำหรับความมั่นคงของประเทศ พระครูปภัสสรวรพินิจท่านมักพูดกับบรรดาศิษย์ใกล้ชิดอยู่เสมอว่ารู้สึกเป็นห่วงบรรดาทหารหาญ ตำรวจ และ อส.ที่ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์รักษาประเทศชาติ หน่วยใดขอร้องให้ไปช่วยบำรุงขวัญไม่เคยปฏิเสธ เดินทางไปเยี่ยมเยียนถึงฐานปฏิบัติการ แม้จะอยู่ในภาวะอันตรายก็ตาม จะให้ข้อคิดสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมแจกพระเครื่อง ที่สร้างด้วยความตั้งใจ และก็ไม่ผิดหวัง วัตถุมงคลที่มอบให้มีพุทธคุณคุ้มครองให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติปลอดภัย จนเป็นที่ประจักษ์กล่าวขานถึงอิทธิฤทธิ์ความศักดิ์สิทธิ์

ส่วนงานด้านพระพุทธศาสนา ท่านได้ส่งเสริมการอบรมให้ความรู้กับพระ-เณรเป็นประจำ สนับสนุนกิจกรรมของคณะสงฆ์ และพระมหาเถรสมาคม เช่น กิจกรรมอบรมพระสังฆาธิการ ประชุมเจ้าคณะตำบล รวมไปถึงการอบรมเยาวชนเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม พร้อมยังเป็นวิทยากรพิเศษอบรมธรรมะ ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ เจริญศีลสมาธิสวดมนต์ภาวนาเป็นกิจวัตร ถึงเวลาลงโบสถ์ปฏิบัติไม่ขาด

วัดห้วยมงคลปัจจุบันนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภายในวัดประดิษฐานหลวงพ่อทวด สก เนื้อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งเด่นตระหง่านสวยงามมาก มีผู้คนเดินทางมากราบสักการะกันทั่วทุกสารทิศ ทุกคนที่มาล้วนแล้วแต่ได้รับสิ่งที่ดีกลับบ้าน บางคนเมื่อได้มาสัมผัสอธิษฐานขอพรประสบผลสำเร็จคนแล้วคนเล่า สร้างความน่าอัศจรรย์ เป็นที่พึ่งทางจิตใจของประชาชน

ดังนั้น เป็นโอกาสดี พระครูปภัสสรวรพินิจได้คิดสร้างสิ่งมงคลล้ำค่าเพื่อฝากไว้ในแผ่นดินถวายเป็นพุทธบูชา คือ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ องค์พระพุทธโสธร ที่คนไทยให้ความเลื่อมใสศรัทธา เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศจนถึงต่างประเทศ สร้างประดิษฐาน ณ วัดห้วยมงคล เพื่อให้ประชาชนได้มากราบไหว้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และขอบารมีให้หลวงพ่อพระพุทธโสธรช่วยปกป้องคุ้มครองคนไทยและประเทศชาติให้มีความสงบสุขโดยเร็ววัน

กำหนดพิธีเททองหล่อส่วนเศียร ในวันศุกร์ที่ 28 พ.ค.2553 (วันวิสาขบูชา) ในเวลา 13.00 น. ได้รับความเมตตาจากพระราชมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นประ ธานพิธี ดังนั้น จึงไม่ควรพลาดที่ทุกท่านจะมาร่วมพิธีที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ศาสนิกชนท่านใดที่จะร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพเททองหล่อในแต่ละชิ้นส่วนขององค์พระ หรือตามกำลังศรัทธา ด้วยการเขียนชื่อ ที่อยู่ วัน เดือน ปีเกิด ลงบนแผ่นทอง ส่งมาที่ วัดห้วยมงคล ต.ทับใต้ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์



ขอขอบคุณที่มา... http://www.khaosod.co.th/view_news.p...MHdOUzB5Tmc9PQ

207
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆอย่างนี้

208
ขอบคุณครับพี่บอล...

สวยงามทุกอย่างเลย

พี่เอ็กซ์และพี่เอ็มคงจะชอบ

209
สุดยอดเลยครับ...สำหรับเรื่องราวของวัดหนัง

ดาราหน้ากล้องน่ารัก...แลดูอบอุ่นเช่นเคย

ไว้มีโอกาส...จะต้องไปเยือนและกราบนมัสการ

หลวงปู่เอี่ยมและเจ้าคุณผล วัดหนัง ให้ได้เป็นแน่...

ขอบคุณพี่ตี๋ครับ...สำหรับภาพบรรยากาศ :016: :015:

210
ขอขอบพระคุณพี่น้องชาววัดบางพระทุกๆท่านที่นำเสนอ...

เกี่ยวกับภาพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเปิ่น ที่เคารพรักและ

ศรัทธายิ่งของพวกเรา................... :016: :015:

211
คลายเครียดกันไปเลย...

ขอบคุณท่านโจรสลัดครับ

212
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ขอบคุณพี่เจมส์ครับที่นำมาให้ชม

213

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วันนี้อาตมาจะเทศน์ เรื่อง “บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน”
คำว่าบุญ แปลแบบไทยๆ ว่าความดี ความสะอาดแห่งจิต
เวลาให้ของแก่พระสงฆ์เรียกว่าทำบุญ
ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนาเรียกว่าทำบุญ
ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันมากมายหลายวิธี
แต่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในธรรมะเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 3
ซึ่งประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา
เคยมีคนถามอาตมาว่าเกิดมาเป็นคนยากจนไร้ทรัพย์จะทำบุญอย่างไร


อาตมา ก็ตอบเขาไปว่าการทำบุญ
ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินเงินทอง ก็สามารถที่จะร่วมทำบุญได้
แถมยังประหยัดอีกด้วยนั่นคือ การรักษาศีลและการเจริญภาวนา
ซึ่ง 2 อย่างนี้จะได้อานิสงส์ผลบุญมากกว่าการให้ทานเสียอีก
เพียงแต่ญาติโยมมองข้ามกันไป
โยมมักจะคิดทำบุญแต่การให้เท่านั้นเพราะว่ามันง่ายดี
แต่การรักษาศีลและภาวนา
ต้องเสียสละเวลาในการปฏิบัติ จึงรู้สึกว่าทำยากกว่า
การทำบุญทุกอย่าง โยมต้องเข้าใจด้วยว่า
เพียงแต่เราตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะทำบุญเท่านั้น โยมก็ได้กุศลแล้ว
แต่บุญที่ได้รับยังเป็นส่วนน้อย ถ้าอยากได้บุญเต็มที่ต้องทำบุญให้ครบ 3 อย่าง


ทาน
คือ การให้ ถ้ามีเงินทองมากก็ทำมาก
มีเงินน้อยก็ทำน้อยตามกำลังตนถ้าไม่มีเงินทองใช้แรงกายก็ให้เป็นทานได้


ศีล
พวกท่านทั้งหลายสังเกตหรือไม่ว่า
เวลาที่ญาติโยมจะมาทำบุญ
ทำไมพระท่านถึงให้พวกญาติโยมรับศีลก่อน
เพราะท่านต้องการที่จะทำให้ผู้ให้มีจิตใจที่บริสุทธิ ์
เมื่อทำบุญขณะนั้นก็จะได้รับผลเต็มกำลัง
จริงอยู่ที่บางคนไม่อาจถือศีลได้ตลอดเวลา
อาจเป็นเพราะหน้าที่การงาน ทำให้ต้องผิดศีล
แต่เราก็สามารถที่จะถือศีลได้ในขณะที่เรานอนในเวลากลางคืน
และถือได้ครบทั้ง 5 ข้อด้วย
เพียงแต่เราอาราธนารับศีลทั้ง 5 ด้วยตนเองที่หน้าพระพุทธรูปที่บ้าน
ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญที่ง่ายมากได้รับผลเต็มกำลัง
ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตใจเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา
แต่ถ้าเกิดเราต้องตายในขณะนั้นก็ส่งผลให้เราไปสู่สุค ติทันที


ภาวนาหรือการสวดมนต์
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่า
การภาวนาสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามาก
แต่ความจริงแล้วการสวดมนต์ภาวนา มีประโยชน์อย่างมากมาย
เพราะการสวดมนต์ภาวนา
เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
การสวดมนต์ภาวนาด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ
และใช้สติพิจารณาเกิดเป็นปัญญา
เป็นความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ภาวนา
ทำให้บรรลุไปสู่พระนิพพาน


“หัวใจของการทำบุญทุกครั้ง” ขอให้ญาติโยมจงแผ่เมตตา
และอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลทุกครั้งตามนี้


“ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนามทั้ง 20 ชั้น
พรหมโลก 6 ชั้นเทวะโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก
อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ
ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า
ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาในส่วนกุศลนี้
พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้า
จะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ”


บุญที่ทำไปจะส่งผลให้ได้รับบุญในชาติปัจจุบันทันที
ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้ากันหรอกนะจ๊ะ ขอเจริญพร



ขอขอบคุณที่มา...จากหนังสืออมตะธรรม สมเด็จโต พรหมรังสี

214







ขอขอบพระคุณที่มา...http://84000.org/supatipanno/status.html

216
ข้อความของหลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต ที่เขียนถึงฝ่าเท้าของหลวงปู่มั่น

เรื่องที่ลืมเขียนมานานคือ ....
( ฝ่าเท้าหลวงปู่มั่นทั้งสองข้าง เป็นตาหมากรุกหมดเต็มทั้งสองฝ่า )
เวลาสรงน้ำท่านปรารภว่า(ฝ่าเท้าของเราไม่เหมือนหมู่เพียงเท่านี้)
พูดค่อยๆแบบเย็นๆ (ในยุคหนองผือ สี่ปีที่ข้าพเจ้าอยู่กับองค์ท่านนั้น)
พระเณรผู้น้อยที่ถวายข้อวัตรสรงน้ำถวายองค์ท่านนั้น ผู้สงวนฟังจึง -
จะได้ยิน (เพราะองค์ท่านก็ปรารภค่อยแบบประหยัดไม่แกมอวด)

ส่วนข้าพเจ้าไม่ได้__อาจเอื้อมถูข้างบน(ระหว่างฝ่าเท้าเสมอๆ)
จำพวกที่ถูหลัง ตัว แขน ขา ฝ่าเท้านั้น มักจะเป็นพระ ๔-๓-๒-
พรรษาเท่านั้นได้ถู พระผู้ใหญ่เหนือ ๕-๖-๗-๘-๙- ไปแล้วไม่ค่อย
จะได้ถู ตัว แขน ขา เพราะองค์หลวงปู่เทสน์ว่า สรงน้ำนี้เว้นให้ผู้น้อย
เขาสรงเสีย ถ้าพระผู้ใหญ่มาทำขวางผู้น้อย ผู้น้อยเขาระอายเก้อเขิน
เพราะเขาไม่มีทางเอื้อมมือเข้า และเขาก็กระดากระอายดังนี้

ส่วนข้าพเจ้าพรรษาอ่อน แต่อายุสามสิบกว่าในสมัยนั้น
และการที่องค์ท่านปรารภว่า ฝ่าเท้าของเราไม่เหมือนหมู่ นั้นองค์ท่าน
(ปรากฎว่า ปรารภครั้งเดียวเบาๆเท่านั้นไม่ได้ซ้ำๆซากๆอีก) ส่วนข้าพเจ้า
ผู้สงวนถูฝ่าเท้าก็เห็นเป็นตาหมากรุกเต็มฝ่าเท้าทั้งสองทางจริง ข้อนี้
ในชีวะประวัติขององค์ท่านเล่มใดๆก็ไม่ปรากฎเห็น และยุคที่องค์ท่านทรงพระ
ชีวาอยู่ ก็บรรดาลดลใจไม่มีใครสนใจปรารภ (น่าแปลกมาก) ข้าพเจ้าก็บรรดาล
ลืมอีกด้วย เรียกได้ว่าข้าพเจ้าไม่มีพยานก็ว่าได้ (แต่เอาตาหูตนเองเป็นพยาน)
ยุคก่อนๆก็ไม่มีท่านผู้ใดเล่าให้ฟัง (ชะรอยจะว่าดีชั่วไม่อยู่กับฝ่าเท้าอยู่กับใจกับธรรม)

o เรื่องฝ่าเท้าขององค์หลวงปู่มั่นเป็นตาหมากรุกนี้ เป็นของ
ทรงพระลักษณะสำคัญมาก แต่ก็น่าสนใจมากว่า ไฉน
จึงบรรดาลไม่ให้พระจำพวกผู้ใหญ่สนใจเอาลงในชีวะ
ประวัติ(กลายเป็นของไม่สำคัญไป)ชะรอยพระผู้น้อยที่
เห็นในเวลาสรงน้ำถวายแล้ว ไม่เล่าถวายให้พระผู้ใหญ่
ฟัง แต่ข้าพเจ้าเองก็บรรดาลลืม ไม่ค่อยสนใจเล่าเลย
แต่พอมาถึงยุคภูจ้อก้อตอนแก่กว่เจ็ดสิบปีกว่าๆแล้ว
จึงระลึกเห็น เป็นของน่าแปลกมากแท้ๆที่ลืมพากันลืม
เขียนลง แต่คราวองค์ท่านทรงพระชีวาอยู่ก็ดี หรือ
ทรงพระมรณะกาเลก็ดี ไม่มีท่านผู้ใดสงวนปรารภ ก็เป็น
ของคล้ายกับว่าอุตตริขึ้นมาภายหลัง แต่ก็ต้องอาศรัย
หลักของความจริง ไม่หนีจากความจริงเฉพาะตอนนี้
เป็นพยาน จริงก็ต้องเอาจริงเป็นพยาน เท็จก็ตรงกันข้าม

o ชีวะประวัติยุคภูจ้อก้อเป็นยุคสุดท้ายภายแก่ชะราพาธ ถ้าไม่มรณะกา
เลไปเสียแล้ว ชีวะประวัติก็จะไม่จบได้ แต่จะอย่างไรก็ตามทีเถิด
ต่างจะได้พิจารณาว่า เจตนาปฏิบัติพระพุทธศาสนาแพื่อประสงค์อะ
ไรบ้าง และจิตใจจะอยู่ระดับใดบ้าง เหล่านี้เป็นต้น แต่บรรยาย
พอสังเขปก็เอาละ จะบรรยายไปมากก็จะเป็นหลายวรรคหลายตอน
และก็ความพอดีพองามในโลกนี้ไม่รู้ว่าจะอยู่ระดับใดแน่ ถ้ามาก
เกินไปเล่มก็ใหญ่ลงทุนก็มาก ท่านผู้อ่านก็จะระอาอีก น่าพิจารณา
และก็คล้ายๆกับว่าตนเป็นผู้ประเสริฐเลิศล้ำ ระฆังไม่ดังก็ตีจนระฆัง
แตก แต่จะอย่างไรก็อาศรัยเจตนาเป็นเกณฑ์ ก็แล้วกันกระมัง

หล้า



ขอขอบพระคุณที่มา...http://84000.org/supatipanno/foot.html

217

พ่อท่านนุ้ย สุวณฺโณ

ข้อมูลประวัติ


พ่อท่านนุ้ย สุวณฺโณ เกิดเมื่อ  พ.ศ.2397  ตรงกับเดือน 8  ปีขาล
บรรพชาตั้งแต่เป็นสามเณร  เมื่ออายุ 15 ปี อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี ณ วัดประตูใหญ่ อ.ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี
และยังได้ร่ำเรียนวิชาจากพ่อท่านแก้ว วัดประตูใหญ่ อ.ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานีและนอกจากนี้ยัง
เป็นอาจารย์ของพ่อท่านแต่ง วัดนันทาราม



วัดอัมพาราม หรือที่ชาวบ้าน เรียกขานกันว่าวัดม่วง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี





















พระเครื่องของพ่อท่านนุ้ย...บางส่วน


เป็นเหรียญดังของจังหวัดสุราษฏร์ธานี




ขอขอบคุณที่มา...เว็บพ่อขุนทะเล
ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพพระเครื่อง(เพื่อป็นวิทยาทาน)มา ณ.โอกาสนี้ด้วยครับ.

218



พระธาตุ"พระสันตติมหาอำมาตย์ สัณฐานดังดอกมะลิตูม พรรณขาวดั่งสีสังข์"


พระบรมศาสดาตรัสพระคาถานี้ว่า

"กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจง
ยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่อง
กังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง, ถ้าเธอจักไม่ยึด
ถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป."

ในกาลจบพระคาถา สันตติมหาอำมาตย์ บรรลุพระอรหัตผลแล้วพิจารณาดูอายุสังขารของตน

บุรพกรรมในกาลก่อนของสันตติมหาอำมาตย์

ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ข้าพระองค์บังเกิดในตระกูลๆ หนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดแล้วว่า "อะไรหนอแล เป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้น ซึ่งชนเหล่าอื่น" ดังนี้แล้ว เมื่อใคร่ครวญอยู่ จึงเห็นกรรมคือการป่าวร้องในบุญทั้งหลาย จำเดิมแต่กาลนั้น ทำกรรมนั้นอยู่ ชักชวนมหาชนเที่ยวป่าวร้องอยู่ว่า "พวกท่าน จงทำบุญทั้งหลาย, จงสมาทานอุโบสถ ในวันอุโบสถทั้งหลาย, จงถวายทาน, จงฟังธรรม, ชื่อว่า รัตนะอย่างอื่นเช่นกับพุทธรัตนะเป็นต้นไม่มี, พวกท่านจงทำสักการะรัตนะทั้ง ๓ เถิด"

ผลของการชักชวนมหาชนบำเพ็ญการกุศล

พระราชาผู้ใหญ่ทรงพระนามว่าพันธุมะ เป็นพระพุทธบิดา ทรงสดับเสียงของข้าพระองค์นั้น รับสั่งให้เรียกข้าพระองค์มาเฝ้าแล้ว ตรัสถามว่า "พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร" เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพข้าพระองค์เที่ยวประกาศคุณรัตนะทั้ง ๓ ชักชวนมหาชนในการบุญทั้ง-หลาย" จึงตรัสถามว่า "เจ้านั่งบนอะไรเที่ยวไป" เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์เดินไป" จึงตรัสว่า "พ่อ เจ้าไม่ควรเพื่อเที่ยวไปอย่างนั้น จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้ว นั่งบนหลังม้าเที่ยวไปเถิด" ดังนี้แล้ว ก็พระราชทานพวงดอกไม้ เช่นกับพวงแก้วมุกดาทั้งได้พระราชทานม้าที่ฝึกแล้วแก่ข้าพระองค์

ต่อมา พระราชารับสั่งให้ข้าพระองค์ ผู้กำลังเที่ยวประกาศอยู่อย่างนั้นนั่นแล ด้วยเครื่องบริหารที่พระราชาพระราชทาน มาเฝ้า แล้วตรัสถามอีกว่า "‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร" เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพข้าพระองค์ทำกรรมอย่างนั้นนั่นแล" จึงตรัสว่า "พ่อ แม้ม้าก็ไม่สมควรแก่เจ้า เจ้าจงนั่งบนรถนี้เที่ยวไปเถิด" แล้วได้พระราชทานรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔. แม้ในครั้งที่ ๓ พระราชาทรงสดับเสียงของข้าพระองค์แล้ว รับสั่งให้หา ตรัสถามว่า "พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร" เมื่อข้าพระองค์
ทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทำกรรมนั้นแล" จึงตรัสว่า "แน่ะพ่อแม้รถก็ไม่สมควรแก่เจ้า" แล้วพระราชทานโภคะเป็นอันมาก และเครื่อง
ประดับใหญ่ ทั้งได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์นั้น ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง นั่งบนคอช้าง ได้ทำกรรมของผู้ป่าวร้องธรรมสิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกายของข้าพระองค์นั้น กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ นี้เป็นกรรมที่ข้าพระองค์ทำแล้ว"

การนิพพานของสันตติมหาอำมาตย์

สันตติมหาอำมาตย์นั้น ครั้นทูลบุรพกรรมของตนอย่างนั้นแล้วนั่งบนอากาศเทียว เข้าเตโชธาตุ นิพพานแล้ว เปลวไฟเกิดขึ้นในสรีระไหม้เนื้อและโลหิตแล้ว ธาตุทั้งหลายดุจดอกมะลิเหลืออยู่แล้ว.พระศาสดา ทรงคลี่ผ้าขาว ธาตุทั้งหลายก็ตกลงบนผ้าขาวนั้น.พระศาสดา ทรงบรรจุธาตุเหล่านั้นแล้ว รับสั่งให้สร้างสถูปไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง ด้วยทรงประสงค์ว่า "มหาชนไหว้แล้ว จักเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ"






ขอขอบพระคุณที่มาจาก...http://www.relicsofbuddha.com

219
สันตติมหาอมาตย์

พระบรมศาสดา ได้ทรงปรารภ สันตติมหาอำมาตย์ ได้ไปปราบปัจจันตชนบทเรียบร้อยกลับมา
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดีให้ครองราชสมบัติ ๗ วัน
แล้วพระราชทานหญิงผู้ฉลาดในการฟ้อนขับนางหนึ่งเป็นรางวัล สันตติมหาอำมาตย์ ได้เสพสุราเมามึนอยู่สิ้น ๗ วัน
ในวันคำรบ ๗ ประดับกายด้วยอลังการวิภูษิตทั้งปวง แล้วขึ้นสู่คอคชสารตัวประเสริฐไปสู่ท่าน้ำ
ได้เห็นพระศาสดาเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต จึงสั่นศีรษะถวายนมัสการ
พระศาสดาทรงกระทำแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ
พระอานนท์จึงทูลถามเหตุแห่งความแย้มพระโอษฐ์นั้น พระองค์จึงตรัสว่า
สันตติมหาอำมาตย์จักมาสู่สำนักของเราทั้งเครื่องประดับแล้วจักสำเร็จพระอรหันต์ ปรินิพพานในวันนี้แหละ

เมื่อสันตติมหาอำมาตย์ไปเล่นน้ำสิ้นวันยังค่ำแล้วก็ไปสู่อุทยาน
นั่งดูสตรีที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานนั้นแสดงการฟ้อนรำ
เวลานั้นลมสัตถวาตบังเกิดขึ้นภายใน ตัดหทัยของสตรีนั้นขาด
ทำกาลกิริยาในขณะนั้น สันตติมหาอำมาตย์ได้เห็นดังนั้น ก็เสียใจเศร้าโศกเป็นกำลัง
ไม่เห็นคนอื่นจะดับความโศกอันนั้นได้
จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาพระองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้สำเร็จพระอรหันต์ แล้วปรินิพพานวันนั้น

พระภิกษุทั้งหลายจึงประชุมปรารภกันถึงสันตติมหาอำมาตย์
ควรจะเรียกอย่างไร
พระองค์จึงตรัสพระคาถานี้


อลงฺกโต เจปิ สมฺจเรยฺย สนฺโต
ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ,
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ. สมณะ


ถ้าแม้บุคคลที่ประดับแล้ว เป็นผู้สงบระงับ
ฝึกตนแล้ว เที่ยงตรงแล้วต่อมรรคผล เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ
ละอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว ประพฤติสม่ำเสมอไซร้
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นชื่อ ว่าเป็นสมณ.




ขอขอบคุณธัมมนัตา:ที่มาจาก หนังสือ ธรรมสมบัติ

220
มีรูปมาฝากกันอีกแล้ว...สำหรับครอบครัวอันแสนจะอบอุ่นนี้

ลูกสาวน่ารักจัง...ขอบคุณครับพี่ตี๋...ที่นำภาพมาฝากกัน

222
สวยงามมากมายครับ เส้นสายเก็บได้ละเอียดจริงๆ

223


หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว อายุ 108 ปี เกจิ 5 แผ่นดิน มรณภาพแล้ว ด้วยโรคชรา เมื่อเวลา 19.30 น. 4 พ.ค. 53 นำร่างออกจากรพ.สวรรค์ประชารักษ์ 5 พ.ค. เวลา 09.00 น. เพื่อนำไปที่วัดลาดยาว...

เมื่อเวลา 19.30 น. 4 พ.ค. ที่ห้องพักสงฆ์อาพาธ ชั้น 7 ตึก 2 รพ.สวรรค์ประชารักษ์ พระครูนิวิฐธรรมสาร หรือหลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโล เจ้าอาวาสวัดลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ถึงแก่มรณภาพ ด้วยโรคชรา สืบเนื่องจากการที่หลวงปู่เปลื้องอายุกาลพรรษามากแล้ว วันนี้หลวงปู่อยู่ที่วัดลาดยาว แล้วเกิดอาการรู้สึกเหนื่อยอ่อน เพลีย หายใจไม่ค่อยทัน น.ส.สุพัฒตรา จันทร์อยู่ อายุ 40 ปี หลานสาวของหลวงปู่ ซึ่งคอยดูแลปรนนิบัติรับใช้อยู่ จึงนำตัวหลวงปู่ส่งรพ.สวรรค์ประชารักษ์ เมื่อเวลา 16.00 น.

เมื่อมาถึงรพ. ทางแพทย์ผู้ตรวจคือ นพ.ณัฏฐ์ น้อมพรรโณภาส จึงนำตัวเข้าพัก และตรวจดูอาการที่เตียง 6 ห้องพักสงฆ์อาพาธ ชั้น 7 อาคาร 2 พร้อมทั้งให้ออกซิเจนและน้ำเกลือ เพื่อช่วยให้สดชื่นขึ้น พร้อมทั้งสั่งให้นอนพักเพื่อรอดูอาการ ระหว่างนอนพัก หลวงปู่ยังมีอาการปกติ สามารถพูดคุยทักทายกับบรรดาลูกศิษย์ที่มาเยี่ยม จนกระทั่งเวลา 19.30 น. หลวงปู่มีอาการสะอึกแล้วก็สิ้นลมหายใจไปเฉยๆ ท่ามกลางการตกตะลึงของลูกศิษย์ ซึ่งทางคณะแพทย์ได้รีบมาตรวจสอบอาการและช่วยปั๊มหัวใจ แต่ไม่เป็นผล หลวงปู่สิ้นลมด้วยอาการสงบ ท่ามกลางความเสียใจของคณะศิษย์

นอกจากนี้ ได้เกิดเหตุประหลาด ระหว่างที่คณะศิษย์และคณะแพทย์ช่วยกันดูแลร่างของหลวงปู่ เกิดกระแสไฟฟ้าในรพ.มีอาการติดๆ ดับๆ ถึง 4 ครั้ง เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่รพ.ก็ทราบว่า ทางรพ.ไม่เคยมีเหตุไฟฟ้าติดๆ ดับๆ แบบนี้มาก่อน

สำหรับประวัติย่อหลวงปู่เปลื้อง จัตตสัลโลหรือพระครุนิวิฐธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดลาดยาว พระเกจิที่มีชื่อเสียงและอายุกาลพรรษาสูงที่สุดรูปหนึ่งของนครสวรรค์ เดิมชื่อเปลื้อง แย้มสุข เป็นชาวชัยนาท เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 พ.ค.2445 ที่บ้านท่าฉนวน ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท อุปสมบทเมื่อพ.ศ. 2466 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงปู่เปลื้อง เป็นพระเกจิอาจารย์ 5 แผ่นดิน ชาวลาดยาวมักเรียกว่าหลวงปู่ใหญ่ 5 แผ่นดิน ได้ศึกษาวิทยาคมจากพระเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูปด้วยกัน เช่น สมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)วัดเทพสิรินทร์ หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์

หลวงปู่เปลื้อง เป็นพระเถระที่มีจริยาวัตรงดงาม มีเมตตาแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เลือกวรรณะ ท่านมักได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก หรือนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลทั่วประเทศ ซึ่งวัตถุมงคลของท่านจะเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ไกล ซึ่งวัตถุมงคลส่วนใหญ่ของท่านมักจะเสกและสร้างขึ้นเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยมีคณะศิษย์มาขออนุญาตจัดสร้างและแจกจ่ายกันไปในหมู่ผู้ที่มีความเคารพ ศรัทธาในตัวหลวงปู่ วัตถุมงคลส่วนหนึ่งก็จะให้หลวงปู่ไว้แจกแก่ประชาชนทั่วไปที่เดินทางมากราบ ไหว้ท่าน บางรุ่นก็จะสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ล่าสุดมีการสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ขึ้นเพื่อหาทุนสร้างวิหาร กุฏิสงฆ์ และปิดทองพระประธานในวิหาร ชื่อรุ่นว่า รุ่นก้าวหน้า อายุยืน นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระเศรษฐีนวโกฎิ พระผง-พระดินจอมปลวก รูปหล่อ เครื่องรางรูปเสือ ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงปู่จะมีประสบการณ์ทางด้าน เมตตา ค้าขาย คลาดแคล้ว และวัตถุมงคลส่วนใหญ่จะหมดลงในระยะเวลาไม่นาน

สำหรับกำหนดการจัดพิธีศพหลวงปู่นั้น ยังอยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือกันในหมู่คณะศิษย์และคณะสงฆ์จังหวัด นครสวรรค์ โดยกำหนดจะนำร่างของหลวงปู่ออกจากรพ.สวรรค์ประชารักษ์ ในวันที่ 5 พ.ค. เวลา 09.00 น.เพื่อนำไปที่วัดลาดยาว เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และคณะศิษย์ได้กราบไหว้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะมีกำหนดการที่แน่นอนต่อไป



ขอขอบคุณที่มา...โดย : ไทยรัฐออนไลน์


224


ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอร่วมไว้อาลัยแด่พระอริยะสงฆ์เเห่งเมืองนครสวรรค์ หลวงปู่เปลื้อง วัดลาดยาว
มรณะภาพแล้ว เมื่อวานนี้ (๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓) เมื่อเวลาประมาณ ๑๙.๓๐ น. ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
จ.นครสวรรค์ สิริอายุ ๑๐๘ ปี

 จึงแจ้งข่าวถึงศิษยานุศิษย์ให้ทราบโดยทั่วกัน

 
 
 

225


เมื่อวันที่ 30 มีนาคม นายไพรโรจน์ เพชรสังหาร วัฒนธรรม จ.กาฬสินธุ์ ได้เข้าตรวจสอบร่องรอยพระพุทธบาทบริเวณลานหินในวัดถ้ำพระฤาษีวิปัสนาธรรม บ้านวังเวียง ต.นาคู อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ ที่ตั้งอยู่กลางวนอุทยานภูแฝก โดยมีพระอาจารย์น้อย ถิรวโส เจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำพระฤาษี นายพิพิธ ภาระบุญ นายอำเภอนาคู และชาวบ้านจำนวนมากนำตรวจสอบ

โดยบริเวณที่พบร่องรอยพระพุทธบาท อยู่บริเวณลานหินภายในวัด ซึ่งร่องรอยที่ 1และ 2 เป็นรอยที่เกิดจากธรรมชาติมีน้ำผุดธรรมชาติออกจากร่องรอยพระพุทธบาทตลอด เวลา ห่างออกไปประมาณ 43 เมตรยังพบร่องรอยพระพุทธบาทรอยที่ 3 และ 4 ซึ่งจากร่องรอยชุดนี้ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นร่องรอยพระพุทธบาทที่เกิดจากฝีมือ มนุษย์ นอกจากนี้ทางทิศเหนือของร่องรอยพระพุทธบาทห่างไปอีกประมาณ 10 เมตร ยังพบมีการแกะสลักกลีบบัว 7 กลีบ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้นับว่าเป็นการค้นพบที่ทำให้ทราบถึงความเจริญทางโบราณ สถานในอดีตกาลเป็นอย่างดี



พระอาจารย์น้อย ถิรวโส เจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำพระฤาษี อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ได้พบร่องรอยพระพุทธบาทและสิ่งมีค่าอื่น ๆ หลายรายการโดยบังเอิญขณะทำวิปัสสนาอยู่บริเวณลานหินจึงได้นำน้ำมาลาดดูพบ เป็นร่องรอยที่เด่นชัด ซึ่งได้พบเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2552 ที่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่มาจำพรรษาอยู่ได้พบเศียรพระไม้ 1 เศียร พระพุทธรูปไม้ 3 องค์จึงได้ทำการเก็บรักษาไว้ภายในวัด จนกระทั่งมาพบร่องรอยพระพุทธบาททั้ง 4 รอยจึงแจ้งไปยังอำเภอนาคูให้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบซึ่งก็มีเจ้าหน้าที่ หลายฝ่ายมาดูรวมทั้งสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด ได้เข้ามาทำการตรวจสอบและชี้ชัดว่าเป็นโบราณสถานจริงแต่โบราณสถานแห่งนี้ กลับยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนใด ๆ เลย

ด้านนายไพโรจน์ เพชรสังหาร วัฒนธรรมจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ร่องรอยพระพุทธบาทที่พบมีความคล้ายคลึงกับร่องรอยพระพุทธบาทคู่ที่พบอยู่สระ มรกต เมืองศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี มีขนาดความยาว 60 ซม. กว้าง 30 ซม. นิ้วเท้าทั้ง 5 เรียงเท่ากัน อายุประมาณ 1,100 ปี เป็นลักษณะขนาดเท่ากันกับที่พบก่อนหน้าที่ที่บริเวณภูปอ อ.เมืองกาฬสินธุ์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไปแล้ว ที่ตอนนี้ก็รอเพียงการขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย เบื้องต้นได้รายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อดำเนินการดูแลรักษาตามมาตรการรักษาความปลอดภัยการให้ความรู้กับชาวบ้าน ในการดูแลรักษามรดกมีค่านี้ไว้ให้ดีป้องกันการมาทำลายจากผู้ไม่หวังดี





ขอขอบคุณที่มา: มติชน

226
ตั้งนะโม 3 จบ

นะพุทธังปิด   นะธัมมังอุด    นะสังฆังอัด

นะพุทธังแคล้วคลาด นะธัมมังแคล้วคลาด นะสังฆังแคล้วคลาด

นะพระอรหัง   ปิดทวารทั้งเก้า

227
สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ณ วัดเชตะวัน มีอุบาสก5คนเป็นเพื่อนกัน มานั่งฟังธรรม ทั้งห้าคนต่างมีกิริยาอาการต่างๆกัน คนหนึ่งนั่งหลับ คนหนึ่งนั่งเอานิ้วเขียนดินเล่น คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้ คนหนึ่งนั่งแหงนดูท้องฟ้า มีเพียงคนเดียวที่นั่งฟังด้วยอาการสงบ


พระอานนท์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมอุบาสกเหล่านี้จึงแสดงกิริยาเช่นนั้น” พระพุทธเจ้าจึงทรงเล่าอดีตชาติของอุบาสกแต่ละคนว่า อุบาสกคนที่นั่งหลับ เคยเกิดเป็นงูมาแล้วหลายร้อยชาติ เขาหลับมาหลายร้อยชาติแล้วก็ยังไม่อิ่ม แม้แต่ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า ธรรมะก็ไม่เข้าหู ยังหลับอยู่อย่างนั้น

อุบาสกคนที่เอานิ้วมือเขียนพื้นดินเคยเกิดเป็นไส้เดือนมาหลายร้อยชาติ นั่งเอานิ้วเขียนบนพี้นดินเล่นอยู่อย่างนั้นด้วยอำนาจความประพฤติที่ตัวเคยทำมา ก็ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน อุบาสกที่นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั้น เกิดเป็นลิงมาแล้วหลายร้อยชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังเขย่าต้นไม้อยู่ ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

อุบาสกที่นั่งแหงนดูท้องฟ้านั้น เคยเกิดเป็นพราหมณ์บอกฤกษ์ด้วยการดูดาวมาหลายร้อยชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังคงนั่งดูท้องฟ้าอยู่ ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า อุบาสกที่นั่งฟังธรรมอย่างสงบด้วยความเคารพ เคยเกิดเป็นพราหมณ์ศึกษาธรรมะและปรัชญา ค้นคว้าหาความจริงมาหลายร้อยชาติ มาบัดนี้ได้พบพระพุทธเจ้า ตั้งใจฟังธรรมด้วยดีจนได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะนึกสงสัยว่า ชาติก่อนเราเกิดเป็นอะไรหนอ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องยาก ต้องมีบุญมาก อุปมาเหมือนเต่าตาบอดตัวหนึ่งดำน้ำอยู่ในทะเล ทุกๆ100ปี เต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่หัวขึ้นมาจากทะเลครั้งนึง ในทะเลมีห่วงเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่าหัวเต่าหน่อยนึงลอยอยู่1ห่วง โอกาสที่เต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่ขึ้นมา แล้วหัวสวมเข้ากับห่วงพอดียากเพียงใด โอกาสนั้นก็ยังมีมากกว่าการที่เหล่าสรรพสัตว์จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์

เมื่อพูดถึงจิตวิญญาณที่ท่องเที่ยวในวัฏสงสาร ไม่ว่าจะในภพภูมิใด มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ สัตว์นรก เทวดา พรหม ฯลฯ กล่าวได้ว่า “มนุษย์” เป็นภพภูมิที่ประเสริฐสูงสุด ในโลกมนุษย์นี้ โดยอาศัยอัตภาพร่างกายของมนุษย์ จิตของเรามีโอกาสที่จะมีประสบการณ์ได้ทุกภพ เมื่อเราเกิดมา เราอาศัยพ่อแม่มาเกิด กายของเราเป็นมนุษย์ก็จริงแต่จิตใจก็เป็นได้สารพัดอย่าง เปรียบชีวิตมนุษย์เป็นเหมือนห้องทดลอง คนที่ขี้เกียจ กินแล้วก็นอน กินแล้วก็นอน ชีวิตก็ไม่ต่างอะไรกับงู คนที่ชอบทะเลาะวิวาท ต่อยกัน ตีกัน ก็เป็นเหมือนไก่ชน คนที่ซุกซนอยู่เฉยไม่ได้ ก็เหมือนกับลิง หรือบางคนชีวิตเป็นทุกข์เดือดร้อนใจ จนบอกว่าเหมือนตกนรกทั้งเป็นก็เป็นใจที่มีประสบการณ์เหมือนตกนรก

คนที่ไม่รุ้จักพอ มีเท่าไรก็ยังหิวโหย อยากจะได้อยู่ร่ำไป ก็เป็นใจเปรต บางคนถือตัวถือตน ชอบใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้อื่น ก็มีใจเหมือนยักษ์ บางคนรักสวยรักงาม รักอารมณ์ดี ใจดีมีหิริโอตตัปปะ ก็เป็นในเทวดา บางคนบำเพ็ญสมาธิภาวนาเข้าฌานเป็นรูปพรหม อรูปพรหม ก็มีใจเป็นพรหม คนที่ประพฤติตนเหมาะสมกับเป็นมนุษย์ ก็มีใจเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

มนุษย์ แปลว่า ใจสูง หมายถึงมีจิตใจสูงกว่าสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ สัตว์นรก มนุษย์รุ้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ มิเป็นประโยชน์ มีหิริโอตัปปะ ละอายเกรงกลัวต่อบาป ประพฤติตนอยู่ในกรอบของกฎหมายธรรมเนียมประเพณี ตามหลักพุทธศาสนาก็คือ มีศีลธรรม การรักษาศีลห้าคือการรักษาคุณธรรมความเป็นมนุษย์ รักษาศีลห้าได้ก็เท่ากับรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้สมบูรณ์

ในฐานะมนุษย์ ไม่มากก็น้อยที่ใจของเราได้มีประสบการณ์ในภพชาติอื่นๆ ทั้งที่ต่ำกว่าและสูงกว่าภพภูมิมนุษย์ เรามีปัญญาที่จะรู้ได้จากประสบการณ์ของเราแล้วว่าอะไรดี อะไรไม่ได้ การเกิดเป็นมนุษย์ถ้าดีก็ดีได้มากๆ แต่ก็น่ากลัวเหมือนกัน เพราะถ้าประมาทก็ทำชั่วได้มาก ถ้าไม่ประมาท รักษาศีลห้าทำความดี สร้างบารมี ตั้งใจพัฒนาชีวิตจิตใจแล้วก็สามารถมีประสบการณ์สูงขึ้น เป็นเทวดา พรหม ตลอดจนเข้าถึงอริยมรรค อริยผล บรรลุนิพพานได้ มนุษย์จึงเป็นชาติที่มีทางเลือก

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นการยากที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นการยากที่ชีวิตสัตว์จะได้อยู่สบาย เป็นการยากที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยากที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติมา

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจึงควรเห็นคุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์ อย่าให้เสียโอกาส เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ เอาใจใส่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ให้มั่นคง ถึงจะเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วก็ตาม แต่จิตใจก็เป็นไปได้ในสองทางคือ 1.ใจต่ำ เป็นอกุศลจิต ใช้ชีวิตอย่างประมาทขาดสติ เป็นทางของสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ สัตว์นรก 2.ใจสูง เป็นกุศลจิต ดำเนินชีวิตอย่างมีสติปัญญา ไม่ประมาท สร้างกุศลกรรมความดี สร้างบารมี เป็นทางของมนุษย์ เทวดา พรหม อริยมรรค อริยผล นิพพาน

ดังนั้น สำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง การเลือกทางดำเนินชีวิตของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด




ขอขอบคุณที่มา...หนังสือ เราเกิดมาทำไม โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

228




พิษณุโลก- ถิ่นเมืองเก่าสองแคว “กรุแตก” อีกแล้ว คราวนี้เป็น “พระนางพญาพิมพ์ใหญ่” ใต้วิหารเก่าที่วัดบ่อทองคำ รองผู้ว่าฯเมืองพิษณุโลก ไม่รอช้า ตรงเข้าหาเจ้าอาวาสวัด ขอชมพระนางพญาทันที



 
     
       รายงานข่าวจากจังหวัดพิษณุโลก แจ้งว่า วันนี้ (29 มี.ค.) ที่จังหวัดพิษณุโลก มีกรุพระแตกอีกครั้งหนึ่งแล้ว คราวนี้เป็นกรุพระนางพญา ที่วัดบ่อทองคำ ม.11 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
 

     
       พระอธิการทวี อตถกาโร เจ้าอาวาสวัดบ่อทองคำ เปิดเผยว่า วัดบ่อทองคำเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ได้รกร้างมานาน เพิ่งประกาศเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2543 ชาวบ้านในพิษณุโลกต่างรู้กันดีว่าวัดบ่อทองคำ เป็นแหล่งกรุพระเก่าแก่ มีการลักลอบขุดมานานแล้ว เจอพระทองคำ พระโบราณ กันเป็นจำนวนมาก จนต้องห้ามไม่ให้มีการขุด และเมื่อปี 2524 ได้สร้างวิหารหลวงพ่อทองคำครอบ กระทั่งหยุดขุด
       
       ที่ผ่านมา อาตมาลองขุดดู ข้างวิหารหลวงพ่อทองคำ ขุดลึกลงไป 2 เมตร พบซากอิฐโบราณจำนวนมาก และพบฐานอิฐโบราณ ที่เป็นฐานเสากลมของวิหารหลังเก่า แต่ครั้งนั้นเจอเพียงพระพิมพ์เนื้อโลหะ 1 ชิ้น และพระวัดนางพญา 2 องค์ จนล่าสุด วันนี้ (29 มี.ค.) ได้ลองขุดลงไปเรื่อยๆ เจอภาชนะดินเผาโบราณจำนวนหลายไห ภายในบรรจุพระพิมพ์นางพญาพิมพ์ใหญ่จำนวนมาก คาดว่า เป็นพระสมัยอยุธยา
       
       หลังทราบข่าวกรุพระแตก นายยงยศ เมฆอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดพิษณุโลก ได้ไปตรวจสอบสถานที่ขุดกรุพระทันที เพราะว่าช่วงนี้เกิดปรากฏการณ์กรุพระแตกในวัดเก่าแก่บ่อยครั้ง ซึ่งมักก่อให้เกิดความโกลาหล แย่งกันขุดพระกันจำนวนมาก ซึ่งพระนางพญา มักพบที่วัดดังของจังหวัดพิษณุโลก
       
       นายยงยศ จึงแนะนำเจ้าอาวาสวัดบ่อทองคำ ให้ระงับการขุดหาพระทันที ทำการปิดหลุม และทำอาณาบริเวณกั้น พร้อมให้จัดเวรยามรักษาความปลอดภัย ประสานตำรวจ ผู้ใหญ่บ้าน อบต.มาช่วยดูแลความปลอดภัย ให้จัดตั้งคณะกรรมการจัดจำหน่ายบูชาวัตถุมงคล โดยให้นำเข้าบัญชีวัดทุกวัน
       
       ทั้งนี้ ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดกรุพระแตกที่พิษณุโลกหลายครั้ง หลังจากเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ที่วัดสุดสวาท และวัดราชบูรณะ กระทั่งล่าสุดที่วัดบ่อทองคำ แห่งนี้




ขอขอบคุณที่มา...โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

229
ขอบคุณท่าน..yout..ที่นำมาให้ชม..สวยงดงามดีครับ :016:

230
ขอร่วม..อนุโมทนาบุญ..กับท่านจ๊อบ(ข้าวหลามตัด)ด้วยนะครับ..สาธุ

231
ภูมิใจศิษย์วัดบางพระ..นามว่า..gottkung จริงๆ :053:

ถึงจะเห็นว่าตัวเล็กๆแต่ใจนั้น..สุดยอดครับ..สำหรับความมีน้ำใจ :016: :015:

ขออนุโมทนา..สาธุ ในการกระทำความดีในครั้งนี้นะครับ :054:

232
งดงามมากมายเลยน้องจอย...ยินดีด้วยนะครับ :052:

233
สุดยอดเลย....ครับมาสเซอร์ดอน  :016:

จำพิมพ์ทรงแล้ว...ไว้พบเห็นที่ไหน...ต้องตามเก็บกันนะครับ

234
ขอบพระคุณที่แจ้งข่าวการมรณะภาพของหลลวงพ่อหยุด วัดละมุดครับ

ขอร่วมแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ

235

หลวงปู่เกลี้ยง  เตชธัมโม
พระครูโกวิทพัฒนาโนดม
วัดศรีธาตุ (โนนแกด) บ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ



ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม
     เดิมชื่อ เกลี้ยง คุณมานะ เกิดวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๕๐
ณ บ้านก้านเหลือง ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นบุตรของนายบุญมี คุณมานะ และนางผิว คุณมานะ มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน



ด้านการศึกษา
     หลวงปู่เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาในโรเรียนวัดบ้านโนนเกด
จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และเรียนต่อ ม.๓ จบในปี ๒๔๖๖ จึงออกมาช่วย
มารดาประกอบอาชีพ เพื่อช่วยเหลือครอบครัว ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ทางราชการ
รับสมัครผู้ที่จบประถมปีที่ ๔ เข้าสมัครเป็นครูช่วยสอน หลวงปู่ไปสอบและสอบผ่าน
จึงได้มีโอกาสเป็นครูช่วยสอน ครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านโนนแกด สอนได้สองเดือน
ทางราชการให้ย้ายไปช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านโพรง ตำบลไพรบึง อำเภอขุขันธ์
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเวลา ๓ ปี ๖ เดือน



การศึกษาด้านธรรม
     ในขณะที่สอนหนังสืออยู่นั้น สุขภาพร่างกายของหลวงปู่ไม่ค่อยสู้ดีนัก
จึงขอลาออกมาเพื่อรักษาตัว เมื่อสุขภาพดีขึ้นแล้ว หลวงปู่จึงขอลาบวชสามเณร
ที่วัดบ้านโนนแกด ด้วยความยากเรียนต่อ กอปรกับได้เคยทำการสอนมาแล้ว
จึงมองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงขออนุญาตเจ้าอาวาสไปเรียนนักธรรม
ที่วัดบ้านดวนใหญ่ กิ่งอำเภอวังหิน (ในขณะนั้น) จังหวัดศรีสะเกษ
เรียนนักธรรมตรีที่สนามหลวง ซึ่งมีพระ สามเณร ไปสอบจำนวน ๔๗ รูป
ปรากฏว่า หลวงปู่เกลี้ยงและพระภิกษุสิงห์ สอบผ่านแค่ ๒ รูป เท่านั้น
จากนั้นก็เรียนต่อนักธรรมโทที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในขณะที่ศึกษานักธรรมโทอยู่นั้น
ทางราชการก็มีหมายเรียกให้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร หลวงปู่จำเป็นต้องลาสิกขา



ด้านความรู้ความสามารถพิเศษ
     หลวงปู่ได้อาศัยความรู้เดิมประสบการณ์ที่เคยมีนาในขณะรับราชการทหาร
เคยออกรบสงครามมหาเอเชียบูรพา ในการรักษาพยาบาล หลวงปู่ช่วยชาวบ้าน
รักษาพยาบาลด้วยสมุนไพร ผู้คนที่เจ็บป่วยก็หายป่วย จึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

การอุปสมบท
     เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ วัดบ้านแทง ตำบลซำ
อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระเกษตรศีลาจารย์
วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ ขณะอายุ ๖๗ ปี
หลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ พระครูโกวิทพัฒโนดม พร้อมตาลปัตรพัดยศ
เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ ถึงปัจจุบัน

งานก่อสร้างถนนใหม่หรือการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างจะได้รับความสนใจเป็นที่ยิ่ง จะพบเห็นได้จากผลงานการให้ความช่วยเหลือวัดต่างๆ มิใช่เพียงแต่ใน จ.ศรีสะเกษเท่านั้น แต่ยังให้ความช่วยเหลือวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้ร้องขอมา ท่านจะให้การสนับสนุนทุกแห่ง

หลวงปู่เกลี้ยง ยังให้การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบเคราะห์ชะตากรรมต่างๆ ซึ่งไม่อาจรักษาให้หายได้จากสถานพยาบาล โดยการให้การรักษาของหลวงปู่ เป็นยาตามตำรับแพทย์แผนโบราณและจากความเชื่อศรัทธา ทำให้ทุกคนหายเจ็บป่วย ถ้ามาหาทันเวลาและอยู่ในวิสัยที่จะหายไข้ได้

หลวงปู่เกลี้ยง เป็นพระสุปฏิปันโน คือ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ข้อธรรมที่ท่านนำมาถ่ายทอดแก่บรรดาญาติโยม ยากจะหาพระรูปใดเสมอเหมือน ด้วยท่านจะสอนแต่เฉพาะผู้สนใจใฝ่รู้เท่านั้น.

 




ขอขอบคุณที่มา...http://www.sisaket.go.th/loangpoo/loangpoo_kleang.html

236


พระจุฬามณีเจดีย์   ตั้งอยู่บนยอดเขาดาวดึงส์  วัดคีรีวงศ์ กลางใจเมืองนครสวรรค์ เมื่อเดินทางถึงเมืองนครสวรรค์แล้ว จะมองเห็นพระจุฬามณีเจดีย์ งามสง่า 
            พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระราชพรหมาจารย์ (หลวงพ่อมหาบุญรอด)  เจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์ รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์   ได้ริเริ่มสร้าง พระจุฬามณีเจดีย์   เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๕๒๔ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง  ประมาณ  ๓๕ ล้านบาท  ซึ่งขณะนี้ได้ก่อสร้างไปแล้วประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ 

                        โดยมีวัตถุประสงค์โดยย่อ ๘ ประการ

                        (๑) เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

                        (๒) เพื่อยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนา

                        (๓) เพื่อประกาศเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                        (๔) เพื่อสนองคุณพระพุทธศาสนา

                        (๕) เพื่อปลูกศรัทธาประชาชนให้เข้าวัด สร้าง กุศล ปฏิบัติธรรม

                        (๖) เพื่อช่วยรักษาวัดคีรีวงศ์ พระพุทธศาสนา และประเทศชาติ  ให้เจริญมั่นคง

                        (๗) เพื่อช่วยอุปถัมภ์การศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม การเผยแผ่ธรรมของวัดคีรีวงศ์

                        (๘) เพื่อเป็นศรีสง่าของจังหวัดนครสวรรค์ และประเทศชาติ





           เป็นพระมหาเจดีย์ที่สร้างขึ้นอย่างวิจิตรตระการตายอดสูงเสียดฟ้าระปุยเมฆ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ คือพระจุฬามณีเจดีย์ พระจุฬามณีเจดีย์สร้างขึ้นตรงฐานเจดีย์เก่าซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ปลายกรุงสุโขทัย ประมาณ ๖๐๐ ปีมาแล้ว

           ลักษณะของพระจุฬามณีเจดีย์สร้างเป็นฐาน ๔ เหลี่ยม หมายถึงมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งหมายถึง การเอาสติเป็นที่ตั้ง กำหนดเอาสติเป็นใหญ่ในการบำเพ็ญกรรมฐานโดยพิจารณาฐาน ๔ คือ กาย เวทนาจิต ธรรม เป็นอารมณ์ ให้สติจดจ่ออยู่กับฐานอารมณ์นั้น ๆ ไม่ให้พลั้งเผลอ ส่วนความสูง ๔ ชั้นหมายถึง อริยสัจ ๔ คือทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สมุทัย คือสาเหตุทำให้เกิดทุกข์ นิโรธคือการดับทุกข์ และมรรค คือหนทางและแนวทางสำหรับดับทุกข์
            พระเจดีย์มี ๙ องค์ คือ องค์ใหญ่อยู่ชั้นบน มีพระเจดีย์เล็ก เป็นบริวาร ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ มีความหมาย เปรียบด้วยโลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดย ๔ องค์ชั้นล่างเปรียบด้วยมรรค ๔ และ ๔ องค์ ชั้นบน เปรียบด้วยผล ๔
            ส่วน องค์กลาง เปรียบด้วยพระนิพพาน แสดงว่า พระจุฬามณีเจดีย์สร้างขึ้นมาด้วยลักษณะที่อิงอยู่กับแนวคิดในทางธรรมแห่งพุทธศาสนาโดยละเอียดอ่อนและแยบยลแฝง ไว้ด้วยความคิดอันหลักแหลมลึกซึ้ง ปล้องไฉนของพระเจดีย์ที่มองเห็นเป็นปล้องๆ นั้นมีอยู่ ๒๗ ปล้อง เปรียบด้วยสุคติภูมิ ๒๗ ชั้น คือมนุษย์ ๑ ชั้น สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น รวมเป็น ๒๗ ชั้น
             ส่วนรูปสูงสุดของพระเจดีย์ที่มีลักษณะกลมนั้น เปรียบด้วยพระนิพพาน คือความดับสิ้นเชิงแห่งกองทุกข์ ส่วนที่คอระฆังมีลักษณะรูประฆัง เปรียบด้วยระฆังที่มีไว้สำหรับตี ประกาศให้คนทำความดี หรือประกาศเชิญชวนให้ชาวพุทธมาสร้างกุศล และปฏิบัติธรรม เมื่อมองเห็นพระเจดีย์ที่ตระหง่านและแสนจะเพริศแพร้วอลังการแล้วจะก่อให้เกิดความปีติซาบซ่านใจ โน้มน้าวใจให้อยากขึ้นไปไหว้ เพื่อความปลาบปลื้มปีติใจ และสร้างบุญบารมี เพื่อจะได้ไปสู่สุคติภูมิ โดยผู้ปรารถนาจะไปกราบไหว้นมัสการพระเจดีย์
มีถนนลาดยาง เพื่อความสะดวกในการคมนาคม ให้รถขึ้นไปถึงได้
                  ที่พระเจดีย์ได้นามว่า พระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเขาลูกนี้ชื่อเขาดาวดึงส์ เหตุเพราะอยู่ตรงถนนดาวดึงส์และอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) คือพระพิมลธรรมในเวลาต่อมาแห่งวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ท่านได้ตั้งชื่อให้ และแนะนำให้สร้างพระจุฬามณีไว้บนยอดเขา อนึ่งในหนังสือพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด “คำวัด”โดยพระเดชพระคุณท่านพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ มหาบัณฑิต) ได้สาธยายถึง“จุฬามณี” ว่าเป็นชื่อ พระเจดีย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เรียกว่า “พระจุฬามณีเจดีย์” ซึ่งแปลว่าพระเจดีย์ที่สร้างด้วยแก้วมณีเป็นที่บรรจุพระเกศธาตุจุฬามณี เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศธาตุ (มวยผม) และพระทาฐธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ข้างขวาของพระพุทธเจ้า
 




              จุฬามณีมีตำนานว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบวชมาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงตัดพระเกศาแล้วทรงขว้างไปในอากาศ พระอินทร์ทรงรับไว้ด้วยผอบแก้ว แล้วนำไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ และหลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อเสด็จปรินิพานแล้ว มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุกันโดยโทณพราหมณ์ พระอินทร์ได้นำพระทาฐธาตุข้างขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะใส่ผอบทองไปบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์ด้วย
               พระจุฬามณีเจดีย์บนเขาดาวดึงส์วัดคีรีวงศ์  จึงเหมือนว่าเป็นพระเจดีย์ที่สถิตบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ดังกล่าว ไม่เพียงแต่ความวิจิตรอลังการและลึกล้ำด้วยความหมายในการสร้างพระจุฬามณีเจดีย์เท่านั้น
                แต่ภายในองค์พระเจดีย์ชั้น ๔ ยังประดิษฐาน พระพุทธรูปจำลองที่สำคัญในประเทศไทย ไว้ให้สักการะบูชา ๔ องค์ คือ พระพุทธรูปมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ประดิษฐานอยู่ทางทิศใต้พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานอยู่ทางทิศเหนือ พระพุทธโสธรจำลอง อยู่ด้านทิศตะวันออก พระพุทธรูป หลวงพ่อวัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม อยู่ทางทิศตะวันตก นอกจากนั้นภายในโดมพระเจดีย์ได้มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติไว้ให้ชมด้วย
             ที่เป็นมงคลพิเศษสุดคือ ภายในโดมพระจุฬามณีเจดีย์ทางวัดได้ประกอบพิธีบรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖
                 การประกอบพิธีสักการะบูชากราบไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ ทางวัดได้จัดขึ้นตรงกับวันงานตรุษจีนที่มีการแห่มังกรของชาวจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่มากในระดับจังหวัด หรือแทบจะกล่าวได้ว่าในระดับประเทศ ส่วนด้านนอกเจดีย์ ชั้นบนมีพระพุทธรูปปางประทานพร ขนาดหน้าตัก๖๐ นิ้ว ๔ องค์ ไว้กราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคล เปรียบด้วยจตุรพิธพรชัย ๔ ประการ คืออายุ วรรณะ สุขะ และพละ อันเป็นมงคลแห่งชีวิตที่มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน
                 เพราะพระจุฬามณีเจดีย์ตั้งตระหง่านสูงระเมฆ บนเขาดาวดึงส์ เมื่อผู้ใดมีโอกาสขึ้นไปถึงฐานพระเจดีย์ชั้น ๔ จะมองเห็นภูมิทัศน์อันงดงามของเมืองนครสวรรค์ในระยะไกลประมาณ ๑๐ กิโลเมตร
               ถ้ามองไปทางทิศตะวันออกจะมองเห็นเขากบ บึงบอระเพ็ด และตลาดปากน้ำโพ หากมองไปทางทิศใต้ จะเห็นอุทยานสวรรค์  ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ และเขาจอมคีรีนาคพรต หันไปทางทิศตะวันตก จะเห็นภูเขาน้อยใหญ่  ทอดตัวตระหง่านอยู่เป็นช่วง ๆ โดยมีภูเขาหลวงเป็นฉากกั้น ยามพระอาทิตย์อัสดงจะเป็นภาพที่งดงามชวนให้เคลิบเคลิ้มหลงใหลในภาพที่ธรรมชาติตกแต่งขึ้น

               หากมองไปทางทิศเหนือจะเห็นแม่น้ำปิง และทิวทัศน์ทางน้ำที่มาบรรจบกัน คือแม่น้ำปิงกับแม่น้ำน่าน ที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ว่ากันว่า โดยความเป็นจริงแล้ว แม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ มีเพียง ๒ สายเท่านั้น คือแม่น้ำปิง กับแม่น้ำน่าน ส่วนแม่น้ำยมไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิจิตร มาบรรจบกับแม่น้ำน่าน ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ตั้งแต่จังหวัดตาก กำแพงเพชร เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำปิง แม่น้ำน่านก็เช่นกัน ตั้งแต่อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร ชุมแสง มาถึงปากน้ำโพ นครสวรรค์ เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า แม่น้ำน่าน เหตุที่เรียกเช่นนั้น เพราะต้นน้ำเกิดที่จังหวัดน่าน
               ขึ้นไปถึงเขาดาวดึงส์ และพระจุฬามณีเจดีย์ ที่วัดคีรีวงศ์ และมองเห็นทิวทัศน์อันสวยงามรอบทิศต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ แล้วทางทิศตะวันตกอีกส่วนหนึ่งจะเห็นพระพุทธชินสีห์ สูงเด่นตระหง่านอย่างน่าเลื่อมใสศรัทธา พร้อมกับได้ชมได้เห็นทิวทัศน์ และภูเขาต่าง ๆ ที่เป็นลูก ๆ และเป็นทิวแถว เช่นเขาหลวง เป็นต้น
               จะเห็นได้ว่า บนวัดคีรีวงศ์และพระจุฬามณีเจดีย์ นอกจากจะให้ความร่วมเย็น ปีติ ดื่มด่ำในสภาพของแดนพุทธศาสนาแล้ว อีกด้านหนึ่งของพระจุฬามณีเจดีย์นั้น ภายในฐานพระจุฬามณีเจดีย์ที่ชั้นที่ ๒ แล้วชั้นที่ ๓ ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่าง ๆ และพระพุทธรูปประจำ ๑๒ ราศี เพื่อกราบไหว้บูชา

                เป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่เกิดในราศีต่าง ๆ เพื่อให้ได้กราบไหว้ และขอพรตามอัธยาศัยของแต่ละผู้คน เพื่อหวังให้เกิดความผาสุกร่มเย็น และความเจริญก้าวหน้าของผู้คนในแต่ละราศี การสร้างและพัฒนาวัดคีรีวงศ์ และสร้างศาสนสถานต่าง ๆ ขึ้นภายในวัด ตลอดทั้งการสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ที่ทรงความศักดิ์สิทธิ์ และมีความหมายลึกซึ้งทางด้านสถาปัตยกรรม และปรัชญาทางศาสนา โดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระวิกรมมุนี และศรัทธาญาติโยมนั้น
               แสดงให้เห็นถึงบารมีธรรมอันสูงเด่นของท่านเจ้าคุณพระราชพรหมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์ ที่ญาติโยมมีศรัทธาต่อการมุ่งมั่นของท่านในการที่จะจรรโลง และประกาศความยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนาให้ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ญาติโยม ผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาและท่านเจ้าคุณพระวิกรมมุนี จึงได้ร่วมพลังศรัทธาร่วมมือกับท่านสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ยิ่งใหญ่ทางศาสนาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นความสำเร็จอันน่าภูมิใจของพุทธศาสนิกชน ไม่เพียงแต่จะเป็น
เกียรติและสร้างชื่อเสียงให้แก่พุทธศาสนาและชาวจังหวัดนครสวรรค์เท่านั้น แต่ยังเป็นเกียรติประวัติและชื่อเสียงของประเทศไทย ที่เป็นเมืองแห่งพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงของโลกอีกด้วย








 












 อนึ่งทางวัดได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘
 โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
 กรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐
 
คำนมัสการพระจุฬามณีเจดีย์
                       ท่องนะโมฯ ๓ จบก่อน
   ตาวะติงสายะ ปุรัมเมเกสะจุฬามะณี สะรีระ
  ปัพพะตาปูชิตา สัพพะเทวา นังตัง สิระสาธาตุ
  อุตตะมังอะหัง วันทามิ สัพพะทา

 


ขอขอบพระคุณที่มาของภาพและข้อมูลจาก
http://www.kiriwong.net/TAVO/T41.htm
http://www.kiriwong.net/TAVO/kv902.htm

237



หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ

ข้อมูลประวัติ



เกิด วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง พ.ศ.2434 ณ บ้านเขาปุก อ.เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เป็นบุตรของ นายแก้ว นางอ่อน ทองเรือง
อุปสมบท ครั้งแรก เมื่ออายุ 21 ปี ณ วัดสำเร็จ ได้ประมาณ 2 พรรษา ครั้งที่สองอุปสมบท ณ วัดเดิม
มรณภาพ คืนวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2519
รวมสิริอายุ 85 ปี













วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
เหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2513 เป็นเหรียญกลมขนาดค่อนข้างใหญ่ รูปเหมือนเต็มองค์ ระบุชื่อ “หลวงพ่อแดง” ด้านล่าง ส่วนด้านหลังเป็นยันต์ ระบุชื่อวัด
รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก ปี พ.ศ.2513
เหรียญรุ่นสอง ปี พ.ศ.2516 สร้างโดยพระใบฎีกาสถิตย์ มี 2 พิมพ์ด้วยกัน คือ เหรียญรูปไข่ทรงชลูด และเหรียญคล้ายพระ 25 พุทธศตวรรษ ทั้ง 2 เหรียญ จะปรากฎรูปหลวงพ่อยืนเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระเจดีย์ ยันต์ และชื่อวัด
รูปเหมือนหล่อรุ่นสอง ปี พ.ศ.2516 เป็นรูปเหมือนแบบหล่อ ห่มลดไหล่ สำหรับมงคลอื่น ๆ ได้แก่ ตะกรุดโทน ลูกอม และผ้ายันต์





พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุตม์ และเมตตามหานิยม





พระดีแห่งเมืองร้อยเกาะ "สุราษฎร์ธานี" อีกรูปหนึ่งนาม หลวงพ่อแดง ติสฺโส แห่งวัดแหลมสอ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งกิตติประวัติที่เล่าขานสืบกันมาถึงเรื่องราวแห่งอัตโนประวัติของท่านมากด้วยสีสันยิ่งนัก

ดังเรื่องราวที่นางเจี้ยว ผู้มีถิ่นฐานอยู่ที่บ้านบางเก่า วันหนึ่งมีเหตุเดินทางไปยังอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช นางได้เห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส บิณฑบาตอยู่ที่อำเภอขนอม ครั้นในวันเดียวกันนั้นได้เดินทางไปยังเกาะราบ และได้พบหลวงพ่อแดง ติสฺโส จึงแปลกใจยิ่งนัก จึงได้สอบถามชาวบ้าน ซึ่งต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า เมื่อเช้าหลวงพ่อแดง ติสฺโส บิณฑบาตอยู่ที่เกาะราบมิได้ไปที่ไหน

หรือเรื่องเดินบนผิวน้ำ ที่เล่ากันว่า ปกติแล้วนั้น หลวงพ่อแดง ติสฺโส จะเดินทางด้วยเรือชักใบลำเล็กๆ ของท่าน แต่มีอยู่วันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อแดง ติสฺโส กำลังแล่นเรืออยู่กับนายอิ่ม ซึ่งพิการขาเป๋ ขณะที่เรือกำลังแล่นอยู่ระหว่างเกาะกะแตนกับเกาะสมุย เรือของท่านก็บังเกิดล่มจมลง ตรงบริเวณนั้นน้ำจะลึกประมาณไม่น้อยกว่า 7 วา หลวงพ่อแดง ติสฺโส ได้ร้องบอกให้นายอิ่มยืนขึ้น ปรากฏว่านายอิ่มสามารถยืนในน้ำได้ครึ่งร่าง ส่วนหลวงพ่อแดง ติสฺโส สามารถเดินบนผิวน้ำได้



เรื่องราวแห่งปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อแดง ติสฺโส ที่ยังคงเล่าขานกันยังมีอยู่อีกหลายเรื่อง ดังเรื่องที่นายชม โอชารส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลหน้าเมือง มาแอบจับตามองหลวงพ่อแดง ติสฺโส ที่ชาวบ้านเล่าขานกันว่า สมัยที่หลวงพ่อแดง ติสฺโส จำพรรษาอยู่ที่วัดน้ำรอบ บริเวณรอบๆ วัดจะมีน้ำล้อมโดยรอบ การเดินทางจะต้องข้ามฟากด้วยเรือ แต่ปรากฏว่าหลวงพ่อแดง ติสฺโส ท่านข้ามมาโดยไม่ต้องอาศัยเรือ และจีวรไม่เคยเปียกน้ำแต่อย่างใดเลย จึงเป็นที่สงสัยของชาวบ้านยิ่ง จึงเฝ้าจับตามองดูว่า หลวงพ่อแดง ติสฺโส ท่านข้ามฟากมาด้วยวิธีการใด

วันหนึ่งผู้ใหญ่ชม โอชารส ซึ่งแอบซุ่มเฝ้ามองดูอยู่ เห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส ยืนอยู่ริมฝั่งวัดน้ำรอบ แต่เพียงพริบตาเดียวหลวงพ่อแดง ติสฺโส ก็มายืนอยู่ทางด้านฝั่งเดียวกับผู้ใหญ่ชม โดยที่จีวรไม่เปียกน้ำเลย ครั้นถามไถ่หลวงพ่อแดง ติสฺโส ว่าท่านข้ามมาอย่างใด ก็ได้รับคำตอบว่า นั่งเรือมา แต่มองไปก็ไม่พบเรือสักลำ

หรือเรื่องที่นายจันทร์ เพชรศรี ได้ประสบพบมา เมื่อครั้งนำอาหารไปถวายหลวงพ่อแดง ติสฺโส ที่วัดแหลมสอ เมื่อเปิดประตูกุฏิไปหาพบเห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส ไม่ จึงเอาปิ่นโตแขวนไว้ที่หน้ากุฏิแล้วนั่งคอยก็ไม่เห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส มาสักที จึงได้ไปปลดปิ่นโตเพื่อนำไปไว้ในกุฏิ เมื่อเปิดประตูกุฏิก็เห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส นั่งอยู่ ครั้นถามท่านก็ตอบว่าไม่ได้ไปไหนนั่งอยู่ตรงนี้ตั้งแต่เช้าแล้ว





อีกรายหนึ่งที่ประสบพบเห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส ล่องหนหายตัว คือ นายนอบ ทวยเจริญ และพรรคพวก ได้พบหลวงพ่อแดง ติสฺโส บริเวณแหลมละไม ซึ่งท่านได้มาให้คนเลื่อยไม้เพื่อต่อเรือระมาด ตัวท่านนั่งอยู่บริเวณปากถ้ำ นายนอบ ทวยเจริญ กับเพื่อนๆ เห็น จึงขึ้นไปเพื่อจะถามไถ่ถึงควายชนว่าตัวไหนจะชนะ เพื่อจะได้ไปแทงพนัน แต่พอไปถึงบริเวณที่ท่านนั่งอยู่กลับไม่พบเห็นหลวงพ่อแดง ติสฺโส แม้จะตามหาทั่วบริเวณก็หาพบไม่

หรือแม้แต่การถ่ายรูปหลวงพ่อแดง ติสฺโส หากไม่ขออนุญาตท่านเสียก่อน ก็ไม่สามารถถ่ายติดรูปท่านได้ นับเป็นที่แปลกอัศจรรย์ และมีผู้พบประสบมาหลายรายแล้ว






ขอขอบคุณข้อมูล...เขียนโดย พระสายใต้
credit : ภาพ : โดย ท่านชายทุ่ง http://wat-khaorahu.com
 http://www.tbk.ac.th/pra/showpra2.php?id=166

238


วัดพระคงฤาษี
 
วัดพระคงฤาษี อำเภอเมือง จ.ลำพูน หรือวัดอนันทราม ตั้งอยู่ ต.ในเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ครองเมืองหริภุญชัย ในวัดนี้มี พระคง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นับถืออีกองค์หนึ่งของเมืองลำพูน

 
 
วัดพระคงฤาษี เดิมชื่อ "วัดอาพัทธาราม" พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระภิกษุที่มาจากลังกา ใช้เป็นที่พำนักและบำเพ็ญสมณะธรรมเป็นที่บรรจุ "พระคง" ตามตำนานกล่าวว่า วาสุเทพฤาษี ได้ใช้ไม้เท้ากรีดพื้นเพื่อเขียนแผนผังเมืองลำพูนตรงพระเจีดย์นี้ พระนางจามเทวีจึงทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม แล้วให้นายช่างแกะสลักเป็นรูปพระฤาษีทั้ง 4 ตนไว้ แต่ละตนถือไม้เท้าในมือ รูปปั้นแกะสลักฤาษีสร้างด้วยศิลาแดง

    เมื่อทำเสร็จแล้วได้นำไปบรรจุไว้ภายในซุ้มประตูทั้ง 4 ด้านของพระเจดีย์ โดยทางทิศเหนือเป็นรูปวาสุเทพฤาษี ทิศตะวันออกเป็นรูปพระพรหมฤาษี ทิศตะวันตกเป็นรูปของพระสมณนารคฤาษี ทิศใต้เป็นรูปของสุกกทันตฤาษี ซึ่งชาวลำพูนจะจัดประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระเจดีย์องค์นี้ภายหลังวันสงกรานต์

    หากเพื่อนๆมีโอกาสได้ไปที่วัดพระคงฤาษี จะสามารถรับทราบได้ถึงบรรยากาศที่แวดล้อมไปด้วยพระฤาษีที่ดูเข้มขลัง อีกทั้งพระคงขนาดใหญ่ที่ตั้งวางไว้ให้สักการะบูชากัน














ขอขอบคุณที่มา
...http://travel.thaiza.com
                   ...http://photo.lannaphotoclub.com/index.php?topic=18106.0

239


ประวัติความเป็นมา


วัดเกาะหลัก อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นวัดเก่าสร้างมาราว พ.ศ. 2300 ได้รับการยกฐานะ เป็นพระอารามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2515 มี เจ้าอาวาสมาแล้ว 9 รูป ตามลำดับ ดังนี้

1. หลวงพ่อศรีโศธร (ไม่ทราบ พ.ศ.)

2. หลวงพ่อหรั่ง (ไม่ทราบ พ.ศ.)

3. หลวงพ่อถึก (ไม่ทราบ พ.ศ.)

4. หลวงพ่อจ้อย (ไม่ทราบ พ.ศ.)

5. หลวงพ่ออินทร์ (ไม่ทราบ พ.ศ.)

6. พระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2458 ถึง พ.ศ. 2472

7. พระสุเมธีวรคุณ (เปี่ยม) ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 ถึง พ.ศ. 2492

8. พระสุเมธีวรคุณ (โถ) ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2511

9. พระราชวิสุทธิคุณ (เกตุ) ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน



จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า เจ้าอาวาสที่ชื่อ "หลวงพ่อศรีโศธร" มีวาจาสิทธิ์ ผู้ใกล้ชิดและผู้ที่ผ่านไปมา ต่างเคารพนับถือด้วยบารมีของเจ้าอาวาสทุกรูป ทำให้วัดเกาะหลักมีความเป็นปึกแผ่น มั่นคง แต่รายละเอียดเกี่ยวกับความเจริญ ค้นคว้า หาหลักฐานไม่ได้ จนถึงสมัยหลวงพ่ออ่ำ จึงพอมีหลักฐานอยู่บ้าง เมื่อพูดถึงวัดเกาะหลัก พุทธศาสนิกชนชาวประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดใกล้เคียงจะต้องระลึกถึง "หลวงพ่อ เปี่ยม" เป็นอันดับแรก
 


หลวงพ่อเปี่ยม (เปี่ยม จนทโชโต) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ "พระครูสุเมธีวรคุณ นิบุณคีรีเขตต์ ชลประเวศ สังฆวาหะ" ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2484 ได้เลื่อนสมณเป็นพระราชาคณะ มีพระราชทินนามว่า "พระสุ เมธีวรคุณ นิบุณคีรีเขตต์ ชลประเวศสังฆปาโมกข์" ในตำแหน่งเดิมเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเกาะหลัก ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ได้ทำความเจริญให้แก่วัดเกาะหลัก คือ

1. จัดสร้างบ่อน้ำประปาคอนกรีตพร้อมด้วยจ่ายน้ำใช้ คันสูบโยกในวัด ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกของจังหวัด และได้ใช้ถึงปัจจุบัน ถังน้ำใบนี้ชื่อ "ถังน้ำธรรมโสภิต"

2. ดำเนินการก่อสร้างกุฏิพร้อมทั้งซ่อมแซมบูรณะ เช่น "กุฎีจันทร์" แบบทรงไทยปนฝรั่ง ไม้ส่วนมากเป็นไม้จันทร์ พื้นล่างเป็นถังคอนกรีตเก็บน้ำฝน "กุฏิมิตรภาพ" เป็นกุฏิรับรองแบบทรงตะวันตก "โรงเรียนบาลี โรงเรียนปริยัติธรรม" เพื่อให้ภิกษุ สามเณร และเด็กวัด ได้ศึกษาเล่าเรียน
 
3. ดำเนินการก่อสร้าง อุโบสถขึ้นใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ภายนอก เป็นลายไทยรูปปั้น และรูปเขียน เป็นภาพวิจิตร ศิลป์ทั้งหลัง ลายรดน้ำ ประตูหน้าต่างได้ให้ ช่างกรมศิลปากรเป็นช่าง การควบคุม การออกแบบ หลวงพ่อเปี่ยมเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น ช่างส่วนมากเป็นภิกษุ สามเณร ที่มีความสนใจศึกษา ช่วยจัดทำ สร้างเป็นพระอุโบสถที่สวยงามวิจิตรพิศดารของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์



หลวงพ่อเปี่ยม นอกจากจะเป็นนักก่อสร้างแล้ว ยังมีความรู้ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถทางโหราศาสตร์ ทำให้วัดเจริญรุ่งเรือง เพราะเมื่อมีผู้เคารพ นับถือเลื่อมใสหลวงพ่อมากเพียงใด ก็เป็นประโยชน์ ต่อวัดมากเพียงนั้น และประชาชนเองก็ได้ รับประโยชน์จากหลวงพ่อทางสุขภาพจิต คือ ช่วยแก้ปัญหาความข้องใจ หรือความวุ่นวายทางอารมณ์ได้เป็นอันมาก ทั้งวัดและประชาชนเป็นไปดังคำพังเพยที่ว่า "วัดจะมีคนเลื่อมใสศรัทธา สมภารเจ้าวัดต้องเป็นพระนักเทศนา หรือ พระหมอยา หรือพระโหรา หรือพระอาคมขลัง" และประชาชนคนไทยเป็นบ้าน้อย เพราะว่าหมอดูคอยทำนายคลายอารมณ์" สำหรับหลวงพ่อเปี่ยมแล้ว ท่านเป็นโหราจารย์ไม่ใช่หมอดู คือสูงกว่าหมอดู เพราะคำว่า โหรแปลว่าผู้ชำนาญทางดาราศาสตร์เกี่ยวกับพยากรณ์ความแม่นยำในการพยากรณ์ของหลวงพ่อ เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งหลาย จนเป็นที่เลื่องลือกันเกือบทั่วประเทศไทยก็ว่าได้ นอกจากนี้หลวงพ่อเปี่ยมยังเชี่ยวชาญในการ บรรจุดวงชะตาทางโหราศาสตร์ลงในพระประจำวันของ บุคคล เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเจ้าของดวงชะตา การทำพิธีทางโหราศาสตร์เชื่อกันว่าถ้าทำที่อื่น จะขลังน้อยกว่าที่โบสถ์วัดเกาะหลัก เพราะที่นั่นหลวงพ่อได้สร้างเทวรูปประจำดาวนพเคราะห์ไว้ที่ลวดลายระหว่างเสาพระอุโบสถโดยรอบ และครบถ้วน การทำพิธีจึงเท่ากับอยู่ท่ามกลางทวยเทพประจำดาวนพเคราะห์ตามตำรับโดยแท้
 
คนที่รักใคร่นับถือหลวงพ่อเปี่ยมมิใช่เพราะ ความเป็นโหราจารย์เท่านั้น ยังเคารพศรัทธาในคุณธรรม ความดีของหลวงพ่อ ท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาอารีกับบุคคลทั่วไป มีอัธยาศัยละมุนละม่อม พูดไม่มาก แต่น่าฟัง และพูดจริง ท่านมีหลักธรรม ประจำใจอยู่ 4 ข้อ คือ

1. แผ่ความเมตตาแก่ทุกคนตลอดสัตว์เดรัจฉาน

2. เมื่อเห็นใครได้รับความทุกข์อยากช่วยให้พ้นทุกข์ เท่าที่สามารถจะช่วยได้

3. รักความยุติธรรม

4. มีความเฉียบขาดในเรื่องที่ควรเฉียบขาด
และหลวงพ่อมีหลักธรรมในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จอีก 4 ข้อ คือ

1. จงทำใจให้รักใคร่ในงานที่ทำ

2. จงพยายามพากเพียรบากบั่นให้กล้าแข็ง

3. จงใช้ความดำริตริตรอง พินิจพิจารณาในการทำงาน พอนึกก็ให้มองเห็น

4. อย่าย่อท้อต่ออุปสรรคซึ่งมาปรากฎอยู่เฉพาะหน้า

หลวงพ่อเป็นผู้มีคติธรรม ที่น่าสนใจอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคติธรรมเหล่านี้ ท่านจารึกไว้ที่กำแพงด้านในด้านนอกพระอุโบสถวัดเกาะหลัก เช่น
 
"คนเราอยู่ในเรือนของผู้ใดแม้แต่วันเดียว หรือได้รับข้าวรับน้ำในเรือนผู้ใดบริโภค ไม่ควรคิดร้ายแก่ผู้นั้นแม้แต่ใจคิด"

"จะรับใช้ในกิจการเขาอย่าเบาคิด เมื่อรับกิจแล้วต้องจำทำให้ได้ ถ้าควรรับแล้วต้องรับให้ฉับไว ถ้าขัดข้องต้องปราศรัย ให้ดีเอย"

"อันกิริยาวาจาอัชฌาสัย แม้ตั้งใจทำให้ดีไม่มีเฉา ประชาชนพลพรรคย่อมรักเรา ไม่เป่าเสกสั่งยังขลังเอย"

"ระวังในอย่านำออกนอกอย่านำเข้า ระวังไส้อย่าสาวให้กา ระวังบังบังจนลับ ระวังจับจับอย่าคลาย ระวังคั้นคั้นให้ตาย ระวังหมายหมายแน่นอน"

"วิญญูชนมีเชาวน์เข้าใกล้ปราชญ์ ครู่เดียวอาจรู้ธรรมข้ามสงสัย ด้วยน้อมรับสดับบทกำหนดนับ เหมือนสิ้นได้รสแกงก็แจ้งจริง"

หลวงพ่อเปี่ยมถึงแก่มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. 2492 ด้วยโรคลำไส้พิการ ท่ามกลางความโศกเศร้าอาดูรของบรรดาศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือเป็นอันมาก ทุกๆ ปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 จะมีงานปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อเปี่ยม และหลวงพ่อรูปอื่น ๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว ณ วิหารในวัดเกาะหลัก




ขอขอบคุณที่มา...http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/pjk/p_place1.html
                   ...http://www.oknation.net/blog/print.php?id=144451

240
ยินดีด้วยครับพี่เจมส์...ได้ของดีอีกแล้วนะครับ

241
กราบนมัสการหลวงพี่...ขออนุโมทนา...สาธุด้วยครับ

242
ประวัติหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต  พระผู้สร้างแห่งทุ่งบางกะปิ



ประวัติ
    พระครูธรรมสมาจารย์ (หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต สกุลเดิม แย้มพิทักษ์ = พ.ศ.๒๔๑๙-๒๕๐๑) หรือที่รู้จักกันอย่างดีในนามหลวงปู่พัก และ หลวงพ่อภักตร์  พื้นเพเดิมท่านเป็นคนอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ พ.ศ.๒๔๑๙  เหตุที่ท่านมีชื่อ “พัก” นั้น เล่ากันว่า เพราะว่าโยมมารดาได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเดิมเพื่อที่จะฝากครรภ์  ไว้ที่บ้านคุณตาคุณยาย  ขณะที่หยุดพักใต้ร่มไม้ใหญ่ชายป่า   เกิดเจ็บท้องกะทันหัน  และได้คลอดบุตรชายออกมา จึงได้ตั้งชื่อว่า “เด็กชายพัก”

          เมื่ออายุ ๘ ขวบ โยมบิดาได้พาเข้ากรุงเทพ ฯ มาฝากให้เป็นศิษย์วัดสุทัศนเทพวราราม คอยปรนนิบัติรับใช้ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อมีความคุ้นเคยกับวัดดีแล้ว  สมเด็จพระวันรัตได้เมตตา บรรพชาให้เป็นสามเณร  ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย  พระปริยัติธรรม รวมทั้งเรียนพุทธเทวมหามนต์  วิชาความรู้ทางช่าง  บูรณะวัดและวิชาความรู้ต่าง ๆ ที่มีครูผู้สอน  มีตำรับตำราตกทอดกันมา ศึกษาตำราการสร้างพระที่มีตกทอดสืบกันมา  รวมถึงได้มีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานจากสำนักของสมเด็จพระสังฆราช (สา)  วัดราชประดิษฐาราม ด้วย

          ล่วงมาจนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๓๙  อายุครบบวชได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒนมหาเถร-พ.ศ.๒๓๖๕-๒๔๔๓)  เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศรีสมโพธิ (แพ ติสสเทวมหาเถร {พ.ศ.๒๓๙๙-๒๔๘๗} ที่กาลต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) เป็นพระกรรมวาจาจารย์  ได้รับฉายาว่า “ธมฺมทตฺโต” หลวงปู่พัก เป็นพระภิกษุที่ขยันหมั่นเพียร  หมั่นฝึกฝนตนเอง

ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนแตกฉาน  ท่องบ่นพุทธเวทมหามนต์ชั้นสูงของสำนักวัดสุทัศน์ ตลอดจนมีความสามารถในการเจริญจิตภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน มีความสามารถเชี่ยวชาญจนกระทั่งนำไปถ่ายทอดสอนให้แก่ผู้อื่น

ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง
          จนกระทั่ง ๕ ปีผ่านไป ทางวัดบึงทองหลาง ซึ่งมีพระอธิการสิน เป็นเจ้าอาวาส ได้มีหนังสือมายัง สมเด็จพระวันรัต (แดง)  ขอให้ส่งพระที่มีความรู้  มาช่วยดูแลวัดด้วยเพราะตัวท่านชราภาพมากแล้ว

          หลวงปู่พัก จึงได้รับคัดเลือกให้มาทำความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดบึงทองหลางตั้งแต่บัดนั้น  ในฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาส  อีก  ๕ ปีต่อมาพระอธิการสิน มรณภาพ  หลวงปู่พัก  ได้จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติ  หลังจากนั้นจึงได้รับตราตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และอีก ๒ ปีต่อมา ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

เรียนวิชาเพิ่ม
          ในช่วงเวลานั้น หลวงปู่พัก   ธมฺมทตฺโต  ได้ยินกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ทอง   วัดราชโยธา (ลาดบัวขาว)  พระโขนง  กทม.  ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันว่าท่านเป็นพระแท้มีอาคมขลังเป็นที่นับถือของคนทั่วไปในย่านนั้น ท่านจึงพายเรือไปกราบนมัสการในฐานะพระผู้น้อยเคารพพระผู้ใหญ่ ต่อไปได้เห็นวัตรปฏิปทาของ หลวงปู่ทอง เพียบพร้อมน่าศรัทธา จึงบังเกิดความเลื่อมใส ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ขอถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ วิชาการสร้างวัตถุมงคลให้ขลัง เรียนวิชาทำผงพุทธคุณ เรียนทำผงตรีนิสิงเห  เรียนสูตรเขียนยันต์จนชำนาญ สำเร็จยันต์ถึงขั้นเคาะผงทะลุกระดานได้  หลวงปู่พัก ชอบยันต์นี้มาก  และใช้ยันต์เป็นประจำต่อมา

          เมื่อท่านเขียนยันต์ตรีนิสิงเห ลงในตระกรุดผ้าประเจียด ผ้ายันต์ แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาญาติโยม  ปรากฏว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านคงกระพันชาตรี  ป้องกันเขี้ยวงา จนเป็นที่เลื่องลือ

ศิษย์ร่วมสำนัก
          ศิษย์ฝ่ายสงฆ์ที่ไปขอเรียนวิชากับหลวงปู่ทอง  วัดราชโยธา (บัวขาว) ได้พบกันในกุฏิยุคนั้น มีหลวงพ่อปั้น วัดสะพานสูง  บางซื่อ กทม.  หลวงพ่อเผือก วัดลาดพร้าว บางกะปิ กทม.  หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว บางพลี  สมุทรปราการ ซึ่งคณาจารย์ที่กล่าวมาล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง  โดยคณาจารย์ล้วนแต่พายเรือลัดเลาะมาตามคลองเพื่อหาความรู้และหาครูบาอาจารย์  โดยมาขึ้นที่ท่าเทียบเรือวัดราชโยธา (วัดบัวขาว) เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษาทางด้าน “เวทยาคม” จากหลวงปู่ทองทั้งสิ้น



วัตรปฏิบัติหลวงปู่

          หลวงปู่พักเป็นพระที่สมถะ ไม่จับปัจจัย ตรงนี้ผู้เรียบเรียงเคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าหลวงปู่ไม่จับตัง ก็เลยถามไปด้วยความสงสัยว่าแล้วหลวงปู่จับตังเอาตังที่ไหนมาซื้อที่ดินของชาวบ้าน  ก็ได้คำตอบว่า เงินจะวางอยู่ใครอยากได้เท่าไหร่ก็หยิบไป ทำนองว่าศิษย์หลวงปู่ไม่มีโกง เพราะเป็นผู้มีความเคารพซื่อตรงต่อหลวงปู่  หลวงปู่ยังนุ่งเจียม ห่มเจียม  ประหยัด  เคร่งในพระธรรมวินัย  พระลูกวัดทุกรูปต้องอยู่ในวินัยสงฆ์เช่นกัน ท่านไม่เคยขาดลงโบสถ์  ทำวัตรเช้าเย็น นอนแต่หัวค่ำ  ตื่นแต่เช้า  บางครั้งในยามดึกท่านจะตื่นขึ้นมาตรวจกุฏิสงฆ์ ท่านจะห้วยพวงกุญแจไว้ที่รัดประคต  จะได้ยินเสียงลูกกุญแจกระทบกันดังมาก่อนตัว   เมื่อท่านพบพระภิกษุรูปใดทำผิด  ๓ ครั้ง หลังจากตักเตือนแล้ว ท่านจะแนะนำให้สึกหาลาเพศ  จนเป็นที่ยำเกรงของหมู่สงฆ์  หรือในอีกภาพลักษณ์หลวงปู่จะเป็นพระที่ดุ หมายถึงให้ศิษย์หรือพระที่บวชเข้ามาเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์

ตำแหน่งและสมณศักดิ์
            หลวงปู่พัก เมื่อได้มาครองวัดบึงทองหลางในตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๕  ก็ได้พัฒนาวัดบึงทองหลางให้เจริญก้าวหน้า อย่างที่ปรากฏเป็นที่ทราบของชาววัดบึงทองหลาง จนได้รับการยกย่องจากคณะสงฆ์ชั้นปกครองให้ และแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน เมือ พ.ศ.๒๔๗๕  ขณะที่อายุ  ๕๖ ปี  ที่พระครูธรรมทัตฺโต  และได้รับตำแหน่งเป็น ได้ตำแหน่งพระครูสัญญาบัตร เมื่ออายุ  ๗๖  ปี ที่พระครูธรรมสมาจารย์  พ.ศ.๒๔๙๕ 

            นอกจากนี้  หลวงปู่พักยังได้ดำรงตำแหน่งอุปัชฌาย์ที่จะให้การบวชแก่กุลบุตรที่ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนาที่มีท่านเพียงรูปเดียวในเขตบางกะปิ (ที่ครอบคลุมพื้นที่เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตวังทองหลาง เขตวัดลาดพร้าว เป็นต้น)  จึงทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่บวชกับท่านเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นวัดบางชัน วัดอุทัยทาราม (วัดบางกะปิ) วัดสามง่าม (บางเขน )วัดลาดพร้าว วัดศรีบุญเรือง วัดพิชัย วัดกลาง และวัดบางเตย วัดเทพลีลา วัดพระไกรศรี(น้อย)  เป็นต้น

          นอกเหนือจากเป็นพระเกจิคณาจารย์และอุปัชฌาย์แล้วหลวงปู่ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงบางกะปิอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ปณิธานอันเป็นความปรารถนาและความตั้งใจของหลวงปู่

๑.    มุ่งพัฒนาวัดบึงทองหลางให้เจริญสูงสุด

๒.    หวังให้ลูกศิษย์เป็นสัมมาทิฐิบุคคลและมีสัมมาปฏิบัติ(เป็นคนดี) ด้วยวิธีการอันแยบยล เช่น ก่อนที่ท่านจะมอบวัตถุมงคลให้ใครท่านจะสั่งสอนด้วยวิธีสั้น ๆ ว่า “อย่าด่าแม่เขานะ”

๓.    ต้องการสร้างโรงเรียนวิชาชีพเพื่อรับช่วงต่อจาก  ระดับประถมศึกษา ซึ่งหลวงปู่ได้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนการฝีมือในวัดบึงทองหลาง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะหลวงปู่ได้มรณภาพเสียก่อน ใน พ.ศ.๒๕๐๑   จนกระทั่งพระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต เทศกาล) เจ้าอาวาสองค์ต่อมาได้สืบสานปณิธานหลวงปู่และได้มีการมอบที่ธรณีสงฆ์ให้กับทางราชการสร้างโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง และโรงเรียนที่ให้การเรียนการสอนทางด้านวิชาชีพ คือ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ฯ อย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน

หลวงปู่ผู้วางรากฐานการพัฒนาวัดบึงทองหลาง

            ตามประวัติวัดบึงทองหลางไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นเอกสารอย่างชัดเจน  มีเพียงคำบอกเล่าจากตาพลอย  ระเบียบชาววัดบึงทองหลาง วัย ๙๒ ปี  เก่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัดบึงทองหลาง ซึ่งแต่เดิมวัดตั้งอยู่ห่างไกลความเจริญและเป็นวัดที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร  เดิมทีพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมตลอดถึงตลอดทั้งปีใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลย  ต่อมามีพระภิกษุธุดงค์รูปหนึ่งมาปักกลดอาศัยอยู่ ชาวบ้านทราบข่าวก็พากันมาทำบุญ  ไม่นานนักก็มีพระธุดงค์อีกรูปหนึ่งมาปักกลดอยู่แทนรูปแรกที่เดินทางต่อไปที่อื่น
             

 (วัดบึงทองหลางจากมุมสูงในอดีต)


 (วัดบีงทองหลางในอดีต)

          ชาวบ้านก็ยังคงพากันมาทำบุญและช่วยกันสร้างกุฏิสงฆ์ให้ท่านพักอยู่โดยนายนิ่ม และนางทองอยู่   เป็นผู้มอบถวายที่ดินให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๑๙  และชาวบ้านก็ได้ร่วมมือกันสร้างอุโบสถขึ้นมาหลังหนึ่ง  เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๐  พร้อมทั้งทำนุบำรุงรักษาวัดให้เจริญก้าวหน้าต่อมา

          จนกระทั่งมาถึงสมัยหลวงปู่พัก ธมมทตฺโต (พระครูธรรมสมาจารย์) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  ก็ได้ชักชวนและประสานความสามัคคีในหมู่ประชาชน ได้ช่วยกันพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ และยังได้รวบรวมจตุปัจจัยจากศรัทธาสาธุชนทั่วไป ซื้อที่ดินและที่ธรณีสงฆ์ของวัดบึงทองหลางเป็นจำนวนมาก  ในสมัยหลวงพ่อสิงห์โตดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ให้จัดสรรให้ประชาชนที่ไร้ที่อยู่อาศัยได้เช่าเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการหารายได้และก่อให้เกิดประโยชน์แก่วัด และได้รวบรวมรายได้จากส่วนนี้มาทำนุบำรุงวัดวาอารามจัดสงเคราะห์สาธารณชน และสนับสนุนการศึกษา พระภิกษุสามเณรภายในวัด เป็นต้น  สาเหตุหนึ่งที่หลวงพ่อสิงห์โต  ต้องการให้ประชาชนมาอาศัยอยู่ในที่ดินของวัด  ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้บิณฑบาตสะดวก  เพราะเมื่อท่านมาอยู่วัดบึงทองหลางใหม่ ๆ ต้องทำอาหารถวายเพลพระ  เนื่องจากบิณฑบาตไม่พอฉัน

หลวงปู่พัก ได้มาก่อสร้างและวางรากฐานวัดจนกว้างขวางใหญ่โต โดยสิ่งก่อสร้างที่ยังหลงเหลืออยู่และสร้างในสมัยหลวงปู่พัก คือ

๑. อุโบสถหลังเก่า หลวงปู่พักได้ดำเนินการสร้างอุโบสถ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๒  โดยอาศัยศรัทธาของบรรดาญาติโยมสาธุชน ทั้งหลายได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์และสละกำลังแรงกายแรงใจช่วยกันก่อสร้าง  จนกระทั่งสำเร็จสมบูรณ์และจัดงานฉลองเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖   ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว  ๒๑ เมตร   ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาสองชั้น  มีเสารายด้านนอกประกอบกำแพงแก้วสูง ๑ เมตร  รอบอุโบสถ ปัจจุบันรูปทรงอาจเปลี่ยนไป อันเนื่องทางวัดบึงทองหลางได้บูรณะไว้เป็นอนุสรณ์ที่ระลึกสำหรับหลวงปู่

๒.ศาลาการเปรียญ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘   ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น กว้าง ๑๗ เมตร  ยาว ๓๐ เมตร  ปัจจุบันทางวัดได้เรื้อทิ้งไปและสร้างศาลาหลังใหม่ขึ้นมาในบริเวณเดิม  ซึ่งในความเป็นจริงสามารถรักษา  อนุรักษ์ซ่อมแซม ทำเป็นพิพิธภัณฑ์หลวงปู่พัก (แบบพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต) ให้ไว้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และเป็นมรดก พร้อมทั้งเป็นเครื่องย้ำเตือน แก่เราชาววัดบึงทองหลาง ในฐานะที่เป็น “มรดกหลวงปู่พักสร้าง” จะเป็นการดีอย่างยิ่ง
               

(คณะสงฆ์วัดบึงทองหลาง หน้าวิหารหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต)

          ๓. ที่สร้างวัดและที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งในสมัยหลวงปู่ได้มาด้วยการที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคบ้าง และนำเงินวัดไปจัดซื้อมาบ้าง  ซึ่งมีจำนวนกว่า  ๒๗๐ ไร่ โดยในปัจจุบันคาดว่าจะมีมูลสูงหลักพันล้านบาท ซึ่งที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดบึงทองหลางมีหลายแปลงด้วยกัน คือ

          ๑.) ที่สร้างวัดที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมที่ปัจจุบันมีกว่า ๓๐ ไร่  อันเป็นสถานที่จัดสร้างศาสนวัตถุที่พัฒนามาพร้อมกับเวลา เช่น อุโบสถ ๑ หลัง วิหาร  ๒  หลัง  ศาลาอเนกประสงค์  ศาลาสวดศพกว่าประมาณ ๑๖ หลัง กุฎิที่พำนักสงฆ์กว่า ๓๐ หลัง ที่จอดรถ เมรุเผาศพ ๔ เตาเผา  เป็น       

๒.) ที่ธรณีสงฆ์แปลงรามอินทรา ซอยวัชรพล (ท่าแร้ง) มีเนื้อที่ จำนวน ๒๕ ไร่ จัดสรรค์ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย เรียก ชุมชนวัชรปราณี (ท่าแร้ง)   ถนนรามอินทรา  ซอยวัชรพล (ห้าแยกวัชรพล) แขวงท่าแร้ง

เขตบางเขน   ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ ?  และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร  เมื่อวันที่ ๓  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙  ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ  ๒๒๕+ ครอบครัว   ๘๐๔+  คน

๓.) ที่ธรณีสงฆ์แปลง ลาดพร้าว ๘๗  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชนจันทราสุข  ตั้งอยู่ถนนลาดพร้าว ซอย ๘๗ เขตวังทองหลาง  มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน  ๒๔.๐๗   ไร่ เข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๘   และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชน โดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร  เมื่อ  ๑๓  ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๓๕  ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ  ๒๑๘+ ครอบครัว   ๗๖๖+  คน

๔.) ที่ธรณีสงฆ์แปลงถนนลาดพร้าว ๑๐๑  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชน ๑๐๑ บึงทองหลาง  (หน้าวัด) ที่ตั้ง..ถนนลาดพร้าว ซอย ๑๐๑  เขตบางกะปิ มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน  ๒๗ ไร่ ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๘  ? และได้รับการจดทะเบียนเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร  เมื่อ ๑๓   ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๓๕  (๑๙๙๒)  ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ  ๒๑๐+  ครอบครัว   ๗๙๘+   คน

๕.) ที่ธรณีสงฆ์แปลงเรียบถนนเกษตร-นวมินทร์ แปลงถนนเกษตรศาสตร์-นวมินทร์ จำนวน ๒ โฉนด คือ ๑๑๒๕  เนื้อที่ทั้งหมด ๔๓  ไร่ ๑ งาน ๗๒  วา(ถูกเวนจำนวน ๔ ไร่ ๑ งาน ๒๑.๗ วา คงเหลือ ๓๙ ไร่ ๕๐.๓ วา)  และโฉนดเลขที่ ๑๑๒๖ จำนวน ๒๗ ไร่  ๑ งาน ๙๖ วา (ถูกเวนคืน  ๒ ไร่ ๖.๖ วา คงเหลือ ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๘๙.๔ วา ) ปัจจุบันให้เอกชนเช่า

๖.) ที่ธรณีสงฆ์ในซอยวัดบึงทองหลาง ลาดพร้าว ๑๐๑ ทางวัดอนุญาตให้เป็นที่จัดตั้งโรงเรียนวัดบึงทองหลาง มัธยมวัดบึงทองหลาง และโรงเรียนวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๘๐ ไร่

๗. ที่ธรณีสงฆ์ด้านหน้าโรงเรียนฝั่งซ้าย-ขวาของถนน เอกชนเช่าจัดทำเป็นอาคารพาณิชย์

          ๘. ที่ธรณีสงฆ์บริเวณ ซอยลาดพร้าว ๑๐๑ (บ่อปลา) เอกชนเช่าประกอบกิจการ

ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)

          โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพหานคร  ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๔๗๕  โดยมีขุนพิทักษ์ พันธุมสูตร นายอำเภอ ได้เกณฑ์เด็กอายุ ๑๐ – ๑๔ ปี เข้าเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนดำรงอยู่ได้ด้วยเงินอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการ) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๙  ทางราชการได้ปรับปรุงชั้นเรียนใหม่ให้เหลือเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ 

          ครั้งแรกโรงเรียนเปิดสอนที่ศาลาการเปรียญวัดบึงทองหลาง โดยใช้ชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลวังทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร) มีนายมังกร  ชุณอุไร  เป็นครูใหญ่คนแรก  โรงเรียนได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ต่อมาพระครูธรรมสมาจารย์ (หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต –แย้มพิทักษ์) เจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง ซึ่งท่านเป็นผู้สนใจเอาใจใส่ทางด้านการศึกษา จึงได้บริจาคที่ดินและสละทุนทรัพย์ส่วนตัว

เพื่อทำการสร้างอาคาร ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาทเศษ  เริ่มดำเนินการก่อสร้าง ปี พ.ศ.๒๔๗๙  จนกระทั่งแล้วเสร็จ  และเปิดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘  โดย นายกำจัด   ผาติสุวรรณ   นายอำเภอเป็นผู้เป็นประธานในการเปิด  และมีนายชุบ  อาจพงษ์ เป็นครูใหญ่ให้ชื่อว่า โรงเรียนพิทักษ์วิทยาคาร

          ในปี พ.ศ.๒๔๙๐   ได้โอนมาขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการโดยตรงและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนวัดบึงทองหลาง”  และพัฒนามาเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่   ในสังกัดกรุงเทพมหานครมีจำนวนนักเรียนและครูกว่า ๒๐๐๐ คน รวมทั้งเป็นสถาบันบ่มเพาะทางด้านความรู้วิชาการ  คุณธรรมให้แก่ลูกหลาน  ชาววัดบึงทองหลางและใกล้เคียงอย่างต่อเนื่องสืบมาจนกระทั่งปัจจุบัน

          ในปัจจุบันทางโรงเรียนได้ก่อตั้งมูลนิธิหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต  ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดบึงทองหลาง  ซึ่งพระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต เทศกาล) เจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง ในขณะนั้นได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้น  โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งกองทุนให้กับโรงเรียนและเป็นการระลึกถึงบุญคุณของหลวงปู่พัก ในฐานะเป็นผู้ริเริ่มสร้างโรงเรียนและบริจาคที่ดินในการก่อสร้างเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อลูกหลานชาววัดบึงทองหลาง ได้มีที่เรียนที่ศึกษาในช่วงเวลานั้น

วาระสุดท้ายของหลวงปู่

          กระทั่งวันพฤหัสบดี ที่ ๑๘  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๑   (แรม  ๑๔ ค่ำ เดือน ๘) เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น.  หลวงปู่พักจึงได้ละสังขารอย่างสงบด้วยโรคชรา ขณะอายุ ได้ ๘๒ ปี พรรษาที่ ๖๒  คณะศิษยานุศิษย์  ได้นำศพของหลวงปู่ไว้สักการะเป็นเวลา  ๒ ปี   ๗ เดือน กับอีก ๑ วัน จึงได้ขอพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๓  มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๓  ณ วัดบึงทองหลาง  มีศิษย์ยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสไปร่วมพิธีกันล้นหลาม  ปัจจุบันทางคณะศิษย์ได้หล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงเป็นที่ระลึก  ประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดบึงทองหลาง  มีประชาชนได้เข้าไปกราบไหว้ในคุณงามความดีของท่านมิได้ขาด

 (หลวงพ่อโต  เคยให้ฟังว่า “งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่พัก  วัดไม่มีเงินเก็บและเงินส่วนตัวของหลวงปู่ก็ไม่มีสะสมไว้ เพราะท่านบริจาคเพื่อส่วนรวมหมด เช่น สร้างโรงเรียน  ซื้อที่ดินให้วัด หลวงพ่อโตจึงต้องไปยืมเงินเพิ่มจากโยมเพิ่ม-รัตน์ สาคร, โยมสร้อย  ใจผ่อง (แม่ของแม่ชีบุญมี ใจผ่อง), แม่ชีแป้น  เนียมชื่น และโยมบุญ-โยมนาง เหงาชีอิ๊ด  เพื่อเป็นเงินสำรองจ่าย ซึ่งสมัยนั้นเงินทอดหายากและลำบากมาก ๆ )


     














   
 (งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต พ.ศ.๒๕๐๓)

   นอกจากนี้ทางพระพิพัฒน์สังวรคุณ (ถนอม ธมฺมฐิติ) ศิษย์หลวงปู่อีกท่านหนึ่งได้เป็นประธานจัดสร้างมณฑปหลวงปู่พัก  ธมฺมทตฺโต ซึ่งปัจจุบันแล้วเสร็จแล้วพร้อมที่จะเปิดใช้งานได้ พร้อมทั้งได้ทำพิธีเททองหล่อรูปหลวงปู่พักอีกองค์หนึ่งขึ้น เพื่อนำประดิษฐานไว้ ณ มณฑป เพื่อให้ศิษย์ที่เคารพนับถือ

            ภายหลังจากที่หลวงปู่ มรณภาพลงใน พ.ศ.๒๕๐๑  ทางคณะกรรมการวัด และคณะสงฆ์จึงได้นิมนต์ให้พระภิกษุสิงห์โต ติสฺโส  ซึ่งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสวัดสืบมา ซึ่งนับตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันอาจลำดับ เจ้าอาวาส (ตามคำบอกเล่าและเอกสาร) ได้คือ


๑.     พระอาจารย์หลาง (หลักฐานไม่ชัดเจน)       ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๕-๒๔๒๙


๒.     พระอธิการปลิว  (หลักฐานไม่ชัดเจน)         ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๙-๒๔๔๔


๓.     หลวงตาสิน (หลักฐานไม่ชัดเจน)              ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๕


๔.    พระครูธรรมสมาจารย์(พัก  ธมฺมทตฺโต)       ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๕-๒๕๐๑


๕.    พระครูพิศาลวิริคุณ (สิงห์โต เทศกาล)        ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๔๗


๖.     พระครูสุจิตฺวิมล (จวง สุจิตฺโต)                  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๗-ปัจจุบัน





ขอขอบคุณที่มา...http://www.oknation.net/blog/moonpuk/2010/01/14/entry-3

243
ขอเชิญ...ชมรายละเอียดภายในวัดปราการ  เพิ่มเติมครับ...




ประตูทางเข้าออกอีกด้านหนึ่งครับ






พระอุโบสถของวัดปราการครับ






วิหารมณฑปหลังใหม่ครับ




พระรูปเหมือนหล่อของพ่อท่านเชื่อมและอดีตเจ้าอาวาส วัดปราการครับ


พระพุทธรูปเก่าแก่คู่วัดแห่งนี้ครับ


กุฏิสงฆ์และหอระฆัง


ขอขอบพระคุณพี่ๆน้องๆทุกๆท่านที่เข้ามาชมกัน...ด้วยความปรารถนาดี...ธรรมะรักโข

244
วัดบางใบไม้ ต.บางใบไม้ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี


พระอุโบสถวัดบางใบไม้



วัดบางใบไม้ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นตำบลที่มีลำคลอง

เป็นจำนวนมาก สองข้างเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ในลำคลองจะมีใบไม้ลอยทับถม

กันเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำขึ้นลงไม่สะดวก ซึ่งเกิดขึ้นในทุกหมู่บ้าน

ทั้งตำบล ราษฏรจึงได้ให้ชื่อว่าตำบลบางใบไม้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้





ประวัติพ่อท่านข้าวสุก


พ่อท่านข้าวสุกสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดและตำบลบางใบไม้

เดิมทีองค์เก่าใช้ข้าวสุกปั้น ได้ชำรุดเสียหาย...

ปัจจุบันหล่อด้วยโลหะดังที่เห็นในภาพ



กุฏิสงฆ์



อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับ ต.บางไทร อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี

ทิศใต้ ติดกับ แม่น้ำตาปี

ทิศตะวันออก ติดกับ ต.บางชนะ อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี

ทิศตะวันตก ติดกับ ต.บางไทร อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี

การเดินทาง

ในสมัยก่อนต้องนั่งเรือหางยาวจากท่าเรือบ้านดอน ข้ามแม่น้ำตาปีล่องเข้ามาในบาง

กว่าจะถึงท่าหน้าวัดใช้เวลาประมาณเกือบ 1 ชั่วโมง แต่ในปัจจุบันนี้ได้สร้างสะพานข้าม

แม่น้ำตาปีตรงข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ใช้เวลาเดินทางมาที่วัดเพียง 10 นาที ระยะทาง

จากสะพานที่ข้ามแม่น้ำมาเพียง 2 กิโลเมตรกว่าๆเท่านั้น


ภาพสมัยที่ข้าพเจ้าบวชเณรที่วัดบางใบไม้ เมื่อปี 2522

พระเครื่องวัดบางใบไม้...บางส่วน

รูปหล่อพ่อท่านข้าวสุก วัดบางใบไม้ จ สุราษฎร์ธานี

245


วันอาทิตย์

อาหารคาว ...  ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย  แกงกะทิ

อาหารหวาน...ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ  น้ำขิง น้ำกระเจี๊ยบ

ของถวายพระ...หลอดไฟ เทียน ธูป อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง ไฟฉาย หมากพลู และแว่นตา

บูชาพระประจำวัน...ปางถวายเนตร กำลังวัน 6 สวดบูชา 6 จบ สวดแบบย่อว่า อะ วิช สุ นุต สา  นุต ติ

การทำทาน...เติมน้ำมันตะเกียง คนตาบอด มูลนิธิคนตาบอด





วันจันทร์

อาหารคาว...ไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกระหรี่ แกงเผ็ดเป็ดย่าง แกงจืดเต้าฮู้ ปลาสลิดทอด

อาหารหวาน...น้ำเต้าฮู้ นมสด นมถั่วเหลือง ขนมเปี้ย น้ำอ้อย

ของถวายพระ...แจกัน แก้วน้ำ กระถางธูป

บูชาพระประจำวัน...ปางห้ามญาติ   15 สวดบูชา 15 จบ สวดแบบย่อว่า อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา

การทำทาน...มูลนิธิเกี่ยวกับการช่วยเหลือสตรี





วันอังคาร

อาหารคาว...ขนมจีนน้ำยา  ก๋วยเตี๋ยว  ผัดวุ้นเส้น บะหมี่

อาหารหวาน...ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ขนุน น้ำอัดลม

ของถวายพระ...กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน พัดลม

บูชาพระประจำวัน...ปางไสยาสน์ กำลังวัน 8  สวดบูชา 8 จบ สวดแบบย่อว่า ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง

การทำทาน...คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก





วันพุธกลางวัน

อาหารคาว...แกงเขียวหวานหมู หมูทอด หมูปิ้ง คะน้าหมูกรอบ

อาหารหวาน...ขนมเปียกปูนสีเขียว น้ำฝรั่ง ชามะนาว มะม่วงเขียวเสวย

ของถวายพระ...สมุด ดินสอ ปากกา กระดาษ อุปกรณ์การเรียนการศึกษา

บูชาพระประจำวัน...ปางอุ้มบาตร กำลังวัน 17 สวดบูชา 17 จบ สวดแบบย่อว่า ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท

การทำทาน...คนพิการทางหู โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงพยาบาลโรคสมอง





วันพุธกลางคืน

อาหารคาว...ผักกาดดองผัดไข่  หมูยอ  แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก

อาหารหวาน...เฉาก๊วย ขนมเปียกปูนสีดำ ข้าวเหนียวดำ

ของถวายพระ...ยารักษาโรค ยาหอม เทปซีดีธรรมะ

บูชาพระประจำวัน...ปางป่าเลไลย์ กำลังวัน 12 สวดบูชา 12 จบ สวดแบบย่อว่า คะ พุท  ปัน ทุ ธัม วะ คะ

การทำทาน...มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด





วันพฤหัสบดี

อาหารคาว...แกงเลียง บวบผัดไข่ ผัดฟักทอง

อาหารหวาน...แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม

ของถวายพระ...สบง จีวร ตู้ยา หนังสือธรรมะ โต๊ะหมู่บูชา

บูชาพระประจำวัน...ปางสมาธิ  กำลังวัน 19 สวดบูชา 19 จบ สวดแบบย่อว่า ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ

การทำทาน...โรงพยาบาลสงฆ์ เสื้อผ้า ผ้าห่ม บริจาคข้าวสาร





วันศุกร์

อาหารคาว...ผัดผักกาดหอม ไข่เจียวหอมหัวใหญ่ ยำหัวหอม ข้าวหอมมะลิ

อาหารหวาน...น้ำเก๊กฮวย กล้วยหอม เค้ก

ของถวายพระ...ย่าม ระฆัง นาฬิกา

บูชาพระประจำวัน...ปางรำพึง กำลังวัน 21 สวดบูชา 21 จบ สวดแบบย่อว่า โธ โน อะ มะ มะ วา

การทำทาน...เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า





วันเสาร์
อาหารคาว...มะระยัดไส้หมูสับ สะเดาน้ำปลาหวาน น้ำพริกปลาทู

อาหารหวาน...ลูกตาลเชื่อม โอเลี้ยง กาแฟ

ของถวายพระ...ร่มสีดำ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด

บูชาพระประจำวัน...ปางนาคปรก กำลังวัน 10 สวดบูชา 10 จบ สวดแบบย่อว่า  โส มา ณะ กะ ระ ถา โถ

การทำทาน...โรงพยาบาลโรคจิต โรคประสาท

246


เรื่องของการใช้น้ำมนต์ไล่ผีเข้าเจ้าสิงของหลวงปู่นั้นโด่งดังอยู่ ดังนั้นน้ำมนต์ของหลวงปู่จึงมีคนต้องการมาก

ยาเส้น

ตามปกติหลวงปู่สงฆ์ท่านชอบใช้ยาเส้นสีปากแล้วอมเอาไว้ ดังนั้นยาเส้นที่ท่านใช้แล้วเหล่านั้น จะกลับกลายเป็นของวิเศษ เป็นของที่มีมงคลศักดิ์สิทธิ์ คือ กลายเป็นของขลังอย่างยอดเยี่ยม สมัยก่อนนั้น คนที่ไปวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยจะหายาเส้น ไปสักจำนวนหนึ่ง บางคนก็เอาไปเป็นห่อ แล้วก็ให้หลวงพ่อเสกให้ต่อจากนั้นก็นำมาเป็นวัตถุมงคลติดตัว ต่อมาทางวัดมีความคิดดีนำเอายาเส้นอัดพลาสติกห้อยคอ ทำเหมือนกับลูกอม ปิดทองอีกด้วย เพราะยาเส้นโด่งดังและเป็นที่ต้องการของผู้ที่เข้าวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย เรื่องมันมีอยู่ ค่อนข้างเกรียวกราวในชุมพร คือ ครั้งหนึ่ง ได้มีคนมาหาหลวงปู่ ท่านก็มอบยาเส้นไปให้ ยาเส้นนี้เดิมทีเป็นของใช้ประจำวันของหลวงปู่ ท่านเอามาสีฟัน คนที่เคารพนับถือเห็นว่าอะไรก็ตามที่ท่านใช้ย่อมจะเป็นมงคลทั้งสิ้น ก็เลยขอยาเส้นท่านไป เมื่อได้แล้วก็นำไปไว้ในเซฟ รวมกับเอกสารและของมีค่า เขาถือว่า ยาเส้นของหลวงปู่ เป็นของมีค่าด้วยชนิดหนึ่งต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี หลังจากนั้นไม่นานนักขโมยเกิดเข้าบ้านชายคนนี้ เมื่อมันเปิดเซฟออกมา มันก็เบือนหน้า เพราะในเซฟไม่มีสมบัติอะไรเลย ภายในเซฟมีแต่ยาเส้นกองเต็มไปหมดไม่มีของมีค่า

         แต่แล้วคนพวกนี้ก็ไปไม่รอด โดนจับได้ ของกลางไม่มีอะไร เพราะมันไม่ได้อะไรไปเลย บอกกับตำรวจเพียงว่า“ในเซฟมีแต่ยาเส้น ใครจะเอาไปทำไม” ความจริงยาเส้นในเซฟนั้นมีเพียงก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือเท่านั้น แปลกใจทำไมมันจึงมองเห็นว่ามีมากมายไปได้หรือจะเป็นเพราะ อภินิหารยาเส้นมงคลของหลวงปู่ ยาเส้นของหลวงปู่นั้นแท้จริงก็คือ ยาเส้นที่หลวงปู่ชอบอมเอาไว้ หรือเรียกกันแบบภาษากลางว่า ถุนยา คือเอายาเส้นใส่ปากอมเอาไว้ เมื่อมีคนอยากได้ บางคนขอเอาจากปากท่านเลยก็มี ท่านก็คายออกใส่มือที่แบรออยู่

น้ำปลา...ยาวิเศษ

         เรื่องนี้ได้ทราบจากชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อหลายปีมาแล้วว่า เขาปวดท้องมานาน ๑๐ กว่าปี ไปรักษาที่ไหนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เสียเงินไปเป็นแสนบาท นายแพทย์เก่งขนาดไหนก็รักษามาแล้ว ที่ไหนว่าเก่ง ๆ พอเจอโรคของบุคคลนี้เข้า ยอม กลัว รักษาไม่หาย ต่อมาได้ยินเขาเล่าลือว่าทางจังหวัดชุมพรมีพระที่วิเศษรูปหนึ่ง เคยรักษาโรคมาเป็นพันๆ คน และก็หายจนหมดสิ้นทุกคนคนป่วยจึงได้หอบสังขารชนิดผอมติดกระดูกมาหา หลวงปู่สงฆ์ นี่แหละ ทันทีที่เห็นหน้าหลวงปู่สงฆ์ คนป่วยก็มีความรู้สึกศรัทธาอย่างมากมาย ขนลุกขนพองอยู่ตลอดเวลา แม้ท่านจะกลับเข้ากุฏิไปแล้วก็ตาม ศิษย์ของท่านจึงนำน้ำปลาไปให้ท่านเพ่งกระแสจิตให้สัก ๑๐ นาที แล้วนำน้ำปลานั้นมาให้และบอกว่าให้กินน้ำปลานี้ ยาอื่นท่านบอกว่าไม่ต้องกินแล้ว ถึงกินก็ไม่หาย ด้วยความศรัทธาในองค์หลวงปู่สงฆ์ หญิงคนนั้นจึงเปิดขวดน้ำปลาดื่มเข้าไป แม้ว่าน้ำปลาจะมีรสเค็มจริงอยู่ แต่เวลาน้ำปลาผ่านลำคอไปแล้ว รู้สึกเย็น ๆ พอไปถึงท้องแล้วอาการปวดท้องเสียด ๆ นั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เกิดขึ้นอีกเลย เกิดความตื้นตันขึ้นมา ดื่มเข้าไปอีกต่อหน้าลูกศิษย์หลวงปู่สงฆ์ มีอาการยิ้มแย้มฉายให้เห็นท่าทีว่า อาการภายในสงบ ภายนอกก็แจ่มใส ผู้ป่วยนั้นก็ก้มลงกราบตรงเชิงบันไดกุฏิของหลวงปู่สงฆ์ แล้วได้ร่วมทำบุญกับวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยด้วยความศรัทธาแล้วจึงลากลับบ้านของตน

         สำหรับชาวบ้านจะนำน้ำปลาเอามาให้หลวงปู่สงฆ์เสกเป่าเป็นมงคลขึ้น เสร็จพิธีแล้วน้ำปลาจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีความขลังในการรักษาโรคผิวหนัง แผลเน่าเปื่อยได้ชะงัดดีนัก โดยเฉพาะผู้ที่ติดยาเสพติด น้ำปลาของหลวงปู่สงฆ์จะรักษาได้เป็นอย่างดี นับเป็นสิ่งมงคลในการรักษาโรคภัยอย่างไม่เคยมีผู้ใดกระทำมาก่อน

น้ำล้างบาตร

น้ำล้างบาตร นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อท่านฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านจะเอาน้ำใส่บาตรเพื่อล้าง ผู้ประสงค์ก็จะคอยรับน้ำล้างบาตรกัน เมื่อผู้ใดได้น้ำล้างก้นบาตรแล้ว ก็จะนำเอาไปอธิษฐานบารมีเป็นที่พึ่ง เพื่อนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วก็ได้รับความสำเร็จทั่วหน้า

         เรื่องน้ำล้างบาตรของหลวงปู่สงฆ์ นี้ ก็มีเรื่องเล่ากันว่ามีสุภาพสตรีผู้หนึ่ง มีกิจการโรงแรมในจังหวัดชุมพร ได้เดินทางมาที่ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย และได้ขอน้ำล้างก้นบาตรจากหลวงปู่สงฆ์ เพื่อจะเอาไปแก้โรคภัยไข้เจ็บชนิดเรื้อรังที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เมื่อได้น้ำก้นบาตรใส่ขันใบใหญ่แล้ว เธอก็นั่งรถกลับจังหวัดชุมพร แต่ขณะนั่งรถมาระหว่างทางเธอได้พิจารณาดูน้ำล้างบาตรในขันที่ใส่มา เห็นเม็ดข้าวขาว ๆ และชิ้นเศษอาหาร ลอยปะปนอยู่ ดูสกปรกน่ารังเกียจ ก็เกิดเสื่อมความศรัทธาขึ้นมา และไม่เชื่อว่าน้ำล้างก้นบาตร นี้จะรักษาโรคได้จริง คิดได้ดังนั้นก็หยิบยกขึ้นมาเทลงข้างทางเสีย แล้วก็นั่งรถกลับมาถึงบ้าน คืนนั้นขณะกำลังนอนหลับอยู่ พอเริ่มเคลิ้ม ๆ หลับได้นิดเดียวก็รู้สึกคันระยิบระยับไปทั้งตัวเป็นที่น่าสงสัยนัก เธอผู้นั้นจึงลุกขึ้นไปเปิดไฟดูก็พบว่า หนอนตัวขาว ๆ จำนวนมากมาย ไต่ตามตัว และที่นอนยั้วเยี้ยเต็มไปหมด สตรีผู้นั้นตกใจและขยะแขยงแทบเป็นลม จึงร้องเรียกคนรับใช้ให้มาช่วยกันกวาดเอาตัวหนอนขาว ๆ เหล่านั้นออกมาจากห้องไปทิ้งเสีย สตรีผู้นั้นก็มิได้สนใจคิดอะไร ล้มตัวลงนอนต่อไป พอเกือบจะเคลิ้มๆ ได้สักเล็กน้อยก็รู้สึกเจ็บ รู้สึกว่าหนอนยังมีหลงเหลืออยู่อีกแต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งแรก จึงรีบเปิดไฟฟ้าขึ้นดู ทีนี้พบหนอนสีขาวๆ มากมายกว่าเก่า มีขนขึ้นเต็มตัว

         สตรีผู้นั้นเกิดความกลัวสุดขีด จึงวิ่งหนีออกมานอกห้องนอน แล้วเรียกคนใช้ออกมาให้กวาดหนอนไปทิ้งอีก คนใช้ทุกคนรีบกวาดหนอนตัวขาวๆ นั้นมารวม ๆ กัน เพราะครั้งนี้ดูมันคลานกันเต็มห้องไปหมด แต่ยังมิได้เอาไปทิ้งก็เกิดเหตุที่ทำให้ตกตะลึงอยู่ กับที่ฝูงหนอนดังกล่าวกลับกลายเป็นเมล็ดข้าวสารขาว ๆ ไปทั้งหมด แม้จะเป็นเมล็ดข้าวสารก็จริง แต่ ใจยังหวาดผวาด้วยความอัศจรรย์นั้นอยู่ ครั้นแล้วสตรีผู้นั้น เมื่อหายจากอาการตกตะลึง ก็รู้ได้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร รู้สึกสำนึกว่าตนเองได้ทำความผิดไว้อย่างมหันต์ที่คิดลบหลู่ดูหมิ่น น้ำล้างก้นบาตร ของ หลวงปู่สงฆ์เมื่อตอนกลางวันนี้ โดยนำน้ำก้นบาตรเททิ้งข้างทาง ดังนั้นสตรีผู้นั้นจึงจุดธูปเทียนขึ้นบูชา กล่าวคำอโหสิกรรมโทษที่ตนล่วงเกินด้วยความเกรงกลัว จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีหนอนมารบกวนอีกเลย สามารถนอนหลับได้อย่างสบายตลอดรุ่งเช้า

กวางน้อย

         มีชาวบ้านคนหนึ่งได้นำลูกกวางมาถวายให้หลวงปู่ เป็นลูกกวางตัวผู้ ยึดถือหลักเอาไว้อย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าคนหรือสัตว์ตัวเมียท่านจะไม่เลี้ยงเลย กวางน้อยตัวนี้กำลังซน หลวงปู่ก็เอาชายจีวรที่ท่านฉีกมาผูกคอไว้ มันก็เที่ยวของมันไปตามประสา เพราะไม่ได้ผูกมัดแต่อย่างใด บางครั้งไปกินพืชผักของใครเข้า เจ้าของโกรธไล่ตี มันก็วิ่งหนีกลับเข้าวัด เพราะความเกเรซุกซนของมันนี่แหละ โดนดีเข้าจนได้ มีคนเอาปืนลูกซองยิงมัน แต่ทว่าด้าน ยิงไม่ออกหลายครั้ง จนลือกันว่า กวางตัวนี้หนังมันดี ยิงไม่ออก วันหนึ่งมันออกไปกินยอดพลูของครูคนหนึ่งเข้าที่บ้านข้างวัด ครูคนนั้นก็เอาไม้ไล่ตี ปากก็ตะโกนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ตกกลางคืน กวางตัวนี้ ชื่อไอ้น้อย ก็แอบเข้ามากินยอดพลูที่เหลือหมดที่ปลูกเอาไว้ ครูนั้นโกรธมาก มาเล่าเรื่องแบบฟ้องหลวงปู่ ท่านก็หัวเราะพูดลอย ๆ ว่า “ก็ครูอยากไปด่ามันทำไม ไอ้น้อยไม่ชอบให้ใครด่า” ครูเก็บเอาความแค้นไว้ในอกเงียบ ๆ หลังจากนั้นได้ไปติดต่อกับคนรับซื้อสัตว์ป่า เพื่อจะขโมยไอ้น้อยกวางหลวงปู่มาขาย สมคบกับอีกคนหนึ่งเตรียมขโมยไอ้น้อย แล้ววันนั้นไอ้น้อยก็รับกรรม ถูกจับตัวเอาขึ้นบนรถไปหมายจะนำไปขายในกรุงเทพ ฯ บนรถบรรทุกไอ้น้อยมานั้นมีสัตว์ป่าอีกหลายตัวรวมอยู่ด้วย รถได้แล่นออกมาจากชุมพรจวนจะถึงเขาหินช้าง เกิดยางแตก กำลังเปลี่ยนยางอยู่นั้น ไอ้น้อยกวางหลวงปู่ก็หลุดหนีออกมาได้ ไอ้น้อยได้ไปเที่ยวอยู่แถว ๆ พ่อตาหินช้าง บ้านยายไท แถวน้ำตกกะเปาะอำเภอท่าแซะ อยู่ระยะหนึ่ง

         จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ไอ้น้อย กำลังเที่ยวหาอาหารอยู่ในเวลาเช้า ไอ้น้อย หารู้ตัวไม่ว่า ความตายกำลังจะมาเยือนมันอยู่แล้ว ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินเล็มยอดไม้อยู่นั้น ก็ได้มีชายผู้หนึ่ง ชื่อว่า นายหวิน กำลังจะยัดเยียดความตายให้กับไอ้น้อย ด้วยอาวุธปืน นายหวินได้สับไกปืน เพื่อทีหวังจะล้มไอ้น้อยให้ได้ แต่ ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้ว กระสุนของนายหวินก็ไม่ระเบิด แต่ทำไมจึงทำอะไรไอ้น้อยไม่ได้ “มันกวางอะไร กวางของใคร ทำไม่จึงยิงไม่ออก แปลก” นายหวินรำพึงรำพันอยู่ในใจ ขณะที่นายหวินครุ่นคิดอยู่นั้น สายตาไปเหลือบเป็นผ้าสีเหลือง คือผ้าพระผูกอยู่ที่คอของไอ้น้อย ด้วยความมั่นใจในฝีมือตัวเอง ประกอบกับดวงของได้น้อยมันถึงฆาต เหมือนกับคำที่กล่าวว่า“ถึงคราวตายแน่นอน ทางแก้ไม่มี ตายแน่เราหนีกันไปไม่พ้น จะเป็นราชาหรือมหาโจร ต้องทิ้งกายสกนธ์สู่เชิงตะกอน” นายหวินได้เข้าไปปลดผ้าสีเหลืองที่ผูกคอไอ้น้อยไว้ ซึ่งเป็นเศษผ้าจีวรของหลวงปู่ออกจากคอไอ้น้อย

         อนิจจาความตายกำลังจะมาเยือน ไอ้น้อย เมื่อดวงมันถึงฆาต มันก็ทำอะไรไม่ถูก ธรรมดาแล้วมันไม่ค่อยจะให้ใครเข้าใกล้ตัวมัน ยกเว้น หลวงปู่ และกับคนที่มันรู้จักมักคุ้นเท่านั้น แต่เพราะสัตว์มันไว้ใจคน หารู้ไม่ว่า คน ๆ นั้นกำลังจะหยิบยื่นความตายให้ นายหวินปลดผ้าเหลืองออกจากคอไอ้น้อยแล้วก็รีบวิ่งกลับไปยังบริเวณที่ได้เอาปืนพิงไว้กับต้นไม้ใหญ่ เบนลำกล้องปืนกลับมาสู่ตัวไอ้น้อยอีกครั้ง พร้อมกับลั่นไก “ปัง” เสียงปืนดังแน่นคับราวป่า ผู้ชำนาญเสียงปืน ถ้าได้ยินเสียงก็บอกได้ว่า กระสุนเข้าเป้าอย่างแน่นอน ไอ้น้อยล้มทั้งยืน ในขณะที่ปากของมันยังคาบยอดไม้อ่อนอยู่ แต่ว่ามันไม่มีโอกาสที่จะได้เคี้ยวอีกต่อไป เลือดแดงฉานทะลักออกมาจากท้องราวกับสายน้ำ ตาของไอ้น้อยค้าง แต่หากมันมีความรู้สึกสักนิด ก็จะสงสัยว่า “ทำไมวันนี้จึงสั้นเสียเหลือเกิน เรากินอาหารมื้อเช้ายังไม่ทันอิ่ม ก็มืดเสียแล้ว” โอ้อนิจจาความตายไม่เคยเว้นใคร แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ฝ่ายนายหวิน มือเพชฌฆาต ดีอกดีใจที่ได้ล้มไอ้น้อยลงได้ใครล่ะจะแน่กว่าเรา ภรรยาของหวิน อยู่ที่บ้านตกใจ โดยไม่รู้สาเหตุ ตะโกนบอกเพื่อนบ้านใกล้เคียงว่า "หวินยิงกวางหลวงปู่ หวินยิงกวางหลวงปู่" ทั้ง ๆ ที่มิเห็นกับตา เพื่อนบ้าน เมื่อได้ยินดังนั้น ก็พากันไปดู พบหวินกำลังชำแหละเนื้อกวางตัวนั้นอยู่ บางคนก็คิดอยากจะช่วย แต่ในขณะนั้นเอง กลิ่นอุจจาระก็ส่งกลิ่นตลบอบอวน โดยไม่ทราบสาเหตุที่ไปที่มาของกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หวินและเพื่อนบ้านช่วยกันตรวจสอบ ก็พบว่ากลิ่นนั้นมาจากซากกวางที่ถูกยิงนั้นเอง ในที่สุด ก็ไม่มีใครเอาเนื้อนั้นไปได้เลยแม้แต่น้อย เพราะเหมือนจะเหม็นจนไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง

         ฝ่ายหวินเอง เมื่อเห็นเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นก็เริ่มตกใจกลัวจนใจเตลิดเปิดเปิง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “กวางที่ตัวเองล้มกับมือ กลายเป็นอุจจาระไปได้อย่างไร” สติวิปลาสขึ้นในบัดดลนั้นเอง วิ่งเตลิดเปิดเปิงกลับบ้านไม่ถูก เพื่อนบ้านกับภรรยาของหวิน เมื่อทราบดังนั้นจึงได้ไปบอกกล่าวขอโทษหลวงปู่ ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยว่า “หวินมันยิงกวางเสียแล้วล่ะ หลวงปู่” หลวงปู่ก็กล่าวว่า “คนยิงมันบ้า”  นายหวินก็บ้าไม่ได้สติตั้งแต่บัดนั้นจนทุกวันนี้ จะด้วยกรรมที่หวินทำลงไปหรืออะไร เราเองก็ไม่ทราบได้ แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนายหวิน เพราะนายหวินไปยิงกวางของหลวงปู่ตาย

กิจวัตรของหลวงปู่สงฆ์ จันทสโร

เวลา ๐๔.๐๐ น.     ไหว้พระทำวัตรเช้า

เวลา ๐๖.๑๐ น.     ท่านออกจากห้องเตรียมที่จะออกบิณฑบาต ในระหว่างนั้น สามเณรอุปัฏฐากจะขึ้นปฏิบัติและญาติโยมมากราบขอพร

เวลา ๐๗.๐๐ น.     ออกบิณฑบาต เมื่อกลับมาแล้วท่านเข้าห้องไหว้พระอีก

เวลา ๐๙.๐๐ น.     ลงหอฉัน เพื่อฉันภัตตาหาร เมื่อฉันภัตตาหารและให้พรเรียบร้อย ท่านจะพูดคุยกับญาติโยมที่มาทำบุญ หลังจากนั้นท่านกลับขึ้นกุฏิและต้อนรับพุทธศาสนิกชนที่มาจากใกล้และไกลพอสมควร แล้วเข้าห้องพักผ่อน

เวลา ๑๒.๓๐ น.     ออกจากห้อง เพื่อต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มาขอพร

เวลา ๑๔.๐๐ น.     ท่านสรงน้ำแล้วเข้าห้องไหว้พระสวดมนต์

เวลา ๑๖.๐๐ น.     ออกจากห้องต้อนรับญาติโยมที่มาขอพร

เวลา ๑๘.๐๐ น.     เข้าห้องทำกิจภาวนา และให้ภิกษุสามเณรทั้งหมดต้องทำกิจภาวนาด้วย จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ น.

เวลา ๒๐.๐๐ น.     เสร็จจากทำกิจภาวนาแล้ว ออกจากห้องให้ภิกษุสามเณรขึ้นปรนนิบัติ และเป็นโอกาสที่ท่านให้โอวาทแนะ นำ สั่งสอน

เวลา ๒๒.๐๐ น.     เข้าห้องพักผ่อน

เวลา ๒๔.๐๐ น.     ล่วงจากนี้ไปแล้วท่านจะทำกิจภาวนาไปจนถึงเวลา ๐๔.๐๐ น. อนึ่งถ้าเป็นวันพระกลางเดือนและ สิ้นเดือน เวลา ๑๓.๐๐ น.ท่านจะลงอุโบสถพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อสวดและฟังพระปาฏิโมกข์โดยมิได้ขาด

หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร


         ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ จนถึง วันอังคาร ที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตรงกับแรม ๙ ค่ำเดือน ๘ ปีกุน ก่อนหน้านี้หนึ่งวันหลวงปู่ได้ให้คนไปตามหลวงพ่อคงจากวัดวิสัยซึ่งเป็นหลานชายของท่าน ให้มาพบ และกล่าวว่า เมื่อท่านสิ้น ขอมอบบาตร ไม้เท้า และ ย่ามให้แก่หลวงพ่อคงนำไปเก็บรักษาไว้ด้วย

         วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตอนเช้าหลวงปู่ท่านยังรู้สึกตัว มีสายน้ำเกลือติดอยู่ที่แขนท่าน นอนสงบอยู่บนเตียงที่กุฏิ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. เศษๆ ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดที่มาปรนนิบัติหลวงปู่เห็นท่านนอนนิ่ง แต่ทว่าน้ำเกลือไหลเปรอะออกมาจึงได้ไปตามหมอมาดู ปรากฏว่าหลวงปู่ท่านได้จากไปอย่างสงบเสียแล้ว น้ำไม่ได้เข้าสู่ร่างกายเพราะลมหายของหลวงปู่หยุด น้ำเกลือจึงไหลล้นออกมาไม่อาจเข้าร่างกาย หลวงปู่จากไปอย่างสงบไม่ทราบเวลาที่แน่นอนเพราะท่านนอนนิ่งอยู่อย่างนั้นไม่กระวนกระวายจนผิดสังเกต

         บรรยากาศ ณ เวลานั้นช่างเงียบเชียบ แม้แต่สายลมยังหยุดนิ่ง ใบไม้ไม่ไหวติงไม่มีแม้แต่เสียงนก เสียงกา ร้องเหมือนปกติเช่นเคย แสงแดดส่องประกายเหลืองจ้าผิดปกติจากทุกๆ วัน ทุกสรรพเสียงเงียบเชียบ ไม่เพียงแต่เสียงฆ้องกลองดังระงมไปทั่วซึ่งเป็นการบอกเหตุให้ชาวบ้านได้รับรู้ บ้างต่างก็พากันงุนงงเต็มไปด้วยความสงสัยสับสน มีบ้างที่รู้ถึงข่าวการอาพาธของหลวงปู่ก็เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ถึงลางบอกเหตุของการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ดังนั้นทุกคนในบริเวณที่รัศมีเสียงฆ้องกลอง สามารถดังถึง ก็รีบมาที่วัดเป็นการด่วน บางคนทิ้งจอบทิ้งเสียมไว้กลางทุ่งนาโดยมิได้นึกถึงสิ่งใด เพราะตอนนี้ทุกคนต่างต้องการมาให้ถึงวัดโดยเร็ว

         เมื่อมาถึงในบริเวณวัด พอทราบว่าหลวงปู่ท่านได้จากไปเสียแล้ว สร้างความเศร้าโศกเสียใจ บางคนถึงกับร้องไห้ฟูมฟายบางคนน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว ด้วยคิดว่าตอนนี้ที่พึ่งทางใจได้จากไปเสียแล้ว ต่อไปนี้จะพึ่งใคร เพราะตอนสมัยหลวงปู่ท่านยังอยู่ ไม่ว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเดือดร้อนด้วยเรื่องอันใดก็จะได้หลวงปู่เป็นที่พึ่งปัดเป่าทุกข์ร้อนต่างๆ ให้สิ้นไป ต่อจากนี้ไปจะหันหาไปพึ่งใครได้อีกเล่า ยิ่งทำให้บรรยากาศในบริเวณวัดวังเวงยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อบรรดาศิษย์ทั้งหลายที่อยู่ไกลออกไปทราบข่าวคราว ต่างก็พากันมาที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อย่างเนืองแน่นจากทุกสารทิศเพื่อกราบนมัสการสรีระและบำเพ็ญกุศล ถวายแด่ หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร

         ตั้งแต่เช้าจรดค่ำคืน ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน บ้างต้องจอดรถยนต์เดินกันเป็นระยะทาง ๒ - ๓กิโลเมตร ในระหว่างงานมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้น คือ หาใช่เพียงแต่ผู้คนไม่ที่มานมัสการสรีระของหลวงปู่ แม้แต่เต่าที่ท่านได้เคยเลี้ยงและได้ปล่อยไปแล้ว ยังกลับมาที่วัด เสมือนว่ามันจะทราบว่าหลวงปู่ได้ละสังขารแล้ว ในวันที่เต่าปรากฏนั้นเกิดพายุหมุนเล่นเอาสังกะสีหลังคาโรงที่สร้างเอาไว้สำหรับรองรับคนที่มาฟังเทศน์ ฟังการสวดพระอภิธรรม กระจัดกระจาย สังกะสีปลิวว่อน แต่ไม่มีใครได้รับอันตรายแต่อย่างใด เต่าตัวนี้มีขนาดประมาณ ๑๕ - ๒๐ นิ้วเห็นจะได้ เมื่อมาถึงที่ศาลา มีคนอุ้มเอาขึ้นไปวางไว้ตรงหน้าหีบศพของหลวงปู่ เมื่อวางเสร็จเต่าตัวนี้ก็ทำหัวผงกๆ จากนั้นก็นั่ง มีคนเห็นเต่าน้ำตาไหล อาบแก้มทั้งสอง ข่าวนี้กระจายไปทั่วเมืองชุมพร คนก็เลยมาดูเต่ากันมากขึ้น

         สิ่งที่น่าประหลาด คือ เมื่อนำเต่าออกมาถ่ายรูป หรือจะนำออกมาวางในลักษณะใดก็ตาม พอวางเสร็จสักครู่ เต่าก็จะหันหัว กลับไปที่หีบศพทุกครั้ง แล้วกลับไปนอนนิ่งใต้หีบศพของหลวงปู่ ความแปลกยังมีอีก จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ จากจำนวนเต่า ๑ ตัว แรก กลายเป็น ๙ ตัว เพราะมีเต่าเพิ่มมาอีก บางตัวมาปรากฏอยู่หน้าลานวัด บางตัวชาวบ้านจับเอา มาส่งที่วัด เพราะ เขาเล่าว่าตอนขณะที่พวกเขาจะเดินทางมานมัสการหลวงปู่ เต่าได้ออกมาขวางหน้ารถ คล้ายกับว่าจะให้พามันมานมัสการหลวงปู่ด้วยนั่นเอง ที่เป็นอย่างนี้เพราะเหตุว่า เมื่อตอนหลวงปู่ยังอยู่นั้น หากชาวบ้านพบเต่าคลานอยู่หรือว่าจับได้ ก็จะนำมาถวายหลวงปู่ที่วัด ท่านก็จะเอาสีเขียนทาลงไป เขียนชื่อท่านบ้าง เขียนชื่อวัดบ้าง บางตัวก็จะมีอักขระขอม เป็นที่รู้กันว่านี่คือเต่าของหลวงปู่ เป็นเต่าพันธุ์เต่าหก มีลักษณะ ๖ ขา เป็นเต่าพันธุ์เฉพาะถิ่นในแถบเมืองชุมพรนี้ บางตัวหากจะยกต้องให้ผู้ชายกำลังดีๆ ถึง ๔ คนจึงจะยกได้

         มีเรื่องแปลกอีกว่า หลวงปู่ไปเข้าฝันชายคนหนึ่งแถวบ้านสามแก้วว่าให้ไปช่วยลูกของท่านที่ตกบ่อด้วย ชายคนนั้นไปดูตามบ่อต่างๆ ก็พบเต่ากำลังตะเกียกตะกาย จะขึ้นจากบ่อมาให้ได้ เขาก็ช่วยมาจากบ่อ พอดูที่กระดองเต่าก็เห็นอักษรเขียนว่า ว.ศ.ล. คือ เป็นตัวย่อของวัดเจ้าฟ้าศาลาลอยนั่นเอง ก็เลยนำมาที่วัด มีชาวบ้านที่ได้มานมัสการหลวงปู่ เมื่อมาพบเห็นเต่าก็นำไปตีเป็นตัวเลข นำไปแทงหวย ในงวดวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ถูกกันเกือบทั้งเมืองชุมพร ข่าวเรื่องเต่าของหลวงปู่เป็นที่เกรียวกราวมากในจังหวัดชุมพร

หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร

         ท่านได้เข้าพำนักอยู่ประจำที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย นี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ จนถึง วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ตรงกับแรม ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีกุน เวลา ประมาณ ๑๐.๐๐ น. เศษๆ ท่านก็ได้มรณภาพ รวมสิริอายุได้ ๙๔ ปี ๓ เดือน ๒ วัน รวมท่านอยู่ที่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอยเป็นเวลา ๖๔ ปี ทางศิษยานุศิษย์ ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลศพของหลวงปู่ ตั้งแต่วัน ๒ - ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ และได้ทำพิธีปิดศพในคืนวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ หลังจากนั้นทุกๆ คืนจะมีการสวดพระอภิธรรมโดยพระภิกษุภายในวัด และโดยเฉพาะในวันอังคาร ซึ่งกับวันคล้ายวันเกิด และวันมรณภาพ ของหลวงปู่ท่าน จะมีการสวดพิเศษคือ การสวดในบท อนัตตลักขณสูตร และอาทิตตปริยายสูตร สลับกันไปทุกๆ วันอังคาร ของแต่ละสัปดาห์ และจะมีการสวดครบรอบวันมรณภาพในแต่ละปี โดยตรงกับ วันที่ ๒ สิงหาคม ของทุกๆ ปี จะมีการนิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในจังหวัดชุมพร มาสวดเป็นประจำทุกๆ ปี

ปัจจุบัน สรีระของหลวงปู่ได้ประดิษฐานอยู่ บนศาลาธรรมสังเวช เพี่อให้พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ได้กราบสักการบูชาตลอดไป

คำให้พรของหลวงปู่ที่ได้ยินบ่อยครั้ง จงบังเกิดมีแด่ญาติโยมทุกๆ ท่านเทอญ....





ขอขอบคุณที่มา...www.itti-patihan.com

247


หลวงปู่สงฆ์ เป็นนามที่ ชาวกรุงเทพมหานคร เรียกชื่อท่าน ด้วยความ เคารพ เลื่อมใส ท่านเป็นพระคณาจารย์ สมถวิปัสสนา ที่ชาวจังหวัดชุมพร และชาวกรุงเทพๆ ภูมิใจเป็นหนักหนา หลวงปู่ท่าน มีความเมตตาปรานีแก่ทุกๆคน ไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้บุคคล ใดไปขอพรจากท่านแล้ว จะได้รับความสมหวังอย่างมั่นคง ด้วยทุกคนเชื่อว่า ท่านหลวงปู่สงฆ์ มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก หลวงปู่สงฆ์ ท่านเป็นคนชาว จังหวัดชุมพร โดยกำเนิด ท่านเกิด ที่หมู่บ้านวิสัยเหนือ อ.สวี จ.ชุมพร เมื่อวันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีขาล พ.ศ.๒๔๓๒ บิดา ชื่อ นางแดง มารดาชื่อ นางนุ้ย มีอาชีพทำนา-ไร่สวน อายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้บรรพชาเป็น สามเณร ที่วัดสวี อันเป็นวัดใกล้ๆบ้านเกิดท่าน

เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ๒ ปี จึงได้ลาสึก ออกไปช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพทำงานท้องนาและไร่สวน ครั้นอายุครบอุปสมบท ท่านได้มาฝากตัวแก่พระอุปัชฌาย์ ที่วัดสวี ขอบวชเป็น พระภิกษุสงฆ์ ได้รับความเมตตาจาก พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า "จันทสโรภิกขุ" หลังจากบวชเป็นพระแล้ว ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดควน อ.สวี จ.ชุมพร ๑ พรรษา ในระหว่างพรรษา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม จนพอรู้แนวทางการ ดำเนินชีวิตในเพศพรหมจรรย์ ออกพรรษาแล้ว ท่านมีความสนใจทางสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน แต่ในจังหวัดชุมพร ไม่มีพระอาจารย์สอนทางด้านนี้เลย ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ -อาจารย์ ออกจากจังหวัดชุมพร มุ่งหาพระอาจารย์สอนกรรมฐานในถิ่นอื่นๆ โดยได้ออกเดินทางไปท่ามกลางป่าเขาอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะท่าน ยังไม่รู้จักคำว่า " เดินธุดงค์" ในสมัยนั้น แต่หลวงปู่สงฆ์ มีความแน่ใจว่า การเดินทางอยู่ในป่าดงพงไพรนี้ จะต้องพบกับ พระผู้ปฏิบัติบ้าง เพราะพระกรรมฐานชอบอยู่ป่าดง มากกว่า อยู่วัดวาอาราม หลวงปู่สงฆ์ รอดพ้นจากอันตรายรอบด้าน เช่น สัตว์ป่า ไข้ป่าอันดุร้ายไปได้ ก็เพราะแรงใจที่มุ่งปฏิบัติธรรม กับพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง เมื่อพบก็จะมอบตัวเป็น ศิษย์ ขอฝึกอบรมด้วยเท่านั้น

         หลวงปู่สงฆ์ประสบความสมหวัง เมื่อได้ทราบว่า .... พระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือตอแซ เป็นพระอาจารย์ที่ทรงฌานสมาบัติสูงองค์หนึ่ง ในจังหวัดภูเก็ต ท่านจึงได้ไป ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอฝึกอบรม ปฏิบัติพระกรรมฐาน อยู่กับพระอาจารย์รอด ๒ พรรษา หลวงปู่สงฆ์ มีความพากเพียร อย่างคร่ำเคร่ง มีสมาธิแก่กล้า สามารถในทาง ปฏิบัติมากแล้ว ท่านพระอาจารย์รอด ได้ให้ออกเดินธุดงค์ไปอยู่ป่าช้า ตามถ้ำผาป่าดง ต่อไป เพื่อความรุ้แจ้งในจิตใจ และจะได้ปรารภธรรมตามสติปัญญา หลวงปู่สงฆ์เดินธุดงคกรรมฐานไปจนถึงชายแดนด้านมาลายู จากนั้นท่านก็ ได้เดินธุดงค์ ย้อนกลับมาจนถึงจังหวัดเพชรบุรี

         หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีความชำนาญในเรื่องสมถกรรมฐานและวิปัสสนา กรรมฐานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยก่อนโน้น ทางภาคใต้ นับตั้งแต่จังหวัดชุมพรลง ไป ครูบาอาจารย์ต่างๆ มักจะสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานแล้ว เดินจิตเล่นฤทธิ์ กันเสีย โดยส่วนมาก สำนักเรียนวิชาต่างๆ ภายใน(จิต) สำนักเขาอ้อ มีชื่อเสียงมากในเรื่องนี้ แต่ หลวงปู่สงฆ์ ก็ดี หลวงปู่หมุนก็ดี ตามที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านสามารถหัน เข้ามาดำเนินจิตสู่วิปัสสนากรรมฐานเสีย เพราะเป็นหนทางออกจากความยึดมั่น ในอำนาจจิต อำนาจฌานได้อย่างสิ้นเชิง เป็นความจริงดังนี้

         ต่อมาหลวงปู่สงฆ์ ท่านเกิดสติปัญญา มองเห็นภัยในวัฎสงสาร ที่มันเคย แปรปรวน หมุนเวียน ไม่รู้จบ ท่านเกิดเบื่อหน่าย คิดดำเนินชีวิตในป่าดงพงไพร ทำจิต เร่งบำเพ็ญเพียร เพื่อความพ้นทุกข์ การเดินธุดงคกรรมฐานของครูบาอาจารย์นั้น มิใช่ว่าจะเดินไปในที่แห่งหนึ่ง แล้วไปในที่แห่งหนึ่ง พึงรีบเดินเพื่อให้ถึงเร็วๆนั้น หาไม่ แต่การเดินธุดงค์ก็เหมือนการเดินแบบปกติ หรือเดินจงกรมนั่นเอง ท่านเดินอย่างมีสติ .... คือ ขณะที่ก้าวเดินไปนั้น ท่านกำหนดคำบริกรรม หรือพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ โดยไม่นับก้าวแต่อย่างใด ท่านเดินด้วยสติ แม้อะไรจะเกิดขึ้นมาในช่วงนั้น ท่านก็รู้ชัด ไม่มีอาการของ จิตแส่ส่ายไปมา เพราะสติเป็นกำลังอันสำคัญขณะทำความเพียร เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านได้อาศัยชีวิตอยู่ในป่าดงเป็นเวลาหลายปี อาศัยโคน ไม้ ถ้ำผาต่างๆ เป็นที่พักผ่อน ไม่มีความอาลัยในชีวิตว่าจะสุข หรือทุกข์ ท่านมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้ธรรม

         เมื่อรู้ธรรมแล้ว ท่านก็นำธรรมะนั้น มาสอนจิตสอนใจตนเอง ขัดเกลา กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเป็นสมบัติประจำสันดานมนุษย์ ให้หลุดให้ลอกออกไปจากจิตใจ ชำระจิตใจด้วยธรรม เพื่อความสะอาดหมดจดแห่งชีวิต ๗ ปี แห่งการทรมานกิเลส ภายในจิตใจของท่าน ซึ่งไม่เคยออกจากป่าสู่เมือง เลย ทำให้สภาพจิตสดใสแจ่มแจ้งในธรรมะ แต่สภาพสังขาร ดูออกจะเป็นฤาษีชีไพร หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายาว จีวร สบง ขาดรุ่งริ่ง นั่งภาวนาในป่าเมืองชุมพร คล้ายกับวาสนาท่านจะต้องมาอยู่วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จึงมีชาวบ้านป่า เดินตามนกตัวหนึ่ง ที่ร้องเป็นภาษามนุษย์ว่า " หนักก็วางเสีย ! หนักก็วางเสีย " ชาวบ้านป่า เดินตามนก จนพบหลวงปู่สงฆ์ และได้นิมนต์มาอยู่วัดร้างแห่งนั้น หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความอดทน ค้นคว้า สัจธรรม ความเป็นจริง ของพระพุทธเจ้า ด้วยชีวิตเป็นเดิมพัน ๑๐ พรรษา ท่ามกลางป่าดง ท่านอาศัยภูเขาลำเนาไพรมาโดยตลอด การบิณฑบาต ท่านโคจรไปในหมู่บ้านชาวป่า ได้บ้างอดบ้าง ตามอัตภาพ จนมีความพอดีแก่จิตใจ ปล่อยวางของหนักได้หมดสิ้นแล้วอย่างมั่นใจ

         ท่านจึงออกจากป่า สู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ท่านได้จำพรรษาก่อสร้างวัดร้างแห่งนั้น จนเจริญรุ่งเรืองในปัจจุบัน โดยขนานนามว่า วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย อ.เมือง จ.ชุมพร หลวงปู่สงฆ์ จนฺทสโร ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ในจังหวัดชุมพร บัดนี้ท่านได้วางแล้วซึ่งขันธ์อันหนักหน่วงของท่าน และได้ทิ้งรากฝากความดีงามให้แก่ชนรุ่นหลังระลึกถึง ณ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

สิ่งมงคลและยาวิเศษ

         สิ่งอันเป็นมงคลที่หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร อนุเคราะห์ชาวบ้านที่ได้รับความทุกข์ร้อน โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อมาหาท่าน ท่านจะอนุเคราะห์ช่วยเหลือจนหายจากโรคภัยไข้เจ็บโดยสิ้นเชิง และสิ่งของที่ท่านมอบให้นั้นก็ไม่กี่บาท ขอยกให้เห็นชัดดังนี้ ที่ข้าง ๆ บันไดกุฏิของท่านจะมีตุ่มใส่น้ำมนต์ตั้งไว้ใบหนึ่ง ท่านจะลงมาจากกุฏิทำน้ำมนต์ ในเวลากลางคืนแล้วนำมาใส่ตุ่มไว้ ตอนเช้ามืดอีกครั้งหนึ่ง ท่านจะลงมาเทใส่ตุ่มที่หมดทุกวัน ๆ น้ำมนต์ในตุ่มนั้นจะมีผู้ที่รู้แหล่งเข้ามาขอตักไปบูชาหรือดื่มกิน น้ำมนต์ของหลวงปู่สงฆ์เป็นสิ่งมงคลที่มีความขลัง และศักดิ์สิทธิ์ สามารถอาราธนาให้เกิดผลในสิ่งที่ตนปรารถนาได้ทุกประการตามแต่คำอธิษฐานจิตของผู้ใช้ โอ่งน้ำมนต์ของท่านเรียงรายอยู่ตามบันได ทางขึ้นลงกุฏิทั้งด้านซ้ายด้านขวา แท้จริงถ้ามองเผิน ๆ มันจะเป็นโอ่งน้ำล้างเท้า แต่ทว่าไม่ใช่ เพราะคนสมัยนี้สวมรองเท้า ไม่ได้มาเท้าเปล่าแล้วมาล้างเชิงบันได เมื่อตื่นขึ้นตอนเช้าหลวงปู่จะทำน้ำมนต์ มาเทลงในโอ่ง ท่านทำอย่างนี้ทุกวัน

         น้ำมนต์ไล่ผีอย่างเห็นได้ชัด ครั้งหนึ่งมีคนแถวสามแก้วได้พาลูกสาวซึ่งมีอาการเหมือนถูกผีเข้าสิง ดิ้นทุรนทุรายร้องเอะอะเสียงดัง ญาติผู้ชายร่างกายแข็งแรงต้องช่วยกันพามาที่วัด มานั่งรออยู่เชิงบันได เพราะบนกุฏิหลวงปู่นั้น ผู้หญิงขึ้นไม่ได้ แล้วพ่อของเด็กก็ขึ้นไปเล่าอาการให้ฟัง เมื่อได้ฟังอาการแล้วหลวงปู่ก็เดินมาที่หน้ากุฏิมองลงมาที่เด็กสาวคนนั้น ชายสองคนจับแขนเอาไว้แน่น ขณะที่เด็กสาวสะบัดจะให้หลุด ปากก็ร้องเสียงดังเอะอะ หลวงปู่มองดูสักครู่ท่านก็ร้องบอก “นิ่งเสียบ้างซิ”

         เด็กสาวที่ร้องครวญครางส่งเสียงดังก็หยุดชะงักลงทันทีเมื่อสิ้นเสียงหลวงปู่ที่พูดลงมา สักครู่ก็ร้องอีก นายสร้าง คนติดตามหลวงปู่มานานหลายปีได้ยื่นขันน้ำที่ตักจากในโอ่งบนกุฏิส่งให้ หลวงปู่หยิบขันน้ำมาก็เทโครมลงมาทันที ถูกร่างของเด็กสาวคนนั้นอ่อนแรงจนนอนราบเรียบสงบ หลวงปู่หันหลังกลับเข้ากุฏิ สักครู่เด็กสาวคนนั้นก็ลุกขึ้นงัวเงีย อาการผิดปกติหายไปราวกับปลิดทิ้ง น่าสังเกตตรงที่ว่า น้ำที่นายสร้างตักใส่ขันความจริงเป็นน้ำดื่มกินธรรมดา เมื่อหลวงปู่รับขันมาท่านก็เทโครมทันที ไม่ได้เสกหรือเป่าใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นรูปแบบของคณาจารย์อื่น ๆ จะต้องมีการเสกการเป่าเสียก่อน แต่หลวงปู่ไม่ต้อง ได้มาเททันที

248
ธรรมะ / " 100 ธรรม " ...สอนใจ
« เมื่อ: 18 เม.ย. 2553, 08:15:43 »
๑. จงทำดี อย่าหวังค่าตอบแทน ถึงแม้จะเป็นเพียงคำสรรเสริญก็ตาม

๒. จงทำดี ให้มันดี ถึงแม้ผลงานออกมาไม่ดี ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว

๓. จงทำดี แต่อย่าอวดดี เพราะทุกคนก็มีดี...ไม่เหมือนกัน

๔. อุปสรรคมักจะเกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำความดี ดีเหลือเกิน...หนี้สินเก่าจะได้หมดไป

๕. อุปสรรคมักจะไม่เกิดขึ้นในขณะกำลังทำความชั่ว เพราะเป็นทาง...กู้หนี้สินใหม่เข้ามาแทน

๖. ทุกๆ คนปรารถนาแต่สิ่งที่ดี ๆ แต่ไม่รู้จักการทำความดี

๗. ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าพยายามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

๘. คนโง่ไม่มีความพยายามที่จะเข้าใจอะไรได้เลย ได้แต่เอะอะโวยวายว่า “ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไม ? ถึงต้องเป็นเรา ทำไม ? ทำไม ?

๙. ผู้ฉลาดในธรรม ยอมรับว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งไม่มีอะไรที่น่าตกใจเลย เพราะเป็นเรื่องธรรมดา

๑๐. ชีวิตที่ไม่ขาดทุน คือการไม่เคยทำความชั่วเลย

๑๑. เพราะฉะนั้นคนเราเจอทั้งสุขและทุกข์ เพราะว่า...ทำทั้งดี ทำทั้งชั่ว

๑๒. การตามใจตัวเองอยู่เสมอ เป็นทางตันในการดำเนินชีวิต

๑๓. การขัดใจตัวเอง ก็คือการขัดเกลาหนทางให้ราบเรียบ

๑๔. ถ้าหากเราอยากให้คนอื่นมาเข้าใจหรือเอาใจในตัวเรา เหมือนกับว่าเรายังเป็นเด็กไร้เดียงสาไม่รู้จักเติบโตเลย

๑๕. เราพยายามที่จะเข้าใจคนอื่น มากกว่าที่จะให้คนอื่นมาเข้าใจเรา ตอนนี้ เรากำลังจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว

๑๖. หลายๆ ชีวิต เดินสวนทางกันไปมาอยู่ในขณะนี้ มีทางดำเนินชีวิตไม่เหมือนกัน และก็มีอุปสรรคที่ไม่เหมือนกัน

๑๗. เราอย่าเข้าใจว่า มีความทุกข์มากกว่าคนอื่น คนอื่นมีความทุกข์มากกว่าเราก็ยังมี

๑๘. การร้องไห้เป็นการแสแสร้งที่แนบเนียนเหลือเกินในวัน... เพราะพรุ่งนี้เราจะร้องเพลงก็ได้

๑๙. เพราะฉะนั้น เวลาเรามีความทุกข์ ก็อย่าเข้าใจว่า เรามีความทุกข์ เวลาเรามีความสุข ก็อย่าเข้าใจว่า เรามีความสุข ไม่เช่นนั้นเราต้องเป็นคนบ้า ร้องไห้บ้าง ร้องเพลงบ้าง ตามประสาคนบ้า

๒๐. คนอื่นจะให้ได้ดังใจเรานั้น ทุกอย่างไม่มีเลย เพียงแต่เรายอมรับเขา อยู่ในฐานะใดฐานะหนึ่งเท่านั้น

๒๑. แม้แต่ตัวของเราเองก็ยังไม่ได้ดั่งใจเรา แล้วคนอื่นจะให้ได้ดั่งใจเรานั้น เป็นอันไม่มี

๒๒. เราไม่ได้ดั่งใจเขา จะให้เขาได้ดั่งใจเราอย่างไร

๒๓. ปรารถนาสิ่งใด อย่าพึงดีใจไว้ล่วงหน้า พลาดหวังสิ่งใด อย่าพึงเสียใจตามหลัง

๒๔. ทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นเช่นนั้นเอง

๒๕. หากยึดถือมาก ให้ความสำคัญมันมาก ทุกข์มาก

๒๖. หากยึดถือน้อย ให้ความสำคัญมันน้อย ทุกข์น้อย

๒๗. ยินดีไปตามความอยาก คือความมักมากไม่มีสิ้นสุด

๒๘. แท้จริง ผัว ไม่มี เมียไม่มี ลูกไม่มี ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี แต่ความยึดมั่นด้วยความลุ่มหลงอย่างหนาแน่นว่าเรามี

๒๙. สักวันหนึ่ง เราคงจะไม่มีอะไรสักอย่างเลย ถึงวันนั้น เราทำใจได้ไหม ?

๓๐. การเกิดขึ้น เพื่อเริ่มต้นไปสู่ความดับลง ท่านจะยึดถือ หรือไม่ยึด นั้นมันเป็นเรื่องของท่าน

๓๑. อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น กับความรับผิดชอบ มันคนละอย่างกัน

๓๒. วันนี้ต้องดีกว่าวานนี้ พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้

๓๓. ทำดีในวันนี้ พรุ่งนี้จะดีของมันเอง

๓๔. คนโง่จะเสียใจ ร้องไห้ตลอดวัน โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

๓๕. ส่วนคนฉลาด จะรีบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เท่าที่จะทำได้

๓๖. เรารักในสิ่งใด จะต้องจากในสิ่งนั้น ช้าหรือเร็วมัน...อีกเรื่องหนึ่ง

๓๗. ถ้าผัวตายก่อนเมีย เมียจะต้องเสียใจ ถ้าเมียตายก่อนผัว ผัวจะต้องเสียใจ ทำอย่างไร จึงจะไม่เสียใจ

๓๘. ถ้าไม่อยากเสียใจ เมื่อจากกันไป ก็อย่าดีใจเมื่อตอนได้มา

๓๙. ท่านแน่ใจหรือว่าท่านเป็นพระเอกหรือนางเอกตลอดนิรันดรกาล

๔๐. ใช่แน่นอน ! ท่านเป็นตัวเอกในเรื่องของท่าน แต่ท่านอาจจะเป็นตัวสำรองในเรื่องของผู้อื่น

๔๑. เรายืนอยู่บนสนามชีวิต ต้องต่อสู้อุปสรรคทุกรูปแบบ จนกว่าจะปิดฉากละครแห่งชีวิต ด้วยการตายลงไป

๔๒. บทเรียนในตำราเรียน กับบทเรียนในชีวิตจริง มันคงละอย่างกัน

๔๓. ไม่มีตำราเล่มไหน ที่จะสอนเราทุกย่างก้าวว่าวันนี้เราจะต้องเจออะไรบ้าง และจะต้องแก้อย่างไร ?

๔๔. เสียเงินทอง เสียสิ่งของ เสียเวลา และก็เสียใจ เป็นการจ่ายค่าเทอมชีวิต

๔๕. คนฉลาดจะจ่ายค่าเทอมที่ถูกที่สุด ส่วนคนโง่จะจ่ายค่าเทอมที่แพงกว่ากัน

๔๖. ที่จริงคนตาบอด พิกลพิการเขาน่าจะเป็นทุกข์มากกว่าเรา ทำไม ? เขายังยิ้มแย้มแจ่มใสได้

๔๗. ทำไมเราจึงทุกข์กว่าคนพิกลพิการเล่า ?

๔๘. กายพิการ แต่ใจไม่พิการ ใจพิการ แต่กายไม่พิการ อย่างไหนดีกว่ากัน ?

๔๙. เราสามารถตัดสินหนทางดำเนินชีวิตของเราเองได้ ดีหรือชั่ว อยู่ที่ตัวของเรา

๕๐. คนอื่นสามารถบังคับเราเป็นเพียงบางเวลา ส่วนใจของเรานั้น ไม่มีใครสามารถบังคับได้นอกจากตัวของเราเท่านั้น

๕๑. ถึงแม้งานจะสับสนยุ่งยากเหลือเกิน หากใจมีอิสระแล้ว ไม่เห็นจะยุ่งยากตรงไหน

๕๒. ทุกคนเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ ตายเพื่อทำหน้าที่ ดีกว่าตายเพราะไม่ทำหน้าที่

๕๓. รับผิดชอบตัวเอง รับผิดชอบเพื่อนที่ดี และรับผิดชอบสังคม

๕๔. วันนี้เราด่าเขา วันหน้าเขาต้องด่าเรา ชาตินี้เราฆ่าเขา ชาติหน้าเขาจะต้องฆ่าเราอย่างแน่นอน

๕๕. คนทำบาป เพราะเห็นแก่กิน ไม่ต่างอะไรกับกินอาหารผสมยาพิษอย่างเอร็ดอร่อย กินมากก็มีพิษมา กินน้อยก็มีพิษน้อย

๕๖. กฎหมายทางโลก คุ้มครองสัตว์บางจำพวกเท่านั้น ส่วนกฎแห่งกรรมทางธรรม คุ้มครองสัตว์ทุกจำพวก

๕๗. กฎระเบียบของทางโลก อนุโลมไปตามความอยาก ส่วนกฎทางธรรมอนุโลมไปตามความเป็นจริง

๕๘. กรรมคือการกระทำให้สัตว์หยาบ และละเอียดประณีตต่างกัน

๕๙. ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะสร้างเรา ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะทำให้เราร่ำรวยได้ ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะทำให้เราเป็นผู้บริสุทธิ์ได้นอกจากตัวของเราเอง

๖๐. คำว่า “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” มากเหลือเกินที่คนได้ยิน น้อยเหลือเกินที่คนรู้จัก

๖๑. เหตุการณ์ความเป็นไปของทางโลก ไม่มีสิ้นสุด เราไม่สามารถจะติดตามได้ตลอดกาลเพราะอายุยังมีที่สิ้นสุด เราจะบ้ากับมันหรือไม่บ้า มันก็เป็นไปอยู่อย่างนั้น

๖๒. เพื่อมิให้เสียเวลา จงกลับมามองดูจิตใจของตนเอง ทำไมถึงซอกแซกสับส่ายถึงขนาดนั้น

๖๓. มันเคยตัว เพราะเราให้โอกาสมันมากเกินไป เพราะรักมันมาก จึงไม่กล้าขัดใจ นานๆ ไปอาจกลายเป็นโรควิกลจริตทางด้านจิตใจ

๖๔. การเอาชนะใจตนเอง ไม่ให้ไหลสู่อำนาจฝ่ายต่ำ เป็นสิ่งประเสริฐแท้

๖๕. วันนี้ เราตามใจของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งความอยาก วันพรุ่งนี้ เราต้องหมดโอกาสที่จะสบายใจ

๖๖. วันนี้ เราไม่ตามใจตนเอง พรุ่งนี้ เราจะอยู่อย่างสบาย

๖๗. ยิ่งแก่ ยิ่งงก เพราะเขางกมาตั้งแต่ยังไม่แก่ ยิ่งแก่ ยิ่งดี เพราะเขาดีตั้งแต่ยังไม่แก่

๖๘. การวิ่งไปตามความอยาก คือการฆ่าตนเองด้วยความพอใจ

๖๙. ศัตรูมักมาในรูปรอยแห่งความเป็นมิตร ความทุกข์มักมาในรูปรอยแห่งความสุข

๗๐. น้ำหวานผสมยาพิษ คนโง่จะชอบดื่ม เพราะไม่รู้ ยาเสพติด ทำลายร่างกายตนเอง คนโง่ก็จะพากันเสพทั้งที่รู้

๗๑. ความสบายกายและสบายจิต จะหาซื้อด้วยเงินแสนเงินล้านไม่มีเลย ไม่จำเป็นจะต้องซื้อด้วยเงินและทอง

๗๒. คนที่มีศรัทธา มีคุณค่ายิ่งกว่าเงินแสนเงินล้าน

๗๓. เมื่อมีศรัทธา ควรมีปัญญาประกอบด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นคนงมงาย ขาดเหตุผล

๗๔. คนนิยมสร้างพุทธ ที่เป็นรูป คือพุทธรูป แต่ไม่นิยมสร้างพุทธ ที่เป็นนาม คือสภาวธรรมที่รู้แจ้ง รู้จริง ทำให้รู้จักพุทธะ

๗๕. ความจริงต้องมีให้พิสูจน์ จึงจะถือว่าจริงแน่นอน คนโง่จะไม่เชื่อตั้งแต่เริ่มต้น จึงไม่พบกับความจริงในชีวิต มีแต่ความงมงายในชีวิต

๗๖. คนใดถือสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ ถือสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระคนนั้นมีทางดำเนินในทางที่ผิด เขาจะไม่พบแก่นสารชีวิตที่แท้จริงเลย

๗๗. ผู้ที่หลงเปลือกนอก ย่อมไม่เห็นแก่นใน ผู้ถึงแก่นใน ย่อมเข้าใจเปลือกนอก

๗๘. ความสนุกสนานมัวเมาประมาทในชีวิต ไม่ใช่หนทางดำเนินชีวิตที่แท้จริง มันเป็นหนทางที่ทำให้เสียเวลา

๗๙. หากคนให้ความสำคัญกับการ กิน เล่น เสพกาม และนอน มากกว่าคุณธรรม เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานจะไม่ดีกว่ากันหรือ ? เพราะว่าไม่มีกฎหมายห้าม

๘๐. หากจิตใจเต็มไปด้วยความโลภ โกรธ หลง ช่องว่างในหัวใจไม่มี มีแต่ความอึดอัด

๘๑. อาหารที่กินเข้าไปมาก แสนจะอึดอัด แต่มีทางระบายออก

๘๒. ยิ่งความโลภ โกรธ หลง ลดลงมากเท่าไร ความปลอดโปร่ง ยิ่งมีขึ้นมากเท่านั้น

๘๓. แสงสว่างในทางธรรม จุดประกายให้ชีวิต ให้พบแต่ความสดใส

๘๔. ความสุขทางโลก เหมือนกับการเกาขอบปากแผลที่คัน ยิ่งเกายิ่งมัน เวลาหยุดเกา มันแสบมันคัน เพราะเป็นความสุขเกิดจากความเร่าร้อน

๘๕. เมื่อตอนที่อยากได้ ก็เป็นทุกข์ขณะที่แสวงหา ก็เป็นทุกข์ ได้มาแล้วกลัวฉิบหายไป ก็เป็นทุกข์

๘๖. เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็ต้องมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ย่อมไม่มี

๘๗. หากมีแล้ว ทำให้มีความสุข ควรมี ถ้าหากมีแล้ว ทำให้มีความทุกข์ ไม่รู้จะมีไว้ทำไม ?

๘๘. ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เราไปยึดมั่นความไม่เที่ยงนั้นว่าความสุข

๘๙. แม้ความสุขนั้นมันก็ไม่เที่ยง จะไปหวังเอาอะไรอีกเล่า ?

๙๐. พบกันก็เพื่อจากกัน ได้มาก็เพื่อจากไป

๙๑. มองทุกข์ให้เห็นทุกข์ จึงจะมีความสุข

๙๒. ความเบาใจ คลายกังวล ย่อมมีได้ แก่บุคคลผู้เข้าใจธรรมะ

๙๓. ยิ่งเข้าถึงธรรมที่เป็นจริงมากเท่าใด ความเบาสบายใจยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

๙๔. เพราะความสุขทางโลก ไม่ให้อะไรมากไปกว่าความเพลิดเพลิน มัวเมา ประมาทในชีวิต จนลืมทางธรรม

๙๕. ทางเดิน ๒ ทาง ทางโลก และ ทางธรรม

๙๖. ทางโลก คือการปล่อยใจไปตามความอยากในโลกีย์ ทางธรรม คือการควบคุมใจตนเอง ให้มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง

๙๗. ผิดหวังทางโลก ยังมีทางธรรมคุ้มครอง หากคนนั้นรู้จักธรรม

๙๘. ผิดหวังทางโลก อยากทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งตนเอง ตนนั้นแหละ ไม่รู้จักธรรม

๙๙. ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

๑๐๐. มันเป็นเช่นนั้นเอง.

 





ขอบคุณข้อมูลจาก...ธรรมะเดลิเวอรี่ดอทคอม

249


วัดนิเวศธรรมประวัติ  ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน หลังจากเที่ยวชมพระราชวังบางปะอิน นักท่องเที่ยวสามารถนั่งกระเช้าข้ามแม่น้ำไปเยี่ยมชมวัดนี้ได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างวัดนี้เมื่อพ.ศ.๒๔๑๙ เพื่อใช้เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ขณะเสด็จประทับที่พระราชวังบางปะอิน



วัดนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีการตกแต่งเป็นแบบตะวันตก พระอุโบสถคล้ายกับโบสถ์ฝรั่ง ในศาสนาคริสต์ มีหลังคายอดแหลมและช่องหน้าต่างเจาะโค้งแบบโกธิค ผนังอุโบสถเหนือหน้าต่างด้านหน้า พระประธานประดับกระจกสี เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ ฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระประธาน “พระพุทธนฤมลธรรโมภาส”ทำเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนในโบสถ์คริสต์ศาสนา













ด้านขวามือของพระอุโบสถนั้นมีหอประดิษฐาน พระคันธารราฐ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนปางขอฝน ตรงข้ามกับหอพระคันธารราฐ เป็นหอประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาเก่าแก่ปางนาคปรก อันเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ฝีมือช่างขอมอายุเก่านับพันปี พระนาคปรกนี้อยู่ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ใหญ่ ที่แผ่กิ่งไปทั่วบริเวณ หน้าพระอุโบสถ





ถัดไปไม่ไกลนักมีสวนหิน“ดิศกุลอนุสรณ์”ซึ่งรวบรวมหินชนิดต่างๆ เช่น หินปูน หินทราย หินกรวด หินชนวน และยังเป็นสถานที่บรรจุอัฐิของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และอัฐิของเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นพระมารดาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และมีอัฐิของเจ้านายราชสกุลดิศกุลอีกหลายองค์





ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ
http://www.sadoodta.com
http://nihil.exteen.com/20090816/entry

250







นำรูปกุมารทองหลวงปู่ครูบาดวงดี มาให้ชม...ตามที่ได้ค้างเอาไว้

ขอบคุณครับ

251
สวัสดีปีใหม่ไทยครับ 21;

252
กฎแห่งกรรม / กรรมนั้นคืนสนอง...
« เมื่อ: 09 เม.ย. 2553, 02:00:46 »
กรรมก่อเกิดจากการกระทำ ถึงแม้ว่าไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น แต่ตัวเราเองทั้งรู้ทั้งเห็น กลายเป็นจุดหนึ่งที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราเองที่ต้องนึกถึง เหมือนเป็นการย้ำเตือน ถึงแม้ว่ากาลเวลาผ่านได้ผ่านไปยาวนาน และสิ่งนั้นทำให้เราเกิดความทุกข์ จิตใต้สำนึกบางส่วน จะคอยย้ำเตือน แต่อีกส่วนหนึ่งจะคอยขัดแย้งกันเองขึ้นในห้วงความคิด และนี่แหละคือคำว่าบาปและกรรมดั่งคำที่ผู้ใหญ่เคยพูดให้ฟังเสมอๆว่า “สวรรค์ในอก นรกในใจ “ นี่แหละคือจุดด่างในใจที่เรากระทำเอาไว้และเจ้าสิ่งนั้นก็คือตัวกรรมนั่นเอง

นายอังคารชายหนุ่มอายุ ๒๕ ปี มีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ต้องเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆหลายๆจังหวัด เขาได้พบหญิงสาวสวยผู้หนึ่ง อยู่ในจังหวัดราชบุรี เธอเป็นหญิงสาวภายในหมู่บ้านที่นายอังคารได้ไปรับเหมาก่อสร้างโรงเรียน ทั้งสองคนเกิดชอบรักกันและได้เสียกันในเวลาอันรวดเร็ว หญิงสาวผู้นั้นชื่อ เทียนหอม อายุ ๑๙ ปี กำลังสวยสดไปด้วยวัยสาว ทั้งสองได้เสียกันจนเทียนหอมเกิดตั้งท้องอ่อนๆ เทียนจึงบอกกับนายอังคารทำให้นายอังคารตกใจ เพราะไม่ได้ตั้งใจที่จะเลี้ยงดูเทียนหอมเป็นภรรยา สาเหตุเพราะนายอังคารมีคู่หมั้นอยู่แล้วและกำหนดจะแต่งงานกันภายในปีหน้า นายอังคารจึงให้เทียนหอมไปทำแท้งแต่เทียนหอมไม่ยอม เพราะรักลูกและต้องการให้นายอังคารรับว่าเธอเป็นภรรยา และนายอังคารจึงรีบบอกความจริงกับเทียนหอม ทำให้เทียนหอมกลัดกลุ้ม กลัวพ่อของเธอจะรู้เรื่อง วันเวลาผ่านไป

การก่อสร้างก็ใกล้จะเสร็จเรียบร้อย ส่วนนายอังคารก็หลบหน้าเทียนหอมอยู่ตลอดเวลาทำให้เทียนหอมมีแต่ความทุกข์ เพราะท้องก็กำลังจะโตขึ้นมาฟ้องต่องสายตาชาวบ้านทำให้เธอได้อายและถูกตราหน้าว่า “ท้องไม่มีพ่อ” และในเย็นวันนั้นเป็นวันเสาร์ ในขณะนั้นเป็นเวลา ๓ ทุ่ม นายอังคารจ่ายเงินลูกน้องแล้วจึงกลับบ้านพัก เขาอยู่ในอาการมึนๆ เพราะแวะดื่มเหล้ากับเพื่อนที่อยู่ในจังหวัด เทียนหอมมาดักรออยู่ภายในบ้าน นายอังคารไขกุญแจกำลังจะเปิดประตู เทียนหอมก็รีบเดินเข้าไปหาโดยกอดทางด้านหลังใบหน้านองไปด้วยน้ำตา เธอพูดอ้อนวอนขอให้อังคารยอมรับเป็นภรรยาเพราะท้องที่กำลังจะโตขึ้นมาฟ้อง ต่อสายตาของชาวบ้าน อังคารดึงมือเทียนหอมเข้าไปในห้อง ต่อมาทั้งสองมีปากมีเสียงกันถึงแม้จะเสียงดัง แต่ก็ไม่มีใครได้ยิน เพราะอยู่ห่างไกลผู้คนที่จะมาพบเห็น จนถึงขนาดตบตีกันอังคารพลั้งมือหนักเกินไป ทำให้เทียนหอมล้มถึงกับตกเลือดอังคารไม่สนใจ ใช้เท้าถีบตกบันไดลงมาอยู่ข้างล่าง ทำให้เทียนหอมได้รับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส เลือดสดๆไหลนองมาเป็นทาง และในที่สุดเธอก็หมดสติ นายอังคารตกใจรีบนำร่างของเทียนหอมอุ้มขี้นรถปิ๊กอัพสีน้ำเงิน ขับออกไปจากที่นั่น ท่ามกลางความมืดของราตรีกาลอันเงียบสงบ ไม่มีใครเดาถูกว่าเขาจะไปที่ใด นายอังคารจอดรถเข้าข้างทางที่ตรงนั้นเป็นไร่ข้าวโพดที่สูงท่วมหัว ประกอบเวลานั้นเป็นเวลาดึกสงัดจึงไปมีผู้ใดมาพบเห็น เขาจัดการอุ้มร่างของเทียนหอมที่อ่อนปวกเปียกลงจากรถ เขาหยิบเอาถังน้ำมันราดลงไปบนร่างของเทียนหอม เพราะคิดว่าเธอได้ตายไปแล้ว เขาเผาเธอทั้งเป็น ช่างโหดร้ายสิ้นดี ความร้อนของเปลวไฟที่แลบเลียทำให้เธอรู้สึกตัวแต่เธอก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว และในที่สุดเธอก็ต้องสิ้นชีวิตไปพร้อมกับก้อนเลือดในท้องที่กำลังจะมีชีวิต นายอังคารกลับที่พักอย่างลอยนวลทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น



           วันเวลาผ่านไป ในที่สุดนายอังคารก็กลับกรุงเทพ โดยไม่สนใจว่าเขาทำอะไรไว้เบื้องหลังและเรื่องทั้งหมดก็เงียบหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง ส่วนพ่อแม่ของเทียนหอมคิดว่าลูกสาวถูกหลอกไปขายจนเวลาผ่านไป อังคารแต่งงานกับคู่หมั้นสาวชื่อพิมพร และพิมพรตั้งท้องได้สองเดือน ทั้งสองอยู่กินกันอย่างมีความสุข นายอังคารลืมเรื่องทั้งหมดเสียสิ้น และเหมือนเป็นวาระของกฎแห่งกรรมที่ติดตามเหมือนเงาตามตัว เขาได้รับเหมาไปสร้างหมู่บ้านที่ราชบุรี โดยพิมพรขอตามไปอยู่ด้วย และขณะที่พิมพรท้องได้สี่เดือน เย็นวันจันทร์พิมพรได้ออกไปจ่ายตลาดที่ตัวจังหวัดราชบุรี ในขณะที่เธอกำลังเดินข้ามถนน มีรถปิ๊กอัพวิ่งมาด้วยความเร็ว พุ่งเข้าชนร่างของพิมพรกลิ้งไปบนถนน เธอขาดใจตายทันที เลือดสดๆ ไหลนองพื้นถนน ส่วนรถปื๊กอัพขับหนีไปตามระเบียบอย่างรวดเร็ว ศพของพิมพรถูกรถของมูลนิธิปอเต๊กตึ้งนำไปไวี่โรงพยาบาล ดวงตะวันคล้อยต่ำอังคารรู้สึกจิตใจร้อนรุ่มกระวนกระวาย เขากลับบ้านพักเอาเวลาทุ่มครึ่ง บ้านทั้งหลังมืดสนิทเหมือนไม่มีใครอยู่ เขารีบเดินขึ้นมองหาพิมพร เงียบไม่มีแม้เงา เขาเดินดูรอบบ้านพร้อมกับร้องเรียก “พิม...พิม...ไปไหน” ทุกอย่างตกอยู่ในความเงียบ นอกจากเสียงร้องของตัวเองเท่านั้นที่ดังก้อง ชั่วเวลาหนึ่งกว่าๆ ตุ้มลูกน้องคนสนิท ขี่มอเตอร์ไซค์มาจอดที่หน้าบ้าน “คุณอังคาร คุณอังคาร” อังคารรีบเดินออกมา เพราะรู้สึกว่าน้ำเสียงของตุ้มร้อนรน “มีอะไร หรือตุ้ม” ตุ้มรีบล่าเหตุการณ์ทั้งหมดอังคารใจหาย เขาตกใจแทบช็อค และรีบไปดูศพที่โรงพยาบาล ภาพที่เห็นอยู่เบื้องหน้า ร่างของหญิงสาว ใบหน้าซีดเซียว ดวงตาลืมโพลงเท่านั้นเอง อังคารพูดได้ออกมาคำเดียว “พิมพร” ลำคอตีบตัน ความเศร้าเสียใจประดังเข้ามา และภาพเมื่อหนหลังเริ่มหวลคืนเข้าสู้จิตใต้สำนึกของเขาอย่างขมขื่นสุดที่จ ะบรรยาย และเริ่มสำนึกบาปกรรมที่เขาเองได้ทำขึ้นกับเทียนหอม คงเป็นกรรมที่เขาได้กระทำขึ้นมาหลายสิบปีก่อนอย่างแน่นอน เพราะพิมพรมาตายใกล้ๆกับไร่ข้าวโพด ห่างกันแค่ไม่ถึงหนึ่งกิโล เขาเริ่มสำนึกบาปกรรมนั้นมีจริง และมันตอบสนองเขาอย่างสาสมที่สุด เขาต้องเสียทั้งลูกและเมียที่เขารัก และผูกพันที่สุดในชีวิต นี้แหละหนาที่เขาเรียกว่า กรรมตามทัน ถึงแม้ว่าไม่มีใครรู้ว่าในอดีตเขาทำความเลวอะไรไว้บ้าง แต่กงล้อกรรมก็หมุนเวียนมาถึงเขาอยู่ในขณะนี้ เหมือนถูกเผาด้วยไฟนรก อังคารจัดการศพของพิมพรเรียบร้อยแล้ว เขาหันหน้าเข้าวัด โดยบวชตั้งใจอุทิศส่วนกุศลไปให้เทียนหอมและลูกที่เขาฆ่าตายไปกับมือของเขา เอง และพิมพรกับลูกในท้องต้องมารับผลกรรมที่เขาได้ก่อขึ้น โดยที่เธอไม่รู้เรื่องอะไรด้วย กรรมช่างตามทันและตกทอดสู่พิมพรผู้น่าสงสาร ต้องมาตายพร้อมกับลูกที่ยังไม่ทันจะลืมตามาดูโลกเสียด้วยซ้ำ



           อนิจจานี่แหละหนากฎแห่งกรรมที่ไม่มีการละเว้นใดๆ ใครสร้างกรรมใดก็ต้องชดใช้อย่างสาสมและสาหัสที่สุด มันสมควรแล้ว วันเวลาผ่านเลยไปอีกยาวนาน เวลานี้อังคาร อายุ ๓๐ กว่าๆ แต่บาปในใจตัวเขามันยังเผาผลาญความรู้สึกของเขาอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าเขาจะบวชเพื่อล้างบาป แต่บาปกับบุญนั้นไม่สามารถจะลบล้างกันได้มันเดินสวนทางกัน บาปก็ส่วนบาปที่ต้องชดใช้ทั้งชาตินี้และชาติหน้า บุญก็ส่วนบุญ ในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ไฟฟ้าเกิดดับทั้งวัด จะต้องใช้ตะเกียงน้ำมันจุดแทนแสงสว่างจากไฟฟ้า คืนนั้นพระอังคารรู้สึกง่วงผิดปรกติ กรรมเริ่มย้อนรอยมาอีก คราวนี้เขาลืมดับตะเกียงจุดเอาไว้บนโต๊ะข้างๆเตียงนอน เขาหลับไม่รู้ตัว เผลอเอามือไปปัดถูกตะเกียงน้ำมันหล่นลงมา น้ำมันจากตะเกียงไหลนองพื้น ไฟลุกพรึบขึ้นอย่างรวดเร็ว มันไหม้ลามมาถึงและเปลวไฟได้เผาผลาญร่างของพระอังคารที่หลับสนิท กว่าจะมีใครมาดับทัน ร่างของพระอังคารก็มอดไหม้กลายเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว ไม่เหลืออะไรไว้อีกเลยนอกจากความดีและความชั่วเท่านั้นที่ทิ้งไว้เบื้องหลััง พระอังคารต้องมาตายทั้งๆที่ยังครองผ้าเหลือง นี่แหละเขาเรียกว่าตายเพราะกรรมแท้ๆ และเขาตายในสภาพเดียวกับเทียนหอมก็คือตายเพราะไฟ “เผาผลาญร่างกายและทุกสิ่งทุกอย่าง ให้มอดไหม้เป็นฝุ่นละอองและผงธุลี”




ขอขอบคุณที่มา...โดย อ.ดวงอมร กฤษนำพก

253


สงกรานต์ ปี ๒๕๕๓ นี้


--------------------------------------------------------------------
นางสงกรานต์ปีเสือ นามว่า “มณฑาเทวี”
ยืนขี่ลา ถือเหล็กแหลม ไม้เท้าเป็นอาวุธ กินนมเนยเป็นอาหาร
โบราณว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างชาติ
พ่อค้าทำมาค้าขึ้น แต่ของจะแพง และเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้

--------------------------------------------------------------------

ปีนี้ วันที่ ๑๔ เมษายน เป็น “วันมหาสงกรานต์” ตรงกับ “วันพุธ”
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ เวลา ๐๗ นาฬิกา ๑๙ นาที ๑๙ วินาที

ปีขาล เทวดาผู้หญิง ธาตุไฟ โทศก จุลศักราช ๑๓๗๒
ทางจันทรคติ เป็นอธิกมาส ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน

นางสงกรานต์ ทรงนามว่า มณฑาเทวี
ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย
พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า
เสด็จยืนมาเหนือหลังคัสพะ (ลา) เป็นพาหนะ

“วันเนา” ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓
เป็นวันที่พระอาทิตย์เริ่มอยู่เข้าที่เข้าทางในราศีเมษ

“วันเถลิงศก” ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓
เวลา ๑๑ นาฬิกา ๑๘ นาที ๓๖ วินาที
เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๗๒ ปีนี้ วันอังคารเป็นธงชัย
วันพฤหัสบดีเป็นอธิบดี วันจันทร์เป็นอุบาทว์ วันเสาร์เป็นโลกาวินาศ

ปีนี้ วันอังคารเป็นอธิบดีฝน บันดาลฝนให้ตก ๓๐๐ ห่า
ตกในโลกมนุษย์ ๓๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๖๐ ห่า
ตกในป่าหิมพานต์ ๙๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๒๐ ห่า นาคให้น้ำ ๗ ตัว

เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๕ ชื่อ วิบัติ
ข้าวกล้าในภูมินาจะเกิดกิมิชาติ (ด้วงกับแมลง) จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง
เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีเตโช (ไฟ) น้ำน้อย



คำทำนายเกี่ยวกับวันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ก็มีว่า

๑. ถ้า วันอาทิตย์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ

๒. ถ้า วันจันทร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิงคุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ

๓. ถ้า วันอังคาร เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็น วันเนา ผลหมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็น วันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล

๔. ถ้า วันพุธ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็น วันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็น วันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ

๕. ถ้า วันพฤหัสบดี เป็น วันมหาสงกรานต์ ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเนา ผลไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม

๖. ถ้า วันศุกร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็น วันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็น วันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก

๗. ถ้า วันเสาร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็น วันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็น วันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู



นอกจากนี้ ยังมีคำพยากรณ์อันเป็นความเชื่อทางล้านนา อีกตำราว่า

ถ้า “วันมหาสงกรานต์” ตรงกับ วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ นางแพงศรี ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ (เป็นโรค) ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง หนอนแมลงจักลงกินพืชไร่ข้าวนา ฝนตกบ่ทั่วเมือง คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย ไม้ยางเป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้ไผ่

ถ้า “วันมหาสงกรานต์” ตรงกับ วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโนรา ปีนั้นงูจักเกิดมีมาก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดี หางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี ไม้กุ่มเป็นพญาแก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้เดื่อเกลี้ยง หากตรงกับ วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษสเทวี ปีนั้นฝนหัวปีดี กลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย (ได้ผลน้อย) บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก ไม้พิมานเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้อ้อยช้าง หากตรงกับ วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มันทะหรือมณฑา ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้คราม

ถ้าตรงกับ วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ นางกัญญาเทพ ปีนั้นฝนตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ ไม้สักเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้ทองกวาว ถ้าตรงกับ วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ ริญโท ปีนั้น ฝนตกหัวปีดี กลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนาพืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้พุทธา หากตรงกับ วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ สามาเทวี ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆ จักทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง



คุณทัศชล เทพกำปนาท นักวิชาการวัฒนธรรม สวช. กล่าวว่า จากประกาศสงกรานต์ข้างต้นเมื่อเทียบกับคำทำนายโบราณจะเห็นว่า วันมหาสงกรานต์ตรงกับ ‘วันพุธ’ วันเนาตรงกับ ‘วันพฤหัสบดี’ วันเถลิงศกตรงกับ ‘วันศุกร์’ ท่านพยากรณ์ไว้ว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ผลไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ แต่พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก นอกจากนี้การที่นางสงกรานต์มีอิริยาบถยืนมาจะทำให้เกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้

ส่วน ทางล้านนา ก็มีคำพยากรณ์ว่า ถ้าวันมหาสงกรานต์ตรงกับ ‘วันพุธ’ ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดจันทร์และวันเสาร์มีโชค

ส่วนนางสงกรานต์ หลายคนดูแล้วคงรู้สึกว่าไม่ดุเท่าไร โดยเฉพาะคำพยากรณ์ก็ดูเหมือนจะตรงกับสภาพบ้านเมืองอยู่แล้ว ไม่ว่าเรื่องของแพง การเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งสองสามปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เดือดร้อนกันทั่วโลก สาเหตุหนึ่งก็มาจากการทำลายธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้โลกขาดสมดุล จึงเกิดภัยพิบัติมากมาย

อย่างไรก็ดีแม้นางสงกรานต์จะดูไม่ดุ แต่เทวีองค์นี้ก็ยืนขี่ลา ถือเหล็กแหลมและไม้เท้าเสด็จมาในปีเสือ วันพุธ หากมองเป็นนัย ลานั้นมักถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่โง่และดื้อรั้น ส่วนเสือโดยปกติถือว่าเป็นสัตว์รักสงบ ยกเว้นตอนมันหิว มันก็จะกลายเป็นสัตว์นักล่าที่อันตรายและดุร้าย ขณะเดียวกัน พุธ คือ MERCURY เทพแห่งการสื่อสาร

ดังนั้น นางสงกรานต์จึงเป็นเสมือนสัญญาณเตือนให้เราตระหนักว่า ปีนี้ควรระมัดระวังการสื่อสารให้ดี อย่าหลงผิดด้วยความเขลาหรือดื้อรั้นดันทุรัง (เหมือนลา) ขณะเดียวกันก็ต้องมีเหล็กแหลม (สติ-ปัญญา) คอยกำกับ และมีไม้เท้า (สัมมาทิฐิ-ความเห็นชอบ/ความคิดที่ถูกที่ควร) เป็นสิ่งช่วยพยุงเพื่อให้เรารอดปลอดภัย ที่สำคัญคืออย่าปล่อยให้ความ “หิว” หรือ “กิเลสตัณหา” ครอบงำเป็นอันขาด ไม่ว่าจะหิวเงิน หิวอำนาจ หรือหิวความรัก ฯลฯ มิฉะนั้นแล้ว แต่ละคนจะเป็นดังเสือหิวที่จ้องทำลายล้างกันและกัน ดีแต่ว่านางมณฑาเธอยังมีแก้วไพฑูร์หรือแก้วตาแมวเป็นอาภรณ์เครื่องประดับ ซึ่งถือกันว่าเป็นหินที่ช่วยป้องกันอาถรรพ์และภัยพิบัติต่างๆ ได้

“สงกรานต์” เป็นปีใหม่ไทยที่ใช้ “น้ำ” สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เป็นสื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำขอพรจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ผู้ที่เราเคารพนับถือ การสรงน้ำพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ดังนั้น เราจึงควรถือโอกาสนี้มอบ “น้ำใจ” อภัยแก่กันและกัน เพื่อแสดงความกตัญญูต่อแผ่นดินถิ่นเกิด และเป็นนิมิตหมายของการเริ่มต้นปีใหม่ไทยที่ดีต่อไป

หมายเหตุ :

๑. คำว่า “ห่า” เป็นการวัดปริมาณน้ำฝนแบบโบราณ กำหนดว่า ฝนตกเต็มบาตรขนาดกลางที่รองน้ำฝนอยู่กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง

๒. “อธิกมาส” หมายถึง ปีทางจันทรคติ ที่มีเดือน ๘ สองหน เช่น ปี ๒๕๕๓ นี้ ถ้าดูตามปฏิทิน เราจะเห็นว่ามีเดือน ๘-๘ ซึ่งเท่ากับว่า ปีนี้ทางจันทรคติจะมีถึง ๑๓ เดือน การที่บางปีต้องมีเดือน ๘ สองหนนั้น เนื่องจากเป็นการทดเดือนทางจันทรคติ ให้มีระดับสมดุลกับทางสุริยคติ (ที่ปีหนึ่งมี ๓๖๕ วัน) เพราะการนับทางจันทรคติ ที่นับวันตามข้างขึ้น ข้างแรม นั้น ปีหนึ่งๆ จะมีเพียง ๓๕๔ วันเท่านั้น ห่างจากทางสุริยคติถึง ๑๑ วัน หากไม่มีการทดเดือนให้ทันกันแล้ว นานไปจะทำให้วัน เดือนทางจันทรคติและสุริยคติเกิดการคลาดเคลื่อนกันไปมาก จนทำให้การนับฤดูกาลต่างๆ ผิดเพี้ยนไปได้ เช่น วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งอยู่ในฤดูฝน อาจร่นไปอยู่ในเดือนเมษายน อันเป็นฤดูแล้ง เป็นต้น ดังนั้น ทุก ๒-๓ ปี จึงจะมีการทดเดือนทางจันทรคติให้ทันกับเดือนทางสุริยคติ ในทำนองเดียวกับวันทางสุริยคติ ที่ทุกๆ ๔ ปีจะต้องเติมวันในเดือนกุมภาพันธ์เข้าไปอีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน ที่เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน ทั้งนี้ เพราะจริงๆ แล้ว ปีหนึ่งๆ ทางสุริยคติจะมีถึง ๓๖๕.๒๕ วัน มิใช่ ๓๖๕ วันถ้วน ดังนั้น เพื่อรวมเศษวันที่ตกค้างในแต่ละปี ทุก ๔ ปี จึงให้เพิ่มอีก ๑ วันในเดือนกุมภาพันธ์

ส่วนการที่ต้องเพิ่มเดือน ๘ เป็นสองหน แทนที่จะเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่ หรือเดือนอื่นๆ นั้น เขาว่าเป็นเพราะช่วงเดือน ๘ จะเป็นเดือนที่เริ่มฤดูฝน และเข้าสู่ฤดูการทำนา อันเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรไทย ดังนั้น เดือนแปดจึงเป็นหลักสำคัญในการกำหนดฝนฟ้าและการทำนา หากมีการคลาดเคลื่อนไป จะทำให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวนา ฉะนั้น เมื่อจะเติมเดือนเพื่อกันการคลาดเคลื่อนจึงมาเติมในเดือน ๘ นี้ อีกทั้งในพุทธบัญญัติที่กำหนดให้พระสงฆ์จำพรรษา ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (วันเข้าพรรษา) ซึ่งเป็นต้นฤดูฝน การเพิ่มเดือนในเดือน ๘ ดังกล่าว จะทำให้ช่วงการเข้าพรรษาจะตรงกับเดือน ๘ หลัง และตรงตามพุทธบัญญัติที่ต้องการให้พระสงฆ์หยุดจาริกในฤดูฝน





โดย คุณทัศชล เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม เอื้อเฟื้อข้อมูลคำทำนายสงกรานต์ ปี ๒๕๕๓

254
สวยและงดงามมากครับ

ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันเช่นเคย.

255
ธรรมะ / ตอบ: เรื่องของวิปัสสนาญาณ....
« เมื่อ: 08 เม.ย. 2553, 11:09:20 »
ขอขอบคุณน้องเอ็มครับ  ที่นำเสนอธรรมะดีๆมาแบ่งปันพี่ๆน้องๆ 

ขอบคุณอีกครั้งครับ :016: :015:   

256

พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร


สักการะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ที่ “วัดเทวราชกุญชร”

เวลาที่นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาผ่านที่ท่าน้ำเทเวศร์ทีไร สายตาก็จะมองไปเจอสิ่งก่อสร้างภายในวัดแห่งหนึ่ง ดูท่าว่าจะเป็นศาลาหรือวิหารของวัด มองเห็นหน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเห็นได้ชัด และที่ท่าน้ำของวัดนี้ก็มักจะมีคนมาปล่อยหอยปล่อยปลาหรือมาให้อาหารปลาอยู่บ่อยๆ

มารู้ทีหลังว่าวัดนี้คือ “วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร” พระอารามหลวงในย่านเทเวศร์ จึงตั้งใจไว้ว่าจะต้องเข้าไปไหว้พระและชมสิ่งต่างๆ ภายในวัดให้ได้สักวันหนึ่ง

หลังจากสบโอกาสเหมาะในวันที่อากาศดี ก็ได้มากราบพระที่วัดเทวราชกุญชรนี้จนได้ และก็ได้รู้ประวัติของวัดนี้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมมีชื่อว่า วัดสมอแครง คู่กับ วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก คำว่า “สมอแครง” นั้น น่าจะมาจากคำว่าถมอแครง เป็นภาษาเขมร แปลว่าหินแกร่ง แต่เรียกเพี้ยนกันต่อมาเป็นวัดสมอแครง



พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ด้านหลังเป็นอาคารไม้สักทอง


จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อพระองค์ทรงรับวัดสมอแครงนี้เป็นพระอารามหลวง และพระราชทานชื่อวัดให้ใหม่ว่า “วัดเทวราชกุญชร” โดยนำชื่อมาจากพระนามเดิมของ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ต้นสกุล กุญชร ณ อยุธยา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ผู้ที่ทรงเป็นคนบูรณปฏิสังขรณ์วัด

ตามชื่อของวัดเทวราชกุญชรนั้น หากแปลให้ตรงตัวก็คือช้างของเทวดา หรือหมายถึงพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณนั่นเอง ดังนั้นตราสัญลักษณ์ของวัดเทวราชกุญชรซึ่งเขียนขึ้นโดยกรมศิลปากรนั้นจึงเป็นภาพพระอินทร์ทรงประทับบนช้างเอราวัณ พระอินทร์ทรงถือวชิราวุธซึ่งเป็นอาวุธประจำพระองค์ มีฉัตรสีขาว 7 ชั้น อยู่ด้านซ้ายและขวาประทับนั่งอยู่บนช้างเอราวัณ

และเมื่อเร็วๆ นี้ ทางวัดเทวราชกุญชรก็ได้จัดทำประติมากรรมหล่อสัมฤทธิ์เป็น รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของวัดเทวราชกุญชร เพื่อมาประดิษฐานไว้ที่วัดให้ประชาชนได้สักการะกัน แต่ก่อนที่จะไปไหว้พระอินทร์ ก็ตามเรามาไหว้พระและชมสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจภายในวัดกันก่อนดีกว่า



พระพุทธเทวราชปฏิมากร พระประธานภายในพระอุโบสถ


สถานที่แรกที่ฉันมุ่งตรงไปก็คือ พระอุโบสถ ของวัดเทวราชกุญชร ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยมีรูปทรงคล้ายกับพระอุโบสถวัดพระแก้ว และเข้าไปกราบพระประธานภายในพระอุโบสถของวัด ซึ่งมี “พระพุทธเทวราชปฏิมากร” พระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งสง่าเป็นพระประธานอยู่ด้านใน ซึ่งนามของพระพุทธรูปนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นผู้พระราชทานให้

และสิ่งที่น่าสนใจภายในพระอุโบสถที่จะขอแนะนำให้ได้เดินชมกันก็คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัด ที่ด้านบนเหนือช่องหน้าต่างเขียนเป็นภาพเทวดาชุมนุมกันขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนสิ่งที่น่าสนใจก็อยู่ที่จิตรกรรมฝาผนังส่วนล่างลงมาระหว่างช่องหน้าต่าง ซึ่งวาดเป็น รูปพระภิกษุกำลังปลงอสุภกรรมฐาน หรือเจริญกรรมฐานด้วยการเพ่งมองศพ เพื่อให้เห็นว่าคนเราที่ดูสวยสดงดงามยามมีชีวิตนั้น พอตายลงก็กลายเป็นซากศพ เป็นของน่าเกลียดโสโครก โดยการเจริญกรรมฐานประเภทนี้จะเป็นการระงับอารมณ์ใคร่และกามารมณ์ ก็เป็นภาพจิตรกรรมที่แปลกแตกต่างจากวัดอื่นๆ ไม่น้อย


เข้าไปกราบพระในมณฑปจตุรมุขกันได้ 


ออกจากพระอุโบสถมาแล้ว อย่าลืมไปกราบพระใน มณฑปจตุรมุข มณฑปที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2536 แทนที่พระอุโบสถหลังเก่าที่ทรุดโทรมมากแล้ว ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งด้านตรงข้ามพระประธานก็ยังมี หุ่นขี้ผึ้งรูปจำลองพระอริยมุนี (ศรี ฐิตพโล) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 9 ซึ่งเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของบรรดาลูกศิษย์เป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกันสร้างหุ่นขี้ผึ้งจำลองรูปของท่านขึ้นมาให้ได้สักการะกัน

กราบพระเรียบร้อยแล้วคราวนี้เราจะไปสักการะพระอินทร์กัน รูปหล่อของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณนี้ได้มีการขนย้ายและบวงสรวงกันมาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งก็มีประชาชนมากมายมาร่วมขบวนแห่ และได้ไปชมการนำพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณขึ้นประดิษฐานบนแท่น

และสำหรับผู้ที่ต้องการมากราบสักการะพระอินทร์นั้น ทางวัดก็ได้เตรียมเครื่องบูชาทิพย์ไว้ให้บริการ เพราะไม่อนุญาตให้บูชาด้วยพวงมาลัย ดอกไม้ หรือจุดธูปเทียนปิดทองแต่อย่างใด และเครื่องบูชาทิพย์ที่ว่านั้นก็ประกอบไปด้วยผ้าปกกระพอง ผ้าเยียรบับ พู่จามรี สายประโคน และดอกไม้ทิพย์ พร้อมธูปเทียน ทอง เงิน นาก



ภาพจิตรกรรมฝาผนังภิกษุปลงอสุภะ


รูปหล่อของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ นี้ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารไม้สักทองที่กำลังก่อสร้างเพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด โดยอาคารไม้สักทองนี้แต่เดิมเคยเป็นบ้านไม้สักทองหลังใหญ่อยู่ที่จังหวัดแพร่ ก่อนจะถูกขายและนำมาไว้ที่นาวิน ปาร์ค ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี และจากนั้น ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน และท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน ก็ได้ถวายบ้านสักทองหลังนี้ให้แก่วัดเทวราชกุญชร เพื่อสร้างเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทองให้เป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ เป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ.2549 และทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2550 ด้วย

ที่วัดเทวราชฯ ยังไม่หมดสิ่งที่น่าสนใจแต่เพียงเท่านี้ เพราะเมื่อเดินชมไปรอบๆ ก็ได้เห็นอาคารหลายหลังใกล้ๆ กับอาคารไม้สักทอง ซึ่งเป็นอาคารทรงปั้นหยาหลังคามุงกระเบื้องว่าว ดูแล้วได้บรรยากาศของอาคารสมัยเก่า อาคารทรงปั้นหยาชั้นเดียวทาด้วยสีเหลืองสดใสนั้นเป็น โรงเรียนพระปริยัติธรรม ส่วน อาคารเทวราชธรรมศาลา นั้นก็คือศาลาการเปรียญ เป็นอาคาร 2 ชั้น ศิลปะทรงไทยตรีมุข มีบันไดทางขึ้นสองทางทั้งซ้ายและขวา ด้านบนมีพระพุทธรัตนโกสินทร์มหาวชิราลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระราชทานให้ไว้



กุฏิเทวราชกุญชร กุฏิเจ้าอาวาส


ส่วน กุฏิเทวราชกุญชร นั้น ก็เป็นกุฏิของเจ้าอาวาส เป็นอาคารทรงปั้นหยาสองชั้นสวยงามเช่นกัน และถัดจากจากกุฏิเทวราชกุญชรคือ เรือนเทวราชธรรมสภา อาคารทรงตรีมุขสองชั้นที่ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตก ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานเลขานุการของวัด ซึ่งสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในวัดนี้ถูกบูรณะขึ้นมาจนสะอาดเรียบร้อยสวยงามอย่างที่เห็นทุกวันนี้ก็ในช่วงปี พ.ศ.2544 ที่ พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้นั่นเอง

และนี่ก็เป็นอีกวัดหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่อยากจะแนะนำให้คนที่ชอบเข้าวัดเข้าวาได้มากราบไหว้สักการะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และชมความงดงามของสิ่งก่อสร้างภายในวัดกัน

 

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต) เจ้าอาวาส



วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 90 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 หากมาจากทางเทเวศร์เมื่อถึงแยกสี่เสาเทเวศร์ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างหอสมุด วัดจะอยู่ตรงสุดซอย มีรถประจำทางสาย 3, 9, 16, 19, 30, 32, 33, 43, 64, 65, 110 ผ่าน 



ขอขอบคุณที่มา...โดย ผู้จัดการออนไลน์
 

257
สวยงามมากครับ... ชอบหมดเลยครับ

258
สวยงามมากครับ...ท่านอชิตะ..หลวงพ่อแดงสุดยอดครับ

ขอบคุณที่นำมาให้ชมนะครับ

259
ธรรมะ / บารมี...แห่งพระรัตนตรัย
« เมื่อ: 05 เม.ย. 2553, 10:08:31 »
เพราะความเลื่อมใสจากใจนี่เอง ที่ก่อให้เกิดผลแห่งกรรมดีที่จะคอยคุ้มครองบุคคลนั้น ๆ ให้ร่มเย็นเป็นสุข ด้วยบารมีแห่งพระรัตนตรัยอันเป็นส่วนของนามธรรม ซึ่งกล่าวได้ว่าผู้ใดเข้าถึงพระรัตนตรัยมากเท่าใด พระรัตนตรัยก็จะคุ้มครองรักษาผู้นั้นมากเท่านั้น กระแสบุญบารมีดังกล่าว จะก่อให้เกิดพลังงานที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คอยติดตามคุ้มครองรักษาป้องกันผู้ที่เลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ไม่ให้มีความตกต่ำหรือหลงทางในสังสารวัฎ และชักจูงให้บุคคลผู้นั้นพบแต่สิ่งดีๆ มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ยกเว้นบุคคลผู้นั้นจะมีกรรมเก่าที่ต้องชดใช้เสียก่อน ภายหลังจึงจะได้รับผลอานิสงค์แห่งการบูชาซึ่งคุณพระรัตนตรัย นี้เป็นกฎแห่งการบูชาพระรัตนตรัยซึ่งให้ผลแน่นอนที่สุดทั้งในโลกนี้และโลกหน้าจนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน

เพราะการค้นพบพระธรรม หรือการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่ของง่าย แต่ต้องอาศัยการสร้างสมบารมีอย่างยาวนานถึงสี่อสงไขยกับอีกแสนกัป ดังนั้น พลังงาน หรืออำนาจบารมีที่เกิดจากการตรัสรู้ธรรมหรือบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้านั้น จึงมีมากมายอย่างมหาศาลหาที่สุดมิได้ กระแสบารมีเหล่านี้จึงเป็นเสมือนสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่ครอบคลุมไปทั่วสากลพิภพจักรวาล ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่อาจสัมผัสได้ ยกเว้นท่านผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ทั้งนี้รวมไปถึงผู้ที่เคยปฏิบัติหรือสั่งสมบารมีธรรมมาแต่ชาติก่อน ๆ ด้วย นอกจากนั้น เทพเจ้าทั้งหลาย มี พระสยามเทวาธิราช พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์
พระพิฆเนศ พระอินทร์ พระวิษณุกรรม ท้าวมหาราชทั้งสี่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง พระภูมิ เทพารักษ์ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา
เทพยาดา ทั้งเทพบุรุษ และเทพนารีทุกแห่งหน ตลอดจนพญานาค พญาครุฑ ผู้ทรงตบะญาณแก่กล้า เช่น พระฤาษี และสิ่งศักด์สิทธิทั้งหลาย ก็เป็นที่เคารพนับถือของชนชาวไทยไม่อยู่ไม่น้อย

ธรรมะที่แสดงถึงความลี้ลับแห่งโลกทิพย์วิญญาณ ที่จัดว่าเป็นคำสอนที่ลึกซึ้งพิสดารอันปรากฏอยู่ใน "พระสุตตันตปิฎก" หรือ "พระสูตร" เป็นหนึ่งในคำสอนที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่สืบทอดกันมานับพัน ๆปี รวมเรียกว่า "พระไตรปิฎก" นอกเหนือไปจาก "พระวินัย" และพระ "อภิธรรม" ที่ยิงใหญ่ไม่แพ้กัน ซึงได้ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นโดยพระอรหันต์ผู้ทรงคุณธรรมระดับสูง คือ "จตุปฏิสัมภิทาญาณ" แตกฉานในพระพุทธธรรมคำสอนอย่างลึกซึ้ง ได้ช่วยกันเรียบเรียงถ้อยความให้ดำรงไว้ซึ่งพระสัจจธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบ กล่าวได้ว่าผู้ใดก็ตามหากได้อ่านพระไตรปิฎก โดยเฉพาะ "พระสูตร" แล้ว จะไม่เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นไม่มี และหากได้อ่าน "พระอภิธรรม" แล้วจะไม่เกิดปัญญา ดวงตาเห็นธรรมเป็นไม่มี หลายท่านคงนึกสงสัยว่า แค่อ่านก็ถึงกับเกิดศรัทธา เกิดปัญญาเลยเชียวเหรอ ขอยืนยันว่า ใช่! แต่ต้องอ่านหลาย ๆ เที่ยว เมื่ออ่านพระไตรปิฎกจนแตกฉานลึกซึ้งแล้วจะไปอ่านหนึงสือธรรมะเล่มอื่น ๆ ก็ได้ เพื่อการศึกษาและเปิดธรรมทัศน์ของตนให้กว้างขวาง (สำหรับ พระวินัย เหมาะสำหรับพระภิกษุผู้ทรงเพศบรรพชิตเท่านั้น ปุถุชนคนธรรมดาแค่ กฎหมาย ก็ศึกษากันจนแทบไม่ไหวอยู่แล้วหรือแค่รักษาศีลห้าก็เพียงพอแล้ว) และต้องเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่า แม้พระธรรมคำสอนจะมีอยู่มากมาย แต่มีข้อสรุปอยู่ที่ "การดับทุกข์" เท่านั้น ฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละคนจะรู้ธรรมะมากขนาดไหนก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียง ปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพ รวมถึงเรื่องฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ต่างๆด้วย ก็เป็นเพียง เปลือก มิใช่ แก่น แต่ประการใด แต่การศึกษาและปฏิบัติธรรมก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์ทุกคนอยู่นั่นเอง ไม่ว่าจะบวชหรือไม่บวช จะนับถือหรือไม่นับถือ เพราะธรรมะเท่านั้นที่ทำให้คนพ้นทุกข์และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข และธรรมะที่แท้จริงหาใช่มีอยู่ในตำราไม่ แต่อยู่ที่ จิตใจ ของมนุษย์ทุกคน เรียกว่า คุณธรรมนั่นเอง

ผู้มีคุณธรรม แม้ไม่ได้เรียนธรรมะอ่านธรรมะมามากมาย แต่หากมีคุณธรรมในจิตใจแล้วก็ถือว่าเป็นผู้สูงส่งน่านับถือ อาทิ ผู้มีความกตัญญูกตเวทีหาได้ยากในโลกปัจจุบันนี้ หรือผู้ทำหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น ผู้มีคุณธรรมอยู่ในหัวใจ ไม่ว่าจะเกิดในสถานที่ใด หรือมีฐานะอย่างไร ก็ไม่มีปัญหาอะไร ยังได้ชื่อว่าทรงคุณธรรม และน่านับถืออยู่นั่นเอง แต่ขึ้นชื่อว่ามนษย์แล้วจะไม่มีปัญหาเลยก็ไม่ได้ เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับปัญหา ทั้งปัญหาที่แก้ได้และแก้ไม่ได้ ที่แก้ได้ก็เพราะวิบากกรรมได้เบาบางลงไปมาก แล้วหลังจากที่ชดใช้พอสมควร หรือได้ทำการแก้ไขอย่างถูกต้อง โดยได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากท่านผู้รู้ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อเราแก้ปัญหาของตัวเองไปได้บ้างแล้ว พอสามารถที่จะไปช่วยผู้อื่นได้จึงค่อยช่วย


261
แล้วท่านใหญ่...ไม่เลยไปกราบรอยพระพุทธบาทที่ถ้ำธารลอดใหญ่ล่ะ

อีกนิดเดียวก็จะถึงแล้ว...เสียดายจริงๆ

ขอบคุณครับที่นำภาพบรรยากาศมาให้ชม... :016:

262


ความนำ

ในประเพณีหรือธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า (พุทธะ)๑ ที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระสัพพัญญูพุทธเจ้าไม่ว่าทั้งด้านความรู้หรือคุณธรรม แต่ปรากฏว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็นพระพุทธเจ้าหรือพุทธะที่ถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจใฝ่ศึกษาจากชาวพุทธเท่าที่ควรจะเป็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าคือพุทธะประเภทหนึ่งที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เฉพาะตนเอง ปรมัตถโชติกา อรรถกถาของสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน และเปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น๒ จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานในท่าน อุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร คือ ช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญพุทธการกธรรมนับแต่ตั้งความปรารถนาแล้วนานถึง ๒ อสงไขยกับแสนกัป พุทธการกธรรมนั้นได้แก่ บารมี ๑๐ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘
พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์มีประวัติคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่ คือ เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ในสมัยโบราณที่เบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติ ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์กูฏ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมพานต์ หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ ถึงแม้ว่า เรื่องของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้จะจบลงด้วยเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คือ ตัวเอกของเรื่องออกบวชแล้วตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่รายละเอียดของเนื้อเรื่องจะแตกต่างกันออกไป


องค์ธรรมของบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

เมื่อได้ศึกษาปรมัตถโชติกาแล้ว พบว่า บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องประกอบด้วยองค์ธรรม ซึ่งเรียกว่าธรรมสโมธาน (การประชุมธรรม) ๕ ประการ ๓ คือ:-
๑. ความเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ) คือ ในชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น เป็นเทวดาไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต หรือ อสุรกาย
๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ลิงฺคสมฺปตฺติ) คือ เป็นเพศชายเท่านั้น จะเป็นผู้หญิง กะเทยและอุภโตพยัญชนก (บุคคลที่มี ๒ เพศในคนเดียวกัน) ไม่ได้ แต่กระนั้น ผู้หญิงสามารถเป็นมารดาของผู้ที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้
๓. การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวกิเลสทั้งหลาย (วิคตาสวทสฺสนํ) คือ การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอนุพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
๔. อธิการ (อธิกาโร) คือกระทำอันยิ่ง ต้องบริจาคชีวิตของตนเองแล้วจึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
๕. ความพอใจ (ฉนฺทตา) คือ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อทำให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้ว่าจะยากลำบากประสบพบปัญหาอุปสรรคมากเพียงใดก็ตาม อาทิเช่น มีคนกล่าวว่า ใครก็ตามที่สามารถเหยียบสากลจักรวาล อันเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวไฟได้ ใครก็ตามที่สามารถเหยียบข้ามสากลจักวาลอันเกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวได้ ใครก็ตามที่สามารถลุยข้ามสากลจักรวาลอันเต็มไปด้วยน้ำปริ่มฝั่งได้ ใครก็ตามที่สามารถก้าวล่วงสากลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดรได้ จึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า "เราสามารถทำเช่นนั้นได้"
มีคาถาแสดงไว้ว่า
"มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ วิคตาสวทสฺสนํ อธิกาโร ฉนฺทตา เอเต อภินีหารการณาฯ"
"มีเหตุแห่งปณิธานขึ้นพื้นฐาน (ก็เพราะธรรมสโมธาน ๕ ประการ) เหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์, ความถึงพร้อมด้วยเพศ,การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ, อธิการและความพอใจ"
แต่สำหรับบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องประกอบด้วยองค์ธรรมซึ่งเรียกว่า ธรรมสโมธาน ๘ ประการ๔ คือ:-
๑. ความเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ) มีนัยเดียวกับองค์ธรรมของบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ลิงฺสมฺปตฺติ) ก็มีนัยเดียกัน
๓. เหตุ (เหตุ) คือ ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ ในชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพยายามอย่างเต็มกำลัง จะสามารถเป็นพระอรหันต์ได้
๔. การเห็นพระศาสดา (สตฺถารทสฺสนํ) คือการเห็นเฉพาะพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง อาทิเช่นสุเมธบัณฑิตได้เห็นพระทีปังกรพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล้วจึงตั้งปณิธาน
๕. การบรรพชา (ปพฺพชฺชา) คือ ความเป็นอนาคาริก ต้องเป็นนักบวชผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที อาทิเช่น สุเมธบัณฑิตเป็นดาบสชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน
๖. ความถึงพร้อมแห่งคุณ (คุณสมฺปตฺติ) คือการได้คุณธรรมหรือธรรมวิเศษมีฌานเป็นต้น อาทิเช่น สุเมธบัณฑิตได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ แล้วจึงตั้งปณิธาน
๗. อธิการ (อธิกาโร) มีนัยเดียวกัน
๘. ความพอใจ (ฉนฺทตา) ก็มีนัยเหมือนกัน
มีคาถาแสดงไว้ว่า
"มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตติ อธิกาโร ฉนฺทตา
อฎฺฐธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติฯ"
"ปณิธานขั้นพื้นฐานย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะธรรมสโมธาน ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์, ความถึงพร้อมด้วยเพศ, เหตุ, การเห็นพระศาสดา, การบรรชา, ความถึงพร้อมแห่งคุณ, อธิการและความพอใจ"
ส่วนผู้ที่ตั้งปณิธานเป็นพระอัครสาวกทั้งสองและพระอสีติมหาสาวก ต้องมีองค์ธรรม ๒ ประการ คือ อธิการ หรือการกระทำอันยิ่ง (อธิกาโร) และความพอใจ (ฉนฺทตา)๕


หลักคำสอนของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ปรมัตถโชติกา ๖ เล่าเรื่องของสุสีมมาณพผู้ปรารถนาจะเห็นเบื้องปลายของศิลปะจึงถูกส่งไปหาฤาษีที่ป่าอิสิปตนะ หลังจากไปป่าอิสิปตนะแล้ว ได้เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วถามว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายของศิลปะบ้างไหม?"
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า "เออ เรารู้สิท่าน"
สุสีมมาณพอ้อนวอนว่า "โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายของศิลปะนั้นเถิด"
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย "ถ้าอย่างนั้นก็บวชเสียสิ ท่านผู้ไม่ใช่นักบวชศึกษาไม่ได้ดอก"
สุสีมาณพ "ดีละ ขอรับ โปรดให้ข้าพเจ้าบวช แล้วให้ศึกษาเบื้องปลายของศิลปะนั้นเถิด"
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขาบวชแล้ว ไม่สามารถให้เขาเจริญกรรมฐานได้ ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจาร (ความประพฤติที่ดีงาม) อาทิเช่น ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้น แต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ไม่นานนักจึงบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ
ในวรรณกรรมของพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าสอนแต่เรื่องอภิสมาจารเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งท่านก็สอนธรรมเช่นกัน แต่สอนเพียงสั้นๆ อาทิเช่น จงสิ้นราคะ จงสิ้นโทสะ จงสิ้นโมหะ จงสิ้นคติ จงสิ้นวัฏฏะ จงสิ้นอุปธิ จงสิ้นตัณหา โดยไม่มีหลักคำสอนที่เป็นระบบเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อีกประการหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าคงจะเป็นเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้วทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์ เพราะเหตุที่ว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยของตรรกวิทยา ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็ถ้าเราพึงจะแสดงธรรม สัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหนื่อยเปล่า ความลำบากเปล่าแก่เรา"
ท้าวสหัมบดีพรหมจึงทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์ โดยให้เหตุผลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระองค์ จงทรงแสดงธรรมเถิด เพราะสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ เขาจักเสื่อมเสียเพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีโดยแท้"๗
แต่จากนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสลัดทิ้งความท้อพระทัยเสีย แล้วทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์
จากหลักฐานข้างต้นนี้ อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า การตัดสินใจเช่นนี้ เป็นคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไม่สามารถเอาชนะความคิดที่ว่าธรรมเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นรู้ตามได้ยากนั้นได้ จึงไม่ได้เตรียมแสวงหาสาวกและสอนให้รู้แจ้งเช่นเดียวกับตน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นรู้สึกจะสมัครใจช่วยเหลือบุคคลอื่นให้รู้แจ้ง โดยอาศัยความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของผู้นั้นเป็นหลัก ดังนั้น ท่านจึงมิได้ก่อตั้งสถาบันศาสนาอันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
เชิงอรรถ
๑. พระพุทธเจ้า (พุทธะ) มี ๔ ประเภท คือ ๑. พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระจตุสัจจพุทธเจ้า ๔. พระสุตพุทธเจ้า ประเภทที่ ๓ และที่ ๔ เป็นพระสาวกพุทธเจ้าหรือพระอนุพุทธเจ้า
๒. สุตฺต.อ. ๑/๔๘.
๓. สุตฺต.อ. ๑/๔๗.
๔. สุตฺต.อ. ๑/๔๕.
๕. สุตฺต.อ. ๑/๔๘.
๖. สุตฺต.อ. ๒/๔๑-๔๒.
๗. วินย. ๔/๗-๘.





ความสัมพันธ์ระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระปัจเจกพุทธเจ้า
ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาระบุไว้ บ่อยครั้งว่าพระปัจเจกโพธิสัตว์ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง แต่ไม่อาจเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้นได้ แต่ในชาติต่อ ๆ มาจึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ แต่ในปัญจอุโบสถชาดก๘ เสนอความสัมพันธ์ที่กลับกันหรือตรงกันข้ามกัน คือ เสมือนหนึ่งว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ ส่วนพระโพธิสัตว์๙ เป็นศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่พระโพธิสัตว์ขณะเป็นดาบสจนกระทั่งพระโพธิสัตว์นั้นสามารถข่มมานะ (ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ซึ่งขัดขวางมิให้ได้ฌานสมาบัติ
เรื่องย่อของชาดกนี้มีดังนี้ ในสมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทราบความที่ดาบสนั้นมีมานะ ดำริว่า ดาบสผู้นี้มิใช่อื่นเลย ที่แท้เป็นหน่อเนื้อแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะบรรลุความเป็นสัพพัญญูในกัปป์นี้แหละ เราต้องข่มมานะของดาบสผู้นี้เสีย แล้วจึงมาจากป่าหิมพานต์ตอนเหนือ ขณะเมื่อดาบสนั้นกำลังนอนอยู่ในบรรณศาลานั่งเหนือแผ่นกระดานหินของดาบสนั้น ดาบสออกมาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั่งเหนืออาสนะของตนอยู่ จึงเกิดความขุ่นเคืองใจเพราะความมีมานะ ปรี่เข้าไปหาตบมือตวาดว่า ฉิบหายเอ๋ย ไอ้ถ่อย ไอ้กาลกรรณี มานั่งเหนืออาสนะแผ่นกระดานนี้ทำไม ?
ต่อแต่นั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวกะดาบสนั้นว่า พ่อคนดี เพราะเหตุไรพ่อจึงมีแต่มานะ ? ข้าพเจ้าบรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้วในกัปป์นี้เอง พ่อก็จะเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พ่อเป็นหน่อเนื้อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว ต่อไปจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่าสิทธัตถะ บอกชื่อ ตระกูล โคตร และพระอัครสาวกแล้วจึงแนะนำว่า พ่อยังจะมัวเอาแต่มานะ เป็นคนหยาบคายเพื่ออะไรเล่า? ข้อนี้ไม่สมควรแก่พ่อเลย
ดาบสนั้นแม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ยังไม่ไหว้ท่านอยู่นั่นเอง มิหนำซ้ำไม่ถามเสียด้วยว่า ข้าพเจ้าจักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไร ? ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า เธอไม่รู้ถึงความเป็นใหญ่แห่งชาติและคุณของเรา หากเธอสามารถก็จงเที่ยวไปในอากาศเหมือนเราแล้วก็เหาะไปในอากาศโปรยฝุ่นที่เท้าของตนลงบนชฎาของดาบสนั้น ไปยังป่าหิมพานต์ตอนเหนือดังเดิม พอท่านไปแล้ว ดาบสมีความสลดใจคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นสมณะเหมือนกัน มีสรีระหนัก ไปในอากาศได้ดุจปุยนุ่นที่ทิ้งไปในช่องลม เพราะถือชาติ เรามิได้กราบเท้าทั้งคู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ยังไม่ถามเสียด้วยว่า เราจักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อไร? ขึ้นชื่อว่าชาตินี้จะทำอะไรได้ ศีลและจรณะเท่านั้นเป็นใหญ่ในโลก ถ้าเรายังมีมานะอยู่ จักไปนรกได้ที่นี้เราข่มมานะไม่ได้ ก็จักไม่ไปหาผลไม้ เข้าสู่บรรณศาลาสมาทานอุโบสถเพื่อข่มมานะ นั่งเหนือกระดานเลียบเป็นกุลบุตรผู้มีญาณใหญ่ ข่มมานะได้ เจริญกสิณ ได้อภิญญาและสมาบัติ ๘ ตายไปอุบัติ ณ พรหมโลก


การบิณฑบาตโปรดสัตว์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านถวาย เช่นเดียวกับนักบวชอื่น ๆ คัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าบิณฑบาตมิใช่เพื่อยังชีพเท่านั้น แต่ยังมุ่งให้ประชาชนมีโอกาสประสบกุศลผลบุญโดยการใส่บาตรท่าน
ทายกที่ถวายทานอย่างสมบูรณ์ คือครบทั้งสามกาล ก่อนถวายทานก็ดีใจ ขณะถวายทานมีจิตเลื่อมใส และถวายทานแล้วปลื้มใจไม่เสียดายไทยธรรมที่ถวายไปแล้ว สามารถพ้นจากอันตราย เราสามารถพบตัวอย่างของข้อนี้ได้จากเรื่องสังขพราหมณ์ ผู้มีชื่อเสียงทางบริจาคทาน ซึ่งวางแผนจะไปสุวรรณภูมิ เพื่อนำทรัพย์มาบริจาคคนยากจนและคนขัดสน
เรื่องย่อ มีดังนี้๑๐ ในสมัยนั้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ณ ภูเขาคันธมาทน์ พิจารณาเห็นสังขพราหมณ์กำลังจะเดินทางนำทรัพย์มา จึงตรวจสอบว่า บุรุษนี้ไปหาทรัพย์ จะมีอันตรายในทะเลหรือไม่หนอ? ก็ทราบว่า จะมีอันตรายจึงคิดว่า บุรุษนั้นเห็นเราแล้ว จะถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรืออัปปางกลางทะเล เขาจะได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจะอนุเคราะห์เขา แล้วเหาะมาลง ณ ที่ใกล้พราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิงเพราะลมแรงแดดกล้า ตรงมาหาสังขพราหมณ์
สังขพราหมณ์นั้น พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นเกิดความยินดีว่า บุญเขต (เนื้อนาบุญ) ของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือถวายทานลงในบุญเขตนี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อยแล้วเข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ ก็พูนทรายขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาดนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวมออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอมแล้วสวมรองเท้าให้พระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่าท่านผู้เจริญขอท่านสวมรองเท้ากั้นร่มไปเถิด
พระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่อจะอนุเคราะห์ สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้นจึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น
ด้วยอานิสงส์ของการถวายทานนั้น เมื่อเรืออัปปาง สังขพราหมณ์จึงได้รับการช่วยเหลือจากนางเทพธิดามณีเมขลา ผู้พิทักษ์รักษาทะเล และได้เรือแก้วหนึ่งลำ พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติอีกเป็นอันมาก
แต่ถ้าทายกหลังจากถวายทานแล้ว เกิดความเสียดายไทยธรรมที่ถวายไปแล้ว อานิสงส์ของการถวายทานจึงไม่สมบูรณ์เต็มที่มัยหกสกุณชาดก๑๑ เล่าเรื่องเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ซึ่งเกิดความเสียดายหลังจากถวายไทยธรรมแก่พระตครสิขีปัจเจกพุทธเจ้า
มีเนื้อหาย่อ ๆดังนี้:- ในสมัยอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี มีเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีผู้หนึ่ง ซึ่งไม่มีศรัทธา มีแต่ความตระหนี่ ไม่ได้ให้อะไรแก่ใคร ๆ ไม่สงเคราะห์ใคร ๆ วันหนึ่งเขาเดินทางไปเฝ้าพระราชา เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขี กำลังเดินไปบิณฑบาต ไหว้แล้วจึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านได้ภิกษาแล้วหรือ? เมื่อท่านตอบว่า มหาเศรษฐี อาตมากำลังเดินไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่หรือ? จึงสั่งให้ชายคนหนึ่งว่า ไปเถิด เจ้าจงนำพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ไปบ้านของเรา ให้ท่านนั่งบนแท่นของเรา แล้วให้บรรจุอาหารที่เขาเตรียมไว้สำหรับเราให้เต็มบาตรแล้วถวายไป ชายคนนั้นนำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปเรือนแล้วให้นั่ง บอกให้ภรรยาเศรษฐีทราบ ให้บรรจุอาหารที่มีรสเลิศนานาชนิดให้เต็มบาตรแล้วถวายท่านไป ท่านรับภิกษาแล้วได้ออกจากนิเวศน์ของเศรษฐีแล้วเดินไปตามถนน เศรษฐีกลับจากพระราชวังเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไหว้แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญท่านได้รับภิกษาแล้วหรือ? พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นตอบว่าได้แล้ว ท่านมหาเศรษฐี ปรากฏว่าเศรษฐีนั้นแลดูบาตรแล้วไม่อาจทำจิตให้เลื่อมใสได้ คิดว่าอาหารน ี้ ทาสหรือกรรมกรกินแล้วคงทำงานแม้ที่ทำได้ยาก น่าเสียดายหนอ ! เราเสื่อมเสียทรัพย์สินเสียแล้ว
ฉะนั้น เพราะการถวายภิกษาแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เขาจึงได้รับทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก แต่ไม่อาจใช้สอยทรัพย์เหล่านั้นได้เพราะไม่สามารถทำอปรเจตนา คือเจตนาดวงหลัง ให้ประณีต หมายถึงว่า ถวายภิกษาแล้วเกิดความเสียดายในไทยธรรมที่ถวายไป


มติของอรรถกถาเกี่ยวกับคุณธรรม และความรู้



ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, และพระสาวก

ปรมัตถโชติกา ๑๒ ได้แบ่งประเภทของสรรพสัตว์ ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับสูงไว้ดังนี้:-
สัตว์ที่มีวิญญาณมี ๒ ประเภท คือ สัตว์ดิรัจฉานและมนุษย์
มนุษย์มี ๒ เพศ คือสตรีและบุรุษ
บุรุษมี ๒ ประเภท คือ ปุถุชนและนักบวช
นักบวชมี ๒ ประเภท คือเสขะและอเสขะ
อเสขะมี ๒ ประเภท คือ สุกขวิปัสสกะ (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก) และสมถยานิก (ผู้เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ)
สมถยานิกมี ๒ ประเภท คือ ที่บรรลุสาวกบารมีและไม่บรรลุสาวกบารมี
กล่าวกันว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศกว่าผู้ที่บรรลุสาวกบารมี (พระสาวก) เพราะเหตุไรจึงเลิศกว่า? เพราะมีคุณมาก พระสาวกหลายร้อยรูป แม้เช่นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น ก็ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งร้อยคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศแม้กว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะเหตุไร? เพราะมีคุณมากถ้าว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งขัดสมาธิเบียดกันทั่วทั้งชมพูทวีปก็ไม่เท่าส่วนเสี้ยวแห่งคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว
ปรมัตถโชติกา๑๓ ซึ่งบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าไว้เป็นอันมาก บรรยายถึงความแตกต่างทางด้านความรู้ระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกไว้ดังนี้:-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสรู้ได้เองและทรงสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามได้อีกด้วย (จนกระทั่งถึงบรรลุมรรคผลนิพพาน)
พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสรู้ได้เอง แต่ไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามได้ แทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ไม่สามารถแทงตลอดธรรมรสได้ เพราะว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจเพื่อจะยกโลกุตตรธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้ การบรรลุธรรมจึงมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน เหมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น
พระปัจเจกพุทธเจ้า บรรลุธรรมทั้งหมดรวมถึงฤทธิ์ สมาบัต ิ และปฏิสัมภิทา มีคุณพิเศษต่ำกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เหนือกว่าพระสาวก ให้บุคคลอื่นบวชได้ ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย หรือทำอุโบสถโดยเพียงพูดว่า วันนี้อุโบสถ และเมื่อทำอุโบสถประชุมกันทำ ณ รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสา ในภูเขาคันธมาทน์
สรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาไม่ว่าด้านคุณธรรม หรือความรู้ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหนือกว่าพระสาวก แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเหนือกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า


วิถีชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า:การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว

คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ๑๔ ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี ๒ นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
คงเห็นแล้วว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น มิได้หลีกเร้นหนีสังคมแต่ประการใด เมื่อมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกัน ท่านก็มาประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ปุถุชนธรรมดาไม่อาจที่จะเข้าใจวิถีชีวิตดังกล่าวของพระปัจเจกพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ
ถือได้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เดียวหรือผู้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยเหตุ ๙ ประการ คือ:-
๑. ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา หมายถึงว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาส, บุตร, ภรรยา, ญาติและการสะสมสมบัติ ปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่กังวล เป็นผู้เดียวเที่ยวไป
๒. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะไม่มีเพื่อน (เมื่อถึงฐานะเช่นนั้นแล้วไม่ต้องการเพื่อน) หมายถึงว่าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้เดียวอาศัยที่อยู่คือป่าและป่าชัฏอันสงัด มีเสียงน้อยปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากลม อยู่โดดเดี่ยวไกลจากพวกมนุษย์สมควรแก่การหลีกเร้น เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป
๓ เป็นผู้เดียวเพราะละตัณหา หมายถึงว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร ส่งจิตไปอยู่ กำจัดมารและเสนามาร ละตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
๔. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากราคะแน่นอน
๕. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโทสะแน่นอน
๖. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะปราศจากโมหะแน่นอน
๗. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะหมดกิเลสแน่นอน
๘. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ดำเนินไปผู้เดียว (เอกายนมรรค) เอกายนมรรคนั้น หมายถึง สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘ (คือโพธิปักขิยธรรม)
๙. ชื่อว่าผู้เดียวเพราะตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว หมายถึงว่า รู้แจ้งไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจสี่นั่นเอง


บทสรุป

บางคนอาจมีความกังขาว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงหรือไม่? ขอเฉลยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง และมิใช่มีเพียงองค์เดียวเท่านั้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่มีเป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีองค์เดียวเท่านั้น ในช่วงเวลาหนึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่างรายชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตเฉพาะองค์สำคัญที่พบในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามาเสนอไว้ เช่น พระตครสิขี พระอุปริฏฐะ พระมหาปทุม พระมาตังคะ เป็นต้นนอกจากนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตก็ยังมีปรากฏให้เห็น อาทิเช่น พระอัฏฐิสสระ ซึ่งก็คือพระเทวทัต ก่อนจะมรณภาพโดยถูกแผ่นดินสูบ ขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือพระโคตมะ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยกระดูกพร้อมด้วยลมหายใจ ด้วยอานิสงส์ดังกล่าว จึงทำให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตได้
อนึ่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีเป็นเวลานานมาก อาจทำให้คนที่ปรารถนาตำแหน่งดังกล่าว เกิดความท้อถอย คลายความเพียรได้ แต่ถ้าจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี โดยใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

เชิงอรรถ

๘. ชา.อ.๖/๒๘๘–๒๙๔.

๙. พระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท่านเขียนเป็นพระโพธิสัตต์ คำนี้ตรงกับภาษาบาลีว่า โพธิสตฺต และตรงกับภาษาสันสกฤตว่า โพธิสตฺตฺว.
๑๐. ชา.อ. ๕/๓๘๕–๓๘๖.
๑๑. ชา.อ.๕/๘๓.
๑๒. ขุทฺทก.อ.๑๕๕/๑๕๖.
๑๓. สุตฺต.อ. ๑/๔๘.
๑๔. ขุ.จู.ขัคควิสาณสุตตนิทเทส.๓๐/๑๒๔.
 


ขอขอบคุณที่มา...พลังจิตดอทคอม

263
ขอบคุณ...ท่านเซอร์ดอนนะครับ ที่นำบทความดีๆมาให้อ่านกัน

ขอให้พระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานครับ

264
ขอขอบคุณนะครับที่นำมาให้ชมกัน

สวยงามดีครับ... :016:

266
ลองดูใหม่...อีกสักระยะนึงนะครับ

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

267
ลองศึกษาวิธีลงรูปดูนะครับจากลิงค์ด้านล่างนี้...ลองดูนะครับ
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

268




พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่
13 -15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา



ประวัติความเป็นมาของพุทธมณฑลอีสาน พระธาตุนาดูน ..........ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎร์ในตำบลนาดูนได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินที่เป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎร์ ท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้วประดิษฐ์สถานในผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลาวงเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวดซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะ ทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร .ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดี แก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐาน ไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็น ปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวรศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช 2525-2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ อานาจักร จัมปาศรี นครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-16 ประกอบด้วย วัด ส่วนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ เจดีย์พระธาตุนาดูน มีลักษณะประยุกต์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กับลักษณะศิลปากร แบบทวารวดีออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากรสูง 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้ประกอบ พิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7,580,000 บาท (เจ็ดล้านห้าแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมงกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุ ในองค์ เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้








ระบำจัมปาศรี  การแสดงประจำจังหวัดมหาสารคาม



เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2522 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาในบริเวณที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎร์บ้านนาดูน ได้พระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ข่าวการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาได้แพร่ กระจายออกไป ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมา ขุดค้นอย่างมากมาย และหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้เข้ามาทำการขุดแต่งโบราณสถานตรงที่ขุดพบพระพิมพ์เพื่อรักษาสภาพสถูปองค์เดิมไว้แต่กระทำไม่สำเร็จเพราะฝูงชนจำนวน มหาสาร ได้เข้ามาแย่งชิงค้นหาพระพิมพ์ เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ต้องยุติการขุดแต่งและปล่อยให้ประชาชนขุดค้นหาต่อไป จนกระทั่งวันที่ 8 มิถุนายน 2522 นายบุญจันทร์ เกศแสนศรี นักการภารโรงสำนักที่ดินอำเภอนาดูน ได้ขุดค้นพบสถูปพระบรมสารีริกธาตุ ตัวสถูปทำช่วยสำริต และได้นำสถูปดังกล่าวมามอบ ให้กับอำเภอนาดูนนอกจากนั้นที่ด้านหลังพระพิมพ์บางองค์ยังมีจารึกเป็นภาษาขอมโบราณและมอญโบราณ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างพระพิมพ์ดินเผาดังกล่าว รัฐบาลได้เห็ฯความสำคัญของศิลปะโบราณวัตถุเล่านี้จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยบริเวณรอบๆ องค์พระธาตุนาดูนจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรมอีกทั้งยังมีการสร้างส่วนรุกขชาติ และสวนสมุนไพรตกแต่งบริเวณโดยรอบให้งดงามเหมาะสมที่จะเป็สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอันจะเป็น "พุทธมณฑลอีสาน " ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสืบต่อไป


ศิลาจารึกศาลานางขาว อักษรขอม ภาษาเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 ทำจากหินทราย สูง 21 ซม. กว้าง 9 ซม. เลขทะเบียน 364/2516 พบจากการขุดแต่งโบราณสถานศาลานางขาว อ. นาดูน จ. มหาสารคาม


พระศิวะ หรือ ทวารบาล (นนทิเกศวร) ศิลปะลพบุรี แบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17 ทำจากหินทราย สูง 175 ซม. เลขทะเบียน 444/2516 พบจากการขุดแต่งกู่น้อย อ. นาดูน จ. มหาสารคาม




•การเดินทางสู่ พระธาตุนาดูน

จากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร





ขอขอบคุณที่มา...http://www.ezytrip.com/Thailand/th/NorthEast/MahaSarakham/NaDun/PhraThatNaDun/PhraThatNaDun.htm
...http://www.oknation.net/blog/mahasarakham/2008/06/30/entry-1

269
ยินดีด้วยครับน้องบอล  หลวงพี่ติ่งท่านเมตตาอีกแล้ว

ขอให้ค้าขายร่ำรวย มีลูกค้ามาอุดหนุนเยอะๆ...สาธุ

270
ยินดีด้วยครับ  หลวงพี่ญาท่านเมตตาอีกแล้วครับ

271
ขอขอบคุณ...พี่เจมส์มากครับ

น่าภูมิใจกับท่านอ.หนวดมากๆครับ

อ.หนวด สุดยอดจริงๆเลยนะครับ

272
ขอขอบคุณเอ็มมากๆเลยครับ :016:

ที่นำภาพบรรยากาศงานบุญวัดไร่ขิงมาให้ชมกัน

แม้ไม่ได้ไปร่วมงานก็เหมือนได้ไปร่วมในงาน(ดูจากภาพ)

ขอบคุณอีกครั้งนะครับ :015:

273
วัด...สวยงามมากมายเลยครับ :016:

ขอขอบคุณท่านtum72 ที่นำภาพมาให้ชม

กราบนมัสการหลวงพ่อเพี้ยน...ด้วยครับ

274
สวยงามดีครับ...ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันอีกนะครับ

275
แม้นิพพานจะเป็นสุข และผู้บรรลุนิพพานก็เป็นผู้มีความสุข แต่ผู้บรรลุนิพพานไม่ติดในความสุขไม่ว่าชนิดใดๆ รวมทั้งไม่ติดใจเพลินนิพพานด้วย

เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆจากภายนอก ทางตา ทางหู ทางจมูก เป็นต้น พระอรหันต์ยังคงเสวยเวทนาที่เนื่องจากอารมณ์เหล่านั้น ทั้งที่เป็นสุขเป็นทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เช่นเดียวกับคนทั่วไปแต่มีข้อพิเศษตรงที่ท่านเสวยเวทนาอย่างไม่มีกิเลสร้อยรัด ไม่ติดเพลินหรือข้องขัดอยู่กับเวทนานั้น

เวทนานั้นไม่เป็นเหตุให้เกิดตัณหา เป็นการเสวยเวทนาชั้นเดียว เรียกสั้นๆว่า เสวยแต่เวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางจิต ไม่ทำให้เกิดความเร่าร้อน กระวนกระวายภายใน เรียกว่าเวทนานั้นเป็นของเย็นแล้ว
การเสวยเวทนาของท่านเป็นการเสวยชนิดที่ไม่มีอนุสัยตกค้าง

ต่างจากปุถุชนที่เมื่อเสวยสุขก็จะมีราคานุสัยตกค้าง เสวยทุกข์ก็จะมีปฏิฆานุสัยตกค้าง เสวยอารมณ์เฉยๆ
ก็มีอวิชชานุสัยตกค้าง เพิ่มความเคยชินและความแก่กล้าให้แก่กิเลสเหล่านั้นมากยิ่งๆขึ้น

แต่สำหรับพระอรหันต์ สุขทุกข์จากภายนอกไม่สามารถเข้าไปกระทบถึงภาวะที่ดับเย็นเป็นสุขในภายใน ความสุขของท่านจึงเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารมณ์หรือสิ่งต่างๆในภายนอก คือไม่ต้องอาศัยอามิส
ท่านเรียกว่าเป็น นิรามิส สุขอย่างยิ่ง

ในเมื่อสุขของท่านไม่ขึ้นต่อปัจจัยภายนอก ความผันแปรเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลายอันเป็นไปตามคติ
ธรรมดาแห่งสภาพสังขาร จึงไม่เป็นเหตุให้ท่านเกิดความทุกข์

ถึงอารมณ์จะแปรปรวนเคลื่อนคลาดหายลับ ท่านก็ยังคงอยู่เป็นสุข ถึงขันธ์ 5 จะผันแปรกลับกลายไปเป็นอื่น ท่านก็ไม่เศร้าโศรกเป็นทุกข์ ความรู้เท่าทันในความไม่เที่ยงแท้และสภาพที่ผันแปรนั่นเอง ย่อมทำให้เกิดความสงบเย็น ไม่พล่านส่ายไม่กระวนกระวาย อยู่เป็นสุขได้ตลอดเวลา

ภาวะเช่นนี้ท่านว่าเป็นความหมายอย่างหนึ่งของการพึ่งตนได้ หรือการมีธรรมเป็นที่พึ่ง


ขอขอบคุณ...หนังสือพุทธธรรม หน้า 248 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

276
ลองศึกษาวิธีดูนะครับตามลิงค์ข้างล่างนี้
http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

277
สวยสดงดงามจริงๆเลย...ยินดีด้วยนะครับ...ได้ของดีมาเพิ่มบารมีอีกแล้วครับ

278
ลายสัก...จากอาจารย์รอด ปัฐวิกรณ์

นำมาให้ชมกัน...ไม่มีเจตนาอย่างอื่นแอบแฝง
























ขอบคุณครับที่รับชม...

280
อาจารย์หนวดสุดยอดครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

281
พระมหาเถรคันฉ่องมีคุณูปการแก่ชาติไทยมากมายมหาศาล...

ทางพม่าเองถือว่าพระมหาเถรคันฉ่องเป็นกบฏที่ช่วยพระนเรศวร อันเป็นเสี้ยนหนามต่อหงสาวดี

ทางไทยเอง...ไม่มีผู้สำนึกในบุญคุณของพระมหาเถรคันฉ่อง

พระนเรศวร กู้ชาติกู้แผ่นดินกรุงศรีอยุธยาคืนมาได้...จึงมีคุณูปการมากเพียงใด

๑.พระมหาเถรคันฉ่องกู้พระชนม์ชีพพระนเรศวร จากแผนลอบปลงพระชนม์ที่เมืองแครง ของพระเจ้าหงสานันทบุเรง

๒.พระมหาเถรคันฉ่องเป็นผู้ให้ฤกษ์ปฏิวัติ โดยผูกเป็น ยันต์พิชิตหงสาวดี.นำไปสู่การที่พระนเรศวรตัดสินพระทัยหลั่งน้ำประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับหงสาวดี

๓.พระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระอาจารย์ถวายการสอน พระนเรศวร ขณะอยู่หงสาวดีฐานะเชลยตอนพระชนม์๖ขวบอย่างไม่ปิดบังอำพรางอย่างหมดเปลือก

 ส่วนราชบุตรหงสาวดีไม่สอนไม้ตายให้..ปิดบังวิชาบางส่วนไม่ปล่อยหมดเหมือนที่สอนพระนเรศวร

พระมหาเถรคันฉ่อง..ท่านเป็นชาวมอญ...ชอบฉันหมากพลู

282
ขอขอบคุณครับ...สำหรับวีดีโอคลิปมีเนื้อหาสาระดีมากๆเลยครับ

283
ขอขอบคุณ...ท่านบัฟมากๆครับ สำหรับภาพบรรยากาศ...

ขอกราบนมัสการหลวงปู่อั๊บ...ด้วยครับ

284
กราบนมัสการหลวงพี่...

ขอให้หลวงพี่...หายจากอาพาธไวไวนะครับ

ลูกศิษย์ทุกๆคนเป็นห่วง..ครับ

285
ธรรมะ / ความจริง...แห่งสมมติ
« เมื่อ: 25 มี.ค. 2553, 11:12:02 »
ผู้ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริง หลงยึดติดในสมมติ ถือมั่นตัวตนที่สมมติขึ้นเป็นจริงเป็นจัง ก็จะถูกความยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละบีบคั้นกระทบกระแทกเอา  ทำให้ได้รับความรู้สึกทุกข์เป็นอันมาก ส่วนผู้รู้เท่าทันสมมติ ไม่ยึดติดถือมั่นในตัวตนนั้นก็มองเห็นแต่กระบวนธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เขาสมมติเรียกขานกระบวนธรรมนั้นกันอย่างไร ก็รู้เข้าใจเรียกขานไปตามนั้น แต่เมื่อต้องการอย่างไรก็แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย
 
ไม่หลงให้ความอยากความยึดมาเป็นเครื่องบีบคั้นตัว ก็ไม่ต้องได้รับทุกข์จากความยึดติดถือมั่นนั้น เรียกว่ารู้จักใช้สมมติให้เป็นประโยชน์และไม่ต้องประสบโทษจากความยึดติดในสมมติอีกด้านหนึ่ง 

ความยึดถือในตัวตนจะก่อผลทางร้าย หนุนให้เกิดองค์ประกอบฝ่ายอกุศลที่เรียกว่า กิเลส  ขึ้นในกระบวนธรรมตามติดมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะ ตัณหา คือความเห็นแก่ตัว ทะยานอยากแส่หาเครื่องบำรุงบำเรอปรนเปรอตน  และ มานะ คือความถือตัว สำคัญตนเป็นนั่น เป็นนี่ ใฝ่แสดงอำนาจมาเชิดชูตน และทิฏฐิ คือ ความยึดติดในความเห็นของตน ถือรั้นเอาความเห็นของตนเป็นความจริง หรือถือมั่นให้ความจริงจะต้องเป็นอย่างที่ตนเห็น 

ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยก่อให้เกิด ความบีบคั้น ขัดแย้ง ขยายเพิ่มพูนและกว้างขวางออกไป  ทั้งภายในและภายนอก ผู้ไม่รู้เท่าทันสมมติ  หลงยึดติดถือมั่นตัวตนเป็นจริงจัง  จะปล่อยให้กิเลสเหล่านี้   เป็นตัวบงการบัญชาการดำเนินชีวิต  และพฤติกรรมของตน  ทำให้ความทุกข์แพร่หลายและเพิ่มทวีทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

ส่วนผู้ที่รู้เท่าทันสมมติ ไม่หลงยึดติดถือมั่นในตัวตนนั้น ย่อมปลอดภัยจากอำนาจบงการของกิเลสเหล่านี้ ไม่ยึดถือด้วยความหลงว่า  นี่ของฉัน ฉันเป็นนี่ นี่เป็นตัวของฉัน ครองชีวิตอยู่ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันสมมติและให้ทำการตามเหตุปัจจัย  เป็นฐานที่ตั้ง และที่แพร่ขยายแห่งความปลอดภัยไร้ทุกข์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น




ขอขอบคุณที่มา...หนังสือพุทธธรรม หน้า 70/24  พระพรหมคุณาภรณ์  (ป.อ. ปยุตฺโต)

286
เหนื่อยนักอยากพักผ่อน   เขียนกาพย์กลอนกล่อมบรรเลง
ร้อยเรียงเป็นเสียงเพลง    กล่อมบรรรเลงก่อนนิทรา
นิทราไปกับธรรม            ทุกเช้าค่ำภาวนา
ตามธรรมองค์สัมมา         ปรารถนาซึ่งนิพพาน...


กราบนมัสการหลวงพี่โด่งครับ กราบขอบพระคุณสำหรับพระธรรมคำกลอน...ซาบซึ้งครับ

287
ใช้องค์นี้...ห้อยเดี่ยวๆครับ



288
กราบนมัสการหลวงพี่โด่ง  ขอบพระคุณที่แจ้งข่าวงานไหว้ครูบูรพาจารย์ ณ วัดทุ่งเว้า จ.มุกดาหาร ครับ

289
สวยงามมากมายครับ

ขอขอบคุณครับที่นำมาให้ชม... :016:

290


ธรรมโอวาท
"คนเราเกิดมามีแต่กลัวความตาย
แต่หาได้กลัวต้นเหตุ
คือความเกิดไม่
จึงพากันหลงแก้ที่ปลายเหตุ
ไปแก้ที่ความแก่
ไปแก้ที่ความเจ็บ
และไปแก้ที่ความตาย
เมื่อแก้ไม่ถูกจุดมันจึงวุ่นวาย
เดือนร้อนไม่จบสิ้นสักที
ตายแล้วกลับมาเกิดอีก/แก้กันอีก"
ธรรมโอวาท หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


หนังสือ พระพุทธเจ้าพระองค์จริง หน้า 47


ปัญหาของโลกอยู่ที่ไหน?
โลกคืออะไร?
โลกก็คือ อารมณ์ที่อยู่รอบๆตัวเรา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้แหละ
มีสุขมีทุกข์ มีดีมีชั่ว มีชอบใจไม่ชอบใจทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้
พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
"เธอจงมีสติเห็นโลกโดยความเป็นของว่างอยู่เสมอ
ถอนความยึดมั่นว่าตัวตนออกเสียให้หมด
แล้วมัจจุราชจะตามหาเธอไม่พบ"
จะเห็นว่าปัญหาของโลกนั้นเกิดจากใจที่มีความเห็นผิด
"ใจ"นี้แหละเป็นผู้สร้างปัญหา
ไปหลงอารมณ์ว่าเป็นตัวเป็นตนเลยถูกอารมณ์ผูกรัดเอาไว้
"ใจ"จึงว้าวุ่นหาความสงบในชีวิตไม่ได้
ผู้มีปัญญาท่านจึงศึกษาอารมณ์เพื่อแก้จิตแก้ใจไม่ติดข้องกับมัน
เห็นอารมณ์ก็ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน
เป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น
สุขเกิดขึ้นก็รู้ ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้
จิตตามรู้อารมณ์ทุกขณะ
ถ้าจิตโน้มไปหาสุข เราก็ดึงมันไว้
ถ้าจิตเอียงไปทางทุกข์ เราก็ดึงมันไว้
จะดึงมันด้วยวิธีใด? ที่จริงไม่ใช่การดึงอะไรหรอก
เพียงรู้ทันอารมณ์ทั้งสุขและทุกข์ว่ามันเป็นตัว "วัฏฏะ"
หมุนวนแปรเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย
เมื่อรู้เท่าธรรมดาของโลกอยู่อย่างนี้ โดยไม่ติดข้องในอารมณ์ทั้งปวง
จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสอง(สุข-ทุกข์)ด้วยปัญญาแล้ว
ไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง(ไม่สุขไม่ทุกข์)
เรากล่าวผู้นั้นเป็น "มหาบุรุษ"
ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้วดังนี้
เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดธรรมที่ควรกำหนดรู้
ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว


หนังสือ พระพุทธเจ้าพระองค์จริง หน้าที่ 9

291


ปีนบันได 449 ขั้น สู่ยอดเขาสะแกกรัง นครแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิต  อุทัยธานี
                อุทัยธานีดินแดนมรดกโลกที่ยังคงมนต์เสน่ห์แห่งความสุขของผู้คนและมีความหลากหลายของวิถีชีวิต ที่มีทั้งชาวไทย จีน ลาวครั่ง และกะเหรี่ยงโป  ที่มีทั้งชุมชนเรือนแพ  ชุมชนบนฝั่ง ชาวสวนบนเกาะเทโพ แม้จะต่างวิถีต่างวัฒนธรรมแต่ก็สามารถหลอมรวมผสมผสานจนกลมกลืนกันได้จนเป็นเอกลักษณ์ของเมืองแห่งนี้ ที่ยังคงมีความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาที่มียอดเขาสะแกกรังซึ่งเป็นศูนย์กลาง ทั้งทางด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองอุทัยธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน



ทริปนี้เราพา ขึ้นบันได 449 ขั้น สู่ยอดเขาสะแกกรัง ซึ่งมีวัดที่สำคัญคือ วัดสังกัสรัตนคีรี ที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี คือพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์  และบนยอดเขาสะแกกรังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองพร้อมพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ 1 เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของเมืองพระชนกจักรี หรืออุทัยธานีนครแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
 




                จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูง สภาพป่าไม้อุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรค่าแก่การดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน  ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่เมืองโบราณบึงคอกช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และเมืองโบราณการุ้ง    ชื่อเมืองเรียกเพี้ยนเป็น  เมืองอุไทย  ตามสำเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะเป็นหัวเมืองหน้าด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานีในปัจจุบัน
 
เขาสะแกกรังเป็นภูเขาที่ตั้งกั้นเมืองอุทัยอยู่ทางทิศตะวันตกก่อนที่จะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เหมือนดั่งเป็นร่มเงาให้กับจังหวัดอุทัยทั้งจังหวัด แต่เดิมเรียกกันว่าเขาแก้ว บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญของจังหวัด คือวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443  ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของเมืองอุทัยมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ชาวเมืองต่างให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหม่ฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นยอดเขาสะแกกรัง

                พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปหล่อเนื้อสำริดขนาดใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3  ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไทย ฝีมือช่างสุโขทัย ส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่ามีการซ่อมแซมให้เป็นองค์เดียวกันก่อนที่จะนำมายังเมืองอุทัย  มีประวัติว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ  เมืองอุทัยธานีได้ รับ 3 องค์ โดยอัญเชิญลงแพมาขึ้นที่ฝั่งที่ ท่าพระ และนำขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดขวิด มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่( คือพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ในปัจจุบัน)  อยู่ที่ วัดขวิด ต่อมาเกิดไฟไหม้เมืองอุทัยธานีวัดขวิดถูกยุบ รวมกับวัดทุ่งแก้ว และได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรีแห่งนี้  และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียรพร้อมกับถวายนามว่า พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ จนเป็นชื่อเรียกมาจนถึงปัจจุบัน





บริเวณวิหารพระพุทธมงคลศักดิ์เป็นลานขนาดใหญ่ จัดให้เป็นที่จอดรถสะดวกสบาย  ด้านข้างวิหารเป็นศาลาขนาดใหญ่มีจุดบริการดอกไม้ธูปเทียนบูชา และใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนสำหรับคนที่เข้ามานมัสการพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนคนทั่วไปเข้ามากราบไหว้ขอพรพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นจำนวนมาก ในทุก ๆวัน เป็นพระพุทธรูปที่มาอุทัยแล้วก็ต้องเข้าไปนมัสการกราบไหว้ครับ หลังจากกราบไหว้ขอพรแล้วก็ต้องขึ้นไปตีระฆังศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาสะแกกรังอีกหนึ่งอย่าง ชาวอุทัยบอกว่า ถ้ามาอุทัยแล้ว ไม่ไปชมเรือนแพ ไม่มาไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์และไม่ขึ้นไปตีระฆังบนยอดเขาก็เหมือนมาไม่ถึงอุทัยธานีครับ





                ยอดเขาสะแกกรังเป็นดินแดนที่ชาวอุทัยยกให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ทางขึ้นสู่ยอดเขาสะแกกรังขึ้นไปได้สองทาง คือทางรถยนต์ และจากบริเวณลานวัดจะมีบันได 449 ขั้นตัดตรงขึ้นสู่ยอดเขาสะแกกรัง  บนเขาสะแกกรังมีศาสนสถานที่สำคัญหลายแห่ง  คือพระมณฑปทรงไทยสวยงามมีนามว่าสิริมหามายากุฎาคาร ซึ่งที่บนนี้เขาเปรียบให้เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาที่เมืองกัสนคร และกลายมาเป็นชื่อวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งสมมุติให้วัดเป็นกัสนคร ภายใน มณฑป ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้านหน้ามณฑปมีระฆังใบใหญ่ตั้งอยู่  พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 ถือกันว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์ ใครที่ไปเที่ยวอุทัยธานีแล้วไม่ได้ขึ้นไปตีระฆังใบนี้ก็เหมือนมาไม่ถึงอุทัยธานีครับ



บนยอดเขาสะแกกรังด้านทิศเหนือพระมณฑป เป็นพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่านายทองดี รับราชการตำแหน่งพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี (พระนามเดิมนายทองด้วง) ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดาเป็นสมเด็จพระชนกธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2338 เมืองอุทัยถือว่าเป็นเมืองต้นราชวงศ์จักรี



                พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี ทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย และทรงวางพระหัตถ์ขวาบนพระเพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวมพระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท มีพิธีถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์ หรือดอกฝ้ายคำ ดอกไม้ประจำจังหวัดบานสะพรั่งอยู่บนเขาสะแกกรังสวยงามมาก ๆ ใครที่อยากร่วมในพิธีก็เชิญได้เลยตรวจสอบวันเวลาให้แน่นอนก่อนการเดินทางครับ

บนยอดเขาสะแกกรัง สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้อย่างกว้างขวางสวยงาม และด้านทิศตะวันตกสามารถมองเห็นวิวสวย ๆ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้อีกด้วย และถ้าเราขึ้นมาบนยอดเขาโดยทางบันไดเราก็จะได้เดินศึกษาธรรมชาติไปได้ด้วยอีกกิจกรรมหนึ่ง บนยอดเขาอากาศดีมาก ๆ มีจุดนั่งพักผ่อนชมวิวหลายจุดและมี ศาสนสถาน ที่ให้เข้าไปไหว้พระทำบุญหลายแห่ง ทั้งวิหารพระพุทธรูปสำคัญ วิหารพระบรมสารีริกธาตุ  ศาลเจ้าจีน  เป็นต้น   มีจุดบริการอาหารเครื่องดื่มและของฝากของที่ระลึกอีกหลายอย่างหลังจากทำบุญกันแล้ว ก็เชิญแวะซื้อหากันได้เลยครับราคาไม่แพง



                เนื่องมาจากยอดเขาสะแกกรังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และวัดสังกัสรัตนคีรีเป็นวัดสำคัญ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 (ตุลาคม) ของทุกปี ชาวอุทัยธานี จะจัดงานประเพณี ตักบาตรเทโว โดยจะจัดงานจำลองเหตุการณ์  คล้ายในพุทธประวัติมากที่สุด มีพระสงฆ์ ทุกรูปที่จำพรรษา อยู่ในอำเภอเมืองอุทัย เดินลงจากยอดเขาสะแกกรังทางบันได  เป็นภาพที่สวยงามมาก ๆเหมือนดังในพุทธประวัติ และในทุก ๆ ปี มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากทั้งชาวอุทัยธานีและคนทั่วไปเดินทางมาทำบุญกันอย่างคับคั่ง ใครที่ต้องการไปร่วมในพิธีทำบุญก็เชิญได้เลยครับ ตรวจสอบวันเวลาที่แน่นอนก่อนการเดินทาง งานเขาจัดใหญ่ทุกปี

การเดินทางมาเที่ยวเมืองอุทัย นอกจากที่เราจะได้ขึ้นเขาสะแกกรังดินแดนศักดิ์สิทธิ์แล้ว จังหวัดอุทัยยังมีที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายจุด อาทิ ล่องเรือชมวิถีชีวิตชุมชนเรือนแพแห่งเดียวในเมืองไทย ,วัดจันทาราม (วัดท่าซุง),วัดอุโบสถาราม,วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม,เกาะเทโพ,พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น เดินทางเที่ยวได้แบบสบาย ๆเพราะอยู่ในตัวเมืองทั้งหมดครับ

                เขาสะแกกรังวัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่ที่ สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี  เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เช้าจนเย็น การเดินทางมายังอุทัยธานีก็ไม่ยากครับ  เดินทางทางรถยนต์จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปอุทัยธานีได้หลายเส้นทาง ได้แก่
1. จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำเภอ มโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทาง ประมาณ 305 กิโลเมตร 
2. จากทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 333 แยกท่าน้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 206 ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ผ่านหน้า โรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 222 กิโลเมตร
3 เริ่มต้นจากถนนสาย 32 เช่นกัน เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 30 (อยู่ในเขตจังหวัดอยุธยา)เลี้ยวซ้ายเข้าทาง หลวงหมายเลข 334 และจากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 309 ไปตามเส้นทาง ข้ามสะพานจังหวัดอ่างทอง จากนั้นมาตามถนนสาย311ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านจังหวัดชัยนาทที่อำเภอสรรพยา จากนั้นเลี้ยวเข้าเส้นทางหมายเลข 3183 เข้าจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็นระยะทางประมาณ 283 กิโลเมตร

เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง  มีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-อุทัยธานีทุกวัน จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 กิโลเมตร 11 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศตั้งแต่เวลา04.30-17.50 น.




ขอขอบคุณที่มา...http://www.moohin.com/trips/uthaithani/watsankatrattanakhiri/

292
กราบนมัสการ...หลวงปู่แย้ม  วัดตะเคียน :054:

ขอให้หลวงปู่...มีสุขภาพที่แข็งแรง   :114:

293
เนื่องในโอกาสครบรอบ...วันคล้าย...วันเกิด...เวียนมาจบครบรอบครัน.

ขอให้มีความสุข ความเจริญในหน้าที่การงาน สุขภาพแข็งแรง

ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนกร้ำกราย...

ร่ำรวยเงินทอง คิดหวังอยากได้สิ่งใดก็อธิษฐานเอา...

แล้วจะได้ดังใจหวัง...ดั่งเช่น............ :114: :090: :114: :053:


ป.ล.(ได้ส่งของขวัญวันเกิดไปให้แล้ว...เมื่อบ่ายวันนี้เอง)

294


ตามโบราณกาลมีมา เราถือว่าเป็นวันแรง และวันที่แข็ง บุคคลที่เกิดในวันเสาร์นั้น จะมีเทพพระเสาร์พิทักษ์คุ้มครองและรักษา เทพพระเสาร์นั้น เกิดจากพระศิวะ นำเอาเสือสิบตัวมาป่นให้เป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีม่วง สีดำ ประพรมด้วยน้ำอมฤต
วันเสาร์ห้า คือ วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งโอกาสที่จะเกิดวันเสาร์ห้า นั้นเกิดได้ยาก ตามคติความเชื่อของโบราณเชื่อว่า ดาวเสาร์เป็นดาวแห่งความเข้มแข็ง และมีพลังมาก หากมีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวันเสาร์ห้า จะมีพุทธคุณด้านคงกระพัน และแคล้วคลาด มากกว่าวันปกติ
“ฤกษ์มหามงคลเสาร์ห้า มหาเศรษฐี 100 ปี มีครั้งเดียว” ในวันที่ 20 มีนาคม ที่จะถึงนี้ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5  100 ปีมีครั้งเดียว ถือว่าเป็นวันธงไชยกฐินวัน เป็นฤกษ์งามยามดี มีดาวบนท้องฟ้าโคจรในตำแหน่งที่สวยงาม เป็นวันที่ควรจะได้มีกิจกรรมอันเป็นมหามงคลร่วมกัน หรือได้ไปอยู่ในพิธีอันเป็นมงคลจะได้อำนวยอวยสุข อำนวยอวยพรให้เกิดสุข และผล เป็นมิ่งมงคลแก่ท่านทั้งหลาย
ตามโบราณกาลมีมา เราถือว่าเป็นวันแรง และวันที่แข็งที่สุด





จะเห็นได้ว่า ชีวิตของท่านที่เกิดในวันเสาร์ มักจะเหนื่อยยากมีภารกิจ หรือกิจการงานต่างๆ ที่ผ่านมาให้ได้รับผิดชอบอยู่ตลอดเวลา แต่นั่นแสดงถึงคุณูปการ หรือ บารมี ที่สามารถรับเรื่องราวต่างๆ เหล่านั้น และสร้างให้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แก่คนโดยทั่วไปว่า มีความเป็นผู้มีบุญวาสนาบารมี
ความสำคัญของวันเสาร์ห้าแต่โบราณกาลมา พระเกจิอาจารย์มักจะปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ทำพิธีอันเป็นมงคลในวันนั้น เพื่อเสกของ เสกคนคือ ศิษย์ยานุศิษย์ ประชาชนที่ร่วมในพิธี ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ให้เกิดความเป็นสิริมงคล

   ดังเช่น ที่วัดบางพระในวันพรุ่งนี้ เวลา 06.00 น. เป็นต้น

ถ้าว่าง...ก็ขอเรียนเชิญศิษยานุศิษย์ทุกๆท่านนะครับ

295
ธรรมะ / ตอบ: วาสนา...บุญบารมี
« เมื่อ: 19 มี.ค. 2553, 11:11:13 »
ขอขอบคุณพี่ตี๋ครับ...สำหรับธรรมะคำสอนจากหลวงปู่มั่น

อ่านแล้วซาบซึ้งครับ...

296
ขอขอบคุณครับ ที่นำภาพบรรยากาศในงานมาให้ชม

297
ว่างๆวันหลัง...จะไปช่วยคุ้ยด้วยคนนะครับ..เผื่อเจออีก

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม..สวยงามครับ

298
:058:ยอดเลยครับสำหรับความคิดความอ่านของฝรั่งท่านนี้..
...ขอบคุณพี่ดอนครับอุตส่าห์เอามาให้อ่าน.. :114:(ถึงว่าหาแก๊งค์ปาหินไม่เจอ..อิอิ.. :005:)
...จากที่ผมอ่านมาได้หยิบข้อคิดเล็กๆน้อยๆมาสอนใจว่า..
...ถ้าฝรั่งมาอยู่เมืองไทย..ก็จะได้คนไทย..
...แล้วถ้าเราคนไทยไปอยู่ญี่ปุ่น..ก็จะได้ญี่ปุ่น.. :095:



เห็นด้วย... :052:ตามนั้นเลยครับ :017:

299
ขอให้พระองค์  ทรงพระเจริญ

ขอบคุณครับ

300
ขอบคุณครับพี่ตี๋...สำหรับภาพบรรยากาศ...ครอบครัวอันแสนจะอบอุ่น :047:

เนื่องในโอกาสครบรอบวันแต่งงาน 15 ปี

ของครอบครัวอันแสนอบอุ่นนี้ ผมขอให้ครอบครัวพี่อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

คิดหวังกระทำการอันใดขอให้ประสพแต่ความสำเร็จทุกประการ...

และขอให้ครอบครัวพี่ประสพแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดกาลนานเทอญ.  :016: :015:

301
สวยงามดีครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

302
มนุษย์...ผู้เข้าถึงความจริงและเหตุผลแล้ว ก็ไม่ต้องยอมจำนนต่อความเชื่อใดๆ เพราะการได้ประสบการณ์กับของจริงนั้น ๆ ทำให้เขารู้ถูกต้อง จึงทำให้มนุษย์เช่นนี้กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำด้วยความมั่นใจโดยไม่ต้องยอมจำนนต่อความเชื่อ ใด ๆ หลักการที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยผู้ที่ได้ประสบการณ์จากของจริง ๆ แม้จะมีผู้พยายามเปิดเผยให้ทดลอง แต่ก็ได้รับการสนองเฉพาะผู้มีปัญญาเท่านั้น
 
มนุษย์โลกส่วนใหญ่ยังยอมจำนน ต่อความเชื่อตามความเชื่อของตนเอง โดยไม่สนต่อเหตุผลอยู่ทุกวี่วันอย่างไม่จางคลาย…
แม้ชีวิตของคนเรา ก็ยังถูกเชื่อว่ามีผู้เป็นใหญ่หรือแหล่งอำนาจคอยควบคุมลิขิตชีวิต ทำให้หลาย ๆ ชีวิตต้องยอมจำนนตัวเอง ไม่เชื่อมั่นการกระทำของตนเอง หรือบางคนต้องลดตนถึงกับคอยกราบไหว้อ้อนวอนบวงสรวงต่าง ๆ เพื่อหวังให้ผู้เป็นใหญ่ประทานสิ่งที่ตนปรารถนา…

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติหลักความเชื่อที่ทำให้ชีวิตยอมจำนนไว้ ๓ ประการ คือ..
๑. ปุพพกตเหตุ เชื่อว่าชีวิตถูกลิขิตด้วยกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว
๒. อิสรนิมานเหตุ เชื่อว่าชีวิตถูกกำหนดโดยผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าบันดาล พรหมลิขิต หรือฟ้าประทาน
๓. อเหตุอัปปัจจยา เชื่อว่าชิวิตเป็นไปโดยดวง แล้วแต่โชคลาง เป็นเรื่องบังเอิญไม่มีเหตุ

ความเชื่อทั้ง ๓ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงสอน ไม่ทรงสรรเสริญ แต่ ทรงตำหนิชี้โทษว่า … บุคคลใดมามีความเห็นว่าสุข ทุกข์ เป็นไปดังที่กล่าว… ความเพียรก็ดี ความพยายามโดยชอบก็ดีย่อมไม่เกิด 
ความเชื่อทั้ง ๓ ประการนี้ อย่างแรกดูเหมือนคล้าย ๆ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนอย่างที่สองเป็นความเชื่อของผู้ที่นับถือเทพเจ้า อย่างสุดท้ายมักเป็นความเชื่อของผู้ที่ไม่คอยสนใจศาสนาเป็นส่วนใหญ่

เรามาดูอย่างที่สามก่อน คนในสมัยปัจจุบันมักถูกสภาพเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมบีบให้ห่างศาสนา คนเห็นวัตถุเป็นที่พึ่ง และประจวบกับคนก็ละเลยด้วย จึงมีความเชื่อโดยสรุปจากเหตุการณ์เฉพาะ ๆ ว่าทุกเหตุการณ์เป็นเรื่องบังเอิญ แล้วแต่ดวง แล้วแต่โชค ดวงดีก็ดีเอง จะทำชั่วก็ตามทำดีก็ตามไม่สำคัญ ทำชั่วไม่มีใครรู้เห็น ถือว่าไม่มีโทษ ทำดีไม่มีใครชม ไม่ได้ยศ ไม่ได้เงิน ถือว่าทำดีไม่ได้ดี คนประเภทนี้จะไม่มีการรับผิดชอบพฤติกรรมของคน ดื้อรั้น มักสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ปล่อยตัวเองไหลไปกับกระแสโลก วิ่งตามค่านิยมไม่มีหยุด  ต่อเมื่อตนเองประสบกับทางตันของชีวิตหรือความวิบัตินั่นแหละ เขาจึงเริ่มหันเข้าหาศาสนาเริ่มเพียรสร้างความดี แต่มักไม่เหลือความพร้อมแทบจะสายเสียทุก ๆ ราย
ส่วนอย่างที่สอง เชื่อว่าชีวิตถูกกำหนดด้วยผู้เป็นใหญ่ บุคคลกลุ่มนี้มักมีความยึดมั่นถือมั่นมาก เพราะค่านิยมของลัทธิทำให้เขาฝังตัวเองอย่างไม่ยอมถอย ซ้ำยังถูกล้อมด้วยทิฐิของศาสดาไม่ให้เปิดใจต่อเหตุผลในคำสอนใคร ๆ ความจริงเป็นเรื่องของจิต -วิทยาเพราะคนทั่วไปจิตใจมักเรียกร้องความรัก ความเข้าใจ ความยอมรับ อันเป็นสิ่งธรรมดาที่มนุษย์ปรารถนายิ่งกว่าปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นเหตุทำให้อบอุ่น มีความสุขใจ ให้ชีวิตได้สดชื่นในระดับต้น ๆ

มนุษย์จีงได้วางกฎเกณฑ์เพื่อสนองความต้องการจุดนี้ ด้วยการสมมุติผู้เป็นใหญ่ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเคารพบูชา โดยวิธีมอบความรัก ความเชื่อ ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะทำให้สิ่งที่เขาบูชาถูกใจ ชอบใจ จะได้ตอบแทนความรัก ความหวังดีความยอมรับและสนองความต้องการของตนกลับคืนมาตามความเชื่อนั้น ซึ่งเป็นกลไกการสนองความต้องการของคนด้วยคนผู้เป็นใหญ่สร้างอุบายขึ้น เพื่อให้กำลังใจตนเองให้มีความสุขใจ ให้มีความอบอุ่น ไม่หมดหวัง ไม่ท้อแท้ ตามหลักอุบายเพื่อจะแสวงหาความรักความอบอุ่นจากผู้อื่นด้วยตนเอง แม้ที่สุดหาจากโลกมนุษย์ไม่ได้ ก็ยังมีทางสุดท้ายให้หวัง จากสิ่งลี้ลับ โดยไม่เคยรู้ - เคยพบ เป็นการหาทางออกให้จิตใจที่จะหมดหวังโดยอาศัยความเชื่อด้วยการผูกตัวเองไว้กับสิ่งนั้น คำสั่งสอนชนิดนี้จะทำให้คนจำนนชีวิต ไม่เชื่อมั่นการกระทำของตนเอง ทำอย่างไร เพียรขนาดไหนแล้วแต่ผู้เป็นใหญ่จะชอบใจ ถ้าถูกใจก็จะประทานให้สมปรารถนา... ถือว่าเป็นคำสอนที่ดูถูกศักยภาพของมนุษย์

แต่ทางพุทธธรรมชี้ว่า ทุกอย่างทั้งในโลกและนอกโลกไม่สามารถยึดเป็นที่หวังได้ เพราะไม่มีสิ่งใดเป็นอมตะของตนเอง ทุกอย่างตกอยู่ในกฎไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องอาศัยเหตุจึงเกิด ดังนั้นมีทางเดียวคือ การถอนจิตไม่ให้ถูกพันธนาการจากสิ่งใด ๆ และการถอนจิตได้นี้เราเรียกว่า  “ความหลุดพ้น”  จะไม่มีอะไรทำจิตที่พ้นพันธนาการนี้ให้ท้อแท้ หมดหวัง เป็นทุกข์ได้เลย และการที่จิตไม่ถูกพันธนาการนี้ ไม่ใช่การไม่รับผิดชอบไม่รับรู้ช่วยเหลือ แต่เป็นการรับรู้และการกระทำการเกี่ยวข้องด้วยดีอย่างสมบูรณ์ รับผิดชอบเต็มที่อย่างมีสติสัมปชัญญะ โดยที่จิตใจไม่มีความทุกข์เลยแม้แต่น้อย เลยกลับกลายเป็นเรื่องของมนุษย์เป็นผู้ลิขิตสุข – ทุกข์ของตนเองด้วยการใช้สติปัญญา
ส่วนอย่างแรก คล้ายคำสอนในพุทธศาสนา แต่ทำไมพระพุทธเจ้าทรงตำหนิ ชี้โทษว่าจะทำให้ชีวิตยอมจำนน ที่เป็นเช่นนี้เพราะสอนไม่ตรงตามความเป็นจริง ชีวิต สุข – ทุกข์ขึ้นอยู่กับกรรม แต่มิใช่กรรมเก่าเพียงอย่างเดียว ชีวิต สุข – ทุกข์ ต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆรวมทั้งกรรมในขณะปัจจุบันด้วยต่างหาก ชาวโลกไม่น้อยที่รู้จักพระพุทธศาสนากลับเห็นว่าพุทธศาสนาสอนให้จำนนต่อกรรมเก่า แม้แต่คนระดับศาสตราจารย์ที่เคยออกทีวี และอาจารย์ที่สอนศาสนาในมหาวิทยาลัยบางท่าน ก็ยังสับสนกับคำสอน เรื่องกรรม อยู่มาก มักมีความเชื่อเรื่องกรรมที่สับสน เช่น

-  กรรมเป็นเรื่องร้ายแรง เป็นสิ่งเลวร้าย
-  กรรมเป็นเรื่องต้องยอมจำนน
-  กรรมเป็นเรื่องที่ยืดหยุ่นไม่ได้
-  กรรมเป็นความชั่วที่ทำไว้ในอดีต
-  กรรมเป็นเรื่องของบาป
-  กรรมเป็นผลร้าย (วิบาก) ที่ได้รับ
-  กรรมเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี (กิเลส)
- กรรมเป็นคำสอนที่ทำให้คนไม่แก้ไขพัฒนาชีวิต

คำว่า  “กรรม” จริง ๆ แล้วเป็นคำกลาง ๆ ดีก็ได้เสียก็ได้ มีความหมายเพียงการกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ถ้า กระทำเป็นไปในทางดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญ ถ้ากระทำเป็นไปในทางชั่ว เรียกว่า “อกุศลกรรม”

การทำบุญด้วยอะไร แล้วจะได้อะไรนั้น เราจะเอาอะไรตัดสิน เพราะบางคนสับสนต่อผลบุญจนกลัวอานิสงส์ เช่นคนจีนไม่ชอบทำบุญด้วยการสร้างห้องสุขา เพราะกลัวสุขาจะติดตามไปอยู่ใกล้ ๆ ตลอด หรือใครทำบุญแต่เพียงข้าวก็จะอดน้ำ ความจริงไม่มีการให้ข้าว ไม่มีการให้ห้องสุขา ไม่มีการให้น้ำ เพราะชื่อนั้นเป็นสิ่งสมมุติ แท้จริงการให้เป็นการให้สิ่งที่เขารู้ได้ทางทวาร ๖ นั่นเอง เช่นให้ข้าว คนรับจะได้รับรสอร่อย ได้ความอิ่ม ได้อายุ ได้ชีวิต ได้กำลัง ได้ความสุข สิ่งที่ผู้ให้จะได้รับผลก็คือ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ให้ข้าวต้องได้ข้าว หรือให้กระเบื้องต้องได้กระเบื้อง
หลักการตัดสินว่าให้อะไรแล้วได้อะไร เราต้องเอาสภาพทางทวาร ๖ เป็นเครื่องพิสูจน์ตัดสิน สิ่งที่เขาได้รับนั้นแหละคือสภาพที่เราจะได้เมื่อรับ ซึ่งอาจจะมีลักษณะแตกต่างกันในรูปแบบสิ่งของที่ได้รับ แต่เสมอกันด้วยสภาพการรับรู้ทางทวารทั้ง ๖ เช่นนางเทพธิดาตนหนึ่งได้อุบัติเกิดในสวรรค์ พร้อมบริบูรณ์ไปด้วยสรรพสิ่งที่มีสีเหลืองสุกปลั่ง(ทองคำ) เพราะเหตุที่ได้บูชาพระสารีริกธาตุด้วยดอกฟักที่มีสีเหลืองสด
 
ชีวิตร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกปรุงขึ้นด้วยกรรม จิต อุตุ อาหาร ความเจ็บป่วยก็มีสมุฏฐานมาจากสี่องค์ประกอบนี้ ถ้าจิตใจไม่ดีจิตก็มีผลต่อร่างกายทันที ถ้าอุตุ( ดิน ฟ้า อากาศ) แปรปรวน ร่างกายปรับไม่ทันก็ต้องเจ็บป่วย หรือถ้าอาหารไม่ดี แสลง ไม่เหมาะต่อสุขภาพก็จะต้องเจ็บป่วย แต่โรคบางอย่างที่รักษาด้วย ยา อาหาร และจิตบำบัดไม่หายก็มี โรคนี้เรียกว่าโรคกรรม – โรคเวร การรักษา ต้องแก้ด้วยการทำกุศลที่แก้กันได้ เช่นพี่สาวของพระอนุรุทธะ เป็นโรคผิวหนังรักษาไม่หาย ต้องไปสร้างวิหาร ถวายวัดแล้วถวายความอุปัฏฐาก ปัดกวาด เช็ด ถู โรคจึงได้ทุเลาแล้วหาย
ดังนั้น เมื่อเจ็บป่วย เราไม่อาจรู้สมุฏฐานได้ จึงต้องหาหมอ ต้องใช้ยาเป็นเบื้องต้น ไม่ควรสรุปว่าแล้วแต่บุญ แล้วแต่กรรมเพราะไม่ถูกต้อง โรคบางอย่างไม่ได้มีสมุฏฐานมาจากกรรม แต่ว่าทางที่ดี การรักษาด้วยวิธีใด ๆ ก็แล้วแต่ ควรต้องทำบุญช่วยด้วยจึงดี เพราะเราไม่สามารถรู้สมุฏฐานทั้ง ๔ อันเป็นเหตุของการเจ็บป่วยชัดเจน และการได้ทำบุญไว้ก็เป็นการช่วยให้ตนมีบุญ เป็นการหนุน(อุปถัมภ์) ให้ตนหลุดพ้นจากการเจ็บป่วยอันเป็นผลของบาปดังคนนิยมทำบุญกันในรูปการสะเดาะเคราะห์ สังฆทาน บวช ฯลฯ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
 
กิเลสก็อย่าง วิบากก็อย่าง กรรมก็อย่าง การตัดกรรมไม่ใช่การตัดผลของกรรม ผลกรรมเป็นสิ่งที่จำต้องรับ ตัวกรรมเป็นสิ่งที่เลือกทำได้
การตัดกรรมนั้นคือการตัดอกุศลกรรมหรือบาปกรรม ได้แก่การหยุดทำอกุศลกรรมนั้น ๆ ไว้ด้วยการทำบุญ ทำกุศลกรรม เช่น รู้สึกโกรธเป็นบาปกรรม ตัดกรรมก็โดยการเจริญเมตตา อิจฉาเป็นบาปกรรม ตัดกรรมด้วยการแผ่มุทิตา นิวรณ์เกิดเป็นบาปกรรม ตัดกรรมด้วยการกำหนดสมถภาวนา วจีทุจริตเกิด กายทุจริตเกิดเป็นบาปกรรม ตัดกรรมด้วยการรักษาศีลทำสุจริตกรรมแทน
กรรมมักพูดคู่กับเวร เช่นหมดเวร – หมดกรรม เวรนั้นหมายเอาการสนองผลการกระทำตามลักษณะที่ทำ ถ้าเป็นการผูกอาฆาตเรียกว่าผูกเวร ผลจะมีไม่สิ้นสุด บุคคลผู้ถูกอาฆาต จะต้องล้างผลาญกันข้ามภพข้ามชาติ ดังนั้นการตัดเวรตัดกรรม ก็ต้องทำด้วยการเจริญเมตตา ให้อภัย อโหสิ ขอขมา จึงหมดเวร สมจริงดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า  เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร 
 
วิธีที่ ๑ ผลกรรมที่ไม่ดีเราสามารถชะลอได้ แต่เฉพาะที่ ไม่ร้ายแรงมากเช่น ถ้าหากเรารู้ว่าอายุจะเหลืออยู่อีก ๓ เดือน จะประสบอุบัติเหตุ ให้เราเร่งทำบุญเพื่อเพิ่มบุญ เมื่อบุญใหม่เริ่มส่งผล บุญก็จะอุปถัมภ์ให้ชีวิตอายุยืนยาว และจะเบียดเบียนกรรมเก่าๆ ไว้ไม่ให้ออกผลได้ เป็นการชะลอผลกรรม และถ้าหากผลกรรมนั่นถูกเบียดเบียนจนเลยกำหนดก็หมดเวลาที่จะต้องมารับโทษไปเอง
แต่ถ้าหากกรรมนั้นรุนแรงเพราะบาปหนักมากก็ไม่อาจชะลอได้เลย ดุจพระเจ้าสุปพุทธะ รู้ว่าตนจะถูกแผ่นดินสูบ ก็เลยหนีขึ้นอยู่บนปราสาท แต่ก็เกิดเหตุให้ม้าตัวโปรดร้อง ทำให้หลงลืมสติลงมาถูกแผ่นดินสูบจนได้

วิธีที่ ๒ กรรมจะให้ผลนั้น ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในปัจจุบัน ๔ อย่าง คือ คติ อุปธิ กาล ปโยคะ ถ้าองค์ประอบ ๔ ประการนี้เป็นไปในทางเสื่อมเสีย(วิบัติ) ก็จะเป็นปัจจัยให้ผลของบาปกรรมมาส่งผลได้ แต่ถ้าองค์ประกอบสมบูรณ์ดี (สมบัติ) ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดผลของบุญได้สะดวก ดังนั้นการชะลอผลกรรมหรือการเร่งผลกรรม ก็อยู่ที่ว่าเราจัดองค์ประกอบเหล่านี้ได้ดีหรือไม่
- คติ คือภพ ที่ไปเกิด หรือที่อยู่ สิ่งแวดล้อม
- อุปธิ คือร่างกาย บุคลิกท่าทาง ฐานะหน้าที่
- กาล คือกาลเวลา ยุคสมัย ค่านิยมของยุคสมัย
- ปโยคะ คือความเพียร ความพยายาม ความขยันอดทน เป็นการกระทำในปัจจุบัน
ตัวอย่าง : เช่นเราอยากร่ำรวยที่เราไปอยู่ต้องเหมาะต่อการทำอาชีพ, การค้าขายเรียกว่า คติสมบัติ, ด้านร่างกายมีสุขภาพพลานามัย และบุคลิกดี ไม่เจ็บป่วยทุพลภาพ เรียกว่า อุปธิสมบัติ , ด้านกาลเวลา รู้จักช่วงโอกาส ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการทำอาชีพ เรียกว่า กาลสมบัติ, ความอดทน ขยันหมั่นเพียร ทำเต็มที่ เรียกว่า ปโยคสมบัติ

ถ้าองค์ประกอบดี ร่ำรวยได้ แต่ถ้าองค์ประกอบไม่พร้อม (วิบัติ) การค้าขายก็ต้องบกพร่องไป หรือถ้าหากเราจะหลีกผลบาปเก่า เช่นจะถูกรถชน จะถูกคนทำร้าย เราก็เลือกคติที่ดีเช่น ไปบวชปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดไม่ไปไหน ๆ อุปธิร่างกายก็ทำให้เหมาะสมกับฐานะหน้าที่ คือวางตัวให้เหมาะสมไม่ทำตนนอกรีตนอกรอย กาลเวลาก็ทำให้เหมาะสมถูกกาลเวลา ปโยคะ คือ ความเพียร ก็หมั่นทำกุศลเจริญสติจิตใจแน่วแน่ไม่ท้อถอย ถ้าเราจัดองค์ประกอบเช่นนี้รถที่จะมาชน คนที่จะมาทำร้ายก็เกิดยากมาก เป็นการชะลอกรรมได้
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ปโยคะ ได้แก่ความพยายาม ความเพียรในการทำความดี ซึ่งเราสามารถเลือกได้ เร่งได้ด้วยตัวเอง ส่วน ๓ อย่างข้างต้น บางครั้งเราไม่อาจเลือกหรือจัดสรรได้เลย และเป็นเพียงเครื่องรองรับเท่านั้น
 
ผลที่ดีนั้นได้แก่ การรับรู้หรือได้ประสบกับ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ อันเป็นอิฏฐารมณ์ที่มนุษย์ปรารถนา เป็นเรื่องกิน กาม เกียรติ เป็นเรื่องวัตถุเสียส่วนมาก ซึ่งที่จริงการมีทรัพย์สิน เงิน ทอง แม้มากมาย แต่ถ้ามีโรคภัยมาเบียดเบียนร้ายแรง ก็หาความสุขสบายไม่ได้ เหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ “

แต่การทำดีนั้น คนเรามักเพ่งไปที่ผลดังกล่าว แล้วก็เร่งเร้าอยากให้เห็นผลวันนี้ พรุ่งนี้ ซึ่งการทำบุญ(มหากุศล) นั้น เป็นสิ่งที่ต้องรอ อาจเป็นเดือน เป็นปี หรืออาจข้ามภพ ข้ามชาติจึงออกผลจะมีเพียงกุศลที่ได้องค์ประกอบพร้อมจริง ๆ คือได้ทำบุญกับพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน แล้วออกนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ เราได้ทำบุญกับท่านเป็นบุคคลแรก ด้วยทานที่ได้มาอย่างบริสุทธิ์ อย่างนี้จึงได้ผลภายใน ๓ วัน ๗ วัน
การรอคอยผลบุญที่จำต้องรอคอย ทำให้คนลังเลต่อผลของบุญที่จะได้รับเมื่อทำความดี จนบางคนเขวต่อการทำบุญก็มาก เช่นมาวัดทำบุญ เงินหาย รองเท้าถูกขโมย สุนัขกัด จึงมีคำกล่าวที่ว่า  ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป 
การรับผลของกรรมอุปมาคล้ายกับการปลูกพืชเช่นการปลูกต้นมะพร้าว แต่ขณะนั้นมะนาวให้ผลสุกพอดี ก็จำต้องรับผลมะนาวไปก่อน จะด่วน ว่ามะพร้าวเปรี้ยวไม่ถูก จะกินมะพร้าวก็ต้องรออีกนาน
 
ด้วยเหตุนี้ขอให้เราตระหนักว่า แม้ขณะทำดีแต่รับผลไม่ดีอาจจะโดนว่า ถูกนินทากล่าวร้าย แต่จงรู้ว่าความดีย่อมาไม่แปรเปลี่ยนด้วยคำพูด ใครๆ ดีย่อมเป็นดี บุญย่อมเป็นบุญ ฉะนั้นทำดีย่อมได้รับผลดี เป็นคำพูดที่ถูก จริง และเมื่อเราแน่ใจให้เรามั่นคงไว้ จงอย่าหาความสุขกับผลการกระทำที่หวังจะได้รับแต่ จงให้ภูมิใจกับคุณค่าที่ตนได้มีโอกาสทำ จงสาธุ มุทิตา กับตนเอง ในคุณค่าของการกระทำนั้น โดยใช้คำเพียงสั้น ๆ ให้เราได้กำไร คือ . ทำดี - ดี, ทำชั่ว - ชั่ว ไม่ต้องรอ
 
ชาวพุทธเราแม้ทำดีแต่จิตใจยังไขว้เขว ไม่ค่อยเชื่อบุญ – บาป ที่ทำก็เพราะรักษาใจตนเองให้ ศรัทธามั่นอยู่ไม่ได้ ถ้ามีความเชื่อเวรกรรม, บุญ - บาป หรือเชื่อความรู้จริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนแล้ว ใจจะไม่ทุกข์ร้อนกับความรู้สึกที่ว่า ทำบุญได้บาป ในขณะนั้นเลย

เราลิขิตเรามาเอง เชื่อมั่นในการกระทำของตนเอง
- ตถาคตโพธิศรัทธา เชื่อในการตรัสรู้จริงของพระพุทธเจ้า ทำให้มั่นใจไม่คลอนแคลนลังเล สงสัยในเรื่องบุญ – บาป หรือผลของบุญ – บาป กล้าพิสูจน์ในความสุขุมลุ่มลึกของธรรมะ ที่ยากต่อการหยั่งถึง
หลักความเชื่อกรรมนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สร้างกฏเกณฑ์ขึ้นมา แต่พระองค์ทรงใช้ปัญญาพิสูจน์จนพบกฏเกณฑ์ความจริงของธรรมชาติที่เป็นอยู่ แล้วนำมาบัญญัติสอนเป็นหลักกรรม โดยพระองค์ไม่ได้สาบแช่งหรือ ลิขิตชีวิตใคร แต่ทรงชึ้ให้รู้เหตุ – ผล ที่เป็นจริงตามกฏของธรรมชาติ เรียกว่า “ กรรมนิยาม “

วิธีการหยั่งรู้นั้น พระองค์ได้ใช้พระญาณระลึกถึงชีวิตในอดีตชาติด้วย อตีตังสญาณ รู้การเกิด การตาย รู้การกระทำด้วยจุตูปปาตญาณ เมื่อรู้เห็นการกระทำของสัตว์โลกว่าทำแบบนี้มา จึงได้แบบนี้ ชาติแล้วชาติเล่า ภพแล้วภพเล่า จนเห็นความจริง จึงได้บัญญัติกฏเกณฑ์ขึ้น ตามความเป็นจริงนั้น ๆ โดยมิได้ทรงเชื่อใคร ๆ ไม่ได้ยืมกฏเกณฑ์ หรือปฏิรูปกฏเกณฑ์จากคำสอนใคร ๆ มา แต่เกิดจากการได้ประสบเรื่องราวด้วยญาณปัญญาของพระองค์เอง รู้จริงด้วยตนเอง จึงได้ทรงนำมาบัญญัติสอน แม้ความจริงระดับศีลธรรมอันเป็นกฏเกณฑ์เพื่ออยู่กันอย่างเป็นสุขของสังคม จะเหมือนกันกับศาสนาอื่นบ้าง ว่าได้นำความรู้ของศาสนาใคร ๆ มาสอน เป็นการรู้เองมิได้เชื่อใคร ๆ

การหยั่งรู้นี้ อุปมา ดังกับนักวิทยาศาสตร์เข้าห้องค้นคว้าทดลอง จนเกิดความรู้เกิดทฤษฏีขึ้นที่จริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้สร้างกฎเกณฑ์หรือหลักความจริงนั้นเลย เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าจนเข้าถึงกฏเกณฑ์ หรือหลักความจริงนั้น ๆ จึงได้นำมาบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์เป็นทฤษฎีขึ้นมาไว้สำหรับสอนกัน ตามความจริงที่ตนเองได้พบ และถ้าพบความจริงมากเท่าใด ก็เข้าใกล้พุทธศาสนามากขึ้นเท่านั้น ทนทานต่อการพิสูจน์มากขึ้นเท่านั้น

ดังนั้น หลักเกณฑ์การเชื่อถือกฏความจริงที่นักวิทยาศาสตร์ใช้กันอยู่ จึงเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าใช้มา ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว และพระองค์ก็ได้เข้าถึงความจริงทุกสิ่งทุกอย่างหมด จนเรียกความรู้ชนิดนี้ของพระพุทธเจ้าว่า  สัพพัญญุตญาณ  แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่ไปถึงไหนเลย วิชาความรู้ต่าง ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์นำมาบอกมาสอนจึงไม่สามารถดับทุกข์ได้จริงจัง
การนับถือกฎแห่งกรรมจึงต้องใช้ปัญญาและศรัทธาควบคู่กัน เพราะถ้ามีแต่ปัญญา มักไม่ลงมือกระทำ ชอบวิพากษ์วิจารณ์ จิตใจกระด้างไม่ค่อยอ่อนน้อม ชอบละเลยกุศลเล็ก ๆ น้อย ๆ และยังชอบมองแต่โทษผู้อื่น ชอบจัดแจงผู้อื่น
แต่ถ้ามีเพียงศรัทธา (กัมมัสสกตาศรัทธา) ก็มักเชื่อง่าย ชอบปลงแล้วก็ยอมจำนน ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ต่อสู้ รอวาสนา
ดังนั้น จึงต้องมีทั้งปัญญา และศรัทธาควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม ใจจึงไม่กระด้าง เชื่อฟังยอมรับผู้อื่นได้ หาทางออกที่ดีงามได้ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ซื่อสัตย์ต่อพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ
   
มนุษย์มีศักยภาพในตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองได้จนสูงสุด เป็นสัตว์ที่ฝึกตนเองและผู้อื่นได้ หากฝึกตนดีแล้ว แม้เทวดายังชม พรหมยังสรรเสริญ กราบไหว้ ดังนั้นชีวิตของมนุษย์จึงเลือกลิขิตเอาได้
เลือกเกิด สามารถเลือกเกิดในภพภูมิ ทุคติ หรือสุคติใด ๆ ชั้นไหน ๆ ก็ได้ด้วยการสร้างกรรมให้ถูกตามทางเดินของคตินั้น ๆ
เลือกเป็น สามารถจะเลือกเป็นมนุษย์ชนิดที่ สวย รวย ฉลาด ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีบริวารมาก หรือจะเป็นพระอรหันต์ ก็มีสิทธิเลือกเป็นได้ ด้วยการพัฒนาพฤติกรรม เพิ่มเติมบารมีด้วยตนเอง เมื่อบารมีพร้อมก็สามารถเป็นได้.

303











































ขอขอบคุณที่มา...http://board.palungjit.com/f15/111

304
ความเจริญในธรรมนั้น เหมือนกับต้นไม้ คือต้องค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลาและลำดับชั้น
เหมือนเราปลูกต้นไม้ เราอยากจะให้มันโตไวๆให้ดอกออกผลโดยเร็ว แต่มันเป็นไปไม่ได้ ต้นไม้มัน
ต้องเจริญเติบโตไปตามระยะเวลาและอายุของมัน

กราบนมัสการหลวงพี่...ครับ

กราบขอบพระคุณ...สำหรับเรื่องราวธรรมะคำสอนจากหลวงพี่ครับ

305
สร้างวัดแรกของท่านและการเผยแผ่ธรรมะ

พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าถึงการสร้างวัดแรกคือวัดป่าบ้านใหม่สำโรง หรือวัดสว่างอารมณ์ของพระอาจารย์กงมาและการเผยแผ่ธรรมะแก่ชาวหมู่บ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว ไว้ดังนี้

“การก่อสร้างวัดที่ชื่อว่า “วัดสว่างอารมณ์” ตำบลลาดบัวขาว อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา อันเป็นวัดแรกที่ท่านได้จัดการก่อสร้างขึ้น ก็เริ่มด้วยกุฏิศาลาที่เป็นอาคารชั่วคราวมุงด้วยจาก แต่นั่นเป็นสิ่งที่ท่านมิได้เอาใจใส่มากนัก ท่านได้แนะนำสั่งสอนธรรม แก่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายนั้นเป็นประการสำคัญดังที่จะเห็นได้ว่าตอนเวลาค่ำคืนจะมีจำพวกหนุ่มสาว เฒ่าแก่หลั่งไหลไปหาท่าน โดยท่านจะสอนธรรมหรือไม่ก็ต่อมนต์ คือคนในละแวกนั้นอ่านหนังสือไม่ออก ท่านต้องต่อให้ทีละคำ ๆ จนกระทั่งจำได้ทั้งทำวัตรเช้า และทำวัตรค่ำ อาราธนาศีล อาราธนาเทศน์

คนในบ้านใหม่สำโรงในขณะนั้นเป็นบ้านป่า ไกลความเจริญ แต่เป็นแหล่งทำมาหากินดี เพราะมีป่าว่างมาก หลายหมู่บ้านหลายแห่งพากันอพยพมาตั้งหลักแหล่งกัน ฉะนั้นคนในละแวกนี้จึงมาจากหลาย ๆ กรุ๊พ ทำให้เกิดความไม่ใคร่จะลงรอยกัน คงเป็นพรรคเป็นพวกก่อความทะเลาะกันเนือง ๆ

ท่านอาจารย์กงมา ท่านเห็นเหตุนี้แล้วท่านก็เริ่มโปรยปรายธรรมเข้าสู่จิตใจประชาชน และก็ได้ผลดือท่านได้หาอุบายให้คนทั้งหลายเหล่านั้นได้เข้าวัด ท่านก็พยายามพร่ำสอนให้เข้ามารักษาอุโบสถบ้าง ฟังธรรมบ้าง บำเพ็ญกุศลอื่น ๆ บ้าง จนจิตใจอ่อนลง ข้าพเจ้าเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ถูกความดึงดูดของท่านได้เข้ามาปฏิบัติธรรม

ภายหลังปรากฏว่าชาวบ้านใหม่สำโรงอยู่ในศีลธรรมมากขึ้น จนมีศูนย์กลางคือวัด ได้ร่วมสังสรรค์จนเกิดความสามัคคีธรรมขึ้น กลับกลายเป็นบ้านที่มีความสุข อยู่ด้วยความพร้อมเพรียง งานชิ้นนี้ของอาจารย์กงมา เห็นงานชิ้นโบว์แดงชิ้นแรกของชีวิตท่าน จนกระทั่งประชาชนเห็นดีเห็นชอบได้ช่วยกันสร้างถาวรวัตถุจนเป็นวัดโดยสมบูรณ์ขึ้นในภายหลัง

ท่านได้ใช้เวลาอยู่ที่นี่ ๓ พรรษา ในเวลา ๓ ปีนี้ ท่านขยันสอนทั้งฝ่ายพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ทางด้านพระภิกษุสามเณรนั้นท่านจะกวดขันเรื่องการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง โดยให้ฉันหนเดียว ฉันในบาตร บิณฑบาตไม่ให้ขาด ทำวัตรเช้าเย็น บำเพ็ญกัมมัฏฐานภาวนา ทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม ภายในบริเวณวัดท่านจะจัดสถานที่วิเวกไว้เป็นแห่ง ๆ คือมีทางจงกรมภายใต้ร่มไม้เป็นทางยาวพอสมควรประมาณ ๑๐ วา หัวทางจงกรมจะมีแท่นสำหรับนั่งสมาธิ มีอยู่ทั่วไปตามรอบ ๆ วัด สถานที่ที่ท่านจัดขึ้นให้โอกาสทุกองค์ได้เลือกเอาเพื่อไว้เป็นที่บำเพ็ญกัมมัฏฐาน ปรากฏว่าผลที่ได้รับคือความสงบทางใจอย่างยิ่งแก่ผู้มาพึ่งพาอาศัยท่าน แม้แต่ข้าพเจ้าก็ได้รับผลมาจากครั้งกระนั้นเองเป็นขั้นต้น

ขณะถึงกาลออกพรรษาหน้าแล้ง ท่านจะพาศิษย์ที่สมัครใจออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่สงบวิเวก”

พาสามเณรวิริยังค์ออกฝึกธุดงค์

พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อบวชสามเณรวิริยังค์ได้ ๑๐ วัน ท่านก็ประกาศว่า ถ้าใครไม่กลัวตายไปธุดงค์กับเรา สามเณรวิริยังค์ก็ขอสมัครไปกับท่านทันที แล้วพระอาจารย์กงมาก็นำเอาอดีตชาติในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระอริยะสาวกคือ พระพาหิยะ ซึ่งเป็นพระอสีติมหาสาวกในสมัยพุทธกาลมาเล่าให้ฟังถึงการบำเพ็ญความเพียรของท่านว่า

“มีพระเถระที่เป็นเพื่อนสหธรรมมิก ๔ รูปด้วยกันปรารถนาความเพียรอย่างยิ่งเป็นที่ตั้ง แม้จะพยายามสักเพียงใดก็ไม่พอใจ คิดว่าพวกเราทั้ง ๔ ยังมีความประมาทอยู่ จึงชักชวนกันธุดงค์ไปในกลางดงใหญ่มีทั้งเหว น้ำ ถ้ำ ภูเขา ทั้ง ๔ องค์ได้ไปพบภูเขาสูงชันอยู่แห่งหนึ่ง จึงเดินเข้าไปใกล้ มองดูข้างบนเห็นถ้ำอยู่หน้าผา จึงให้ตัดไม้ทำเป็นบันไดต่อขึ้นไปจนถึงถ้ำนั้นแล้วทั้ง ๔ องค์นั้นก็พร้อมกันขึ้นไปบนถ้ำ เมื่อพร้อมกันอยู่ที่ถ้ำนั้นเรียบร้อยแล้วก็พร้อมใจกันอธิษฐานว่า เรามาทำความเพียรอันอุกฤษฏ์ไม่ต้องคำนึงถึงชีวิต แม้จะตายก็ช่างมัน ถ้าบันไดยังพาดอยู่ปากถ้ำ คนเราก็ยังถือว่าห่วงชีวิตอยู่ เราไม่ต้องห่วงชีวิตแล้ว ถ้าไม่บรรลุธรรมก็ให้หายไปเสียเถิด จึงพร้อมใจกันผลักบันไดทิ้ง เป็นอันว่าทั้ง ๔ รูปก็ไปทางไหนไม่ได้แล้วก็จึงปรารภความเพียรอย่างหนัก

เมื่อทั้ง ๔ องค์ปรารภความเพียรอยู่นั้น ๗ วันล่วงไป องค์ที่หนึ่งได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็เหาะไปบิณฑบาต เพื่อมาเลี้ยง ๓ องค์ที่ยังอยู่ ๓ องค์ไม่ประสงค์เพราะยอมตายแล้ว ล่วงไปอีก ๗ วัน องค์ที่สองได้บรรลุพระอนาคาเหาะไปบิณฑบาตมาเลี้ยง แม้ ๒ องค์ ไม่ปรารถนาที่จะฉัน ห้ามเสียแล้ว ๒ องค์ แม้นจะพยายามสักเท่าใดก็ไม่อาจบรรลุได้ ได้อดอาหารจนมรณภาพไปทั้ง ๒ องค์ ทั้ง ๒ องค์นี้ได้มาเกิดในสมัยพระพุทธเจ้าของเรา องค์หนึ่งได้นามว่าพระพาหิยะได้บรรลุพระอรหัตเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์ ขณะที่บิณฑบาต อีกองค์หนึ่งชื่อ กุมารกัสสปะไปทำความเพียรอยู่ในป่าผู้เดียว ได้ฟังธรรมกามาทีนวกถาได้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกัน”

ในการออกธุดงค์ในครั้งนั้น นอกจากท่านพระอาจารย์กงมา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะแล้ว ก็มีพระ ๑ รูป ชื่อพระสังฆ์ สามเณร ๒ รูป สามเณรเที่ยงและสามเณรวิริยังค์ รวม ๕ รูปด้วยกัน ออกเดินธุดงค์เข้าดงพญาเย็น พบสถานที่ใดเป็นที่สงบ ท่านก็จะทำความเพียรอยู่หลายวัน ในครั้งนั้นในป่าแถบนั้นไม่มีบ้านคนเลย ล่วงเลยไปถึงวันที่ ๕ ก็ยังไม่ได้ฉันอาหารกันเลย ได้ฉันแต่น้ำเท่านั้น พวกคณะธุดงค์อดอาหารกันทุก ๆ องค์ แต่ก็ยังเดินกันไหว ท่านอาจารย์กงมาท่านก็ให้กำลังใจแก่พวกคณะศิษย์ว่า

เรารักความเพียร เรารักธรรมมากกว่าชีวิต

แต่สามเณรวิริยังค์ซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๔ ปีเท่านั้น รู้สึกว่ามันหิวกระหายเบาไปหมดทั้งตัว ต้องพยายามทำจิตให้แน่วแน่ไว้ตลอดเวลา การพูดคุยไม่ต้องพูดกับใคร ก้มหน้าก้มตากำหนดจิตมิให้ออกนอกได้ เพราะจิตออกไปเวลาใดขณะใด จะเกิดทุกขเวทนาขณะนั้น

พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าไว้ใน หนังสือ “ใต้สามัญสำนึก” ถึงการฝึกเดินธุดงค์ช่วงการหยุดพักนอน ไว้ตอนหนึ่งว่า

“ขณะที่พวกเราหยุดพักนอน ท่านก็ใช้ให้ไปกางกลดให้ไกลกันให้มาก ข้าพเจ้าก็ต้องออกห่างท่าน ไปอยู่ไกล เอาแต่เพียงกู่กันได้ยินน้อย ๆ ก็คืออยู่กันคนละลูกภูเขา การทำเช่นนี้เป็นการหยั่งถึงความจริงของลูกศิษย์ท่าน ว่าจะเอาจริงกันแค่ไหน ข้าพเจ้าแม้จะกลัวแสนกลัวที่จะกลัว ก็จำต้องออกไปอยู่ให้ไกลที่สุด แต่พอตกกลางคืนเข้าแล้วไม่ทราบว่าความกลัวมันประดังกันเข้ามาอย่างไรกันนักก็ไม่ทราบ รู้สึกว่ามันเสียวไปทั้งตัวเลย แต่ข้าพเจ้าได้ให้คำมั่นกับท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าไว้แล้วว่าไม่กลัวตาย แต่ในใจคิดว่าอยากไปนอนให้ใกล้ ๆ ท่านที่สุด แต่ก็ไม่กล้า จำเป็นที่จะต้องอยู่ห่างไกล เสียงเสือคำราม เสียงช้างมันร้อง ดูรู้สึกว่ามันจะมากินข้าพเจ้าไปเสียแล้ว แต่ก็เป็นเหตุให้เกิดมรณานุสสติอยู่ตลอดเวลา เลยทำให้เกิดผลทางใจขึ้นอย่างยิ่ง

ธรรมดาว่าใจของคนเรานี้ต้องอาศัยฝึกหัดทำ ทำไปเหมือนคนฝึกหัดไปกับกิเลส เช่นฝึกแสดงภาพยนตร์ ดนตรีต่าง ๆ ก็เป็นได้ ถ้านึกในทางธรรมก็เป็นได้ แต่ทุก ๆ อย่างก็ต้องอาศัยกรรมวิธีแต่ละอย่าง การแสวงหาธรรมก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องมีกรรมวิธีที่จะนำมาใช้ให้ได้ผล เช่นเดียวกันกับข้าพเจ้าที่กำลังถูกกรรมวิธีของอาจารย์ข้าพเจ้าทรมานอยู่ในขณะนี้นั่นเอง”

ปราบพยศมหาโจรอุง

เมื่อธุดงค์พ้นจากดงพญาเย็นมาถึงหางดงนั้น แถบนี้เป็นแหล่งที่พวกมหาโจรทั้งหลายพากันมาส้องสุมกันอยู่จำนวนมาก ท่านอาจารย์กงมาก็พาคณะศิษย์พักอยู่บริเวณนั้น เมื่อคณะท่านพักกันเรียบร้อยแล้ว พวกโจรประมาณ ๒๐ คน ได้เข้ามาล้อมคณะพระธุดงค์ ในมือมีทั้งดาบและปืนน่าสะพรึงกลัว

ท่านอาจารย์กงมา เคยเล่าให้สามเณรวิริยังค์ฟังว่า พวกโจรดงพญาเย็นนี้ร้ายกาจนัก มันจับพระธุดงค์ฆ่าเสียมากต่อมากแล้ว คราวหนึ่งมีพระธุดงค์จำนวน ๙ รูป ธุดงค์มาเจอพวกโจรเขาใหญ่ดงพญาเย็นนี้ มันจับเอาไว้หมด ค้นดูย่ามว่าจะมีเงินไหม พระธุดงค์ทั้ง ๙ รูปไม่มีเงินแม้แต่สตางค์แดงเดียว พวกโจรก็โกรธ จึงจับเอาพระให้เอาศีรษะชนกัน ชนค่อย ๆ ก็ไม่ยอม ชนจนศีรษะได้เลือด แต่มีอีกหนึ่งรูปไม่มีคู่ พวกโจรเลยให้ชนหัวคันนา พวกโจรชอบใจหัวเราะกัน พระรูปไม่มีคู่เดือดดาลในใจนักจึงค่อย ๆ คลานไปจนถึงปืนที่โจรวางไว้ คว้าปืนยิงโจรตายไป พวกโจรก็หนีเตลิดไป

พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ดังนี้

“ข้าพเจ้านึกถึงที่ท่านเล่ามาให้ข้าพเจ้าฟังได้ก็ให้เสียวว่าเราจะโดนอีท่าไหนหนอ จากนั้นท่านอาจารย์กงมา ท่านก็เริ่มอธิบายธรรมต่าง ๆ ให้พวกโจรมันฟัง แต่มันก็หาได้เคารพพระอาจารย์แต่อย่างใดไม่ พวกมันนั่งยอง ๆ เอาปลายดาบปักลงที่ดิน วางท่าทางน่ากลัว ข้าพเจ้าก็นั่งรับใช้ท่านอาจารย์ข้าง ๆ นั้นนั่นเอง ท่านอาจารย์ก็ไม่ยอมลดธรรมเทศนา อธิบายเรื่อย ๆ ไป ข้าพเจ้าจำได้ตอนหนึ่งว่า

‘พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้นน่า ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอ มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน พวกเธอฆ่าเขา ถึงจะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไรก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว’

ข้าพเจ้าแทบจะไม่เชื่อในสายตาของข้าพเจ้าเลยทีเดียว ในขณะนั้นพวกโจรทั้งหมดพากันวางมีดวางปืนหมด น้อมตัวลงกราบอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างอ่อนน้อม ข้าพเจ้าโล่งใจไปถนัดและพอใจที่พวกโจรมันยอมแล้ว หัวหน้าโจรชื่อนายอุง เป็นคนล่ำสันมาก กรากเข้ามาหาอาจารย์ ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์

อีกครั้งเหมือนกันที่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อสายตาของข้าพเจ้าว่า ทำไมโจรจะยอมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ทำไมช่างง่ายดายอะไรอย่างนี้ และก็เป็นจริงเช่นนั้น ท่านอาจารย์กงมา ท่านก็บัญชาให้พระที่ไปกับท่านโกนผมเสียเลย บวชเป็นตาผ้าขาวติดตามท่านไป

เดี๋ยวนี้หัวหน้าโจรได้กลายเป็นผู้ทรงศีลไปเสียแล้ว มันจะเป็นไปได้หรือท่านผู้อ่านทั้งหลาย เพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้นโจรทั้งคณะมายอมแพ้อาจารย์ของข้าพเจ้า มันเป็นไปแล้วแหละท่านทั้งหลาย ต่อมาเมื่อมหาโจรอุง มาเป็นตาผ้าขาวอุงแล้วก็สนิทสนมกันกับข้าพเจ้าอย่างยิ่ง

ข้าพเจ้าแม้ขณะนั้นอายุเพียง ๑๕ ปี เป็นสามเณร ถึงจะยังไม่เจนต่อโลกมากนัก แต่สามัญสำนึกของข้าพเจ้าได้บอกตัวเองว่า น่าอัศจรรย์ น่าอัศจรรย์ที่อาจารย์ได้สอนคนที่จะต้องฆ่าคนอีกมากให้หยุดจากการกระทำบาปเช่นนี้ ข้าพเจ้าในสามัญสำนึกก็ต้องยอมรับแล้วว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านี้แก่งมาก ข้าพเจ้านึกชมอยู่ในใจ แม้กระทั่งบัดนี้ ข้าพเจ้าก็จะยังไม่ยอมลืมต่อเหตุการณ์ในวันนั้นได้เลย นี่ถ้าหากว่าอาจารย์ของข้าพเจ้าเกิดทรมานโจรไม่สำเร็จ พระเราก็จะถูกพวกมันบังคับให้เอาหัวชนกัน เมื่อไป ๕ องค์ ข้าพเจ้าซิจะถูกมันบังคับให้เอาหัวชนคันนา ข้าพเจ้าจะกล้าหรือไม่กล้าที่จะยิงมัน แต่อย่าคิดดีกว่า เพราะท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าได้ทรมานมหาโจรสำเร็จแล้ว”

พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้ปราบมหาโจรอุง จนยอมทุกสิ่งทุกอย่างโดยอาศัยวาทศิลป์แห่งพระสัทธรรม และความจริงแห่งการปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดของท่าน ตลอดถึงอาจาริยมรรยาทที่น่าเลื่อมใส ทำให้มหาโจรอุงได้ยอมเข้ามาถือบวช แต่พระอาจารย์กงมาก็ให้เป็นเพียงตาผ้าขาว นุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีล ๘ เพราะมหาโจรผู้นี้ได้ฆ่าคนมามาก

พระอาจารย์วิริยังค์ได้เล่าเรื่องนี้ต่อไปว่า

“มหาโจรอุง ซึ่งบัดนี้ได้กลายเป็นตาผ้าขาวอุงไปแล้วนั้น ก็ได้ติดตามอาจารย์มาจำพรรษาร่วมอยู่ที่วัดนี้ เธอตั้งใจจะปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างเต็มความสามารถ และก็เป็นผล ทำให้จิตใจของเธอได้รับความสงบและเยือกเย็นเป็นอย่างยิ่ง การทำความเพียรของเธอนั้นทำอย่างยิ่ง บางครั้งนั่งสมาธิตลอดคืนยังรุ่ง บางครั้งเมื่อสมาธิได้ผล เธอจะอดอาหาร ๒ วัน ๓ วัน เป็นการทรมานตน

ข้าพเจ้าได้ถามเธอว่า ตอนเป็นโจรได้ฆ่าคนไปแล้วกี่คน

เธอบอกว่า ๙ คน นับเป็นบาปกรรมอย่างยิ่ง แต่อาศัยธรรมของพระอาจารย์กงมา ที่ได้พร่ำสอนอยู่เนืองนิตย์ ทำให้เธอได้รับผลจากคำสอนเป็นอย่างยิ่ง

ข้าพเจ้าถามเธอเรื่องการปล้นฆ่าทีไรเป็นได้เรื่องทุกที

เธอบอกว่า เมื่อได้เล่าเรื่องความหลัง ในเวลาบำเพ็ญสมาธิจะแลเห็นในนิมิตว่า มีตำรวจนับไม่ถ้วนมารุมล้อมจะฆ่าเอาเสียให้ได้ มันเป็นนิมิตที่คอยมาหลอกหลอนตัวเองอยู่เสมอ

เธอได้เล่าต่อไปว่า

มีคราวหนึ่งเขาจับผมได้ เขาประชาทัณฑ์จนผมสลบไป พวกเขานึกว่าผมตายแล้วจึงหามเอาผมไปโยนทั้งในป่าแห่งหนึ่ง พอกลางดึกน้ำค้างตกถูกหัวผม ผมได้รู้สึกตัวและได้ฟื้นขึ้น พวกชาวบ้านรู้ว่าผมฟื้นไม่ตาย พวกเขายิ่งกลัวกันใหญ่ อกสั่นขวัญแขวน ผมเองมารู้สึกตัวตอนฟื้นชีพว่า คนเราเกิดแล้วต้องตายแน่ เรามาประพฤติตัวเป็นมหาโจรอยู่เช่นนี้ ก็คงจะได้รับบาปกรรมอันใหญ่หลวงต่อไปเป็นแน่

แต่แม้จะได้คิดเช่นนี้ก็ตาม สัญชาตญาณของความเป็นโจรของผมก็ไม่สิ้นไป ต้องคุมสมัครพรรคพวกเข้าปล้นสะดมเขาเหมือนเดิม แต่คราวนี้ผมได้ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ฆ่าใครอีกต่อไป เหมือนกับบุญปางหลังมาช่วยผม อีกไม่ช้าไม่นานนัก ก็พอดีมาพบกับท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พร้อมกับเมื่อมองเห็นท่านครั้งแรกก็อัศจรรย์ใจแล้วครับ ให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านตั้งแต่ยังไม่ฟังธรรมจากท่าน อาจถึงคราวหมดบาปกรรมแล้ว พอได้ฟังธรรมจากท่านเท่านั้น ก็เกิดความสลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ จิตของผมเหมือนกับถูกชโลมด้วยน้ำอมฤต กลายเป็นจิตที่ให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่าง ละตัวออกจากพวกมหาโจรทั้งหลาย

ผมเองก็พยายามเกลี้ยกล่อมลูกน้องให้ตามผมมาบวช แต่มันไม่ตามมา ผมก็เลยปล่อย แต่ในที่สุดลูกน้องของผมทั้งหมดมันก็เลิกเป็นโจร เข้ามาอยู่ในบ้านทำมาหากินตามปกติ ผมเองจึงบวชเป็นตาผ้าขาว ผมรู้ตัวผมดีว่าทำบาปกรรมไว้มาก ผมจึงขอสละชีวิตเพื่อการทำสมาธิอย่างยิ่งยวด

ตาผ้าขาวอุงได้อยู่ปฏิบัติกับพระอาจารย์กงมา อยู่เป็นเวลาหลายปี เป็นผู้เคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่งจนวาระสุดท้ายของชีวิตในวันหนึ่ง ตาผ้าขาวอุงนั่งสมาธิอยู่ภายในกลด เป็นเวลา ๒ วันไม่ออกมา ตามธรรมดาจะออกมารับประทานอาหารพร้อมพระ ในวันนั้นไม่ออก พระภิกษุสามเณรก็สงสัย แต่บางครั้งตาผ้าขาวอุงจะอดอาหาร ถึง ๕-๗ วัน ก็มี จึงทำให้ไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก แม้ว่าจะไม่ออกจากกลดตั้งหลายวัน วันนี้พวกเรานึกสงสัยมากกว่าทุกวัน จึงพากันเข้าไปเพื่อจะเปิดดูว่า ตาผ้าขาวอุงทำอะไรอยู่ข้างใน แต่โดยส่วนมากพระอาจารย์กงมาท่านห้าม เพราะเป็นเวลาที่เขานั่งสมาธิอยู่ เราไปทำให้เสียสมาธิของคนอื่น จึงทำให้เกิดความลังเลที่จะเปิดกลดของตาผ้าขาวอุง

ครั้นเมื่อเห็นว่าไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานผิดปกติ พวกเราจึงตัดสินใจเปิดกลด เมื่อเปิดกลดแล้วทุก ๆ คนที่เห็นก็ต้องตกตะลึง เพราะตาผ้าขาวอุงไม่มีลมหายใจเสียแล้ว แต่ว่ายังคงนั่งสมาธิอยู่ตามปกติไม่ล้ม พวกเราจับตัวดูเย็นหมด แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ว่าคราวนั้นอยู่กันในป่า เป็นวัดป่า เรื่องก็ไม่เป็นข่าวโกลาหล ซึ่งถ้าเป็นอย่างปัจจุบันนี้ เข้าใจว่าจะเป็นข่าวอึกทึกครึกโครมอย่างมหาศาลทีเดียว น่ากลัวว่า พวกที่นับถือเรื่องโชคลาง จะพากันแตกตื่นไปหากันใหญ่ แต่ว่าขณะนั้นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในที่สุดพระอาจารย์ก็ได้พาญาติโยมพระภิกษุสามเณรทำฌาปนกิจศพตามมีตามได้ จนกระทั่งเหลืออยู่แต่เถ้าถ่านเท่านั้น.”

ธุดงค์อยู่ในถ้ำเขาภูคา นครสวรรค์
ถ้ำภูคา นครสวรรค์
 
ภายหลังจากที่พระอาจารย์กงมา ได้พาสามเณรวิริยังค์และพวก เที่ยวธุดงค์หาวิเวกไปตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ จนถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปที่สถานีรถไฟหัวหวาย เดินเข้าไปจนถึงถ้ำแห่งหนึ่ง ชื่อว่าถ้ำภูคา ถ้ำนี้อยู่ที่ภูเขาไม่ใหญ่นัก แต่ถ้ำใหญ่มาก กว้างขวาง และเป็นถ้ำขึ้นไม่ใช่ถ้ำลง มีปล่องหลายปล่อง ทำให้ภายในถ้ำสว่างไม่มืด และมีซอกเป็นที่น่าอยู่มากแห่ง พระอาจารย์พาคณะอยู่ ณ ที่ถ้ำนี้เป็นเวลาหลายเดือน เพราะเป็นที่วิเวกดี ท่านได้พาชาวบ้านใกล้ ๆ นั้นขุดดินทำทางเดินจงกรมในถ้ำได้หลายทาง แต่ขณะที่ขุดดินทำทางเดินจงกรม ได้พบเบ้าหลอมทองเก่าแก่ ตุ้มหู ต่างหู เป็นทองคำและกะโหลกศีรษะ อะไรต่าง ๆ มากมาย เป็นของโบราณ

ณ ที่ถ้ำแห่งนี้ พระอาจารย์กงมาได้แนะนำพร่ำสอนเรื่องการปฏิบัติจิตใจให้แก่สามเณรวิริยังค์อย่างเต็มที่ และตัวสามเณรวิริยังค์เองก็ปรารภความเพียรอย่างเต็มกำลัง ได้ผลเป็นที่พอใจ ตั้งใจว่าจะจำพรรษาอยู่ที่นี้ แต่พอจวนจะเข้าพรรษา ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้โทรเลขไปเรียกให้ท่านอาจารย์กงมากลับ คณะธุดงค์จึงได้กลับนครราชสีมา และได้กลับมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง

ไปจันทบุรีตามคำอาราธนาของพระอาจารย์ลี
 
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
 
ทางฝ่ายพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เดินธุดงค์ไปจนถึงจังหวัดจันทบุรี ได้เผยแผ่ธรรมะจนเป็นที่นิยมเลื่อมใสเป็นอันมาก แต่ในขณะเดียวกันก็มีหมู่พวกที่อิจฉาริษยาคอยกลั่นแกล้งอยู่เช่นกัน ต่อมาขุนภูมิประศาสน์ นายอำเภอท่าใหม่ต้องการนิมนต์ให้ไปอยู่บ้านนายามอาม เพื่อเป็นการช่วยทางบ้านเมืองปราบปรามโจรผู้ร้าย พระอาจารย์ลีจึงได้รับปากว่าจะหาพระให้ แล้วท่านก็ได้มีจดหมายไปนมัสการท่านพระอาจารย์สิงห์ขอให้ท่านจัดส่งพระมาช่วยเผยแผ่ธรรมะ พร้อมกันนั้นก็มีจดหมายถึงท่านอาจารย์กงมา ฯ ขอให้ไปช่วยในการเผยแพร่ธรรมดังกล่าวแล้ว หลังจากท่านอาจารย์กงมา ฯ ได้รับจดหมายแล้ว ก็นำไปปรึกษาท่านอาจารย์สิงห์ ก็ได้รับอนุมัติให้ไปจันทบุรี

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙  พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พร้อมด้วยคณะรวม ๕ รูปมี พระอาจารย์ปาน (ทองปาน) มหาอุตฺสาโห พระอาจารย์เงียบ สามเณรวิริยังค์ บุญทีย์กุล (อีกรูปหนึ่งไม่ได้ระบุชื่อไว้) ออกธุดงค์ไปภาคตะวันออก แต่ได้ไปพักอยู่ที่กรุงเทพฯ ก่อน นางถม ลิปิพันธ์ เลื่อมใสในท่านอาจารย์กงมา ได้ถวายค่าโดยสารเรือไปจันทบุรีองค์ละ ๕ บาท การเดินทางครั้งนั้นได้โดยสารเรือทะเลมา ชื่อเรือภาณุรังสี

เมื่อพระอาจารย์กงมาได้มาถึงจันทบุรี ก็ได้มาพักอยู่ที่วัดป่าคลองกุ้ง อันเป็นวัดกัมมัฏฐานวัดแรกของจังหวัดจันทบุรีที่พระอาจารย์ลีได้มาริเริ่มก่อสร้างขึ้น ไม่นานก็เดินทางไปตั้งสำนักขึ้นที่บ้านนายายอาม ตามคำนิมนต์ของ ขุนภูมิประศาสน์ นายอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี หมู่บ้านดังกล่าวโจรผู้ร้ายชุกชุม คนขาดศีลธรรม นายอำเภอปราบไม่สำเร็จ บ้านนี้เป็นบ้านที่อัตคัดขาดแคลนมาก จะหาแม้เพียงเสียมขุดหลุมปักเสากุฏีก็หาไม่ได้

พระอาจารย์ลีได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในอัตโนประวัติของท่านไว้ดังนี้

“เมื่อได้ส่งพระไปจัดตั้งสำนักเรียบร้อยแล้ว ก็ได้พาญาติโยมไปเยี่ยม อาทิ คุณนายหงส์ ภริยาหลวงอนุทัยฯ คุณนายกิมลั้ง ภริยาขุนอำนาจฯ เป็นหัวหน้าคณะญาติโยม พอไปถึงสำนักที่พักตำบลนายายอาม ได้เห็นภาวะความเป็นอยู่ของชาวบ้านและพระเณรที่ได้ส่งไป อยู่ในฐานะอัตคัดขาดแคลน คุณนายกิมลั้งทำท่าทางโฉงฉางแล้วพูดเอ็ดขึ้นว่า พาเอาพระมาอดๆ อยากๆ ตกระกำลำบาก ขอพวกท่านอย่าอยู่กันเลย กลับไปอยู่ จ.จันทบุรีเสียเถิด พระอาจารย์กงมาซึ่งเป็นหัวหน้าอยู่ที่สำนักพอได้ยินเช่นนี้ก็ใจเสีย คิดกลับจันทบุรีจริงๆ ในที่สุดสำนักนี้ก็เลยร้างไม่มีพระอยู่จำพรรษาต่อไป”

 
 ประตูทางเข้าวัดทรายงาม
พระอาจารย์กงมาจึงได้กลับมาอยู่ที่วัดคลองบางกุ้ง ต่อมาชาวบ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ได้มีความประสงค์ที่จะได้พระอาจารย์กัมมัฏฐานไปแนะนำข้อปฏิบัติในถิ่นของตน ได้เคยพยายามมาติดต่อท่านอาจารย์ลีอยู่เสมอ เพื่อขอพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิไปสร้างวัด เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมการปฏิบัติ พอได้ข่าวว่า พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ผู้เป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดคลองบางกุ้ง จึงได้แต่งตั้งตัวแทน ๖ คน เดินทางมานิมนต์ให้ท่านไปจำพรรษาที่บ้าน

เรื่องนี้มีเล่าอยู่ในหนังสือ “ประวัติ พระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง” ไว้ดังต่อไปนี้

“ชาวบ้านผู้ที่อาสาจะไปนิมนต์พระอาจารย์กงมา มาอยู่ที่วัดทรายงาม มีนายเสี่ยน, นายหลวน, ผู้ใหญ่อึก, นายจิ๊ด, นายซี่, นายแดง รวมเป็น ๖ คน เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๗๙

เมื่อได้พบกับท่านอาจารย์กงมา ก็เข้าไปนิมนต์ ท่านอาจารย์จึงพูดขึ้นว่า

“ให้พวกโยมอธิษฐานดูเสียก่อน ถ้าดีก็มารับ ถ้าไม่ดีก็อย่ามา ให้พากันกลับไปเสียก่อน ให้ไปเสี่ยงความฝัน ถ้าฝันดีคอยมารับ ถ้าฝันไม่ดีก็อย่ามา”

ในขณะนั้นนั่นเองนายหลวนก็พูดขึ้นว่า

“ท่านอาจารย์ขอรับ กระผมฝันดีมาแล้ว ฝันก่อนจะมาเมื่อคืนนี้ คือฝันว่าได้ช้างเผือกสองตัวแม่ลูก รูปร่างสวยงามมาก แต่เมื่อเอามือลูบคลำเข้าแล้ว ช้างเผือกสองแม่ลูกเลยกลับกลายเป็น ไก่ขาว ไป”

ท่านอาจารย์ได้สดับเช่นนั้น นั่งนิ่งพิจารณาว่า

“เออ! ดี แล้วถ้าอย่างนั้นเราก็ตอบตกลงที่จะไปบ้านหนองบัว วันพุธขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๗ มีนาคม (๒๔๗๙) ให้มารับ”

เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านก็พากันมารับ ๔ คน คือ นายสิงห์, นายแดง, นายซี่, นายเสี่ยน

ถึงเวลาบ่าย ๔โมงตรง ไปกัน ๒ รูป คือพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ กับสามเณรวิริยังค์อีกหนึ่งองค์ เมื่อมาถึงแล้วได้เข้าพักที่ป่าช้าผีดิบ (วัคทรายงามปัจจุบัน) ญาติโยมทั้งหลายที่รออยู่ได้กุลีกุจอพากันทำกระท่อมพอได้อาศัย พอตกเย็น ๆ มีคนพากันมาฟังเทศน์เป็นจำนวนมาก เมื่อท่านแสดงธรรมเสร็จทุกคนพากันเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง”

เรื่องความฝันว่าได้ช้างเผือกสองตัวแม่ลูก รูปร่างสวยงามมาก แต่เมื่อเอามือลูบคลำเข้าแล้ว ช้างเผือกสองแม่ลูกเลยกลับกลายเป็น ไก่ขาว ไปนั้น ท่านพระอาจารย์เจี๊ยะ ได้เล่าไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันที่อ้างข้างต้นว่า

อัศจรรย์ไก่ขาว

ขอย้อนกลับไปเรื่องไก่ขาว ที่โยมหลานเป็นคนฝัน แกฝันว่าได้ช้างเผือก ๒ เชือก แม่ลูก เมื่อลูบคลำแล้ว กลับกลายเป็นไก่ขาวไป

 
พระอุโบสถวัดทรายงาม
 
เรื่องความฝันน่าจะเป็นเรื่องเล่น แต่ถ้าความฝันกลายเป็นความจริงขึ้นมาแบบเป็นตัวเป็นตนนี้ความฝันนั้นมันก็น่าอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย เรื่องไก่ขาวตัวนี้ก็เช่นกัน ทำให้ชาวบ้านทั้งพระทั้งเณรพากันแตกตื่น เหมือนกับทุกคนจะบอกว่า มันแปลกดีนะ

ไก่ขาวตัวนี้เป็นไก่ของเจ๊กเบ๊ ห่างจากป่าช้าที่พระอาจารย์กงมาพักระยะทาง ๑ ทุ่งนา และต้องข้ามไปอีก ๑ ดอน (ประมาณ ๑ กม.) ในบ้านเจ๊กเบ๊นั้นมีไก่เยอะแยะ คืนวันที่พระอาจารย์กงมา มาถึงป่าช้าผีดิบ ก็เป็นวันเดียวกันกับที่เจ้าของไก่จะจับมันไปต้มยำมาเลี้ยงพระในตอนเช้า เจ๊กเบ๊เข้าไปไล่ตะลุมบอนจับมันในเล้า ตัวไหนก็ไม่เอา กะจะเอาตัวนี้มันอ้วนพีดีนัก เล้ามันสูงจับยังไงก็ไม่ได้ มันหนีตายสุดฤทธิ์ ในที่สุดเจ๊กเบ๊หมดความพยายาม คิดไว้ในใจว่าพรุ่งนี้จะเอาใหม่ คือจะฆ่าด้วยวิธีใหม่ กลางคืนฆ่ายาก จะพยายามฆ่ากลางวันแสก ๆ ด้วยการยิงเป็นต้น พอคิดอย่างนี้เสร็จก็เข้านอนเพราะความเหนื่อยล้าที่ไล่ฆ่าไก่ขาวไม่ได้

พอวันรุ่งขึ้นวันใหม่เท่านั้นแหละไก่ขาวตัวนั้นก็ได้ขันแต่เช้ากว่าเพื่อนเหมือนจะระบายอะไรบางอย่างที่อัดอั้นตันใจ ที่เขาเลี้ยงมาใช่อื่นใดนอกจากฆ่า สัตว์อื่นนอกจากเรานี้หนาไม่มีสัตว์อะไรที่จะซวยเท่า คือเขาเลี้ยงดีอย่างไร ก็เพื่อฆ่าแกงเท่านั้น เพื่อนที่ซวยที่อยู่ไม่ไกลนักอยู่ข้างคอกใกล้เคียงก็คือหมู ตอนเล็กๆ เจ๊กเขาก็เลี้ยงดีเหมือนกันกับเรา แต่พอโตขึ้นอ้วนๆ หายไปทุกที สงสัยไปตาย คิดอย่างนี้ไก่ขาวก็จิตใจไม่ดี เดินกระวนกระวายระมัดระวังภัยในวันนี้เป็นพิเศษเพราะ เมื่อคืนนี้รอดมาได้ วันนี้อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น คิดๆ เสร็จก็คุ้ยเขี่ยหาอาหารแต่เช้ามืด เพื่อตุนเอาแรง พร้อมๆ กับความไม่มั่นใจในการลอบหนีออกจากบ้าน

พอได้เวลาอรุณรุ่ง มองเห็นพอสลัวๆ แต่พอมองออกว่าอะไรเป็นอะไร เป็นเวลารำไร เมื่อพระอาทิตย์อุทัยส่องแสง ไก่ขาวก็รีบขัน กระโจนพุ่งโบยบินออกจากเล้า บินร่อนไปจับกิ่งไม้ขันไปเรื่อยๆ แต่มันไม่ไปที่อื่น มันดันตรงมาที่ชายวัดที่ท่านอาจารย์กงมาอยู่พอดิบพอดี เจ้าของคือเจ๊กเบ๊... ก็ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด พยายามไล่จับและไล่กลับ ไล่มันกลับไปที่บ้านตัวเองได้ถึง ๓ ครั้ง ๓ หน

ครั้งที่ ๓ นี้มันสำคัญมาก ที่จะต้องจารึกไว้ในชีวประวัติของไก่ขาวตัวนี้ มันหนีมาแล้วบุกตะลุยแหวกผู้คนมาถึงกุฏิท่านอาจารย์กงมาเลยทีเดียว เจ๊กเบ๊ก็ไม่กล้าเข้าไปตาม มันก็อยู่ที่นั่นไม่ไปที่ไหนเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ ท่านอาจารย์ หากินอยู่ที่นั่น นอนอยู่ที่นั่น แสดงถึงความเป็นผู้เจอะเจอที่สัปปายะ คนทั้งหลายก็มาดูมันอยู่ที่นั่น

อยู่มากันหนึ่งท่านอาจารย์ย้ายไปนอนกุฏิอื่นเจ้าไก่ขาวมันก็ตามไปด้วยท่านย้ายไปหลังไหนวันไหน มันก็ย้ายตามไปหลังนั้นวันนั้นเหมือนกัน เป็นอย่างนี้อยู่โดยตลอด ท่านอาจารย์สั่งสอนให้มันขึ้นไปนอนบนต้นไม้ต้นไหน มันก็ขึ้นต้นนั้น บอกให้หยุด...มันก็หยุด! บอกให้เดิน...มันก็เดิน! มันทำให้ท่านรักสงสารเหมือนมันรู้ภาษาท่านพูด

เมื่อท่านอาจารย์อ่านหนังสือวินัย เจ้าไก่ขาวก็ไปอยู่ข้าง นั่งอยู่ข้าง ๆ นอนอยู่ข้าง ๆ อย่างน่าอิจฉา มันเหลือบตามองบ้างดูบ้าง ดูหนังสือที่ท่านจับอยู่นั้น คนทั้งหลายก็เฮฮากันมาดู ต่างก็พูดว่า “ไก่ตัวนี้มันเป็นอะไร”

ครั้นต่อมาอีกไม่นานนัก คนทั้งหลายก็เที่ยวล้อเล่นกับมัน หลอกมันต่าง ๆ นานา ด้วยความน่ารัก มันก็ชักจะรำคาญจึงเกิดการเตะตีคนขึ้น เป็นอันว่าใครมากวนมัน มันเตะเลย เมื่อเป็นเช่นนั้น

เด็กน้อยเด็กเล็กมากัด มาเล่นกับมัน มันเตะหมด ไม่มีใครกล้าทำอะไรมันเพราะมันเป็นไก่ท่านอาจารย์ไปแล้ว มันเตะคนก็อันตรายเพราะเดือนมันยาวๆ

ทายกทายิกาทั้งหลายภายในวัด จึงพากันคิดจะตัดเดือยมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่คน แต่เรื่องนี้เจ้าไก่ขาวมันคงคิดว่าเกิดอันตรายแก่มันในที่สุดมันถูกตัดเดือย ถูกตัดความเป็นผู้กล้าของมันออก

“แหม่... มันโมโหเป็นวรรคเป็นเวร โกรธจัดเหลือกำลัง วิ่งไปขันไปทั่วๆ บริเวณวัด มันแหกปากร้องจนน่ารำคาญ แต่ไม่ทำลายสิ่งของ ขี้ก็ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน ขี้เป็นที่เป็นทางดี แต่มันไม่ยอมเล่นกับใคร ๆ ไม่ปันใจให้ใครอีกต่อไป”

ในที่สุดเมื่อคนไล่มัน เล่นกับมันมากเข้า ไม่สงบ มันจึงไม่มาถิ่นแถวที่คนอยู่อีกต่อไป ไปอยู่ตัวเดียว หากินอยู่ตัวเดียว อยู่เดี่ยว ๆ เดียวดาย สงัดกาย สงัดจิตที่ศาลามุงกระเบื้องไกล ๆ โน้น เมื่อมันไปอยู่ที่ไกลๆ คนก็ตามไปกวนล้อเล่นกับมันอีก เพราะมันน่ารักตัวใหญ่ เป็นไก่โอก เป็นไก่เชื่อง ๆ

ในที่สุดมันรำคาญมนุษย์มากเข้าก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเจ๊กเบ๊ด้วยความเศร้าสร้อยเหงาหงอย เดินคอตก มันเดินไปมองดูก็รู้ว่ามันคอตก ๆ เป็นไก่เศร้าขาดความอบอุ่น เสียความรู้สึกที่ดี ๆ กับคนมาวัด แล้วก็ไม่เดินทางกลับมาอีกเลย มันคงคิดได้ว่า “ถึงแม้เราจะอยู่ที่ใด เขาก็คงไม่คิดว่าเราเป็นคนดอก เขาคงเห็นเราเป็นไก่ ตายเกิดเอาชาติใหม่ดีกว่า มนุษย์นี้นอกจากจะยุ่งกับตัวเองก็ยังไม่พอ ยังมายุ่งกับเราส่งเป็นไก่ ไม่มีสัตว์ประเภทใดที่จัดทำให้มนุษย์พอใจในการละเล่น มนุษย์นี้เป็นเหมือนสัตว์ที่เป็นโรคประสาท เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อีชอบอีก็ชม อีชังอีก็แช่ง ขนาดเราเป็นไก่ยังอดทนไม่ได้ มนุษย์เล่า! จะทนกันและกันได้อย่างไร?”

เรื่องไก่ขาวนี้ ทำให้ฆราวาสญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์กงมา เปลี่ยนแปลงไปเยอะ บางคนถึงกับเลิกคิดจะฆ่าสัตว์ตลอดชีวิต บางคนตั้งสัจจะอธิษฐานจะรักษาศีลตลอดชีวิต บางคนก็เสียใจในสิ่งที่ตนได้กระทำกับไก่ไว้ แสดงอาการรู้สึกผิด แต่สำหรับบางคน มาดู ๆ แล้วก็ไป เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง เรื่องไก่ขาวยังไม่จบ แต่กลัวจะยาวเกินไปจึงขอจบเพียงแค่นี้

น่าอัศจรรย์! น่าอัศจรรย์จริงๆ ความฝันกลายเป็นความจริง ก็คือโยมหลวนทำไมฝันได้แม่นยำอะไรขนาดนั้น ฝันว่าได้ช้างเผือก ๒ เลือกแม่ลูก อันหมายถึง พระอาจารย์กงมากับสามเณร แล้วเมื่อลูบคลำไปมา ช้างเผือกกลับกลายเป็นไก่ขาว และในที่สุดไก่ขาวตัวนั้นก็มาจริง ๆ ชนทั้งพลายที่รู้เรื่องนี้ก็อัศจรรย์ไปตาม ๆ กัน

และเรื่องไก่ขาวนั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า “ชะรอยจะมีบุคคลผู้มีบุญวาสนาเข้ามาบวช มาเกิดที่วัดทรายงาม จนกลายเป็นพระที่บริสุทธิ์สะอาดเหมือนดั่งขนของไก่ขาว และมีจิตใจอาจหาญในธรรมเหมือนไก่ขาวที่ไม่กลัวความตาย ไก่ขาวนี้น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี และไก่ขาวตัวนี้อาจจะกลายเป็นช้างเผือกตัวขาวตลอดในวงการพระพุทธศาสนา”

การสร้างวัดทรายงามนี้ ท่านอาจารย์กงมาท่านได้สร้างคน หมายความว่าท่านได้สร้างคุณธรรมให้แก่คนในละแวกนั้นอย่างเต็มที่ เพราะตั้งแต่วันมาถึง ท่านได้เปิดการแสดงธรรมทุกวัน ก็มีประชาชนสนใจมาฟังทุกวันมิได้ขาด นอกจากแสดงธรรมแล้ว ท่านก็นำบำเพ็ญสมาธิ จนปรากฏว่ามีผู้ได้รับธรรม จนเกิดปีติภายในกันมากในระยะ ๓ เดือนแรก ท่านอาจารย์ได้แสดงธรรมอย่างวิจิตรพิสดารทำให้ชาวบ้านนั้นเกิดศรัทธา ได้ช่วยสร้างศาลาการเปรียญและกุฏิอย่างรวดเร็ว พอกับพระ ๕ รูป สามเณร ๑ รูปในปีนั้น


ขอขอบคุณ...http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-kongma/lp-kongma-hist-02.htm

306


หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร(ศิษย์ หลวงปู่มั่น)
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เดิมชื่อ กงมา วงศ์เครือศร เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน
๑๒ ปีชวด ณ บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายบู่ นางนวล วงศ์เครือศร
ซึ่งมีพี่ร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน มีรายนามดังต่อไปนี้
๑. นางบัวทอง ผาใต้ (มารดาของพระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม)
๒. นางบาน ทาศรีภู
๓. นางเบ็ง วงศ์เครือศร
๔. นายพิมพา วงศ์เครือศร
๕. นายบุญตา วงศ์เครือศร
๖. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
ในวัยหนุ่มมีร่างกายกำยำล่ำสันสูงใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นนักต่อสู้ชีวิต แบบเอางานเอาการเมื่อท่านเป็นฆราวาส เป็นพ่อค้าขายโค กระบือ และเป็นหัวหน้าได้นำกระบือเข้ามาขายทางภาคกลางทุก ๆ ปีจนฐานะท่านมั่นคง การเป็นพ่อค้าขายโค กระบือ ในสมัยนั้นไม่ใช่ทำกันได้ง่าย ๆ พระอาจารย์วัน อุตฺตโมได้เขียนไว้ในอัตโนประวัติของท่านเอง เกี่ยวกับการค้าขายโคกระบือไว้ดังนี้ตามธรรมเนียมของพวกพ่อค้าควาย พ่อค้าวัว ต้องมีวัวต่างสำหรับบรรทุกสัมภาระบางอย่างไปด้วย ๒ - ๓ ตัวพ่อค้าแต่ละพวก จะต้องมีหัวหน้านำหมู่คณะหนึ่งคน เรียกกันว่า “นายฮ้อย” สำหรับนายฮ้อยนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบของหมู่คณะทุกประการ ประกอบด้วยลักษณะดังนี้ คือ
๑.) เป็นผู้ชำนาญทาง
๒ .) เป็นผู้พูดจาคล่องแคล่ว
๓.) เป็นผู้รู้กฎหมายระเบียบและประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นผู้มีปัญญา ความฉลาดในการติดต่อสังคม
ในการซื้อขาย ในการรักษาทรัพย์ ในการรักษาชีวิตเป็นต้น
๔.) เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต โอบอ้อมอารี มีเมตตาจิต ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน ไม่คดโกง ฉ้อฉล
เบียดบังเอาเปรียบในลูกน้องของตน
๕.) เป็นผู้มีความแกล้วกล้าสามารถอาจหาญ มีการยอมเสียสละ ต่อสู้เหตุการณ์โดยไม่หวั่นไหว
๖.) เป็นผู้เก่งทางอยู่ยงคงกระพัน ยิงไม่ออก ฟันแทงไม่เข้า ตีไม่แตก จับไม่อยู่ เป็นต้น
๗.) เป็นผู้ฉลาดในการวางแผน เช่น จะออกเดินทางในเวลาใด ควรจะให้ใครออกก่อน อยู่ท่าม และอยู่ตามหลัง
พักกลางวันและพักค้างคืนที่ใด จะให้น้ำให้หญ้าแก่สัตว์อย่างไร ไปช้าไปเร็วขนาดใด เป็นต้น
๘.) เป็นผู้รู้จักสอดส่องมองรู้ทันท่วงทีต่อเหตุการณ์ที่จักเกิดขึ้น
นี่คือ ลักษณะผู้เป็นนายฮ้อย ผู้ที่จะเป็นนายฮ้อยนั้น ไม่มีการหาเสียงอย่างผู้แทนราษฎรหรือนักการเมืองทั้งหลาย เป็นความเห็นดีเห็นชอบของเพื่อนฝูง หรือเฒ่าแก่บ้านเมือง โดยเพื่อนฝูงหากขอร้องให้เป็น และพร้อมกันยกยอกันขึ้น ครั้นแล้วก็ต้องเคารพนับถือเชื่อฟังกัน
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ร่วมเป็นร่วมตายกัน สมัยนั้นพวกพ่อค้าวัว พ่อค้าควาย ต้องไล่ต้อนสัตว์ลงไป จะต้องผ่านเขตเขาใหญ่ ซึ่งมีมหาโจรเขาใหญ่คอยสกัดทำร้ายเป็นประจำ ด่านผู้ร้ายที่สำคัญขนาดเขตอันตรายสีแดง ก็คือ “ปากช่อง” “ช่องตะโก” พวกพ่อค้าทั้งหลายจะขี้ขลาดตาขาวลาวพุงดำไม่ได้ ต้องกล้าเก่ง ฮึกหาญ เตรียมต่อสู้ทุกคน ไม่เขาก็เราขึ้นชื่อว่าลูกผู้ชาย ต้องบุกให้ผ่านพ้นอันตรายให้จนได้ นายฮ้อยต้องมีปืนมีดาบติดตัวเสมอ เมื่อมีเวลาเหตุการณ์ ต้องออกหน้าออกตาในการต่อสู้ ถ้านายฮ้อยดีก็ปลอดภัยทั้งขาไปขากลับ การเป็น “นายฮ้อย”
คุมลูกน้องเพื่อนำโคกระบือมาขายยังภาคกลางต้องอาศัยคุณสมบัติพิเศษตามที่อ้างถึงข้างต้น เป็นการชี้ให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ และความเด็ดเดี่ยวในการดำเนินชีวิตของท่านได้เป็นอย่างดี มีครอบครัว เมื่อท่านพยายามสร้างฐานะของท่านจนมั่นคงดีแล้วจนอายุได้ประมาณ ๒๔ - ๒๕ ปี จึงได้สมรสกับนางสาวเลาอยู่ร่วมกันมาจนกระทั่งนางเลาผู้ภรรยาตั้งครรภ์ ภรรยาและบุตรในครรภ์ถึงแก่กรรมในวันคลอดจึงทำให้ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ และเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง เห็นความแปรปรวนของสังขารทั้งหลาย เห็นว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการออกบวชเป็นพระ เมื่อตกลงใจดีแล้วท่านจึงได้ลาบิดามารดาและญาติออกบวชเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๔๖๘นั้นเองที่วัดบ้านตองโขบ ต.ตองโขบ อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์โท เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นพระในสังกัดมหานิกายการอยู่ในเพศบรรพชิตของท่านในขณะนั้นก็ยังไม่เป็นไปอย่างที่ท่านนึก
เพราะวัดที่ท่านบวชนั้นไม่ได้มีการประพฤติปฏิบัติอะไรพระเณรในวัดก็ยังไม่อยู่ในศีลาจาริยวัตรที่เรียบร้อยงดงาม มีอยู่คืนวันหนึ่งขณะที่ท่านจำวัดอยู่รวมๆกันในกุฏิ มีพระภิกษุรูปหนึ่งคาดว่าไปเที่ยวกลางคืน กลับมาดึก อาจจะเมามาได้มาเหยียบตัวท่านอย่างแรงจนสะดุ้งตื่นขึ้น ท่านก็มีความขัดใจอย่างยิ่ง และท่านก็โดนเช่นนั้นหลายครั้งจึงคิดว่าเราอาจจะอยู่วัดนี้ไม่ได้ และอาจจะทำให้เกิดความผิดตามมาท่านจึงได้พยายามไต่ถามญาติโยมทั้งหลาย ว่ามีวัดไหนบ้างที่มีพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้รับคำแนะนำว่าวัดที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภูพาน (ข้ามภูพานไปทาง จ.กาฬสินธุ์) เจ้าอาวาสชื่อว่าพระอาจารย์วานคำเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง จึงไปขอพักอาศัยอยู่ด้วย อาจารย์วานคำฯ ก็ได้ให้ความรักใคร่แก่ท่านเป็นพิเศษ
ได้สอนให้ทำสมาธิตามวิธีของท่านอยู่ประมาณ ๑๐ เดือน แต่ก็มีวัตรปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างที่ท่านไม่พอใจคือ ตอนค่ำ ๆ พระจะต้องไปถอนหญ้าถางป่า ตัดต้นไม้ ซึ่งอาจารย์วานคำบอกว่าเราทำอย่างนี้มันก็ผิดวินัยอยู่ แต่จำต้องทำ เมื่อพระอาจารย์กงมาทราบว่าการปฏิบัติดังกล่าวผิดวินัย
ก็ไม่อยากจะทำ แต่ก็จำต้องทำด้วยความเกรงใจอยู่มาวันหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ท่านอาจารย์กงมาฯ ได้ทราบข่าวว่า
มีตาผ้าขาวคนหนึ่งธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้ ๆ แถว ๆ นั้น มีผู้คนไปฟังเทศน์กันมาก ก็เกิดความสนใจขึ้นเมื่อได้โอกาสจึงได้ไปหาตาผ้าขาวคนนั้น เมื่อได้พบก็เกิดความเลื่อมใส เพราะเห็นกิริยามารยาทประกอบกับมีรัศมีผ่องใส จึงได้ถามว่า ท่านมาจากสำนักไหน ตาผ้าขาวบอกว่า มาจากสำนักท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ถามว่า อยู่กับท่านมากี่ปี ตาผ้าขาวบอกว่า ๓ ปี และตาผ้าขาวได้อธิบายวิธีทำกัมมัฏฐานแบบของท่านอาจารย์มั่น ฯ ให้ฟัง ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างจริงจังขึ้นถามว่า เวลานี้ท่านอาจารย์มั่นฯ อยู่ที่ไหน ตอบว่าอยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ อ. วานรนิวาส ท่านอาจารย์กงมาจึงตั้งใจจะไปหาท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ได้และได้ลาตาผ้าขาวคนนั้นกลับวัด เมื่อกลับมาที่วัดแล้วก็มาขอลาท่านอาจารย์วานคำเพื่อไปหาท่านพระอาจารย์มั่น แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตแม้จะพากเพียรขออนุญาตตั้งหลายครั้ง อยู่มาวันหนึ่ง อาจารย์วานคำมีธุระไปฟากภู (ข้างหนึ่งของภูพาน) เป็นโอกาสของท่านอาจารย์กงมาฯจึงได้ชวนพระบุญมี เป็นเพื่อนองค์หนึ่ง พากันหนีออกจากวัดนั้นไป ท่านและพระบุญมีเดินทางเป็นเวลา ๒ วัน ก็ถึงเสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนมใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ที่ที่ท่านอาจารย์มั่นฯและคณะส่วนหนึ่งได้จำพรรษาตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโรขณะไปถึง ท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรอยู่ ณ ที่ศาลามุงหญ้าคาหลังเล็ก ๆซึ่งภาพที่ได้เห็นได้ทำให้ท่านอาจารย์กงมาฯ รู้สึกว่าตื่นเต้นระทึกใจเหมือนกับว่ามีปีติตกอยู่ในมโนรมณ์ ตัวชาไปหมด จึงนั่งรอพักอยู่ในที่แห่งหนึ่งใต้โคนไม้เมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ เสร็จจากการให้โอวาทพระภิกษุสามเณรแล้วทั้งสองก็ได้เข้าไปนมัสการขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านอาจารย์มั่น ฯท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ให้พระไปพาขึ้นมา โดยบอกว่า นั่น พระแขกมาแล้ว และทั้งสองมีความตั้งใจองค์หนึ่ง
อีกองค์หนึ่งเพียงแต่ตามมาเท่านั้น และเมื่อท่านอาจารย์กงมา ฯ นั่งแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯก็ให้กัมมัฏฐานเลยทีเดียว โดยไม่ต้องรอกาลเวลา และก็บอกให้ไปอยู่ที่กุฏิหลังหนึ่งที่เปลี่ยวที่สุดพระอาจารย์กงมา รับโอวาทครั้งแรกจากท่านพระอาจารย์มั่นเมื่อท่านได้รับโอวาทครั้งแรกของท่านอาจารย์มั่น ฯ นั้น ทำให้ท่านซาบซึ้งอย่างยิ่งจึงได้เริ่มต้นเร่งความเพียรอย่างเต็มความสามารถ ท่านได้กระต๊อบเล็กหลังหนึ่งอยู่ในป่าดงพะเนาว์
ป่านี้เป็นดงใหญ่ เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นดงมาเลเรียถ้าผู้ใดอยู่โดยไม่ระมัดระวังแล้วเป็นไข้มาเลเรียมีหวังตาย แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่สงบวิเวกเป็นอย่างยิ่งหลังจากได้บำเพ็ญความเพียรมาเป็นลำดับตามที่ได้รับอุบายวิธีมาจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ทำให้เกิดสมาธิ
ปีติเยือกเย็นใจลึกซึ้งเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน ความก้าวหน้าของการบำเพ็ญจิตเป็นพลวัตคือดำเนินเข้าไปหาความยิ่งใหญ่โดยไม่หยุดยั้ง ทุก ๆ วัน
ท่านจะเข้าไปปรึกษาไต่ถามท่านอาจารย์มั่นฯ มิได้ขาด เนื่องด้วยความเป็นไปของสมาธิได้เป็นไปอย่างรวดเร็วท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้แก้ไขให้เกิดศรัทธาอย่างไม่มีลดละ ทำให้ท่านมุมานะบากบั่นอย่างไม่คิดชีวิตวันหนึ่งท่านไปนั่งสมาธิอยู่ใต้โคนค้นไม้ พอจะพลบค่ำ ยุงได้มากันใหญ่
แต่พอดีกับท่านกำลังได้รับความรู้ทางในแจ่มแจ้งน่าอัศจรรย์ จึงไม่ลุกจากที่นั่ง ได้นั่งสมาธิต่อไปยุงได้มารุมกัดท่านอย่างมหาศาล และยุงที่นี้เป็นยุงอันตรายทั้งนั้น เพราะมันมีเชื้อมาเลเรียแต่ท่านก็ไม่คำนึงถึงเลย มุ่งอยู่แต่ความรู้แจ้งเห็นจริงที่กำลังจะได้อยู่ในขณะนั้น
พระอาจารย์วิริยังค์
ในเรื่องนี้ท่านได้เล่าให้พระอาจารย์วิริยังค์ฟังว่าเราได้ยอมสละแล้วซึ่งชีวิตนี้ เราต้องการรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมอันท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้แนะนำให้
ในการนั่งครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งพิเศษมากเพราะมันเกิดความสว่างอย่างไม่มีอะไรปิดบังเราลืมตาก็ไม่สว่างเท่า ดูมันทะลุปรุโปร่งไปหมด ภูเขาป่าไม้ไม่มีอะไรมาขวางกั้นได้เลยและมันเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นแก่เรา แม้จะพิจารณากายสังขารก็แจ้งกระจ่างไปหมด จะนับกระดูกกี่ท่อนก็ได้
เกิดความสังเวชสลดจิตยิ่งนัก หวนคิดไปถึงคุณของท่านอาจารย์ว่าเหลือล้นพ้นประมาณคิดว่าเราถ้าไม่ได้พบท่านอาจารย์มั่นฯ เหตุไฉนเราจะได้เป็นเช่นนี้หนอ ท่านได้นั่งสมาธิจนรุ่งสว่าง พอออกจากสมาธิ ปรากฏว่าเลือดของยุงที่กัดท่านหยดเต็มผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง)
เต็มไปหมด พอท่านลุกขึ้นมาตัวเบา แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่ายุงเหล่านี้มีพิษสงร้ายนักแต่ท่านก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะที่ท่านได้รับธรรมนั้นวิเศษนักแล้วแต่ท่านก็หาได้จับไข้หรือเป็นมาเลเรียเลย นับเป็นสิ่งอัศจรรย์อยู่มากทีเดียวความเป็นมาในวันนี้ท่านได้นำไปเล่าถวายท่านอาจารย์มั่น ฯ
ได้รับการยกย่องสรรเสริญในท่ามกลางพระสงฆ์ทั้งหลายที่มาประชุมกัน และได้พูดว่า ท่านกงมานี้สำคัญนัก แม้จะเป็นพระที่มาใหม่ แต่บารมีแก่กล้ามาก ทำความเพียรหาตัวจับยากสู้เสียและให้ยุงกินได้ตลอดคืน ควรจะเป็นตัวอย่างแก่ผู้ตั้งใจปฏิบัติทั้งหลาย และท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้แสดงถึงมหาสติปัฏฐานโดยเฉพาะ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ท่านฟังอย่างแจ่มแจ้งท่านเล่าให้พระอาจารย์วิริยังค์ฟังต่อไปว่า
เมื่อเราอยู่ที่บ้านสามผงดงพะเนาว์นี้ การทำความเพียรได้บำเพ็ญทั้งกลางคืน และกลางวันมีการพักหลับนอนในเวลากลางคืนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนตอนกลางวันเราจะเอนหลังลงนอนไม่ได้เลยแม้ว่าเราต้องการจะเอนหลังพักผ่อนบ้าง เพราะความเหน็ดเหนื่อย แต่พอเอนหลังลงเท่านั้น
จะมีอีกาตัวหนึ่งบินโฉบมาจับที่หลังคากระต๊อบของท่าน แล้วใช้จะงอยปากสับตรงกลางหลังคาเสียงดังทันทีถ้าท่านไม่ลุกขึ้น มันก็จะสับอยู่อย่างนั้น พอท่านลุกขึ้นมันก็จะหยุด เป็นอยู่อย่างนี้มาหลายเวลาทีเดียวจนท่านไม่กล้าจะพักจำวัดเวลากลางวันท่านได้เล่าเหตุการณ์ตอนนี้ต่อไปอีกว่า
“มีคราวหนึ่งที่ท่านต้องหนักใจอย่างยิ่ง คือ ท่านอาจารย์มั่น ฯใช้ให้ท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อนจึงจะญัตติเป็น พระธรรมยุต เหมือนกับท่านอาจารย์มั่น ฯเพราะท่านบวชเป็นพระมหานิกายอยู่ก่อน ค่าที่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งและต้องการที่จะเป็นศิษย์ที่แท้จริงของ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เราจึงต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้ ซึ่งเป็นการขัดข้องเหลือเกินเนื่องจากเราอ่านหนังสือเขียนหนังสือไทยไม่ได้มาก ถึงได้ก็ไม่ ชำนาญที่จะอ่านถึงหนังสือพระปาฏิโมกข์แม้จะเป็นเรื่องยากแสนยากนักสำหรับตัวเรา ก็ถือว่าแม้แต่การปฏิบัติจิตใจที่ว่ายากนัก
เราก็ยังได้พยายามจนได้รับผลมาแล้ว จะมาย่อท้อต่อการทั้งพระปาฏิโมกข์นี้เสียทำไมเราจึงพยายามทั้งกลางวันกลางคืนเช่นกัน แกะหนังสือไปทีละตัวถึงกับขอให้พระอื่นที่อ่านหนังสือได้ช่วยต่อให้ เราพยายามอยู่หลายเดือน ในที่สุดก็สำเร็จให้แก่เราจนได้เป็นอันว่า เราท่องพระปาฏิโมกข์จบอยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์นี้เอง”และในปีนี้เอง ก็เป็นปีที่มีการทำพิธีญัตติกรรม พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร
พร้อมกับพระภิกษุที่เป็นศิษย์ของท่านทั้งสองอีกประมาณ ๒๐ องค์ ในจำนวนพระเณรที่มาทำการญัตติมีพระอาจารย์สิม พุทธาจาโร ซึ่งครั้งนั้นยังเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วยรูปหนึ่งโดยได้กระทำพิธีที่อุทกุกเขปสีมา (โบสถ์น้ำ) หนองสามผง สำหรับโบสถ์น้ำที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯจัดสร้างขึ้นนี้ ใช้เรือ ๒ ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ แต่ไม่มีหลังคาเหตุที่สร้างโบสถ์น้ำทำสังฆกรรมคราวนี้ ก็เพราะในป่าจะหาโบสถ์ให้ถูกต้องตามพระวินัยไม่ได้การทำญัตติกรรมครั้งนี้ ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง มาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และท่านพระอาจารย์มั่นฯ นั่งหัตถบาสร่วมอยู่ด้วยพระอาจารย์กงมาได้เล่าถึงเมื่อครั้งได้มีโอกาสอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นในช่วงหนึ่งของชี
วิตไว้ว่า“การอยู่ร่วมกับท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นเวลานานเป็นปี ๆ นั้น เป็นการอยู่อย่างมีความหมายจริง ๆ
วันและคืนที่ล่วงไปไม่เคยให้เสียประโยชน์แม้แต่กระเบียดนิ้วเดียวเราจะไต่ถามความเป็นไปอย่างไรในจิตที่กำลังดำเนิน ท่านจะแก้ไขให้อย่างแจ่มแจ้งและท่านยังรู้จักความก้าวหน้าถอยหลังของจิตของเราเสียอีก บอกล่วงหน้าให้ได้เลยในการบางครั้งทำให้เราเกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง คราวใดที่เราเคร่งครัดการทำความเพียรเกินควรท่านก็จะทัดทานแนะนำให้ผ่อนลงมา คราวใดเราชักจะหย่อนไป ท่านก็จะเตือนให้ทำหนักขึ้น และบางคราวบางเดือน สมควรที่จะให้ไปห่างจากท่าน ท่านก็จะบอกชี้ทางให้ออกไปว่า ไป ณ ที่ถ้ำนั้นภูเขาลูกนั้น ป่านั้น เพื่อความวิเวกยิ่งขึ้น เราก็จะไปตามคำสั่งของท่าน ทำการปรารภความเพียรในที่ไปนั้นเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ยิ่งชัดเจนในความสามารถของท่านอย่างไม่มีอะไรจะมาเปรียบปานครั้นได้กาลเวลาท่านก็เรียกให้กลับ เพื่อความที่จะแนะนำต่อเรารู้สึกว่าเมื่อกลับมาจากการไปวิเวกแล้วมาถึง ท่านจะแลดงธรรมวิจิตรจริง ๆ ให้ซาบซึ้งอย่างยิ่งคล้ายกับว่าท่านได้ล่วงรู้ความเป็นไปต่าง ๆ ที่เราได้กระทำมานี้ก็ทำให้เราอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งอีกเช่นกัน การกระทำเช่นนี้มิใช่ว่าจะแนะนำให้แก่เราแต่ผู้เดียว ทุก ๆองค์ที่อยู่กับท่านๆ ก็จะแนะนำเช่นเดียวกัน”ท่านอาจารย์กงมาท่านเล่าเรื่องต่าง ๆ ของท่านในอดีตให้พระอาจารย์วิริยังค์ฟังต่อไปอีกว่า “ครั้งหนึ่งที่เราได้อยู่กับท่านอาจารย์มั่นผ่านมาเป็นเวลา ๒ ปีเศษ ได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ
เช่นพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่กับท่าน ทุก ๆ องค์ต่างก็สนใจในธรรมอย่างแท้จริงมิได้มีองค์ใดเลยที่ย่อหย่อน และทุกๆ องค์ต่างได้ผลทางใจกันทั้งนั้นเพราะเมื่อผู้ใดมีอะไรเกิดขึ้นจากการบำเพ็ญจิตแล้ว ก็จะนำมาเล่าถวายท่านฟังและในเวลาที่ประชุมกันฟังทำให้รู้สึกขนพองสยองเกล้าเอาทีเดียว เมื่อได้ยินแต่ละองค์พูดถึงความจริงที่ตนได้รับบางองค์ก็พูดเหมือนเรากำลังเป็นอยู่แล้ว และท่านก็แก้ไขให้องค์นั้น เราเองก็พลอยถูกแก้ไขไปในตัวเสร็จ บางองค์พูดขึ้นลึกซึ้งเหลือที่เราจักรู้ได้ ก็ทำให้เราอยากรู้อยากเห็นต่างองค์ก็ต่างไม่สงสัยซึ่งกันและกันว่าคำพูดเหล่านั้นจะไม่จริง ทำให้เรานี้นึกย้อนหลังไปถึงอดีตว่าแม้ครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็คงจะเป็นเช่นนี้เองเลยทำให้เหมือนกับว่าเรากำลังอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังงั้นแหละถึงอย่างไรก็ตาม เราเองเลื่อมใสยิ่ง ทั้งท่านและพระภิกษุสามเณรที่อยู่กับท่าน
เพราะเหตุที่เห็นการปฏิบัติและปฏิปทาน่าเลื่อมใสและที่ได้เปล่งวาจาแห่งความจริงที่เกิดขึ้นในจิตของแต่ละท่าน”หลังจากออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้วท่านอาจารย์มั่นซึ่งจำพรรษาอยู่ที่บ้านสามผงก็ได้พาคณะซึ่งมีพระอาจารย์กงมารวมอยู่ด้วยเดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนมพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป ณ ที่นี้เองก็ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบลและได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ
เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้นท่านพระอาจารย์ใหญ่ท่านปรารภถึงเรื่องที่จะนำ “โยมแม่ออก” (มารดาของท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งบวชเป็นชี)ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้วเกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะดูแลได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่นต่างก็อาสาที่จะเป็นผู้นำโยมแม่ออกท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ออกของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลังต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่งเพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้นการเดินทางเป็นการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมที่คณะที่ ๑ พัก คณะที่๓-๔ เมื่อตามคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วยการสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานาเป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมายการเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลายและก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้านประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลังโดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้นโดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐานอย่างไรก็ตาม คณะธุดงค์ทั้งหลายก็ไปพบกันอีกที่จังหวัดสกลนคร เพื่อร่วมงานศพมารดานางนุ่ม ชุวานนท์และงานศพพระยาปัจจันตประเทศธานี บิดาของพระพินิจฯ เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจทั้งสองศพนั้นแล้ว พระอาจารย์มั่นก็ธุดงค์ต่อไปเพื่อมุ่งไปยังจังหวัดอุบลราชธานี โดยไปทางบ้านเหล่าโพนค้อได้แวะไปเยี่ยมอุปัชฌาย์พิมพ์ ต่อจากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไป แวะพักบ้านห้วยทราย ๑๐ วัน โดยจุดมุ่งหมาย ท่านต้องการจะเดินทางกลับไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้บรรลุถึงหมู่บ้านหนองขอน อยู่ในเขตอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์สิงห์ขนฺตยาคโมซึ่งชาวบ้านเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้วเกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนาชาวบ้านจึงช่วยกันจัดแจงจัดเสนาสนะถวายจนเป็นที่พอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่านพ.ศ. ๒๔๗๐ ในพรรษานี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา



ส่วนพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระมหาปิ่นจำพรรษาที่บ้านหัวตะพาน บริเวณใกล้เคียงกันครั้นออกพรรษาในปี ๒๔๗๐ แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้นำโยมแม่ออกท่านไปมอบให้น้องสาวท่านในเมืองอุบล ฯ ท่านและคณะศิษย์พักที่วัดบูรพา คณะสานุศิษย์เก่าๆ ทั้งหลาย อันมีอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร, อาจารย์อ่อน ญาณสิริ, อาจารย์ฝั้น อาจาโร, อาจารย์เกิ่งอธิมุตฺตโก พร้อมด้วยศิษย์ อาจารย์หลุย อาจารย์กว่า สุมโน, อาจารย์คูณ, อาจารย์สีลา อาจารย์ดี(พรรณานิคม) อาจารย์บุญมา (วัดป่าบ้านโนนทัน อุดรธานี ในปัจจุบันนี้) อาจารย์ทอง อโสโก อาจารย์บุญส่ง(บ้านข่า) อาจารย์หล้า หลวงตาปั่น (อยู่พระบาทคอแก้ง) เมื่อได้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ
เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมดมีหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมาพระอาจารย์ลี ธมฺมธโรเข้าเป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่น

ย้อนเวลากลับมา ในขณะที่พระอาจารย์กงมากำลังธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นมายังอุบลราชธานีนั้นทางด้านพระอาจารย์ลี ซึ่งขณะนั้นบวชเป็นพระอยู่ ได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดโนนรังใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบจังหวัดอุบลราชธานี ก็ไปพบพระกรรมฐานองค์หนึ่ง กำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์
เกิดเลื่อมใสในโวหารของธรรมะที่เทศน์ จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่า ท่านองค์นั้นเป็นใคร มาจากไหน ได้รับตอบว่า“ เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่ออาจารย์บท” ท่านได้พักอยู่ในป่ายางใหญ่ใกล้บ้านราว ๒๐ เส้นพองานมหาชาติเสร็จ พระอาจารย์ลีก็ได้ติดตามไปดู...ได้เห็นปฏิปทาความประพฤติของท่านก็เกิดความเลื่อมใสจึงถามท่านว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านตอบว่า “ พระอาจารย์มั่น พระ อาจารย์เสาร์เวลานี้พระอาจารย์มั่นได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนคร ไปพักอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี”พอได้ความเช่นนั้นก็รีบเดินทางกลับบ้านลาบิดาและญาติเดินทางไปตัวเมืองอุบลราชธานี

เมื่อถึงแล้วก็ได้ไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นที่วัดบูรพา กราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่น ท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์เป็นที่พอใจ สอนคำภาวนาให้ว่า “พุทโธๆ” เพียงคำเดียวเท่านี้พอดีท่านกำลังอาพาธ ท่านได้แนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหิน ซึ่งเป็นสถานที่เงียบ สงัดวิเวกดีที่นั่นมีพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น มีพระภิกษุสามเณรราว ๔๐ กว่าองค์พักอยู่ได้เข้าไปฟังธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่นทุกคืน
ท่านพระอาจารย์ลีได้เล่าไว้ในอัตโนประวัติของท่านที่ท่านได้เขียนขึ้นว่า“พอดีได้พบเพื่อนที่หวังดี ๒ องค์นั้นคือพระอาจารย์กงมาและและพระอาจารย์สาม ได้พากเพียรพยายามภาวนาอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืนเมื่อ ได้พักอยู่พอสมควรแล้ว ก็ได้ชวนพระอาจารย์กงมา
ออกเดินทางไปเรื่อยๆ ไปพักตามศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้านตำบลต่างๆ”ขณะนั้นเป็นจังหวะเดียวกันกับที่ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู)
อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามขึ้นมาจากกรุงเทพ ฯ พักอยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานีและท่านเจ้าคุณปัญญา ฯ นี้ ได้เป็นเพื่อนสหธัมมิกกับพระอาจารย์มั่น ฯจึงขอให้เป็นอุปัชฌาย์ญัตติบวชใหม่ให้ท่านอาจารย์กงมาและท่านอาจารย์ลี โดยพระอาจารย์กงมาเป็นนาคขวา
พระอาจารย์ลีเป็นนาคซ้าย จากนั้น ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ เวลา ๐.๔๐น.ท่านได้ให้ลูกศิษย์ทั้งสององค์คือพระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์ลีทำพิธีทัฬหิกรรมญัตติเป็นภิกษุในคณะธรรมยุตติกนิกาย ที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์เพ็งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยพระอาจารย์กงมาได้ฉายาว่า “จิรปุญโญภิกขุ” และ พระอาจารย์ลีได้ฉายาว่า
“ธมฺมธโรภิกขุ”เพราะเหตุนี้ท่านทั้งสองคือ พระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์ลี จึงได้มีการสนิทสนมและเคารพนับถือซึ่งกันและกันตลอดมา
พระอาจารย์มั่นฯ ปรารภเรื่องปลีกตัวออกจากหมู่เพื่อวิเวกในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภขึ้นในใจว่า
“จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีกแล้วจะได้เอาปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมากยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้ ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และตามปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้นเมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรมหรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชนแก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้นซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวไนยสัตว์ทั้งหลาย“อนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆซึ่งทำให้โอกาสและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวกซึ่งไม่มีภาระแล้ว ก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้นผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ”

ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีหลวงปู่สิงห์เป็นต้น มาประชุมกันท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้นจึงได้มอบหมายให้อำนาจแต่หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่นเป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก ได้แนะนำธรรมปฏิบัติซึ่งท่านได้เคยแนะนำมาก่อนแก่มารดาของท่านจนได้รับความอัศจรรย์อันเป็นภายในอย่างยิ่งมาแล้ว ท่านจึงได้ไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีลผู้น้องสาวเป็นผู้อุปัฏฐากรักษาทุกประการ จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระจำพรรษาที่วัดสระปทุม และเมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่
ไปจังหวัดขอนแก่น
ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ระหว่างนี้พระอาจารย์กงมาก็ได้ติดตามหลวงปู่สิงห์ กับคณะพระภิกษุสามเณรรวมกันประมาณ ๘๐ รูปเดินทางเที่ยววิเวกไปในสถานที่ต่างๆ ก็ได้เทศนาอบรมศีลธรรมประชาชนโดยการขอร้องของเจ้าเมืองอุบลฯเมื่อจวนเข้าพรรษาได้ไปพักจำพรรษาอยู่วัดบ้านหัวงัว อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรซึ่งเป็นบ้านญาติหลวงปู่สิงห์ในช่วงที่หลวงปู่สิงห์อยู่ที่บ้านหัวงัว ท่านก็ได้ทราบข่าวจาก เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทราวาสตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นญาติของหลวงปู่ด้วย ว่าทางขอนแก่นมีเหตุการณ์ไม่สู้ดีขณะนั้นพระอาจารย์ฝั้นซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์ ที่หนองน่อง บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอีจังหวัดนครพนมก็ได้มากราบนมัสการและได้ร่วมปรึกษาหารือกับหลวงปู่สิงห์และพระอาจารย์มหาปิ่นในเรื่องดังกล่าว และเห็นควรลงไปช่วยพระครูพิศาลอรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันออกเดินทาง โดยกำหนดให้ไปพบกันก่อนเข้าพรรษาที่ที่วัดเหล่างาขอนแก่น
เมื่อเป็นดังนั้น ชาวอำเภอยโสธร มีอาจารย์ริน อาจารย์แดง อาจารย์อ่อนตา เป็นหัวหน้าพร้อมด้วยชาวบ้านร้านตลาด ได้จ้างเหมารถยนต์ให้ ๒ คัน
ท่านและคณะได้พากันออกเดินทางจากอำเภอยโสธรโดยทางรถยนต์ไปพักแรมอยู่ จ.ร้อยเอ็ด ๑ คืนแล้วออกเดินทางไปพักอยู่ที่ จ.มหาสารคามที่ดอนปู่ตา ที่ชาวบ้านกล่าวกันว่าผีดุมีชาวบ้านร้านตลาดและข้าราชการพากันมาฟังเทศน์มากมาย จากนั้นเดินทางต่อไปถึงบ้านโนนยาง อ.เมือง
จ.ขอนแก่น เดือน ๓ แรม ๖ ค่ำ และได้ไปรวมกันอยู่ที่วัดเหล่างา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น
เหตุการณ์ไม่สู้ดีที่ขอนแก่น

ที่เมืองขอนแก่น นั้นคณะหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่นได้พบว่าเหตุการณ์ก็ไม่สู้ดีตามที่พระครูพิศาลอรัญเขตว่าไว้ ซึ่งเรื่องนี้หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
ซึ่งในสมัยนั้นท่านได้ร่วมอยู่ในคณะด้วย ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือ อัตโนประวัติของท่าน ว่า“ข้าได้พักอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ฟังเสียงพวกโยนคนเมืองขอนแก่น ไม่เคยเห็นพระกรรมฐานตื่นเต้นกล่าวร้ายติเตียนกันไปสารพัดต่างๆ นานา มิใช่ เขาตื่นเต้นไปทางกลัวทางเสื่อมใส
ดังพวกชาวเมืองราชคฤห์ ตื่นเต้นคราวได้เห็นพระพุทธเจ้าออกบรรพชาใหม่ไปเที่ยวบิณฑบาตนั้นเมืองขอนแก่นพากันตื่นเต้นอย่างเห็นพระกรรมฐานเป็นสัตว์ เรียกพวกพระกรรมฐานว่า “พวกบักเหลือง” คำว่า “บักเหลือง” นี้เขาว่าพระกรรมฐานทั้งหลายเป็นงูจงอาง อีหล้าคางเหลือง
ฉะนั้นจึงมีคนเขาออกมาดูพวกพระกรรมฐาน เขาจำต้องมีมือ ถือไม้ค้อนกันมาแทบทุกคน เมื่อมาถึงหมู่พวกข้าแล้ว ถือค้อนเดินไปมาเที่ยวดูพระเณรที่พากันพักอยู่ตามร่มไม้และร้านที่เอากิ่งไม้ แอ้ม และมุงนั้นไปๆ มาๆแล้วก็ยืนเอาไม้ค้อนค้ำเอว ยืนดูกันอยู่ก็มีพอควร แล้วก็พากันกลับบ้าน
เสียงร้องว่าเห็นแล้วละพวกบักเหลือง พวกอีหล้าคางเหลือง พวกมันมาแห่น (แทะ) หัวผีหล่อน (กะโหลก) อยู่ป่าช้าโคกเหล่างา มันเป็นพวกแม่แล้ง ไปอยู่ที่ไหนฝนฟ้าไม่ตกเลยจงให้มันพากันหนีถ้าพวกบักเหลืองไม่หนีภายในสามสี่วันนี้ ต้องได้ถูกเหง้าไม้ไผ่ค้อนไม้สะแกไปฟาดหัวมันดังนี้ไปต่างๆ นานาจากนี้ไปก็มีเขียนหนังสือปักฉลากบอกให้หนี ถ้าไม่หนีก็จะเอาลูกทองแดงมายิงบูชาละ ดังนี้เป็นต้นไปบิณฑบาตไม่มีใครยินดีใส่บาตรให้ฉัน จนพระอาจารย์สิงห์ภาวนาคาถาอุณหัสสวิชัย ว่าแรงๆ ไปเลยว่า ตาบอดๆหูหนวกๆ ปากกืก ๆ (ใบ้) ไปตามทางบิณฑบาตนั้นแหละ
ทั้งมีแยกกันไปบิณฑบาต ตามตรอกตามบันไดเรือนไปเลย จึงพอได้ฉันบ้างทั้งพระอาจารย์ก็มีการประชุมลูกศิษย์วันสองวันต่อครั้งก็มี
ท่านให้โอวาทแก่พวกลูกศิษย์ได้มีความอบอุ่นใจไม่ให้มีความหวาดกลัวอยู่เสมอแต่ตัวข้าก็ได้อาศัยพิจารณากำหนดจิตตั้งอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึนี้อยู่เรื่อยไป”
แยกย้ายกันไปตั้งวัดใหม่

ที่วัดเหล่างา (ปัจจุบันคือวัดวิเวกธรรม) พระปฏิบัติสัทธรรมชุดนี้ได้ประชุมตกลงให้แยกย้ายกันไปตั้งเป็นสำนักสงฆ์วัดป่าฝ่ายอรัญวาสีขึ้นหลายแห่งในจังหวัดขอนแก่นเพื่อเผยแผ่ธรรม เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฏฐิ เลิกจากการเคารพนับถือภูตผีปีศาจและให้ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์ โดย ได้แยกกันอยู่จำพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุยอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระครืออำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทันอำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
๔. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวัน บ้านสีฐานอำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
๕. พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น
๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับจังหวัดขอนแก่น
๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระ ลับจังหวัดขอนแก่น
๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัดขอนแก่น
๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
ใน พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึ่งเป็นพรรษา ๓ (นับพรรษาใหม่เมื่อทำญัตติกรรม) ท่านอาจารย์กงมาได้จำพรรษาที่วัดป่าบ้านพระครือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ร่วมกับพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสีพ.ศ. ๒๔๗๔ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญจำพรรษาที่ภูระงำ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น กับพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งก่อนที่จะมาที่ภูระงำนั้นได้มีอาการอาพาธมาก่อนและก็ยังไม่ทุเลาดีนักเมื่อพระอาจารย์ฝั้นมาจำพรรษาที่ภูระงำอาพาธเดิมก็เกิดกำเริบหนัก ท่านได้ภาวนาสละตายจนจิตรวมสงบเวทนาดับเหลือแต่เอกาจิตตังตลอดคืนยันรุ่ง ตั้งแต่ทุ่มเศษจนกระทั่ง ๙ โมงเช้า
อาการอาพาธปวดเมื่อยหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมาน เบาตัว เบากาย สบายเป็นปกติออกพรรษาคราวนั้น พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ลงจากภูระงำ กับพระอาจารย์ฝั้นเที่ยวธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐานเทศนาธรรมสั่งสอนชาวบ้านไปเรื่อย ๆ จนถึงอำเภอน้ำพอง ซึ่งที่นั่น ท่านได้พบพระอาจารย์สิงห์พระอาจารย์มหาปิ่น และพระเณรอีกหลายรูปซึ่งต่างก็เที่ยวธุดงค์กันมาจากสถานที่ที่จำพรรษาด้วยกันทั้งนั้นและที่อำเภอน้ำพองนี่เอง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลอีสานเมื่อครั้งยังเป็นพระพรหมมุนีได้มีบัญชาให้พระอาจารย์สิงห์นำพระภิกษุสามเณรในคณะของท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาเพื่อเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัท ซึ่งพระอาจารย์กงมาก็ได้ร่วมเดินทางไปกับพระภิกษุสามเณรคณะนี้ด้วยเมื่อถึงนครราชสีมา พ.ต.ต. หลวงชาญนิยมเขต ได้ถวายที่ดินหลังสถานีรถไฟ จำนวน ๘๐ ไร่เศษ ให้สร้างเป็นวัดซึ่งต่อมาก็คือวัดป่าสาลวัน นั่นเองจากนั้นพระอาจารย์มหาปิ่นก็ได้พาหมู่ศิษย์อีกหมู่หนึ่งไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมืองจ. นครราชสีมา ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นป่าช้าที่ ๒ สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่นอหิวาตกโรค และกาฬโรค ฯลฯ เป็นต้น ให้ชื่อว่าวัดป่าศรัทธารวม ในพรรษานี้ พ.ศ. ๒๔๗๕วัดป่าศรัทธารวมก็มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาด้วยกันรวม ๑๔ รูป คือนอกจากพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญแล้วยังมีพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี, พระอาจารย์ภุมมีฐิตธมฺโม, พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร, ฯลฯ รวมพระภิกษุ ๑๐ รูป และสามเณรอีก ๔ รูปภายในปีเดียวเกิดมีวัดป่าพระกรรมฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราชออกพรรษาปีนั้น คือ พ.ศ. ๒๔๗๕ พอเข้าเดือน ๖ นายอำเภอขุนเหมสมาหารได้อาราธนาพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ,พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์ฝั้นไปจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ใกล้สถานีรถไฟบ้านใหม่สำโรง ตำบลลาดบัวขาวอำเภอสีคิ้ว คือวัดป่าบ้านใหม่สำโรง หรือวัดสว่างอารมณ์ในปัจจุบัน เสร็จแล้วพระอาจารย์ฝั้นได้ธุดงค์กลับไปโคราช พระอาจารย์กงมา ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ๓พรรษา จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙
พบศิษย์คนสำคัญ
ที่บ้านใหม่สำโรงนี้เองก็เป็นบ้านของศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของท่าน คือ พระอาจารย์วิริยังค์ซึ่งเกิดที่ปากเพรียว จังหวัดสระบุรี แต่หลังจากที่บิดาซึ่งรับราชการเป็นนายสถานีรถไฟปากเพรียวนานพอสมควรแล้ว ทางการได้สั่งย้ายมารับตำแหน่งนายสถานีรถไฟ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว
จังหวัดนครราชสีมา ท่านขุนผู้เป็นบิดาจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านใหม่สำโรงซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีของครอบครัวเด็กชายวิริยังค์ อย่างยิ่งที่จะได้มาพบพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญผู้เป็นศิษย์รูปสำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เมื่อพระอาจารย์วิริยังค์อายุได้ประมาณ ๑๕ ปี (พ.ศ.๒๔๗๗) ก็ได้บวชเป็นผ้าขาว และได้บรรพชาเมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมืองจ.นครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็กลับมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์กับท่านพระอาจารย์กงมา

พระเครื่องของหลวงปู่...บางส่วน







ขอขอบคุณที่มา...http://www.nabia10.com

307
ขอบคุณท่านก๊อต สำหรับ ข่าวสารดีๆ

308
ขอแสดงความยินดีกับ...น้องบอลด้วยครับ

ที่ได้ของดีเพิ่ม...โชคดีจริงๆครับ

309
ขอบคุณมากมายครับ ที่นำภาพสวยๆในวันงาน...

มาให้ชมกัน... :016:

310
ขำ ขำ ดีครับ... :004: :005:

ขอบคุณทีมงาน...ทุกๆท่านนะครับ

311
ขออนุโมทนา...สาธุด้วยครับ

ขอบคุณครับ...

312
ขอขอบคุณ...ภาพสวย ๆ ของบรรยากาศงานพิธี...บ้าน อ.หนวด

ขอกราบนมัสการ...หลวงพ่อ...ทุกรูปในงานด้วยครับ

313
ธรรมะ / ตอบ: ต้นเหตุ...ปลายเหตุ
« เมื่อ: 07 มี.ค. 2553, 11:15:22 »
ขอบคุณพี่ตี๋ครับ...สำหรับพระธรรมคำสอนจากหลวงพ่อชา

กราบนมัสการ...หลวงพ่อชา...ครับ

314


ท่านเสียงทุ้ม ใจดีมากๆ ความจำท่านก็ดีมากๆครับ
ไปหาท่านซ้ำ ท่านก็ยังจำทุกคนได้ สวดมนต์ให้พรด้วยเมตตาแก่ทุกคน ไม่เลือกชั้นวรรณะเลยครับ

กุฏิที่ท่านพำนักเป็นเรือนไม้เก่าๆ หาความสะดวกสบายไม่ได้เลย
นอนท่านก็ใช้เตียงไม้เก่าๆ และใช้เป็นที่ต้อนรับผู้มากราบขอพร ไปด้วย

มงคลวัตถุของท่านมีหลายอย่าง ที่ชอบขอกัน ก็ ชานหมาก
นอกจากนี้ มีทั้งพระผง เหรียญรูปเหมือน ตะกรุด ประคำ แหวน เขี้ยวเสือ สิงห์ มีดหมอ


ไปนครสวรรค์ อย่าพลาดแวะที่วัดลาดยาวอยู่ห่าง อ.เมือง แค่ประมาณ30 กม.เท่านั้นครับ



พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงปู่...บางส่วน



พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์"อายุวฑฺฒโน"พระครูนิวิฐธรรมสาร
หลวงปู่เปลื้อง จัตฺตสลฺโล วัดลาดยาว  จ.นครสวรรค์
ฉลองอายุวัฒนมงคล 108 ปี








ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ...
http://forum.ampoljane.com/index.php?showtopic=25&st=120
http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=4&qid=34193
http://www.nongploybook.com/product.detail_307514_th_2751753#
http://www.newsdanthai.com/index.php?mo=3&art=381579

315
ขอบคุณท่านธรรมะรักโขมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ครับ

วัดทอง กรุงเทพ อยู่โซนไหนครับ ใครทราบบ้างครับ มีโอกาสอยากไปสักการะท่านครับ....จะได้ไปชมความชมงามด้วยครับ


วัดทอง...
ที่ตั้ง 33ซ.จรัญสนิทวงศ์ 32 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนนนท์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 

316


วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร
เดิมเรียกว่า “ วัดทอง” สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นสถานที่ซึ่งพระเจ้าตากสินทรงมีพระราชดำรัสให้นำเชลยศึกพม่าจากค่ายบางแก้ว
ไปประหารชีวิต
มีการสถาปนาใหม่ทั้งอารามในสมัยราชการที่ ๑ และทรงพระราชทานนามว่า “ วัดสุวรรณาราม” ต่อมารัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติม ภายในวัดแต่เดิมมีเมรุหลงสำหรับใช้ในการพระราชทานเพลิงเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ เมรุหลวงนี้ใช้มาจนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕
 พระอุโบสถ มีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ช่อฟ้าใบระกาประดับกระจก หน้าบันจำหลักลายรูปเทพนมและรูปนารายณ์ทรงครุฑปิดทอง ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ จิตรกรเอกที่มีชื่อในรัชกาลที่ ๓ องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อป่งมารวิชัย ฝีมือช่างสุโขทัยมีนามว่า “ พระศาสดา”

พระวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นวิหารหลังใหญ่ มีมุขขวางอยู่ ๒ ข้าง ช่อฟ้าและใบระกาประดับกระจกหน้าบันจำหลักลายรูปเทพนม
หมู่กุฏิสงฆ์ เป็นหมู่ตึก ๖ หลัง มีหอฉันอยู่กลางและมีหอเล็กติดกำแพง ๒ หอพร้อมทั้งหอระฆังและหอไตร

 

ที่ตั้ง 33ซ.จรัญสนิทวงศ์ 32 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนนนท์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 



ขอขอบคุณที่มา...http://www.tripsthailand.com/th/thai_places_wat_suwannaram.php

317
"จีวรดอก" อันนับเอกลักษณ์แห่งเอกปฏิมาเฉพาะพระพุทธรูปสมัย"รัตนโกสินทร์"เป็นการเฉพาะ ซึ่งหลายๆท่านอาจจะนึกสงสัยว่า มีที่มาที่ไปเป็นเช่นไร..???
 


เคยได้ทราบมานานแล้วว่า "จีวรดอก"นั้น แท้จริงแล้ว นายช่างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เลียนแบบ"ผ้าต่างประเทศ" ที่มีการทอเนื้อผ้าเป็นลายดอกดวงเล็กๆ คล้ายกับดอกพิกุล อันนับเป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น  ทำให้เป็นที่นิยมถือเป็นของดีมีค่าสูง เหล่าทายกทายิกาผู้มีศรัทธา ปรารถนาจะถวาย"ประณีตทาน"เลยนำผ้าลายดอกนี้มาตัดย้อมเป็นจีวรถวายพระภิกษุ จนเป็นที่ปรากฏแพร่หลายโดยทั่วไป  อันเป็นแรงบันดาลใจอย่างสำคัญในมีการประดิษฐ์"พระพุทธรูปจีวรดอก"ขึ้นมาด้วยประการฉะนี้...
 

 
แต่นั่น ก็เป็นเพียง"เรื่องเล่า"กันมาเท่านั้น
แต่ก็ยังหาได้เคยพบพาน"ผ้าลายดอก"ของจริง ซึ่งเป็นปฐมกำเนิดของ"จีวรดอก"แต่อย่างไรเลย
จนกระทั่ง เมื่อครั้งที่ได้รับมอบ"ชายจีวร" ของ"สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร" ซึ่งเป็นพระบรมราชอุปัชฌายาจารย์แห่งรัชกาลที่ 1-4 และเจ้านายชั้นสูงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 



ดูกันชัดๆจะๆ สำหรับรูปหล่อ"พระสงฆ์จีวรดอก" ยุคโบราณ(หลวงปู่ทับ วัดทอง กรุงเทพ)ที่หาดูหาชมได้ยากยิ่งที่สุด

 

 

ขอขอบคุณ... (NAOSATITT)

318


นั่นก็คือ "พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก" ที่ครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่ พระอริยเจ้าชั้นสูงที่ครูบาเทือง นาถสีโล รับรองว่าเป็น"อะระหันต๋า"(พระอรหันต์) และกระแสจิต "เย็นที่สุด" ไม่มีใครเทียมเท่าตั้งใจทำไว้อย่างดีและพิถีพิถันที่สุด เสมือนเป็น"ของแทนตัว"ท่านก็ไม่ปาน...
 

 
  วิชา"เศรษฐีล้มลุก"นี้ ถือว่าเป็นวิชาคู่บุญบารมีครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้มก็ว่าได้ มีอานุภาพส่งเสริม"แก้ดวง หนุนดวง" และ"ส่งเสริมโชคลาภ"ให้บังเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์  แต่ก่อน ครูบาท่านจะทำเป็น"เทียน" ซึ่งเป็นของ"ไม่ถาวร"และ"ใช้แล้วหมดไป"  แต่ก่อนมรณภาพไม่เท่าไร ท่านให้ทำเป็น"พระกริ่ง" ซึ่งเป็นวัตถุของถาวร  ที่สามารถใช้อธิษฐานแทนเทียนเศรษฐีล้มลุกได้ตลอดกาล แม้องค์ครูบาท่านจะเข้า"เนรปาน"(นิพพาน)ไปนานเพียงใดแล้วก็ตาม....
 


 

ปัจจุบัน "พระกริ่งเศรษฐีล้มลุก"ของครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐสุดแห่งวัดร้องขุ้ม เชียงใหม่นี้ จัดเป็นของดีที่หาได้ยากยิ่ง ส่วนมาก จะตกแก่ศิษยานุศิษย์และผู้ที่มีวาสนาในยุคต้นๆเสียโดยมาก ยากจะหลุดรอดมาถึง"คนนอก"ในภายหลังได้ 

 

 
ขอขอบคุณข้อมูล... (NAOSATITT)

319


‘หลวงพ่อผาเงา’
วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 

“วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก
ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ ๓ กิโลเมตร
มีพื้นที่ทั้งหมด ๗๔๓ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ
ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจัน และมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ

ชื่อของวัดแห่งนี้มาจากชื่อของ “พระธาตุผาเงา”
ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน)
ก้อนผาหรือหินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์
และให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “พระธาตุผาเงา”



ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า “วัดสบคำ” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง
ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด
คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก
วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด
สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้
จะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้
ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระประธาน)
ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า

แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำผาเงา ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน
ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารก เต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจาย
ได้มีการค้นพบพระพุทธรูป “หลวงพ่อผาเงา”
เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา
เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างปีติยินดี
เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้หน้าฐานพระประธาน มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้
เมื่อยกอิฐออก จึงได้พบพระพุทธรูปมีลักษณะสวยงามมาก



ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุ ได้วิเคราะห์ว่า
พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง ๗๐๐-๑,๓๐๐ ปี
คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อผาเงา”
และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

“หลวงพ่อผาเงา” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน
ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย โดยเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ
ปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว
มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๑ เมตร และสูงประมาณ ๑.๕ มตร
ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่กลางพระวิหารหลวงพ่อผาเงา
ที่ชาวบ้านได้สร้างครอบเอาไว้ตั้งแต่เมื่อครั้นค้นพบองค์พระใหม่ๆ



สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ที่เล่าขานกันมาเกี่ยวข้องกับความเมตตา
ก่อนจะมีการเข้าไปบุกเบิก เพื่อบูรณะวัดพระธาตุผาเงา
บริเวณดังกล่าวยังเป็นยอดดอยและมีป่าไม้หนาแน่น
ชาวบ้านเล่าขานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและหลายคนประสบพบเจอด้วยตัวเอง
ว่าคราใดที่เข้าป่าล่าสัตว์ และติดตามสัตว์ป่าไปจนถึงบริเวณที่ตั้งของ
วัดพระธาตุผาเงาในปัจจุบัน สัตว์ป่าส่วนใหญ่จะหยุดนิ่งและไม่วิ่งหลบหนี

แต่ที่น่าอัศจรรย์ คือ ไม่ว่าพรานป่าจะใช้ปืน ธนู หรืออาวุธใดๆ ยิง
ก็ไม่ถูกเนื้อต้องตัวสัตว์ หรือสัตว์มักจะหายเอาตัวรอดไปได้ทุกครั้ง
ซึ่งเรื่องเล่านี้ยังคงตกทอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ความมหัศจรรย์ของบริเวณดอยอันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุผาเงา
ยังมีเรื่องเล่าขานจากผู้ที่เดินทางไปสักการะว่า เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
และเข้าไปสักการะจะหายหรือทุเลาจากโรคต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
ทำให้มีนักท่องเที่ยวหรือญาติโยมหลายคนที่ไปเยือน จ.เชียงราย
เพื่อไปสักการะอย่างต่อเนื่อง ด้วยเห็นผลแห่งความอัศจรรย์ดังกล่าว



ส่วนเรื่องโชคลาภ เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ไปขอโชคลาภและได้ดังใจหวัง
มักจะเป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างพื้นที่หรือกรุงเทพฯ
โดยบางครั้งได้รับโชคลาภถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่ ๑

นอกจากนี้ ช่วงที่มีญาติโยมอุปถัมภ์อุปัฏฐากวัดมากที่สุด
คงหนีไม่พ้นช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.๒๕๔๐
เพราะมีญาติโยมจากกรุงเทพฯ ที่ประสบกับปัญหา
เดินทางไปเยือนวัดพระธาตุผาเงาเป็นจำนวนมาก
เมื่อคนเหล่านี้พ้นจากวิกฤต ได้ปวารณาตนขอเป็นโยมอุปถัมภ์วัด

แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ หลวงพ่อผาเงายังคงความเป็นพระพุทธรูป
ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาต่อสัตว์โลก


พระวิหารหลวงพ่อผาเงา ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อผาเงา”


พระอุโบสถวัดพระธาตุผาเงา จ.เชียงราย 


ขอขอบคุณ:หนังสือไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน     

320


หลวงปู่จันทา ถาวโร


ประสบการณ์การตายแล้วฟื้น

สมัยหนึ่ง (ปี 2494) ไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระจำพรรษาอยู่ด้วยกัน 3 รูป สามเณร 1 รูป และผ้าขาวเฒ่า 1 คน (ผ้าขาวคือฆราวาสผู้รักษาศีล 8 อยู่ที่วัด) อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันเพ็ญเดือน 10 หลังจากฉันอาหารเช้าแล้วกลับมาที่กุฏิ เอาผ้าคลุมจะไปฟังธรรม ก็พอดีไข้มาลาเรียมันกำเริบหนักขึ้นสมอง ล้มลงกับพื้นที่กุฏิซึ่งปูด้วยฟากไม้ไผ่ เณรได้ยินเสียงล้มลงจึงออกมาดูแล้วถามว่า “ครูบา...เป็นอะไร” (ครูบาเป็นคำเรียกพระที่พรรษาหย่อน 10) “ไม่รู้...มันมึนตึ๊บแล้วก็ล้มลงเลย”

เณรก็วิ่งไปบอกญาติโยมว่า “ครูบาจันทาล้มลงนะ...เป็นอะไรก็ไม่ทราบ” ทั้งพระและโยมเขาก็เข้ามาดู เอาหมอมาด้วย หมอก็ตรวจดูแล้วบอกว่า เป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมองอย่างหนัก อีก 5 นาทีก็จะสิ้นลม โยมทายกวัดเขาก็ว่า จะเป็นหรือตายอย่างไรก็ตามต้องฉีดยาช่วยเหลือไว้ก่อน พอฉีดยาเสร็จแล้วไม่นานก็สิ้นลม เมื่อสิ้นลมดวงจิตนั้นยังไม่ยอมออกจากร่าง ยังห่วงใยเสียดายร่างกายอยู่ ไม่นานมีเพื่อนคนหนึ่งมายืนอยู่ข้างๆ ร้องบอกว่า

“เพื่อนๆ รีบออกจากเรือนเถอะ ไฟมันจะไหม้ทับหัว” ก็เลยออกจากร่างมายืนติดกับเพื่อน

เพื่อนก็บอกว่า “นี่แหล่ะ...เพื่อนเอ๋ย สมบัติร่างกายนี้นั้นอาศัยกันมาตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันนี้นั้นก็ถูกไฟพยาธิเผาให้เร่าร้อนฉิบหายเสียแล้ว จะอาศัยอยู่ต่อไปอีกไม่ได้ หมดเพียงแค่นี้นั่นแหละ ถึงจะเสียดายอย่างไรก็หมดสิทธิ์อำนาจที่จะเข้าไปครอบครองได้อีกต่อไป”

จากนั้นทั้งพระและโยมก็ช่วยกันเปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วก็หามศพไปไว้ที่ศาล วางนอนไว้เฉยๆ ไม่ได้ใส่โลงและก็ไม่ได้ฉีดยา ก็ตามไปดูอีกเพราะความเสียดายนั่นแหละ เข้าไปนั่งลูบคลำร่างกายศพ ดูแล้วก็เฉยเหมือนขอนไม้ โอ้หนอ...ขึ้นชื่อว่าตายแล้วถึงจะคิดเสียดาย อาลัยอาวรณ์อย่างไรก็เอากลับคืนมาไม่ได้แล้วก็หมดความสงสัย ทีนี้ก็หันไปพูดกับพระเณรเขาก็ไม่พูดด้วย ไปถามญาติโยมเขาก็ไม่พูดด้วย เขามองไม่เห็นเพราะมีแต่นามธรรมคือ “ดวงจิต” จึงหันกลับมาถามเพื่อนว่า “เราจะไปไหนกันดี” เพื่อนก็ตอบว่า “จะพาไปเที่ยวดูภูมิประเทศ”

ก็ออกเดินทางกันวันยังค่ำ มีแต่ดวงจิตไปสบาย ไม่หิวโหย ไม่เหนื่อยล้า ครั้นไปถึงกึ่งกลางระหว่าง 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านหนึ่งเป็นภูเขา อีกหมู่บ้านหนึ่งเป็นป่าดง ในระหว่างกลางนั้นเป็นสนามเล่น ก็เลยไปพักเล่นอยู่กับเขา พักเล่นอยู่จนกระทั่งตี 3 พวกเขากลับบ้านกันหมดเพราะมันจะค่ำ กลางคืนเป็นกลางวันนะ เมื่อพวกเขากลับกันหมดแล้วก็ถามเพื่อนว่า “เราจะไปไหนกันอีก” เพื่อนก็บอกว่า “เราเองก็มาใหม่ ยังไม่รู้จักภูมิประเทศดี จะไปข้างหน้าก็เป็นป่าดง ไปข้างหลังก็เป็นภูเขา แต่ว่าขณะนี้สมบัติปัจจัยเก่าคือร่างกายนั้นยังสดชื่นอยู่ พอที่จะกลับคืนสู่ร่างเก่าได้เพราะมีบุญครึ่งหนึ่งรักษาไว้ แต่ว่าเรามาไกลแล้ว จะเดินกลับคงไม่ทันแน่ ต้องวิ่ง”

เอ้าวิ่งก็วิ่งเลย ข้ามดงข้ามทุ่งมาถึงวัดแล้วก็ขึ้นไปบนศาลาไปดูซากศพก็เห็นนอนสบายดีอยู่ มีแต่ญาติโยมที่มาเฝ้าศพปรึกษากันว่าจะเผาหรือฝังเท่านั้น เพื่อนก็บอกให้เข้าไปนั่งติดกับร่างศพและตั้งสติให้ดี นึกถึงบุญเก่าและบุญใหม่ประกอบกันเข้านั่นแหละจะช่วยให้ดวงจิตกลับเข้าสู่ร่างได้ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ พอนึกจบแล้วก็เข้าสู่ร่างกายได้สบาย เมื่อหันหน้ากลับมาดูเพื่อน เพื่อนหายไปเสียแล้ว

พอแจ้งเป็นวันใหม่ กระดุกกระดิกร่างกายได้สมบูรณ์ดีแล้ว ลืมตาขึ้นได้ยินเสียงนกแซงแซวร้อง ก็ระลึกขึ้นมาว่าเรามีชีวิตกลับคืนมาได้ก็เพราะบุญหรอก บุญที่สะสมไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อนโน้นและชาตินี้ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องรักษา ฉะนั้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะสะสมแต่บุญกุศลเท่านั้น สิ่งอื่นไม่ว่าจะเป็นสมบัติ ข้าวของ เงินทอง กุฏิ วิหาร สบง จีวร สังฆาฏิก็ดี เมื่อสิ้นลมแล้วก็ทอดทิ้งไว้หมดเสียสิ้น มีแต่บุญกุศลเก่าและใหม่เท่านั้นที่จะบันดาลให้เป็นเสื้อผ้าอาภรณ์เ ป็นผ้าสบงจีวร เป็นสังฆาฏิสวยงาม เป็นที่พึ่งพิงอาศัยได้แท้แน่นอน

เมื่อตั้งสัตยาธิษฐานเสร็จแล้วก็ลุกขึ้นนั่ง พวกญาติโยมที่มาเฝ้าศพอยู่บนศาลาก็ตกใจ บ้างก็วิ่งหนี บ้างก็กระโดดลงศาลาไปด้วยความกลัวผี ไม่นานพอหายตกใจกลัวแล้ว พวกโยมทายกวัดก็เข้ามาถามความเป็นมา เพราะไม่เคยเห็นคนตายไปวันกับคืนแล้วพื้นคืนมาได้ ก็แสดงให้เขาฟังอย่างที่ได้อธิบายมาแล้วนั่นแหละ และก็ว่าโยมทั้งหลายต่อไปนี้จงยึดเอาอาตมาเป็นคติธรรมเตือนใจนะ เพราะบุญกรรมดีสะสมไว้แต่ชาติปางก่อนโน้นและชาตินี้ประกอบกันเข้าจะรักษาสมบัติร่างกายไว้ ถึงตายแล้วก็ไม่เน่ายังสดชื่นเหมือนเดิมทำให้พื้นกลับคืนมาได้ ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายจงรีบเร่งสะสมคุณงามความดีใส่ตนไว้ จะได้เป็นเพื่อนสองเป็นคู่ครองติดตามตลอดไป...




ขอขอบคุณที่มา: ลานธรรมจักร

 

321

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่จันทา ถาวโร

วัดป่าเขาน้อย
ต.วังทรายพูน อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

ก. ชีวิตฆราวาส

๑. ชาติภูมิ

หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นบุตรของ นายสังข์ ไชยนิตย์ และนางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ท่านถือกำเนิดในวันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๕ ณ หมู่บ้านแดง ต.เหนือ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน มีชื่อตามลำดับดังนี้

๑) นายนู ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๒) นางต่วน ชมภูวิเศษ
๓) นายแก้ว ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๔) หลวงปู่จันทา ถาวโร
๕) นายบุญ ไชยนิตย์
๖) นายน้อย ไชยนิตย์ (ถึงแก่กรรม)

๒. ลูกกำพร้า

หลวงปู่เล่าเรื่องชีวิตในวัยเด็กไว้ว่า “อย่างข้าพเจ้านี้มันก็แสนทุกข์ยากลำบากเกิดมาชีวิตนี้ คิดแล้วน้ำตาไหล พออายุได้ ๗ ปี ได้น้อง ๒ คน แม่ก็ตาย เพราะกินผิด คือ แม่เอาอาหารไปถวายพระตอนเพล แล้วไปกินป่นปลากับผักผีพวย นั่นแหละก็เลยผิดกรรมเสีย เมื่อผิดกรรมแล้วทำอย่างไร สมัยนั้นหมอยาก็มีแต่ยารากไม้ รักษาไม่ได้ ผลสุดท้ายก็เลยตาย”

ก่อนตาย แม่ก็สั่งว่า “ลูกคนเล็กๆ ๓ คนนี้ให้แม่ป้าพ่อลุงเอาไปเลี้ยง เพราะเขาเป็นเชื้อผู้ใหญ่ และมีเรือนอยู่ติดกัน ส่วนลูกคนโตๆ นั้น ให้อยู่กับน้าบ่าวน้าสาว”

พอแม่ตาย พ่อก็เลยไปเอาเมียใหม่มาเลี้ยง ให้เมียใหม่มาช่วยเลี้ยงลูก แม่ใหม่กับลูกสาวก็เหมือนหมากับแมวนะ ลูกสาวก็ด่าเอาว่า “มึงไม่ใช่แม่กู อย่ามาทำสำออยเจ้าน้อย ให้กูตักน้ำมาให้อาบ ไม่ดอก” นั่นแหละ ผลสุดท้ายก็เลยแตกกัน เหมือนนกแตกรังเหมือนควายแตกคอก พ่อก็เลยไปอยู่กับแม่ใหม่เสีย แหม...ทีนี้ ก็เร่ร่อนสัญจรไปไหนมาไหนก็แสนทุกข์ยากลำบาก ทำงานหากินเลี้ยงชีพ

๓. ลูกชาวนา...ไร้การศึกษา

เราเกิดมาชาตินี้ แสนทุกข์ยากลำบาก เกิดขึ้นท่ามกลางไร่นา อายุ ๗ ปี แม่ตาย ๑๐ปี พ่อตาย เราก็เป็นลูกกำพร้า อยู่กับพี่น้องเขาก็พาให้เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ไม่ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนอะไร ทำนาตั้งแต่อายุ ๗ ปี นะ เริ่มทำจากนั้นมาถึง ๒๕ ปี แหมมันแสนทุกข์ยากลำบาก ๕ โมงเช้าถึงจะได้กินข้าว นั่นแหละปวดหลัง ปวดเอว บ่นเพ้อละเมอใจว่า เมื่อไหร่หนอเราจะพ้นจากการทำนา มันทุกข์ยากลำบาก

๔. นายพรานใหญ่

หลวงปู่เล่าต่อไปอีกว่า ผมเป็นนายพรานใหญ่นะ บ้านอยู่ฝั่งแม่น้ำชี จ.ร้อยเอ็ด สมัยผมเกิดนะไปหาปลาหาบตะกร้าไป บ้านนั้นมี ๑๐ หลังคาเรือนคุ้มนี้นะ ๒ คนนี่หาบตะกร้าไปเลย ลงไปหนองน้ำ ปลานี่ชุกชุมยุบยับ...ๆ...ๆ ไปถึงก็กำเอาๆ จนเต็ม ๒ หาบตะกร้า เอามาตั้งไว้กลางบ้าน แล้วก็ร้องบอกชาวบ้าน

“มาเด๊อ !...ไผอยากได้ก็มาเอา”

ตั้งไว้แล้วก็ไป ชาวบ้านก็ถือตะกร้าลงมา อยากได้ตัวไหนก็เอาไป พอเขากลับกันหมดแล้ว ปลาที่เหลือจึงไปเอามากินนะ ข้อยไปก็อย่างนั้น เจ้าไปก็อย่างนั้น แต่ก่อนไม่ได้ซื้อไม่ได้ขาย จะเอาไปทำอะไร สัตว์นั้นมันหลาย นั่นแหละ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมามากแล้วชีวิตนี้

๕. ได้เมียแม่หม้าย

พอเติบใหญ่ อายุได้ ๒๓ ปี เขาก็บังคับให้มีครอบครัว แต่แล้วครอบครัวนั้นเป็นอย่างไร ได้แม่ร้างแม่หม้าย ลูก ๓ ผัวเขาตาย เหลือแต่ของไม่ดีนั่นแหละ ของดีเขาเอาไปกินหมดแล้วสมขี้หน้าไหมเล่า แต่แล้วเราก็เหมือนกับแมว หญิงหม้ายนั้นเหมือนกับสุนัขตัวใหญ่ มันก็คั้นคอเอาอย่างนั้นทุกวัน นั่นแหละเพราะบุญพาวาสนาส่งไม่ดี ผลสุดท้ายก็เลยแยกทางกัน

เหตุที่แยกกับภรรยานั้น หลวงปู่เคยพูดว่า “วันหนึ่งสะพายข้องและแหไปหาปลา หว่านแหดำน้ำหาปลาตั้งแต่เช้ายันค่ำ ไม่ได้ปลาสักตัว ดำน้ำจนตาแดงกล่ำ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ตอนเย็นเดินคอตกกลับบ้านไม่ได้อะไร พอเห็นหน้าภรรยาสุดที่รัก ก็พูดบอกให้ฟัง แทนที่จะเห็นใจ กลับขู่ตะคอกต่อว่า หาว่า ไปมัวเถลไถลเที่ยวเล่น จนมืดค่ำ แล้วภรรยาก็เอาเครื่องมือหาปลามีข้องและแห เป็นต้น ถลกผ้าถุงปัสสาวะใส่ต่อหน้าต่อตา เห็นแล้วก็เกิดความสลดสังเวชอย่างใหญ่หลวง คิดว่า โอ๋...เมียเราทำไมทำได้ขนาดนี้ ทำถึงขนาดนี้แล้ว อยู่ด้วยกันไปก็ไม่เป็นมงคลอะไรจึงตัดสินใจแยกทางกับเมีย อย่างเข็ดหลาบ”

ทีนี้จะทำอย่างไรเล่า ทำอะไรก็ไม่ทันสมัยกับเขา เลี้ยงแต่ควาย ทำแต่นา ทำอะไรก็ไม่ดีกับเขาสักอย่าง สร้างโลก (มีครอบครัว) ก็สร้างแล้ว มีแต่จมกับจม สิ่งใดก็ไม่ดีทั้งหมดผลสุดท้ายก็มาคิดว่าทำอย่างไรมันจึงจะดี

ข. ออกบวช

๑. เหตุแห่งการบวช

ก็มาคิดปรารภถึงแม่ผู้บังเกิดเกล้านั่นแหละ คิดถึงแม่เวลาใด น้ำตาไหลนะ ถามนักปราชญ์ทั้งหลายว่า ทำอย่างไรจึงจะตอบแทนบุญคุณแม่ได้ นักปราชญ์ท่านก็ว่า จะทำนาค้าขายตอบแทนก็ไม่ได้ดอก มีแต่ออกบวชเท่านั้นแหละ บวชแล้วบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ทีนี้ก็เลยตั้งใจใฝ่ฝันว่าจะบวชบำเพ็ญบุญให้แม่สัก ๒-๓ พรรษา แล้วก็จะสึก จากนั้นก็เข้าวัดฝึกหัดขานนาค เพราะไม่ได้เรียนหนังสือ เขียนไม่เป็น อ่านไม่ออก นั่นแหละมันปึก (โง่) จึงท่องไม่ได้ ท่องแล้วท่องเล่า จนจะถอยหลังนะ เอ้าตั้งใจใหม่ โอ๋...คนอื่นเขายังได้เว้ย ! เอาวันละคำนะ “เอสาหัง ภันเตฯ...” อยู่นั่นแหละ มักน้อยเอาวันละคำก็เลยได้ เข้าวัดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พอขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ (พฤษภาคม) จึงได้บวช ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยมีหลวงปู่หนู ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ที่วัดบ้านปลาฝา ซึ่งเป็นวัดฝ่ายมหานิกายมาบวชให้ แล้วจำพรรษาอยู่วัดบ้านขมิ้น ๑ พรรษา จากนั้นจึงมาจำพรรษาที่วัดศรีจันทร์ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านแดง มีหลวงปู่นัน ตาปโส เป็นเจ้าอาวาส

๒. อุทิศบุญให้แม่

หลวงปู่เล่าว่า พอบวชแล้วออกจากโบสถ์มาก็อุทิศส่วนบุญให้แม่เลย “บุญที่ข้าพเจ้าบวชในวันนี้ ขอฝากแต่แม่เจ้าธรณีเทพเจ้าเหล่าเทวา นำบุญนี้ไปให้แม่ข้าพเจ้า มีนามว่า นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ดวงจิตของเขานั้น ไปอยู่สถานที่ใด ไปตกนรกก็ดี หรือไปมนุษย์ก็ดี หรือไปเป็นเปรต เป็นผี ก็ดี ขอให้ได้รับส่วนบุญนั้น ขอให้พ้นทุกข์ ให้กลับมาเกิดในตระกูลเดิม จะได้เห็นอำนาจในการบำเพ็ญบุญ ส่วนผู้นำข่าวบุญไปนั้น ก็ขอแบ่งส่วนบุญให้”

จากนั้นก็ตั้งใจบำเพ็ญบุญ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยืนภาวนา เดินจงกรม วันยังค่ำ บางกาลสมัย ๕ ปีนะ ไม่นอนตลอดไตรมาส ๓ เดือน เดิน ยืน นั่ง เท่านั้นแหละ ๔ - ๕ วัน ฉันครั้ง เพราะวิตกวิจารณ์ใจ กลัวว่าจะได้บุญน้อย จะไม่ไปช่วยเหลือแม่ นั่นแหละ ก็ทำอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ

๓. ให้พระเณรช่วยสอน

เมื่อหลวงปู่ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีจันทร์ ในหมู่บ้านแดงซึ่งมีหลวงปู่นัน ตาปโส เป็นเจ้าอาวาส หนังสือไม่ได้เรียน อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น เป็นแต่เลี้ยงควาย ไถนา คราดนา เท่านั้น วิชาความรู้ประจำชีวิตทางฝ่ายโลกก็ไม่เป็น เมื่อเข้ามาทางฝ่ายธรรม จะมาเรียนปริยัติ ตรี โท เอก ก็ไม่มี เพราะเขียนไม่เป็น อ่านไม่ได้

ทีนี้ก็มาตั้งใจประพฤติวัตรปฏิบัติ อ่อนน้อมค้อมตัวต่อพระเณร “ครูบาท่าน !...เมตตาสงเคราะห์ไอ้คนทุปัญญาเถอะว้า บางทีผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แล้วนั้นก็จะได้ผลบุญผลกุศลจากผมที่ได้ธรรมมะจากท่านฝึกสอนให้นี้นั้น ไปอบรมบ่มนิสัย ไหว้พระสวดมนต์ ภาวนา จะได้เป็นบุญกุศลของตน และท่านผู้ฝึกสอนถ่ายทอดความรู้ให้นั้น”

เขาเหล่านั้น บางองค์ก็พอใจฝึกสอนให้ บางองค์ก็เฉยถือตัวสำคัญว่า ผมนี้บุญน้อย วาสนาน้อย ฝึกสอนความรู้ให้แล้วก็คงจะไม่เป็นไปดอก ดูกิริยามารยาทแล้ว จะไม่เป็นไปในทางศาสนาดอก ถึงบวชก็ได้เพียงแค่พรรษาเดียว ก็จะตายเท่านั้นแหละ

แม้อาจารย์ที่เป็นผู้ปกครอง คือ หลวงปู่นัน ตาปโส ท่านก็พูดแล้ว พูดเล่า พูดกับพี่สาวผมนั่นแหละ “แม่ต่วน !...เอาผีบ้ามาบวชใช่ไหมเล่า ? ดูแล้วมันไม่ใช่คน ไม่เต็ม ขาดสลึงหนึ่ง ไม่เต็มคน มันจะไม่เป็นไป ”

พี่สาวก็เลยว่า “ โอ๋...ตั้งแต่วันเกิดมา ฉันเองเป็นคนเลี้ยงมาแต่น้อย จนถึงใหญ่ น้องทุกคน ทั้งที่ตายแล้วหรือยังอยู่ก็ดี สมบัติ สีสัน วรรณะ กิริยา มารยาท ก็ไม่เหมือนกัน แต่ไม่เป็นบ้าใบ้อะไรหรอกปู่ พอมีบุญอยู่ แต่ก็ขอให้ปู่ช่วยรับสงเคราะห์ต่อไปเถิด จะดีหรือชั่วก็จะได้เห็นกันข้างหน้าโน้น”

เรื่องดีชั่ว ที่สะสมมาแต่ชาติปางก่อนโน้น ก็ไม่อาจล่วงรู้กันได้ จะรู้กันได้ก็แต่ในปัจจุบันกับอนาคต นั่นแหละ แต่แล้วพระบางองค์ ท่านก็รังเกียจ เห็นว่า วิชาความรู้อะไรก็ไม่มี อ่านหนังสือก็ไม่ได้ เขียนก็ไม่เป็น ก็เลยไม่สอนให้ เณรบางองค์ก็รังเกียจ บางองค์ก็เมตตา แต่แล้วก็มีน้องชาย ๒ คน ซึ่งเป็นลูกน้าสาว (น้องแม่) เขาบวชอยู่แล้ว องค์หนึ่งบวชเป็นพระได้นักธรรมโท อีกองค์หนึ่งเป็นเณร ได้นักธรรมเอก เขาก็เมตตาสอนให้ ถ้าได้ดีข้างหน้าโน้นแล้วจะได้พึ่งพิงอิงอาศัยบ้าง และจะเป็นบุญเป็นกุศลของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ นั่นแหละ

๔. คำสั่งสอนของอุปัชฌาย์อาจารย์

พอบวชแล้วอุปัชฌาย์อาจารย์ท่านก็บอกว่า

“พระจันทา (ครับ) เธอนั้นเป็นคนทุกข์ยากลำบาก ความรู้วิชาอะไรก็ไม่ทันเขา วาสนาก็น้อย บุญก็น้อย พลอยรำคาญทุกข์ยากนานไม่มีวันว่างเว้น ถ้าบวชแล้วอย่าสึกนะ (ครับ) สึกไป ฟ้าผ่าห่ากินนะ ให้มันตายฉิบหาย มันไม่มีสติปัญญาวิชาความรู้เกิดมาภพน้อย ภพใหญ่ ทำตนเป็นคนกำพร้า อนาถา ทุกข์ยากเดือดร้อน อาทรใจอยู่อย่างนี้ ใช้ไม่ได้ ไม่มีสติปัญญา เขาเหมือนเรา เราเหมือนเขา แต่ไม่เหมือนกัน เขามีที่พึ่งพิงอิงอาศัย เราไม่มี เหมือนกับสุนัขกลางบ้าน นั่นแหละ สุนัขกลางบ้านทั้งเป็นขี้เรื้อน อีกด้วย”

“นั่นแหละ อย่าสึกนะ !...สึกแล้วฟ้าผ่าห่ากิน ไปไหน ให้มันตายมันโง่นี่ มันไม่มีสติปัญญาฉลาด จะไม่ทำคุณงานความดี ใส่ตนหลงไปตามแต่อารมณ์ของโลก เรื่องโลกๆ ฟังแต่ว่าโลก มันประกอบไปหมดทุกอย่าง รวมอยู่นั้นเรียกว่าโลก ส่วนเรื่องธรรมนี่มันน้อยนัก แต่ละภพแต่ละชาติที่จะได้มาประสบพบปะ ได้เจริญธรรมนั้นก็เป็นของยาก ทีนี้มาชีวิตนี้ได้พบแล้ว ก็ตั้งใจเจริญสะสมบุญ ให้เกิดมีขึ้นทุกเมื่อ อย่าได้ขาด เอาชีวิตเป็นแดน”

“ครับ” มีแต่ครับ รับได้เลย เพราะมองเห็นแล้วว่า อะไรก็ไม่เหมือนเขา เอ้า...ตั้งใจ

“ถ้าผมประพฤติวัตรปฏิบัติไปอย่างครูบาอาจารย์ หรืออุปัชฌาย์สอนนี่ จะเป็นบุญหรือเป็นบาป จะดีขึ้น หรือเสมอเดิมหรือถอยหลัง”

“อ้าว !...มันก็เป็นบุญ มีแต่ดีขึ้น ไม่ถอยหลัง คงที่ก้าวหน้าไปเท่านั้นแหละ ความโง่ก็จะหมดไป ความฉลาดก็จะเกิดขึ้น นั่นแหละบวชบำเพ็ญบุญล้างบาป บาปคือความโง่หลาย ทุกข์ยากลำบาก นั่นแหละบาป โทษปาณาติบาตที่ทำไว้ก็หนักมหันต์ เธอต้องบวชบำเพ็ญบุญล้างบาป ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่ไหวนะ ตายไปตกนรกหมกไหม้เป็นทุกขเวทนา หาวันจบสิ้นไม่ได้”

อุปัชฌาย์อาจารย์ สอนแล้วสอนเล่า ก็พอใจ มองดูโลกคือหมู่สัตว์ มันเหมือนกันไหมเล่า สูงต่ำ ดำขาว จนมี ดีชั่ว ฉลาด โง่เขลาเบาปัญญา นั่นแหละ มันไม่เหมือนกัน เพราะเหตุใดจึงไม่เหมือนกัน เพราะกรรมดีกรรมชั่ว เป็นผู้ตกแต่งโลกคือหมู่สัตว์นั้นให้ต่างกัน

กัมมุนา วัตตะตี โลโก โลกคือหมู่สัตว์ กรรมย่อมจำแนกตกแต่งให้ฉลาดโง่เขลา เบาปัญญา อายุสั้นพลันตายหรืออายุยืนยาว ไม่เหมือนกัน ร่ำรวย สวย จน ก็ไม่เหมือนกัน เพราะกรรมเป็นผู้ตกแต่งให้ ไม่ใช่สิ่งใดดอกที่จะตกแต่งให้ มีแต่กรรมเท่านั้น

กรรมดี กรรมชั่ว นั่นแหละ ที่ตกแต่งให้โลก ได้แก่สัตว์ทั้งหลายนี้ ไม่เหมือนกัน ถ้ากรรมดีมีแล้ว ก็ได้ดั่งใจหมาย จะทำไร่ทำนา ก็เจริญ ค้าขายก็เจริญ ศึกษาเล่าเรียนก็เจริญ ทันสมัยเขา เป็นเจ้าเป็นนาย ฉลาดมีสติปัญญาดี เพราะบุญเป็นเครื่องเสริม นั่นแหละ ถ้าบุญไม่มีแล้ว จะทำอะไรก็ล้าสมัยเขา ผลสุดท้ายก็ บ่าแบกหลังหนุน น้ำเหงื่อไหลไคลย้อย ทุกข์จนค่นแค้นแสนกันดาร ทำงานวันยังค่ำก็ไม่พอกิน

โอ้....เห็นจริงๆ นะ แหม...ผมนั้นรูปร่างล่ำสันใหญ่เขาจ้างให้ขุดโพนใหญ่ ๒-๓ วัน แล้วเลย (เสร็จเลย) พอได้กินสืบวันเท่านั้น นี่มันต่างกัน คนเขาร่ำรวยมีวาสนาไม่ได้ทำมากเท่าใด ก็เหลือกิน เหลือใช้ นั่นแหละคงจะเป็นอย่างว่า เกิดขึ้นเพราะกรรมดี กรรมชั่ว ทั้งนั้น

ทีนี้ ก็ตั้งใจเจริญบุญตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เจริญบุญ ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เดินภาวนา ยืนภาวนา นั่งภาวนา อดนอน ผ่อนอาหารมาไม่ลดละ เมื่อเจริญมรรค เครื่องส่งจิตเข้าสู่ความสงบได้ ความสุขเยือกเย็นเกิดขึ้นภายใน คือ ความสงบสุขนั้น นั่นแหละก็เห็นอำนาจของบุญ คือ ความสุขเยือกเย็นที่แท้ หาสิ่งใดเสมอเหมือนไม่มี สมัยเป็นฆราวาส กินลาบวัวลาบควายกับเหล้า ก็นึกว่ามันอร่อยเต็มที่แล้วนะ ซุบหน่อไม้ส้มกับปูนา แต่ก่อนนะมันอร่อยแหม ๑๐๐ ครั้ง ก็ไม่เท่าจิตสงบครั้งหนึ่งนะ

จิตสงบครั้งหนึ่ง แหมมันอร่อยเยือกเย็นหาสิ่งใดเสมอเหมือนไม่มี นั่นแหละเป็นรสชาติอันอร่อย การสะสมบุญก็ส่งผลมาเป็นระยะๆ ถ้าบุญพาวาสนาส่งทั้งภพชาติก่อนโน้น จะได้สะสมไว้ในศาสนาพระพุทธเจ้าองค์ก่อนก็ดี มาองค์นี้ก็ดี ก็ขอจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้ามีความยึดมั่นถือมั่นในศาสนาพุทธไม่ลดละ อย่าได้หวั่นไหวไปตามโลก ตามสงสาร มีความยึดมั่นกระสันพอใจเจริญธรรม ทั้งเช้า กลางวัน เย็น กลางคืนอยู่ทุกเวลา ไม่ประมาท นั่นแหละ มันก็เห็น เป็นอย่างนั้น มีความมั่นมาเสมอ

๕. ผลบุญช่วยให้แม่พ้นจากนรกมืด

ตั้งแต่ออกบวช ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ตั้งใจบำเพ็ญบุญไม่ลดละ เดินจงกรม ยืนภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้ว ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม ก็อุทิศส่วนกุศลไปให้แม่ผู้บังเกิดเกล้าทุกวัน “ปุญญัง อุททิสสะ ทานัง สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอบุญจงไปช่วยเหลือแม่ของข้าพเจ้านะ ชื่อว่า นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ ดวงจิตเขานั้นไปสิงสถิตอยู่สถานที่ใด ไกลหรือใกล้นั้น ขอบุญจงไปช่วยเหลือ ให้พ้นจากทุกข์นั้น” นั่นแหละ ก็อุทิศส่วนบุญไปให้อย่างนั้น จนกระทั่งอายุพรรษาล่วงมาได้ ๒๕ พรรษา แม่ก็พ้นจากนรกมืดมาเกิดกับหลานสาว พออายุ ๒ ปี ก็พูดจาได้ความรู้เรื่อง

แม่ยายเขาเรียกใช้ “อีหล้า ไปหยิบของมาให้แม่หน่อย”

“มึงอย่ามาเรียกกู อีหล้า กูเป็นแม่มึงนะ”

“เป็นแม่ได้อย่างไร เพิ่งเกิดมาได้ ๒ ปี”

“สมบัติร่างกายนี้ไม่ใช่แม่หรอก เป็นหลาน แต่ว่าใจของฉันนั้นเป็นแม่ของพวกท่าน”

นั่นแหละ เขาก็เลยมานิมนต์ให้ไปซักไซ้ไต่ถามดู ก็เลยได้ความว่า เคยเป็นแม่ในชาติก่อน เมื่อถามว่า เป็นแม่นั้น มีบุตรกี่คน

เขาก็ตอบได้ว่า มีบุตร ๖ คน คนที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, และ ๖ เขาก็ไล่ชื่อเสียงเรียงนามได้ทั้งหมด รวมทั้งสามี ภรรยา ญาติมิตรสายโลหิต ปู่ ย่า ตา ยาย เพื่อนบ้าน เขาบอกได้ถูกต้องทุกอย่าง ตลอดจนเรื่องเรือกสวนไร่นานั้น ก็บอกได้ถูกต้อง รวมทั้งหลักฐาน เครื่องหมายต่างๆ ก็บอกได้ ไม่ผิด

แต่แล้วก็ยังไม่ลงเอยกันนะ จึงได้ถามเขาต่อไปอีกว่า “หลวงพ่อ คิดถึงเจ้านั่นแหละ จึงได้ออกบวช แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ ได้รับหรือไม่ ?”

เขาว่า “ได้รับ ได้รับแต่ตอนกลางคืน ๕ ทุ่ม ได้รับทุกคืน แต่ตอนเช้าไม่ได้รับ ไปอยู่ที่ไหนเล่า ?”

เขาต่อว่ากลับมาอีก “โอ๋...ตอนเช้าหลวงพ่อ ทำบุญน้อย พอตี ๒ ก็ลุกขึ้นมาทุกวันแล้วนั่งสมาธิตั้งแต่นั้นไป จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วก็สวดมนต์ทำวัตรเช้า จากนั้นก็ไปทำกิจวัตร จึงไม่ได้อุทิศส่วนบุญไปให้ อุทิศให้เฉพาะตอนเย็น เพราะตอนเย็นเดินจงกรมตั้งแต่ ๖ โมงเย็นไปจนถึง ๕ ทุ่ม ทุกวัน แล้วก็หยุดยืน นั่งสมาธิ ไหว้พระ สวดมนต์ อุทิศส่วนบุญไปให้ เพราะตอนเย็นนั้น ได้บำเพ็ญบุญมาก”

เขาว่า “ถ้าได้ทั้งเช้าและเย็น ก็คงจะพ้นจากนรกมืดได้ เร็วกว่านี้”

ก็ถามเขาต่อไปว่า ”ไปอยู่นรกมืดนั้นเป็นอย่างไร ?”

เขาก็ว่า “เมื่อขาดใจแล้ว นายนิริยบาลมาคุมตัวไปฝากไว้ในนรกมืด ไม่มีแสงสว่างเลย มืดทั้งวันทั้งคึน ไม่ได้เเห็นแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์เลย”

“ในนรกมีคนมากเท่าไร ?”

“โอ๋...ดวงวิญญาณในนรกมืดนั้นแน่นขนัด อัดแอกันอยู่เหมือนข้าวสารยัดกระสอบนั่นแหละ”

ทีนี้เมื่อพวกท่านอุทิศส่วนบุญไปให้ จ่ายมบาลก็ว่า “นางเลี่ยม ชมภูวิเศษ จงมารับเอาส่วนบุญ ที่ลูกบวชในศาสนาอุทิศมาให้ทุกวันคืน”

นั่นแหละ ฉันก็ดีใจ เมื่อรับเอาบุญทุกวันคืน ตั้งแต่ปี ๒๔๙๐ ไปถึง ๒๕ พรรษา ก็เลยพ้นจากกรรมชั่วช้าลามกทั้งหลายทั้งปวงนั้น มาอยู่เหนืออำนาจการบังคับของจ่ายมบาล เพราะอำนาจของบุญนั้นตัดกระแสของบาปกรรมในนรกออกได้ เขาก็เลยปล่อยไปตามเรื่อง หมดกรรมเวรแล้ว ขอแม่เจ้าจงไปตามเรื่องเถิดจงไปเกิดที่เมืองมนุษย์ แล้วเขาก็เปิดประตูเหล็กให้ เสียงประตูดังสนั่นเหมือนฟ้าร้อง ได้เห็นแสงพระอาทิตย์สว่างจ้าก็ดีใจ แล้วก็หันหน้าไปร้องบอกลาพวกที่ยังอยู่ในนรกว่า

“พี่น้องทั้งหลาย ฉันขอลาไปเกิดเมืองมนุษย์ก่อนนะ”

พวกที่เหลืออยู่ก็ร้องไห้กันสนั่นหวั่นไหว เหมือนอึ่งอ่างในฤดูฝน ไปไหนไม่ได้ เพราะบาปกรรมรึงรัดผูกมัดไว้กับสถานที่นั้น บาปไม่อนุญาตให้ไป เพราะยังไม่หมดเขตเวรกรรม

จากนั้น จ่ายมบาลก็ว่า ”ขอให้ไปดี โชคแม่มีแล้ว เพราะได้ลูกเป็นนักปราชญ์ชาติเมธี ใจดีมีศีลธรรม ออกบวชบำเพ็ญบุญ ส่งมาให้ก็ดีมาก นับว่าหาได้ยากในโลกนี้”

นั่นแหละ ก็เห็นอำนาจของการบวชบำเพ็ญบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ แม่ไปตกนรกมืด บุญก็ไปช่วยเหลือให้มาเกิดในตระกูลเดิมได้ ก็หมดความห่วงใยอาลัยแล้วได้เห็นผลประจักษ์อย่างนั้น



๖. ทำบุญกับพระทุศีล อุทิศให้ไม่ถึง

ทีนี้ก็ย้อนมาถามพี่สาวบ้างว่า “ไม่ได้ทำบุญอุทิศไปให้แม่บ้างหรือ ?”

พี่สาวก็ว่า ทำ ๓ ครั้ง น้าสาว (น้องแม่) เขาคิดถึงพี่สาวเขาก็เลยพาหลานสาวทำบุญอุทิศไปให้แม่ ทำถึง ๓ ครั้ง

“ทำอย่างไรเล่า ?”

น้าสาวพาทำบุญใส่เหล้าลงไปครั้งละโหลนะ ครั้งละโหล ไหใหญ่ ๆ ฝังไว้ในป่าสับปะรด ป่ากล้วย ฆ่าวัว ฆ่าควาย สมัยนั้นวัวควายราคาถูก ทำบุญแต่ละครั้งหมดวัวควายไป ๔ - ๕ ตัว ตัวละ ๑๐ สลึงก็มี ตัวละ ๖ สลึงก็มี บาทหนึ่งก็มี ๕๐ สตางค์ก็มี สมัยนั้นวัวควายไม่มีราคา

“แล้วพระที่ไปทำบุญด้วยนั้น มีการประพฤติปฏิบัติอย่างไร ?”

“โอ๋...พระเหล่านั้น กินข้าวแลงแกงร้อน (กินข้าวมื้อเย็น) เล่นสีกงสีกานารี ขุดดิน ฟันไม้ ถือเงินบายทอง (ใช้จ่ายเงินทองเยี่ยงฆราวาส) และที่วัดนั้นมีหมาพรานอยู่คู่หนึ่ง เย็นค่ำขึ้นมาก็พาหมาเข้าป่าไปล่าสัตว์ อีเห็น กระต่าย ได้มาก็เอามาทำอาหารกิน กินเหล้า กินยา ต่างๆ นานา”

ถ้าทำบุญอย่างนั้นก็ไม่ได้บุญหรอก ถึงจะอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับหรอก เหตุที่อุทิศไปให้ไม่ถึงก็เพราะ

๑) ฆ่าวัว ฆ่าควาย กรรมของสัตว์เหล่านั้นไปขวางไว้

๒) ผู้รับทานนั้น เป็นพระทุศีล พระทุศีล อุทิศให้ไม่ถึงนะ เพราะเครื่องส่งนั้นคือศีลนั้นมันขาด ขาดศีลเป็นเครื่องส่งบุญ แม้ตัวพระเองก็ไม่ได้รับ เพราะมีแต่บาป จะรับไทยทานส่งไปให้ผู้อยู่โลกหน้าก็ไม่ถึงทั้งนั้น

๗. ทำบุญอุทิศให้คนเป็น

หลวงปู่ยังเล่าไว้อีกว่า หลานชายซึ่งเป็นลูกของพี่สาวเป็นทหารเสือพรานไปรบที่เวียดนามเหนือ แล้วถูกเขาจับขังไว้ ๔ ปีนะ ทุกข์ยากลำบากแสนที่จะตาย ก็นึกว่าจะไม่ได้กลับเมืองไทย ทีนี้ พี่สาวกับพี่เขย เขาก็มานิมนต์พาไปทำบุญหาหลานสงสัยจะตายไปแล้ว มาถึงก็พาเขาทำเลย อย่าฆ่าวัว ฆ่าควายนะ ถ้าต้องการก็ไปหาเนื้อปลาอาหารที่ตลาดที่เขาทำไว้แล้ว จึงจะอุทิศถึง นั่นแหละก็เลยทำ ทำเสร็จก็อุทิศให้ว่า

“ขอบุญจงไปถึงนายแขก เขาไปอยู่เวียดนามเหนือนั้นจะตายหรือยัง ถึงตายแล้วก็ดี หรือยังอยู่ก็ดี ขอบุญจงไปช่วยเหลือ ถ้ายังไม่ตายขอให้กลับคืนมาเมืองไทย”

ไม่นานเขาก็มีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกกันนะ รัฐบาลเขาประกาศว่า ใครมีลูกมีหลาน ก็ไปรอรับเอาที่ขอนแก่น หรือโคราชนะ เขาจะขึ้นเครื่องบินมาลงที่นั่น นั่นแหละพี่น้องเขาก็ไปรอรับ โอ๋...ผอมดำเหมือนผี กลับมาแล้ว เขาก็ซักไซ้ไต่ถามดูว่า

“เป็นอย่างไรเล่า ทำบุญให้ได้รับไหม ?”

“โอ้...เดือน ๓ เพ็ญ นอนหลับฝันไปนะ มีแต่ข้าวต้มขนมเต็มอยู่ กินจนเต็มอิ่มนะ ตื่นขึ้นมาก็อิ่มอีกนะ โอ๊...อาจจะแม่นพ่อแม่เขาทำบุญมาให้นะ”

นั่นแหละไม่นานก็พ้นโทษ รัฐบาลทั้ง ๒ ก็แลกเปลี่ยนเชลยศึกกัน กลับมาแล้วก็ดีใจ นั่นแหละผลของบุญดีอย่างนั้น


หลวงปู่จันทา ถาวโร



.............................................................

ขอขอบคุณที่มาจาก ::
หนังสือ 80 ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร

322
ขอบคุณสำหรับภาพบรรยากาศต่างๆในงาน...ครับท่าน

สุดยอด...จริงๆ :016:

323
ขอขอบคุณ...สำหรับภาพบรรยากาศและเรื่องราวในงานไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น

ประจำปีนี้...ปีหน้ารอชมต่อ...

ป.ล.ได้รับข้อความทาง pm หรือยัง...ตอบด้วยครับ

324
ขอบคุณ...สำหรับภาพถ่ายบรรยากาศในงานไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น...ปีนี้

เก็บรายละเอียดได้ดีครับ...ปีหน้า...รอชมอีกครับ :016:

325
คาถาอาคม / คาถาหัวใจเศรษฐี
« เมื่อ: 02 มี.ค. 2553, 11:17:06 »
อุ อา กะ สะ  หัวใจเศรษฐี

        พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่มนุษยชาติตลอดสี่สิบห้าปี เพื่อมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์สูง 3 ประการ คือ

        o ประโยชน์สุขสามัญที่สามารถมองเห็นได้ในปัจจุบันที่บุคคลทั่วไปปรารถนามีทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง อันประกอบด้วยลาภ ยศ สุข สรรเสริญ

        o ประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดีทำให้ชีวิตมีค่าและเป็นหลักประกันในชาติหน้า

        o ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน อันได้แก่ สภาพที่ดับกิเลสความโลภ ความโกรธและความหลง อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา



หัวใจเศรษฐี อุ อา กะ สะ โดยจะต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบ ดังต่อไปนี้

        1. อุ ย่อมาจากคำว่า อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้ หนักเอาเบาสู้ในหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย กิจการทั้งหลายต้องรู้จักรับผิดชอบ โบราณกล่าวว่า ทรัพย์นี้มิไกล ใครปัญญาไว หาได้บ่นาน ทั่วแคว้นแดนดินมีสิ้นทุกสถาน ผู้ใดเกียจคร้าน บ่พานพบนา ซึ่งหมายถึง ทรัพย์สินเงินทองมีอยู่ทุกหนแห่ง ขออย่างเดียวอย่าเกียจคร้านให้ลงมือทำงานทุกชนิดอย่างจริงจังตั้งใจ งาน คือ ชีวิต ชีวิต คือ งานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน มิใช่รอความสุขจากความสำเร็จของงานอย่างเดียวขาดทุนและขอให้ถือคติว่า ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง ขี้หึ้งเป็นแมลงป่อง จองหองเป็นกิ่งก่า


        2. อา ย่อมาจากคำว่า อารักขสัมปทา แปลว่า ให้ถึงพร้อมด้วยการรักษาคุ้มครองทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ด้วยความ ขยันหมั่นเพียร ไม่ให้เงินทองรั่วไหลมีอันตราย ระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมิให้เปลืองเงินทองโดยใช่เหตุ ตลอดจนรักษาหน้าที่การงานของตัวเองไม่ให้เสื่อมเสีย ขอให้ยึดหลักการเก็บเล็กผสมน้อยหรือการเก็บหอมรอมริบ ซึ่งล้วนเป็นขบวนการเก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองที่ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี้คือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างสุขกายสบายใจไม่ต้องอยู่ร้อนนอนทุกข์สนุกอยู่กับคำว่า พอ เงินทองมีเกินใช้ ได้เกินเสียไม่ละเหี่ยจิตใจและขอให้ถือคติว่า ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จงคิดอ่านแก้จนเป็นคนพอ


        3. กะ ย่อมาจากคำว่า กัลยาณมิตตตา แปลว่า การมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว เพราะคบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล คบคนจึงต้องดูหน้าว่าเพื่อนเป็นคนดีที่มีลักษณะไม่เป็นคนปอกลอก ไม่ดีแต่พูด ไม่หัวประจบและไม่เป็นคนชักชวน ไปในทางฉิบหาย มีการดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน มั่วเมาในการเล่นและผีการพนันเข้าสิงจิตใจ และขอให้ถือคติว่า มีเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา เหมือนมีเกลือนิดหน่อยด้อยราคา ดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล


        4. สะ ย่อมาจากคำว่า สมชีวิตา แปลว่า การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ รู้จักกำหนดรายรับและรายจ่าย อย่าให้สุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยหรืออัตคัดขัดสนจนเกินไปให้รู้จักออมเงิน ออมเงินเอาไว้ ฉุกเฉินเมื่อไร จะได้ใช้เงินออม และขอให้ถือคติว่า

        มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ แม้มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน



ขอขอบคุณ:http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-081122085933159

326


".....ผู้ถือไม่มีบาป ไม่มีบุญ ก็มากมายเข้าแล้ว แผ่นดินนับวันแคบ มนุษย์แม้จะถึงตาย ก็นับวันมากขึ้น นโยบายในทางโลกีย์ใดๆ ก็นับวันประชันขันแข่งกันขึ้น พวกเราจะปฏิบัติลำบากในอนาคต เพราะเนื่องด้วยที่อยู่ไม่เหมาะสม เป็นไร่เป็นนา จะไม่วิเวกวังเวง
ศาสนาทางมิจฉาทิฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย
ฉะนั้นพวกเราทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม ดังไฟที่กำลังไหม้เรือน จงรีบดับเร็วพลันเถิด ให้จิตใจเบื่อหน่ายคลายเมาวัฏสงสาร ทั้งโลกภายในหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ทั้งโลกภายนอกที่รวมเป็นสังขารโลก ให้ยกดาบเล่มคมเข้าสู้ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาติดต่ออยู่ไม่มีกลางวันกลางคืนเถิด
ความเบื่อหน่ายคลายเมาไม่ต้องประสงค์ ก็จะต้องได้รับแบบเย็นๆ และแยบคายด้วย จะเป็นสัมมาวิมุตติ และสัมมาญาณะอันถ่องแท้ ไม่ต้องสงสัยดอก
พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่ หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแหละ..."

                                                                  โอวาทครั้งสุดท้ายของอาจารย์มั่น
                                                              (บันทึกโดยพระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต)
                                                                       จากหนังสือ “เพชรน้ำหนึ่ง

327

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


หากพูดถึงวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งจังหวัดนนทบุรี “วัดชลประทานรังสฤษฎ์” คงเป็นวัดที่ทุกคนรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี ในฐานะวัดที่ปราศจากอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เครื่องรางของขลัง การบอกใบ้หวย การเข้าทรงองค์เจ้า แต่วัดแห่งนี้มุ่งเน้นในเรื่องของหลักธรรมคำสอนและการปฏิบัติตามแก่นธรรมแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้คนให้หลุดพ้นจากกิเลสที่พอกพูน โดยมี “หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ทำหน้าที่เป็นนักรบแห่งกองทัพธรรม ขับเคลื่อนหลักธรรมคำสอนเผยแพร่สู่สาธารณชนมาเป็นเวลาช้านานแล้ว

“หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ” หรือ “พระพรหมมังคลาจารย์” ผู้ลาลับ ท่านถือเป็นหนึ่งในผู้มอบกายถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนาอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีความมุ่งหมายในเกณฑ์ 2 ประการคือ ประการแรกเพื่อประกาศความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ และประการที่สองเพื่อทำลายความเห็นผิด และการกระทำที่ผิดๆ ในหมู่พี่น้องชาวพุทธทั้งหลายให้หมดไป


ทุกวันอาทิตย์พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก


ด้วย 2 หลักเกณฑ์ที่หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุพึงยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอด รวมถึงการประยุกต์ธรรมต่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจและเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่ได้ฟังธรรมของท่านได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจนกลายเป็นมหาศรัทธาของมหาชน

หนึ่งในนั้นก็คือ ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทานในช่วงปี พ.ศ.2492-2509 หรือบิดาแห่งชลกร หลังได้ฟังการแสดงธรรมของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้เกิดความเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นอย่างมาก


ผู้มาทำบุญใส่บาตรมีกันทุกเพศทุกวัย
ทั้งมากันเป็นครอบครัวหรือจะมาคู่มาเดี่ยวก็ได้



และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและวิธีการถ่ายทอดธรรมมะของหลวงพ่อปัญญา ม.ล.ชูชาติ และกรมชลประทานจึงได้มอบที่ดิน และสร้างวัดชลประทานรังสฤษฎ์แห่งนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 ที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พร้อมได้อาราธนาหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นต้นมา

หากใครได้มีโอกาสเข้าไปเยือนยังวัดชลประทานฯ แห่งนี้ จะรู้สึกได้ถึงบรรยากาศอันร่มรื่นร่มเย็นทั่วทั้งบริเวณวัด ด้วยต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย หรือจะเรียกว่าวัดป่าก็คงจะได้ ด้วยพื้นที่ที่กว้างใหญ่ถึง 48 ไร่ แต่ภายในกลับมีสิ่งปลูกสร้างเพียงน้อยนิดเพียงพอต่อการใช้งานเท่านั้น โดยสิ่งปลูกสร้างใหญ่ๆ ที่หลวงพ่อได้สร้างไว้มีเพียง 3 สิ่งเท่านั้นคือ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (สำหรับเด็กเยาวชน), โรงเรียนพุทธธรรม (สำหรับอุบาสกอุบาสิกา) และกุฏิสี่เหลี่ยม เท่านั้น นอกนั้นเป็นบุคคลภายนอกสร้างให้ตามสมควรทั้งสิ้น


พระอุโบสถเล็กๆ ใช้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์


และหากสาธุชนท่านใดได้สังเกต ก็จะเห็นอีกว่า วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปเพียงไม่กี่องค์ เนื่องจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุไม่เน้นในเรื่องของวัตถุ หากแต่เน้นให้คนเข้าถึงคำสั่งสอนและปฏิบัติตามขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากกว่า ดังป้ายธรรมมะเตือนใจป้ายหนึ่งในหลายๆ ป้ายที่ติดไว้ตามต้นไม้ทั่วบริเวณวัดว่า

“คนไหว้พระเท่าใดไม่ถูกพระ
ไหว้เปะปะพระประดิษฐ์อิฐปูนปั้น
ใจกระจ่างแจ้งธรรมที่สำคัญ
พระจะพลันพบได้ในใจเรา”

 
พระอุโบสถ


จากการยึดหลักความพอเพียงมาโดยตลอดการสร้างวัด พระอุโบสถของวัดแห่งนี้จึงเป็นเพียงอุโบสถเล็กๆ สีขาวตั้งอยู่หน้าวัด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิเป็นพระประธาน อุโบสถแห่งนี้จะเปิดเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสังฆกรรมของสงฆ์ในวันธรรมดา และจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าไปกราบนมัสการพระประธานเฉพาะวันพระและวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ส่วนหน้าอุโบสถนอกเขตพัทธสีมาด้านซ้ายและขวา มีต้นสาละลังกาและต้นเหลืองปรีดิยาธร ที่หลวงพ่อปัญญานันทะได้ปลูกไว้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2547

เมื่อเดินเข้าไปด้านในจะพบกับลานธรรมหรือลานหินโค้งใหญ่ ร่มรื่นด้วยแมกไม้ หากใครที่เคยไปวัดสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี คงจะต้องคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี เพราะลานหินโค้งแห่งนี้ได้สร้างขึ้นเลียนแบบขึ้นมา เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.2480 หลวงพ่อปัญญาเคยไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม และได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับ ท่านพุทธทาสภิกขุ และท่าน บ.ช.เขมาภิรัต (พระราชญาณกวี อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร อดีตเจ้าอาวาสวัดขันเงิน ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร) เป็นสามสหายธรรมร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า


ต้นไม้ให้ข้อคิดมีอยู่ให้เห็นมากมายภายในวัด


ลานแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่ให้การแสดงธรรมภายในวัด เป็นแบบเรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติ เช่นเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างศาลาอาคารต่างๆ ภายในวัดจึงมีอาคารเท่าที่จำเป็นแก่ศาสนกิจเท่านั้น

ลานหินโค้งแห่งนี้ เดิมชื่อว่า ลานไผ่ หรือสวนไผ่ เนื่องจากตอนนั้นบริเวณนี้มีต้นไผ่เยอะ กระทั่งปี พ.ศ.2536 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุได้ไปจำพรรษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้รักษาการเจ้าอาวาทแทนหลวงพ่อได้เอาต้นไผ่ออกแล้วแทนด้วยต้นไทร เนื่องจากต้นไผ่มีใบร่วงเยอะต้องเก็บกวาดบ่อย และต้นไทรก็ให้ร่มเงาที่ร่มเย็นกว่าด้วย


กุฏิสงฆ์ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ...สมถะ

เมื่อหลวงพ่อกลับมาเห็นความเปลี่ยนแปลง ก็ได้ถามหาต้นไผ่ พระผู้รักษาการเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงตอบไปว่า หลวงพ่อไม่อยู่ ต้นไผ่เลยหนีไปเที่ยว แล้วต้นไทรก็อยากมาอยู่กับหลวงพ่อแทน หลวงพ่อได้ฟังดังนั้นก็หัวเราะแล้วบอกว่าดี จะได้ร่มเย็น จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า “ลานหินโค้ง” ตามลักษณะของลานนั่นเอง

ที่ “ลานหินโค้ง” แห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในทุกๆ วันอาทิตย์ เวลาประมาณ 07.00 น. ลานหินโค้งกว้างแห่งนี้จะเต็มไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมกันกิจกรรมทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม รายล้อมด้วยพระสงฆ์ที่นั่งรับบาตรอยู่บนอาสนะจำนวนหลายสิบรูป


บรรยากาศร่มเย็นเป็นธรรมภายในวัดชลประทานฯ


หากใครมาไม่ทันช่วงเช้าก็ไม่ต้องกังวล เพราะตั้งแต่เวลา 09.30 น. พระภิกษุสงฆ์ก็จะออกมาที่ลานหินโค้งอีกครั้งเพื่อรับบาตรฉันเพล บรรยายปาฐกถาธรรม ให้ศีลให้พร ถวายสังฆทานร่วมกัน จากนั้นพระท่านจะสวดมนต์พร้อมๆ กับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมธรรมอย่างพร้อมเพรียง หากใครที่สวดมนต์ไม่เป็นก็มีหนังสือบทสวดให้ได้ยืมกัน ส่วนวันจันทร์-เสาร์นั้นพระสงฆ์จะออกรับบาตร ณ ลานหินโค้ง ในเวลาประมาณ 07.00 น. เพียงรอบเดียวเท่านั้น

ส่วนในบริเวณสวนป่าที่ร่มรื่นสงบใกล้ลานหินโค้ง ยังมีโต๊ะม้านั่งมากมายเพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาและปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งต้นไม้ให้ข้อคิด ซึ่งก็คือต้นไม้ที่ถูกปิดป้ายด้วยข้อคิดข้อธรรมต่างๆ อีกทั้งยังมีรูปปั้น ม.ล.ชูชาติ กำภู ผู้สร้างวัด และไม่ไกลกันก็มีรูปปั้นหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ให้ประชาชนได้เคารพกันด้วย

 
แม้จะหมดช่วงเวลาตักบาตรฟังธรรมแล้ว
ก็ยังสามารถปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิกันได้ทุกเมื่อ



นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนพุทธธรรม มีอุบาสกอุบาสิกา มาถือศีลอุโบสถปฏิบัติธรรมกันทุกวัน โดยมีพระภิกษุผลัดเปลี่ยนกันมาเทศนาแนะนำสั่งสอนเป็นประจำ อีกทั้งทางวัดได้จัดพระภิกษุคณะหนึ่งให้การศึกษาแก่เยาวชนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณวัดด้วย ซึ่งมีเยาวชนให้ความสนใจมากมาย อีกทั้ง ยังมีศูนย์จำหน่ายหนังสือธรรมะ รวมถึงเทปและซีดีธรรมะต่างๆ ให้ชาวพุทธได้เลือกสรรนำไปศึกษาปฏิบัติต่อไป

ณ เวลานี้ แม้หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะลาลับไปจากวัดชลประทาน แต่ว่าหลักธรรมคำสอน เจตนารมณ์ ความมุ่งหมาย รวมสิ่งที่นักรบแห่งกองทัพธรรมท่านนี้ปฏิบัติ ยังคงอยู่ในจิตใจของชาววัดชลประทานทุกคน รวมถึงยังคงอยู่ในจิตใจของชาวพุทธส่วนใหญ่ไปตลอดกาล

“การสร้างพระคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด วิเศษที่สุด ก็คือคัมภีร์ธรรมที่อยู่ในใจของเรา เอาร่างกายเป็นตู้ใส่คัมภีร์ เอาใจเป็นที่จารึกพระคัมภีร์ จารึกไว้ในใจตลอดเวลา”

 
ประชาชนยังคงเดินทางมาเคารพสรีระสังขารหลวงพ่อปัญญา


ขอขอบคุณข้อมูลโดย: ผู้จัดการออนไลน์   
 

328

พระนอนและสิงห์คู่แบบล้านนาที่ด้านหน้าทางเข้าวัดพระธาตุสุโทน


‘วัดพระธาตุสุโทน’ งามล้ำจับจิต แฝงปริศนาธรรม

หากใครได้แวะเวียนไปเยี่ยมเยือน เมืองแพร่ ดินแดนแห่งหม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ (ส่วนหนึ่งของคำขวัญจังหวัด : หม้อห้อม สะกดตามคำขวัญจังหวัด) ก็จะรู้ว่า แพร่เป็นเมืองที่มีศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนาตอนล่างอันเป็นเอกลักษณ์ และวิถีอันสงบงามที่น่าสนใจเมืองหนึ่งในภาคเหนือ แถมในความสงบงามของเมืองแพร่ที่หลายๆ คนมองเป็นเมืองผ่านนั้น ถ้าหากได้มองกันอย่างเพ่งพินิจแล้ว แพร่มีสิ่งชวนชมสวยๆ งามๆ แอบแฝงซ่อนเร้น ประหนึ่งพยัคฆ์ซุ่มมังกรซ่อนให้ชมกันหลายจุดทีเดียว

อย่างบนถนนหมายเลข 101 (เด่นชัย-ลำปาง) ที่เป็นทางผ่านจากตัวเมืองแพร่ไปลำปางหรือไปสุโขทัย ณ จุดห่างจากสามแยกเด่นชัยไปประมาณ 5 กิโลเมตร ริมถนนสายนี้จะมองเห็นพระนอนองค์โตและวัดหลังงามตั้งตระหง่านอยู่บนเนินย่อมๆ ที่เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาโดนใจในความโดดเด่นสวยงามของวัดแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง


หนึ่งในของเก่าแก่ในพิพิธภัณฑ์สุวรรณหอคำ


วัดแห่งนี้ก็คือ “วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม” หรือ “วัดพระธาตุสุโทน” ที่เพียงแค่แรกพบเห็น มนต์เสน่ห์ของวัดก็ดึงดูดให้เราออกจากรถมุ่งหน้าลงไปค้นหาในความงามแห่งพุทธศิลป์ของวัดแห่งนี้ในทันที

ปกติวัดทั่วๆ ไปในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องความงามนั้น ส่วนใหญ่ต้องก้าวข้ามพ้นกำแพงวัดไปก่อนถึงจะพบกับความสวยงามภายในกำแพง ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ วิหาร พระธาตุเจดีย์ พระประธาน หอไตร จิตรกรรมฝาผนัง ฯลฯ แต่สำหรับที่วัดพระธาตุสุโทนนี่มีความงามให้ยลกันตั้งแต่นอกกำแพงวัดเลยทีเดียว โดยสิ่งแรกที่พบเจอแล้วโดดเด่นชวนชมเป็นอย่างยิ่งก็คือ พระนอนองค์โต ที่ประดิษฐานอยู่ด้านซ้ายของประตูกลางทางเข้าวัด

พระนอนองค์นี้ สร้างด้วยศิลปะแบบพม่าอย่างละเมียดละไม มีพระพักตร์หวาน จีวรเป็นริ้วดูพลิ้วสวยงาม ฝ่าพระบาท 2 ข้างแกะสลักด้วยลวดลายมงคล และมีพุทธสรีระงดงามสมส่วน

ถัดมาช่วงกลางวัด ตรงบันไดทางขึ้นถูกขนาบข้าง 2 ฟากฝั่งด้วยสิงห์คู่สีทองยืนเด่นเป็นสง่า สมดังผู้พิทักษ์รักษาบันไดทางขึ้นสู่แดนแห่งธรรม ในขณะที่ขอบบันไดก็มี 2 ผู้พิทักษ์ธรรมอย่างพญานาค 7 เศียรที่ทอดตัวเลื้อยขนาบ 2 ข้างลงมาจากซุ้มประตูกลาง ซึ่งทางวัดพระธาตุสุโทนสร้างด้วยศิลปะปูนปั้นเปลือย โดยจำลองแบบมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง แห่งเมืองรถม้า จังหวัดลำปาง


มัคนารีผลในพิพิธภัณฑ์สุวรรณหอคำ


หากใครเมื่อเดินขึ้นบันไดกลางนี้ แล้วพบว่าประตูทางกลางทางเข้าวัดปิดก็อย่าได้แปลกใจไป เพราะวัดนี้มีความเชื่อว่า ประตูทางกลางทางเข้าวัดมีไว้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และผู้มีบุญบารมีเท่านั้น ส่วนปุถุชนคนธรรมดาก็ให้เดินเข้าวัดทางประตูฝั่งซ้าย-ขวาตามความสะดวก

งานนี้เราเลือกเข้าประตูทางฝั่งขวาที่ซุ้มประตูฝั่งนี้จำลองแบบมาจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ (ส่วนซุ้มประตูด้านซ้ายอีกฝั่งจำลองมาจากวัดพระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว) ที่เมื่อเดินก้าวข้ามกำแพงวัดเข้าไปก็ได้พบกับความงามมากมายรออยู่

จุดแรกที่ไปชมคือ “พิพิธภัณฑ์สุวรรณหอคำ” ที่เป็นอาคารทรงล้านนาสร้างด้วยไม้สักทอง มีเสาทั้งหมด 101 ต้น เป็นจำนวนเท่ากับหมายเลขถนน (สาย 101) ที่ผ่านหน้าวัด ส่วนข้างในพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยโบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่หายากมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวนมากเ ครื่องดนตรีโบราณ รูปเคารพโบราณต่างๆ หม้อไหเก่า เครื่องทองเหลือง เครื่องกระเบื้อง เครื่องเขิน เครื่องสังคโลก อาวุธโบราณ ฯลฯ รวมถึงภาพถ่ายโบราณต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์กฎหมายมังรายศาสตร์ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรกของเมืองแพร่อันว่าด้วยการปกครองและการพิจารณาคดีความต่างๆ

ส่วนที่สะดุดตา “ผู้จัดการท่องเที่ยว” เป็นพิเศษ เห็นจะเป็นวัตถุเล็กๆ คล้ายรากไม้แห้งที่ทางวัดระบุว่าเป็น มัครีผล (มัคนารีผล) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายคนไม่น้อยเลย หลังเดินชมของล้ำค่าในพิพิธภัณฑ์กันพอสมควรแก่เวลาแล้ว เรามุ่งหน้าเข้าสู่เขตโบสถ์ของวัดแห่งนี้ทันที

 
ยักษ์คู่ 2 ตน ยืนเฝ้าหน้ากำแพงโบสถ์


สำหรับในเขตโบสถ์วัดพระธาตุสุโทน “ผู้จัดการท่องเที่ยว” ยกให้เป็นอีกหนึ่งดินแดนแห่งความงามของงานพุทธศิลป์ในลำดับต้นๆ ของเมืองไทย โดยเริ่มตั้งแต่ปากทางเข้ากำแพงโบสถ์ที่มีทวารบาลยักษ์คู่ตัวเขียวและตัวน้ำตาลยืนถือขวานยาวเฝ้าปากประตูท่าทางขึงขัง

จากนั้นเมื่อก้าวข้ามเขตกำแพงโบสถ์เข้าไป ภาพความงามในงานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และงานพุทธศิลป์ต่างๆ ที่เห็นนั้น ช่างงามจับจิตจับใจ งามไปแถบทุกจุดที่เราพบเจอ ทั้งงานแกะสลัก งานปูนปั้น พระพุทธรูป และลวดลายประดับต่างๆ

ที่สำคัญคือในความงามที่พบเห็นแทบทุกอณูของเขตโบสถ์นั้น ล้วนแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรมทั้งสิ้น ซึ่งหากเดินดูผ่านๆ คงจะไม่รู้หรอก แต่งานนี้ต้องถือว่า “ผู้จัดการท่องเที่ยว” โชคดีอย่างล้นเหลือ เมื่อได้ไปพบกับ ท่านพระครูบามนตรี ธมฺมเมธี (พระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุสุโทน แห่งนี้เข้าโดยบังเอิญ

พระครูบามนตรีท่านนี้แหละ คือผู้รังสรรค์ผลงานปานเนรมิตต่างๆ ของวัดพระธาตุสุโทนแห่งนี้ ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังว่า ด้วยความที่เป็นผู้สนใจในงานศิลปะมาก ชอบปั้นพระมาตั้งแต่เด็ก พอบวชก็ได้ไปเรียนวิชาปั้นพระสร้างวิหารจากครูบาคัมภีระปัญญา ที่วัดเฟือยลุง จังหวัดน่าน


โบสถ์งานศิลปกรรมล้านนาผสมผสานอันกลมกลืนลงตัว


หลังจากนั้นท่านได้ออกเดินทางไปศึกษางานพุทธศิลป์ระดับมาสเตอร์พีชตามวัดวาอารามที่ต่างๆ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ (จีน, พม่า และลาว) ก่อนจะนำเอาจุดเด่นของงานศิลปกรรมตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะวัดทางภาคเหนือมาสร้างเป็นวัดพระธาตุสุโทน ในปี พ.ศ. 2527 วัดแห่งนี้ไม่ได้เน้นในการสร้างงานแบบใหญ่โตอลังการอย่างที่หลายๆ วัดทำกัน แต่เน้นไปที่การสร้างงานพุทธศิลป์อันงดงามสมส่วน โดยระดมช่างฝีมือชั้นยอดที่เรียกว่า “สล่า” ของภาคเหนือมาสร้างงานร่วมกัน

แม้งานส่วนใหญ่จะจำลองหรือได้แนวทางมาจากหลากหลายที่ แต่พระครูบามนตรีท่านได้นำมาประยุกต์เข้าไว้ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน ลงตัวสวยงาม ออกมาเป็นงานพุทธศิลป์ในระดับสุดยอดของเมืองไทยเลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านั้นผลงานหลายชิ้น สิ่งก่อสร้างหลายอย่าง พระครูบามนตรีท่านได้ลงมือทำด้วยตัวเอง ทั้งการแกะสลัก ปั้นปูน ฯลฯ รวมไปถึงการออกแบบที่เขียนแบบงานกันอย่างสดๆ ชนิดที่ไม่ต้องมีแบบร่างแต่อย่างใด

เมื่อรับรู้ที่มาที่ไปคร่าวๆ ของวัดแห่งนี้แล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาชมสิ่งน่าสนใจมากมายในเขตโบสถ์ โดยมีพระครูบามนตรีเป็นผู้นำชมและเล่าความเป็นมาของงานชิ้นต่างๆ พร้อมอธิบายปริศนาธรรมที่แอบแฝงอยู่ในงานจำนวนมากด้วยตัวท่านเอง ซึ่งนี่คือโชคดีความอย่างล้นเหลือเป็นครั้งที่ 2 ของ “ผู้จัดการท่องเที่ยว” ในทริปนี้


พระบรมธาตุ 30 ทัส ตั้งโดดเด่นสวยสง่าในเขตพื้นที่โบสถ์


สำหรับจุดเด่นระดับไฮไลท์ของวัดจุดแรกที่พระครูบามนตรีนำชมก็คือ พระบรมธาตุ 30 ทัส ที่เจดีย์องค์ประธานและเจดีย์รายรอบหุ้มทองจังโก้สีทองเหลืออร่ามงดงามนัก

พระครูบามนตรีบอกเราว่า พระบรมธาตุ 30 ทัส เป็นศิลปะเชียงแสนยุคต้น จำลองมาจากวัดพระธาตุนอ (หน่อ) แห่งแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน องค์พระธาตุมี 8 เหลี่ยม แทนมรรค 8 และมี 3 ชั้น แทน 3 ภพ คือ นรก-โลก-สวรรค์ ส่วนฐานขององค์พระธาตุมีช้างรองรับโดยรอบ 32 ตัว ซึ่งท่านได้จำลองช้างเหล่านี้มาจากวัดช้างต่างๆ อาทิ วัดช้างค้ำ จังหวัดน่าน วัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น

จากนั้นพระครูบามนตรีได้พาชมสิ่งน่าสนใจต่างๆ รอบโบสถ์ ซึ่งที่เด่นๆ ก็มี ตัวมอมสัตว์ในตำนานล้านนารูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโต ที่สามารถปั้นได้อย่างมีชีวิตชีวาดูทีเล่นทีจริง พระพุทธรูปตามทางเดินบนระเบียงคต ศิลปะเชียงรุ้งอันเหลืองทองงามอร่ามตา ใบเสมาที่รูปทรงเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

 
ยักษ์ตื่นหน้าปากประตูทางเข้าโบสถ์ที่สื่อสัญลักษณ์ถึงความไม่ประมาท-การตื่นตัว

 
ยักษ์หลับหน้าปากประตูทางเข้าโบสถ์ที่สื่อสัญลักษณ์ถึงความประมาท-ขี้เกียจ


นอกจากนี้ที่บริเวณทางเดินรอบโบสถ์ยังมีลวดลายปูนปั้น ซุ้มประตู รูปปั้นทวยเทพ พระพุทธรูปงานแกะสลัก และงานศิลปกรรมต่างๆ ให้ดูกันอีกเพียบ

แต่ที่สะดุดตาให้กับเราได้เป็นอย่างดีก็เห็นจะเป็นรูปปั้นยักษ์ 2 ตนที่เฝ้าหน้าปากประตูทางเข้าโบสถ์ ตนหนึ่งนั่งเตรียมพร้อม ดูจริงจังขึงขังกับงานเฝ้ารักษาโบสถ์ที่เป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนา ส่วนอีกตนหนึ่งขี้เกียจเหลือคณาถือตะบองนั่งหลับเฉยเลย

“อาตมาสร้างยักษ์คู่นี้ไว้เป็นสติเตือนใจแก่ผู้พบเห็น ว่าหากใครประมาท ขี้เกียจ อย่างยักษ์หลับก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนยักษ์ตื่นนั้น ไม่ประมาท มีสติตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่การงานไปได้ด้วยดี” พระครูบามนตรีอธิบาย


ซุ้มประตูโบสถ์มองเข้าไปเห็นพระพุทธชินเรศน์ฯ ประดิษฐานอย่างสวยงาม


หลังชื่นชมปนอมยิ้มกับแนวคิดแฝงปริศนาธรรมของยักษ์หลับยักษ์ตื่น เราก็ตามท่านพระครูบามนตรีเข้าสู่ภายในโบสถ์หลังงามที่ได้รวบรวมสุดยอดศิลปกรรมล้านนากว่า 10 วัด มาสร้างเป็นโบสถ์งามหลังนี้ ในขณะที่ภายในโบสถ์นั้นประดิษฐานพระประธานคือ “พระพุทธชินเรศนวราชบพิตร” (นามพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ) ที่จำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช อย่างงดงามวิจิตรดูเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธา

ส่วนจิตรกรรมฝาผนังนั้นเล่าก็งดงามประณีตด้วยเรื่องราวนิทานชาดกพื้นบ้านและภาพไตรภูมิ ซึ่งนอกเหนือจากนี้ในโบสถ์ยังมีสิ่งชวนชมอีกมากมาย อาทิ งานไม้แกะสลักเกี่ยวกับพุทธชาดก พระแก้วมรกตจำลอง และบุษบกทรงสวยงาม เป็นต้น เรียกว่าถ้าใครเมื่อมาวัดแห่งนี้แล้วรับรองไม่ผิดหวังในความงามที่ได้พบเจอ นอกจากนี้ในงานพุทธศิลป์ส่วนใหญ่ยังแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรมที่เป็นดังเครื่องเตือนใจปุถุชนคนทั่วไป ซึ่งท่านพระครูบามนตรีได้เล่าให้ฟังที่เหตุของการสร้างวัดพระธาตุสุโทนว่า

“ทุกวันนี้โรงพยาบาลทางโรคมีมาก แต่โรงพยาบาลทางใจมีน้อยมาก การสร้างวัดให้สวยงามสง่า ถือเป็นโรงพยาบาลรักษาโรคทางใจอย่างหนึ่ง เพราะอาตมาใช้ศิลปะเป็นหนึ่งในเครื่องกระตุ้นคนเข้าวัด เมื่อคนเข้าวัดก็จะได้ศึกษาเรียนรู้ธรรม แถมยังได้อิ่มเอิบใจจากงานศิลปะกลับไปด้วย”

พระครูบามนตรีอธิบายให้ฟังก่อนกล่าวทิ้งท้ายว่า ขอให้ชาวพุทธอย่าเข้าวัดเพราะติดพระ อย่าเข้าวัดเพื่อหาวัตถุมงคลของขลัง แต่จงเข้าวัดเพื่อหาธรรมมะ ความขลังไม่ได้อยู่ที่ตัวพระ แต่อยู่ที่ธรรมมะของพระพุทธเจ้า สาธุ


จิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวชาดกพื้นบ้านและภาพไตรภูมิ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

“วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม” หรือ “วัดพระธาตุสุโทน” ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยพริก หมู่ที่ 5 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ อยู่ริมถนนหมายเลข 101 (เด่นชัย-ลำปาง) ห่างจากแยกเด่นชัยประมาณ 5 กม. (ใกล้ๆ กับค่ายทหาร ม.พันสิบสองหรือค่ายพญาไชยบูรณ์) เป็นวัดบนเนินของดอยม่อนโทน มีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่

นอกเหนือจากงานพุทธศิลปะที่กล่าวมาแล้ว วัดพระธาตุสุโทนยังมีสิ่งชวนชมอย่าง พระธาตุพนม (นครพนม) จำลอง (อนาคตจะสร้างพระธาตุประจำปีเกิด (จำลอง) ทั้ง 12 ราศีที่นี่) พระธาตุช้างค้ำ (น่าน) จำลอง, ศาลาหลวงพ่อเกษม เขมโก, วิหารพระมหาเมียะมุนี, วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ, อนุสรณ์สถานทหารกล้า, หอระฆัง (จำลองจากวัดพระธาตุหริภุญชัย : ลำพูน), หอไตร (จำลองจากวัดพระสิงห์ : เชียงใหม่) ฯลฯ

วัดพระธาตุสุโทน เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 09.00-16.00 นาฬิกา ไม่เก็บค่าเข้าชมแต่อย่างใด 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

 
รูปหล่อบูรพาจารย์ครูบา

 
รูปหล่อครูบาศรีวิชัย


ขอขอบคุณข้อมูลโดย : ผู้จัดการออนไลน์
 
 

329


พระเครื่องประจำตัว
“บุเรงนอง” กษัตริย์แห่งพม่า

ใช่เพียงแต่คนไทยที่มีความเชื่อถือในเครื่องรางของขลังเท่านั้น คนพม่าก็มีความเชื่ออย่างเดียวกัน หลักฐานที่แน่นอนอย่างหนึ่ง คือ เมื่อคราวที่ พระเจ้าบะยิ่นเนาน์ (บุเรงนอง) มหาราชผู้ชนะได้ทั้งสิบทิศแห่งกรุงหงสาวดี กษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุทธยา เมื่อ 400 กว่าปีก่อน ได้ให้พระมหาฤาษีภูภูอ่อง ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพระมหาราชครูในราชสำนัก จัดสร้างและปลุกเสกพระเครื่องขึ้น ให้มีพุทธาภินิหารในทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีอย่างเยี่ยมยอด สมกับเป็นพระที่จักรพรรดิ์จัดสร้างขึ้นแจกแก่ทวยทหารกล้า เพื่อไปออกรบในหัวเมืองน้อยใหญ่ต่างๆ และตรงนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อ “พระยอดขุนพล บุเรงนอง” จักรพรรดิ์พระเครื่องในตำนานของพม่า

หลวงพ่ออุตตมะก็ยังได้เคยเล่าให้เฉพาะศิษย์ที่ใกล้ชิดฟังว่า

“อันพระบุเรงนองนี้ พระฤาษีภูภูอ่อง ได้บรรจุไว้ที่ถ้ำแถวเมืองมะละแหม่ง (บ้านเกิดของหลวงพ่ออุตตมะ) ใกล้ชายแดนไทย-พม่า อยู่ 2 ถ้ำด้วยกัน คือ “ถ้ำผาบง” และ “ถ้ำผาพะ” แต่ท่านก็ไม่ทราบว่า อันถ้ำทั้ง 2 นั้น อยู่ที่ไหนกันแน่....”

และคงจะเป็นด้วย “บุรพกุศล” ที่หลวงพ่ออุตตมะคงจะเคยได้สร้างสมร่วมกับพระมหาฤาษีภูภูอ่องมาแต่ปางก่อน ในที่สุด ก็มีเหตุให้หลวงพ่ออุตตมะบังเอิญได้ “รู้แหล่ง” ที่เก็บซ่อน “พระยอดขุนพล บุเรงนอง” จักรพรรดิ์พระเครื่องอันดับหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดีในวันหนึ่งจนได้...ไม่ใช่เกิดจากเหตุแห่ง “อภินิหาร” หรือ “เทวดาบอก” แต่อย่างไรทั้งสิ้น แต่เกิดจากอำนาจแห่ง “เมตตาบารมี” ของหลวงพ่ออุตตมะเองล้วนๆ เลยทีเดียว..! นั่นก็คือ

ในสมัยที่ หลวงพ่ออุตตมะได้ออกธุดงค์ และได้บังเอิญช่วยรักษาโรคร้ายให้หัวหน้ากระเหรี่ยงคริสต์คนหนึ่ง จนหายเป็นปกติ ทำให้กระเหรี่ยงคริสต์คนนี้ นับถือหลวงพ่ออุตตมะ เป็นอย่างยิ่ง วันหนึ่ง ได้มาเล่าให้หลวงพ่อฟัง (ราวปีพ.ศ. 2490) ความว่า

“มีลูกน้องของตนหมู่หนึ่ง ถูกทหารพม่าตามไล่ล่า จนกระทั่งหนีมาหลบซ่อนในถ้ำๆ หนึ่งแถวเมืองมะละแหม่ง โดยภายหลังจากที่ได้เฝ้าคุมเชิงตั้งแต่เช้าจนพลบค่ำ บรรดากระเหรี่ยงคริสต์ก็ไม่ยอมตีฝ่าวงล้อมออกมา ท้ายสุด ทหารพม่า เลยเอาปืนกลและอาวุธสงครามขนาดหนักยิงจากปากถ้ำนับไม่ถ้วน นับเป็นพันๆ หมื่นๆ นัด จึงเลิกทัพกลับไป

ครั้งตอนรุ่งเช้า บรรดาลูกน้องของตน ซึ่งไม่ได้รับอันตรายใดๆ ก็ออกจากที่ซ่อนในถ้ำมาสังเกตการณ์ดู เห็นปลอกกระสุนและลูกปืนตกระจายอยู่บริเวณปากถ้ำเกลื่อนไปหมด แต่ไม่มีกระสุนแม้แต่เพียงนัดเดียว ที่จะวิ่งผ่านเข้ามาถึงข้างในได้ ก็แปลกใจ เลยคิดว่า ในถ้ำแห่งนี้คงต้องมีของวิเศษอยู่แน่ๆ พวกลูกน้องข้าเลยเข้าไปสำรวจในถ้ำดู พลันก็ได้เจอ “ภูเขาต๊กตา” ขนาดย่อมๆ กองอยู่ หยิบขึ้นมาดูก็ไม่รู้จักว่า นี่เป็นรูปตุ๊กตาอะไร ข้าเลยเอามาให้หลวงพ่อดูนี่แหละ....”

เมื่อได้เห็น “ตุ๊กตา” ที่หัวหน้ากระเหรี่ยงคริสต์เอามาให้พิจารณาดูเพียงเท่านั้น หลวงพ่ออุตตมะก็อุทานขึ้นมาทันที เพราะนั่นคือ พระยอดขุนพล 400 กว่าปี สมัยพระเจ้าบะยิ่นเนาน์ (บุเรงนอง) ที่ตามหาอยู่

และนี่เอง คือ “ปฐมเหตุ” แห่งการ “แตกกรุ” อย่างเป็นทางการของ “พระยอดขุนพล บุเรงนอง” ที่ปัจจุบัน นับเป็นของดีที่หาได้ยากยิ่ง และเป็นที่ใฝ่ฝันนักหนาของบรรดา “ศิษย์ใกล้ชิด” ของหลวงพ่ออุตตมะทุกๆ ท่าน รวมทั้งผู้ที่ “รู้ประวัติ” ความเป็นมาที่ยากจะหาใดเปรียบได้ตราบเท่าถึงบัดนี้..........


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://phuttawong.net

330
ผมใบ้เลขไว้ในช่องลายเซ็นตตั้ง2ชุด...36...51..ยังไม่ออกเลย..อิ อิ

ไม่ใช่จะถูกกันง่ายๆนะ... :095:


331
การทำบุญต่างๆไม่ว่าจะเป็น...การทำบุญตักบาตร
                                 ...การสวดมนต์ไหว้พระ
                                 ...การเจริญสมาธิธรรมกรรมฐาน ฯลฯ

เมื่อเราได้แผ่เมตตาและกรวดน้ำไปให้เจ้ากรรมนายเวรและสัพสัตว์ทั้งหลาย

ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่ เจ็บตาย และเหล่าผีวิญญาณเร่ร่อนซึ่งเราเรียกกันว่า"สัมภเวสี" นั้น

บุญของเราไม่ได้หมดไปตรงกันข้ามกับยิ่งเพิ่มทวีคูณเปรียบเสมือนเราจุดไฟมีคบเพลิงอยู่ในมือ

และเขามาขอต่อไฟจากเรา...มาขอต่อหลายๆคนเพิ่มขึ้นจากสิบเป็นร้อยแล้วไฟคบเพลิงของ

เราจะดับหรือหมดไปมั้ย


        ซึ่งถ้าบุญที่เราทำยิ่งบริสุทธิ์มากเท่าไร...เขาก็จะได้รับมากขึ้นเท่านั้น...และเมื่อเขาได้

อนุโมทนาในบุญกุศลนั้นจะสามารถทำให้เขาไปเกิดสู่ภพภูมิที่ดีได้.

332
:058:...............ไม่มีอะไรมากหลอกครับพี่ลี...เลข..27....กับวันดีๆให้โชคผมเหมือนกัน...อิอิอิ..
:109:......................................................................... 30;

ยินดีกับท่านใหญ่ด้วยครับ...สำหรับ...27....


333
ขอบคุณที่นำภาพบรรยากาศมาให้ชมนะครับ

334

วันที่ 6 มีนาคม 2553 ไหว้ครูที่บ้าน อ.หนวด เสร็จพิธีแล้ว ท่านใดว่างลองแวะนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่ถ้ำธารลอดใหญ่กันนะครับ
เป็นรอยพระพุทธบาทเพิ่งถูกค้นพบโดยลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ นิมิตเห็นและได้ติดตามค้นหาจนมาพบเข้า ณ.ที่แห่งนี้
ผมไปกราบนมัสการมาแล้วครับ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว


เส้นทางการเดินทาง
การเดินทางจากจังหวัดกาญจนบุรีมาตามถนน อ.บ่อพลอย ไป อ.หนองปรือตามถนนเส้น3086 ก่อนจะถึง อ.หนองปรือจะเจอแยก ให้ไปทางถนนเส้น 3480 ไปอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์

ถ้ำธารลอดใหญ่ 
เป็นถ้ำที่มีน้ำไหลลอดถ้ำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ต.เขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด กาญจนบุรี มีความสวยงามมาก เนื่องจากมีความอุดมสมบูรน์ไปด้วยธรรมชาติ เพราะอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติรัตนโกสินทร์สามารถเดินทางเข้าจากถ้ำธารลอดใหญ่ ไปออกที่ถ้าธารลอดเล็กได้ ระยะทาง 2 ก.ม.
จะเข้ามาทางถ้ำธารลอดเล็ก ระยะ 2 ก.ม.มาที่รอยพระพุทธบาทหรือเข้ามาทางวัดถ้ำธารลอดใหญ่ จอดรถบริเวณวัด เดินเท้าเข้าไปประมาณ 500 เมตร มาที่รอยพระพุทธบาทก็ได้ครับ

ชมภาพ...ได้เลยครับ(ขอยืมภาพเค้ามานะครับ...เสียดายตอนนั้นไม่ได้ถ่ายรูปไว้)








ตอนที่ผมไปจะเป็นดังภาพนี้...
มีรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาและเบื้องซ้ายและรอยวางบาตร



ปัจจุบันได้ทำมณฑปเล็กๆครอบไว้






ไปกราบแล้วอธิษฐานได้ตามใจปรารถนานะครับ
ส่วนมากถ้าเราไปกราบรอยพระพุทธบาทที่อื่นๆจะไม่ค่อยได้เห็นของจริงกันนะครับ
ส่วนมากจะทำจำลองครอบไว้อีกทีกันชำรุดและรักษาสภาพไว้ให้อยู่ได้นานๆนะครับ


ด้วยความปรารถนาดี...ธรรมะรักโข
credit:ภาพจาก...เว็บแดนนิพพานดอทคอมและคุณฟีน่าจาก
                        http://bookloverclub.ipbfree.com/index.php?showtopic=514&st=15

335
ขอขอบคุณ...ที่นำมาให้ชมกันนะครับ

336
กราบนมัสการหลวงพี่โด่ง  และขออนุโมทนาในบุญกุศลครั้งนี้ด้วยครับ

วันไหว้ครูไม่ได้เข้าไปกราบ...เห็นหลวงพี่...กำลังสักอยู่ลูกศิษย์รอคิว

กันเยอะเลย...ไม่อยากไปรบกวนสมาธิครับ

ต้องกราบขอขมากรรมหลวงพี่ด้วยครับ.

337
ขอขอบคุณท่าน...ที่นำเสนอ...เรื่อง"องค์ของศีล"

รายละเอียดเนื้อหาดีมากครับ...

ขอบคุณอีกครั้งนะครับ

338
ขอร่วมอนุโมทนา...ในบุญกุศลครั้งนี้ด้วยครับ...สาธุ

339
ขอบคุณท่านข้าวหลามตัด...สำหรับภาพบรรยากาศในงาน...ครับ

340
พอดีขากลับ...บ้าน เพื่อนได้ชวนแวะเยี่ยม ลุง...ซึ่งเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ
หลวงพ่อเปิ่น แถวๆข้างวัดป่าของหลวงพ่อถาวร ห่างจากวัดบางพระ
ประมาณ 5-6 ก.ม. ซึ่งเพื่อนผมเคยบวชและจำพรรษาที่วัดแห่งนี้


      ลุง...ได้เมตตาให้มาครับ...ลุงบอกว่าหายากนะ









ขอขอบพระคุณ...คุณลุง...เป็นอย่างสูงครับ



341
กราบนมัสการหลวงพี่โด่งครับ...บทกวี คำบูชาครูบูรพาจารย์ แต่งได้ไพเราะมากครับ

อ่านแล้วซาบซึ้ง...กราบขอบพระคุณครับ

342
สวัสดีครับ...LEE ครับ ไปแน่นนอนครับ ออกจากบ้านตี 5 ครับ ถึงกี่โมงไม่รู้...

ใส่เสื้อเว็บบอร์ดวัดบางพระไปครับ หาง่ายครับใส่เสื้อแบบนี้

343
ขอบคุณท่านหอมเชียง...ที่นำภาพมาให้ชม

สวยงามมากครับ

344
ขอบคุณครับ... สำหรับภาพบรรยากาศงานไหว้ครูหลวงพี่ติ่ง   

กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูปครับ... 

345
อ้าง...จากท่านRonaldo


ขับรถคันนี้ไปครับ..........


     

346
สวยงามมากครับ...มีเกศาด้วย...

ขอขอบคุณครับ...ที่นำมาให้ชม

347
ขอบคุณครับเอ็ม ที่ลงรูปให้ชมสวยงามครับ

กราบนมัสการหลวงพี่ญาด้วยครับ

348
ขอเดานะครับ

              -  ยันต์ทางด้านซ้ายมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม  แล้วก็ ไม่มีรูปแบบที่เป็นอักขระล้อม ขอทายว่าน่าจะเป็น เกราะเพ็ชรครับ
                 มีเหตุผลเนื่องจากยันต์เกราะเพ็ชร จะเป็นการตีเส้นกรอบที่เป็นสี่เหลี่ยม มีอักขระภายใน จากนั้นจึงทำการโยงเส้นครับ

              -  ยันต์ทางด้านขวามือน่าจะเป็น ยันต์น้ำเต้า หรือบางที่เรียกยันต์ ห้า หรืออีกชื่อหนึ่งที่เคยได้ยิน คือพระเจ้าห้าพระองค์ครับ

                                         ผิดถูกขออภัยครับ


ถูกต้องนะครับ...แหม...ท่าน D-O-N นี่เก่งจริงๆครับ
ขอขอบคุณครับ

349

วัฒนธรรมสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ที่สืบสานมาแต่อดีตกาล ล้วนเลื่อนไหลผ่านมาในเส้นทางหลายสาย และยังคงใช้เป็นเส้นทางสัญจรระหว่าง 2 ประเทศ จนถึงปัจจุบัน ทว่าเส้นทางข้ามพรมแดน ณ จุดบ้านประกอบ ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา กลับถูกทิ้งร้างมานาน จนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทางการไทยและมาเลเซีย ได้พัฒนาบริเวณด่านประกอบ เพื่อเปิดเส้นทางเชื่อมระหว่างกันอีกหนึ่งเส้นทาง แม้ขณะนี้ทางฝั่งไทยจะยังไม่คืบหน้ามานัก เพราะพิษเศรฐกิจ แต่คาดว่าอีกไม่นาน ทั้งสองประเทศจะเปิดประตูพรมแดนสายนี้ใหม่ พร้อมกับรื้อฟื้นประวัติศาสตร์มรณสถาน และเส้นทางศพของหลวงพ่อทวด ซึ่งผู้คนทั้งสองประเทศเคารพนับถือกันมาอย่างยาวนาน
หลวงพ่อทวด เป็นคำเรียกขาน พระอริยสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการ หาใช่ชื่อเฉพาะพระสงฆ์ รูปหนึ่งรูปใดไม่ แต่เมื่อกล่าวถึงพระสงฆ์รูปหนึ่งรูปใดก็จะมีชื่อเฉพาะหรือฉายาตามมา เช่นหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ หรือหลวงพ่อทวดวัดพะโคะ เป็นต้น สำหรับตำนานของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งสันนิษฐานว่าคือพระสงฆ์รูปเดียวกันกับหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ หรือหลวงพ่อทวดวัดพะโคะนั้น ปัจจุบันมีตำนานเล่าสืบต่อมาหลายกระแส ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตำนานใดที่ถูกต้องแน่ชัด และเรื่องซึ่งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปมักเป็นเรื่องในเชิงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

ตำนานหลวงพ่อทวดในมาเลเซียได้ถูกจุดกระแสอย่างจริงจัง หลังจากพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมมธโร) วัดช้างให้ ได้สร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวด และในปีพ.ศ. 2505 พระครูวิสัยโสภณได้เข้าไปสืบค้นสถานที่พักศพหลวงพ่อทวดในประเทศมาเลเซีย และได้ทำพิธีพลีดินนำมาสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดรุ่นพินัยกรรม และหลวงพ่อทวดวัดเมือง ยะลา จากนั้นมาความเชื่อที่ว่าหลวงพ่อทวดมรณภาพที่มาเลเซีย แล้วได้หามศพไปฌาปนกิจศพที่วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย

มรณสถานและเส้นทางเคลื่อนศพของหลวงพ่อทวด มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้หลายแห่ง เช่น หลวงพ่อทวดมรณภาพที่ เขาอีโปห์ รัฐเประ ,หลวงพ่อทวดมรณภาพที่วัดกงหรา หรือวัดโกร๊ะใน รัฐเประ , หลวงพ่อทวดมรณภาพที่ริมน้ำสุไหงเกอร์นาริงค์ รัฐเประ หรือหลวงพ่อทวดมรณภาพที่บ้านบากัน ตรงข้ามเกาะปีนัง รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย จากจุดมรณภาพดังกล่าว ก็ปรากฏเส้นทางเคลื่อนศพและจุดแวะพัก จากประเทศมาเลเซียมาสู่สถานที่ฌาปนกิจศพ คือที่ วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี หลักฐานสำคัญตามจุดแวะพักดังกล่าว คือเนินดิน หลักหิน หรือไม้แก่น ซึ่งบางแห่งได้สร้างเป็นศาลาหรือ วิหารครอบไว้ เพื่อให้พุทศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา

ด้วยเหตุที่ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับมรณสถานของหลวงพ่อทวด จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คณะจากสถาบันทักษิณคดีศึกษา ในฐานะสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ทุกแขนง ออกเดินทางสำรวจศึกษาเส้นทางและมรณสถานที่มีผู้กล่าวอ้างดังกล่าว เพราะในร่องรอยเส้นทางเหล่านั้นได้หลอมรวมศรัทธา และคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชนทั้งสองประเทศไว้ อย่างไร้ซึ่งข้อขีดคั่นทางพรมแดน นอกเหนือจากนี้ยังสามารถพิสูจน์ได้ว่าการไปมาหาสู่กัน การโอนถ่ายวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ระหว่างชาวไทยภาคใต้ตอนล่างกับชาวมาเลเซียนั้นมีมาเนิ่นนานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็นานพอกับการปรากฏของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดในหน้าประวิติศาสตร์เมืองไทย

นายชัยวุฒิ พิยะกูล หัวหน้าโครงการ "สำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกัยหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดบริเวณตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย" ได้นำคณะออกย้อนรอยสืบค้นประวัติศาสตร์เส้นทางมรณสถานของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เริ่มจากเมืองกัวลาเกอร์นาริงค์ รัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ถึงวัดช้างให้ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ในช่วงเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคม 2547 ได้ศึกษาจุดประวัติศาสตร์ อันเกี่ยวเนื่องกับเส้นทางมเคลื่อนศพและมรณสถาน หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด 18 จุด ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าว นายชัยวุฒิ พิยะกูล ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ สามประการคือ

1. ชื่อเรียกหลวงพ่อทวดบ่งชี้ถึงวัฒนธรรมด้านความเชื่อ

จากการศึกษาพบว่า มรณสถานของหลวงพ่อทวด มีการเรียกชื่อที่ต่างกันออกไป เช่นสามีมาตี่ หมายถึง พระภิกษุ ที่มรณภาพ ,สามีฮูยันหมายถึงพระภิกษุขอฝน , บุกิตสามี หมายถึง ควนพระภิกษุ หรือบุกิจจันดี หมายถึงควนเจดีย์ หรือหลวงพ่อเจดีย์ ซึ่งชื่อเรียกเหล่านี้หมายถึงพระภิกษุในประเทศมาเลเซีย ทำให้มีการเชื่อมโยงสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้ ให้เห็นว่าเป็นสถานที่พักศพของหลวงพ่อทวด แม้จะยังไม่มี หลักฐานชัดเจนว่าชื่อเรียกเหล่านั้นหมายถึงพระภิกษุรูปเดียวกันก็ตาม

ผลจากการสำรวจพบว่าสถานที่เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทวดและวัดต่าง ๆ ในประเทศมาเลเซียได้มีการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อทวด เช่นที่วัดบาลิงใน วัดบาลิงนอก วัดทุ่งควาย วัดปาดังแปลง เป็นต้น

นับได้ว่าได้กลายเป็นความเชื่อของคนไทยและคนมาเลเซีย และกลายเป็นลัทธิบูชาหวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง

2. หลักไม้แก่นและเนินดินมรณสถานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด บ่งชี้ภูมิบาน ภูมิเมือง

สถานที่มรณภาพและที่พักศพหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดหลายมีลักษณะเป็นเนินดิน หรือหลักหินแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม ซึ่งสถานที่เหล่านี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นความเชื่อเดียวกับความเชื่อของคนไทย ที่มีต่อสถูปหรือบัวเก็บอัฐิของพระเถระที่ประชาชนเคารพนับถือ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับความเชื่อเกี่ยวกับภูมิบ้านภูมิเมือง หรือหลักบ้านหลักเมืองของ ของคนไทยภาคใต้ เนื่องจากคนภาคใต้มีธรรมเนียมการสร้างภูมิบ้านด้วยหลักไม้แก่นหรือหลักปูน หรือหลักหิน เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของภูมิบ้านหรือเจ้าบ้าน อันเป็นเทวดาประจำหมู่บ้าน เช่น ภูมิบ้านส้มตรีด ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง , ภูมิบ้านทุ่งขาม ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง , ภูมิบ้านสนามชัย ตำบลสนามชัย อำเภอสิทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

3. มรณสถานหลวงพ่อทวดบ่งชี้เส้นทางโบราณ

ที่พักศพหลวงพ่อทวดตั้งแต่รัฐเประ ผ่านรัฐเคดะห์หรือไทรบุรี ล้วนเป็นหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน และพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนไทยและมาเลเซีย ทำให้เห็นเส้นทางโบราณระหว่างหัวเมืองปักษ์ใต้กับหัวเมืองตอนเหนือของมาเลเซีย ซึ่งเส้นทางเหล่านี้เคยเป็นเส้นทางสัญจรติดต่อค้าขายกันมาแต่โบราณ และเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรมลายูระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออก จากการสำรวจร่องรอยมรณสถานพบว่ามีเส้นทางไปมาหาสู๋กันผ่านช่องทางสำคัญ อย่างน้อย 2 เส้นทาง ไดแก่ เส้นทางผ่านช่องเขาบริเวณบริเวณบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตรงหลักเขตแดนที่ 31 แล้วเลียบเชิงเขาหรือลำน้ำคลองใหญ่สู่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และเส้นทางผ่านช่องเขาบริเวณบ้านสมแก่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ใกล้หลักเขตแดนที่ 28 ลงไปตามลำห้วยสมแก่ ต้นน้ำอู่ตะเภา ไปสู่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผลการศึกษาดังกล่าวคงถือเป็นการเปิดประเด็นทางวิชาการ ท้าทายให้นักวิชาการด้านวัฒนธรรมคิดศึกษาพิสูจน์หลักฐานข้อเท็จจริงมาสนับสนุนหรือหักล้าง และเร่งสืบค้นข้อเท็จจริงในเร็ววัน ในอีกมิติหนึ่ง สืบเนื่องจากวาระที่จังหวัดสงขลาและประเทศมาเลเซีย หวังจะเปิดด่านและเส้นทางเชื่อมพรมแดน ระหว่างไทยกับมาเลเซียสายใหม่ บริเวณบ้านประกอบอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เรื่องราวของเส้นทางมรณสถานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ก็คงจะฟื้นคืนตำนานเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสายใหม่ที่กรุ่นไปด้วยกลิ่นอายแห่งวัฒนธรรมที่น่าสนใจยิ่ง

(ผลการสำรวจจากโครงการข้างต้น ได้บันทึกในรูปหนังสือและสื่อนิทรรศการ เรื่อง "ย้อนรอยเส้นทางมรณสถานหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ผู้สนใจติดต่อขอสำเนาหนังสือ และขอใช้บริการนิทรรศการชุดดังกล่าวได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมเผยแพร่และพัฒนา หรือ กองบรรณาธิการ วารสารอาศรมทักษิณ)

เส้นทางเคลื่อนศพและมรณสถาน หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด 18 จุด

จุดที่ 1 สถานที่มรณภาพริมฝั่งน้ำสุไหงเกอร์ และสุไหงเกอร์นาริง รัฐเปรัค
จุดที่ 2 สถานที่พักศพบ้านพกั๊วะลั๊วะ หรือวัดโกร๊ะใน ตำบลกั๊วะลั๊วะ อำเภอเปิงกาลันฮูลู รัฐเปรัค
จุดที่ 3 สถานที่พักศพวัดจะดาบ (ร้าง) ตำบลลูการ์สือมัง อำเภอโกร๊ะห์ รัฐเปรัค
จุดที่ 4 สถานที่พักศพโคกเมรุ อำเภอบาลิง รัฐเคดะห์
จุดที่ 5 สถานที่พักศพบุกิตสามี หรือควนพระ รัฐเคดาห์
จุดที่ 6 สถานที่พักศพบ้านควนเจดีย์หรือบ้านหลังไกว้ รัฐเคดะห์
จุดที่ 7 สถานที่พักศพบ้านปาดังเปรียง หรือปาดังแปลง รัฐเคดะห์
จุดที่ 8 สถานที่พักศพบ้านทุ่งควาย หรือกำปงจีนา รัฐเคดะห์
จุดที่ 9 สถานที่พักศพวัดลำปำ ตำบลรำไม อำเภอเปิ้นดัง รัฐเคดะห์
จุดที่ 10 สถานที่พักศพบ้านปง ตำบลเตอกเยร์คีรี อ.ปาดังเตอรัป รัฐเคดะห์
จุดที่ 11 สถานที่พักศพบ้านปลักคล้า ตำบลนาคา อำเภอปาดังเตอรัป รัฐเคดะห์
จุดที่ 12 สถานที่พักศพบ้านนาข่า ตำบลนาคา อำเภอปาดังเตอรัป รัฐเคดะห์
จุดที่ 13 สถานที่พักศพบ้านบาวฉมัก รัฐเคดะห์
จุดที่ 14 สถานที่พักศพบ้านดินแดง รัฐเคดะห์
จุดที่ 15 สถานที่พักศพบ้านปาดังสะไหน อำเภอปาดังเตอรัป รัฐเคดะห์
จุดที่ 16 สถานที่พักศพบ้านถ้ำตลอด ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
จุดที่ 17 สถานที่พักศพบ้านช้างไห้ตก วัดบันลือคชาวาส ตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
จุดที่ 18 สถานที่ฌาปนกิจศพวัดช้างไห้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี


ขอขอบคุณที่มา...http://www.thaisouthtoday.com/index.php?file=story&p=pt&obj=forum(586
 

350
... :058:..เอ๊ะอะอะไรก็ยืมภาพ..ยืมภาพ...
...อยากเห็นพระเครื่องของพี่ธรรมมะรักโขจังเล้ย..... :025:..กราบหลวงปู่ด้วยครับ... :054:


อยากเห็นจริงๆเหรอ...ท่านโรนัลโด้...ลองชมดู...พระที่ห้อยใช้ติดตัวนะครับ
ขออภัยรูปไม่ค่อยชัด...วันหลังต้องขอยืมกล้องท่านโรนัลโด้...แล้วละครับ...อิ อิ อิ  :095:











เอาแค่นี้ก่อนนะครับ...ขอบคุณครับ

351


มีเรื่องเล่าขานกันว่า ครั้งหนึ่งในขณะที่หลวงพ่อยังเป็นสามเณรน้อย ได้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น ไฟป่าได้ไหม้ตรงเข้ามาจะถึงกระท่อมที่หลวงพ่อจำพรรษา

ชาวบ้านแตกตื่นกันมากเพราะกลัวว่าหลวงพ่อจะได้รับอันตราย และด้วยเปลวไฟก็ร้อนแรงมากเนื่องจากบริเวณนั้นเป็นป่าไผ่ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปช่วยอะไรได้ 

จึงได้แต่ร้องตะโกนบอกให้หลวงพ่อหนีออกมา ในขณะที่ไฟได้ไหม้จนถึงกุฎิหลวงพ่อ ได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์คือเกิดลมหวนขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนและดับไฟลงได้

ด้วยความแปลกใจชาวบ้านได้ถามหลวงพ่อว่า ไฟไหม้น่าจะเป็นอันตรายแบบนี้ หลวงพ่อไม่กลัวไฟหรือหลวงพ่อมีอะไรดี หลวงพ่อได้ตอบว่า…

“ฉันได้ถวายชีวิตแก่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้าแล้ว เมื่อจะเป็นอันตรายอย่างไร คุณพระท่านก็คงช่วยเหลือไม่ให้ได้รับอันตราย...”

และตอนนั้นหลวงพ่อพอจะหนีได้ ทำไมไม่หนีออกมาล่ะ....ท่านตอบว่า

“ฉันก็นั่งเจริญภาวนาระลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ ก็คงเป็นด้วยคุณพระคุ้มครอง ไฟจึงไม่ไหม้มาถึงกระท่อม”



ครับ เรื่องราวเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องราวในอดีตที่เกิดขึ้นจริง

ว่ากันว่าเรื่องราวในอดีตต่างๆ ล้วนล่องลอยอยู่ในกาลเวลาและเฝ้ารอว่า สักวันหนึ่งจะมีใครเอื้อมขึ้นไปหยิบเรื่องราวเหล่านั้นมาถ่ายทอดต่อไป....

หลวงพ่อเป็นอดีตพระเกจิอาจารย์ที่สำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในช่วงยุค ๒๕๐๐



ตอนที่หลวงพ่อท่านมรณภาพผมเองยังคงเล่นแปลงกายเป็นอุลต้าแมนอยู่เลยครับ จนเมื่อตัวเองโตขึ้นและเริ่มสนใจเรื่องของพระ เรื่องของความมหัศจรรย์แห่งจิต ฯลฯ 

จึงได้ทราบว่าหลวงพ่อองค์นี้คือพระอุปัชฌาย์ที่บวชให้กับหลวงปู่ทิม อตตสนโต แห่งวัดพระขาว แต่ก็จนใจด้วยว่าประวัติของท่านค่อนข้างสืบหายากเหลือเกิน



จนผมได้พบกับท่านพระครูชินธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดสีกุก เรื่องราวประวัติของหลวงพ่อจึงค่อยๆประติดประต่อออกมายาวเหยียดดังนี้ครับ.....

“สังข์” เป็นชื่อเดิมของ”ท่านพระครูอุดมสมาจาร” อดีตเจ้าอาวาส”วัดน้ำเต้า” อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยคุณพ่อคุณแม่และบรรดาญาติๆของหลวงพ่อ ต่างก็เรียกชื่อนี้ติดปากกันมาตั้งแต่หลวงพ่อสังข์ท่านยังเล็กๆ .....

สาเหตุที่เรียกเช่นนี้ เกิดจากในวันที่หลวงพ่อคลอดออกมา ก็ปรากฏว่ามีสายรกพันคอและในมือของหลวงพ่อก็กำสายรกที่มีลักษณะแปลกๆ 

กล่าวคือสายรกนั้นมีรูปร่างยาวรี เวลายกขึ้นจะคล้ายๆคณโทน้ำ เวลาวางบนพื้นก็จะมีลักษณะตอนท้ายที่กลมโต แต่ปลายเรียว ซึ่งหญิงชราสูงอายุที่ทำคลอดให้หลวงพ่อขณะนั้นถึงกับเอ่ยปากว่า

“ดูคล้ายๆสังข์ที่เขาใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ในงานมงคลเสียจริงๆ...”

ด้วยเหตุนี้แหละครับ บรรดาญาติๆจึงได้ขนานนามหลวงพ่อว่า “สังข์”

 

หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก เคยตามคุณย่าไปใส่บาตรพระที่หน้าบ้านของท่านเป็นประจำ ครั้นเมื่อเวลาที่คุณย่าของท่านใส่บาตรเสร็จ มักจะเอาข้าวก้นบาตรมาปั้นเป็นก้อนให้ท่านทานเสมอ หลังจากนั้นคุณย่าของท่านก็จะตักน้ำมารดลงบนพื้นดิน ด้วยความสงสัยจึงได้ถามคุณย่าของท่านว่าทำอะไร คุณย่าของท่านจึงตอบว่า....

“เมื่อเราใส่บาตรเสร็จแล้ว ก็ต้องกรวดน้ำด้วยซิหลาน เพื่อญาติของหลานจะได้บุญด้วยไงล่ะ...”

เชื่อไหมครับคำว่า “บุญ” เพียงคำเดียว สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดของเด็กชายตัวน้อยให้เข้ามานับถือและเชื่อมั่นในบวรพระพุทธศาสนาได้ทันที

จะว่าไปแล้วผมว่าคนเรานี่ก็แปลกๆ อย่างบางคนพบพระแล้วก็จะบอกลูกๆว่าให้ไหว้พระเสียสิลูก แต่ตัวเองไม่เคยไหว้นำให้เด็กๆเห็นเลย แล้วก็มักจะโทษเด็กๆว่า “มือแข็ง” กรรมของเด็กๆละครับ

 

คำโบราณเขาว่า “ดัดไม้เมื่ออ่อนย่อมได้ผลดี” เช่นเดียวกันครับ “ปลูกศรัทธา” มันก็ต้องปลูกกันตั้งแต่เล็กแต่น้อย 

ด้วยนิสัยที่ชอบในเรื่องของบุญกุศล เมื่อเด็กชายสังข์เติบโตมาพอที่จะตามคุณย่าของท่านไปวัดได้ คุณย่าจึงมักจะพาท่านไปทำบุญที่วัดด้วยเสมอและด้วยอุปนิสัยที่ชอบให้ทานแก่ผู้อื่น เช่น

การที่ท่านนำตุ่มน้ำตั้งไว้ที่ศาลาพักร้อนหลังบ้านของท่าน เพื่อไว้ถวายแก่พระธุดงค์ที่เดินผ่านมา หรือ

เมื่อเห็นคนขอทานเดินมา ท่านก็จะรีบเข้าไปในบ้านและตักข้าวมาให้แก่ขอทานผู้นั้นได้รับประทานอาหาร ท่านว่าสิ่งที่ท่านชอบมากที่สุดคือเวลาที่ท่านถวายของให้พระสงฆ์ และได้รับพรกลับมาว่า...

“ขอให้สำเร็จประโยชน์แก่พระโพธิญาณ” 

ท่านว่าประโยคนี้ได้ใจท่านมากครับ ทำให้ท่านรู้สึกอิ่มเอิบใจทั้งๆที่ท่านยังไม่รู้จักเลยว่า “บาปบุญ” เป็นอย่างไร

 

มีความเชื่อกันว่า “คนเราเกิดมาเพื่อจะเป็นอะไรสักอย่าง” ซึ่งความเชื่อแบบนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันจะถูกต้องหรือเปล่า แต่อย่างน้อยมันก็เป็นความเชื่อที่มีสีสัน มีชีวิตชีวาและทำให้มนุษย์สามารถอยู่ได้อย่างมีความหวัง 

สมัยที่เด็กชายสังข์ตัวโตยังไม่ถึงหนึ่งเมตร อายุยังไม่ถึงสิบขวบ ท่านได้ไปอยู่วัดกับขลัวลุงขำ ซึ่งขณะนั้นขลัวลุงขำได้เรียน “กายคตาสติกัมมัฏฐาน” กับฆราวาสที่มีความรู้สูงชื่ออาจารย์อยู่ และเมื่อขลัวลุงขำเรียนจบก็มักจะชอบท่องสาธยายให้เด็กชายสังข์ฟังบ่อยๆว่า...

“เกศาผม โลมาขน นขาเล็บ ทันตาฟัน ตโจหนัง นี่เป็นอนุโลม ตโจหนัง ทันตาฟัน นขาเล็บ โลมาขน เกศาผม นี่เป็นปฏิโลม...”

ท่านว่าที่ขลัวลุงขำสาธยายให้ฟังนี้ ท่านไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไร รู้แต่ว่าชอบมาก ฟังได้ไม่เบื่อ ครั้นจะถามก็ไม่กล้าเพราะกลัวจะโดนดุ จนเมื่อท่านมาอยู่วัดและได้เล่าเรียนศึกษา จนมีความรู้ทั้งหนังสือภาษาไทย หนังสือขอมและอ่านพระมาลัยได้(พระมาลัยสมัยนั้นเป็นภาษาขอม)

 

ท่านจึงได้เข้าใจว่า “กายคตาสติกัมมัฏฐาน” คือกัมมัฏฐานอย่างหนึ่ง ว่าด้วยการกำหนดพิจารณากายให้เห็นว่า กายนี้ประกอบไปด้วยชื้นส่วนต่างๆ ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆ นี้เราเรียกว่า “อาการ ๓๒” มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น

ว่ากันว่า “ธรรมะที่เกิดขึ้นในใจ ก่อให้เกิดปัญญารู้ เรียกว่าญาณปัญญา” ญาณปัญญาที่เกิดขึ้นมีคุณสมบัติพิเศษคือ “สามารถทำให้เรามองเห็นตัวเอง”

 

“เราไม่ชอบเที่ยว ชอบที่จะสวดมนต์ มุ่งอยู่กับการปฏิบัติของเรา คือก่อนนอนเราก็สวดมนต์ สวดมนต์แล้วก็นอน

แต่มานึกได้ว่า เมื่อเราสวดมนต์แล้วก็นอน หากตายไปเราก็จะกลายเป็นคนไม่มีศีล

ก็เลยมีความคิดว่าเวลาสวดมนต์ต้องสมาทานศีลด้วย เวลาตายไปจะได้เป็นคนที่มีศีล.....”

เด็กชายสังข์บวชเป็นสามเณรน้อยเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี โดยมีหลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกัณฑ์ ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอุปัชฌาย์บวชให้เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ และเมื่อบวชแล้วสามเณรสังข์ได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดขวิด (ปัจจุบันชื่อวัดธรรมโชติการาม) ซึ่งเป็นวัดที่ไม่ไกลจากบ้านเกิดของท่านเท่าใดนัก

กิจวัตรประจำวันของสามเณรสังข์เมื่อกลับจากบิณฑบาตและฉันเสร็จแล้ว ท่านก็จะเข้าไปอยู่ในป่าช้าหลังวัดเพื่อปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานเจริญภาวนาทำสมาธิ ท่านว่าในช่วงที่เข้ามาอยู่ในป่าช้าใหม่ๆ ก็ยังเกิดความกลัว

 

เนื่องจากป่าช้าของวัดขวิดเป็นป่าช้าเก่าที่มีศพฝังอยู่หลายศพและคงด้วยความเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ป่าช้าวัดขวิดแห่งนี้จึงเป็นที่รองรับของบรรดาศพใหม่ๆ ที่มีทยอยเข้ามากันเรื่อยๆ

ว่ากันว่าแม้แต่ตอนกลางวันนกยังไม่กล้าบินผ่านเลยครับ

นี่....ชาวบ้านเขาว่าเฮี้ยนกันขนาดนี้

แต่ว่าความเฮี้ยนนี้จะส่งผลให้หลวงพ่อสังข์ท่านเจอมิตรรักต่างมิติหรือเปล่าผมเองก็ไม่อาจทราบได้ ทราบเพียงแต่ว่าในกาลเวลาต่อมาสามเณรสังข์ สามารถเอาโลงศพเปล่าๆมาเรียงเพื่อรองนั่งได้

ครั้นต่อมาพอชาวบ้านทราบว่าสามเณรสังข์สามารถเข้าไปปฏิบัติกัมมัฏฐานอยู่ในป่าช้าได้ ก็เกิดความศรัทธาจึงพากันมาปลูกกระท่อมหลังน้อยให้สามเณรสังข์จำพรรษา..กระท่อมน้อยหลังนี้แหละครับคือที่มาของ ”เรื่องราวมหัศจรรย์ไฟไหม้ป่า” ที่ผมพ่นไปในข้างต้น

 

“เราหมดความกลัวผีไปแล้ว เพราะมาฉุกคิดได้ว่า ทั้งเราทั้งเขาต่อไปก็จะต้องเป็นอย่างนี้เช่นกันทั้งนั้น....”

สมัยก่อนชาวบ้านมักนิยมนิมนต์ให้พระสงฆ์ชักผ้ามหาบังสุกุลที่ศพในป่าช้า จึงไม่แปลกครับที่สามเณรสังข์เจ้าของสัมปทานป่าช้าจะถูกนิมนต์ให้ไปชักผ้ามหาบังสุกุลอยู่บ่อยๆและด้วยกิจวัตรของสามเณรสังข์ที่เคร่งครัดอยู่ในศีลธรรมกัมมัฏฐานเช่นนี้เอง ความได้ทราบไปถึง”หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกัณฑ์”อยู่เสมอๆ จนหลวงพ่อปั้นถึงกับเอ่ยปากทำนายว่า...

“เจ้าเณรสังข์องค์นี้ ต่อไปจะเป็นเสมือนช้างเผือกประจำกรุงศรีอยุธยา...”

ในระหว่างนั้นสามเณรสังข์ท่านก็ได้ไปมาหาสู่ปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์เสมอๆ ทำให้หลวงพ่อปั้นมีความรักและเมตตากับสามเณรสังข์มาก จึงได้ถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆให้กับสามเณรสังข์เป็นอันมาก สำหรับประวัติของหลวงพ่อปั้น วัดพิกุลนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกวัดพิกุลได้เล่าให้ผมฟังว่า....

 

“หลวงพ่อปั้นนั้นท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิยิ่งอีกองค์หนึ่ง ท่านสามารถผูกหุ่นไว้เฝ้ากันขโมยได้ หรือ

แม้แต่ในวัดคราวที่มีงานใหญ่ๆ ล้างถ้วยล้างชามไม่ทัน หลวงพ่อปั้นท่านก็บอกให้เอาใส่เข่งเขย่าในน้ำล้างได้โดยไม่แตก...”

นอกจากสามเณรสังข์จะได้เรียนคาถาอาคมจากหลวงพ่อปั้นแล้ว ท่านก็ยังได้สนใจเรียนกัมมัฏฐานไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องของ”กายคตาสติ” จนจบอาการ ๓๒ โดยอนุโลมปฏิโลม(การพิจารณากลับไปกลับมา)

จะว่าไปแล้วการเรียนกัมมัฏฐานของสามเณรสังข์ ถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ได้ผลที่ค่อนข้างสูง ที่ว่าได้ผลค่อนข้างสูงมีที่มาที่ไปครับ

 

“วิชาการต่างๆในทางโลกนั้น จะนำมาใช้ได้ก็แค่เพียงในด้านการช่วยเหลือสังคมเท่านั้น ซึ่งวิชาการต่างๆเหล่านั้นไม่สามารถช่วยให้พ้นจากทุกข์คือกิเลสเร่าร้อนไปได้เลย”

 

“ถึงเราจะเรียนกัมมัฏฐานเพียงอย่างสองอย่าง แต่เราก็สามารถนำมาใช้ฝึกหัดดัดนิสัยจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลงผิด

ในเมื่อรู้เท่าทันกิเลสเครื่องเร่าร้อนได้แล้ว เราก็สามารถหาทางดับมันได้โดยไม่ยาก ถึงดับไม่หมดทีเดียวแต่ก็ทำให้มันน้อยลงได้ เหมือนไฟที่ไม่ใส่เชื้อก็มีแต่จะดับลง..”

ครับจะว่าไปแล้วถึงหลวงพ่อสังข์ท่านเรียนรู้และชำนาญเฉพาะแค่”กายคตาสติ”เท่านั้น โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าท่านเยี่ยมแล้วเพราะว่า”กายคตาสติ”เป็นการเรียนรู้สภาวธรรมความเป็นจริงของสังขารร่างกายของตนเอง 

จะเปรียบเทียบก็ทำนองว่าเรียนรู้เท่าทันตนเองก่อนและจึงค่อยไปเรียนรู้เรื่องราวภายนอก คนเรานะครับมักหลงลืมที่จะทำความเข้าใจกับจิตใจของตนเองและมักชอบจะบอกเสมอๆว่าเข้าใจคนอื่น....

 

การที่สามเณรสังข์บำเพ็ญเพียร เพื่อจะเอาชนะจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น

ทำให้ครั้งหนึ่งพระครูปุ้ย เจ้าอาวาสวัดขวิดเอาน้ำล้างจานข้าวที่ฉันแล้วเทราดลงบนศรีษะของสามเณรสังข์ ซึ่งขณะนั้นสามเณรสังข์ท่านกำลังนั่งฉันอาหารอยู่บนศาลาที่กำลังมีญาติโยมร่วมทำบุญเพราะเป็นวันพระ แต่สามเณรสังข์ท่านก็ยังนั่งฉันไปตามปกติ ไม่ได้แสดงอาการโกรธเคืองอะไรเลย...

ซึ่งพระครูปุ้ย ท่านมาเฉลยภายหลังว่าสาเหตุที่ท่านเทน้ำล้างจานข้าวลงบนศรีษะสามเณรสังข์นั้น

"เพื่อจะลองใจสามเณรน้อยดูว่าสามารถปฏิบัติกัมมัฏฐานจนสามารถเอาชนะความโกรธ อำนาจแห่งกิเลสได้หรือยัง"

เล่าลือกันว่าจากเหตุการณ์นั้นคะแนนเสียงของความศรัทธาจากชาวบ้านต่างเทลงที่สามเณรน้อยล้นหลามเลยทีเดียว....

 

พูดถึงคำว่า”การเรียนรู้” ผมเชื่อว่าแต่ละคนจะมีนิยามหรือมุมมองของคำว่าการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่าแต่ละคนนั้นจะรับรู้และมีประสบการณ์ก็เพียงเฉพาะในส่วนที่ตนเองได้เคยรับรู้หรือเคยสัมผัสเท่านั้น....

สำหรับพระภิกษุสงฆ์แล้ว รับรู้แตกต่างกันได้ในบางเรื่องแต่เรื่องที่รับรู้แตกต่างกันไม่ได้คือพระธรรมวินัย...

“หากเปรียบเทียบว่าคนเรามีหัวใจเพียงหนึ่งดวง พระธรรมวินัยก็คือห้องหนึ่งในหัวใจดวงนั้น...”

 

พระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่มีการประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ด้วยความที่เป็นหมู่บ้านค่อนข้างห่างไกลจากความเจริญและมีความจำเป็นในเรื่องของการทำมาหากินเลี้ยงชีพ ทำให้ระบบการศึกษาไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริบทความเป็นจริงของชีวิต

จะว่าไปแล้วคำว่าการศึกษา...มันก็คือยาขมขนานใหญ่สำหรับเด็กๆ แต่มันก็คือขนมหวานสำหรับสามเณรสังข์ครับ...

สามเณรสังข์ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรที่มีหัวดี จะเล่าเรียนอันใดก็มีความพยายามและความสามารถในการจดจำเรื่องราวต่างๆได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือภาษาไทยหรือภาษาขอม สามเณรสังข์ก็สามารถอ่านและเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว

ขนมหวานจานโปรดสำหรับสามเณรสังข์มีชื่อว่า “หนังสือพระไตรปิฏก” ซึ่งสามเณรสังข์ได้อ่านหนังสือพระไตรปิฏกจนจบแล้วจบอีกเรียกว่าอ่านจนแตกฉานและเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้

โดยเฉพาะในหมวดของ “พระธรรมวินัยปิฏก” ค่อนข้างจะเป็นที่โปรดปรานมากเป็นพิเศษ ซึ่งเรื่องที่สามเณรสังข์ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องของ”ศีลในพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ” ถ้าจะพูดกันง่ายๆก็คือว่าหลวงพ่อสังข์ท่านสามารถ”ปั่นพระปาฏิโมกข์” ได้ตั้งแต่ยังเป็นเณร

ด้วยความมีชื่อเสียงในเรื่องของความสามารถสวดพระปาฏิโมกข์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทำให้พระเณรในยุคนั้นต่างให้ความเคารพยำเกรงต่อสามเณรสังข์ ก็จะไม่ให้ยำเกรงได้อย่างไรเล่าครับในเมื่อสามเณรสังข์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ทั้ง “ข้ออนุญาตและข้อห้าม” ในพระวินัยเป็นอย่างดี

สามเณรสังข์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๗ ณ พันธสีมาวัดขวิด โดยมีท่านพระครูเขมาภิรมย์(หลวงพ่อลับ) วัดบันไดช้าง อำเภอเสนา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจง พุทธสสโร วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปุ้ย ธมมโชติ วัดขวิด อำเภอบางบาล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปุญญสิริ”

 

เล่ากันว่าในวันที่ท่านอุปสมบท มีอยู่ตอนหนึ่งหลวงพ่อจงท่านแกล้งสวดญัตติพลาดไปวรรคหนึ่ง

ซึ่งเรื่องของการสวดญัตตินั้นตามหลักการถือว่าต้องสวดให้ถูกต้องจะผิดแม้วรรคหนึ่งวรรคใดก็ไม่ได้ เพราะการสวดผิดจะทำให้สังฆกรรมนั้นใช้ไม่ได้ ดังนั้นท่านจึงขอให้หลวงพ่อจงสวดญัตติให้ใหม่อีกครั้ง

หลวงพ่อจงท่านยิ้มด้วยความเอ็นดูเพราะท่านได้รับทราบกิตติศัพท์ความเคร่งครัดปฏิบัติของหลวงพ่อสังข์มาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

และเมื่อท่านได้มองเห็นชุดผ้าไตรจีวรที่หลวงพ่อสังข์ได้ตัดเย็บและย้อมเองตามหลักของพระวินัย ทำให้ท่านเกิดความประทับใจในตัวของหลวงพ่อสังข์

ท่านจึงได้เปลื้องผ้าสังฆาฏิของท่านถวายแก่หลวงพ่อสังข์และได้บอกกับทุกคนที่อยู่ในที่นั้นว่า....

“ต่อไปคุณสังข์จะเป็นพระที่มั่นคงอยู่ในพระพุทธศาสนาอีกรูปหนึ่ง”



มีคำเปรียบเทียบว่า “บิดามารดา” เป็นเสมือน “พระพรหมหรือพระอรหันต์” ของบุตรทุกคน แม้แต่พระพุทธองค์ท่านก็ทรงสรรเสริญในพระสูตรต่างๆอย่างมากมายในเรื่องของการตอบแทนคุณบิดามารดา

มีเรื่องขำๆ แต่น่าคิดอยู่เรื่องหนึ่ง.....

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายๆท่านก็คงจะเคยอ่านผ่านตามาบ้างแล้ว เพียงแต่ว่าเรื่องนี้มีความสำคัญคือเป็นเรื่องที่หลวงพ่อสังข์ท่าน”ชอบมาก”และท่านก็มักจะ”ยกขึ้นมาเล่าเพื่อเป็นอุทาหรณ์”ให้บรรดาญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหาได้ฟังอยู่เสมอ เรื่องนี้ค่อนข้างยาวแต่ขอเล่าอย่างย่อๆครับ

....ไอ้ทิดทองมันไปไถนา วันนั้นตาอยู่ได้บังเอิญเดินทางผ่านไปทางนั้น ตาอยู่คิดลองใจทิดทอง จึงได้ร้องตะโกนไปว่า...

“เฮ้ย...ไอ้ทิด ยายมาแม่ของเอ็งเป็นลมอยู่ที่บ้านแน่ะ แกให้ขามาตามเอ็ง”

ทิดทองตอบว่า “แม่เหรอ ไม่เป็นไรหรอกเพราะแกเคยเป็นแบบนี้ประจำ เดี๋ยวบ่ายๆปลดไถแล้วค่อยไปดู”

ตาอยู่แกก็ไม่ว่าอะไร แล้วแกก็ได้เดินทางไปทำธุระต่อ ครั้นขากลับผ่านมาอีกครั้ง แกก็ยังเห็นทิดทองไถนาอยู่ จึงแกล้งร้องตะโกนไปว่า

“ไอ้ทิด ไอ้ทิด เมียเอ็งเจ็บท้องที่บ้าน”

รวดเร็วปานกามนิตหนุ่มครับ ไอ้ทิดทองรีบวางคันไถแล้วเผ่นไปหาเมียทันที เมื่อเห็นว่าเมียของตัวเองไม่ได้เป็นอะไร ทิดทองจึงได้กลับมาต่อว่าตาอยู่ ตาอยู่รอจังหวะสวนกลับอยู่แล้วตามชื่อ จึงสวนกลับไปว่า

“มึงนี่ใช้ไม่ได้ เข้าตำราที่ว่า หลงเมียจนลืมแม่”

ครับเรื่องเล่าของหลวงพ่อจบลงเพียงเท่านี้ แต่เรื่องของความกตัญญูในชีวิตจริงของท่านยังไม่จบ เพราะหลวงพ่อสังข์ท่านได้หมั่นแวะเวียนไปดูแลบิดามารดาของท่านเสมอ

ยามเมื่อบิดาของท่านเจ็บป่วย ท่านก็จะเข้าไปบีบนวดและพูดคุยเรื่องธรรมะต่างๆให้โยมบิดาของท่านฟัง หรือแม้แต่ยามเมื่อท่านออกบิณฑบาต หากท่านรู้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่โยมของท่านชอบ ท่านก็จะไม่ฉันและนำไปฝากให้โยมได้รับประทานอยู่เสมอๆ



ประกาศนียบัตรถือว่าเป็นตัวแทนทางรูปธรรมของคำว่า”ความรู้” แต่คนที่มี “ความรู้” ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องมีรูปธรรมดังกล่าวมารองรับ

หลวงพ่อสังข์ท่านได้รับความเชื่อถือว่า เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทั้งทางแนวปริยัติและแนวปฏิบัติ เรียกว่าในสมัยนั้นหาคนที่จะก้าวเข้ามาเทียบชั้นชิงตำแหน่งจากท่านได้ยากประมาณว่าครองแชมป์ตลอดกาลอะไรทำนองนี้ครับ

และก็มีเรื่องจริงที่ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของบรรดาลูกศิษย์ว่า ครั้งหนึ่งได้มีนักเทศน์ระดับดีกรีมหาเปรียญ ๙ ประโยคก็ยังต้องมาสยบจนมุมกับปัญหาธรรมะของหลวงพ่อ

เรื่องมีอยู่ว่าหลวงพ่อสังข์ท่านได้ให้พระมหารูปนั้นเปิดพระไตรปิฏกเพื่อแปลความหมายและอธิบายใจความให้ท่านฟัง ผลปรากฏว่าพระมหาท่านนั้นสามารถแปลพระไตรปิฏกได้อย่างไม่ติดขัดแต่มาติดปัญหาคือไม่สามารถอธิบายตีความหมายตามนัยยะต่างๆได้

ด้วยเหตุนี้หลวงพ่อสังข์ท่านจึงได้อธิบายความหมายและตอบคำถามของพระมหาในเรื่องของพระไตรปิฏกได้อย่างชัดเจน จนพระมหาท่านนั้นต้องยอมยกธงให้กับความเชียวชาญของหลวงพ่อครับ



จะว่าไปแล้วการที่หลวงพ่อสังข์ท่านไม่ได้มีประกาศนียบัตรนักธรรมเปรียญใดๆเลย แต่ตัวท่านก็มีความรู้มากเปรียบเสมือนว่าตัวท่านเองเป็นดังตู้พระไตรปิฏก ทำให้ท่านได้รับฉายาจากชาวบ้านและพระสงฆ์ทั่วไปว่า “ตู้พระไตรปิฏกแตก” นี่แหละครับคือตำนานที่มาของชื่อเรียกนี้

กล่าวกันว่าการทำอะไรสักอย่าง “ผลงานที่ปรากฏขึ้นย่อมบ่งบอกถึงลักษณะและอุปนิสัยของคน” ถ้า ”การเกิดมาเป็นมนุษย์ที่ดีควรมีศักดิ์ศรีอยู่ที่การกระทำ” ศักดิ์ศรีของมนุษย์คงขึ้นอยู่กับอุปนิสัยเป็นสำคัญ

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า “ประเคน”

ประเคนคือกิริยาการนำของไปถวายพระ ซึ่งตามปกติของคนแล้วการส่งต่อหรือส่งมอบเพียงแต่ส่งให้ถึงมือก็ถือว่าใช้ได้แล้วไม่ต้องคิดอะไรมาก

แต่หากต้องส่งมอบให้พระขืนไม่คิดมากเห็นทีจะต้องตกนรกละครับ

หลวงพ่อสังข์ท่านมีความสำรวมระวังถือตามวินัยอย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยเฉพาะการรับประเคนของ หากว่าของสิ่งใดที่ขาดประเคนหรือประเคนไม่ถูกหลักในวินัย ท่านก็จะไม่ยอมฉันของนั้นเลย ซึ่งวิธีการประเคนอย่างถูกต้องนั้นท่านสอนว่า

 

“ของที่ประเคนถูกหลักของวินัยนั้น ต้องยกให้สูงพอประมาณแล้วน้อมเข้ามาถวายทีละอย่างด้วยอาการเคารพ ในระยะ ๑ ศอกโดยประมาณจากกาย”

ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าตัวท่านเองเคยพบเห็นวิธีการประเคนในสถานที่อื่นๆ ซึ่งมีทั้งการยื่นให้กันบ้างหรือบางทีก็เสือกต่อๆเป็นแพให้กันบ้าง ท่านว่ากระทำแบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้องของหลักการประเคน

ศัพท์ทางพระเขาเรียกว่า “อาบัติ” แต่เท่าที่ผ่านมาท่านเคยสอบถามพระบางองค์ว่าทำไมถึงยอมรับประเคนแบบนั้น พระเหล่านั้นก็ตอบว่า

”กลัวญาติโยมจะลำบาก”

ด้วยเหตุฉะนี้พระเหล่านั้นท่านจึงยอมลำบากเสียเอง โดยยอมฉันอาหารทีมีการประเคนผิดวินัยสงฆ์แต่สำหรับหลวงพ่อสังข์ท่านไม่คิดแบบนั้นครับ ความคิดและเหตุผลของท่านฟังแล้วกระชากสามัญสำนึกดีเหลือเกิน

“สงสารญาติโยมจะพากันตกนรก เพราะเป็นเหตุทำให้พระต้องอาบัติ”

 

ถ้าเราไม่ปฏิเสธความเป็นจริงของชีวิตกันนัก ก็ต้องยอมรับครับว่าพวกเราประมาทกันในเรื่องระเบียบวิธีการแบบนี้ การไม่เข้าใจและยังฝืนกระทำอยู่มักจะส่งผลให้คนเราต้องประสบกับปัญหาที่มีติดตามมาอยู่เสมอๆ

จะอ้างว่าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ไม่ได้ก็เรื่องแบบนี้เขาบัญญัติไว้แล้วนี่ครับ ก็คงเหมือนกับหลักกฎหมายเขาว่าไว้แหละครับ

“การไม่รู้กฎหมายไม่ใช่ข้ออ้าง”

.....ทำความเข้าใจกันใหม่ครับ ประเคนของอย่างถูกต้อง ถูกหลัก ผู้ถวายก็ไม่เกิดโทษและหลวงพ่อผู้รับเองก็ไม่ต้องอาบัติ....

ย้อนวนเข้ามาพูดเรื่องของวัตถุมงคลกันบ้าง ว่ากันว่าเหรียญหรือพระเครื่องของหลวงพ่อสังข์มีคุณอภินิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์เหลือกำลัง ขนาดขับรถเร็วจี้พลิกคว่ำยังไม่เป็นอะไร หรือบางคนเป็นทหารได้รับเหรียญของท่านไปโดนยิงก็ไม่เข้าเป็นเพียงแต่รอยช้ำพอให้รับรู้อาการ 

แต่ตามปกติแล้วหลวงพ่อสังข์ท่านก็ไม่ค่อยยินดีหรือสนับสนุนในเรื่องเครื่องรางของขลังอะไรเท่าใดนัก แต่ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าเป็นของไม่ดี ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อเคยเล่าเหตุผลให้ฟังว่า....

 

“ฉันก็เป็นศิษย์หลวงพ่อปั้น หลวงพ่อจง ซึ่งก็ศึกษาเล่าเรียนมาพร้อมๆกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

แต่ที่ฉันไม่อยากเปิดเผยอะไรกับใครเพราะเมื่อเขารู้แล้วจะพากันมาขอนั้นขอนี่ ทำให้เราไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานภาวนา”

“ของดีๆ แต่ไม่ค่อยมีใครสนใจก็คือธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นำไปใช้เถอะได้ผลแน่

ขอแต่ให้ปฏิบัติอย่างจริงใจเท่านั้นแหละ ย่อมได้ผลคือความสุขกาย สบายใจได้ดีกว่าไปอาศัยเครื่องรางของขลังเหล่านั้น....”



ครับขึ้นชื่อว่าพญามัจจุราชแล้ว ไม่เคยปราณีชีวิตสังขารของผู้ใดเลย แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกในโลก ก็ยังต้องเสด็จดับขันธ์เข้าสู้นิพพานไปตามอายุสังขาร....

 

ท่านพระครูอุดมสมาจาร หรือหลวงพ่อสังข์ ปุญญสิริได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๑๘ ด้วยอาการสงบ ท่ามกลางเสียงสวดมนต์เจริญพระพุทธคุณของบรรดาลูกศิษย์ที่ยืนอยู่รอบๆเตียงที่ท่านนอน 

เล่ากันว่ายามปกติวัดน้ำเต้าจะมีค้างคาวนับเป็นพันๆตัวบินร่อนกันส่งเสียงดัง แต่ในคืนที่หลวงพ่อมรณภาพทุกสิ่งทุกอย่างต่างเงียบสงบราวกับเป็นการไว้อาลัยให้กับร่มโพธิ์ร่มไทรของวัด

ค้างคาวที่มีเยอะแยะก็ไม่บินมาปรากฏให้เห็นแม้แต่ตัวเดียว



หลวงพ่อสังข์ นับได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลที่เราควรเคารพบูชา เพราะตลอดชีวิตของท่านมุ่งแต่ปฏิบัติตั้งตนอยู่ในคุณธรรม อุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมและพระพุทธศาสนาตลอดมา ทุกวันนี้ทางวัดน้ำเต้าและวัดสีกุก ได้จัดให้มีงานทำบุญเพื่อระลึกถึงพระคุณของท่านเป็นประจำทุกปี

 

จะว่าไปแล้วการเรียนรู้ประวัติของคน โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะจะทำให้เราได้แง่คิดทั้งข้อดีและข้อเสีย

ซึ่งทั้งข้อดีและข้อเสียต่างก็เป็นประโยชน์สำหรับชีวิตเราทั้งนั้น

หากเป็นข้อดีก็มีประโยชน์ให้เราเลือกปฏิบัติตามแนวทางนั้น

หากเป็นข้อเสียก็เป็นประโยชน์ให้เราอย่าไปในแนวทางนั้น

ชีวิตของใครคนนั้นก็ต้องดูแล...

หวังว่าแนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อสังข์ จะเป็นแสงสว่าง(บางส่วน)ที่นำทางชีวิตของเพื่อนๆ ไปในสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นมงคล...สวัสดีครับ

 
ขอขอบพระคุณท่านศิษย์กวง...http://www.oknation.net
กราบขอบพระคุณ ท่านพระครูชินธรรมาภรณ์(ประยูร ชินปุตโต) เจ้าอาวาสวัดสีกุก เจ้าคณะอำเภอบางบาล ที่เมตตาให้ข้อมูล
และขอขอบคุณ คุณธีภพ แพร่หลาย สำหรับภาพถ่ายหลวงพ่อสังข์ยุคเก่า คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย กับภาพถ่ายที่เป็นปัจจุบัน เพื่อนต่อกับคำแนะนำที่มีประโยชน์ คุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรี กับกำลังใจที่มีส่งมาให้เสมอ ขอบคุณครับ


352

ประวัติสังเขป
ท่านเป็นบุตรของ นายโฮ นางแฮม ยอดเยี่ยมแกร
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2421 ตรงกับแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ณ บ้านละหารทราย
บรรพชา เมื่อ อายุ 17 ปี ณ วัดโพธิ์ทรายทอง
อุปสมบท วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2442 ตรงกับขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน ณ วัดโพธิ์ทรายทอง
มรณภาพ วันที่ 31 ธันวาคม 2515 สิริรวมอายุ 95 ปี

วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างเอาไว้ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น เหรียญรุ่นต่าง ๆ พระเนื้อผงรุ่นต่าง ๆ
ล็อกเกต รูปถ่ายหลังตะกรุด รูปถ่ายกรอบกระจก แหวน พระหล่อ ตะกรุด ผ้ายันต์ กระดาษยันต์ สีผึ้ง เป็นต้น

รูปหล่อหลวงปู่สุข ที่ได้รับความนิยม คือ รุ่นที่ท่านสร้างและนำไปแจกที่วัดหนองติม ปี 2498 และปี 2500 (ออกวัดโพธิ์ทรายทอง)
รุ่น ปี 2512 ออกวัดชิโนรส รุ่นปี 2513 มีทั้งออกวัดโพธิ์ทรายทอง และวัดโพ (โคราช)
รุ่นปี 2514 แจกวัดแจ้งใน (โคราช) เป็นต้น

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา เด่นทาง เมตตามหานิยม

มีภาพมงคลวัตถุของท่านที่น่าพิสมัย นำมาให้ชมกันครับ



เขาเรียกกันที่บุรีรัมย์ว่า รูปสอยดาวหลังตะกรุด(ยืมภาพมาจาก DD-PRA.COM ครับ)
ส่วนข้างล่างเป็นพระผง เหรียญ(ออกในปีต่างๆ กันตามที่ปรากฏที่หลังเหรียญ) และรูปหล่อของท่าน ครับ







ขอบคุณภาพชุดนี้จาก...www. moohin.com
ขอบคุณที่มา...http://forum.ampoljane.com/index.php?

353
งดงามทุกองค์ครับ...ขอบคุณที่นำภาพมาให้ชมกันนะครับ

354
ขอบคุณท่านขุนแผน...สำหรับภาพบรรยากาศ
ของวัด...ที่นำมาให้ชม...
บรรยากาศ...นึกถึงวันเก่าๆ
ขอบคุณอีกครั้งครับ

355

วันหนึ่งมีนักบวช 3 รูป ท่าทางไม่ใช่คนไทย แต่งกายคล้ายซามูไร บอกลักษณะว่าน่าจะเป็นพระเซ็น พระผู้ต้อนรับได้ปฏิสันถารกับอาคันตุกะทั้งสามจนทราบว่าเขาต้องการถามธรรมะหลวงพ่อจึงได้เชิญเขาเข้าไปพบหลวงพ่อพร้อมกับนิมนต์พระฝรั่งรูปหนึ่งมาเป็นล่าม เมื่อเริ่มต้นปฏิสันถารก็ได้ความว่า

เขาได้ท่องเที่ยวถามธรรมะจากพระผู้ใหญ่ทั้งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในขณะนั้นหลายรูปหลายองค์ด้วยกันมาแล้วเมื่อนักบวชทั้ง 3 ได้กราบคารวะและขออนุญาตถามปัญหาแก่หลวงพ่อ ท่านก็อนุญาตให้ถามได้ไม่ต้องเกรงใจ ให้ถือว่าเราต่างเป็นชาวพุทธด้วยกัน มีพระพุทธเจ้าเป็นพ่อ มีพระธรรมเป็นแม่ อย่าถือว่ามหายานหรือ เถรวาท ให้ถือว่าเป็นลูกพ่อแม่เดียวกันเมื่อพระอาคันตุกะทราบคำอนุญาตแล้วก็เริ่มตั้งคำถามว่า

“ปฏิบัติไปทำไม ปฏิบัติเพื่ออะไร ทำไมจึงต้องปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วจะได้อะไร”

หลวงพ่อตอบทันทีว่า “กินข้าวไปทำไม กินข้าวเพื่ออะไร ทำไมจึงต้องกินข้าว กินข้าวแล้วจะได้อะไร”

ปรากฏว่าพระอาคันตุกะเกิดความซึ้งใจในทันที

และบอกว่าได้พยายามหาคำตอบสั้นๆเช่นนี้มานานแล้ว ส่วนมากคำตอบที่ได้มักยาว หลวงพ่อฟังแล้วท่านก็เฉยๆไม่ตอบเพียงกล่าวต่อไปว่า”มีปัญหาอีกไหม”
เขาจึงถามต่อไปว่า “คนไม่รู้ คือ ใคร”
หลวงพ่อ “คนไม่รู้ คือ คนหลง”
พระอาคันตุกะ “คนหลง คือ ใคร”
หลวงพ่อ “คนหลง คือ คนไม่รู้ “

พระอาคันตุกะถึงกับน้ำตาคลอ เพราะได้คำตอบที่กินใจมากพระอาคันตุกะหมดความสงสัย เมื่อเห็นพระอาคันตุกะเลิกถามท่านก็ปฏิสันถารอีกเล็กน้อยว่า

“ท่านเองท่านชอบการปฏิบัติแบบเซ็น แม้พระไทยบางองค์ก็ไปปฏิบัติที่อินเดีย ลังกา เกาหลี ไม่ว่าปฏิบัติที่ไหน ก็ถือว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระธรรมเป็นนามธรรมเดียวกัน พระทุกชาติมีกิเลสตัวเดียวกัน ธัมมะจึงเป็น เอโก ธัมโม ขออย่าให้เราติดใจสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบ

คัมภีร์ อาจารย์ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเปลือกนอก ที่ไหนๆก็มี คนแก่ คนเจ็บ คนตาย”

จากหนังสือ สุดสายธรรม หน้า 24

356

มารศาสนาแฝงตัวมาในคราบนักท่องเที่ยวสะพายกล้องเข้าไปทำทีกราบไหว้-ถ่ายรูป พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายอายุกว่า 200 ปี ที่วัดประชาระบือธรรมขุดเจอนับร้อยองค์ระหว่างกำลังยกโบสถ์ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ก่อนฉกพระพุทธรูปปางประทานพรไป 3 องค์ ทำเสียหายอีก 2 องค์

เมื่อเวลา 21.00 น.วันนี้ (21 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากพระครูสกลธรรมสาธก เจ้าอาวาสวัดประชาระบือธรรม ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต ว่ามีคนร้ายเข้าไปลักพระพุทธรูปสมัยโบราณที่เพิ่งขุดพบจากบริเวณใต้โบสถ์เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา จึงเดินทางไปตรวจสอบทันที

พระครูสกลธรรมสาธก เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางวัดได้ทำยกโบสถ์ขึ้นให้สูง 3.5 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมโบสถ์ จนกระทั่งเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่ช่างขุดดินใต้โบสถ์เพื่อให้ทะลุอีกฝั่งลักษณะเป็นอุโมงค์ลงไป จนพบเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย จำนวนนับร้อยองค์นั้น ทางวัดก็ได้เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้ามาสักการะเยี่ยมชมมาโดยตลอด โดยทางวัดได้เทปูนเอาไว้ที่ฐานพระพุทธรูปด้วยเพื่อป้องกันการสูญหาย แต่เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่วัดได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณใต้โบสถ์ก่อนจะปิดประตูทางเข้าก็พบว่ามีพระพทุธรูปบางองค์หายไป

เจ้าอาวาสวัดประชาระบือธรรม กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า พระพุทธรูปปางประทานพร สู่ง 5 นิ้ว จำนวน 3 องค์ ได้หายไป นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปสูง 2 นิ้ว อีก 2 องค์ได้รับความเสียหาย องค์แรกเศียรหัก อีกองค์หนึ่งยอดเกศหัก ทางวัดจึงรีบไปแจ้งความกับ พ.ต.ท.ไชยา สิงห์ทอง พนักงานสอบสวน (สบ 3) สน.สามเสน ทันที

หลังจากนั้นทางตำรวจก็มาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งสอบพยานแวดล้อมจนได้ข้อมูลว่า ในวันเกิดเหตุมีชายต้องสงสัยคนหนึ่งอายุประมาณ 40 ปี รูปร่างผอม สูงประมาณ 175 ซม.ผิวขาว สะพายกระเป๋าเป้และกล้องถ่ายรูป ทำทีเป็นนักท่องเที่ยวเข้ามากราบไหว้และถ่ายรูปพระพุทธรูปโบราณ แต่หลังจากที่ชายคนดังกล่าวออกจากวัดไป พระพระพุทธรูปก็หายไปด้วย

พระครูสกลธรรมสาธก กล่าวด้วยว่า หลังเกิดเหตุทางวัดก็ยังเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้ามาเยี่ยมชมและกราบไหว้พระพุทธรูปเหมือนเดิม แต่ได้ทำลูกกรงครอบพระพุทธรูปที่เหลือเอาไว้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้คนร้ายเข้ามาขโมยได้อีก


ที่มา...โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 21 กุมภาพันธ์ 2553 23:37 น.

357
สวยงามครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

358
อันว่าทุกสิ่งทุกอย่าง...ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน...เกิดขึ้น...ตั้งอยู่...แล้วดับไป
เป็นไปตามกฏของพระไตรลักษณ์ คนเราทุกคนล้วนแค่นี้แหละ...จงมีสติอยู่ในความไม่ประมาทเถิด
มั่นคง...ในพระรัตนตรัย มีศีลธรรม มีหิริโอตัปปะ
ขอบคุณครับเอ็ม... ที่มาเตือนสติกัน...เห็นแล้วปลงอสุภะดี. 

359
กราบนมัสการ...หลวงพี่นรินทร์และหลวงพี่เก่งทั้ง2 ได้รับเสื้อเว็ปวัดบางพระรุ่น 2 เรียบร้อยแล้วครับ
เมื่อกี้นี่เอง รวดเร็วทันใจครับ...สวยงามมากครับ
ขอบพระคุณครับ

360
ขอบคุณพี่ตี๋ครับ...สำหรับธรรมะจากหลวงพ่อชา สุภทฺโท

361
ขอบคุณครับ...สำหรับเรื่องราวติดในวัตถุมงคลก็ดีกว่าติดในวัตถุอัปมงคล

362
แล้วมีชิ้นไหนที่...จะแบ่งให้ครับ :075:
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

363
ขอบคุณครับ...เอ็ม  ที่ได้นำเสนอเรื่องราว
หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม

364
สวยงามมากมาย...ทั้ง2 เหรียญเลยครับ
เห็นแล้วท่านโรนัลโด้...บอกว่าชื่นใจ...อยากได้จัง :017:

365
ขอบคุณ คุณธรรมะรักโข ครับ หวังว่าวันไหว้ครูคงได้เจอกันน่ะครับ

ได้พบเจอ....กันแน่นอนครับ
ยินดีมากครับพี่...
ขอบคุณครับ...

366
เหรียญหลวงพ่อ...สวยงามมากครับ

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม...

367
สิ่งที่ท้ายที่สุดแล้วจิตวิญญาณทั้งหลายต้องการมากที่สุด คือ “การหลุดพ้น” ในระหว่างการเวียนว่ายตายเกิดนั้น จิตวิญญาณต้องถูกจองจำในลักษณะต่างๆ มากมาย แม้ว่าบางชาติภพ จิตวิญญาณจะได้เสวยผลบุญ มีความสุขชั่วขณะ แต่นั่นเป็นเพียงมายาหลอกล่อให้หลงเพลินเท่านั้น จิตวิญญาณมากมายกำลังหลงเพลินในกองบุญอันไม่เที่ยง แต่ก็มีจิตวิญญาณอีกจำนวนมากที่ตระหนักแล้วถึงความทุกข์ของการแบกขันธ์อันเป็นภาระอยู่ พวกจิตวิญญาณเหล่านี้ ล้วนปรารถนาอย่างเดียวกันคือ “การหลุดพ้น” แม้ไม่รู้ว่าจะหลุดพ้นอย่างไร ได้ด้วยวิธีไหน แต่พวกเขาล้วนพยายามทุกวิธีเพื่อการหลุดพ้นนั้น




จิตวิญญาณมากมายที่ยังวนเวียนติดค้างอยู่ในโลกนี้รอผู้มีบุญบารมีช่วยปลดปล่อยไปยังสุคติภูมิ จิตวิญญาณเหล่านี้มีอิทธิฤทธิ์กล้าแข็งแตกต่างกัน ถ้ามีฤทธิ์มากก็สามารถเข้าร่างผู้มีกำลังจิตแข็งได้มาก แต่ถ้าฤทธิ์น้อยก็ต้องเข้าร่างคนจิตอ่อน เช่น ผู้ป่วยใกล้ตาย เป็นต้น บทความฉบับนี้ จะเล่าเรื่องจิตวิญญาณหลายชนิดที่เข้าข่ายนี้ ดังต่อไปนี้




ผีปู่โสมเฝ้าทรัพย์

มีผีปู่โสมเฝ้าทรัพย์จำนวนหนึ่ง ตายไปแล้วจิตวิญญาณไม่จุติยังภพภูมิใด ล่องลอยอยู่ที่ทรัพย์เก่า สมบัติเก่าที่ตนฝังไว้ หวงไว้ ตามถ้ำบ้าง ที่เร้นลับบ้าง พวกเขาเริ่มตระหนักถึงความทุกข์ที่ต้องถูกจองจำด้วยความยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์นั้น พวกเขาหาวิธีที่จะหลุดพ้นในแบบของตนเอง ด้วยการสร้างภาพนิมิต หรือเปิดมิติที่ซ่อนสมบัติให้ผู้ปฏิบัติจิตได้เห็น ในถ้ำบางถ้ำ มีพระธุดงค์บางรูปเข้าไปนั่งสมาธิแล้วเห็นทองคำมากมายบ้าง เห็นแสงสีทองออกมาจากถ้ำบ้าง แล้วก็ไม่ยอมไปไหน พระเหล่านั้นอาศัยถ้ำนั้นปฏิบัติ แต่จิตของท่านนั้นไม่ได้ละจากทองคำ หรือนิมิตสีทองนั้นเลย เพราะเห็นว่าเป็นของวิเศษ ของดี ของขลัง ของหายาก และเกิดความอยากได้ครอง จึงอยู่แต่ในถ้ำนั้น ไม่ยอมออกไปไหน บางรูปแม้มีผู้มาพบมาเตือนเข้าไม่ยอมเชื่อฟัง แสร้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นว่ามีอะไรอยู่เพราะ กลัวจะถูกแย่งไป แล้วสุดท้าย ก็ละสังขารตายในถ้ำนั้นเพราะจิตยึดมั่นในนิมิตทองคำนั้น ผีเฝ้าสมบัติตัวเดิมก็ได้ถึงวาระ “หลุดพ้น” ยังภพภูมิอื่น ส่วนพระธุดงค์รูปนั้น กลายเป็นผีเฝ้าถ้ำแทน ในประเทศไทยมีมาก ที่เป็นแบบนี้ อาจารย์ท่านหนึ่งของข้าพเจ้าเคยสำรวจในถ้ำลี้ลับแถบทางเหนือ คือ เชียงใหม่, เชียงราย ก็พบร่องรอยของผ้าจีวรขาดบ้าง ได้พบปะกับพระที่ไม่ยอมละออกจากถ้ำบ้างอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว นี่คือ ตัวอย่างแรก




ผีปอบผีกระสือ

มีผีเปรตอีกจำพวกหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดี คือ ผีปอบและผีกระสือ ผีเหล่านี้ แรกเริ่มเดิมทีเคยถูกผู้คนเลี้ยงดูไว้ โดยเฉพาะทางแถบภาคเหนือ เพราะเชื่อว่าผีจะนำความเจริญมาให้ แต่เมื่อเลี้ยงดูไม่ถูกวิธี ผีก็ถูกเลี้ยงให้โลภตามจิตใจของผู้เลี้ยง ความโลภ, ตระหนี่ นั้น ทำให้ผีเสื่อมลง และเกิดเป็น “ปอบ” บ้าง “กระสือ” บ้าง ญาติของข้าพเจ้าคนหนึ่งยากจนมานาน วันหนึ่งได้พบแสงเรืองๆ ที่ยอดกล้วย จึงได้ร่ำพูดร่ำว่าว่าจะมาให้โชคก็ขอให้เคลื่อนไหวให้ดูหน่อย ทันใดนั้น แสงเรืองนั้นก็ลอยวนไปมาบริเวณยอดกล้วย เขาได้มาปรึกษาข้าพเจ้าว่าทำอย่างไรดีและที่เห็นนั้นเป็นสิ่งที่นำโชคมาให้จริงไหม ข้าพเจ้ากล่าวว่านั่นคือกระสือไม่ได้เหมือนในหนังที่มีหัวกับไส้ลอยไปลอยมาหรอก เป็นแสงเรืองอย่างนั้นเอง การที่เราไปเชื้อเชิญเขามาก็ทำให้เขามาร่วมอยู่กับเราและเราจะกลายเป็นกระสือ ผีพวกนี้มาแทรกในกายคนเลี้ยง แล้วอาศัยกายคนเลี้ยงเพื่อหากิน เมื่อทั้งคนและผีหากินแบบเดียวกัน ร่วมกรรมเลวด้วยกันในกายสังขารเดียวกันนั้น ทำให้คนก็เสื่อมลงกลายเป็นกระสือ จากเดิมที่ไม่ใช่กระสือ เมื่อตายลง ดวงจิตกระสือจะมีสองดวง คือเพิ่มจำนวนมาอีกหนึ่งดวง จากคนที่เลี้ยงกระสือนั้นเอง กระสือจะหาร่างใหม่ไปเรื่อยๆ เพื่อหาทางหลุดพ้น แต่หากวาระกรรมยังไม่สิ้นก็ไม่สามารถหลุดพ้นได้ นอกจากจะเจอร่างที่ก่อคุณงามความดี และฉุดให้จิตวิญญาณกระสือดีขึ้นจนพ้นความเป็นกระสือ สู่สุคติภูมิ




ผีเสื้อวัด

ผีอีกประเภทจัดเข้าเป็นเทวดาชั้นที่หนึ่งมีกายเป็นยักษ์และมีหน้าที่เฝ้าวัด เฝ้าอยู่นับพันปีทิพย์ทีเดียว ไปไหนมาไหนนอกเขตวัดไม่ได้ ต้องเป็นเหมือนยามตลอดเวลาห้ามเที่ยวไปไหน ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปสักร้อยปีมนุษย์พวกเขาก็เริ่มเบื่อหน่ายภาระหน้าที่นี้ และเริ่มมองหาคนมาแทนที่ โดยมักจะเป็น “สมภาร” หรือ เจ้าอาวาสวัดที่ยึดมั่นถือมั่นวัดนั้นนั่นเอง พระพุทธเจ้าสอนพระสาวกเสมอว่าไม่ให้สร้างที่อยู่ใหญ่โตและถาวรมากไป ให้สร้างแค่พออยู่ไปสักชั่วชีวิต พอตายก็พังไปด้วยกัน ท่านเมตตาถึงขนาดแนะนำให้เลือกอยู่ป้าช้า, ป่าเปลี่ยว, บ้านร้าง เป็นต้น เพราะท่านทราบดีว่าที่เหล่านี้เป็นเครื่องผูกมักจิต ทำให้เมื่อตายลงไม่ได้ไปดี แม้สวรรค์ยังไม่ได้ ต้องเฝ้าวัดเป็น “ผีเสื้อวัด” ในที่สุด พระมากมายตายลงต้องต่อคิวเป็นผีเสื้อวัด โดยเฉพาะเจ้าอาวาสที่ยึดวัดมากๆ เคร่งดุและหวงคนมากๆ มักต้องเป็น “ผีเฝ้าวัด” มากมาย ในบางจังหวัด เจ้าอาวาสเก่งกาจมีฤทธิ์มาก เมื่อตายลง จิตไม่ไปยังที่ควรจะไป ท่านเลี้ยงจระเข้ไว้ จิตท่านระลึกถึงจระเข้ ก็จุติไปยังจระเข้และร่วมอาศัยอยู่ในกายสังขารจระเข้นั้นเอง ไม่ใช่ของดีเลย เพราะจระเข้เป็นสัตว์เดรัจฉาน ทว่าลูกศิษย์ท่านยังไม่ยอมปล่อยท่านเอาท่านมาหากินต่อ เอามาโฆษณาเรียกศรัทธาคน เงินก็ไหลเข้ามาเพราะเหตุนี้ก็มี



ผีมารสลับวิญญาณ

ผีมารเป็นผีที่มีฤทธิ์มากที่สุด เพราะเป็นถึงเทวดาชั้นที่หก คือ มารนั้นเอง มารมีฤทธิ์มากสามารถมาแทรกเข้าในกายของผู้บำเพ็ญธรรมได้แม้จะได้ธรรมสูงมากก็ตาม แต่หากยังไม่หมดสิ้นเวรกรรมกับมาร มารก็อาศัยช่องกรรมที่มากพอเข้ามาได้เหมือนกัน พระหลายรูปถูกมารแทรก แต่ไม่มาก ท่านที่ถูกแทรกนี้ล้วนมีธรรมระดับสูงทั้งสิ้น เพราะมีธรรมสูงนั้นเองมารจึงแทรก เพราะถ้าธรรมไม่มาก บารมีน้อย มารก็ไม่แทรก ข้าพเจ้าได้ประสบพบมาว่ามีท่านหนึ่งถูกพญามารแทรก แล้วจึงโปรดพญามารได้สำเร็จ ต่อมาจึงชะล่าใจ ยอมให้มารตนเล็ก ที่ไม่ใช่ระดับ “พญา” เข้าแทรกระดับลึกขึ้น ผลคือมารตนนั้นใช้วิชชามารสลับวิญญาณกับท่าน ทำให้ท่านกลายเป็นมาร และมารนั้นก็สำเร็จเซียนทันที เมื่อท่านได้สติ จึงได้ใช้วิชชาปราบดึงสลับกลับ มารก็สิ้นฤทธิ์ พระยูไลองค์หนึ่งลงมาช่วยปราบมารจึงตายลงนรกไป ผีมารนั้นร้ายกาจมาก บางตนถึงขนาดสลับวิญญาณทั้งที่ยังมีชีวิต ไม่ต้องรอคอยให้ตายก่อน แต่บางตนจะจ้องรอคอยโอกาสตอนเจ้าของร่างใกล้ตาย จิตจะตก กำลังจิตลดลง แล้วสลับวิญญาณกันตอนนั้น ทำให้พระที่ปฏิบัติดีกลายเป็นมารได้และมารตนนั้นก็อาศัยปราณของพระรูปนั้นสำเร็จถึงขั้นเซียนทีเดียวนับว่าอันตรายมาก




เทพพรหมครอบขันธ์ใช้งาน

เทพพรหมเป็นจิตวิญญาณชั้นดีมีคุณธรรม จึงดีกว่าผีชนิดอื่นๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่การครอบงำของเทพพรหม ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเสมอไป เพราะผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อถูกครอบงำ ต้องทำกิจตามแบบเทพพรหมท่านนั้น ไม่เป็นตัวของตัวเอง และไม่รู้กิจที่แท้จริงของตนที่ตนควรชำระบนโลก แม้จะทำความดีแต่บางครั้งไม่ตรงทาง หลงทาง ออกนอกทาง ทำให้ต้องเหนื่อยกว่าที่จะได้สำเร็จสิ่งที่ตนปรารถนา เช่น ท่านที่ปรารถนาสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แต่ถูกพรหมครอบขันธ์ไว้ แทนที่จะได้บำเพ็ญสำเร็จ กลับไปทำหน้าที่พรหมแทน แทนพรหมองค์เก่าที่ปรารถนาหลุดพ้นจากภาระหน้าที่ของตนแล้ว ซึ่งท่านเหล่านี้จะไม่แสดงออกให้ใครรู้เลยว่าตนเบื่อหน่ายกับภาระที่ยาวนานขนาดไหน เพื่อให้ผู้อื่นอยากมาแทนที่ตนเอง ก็แสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนดีงามมากๆ ให้คนมาแทนที่ แล้วตนเองก็จะไปสู่ทางหลุดพ้น แท้แล้วจิตวิญญาณทั้งหมดล้วนอยากหลุดพ้นทั้งนั้น หากพวกเขามีโอกาสที่จะได้หลุดพ้น เขาจะเลือกที่จะหลุดพ้นทันที ไม่เลือกตำแหน่ง, ลาภยศ, อำนาจ, อิทธิฤทธิ์, สวรรค์วิมาน ฯลฯ เลย เพราะสภาวะของจิตวิญญาณนั้น ล้วนเข้าใจอย่างดีในกรรมมากกว่ามนุษย์ เทวดาทั้งหลายล้วนอยากหลุดพ้น

ขอขอบคุณ...http://www.oknation.net/blog/buddhab.../09/14/entry-2

368
.... :058:...ดีใจที่ซู๊ด.... :077:...ขอขอบคุณหลวงพี่ครับสำหรับข่าวสาร... :054:
...นายแบบเสื้อข้างบน...คงจะเป็นพี่ธรรมมะรักโข..ใช่ป่าวครับ...อิอิ.. :005:


เก่งจริงๆเลย...รู้ได้อย่างไรกัน :058:

369
ขอบคุณครับ...สำหรับประสบการณ์ต่างๆของแต่ละท่าน :053:

370
สวยงามครับ...และพิธีก็เข้มขลังครับ
ขอบคุณครับที่นำภาพมาให้ชม

371
กราบนมัสการครับหลวงพี่... ขอบพระคุณครับที่มาแจ้งข่าวเรื่องเสื้อ...น่ะครับ

372
ขอบคุณพี่ตี๋ครับ...ที่นำของดีมาให้ชมกัน
สวยงามครับ...ลายยันต์จากหลวงพี่แป๊ว
กราบนมัสการหลวงพี่แป๊วด้วยครับ

373
ยินดีต้อนรับครับ...กราบนมัสการ...ที่แจ้งข่าวงานบุญดีๆอย่างนี้ครับ
ขออนุโมทนาสาธุ...ด้วยครับ
ขอกราบขอบพระคุณครับ

374
สวยงามมากครับ ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ

375
ขอกราบนมัสการหลวงพี่โด่ง และขอกราบขอบพระคุณที่แจ้งข่าวในครั้งนี้...ครับ

ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอร่วมไว้อาลัยในการจากไปของพระอาจารย์บรรทม กนฺตสีโล

ด้วยครับ... กราบขอบพระคุณมาในโอกาสนี้ครับ

376
ขอขอบคุณเอ็ม... ที่นำมาให้ชมนะครับ

377
ธรรมะ / ตอบ: แก้วแตก....
« เมื่อ: 15 ก.พ. 2553, 11:03:35 »
ขอบคุณครับ...สำหรับธรรมะดีดี...จากหลวงพ่อชา

378
เยี่ยมครับพี่...นี่แหละเขาเรียกว่า "วิปัสสนา"เป็นการปฏิบัติธรรมโดยไม่รู้ตัว...(แต่มีสติ)
ขอบคุณครับ...สำหรับข้อคิดดีดี... :054:

379
ขอบคุณพี่เจมส์มากครับ...ที่นำcip..มาแบ่งปันพี่ๆน้องๆและเพื่อนๆได้ชมกันครับ :016:

380
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ตอบ: puhket
« เมื่อ: 15 ก.พ. 2553, 10:47:24 »
สวยงามมากครับ...ขอบคุณสำหรับภาพบรรยากาศ :016:
 

381
ขอบคุณ...ท่านจ๊อบ มากครับที่นำมาให้ชมกัน
และขอขอบคุณที่มีกิจกรรมดีๆอย่างนี้ครับ
ขอบคุณอีกครั้งนะครับ :054:

382
หรือข้าพเจ้าคือ อะไรสักอย่างที่ฝันว่าเป็นขี้ควายกันนะ
ข้าพเจ้าหามันไม่พบเลย ตัวข้าพเจ้านี่
อย่าจริงจังอะไร...ให้มันมากมายเลย...
ทุกสิ่ง...ทุกอย่างมันเป็นแค่สิ่งสมมติ

383

              เมื่อประมาณปี 2533 ข้าพเจ้าได้เช่ากุมารทองขนาดหน้าตักประมาณ 5 นิ้ว ของหลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่
มา 1 คู่ องค์นึงมีลักษณะท่าท่างแบบเทพพนม ส่วนอีกองค์นึงลักษณะท่าทางแบบนางกวักแต่กวักทั้งสองมือ เช่ามาในราคาสมัยนั้น
คู่ละ 600  บาท
เมื่อได้นำมาที่บ้าน ได้ขึ้นหิ้งบูชาไว้ในห้องนอนของข้าพเจ้าและได้ถวายน้ำถวายพวงมาลัยมิได้ขาด ส่วนเรื่องอาหาร
การกินนั้น หลวงปู่...บอกว่าไม่ต้องก็ได้ เพราะว่าอิ่มทิพย์แล้ว หลวงปู่...บอกว่าได้ปลุกเสก
เรียกจิตเรียกนามกุมารที่เป็นเทพ และบอกว่าเมื่อเวลาเรากินอาหารอะไรก็ให้เรียกน้องกุมาร
ทองมากินด้วยกันกับเราก็ได้
หลังจากนำมาบูชาได้ประมาณ 2 อาทิตย์ หลังจากข้าพเจ้าได้สวดมนต์ประจำวันแล้ว และได้
เล่นเกมส์กดอันเล็กๆเพื่อคลายเครียดก่อนนอน และได้เอ่ย...(คำพูด)...เล่นๆกับน้องกุมารทองว่า... เขาเล่าลือกันว่า
กุมารทองนี้ให้โชคให้ลาภกันใช่มั้ย ถ้าแน่จริงนะ...เกมส์กดที่เล่น
อยู่พอเล่นจน game over แล้ว จะเอาคะแนนที่จบเกมส์เลขท้าย 3ตัวไปแทงหวยขอให้
ถูกด้วย จำได้ว่าเลข 312 ผลปรากฏว่าหวยงวดนั้นรางวัลที่ 1 สามตัวท้ายออก 312 ถูกเต็มๆ
แต่ซื้อไม่เยอะเพราะว่าข้าพเจ้าไม่ใช่คนเล่นหวยอาชีพ ได้เงินมาประมาณหมื่นกว่าบาท
หลังจากนั้นมาหลายปี...เมื่อเวลาที่ข้าพเจ้าได้ไปปฏิบัติธรรม...(ณ.ที่...)ได้พบกับคนที่มีร่างทรงกุมารทอง
เขาทักว่ากุมารทองที่มาด้วย 2 องค์นั้นชื่อว่าอะไรเหรอ ของเขามีชื่อว่า
ลูกเมฆและอิทธิฤทธิ์ ข้าพเจ้าได้ตอบไปว่าไม่มีชื่อหรอกครับ...ไม่ได้ตั้งไว้ เขาก็สื่อคุยกัน
อย่างสนุกสนานและบอกว่าอยากมีชื่อบ้าง ขอให้ตั้งชื่อให้เขาเถอะ
ข้าพเจ้าก็เลยตั้งชื่อให้เดี๋ยวนั้นเลยว่า “ลูกเทพพนม”และลูก”เทพประทาน ตามลักษณะ
ท่าทางของรูปปั้นบูชาของกุมารทอง เขาก็สื่อคุยกันกับร่างทรงที่มีองค์กุมารทองนั้นและ
ได้บอกว่าชอบชื่อนี้มาก และได้บอกว่า...เวลาข้าพเจ้าไปทำบุญและปฏิบัติธรรม เขาก็จะ
เกาะเอว...ทั้งซ้าย...ขวาไปด้วยเสมอ
หลังจากนั้นมาข้าพเจ้า...ก็มีโชคและลาภอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งทำธุรกิจเป็นนายหน้าขายบ้านและที่ดิน
ก็จะบนลูกกุมารทองให้สำเร็จ... ก็จะประสบผลสำเร็จและได้ค่านายหน้าเป็นแสนๆบาท
ในครั้งนั้น...และได้ซื้อสร้อยคอทองคำให้ใส่องค์ละเส้นมาจนถึงทุกวันนี้.

และยังมีเรื่องเกี่ยวกับกุมารทอง...อีกมากมายไว้ค่อยมาเล่าต่อ...ในภายหลัง...

เรื่องนี้ขอยกความดีให้กับ...หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี

ขอกราบแทบเท้าหลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี และร่วมไว้อาลัย...หลวงปู่ด้วยครับ

เรื่องเล่า...จากประสบการณ์จริง...ของธรรมะรักโข


ขออภัยที่ยังไม่มีรูปกุมารทองมาให้ชม...เพราะว่ากุมารทองทั้งสององค์ตอนนี้อยู่ที่บ้าน

ที่ จ.สุราษฏร์ธานี  (ดูรูปนี้ไปก่อน...ขอบพระคุณท่านเจ้าของรูปด้วยครับ)

**********************ขอบพระคุณครับสวัสดี*****************************

384
ขอกราบนมัสการ...หลวงปู่ครูบาดวงดี :054:
และขอร่วมไว้อาลัย...หลวงปู่ครูบาดวงดีด้วยครับ 23;

385


วัดประชาระบือธรรมย่านสะพานพระราม 5 มีการยกโบสถ์ขึ้นให้สูง 3.5 เมตรป้องกันน้ำท่วม คนงานขุดดินใต้โบสถ์พบเป็นอุโมงค์ลึก 1 เมตรพบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลายอายุประมาณ 200 ปี จำนวนมาก ติดต่อเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรตรวจสอบ

ค่ำวันที่ 4 ก.พ.ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากประชาชนว่าพบวัตถุโบราณและพระเก่าแก่ใต้โบถ์วัดประชาระบือธรรม ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ จึงเดินทางไปตรวจสอบที่วัดดังกล่าว



เมื่อไปถึงพบประชาชนกว่าครึ่งร้อยมุงดูพระและวัตถุโบราณ อาทิ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ เศียรพระที่ทำจากไม้และทองเหลืองที่มีลักษณะลงรักปิดทองมานาน โดยบางองค์มีขนาดใหญ่ความสูงกว่า 50 เซ็นติเมตร และเศียรพระขนาดใหญ่ ทั้งหมดมีสภาพเก่าแก่ แตกหัก เสียหายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากความเก่าโบราณ จำนวนกว่าร้อยองค์ ที่ทางเจ้าหน้าที่วัดนำมาเก็บ
ไว้ที่ศาลาข้างโบสถ์โดยในระหว่างนั้นมีมีชาวบ้านในระแวกดังกล่าวทราบข่าว ก่อนเดินทางมาที่วัดประชาระบือธรรม พร้อมนำพวงมะลัย และพานพุ่มดอกไม้ นำมากราบไหว้ พระพุทธรูปเก่าแก่ พร้อมก้มลงกราบนมัสการ เพื่อขอพรความเป็นศิริมงคล
ด้านพระมหาบรรเทิง โชติธมโม เลขาธิการเจ้าอาวาสวัดประชาระบือธรรม เปิดเผยว่า พระครูสกลธรรมสาธก เจ้าอาวาสได้วางแผนกว่า 5 เดือนแล้ว เพื่อยกโบสถ์ขึ้นให้สูง 3.5 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วมโบสถ์ และพื้นที่ด้านล่างจะทำการปรับปรุงเพื่อให้ญาติโยมมานั่งสมาธิและทำกิจกรรมทางธรรมะ เนื่องจากวัดมีพื้นที่น้อย ก่อนจะจ้างผู้รับเหมามาทำการขุดพื้นและยกโบสถ์ขึ้นในวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยค่อยๆทำการเปิดแผ่นหินอ่อนด้านทิศเหนือของโบสถ์ และขุดดินลงไป
กระทั่งเมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 4 ก.พ.นี้คนงานได้ขุดดินใต้โบสถ์ เพื่อให้ทะลุอีกฝั่ง ลักษณะเป็นอุโมงค์ลงไป ระยะทางประมาณ 1 เมตร ก่อนถึงกลางโบสถ์ พบอิฐมอญก่อเป็นกำแแพง หลังจากนั้นได้งัดอิฐมอญออกพบพระเก่าจำนวนมาก เท่าที่ดูส่วนใหญ่น่าจะเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย อายุประมาณ 200 ปี และทางวัดติดต่อกรมศิลปากร ให้มาตรวจสอบในวันพรุ่งนี้
พระมหาบรรเทิง เผยอีกว่า และได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดุสิต มาช่วยเฝ้า พระพุทธรูปทั้งหมดที่เก็บไว้ในศาลาข้างโบสถ์ พร้อมให้ทางกรมศิลปากรทำการขุดออกมา คาดว่าใต้โบสถ์น่าจะมีมากกว่านี้ และจะปรึกษาท่านเจ้าอาวาส คาดว่าจะนำพระเก่าที่ขุดพบบางส่วนเปิดให้ญาติโยมเช่า เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการยกโบสถ์ขึ้นและรวมถึงค่าปรับปรุงพื้นที่ นอกจากนั้นจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าดูเพราะเป็นสมบัติของวัดและของชาติไทย


ขอขอบคุณ...คมชัดลึก

386


ตะลึง “ยันต์” อักษรล้านนาโบราณใหญ่ที่สุดในโลก ปราชญ์ชี้ เป็นยันต์มหาเสน่ห์อายุกว่า 100 ปี ทำให้คนรอบข้างชื่นชอบ วอนหน่วยงานรัฐช่วยเก็บรักษาก่อนสูญหาย
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพะเยาว่าขณะนี้ พบผ้ายันต์โบราณขนาดใหญ่ในกรอบไม้สักอย่างงดงามถูกเก็บไว้ที่วัดต๋อมกลาง หมู่ 4 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา จึงไปตรวจสอบพบว่าผ้ายันต์ดังกล่าวเจ้าอาวาสวัดต๋อมกลาง หลายรูปได้รับการสืบทอดต่อกันมาให้เป็นผู้ดู และและเก็บรักษามาแล้วหลายชั่วอายุคน คาดว่ามีอายุไม่น้อยกว่า 100 ปี ผ้ายันต์ผืนนี้มีขนาดใหญ่อย่างมาก กว้าง 1.5 เมตร ยาว 2.5 เมตร พื้นผ้าสีขาวมีการระบายสีไว้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ภายในผ้ายันต์เต็มไปด้วยตัวอักษรล้านนาโบราณและภาพวาดต่าง ๆ น่าสนใจ เช่น พญานาค กินนรี ราหูอมจันทร์ นกยูง สิงห์ นางกวัก สัตว์ 12 ราศี ฯลฯ เต็มทั่วทั้งผืน
       
       พระอธิการประหยัด วชิรธฺมโม เจ้าอาวาสวัดต๋อมกลาง เปิดเผยว่า ผ้ายันต์ผืนดังกล่าวเป็นผืนที่พระอาจารย์สมศักดิ์ สิริมังคโล อดีตเจ้าอาวาสและอดีตเจ้าคณะตำบลบ้านต๋อม ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของครูบาอินโตได้รับถวายจากลูกศิษย์จึงมอบให้ลูกศิษย์ในวัดนำไปใส่กรอบและเก็บรักษาไว้มาเป็นเวลานาน โดยต้องการให้เป็นที่ศึกษาศิลปะอักษรล้านนาโบราณ รวมถึงคาถาโบราณแก่ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และบูชา
       
       เจ้าอาวาสวัดต๋อมกลาง กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถของวัด มีการเก็บรักษาผ้ายันต์ไว้หลายผืน โดยใส่กรอบติดฝ้าเพดานทั้งหมด แต่ละผืนเป็นฝีมือการเขียนของคนโบราณ ซึ่งได้มอบไว้ให้ลูกหลานสืบทอดต่อกันมาอายุหลายร้อยปี เพราะเจ้าอาวาสวัดต๋อมกลางหลายรุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อบำเพ็ญศีลภาวนะธรรม จึงมอบให้ตนดูแลและเก็บรักษา ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมากว่าผ้ายันต์หลายผืนในวัดแห่งนี้ขาดการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี เกรงว่าหากไม่ระมัดระวังดูแลให้ดีอาจจะเสียหาย
       
       “เพราะผ้ายันต์ทุกผืนล้วนมีคุณค่าทางด้านอักษรล้านนาโบราณ คุณค่าทางศิลปะ และเป็นสมบัติทางภูมิปัญญาที่ตกทอดจากบรรพบุรุษ อาตมาจึงอยากวิงวอนให้ภาคราชการเข้ามาช่วยเหลือในการเก็บรักษาอย่างถูกต้องให้ผ้ายันต์ที่มีคุณค่าดังกล่าวอยู่สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน และเพื่อเป็นสิ่งที่สร้างการเรียนรู้ด้านอักษรล้านนาโบราณแก่ชนรุ่นหลังต่อไป” เจ้าอาวาสวัดต๋อมกลาง กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามปราชญ์ด้านอักษรล้านนาโบราณของเมืองพะเยา ทราบว่าผ้ายันต์ผืนใหญ่ที่สุดในโลกดังกล่าว โดยรวมเป็นยันต์ที่เรียกว่ายันต์มหาเสน่ห์ ผู้ที่ใช้จะเป็นที่รักและนิยมชมชอบของผู้คนรอบข้าง แต่หากเป็นผู้ที่ไม่ถือศีลปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมถึงใช้ยันต์ดังกล่าวก็ไม่เกิดผลดี


ขอบคุณที่มา... ผู้จัดการออนไลน์

387
สวยงามครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน

388
ขอบคุณท่านโรนัลโด้ครับ... สำหรับความฮา...555+ :005: :004: :007:

389


ประวัติหลวงพ่อผล เกจิชื่อดังแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
      พระครูธรรมจักร์ชโยดม (หลวงพ่อผล โต๊ะสัมฤทธิ์ บว.บภ.)
เจ้าอาวาสวัดดักคะนน ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

      เป็นบุตรคนแรกของ พ่อเชื่อม แม่นาค โต๊ะสัมฤทธื์ ในบรรดาพี่น้องชายหญิงร่วมสายโลหิตเดียวกันทั้งหมด 7 คน

      เยาว์วัยอายุได้ 7 ขวบ พ่อเชื่อม แม่นาคผู้เป็นบิดา มารดาได้พาหลวงพ่อผล ไปนมัสการหลวงปู่อยู่ วัดดักคะนน และถวายให้เป็นบุตรบุณธรรมพร้อมกับน้องชายคนที่ 3 คือนายผ่อง โต๊ะสัมฤทธิ์ ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 5 ขวบ เพื่อให้เข้าศึกษาวิชาภาษาไทย ในสมัยในซึ่งเรียกกันโดยมากว่า เข้าเรียนหนังสือเล็ก

      เมื่อมีความรู้อ่านออกเขียนได้คล่องแคล้วดีแล้ว กอป์รกับความขยันหมั่นเพียรดี หลวงพ่อปู่อยู่จึงได้ให้เรียนหนังสือใหญ่ คือหนังสือขอม เรียกว่า เรียนมูลกระจาย มีหลักสูตร 10 ปี

      หลวงพ่อผล เรียนได้ 7 ปีหลักสูตรก็ถูกสั่งยกเลิกเปลี่ยนเป็นศึกษาบาลีและธรรมวินัยแทนและเปิดสอน เฉพาะสำนักใหญ่ๆในกรุงเทพเท่านั้น มีญาติโยมศรัทธาจะส่งให้ไปศึกษา แต่หลวงปู่อยู่ได้พูดกับโยมแม่นาคว่า"ลูกของกูไม่ให้น้อยหน้าต่ำดว่าใครๆ."

 -อุปสมบท
หลวงพ่อผล เมื่อมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ในราวปี พ.ศ.2477 หลวงพ่ออยู่ ผู้เป็นอาจารย์ก็จัดการเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ โดยมี พระครูธรรมจักรชโยดม (พูน ปภัทสโล) วัดธรรมามูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดนวม วัดขวาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระสมุห์ปลั่ง วัดดักคะนน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐานทัตโต" เมื่ออุปสมบทแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนวิชาอาคม, การลบผงอิทธิเจ ตลอดจนผงนะต่างๆ ตามสูตรของหลวงพ่ออยู่ ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์และบิดาบุญธรรมจนมีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่รักเมตตาของหลวงพ่ออยู่

-การศึกษา
พ.ศ.2477 สอบได้นักธรรมตรี
พ.ศ.2478 สอบได้นักธรรมโท
พ.ศ.2484 สอบได้นักธรรมเอก
งานด้านสาธารณูปโภค
พ.ศ.2488 - 2489 สร้างกุฏิสงฆ์ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร
พ.ศ.2507 สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 22.50 เมตร ยาว 30 เมตร และหอสวดมนต์ กว้าง 9.50 เมตร 18 เมตร
พ.ศ.2511 สร้างพระอุโบสถ และศาลาพิพิธภัณฑ์ เสร็จภายในปีเดียวกัน

-หน้าที่ทางสงฆ์
พ.ศ.2484 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระปลัด ฐานาของพระปลัดทองเลื่อน วัดศรีวิชัย
พ.ศ.2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลธรรมามูล
พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูธรรมจักรชโยดม
พ.ศ.2506 ได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ของจังหวัดชัยนาทให้เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมามูล วรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และได้รับพระกรุณาโปรด
เกล้าเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นชั้นโท ในพระราชทินนามเดิม เป็นเจ้าอาวาส
วัดธรรมามูลจนถึงปี พ.ศ.2528 รวมระยะเวลา 22 ปี
พ.ศ.2528 กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดักคะนน จวบจนมรณะภาพ

หลวงพ่อผล นอกจากท่านจะเป็นพระเกจิฯ ที่ขมังเวทย์องค์หนึ่งของชัยนาทแล้ว ท่านยังเป็นแพทย์แผนโบราณที่เลื่องชื่อในการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน (ถึงขั้นนอนใบตองก็ยังหายได้) และยารักษาอัมพาต ที่ช่วยคนหายทุกข์เวทนามามากต่อมากทีเดียว

-วัตถุมงคล หลวงพ่อผลได้สร้างวัตถุมงคลจำนวนหลายรุ่นด้วยกัน...ตัวอย่างเช่น

การค้นพบพระกรุวัดดักคะนน(อายุมากกว่า 100 ปี )
พระประธานในโบสถ์วัดดักคะนนได้ชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้
กรรมการวัดจึงมีมติที่จะรื้อและสร้างใหม่ และได้พบพระสมเด็จไหลทะลัก
ออกมาจากใต้ฐานพระประธาน หลังจากนั้นยังได้พบพระสมเด็จอีกบางส่วน
ในไหที่ฝังอยู่บริเวณใต้ต้นจันทร์หน้ากุฏิหลวงปู่อยู่

หลวงปู่ผลเจ้าอาวาสในขณะนั้นจึงนำมาให้ทำบุญและแจกจ่ายวัดต่าง ๆ ในละแวกนั้น
เพื่อหาทุนสร้างโบสถ์ และ ได้นำพระบางส่วนฝังคืนเก็บไว้

มีผู้นำไปใช้ได้ประสบอภินิหารหลายอย่าง จนได้รับความนิยมแพร่หลาย
หลวงปู่ผลได้นำพระออกมาให้ทำบุญโดยไม่กำหนดจำนวนและเงินทำบุญ
แล้วแต่ญาติโยมบริจาค พระสมเด็จดักคะนนจึงหมดจากวัดอย่างรวดเร็ว

ในช่วงปลายอายุของหลวงปู่ผล ได้มีการขุดพระบางส่วนที่ฝังคืนเก็บไว้
ออกมาให้ทำบุญและแจกจ่าย อีกครั้ง

พระสมเด็จที่พบใต้ฐานพระประธานในโบสถ์
จะมีผิวออกเหลืองและมีคราบกรุสีออกแดงเข้ม


พระสมเด็จที่พบบริเวณใต้ต้นจันทร์หน้ากุฏิหลวงปู่อยู่
จะมีผิวแห้งออกสีน้ำตาลและมีครบกรุสีน้ำตาลอ่อน พระที่พบมีจำนวนน้อย


พระสมเด็จที่ได้มีการขุดพระส่วนที่ฝังคืนเก็บไว้ขึ้นมา
จะมีผิวสีเหลืองอ่อนและมีคราบกรุสีแดงอ่อนหรือขาว เนื่องจากพระที่ขุดขึ้นมามีความชื้นที่องค์พระค่อนข้างมาก ทำให้หลังจากขุดขึ้นมาต้องนำพระออกมาตากแดดที่ลานหน้าโบสถ์ ลดความชื้นทำให้พระชุดนี้ส่วนใหญ่ลักษณะของพิมพ์ไม่คมชัด



สำหรับพิมพ์พระที่พบ มีทั้ง พิมพ์๓ ชั้น/ พิมพ์ ๗ ชั้น/ พิมพ์๙ชั้น/ พิมพ์อกครุฑ /พิมพ์ปรกโพธิ์/ และพิมพ์คะแนน อีกด้วย

** หลวงพ่อผล มรณะภาพวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2538
    รวมสิริอายุได้ 81 ปี 3 เดือน 11 วัน


รูปภาพหลวงพ่อผลขณะกำลังจารย์แผ่นยันต์ ขณะอายุ 80 ปี
 
 

ผ้าจีวรครบชุดของหลวงพ่อผล
 
 



ไม้คมแฝกประจำตัวที่อยู่ข้างเตียงนอนหลวงพ่อผล



เส้นเกศาหลวงพ่อผล

รวมรูปของหลวงพ่อผลในพิธีพุทธาภิเษก 2530










ขอขอบคุณที่มา...http://www.watdukkanon.com

390


ชาติภูมิ

พระครูมงคลรังสี นามเดิมชื่อ พรมา นามสกุล ไชยปาละ บิดาชื่อ นายธนะวงศ์ ไชยปาละ มารดาชื่อ นางอูบแก้ว ไชยปาละ เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๓ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ณ บ้านดอนมูล ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน ๔ คน
พระครูมงคลรังสี
นายยืน ไชยปาละ (ถึงแก่กรรม)
นางบัวเขียว พินิจทะ (ถึงแก่กรรม)
นางตึง ไชยปาละ อายุ ๗๐ ปี

การศึกษา

การศึกษาเบื้องต้น หลวงปู่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลบ้านดอนมูล สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากนั้นก็ได้เรียนหนังสือไทยล้านนา และไทยกลาง ณ วัดดอนมูล จากพระในวัดเป็นผู้สอนให้จนสามารถอ่านออกเขียนได้คล่อง

การบรรพชา

บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๙ ขณะเมื่ออายุได้ ๑๔ปี โดยมีพระอิทธิยศเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านดอนมูล

การอุปสมบท

อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี หลวงปู่ต้องไปคัดเลือกทหาร จึงได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า “ถ้าข้าน้อยได้คัดเลือกชั้นที่ ๑ ก็จะขอเป็นทหารรับใช้ชาติตลอดไป แต่ถ้าข้าน้อยคัดเลือกได้ชั้นที่ ๒ ก็จะขออุปสมบทเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต จะไม่ขอลาสิกขาเพศ จะขออยู่รับใช้พระศาสนาจนดับขันธ์ คงสืบเนื่องจากบุญวาสนา ซึ่งหลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จึงคัดเลือกได้ที่ ๒ในวันรุ่งขึ้นของวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนมูล โดยมีพระอิทธิยศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมวาท เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอินต๊ะวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้นามฉายา ว่า “มงคโล ภิกษุ”


การศึกษาและการปฏิบัติธรรม

เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐาน และถวายตัวเป็นศิษย์ครูบาหลวงพุทธวงศ์ ครูบาอุปละ ครูบาญาณะวัดสวนดอก ครูบาก๋าอาธะวัดไฮ่สบบั่ว ครูบากิตต๊ะวงศ์ ครูบาอินต๊ะ ครูบาบ้านส้าน ครูบาขัตติยะ วัดร้อง ได้ศึกษาและปฏิบัติอยู่เป็นเวลา ๒ ปี จึงได้อำลาครูบาและอุปัชฌาย์ โดยแจ้งความจำนงที่จะออกไปบำเพ็ญเพียร ตามป่าเขาลำเนาไพรด้วยตนเอง เพื่อให้กายวิเวก ได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาในจังหวัดน่าน แล้วออกทะลุป่าดงใหญ่ไปยังจังหวัดเชียงราย เชียงตุง แล้ววกกลับมาทางเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตามป่าเขาอันเงียบสงบ และในป่าช้าใช้หลุมฝังศพเป็นที่ปฏิบัติธรรมอยู่เป็น เวลา ๖ ปี


การเผยแพร่ธรรมและการปกครอง

สืบเนื่องมาจากหลวงปู่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัด ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ คณะศรัทธา ชาวบ้านก๋ง ในขณะนั้น มีจำนวน ๑๕ หลังคา ได้ส่งตัวแทนไปนมัสการหลวงปู่ โดยแจ้งความจำนงให้หลวงปู่ทราบว่า “มานิมนต์หลวงปู่ไปประจำที่วัดบ้านก๋ง เพราะเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษา ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสนทานกันหลายสิบปีแล้ว ศีลธรรมของชาวบ้านเริ่มเสื่อม มีการฉกชิง วิ่งราว ปล้นสดมภ์ ฉุดคร่าอนาจารอยู่เสมอ” หลวงปู่จึงรับนิมนต์และมาอยู่จำพรรษาบนกุฏิร้างมุงหญ้าคา ซึ่งมีอยู่หลังเดียวเท่านั้นในบริเวณวัด ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมผุพัง เป็นป่าทึบมืดครึ้ม มีเสือลายพาดกลอน และเสือโคร่ง ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ แต่ด้วยกระแสแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ได้แผ่เยือกเย็นไปทั่วบริเวณกว้าง ความโหดร้ายและปรากฏตัวให้เห็นก็สูญหายไปในที่สุด ชาวบ้านที่รุ่มร้อนเบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกันเกินกว่าที่ผู้ใหญ่บ้านจะปกครองได้ ด้วยบุญบารมีแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ที่ได้อบรมชาวบ้านทุกวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่มีชาวบ้านบางคนยังขาดความสามัคคี เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นพกแต่ความโลภะ โทสะ และโมหะ หลวงปู่จึงได้สร้างพระพุทธรูปและประกาศแก่ชาวบ้านให้ทุกคนนำปอยผมของแต่ละคนมามอบให้ แล้วหลวงปู่ก็นำเอาปอยผมของทุกคนบรรจุไว้ในฐานพระ ในพิธีบรรจุปอยผมไม่ว่าเด็กเล็กชายหญิง คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ มาพร้อมเพียงกันทุกคน แล้วหลวงปู่ก็ประกาศว่า ต่อแต่นี้ไปชาวบ้านก๋งผู้ใดขืนกระทำความชั่ว พระพุทธรูปจะไม่ให้ความคุ้มครองเป็นอันขาด แต่ถ้าผู้ใดทำความดีละความชั่ว ให้หมั่นเข้าวัดรักษาศีล ฟังธรรม พระพุทธรูปจะให้ความคุ้มครองแก่เขาเหล่านั้น ให้มีแต่ความสุข ความเจริญ อายุยืนนาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปรากฏว่าบ้านก๋งเริ่มเป็นดินแดงแห่งความร่มเย็น ชาวบ้านต่างก็มี เมตตาธรรม มีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว เลิกอบายมุขทั้งหลายจนหมดสิ้น ทั้งกลับมาฝึกกรรมมัฎฐานกันทั้งหมู่บ้าน จนทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ขจรขจายไปทั่วทุกหมู่บ้านทั้งจังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยความสำนึกในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อต้องการให้กุลบุตรของพุทธศาสนิกชนได้บรรพชาและอุปสมบทสบทายาทพุทธศาสนา หลวงปู่ต้องเดินทางไปทำการบรรพชาและอุปสมบทให้ด้วยความลำบากตรากตรำในท้องที่ตำบลยม ตำบลอวนและตำบลศิลาเพชร ซึ่งเป็นท้องที่ป่าเขาลำเนาไพร ทุรกันดาร ต้องเดินทางนอนพักแรมกลางป่า บางครั้งก็ต้องใช้ม้าเป็ นพาหนะในการเดินทาง
เมื่อวันที่ ๕ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูมงคลรังสี ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นโทในนามเดิม เจ้าคณะตำบลยม

การทะนุบำรุงวัด

เนื่องจากวัดก๋งเป็นวัดรกร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษาเมื่อหลวงปู่ได้รับนิมนต์ชาวบ้านมาอยู่จำพรรษาประจำที่วัดแล้ว หลวงปู่ได้เริ่มปลูกฝังจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อชาวบ้านคลายความรุ่มร้อน ชาวบ้านมีศีล มีเมตตาต่อกัน มีหลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลวงปู่ก็ได้ชักชวนชาวบ้านบูรณะซ่อมแซม และสร้างกุฏิ พระวิหาร พระอุโบสถ ชาวบ้านจะช่วยกันบริจาคทรัพย์และร่วมแรงกันทำการก่อสร้าง หลวงปู่จะบริจาคทรัพย์ส่วนตัว สมทบทุนในการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ โดยมิได้หวังสะสมไว้เป็นของส่วนตัว จนกระทั่งในบั้นปลายของชีวิตบรรดาสานุศิษย์ต่างก็มีความประสงค์จะให้หลวงปู่ได้พักผ่อน ทุกคนต่างก็ร่วมมือกันสร้างกุฏิหลังใหม่ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ เป็นการน้อมถวายแก่หลวงปู่ เพื่อเป็นบุพการีบูชา อยากจะให้หลวงปู่มีชีวิตยาวนานเป็นมิ่งขวัญของสานุศิษย์ทั่วหน้า

 

อวสานแห่งชีวิต

หลังจากคณะศิษย์ได้สร้างกุฏิ และได้ทำการถวายแด่หลวงปู่แล้ว ก็มีการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ ซึ่งหลวงปู่ได้ทนุถนอมไว้เป็นเวลาอันยาวนาน พิธีบรรจุได้กระทำพร้อมกับวันสืบชะตาอายุครบ ๘๗ ปี ของหลวงปู่ เสร็จการจัดงานนมัสการพระธาตุแล้ว หลวงปู่เริ่มมีอาการป่วยเกี่ยวกับหลอดลมและความชราภาพ พระอาจารย์มนตรี ธมมเมธี ก็ได้พาไปตรวจรักษาหลายครั้ง จนกระทั่งเกินขีดความสามารถของแพทย์ที่จะทำการเยียวยา และให้การรักษาได้ แต่หลวงปู่มิได้แสดงอาการเจ็บปวดหรือบ่นแม้แต่น้อย คงมีสุขภาพจิตสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้เรียกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พร้อมกับสั่งพระอาจารย์มนตรีไว้ทุกประการ และขอมอบสังขารให้สานุศิษย์เก็บไว้ที่วัดศรีมงคล ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ได้บูรณะซ่อมแซม ได้ทำการฟื้นฟูสภาพความเสื่อมโทรมนานัปการ ได้สร้างชาวบ้านให้เป็นชาวพุทธ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้ขอร้องให้สานุศิษย์นำหลวงปู่ไปส่งที่วัด เมื่อหลวงปู่ได้ถึงวัด ชาวบ้านก็ได้มาต้อนรับอย่างคับคั่งหลวงปู่อยู่ ๒-๓ วัน หลวงปู่ก็จากไปด้วยอาการอันสงบ ต่อหน้าสานุศิษย์ผู้ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข เคยบุกป่าผ่าดอยมาด้วยกัน ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๑.๓๐ น. 



ครูบาท่านไม่ธรรมดาครับ มรณะภาพ ตั้งแต่ปี 32 สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย ต่อมาได้รับพระราชทานเพลิงศพไปในปี 42

พระเครื่องของหลวงปู่...บางส่วน









ขอขอบคุณ...nanamulet.com

391
สวยงามครับ...ขอบคุณที่นำมาให้ชม

392
ลายสัก...ของน้อง...แถวๆบ้าน นำมาให้ชมกันครับ







ฝีเข็ม...อาจารย์หนู...บางแค

ขอบคุณครับ...

393
ขอร่วมแสดงความยินดี...กับทุกๆท่านที่ได้รับ...
ขอบคุณสำหรับกิจกรรมดีๆอย่างนี้

394
ก่อนอื่นต้องกราบขออภัย...มานะที่นี้ด้วยครับ :054: ที่ไม่ทราบที่มาของเรื่อง...อย่างชัดเจน
ต้องยกเรื่องนี้...เป็นเครดิตของท่าน ack01 ครับ
เจตนา...ต้องการเสริมเรื่อง...ของน้องเอ็ม...นะครับ
ผิดพลาดประการใด...ต้องกราบขออภัยด้วยครับ...ยอมรับผิดครับ
ขอบคุณครับ

395


ตะกรุดนางพิม-ดำเซ็น หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
ตะกรุดนางพิมนั้น ถือเป็นสุดยอดตะกรุดเมตตาของหลวงพ่อ... คาถาที่ใช้ในการภาวนาปลุกเสกก็คือ ตั้งนะโม 3 แล้วว่า อุ กะ ปะ สะ หะ นะ พุท 9 จบ จะเป็นเมตตาอย่างเอกอุ และมีเคล็ดสำหรับการใช้ตะกรุดนางพิมก็คือถ้าอยากให้ได้ผลเร็วให้ใช้เหล้าขาว ทาที่ตะกรุดบ่อยๆ จะเห็นผลในไม่ช้า
มูลเหตุในการสร้างตะกรุดนางพิมนั้น เนื่องจากตอนแรกท่านไม่ได้ทำตะกรุดแบบที่เห็นในปัจจุบันนี้ แต่เป็นการสักยันต์นางพิมให้กับผู้ที่อยากได้ก่อน แต่ลูกศิษย์บางคนก็กลัวเจ็บ บ้างก็ไม่กล้าสัก จึงได้มีลูกศิษย์ขอให้หลวงพ่อทำเป็นตะกรุดขึ้นมาเพื่อจะได้ใช้ติดตัว ท่านก็ลองทำดูซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีเทียบเท่ากับการสัก ท่านจึงได้ทำตะกรุดนางพิมตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


ประสบการณ์จากผู้ที่บูชา

.. เพื่อนผมประสบอุบัติเหตุ รถยนต์พลิกคว่ำ จนต้องขายรถยนต์เป็นซาก ไม่สามารถซ่อมได้ สภาพรถใครเห็นก็ต้องว่าคนขับตาย...

..แต่บาดเจ็บแค่ กระดูกสะโพกร้าว หน้าตาบวม ฟันหัก รักษาประมาณ 1 เดือนก็เดินได้ตามปกติครับ..

...ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ตะกรุดแม่นางพิม ที่คาดเอวไว้เดี่ยวๆ งอพับตั้งฉากเลยครับ...


..นำไปให้พระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่ท่านดู ท่านบอกว่า ยังใช้ได้อยุ่ครับ..

..ตะกรุดแม่นางพิม ไม่มีคำว่าเสื่อมครับ...


ขอบคุณที่มา...http://www.jjmalls.com

396
ขอร่วมแจมด้วยคนครับ...ทายว่าที่กุฏิพระครูอนุกูลพิศาลกิจ   (หลวงพ่อสำอางค์)  วัดบางพระ   จ.นครปฐม ครับ
ขอบคุณครับ

397
ขอร่วมอนุโมทนาสาธุ...ในกุศลผลบุญครั้งนี้ด้วยครับ

398
ขอขอบคุณน้องเอ็ม...ครับที่นำมาให้ชมกัน
เพื่อประดับความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งๆขึ้น...
ไม่ว่าจะเป็นของเก่าหรือของใหม่...
แต่ถ้าเรานับถือและศรัทธาเชื่อมั่นใน
พลังพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณแล้วละก็...
สุดยอดครับ... :016: :015:


กราบนมัสการและขอบพระคุณหลวงพี่ญา ที่เมตตาด้วยครับ :054:

399



หมู่บ้านมอญในบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี


               ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง" เป็นเส้นทางหนึ่งซึ่งบรรพชนมอญใช้ไปมาหาสู่กันนอกเหนือจากการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและดำรงชีวิตในด้านอื่น ๆ ณ แหล่งที่สายน้ำแห่งนี้ไหลผ่านในเขตอำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีชนเผ่าที่เป็นญาติพันธุ์ของเรากลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เขาคือ หรือ มอญ เป็นที่รู้จักกันว่าคนไทยเชื้อสายมอญญาติพันธุ์มอญเหล่านี้ยังคงสืบทอดวิถีชีวิตความเป็นมอญไว้ทุกด้านคือ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภาษา

               แม้วิถีชีวิตของคนมอญจะต้องปรับไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ จุดเด่นของคนไทยเชื้อสายมอญบ้านโป่งได้ปรากฏอยู่ในคำขวัญของอำเภอบ้านโป่งว่า "เมืองคนงาม สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ย่านอุตสาหกรรม" พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนี่แหละคือพิพิธภัณฑ์มอญบ้านโป่ง ซึ่งแสดงถึงประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตทุก ๆ ด้าน ของชาวมอญ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

               ถ้าไม่ทบทวนเรื่องลึกลงไปถึงยุคทวารวดี จะพบว่ามีชุมชนมอญเก่าแก่ที่สุดบริเวณที่ราบภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ลุ่มน้ำแม่กลองนี่เอง โดยเฉพาะบริเวณวัดนครชุมน์ ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี..."

               ก็ได้ทราบกันแล้วว่ามอญบ้านโป่งเป็นญาติพันธุ์ที่เก่าแก่ เพียงใด เป็นที่เล่าขานกันในครอบครัวและในชุมชนว่าแต่ครั้งเทียดทวดโน้น เขาได้พากันไปเดิงโม่นหรือเมืองมอญ เพื่อกราบนมัสการพระเกศาธาตุที่เดิงเลียะเกิงหรือเมืองร่างกุ้งโดยใช้เส้นทางลุ่มน้ำแม่กลองถึงด่านเจดีย์สามองค์แล้วเดินทางข้ามเทือกเขาตะนาวศรีไปเมืองร่างกุ้ง แหล่งที่อยู่ของมอญบ้านโป่ง ก็คือลุ่มน้ำแม่กลองทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก อยู่ต่อเนื่องกับมอญโพธาราม ด้านตะวันออกเป็นชุมชนใหญ่และหนาแน่นมี ๓ หมู่บ้าน คือ ๑. บ้านท่าอิฐ หรือกวานดอด วัดประจำหมู่บ้านคือวัดตาผา ๒. บ้านนครชุมหรือกวานเจียะโนก วัดประจำหมู่บ้านคือวัดใหญ่นครชุมน์ ๓.บ้านหัวหิน หรือกวานแวงตะเมาะ วัดประจำหมู่บ้านคือวัดหัวหิน ส่วนด้านตะวันตกก็เป็นชุมชนใหญ่หนานแน่นเช่นกันมี ๖ หมู่บ้าน คือ ๑. บ้านในคุ้งหรือกวานปีเลิ่ม ๒.บ้านปากลัด หรือกวานเปียะโยม วัดประจำทั้งสองหมู่บ้านคือวัดตาล ๓. บ้านโพหรือกวานสั่ว วัดประจำหมู่บ้านคือวัดโพธิโสภาราม ๔. บ้านมะขามหรือกวานแม่งโกลน วัดประจำหมู่บ้านคือวัดมะขาม ๕. บ้านม่วงหรือกวานเกริก วัดประจำหมู่บ้านคือวัดมั่วง ๖.บ้านบัวงามหรือกวานบัวงาม วัดประจำหมู่บ้านคือวัดบัวงาม
                                                 
               วัดใหญ่นครชุมน์ เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ สร้างโดยชาวมอญที่อพยพมาจากกรุงหงสาวดีเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๗ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้เสด็จตามลุ่มน้ำแม่กลองโดยเรือพระที่นั่งได้หยุดแวะชมอุโบสถและกราบนมัสการพระประธานในโบสถ์ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งส่วนพระองค์ ได้ทรงแวะนมัสการเจ้าอาวาสและพระประธานในโบสถ์แล้วทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทให้ประชาชนและทายกทายิกา ให้บำรุงรักษาพระอารามที่อยู่ในพระพุทธศาสนานี้ให้งดงามตามประเพณี และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณโดยยึดหลักรักษาประเพณีมอญไว้ให้ดี ให้คงการสวดมนต์ภาษามอญไวอย่าให้สูญหายไป รักษาลวดลายหน้าบันพระอุโบสถไว้ให้ดี ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าในสมัยนั้นและเล่าบอกต่อกันจนถึงปัจจุบันพระองค์ท่านได้ทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ในเขตวัดไว้ ๓ ต้น และต้นแสงจันทร์ ๑ ต้น ปัจจุบัน ต้นไม้ นั้นยังอยู่คู่กับวัดใหญ่นครชุมน์และวัดนี้เป็นจุดศูนย์รวมพระภิกษุและชาวบ้านในการประชุมหารือในสมัยนั้นตราบจนปัจจุบัน เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาพระภิกษุสงฆ์จากวัดในชุมชนมอญทั้งสองฝั่งลุ่มน้ำแม่กลองทุกวัดไปทำพิธีสังฆกรรมที่วัดใหญ่นครชุมน์แห่งนี้
                                                 
               ณ ที่ศาลาริมน้ำของวัดนี้ มีจุดเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือ รูปปั้นพ่อค้ามอญ ๒ พี่น้องที่ไปค้าขายที่ประเทศอินเดีย ชื่อตะเปากับตะปอ นุ่งคุกเข่าพนมมือไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เฝ้ากราบนมัสการ ถวายพระกระยาหารและสิ่งของนานาประการ ด้วยพระมหากรุณาธิ คุณของพระพุทธองค์ จึงยกพระหัตถ์ขวาขึ้นลูบพระเกศาพระเกศาธาตุจำนวน ๘ เส้น ได้ติดพระหัตถ์มาและมอบให้แก่พ่อค้ามอญสองพี่น้องนั้น ครั้งกลับไปถึงเมืองมอญ ได้อัญเชิญพระเกศานั้นมอบให้พระเจ้าเอิกกะลาปะ พระมหากษัตริย์มอญ พระองค์มีความปีติโสมนัสยิ่งนัก จัดฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ได้สร้างองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมเกศาธาตุให้ผู้คนได้กราบไหว้ พระเจดีย์นั้นก็คือกญาจเลียะเกิง หรือพระเจดีย์ชเวดากองในปัจจุบัน
                                                 
             วัดตาผา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาของชาวมอญในชุมชนนั้น แม้ว่าวัดนี้ตั้งอยู่ห่างจากวัดใหญ่นครชุมน์ประมาณ ๑ กิโลเมตร เท่านั้น แต่ชาวมอญมีความเชื่อว่าการสรางวัดได้บุญบารมีสูง อีกทั้งมีความสะดวกสบายในการปฏิบัติศาสนกิจไม่ต้องเดินทางไกล เพราะการคมนาคมในสมัยก่อนไม่สะดวก ชาวบ้านท่าอิฐจึงร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้น ด้านหน้าวัดมีป้ายชื่อเป็นภาษามอญป้ายใหญ่และโดดเด่นกว่าวัดอื่น ๆ ในลุ่มน้ำแม่กลอง
                                                 
                วัดหัวหิน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีเจดีย์ทรงหงสาวดี ๒ องค์ ผู้ดำเนินการสร้างวัดคือนายเปิด ได้ชักชวนชาวบานบริจาคทรัพย์สร้างเสนาสนะ เพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์และบำเพ็ญกุศล ผู้บริจาคที่ดินสร้างวัดคือ นางเงี่ย
                                                 
             วัดม่วง ในทะเบียนของกรมศาสนาได้ระบุว่าวัดม่วงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓ ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) แต่จากการค้นคว้าและอ่านคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญที่จารเก่าแก่ที่สุด คือคัมภีร์มายเลข ๓๒๑ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระปริตร (๑๒ ตำนาน) ในตอนท้ายจารไว้ว่า "... ศักราช ๑๐๐๐ เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ วันศุกร์ จารเสร็จเมื่อตะวันบ่าย กระผมชื่อ อุตตมะจารเอาไว้ในวัดม่วง เป็นชื่อเมื่อตอนเป็นพระ...." ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔

               ศักราช ๑๐๐๐ นั้นเป็นจุลศักราช เมื่อเทียบเป็นพุทธศักราชจะเท่ากับ ๒๑๘๑ (๑๐๐๐ + ๑๑๘๑) ตรงกับสมัยอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. ๒๑๗๓ – ๒๑๙๘) และหลังรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรประมาณ ๓๐ ปีเศษ จึงอาจเป็นไปได้ว่าชาวมอญรุ่นแรกของบ้านม่วงอาจอพยพมาในราวสมเด็จพระนเรศวรจริง ใช้เวลาในการตั้งชุมชนและสร้างวัดรวมทั้งจารคัมภีร์ใบลานเป็นเวลาต่อมาอีก ๓๐ ปีเศษ ฉะนั้นชุมชนมอญบ้านม่วงจึงมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๖๗ ปี อพยพมาก่อนกรุงหงสาวดีแตกหรือก่อนมอญเสียแผ่นดินไม่ต่ำกว่า ๑๑๙ ปี เป็นการหนีภัยจากการคุกคามของข้าศึกศัตรูซึ่งมุ่งทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แย่งชิงบ้านเมืองมาโดยตลอด
                                                 
                จุดเด่นของวัดม่วงก็คือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งแสดงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชาวมอญ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านม่วงและมหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาและน้อมเกล้าฯ ถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมมหาที่สุดมิได้ ที่สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดาฯ บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖

ต่อมาทางวัดม่วงได้รับความร่วมมือจากจากบริษัทมติชนจำกัด มหาชน ร่วมกับภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดตั้งศูนย์มอญศึกษาขึ้น เพื่อดำเนินการทั้งจัดแสดงและบริการข้อมูล ไดทำการเปิดศูนย์ฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการศูนย์มอญศึกษาด้วย จึงเห็นได้ว่าวัดม่วงนอกจากเป็นศาสนาสถานแล้ว ยังมีบทบาทเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์มอญที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย

เป็นที่น่าสังเกตว่ามอญในชุมชนบ้านม่วง พูดภาษามอญลงเสียงหนัก ฐานเสียงมาจากลำคอมากกว่ามอญในชุมชนอื่นตามลุ่มน้ำแม่กลอง เขตจังหวัดราชบุรีและมอญในแหล่งอื่น ๆ ของประเทศไทยนับว่าเป็นความแตกต่างอย่างชัดเจน สันนิษฐานว่ามอญบ้านม่วงน่าจะอพยพมาจากกวานเกลาะซอด แปลว่าบ้านสวนหมาก จากเมืองมะละแหม่งหรือเมาะลำเลิง เพราะมอญเมืองนี้พูดลงเสียงหนักคล้ายมอญบ้านม่วง

               วัดตาล สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ ชุมชนมอญแห่งนี้ได้สร้างวัดมาเป็นเวลา ๒๒๕ ปี มีเจดีย์ทรงมอญอยู่ในลำเรือ เสาหงส์ประดับมุก หงส์กางปีกบิน เสาหงส์ขนาบด้วยเสาเล็ก ๑ คู่ มีกินนร เกล้าผมจุกนั่งคุกเข่าพนมมือไหว้ ลักษณะงดงามมาก เป็นเอกลักษณ์มอญที่โดดเด่น ปัจจุบันหงส์ดังกล่าวได้ชำรุดและอันตรธานไปแล้ว
                                                   
               วัดโพธิโสภาราม ชื่อเดิมคือ วัดโพธิรามัญ ชาวบ้าน เรียกว่า วัดโพธิมอญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ จุดเด่นของวัดนี้คือ หอเรียนพระไตรปิฏกมีลักษณะเป็นทรงไทยจัตุรมุขยอดปราสาทเสาและพื้นไม้ มุงกระเบื้องเคลือบดินเผา มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สูง ๕๐ เมตร สวยงามมาก มีแห่งเดียวในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็นที่ภาคภูมิใจยิ่งที่บรรพชนชาวมอญในชุมชนแห่งนี้มีความสามารถทางด้านสถาปัตยกรรมเป็นเยี่ยม จากกาลเวลาที่สร้างมานานเกือบ ๘๐ ปี หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรม แต่ก็ยังเห็นร่องรอยของความงดงามอยู่ จุดเด่นอีกแห่งหนึ่งของวัดนี้ก็คือ หอพระไตรปิฎกมีลักษณะเป็นเรือนไม้เสาเดียวยอดมณฑป ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร สูง ๒๕ เมตร ตั้งอยู่กลางน้ำ นับเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดในการเก็บพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลานให้พ้นอันตรายจากปลวก
                                                   

                                                   
วัดมะขาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๑ วัดนี้ตั้งอยู่ระหว่างวัดโพธิโสภารามกับวัดม่วง ห่างจากวัดทั้งสองประมาณครึ่งกิโลเมตร เป็นที่ประจักษ์ว่าชาวมอญมีความศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา การสร้างวัดเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา จึงเชื่อว่าผู้สร้างวัดไดรับบุญกุศลมาก ดังนั้นทุกชุมชนมอญจึงมีวัดอยู่ในชุมชนของตนเอง การทำบุญก็สลับกันระหว่าง วัดโพธิโสภารามกับวัดมะขาม
                                                   
                วัดบัวงาม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๙ วัดนี้อยู่ในชุมชนบ้านม่วงซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ ชาวบานต้องเดินทางไปทำบุญไกล พระอาจารย์เกเล ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดม่วง ในขณะนั้นได้เห็นความลำบากของชาวบ้าน ท่านจึงปรึกษากับชาวบ้านและพร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นมา จุดเด่นของวัดนี้คือ จัดการเรียนการสอนภาษามอญที่วัดมายาวนานกว่าวัดอื่น ๆ เพิ่งยุติการสอนภาษามอญเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ นี้ดำเนินการอยู่ที่โรงเรียนวัดม่วง

     สำหรับสายใยมอญสองแผ่นดิน คือมอญในลุ่มน้ำแม่กลองกับมอญในลุ่มน้ำสาละวินยังคงมีต่อเนื่องจากบรรพชนสมัยเทียดทวดปู่ย่าตายาย สู้อุตส่าห์เดินทางข้ามเทือกเขาตะนาวศรี พักแรมในป่าด้วยการเสี่ยงอันตรายและความยากลำบากนานัปการ ใช้เวลาแรมเดือนเพื่อไปกราบนมัสการพระเกศาธาตุที่เดิงเลียะเกิงหรือที่เมืองร่างกุ้ง และได้พบปะกับชาวมอญในเมืองมอญด้วย ชาวมอญรุ่นสุดท้ายที่ใช้เส้น ทางดังกล่าวคือปู่อัง สันทอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ชักชวนกันไปจำนวน ๑๒ คน จากชุมชนมอญทั้งสองฝั่งลุ่มน้ำแม่กลอง โดยพระสงฆ์จากเมืองมอญชื่อ พระอาจารย์ชอนเตียะ จากวดชุกละ ที่เข้ามาเยี่ยม พระภิกษุในเมืองไทยเป็นผู้นำไป เมื่อเข้าเขตแดนฝั่งมอญมีวัวเกวียนเทียมมารับพาไปถึงหมู่บ้านมอญ และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ประทับตราตรึงใจมิรู้ลืม ชาวบ้านต่างเชิญชวนให้ไปบ้าน รับประทานอาหารและพักผ่อนนอนหลับที่บ้านเขาคนในหมู่บ้านพากันมาพูดคุย นำขนม ผลไม้ และดอกไม้มาให้ไหว้พระ

               ปู่อังเล่าต่อไปว่าพระอาจารย์ชอนเตียะชี้ให้ดูหมู่บ้านที่มีชื่อเหมือนกันกับหมู่บนมอญในเมืองไทย ทำให้นึกย้อนถึงที่มาของบรรพชนมอญบ้านโป่ง การไปนมัสการพระเกศาธาตุและการเยี่ยมเยียนกันเช่นนี้ยังคงมีอยู่ แต่เปลี่ยนการเดินทางจากทางบกเป็นทางอากาศรวดเร็ว สะดวกสบาย และสิ่งที่ยังคงเหมือนเดิมคือความงดงามขององค์พระเจดีย์เลียะเกิงรวมทั้งการต้อนรับของพี่น้องในเมืองมอญ

               แม้กาลเวลาที่มอญบ้านโป่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานตามลุ่มน้ำแม่กลองเป็นเวลานานร่วม ๓๐๐ ปี แต่คำเล่าขานของบรรพชนยังได้รับการบอกเล่าสืบมา แม้ว่าเป็นชนชาติที่สิ้นแผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ ยังคงอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และศาสนา การสวดมนต์ภาษามอญยังมีอยู่ทุกวัด ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานไว้ว่าอย่าให้สูญหาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ชาวมอญบ้านโป่งจดจำและซาบซึ้งในพระมหากรุณามิรู้ลืม

              เหนือสิ่งอื่นใด ในดวงใจของคนไทยเชื้อสายมอญทั้งปวง สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ทรงเมตตาชาวมอญผู้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระราชทานแหล่งที่อยู่อาศัย เรือกสวน ไร่นา ดำรงชีพไดอย่างมั่นคง ปราศจากอันตราย มีความอบอุ่น มีสิทธิเสรีภาพ

              ชาวไทยเชื้อสายมอญทุกคนรักและเทิดทูนแผ่นดินเกิดแห่งนี้และมีความภาคภูมิใจในการ เป็นคนไทยเชื้อสายมอญซึ่งเป็นญาติพันธุ์กับคนไทยเชื้อสายอื่น ๆ เราจักอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง อย่างสงบร่มเย็นและผาสุกตลอดไปในบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ และเปิดกว้างสำหรับทุกชาติพันธุ์..

 

ขอบคุณที่มา...
ศิลปากร, มหาวิทยาลัย. (๒๕๓๖). ลุ่มน้ำแม่กลอง: พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.
ศูนย์มอญศึกษา. (๒๕๔๗). หนังสือนำชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง, ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม มอญ เตลง เมง รามัญ.
กองพุทธศาสนสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (๒๕๔๑). ราชบุรี. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
กรมศาสนา. (๒๕๔๗). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒๒ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
จวน เครือวิชฌยาจารย์. (๒๕๓๙). ตำนานพระเจดีย์ร่างกุ้ง. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๔๗). ประวัติศาสตร่ชาติพันธุ์ "เครือญาติ" มอญลุ่มแม่น้ำแม่กลอง. กรุงเทพฯ : มติชน
สัมภาษณ์
นายอัง สันทอง อายุ ๘๐ ปี หมู่ที่ ๙ ตำบลคุ้งพะยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๘

400
1. หน้าโรงเรียนอุดมศึกษาพานิช......สมัยก่อนล่วงผ่านเลยมามีเรื่องเล่ากันปาก ต่อปากจากผู้สูงวัยว่าที่เชิงสะพานตอนเช้าตรู่(ราวตี 4-6 โมงเช้า)มักจะมีสาวสวยผมยาวผิวขาวมากๆ  ใส่ชุดขาวมายืนโบกรถอยู่  หากใครจอดรถรับ  เธอจะหายไปพร้อมกับความซวย  หรือเรื่องร้ายๆที่เข้ามาเยือนคนดวงซวยคนนั้น...บรื๋ออออ

2. บริเวณถนนศรีภูวนารถ มีซอยหลายซอยมากๆ  มีอยู่ซอยหนึ่งคือซอย 12  ซอยนี้เองมีโรงเก็บหัวหอมร้างอยู่ซอยหนึ่ง  เล่าลือกันว่าผีดุมากๆ  มีเรื่องเล่าว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนมีลูกจ้างโรงเก็บหัวหอมถูกบานประตูเหล็ก ตกใส่ ทับจนร่างกายเเหลก เละทั้งตัว  ไม่มีใครสามารถจะนอนค้างคืนในโรงเก็บหัวหอมร้างซอย 12 ได้เพราะถูกหลอกกันมานับไม่ถ้วนเเล้ว

3. สะพานรถไฟ(มีราวเหล็ก)ที่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านน้ำน้อย  เคยมีคนตายกว่า 400 ศพ  ที่สำคัญเป็นการตายโหง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยเชื่อกันว่าที่นี่เฮี๊ยนมาก  คนเฒ่าคนแก่หลายคนเรียกสะพานรถไฟแห่งบ้านน้ำน้อยว่าสะพานสายมรณะ  บ้างก็ว่าเป็นสะพานผีตายโหง  เคยมีเรื่องเล่าในอดีตว่า  เคยมีกลุ่มคนมายืนโบกรถอยู่ที่แถวๆสะพานรถไฟดังกล่าว  โบกรถเพื่อจะไปสงขลา  พอรถให้ขึ้นมาปรากฏว่าระหว่างขับกลุ่มคนดังกล่าวก็อันตรธานหายไปอย่างไร้ ร่องรอย  ทำเอาคนขับรถถึงกับจับไข้ไปหลายวัน

4. ซอยๆหนึ่งข้างวัดโคกนาว กับห้างโลตัส เด็กหาดใหญ่เรียกกันว่า...." ซอยคุณยายสปีด " เชื่อกันว่าหากขับรถมอเตอร์ไซด์เข้ามาในซอยคนเดียวหลังเที่ยงคืนในคืนเดือน มืดเเล้วจะเจอกับผีคุณยายสปีดหลอกเอา  ด้วยการกระโดดขึ้นมาซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์  ใครดวงซวยอาจถึงตายได้

5. ถนนสายหาดใหญ่-สงขลา(สายใหม่)ก่อนถึงปั้นน้ำมันมีเรื่องสยองเล่าว่า  เคยมีกลุ่มรถซิ่งถูกสายสลิงที่ขึงไว้กับต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทาง  ตัดเอาคนนั่งซ้อนท้ายซึ่งเป็นผู้หญิงจนหัวขาดมาเเล้ว.........เชื่อกันว่า หากขับรถมาตอนกลางคืนเเล้วเห็นคนขับมอเตอร์ไซด์ไม่มีหัว.....อย่ามอง หรือชี้มือไปหา  เพราะท่านอาจจะซวยเอาได้

6. บริเวณเปิดท้ายกรีนเวย์(ข้างป่าช้าโคกโพธิ์).......เเต่เดิมเป็นวังน้ำขนาด ใหญ่  ชาวบ้านคลองเรียนเรียกกันว่า " วังน้ำดำ "  เชื่อว่าเป็นดินเเดนอาถรรณ์ที่ผู้มีวิชาอาคมมักมาลองปล่อยของกัน

7. วัดโคกนาว......สมัยก่อนเรียก " โคกเน่า "  เพราะเคยมีการฝังศพกันเป็นจำนวนมาก  เเต่ปรากฏว่ามีน้ำท่วงขังในบริเวณดังกล่าวในปีหนึ่ง  ชาวบ้านเลยจำต้องนำศพไปผูกติดเอาไว้กับกิ่งไม้ใหญ่  บ้างก็ว่ามีนายพรานหลายคนไปยิงสัตว์ในโคกเน่า  ถูกซากศพที่เน่าเปื่อยตกใส่จนขวัญหนีตามๆกัน  ผู้เขียนเคยสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้เเก่ท่านหนึ่ง  ท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่า.....หากมืดค่ำจะไม่ยอมเดินทางผ่านโคกเน่าเป็นอันขาด เพราะผีที่นี่หลอกเก่งที่สุด

8. หน้าสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่..........เชื่อกันว่าเฮี๊ยนน่าดูชม...... เพราะจะต้องมีคนถูกรถชนตาย หรือรถทับตายทุกปี  หลายคนบอกว่าเขาต้องการ  " ตัวตายตัวเเทน "

9. หน้าวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่......บริเวณใต้สะพานลอยหน้าวิทยาลัย  เชื่อกันว่ามีผีเฝ้าอยู่ใต้สะพานลอย.....ใครดวงถึงฆาตจะถูกผีผลักให้รถชน เพื่อเป็นตัวตายตัวเเทนตน(เด็กเทคนิคหาดใหญ่เล่ากันภายใน)

10. เจ้าที่ที่มหาวิทยาลัยทักษิณเด็กที่นี่เรียกกันว่า......" ทวดเลียบ "  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของที่นี่  เชื่อกันว่าหากใครขวัญอ่อน หรือต้องการเจริญก้าวหน้าในการเรียน หรือการงานด้านต่างๆให้บูชาท่านด้วยยาคูลท์ เท่านั้น

11. หน้าตึกเรียนอาคาร 13 ภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ  เชื่อกันว่ามีความเฮี๊ยนระดับสูงมากๆ  เเละที่หน้าตึกเรียนอาคาร 13 นี้เองที่มีฮวงซุ้ยขนาดใหญ่ตั้งอยู่หน้าตึก(น่าจะเป็นตึกเรียนตึกเดียวใน ประเทศไทยที่มีฮวงซุ้ยตั้งอยู่ด้านหน้า)  เล่าลือกันว่าบางครั้งดึกๆจะมีคนเดินไปเดินมาที่หน้าฮวงซุ้ย  มองนานๆเเล้วท่านก็จะหายไป

12. ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  เชื่อกันว่าสระน้ำหน้าอาคารตึกอำนวยการหลังเก่า.........เคยมีเด็กผู้หญิง ที่มาเข้าค่ายที่นี่จมน้ำตาย  เธอมักชอบออกมาเล่นงานคนที่ดวงถึงฆาตด้วยการดึง หรือลากลงไปในน้ำ

13. ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  อาคารหอสมุด(หลังเก่า).........เชื่อกันว่าที่ บล็อก ฮ. นกฮูก  มีดวงวิญญาณของนักศึกษาที่นี่สิงอยู่  ท่อนบนเป็นผู้ชายใส่ชุดช่างอุตสาหกรรม  ท่อนล่าง........ไม่มี !!!

14. เเถวๆท้ายวัดคลองเรียน........ในอดีตยังมีต้นยางใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง  บนต้นยางปรากฏเป็นฝูง "ชิน" จำนวนมากลอยอยู่(ชิน  หลายคนเชื่อว่าเป็นผีชนิดหนึ่ง รูปลักษณะเป็นดวงไฟสีขาวขุ่นใหญ่ประมาณเท่าลูกฟุตบอล-1 เมตร) ปัจจุบันเชื่อว่าต้นยางใหญ่ดังกล่าวไม่มีเเล้ว  เเละน่าจะเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านร่มเย็น(ตรงบริเวณไหนไม่อาจคาดเดาได้ เเน่ชัด)

15. รถเมล์สายหาดใหญ่-สงขลา(เด็กหาดใหญ่เรียก รถโพธิ์ทอง)......เชื่อกันว่ามีรถโพธิ์ทองอยู่คันหนึ่งมักปรากฏหญิงสาวในชุด นักศึกษา  ผมยาว  เธอมักชอบนั่งอยู่เก้าอี้เกือบท้ายสุดในยามหัวค่ำ  พอมองไปนานๆเธอจะหายไป

16. หลังวัดคลองเเห  ตำบลคลองเเห  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.......เชื่อกันว่ามีเนินดินสูงอยู่เนินหนึ่ง เรียก...." โคกนกคุ่ม " ภายในเนินดินว่ามีทรัพย์สมบัติฝังอยู่  เเละมีผีนานาชนิดเฝ้าดูเเล  อาทิ ผีปลาหัวกระโหลก

17. เเถววัดคูเต่า ตำบลเเม่ทอม สงขลา(วัดคูเต่าหลังเเรก....วัดสระเต่า)เคยมี “เสือสมิง” อาศัยอยู่ใกล้บริเวณวัดได้เข้าทำร้ายสามเณรมรณภาพ 1 รูป คือสามเณรถูกกัดจนศีรษะขาดและถูกกินเป็นอาหารเป็นที่เล่าลืออย่างสยดสยอง ต่างๆนานา(เสือสมิง คือ เสือร้ายที่เชื่อกันว่าเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของวิญญาณร้ายที่แปลงร่างขึ้นมา)   

18. วัดโลการาม  บ้านสะทิ้งหม้อ  สิงหนคร สงขลา...........มีเจ้าที่ประจำวัดเป็นพญางูจงอางขนาดใหญ่  เรียก " ทวดตาหลวงรอง " เชื่อว่าใครบูชาเเล้วจะเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ.....นอกจากนี้ยังเชื่ออีก ด้วยว่าหากใครจะเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติของทางวัดจะโดนงูทวดเล่นงานจนต้องหนี กระเจิงทุกรายไป

19. หน้าอุโบสถวัดพรุเตาะ  หาดใหญ่  สงขลา มีต้นโพธิ์อยู่ต้นหนึ่ง........เชื่อว่าต้นโพธิ์นี้เเต่เดิมคือเจ้าอาวาสวัด พรุเตาะ  ครั้งหนึ่งท่านได้ใช้น้ำมันราดเเละเผาตนเองจนมรณภาพ  เเล้วท่านก็ได้เกิดใหม่เป็นต้นโพธิ์หน้าอุโบสถ(ชาวบ้านเขาเชื่อกัน)



ขอบคุณ...FW.Mail

401
คาถาอาคม / คาถาสะเดาะกุญแจ
« เมื่อ: 01 ก.พ. 2553, 09:28:25 »
คาถาสะเดาะกุญแจ

นะ มะ พะ ธะ
(เวลาท่องให้ท่องถอยหลัง " ธะ พะ มะ นะ")

เป็นคาถาที่หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ มอบให้หลวงพ่อปาน
(สมัยหนุ่มก่อนที่ท่านจะอุปสมบท) โดยหลวงพ่อสุ่นได้บอกว่า

"ถ้าเจ้าเป่ากุญแจนี่หลุดได้เมื่อไหรมาบอกพ่อ ต่อแต่นั้นพ่อจะให้ของดีทุกอย่างที่พ่อมีอยู่"
ในตอนนั้นหลวพ่อปานท่านก็รับคำ

เมื่อหลวงพ่อสุ่นจัดสถานที่ให้
หลวงพ่อปานเข้าพักแล้วท่านก็ท่องขานนาค
ท่องหนังสือสวดมนต์ไปก็เป่ากุญแจไปด้วย

ท่านบอกว่า ท่านนั่งเป่ากุญแจมา ๑ เดือน
กุญแจกดไว้เป่าเดือนหนึ่งมันไม่ออก จนกุญแจลอกหมดสีขาวจ๋อง
สนิมเหล็กที่เกาะหมดไป เพราะถูกเหงื่อมือบดสี

แต่ทว่าวันหนึ่ง
ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร พอทำใจสบายๆ นอนเผลอๆ ลุกขึ้นมาพอจับกุญแจเป่า
มันก็หลุด ผลัวะ
มันหลุดง่าย เป่ามาตั้งเดือนไม่หลุด

ต่อแต่นั้นไปเป่ากุญแจมาดอกไหนมันก็หลุด
หนักๆเข้า ไม่ต้องเป่า เอามือแตะก็หลุด ผลที่สุดไปซื้อกุญแจมา ๓๐ - ๔๐ ดอก
เอาใส่ราวเอามือกดให้ติด พอเอามือแตะราวเท่านั้น กุญแจหลุดออกหมด

แม้แต่กุญแจจีนก็หลุด เป็นอันว่าเรื่องกุญแจท่านทำได้
นี่เป็นวิธีการของหลวงพ่อสุ่นสอนให้หลวงพ่อปานฝึกสมาธิ


ขอบคุณที่มาจากหนังสือประวัติหลวงปู่ปาน(พระครูวิหารกิจจานุการ วัดบางนมโค)

402
หลวงพ่อเสือ
วัดไผ่สามกอ จ.ฉะเชิงเทรา

 

รูปถ่ายขนาดบูชา ปี พ.ศ 2492 สร้างในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่


ท่านเป็นสุดยอดเกจิ แห่งเมืองแปดริ้ว ผู้มี ฌาณสมาบัติขั้นสูง มีพุทธาคมเข้มขลัง แก่กล้า
โด่งดังมากในเรื่อง ของน้ำมนต์ ผ้ายันต์ เสื้อยันต์
สมัยท่านมีชีวิตอยู่ ละแวกนั้นและพื้นที่เขตจังหวัดใกล้เคียง เช่น ชลบุรี ฯลฯ
หากมีพิธี ปลุกเสกใดๆ มักจะนิมนต์ท่านเข้าร่วมเสมอ

สมัยก่อน ใครที่เป็นบ้า เป็นบอ ถูกคุณไสย์ หรือโดนกระทำใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด
นำมาล่ามไว้ที่วัดไผ่สามกอ 3 วัน 7 วัน หายเป็นปลิดทิ้ง ทุกรายไป

วัตถุมงคล ของท่านเด่นดัง ด้าน มหาอุต คงกระพันชาตรี อย่างมาก

ท่านเป็น เกจิอาจารย์ ยุคเดียวกับ หลวงพ่อดิ่ง วัด บางวัว หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจาด วัด บางกระเบา
หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ร่วมปลุกเสกพิธีเดียวกันเสมอๆ พุทธาคมแก่กล้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
และ ท่านยังเป็น พระภิษุสงฆ์รูปเดียวในสมัยนั้น ที่มี ตาลปัตร เป็น รูปเสือ


ประวัติสังเขปของท่าน

ปฐมวัย
หลวงพ่อเสือ เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ที่ จ.ชลบุรี
โยมบิดา ชื่อ นายแสวง โยมมารดาชื่อ นางลำเจียก

ด้วยบารมีที่ได้สร้างสมมาแต่อดีตชาติ ทำให้หลวงพ่อเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันตั้งแต่วัยเด็ก
เมื่อได้มีโอกาสติดตามพ่อแม่ไปวัดตอน๕ - ๖ ขวบ และได้ฝึกหัดทำสมาธิ จึงได้รับรู้ถึงความสงบสุขอันเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิ

อายุ ๑๖ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหลวง จ.ชลบุรี และได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์
หลังจากนั้น ๗ วัน ท่านจึงแยกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ตามลำพัง

ในปีต่อมาหลวงพ่อได้ธุดงค์ไปสกลนคร พระอาจารย์ที่นั่นได้แนะนำให้เดินทางไปพม่า
ซึ่งเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงเริ่มออกเดินทาง ผ่านอุดรธานี ไปจนถึงพม่า
อาศัยพักอยู่ที่วัดโชติการาม โดยมี พระอาจารย์โชติกะธรรมจริยะ คอยแนะนำ และให้ความสะดวกตลอดเวลา ๖ เดือน

เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านก็ธุดงค์กลับไปที่พม่าอีกครั้งหนึ่ง โดยพักอยู่ที่วัดซันคยองวิหาร ถึง ๒ ปี
ณ ที่นี้หลวงพ่อได้พบกับ ท่านเลดี สย่าดอ มหาเถระ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นผู้คอยแนะแนวทางการปฏิบัติธรรม การศึกษาพระไตรปิฏกให้

หลังจากนั้นหลวงพ่อยังได้เดินทางไปที่ลังกา ได้พบและศึกษากับ ท่านญาณโปนิกมหาเถระ

มัชฌิมวัย
กลับจากลังกาแล้ว หลวงพ่อได้พักปฏิบัติธรรมที่ถ้ำเชียงดาว ๓ ปีเศษ
ต่อจากนั้นได้มาพักอยู่ที่หมู่บ้านชาวเขา บนดอยปุย สอนธรรมะ และรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับชาวเขา เป็นเวลาถึง ๙ ปี
จึงเดินทางกลับมาบ้านเกิด ที่ชลบุรี โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมาช่วยเหลือชาวบ้านทั้งการให้ธรรมะ และช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้ ๔๕ ปี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแถบจังหวัดชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา

ต่อมามีชาวบ้าน ต.สิบเอ็ดศอก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิเล็กๆ และนิมนต์ให้ท่านอาศัยอยู่
จนในที่สุด สร้างเป็นวัดขึ้น ให้ชื่อว่า “วัดไผ่สามกอ” ตามสัญญลักษณ์
ที่มีต้นไผ่เหลืองที่ขึ้นอยู่ ๓ กอ หน้ากุฏิของท่านที่ชาวบ้านปลูกถวายนั่นเอง

มีเรื่องเล่าว่า…
หลวงพ่อไม่เคยสรงน้ำเลย แต่ทุกวันเวลาท่านอยู่ในห้องผู้ที่อยู่ใกล้เคียงจะได้ยินเสียน้ำเหมือนไหลจากฝักบัว
และร่างกายของหลวงพ่อก็เปียกเอง ทั้งยังมีกลิ่นหอมเหมือนดอกลำเจียก
เมื่อถึงวันเกิดของท่าน ผู้คนจะหลั่งไหลมาสรงน้ำท่าน เวลาท่านเดินลงจากกุฏิ
ฝนจะตกลงมาพอดีทุกครั้ง ท่านจึงได้ฉายาว่า “พระวิรุฬหผล”

เมื่อตอนอายุได้ ๕๕ ปี ท่านได้ธุดงค์ไปประเทศลังกาเป็นเวลานาน เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาในรายละเอียดเพิ่มเติม

ปัจฉิมวัย
ก่อนมรณภาพ หลวงพ่อรู้ล่วงหน้า ท่านจึงได้เตรียมตัวพร้อม โดยเรียกลูกศิษย์มาถ่ายรูปของท่านไว้
ให้ทำความสะอาดศาลา และเรียกมาประชุมฟังธรรม

หลังจากนั้นท่านก็เริ่มป่วย มีไข้ทวีขึ้นทั้งวันทั้งคืน เมื่อถึงวันโกนท่านก็ลุกขึ้นจากที่นอน สั่งให่ช่วยกันปลงผม
ซึ่งชาวบ้านก็พูดเตือนว่าคนเป็นไข้เขาห้ามตัดผม แต่ท่านก็พูดให้คติว่า
“คนเราถ้าถึงเวลาตายแล้ว ถึงจะปล่อยให้ผมยาวเพียงไหน ชีวิตก็ยาวต่อไปไม่ได้”

ก่อนมรณภาพ ๔ วัน หลวงพ่อได้สั่งว่า ท่านจะทำสมาธิ เจริญวิปัสสนาอยู่ในห้อง ๔ วัน ห้ามไม่ให้ใครมารบกวน

ครั้นครบ ๔ วันตามที่ท่านสั่งแล้ว ลูกศิษย์ (คือ หลวงตาเผย) ได้เคาะประตูห้อง เมื่อไม่ได้ยินเสียงตอบ ลูกศิษย์จึงเข้าไปดู
พบว่า หลวงพ่อครองผ้าไตรจีวรครบถ้วนเหมือนเวลาที่มีพิธีกรรมทางศาสนา มีตาลปัตรตั้งไว้ด้านขวา

มีข้อความเขียนไว้ที่ผ้าสังฆาฏิว่า “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา”
ท่านนอนตะแคงขวาเหมือนหลับ สีหน้าสงบ ปราศจากความเศร้าหมอง ทุกคนก็ทราบทันทีว่า ท่านได้มรณภาพแล้ว
วันนั้นตรงกับวันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘


ขอบคุณที่มา...http://forum.ampoljane.com/index.php?s=4cd7367f2491d3d9fd139ca23936fee3&showtopic=25&st=140

403
หลวงพ่อสุวรรณ สุวัณโณ
วัดภูตบรรพต จ.สงขลา




หลวงพ่อสุวรรณ สุวัณโณ ท่านเป็นชาวปราจีนบุรี ถือกำเนิดเมื่อปี 2411 เมื่ออายุได้ 14 ปี ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นสามเณร ณ พัทธสีมา วัดประชุมชน ปราจีนบุรี เมื่ออายุครบวชจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ

ท่านเป็นพระที่มีจิตโน้มนำไปทางปฏิบัติมากกว่าปริยัติ จึงมาศึกษาที่วัดจักรวรรดิ์ราชานุวาส หรือวัดสามปลื้มเนื่องจากวัดจักรวรรดิ์ช่วงนั้นมีชื่อเสียงมากในการสอนวิปัสสนา เพราะท่านเจ้าคุณพระมงคลทีป ผู้เป็นอาจารย์นั้นมีความเป็นเลิศในด้านการวิปัสสนาเป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อศึกษาอยู่นาน 5 พรรษาจึงอำลาออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกเพื่อหาผลปฏิบัติในตัวเองร่วมกับสหธรรมิกอีกสา
มรูป แรกๆเดินทางร่วมกัน ต่อมาแยกกันจาริกเดี่ยว บางองค์หันหลังกลับวัดสามปลื้ม บางองค์มุ่งหน้าไปตามปณิธานเดิม อย่างไม่ลดละ โดยเฉพาะหลวงพ่อสุวรรณ

ต่อมาท่านเกิดคิดได้ว่าอันเมืองลังกาซึ่งเป็นเมืองพระพุทธศาสนามีพระเขี้ยวแก้วขององ
ค์พระบรมศาสดาอยู่ทั้งยังมีพระจุฬามณี ซึ่งควรค่าแก่การสักการะเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงจาริกมุ่งหน้าสู่แดนทักษิณ รอนแรมถึงท้ายเกาะภูเก็ต และเดินทางไปยังเกาะลังกาโดยเรือสินค้าเข้าจำพรรษาที่ “วัดการ์ปู” แล้วแจ้งต่อกงสุลไทยในลังกา เพื่อขออนุญาตเดินทางจาริกเพื่อนมัสการปูชนียสถานอันสำคัญได้ตามสะดวก และได้รับการอนุมัติด้วยดีจากรัฐบาลศรีลังกา

ท่านจาริกแสวงบุญอยู่ในลังกา 6 ปีเต็ม จึงเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองมารดร โดยอาศัยเรือไปขึ้นบกที่ประเทศพม่า เพื่อธุดงค์นมัสการพระธาตุมุเตา และศาสนสถานอันสำคัญในมัณฑะเล จากประเทศพม่า หลวงพ่อสุวรรณอาศัยเรือโดยสารมาขึ้นบกที่จังหวัดสงขลา เข้าพำนักที่วัดมัชฌิมาวาสในตัวเมืองสงขลา

เมืองสงขลาสมัยนั้นมีเจ้าพระยาวิเชียรคีรีเป็นเจ้าเมือง ท่านผู้นี้มีความใกล้ชิดและเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อสุวรรณ จึงเสนอตัวขอเป็นโยมอุปัฏฐาก แต่เนื่องหลวงพ่อสุวรรณท่านคุ้นเคยกับความวิเวกของภูเขาลำเนาไพร ท่านจึงไม่อยากที่จะพำนักในสภาพแวดล้อมของความวุ่นวายในตัวเมือง ท่านจึงได้ขอย้ายจากวัดมัชฌิมาวาส ไปสู่วัดเกาะถ้ำ ในปี 2471 (เป็นปีที่ระบุไว้ในเหรียญสวยๆ ในภาพล่าง)





แต่ท่านก็จำพรรษาที่วัดเกาะถ้ำได้ไม่นาน ความคุ้นเคยกับการจาริกธุดงค์ ทำให้ท่านหอบหิ้วบริขารออกธุดงค์อีกครั้ง คราวนี้ท่านมุ่งหน้าไปยังถิ่นแถวที่เป็นเทือกเขา ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เขาผี” ซึ่งชาวบ้านเล่าลือกันว่าเป็นที่สิ่งสู่ของปิศาจไพรที่ดุร้าย และมีไข้ป่าชุกชุม ชาวบ้านในย่านนั้นไม่มีใครกล้าเหยียบย่างเข้าไป

ท่านไปปักกลด แล้วเจริญภาวนาแผ่เมตตาแก่อาถรรพ์ร้ายทั้งปวง ภูตผีปิศาจรวมทั้งวิญญาณบาปที่สิงสู่อยู่บนเขาเพราะยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด ได้พากันมาปรากฏให้เห็นและขอร้องให้หลวงพ่อสร้างวัดขึ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้อาศัยในอานิสงค์ผลบุญไปด้วย หลวงพ่อจึงริเริ่มตั้งสำนักสงฆ์บนเขาผี และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัด ในที่สุดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และทางการถวายนามพระอารามบนเขาผีว่า “วัดภูตบรรพต”

ชาวบ้านผู้เป็นทายกทายิกาก็อารธนาหลวงพ่อสุวรรณขึ้นเป็นเจ้าอาวาสองค์ปฐมองค์แรก แต่ท่านปฏิเสธเพราะไม่อยากเกี่ยวข้องกับระบบปกครอง แล้วให้นิมนต์ หลวงพ่อแดง จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสแทนท่าน ต่อมาหลวงพ่อแดงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูโสภณศีลาจารย์” และย้ายไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดควนนิมิต อ.จะนะ จ.สงขลา เจ้าอาวาสองคืต่อมาได้แก่ “พระครูถาวรศีลคุณ” หรือหลวงพ่อเมศร์

หลังจากมอบตำแหน่งเจ้าอาวาสให้ผู้อื่นไปแล้วหลวงพ่อสุวรรณก็เลี่ยงไปพำนักในถ้ำเล็กๆ แห่งหนึ่งบนเขาผี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดมากนัก ด้วยมุ่งหวังที่จะกระทำความเพียรกับการวิปัสสนา และสมถกัมมัฏฐานให้ถึงที่สุด จนกระทั่งในปี พ.ศ.2494 ก่อนที่ท่านจะมรณภาพที่ได้บอกกับพระครูโสภณศีลาจารย์ หรือ หลวงพ่อแดงว่า อีกแปดเดือนท่านจะละสังขารแล้ว ให้จดจำวันเดือนปีที่ท่านจะมรณภาพไว้ด้วย ครั้นถึงกำหนด ท่านพระครูก็ส่งคนไปดูที่ถ้ำจึงมีผู้ไปพบหลวงพ่อสุวรรณถึงแก่มรณภาพเสียแล้ว ในท่านั่งสมาธินั่นเอง



ขอบคุณภาพและเรื่องจากชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองสงขลาครับ

404
                                                        
                                                                            มุตโตทัย
          บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์  สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖

  อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อุปราช อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นก็มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่ง สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่

ประชุมแห่งของโสโครกคือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตรคูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่า ขี้ ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกงกับ เป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาป เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอกก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลย

เพราะเหม็นสาบ ดั่งนี้จึงได้ความว่าร่างกายของเรานี้เป็นเรือนมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะ ของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นถึงปานนี้ เมื่อชีวิตหาไม่แล้ว ยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายจึงพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วย โยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจนก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกายอันเป็นที่สบายแก่จริตจนกระทั่งปรากฏเป็นอุคคหนิมิต คือ ปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก การเจริญทำให้มากนั้นพึงทราบอย่างนี้ อันชาวนาเขาทำนาเขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดินดำลงไปในดิน ปีต่อไปเขาก็ทำที่ดินอีกเช่นเคย เขาไม่ได้ทำในอากาศกลางหาว คงทำแต่ที่ดินอย่างเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องร้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็จะหลั่งไหลมาเอง และจะห้ามว่า เข้าเอ๋ยข้าว

จงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ ถ้าทำนาในที่ดินนั้นเองจนสำเร็จแล้ว ข้าวก็มาเต็มยุ้งเต็มฉางเอง ฉันใดก็ดีพระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น จงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัยหรือที่ปรากฏมาให้เห็นครั้งแรก อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่การเดินจงกรมเท่านั้น ให้มีสติหรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ คิด พูด ก็ให้มีสติรอบคอบในกายอยู่เสมอจึงจะชื่อว่า ทำให้มาก เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้ว ให้พิจารณาแบ่งส่วนแยกส่วนออกเป็นส่วนๆ ตามโยนิโสมนสิการตลอดจนกระจายออกเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ อุบายตอนนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้ พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออก

มาเป็น อนุโลม ปฏิโลม คือเข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากาย อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเอง คือ จิต ย่อมจะรวมใหญ่ เมื่อรวมพึ่บลง ย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกันคือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น นิมิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่าโลกนี้ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกัน ไม่ว่า ป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์ แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องล้มราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกันพร้อมกับ ญาณสัมปยุตต์ คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน ในที่นี้ตัดความสนเท่ห์ในใจได้เลย จึงชื่อว่า ยถาภูตญาณทัสสนวิปัสสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง ขั้นนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไป ไม่ใช่ที่สุดอันพระโยคาวจรเจ้าจะพึงเจริญให้มาก ทำให้มาก จึงจะเป็นเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบ จนชำนาญเห็นแจ้งชัดว่า สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่าโน่นเป็นของของเรา โน่นเป็นเรา เป็นความไม่เที่ยงอาศัยอุปาทานความยึดถือจึงเป็นทุกข์ ก็แลธาตุทั้งหลาย เขาหากมีหากเป็นอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้นเสื่อมไปอยู่อย่างนี้

มาก่อน เราเกิดตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก็เป็นอยู่อย่างนี้ อาศัยอาการของจิต ของขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปปรุงแต่งสำคัญมั่นหมายทุกภพทุกชาติ นับเป็นอเนกชาติเหลือประมาณมาจนถึงปัจจุบันชาติ จึงทำให้จิตหลงอยู่ตามสมมติ ไม่ใช่สมมติมาติดเอาเรา เพราะธรรมชาติทั้งหลายทั้งหมดในโลกนี้ จะเป็นของมีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม เมื่อว่าตามความจริงแล้ว เขาหากมีหากเป็น เกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัยเลยจึงรู้ขึ้นว่า ปุพฺเพสุ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ธรรมดาเหล่านี้ หากมีมาแต่ก่อน ถึงว่าจะไม่ได้ยินได้ฟังมาจากใครก็มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว ฉะนั้นในความข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เราไม่ได้ฟังมาแต่ใคร มิได้เรียนมาแต่ใครเพราะของเหล่านี้มีอยู่ มีมาแต่ก่อนพระองค์ดังนี้ ได้ความว่าธรรมดาธาตุทั้งหลายย่อมเป็นย่อมมีอยู่อย่างนั้น อาศัยอาการของจิตเข้าไปยึดถือเอาสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติ จึงเป็นเหตุให้อนุสัยครอบ

งำจิตจนหลงเชื่อไปตาม จึงเป็นเหตุให้ก่อภพก่อชาติด้วยอาการของจิตเข้าไปยึด ฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้ามาพิจารณา โดยแยบคายลงไปตามสภาพว่า สพฺเพ สฺงขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารความเข้าไปปรุงแต่ง คือ อาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง สัตว์โลกเขาเที่ยง คือมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น ให้พิจารณาโดย อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ เป็นเครื่องแก้อาการของจิตให้เห็นแน่แท้โดย ปัจจักขสิทธิ ว่า ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขาร เมื่อเห็นจริงลงไปแล้วก็เป็นเครื่องแก้อาการของจิต จึงปรากฏขึ้นว่า สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ สังขารทั้งหลายที่เที่ยงแท้ไม่มี สังขารเป็นอาการของจิตต่างหาก เปรียบเหมือนพยับแดด ส่วนสัตว์เขาก็อยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อรู้โดยเงื่อน ๒ ประการ คือรู้ว่า สัตว์ก็มี

อยู่อย่างนั้น สังขารก็เป็นอาการของจิต เข้าไปสมมติเขาเท่านั้น ฐีติภูตํ จิตตั้งอยู่เดิมไม่มีอาการเป็นผู้หลุดพ้น ได้ความว่า ธรรมดาหรือธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน จะใช่ตนอย่างไร ของเขาหากเกิดมีอย่างนั้น ท่านจึงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน ให้พระโยคาวจรเจ้าพึงพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามนี้จนทำให้จิตรวมพึ่บลงไป ให้เห็นจริงแจ้งชัดตามนั้น โดย ปัจจักขสิทธิ พร้อมกับ ญาณสัมปยุตต์ รวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุตติ หรือรวมลงฐีติจิต อันเป็นอยู่มีอยู่อย่างนั้นจนแจ้งประจักษ์ในที่นั้นด้วยญาณสัมปยุตต์ว่า ขีณา

ชาติ ญาณํ โหติ ดังนี้ ในที่นี้ไม่ใช่สมมติไม่ใช่ของแต่งเอาเดาเอา ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ เป็นของที่เกิดเอง เป็นเอง รู้เอง โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะด้วยการปฏิบัติอันเข้มแข็งไม่ท้อถอย พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเอง จึงจะเป็นขึ้นมาเอง ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่างๆ มีต้นข้าวเป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือรวงข้าวไม่ใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาเลย เป็นขึ้นมาเอง ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตาย รวงข้าวก็จะไม่มีขึ้นมาให้ฉันใด วิมฺตติธรรม ก็ฉันนั้นนั่นแล มิใช่สิ่งอันบุคคลจะพึงปรารถนาเอาได้ คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรมแต่ปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติมัวเกียจคร้านจนวันตายจะประสบวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้




ขอบคุณที่มา...http://www.luangpumun.org/muttothai_3.html#9

405


"ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์"

          เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จขึ้นไปประทับพรรษาบนดาวดึงส์สวรรค์ ชั้นที่ ๒ แสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาได้บรรลุอริยมรรคผลสมดั่งพระกมลที่ทรงพระอุตสาหะ และในครานั้นพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาได้ยังประโยชน์เป็นอเนกอนันต์แก่บรรดาทวยเทพทั่วทุกทิศที่เข้าเฝ้าสถิตแห่แหนเป็นจำนวนมาก ครั้นใกล้ครบเวลาสามเดือนครั้นเวลาจวนใกล้จะออกพรรษาเข้าแล้ว ชาวประชามหาชนกทั้งหลายที่ตั้งตาคอยจะเฝ้าพระบรมศาสดา สุดที่จะทนทานการรอคอย จึงพากันเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

          เนื่องจาก เมื่อครั้นการเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระบรมศาสดาในเวลาเสร็จการแสดงยมกปกาฏิหาริย์โดยฉับพลัน ซึ่งมหาชนทั่วทุกทิศกำลังใส่ใจแลดูอยู่ด้วยความเลื่อมใส จึงเป็นเหมือนเดือนตกหรือตะวันตกหายวับลับไปจากโลกเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะฉะนั้นชนทั้งหลายจึงพากันคร่ำครวญว่า พระศาสดาผู้เลิศในโลกเสด็จไปแห่งหนใดกันหนอ พวกเราจึงไม่เห็นพระองค์ ชนเหล่านั้นได้พากันเข้าไป ถามพระมหาโมคคัลลานะเถระว่า พระศาสดาเสด็จไปที่ไหนเสียเล่าพระคุณเจ้าพระมหาโมคคัลลานะแม้จะรู้ดีอยู่ แต่เพื่อถวายความเคารพแก่พระอนุรุทธะ จึงได้บอกแก่ชนเหล่านั้นไปว่า พวกท่านจงไปถามพระอนุรุทธะเถระดูเถิด คนเหล่านั้นจึงพากันไปถามพระอนุรุทธะเถระ ๆ ตอบว่า พระศาสดาเสด็จขึ้นไปจำพรรษาในสรวงสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

          เมื่อไรจักเสด็จมาเล่า พระคุณเจ้า ? สามเดือนอุบาสก พระเถระกรุณาบอก และจะเสด็จมาวันมหาปวารณาด้วย

          คนเหล่านั้นปรึกษากันว่า พวกเราจักรอเฝ้าพระบรมศาสดาอยู่ที่นี่แหละ หากไม่ได้เห็นพระบรมศาสดาแล้วก็จักไม่ไป แล้วจัดแจงทำที่พักอยู่ในที่นั้นเอง ท่านจุลละอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้มีกำลังทรัพย์มากได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์แก่คนเหล่านั้นพอสมควร แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้กรุณา แสดงธรรมให้กำลังใจ เจริญความเลื่อมใสแก้ความข้องใจของมหาชนที่ติดตามมาเพื่อชมปาฏิหาริย์ในภายหลังอีก

          ครั้นเวลาเนิ่นนานมาถึงปานนี้ มหาชนจึงเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะเรียนถามว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงจากสวรรค์เมื่อใด และจะเสด็จลงที่ไหน เมื่อข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้พากันไปเฝ้าพระองค์ ณ ที่นั้นพระมหาโคคัลลานะเถระตอบว่า จะต้องขึ้นไปเฝ้าทูลถามพระบรมศาสดาดูก่อน ได้ความอย่างไรจากพระองค์แล้วจึงจะแจ้งให้ทราบ แล้วพระเถระก็สำแดงอานุภาพแห่งสมาบัติขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวภพ สำแดงกายให้ปรากฏแก่มหาชนในขณะขึ้นไปเฝ้าพระบรมศาสดาด้วยฤทธิ์แห่งอภิญญา

          ครั้นพระเถระเจ้าเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วก็กราบทูลตามเรื่องที่มหาชนมีความประสงค์
          พระบรมศาสดารับสั่งว่า โมคคัลลานะ บัดนี้ สารีบุตรพี่ชายเธออยู่ ณ ที่ได
          พระมหาโมคคัลลานะก็กราบทูลว่า เวลานี้สารีบุตรเถระเจ้าจำพรรษาอยู่ที่เมืองสังกัสสนคร พระเจ้าข้า
          ถ้าเช่นนั้น ตถาคตก็จะลงที่ประตูเมืองสังกัสสนครในวันมหาปวรณา โมคคัลลานะจงแจ้งให้มหาชนทราบตามนี้ ผู้ใดประสงค์จะเห็นตถาคต ก็จงพากันไปยังที่นั้นเถิด
          พระมหาโมคคัลลานะรับพระพุทธบัญชาแล้ว ก็ลงมาแจ้งข้อความนั้นแก่มหาชนทั้งหลายผู้ต้องการทราบเรื่องนี้อยู่

          ฝ่ายมหาชนทั้งหลายที่ตั้งใจคอยเฝ่าพระบรมศาสดาเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์ เมื่อได้ทราบข่าวจากพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้าก็ดีใจพร้อมกับออกเดินทางไปยังเมืองสังกัสสนครร่วมประชุมกันอย่างคับคั่งตลอดพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอันมีประสารีบุตรเถระ อัครสาวกเบื้องขวาเป็นประธาน มาประชุมต้อนรับพระบรมศาสดา อยู่ ณ ที่นั้นอย่างพร้อมเพรียง

          ครั้นถึงวันปรุณมีแห่งอัสสยุชมาส เพ็ญเดือน ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว ทรงรับสั่งแก่ท้าวสักกเทวราชว่า ตถาคตจะลงไปสู่มนุษยโลกในวันนี้ เมื่อท้าวโกสีย์ทราบพุทธประสงค์แล้วจึงทรงนิรมิตบันไดทิพย์ ๓ บันได สำหรับพระพุทธดำเนินเสด็จลงสู่มนุษยโลกบันไดแก้วอยู่กลาง บันไดทองอยู่ข้างขวา บันไดเงินอยู่ข้างซ้าย เชิงบันไดทั้ง ๓ นั้นประดิษฐานอยู่ภาคพื้นปฐพีที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนครศีรษะบันไดเบื้องบนจนยอดภูเขาสิเนรุ บันไดแก้วนั้นเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง บันใดทองเป็นที่เทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินเป็นที่พรหมทั่งหลายตามส่งเสด็จ ขณะนั้นเทพยดาและพรหมทั้งหลาย ได้มาประชุมพร้อมกันบูชาพระบรมศาสดาเต็มทั่วจักรวาล

          เมื่อได้เวลาเสด็จ พระพุทธเจ้าก็เสด็จมาประทับยืนที่ฐานศีรษะบันได ในท่ามกลางเทพพรหมบริษัทซึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร จึงได้ทรงทำ "โลกวิวรรณปาฏิหาริย์" เปิดโลก โดยพระอาการทอดพระเนตรไปในทิศต่าง ๆ รวมทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง รวมเป็น ๑๐ ทิศด้วยกันและด้วยพุทธานุภาพ ในทันใดนั้นทุกทิศทกทางจะแลโล่งตลอดหมดไม่มีอันใดกีดบัง เทวดาในสวรรค์จะมองเห็นมนุษย์ เห็นยมโลก เห็นนรกและมนุษย์ก็มองเห็นเทวดาเห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็มองเห็นมนุษย์ตลอดเทวดาในสวรรค์ ไม่มีสิ่งใดปิดบัง พระพุทธเจ้าทรงสำแดงปาฏิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่งฉัพพัณณรังษี พระรัศมี ๖ ประการเป็นมหาอัศจรรย์

          ครั้นนั้น เทพยดาในหมื่นจักรวาลได้มาประชุมกันในจักรวาลนี้เพื่อชื่นชมพระบารมีพระบรมศาสดาทรงทำปาฏิหาริย์ พร้อมกันทำสักการบูชาสมโภชพระพุทธเจ้าด้วยทิพย์บุปผามาลัยเป็นอเนกประการ

          พระบรมศาสดาได้เยื้องย่างลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์ โดยบันไดแก้วมณีมัย ท่ามกลางเทพยดาในหมื่นจักวารมีท้าวสักกะเป็นต้น โดยบันไดทองสุวรรณมัยในเบื้องขวา ท้าวสหัมบดีพรหมกับหมู่พรหมเป็นอันมากลงโดยบันไดเงินหิรัญญมัยในเบื้องซ้าย ปัญจสิขรคนธรรมพ์เทพบุตรทรงพิณมีสีดังผลมะตูมสุก ดีดขับร้องด้วยมธุรเสียงอันไพเราะมาใบเบื้องหน้าพระบรมศาสดา ท้าวสันตุสิตเทวราชกับท้ายสุยามเทวราชทรงทิพย์จามรถวายพระบรมศาสดาทั้ง ๒ ข้าง ท้าวมหาพรหมปชาบดี

          ทรงทิพย์เศวตฉัตรกั้นถวายพระบรมศาสดา ท้าวโกสีย์อมรินทราธิราชประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา เสด็จเป็นมัคคุเทศก์นำพระบรมศาสดาลงมา ในท่ามกลางทวยเทพยดาแลพรหมทั้งหลายพากันแวดล้อมแห่ห้อมเป็นบริวาร

          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์ โดยบันไดแก้วลงมาถึงเชิงบันได มหาชนทั้งหลายได้เห็นพระรูปโฉมของพระบรมศาสดา ได้เห็นการเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ในท่ามกลางเทพยดาและพรหมเป็นอันมาก ครั้งนั้นงามจับอกจับใจอย่างที่ไม่เคยคิดเคยเห็นมาแต่ก่อน ก็พากันลิงโลดแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว แม้แต่พระสารีบุตรพุทธสาวกยังได้กล่าวคาถาสรรเสริญด้วยความยินดีความว่าข้าพระองค์ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งงามด้วยสิริโสภาคยิ่งกว่าเทพเจ้าทั้งมวล มีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้ เสด็จลงมาจากสวรรค์

          ขณะนั้น พระบรมศาสดาซึ่งมีพระทัยมากด้วยพระมหากรุณาจึงได้แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ผู้กำลังมีความโสมนัส พึงตาพึงใจชมในพระรูปพระโฉม อยู่ในท่ามกลางเทพเจ้าและหมู่พรหมที่พร้อมกันถวายสักการบูชา ด้วยทิพยบุปผานาวรามิสให้เกิดกุศลจิตสัมประยุตด้วยปรีชาญาณ หยั่งรู้ในเทศนาบรรหารตามควรแก่อุปนิสัย เมื่อจบเทศนานัยธรรมานุสรธ์ ต่างก็ได้บรรลุอริยมรคอริยผล ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงเบื้องปลาย ตามอริยอุปนิสัยที่ได้สั่งสมมา.
 
 

ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข 

406



ภาพสรีระของท่านที่ไม่เน่าเปื่อย ยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดมาตานุสรณ์
 
ประวัติของท่าน
ครูบากัญไชย กาญจโน) มีนามเดิมว่า เด็กชายดวงคำ พลายสาร
เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2458 (ปีเถาะ) ที่บ้านศรีบุญเรือง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 ในบรรดาพี่น้องชายหญิง 9 คน
บิดาชื่อนายยศ มารดาชื่อนางต่อม พลายสาร

เรียนหนังสือล้านนาไทยพื้นเมืองเหนือกับเจ้าอธิการขัติยศจนแตกฉาน
เมื่ออายุได้ 16 ปี หลวงพ่อมีความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะบรรพชาเป็นสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และได้รับเมตตาอุปการะจากพระอธิการกัญจนะวงศ์ เจ้าอาวาสวัดม่วงตึ๊ด เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อบรรพชาแล้ว พระอธิการกัญจนะวงศ์จึงเปลี่ยนชื่อให้ท่านใหม่ว่ากัญไชย

ตลอดระยะเวลาที่เป็นสามเณร
ท่านได้อุทิศตนบำเพ็ญเป็นพุทธสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเคร่งครัด
ผิดแผกแตกต่างจากสามเณรอื่นๆ ทั่วไป

ท่านมีความจำที่ดีเยี่ยมและได้พยายามเรียนรู้เพิ่มเติม
โดยหมั่นศึกษาอักษรพื้นเมือง จนสามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่วรวดเร็วสวยงาม

ครั้นอายุ 20 ปี ท่านก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดม่วงตึ๊ด จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2478
โดยมี พระครูนันทสมณาจารย์เจ้าคณะจังหวัดน่าน เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูธรรมสิริสุนทร เจ้าอาวาสวัดภูมินทร์ เป็นพระกรรมวาจารย์
พระครูสสิริธรรมกิต เจ้าอาวาสวัดอภัย เป็นอนุสาวจารย์
ได้รับฉายาว่า กัญไชย กาญจโน

ส่วนคำเรียกขานฉายาท่านว่า เทพเจ้านักบุญแห่งลุ่มแม่น้ำเมย นั้นท่านได้มาก็เนื่องเพราะว่า
ครูบาท่านเป็นพระเถระผู้ทรงวิทยาคุณมีพลังจิตตานุภาพสูง และเป็นผู้มีคาถาอาคมขลังแก่กล้า
เป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ในยามยาก เป็นผู้สร้างขวัญกำลังใจที่ดีที่สุดของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป

กว่า 50 ปีที่ท่านอยู่อำเภอแม่สอดท่านได้มอบวัตถุมงคลให้กับลูกศิษย์ลูกหาจำนวนนับแสน ๆ คน
และเป็นที่ปรากฏว่า ไม่เคยมีผู้ใดประสบกับภัยอันตรายถึงแก่ชีวิต
ในยามที่มีการรบสู้ปะทะกันเนืองๆ ทางชายแดนแถบนั้น เมื่อราว 10กว่าปีก่อน

ว่ากันว่าผู้ใดมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อครุบากัญไชย กาญจโน ซึ่งเรียกว่าตะกรุดก๋าสะต๊อน
เป็นตะกรุดโทน บรรจุพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ป้องกันภัยอันตรายจากคุณไสยต่าง ๆ
หากถูกใครคิดปองร้าย หรือมีอคติกับผู้ถือตะกรุดก๋าสะต๊อน
สิ่งเหล่านั้นก็จะสะท้อนกลับไปยังผู้ประสงค์ร้ายทันที

มีพระคาถาของโบราณาจารย์ชาวล้านนาในปั๊บสา
กล่าวไว้เพื่อกำกับตะกรุดก๋าสะต๊อนไว้ดังนี้

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาตางใด สัมไปตางนั้น
นะบ่ฮู้โมบ่หัน ผู้ใดกระตำเข็ญ หื้อวินาสันตุ
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมาตางใด สัมไปตางนั้น
นะอยู่มั่น โมอยู่ต๊าย ผู้ใดกื๊ดฮ้าย วินาสันตุ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง ปื้นตั๋ว *** นั้นมีหินศิลารองไว้
ป๋ายบนตั๋ว *** มีตองขวานฟ้ารองไว้
สองถราบข้างตั๋ว *** มีจ๊างปู๊ก่ำงาเขียว โอมนะโม สวาเท๊กฯ

ตัวอย่างพระเครื่อง...ของท่าน




ขอขอบคุณที่มา...http://forum.ampoljane.com/index.php?s=96147d84a291e574533069bc2de81b01&showtopic=25&st=160

407


ประวัติครูบาขาวปี
 
ปีพุทธศักราช 2443 ณ หมู่บ้านแม่เทย อ.ลี้ จ.ลำพูนในปัจจุบันนี้ สมัยนั้นความเจริญยังย่างกรายมาไม่ถึง ทุรกันดารไปเสียทุกอย่างเพราะยังเป็นบ้านป่าหย่อมเล็ก ๆ เพียง 9 หลังคาเรือนตั้งอยู่โดยมีความทะมึนของขุนเขาลำเนาไพรเป็นรั้วรอบ

             จากคำบอกเล่า แม่เทยสมัยนั้นตกยามค่ำคืนเสียงส่ำสัตว์น้อยใหญ่ร้องระงมรอบบ้าน ไม่ว่าเสือ, ช้าง, เก้ง, กวาง คละเคล้ากันไปได้ยินถนัด ท้ายหมู่บ้านเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ของผัวหนุ่มเมียสาวคู่หนึ่งอาศัยอยู่ แม้จะยากจนแต่ก็มีความสุขตามประสาคนหนุ่มสาวที่มักมองโลกเป็นความน่าบันเทิงเริงรมย์ยิ่งอยู่ในระยะข้าวใหม่ปลามันความฝันนั้นมักบรรเจิดยิ่งนัก ฝ่ายผัวมีเชื้อสายชาวลัวะชื่อ เมา และเมียชื่อ จันตา เขาทั้งสองดำรงชีพ แบบชาวบ้านป่าทั้งหลาย ด้วยการทำไร่ปลูกผักหักฟืนไปวัน ๆ โดยหาจุดหมายเพื่อความเป็นปึกแผ่นไม่ค่อยมั่นใจนักเพราะความยากจน สมัยนั้นไม่มีการทำนาเพราะยังไม่มีการบุกเบิก แต่จะพากันปลูกข้าวไรแทน ได้ผลบ้างไม่ได้บ้างแต่ที่แน่นอนไม่พอกินไปตลอดปี ซึ่งถ้าหากข้าวเปลือกที่กักตุนหมด อาหารหลักที่รับช่วงต่อจากข้าวก็คือกลอย กลอยเป็นพืชใช้กินหัวจัดอยู่ในตระกูลเผือกมันมีหัวอยู่ในดิน ชาวบ้านป่าจะเที่ยวขุดมากักตุนไว้ในฤดูของมัน ซึ่งสมัยนั้นชุกชุม โดยเอาหัวกลอยที่ขุดมาได้นั้นปลอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบาง ๆ นำมาตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ได้นาน ๆ เวลาจะกินก็ใช้วิธีนึ่งจนสุก แล้วแปรเป็นอาหารทั้งรูปข้าวและของหวาน โดยจะเอาคลุกน้ำอ้อยน้ำตาล โดยขูดมะพร้าวผสมก็กินอร่อย หรือจะกินกับประเภทกับ เช่น ผัก เนื้อ ก็ได้ดีเหมือนข้าว หลายท่านในภาคเหนือเราในปัจจุบันที่มีอายุ 40 - 50 ปี เคยกินกลอย และหลายท่านอีกเช่นกันที่เติบใหญ่มาด้วยการกินกลอยเป็นอาหารหลัก แม้กระนั้น เจ้ากลอยนี้แม้จะเป็นอาหารแต่จะกินสุ่มสี่สุ่มห้า โดยไม่ใช้ฤดูกาล ไม่ได้เป็นอันขาด ขืนกินเข้าไปเป็นเมาเบื่อทันที จากผู้ชำนาญในด้านนี้ ท่านบอกว่าฤดูที่กินได้เริ่มตั้งแต่เดือน 11  เหนือ (เดือน ใต้) ไปจนถึงเดือน 6 (เดือน  3 ใต้ ) ตอจากนั้นกลอยก็จะเฉา  ขืนกินนอกจากฤดู ดังกล่าวก็จะเกิดอาการเบื่อเมา ซึ่งก็ตุนแรงพอดู และหากเกิดอาการดังกล่าวนี้  ท่านว่าให้กินน้ำผึ้งน้ำอ้อยหรือน้ำตาลให้มาก ๆ จะทำให้เกิดอาเจียนและหายเบื่อเมาได้ แต้ถ้าท่านไม่อยากเสี่ยง หากจะกินกลอยโดยไม่เกิดอาการเบื่อเมาแน่นอน ท่านก็ว่าหากนึ่งสุกแล้ว ทอลองให้สุนัขกินก่อนหากสุนัขกินหรือไม่กิน ก็เป็นกลอยที่ท่านจะกินหรือกินไม่ได้เช่นกัน

            กลอยในฤดูปกติจะไม่มีพิษ และไม่แสลงโรค แต่ถ้าเริ่มกินในระยะ 3 - 4 วันแรก จะมีอาการอ่อนเพลียบ้างแต่หลังจากนั้นร่างกายก็จะปรับตัวแข็งแรงขึ้นเหมือนกินข้าวแต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือคนกินกลอยโดยทั่วไปมักใจคอหงุดหงิด โกรธง่าย ใครพูดผิดหูไม่ค่อยได้ และมักไม่กลัวใครเห็นจะเป็นเพราะอานุภาพของกลอย ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกว่านชนิดหนึ่งด้วยกลอยกินเปลืองกว่าข้าวโดยเทียบอัตรา ข้าวนึ่งหนึ่งไหครอบครัวหนึ่งกินอิ่มแต่ถ้ากินกลอยจะต้องนึ่งถึงสองไหจึงจะอิ่มพอ และลักษณะคนกินกลอยที่เหมือนกันเมื่อกินนาน ๆ คือท้องใหญ่แต่ไม่อ้วน

วันกำเนิด
            ในวันจันทร์ เดือน 7 เหนือ ปีกัดเป้า (ปีฉลู) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนเมษายน 2443 อันเป็นวันมหาสงกรานต์ คำเมืองเรียกว่าวันปากปีครอบครัวของ นายเม่านางจันตา ก็มีโอกาสต้อนรับชีวิตเล็ก ๆ ชีวิตหนึ่งซึ่งลือตาขึ้นมาดูโลกในวันนี้ นับเป็นสายเลือดและพยานรักคนแรกและคนเดียวของพ่อเม่าแม่จันตาเพื่อให้เป็นมงคลตามวัน ทั้งสองจึงตั้งชื่อทารกน้อยนั้นว่า "จำปี"

ชีวิตวัยเยาว์
            ดังกล่าวแล้วว่า ครอบครัวท่านเป็นครอบครัวชาวบ้านป่าค่อนข้างยากจน อาหารการกินจึงขาดแคลน มีแต่ผักกับกลอยเป็นอาหารหลัก เด็กชายจำปี จึงมีร่างกายบอบบาง พุงค่อนข้างป่องเพราะโรคขาดอาหาร จึงมักเจ็บออดแอด แต่ก็ไม่ร้ายแรงนัก "จำปี" มีแววฉลาดแต่ยามเล็ก ๆว่านอนสอนงาย และเรียนรู้ประสบการณ์จากป่า ความสงบของธรรมชาติมาตลอดชีวิต แม้จะยากจนแสนเข็ญ ครอบครัวนี้ก็ยังคงมีความสงบสุข ยิ่งมีลูกน้อยเป็นสื่อสายใจ พ่อเม่า แม่จันตา ก็ยิ่งมุมานะทำงาน เพื่อสร้างอนาคตให้เด็กน้อยจำปีขึ้นอีกเท่าตัว เด็กชายจำปี คงไม่เข้าใจการต่อสู้ของพ่อแม่นัก คงยังมีความร่าเริงสนุกไปตามประสาเด็ก ๆ และความน่ารักอันไร้เดียงสาของเขามันหมายถึงความรักของพ่อแม่ที่ทุ่มเทให้ลูกน้อยจนสุดหัวใจ แม้ทั้งสองร่างกายจะเปื้อนเหงื่อกว่าชีวิตประจำวันจะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อใกล้ค่ำย่ำสนธยา แต่ใบหน้าไม่เคยว่างรอยยิ้มอย่างเป็นสุข เมื่อเห็นลูกน้อยโผผวาเข้าหาอ้อมกอด นี้คือความรักของพ่อแม่ทุกคนในโลกที่มีต่อลูกน้อย

การพลัดพรากที่ยิ่งใหญ่

            พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่าโลกนี้เป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยงแท้เป็นเครื่องกัดกร่อน ชีวิตมนุษย์ที่อุบัติขึ้นมาหาจุดหมายที่แท้จริงไม่ได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว สุขกับโศกมักจะเป็นเครื่องล้อเล่นให้ได้พบเสมอพบกันเพื่อจะจากกันในที่สุด เป็นยอยู่เช่นนี้เหมือนกันทั้งโลก ครอบครัวของหนุ่มเม่าก็เช่นกันจากกัน จากความกรากกรำในงานไร่ และต่อสู้เพื่อเลี้ยงทุกชีวิตที่ตนรับผิดชอบทำให้เขาล้มเจ็บลง มันเป็นไข้ป่าที่ร้ายแรงซึ่งหลายคนเสี่ยงเอา หากว่าเป็นแล้วก็พึ่งยากลางบ้านต้มกินกันตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หมอกลางบ้านจะแนะนำให้อยู่หรือตายนั่นแล้วแต่บุญกรรม สำหรับหยูกยาทันสมัยไม่ต้องพูดถึง เพราะไกลความเจริญเหลือเกน พูดง่าย ๆ ว่าจากลี้ไปเชียงใหม่ในสมัยนั้นต้องเดินกันเป็นสิบ ๆ วัน สำหรับพ่อเม่าค่อนข้างโชคร้าย ยากลางบ้านประเภทสมุนไพรสกัดโรคร้ายไม่อยู่ อาการมีแต่ทรงกับทรุด แม่จันตาต้องนั่งเฝ้ามิยอมห*าง ด้วยความเป็นห่วงกังวล โดยมีลูกน้อยนั่งอยู่ด้วยนัยตาปริบ ๆ ด้วยคำถามที่ว่า "พ่อเป็นอะไรทำไมจึงไม่ลุกนั่งหอบอ้มลูกเหมือนเก่าก่อน" แม่ก็ได้แต่บอกว่าพ่อไม่สบาย พร้อมกับน้ำตาอาบแก้มกับคำถามสุดท้ายอันไร้เดียงสาของลูก พร้อมกับตั้งความหวังว่าพ่อคงไม่เป็นอะไรมากนักแต่อนิจจา ความตายนั้นไม่คำนึงเวลา และความรู้สึกของมนุษย์เลย แล้ววันนั้นวันที่พ่อเม่าต้องจากทุกคนไปอย่างไม่มีวันกลับมาถึง ท่ามกลางความเศร้าโศกของแม่จันตา และความอาลัยรักของเพื่อนบ้าน พ่อเม่าทิ้งซากที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกอยู่บนที่นอนเก่า ๆ ให้แม่จันตาได้ร่ำไห้กอดรัดปิ่มว่าจะขาด ใจตามไปด้วย  เด็กชายจำปียังไร้เดียงสาเกินไปนักที่จะเข้าใจว่าความตายคืออะไรด้วยวัยเพียง  4  ขวบ ก็ได้แต่พร่ำถามว่าแม่ร้องไหทำไม? พ่อเกลียดแม่หรือ? ทำไมพ่อจึงไม่พูด?  ทุกคนที่เฝ้าดูอยู่จึงได้แต่เบือนหน้าหนีด้วยความสงสาร  สะเทือนใจความพลัดพรากจากของรัก คนรักนับว่าเป็นความเจ็บปวดรวดร้าวใจอย่างนี้เอง

แสงทอง -  แสงธรรม
          นับจากพ่อเม่าจากไปแล้ว  ก็เหลือแต่สองแม่ ลูกกัดฟันต่อสู้ ชีวิตท่ามกลางบ้านน้อยในห้อมแหนของดงดิบจึงขาดความอบอุ่นอย่างสิ้นเชิงเมื่อความทมึนของราตีมาถึง  หลายครั้งที่สองแม่ลูกผวาเข้ากอดกันด้วยใจระทึก  เมื่อเสียงนกกลางคืนที่กรีดร้อง  เหมือนเสียงสาบแช่งของภูติผี นี่หากพ่อเม่ายังอยู่พ่อก็คงเป็นที่พึ่งปลอบขวัญเหมือนมีกำแพงเพชรคอยกางกั้น เมื่อขาดพ่อโลกนี้เหมือนโลกร้างมีแต่เพียง "จำปี" กับแม่เพียงสองคนและมาถึงคงคณะนี้ "จำปี" เริ่มเติมใหญ่  แม้ร่างจะเล็กแต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมก็หล่อหลอมหัวใจเด็กชายจำปีให้แกร่งดังเพชรและนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นนไหวต่ออุปสรรคเป็นนักสู้ชีวิตที่เข้มแข็งใจกาลต่อมา  เด็กชายจำปีกับแม่ช่วยกันต่อสู้ในการดำรงชีพอย่างทรหด  จวบจนอายุ 16 ปี แม้จะเป็นวัยรุ่นแต่ความคับแค้นที่ผจญอยู่แทบทุกวันทำให้ "จำปี"ไม่ร่าเริงเหมือนเด็กทั่วไปกลับเป็นอันสงบเสงี่ยมเจียมตัวชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ และความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว

ฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาศรีวิชัย
          สมัยนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังอยู่ที่วัดบ้านปาง วันหนึ่ง แม่จึงเรียกเจ้าจำปีเข้ามาถาม "ลูกอยากบวชไหม" จำปีตอบว่าอยากบวช แต่ยังห่วงแม่เมื่อลูกบวชแล้วใครดูแล" แม่ตาตอบว่า "อยู่ได้อย่างห่วงเลยอีกประการหนึ่งการบวชนี้เป็นการช่วยพ่อแม่ที่ดีที่สุด เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างแท้จริง เมื่อเห็นลูกนุ้งเหลือง ก็นับว่าเป็นความสุขชื่นใจอย่างเหลือเกิน" และจากคำแนะนำนี้ เด็กชายจำปีจึงถูกแม่พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย  และในทันที่นำไปฝากเพียงท่านครูบาเห็นลักษณะเด็กขายจำปีท่านก็รับไว้ทันที่เหมือนดั่งจะมีตาทิพย์มองเห็นว่าเด็กคนนี้ในอนาคตจะต้องยิ่งใหญ่  ในฐานะนักบุญแทนท่านและอีกไม่นานหลังจากร่ำเรียนสวดมนต์ อ่านเขียนอักขระทั้งภาษาไทยและพื้นเมืองจบแล้วท่านครูบาศรีวิชัย จึงให้บรรพชาเป็นสามเณร

สามเณร "ศรีวิชัย"

          ระหว่างเป็นสามาเณรท่านได้ปฏิบัติกิจอันจะพึงมีต่ออาจารย์คือครูบาศรีวิชัยอย่างครบถ้วนท่านจึงเป็นที่รักของอาจารย์อย่างยิ่ง ท่านจึงตั้งชื่อให้เหมือนกับอาจารย์  สามเณรศรีวิชัย สามเณรน้อยได้เฝ้าอุปัฎฐากอาจารย์และร่ำเรียนกัมมัฎฐานและอักษรสัมยจนจบถ้วนด้วยควมสนในพร้อมกับปฏิบัติตามที่พร่ำสอนจนดวงจิตสงบพร้อมกันนั้นบการถ่ายทอดในเชิงวิชาช่างก่อสร้างจากอาจารย์  จนเกิดความชำนาญและติดตามอาจารย์ครูบาศรีวิชัยไปก่อสร้างวัดวาอารามทุกหนทุกแห่งมิได้ขาด ในด้านสถาปัตย์ ท่านจึงนับว่าเป็นหนึ่ง ท่านชำนาญจนถึงขนาดว่าเพียงดินผ่านเสาได้ต้นไหนก็ สามารถรู้ได้ทันที่ว่าเสาต้นไหนกลวงหรือตันทั้ง ๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเสาต้นนั้นจะมีรอยกลวงให้ปรากฏแก่สายตา

ครูบาเจ้าศรีวิชัยอุปสมบทให้
             ท่านดำเนินชีวิตทั้งในด้านการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน  และด้านพัฒนาก่อสร้างควบคู่กันไป จวบจนอายุได้ 22 ปี เป็นสามเณรได้ 6 ท่านครูบาศรีวิชัยจงอุปสมบทให้ แต่เพราะเหตุที่ท่านมีชื่อเหมือนกับอาจารย์เมื่อเป็นภิกษุอาจารย์จึงได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า  "อภิชัยขาวปี"  ท่านอุปสมบทได้เพียง 2 พรรษา ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์  เพื่อที่จะแยกไปมุ่งงานก่อสร้างต่อไป ซึ่งงานก่อสร้างโดยตัวของท่านนั้นจะได้เรียบเรียงตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงงานชิ้นสุดท้ายอึกต่างหากในท้ายเล่ม


ผจญมาร
            พระอภิชัย  เริ่มงานก่อสร้างในสถานที่ต่าง  ๆ  ตั้งแต่อายุ 24  จนถึงอายุ  35  ลางร้ายก็เริ่มอุบัติ สมัยนั้นใช้เงินตราปราสาททองตรารูปช้างสามหัว และเริ่มมีธนบัตรใช้ควบคู่กันไป ขณะที่กำลังก่อสร้างกุฏิวัดบ้านปาง อ.ลี้  จ.ลำพูน  แต่ยังไม่ทันเสร็จปลัดอำเภอลี้สมัยนั้นก็มาสอบถามถึงใบกองเกินการเกณฑ์ทหารจากท่านแต่ท่านไม่มี  ตำรวจจึงคุมตัวไปจังหวัดลำพูนและส่งตัวฟ้องศาล เมื่อถูกศาลไต่สวนถึงใบกองเกินว่าทำใมถึงไม่ได้รับทานก็ในการว่าคณะที่เริ่มมีการเกณฑทหารนั้นได้ระบุว่าให้ขึ้นทะเบียนตั้งแต่อายุ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ขณะนั้นอายุอาตมาได้  25 ปี บัดนี้อายุของอาตมาได้  35  ปีแล้ว จึงนับว่าพ้นการเกณฑ์แล้ว ศาลจึงพักเรื่องนี้ไว้ก่อน



ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งแรก

        หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านก็ต้องขึ้นศาลอีก  และให้ท่านรับใบกองแต่ท่านก็ไม่ได้ไปแจ้งแก่ทางการให้มีการยกเว้นหรืออย่างไร  ฉะนั้นท่านจึงมีความผิดให้จำคุก  6  เดือน  แล้วให้จัดการสึกท่านออกจากการเป็นพระภิกษุก่อนแต่ท่านก็ยังยืนยันว่าท่านบริสุทธิ์ ท่านเป็นพระทั้งกายและใจ ชีวิตนี้อุทิศให้กับศาสนาแล้ว  ทานไม่ยอมเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายของท่านด้วยมือของตัวเองเป็นอันขาด เมื่อยีนยันอย่างนี้  ศาลจึงให้ตำรวจคุมตัวท่านไปหาเจ้าคณะจังหวัดให้จัดการสึกตามระเบียบ  แม้การะนั้นท่านก็ยังยืนยันอย่างเด็ดเดียว ที่จะไม่ยอมสึกและเมื่ออภิชัยภิกษุไม่ยอมสึก  เจ้าคณะจังหวัดจึงต้องบังคับ  โดยให้ตำรวจจับเปลื้องผ้าเหลืองออกจากตัวท่าน  จากนั้นก็ตามระเบียบเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีอำนาจล้นเหลือในสมัยนั้น  ก็สวมกุญแจมือท่าน แล้วคุมตัวไปโรงพักเสียคืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นเวลาบ่าย  4  โมงเย็น ก็ถูกส่งเข้าจองจำในเรือนจำของจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นต่อไปซึ่งในนั้นท่านต้องได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส ท่านเล่าถึงชีวิตในคุกตอนนั้นว่าคุกในสมัยนั้นสุดแสนสกปรกยังเป็นคุกไม้พื้นปูกระดาน  เวลานอนก็นอนทั้ง ๆ ที่ล่ามโซ่ โดยสอดร้อยกับนักโทษคนอื่น คือข้อเท้าทั้งสองล่ามโซ่ตรวนมีโซ่เส้นใหญ่  สอดร้อยลอดตะขอพ่วงกับนักโทษคนอื่นอีกที เรื่องจะนอนหลับสบายนั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะพอล้มตัวนอน  ฝูงเลือดนับเป็นร้อย ๆ  ตัวอ้วนปี๋เป็นต้องรุมกัดดูดเลือดกิน ให้ยุบยิบไปหมดจะถ่ายหนักถ่ายเบาก็ว่ากันตรงช่องกระดานตรงที่ใครที่มัน  เรื่องกลิ่นเหม็นไม่ต้องห่วงคลุ้งไปหมดตลบอบอวลทั้งเรือนจำที่เดียว ชีวิตประจำวันในห้องขังก็คือ พอ 7 โมงเช้าเปิดประตูห้องขังทำงานไม่ทันใจ ถึงเวลา 8 นาฬิกา ผู้คุมเป่านกหวีดเลิกงานทานข้าว ซึ่งข้าวนี่ก็อย่าหวังว่าจะกินให้อิ่มหมีพีมัน และเอร็ดอร่อยไม่มีทาง  ข้าวกระติกเล็ก ๆ แกงด้วยหนึ่ง ต้องกินถึง 4 คนพอหรือไม่พอกินก็มีให้เท่านั้น ซึ่งแน่ละเวลากินก็ใช้ความว่องไว ขืนมัวทำสำอางค์ ค่อยเป็นค่อยกินเป็นต้องอด  คนอื่นที่เขาไวกินเรียบหมด และกับข้าวแต่ละวันนั้นเลือกไม่ได้ จะมีจำพวกผักเสียแหละเป็นส่วนมาก  เช่น ยอดฝักทอง ผักตำลึงเป็นต้น  แกงใส่ปลาร้า ค้างปี เหม็นหืน หาความอร่อยไม่มีเลย ถ้าเทให้หมูกินยังสงสัยอยู่ว่ามันจะกินหรือไม่หรือไม่ ข้าวนึ่งที่ใช้รับประทานก็เป็นข้าวเก่าแข็งเหมือนกินก้อนกรวด เป็นข้าวแดงใช้แรงนักโทษนั่นเองช่วยกันตำ จึงดีอยู่หน่อยที่มีวิตามิน กินแล้วแรงดี

สร้างโรงพยาบาล

            ่ท่านอภิชัยขาวปีทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกไม่นาน ก็ได้ไปเห็นโรงพยาบาลจังหวัดลำพูนในสมัยนั้นชำรุดทรุดโทรมเหลือเกิน ท่านจึงแจ้งให้กับผู้บัญชาการเรือนจำก็ไปหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด ๆ ก็กลัวว่าจะสร้างไม่ทันเสร็จ  เพราะท่านอภิชัยขาวปีติดคุกอยู่แค่ 6  เดือนเท่านั้น จึงไม่อนุญาต ท่านจึงถามว่า "ถ้าสร้างเหมาโรงพยาบาลนี้จะใช้งบประมาณเท่าไร อนึ่งถ้าสร้างภายใน 6 เดือนไม่เสร็จ เมื่อถึงคราวฉลองเมื่อไรก็จะร่วม" ทางจังหวัดก็บอกว่าถ้าไม่มีเงินถึง 1,600 ก็สร้างได้ (ในสมัยนั้นมีค่ามาก) ่ท่านจึงออกเงินส่วนตัวมอบให้ทางจังหวัดเพื่อเป็นทุนสร้างโรงพยาบาลต่อไป เป็นจำนวนเงิน 1,600 บาท  ซึ่งหลังจากได้รับทุนแล้วก็ดำเนินการก่อสร้างทันทีและผลแห่งความดีนั้นทางจังหวัดก็ส่งให้ทางเรือนจำ  ให้ไปพำนักอยู่โรงพยาบาลหลังเก่า เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานสร้างโรงพยาบาลพร้อมกันนั้นก็ให้นักโทษชาย 2 คน มาอยู่ด้วยเพื่อปรนนิบัติ ทั้งอาหารกรกินก็ถูกกำชับให้ทำอย่างดีและสะอาดเป็นพิเศษกว่านักโทษทั้งหลาย ท่านก็เลยพ้นจากการทรมานเพราะถูกเลือดยุงกัด นับจากนั้นมา  การก่อสร้างก็รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากบรรดาประชาชนทั้งหลายที่เลื่อมใสในตัวท่าน เมื่อทราบข่าวว่าท่านมาเป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาล ก็พากันมาช่วยและทำบุญด้วยอย่างคับคั่งและเงินที่ได้จากการบริจาคครั้งนั้นยังได้ถึง 2,000 พันกว่าบาท เกินกว่าที่กำหนดไว้ถึงสีร้อยบาท

วันพ้นโทษ

            ครั้นถึงเดือน 9 เหนือ  แรม 2 ค่ำ ก็เป็นวันที่ท่านพ้นโทษตามคำพิพากษาครบ 6 เดือนและโรงพยาบาลก็แล้วเสร็จก่อนถึง 10 วัน ในวันที่จะออกจากคุกนั้น ท่านก็ได้ให้ทานแก่พวกนักโทษทั้งหลายเป็นขนมส้มหวานทั้งอาหารทั้งหลายอย่างเหลือเฟือ  จนพวกเขาอิ่มหมีพีมันไปตามๆ  กันเพราะเมื่อถึงตอนที่ท่านยังถูกจองจำอยู่ในคุกนั้นระยะหลังพวกนักโทษทั้งหลายก็อยู่กินสบายจากของไทยท่านที่ประชาชนผู้เลื่อมใสมาถวายถึงในคุกเป็นประจำทุกวันอย่างมากมาย รวมความว่าผู้เกี่ยวข้องอู่ในเรือนจำทั้งหมดล้วนแล้แต่ได้รับความสบายในด้านอาหารการกินไปตาม ๆ กัน ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดพ้นโทษวันนั้น นักโทษทั้งหลายต่างพากันปริเวทนา บ่นพร่ำว่า เมื่อท่านอออภิชัยขาวปีพ้นโทษไปแล้วพวกเราทั้งหลายยังจะได้อยู่กินอิ่มอย่างนี้อีกหรือแล้วพากันร่ำไห้ ด้วยความอาลัยรักในตัวท่านเสียงระงมเป็นภาพที่สะเทือนใจยิ่งนัก  แม้ตัวท่านเองก็แทบกลั้นน้ำไว้ไม่อยู่ พวกเขาพากันมารอที่ประตูคุกเป็นการส่งทางด้วยใบหน้าที่นองไปด้วยน้ำตา และจากปากประตูคุกจนถึงวัดพระธาตุหริภุญชัยมีประมาณระยะทาง  70  วา ก็มีประชาชนมายืนเรียงรายถวายทานกันท่าน  ซึ่งก็ได้เป็นเงินถึง  300  บาท พอดีกับเงินที่ซื้อของถวายทานให้แก่นักโทษ  เหมือนกับเป็นการยืนยันว่า  การทำบุญสนทานนั้นไม่หายไปไหน เมื่อท่านเดินทางไปถึงประตูวัดพระธาตุหริภุญชัย ก็มีพระสงฆ์ 10 รูป มาสวดมนต์เป็นการลดเคราะห์สะเดาะภัยให้  แล้วให้ศีลให้พรให้อยู่ดีมีสุขสืบไป จากนั้นพอถึงเดือน 9 เหนือ แรม 4 ่ค่ำก็ร่วมฉลองโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน

อุปสมบทครั้งที่ 2
            ในวันที่แล้วเสร็จงานฉลองสมโภชท่านก็เดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ทีวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ในครานั้นท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทท่านเป็นภิกษุอีก  โดยมีครูบาแห่งวัดนั้นตาเป็นอุปัชฌาย์หลังจากได้กลับมา สู่รมกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านอยู่จำพรรษากับครูบาศรีวิชัยได้ 1 พรรษา ก็ลาอาจารย์จาริกสร้างสถานที่ต่าง ๆต่อไปอีกหลายแห่งทั้งวัดและโรงเรียน และในคราวสร้าง พระเจดีย์ที่บ้านนาหลวง อำเภอตากจังหวัดตากเสร็จแล้วทานก็มุ่งสูแม่สอดโดยเดินทางรอนแรมไปตามป่าเขาลำเนาไพรถึง 4 คืน 4 วันจึงถึงแม่ระมาดและเริ่มงานสร้างถาวรวัตถุอีกมากมาย จากอายุ 36 ถึง 42 ปี

ถูกบังคับให้สึกและครองผ้าขาวครั้งที่ 2

           ที่แม่ระมาดนี่เอง  ก็มีเรื่องน่าเศร้าใจเกิดขึ้นอีกกล่าวคือ  เมื่อสร้างโบสถ์แม่ระมาดนั้นเงินไม่พอ ยังขาดอยู่อีก 700 บาท เป็นค่าทองคำเปลว 400 บาท  กับค่านวยช่างอีก 300 บาท ท่านก็ปรึกษาเรี่ยไรเอาจากชาวบ้าจนครบด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน แล้วช่วยกันสร้างต่อ จนแล้วเสร็จทันฉลองจนเรื่องการเรี่ยไรนี้ทราบถึงอำเภอ จึงเรียกกำนันไปสอบสวนวา อภิชัยภิกษุ เรี่ยไรจริงหรือไม่ กำนั้นก็รับว่าจริงแต่ด้วยความเต็มใจของชาวบ้าน เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นงานสร้างโบสถ์ก็หยุดชะงักทางอำเภอก็ว่าเต็มใจหรือไม่ก็ผิดเพราะเป็นพระเป็นเจ้าจะทำการเรี่ยไรไม่ได้ผิดระเบียบคณะสงฆ์ แล้วรายงานเรื่องนี้ไปยังเจ้าคณะจังหวัดต่างๆ  จึงตัดสินว่าให้สึกพระอภิชัยเสียท่านจึงจำยอมสึกจากภาวะความเป็นภิกษุอีกครั้งท่ามกลางความสลดหดหู่ของผู้คนที่รู้เป็นเป็นอันมากที่ท่านครธบาของพวกเขาต้องมารับกรรมเพราะทำความดี  อย่างไม่ยุติธรรม ทานต้องนุ่งห่มแบบชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง ี่ให้ต้นประดู่แห้งที่ยืนต้นตายซากมานานเป็นแรมปี  ณ ที่นี้เองมีเรื่องที่น่าอัศจรรย์สมวรจะบันทึกไว้คือพอท่านเปลี่ยนผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกายมาครองผ้าขาวเท่านั้น ต้นประดู่ที่แห้งโกร๋นปราศจากใบก็ผลิตดอกออกใบฟื้นเป็นขึ้นมาอีก ท่ามกลางความอัศจรรย์ใจของบรรดาประชาชนที่ร่วมขุมนุมอยู่เป็นอันมาก ต่างพากันหลั่งน้ำตา ล้มตัวก้มลงกราบโดยพร้อมเพรียงกันนับเป็นปรากฏการณ์ที่จะไม่เห็นอีกในชีวิต

มารตามรังควาน

            ไม่นานจากนั้น ท่านพร้อมกับผู้ติดตาม ก็มุ่งกลับสู่อำเภอลี้ โดยรอนแรมมาเป็นระยะเวลา 10 วัน 10 คืน ก็เดินทางมาถึงอ.ลี้ พักอยู่ที่กลางทุ่งนาบ้านป่าหก ได้ 4 คืน นายอำเภอลี้ จึงให้ตำรวจมาขับไล่ไม่ให้อยู่โดยไม่มีเหตุผล ด้วยความใจดำเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงมาพักอยู่กลางทุ่งนาบ้านแม่ตืน ณ ที่นี้ก็ถูกทางอำเภอกลั้นแกล้งอีก  โดยรายงานไปทางจังหวัดว่าชีประขาวปีนำปืนเถื่อนมาจากแม่สอดมาถึง  1,000 กระบอก  หลังจากรับรายงานจึงมีบัญชาให้นายร้อยตำรวจ 2 คนกับพระครู 2 รูป ขึ้นมาทำการตรวจค้นไต่สวน ท่านว่า "ไม่เป็นความจริงหรอก อาตมาเดินทางผ่านมาตั้ง 2 จังหวัดแล้ว ยังไม่เห็นมีใคร กล่าวหาเช่นนี้เลยถ้าท่านไม่เชื่อก็เชิญค้นดูเองเถิด" ตำรวจทั้งสองก็ค้นสัมภาระของคณะติดตามดูก็พบปีนแก๊ป 1 กระบอก แต่ปรากฏว่าเป็นปืนมีทะเบียนของชาวบ้านผู้ติดตามคนหนึ่งจึงไม่ว่าอะไร จากนั้นก็ไปค้นจนทั่วลามปามเข้าค้นถึงในวัดแม่ตืนจนพระณรแตกตื่นเป็นโกลาหล แต่ก็ไม่พบ อะไรอีกจึงพากันเดินทางกลับด้วยความผิดหวังก่อนกลับก็ไปต่อว่าต่อขานทางอำเภอลี้เสียจนหน้าม้านหาวาหลอกให้เดินทางมาเสียเวลาเปล่า เหนื่อยแทบตาย (เพราะสมัยนั้นไม่มีรถยนต์แม้แต่คันเดียว) ทางนายอำเภอจึงจำเป็นต้องออกค่าเดินทาง  พร้อมสะเบียงอาหารให้คณะนายตำรวจ  ดังกล่าวเดินทางกลับ เสร็จจากเรื่องที่กล่าวหานั้นแล้วทานพร้อมกับคณะก็เดินทางจากแม่ตืนไปหาท่านครูบาเจ้าศรีชัย ที่วัดพระนอนปูคา บ้านแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่  ระหว่างทางพักที่วัดห้วยกานคืนหนึ่ง  เมื่อเข้าเขตกิ่งบ้าโฮ่ง ชาวบ้านก็พาตำรวจมาดักจับอีกด้วยข้อหาอำไรไม่แจ้ง แต่ตำรวจก็จับไม่ไหวเพราะคนตั้งมากมาย ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรจึงล่าถอยไป ท่านจึงไปพักที่วัดดงฤาษีคืนหนึ่ง แล้วมุ่งไปทางบ้านหนองล่อง ณ ที่นี้ก็ถูกคณะข้าหลวงดักจับอีก แต่ก็จับไม่ไหวอีกเช่นกัน

ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มาขอพบ
            เมื่อถึงวัดท่าลี่ คณะที่พักอยู่ที่ศาลา ในตอนเย็น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จึงเข้าไปสอบถาม

                        ผู้ว่าฯ "ทานอยู่บ้านใด เกิดที่ไหน"

                        ครูบาฯ "เดิมอาตมาอยู่บ้านแม่เทย อ.ลี้ ลำพูนนี่เอง"

                        ผู้ว่าฯ "อ้อท่านก็เป็นคนเมืองเราเหมือนกัน ก่อนมาถึงที่นี่ท่านไปไหนมา"

                        ครูบาฯ "อาตมามาจากพม่า"

                        ผู้ว่าฯ "ไปอยู่นานไหมๆ"

                        ครูบาฯ "5ปีแล้ว"
 
                        ผู้ว่าฯ "อือม์ ก็ไม่เห็นมีเรื่องอะไรดังเขาเล่าลือ แต่ก็มีอีกอย่างของให้ท่านเสียค่าประถมศึกษา 8 บาท ให้กับทางอำเภอเสีย ตามระเบียบที่ทางการกำหนดไว้ หลังจากนั้นก็ไม่มีอะไร"

            ขณะนั้นกำนันกับชาวบ้านที่ร่วมชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นได้ยินจึงช่วยกันบริจาคให้ท่าน ได้เงิน 15 บาท ทานจึงมอบให้กับนายตำรวจคนหนึ่งที่มากับผู้ว่าฯไป แต่ก็นับว่าเป็นคราวเคราะห์ของตำรวจคนนั้น ซึ่งพอรับเงินไปได้สักครู่ก็ไปทำหานเสีย จึงต้องควักกระเป๋าตัวเงินจ่ายแทนไปตามระเบียบ

            หลังจากที่พักที่ท่าลี่คืนหนึ่งแล้ว ท่านพร้อมคณะก็ขนของข้ามแม่น้ำปิงไปขึ้นรถ ไปจนถึงวัดพระนอนปูคาแล้วอยู่ร่วมฉลองวิหารพระนอนปูคา ร่วมกับท่านครูบาศรีวิชัยจนแล้วเสร็จ แล้วก็กลับมาหมายจะมาจำพรรษที่วัดแม่ตืน อ.ลี้อีก แต่นายอำเภอจอมเห*้ยม ก็สั่งกำนันมาไล่ไม่ให้อยู่เป็นอันขาด ท่านจึงสุดแสนที่อัดอั้นตันใจและรู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่ถูกจองล้างจองผลาญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สร้างวัดพระบาทตะเมาะ
            ก็พอดีท่านคิดได้ว่ามีญาติทางพ่อของท่านเป็นกำนันอยู่ที่ตำบลดอยเต่า จึงให้คนไปบอกให้มาพบท่าน เมื่อกำนันมาถึงแล้วท่านก็ถามว่า "อาตมาจะไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะได้หรือไม่" กำนันดอยเต่าจึงไปปรึกษากับทางอำเภอ ๆ จึงบอกว่า ดีแล้ว ให้ไปบอกท่านให้มาอยู่เร็วๆ เถิด ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ไปอยู่พระบาทตะเมาะ โดยสร้างอารามขึ้นที่นั้นด้วยความร่วมมือทั้งฝ่ายนายอำเภอและป่าไม้อำเภอไปจองที่กว้าง 500 วา ยาว 500 วา และที่พระบาทะเมาะนี้เองท่านได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทหนึ่งหลังมีเจดีย์ตั้งอยู่บนวิหารถึง 9 ยอด นับเป็นศิลปะที่งดงาม ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้  ซึ่งท่านจะไปเที่ยวชมได้นับเป็นวิเวกสถานที่เหมาะกับผู้ใฝ่หาความสงบที่เหมาะมากอีกแห่งหนึ่ง

ช่วยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ

            แต่ด้วยวิญญาณของนักพัฒนาท่านก็อยู่จำพรรษาที่พระบามตะเมาะไม่นาน ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยกำลังสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เชียงใหม่อยู่ท่านจึงพากะเหรี่ยง 500 คน ขึ้นไปช่วยทำถนนขึ้นดอยสุเทพร่วมกับอาจารย์จนแล้วเสร็จ จึงกลับลงมาพักกับอาจารย์ที่วัดพระสิงห์

อุปสมบทครั้งที่ 3
            ที่วัดพระสิงห์นี้ ท่านครูบาศรีวิชัยก็อุปสมบทให้ท่านเป็นภิกษุอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าท่านไม่มีบุญพอที่จะอยู่ในผ้าเหลืองได้นาน ๆ ก็พอท่านครูบาศรีวิชัย ก็ต้องเกิดคดีต่าง ๆ นานา ต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ คงทิ้งให้ท่านอยู่รักษาวัดพระสิงห์แต่เพียงผู้เดียว

ครองผ้าขาวครั้งที่ 3

            ด้วยจิตใจที่เป็นห่วงในตัวอาจารย์ของท่านยิ่งนัก แล้วก็มีมารมาผจญอีกจนได้เมื่อ มหาสุดใจ วัดเกตุการามกับท่านพระครูวัดพันอ้นรูปหนึ่งมาหลอกว่าให้ท่านสึกเสีย เพราะมิฉะนั้นท่านจะเอาครูบาศรีวิชัยจำคุก ท่านจึงสึกเป็นชีปะขาวอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งสุดท้ายแล้วออกจากวัดพระสิงห์กลับไปพักที่วัดบ้านปางด้วยความเหงาใจ แต่ท่านก็ไม่ละทิ้งงานก่อสร้าง จึงได้สร้างกุฏิที่วัดบ้านปางอีก 1 หลัง แล้วกลับไปอยู่ที่พระบาทตะเมาะตามเดิม


สูญเสียอาจารย์

            ชีวิตท่านช่วงนี้ คงมุ่งอยู่กับงานก่อสร้างไม่หยุดหย่อน จากที่นี่ย้ายไปที่นั่นไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งครูบาศรีวิชัยพ้นจากมลทินที่ถูกกล่าวหาท่ามกลางความดีใจของสาธุชนทั้งหลาย แต่ความดีใจนั้นคงมีอยู่ได้ไม่นานท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้อาพาธหนัก แล้วถึงแก่มรณภาพลงในที่สุด ยังความโศกาอาดูรให้เกิดแก่มหาชนผู้เลื่อมใสโดยทั่วไป ลานนาไทยได้สูญเสียนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ หากจะเอาเสียงร้ำไห้มารวมกันแล้วใช้เสียงแห่งความวิปโยคนี้คงได้ยินไปถึงสวรรค์ท่านเองในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ที่ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ก็มีความเศร้าโศกเสียใจมิใช่น้อยแต่ก็ปลงได้ด้วยธรรมสังเวชโดยอารมณ์กัมมัฏฐาน แล้วทำทุกอย่างในฐานะศิษย์จะพึงมีต่ออาจารย์ด้วยกตเวทิตาธรรม  ท่านจึงสร้างเมรุหลังหนึ่งกับปราสาทหลังหนึ่งพร้อมห*บบรรจุศพ เพื่อเก็บไว้รอการฌาปนกิจต่อไปที่วัดบ้านปางซึ่งได้มีการฌาปนกิจศพท่านครูบาศรีวิชัยอีกไม่กี่ปีต่อมาหลังจากมรณภาพไม่นาน


สร้างวัดผาหนาม ที่พำนักในปัจฉิมวัย
            วัดคืนยังคงหมุนไป พร้อมกับความเป็นนักก่อสร้างนักพัฒนาของท่านก็ยิ่งลือกระฉ่อนยิ่งขึ้น เมื่อขาดท่านครูบาศรีวิชัยผู้คนก็หลั่งไหลกันมาหาท่านอย่างมือฟ้ามัวเดินในฐานะทายาททางธรรมของครูบาเจ้าศรีวิชัยผลงานระยะต่อมาเมื่อได้รับพลังอย่างท่วมท้นขึ้น จึงยิ่งใหญ่เป็นลำดับ และกว้างขวางหากำหนดมิได้โดยไม่เคยว่างเว้น จนถึงพุทธศักราช 2470 อายุสังขารของท่านเริ่มชราลงแล้วคือมีอายุ 76 ปี แต่ท่านยังคงแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้ อาจจะด้วยอำนาจผลบุญที่ได้บำเพ็ญมาก็ได้ จึงสมควรจะสร้างสถานที่สักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมในปัจฉิมวัย ก็พอดีชาวบ้านผาหนามซึ่งอพยพจาก อ.ฮอด หนีภัยน้ำท่วมมาอยู่ที่บ้านผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีพ่อน้อยฝน ตุ่นวงศ์ เป็นประธาน พร้อมกับชาวบ้านได้มานิมนต์ท่านให้ไปสร้างอารามใกล้เชิงดอยผาหนาม เพื่อเป็นที่พึ่งกายใจและประกอบศาสนกิจ ท่านก็รับนิมนต์ พร้อมกับชอบใจสถานที่ดังกล่าวและ ตั้งใจว่าจะเป็นสถานที่สุดท้ายเพื่อเป็นที่พำนักและปฏิบัติธรรมของท่านจึงพร้อมใจกับคณะศรัทธาบ้านผาหนามและศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศก่อสร้างเป็นอารามขึ้นจากนั้นจนมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตมากมายและท่านถือที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้มีได้หมายความว่าท่านจะงดมิไปสร้าง หรือพัฒนาที่อื่นอีก แต่ยังคงไปเป็นประธานสร้างสถานที่ต่าง ๆ ควบคู่กับงานสร้างวัดผาหนามอีกตั้งหลาย ๆ แห่ง

วันจากที่ยิ่งใหญ่







            แล้วในปี 2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งฮ่าม แห่งจังหวัดลำปาง ก็ได้มานิมนต์ท่าน เพื่อไปเป็นประธานในการก่อสร้างอีก ซึ่งท่านก็ไม่ขัดข้องด้วยความเมตตาอันมีอยู่อย่างหาขอบเขตไม่ได้ของท่าน แม้ตอนนั้นท่านจะชราภาพมากแล้ว คือมีอายุถึง 83 ปี ก็ตาม ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวของท่านว่าท่านเหนื่อยอ่อนแค่ไหน แต่ด้วยใจที่แกร่งเหมือนเพชรท่านคงไม่ปริปากบ่นเป็นประธานให้ที่วัดสันทุ่งฮ่ามไม่นานคณะศรัทธาจากวัดท่าต้นธงชัย จ.สุโขทัยก็ได้มานิมนต์ท่านอีก เพื่อเป็นประธานในการสร้างพระวิหาร

            วันนั้นเป็นวันที่ 2 มีนาคม 2520 ตอนนั้น ท่านเหนื่อยอ่อนมากแล้วท่านได้บอกผู้ใกล้ชิดว่าท่านอยากกลับอารามผาหนาม เหมือนดั่งจะรู้ตัวของท่านว่าไม่มีเวลาในการโปรดที่ไหนอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีใครล่วงรู้ถึงข้อนี้ก็หาไม่ คงพาท่านมุ่งสู่สุโขทัยอีกต่อไป และเมื่อถึงวัดท่าต้นธงชัย ได้เพียงวันเดียว ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งตรงกับเดือน 6 เหนือ แรม 14 ค่ำ เวลา 16.00 น. ท่านได้ได้จากไปอย่างสงบ ข่าวการจากไปของท่านกระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ ทุกคนตกตะลึง ต่างพากันช็อคไปชั่วขณะมันเหมือนสายฟ้าที่ฟาดเปรี้ยงลงบนกลางใจของทุกคน ที่เลื่อมใสเคารพรักในตัวท่าน แล้วจากนั้น เสียงร่ำไห้ก็ระงมไปทุกมุมเมืองพวกเขาได้สูญเสียร่มโพธิ์แก้วอันร่มเย็นไพศาลไปแล้วอย่างไม่มีวันกลับ ตั้งแต่นี้จะหาครูบาเจ้าที่มีความเมตตาอันหาของเขตมิได้และยิ่งใหญ่ปานนี้ แต่แรกมีหลายคนไม่เชื่อและตะโกนว่าเป็นไปไม่ได้ ท่านยังอยู่และจะต้องอยู่ต่อไป ต่อเมื่อได้รับการยืนยันว่าท่านสิ้นแล้ว สิ้นแล้วจริง ๆ ก็ทุ่มตัวลงเกลือกกลิ้งร่ำไห้พิลาปรำพันอย่างน่าเวทนายิ่งนัก โอ้...ท่านผู้เป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ป่านนี้ท่านคงเป็นสุขอยู่ ณ สรวงสวรรค์ที่สะพรั่งพร้อมด้วยทิพยวิมาณอันเพริดแพร้วใหญ่โดสุดพรรณนาด้วยผลบุญแห่งการบำเพ็ญมาอย่างใหญ่หลวงเหลือคณา คงเหลือแต่ผลงานและประวัติชีวิตอันบริสุทธิ์ทิ้งไว้แด่อนุชน ได้ชื่นชม และเสวยผลเป็นอมตะชั่วกาลปาวสาน
 
พระเครื่องของครูบา...บางส่วน






ขอขอบคุณที่มา...http://forum.ampoljane.com/index.php?s=96147d84a291e574533069bc2de81b01&showtopic=25&st=160
                   ...http://haripoonchai.com/hpcboard/index.php?topic=56.0
 

408

ชมสุดยอดมหาเจดีย์ทองคำ 500 ยอด ที่วัดป่าสว่างบุญ สระบุรี


วัดป่าสว่างบุญสร้างขึ้น ในปี 2528 โดยหลวงพ่อสมชาย ปุญญมโน ในเนื้อที่กว่า400 ไร่ ซึ่งเป็นที่ของโยมพ่อของหลวงพ่อสมชายเอง ทางด้านในวัดเป็นสถานที่ที่สงบเงียบเหมาะกับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ทางด้านหลังติดกับเชิงเขามีอากาศที่เย็นสบายมาก ๆและมีประชาชนเข้าไปปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมากในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์



ต่อมาก็มีประชาชนที่เคารพศรัทธาในตัวหลวง พ่อสมชาย เป็นจำนวนมาก เมื่อประมาณปี 2548 ประชาชนในจังหวัดสระบุรีและทั่วภูมิภาคได้ร่วมกันจัดสร้างองค์พระมหารัตน โลหะเจดีย์ศรีศาสนโพธิ์สัตว์สว่างบุญ กับทางวัดป่าสว่างบุญ ขึ้นมาและแล้วเสร็จเมือปี 2550 ซึ่งเป็นองค์มหาเจดีย์ที่มีความสวยงามแปลกตาเป็นอย่างมากเพราะมีองค์เจดีย์ ถึง 500 ยอด ซึ่งแตกต่างไปจากองค์มหาเจดีองค์อื่น ๆ ในเมืองไทยเรา





ลักษณะขององค์มหาเจดีย์เป็นองค์เจดีย์องค์ ใหญ่อยู่ตรงกลางและมีองค์เจดีย์ราย อยู่รอบ ๆ ทั้งสีทิศ โดยมีซุ้มประตูทางขึ้นทั้งสี่มุมทำเป็นบันไดขึ้นไปยังองค์เจดีย์ที่ตั้งอยู่ ทางด้านบน ตัวองค์เจดีย์เป็นปูนปั้นรูปแบบสวยงามประณีตเคลือบสีทองทั้งหมดทุกองค์ ในเจดีย์องค์ใหญ่นั้นครอบองค์เจดีย์องค์เล็กไว้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในเจดีย์องค์เล็กบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่าง ๆ ไว้ด้วยนอกจากองค์เจดีย์องค์เล็กที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ในยอดขององค์เจดีย์ ทั้ง 500 ยอดนั้นก็บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์ ถือเป็นศาสนสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่ง




ด้านในองค์เจดีย์องค์ใหญ่ตามฝาพนังก็เป็น ศิลปะ ประดับตกแต่งด้วยกระจกสีลวดลายต่าง ๆสวยงามวิจิตร แปลกตามาก ๆ ลักษณะลวดลายจะออกไปทางศิลปะแบบอินเดีย โดยด้านบนจะปิดกระจกจำลองลวดลายเป็นองค์พระธาตุที่สำคัญของเมืองไทย เช่น องค์พระธาตุดอยสุเทพ ที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นศิลปะการสร้างที่สวยงามไปอีกแบบหนึ่งเลยทีเดียว



องค์เจดีย์องค์เล็กด้านในเป็นปูนปั้นสวยงาม ประดับกระจกทับทิมโดยรอบสวยงาม ร่วมกันกราบไหว้บูชาองค์เจดีย์เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว และในทุก ๆปี ทางวัดจะมีการทำบุญใหญ่เพื่อฉลององค์เจดีย์และเปลี่ยนผ้าคลุมโดยจะจัดขึ้นใน ช่วงเดือน มกราคม ประมาณวันที่ 30 ของทุกปี ใครที่อยากร่วมทำบุญในพิธีก็เชิญได้เลย



ด้านในวัดมีศาลาขนาดใหญ่สำหรับท่านที่ต้อง การปฏิบัติธรรม ภายในวัดมีความร่มรื่นมาก สงบเงียบ และสะอาดถือว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างอีกแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นยังมีศิลปะจากแผ่นไม้ให้เราได้ชมกันในหลายแบบหลายชิ้น และในเร็ว ๆ นี้ ทางวัดกำลังจัดสร้างพระนอนอินเดียองค์ใหญ่ ซึ่งมีขนาดถึง 145 เมตร


วัดป่าสว่างบุญตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 บ้านคลองไผ่ ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 
การเดินทาง โดยใช้เส้นทาง สระบุรี-นครนายก จาก อ.แก่งคอย ไปประมาณ 15 กิโลเมตร พอถึงตำบลชะอม เลี้ยวซ้ายไปเส้นทางเที่ยวน้ำตกโกรกอีดก ตรง เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่ทางขวามือ มีป้ายบอกชัดเจน 




ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://tourthai.tourismthailand.org/

409


อุโบสถที่ใช้สระน้ำแสดงอาณาเขตในการทำสังฆกรรม หรืออุทกสีมา
 
 

อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนี้เริ่มจะเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวในวงกว้าง ด้วยความสวยงามของธรรมชาติ นาขั้นบันได ภูเขา แม่น้ำ ล้วนทำให้แม่แจ่มเป็นอีกหนึ่งสถานที่น่าเที่ยว และหากใครได้มาเยือนอำเภอแม่แจ่มแล้ว ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปเยือน “วัดพุทธเอิ้น” (หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกวัดพุทธเอ้น) ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม


วัดนี้มีชื่อเดิมว่า “วัดศรีสุทธาวาสเอิ้นมงกุฎ” สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดแห่งนี้ก็คืออุโบสถที่สร้างขึ้นกลางสระน้ำ หรือที่เรียกว่าอุทกสีมา สร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อุทกสีมานั้นก็คืออุโบสถที่ใช้น้ำเป็นสิ่งแสดงอาณาเขตในการทำสังฆกรรม ตัวอุโบสถเป็นไม้ทั้งหลัง หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดไม้ มีขนาดไม่ใหญ่นัก สร้างขึ้นในสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ภายในโบสถ์ห้ามผู้หญิงเข้าเหมือนกับหลายๆ วัดในล้านนา



 
 
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพุทธเอ้น
 
 

ส่วนจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของวัดแห่งนี้ นั่นก็คือ ภายในวัดจะมี “บ่อน้ำพุทธเอ้น” ซึ่งมีน้ำใสไหลเย็นไหลออกมาจากพื้นดินตลอดเวลา ตามตำนานของวัดแห่งนี้เล่ากันมาว่า เมื่อสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ผ่านมาบริเวณนี้ และได้หยุดพักผ่อนที่ดอนสกานต์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดในปัจจุบัน และได้ทรงตรัสเรียกหาพระอานนท์ พระพุทธอุปัฏฐากให้หาน้ำมาเสวย เสร็จแล้วทรงบ้วนพระโอษฐ์ลง ณ บริเวณที่เป็นบ่อน้ำในปัจจุบัน ซึ่งบ่อน้ำนี้มีลักษณะเป็นน้ำผุดออกจากใต้พื้นดิน และไหลออกมาไม่ขาดสายไม่ว่าบ้านเมืองจะแล้งเพียงใด และต่อมาได้มีภิกษุสองรูปคือพระติวิทวังโส และพระชมภูวิทโยได้ธุดงค์ผ่านมาจึงได้ร่วมมือกับชาวบ้านละแวกนั้นสร้างวัดขึ้นตรงบริเวณที่น้ำผุดขึ้นนี้


“บ่อน้ำพุทธเอ้น” นี้ชาวแม่แจ่มถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านต่างพากันนำน้ำจากบ่อแห่งนี้ไปใช้เป็นน้ำดื่มน้ำกิน โดยในแต่ละวันชาวบ้านก็จะนำภาชนะใส่น้ำมารองน้ำในบ่อแห่งนี้กลับไปใช้ดื่มที่บ้าน จนทางวัดต้องติดป้ายข้อกำหนดในการรองน้ำใช้ไว้ว่าให้รองน้ำตามลำดับก่อน-หลัง และควรนำภาชนะที่มีขนาด 5 ลิตรขึ้นไปมาใช้รองน้ำ ไม่ควรใช้ขวดน้ำขนาดเล็กมารองเพื่อความรวดเร็ว รวมไปถึงห้ามทิ้งขยะ อาบน้ำ และซักผ้าบริเวณนี้โดยเด็ดขาด อีกทั้งน้ำจากบ่อบริเวณนี้ก็ได้ต่อท่อลงไปที่สระซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโบสถ ก็ทำให้น้ำเต็มสระอยู่ตลอดปีอีกด้วย

ความน่าสนใจของวัดนี้ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น แต่บริเวณด้านหลังอุโบสถก็ยังมีวิหารไม้สักเก่าแก่ ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ว่ากันว่างดงาม แต่น่าเสียดายว่าภาพเหล่านั้นเลือนลางไปมากแล้ว ภายในวิหารยังมีพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ให้กราบไหว้กัน ส่วนด้านหลังวิหารก็เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์องค์ใหญ่ นอกจากนั้น คนที่มาที่วัดก็ยังสามารถมากราบพระเจ้าทันใจซึ่งทำจากไม้จัน พระเจ้าทันใจจะพบเห็นได้ตามวัดล้านนา เป็นพระพุทธรูปที่ต้องสร้างให้เสร็จภายในหนึ่งวัน เชื่อกันว่าใครที่ไปกราบขอพร ก็จะได้สมประสงค์สัมฤทธิ์ผลได้เร็วทันใจด้วยเช่นเดียวกัน
 


ขอขอบคุณที่มา...โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มกราคม 2553 

410
เสือ...สวยงามดี...พิธีกรรมก็เข้มขลังดีครับ
ขอบคุณครับที่นำมาให้อ่านกัน... :053:

411
ปราสาทไม้...ที่หมายแห่งสัจธรรม







“เป็น ปราสาทที่ช่อฟ้าไม่เป็นรูปพญานาค ที่เคยเห็นแบบทั่วไป หากแต่เป็นช่อฟ้า ที่เป็นรูปมนุษย์ที่มีศีลธรรมอันดี เหมือนนางฟ้าหรือเทพเจ้า

ทำให้ปราสาทไม้ที่ตั้งอยู่บนปลายแหลมราชเวชแห่งนี้ เปรียบเสมือนปราสาทบนสรวงสวรรค์ที่ตั้งอยู่บนพื้นดิน”

กว่า 27 ปีที่ปราสาทไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ ได้เริ่มสร้างขึ้นเพื่ออวดสายตาคนไทยและชาวต่างชาติ ปราสาทไม้สัจธรรมเกิดขึ้นจากเจตนาของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ เจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย และบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถเบนซ์รายใหญ่ของเมืองไทย

ด้วย ความที่คุณเล็กมีประสบการณ์ในการสร้างเมืองโบราณ ย่านบางปู และพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัน ตำบลบางเมืองใหม่ สมุทรปราการ ประกอบกับด้วยความที่คุณเล็กเป็นคนชอบศึกษาและมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ ปรัชญาต่างๆ ทำให้คุณเล็กมีแรงบันดาลใจในการต่อยอดความรู้ทั้งหมดมาสร้างปราสาทไม้ที่ ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้รากเหง้าความเป็นไทยและสามารถอวดสายตาชาวโลกได้ อย่างภาคภูมิ ทั้งนี้แม้ว่าคุณเล็กจะไม่ได้อยู่ดูปราสาทไม้ในวันที่สร้างเสร็จ แต่การสร้างปราสาทไม้ก็ยังสร้างตาม Plot และจินตนาการที่คุณเล็กวางไว้

ปราสาทสัจธรรม เป็นปราสาทไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่แหลมราชเวช อ.บางละมุง จ.ชลบุรีบน เนื้อที่กว่า 80 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและฟื้นฟูภูมิปัญญาโบราณของสยามประเทศตามหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ โดยองค์ปราสาทมีโครงสร้างไม้สูง 105 เมตร กว้าง 100 เมตร มีเสา 170 ต้น สรุปแล้วตัวอาคารมีพื้นที่กว่า 40 ไร่ หากมองจากภายนอกแล้ว ปราสาทไม้มียอดปรางค์เป็นองค์เทพเทวดาและสลักลวดลายอันวิจิตรหลายรูปแบบ เช่น หลังคาด้านทิศใต้เป็นสันโค้งขึ้นตามแบบของอยุธยา หลังคาด้านทิศเหนือเป็นแบบล้านนา เป็นต้น







นอก จากนี้ด้านในอันประกอบไปด้วยห้องจัตุรมุข 4 ห้องและห้องโถงบริเวณตรงกลางปราสาท ล้วนแล้วแต่สลักลวดลายอันวิจิตรเพื่อเล่าถึงวิวัฒนาการ การเกิดโลก การเกิดมวลมนุษย์ การเกิดศาสนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วยปรัชญาและความเชื่อจากหลายชนชาติและศาสนา เช่น พราหมณ์ ฮินดู พุทธ เพื่อสะท้อนความคิด วิถีทัศน์ โลกทัศน์ ภูมิปัญญาในแหล่งอารยธรรมตะวันออก ประกาศให้โลกเห็นถึงความลึกซึ้งสมบูรณ์ในด้านจิตวิญญาณที่มีมาช้านาน

“ท่าน สามารถเข้าไปสู่อดีต และเข้าไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ จนมาถึงปัจจุบันผ่านปราสาทไม้สัจธรรมนี้ โดยคุณเล็กมีแนวคิดในการนำศาสตร์ความรู้ต่างๆ มาผสมกับศิลปะ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และจักรวาล อันได้แก่ พ่อ แม่ ดิน ฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์และดวงดาว ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นความจริง หรือสัจธรรม แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ ที่ปราชญ์ชาวตะวันออกของโลกได้แสวงหาและค้นพบนับนานมาตั้งแต่ครั้งดึกดำ บรรพ์” ยศธร หนองคูน้อยผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการปราสาทไม้อรรถาธิบาย

“เวลา ที่คนที่เข้ามาเยี่ยมชมจะเห็นการต่อเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะเราทำไปแก้ไขไป งานไม้นั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลา คนทั่วไปอาจจะคิดว่า 27 ปีแล้วทำไมยังไม่เสร็จอีก แต่ถ้าเราได้ไปเที่ยวปราสาทราชวัง หรือสถานที่ต่างๆ ที่สร้างเสร็จแล้ว เราก็ทึ่งว่าโอ้โหเขาทำกันได้ยังไง แต่เราไม่เคยได้ไปอยู่ในสมัยนั้น ซึ่งในส่วนของปราสาทสัจธรรมนั้นคนไทยสามารถมีส่วนร่วมในการสร้าง ได้มีส่วนในการอนุรักษ์และเข้ามาเยี่ยมชมว่าสิ่งเหล่านี้คือตัวตนของประเทศ ไทยในอดีต ไม่ใช่ตึกอาคารที่เราเห็นในทุกวันนี้”

การเดินทางมา ชมปราสาทไม้สัจธรรม นอกจากจะได้สัมผัสกับภูมิปัญญาตะวันออกอันวิจิตรบรรจงแล้ว ยังมีกิจกรรมหลายอย่างที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น การแสดงความสามารถของโลมา การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งรำไทย ฟันดาบ และมวยไทย การขับรถ ATV นั่งรถม้า นั่งช้างชมปราสาท หรือจะนั่งเรือออกไปจากชายหาดเพื่อมองย้อนกลับมาที่ปราสาทก็ได้

ถือเป็นการเดินทางตามรอยศรัทธาเพื่อสานสร้างประสาทแห่งสัจธรรมที่ไม่ควรพลาด


ขอบคุณข้อมูลดีดี : กรุงเทพธุรกิจ

412
"หลวงพระบาง" ลมหายใจที่ผ่านกาลเวลา


หลวงพระบางมุมสูง เห็นแม่น้ำคานผ่ากลาง



 
เณรน้อยศึกษาพระธรรมพบเห็นชินตา / ตักบาตรข้าวเหนียว


 
วัดเชียงทอง


 
หอพระบาง


 
จักรยานเช่ารักษ์โลก / ตลาดเช้าอันตื่นตา


 
กาแฟประชานิยม



ใครบางคนเคยบอกว่า "ความศิวิไลซ์" เป็นเรื่องของความรุ่งเรืองทางเทคโนโลยีทันสมัย การสื่อสารโยงใยง่ายดายเพียงนิ้วสัมผัส แต่ผมว่าคงไม่เสมอไปหากจะให้คำจำกัดความของเมืองมรดกโลกอย่าง "หลวงพระบาง" ที่นี่ความศิวิไลซ์ไม่ผูกติดกับความทันสมัยสักนิด ทว่าทั้งเมืองอุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมอันสะท้อนถึงรากเหง้าของความเป็นชุมชนที่รุ่งเรือง

และสิ่งนี้เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้คนจากทุกสารทิศให้แวะเวียนมาเยี่ยมเยือนได้ไม่ขาด ซึ่งถึงแม้จะเป็นครั้งแรกของการมาถึง แต่เสน่ห์ของเมืองเล็กๆ นี้ก็ตรึงให้ผมอยากทำความรู้จักให้มากยิ่งขึ้น โดยสัมผัสแรกเริ่มต้นด้วยการนั่งปล่อยใจบนเครื่องบินลำกะทัดรัด "ลาว แอร์ไลน์" เหินฟ้าข้ามภูผาสูงชันสลับซับซ้อนจากนครหลวงเวียงจันทน์ใช้เวลาราว 45 นาทีก็มาจอดที่สนามบินฉบับกระเป๋าของหลวงพระบาง อากาศช่วงหน้าฝนดูจะอบอ้าวไม่แพ้เมืองไทย แต่ก็อุ่นใจ เพราะความรู้สึกเหมือนไม่ได้มาไกลจากชายแดนสยามสักเท่าไหร่
ฝรั่งเศสยึดครองหลวงพระบางนานถึง 45 ปี จึงไม่แปลกที่เมื่อรถแล่นผ่านตัวเมืองจะเห็นตึกรามบ้านช่องสร้างแบบฝรั่งเกลื่อน ขณะที่อาคารลูกครึ่งฝรั่งผสมลาวแท้ๆ ก็มีให้เห็นมากเช่นกัน พระราชวังหลวงพระบาง และพิพิธภัณฑ์พระราชวังเจ้าฟ้ามหาชีวิต คือเหตุผลสนับสนุนได้ดี สถานที่สำคัญที่เป็นเหมือนแลนด์มาร์คนี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1940 เพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ตัวตึกเป็นทรงเรขาคณิตแบบฝรั่งแต่เรือนยอดเป็นหลังคาซ้อนลดหลั่นศิลปะลาว และภายในพระราชวังฯ ยังมีหอประดิษฐาน "พระบาง" แต่เห็นว่าสร้างมาเกือบๆ 30 ปีแล้วก็ยังไม่แล้วเสร็จ ใครมาที่นี่ต้องแวะนมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ ช่วงวันสงกรานต์จะมีการอัญเชิญพระบางขึ้นมณฑปแล้วแห่แหนรอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำ อารมณ์เดียวกับพระพุทธสิหิงค์ของบ้านเรานั่นแหละ

แต่กระนั้นก็เถอะ คงไม่มีสถานที่ไหนสื่อความเป็นหลวงพระบางได้ดีเท่า "วัดเชียงทอง" แล้วก็ไม่แปลกใจด้วยว่าทำไมคนลาวเขาภูมิใจนักหนากับวัดนี้ มองโดยรวมพื้นที่ไม่ได้ใหญ่โตโอ่อ่าอะไร แต่เรื่องศิลปะลาวแท้ๆ นี่สิ ดึงดูดสายตาชะมัด ถึงแม้จะสร้างราว พ.ศ. 2102-2103 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แต่มนต์ขลังของศิลปะดั้งเดิมก็ไม่สร่างซา โดยเฉพาะพระอุโบสถ ที่คนลาวเรียกว่า "สิม" สวยได้สัดส่วนด้วยหลังคาแอ่นโค้ง ลาดต่ำลงมาซ้อนกันสามชั้น ว่ากันว่านี่คือศิลปะแห่งหลวงพระบาง จนนักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว ใครพลาดมาชมถือว่ามาไม่ถึง

สำรวจความงามของหลวงพระบางถ้าจะให้ได้รสชาติของเมืองมรดกโลกจริงๆ ต้องพยายามใช้เท้าให้มากที่สุด ด้วยการจัดระเบียบของเมืองและความไม่จอแจของยวดยานทำให้เดินเพลินทีเดียว แต่นั่นอาจต้องออกแรงอีกนิดหากอยากชื่นชมวิวเบื้องสูงได้ทั้งเมือง และจุดชมวิวบนยอดเขาพูสีก็ไม่ทำให้ผิดหวังบนนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พระธาตุจอมพูสี ด้วย สาวเท้าก้าวข้ามบันได 328 ขั้นถึงจะหอบเอาการ แต่อยากมองวิวระดับสายตานกและไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องยอม

วัดที่หลวงพระบางตั้งเรียงรายมากมายเหลือเกิน เอาแค่เขตอนุรักษ์ก็เห็นเกือบ 30 วัด สำหรับแขกใหม่อย่างผมเห็นอะไรก็น่าสนใจไปหมด แอบเลียบเมียงมองวิถีของชาวหลวงพระบาง ซึมซับถึงแก่นของวัฒนธรรมสมคำร่ำลือ เช้ามืดชาวบ้านนุ่งผ้าซิ่นห่มสไบแล้วหอบเสื่อและกระติ๊บข้าวเหนียวมารอใส่บาตร พระและเณรน้อยที่เดินเรียงแถวออกจากวัดมาบิณฑบาตยาวเหยียด ทว่าเขาใส่แต่ข้าวเหนียวนะส่วนกับชาวบ้านจะผลัดเวรกันนำไปถวายที่วัดด้วยตัวเอง

พอแดดแรกของเช้าวันใหม่เริ่มแผดแสง ก็ได้เวลาเดินจับจ่ายข้าวปลาอาหารที่ตลาดเช้า ซึ่งก็คือซอยเล็กๆ หลังวัดนั่นเอง อะไรที่ไม่เคยได้เห็นในตลาดบ้านเราเห็นได้ที่นี่ ส่วนใหญ่แม่ค้าพ่อค้าจะนำของป่ามาขาย จำพวกเห็ดป่า ผักหวาน หน่อไม้ และผักแปลกตา และที่น่าตื่นตาก็อย่าง งู อีเห็น เต่าเป็นๆ นก รังต่อ ตัวเงินตัวทอง ค้างคาว นี่เท่าที่เห็นวันนี้นะ สาวไทยใจอ่อนเดินช็อปแล้วอารมณ์อาจสะดุดจนช็อปไม่สุดซอยก็ได้

อุ่นอารมณ์ให้กลับเป็นปกติด้วยกาแฟร้อนๆ ที่ "ประชานิยม" ร้านกาแฟขึ้นชื่อในหลวงพระบาง แต่ไม่รู้ว่าประชานิยมตรงไหน ซดลงคอแล้วก็ธรรมดา สงสัยคนที่ต้องแวะอาจเพราะด้วยปากต่อปากและความที่ร้านขายกาแฟมีน้อยกระมัง ไม่อย่างนั้นเพิงหมาแหงนเล็กๆ หลังคามุงสังกะสีเกาะเก็บนี้คงไม่สมชื่อประชานิยมเป็นแน่แท้

จากการลูบไล้ความศิวิไลซ์แห่งศิลปวัฒนธรรม และซึมซับวิถีหลวงพระบาง ทำให้ต้องย้อนกลับมาคิดว่า ความสุขกลางวิถีเทคโนโลยีกับความสบายใจในวิถีเรียบง่าย แท้จริงแล้วอยู่ที่ไหนกันแน่ คงเป็นความศิวิไลซ์ทางอารมณ์ที่สุดแต่ใครจะเลือก และผมเองก็กำลังชั่งน้ำหนักอยู่....

ขอขอบคุณ...http://www.komchadluek.net/detail/20...วลา.html

413


พระพุทธชินราช พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก
 
 
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทยนั้นมีอยู่หลายองค์ด้วยกันที่เป็นเหมือนศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในเมืองนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นพระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ ฯลฯ สำหรับจังหวัดทางภาคเหนือตอนล่างอย่าง "พิษณุโลก" หรือ "เมือง 2 แคว" นั้น "พระพุทธชินราช" ถือเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของคนในแถบนี้อย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งนอกจากจะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกแล้ว ก็ยังเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญที่ได้รับยกย่องว่ามีพุทธลักษณะที่งดงามเป็นหนึ่งในเมืองไทยอีกด้วย

นั่นจึงทำให้ทริปนี้ "ตะลอนเที่ยว" เลือกที่จะเดินทางมานมัสการพระพุทธชินราชที่ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" หรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "วัดใหญ่" วัดงามริมฝั่งแม่น้ำน่านแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่ากลางเมืองพิษณุโลก พร้อมชื่นชมของดีมากมายที่หลายคนไม่ค่อยรู้ในวัดแห่งนี้

 
 
พระพุทธชินสีห์องค์จำลอง
 
 
วัดใหญ่เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก หรือพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยในสมัยนั้นทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้น พร้อมทั้งรับสั่งให้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์เพื่อประดิษฐานในพระวิหารทั้ง 3 หลัง ภายในวัด

พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้นก็คือ "พระพุทธชินราช" "พระพุทธชินสีห์" และ "พระศรีศาสดา" นั่นเอง พระพุทธรูปสามองค์นี้เรียกได้ว่าเป็นพระพี่น้องกัน เพราะสร้างขึ้นในคราวเดียวกัน อีกทั้งยังมีพุทธลักษณะคล้ายกันอีกด้วย

 
 
พระศรีศาสดาองค์จำลอง
 
 
"ตะลอนเที่ยว" เข้ามากราบพระพุทธชินราชภายในพระวิหารเพื่อความเป็นสิริมงคลกันก่อน พระพุทธชินราชนั้นเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ได้รับยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปที่งามที่สุดองค์หนึ่งของประเทศ เส้นพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน ประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา

แต่กว่าเททองหล่อพระพุทธชินราชออกมาได้งดงามขนาดนี้ก็มีอุปสรรคไม่น้อย โดยมีเรื่องเล่าต่อกันมาเมื่อคราวปั้นหุ่นพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ขึ้น ได้ใช้ช่างจากทั้งเมืองเชียงแสน เมืองสวรรคโลก และเมืองหริภุญชัย ช่วยกันปั้นขึ้น หุ่นพระทั้งสามองค์งดงามเป็นที่ยิ่ง แต่เมื่อถึงคราวเททองหล่อพระ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อออกมาได้สมบูรณ์งดงาม แต่องค์พระพุทธชินราชนั้นกลับเททองหล่อไม่สำเร็จ ทองแล่นไม่เสมอกันทั่วทั้งองค์ แม้จะปั้นหุ่นและเททองหล่อใหม่อีกหลายครั้งก็ไม่สำเร็จ แต่ต่อมาได้มีชีประขาวคนหนึ่งมาช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูป ช่วยทำงานทั้งกลางวันกลางคืนจนกระทั่งเททองหล่อพระได้งดงามเป็นผลสำเร็จ ส่วนชีประขาวผู้นั้นต่อมาได้เดินหายออกจากประตูเมืองไปทางตำบลหนึ่ง ย่านนั้นจึงมีชื่อว่า บ้านตาประขาวหายมาจนถึงทุกวันนี้

 
 
พระอัฎฐารส  
 
แต่ที่พระพุทธชินราชยังคงความงดงามมาถึงปัจจุบันนี้ก็ได้มีการบูรณะองค์พระมาหลายครั้ง ทั้งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และล่าสุดก็มีการบูรณะองค์พระในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อปี 2547 ซึ่งการบูรณะครั้งนี้ก็เกิดกระแสว่าทำให้พระเกศขององค์พระหายไป รวมไปถึงพระพักตร์ของพระพุทธชินราชแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งก็อาจเป็นเพราะแสงและเงา ทำให้องค์พระดูแปลกไปก็เป็นได้ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ศรัทธาของผู้คนต่อพระพุทธชินราชลดน้อยลงไปเลย ภายในวิหารที่ "ตะลอนเที่ยว" เห็นอยู่นี้ก็ยังคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่มากราบไหว้ท่านมากมาย

และเมื่อได้กราบสักการะพระพุทธชินราชเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมไปกราบสักการะพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาที่วิหารด้านหลังด้วย แต่ก่อนจะเดินออกจากวิหารไป ขอให้ลองสังเกตดูบานประตูประดับมุกอันงามวิจิตรด้วยลวดลายของสัตว์ในวรรณคดี ทั้งราชสีห์ ครุฑ กินรี ฯลฯ ว่ากันว่าเป็นบานประตูประดับมุกที่งามที่สุดในเมืองไทย

 
 
วิหารพระเหลือ
 
 
นอกจากความงามแล้ว ก็ยังมีของดีอยู่บนประตูประดับมุกสองบานนี้อีกด้วย นั่นก็คือ "นมอกเลา" หรือ "อกเลา" แผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ใช้กั้นไม่ให้คนภายนอกงัดไม้คานที่พาดเพื่อลงกลอนประตูได้ มักพบเห็นอกเลาได้ตามบานประตูวัดและวังหรือบ้านเรือนไทยโบราณ รัชกาลที่ 5 เคยตรัสถึงอกเลาเมื่อเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชว่า "นี่แหละ ของวิเศษมีอยู่ที่นี่" เนื่องจากคนสมัยก่อนมักจะนำผ้าขาวมาวางทาบบนอกเลาแล้วซับด้วยหมึกให้ลวดลายของอกเลาประทับมาที่ผืนผ้า เป็นผ้ายันต์เพื่อนำติดตัวหรือติดบ้านไว้เป็นเครื่องราง และสำหรับผ้ายันต์อกเลาของวัดใหญ่นี้ เชื่อกันว่ามีคุณด้านป้องกันอัคคีภัย ดูจากที่วิหารพระพุทธชินราชรอดจากไฟสงครามมาได้หลายต่อหลายครั้ง และว่ากันว่า เมื่อเกิดไฟไหม้เมืองพิษณุโลกครั้งใหญ่ปี 2500 บ้านที่รอดพ้นจากเปลวเพลิงนั้นมีผ้ายันต์อกเลาติดบ้านไว้

เรียบร้อยแล้วก็ได้เวลาไปกราบสักการะพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาที่วิหารด้านหลังกันแล้ว พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้วัดใหญ่นี้เป็นองค์จำลอง ส่วนองค์จริงนั้นปัจจุบันได้ย้ายไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ องค์พระพุทธชินราชเองนั้นก็เกือบจะต้องมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เช่นกัน โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมาเยือนเมืองพิษณุโลก และทรงมีพระราชดำริจะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากเมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่วัดเบญจมบพิตรที่กำลังสร้าง แต่ชาวเมืองพิษณุโลกได้แสดงความหวงแหน เพราะทั้งพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกอีกสององค์ก็ได้ถูกอัญเชิญลงมายังพระนครแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลยับยั้ง พระองค์จึงโปรดฯ ให้ช่างหล่อรูปจำลองของพระพุทธชินราชมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมฯแทน

 
 
พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน อันซีนแห่งวัดใหญ่
 
 
นอกจากพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้แล้ว ที่วัดใหญ่ก็ยังมีพระพุทธรูปที่น่าสนใจอีกหลายองค์ ที่ "ตะลอนเที่ยว" ได้มีโอกาสไปสักการะมา เช่น "พระอัฎฐารส" อยู่ที่บริเวณด้านหลังพระวิหารพระพุทธชินราชมี พระอัฎฐารสเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ สูง 18 ศอก แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารขนาดใหญ่ แต่ตัววิหารได้พังไปจนหมดแล้ว เหลือเพียงฐานรากและเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่อยู่ไม่กี่ต้นเท่านั้น ต่อมาจึงเรียกบริเวณที่เคยเป็นวิหารนี้ว่าเนินวิหารเก้าห้อง

"วิหารพระเหลือ" บริเวณหน้าวิหารพระพุทธชินราช ก็มีที่มาน่าสนใจ โดยหลังจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาแล้ว พระมหาธรรมราชายาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือนำมารวมกันหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดเล็ก จึงเรียกพระองค์นี้ว่า "พระเหลือ" และยังเหลือเศษทองอีกเล็กน้อยจึงได้หล่อพระสาวกยืนอีก 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองหล่อพระพุทธรูปได้นำมารวมกันบนฐานชุกชี และปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชีนั้น เรียกว่าโพธิ์สามเส้า ส่วนระหว่างต้นโพธิ์นั้นคือวิหารพระเหลือ ที่หลายคนเชื่อกันว่า หากได้มากราบไหว้แล้วจะมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้สมชื่อของท่าน

 
 
พระปรางค์แห่งวัดใหญ่
 
 
ส่วนพระพุทธรูปในวิหารอีกหนึ่งแห่งที่ไม่ควรพลาดชมและกราบไหว้ นั่นก็คือ "วิหารพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน" ที่อ้างถึงพุทธชาดกตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่ยังไม่สามารถถวายพระเพลิงพระบรมศพได้ เนื่องจากพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งเป็นสาวกคนสำคัญยังไม่ได้มากราบพระบรมศพของพระพุทธเจ้า และเมื่อพระมหากัสสปะเดินทางมาถึง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ ยื่นพระบาทออกมาจากหีบศพเพื่อให้พระมหากัสสปะและสาวกคนอื่นๆได้นมัสการพระบรมศพเป็นครั้งสุดท้าย ภายในวิหารพระพุทธเจ้าเข้านิพพานนี้เราจึงได้เห็นพระพุทธรูปปางที่มีหีบศพสีทอง และมีพระบาทพระพุทธเจ้ายื่นออกมา 2 ข้าง พร้อมด้วยสาวกมีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพอยู่รอบๆ ส่วนผู้ที่มาเยือนวิหารแห่งนี้ก็มักจะเข้าไปกราบที่พระบาทของพระพุทธเจ้าที่ยื่นออกมานั้นเช่นกัน

มาที่วัดเดียวแต่ได้กราบนมัสการพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ แต่ที่วัดใหญ่ก็ยังไม่หมดของดีเพียงเท่านี้ เพราะยังมี "พระมหาธาตุ" ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหลังพระอัฎฐารส รูปทรงเป็นแบบพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้น ฐานย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ สันนิษฐานว่าเดิมคงจะมีรูปทรงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ต่อมาได้ถูกดัดแปลงให้เป็นพระปรางค์ในสมัยอยุธยา อีกทั้งภายในวัดก็ยังมี "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระพุทธชินราช" จัดแสดงข้าวของมีค่าของวัด นักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือน "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" ที่เมืองพิษณุโลก จึงได้ทั้งความอิ่มใจในการทำบุญไหว้พระ และอิ่มเอมกับพุทธศิลป์และของล้ำค่าทั้งหลายภายในวัดใหญ่แห่งนี้

 
 
เครื่องถ้วยชามจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์

"วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร" ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก บนถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก หากนักท่องเที่ยวไหว้พระเสร็จแล้วจะนั่งรถรางชมเมืองพิษณุโลกก็มีรถรางให้บริการอยู่ภายในวัด รถรางพร้อมทั้งผู้บรรยายจะพาวิ่งชมสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมืองพิษณุโลก เช่น สถานีรถไฟ คูเมืองเก่า วัดวิหารทอง เนินอะแซหวุ่นกี้ เป็นต้น ใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรถรางให้บริการทุกวัน ค่าใช้จ่ายผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 20 บาท อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงก็ยังมีวัดสำคัญๆ อย่างวัดนางพญา วัดราชบูรณะ และไม่ควรพลาดชมพิพิธภัณฑ์บ้านจ่าทวี พิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งในตัวเมืองพิษณุโลก


 

ขอขอบคุณ...Travel - Manager Online

414
คราวนี้มาว่ากันถึงเรื่องผ้ายันต์ ในเมื่อนายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายตราใบโพธิ์มาถวายหลวงพ่อปานจำนวนหลายพันผืน เมื่อเขาพิมพ์มาแล้วหลวงพ่อปานก็สั่งหลวงพ่อเล็กให้เอาผ้ายันต์ไปเสก หลวงพ่อเล็กนำมาเสก ๓ เดือน ถือว่าครบไตรมาสพรรษาหนึ่งพอดี หลวงพ่อเล็กนี่เราทราบกันอยู่ว่าท่านได้สมาบัติ ๘ แต่ว่ายิ่งไปกว่านั้นสำหรับวิปัสสนาญาณนี่จะได้อะไรฉันไม่ทราบ ฉันไม่หลอกสิ่งที่จะรู้กันได้ ถ้าเราได้ถึงไหนเราก็รู้กันว่าคนอื่นเขาได้ถึงเพียงนั้น ที่รู้เลยไปเราไม่รู้ ตอนนั้นฉันก็ยังทรงสมาบัติ ๘ เหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้ฝึกอภิญญาครบถ้วน เลยกลายเป็นพระไม่ใช่อภิญญา นี่ฟังให้ดีนะ สมาบัติ ๘ ก็อาศัยกสิณกองใดกองหนึ่งเป็นพื้นฐาน

ไม่จำเป็นต้องใช้กสิณทั้งหมก ๑๐ อย่าง ใช้กสิณกองใดกองหนึ่งเป็นพื้นฐานยกเอารูปขึ้นมาตั้งแล้วก็เพิกกสิณนั้นเสีย แล้วใช้อรูปฌานขึ้นมาแทน ถ้าทำได้ทั้ง ๔ อย่างก็เรียกว่าทรงอรูปฌาน ๔ อย่าง ได้เป็นฌาน ๘ ไป นี่ฟังกันไว้เท่านี้นะ หลวงพ่อเล็กได้ฌาน ๘ สมาบัติ ๘ เลยกว่านั้นฉันไม่รู้ เมื่อได้รับผ้ายันต์มาแล้วก็มานั่งเสก เสกด้วยอำนาจของสมาธิ เข้าฌานสมาบัติ ๓ เดือน เวลากลางคืนนา เสกกี่ชั่วโมงไม่ทราบ แต่ว่าไม่ใช่ว่าตลอดวันตลอดคืน อย่านึกว่าตลอดวันตลอดคืน ๓ เดือน ไม่ลูก ไม่กินข้าวไม่กินปลา นี่มันก็เกินคนไป ว่ากันตามแบบปกติ

ฟังเรื่องของพระนะ พอครบ ๓ เดือนวันออกพรรษาหลวงพ่อเล็กเรียกฉันเข้าไป บอกให้แบกผ้ายันต์ ฉันคนเดียวมันแบกไม่ไหว ก็เอาไอ้เพื่อนอีก ๓ คนมาช่วยกันแบกผ้ายันต์มาถวายหลวงพ่อปาน ยังไม่ทันจะถึงเลย ห่างอีกประมาณสัก ๑๐ วาได้กระมัง หลวงพ่อปานเห็นเข้า ท่านโบกมือโบกไม้บอกว่า ไม่เอาๆ ยังไม่เสร็จ ยังไม่เสร็จ ยังใช้ไม่ได้ นี่ท่านร้องไป ก็เป็นอันว่าไม่เอาเข้าไปให้ท่าน เอากลับ ตอนนี้หลวงพ่อเล็กกลับมาก็นึกในใจว่า นี่เราทำขนาดนี้ยังใช้ไม่ได้ ใครที่ไหนจะยิ่งไปกว่าเรานะ เราเข้าถึงสมาบัติ ๘ นี่ท่านบ่นนะ เราเข้าถึงสมาบัติ ๘ แล้วก็คลายสมาธิลงมาพิจารณาวิปัสสนาญาณ จนกระทั่งอารมณ์จิตเป็นแก้วทั้งหมด เป็นแก้วประกายพฤกษ์ทั้งหมดแล้วเราจึงเข้าสมาธิใหม่ จัดเป็นโลกุตตรญาณ แล้วเราก็อธิษฐานจิต นี่ยังใช้ไม่ได้ ก็ใครจะเสกยิ่งไปกว่านี้ ท่านบ่นให้ฟัง ท่านก็บอกว่า เอา ในเมื่อท่านใหญ่บอกว่าใช้ไม่ได้

ฉันก็จะทำให้ใหม่ ตอนนี้ท่านไปทำใหม่ ๗ วัน ท่านทำยังไงบ้างฉันไม่ทราบ เวลาท่านทำไม่ได้เข้าไปยุ่งกับจิตใจของท่าน พอครบ ๗ วัน ท่านมาเรียกพวกฉันไปให้ไปแบกมาให้หลวงพ่อปาน ตอนนี้เองพอแบกมาหลวงพ่อปานเห็นแต่ไกลก็กวักมือกวักไม้บอก เออๆ เอามาๆๆ อย่างนี้ซิมันถึงจะใช้ได้ ไอ้คนเก่งคนเดียวน่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องให้คนอื่นเขาเก่งกว่า เก่งคนเดียวใช้ไม่ได้ ทำอย่างนี้ใช้ได้ เมื่อเข้าไปถึงหลวงพ่อเล็กก็กราบหลวงพ่อปาน ฉันก็กราบ เพื่อนฉันก็กราบ ไอ้ฉันน่ะมันคนชอบสงสัย ไอ้เพื่อนๆมันเรียกไอ้ปากหมา สมัยนั้นเขาไม่เรียกปากลิงหรอก เขาเรียกปากหมา เมื่อสงสัยอะไรขึ้นมาชอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ สงสัยใครขึ้นมาชอบสอบถาม ไปถามเพื่อนมันบ่อยๆ มันเลยเรียกไอ้พระปากหมา ช่างมันเถอะ ความจริงถ้าปากฉันเป็นหมาได้ฉันจะดีใจ ปากหมาน่ะมันกินไม่เลือก กระดกกระดูกมันกินได้ ของแข็งยังไงมันกินได้ วาจาของเพื่อฉันมันไม่ศักดิ์สิทธิ์ เวลานี้ปากฉันกินของแข็งก็ไม่ได้ มันไม่เท่าหมาเสียแล้ว ไปเห็นหมามันเคี้ยวกระดูก หมามันเคี้ยวอะไรต่ออะไรได้อย่างไม่รังเกียจ รักษาชีวิตของมันด้วยอาหารต่างๆ ฉันอยากจะทำอย่างนั้นบ้างทำไม่ได้ ถ้าปากฉันเป็นหมาจริงๆ ละก็น่ากลัวจะทำได้ แล้วฉันจะสบายกว่านี้มาก

นี่ปากฉันดันเป็นปากคน แล้วก็ไม่เท่าปากคนธรรมดา เลยรักษาตัวยากหน่อย เสียท่า ไอ้เพื่อนมันพูดไม่ตรง
ต่อไป ฉันถามหลวงพ่อเล็กว่า หลวงพ่อขอรับ ตอนก่อนหลวงพ่อเสกยังไงหลวงพ่อปานจึงว่าใช้ไม่ได้ หลวงพ่อเล็กบอกว่า ตอนก่อนฉันเข้าสมาบัติ ๘ แล้วใช้วิปัสสนาญาณเต็มที่ คลายจิตออกมาถึงอุปจารสมาธิ อธิษฐานแล้วก็เข้าสมาบัติ ๘ ใหม่ เท่านี้ ๓ เดือน ไม่ได้ขาดเลยทุกคืน คืนละ ๓ ชั่วโมง ท่านใหญ่บอกว่าใช้ไม่ได้ หลวงพ่อปานท่านก็ออกมาบอก ยังงี้ใช้ไม่ได้ดอกคุณเล็ก คุณเล็กอย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ คือว่าถ้าเราทำอะไรถ้าเก่งคนเดียวมันใช้ไม่ได้ ไอ้เราเองน่ะมันไม่ดีพอ ต้องให้คนอื่นเขาดีบ้าง จึงได้ถามหลวงพ่อเล็กใหม่ว่า หลวงพ่อขอรับ ตอน ๗ วันนี่ หลวงพ่อทำยังไงขอรับ ท่านบอกว่าในเมื่อฉันใช้สมาบัติ ๘ ท่านใหญ่บอกว่าใช้ไม่ได้ ฉันก็กลับ คราวนี้ฉันไม่เอาละ ฉันก็ตั้งท่าบวงสรวงชุมนุมเทวดา อาราธนาบารมีพระทั้งหมดตั้งแต่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด พรหมทั้งหมด เทวดาทั้งหมด ครูบาอาจารย์ทั้งหมด ฉันยกยอดเลย ยกยอด

ในเมื่ออาราธนาเห็นท่านมากันครบถ้วน แล้วท่านมาทำกันคืนหนึ่งประเดี๋ยวเดียว สัก ๑๐ นาทีท่านก็กลับ แล้วท่านก็บอกให้เลิก ฉันก็นอน ฉันทำมาแบบนี้ถึง ๖ วัน ถึงวันที่ ๗ ทุกท่านมา แต่ไม่มีใครทำ ท่านบอกว่าไม่มีอะไรจะบรรจุแล้ว คุณจะให้ฉันทำอะไร ฉันก็เลยเลิก ถึงได้ให้พวกเธอแบกมาให้ท่านใหญ่ นี่ท่านเรียกหลวงพ่อปานว่าท่านใหญ่ หลวงพ่อปานฟังแล้วก็หัวเราะก๊าก บอกจริงที่คุณเล็กพูดน่ะ จริงนะอาจารย์เล็ก อาจารย์เล็กท่านเรียกอาจารย์เล็กบ้าง คุณบ้าง ที่อาจารย์เล็กพูดนั่นน่ะจริง พวกเธอจงจำไว้นะ การที่เราจะเสกพระเสกผ้ายันต์อะไรต่ออะไรนี่น่ะ ถ้าเสกด้วยอำนาจกำลังของเราละไม่ช้ามันก็เสื่อม เราน่ะมันดีแค่ไหน การเสกว่าคาถาต่างๆ

นี่ก็เป็นการอาราธนาบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเทวดา หรือพรหมมาช่วย แต่ว่าคาถาบางอย่างก็จะว่าแต่เฉพาะบางจุด การเสกพระเสกเจ้า หรือเสกผ้ายันต์ เสกอะไรต่ออะไรพวกนี้ ถ้าเราเอาตัวของเราออกเสีย เราไม่เข้าไปยุ่ง แต่อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด พรหมหรือเทวดาทั้งหมดท่านมาช่วย ท่านทำประเดี๋ยวเดียว ๒-๓ นาทีมันก็เสร็จ ดีกว่าเราทำ ๑,๐๐๐ ปี แล้วเราจะเอาอะไรบ้างก็อาราธนาบอกท่าน บอกว่าขอให้ใช้ได้อย่างนั้นอย่างนี้ แต่อย่าลืมนะ ถ้าใช้ในทางทุจริตหรือกฎของกรรมบังคับ ไม่มีอะไรจะคุ้มครองใครได้ ถ้าหากว่าใครเลวอยู่แล้วก็คอยพยุงๆให้เลวน้อยลงไปนิดหนึ่งได้ ถ้าใครดีขึ้นมาหน่อยก็พยุงให้ดีมากได้ นี่เป็นกฎของอำนาจพุทธบารมี ธรรมบารมี สังฆบารมี และพรหม และเทวดาทั้งหลาย ท่านพูดแล้วท่านก็ชอบใจ

บอกว่าคุณเล็กทำถูก ตอนก่อนฉันรู้ ไปตั้งท่าเข้าสมาบัติอยู่คืนละ ๒-๓ ชั่วโมง ฉันนั่งอยู่ที่กุฏินี่ฉันก็รู้ แต่ที่ฉันไม่บอกไว้ก่อนเพราะจะให้คุณเล็กนี่นะรู้เอง การทำตัวเป็นคนเก่งเองน่ะมันใช้ไม่ได้ มันต้องให้พระท่านเก่งซี พระพุทธท่านเก่ง พระธรรมท่านเก่ง พระสงฆ์ท่านเก่ง พรหมท่านเก่ง เทวดาท่านเก่ง ของที่เราทำ เราจะไปตามคุ้มครองชาวบ้านชาวเมืองได้ยังไงทุกคน ถ้าหากพระก็ดี พรหมก็ดี เทวดาก็ดี ท่านช่วยคุ้มครอง ท่านก็มองเห็นได้ถนัด สงเคราะห์เขาได้โดยสะดวก

นี่ตอนนี้ นี่นำมาเล่าให้แก่บรรดาลูกหลานฟัง จะได้ทราบถึงวิธีการปลุกพระ ปลุกผ้ายันต์ ถ้าพระเข้าขั้นที่เรียกว่าได้ทิพยจักษุญาณโดยมากเขาไม่ทำเองนะ เขาเที่ยววานชาวบ้านมาทำ พูดว่าชาวบ้านมันก็ต่ำไป วานพระมาทำ พระพุทธเจ้าบ้าง พระปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง พระอริยสงฆ์บ้าง เทวดาบ้าง พรหมบ้าง อันนี้ก็สบายดี แต่หากว่าทำเองไม่ช้ามันก็เจ๊ง ตัวเองยังคุ้มครองตัวเองไม่ค่อยได้ คนทำมันก็ตายนี่ แล้วมันจะไปคุ้มครองความตายของใครเขาได้ นี่ว่ากันตามธรรมดานะ ตอนนี้ที่นำมาเล่าให้ฟังก็เพื่อจะชี้ว่าหลวงพ่อปานนี่น่ะท่านมีเจโตปริยญาณ หรือว่าทิพยจักษุญาณดีมาก แจ่มใสมาก ขนาดลูกศิษย์ทำอะไรอยู่ที่ไหนท่านรู้ อย่างฉันนี่นะไปทำผีเข้าผีออกที่ไหนท่านรู้ โกหกท่านไม่ได้สักที หลายวาระแล้วตั้งใจจะโกหกท่าน ปิดไม่ได้

พอเห็นหน้าเข้าชี้หน้าเลย ไม่ทันจะถามเสียด้วยซี แล้วไม่ทันจะบอก ไม่ได้สอบสวน ชี้หน้าแล้วก็พูดเรื่องที่ฉันไปสร้างความระยำเลย นี่ฉันเองน่ะโดนมากกว่าคนอื่น พระอื่นๆ เขาไม่โดนมากเท่าฉันหรอก ฉันน่ะมันใกล้ชิดท่านมาก โดนมาก แล้วก็เกเรมาก ขโมยก็เก่ง ขโมยไม่ใช่อะไร ขโมยคาถา อยากจะทดลองสมาธิ ทำได้แล้วก็ทิ้งน้ำไป



ที่มา หนังสือประวัติหลวงพ่อปาน

415
คาถาสนองกลับผู้กระทำไสยศาสตร์

                "สัมปจิตฉามิ"

คาถาบทนี้ พระองค์ที่ ๑๐ มาบอกหลวงพ่อในขณะที่หลวงพ่อพักอยู่ที่เมืองควีนทาวน์ ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๙ เวลา ๐๕.๐๐ น.
ก่อนนอนหลวงพ่อนอนภาวนาเป็นปกติ ตื่นขึ้นมามีอาการปากขยับไม่ได้ มือขยับไม่ได้ รู้สึกอึดอัด คล้ายเป็นอัมพาต แต่ใจสบาย พระ องค์ที่ ๑๐ มาบอกว่า
"เวลานี้มีคนคิดทำให้เธอเป็นแบบนี้"
และท่านให้เห็นตัวผู้ทำชัดเจน พระ องค์ที่ ๑๐ ให้ภาวนาว่า "สัมปจิตฉามิ" จึงคลายตัว คาถาบทนี้ไม่ได้ให้ใช้เฉพาะหลวงพ่อเท่านั้น อนุญาตให้พุทธบริษัทศิษยานุศิษย์และลูกหลานหลวงพ่อใช้ได้ด้วย
ก่อนนอนภาวนา ให้ตั้ง นะโม ๓ จบ และต่อด้วย พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
และสวด อิติปิ โส ฯ ๓ จบ จึงภาวนาเรื่อย ๆ ในขณะที่ภาวนาให้ทำใจสบาย ๆ ผลของคาถาบทนี้ จะมีผลต่อผู้สั่ง ผู้รับคำสั่ง ผู้ร่วมมือ และผู้กระทำไสยศาสตร์มายังเราโดยฉับพลัน
ผลพิเศษ ถ้าตั้งใจรักษาศีล ๕ บริสุทธิ์ หรือ ตั้งใจรักษากรรมบถ ๑๐ ได้ครบถ้วน สามารถระงับนิวรณ์ได้ ภาวนาวันละ ๑ ชั่วโมงเป็นเวลา ๓ เดือนติดต่อกัน จะมีผลคล้าย "อภิญญา"
หมายเหตุ "สัมปจิตฉามิ" อ่านว่า สัม - ปะ - จิต - ฉา - มิ คาถาบทนี้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น ไม่มีผลสำหรับผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ พระโมคคัลลาน์ท่านมายืนยันว่า คาถาบทนี้เป็นคาถาอภิญญา บอกว่าคนที่ได้อภิญญามาในชาติก่อน ถ้าใช้คาถาบทนี้ของเก่าจะรวมตัว คือว่า ทำไป ๆ ถ้าเข้าถึงผรณาปีติจะรู้สึกว่าตัวไม่มีเหลือแต่หน้า ต่อไปก็ไม่มีอะไรเหลือเลย หน้าก็ไม่มี ถ้าทำได้เช่นนี้บ่อย ๆ ไม่ช้าก็รวมตัวจะไปไหนก็ได้ เที่ยวต่างประเทศเรื่องเล็ก ฆราวาสทำได้ทุกอย่าง แต่พระห้ามแสดงต่อหน้าคน

อย่างท่านปิณโฑลภารทวาชะ เป็นต้นบัญญัติ ถูกห้ามเพราะอะไร เพราะถ้าไปทำอย่างนั้น คนก็ไม่ต้องการธรรมะ ต้องการพระแสดงปาฏิหาริย์ ถ้าขอให้พระแสดงปาฏิหาริย์ พระทำให้ คนนั้นตายแล้วเกิดใหม่ต้องไปเป็นทาสเขา ๕๐๐ ชาติ ถ้าพระไม่ทำให้แล้วโกรธก็เลยลงนรก พระพุทธเจ้าจึงทรงห้าม แต่ว่าพระที่อยู่ในป่าท่านมีความจำเป็นก็ใช้ได้ แต่ต้องไม่ให้คนเห็น อย่างพระที่เข้านิโรธสมาบัติ ออกมาแล้วปั๊บร่างกายต้องการอาหารก็ต้องดู เราจะไปหาที่ไหน เห็นหน้าคนที่จะให้ปั๊บก็เหาะไปทันที แต่ต้องไม่ให้คนเห็น พอเห็นว่าคนจะเห็นก็ต้องลงเดิน ถ้าเหาะจริง ๆ แล้วไวมาก ตามบาลีว่าที่พระโมคคัลลาน์ขึ้นไปดาวดึงส์ในคราวนั้น บอกว่า "แค่ลัดนิ้วมือเดียว"ความจริงไวกว่านั้น แต่ศัพท์ภาษาไทยไม่รู้จะใช้อะไร ความจริงนึกก็ถึงเลย ..สวัสดี.

(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ขอขอบคุณ...เว็บพลังจิตดอทคอม

416


ประวัติ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม

หลวงพ่อเต๋  คงทอง วัดสามง่าม เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ  ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่ 4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามงามน้อย  ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 7 คน  เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 4 คน  ท่านเป็นบุตรคนที่ 5

                เมื่ออายุได้ 7 ปี ลุงของท่านซึ่งบวชอยู่ที่วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร  มีชื่อว่า หลวงลุงแดง  เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นรูปหนึ่ง  ได้ไปเยี่ยมญาติที่บ้านสามง่าม ได้พบหลานชายจึงได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดกาหลงเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ ธรรมะ และเวทมนต์คาถา เป็นเวลา 3 ปี จนสามารถเขียนอ่านได้เป็นอย่างดี จึงได้กลับมาบ้านเกิด

                หลวงลุงแดงของหลวงพ่อเต๋ ท่านเป็นผู้สนใจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  ท่านเห็นว่าบ้านสามง่าม  ควรจะมีวัดวาอารามสำหรับให้พระภิกษุและชาวบ้านประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา  จึงได้ชักชวนหลานชายไปสร้างวัดขึ้นที่บ้านดอนตูม  ห่างจากบ้านสามง่ามประมาณ 3 กิโลเมตร

                เมื่อหลวงพ่อเต๋  มีอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร  ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดง ร่วมจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน  รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงลุงแดง  ประวัติหลวงลุงแดงท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญพุทธาคมทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี  มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย  อีกทั้งหลวงพ่อเต๋ มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน  จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง

                พ.ศ. 2454 ท่านมีอายุได้ 21 ปี จึงได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  โดยมี พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา)  วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาทางธรรมว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ  แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง

                พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเต๋ คือหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก  เป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มีพุทธาคมเข้มขลังในขณะนั้น  หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางธรรม สมถกัมมัฏฐาน  ตลอดจนรับการสืบทอดด้านพุทธาคมต่าง ๆ

                ต่อมาไม่นาน หลวงลุงแดง  มรณภาพลงที่วัดกาหลง  สมุทรสาคร  ก่อนมรณภาพท่านได้ฝากวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ดูแล

                หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ระหว่าง พ.ศ. 2455 – 2472 เป็นเวลา 17 ปี  รวมทั้งศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติม  นอกจากที่ได้ศึกษาจาก หลวงลุงแดง  และ หลวงพ่อทา หลังจากหลวงพ่อทา มรณภาพแล้ว  ท่านได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง  จากนั้นออกธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับพระอาจารย์อื่นทั้งพระสงฆ์และฆราวาส  อาทิ หลวงพ่อกอน วัดบ่อตะกั่ว  นอกจากนี้ท่านยังเดินทางไปเรียนกับพระอาจารย์ทางจังหวัดพิจิตร ยังมีอีกหลายรูปในขณะที่เดินธุดงค์  รวมทั้งอาจารย์ฆราวาส ท่านเป็นชาวเขมร  เคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร  หลวงพ่อเต๋ได้พบอาจารย์ท่านนี้ที่เขาตะลุง จังหวัดกาญจนบุรี  เป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ เคารพนับถือมาก  ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านจะทำการไหว้ครูเขมรมิได้ขาด

                ภายหลังท่านกลับมาพำนักที่วัดสามง่ามได้ 3 ปี  ท่านทำการสร้างวัดสามง่ามต่อจากหลวงลุงแดงที่ฝากฝังไว้ให้ท่านสร้างต่อก่อนจะมรณภาพ  สมัยก่อน อุปกรณ์การก่อสร้างต่าง ๆ หาได้ยากมาก  เรื่องไม้ที่จะนำมาสร้างวัดต้องเข้าไปเอาในป่าลึก  กว่าจะได้ไม้มาแต่ละเที่ยวยากลำบาก  การออกไปตัดไม้แต่ละเที่ยว ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 - 3 เดือน  และการนอนป่าหลวงพ่อเต๋ ก็มักจะใช้การตัดไม้ใหญ่เป็นที่พำนักอาศัย การเดินทางไปตามถิ่นต่าง ๆ ก็เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา  ท่านจึงไม่กลัวต่อภยันตรายทั้งเสือ ช้าง อันเป็นสัตว์ป่าที่ดุร้าย  ตลอดจนสิ่งแวดล้อมภายในป่าที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ  ตลอดเวลา 15 ปี ในการตัดไม้มาก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดของท่าน  บางครั้งถึงกับอดน้ำ  นับว่าเป็นความอุตสาหะมานะอันแรงกล้าอย่างประเสริฐสุดหาที่เปรียบมิได้

                ในการพัฒนา หลวงพ่อเต๋ เป็นนักพัฒนาหาตัวจับยาก  สร้างสถานีอนามัย บ้านพักนายแพทย์และพยาบาล โรงเรียนประถมและมัธยม  สถานีตำรวจ  ถนนหนทาง  ขุดบ่อน้ำบาดาล  สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง

                หลวงพ่อเต๋ เป็นผู้กอปรด้วยความเมตตาปรานี  ท่านจะให้ความรักความเมตตาแก่ศิษย์ทุกคนโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  นอกจากนี้ท่านยังให้ความเมตตาต่อสัตว์เลี้ยง ได้แก่ วัว ชะนี นก สุนัข แมว ไก่ เป็นต้น  ไม่ว่านก สุนัข ไก่ และแมว ก่อนท่านจะฉันภัตตาหาร  ท่านจะต้องให้ข้าวสัตว์เหล่านี้เป็นนิจสิน

                พ.ศ. 2475 กรรมการสงฆ์จังหวัดโดย พระเทพเจติยาจารย์  วัดเสน่หา เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ได้พิจารณาแต่งตั้งให้  หลวงพ่อเต๋ เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม

                พ.ศ. 2476 แต่งตั้งให้ท่านรักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะตำบล  มีวัดที่ขึ้นอยู่ในความปกครอง 5 วัด คือ วัดสามง่าม วัดลำลูกบัว วัดแหลมมะเกลือ วัดทุ่งสีหลง และวัดตะโกสูง

                การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋ ท่านสร้างไว้หลายแบบมาตั้งแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทั้งแบบพระเนื้อดิน เนื้อผง เนื้อว่าน เหรียญรูปเหมือน พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ และเครื่องรางของขลัง ตะกรุดหนังเสือ ตะกรุดสามห่วง สีผึ้ง เป็นต้น  แต่ละอย่างล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานกันมาทุกวันนี้

                พระเครื่องของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงาม  แต่เน้นเรื่องพุทธคุณ  เพราะท่านตั้งใจสร้างให้บูชาติดตัวเพื่อป้องกันภัยต่าง ๆ มีทั้งทางมหาอำนาจ  เมตตามหานิยม  แคล้วคลาด เนื้อพระส่วนมากเป็นแบบเนื้อดินผสมผงปนว่าน  เนื้อดินอาถรรพ์ที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลได้แก่ ดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น  ผสมลงไปในพระทุกพิมพ์  ด้านหลังองค์พระจะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงไปในเนื้อพระ


วัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านมาจนทุกวันนี้คือ ตุ๊กตาทอง  หรือที่นิยมเรียกกันว่า กุมารทอง ตำราการสร้างได้จากหลวงลุงแดง  ประกอบด้วย ดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น  มาปั้นตุ๊กตาทอง (กุมารทอง) แจกชาวบ้าน  นำไปไว้เป็นเครื่องคุ้มครอง  เพราะดินดังกล่าวจะมีเทวดารักษา จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อเต๋ปั้นแล้วเอาวางนอนไว้  จึงทำการปลุกเสกให้ลุกขึ้นเองตามตำรา  ตุ๊กตาทองนี้นิยมกันมากใครได้ไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นที่อัศจรรย์  ทำรายได้มหาศาล สามารถขออะไรสำเร็จทุกอย่างและเป็นที่ศรัทธาอย่างสูงของประชาชน

                ในปี พ.ศ. 2505 หลวงพ่อเต๋ ท่านได้จัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินพิธีใหญ่อีกครั้ง เพื่อฉลองอายุครบ 5 รอบ  เนื้อดินที่ใช้ยังได้นำดินทวารวดี ที่ชำรุดหักและผงว่านผสมลงไปด้วย สังเกตเนื้อองค์พระเมื่อเผาแล้ว เนื้อดินจะนุ่มเมื่อถูกเหงื่อถูกสัมผัส  ปรากฏมวลสารและว่านแลดูเก่ามาก พิมพ์ที่จัดสร้าง มีดังนี้

1.      พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว

2.      พระปรกโพธิ์ใหญ่

3.      พระปรกโพธิ์เล็ก

4.      พระตรีกาย (พระสาม)

5.      พระทุ่งเศรษฐี

พระเครื่องเนื้อดิน 4 พิมพ์แรก  ด้านหลังจะมียันต์อักขระนูน เรียกว่า ยันต์สามง่าม  เนื่องจากด้านหลังมีรูป ตรี เป็นสัญลักษณ์ของวัดสามง่ามนั่นเอง  ส่วนพระทุ่งเศรษฐี  ด้านหลังมียันต์และชื่อฉายา คงทอง กดประทับลึกลงไปในเนื้อ

หลวงพ่อเต๋  คงทอง วัดสามง่าม มรณภาพลงโดยอาการสงบ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2524 รวมสิริอายุได้ 80 ปี 6 เดือน 10 วัน พรรษาที่ 59  ปัจจุบันทางวัดยังคงบรรจุสังขารของท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้ที่เคารพศรัทธาได้ไปกราบไหว้บูชาจนทุกวันนี้

พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อ...บางส่วน







ขอขอบคุณ...http://www.itti-patihan.com

417
"หลักในการตอบ ๔ วิธี"

คนที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั้นมีทุกระดับฐานะทางสังคม คือจากบุคลระดับพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้น ลงไปจนถึงจัณฑาลที่เป็นวรรณะต้องห้ามสำหรับคนในสมัยนั้น เจตนารมณ์ในการมาเฝ้าพระบรมศาสดานั้นก็แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะคนที่ถือตนเองว่าเป็นนักปราชญ์มักจะมาเฝ้าเพื่อต้องการทดสอบทำนองลองดีก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ในฐานะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงแสดงธรรมให้คนเหล่านั้นเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้อง กลายเป็นคนอ่อนน้อมยอมตนนับถือพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก จนถึงกับสร้างความริษยาอาฆาตให้เกิดขึ้นแก่กลุ่มผลประโยชน์ คือคณาจารย์เจ้าลักธิที่มีอยู่ก่อน แม้ว่าคนเหล่านั้นเพียรพยายามทำลายพระบรมศาสดาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ต้องพ่ายแพ้พุทธานุภาพไปในที่สุด

ในกรณีของคนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหานั้น พระบรมศาสดาทรงมีหลักในการตอบ ๔ วิธีด้วยกันคือ

     ๑. เอกังสพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไปโดยส่วนเดียวอย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

     ๒. วิภัชพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัวไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ว่าคนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ? พระบรมศาสดาจะทรงตอบจำแนกไปตามเหตุผล คือ เมื่อเหตุให้เกิดมี อยู่การเกิดก็ต้องมี เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี

     ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญหาที่ถามมานั้นเองย้อนถามไปอีกทีแล้วจะออกมาเป็นคำตอบเอง

     ๔. ฐปนียะ ปัญหาบางเรื่องบางอย่าง เป็นเรื่องไร้สาระบ้างตั้งคำถามผิดบ้าง พูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง พระบรมศาสดาจะทรงนิ่งเสียไม่ตอบ เพราะพระพุทธเจ้าดำรัสทุกคราวของพระพุทธเจ้าวางอยู่บนหลักที่ว่า "ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นธรรมมีประโยชน์ เหมาะสมแก่กาล คนฟังอาจจะชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็ได้ แต่ถ้าคุณสมบัติ ๔ ประการข้างต้นมีอยู่จะตรัสพระดำรัสนั้น"


ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข 

418
ขอขอบคุณ...สำหรับธรรมะของหลวงพ่อชาครับ

419
ขอบคุณท่านต้นน้ำครับ...ที่แจ้งข่าว...

420
กระแสธรรมนั้นสวนทางกัน
กับกระแสโลก "วุ่นวายแต่ไม่สับสน นอกเคลื่อนไหว ในสงบนิ่ง" คือความเป็นจริงของผู้ปฏิบัตธรรม
เมื่อเข้าใจธรรม ย่อมจะเข้าใจโลก และไม่ติดอยู่กับโลกธรรม...


กราบนมัสการและกราบขอบพระคุณ...หลวงพี่...ครับ :054:

421


ประวัติครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า (พระเจษฎา โชติปญฺโญ)
ชาติกำเนิด

ณ บ้านต๊ำน้ำล้อม ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสามีภรรยาคู่หนึ่งคือนายหน้อยแหน้น และนางบัวเขียว ใจลา ประกอบอาชีพทำนาและมีฐานะยากจนมาก ได้อยู่กินกันมาจนมีลูกสาว ๑ คน แต่เวลาผ่านไป ๑๐ ปียังไม่มีวี่แววว่าจะได้ลูกชายสักคน แม้ว่าจะมีการตั้งครรภ์ใหม่ก็มีเหตุต้องลงเลือดหรือแท้งไปถึง ๓ ครั้ง แต่ก็สังเกตดูว่าเป็นเด็กผู้ชายทุกครั้ง จึงได้ไปอธิษฐานกับองค์พระเจ้าตนหลวง ณ วัดศรีโคมคำ พระคู่บ้านคู่เมืองพะเยา ในคืนวันแปดเป็ง (วิสาขบูชา) พอตกกลางคืนนางบัวเขียวก็นิมิตว่า มีพญานาคตัวใหญ่ตัวหนึ่งเลื้อยออกมาจากใต้ฐานองค์พระเจ้าตนหลวง แล้วนำลูกแก้วลูกหนึ่งสวยงามแพรวพราวระยิบระยับ มีประกายงดงามประมาณค่ามิได้ ดุจดั่งลูกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิราชหรือลูกแก้ววิเศษของมหาเทพเบื้องบน โดยพญานาคนั้นได้คาบลูกแก้ววิเศษมาคายไว้ที่อุ้งมือขวานางบัวเขียวพร้อมกับกลิ่นหอมตลบอบอวนดั่งดอกไม้ในสวรรค์ หลังจากนั้นไม่นานนางบัวเขียวก็ตั้งท้องลูกคนที่ ๒ มีความรู้สึกอยากไปวัดไปวามากกว่าเดิม ชอบนั่งสวดมนต์ ทำสมาธิ เจริญภาวนาและทานมังสวิรัติประจำ ไม่อยากทานเนื้อสัตว์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จนถึงเวลาที่คลอดกุมารน้อยตรงกับวันอังคาร ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๖.๐๙ น. ขณะนั้นฝนตกกระหน่ำครั้งใหญ่ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ดังกึกก้องปานว่าฟ้าจะถล่มแผ่นดินจะทลาย แผ่นดินไหว สั่นสะเทือนไปทั่ว เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่ต้นไม้บริเวณข้างบ้านและแผ่นดินไหวจำนวน ๓ ครั้ง ในเวลาไล่เลี่ยกันไม่กี่นาทีก็เป็นเวลาที่กุมารน้อยคลอดออกมาจากครรภ์นางบัวเขียวผู้เป็นมารดา การเกิดของกุมารน้อยนี้น่าอัศจรรย์คือ นำเท้าออกมาก่อน พอเท้าออกมาถึงเข่า แผ่นดินไหวและฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านครั้งที่ ๑ พอลำตัวออกมาถึงบริเวณหน้าอก แผ่นดินไหวและฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านต้นเดิมครั้งที่ ๒ พอถึงเวลานำศีรษะออกมาแล้วนั้น แผ่นดินไหวและฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านต้นเดิมครั้งที่ ๓ แต่ฝนก็ยังตกกระหน่ำไม่หยุดจนคลอดทารกน้อยเสร็จเรียบร้อย สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับหมอตำแยและญาติพี่น้องของผู้เป็นพ่อและแม่ราว ๒๗ หลังคาเรือนหรือประมาณ ๓๕ คน กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับปรากฏการณ์อัศจรรย์การให้กำเนิดกุมารน้อยนี้มีอยู่ ๙ ประการคือ
๑. คืนวันวิสาขบูชาก่อนที่จะปฏิสนธิในครรภ์ หลังจากอธิษฐานขอพรจากพระเจ้าตนหลวง นางบัวเขียวผู้เป็นมารดานิมิตว่า มีพญานาคตัวใหญ่เท่าต้นตาลเลื้อยออกมาจากใต้ฐานพระเจ้าตนหลวง แล้วคาบลูกแก้วอันงดงามรัศมีเปล่งปลั่งมากนักมาคายไว้ที่มือขวานางบัวเขียวพร้อมกลิ่นหอมตลบอบอวล และจะฝันซ้ำ ๆ กันทุกวันพระ
๒. ขณะกำเนิดนั้นกุมารน้อยเอาเท้าออกก่อนไม่เหมือนทารกอื่น
๓. บริเวณศีรษะมีเมือกบาง ๆ คล้ายกับหมวกอยู่ (เป็นวุ้นสีเขียวคล้ำใส ๆ)
๔. หลังจากล้างตัวและศีรษะแล้วที่ผมบาง ๆ ของกุมารน้อยมีคล้ายกับทองคำเปลวบาง ๆ ระยิบระยับติดอยู่เต็มไปหมด
๕. ขณะที่คลอดกุมารน้อยนั้นมีกลิ่นหอมมากดุจดั่งดอกไม้สวรรค์ไปทั่ว
๖. มีสายแห่หรือสายรกพันบริเวณคอของกุมารน้อย ๓ รอบคล้ายกับงูพันพระศอองค์พระศิวะเจ้า
๗. กุมารน้อยไม่ร้องไห้เหมือนทารกอื่น (หมอตำแยต้องตีก้นหลายครั้งเกรงว่าจะเป็นใบ้)
๘. เมื่อตัดสายรกสายสะดือแล้ว ปรากฏว่ามีลูกแก้วเม็ดเล็ก ๆ (ทางเหนือเรียกว่า คตแก้ว หรือแก้วโป่งข่าม ) อยู่บริเวณสายรกห่างจากสะดือของกุมารน้อย ๑ คืบ
๙. ขณะคลอดกุมารน้อยนั้นมีฝนตกหนัก ฟ้าผ่าต้นไม้ต้นเดิมและแผ่นดินไหวถึง ๓ ครั้ง (ฟ้าผ่าและแผ่นดินไหวพร้อมกัน)

ในค่ำคืนนั้นหลังจากกุมารน้อยได้กำเนิดขึ้นมาได้ ๑ คืน ผู้เป็นบิดาคือนายแหน้น นิมิตว่า มี พ่อค้า นักธุรกิจ ต่าง ๆ ทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง ต่างชาติ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง แต่ละท่านมียศสูง ๆ และร่ำรวยทั้งนั้น ต่างก็พากันล้อมกราบไหว้ลูกแก้ววิเศษ ซึ่งเมื่อมองดูด้านในของลูกแก้ววิเศษจะมีภาพพระพุทธรูปและครูบาเจ้าศรีวิชัยอยู่ภายใน โดยผู้คนเหล่านั้นที่มากราบไหว้ต่างก็มาพึ่งพาบุญบารมีของลูกแก้ววิเศษเพราะเชื่อว่าลูกแก้ววิเศษนั้นสามารถสร้างอานิสงส์ให้เขาเหล่านั้นร่ำรวย รุ่งเรือง มีฐานะดี โชคดียิ่งขึ้น และพ้นจากโรคภัยต่าง ๆ แล้วก็ตกใจตื่น หลังจากนั้นได้พิจารณาความฝันว่า “เอ แปลกนะ ต่อไปข้างหน้าลูกของเราจะต้องเป็นที่พึ่งพาของคนระดับต่าง ๆ พ่อค้า ประชาชน นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ ที่มียศสูง ๆ แน่นอน ประกอบกับคนที่ยังไม่รวยถ้าทำบุญบารมี ร่วมกันก็จะรวยยิ่งขึ้น”

คำพยากรณ์ครั้งแรก

เมื่อเวลาผ่านไป ๓ วัน ข่าวดังกล่าวทราบถึงครูบาเจ้าอินโต วัดบุญยืน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพะเยา ได้เดินทางไปที่บ้านของกุมารน้อย พอไปถึงบ้านก็เอ่ยขึ้นทักพ่ออุ้ยปัน ผู้เป็นตาของกุมารน้อยว่า “ พ่ออุ้ยปัน มีหน่ออริยโพธิสัตว์มาเกิดแล้วเน้อ ชาติสุดท้ายของเปิ้นแล้ว เลี้ยงไว้ดี ๆ เจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยา มาเกิดแล้ว ต่อไปปายหน้าเปิ้น จะก้ำจูสาสะนา (ศาสนา) โผด (โปรด) คนหื้ออยู่ดีมีสุข มีทรัพย์สมบัติมากนัก (อริยทรัพย์ ๗ ประการ) คนตังหลายที่มีบารมีร่วมเปิ้นก็จะมี ทรัพย์สมบัติมากนักเช่นกัน“ พร้อมกันนั้นครูบาเจ้าอินโต ก็ค่อย ๆ ผูกข้อมือรับขวัญทารกน้อยและทำนายไว้ว่า “กุมารน้อยผู้นี้ เป็นผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่กลับชาติมาเกิด เป็นขวัญปากครูบาเจ้าพระอริยะต๋นบุญล้านนา (ขวัญสัจจะวาจาศักดิ์สิทธิ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย) นำแก้วคู่บารมีมาโผด (โปรด) คนตังหลายต่อไปข้างหน้า เด็กน้อยผู้นี้จะเป็นกำลังของพระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่งและสามารถที่จะโปรดมวลมนุษย์ให้พ้นทุกข์ มีความสุข ความร่ำรวยด้วยลูกแก้วนี้ และวาจาสิทธิ์ของกุมารน้อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นชาติสุดท้ายของกุมารน้อยผู้นี้ก็ว่าได้” พร้อมกับตั้งชื่อให้ไว้ว่า “หน่อแก้วฟ้าไจยา” หมายถึง "แก้วมณีมงคลแห่งชัยชนะที่ฟ้าหรือสรวงสวรรค์ประทานมาเพื่อความสุขความเจริญ ร่ำรวย" และครูบาเจ้าอินโตยังตั้งอีกชื่อหนึ่งให้ว่า “เจ้าอริยทรัพย์” หมายถึง "ผู้มีทรัพย์มากมีทั้งทรัพย์สมบัติภายในและทรัพย์สมบัติภายนอก" นอกจากนั้นแล้วครูบาเจ้าอินโตยังได้เน้นกับพ่ออุ้ยปันและญาติพี่น้องทุกคนว่า “บารมีนี้มีเฉพาะผู้ที่มาจากอดีตชาติที่ได้พึ่งพาบารมีซึ่งกันและกัน ดังนั้นการทดสอบจิตของเจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยา เช่นการลองขอความช่วยเหลือจากแต่ละบุคคลว่าเป็นเช่นไร เคยบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติร่วมกันหรือไม่ หรือถ้าผู้ใดให้ความเชื่อถือและช่วยเหลือเต็มที่กับเจ้าหน่อแก้วฟ้า ผู้นั้นคือผู้ที่มาจากอดีตชาติ เป็นผู้มีทรัพย์ทิพย์จากอดีตที่คอยช่วยเหลือกันมาก่อน เพราะถือว่าช่วยเหลือในชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยาแล้ว บุคคลผู้นั้นและครอบครัวของเขาก็จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยยิ่งๆ ขึ้นไป หน้าที่กิจการงานก็จะเจริญรุ่งเรือง เป็นผู้มีโชคชัยตลอด โรคภัยไข้เจ็บก็จักไม่เบียดเบียน โรคกรรมโรคเวรก็ย่อมเบาบางลง โดยเฉพาะผู้ให้ยานพาหนะและผู้ให้ทรัพย์เงินทองในการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับ เจ้าหน่อแก้วฟ้าผู้นั้นไม่อดอยาก และคล่องตัวในกิจการงานต่างๆ มีแต่ได้กับได้อย่างเดียวเท่านั้น”

ชีวิตวัยเยาว์

แต่ภายหลังทางอำเภอให้ใช้ชื่อในใบทะเบียนบ้านว่า "เจษฎา" เพราะชื่อ หน่อแก้วฟ้าไจยา เป็นชื่อค่อนข้างโบราณและยาวเกินไป พร้อมกันนั้นอีก ๗ วัน ครูบาศรี วัดร่องไฮ ต.บ้านใหม่ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของพะเยาอีกรูปหนึ่ง ได้มาเยี่ยมและรับขวัญเป็นลูกบุญธรรมอีกคนหนึ่ง ก็ทำนายไว้เช่นเดียวกันกับครูบาเจ้าอินโต ว่า “กุมารน้อยผู้นี้เกิดมาชดใช้กรรมเก่าก่อน ต่อไปจะถูกใส่ความ ถูกกล่าวหาว่าร้ายต่าง ๆ นานา จากเจ้ากรรมนายเวรจากอดีตชาติมาในคราบผ้าเหลืองและชาวบ้าน ซึ่งเป็นญาติของพญาสวัสดิมาร จะมาทำลายความเพียร ความดี และบารมีเก่า แต่หากกุมารน้อยผ่านบททดสอบบารมีด้วยจิตใจอันแน่วแน่ได้ เจ้ากรรมนายเวร (ผู้ใส่ร้ายป้ายสี ดูถูกดูหมิ่น) ตลอดจนมารเหล่านั้นก็จะแพ้ภัยตนเอง ฉิบหายต่าง ๆ นานาประการ ตกนรกขุมอเวจี เพราะกุมารน้อยผู้นี้เกิดมาถือว่าเป็นชาติสุดท้ายแล้ว จะเป็นผู้ที่ให้พรคนทั้งหลายให้เจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะพ่อค้าแม่ขาย นักธุรกิจระดับต่าง ๆ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ระดับต่าง ๆ คนทุกชนชั้น เพราะกุมารน้อยผู้นี้จะเป็นผู้มีสัจจะวาจาสิทธิ์”

จากสาเหตุนี้ทำให้พ่ออุ้ยปัน รักและทะนุถนอมเจ้าหน่อแก้วฟ้าเสมือน "ไข่ในหิน" โดยไม่ให้ใครแม้กระทั่งญาติพี่น้องมาเล่นด้วย หรือถูกเนื้อถูกตัวเพราะทราบดีว่าเป็นเด็กที่มีความพิเศษไม่เหมือนเด็กทั่วไป เดี๋ยวจะมีรอยราคิน รอยด่างพร้อย ส่วนฝ่ายบิดาและมารดาไม่อยากจะให้บวชเรียนเพราะทางบ้านมีฐานะยากจนและกลัวจะไม่ได้พึ่งแรง จึงไม่ค่อยอนุญาตให้เจ้าหน่อแก้วฟ้าไปไหว้พระที่วัดในหมู่บ้านเท่าไหร่ และก็กลัวว่าเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะไปจำบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ แต่ก็ไม่วายเมื่อมีงานศพหรืองานทำบุญบ้านใหม่ในหมู่บ้าน เจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะไปดูพระสงฆ์เวลาให้ศีล ให้พร แล้วกลับมาฝึกสวดไปเรื่อย ๆ ตามประสาเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังนำวี (พัด) ที่เขานำมาพัดข้าวเปลือกหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นำมาสวดมนต์ให้ศีลให้พรแล้วบอกว่าตนเองเป็นพระครูบาเจ้ามาเกิด เมื่อก่อนก็สวดมนต์อย่างนี้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้

โดยเล่าประวัติของตนเองเป็นเรื่องเป็นราวว่าตนคือครูบาเจ้าศรีวิชัยมาเกิด (จากการบอกเล่าของชาวบ้านญาติพี่น้อง ขณะนั้นเจ้าหน่อแก้วฟ้าอายุ ๔ ขวบ) ไฟฟ้าก็ยังไม่เข้าในหมู่บ้าน การสื่อสารต่าง ๆ ก็ยังไม่ถึง หนังสือก็ไม่มีให้อ่าน ทีวีไม่มีให้ดู หนังสือก็ยังไม่ทันได้เรียน แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้าพูดเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนดั่งเทวดาสอนให้พูดอย่างนั้น จนครั้งหนึ่งน้าไก่ซึ่งเป็นญาติของเจ้าหน่อแก้วฟ้าซึ่งเดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ ก็แปลกใจว่าเด็กน้อยนี้พูดอะไรแปลก ๆ จะเป็นจริงหรือ เลยตัดสินใจพาเจ้าหน่อแก้วฟ้าไปที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นวัดของครูบาเจ้าศรีวิชัย และเป็นสถานที่ที่ เจ้าหน่อแก้วฟ้าพูดถึงบ่อย ๆ เมื่อเดินทางมาถึงเจ้าหน่อแก้วฟ้าไม่รีรอ รีบลงรถแล้วก็ทำตัวเองเหมือนดั่งไกด์นำเที่ยว บอกสถานที่ต่าง ๆ ได้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นสถานที่ป่วย หรือเดินจงกรม ฯลฯ และทักทาย เรียกชื่อ ผู้เฒ่าผู้แก่ ที่มาต้อนรับในวันนั้นได้ถูกต้อง โดยไม่รู้จักกันมาก่อน สร้างความ ประหลาดใจให้ญาติทั้งหลายยิ่งนัก และย้ำบ่อย ๆว่า “เราจะไม่เกิดอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย”

เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ ก็ได้เกิดวิบากกรรมมาตัดรอน โดยเจ้าหน่อแก้วฟ้าถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนจนขาซ้ายหัก ซึ่งเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะไม่มีเงินที่จะไปรักษาจากโรงพยาบาล ต้องใช้เวลานอนรักษาตัวแบบโบราณ ๗ เดือน ช่วงที่นอนรักษาตัวและฟักฟื้นก็ได้ร่ำเรียนวิชาอักษรล้านนา ตั๋วเมืองและคาถาอาคมเบื้องต้นจากพ่ออุ้ยปัน บัวเงิน ผู้เป็นตาและท่านเป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย จนเจ้าหน่อแก้วฟ้าอ่านออกเขียนได้เป็นพื้นฐาน หลังจากนั้นเจ้าหน่อแก้วฟ้าได้เข้าศึกษาเล่าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ขณะนั้นอายุได้ ๗ ปี เวลาผ่านไปพออายุได้ ๘ ปี ช่วงที่ไปเรียนหนังสือหลังจากเลิกเรียนแล้ว เจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะไปนั่งสมาธิบริเวณป่าช้าหน้าโรงเรียนหรือวัดเก่าแก่บริเวณหัวนาที่มีซากปรักหักพังเพราะร่มเย็นและมีสมาธิดี นอกจากนั้นเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังชอบปั้นพระพุทธรูปองค์เล็กองค์ใหญ่ แล้วชักชวนเพื่อน ๆ ไปไหว้และนั่งสมาธิ จากเหตุดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้เพื่อนไม่ค่อยจะเล่นด้วยเพราะชอบอยู่กับป่าช้าและวัดเก่า ซึ่งคนทั่วไปไม่นิยมกัน และยังถูกกล่าวหาต่างๆ ว่าผีบ้าบ้าง ไม่เต็มบาทบ้าง หรือป่วยเป็นโรคจิตบ้าง ฯลฯ

ต่อมาเจ้าหน่อแก้วฟ้ามีโอกาสพบพระธุดงค์รูปหนึ่งที่ป่าช้า ท่านนุ่งห่มจีวรสีกรักดำ อายุประมาณ ๗๐ กว่าปี หลังค่อมตัวเล็ก ท่านเมตตาสอนธรรมและวิธีการปฏิบัติธรรมให้ จนในที่สุดเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ชอบในการนั่งสมาธิภาวนามาตั้งแต่นั้น จนความทราบถึงผู้เป็นบิดาต้องดุด่าว่ากล่าวว่า “ทำไมทำตัวไม่เหมือนคนอื่นเขา ชอบไปแต่ป่าช้าและวัดเก่าแก่ คราวหลังถ้าไปอีกจะตีให้เจ็บตัวแน่” ด้วยฐานะทางบ้านยากจนมากแทบจะไม่มีอะไรจะกิน จำเป็นต้องทำมาหากินทุกอย่างโดยพี่สาวและพี่เขยต้องช่วยกันออกไปหาปลาหานกและพาเจ้าหน่อแก้วฟ้าไปด้วย แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะแอบปล่อยปลา และนกที่พี่สาวพี่เขยหามาได้เป็นประจำ จนถูกผู้เป็นบิดาดุด่าว่ากล่าวหลายครั้งหลายหน โดยครั้งสุดท้ายเจ้าหน่อแก้วฟ้าน้อยใจหนีออกจากบ้านไปพักบ้านญาติ นอกจากนั้นแล้วผู้เป็นบิดาชอบบังคับให้เจ้าหน่อแก้วฟ้ากินอาหารที่เป็นส่วนของสัตว์ต่าง ๆ แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้าไม่ชอบเลยต้องกินข้าวพร้อมกับน้ำตาและรีบออกไปอาเจียนหลังบ้าน

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

พอจบชั้น ป.๖ ก็มีจิตคิดที่บวชทดแทนคุณบิดามารดา ซึ่งฝ่ายบิดามารดาไม่อยากจะให้บวชเพราะกลัวเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะไม่ยอมสึกในภายหลัง แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ได้บวชจนได้โดยมีครูบาสงบ วัดต๊ำน้ำล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ เนื่องจากพ่ออุ้ยนวล ทำดี (พี่ชายของยายและเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยอีกคนหนึ่ง) ได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๑ เจ้าหน่อแก้วฟ้าจึงได้ขอทดแทนคุณ คือบวชจูงศพ แล้วก็ไม่คิดจะสึก แต่ทางบิดามารดาและญาติพี่น้อง ได้ขอให้เจ้าหน่อแก้วฟ้าสึกและมาบวชเณรตามประเพณีแบบเบ้าโบราณ จึงได้สึก ๑ วันแล้วทำพิธีขวัญนาคและบรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๑ โดยมีครูบาสงบ วัดต๊ำน้ำล้อม (ลูกศิษย์ครูบาแก้ว วัดปงสนุกใต้ จังหวัดลำปาง) เป็นพระอุปัชฌาย์ และเริ่มต้นร่ำเรียนนักธรรมชั้นตรี โท เอก และวิปัสสนากัมมัฏฐานจากครูบาอาจารย์ที่มีหลายท่าน เช่น

หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระบาทเขารวก จ.พิจิตร
หลวงปู่ดาบส สุมโน จ.เชียงราย
ครูบาเจ้าปู่นริศ นรินฺโท ลานธรรมบารมีศรีปทุมแสงธรรมหนอ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สอนการปฏิบัติธรรมภาวนาชั้นสูง และคาถาอาคมต่าง ๆ จนหมดความรู้
ครูบาศรี วัดร่องไฮ บ้านใหม่ จ.พะเยา สอนอักขรภาษาล้านนา และคาถายันต์ต่าง ๆ
หลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดี สุภทฺโท วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่ สอนคาถาอาคมและการปฏิบัติสมาธิ
หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ จ.เชียงใหม่ สอนคาถาอาคมและการใช้ทิพยญาณ การปฏิบัติธรรมชั้นสูง
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
ครูบาเจ้ากลิ่นกู้ วัดข่วงเป่าชัย จ.ลำปาง สอนการนั่งทางใน
ครูบาคำผาย วัดพระธาตุจอมไคร้ จ.พะเยา
ครูบาเจ้าพรหมจักร จ.ลำพูน สอนการปฏิบัติสมาธิภาวนา และคาถาหลายอย่าง
ครูบาเจ้าชัยยะวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน สอนคาถาเรียกทรัพย์ เรียกเงิน
ครูบาเจ้าคำอ้าย วัดทุ่งพร้าว อ.ดอกคำใต้ สอนคาถาอาคมต่าง ๆ
ครูบาเจ้าน้อย วัดต๋อมใต้ จ.พะเยา สอนการปฏิบัติธรรมและคาถาอาคม
ครูบาเจ้าเกษม เขมโก จ.ลำปาง สอนธรรมะเบื้องต้น
ครูบาอ่อน วัดสนต้นหวีด จ.พะเยา
หลวงปู่ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี สอนการปฏิบัติสายมโนมยิทธิ
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม สอนคาถาคงกระพัน และค้าขายดี                                                                                            ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ประเทศพม่า สอนการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน
ครูบาเจ้ามนตรี ธมฺมเมธี วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่ มีเมตตาสอนธรรมะ
หลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต วัดป่าคูณคำวิปัสสนา จ.สกลนคร มีเมตตาถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติภาวนา และคาถาอาคมต่างๆ จนหมดซึ่งท่านหลวงปู่ขาวบอกว่า "หมดแล้ว"
หลวงปู่ดำ เขมโร วัดพระบาทเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา สอนการอธิษฐานจิตภาวนาให้สำเร็จ
ครูบาแสงหล้า ประเทศสหภาพพม่า
ครูบาเหนือชัย โฆสิโต (ขี่ม้าบิณฑบาตร) วัดถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย

คำพยากรณ์จากครูบาอาจารย์

ขณะที่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ได้รับความอนุเคราะห์เมตตาสั่งสอน อบรมธรรม วิธีการปฏิบัติกัมมัฎฐานแต่ละรูปแบบ และถูกทดสอบภูมิธรรมมาเรื่อย ๆ นอกจากนั้นแล้วพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่มีญาณบารมีธรรมสูงได้กล่าวทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าให้สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าตรงกัน ๕ รูป คือ หลวงปู่ดาบส สุมโน หลวงปู่โง่น โสรโย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ฤาษีลิง และครูบาเจ้าดวงดี สุภัทโท ไว้ว่า "สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้านี้ หากแม้นว่าไม่ต่ออายุไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จักมีอายุในธาตุขันธ์ (กายเนื้อ) จวบจนอายุได้ ๓๕ ปีก็ละจะสังขาร เพราะว่าเป็นชาติสุดท้ายของท่านแล้ว แต่สำหรับสานุศิษย์ที่ต้องการพึ่งบุญบารมีและเคารพศรัทธาในวัตรปฏิบัติของท่านแล้วไซร้ ก็จงอาราธนานิมนต์ให้ท่านอยู่ได้ปีต่อปี โดยให้จัดทำกฐินอานิสงส์ให้ท่านคิดเป็นเงินกหาปนะ ๒ กหาปนะครึ่ง (คิดเป็นเงินปัจจุบันประมาณ ๓๙๙ บาท) ต่อการต่ออายุ ๑ วัน ผู้ใดทำบุญต่ออายุให้ท่านได้แต่ละปีนั้น จักได้อานิสงส์อันยิ่งใหญ่ จะมีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน การเงิน มีอายุมั่นยืนยาว สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง มีความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีไม่อดกลั้นอดอยาก"

แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งก็คือสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะต้อง "เข้ากรรม" (ศิษย์มักจะเรียกว่า "นิโรธกรรม") ถือว่าเป็นการต่ออายุธาตุขันธ์ และเป็นการต่ออายุให้พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป เพราะสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้านั้น เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นตัวแทนของพุทธบริษัทที่จะต้องพัฒนาและนำพาพระพุทธศาสนาที่เริ่มต้นจากรากหญ้าให้เป็นรากแก้วที่แข็งแกร่ง เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองด้วยศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และศาสนธรรม เป็นหลักชัยของชาวพุทธผู้มีปัญญา ให้มีขวัญมีกำลังใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาดีแล้วตั้งแต่ในอดีต ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองคู่กับประเทศไทยและโลกทั้ง ๓ หรือหมื่นโลกธาตุตลอดกาลนาน

บารมีธรรมบังเกิด

จากความรู้ที่ครูบาอาจารย์เจ้าเมตตาสั่งสอนและชี้แนะมานี้ทำให้สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าสามารถปฏิบัติธรรมได้ในระดับที่ดีขึ้นตามลำดับและสามารถฝ่าฟันอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมได้อย่างง่ายดาย ทำให้ท่านสามารถเริ่มสร้างบารมีธรรมตั้งแต่เป็นสามเณรน้อย ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านหลายต่อหลายคนที่พบปาฏิหาริย์ เช่น เรื่องการย่นระยะทาง ซึ่งหากเป็นการเดินทางไปจังหวัดเชียงรายโดยทั่วไปแล้วจากพะเยา-เชียงราย วิ่งรถปกติจะใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงตัวเมืองเชียงราย มีอยู่วันหนึ่งออกจากพะเยาสายไปหน่อยเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. ต้องรีบไปงานมงคลที่ตัวเมืองเชียงราย ขณะนั้นเมื่อถึงทางตรงบริเวณ อ.แม่ใจ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็บอกให้โชว์เฟอร์ขับรถช้าหน่อยแล้วหลับตาสักครู่ปรากฏว่า สร้างความแปลกประหลาดใจให้โชว์เฟอร์ยิ่งนักเพราะรถนั้นวิ่งมาถึงบริเวณห้าแยกพ่อขุนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าใช้เวลาแค่ครึ่งชั่วโมงกว่าทันเวลาที่ทำพิธีมงคลที่บ้านญาติธรรม จ.เชียงราย

นอกจากนั้นแล้วเมื่อคราวสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าอายุ ๑๕ ปี เคยอธิษฐานจิตอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุให้เสด็จต่อหน้าสาธุชนเกือบร้อยคน ณ วัดเก่ากลางทุ่งนา สร้างปรากฏการณ์มหัศจรรย์ให้แก่ผู้พบเห็น และมีคนพบเห็นบ่อยครั้งกับการที่สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าไปไหนมาไหนรวดเร็วมาก เช่นการเดินจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งได้เร็วเกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะทำได้ จนชาวบ้านลือว่าสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าล่องหนได้ นอกจากนั้นแล้วสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังเคยทักเกี่ยวกับเรื่องลางสังหรณ์ได้อย่างแม่นยำ เช่น บอกว่าอีกไม่กี่นาทีรถจะชนคนนั้นคนนี้ก็เป็นจริงตามนั้น เรื่องการบิณฑบาตรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะมีคนหลายคนเห็นว่าท่านบิณฑบาตพร้อม ๆ กันหลายที่คล้ายกับแยกร่างได้ แต่หากมีคนถามว่าท่านใช้ฤทธิ์หรือแยกร่างได้ใช่ไหม สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็จะตอบบ่ายเบี่ยงว่า “เข้าใจผิดมั้ง ถ้าแยกร่างได้จริงเราจะแยกร่างสร้างวัดช่วยกันหิ้วปูนสร้างวัดให้เสร็จละสิแล้วหัวเราะ” มีคนเห็นท่านเวลาอยู่ในวัดหรือเดินทางไปไหนเดี๋ยวก็หนุ่มเดี๋ยวก็แก่ สร้างความแปลกประหลาดใจยิ่งนัก มักมีคนมาถามว่าหลวงตาแก่ ๆ เมื่อกี้ไปไหนเสียล่ะ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็จะตอบว่า “หลวงตาหรือ อ้อไปแล้ว”

การทำพิธีกรรมล้านนาต่าง ๆ ของสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้า เช่น เสริมสิริมงคล พลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน ยันต์ดวงตาลปัตร พลิกดวง เสริมบารมี บูชาเทียน ๙ หน้า ๙ บารมี เทียนหนุนดวง ค้ำชะตา ให้กับพ่อค้าแม่ขาย นักธุรกิจ นักการเมือง ประชาชน ทหาร ตำรวจ ถ้าไม่ติดขัดกับวิบากกรรมเก่าของเขาเองก็จะสำเร็จตามนั้น จนเป็นที่กล่าวขาน แต่หากมีใครมาถามว่าวัตถุมงคลหรือยันต์ของสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าดีจริงหรือ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ตอบว่า "แล้วแต่บุญบารมีและศีลของแต่ละบุคคลห้ามงมงาย ถ้าทำดีก็ดี มีศีลพร้อมปฏิบัติตามหลักธรรมก็ย่อมได้ดีแน่นอน" สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะพูดหลีกเลี่ยงแบบนี้เสมอและมักจะเก็บตัว ไม่ค่อยอยากจะให้ใครมาหามากมายเพราะไม่มีเวลาได้ ปฏิบัติธรรมในสมัยนั้น

ออกธุดงค์ครั้งแรก

หลังจากนั้นก็ขอลาบิดามารดาออกธุดงค์เพียงลำพังรูปเดียว แต่ปรากฏว่าทางบิดามารดาและญาติไม่ยอม สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าเลยตัดสินใจหนีออกธุดงค์ตั้งแต่เป็นเณรอายุ ๑๖ ปี ธุดงค์ตั้งแต่พะเยา เชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน แล้วก็หลงทางป่าเพราะยังไม่ชำนาญเส้นทาง แต่ก็ได้พบเจอครูบาอาจารย์สายวิปัสสนาหลายรูปไม่ว่าจะเป็นรูปที่ยังดำรงขันธ์หรือดับขันธ์ไปแล้ว ตลอดจจนสิงสาราสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง ผีพราย เปรต คนธรรม์ พญานาค ยักษ์ ชาวบังบด แม้กระทั่งหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ฯลฯ ก็เจอมาหมดแล้ว ไม่มีอะไรฉันบางครั้งก็ต้องฉัน ใบไม้แทน บางครั้งเทวดาสงสารก็ลงมาใส่บาตรบ้าง เดินทางด้วยเท้าเปล่าไปเรื่อย ๆ จนไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน มีอยู่วันหนึ่งเป็นไข้มาลาเรียอ่อนแรงมาก ตั้งสติกำหนดไปแล้วเจอทางออกสู่ถนนใหญ่บริเวณข้างป่า รอรถคันไหนก็ไม่มีที่จะผ่านมามีแต่ช้างเป็นฝูงจำนวนหลายเชือกเดินผ่านแทบจะหมดสติ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าจึงอธิษฐานไว้ในใจว่า “กรรมใดหนอที่ทำให้ข้าพเจ้ามาตกที่นั่งลำบากเช่นนี้ แม้กระทั่งคนหรือรถยานพาหนะก็ยังไม่ ปรากฏมี หากแม้นว่าใครมีบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ร่วมกันในอดีตชาติเคยเกื้อหนุนกันมาก่อน ที่เคยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีร่ำรวยเงินทองมาจากอดีตชาติ ก็ขอให้มาพบเจอข้าพเจ้าแล้วพาข้าพเจ้าไปรักษาตัว รักษาธาตุขันธ์เพื่อให้กลับมาใช้ธาตุขันธ์นี้บำเพ็ญความดีบำเพ็ญบารมีในชาติสุดท้ายนี้ เพราะเราต้องเจอผู้อุปการะคุณผู้มีบุญเหล่านั้นเรื่อย ๆ ไป ผู้ใดให้ทรัพย์ เงินทอง และยานพาหนะแก่เราแล้ว เราจะนำไป สร้างประโยชน์คุณความดีบารมีอันยิ่งในชาติสุดท้ายนี้ ก็ขออานิสงส์บุญกุศลเก่าที่สั่งสมมาจงเกื้อหนุนให้เขาเหล่านั้นที่ค้ำชูข้าพเจ้าด้วยเงินทองในการสร้างวัดศาสนา ก็ขอให้เขารุ่งเรือง ร่ำรวย ร้อยเท่าพันทวีคูณ มีบารมีแคล้วคลาดปลอดภัยจากโรคภัยทั้งปวง มีความสุขตลอดกาลเทอญ”
พลันขณะนั้นก็มีรถอีแต๋นคันเก่า ๆ คันหนึ่งซึ่งหาบอ้อยผ่านทางนี้พอดีก็อดสงสารสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าไม่ได้ เลยนำส่งโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานีแล้วติดต่อกลับมาหาญาติที่พะเยา ญาติก็เลยนิมนต์สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ากลับมาที่พะเยา ภายหลังทราบข่าวว่าผู้ที่นำส่งสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ามาส่งที่โรงพยาบาลนั้นคือนายนิยะ มาโต๊ะ ถูกหวยรางวัลที่ ๑ จำนวน ๘ ใบ รวยเป็นเศรษฐี และมีความตั้งใจตามหาสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ามาโดยตลอด เมื่อได้พบกันแล้วนายนิยะ มาโต๊ะได้นำรถยนต์คันใหม่มาถวายสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้า แต่สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ารับมอบแล้วก็มอบให้โรงพยาบาลไว้ใช้เป็นสมบัติของราชการ ต่อมาก็ทราบข่าวอีกว่ากิจการงานของนายนิยะ มาโต๊ะ ก็เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีอีกคนหนึ่ง

หลังจากสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ากลับจากธุดงค์แล้วใช้เวลาหลายเดือนพอสมควร ตอนนั้นอายุได้ ๑๗ ปี ผู้เป็นบิดาได้มอบสมบัติชิ้นสุดท้ายให้แก่สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าคือ หลวงพ่อโสธร ทองเหลือง ปี ๒๕๐๐ ให้ไว้กับตัวแทนผู้เป็นบิดาเพราะผู้เป็นบิดาจะอยู่ไม่ได้แล้วเป็นโรคน้ำท่วมปอดและมะเร็ง ปอด ผู้เป็นบิดาได้ขอร้องให้สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้างดธุดงค์ ขอให้อยู่กับแม่และเรียนหนังสือต่อ ฝ่ายผู้เป็นมารดาก็ขอร้องเช่นกันและแล้วก็เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เพราะผู้เป็นบิดาคือนายหน้อยแหน้น ใจลา ได้เสียชีวิตด้วยโรคน้ำท่วมปอดและมะเร็งปอดด้วยวัย ๕๐ ปี ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๗ สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้แก่ทุกคนในครอบครัวและญาติทุกคนเป็นอย่างยิ่ง

รับนิมนต์มาวัดเกษศรี

ต่อจวบจนอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๘ โดยมีครูบาสงบ วัดต๊ำน้ำล้อม เจ้าคณะตำบลบ้านต๊ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่นแก้ว รตนปญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญแทน กิตติปญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและยึดถือการปฏิบัติธรรมโดยไม่ย่อหย่อน นอกจากนั้นครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังได้ปฏิบัติศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า สอนพระปริยัติธรรม และรับใช้ครูบาอาจารย์มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๐ สาธุชนชาวบ้าน บ้านร้องและบ้านสีเสียด ทั้ง ๒ หมู่บ้านได้ขออาราธนานิมนต์ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้ามาจำพรรษาและรักษาการเจ้าอาวาส ณ วัดเกษศรี (บ้านร้อง) โดยครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าได้รับนิมนต์มาเพื่อร่วมสร้างป๋าระมี (บารมี) ตามแบบครูบาเจ้าศรีวิชัย เนื่องจากว่าในอดีตวัดเกษศรีเป็นวัดเก่าแก่ที่ชำรุดทรุดโทรมขาดการบูรณะมาช้านาน ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของครูบาหน่อแก้วฟ้าที่จะต้องมาร่วมสร้างบารมีกับนักบุญร่วมชาติก่อนปางหลัง

เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ ถึง วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา เป็นช่วงสิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า จึงได้ตัดสินใจเข้ากรรม (นิโรธกรรม) แบบแพลอยน้ำ มีกระต๊อบบนแพ ๑ หลัง กว้างยาวเมตรครึ่ง นั่งภาวนาอยู่ที่เดียวบนแพลอยน้ำ โดยเป็นการบำเพ็ญอุกฤษฎ์ ๙ อย่างคือ
๑. งดฉันอาหารทุกประเภท
๒. งดฉันน้ำทุกประเภท
๓. งดถ่ายหนัก (อุจจาระ)
๔. งดถ่ายเบา (ปัสสาวะ)
๕. งดลุกจากอาสนะ (ที่นั่ง)
๖. งดนอนหลับ ทั้งกลางวันและกลางคืน
๗. งดพูดจาด้วยการปิดวาจา
๘. อยู่ลำพังบนแพลอยกลางน้ำ
๙. ปฏิบัติกรรมฐานอย่างเดียว
เพื่อเอาอานิสงส์นี้ถือเป็นการแก้เคราะห์กรรมเก่าให้เหล่าสาธุชนทั้งหลาย เปิดทรัพย์เปิดโชคชัย บารมีสุขให้สาธุชน ทั้งหลายมีความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง ร่ำรวย แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายใด ๆ อายุมั่นขวัญยืน ค้ำชูพระพุทธศาสนาให้เจริญ รุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็มีสาธุชนทั้งหลายมาจากทั่วสารทิศ ที่มาชมบารมีครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า และขอพรจากท่านครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ทำให้ ท่านสาธุชนเหล่านั้นมีโชคมีชัย รวยและปลอดภัยจากโรคภัยกันถ้วนหน้า

หลักชัยของพุทธศานิกชน
เมื่อก่อนคนทั้งหลายก็ยังไม่มีความเชื่อมั่นในตัวครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า เพราะว่าเป็นหนุ่มตนน้อย หน้าตายังเป็นละอ่อนอยู่ ไม่น่าจะมีความสามารถอะไร จนบางคนวิพากษ์วิจารณ์ดูหมิ่น ดูถูก พูดจาถากถางว่าจะไปสักกี่น้ำ จะทำอะไรได้เพราะอายุยังน้อยอยู่จนเวลาผ่านไป ๕ เดือน ด้วยบารมีธรรมเก่าของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ก็ได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนคนรักษ์วัดกลองสะบัดชัยขึ้น เพื่อให้มีชัยชนะและความสำเร็จเหมือนชื่อหน่อแก้วฟ้าไจยา จนเยาวชนวัดเกษศรีมีชื่อเสียงโด่งดังข้ามจังหวัด ด้วยความสามารถและความสามัคคีของกลุ่มเยาวชนเองที่มีหลักชัยคือครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้านั่นเอง

ปัจจุบันมีสาธุชนต่างที่ใกล้และที่ไกล ต่างบ้าน ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด และต่างประเทศมากราบนมัสการ รวมถึงถวายปัจจัยและสิ่งของเพื่อสืบทอดพระศาสนาและเป็นการร่วมบุญบารมีกับครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ในแต่ละวันครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ด้วยเหตุที่ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าเป็นผู้เจริญในเมตตาและบารมีธรรม จึงปรารถนาที่จะโปรดและให้ความช่วยเหลือแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นใคร มาจากไหน หากเขาเหล่านั้นเป็นผู้ตกทุกข์ได้ยากและมีความตั้งใจที่จะขอบารมีจากท่าน ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็จะโปรดให้ความอนุเคราะห์อย่างไม่เลือกชนชั้นวรรณะ โดยไม่เห็นแก่ลาภสักการะที่มีสาธุชนนำมาถวายให้แต่อย่างใด ครูบาเจ้ามักจะกล่าวว่า “อาตมาเองเป็นครูบาตนเดียวที่ยากจนที่สุด แต่รวยน้ำใจมากที่สุด” หมายถึงว่าท่านนำลาภสักการะต่าง ๆ เหล่านั้นที่ได้รับจากสาธุชน นำไปสืบสานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนและเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านสาธารณกุศลจนเป็นที่ประจักษ์ อาทิ
ชี้แนะคนที่ขาดกำลังใจ หรือ ที่พึ่งทางใจ ให้มีที่ปรึกษาชี้แนะที่ถูกทาง สอดคล้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อให้ทางออกที่เหมาะสมและนำไปใช้แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน
สำหรับคนที่ต้องการความสุขสงบในจิตใจสามารถมาปรึกษาสนทนาธรรมและปฏิบัติธรรมตามความสามารถในสติปัญญาของตน
สืบสานและเผยแผ่พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแบบล้านนา เพื่อเป็นการรักษาประเพณีอันดีงามและเป็นการสร้างคนดีในสังคมอีกทางหนึ่ง
นำปัจจัยสมทบการก่อสร้าง ถาวรวัตถุภายใน วัดเกษศรี ให้มีความเจริญรุ่งเรืองถือว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาวัดเกษศรีให้เจริญถาวรคู่กับบ้านเมืองภูกามยาว
นำปัจจัยสมทบกองทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณรภายในวัดเกษศรี ให้หมู่คณะสงฆ์และสามเณรมีความรู้และความสามารถ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองและพระศาสนาสืบไป
นำปัจจัยสมทบค่าภัตตาหารเช้า-เพล แด่พระภิกษุสามเณร ภายในวัดเกษศรี ให้มีกำลังกาย กำลังใจในการประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรมตามสติกำลัง เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
นำปัจจัยสมทบกองทุนคณะสงฆ์ในตำบล ตำบลใกล้เคียง ในอำเภอภูกามยาว และในจังหวัดพะเยาโดยจะถวายในวันปวารณาเข้าพรรษาในแต่ละปี และใช้จ่ายในกิจการงานพระพุทธศาสนาของวัดเกษศรี
นำปัจจัยสมทบทุนการศึกษานักเรียนที่เรียนดี แต่ยากจนในโรงเรียน ต่างๆ ในดุลพินิจ เป็นการให้โอกาสคนที่เรียนดี มีวิชาติดตัว เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
๙.นำปัจจัยสมทบเพื่อการสงเคราะห์ผู้ป่วย เด็กกำพร้า คนชรา และ คนยากจน ตามชนบทต่าง ๆ ให้บรรเทาความเดือดร้อน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


มารบ่มี บารมีบ่เกิด
จากความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นและแน่วแน่ของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี ทำให้ผู้ที่มิจฉาทิฎิและมีอคติด้วยความไม่รู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในวัตรปฏิบัติและปฏิปทาของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า จึงพยายามที่หาเหตุบ้าง กล่าวร้ายบ้าง ต่าง ๆ นานา แต่ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ไม่เคยนำมาใส่ใจเพราะท่านถือว่า “มารบ่มี บารมีบ่เกิด หรือศัตรูคือยาชูกำลัง” ดูอย่างครูบาเจ้าศรีวิชัย (ต๋นบุญแห่งล้านนา) ก็ยังเจอปัญหามาอย่างมากมายนานับประการ แต่ท่านก็สามารถฝ่าฝันฟันได้จนสำเร็จในที่สุดแม้ว่าจะใช้ระยะเวลาอย่างยาวนาน ถือว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีชั้นสูงที่ทำได้ยากประการหนึ่ง
ทุกวันนี้ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยา ได้รับการยอมรับว่าเป็นครูบาหนุ่มนักปฏิบัติธรรมและนักพัฒนา อย่างแท้จริง ที่สร้างบารมีโดยการให้ทานและมีเมตตากับคนทุกเพศทุกวัยทุกชนชั้นวรรณะไม่เลือกยากดีมีจน หรือเลือกที่รักมักที่ชัง ถ้าใครมาหาท่านพบปะสนทนาธรรมกับท่าน ท่านก็ยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายปราศรัยกัน ถ้าไม่ติดธุระหรือการงานใด ท่านก็มีเมตตาช่วยเหลือพูดคุยแนะนำ สนทนาธรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนั้นแล้วครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังได้นำพิธีกรรมสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ของทางล้านนาที่กำลังจะสูญหายไปมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับพิธีกรรมต่าง ๆ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และยังช่วยเหลือสาธุชนทั่วไปโดยเป็นยาใจหรือธรรมะโอสถแก่สาธุชนทั้งหลายให้ตั้งจิตตั้งใจ เป็นคนดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส เชื่อมั่นในตัวเอง ขยันหมั่นเพียร มีสติ พึ่งตนเอง มีศีลห้า ทำตนให้ เป็นประโยชน์ต่อสังคม ฯลฯ นี่คือหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า อันเป็นการสร้างบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ แม้ว่าครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะเกิดชาติสุดท้ายแล้วก็ตาม ก็ขอฝากความดีนี้ไว้ในโลก นำสัตว์ทั้งหลายที่มีบารมีร่วมกันข้ามพ้นโอฆวัฏฏะสงสาร แม้นว่าเขาเหล่านั้นยังไม่หลุดพ้นก็ขอ ให้เขาเหล่านั้นที่มีบารมีกระทำร่วมกับครูบาเจ้า ขอให้มีความสุข ความเจริญ ความรุ่งเรือง ความร่ำรวย เป็นเจ้าคนนายคน มีรถมียาน พาหนะ มีความสะดวกคล่องแคล่วในการงาน การค้าการขาย แคล้วคลาดปลอดภัยจากโรคภัย ไข้เจ็บ มีอายุมั่นขวัญยืน ความไม่มี ความไม่ได้ ขออย่าให้เกิดกับคนทั้งหลายที่บำเพ็ญบารมีมาร่วมกับครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ขอให้เขาเหล่านั้นพบพระพุทธศาสนาทุกชาติ ทุก ๆ ภพ ด้วยเทอญ

การเดินทางไปไหนมาไหนอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่ผู้คนที่รู้จักท่านทราบกันดี
ท่านเข้านิโรธสมาบัติครั้งละ 7 หรือ 9 วัน หลายครั้งแล้ว โดยเข้าแบบวิธีของท่านครูบาศรีวิชัย
โดยขุดหลุมลงประมาณครึ่งเมตร ปูพื้นด้วยหญ้า และวางผ้าขาวซ้อนกัน 9 ชั้น
เหนือศีรษะทำที่ที่กั้นมุงไว้ อธิษฐานไม่ลุกจากที่ ไม่ฉัน ไม่ขับถ่าย จนครบวาระที่ตั้งสัจจะไว้
มงคลวัตถุสำคัญของท่าน ได้แก่ พระอุปคุต พญามังกรคาบแก้ว พญานาคคาบแก้ว ฯลฯ
เสริมสิริมงคลดีทุกด้าน



ขอขอบคุณที่มา...http://www.siamamulet.net/phpboard/qb.php?Qid=225125

422


พระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด) วัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง ปราจีนบุรี
 
ชีวประวัติ

หลวงพ่อจาด หรือ พระครูสิทธิสารคุณ เดิมชื่อ จาด วงษ์กำพุช เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับวันอังคาร เดือนสี่ ปีวอก แรม 6 ค่ำ ที่บ้านดงน้อย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา บิดาชื่อนายปอ (บางตำราว่าชื่อ นายเป๊อะ) วงษ์กำพุช ส่วนมารดานั้นไม่ทราบชื่อ เนื่องจากถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเยาว์ ต่อมาบิดาได้ยกท่านให้เป็นบุตรบุญธรรมของนายถิน และนางหลิน สีซัง คหบดีชาวบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งทั้งสองท่านได้ให้ความรักและความเมตตาแก่ท่านมาก เพราะไม่มีลูกเป็นของตนเอง

ประวัติในวัยเยาว์ของท่านมิได้บันทึกไว้ แต่เมื่อท่านอายุครบ 20 ปี บิดาบุญธรรมของท่านได้นำท่านไปฝากกับพระอาจารย์ที่วัดบ้านสร้าง เพื่อเรียนการขานนาค การอยู่กับพระภิกษุรูปอื่น และการปรนนิบัติอาจารย์

เมื่อฝึกอบรมได้เป็นเวลาพอสมควรแล้วก็ถือเอาวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2436 ทำพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีท่านพระครูปราจีนบุรี แห่งวัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พระครูปราจีนบุรี (หลวงพ่อทอง)
วัดหลวงปรีชากูล อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
(พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา)


เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ได้เดินทางไปโปรดบิดา คือนายปอ ที่วัดเกาะแก้วเวฬุวัน ตำบลดงน้อย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วได้จำพรรษาที่วัดนี้

ขณะที่ท่านจำพรรษาที่วัดเวฬุวันนั้น ท่านได้มีโอกาสศึกษาวิชาจากพระอาจารย์จัน (บางตำราว่าชื่อ พระอาจารย์จีน) ซึ่งเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และยังเป็นผู้สอนภาคปฏิบัติ พระภิกษุจาดจึงได้ฝึกกรรมฐานจนแก่กล้า

ครั้นพรรษาที่สอง จึงได้ติดตาม พระอาจารย์อ้วน ไปศึกษาพระปริยัติธรรม กับ พระอาจารย์อยู่ วัดไกรสีห์ บางกะปิ กทม. และเมื่อพรรษาที่สี่ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาที่ วัดบางกระเบา

หลังจากนั้นท่านได้ออกธุดงค์อยู่ในป่าเป็นเวลาหลายปี ได้พบพระภิกษุมากมาย อาทิ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ฯลฯ

พระภิกษุจาดได้ศึกษาวิชาหลายแขนง เช่น คาถาการปล่อยคุณไสย เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน เมื่อพระภิกษุจาด อายุประมาณ 40 ปี ท่านได้เดินทางกลับไปจำพรรษา ณ วัดบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

หลวงพ่อจาดเป็นพระที่เก่งทางด้านคาถาอาคม ทั้งวิชาบังไพรล่องหน หายตัว และวิชามหาอุดอยู่ยงคงกระพัน แต่จะไม่แสดงตนว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ โดยท่านจะใช้วิชาดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

ยุคสมัยนั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามมหาเอเชียบูรพา วัตถุมงคลของหลวงพ่อจาด ได้มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่ และสร้างกันเป็นจำนวนมากนั้น เห็นจะได้แก่เมื่อคราวเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพาปี2483 ซึ่งพระคณาจารย์ ผู้ทรงคุณ วิทยาคม ต่างๆ ทั่วประเทศ ก็ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญกันในปีนี้เป็นจำนวนมาก หลวงพ่อจาดก็ได้รับอาราธนาจากจอมพล ป . พิบูลสงคราม ให้ไปปลุกเสกเครื่องรางของขลังเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารตำรวจและประชาชนจังหวัดปราจีนบุรี หลวงพ่อจาด สร้างเป็นเหรียญ นั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์ นั่งอยู่กลางดอกบัว มีทั้งเนื้อเงินลงยา และ ทองแดง เกียรติคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อจาดได้มาประจักษ์ขึ้นเมื่อ มีเครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิด ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ซึ่งเกิดปาฏิหาริย์เลื่องลือไปทั่ว จนได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

หลวงพ่อจาดก็ได้รับนิมนต์ให้ปลุกเสกของขลังมากมาย แต่ที่สำคัญ คือ แหวนมงคล 9 ที่ทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่ออกรบ จนเกิดเหตุอัศจรรย์เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูคือทหารไทยอยู่ยงคงกระพันชาตรี จนทำให้ชาวต่างชาติตั้งชื่อเรียกขานทหารไทยว่า ทหารผี

หลวงพ่อจาดดำรงสมณเพศเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั่วไป และเป็นที่เคารพนับถือของพระเถระผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

คุณความดีของท่านเป็นที่ทราบไปถึงทางการจึงได้รับสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้

พ.ศ.2447 ได้รับสมณศักดิ์ที่ พระครูจาด

พ.ศ.2457 เป็นเจ้าคณะแขวง อ.บ้านสร้าง

พ.ศ.2461 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2470 รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูสิทธิสารคุณ ระดับชั้นโท



หลวงพ่อจาดมรณภาพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2499 สิริอายุรวม 85 ปี
แม้ว่าหลวงพ่อจาด จะละสังขารลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีที่ได้ประกอบศาสนกิจมาตลอดชีวิต
พุทธศาสนิกชนชาวปราจีนบุรี ได้จดจำอย่างมิลืมเลือน
 
พระเครื่องของหลวงพ่อจาดบางส่วน

 พระเหรียญ หลวงพ่อจาดเหรียญรูปเหมือนเต็มองค์เนื้อทองแดง ปี 2485

 พระรูปหล่อ หลวงหลวงพ่อจาดรูปหล่อรุ่นแรก ปี 2484

 พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงหลวงพ่อจาดพระกริ่งพิมพ์กลางออกวัดบางหอย ปี85

ขอขอบคุณที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1445
                   ...http://p.moohin.com/037.shtml
                   ...http://forum.ampoljane.com/index.php?showtopic=25&st=140

423
ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันนะครับ... :053:

424
หลวงพ่อกัสสปมุนี
วัดปิปผลิวนาราม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง





ท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ ศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนฝรั่ง พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว
ทำงานกรมสรรพสามิต จนได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี แต่ท่านไม่ขอรับ
เพราะเริ่มมีดวงตาเห็นธรรมและเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย จนลาออกจากราชการ

ต่อมาท่านได้บวชเพื่อแสวงธรรม เมื่ออายุ 52 ปีในสำนักสมเด็จพระวันรัต วัดโพธิ์ ท่าเตียน
 
ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ต่อมาสมเด็จพระวันรัตได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระราชสังวราภิมนฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

ตลอดชีวิตในสมณเพศของหลวงพ่อ ท่านได้สมาทานธุดงควัตร ๔ ข้อมาตลอด คือ ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรชุดเดียว (จะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเก่าหรือชำรุด) เป็นวัตร รับบิณฑบาตเป็นวัตรและอยู่ป่าเป็นวัตร จนกระทั่งท่านมรณภาพครับ




ท่านเป็นผู้ฝักใฝ่ในการบำเพ็ญภาวนา
ผลแห่งการเจริญสมาธิภานาอยู่เนืองนิตย์ ทำให้ท่านระลึกอดีตชาติได้
ว่าเป็นท่านจุลกัสสปะ (1 ใน 7 ดาบส สกุลกัสสปะ สมัยพุทธกาล),
เป็นเม่งตี่ฮ่องเต้ กษัตริย์ผู้ริเริ่มนำพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนราว พ.ศ.600
ที่สุด ท่านได้ละสังขารไป เมื่อ วันพฤหัสที่ 11 สิงหาคม 2531

หลวงพ่อกัสสปมุนีเกิดที่กรุงเทพมหานคร มีนามก่อนบวชเป็นพระภิกษุว่า “ประจงวาศ” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ประยุทธิ วรวุธิ” นามสกุล “อาภรณ์ศิริ” บิดาของหลวงพ่อคือ “พระยาหิรรัชฏพิบูลย์ (ประวัติ อาภรณ์ศิริ) มารดานาม “นางพาหิรรัชฏพิบูลย์ (เผื่อน อาภรณ์ศิริ)”

หลวงพ่อมีพี่น้องสามคนครับ คนโตชื่อ“ประไพวงศ์” คนเล็กชื่อ “ประสาทศิลป์” ส่วนหลวงพ่อเป็นคนกลาง ในชีวิตของหลวงพ่อก่อนบวชท่านสมรส “นางประชุมศรี อาภรณ์ศิริ” มีบุตรชาย ๒ คนและบุตรี ๒ คน

เรื่องราวในชีวิตของหลวงพ่อเป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ 

ชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งที่มีความเป็นอยู่สุขสบายและมีตำแหน่งหน้าที่การงานชั้นสูงแต่กลับละทิ้งอย่างไม่ยี่หระ โดยเดินทางเข้าสู่ถนนชีวิตสายพระพุทธศาสนา การฝึกปฏิบัติธรรมอย่างมุ่งมั่นและมั่นคง ได้สร้างศรัทธาให้กับผู้ที่ได้พบเห็น

นอกจากนี้ในชีวิตของท่านที่น่าแปลกใจคือท่านไม่เคยเข้าศึกษาวิชาอาคมจากสำนักใดๆเลย แต่ก็สามารถเรียกศรัทธาได้จากผู้คนด้วยวัตถุมงคลที่มีความขลังแบบไม่จำกัด และที่สร้างศรัทธาได้แบบคาตาชาวต่างชาติคือ 

“การใช้พลังจิตช่วยขบวนรถไฟให้เคลื่อนที่ไปจอดยังสถานีที่มีความชันในประเทศอินเดีย” 

ย้อนหลังไปในสมัยที่หลวงพ่อกัสสปมุนีได้เดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย คุณเอื้อ บัวสรวง หนึ่งในผู้ติดตามได้เล่าถึงที่มาที่ไปของเรื่องนี้ว่า...

ในการเดินทางครั้งนั้นมีอุปสรรคเกิดขึ้นกับคณะของเรา ในตอนเช้ามืดวันหนึ่งตู้นอนรถไฟที่เราเช่าไว้สำหรับคณะของเรา ณ สถานีรถไฟแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของอินเดีย ถูกจอดทิ้งไว้อยู่ห่างจากตัวสถานี ๒๐ เส้นและเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข็นมาไว้ที่ใกล้ๆสถานีเพื่อใช้ประกอบกิจส่วนตัว เมื่อไปขอร้องให้เจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟช่วยเข็นก็พบว่าทั้งสถานีมีเจ้าหน้าที่อยู่เพียงสองคน

หมู่คณะจึงลงมติว่า”ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ด้วยการระดมแรงงานคนหนุ่มและแรงงานพระสงฆ์ที่ร่วมคณะอีก ๕-๖ รูปเพื่อช่วยกันเข็นรถไฟตู้นอนไปไว้ในสถานี แต่เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บนเนิน การใช้แรงงานดังกล่าวจึงไม่ประสบความสำเร็จ เข็นเท่าไรก็ไม่ขยับ

คุณเอื้อจึงได้ลองอาราธนาหลวงพ่อกัสสปมุนีด้วยสำเนียงที่เป็นเชิงเล่นว่า

“ช่วยที หลวงพ่อ ช่วยที หลวงพ่อ”

หลวงพ่อท่านตอบว่า

“ก็ลองดูยังได้”

ว่าแล้วหลวงพ่อกัสสปมุนีจึงได้ใช้ไม้เท้ายาวราว ๑.๕๐ เมตรยกชูขึ้นไปในอากาศแล้วก็ส่งหัวไม้เท้ามาที่คุณเอื้อ จากนั้นท่านจึงได้ตั้งท่าเดินนำหน้า คุณเอื้อจึงรีบคว้าไม้เท้าที่ท่านส่งมาทันที คุณเอื้อได้บันทึกถึงเรื่องราวตอนนี้ไว้ว่า

“ทันใดนั้น ผมรู้สึกราวกับถูกไฟฟ้าดูด หรือเหมือนผมไปจับสายไฟฟ้าแบตเตอรี่รถยนต์ แล้วรถไฟก็เคลื่อนตามหลวงพ่อกัสสปมุนีไป ผมยังได้ร้องขอให้พระอาจารย์วิริยังค์ช่วยด้วย ท่านอาจารย์วิริยังค์ตอบว่าไม่ได้ศึกษามาทางนี้”

เหตุการณ์ดังกล่าวจบลงตรงที่รถตู้นอนได้มาจอดที่ชานชาลาสถานีอย่างเรียบร้อย ซึ่งการที่หลวงพ่อกัสสปมุนีสามารถทำให้ตู้นอนรถไฟเคลื่อนที่จากที่ต่ำผ่านเนินสูงได้นั้น หลายความเห็นมีความเชื่อตรงกันว่า

“เป็นผลมาจากอำนาจฌานสมาบัติที่หลวงพ่อได้บำเพ็ญเพียรมา”

และเมื่อมีลูกศิษย์ถามว่าหลวงพ่อสามารถทำได้อย่างไร ท่านตอบว่า

 

“ใช้การรวมพลังเข้ามาเป็นหนึ่งและออกเดินนำหน้าทันทีไม่เหลียวหลัง ไม่ใช่ อิทธิวิธี (อภิญญา)หากแต่เป็นการใช้ อาโลกกสิณ (ความว่าง) “

ครับนี่คือตัวอย่างที่แสดงถึงบารมีของหลวงพ่อ อันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความศรัทธาขึ้นในหมู่คณะ โดยมีความมหัศจรรย์ของพลังจิตเป็นแรงหนุน ซึ่งผมเชื่อว่าอย่างน้อยมันก็เป็นการบอกให้เพื่อนๆทราบว่า

“ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องที่จะได้มันมาโดยง่าย” 

ในชีวิตของหลวงพ่อกัสสปมุนี ท่านได้อนุโลมให้สร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นอนุสติน้อมนำคนที่ยังต้องการสิ่งยึดมั่นทางจิตใจ

สิ่งที่น่าสังเกตุคือ “ตัวยันต์” ที่ท่านได้นำมาไว้ด้านหลังขององค์พระ

จะว่าไปแล้ว ตัวยันต์ดังกล่าวถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหลวงพ่อเลยครับ พบเห็นที่ไหนไม่ผิดฝาผิดตัวแน่นอน

จากความรู้ส่วนตัวที่ได้สะสมมาพบว่าในรูปแบบของตัวยันต์ดูอย่างไรก็ไม่อาจเข้าใจได้ครับ เมื่อสอบถามจากบรรดาลูกศิษย์จึงทราบว่าตัวยันต์ดังกล่าวหลวงพ่อท่านได้จากนิมิตในขณะที่ท่านนั่งสมาธิ คุณสมบัติทราบเพียงแต่ว่า “ครอบจักรวาล”

 

พระยันต์นี้ชื่อว่า “พุทธเกษตร”

พุทธะ หมายถึง ผู้รู้

เกษตร เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ที่อยู่ ที่ตั้ง

ชะรอยหรือว่านี่คือ “ปริศนาธรรม” ด้วยเหตุผลที่ว่าจักรวาลนี้ไม่ว่ามันจะกว้างใหญ่แค่ไหน มันก็ยังมีที่ตั้งของมัน แน่นอนครับเมื่อมีที่ตั้ง มันก็ต้องดำรงอยู่ และดับไปในที่สุด เพียงแต่คนที่จะทราบก็คือ “พุทธะ” เท่านั้น

 

เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุทั้งหลายกำลังเดินกันอยู่ในป่า พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงกอบใบไม้ที่มีมากมายเกลื่อนกลาดอยู่ขึ้นมากำมือหนึ่งและทรงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า 

“ใบไม้ในกำมือนี้มากหรือน้อยเมื่อเทียบกับใบไม้หมดทั้งป่า” 

ภิกษุทั้งหลายก็ตอบว่า 

“ใบไม้ทั้งป่ามีอยู่มากกว่ากันมากจนมิอาจนำมาเปรียบเทียบได้”

 พระพุทธองค์จึงตรัสว่า 

“เรื่องที่ตรัสรู้และรู้นั้นมันมาก เท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่เรื่องที่จำเป็นที่ควรรู้ ควรนำมาสอนและนำมาปฏิบัติ อันได้แก่ "เรื่องการดับทุกข์" นั้น เท่ากับใบไม้กำมือเดียว” 

ครับเรื่องราวต่างๆในโลกนี้ล้วนมีมากมายเหมือนใบไม้ในป่า เรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ต้องสอน เรื่องที่สมควรบอกเป็นรายบุคคลก็มีมากบางเรื่องที่พูดไปแล้วเกิดโทษ ก็ให้งดไว้ บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องรู้ เพราะไม่มีความจำเป็น ก็มีเยอะ แต่เรื่องที่ต้องสมควรรู้เกี่ยวกับหลวงพ่อกัสสปมุนี ได้นำเสนอ...ไปก่อนหน้านี้บ้างแล้ว ลองคลิ๊กหาอ่านดู...สวัสดีครับ

 


ขอขอบพระคุณ...ท่าน... ศิษย์กวง
...http://forum.ampoljane.com/index.php?s=96147d84a291e574533069bc2de81b01&showtopic=25&st=160
...http://www.oknation.net/blog/sitthi/2009/12/01/entry-1
ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิง หนังสือปกิณกสารธรรม “อนุสรณ์ ๑๐ ปีแห่งการมรณภาพของหลวงพ่อกัสสปมุนี” หนังสือ “หกเดือนบนภูกระดึงและเมื่อข้าพเจ้ามาพบที่ใหม่”
คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย สำหรับภาพถ่าย เพื่อนต่อกับคำแนะนำ คุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรี สำหรับกำลังใจครับ
 

425
กราบนมัสการหลวงปู่รอด :054:...ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง...และขอร่วมไว้อาลัยด้วยครับ...

426
สวยงามดีครับ...หลวงพ่อยิ้มเป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในโบสถ์เก่าแก่อายุหลายร้อยปี...
ของวัดท่าการ้องครับ...รู้สึกว่าถ้าจำไม่ผิด...เวลาใครไปบนขอเรื่องต่างๆ
จากหลวงพ่อยิ้ม...ให้ขอได้ไม่เกิน 4 ข้อ...ผิด...ถูก...ต้องขออภัยด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ...

427
สวยงามเข้มขลังดีครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม :053:

428
มีพระเครื่องรุ่นฉลองอายุ 6 รอบของท่านครับ...เป็นเหรียญ 1 เหรียญ กับพระผงสีขาวรูปยืนถือไม้เท้า 1 องค์...ไม่ทราบว่าท่านศักสิทธิ์ทางไหนครับ

วัตถุมงคลของหลวงพ่อพุทธคุณ... ดีทุกด้าน...ครอบจักรวาลครับ

429
ขอเตือนว่าข้อความที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเรื่องจริงอิงนิทานที่เขียนโดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี หากท่านบังเอิญได้มาอ่านข้อความนี้แล้วไม่เห็นด้วย ก็ขอให้ท่านทำใจเป็นกลาง ๆ อย่าเพิ่งเชื่อ และอย่าเพิ่งไม่เชื่อ เพื่อความปลอดภัยของท่านเอง เพราะทุกวันนี้ในนรก ได้ข่าวว่าไม่มีที่จะให้อยู่แล้ว แน่นเอียด เพราะมนุษย์ทำแต่บาป หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ตกนรกโดยไม่รู้ตัวก็คือการด่าว่าหรือดูถูกปรามาสพระอริยเจ้านั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงขอเตือนท่านไว้ล่วงหน้าว่า อย่าได้ปรามาสดูถูกหลวงพ่อฤาษีลิงดำโดยเด็ดขาด!
เริ่มเรื่อง
เนื่องจากหลวงพ่อฯ ได้นิมิตเห็นพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ จึงได้ฟังพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าโดยตรง
มีคนเล่าว่าในอดีตชาติหลวงพ่อท่านเคยเกิดเป็นลูกของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมาหลายชาติ ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงทรงเมตตาหลวงพ่อฯมากเป็นพิเศษถึงขั้นมาสนทนาด้วยได้ แม้แต่ในประวัติของหลวงปู่มั่นก็ยังมีตอนหนึ่งกล่าวว่าพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ได้เสด็จมาอนุโมทนาที่หลวงปู่มั่นท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านจะสามารถติดต่อกับพระพุทธเจ้าได้
จากข้อความบางตอน ....
" พุทธพยากรณ์ วันที่ 20 สิงหาคม 2531

พระที่จบ ป.4 มี 4 องค์
พระที่จบ ป.3 กำลังเรียน ป.4 มี 17 องค์
พระจบ ป.3 ยังไม่เข้าเรียน ป.4 มี 13 องค์
ป.2 ที่เป็นพระจบ 1 องค์ ที่เป็นฆราวาสจบ 32 คน
ป.1 พระ 13 องค์ ฆราวาส 137 คน
"อีก 10 ปี พระจบ ป.4 อีก 7 องค์ นอกนั้นจบเมื่อใกล้ตาย ฆราวาสจะจบ ป.4
เมื่อใกล้ตายจากนี้ไปอีก 50 ปี อีกนับแสนคน..."
(ป.1=พระโสดาบัน, ป.2=พระสกิทาคามี, ป.3=พระอนาคามี, ป.4=พระอรหันต์)
หมายความว่า ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2531 ในประเทศไทยมีพระอรหันต์ 4 องค์
พระอนาคามี 17+13 = 30 องค์
พระสกิทาคามี 1 องค์ (ที่กำลังบวชเป็นพระอยู่ ณ เวลานั้น) + 32 องค์ (ที่ยังเป็นฆารวาสอยู่) = 33 องค์
พระโสดาบัน 13 องค์ (ที่กำลังบวชเป็นพระอยู่ ณ เวลานั้น) + 137 องค์ (ที่ยังเป็นฆารวาสอยู่) = 150 องค์
รวม ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2531 ในประเทศไทยมีพระอริยเจ้าทั้งสิ้น 4+30+33+150 = 217 องค์
เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศไทยในเวลานั้นซึ่งมี 50 กว่าล้านคน จะเห็นได้ว่าในประเทศไทยมีพระอริยเจ้าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ๆ เพราะกว่าจะเป็นพระอริยเจ้าได้นั้น ต้องสั่งสมบารมีมานับชาติไม่ถ้วน ซึ่งเรา ๆ ท่าน ๆ ก็เป็นได้เช่นกัน ถ้าหมั่นสร้างความดี ให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ แต่โดยมากแล้วคนเราบุญบารมียังไม่ถึง แม้แต่เพียงจะมีศรัทธามานับถือศาสนาพุทธก็นับว่ายากแล้ว แต่บุคคลที่มีศรัทธาอยู่แล้ว ถ้าฝึกปฏิบัติสมาธิก็จะพบกับความจริงเข้าสักวัน หมดความสงสัยในบุญบาป นรกสวรรค์ ไม่ต้องไปคอยถามใครอีกต่อไป เพราะรู้ประจักษ์เห็นแจ้งด้วยใจของตัวเองอยู่แล้ว

พุทธพยากรณ์ที่ตึกกองทุน "สมเด็จองค์ปัจจุบันท่านพูดว่า
ดีแล้ว...เรื่องเบื้องต้นไม่ต้องห่วง....เรื่องฌานโลกีย์พวกแกนะไม่มีหรอก
ไม่ต้องห่วงสั้น ตียาวเลย พวกแกไม่มีใครเหลือหรอก" ถามว่าเมื่อก่อนนี้ละ
ท่านบอกว่า
"เมื่อก่อนนี้ยังไม่ถึงเวลา ท่านสอนยากมาเรื่อย เพราะยังไม่ถึงเวลา
ถามว่าถ้าเขามาใหม่ล่ะ ตอบว่ามาใหม่ก็เหมือนกันมันเต็ม
การฟักตัวแม้จะอยู่ที่อื่นก็ตาม มันก็เต็ม เวลานี้
เทปและหนังสือสั่งมาซื้อกันตั้งเยอะ เทปนี่มีประโยชน์มาก"
สมเด็จท่านทรงตรัสต่อไปว่า "อีก 20 ปีข้างหน้า จะมีพระอรหันต์นับแสน" ไม่ใช่เราผู้เดียวเป็นผู้สอน คือว่าทั่วๆไป กลุ่มเรานี่จะมาก คำว่า
"กลุ่มเรา" นี่อาจไม่มีตัวมาอยู่นะ เขาอาจมีหนังสือมีเทป"
แล้วท่านตรัสต่อไปว่า
"ที่ฉันให้บันทึกเสียงใหม่ ทำเป็นตำราใหม่ เพราะว่าถึงเวลา
เวลานี้คนที่จะถึงเวลาเข้าถึงมุมง่ายแล้ว นี่เป็นเวลานะ คำว่า "เวลา" หมายถึง
กำลังใจมันตีขึ้นมา มีแรงขึ้นๆ"
ก็เลยถามท่านว่า ตอนก่อนทำไมไม่ให้สอนแบบนี้ ท่านบอกว่าสอนไม่ได้หรอกคุณ...!
คนมันหาว่าง่ายเกินไป เลยไม่เอาเลย ต้องยากๆ.."

พุทธพยากรณ์ วันที่ 26 ตุลาคม 2535 (บ้านสายลม กรุงเทพฯ)
...สัญญาต่ออายุหมดไปเมื่อวันที่ 18 แล้วก็ต่อมาวันที่ 26
เสมหะก้อนใหญ่มันออกทุกอย่างหายหมด แล้วท่านก็บอกว่า
"นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปให้สอนเฉพาะสังโยชน์"
ท่านบอกต่อไปว่า "ขอให้อยู่ต่อไปสักหน่อยหนึ่ง ถามท่านว่า
ถ้าอยู่แล้วจะมีประโยชน์อะไร ท่านบอกว่า "นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
(ท่านไม่ได้บอกกำหนด) จะมีคนบรรลุอรหันต์ถึง 700,000 คนเศษ"


ขอขอบคุณที่มา : พระรัตนตรัย.com
http://www.praruttanatri.com/

430
 
 
   ประวัติ พระอธิการทองอยู่ จนทสาโร (อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเสร่คงคาราม)
หลวงพ่อทองอยู่ นามสกุล บุญเรือง เกิดที่บ้านบางเสร่ บิดาชื่อ ผึ้ง มารดาชื่อ ฮุ่น เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2430 ปีชวด วันอังคารขึ้น 14 ค่ำ เดือน 1 มีพี่น้องรวม 8 คน
 
ในสมัยเด็กครอบครัวของท่านได้อพยพไปทำมาหากินที่ ตำบลบางเหี้ย คลองด่าน เมื่ออายุครบอุปสมบท ปี พ.ศ.2450 ท่านได้อุปสมบท ณ.วัดโคธาวารี (วัดบางเหี้ย) คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ   โดยมีพระครูพิพัฒน์นิโรจกิจ (หลวงพ่อปาน) เป็นพระอุปัชฌาย์     ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและการศึกษาด้านคาถา อาคมต่างๆจากหลวงพ่อปาน  ตลอดระยะเวลา 8 พรรษา    ท่านออกเดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อปานตลอดเวลา เมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพลงและเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อปานแล้ว  ท่านได้ลาสิกขาบทตามโยมบิดาของท่านมาที่บางเสร่   ช่วยประกอบอาชีพต่างๆช่วยเหลือโยมบิดาตามความสามารถและมีครอบครัว ใช้ชีวิตของการเป็นฆราวาสเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ปี จนในปี พ..ศ2463 ภรรยาของท่านได้คลอดบุตรคนที่ 3 ภรรยาตายแต่บุตรปลอดภัย   ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ ยกบุตรให้คนอื่นเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมทั้งหมด เมื่อทำศพของภรรยาเรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ.2463 ท่านได้เข้ามาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง ณ.วัดบางเสร่คงคาราม โดยมีท่าน พระครูวรเวทมุณี (หลวงพ่ออี๋) วัดสัตหีบเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า " จนทสาโร
 
    เมื่ออุปสมบทแล้วได้อยู่ศึกษาเล่าเรียนพุทธอาคมต่างๆอยู่ระยะหนึ่งจึงได้ออกธุดงค์ไปตามจังหวัดต่างๆ ตลอดภาคใต้ ภาคเหนือ และย้อนมาจังหวัดระยองและจังหวัดตราด  เป็นเวลาหลายสิบปีและท่านกลับมาที่วัดบางเสร่คงคารามอีกครั้งก็ตรงกับสมัยที่ พระอธิการแฝง โฆสโก(นามสกุล คงซ่าน)เป็นเจ้าอาวาส เมื่อหลวงพ่อแฝงมรณภาพแล้วท่านจได้ปกครองวัดบางเสร่คงคารามสืบมาจนมรณภาพ ในช่วงที่ท่านออกธุดงค์รอนแรมอยู่นั้นท่าน
ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆกับอาจารย์หลายรูป 
 หลวงพ่อทองอยู่ได้ศึกษาวิชาจากพระเกจิอาจารย์หลายท่านดังนี้
1. หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย... ได้ศึกษาการสร้างวัตถุมงคลและการสร้างเครื่องรางของขลังตำรับโบราณจากหลวงพ่อปาน
2. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ... ได้ศึกษาการสมถะวิปัสสนากรรมฐาน และการสร้างปลัดขิก จากหลวงพ่ออี๋
3. หลวงพ่อนิต วัดท่ากง จังหวัดตราด... ได้ศึกษาการทำผ้ายันต์ และตระกรุด เมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์
4. หลวงพ่อโต วัดเขาชากกระโดน จังหวัดระยอง... ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อโต เมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์
และนอกจากนี้หลวงพ่อทองอยู่ยังได้เล่าเรียนวิชาจาก หลวงพ่อดวง และหลวงพ่อพุ่ม เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกด้วย.
    เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเสร่คงคารามนั้น ท่านตั้งอยู่ในเมตตาธรรม ชอบความมักน้อยและสันโดษ ทุกสิ่งที่ท่านได้รับจากการ
ถวายของญาติโยมที่ศรัทธา ท่านได้นำไปสร้างถาวรวัตถุจนหมดสิ้นเป็นที่เคารพของชาวบ้านและชื่อเสียงของท่านร่ำลือไปจนทั่ว ท่านนั้นชอบสมถ
วิปัสสนากรรมฐาน และมีความแก่กล้ามากองค์หนึ่งแต่ท่านนั้นจะไม่โอ้อวด โดยท่านมักไปนั่งทำสมาธิอยู่เสมอที่คอเขาปากทางเข้าบางเสร่และเป็น
ที่เกิดของวัดสามัคคีบรรพตขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2491     ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ครั้นทางวัดสามัคคีบรรพต สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและมี
เจ้าอาวาสปกครองเรียบร้อยแล้ว   ท่านก็ได้เริ่มสร้างอุโบสถของวัดบางเสร่คงคาราม ต่อในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2514 ในวันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน
7 ปีกุน ยังไม่ทันแล้วเสร็จได้แค่งานมุงหลังคาโบสถ์ของวัดบางเสร่คงคารามเท่านั้น หลวงพ่อทองอยู่ก็มรณภาพด้วยโรคชรา... 
หลวงพ่อทองอยู่มรณภาพเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 เวลา 15.20 น. วันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีชวด
ที่โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ฯ สัตหีบ รวมอายุของหลวงพ่อทองอยู่ได้ 85 ปี พรรษาที่ 52 โดยศพของหลวงพ่อทองอยู่ปัจจุบันได้ตั้งศพ
ของท่านเพื่อไว้ให้ประชาชนและศิษยานุศิษย์ของท่าน       ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศได้เข้ามาเคารพบูชาอยู่บนวิหารจนถึงปัจจุบันนี้...     
 ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดบางเสร่คงคาราม
           1. หลวงพ่อภู ภูจ้อย
           2. พระอธิการแฝง โฆสโก (คงซ่าน)
           3. พระอธิการทองอยู่ จนทสาโร (บุญเรือง)
           4. พระครูทัศนียคุณากร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน


ประวัติและความเป็นมา... วัดบางเสร่คงคาราม
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2400 ถึงปัจจุบันมีอายุมากกว่า 150 ปี
คนในตำบลบางเสร่บางครั้งเรียกวัดนี้ว่า " วัดใน " หรือ " วัด
บางเสร่ใน "     คนในตำบลบางเสร่และบุคคลทั่วไปเมื่อเอ่ย
ชื่อวัดบางเสร่   ก็จะนึกถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของตำบล
บางเสร่ " หลวงพ่อทองอยู่ "    ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัด
บางเสร่คงคาราม      ปัจจุบันแม้ท่านได้มรณภาพไปแล้วแต่
ก็ยังมีประชาชนและศิษยานุศิษย์ของท่าน    ซึ่งมีอยู่ทุกภาค
ของประเทศมาเคารพสักการะรูปหล่อของท่านโดยมิได้ขาด.

     
   

พระเครื่องของหลวงพ่อทองอยู่บางส่วน

     



ขอขอบคุณที่มา...http://www.bangsaray.go.th/sheettravel2.html


431
ขอขอบคุณท่าน...ขุนแผนที่นำคำสอนของสมเด็จองค์ปฐมมาให้อ่าน...
กราบนมัสการ...สมเด็จองค์ปฐมและหลวงพ่อฤาษีลิงดำด้วยครับ
:054:

432
ยินดีด้วยครับ...ที่ได้เหรียญหลวงพ่อ...เพิ่มมาอีก 1 เหรียญ รุ่นนี้หายากครับ
ส่วนมากเขาจะหวงกัน...ไม่ออกมาง่ายๆครับ
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม...สวยงามครับ... :016:

433
ขอบคุณครับ...ที่นำข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ ให้ทราบทั่วกันครับ... :054:

ขออนุโมทนาสาธุ...ครับ

434
วัดถ้ำแก้วกาญจนภิเษก ตั้งอยู่ที่บ้านหัวเขาแรด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เหนือเขื่อนวชิราลงกรณ์หรือเขื่อนแม่กลอง  ซึ่งเลยวัดถ้ำเสือไปอีก 2 กม.หลวงพ่อเจ้าอาวาสเล่าว่าเดิมเป็นสถานที่สัมปทานของโรงโม่หิน ที่ระเบิดภูเขาหินปูนแห่งนี้เป็นวัตถุดิบ จนคืนหนึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปเข้าฝันคุณยายท่านหนึ่งซึ่งเป็นชาวบ้านละแวกนั้นว่ามีถ้ำ...ศักดิ์สิทธิ์อยู่... ชาวบ้านกับชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติในจังหวัดกาญจนบุรี จึงรวมตัวกันเรียกร้องให้มีการหยุดระเบิดหินก่อนเพื่อทำการพิสูจน์ขุดหาถ้ำ... ถ้าไม่พบจะให้ดำเนินการต่อไป

มีเรื่องเล่าว่า... หลังจากชาวบ้านช่วยกันค้นหาถ้ำ... จนเหนื่อยอ่อน ก็ไม่พบแต่ประการใด  คุณยายท่านนั้นจึงได้จุดธูปบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขา หลังจากนั้น ก็เกิดฝนตกและมีฟ้าผ่าลงมาที่ก้อนหินที่ปิดปากถ้ำอยู่  ชาวบ้านจึงช่วยกันงัดก้อนหินก้อนนั้นออก ก็พบปากทางเข้าถ้ำพอดี  ครั้งเมื่อมุดเข้าไป  ก็พบกับ ถ้ำแก้ว... ที่สวยงาม  เป็นห้องโถงมีหลายห้องหลายถ้ำจนมีผู้คนแห่แหนเป็นพันๆ คนไปเที่ยวชม  ก็เลยมีการเจรจาให้เลิกระเบิดเขา และกลายเป็นวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรม และสถานที่ท่องเที่ยวในทุกวันนี้

เชิญชมรูปภายในถ้ำดังต่อไปนี้
























นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์...ซึ่งไหลออกมาตามธรรมชาติซึ่งถ้าใครไปตักมาดื่มกินหรือนำมาลูบศีรษะ...แล้วแต่จะอธิษฐาน
มีผลสำเร็จสมความปรารถนามาแล้วมากมาย

ท่านใดมีโอกาสผ่านไปแถวนั้น...ลองแวะไปเที่ยวชมกันนะครับ...สวัสดี

ด้วยความปรารถนาดี...ธรรมะรักโข

ขอขอบพระคุณภาพประกอบจาก...http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E6936775/E6936775.html

435


..แล้วก็จงจำไว้ด้วยว่ามันไม่ใช่แต่ขันธ์ 5 ของฉัน แม้แต่ขันธ์ 5ของเธอ ก็เหมือนกัน ขันธ์ 5ของคนอื่นใด ๆ ในโลกก็เหมือนกัน แม้วัตถุต่าง ๆ ที่เป็นธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุเหล็ก ตึก บ้านช่อง วัตถุแข็ง อ่อน อากาศคือ ธาตุลม ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ฐานที่ตั้งของความสุข มันเป็นฐานที่ตั้งแห่งความทุกข์ มันไม่มีสภาพทรงตัว ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนในที่สุดมันก็สลายตัว ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อนัตตา

ความจริงฉันไม่มีอะไรวิเศษเลย ขันธ์ 5 ของฉันมันก็เลว มันจะพังสลาย สภาพร่างกายก็ไม่ดี ความจำก็ไม่ดี อะไรก็ไม่ดี ทุกอย่างมันหาความดีอะไรไม่ได้

ตราบใดที่พระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระจอมไตรยังมีอยู่ครบถ้วน ทั้งพระธรรมวินัย ในขณะนั้นถ้าคนเอาจริงปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนเป็นพระอรหันต์ได้หมดทุกคน

การเป็นพระโสดาบันก็ดี การเป็นพระสกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ก็ดี เขาศึกษากันตัวเดียว คือ สักกายทิฏฐิ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิ คือ ร่างกาย (หรือ ขันธ์ 5 หรือ รูปนาม) ได้ตัวเดียวก็เป็นพระอรหันต์

ก่อนที่จะใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ อันดับแรกต้องเข้าฌานให้ถึงที่สุดที่เธอทรงได้เข้าฌานออกฌานสลับกันมาสลับกันไป ให้มันมีอาการทรงตัว แล้วทำจิตให้ทรงในฌานให้แนบสนิททรงตัว มีความสุขที่สุด ถ้าได้สมาบัติ 8 เป็นกำลังใหญ่ ถ้าได้มโนมยิทธิก็ยกจิตไปไว้พระนิพพานกับองค์สมเด็จพระบรมพิชิตมารสัมมาสัมพุทธเจ้า ถอยกำลังถึงอุปจารสมาธิ พิจารณาขันธ์ 5 ว่า ขันธ์ 5 มันเป็นภัยสำหรับเรา มันเป็นวัตถุธาตุที่สร้างแต่ทุกข์ สร้างแต่โทษ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยของความสุข มองดูขันธ์ 5 คือ ร่างกายเกิดมาเราต้องเลี้ยงดูมันเท่าไร มันชอบอะไร เราให้มันกินหมด แต่เราคือจิตไม่ต้องการให้มันป่วย แล้วร่างกายยังขืนป่วย เพลีย เจ็บปวด หิวกระหาย ร้อนหนาว ยุ่งวุ่นวาย ฉันก็ไม่เคยต้องการให้มันแก่มันก็แก่ แล้วคนที่ตายไปก่อนเราเขาไม่ต้องการจะตายมันก็ตาย ในเมื่อร่างกายหรือขันธ์ 5 มันมีความเลวทรามอย่างนี้ จิตเราจะคบค้าสมาคมมันเพื่อประโยชน์อันใด

ตั้งใจจับจุดไว้เพื่อพระโสดาบัน
1. ระงับความพอใจในขันธ์ 5 เสีย คิดว่าร่างกายมันตายอยู่ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกไม่ลืมความตาย เป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนารวมกัน
2. ทรงศีลให้บริสุทธิ์ ควรทำเป็นสีลานุสสติกรรมฐาน ทรงศีลให้เป็นกำลังฌาน คือ ทรงอารมณ์อยู่ในศีลตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องทางใจ ไม่ใช่ต้องไปนั่งหลับตาปี๋ ให้ลืมตาทำงาน คุยกับหมากับแมว หรือเจอะหน้าคนด่าคนนินทา ศีลเราทรงตัวไม่หวั่นไหวใช้ได้ เป็นการตัดสังโยชน์ ข้อ 2 สีลัพตปรามาส
3. ตัดวิจิกิจฉา โดยการน้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัยทั้ง 3 ประการ คือ ทรงพระกรรมฐาน 3 ให้เป็นฌาน คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ให้ทรงตัว
4. ตัดสินใจทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ต้องการเกิดเป็นคนรวยสวยแข็งแรง ไม่ต้องการเกิดเป็นเทพ เทวดา พรหม กำลังใจมุ่งพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน

การที่จะหลีกหนีบาปกรรมชั่วหรือนรกได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ทั้ง 4 ข้อนี้ หรือตัดสังโยชน์ 3 ประการได้ ท่านให้ชื่อว่าผู้เข้ากระแสพระนิพพาน คือ พระโสดาบัน ท่านผู้นั้นบาปเก่าทั้งหมดตามไม่ทัน ไม่สามารถถูกลงโทษได้แล้วก็ท่านผู้นั้นจะไม่มีการตกนรก ไม่เกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานต่อไปอีกทุกชาติที่เกิด จะวนเวียนเฉพาะเป็นมนุษย์ เทวดากับพรหม และต่อไปถ้ากำลังใจเต็มไม่สนใจร่างกาย ไม่สนใจเทวดาพรหมก็ไปนิพพาน
การเป็นพระสกิทาคามีก็มี 4 ข้อ เช่นพระโสดาบัน แต่มีคุณธรรมเพิ่มขึ้นมาจากศีล 5 ข้อ คือ กรรมบถ 10 คือ เพิ่มอีก 5 ข้อ นอกจากศีล 5 แล้วคือไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ไม่คิดอยากได้ของของผู้อื่น ไม่คิดผิดจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ คือ มีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ไม่มีอะไรในโลกนี้จีรังแน่นอ มีแต่ความเสื่อมทรุดโทรมสูญหายแตกสลายในที่สุด

การปฏิบัติจิตเพื่อเป็นพระอนาคามี คือ นอกจาก 4 ข้อ แรกของการเป็นพระโสดาบัน และกรรมบท 10 ของพระสกิทาคามีแล้วก็เพิ่ม

1. กายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน ให้ชั่งใจควบกับสักกายทิฏฐิ นอกจากเห็นว่าร่างกายตายแน่แล้ว เมื่อมีชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความสกปรกเน่าเหม็นตลอดเวลา
2. ระงับความโกรธความพยาบาท ด้วยความเมตตา พรหมวิหาร 4 หรือ ระงับด้วยญาณสมาบัติ ใช้วิปัสสนาญาณ คือ สักกายทิฏฐิควบคุมไว้ คนที่เขาโกรธเรา แกล้งเรา ด่าว่าเรา เขาด่าขันธ์ 5 และขันธ์ 5 ก็ไม่ใช่ของเราอยู่แล้ว จิตเราก็ไม่ใช่ขันธ์ 5 เขาอยากจะดุด่าก็เชิญว่าไปตามใจ เราไม่สะดุ้งสะเทือน คนด่าว่าเราเขาก็ตกนรกไปเอง

ความเป็นพระอรหันต์ นั่นก็เป็นเรื่องขี้ผงแล้วง่ายมาก เพิ่มเข้ามาจากร่างกาย ธาตุ 4 คือ รูปทั้งหมดในโลกอย่าคิดว่าดีงาม

1. อย่าติดในรูปฌาน ที่เราเข้าฌานได้ว่าเป็นของวิเศษ รูปฌานก็คือร่างกาย ธาตุ 4 คือ รูปทั้งหมดในโลกอย่าคิดว่าดีงาม
2. อย่าติดในอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณนัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา นาสัญยตนะ ที่เราได้แล้วว่าเป็นของวิเศษ ให้ถือว่าเป็นกำลังใหญ่ที่ช่วยให้เราคือ จิตเข้าประหัตประหารกิเลส โลภ โกรธ หลง เท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้อรูปฌานก็ไม่จำเป็น อรูปฌาน ก็คือ นามในขันธ์ 5 มีสังขาร ความคิด เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ วิญญาณ ประสาท ไม่ใช่ของจิต
3. กำจัดมานะออกจากจิต อย่าทะนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ ได้อภิญญา สมาบัติเราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา เราดีเท่าเขา อารมณ์นี้ไม่ดีก็ทิ้งไปเสีย ด้วยการคิดว่า ทุกคนเกิดมามีทุกข์จากขันธ์ 5 เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นกัน ให้มีเมตตาเห็นอกเห็นใจทั้งคนและสัตว์
4. อุทธัจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน ไร้สาระ คือ คิดทางโลกไม่มี พระอนาคามีก็ฟุ้งไปในด้านของกุศลที่ไม่ตรงกับพระนิพพาน คือ คิดว่า แค่เทวดา พรหมก็พอ ท่านห้ามคิดแบบนั้น ให้จิตมุ่งตรงพระนิพพานเป็นพรหมก็ไม่พ้นทุกข์
5. อวิชชา เป็นสังโยชน์ข้อ 10 ข้อสุดท้าย ตัดอารมณ์พอใจ (ฉันทะ) อารมณ์รัก (ราคะ ) ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เพราะมีปัญญาเข้าใจแล้วว่า พระนิพพานเป็นแดนทิพย์ อมตะสูญจากความทุกข์ ความไม่แน่นอน สูญจากขันธ์ 5 ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอิสระเสรีจากบาปกรรม มีความสุขชั่วกาลนาน มีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืนมีความสุขหาเปรียบมิได้ ทุกอย่างเป็นทิพย์วิเศษ จิตเป็นสุขสมปรารถนาทุกประการ

พระพุทธเจ้าท่านตรัส บอกว่า พระนิพพานดับธาตุทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดที่โลกมี ดับขันธ์ 5 หมด พระนิพพานไม่มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง ไม่มีตัณหา อุปาทาน ไม่มีบาปกรรม ไม่มีร่างกายแบบคนนี้ แต่ว่า อายตนะ ตาหู จมูก ลิ้น กายทิพย์ มีจิตทิพย์ที่จะสะอาดบริสุทธิ์ มีกายโปร่งใสแพรวพราวสว่างไสว ไม่รู้สึกไม่มีระบบประสาทสมอง อยากรู้อะไรรู้ได้เพราะจิตเป็นทิพย์
ทุกข์ ใด ๆ ไม่มี แต่ความรู้สึกเป็นสุข มีเมตตา มีห่วงลูกห่วงหลานแต่ไม่เป็นทุกข์ เพราะท่านมีอุเบกขาไม่ต้องกินต้องถ่ายหรือหลับ ไม่มีการอ่อนเพลีย



ขอขอบคุณที่มาจากหนังสือ ธรรมประทานพร

436

(จ้อยหลวงพ่อ ฐิตปุญโญ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ และ อดีตเจ้าคณะอำเภอดอนสัก
วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี

ท่านเจ้าคุณ พระกิตติมงคลพิพัฒน์ ท่านมีนามเดิมว่า จ้อย นามสกุล พันธุ์อุดม ต่อมาท่าน พระครูวอน (ไม่ทราบฉายา) ผู้เป็นอา ได้เปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น ไกรวงศ์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2448 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ณ บ้านหัวรอ ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตร นายนวล - นางห้อง พันธุ์อุดม มีอาชีพกสิกรรม ท่านเป็นบุตรคนเดียวของพ่อแม่

การศึกษาท่านได้รับการศึกษาที่ วัดมะขามคลาน ตำบลม่วงงาม อำเภอเมืองสงขลา มีท่านพระครูวอน พุทธสโร เป็นผู้สอน ท่านมีความสนใจใฝ่รู้เป็นอย่างมาก และท่านได้ศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ เช่น วิชาภาษาไทย ภาษาบาลี อักษรขอม เวทมนตร์ คาถาอาคม โหราศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ

ชีวิตในวัยหนุ่มของท่านท่านตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เนื่องจากพ่อไปมีภรรยาใหม่ และท่านได้หลงผิดไประยะหนึ่ง จนถึงกับได้กระทำกรรมที่ไม่ดี จนถึงกับทำให้พ่อแม่ญาติมิตรเดือดร้อนไปด้วย บิดาจึงส่งให้ไปอาศัยกับน้าสาวที่อำเภอดอนสัก ด้วยอำนาจบุญกุสลบารมีที่ท่านเคยสั่งสมไว้จึงทำให้ท่านได้พบกัลยาณมิตรแนะนำ จนกระทั่งเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้กลับไปอุปสมบทที่จังหวัดสงขลา จนกระทั่งครบ 1 พรรษา ท่านจึงลาสิกขากลับมาอยู่ที่ดอนสักตามเดิม และต่อมาท่านได้แต่งงานกับ นางสาวพัว อยู่ครองชีวิตสร้างฐานะครอบครัวจนกระทั่งมีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน ท่านประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเผาถ่าน ต่อมาได้เป็นแพทย์ประจำตำบลดอนสัก

ต่อมาได้รับการอุปสมบทเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการบวชแก้บน ที่วัดดอนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีพระอธิการเริ่ม ฐานิโย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประจักษ์วรคุณ เจ้าอาวาสวัดประสพ ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการวัด วัดนทีวัฒนาราม ตำบลชลคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า จิตปุญฺโญ

ท่านบวชเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2490 โดยท่านเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ในระหว่างที่บวชอยู่นั้น ท่านคิดจะลาสิกขาถึง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดท่านได้พิจารณาเห็นว่า เมื่อได้หลีกออกจากเครื่องพันธนาการในเพศคฤหัสถ์แล้ว ไม่สมควรที่จะวิ่งกลับเข้าไปหาเครื่องพันธนาการ คือกิเลสตัณหาอีก จึงได้ตัดสินใจอยู่ครองสมณเพศ บำเพ็ญประโยชน์ทั้งส่วนตน ส่วนพระพุทธศาสนา ส่วนสังคมและท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ตลอดมา นับว่าเป็นการเจริญตามรอยบาทพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

ผลงานการพัฒนาท้องถิ่นของท่านท่านเจ้าคุณ "พระกิตติมงคลพิพัฒน์" ท่านได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นมีเป็นจำนวนมาก จนสามารถกล่าวได้อย่างสนิทใจ และภาคภูมิใจว่า ดอนสักทั้งดอนสัก เจริญรุ่งเรืองเป็นดอนสักได้นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่หลวงพ่อจ้อยได้สร้างแทบทั้งสิ้น เพื่อให้เห็นประจักษ์แจ้ง จึงขอจำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ถนน ได้ดำเนินการตัดถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอดอนสักหลายสาย โดยท่านเป็นผู้อำนวยการในการตัดถนน และประสานงานกับเจ้าของที่ดิน โดยไม่ต้องมีการเวนคืน เช่น ถนนสายดอนสัก - ขนอม ถนนสายดอนสัก - บ้านใน ถนนสายสวนมะพร้าว - ท้องอ่าว ฯลฯ
2. การไฟฟ้า ท่านเป็นผู้ริเริ่มนำเครื่องปั่นไฟมาใช้ในบ้านดอนสัก และได้ประสานงานกับหน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ จนในที่สุดมีไฟฟ้าใช้ทั่วทั้งสุขาภิบาลอำเภอดอนสัก
3. การประปา ท่านได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยเจาะบาดาล กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่ง ให้ดำเนินการเรื่องน้ำให้กับชาวดอนสัก จนทำให้ชาวดอนสักมีน้ำประปาใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
4. สิ่งก่อสร้างภายในวัด ได้แก่ สร้างกุฏิ จำนวน 9 หลัง สร้างศาลาการเปรียญ จำนวน 1 หลัง สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง สร้างหอฉัน จำนวน 2 หลัง สร้างอุโบสถ จำนวน 1 หลัง สร้างเมรุ จำนวน 1 หลัง สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ สร้างอนุสาวรีย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

การได้รับเลื่อนสมณศักดิ์หลวงพ่อจ้อย ท่านได้สร้างคุณูปการทั้งแก่พระพุทธศาสนา ประเทศชาติ สังคม และประชาชนมากมาย จนชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านได้รับการเลื่องลือกล่าวสรรเสริญไปทั่วทุกสารทิศ จนถึงกับได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติ บูชาคุณงามความดีของท่านตามลำดับ ดังนี้
28 มีนาคม 2500 เป็นพระใบฎีกาจ้อย
1 มกราคม 2504 เป็นพระครูใบฎีกาจ้อย
5 ธันวาคม 2514 เป็นพระครูสุวรรณประดิษฐการ เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
5 ธันวาคม 2527 เป็นพระครูสุวรรณประดิษฐการ เจ้าคณะตำบลเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
5 ธันวาคม 2530 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระกิตติมงคลพิพัฒน์" พระเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งตามที่ปรากฏและท่านเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปขณะนั้นว่า ท่านเป็นพระเถระ ระดับเจ้าคณะอำเภอเพียงรูปเดียวเท่านั้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นถึงชั้นพระราชาคณะ

พ่อหลวงจ้อยกับราชวงศ์ในช่วงระยะเวลา 46 ปีที่พระกิตติมงคลพิพัฒน์จำพรรษาอยู่ ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ บารมีของท่านเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้เสด็จมาประกอบพิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. วันที่ 21 - 23 มีนาคม พ.ศ.2513 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เสด็จมาเยี่ยมราษฎร ณ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เป็นครั้งแรก
2. วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าพระอุโบสถ
3. วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้ง 2 พระองค์ เสด็จมาทรงเปิดประปา และทรงพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน
4. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2526 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ และยกฉัตรทองคำพระเจดีย์จตุรมุขบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
5. วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2528 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ มาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและยกช่อฟ้า นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ มาทรงเยี่ยมพระกิตติมงคลพิพัฒน์
6. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน อย่างเป็นทางการมาเป็นองค์ประธานในการบรรจุศพ และเททองหล่อรูปเหมือนพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (พ่อหลวงจ้อย)

ท่านเจ้าคุณ " พระ กิตติมงคลพิพัฒน์" ได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ซึ่งเป็นธรรมชาติของสังขาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 อายุ 89 ปี พรรษา 46 ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ทุกระดับชั้น ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้จัดบำพ็ญบุญกุศลถวายท่านอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญูกตเวที ความสำนึกมั่นในอุปการคุณและคุณูปการที่ท่านมอบไว้ให้เป็นมรดกแก่อนุชนรุ่น หลังอย่างมากมายเหลือที่จะพรรณนาให้หมดได้
 
พระเจดีย์วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ สูงสง่างดงาม
ตั้งอยู่บนยอดเขา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้มาจากวัดพระเกียรติ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
หลวงพ่อจ้อย เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคใต ้เป็นผู้บุกเบิกสร้างขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2525




(หลวงพ่อจ้อย) อดีตเจ้าอาวาสวัด ซึ่งบรรจุอยู่ในโลงแก้ว ในอุโบสถ

ต่อมา คณะศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสาระทิศ ได้ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทุนกันจัดสร้าง "มณฑปหลวงพ่อจ้อย" ไว้เป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อให้ทุกท่านได้สักการะบูชาที่ "วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์" ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในอันที่จะสรรค์สร้างคุณงามความดี เจริญรอยตามจริยาอันดีงามของท่าน ซึ่งปัจจุบันมีศิษญานุศิษย์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชนหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสาระทิศมาสักการะบูชาอยู่ทุกวัน จนแทบจะกล่าวได้ว่า "กลิ่นธูป แสงเทียน ไม่เคยขาดหายไปจากมณฑปหลวงพ่อจ้อย" อย่างแท้จริง
ปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านเจ้าคุณพระกิตติมงคลพิพัฒน์ (จ้อย ฐิตปุญฺโญ มหาเภระ) จะได้มรณภาพไปแล้วตามธรรมชาติของสังขาร แต่คุณงามความดี บารมีธรรม ผลงานที่ท่านได้สร้างไว้ให้เป็นมรดกของชาวดอนสัก ชาวสุราษฎร์ธานี ของชาวพุทธทั่วทั้งโลกทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วแต่ยังคงจารึกมั่นอยู่ในความทรงจำ ในจิตใจ ของประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี และของชาวพุทธทั้งโลกอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย



พระเครื่องของหลวงพ่อจ้อยบางส่วน

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าไทร
พระเปรียญและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๖


ขอขอบคุณที่มา...http://www.donsakpolice.com/pv_joi.html

ขอขอบคุณภาพ...http://images.google.co.th

437


วัดชีป่าสิตาราม ตั้งอยู่ริมถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก เพราะพวกลักลอบ
ขุดวัตถุโบราณ จนกรมศิลปากรต้องเข้ามาดูแล และได้มาบูรณะจนสวยงามและได้นำวัตถุโบราณส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายในเจดีย์นำเข้าไว้ภายในวัด... สิ่งที่ยังพอเหลืออยู่มีรายการดังนี้
-พระพุทธรูปบูชา ศิลปะสมัยอยุธยา
-พระปรุเงิน-ปรุหนัง
-พระเครื่องหูยาน ชินเงิน ลพบุรีและพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ

อดีตเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้มีนามว่า "หลวงปู่แสง"เดิมท่านอยู่ที่วัดมณีชลขันธ์
ซึ่งในตำนานกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง เป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชากับหลวงปู่แสงหรือขรัวตาแสง รูปนี้
และท่านเป็นพระเกจิที่เก่งมาก ของจังหวัดลพบุรี มีเรื่องเล่าจากเจ้าอาวาสของวัดองค์ปัจจุบันว่า...
หลวงปู่แสง ได้ใช้วิชาทำน้ำมันชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า "น้ำมันโป" สรรพคุณคือเมื่อนำมาป้ายที่ตา จะทำให้ตาเป็นทิพย์ สามารถมองเห็นทะลุปรุโปร่งไปหมด
ไม่ว่าจะถ้วยไฮโล ก็สามารถมองทะลุเห็นลูกไฮโลข้างในได้ ว่ามีเลขอะไรบ้าง จึงเป็นดาบสองคมจะนำไปใช้ในทางที่ดีก็ได้ จะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีก็ได้
หลวงปู่...ก็เลยนำไปฃ่อนไว้ภายในวัด โดยทิ้งคำปริศนาไว้ว่า"ฝนตกชักออก แดดออกชักเข้า" ถ้าใครมีบุญแก้คำปริศนาออกก็จะพบเจอ
เหรียญรุ่นแรกของวัด
เหรียญที่ระลึกหลวงพ่อแสง เนื้อเงิน วัดชีป่าสิตาราม จ.ลพบุรี ปี 2511
พุทธคุณดีเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน ป้องกันภัย
พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ พ.ศ.๒๕๑๑ มีคณาจารย์ดังแห่งยุคร่วมปลุกเสก อาทิ...

- ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ลป.คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
- ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
- ลพ.พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู
- ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
- ลพ.ทอง วัดเขาจักจั่น
- ลพ.เจ้ย วัดห้วยมักกะสัน
- เป็นต้น...

 ซึ่งข้าพเจ้า...มีเหรียญของหลวงปู่...อยู่หนึ่งเหรียญเป็นเนื้อทองแดง ได้มาตอนงานทอดกฐิณประจำปี 2536 ซึ่งขณะนั้นข้าพเจ้าได้บวชเป็นพระ...เป็นเจ้าภาพร่วมกับ
หลวงพี่สมศักดิ์ ได้นำกฐิณมาทอดที่วัดชีป่าสิตาราม ซึ่งหลวงพ่อฉลวย (พระครูพิพัฒนาภรณ์)เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น


เหรียญหลวงพ่อฉลวยสร้าง

ด้วยความรักและปรารถนาดีจาก...ธรรมะรักโข

ขอขอบพระคุณภาพประกอบเรื่องจาก...http://images.google.co.th

438

 

 ใกล้ถึงวันเวียนมาครบ                  กำหนด...วันไหว้ครู
 บูชาครู...บูชาคุณ...                    หลวงพ่อเปิ่น  วัดบางพระ
 เทิดพระคุณหลวงพ่อ...                ครูบา...และบูรพาจารย์
 ตามตำนานการสัก...                   อักขระและรูปยันต์
 ทั้งรูปเสือ...สาลิกา...พ่อแก่          หนุมาน...ยันต์แปดทิศ
 อิทธิฤทธิ์สุดจะเกิน...                    คำบรรยาย...ดังใจหมาย
 ทั้งยันต์ครูเก้ายอดงบน้ำอ้อย        และต่างต่างอีกมากมาย                       
 ผู้คนหมายเข้ามาเป็นศิษย์            นับไม่ถ้วนเหลือคณา
 ศิษย์ทุกคนร่วมรำลึก                    ถึงพระคุณของหลวงพ่อ...
 ที่ประสิทธิ์ประสาท                        ยันต์อาคมอันเข้มขลัง
 คุ้มครองตัว...คุ้มครองกาย           แคล้วคลาดปลอดภัยทุกวี่วัน
 อีกทั้งเมตตามหานิยม                  นั้น...สุดยอดเอย.
 


 ด้วยความเคารพ...บูชา...และระลึกถึงพระคุณ...หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม

 ++++++++++++ธรรมะรักโข++++++++++++

439


วัดโพธิ์ประทับช้าง
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร

 

 
วัดโพธิ์ประทับช้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2242 โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงมาตุภูมิของพระองค์ วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ พิจิตรเก่า ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง วัดนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 27 กิโลเมตร ไปตามถนนสายพิจิตร-วังจิก ก่อนถึงวังจิก 2 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าสู่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ก่อนถึง อำเภอจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงวัดโพธิ์ประทับช้าง หน้าวัดมีต้นตะเคียน ซึ่งกล่าวกันว่า มีอายุราว 260 ปี วัดโดยรอบได้ 7 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 7 คนโอบ วัดนี้เป็นวัดที่มีพระวิหารสูงใหญ่ มี กำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นศิลปะแบบอยุธยา ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากกรมศิลปากร เพื่ออนุรักษ์ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชม
     นอกจากนี้ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้างได้สร้างอนุสาวรีย์พระพุทธเจ้าเสือ ไว้เป็นที่ระลึกข้างที่ว่าการอำเภอโพธิ์ประทับช้างอีกด้วย

วิหารอันเป็นที่ฝากรากฝังรก ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา


 
มีเรื่องเล่าขานว่า ในสมัยพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธชินราช ระหว่างทางนางสนมเกิดเจ็บครรภ์และคลอดทารกเพศชาย ตรงลานระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อ ทรงให้นำรกเด็กน้อยไปฝังไว้ใต้ต้นมะเดื่อ ซึ่งภายหลังได้ขึ้นครองแผ่นดินอยุธยา และทรงพระนามว่า พระเจ้าดอกเดื่อ ตามชื่อต้นไม้ที่ทรงมีประสูติกาล รู้จักกันต่อมาว่าพระเจ้าเสือ ต่อมาจึงให้สร้างวัดขึ้นข้างต้นโพธิ์ใหญ่ และพระราชทานนามวัดนี้ ว่า “วัดโพธิ์ประทับช้าง”

 
หลวงพ่อโต วัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
หลวงพ่อโต  หรือ  หลวงพ่อยิ้ม  เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ อีกองค์หนึ่ง ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมากในจังหวัดพิจิตร  โดยเฉพาะคนเก่าแก่ ในจังหวัดพิจิตร  เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น  สมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุได้  ๓๐๐  ปีเศษ

เป็นพระประธานประจำอุโบสถวัดโพธิ์ประทับช้าง  ซึ่งองค์ปัจจุบันนี้ เป็นการซ่อมแซม บูรณะ ขึ้นใหม่หลังจากที่ได้รับความเสียหาย

จากการถูกต้นไม้ แถบบริเวณ นั้นโค่นทับ จนเศียร และองค์พระ หักลง ได้รับความเสียหาย  ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ปั้นขึ้นมาใหม่

เมื่อหลายสิบปีมาแล้วครับ  แต่ก็ยังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงครับ  ว่ากันว่า  ถ้าขอไม่ให้ถูกเกณฑ์ทหารละก้อ

รับรอง  หลวงพ่อโต  ได้ช่วยมาเยอะแยะ มากต่อมากแล้วครับ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ มีเยอะครับ  ต้องมาสอบถามคนเก่าแก่ ที่โพธิ์ประทับช้างเอาเองนะครับ


พระเครื่องออกที่วัดโพธิ์ประทับช้าง...บางส่วน 





ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล:http://dhammathai.org/watthai/north/watphoprathabchang.php
                               :http://images.google.co.th/

440


สถานะวัด
วัดญาณเวศกวัน เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ หมู่ ๓ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ชื่อ “วัดญาณเวศกวัน” นี้ พระพรหมคุณาภรณ์ ได้ตั้งขึ้น โดยให้มีความหมายที่แสดงถึง จุดหมายแห่งการบำเพ็ญศาสนกิจของวัด ว่ามุ่งเน้นให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า เพื่อเสริมสร้างความรู้ในพระธรรมวินัย และปฏิบัติให้เจริญธรรมเจริญปัญญา ตลอดจนบรรลุญาณสูงขึ้นไปตามลำดับ

คำว่า “วัดญาณเวศกวัน” มีความหมายโดยพยัญชนะว่า ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้ หรือ ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ
“วัดญาณเวศกวัน” มีความหมายโดยประสงค์ว่า วัดที่มีป่า และ เป็นที่เหมาะแก่การเข้าไป แสวงหาความรู้เจริญธรรมเจริญปัญญา



 การตั้งวัด(๑) ทางราชการออกหนังสืออนุญาตสร้างวัดให้แก่ นายยงยุทธ์ ธนะปุระ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๒
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า
วัดญาณเวศกวัน ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
(๓) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒


 
ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๓ งาน ๖๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๕๕๙๗ เลขที่ ๘๖๙๑๙ เลขที่ ๑๖๕๙๔ เลขที่ ๓๙๐๗๕ และ เลขที่ ๓๙๐๗๖ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 

 เขตวัดทิศเหนือ ยาว ๑ เส้น ๑๒ วา - ศอก จดทางสาธารณะในหมู่บ้าน
ทิศใต้ ยาว ๑ เส้น ๑๗ วา - ศอก จดที่ดินราษฎรชาวบ้าน
ทิศตะวันออก ยาว ๖ เส้น ๓ วา - ศอก จดเขตบ้านเรือนชาวบ้าน
และ พุทธมณฑล
ทิศตะวันตก ยาว ๖ เส้น ๒ วา - ศอก จดทางสาธารณะในหมู่บ้าน
และ คลองสาธารณะ
ลักษณะพื้นที่ตั้งวัด และ บริเวณโดยรอบ มีต้นไม้ร่มรื่น
ถนนเข้า-ออก สะดวก
 

พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม  เสนาสนะ และ ถาวรวัตถุ
มีเสนาสนะ และ ถาวรวัตถุ เป็นหลักฐานแล้ว คือ
(๑) กุฏิชั้นเดียวยกพื้นสูง กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๖.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๒) กุฏิชั้นเดียวยกพื้นสูง กว้าง ๕.๓๒ เมตร ยาว ๗.๗๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๓) กุฏิรวมชั้นเดียวยกพื้นสูง กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๑๐.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๔) กุฏิชุดชั้นเดียว มีกุฏิ ๕ หลัง ๑๓ ห้อง บนชานใหญ่ยกพื้นสูง กว้าง ๑๕.๐๐ เมตร ยาว ๓๙.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๕) โรงครัว กว้าง ๑๑.๓๐ เมตร ยาว ๙.๕๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๖) หอฉัน กว้าง ๑๒.๐๐ เมตร ยาว ๑๒.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๗) ศาลาบำเพ็ญกุศล กว้าง ๘.๐๐ เมตร ยาว ๑๒.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๘) หอระฆัง และ ถังเก็บน้ำ กว้าง ๔.๐๐ เมตร ยาว ๔.๐๐ เมตร
(๙) ห้องสุขา ๑ กว้าง ๕.๒๐ เมตร ยาว ๕.๗๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๐) ห้องสุขา ๒ กว้าง ๖.๒๐ เมตร ยาว ๑๔.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๑) ห้องสุขา ๓ กว้าง ๔.๕๐ เมตร ยาว ๕.๐๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๒) อุโบสถ กว้าง ๑๕.๒๕ เมตร ยาว ๒๙.๙๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
(๑๓) พระประธานในโบสถ์ หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว
 

 พระประธานในโบสถ์ มีพระนามว่า “พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม” หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว ทำพิธีเททอง ที่โรงหล่อพระพุทธปฏิมาพรเลิศ
อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑ ได้นำเข้าประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๒ ปิดทองเสร็จและสมโภช ในมงคลวารอายุครบ ๕ รอบของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อวันที่ ๑๒, ๑๗ มกราคม ๒๕๔๒ รวมค่าดำเนินการส่วนองค์ พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม ๑๙๐,๐๐๐.๐๐ บาท และ ค่าทำ ฐานชุกชี อีก ๑๓๙,๐๐๐.๐๐ บาท
ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อย ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ ด้วยทุนทรัพย์ ๑๖ ล้านบาทเศษ ครั้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ พระการกสงฆ์ ๑๐๙ รูป ได้ประกอบสังฆกรรมถอนสีมา ต่อมาวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๔ พระการกสงฆ์ ๔๕ รูป ประกอบสังฆกรรมสมมติสีมาทำให้วัดญาณเวศกวันมีพัทธสีมาจะประกอบสังฆกรรม ตามพุทธบัญญัติได้โดยสมบูรณ์
 
เจ้าอาวาส
รูปที่ ๑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ. ปัจจุบัน

 


 พระสงฆ์จำพรรษา
มีพระภิกษุพำนักอยู่ประจำ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จนถึงปีปัจจุบัน) คือ
พ.ศ. ๒๕๓๗ จำนวน ๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๘ จำนวน ๗ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๙ จำนวน ๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๐ จำนวน ๙ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๑ จำนวน ๑๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๒ จำนวน ๑๔ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๓ จำนวน ๑๕ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวน ๑๘ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๑๕ รูป
พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๒๒ รูป
ปัจจุบัน มีพระภิกษุ จำนวน ๑๒ รูป
 

  ศาสนกิจวัดญาณเวศกวัน มุ่งให้พระสงฆ์บำเพ็ญศาสนกิจ ตามหลักการของพระพุทธศาสนา คือ เล่าเรียนปริยัติ ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่พระพุทธศาสนา
ให้ปัญญา นำประชาชนสู่ธรรม

นอกจากกิจวัตรทั่วไปแล้ว ได้เน้นการฝึกอบรม โดยเฉพาะมีการเปิดสอนนวกภูมิเป็นประจำทุกปี และทุกคราวที่มีผู้อุปสมบทใหม่
 
ในด้านการเผยแผ่ธรรม นอกจากการสนทนา เทศนา บรรยายธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และโอกาสอันสมควรแล้ว ได้มีผู้ขอคำบรรยายธรรม และขอนำธรรมกถาไปพิมพ์เผยแพร่จำนวนมาก โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ และทางวัดก็ได้จัดทำเทป ซีดี และพิมพ์หนังสือแจกให้เปล่า เป็นธรรมทานที่วัดเองด้วยเป็นประจำ

ส่วนทางด้านบุญกิริยาทั่วๆ ไป มีผู้ศรัทธาบำเพ็ญกุศลและทำนุบำรุงวัดประมาณ ๒๕๐ ครอบครัว หรือประมาณ ๑,๐๐๐ คน และมีประชาชน จากที่ทั่วไปทั้งใกล้และไกลจรมาทำบุญ ทั้งรายบุคคล และเป็นกลุ่มเป็นคณะอยู่เนืองๆ
 

ขอขอบคุณที่มา...http://www.rosenini.com/watnyanavesakavan/

441
"ยมกปาฏิหาริย์อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ"

          เมื่อครั้งที่พระปิณโฑละภารทวาชะทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป

          ครั้นพวกเดียรถีย์ได้ทราบข่าวพากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้วจึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดมเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า

          "พระองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"
          "เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง
          "ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"
          "ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"
          "ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"
          "ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่ เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้ ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"
          พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"
          "ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"

          ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย
          ครั้นย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้

          ครั้นนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาไม่ทรงรับตรัสว่า อาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์
          ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมดเพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์

          ครั้นถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนคร สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งเชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก จึงได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นกาลนาน เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็นำมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า
          ครั้นพระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้วประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระเจ้าปูอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง คือน้ำผลมะม่วงคั้นถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า "คัณฑะ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด " นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น
          พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น  เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง ต้นมะม่วงต้นน้อย ๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้น ๆ ออกกิ่งใหญ่ ๆ ถึง ๕ กิ่งยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา
          นายคัณฑะมีปีติเลื่อมใส ได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้าก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน

          เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วยกิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาสพระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏีประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาล งามตระการวิจิตควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปากิหาริย์พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั้งยังจงกรมแก้วมโหฬารทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิด
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง และท่อๆไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู,ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งอกจากกรรณข้างซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่อพระนาสิกข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า,ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง,สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่าง ๆสลับกันรวม ๖ สี คือ สีเขียว สีเหลือ สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง,สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร (สีเลื่อมพราย เหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)

          เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่าง ๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางานน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกล ทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสวมหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มี พระรูปพระโฉม เช่นเดียวกันประองค์ทุกประการและโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระอาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ
          เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมพระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืนเมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็ประทับยืนเป็นคู่ ๑
เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็สำเร็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา) เมื่อพระพุทธนิรมิตเสร็จประทับนั่งพระบรมศาสดาก็สำเร็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑
          เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ตรัสแก้เมื่อพระพุทธนิรมิตตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ตรัสแก้ เป็นคู่ ๑
          รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี อาการที่ทรงถามและทรงและทรงแก้ก็ดีได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้เห็นและได้ยินกันทั่วถึง เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก
          ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก

 
   

ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข 

442
สาธุ...สั้น ๆ แต่ได้บุญ



" สาธุ อนุโมทนา วันทามิ" และ " ขออนุโมทนาสาธุด้วยนะ" เป็นประโยคที่ชาวพุทธคุ้นเคยมากที่สุด เช่น เมื่อพระเทศน์จบ การถวายทาน รวมทั้งพระให้ศีล ให้พร คำว่า "สาธุ" ซึ่งมีความหมายว่า ดี งาม ชอบ หรือ ถูกต้อง

คำว่า "สาธุ" มีความหมายเป็น 2 นัย คือ พระสงฆ์เปล่งวาจาว่า "สาธุ" หมายความว่า "เพื่อยืนยัน หรือรองรับการทำสังฆกรรมนั้น ๆ ว่าถูกต้องเหมาะสม หรือ เพื่อลงมติว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอ ซึ่งเป็นกิริยาที่พระสงฆ์ใช้แทนการยกเมือแบบคฤหัสถ์ ในเวลาลงมติ"
ในขณะที่คำกล่าว "สาธุ" หากเปล่งออกมาจากฆราวาส จะเป็นคำอนุโมทนาแสดงความชื่นชมยินดีในบุญกุศล หรือความดีที่คนอื่นทำ โดยประนมมือยกขึ้นเสมอศีรษะ พร้อมเปล่งวาจา สาธุ นอกจากนี้ยังใช้ในความหมายของคำว่า ไหว้ อีกด้วย เช่นบอกเด็ก ๆ แสดงความเคารพพระหรือผู้ใหญ่ ทั้งนี้จะลดเหลือคำว่า "ธุ" ก็มี

การกล่าวคำว่า "สาธุ" ถือว่าผู้กล่าวได้บุญ เพราะเป็นการทำบุญข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ คือ "ปัตตานุโมทนามัย" แปลว่า บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า "สาธุ" เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสแสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย...


ขอขอบคุณ...เว็บพลังจิตดอทคอมครับ

443
"หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก"

     พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือ พระสุตตันตปิฎก(๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาหลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้ ๘๐ เล่มขนาดใหญ่

     หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ
     ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ,อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้ เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
     ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน

    ๒. อนัตตลักขณสูตร ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้
     อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้

     ๓. กาลมสูตร พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใด ๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย
          กาลามสูตร เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ
          ๑. ด้วยการฟังตามกันมา
          ๒. ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
          ๓. ด้วยการเล่าลือ
          ๔.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
          ๕. ด้วยตรรก
          ๖. ด้วยการอนุมาน
          ๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล
          ๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
          ๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
          ๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

     ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป้นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น

 
 ด้วยความปรารถนาดี...ธรรมะรักโข


ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข 

444
"พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"

     พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ (อริยสัจ มีความหมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ดังนั้น คำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของอริยสัจทั้ง ๔ แต่ที่ทรงแสดงออกไปพิศดารมากจนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อย่างที่ท่านว่าไว้ เพราะอัธยาศัยของผู้ฟังแตกต่างกันนั้นเอง การที่ท่านสรุปพระธรรมทั้งมวลลงในอริยสัจนั้น หมายความว่า พระธรรมแต่ละข้อที่ทรงแสดงนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของอริยสัจ ๔ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คือ


๑. กลุ่มทุกขสัจ
     กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้ เพื่อกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่เป็นผลมาจากกิเลส จำต้องศึกษาให้รู้ไว้ในด้านประเภทฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้ ธรรมกลุ่มนี้ เช่น

          ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูปได้แก่ รูป ๑ นาม ๔ คือ
          รูปขันธ์ กองรูปได้แก่รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนนาม ๔ ได้แก่
          เวทนาขันธ์ คือกองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง
          อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปากผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา
          อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
          โลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์
          อายตนะ ๘ คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงพูกต้องด้วยกาย , สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่น แข็ง เป็นต้น)
          วิญญาณฐิติ ๗ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณอันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิในกำเนิด ๔ ได้แก่
                    ๑. สัตว์ที่มีร่างกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบากพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)
                    ๒.สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔
                    ๓. สัตว์ ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
                    ๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
                    ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดในอรูปภูมิด้วยกำลังแห่งอรูปฌาน และมีชื่อตามฌานข้อนั้น ๆ

          แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงในอริยสัจ ๔ คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของรูปที่จะต้องกำหนดรู้ กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "ธรรมชาติอันเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา" ทั้งหลายนั้นเอง



๒.กลุ่มสมุทัยสัจ
     กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกตามอาการของกิเสส เหล่านั้น เช่น

          อัสสมิมานะ ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น

          อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

          ตัณหา ๓ คือ "กามตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "ภวตัณหา" ความอยากมีอยากเป็นต่าง ๆ ด้วยอำนาจสัสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "วิภวตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาในอายตนะภายนอก ๖ คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ , สิ่งที่ใจนึกคิด)

          นิวรณ์ คือสิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่านิวรณ์มี ๕ ประเภทคือ
               ๑. กามฉันทะ คือความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
               ๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ
               ๓. ถีนมิทธะ คือการเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ
               ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ
               ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้

          โอฆะ กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต

          อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

          มิจฉัตตะ ๘ คือความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด

          กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่อกุศลมูล ๓ ประการคือโลภ โกรธ หลง โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่อวิชชากับตัณหา


๓.กลุ่มของนิโรธสัจ
     กลุ่มของนิโรธสัจ ที่เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ สมาธิปัญญา เช่น

          เจโตวิมุติ คือการหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจน บรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และปัญญาวิมุตติคือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนอย่างเดียว จนบรรลุอรหัต

          วิมุตติ ๕ คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจของกิเสส ๕ ระดับคือ
          ๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้
          ๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ
          ๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป
          ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ
          ๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไปคือ นิพพาน

          สามัญญผล คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

          ธรรมขันธ์ ๕ คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล

          อภิญญา ๖ คือว่ารู้ยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่
          ๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ ได้ คือความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง
          ๒.ทิพพโสต หูทิพย์ คือสามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ
          ๓.เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้น เขามีความคิดต้องการอะไรเป็นต้น
          ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้
          ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
          ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

          อนุบุพพวิหาร ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติคือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)

          อเสกขธรรม คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย

          ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน



๔.กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

     กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น

          วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ ได้แก่
             ๑. สีลวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล
             ๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น
             ๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็นคือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง
             ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย
             ๕.มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
             ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ
             ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
             ๘. ปัญญาวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้
             ๙. วิมุตติวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์



อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ
          ๑. สัมาทิฏทิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
          ๒. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา
          ๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือเว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและเพ้อเจ้อ
          ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบคือการเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
          ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือการละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา
          ๖. สัมมาวายาม คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
          ๗. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรมอันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กายเวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน
          ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน

          เมื่อบุคคลปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง
 
 
ขอขอบคุณที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข 

445
ของผม...เลข00ทั้งสองเครื่องครับ
ขอบคุณครับ

446
ทราบที่มาแล้วครับ...สักกับอาจารย์หนวด...
หลังกองปราบ โชคชัย 4 ลาดพร้าว...
ขอบคุณครับ

447
สวยงามครับท่านโจร...ขอบพระด้านหลังเนื้อปลิ้นล้นแบบธรรมชาติ...แท้ดูง่ายสบายตา...สไตล์หลวงปู่โต๊ะครับ...ฟันธง 25;

ขอบคุณครับ

448
สวยงามครับ...ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันนะครับ

449
ขอบคุณ...ท่านโรนัลโด้ครับที่นำเสนอ...

ชอบ...รูปยายขี่...motorcycle...,มากครับ

ดูยายเกร็งๆนะครับ...ยิ้มแบบเจือนๆ...กลัวจะล้ม...อิ อิ :007:


ขอบคุณครับ

450
ขอขอบคุณ...ท่านหอมเชียงมากครับ...ที่นำภาพมาให้ชม... สวยงามจริงๆครับ

451
กราบนมัสการ...หลวงพี่ครับ... :054:ขอบพระคุณสำหรับบทกลอนบทกวี...สอนใจครับ...

   ละเว้นสิ่งมิชอบ           ไม่ประกอบซึ่งมิจฉา
   มรรคแปดที่มีมา           ทางสายเอกให้เดินตาม
   เป็นทางมัชฌิมา          มีคุณค่าอย่ามองข้าม
  ไม่เกินพยายาม            ปฏิบัติตามแนวทาง


ชอบท่อนนี้มากครับ...
ช่วงนี้อากาศเริ่มจะหนาวอีกแล้วขอให้หลวงพี่...ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ  

452
ชม...รวมผ้ายันต์ต่างๆ...สนุกๆครับ...คลายเครียด...













ขออภัย...ภาพไม่ค่อยชัด...ถ่ายจากกล้องเด็กๆครับ

ขอบคุณครับ

453
สวยงามมากทั้ง 2 องค์ครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม

454


ชม “เวียงกุมกาม” เมืองหลวงล้านนา

จากเอกสารพงศาวดารโยนก ระบุว่า “เวียงกุมกาม” เป็นเมืองที่ “พญามังราย” กษัตริย์แห่งโยนกนครสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงแรกของล้านนา แต่เวียงกุมกาม ก็เป็นเมืองหลวงได้ไม่นาน เพราะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี พญามังรายจึงโปรดให้สร้าง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” อันมีชัยภูมิที่เหมาะสมเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่

เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะน้ำท่วมครั้งใหญ่ เมื่อครั้งพม่าแผ่อำนาจเข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2101-2317 ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟู ประกอบกับอุทกภัยครั้งนั้น แม่น้ำปิงเปลี่ยนร่องน้ำไม่ไหลผ่าน จึงถูกทิ้งร้างมานับร้อยปี จนมีความเชื่อว่าเวียงกุมกามเป็นเพียงเมืองในตำนาน

 

เมื่อปี พ.ศ.2527 หน่วยศิลปากรที่ 4 กรมศิลปากร ขุดแต่งวิหารกานโถมที่ “วัดช้างค้ำ” ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม จนทำให้เรื่องราวของเมืองในตำนาน นครโบราณใต้พิภพแห่งนี้ ปรากฏเป็นจริงขึ้น

จากการศึกษาค้นคว้าของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ ต่างยืนยันและเชื่อได้ว่า ในเขตท้องที่หมู่ 11 ต.ท่าศาลา อ.สารภี อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้รวมระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าเวียงกุมกาม จุดสำคัญของเวียงกุมกาม มีโบราณสถานที่น่าสนใจอยู่ 5 แห่ง หลังจากที่บูรณะแล้ว โดยยังคงสภาพความสมบูรณ์ในรูปแบบของสถาปัตยกรรม ในส่วนของเจดีย์ และอุโบสถ แลดูเป็นเอกลักษณ์ สวยเด่นเป็นสง่า เหมาะแก่การศึกษาและเดินทางเที่ยวชม

 

เริ่มที่ “วัดกานโถม” หรือ “วัดช้างค้ำ” จากเอกสารพงศาวดารโยนกระบุว่า พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.1833 ลักษณะพระอุโบสถ ประกอบด้วยฐานเจดีย์กว้าง 12 เมตร สูง 18 เมตร มีซุ้มพระจำนวน 4 ทิศ ลดหลั่นเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 4 องค์ ส่วนชั้นบนประดิษฐานไว้จำนวน 1 องค์

อีกทั้งยังพบหลักจารึกหินทรายสีแดง ที่มีลักษณะอักษรผสมผสานกันระหว่าง อักษรมอญ อักษรไทย และอักษรสุโขทัย ที่นำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม

นอกจากนี้ในบริเวณวัดกานโถม ยังมีต้นศรีมหาโพธิ์เก่าแก่ ที่อัญเชิญเมล็ดจากลังกามาปลูกไว้ และยังมีหอพญามังราย ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในละแวกนั้นมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

 

เมื่อเดินมาสักระยะจะพบกับ “วัดอีก้าง” ซึ่งอยู่ติดกับแนวคูน้ำคันดิน ด้านทิศตะวันตกของเมือง วัดอีก้างประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านนา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว ประมาณปี พ.ศ.2060

ถัดมาเป็น “วัดปู่เปี้ย” ตั้งอยู่บริเวณที่เข้าใจว่าเป็นแนวคูน้ำคันดิน ด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกาม ประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ อุโบสถ ส่วนองค์เจดีย์มีศิลปกรรมแบบสุโขทัย และแบบล้านนารวมกัน คือมีเรือนธาตุสูงรับองค์ระฆังขนาดเล็ก อายุการสร้างเจดีย์วัดปู่เปี้ยน่าจะอยู่ในรัชสมัย พญาติโลกราช พ.ศ.1988-2068

บริเวณใกล้ๆ กันเป็น “วัดพระธาตุขาว” ตั้งอยู่บริเวณนอกแนวคูเมือง เจดีย์เป็นลักษณะกลม ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบศิลปะล้านนา อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นฉาบด้วยปูนขาวขนาดใหญ่ เข้าใจกันว่าชื่อวัดคงเรียกตามลักษณะของพระพุทธรูปนี้

 

สุดท้ายที่ “วัดเจดีย์เหลี่ยม” หรือ “วัดกู่คำ” เจดีย์เหลี่ยม (เจดีย์กู่คำ) มีขนาดฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา ถอดแบบวัดจามเทพเทวี จ.ลำพูน เป็นศิลปกรรมแบบลพบุรี มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ยอดเจดีย์มีลักษณะแหลมขึ้นไปเป็นตุ่ม ไม่มีฉัตรเหมือนเจดีย์ทั่วไป

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2541 มีการบูรณะ โดยใช้ช่างชาวพม่า เป็นผู้ดำเนินการด้านลวดลายต่างๆ ทั้งหมด ทำให้ซุ้มพระและองค์พระจึงมีลักษณะศิลปกรรมแบบพม่า อย่างที่เห็นจนถึงปัจจุบัน

 

อีกทั้งยังมีวัดที่บูรณะแล้วเสร็จอีก 4 แห่ง ที่มีเพียงฐานรากของอุโบสถ ไว้ให้ชมและศึกษากัน ไม่ว่าจะเป็น วัดกู่ป้าด้อม วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย และวัดหัวหนอง โดยวัดทั้ง 4 แห่ง มีการขุดพบโบราณวัตถุมากมาย เช่น พระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กหลายองค์ เป็นศิลปะแบบล้านนาและเขมร ตลอดจนพระพิมพ์แบบหริภุญไชย เป็นต้น และยังมีเนินดินโบราณสถาน ที่ยังรอขุดแต่งและบูรณะอีกกว่า 11 แห่ง

เป็นที่น่าสังเกตว่า การสร้างวัดในเมืองเวียงกุมกามแห่งนี้ พระอุโบสถของวัด จะหันหน้าไปในทางทิศเดียวกันคือ ทิศของแม่น้ำปิงที่ไหลพาดผ่านเมืองทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นแม่น้ำปิงสายเก่า ก่อนที่แม่น้ำสายนี้จะไหลเปลี่ยนทิศทาง นั่นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในสมัยโบราณมีความผูกพันตลอดถึงความเชื่อต่อสายน้ำในชุมชน

เวียงกุมกามจากเมืองที่เคยหลับใหลกลายเป็นเพียงเมืองในตำนาน กลับฟื้นตื่นมาสะท้อนความรุ่งเรืองในอดีต

 



ขอขอบคุณ...หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน เรื่องและภาพโดย สกล ทองหมี
 

455


ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ จ.ยโสธร

“ไถ่บาปที่เนรคุณพ่อแม่”
ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ อ.เมือง จ.ยโสธร

ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าว ทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพาะปลูก ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย ตะวันขึ้นสูงแล้ว รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกเช้า แต่เช้านี้กลับมาช้าผิดปกติ เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้า สายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจ ยิ่งสายตะวันขึ้นสูง แดดยิ่งร้อน ความหิวกระหายก็เร่งทวีคูณขึ้น

ทันใดนั้น เขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนา พร้อมก่องข้าวน้อยๆ ห้อยต่องแต่งอยู่บนสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย อารมณ์พลุ่งพล่าน เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่

จึงเอ่ยปากต่อว่าแม่ของตนว่า “อีแก่ มึงไปทำอะไรอยู่ จึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก ก่องข้าวก็เอาก่องข้าวน้อยๆ มาให้กิน กูจะกินอิ่มหรือ ?”

ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า

“ถึงก่องข้าวจะน้อย ก็น้อยต้อนแต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย ลองกินเบิ่งก่อน”

ด้วยความหิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใดๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลง แล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้ว แต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกว่าตนเองตีแม่ด้วยความหิว เกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่ เข้าสวมกอดแม่

อนิจจา...แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว

ชายหนุ่มร้องไห้โฮ สำนึกผิดที่ตนฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั่ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี จึงเข้าไปกราบนมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด สมภารสอนว่า

“การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้น เป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจี ตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เบาบางลงได้บ้าง”

เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ไว้ จึงให้ชื่อว่า “ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” จนตราบทุกวันนี้

นอกจากธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแล้ว ที่วัดทุ่งสะเดา ซึ่งอยู่ห่างกันไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็มี ธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่เช่นกัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

พระครูวิมลสุวรรณคุณ เจ้าอาวาสวัดทุ่งสะเดา และเจ้าคณะตำบลตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร เล่าว่า ธาตุก่องข้าวน้อยที่วัดทุ่งสะเดานั้น มีตำนานคล้ายธาตุก่องข้าวน้อยที่บ้านตาดทองเช่นกัน แต่จะเป็นธาตุแม่หรือธาตุลูกไม่มีหลักฐาน จากอดีตที่ยาวนาน ชาวบ้านตาดทองและบ้านสะเดาต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดตลอดมา เพราะเป็นเครือญาติมาชั่วหลายอายุคน จากประวัติที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานจากผู้สูงอายุ ทั้งที่ยังมีชีวิตและที่เสียชีวิตไปแล้ว ทุกคนบอกว่าเจดีย์ที่บริเวณวัดทุ่งสะเดา คือ ธาตุก่องข้าวน้อย แต่จะเป็นธาตุลูก หรือธาตุแม่นั้น ไม่มีหลักฐาน หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ไม่มี เนื่องจากหอไตรที่เก็บประวัติและใบลานของวัดถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดสิ้น เจ้าอาวาสที่อยู่ประจำทุกวันนี้ก็ได้ยินเพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมา

สำหรับเหตุผลที่คนนิยมมาไหว้ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ นายสุวรรณ ขลุ่ยเงิน อายุ ๗๙ ปี ผู้ดูแลธาตุก่องข้าวน้อย บอกว่า ในแต่ละวันมีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาสักการบูชาไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน ถ้าเป็นหน้าเทศกาลปีใหม่ หรือสงกรานต์ จะมีไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน เพื่อขอโชคลาภ บางคนมากราบไหว้เพื่อขอขมาลาโทษ เหมือนเป็นการไถ่บาปที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ

นางบังอร เกสรศาสตร์ อายุ ๓๘ ปี ชาว จ.อุบลราชธานี เหมารถมากับญาติ ๑๐ คน ให้เหตุผลการมาไหว้ธาตุก่องข้าวน้อยว่า “เหตุที่ตั้งใจมากราบไหว้เพราะทำสิ่งที่ไม่ดีกับแม่ตั้งแต่ยังเป็นสาว โดยทำให้แม่เสียใจจนแม่ตรอมใจตาย ด้วยความสำนึกผิด และภาพที่ทำไม่ดีกับแม่ตามหลอกหลอนอยู่ตลอด เมื่อมีลูกถึงรู้ว่าบุญคุณแม่สุดเหลือคณานับ ไม่สามารถจะบรรยายได้ เพิ่งรู้ว่า เลี้ยงดูลูกนั้นยากหนักหนาขนาดไหน จึงมาสำนึกที่ทำให้แม่ต้องเสียใจด้วยการกราบไหว้ธาตุก่องข้าวน้อยทุกปี เพื่อรำลึกถึงบุญคุณแม่”


ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ จ.ยโสธร


มาตุฆาต-ครุกรรม
พระอาจารย์สุขเกษม เขมสุโข พระวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ กรุงเทพฯ อธิบายว่า กรรมหนัก มีคำที่มีความหมายเหมือนกันอยู่ ๒ คำ คือ อนันตริยกรรม (อะ-นัน-ตะ-ริ-ยะ-กำ) และ ครุกรรม (คะ-รุ-กำ) แต่คำว่า ครุกรรม มีความหมายทั้งกรรมฝ่ายที่เป็นกุศล คือ ฝ่ายดี และฝ่ายที่เป็นอกุศล คือ ฝ่ายไม่ดี

ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ซึ่งมีผลมาก มีโทษรุนแรงที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน มีการกระทำอยู่ ๕ ประการที่ถือว่าเป็นกรรมหนัก คือ ๑. มาตุฆาต หมายถึง ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต หมายถึง ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต หมายถึง ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท หมายถึง ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป และ ๕.สังฆเภท หมายถึง ทำสงฆ์ให้แตกกัน

มาตุฆาต แปลว่า ฆ่ามารดา หมายถึง การทำให้มารดาผู้บังเกิดเกล้าเสียชีวิต เป็นกรรมที่ให้ผลไม่มีระหว่างกรรมที่ให้ผลทันทีหลังจากตายไป ไม่มีกรรมอื่นมาให้ผลคั่นกลาง เป็นบาปที่สุดยิ่งกว่ากรรมใดๆ เมื่อผู้ทำตายไปย่อมตกนรกทันที แม้จะทำบุญอื่นไว้มาก ก็ต้องไปรับผลกรรมนั้นก่อน และจัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ไม่มีกรรมอื่นที่จะหนักเท่า ผู้ทำกรรมนี้แล้วย่อมถูกลงโทษในนรกให้ได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

นอกจากนี้แล้วในพระวินัยท่านกำหนดไว้ว่า “เมื่อผู้ใดทำมาตุฆาต ผู้นั้นเป็นผู้ต้องห้ามมิให้บรรพชาอุปสมบทเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ทำอนันตริยกรรมข้ออื่นๆ”

พระอาจารย์สุขเกษม ให้คติธรรมด้วยว่า การสำนึกถึงบุญคุณพ่อแม่เป็นเรื่องดี แต่จะมีประโยชน์อะไรสำหรับผู้ที่สำนึกบุญคุณของท่านเมื่อท่านจากโลกนี้ไปแล้ว การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่านไม่เท่ากับทำความดีต่อท่าน

การเลี้ยงดูท่าน เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน เท่ากับได้ทำบุญกับพระอรหันต์เลยทีเดียว เพราะพ่อแม่ถือว่าเป็นพระอรหันต์ของลูกทุกๆ คน



.......................................................

นสพ. คม ชัด ลึก คอลัมน์พระเครื่อง

เรื่อง/ภาพ คำดี พรมมากอง จ.ยโสธร
   

456
พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล ยิ่งใหญ่เพียงฟ้าจดดิน

“พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล” องค์สีน้ำตาล ประดิษฐานอยู่บนที่สูงสุดในพระราชอาณาจักรไทย เคียงคู่กับ “พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ” องค์สีม่วงอมชมพู ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ ๔๑.๕ ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล สร้างถวาย “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ และพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ สร้างถวาย “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕

เป็นเวลากว่า ๒๐ ปีแล้ว ที่พระมหาสถูปเจดีย์อันยิ่งใหญ่เพียงฟ้าจดดินองค์นี้ ได้ประดิษฐานอย่างสง่างาม เป็นที่เคารพสักการะของชนชาวไทย ณ ยอดดอยอินทนนท์ อันเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือสูงเกือบ ๘,๐๐๐ ฟุต

 

ที่มาของพระมหาสถูปเจดีย์นั้น เนื่องด้วยในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นปีเดียวกันกับที่กองทัพอากาศ มีอายุครบ ๗๒ ปี ดังนั้น กองทัพอากาศจึงได้เห็นพ้องกันว่า สมควรร่วมใจบริจาคทรัพย์ทำบุญสร้างอนุสารณียวัตถุขึ้นเป็นที่ระลึกวาระสำคัญของกองทัพอากาศ และเฉลิมพระเกียรติน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลในศุภวาระมงคลนี้

จึงได้จัดสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า คงจะไม่มีสิ่งอื่นใดเทียบเท่าการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กอปรทั้งปวงอาณาประชาราษฎร์ต่างเห็นประจักษ์แจ้งว่า นอกจากจะทรงดำรงฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก โดยเฉพาะทรงช่วยอภิบาลบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพรยิ่งกว่าในกาลรัชสมัยใดแล้ว ยังทรงเจริญพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวดอีกด้วย ทั้งไม่แต่การถวายพุทธสักการะเป็นอามิสบูชา แม้การปฏิบัติบูชาก็ทรงมีพระราชศรัทธาบำเพ็ญภาวนาให้ทรงบรรลุและสำเร็จได้จริงจัง

 

เหตุที่เลือกดอยอินทนนท์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระมหาธรรมิกราชา ทรงมีพระบรมเดชานุภาพ และพระบารมีแผ่ไพศาลสุดแผ่นดินและจดแผ่นฟ้า ดังนั้น สถานที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจดีย์นี้ จึงควรสถิตอยู่ ณ จุดที่สูงสุดบนผืนแผ่นดินไทย เพื่อให้สมกับพระมหากรุณาธิคุณ พระมหาเมตตาธิคุณ และพระมหาบริสุทธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้สถิตอยู่สูงสุด และในดวงใจของปวงพสกนิกรทุกหมู่เหล่า

“พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล” มีความหมายว่า “พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่ยิ่งใหญ่เพียงฟ้าจดดิน” มีความสูง ๖๐ เมตร เพื่อเป็นนิมิตรหมายการสร้างเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา องค์พระมหาสถูปเจดีย์มีสัณฐานทรงระฆัง ๘ เหลี่ยม มีลวดลายแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง แทนพระบารมี ๓ ขั้นตอนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญ อันประกอบด้วย บารมีขั้นแรก ๑๐ ขั้น อุปบารมี ๑๐ ขั้น และปรมัตถบารมี ๑๐ ขั้น รวมเป็น บารมี ๓๐ ทัศ

  
 

ส่วนที่เหนือรูปทรงระฆัง เป็นรูปบัวหงาย ๘ กลีบ หมายถึงมรรคมีองค์ ๘ และส่วนบนสุดขององค์พระมหาสถูปเจดีย์ มีรูปทรงเป็นยอดปลี ซึ่งหมายถึงการตรัสรู้สู่พระนิพพาน และที่ปลายยอดปลีกั้นด้วยฉัตรโลหะสีเงิน ๙ ชั้น ฉลุลายสีเงิน มียอดเป็นสีทอง อันหมายถึง อุดมมงคลอันสูงสุด และเป็นร่มเกล้าที่พระมหากษัตริยาธิราช รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงเป็น “นวราชบพิตร” ถวายเป็นพุทธบูชา

ส่วนพื้นฐานอันเป็นที่ตั้งขององค์พระมหาสถูปเจดีย์ เป็นลานประทักษิณ ๒ ชั้น ซึ่งมีซุ้มภาพปั้นด้วยดินเผาด่านเกวียน เป็นศิลปะแบบนูนต่ำ ภาพทศชาติชาดก ภาพธรรมชาติของป่าหิมพานต์ และสัตว์ในป่าหิมพานต์ และที่หน้าบันซุ้มทางเข้าภายในองค์พระมหาสถูปประดิษฐาน พระปรมาภิไธย ย่อ ภ.ป.ร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

 

ภายในองค์พระมหาสถูปเจดีย์ เป็นห้องโถงโล่งทรง ๘ เหลี่ยม เพดานสูง ตรงกลางห้องประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร จำหลักด้วยหินแกรนิต ส่วนผนังห้องโถงประดับด้วยภาพศิลาจำหลัก แบบนูนต่ำ ๔ ภาพใหญ่ แสดงพุทธประวัติ ๔ ตอนสำคัญ คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน สำหรับพระพุทธรูปปางประทานพรนี้ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว ตามจำนวนพระชนมพรรษา สูง ๘๗ นิ้ว หนัก ๖ ตัน โดยแกะสลักจากหินแกรนิตสีเขียวอมเทาของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งกองทัพอากาศได้ว่าจ้างช่างแกะสลักชาวอินโดนีเซีย แกะสลักพระพุทธรูปปางประทานพรองค์นี้

การแกะสลักพระพุทธรูปแล้วเสร็จ และทำพิธีรับมอบเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๐ (ตรงกับวิสาขบูชา) และได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า “พระพุทธบรมศาสดา นวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์ สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์” อันมีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา สร้างเป็นอนุสรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา”

 

ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้อัญเชิญประกอบพิธีพุทธาภิเษกเบิกพระเนตร พร้อมกับพระพุทธรูปจำลองเนื้อโลหะหน้าตัก ๙ นิ้ว จำนวน ๙๙๙ องค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๐

ในส่วนของพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานภายในยอดปลีพระมหาสถูปเจดีย์นี้ กองทัพอากาศได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่วนหนึ่ง รับจากพระสังฆมหานายกะ สิริมัลวัตตะ อนันดา วัดมัลวัตตะ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกาส่วนหนึ่ง และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดไว้ในเจดีย์หินอ่อน และพระราชทานให้ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ในขณะนั้น) ได้นำไปประดิษฐาน ณ พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล

 

พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดลองค์นี้ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙ เวลา ๑๐.๑๙ น. โดยมีพล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ในขณะนั้น) เป็นประธานก่อสร้าง ต่อมา พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี เป็นกรรมการอำนวยการสร้าง, พล.อ.ท.เกริกชัย หาญสงคราม เป็นประธานอนุกรรมการควบคุมการก่อสร้างและตกแต่ง, อ.ไขศรี ตันศิริ และนายสันติ ชยสมบัติ เป็นสถาปนิก, นายกัญจนจักก์ สถาปนสุต เป็นวิศวกร

ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงรับและทรงเปิดพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล รวมระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๓๖๐ วัน สิ้นเงินค่าใช้จ่ายรวม ๔๕ ล้านบาทเศษ

พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนี ถือเป็นพระมหาสถูปเจดีย์องค์แรกที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือบนยอดดอยอินทนนท์ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เคียงคู่กับ “พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ” ซึ่งกองทัพอากาศจัดสร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒

 




พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ เป็นกำลังแห่งฟ้า เป็นสิริแห่งดิน

ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ อันเป็นปีมิ่งมหามงคลที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ กองทัพอากาศจึงได้ดำริที่จะก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ไว้บนดอยอินทนนท์ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล และเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ดังนั้น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๒ กองทัพอากาศจึงได้เริ่มดำเนินการออกแบบและเตรียมพื้นที่ จนกระทั่งการก่อสร้างได้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖

“พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ” มีรูปทรง ๑๒ เหลี่ยม แสดงความหมายถึงอัจฉริยธรรม ๑๒ ประการ อันเกิดแก่พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา มีระเบียงกว้างโดยรอบเป็น ๒ ระดับ ความกว้างที่ระดับระเบียงล่าง ๓๗ เมตร แสดงความหมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่ขอบระเบียงแต่ละระดับมีซุ้มรูปกลีบบัวประดับอยู่ ๖ ซุ้ม องค์พระมหาธาตุมีความสูงจากชานพักชั้นล่างถึงยอดปลี ๕๕ เมตร

 

สำหรับรูปลักษณ์ขององค์เจดีย์นั้น แสดงความหมายถึงโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ องค์เจดีย์ประดับโมเสกแก้วสีม่วงอมชมพูสีเดียวกันตลอดทั้งองค์ ที่ส่วนยอดขององค์เจดีย์เป็นยอดปลีล้อมด้วยกลีบดอกบัวตูม ประดับด้วยโมเสกแก้วสีทอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กั้นด้วยฉัตรสีเงิน ๙ ชั้น

ที่ผนังด้านนอกขององค์พระมหาธาตุเจดีย์และซุ้มระเบียง ประดับด้วยภาพปั้นดินเผา เป็นเรื่องราวของพระภิกษุณี ผู้เป็นเอตทัคคะ, เรื่องราวของอุบาสิกา ผู้เป็นเอตทัคคะ และภาพสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ส่วนที่ด้านบนของซุ้มประตูทั้ง ๓ ด้าน มีพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดิษฐานไว้

ภายในเจดีย์เป็นโถงเพดานสูง มีพระพุทธรูปที่ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่บนแท่นกลางโถง เป็นพระพุทธรูปปางรำพึง ซึ่งเป็นพระประจำวันศุกร์ อันเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แกะสลักด้วยหินหยกขาว จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ขนาดความสูงเฉพาะองค์พระ ๓ เมตร ๒๐ ซม. ประทับยืนบนดอกบัว มีชายสังฆาฏิพาดอยู่บนบัลลังก์ หนักประมาณ ๕ ตัน

 

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นพระพุทธรูปหินหยกขาวที่มีขนาดใหญ่และงามที่สุดองค์หนึ่ง ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า “พระพุทธสิริกิติฑีฆายุมงคล” มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นสิริมงคล และทรงเจริญพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”

ผนังตอนบนโถงประดับด้วยภาพพุทธประวัติ ทำด้วยโมเสกแก้วสี ซึ่งออกแบบการจัดภาพและสีด้วยคอมพิวเตอร์ สั่งทำพิเศษจากอิตาลี เป็นภาพแสดงเรื่องราวของพระนางสิริมหามายา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี, พระนางยโสธราพิมพา และนางวิสาขามหาอุบาสิกา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในโลก รวมทั้ง ได้ทะนุบำรุงให้มีการสืบทอดพระพุทธศาสนามาจนทุกวันนี้

ส่วนผนังตอนล่างประดับด้วยภาพพระราชกรณียกิจที่สำคัญของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพแบบผสมนูนต่ำและนูนสูง แกะสลักด้วยหินแกรนิตสีขาว

 

โดยรวมแล้วรูปลักษณ์ของพระมหาธาตุเจดีย์ นั้นแสดงความหมายถึงองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนการตกแต่งแสดงถึงบทบาทของสตรีที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลก สีสันและวัสดุที่ใช้ประดับทั้งภายในและภายนอกองค์เจดีย์ มีลักษณะที่แสดงถึงความอ่อนช้อยงดงามตามลักษณะความงามของสตรีไทย

ในวันพุธที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ณ พระตำหนักภูพิงราชนิเวศน์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ในขณะนั้น) และคณะ เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่ออัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนยอดปลีพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ ทรงสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และบรรจุลงพระกรัณฑ์ทองคำด้วยพระองค์เอง

ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้อัญเชิญ “พระพุทธสิริกิติฑีฆายุมงคล” ขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริแล้ว ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเบิกพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เวลา ๐๙.๐๙ น. พร้อมกับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นประดิษฐานบนยอดปลีองค์พระมหาธาตุเจดีย์นี้ด้วย

 

พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริองค์นี้ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เวลา ๑๒.๒๙ น. โดยมีพล.อ.อ.สมศักดิ์ กุศลาศัย เป็นประธานกรรมการอำนวยการสร้าง มีคณะผู้ออกแบบพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดลชุดเดิมร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย

ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงรับและทรงเปิดพระมหาธาตุเจดีย์ ซึ่งได้พระราชทานนามว่า “พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ” (อ่านว่า นะ-พะ-พน-พู-มิ-สิ-ริ) อันมีความหมายว่า “เป็นกำลังแห่งฟ้า เป็นสิริแห่งดิน” รวมระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น ๙๐๐ วัน สิ้นเงินค่าใช้จ่ายรวม ๑๓๕ ล้านบาท

พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ เป็นหนึ่งในพระมหาสถูปเจดีย์ซึ่งประดิษฐานอยู่บนที่สูงที่สุดในพระราชอาณาจักรไทย เคียงคู่กับ “พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล” ซึ่งกองทัพอากาศจัดสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในมหามงคลเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ณ ยอดดอยอินทนนท์ แห่งนี้

 
  พระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ-พระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล
 

ขอขอบคุณที่มา...หนังสือพระมหาธาตุเจดีย์นภเมทนีดล
และพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ จัดทำโดย กองทัพอากาศ
โดย ผู้จัดการออนไลน์
 
 

457
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม...เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
ของแท้คมกว่าครับ

458



วัดพุทธาธิวาส

   วัดพุทธาธิวาส  ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด  เมื่อวันที่  1  กันยายน  พ.ศ.2460  โดยมีคณะผู้เริ่มดำเนินการ  คือ
1.   พระพิทักษ์ธานี  (เล็ก)
2.   นายอำเภอเบตง
3.   นายพุ่ม  คชฤทธิ์
4.   นายกิมซุ้ย  ฟุ้งเสถียร
5.   นายผล  สุภาพ

   
  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  13  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2496  เขตวิสงสีมา  กว้าง  40  เมตร  ยาว  80  เมตร  ได้พูกพัทธสีมา  เมื่อวันที่  8  มิถุนายน  พ.ศ.2510  วัดพุทธาธิวาส  ตั้งอยู่เลขที่  65  ถนนรัฐกิจ  หมู่ที่  1  ตำบลเบตง  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย                                                                    มีที่ดินวัดเนื้อที่  23  ไร่  3  งาน  308  ตารางวา  ทิศเหนือยาว  60  เมตร  ติดต่อกับที่ดินของเอกชน  ทิศใต้ยาว  17  เมตร  ติดต่อกับสวนยาง  ทิศตะวันออกยาว  276  เมตร  ติดต่อกับโรงเรียนจงฝามูลนิธิ  ทิศตะวันตกยาว  203  เมตร  ติดต่อกับที่ดินของเอกชนที่มีธรณีสงฆ์ 1 แปลง  เนื้อที่  12  ไร่  1  งาน  64  ตาราวา

พื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินเขาสูงเอียงลาดลงไปทางทิศเหนือ  จัดแบ่งพื้นที่วัดออกเป็นชั้นรวม 5 ชั้น  อาคารเสนาสนะต่างๆ  มีอุโบสถกว้าง  8  เมตร  ยาว  22  เมตร  สร้าง  พ.ศ.2508  โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคา 3 ชั้น  มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี  พื้นหินขัด
ศาลาการเปรียญกว้าง  12  เมตร  ยาว  20  เมตร  สร้าง  พ.ศ.2526  โครงสร้างเนื้อแข็งหลังคามุงสังกะสี  พื้นลาดซีเมนต์ขัดเงา  กั้นฝาพนังด้านเดียว
กุฏิสงฆ์มีจำนวน 6 หลัง  โครงสร้างเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง  เป็นอาคารไม้ 3 หลังคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 หลัง  นอกจากนี้ศาลาอเนกประสงค์  อาคารเรียนพระปริยัติธรรมศาลาพักผ่อน  และวิหารสำหรับปูชนียวัตถุ

มีพระประธานในอุโบสถรูปเหมือนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดขนาดเท่าพระองค์จริง
ต่อมามีการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศขึ้นอีก 1 หลัง  ป็นศิลปแบบศรีวิชัยประยุกต์มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้
วัดพุทธาธิวาส  เป็นวัดที่สวยงามตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินเขามีพระธาตุสเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศตั้งโดนเด่นมองเห็นศิลปกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์ในระยะไกลและใกล้สวยงามมาก  และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดยะละอีกด้วย

วัดพุทธาธิวาสเป็นแหล่งศิลปกรรมสร้างใหม่แต่เป็นสุดยอดแห่งศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม  ทั้งองค์พระธาตุเจดีย์  อุโบสถ  วิหารพระพุทธรูปองค์ใหญ่  และจิตรกรรมต่างๆ  ล้วนประณีตสวยงาม  มีการจัดวางให้ลดหลั่นกันไปตามเนินเขาที่ดูโดดเด่นสง่างาม  มีความตั้งใจที่จะจัดวางสิ่งก่อสร้างให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติรอบๆ  ด้าน

พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่ที่วัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ในตัวเมืองเบตง โดยตัวเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขา มีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร หรือขนาดความสูงเทียบเท่าตึก 13 ชั้น เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยในองค์มหาธาตุเจีดย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มหาธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษาครับ



วัดพุทธาธิวาส เดิมชื่อวัดเบตง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเบตง มีบรรยากาศร่มรื่นทัศนียภาพงดงามประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นสง่า เช่น พระพุทธธรรมกายมงคลประยุรเกศานนท์สุพิธานพระพุทธรูปทองสัมฤทธ์องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ

พระมหาธาตุเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเนินเขา มีสถาปัยตกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์ขนาดความสูงเท่ากับตึก 13 ชั้น มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานนาม และเสด็จทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดฉัตรเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2536 ปัจจุบันเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาเบตง





 

ขอขอบคุณที่มา...http://images.palungjit.com
                   ...http://www.nmt.or.th/yala/

459
สวยสดงดงามมากครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม :053:

460
เข้มขลังดีครับ...ขอบคุณครับที่นำเรื่องราวประวัติ...

การสร้างพระพิมพ์สิบทัศ เนื้อผงใบลาน มาให้อ่าน...

กราบนมัสการหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมด้วยครับ :054:

461
ขอขอบคุณ...ท่านขุนแผน ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัดห้วยเงาะ

ขอกราบนมัสการ...พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ด้วยครับ :054:

463




วัดคูหาภิมุข หรือ "วัดหน้าถ้ำ" เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 136 หมู่ 1 บ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

พ.ศ. 2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุขเพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน

ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำ ยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลริน จากโขดหิน

วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา มีพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย เก็บวัตถุโบราณที่ได้มาจาก วัดถ้ำ ภูเขากำปั่น พระพิมพ์ดินดิบ สถูปเม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ "วัดหน้าถ้ำ" เป็น "วัดคูหาภิมุข"

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระยายะหริ่งมาสร้างเมืองยะลา ตั้งที่ว่าราชการ ณ บ้านท่าสาป ตำบลท่าสาป และสร้างวัดขึ้นที่ริมเขาหน้าถ้ำที่มีพระพุทธไสยาสน์ภายในถ้ำ

พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ได้เสด็จมาประทับแรมที่วันแห่งนี้ มีพระปรมาภิไธย ย่อ ป.ป.ร. ที่ผาหินภายในวัดคูหาภิมุข

 
ตำบลหน้าถ้ำ
ภาพพิกัดทางภูมิศาสตร์ของวัดคูหาภิมุขตำบลหน้าถ้ำเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพทธรูปฉาย ภาพเขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 -17 ยะลาเป็นชุมชนเกษตร นักโบราณคดีได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณถ้ำคูหาภิมุข เป็นภาพพระพุทธฉายและภาพราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผา ภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข















พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ปั้นด้วยดินเหนียวโดยใช้ไม่ไผ่เป็นโครง สร้างขึ้นสมัยศรีวิชัยรุ่งเรืองราว พ.ศ. 1300หรือสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว ประดิษฐาน ภายในถ้ำคูหาภิมุข เดิมชื่อ วัดหน้าถ้ำ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆกับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู สวยงามมาก ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนทำหินอ่อนจำหน่าย หินอ่อนสีชมพูจากยะลามีความสวยงาม มีชื่อเสียงระดับประเทศ





 พิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย
พิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดคูหาภิมุข มีวัตถุโบราณที่ขุดค้นได้จากถ้ำต่างๆ ในตำบลหน้าถ้ำ ได้แก่ ภูเขาวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น กรมศิลปากรค้นพบพระพิมพ์ดินดิบ สมัยศรีวิชัย สถูป เม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป ขวานหินขัด และบริเวณสนามบินท่าสาป ได้ค้นพบโคกอิฐ เนินดิน ซากกำแพงเมืองโบราณ เครื่องถ้วยชาม เทวรูปพระนารายณ์สำริด สูงประมาณ 1 ศอก (0.5 เมตร) พระพุทธรูปแกะสลักในแผ่นหินมีสภาพสมบูรณ์ จำนวน 3 องค์ กว้าง 21.50 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมาตร สลักเป็นรูปนูนต่ำ รูปพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ปางสมาธิ อีกองค์หนึ่งชำรุดครึ่งหนึ่งมีแร่พระเศียร พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง

พระพุทธรูปที่ค้นพบที่ถ้ำคนโท ที่เป็นพระพุทธรูปสลักในแผ่นหินมีอยู่ 3 องค์องค์ที่สมบูรณ์ ที่สุดสลักในแผ่นหินกว้าง 21.5 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร สลักเป็นรูปนูนต่ำรูปพระพุทธเจ้า ประทับนั่งแสดงปางสมาธิ ส่วนอีกรูปหนึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ชำรุดเสียครึ่งหนึ่งมีแต่พระเศียร พระพุทธรูปสำริด ที่พบจากถ้ำคนโทมีจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่ตกเป็นสมบัติเอกชนและไม่เป็นที่ เปิดเผยว่าอยู่ที่ใดบ้าง ที่เป็นสมบัติของวัดคูหาภิมุขเพราะชาวบ้านนำมาถวาย ซึ่งมักจะไม่สมบูรณ์ มีทั้งที่เป็นแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง บางองค์ก็สันนิษฐานว่าเป็น แบบศรีวิชัย แต่ ยังไม่มีการยืนยันให้แน่นอนลงไปได้ เนื่องจากภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อนสีชมพู ซึ่งหาได้ยากมาก รัฐบาลจึงได้ให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนสำรวจทำหินอ่อนออกจำหน่าย ปัจจุบันหินอ่อนสีชมพู จากยะลามีชื่อเสียงมาก แต่ในอนาคต ถ้ำสำเภา ถ้ำคนโท และเรื่องราวในอดีตเกี่ยวกับพระพุทธรูป พระพิมพ์ในภูเขาแห่งนี้คงจะสูญหายไปด้วย
        จากบันทึกของนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการข้างต้นทำให้ทราบว่าพื้นที่ จังหวัดยะลาบริเวณตำบลท่าสาป และตำบลหน้าถ้ำปัจจุบัน เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กัน และพัฒนาเรื่อยมาจนเข้าสู่ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
 
 
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ
1.คุณดินสอพอง 15
2.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
3.http://www.deepsouthwatch.org/node/529
4.http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=link-conner55&month=11-2009&date=06&group=120&gblog=3 5.http://210.246.188.9/newsclassroom/index.php?option=com_content&view=article&id=296:2008-08-17-08-56-59&catid=2:2008-    05-26-17-17-57&Itemid=8
6.http://www.yala.go.th/lastyala2.htm
7.http://www.taklong.com/south/show-south.php?No=196224


                                                                                                                                         

464
สุดยอดทั้งสองท่าน...เลยครับ  :016: :015:

ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน
:058:

465






รอยสักของน้อง...แถวๆบ้าน  ถามว่า อาจารย์...ชื่ออะไรสักให้...

น้อง...บอกว่าจำชื่อไม่ได้...สักนาน...มากแล้ว

ใครพอจะทราบ...ลายสัก...แบบนี้บ้าง...?


รบกวนท่านผู้ชำนาญการ...ร่วมแสดงความคิดเห็น...ได้เต็มที่ครับ :065:

ขอบคุณครับ
:083:

466
หน้าบ้านน่ามอง...น่าชม...ครับ
ส่วนด้านหลังบ้าน...สวยงามแบบ...ธรรมชาติ+โบราณ+เก่า...ดีครับ
ขอบคุณครับ...ที่นำเสนอ...อิ อิ  :005:

467
๖๐ พุทธภาษิตเกี่ยวกับชีวิต และความตาย

๑. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ สั้นนิดเดียว ลำบากยากเข็ญ มีทุกข์มาก แต่ก็ไม่มี เครื่องหมายให้รู้ว่า จะตายเมื่อใด
๒. สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว พยายามหาวิธีที่จะไม่ต้องตาย ก็ไม่สำเร็จ ถึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนชราภาพก็ต้องตาย อยู่ดี เพราะธรรมดาของสัตว์โลกเป็นอย่างนี้
๓. สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็มีภัยจากการที่ต้องตายเป็นนิตย์ เปรียบเหมือน ผลไม้สุกงอม แล้ว ก็มีภัย จากการที่ต้องร่วงหล่นไปในเวลาเช้า
๔. ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ต้องแตกดับไปเป็นธรรมดาเปรียบเหมือนภาชนะดินทุกชนิด ที่ช่างหม้อปั้นแล้วในที่สุดก็ต้องแตกไป
๕. ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนโง่ ทั้งคนฉลาด ล้วนตกอยู่ในอำนาจของมฤตยู บ่ายหน้า ไปสู่ความตายทั้งนั้น
๖. เมื่อเหล่าสัตว์จะตาย ต้องไปปรโลกแน่นอนแล้ว บิดามารดาก็ไม่สามารถช่วย บุตรธิดาของตนไว้ได้ หรือหมู่ญาติก็ไม่สามารถจะช่วยพวกญาติของตนไว้ได้
๗. จงดูเถิด ทั้งๆ ที่มีหมู่ญาติมาเฝ้ารำพึงรำพันอยู่ โดยประการต่างๆ แต่ผู้จะตาย กลับถูกมฤตยูคร่าตัวเอาไปแต่เพียงผู้เดียว เหมือนโคที่เขาจะฆ่า ถูกนำไปแต่เพียงตัวเดียว
๘. สัตว์โลกตกอยู่ในอำนาจของความแก่และความตายอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายทราบชัดถึงสภาพของสัตว์โลกแล้ว จึงไม่เศร้าโศกกัน
๙. ท่านหาได้รู้ทางของผู้มา (เกิด) หรือผู้ไป (สู่ปรโลก) ไม่ เมื่อไม่เห็นปลายสุดทั้งสองด้าน ถึงจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์
๑๐. ถ้าผู้ที่ทำตนให้เดือดร้อนด้วยการหลงใหลคร่ำครวญ จะทำประโยชน์อะไร ให้เกิดขึ้นได้บ้าง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งก็คงจะทำอย่างนั้นตามไปแล้ว
๑๑. การร้องไห้ เศร้าโศก ไม่สามารถทำใจของผู้คนให้สงบได้ มีแต่จะเกิดทุกข์มากยิ่งขึ้น ทั้งร่างกายก็จะพลอยทรุดโทรม
๑๒. จะเบียดเบียนตนเอง มีร่างกายซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำ การร่ำไห้คร่ำครวญ ไม่ได้ช่วยอะไรแก่คนที่ตายไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์อะไรเลย
๑๓. คนที่สลัดความโศกไม่ได้ มัวทอดถอนใจถึงคนที่ตายไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของ ความเศร้าโศก มีแต่จะทุกข์มากยิ่งขึ้น
๑๔. จงดูเถิด ถึงแม้คนอื่นก็กำลังจะตายไปตามยถากรรม สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ต่างตกอยู่ในอำนาจมฤตยู กำลังพากันดิ้นรนด้วยกันทั้งนั้น
๑๕. สัตว์ทั้งหลายตั้งความหวังอยากจะให้เป็นอย่างอื่น (คือไม่ตาย) แต่ก็ไม่สมหวัง ความพลัดพรากจากกันมีอยู่เป็นประจำ ท่านจงพิจารณาดูความจริงแท้ของสัตว์โลกเถิด
๑๖. แม้จะมีคนอยู่ได้ถึงร้อยปี หรือเกินกว่านั้นไปบ้าง ก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้ อยู่ดี
๑๗. เพราะเหตุนั้น เมื่อได้สดับธรรมเทศนาของพระท่านแล้ว ก็พึงระงับ ความคร่ำครวญ ร่ำไห้เสีย ยามเมื่อเห็นคนล่วงลับดับชีวิตไป ก็ให้กำหนดรู้ว่า เขาตายไปแล้ว เราจะให้ เขาฟื้นคืนมาอีกไม่ได้
๑๘. ธีรชนผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสียโดยฉับพลัน เหมือนเอาน้ำดับไฟ ที่กำลังไหม้ลุกลาม และเหมือนลมพัดปุยนุ่น
๑๙. ผู้แสวงสุขแก่ตน ควรระงับความเศร้าโศกคร่ำครวญร่ำไห้ ความโหยหา และ ความโทมนัส ควรถอนลูกศรคือความเศร้าโศกเสียให้ได้
๒๐. ผู้ถอนลูกศรนี้ได้แล้ว ก็จะมีอิสระ ได้ความสงบใจ ผ่านพ้นความเศร้าโศกทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศกมีแต่เยือกเย็นใจ
๒๑. ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี ถึงใครจะอยู่เกินกว่านั้นไปบ้าง ก็ต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้
๒๒. ชนทั้งหลายเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ทั้งๆ ที่สิ่งที่ยึดถือนั้น ไม่มีอะไรเที่ยงแท้เลย ผู้ที่มองเห็นว่า ความพลัดพรากจากกันจะต้องมีแน่นอนเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรอยู่ครองเรือน
๒๓. คนที่สำคัญหมายสิ่งใดว่า " นี้ของเรา" ก็จะต้องจากสิ่งนั้นไปเพราะความตาย พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต ทราบความข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรเอนเอียงไปในทาง ที่จะยึดถือว่า เป็นของเรา
๒๔. คนที่รักใคร่กัน ตายจากไปแล้ว ก็จะไม่ได้พบเห็นกันอีก เหมือนคนตื่นขึ้น ไม่เห็นสิ่งที่พบในฝัน
๒๕. (ขณะมีชีวิตอยู่) คนที่มีชื่อเรียกขาน ก็ยังพอได้พบเห็นกันบ้าง ได้ยินเสียงกันบ้าง คนที่ตายไปแล้วก็เหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่จะพูดถึงกันอยู่
๒๖. ผู้ที่พึงพอใจในสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมสละความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ และความหวงแหนไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้เข้าถึงธรรม (มุนี) ทั้งหลายเห็น ความปลอดโปร่ง จึงสละสิ่งที่เคยแหนหวงเที่ยวไปได้
๒๗. บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงผู้ไม่แสดงตนในภพ (ผู้บรรลุแล้ว) ว่าเป็นบุคคลที่สอดคล้อง เหมาะสมกับภิกษุผู้บำเพ็ญความหลีกเร้นถอนจิต (ผู้ที่ยังไม่บรรลุ) ซึ่งอยู่ในเสนาสนะ ที่สงัด
๒๘. ผู้เข้าถึงธรรม (มุนี) ไม่ติดอยู่ในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำอะไรๆ ให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่ชัง ความรำพึงรำพันและความหวงแหน จึงมิได้แปดเปื้อน เหมือนน้ำไม่แปดเปื้อนใบบัว
๒๙. หยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว วารีไม่ติดบนดอกบัวฉันใด ผู้เข้าถึงธรรม(มุนี) ก็ไม่ติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ทราบมาถึงใจ ฉันนั้น
๓๐. ผู้ห่างไกลจากกิเลส ผู้มีปัญญา ไม่ใส่ใจในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับทราบ ไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยวิธีการอื่น ทั้งไม่ยินดียินร้าย
๓๑. บุคคลใด ประพฤติชั่วร้าย ไม่มีความคิด ถึงจะมีชีวิตตั้งร้อยปี ชีวิตของเขา ก็หาประเสริฐไม่ ส่วนบุคคลใด มีศีล มีความคิด แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็เป็นชีวิต ที่ประเสริฐกว่า
๓๒. บุคคลใด เกียจคร้าน มีความเพียรทราม ถึงจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ชีวิตของเขา ก็หาประเสริฐไม่ ส่วนบุคคลใด มุ่งหน้าทำความเพียรอย่างมั่นคง แม้มีชีวิตอยู่ เพียงวันเดียว ก็เป็นชีวิตที่ประเสริฐกว่า
๓๓. บุคคลพึงสละทรัพย์เมื่อจะรักษาอวัยวะ พึงยอมสละอวัยวะเมื่อจะรักษาชีวิต และยอมสละทุกอย่างทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เมื่อคำนึงถึงธรรม
๓๔. อายุสังขารจะพลอยประมาทไปกับมนุษย์ทั้งหลาย ที่ยืน เดิน นั่งนอนอยู่ ก็หาไม่
๓๕. เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ คนเราควรทำกิจหน้าที่ของตน และไม่พึง ประมาท
๓๖. ดอกไม้ที่สุมกันอยู่เป็นกอง นายช่างที่ฉลาด สามารถนำมาร้อย เป็นพวงมาลัย มีคุณค่ามากได้ฉันใด ชีวิตคนเราที่เกิดมานี้ ก็ควรจะใช้ ประกอบกุศลกรรม ความดีให้มาก ฉันนั้น
๓๗. บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในปรโลก
๓๘. ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสติ สัมปชัญญะ มีสติมั่น
๓๙. ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอคอยเวลา เหมือนคนรับจ้าง ทำงานเสร็จแล้วรอรับค่าจ้าง
๔๐. วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
๔๑. วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากโอกาสที่จะได้สร้างประโยชน์
๔๒. วันคืนไม่ผ่านไปเปล่าๆ
๔๓. กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ
๔๔. รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย
๔๕. เมื่อจะตาย ทรัพย์แม้แต่น้อยก็ติดตามไปไม่ได้
๔๖. กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกับตัวมันเอง
๔๗. ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตนคือ คนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศก ถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
๔๘. วัยย่อมเสื่อมลงไปเรื่อย ทุกหลับตา ทุกลืมตา
๔๙. เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกันก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
๕๐. ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องไห้ขอพระจันทร์ที่โคจรอยู่ในอวกาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา
๕๑. ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็นกัน เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่ มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็นกัน
๕๒. จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
๕๓. วันคืนผ่านไป อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที
๕๔. แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นสู่ที่สูงฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กได้อีก ฉันนั้น
๕๕. ผู้เข้าถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดำรงอยู่กับปัจจุบัน ฉะนั้นผิวพรรณจึงผ่องใส
๕๖. คืนวันผ่านไป ไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน ไม่เห็นมีอะไรที่เราสูญเสียในโลก ฉะนั้น เราจึงนอนสบายใจคิดแต่จะช่วยปวงสัตว์
๕๗. เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่าๆ จะน้อย หรือมาก ก็ให้ทำอะไรไว้บ้าง
๕๘. เร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าพรุ่งนี้จะตายหรือจะอยู่
๕๙. คนขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา เรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค
๖๐. จะมีชีวิตอยู่ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็ไม่เศร้าโศก

 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=1284#Comment

468



ครูบาวัง ฐิติสาโร ศิษย์ หลวงปู่เสาร์ วัดถ้ำชัยมงคล จ.หนองคาย  
"ครูบาวัง ฐิติสาโร" หรือ "พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร" แห่งวัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย เป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ
เกิดในสกุล สลับสี เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2455 ที่ บ้านหนองคู ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมี หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครั้งหนึ่ง "หลวงปู่โง่น โสรโย" ในฐานะลูกศิษย์ของครูบาวัง ได้เล่าให้ฟังว่า "...การเจริญภาวนาของครูบาวังนั้นเป็นการปฏิบัติขั้นอุกฤษฏ์ จริงๆ เป็นที่เล่าลือกันทั่วไปในหมู่พวกสหธรรมิกด้วยกัน ครูบาวังชอบไปนั่งบำเพ็ญเพียรที่ชะง่อนผาอันสูงลิบลิ่วบนยอดภูลังกา ชะง่อนผานั้นกว้างประมาณ 2 ศอก กำลังเหมาะเจาะพอดี เวลานั่งลงไป ถ้าเอียงซ้ายหรือเอียงขวานิดเดียวเป็นต้องร่วงลงไปในเหวลึก หรือถ้าสัปหงกไปข้างหน้าก็หัวทิ่มลงเหวอีกเหมือนกัน"

"การปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ของครูบาวังนี้ เป็นการเอาชีวิตตัวเองเป็นเดิมพันกับความตาย ครูบาวังจะนั่งอยู่บนชะง่อนผามรณะนั้นนานนับชั่วโมง บางครั้งนั่งอยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นการเจริญมหาสติปัฏฐานแบบเจโตวิมุตติ โดยใช้อำนาจของอัปปนาฌานเป็นบาทฐาน เป็นการปฏิบัติแบบสมถกรรมฐานเจือปนวิปัสสนากรรมฐาน เจริญกายคตาสติพิจารณาอาการ 32 นั่นเอง..."

ครูบาวัง มีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุอยู่ 3 รูป คือ

1.ท่านเจ้าคุณสังวรวิสุทธิเถระ (หลวงปู่วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
2.พระอาจารย์โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร
3.พระจันโทปมาจารย์วัดศรีวิชัย ต.สามพง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ทั้งสามรูปล้วนแต่มรณภาพไปแล้ว
ครูบาวัง ละสังขารมรณภาพลง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2496 สิริรวมอายุได้ 41 ปี

ตัวอย่างธรรมคำสอนอันหนึ่งของท่าน คือ "ให้พิจารณาใคร่ครวญ ด้วยปัญญา ให้เห็นแจ้ง ตามความเป็นจริงแล้วอย่ายึดติด ในสมมติที่เราเป็น"

เมื่อไม่นานมานี้ บรรดาศรัทธาชาวบ้านและลูกศิษย์ทั้งหลายได้พากันมาปรึกษาพระอาจารย์สุรชัย ปิยธัมโม เจ้าอาวาสวัดถ้ำชัยมงคลรูปปัจจุบัน ว่าขอให้สร้างรูปหล่อของครูบาวังขึ้นตรงเชิงเขา เนื่องจากลูกศิษย์ที่มีวัยสูงอายุทั้งหลายที่ไม่สามารถเดินขึ้นเขาจะได้ไปกราบไหว้สักการะได้โดยสะดวก

พระอาจารย์สุรชัย ได้ขอคำปรึกษากับหลวงปู่คำพัน จันทูปโม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของครูบาวัง โดยหลวงปู่คำพันก็เห็นดีด้วย

พระอาจารย์สุรชัย พร้อมลูกศิษย์ทั้งหลายที่เคารพนับถือ ครูบาวังจึงได้ตกลงใจที่จะร่วมแรงร่วมใจกันหล่อรูปเหมือนของครูบาวัง ขนาดเท่าองค์จริง เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2551 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ที่ผ่านมา ที่โรงหล่อพระโชคประทานพร อ.ดอน ตูม จ.นครปฐม

ก่อนจะดำเนินการ สร้างศาลาสำหรับประดิษฐาน พร้อมกับเริ่มสร้างบันไดสู่ยอดเขาภูลังกา เพื่อขึ้นไปสักการะพระเจดีย์บรรจุอัฐิของครูบาวัง โดยมีกำหนดการจัดงานพิธีพุทธาภิเษกรูปเหมือนครูบาวัง ฐิติสาโร และพิธีบวงสรวงสร้างบันไดขึ้นสู่ยอดภูลังกาเป็นปฐมฤกษ์

เริ่มในวันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2551 เวลา 09.00 น. บวชชีพราหมณ์ (1 คืน) เวลา 18.00 น. เจริญพระพุทธมนต์และแสดงธรรม เวลา 21.00 น. เริ่มพิธีพุทธาภิเษก โดยมีหลวงปู่คำพัน จันทูปโม เป็นประธาน

ในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2551 เวลา 04.30 น. ดับเทียนชัย เวลา 09.00 น. พิธีบวงสรวงเพื่อเริ่มสร้างบันไดขึ้นสู่ภูลังกาเป็นปฐมฤกษ์ เวลา 13.00 น. พิธีทอดผ้าป่า

สำหรับท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายที่ต้องการร่วมทำบุญในการ "หล่อรูปเหมือนครูบาวัง" พร้อม "ศาลาที่ประดิษฐาน" และ "สร้างบันไดขึ้นสู่ยอดภูลังกา" สามารถส่งปัจจัยมาร่วมทำบุญได้ตามกำลังศรัทธาที่ พระสุรชัย ปิยธัมโม โทร.08-3375-5761 ธนาคารกรุงไทย สาขาเซกา บัญชีเผื่อเรียก เลขที่บัญชี 430-0-22006-9

จึงขอเชิญชวนท่านผู้มีจิตศรัทธาครูบาวังเดินทางไปวัดถ้ำชัยมงคลที่อยู่เชิงเขาภูลังกา ให้ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2026 จาก อ.เซกา ขับตรงมาจะเห็นหลัก ก.ม.เขียนว่า "บ้านแพง 24-นครพนม 117" อยู่ทางขวามือ ให้เลี้ยวขวาเข้าทางแยกถนนลูกรังไปยังภูลังการะยะทาง 6 ก.ม.



ขอขอบคุณที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=806&sid=14f684f3a8cf142b5e86c93310e7646e
 

469




พระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต) วัดทรายขาว จ.ปัตตานี

"เกจิดัง" พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว ปัตตานี

**เจ้าตำรับตะกรุดนารายณ์แปลงรูป "กระฉ่อนเมือง"

พระครูธรรมกิจโกศล หรือ พระอาจารย์นอง ธมฺมภูโต เดิมชื่อ "นอง หน่อทอง"เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม 2462 ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โยมบิดาชื่อ นายเรือง หน่อทอง โยมมารดาชื่อ นางทองเพ็ง มีพี่น้อง 3 คน คนแรก คือตัวพระอาจารย์นอง คนที่สองนางทองจันทร์ และคนที่สามนายน่วม พระอาจารย์นองเรียนจบ ป.3 ที่โรงเรียนนาประดู่ ขณะมีอายุ 15 ปี ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อายุ 19 ปี ที่วัดนาประดู่ มีพระพุทธไสยารักษ์ (นุ่ม) วัดหน้าถ้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่บวชได้ 1 เดือน ก็ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนต่อไประยะหนึ่ง จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2482 ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาประดู่ โดยมีพระครูวิบูลย์สมณกิจ (ชุ่ม) วัดตุยง เจ้าคณะเมืองหนองจิก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดำ วัดนางโอ และพระครูภัทรกรโกวิท (แดง)วัดนาประดู่ เป็นพระคู่สวดได้ฉายา "ธมฺมภูโต" อยู่วัดนาประดู่ได้ 12 พรรษา จากนั้นย้ายมาจำพรรษาที่วัดทรายขาว จนได้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกโพธิ์ตราบจนมรณภาพ

สำหรับพระอาจารย์นองเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เคยร่วมสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านเมื่อปี 2497 จนโด่งดังทั่วสารทิศ และต่อมาพระอาจารย์นองได้สร้างเครื่องรางของขลังที่ดังไปทั่วเมืองไทย คือตะกรุดนารายณ์แปลงรูปและพระเครื่องหลวงพ่อทวดเนื้อว่านฝังตะกรุด นอกจากนั้นแล้วพระอาจารย์นองยังเป็นพระนักพัฒนารูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่องชมเชยตลอดมา และเป็นพระอยู่ในนิกายมหานิกาย สิริรวมอายุถึงวันมรณภาพได้ 80 ปี 11 เดือน 60 พรรษา

ความสัมพันธ์กับอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นทั้งกัลยาณมิตรเป็นศิษย์กับอาจารย์ต่อกัน เกื้อกูล เกื้อหนุนกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้ายของท่านอาจารย์ทิม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512

ทั้งพระอาจารย์ทิม และพระอาจารย์นอง เป็นศิษย์ร่วมสำนักวัดประดู่มาด้วยกันเมื่อพระอาจารย์ทิมมาอยู่วัดช้างให้ และพระอาจารย์นองไปอยู่วัดทรายขาว ก็ยังมีความสัมพันธ์ดีงามมาโดยตลอด กิจการใดของวัดช้างให้ ท่านจะเป็นผู้คอยช่วยเหลืออยู่ข้างกายพระอาจารย์ทิมทุกอย่าง ที่สำคัญ การสร้างพระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ถ้าจะกล่าวกันแล้ว ปฐมเหตุจริงๆ ก็มาจากท่านที่เป็นผู้ชักชวนพระอาจารย์ทิมให้สร้างพระหลวงพ่อทวด ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้คร่าวๆ คือ

ช่วงนั้น ท่านกับพระอาจารย์ทิม ขึ้นมากรุงเทพฯ และไปที่วัดระฆัง เพื่อที่จะไปเช่าบูชาพระสมเด็จของหลวงปู่นาค มาเพื่อให้คนทำบุญจะได้นำเงินไปสร้างโบสถ์วัดช้างให้ พกเงินขึ้นมาประมาณ 3,000 บาท ขณะที่กำลังจะขึ้นไปเช่าพระ ท่านบอกว่า "กูนึกยังไงก็ไม่รู้ สะกิดอาจารย์ทิม บอกว่า ท่านๆ ทำไมเราไม่กลับไปทำพระของเราเองล่ะ" "พระอะไร...?" พระอาจารย์ทิมถาม "ก็พระหลวงพ่อทวดไง" พระอาจารย์ทิมบอก "เออ...!! นั่นน่ะสิ" ทั้งสองท่านจึงได้เช่าบูชาพระสมเด็จหลวงปู่นาคม เพียงเล็กน้อยและพากันกลับปัตตานี

ปฐมเหตุตรงจุดนี้ คือกำเนิดของสุดยอดพระเครื่องเมืองใต้ หลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปีพ.ศ.2497 อันเป็นอมตะตลอดกาล ส่วนคุณอนันต์ คณานุรักษ์ นั้น เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเหลือให้การจัดสร้างสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งคงเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อทวดที่บันดาลชักนำ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ คหบดีชาวปัตตานีให้มาเป็นกำลังสำคัญ

การจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ท่านจึงมีส่วนอย่างมากในทุกๆ ขั้นตอนการจัดสร้าง ฉะนั้น...ท่านจะรู้พิธีกรรม และเรื่องว่านดีที่สุด เมื่อท่านมาสร้างพระหลวงพ่อทวด ขึ้นเองจึงมีความขลังแ ละศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนมาโดยตลอด

เหตุการณ์ที่บ่งให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองพระอาจารย์ที่ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกประทับใจและกินใจมาก ตามที่ท่านเล่าให้ฟังว่า

ก่อนที่อาจารย์ทิมจะไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ท่านมาหาเราที่วัด สั่งเสียไว้หลายเรื่องฝากให้เราช่วยดูแลวัดช้างให้ ท่านหยิบขันน้ำมนต์ขึ้นมา ท่านจับประคองอยู่ด้านหนึ่งให้เราจับอีกด้านหนึ่ง แล้วท่านพูดว่า "ตั้งแต่คบกันมา คุณไม่เคยทำให้ผมเสียใจเลย คนอื่นยังมีตรงบ้าง คดบ้าง "เรา" ขออธิษฐาน บุญใดที่เคยทำร่วมกันมา และยังไม่เคยทำร่วมกันมาก็ดี ทั้งชาตินี้และอดีตชาติ ขออธิษฐาน เกลี่ยบุญให้เท่ากัน เพื่อจะได้เกิดทันกันทุกๆ ชาติไปจนถึงชาติสุดท้าย"

จากนั้นพระอาจารย์ทิมก็เข้าไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ และก็มรณภาพที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2512 คำอธิษฐานนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ยิ่งใหญ่ เป็นอมตวาจาอย่างแท้จริง ได้ความรู้สึกถึงความผูกพันที่ท่านทั้งสองมีต่อกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอด ได้ร่วมสร้างตำนานอันมหัศจรรย์ ของหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แผ่ออกไปทั่วทุกสารทิศ พระอาจาร์ทิม ถ้านับจาก พ.ศ.2497-2512 ก็เพียง 15 ปี แต่พระอาจารย์นองท่านใช้เวลาถึง 45 ปี (2497-2542)

ปัจจุบัน หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ไม่มีใครไม่รู้จักชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดดังไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็มีผู้คนนับถือไม่น้อยเช่นกัน

เรื่องความสัมพันธ์กับพระอาจารย์ทิมนั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ "ดีนอก" คือมีปัจจัยอื่นช่วยส่งเสริม แต่เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็คือ "ดีใน" นั่นเอง หมายถึง คุณลักษณะส่วนตัวของพระอาจารย์นอง สองสิ่งต้องคู่กันจึงจะสมบูรณ์ เมื่อดีก็ต้องดีทั้งนอก ดีทั้งใน

พระอาจารย์นอง ท่านยึดถือมาตลอดในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ยากดีมีจน ท่านจะเป็นผู้ให้มาโดยตลอด ทั้งเรื่องสร้างโรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์การแพทย์ สร้างโรงเรียน ทุนการศึกษา สร้างถนนหนทาง บริจาคทรัพย์ให้กับสาธารณกุศลอยู่เป็นประจำ ช่วยสร้างอุโบสถวัดต่างๆ แม้กระทั่งบริจาคเงินให้กับชาวอิสลามที่อยู่แถบ วัดทรายขาว ตลอดจนช่วยเหลือสงเคราะห์เรื่องต่างๆ จนได้รับการยอมรับนับถือจากชาวอิสลามเป็นจำนวนมาก

ในเรื่องของการบริจาคทรัพย์ซื้ออุปกรณ์การแพทย์นั้น ท่านบอกว่า สามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากประโยชน์เกิดขึ้นทันที ด้วยการที่ท่านเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้งท่านจึงเห็นคุณประโยชน์ของอุปกรณ์การแพทย์ บางครั้งเวลาท่านอารมณ์ดีท่านจะเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ท่านเคยพูดว่า

"ตอนกูไปอยู่โรงพยาบาล กูก็เตรียมเงินสดไปด้วยตลอด แล้วถามหมอว่า ขาดอะไรบ้าง หมอบอกว่า ขาดไอ้นั่น ไอ้นี่ กูควักเงินสดให้ไปซื้อเลย ครั้งหลังๆ นี่ พอกูไปนอนโรงพยาบาล ตื่นขึ้นมามองซ้าย มองขวา มีชื่อ พระครูธรรมกิจโกศล ติดเต็มไปหมด" ท่านพูดเสร็จก็หัวเราะร่วนชอบใจใหญ่

ท่านเคยพูดให้ฟังเสมอว่า "คนที่เขาเดือดร้อนมาพึ่งเรา หากไม่เกิดวิสัยแล้ว เราช่วยได้ก็จะช่วย บางคนมาไม่มีเงิน ค่ารถ ค่ากิน เราก็ให้ไปเรื่องบุญ เรื่องทาน ใครทำใครก็ได้ไป บุญยิ่งทำก็ยิ่งได้บุญ ทานยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กลับมามากยิ่งๆ ขึ้นเป็นการสั่งสมบารมีลดกิเลสลงไป"

จริงดั่งท่านว่า "ยิ่งทำก็ยิ่งได้ ยิ่งให้ก็ยิ่งมา" ธรรมะข้อนี้เป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับสังคมยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง เพราะสังคมเราทุกวันนี้ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นทุกที ถ้าคนเรารู้จักคำว่าให้ รู้จักคำว่าพอ รู้จักเสียสละ เชื่อว่าสังคมจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน เรื่องทานบารมีเป็นธรรมะที่พระอาจารย์นอง ยึดปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมาโดยตลอดชีวิตของท่าน ถือว่าเป็นคุณความดีในตัวท่านเอง แต่สามารถสร้างคุณานุประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมหาศาลท่านจึงเป็นที่รักเคารพของมหาชน

พระอาจารย์นองท่านดำรงชีวิตอยู่ในสมณเพศด้วยความเรียบง่าย กิน (ฉัน) ง่ายอยู่ง่ายไม่พิถีพิถัน วางเฉยในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีความทะยานอยาก ท่านพัฒนาวัดทรายขาว จนมีความเจริญรุดหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ชั่วระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี ท่านสร้างวัดทรายขาว ให้งามสง่ากว่าวัดใดๆ ใน จ.ปัตตานี หรือแม้กระทั่งจังหวัดใกล้เคียง เงินที่นำไปสร้างทั้งหมดกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่มาจากการสร้างพระหลวงพ่อทวดทั้งสิ้น ท่านมิได้แตะต้องเงินทำบุญที่มีผู้บริจาคให้วัดแต่อย่างใด ปรากฏว่าหลังจากท่านมรณภาพ คณะกรรมการได้เคลียร์บัญชีทรัพย์สินในบัญชีต่างๆ เหลือเงินสดถึงกว่าสามสิบล้านบาท ทุกบัญชีท่านแยกแยะไว้ชัดเจนว่าเป็นเงินอะไรบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร หนี้สินใครบ้าง ท่านมีบัญชีทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเป็นนักบริหารงานที่มีการจัดการที่ดีเยี่ยม



ขอขอบคุณที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=625&sid=1a5773a904eed38a2f942a231686ff5c

470




หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของ คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย

ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลารุ่งอรุณจวนสว่าง ได้ชื่อว่า วอ มีพี่สางต่างบิดา 1 คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก 1 คน

เมื่อเข้าโรงเรียน ท่านมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ออกความเห็นเหมือน ครูบา จึงถูกเรียกว่า บา ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาดจนจบชั้นประถมปีที 3 ซึ่งขณะนั้นถือเป็นการศึกษาชั้นสูงสำหรับเมืองชายแดน

ต่อมาท่านได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ขณะที่อยู่ที่เชียงคาน ด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว ท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศส และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ชีวิตราชการของท่านไม่ค่อยราบรื่นนัก ท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่งประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่ายกับการต้องคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารในงานเลี้ยงที่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คิดอยากบวชเพื่อแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้ว ท่านจึงตัดสิ้นใจลาออกจากชีวิตราชการเข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปีพุทธศักราช 2466 โดยมีอัยการภาคเป็นเจ้าภาพบวชให้

ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ระหว่างทางได้พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่งมาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ได้แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุตที่จังหวัดเลย หลังจากเกณฑ์ทหารแล้วท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ต่อมาท่านได้กลับมาอยู่กับ พระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวัวซอ และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่ง ณ ที่นี้เอง ท่านได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และอยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก พระอาจารย์เสาร์ โดยมี พระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยง จากนั้น ก็ได้ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มหาเถระที่ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น จวบจนเข้าพรรษา จึงกลับมาจำพรรษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก

ในพรรษานี้ ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญ จึงให้ญุตติจตุถกรรมใหม่ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468 โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูสังฆวุฒิกรป็นพระอุปัจฌาย์ และ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ท่านจึงได้บวชถึง 3 ครั้ง คือ ปี 2466, 2467 และ 2468

พรรษาที่ 1-6 ( พ.ศ. 2468-2473) ท่านจำพรรษาอยู่กับ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุโธ พ.ศ.2468 จำพรรษา ณ วัดพระบาทบัวบก อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2469-2473 จำพรรษา ณ วัดป่าหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันมีชื่อว่า วัดบัญญานุสรณ์) และในปี พ.ศ. 2473 พระอาจารย์บุญ ปญฺญวุโธ มรณภาพ ซึ่งในปีนี้ ท่านได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
พรรษาที่ 7-8 พ.ศ. 2474 ท่านจำพรรษาที่วัดป่าบ้างเหล่างา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน คือ วัดป่าวิเวกธรรม) ร่วมกับ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโมและหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ปี พ.ศ. 2475 ได้ร่วมกับคณะไปส่งสตรีกัมมัฏฐานที่ นครราชสีมา และ ร่วมสร้างวัดป่าสาลวัน และได้จำพรรษาที่ วัดป่าศรัทธา ร่วมกับ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์ภูมี จิตฺตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์คำดี ปภาโส

พรรษาที่ 9-10 (พ.ศ.2476-2477) ท่านได้ร่วมเดินธุดงค์กับ พระอาจารย์เสาร์ และได้วิชาม้างกายจากท่านอาจารย์ ในปีนี้ท่านได้จำพรรษา ณ ถ้ำบ้านโพนงาม-หนองสะไน ตำบลผักคำภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
พรรษาที่ 11 (พ.ศ.2478) เป็นปีที่สร้างวัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หรือ วัดภูริทัตตถิราวาส และท่านได้ออกอุบายให้ชาวบ้าน อาราธนานิมนต์ ท่านพระอาจารย์ฝั้น มาจำพรรษาที่นี่นานถึง 5 ปี
พรรษาที่ 12 (พ.ศ.2479) อยู่จำพรรษากับ พระอาจารย์เสาร์ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
พรรษาที่ 13-14 (พ.ศ.2480-2481) กลับมาสู่แผ่นดินถิ่นกำเนิด จำพรรษา ณ ป่าช้าหนองหลางฝาง ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
พรรษาที่ 15 (พ.ศ.2482) ธุดงค์แสวงหาที่ว่างปฏิบัติธรรมในเขตป่าดงเถื่อนถ้ำ จังหวัดเลย จำพรรษา ณ ถ้ำผาปู่ และ พักเจริญธรรมบ้านหนองบง
พรรษาที่ 16 (พ.ศ.2483) เกิดอัศจรรย์ในดวงจิต จำพรรษา ณ โพนสว่าง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โพนงาม. หนองสะไน) ได้โสรจสรงอมฤตธรรม ครั้นออกพรรษา ได้ไปนมัสการ หลวงปู่มั่น ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
พรรษาที่ 17-19 ใน พ.ศ.2484 ได้ร่วมอยู่ในรัศมีบารมีบูรพาจารย์ ขณะที่ หลวงปู่มั่น จำพรรษา ที่โนนนิเวศน์

พ.ศ.2485-2486 จำพรรษาที่ บ้านอุ่นโคก และ ป่าใกล้วัด ป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร

พรรษา ที่ 20-25 ใน พ.ศ.2487-2488 ทำหน้าที่เปรียบได้ดังนายทวารบาล แห่งบ้านหนองผือ จำพรรษา ณ บ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร

พ.ศ.2489-2490 จำพรรษา ณ บ้านอุ่นดง จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. 2491 จำพรรษา ณ บ้านโคกมะนาว จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. 2492 จำพรรษา ณ บ้านห้วยป่น ตำบลนาใน อำเภอพรรณนิคม สกลนคร ขณะที่หลวงปู่มั่น จำพรรษาช่วงปลายชีวิต ณ วัดป่าหนองผือ ท่านจึงอยู่พรรษากับบูรพาจารย์ใหญ่ ในช่วงนี้ โดย เฉพาะในปีนี้ มี พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์มนู พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์เนตร ตนฺติสีโล พระอาจารย์วัน อุตฺตโมร่วมจำพรรษาด้วย

พรรษาที่ 26-31 พ.ศ.2493 หลังจากประทีปแก้วของพระกัมมัฏฐานได้ดับลง ณ วัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492 และได้ถวายเพลิงในต้นปี 2493 หลังจากนั้น ท่านได้ออกธุดงค์เรื่อยไป จำพรรษาที่วัดศรีพนมมาศ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

พ.ศ. 2494 จำพรรษา ณ ถ้ำพระนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
พ.ศ. 2495 จำพรรษา ณ วัดป่าเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กับ เจ้าคุรอริยคณาธาร
พ.ศ. 2496 จำพรรษา ณ วัดดอนเลยหลง อำเภอเมือง จังหวัดเลย และถ้ำผาปู่
พ.ศ. 2497 จำพรรษา ณ บ้านไร่ม่วง (วัดป่าอัมพวัน) กับ หลวงปู่ชา อจฺตฺโต ผู้เคยร่วมธุดงค์กันหลายครั้ง และในปีนี้ ด้มาที่ท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
พ.ศ. 2498 จำพรรษา ณ สวนพ่อหนูจันทร์ บ้านฝากเลย จังหวัดเลย

พรรษาที่ 32 พ.ศ.2499 อยู่บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (ปัจจุบัน คือ วัดปริตตบรรพต) และ ผจญพญานาคที่ภูบักบิด
พรรษาที่ 33-35 พ.ศ.2500 จำพรรษาร่วมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ วัดป่าแก้วชุมพล สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2501-2502 ร่วมจำพรรษา และ ร่วมสร้าง วัดถ้ำกลองเพล กับ หลวงปู่ขาว

พรรษาที่ 36 พ.ศ. 2503 จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ตำบลหนองหิน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ ในเขตป่าเขาถ้ำเถื่อน ในเขตจังหวัดเลย
พรรษาที่ 37 พ.ศ. 2504 จำพรรษา ณ ถ้ำแก้งยาว บ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย อำเภอสะพุง จังหวัดเลย ในปีนี้ ได้พบงูใหญ่มาอยู่ใต้แคร่
พรรษาที่ 38 พ.ศ. 2505 จำพรรษาที่ เขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
พรรษาที่ 39 พ.ศ. 2506 ได้อุบายธรรม เนื่องจากการจำพรรษากับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ ถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
พรรษาที่ 40 พ.ศ.2507 จำพรรษาที่ บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
พรรษาที่ 41-42 พ.ศ.2508-2509 เสวยสุขจำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้งบ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
พรรษาที่ 43-48 พ.ศ. 2510-2515 จำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้ง สร้างวัดผาบิ้งและเริ่มรับนิมนต์โปรดพุทธชนภาคอื่นๆ ขณะมีอายุกว่า 70 ปีแล้ว
พรรษาที่ 49-50 พ.ศ. 2516-2517 กลัปไปบูรณะ บ้านหนองผือ และถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
พรรษาที่ 51 พ.ศ. 2518 จำพรรษา ร สวนบ้านอ่าง อำเภอบะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อโปรดชาวภาคตะวันออก
พรรษาที่ 52 พ.ศ.2519 เดินทางไปโปรดชาวภาคใต้ และ จำพรรษา ณ วัดกุมภีร์บรรพต นิคมควนกาหลง จังหวัดสตูล วัดควนเจดีย์ จังหวัดสงขลา
พรรษาที่ 53-57 โปรยปรายสายธรรม

พ.ศ.2520 จำพรรษาที่ สวนปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
พ.ศ. 2521 จำพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ อุดรธานี
พ.ศ. 2522 จำพรรษาที่ โรงนายาแดง คลอง 16 อำเภอองครักษ์ นครนายก
พ.ศ. 2523 จำพรรษาที่ วัดอโศการาม อำเภอเมือง สมุทรปราการ
พ.ศ. 2524 จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ บ้านคุณประเสริฐ โพธิ์วิเชียร อำเภอศรีราชา ชลบุรี

พรรษาที่ 58 พ.ศ.2525 พิจารณาธาตุขันธ์จะแตกดับ จำพรรษา ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
พรรษาที่ 59-65 (พ.ศ.2526-2532) เป็นช่วงแสงตะวันลำสุดท้ายของชีวิต ในช่วงปี พ.ศ. 2526-2528 ท่านจำพรรษาที่ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) กิ่งอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. 2529-2532 จำพรรษาที่พักสงฆ์ ก.ม.27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานครกับ ที่พักสงฆ์เย็นสุดใจ อำเภอท่าหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ในบรรดาศิษย์ของ หลวงปู่มั่น นั้น หลวงปู่หลุย เป็นผู้ทีสันโดษ มักน้อย ประหยัดมัธยัสถ์ที่สุด ท่านเป็นผู้ละเอียดละออมาก เป็นนักจดบันทึก มีบันทึกหลายสิบเล่มเกี่ยวกับหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการค้นคว้าศึกษาสำหรับสาธุชนคนรุ่นหลังรวมทั้ง ธรรมโอวาท ของท่านเองด้วย

ธรรมโอวาท
ธรรมเทศนาของหลวงปู่มีมากมายหลายร้อยหลายพันกัณฑ์ เพราะท่านได้เทศน์โปรดญาติโยมลูกศิษย์มากกว่าครึ่งศตวรรษ และกระทำเรื่อยมาจนกระทั่งคืนสุดท้าย ก่อนจะมรณภาพเพียงหนึ่งชั่วโมง ท่านก็ยังอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่ ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของ การรักษาศีล โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาเพิ่มจาก ศีล 5 เป็น ศีล 8 ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า ศีล 5 นี้ พระพุทธเจ้า ท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้ สำหรับศีล 8 ย่อมช่วยให้สามารถสำเร็จถึงอนาคามีได้

พระธรรมเทศนาของท่าน จะย้ำเสมอเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนา หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ การภาวนาก็จะก้าวหน้ารวดเร็ว ผู้มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย ในสังคมที่อยู่ร่วมกันนี้ ถ้าทุกคนรักษาศีล 5 บ้านเมืองก็จะสงบราบรื่น ปราศจากขโมย ไม่มีการฆ่าฟันกัน อานุภาพแห่งศีล ย่อมรักษาตัวผู้รักษาศีล และ สังคมโดยรอบได้ หลังจากได้ฟอกจิตด้วยการรักษาศีลแล้ว การบำเพ็ญทาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้จิตใจโน้มน้าวตัดความตระหนี่ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถึงกัน

ส่วนเรื่อง จิตภาวนา นั้น ท่านจะเน้นว่ามีอานิสงส์มาก ท่านกล่าวเสมอว่า กิเลสมีร้อยแปดประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว เพราะฉะนั้น ให้ฝึกหัดปฏิบัติให้คุ้นเคย วาระที่เราจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นจงเพียรฝึกจิตให้คุ้นไว้กับพุทโธ ท่านละเอียดพิถีพิถันมากในทุกเรื่อง เป็นต้นแบบให้สาธุชนรู้จักฝึกตนให้รู้จักการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อย่างถูกต้อง คือ นอกจากเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง ศอกจรดพื้น หน้าผากต้องแตะถีงพื้นด้วย จึงจะเป็นท่ากราบที่งดงาม

ในการกราบครั้งที่หนึ่งให้มีน้อมจิตรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า กราบครั้งที่สองให้นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของท่านที่สืบต่อพระศาสนามาจนทุกวันนี้ กราบครั้งที่สามให้ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสมมติสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการกราบทุกครั้ง ต้องน้อมจิตให้รำลึกด้วยเสมอ จิตจะเอิบอาบในการบุญ จะเป็นจิตที่อ่อนน้อมควรแก่การงาน หากฝึกเช่นนี้เสมอ จะเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน ให้ดูจิตของตัวเอง ภาวนาให้จิตใจสงบ มัธยัสถ์ปัจจุบัน ม้างกายให้มาก จะช่วยให้หมดความกำหนดหลงติดในสีสันของกามวัตถุ ให้หมั่นมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย อานิสงส์ของการช่วยชีวิตสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่า มีผลทำให้อายุยืน แม้ยามตกทุกข์ได้ยาก ก็จะมีคนมาช่วยเหลือ ไม่ติดคุกติดตาราง

หลักการม้างกาย ของท่าน คือ การพิจารณาปล่อยวางธาตุขันธ์ ส่วนการภาวนาหรือทำจิตทำใจ ให้ดูอาการของจิต ก่อนตาย อย่าไปดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว เวลาธาตุจะตีลังกาเปลี่ยนภพ จิตจะออกจากร่าง ให้พิจารณาตามจิต จะเห็นว่า จิตจะออกจากร่างอย่างไร ไปอย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร จะมืดๆ สว่างๆ อย่างไร จะมีอาการเหนื่อยหอบมาก ให้กำหนดตามจิต จะเห็นอาการจิตชัด แต่หากตามไม่ทัน ก็ให้ปล่อยไปให้ได้ปัจจุบันขณะ ท่านจะย้ำเสมอว่า อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียวและ ขอให้เร่งทำความเพียร มีความสามัคคี กลมเกลียวกัน

ปัจฉิมบท
ในวันที่ 7 ตุลาคม 2532 ท่านรำพึงระหว่างที่พักอยู่ ณ ที่พักสงฆ์ กม.27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ความว่า

"แก่ ชรา มานานเท่าไร พึงภาวนาให้คุ้นเคยกับความตาย เพราะจะต้องตายอยู่แล้ว เตรียมตัวไว้ก่อนตาย รอรถ รอเรือ ที่จะต้องขึ้นไหสวรรค์พระนิพพาน หูยิ่งหนวกหนักเข้าทุกวัน ตายิ่งไม่เห็นหน ตีนเท้าอ่อนเพลีย หันไปหาความตายเสมอไป ถือภาวนาใน ไตรลักษณ์ ทุกขอนิจจัง อนัตตา มีเกิดแล้วย่อมมีตาย เพราะโลกไม่เที่ยงอยู่แล้ว แปรปรวนไปต่างๆ สังขารเราบอกเช่นนั้น เที่ยงแต่พระนิพพานอย่างเดียว"

เช้าวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2532 หลวงปู่ยังคงเดินจงกรมตามปกติ หลังจากนั้นได้เรียกพระเณรมาขอนิสัยใหม่ แล้วท่านก็ได้อบรมธรรมะ โดยให้พระเณร ภาวนาดูจิตนเอง ภาวนาให้จิตสงบ ม้างกายให้มาก ท่านปรารภถึงความตาย จนเวลา 13.00น. ท่านเรียกพระอุปัฏฐากขึ้นไปพบและปรารภให้ฟังว่า รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ลมตีขึ้นเบื้องบน แล้วบอกให้ช่วยนวดขา ครั้นเวลาผ่านไปถึง 16.00น. อาการกำเริบหนักท่านหายใจไม่ออก พระอาจารย์อุทัย สิริธโร และ บรรดาลูกศิษย์จึงขอนิมนต์ท่านไปโรงพยาบาล แต่ท่านบอกว่า "หมอก็ช่วยไม่ได้ ขอตายที่หัวหิน ไม่ยอมเข้ากรุงเทพฯ เพราะสถานที่ไม่สงบ จะทำให้เข้าจิตไม่ทัน" ลูกศิษย์จึงไปตามแพทย์มาดูอาการและวินิจฉัยว่า เป็นอาการของโรคหัวใจ และ อาหารไม่ย่อย ตรงตามที่ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ไว้ก่อนที่หมอจะมา

ท่านขอแสดงอาบัติ และ บอกบริสุทธิ์ต่อท่ามกลางสงฆ์ ด้วยน้ำเสียงที่แจ่มใสยิ่งพร้อมแสดงธรรม ปฏิญานปลงอายุสังขารแล้วปรารภปัจฉิมเทศนาในเรื่องการทำกิจ การภาวนา การดูอาการของจิตก่อนตาย ย้ำว่า อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว

ท่านเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ โดยไม่อ้างกาลเวลา แม้อาพาธอย่างหนักก็ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา 23.30 น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว ขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย กระทั่งถึงเวลา 00.43น. ของ คืนวันที่ 24 ล่วงเข้าสู่ วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2532 หลวงปู่ได้กล่าวเป็นคำสุดท้ายว่า "เอาขันธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว"

หลวงปู่ได้จากไปพร้อมอาการสงบด้วยสติ รวมสิริอายุได้ 88 ปี 65-67 พรรษา


ขอขอบคุณที่มา...http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=67&sid=cdc6b83db689b11dc58bc1535da1db57

471
 



ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี

วัดถ้ำคูหาสวรรค์
ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

๏ นามเดิม

คำคะนิง จุลมณี

๏ สถานที่เกิด

บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๗

๏ โยมบิดา-โยมมารดา

นายคินทะโนราช และนางนุ่น จุลมณี

๏ การบรรพชา

(หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ก่อนจะบวชเป็นพระภิกษุ ท่านเคยเป็นฤาษีชีไพรมาก่อน ๑๕ ปี ) ท่านบรรพชาเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี บวชได้ ๙ วัน เพื่อทดแทนคุณบิดามารดาที่ตายไป หลังจากนั้นพบครบก็ต้องลาสึก แม้ว่าอยากจะบวชต่อเพียงไรแต่เพราะมีหน้าที่ความจำเป็นต้องเลี้ยงดูครอบครัว (ท่านแต่งงานเมื่ออายุ ๑๘ ปี มีบุตร ๒ คน ) แต่ท่านก็ยังยึดมั่นในการปฏิบัติธรรมโดยการทำงานหาเงินให้เมียกับลูกตอนกลางวัน พอกลางคืนท่านก็ไปนอนที่วัด ถือศีลปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาไม่กลับไปอยู่ที่บ้าน เพียงดูแลลูกและเมียไม่ให้อดอยาก ทำเช่นนี้จนภรรยาทนไม่ได้ที่เห็นสามีปฏิบัติตัวแบบนี้ จึงอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามใจปรารถนา

เมื่อเป็นดังนั้น ท่านจึงกลับไปวัดที่ตนเคยบวชสามเณรอีกครั้ง เพื่อพักอาศัยปฏิบัติธรรม อยู่ต่อมาได้ไม่นาน ท่านก็ได้เพื่อนสหมิกธรรมอีกสองคน จึงมีความดำริที่คิดจะออกแสวงหาครูบาอาจารย์ ก่อนจะบวชก็เคยออกสืบเสาะแสวงหาพระอาจารย์ด้านกรรมฐานเก่งๆ ได้มีสหาย ๒ คนร่วมเดินทางไปหาอาจารย์สีทัตถ์ เมืองท่าอุเทน แต่ก็ผิดหวัง เมื่ออาจารย์สีทัตถ์กล่าวปฏิเสธ แต่ก็แนะนำให้ไปหาอาจารย์เหม่ย ทั้งหมดรีบมุ่งไปหาอาจารย์เหม่ย เพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ อาจารย์เหม่ยนิ่งฟังแล้ว กล่าวด้วยเสียงห้วนๆ

“ถ้าจะมาเป็นศิษย์เรา ทั้งสามคนนี้จะมีคนตายหนึ่งคน มีใครกลัวตายบ้าง” อาจารย์เหม่ยชี้ถามรายตัว เพื่อนอีกสองคน ยอมรับว่ากลัวตาย ครั้นมาถึงนายคำคะนิง เขาได้ตอบอาจารย์ออกไปว่า “ไม่กลัวตาย”

อาจารย์เหม่ยเลยให้เพื่อนอีกสองคนที่กลัวตายกลับไป แล้วหันมาทางนายคำคะนิงแล้วพูดว่า “การเรียนวิชากับอาจารย์นั้น มีทางตายจริงๆ เพราะมันทุกข์ทรมานอย่างที่สุด” ให้นำเสื้อผ้าที่มีสีสันทิ้งไป ใส่ชุดขาวแทน เป็น “ปะขาว” ในฐานะศิษย์

ในสำนักมีแต่ข้าวตากแห้งกับน้ำเพียงประทังชีวิตพออยู่รอดไปวันๆ เวลานอนก็เอามะพร้าวต่างหมอน นายคำคะนิงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดเรื่องการตายขึ้น ของชายผู้หนึ่งที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ คนผู้นี้นั่งสมาธิจนตาย อาจารย์สั่งนายคำคะนิงให้แบกศพที่ตายเข้าป่า โดยมีอาจารย์เดินนำหน้า ข้ามเขาลูกหนึ่งไปสิบกว่ากิโลเมตรไปถึงต้นไม้ใหญ่สองคนโอบ แล้วสั่งให้เขามัดศพกับต้นไม้นั้น จากนั้นสั่งกำชับว่า “เจ้าจงเดินเพ่งศพนี้ไปเรื่อยๆ ทั้งวันทั้งคืน อย่าได้หยุด ให้พิจารณาอสุภกรรมฐานอย่างถ่องแท้ พรุ่งนี้เช้าค่อยเจอกัน”

นายคำคะนิงจึงได้เริ่มพิจารณาศพตามที่อาจารย์เหม่ยสั่งไว้ ถึงรุ่งเช้านายคำคะนิงจึงกลับไปสำนักตามที่อาจารย์กำหนด อาจารย์เหม่ยถามขึ้นเป็นประโยคแรกเมื่อเจอหน้า “เป็นอย่างไงบ้าง”

“ศพนั้นก็เหมือนตัวศิษย์ครับอาจารย์ ไม่มีอะไรแตกต่างตรงไหนเลย” นายคำคะนิงบอก

“กลัวไหม” อาจารย์ถาม

“ไม่กลัวครับ เพราะเขาก็เหมือนเรา เราก็เหมือนเขา”

อาจารย์ไม่ถามอะไรอีก สั่งให้ไปเอามีดเล่มหนึ่งทั้งศิษย์และอาจารย์ต่างเดินทางกลับไปหาศพ ณ ที่เดิมพอไปถึง ก็สั่งให้แก้มัดเอาศพออกมานอนราบกับพื้นดิน แล้วสั่งให้นายคำคะนิงผ่าท้องเอาศพออก จากนั้นอาจารย์ก็กล่าวว่า ให้หยิบอะไรออกมา ต้องอธิบายอวัยวะนั้นได้ และต้องบอกดังๆ เมื่อนายคำคะนิงชำแหละศพ ตัดหัวใจ ตับ ปอด ไต กระเพาะ และสิ่งต่างๆ ก็จะตะโกนบอกอาจารย์ด้วยเสียงอันดัง จนครบหมดถูกต้อง

“เอ๊า...คราวนี้ชำแหละเนื้อลอกออกให้เหลือแต่กระดูก” อาจารย์เหม่ยสั่งให้เขาทำต่อ และนั่งดูจนเสร็จเรียบร้อย จึงได้สั่งอีกเอากองเนื้อและเครื่องในไปเผาให้หมด เอากระดูกรวมไว้ต่างหาก แล้วเอาไปต้มล้างให้สะอาด เหลือแต่กระดูกล้วนๆ อย่าให้มีอะไรติดอยู่

นายคำคะนิงปฏิบัติตามที่อาจารย์สั่งทุกประการ เนื้อตัวของนายคำคะนิงเต็มไปด้วยรอยเปื้อนเลือด, น้ำเหลือง และมีกลิ่นศพติดตัวเหม็นคละคลุ้ง อาจารย์เหม่ยยังไม่เลิกรา สั่งต่อไปให้เขานับกระดูกและเรียงให้ถูก เขาลงมือปฏิบัติตามทันที

“กระดูกมีสองร้อย แปดสิบท่อนครับ อาจารย์”

อาจารย์เหม่ยอธิบายอีกว่า คนที่จะบรรลุธรรมด้วยความเพียรบำเพ็ญ ต้องมีกระดูกครบสามร้อยท่อนกระดูก คือ พระวินัย เนื้อหนังมังสาเป็นพระวินอก ส่วนระเบียบคือ หู ตา จมูก ปาก มือ เท้า หลังจากได้เรียนรู้วิชาจากอาจารย์เหม่ยหลายสิ่งหลายอย่าง อาจารย์ก็ไล่ให้ไปสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมเอาเอง นายคำคะนิงจึงยึดเอาโยคีเป็นรูปแบบภายนอก และถือศีลภาวนาอย่างพระภิกษุตั้งแต่บัดนั้นมา

ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ในปีหนึ่ง เดินธุดงค์คราวนี้หลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค อ.สนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้นำศิษย์เอก ๔ รูป ไปด้วยมีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง) หลวงพ่อฤาษีลิงขาว หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก และพระเขียน หลวงพ่อปานพาลูกศิษย์ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม มุ่งหน้าไปทางภาคเหนือ ข้ามเขตชายแดนลึกเข้าไป กระทั่งเข้าเขตเชียงตุง

วันหนึ่ง...คณะของหลวงพ่อปานได้ผ่านไปถึงถ้ำแห่งหนึ่ง และได้พบกับปะขาวคำคะนิง ขณะนั้นท่านปล่อยผมยาวรุงรังมาถึงเอว หนวดเครางอกยาวรุ่ยร่าย นุ่งห่มด้วยผ้าซึ่งดูไม่ออกว่าเป็นผ้าสีอะไร เพราะปุปะและกระดำกระด่าง หลวงพ่อปานจึงเปรยขึ้นว่า

“นี่พระหรือคน ?”

“ไอ้พระมันอยู่ที่ไหน ? เฮ้ย ! พระมันอยู่ที่ไหนวะ ?” พูดสวนด้วยน้ำเสียงขุ่นเหมือนไม่พอใจ

“อ้าว...ก็เห็นผมยาว ผ้าก็อีหรุปุปะ สีเหลืองก็ไม่มี แล้วใครจะรู้ว่าเป็นคนหรือพระล่ะ ?”

“พระมันอยู่ที่ผมหรือวะ ?”

“ไม่ใช่” หลวงพ่อปานตอบยิ้มๆ

“แล้วพระมันอยู่ที่ไหนเล่า ?”

“พระน่ะอยู่ที่ใจใสสะอาด”

“ถ้าอย่างนั้นละก้อ เสือกมาถามทำไมว่าเป็นพระหรือคน”

“เห็นผมเผ้ารุงรังอย่างนั้นนี่ ใครจะไปรู้เล่า ?”

“ก็ในเมื่อพระไม่ได้อยู่ที่ผม ไม่ได้อยู่ที่ผ้าแล้วเสือกมาถามทำไม ทำไมไม่ดูที่ใจคน ไอ้พระบ้านพระเมืองกินข้าวชาวบ้านแบบนี้อวดดี มันต้องเห็นดีกันละ”

พูดจบ ปะขาวคำคะนิงก็หยิบเอาหวายยาวประมาณหนึ่งวาโยนผลุงไปตรงหน้า หวายเส้นนั้นกลายสภาพเป็นงูตัวใหญ่ยาวหลายวาน่ากลัว ชูคอร่าก่อนจะเลื้อยปราดๆ เข้ามาหาหลวงพ่อปานพระลูกศิษย์เห็นอย่างนั้นต่างถอยไปอยู่เบื้องหลังหลงพ่อปาน

หลวงพ่อปานไม่ได้แสดงอาการแปลกใจหรือตื่นกลัวท่านก้มลงหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาใบหนึ่งแล้วโยนไปข้างหน้า ใบไม้นั้นก็กลายเป็นนกขนาดใหญ่คล้ายเหยี่ยวหรือนกอินทรี

นกซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์โผเข้าขยุ้มกรงเล็บจับลำตัวงูใหญ่เอาไว้แล้วกระพือปีกลิ่วขึ้นไปเหนือทิวยอดไผ่ ต่อสู้กันเป็นสามารถงูฉกกัดและพยายามม้วนตัวขนดลำตัวรัด ขณะที่นกใหญ่จิกตีและจิกขยุ้มกรงเล็บไม่ยอมปล่อย แต่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแพ้ชนะ ตราบกระทั่งร่วงหล่นลงมาทั้งคู่พอกระทบพื้นดิน งูกลายเป็นช้างป่าตัวมหึมา งายาวงอนส่วนใบไม้แห้งแปรรูปเปลี่ยนเป็นเสือลายพาดกลอน แล้วสองสัตว์ร้ายก็โผนเข้าสู้กันใหม่ เสียงขู่คำรามของเสือเสียงโกญจนาทของพญาคชสารแผดผสานกึกก้องสะท้านป่า

นี่ไม่ใช่ภาพมายา แต่เกิดจากฤทธิ์อภิญญา! ครั้นสองตัวประจัญบานไม่รู้แพ้ชนะได้ครู่หนึ่งก็หายไป ปะขาวยาวหนวดยาวเครารุงรังได้บันดาลให้เกิดไฟลุกโชติช่วงประหนึ่งจะมีเจตนาจะให้ลามมาเผา แต่หลวงพ่อปานก็บันดาลพายุฝนสาดซัดลงมาดับไปเกิดฝุ่นตลบคลุ้งไปทั้งป่า

ลองฤทธิ์กันหลายครั้งหลายครา ปรากฏว่าไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แทนที่ทั้งสองฝ่ายจะโกรธเกรี้ยว กลับทรุดลงนั่งหัวเราะด้วยความขบขัน

คณะศิษย์ของหลวงพ่อปานพากันประหลาดใจ หลวงพ่อปานจึงอธิบายว่า “เขากับฉันเป็นเพื่อนกัน” พร้อมกันนั้นก็หันไปพูดกับปะขาวผมยาวหนวดเครารุงรังว่า ลูกศิษย์ของท่านนั้น “เอาจริง” หมายถึงปรารถนาบรรลุสู่พระนิพพานกันจริงๆ ทุกรูป การที่ท่านและปะขาวผมยาวเล่นฤทธิ์ประลองกันก็เพื่อให้ศิษย์ทุกคนได้เห็น “ของจริง”

แล้วหลวงพ่อปานก็ให้คณะศิษย์ของท่านเข้าไปทำความเคารพ ซึ่งปะขาผมยาวก็ได้นอบน้อมถ่อมตนว่าท่านไม่ได้เก่งกาจเกินว่าหลวงพ่อปานเลยแม้แต่น้อย

หลวงพ่อปานและศิษย์ของท่านพักอยู่กับปะขาวผมยาวนานนับครึ่งเดือน เพื่อให้ทุกรูปได้รับคำแนะนำสั่งสอนด้านอภิญญาเพิ่มเติม เมื่อพักอยู่ที่คูหาถ้ำพอสมควรแก่เวลาแล้ว หลวงพ่อปานและคณะศิษย์ก็ออกธุดงค์ต่อไป ปะขาวผมยาวคนนั้นก็คือปะขาวคำคะนิง หรือหลวงปู่คำคะนิงนั้นเอง

หลังจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคและคณะศิษย์ของท่านจากไปแล้ว ปะขาวคำคะนิงก็ออกเดินทางต่อไป โยคีคำคะนิงดั้นด้นไปยังภูอีด่าง ซึ่งสมเด็จลุนพระอริยเจ้าแห่งราชอาณาจักรลาวจำพรรษาอยู่ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของตนให้ท่านทราบ สมเด็จให้ความปราณีมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ให้โยคีคำคะนิงไปค้นคว้าศึกษา ครั้นท่านโยคีคำคะนิงศึกษาธรรมจากพระคัมภีร์เรียบร้อยก็เอาเก็บไว้ที่เดิม มิได้นำมาเป็นสมบัติส่วนตัว โยคีคำคะนิงลงจากภูเขาได้พบชาวบ้าน และได้ทำการรักษาคนป่วยจนหายทุเลา ท่านเดินทางไปเรื่อย เจอใครก็รักษาโรคภัยให้หมด

๏ การอุปสมบท

เรื่องของโยคีตนนี้ ทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตของประเทศลาวถึงกับสนพระทัย จึงได้โปรดให้โยคีคำคะนิงเข้าเฝ้าท่ามกลางพระญาติและเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงตรัสถาม “ท่านเก่งมีอิทธิฤทธิ์มากหรือไม่”

“ไม่” โยคีคำคะนิงตอบสั้นๆ

“ถ้าไม่เก่งแล้วทำไมคนจึงลือไปทั่วประเทศ” ตรัสถามอีก

“ใครเป็นคนพูด” โยคีคำคะนิงไม่ตอบแต่ถามกลับ

“ประชาชนทั้งประเทศ” พระองค์บอก

“นั่นคนอื่นพูด อาตมาไม่เคยพูด” โยคีคำคะนิงตอบออกไป

พระเจ้าศรีสว่างวัฒนาทรงแย้มพระสรวล ในการตอบตรงๆ ของโยคีคำคะนิง จึงตรัสถามว่า

“ขอปลงผมท่านที่ยาวถึงเอวออกได้ไหม”

คำคะนิงถึงกับอึ้งชั่วครู่ จึงได้กราบทูลไปว่า “ถ้าปลงผม หนวดเคราก็ต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ”

“ยินดีจะจัดอุปสมบทให้ท่านเป็นพระราชพิธี” เจ้ามหาชีวิตยื่นข้อเสนอให้ โยคีคำคะนิงจึงได้กล่าวตกลง และได้บวชตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ณ วัดหอเก่าแขวงนครจำปาศักดิ์ คือศาสนสถาานที่กำหนดให้เป็นวัดอุปสมบทของปะขาวคำคะนิง มีประกาศป่าวร้องให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวันอุปสมบทปะขาวคำคะนิง โดยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดขึ้น

พอถึงวันอุปสมบท ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่าต่างมาร่วมในงานพระราชพิธีแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ แต่ละคนเตรียมผ้าไหมแพรทองมาด้วยเพื่อจะมาปูรองรับเส้นเกศาของปะขาวคำคะนิง ตอนแรกจะมีการแจกเส้นเกศาให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันหม ครั้นถึงเวลปลงผมจริงๆ ประชาชนกลัวจะไม่ได้เส้นเกศาจึงแออัดยัดเยียดเข้ายื้อแย่งกันอลหม่าน เกินกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการจะห้ามปรามสกัดกั้นได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงเมื่อเส้นเกศาถูกแย่งเอาไปจนหมด

จากนั้นพระราชพิธีอุปสมบทก็ดำเนินต่อไปโดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ๒๘ รูป เมื่อพิธีการอปุสมบทเสร็จสิ้นปะขาคำคะนิงซึ่งครองเพศพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับฉายาว่า “สนฺจิตฺโตภิกขุ” หรือ “พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต”

หลังจากเป็นพระภิกษุ พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็กลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูอีด่างเช่นเดิม ดำรงวัตรปฏิบัติตามแนวทางของพระป่าอย่างเคร่งครัด และนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุคำคะนิง สนฺจิตฺโต ประชาชนก็ยิ่งหลั่งไหลไต่ภูเขาขึ้นไปกราบนมัสการ และขอความช่วยเหลือจากท่านจนไม่มีเวลาปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญธรรม

วันหนึ่ง พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็หายไปจากภูอีด่าง และไม่กลับมาอีกเลย ประชาชนลาวรู้แต่ว่าท่านออกธุดงค์สาบสูญไปแล้ว ต่างพากันร่ำไห้โศกเศร้าอย่างน่าสงสาร

หลวงปู่ชอบจารึกธุดงค์ฝั่งลาวเพราะหมู่บ้านยังไม่เยอะเท่าฝั่งไทย ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วงปลายชีวิตท่านก็ตัดสินใจจำพรรษา วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นที่สุดท้ายของท่าน

๏ การมรณภาพ

หลวงปู่ป่วยเป็นโรคปอดบวม และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ท่านได้อยู่ในเพศฤาษีได้ ๑๕ ปี และอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ได้ ๓๒ พรรษา

๏ พระธรรมเทศนา

จงพยายามละกิเลสที่อยู่ในตัวเรา อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม

“อด” คือความอดทนวิริยะในธรรมอันบริสุทธิ์ เช่นหนาวก็ไม่ให้พูดว่าหนาว ร้อนก็ไม่ให้พูดว่าร้อน เจ็บก็ไม่ให้พูดว่าเจ็บ เพราะมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาได้ทุกรูปทุกนาม ครบอาการ ๓๒ อย่างบริบูรณ์นั้นก็ด้วยธรรม ได้แต่งให้เกิด อันมีศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมจะรู้และเห็นอยู่ทุกวันว่า มีคนเกิดแก่ เจ็บ ตาย เพราะเป็นกฎธรรมชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ เมื่อเกิดมีขันธ์ ๕ ย่อมมีดับ

ทุกสิ่งในโลกมักจะมีคู่ เช่น หญิงกับชาย ดีกับชั่ว ในทำนองนี้ พระพุทธเจ้าเองปรารถนาอย่างยิ่งคือคำว่าหนึ่งไม่มีสอง ก็หมายความว่า เมื่อมีเกิดย่อมมีตาย เมื่อไม่มีตาย ย่อมไม่มีเกิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถึงการหลุดพ้นจากกิเลสหมดสิ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ให้รู้จักตัวเจ้าของเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจในสิ่งที่ห่างจากตัว ให้อ่านตัวเองให้ออก เพราะธรรมที่ทุกคนอยากได้ อยากเห็นนั้นมันอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล แต่ที่เรามองไม่เห็น อ่านมันไม่ออกก็เพราะกิเลสมันบังอยู่ อุปมาดังตัวเรานี้เหมือนแก้วน้ำที่ใสสะอาด บรรจุไปด้วยน้ำสกปรกอันมีกิเลสตัณหา ความอยาก โลภโมโทสัน ความอยากร่ำอยากรวย ความไม่รู้จักพอนี้สะสมอยู่ในจิต ก็ย่อมจะมีแต่ความมืดมน ถ้าทุกคนพยายามหยิบและตักตวงเอาสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาออกจากจิตออกจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสวแห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสวแห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างสะอาดไม่มีสิ่งใดบรรจุ นั่นคือ ตัวธรรมที่แท้จริง

ส่วน “อัด” คืออะไร ทุกคนที่เกิดมาในโลกย่อมจะรู้จะเห็นว่าอะไรเป็นเรื่องของทางโลก เช่น คนพูดกันหรือทะเลาะกัน คนฆ่ากัน รถชนกัน สิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องไปสนใจ ปิดหู ปิดปาก ปิดตา ไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้เห็น ไม่ให้พูด ไม่ต้องรับรู้จากสิ่งที่จะทำให้เป็นตัวกั้นความดี ให้วางให้หมด ดูแต่ใจเจ้าของแต่ผู้เดียว รู้แต่ลมเข้าออกเท่านั้น จะทำอะไรก็ให้อยู่ในศีลธรรมให้ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา เราต้องอัดไม่ให้เสียงเข้ามาในหู ไม่ให้รูปเข้ามาทางตา ไม่พูดสิ่งที่ต่ำไป สูงไป ให้พูดแต่สิ่งที่พอดี นี่คือธรรมตัวจริง

“อุด” คืออะไร หมายถึง เมื่อเราอด เราอัด ปิดกั้นความเลวร้าย ความชั่ว ความวุ่นวายทั้งหลายไม่ให้เข้ามาทางตา หู ปาก ของเราแล้วก็อุดความดีเอาไว้ในตัวของเราไม่ให้มันไหลออกไป กาย วาจา ใจของเราก็จะบริสุทธิ์ในธรรม ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ ตาอย่าได้ดูในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หูอย่าได้ฟังในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ปากอย่าได้พูดในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อุดความดีทั้งหลายเอาไว้ ให้เกิดความบริสุทธิ์ในธรรม ถ้าทุกคนพยายามตั้งอกตั้งใจปฏิบัติก็จะพบแต่ความสำเร็จปรารถนาไว้ทุกประการ

อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม คือ การปฏิบัติส่งเสริมคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รู้ซึ้งถึงธรรมของพระพุทธองค์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นตัวธรรมะที่พาให้เห็นธรรมอันแท้จริง อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม คือ การปฏิบัติที่ทำให้เราระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ อยู่ชอบ กินชอบ นั่งชอบ นอนชอบ ไปชอบ มาชอบ วาจาชอบ อด อัด อุด เป็นขันติบารมีธรรม คือความอดทนให้เกิดปัญญามีที่เป็นปรมัตถ์ มัดหูมัดตา มัดจิต มัดใจ มัดมือ มัดตีนให้เป็นธรรม อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมนี้ดีเลิศทำให้หน่ายในโลกจักรวาล มีจิตเบิกบาน ถ้าเข้าใจดีปฏิบัติด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะหันหน้าเข้าสู่สวรรค์นิพพาน ไม่หนึ่งเกิด สองตาย อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมไม่มีตาย ไม่มีเฒ่า ไม่มีเข้าพยาธิ

หลวงปู่สั่งสอนให้มีศรัทธาในพระพุทธธรรม ทำใจให้เป็นหนึ่งให้ได้ จึงจะเห็นดวงธรรม หลวงปู่ไม่กลัวผิดใจคน แต่กลัวผิดพระธรรมวินัย



ขอขอบคุณที่มา ::
http://www.dharma-gateway.com/
http://www.j-d-sri-ubon.net/
 

472



-ขอความรู้ของเหรียญ...รุ่นมงคลโชค ปี 39 หน่อยครับ?


-เนื้อทองแดงรมดำ ต้องมีตอกโค้ดหรือปล่าวครับ?


-ความหมายของยันต์ด้านหลังเหรียญ อยู่ในยันต์แปดทิศใช่หรือไม่ครับ?


-พอดีที่บ้านมีอยู่ 3 เหรียญ เก็บไว้1 เหรียญ และว่าจะเอาไปแจกเพื่อนสมาชิกชาวเว็บวัดบางพระ...ผู้โชคดี... 2 เหรียญ
 ในวันไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น...

ขอรบกวนท่านผู้รู้...ทุกๆท่าน...ร่วมแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ครับ...


ขอบคุณครับ :065:

473


พวกพราหมณ์ที่เมืองพัทลุงถือตัวเองว่าเป็นชนชั้นสูง เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพรามหณ์ในอินเดีย พวกพราหมณ์จึงมักเลือกตั้งบ้านเรือนไว้ในที่สูงที่ถือว่าเป็นมงคล และเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกตนมีฐานะชนชั้นสูงกว่าคนทั่วไปสถานที่ที่พวกพราหมณ์เมืองพัทลุงได้เคยตั้งบ้านเรือน ได้แก่ บ้านดอนเค็ด บ้านดอนรุม บ้านดอนยอ บ้านลำป่า บ้านไสไฟ อำเภอเมืองพัทลุง บ้านควนปิง บ้านดอนนูด อำเภอควนขนุน บ้านดอนจาย บ้านจองถนน อำเภอเขาชัยสน เป็นต้น พรามณ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพัทลุงมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ผิดแปลกไปกว่าเมืองนครศรีธรรมราช

ประเพณีของพราหมณ์เมืองพัทลุงเท่าที่ได้ถือปฏิบัติกันในปัจจุบันมีดังนี้

การเกิด เดิมจะถือปฏิบัติกันอย่างไรไม่สามรถสืบทราบได้ ปัจจุบันได้ถือปฏิบัติแบบเดียวกับคนไทยทั่วไป
การตาย ผู้ที่เป็นพราหมณ์หรือที่มีเชื้อสายพราหมณ์จะนั่งตาย สาเหตุที่พราหมณ์นั่งต่าย

มีเรื่องเล่าทำนองนิทานว่า ในสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่นั้น พระอิศวรกับพระพุทธเจ้าทรงเล่นซ่อนหาโดยพระอิศวรเป็นผู้ซ่อนพระองค์ก่อน โดยลงไปซ่อนที่สะดือทะเล พระพุทธเจ้าทรงหาพบ เมื่อถึงคราวพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเสด็จขึ้นไปซ่อนอยู่ในมวยผมของพระอิศวร พระอิศวรทรงหาเท่าไรก็ไม่พบ จึงทรงเรียกพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงขานรับทำให้เสียงดังไปทั้ง ๔ ทวีป พระอิศวรก็เลยแยกสำเนียงไม่ออกว่าจะมาจากทิศใด จึงทรงยอมแพ้ต่อพระพุทธองค์และขอเพียงที่สำหรับพอให้พวกพราหมณ์นั่งตายเท่านั้นนอกจากนั้นไม่ต้องการอะไรอีก พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต

เมื่อพราหมณ์คนหนึ่งคนใดตาย การบรรจุโลงต้องทำเป็นรูปโกศรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยอดแหลมพอให้ผู้ตายนั่งได้ ก่อนบรรจุศพต้องอาบน้ำให้สะอาด ศพต้องนั่งท่าสมาธิ แล้วบรรจุเข้าในโกศ
ให้หันหน้าไปทางทิศอีสานพิธีฝังต้องไปทางทิศอีสาน เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วพวกพราหมณ์ทั้งหมดจะกลับไปบ้านเจ้าภาพ แล้วรับประทานข้าวต้มบนครก เป็นอันเสร็จพิธีศพ

สำหรับป่าช้าเมืองพัทลุง เท่าที่ได้ค้นพบในเวลานี้มีอยู่ ๒ แห่ง คือที่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาสนชัย ชาวบ้านเรียกว่า ?ป่าช้าแขกชี?
และป่าช้าที่หน้าวัดดอนกรวด ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมืองพัทลุงซึ่งเป็นป่าช้าที่ใช้อยู่จนทุกวันนี้ เดิมทีป่าช้านี้มีเสาหงส์ขนาดใหญ่ ๑ เสา ต่อมาทางวัดดอนกรวดได้รื้อนำไปทำเป็นเสากุฏิภายในวัด ส่วนตัวหงส์ก็สูญหายไป

การบวช ผู้ที่จะบวชเป็นพราหมณ์ต้องเป็นผู้ชาย และเป็นบุตรคนแรกของตระกูล อายุ ๔๐ ปี (บางแห่งว่า ๔๒ ปี) จึงจะบวชได้ เพราะถือว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้วและส่วนใหญ่จะผ่านชีวิตครอบครัวมาแล้วเมื่อบวชก็สามารถอยู่กินกับภรรยาได้ในวันบวชพวกญาติพี่น้องจะมานั่งรวมกันในพิธีแล้วพราหมณ์ผู้ทำหน้าที่บวชก็ให้ญาติพี่น้องนำผ้าขาวมาคลุมศรีษะผู้บวช ปลายผ้าทั้งสองให้ผู้ร่วมพิธีจับไว้
แล้วโยกศรีษะผู้บวชสลับไปมา พราหมณ์ผู้ทำพิธีก็จะเป็นผู้ให้ศีลให้พร ก็เป็นอันเสร็จพิธีถือว่าเป็นพราหมณ์ได้ เรียกพราหมณ์แบบบวชนี้ว่า ?พราหมณ์ญัติ? หรือ ?พราหมณ์บัญญัติ?

การแต่งงาน สมัยเดิมจะเป็นอย่างไรไม่สามารถสืบทราบได้ปัจจุบันการแต่งงานของพราหมณ์ก็เช่นเดียวกับการแต่งงานของคนไทยทั่ว ๆ ไปแต่ถ้าหญิงพราหมณ์แต่งงานกับชายไทยถือว่าผู้นั้นจะขาดความเป็นพราหมณ์บุตรชายที่เกิดขึ้นจะเป็นพรตเป็นพราหมณ์ไม่ได้

การแต่งกาย โดยทั่วไปแล้ว พราหมณ์จะนุ่งห่มด้วยผ้าขาว คือ เสื้อขาวธรรมดา ๑ ตัว ผ้าโจงกระเบน ๑ ผืนแต่ถ้าทำพิธีพราหมณ์จะใส่เสื้อยาวแบบราชปะแตนสีขาวคลุมทับเสื้อใน สวมหมวกแบบถุงแป้ง ห้อยคอด้วยลูกประคำ

ข้อห้ามเกี่ยวกับอาหาร พราหมณ์เมืองพัทลุงจะไม่กินเนื้อวัวและปลาไหลเพราะพราหมณ์ถือว่าวัวเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเป็นเทพเจ้าของพราหมณ์
ส่วนเนื้อปลาไหล ที่พราหมณ์ไม่รับประทาน เพราะมีเรื่องเล่าทำนองนินทาว่า ในสมัยหนึ่งพระอิศวรเสด็จประพาสปป่า ทรงพบกวางคู่หนึ่งกำลังร่วมสังวาสกันอยู่ พระอิศวรเกิดความกำหนัดขึ้นมา
จึงแปลงกายเป็นกวางตัวผู้ร่วมสังวาสกับกวางตัวเมียต่อมาพระอิศวรเกิดความละอายใจจึงตัดอวัยวะสืบพันธ์ทิ้งไป ก็เกิดเป็นปลาไหล ด้วยความเชื่อนี้เอง พราหมณ์จึงไม่กินปลาไหล

รูปเคารพของพราหมณ์พัทลุง เท่าที่เหลือในปัจจุบัน คือ รูปพระอิศวรหล่อสำริดปางนาฏราชศิลปะอินเดียพระพิฆเนศวร พระอุมา และยังมีรูปพระโพธิสัตว์มัญชุศรีของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานร่วมอยู่ด้วย โดยพราหมณ์เข้าใจว่าเป็นรูปพระอิศวร?

จากตำนานพราหมณ์เมืองพัทลุงที่ยกมาอ้างดังกล่าว พอจะโยงใยไปถึงการก่อตั้งสำนักเขาอ้อได้เนื่องจากตามหลักฐานพบว่าพราหมณ์เคยไปอยู่ละแวกอำเภอควนขนุน คือ ในเขตใกล้เคียงกับเขาอ้อและที่ว่าพราหมณ์ชอบตั้งที่พำนักสูง ๆ เพราะถือว่าตัวเองเป็นชนชั้นสูงโดยเฉพาะพราหมณ์ผู้เรืองเวทย์ด้วยแล้ว ยิ่งต้องการที่สูงอาศัยอยู่และต้องการสถานที่สงบเงียบเพื่อการบำเพ็ญพรต

ในละแวกอำเภอควนขนุน เขาอ้อถือเป็นชัยภูมิที่ดีมากแห่งหนึ่ง เส้นทางคมนาคมในอดีต คือ ลำคลองผ่านหน้าเขาภายในเขามีถ้ำกว้างใหญ่ เย็น สบาย รอบ ๆ เขาเป็นที่อยู่ของชาวบ้าน
และที่สำคัญอยู่ไม่ห่างตัวเมืองพัทลุงเก่ามากนักด้วยเหตุนี้อาจจะมีพราหมณ์ผู้เรืองเวทสักกลุ่มได้ตั้งสำนักขึ้นเพื่อถ่ายทอดวิทยาการของพราหมณ์สู่ลูกหลาน
พราหมณ์รวมทั้งลูกหลานกษัตริย์ซึ่งเป็นหน้าที่ของพราหมณ์โดยตรงที่จะต้องทำหน้าที่ราชครูให้เหล่าพระวงศ์และองค์รัชทายาทในเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้วัดเขาอ้อ แม้ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัด มีพระเป็นเจ้าอาวาสแล้วเจ้าเมืองต่าง ๆ ก็นิยมส่งลูกหลานไปเรียนวัดเขาอ้อ เป็นวัดเก่าแก่มาก มีชื่อเสียงทางด้านไสยศาสตร์ อยู่ยงคงกระพัน มีเกจิอาจารย์ชื่อ ทองเฒ่า
เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการทำวัตถุมงคลเพื่อแจกให้กับทหารที่ไปสู้รบในสมรภูมิเพื่อเป็นสิริมงคลป้องกันอันตรายจากศัตรู และอาวุธ และมีการแช่ยาให้อยู่ยงคงกระพันอีกด้วย
ทำให้เป็นที่กล่าวขานมาจนทุกวันนี้ตำบลตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

สำนักวัดเขาอ้อ ตักศิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้
วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง



วัดเขาอ้อ เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณพระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น
พระอาจารย์ทองเฒ่า พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ และ


ที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นต้น  ชื่อเสียงของวัดเขาอ้อที่ผู้คนทั่วไปรู้จักมักจะเน้นไปในทางไสยเวทเสียมากกว่า
ทั้งที่วัดเขาอ้อยังมีดีมากกว่านั้น โดยเฉพาะวิชาการแพทย์แผนโบราณพูดได้ว่าไม่มีสำนักใหนทางภาคใต้ที่จะชัดเจนและได้ผลชะงัดเท่ากับสำนักนี้ แม้ปัจจุบันจะคลายลงไปบ้าง แต่ก็หาได้สูญหายไปอย่างใดไม่ อย่างน้อยที่สุดยังมีพระอาจารย์หลายรูปที่สืบทอดกันมา

ตำนานสำนักเขาอ้อ
เล่ากันว่า จุดกำเนิดของสำนักวัดเขาอ้อนั้น แต่เดิมเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์มาหลายรุ่นเนื่องจากภายในถ้ำบนเขาอ้อนั้นเป็นทำเลที่ดีมาก ตัวเขาอ้อเองก็ตั้งอยุ่บนเส้นทางสัญจรของชุมชนในอดีตเมืองที่เจริญในละแวกนั้น ซึ่งได้แก่สทิงปุระ หรือสะทิงพาราณสี ซึ่งก็คืออำเภอ สทิงพระในปัจจุบันประวัติของเมืองสทิงปุระนั้นเกี่ยวข้องกับพราหมณ์อยู่มาก
แม้กระทั่งในสมัยศรีวิชัยที่ศาสนาพุทธแผ่อิทธิพลทั่วแหลมาลายู ในบริเวณสว่นนั้น(เขตเมืองพัทลุงในปัจจุบัน) ยังเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของพราหมณ์ หลักฐานทางประวัติศาตร์บอกว่าเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่นที่สุด

ในขณะนั้นมีพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณ (ฤาษี) คณะหนึ่งได้ไปบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำบนเขาอ้อบำเพ็ญพรตจนเกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ตามตำราอาถรรพเวท (พระเวทอันดับสี่ของคัมภีร์พราหมณ์)
แล้วได้ถ่ายทอดวิชานั้นต่อ ๆ กันมา พร้อมกันนั้นก็ได้จัดตั้งสำนักถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ผู้สนใจซึ่งตามวรรณะแล้วพราหมณ์มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์หรือวรรณะกษัตริย์และลูกหลานผู้นำเพื่อจะให้นำไปเป็นความรู้ในการปกครองคนต่อไป สำนักเขาอ้อสมัยนั้น จึงมีฐานะคล้าย ๆสำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณ์ผู้ทรงคุณ

พราหมณ์ผู้ทรงคุณดังกล่าวได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้พราหมณาจารย์สืบทอดต่อ ๆ กันมาซึ่งเท่าที่สืบค้นรากฐานก็พบว่า วิชาที่ถ่ายทอดให้คณาศิษย์นอกจากวิชาในเรื่องการปกครองตามตำราธรรมศาตร์แล้วก็ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยามการจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม ตลอดจนไปถึงไสยเวทและการแพทย์ตามตำนานบอกวิชาสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน ซึ่งสืบทอดกันคนละสายสำนักเขาอ้อในสมัยนั้นเป็นสำนักทิศาปาโมกข์จึงมีพราหมณ์อยู่สองท่านเสมอ

การสืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั้งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายเห็นว่าไม่มีผู้รับสืบทอดต่อแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่าเมื่อสิ้นท่านแล้ว
สถานที่แห่งนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทหลายคนได้ฝังร่างไว้ที่นั้นสถานที่นั้นจึงสำคัญเกินที่จะปล่อยให้รกร้างไปได้พราหมณ์ผู้เฒาท่านนั้นจึงได้เล็งหาผู้ที่จะมาสืบทอดและรักษา
สถานที่สำคัญนั้นไว้ ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพุทธศาสนาได้แผ่เข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้วบริเวณข้าง ๆ เขาอ้อมีวัดอยู่หลายวัด วัดที่ใกล้ที่สุดคือ ?วัดน้ำเลี้ยว?
มหาพราหมณ์ทั้งสองท่านเล็งเห็นว่าต่อไปภายภาคหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้นการที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดีท่านเลยตัดสินใจไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยวให้มาอยู่ในถ้ำแทนท่าน แล้วมอบคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ รวมทั้งวิชาทางแพทย์แผนโบราณ

พระภิกษุรูแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแต่เพียงว่ามีนามว่า ?ทอง? ส่วนจะทองอะไรนั้นสุดจะเดาได้ เพราะวัดแห่งนี้ช่างอาถรรพ์เหลือเกิน มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป

ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่านภายหลังจึงมีพิธีแช่ว่าน พิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้นที่นั่นจนลือเลื่องไปทั่ว

 

 

ตามตำนานเบื้องต้น ฟังดูออกจะเหลือเชื่อ แต่เมื่อวิเคราะกันด้วยเหตุผลแล้ว มีส่วนเป็นไปได้มากมีข้อให้สังเกตอยู่ ๓ จุด คือ
๑. ความสวยงามเรื่องสถานที่
วัดเขาอ้อคงเป็นอารามในถ้ำอารามแรกในละแวกนั้นไม่ค่อยปรากฏว่าเป็นที่นิยมของพระภิกษุในสมัยนั้นส่วนทำเลนั้นเล่าก็สวยงามน่าอยู่ ภายในถ้ำมีทางเดินทะลุภูเขาได้ ลมโกรกเย็นสบาย ด้านหนึ่งติดทุ่งนาอีกด้านเป็นคลองใหญ่ อันเป็นทางสัญจรสายสำคัญในสมัยนั้น ทำเลที่ดีอย่างนี้พวกพราหมณ์ที่นิยมในทางวิเวกชอบใช้เป็นที่บำเพ็ญพรต

๒. วิชาเด่นของวัด วิชาเด่นของวัดเขาอ้อคือ ?ไสยเวท?
เป็นที่ทราบกันว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นไม่มีวิชาใดที่สอนเกี่ยวกับไสยเวทแต่ในคัมภีร์ของพราหมณ์นั้นมีเด่นชัดถึงขนาดเป็นคัมภีร์หนึ่งต่างหากต่อจากไตรเวทคือคำภีร์สำคัญของพราหมณ์ มี ๓ ส่วน คือ

๑) ฤคเวท เป็นคำภีร์ที่รวบรวมบทสรรเสริญเทพเจ้า
๒) ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ส่วนรวมบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ
๓) สามเวท เป็นส่วนที่รวบรวมบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
นอกจากคัมภีร์สามส่วนนี้ ต่อมาพราหมณ์ได้เพิ่มคำภีร์สำคัญเข้ามาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการรวบรวมวิชาเกี่ยวกับไสยเวทและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ เรียกว่า ?อาถรรพเวท?

๓. วัตถุมงคลของสำนัก วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังของสำนักเขาอ้อแตกต่างไปจากสำนักอื่น ๆ กล่าวคือสมัยก่อนไม่มีการทำรูปพระเครื่องหมายถึงการทำรูปพระ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์หากแต่ทำเป็นของขลังอย่างอื่นแทน เป็นต้นว่า ตะกุด คต ฯลฯ
อาจจะเป็นพระเครื่องรางนั้นสืบทอดต่อมาจากพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดจริงๆ จะไม่ทำเป็นรูปพระ ในขณะที่สำนักอื่น ๆ ในยุคเดียวกันหรือใกล้เคียง ล้วนมีหลักฐานพระเครื่องเป็นรูปพระทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็นพระร่วง, พระซุ้มกอ, พระคง, พระนางพญา,พระชินเขียวต่าง ๆ ฯลฯ ที่มีการขุดค้นพบแต่ต่อมาพระภิกษุรุ่นหลัง ๆ ในสำนักเขาอ้อได้เริ่มทำเป็นพระบ้างแล้ว
โดยทำเป็นรูปบูรพาจารย์ของสำนักแห่งนี้ เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์ทองหูยาน พระอาจารย์ปาลเป็นต้นและได้ทำมาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยจุดน่าสังเกตดังกล่าวข้างต้น ตำนานดังกล่าวข้างต้น ตำนานดังกล่าวจึงมีส่วนน่าเชื่อถืออยู่ไม่น้อย

พระปิดตาสายเขาอ้อ

ประวัติเขาอ้อ


ได้เกริ่นถึงส่วนของตำนานไปแล้ว ทีนี้มาดูหลักฐานที่ปรากฏเป็นประวัติของวัดเขาอ้อบ้างอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทสำคัญคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติวัดเขาอ้อไว้ในหนังสือ ?พระสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ? ตอนหนึ่งว่า

อาจารย์ทองเฒ่า

เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระเจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมืองและนักรบามแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ ๑ ชื่อพระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้น ทางฟาดตะวันตกของทะเลสาบตรงกับที่วัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพยูนปัจจุบันนี้

ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย ๒ คน ตาชื่อสามโม ยายชื่อยายเพ็ชร์ตายายมีบุตรและหลานบุญธรรมอยู่สองคน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว
นางเลือดขาวกล่าวกันว่าเป็นอัจฉริยะมนุษย์คือเลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญตาสามโมเป็นนายกองช้างหน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ ๑ เชือก

เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อสอนวิชาความรู้ให้พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน ๘ ขึ้น
๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๓๐๑ (พ.ศ.๑๔๘๒) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่น ๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมา
ตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ได้เป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง

วัดเขียนบางแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน  เป็นวัดโบราณ มีตำนานพื้นเมืองกล่าวว่า เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นผู้สร้าง มีพระมหาธาตุเจดีย์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปและกุฏิสงฆ์ เสร็จแล้วให้จารึกเรื่องราวการก่อสร้างลงบนแผ่นทองคำเรียกว่า เพลาวัด  สร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๔๙๓ เจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเกาะลังกา มาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์
ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ต. เขาชัยสน จ. พัทลุง เดี๋ยวนี้)การที่ให้ชื่อเมืองว่าเมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นที่หลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง
พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดอาราม, พระพุทธรูป, พระเจดีย์ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตรังหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๙๓ สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง ๑ วัด (ในพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวว่า สร้างครั้งสมัยพระเจ้าไสยณรงค์ เป็นเจ้ากรุงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ (ผิดพลาดขออภัยด้วย)สร้างพระพุทธรูปปางไสยสน์ ๑ องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะพระกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง?
อีกตอนหนึ่ง ?เมื่อจุลศักราช ๙๙๑ (พ.ศ. ๒๑๗๑) พระสามีรามวัดพะโค๊ะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่าหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกยอ่งถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา)
มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยากพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้น ๆจนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี
เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโค๊ะ สูง ๑ เส้น ๕ วามีระเบียงลอ้มรอบพระเจดีย์(แต่ตามตำนานของวัดพะโค๊ะเองบอกว่าหลวงปู่ทวดมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้นมาก่อนนั้นแล้วแต่ถูกทำลายเมื่อคราวอุชุตนะ จอมโจรสลัดมาลายู เข้าปล้นบ้านปล้นเมืองและทำลายวัดวาอารามชายฝั่งทะเลแถบภาาคใต้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ?
ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านพระอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบแสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโค๊ะซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือและปัจจุบัน สถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า ?ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ?

ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโค๊ะให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนดภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวนทำเป็นก้อนยาวประมาณ ๒ ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทองท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ ๒ ลูกไปถวายสมเด็จเจ้าพะโค๊ะ
พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จพะโค๊ทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่าสหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้น ๆ ถวายพระ
การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่งซึ่งมีมากอาจารย์ดว้ยกันต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา
จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนตอ้งไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันก็มีการศึกษากันอยู่

ลำดับพระอาจารย์เท่าที่ทราบชื่อมี ๑๐ ท่าน คือ๑. พระอาจารย์ทอง
๒. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง
๓. พระอาจารย์พรมทอง
๔. พระอาจารย์ไชยทอง
๕. พระอาจารย์ทองจันทร์
๖. พระอาจารย์ทองในถ้ำ
๗. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ
๘. พระอาจารย์สมภารทอง
๙. พระอาจารย์พระครูสังฆวิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า)
๑๐. พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม
พระอาจารย์ปาลพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุก ๆ องค์ มีความรู้ความสามารถคล้ายคลึงกัน เพราะได้ศึกษากันมาไม่ขาดระยะตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือพระอาจารย์สำนักวัดเขาอ้อทุกองค์สอนเวทมนต์คาถาเป็นหลัก
เรียนตั้งแต่ธาตุ ๔ ธาตุทั้ง ๕ แม่ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรีแคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่าง ๆ
ซึ่งใช้ความพยายามและจะต้องอยู่ปฏิบัติอาจารย์ จนอาจารย์เห็นความพยายามที่รักวิชาของศิษย์จึงจะสอนให้ศิษย์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจนทำให้ตามตำราก็มีจำนวนมากนอกจากสอนวิชาความรู้ทางไสยศาสตร์แล้วยังสอนวิชาความรู้เกี่ยวกับยารักษาโรคจนกระทั้งตำรายาของสำนักเขาอ้อมีทั่วไป ทั้งภาคใต้ ตลอดไปถึงมาเลเซีย
วิชาไสยศาสตร์ที่เป็นหลักเดิมเป็นคุณวิเศษประจำอาจารย์ทุกองค์ คือ

๑. เสกน้ำมันงาให้เดือด ให้แข็ง แล้วทำพิธีป้อนให้ศิษย์เป็นคงกะพัน
๒.วิธีอาบว่านแช่ยา เป็นคงกะพันกันโรค
๓. พิธีหุงข้าวเหนียวดำกิน เป็นคงกะพัน กันเจ็บเอว เจ็บหลังเป็นอายุวัฒนะ
๔. พิธีสอนให้สักยันต์ที่ตัวด้วยดินสอหรือมือ เป็นคงกะพันชาตรีเป็นมหาอุด แคล้วคลาด เป็น เมตตามหานิยม
๕. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๕ดอก ๑๖ ดอก
๖. พิธีลงตะกรุด ๑ ดอก ๔ ดอก ๑๖ ดอก
๗.วิชาความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม ตามตำราพิชัยสงคราม
๘.วิชาความรู้ทางยารักษาโรค รักษาคนเป็นบ้า รักษาคนกระดูกหัก กระดูกแตก ต่อกระดูก รักษาโรค ตามตำราเขาอ้อ ต้องรักษาเพื่อการกุศลหายแล้วนำอาหารคาวหนาวไปถวายพระ
๙. พิธีพิเศษและสูงสุดระดับชาติ ระดับศาสนา คือ ทำไม้เท้ากายสิทธิ์ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็น ช่วย

ชาติในคราวคับขัน เป็นปริศนาธรรมให้ชาวพุทธพิจารณาแก้ช่วยกัน แก้ได้ โลกจะกลับคืนเข้า
สู่สันติตัวจริง สันติตัวปลอมจะหมดไปจากโลก คือ ให้เจริญภาวนาให้เห็นว่าชี้ต้นนาย ชี้เป็น
ปลายเป็น เป็นตัวโลกุตรธรรม
ในพงศาวดารยังพูดถึงวัดเขาอ้ออีกครั้ง โดยปรากฏในประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง ดังที่อาจารย์ชุม ไชยศีรี
ได้เขียนไว้โดยสังเขปในหนังสือเล่มเดียวกับที่อ้างถึงข้างต้น ความว่า

?... ในพงศาวดารกล่าวว่า ครั้งสมัยศรีวิชัย ตอนกลางของแหลมมาลายูปรากฏว่ามีเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ ๓
เมือง คือ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองหลวง มีเจ้าผู้ครองนคร
ตกอยู่ในอำนาจของศรีวิชัยตั้งแต่ พ.ศ. ๑๔๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๒๓
ต่อจากนั้นเข้ารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยครั้งพ่อขุนรามคำแหง
เมืองพัทลุงกับเมืองไชยาเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองนครฯ
เมืองพัทลุงมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออก ในสมัยนั้นมีเมืองขึ้นเล็กๆ หลายเมือง เช่น
เมืองปะเหลียน เมืองจะนะ เมืองชะรัด เมืองเทพา เมืองกำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา) เมืองสงขลา
เมืองสทิง เมืองสิงห์ (กิ่งอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน) เมืองระโนด เมืองปราน
เมืองสีชะนา (ที่ตั้งเมืองพัทลุงปัจจุบัน) ตัวเมืองพัทลุงสมัยนั้นตั้งอยู่ที่บางแก้ว (เขตอำเภอเขาชัยสน
จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)

(ตามหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕ จดหมายเหตุของหลวงอุดมสมบัติ จดหมายเหตุเรื่อง?สยามกับสุวรรณภูมิ? ของหลวงวิจิตรวามการ, และจาการค้นคว้าจากที่อื่นหลายแห่ง)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ครั้งที่พม่ายกมาตีเมืองชุมพร เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราชได้เป็นผลสำเร็จแล้วยกทัพตีมาเรื่อย พระยาพัทลุง (ขุน) กับพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ชาวบ้านน้ำเลือด
ซึ่งเป็นศิษย์อาจารย์วัดเขาอ้อ มีความรู้เชี่ยวชาญในทางไสยศาสตร์ ได้ลงตะกรุดเลขยันต์ผ้าประเจียดให้ไพร่พล แล้วแต่งเป็นกองทัพยกไปคอยรับทัพพม่าอยู่ที่ตำบลท่าเสม็ด(อำเภอชะอวด
จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบัน-ผู้เขียน) ทัพพม่ายามาถึงเห็นกองทัพไทยจากพัทลุงมีกำลังมากว่าตนแต่ที่จริงมีกำลังน้อยกว่ากองทัพพม่าหลายเท่า
แต่ด้วยอำนาจเวทมนตร์คาถาที่พระมหาช่วยซึ่งนั่งบริกรรมภาวนาอยู่เบื้องหลังทำให้ข้าศึกมองเห็นเป็นจำนวนมาก และมีกำลังร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติ กองทัพพม่าไม่กล้ารุกเข้าเขตเมืองพัทลุงจึงหยุดอยู่เพียงคนละฝั่งแม่น้ำเป็นหลายวันจนกองทัพหลวงก็ยกมาถึง พม่าจึงยกทัพกลับไปพระมหาช่วยมีความชอบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ลาสิกขาแล้วโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ เป็นผู้ช่วยราชการเมืองพัทลุง..

ปัจจุบัน พระยาช่วยทุกข์ราษฏร์ผู้นี้ถูกชาวจังหวัดพัทลุงยกขึ้นเป็นวีรบุรุษประจำเมืองโดยร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพบูชาและตั้งเด่นเป็นสง่าราศีแก่เมืองพัทลุงอยู่ที่ สามแยกท่ามิหรำ อำเภอเมืองซึ่งถนนสายสำคัญที่เข้าเมืองพัทลุงต้องผ่านทางนั้น

ประวัติวัดเขาอ้อปรากฏหลักฐานในเอกสารทางราชการอีกแห่งคือ ในสารานุกรมวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่จัดโดยสถาบันทักษิณคดีศึกษาซึ่งได้เขียนประวัติวัดเขาอ้อไว้ย่อๆ ในส่วนของจังหวัดพัทลุง ความว่า ?...วัดเขาอ้อเป็นตั้งอยู่หมู่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุนวัดเขาอ้อเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยอยุธยา เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมา พ.ศ.๒๒๘๔
พระมหาอินทราชมาจากเมืองปัตตานีได้เป็นเจ้าอาวาส จึงทำการบูรณะสิ่งปรักหักพัง เช่น บูรณะพระพุทธรูปในถ้ำ ๑๐ องค์ สร้างอุโบสถ ๑
หลังเสร็จแล้วมีหนังสือถวายพระราชกุศลเข้าไปกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธรูปหล่อสำริด ๑ องค์หล่อด้วยเงิน ๑ องค์ แก่วัดเขาอ้อ ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า?เจ้าฟ้าอิ่ม เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ?
ต่อมาพระมหาอินทราชได้สร้างพระพุทธบาทจำลองด้วยมณฑปไว้บนเขาอ้อ สร้างพระพุทธไสยาสน์ ๑ องค์ และสร้างเจดีย์ไว้บนเขา ๓ องค์ เสร็จแล้วพระมหาอินทราชไปเสียจากวัด จึงทำให้วัดเสื่อมโทรมลงอีก ปะขาวขุนแก้วเสนา และขุนศรีสมบัติ พร้อมด้วยชาวบ้านใกล้เคียงได้ไปนิมนต์พระมหาคงจากวัดพนางตุงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมาวัดก็เจริญขึ้นเรื่อย มีเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อ ๆ
กันมากมายหลายสิบรูป ล้วนแต่มีความเชี่ยวชาญทางไสยศาสตร์มีชื่อเสียงโดงดังไปทั่วภาคใต้ตราบเท่าทุกวันนี้?

พระพุทธรูปเจ้าฟ้ามะเดื่อที่ว่านี้ยังมีผู้เล่าประวัติปลีกย่อยออกไปว่าที่เชื่อเช่นนั้นก็เพราะอดีตนายมะเดื่อหรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมัยเมื่อยังเป็นนายมะเดื่อที่เชื่อกันว่าเป็นราชโอรสลับ ๆ ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เดินทางไปศึกษาวิทยากรในสำนักเขาอ้อ โดยยกกันไปทั้งครอบครัว หนึ่งในจำนวนนั้นมีเชื้อพระวงศ์ แต่ไม่แน่ว่าเป็นสายใด ชื่ออิ่มอยู่ด้วย ครั้นศึกษาได้พอสมควรแล้ว ก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาเข้ารับราชการจนกระทั้งเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าเสือขณะที่อยู่ที่วัดเขาอ้อก็ได้สร้างปูชนีวัตถุไว้เป็นอนุสรณ์อย่างหนึ่ง คือ พระพุทธรูปที่ว่านั่นเอง

ต่อมาเมื่อชาวบ้านทราบว่าผู้ที่เดินทางไปศึกษาวิทยาคุณในครั้งนั้นถึงเป็นถึงเจ้าฟ้า จึงได้ถวายนามพระพุทธรูปองค์นั้นตามชื่อผู้สร้าง คือ ?เจ้าฟ้ามะเดื่อ? เพื่อเป็นอนุสรณ์ เพราะสร้างตั้งแต่เป็นเจ้าฟ้ามะเดื่อ ส่วนเจ้าฟ้าอิ่มนั้นก็เช่นกัน สร้างขึ้นโดยราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งมีนามเดิมว่า ?อิ่ม?ซึ่งต่อมาได้เป็นใครก็ไม่อาจจะทราบได้ ผลแต่การศึกษาของเจ้าฟ้ามะเดื่อ หรือพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิทยาการแต่ในอดีตของสำนักแห่งนี้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานบันผู้นำเพียงใดซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาแต่สำนักทิศาปาโมกข์แต่เดิม สาเหตุที่ทำให้ข้อสันนิษฐานที่ว่า
วัดเขาอ้อเคยเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ของพราหมณาจารย์ในอดีต ส่วนหนึ่งก็เพราะความที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำ เพราะสำนัทิศาปาโมกข์ที่สีบถอดมาแต่ตักศิลา
ประเทศอินเดีย ส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่ถวายวิทยาการให้กับเชื้อพระวงศ์และลูกหลานผู้นำ เข้าใจกันว่าสำนักเขาอ้อแต่เดิม สมัยที่ยังเป็นสำนักทิศาปาโมกข์นั้น ผู้ที่เป็นศิษย์ของสำนักแห่งนี้
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนระดับผู้นำ ดังที่ปรากฏรายนามตามประวัติของวัด วัดเขาอ้อที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวคงจะเป็นการพูดถึงเขาอ้อเพียงสมัยหนึ่ง คือสมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่วัดเขาอ้อสร้างมานานกว่านั้นมาก ร้างและเจริญสลับกันเรื่อยมาตราบปัจจุบัน.

 
ขอขอบคุณข้อมูล...http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=421.5
                      - ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
 
 

474


ประวัติวัดบูรพารามวัดบูรพาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีอายุประมาณกว่า 200 ปี เท่าๆ กับอายุของเมืองสุรินทร์ สร้างโดยพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2300-2330 โดยประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น เรียกชื่อว่า "วัดบูรพ์"

เดิมเป็นวัดมหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่มีพัฒนาการที่ยาวนานตามยุคตามสมัย ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ได้อนุมัติให้วัดบูรพ์เป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุต และได้นิมนต์พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานอยู่ ให้มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการ ความสำคัญต่อชุมชน

วัดบูรพาราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 เป็นวัดสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ด้วยความศรัทธา ดังนี้


วิหารหลวงพ่อพระชีว์

หลวงพ่อพระชีว์ภายในวิหาร

(1.) หลวงพ่อพระชีว์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก ประดิษฐาน ณ วัดบูรพาราม ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ใกล้ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ หลวงพ่อพระชีว์หรือหลวงพ่อประจีองค์นี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด คาดว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม นับเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชา ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของเมืองสุรินทร์ (2.) พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) เคยประจำอยู่ ณ วัดบูรพาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนกระทั่งมรณภาพ พ.ศ. 2526 ชื่อเสียงและเกียรติคุณของท่านแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมสายพระกัมมัฏฐาน ทั้งพระภิกษุและฆราวาสให้การยอมรับว่า หลวงปู่ดุลย์ อตุโล เป็นองค์เดียวที่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็นบิดาแห่งภาวนาจิต

เส้นทางเข้าสู่วัดบูรพารามวัดบูรพารามตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ จึงมีเส้นทางเข้าออกได้หลายเส้นทาง ได้แก่ ถนนกรุงศรีใน ถนนธนสาร และถนนจิตรบำรุง วัดบูรพารามตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์


พระอุโบสถ

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ศาลาที่วัดครับ

รูปหุ่นจำลองหลวงปู่ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์


ธรรมคำสอนที่ลึกซึ้งของหลวงปู่...



ขอขอบคุณข้อมูลจาก...-วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                             -http://www.kusol.com/membersend/mb0011.htm

475


เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ วัดถ้ำขาม



•ข้อมูลทั่วไป   
วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตร
วัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของ พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เป็นประจำ

วัดถ้ำขาม เป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรเป็นผู้สร้างขึ้นตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดหนองคาย ตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี (ถนนนิตโย) ก่อนถึงอำเภอพรรณานิคมเล็กน้อย มีทางเข้าได้หลายเส้นทางเช่น เส้นทางเข้าพระธาตุภูเพ็ก หรือทางบ้านไร่

วัดถ้ำขามกับความเป็นมา
           ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระอาจารย์ฝั้น  ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ติดกับถนนเลี่ยงเมือง ทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และวัดป่าภูธรพิทักษ์ยังติดอยู่กับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

           ในระหว่างตอนกลางพรรษา พระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารภกับลูกศิษย์ท่านได้นิมิตเห็นถ้ำอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาภูพาน ภายในถ้ำนั้นมีแสงสว่างเท่า ๆ กับตะเกียงเจ้าพายุ ๒ ดวง อากาศดี สงบ ถ้าได้ไปวิเวกที่ถ้ำแห่งนี้ เหมือนได้อยู่อีกโลกหนึ่งทีเดียว

เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้นได้เดินทางไปยังถ้ำตามที่ได้นิมิตแต่มิได้ตรงไปยังถ้ำ ท่านได้เดินทางไปกับพระภิกษุและสามเณรเพียง ๓ รูปเท่านั้น ท่านไปพักที่วัดป่าอุดมสมพร เพื่อพาคณะญาติโยมบำเพ็ญกุศลแก่บุพพาการี เมื่อเสร็จจึงออกเดินทางไปพักที่วัดป่ากลางโนนภู่ (วัดป่าบ้านภู่) เพื่อบำเพ็ญกุศลครบรอบวันฌาปนกิจของพระอาจารย์ภู่ ธัมมทินโน จากนั้นได้เดินทางไปพักที่ป่าช้าข้าง ๆวัดไฮ่ ๒ คืน แล้วเดินทางไปยังบ้านคำข่า พอไปถึงญาติโยมได้พาพระอาจารย์ฝั้นไปพักในป่าข้างหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกว่าดงวัดร้าง พระอาจารย์ฝั้น  ได้ถามญาติโยมในหมู่บ้านนี้ว่า ภูเขาแถบนี้มีถ้ำบ้างหรือไม่ พวกญาติโยมบอกว่ามีหลายแห่ง ทั้งถ้ำเล็กและถ้ำใหญ่ ในวันต่อมาพระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมขึ้นไปดูถ้ำแต่ไม่ตรงกับในนิมิตสักแห่งเดียว พระอาจารย์ฝั้น จึงได้กลับลงมาพักที่หมู่บ้าน ต่อมาพวกญาติโยมได้บอกกับพระอาจารย์ฝั้นว่ายังมีอีกถ้ำหนึ่งอยู่บนยอดเขา เป็นถ้ำใหญ่มากชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำขาม” เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะขึ้นไปทำบุญ และสรงน้ำพระบนถ้ำนั้น เป็นประจำทุกปี



ในวันรุ่งขึ้นชาวบ้านได้พาพระอาจารย์ฝั้น เดินทางไปยังถ้ำขาม เป็นเส้นทางที่ลำบากต้องปีนไต่ไปตามไหล่เขาเต็มไปด้วยขวากนาม เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำขาม “พระอาจารย์ฝั้น ได้เดินสำรวจดูรอบบริเวณ แล้วท่านได้เอ่ยปากว่าถ้ำนี้แหละที่ได้นิมิตเห็น ท่านจึงให้ญาติโยมทำแคร่นอนขึ้นในถ้ำเพื่อจะได้พักค้างคืนที่นี่แต่ความไม่พร้อมจึงได้ลงมาพักที่หมู่บ้านที่เดิม และพร้อมให้ญาติโยมทำทางลงมาด้วยจะได้ขึ้นได้สะดวกในวันหลัง





           เช้าวันรุ่งขึ้นของวันใหม่ เมื่อพระอาจารย์ฝั้นได้ฉันเสร็จเรียบร้อย ได้เดินทางขึ้นถ้ำขามอีกครั้งพร้อมญาติโยมและเสบียงอาหาร เพราะถ้ำขามอยู่ห่างจากหมู่บ้านมาก และการออกบิณฑบาตไม่สะดวก การขึ้นถ้ำขามในครั้งนี้ พระอาจารย์ฝั้นพร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณรได้เตรียมการเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะพักอยู่บนถ้ำขามและในเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ พระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษาอยู่บนถ้ำขามมีพระภิกษุ ๓ รูป เมื่อออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมชาวบ้านพัฒนาถ้ำขามและมีเส้นทางไปมาหาสู่ระหว่างชาวบ้านกับถ้ำขามสะดวกขึ้น พอถึงหน้าแล้งในปี พ.ศ.๒๔๙๘ พระอาจารย์ฝั้น ได้ชวนชาวบ้านและญาติโยมช่วยกันสร้างศาลาโรงธรรม กุฏี สระน้ำ จนเสร็จเรียบร้อย จนปรากฏเห็นอยู่ทุกวันนี้ และในเวลาต่อมาถนนได้เริ่มต้นสร้างขึ้นถ้ำขามในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ทำให้รถยนต์ได้วิ่งขึ้นถ้ำขามได้สะดวกจนถึงทุกวันนี้

            ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระอาจารย์ฝั้น  ได้ลงจากถ้ำขามไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ เมื่อออกพรรษา พระอาจารย์ฝั้น  ได้กลับขึ้นถ้ำขาม พร้อมทั้งพัฒนาถ้ำขามอย่างไม่หยุดยั้ง

             ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๕ มีพระภิกษุและสามเณรจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นที่ถ้ำขาม เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระอาจารย์ฝั้นได้ลงจากถ้ำขามมาพักอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพรในหน้าแล้งของปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระอาจารย์ฝั้นได้พาญาติโยมพัฒนาเส้นทางถนนจากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ไปบ้านหนองโดก อย่างใกล้ชิด ๕-๖ วัน ทำให้พระอาจารย์อาพาธอย่างหนัก เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดสกลนคร เมื่ออาการดีขึ้นจึงได้มาพักฟื้นที่วัดป่าภูธรพิทักษ์และได้จำพรรษาที่วัดนี้ด้วย

           ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ในพรรษานี้ พระอาจารย์ฝั้น  ยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ เพราะได้รับการขอร้องจากคณะแพทย์และศิษย์กลัวว่าท่านพระอาจารย์จะขึ้นถ้ำขามเพราะต้องออกกำลังกายมาก มีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีญาติโยมไปกราบนมัสการท่านอาจารย์ตลอดมาทำให้ไม่ค่อยได้พักผ่อน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เหรียญพระอาจารย์ฝั้น ปี 2507

          ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้กลับมาจากทางจังหวัดภูเก็ต เพราะได้เผยแผ่ศาสนาให้กับประชาชนในภาคใต้นานถึง ๑๕ ปี พระอาจารย์เทสก์ ได้กลับมาอีสานและได้มาเยี่ยมพระอาจารย์ฝั้นที่อำเภอพรรณานิคม ในวันหนึ่งพระอาจารยเทสก์ ได้ขึ้นไปถ้ำขาม เมื่อได้เห็นสภาพถ้ำขามจึงชอบมาก จึงได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำขาม

           ในปี ต่อมา พระอาจารย์ฝั้น ยังคงไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดป่าอุดมสมพรกับวัดป่าภูธรพิทักษ์และถ้ำขาม พระอาจารย์ฝั้น เป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งและเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ผู้คนทั่วไปเคารพนับถือ พระอาจารย์ฝั้นทำให้ถ้ำขามกลายสภาพเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุ สามเณรและประชาชนโดยทั่วไป
           ในปัจจุบันถ้ำขามได้รับการจัดตั้งเป็น “วัด”  มีชื่อว่าวัดถ้ำขาม ตั้งอยู่ที่ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และยังเป็นที่ตั้งเทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ ที่ได้มาละสังขาร ณ วัดถ้ำขาม สมกับดั่งคำที่ได้ยกย่องหลวงปู่เทสก์ท่านว่า “ดวงประทีปแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” มา ณ บัดนี้ ดวงประทีปดวงนี้ได้ลับไปจากขอบฟ้าแม่น้ำโขงไม่หวนกลับมาอีกแล้ว คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีกับหลวงปู่ผู้ได้ทำให้โลกสว่างไสวตลอดไปกับความงดงามของหลวงปู่เทสก์


กุฏิที่หลวงปู่เทศน์ปลงสังขารครับ ภายในมีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่...ด้วย

หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่เทสก์...

คำสอน...ภายในพิพิธภัณฑ์...อ่านแล้วซาบซึ้ง



รูปปั้นครอบครัวเสือ...ใต้กุฏิหลวงปู่...


ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล...-http://www.kusol.com/membersend/mb0006.html
                                  -http://revival.snru.ac.th/temple/18.htm
                                  -http://www.ezytrip.com/Thailand/th

476
พบใบเสมาหินทรายอายุกว่าพันปีที่กาฬสินธุ์



พบใบเสมาหินทรายอายุกว่าพันปีที่กาฬสินธุ์

คมชัดลึก : พบใบเสมาหินทรายอายุกว่าพันปีที่กาฬสินธุ์ วัฒนธรรมจังหวัดสั่งชาวบ้านเฝ้า 24 ชั่วโมง รอผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์อักษรที่จารึกบนใบเสมา คาดเป็นอักษรหลังยุคปัลลวะโบราณ

เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา นายไพโรจน์ เพชรสังหาร วัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมทีมงาน ได้เข้าตรวจสอบใบเสมาโบราณ ทำจากหินทราย 2 หลัก ขนาดกว้าง 80 ซม. ยาว 130 ซม. หนา 20 ซม. ที่ชาวบ้านสว่าง ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ พบอยู่ใต้ต้นไทร ในสำนักสงฆ์ไม่มีชื่อ จากการตรวจสอบพบที่ใบเสมามีการจารึกอักษรโบราณ ความยาว 4 บรรทัด

นายไพโรจน์กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าใบเสมาน่าจะมีอายุราว 1,000-1,200 ปี ถูกสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี รูปร่างใบเสมาที่พบมีรูปร่างคล้ายๆ กับที่พบในเขตบริเวณเมืองฟ้าแดดสงยาง ที่เป็นเมืองเก่าแก่โบราณและมีความรุ่งเรืองมากในยุคทวารวดี แต่สิ่งที่มหัศจรรย์คือ ตัวอักษรที่จารึกเป็นอักษรอยู่ในช่วงยุคหลังของอักษรปัลลวะโบราณ การค้นพบครั้งนี้ชาวบ้านพบและแจ้งมาทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา
นายไพโรจน์ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ทางวัฒนธรรมได้ขอความร่วมมือจากชาวบ้านให้จัดเวรยามเฝ้าดูใบเสมาไว้ เพื่อรอผลพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ เพราะอักษรที่พบมีความคล้ายคลึงกับปัลลวะ หรือ อักษรคฤณห์ เป็นอักษรสระประกอบที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ มีอายุอยู่ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-17 แต่อักษรที่พบน่าจะเป็นอักษรในยุคหลังอักษรปัลลวะ ซึ่งเป็นอักษรที่ถูกพัฒนาเป็นอักษรทมิฬและอักษรมาลายาลัมในปัจจุบัน อักษรดังกล่าวเคยใช้เขียนภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม โดยเข้าไปแทนที่อักษรแบบเดิม ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอักษรพราหมีและยังใช้เขียนภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ โดยอักษรที่พบบนเสมาหินทรายคาดว่าน่าจะเป็น อักษรต้นแบบของอักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ และอักษรกวิ ซึ่งเป็นอักษรต้นแบบของอักษรเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายไพโรจน์ กล่าว
"สิ่งที่ต้องรู้ให้ได้คือ ข้อความที่จารึกไว้บนใบเสมา ที่อาจจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะรู้ถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปเมื่อเกือบ 2,000 ปี ที่ตอนนี้ได้คัดลอกตัวอักษรบนใบเสมาและจะนำส่งให้ผู้เชี่ยวชาญในกระทรวงวัฒนธรรมได้ตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง" นายไพโรจน์ กล่าว



ขอขอบคุณ...www.komchadluek.net/detail/20100110/44068/พบใบเสมาหินทรายอายุกว่าพันปีที่กาฬสินธุ์.html
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท

477
ธรรมะ / ปัจจุบันธรรม...
« เมื่อ: 13 ม.ค. 2553, 06:14:37 »





เอามรรคที่เกิดขึ้นจากกายจากใจ น้อมเข้าหาตน น้อมเข้ามาในกายน้อมเข้ามาในใจ
ให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือเอาที่อื่น
ถ้ารู้ตามแผนที่ปริยัติธรรมไปยึดไปถือเอาสิ่งต่างๆไป
แผนที่ปริยัติธรรมต่างหากต้องน้อมเข้าหากายต้องน้อมเข้าหาใจ
ให้มันแจ้งอยู่ในกายนี้ให้มันแจ้งอยู่ในใจนี่
มันจะหลงมันจะเขวไปอย่างไรก็ตามพยายามดึงเข้ามาจุดนี้
น้อมเข้ามาหากายนี้น้อมเข้ามาหาใจนี้เอาใจนี่แหละนำออก
ถ้าเอามากบางทีมันก็เขวก็ลืมไปน้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี้
มีเท่านี้แหละหลักของมัน

ถ้าออกจากกายใจแล้วมันเขวไปแล้วหลงไปแล้ว
น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วก็ได้หลักใจดี ธรรมก็คือการรักษากายรักษาใจ
น้อมเข้ามาหากายน้อมเข้ามาใจแหละ

ศีล ตั้งอยู่ในกายนี่แหละ
ตั้งอยู่ในวาจานี่แหละและตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามานี้มันจึงรู้
ตั้งหลักได้ ถ้าส่งออกไปจากนี้มันมักหลงไป

เอาอยู่ในกายในใจนี้
น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลงนำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน
เอาจิตเอาใจนี่ละวางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย
น้อมเข้ามาหาใจของตนนี้ให้มันแจ่มแจ้ง
ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่นมันเป็นเพียงสัญญาความจำ
น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี้รู้แจ้งในกายของตจนนี้
นอกจากนี้เป็นอาการของธรรม

ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้
ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา
มันก็เกิดขึ้นที่นี่แหละต้องน้อมเข้ามาสู่จุดนี้
ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรม
รู้กายรู้ใจแจ่งแจ้งแล้วนอกนั้นเป็นแต่อาการ
บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้มันก็ลืมไป

ทำให้มันแจ้งอยู่ในกาย
แจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละ
ให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียรความหมั่น

คำว่าสติ
ก็รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะรู้ในปัจจุบัน รู้ในตนรู้ในใจเรานี้แหละ
รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโลภ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา
เหล่านี้ละออกให้หมด ละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ
สติถ้าได้กำลังใจแล้วมันก็สว่าง

ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ
การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล คือกายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ ใจก็บริสุทธิ์
กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน

เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้

สติ
ปัฏฐานสี่ สติ มีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ
แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ
เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน

อาการ
ทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ , ทุกขัง ทั้ง ๕ , อนัตตา ทั้ง ๕
เป็นไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง
๕ อนัตตา ทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป
เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น
เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน

การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน
สมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติแต่ธรรม เช่น
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่เที่ยงมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
อนิจจังทั้ง ๕ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปํ อนิจัง , เวทนา อนิจจัง ,
สัญญา อนิจจัง, สังขารา อนิจจัง , วิญญาณํ อนิจจัง มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตาม เวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ
สลายจากกันแล้วมันก็ยุติลง

ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติ
วางสมมติได้แล้ว มันก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุตติความหลุดพ้นไป
เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ

แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ
แล้วมันมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริงๆ พวกกิเลสมันก็เอาจริงๆ
กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่นความเพียรไม่ท้อถอย
ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้มันก็เย็นสงบสบาย

ถ้าจิตมันปรุงมันแต่งเป็น
อดีต อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคต
ก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม

อาการทั้ง ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม
อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโมคือเห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีตอนาคต ดับทั้งอดีตอนาคต
แล้วเป็นปัจจุบัน คือธรรมโม

ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ
สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีต ยังไม่มาถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง
ส่วนทั้งสองนั้นให้เพ่งพินิจ คือ เราอยู่ปัจจุบันธรรม มันจึงจะถูก
เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้นเป็นธรรมเมา อดีตอนาคต

รู้
ปัจจุบัน ละปัจจุบัน เป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีตอนาคตอยู่
เท่ากับไปเก็บไปถือเอาของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน
ละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ
ถ้ามันเอาอดีตอนาคตมันกลายเป็นแผนที่ไป

แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มาก
ไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง ทั้งอดีตอนาคต
ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง
มันเป็นเชื้อของกิเลส มันอยู่ในแผนที่ใบลาน มันไม่เดือดร้อน
ถ้ามันอยู่ในใจมันเดือดร้อน เพราะฉะนั้นถ้ามันเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ
เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้

ไม่ใช่จำปริยัติ
ได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริงๆ ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก
ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ละวางถอดถอน ในปัจจุบัน
มันจึงใช้ได้

ความโลภ ความโกรธมันเกิดขึ้นในใจ
น้อมเข้ามาแล้วละให้มันหมด ราคะ, กิเลส, ตัณหา, มันเกิดขึ้นมาละมันเสีย
เรื่องของสังขารมันก็ปรุง เกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง
เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีตอนาคตวางไปเสีย อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา
ปัจจุบันเป็นธรรมโม ข้อนี้ถือให้มั่นๆ ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้าๆ
มันก็ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตมันเป็นอดีตอนาคต วางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน
การกระทำสำคัญเวลาทำตั้งใจเข้าๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันมักเกิด
เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
จิตมักจะเก็บอดีตอนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบัน
ธรรมโม น้อมเข้ามาให้ได้กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีตอนาคต
อันเป็นส่วนธรรมเมา เพ่งพินิจเฉพาะ ธรรมโม

รักษากายให้บริสุทธิ์
รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจให้รู้แจ้งใจนี้
กายก็ให้รู้แจ้ง เอาให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูก
ทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี้ ไม่ต้องเอามาก
ถ้าเอามากมันมักไปยึดเป็นอดีตอนาคตไปเสีย ข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับ
เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับตัวสัญญา

ตั้งหลักไว้ อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา
ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึก ดับ ละ วาง ในปัจจุบันจึงเป็นธรรมโม
เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีตอนาคต ถ้ามันเกิดมันก็ต้องดับลงไป

ต้อง
หมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีตอนาคตปัจจุบัน
สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส
ตัณหา มันก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ มันแสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามาๆ
ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายมันก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน

แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นมันก็ดับไป


ขอขอบคุณที่มา...
www.bloggang.com/viewdiary.php?id=int&month=09-2009&date=18&group=3&gblog=27]BlogGang.com

478
ธรรมะ / มรรควิถีของพระอริยะ...
« เมื่อ: 13 ม.ค. 2553, 06:04:49 »
มรรควิถีของพระอริยะ





. . . . . มรรค เส้นทาง ทางที่มุ่งไปสู่จุดหมายหรือผลลัพท์ของทางนั้น ส่วนผล หรือเป้าหมาย คือจุดหมายปลายทางของเส้นทาง เป็นประดุจรางวัลอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับหลังภารกิจในการเดินทางนั้นจบสิ้นลง โดยไม่หลงทาง . . .

ใครหลายคนอาจนึกอยากเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไม่สะเทือนกับโลก เป็นผู้มีจิตนิ่งประดุจภูผา ไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ใดๆ ..หรือไม่ ก็อยากเป็นพระโสดาบัน เพราะเป็นผู้เข้าถึงกระแส มีทิฏฐิดีแล้ว มีความเห็นชอบดีแล้วในระดับหนึ่ง สะเทือนกับโลกน้อยลง มีแต่จะเจริญขึ้น ในทางที่จะก้าวไปสู่ความจริงสูงสุด คือ ไปนึกเอาถึงผลหรือจุดหมายปลายทาง หวังจะได้ผลแทนจะออกเดินทางไปหาผล

แต่คนเราหากไม่เดินทาง ..ย่อมไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง การนึกเอา-ปรารถนาเอา-ฝันเอา แล้วบอกว่าจะได้จะเป็น มันก็เป็นได้ แต่เป็นได้แค่ฝันแค่ปรารถนาแค่นึกเช่นกัน บางคนออกเดินทางจริงแต่เดินไปในอีกทาง หลงทาง แต่ทั้งคนที่นึกเอาปรารถนาเอาและคนที่หลงทาง กลับมั่นใจว่าตนมาถึงจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าคนที่คิดว่าตนเป็นพระอริยะนี่มีจำนวนไม่น้อย ไปหวังเอาผล ศึกษาผล รู้ผล อยากได้ผล แต่ไม่รู้ทาง.. อาจเพราะยังรักอัตตาไว้อย่างเหนียวแน่น อยากจะเป็นพระอริยะขึ้นมาเพราะอัตตา หากถ้าจะให้ปล่อยอัตตาจริงๆ จะทำได้หรือเปล่า ?
มรรคญาณผลญาณของพระอริยะเกิดขึ้นได้จริงๆ เมื่อลงมือเดินทางจริง คือปฏิบัติจริง การเดินทางนี่ไม่ใช่เดินเล่นๆ แต่ต้องเอาจริง เดินให้ถูกทาง อริยมรรคนี่มีอยู่ แค่คิดฝันแล้วอ้างว่าจิตมีพลังจะทำให้เกิดผลอะไรแบบนั้นมันหลงทางนะ ฤทธิ์เดชนี่ก็ทำลายกิเลสไม่ได้ คือการบรรลุธรรมนี่ ไม่ได้กลายเป็นคนวิเศษขึ้นมา แล้วก็ไม่ได้บรรลุถึงสิ่งใดเลย นอกจากดับกิเลสไป

และหากจะตัดกิเลสนั้นต้องใช้ สติ-สมาธิ-ปัญญา หรือที่จริงก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คือมีกำลังทั้งห้าพร้อม แล้วคนจะมีกำลังได้ก็ต้องออกกำลังบ่อยๆ คือลงมือทำจริง มรรคนี่ต้องเจริญบ่อยๆ ทำให้แจ้ง คือ อริยมรรคมีองค์แปด สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ..หมั่นเจริญแล้วมันต้องมีกำลังขึ้นมา อริยมรรคนี่ถ้าทำแล้วก็ต้องมีกำลังอย่างอริยะ

อริยมรรคมีองค์แปดหรือศีลสมาธิปัญญาหรือสติปัฏฐานสี่นี่เอง ที่จะสร้างกำลัง ไม่ใช่ไปทำบุญแล้วมาทำบาป ช่วยพระแล้วมาด่าคนอะไรแบบนั้น ไม่ได้ประโยชน์ นอกจากขึ้นๆ ลงๆ ตามภพภูมิไม่รู้จบ เดี๋ยวขึ้นสวรรค์เดี๋ยวลงนรก ไม่ได้เป็นกุศลคือหลุดจากการเวียนว่าย เมื่อไม่ได้เข้าทางเข้ามรรคมันก็จะไม่เกิดผล หรือไปหวังเอาผลแล้วไม่ลงมือทำ แล้วผลมันจะเกิดได้อย่างไร อริยมรรคนั้นต้องพากเพียร สติอย่าให้ขาด ปัญญาก็จะเกิด

ไม่ใช่อยากเป็นพระโสดาบันเพราะจะได้มีศีลห้าบริบูรณ์ แต่กลับไม่เจริญมรรค แทนที่จะรักษาศีลคือลงมือทำก่อน เพราะเห็นโทษในการผิดศีลซึ่งทำให้เกิดกิเลสอย่างหยาบ ทั้งฆ่ากันทำร้ายกันลักขโมยกันผิดคู่กันโกหกกันขาดสติ รังแต่จะทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์มาก เพราะเห็นโทษแบบนั้น ก็ข่มใจไม่ผิดศีล ไม่มุสา เป็นผู้รักษาสติ ตั้งใจจะไม่ผิดศีลไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เดินทางก่อน เจริญมรรคก่อน พอถึงจุดนึงจิตมันมีกำลังประหารกิเลส ผลมันต้องได้ กลายเป็นพระโสดาบันมีศีลรักษาตัวเองขึ้นมา คือมีความเป็นปกติ ..ชีวิตไม่เดือดร้อนเพราะผิดศีล

หรือไม่ใช่อยากเป็นพระสกทาคามีเพราะจะให้กิเลสราคะโทสะโมหะลดลง แต่เพราะเห็นโทษของการผิดศีลและโทษของกิเลสที่รุนแรง ก็ตั้งสติ เอาชนะกิเลสตัวเองให้ได้ ไม่ใช่เอาชนะคนอื่นด้วยกิเลสของตัว แต่ต่อสู้กับกิเลสของตัว เอาชนะความโกรธโลภหลงของตน มรรคของพระสกทาคามีเกิดขึ้นในใจ พอวันนึงจิตมันมีกำลังพร้อมเพราะเจริญมรรคบ่อยเข้า กำลังมันก็สมังคีประหารกิเลสไป กิเลสแห้งไป ผลมันก็ต้องเกิด คือเป็นพระสกทาคามีขึ้นมา

แล้วไม่ใช่อยากเป็นพระอนาคามีเพราะจะได้ไม่มีกามราคะหรือเป็นผู้ไม่หวั่นไหวกับโลก แต่เป็นเพราะเห็นโทษของกามว่าเป็นของร้อน เห็นโทษของความมีอารมณ์หวั่นไหวไปกับโลก เดี๋ยวหวาดกลัว กลัวตาย กลัวนั่นกลัวนี่ ชีวิตมีแต่ความกลัว เดี๋ยวพอใจไม่พอใจ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวชอบชัง หงุดหงิดรำคาญใจราวคนบ้า หาความสงบมั่นคงในใจไม่ได้ คนรักษาอารมณ์ไม่ได้ก็ต้องเต้นไปตามกิเลสตัวเอง เป็นทุกข์ร้อนใจมิได้ขาด เมื่อเห็นดังนี้ ก็หมั่นเจริญมรรคสูงขึ้น มีสติรอบคอบในการรักษาอารมณ์ไม่ให้หลงโลก เมื่อเจริญมรรคละเอียดขึ้น กำลังพร้อมเมื่อไหร่มันก็ประหารกิเลสตัณหาได้ เป็นผู้ไม่มีกามไม่มีปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีขึ้นมา

สุดท้าย.. ไม่ใช่อยากเป็นพระอรหันต์เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ดับกิเลสได้หมด แต่เพราะเบื่อในความไม่บริสุทธิ์ ยังมีกิเลสยังไม่พ้นการเกิด เห็นโทษในวัฏฏะสังสารอันนองไปด้วยน้ำตา มีความเกิดแก่เจ็บตายไม่เที่ยง มีความพลัดพรากโศกเศร้าเสมอ จึงหาทางพ้นไปจากการเกิด แม้นแต่สังโยชน์เบื้องสูงอันน่ายินดี คือความสุขในรูปราคะและอรูปราคะ ก็ไม่ปรารถนา ความถือตัวก็ไม่ปรารถนา มีสติในการปล่อยวางเครื่องร้อยรัดใจอยู่เสมอ เมื่อมีสติบริบูรณ์ มรรคญาณมีกำลังมาก กิเลสตัณหาทั้งมวลก็ประหารได้ขาด หมดอาสวะกิเลสสิ้นเชิง เป็นผู้มีอิสระเหนือโลก ไม่มีความยินดีในโลกแห่งทุกข์อีก เป็นผู้บริสุทธิ์เหนือบุญบาป

พุทธพจน์ "ดูก่อนอานนท์ บุคคลใดจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิบัติธรรมถูกทาง ปฏิบัติตามตรงตามเป้าหมายแท้จริง บุคคลนั้นชื่อว่าสักการะ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม"

หากมีการเดินเข้ามรรคเข้าทางถูกแล้ว ย่อมเห็นสมมุติสัจจะอันไม่เที่ยง เมื่อเข้าใจสมมุติสัจจะแจ่มแจ้ง ก็ย่อมทะลวงเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะได้ หลุดจากสมมุติได้

เพราะความที่เห็นสมมุติสัจจะจนเบื่อหน่าย จิตก็เจริญอริยมรรคบ่อยๆ ในกรรมฐานก็ดี นอกกรรมฐานก็ดี หากเจริญมรรคจนถึงขั้นจิตทรงตัวอยู่ในอารมณ์โคตรภูญาณ คือมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ทว่ายังอยู่ระหว่างสองฝั่งคือโลกียะกับโลกุตตระ ส่วนจะข้ามฝั่งไปยังโลกกุตตระได้หรือไม่นี่ ย่อมอยู่ที่มรรคญาณจะกล้าแกร่งและมีกำลังประหารกิเลสหรือไม่ ถ้ากำลังไม่พร้อมก็ข้ามไปไม่ได้ แต่ถ้าเจริญสติต่อเนื่องมีกำลังพร้อมขึ้นมาเมื่อไหร่ แค่เสี้ยววินาทีมันได้ทันที คืออริยมรรคสมังคีนี่ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม กิเลสมันถูกประหารขาดได้ตามกำลัง ทุกที่ทุกเวลาทุกอิริยาบถ

ส่วนผลญาณคือจะเป็นอริยบุคคลขั้นไหนนี่ มันก็ตามแต่กำลังของมรรคญาณที่เจริญมานั่นเอง บางคนนั่งสมาธิภาวนาอยู่ก็อาจได้เห็นผลญาณคือจิตสว่างไสวที่ขาดจากสังโยชน์เพราะยังทรงตัวอยู่ในโลกุตตระฌาน แต่ถ้าเดินอยู่ หรืออยู่ในอิริยาบถทั่วไป ก็รู้สึกได้ว่าตัวมันเบา-จิตมันเบา กิเลสมันวูบขาดไป มันมีแต่วิชชาปัญญาเข้ามาแทน ถ้าขนาดตัดสังโยชน์สิบได้ขาดหมดนี่ มันเหมือนกับหลุดจากมายาภาพทั้งปวง มีแต่ความประจักษ์แจ้ง พิจารณาธรรมได้เข้าใจตลอดสาย ถ้าเป็นอริยะชั้นต้น มันก็เข้ากระแสนิพพาน ความเข้าใจมันเกิดขึ้น ความเห็นชอบคิดชอบมันก็ตามมา...

ขอขอบคุณ...เว็บพลังจิตดอทคอม

479
ขอขอบคุณ...ท่านขุนแผน ที่นำเสนอเรื่องราวประวัติ
ของหลวงปู่เพ็ง ฐิติโก ขอกราบนมัสการหลวงปู่...ด้วยครับ
ขอบคุณครับ... :016:

480
หลอน...มากๆ...ขนหัวลุกเลย...ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะหายจากอาการนี้...




ขอบคุณครับ ...555 19; 31; 24;

481
ขอขอบคุณครับ...สำหรับเรื่องราวความรู้ดีๆมาฝาก... :053:

482
สวยงามครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม...

483
ได้ อ่านบทความที่คุณสันตินันท์(หรือหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)เคยเขียนเอาไว้ ซึ่งมีประสบการณ์ธรรมะ และ ข้อคิดมากมาย อยากเก็บเอาไว้อ่านและอยากแบ่งปันให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้อ่านบ้าง อ่านแล้วจะทำให้มีกำลังใจในการปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์


ความนำ

ผู้เขียนได้เขียนถึงแนวทางการปฏิบัติธรรมไว้แล้ว 2 ฉบับ. คือ
(1) แนวทางปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นการอธิบายวิธีการดูจิตตามแนวของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล). โดยแจกแจงลงในหลักสติปัฏฐาน 4.และ
(2) แนวทางปฏิบัติธรรม ซึ่งอธิบายถึง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ. แนวทางปฏิบัติธรรมทั้ง 2 ฉบับ นี้เน้นน้ำหนักที่ศาสตร์ของการปฏิบัติ. เพื่อให้ผู้สนใจทราบถึงหลักปฏิบัติที่สำคัญ จึงเป็นเสมือนแผนที่บอกทิศทางหลักของการเดินทาง.

แต่ เมื่อผู้อ่านแผนที่ลงมือเดินทางจริงๆ. อาจจะพบอุปสรรคต่างๆ นานาอีกหลายประการ. ซึ่งแม้จะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย. แต่ก็อาจทำให้ผู้ปฏิบัติต้องเสียเวลาค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน. ผู้เขียนซึ่งเคยผ่านความผิดพลาดต่างๆ มามากแล้ว. จึงอาสาที่จะบอกเล่าประสบการณ์ถึงรายละเอียดของเส้นทาง. รวมทั้งจะเล่าถึงกลวิธีเอาตัวรอดจากอุปสรรคต่างๆ นั้นด้วย. เพื่อผู้ที่เดินมาข้างหลังจะได้รับความสะดวกในการปฏิบัติธรรมมากขึ้น. ขอย้ำว่าที่ผู้เขียนอาสามาเขียนเรื่องนี้. ไม่ใช่เพราะผู้เขียนเก่งกล้าสามารถอะไร. แต่เป็นเพราะผู้เขียนหย่อนความรู้ความสามารถ. จึงปฏิบัติผิดพลาดเอาไว้หลายแง่หลายมุม. มากกว่าหมู่เพื่อนบางท่านซึ่งมีความฉลาดแหลมคม ปฏิบัติได้ราบรื่นไม่พบอุปสรรคใดๆ.
ผู้ เขียนจะใช้ท่วงทำนองของการเล่าเรื่องเพื่อให้อ่านง่าย. ยิ่งกว่าการบรรยายอย่างมีศัพท์แสงเป็นวิชาการ. และไม่ได้เล่าตามลำดับเหตุการณ์เสมอไปเพื่อความสะดวกของผู้เขียนเอง. ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกับที่คนเฒ่าคนแก่เล่าเรื่องให้คนรุ่นหลังฟัง. คือนึกอะไรได้ ก็เล่าเรื่องนั้นก่อน.

1. พอเริ่มต้นก็ผิดเสียแล้ว
ผู้เขียนเริ่มปฏิบัติสมาธิภาวนาครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ. โดยคุณพ่อพาไปวัดอโศการามของท่านพ่อลี ธัมมธโร (พระ สุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์). และได้หนังสือการฝึกอานาปานสติมาจากท่านพ่อลี. ก็นำมาอ่านแล้วปฏิบัติด้วยตนเองไปตามความเข้าใจแบบเด็กๆ. เอาจิตไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก. พยายามหัดอยู่ทุกวันเพราะผู้เขียนเป็นคนกลัวผี. และเชื่อว่าถ้าภาวนาเป็นจะหายกลัวผี. การที่จิตจดจ่อกับลมหายใจโดยไม่ได้คิดคาดหวังว่าจะเกิดอะไรขึ้นนั้น. เป็นหลักการสำคัญของสมถกรรมฐาน. ดังนั้นเพียงไม่นาน จิตก็รวมวูบลง ปราศจากกาย. แล้วจิตก็อันตรธานไปปรากฏขึ้นในเทวโลก. เมื่อเวลาจะเดินทางไปมา ก็เพียงนึก แล้วกายทิพย์ก็ลอยไปเหนือพื้น.


ผู้ เขียนเที่ยวเล่นอยู่เช่นนี้ไม่นานวันนัก. ก็เกิดความเฉลียวใจว่า สมาธิไม่น่าจะมีประโยชน์เพียงแค่นี้. ทำไมเราจะต้องปล่อยให้จิตเคลิ้มแล้วมาเที่ยวอย่างนี้. นับจากนั้นก็กำหนดลมหายใจให้แรงขึ้น. เพื่อไม่ให้จิตตกภวังค์. จิตก็ไม่ออกเที่ยวภายนอกอีก.

2. กำหนดลมหายใจแบบแข็งกร้าว

การกำหนด ลมหายใจแรงๆ แม้จะทำให้จิตไม่เคลิ้มตกภวังค์. แต่จิตก็ไม่สามารถพัฒนาให้ยิ่งกว่านั้น. กลับทำความเหน็ดเหนื่อยให้อย่างมาก. แต่ผู้เขียนก็มิได้ย่อท้อ ยังคงกำหนดลมหายใจแรงๆ เช่นนั้นเสมอมา. แม้จะเหนื่อยเพียงใด ก็ทนเอา. เนื่องจากไม่มีสติปัญญา มีแต่แรงกระตุ้นของอดีตให้ต้องปฏิบัติ. ปฏิบัติลำบากเช่นนี้อยู่ถึง 21 ปี. โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ไม่ว่าสมาธิหรือปัญญา. ทั้งนี้เพราะผู้เขียนไม่ทราบว่า ที่ปฏิบัตินั้นทำไปเพื่อสิ่งใด. และไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องด้วย.

ผู้ ที่จะปฏิบัติธรรม จึงควรศึกษาถึงเป้าหมายของการปฏิบัติให้ชัดเจน. และเรียนรู้วิธีปฏิบัติให้เข้าใจเสียก่อน. อย่าได้ลำบากเหมือนผู้เขียนเลย.

3. ดูจิตได้เมื่อภัยมา
บ้าน เกิดของผู้เขียนเป็นตึกแถว. ด้านหน้าคือถนนบริพัตร ด้านหลังคือคลองโอ่งอ่าง. หมู่บ้านที่อยู่มีชื่อเป็นทางการว่า “บ้านบาตร” เพราะมีอาชีพทำบาตร. แต่ส่วนที่อยู่จริงเป็นหมู่บ้านโบราณอีกหย่อมหนึ่งเรียกว่า “บ้านดอกไม้” เพราะมีอาชีพทำดอกไม้ไฟ. ตอนเด็กๆ เกิดไฟไหม้บ้านดอกไม้ มีการระเบิดและมีคนตายจำนวนมาก. ผู้เขียนจึงกลัวไฟไหม้จับจิตจับใจ. วันหนึ่งเมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ ขณะเล่นลูกหินอยู่ข้างถนนหน้าบ้าน. ได้เห็นไฟกำลังไหม้ตึกแถวเดียวกัน แต่ถัดไป 5 - 6 ห้องซึ่งเป็นร้านซ่อมรถยนต์.

ผู้เขียนเกิดความกลัวอย่างรุนแรง. ลุกพรวดขึ้นได้ก็วิ่งอ้าวเข้าบ้านเพื่อไปบอกผู้ใหญ่. พอวิ่งไปได้ 3 ก้าว จิตก็เกิดย้อนดูจิตโดย อัตโนมัติ. มองเห็นความกลัวดับวับไปต่อหน้าต่อตา. เหลือเพียงความรู้ตัว สงบ ตั้งมั่น. ตอนนั้นไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะอะไร. ได้แต่เดินไปบอกผู้ใหญ่ว่า ไฟไหม้. แล้วยืนดูคนอื่นตกใจกันวุ่นวาย.

หลาย ปีถัดมา ผู้เขียนจึงเข้าใจว่า. ผลของการปฏิบัติสมาธิภาวนาที่เราทำไว้ในชาติก่อนๆ ไม่ได้หายไปไหน. แต่ยังฝังลึกอยู่ในจิตใจของเรานั่นเอง. เมื่อถึงเวลา มันก็จะแสดงตัวออกมา. จุดอ่อนของผู้เขียนในขณะนั้นก็คือ. ผู้เขียนไม่มีครูบาอาจารย์ที่จะสรุปให้ฟังว่า เกิดอะไร เพราะอะไร. ผู้เขียนจึงลืมการดูจิตไปอีกครั้งหนึ่ง.

สิ่งหนึ่งที่อยาก กล่าวกับผู้อ่านก็คือ. คุณงามความดีทั้งหลายนั้น ขอให้สร้างไว้เถิด. ผลของมันไม่สูญหายไปไหน. เมื่อถึงเวลาย่อมให้ผลอย่างแน่นอน.


4. กลัวผีจนเจอดี
ดัง ที่เล่ามาแล้วว่า ผู้เขียนกลัวผียิ่งกว่าอะไรทั้งหมด. ทั้งที่ไม่เคยพบผีเลยแม้แต่ครั้งเดียว. จนกระทั่งปี 2521 จึงได้ไปบรรพชาอุปสมบทที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์. แล้วท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์คือพระธรรมโกศาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ) ก็เกิดจะเมตตาผู้เขียนเป็นพิเศษ. แทนที่จะให้ไปอยู่ในหมู่กุฏิหลังวัด. ซึ่งพระเณรอยู่กันเป็นจำนวนมาก. กลับให้ผู้เขียนอยู่กุฏิโดดเดี่ยวตามลำพังข้างเมรุและใกล้ช่องเก็บศพ. ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นกุฏิที่น่าอยู่มาก. เพราะปลูกอยู่ริมสระน้ำเล็กๆ มีต้นไม้ร่มรื่น. แต่ข้อเสียคือพอตอนฉันเพล. ได้พบโยมบางคนเขาบอกว่ากุฏินั้นผีดุ. เคยมีเณรไปอยู่แล้วตกกลางคืนร้องลั่นวิ่งหนีจากกุฏิเพราะมีผีมาเล่นกระโดด น้ำในสระ. ผู้เขียนแม้เป็นพระ ก็รู้สึกหวาดเสียวเป็นอย่างยิ่ง. พอตกกลางคืนหลังจากไปฝึกกรรมฐานที่ท้ายวัด ก็กลับเข้ากุฏิปิดไฟนอน. เวรกรรมแท้ๆ ผนังกุฏิช่วงล่างสัก 1 ฟุตเป็นกระจกโดยรอบ. จึงมองออกมาเห็นภาพภายนอกตะคุ่มๆ. พอหลับแล้วกลางดึกก็ต้องตกใจตื่น เมื่อได้ยินเสียงอะไรบางอย่างกระโดดน้ำดังตูม. บทสวดมนต์ต่างๆ มันเลื่อนไหลขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ. นอนกลัวจนถึงเช้าจึงออกไปดูที่สระน้ำ. ก็เห็นผี คือลูกมะพร้าวลอยตุ๊บป่องๆ อยู่ในสระ.

ผีในลักษณะ นี้ผู้เขียนได้พบเห็นอยู่เสมอเมื่อออกไปปฏิบัติธรรมตามวัดป่า. เช่นผีกระรอกขว้างหลังคากุฏิตอนดึกๆ. ผีตุ๊กแกจับแมลงโตๆ ฟาดฝากุฏิ. ผีนกร้องเสียงเหมือนยายแม่มด. ผีเปรตนกร้องกรี๊ดๆ บนยอดไม้สูงๆ เป็นต้น. ยิ่งเขาลือว่าตรงนั้นมีผี ตรงนี้มีผี ยิ่งชอบพิสูจน์ทั้งๆ ที่กลัว.

หลัง จากเจอผีมะพร้าวแล้วผู้เขียนก็ชักจะกระหยิ่มใจ. พอตกกลางคืนแม้จะเลิกปฏิบัติรวมกลุ่มจากศาลาท้ายวัดแล้ว. ก็ยังกลับมานั่งภาวนาต่อในกุฏิอีก. คืนหนึ่งจิตสงบลงและรู้สึกหน่อยๆ ว่าเมื่อยขา และเป็นเหน็บ. จึงนั่งเหยียดเท้าแล้วภาวนาต่อไป. แล้วจู่ๆ ก็รู้สึกได้ว่ามีใครคนหนึ่งมานวดขาให้. เพียงกดคราวเดียว เลือดลมก็เดินสะดวก หายปวดหายเมื่อย. จิตก็ส่งออกไปดู เห็นชายวัยเกษียณอายุคนหนึ่งแต่งชุดทหารอากาศกำลังนวดให้อย่างตั้งใจ. จิตในขณะนั้นไม่มีความกลัวเลย. หลังจากนั้น ผู้เขียนก็เห็นเขาคนนี้อยู่เสมอๆ.

เรื่องที่เกิดขึ้นนี้จะ เป็นอุปาทานหรืออะไรก็แล้วแต่เถิด. ผู้เขียนได้ประสบมา ก็นำมาเล่าสู่กันฟัง. เพื่อคลายความหนักในเนื้อหาของธรรมที่จะเล่าต่อไปข้างหน้า.

5. ดูจิต : จิตคืออะไร อยู่ที่ไหน แล้วจะเอาอะไรไปดู
ผู้ เขียนปฏิบัติตามยถากรรมมาโดยตลอด. เพิ่งจะมีครูบาอาจารย์จริงจังเอาเมื่ออายุ 29 ปี. เหตุที่จะพบอาจารย์นั้น ก็เพราะชอบเล่นเหรียญพระเครื่อง. จึงไปซื้อหนังสือทำเนียบเหรียญหลวงปู่แหวนมาเล่มหนึ่ง. ชื่อหนังสือ "ชีวิตและศาสนากิจ หลวงปู่แหวน". เข้าใจว่าเป็นหนังสือที่ทางวัดสัมพันธวงศ์ จัดพิมพ์. ดูไปทีละหน้า พอถึงตอนท้ายๆ เล่ม. ผู้จัดพิมพ์หนังสือคงเห็นว่ามีที่ว่างเหลืออยู่. จึงนำธรรมะเรื่องอริยสัจจ์แห่งจิตของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มาลงไว้เป็นข้อความสั้นๆ ว่า. "จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ. อนึ่ง ตามสภาพที่แท้จริงของจิต. ย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง. ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว. จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย. ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์. ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว. แต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค. ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ. พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก. จิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม. จบอริยสัจจ์ 4.

(ข้อ ความจากหนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนสนใจคำสอนของหลวงปู่ดูลย์. นอกจากผู้เขียนแล้ว ยังมีนักปฏิบัติรุ่นไล่ๆ กับผู้เขียนอีก 2 ท่าน. เข้าไปเป็นศิษย์ของหลวงปู่ด้วยแรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้. และท่านหนึ่งได้ครองสมณเพศมั่นคงในธรรมปฏิบัติ. มีศีลาจารวัตรงดงามบริบูรณ์ยิ่ง. ผู้เขียนและพระอาจารย์รูปนั้น. ยังปรารภด้วยความเคารพในหนังสือเล่มนั้นมาจนทุกวันนี้).

อ่านแล้วผู้เขียนเกิดความสะกิดใจว่า. จริงนะ ถ้าจิตไม่ทุกข์ แล้วใครจะเป็นผู้ทุกข์. ดังนั้นเมื่อมีโอกาสในช่วงวันมาฆบูชาปี 2525. ผู้เขียนพร้อมด้วยน้องในทางธรรม. ก็สุ่มเดินทางไปสุรินทร์ แล้วเที่ยวถามหาวัดบูรพาราม. ในตอนสายวันนั้น ก็ได้ไปนั่งอยู่แทบเท้าของหลวงปู่ผู้สูงวัยกว่า 90 ปี.

ผู้ เขียนกราบเรียนท่านว่า ผู้เขียนอยากปฏิบัติ. ท่านนั่งหลับตาเงียบๆ ไปครึ่งชั่วโมง แล้วสอนว่า. “การปฏิบัติไม่ยาก มันยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ. อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อแต่นี้ให้อ่านจิตของตนเองให้แจ่มแจ้ง”. แล้วท่านก็สอนอริยสัจจ์แห่งจิต เหมือนที่เคยอ่านมานั้น. แล้วถามว่า “เข้าใจไหม”. ผู้เขียนในขณะนั้นรู้สึกเข้าใจแจ่มแจ้งเสียเต็มประดา. จึงกราบเรียนท่านว่า เข้าใจครับ. แล้วลาท่านกลับไปขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพ. พอรถไฟเริ่มเคลื่อนจากสถานีจังหวัดสุรินทร์. ผู้เขียนก็เพิ่งนึกได้ถึงความโง่เขลาอันร้ายแรงของตนเอง.

คือนึกขึ้นได้ว่า หลวงปู่สั่งให้ ดูจิต. ก็แล้ว จิตคืออะไร จิตอยู่ที่ไหน แล้วจะเอาอะไรไปดู. นึกเสียใจที่ไม่ได้ถามปัญหาเหล่านี้จากหลวงปู่. แล้วคราวนี้จะปฏิบัติได้อย่างไร. นี่แหละความผิดพลาดที่ฟังธรรมด้วยความไม่รอบคอบ. เอาแต่ปลาบปลื้มใจและตื่นเต้นที่ได้พบครูบาอาจารย์. จนพลาดในสาระสำคัญเสียแล้ว. จะกลับไปถามหลวงปู่ก็ไม่สามารถกระทำได้แล้วในตอนนั้น.

ผู้เขียนแก้ปัญหานี้ ด้วยการทำใจให้สบายหายตระหนกตกใจ. แล้วพิจารณาว่า จิตเป็นผู้รู้อารมณ์. จิตจะต้องอยู่ในกายหรือในขันธ์ 5 นี้ ไม่ใช่อยู่ที่อื่นแน่. หากค้นคว้าลงในขันธ์ 5 ถึงอย่างไรก็ต้องพบจิต. แต่จะพบในสภาพใด หรือจะเอาอะไรไปรู้ว่าอันนี้เป็นจิต. ยังเป็นปัญหาที่พิจารณาไม่ตก ก็จับปัญหาแขวนไว้ก่อน.

ผู้ เขียนพยายามทำใจให้สบาย สลัดความฟุ้งซ่านทิ้ง. ตั้งสติระลึกรู้อยู่ในกายนี้ ตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงพื้นเท้า. ก็เห็นว่ากายนี้ไม่ใช่จิต กายเป็นวัตถุธาตุเท่านั้น. แม้จะตรวจอยู่ในกายจนทั่วก็ยังไม่พบจิต. พบแต่ว่ากายเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ไม่ใช่จิตที่เป็นผู้รู้. ผู้เขียนจึงพิจารณาเข้าไปที่เวทนา. ตั้งสติจับรู้ที่ความทุกข์ ความสุข และความเฉยๆ ที่ปรากฏ. ก็พบอีกว่า เวทนาก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ยังไม่ใช่จิต. ผู้เขียนก็วางเวทนา หันมีระลึกรู้สัญญาที่ปรากฏ. ก็เห็นว่าสัญญาคือความจำได้/หมายรู้ ก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกรู้อีก. ผู้เขียนก็หันมาดูสังขารคือความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้น. ก็เห็นความคิดนึกปรุงแต่งผุดขึ้นเป็นระยะๆ. เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ยังไม่ใช่จิตอีก.

ก่อนที่รถไฟจะถึงกรุงเทพฯ. ผู้เขียนสามารถแยกรูป เวทนา สัญญา และสังขาร ออกแล้ว. ทันใดผู้เขียนก็พบจิตผู้รู้ เป็นสภาพที่เป็นกลาง ว่าง และรู้อารมณ์. ผู้เขียนก็ตอบปัญหาได้แล้วว่า. จิตเป็นอย่างนี้. จิตอยู่ที่รู้นี้เอง ไม่ได้อยู่ที่กาย เวทนา สัญญา และสังขาร. ผู้เขียนรู้จิตผู้รู้ได้ด้วยเครื่องมือ คือ สติ. ซึ่งผู้เขียนได้ใช้สติเป็นเครื่องระลึกรู้. และใช้ปัญญาพิจารณาแยกขันธ์ จนเข้ามาระลึกรู้ จิตผู้รู้ได้.

ถ้า มีความรอบคอบ ถามครูบาอาจารย์มาให้ดี. ก็คงไม่ต้องช่วยตนเองขนาดนี้. แต่การที่คลำทางมาได้อย่างนี้. ก็สอนให้ผู้เขียนเคารพแต่ไม่ติดยึดอาจารย์. และซึ้งถึงคำว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ได้เป็นอย่างดี. และทำให้ผู้เขียนเคารพในศักยภาพของมนุษย์. เห็นว่าถ้าตั้งใจจริง ก็สามารถพัฒนาตนเองได้. เพราะขนาดผู้เขียนไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไร ก็ยังทำมาจนได้.

6. รู้จักจิต แล้วจะทำอย่างไรต่อไปดี

ทันทีที่แก้ปัญหาแรกตก คือตอบได้ว่า. จิตคืออะไร อยู่ที่ไหน และเอาอะไรไปดู. ปัญหาใหม่ก็ตามมาทันทีว่า. เมื่อรู้แล้วจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป. เพราะหลวงปู่สอนมาสั้นๆ ว่าให้ดูจิต. เมื่อผู้เขียนได้จิตผู้รู้มาด้วยการแยกขันธ์ ออกจากจิต. ผู้เขียนก็ต้องระวังรักษาจิตเพื่อเอาไว้ดู. โดยการป้องกันไม่ให้จิตไหลเข้าไปปนกับขันธ์. เพราะถ้าจิตไหลเข้าไปปนกับขันธ์ ก็จะไม่มีจิตผู้รู้เอาไว้ให้ดู.

ใน ช่วงวันแรกๆ ที่แยกจิตกับขันธ์ออกจากกันได้นั้น. ผู้เขียนใช้ความพยายามอย่างมากรักษาจิตไม่ให้ไหลเข้าไปรวมกับขันธ์อีก. แต่ก็รักษาได้เพียงชั่วขณะสั้นๆ. แล้วกว่าจะพิจารณาแยกออกได้อีกก็ใช้เวลาเป็นวันๆ. ผู้เขียนผู้ไม่มีความรู้ใดๆ อาศัยความอดทนและความเพียรพยายาม. รวมทั้งอุบายทุกชนิดที่จะรักษาจิตผู้รู้เอาไว้ให้ได้. เช่นใช้กำลังจิตพยายามผลักสังขารขันธ์ไม่ให้เข้ามาครอบงำจิต. เมื่อจิตไปติดก้อนสังขารที่ปรากฏด้วยความรู้สึกเป็นก้อนแน่นๆ ที่หน้าอก. ก็พยายามเจาะ พยายามทุบทำลายก้อนนั้นด้วยพลังจิต. บางคราวทุบตีไม่แตก ก็พิจารณาแยกเป็นส่วนๆ. บางคราวแยกแล้วก็ไม่สำเร็จอีก. ก็กำหนดจิตให้แหลมเหมือนเข็ม แทงเข้าไปเหมือนแทงลูกโป่ง. วันใดทำลายก้อนอึดอัดได้ ก็รู้สึกว่าวันนี้ปฏิบัติดี. บางวันทำลายไม่ได้ ก็รู้สึกว่า วันนี้ปฏิบัติไม่ดี.

ต่อมาเป็นเดือนๆ ก้อนอึดอัดนี้ก็เล็กลงเรื่อยๆ. แล้วสลายไปกลายเป็นความรู้สึกที่เคลื่อนไหวได้. เช่นเห็นการเคลื่อนไหวไปมาบ้าง. เป็นความไหวตัวยิบยับบ้าง. แล้วก็พบว่าอารมณ์แต่ละตัวที่เกิดขึ้น จะมีสภาวะที่รู้ได้ไม่เหมือนกัน. เช่นความโกรธเป็นพลังงานและมีความร้อนที่พุ่งขึ้น. โมหะเป็นความมืดมัวที่เคลื่อนเข้ามาครอบงำจิต. ถ้าเป็นกุศลจิต ก็จะเห็นความโปร่งว่างเบาสบาย. ในเวลาที่จิตกระทบอารมณ์ เช่นตกใจเพราะเสียงฟ้าผ่า. ก็จะเห็นการหดตัววูบ. ในช่วงนั้น ผู้เขียนเอาแต่ชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการเรียนรู้สภาวะต่างๆ. และคอยแก้อาการต่างๆ ที่จิตเข้าไปติดข้อง. ด้วยความสำคัญผิดว่า นี่แหละคือการดูจิต. บัดนี้เราเห็นจิตชัดเจนแล้ว ว่ามีอาการต่างๆ นานา. สมควรแก่เวลาที่จะไปรายงานผลการปฏิบัติให้หลวงปู่ทราบ. ซึ่งท่านคงจะอนุโมทนาด้วยดี. เพราะศิษย์ได้ปฏิบัติตามคำสอนของท่านไม่หยุดหย่อนติดต่อกันมาแล้วถึง 3 เดือน.

ผู้เขียนไปนั่งอยู่แทบเท้าของหลวงปู่ผู้ชราภาพ. แล้วรายงานผลการปฏิบัติต่อท่านว่า. ผมเห็นจิตแล้ว. หลวงปู่ถามว่า จิตเป็นอย่างไร. ก็กราบเรียนท่านว่า จิตมีความหลากหลายมาก มันวิจิตรพิสดารเป็นไปได้ต่างๆ นานา ดังที่ได้พบเห็นมา. พอกราบเรียนจบก็ได้รับคำสอนที่แทบสะอึกว่า. "นั่นมันอาการของจิตทั้งนั้น ยังไม่ใช่จิต จิตคือผู้รู้ ผู้คิด ผู้นึก ให้กลับไปดูใหม่"

7. ตู้พระธรรมเคลื่อนที่
เพราะ การไปศึกษาครั้งแรกไม่ถามหลวงปู่มาให้ดี. จึงเสียเวลาและลำบากไป 3 เดือน เพราะไปหลงอาการของจิตว่าเป็นจิต. กลับจากสุรินทร์คราวนี้จะไม่ยอมพลาดอีกแล้ว. จึงเริ่มทำจิตให้สงบในเวลาที่มันฟุ้งซ่าน. ด้วยการกำหนดลมหายใจบ้าง การหายใจประกอบคำบริกรรมพุทโธบ้าง. พอจิตสงบดีแล้วก็เห็นความว่าง โปร่ง เบา. มีความรู้ตัวแจ่มใส เห็นอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นระยะๆ. โดยไม่เข้าไปแทรกแซงเพื่อทำลายอารมณ์ดังที่หลงทางมาแล้ว. วันหนึ่งขณะที่เห็นอารมณ์เกิดดับอยู่นั้น. จิตเกิดความอ่อนแอน้อมเข้าหาความสงบ. แล้วรวมลงนิ่งสนิทอยู่ช่วงหนึ่ง. พอจิตถอนขึ้นมาก็รู้สึกสว่างไสวไปหมด. มองสิ่งต่างๆ รู้สึกว่าชัดเจนไปหมด. กระทั่งมองอากาศว่างๆ ตรงหน้า. ก็ยังเห็นถึงอณูของอากาศ และฝุ่นละอองอันละเอียดที่แฝงในอากาศ. ก็เกิดระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าว่า ท่านช่างสอนธรรมอันน่าอัศจรรย์นัก. จากนั้นจิตก็ระลึกถึงธรรมหมวดต่างๆ ได้เป็นอันมาก ไล่ตั้งแต่หมวด 1 หมวด 2 ไปจนหมวดเกิน 10. นึกถึงธรรมข้อใดก็เข้าใจแจ่มแจ้งไปทุกหัวข้อ. และพบว่าธรรมทั้งหลายเชื่อมโยงเป็นอันเดียว รวมลงในอริยสัจจ์ 4 ทั้งสิ้น. ผู้เขียนพิจารณาธรรมด้วยความเพลิดเพลิน. ยิ่งพิจารณายิ่งแตกฉาน ยิ่งแตกฉานก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจ พิจารณากว้างขวางออกไปอีก. เมื่อรู้ธรรมอันใดแล้ว ก็พยายามทรงจำไว้. ไม่นานเลย ผู้เขียนรู้สึกเหมือนตนเองกำลังแบกตู้พระไตรปิฎกไปไหนมาไหนด้วย. มันเป็นภาระอันหนักเหลือเกิน.

แล้วผู้เขียนก็ระลึกถึงหลัก ตัดสินพระธรรมวินัย ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้อย่างไรบ้าง. ก็รู้ว่า ท่านสอนธรรมเพื่อความละ ความคลาย ความสิ้นไปแห่งตัณหา. ผู้เข้าถึงธรรมจะต้องวางความยึดถือทั้งปวง. ก็เกิดความเฉลียวใจว่า อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นคืออะไร. เพราะตรงกันข้ามกับหลักตัดสินที่ท่านสอนไว้. ก็เข้าใจขึ้นว่า นี้เป็นวิปัสสนูปกิเลส 2 ประเภทซ้อนกันอยู่. คือโอภาสอย่างหนึ่ง กับความแตกฉานในธรรมอีกอย่างหนึ่ง. พอรู้ทันแล้ว อาการนี้ก็หายไป เหมือนโยนภาระหนักทิ้งเสียได้.

8. เดินวิปัสสนา
ผู้ เขียนเพียรปฏิบัติด้วยการมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ. คือมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ. มีสัมปชัญญะรู้ตัว ไม่หลงไม่เผลอตามอารมณ์นั้น. จิตมั่นคงเป็นกลาง ปราศจากความยินดียินร้ายต่อสิ่งที่จิตไปรู้เข้า. บางคราวที่จิตฟุ้งซ่านไม่สามารถจะดูอารมณ์ได้ชัดเจน. หรือจิตหลงเข้าไปเกาะอารมณ์อย่างเหนียวแน่น. ผู้เขียนก็จะทำความสงบด้วยการกำหนดลมหายใจบ้าง. บริกรรมพุทโธบ้าง. กำหนดลมหายใจประกอบการบริกรรมพุทโธบ้าง. เพ่งความว่างในจิตบ้าง. เมื่อมีกำลังแล้ว คือสามารถแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้ชัดเจน. ก็มาตามรู้ความเกิดดับของอารมณ์ต่อไป. โดยไม่ได้คิดคำนึงว่า ดูแล้วจะได้อะไรขึ้นมา. เพราะทุกวันที่ดูนั้น มันเหมือนมีงานที่น่าสนใจติดตามให้ทำอยู่ตลอดเวลา.

ผู้เขียน ดำเนินวิปัสสนาในช่วงนี้อยู่ 4 เดือนนับแต่ไปกราบหลวงปู่เป็นครั้งที่ 2. จึงเข้าใจถึงสภาพที่จิตพ้นจากความปรุงแต่ง. รู้ชัดว่าความเป็นตัวตนของจิตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เมื่อปราศจากความปรุงแต่ง. ความดับ อยู่ตรงที่พ้นจากความปรุงแต่งนี้เอง.

ไป กราบหลวงปู่คราวที่ 3 นี้ ไม่ได้หวังว่าจะได้รับคำยืนยันผลการปฏิบัติจากหลวงปู่. เพียงต้องการไปกราบท่านเพื่อให้ท่านเห็นว่า. การดำรงขันธ์อยู่ของท่าน เป็นประโยชน์เพียงใด. แต่หลวงปู่ก็กรุณาแจกแจงสภาวธรรมต่างๆ ให้ฟังอย่างละเอียด. ตอนที่กำลังก้มลงกราบลาท่านกลับออกจากวัด. ท่านก็กล่าวด้วยเสียงที่อ่อนโยนและเยือกเย็นว่า. "ถึงพระรัตนตรัยแล้ว พึ่งตนเองได้แล้ว ต่อจากนี้ไป ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก"

ผู้ เขียนเดินออกจากวัดบูรพาราม ที่หน้าวัดกำลังมีงานช้างสุรินทร์. ท่ามกลางเสียงที่อึกทึกและผู้คนที่แน่นขนัดนั้น. ผู้เขียนมีความรู้สึกเหมือนเดินผ่านไปในกองธาตุ. ตาเห็นรูปก็สักว่าเห็น หูได้ยินเสียงก็สักว่าได้ยิน. ร่างกายของผู้เขียนก็เป็นอันเดียวกับสิ่งแวดล้อม. แต่สิ่งแวดล้อม ไม่เข้ามากระทบถึงจิตเลย. จิตเหมือนลมที่พัดผ่านสิ่งต่างๆด้วยความเท่าเทียมกัน. ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นช่อดอกไม้หรือซากศพ. ผู้เขียนระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ. และเคารพนอบน้อมแด่พระสาวกที่สืบทอดพระธรรมวินัยมาจนถึงยุคปัจจุบัน.

9. เจริญปัญญา ละเลยสมาธิ
การ ปฏิบัติหลังจากทำลายความเห็นผิดว่าจิตเป็นเราลงแล้ว. ก็ยังคงใช้วิธีการเดิม คือการรู้ความเกิดดับของอารมณ์ด้วยจิตที่เป็นกลาง. แต่สิ่งที่สะดวกมากขึ้นก็คือ จิตมีความเป็นกลางสม่ำเสมอมากขึ้น. การเกาะเกี่ยวอารมณ์ที่หยาบลดน้อยถอยลง. ความฟุ้งซ่านรำคาญใจน้อยลง. การเจริญปัญญามีความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ. ยิ่งรู้ความเกิดดับ ก็ยิ่งเพลิดเพลิน. เวลากิเลสใดๆ เกิดขึ้น. พอกระทบความรับรู้ของสติ กิเลสก็ดับวับไปทันที. เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ. ความเพลิดเพลินในการเจริญสติสัมปชัญญะ. ทำให้ละเลยการทำความสงบไปทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว.

ปฏิบัติเช่น นั้นอยู่ช่วงหนึ่ง. คราวนี้ไปพบเห็นอารมณ์ละเอียดอันหนึ่ง เป็นเพียงความไหวตัวยิบๆ เล็กๆ. เหมือนระลอกน้ำที่ไหวตัวเมื่อลมโชยแผ่ว.ความไหวยิบยับนี้เกิดขึ้นทั้งวัน ทั้งคืน. ก็ตามรู้ตามเห็นไปเป็นเดือนๆ จิตเกิดความอ่อนล้าและเร่าร้อนขึ้นมา. จึงเดินทางไปกราบหลงพ่อพุธ ฐานิโย ที่วัดป่าสาลวัน. หลวงพ่อก็เมตตาแสดงธรรมอบรมอยู่นาน แต่จิตไม่รู้สึกอิ่ม ไม่รู้สึกพอ. ท่านก็อุตส่าห์แจกแจงให้รู้ว่า. การปฏิบัติในขั้นละเอียดนั้น มันเหนือคำพูด เหนือบัญญัติ. เห็นเพียงสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นยุบยิบๆ เท่านั้น. แต่ถึงกระนั้นจิตของผู้เขียนก็ไม่คลายจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย. แม้จะมีความเข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นสังขารละเอียดก็ตาม.

เมื่อ เหนื่อยล้ามากเข้า ก็คิดว่า วันนี้ของดดูจิตสักวันเถอะ. ก็ไม่สามารถงดได้ เพราะมันรู้เห็นจนเป็นอัตโนมัติไปแล้ว. อยู่มาวันหนึ่งก็หันมาทำความสงบ. พอจิตสงบลงได้พักถึงฐานเต็มที่ ความกระวนกระวายก็ดับไป. จึงรู้ว่า จิตนั้นต้องการพัก จะเอาแต่เจริญปัญญารุดหน้าไปฝ่ายเดียวไม่ได้.

ปัญหา ในลักษณะเดียวกันนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก. และผู้เขียนก็โง่พอที่จะทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก. เช่นคราวหนึ่งเกิดความเครียดกับผู้อำนวยการกองซึ่งย้ำคิดย้ำทำ. งานเรื่องเดียวจะต้องแก้ไปเรื่อยๆ หลายสิบครั้งจนถึง dead line จึงยอมให้ผ่าน. รวมทั้งกร้าวร้าวรุกรานตลอดเวลา จนผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนเครียดและประสาทเสียไปตามๆ กัน. ผู้เขียนก็พยายามแก้ไขความเครียดนั้นด้วยปัญญา. พลิกแพลงพิจารณาสารพัด. เช่นพิจารณาว่า ทั้งเขาและเรา ต่างก็จะต้องตายจากกันในไม่ช้า เขาอยากทำอะไรก็ช่างเขา. หรือพิจารณาแยกธาตุทั้งตนเองและผู้บังคับบัญชา. หรือดูว่าความเครียดเป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดๆ ดับๆ ไม่ใช่จิต. แต่ไม่ว่าจะพิจารณาอย่างไร จิตก็ไม่ปล่อยวางเรื่องนี้ เพราะมีผัสสะกระทบกระทั่งอยู่ตลอดเวลา.

ครั้งหนึ่งไปกราบหลวง ปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง. พระอุปัฏฐากท่านจะเมตตาผู้เขียนเป็นพิเศษ. เพราะทุกครั้งที่ไปจะมีธรรมะไปกราบเรียนถามหลวงปู่เสมอ. ท่านจะจัดให้นั่งที่มุมใกล้ๆ หลวงปู่. แต่ยังไม่ให้ถามอะไร จนกว่าญาติโยมที่มากราบหลวงปู่เป็นร้อยๆ คน จะกลับไปเสียก่อน. พอญาติโยมถวายข้าวของต่างๆ แล้ว หลวงปู่ก็จะยถาสัพพี อนุโมทนาทาน. ช่วงนั้นทุกคนก็จะประนมมือรับพร ผู้เขียนก็รับด้วย. และเนื่องจากเครียดเรื่องผู้บังคับบัญชาไม่หาย. ก็เลยอธิษฐานขอพรจากหลวงปู่ ขอให้พ้นจากหัวหน้าคนนี้เสียที. พอท่านให้พรเสร็จ ท่านก็หันมาพูดเบาๆ คำเดียวว่า "กรรม" จิตในขณะนั้นก็โล่งไปหมด เพราะรู้ว่า นี่เรากำลังใช้กรรมอยู่.

เครียด มาประมาณเดือนเศษๆ เช้าวันหนึ่งรู้สึกอ่อนล้าเหลือเกิน. ก็คิดว่าวันนี้จะขอทำสมถะสักหน่อย. พอกำหนดลมหายใจไปประมาณ 28 ครั้ง. จิตก็รวมพรึ่บลง ว่าง สงบ สว่างผ่องใส. พอถอยออกจากสมาธิ จิตก็ย้อนเข้ารู้ความเครียดโดยอัตโนมัติ. ความเครียดก็ขาดสะบั้นไปเองเหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ.

พบ เหตุการณทำนองนี้หลายครั้งเข้า. จิตที่เคยชินกับการเดินปัญญาก็ยังไม่หลาบจำ. จนเมื่อประมาณปลายปี 2538 ได้ไปกราบเรียนถามท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน. เกี่ยวกับแนวทางที่กำลังดำเนินอยู่. โดยกราบเรียนท่านว่า ผมเจริญสติสัมปชัญญะอยู่เป็นปกติ. ท่านพระอาจารย์เทสก์ฯ ก็บอกว่ามันสุดทางที่จะดำเนินไปแล้ว. แต่นี่ผ่านมาหลายปี ผมยังไม่สามารถผ่านจุดนี้ไปได้. ท่านอาจารย์มองหน้าอยู่อึดใจหนึ่งก็ตอบว่า. "ตรงนี้สำคัญนะ ต้องเชื่อเรานะ เราผ่านมาแล้วด้วยตนเอง. ที่ว่ามีสติสัมปชัญญะรู้อยู่ที่จิตนั้น มันรู้อยู่ไม่ได้นานหรอก. ไม่มีอะไรดีกว่าการบริกรรม. ให้บริกรรมกำกับเข้าไปที่ตรงรู้นั้นอีกทีหนึ่ง จึงจะผ่านจุดนี้ได้”. รวมความแล้วก็คือ ผู้เขียนติดการเจริญปัญญาและไม่เห็นความสำคัญของกำลังสมาธิมาแต่ไหนแต่ไร. กลายเป็นจุดอ่อนที่ต้องนำมาเตือนตนเองป็นประจำ.

10. กิเลสหลบใน
นับ ตั้งแต่จิตของผู้เขียนหลุดพ้นชั่วคราวครั้งแรก. ผู้เขียนก็จำขั้นตอนการบรรลุมรรคผลได้อย่างชัดเจน. หลังจากนั้นผู้เขียนก็ดูจิตเรื่อยมา. วันหนึ่งจิตรวมลงไป ดับความคิดนึกปรุงแต่งทั้งหมด. แล้วสิ่งห่อหุ้มจิตก็แหวกออก เห็นความสว่างค่อยๆผุดขึ้น. เหมือนดวงอาทิตย์โผล่พ้นเมฆขึ้นมา. หลังจากนั้น จิตก็อุทานขึ้นเบาๆ ว่า จิตไม่ใช่เรา. จากนั้นจิตก็ถอนออกจากภาวะนั้น. ผู้เขียนรู้ชัดว่า นี่จิตมันพยายามเลียนแบบอาการของจิตที่เคยเห็นมา. สิ่งนี้เป็นมายาหลอกลวงของกิเลส

แต่มีความแปลกประหลาดอัน หนึ่งคือ. จิตของผู้เขียนไม่ถูกกามราคะมาแผ้วพานอีก. แต่ผู้เขียนไม่เชื่อว่า ด้วยภูมิธรรมของผู้เขียนจะสามารถละกามได้. ประกอบกับยังสังเกตเห็นความยินดีในรสอาหารอยู่. แสดงว่ากิเลสกามมันหลบซ่อนตัวอยู่เท่านั้น. จึงคิดจะล่อให้มันออกมาจากที่ซ่อน. โดยการไปหาหนังสือโป๊มาอ่าน. ประมาณ 7 วัน กามก็โผล่ตัวขึ้นมาให้เห็นอีก

เมื่อนำเรื่องนี้ไปเล่า ถวายหลวงปู่ดูลย์. ท่านก็บอกว่า มันเป็นนิมิตเท่านั้น ดีแล้วที่ไม่เชื่อมัน. และเมื่อนำเรื่องนี้ไปกราบเรียนหลวงปู่เทสก์. ท่านยิ้มแล้วชมว่า ดีแล้วที่ไม่หลงเชื่อมัน.

การที่ผู้เขียน ไม่ถูกกิเลสหลอกลวง. ก็เพราะเคยรู้ปริยัติธรรมมาว่า ต้องระดับพระอนาคามีจึงจะละกามราคะได้. แล้วก็ใช้ความสังเกตจิตใจตนเองพบว่า. กามราคะยังเหลืออยู่ในรูปของความพอใจในรส. จากนั้นก็หาอุบายล่อลวงกิเลสให้ปรากฏตัวขึ้นมา.

11. ตกภวังค์ครั้งใหญ่
ตั้งแต่ เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ผู้เขียนจะนิยมการเจริญสติรู้ความเกิดดับของอารมณ์. เรื่องที่จิตจะน้อมไปหาความสงบนั้น ยากที่จะเกิดขึ้น. แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งในราว 1 เดือนก่อนจะเข้าพรรษาปี 2526. ผู้เขียนมีอาการตกภวังค์ตอนเวลา. ดูจิตเมื่อใดก็ตกภวังค์เมื่อนั้น และตกแบบหัวซุกหัวซุน. แม้จะยืนกำหนดหรือนั่งขัดสมาธิเพชรก็ยังตกภวังค์. พยายามกำหนดลมหายใจแรงๆ ก็ยังตกภวังค์. รวมความแล้วรู้สึกอับจนปัญญาที่จะแก้ไขอาการเช่นนี้. พอถึงวันอาสาฬหบูชา ผู้เขียนกับน้องชายในทางธรรม. ได้เดินทางไปกราบหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. ได้กราบขออุบายแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะจนปัญญาจะช่วยตนเองแล้ว. หลวงปู่ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตามองหน้าผู้เขียนแล้วยิ้มๆ. กล่าวว่า "เป็นผู้รู้อย่างนี้แล้ว จะต้องถามใคร จะต้องสงสัยอะไร. อย่าสงสัยเลย ให้เร่งปฏิบัติไปเถิด แล้วจะได้ของดีในพรรษานี้แหละ". รวมความแล้วผู้เขียนก็ไม่ได้ความรู้ความเข้าใจอะไรเกี่ยวกับอาการของจิตคราว นั้นเลย. แต่เมื่อเป็นคำของครูบาอาจารย์ ก็ต้องน้อมรับไว้ตามนั้น.

เช้า วันรุ่งขึ้นอันเป็นวันเข้าพรรษา ผู้เขียนก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยรถทัวร์. ระหว่างทางก็ดูจิตบ้าง สนทนาธรรมกับน้องชายบ้าง. อาการที่จิตตกภวังค์ก็เริ่มหายไปทีละน้อย. พอรถทัวร์มาถึงสี่แยกหลักสี่ น้องชายพูดว่า จิตของผมรวมอีกแล้ว. ฟังเท่านั้นจิตของผู้เขียนก็รวมลง. เพราะมีปัญญาเห็นว่าจิตเป็นอนัตตา. แล้วสิ่งห่อหุ้มจิตก็แหวกออก. จิตเข้าถึงความดับเพียงวับเดียว แล้วแสงสว่างก็ปรากฏขึ้น ความเบิกบานปรากฏขึ้น เป็นครั้งที่ 2 นับแต่ปฏิบัติธรรมมา.

ผู้ เขียนได้ความเข้าใจว่า ลักษณะนี้เองที่มีผู้รู้ธรรมขณะที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม. แต่จนป่านนี้ ผู้เขียนก็ยังไม่เข้าใจว่า. เหตุใดก่อนหน้านี้ผู้เขียนจึงตกภวังค์ขนานใหญ่. และหลังจากวันนั้น ก็ไม่ตกภวังค์อย่างนั้นอีกเลย. และผู้เขียนตระหนักชัดถึงญาณทัศนะอันแจ่มใสของหลวงปู่สิม มาตั้งแต่คราวนั้น.

12. พระอภิญญาเมื่อกล่าวถึงญาณทัศนะของหลวงปู่ สิม พุทธาจาโรแล้ว. ทำให้ผู้เขียนอดระลึกถึงพระอภิญญาองค์อื่นๆ ไม่ได้. การที่ผู้เขียนวนเวียนอยู่ตามสำนักครูบาอาจารย์สายพระป่านั้น. ทำให้ได้พบเห็นและรู้จักพระอภิญญาหลายองค์. จึงตระหนักชัดไม่มีข้อสงสัยแม้แต่น้อย เกี่ยวกับเรื่องอภิญญาในพระไตรปิฎก. ทราบซึ้งแก่ใจว่า การจารึกเรื่องราวเกี่ยวกับอภิญญาในพระไตรปิฎก. ไม่ใช่เป็นอุบายดึงให้คนเคารพศรัทธาในพระศาสนา. แต่เป็นการกล่าวความจริงล้วนๆ. เพราะพระพุทธศาสนานั้น โดยเนื้อแท้แล้วก็น่าเคารพศรัทธาเต็มเปี่ยมในจิตใจอยู่แล้ว. ไม่ต้องนำเรื่องอภิญญาหรือปาฏิหารย์มาเป็นอุบายล่อให้คนศรัทธา. และมีแต่ของจอมปลอมหลอกลวงเท่านั้น จึงต้องอาศัยอุบายล่อลวงให้คนนับถือ. แต่เรื่องราวของพระอภิญญามีมาก. ผู้เขียนจะเล่าเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมเท่านั้น. เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านที่น่าจะได้รับฟังสาระประโยชน์บ้าง. ไม่ใช่เพียงฟังเรื่องสนุกๆ เท่านั้น.

มีช่วงหนึ่งประมาณสิบ ปีกว่ามาแล้ว. ผู้เขียนหัดเข้าสมาบัติอันหนึ่งซึ่งค้นพบโดยไม่ได้ตั้งใจ. คือในคราวแรกผู้เขียนกำหนดสติรู้อยู่ที่ผู้รู้. สักพักหนึ่งก็เห็นว่า น่าจะออกไปพิจารณาสิ่งภายนอกบ้าง. จึงกำหนดสติรู้ออกไปที่ความว่างซึ่งตั้งอยู่ตรงหน้า. เมื่อกระแสของจิตเคลื่อนออกไปสู่ความว่าง แต่ยังไม่เกาะเข้ากับความว่าง. ผู้เขียนก็ถอยกระแสจิตย้อนเข้ามาที่จิตผู้รู้อีก. ขณะที่กระแสจิตจะจับเข้ากับจิตผู้รู้ ผู้เขียนก็ส่งกระแสนั้น ย้อนไปที่ความว่างอีก. ย้อนไปมาเช่นนี้ 2 - 3 ครั้ง จิตก็หยุดอยู่ในระหว่างจิตผู้รู้กับอารมณ์. ไม่ยึดเกาะทั้งจิตและอารมณ์. ไปรู้อยู่บนความไม่มีอะไรเลย. แล้วดำเนินผ่านอรูปฌานละเอียดมาก พลิกเข้าสู่สภาวะอันหนึ่ง ซึ่งเหลือแต่ธรรมชาติล้วนๆ. ไม่มีความคิด ไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา. เป็นสภาพที่ว่างจากตัวตนและเวลา. เมื่อจิตถอนออก ก็ย้อนกลับเข้าด้วยวิธีเดิมอีก. ฝึกซ้อมหาความชำนาญในกีฬาทางจิตอยู่. เพราะโดยภูมิธรรมด้านปัญญาจริงๆ แล้ว ไม่สามารถทรงตัวอยู่ในสมาบัตินี้ได้อย่างเต็มภูมิ.

หลังจาก นั้นไม่นาน ผู้เขียนก็ขึ้นไปกราบหลวงปู่เทสก์ ที่วัดหินหมากเป้ง. กราบเรียนท่านถึงสิ่งที่กำลังเล่นอยู่. ท่านไม่ห้าม กลับกล่าวว่า "ฝึกไว้ให้ชำนาญเถอะ. เวลานี้ไม่ค่อยมีใครเข้าสมาบัติอันนี้เท่าไรแล้ว". ผู้เขียนก็กราบเรียนท่านว่า "ผมกลัวจะติดเหมือนกัน". ท่านตอบว่า "ไม่ต้องกลัว ถ้าติด อาตมาจะแก้ให้เอง". ผู้เขียนทราบเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ที่ต้องการให้สืบทอดเรื่องสมาธิต่างๆ. จึงปฏิบัติเรื่อยมา เพราะทราบว่า อารมณ์ของสมาบัติชนิดนี้เอานิพพานเป็นอารมณ์.

ต่อมาอีก ประมาณ 1 เดือน ผู้เขียนไปสัมมนาที่เชียงใหม่. ตกค่ำมีงานเลี้ยง ซึ่งผู้เขียนจะหนีงานเลี้ยงทุกครั้งที่ทำได้เพราะรู้สึกว่าเสียเวลามาก. พอหลบออกจากงานได้ก็ตรงไปวัดสันติธรรม. เพื่อกราบท่านอาจารย์ทองอินทร์ กุสลจิตโต. พอลงจากรถสามล้อเครื่องที่หน้าประตูวัดก็เป็นเวลาประมาณ 2 ทุ่มเศษ. ที่หน้าประตูวัดมืดสนิท ผู้เขียนคุ้นเคยสถานที่ ก็เดินเข้าไปอย่างไม่ลังเล. พอพ้นประตูวัดก็พบพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมายืนอยู่ในความมืด. จึงไหว้ท่านแล้วเรียนถามว่า ท่านอาจารย์ทองอินทร์อยู่หรือเปล่าครับ. ท่านก็ตอบว่า อยู่ แต่ตอนนี้ท่านอาจารย์บุญจันทร์มาพักเป็นพระอาคันตุกะอยู่ที่นี่. โยมไปหาท่านหน่อยสิ. ผู้เขียนก็เรียนท่านว่า ผู้เขียนไม่รู้จักท่านอาจารย์บุญจันทร์ เกรงจะเป็นการรบกวนเพราะค่ำมากแล้ว. จากนั้นผู้เขียนก็เข้าไปที่กุฏิท่านอาจารย์ทองอินทร์. สนทนาธรรมกับท่านประมาณชั่วโมงเศษ. พอออกจากกุฏิก็ต้องแปลกใจที่พบว่าพระหนุ่มยังรออยู่. ทั้งที่อากาศนอกกุฏินั้น กำลังหนาวเย็นและมืดมาก. ท่านกล่าวอีกว่า ไปพบท่านอาจารย์บุญจันทร์สักหน่อยเถิด. ผู้เขียนลังเล ท่านก็ขยั้นขะยอ. ผู้เขียนจึงเดินตามท่านไปที่กุฏิท่านอาจารย์บุญจันทร์.

ขึ้น บันไดไปชั้นบน ท่ามกลางความมืดก็เห็นเงาตะคุ่มๆ ของท่านอาจารย์บุญจันทร์. ท่านนอนคลุมผ้าอยู่บนตั่งไม้หน้ากุฏิ. ขณะนั้นอากาศหนาวมาก องค์ท่านก็สั่นมีอาการอาพาธ. พระหนุ่มที่ขึ้นบันไดมาก่อนได้หลบเข้าห้องไป. ผู้เขียนก็ก้มกราบท่านอาจารย์ด้วยความเคารพนอบน้อม. ท่านถามเสียงดังว่า ไง ปฏิบัติยังไง. ก็กราบเรียนถึงการฝึกเข้าสมาบัติ. พอกล่าวจบก็ถูกท่านดุเอาทันทีว่า. "นิพพานอะไรมีเข้ามีออก ไง จะปฏิบัติยังไงอีก". ผู้เขียนคิดว่าท่านไม่เข้าใจ ก็กราบเรียนซ้ำอีก. ท่านก็ดุอีกว่า "นิพพานอะไรอย่างนั้น มีเข้ามีออกอยู่อย่างนั้น เข้าใจไหม" ผู้เขียนนั้นจิตสว่างวาบออกมาเลย เพราะหมดความยึดถือสมาบัติ. รู้ว่าถึงฝึกไปก็ไม่ช่วยให้เข้านิพพานได้จริง. และนับแต่นั้น ผู้เขียนก็ไม่อาจเข้าสมาบัตินั้นได้อีก.

พอจิตของผู้เขียน สว่างวาบขึ้น ท่านอาจารย์ก็แกล้งทดสอบผู้เขียนอีก. โดยการหัวเราะออกมาดังๆ. ผู้เขียนกำลังเบิกบานใจก็หัวเราะตามท่าน. จู่ๆ ท่านกลับหยุดหัวเราะฉับพลัน. ผู้เขียนก็หยุดตามท่านทันที จิตเป็นปกติราบเรียบลง. ท่านว่า เออ ใช้ได้ ไปได้แล้ว. ผู้เขียนก็กราบลาท่านลงมาจากกุฏิ. ออกเดินจะไปหน้าวัด พระหนุ่มท่านก็รีบตามลงมา. ระหว่างรอรถสามล้อเครื่องอยู่นั้น ก็คุยกันไปเรื่อยๆ. พระหนุ่มท่านก็บอกว่า ท่านอาจารย์สั่งไว้ให้มารอโยมตั้งแต่ตอนเย็น. ยังไงๆ ก็ให้พาไปหาท่านให้ได้.

พระอภิญญาอีกองค์หนึ่งที่ผู้เขียน ได้ประโยชน์จากท่าน และประทับใจมาก. คือหลวงพ่อ หรุ่น สุธีโร. ผู้เขียนพบท่านที่วัดบวรสังฆาราม หน้าเรือนจำจังหวัดสุรินทร์. ตอนนั้นเป็นเวลาสายๆ หลังจากพระฉันอาหาร และฆราวาสรับประทานอาหารเสร็จแล้ว. ต่างก็ออกจากศาลาแยกย้ายกันไปทำกิจของตน. ผู้เขียนแปรงฟันหลังอาหารเสร็จแล้ว ก็เดินไปรอบๆ วัด. พบเก้าอี้หินใต้ร่มไม้ข้างสระน้ำใหญ่ที่เพิ่งขุดใหม่ ก็คิดว่าน่าจะนั่งภาวนาที่นี่. ทันใดก็ได้ยินเสียงหลวงพ่อหรุ่นตะโกนข้ามสระน้ำมาว่า. "โยม..คิดจะนั่งภาวนาก็ผิดแล้ว". หันไปมองเห็นท่านกำลังจะแปรงฟัน. มือหนึ่งถือขันน้ำ มือหนึ่งถือแปรงสีฟัน.

เดิมมานั้นผู้ เขียนเห็นแต่อารมณ์ที่เกิดดับ ไม่เคยเห็นตัณหาละเอียดคือความอยากภาวนา. นับแต่เมื่อท่านตะโกนบอกคราวนั้น. ผู้เขียนก็เห็นตัณหาในจิตอย่างชัดเจน. กระทั่งจิตอยากจะนั่งภาวนา ก็ยังเป็นตัณหาที่ต้องรู้และละเสีย. การภาวนาจึงจะสะอาดหมดจด เพราะไม่ได้ปฏิบัติไปตามความอยาก. แต่ปฏิบัติเพราะสมควรจะปฏิบัติเท่านั้น.

อีกคราวหนึ่งใน ปลายปี 2525 หรือต้นปี 2526 ผู้เขียนไปกราบหลวงปู่ดูลย์. หลังจากรายงานผลการปฏิบัติและฟังธรรมแล้ว หลวงปู่ไปสรงน้ำ. ผู้เขียนก็เดินเล่นไปมาในบริเวณสนามหน้ากุฏิของท่าน. บางทีก็แวะฟังน้องชายคุยกับพระอุปัฏฐากของหลวงปู่. แล้วจู่ๆ ผู้เขียนก็สัมผัสถึงกระแสบางอย่างที่ละเอียดอ่อน เยือกเย็น เป็นสุขอย่างยิ่ง. หันไปมองที่ประตูกุฏิ ก็เห็นว่าหลวงปู่สรงน้ำเสร็จแล้ว. สวมอังสะออกมานั่งที่เก้าอี้โยกหน้ากุฏิ. ท่านกำลังมองดูผู้เขียน. ผู้เขียนก็ทราบว่า ท่านดูจิตใจของผู้เขียนอยู่ จึงเข้าไปกราบท่านอีกคราวหนึ่ง. นับแต่นั้นมา ผู้เขียนก็สามารถรู้สภาวะจิตของผู้อื่นได้เหมือนสภาวะจิตของตนเอง. น้องชายก็เลิกคุยกับพระอุปัฏฐาก ตามมานั่งหน้าหลวงปู่ด้วย. เมื่อกราบท่านแล้วผู้เขียนก็นั่งสงบอยู่หน้าท่าน. ท่านก็กล่าวว่า "ให้ปฏิบัติเสียให้จบในชาตินี้นะ". ผู้เขียนก็ถามท่านว่า "ผมจะทำให้จบในชาตินี้ได้หรือครับ". หลวงปู่ตอบเสียงเฉียบขาดว่า "จบ.. จบแน่นอน".

คำกล่าวของท่านนี้ เป็นกำลังใจในยามเมื่อสิ้นท่านไปแล้ว. และสิ้นครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่ที่เป็นที่พึ่งพาใกล้ชิดของผู้เขียน.

อีก คราวหนึ่งผู้เขียนไปกราบหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง. ท่านเมตตาให้พักที่กุฏิเก่าของท่าน. ซึ่งมองทางหน้าต่างจะเห็นภาพในกุฏิใหม่ของท่านชัดเจน เพราะห่างกันไม่มากนัก. ประมาณ ตี 2 เศษๆ ผู้เขียนเห็นท่านเดินจงกรมท่ามกลางแสงสลัวๆ. ก็เกิดความสงสัยว่า ท่านเดินจงกรมโดยวางมืออย่างใด. ทันทีที่คิด ท่านก็เดินแกว่งแขนให้ดูทันที. ผู้เขียนก็คิดได้ว่า ท่านสอนให้เราเจริญสติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถ. รู้ความเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ธรรมดานั่นเอง.

ผู้เขียนเคย พบเห็นพระอภิญญาอีกหลายองค์ บางองค์ทำอะไรได้แปลกๆ น่าอัศจรรย์. แต่ที่นึกได้และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติของผู้เขียน. และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ก็มีตามที่เล่ามานี้.

13. เรื่องผีและเทวดามี คนรุ่นใหม่จำนวนมากคิดว่าเรื่องผีและเทวดาไม่มีจริง. เพราะพิสูจน์ยังไม่ได้ด้วยวิทยาศาสตร์. และพาลคิดว่าเรื่องเหล่านี้ในพระไตรปิฎก เป็นเพียงอุบายสอนให้คนทำดี. แต่ผู้เขียนไม่ได้คิดเช่นนั้น. เพียงแต่ไม่ต้องการถกเถียงกับความเชื่อของผู้ใด. ใครจะเชื่ออย่างใด ก็เป็นสิทธิของผู้นั้น. เหตุที่ผู้เขียนเห็นว่า ผีและเทวดามีจริง ก็เพราะเคยพบเห็นอยู่เป็นประจำ. ดังจะนำมาเล่าสู่กันฟังบางเรื่อง.

ครั้ง หนึ่งผู้เขียนและน้องชาย ได้พาหลวงพ่อคืน ปสันโน, อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรสังฆาราม จังหวัดสุรินทร์, ไปนมัสการท่านพระอาจารย์เทสก์ ที่วัดหินหมากเป้ง. ช่วงนั้นเป็นฤดูหนาว อากาศหนาวจัดมาก ขนาดห่มผ้านวมก็ยังสั่นอยู่ใต้ผ้านวม. ตกดึกผู้เขียนนอนเป็นห่วงหลวงพ่อคืน. เพราะท่านอายุมากแล้ว และร่างกายก็ไม่สมประกอบคือแขนขาลีบไปซีกหนึ่ง. นึกได้ว่าตอนหัวค่ำลืมหาผ้าห่มไปถวายท่าน. พอเช้ามืดผู้เขียนก็รีบต้มน้ำร้อน นำไปถวายท่าน. ไปถึงหน้ากุฏิที่ท่านพัก ก็เคาะประตูเรียกอยู่พักใหญ่ ท่านจึงเปิดประตูออกมา. ผู้เขียนชะโงกเข้าไปดูในห้อง ก็พบว่า ท่านมีเสื่อผืนเดียว ไม่มีผ้าห่มจริงๆ. ก็ถามท่านว่า หลวงพ่อหนาวไหมครับ. ท่านตอบว่าเมื่อคืนไม่หนาว แต่ตอนนี้หนาว. ก็ถามท่านว่าทำไมเมื่อคืนจึงไม่หนาว ตอนนี้ใกล้สว่างแล้วกลับหนาวมาก. ท่านตอบว่าเมื่อคืนพอเริ่มหนาวจัด. ท่านก็กำหนดจิตเข้าอัปปนาสมาธิ ดับความรับรู้ทางกายหมด. อำนาจของฌานได้รักษากายไว้ ไม่ให้กระทบกระเทือนเพราะความหนาว. ตอนนี้ออกจากฌานมา จึงหนาว. ผู้เขียนก็ถามท่านอีกว่า แล้วผมมาเรียก หลวงพ่อได้ยินไหม. ท่านตอบว่าไม่ได้ยิน แต่นี่เป็นเวลาที่ท่านตื่นนอนเป็นปกติอยู่แล้ว.

วัน นั้น ผู้เขียนพาท่านกับพระอนุจรนับสิบรูป. ไปวัดวังน้ำมอก สาขาของวัดหินหมากเป้ง. ที่นั้นมีถ้ำ มีเขาอยู่หลายแห่ง มีลำห้วยที่มีน้ำไหลอยู่ทั้งปี. พระเจ้าถิ่นท่านก็เมตตา พาชมสถานที่ไปทั่วๆ. บนลานหินแห่งหนึ่ง น้องชายของผู้เขียนไปพบกองอะไรขาวๆ ในขี้เถ้ากองหนึ่ง. จึงเอาเท้าไปเขี่ยๆ ดู แล้วหยิบสิ่งนั้นขึ้นมาดูชิ้นหนึ่ง. พระท่านหันมาเห็นเข้า ก็บอกว่า นั่นเป็นกระดูกศีรษะ. ตรงนี้เป็นป่าช้า ชาวบ้านจะเอาศพมาเผาที่นี่. น้องชายผมก็หัวเราะ แล้วโยนกระดูกศีรษะชิ้นนั้นลงเหวไป.

ตก บ่ายคณะของเราจึงเดินทางกลับหินหมากเป้ง. พอเข้าเขตวัดหินหมากเป้ง หลวงพ่อคืนก็หันมาสั่งผู้เขียนกับน้องชายว่า. คืนนี้ให้นอนกลางแจ้ง อย่าไปนอนใต้ต้นไม้นะ. ทั้งนี้เพราะปกติเวลาไปหินหมากเป้ง ถ้าหลวงปู่ไม่สั่งให้ไปอยู่กุฏิพระ. ผู้เขียนจะขออนุญาตหลวงปู่ไปตั้งเต็นท์นอนในป่า ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ๆ เต็มไปหมด. วันนั้นเมื่อได้ฟังหลวงพ่อคืนสั่ง จึงขยับเต็นท์ไปนอนกลางแจ้ง ห่างจากต้นไม้ทั้งหลาย.

ตกค่ำประมาณ 3 ทุ่มเศษ ผู้เขียนกับน้องชายก็เข้าไปในเต็นท์. นั่งหันหลังชนกันภาวนาไปตามปกติ. ระหว่างนั้นก็ได้ยินเสียงคนจำนวนมากมาเดินอยู่รอบๆ เต็นท์. ก็นึกว่าเป็นคนงานก่อสร้างศาลาในวัด. ผู้เขียนสงสัยว่ามาทำไมกัน ก็ลองมองออกทางช่องหน้าต่างของเต็นท์. พบว่ารอบเต็นท์มืดมาก ไม่มีใครเลย ได้ยินแต่เสียงไม่เห็นตัว. แล้วจู่ๆ น้องชายก็หัวเราะหึๆ ออกมา บอกว่าผมภาวนามานานแล้ว เพิ่งเคยมีนิมิตวันนี้เอง. ผู้เขียนถามว่านิมิตอย่างไร น้องชายก็ตอบว่า. เห็นหน้าเละๆ โผล่ขึ้นมา คิดว่าเป็นนิมิตเห็นตนเองเป็นอสุภะ. ก็เลยดึงภาพนั้นเข้ามาใกล้ๆ กำหนดจิตฉีกเนื้อแยกกระดูกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย. แต่ตลกดี ภาพนิมิตนั้นดิ้นรนด้วยความเจ็บปวด แล้วสลัดหลุดหนีออกไปดิ้นเร่าๆ อยู่ไกลๆ. ผู้เขียนก็นึกว่า พ่อมหาจำเริญเอ๋ย. เมื่อกลางวันไปเหยียบกระดูกศิรษะเขา. พอตกค่ำก็จับพวกเขาแยกธาตุอีก เขาคงเจ็บใจน่าดู. แต่ผู้เขียนก็ไม่ได้พูดว่ากระไร.

คราว นี้เสียงคนจ้อกแจ้กจอแจรอบๆ เต็นท์เงียบไปแล้ว. แล้วจู่ๆ ก็มีเสียงสุนัขหอนโหยหวนมาจากทางวัดวังน้ำมอก. หอนมาเป็นทอดๆ จนสุนัขในหินหมากเป้งก็หอนรับ. แล้วมีเสียงลมพายุพัดอื้ออึงมาจากทิศทางวังน้ำมอกเข้ามาที่หินหมากเป้ง. พักเดียวลมแรงก็กระโชกใส่เต็นท์อย่างรุนแรง. เสียงต้นหมากรากไม้หักโค่นโครมครามรอบเต็นท์. ผู้เขียนกำหนดจิตแผ่เมตตาออกไป ก็เห็นเท้าข้างหนึ่งเหยียบโครมลงมาข้างเต็นท์ใกล้ตัวผู้เขียน. เป็นเท้าสีเขียวๆ ที่โตมาก คะเนได้ว่า เจ้าของต้องสูงขนาดยอดยางใหญ่. ถึงตอนนี้จิตของผู้เขียนก็เห็นว่าจวนตัว จึงรวมวูบเข้ามา. พอถอนออกอีกครั้งหนึ่งเป็นเวลาสว่างแล้ว. จึงพากันออกมานอกเต็นท์ ก็เห็นกิ่งไม้ใหญ่ๆ หักตกอยู่รอบเต็นท์. หากหลวงพ่อคืนไม่บอกไว้ก่อน คืนนี้คงถูกกิ่งไม้หักใส่เสียแล้ว. เช้านั้นหลวงพ่อคืนเจอผู้เขียนแล้ว หัวเราะหึๆ. บอกขึ้นลอยๆ ว่าเขาเป็นนักเลง เป็นนักไสยศาสตร์เก่า ก็เลยมีกำลังมาก.

อีกคราวหนึ่งผู้เขียนไปสัมมนาที่สกลนคร. ตกค่ำก็หนีงานเลี้ยงไปวัดป่าแห่งหนึ่ง เพื่อกราบพระธาตุของครูบาอาจารย์ใหญ่. ขณะที่เดินผ่านหน้าพระอุโบสถได้เห็นแม่ชีรูปหนึ่ง. เดินผ่านหน้าหายเข้าไปในต้นไม้ใหญ่ซึ่งขึ้นคู่กันหน้าพระอุโบสถ. ผู้เขียนก็แผ่เมตตา แล้วเดินไปขอร้องท่านรองเจ้าอาวาส. ให้เปิดพิพิธภัณฑ์ให้ผู้เขียนได้เข้าไปกราบพระธาตุ. ท่านซักว่ามาจากไหน พอทราบว่ามาไกลก็อนุโลมมาเปิดพิพิธภัณฑ์ให้. เมื่อไหว้พระธาตุแล้ว ผู้เขียนได้มานั่งคุยกับท่านที่บันไดหน้าพิพิธภัณฑ์. คุยเรื่องโน้นเรื่องนี้ แล้วผู้เขียนก็วกมาถามท่านตรงๆ ว่า. แม่ชีที่ต้นไม้นั้นมีความเป็นมาอย่างไร. ท่านมองหน้านิ่งอยู่หน่อยหนึ่ง ถามว่าโยมพบเขาแล้วหรือ. เรียนท่านว่าพบแล้ว. ท่านว่าเปรตนั้นเดิมเป็นชีที่อยู่โรงครัวของวัด. แล้วยักยอกอาหารของสงฆ์ และเงินค่าอาหารสงฆ์เพื่อประโยชน์ของตน. ตายแล้วมาเป็นเปรตดักอยู่หน้าโบสถ์. เพื่อขอความช่วยเหลือจากคนที่พอจะช่วยได้.

เมื่อช่วงปี 2527 ผู้เขียนไปซื้อทาวน์เฮ้าส์ชั้นเดียวอยู่แถวประชาชื่น. กลางดึกคืนหนึ่ง จิตของผู้เขียนได้ยินเสียงผู้หญิงคนหนึ่งเดินร้องไห้ผ่านหน้าบ้าน. จิตก็ส่องออกไปดูว่าเกิดอะไรขึ้น. ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่ง นุ่งผ้าถุง ผมเผ้ายุ่งเหยิง. เดินร้องไห้ผ่านหน้าบ้านไปตามถนนทางออกนอกหมู่บ้าน. เท้าของเธอลอยห่างพื้นถนนประมาณคืบหนึ่ง. ผู้เขียนแผ่เมตตาให้ เธอก็ไม่สนใจจะรับ เพราะจิตถูกความทุกข์ครอบงำอย่างหนัก. ผู้เขียนก็ทำจิตเป็นอุเบกขา แล้วหลับต่อไป. ช่วงสายๆ วันนั้นเองก็ได้ยินเสียงคนเอะอะหน้าบ้าน. ออกไปดูจึงทราบว่า หญิงที่อยู่ทาวน์เฮ้าส์ถัดไป 5 - 6 ห้อง ผูกคอตาย. เพราะสามีหนีไป และบ้านกำลังจะถูกธนาคารยึด. ผู้เขียนรู้สึกสลดสังเวชใจมาก ที่เธอลำบากเมื่อมีชีวิตอยู่. ฆ่าตัวตายโดยหวังว่าจะหนีความทุกข์ แต่ก็หนีไม่พ้น. เดินออกจากบ้านไปแบบไม่หันหลังกลับไปมองอีก เพราะความทุกข์มันท่วมท้นหัวใจ. เป็นชีวิตที่ขาดที่พึ่ง และไปด้วยความมืดมนธ์จริงๆ.

อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องตลกๆ. คือผู้เขียนกับเพื่อนๆ พากันไปงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านพระอาจารย์ชา สุภัทโธ. ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี. เสร็จงานก็รีบเดินทางไปวัดธาตุมหาชัย ที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม. ได้เข้าไปนอนพักที่ศาลาใหญ่. หมู่เพื่อนไปนอนรวมกลุ่มกัน ส่วนผู้เขียนแยกไปนอนตามลำพังอีกมุมหนึ่งของศาลาใหญ่นั้น. ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณตีสองครึ่ง ผู้เขียนนั่งภาวนาก่อนนอน ประมาณครึ่งชั่วโมงก็นอน. ขณะที่จิตกำลังจะตกภวังค์นั้น ได้ยินเสียงเด็กกลุ่มหนึ่งวิ่งเกรียวกราวตะโกนโหวกเหวก. เล่นไล่จับขึ้นบันไดศาลาทางด้านที่ผู้เขียนนอนอยู่. ผู้เขียนก็ดุว่า ดึกดื่นแล้ว ผู้ใหญ่จะหลับจะนอน ไปเล่นที่อื่นไป. เด็กก็เชื่อฟังพากันวิ่งไปทางด้านที่เพื่อนของผู้เขียนนอนรวมกันอยู่. แล้วไปดึงแขนดึงขาเพื่อนคนหนึ่งที่ชื่ออ้อย. รายนั้นก็ต่อสู้ด้วยวิธีเฉียบขาดคือคลุมโปงสวดมนต์. พอเช้าก็เล่าให้เพื่อนๆ ฟังปากคอสั่นว่า เมื่อคืนถูกผีเด็กตั้งฝูงมาหลอก. เวลานี้เพื่อนคนนี้ลาออกจากงาน ไปบวชปฏิบัติธรรมอยู่ทางสุรินทร์มาหลายปีแล้ว.

เรื่องผี เรื่องเปรตนั้น ผู้เขียนพบบ่อยๆ. แต่เป็นการรู้เห็นตามลำพัง ไม่มีพยาน จึงไม่ขอนำมาเล่า. ส่วนเรื่องเทวดาก็เช่นกัน จะขอนำมาเล่าเฉพาะเรื่องที่มีพยานรู้เห็น. เป็นเทพธิดาชั้นจาตุมหาราชซึ่งมาอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้เขียน. เวลาทำสมาธิแล้วก็แผ่ส่วนบุญให้เธออนุโมทนา เธอก็พอใจเพียงนั้น ไม่รบกวนอะไร. คราวหนึ่งผู้เขียนไม่อยู่บ้านนั้น เพื่อนคนหนึ่งได้มาขอพักนอนคืนหนึ่ง. โดยเข้าไปนอนตรงที่ผู้เขียนนอนอยู่เป็นประจำ. (ผู้เขียนปูเสื่อนอนมาแต่ไหนแต่ไร). พอจะเคลิ้มหลับ ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่งปรากฏกายเพียงครึ่งตัว ลอยอยู่ตรงหน้าต่าง. แล้วทำหน้าตาขึงขัง ทำเสียงเกรี้ยวกราดว่า. "ให้ไปนอนที่อื่น ที่นี้ไม่ใช่ที่ของเธอ". เพื่อนของผู้เขียนกลัวก็กลัว แต่ทำใจแข็งโต้เถียงว่า. ก็เจ้าของเขาอนุญาตแล้ว อย่ามาขับไล่เลย ขอนอนเพียงคืนเดียวเท่านั้น. หญิงนั้นก็ตอบว่า "ถ้าเช่นนั้นให้ไปนอนตรงที่อื่น อย่ามานอนตรงนี้". เพื่อนผู้เขียนก็เลยรีบย้ายที่นอนให้ห่างจากจุดเดิมเล็กน้อย. ก็หลับสบายได้ทั้งคืน.

มีวันหนึ่งผู้เขียนเหนื่อยๆ กลับมาบ้าน. อาบน้ำแล้วก็ลงนอนพักผ่อน ปลายเท้าชี้ไปทางโต๊ะเครื่องแป้ง. แล้วก็ได้ยินเสียงหญิงนั้นกล่าวอย่างแผ่วเบา แต่กังวานใสและชัดกริบว่า. "มีพระพุทธรูปอยู่ที่โต๊ะแป้งเจ้าค่ะ". ผู้เขียนก็รีบลนลานลุกขึ้น ก็เห็นมีพระพุทธชินราชเล็กๆ องค์หนึ่งแบบตั้งหน้ารถ วางอยู่ที่โต๊ะนั้นจริง. เพราะน้องสาวนำมาวางไว้โดยผู้เขียนไม่ทราบ. จึงอาราธนาไปไว้ที่โต๊ะบูชาพระทางหัวนอนแทน.

เมื่อผู้เขียน ย้ายบ้าน ก็ได้ชวนเธอผู้นี้มาอยู่ที่บ้านใหม่. โดยให้เธออยู่ในฐานพระเจดีย์ไม้จันทน์ที่บรรจุพระสารีริกธาตุ. เวลาผู้เขียนไม่อยู่บ้าน เธอจึงจะออกมาเดินเล่นไปมา.

14. การดูจิตที่ผิดพลาดในขั้นละเอียด
เมื่อ แรกที่ผู้เขียนภาวนา ผู้เขียนจะรู้ความเกิดดับของอารมณ์. โดยระวังไม่ให้จิตเคลื่อนเข้าไปเกาะอารมณ์. เป็นการพยายามแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกันเสมอๆ. เมื่อสิ้นหลวงปู่ดูลย์ไปแล้ว ผู้เขียนก็ยังวนเวียนไปศึกษากับหลวงพ่อคืนเป็นประจำ. วันหนึ่งหลวงพ่อคืนสอนผู้เขียนว่า. ทำไมไม่ย้อนจิตมาหยุดอยู่กับ "รู้" มัวแต่ดู "สิ่งที่ถูกรู้" เมื่อใดจะจบได้. ผู้เขียนก็กำหนดสติย้อนเข้ามาดูผู้รู้-ผู้ดู. แล้วก็เห็นว่า ผู้รู้กลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ยังมีผู้รู้ซ้อนเข้าไปอีกเป็นชั้นๆ. ไม่ว่าจะทวนเข้าไปเท่าใด ผู้รู้ก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ทุกที. จนผู้เขียนเกิดอาการหัวหมุนติ้วๆ เพราะใช้กระแสจิตดันกลับหลังเข้ามาที่ผู้รู้อยู่ตลอดเวลา. ถึงจุดหนึ่งผู้เขียนก็ทราบว่า วิธีนี้ใช้ไม่ได้. เพราะเป็นการจงใจละทิ้งอารมณ์ แล้วย้อนเข้ามาที่จิตผู้รู้ อันเป็นการกระทำด้วยตัณหา. ไม่ใช่ด้วยปัญญาที่เห็นอารมณ์เป็นไตรลักษณ์. แล้วปล่อยวางอารมณ์และย้อนมารู้จิตผู้รู้เองตามธรรมชาติ. ผู้เขียนได้ทราบว่า การเพ่งจ้องอารมณ์เป็นสมถะ. แม้การเพ่งจ้องจิตผู้รู้ ก็เป็นสมถะอีกเช่นกัน.

ผลการปฏิบัติผิดคราวนั้น ส่งผลเสียหายร้ายแรงมาอีกนาน. เพราะจิตมีความชำนาญในการจับเข้ามาที่ผู้รู้. จึงชอบมาหยุดอยู่ที่ผู้รู้ ในลักษณะเหมือนวิ่งเข้ามาในป้อมปราการ. ยิ่งกว่าจะออกไปเรียนรู้ เพื่อปล่อยวางอารมณ์ที่จิตยึดมั่นถือมั่น.

แท้จริงการดูจิต ไม่มีอะไรมาก. เพียงแต่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลางจริงๆ ก็พอแล้ว. รู้อยู่ตรงที่รู้นั่นแหละ. ถ้าจิตเป็นกลางจริง จะสังเกตเห็นจิตผู้รู้แทรกอยู่ตรงนั้นเอง. เมื่อเห็นบ่อยๆ แล้ว ต่อไปก็ชำนาญ สามารถเห็นจิตผู้รู้ได้เสมอๆ. ตัวอย่างเช่น ขณะนี้กำลังเกิดความสงสัยในหลักการปฏิบัติ. เพราะไม่ทราบว่า ควรจะทำอย่างไรดี. วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การรู้เข้าไปที่อารมณ์สงสัยที่กำลังปรากฏ. ก็จะเห็นว่า ความสงสัยกำลังถูกรู้ แล้วก็จะรู้จักจิตผู้รู้ได้. หรือถ้าดูอารมณ์ภายในจิตไม่ออก ก็ลองมาดูอารมณ์ทางกาย. เช่นระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกด้วยจิตใจที่สบายๆ. แล้วเห็นว่า ลมหายใจกำลังถูกรู้ ถูกดูอยู่. ก็จะรู้จักจิตผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมาได้โดยง่าย.

ธรรมชาติของกิเลสนั้น มันมักจะมาล่อหลอกให้เราทิ้งจิตผู้รู้. อันเป็นแก่นสารสาระของการปฏิบัติเสีย. แล้วหลงคิดไปตามความปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลส. ถ้าเรารู้ทันลูกเล่นของกิเลสอย่างนี้แล้ว. เราก็อย่าหลงเชื่อกิเลส ทิ้งจิตผู้รู้ออกไปคิดค้นคว้าสิ่งต่างๆ ตามใจกิเลส. ตัวอย่างเช่นเมื่อมีความสงสัยในวิธีการปฏิบัติเกิดขึ้นมา. แทนที่เราจะรู้ว่าความสงสัยเกิดขึ้น แล้วดูมันจนมันดับไปเอง. เรากลับพยายามคิดค้นคว้าหาคำตอบ เพื่อจะแก้ความสงสัยนั้น. การหลงคิดค้นไปนั้นเอง คือการหลงกลกิเลส. เพราะเราลืม "รู้" ไปเสียแล้ว มีแต่ คิด คิด คิด เรื่อยไป.

การคิดเรื่อยไปนั้น ให้เราได้แค่ความรู้ความเข้าใจในระดับ "สัญญา". แต่การรู้ความเกิดดับของอารมณ์ต่างๆ แม้กระทั่งตัวความสงสัยเอง. กลับเป็นหนทางให้ได้มาซึ่ง "ปัญญาในทางพระพุทธศาสนา". เพราะปัญญาทางพระพุทธศาสนาไม่มีอะไรมาก. เพียงรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา ล้วนแต่ต้องดับไปทั้งสิ้น. ปัญญาแค่นี้ก็พอจะพาให้ผู้ปฏิบัติพ้นทุกข์แล้ว. เนื่องจากพอเห็นว่าอารมณ์นั้นเป็นไตรลักษณ์. จิตก็ปล่อยวางอารมณ์ที่กำลังปรากฏ. เมื่อจิตปล่อยวาง ไม่ดีดดิ้นวิ่งโลดไปตามอารมณ์ ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย.

ผู้ ปฏิบัติบางคนคิดว่า ให้รู้เฉยๆ นั้น มันน้อยไป กลัวจะโง่หรือไม่พ้นทุกข์. จึงพยายามคิดเพื่อสนองความอยากรู้. โดยไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว "รู้" กับ "คิด" เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน. หลวงปู่ดูลย์ ท่านจึงสอนว่า "คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้".

การเพ่งจ้องใส่ อารมณ์ หรือจิตผู้รู้นั้น ผิดตรงที่ผู้ปฏิบัติหลง "เพ่ง" อยู่. ส่วนการคิดไปตามแรงขับของกิเลส ก็ผิดตรงที่ "เผลอ" ไปตามแรงชักจูงของกิเลส. ผู้ดูจิต มักผิดพลาดตรงนี้แหละ. คือถ้าไม่เพ่ง ก็เผลอ. ไม่ใช่การรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันตามความเป็นจริง. ด้วยจิตที่เป็นกลางที่แท้จริง. แต่ยังบังคับจิตบ้าง ปล่อยจิตให้เลื่อนไหลตามกิเลสไปบ้าง.

พระพุทธเจ้าท่านสอน ทางสายกลาง คือไม่หย่อนด้วยกาม และไม่ทรมานตนเอง. การเผลอไปตามอารมณ์ก็เสมือนหลงในกาม. การเพ่งบังคับจิตก็เหมือนการทรมานตนเอง. หากดำเนินจิตด้วยทางสายกลาง และเป็นกลางจริงๆ. จึงต้องทั้งไม่เผลอ และไม่เพ่ง.

15. การพิจารณารูปผู้ เขียนมีปกติชอบดูจิต. อันเป็นการเจริญ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ในส่วนที่เป็นเวทนาทางใจ). จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. แต่ไม่ถนัดในการพิจารณารูปกาย. อันเป็นส่วนของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน. และเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ในส่วนที่เป็นเวทนาทางกาย). เพราะผู้เขียนเห็นว่า รูปเป็นของหยาบ รู้เห็นง่าย. ไม่เหมือนกับการดูจิตที่เป็นของละเอียด มีอะไรแปลกๆ ให้ศึกษามากมาย. ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่ได้ฝึกฝนความชำนาญในด้านการพิจารณากายเท่าที่ควร.

คราว หนึ่งขึ้นไปนมัสการหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่อง. หลวงปู่ได้กรุณาตักเตือนว่า จิตเป็นของละเอียด ส่วนกิเลสเป็นของหยาบ อยู่นอกๆ นี่. ถ้าดูจิตอย่างเดียว เวลาพบกิเลสหยาบจะสู้ไม่ไหว. ผู้เขียนก็น้อมรับคำสอนของท่านกลับมาปฏิบัติที่บ้าน. โดยกำหนดจิตพิจารณาเส้นผม. พอจิตกระทบเส้นผมเส้นผมก็หายไปทันทีเหลือเพียงหนังศีรษะ. พอดูเข้าไปที่หนังศีรษะก็ทะลุถึงกระโหลก. พอดูเข้าที่กระโหลก คราวนี้เห็นกระดูกทั้งร่างนั่งขัดสมาธิอยู่. ยังไม่ทันจะพิจารณาอย่างใด กระดูกก็แตกเปรี๊ยะๆ กลายเป็นเม็ดเล็กๆ ใสๆ เหมือนก้อนกรวดแล้วสลายหายไปหมด. เหลือแต่จิตผู้รู้ทรงตัวอยู่อย่างเดียวเท่านั้น. รวมความแล้ว ผู้เขียนไม่สามารถพิจารณากายได้ดังที่ตั้งใจไว้. เพราะจิตทิ้งกายเข้ามาพิจารณาจิตอย่างรวดเร็วมาก.

ผู้เขียน ได้กราบเรียนเรื่องนี้กับหลวงปู่ดูลย์. ท่านก็กรุณาอธิบายว่า จริตของคนเราไม่เหมือนกัน การปฏิบัติจึงแตกต่างกัน. การจะพิจารณากาย หรือพิจารณาสิ่งใดๆ ก็ตาม. ก็เพื่อให้สามารถย้อนเข้ามารู้อยู่ที่จิต. เมื่อเข้ามาถึงจิตแล้ว จะย้อนออกไปหาสิ่งภายนอกอีกทำไม. ตั้งแต่นั้นมา ผู้เขียนก็ไม่กังวลถึงการพิจารณากายอีก เพราะไม่ถูกจริตของผู้เขียน. แต่ผู้เขียนจะมีสติรู้กายอยู่ตามปกติ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม และพูดจา.

16. การพิจารณานามผู้ เขียนมีปกติชอบพิจารณาหรือระลึกรู้ นาม. อันประกอบด้วยเวทนาทางใจได้แก่ความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข และเป็นกลาง. สัญญาคือความจำได้หมายรู้. สังขารคือความคิดนึกปรุงแต่งของจิต ที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง เป็นกลางบ้าง. และวิญญาณคือความหยั่งรู้อารมณ์ทาง ตา หู … ใจ. และจิตที่เป็นผู้รู้อารมณ์ทั้งปวง.

ครั้งหนึ่งผู้เขียนไป นมัสการหลวงพ่อเทียน ที่วัดสนามใน. ขณะนั้นท่านกำลังสอนญาติโยมจำนวนมากให้เคลื่อนไหวมือ. ผู้เขียนกำหนดจิตดูก็พบว่า นอกจากหลวงพ่อเทียนแล้ว ผู้อื่นไม่มีใครมีความรู้ตัวจริงเลย. มีแต่ส่งจิตไปอยู่ที่มือ คิดแต่เรื่องการเคลื่อนไหวมือเท่านั้น.

ผู้เขียนจึง เลี่ยงออกไปนอกศาลา ไปนั่งบนเก้าอี้ใต้ต้นไม้ แล้วดูจิตไปตามที่เคยทำมา. เพียงครู่เดียวจิตก็รวมลงถึงภวังคจิต. ต่อมาจิตเกิดความรับรู้ขึ้นมาในท่ามกลางความว่างเปล่า. จิตก็เอาความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ เข้าคู่อยู่กับความว่างเปล่า. จิตไม่รู้จักย้อนเข้ามาดูจิต มีแต่ดูออกไปภายนอก. แล้วความคิดปรุงแต่งก็ผุดขึ้นจากความว่าง เหมือนงูที่เลี้อยออกจากรู. แต่ขณะนั้นไม่ทราบว่าคิดเรื่องอะไร เพราะปราศจากสัญญา. เมื่อใจสัมผัสเข้ากับความคิด ก็เกิดวิญญาณทางใจขยายตัววูบออกปิดบังความว่างไว้. วิญญาณแผ่ออกกระทบรูป รูปก็ปรากฏ แผ่ออกกระทบนาม นามก็ปรากฏ. แล้วความมีอยู่ของขันธ์ 5 และอายตนะ 6 ก็ปรากฏ.

เมื่อรูปนามของผู้เขียนปรากฏแล้ว ผู้เขียนก็พิจารณาปฏิจจสมุปบาทต่อไปจนตลอดสาย. จนรู้ชัดว่า เมื่อจิตเกิดความรู้สึกเป็นตัวตนเมื่อใด. จิตก็เป็นทุกข์เพราะความเป็นตัวตน เมื่อนั้น. แล้วเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นเพราะความไม่สมอยากในอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า. โดยมีการทำงานไปตามลำดับดังนี้

ในเวลาที่ตากระทบรูป ก็จะเห็นวิญญาณหยั่งลงทางตา แล้วจิตจึงรู้อารมณ์ทางตา. คล้ายกับเมื่อมีแมลงมากระทบใยแมงมุม. ความสั่นสะเทือนของใย ทำให้แมงมุม(จิต) รู้ถึงสิ่งที่มากระทบ. โดยก่อนการกระทบนั้น แมงมุมนอนหลับเงียบอยู่. เหมือนจิตที่ตกภวังค์เงียบอยู่. พอมีสิ่งเร้าแล้ว จิตก็ไหวตัวขึ้นจากภวังค์ แล้วส่งออกไปรับรู้สิ่งที่มากระทบนั้น. เหมือนแมงมุมวิ่งออกไปจับแมลงที่มากระทบใยกินเป็นอาหาร. คือจิตวิ่งเข้าไปเสวยอารมณ์นั้น. รู้สึกเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ บ้าง. เมื่อมีความรู้สึกหรือเวทนาแล้ว จิตก็เกิดความทะยานอยากไปตามอำนาจของเวทนานั้น. แล้วเคลื่อนเข้าไปยึดอารมณ์. เกิดความเป็นตัวตนของจิตขึ้นมาแล้วเป็นทุกข์ต่อไป.

ในช่วง นั้น ผู้เขียนเห็นว่า จิตเป็นธรรมชาติอันหนึ่งแยกออกจากขันธ์ กระทั่งนามขันธ์. เพราะมองเห็นจิตอยู่โทนโท่. (แต่ไม่ได้เห็นเป็นรูป มันเป็นความรู้สึกของตัวสิ่งที่รู้อารมณ์ และเสวยอารมณ์ได้เท่านั้น). และพบว่าจิตไม่ใช่เวทนา สัญญา สังขาร หรือกระทั่งวิญญาณ. โดยเฉพาะวิญญาณนั้นมีความคล้ายกันในหน้าที่รู้อารมณ์. แต่ทำงานต่างจากจิต คือมันเป็นความรับรู้ทางอายตนะเท่านั้น. แต่จิตเป็นทั้งผู้คิด ผู้นึก ผู้ตัดสินและเสวยอารมณ์. (ความรู้ความเข้าใจนี้ จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างในภายหลัง)

17. พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้
ผู้ เขียนมีวาสนาได้ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่ดูลย์เพียงปีเศษ. และได้ไปกราบท่านครั้งสุดท้ายในเดือนกันยายน 2526. เป็นเวลาเพียง 36 วันก่อนท่านจะละขันธ์. ผู้เขียนได้ฟังธรรมของท่านในช่วงเย็น จนกระทั่งค่ำ. สังเกตเห็นว่าหลวงปู่เหนื่อยมากแล้ว ถึงขนาดเริ่มหอบนิดๆ. เห็นสมควรแก่เวลาแล้วก็ลงกราบท่าน เรียนท่านว่าจะลากลับเพราะท่านเหนื่อยมากแล้ว. หลวงปู่ผู้มีวัยกว่า 96 ปี กลับมองหน้าผู้เขียนแล้วกล่าวว่า "จะกลับหรือ". แล้วไม่อนุญาตให้กลับ แต่กล่าวธรรมต่อไปอีก. ด้วยธรรมที่แปลกประหลาด ไม่เคยได้ยินได้ฟัง กระทั่งคิดมาก่อน. คือท่านกล่าวว่า "พบผู้รู้แล้ว ให้ทำลายผู้รู้ จิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง". ท่านสอนอีกว่า "ถ้าเมื่อใดเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญา. ว่าจิตไม่ใช่จิต. เธอจะเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งนั้นได้ในพริบตาเดียว".

ท่าน ถามว่า เข้าใจไหม. ก็กราบเรียนท่านว่า ผมจำได้แล้ว แต่ไม่เข้าใจ จะขอลองนำกลับไปปฏิบัติดูก่อนครับ. หลวงปู่กล่าวว่า "ดีแล้ว เอ้า ไปได้แล้ว". ตอนที่กราบลาท่านนั้น ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า จะไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากท่านอีกแล้ว.

วันรุ่งขึ้นผู้ เขียนแวะไปกราบหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่วัดป่าสาลวัน โคราช. อันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติตลอดมาเมื่อไปกราบหลวงปู่ดูลย์ที่สุรินทร์. เมื่อหลวงพ่อเห็นผู้เขียนก็ร้องทักว่า "เอ้าว่าอย่างไรนักปฏิบัติ คราวนี้หลวงปู่สอนอะไรให้อีกล่ะ". ก็กราบเรียนว่า หลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้. หลวงพ่อพุธทวนคำสอนของหลวงปู่ว่า. "อือ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ อันนี้เป็นสุดยอดของกรรมฐานแล้ว. เมื่อไม่กี่วันนี้หลวงพ่อไปกราบหลวงปู่. ท่านก็กล่าวกับหลวงพ่อว่า..เจ้าคุณ การปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ก็เพียงเท่านี้เอง". แล้วหลวงพ่อก็ขยายความให้ฟังว่า "การทำลายผู้รู้ ก็คือการไม่ยึดมั่นในตัวผู้รู้". จากนั้นท่านก็แสดงธรรมเรื่องอื่นๆ ต่อไป. ก่อนที่ผู้เขียนจะลากลับ ท่านได้มอบหมายงานให้เรื่องหนึ่ง. คือสั่งว่า "หลวงพ่ออยากให้คุณเขียนประสบการณ์การปฏิบัติของคุณเองออกเผยแพร่. ท่านให้เหตุผลว่า "หลวงพ่อเป็นพระ ติดด้วยพระวินัย จะกล่าวธรรมที่ลุ่มลึกนักก็ไม่ได้. คนที่เขามีจริตนิสัยแบบคุณ และเป็นผู้มีอุปนิสัยยังมีอยู่. ถ้าเขาได้ฟังแล้ว เขาอาจจะทำตามได้ต่อไป".

หลายปีต่อมาผู้เขียนจึงเข้าใจได้ว่า. ถ้าไม่เคยฟังธรรมเรื่องการทำลายผู้รู้มาก่อน. ผู้เขียนคงไม่มีปัญญาผ่านด่านสุดท้ายที่พระอนาคามีพากันไปติดอยู่ได้. สิ่งที่หลวงปู่สอนไว้นั้น เป็นมรดกธรรมที่จะต้องเอาไว้ใช้ในอนาคต. ไม่ใช่ธรรมที่จะสามารถปฏิบัติได้ในขณะนั้น. นับเป็นความเมตตา และความละเอียดรอบคอบของครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง. ที่มอบมรดกธรรมชิ้นนี้ไว้ให้ในนาทีสุดท้ายที่จะลาจากท่าน และไม่ได้พบกันอีกแล้วในสังสารวัฏนี้.
(12 มิถุนายน 2542)

18. ชาติก่อน มีจริงหรือใน ช่วงที่ผู้เขียนเรียนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น. เป็นช่วงที่แนวความคิดของท่านอาจารย์พุทธทาส อินทปัญโญ มีอิทธิพลต่อนักศึกษาอย่างสูง. หลักการสำคัญของแนวทางนี้ก็คือ ท่านเน้นที่การดับทุกข์ในปัจจุบัน. ทำให้ลูกศิษย์ซึ่งฟังคำสอนอย่างไม่รอบคอบเข้าใจว่า. ท่านอาจารย์ปฏิเสธเรื่องชาติก่อนและชาติหน้า. คิดว่าท่านอาจารย์เชื่อว่าตายแล้วสูญ. คิดว่าท่านอาจารย์เห็นว่า โอปปาติกสัตว์ เช่นเทวดาและพรหม ไม่มีจริง. และทุกอย่างที่แปลกๆ จะถูกอธิบายด้วยเรื่องภาษาคน ภาษาธรรม. เช่นอธิบายว่าสวรรค์คือจิตที่เป็นสุข นรกคือจิตที่เป็นทุกข์. อธิบายว่าพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานในวันเดียวกัน. หมายถึงว่าการตรัสรู้ คือการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า. และกิเลสก็นิพพานจากพระทัยของท่านในขณะเดียวกัน เป็นต้น. มีการตีความธรรมะออกไปอย่างกว้างขวาง และสมเหตุสมผล. รวมทั้งสอนกันเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง.

ผู้ เขียนเป็นศิษย์หน้าโง่ของท่านอาจารย์พุทธทาสอย่างเต็มภูมิ. ตอนนั้นเชื่อสนิทว่า เมื่อตายแล้วก็สูญ. พระไตรปิฎกตัดทิ้งเสียบ้างก็ได้. พระพุทธรูปก็ไม่ต้องไหว้ เพราะเป็นก้อนอิฐและทองเหลือง. ตอนไปบวชที่วัดชลประทานก็ได้รับคำสอนว่า ให้รู้จักถือศีลอย่างฉลาด. กิเลสก็เลยพาฉลาดแกมโกงไปเลย เช่นฉันข้าวจนเกือบๆ จะเที่ยง เพราะไม่ถือมั่นในสิ่งทั้งปวง.

ขนาดรู้เห็นภพภูมิต่างๆ มาตั้งแต่เด็ก. แต่พอเป็นวัยรุ่นที่ร้อนแรงเข้า กลับเชื่อลัทธิวัตถุนิยมเต็มหัวใจ. ความน่ากลัวของสังสารวัฏนั้น มันน่ากลัวขนาดนี้ทีเดียวครับ. คืออาจจะหลงผิดเมื่อไรก็ได้ แล้วแต่ความคิดปรุงแต่งจะพาไป.

บุญที่ผู้เขียนได้พบท่าน อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (_/I\_). ท่านได้กรุณาชี้แจงให้ฟังว่า ผู้เขียนกำลังหลงผิดด้วยอุทเฉททิฏฐิ (คือเชื่อว่าตายแล้วขาดสูญ). ผู้เขียนจึงเริ่มเฉลียวใจ หันมาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง ด้วยจิตใจที่เปิดกว้างกว่าเดิม. แทนที่จะเชื่อตามๆ ที่ได้รับคำบอกเล่ามา. ตั้งใจอ่านพระไตรปิฎกจนจบ ส่วนใดสงสัยก็กราบเรียนถามท่านอาจารย์สุชีพฯ เรื่อยมา.

เมื่อได้ครูบาอาจารย์ทางปฏิบัติอย่างหลวงปู่ ดูลย์ และหลวงปู่เทสก์. และปฏิบัติอย่างจริงจังจนเข้าใจจิตตนเองอย่างแจ่มแจ้งแล้ว. ผู้เขียนจึงทราบว่า ชาติก่อนและชาติหน้ามีจริง. แต่ไม่ได้เป็นอย่างที่เข้าใจมาแต่เดิมว่า. พอร่างกายแตกดับ จิตก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่. ซึ่งทัศนะนั้นเกิดจากความเห็นผิดว่าจิตเป็นอัตตา.

เหตุผล ที่ทำให้ผู้เขียนเชื่ออย่างหมดใจก็คือ. เมื่อผู้เขียนมีสติระลึกรู้ลงในกายในจิตของตนเอง. ผู้เขียนเห็นสันตติ คือเกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลาของรูปและนาม. เหมือนสายน้ำที่ไหลผ่านมาอย่างไม่ขาดสาย. ส่วนที่ดับไปแล้วก็เป็นอดีต หาประโยชน์อะไรไม่ได้. ส่วนที่ยังมาไม่ถึง แต่มีเหตุปัจจัยอยู่ มันก็จะต้องมาถึงในอนาคต. จะห้ามไม่ให้มันเกิดขึ้นก็ไม่ได้. ส่วนปัจจุบันเองก็สั้นจนหาระยะเวลาไม่ได้. แม้จะมีอยู่ ก็เหมือนไม่มีอยู่ เพราะจับต้องอะไรไม่ได้เลย. เพียงแต่ปรากฏแล้วก็ผ่านไป ๆ เท่านั้น. ความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย จึงเป็นไปด้วยอำนาจของสัญญาและสังขาร. คือตามหลงสิ่งที่เป็นอดีตไปแล้วบ้าง. เพ้อเจ้อไปถึงสิ่งที่เป็นอนาคตบ้าง. ส่วนปัจจุบันจริงๆ เหมือนความกว้างของเส้นๆ หนึ่ง. คือไม่มีความกว้างพอที่สิ่งใดจะตั้งลงได้. เว้นแต่มหาสติเท่านั้น ที่จะหยั่งลงในปัจจุบันได้.

ผู้เขียนเป็นคนมีความจำดี. เรื่องที่ผ่านมาแล้วบางเรื่อง ที่เป็นอารมณ์อันรุนแรงประทับใจ. ก็ยังจำได้แม้วันเวลาจะผ่านไปนานนักหนาแล้ว. สิ่งนี้เป็นเครื่องมือเฉพาะตัว ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าชาติก่อนมีอยู่. แต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้ผู้อื่นเห็นตามได้. ผู้เขียนจึงไม่เคยเปิดเผยมาก่อน นอกจากกับคนใกล้ชิดจริงๆ เท่านั้น. ไม่เหมือนการตามรู้วาระจิตผู้อื่น. ซึ่งผู้ถูกรู้สามารถเป็นพยานให้กับผู้เขียนได้. แต่เนื่องจากในลานธรรมแห่งนี้มีแต่กัลยาณมิตร. ปรึกษากับคุณดังตฤณแล้ว ก็เห็นว่าน่าจะพูดกันได้บ้าง.

ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างเล็ก น้อย เพียง 3 ชาติสุดท้ายนี้. ในช่วงประมาณสมัยต้นรัตนโกสินทร์. ผู้เขียนบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ริมแม่น้ำใกล้จังหวัดนนทบุรี. จิตใจในชาตินั้นท้อแท้ต่อการค้นหาสัจจธรรมอย่างยิ่ง. เพราะไม่ว่าจะหันหน้าไปทางใด ก็มีแต่ผู้ไม่รู้เหมือนๆ กัน. ความทอดอาลัยนั้น ทำให้กลายเป็นพระขี้เกียจ. วันหนึ่งๆ เอาแต่นั่งเหม่ออยู่ที่ศาลาท่าน้ำบ้าง. ดูพระอื่นแกะสลักไม้ทำช่อฟ้าและหน้าบันบ้าง.

ในชาตินั้นผู้ เขียนอายุสั้น ด้วยผลกรรมในอดีตห่างไกลมาแล้ว. จึงเป็นลมตกน้ำตายตั้งแต่ยังหนุ่ม. และเพราะอกุศลกรรมที่สั่งสมในการปล่อยจิตหลงเหม่อไปเนืองๆ. ประกอบกับที่เป็นพระขี้เกียจ. ฉันข้าวของชาวบ้านโดยไม่ทำประโยชน์ใดๆ. ผู้เขียนจึงพลาดลงสู่อบายภูมิ ไปเกิดเป็นวัวของชาวบ้านข้างวัดนั้นเอง. และถูกนำตัวมาถวายวัด กลับมาอยู่ในวัดเดิมในฐานะใหม่.

เมื่อ สิ้นอายุขัยลง ผู้เขียนได้ตามครูบาอาจารย์ไปเกิดทางตอนใต้ของจีน แซ่ฉั่ว ชื่อเอ็ง. ต่อมาได้บวชเป็นเณรในวัดเซ็นอยู่บนเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง. ผู้เขียนก็หัดดูจิตอยู่เสมอๆ. ตอนเป็นหนุ่มขึ้นมาเกิดไปหลงรักสาวซึ่งถวายดอกลิลลี่มาให้. ประกอบกับทางบ้านไม่มีผู้สืบตระกูล จึงลาสิกขากลับมาทำนา. เรื่องนี้ชาวบ้านไม่ค่อยชอบใจอยู่แล้ว เพราะพระจีนนั้นเมื่อบวชแล้วมักนิยมบวชเลย. นอกจากนี้ ผู้เขียนยังทำตัวไม่เหมือนชาวบ้านทั้งหลาย. ซึ่งนอกจากจะทำนาแล้ว เพื่อนบ้านยังเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และจับปลา. ส่วนผู้เขียนสมาทานมั่นในศีลสิกขา แม้จะอดอยากเพียงใดก็ไม่ยอมฆ่าสัตว์. ชีวิตความเป็นอยู่จึงแร้นแค้นกว่าคนอื่นๆ. และเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของชาวบ้านทั่วไป. ว่าเป็นคนไม่รู้จักทำมาหากิน. กระทั่งพวกเด็กๆ เมื่อเจอผู้เขียน ก็ร้องเป็นเพลงเล่นว่า. ฉั่วเอ็งเป็นคนประสาท ฉั่วเอ็งเป็นคนอ่อนแอ. ผู้เขียนถือมั่นในศีลอยู่ท่ามกลางแรงกดดันนั้นด้วยความอดทนอย่างยิ่ง.

ต่อ มาเกิดฝนแล้งต่อกัน 2 - 3 ปี. คราวนี้ทั้งหมู่บ้านเผชิญกับความอดอยากอย่างยิ่ง. กระทั่งคนที่เคยจับปลาก็ไม่มีปลาให้จับ. ถึงตอนนั้นชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจำต้องทิ้งถิ่นเข้าไปหางานทำในเมือง. ผู้เขียนและครอบครัวก็ไปกับเขาด้วย. และไปพบการเกิดจราจลในเมือง พลอยถูกลูกหลงตายไปด้วย.

ในบรรดาศิษย์ของหลวงปู่ดูลย์ นั้น มีพระที่ทรงอภิญญาเลื่องชื่ออยู่หลายองค์. เช่นหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และเจ้าคุณโชติ แห่งวัดวชิราลงกรณ์. ส่วนในบรรดาศิษย์รุ่นหลัง ที่จะหาผู้ทรงอภิญญา. เสมอด้วยหลวงพ่อกิม ทีปธัมโม แห่งวัดป่าดงคู ผู้เขียนยังไม่เคยพบเลย.

หลวงพ่อกิมสนิทกับผู้เขียนมาก. แต่ท่านก็ไม่ค่อยยอมเล่าเรื่องแปลกๆ ให้ผู้เขียนฟังอย่างเปิดเผย. เพราะติดด้วยพระธรรมวินัย. แต่ถ้าแสดงธรรมอยู่แล้วพาดพิงไปถึง ท่านก็จะยอมเล่าให้ฟัง.

เคยถามท่านว่า อะไรเป็นเหตุให้ท่านเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ. ท่านตอบว่า ท่านเห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด. บางชาติเกิดเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์. บางชาติตกนรกหมกไหม้ หรือมาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน. มีชาติหนึ่งเกิดเป็นวัว เจ้าของเอาไปผูกกับหลักไม้ไว้กลางนาตั้งแต่เช้า. แล้วเขาไปทำธุระโดยคิดว่าไม่นานจะกลับมา. ปรากฏว่าเขาติดธุระจนเย็นจึงกลับมาพาท่านกลับบ้าน. ท่านบอกว่าวันนั้นแดดร้อนจัด. ท่านกระหายน้ำทรมานมาก. พอเห็นคนเดินผ่านไปมา ก็นึกดีใจว่าเขาคงเอาน้ำมาให้ดื่มบ้าง. แต่คนกลับกลัววัวที่ดิ้นไปดิ้นมา ไม่กล้าเข้าใกล้. จนเย็นเจ้าของจึงมาพากลับเข้าคอก.

หลังจากท่านทิ้งขันธ์ แล้ว พระอุปัฏฐากท่านจึงเล่าเรื่องอันหนึ่งให้ฟังว่า. หลวงพ่อกิมท่านบอกว่าเมื่อชาติก่อนหลวงปู่ดูลย์ และหลวงพ่อกิมเป็นพระจีน. ในชาตินี้มาเกิดที่เมืองไทย และมีศิษย์ในยุคนั้นตามมาอีก 10 คน. ขณะที่ท่านเล่านั้น เป็นพระ 3 รูป อุบาสก 3 คน และอุบาสิกา 4 คน.

สังสารวัฏ นี้ยาวนานนัก ไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย. พระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า คนที่มาพบกันนั้น. ที่จะไม่เคยเป็นพ่อแม่พี่น้องกันมา หาได้ยากนัก.

จาก การที่ผมจำอดีตได้ยาวไกลมาก. จึงได้ข้อสรุปมาอย่างหนึ่งว่า. นิสัยของคนเรานั้น หมื่นปี ก็ยังแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย. เว้นแต่จะตั้งอกตั้งใจพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง. จึงจะพัฒนาไปในทางที่ดีได้.

คนที่เคยขี้เกียจมาอย่างไร ก็มักจะขี้เกียจอย่างนั้น แล้วก็จะขี้เกียจต่อไปอีก. คนที่ชอบศึกษาปริยัติธรรม ก็จะชอบศึกษาปริยัติธรรม แล้วชาติหน้าก็จะชอบอย่างนั้นอีก.

สิ่ง เดียวที่จะเปลี่ยนแปลงคนได้เร็วที่สุด คือการเจริญมหาสติปัฏฐาน. แต่ถึงจะปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์แล้ว. บรรดาวาสนาคือความเคยชินต่างๆ ก็ยังติดอยู่เหมือนเดิม.

19. ชาติหน้ามีจริงหรือคราว นี้มากล่าวถึงเรื่องชาติหน้า หรือเรื่องตายแล้วเกิดบ้าง. ผู้เขียนเคยเห็นการตายและเกิดมาหลายคราวแล้ว. ในที่นี้จะเล่าถึงการตายแล้วเกิดสัก 4 ราย.

การตายแล้วเกิดนั้น ไม่ใช่ว่าพอร่างกายนี้แตกดับลง. จิตดวงเดิมก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่. เพราะจิตเองก็ตายและเกิดอยู่แล้วตลอดเวลา.

เรื่อง นี้ผู้เขียนเคยนั่งดูพ่อแท้ๆ ถึงแก่กรรม. ตอนนั้นพ่อป่วยหนักอยู่ที่ศิริราช. ในขณะที่จะตายนั้น ต้องนอนหายใจด้วยการขยับไหล่ขึ้นลง. เพราะกระบังลมไม่มีกำลังจะหายใจแล้ว. ขณะนั้นมีเวทนาทางกายอย่างรุนแรง สลับกับการตกภวังค์เป็นระยะๆ. ผู้เขียนก็เพียรแผ่เมตตาให้เรื่อยๆ ไป. ถึงจุดหนึ่งจิตของพ่อเคลื่อนขึ้นจากภวังค์ แต่ไม่ได้ออกมาสู่โลกภายนอก. เป็นสภาวะคล้ายๆ การฝันไปนั้นเอง. จิตของผู้เขียนได้สร้างกายทิพย์ขึ้นในรูปของภิกษุ. ส่วนจิตของพ่อก็สร้างกายทิพย์ขึ้นมาประนมมือไหว้พระลูกชาย. ผู้เขียนก็เตือนให้พ่อระลึกถึงบุญที่เคยบวชลูกชายหลายคน. จิตของพ่อก็เบิกบานอยู่ช่วงหนึ่งแล้วตกภวังค์. พอเคลื่อนจากภวังค์ จิตมีอาการหมุนอย่างรวดเร็ว. ที่ว่าตายเป็นทุกข์นั้น จุติจิตหรือจิตที่เคลื่อนที่หมุนนี้ มันก็แสดงทุกข์ออกมาอย่างสาหัส. ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับตัวเรานี้เหมือนลูกข่างที่หมุนติ้วๆ จนสลบเหมือด. มันเป็นการหมุนอยู่กับที่ ไม่ได้เคลื่อนออกจากกายไปทางไหนเลย. จากนั้นก็ตกภวังค์ขาดความเชื่อมโยงกับกาย. ขณะเดียวกันก็มีจิตอีกดวงหนึ่ง หมุนขึ้นมาในภพใหม่. แสดงความทุกข์ของการเกิด. แล้วตกภวังค์อีกทีหนึ่ง. พอจิตถอนขึ้นจากภวังค์ คราวนี้ความปรากฏแห่งอายตนะที่ยึดเป็นชีวิตใหม่ ก็เกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์.

จึงเห็นว่า จิตไม่ได้ออกจากร่างไปเกิด. และทันทีที่ตาย ก็เกิดทันที มีภวังค์คั่นอยู่นิดเดียวเท่านั้น.

อีกราย หนึ่งเป็นพ่อของเพื่อน แต่สนิทคุ้นเคยกันดี. เพราะที่บ้านของเพื่อนคนนี้ สร้างกุฏิไว้ให้พระป่ามาพัก. ในเวลาที่พ่อของเขาเจ็บหนักนั้น. เขาได้นิมนต์ครูบาอาจารย์พระป่า 2 รูปไปแผ่เมตตาให้. ผู้เขียนก็ตามไปดูด้วย. คนเจ็บนอนหลับๆ ตื่นๆ อยู่ แล้วก็ร้องโวยวายว่า. นั่นมดดำเดินเต็มไปหมดเลย. ลูกก็ร้องไห้กระซิกๆ บอกว่าพ่อเจอมดดำเดินแถวไม่ได้. จะเอานิ้วโป้งรูดฆ่าทั้งแถวด้วยความสนุกเสนอ. ทั้งลูกและพระก็ช่วยกันเตือนสติ ว่าไม่มีมดดำ. จิตของแกก็ตกภวังค์ลงอีกครั้งหนึ่ง.

ขณะที่จิตเคลื่อนออก จากภวังค์ มาอยู่ตรงที่เหมือนฝันนั้น. แกนิมิตเห็นไก่บ้านตัวหนึ่ง. พระทั้งสองรูปและผู้เขียนก็เร่งแผ่เมตตาให้มากขึ้น. นิมิตไก่ก็ดับลง เกิดนิมิตของอสุรกาย แล้วจิตก็เคลื่อน. พอตกภวังค์ลง ก็ไปเกิดเป็นอสุรกายทันที.

บางคนไม่ทำกรรมดี แต่กะว่าตอนตายจะค่อยตั้งใจตายให้ดี. โดยจะท่องนามพระอรหันต์บ้าง พุทโธบ้าง. ขอเรียนว่า เป็นความคิดที่เหลวไหลสิ้นเชิง. เพราะพอจะตายจริงๆ นั้น จิตจะเกิดนิมิตขึ้นเหมือนกับฝันไป. สิ่งที่ตั้งใจท่องไว้นั้น จะลืมจนหมด. แล้ววิบากก็จะแสดงนิมิตขึ้นมาให้จิตผูกพันเข้าสู่ภพใหม่ตามกรรมที่ให้ผล.

ถ้า ควบคุมความฝันไม่ได้ ก็ควบคุมการเกิดข้ามภพข้ามชาติไม่ได้. รายพ่อของเพื่อนนั้น เมื่อเล่าให้เขาฟังว่าหวุดหวิดจะไปเป็นไก่. เขาก็สารภาพว่าพ่อนั้นตั้งแต่หนุ่มๆ ชอบดื่มเหล้า. ตกเย็นจะมีเพื่อนมาชุมนุมที่บ้าน. พ่อจะสั่งเชือดไก่เลี้ยงเพื่อนทุกวัน วันละตัว. กรรมชั่วที่สะสมจนเคยชินเป็นเวลาหลายสิบปี จึงจะมารอให้ผล. แต่อาศัยที่เคยทำบุญมาในช่วงปลายชีวิต. ในขณะสุดท้ายนิมิตเกิดเปลี่ยนแปลงไป. จึงรอดจากสัตว์เดียรัจฉาน ไปเกิดเป็นอสุรกาย. เรียกว่าดีขึ้นขั้นหนึ่ง แต่ยังต่ำกว่าเปรต.

หลัง จากตายไม่นาน คืนหนึ่งลูกสาวนั่งภาวนาแล้วนึกถึงพ่อ. ขอให้มารับส่วนบุญด้วยตนเอง. ทันใดนั้น ทั้งบ้านก็เหม็นเน่าตลบไปหมด. ทั้งลูกทั้งหลานกลัวกันลนลาน. รีบกำหนดจิตบอกว่า ไม่ต้องมารับเองก็ได้ จะอธิษฐานจิตไปให้. วันนั้นพอดีมีพระเถระรูปหนึ่งมาพักในบ้าน. พอรุ่งเช้าท่านก็บ่นขึ้นเองว่า ไม่น่าไปเรียกเขามาเลย.

อีกราย หนึ่งเป็นสุนัขในบ้านของผู้เขียน. เป็นหมาไทยธรรมดาไม่มีประวัติและดีกรี. ผู้เขียนไปอุ้มมาจากจุฬาฯ เอามาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เล็ก. เขาเป็นสุนัชตัวเมียที่มีจิตใจงดงามมาก. รู้จักให้ทาน ให้ลูกสุนัขอื่นๆดูดนมได้. เวลากินอาหาร จะให้แมวและสุนัขอื่นๆ กินก่อน ตัวอื่นอิ่มแล้วเขาจึงจะกินข้าว. และแม้จะถูกสัตว์เล็กกว่ารังแก เขาก็จะเดินหนี ไม่ตอบโต้ทำร้าย ทั้งที่ทำได้. ในเวลาที่เขาตายนั้น เขานอนตาแป๋ว. มีความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง. และไปสู่ภพภูมิที่สูงกว่าพ่อของผู้เขียนเสียอีก.

คนไปเกิดเป็นสัตว์ สัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา. สังสารวัฏนี้เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย. แต่มีความเที่ยงธรรมอย่างที่สุด.

ราย สุดท้ายเป็นยายห่างๆ ของผู้เขียน. แกเป็นคนขี้โมโหโทโส แถมเป็นนักเข้าทรงหลวงพ่อทวด. เป็นคนที่มีพลังจิตกล้าแข็งมาก. แกตายแล้วไปเกิดเป็นอสรุกาย มีผีหลายตัวเป็นบริวาร. ทั้งนี้โอปปาติกสัตว์นั้น. เขานับถือกันตามพลังอำนาจและบุญวาสนา.

ลูก หลานรู้สึกสงสารแก แต่ที่มากกว่าสงสารคือกลัวแก. เพราะญาติบางคนเห็นแกในสภาพที่น่ากลัวมาก. ผู้เขียนจึงเป็นต้นคิดจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ นอกเหนือจากการจัดงานศพตามประเพณี. โดยนำผ้าไตรไปถวายหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง. เมื่อถวายทานแล้ว ก็กำหนดจิตอุทิศส่วนกุศลให้. พอกำหนดจิตถึง ภาพของแกก็ปรากฏขึ้นต่อหน้าต่อตามีผู้เห็นถึง 3 คน. ในภาพนั้นแกยังเป็นอสุรกาย แต่หน้าตาสดใสขึ้นบ้าง. ในมืออุ้มผ้าไตรไว้อย่างงงๆ ว่าแกจะเอาไปทำอะไร. ทั้งนี้เพราะแกเองไม่เคยทำบุญชนิดนี้. เป็นเพียงบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ จึงขาดความประทับใจเท่าที่ควร.

รุ่งเช้าถวายอาหารต่อพระ ทั้งวัดโดยนำเงินไปทำบุญที่โรงครัว ให้เขาจัดการให้. แต่ทำบุญแล้วลืมอุทิศส่วนกุศลให้. ตกเย็นก็นั่งรถสองแถวที่จ้างไว้ออกจากวัด. สิ่งที่พากันเห็นนั้นน่ากลัวมาก. คืออสรุกายยายพร้อมทั้งบริวารพากันติดตามมาจากวัด. ตอนขึ้นรถไฟที่หนองคาย ขณะที่รถวิ่งลงมาทางจังหวัดอุดรธานี. อสุรกายก็มาโผล่หน้าใหญ่เต็มหน้าต่างรถไฟ. เล่นเอาสะดุ้งไปตามๆ กัน. ผู้เขียนนึกได้ว่ายังไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้. จึงกำหนดจิตบอกยายว่า เมื่อเช้านี้ได้ทำทานถวายอาหารพระทั้งวัด เพื่ออุทิศให้กับเขา. เมื่อบอกกล่าวถึงตอนนี้ อสุรกายก็ระลึกได้ว่า. เมื่อสมัยยังสาวนั้น เขาชอบนำอาหารใส่ปิ่นโตไปถวายพระ. ภาพพระนั่งฉันอาหารเต็มศาลาก็ปรากฏทางมโนทวารของเขา. จิตในขณะนั้นเกิดความร่าเริงเบิกบานในบุญที่ตนเองเคยสร้างไว้. จิตก็เคลิ้มลงเรื่อยๆ. ขณะนั้นเกิดกลุ่มควันสีขาวพวยพุ่งขึ้นจากเท้าของเขา. แผ่ขยายจนคลุมตัวไว้ทั้งหมด. พอจิตตกภวังค์ดับวับลง กายอสุรกายก็สลายหายไป. เกิดรูปเทพธิดารูปหนึ่งลอยทะลุกลุ่มควันสีขาวนั้นขึ้นไป.

ความ ตายของโอปปาติกะนั้น เมื่อจิตจับนิมิตใหม่และดับลง รูปโอปปาติกะก็ดับลงด้วย. แล้วจิตดวงใหม่ในภพใหม่ก็เกิดขึ้น. แต่ผู้เขียนดูไม่ทันว่า รูปในภพใหม่เกิดก่อน หรือจิตเกิดก่อน.

สัตว์ ในภพอสุรกาย และภพอื่นๆ จะไม่รับส่วนบุญของผู้อื่น. อย่างมากก็เพียงอนุโมทนาบุญ. มีเพียงเปรตบางอย่างที่เป็นภพใกล้คนที่สุด จึงจะรับส่วนบุญจากผู้อื่นได้. กรณีที่เล่ามานี้ อสุรกายเพียงแต่อนุโมทนาบุญ และระลึกได้ถึงบุญของตนเอง.

อนึ่ง ธรรมดาสัตว์ตระกูลโอปปาติกะทั้งหลายนั้นมักจะอายุยืน. หากไม่มีบุญของตนเองเป็นที่พึ่งอาศัย. ก็จะอยู่ด้วยความยากลำบาก. เพราะจนลูกหลานเหลนตายหมดแล้ว สัตว์พวกนี้ก็ยังมักจะมีชีวิตอยู่. ดังนั้น ถ้ามีโอกาสทำบุญ ก็ควรจะทำไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งอาศัยในการท่องสังสารวัฏต่อไป.
(16 มิถุนายน 2542)

ขอขอบคุณที่มา... http://www.bangkokmap.com/pm/content/view/27/36/

484
ภาพประกอบ
 
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
บันทึกการสำรวจของพวกฝรั่งได้กล่าวถึงมนุษย์กลุ่มหนึ่งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียทางใต้ถึงรอบอ่าวไทยเรียกว่าสามารัส หรือสยามัสมีนิสัยชอบสักหมึกดำตามแขนขา ลำตัว รบเก่ง การช่างเก่ง ทำกสิกรรม รักสันตินับถือพุทธ      ทีนี้เผ่าสยามัสนี่นิยมเอาหมึกจากกระดูกผีมาสักลงผิวคนครับ เป็นลวดลายติดถาวรต่าง ๆ ซึ่งฝรั่งยุคหลัง มานิยมเป็น Tatto มีสีสรรมากมายก็ช่างเขาเถอะ แต่สยามัส เอามาทำยำยีใส่คุณไสยให้อักขระลวดลายมีฤทธิ์ต่างๆได้ คือมีผีเฝ้าอักขระ   บ้างเพื่อการเสน่ห์เมตตามหานิยม บ้างเพื่อลาภยศเงินทองเพิ่มพูน  และสุด ๆไปเลยคือหนังเหนียวคงกระพันชาตรี (ตอนนี้ที่กำลังฮิต ขนาดดาราดังอย่าง แองเจลิน่า โจลี่มาคราวก่อนยังต้องมาให้แกสัก คืออาจารย์ หนู กันภัย ไงล่ะครับ)


  คนหนังเหนียวมีร่ำลือกันมาในหมู่ทหารเสือสมัยกอบกู้กรุงแตกครั้งที่สองมีคนเหล่านี้อยู่ประมาณห้าสิบกว่าคนติดตามพระเจ้าตากลงมาตอนยังเป็นยกกระบัตร  ด้วยความเป็นนักล่องซุงด้วย คนเหล่านี้เก่งมากหนังเหนียว ทั้งเดินบนซุงซึ่งลอยน้ำไปหมุนกลิ้งไปได้อย่างยอดเยี่ยม (ไม่เชื่อท่านผู้อ่านไปเดินดูสักครั้งไม่ตกน้ำให้รู้ไป)  กลุ่มนี้ล่ะครับเป็นกลุ่มบุกเบิกคุ้มกันพระเจ้าตากในการฝ่าพม่าออกไปสู่จันทบุรี  และเป็นกองหน้าหัวหมู่ทะลวงฟัน ทำสงครามกองโจรก่อกวนหรือปล้นสดมภ์พม่าอย่างได้ผลมาตลอดทุกครั้ง   


เล่ากันว่าย้อนขึ้นไปในสมัยพระนารายณ์มหาราช   ได้เคยจัดทหารหนังเหนียว 16คน ไปกับคณะทูตโกษา(ปาน)  ได้แสดงหนังเหนียวต่อหน้าพระเจ้าหลุยส์ 14มาแล้ว โดยยืนหน้ากระดานให้ทหารฝรั่งเศส 500 ยิงปืนเข้าใส่ปรากฎว่ายิงไม่เข้า...ประวัติศาสตร์เขาเล่ากันอีกว่าระหว่างขาไปปารีส   คณะเรือของท่านทูต  ถูกกระแสน้ำพัดเข้าวังน้ำวน "เบอร์มิวด้า" (ซึ่งเรือฝรั่งเท่าที่บันทึกมา   ถูกดูดจมเกือบไปทุกลำ) แต่เรือคณะทูตสยามมีพระอาจารย์ที่ไปด้วย แกร่ายเวทย์ทวนวังน้ำวนกลับออกมาได้ครับ  จริงไม่จริง ก็สุดแล้วแต่



............ทหารฝรั่งเศสลองของทหารไทย.....



เรื่องนี้อ่านมาจากพงศาวดารฉบับราชหัถเลขา เห็นน่าสนใจจำนำมาเล่าสู่กัน
ฟัง



  ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชสัมพันธ์ไมตรีอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก โดยมีการส่งคณะฑูตไปมาหาสู่กันหลายคณะ
 
ทูตคนแรกของฝรั่งเศสที่มาไทยคือ เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ และราชฑูตไทยคือ โกษา ปาน




แต่ในสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศต่างมีความใน กล่าวคือ ไทยต้องการคานอำนาจของ ฮอลันดา ที่กำลังเข้ามาแผ่อำนาจล่าอณานิคมเข้ามาใกล้จนเป็นภัยคุกคาม ส่วนทางฝรั่งเศสเองพระเจ้าหลุยส์ที่14 ต้องการที่จะเปลี่ยนศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์ ถ้าเปลี่ยนได้ก็จะเป็นการกระเดื่องพระเกียรติยศของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14นั้นเอง
  นี้แหละครับการเมือง.........................




  ในพงศาวดารมีเรื่องเล่าน่าสนุกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการไปเยือนของกลุ่มราชทูตไทยว่า
  ชาวฝรั่งเศสเคยได้ยินว่าคนไทยอยู่ยงคงกระพัน ฟัน แทง ยิง ไม่เข้า จึงขอ "ลองของ" แล้วกลุ่มราชทูตไทยก็จัดให้
   ในวันลองของ ต่อหน้าคณะผู้ปกครอง หลังจากทำการบวงสรวงตั่งศาลเพียงตาของคนไทย ทางฝรั่งเศสได้ให้กลุ่มผู้ติดตามราชทูตโกษา ปาน นั่งกลางพิธี แล้วทหารฝรั่งเศสยืนเรียงหน้ากระดานหลายสิบนาย แต่ละคนอยู่ในท่าเตรียมยิงปืน เลงไปที่ทหารไทยกล่มนั้น พอได้สัญญาณ จึงยิงออกไปคนละหนึ่งนัด เรื่องน่าแปลกก็คือ ปืนด้านทุกกระบอก จากนั้นทหารฝรังเศสจึงขอลองอีก โดยยิงออกไปอีกคนละหนึ่งนัด ครั้งนี้ยิงออก แต่ลูกปืนที่ยิงออกไปนั้นตกแค่ตีนเสื่อที่กลุ่มคณะทูตไทยนั่งเท่านั้น
  เท่ห์มั้ยล่ะ เรื่องนี้ฝรังเขาบันทึกเอาไว้ คนไทยไม่ได้เขียนเองนะ

คุณเชื่อหรือไม่  มีเรื่องจริงที่คุณไม่ยากจะเชื่ออีกมากมาย
ด้วยความเคารพคนอ่าน

ขอขอบคุณ...วาทิน ศานติ์ สันติ

ขอขอบคุณ...http://atcloud.com/stories/72570

485




ธรรมะของ ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

คนเราเมื่อมีลาภก็มีเสื่อมลาภเมื่อมียศก็มีเสื่อมยศ เมื่อมีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์ถึงจะดีแสนดีมันก็ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์เทวดายังมีมารผจญ ยังมีคนนินทา ติเตียน ปุถุชนอย่างเราจะรอดพ้นจากโลกะธรรม ดังกล่าวแล้วไม่ได้ ต้องคิดเสียว่าเขาจะติ ก็ช่าง ชมก็ช่างไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือนเนื้อร้อนใจ ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่าไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราและคนอื่น เราจึงทำ เขาจะนินทาว่าใส่ร้ายอย่างไร ก็ช่างเขา บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ จะต้องไปกังวลกลัวใครติเตียน ทำไมไม่เห็นมีประโยชน์เปลืองความคิดเปล่า ๆ


ขอขอบคุณที่มา:เว็บพลังจิตดอทคอม

486
ขอบคุณครับ...ที่นำรูปมาให้ชม... :053:
สวยงามมากครับ :016: :015:

487
ขอบคุณครับ...ที่นำมาเสนอ...เป็นความรู้ดีครับ :016: :015:

488
ยินดีด้วยครับ...สำหรับงาแกะรูปหนุมาน...สวยงามและเข้มขลังมากครับ
ขอบคุณครับ...

489
ขออนุโมทนาในบุญกุศล...ครั้งนี้ด้วยครับ :053:
และขอขอบคุณที่นำภาพ...คุณใหญ่มาให้ชม :016:
ดูแววตา...แล้วคุณใหญ่มีความสุขที่ได้อยู่ที่วัดมากนะครับ :052:
สาธุ...ครับ :054:

490

ขอความร่วมมือสมาชิกตอบแบบสำรวจด้วยครับ
๑ ท่านรู้จักวัดบางพระได้อย่างไร
ตอบ ทราบจากการอ่านหนังสือพระเครื่องเล่มหนึ่ง ซึ่งได้ลงประวัติของหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เล่าเรื่องการสักยันต์และอิทธิบารมีของหลวงพ่อเปิ่น  อ่านแล้วทำให้รู้สึกศรัทธาและประทับใจรู้สึกอยากจะไปสักยันต์บ้าง

๒ เคยเดินทางมาที่วัดบางพระหรือไม่ ประมาณกี่ครั้ง
ตอบ เคยไปที่วัดบางพระประมาณ 6-7 ครั้ง

๓ ครั้งแรกที่ท่านมานั้นมีโอกาสได้พบหลวงปู่ เปิ่นตอนท่านยังดำรงค์ขันธ์ หรือเปล่า
ตอบ ได้มีโอกาสกราบหลวงปู่เปิ่นตอนที่ท่านยังดำรงค์ขันธ์อยู่และหลวงปู่ได้เป่าครอบยันต์ที่สัก... ฝีมือหลวงพี่ติ่ง
เมื่อปี 2531 :089:
๔ ท่านเคยสักยันต์ที่วัดบางพระหรือไม่ สักหมึก หรือน้ำมัน
ตอบ ได้สักหมึกครับ

๕ ท่านรู้จักเว็บบอร์ด วัดบางพระ ได้อย่างไร
ตอบ พี่ชายเป็นคนบอกให้ลองเปิดอ่านดูเกี่ยวกับบทความธรรมะ...

๖ ท่านอยากให้มีสิ่งใดเพิ่มเติมในบอร์ด วัดบางพระ
ตอบ เว็บบอร์ดวัดบางพระสวยงามมากครับ  :053:  คงจะไม่มีอะไรที่จะติติงครับ...
ก็ขอให้มีเว็บบอร์ดนี้ อยู่คู่กับพี่ๆน้องๆชาวเว็บวัดบางพระไปนานๆและได้มีการพบปะสนทนาออนไลน์
กันไปอย่างนี้ตลอดไปครับ  :114::090: :114:



#########ขอบคุณครับ############

491
ว๊า..โดนกับดักเหมือนกัน... 09; แต่ไม่เป็นไร
ของมันอยากดูดิ...อิ อิ  :095:

492
สวยงามครับ... :016:กราบนมัสการหลวงพี่ตูนด้วยครับที่เมตตา :054:
ขอบคุณครับ
:001:

493
สวยสดงดงามมากครับ...ขอบคุณครับที่นำภาพมาให้ชม   :016: :015:

494
เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้



คนเราที่จะอยู่อย่างดีนี้ จะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง
ถ้าใครรู้จักดำเนินชีวิต ชีวิตนั้นก็เป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้า
ประสบประโยชน์สูง


แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็น ก็จะมีแต่ขาดทุน และประสบแต่ความทุกข์ และความเสื่อม
ฉะนั้น จะต้องรู้จักดำเนินชีวิต หรือดำเนินชีวิตเป็น



ญาติโยมเอ๋ย โปรดทราบไว้เถอะว่า
บุญกรรมนั้นมีจริง บาปกรรมนั้นมีจริง ยมพบาลจดไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด

จดทุกวันคืออารมณ์ เรื่องจริงแน่ จดทุกกระเบียดนิ้ว บาปบุญคุณโทษ บันทึกเข้าไว้
ถ้าเราทำกรรมดี ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ทำชั่วก็ลงนรกไป



วันนี้ อาตมาขออนุโมทนาสาธุการส่วนกุศลที่ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล

เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง โดยเฉพาะด้วย การเจริญสติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม พิจรณาโดยปัญญา ตลอดกระทั่งยืน เดิน นั่ง นอน

จะคู้เหยียดขาทุกประการก็มีสติครบ รับรองได้เลยว่า ถ้าโยมทำถึงขั้น ปิดประตูอบายได้เลย



เพราะเหตุใด เพราะกิเลสทั้งหลาย โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น โยมก็กำหนด
ขณะมีโลภะก็กำหนดโลภะ โลภะก็หายไป

จิตวิญญาณตายขณะมีโลภะ ตายไปเป็นเปรต
กำลังมีโทสะตายไปขณะนั้นลงนรก
มีโมหะรวบรวมอยู่ในจิตไว้มาก ตายไปกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน

แต่ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ มีสติสัมปชัญญะดี อบายภูมิไม่ต้องไป
ปิดประตูนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทุกประการ



ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไว้แล้ว จงเป็นพลวปัจจัยย้อนกลับเป็นบุญกุศลให้แก่ญาติโยมทั้งหลาย

ประสบความสุขสันต์นิรันดรทุกท่าน และจงพยายามก้าวหน้าผ่านอุปสรรคถึงฝั่งฟากคือพระนิพพาน

โดยทั่วหน้ากัน ณ โอกาสนี้เทอญ

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม


ขอขอบคุณที่มา...http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28216

495



 คำขวัญวันเด็ก

          คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2553  "คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม"   คำขวัญของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่มอบให้กับเด็ก ๆ ทั่วประเทศเนื่องใน วันเด็ก 2553 นี้...




ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วน...วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

496

วัดบวรนิเวศวิหาร  บางลำพู  กรุงเทพฯ  ในห้วงเช้าอากาศครึ้ม  สายหมอกโปรยปรายบางเบา  จิตแจ่มใสมาก  และได้หวนระลึกถึงพระคุณของพระอาจารย์  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  พระองค์เป็นพระภิกษุที่สำรวมในจริยวัตรอันงดงามยิ่ง 
     ปีนี้พระองค์มีพระชนมายุ  ๙๖  ชันษาแล้ว  แต่ผิวพรรณบารมีของพระองค์ยังผ่องใสและเป็นที่ปีติยินดีแด่ผู้ที่ได้เฝ้ากราบอยู่เสมอ  พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งธุระในกิจการสงฆ์เลย  ให้ความสนพระทัยสม่ำเสมอ  แม้ในกาลปัจจุบันนี้ก็ยังทรงปฏิบัติของพระองค์อย่างเงียบๆ  เรียบง่ายเสมอมา  ทรงเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติกรรมฐานควบคู่กับการศึกษาทางด้านปริยัติธรรมมาแต่ครั้งเป็นพระหนุ่มเณร  ดังนั้น  จิตของพระองค์จึงมากด้วยอานุภาพอะไรบางอย่างที่น่าพิศวงนัก
      แต่เรื่องราวในห้วงทำนองนี้น้อยนักที่จะมีผู้ใดนำมากล่าวถึง  สิ่งที่นำมาเขียนเล่าสู่กันฟังในคราวนี้   ส่วนหนึ่งได้ฟังจากผู้ที่สนองงานพระองค์มาหลายสิบปี  หลายท่านหลายคน  ทั้งผู้ที่เป็นบรรพชิตและฆราวาส
     คงจำได้ข่าวใหญ่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับเมื่อหลายสิบปีก่อน  ไฟไหม้ที่บางลำพู  หลังวัดบวรนิเวศ  ซึ่งตรงนั้นชาวบ้านอาศัยกันอยู่อย่างเนืองแน่  ไฟได้เริ่มลุกขึ้นโหมแดง  เสียงรถน้ำของตำรวจหลายสิบคันมุ่งหน้ามาที่ซอยนี้  แต่ทว่ายังเข้าไม่ได้เพราะซอยเล็กมาก
     มีเรื่องเล่ากันว่า  ในวันนั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  ไม่มีภารกิจเสด็จไปไหน  เมื่อทรงทราบข่าวว่ามีไฟไหม้หลังวัด  ทรงดำเนินลงจากพระตำหนักมาทอดพระเนตรไปยังจุดที่เกิดเหตุอย่างจิตใจที่ตั้งมั่น  ไม่มีผู้ใดทราบได้ว่าพระองค์ทรงดำริอะไร  แม้แต่พระผู้ที่ติดตามในวันนั้น  นายตำรวจที่ติดตามในวันนั้นเองก็ไม่ทราบ
     แต่ความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมได้ปรากฏ  เมื่อพระองค์ละสายตาจากการทอดพระเนตรที่เพ่งมองด้วยจิตตั้งมั่นแล้วไม่ช้าไม่นาน  ไฟที่ลุกโชตินั้นค่อยๆ  สงบลงอย่างช้าๆ  ทีละน้อยทีละน้อย  ทั้งที่รถน้ำยังไม่ได้ทำการฉีดน้ำสักหยด
     ข่าวได้แพร่สะพัดไปอย่างอื้ออึงว่า  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จอธิษฐานจิตดับไฟหลังวัดบวรนิเวศ   เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่อาศัย  นี่ก็นับได้ว่าเป็นความอัศจรรย์ของอานุภาพแห่งธรรมอย่างหนึ่ง  ซึ่งจะปรากฏและมีได้ต่อผู้ที่มีศีลและธรรมอันบริสุทธิ์ 
     พระองค์เคยตรัสสอนเหล่าภิกษุนวกะบ้างพอสังเขปในเรื่องลักษณะเหตุแห่งธรรม  ทรงตรัสว่า  หากเรามีศีลบริสุทธิ์  มีสมาธิที่สงบ  จิตตั้งมั่นดีแล้ว  อะไรๆ  ก็ปรากฏเกิดขึ้นได้  สิ่งเหล่านั้นก็เป็นธรรมะชนิดหนึ่งเหมือนกัน
     ด.ต.ปัญญา  เกิดท้วม  ตำรวจในสังกัดกองปราบปราม  มีหน้าที่ถวายการอารักขาด้านการจราจร  ในการเสด็จสนองงานต่อพระองค์มาหลายสิบปี  เล่าให้ฟังว่า  ผู้ใดก็ตามที่ได้มากราบพระองค์แล้วจะมีความรู้สึกเป็นสุข  สงบ  และร่มเย็นในจิตใจเป็นพิเศษ  เชื่อเหลือเกินว่าคงเป็นเพราะอำนาจแห่งบารมีธรรมของพระองค์ท่าน    แม้วันนี้ก็ยังทรงเป็นผู้ที่บารมีธรรมอันยิ่ง  ทรงสุขภาพแข็งแรง  รับรู้เหตุการณ์ต่างๆ  ทั้งหลายอย่างดี  เพียงแต่ทรงเคลื่อนไหวพระองค์ช้าลง  คิดว่าเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุที่เป็นเหมือนๆ  กัน
     พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของพระภิกษุยิ่งนัก  ทรงแสดงออกถึงสิ่งที่เป็นไปตามพระธรรมวินัย  ในบางคราวทรงพบกับพระเถระที่มีพรรษามากกว่าแต่ทางด้านสมณศักดิ์น้อยกว่า  พระองค์ก็ทรงกราบพระเถระรูปนั้นโดยยึดถือตามหลักพระธรรมวินัย  ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติมากกว่าสมณศักดิ์  เรื่องราวปาฏิหาริย์แห่งสมเด็จยังมีอีกมาก  ซึ่งจะค่อยๆ  นำมาเล่าฝากคุณผู้อ่านต่อไปในโอกาสหน้า.

 
 ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล...โดย   ราช รามัญ  http://www.thaipost.net/tabloid/140209/239

497
กราบนมัสการหลวงพี่ครับ... :054:ดั่งที่เคยกล่าวไว้" ทำให้ดู อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แล้วก็ปล่อย " สอนธรรมะแบบไร้รูปแบบ
แต่ไม่ไร้สาระ สอนแบบที่ไม่ให้เขารู้ว่าเรากำลังสอน เพราะการพูดอย่างเดียวนั้นมันได้ผลน้อยมาก
ถ้าเราไม่ได้ทำอย่างที่เราพูด "ทำดีกว่าพูด"เพราะจะเป็นการพิสูจน์ในสิ่งที่พูดว่าทำได้หรือไม่..

ขอขอบคุณ...เรื่องราวคำสอนแฝงด้วยธรรมะดีๆของหลวงพี่...ครับ :090:

498

มีอยู่วันหนึ่ง อวัยวะทั้ง 5 ของคนๆ หนึ่ง เกิดทะเลาะกันขึ้น พูดกันคนละทีสองที ทะเลาะกันอย่างดุเดือด เริ่มแรกทั้งหมดต่างรุมกันว่า...ตา “แกวันทั้งวันไม่เห็นทำอะไรเลย แต่กลับมีโอกาสได้ชื่นชมวิวทิวทัศน์อันงดงามทั้งหลาย ช่างไม่ยุติธรรมจริง ๆ”
จากนั้นก็หันมาโจมตี...หู
“แกตลอดทั้งวันอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหว แต่กลับสามารถได้ยินเสียงอันไพเราะต่าง ๆ ทำไมพวกฉันถึงไม่มีโอกาสอย่างนี้บ้าง”
เสร็จแล้วก็เปลี่ยนเป้าหมายหันมารุมว่า..ลิ้น
“แกนะ นอกจากเวลานอนแล้ว ตลอดวันไม่ใช่กินก็คือดื่ม ได้ลิ้มรสชาติอันโอชะประดามีในโลก แต่พวกฉันแม้เพียงสิ่งที่ธรรมดาสามัญที่สุดก็ไม่มีโอกาสได้กิน”
ที่รู้สึกได้รับความยุติธรรมที่สุดคือ...มือ มือคิดว่าตัวเองต้องทำงานทั้งวัน มีผลงานมากที่สุด แต่กลับไม่มีโอกาสเสพสุขอะไรเลย
แต่ทว่า...ขา ไม่เห็นด้วยกับมือ ขาบอกว่า
“ถ้าพูดจริงๆแล้ว คุณูปการของฉันมากที่สุด ถ้าฉันไม่พาเดินไปยังที่ต่างๆละก็ มือก็ไม่เห็นจะสามารถทำงานอะไรได้มากมาย”
มือฟังคำพูดของขาแล้ว แม้ในใจจะรู้สึกไม่ยินยอมอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่รู้จะหาเหตุผลอะไรมาพูดดี ยิ่งคิดก็ยิ่งแค้น ในที่สุดอดรนทนไม่ไหวคว้ามีดขึ้นมา 1 เล่ม เริ่มด้วยการควักลูกนัยน์ตาออกมาก่อน อะไรๆก้มองไม่เห็นแล้ว สมแค้นไปอย่าง จากนั้นก็เฉือนใบหูลงมา อะไรๆก็ไม่ได้ยินแล้ว พอเสร็จแล้วก็เฉือนลิ้นออกมาด้วย พูดไม่ได้แล้ว ท้ายสุดก็ตัดขาทิ้งไปด้วย เดินก็ไม่ได้แล้ว
ผลสุดท้าย เนื่องจากบาดแผลสาหัสเกินไป คนๆนั้นจึงถึงแก่ความตาย แน่นอนมือก็ย่อมไม่มีสามารถมีชีวิตอยู่ไดโดยลำพัง
ท่านทั้งหลาย
คนทั่วไปในโลกเวลาได้รับความสุขสบาย ก็มักคิดว่าตนได้รับความสบายน้อยที่สุด แต่เวลาได้รับความลำบาก ก็มักคิดว่าตนได้รับความลำบากมากที่สุด และชอบเอาคนอื่นมาเปรียบเทียบกับตนอยู่ตลอดเวลา จริงๆสังคมในโลกไม่ว่าจะในครอบครัว ชุมชน บริษัท ร้านค้า ล้วนมีงานที่ต้องแบ่งหน้าที่กันทำทั้งสิ้น ถ้าทุกคนทำงานหน้าที่เดียวกันหมด สังคมนั้นก็คงอยุ่ไม่ได้ งานทุกหน้าที่ล้วนมีความสำคัญ เหมือนรถยนต์ทั้งคัน มีอุปกรณ์เป็นหมื่นเป็นแสนชิ้นแค่ยางรั่ว เบรคแตก สตาร์ทเตอร์ไม่ทำงาน หรือจะเป็นชิ้นส่วนใดก็แล้วแต่ สะดุดติดขัดขึ้นมาสักชิ้น รถทั้งคนก็รวนไปหมด
สังคมเราก็เช่นกัน งานทุกหน้าที่มีความสำคัญทั้งนั้น สะดุดติดขัดขึ้นมาสักอย่างก็รวนไปทั้งสังคม ทั้งองค์กรได้เช่นกัน ไม่ ใช่เรื่องที่เราจะมานั่งเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วนึกน้อยอกน้อยใจ พ่อจะมาอิจฉาลูกว่าไม่ต้องรับผิดชอบก็ไม่ถูก ลูกอิจฉาพ่อว่ามีอำนาจตัดสินใจมากกว่าตนก็ไม่ถูก ขอให้ทุกคนตั้งใจทำหน้าที่ของตนให้ดีและมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน สังคมองค์กรของเราก็จะเจริญก้าวหน้าไปได้ด้วยดี...

ขอขอบคุณที่จาก...เว็บพลังจิตดอทคอม

499
พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
 






วัดไผ่โรงวัว หรือ วัดโพธาราม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง วัดมีพื้นที่ทั้งหมด 248 ไร่ พื้นที่ของวัดแต่เดิมเป็นดงป่าไผ่ที่ชาวบ้านนำวัวมาผูกไว้ระหว่างทำนา ปัจจุบันภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปต่างๆ รูปหล่อพุทธประวัติ พระโพธิสัตว์ พระวิหารร้อยยอด เจดีย์ร้อยยอด สังเวชนียสถานจำลอง เมืองสวรรค์เมืองนรกจำลอง ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ทำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาอย่างสม่ำเสมอ






ประวัติพระโคดมพุทธเจ้า
พระโคตมพุทธเจ้า หรือที่นิยมเรียกว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ เป็นผู้สั่งสอนพระธรรมวินัยซึ่งต่อมาเรียกว่าพระพุทธศาสนา ในตำราพระพุทธศาสนาเถรวาท ถือว่าการเรียกพระพุทธเจ้าโดยออกนามโคตรนั้นเป็นการไม่เคารพ เช่น เรียกว่า พระสมณโคดม เป็นต้น ทำให้ในตำราพระพุทธศาสนาเถรวาทมักเรียกพระพุทธองค์โดยใช้ศัพท์ว่า สตฺถา ที่แปลว่า พระศาสดา แทน ปัจจุบันชาวพุทธนิยมเรียกพระโคตมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึง พระโคตมพุทธเจ้า นั่นเอง

เหตุที่ทำให้ต้องเรียกพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันโดยออกชื่อโคตรนั้น เพราะว่าในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถือว่าพระพุทธเจ้า หรือผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวงเองนั้น เคยมีมาแล้วในอดีตนับประมาณไม่ได้ การเรียกโดยระบุนามโคตรของพระองค์จึงเป็นการเจาะจงว่าหมายเฉพาะพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ (องค์ปัจจุบัน ซึ่งกำเนิดในโคตมโคตร) เท่านั้น

โดยตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานนับถือตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล

พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสผู้ทรงดำรงตำแหน่งแห่งศากยมกุฏราชกุมาร ของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาแต่ช้านาน มีพระนามแต่แรกประสูติว่า สิทธัตถะ หรือ สิทธารถ (/สิดทาด/) เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี พระพุทธโคดม พระโคดมพุทธเจ้า ทั้งนี้ ทรงออกพระนามพระองค์เองว่า "ตถาคต" แปลว่า พระผู้ไปดีแล้ว (คือทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว)




ขอขอบคุณข้อมูลจาก... วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

500
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น









ประวัติ
ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองนั้นสร้างเมื่อง 2,500 ปีที่แล้ว แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 สร้างโดยชาวมอญ ตามตำนานนั้นเริ่มจากว่า มีสองพี่น้องพ่อค้า 2 คน ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ามา พระองค์จึงประทานพระเกศามา 8 เส้น
พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้างจนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อพระเจ้าพินยาอู ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98 เมตรในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แผ่นดินไหวเล็กๆน้อยๆ เรื่อยมาทำให้พระเจดีย์นั้นได้รับความเสียหาย และเมื่อปี พ.ศ. 2311 (ในสมัยกรุงธนบุรี) ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างหนัก ทำให้ยอดของพระเจดีย์หักถล่มลงมา

รูปแบบการก่อสร้างบนยอดสุดของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ 5,448 เม็ด โดยเฉพาะชื้นข้างบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่ 72 กะรัต และทับทิม 2,317 เม็ด


พิธี
ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้งเมื่อมาถึงทางเข้า ให้เดินตามเข็มนาฬิกา ขึ้นอยู่กับดวงวันเกิดของผู้เข้าที่จะดูตาม 12 นักษัตร รอบๆพระเจดีย์ก็มีศาลเจ้าเล็กๆอยู่รายรอบ

• วันนี้มหาเจดีย์ชเวดากองมีทองคำโอบหุ้มอยู่เป็นน้ำหนักถึง 1100 กิโลกรัม โดยช่างชาวพม่า จะใช้ทองคำแท้ตีเป็นแผ่นปิดองค์เจดีย์ไว้รอบองค์ หากสังเกตในรายละเอียดจะเห็นรอบต่อของแผ่นทองคำ ซึ่งมิได้ผสานเป็นเนื้อเดียว แต่จะเป็นแผ่นๆ มาเรียกกัน ครั้งเมื่อแผ่นทองหมองคล้ำก็จะถอดหมุดแล้วแกะแผ่นทองออกมาขัดล้างปีละครั้งเป็นประเพณีสืบเนื่องกันมาตลอด

• สุวรรณฉัตร หรือทององค์ใหญ่บนยอดเจดีย์ชเวดากองเคยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเท่าที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่า 3 ครั้ง คือ ครั้งแรก ในปี พ.ศ.2317 รัชสมัยพระเจ้าฉินบูชิน ทรงถวายสุวรรณฉัตรองค์ใหม่ รูปทรงพม่า แทนองค์เดิมที่เป็นรูปทรงมอญ โดยโปรดฯให้ระฆังเงินระฆังทองและทองแดง รวม 600 ใบ และมีเพชรประดับโดยรอบด้วย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ต่อมาเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นเหตุให้สุวรรณฉัตร หักตกลงมา จึงมีการบูรณะครั้งที่สองในปี พ.ศ.2414 รัชสมัยพระเจ้ามินดง โดยทรงบริจาคพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างฉัตรใหม่ จนร่ำลือกันว่า ยอดฉัตรแห่งชเวดากองนั้นประดับประดาด้วยเพชรพลอยอัญมณีล้ำค่า คิดเป็นมูลค่ากว่า 62000 ปอนด์ ในสมัยนั้น โดยเฉพาะยอดเจดีย์ประดับระฆังใบเล็กถึง 5000 ใบ ครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2542 พุทธศาสนิกชนชาวมอญพม่าได้พร้อมใจกันเปลี่ยนสุวรรณฉัตรองค์ใหม่ ถวายพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาแห่งแหนมามืดฟ้ามัวดิน ร่วมทำบุญ ถวายปัจจัย บางคนถึงกับถอดแหวนเพชร สร้อยทองเครื่องประดับอัญมณีนานาชนิดประดับสุวรรณฉัตรองค์ใหม่ด้วยแรงศรัทธาสูงส่ง
รอบๆองค์พระเจดีย์ชเวดากองเป็นลานกว้างรองรับแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนได้จำนวนมาก บริเวณทางขึ้นทั้งสี่ทิศจะมีวิหารโถง สร้างด้วยเครื่องไม้หลังคาทรงปราสาท ปิดทองล่องชาดประดับกระจกทั้งหลัง ภายในประดิษฐานพระประธานสำหรับให้ประชาชนมากราบไหว้บูชา เพราะชาวมอญและชาวพม่าถือการกราบไหว้บูชาเจดีย์ชเวดากองเป็นนิตย์ จะนำมาซึ่งบุญกุศลอันเป็นหนทางสู่การหลุดพ้นทุกข์โศกโรคภัยทั้งมวล บ้างนั่งทำสมาธิเจริญสติภาวนานับลูกประคำ และบ้างเดินประทักษัณรอบองค์เจดีย์

• นอกจากนี้รอบองค์เจดีย์ยังมีพระประจำวันเกิดประดิษฐานทั้งแปดทิศรวม 8 องค์ หากใครเกิดวันไหนก็ให้ไปสรงน้ำพระประจำวันเกิดตน จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

• ทิศทั้งแปดของชาวพุทธ
ชาวพม่านับถือทิศทั้งแปดเหมือนกับคนไทย โดยรอบจักรวาลแบ่งเป็น 8 ทิศ ดังนี้คือ
วันอาทิตย์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีครุฑ
วันจันทร์ ทิศตะวันออก มีเสือ
วันอังคาร ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีสิงห์
วันพุธ (เช้าหรือกลางวัน) ทิศใต้ มีช้างมีงา
วันพุธ (เย็นหรือกลางคืน) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีช้างไม่มีงา
วันพฤหัสบดี ทิศตะวันตก มีหนู
วันศุกร์ ทิศเหนือ มีหนูตะเภา
วันเสาร์ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีพญานาค

• พระมหาเจดีย์ชเวดากองกับความในใจของคนไทย สำหรับคนไทยจำนวนมาก คิดว่าทองและเครื่องอัญมณีมากมายที่องค์พระมหาเจดีย์ชเวดากองคือสิ่งที่กองทัพพม่าลอกทองจากวัดวาอารามในกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สอง แล้วนำมาประดับองค์เจดีย์ชเวดากอง บางคนถึงกับตั้งใจเดินทางไปพิสูจน์ให้เห็นกับตาว่าเท็จจริงประการใด





ขอขอบคุณข้อมูลจาก... วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

                         และ... http://www.oceansmile.com/Phama/Chawedagong.htm

501
••••• พระรูปเขียนสี •••••
สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๙ พระองค์

 พระองค์ที่ ๑
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
พระนามเดิม : ศรี
พระนามฉายา : ไม่ปรากฏหลักฐาน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๒
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
พระนามเดิม : ศุข
พระนามฉายา : ไม่ปรากฏหลักฐาน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๓๗-๒๓๕๙
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๓
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
พระนามเดิม : มี
พระนามฉายา : ไม่ปรากฏหลักฐาน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๕๙-๒๓๖๒
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๔
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
พระนามเดิม : สุก
พระนามฉายา : ไม่ปรากฏหลักฐาน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๕
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๕
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
พระนามเดิม : ด่อน
พระนามฉายา : ไม่ปรากฏหลักฐาน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๘๕
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๖
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
พระนามเดิม : นาค
พระนามฉายา : ไม่ปรากฏหลักฐาน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดราชบุรณะ ราชวรวิหาร (วัดเลียบ)

พระองค์ที่ ๗
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรํสี)
พระนามเดิม : พระองค์เจ้าวาสุกรี
พระนามฉายา : สุวณฺณรํสี
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

พระองค์ที่ ๘
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺคโต)
พระนามเดิม : พระองค์เจ้าฤกษ์
พระนามฉายา : ปญฺญาอคฺคโต
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๕
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๙
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
พระนามเดิม : สา
พระนามฉายา : ปุสฺสเทโว
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๒
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๐
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
พระนามเดิม : พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ
พระนามฉายา : มนุสฺสนาโค
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๔
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๑
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
พระนามเดิม : หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท
พระนามฉายา : สิริวฑฺฒโน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๘๐
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๒
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
พระนามเดิม : แพ พงษ์ปาละ
พระนามฉายา : ติสฺสเทโว
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๑๓
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
พระนามเดิม : หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์
พระนามฉายา : สุจิตฺโต
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๑
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๔
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
พระนามเดิม : ปลด เกตุทัต
พระนามฉายา : กิตฺติโสภโณ
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๕
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
พระนามเดิม : อยู่ ช้างโสภา (แซ่ฉั่ว)
พระนามฉายา : ญาโณทโย
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๘
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

พระองค์ที่ ๑๖
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
พระนามเดิม : จวน ศิริสม
พระนามฉายา : อุฏฐายี
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๔
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๗
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
พระนามเดิม : ปุ่น สุขเจริญ
พระนามฉายา : ปุณฺณสิริ
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

พระองค์ที่ ๑๘
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
พระนามเดิม : วาสน์ นิลประภา
พระนามฉายา : วาสโน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

พระองค์ที่ ๑๙
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
พระนามเดิม : เจริญ คชวัตร
พระนามฉายา : สุวฑฺฒโน
ดำรงสมณศักดิ์ระหว่าง : พ.ศ. ๒๕๓๒-ปัจจุบัน
เสด็จสถิตย์ ณ : วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

 
ขอขอบพระคุณข้อมูลและภาพจาก...http://www.dhammajak.net ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ :054:

502
ประมวลภาพ “หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม”

วัดอรัญญวิเวก
ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม












หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่สิม พุทธาจาโร-หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร


(จากซ้ายมาขวา) หลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร วัดโรงธรรมสามัคคี,
พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล), หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
และหลวงปู่แว่น ธนปาโล ส่วนพระคุณเจ้าอีก ๑ รูปนั้นไม่ทราบนาม
























ลายพิมพ์หัวนิ้วมือขวาหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม


รูปหล่อหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม


รูปหล่อหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ประดิษฐาน ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม
ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


หลวงปู่หลวง กตปุญโญ-หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่แว่น ธนปาโล

 ภาพพระธาตุหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม








พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
วัดอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม




รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งขององค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก


พระอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก


บริขารขององค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
ภายในพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก


ขอขอบคุณที่มาของภาพ “หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม”
(๑) http://www.udon108.com/ ห้องพระ
(๒) http://www.palungjit.com/
(๓) http://www.phradunk.com/
(๔) http://www.doisaengdham.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 
 

503
สวยงามมากครับ...รู้สึกว่าในลิ้นชักของแม่จะมีของดีเยอะจริงๆ...อิ อิ :005:
ขอบคุณครับที่นำมาให้ชม...

504
ขอบคุณ...สำหรับเรื่องราวที่ไม่ค่อยจะมีคนรู้ของหลวงปู่ศุข...
ข้อมูลดีมากๆครับ...
ขอบคุณครับ :053:

505
เป็นภาพหลวงพ่อพัว เมื่อครั้งมีงานสมโภชครับ...









ท่านพระครูสถิตสันตคุณ (หลวงพ่อพัว เกสโร) ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งทางสงฆ์เป็นเจ้าคณะอำเภอ...


ขอขอบพระคุณภาพเก่าจาก...www.thakhanon.com ขอบพระคุณอย่างสูงครับ :054:

506
สวยงามมากครับ...ขอบคุณครับที่นำมาให้ชมกัน :016: :015:

507
ขอขอบคุณ...ท่านจ๊อบที่นำประวัติและภาพพระเครื่องมาให้ชม...
ขอบคุณครับ

508
ขอขอบคุณ...สำหรับภาพบรรยากาศที่วัดต่างๆ ที่นำมาให้ชม
ขอบคุณครับ :052:

509

ทางเข้าวัดปราการ



วัดอยู่ติดแม่น้ำพุมดวง

รูปหล่อพ่อท่านเชื่อม

ปัจจุบันสังขารของหลวงพ่อ...ยังคงอยู่ไม่เน่าไม่เปลื่อย...
 
พ่อท่านเอ็น  วัดเขาราหู ท่านก็เคยได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดปราการ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ ท่านพระครูสถิตสันตคุณ(หลวงพ่อพัว เกสโร) ซึ่งขณะนั้นปกครองวัดสถิตคีรีรมย์ อยู่


ขอขอบคุณภาพจาก...คุณ เผด็จ แซ่ลิ้ม
เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์สูงของชาวท่าขนอน อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฏร์ธานี ท้องที่นิยมมากเพราะมีประสบการณ์หลากหลาย เป็นเหรียญที่ ล.พ.พัว วัดบางเดือนปลุกเสก กล่าวกันว่าท่านปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้จนกระทั่งเหรียญที่บรรจุอยู่ในบาตรพระ กระโดดออกมาข้างนอกเลยทีเดียว... ซึ่งหลวงพ่อเชื่อมมีศักดิ์เป็นน้าของหลวงพ่อพัว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก...www.thakhanon.com

510
ขอเดาว่า...หลวงพี่โด่ง สมัยตอนหน่มๆที่เป็นฆราวาส

ขอบคุณครับ :054:

511
อลังการงานสร้าง..พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จ.ร้อยเอ็ด




พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน อำเภอหนองพอก ใกล้กันมีหน้าผาสูงชันซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า ผาน้ำย้อย
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้ รับการออกแบบให้เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลาง และภาคอีสาน เป็นการผสมผสานระหว่างพระปฐมเจดีย์ และพระธาตุพนม ออกแบบโดยกรมศิลปากร ตัวเจดีย์เป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วย สีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ ส่วนปลายยอดฉัตรทอง 9 ชั้น ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างจนถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น สามารถขึ้นไปได้ถึงแค่ชั้น 5 ส่วนชั้นที่ 6 และชั้นที่ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆัง และยอดฉัตรทอง ซึ่งแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้


ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ มีรูปปั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ก่อตั้ง


ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร ใช้เป็นห้องประชุมสงฆ์ขนาดใหญ่ รองรับพระภิกษุสงฆ์ได้ 2,000-3,000 รูป


ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปัน โน 101 องค์


ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมม ด้านนอกจัดเป็นที่สามารถชมทัศนียภาพได้รอบทิศ


ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ


ชั้นที่ 6 และ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆังและยอดฉัตร ไม่สามารถขึ้นไปได้

ปฐมเหตุการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล



สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฏราชกุมาร
เสด็จพระราชดำเนินไป พระมหาเจดีย์ชัยมงคลและกราบนมัสการพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)


ในวันรวมกฐินสามัคคีที่วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง)ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๒ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ หลวงปู่ศรี มหาวีโรได้ปรารภท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ว่า ท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุ มาเป็นกรณีย์พิเศษและท่านได้พิจารณาเห็นว่าครูบาอาจารย์สายอีสานผู้มีความรู้ระดับนักปราชญ์และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติ ที่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่ภาคอีสานมีเป็นจำนวนมาก น่าจะสร้างถาวรวัตถุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุ รูปเหมือนของครูบาอาจารย์เหล่านั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางและแหล่งความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนผู้มาศึกษาปฏิบัติบำเพ็ญสมถวิปัสสนากรรมฐานแก่ที่มาจากทิศต่างๆให้ได้รับความสะดวกที่จะศึกษาหาความรู้และจัดเป็นสถานที่สักการบูชา บำเพ็ญบุญกุศลของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ต่อมาได้มีการประชุมพระสังฆาธิการภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธรรมยุต) โดยมีสมเด็จพระมหามุนีวงค์ (สนั่น จันทปชฺโชโต) เป็นองค์ประธาน หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้นำเรื่องที่ได้รับพระบรสารีริกธาตุ เข้าปรึกษาหารือในที่ประชุม ที่ประชุมได้มีมติให้หลวงปู่ศรี มหาวีโรเป็นผู้นำในการก่อสร้าง และได้ลงความเห็นร่วมกันว่า ควรจะก่อสร้างเจดีย์ที่ผาน้ำย้อย บนภูเขาเขียว ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ประชุมมีเหตุผลร่วมกันว่า เมื่อมีการก่อสร้างเจดีย์ขึ้น หมู่คณะทั้งหมดในภาคอีสาน ๔ ภาค เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค และเจ้าอาวาสทุกวัดจะได้ใช้ประโยชน์จากสถานที่แห่งนี้ร่วมกัน ซึ่งมีความเห็นพร้อมให้เอาเจดีย์ที่ผาน้ำย้อยนี้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในภาคอีสาน เจดีย์นี้ก็เกิดขึ้นด้วยการลงมติของหมู่คณะสงฆ์ทั้งหมดในภาคอีสาน (หลวงปู่เองเคยปรารภไว้ว่า "คนคงไม่เข้าใจกันคงนึกว่าทางวัดสร้างเองแต่เรานั้นสร้างในนามของหมู่คณะนะ ไม่ทำเฉพาะในด้านพระพุทธศาสนาก็ทั่วกันไปหมด ใครได้สร้างประโยชน์ส่วนใหญ่ส่วนรวม จะเป็นบันไดหรือหนทางนำไปสู่ความสุขความเจริญ ผลของการกระทำทั้งหลายนี้มันจะกลับมาสู่ตัวเราทั้งนั้น ไม่ได้หนีไปทางอื่นทำให้คนอื่นจริงอยู่แต่มันจะกลับมาหาเรา การกระทำทุกอย่างก็เป็นผลประโยชน์แก่ตัวของเราเองนั่นแหละ ท่านไปอยู่ให้เกิดบุญกุศลเฉยๆ ฉะนั้นการกระทำเหล่านี้จะเป็นบันไดที่จะเดินไปสู่ความสุขชั้นสูง)

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุณีวงศ์(สนั่น จันทปชฺโชโต)จึงนำความขึ้นกราบทูล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกๆ ได้มีพระบัญชาให้หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) เป็นผู้นำในการหาสถานที่และการก่อสร้าง ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๐ ท่านได้ประชุมคณะกรรมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการก่อสร้างเจดีย์และให้เรียกเจดีย์นี้ว่า"พระมหาเจดีย์ชัยมงคล" และได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ กรมศิลปากรก็ได้ออกแบบมาให้ในลักษณะของศิลปผสมผสานของศิลปอีสานและศิลปไทยของภาคกลาง และได้เพิ่มเติมตามแนวคิดของ ดร.ภูเทพ สิทธิถาวร ซึ่งขณะนั้นยังบวชอยู่ว่าเจดีย์นี้ควรมีลักษณะภายในโล่งเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ภายในองค์เจดียืได้ดังที่ได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ สำหรับ ดร.ภูเทพ สิทธิถาวร ท่านนี้ คุณย่าจินตนา ไชยกูล ผู้เป็นมารดาซึ่งต่อมาได้เป็นมหาศรัทธานำพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันถวายเงินสร้างองค์พระมหาเจดีย์ เป็นผู้นำมาบวชกับหลวงปู่ศรี มหาวีโร และดร. ภูเทพฯ ก็ได้เทศนาโปรดมารดา จนคุณย่าจินตนา ไชยกูล ได้มองเห็นธรรม และได้ถวายปัจจัยกับหลวงปู่ศรี มหาวีโร 200,000 บาท

 

เพื่อเป็นการหาทุนในการก่อสร้างเบื้องต้น วัดต่างๆในสายธรรมยุตทั่วทั้งภาคอีสานจึงจัดให้มีการทอดผ้าป่าพระมหาเจดีย์ขึ้น โดยเป็นการร่วมใจของวัดและพุทธศาสนิกชนทั่วภาคอีสาน ๑๙ จังหวัด โดยจัดเป็นกองผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กองๆละ ๑,๐๐๐ บาท ได้ปัจจัยรวมทั้งสิ้น ๘๔ ล้านบาทเป็นทุนในการเริ่มต้นก่อสร้าง และได้จัดพิธีทอดผ้าป่าเป็นประเพณีตลอดมาทุกๆปี พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์และลงเสาเอกในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ มีความกว้าง ๑๐๑ เมตรยาว ๑๐๑ เมตร ความสูง ๑๐๙ เมตร สร้างในบริเวณเทือกเขาเขียวซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๒๔,๐๐๐ ไร่ โดยมีทางขึ้นอยู่ที่บ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เฉพาะวัดเจดีย์ชัยมงคล มีเนื้อที่ ๑๐๑ ไร่ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม บนหลังเขาซึ่งเป็นเทือกเขาเขียวมีสภาพเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ รอบภูเขามีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันคล้ายกำแพงธรรมชาติโอบล้อมไว้ วัดเจดีย์ชัยมงคล มีกำแพงล้อมวัดยาว ๓,๕๐๐ เมตร ซึ่งสมควรเรียกว่ากำแพงแห่งศรัทธา เพราะเป็นกำแพงที่รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแทบจะทุกหมู่เหล่า มาร่วมแรงและร่วมใจกันก่อสร้างถวายบูชาคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโรโดยมีพระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญฺโญ (หลวงพ่ออินทร์) เป็นผู้นำในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเริ่มลงมือก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๕๔๐ และมาแล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๕๔๖ ลักษณะของกำแพงเป็นกำแพงซึ่งก่อด้วยอิฐมวลผสมซึ่งใช้หินลูกรังบดผสมกับปูนซีเมนต์อัดเป็นก้อนอิฐ โดยใช้แรงงานของและความคิดของพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ผลิตก้อนอิฐทุกๆก้อน และพุทธศาสนิกชนซึ่งมีความศรัทธาในองค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นผู้มีส่วนร่วมในการผลิตและร่วมในการก่อสร้างโดยไม่คิดค่าตอบแทนเลย เป็นพลังศรัทธาของมวลชนทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง เมื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างของอาคารภายนอกและภายในองค์พระมหาเจดีย์แล้วเสร็จ ก็ได้ทำพิธียกยอดฉัตรทองคำซึ่งมีน้ำหนักทองคำรวมทั้งสิ้น ๔,๗๕๐ บาทขึ้นประดิษฐานไว้บนยอดของพระมหาเจดีย์ ต่อมาเมื่อทำการตกแต่งภายในของพระมหาเจดีย์ชั้นที่ ๖ แล้วเสร็จ ก็ได้ทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ชั้นที่ ๖ ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ ณ ชั้น ๖ นั้น มีถึง ๓ องค์ด้วยกัน องค์ที่ ๑ เป็นองค์ที่ พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ได้รับมาเป็นกรณีย์พิเศษ องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชของประเทศศรีลังกาได้มอบให้ โดยพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ได้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกาด้วยตัวของท่านเอง องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราชของประเทศศรีลังกาได้อัญเชิญมามอบให้ด้วยพระองค์เอง ในวันที่มีการทำพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่วัดถ้ำผาน้ำทิพย์ (วัดผาน้ำย้อย) และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ชั้นที่ ๖ ด้วยพระองค์เองด้วย นอกจากพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๓ องค์แล้วยังได้อัญเชิญพระอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ กระดูกกลายเป็นพระธาตุเป็นแก้วใสสีต่างๆ ประดิษฐานไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคลกับชีวิตสืบต่อไปอีกนานเท่านาน องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นเจดีย์องค์ใหญ่รายล้อมด้วยเจดีย์เล็กทั้ง ๘ ทิศ เรียงรายด้วยวิหารคดรอบองต์พระมหาเจดีย์ไว้อีกชั้นหนึ่ง รูปทรงพระมหาเจดีย์เป็นรูปทรง ๘ เหลี่ยมแบ่งเป็น ๖ ชั้นตามลำดับ ดังนี้ ชั้นที่ ๑ เป็นชั้นเอนกประสงค์มีรูปเหมือนองค์หลวงปู่ยืนเด่นเป็นประธานอยู่กลาง เป็นห้องโถง กว้างขวาง โอ่อ่า สำหรับการประชุมต่างๆ รอบฝาผนังด้านในจารึกนามผู้บริจาคสมทบทุนก่อสร้าง ชั้นที่ ๒ จัดเป็นห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่สำหรับประชุมปฏิบัติธรรมพระสังฆาธิการ หรือกาประชุมสัมมนาทั่วไป ชั้นที่ ๓ เป็นอุโบสถสังฆกรรม ประชุมสงฆ์ เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน พระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต ซึ่งเป็นรูปเหมือนสลักด้วยหินทราย ๑๐๑ องค์ ชั้นที่ ๔เป็นสถานที่ชมวิวรอบพระมหาเจดีย์ ด้านบนกรอบซุ้มหน้าต่างมีพระพุทธรูป ๔ปางยืนประจำทิศต่างๆ ชั้นที่ ๕ เป็นพิพิธภัณฑ์สถาน ไว้เก็บอัฏฐะบริขารของหลวงปู่ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมอยู่ ชั้น ๖ อยู่เหนือสุดบันได ๑๑๙ ขั้น เป็นห้องโถงรูประฆังทองคำ ๘ เหลี่ยม ๘ทิศ ตรงกลางห้องเป็นเจดีย์เล็กเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุองค์มิ่งมหามงคลของเจดีย์

 

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ทางพระมหาเจดีย์ชัยมงคลได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งวัดลงประกาศวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ลุล่วงไปกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว และได้เปิดให้สาธารณชนเข้ามาสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุได้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมาการก่อสร้างที่ผ่านๆมาได้ใช้งบประมาณไปหลายล้านบาท โดยได้รับมาจากการบริจาคตามจิตศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจากหลายประเทศ ปัจจุบันสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งพระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญฺโญ (หลวงพ่ออินทร์) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนี้ท่านเป็นผู้นำคณะศิษยานุศิษย์ในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์แทนองค์หลวงปู่ให้แล้วเสร็จเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อาจาริยบูชา ตามเจตนารมณ์ขององค์หลวงปู่ที่พาดำเนินมา เวลานี้หลวงปู่เองยังอาพาธอยู่ด้วยโรคชราโดยคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาธาตุขันธ์ท่านอยู่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันนี้ได้มีบุคคลบางกลุ่มแอบอ้างสร้างวัตถุมงคลเขียนชื่อของหลวงปู่ออกมามากมายว่าเป็นรุ่นนั้นรุ่นนี้ที่จริงแล้วไม่มีในปฏิปทาของครูบาอาจารย์กรรมฐานแต่เป็นการสร้างกันเอง

หลวงปู่ไม่เคยอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลหรือสร้างรูปเหรียญของท่านออกมาเพื่อหาเงินมาสร้างเจดีย์แต่อย่างใดส่วนมากมักจะแอบอ้างว่าเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดท่านเป็นคนสร้างขึ้นมา กลุ่มผู้ที่อ้างตนเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่บางกลุ่มยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าวแทนที่จะเร่งรีบประพฤติปฏิบัติตามปฏิปทาคำสอนของท่านกลับเร่งผลิตวัตถุมงคลออกมาดังกล่าว เพื่อรักษาระเบียบวัตรปฏิบัติปฏิปทาอันดีงามขององค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์แล้ว หากใครที่ยังเคารพศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ก็ขอให้หยุดการกระทำที่นำความเสื่อมเสียมาสู่คณะสงฆ์ส่วนใหญ่ดังกล่าวซึ่งที่ประชุมสงฆ์วัดประชาคมวนารามได้มีการประชุมใหญ่ในงานกฐินสามัคคีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ก็ได้มีมติสั่งห้ามออกไปแล้วก็ขอให้ความเคารพต่อมติสงฆ์ด้วย เพื่อความสะดวกเรียบร้อยและถูกต้องหากผู้มีจิตศรัทธาต้องการบริจาคโปรดติดต่อที่เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ชัยมงคลหรือใส่ที่ตู้บริจาคภายในบริเวณองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเท่านั้น และเพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่จะแอบแฝงเข้ามา อย่าได้หลงเชื่อหากมีผู้แอบอ้างไปตั้งตู้บริจาคตามสถานที่ต่างๆหรือขอรับบริจาคโดยไม่มีการขออนุญาตจากทางวัดได้ เพราะทางกรรมการการก่อสร้างของวัดไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดหรือคณะใดออกไปตั้งตู้รับบริจาคหรือรับบริจาคนอกสถานที่ ส่วนการบริจาคที่ถูกต้องนั้นจะได้รับใบอนุโมทนาจากวัดพระเจดีย์ชัยมงคลที่มีลายเซ็นต์เจ้าอาวาสวัดซึ่งจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมายเท่านั้น หากมีผู้ใดกระทำการรับบริจาคโดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางวัดดังกล่าว ทางกรรมการของวัดเจดีย์ชัยมงคลจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

ข้อปฏิบัติในการขึ้นไปนมัสการองค์พระมหาเจดีย์

ถอดหมวก ถอดรองเท้า
อย่าส่งเสียงดัง ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนเจดีย์
กรุณาอย่าจับต้องลวดลายต่าง ๆ
ไม่นำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ขึ้นไปรับประทานบนพระมหาเจดีย์
กรุณาทิ้งขยะในที่เตรียมไว้ให้
ห้ามจูดธูป-เทียนในองค์พระมหาเจดีย์
กรุณาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
ห้ามสูบบุหรี่ และเสพของมึนเมา
การเดินทาง

วัดเจดีย์ชัยมงคล (พระมหาเจดีย์ชัยมงคล) ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด 62 ก.ม.ไปทางอำเภอโพนทองและอำเภอหนองพอก ต่อไปยังบ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย และขึ้นเขาเขียวไปอีก 5 กม. ก็จะถึงวัดเจดีย์ชัยมงคลสถานที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก .. ร้อยเอ็ด ดอท บิส - พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
__________________

512





บูรณะวิหารเจอกรุพระนับพันองค์


     เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 30 ธ.ค. ที่วัดบ้านกร่าง หรือ วัดนิมิตรธรรมมาราม ต.บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีการพบพระเครื่องและพระบูชายุคเก่าเป็นจำนวนมาก หลังมีการรื้อวิหารเพื่อบูรณะใหม่ ทำให้ชาวบ้านใน ต.บ้านกร่าง และเซียนพระแห่มาดูพระพิมพ์อายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี ที่ทราบข่าวเดินทางมาตรวจสอบจำนวนมาก พบว่าภายในวัดกำลังมีการก่อสร้างบูรณะวิหารหลังเก่าทั้งหลัง จุดที่พบอยู่ใต้ฐานพระในวิหารหลวงพ่อคงหลวงพ่อมั่น มีพระพิมพ์เก่าแก่ มีขนาดแตกต่างกัน อยู่ในบาตรพระฝังไว้ใต้ฐานพระกว่า 1,000 องค์ เป็นพระที่ทำด้วยเนื้อตะกั่ว อาทิ พระโมคัลลาสารีบุตร พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน เงินพดด้วง และเหรียญกงจักรสมัยโบราณ สันนิษฐานว่ามีเป็นเหรียญในช่วงรัชกาลที่ 3 หรือ รัชกาลที่ 5


      พระอธิการเดชา ตปสีโล เจ้าอาวาสวัดนิมิตรธรรมาราม เปิดเผยว่า วัดบ้านกร่างเป็นวัดเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนบ้านกร่าง ปัจจุบันมีเนื้อที่ 30 ไร่ มีพระจำพรรษา 10 รูป ภายในวัดมีโบสถ์และวิหารที่เก่าแก่ตั้งอยู่กลางวัด จุดที่พบพระเก่า อยู่ใต้ฐานพระพุทธรูป ที่ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อคงหลวงมั่น ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารเก่าแก่ อายุ 200-300 ปี แต่เดิมหลังคามุงจาก เครื่องบนทำด้วยไม้ สมัย 70-80 ปีก่อน เกิดลมพายุพัดแรง หลังคาล้มลง เหลือพระพุทธรูปที่ประดิษฐานยืนโดดเด่นอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกพระพระพุทธรูปและวิหารว่า พลวงพ่อคงหลวงมั่น เพราะอยู่มั่นคง ต่อมามีการบูรณะใหม่ โครงสร้างหลังคาเป็นไม้มุงกระเบื้อง และถูกปลวกกินอีก ทำให้หลังคาทรุด กรรมการวัดเห็นว่าต้องทำการบูรณะหลังคาใหม่หมด และเปลี่ยนเป็นโครงสร้างด้วยเหล็ก ใช้กระเบื้องของเดิม คาดว่าใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท


ขอขอบคุณข้อมูลจาก...ข่าวสดออนไลน์


513



วัดถ้ำขวัญเมือง จ.ชุมพร  
วัดราษฏร์ - สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๑ 

วัดถ้ำขวัญเมือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๐/๒ หมู่ ๔ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นวัดสังกัดคณะธรรมยุต ภาค ๑๖ ตามทะเบียนเลขที่ ๑,๑๗๓

ประวัติเดิม ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ โดยมีกำนันขุนพรหมแก้ว ทองคำ และ ผู้ใหญ่สอน จันทร์แก้ว เป็นผู้ถวายที่ดิน พระธรรมรามคณี สุปรีชาสังฆปาโมกข์ (หนู อชิโต) วัดโตนด เจ้าคณะจังหวัดหลังสวน (ธรรมยุต) เป็นผู้รับมอบจำนวน ๒๐ ไร่ และไปสอบถามโยมลุงพรหม (ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่ออายุ ๙๗ ปี) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายยา อยู่ที่ตลาดสวี ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร พอได้เค้าว่าเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๔๓ นั้นมีเจ้าอาวาส (ผู้ดูแล) ๑ องค์ ชื่อ พ่อหลวงพันธ์ พุ่มคง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ แต่ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสอยู่กี่ปี ก็มีพ่อหลวงแดง ฉายา ชิตมาโร เป็นเจ้าอาวาส ๔ - ๕ ปี ต่อจากพ่อหลวงแดงมีพระมาจากไหนไม่ทราบ มาอยู่วัดถ้ำนี้มีชื่อมาตั้งแต่เดิม "วัดถ้ำขวัญเมือง" ไม่ได้ตั้งชื่อตามตระกูล ของตระกูลขวัญเมืองที่มีอยู่ ใกล้ๆวัดตระกูลนี้คงตั้งขึ้นภายหลังโดยเอาชื่อวัดมาตั้งเป็นชื่อสกุล

สมัยก่อนโบราณนั้นก็ใช้ถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยของพระเณร เพราะที่วัดนี้มีถ้ำอยู่มาก ตอนหน้าด้านทิศตะวันออก มีถ้ำใหญ่อยู่ ๑ ถ้ำและในถ้ำนี้ก็มีพระประธาน ที่สร้างขึ้นด้วย ปูนทรายปรากฏอยู่นาน พระประธาน นี้มีอยู่แล้วพร้อมกับ พระทรงเครื่อง ที่งดงามมากสูง ๑.๖๖ เมตร ๑ องค์ ปางห้ามสมุทรเนื้อโลหะล้วน และอีก องค์หนึ่งย่อมลงมา เป็นพระไม้ ปางประทับยืน และอีกองค์หนึ่ง เป็นโลหะเช่นเดียวกัน แต่เล็กกว่าตามลำดับสูงประมาณ ๑.๑๕ เมตร แต่เล็ก กว่าตามลำดับสูงประมาณ ๑.๑๕ เมตร เป็นเนื้อโลหะทองเหลืองปางห้ามญาติ

การปรากฏชัดของการเป็นวัดแน่นอนก็มาปรากฏขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙ กระทรวงศึกษาธิการโดยกรมการศาสนา แห่งกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือมาถึงวัดยืนยันว่า วัดถ้ำขวัญเมืองนี้ ทางกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๙ ถ้านับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นเวลา ๗๖ ปี (๒๕๒๖)





- พระประธานในพระอุโบสถ -
การอบรมกรรมฐาน

   วัดถ้ำขวัญเมือง เป็นวัดปฎิบัติกรรมฐานตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีพระครูภาวนาภิรมย์ ( หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโ ธ) ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ทองเชื้อ ฐิตสิริ ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ขาวอนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้การบริกรรมภาวนา กรรมฐาน ๕ เป็นหลักเป็นผู้บุกเบิก และเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานจนปัจจุบัน

   พระครูสุธรรมวีราจารย ์(พระอาจารย์สมใจ ธมฺมสโร) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ ได้ดำเนินการสืบทอดตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อสรวง ปริสุทโธ สอนสืบต่อมา

   วัดถ้ำขวัญเมือง ได้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๑ โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้รับรอง และสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะปฏิบัติหน้าที่สมเด็จี่พระสังฆราช ได้มอบประกาศให้ ณ วัดกษัตราธิราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา







วัดถ้ำขวัญเมือง ได้จัดอบรมการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ แก่ข้าราชการ, นักเรียน, นักศึกษาในจังหวัดชุมพร ในปี ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘ จำนวน ๖ ครั้ง และ วัดถ้ำขวัญเมืองยังได้เปิดอบรมกรรมฐานแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป



วัดถ้ำขวัญเมือง  ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
 


ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล...http://www.dhammathai.org

514
                         

      ประวัติ: หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม

      หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม อ.ท่าฉาง จ. สุราษฎร์ธานี


     หลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นันทสโร เป็นพระภิกษุที่เรืองวิทยาคมรูปหนึ่ง ท่านมีความรู้ทางด้านไสยศาสตร์มากมาย สามารถสร้างเครื่องรางของขลังได้มากชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างตะกรุด สามารถสร้างได้มากชนิด อนุภาพแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน ซึ่งท่านจะมีชื่อเรียกเป็น ชนิดๆไปตะกรุดประจำวัน คู่ชีพ มหาอุด พิชัยสงคราม ฯลฯ

     อีกประการหนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านไสยศาสตร์มาก เพราะในช่วงชีวิตของท่านนั้น ได้ติดตามพระอาจารย์ที่แก่กล้าวิทยาคมหลายรูปของเมืองสุราษฎร์ ออกธุดงค์เช่น หลวงพ่อนุ้ย สุวัณโณ วัดอัมพาราม หลวงพ่อสมุห์ทองพิมพ์ วัดหัวสวน เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปที่ผู้เขียนกล่าวนามมานั้น วิทยาคมท่านสูงส่งมาก

    ในช่วงชีวิตของหลวงพ่อแต่งนั้น ท่านได้ร่วมเดินทางธุดงค์ไปกับพระสมุห์ทองพิมพ์หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า ได้เดินทางติดตามไปยังสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ณ เมืองกุสินา ประเทศอินเดีย โดยใช้เวลาเดินทางเท้าเพียง ๑๕ วันเท่านั้น ซึ่งการเดินทางครั้งนั้น ได้ผ่านเมืองชุมพร มะริด ตะนาวศรี ย่างกุ้ง ยะไข่ แล้วจึงข้ามไปอินเดีย

     สาเหตุที่ใช้เวลาน้อยมาก ทั้งๆ ที่ต้องบุกป่าผ่าดง ก็เพราะอำนาจการย่นทางของอาจารย์ของท่าน คือ พระสมุห์ทองพิมพ์ นั่นเอง

     นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อแต่งท่านยังได้ธุดงค์ไปภาคเหนือ ไปสระบุรี เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท เป็นต้น

     ประวัตวัดนันทาราม
     วัดนันทาราม เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดใหม่ขี้ลม" เพราะตั้งอยู่ในกลางทุ่งนา ทำเลโพ้เพ้ มีลมจัด พระอธิการปาน อานันโท เป็นเจ้าอาวาส แต่ชรามาก ญาติพี่น้องจึงติดต่อ หลวงพ่อแต่ง ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง ตำบลคลอง อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ไปช่วยภาระการปกครองวัด ท่านรับรองและไปอยู่จำพรรษาตามที่ญาติวิงวอน

     เมื่อพระอธิการปาน อานันโทมรณภาพ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อแต่งจึงได้ยืนหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัด พระเทพรัตนกวี เพื่อเสนอขอเปลี่ยนชื่อวัด โดยใช้ฉายาของท่านเป็นเครื่องพิจารณา

    วัดนี้จึงได้รับการเปลี่ยชื่อจาก วัดใหม่ขี้ลม มาเป็น วัดนันทาราม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

    ในระยะแรกที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส สภาพของวัดยังเป็นป่าอยู่มาก ท่านได้เร่งรัดพัฒนาถึงสามทาง คือการศึกษาพระธรรมวินัยของพระเณร การวางแผนผังและปรับปรุงสภาพวัด การศึกษาประชาบาลของเยาวชนในท้องถิ่น แม้ท่านเองก็ศึกษาปริยัติธรรมควบคู่กันไปด้วย จนสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท ส่วนลูกศิษย์ที่ท่านสอนก็ปรากฏว่าสอบได้มากที่เดียว

      ประวัติหลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม

      หลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นันทสโร เดิมชื่อนายแต่ง นามสกุล สังข์เทพ เกิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาม ๒๔๒๓ ตรงกับ วันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ยี่ ปี มะโรง เวลา ๙.00 ที่บ้านน้อยสี่ หมู่ที่ ๓ ตำบท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาชื่อ นายกิม มารดาชื่อ นางแช่ม นามสกุล สังข์เทพ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๑ คน ชื่อนางชู แก้วชำนาญ ซึ่งเป็นพี่สาว

    เมื่อเยาว์วัย บิดามารดาได้ให้ศึกษาภาษาไทยในสำนักของสมุห์ทองพิมพ์ ภัททมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวสวน(วัดในแร่ว) หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จบความรู้อ่านออกเขียนได้ บิดามารดาก็ให้บรรพชาเป็นสามเณร

     ต่อมาได้ลาสิกขา กลับไปช่วยงานทางบ้าน ครั้งอายุได้ ๒๘ ปี จงได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดหัวสวน โดยมีพระครูพิศาลคณะกิจ(จ้วน) เป็นพระอุปชฌาย์ พระปลัดเกตุ เกสโร เป็นพระกรมวาจาจารย์ พระสมุห์นวล มณีโสภโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

      เมื่ออุปสมบทเสร็จแล้ว ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสนากรรมฐาน ศึกษาภาษาไทยจนจบหลักสูตรชั้นมูลสาม ทางราชการจึงได้ให้ช่วยสอนนักเรียนในโรงเรียนประชาบาล

     นอกจากศึกษาทางพระธรรมวินัย และวิชาภาษไทยแล้ว ท่านยังได้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ ในสำนักของพระสมุห์ทองพิมพ์ วัดหัวสวน ได้ติดตามไปธุดงค์ในดินแดนต่างๆมากมายหลายแห่ง

      นอกจากนี้ยังได้ไปศึกษากับพระครูธรรมปรชา วัดดอนยาง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และพระอาจารย์นาค วัดโคกขอย จังหวัดพัทลุง แล้วกลับมาศึกษาอยู่ในสำนักของพระอธิการนุ้ย สุวัณโณ วัดอัมพาราม(วัดม่วง) อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งหลวงพ่อนุ้ย รูปนี้ท่านเก่งวิชาอาคมมากมาย หากพิจารณาประวัติแล้วก็ต้องยกให้ท่านอยู่ในระดับปรมาจารย์ทางไสยศาสตร์เลยที่เดียว

      นอกจากนี้ วิชาการแพทย์แผนโบราณ ท่านก็สนใจศึกษา จนมีความรู้ในวิชาเหล่านี้เป็นอย่างดี

      ส่วนความรู้พิเศษที่สนใจคือ การเขียนคำกลอนประเภทต่างๆ หนังตะลุง ทั้งในและนอกจังหวัดได้จดจำไปใช้ในการแสดง แม้ลูกศิษย์ที่เป็นหนังตะลุงยังปรากฎอยู่ในเวลานี้ก็หลายคน

      ส่วนงานด้านการปกครอง ท่านได้รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง เป็นเวลา ๓ ปี ท่านได้วางแผนผังวัดได้อย่างงดงามมาก

     ผลงานทางวัตถุ ในวัดนันทารามมีมากมาย อาทิ อุโบสถ ศาลาการเปรียญหลังเก่าและใหม่ กุฏิพระลูกวัด กุฏิเจ้าอาวาส หอฉัน

     นอกจากนี้ก็ได้ช่วยสร้างโรงเรียนประชาบาลทั้งในวัดนันทาราม และโรงเรียนบ้านท่าแซะ ทางด้านสงคมก็จัดสร้างสะพานข้ามครองห่อ พร้อมกับพระครูประนม ปภัสสโร การอนุเคราะห์ประชาชนผู้เจ็บไข้ด้วยยาก็มีอยู่เป็นประจำเพราะท่านเป็นแพทย์แผนโบราณด้วย

     หลวงพ่อได้ถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๔ สิริอายุ ๑๐๐ ปี ๖ เดือน ๘ วัน

     อภินิหารหลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม

     สำเร็จวิชานะปัดตลอด ปรากฏกายใหญ่ผิดปกติจนหัวจรดเพดานกุฏิ สร้างตะกรุดมากชนิดต่างก็มี อานุภาพแตกต่างกัน

    ในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ว่าจะเป็นวัดใดเป็นผู้จัดก็ตามทีพระภิกษุที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกนั้น จะต้องมีหลวงพ่อแต่งเสมอ จนเกือบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีพิธีปลุกเสกใหญ่ๆ ครั้งใดในสุราษฎร์ธานี ที่จะขาดหลวงพ่อแต่งนับแต่กิ่งพุทธกาล ความจริงแล้วท่านได้รับการนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกมานานนับหลายสิบปีแล้ว จนกระทั่งมรณภาพ

   ในด้านอภินิหารเท่าที่ทราบ เช่น

   ๑ สำเร็จวิชานะปัดตลอด โดยเหตุที่ ประวัติของหลวงพ่อแต่ง ท่านได้ไปศึกษาวิชาไสยศาสตร์จาก หลวงพ่อนุ้ยวัดอัมพาราม อำเภอท่าฉาง ผู้เขียนจึงได้เดินทางไปสืบเสาะประวัติของ หลวงพ่อนุ้ย ที่วัดอัมพารามด้วย

    ได้เรียนถามเจ้าอาวาสถึงวิชาต่างๆที่หลวงพ่อแต่งไปเรียนสำเร็จอะไรบ้าง และอภินิหารอะไรบ้าง

    ได้รับคำตอบจากเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันว่าเท่าที่หลวงพ่อแต่งเคยแสดงให้ท่านเห็น ก็มีวิชานะปัดตลอด โดยเอาต้นกล้วยตัดเป็นท่อนๆกองสูงเป็นพะเนิน จากนั้นก็ใช้หมึกเขียนที่ต้นกล้วยท่อนบนสุดเป็นตัว นะ เมื่อยกท่อนกล้วยแต่ละท่อนออกตรวจดู ปรากฏว่า ทุก ท่อนจะมีตัวนะอยู่ด้วย

    ๒.ปรากฏกายใหญ่ผิดปกติจนหัวจรดเพดานกุฏิ

    นายเฟือม พลภักดี ครูโรงเรียนวัดนันทารามได้กรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ในงานฝังพัทธเสมา วัดนันทาราม เมื่อหลายปีมาแล้ว นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ก้าน แก้วสุพรรณ ได้เปิดการแสดงในงานวัดด้วยปรากฏว่าในช่วงที่ก้าน แก้วสุพรรณ ขึ้นกุฏิไปนมัสการท่านนั้น ก้านได้เห็นตัวของหลวงพ่อแต่งขยายใหญ่จนหัวจรดเพดานกุฏิ

    ข่าวนี้จึงแพร่ขยายวงออกไปอย่างกว้างขวางเรื่องนี้ผู้เขียนไม่ยืนยัน เพราะไม่มีโอกาสสอบถามจากปากคำของก้าน แก้วสุพรรณเอง เรื่องนี้มีคนร่ำลือกันมาก เพราะมีข่าวคนพบเห็นว่าท่านแสดงหลายคน แต่ไม่สามารถสืบเอาต้นข่าวได้

     วิชาขยายตัวนี้คาดว่า คงจะเรียนจากหลวงพ่อนุ้ย เพราะสมัยหลวงพ่อนุ้ยมีชีวิต วันไหนท่านสบายใจ ก็ฝึกวิชาขยายใหญ่จนตัวติดเพดานแล้วร้องบอกว่า ตัวใหญ่ออกประตูกุฏิไม่ได้แล้ว

    ๓. สร้างตะกรุดมากชนิดต่างก็อานุภาพแตกต่างกัน หลวงพ่อแต่งได้สร้างตะกรุดมากชนิด เช่น ตะกรุดคู่ชีพ ตะกรุดประจำวัน ตะกรุดพิชัยสงคราม อานุภาพแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน

    ผู้เขียนได้เคยไปให้ท่านทำตะกรุดให้ขณะนั้นท่านป่วย ผู้เขียนได้ให้ท่านเขียนตะกรุดคู่ชีพให้ด้วยทราบว่าตะกรุดชนิดนี้อานุภาพสูงมากที่สุด

   ท่านบอกว่า ขณะนี้ป่วย กระแสจิตไปถึงขั้นที่จะปลุกเสกตะกรุดชนิดนี้ให้ได้ จิตขณะนี้ปลุกเสกได้เพียงแค่ตะกรุดพิชัยสงครามเท่านั้น

   เสร็จแล้วท่านก็หยิบตะกรุดพิชัยสงครามซึ่งท่านได้ปลุกเสกคืนก่อนวันผู้เขียนจะไปที่วัดในขณะนั้นมีคนป่วยมารับการรักษาอยู่กับท่านที่ในกุฏิ เพราะถูกคุณไสย์ ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อคืนผมนั่งดูหลวงพ่อแต่งปลุกเสกตะกรุดชุดนี้เห็นกระเด็นเหมือนคั่วข้าวตอก กระเด็นลอยสูงประมาณเมตรเศษ

    ประสบการณ์ตะกรุดของท่าน เท่าที่ฟังมาจะปรากฏผลด้านมหาอุตม์เป็นหนึ่งตามด้วยคงกระพันชาตรี ทราบว่า พ.ต.ต.สลับ อนุฤทธิ์ อดีต สวญอำท่าฉาง ได้นำไปใช้ติดตัว ในคราวไปปราบฝิ่นในภาคเหนือ ปรากฏผลทางด้านแคล้วคลาดดีมาก จนมีหนังสือไปแนะนำให้ลูกน้องเก่าหาไว้ใช้ติดตัวกันบ้าง

    ๔. ปลุกเสกเขี้ยวเสือโดดจับเนื้อ เจ้าของและโชเฟอร์รถเมล์เบอร์๖๙สายพุนพินบ้านดอน ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า นายสุนทร ดัดศร โชเฟอร์คิวรถแทกซี่บ้านดอน-หลังสวนกับ นายต่วน โชติชุติ โชเฟอร์คิวรถแทกซี่บ้านดอน-ท่าข้าม ได้นำเขี้ยวเสือแกะแล้วทำพิธีปลุกเสกต่อหน้าที่ทันที ปรากฏว่าเขี้ยวเสือกระโดดขึ้นไปจับเนื้อ
วัตถุมงคล หลวงพ่อแต่ง วัดนันทาราม...

 หลวงพ่อได้ออกวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังต่างๆหลายชนิด เช่นตะกรุดแบบต่างๆสาลิกาหลงรัง ผู้หญิงนิยมใช้กันมาก รูปเหมือนและเหรียญรุ่นต่างๆดังนี้

    ๑ รูปเหมือน

     เป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรพาดสังฆาฎิ ที่ฐานด้านหน้าจะปรากฏตัวหนังสือว่า หลวงพ่อแต่ง เนื้อทองเหลืองลงหิน ใต้ฐานจะมีรอยทองเหลืองอุด แล้วตะไปแต่ง จากนั้นก็จารยันต์นะอุณาโลมลงที่ก้อนทองเหลืองที่อุดก้นขนาดความสูงประมาณ๒.๗ซม.ปีที่ สร้าง พ.ศ.๒๕o๕

   ๒ เหรียญรุ่นต่างๆ
   เหรียญของท่านออกทั้งหมด ๔ รุ่นด้วยกันคือ...

   รุ่นที่ ๑
   ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ หน้าตรงห่มจีวร พาดสังฆาฏิ ด้านล่างมีอักษรว่าหลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นนทสโร ส่วนหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า มีอักษรขอม นะ โม พุทธา ยะ แล้วชักยันต์พระภควัมบดี ๔ทิศ ล้อมรอบด้วยเลขไทยตั้งแต่1-9ส่วนด้านล่างมีอักษรปรากฏว่า วัดนันทาราม อ .ท่าฉาง จ. สุราษฎธานี บรรทัดล่างสุดเขียนไว้ว่า 1 มค 05 เป็นเหรียญหูในตัว เนื้อโลหะทองแดงรมน้ำตาลและอัลปาก้า

    รุ่นที่ ๒

    เป็นรูปหลวงพ่อหันข้างครึ่งองค์ ด้านล่างปรากฏอักษรว่าหลวงพ่อพระสมุห์แต่ง นนทสโร ส่วนด้านหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า มีอักขระขอมว่า นะ โม พุท ธา ยะ แล้วยันต์พระภควัมบดี๔ทิศ ล้อมรอบด้วยตัวเลขไทยตั้งแต่๑-๙ส่วนด้านล่างบรรทัดแรกเขียนว่า วัดนันทาราม บรรทัดที่๒เขียนว่า อ .ท่าฉาง จ. สุราษฎร์ธานี บรรทัดที่สามเขียนว่า๒๕๑๔ซึ่งเป้นพ.ศ.ที่สร้างเป็นเหรียญหูในตัว เนื้อโลหะอัลปาก้าและทองแดง

   รุ่นที่ ๓ มี ๒ บล็อก
   บล็อกแรก เป็นรูปหลวงปู่แต่งนั่งเต็มองค์ ใบหน้าของหลวงปู่ดูเกร็งจนใบหน้าและคางเบี้ยวเส้นคอตึง นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หัวแม่มือทั้งสองจรดกัน หลวงปู่ห่มจีวรเฉียง พาดสังฆาฏิ ล้อมรอบด้วยอักษรขอม ทั้งด้านข้างซ้าย ขวา และล่าง ด้านล่างสุดปรากฏหนังสือว่าหลวงปู่แต่ง นนทสโร ขอบเหรียญยกนูนเป็นรูปเกลียวเชือก ส่วนด้านหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า จารึกอังษรขอมว่า นะ โม พุทธ า ยะ ล้อมรอมด้วยตัวเลขไทย๑-๙ ส่วนด้านบนสุดก็เป็นหัวใจพระคาถาจารึกเป็นอักษรขอม ด้านล่างเขียนว่า รุ่นพิเศษหนึ่งเก้า วัดนันทาราม สุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งดอกจัน ๒ดอก ด้านหนังและหลังข้อความ เนื้อทองแดงรมดำ

    บล็อกที่สอง เป็นรูปหลวงปู่นั่งตะแคงข้ามทั้งลำตัวและศีรษะ ในลักษณะเอียงซ้าย ไหล่ซ้ายสูงกว่าขวา เป็นรูปเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ มือวางในแบบชราธรรมทั้งสองข้าง พระคาถาเป็นอักขระขอมเหมือนกันกับบล็อกแรก

    ส่วนด้านล่างเขียนว่า หลวงปู่แต่ง นนทสโร ส่วนด้านหลังอักขระพระคาถาและเลขยันต์ต่างๆ ตลอดจนข้อความเหมือนบล็อกแรกทุกประการเนื้อโลหะ เท่าผู้เขียนพบเห็นก็มีเนื้อทองแดงรมน้ำตาล

    รุ่นที่ ๔

    เหรียญรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ ลักษณะเหรียญเป็นรูปเสมา ขอบเหรียญยกเป็นเส้นนูน ประดับด้านลายกนกโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปหลวงพ่อหน้าตรง ห่มจีวรเฉียง พาดสังฆาฎิ ด้านล่างเขียนว่า หลวงปู่แต่ง นนทสโร ส่วนที่ฐานเขียนว่าที่ระลึกอายุครบ ๑oo ปี

     ด้านหลังเป็นยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า ลงพระคาถาไว้ในยันต์สี่เหลี่ยมว่า นะ โม พุทธ า ยะ และมียันต์พระภควัมบดีสี่ทิศ ล้อมรอบด้วยตัวเลขไทย ๑-๕ ด้านล่างบรรทัดแรกเขียนว่า วัดนันทาราม บรรทัดที่สอง ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง บรรทัดที่สาม จ.สุราษฎร์ธานี บรรทัดที่สี่ ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นปี พ.ศ. ที่จัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญหูในตัว มีทั้งเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองแดงรมดำ

     ประสบการณ์วัตถุมงคลของหลวงพ่อแต่ง เท่าที่ฟังๆ มา มักจะเด่นด้านมหาอุตม์ และคงกระพันตามด้วยแคล้วคลาด อย่างเช่น กรณีของ พ.ต.ต. สลับ อนุฤทธิ์ เป็นต้น

     วิทยาคมด้านมหาอุตม์ของท่าน เคยมีชาวต่างชาติจะไปขอลอง หลวงพ่ออนุญาตให้ลองได้ แต่มีข้อต่อลองว่า เมื่อท่านได้ทดลองแล้ว หากปืนยิงไม่ออก จะต้องสร้างกำแพงปิดล้อมวัดนันทาราม ปรากฏว่าบุคคลคณะนั้นได้หายสาบสูญไปเลยไม่กล้าที่จะเสี่ยงทดลองของของท่าน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.zoonphra.com

 

515


ปฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (พันธ์ อินทผิว)

ปฏิจจสมุปบาท
(“การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน”)
 

เมื่อไม่มี อวิชชา (การไม่รู้)
สายโซ่ซึ่งยังให้เกิดทุกข์ก็ขาดสะบั้นลง
เพราะการรู้เข้าไปแทนที่

เธออาจจะเคยได้ยินมาว่า

พระพุทธเจ้าทรงตัดผมของพระองค์เพียงครั้งเดียว
และผมของพระองค์ก็ไม่ขึ้นมาอีกเลย

ข้อนี้เป็นปริศนาธรรม

เมื่อผมถูกตัดออกไป
มันไม่อาจจะกลับมาติดได้ดั่งเดิม

ข้อนี้ฉันใด การตัดอวิชชาออกไปอย่างเด็ดขาด
โดยที่มันไม่อาจจะหวนกลับมาได้อีก ก็เป็นฉันนั้น

นี้กฏตายตัวของธรรมชาติ
ดุจดั่งเชือกที่ขึงตึงไว้กับเสาสองต้น
เมื่อเราตัดให้ขาดออกจากกันที่ตรงกลาง
ก็ไม่อาจกลับมาผูกติดกันได้อีก

เมื่อเราเห็นมาถึงจุดนี้เราจะรู้ว่า
ภาวะเช่นนี้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในคน

แล้วทำไมมันจึงกลายเป็นเรื่องที่ยากเย็น
มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่าย
มันเป็นสิ่งที่ทั้งยากและง่าย


ขอขอบคุณที่มา...บางตอนจาก : “แด่เธอ...ผู้รู้สึกตัว"
( โดย หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ, หน้า ๓๓)

516
ธรรมะ / เหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บ...
« เมื่อ: 04 ม.ค. 2553, 10:33:03 »
เหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บ 


 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสสาเหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บว่า หลัก ๆ แล้วมีอยู่ 8 สาเหตุ
ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการหลีกเลี่ยง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ที่จะเกิดขึ้น คือ

1. โรคเกิดแต่ดีให้โทษ
2. โรคเกิดแต่เสมหะให้โทษ
3. โรคเกิดแต่ลมให้โทษ
4. โรคเกิดแต่ทั้งดี เสมหะ และลมให้โทษ

โรคอันเกิดจากเหตุ 4 ประการแรก เป็นสาเหตุมาจากขาดความระมัดระวัง หรือ ประมาทในการใช้ปัจจัย 4 อาจบริโภค หรือ ใช้สอยไม่ถูกวัตถุประสงค์ ใช้ไม่ถูกวิธี หรือไม่รู้จักประมาณ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง หรือมีโรคแทรกซ้อนได้

5. โรคเกิดแต่ฤดูแปรปรวน คือ ไม่ศึกษาธรรมชาติของร่างกายของตนเอง ประมาทว่าร่างกายนี้จะคงทน และไม่ระมัดระวัง ในการเลือกใช้ปัจจัย 4 ให้เหมาะสมในคราวฤดูเปลี่ยนแปลง
6. โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ กล่าวคือ ร่างกายมนุษย์นี้ เรียกเต็มๆ ว่า สรีระยนต์ คือจะปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ในอิริยาบถหนึ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้
7. โรคเกิดแต่ความเพียร คือ การเผลอใช้ร่างกายหักโหมเกินกำลัง
8. โรคเกิดแต่วิบากกรรม คือ โรคอันเกิดจากผลกรรมชั่วในอดีต ที่ตนเคยทำไว้ตามมาทัน ซึ่งเป็นโรคที่ยากจะแก้ไขใดๆ ได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่หมดหนทาง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้ทางผ่อนหนักให้เป็นเบา คือ

8.1 เมื่อยังทำอะไรไม่ได้ ก็ให้ทำใจยอมรับความจริง
8.2 ให้ตั้งใจสร้างบุญใหม่ทุกชนิด ให้เต็มกำลังความสามารถ อำนาจแห่งบุญ หากอกุศลกรรมไม่มาก โรคย่อมหายได้ แม้ไม่หาย ก็จะผ่อนคลายทุกขเวทนาลง แม้ที่สุด ถึงคราวต้องตาย ก็มีสุขคติเป็นที่ไป 

ขอขอบคุณที่มา... จากหนังสือ สุขภาพนักสร้างบารมี

517


“เข้าใจ”และ “ใช้เป็น”

การมองคนออก หรือการเข้าใจคนมิใช่เรื่องง่ายๆ
การมองคนนั้นจะต้องเข้าใจทั้งภายนอกและภายในของเขา
จะต้องมองให้เข้าใจทั้งข้อดีเด่นและข้ออ่อนด้อยของเขา
จะต้องเข้าใจทั้งด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษของเขา
ทั้งยังจะต้องคาดการเปลี่ยนแปลงของเขาได้อีกด้วย

การใช้คนให้เป็นมิใช่เรื่องง่ายๆ
จะต้องคะเนความสามารถของเขาอย่างถูกต้อง
ต้องเลือกจุดดีหลีกเลี่ยงจุดด้อย
ต้องรู้จักเปลี่ยนสิ่งที่ไร้ค่าให้เป็นสิ่งที่มีค่า
ขุดศักยภาพให้ถูกจุด ปั้นดินให้เป็นดาวได้

“สตรีจะโอนอ่อนให้กับผู้ที่เลี้ยงดูนางให้ผาสุกได้
ชายชาตรียอมสละชีวิตเพื่อคนที่รู้ใจ”

แล้วใครเล่าจะรู้ใจใคร
ตรงนี้คือเคล็ดลับของความสำเร็จของชีวิต
ไม่มีบุคคลใดไต่เต้าบันไดชีวิตขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยว
ไม่มี่ใครทำงานคนเดียวได้
ทุกกิจกรรมเราล้วนต้องใช้คนอื่นช่วย

ใครเข้าใจคน และใช้คนเป็น เขาย่อมก้าวขึ้นได้สูง
ไม่ว่าเราจะมีความสามารถร่ำเรียนเก่งกาจปานใด
แต่ในการงานเราต้องใช้คนอื่นด้วยแน่นอน
เพื่อบรรลุความปรารถนา ความมุ่งหมายในชีวิต
เราต้องร่วมมือกับอื่น ใช้คนให้เป็น
เราพึ่งเขาก้าวขึ้นบันได
และก็ให้เขาพึ่งเราก้าวขึ้นบนบันไดได้ด้วยเช่นกัน

การรู้จักใช้คนเป็น เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำ
เป็นขั้นแรกแห่งความสำเร็จ
แต่ก่อนจะใช้คนได้ ก็ต้องรู้จัก “พิเคราะห์” เป็นเสียก่อน

เจียงไท่กง กุนซือคนสำคัญที่ทำให้ จิวบุ๋นอ๋อง และจิวบู๋อ๋องโค่นล้มทรราชย์ติวอ๋องลงได้
ก่อนที่จิวบุ๋นอ๋องจะมาพบ
เขาเร้นกายนั่งตกปลาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอุ้ยซุย ดูดั่งคนอนาถา....

ขงเบ้ง กุนซือของเล่าปี่
วีรบุรุษสามก๊กเร้นกายอยู่เชิงเขาโงลังกั๋งแดนลำหยง
ใช้ชีวิตสมถะทำไร่ไถนา
พวกเขามิได้อยู่อย่างสิ้นหวัง
แต่อยู่อย่างรอคอยจังหวะโอกาส

มังกรย่อมอยู่น้ำลึก มุกดาซ่อนอยู่ในหอยก้นทะเล
อัญมณีซ่อนอยู่ในเปลือกหอยอัปลักษณ์
ของมีค่าจะเป็นต้องลงทุนลงแรงค้นหา จึงจะได้มา

บุคคลที่มีค่า ต้องไปค้นหา
มีปัญญาพิเคราะห์มองคนออก
และลงทุนลงแรงแสวงหามา
ต้องพิเคราะห์คนเป็น จึงจะหาคนเข้ามาช่วยได้

แต่การรู้จักพิเคราะห์คนอย่างเดียว ก็ยังไม่แน่ว่าจะใช้คนได้เป็น

ในเรื่องไซ่ฮั๋น ฌ้อปาอ๋อง (ฉู๋ป๋าหวาง)
ก็เคยเคารพนับถือ ฟามเจ้ง (ฝ่าเจิ้ง) เลิศปัญญา
แต่แล้วฌ้อปาอ๋องกลับไม่ฟังคำแนะนำของ ฟามเจ้ง

ฌ้อป๋าอ๋อง รู้ดีว่า ตันเผง ฮั่นสิง แพอวด มีความสามารถระดับขุนพล เก่งทั้งบุ๋นและบู๊
แต่เขาก็ไม่ให้ยศศักดิ์
ไม่ช่วงใช้ให้สมกับความสามารถ
สุดท้ายจึงไม่มีคนเก่ง
สุดท้ายจึงไม่มีคนเก่งคนชั้นยอดเหลืออยู่ในกองทัพอีกเลย

จุดจบของคนที่ใช้คนไม่เป็นอย่างฌ้อปาอ๋อง
ก็คือต้องเชือดคอตายอย่างเดียวดายริมฝั่งน้ำ

การรู้จักพิเคราะห์คนเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของการใช้คนเป็น
แต่มิใช่ปัจจัยเดียวสำหรับการใช้คน
การมองคนออกนั่นเป็นจุดเริ่มต้น
แต่การใช้คนเป็นต้องมีอะไรๆอีกหลายประการเพิ่มขึ้นมา
   

ขอขอบคุณที่มา : “เคล็บลับแห่งการพิเคราะห์และการใช้คน” โดย ทองแถม นาถจำนง
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุภาพใจ, หน้า ๙-๑๑)

518



คำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น
เรื่องประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกต

เรื่องนี้อัตถุปัตติเหตุเกิดขึ้นเมื่อครั้ง พระอาจารย์มั่น พักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ พระอุปัชฌาย์อุ่น (พระครูบริบาลสังฆกิจ (อุ่น อุตฺตโม) วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร) ได้ไปกราบนมัสการฟังเทศน์ และได้นำรูปพระแก้วมรกตขนาด 20 นิ้ว เป็นภาพพิมพ์ใส่กรอบไปถวายท่านพระอาจารย์ แต่ดูท่านจะลืมทำความสะอาด เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ท่านพระอาจารย์ก็น้อมรับด้วยความเคารพ

หลังจากท่านอุปัชฌาย์อุ่นลาลงกุฏิไปแล้ว ท่านพระอาจารย์ได้ทำความสะอาด โดยนำผ้าสรงน้ำของท่านฯ มาเช็ดถู ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ) เอาผ้าเช็ดพื้นเข้าไปช่วยทำความสะอาดด้วย เพราะเห็นว่าผ้ายังสะอาดอยู่ ท่านหันมาเห็นเข้า พูดว่า

“อะไรกัน นั่นรูปพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังเอาผ้าเช็ดพื้นมาถูได้”

ผู้เล่าสะดุ้งไปทั้งตัว เพราะความโง่เขลาปัญญาอ่อน ท่านฯ ก็เลยทำความสะอาดเอง เสร็จแล้วก็มีเพื่อนภิกษุทยอยกันขึ้นไป รวมทั้งท่านอาจารย์วิริยังค์ด้วย ท่านเลยเทศน์ถึงความมหัศจรรย์ของพระแก้วมรกต ท่านว่า

“พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลมีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นจะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม”

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า พระแก้วมรกตหล่อที่ลังกาทวีป ผู้เป็นประธานหล่อคือ พระจุลนาคเถระ เป็นชาวลังกา หล่อเมื่อศาสนาล่วงมาได้ 300 ปี ส่วนแก้วนั้น ท่านเล่าเชิงปาฏิหาริย์ พอเริ่มจะหล่อไม่ได้ตั้งใจจะเอาแก้วมรกตเพราะเป็นของหายาก บอกบุญตามแต่ศรัทธา จะเป็นแก้วอะไรก็ได้ ร้อนถึงพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ มาอาสาเป็นช่างหล่อ และพระองค์มีแก้วอยู่ดวงหนึ่ง ขออนุโมทนาเป็นกุศลด้วย พระอินทร์ไม่ได้เป็นช่าง แต่ช่างคือเทพบุตรชื่อ วิษณุกรรม ส่วนแก้วก็ไม่ใช่ของพระอินทร์ แต่เป็นแก้วอยู่ในถ้ำจิตรกูฏหรืออินทสารนี้ละ ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ) ไม่มั่นใจ

ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่า เป็นแก้วหน่อเนื้อพุทธางกูร ประจำภัทรกัปป์ เหลืออยู่ 2 ลูก มียักษ์รักษา พระอินทร์ไปขอแก้วดวงใหญ่ ซึ่งสุกใสกว่าจากยักษ์ตนนั้น แต่ยักษ์ไม่ให้ บอกว่าไม่ใช่ของเจ้า จึงให้แก้วดวงเล็กมา พระอินทร์นำมาหล่อเป็นผลสำเร็จ แต่ยังมีแก้วเหลือค้างอยู่ที่เรียกว่าแก้วก้นเตา เผาอย่างไรก็ไม่ละลาย พระจุลนาคเถระจึงอธิษฐานบรรจุไว้ใต้ฐาน ปรากฏว่าเป็นกระปุกระปะ ไม่เรียบ

หล่อเสร็จมีการสมโภช ท่านจุลนาคเถระ ได้อธิษฐานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน 5 แห่ง คือระหว่างพระขนง 1 แห่ง พระอังสาทั้งสอง 2 แห่ง พระเมาลี 1 แห่ง และพระนาภี 1 แห่ง ท่านฯ ว่าอย่างนี้

การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกตนั้นมีปัจจัย 3 อย่าง คือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา เกิดกลียุคในประเทศนั้น และด้วยความรัก

ท่านพระอาจารย์เล่าต่อว่า ได้มีการอัญเชิญจากกรุงลังกาสู่นครศรีธรรมราชโดยทางเรือ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่า (คำว่า เถรเจ้าป่า หมายความถึง พระกัมมัฏฐานที่ชอบออกปฏิบัติภาวนาอยู่ตามป่าเขา) อยู่นครศรีธรรมราชก็ไม่ได้กำหนดว่านานเท่าไร ต่อจากนั้นจึงอัญเชิญไปสู่นครวัด นครธม ประเทศเขมร เพื่อเผยแผ่พระศาสนา นำโดยเถรเจ้าป่าอีกนั่นแหละ


หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม

จากนครวัด นครธม สู่กรุงจันทบุรีศรีสัตตนาคนหุต (ประเทศลาว) ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ สาเหตุเกิดกลียุคแย่งราชสมบัติ เถรเจ้าป่าท่านเห็นว่าพระแก้วจะไม่ปลอดภัย จึงได้เอาผ้าห่อแล้วบรรจุลงในบาตร (คงจะเป็นบาตรขนาดใหญ่) เพื่ออำพรางผู้ทุศีลไม่ให้แย่งชิงไป เถรเจ้าป่าองค์นั้นไปอยู่ที่เวียงจันทน์ก็ไม่มีกำหนดปีเหมือนกัน

จากนครเวียงจันทน์ก็ได้เสด็จสู่นครลำปาง และนครเชียงใหม่ ด้วยสาเหตุแห่งความรัก เนื่องจากเจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ได้บุตรเขยเป็นชาวเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะนำบุตรีสู่เชียงใหม่ บิดาให้พรบุตรีว่าอยากได้อะไรก็จะให้ บุตรีจึงขอพระแก้วมรกตไปด้วย ด้วยความรักของบิดาก็จำยอมยกให้

พอไปถึงลำปาง ช้างที่นั่งไปไม่ยอมไปเอาดื้อๆ จะขับไสอย่างไรช้างก็ไม่ไป ตกลงกันว่าองค์พระแก้วมีพระประสงค์จะประทับที่ลำปางแน่ พระแก้วก็เลยประดิษฐานที่ลำปางก่อน นานพอสมควรจึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านก็ไม่ได้บอกว่ากี่ปี ต่อมาบุตรเขยก็เสียชีวิตลง บุตรีเจ้าผู้ครองนครก็กลับสู่เวียงจันทน์ และนำพระแก้วมรกตกลับมาด้วย จึงประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์อีกเป็นครั้งที่สอง

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ไทยคือลาว ลาวคือไทย เป็นชาติเดียวกัน แต่ครั้งอยู่ราชคฤห์ แต่หนีตายมาคนละสาย มาบรรจบกันที่แม่น้ำใหญ่ๆ 4 สาย คือ แม่น้ำโขง เจ้าพระยา สาละวิน และแม่น้ำตาปี


พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

ต่อมาเหตุการณ์บ้านเมืองในลาวเปลี่ยนแปลง เกิดกลียุค ราชวงศ์และราชบุตรเป็นศัตรูกัน ราชบุตรมักถูกรังแกใส่ความ ทนไม่ไหวจึงอพยพครอบครัวข้ามโขงมาอยู่อีกฝั่งหนึ่ง (ปัจจุบัน คือ จังหวัดหนองบัวลำภู) ราษฎรก็ทยอยติดตามมา โดยมีพระตา น้องชายราชบุตรเป็นหัวหน้า ราชวงศ์ยังยกกองทัพมารังแกข่มเหงอีก

ฝ่ายพระตาและพระวอก็ได้ถอยร่นลงมาสู่ดอนมดแดง คืออุบลราชธานีในปัจจุบันอย่างทุลักทุเล บังเอิญกองทัพทางเวียงจันทน์เสบียงขาดแคลนลง จึงต้องยกทัพกลับ หลังจากนั้นก็ได้ยกทัพมาตีอีกครั้งที่สอง ชาวดอนมดแดงได้ต่อสู้ถวายหัวเต็มกำลังความสามารถ

พระตาสวรรคตในสนามรบอย่างสมพระเกียรติ พระวอเห็นท่าไม่ได้การ ได้ให้ม้าเร็วนำสาส์นขอกองกำลังจากบางกอกไปช่วย สมัยนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ จึงส่งกองทัพม้าเป็นทัพหน้าเดินทางไปก่อน กองทัพหลวงนำโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกตามไป ชาวดอนมดแดงก็มีกำลังใจสู้ถวายหัว พอกองทัพหลวงยกมาถึง กองทัพทางเวียงจันทน์จึงแตกพ่ายกลับไป

ทั้งทัพม้าศึกและทัพหลวงแห่งบางกอก พร้อมกองอาสาสมัครแห่งดอนมดแดง ก็ติดตามไล่ตีไม่ลดละ จนถึงฝั่งโขง และข้ามโขงเข้ายึดนครเวียงจันทน์ได้ทั้งหมด

หลังจากชนะศึกแล้ว ชาวลาวได้ยินยอมพร้อมใจมอบพระแก้วมรกตและพระบาง ให้มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ นี่คือสาเหตุที่พระแก้วมรกตมาประดิษฐานในประเทศไทย

ปีนั้นบางกอกเกิดฝนแล้ง โหรหลวงทำนายว่า เพราะพระแก้วและพระบางมาอยู่รวมกันเป็นเหตุ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงส่งสาส์นแจ้งไปยังเจ้ามหาชีวิตลาว พระองค์ทรงยินดีรับคืน แต่ให้ส่งไปนครหลวงคือ กรุงศรีสัตตนาคนหุต ไทยได้ทำการสักการะจัดส่งอย่างสมพระเกียรติ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าอย่างนี้ ตั้งแต่วันพระบางไปถึงกรุงศรีสัตตนคนหุต ก็เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลวงพระบางมาจนบัดนี้

ท่านฯ ยังเล่าต่อไปว่า เดิมไม่ได้เรียกเมือง “หลวงพระบาง” เรียก “หลวงพระบ้าง” เพราะว่าทองที่หล่อนั้นเป็นทองหลายชนิด ผู้มีศรัทธาไปร่วมพิธีเททองหล่อนั้น มีทั้งสร้อยทองคำ ตุ้มหูทองคำ กำไลทองคำ เงิน ทองแดง นาก ทองสัมฤทธิ์ เอาออกมาใส่ลงในเบ้าหล่อ โดยทุกคนก็กล่าวว่า ฉันบ้าง ข้าบ้าง กูบ้าง ข้าน้อยบ้าง เมื่อเป็นพระออกมาก็คงจะมีชื่ออย่างอื่น ชื่ออะไรท่านมิได้กล่าวๆ แต่คนนั้นก็ว่าพระบ้าง คนนี้ก็พระบ้าง ลักษณะชายจีวรบางแผ่ออกทั้งสองข้าง เป็นแผ่นบางๆ คนภายหลังมาเห็น เลยกลายจากบ้าง มาเป็นบาง จากพระบ้างมาเป็นพระบางไป

หลังจากสมเด็จเจ้าพระมหากษัตริย์ศึก ได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 แล้ว ได้ยกฐานะบ้านดอนมดแดงขึ้นเป็นเมืองให้ชื่อว่า เมืองอุบลราชธานี ตั้งพระวอเป็นพระวรวงศาธิราชครองเมืองอุบลฯ พระวรวงศาธิราชสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พ้นภัยพิบัติมาได้ จึงได้ประกาศเป็นทางการว่า แผ่นดินฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งหมดขอขึ้นตรงต่อบางกอก ไม่ขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์ ตั้งวันนั้นมาถึงปัจจุบันปรากฏอยู่ในแผนที่ประเทศไทยโดยสมบูรณ์

หลังเทศน์จบ พระไปกันหมดแล้วก่อนจะจำวัด ท่านพระอาจารย์ (หลวงปู่มั่น) มักมีคำพูดขำขันบ้าง เป็นปริศนาบ้าง เป็นคำของบุคคลสำคัญพูดบ้าง อย่างที่ผู้เล่า (หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ) กำลังจะเล่าเรื่องภาคกลาง ต่อไปนี้


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เคยพูดว่า ภาคกลางคือ “จอมไทย” (ผู้ปฏิบัติใกล้ชิด คิดอยากรู้อยากฟัง ไม่ต้องถามท่านพระอาจารย์ดอก ถวายการนวดไปท่านก็เล่าไป พอจบเรื่องท่านก็หลับ โปรดเข้าใจการสนทนาธรรมด้วยอิริยาบถนอน เป็นการไม่เคารพธรรม แต่ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า เวลานอนมิเป็นการสนทนาธรรม เป็นการพูดกันธรรมดาๆ แบบกันเอง ท่านจึงไม่เป็นอาบัติ)

คำว่า “จอม” หมายถึง วัตถุแหลมๆ อยู่บนที่สูง เช่น ยอดพระเจดีย์เป็นต้น “จอมไทย” ก็คือ กรุงเทพมหานครเรานี้เอง ท่านที่เป็นปราชญ์ ก็เรียกว่า จอมปราชญ์ มงกุฎฉลองพระมหากษัตริย์ก็เรียก จอมมงกุฎ พระมหากษัตริย์ก็เรียก จอมกษัตริย์ วัดพระแก้วมรกตอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า จอมวัด ก็ไม่ผิด

วัดพระแก้วนี้เป็นวัดพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระสงฆ์อยู่ไม่ได้ เพราะพระสงฆ์มาจากตระกูลต่างๆ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ไม่รู้พุทธอัธยาศัย พุทธธรรมเนียม เพราะพระพุทธเจ้าเป็นทั้งกษัตริย์ และผู้สุขุมาลชาติ เมื่อพระสงฆ์ไม่รู้พุทธธรรมเนียม ถ้าไปอยู่ก็มีแต่บาปกินหัว


หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ ผู้เขียน

ท่านฯ ว่า ผู้รู้ทั้งพุทธอัธยาศัยและพุทธธรรมเนียมแล้ว มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวเท่านั้น ครั้งพุทธกาลก็มีพระเจ้าพิมพิสารเท่านั้นทรงรู้ แต่จอมไทยคือ พระมหากษัตริย์ทรงรู้มาแล้ว ได้ทรงสร้างวัดถวายจำเพาะพระแก้วเท่านั้น

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร คือ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ต่างแต่วาสนาบารมีมากน้อยต่างกันเท่านั้น ท่านจึงทรงรู้พุทธอัธยาศัยเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนาก็เป็นจอมพุทธศาสนาที่กรุงเทพฯ นี้)

ไทยนั้นเป็นเจ้าขององค์พระแก้วมรกต ผู้ใดย่างกรายเข้าสู่วัดพระแก้วเป็นบุญทุกขณะที่อยู่ในบริเวณวัด แม้แต่ชาวต่างชาติ จะเป็นฝรั่ง อังกฤษ อเมริกา มีโอกาสเข้าไปในบริเวณวัดพระแก้ว จะด้วยศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ก็ได้เข้ามาสู่วงศ์พระพุทธศาสนาโดยปริยาย หรือจะบังเอิญก็แล้วแต่ สามารถเป็นนิสัยให้เข้ามาได้ ต่อไปจะสามารถมาเกิดเป็นคนไทย สืบต่อบุญบารมีสำเร็จมรรคผลได้

นี้คือบทสนทนาแบบกันเองของครูและศิษย์

ขอขอบคุณที่มาจาก..ปกิณกะธรรมในหนังสือ “รำลึกวันวาน”
เขียนโดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ หน้า 141-145
 

519


ใบเสมาโบราณของไทย

แต่ครั้งโบราณกาล เสมามีความสำคัญต่อพุทธสถานอย่างยิ่ง การที่จะเรียกว่าวัดนั้นเป็นวัดได้ จะต้องมีหลักแบ่งเขตชัดเจนสำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนา และหลักที่ปักเพื่อแบ่งเขตที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า “ใบเสมา”

เสมา หรือที่มีนักวิชาการบางท่านเรียกว่า “สีมา” ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ หมายถึง เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมของสงฆ์ หรือเขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน

เสมา แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. พัทธสีมา แปลว่า แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่พระสงฆ์กำหนดขึ้นเอง ๒. อพัทธสีมา แปลว่า แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่ เขตที่ทางราชการกำหนดไว้ หรือเขตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด และสงฆ์ถือเอาตามเขตที่กำหนดนั้น โดยไม่ได้ทำหรือผูกขึ้นใหม่

ความสำคัญของการมีเสมานี้ เนื่องจากพระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องทำอุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะการสวดปาฏิโมกข์ ซึ่งต้องสวดพร้อมกันเดือนละ ๒ ครั้ง จึงเกิดหลักแดนในการที่สงฆ์จะร่วมกันกระทำสังฆกรรม โดยมีหลักบ่งชี้คือใบเสมา

ใบเสมามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก ในประเทศไทยสามารถสืบย้อนไปไกลถึงยุคสมัยแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ นั่นคือ อารยธรรมทวารวดี

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าอารยธรรมทวารวดีเป็นอารยธรรมเก่าแก่ มีเมืองสำคัญอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน และเป็นอารยธรรมที่นับถือพระพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กับศาสนาพราหมณ์ แต่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองกว่ามาก ทั้งนี้เนื่องด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นจารึกหรือศิลปกรรมต่างๆ เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอารยธรรมทวารวดีนี้ได้เป็นอย่างดี



บริเวณภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน พบว่ามีร่องรอยของอารยธรรมทวารวดีที่เผยแพร่มาจากภาคกลาง แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ กลุ่มใบเสมาที่บริเวณภาคอีสานนี้มีความโดดเด่นกว่าภาคอื่น ในขณะที่ภาคกลางมีความโดดเด่นในเรื่องของการสร้างพระธรรมจักรขนาดใหญ่ ซึ่งใบเสมาที่ว่านี้ มีความแตกต่างจากรูปแบบของใบเสมาที่พบในปัจจุบันมาก นับว่าเป็นพัฒนาการของใบเสมาก็ว่าได้ ข้อสรุปเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องใบเสมาภาคอีสาน ซึ่ง รศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ เรียบเรียงไว้ ดังนี้

รูปแบบของใบเสมาทั่วไปจะเป็นลักษณะกลีบบัว มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตรไปจนถึง ๒ เมตร รองลงมาได้แก่รูปเสาสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม ซึ่งพบเป็นจำนวนน้อยมาก ส่วนคติในการสร้างสันนิษฐานไว้ ๓ ประการ คือ

๑. ใช้ปักใบเดียวกลางลานในฐานะของเจดีย์องค์หนึ่ง เพราะโดยทั่วไปที่กลางใบเสมาจะมีรูปหรือสัญลักษณ์ของสถูปปรากฏอยู่ด้วยเสมอ

๒. ใช้ปักล้อมรอบสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อแสดงขอบเขต ได้พบตัวอย่างเป็นจำนวนมากบนภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี อาจเป็นการแสดงขอบเขตที่สืบทอดมาจากวัฒนธรรมหินตั้ง ที่พบแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคอีสาน เช่นที่เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา

๓. ใช้ปักแปดทิศรอบฐานอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจมีตำแหน่งละ ๑ ใบ ๒ ใบ หรือ ๓ ใบ น่าจะเป็นคติการแสดงขอบเขตสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานลักษณะเดียวกับโบสถ์ในปัจจุบัน

ด้วยขนาดของเสมาที่มีขนาดใหญ่ จึงเกิดภาพเล่าเรื่องบนใบเสมาขึ้น ซึ่งเรื่องราวที่นิยมสร้างขึ้นนั้น มักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่า มีการตกแต่งใบเสมาด้วยรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า การปักใบเสมาแบบใบเดียวที่กลางลานนั้น อาจหมายถึงเครื่องหมายแทนสถูป โดยสังเกตจากรูปแบบของใบเสมาที่มีการสลักรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะไว้

หม้อปูรณฆฏะ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่พบมาก่อนแล้วตั้งแต่ศิลปะอินเดียโบราณ และยังพบอีกในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๘-๑๐ ก็นิยมปักหินตั้งรูปปูรณฆฏะไว้บริเวณหน้าประตูทางเข้า

เนื่องจากปูรณฆฏะ เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์ในการอวยพรผู้มาศาสนสถานให้มีความสุขไปด้วย และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันการรับสืบทอดวัฒนธรรมศาสนา และศิลปกรรมมาจากอินเดีย และลังกาด้วยเช่นกัน



สำหรับภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ส่วนมากเป็นตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมโปรดเหล่าบุคคล และภาพสลักบนใบเสมาที่เชื่อว่ามีความงดงามและสำคัญอย่างที่สุดชิ้นหนึ่งนั้น คือ ภาพตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากกรุงกบิลพัสดุ์ พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น เป็นฉากที่สำคัญคือพระนางพิมพาสยายผมรองรับพระบาทของพระพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นท่าแสดงความเคารพอย่างสูงสุด การแสดงความเคารพในลักษณะเช่นนี้ โดยมากพบในศิลปะมอญและพม่า สะท้อนมุมมองการแผ่ขยายความนิยมของศิลปะในประเทศใกล้เคียงในเวลานั้น

การสลักภาพเล่าเรื่องชาดกนั้น พบว่ามีความนิยมอย่างมาก สันนิษฐานว่าน่าจะมีการสร้าง ครบทั้งสิบพระชาติ แต่ที่พบหลักฐานมากที่สุด เป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะเสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า นั่นคือ เวสสันดรชาดก ในตอน พระราชทานกัณหา-ชาลีให้กับชูชก หรือจะเป็นตอนที่ พระอินทร์ปลอมตัวมาขอพระราชทานนางมัทรี ส่วนชาดกในเรื่องอื่นที่พบก็มี สุวรรณสาม วิฑูรบัณฑิต มหาชนก เป็นต้น

การสลักเรื่องราวเกี่ยวกับชาดกและพุทธประวัติไว้บนใบเสมานี้ คงจะมีคติการสร้างเดียวกันกับจิตรกรรมฝาผนัง คือมีความมุ่งหมายที่จะเป็นการให้ความรู้ โดยแฝงวัฒนธรรมการแต่งกาย รูปแบบเฉพาะของศิลปกรรมในภูมิภาค ทำให้กลุ่มใบเสมาที่ภาคอีสานมีความโดดเด่น มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งในสมัยต่อมาด้วยขนาดของใบเสมาที่เล็กลง ประกอบกับความนิยมในการสลักภาพเล่าเรื่องบนใบเสมาไม่ได้รับความนิยมแล้ว เราจึงไม่พบหลักฐานของใบเสมาในลักษณะดังกล่าวอีกเลย


ใบเสมาวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

เสมา ๓ สมัย
ในครั้งก่อนได้กล่าวถึงใบเสมาโบราณของอารยธรรมทวารวดีภาคอีสาน ซึ่งมีความโดดเด่นที่ขนาด และการสลักภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ อันเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนความศรัทธาและการให้ความรู้พุทธประวัติควบคู่กัน

ฉบับนี้ ขอนำเรื่อง ใบเสมาที่สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัยสุโขทัย ล้านนา และอยุธยา ซึ่งทั้งสามสมัยนี้มีความชัดเจนในวัฒนธรรมการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท มีการสร้างวัดวาอาราม การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ใบเสมาในสมัยสุโขทัยนั้น ใช้เสมาลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ทำด้วยหินชนวน ดังที่ปรากฏหลักฐานตามวัดโบราณต่างๆ ทั้งที่ค้นพบในตัวเมืองเก่าสุโขทัย และที่อำเภอศรีสัชนาลัย สวรรคโลก รวมไปถึงเมืองกำแพงเพชร พิษณุโลก พบว่า แผ่นศิลาที่สันนิษฐานว่าเป็นใบเสมา นี้มีรูปแบบที่ไม่ต่างกันมากนัก โดยสามารถจำแนกได้เป็น ๓ แบบคือ

๑. แบบแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยม ขอบปากมนยอดทั้งสองด้านไปบรรจบเป็นยอดแหลมตรงกลาง ตรงกลางใบเสมาสลักเป็นสันตรงตลอดคล้ายใบเสมาในสมัยทวารวดี

๒. แบบแผ่นศิลาปาดขอบกลมยอดแหลมแล้วคอดเล็กน้อย ส่วนล่างผายออกยกมุมแหลมเล็กน้อย ตัวใบเสมาสลักเป็นแนวสันเล็กๆ ลงมาถึงกึ่งกลาง แล้วสลักแยกออกเป็น ๒ ส่วนดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม

๓. แบบแผ่นศิลาเรียบไม่มีลวดลาย ปาดขอบทั้งสองด้านเกิดเป็นสันแหลมตรงกลาง


ใบเสมาวัดมหาโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่

ใบเสมาในสมัยล้านนา เป็นรูปแบบที่ไม่เน้นการประดับตกแต่งมากนัก จากหลักฐานที่ค้นพบตามวัดวาอารามในเขตเมืองเชียงใหม่และเมืองโดยรอบที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนาพบว่า ใบเสมามีรูปแบบที่เรียบง่าย พอจำแนกได้เป็น ๓ แบบคือ

๑. แบบแท่งศิลากลมยาว ปลายปาดมน รูปแบบในลักษณะนี้ น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรหริภุญไชย ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เติบโตมาก่อนล้านนา เป็นช่วงปลายของอาณาจักรทวารวดีแล้ว

๒. แบบศิลาเรียบไม่มีลวดลาย สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพระยาลิไท เมื่อครั้งรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์

๓. ใช้ก้อนหินธรรมดาเป็นใบเสมา สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือ ในสมัยล้านนานี้เป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรือง อย่างมาก ทว่าใบเสมากลับไม่ได้รับการตกแต่งให้มีความวิจิตรงดงามมากนัก ซึ่งต่างกับใน ยุคก่อนหน้านั้นที่มีการสลักลวดลายเต็มพื้นที่ นั่นอาจเป็นไปได้ว่าในสมัยนี้ เสมาเริ่มลดบทบาทลง แต่มีความโดดเด่นที่พระพุทธรูปและพุทธสถานแทน

ใบเสมาในสมัยอยุธยา มีรูปแบบที่เชื่อมโยงกับอิทธิพลของอาณาจักรที่เกิดขึ้นก่อนการสถาปนากรุงเล็กน้อย นั่นคือ เมืองอู่ทอง ซึ่งทำจากหินทรายแดงและทรายขาวขนาดใหญ่ โดย เริ่มมีการสลักลวดลายแล้ว รูปแบบของใบเสมานี้มีลักษณะที่ผสมผสานระหว่างสุโขทัยและอู่ทองเข้าไว้ด้วยกัน รูปแบบที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนี้มีความเรียบง่าย และตกแต่งด้วยลวดลายเล็กน้อย ข้อสันนิษฐานประการหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับใบเสมาในสมัยอยุธยานี้คือ

ใบเสมาที่มีอายุเก่าที่สุดจะมีลักษณะใหญ่ตัน ทำจากหินชนวนขนาดใหญ่ มีความหนาและไม่สูงชลูด ผิดกับใบเสมาที่พบในสมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลายที่พบว่ามีขนาดไม่ใหญ่ มีความบางและสูงชลูดมากกว่าเดิม หินชนวนก็ยังคงเป็นวัสดุหลักที่ใช้อยู่ แต่เริ่มมีขนาดเล็กลง มีการใช้หินทรายเนื้อละเอียดร่วมด้วย


ใบเสมาวัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในช่วงอยุธยาตอนปลายนี้เอง ที่มีการสร้างฐานหรือแท่นสูงสำหรับปักเสมา หรือเรียกโดยรวมว่า “เสมานั่งแท่น” และให้ความสำคัญกับแท่นหรือฐานนี้ด้วยการประดับตกแต่งมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเรือนหรือซุ้มครอบแผ่นเสมาไว้ เรียกว่า “ซุ้มเสมา” ซึ่งส่งอิทธิพลอย่างมากในสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยระยะเวลาอันยาวนานของราชธานีกรุงศรีอยุธยา นักวิชาการจึงได้จำแนกรูปแบบของใบเสมาอยุธยาไว้ดังนี้

๑. เป็นใบเสมาศิลาเรียบ ตรงกลางสกัดเป็นสันแถบยาวตลอด และมีลายประจำยามอยู่ตรงกลาง

๒. เป็นใบเสมาศิลาเรียบนั่งแท่น แต่ตรงกลางสกัดเป็นสันแถบยาว และมีลายประจำยามอยู่ตรงกลางเป็นรูปคล้ายทับทรวง บ้างสลักเป็นรูปเทวดา หรือครุฑยุดนาค

๓. เป็นใบเสมาศิลาเรียบนั่งแท่นเช่นกัน แต่สกัดให้มีความเรียวมากขึ้น (อยุธยาปลาย) สลักลายที่ดูแข็งกระด้าง และบางแห่งเป็นเสมาเรียบไม่มีลวดลาย และเน้นความงดงามที่ซุ้มเสมา

จากที่กล่าวมาโดยสรุปทั้งหมด พอจะทำให้เห็นทิศทางของรูปแบบในเชิงศิลปกรรมของ ใบเสมาแล้วว่า มีความแตกต่างจากใบเสมารุ่นเก่าอย่างในสมัยทวารวดีมาก ด้วยขนาดที่เล็กลง พื้นที่ในการสลักลวดลายจึงมีอยู่อย่างจำกัด จากที่เคยเป็นภาพเล่าเรื่องจึงเป็นเพียงลายกระหนก ลายประจำยาม และลวดลายของพันธุ์พฤกษา แต่ความสำคัญที่ว่า ใบเสมาคือ เครื่องกำหนดเขตชุมนุมของสงฆ์ ยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม


ใบเสมาวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

เสมาแนบผนัง ยุครัตนโกสินทร์

เสมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่นเดียวกันกับรูปแบบของศิลปกรรมแขนงอื่นๆ กล่าวคือในช่วงอยุธยาตอนปลาย มีการประดับลวดลายที่ซุ้มเสมาแล้ว มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การตกแต่งลวดลายจึงไม่ใช่เพียงที่ซุ้มเสมาเท่านั้น หากแต่ยังปรากฏความหลากหลายของรูปทรงและลวดลายที่ประดับอยู่ที่ใบเสมาด้วย

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลักษณะและแบบแผนของผังเสมาโดยสังเขป แบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะคือ
๑. เสมาลอย คือการปักใบเสมาบนฐานที่ตั้งบนพื้นโดยตรง และตั้งอยู่โดดๆ รอบพระอุโบสถ
๒. เสมาบนกำแพงแก้ว คือเสมานั่งแท่นที่มีกำแพงแก้วชักถึงกันทั้ง ๘ แท่น
๓. เสมาแนบผนัง คือเสมาที่ตั้งหรือประดับเข้ากับส่วนของผนังพระอุโบสถ
๔. เสมาแบบพิเศษ คือการใช้แบบอย่างเสมาลักษณะพิเศษต่างจากแบบแผนทั่วไป

ซึ่งจะพบความหลากหลายของแผนผังการวางเสมาในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ รูปแบบของใบเสมาได้รับอิทธิพลมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายอยู่มาก แต่ว่ามีการตกแต่งส่วนยอดของใบเสมาด้วยการให้มียอดเรียวสูงขึ้นควั่นเป็นสายปล้อง และประดับส่วนไหล่ของใบเสมาด้วยลวดลายคล้ายบัวคอเสื้อ ขอบใบเสมายกเป็นขอบสองชั้น ลายทับทรวงที่ประดับอยู่ตรงกึ่งกลางเป็นรูปรีคล้ายใบโพธิ์สองชั้น เชิงล่างบริเวณมุมทั้งสองสลักเป็นรูปนาค

จวบจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นมาก มีการสร้างวัดวาอารามไม่ว่าจะเป็นที่เมืองหลวงหรือปริมณฑล รูปแบบของเสมาในรัชสมัยนี้มีการประดับตกแต่งด้วยลวดลายที่ตรงกลางใบเสมามากกว่าเดิม และเพิ่มลวดลายริ้บบิ้นผูกประดับกับลายทับทรวงที่อยู่ตรงกลางนั้น

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ความหลากหลายของรูปแบบใบเสมาก็ถือกำเนิดขึ้น มีการคิดประดิษฐ์รูปทรงของใบเสมาให้แตกต่างจากแบบเดิมๆ โดยอาศัยรูปแบบของเสานางเรียงที่มีมาก่อนแล้วในสมัยโบราณ ซึ่งจะประดับรอบทางเดินของปราสาทหินต่างๆ โดยทำเป็นทรงหม้อ หรือหัวเม็ดทรงมัณฑ์คอดกิ่ววางอยู่เหนือแท่น ตรงมุมทั้งสี่สลักเป็นรูปเศียรนาค บางครั้งมีการทำเป็นรูปดอกบัวในส่วนตัวหัวเม็ด

ในสมัยนี้เองที่พบว่า มีการสลักใบเสมาด้วยลายพระธรรมจักร โดยยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงลวดลายที่มีความงดงามและรูปทรงที่ต่างจากยุคโบราณ หากแต่เป็นเรื่องของการประดิษฐานใบเสมาที่พบว่ามีความน่าสนใจไม่แพ้กัน]


ใบเสมาวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

กล่าวคือ ในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากจะพบว่าการปักใบเสมารายล้อมรอบพระอุโบสถอันเป็นการบ่งบอกถึงเขตบริเวณให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรม ยังพบว่า นอกจากบริเวณรอบๆ พระอุโบสถแล้ว ยังพบการประดิษฐานใบเสมาแนบผนังของพระอุโบสถด้วย อาทิ

ใบเสมาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเสมาที่มีการสร้างได้วิจิตรงดงาม คือมีการสลักลวดลายตรงกลางใบเสมาด้วยรูปครุฑยุดนาค และขอบรอบใบเสมาคือตัวนาค นอกจากนี้ยังพบใบเสมาแนบผนังภายในพระอุโบสถ โดยสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑอีกด้วย

ใบเสมาวัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ที่มีการเพิ่มเติมลวดลายด้วยริ้บบิ้นผูกกับทับทรวงที่กลางใบเสมา รอบขอบเป็นรูปกนกนาค รองรับด้วยฐานบัวเหนือฐานสิงห์

ใบเสมาวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นใบเสมาหินทรายแกะเป็นรูปดอกบัว ตามชื่อของวัด กรอบเป็นแนวสองชั้น รองรับด้วยกลีบบัว และรองรับด้วยฐานสิงห์ ๑ ฐาน

นอกจากนี้ ยังพบ ใบเสมาวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม เป็นเสมาสลักด้วยหินอ่อนติดอยู่ที่มุมทั้งสี่ทิศ ซึ่งสลักรูปท้าวจตุโลกบาลประจำทิศทั้งสี่ คือ ท้าวธตรส ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก และท้าวเวสสุวรรณ


ใบเสมาวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

จากตัวอย่างข้างต้น ทำให้ทราบว่าเสมาแนบผนังพระอุโบสถได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยทีเดียว หากแต่ในช่วงนี้ความสำคัญของซุ้มเสมาก็มีเพิ่มเข้ามาด้วย ทำให้เสมาที่ปักรายรอบพระอุโบสถมีความนิยมมากกว่า

 
มหาเสมาวัดบรมนิวาส

มหาเสมา กรอบสังฆกรรมที่ใหญ่ขึ้น

ดังที่ได้กล่าวมาในฉบับก่อนหน้านี้แล้วว่า ‘เสมา’ หรือ ‘สีมา’ คือหลักกำหนดเขตพุทธาวาส เพื่อให้พระภิกษุได้ทำสังฆกรรมร่วมกัน โดยที่ผ่านมาเสมามีรูปแบบและการประดับตกแต่งแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้เกิดความหลากหลายในเชิงช่าง

นอกจากนี้ยังพบว่ามีเสมาอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีความแปลกและความสำคัญในเรื่องของแนวความคิด คติในการสร้าง เสมาที่ว่านี้ เรียกว่า ‘มหาเสมา’

พิทยา บุนนาค ได้อธิบายเรื่องมหาเสมา ไว้ในบทความ “เรื่องของเราสีมา” โดยอ้างถึง ‘กัลยาณีสีมา’ ซึ่งมีจารึกภาษามอญ และภาษาบาลี พอเป็นหลักฐานว่า สีมากัลยาณีได้พื้นฐานมาจากอรรถกถา ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นของพระอรรถกถาจารย์ชื่อ พระมหาสุมันตเถระ และพระมหาปทุมเถระ อรรถกถาดังกล่าวอธิบายถึงวิธีผูกมหาสีมา วิธีผูกขัณฑสีมา และวิธีผูกสีมา ๒ ชั้น

ในการผูกพัทธเสมา ๒ ชั้นนี้ สามารถเรียกแยกได้ว่า ‘มหาเสมา’ คือ พัทธเสมาใหญ่ และ ‘ขัณฑเสมา’ คือ พัทธเสมาที่อยู่ภายใน มีความหมายถึงเขตที่ย่อยลงไป ซึ่งอยู่ในมหาเสมาอีกต่อหนึ่ง


มหาเสมาวัดโสมนัสวิหาร

เมื่อมีเสมาสองชั้นเช่นนี้แล้ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสิ่งซึ่งคั่นเสมาทั้งสองไว้ไม่ให้ปนกันนั่นคือ ‘สีมันตริก’ สีมันตริก คือ ระยะของช่องว่างที่จะต้องเว้นไว้ระหว่างมหาเสมาและขัณฑเสมา โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “เพื่อมิให้เขตของสีมาทั้งสองระคน (สังกระ) กัน” ในครั้งพุทธกาล มีเรื่องเกี่ยวกับสีมันตริกนี้ กล่าวคือ เมื่อพระฉัพพัคคีย์ได้สมมติเขตเสมาทับซ้อนเสมาที่มีอยู่แล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงไปร้องต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงได้ห้ามไม่ให้มีเขตเสมาทับกัน และให้เว้นที่ (สีมันตริก) ระหว่างเขตพัทธเสมาไว้

การประดิษฐานมหาเสมาหรือมหาสีมา เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยทรงเห็นว่าหากเกิดการทำสังฆกรรมต่างลักษณะขึ้นพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน ย่อมไม่สามารถใช้พระอุโบสถที่มีอยู่แห่งเดียวร่วมกระทำได้ ต่อเมื่อมีมหาเสมาล้อมรอบแล้ว ทุกพื้นที่ภายในเขตมหาเสมาสามารถเลือกทำสังฆกรรมได้ เช่น พระวิหาร ศาลาราย ศาลาการเปรียญ หรือแม้แต่กุฏิสงฆ์

โดยวัดซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างนั้นล้วนมีมหาเสมาทั้งสิ้น ได้แก่ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม และวัดปทุมวนาราม (มหาเสมาของวัดปทุมวนารามไม่สามารถสืบค้นลักษณะแบบอย่างและตำแหน่งได้ ทั้งนี้อาจถูกเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนไปครั้งมีการถมสระหรือขยายถนนหน้าวัด)



มหาเสมาวัดราชประดิษฐ์ฯ

สมคิด จิระทัศนกุล ได้ทำการจำแนกรูปแบบของมหาเสมาไว้ ๔ ลักษณะ คือ

๑. มหาเสมาแบบก้อนศิลา เป็นมหาเสมาที่ทำด้วยศิลาขนาดย่อม ไม่มีการตกแต่งลวดลายแต่ประการใด เพียงแต่ถากผิวให้มีสัณฐานเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยมมนหยาบๆ เท่านั้น รูปแบบนี้พบเพียงวัดเดียวที่ มหาเสมาวัดบรมนิวาส เท่านั้น

๒. มหาเสมาแบบยอดบัวตูม เป็นมหาเสมารูปแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำด้วยหินแกรนิต ส่วนปลายยาวรวบเข้าหากันทั้งสี่ด้านคล้ายรูปดอกบัวตูม พบที่ มหาเสมาวัดโสมนัสวิหาร ซึ่งมีส่วนครอบอีกชั้นหนึ่ง โดยสร้างซุ้มเป็นลักษณะคูหากลม มีทางเดินด้านในเพียงช่องเดียว หลังคาทำทรงสูงรูปโค้งอย่างจีน

๓. มหาเสมาแบบแท่งเสมา เป็นมหาเสมาที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวละเลียดขึ้นไปตามแนวความสูงของกำแพง ส่วนปลายสลักด้วยหินแกรนิตเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยม บริเวณตัวแท่งนั้นสลักจารึกการประดิษฐานและตำแหน่งของทิศ พบที่ มหาเสมาวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม (การสร้างมหาเสมาโดยแบบที่ไม่ปรากฏขัณฑเสมาและสีมันตริก เป็นเพียงมหาเสมาเพียงอย่างเดียว พบที่วัดราชประดิษฐ์ฯ เท่านั้น)

๔. มหาเสมาแบบเสมาโปร่ง เป็นมหาเสมาที่ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวแนบไปตลอดแนวความสูงของกำแพงเช่นกัน ส่วนปลายทำรูปทรงล้อเสมาแท่ง แต่ทำในลักษณะของเสมาโปร่ง คือแต่ละด้านเป็นซุ้มคูหาทะลุถึงกันทั้งสี่ด้าน พบที่ มหาเสมาวัดมกุฏกษัตริยาราม

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ทราบถึงแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีพระราชประสงค์ให้เขตของการทำสังฆกรรมครอบคลุมพื้นที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งนับว่าสร้างความพิเศษให้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีเพียงวัดที่พระองค์ทรงสร้างเพียง ๕ วัดเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ควรค่ากับการศึกษา ในเรื่องของการทำตามพระอรรถกถาว่าด้วยการสร้างมหาเสมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งยังส่งอิทธิพลในการสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระองค์มีพระราชดำริให้สร้าง วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดประจำรัชกาล มีมหาเสมาเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร ๘ เสา ประดิษฐานไว้ที่กำแพงวัดทั้ง ๘ ทิศด้วยเช่นกัน


มหาเสมาวัดมกุฏกษัตริยาราม


ซุ้มเสมาวัดสุทัศน์ฯ กทม.

หลากซุ้มคลุมเสมา

องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้เสมามีความโดดเด่นและมีความงดงามมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ‘ซุ้มเสมา’ ซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนปัจจุบัน ซุ้มเสมาที่พบสามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ


ซุ้มเสมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม.

๑. ซุ้มเสมายอดเจดีย์ คือ ซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์ เช่น ซุ้มเสมาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, วัดสุทัศนเทพวราราม กทม. เป็นต้น โดยซุ้มเสมายอดเจดีย์นี้ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ กล่าวคือ มีการสร้างเป็นซุ้มเสมายอดเจดีย์ห้ายอด โดยทำเรือนซุ้มอย่างปราสาท มีมุขซ้อนและมุขลดทั้ง ๔ ด้านเทินรับเครื่องยอดทรงเจดีย์ ที่สันของมุขซ้อนแต่ละด้านเทินเจดีย์จำลองขนาดเล็กอีกด้านละองค์ รวมเป็นยอดเจดีย์แบบห้ายอด รูปแบบของซุ้มเสมาแบบนี้มีตัวอย่างที่ ซุ้มเสมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว), วัดระฆังโฆษิตาราม กทม. เป็นต้น


ซุ้มเสมาวัดอรุณฯ กทม.

๒. ซุ้มเสมายอดมณฑป คือ ซุ้มเสมาที่ทำส่วนยอดซุ้มให้มีลักษณะคล้ายอย่างเรือนยอดมณฑปหรือบุษบก เช่น ซุ้มเสมาวัดอรุณราชวราราม, วัดราชนัดดาราม กทม. และวัดขนอน จ.ราชบุรี เป็นต้น


ซุ้มเสมาวัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี

๓. ซุ้มเสมาทรงกูบ คือ ซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปหลังคาโค้งอย่าง “กูบ” (ที่ใช้ประกอบสำหรับนั่งบนหลังช้าง) ส่วนยอดทำเป็นหัวเม็ดหรือปลีประดับ เช่น ซุ้มเสมาวัดดุสิตาราม, วัดช่องนนทรี กทม. วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี เป็นต้น


ซุ้มเสมาวัดราชโอรส กทม.

๔. ซุ้มเสมาทรงเกี้ยว คือ ซุ้มเสมาที่ทำรูปแบบลักษณะซุ้มคล้ายอย่าง “เรือนเกี้ยว” (พาหนะที่ตั้งบนคานใช้คนแบกหามของจีน) เป็นแบบแผนซุ้มเสมาที่เริ่มนิยมมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา เช่น ซุ้มเสมาวัดราชโอรสาราม (วัดราชโอรส), วัดราชสิทธาราม กทม. และวัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี เป็นต้น


ซุ้มเสมาวัดพิชัยญาติ กทม.

๕. ซุ้มเสมาทรงปรางค์ คือ ซุ้มเสมาที่นำรูปทรงลักษณะของพระปรางค์มาใช้ ซึ่งรูปแบบของพระปรางค์นี้มีความนิยมสร้างเป็นเจดีย์ประธานในสมัยอยุธยา เมื่อสร้างเป็นยอดของซุ้มเสมาจึงลดทอนรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ได้ยอดเจดีย์ที่มีทรงสูง โดยสร้างให้ส่วนของเรือนธาตุเปิดเป็นช่องโปร่งใช้เป็นที่ตั้งเสมา ซุ้มเสมาในลักษณะเช่นนี้พบที่ ซุ้มเสมาวัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ), วัดปทุมคงคา, วัดอัปสรสวรรค์ กทม. เป็นต้น


ซุ้มเสมาวัดพุทไธสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา
๖. ซุ้มเสมาทรงคฤห์ คือ ซุ้มเสมาที่สร้างเป็นเรือนหรืออาคารอย่างทรงคฤห์ (อาคารที่อยู่อาศัยของบุคคล) หลังคาประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แบบประเพณีทุกประการ ทำให้เครื่องยอดของซุ้มเสมานี้ดูคล้ายกับบ้านเรือนแบบไทยตามแนวประเพณีเช่นเดียวกับพระราชวัง ตัวอย่างที่มีความชัดเจนมากคือ ซุ้มเสมาวัดพุทไธสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา

ในการสร้างซุ้มเสมานั้น นอกจากจะเป็นการทำนุรักษาเสมาให้มีความสมบูรณ์แล้ว ยังมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย โดยสามารถบอกถึงรสนิยมของผู้สร้างในสมัยต่างๆ โดยรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแต่เป็นการจำลองอาคารชั้นสูงมาแทบทั้งสิ้น โดยแฝงความหมายอันลึกซึ้งถึงเรือนเครื่องสูงอันเป็นที่ประดิษฐานเครื่องบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเน้นย้ำความสำคัญของเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงเขตพุทธาวาสได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณหนังสือธรรมลีลา โดย นฤมล สารากรบริรักษ์
คัดลอกมาจาก...หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์
 

520
อภินันทนาการจาก...เฮียเซี้ยง...เสี่ยเจ้าของโรงน้ำแข็ง...
มอบให้เป็นของขวัญปีใหม่...
นำรูปมาให้ชมกัน...ขออภัยภาพไม่ค่อยชัด ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ...

เป็นพระราหูอมจันทร์...มีจารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นเนื้อดินเก่าจุ่มรัก...ปัดทองใหม่
ไม่ทราบที่... ใครทราบกรุณาช่วยบอกด้วย...ขอบคุณครับ






521
สวัสดีปีใหม่ 2553 ครับ... :114:ขอบคุณพี่ตี๋ด้วยครับ ที่นำภาพครอบครัวที่แสนจะอบอุ่นและภาพบรรยากาศ
ที่ได้ไปเที่ยว...มาให้ชม   น่าสนุกจังครับ... สวัสดีปีใหม่ครับ... :054:

522

น้ำไหลออกจากมือหลวงพ่อจงลงในขวดน้ำมนต์เปล่า
พิธีพุทธาภิเศก วัดสุทัศน์

ขอขอบคุณท่านขุนแผน...ที่นำเรื่องราวดีๆมาให้ชม เพิ่มเติมภาพถ่าย...ให้ครับ

กราบนมัสการ...หลวงพ่อจงและพ่อท่านคล้ายด้วยครับ...    ขอบคุณครับ

523
        วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

                                         

  วัดหน้าพระเมรุตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี)  ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2046  วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. 2106ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส

วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
 
 พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน ต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค หน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนประดับด้วยดาวเพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทอง ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนา แกะสลักจากพื้นไม้ไม่มีการนำชิ้นส่วนที่อื่นมาติดต่อเป็นลายซ้อนกันหลายชั้น พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ 6 เมตรหน้าตักกว้างประมาณ 4.40 เมตร  ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือพระคันธารราฐประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือเรียกว่า วิหารน้อยเพราะขนาดวิหารเล็ก มีความยาว 16 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ  พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้ พระอุโบสถเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.

เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ขณะที่วัดวาอารามและปราสาทราชวังเกือบทุกแห่งในกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาทำลายอย่างราพณาสูร ทว่าวัดหน้าพระเมรุกลับเป็นวัดเดียวที่รอดพ้นความเสียหายมาได้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับพระราชวังหลวงเพียงข้ามคลองเท่านั้น พม่าจึงใช้วัดเป็นที่ตั้งกองทัพและหันปากกระบอกปืนใหญ่ยิงตรงเข้าใส่พระราชวัง ด้วยเหตุนี้วัดหน้าพระเมรุจึงยังคงมีงานศิลปกรรมของสมัยอยุธยาที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะพระพุทธรูปทรงเครื่ององค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานในโบสถ์ที่งดงาม
 

สิ่งน่าสนใจ
 โบสถ์ มีขนาดใหญ่ถึงเก้าห้อง นับว่าใหญ่กว่าวัดอื่น ๆ ในอยุธยา โบสถ์หันหน้าหาแม่น้ำลพบุรีที่ไหลผ่านหน้าวัด ซึ่งเป็นผังการตั้งโบสถ์แบบโบราณแทนการหันไปทางทิศตะวันออก เครื่องบนหรือหลังคาซ้อนลดหลั่นกันถึงสามชั้น เชิงชายด้านหน้าอาคารยื่นออกมา โดยมีเสาแปดเหลี่ยมรองรับ ประดับบัวหัวเสาอย่างสวยงามเช่นเดียวกับเสาภายในอาคาร เป็นลักษณะของศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

โบสถ์ไม่มีการเจาะหน้าต่างขนาดใหญ่ มีเพียงช่อง “ลูกมะหวด” คือช่องยาวคล้ายซี่ลูกกรง เพียงให้แสงและอากาศผ่านเป็นงานช่างโบราณที่พบตามโบราณสถานสมัยสุโขทัย ในยุคที่การเจาะหน้าต่างอาคารขนาดใหญ่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

สิ่งที่โดดเด่นของโบสถ์คือหน้าบันของหลังคามุขที่ยื่นออกมา หน้าบันมุขด้านหน้าเป็นงานจำหลักไม้รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ห้อมล้อมด้วยหมู่ทวยเทพ 26 องค์ พระนารายณ์ถือเป็นเทพที่เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ โดยพระองค์ทรงครุฑซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอำนาจมากแต่ยอมรับใช้พระนารายณ์ ส่วนหน้าบันมุขด้านหลังจำหลักเป็นรูปทวยเทพ 22 องค์

 พระพุทธรูปทรงเครื่อง


พระประธานในโบสถ์พระนามว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ หน้าตักกว้าง 9 ศอก สูง 3 วา หล่อด้วยโลหะปิดทองทั้งองค์ จึงเป็นพระสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ตามคติการสร้างพระในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ลักษณะของพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราช สวมมงกุฎ มีสร้อยสังวาล ทับทรวง นั้นเป็นศิลปะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง คล้ายกับพระพุทธรูปก่ออิฐในเมรุทิศเมรุรายวัดไชยวัฒนาราม จึงเข้าใจว่าพระประธานน่าจะได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าปราสาททองเช่นเดียวกัน

 วิหารพระคันธารราษฎร์


บางท่านเรียกว่า วิหารน้อยหรือวิหารเขียน ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระยาไชยวิชิต (เผือก) เป็นผู้อำนวยการสร้าง ยาว 8 วา กว้าง 3 วา หันหน้าออกไปทางแม่น้ำลพบุรี มีบันไดขึ้นสองข้าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นรูปลายดอกไม้และนก ปิดทองประดับกระจก บานประตูทางเข้าจำหลักลายก้านขดคล้ายลายที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ. เพชรบุรี จึงนับเป็นงานช่างจำหลักไม้อีกแห่งหนึ่งที่ยังเหลืออยู่ ภายในมีภาพเขียนเรื่องการค้าสำเภาและชาดก ทว่าลบเลือน

ภายในวิหารประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี ปางปฐมเทศนา ประทับห้อยพระบาท พระยาไชยวิชิต (เผือก) จารึกว่าอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุในอยุธยานั้นเอง และว่ามาจากเมืองลังกา ทว่ามีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าเดิมอยู่ที่วัดพระเมรุ จ. นครปฐม

พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีเช่นพระคันธารราษฎร์ ปรากฏในโลกเพียงหกองค์เท่านั้น คือนอกจากที่วัดหน้าพระเมรุแล้ว ยังมีที่อินโดนีเซียหนึ่งองค์ วัดพระปฐมเจดีย์สามองค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาหนึ่งองค์

การเดินทาง
เมื่อมาถึงเกาะเมืองอยุธยา วิ่งรอบคูเมืองไปตามถนนอู่ทอง ตัดข้ามคูเมือง
ตามเส้นที่จะไปบ้านคลองสระบัว วัดหน้าพระเมรุอยู่ด้านซ้ายมือ

เปิดเวลา 08.30-17.30 น.


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก...http://www.thai-tour.comและhttp://www.nairobroo.comและhttp://travel.sanook.com

524
ขอแสดงความยินดี...กับน้องเอ็มด้วยครับ...ที่ได้รับของดีอีกแล้ว
ขอให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่จน...
สวัสดีปีใหม่ครับ

525
กราบนมัสการ หลวงพี่เว็บ... ครับ :054:
ขอขอบคุณบทกวีและขอให้มีความสุขปีใหม่- เจริญในธรรมครับ...

526

เรื่องของการเหาะเหินเดินอากาศ

มีผู้สงสัยถามไถ่หลวงพ่อว่า
"เขาลือว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นแล้วเหาะได้ไม่ครับ"
"แมงกุดจี่มันก็เหาะได้"ท่านตอบ
(แมงกุดจี่ - แมลงชนิดหนึ่งอยู่กับขี้ควาย)

อีกครั้งหนึ่งมีผู้ถามคล้ายๆกันว่า
"เคยอ่านพบเรื่องพระอรหันต์สมัยก่อนๆ
เขาว่าเหาะได้จริงไหมครับ"
"ถามไกลเกินตัวไป มาพูดถึงตอไม้
ที่จะตำเท้าเราดีกว่า"ท่านกล่าว"

ขอของดีไปสู้กระสุน

ทหารคนหนึ่งไปกราบขอพระเครื่องกันกระสุน
จากหลวงพ่อ ท่านบอกหน้าตาเฉยว่า
"เอาองค์นั้นดีกว่า เวลายิงกันก็อุ้มไปด้วย"
ท่านชี้ไปที่พระประธาน

เอ๊า..
มีเด็กหิ้วกรงขังนกมาชวนหลวงพ่อซื้อ
เพื่อปล่อยนกในการทำบุญในสถานที่แห่งหนึ่ง
"นกอะไร เอามาจากไหน"
"ผมจับมาเอง"
"เอ๊า...จับเองก็ปล่อยเองซิล่ะ"ท่านว่า

ปวดเหมือนกันโยมผู้หญิงคนหนึ่งปวดขามาขอร้องหลวงพ่อเป่าให้
"ดิฉันปวดขา พลวงพ่อเป่าให้หน่อยค่ะ"
"โยมเป่าให้อาตมาบ้างซิ อาตมาก็ปวดเหมือนกัน"ท่านตอบ

อาย
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อรับนิมนต์เข้าวัง ขณะลงจากรถ
มีท่านเจ้าคุณรูปหนึ่งเข้ามาทักว่า
"คุณชา สะพายบาตรเข้าวัง
ยังงี้ไม่นึกอายในหลวงหรือ"
"ท่านเจ้าคุณไม่อายพระพุทธองค์หรือ
ถึงไม่สะพายบาตรเข้าวัง"
ท่านย้อน

อาจารย์ที่แท้จริง
ท่านชาคโรถูกหลวงพ่อส่งไปอยู่ประจำวัดสาขาแห่งหนึ่ง
เมื่อมีโอกาสหลวงพ่อได้เดินทางไปเยื่อม
"เป็นไงบ้างชาคโร ดูผอมไปนะ"หลวงพ่อทัก
"เป็นทุกข์ครับหลวงพ่อ"ท่านชาคโรตอบ
"เป็นทุกข์เรื่องอะไรล่ะ"
"เป็นทุกข์เพราะอยู่ไกลครูบาอาจารย์เกินไป"
"มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอาจารย์ทั้งหก
อาจารย์ฟังให้ดี ดูให้ดี เขาจะสอนให้เราเกิดปัญญา

อาจารย์นกแก้วนกขุนทอง

สมัยนี้มีครูบาอาจารย์สอนธรรมะมาก บางอาจารย์อาจสอนคนอื่นเก่ง
แต่สอนตนเองไม่ได้เพราะว่าสอนด้วยสัญญา(ความจำได้หมายรู้)
จำขี้ปากคนอื่นเขามาสอนอีกที
หลวงพ่อเคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
"เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมาก็เรียกว่าจะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของ
อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ว่าคนอื่นพูดให้ฟังเข้าใจแล้วมันจะหมดกิเลส ไม่ใช่อย่างนั้
ได้ความเข้าใจแล้วก็ต้องเอามาขบเคี้ยวมันอีกให้มันแน่นอนเป็นปัจจัตตังจริงๆ
(ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)

โรควูบ
นักภาวนาคนหนึ่งถามปัญหาภาวนาของตนกับหลวงพ่อ
"นั้งสมาธิบางทีจิตรวมค่ะ แต่มันวูบ ชอบวูบเหมือนสัปหงกแต่มันรู้ค่ะ
มันมีสติด้วย เรียกว่าอะไรคะ"
"เรียกว่าตกหลุมอากาศ"หลวงพ่อตอบ"ขึ้นเครื่องบินมักเจออย่างนั้น"

นั่งมาก
วันหนึ่งหลวงพ่อนำคณะสงฆ์ทำงานวัด
มีวัยรุ่นมาเดินชมวัดถามท่านเชิงตำหนิ
"ทำไมท่านไม่นำพระเณรนั่งสมาธิ ชอบพาพระเณรทำงานไม่หยุด"
"นั่งมากขี้ไม่ออกว่ะ"หลวงพ่อสวนกลับ ยกไม้เท้าชี้หน้าคนถาม
"ที่ถูกนั้นนั่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เดินอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องนั่งบ้าง
ทำประโยชน์บ้าง ทำความรู้ความเห็นให้ถูกต้องไปทุกเวลานาที
อย่างนี้จึงถูก กลับไปเรียนใหม่ ยังงี้ยังอ่อนอยู่มาก
เรื่องการปฏิบัตินี้ถ้าไม่รู้จริงอย่าพูด มันขายขี้หน้าตนเอง"

ยศถาบรรดาศักดิ์
ท่านกล่าวถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานมาไว้ครั้งหนึ่งว่า
"สะพานข้ามแม่น้ำมูล เวลาน้ำขึ้นก็ไม่โก่ง เวลาน้ำลดก็ไม่แอ่น"

ศักดิ์ศรี

หลวงพ่อเคยปรารภเรื่องภิกษุสะสมเงินทองปัจจัยส่วนตัวว่า
"ถ้าผมสิ้นไป พวกท่านทั้งหลายค้นพบหรือเห็นปัจจัยเงินทองอยู่ในกุฏิผม
โอ๊ย...เสียหายหมดเสียศักดิ์ศรีพระปฏิบัติ"

ขอขอบคุณที่มา http://www.larntum.in.th


527
ขออนุโมทนา...สาธุ ในบุญกุศลครั้งนี้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ...

528
ขอร่วมสวัสดีปีใหม่ ปี 2553 ด้วยครับ :114:  ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบารมีแห่งองค์หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
 อำนวยอวยพรให้พี่ๆเพื่อนๆน้องๆชาวเว็บวัดบางพระ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และประสบความสำเร็จในชีวิต
 คิดสิ่งใดก็ขอให้สมความปรารถนาทุกประการ เทอญ...




สวัสดีปีใหม่ครับ...  :114::090: :114: 02;

529
(หลวงพี่ที่สักข้าพเจ้าจำชื่อท่านไม่ได้ ต้องขออภัยด้วย ท่านตัวเล็กๆสักเต็มตัว) ใครรู้ช่วยบอกด้วย?

ข้าพเจ้า...ดูภาพถ่ายพระอาจารย์ที่สัก...ของวัดบางพระจากกระทู้เก่าๆแล้วจำเค้าหน้าได้....นั่นคือ...หลวงพี่ติ่ง นั่นเอง
กราบนมัสการขออภัยหลวงพี่ติ่งด้วยครับ   ขอบคุณครับ

530
อัญเชิญเทพบนสวรรค์ทุกชั้นฟ้า
ประสิทธิ์สถาพรชัยให้สุขศรี
ขอให้พี่น้องชาวเว็บทุกท่านมี
สุขเกษมเปรมปรีดิ์ทุกวี่วัน
สรรพโศกโรคร้ายให้หายหมด
เกียรติยศพร้อมพรั่งบันดาลขวัญ
เกียรติศักดิ์พูนเพิ่มเสริมชีวัน
สบสุขสันต์วันดีปีใหม่เทอญ

ขอขอบคุณท่านโจรสลัดสำหรับคำอวยพร...ปีใหม่นี้ :053:

531
           ทราบข่าวว่า!!!  ในวันที่  1-3 ม.ค. 53 นี้  มีหมู่คณะผู้แสวงบุญกลุ่มหนึ่งประมาณ10-12 คน
ซึ่งเป็นเพื่อนๆกับพระอาจารย์โด่ง ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรม กินนอนที่วัดทุ่งเว้า ต.นาสีนวล
อ.เมือง จ.มุกดาหาร กับพระอาจารย์โด่ง...

           ท่านใดสนใจจะเดินทางไปร่วมปฏิบัติธรรม...พระอาจารย์โด่ง ยินดีต้อนรับทุกๆท่านนะครับ

ภาพบรรยากาศกาศภายในวัด











ขออนุโมทนาในกุศลผลบุญที่ทุกๆท่าน เคยร่วมทำบุญกับวัดทุ่งเว้าแห่งนี้ และขออนุโมทนากุศลผลบุญในการปฏิบัติธรรม
ของหมู่คณะครั้งนี้ด้วยเทอญ...สาธุ

ด้วยความเคารพและระลึกถึง...ธรรมะรักโข

ขอขอบคุณภาพจาก...ศิษย์หลวงโด่ง

532
 

                     

 

                                               พระเครื่องที่ถูกโฉลกกับราศี
การได้ทำบุญด้วยการบริจาคสร้างพระ จึงถือว่าได้กุศลแรงมาก พูดถึงเรื่องของความเชื่อแล้วก็ต้องว่ากันต่อไปอีก คือ ดังที่ทราบกันดีว่าคนไทยเชื่อว่าโลกประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในการสร้างเครื่องรางของขลังก็ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่นี้ด้วยเหมือนกันครับ อย่างพระเครื่องนี้มีครบถ้วนของธาตุทั้งสี่ คือ

 

•ดิน คือ วัสดุที่นำมาทำพระเครื่องก็มีทั้ง ดิน โลหะ หิน ต้นไม้ หรือผง อันได้มาจากดินหรือจากแร่ธาตุต่างๆ

•น้ำ ได้แก่ น้ำมนต์หรือของเหลวที่ได้มาจากธรรมชาติต่างๆ อันเป็นธาตุน้ำหรือความเยือกเย็น เช่น จากน้ำมันจันทร์ เป็นต้น

•ลม ได้แก่ ปราณ หรือพลังจิตที่แปรสภาพอยู่ในธาตุลม อันได้แก่ การเสกเป่า เป็นต้น

•ไฟ คือ ต้องมีการหล่อหลอม หรือการเผา เพื่อเอาผง การเคี่ยว การต้ม การสะกัด เป็นต้น

 

พระเครื่องแต่ละองค์ที่ผ่านการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ถือกันว่าเป็นเครื่องรางของขลังในระดับชั้นเยี่ยมยอด เพราะนอกจากจะต้องสร้างด้วยวัสดุชั้นดีแล้ว ก็ยังมีพลังกระแสจิตระดับสูงที่ไม่มีสิ่งใดมาเทียบเทียมได้ ผู้ใดได้ครอบครองจึงถือว่าได้ของดี เสริมดวงให้ดี ยิ่งได้สรวงดาว คือหมั่นท่องสวดมนต์ ภาวนาเป็นประจำด้วยแล้วละก็รับรองว่าจะบังเกิดโชคลาภไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อีกทั้งยังเชื่อว่าจะแคล้วคลาด ป้องกันภยันตรายได้อย่างฉมังนัก อย่างที่เราเคยรับทราบว่าพระเครื่องบางองค์ที่นิยมกันมาก ซึ่งหายาก ถ้าพูดในเชิงพาณิชย์ก็จะมีราคาระดับเรือนแสนหรือเรือนล้านได้ แต่คนที่เป็นเจ้าของพระเครื่องบางคนหรืออีกมากที่ไม่สนใจเรื่องเงินๆ ทองๆ เขาก็ไม่คิดในเรื่องของการเปลี่ยนมือ มีแต่จะเก็บไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลของตนเอง และคนในครอบครัว ดีกว่าด้วยประการทั้งปวง

การแขวนพระเครื่องประจำราศีเกิดที่ข้าพเจ้าจะบอกให้ทราบต่อไปนี้ได้มาจากตำรา “โฉลกนพคุณ” ในตำราได้บอกไว้ว่าคนราศีใด ควรแขวนพระเครื่องที่มีพระพุทธคุณอันถูกต้องกับโฉลกของตัวเองดังนี้

ราศีเมษ (13 เม.ย.–14 พ.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระเนื้อผงผสมว่านหรือเนื้อดินเผาหรือดินผสมผง หรือเป็นพระเนื้อผงที่ผสมด้วยดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

ราศีพฤษภ (15 พ.ค.-14 มิ.ย.)

ท่านว่าควรแขวนพระประเภทมีความเย็น จะเป็นพระผงหรือพระที่ทำจากหินหรือพระกิ่ง พระชัยวัฒน์ จะบังเกิดความสุข ความร่มเย็น

ราศีมิถุน (15 มิ.ย.-14 ก.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระเนื้อโลหะเป็นพื้น หรือไม่ก็แขวนพระเนื้อชินที่เป็นของพระกรุประเภทพระร่วงยืนหรือนั่ง จะคุ้มครองป้องกันภัยดีนัก

ราศีกรกฎ (15 ก.ค.-14 ส.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระเหรียญที่มีรูปไข่ทุกชนิด จะเป็นเหรียญพระพุทธหรือเหรียญพระเกจิอาจารย์ก็ได้ ที่รองลงไปก็คือเหรียญกลม ส่วนพระเครื่องนั้นควรเป็นพระเนื้อดินหรือดินผสมผงหรือเป็นพระทำจากตะกั่วหรือหิน

ราศีสิงห์ (15 ส.ค.-14 ก.ย.)

ท่านว่าควรแขวนพระเนื้อผง หรือเหรียญมากกว่าพระเนื้อโลหะอย่างอื่น ถ้าเป็นพระกรุให้เลือกปางสมาธิหรือพระปิดตาหรือปิดทวาร เพราะแสดงลักษณะของการสงบนิ่ง

ราศีกันย์ (15 ก.ย.-14 ต.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระนางพญาหรือพระที่มีรูปสามเหลี่ยม ถ้าเป็นเหรียญที่เป็นรูปหยดน้ำ เป็นเหมาะที่สุด

ราศีตุลย์ (15 ต.ค.-14 พ.ย.)

ท่านว่าควรแขวนพระเครื่องเนื้อโลหะทุกชนิด เพราะจะเด่นที่สุด อีกทั้งช่วยให้ผ่านพ้นเรื่องร้ายๆ ได้ดีมากและถ้าเป็นปางนาคปรกก็จะเสริมบารมีให้ดีขึ้น

ราศีพิจิก (15 พ.ย.-14 ธ.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระทางเมตตา เช่น พระเนื้อผงทางเมตตา หรือพระโลหะที่ปลุกเสกด้วยพระที่มีเมตตาธิคุณแบบสายกรรมฐาน ไม่ควรแขวนพระทางบู๊หรือคงกระพันหรือทางอำนาจ เน้นเมตตาดีที่สุด

ราศีธนู (15 ธ.ค.-14 ม.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระที่มีมุมเหลี่ยม จะเป็นแบบห้าเหลี่ยมหรือซุ้มแหลมหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือแปดเหลี่ยม อาทิ จะเป็นเนื้อผง เนื้อโลหะหรือเหรียญได้ทั้งสิ้น

ราศีมังกร (15 ม.ค.-14 ก.พ.)

ท่านว่าควรแขวนพระที่มีพระนามของพระมหากษัตริย์ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้วยคนในราศีนี้นั้นจะต้องอาศัยพระนามของพระมหากษัติย์ เป็นศรีแก่ชีวิตและการงานจะดีมาก

ราศีกุมภ์ (15 ก.พ.-14 มี.ค.)

ท่านว่าควรแขวนพระที่มีส่วนผสมของความเย็น เช่น น้ำมนต์หรือน้ำมันหอมต่างๆ หรือเป็นพระที่ผ่านการแช่น้ำมนต์ หรือเป็นพระผง หนุนเสริมชีวิตได้เป็นอย่างดี

ราศีมีน (15 มี.ค.-14 เม.ย.)

ท่านว่าควรแขวนพระที่เป็นเนื้อโลหะหล่อหลอมด้วยไฟหรือเหรียญที่ปลุกเสกด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ จะเป็นเกราะป้องกันอันตรายได้ดีมาก

 

ในตำราท่านบอกเช่นนั้น ลองพิสูจน์ดูก็ดีนะครับ เพราะขึ้นชื่อว่าพระเครื่องถ้าได้ผ่านการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์หรือพระอาจารย์ดังๆ อย่างถูกพิธีย่อมดีแท้แน่นอน ขอให้มีศรัทธาและผู้สวมใส่ยึดมั่นปฏิบัติตนในทางที่ชอบรักษาศีลให้ครบถ้วน รับรองว่าเกิดมงคลดีนัก ท่านจะนำพระเครื่องสวมใส่คอหรือแขวนภายในรถยนต์ของท่านเพื่อเป็นสวัสดิมงคลก็ได้ การมีของดีอยู่กับเราเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมทั้งสิ้นครับ...

 
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.amulet.in.th
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

533


หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร ปูชนียธรรมสถานเขาสามยอด  อ.เมือง จ.ลพบุรี
ชาติภูมิ หลวงปู่เรืองท่านเป็นชาวบ้านสร้าง ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2457 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล เป็นบุตรของนายคำพันธ์ นางศรี นามสกุลสุขสันต์ นามเดิม เรือง สุขสันต์มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน ชาย 5 หญิง 3 หลวงปู่เป็นคนที่ 2

การศึกษา จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนขุนโคกปีบปรีชา อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นกำลังอันสำคัญในการช่วยเหลือครอบครัวประกอบอาชีพตามท้องถิ่น
อุปสมบทเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2477 ที่วัดสระข่อย ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี พระครูวิมลโพธิเขต (หลวงพ่อจำปา) เจ้าอาวาสวัดสระข่อย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูทัต วัดโคกมอญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฉัตร วัดท่าประทุม เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาอาภัสสะโร หลังอุปสมบทพำนักจำพรรษาที่วัดสระข่อย และสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในพรรษาที่ 3 หลังจากนั้นได้ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่าง ๆ

ปี พ.ศ. 2494 ธุดงค์สู่เขาสามยอดและพำนักภายในถ้ำพระอรหันต์ ( ปูชนียธรรมสถานเขาสามยอด ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ) และได้รับใช้สถานที่แห่งนั้นบำเพ็ญจิตภาวนามาโดยตลอด
ระยะปลาย ๆ สงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ขึ้นอีสาน แล้วกลับมาอยู่ที่ จ.ลพบุรี ที่ถ้ำพิบูลย์ในปี พ.ศ.2489 (พรรษาที่ 13) (ถ้ำพิบูลย์อยู่ใกล้วัดพระบาทน้ำพุ ที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ในปัจจุบัน) หลวงปู่เรืองได้จำพรรษาที่ถ้ำพิบูลย์ 5 พรรษา ต่อมาทางทหารได้มานิมนต์ให้ท่านไปอยู่วัดที่สร้างใหม่ เป็นที่เจริญ และใหญ่โตกว่าที่เดิม อีกทั้งไม่กันดาร เพราะที่ท่านอยู่นี้เป็นเขตของทหาร และทหารซ้อมยิงอาวุธอยู่บ่อย ๆ กลัวว่าจะเป็นอันตรายได้ อีกอย่างในหน้าแล้งกันดารน้ำมาก จึงขอให้ไปอยู่ที่วัดที่สร้างใหม่ แต่หลวงปู่ไม่ไป กลับเก็บกลดสะพายย่าม ธุดงค์เข้าป่าลึกไปเลย

ท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่า เดินตามหลังเขาไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมลงจากเขา จนมาพบ ถ้ำพระอรหันต์ที่เขาสามยอด (เมื่อ พ.ศ.2493) หลวงปู่จึงตัดสินในอธิฐานจิตว่า จะไม่ไปไหนอีก จะอยู่จำพรรษาที่นี่ตลอดไป และจะไม่ลงไปจากเขานี้อีกด้วย ซึ่งเมื่อ 40 ปีกว่าก่อน ที่แถว ๆ นี้ยังมีเสือ มีช้าง และสัตว์ป่าชุกชุมอยู่ รวมถึงไข้ป่ารุนแรงด้วย

ในระยะแรกที่หลวงปู่อยู่ ท่านไม่ลงไปไหนเลย รวมทั้งไม่ได้บิณฑบาตด้วย แต่ท่านก็อยู่ได้ ผู้เขียนได้สอบถามหลวงปู่ว่า 2-3 ปีแรก หลวงปู่ไม่ได้บิณฑบาตเลย ท่านอยู่องค์เดียวมาตลอด ไม่มีใครมาพบเห็นท่านเลย หลวงปู่อยู่ได้อย่างไร? และฉันอะไร? จึงอยู่ได้ หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ฉันยอดไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะยอดโสมซึ่งขึ้นอยู่บนเขามากมายก็ฉันมาตลอด อิ่มแทนข้าวก็อยู่ได้ ส่วนหน้าแล้งบนเขาไม่มีน้ำ แล้วหลวงปู่เอาน้ำที่ไหนดื่มและมาสรง (อาบ) หลวงปู่บอกว่า ก็ตัดเถาวัลย์ให้น้ำไหลจากเถาวัลย์ เอากระติกรอง แล้วนำมาฉัน วันละนิดเดียวพอแก้กระหาย เพราะอยู่ในถ้ำอากาศเย็นจึงไม่ต้องฉันบ่อย ๆ ส่วนน้ำสรง ก็ไม่ต้อง เพราะอะไร ก็เพราะเหงื่อไม่ค่อยออก กลิ่นตัวจึงไม่ค่อยมี ฝนตกทีก็ได้สรงกันที
หลวงปู่เรือง อาภสฺสโร เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีอายุสูงสุดใน จ.ลพบุรี โดยขณะนี้หลวงปู่มีอายุ ๙๗ ปี พรรษา ๗๗ สมัยก่อนท่านได้ขึ้นไปอยู่บนเขาสามร้อย นานกว่า ๔๐ ปี โดยไม่ได้ลงมาข้างล่างเลย เพิ่งจะลงมาเมื่อ ๑๐ ปีหลังนี้เอง

หลวงปู่เป็นพระเถราจารย์ผู้มีความเป็นอยู่อย่างง่าย สมถะ สันโดษ ในขณะเดียวกัน ท่านก็มีวิชาอาคมครบทุกด้าน ผู้ใดได้ไปกราบไหว้ท่านแล้ว ล้วนมีแต่ความประทับใจเสมอ



ทหารเมืองลพบุรีได้พบท่านเข้า... พร้อมปาฏิหารย์ครับ คือทหารซ้อมยิงระเบิดครับพอดีจุดที่ระเบิดจะตก

มีร่างของพระสงฆ์องค์หนึ่งอยู่พอดี เสียงระเบิดดังสะนั่น ทหารนึกว่าคงไม่รอดแน่ แต่ผลปรากฎว่า

ท่านยังเดินอย่างสำรวมอยู่เหมือนเดิม มิได้รับอันตรายจากระเบิดเลย ทำให้ทหารเคารพนับถือ

ท่านมาก ถือได้ว่าท่านเป็นพระที่ทหารเมืองลพบุรีเขาสามยอดถือเป็นสุดยอดสงค์แห่งยุคเลยก็ว่า

ได้ครับ อีกอย่างหนึ่งวัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์มากมาย เป็นที่หวงแหนของเหล่าทหาร

และคนแถวนั้นมากๆๆๆๆๆๆครับ

รูปหล่อรุ่นแรกของท่าน
ล็อคเก๊ตหลวงพ่อ


ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก...เว็บพลังจิต...และ...http://www.inform.collection9.net

                     ...http://nanamulet.igetweb.comและhttp://www.web-pra.com

534
ขอแจมด้วยคนนะครับ...ลุงขายมะพร้าวครับ...อิ อิ อิ  :095: :004:

ขอบคุณครับ...

535
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน...เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนาน...   :089::090: :114:

536
ขอขอบคุณนะครับ...ที่นำภาพมาให้ชม...ขอร่วมไว้อาลัยด้วยครับ :054: :090: :054:

537
กราบนมัสการหลวงพ่อเจือ...ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง...และขอร่วมไว้อาลัยด้วยครับ

538

 

วันนี้ขึ้นปีใหม่แล้วก็เลยอยากจะเทศน์ให้ฟังเสียหน่อย
ทุกคนที่เกิดมามันมีการเปลี่ยนแปลงยักย้ายไปตลอดอายุของเรา
ความแก่ของเรานั่นน่ะมันหมดไปๆ แต่ว่า
วัน เดือน ปีนั้นมันของเก่าอยู่
คนยังพากันไปตื่นเงาตนเองเห็นว่าปีเก่าหมดไป
ปีใหม่มาเลยตื่นเต้นกัน
อยู่กรุงเทพฯ ก็พากันมาถึงวัดหินหมากเป้งนี่ มาขอพรปีใหม่
มาขอให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ขอให้มีอายุยืนนาน
อันความหลงของคนมันหลงอยู่อย่างนี้แหละ หลงเงา ตนเอง

ขอให้มีอายุยืนนาน อายุมันจะยืนอย่างไร มันก็หมดไปทุกทีๆ
เหมือนกันกับที่เขาทอ หูกทอผ้า
ข้างหน้ามันสั้นเข้าทุกทีๆ บางคนก็จวนจะหมดแล้ว
แล้วจะเอาอายุที่ไหนมาต่อให้ มาขอพรจากพระ
พระจะเอาอายุที่ไหนมาต่อให้ อายุของพระก็หมดไปๆ เหมือนกัน
ต่างคนต่างหมดไปด้วยกันจะไปให้กันได้อย่างไรล่ะ

ขอให้มีวรรณะ คือผิวพรรณงาม
ก็อาหารนั่นแหละให้ผิวพรรณ
ขออายุกับขอวรรณะก็อันเดียวกันมันได้จากอาหาร
มาขอผิวพรรณผ่องใสบริสุทธิ์จากพระ
ครั้นหากว่าพระให้ ทีนี้พระจะไปเอาที่ไหนมาให้
ผิวพรรณวรรณะมันเกิดจากอาหาร

ขอให้มีความสุข มันจะสุขที่ไหน?
มาขอจากพระก็จะได้จากที่ไหน
ความสุขอันที่ขอได้นั่นมันมีอย่างหนึ่ง คืออาหาร นั่นแหละขอความสุขได้
อาหารทำให้มีความสุขสบาย
ถ้าอาหารไม่มี อาหารไม่ตกถึงท้องละก็ หมดเหมือนกันความสุข ไม่มีความสุข
แต่พระก็ยังขออาหารจากชาวบ้านฉันอยู่
แล้วจะเอาความสุขมาให้ญาติโยมได้อย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่า ความสุขไม่มีในโลกนี้
มีแต่ทุกข์เกิดขึ้นแล้วดับไป ทุกข์อันนี้เกิดขึ้นมาใหม่ แล้วทุกข์อันนั้นดับไป
ทุกข์ใหม่เกิดขึ้นมาอีก เมื่อเห็นตามเป็นจริงอย่างนี้แล้วก็หมดเรื่อง
ไม่ต้องไปขอความสุขจากใคร

ขอพละกำลัง ก็อันเดียวกัน
ได้อาหารมีรสชาติดี มันก็ได้กำลังวังชา ทำมาหากินเลี้ยงชีพได้

พร ๔ ประการนั้นไม่ทราบจะไปขอจากใคร
ตื่นเงา เจ้าของ คือตัวของเราเองนั่นแหละ
มันเปลี่ยนแปลงไปทุกวันๆ
เข้าใจว่าปีใหม่ เดือนใหม่
จะทำให้มีความสุข มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ๔ ประการนั่น
วัน เดือน ปี มันจะเอาอะไรมาให้
ตื่นโดยไม่รู้ด้วยซ้ำ ไม่มีใครให้แต่
ว่าพากันตื่นเอา เข้าใจกันว่าเอาพรมาได้จากปีเดือน
ปีเดือนมันก็เป็นอยู่อย่างนั้นแต่ไหนแต่ไรมา
เราเกิดขึ้น มาก็เห็นว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น
ปีหมดไป เดือนหมดไป มันหมดไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ
เราสมมติว่ามันหมด แต่อันที่จริงมันไม่หมดหรอก
มันหมุนเวียนอยู่อย่างนั้นตลอดเวลามา
วันหมุนไปหาเดือน เดือนหมุนไปหาปี มันเวียนกันไป

แท้จริงวันมันก็ไม่ได้เรียกตัวมันว่าวันหรอก วันอาทิตย์ วันจันทร์
วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ วันเสาร์
มันไม่ได้เรียกของมัน เดือนก็ไม่เรียกของ
มันว่าเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม ฯลฯ
มันไม่ได้เรียกไม่ได้พูด เราไปใส่สมมติชื่อเอาเฉยๆ
ปีก็ไม่ได้เรียกตัวมันเองว่า ปีชวด ฉลู เถาะ มะโรง ฯลฯ
คนพูดเรียกเอาสมมติเอาเองต่างหาก
ความจริงตัวของเรานี้ต่างหากที่มันหมดไป ไม่ใช่วันเดือนปีหมดไป
ครั้นมองเห็นตัวของเราหมดไปแล้ว
ไม่ต้องตื่นเต้นกับของพรรค์นั้น ไม่ต้องตื่นเต้นกับวันใหม่ ปีใหม่
อันนั้นมันหมุนไปตามเรื่องของมัน
วันหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง อันนั้นเป็นสมมติบัญญัติขึ้นมา

อันที่เราควรจะตื่นเต้นนั่น ควรตื่นเต้นที่ตัวของเรา
ว่าวันหนึ่งๆ เดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง
เราเจริญขึ้น หรือว่าเราเสื่อมลงอันนั้นต่างหาก
เราเห็นความเสื่อมความเจริญของเรา
แท้จริงร่างกายของเรามันเจริญขึ้นไม่มีหรอก
มีแต่เสื่อมลง มันเกิดขึ้นมาแล้วก็เสื่อมลงทุกทีๆ
มันเสื่อมตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาโน่น
มันแก่คือความเสื่อม ถ้าหากมันไม่แก่ มันก็ไม่คลอดออกมา
คลอดออกมาแล้วก็แก่วัน แก่เดือน แก่ปี โดยลำดับ
จนกระทั่งแก่เฒ่าชรา แล้วผลที่สุดก็มรณะคือตาย อันนี้เป็นความแก่ของร่างกาย

ความแก่ของจิตใจคราวนี้ ร่างกายนี้เราอาศัยมันอยู่เฉยๆ เท่านั้น
มันไม่ใช่เรา ควรมองดูจิตใจของเรา
ทำใจของเราให้มันแก่ขึ้น ทำใจให้แก่คืออย่างไร?
คือทำใจของเราให้แก่กล้าด้วยคุณธรรม
อันนั้นเป็นของเราอย่างแท้จริง วันหนึ่งๆ เราคิดถึงการทำทานหรือไม่?
เราคิดถึงการทำทานกี่ครั้ง เราคิดถึงการรักษาศีลหรือไม่?
และเราคิดถึงการทำสมาธิเพื่อฝึกหัดทำใจให้สงบ ทำใจให้เบิกบานหรือไม่?
คุณธรรมเหล่านี้แหละที่ควรทำให้มันแก่ขึ้นในใจของเรา
การทำทาน เป็นผลให้ จิตใจอิ่มเอิบเบิกบาน
การที่จิตใจอิ่มเอิบเบิกบานมันเป็น อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ตรงนั้นแหละจิตใจเบิกบานแล้วกายมันก็เบิกบาน
สุขะมันเกิดขึ้น วรรณะมันก็เกิดขึ้นมาด้วยกัน
มีความอิ่มอกอิ่มใจในการที่เราทำบุญทำทาน
วันหนึ่งๆ เราทำทาน มันอิ่มใจขึ้นมาทุกวัน
ก็ได้ชื่อว่าเป็นของเราแล้วอันนั้น

การรักษาศีล ศีลเรามีกี่ตัวในตัวของเรา
ศีล ๕ ได้แก่ ๑. เจตนางดเว้นจากการฆ่า
๒. เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
๓. เจตนางดเว้น จากการประพฤติผิดมิจฉาจาร
๔. เจตนางดเว้นจากการกล่าวเท็จ กล่าวคำไม่จริง
๕. เจตนางดเว้นจากการ ดื่มสุรายาเมา

เรามีครบไหมในตัวของเรา ถ้าไม่ครบก็ทำให้ครบขึ้นมา
สมมติว่าปีนี้มีแล้ว ๑ ตัว ปีหน้าต้องมีอีก ๑ ตัว
ก็ได้ศีล ๒ ตัวแล้ว ปีต่อไปก็ได้ศีล ๓ ตัว
ปีต่อๆ ไปก็มี ศีล ๔ ตัว ๕ ตัว ๕ ปีเราก็ได้ศีลครบบริบูรณ์ในตัวของเรา
อันนั้นแหละจิตใจเจริญขึ้น มันแก่ขึ้น
ครั้นมีศีลครบบริบูรณ์แล้ว ใจก็อิ่มเอิบเบิกบาน
มีความสุข มีสุขะ วรรณะ มันก็เกิดขึ้นมา พละก็มีขึ้นทั้งกำลังกาย
กำลังใจมันก็มีอายุ ทำให้อายุยืนได้เหมือนกัน ตกลงมีครบบริบูรณ์แล้ว

คนมีศีล ๕ บริบูรณ์ทำให้อายุยืนได้
อย่างเช่นในสมัยหนึ่งตระกูลของธรรมบาลนั้นเขารักษาศีล ๕ หมดทุกคน
ในตระกูลของเขานั้นถ้าคนอายุไม่ถึง ๑๐๐ ปีไม่ตาย
ธรรมบาลไปเรียนหนังสือในทิศาปาโมกข์
เห็นเด็กคนอื่นตาย ญาติพี่น้องพ่อแม่มาร้องไห้
ธรรมบาล เห็นแล้วก็หัวเราะ คนถามว่า “ทำไมจึงหัวเราะ”
ธรรมบาล ตอบว่า “คนในตระกูลของฉันนั้นอายุยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ไม่ตายหรอก”
ครูของธรรมบาลก็มาคิดดู เอ! มันจะเป็นจริงได้หรือ?
จึงทำอุบายเอากระดูกแพะมาเผา
แล้วห่อผ้านำไปให้พ่อแม่ของธรรมบาล
ร้องไห้ร้องห่มไป เมื่อถึงบ้านก็ร้องไห้อีก
พ่อแม่ของธรรมบาลถาม “ร้องไห้เรื่องอะไร?”
ครูตอบว่า “ที่ท่านเอาลูกไปฝากไว้ในสำนักของข้าพเจ้านั้น ลูกของท่านตายแล้ว”
พ่อแม่ของธรรมบาลก็หัวเราะอีก
ครูถามว่า “ทำไมจึงหัวเราะ?”
ตอบว่า “ลูกฉันไม่ได้ตาย กระดูกนี้ไม่ใช่กระดูกลูกของฉัน
อายุของเขายังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ลูกของฉันยังไม่ตายหรอก”
ครูก็แจ้งชัดขึ้นมาในใจว่า โอ ! ตระกูลนี้เป็นอย่างนี้จริงๆ

นั่นแหละการรักษาศีล ๕ ให้ครบมูลบริบูรณ์ มีอายุยืนนานได้เหมือนกัน
ลองดู แม้อายุจะไม่ถึง ๑๐๐ ปี แต่ก็มีอายุยาวนานกว่าปกติธรรมดา
การรักษาศีลทำให้อายุยืน
เพราะมันทำให้จิตใจแจ่มใสเบิกบาน ไม่คิด ถึงสิ่งทั้งปวงหมด
เมื่อเรามีศีล ๕ ครบสมบูรณ์
ก็ไม่มี การฆ่าสัตว์, ไม่มีการลักขโมยของคนอื่น ฯลฯ
คือ ความชั่วไม่เกิดขึ้นในตัวของตน
จิตใจมันก็ผ่องใสเบิกบาน อายุก็ยืนยาวนานเท่านั้นเอง

จึงควรตื่นอย่างนี้ ตื่นความดีของเราดีกว่าว่า เราได้ทำดีแล้ว
แต่ก่อนไม่เคยมีศีล ๕ เวลานี้เรามีแล้ว ตื่นอันนี้แหละดีกว่าตื่นตามธรรมดา
ที่เขาตื่นปีใหม่กันในบ้านในเมืองนั้น
อันที่เขาตื่นนั้นมันตรงกันข้ามกับที่อธิบายมานี้
ตื่นมากินเหล้าเมาสุราเฮฮากันไปทั่วทุกแห่งหน
เสียทรัพย์สินเงินทอง กระโดดโลดโผนในที่สุดขับรถขับราไปเที่ยว เลยรถคว่ำ
หรือเกิดทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน เลยหัวร้างข้างแตก
บางทีถึงกับตาย ปีหนึ่งๆ คนตายเพราะตื่นเต้นปีใหม่นั้นจำนวนเท่าใด?
อย่างนั้นไม่ได้ตื่นในตัวเรา มันตื่นของภายนอก
มันเลยหลงลืมตัวไปเพลิดเพลินมัวเมาไป
ทีนี้เลยไม่ตื่นในตัวของเรา มันเป็นอย่างนั้นแหละ

ดังนั้น ความตื่นในตัวของเรานั้นเป็นของดีมาก
เป็นเหตุให้รู้สึกตื่นตัว ทำความดีทั้งทางกายและทางใจ
อย่างเช่นเราไม่เคยมีศีลเลยสักตัว ปีนี้เอาให้มันได้ศีล ตัวหนึ่ง
ปีต่อไปได้อีกเป็น ๒ ตัว พอ ๔ ปี ๕ ปี ก็ได้ศีล ๕ ครบบริบูรณ์
ก็มีความอุ่นใจแล้ว สบายใจแล้ว คราวนี้

เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ต่อไปก็ตื่นทำสมาธิ
หัดทำสมาธิภาวนา จิตใจยังไม่ทันเป็นสมาธิ ก็หัดให้เป็นสมาธิ
จิตใจแน่วแน่สงบลงเป็นหนึ่ง มันยังไม่ทันเป็นจึงต้องหัด
หัดให้มันเป็นภาวนา ปีนี้ได้แค่นี้ ปีหน้าให้ได้ต่อจากนี้ไปอีก
ทำสมาธิให้ได้แน่วแน่ ปีต่อไปให้ได้ชำนิชำนาญกว่านี้อีก
ทำสมาธิได้บ้างไม่ได้บ้าง มันส่งส่ายวอกแวกไปมาสารพัดทุกอย่าง
ทำทีแรกมันเป็น อย่างนั้น ก็ดีอยู่เราเห็นจิต
ดีกว่าไม่เคยเห็นจิตเสียเลย ทีหลังต่อไปให้มันแน่วแน่ลงไป
ปีหนึ่งทำสมาธิให้ได้สักครั้งหนึ่งก็ยังดีอยู่ ดีกว่าที่เราอยู่เฉยๆ
ไม่ได้หัดสมาธิเลย ไม่ทราบว่าเกิดมากี่ภพกี่ชาติ ยังไม่เคยทำสมาธิสักที
ชาตินี้ทำให้มันได้สักครั้งหนึ่งก็ยังนับว่าดีอยู่
ปีต่อไปก็หัดให้มันได้บ่อยเข้า หัดให้มันชำนิชำนาญคล่องแคล่วเข้า
ทำให้มันได้เป็นขั้นเป็นตอนไป จนกระทั่งมันชำนาญ
ทำเวลาใดให้มันได้เวลานั้น
อันนั้นเรียกว่าต่ออายุ ต่อวรรณะ สุขะ พละ ขึ้นไป
นี่แหละของที่ควรตื่น ควรตื่นทำสมาธิภาวนา

ถ้าหากไม่เช่นนั้นจิตใจของเรามันอยู่เสมอภาคอยู่เสมอเก่า
ลองคิดดูคนเรานั้นจะเป็นคนแก่หรือคนหนุ่มก็ตาม
จะมองเห็นได้ง่ายๆ ว่าจิตใจไม่รู้จักแก่
ในเวลา เราฝันจะรู้จักหรอกว่า มันแก่หรือไม่แก่ในตัวของเรา
จิตใจมันยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่
แต่ภายนอกนั้นคนอื่นเห็นกันหมดแล้วว่าแก่พอแล้ว
เขาเรียกว่าตา ว่ายาย ว่าป้า ว่าลุง
อะไรต่างๆ ร่างกายมันแก่เขาจึงเรียกว่าป้า ว่าลุง ว่าตา ว่ายาย
เขาเห็นกันหมดทั้งเมืองว่าแก่ แต่ในใจไม่มีใครเห็นหรอก
ตัวเราเองเห็นง่ายๆ ทีเดียว เวลาฝันยังหนุ่มฟ้ออยู่ทุกคน
ไม่ทราบว่ามันเป็นอย่างไร มันถึงไม่แก่
หัดให้มันแก่บ้างซิ ร่างกายแก่ขึ้นมาแล้ว
ก็หัดจิตหัดใจให้มันแก่อย่างเขาบ้าง
จิตใจนี้ถ้าหากไม่ หัด มันก็ไม่แก่เองสักทีหรอก

ทางโลกนั้นสิ่งใดเกิดมามันแก่หมดทุกสิ่งทุกอย่าง
ลูกหมากผลไม้มันก็แก่ไปตามกาลเวลาของมัน
แต่คน นี่จิตใจไม่มีแก่เลยเป็นหนุ่มอยู่ตลอดเวลา
เหตุนั้นคน ตายไปจิตใจก็อยู่สภาพเดิมของมัน
ถึงไปเกิดใหม่รูปร่างเป็นเด็กเล็ก แต่จิตใจมันก็เท่าเก่า
มีโลภ โกรธ หลง เท่าเก่า
เดี๋ยวนี้เราเป็นอุบาสก-อุบาสิกา เป็นพระเป็นเณร อันนี้มันแก่ขึ้นมาแล้ว
ไม่เป็นฆราวาสอย่าง เก่า เมื่อเราเป็นอุบาสกอุบาสิกา
มันก็ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงอย่างเขา
ทำอะไรก็ระมัดระวังอยู่ในขอบเขตของศีลธรรม
อันนั้นแหละใจมันแก่ขึ้นมาแล้ว

หัดทำสมาธิภาวนาให้มันได้ให้มันเป็น อย่าเป็นแต่คนหนุ่มเรื่อยไป
ทำให้มันแก่ขึ้นมาหน่อย เมื่อมันแก่ขึ้นมาอย่างที่อธิบายให้ฟังแล้ว
มันจะพ้นทุกข์แล้วคราวนี้ เปรียบได้กับลูกไม้ผลไม้เกิดมาทีแรกมันยังดิบๆ อยู่
ยังอ่อนอยู่ เช่น มะม่วงพอออกมาเป็นลูกเล็กนิดเดียว ลองไปชิมดูซิขมจัดทีเดียว
ครั้นแก่ขึ้นมาก็ค่อยฝาดขึ้น แก่ขึ้นมาอีกก็ค่อยมีรสมันขึ้นมาหน่อยรสฝาดหายไป
แก่ขึ้นมาอีกก็ค่อยหวานขึ้นมาตามลำดับ เมื่อมันแก่จัดก็หลุดร่วงลงไป
หมดสภาพของลูกไม้ที่ยังสดๆ มันก็หวานน่ะซี
มันควรที่จะหวาน มันก็หวาน อย่างนั้นมันแก่หมดสภาพไป

ส่วนคนเราเมื่อแก่เข้าอายุมากเข้า
ถ้าหากว่าเราไม่ฝึกหัดอบรม จิตใจของคนเราไม่มีแปรสภาพเลย
ยังมิหนำซ้ำมันเลวร้ายไปกว่านั้นอีก กลับไปเป็นเด็กอีก
คนแก่คนเฒ่าเลยไม่รู้จักแก่เฒ่า กลับเป็นเด็กไปเสียอีก

นี่พูดถึงเรื่องปีใหม่ ที่เขาสมมติบัญญัติว่าปีใหม่
แท้จริงไม่ใช่ของใหม่หรอก ของเก่านั่นแหละ
ตะวันขึ้นก็ของเก่า ตะวันตกก็ของเก่า
วันหนึ่งๆ ก็คือตะวันขึ้นจนถึงตะวันตก เรียกว่าวันหนึ่ง
แล้วก็มากำหนดจดจำกันว่า ๓๐ วันก็เป็นหนึ่งเดือน ๑๒ เดือนก็เป็นหนึ่งปี
อันที่จริงก็เท่าเก่านั่นแล้ว ตะวันขึ้นแล้วก็ตะวันตก
สมมติบัญญัติไปเท่าไรๆ มันก็ของเก่า
ส่วนที่เป็นของจริงนั้น มันคร่าชีวิตอายุของเราต่างหาก
อายุชีวิตของเรามันหมดไปๆ

คำปริศนาโบราณท่านว่าไว้ “ยักษ์ตนหนึ่งมีตา ๒ ข้าง
ข้างหนึ่งริบหรี่ ข้างหนึ่งลืมโพลง มีฟันอยู่ ๓๐ ซี่ บดเคี้ยวกินสัตว์หมดปฐพี”
ท่านว่าอย่างนั้น “ตาข้างหนึ่งริบหรี่ข้างหนึ่งลืมโพลง”
ท่านหมายถึงเดือนดับและเดือนเพ็ญนั่นเอง
“มีฟัน ๓๐ ซี่” ก็คือมี ๓๐ วันคือหนึ่งเดือน
“เคี้ยวกินสัตว์หมดปฐพี” ทุกคนต้องเป็นอย่างนั้น
ยักษ์ตนนี้กินหมด คนไหนเกิดขึ้นมามันก็เคี้ยวกินหมดทุกคนๆ
หมายความว่าอายุหมดไปสิ้นไป แต่เราไม่รู้ตัว

ขอขอบคุณข้อมูล
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)

 

539
ถาม – ตามหลักธรรมะเท่าที่ทราบ การทำบาปคือการทำตัวเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ผมกินเหล้าอย่างมีสติเป็นประจำ ไม่ทำให้ตัวเองและคนรอบข้างเดือดร้อน แต่พระก็บอกว่าผิดศีลข้อ ๕ อยู่ดี รู้สึกเหมือนเป็นคนไม่ดีเพียงเพราะถือศีล ๕ ไม่ครบน่ะครับ ขอเหตุผลชัดๆ หน่อยได้ไหมว่ากินเหล้าอย่างมีสตินั้นเสียหายอย่างไร

การละเมิดศีลข้อ ๕ นั้น ถ้าว่ากันตามจริงก็ถือว่าเบากว่าการละเมิดศีลข้ออื่น คือนอกจากจะอยู่ในข้อสุดท้ายของศีล ๕ แล้ว พระพุทธเจ้ายังกำหนดบทลงโทษสถานเบาแก่ภิกษุผู้ละเมิดวินัยด้วยการเสพสุรา ขอเพียงไม่เสพสุราเป็นอาจิณ ก็จะไม่ขาดจากความเป็นภิกษุ แต่หากพระทำผิดศีลข้ออื่น คือฆ่ามนุษย์หรือลักทรัพย์เกินหนึ่งบาท ก็จัดเป็นผู้แพ้ภัยตนเอง ตามวินัยสงฆ์ถือว่าตายจากความเป็นพระทันที ต้องสึกสถานเดียวเบี้ยวไม่ได้

พูดแบบรวบรัดตัดความ คุณยังไม่เป็นคนเลวอย่างแน่นอน ตราบเท่าที่ยังครองสติอยู่กับตัวได้ แม้เหล้าจะเข้าปากบ้างก็ตาม แต่แม้เหล้าไม่เข้าปาก ถ้าสติขาดลอย ยอมตัวให้กับบาปอกุศลแล้ว อย่างไรก็ได้ชื่อว่าเป็นคนเลว และเป็นการตัดสินใจเลวเอง ไม่ใช่ถูกเหล้าย้อมใจให้เลว

จากภาพที่เห็นด้วยตาเปล่านั้น การดื่มเหล้าไม่ทำให้ร่างกายใครเสียหาย เหล้าต้องมีปริมาณมากพอสมควรจึงจะทำให้มึนจนขับรถออกนอกทาง หรือทำให้ตับแข็งตายในระยะยาว เพราะฉะนั้นในสังคมมนุษย์จึงไม่ติเตียนผู้บริโภคเหล้าพอประมาณ แต่กลับจะส่งเสริมด้วยซ้ำ เพราะเหล้ามีข้อดีประการต่างๆ เช่นทำให้เลือดลมแล่น และเป็นตัวปรุงรสในการชุมนุมสังสรรค์เสวนา หลายกลุ่มหลายเหล่าถึงกับตั้งข้อรังเกียจผู้หลีกเลี่ยงเหล้ายาในงานเลี้ยง ถือว่าทำตัวแปลกแยกไม่เป็นกันเองเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อเล็งมาที่จิตซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะพบว่าเหล้าทำความฟกช้ำให้กับจิตทุกครั้งที่คุณปล่อยให้มันล่วงลำคอลงไป หากเอาผู้ที่ ‘คอบริสุทธิ์’ มากินเหล้าอึกแรกๆจะรู้เลยครับ ว่าจิตผิดปกติไป เหมือนฤทธิ์ของพิษร้ายที่ซ่านสู่สมองมันบีบสติให้เล็กลง แล้วขับดันกิเลสประเภทต่างๆ ให้พองโตขึ้นเรื่อยๆ สติที่เริ่มแหว่งวิ่นและกิเลสที่เริ่มกำเริบง่ายนั่นแหละ ตัวชี้ว่าจิตเริ่มช้ำแล้ว หากปล่อยให้เกิดความช้ำกับจิตมากๆ ไม่เอาบุญมาชะล้างหรือสมานแผลเสียบ้าง ในที่สุดจิตจะช้ำถาวร จิตที่บอบช้ำถาวรจะมีสภาพเหมือนคนสะบักสะบอม ยามใกล้ตายคงประคองตัวขึ้นบันไดสวรรค์ไม่ไหว แต่กลับมีแนวโน้มว่าจะทนแรงฉุดของอบายไม่อยู่

กรณีของคุณนั้น ถ้ากินเหล้าเป็นประจำแบบไม่ขาดสติเลย ไม่เคยเมาสุราอาละวาดเลย ในทางธรรมก็ต้องถือว่า ‘ไม่เลว’ ครับ แต่อย่างไรจิตของคุณก็มีความฟกช้ำดำเขียวอยู่ดี เพราะการกินเหล้าน้อยๆ เป็นประจำก็คล้ายถูกทุบเบาๆ ไม่ขาดระยะ ร้อยหนเหมือนไม่เป็นไร แต่พอขึ้นหลักพันก็ชักช้ำเข้าจนได้

อยากให้มองว่าถ้าคุณทำทานเป็นปกติ และศีลข้ออื่นบริสุทธิ์สะอาดหมด บุญแห่งทานและศีลจะช่วยให้ ‘กล้ามเนื้อจิต’ เกิดความแข็งแรง ฟกช้ำยาก รวมทั้งคืนสภาพได้เร็ว เมื่อใกล้ตายก็อาจแทบไม่ได้รับผลร้ายจากการสั่งสมเหล้าสักเท่าไร

แต่หากคุณเป็นคนตระหนี่ มีศีลที่บกพร่องทุกข้อ บาปทั้งหลายทำให้จิตอ่อนแอและ ‘ขี้โรค’ อยู่โดยเดิม ยิ่งเพิ่มเติมแรงทุบ แรงกระแทกจากเหล้ายาเสริมเข้าไป พอใกล้ตายโอกาสรอดจากนรกก็คงยาก

นั่นคือการพูดตามเนื้อผ้า แต่ถ้าไม่อยากให้พูดคล้ายเอาเรื่องมองไม่เห็นข้างหน้ามาขู่กัน จะลองพิจารณาความจริงที่เป็นปัจจุบันก็ได้ครับ การกินเหล้าจะทำให้คุณมองอะไรอย่างหนึ่งผิดจากความเป็นจริงเสมอ บางทีก็รู้ได้ยากครับว่าอะไรที่ผิด ยกตัวอย่างอย่างนี้ก็แล้วกัน กายที่หนักไม่ปลอดโปร่ง กับจิตที่ขุ่นมัวไม่ใสสะอาดนั้น ไม่อาจยินดีในเหตุแห่งการพ้นทุกข์ พูดง่ายๆ คือจิตไม่ใส ใจไม่เบาพอจะรับธรรมะใสๆได้ถนัดถนี่นัก คุณอาจฟังเรื่องทานแล้วยินดี อาจฟังเรื่องศีลข้ออื่นๆแล้วคล้อยตาม แต่จะไม่เห็นด้วยกับการสละต้นเหตุแห่งความมัวเมา เห็นชัดๆว่าเหล้าทำให้มัวเมา เป็นต้นเหตุแห่งความมัวเมาตรงๆ คุณยังทิ้งมันไม่ได้ แล้วจะไปทิ้งเหตุแห่งความมัวเมาอื่นๆอย่างไรไหว?

เท่าที่ผมทราบว่ามีตัวตนจริงๆคือขี้เหล้าหลายรายฟังธรรมะเข้าใจจริงๆ ถึงระดับที่จิตเห็นโทษภัยของการผิดศีลผิดธรรมแล้ว จิตก็ปฏิวัติตัวเอง เกิดความรังเกียจเหล้าบุหรี่โดยไม่มีใครบังคับ เหมือนเกิดใหม่กลายเป็นอีกคนที่ไม่อยากให้มลทินมาแปดเปื้อนตน

พูดง่ายๆ บางคนเมื่อเข้าใจธรรมะจริงจะเลิกเหล้า แต่บางคนต้องเลิกเหล้าเสียก่อนถึงจะเข้าใจธรรมะ อะไรจะมาก่อนมาหลังไม่สำคัญครับ สำคัญที่ธรรมแท้ไม่เข้ากับเหล้ายาแน่นอน

ถ้าชีวิตคุณยังมาไม่ถึงคำถามว่าทำไมต้องเข้าใจธรรมะขั้นสูง หรือยังถูกเป่าหูอยู่ว่าธรรมะขั้นสูงไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคนรุ่นใหม่ อันนี้ก็อาจคุยกันยากหน่อย ความจริงธรรมะขั้นสูงไม่ใช่เรื่องเกินตัวสำหรับใครๆ เพราะธรรมะขั้นสูงคือวิธียุติทุกข์ สรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ประการหนึ่งคือตราบเท่าที่เรายังรักษาเหตุแห่งทุกข์เอาไว้ ให้แสนดีเพียงใดก็ต้องเสวยทุกข์อยู่วันยังค่ำครับ จะวันหนึ่งวันใดเร็วหรือช้าเท่านั้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก...http://dungtrin.com

540
กราบนมัสการหลวงพี่เว็บครับ... :054:ขอขอบคุณสำหรับบทความเตือนสติ...ในวันปีใหม่ 2553 นี้ครับ...
ขอให้พี่ๆน้องๆเพื่อนๆทุกๆท่านเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา รักษาด้วยนโมพุทธายะ...
สวัสดีปีใหม่ครับ :090:

541
กราบนมัสการหลวงพ่อคูณครับ... :054:
ขอขอบคุณครับ...สาธุ

542
ขอขอบคุณครับ...ที่นำเรื่องราว,ข้อมูลดีๆมาฝาก  :053: :053:

543
กราบนมัสการ...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครับ  :054:
ผมเคยบริจาคเงินทำบุญกับมือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ในงานยกช่อฟ้าใบระกาที่สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดบุญศรีมุณีกรณ์ ก.ม.8 รามอินทรา ในปี 2535
ขอบคุณครับ...ด้วยความระลึกถึง...ธรรมะรักโข

544
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ... :052:โชคดีในปีใหม่นี้ รุ่นปี2500 เสียด้วยสวยงามมากครับ
ขอให้มีความสุขในปีใหม่นะครับ...สวัสดี : :114:
:

545
ขอขอบคุณ...ท่านขุนแผนที่นำเสนอ  เรื่องราวข้อมูลดีๆ...เรื่องกุมารทองครับ :054:
ส่วนตัวผมเลี้ยงกุมารทองไว้ 2 ครับ ชื่อเทพพนมกับเทพประทาน
เลี้ยงไว้นานแล้วตั้งแต่ปี 2533 ครับ ของหลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
ขอบคุณครับ...

546


 

เรื่องของกรรมคนเรานี้ย่อมมีกรรมเป็นของๆ ตน
มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
มีกรรมเป็นแดนเกิด
มีกรรมเป็นผู้ติดตาม
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
เราทำกรรมใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป
เมื่อยังมีชีวิตอยู่กรรมนั้นจักเป็นทายาท
ให้เราได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆ ไป

   
ขอขอบคุณข้อมูลจาก... http://www.dhammajak.net
 

547
ธรรมะ / ทางแห่งความหลุดพ้น...
« เมื่อ: 26 ธ.ค. 2552, 11:17:05 »
 


ทางแห่งความหลุดพ้น
โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

...เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้นจึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน

ศีล
สมาธิ
และปัญญา

เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้งเพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที

ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

แต่งใจ

...ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็นจะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้

...ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?


ขอขอบคุณภาพจาก:www.viriyahbooks.com
: ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน
: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
 
 

548
 


ต้นหาย กำไรสูญเปรียบเสมือนคนเราบางคนที่ตั้งอกตั้งใจทำงาน

จะประกอบการค้าขาย หรือทำกิจการงานอะไรก็ดี

ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาวและแก่เฒ่าแก่ชราในที่สุด

และถึงพร้อมด้วยความร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุข

สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างหลักฐานได้อย่างมั่นคง

ตลอดจนสร้างเกียรติยศ สร้างชื่อเสียง จนได้ลาภ ทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่คนบางคนที่กล่าวถึงเหล่านี้ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร

ซึ่งที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลก

ที่ได้สร้างสมมามากแล้ว ก็ควรจะหยุด

เพื่อรีบสร้างสมสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ในบั้นปลายของชีวิต

ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้บ้าง

แต่เขาเหล่านั้นก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง

ความละ ความปล่อย ความวาง

ในทรัพย์สมบัติที่หามาได้เหล่านั้นไม่

มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงาน

ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ

โดยไม่คำนึงถึงว่า สักวันหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็ว

ความตายก็จะต้องมาถึงเข้าอย่างแน่นอน

ในที่สุดร่างกายของเขาก็ถึงซึ่งความแตกดับจริงๆ

และย่อยยับสูญหายไป ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหามาได้

ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด

ไม่สามารถที่จะนำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตามตนไปได้แม้แต่นิดเดียว

โดยที่ตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดี

ในทางสร้างสมในสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ให้มากเท่าที่ควรเลย

ซึ่งตนเองก็มีโอกาสและโชคดีอย่างดีที่สุดแล้ว

แต่ก็มิได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในชีวิตของเขา

เปรียบเสมือน ต้นหายกำไรสูญ

ต้นก็คือ ร่างกายและทรัพย์สมบัติที่หามาได้ทั้งหมด

กำไรก็คือ บุญกุศลหรือสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ แทนที่จะได้ก็ไม่ได้

และถ้าใช้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปในทางที่ไม่ดีผิดศีลธรรมอีกด้วยแล้ว

หรือ ยึดในทรัพย์สมบัติที่หามาได้นั้นมากเกินไป

ก็ยิ่งจะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

ต้นก็หาย กำไรก็สูญ ชีวิตนี้ก็ขาดทุน



ขอขอบคุณที่มาจาก...http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3333

   

549
ประมวลภาพ “หลวงพ่อเกษม เขมโก”

สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า)
ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง






ในหลวง กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก
 
 

 
หลวงพ่อเกษม เขมโก ครั้งยังเป็นพระหนุ่ม











 
 

 
   
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณฺโณ-หลวงพ่อเกษม เขมโก
ในงานพิธีพุทธาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔
ณ วัดนางเหลียว ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง

หลวงพ่อเกษมได้บอกกับลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ติดตามหลวงปู่โต๊ะ
องค์ที่นั่งปรกอยู่ข้างบนว่า...
“เราไหว้องค์นี้เพียงองค์เดียวก็พอแล้ว”
(ทั้งๆ ที่งานพิธีในวันนั้น มีการนิมนต์พระเกจิชั้นยอด
มาร่วมนั่งปรกหลายต่อหลายองค์)

ขอขอบคุณที่มาของภาพ : http://www.pornkruba.net/
                                                                       




รูปปั้นหลวงพ่อเกษม เขมโก ขนาดองค์ใหญ่ในท่ายืน
ตั้งเด่นเป็นสง่าบริเวณด้านหน้าสำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์


สรีระศพของหลวงพ่อเกษม เขมโก
บรรจุอยู่ในโลงแก้วติดแอร์ ไม่เน่าเปื่อย
ณ มณฑป อาคารทรงไทยประยุกต์ สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์


รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อเกษม เขมโก
ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ขอขอบคุณที่มาครับ...http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=23169

550
พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร)
วัดหนองโพ หมู่ 1 บ้านหนองโพ
ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60230
โทรศัพท์ ๑๐. เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลและเพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์อันจะเกิดขึ้น ดังนั้นห้าม วางเบอร์โทรศัพท์ วางลิงค์ อีเมล์ ที่อยู่ โดยเด็ดขาด (เพิ่มเติม: ๓๑ ก.ค. ๕๒)



ภาพนี้ถ่ายเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒
หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร สิริอายุได้ ๘๒ ปี พรรษา ๖๐




  

 

 
 
 
 
 

  

 

 

หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร ในอิริยาบทสบายๆ
ภาพนี้ถ่าย ณ วัดหนองโพ ในช่วงพรรษาท้ายๆ ของท่าน







 
 

ขอขอบคุณที่มา...http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=19652

551
 

หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม
วัดสิริสาลวัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

 

หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ขณะออกรับบิณฑบาต
ภาพที่มา : http://www.dhammasavana.or.th

 

หลวงพ่อชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

 

หลวงพ่อชา สุภัทโท (นั่ง) ถ่ายภาพกับคณะศิษย์ชาวต่างประเทศ

 

หลวงพ่อชา สุภัทโท (ถือไม้เท้า) ถ่ายภาพกับคณะศิษย์
 


หลวงปู่สีโห เขมโก
(ศิษย์ใกล้ชิดของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)
พระผู้ทรงอภิญญา รู้ภาษาสัตว์และคนได้ทุกชาติทุกภาษา

 

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
วัดอุดมคงคาคีรีเขต ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

 

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 
 



 

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
วัดป่าสันติกาวาส ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี 
 

ขอขอบคุณ...http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17687

552
เพิ่มเติม...มาชมกันต่อครับ



คณะศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (จากซ้ายไปขวา)

๑. พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ)
๒. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
๓. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
๔. หลวงปู่หลุย จันทสาโร
๕. หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต

 
คณะศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต (จากซ้ายไปขวา)

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ, หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร,
พระอาจารย์กว่า สุมโน, หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์ชม (ไม่ทราบฉายา)
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ, หลวงปู่อ่อนศรี สุเมโธ, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
 

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

 

หลวงปู่ชอบ-หลวงปู่เหรียญ-หลวงปู่หลุย-หลวงปู่บัวพา

 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล-หลวงปู่สาม อกิญจโน-หลวงปู่ศรี มหาวีโร
ภาพโดยคุณ nonsoul

 

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน-พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) 
 

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก)
ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย 
 


ไฟปาฏิหาริย์เกิดขึ้นเมื่อพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
บ้วนปาก หลังจากท่านฉันภัตตาหารเสร็จ

 



 พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ นั่งภาวนาบนหน้าผาภูทอก
(น่าอัศจรรย์ใจ !!! จริงๆ) 
 

 

 

หลวงปู่มี (เกล้า) ปมุตโต
วัดถ้ำเกีย บ้านหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
 

 

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์ ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

 

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
วัดกันตศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

 

หลวงตาผนึก สิริมังคโล-หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
ภาพที่มา : คุณ mahatep
 

553
 



 

หลวงปู่ขาว อนาลโย ฉันภัตตาหารร่วมกับ
หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต วัดจันทรสามัคคี อ.เมือง จ.หนองคาย
 


หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโคธาราม จ.อุดรธานี
กำลังทักทายหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่บริเวณวัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู

 

หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.หนองบัวลำภู
กำลังทักทายกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วยความยิ้มแย้ม

 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
มาเยี่ยมหลวงปู่ขาว อนาลโย และได้มีโอกาสสนทนาธรรมกันอย่างใกล้ชิด

 

พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต และพระอาจารย์จันทา ถาวโร
กำลังเฝ้าปรนนิบัติหลวงปู่ขาว อนาลโย 
 


หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย เป็นพระกรรมฐานชั้นผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่ง
ที่ได้มามนัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู เป็นประจำ

 

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
มามนัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู

 

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
มาทำวัตรหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระทางฝ่ายกรรมฐาน

 

หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก)
มามนัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวลำภู 
 

ส่วนหนึ่งของกองทัพธรรมสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

แถวหลัง : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย,
เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล),
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

แถวกลาง : พระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต, หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
 
แถวหน้า : หลวงปู่บัว สิริปุณโณ, หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
 
                                                           -----------------------------------------------------------

554
ภ า พ เ ก่ า ๆ ที่ ห า ดู ไ ด้ ย า ก ม า ก ๆ

ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นครับ
บางท่านอาจจะยังไม่เคยเห็นครับ....

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *



 

ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร และคณะสงฆ์อันเป็นศิษยานุศิษย์
ณ วัดป่าบ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

 
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่หลุย จันทสาโร,
หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

 

หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ



 

 

ครูบาอาจารย์พระป่ากรรมฐาน สานุศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ร่วมกันถ่ายภาพ ณ วัดศรีเมือง อ.เมือง จ.หนองคาย

 

รวมพระมหาเถราจารย์
บันทึกภาพ ณ โรงพยาบาลสุขุมวิท กรุงเทพฯ
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๐ 
 


หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

 

จากซ้ายไปขวา
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล,
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม)

 

 

 

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 
 


หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

 

(ซ้าย) หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

(กลาง) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

(ขวา) หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส
วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
 
ขอขอบพระคุณภาพจาก:
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=147985
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=19628
 
 

555

ช้างช่วยท่านพ่อลี ธมฺมธโร

เล่าเรื่องโดย หลวงปู่ลี กุสลธโร
วัดป่าภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


จากหนังสือธรรมะทะลุโลกของท่านพ่อลี ธัมมธโร
โดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร
วัดป่าภูผาสูง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา


เรื่องที่เหลือเชื่อ แต่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงสำหรับท่านผู้บำเพ็ญบารมีที่มีเรื่องสุดวิเศษอัศจรรย์เช่นนี้ อย่างเช่น

พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีพระวรกายเหมือนมนุษย์ แต่สามารถเสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

พระมาลัย สามารถท่องแดนนรกสวรรค์ได้ เหมือนเที่ยวไปในเมืองมนุษย์

สามเณรสังกิจจะ มารดาท่านตายในขณะที่ท่านยังอยู่ในท้อง เขานำศพมารดาท่านไปเผา ไฟเผาไหม้เพียงเนื้อหนังของมารดา แต่ตัวท่านปลอดภัยนอนอยู่ในกองเพลิงที่ลุกไหม้เหมือนนอนอยู่บนดอกบัว

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สามารถเทศนาสั่งสอนสัตว์โลกในภพภูมิทั้งสาม

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน สามารถนำธรรมะออกเผยแผ่ทั่วประเทศไทย กู้ชาติบ้านเมืองให้พ้นวิกฤตเศรษฐกิจ และนำเงินและทองคำเข้าสู่คลังหลวงได้เป็นจำนวน ๑๑ ตันกว่า คิดเป็นเงินโดยรวมหลายหมื่นล้าน

นี่คือเรื่องจริงๆ!! ที่ปรากฏมีมาแล้ว

เรื่องจริงจึงเป็นสิ่งที่ชวนให้คิดถึงบาปบุญ คุณโทษ นรก สวรรค์ พรหมโลก และพระนิพพานของคนและสัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสารมานานเนา

สมัยหนึ่ง ท่านพ่อลี ท่านท่องเที่ยวกรรมฐานทางภาคเหนือตอนล่าง ได้พลัดหลงป่าได้ช้างมาช่วยชีวิตไว้ แต่ก่อนอื่นขอนำเรื่องพระพุทธเจ้ากับช้างมาเล่าก่อน หลักฐานแห่งความเชื่อและความจริงจะได้ชัดเจนขึ้น ท่านผู้อ่านจะได้เรียงลำดับเรื่องถูก

...ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเบื่อหน่ายพระธรรมกถึกและพระวินัยธรที่ว่ายากสอนยาก ทะเลาะกันเรื่องพระวินัย ทรงสั่งสอนเท่าไรก็ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จปลีกวิเวกไปอยู่เพียงลำพังองค์เดียวที่บ้านปาริเลยยกะ ราวป่ารักขิตะวัน ใต้ต้นสาละใหญ่

ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ตรัสภาษิตธรรมว่า “...การอยู่คนเดียวประเสริฐที่สุด...ในหมู่ชนพาล ย่อมไม่มีเพื่อนแท้”

...ในป่านั้น พระยาช้างปาริเลยยกะได้ทำหน้าที่เป็นผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า มันใช้งวงหักกิ่งไม้ กวาดบริเวณที่พระพุทธองค์ประทับ เสร็จแล้วจับหม้อด้วยงวง ตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้ ต้มน้ำร้อนถวาย ด้วยการเอางวงสีไม้แห้งให้ไฟเกิด เมื่อน้ำร้อนเสร็จก็นิมนต์พระศาสดามาสรง

เมื่อพระบรมศาสดาเข้าไปบิณฑบาต พระยาช้างนั้นเอาบาตรและจีวรวางไว้บนตะพอง เดินตามหลังไปจนถึงแดนบ้าน

“ปาริเลยยกะ เธอรออยู่ที่นี่ก่อน” พระศาสดาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันนุ่มนวล

พระยาช้างรอจนกว่าพระศาสดาเสด็จกลับมาแล้วรับบาตรและจีวรกลับเข้าป่ารักขิตวันตามเดิม เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระศาสดาแล้ว พระยาช้างได้นั่งถวายงานพัดด้วยกิ่งไม้

ภาพแห่งช้างถวายงานพัดนั้นคงจะน่ารักน่าชังมิใช่น้อย (ถ้าเป็นสมัยนี้มนุษย์คงแตกฮือตื่นกันทั้งโลก เพราะมนุษย์สมัยนี้ชอบตื่นตูม เรื่องไม่เป็นเรื่องก็ยังตื่นข่าว)

ส่วนในราตรีพระยาช้างได้ถือท่อนไม้ใหญ่ด้วยงวง เดินรอบบริเวณป่าที่พระศาสดาประทับอยู่ เพื่อรักษาความปลอดภัยจากเนื้อร้ายหรือจากอันตรายอื่นใด จนกว่าอรุณจะขึ้นมาใหม่ จึงถวายน้ำสรงพระพักตร์ ทำอย่างนี้เป็นกิจวัตร

ในป่านั้นมีลิงใหญ่ตัวหนึ่ง กระโดดร้องโก๊กๆ ไปมาตามกิ่งไม้ เห็นพระยาช้างทำวัตรปฏิบัติเป็นนั้นทุกๆ วัน เกิดความศรัทธาอยากทำอย่างนั้นบ้าง จึงไปหารวงผึ้งมาถวายพระศาสดาบ้าง

พระศาสดารับแล้วแต่ไม่ทรงเสวย ลิงนั้นจึงเข้ามาจับรวงดูผึ้ง เห็นตัวอ่อนติดอยู่ จึงเขี่ยออกแล้วถวายใหม่ เมื่อเห็นพระศาสดาทรงเสวยแล้วจึงดีใจเลยเถิด ทั้งฟ้อน ทั้งรำ ทั้งร้อง ทั้งกระโดดโลดเต้นไปมา เหยียบกิ่งไม้แห้งหัก ร่างตกลงมาเสียบตอไม้ปลายแหลมตายคาที่ ได้ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ มีเทพอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร

ครั้นพระอานนท์และภิกษุ ๕๐๐ รูปมาอาราธนานิมนต์ให้พระศาสดาเสด็จกลับ ช้างไม่ยอมให้กลับ

“ปาริเลยยกะ!” พระศาสดาตรัสเรียก

เราไปครั้งนี้จะไม่กลับมาอีก ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล ยอมไม่มีแก่เจ้าในอัตภาพนี้ เจ้าจงหยุดเถิด”

พระยาช้างเมื่อได้ฟังเช่นนั้นก็เอางวงสอดเข้าปาก ร้องไห้เหมือนเด็กน้อยที่พ่อแม่ทิ้งไว้กลางป่า ร้องร่ำหาจนกระแสเสียงและสายน้ำตาเหือดแห้ง

เมื่อพระศาสดาเสด็จลับตาไป มันยกขาหน้าขึ้น ตาชะเง้อมองเท่าไหร่ไม่เห็นแม้แต่เงาพระพุทธองค์ ด้วยความเสียใจอาลัยสุดประมาณ หัวใจมันจึงแตกสลาย ล้มตายลงในทันที

ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ มีนางเทพอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร

..เรื่องพระพุทธเจ้ากับสัตว์ เราฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็ได้เป็นไปแล้ว นี่คือ..อำนาจบุญ..

..บุญฤทธิ์เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์และคาดคิดไม่ถึงเสมอ!

 
หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง จ.อุดรธานี


...เรื่องที่จะเล่าต่อเป็นเรื่อง ท่านพ่อลีกับช้างใหญ่ ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปสนทนาธรรมกับ หลวงปู่ลี กุสลธโร พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าภูผาแดง จังหวัดอุดรธานี ท่านได้เล่าเรื่องท่านพ่อลีกับช้างให้ฟังอย่างน่าตื่นเต้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคติดี เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์จึงนำมาเล่าให้ฟังว่า

สมัยหนึ่ง หลวงปู่ลี กุสลธโร ไปธุดงค์ทางอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ไปพบท่านพ่อลี ธมฺมธโร ซึ่งธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือตอนล่างเช่นกัน

เมื่อท่านเข้าไปคารวะท่านพ่อลีแล้ว ท่านจึงขอโอกาสนวดเส้นถวาย ในขณะที่นวดเส้นถวายนั้น ท่านพ่อลีได้เล่าเรื่องประสบการณ์ต่างๆ ที่ผจญมาจากที่ต่างๆ ให้ฟังไปเรื่อยๆ จนคนที่นวดถวายลืมเวล่ำเวลา ฟังแล้วหูตาแจ้ง ไม่ง่วงนอน เพลินใจ ตื่นเต้นสนุกสนานในธรรมลีลาของท่านอย่างบอกไม่ถูก

ท่านพ่อลีเล่าว่า.....

“...ขณะที่ท่านท่องเที่ยวธุดงค์เดินไปตามป่าเรื่อยๆ ค่ำที่ไหนก็อาศัยนอนในป่านั้น ไม่หวั่นต่อมรณภัยใดๆ รักษาแต่ใจตัวที่ชอบท่องเที่ยวเพลินอยู่ในป่าใหญ่ที่มีต้นไม้สูงระฟ้า ลิงค่าง สัตว์เสือช้างป่าร้องลั่นสนั่นไพร เหมือนเพลงขับกล่อมย้อมใจให้หลงใหลในรสธรรมชาติ ท่านอุทานว่า

“ธรรมชาตินี้ ช่างดี! งามล้น ไม่มีการเสแสร้งทำ ส่วนมนุษย์นี่สิ ทำตัวสงบเสงี่ยม แต่ใจเหมือนเปรต เหมือนผี”

ทิวากำลังผ่าน ราตรีกำลังล่วงเข้า

เหล่าสัตว์กลางคืนกำลังลืมตา เตรียมตนเพื่อออกหากิน

แล้วท่านเดินชมถ้ำ ชมทิวผาแมกไม้เถาวัลย์ในเวลาย่ำค่ำไปเรื่อย ประคองกายและสติพิจารณาธรรมบางประการไปพร้อมๆ กับย่างเท้าก้าวเดิน

ขณะที่เดินเพลินไปเรื่อยนั้น ไม่ทราบว่าได้หลงทาง หลงป่ามาไกลเพียงไร แหวกม่านป่าไปทางใด ก็ไม่มีวี่แววว่าจะพบมนุษย์สักคน

...พบแต่ทางช้าง ทางเสือ ทางสัตว์ร้าย...ทางแห่งอันตราย!

สักพัก..เสียงร้องกระหึ่มของเจ้าป่าดังก้องกัมปนาท มันร้องเพียงครั้งสองครั้งก็เพียงพอที่จะให้ป่าสงบสงัดในทันที..เสียง..อันแสดงแสนยานุภาพแห่งพลังอำนาจ ทำให้สัตว์ที่ได้ยินขนพองสยองเกล้า ทำให้สัตว์จตุบททวิบาทระมัดระวังตนแจ แอบหลักลี้หนีหาย พรางกายเข้าที่ซ่อนเร้นโดยเร็ว

ป่าสงบนิ่ง...ราวกับว่าไร้สิ่งมีชีวิต!

แต่ท่านพ่อลีท่านยังคงเดินดุ่มๆ เหมือนเดิม โดยไม่แสดงอาการตื่นเกรงกลัวแม้แต่น้อย

แม้เสียงเจ้าป่าจะสะเทือนก้องในที่ไม่ไกล ใจก็ไม่หวั่นไหว

เมื่อท่านย่างผ่านไป เจ้าป่านั้นเองเป็นผู้หมอบคอยสงบ เพราะมันยำเกรงอย่างยิ่ง สัญชาตญาณทำให้มัน “รู้” ว่า ร่างนั้นคือ...ผู้ทรงอำนาจมากด้วยเมตตาคุณ...มีรัศมีรอบกาย

..หนึ่งวัน สองวัน สามวันผ่านไป มีแต่เดิน เดิน เดิน บุก บุก บุก ลุย ลุย ลุย!

ปีนผาหิน มุดซอกถ้ำ คลานลอดขอนไม้ใหญ่ที่ล้มขวางทาง

ข้าวไม่ได้กิน อาศัยน้ำพอประทังชีวิต สามวันนั้นท่านประจักษ์ใจว่า ป่านี้ช่างกว้างไพศาลเสียจริงๆ กี่สิบกี่ร้อยกิโลเมตรก็ไม่มีวี่แววว่าจะเจอบ้านคน หรือทางคนเดินเลย..และจะออกไปยังไง

ท่านพ่อลีท่านว่า “..ความเหนื่อยล้า..เป็นอุปสรรคสำหรับคนเดินทางไกล

...แต่การเดินทางไกลหรือหลงทาง ย่อมดีกว่าเดินทางผิดหรือมีจิตตั้งไว้ผิด

...เพราะการคบหากับคนที่ไม่ดี

คนที่พอจะดีได้กลับกลายเป็นคนชั่วไปเสียนี่

เปรียบเหมือนทางที่รกรุงรังเต็มไปด้วยขยะมูลฝอย

แม้จะเป็นทางตรง จะถือว่าเป็นทางที่ดีก็ไม่ได้

...ส่วนผู้ที่คบหากับกัลยาณมิตรมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมดียิ่งขึ้นๆ

เหมือนทางป่าที่รกรุงรังด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาไม่ร้อน

แม้จะเป็นทางอ้อม ก็ถือว่าเป็นทางที่ดีได้”

ด้วยความเหนื่อยล้าอ่อนแรง..หมดสรรพกำลัง..มีเพียงลมหายใจที่แผ่วเบา ท่ามกลางสรรพสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น

ตายหรืออยู่ก็มีบุญกรรมเป็นเพื่อนผอง!

ท่านหยุดพักปูผ้ายางพลาสติกผืนน้อยกันชื้น นั่งพักใต้ร่มไม้ใหญ่ใบดกหนา ผูกเชือกรัดต้นไม้ กางกลดกำหนดสตินอนแล้วหลับไป

แต่ทางที่ท่านกลางกลดนอนพักนั้น ท่านหาทราบไม่ว่าเป็นทางสัตว์ใหญ่ผ่านไปมา

ท่านนอนสบายจนถึงรุ่งเช้าอีกวัน ร่างกายสดชื่นเมื่อได้พักผ่อน มองทอดเทือกเขาอันติดกันเป็นพืด สูงๆ ต่ำๆ งามวิจิตรด้วยแสงแรกแห่งตะวัน สาดส่องเป็นลำผ่านช่องแมกไม้เป็นแฉกสีรุ้ง วิหคบินออกจากรังเป็นสาย เสียงเซ็งแซ่เป็นสัญญาณบอกว่าทิวากาลเริ่มแล้ว

เมื่อท่านตื่นนอนกำหนดสติดังราชสีห์...เห็นว่าทิศที่หันหัวลงนอนไม่ได้เป็นเช่นนี้ ก่อความสงสัยให้เกิดคำถามขึ้นอย่างมาก

ท่านเคลื่อนร่างกายออกจากกลดมายืนพิจารณาดูบริเวณโดยรอบ กลดก็ถูกย้ายที่ ที่นอนก็ถูกย้ายที่ แล้วใครมาย้ายที่นอนให้เรา” ท่านยืนคิดอย่างฉงน

“แล้วเราพักอยู่ตรงนั้น พลันมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร?” ท่านถามตัวเอง

“ผี มนุษย์ อสุรกาย นาคา ครุฑ เทวดา หรือพระพรหมที่ไหนอาจสามารถทำเช่นนั้นได้ หรือว่าเราเป็นคนบ้าเป็นคนหลงสติไปเสียแล้วนี่ จึงนอนกลับหัวกลับทิศ จึงจำทิศทางที่ตัวเองนอนไม่ได้ อย่างนี้ต้องพิสูจน์กันหน่อย...เรานี้มีครูดีสั่งสอนมามิใช่ย่อย...จะมามัวนั่งละห้อยคิดให้เสียการณ์นานถ้าไปใย” ท่านบ่นพึมพำในใจ

แล้วจึงตัดสินใจเขาสมาธิดูภาพย้อนหลัง ฟังๆ ดูเหมือนในหนังละครทีวีรีเพลย์เทปกลับมาดูได้ใหม่ มาถึงตอนนี้ผู้เขียนอดใจไม่ไหว จึงรีบแทรกถามหลวงปู่ลี วัดป่าภูผาแดง ขึ้นทันทีว่า “เหตุการณ์มันผ่านมาแล้วย้อนกลับไปดูได้อีกหรือปู่”

ท่านตอบเป็นภาษาอีสานพร้อมด้วยรอยยิ้ม อันแสนจะน่ารักว่า “เป็นหยังสิบ่ได๋...ทำไมจะไม่ได้ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านระลึกชาติย้อนหลังได้เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นแสนชาติ นี่เพิ่งผ่านมาคืนเดียวทำไมจะระลึกย้อนดูอดีตนั้นไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ท่านจะมาสอนสัตว์โลกที่โง่งมงายได้หรือ ถ้าท่านไม่แน่จริง” ท่านตอบอย่างฉะฉานอาจหาญ ทำให้เราหมอบทั้งกายใจและแววตา

“แล้วจากนั้นท่านพ่อลี ท่านทำยังไงครับ” ผู้เขียนเรียนถามหลวงปู่ลี

“ท่านก็เข้าสมาธิภาวนาน่ะสิ” ท่านตอบแล้วก็เมตตาเล่าต่อจนพระเณรที่ฟังกันอยู่อ้าปากค้าง! บางองค์ป่านนี้ยังไม่ได้งับปากเลย เสร็จจากเขียนหนังสือเล่มนี้จะไปนิมนต์ให้ท่านงับปากซะ เดี๋ยวลมเข้าท้องแตกตายก่อน เพราะความเพลินที่ได้ฟังสิ่งที่ดีๆ ที่ท่านเล่า

ก็พระอริยเจ้าเป็นผู้เล่าให้เราฟัง เราควรจะภูมิใจกระหยิ่มสักเพียงไร เพียงเห็นท่านก็เป็นทัสนานุตตริยะแล้ว

แต่นี่ได้นั่งสนทนาใกล้ๆ จะประเสริฐเพิ่มขึ้นอีกเพียงไร

แล้วท่านหลวงปู่ลีก็เล่าเป็นภาษาอีสานด้วยความนิ่มนวล (แต่แปลเป็นภาษากลาง) ต่อไปว่า

“ท่านพ่อลีประคองร่างอันผอมบาง ขัดสมาธิ เมื่อภาวนาท่านได้เกิดความรู้ในญาณขึ้น มองทะลุภาพในอดีตได้ว่า...

“..เห็นร่างท่านเองนอนหลับสนิทในกลดน้อยใต้ร่มไม้ใหญ่

ทันใดนั้นเองมีสัตว์ใหญ่ เงาสีเทาร่างดำทึบเยื้องย่างผ่านเข้ามาเหมือนภูเขาลูกน้อยๆ เคลื่อนที่ได้ สักพักปรากฏรูปให้เห็นซัด...นั่นคือช้างใหญ่

ท่านได้นอนขวางทางช้างโขลงใหญ่

ตัวจ่าฝูงเดินนำมาก่อน เมื่อมาเห็นร่างท่านที่นอนสงบนิ่งอยู่ในกลดผ้าบางๆ มันหลีกเลี่ยง เดินเหยาะย่างรอบๆ ห่างๆ มันเห็นรัศมีในกายระยับ เหมือนกายทิพย์ที่เทวดาเฝ้าคุ้มครอง มันตาตก หมอบลงเฝ้ามองอย่างพิศวง!

มันรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า ร่างนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม มันมิบังควรรบกวน หรือให้สัตว์อื่นรบกวน แต่ทางนั้นเป็นทางช้างผ่าน มันต้องย้ายร่างท่านไปไว้ที่อื่นก่อน

ด้วยบุญกรรมในบุพเพชาติที่มีต่อกัน ภาษา “ใจ” ที่สื่อสาร ทำให้มันเกิดความรักและเคารพต่อท่านในทันที

มันจึงปฏิบัติต่อท่านด้วยความละมุนละไม

ค่อยๆ เอางวงที่ใหญ่ยาว มีเรี่ยวแรงมหาศาล อุ้มท่านที่หลับสนิทย้ายไปอีกฟากหนึ่ง ในที่ไม่ไกลกันนัก เหมือนย้ายปุยนุ่น

มันค่อยๆ เอางวงจับที่นอนมาปูและบริขารอื่น เอาท่านมาวาง เอาเชือกมาผูก แล้วจึงย้ายกลดมาห้อย ดึงผ้ากลดปิดลงให้เรียบร้อย มันทำอย่างแนบเนียนและมีสติ เหมือนกับมนุษย์ผู้ฉลาดทำ เสร็จแล้วยืนขวางกั้นอยู่

เมื่อมันจัดที่นอนถวายท่านเสร็จ ฝูงช้างนับร้อยก็กรูเข้ามารอบทิศ แต่ผ่านตรงที่ท่านพ่อลีนอนไม่ได้ ช้างใหญ่นั้นได้ยืนเอาตัวขวางอยู่ ไม่ให้ช้างตัวใดมากล้ำกรายล่วงเกินได้

เมื่อตัวไหนเข้ามาใกล้จะรบกวน มันก็ขู่และเอาตัวมันเบียดให้หนี เมื่อฝูงช้างไปหมด มันเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว ตัวมันจึงตามไปทีหลัง”

“อัศจรรย์จริงๆ นะปู่” ผู้เขียนกราบเรียนหลวงปู่ลี กุสลธโร

“วิมุตติพระนิพพาน อัศจรรย์ยิ่งกว่านี้อีกนะท่าน” หลวงปู่กล่าวถึงบรมธรรม

“อัศจรรย์! จนไปเล่าให้ใครฟังไม่ได้ เพราะเขาไม่เชื่อ เดี๋ยวเขาหาว่า “บ้า” ท่านย้ำอย่างน่าคิด

ท่านเล่าต่อท่ามกลางสายฝนพรำ ฟ้าร้องโครมครามว่า

“..ช้างตัวนั้นมันก็มีธรรมเหมือนกันนะ...มันมาช่วยชีวิตและท่านพ่อลีก็ได้อาศัยเดินตามทางช้างนั้นออกมาจากป่าได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่ลีเล่าพร้อมยกแก้วน้ำขึ้นฉันอย่างอริยมุนีที่มีสติรอบกาย

แล้วเล่าต่ออีกเหมือนเพิ่มรสเด็ดให้อาหารจานโปรดในทางธรรมว่า

“มนุษย์หรือสัตว์ก็มีจิตอันเดียว ผู้ไม่เคยเป็นญาติพี่น้องกันไม่มีในโลก บางทีเขาเคยเกิดเป็นมนุษย์ เคยบวช เคยเป็นเพื่อน จิตอันเดียวกันนี่แหละแต่เสวยวิบากกรรมต่างกัน ทำให้ชาตินี้เขาเกิดมาเป็นช้าง แต่ก่อนเขาคงมีอะไรเกี่ยวข้องกับท่านพ่อลี คงเป็นศิษย์อาจารย์กันมา อย่าว่าแต่ช้างเลยท่าน พวกเรานี้เกิดตายเป็นสัตว์มาสักเท่าไหร่ มีใครรู้เห็นได้บ้าง

พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้มีศีลธรรม ให้รักษามนุษย์สมบัติเอาไว้ ไม่อย่างนั้นจะตายไปเกิดเหมือนสัตว์ทั้งหลาย

“ให้สังเกตง่ายๆ นะ” ท่านกล่าวย้ำอย่างน่าสนใจให้นำไปคิดถึงตัวเอง

“...จิตใจวุ่นวายจะตายไปเกิดเป็นสัตว์ทันที” ท่านพูดจบแล้วยิ้มน้อยๆ แต่พองาม

วันนั้น ผู้เขียนได้ถามถึงประวัติท่านด้วย แม้ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อันเป็นฤดูปลายฝนต้นหนาว ท่านก็ยังเมตตาสนทนาเป็นเวลานานถึง ๓ ชั่วโมงกว่า

นี่แหละ ท่านทั้งหลาย! โบราณท่านจึงว่า

คนดี ผีคุ้ม!

พระดีมีเทวดาคอยคุ้มครองรักษา!

คนมีบุญ ไม่จนตรอกจนมุม!

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ท่านทำให้เราเห็นประจักษ์ในแง่มุมต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา โลกนี้โลกหน้า บุญทำกรรมแต่ง ท่านผู้วิเศษศิษย์พระตถาคตเจ้ายังมีอยู่จริง และคติสอนใจอื่นๆ อีกมาก นัยว่าเป็นบุญวาสนาแห่งจักษุและโสตประสาทที่เราได้รับรู้เรื่องของท่าน ถึงกายตายแต่ความดีท่านยังคงอยู่ ความดีนี่เองเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

 
พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร วัดป่าภูผาสูง จ.นครราชสีมา


.............................................................

ขอขอบคุณที่มาจาก ::
http://www.dharma-gateway.com/

556
 

 
[พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย]

ปั ญ ญ า ชั้ น สู ง
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
• ปุจฉา

เมื่อพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา ตัวปัญญามาก่อนหรือมาทีหลังครับหลวงพ่อ ?

• วิสัชนา

อันนี้ก็ในทำนองอันเดียวกับทาน ศีล ภาวนา
ท่านยกเอาศีล สมาธิ ปัญญา มาตั้งไว้เป็นลำดับ
ก็เอาปัญญาไว้สุดท้าย ยกเอาศีลไว้เบื้องต้น
พูดแต่หยาบไปหาละเอียดคนจะได้เข้าใจง่ายเข้า

เมื่อเราปฏิบัติธรรม
คืออบรมใจให้เข้าถึงความสงบแล้วนั้น
จะเห็นได้ว่าผู้จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์
หมดจดเรียบร้อยหรือมั่นคง หนักแน่นนั้น
เพราะปัญญาเกิดก่อน

คือปัญญาเห็นว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ถูก
สิ่งนี้ไม่ดี สิ่งนี้ชั่ว สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วจงค่อยงดเว้นจากความชั่ว
คือรักษาศีล นี่จึงว่าปัญญาเกิดก่อนศีล

สมาธิก็เหมือนกันที่เราจะทำให้สงบแน่วแน่
มันต้องมีปัญญาฉลาด มีแยบคายไหวพริบในตัว
มีการชำระจิตตนอยู่รอบด้าน
หรือระวังสังวรณ์ในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่ให้ฟุ้งซ่านส่งไปภายนอกให้เห็นโทษเห็นภัยของอารมณ์นั้นๆ
จึงจะสละอารมณ์ทั้งหลายนั้นๆ ทำให้เข้าถึงความสงบได้

เมื่อเราพูดถึงเรื่องปัญญาเกิดก่อนศีล เกิดก่อนสมาธิแล้ว
คราวนี้ตัวปัญญาก็ไม่ต้องพูดกันละคราวนี้

แต่คราวนี้ถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่ง
ปัญญาในที่นี้ท่านบัญญัติปัญญาไว้สุดท้ายนั้น
ท่านพูดถึงปัญญาชั้นสูง ปัญญาที่พิจารณาวิปัสสนา
คือรู้แจ้งเห็นสัจจธรรมตามความเป็นจริง


[จิตรกรรมพุทธศิลป์ "ศีล สมาธิ ปัญญา" สร้างสรรค์โดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]
ถ้าไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ปัญญาก็ไม่เกิด
ปัญญาที่จะเกิดวิปัสสนา
ปัญญาจะต้องมีศีลสมบูรณ์ สมาธิแน่วแน่
ปัญญาวิปัสสนาจึงจะเกิดขึ้น
เหตุนั้นท่านจึงบัญญัติไว้ตอนท้าย

นักปฏิบัติทั้งหลาย ผู้ที่มองเห็นว่า
ปัญญาเกิดก่อนศีล สมาธิ
บางคนอาจจะลบล้างหรือลบหลู่ว่าอันนั้นผิดก็ได้

เมื่อผู้ที่พิจารณาเห็นถึงวิปัสสนาปัญญาตรงนี้แล้ว
จะเห็นภูมิฐานชั้นเชิงที่ท่านเทศนาไว้
เป็นของจริงทุกสิ่งประการ

เพราะธรรมะมันมีหลายชั้นหลายภูมิ
เหตุนั้นปัญญาที่ท่านบัญญัติไว้
ท่านหมายเอา ปัญญาชั้นสูง
ที่เรียกว่า ปัญญาวิปัสสนา
หรือปัญญาที่รู้แจ้งสัจจธรรมตามความเป็นจริง
จนกระทั่งสละหรือเบื่อหน่ายปล่อยวางอุปาทานทั้งหลายได้

   
 :054: :054: :054:
ขอขอบคุณ(ที่มา : วิสัชนาธรรม โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท :
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, ธรรมสภา จัดพิมพ์, หน้า ๑๕๒-๑๕๓)
   
 

557
บทความธรรมะนี้คัดจากธรรมเทศนาโดย พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
ปัจจุบันคือ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)


พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)


สิ่งที่จิตระลึกถึงก่อนตายมี ๓ ชนิด คือ

๑. กรรม

ภาพกรรมดีกรรมชั่วที่เคยทำในอดีตมักหวนกลับมาปรากฏให้เห็นทั้งๆ ที่เราลืมไปนานแล้ว เช่นใครเคยฆ่าคนตาย ภาพเหตุการณ์เกี่ยวกับฆาตกรรมจะกลับมาปรากฏในจิต ถ้าเคยช่วยชีวิตคนไว้ภาพตอนนั้นจะมาปรากฏ นี้แสดงว่านึกถึงกรรมหรือกระบวนการทำความดีหรือความชั่ว ดังพระบาลีว่าในสมัยนั้น กรรมทั้งหลายที่ตนทำไว้ก่อนนั้น ย่อมเกาะติดในจิตของบุคคลผู้ใกล้ตายนั้น

๒. กรรมนิมิต

บางคนเคยเห็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของการทำกรรม เช่นบางคนเห็นมีดที่ตนเคยใช้ฆ่าวัว บางคนนึกถึงภาพโบสถ์วิหารที่ตนเคยสร้าง เราระลึกถึงนิมิตของกรรมใด ก็จะไปเกิดใหม่ตามพลังของกรรมนั้น

๓. คตินิมิต

บางคนไม่นึกถึงกรรมในอดีต แต่กลับนึกถึงภาพของที่ที่จะไปเกิดในชาติหน้านั้น คือเห็นคตินิมิต หมายถึงภาพเกี่ยวกับที่ที่จะไปเกิด เช่นใครที่จะไปเกิดในสวรรค์ คนนั้นจะนึกเห็นวิมาน ใครจะไปเกิดเป็นประเภทสัตว์กินหญ้า จะนึกเห็นทุ่งหญ้าเขียวขจี ภาพเหล่านี้เป็นนิมิตที่บอกล่วงหน้าว่าเราจะไปเกิดในภพภูมิใด คงเหมือนกับภาพที่บางคนฝันเห็นล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุการณ์จริงๆ (สุบิน)

รวมความว่าในวาระสุดท้ายของชีวิต จิตของเราระลึกถึงกรรม กรรมนิมิตหรือคตินิมิตประเภทใด เราจะไปเกิดในภพภูมิอันสอดคล้องกับกรรม กรรมนิมิตหรือคตินิมิตประเภทนั้น ดังนั้นบางคนวางแผนลักไก่คือชั่วชีวิตเขาทำบาปมากกว่าบุญ เขาจึงกะจะนึกถึงกรรมดีนิดหน่อยนั้นก่อนตาย ถ้านึกถึงพระด้วยตนเองไม่ได้ ก็สั่งลูกช่วยเตือนความจำ คนเรามักจะเตือนคนใกล้ดับจิตให้นึกถึงพระเอาไว้ แต่ใครทำบาปไว้มากคงไม่อาจหลอกตัวเองก่อนตายได้ ดังมีเรื่องเล่าว่า เสี่ยคนหนึ่งเป็นพ่อค้าขายข้าวเปลือก ชอบโกงชาวบ้านด้วยวิธีตวงข้าวเปลือกไม่เต็มถัง พอเสี่ยคนนี้ใกล้ตาย ลูกสาวก็กระซิบให้เตี่ยนึกถึงพระด้วยการบริกรรมว่า สัมมา อะระหังๆ แต่เตี่ยบริกรรมตามว่า สัมมา กี่ถังๆ

แท้ที่จริงนั้น กรรมที่ปรากฏในจิตก่อนตาย มีลำดับการให้ผลก่อนหลัง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ชนิดคือ

๑. ครุกรรม (กรรมหนัก)

กรรมหนักจะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ถ้าใครทำกรรมหนักภาพของกรรมหนักจะปรากฏในจิตก่อนตาย กรรมอื่นต้องรอโอกาสต่อไป กรรมหนักฝ่ายดี เช่น สมาบัติ ๘ กรรมหนักฝ่ายไม่ดี คืออนันตริยกรรม ๕ เช่น ฆ่าพ่อฆ่าแม่ เป็นต้น

๒. อาจิณกรรม (กรรมที่ทำจนชิน)

ถ้าไม่มีกรรมหนัก อาจิณกรรมจะให้ผลก่อนคือปรากฏในจิตก่อนตาย อาจิณกรรมหมายถึงกรรมที่ทำสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย กรรมประเภทนี้มีความสำคัญรองมาจากครุกรรม

๓. อาสันกรรม (กรรมใกล้ตาย)

ถ้าไม่มีครุกรรมและอาจิณกรรม อาสันกรรมจะให้ผล อาสันกรรมหมายถึงกรรมทำก่อนสิ้นใจ เช่นการทำสังฆทานก่อนตาย หรือนิมนต์พระมาสวดมนต์ให้ฟังในวาระสุดท้าย

๔. กตัตตากรรม (กรรมที่สักว่าทำ)

ถ้ากรรมสามอย่างข้างต้นไม่มี กตัตตากรรมจะให้ผลโดยมาปรากฏในจิตก่อนตาย กตัตตากรรมหมายถึงกรรมด้วยเจตนาอันอ่อน คือไม่ได้ตั้งใจทำ เช่น เพื่อนเอาซองผ้าป่าให้ เราก็เอาเงินทำบุญใส่ซองทำบุญอย่างเสียไม่ได้ หรือแม่สั่งให้เราใส่บาตรพระเราก็ใส่ไปอย่างนั้นเอง นี้เป็นกตัตตากรรม ที่มีน้ำหนักน้อย เพราะเจตนาอ่อน

เหตุดังกล่าวนี้เองทำให้เราไม่สามารถลักไก่ได้ นั่นคือ เช่นคนที่ทำอาสันกรรมด้วยการใส่บาตรพระ ก่อนตัวเองจะตายย่อมไม่สามารถหนีกรรมหนักที่เกิดจากการฆ่าพ่อแม่ไปได้ เป็นต้น เพราะกรรมต่างๆ ให้ผลตามลำดับอย่างนี้ เราจะไปเกิดที่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิตที่เรานึกถึงก่อนตาย



>>>>> จบ >>>>>

ขอขอบคุณที่มาจาก...http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3437

558


 

ดับทุกข์ด้วยความคิด “โยนิโสมนสิการ”
โดย ธรรมธร

โยนิโสมนสิการ เป็นคำบาลีมีในพระไตรปิฎก แม้จะเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ แต่ก็เป็นธรรมะที่เป็นกลางฟังไว้ก็นำไปใช้ได้ในทุกชาติศาสนา เพราะไม่ต้องยึดมั่นว่าใครเป็นคนสอน โยนิโสมนสิการแปลตรงๆ ว่า “การพิจารณาโดยแยบคาย” อาจจะแปลง่ายๆ ว่า การคิดให้เกิดปัญญาดับทุกข์ หรือการคิดที่นำไปสู่กุศล ทำนองนี้ก็ได้

พระพุทธองค์ได้กล่าวถึง “โยนิโสมนสิการ” ไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นองค์ (องคคุณ) อื่นแม้ข้อหนึ่งที่เป็นองค์ภายในของภิกษุผู้ยังศึกษา ผู้ยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผล ปราถนาธรรมอันเกษม จากโยคะอันยอดเยี่ยม อันเป็นองค์ที่มีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการนี้เลย” หมายความว่ามีประโยชน์มาก

การคิดให้เกิดปัญญาดับทุกข์ ไม่ใช่ของทำได้ง่ายๆ บางครั้งจะคิดออกได้ก็จะได้ต้องมีเพื่อนที่ดีช่วยแนะนำที่เรียกว่า กัลยาณมิตร บางคนก็คิดออกเอง บางคนคิดไม่ออก และเมื่อความทุกข์นำมาจะนำไปสู่ความตกต่ำได้อย่างที่สุด

ความทุกข์แบ่งเป็นทุกข์กายกับใจ ทุกข์กาย คือ ป่วยเจ็บ ทุกข์ใจ คือจิตใจที่ตามมาจากการป่วยเจ็บ รวมทั้งการพลัดพรากจากของรัก การได้พบกับสิ่งที่ไม่ปารถนา ประการต่างๆ ในชีวิตจริงความทุกข์เกือบทั้งหมดมาจากใจ ดังนั้นต้องแก้ที่ใจด้วยโยนิโสมนสิการ ตามตำราวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการทำได้หลายอย่าง เช่น วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ วิธีคิดแบบรู้เท่าทัน วิธีคิดแบบแก้ปัญหาอริยสัจในทางปฏิบัติ ขอเสนอแนะอย่างนี้ครับ
เมื่อไรที่ประสพทุกข์ ไม่ต้องตัดพ้อว่าทำไมถึงต้องเป็นเรา ให้คิดว่าจริงแล้วทุกคนต้องเจอสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่คราวนี้ถึงคราวของเราแล้ว ก็แล้วกัน อาจจะเป็นกรรมที่เราทำมาในอดีตชาติก่อน หรืออาจจะโดยบังเอิญก็แล้วแต่ แต่ให้ต้อนรับความทุกข์นั้นด้วยใจที่มั่นคง คิดไว้ว่าเกิดเป็นคนอย่ากลัวทุกข์ และคิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะมีแง่เดียว สิ่งที่เราคิดว่าทุกข์ก็ต้องมีคุณประโยชน์มหาศาลซ่อนอยู่เสมอ ถ้ารู้จักใช้เพียงแต่เราอาจจะยังไม่พบเท่านั้นเอง

ท่านพุทธทาสภิกขุถึงกับกล่าวไว้ว่า “พระพุทธเจ้าอยู่หลังม่านแห่งความทุกข์” หมายความว่าเมื่อทุกข์เพียงแต่เปิดม่านจะเข้าถึงพระพุทธองค์ บางคนไม่มีทุกข์ ก็ไม่มีม่านให้เปิด ก็เลยไม่ได้เข้าถึงพระองค์หมายถึงไม่ได้เข้าถึงธรรมและความดี

ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่หมอรู้จัก เป็นมะเร็งเต้านม มีความทุกข์ใจมาก ต้องได้รับการผ่าตัดนำเต้านมออกและรับเคมีบำบัด บางคนผมร่วง บางคนต้องฉายแสงและโทรมมาก สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือท่านเหล่านั้นต่างก็มาถือศีลตลอดชีวิต บางคนถึงกับได้บวชชีพราหมณ์ บางคนปล่อยนกปล่อยปลาเป็นประจำ จิตใจต่างก็เปลี่ยนไปในทางดี ที่เป็นครูแล้วดุก็เปลี่ยนเป็นไม่ดุ ที่ไม่เมตตาก็เมตตาขึ้นมา ที่ไม่เข้าวัดก็ได้เข้าวัด ที่ไม่สวดมนต์ก็ได้สวดมนต์ บางคนสวดมนต์ยาวๆ ทุกคืน บางคนหันมาเอาใจใส่ลูกและครอบครัวมากกว่าเดิม

มะเร็งชนิดนี้กว่าจะเป็นซ้ำหรือตายอาจจะอีก 10-20 ปี เมื่อได้รับการบรักษาที่ดีแต่เนิ่นๆ ซึ่งก็ทำให้ชีวิตช่วง 20 ปีหลังได้ทำความดีอย่างมหาศาล เพื่อนบ้านที่ซุบซิบนินทาว่าร้าย บางคนก็ตายไปก่อนโดยไม่ได้ทำความดีอะไร แต่คนเป็นมะเร็งที่เป็นเป้านินทาก็ยังไม่ตาย หลังๆ ก็มีความสุขทำใจได้ เข้าถึงธรรมมากกว่า และ มั่นใจในความดีจนไม่กลัวความตายเลย จนพูดได้ว่า เป็นมะเร็งแบบนี้ก็ไม่เลวเหมือนกัน ดีกว่าตายแบบไม่ได้เตรียมตัวตั้งแยะ

การแก้ปัญหาด้วยโยนิโสมนสิการมีหลักง่ายๆ ว่า ต้องมีสติ มีใจที่สงบก่อน ดังนั้นเมื่อทุกข์ให้หาที่สงบจิตใจ อาจจะเป็นวัด โบสถ์ วิหาร มัสยิด ทุ่งนาป่าเขา หรือแม้แต่ห้องพระในบ้านของเรา อาจจะสวดมนต์หรือนั่งสมาธิหรือนั่งให้ใจสงบ หรือแม้แต่อ้อนวอนขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอเพียงให้ใจเราสงบขึ้น แล้วคิดว่าสิ่งที่เราพบว่าทำให้เราทุกข์นี้ สามารถนำสิ่งที่ดีมีความสุขอย่างไรให้เราได้บ้างหรือไม่ เพราะแม้แต่ขยะที่น่ารังเกียจยังถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยที่ยอดเยี่ยมได้ ถ้าเราไม่สามารถคิดออกได้ในตอนนั้นอาจจะเป็นเพราะใจไม่สงบพอ ให้ค่อยๆ ทำใหม่หรือให้ปรึกษาผู้ที่คิดว่าจะแนะนำสิ่งที่ดีให้กับเราได้ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรของเรา

หมอเคยดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ได้แต่นอนบนเตียงรอความตายอย่างช้าๆ มีอยู่คนหนึ่งหลังจากที่ได้คุยกันหลายครั้ง เขาก็บอกหมอว่า เขาพร้อมที่จะตายได้แล้ว และมั่นใจว่ามีความดีพอที่จะไปสุคติแน่ๆ ที่ยังไม่สบายใจอยู่อย่างเดียวในตอนนี้ก็คือเขาเป็นภาระให้ลูกเมียลำบากคือไม่ตายสักทีและอาจจะอยู่ไปอีกนานก็ได้

หมอก็บอกเขาว่า การที่ลูกเมียได้ดูแลคุณอย่างนี้ก็เป็นการทำบุญสร้างบารมีของเขาเหมือนกัน โดยเฉพาะลูกได้ดูแลพ่อแม่ที่ป่วยอย่างนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ลูกจำนวนมากก็ไม่มีโอกาสได้ทำ และเขาจะได้บุญมากเพราะคุณคือพระอรหันต์ของลูก คุณคือเนื้อนาบุญของเขา ผู้ป่วยผู้นี้แช่มชื่นขึ้นทันที แล้วพูดว่า จริงสินะผมไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้เลย ตอนเด็กๆ ผมก็ยังไม่ได้ดูแลพ่อแม่ตอนป่วยเลย นับว่าลูกมันโชคดีกว่าผมอีก ในงานนี้นับว่าหมอได้มีโอกาสเป็นกัลยาณมิตรของเขา ซึ่งหมอก็หวังว่าด้วยอานิสงส์นี้ เมื่อเราลำบากมีความทุกข์มากคิดไม่ออก ก็ขอให้ได้เจอกัลยาณมิตรดีๆ ด้วยเหมือนกัน เพราะในบางครั้งเมื่อผงเข้าตาตนเอง ก็ไม่ใช่ว่าตนเองจะเขี่ยออกได้

บางคนเสียสิ่งของไป แต่ไม่นานก็ได้ของที่ดีกว่า บางคนสามีทิ้งไป แต่ก็ได้อิสรภาพและความสุขที่มากกว่า แม้กระทั่งได้สามีใหม่ที่ดีกว่า บางคนตกงานต่อมาก็ได้งานที่ดีกว่า หมอรุ่นน้องบางคนจับสลากได้ไปทำงานต่างจังหวัดไกลๆ ร้องห่มร้องไห้มากมาย พบว่าต่อมาไปได้คู่ชีวิตที่นั่น นั่นคือต้องไปตรงนั้นเพราะเนื้อคู่เขาอยู่ตรงนั้น บางคนเจ็บป่วยจนพิการแต่ก็ได้ชีวิตที่เป็นบุญกุศลแบบไม่เสียชาติเกิด และบางคนได้เข้าถึงธรรมะได้ปฏิบัติธรรมะ ได้เปิดม่านพบพระพุทธองค์ ก็เพราะความทุกข์นั่นเอง

ฝึกจิตใจให้คิดหาสิ่งดี คิดแต่ของดี มองโลกในแง่ดี ด้วยโยนิโสมนสิการนะครับ จะนำความสุข ความก้าวหน้ามาสู่ตัวเราและคนรอบตัวครับ


......................................................
ขอขอบคุณ
เอกสารอ้างอิง :
เอกนิบาต อิติวุตตกะ ขุททกนิกาย
ภาคย่อพระไตรปิฎกฉบับประชาชน เล่ม 25
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน สุชีพ ปุญญานุภาพ
พิมพ์ครั้งที่ 16 น. 601

......................................................

บทความจาก
ชมรมผู้บริโภคสื่อสีขาว
http://whitemedia.org/content/category/1/14/32/
 

559

 

การอุทิศบุญให้ถึงแน่นอน รวดเร็ว ฉับพลัน
โดย พระอาจารย์เกษม อาจิณฺณสีโล


พระอาจารย์เกษม อาจิณฺณสีโล เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต พระอริยเจ้าแห่งวัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2529 ฝ่ายธรรมยุติ หลังจากอุปสมบทมาไม่นานก็เกิดความประทับใจกับประสบการณ์ทางจิตที่ได้รับจากการฝึกเล่นๆ จึงตั้งใจอยู่ปฏิบัติต่อ แล้วไปขออยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แต่ท่านได้แนะนำให้ไปอยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่หล้าที่วัดภูจ้อก้อ เมื่อไปก็ไม่ได้อยู่กับหลวงปู่หล้า แต่อยู่วัดใกล้ๆ กับหลวงปู่หล้า ได้ฝึกฝนตนเองอย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลา 5 ปี จึงรู้จักธรรมชาติพอเป็นที่สบายใจ

ท่านมีประสบการณ์ทางจิตที่โลดโผนพิสดาร แม้เดินจงกรมก็สามารถเดินเหยียบอากาศ เอาผ้าไปพาดไว้บนกิ่งไม้สูง 10 เมตรได้ ทั้งสามารถมองเห็น ภูต ผี ปีศาจ เทวดา นาค ครุฑ ยักษ์ อย่างแจ่มชัดแม้กระทั่งลืมตา มีญาณระลึกชาติย้อนหลังได้มากมายหลายชนิด เป็นพระสงฆ์ที่ใช้เวลาท่องเที่ยวไปในนรกสวรรค์บ่อยที่สุด คล้ายนิทานเรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์โลก เป็นพระสงฆ์รูปเดียวและรูปแรกที่กล้าพูดกล้าเปิดเผยเรื่องราวลี้ลับ โดยไม่สนใจเสียงส่อเสียดจากชาวโลก เป็นพระสงฆ์ที่ไม่สนใจสมณศักดิ์ อามิส ลาภยศ ชื่อเสียงต่างๆ รวมทั้ง เป็นพระสงฆ์ที่เทพยดาชั้นสูงต่ำ ตลอดจน ภูต ผี ปีศาจ ฯลฯ ให้ความเคารพรักมาก

วัดของท่านจึงเป็นจุดที่เทพยดา และภูต ผี ปีศาจ เปรต ที่ตกทุกข์ได้ยากทั่วๆ ไปพากันมุ่งไปหา เพื่อขอความช่วยเหลือ และแต่ละวันประชาชนมากหน้าหลายตาทั่วๆ ไป ต่างดั้นด้นข้ามภูเขาผ่านหนทางทุรกันดารไปกราบท่านเพื่อปรึกษาหาทางแก้ไขปัญหาชีวิตต่างๆ เมื่อนำคำสอนที่ท่านแนะนำไปปฏิบัติก็ประสบความสำเร็จที่ตนเองวาดหวังไว้ แต่ท่านไม่อยากดังถ้าไปขอนำประวัติท่านไปลงหนังสือท่านจะไม่ยอมพูดด้วย แต่ท่านจะมีเมตตาในการสอนทั้งวันทั้งคืน ท่านมีเวลาพักผ่อนในแต่ละวันน้อยจริงๆ นอกนั้นหมดไปกับการต้อนรับผู้มาเยือน กลางคืนก็ต้องต้อนรับแก้ไขปัญหาหมู่ชนในโลกทิพย์เป็นส่วนมาก แล้วนั่งพูดๆ ทั้งวัน

ท่านมีแผ่นซีดีแจกจ่ายให้นำไปฟังแล้วบอกว่า “ฟังแล้วให้นำไปปฏบัติแล้วแจกจ่ายกันฟังต่อ ฟังเข้าใจแล้วไม่จำเป็นต้องมาเพราะคนพูดเหนื่อยแล้ว นึกอยากทำบุญให้ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ไปวัดก็ได้ พ่อ-แม่เป็นพระอรหันต์อยู่ในบ้าน ทำบุญกับพ่อแม่แล้วอุทิศบุญให้เทวดาและเหล่าสรรพสัตว์ในโลกทิพย์ก็ได้ผลเท่ากับถวายทานในพระอรหันต์ วัดของอาตมามีพอกินพอใช้แล้ว ไม่ขาดแคลนอะไร จึงไม่มีความจำเป็นต้องมาหลั่งไหลทำบุญที่นี่”

ดังนี้ แผ่นซีดีที่ข้าพเจ้ามอบให้ฟังนี้ เป็นหนึ่งในหลายร้อยแผ่นที่ท่านแจกจ่าย ข้าพเจ้าคัดเลือกอัดถ่ายแจกจ่ายให้คนธรรมดาทั่วๆ ไปพอฟังได้ แล้วนำไปประพฤติปฏิบัติก็จักประสบความสุข สำเร็จตามที่ผู้ฟังปรารถนา ฟังแล้วก็ปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องไปรบกวนท่านหรอก เพราะว่าเวลาของท่านถูกเบียดบังมากขึ้นทุกวัน จนไม่มีเวลาพักผ่อนแล้ว ข้าพเจ้าจึงไม่ยอมบอกว่าท่านอยู่วัดไหน ตำบลไหน ก็เพื่อป้องกันมหาชนหลั่งไหลไปรบกวนท่านดุจที่หลั่งไหลไปหาหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ และหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด

แนวการสอนของพระอาจารย์เกษม อาจิณฺณสีโล

ชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ทั้งในโลกนี้และโลกทิพย์ มีส่วนสัมพันธ์กันเข้าไปอยู่ในกฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนในการเวียนว่ายตายเกิด ไปๆ มาๆ ที่จะไม่เคยเป็นญาติ ไม่เคยเป็นเพื่อน ไม่เคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันไม่มี ชีวิตของทุกผู้ทุกคนจึงมีส่วนสัมพันธ์กันไม่มานก็น้อย ทั้งส่วนดีมากและดีน้อย ทั้งส่วนเลวมากเลวน้อย ทั้งในส่วนที่ทำให้เกิดความเคียดแค้นชังมากชังน้อย ทั้งในส่วนที่รักและอุปการะมากและน้อย นี่เป็นกรณีหนึ่ง

การได้ดีตกยาก เจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์และสัตว์ ส่วนหนึ่งเกิดจากผลกรรมในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ อีกส่วนหนึ่งได้รับเหตุปัจจัยกระทบจากสื่งรอบข้าง อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของสิ่งลี้ลับที่เรามองไม่เห็น เช่น เทวดาช่วยเหลือ เทวดาให้โทษ ผีให้โทษ เจ้ากรรมนายเวรที่เคียดแค้นชิงชังให้โทษ

ในคนทุกคนจะมีเทวดาอย่างน้อย 2 องค์ เทวดาประจำตัวนี้แหละที่ชอบช่วยเหลือให้เราประสบความสำเร็จ หรือช่วยปกป้องคุ้มครองให้เรารอดพ้นจากภัยอันตรายที่น่าหวาดเสียวได้อย่างอัศจรรย์ ซึ่งบางทีเราก็ยกให้เป็นคุณงามความดีของวัตถุมงคลที่แขวนคอเสียก็มี เด็กน้อยบางคนไม่มีวัตถุมงคลแขวนคอเลย แต่ตกบ้านตกเรือนด้วยความซุกซน แต่ไม่ได้รับอันตรายเพราะเหมือนมีใครมาอุ้มก่อนตกพื้น บุคคลบางคนไม่มีวัตถุมงคลติดตัวเลยแต่สามารถหลุดพ้นจากอุบัติเหตุและการดักทำร้ายของศัตรูมาได้อย่างปาฏิหารย์ นั่นคือการปกป้องรักษาจากเทวดาประจำตัวเขา และ/หรือญาติในโลกทิพย์ของเขา

พวกเราชาวพุทธแต่ละคนล้วนเคยทำบุญให้ทานมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งในชาตินี้และในชาติก่อน ถ้าจะนับบุญก็คงจะใหญ่เท่าภูเขาเลากาหรือเท่าก้อนโลก แต่ไม่รู้จักใช้บุญของตนเองให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันชาติ จึงต้องรอตายแล้วจึงไปรับบุญในสรวงสวรรค์ คนทำบุญจึงชอบบ่นว่าทำแต่บุญไม่เห็นได้ดีสักที ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาไม่เคยให้บุญแก่เทวดาที่รักษาตัวเอง ไม่เคยให้เจ้ากรรมนายเวรที่ตามจ้องกันอยู่ ไม่เคยให้เทวดาและญาติทิพย์ที่อาศัยอยู่ในเขตบ้านเรือน ไม่เคยให้เทวดาที่รักษาเจ้านายของตัว เทวดาเหล่านั้นบางองค์มีบุญน้อยมีฤทธิ์น้อย จึงไม่สามารถช่วยเหลืออะไรเราได้มาก แต่ถ้าเขาได้รับบุญจากเราบ่อยๆ เขาจะกลายเป็นเทวดาที่มีฤทธิ์มีอำนาจ สามารถช่วยเหลือให้เราประสบความสำเร็จได้ดังใจหมาย บางคนอ้างว่าทำบุญทุกครั้งก็กรวดน้ำให้เทวดาและเจ้ากรรมนายเวรทุกครั้งก็ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลง โปรดเข้าใจว่าท่านให้ไม่เป็นเขาจึงไม่ได้รับ เช่นให้ไม่เจาะจงหรือแสงบุญหมดแล้วจึงมากรวดน้ำให้ เขาก็ไม่ได้รับ

การใช้บุญสร้างความสำเร็จในปัจจุบัน

พระพุทธเจ้าทรงแสดงการเกิดบุญไว้ 3 ประการอย่างย่อๆ คือ
1. บุญเกิดจากการให้ทาน
2. บุญเกิดจากการรักษาศีล
3. บุญเกิดจากการภาวนาอบรมจิตใจ

โดยสรุปแล้วการสร้างความดีทุกประการ ล้วนเป็นแหล่งของการเกิดบุญกุศลทั้งสิ้น แล้วก่อให้เกิดอานิสงส์ที่จะสร้างความสำเร็จให้ชีวิตได้ทั้งสิ้น เมื่อกำลังให้ของแก่ใคร ไม่ว่าจะถวายของแก่พระสงฆ์ ให้ของแก่พ่อ แม่ พี่ น้อง ญาติมิตร แม้เอาข้าวให้หมากิน เอาอาหารโยนให้ปลากิน เอาเศษอาหารโปรยให้มดกิน ย่อมเกิดกระแสบุญขึ้น เป็นกระแสเรืองรองแผ่ออกจากตัวผู้กำลังให้ เพียงไม่กี่วินาทีแสงนี้จะพุ่งหายขึ้นไปเบื้องบน แล้วสะสมเป็นกองบุญผู้ให้อยู่บนเทวโลก ดังนั้นขณะให้ของแก่ใคร จึงควรอธิษฐานจิตคิดทันทีว่า

“บุญนี้จงเป็นของเทวดาผู้รักษาตัวข้า” หรือ “บุญนี้จงเป็นของเจ้ากรรมนายเวรของข้า” หรือ “บุญนี้จงเป็นของเทวดา-ภูต-ผี-ปีศาจ-เปรต-ครุฑ-นาค-ยักษ์ ที่อาศัยอยู่ในสถานที่เรือกสวนไร่นา หรือเคหะสถานบ้านเรือนของข้า” หรือ “บุญนี้จงเป็นของเทวดาผู้รักษาบุตรของข้า จงเป็นของเทวดาผู้รักษาบิดา-มารดาของข้า” เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการแก้ไขในจุดไหน เช่น

บุตรของเราเกเรเหลือเกินชอบสร้างแต่ความเดือดร้อนสั่งสอนไม่ฟังแบบนี้ ต้องให้เทวดาผู้รักษาตัวเขาเป็นผู้ขนาบตักเตือน วิธีที่เทวดาตักเตือนนั้น ท่านจะสั่งการไปที่ความรู้สึกนึกคิดจิตใจของเขา ถ้าเทวดาประจำตัวเขาเป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อได้รับบุญบ่อยๆ เทวดารู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง มีชีวิตที่สุขสบายขึ้น มีฤทธิ์อำนาจขึ้น เขาจะทราบได้เองว่าสิ่งที่เขารับนั้นมาจากไหน เมื่อเราอุทิศบุญให้ท่านก็อธิษฐานว่า

“เมื่อเทวดาได้รับบุญแล้วขอให้มีความสุข มีกินมีใช้ มีเสื้อผ้าที่อยู่อาศัยและขอให้อบรมตักเตือนลูกของข้าให้เป็นคนดีด้วย” ดังนี้ ไม่นานหรอกจะเกิดกรณีพิศดารขึ้นกับบุตรเกเรคนนั้นจนต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนดีอย่างแน่นอน

สามีหรือภรรยา คู่ครองของตนเองเป็นที่น่าเอือมระอาเหลือเกิน อยากให้คู่ครองดี รักเรา ละเลิกประพฤติชั่วเหลวไหล ก็ให้ทำแบบเดียวกันกับที่ให้บุญแก่เทวดาที่รักษาบุตร

กิจการค้าของท่านล้มเหลวหรือซบเซา เมื่อท่านทำบุญทุกครั้งควรอุทิศให้เทวดาประจำตัวของท่าน และเทวดาที่ดูแลกิจการการค้าด้วยพร้อมกันไปแล้วอธิษฐานว่า “เทวดาที่รับบุญของเราแล้ว โปรดช่วยเหลือกิจการค้าธุรกิจของเรา ให้ประสบความสำเร็จด้วยเถิด ถ้าร่ำรวยขึ้นจะทำบุญให้ท่านยิ่งๆ ขึ้นไปอีก” จะใช้คำเรียกตนเองว่าข้า ว่าเรา ก็ได้ทั้งนั้น ร้านค้าขายจะเป็นร้านอะไรก็แล้วแต่ เมื่อทำบุญก็ให้อุทิศบุญแก่เทวดาที่รักษาร้านค้านั้นด้วย แล้วบอกว่า “เทวดาเมื่อได้รับบุญแล้ว โปรดเรียกลูกค้ามาอุดหนุนให้มากๆ ด้วย”

การอุทิศบุญ ไม่ต้องพูดไม่ต้องกรวดน้ำ ให้ใช้การคิด ต้องรีบคิดทันทีอย่าชักช้าเพราะแสงบุญที่เกิดขึ้นจะดำรงอยู่ไม่กี่วินาทีแล้วจะหายไปสู่สวรรค์ ถ้าเราฝึกบ่อยๆ เราจะชำนาญในการคิดเพราะมีกระแสแรงกว่าพูดออกจากปาก เวลาหย่อนก้อนข้าวลงในบาตรให้คิดส่งบุญทันที และคิดให้ชัดเจนอย่าลางเลือน ให้ของแก่ใครเมื่อของหลุดจากมือเราก็ให้คิดทันทีอย่าช้า

การรักษา โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดกับตัวเราสืบเนื่องจากนายเวรผู้เคียดแค้นชิงชังกระทำทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ฆ่าสัตว์ย่อมอายุสั้น ผู้เบียดเบียนสัตว์ย่อมสุขภาพไม่ดี ดังนั้น การรักษาต้องส่งบุญไปให้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยนั้นๆ และให้เทวดาผู้รักษาตัวเราในขณะเดียวกันโปรดอธิษฐานว่า “หมอใดยาใดที่สามารถรักษาอาการนี้ให้หายขาดได้ ขอให้เทวดาจงนำหมอนั้นมารักษาเรา เจ้ากรรมนายเวรได้รับบุญของเราแล้ว จงอโหสิกรรมให้เราด้วย ถ้าเราหายเราจะทำบุญให้แก่ท่านยิ่งๆ ขึ้นไป”

การอธิษฐานเบิกบุญเก่าอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรที่รบกวนควรทำวันละหลายๆ ครั้ง จนเขาพอใจ อาการป่วยของเราจะหายเร็วขึ้น วิธีการให้บุญแก่เจ้ากรรมนายเวรควรทำดังนี้เป็นตัวอย่าง เช่น คนป่วยมะเร็งจุดไหนเมื่อส่งบุญให้คิดว่า “บุญนี้เจ้ากรรมนายเวรที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยตรง... พวกเชื้อโรคมะเร็งเมื่อได้รับบุญแล้วขอให้เจ้ามีชีวีตที่ดีขึ้น มีภพที่สูงขึ้น จงหลุดจากภาวะชีวิตชั้นต่ำเดี๋ยวนี้ เมื่อเราหายแล้วเราจะได้ทำบุญให้พวกเจ้า ส่งชีวิตของพวกเจ้าให้สูงขึ้นเรื่อยๆ พวกเจ้าจงเลิกจองเวรจองกรรมในเราเสียที ตั้งแต่นี้เราจะตั้งตนอยู่ในศีลธรรม เลิกการเบียดเบียนเข่นฆ่าชีวิตสัตว์อื่น ขอส่งบุญที่เกิดจากการรักษาศีลแก่เจ้าด้วย”

ผู้มีอาชีพเกี่ยวเนื่องกับการฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์อื่น เจ้าของโรงฆ่าสัตว์ คนขายเนื้อสัตว์ ชาวประมง คนขายปลาสดตามตลาด เชือดไก่ขาย คนเหล่านี้ต้องสร้างบาปกรรมทุกวันๆ จึงก่อความเคียดแค้นชิงชังให้แก่สัตว์ที่ถูกฆ่าอยู่ทุกวี่ทุกวัน เขาก็พยายามจองล้างจองผลาญ แต่ในขณะที่บุญเก่าของผู้นั้นยังมีอยู่ เจ้ากรรมนายเวรก็ทำอะไรไม่ได้ แต่หากว่านายเวรได้ช่องทางเมื่อไร วิญญาณสัตว์ที่เคียดแค้นเหล่านั้น (นายเวร) จะตามมาทวงและให้ร้ายทันที ดังนั้นต้องพยายามไถ่ถอนกรรมของตัวด้วยการทำบุญ แล้วอุทิศให้วิญญาณสัตว์ที่ตัวเองฆ่า ทำบ่อยๆ ส่งบ่อยๆ เอาเนื้อสัตว์ที่เราขายนั้นทำอาหารถวายพระหรือเลี้ยงผู้อื่น อธิษฐานว่า “บุญนี้ให้สัตว์ทั้งหลายที่เราได้ฆ่าหรือผู้อื่นฆ่าเพราะคำสั่งเรา เหล่าสัตว์เหล่าใดที่ได้รับบุญแล้ว ขอให้มีแต่ความสุข ความเจริญ มีชีวิตวิญญาณที่ดีขึ้น จงหลุดพ้นจากกรรมเวรที่ตนเองเคยสร้างไว้ จงมีภพภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นเทวบุตรเทวดาในสรวงสวรรค์ เมื่อได้รับบุญแล้วจงอโหสิกรรมให้เราด้วย อย่าได้จองเวรซึ่งกันและกันเลย เจ้าตายเพราะเราแต่ก็มีชีวิตที่ดีขึ้นเพราะเรา ดีกว่าเจ้าตายเอง หรือตายเพราะฝีมือผู้อื่น ซึ่งก็มีชีวิตทุกข์ทรมาน”

การขับไล่ผีหรือคุณไสยออกจากร่างผู้ป่วย เอาของให้ทานแก่ผู้ทรงศีล จะพระหรือฆราวาสก็ได้แล้วอุทิศบุญเจาะจงถึงผีในร่างผู้ป่วย ขอให้ได้รับบุญนี้ เมื่อได้รับบุญแล้วโปรดออกจากร่างผู้ป่วยเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่ยอมออกก็ให้บ่อยๆ ให้สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ให้เงินห้าบาท สิบบาท ให้กาแฟ 1 แก้ว โอวัลติน 1 แก้ว แล้วอุทิศได้ทั้งนั้น

ในกรณีมีคุณไสยเข้าร่างผู้ป่วย ให้อธิษฐานดังนี้ “ด้วยอำนาจพระพุทธเจ้า ด้วยอำนาจพระธรรม ด้วยอำนาจพระสงฆ์ โปรดจงลบล้างอำนาจชั่วช้าต่ำทรามที่มีผู้ส่งเข้าผู้ป่วยให้สูญสลายไป ณ บัดนี้” ถ้าไม่หายให้ทำบ่อยๆ เดี๋ยวอาการก็ดีขึ้นเองโดยไม่ต้องไปทำพิธีอะไรอื่นหรือไม่ต้องไปจ้างหมอผีผู้มีวิทยาอาคมที่ไหนมาแก้ เพราะอำนาจของพระรัตนตรัยนั้นยิ่งใหญ่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาล

หลีกเลี่ยงการสวดมนต์เพื่อขับไล่วิญญาณ บทสวดมนต์แต่ละบทมีอำนาจขับไล่ และเบียดเบียน พวกวิญญาณชั้นต่ำในโลกทิพย์ ให้ได้รับความเดือดร้อน พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ห้ามมิให้ภิกษุทำน้ำมนต์ขับไล่ผี ไว้ในพระวินัยบัญญัติ ดังนั้น เมื่อผู้ใดกล่าวสวดมนต์เพื่อเจริญพุทธานุสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ โปรดอย่าตั้งจิตเบียดเบียนภูติผีปีศาจชั้นต่ำทั้งหลายให้ได้รับความเดือดร้อน เมื่อสวดมนต์ให้ตั้งจิตระลึกเสียก่อนว่า “ภูติผีปีศาจชั้นต่ำทั้งหลายบัดนี้เราจะกล่าวบทสวดมนต์ใครชอบฟังเอาบุญกุศลก็ให้ตั้งใจฟัง หากใครฟังแล้วทรมานก็ให้หลีกหนีไปที่อื่นจนกว่าเราจะสวดมนต์เสร็จแล้วจึงกลับมาเถิด เราไม่สวดเพื่อขับไล่ใคร แต่สวดเพื่อเจริญในพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เท่านั้น”

การนิมนต์พระมาทำพิธีขับไล่ภูติผีในบ้านนั้น ไม่ถูกต้องโดยประการทั้งปวงและควรงดให้เด็ดขาดเพราะวิญญาณนั้นเขาอาศัยอยู่ที่นั่นมาก่อนเราอย่างสงบสุข บางตนก็เป็นญาติที่เราเคารพรักมาก่อน ตายแล้วมีบุญน้อยกุศลน้อยก็เป็นภูติผีอาศัยอยู่ในบ้านนั้น ภูต ผี บางตนมีความทุกข์เดือดร้อนพยายามส่งกระแสความเดือดร้อนให้เรารู้สึก เพื่อจะได้ทำบุญส่งให้เขา แต่คนไม่เข้าใจคิดว่าเขาเบียดเบียนหลอกหลอน จึงนิมนต์พระมาสวดขับไล่ เมื่อเราไปทำพิธีขับไล่เขายิ่งเดือดร้อน แล้วพวกวิญญาณเหล่านั้นจะรวมหัวกันกลั่นแกล้งผู้คนในบ้านให้เดือดร้อนวุ่นวายกันมากขึ้น มีแต่เรื่องทะเลาะขัดแย้งกันเนืองๆ สังเกตดู บ้านไหนที่มีคนถือวิชาอาคมสวดมนต์ไล่ผีบ่อยๆ คนในบ้านจะหาความรักสามัคคีกันไม่ได้เลย พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา ทะเลาะขัดแย้งจนฆ่ากันตายก็มี ต่อไปเมื่อมีเหตุเดือดร้อนควรทำบุญอุทิศให้พวกเขาอยู่สุขสบาย ก็จะเลิกรบกวนเรา แล้วจะกลับเป็นเทวดาชั้นดีที่คอยปกปักษ์รักษาเราต่อไป

หลีกเลี่ยงการติดผ้ายันต์กันภูติผีในบ้าน หรือการพกพาเครื่องรางของขลังที่เบีดเบียนวิญญาณชั้นต่ำ เพราะสิ่งเหล่านี้กระทบกระเทือนถึงวิญญาณชั้นต่ำให้ได้รับความเดือดร้อนและเคียดแค้น อันจะส่งผลให้เขาเป็นเจ้ากรรมนายเวร จองล้างจองผลาญเราไม่มีที่สิ้นสุดโดยที่เราไม่รู้ตัว บ้านเรือนเคหะสถานเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้ เป็นทั้งที่อยู่ของผู้มีชีวิตในโลก และในอีกมิติหนึ่งที่เรามองไม่เห็น ไม่ควรเห็นแก่ตัวว่าเป็นสมบัติของเราเพียงผู้เดียว ควรร่วมกันอยู่กันอย่างสงบสุข พวกวิญญาณต้องอาศัยบุญกุศลถึงอยู่ได้ ถ้าได้รับบุญจากมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินเดียวกันเขาย่อมพึงพอใจ และจะรักษามนุษย์ให้มีความสุข ความเจริญ แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนไว้ใน เทวตาทิสสทักขิณานุโมทนา ว่า

ยัสมิง ปะเทเส กัปเปติ วาสัง ปัญติตะชาติโย
สีลวันเตตถะ โภเชตะวา สัญญะเต พรหมะจาริโณ
ยา ตัตถะ เทวตา อาสุง ตาสัง ทักขิณะมาทิเส
ตา ปูชิตา ปูชะยันติ มานิตา มานะยันติ นัง
ตะโต นัง อนุกัมปันติ มาตา ปุตตังวะ โอระสัง
เทวะตานุกัมปิโต โปโส สะทา ภัทรานิ ปัสสติ

แปลว่า ผู้ฉลาดชาติบัณฑิต เมื่ออาศัยอยู่ ณ สถานที่แห่งใด ควรเชื้อเชิญผู้ทรงศีลเข้าไปเลี้ยงดูในสถานที่แห่งนั้น แล้วอุทิศบุญให้แก่เทวดาผู้อาศัยอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น เทวดาเมื่อได้รับการบูชาแล้วย่อมบูชาตอบ คือทำความอนุเคราะห์ช่วยเหลือผู้อุทิศบุญให้แล้วนั้น เหมือนบิดามารดาผู้รักบุตร ย่อมอนุเคราะห์บุตร ผู้ใดได้รับการช่วยเหลือจากเทวดาแล้ว ย่อมประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองอยู่เป็นนิจ

การให้ทานแก่บุคคลย่อมมีผลบุญแตกต่างกัน

- ให้ในพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานย่อมเกิดผลมากกว่าให้พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว
- ให้ในพระพุทธเจ้าย่อมมีผลมากกว่าให้ในพระอรหันต์
- ให้ในพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติย่อมมีผลมากกว่า
ให้ในพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ในสถานภาพปกติ
- ให้ในพระอรหันต์ย่อมมีผลเหนือกว่าให้พระอนาคามี
- ให้ในพระอนาคามีย่อมมีผลมากกว่าให้พระสกทาคามี
- ให้ในพระสกทาคามีย่อมมีผลมากกว่าให้พระโสดาบัน
- ให้ในพระโสดาบันย่อมมีผลมากกว่าให้แก่ผู้ทรงฌาณ
- ให้ในผู้ทรงฌาณย่อมเหนือกว่าให้ในพระผู้ประพฤติศีลตามปกติ
- ให้ในผู้มีศีลย่อมมากกว่าให้ผู้ไม่มีศีล
- ให้ในคนย่อมมากกว่าให้ในสัตว์
- ให้ในสัตว์ผู้โพธิสัตว์ย่อมมีผลมากกว่าให้ในสัตว์ธรรมดา
- ให้ในสัตว์ที่มีคุณย่อมเกิดผลมากกว่าให้แก่สัตว์ที่ไม่มีคุณ และแม้แต่ให้อาหารแก่พวก มด ปลวก ก็ยังเกิดบุญกุศล ดังนั้น ชื่อว่าการให้ย่อมเกิดบุญกุศลทั้งสิ้น แต่มากน้อยต่างกัน เงิน 1 บาท ถวายพระอรหันต์มีผลมากมายนับไม่ได้ แต่ให้ภิกษุผู้ทรงศีลมีผลน้อย นี่คือความแตกต่างของนาบุญ ถ้ารู้จักเลือกให้เลือกเถิด ถ้าเลือกไม่ได้ก็ให้ถวายสงฆ์ส่วนรวมก็มีอานิสงส์มาก

• เมื่อตั้งใจรักษาศีล ก็ย่อมเกิดบุญกุศลขึ้นทุกครั้ง ที่ระลึกถึงศีลตัวเองรักษาดีแล้วไม่ด่างพร้อยก็อธิษฐานส่งบุญได้ว่า “บุญที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลนี้ขอมอบแก่................................” ดุจที่กล่าวมาในการให้นั่นแล

• ก่อนนั่งภาวนาทุกครั้งให้เริ่มคิดดังนี้ “ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงดลบันดาลบุญที่ข้าพเจ้ากำลังจะภาวนาเวลานี้ จงสำเร็จแก่ผู้ที่ต้องการบุญ ผู้ใดคิดอยากได้ ขอให้บุญภาวนาที่กำลังจะทำนี้เป็นของท่านตามปรารถนา” หรือเราจะให้ใครก็ได้ ให้อธิษฐานเอาเองแล้วก็เริ่มภาวนาได้เลย หลังจากเลิกภาวนาก็ให้อุทิศบุญนี้ไปอีกครั้งหนึ่ง

หมายเหตุ : บุญที่ภาวนานี้กำลังแรง พวกภูติผีชั้นต่ำมักรับไม่ค่อยได้ จึงต้องเปิดจ่ายไว้ก่อนทำเขาจะได้รับตามความสามารถของตนเอง ถ้าภาวนาแล้วจึงให้ก็เปรียบเสมือนเราเปิดน้ำจากท่อดับเพลิงแล้วให้เขาเอาภาชนะมาตวง เขาจะได้รับไม่ได้ เนื่องจากจิตฐานของเขาไม่แข็งแรงพอ ถ้าเราอธิษฐานเปิดไว้ก่อน ก็เหมือนเปิดก็อกน้ำออกค่อยๆ ใครมีภาชนะน้อยก็เอามาตวงได้ แต่สำหรับเทวดาบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ท่านสามารถรับบุญใหญ่หลังภาวนาได้ เปรียบเหมือนท่านมีโอ่งมีถังขนาดใหญ่สำหรับรองรับน้ำที่พุ่งจากท่อดับเพลิงนั่นเอง

• การทำคุณงามความดีทุกครั้ง เช่น การได่ช่วยเหลือคน การได้ทำประโยชน์ส่วนรวมย่อมก่อให้เกิดความปิติดีใจ นั่นแหละคือบุญ ให้รีบส่งบุญถึงผู้ที่เราต้องการให้บุญทันที

• ส่งบุญเก่าที่ทำไว้แล้ว บุญที่เราทำไว้มีมากมายที่สะสมอยู่ในสรวงสวรรค์ทั้งที่ทำไว้ในอดีตชาติหรือในชาตินี้ เราสามารถเบิกบุญนั้นมาแจกจ่ายอุทิศให้แก่ผู้ที่อยู่ในโลกวิญญาณได้ เหมือนเรามีเงินเก็บในธนาคาร เราก็อาศัยบัตรเอทีเอ็มกดเงินออกมาใช้จ่ายได้ การเบิกบุญนั้นต้องอาศัยอำนาจพระรัตนตรัย คือให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า

“ด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้า ด้วยอำนาจของพระธรรม ด้วยอำนาจของพระสงฆ์ จงบันดาลให้บุญของข้าพเจ้าถึงแก่................................” จะให้ใครก็คิดเอาเอง การเบิกบุญแจกจ่ายนี้สามารถให้ได้ทุกเวลา เมื่อระลึกขึ้นได้ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม อุจจาระ ปัสสาวะ แม้กำลังร่วมเพศ ก็สามารถอธิษฐานส่งบุญได้ แม้กระทั่งสามีภรรยากำลังร่วมเพศกัน เกิดความสุขความพอใจในขณะนั้น ก็สามารถส่งบุญคือความสุขนั้นให้แก่ญาติทิพย์ได้

• คนในศาสนาไหนก็ส่งบุญได้ ไม่ว่าพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิก ล้วนมีวิธีสร้างกุศลผลบุญสะสมคุณงามความดีด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเกิดบุญกุศลขึ้น สามารถส่งถึงผู้อยู่ในโลกทิพย์ได้ด้วยวิธีเดียวกัน ถึงเช่นกัน ก่อผลลัพธ์แบบเดียวกัน พุทธศาสนาต่างจากศาสนาอื่น ตรงที่มีจุดสุดยอดของการหลุดพ้นจากทุกข์ คือ นิพพาน มีแนวทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่จุดนั้นโดยเฉพาะมีคำสอนเต็มไปด้วยเหตุและผลสามารถพิสูจน์ได้แบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งศาสนาอื่นไม่มี ส่วนการทำคุณงามความดีนั้น ถึงแม้จะมีแนวทางแตกต่างกันเพียงปลีกย่อยเท่านั้นไม่เป็นที่ขัดแย้งกัน

ผลของการส่งบุญ

-- ทำให้เทวดาที่ได้รับบุญแล้วมีอิทธิฤทธิ์ขึ้น สามารถช่วยเหลือผู้ส่งบุญให้ได้รับความสำเร็จ เทวดาที่รักษาเคหะสถานบ้านช่องบางแห่ง สามารถจำแลงแปลงกายเป็นเจ้าของบ้าน เปิด-ปิด ทีวี วิทยุ และไฟฟ้าในบ้านได้เอง ทำให้พวกลักเล็กขโมยน้อยไม่กล้าเข้าไปลักขโมย เพราะเข้าใจว่าเจ้าของบ้านอยู่ทั้งที่ความจริงแล้วไม่มีคนอยู่ในบ้านเลย เทวดาสามารถป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้บ้าน ป้องกันภัยอันตรายจากพายุ ต้นไม้หักโค่นล้มทับบ้าน บ้านไหนถูกไฟไหม้ แสดงว่าเทวดาไม่รักษาเพราะเจ้าของบ้านมีบาปกรรมและไม่เคยส่งบุญให้เทวดาและเจ้ากรรมนายเวร ที่บ้านข้าพเจ้าผู้เขียนมีเหตุแปลกเกิดขึ้นบ่อยๆ พัดลมปิดเอง ไฟฟ้าปิดเอง ถ้าทำอะไรไม่เหมาะสมจะมีสิ่งตักเตือนขึ้น

-- สามารถห้ามฟ้าฝนได้ สามารถขอให้ฝนตกได้ ตัวข้าพเจ้าชอบเข้าป่าหาสมุนไพร ช่วงหน้าฝนตกชุกที่สุดในช่วงที่ผ่านมา เมื่อข้าพเจ้าจะออกจากบ้านและขับมอเตอร์ไซต์ไปตามถนนก็จะอธิษฐานเบิกบุญให้แก่ภูตผีปีศาจทั้งหลายที่สถิตรายทางที่เดินท่งผ่าน ให้พญาครุฑที่ปกป้องแผ่นฟ้า ให้แก่พญานาคที่ปกป้องผืนน้ำ ช่วงที่ข้าพเจ้าเดินทางอย่าได้ประสบอุบัติเหตุ และอย่าให้ฝนตกระหว่างทาง เมื่ออยู่ในป่ากำลังขุดหัวยาก็อธิษฐานว่า

“ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอเบิกบุญของข้าพเจ้าจากสวรรค์ให้แก่ ภูต ผี ปีศาจ เทวดา ยักษ์ ครุฑ ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าแห่งนี้ ขออันตรายใดๆ อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า พญานาคจงหยุดฝนในบริเวณนี้ พญาครุฑจงพัดเอาฝนที่ตกแล้วไปลงที่อื่น อย่าให้ข้าพเจ้าซึ่งกำลังทำงานเปียกฝน”

ปรากฏว่าการเดินทางวันนั้นไม่มีฝน แต่ท้องถนนเปียกแสดงว่าฝนตกก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่ออยู่ในป่าไม่มีฝน พอออกมาถนนพบว่าถนนเปียก น้ำเจิ่งนองเต็มถนน เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง ข้าพเจ้าได้ฟังจากการเล่าของพระคุณเจ้าจึงนำมาปฏิบัติ ท่านเล่าว่าช่วงเกิดพายุใหญ่ต้นไม้หักระเนระนาดเกิดลูกเห็บตกลงมาหนาเป็นคืบในรอบนอกวัด แต่ที่วัดไม่มีฝน ไม่มีลมไม่มีลูกเห็บ หลังจากนั้นพญาครุฑตัวใหญ่ได้มาหาท่าน เรียกว่าได้โอบปีกปกปิดบังวัดไว้จึงไม่มีฝนหรือพายุตกในวัด

-- การเดินทางจะไม่มีอุบัติภัยตามท้องถนน เมื่อจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นข้างหน้า จะมีเหตุให้รถเราติดขัดเสียหายจนวิ่งต่อไม่ได้ เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปดีแล้วรถเราจะดีเอง เมื่อเดินทางไปจุดที่เกิดอุบัติเหตุนั้นก็จะพบเหตุการณ์อันน่าหวาดเสียวเกิดขึ้นก่อนมีผู้คนล้มตายก็มี หากรถเราไม่ติดขัดเสียก่อนเราก็อาจเป็นหนึ่งในผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้นก็ได้

-- ธุรกิจการค้า หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรืองจะพบช่องทางทำมาหากินที่แจ้งชัด ถ้าตกงานก็จะได้งานทำ ถ้าเจ้านายเกลียดก็จะรักชอบขึ้น

-- ร้านอาหาร ร้านขายของจะมีแขกเข้าร้านมากกว่าเดิม และอย่าลืม ถ้ามีคนมาอุดหนุนให้อธิษฐานบุญให้แก่เทวดาที่รักษาลูกค้าที่มาอุดหนุนทันที ต่อมาเทวดาก็จะดลใจให้ลูกค้ากลับมาหาเราอีก

-- นอนหลับสบายไม่สะดุ้งผวาด้วยภัยอันตรายรอบทิศทาง แม้ฝันก็ฝันดี

-- ร่างกายจะแข็งแรง สุขภาพจะสมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมารบกวน

-- ครอบครัวจะอยู่กันอย่างมีความสุข มีความเข้าอกเข้าใจกัน

-- เพื่อนบ้านจะรักใคร่ปรองดองกัน ไม่เบียดเบียนส่อเสียดกัน ให้ความเกรงอกเกรงใจซึ่งกันและกัน

พระอาจารย์เล่าว่า วิชาจ่ายบุญนี้ใช้กันมากตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่เพิ่งสาบสูญไปเมื่อ 500-600 ปีมานี่เอง ถ้าค้นคว้าในพระไตรปิฎกก็พบมากแห่งที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญและเทวดาผู้รับบุญ พระอาจารย์ค้นพบวิชานี้โดยบังเอิญ และด้วยความพยายาม ซึ่งมีเล่าอยู่ในแผ่นซีดี วีซีดี MP3 ที่ท่านได้แสดงไว้ การแสดงธรรมแต่ละครั้งแก่บุคคลแต่ละคณะมากมาย มีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก บางตอนก็เล่าเรื่องประสบการณ์ในนรกบ้างในสวรรค์บ้าง ถ้ามีนักปฏิบัติไปถามก็จะสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางจิตล้วนๆ ถ้านักปฏิบัติภาวนาได้ฟังแล้ว จะเกิดจิตศรัทธาแน่วแน่ในการปฏิบัติทางจิตยิ่งๆ ขึ้นไป ที่ข้าพเจ้าเล่ามานี้เป็นเบื้องต้นย่อๆ เท่านั้น รายละเอียดยังมีอีกมาก หากท่านผู้ใดสนใจอยากได้แผ่นซีดี วีซีดี การแสดงธรรมของพระคุณเจ้าเกษม เพิ่มเติม โปรดแจ้งความประสงค์ได้

คนจะเลิกทำบาปมาแสวงบุญก็เพราะได้ฟังธรรม คนจะสนใจให้ทานรักษาศีลภาวนาก็เพราะได้ฟังธรรม คนจะหลุดพ้นจากทุกข์ได้เพราะฟังธรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมทานคือการให้ธรรมเหนือการให้สิ่งอื่นๆ ทั้งหมด แม้ถวายทานในพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานก็ไม่เหนือกว่าธรรมทานได้”

บุญกุศลที่เกิดจากธรรมทานนี้ข้าพเจ้าขอมอบแก่เทวดาที่รักษาท่านผู้อ่านทุกท่าน เมื่อเทวดาได้รับบุญนี้แล้ว จงมีความสุข ความเจริญ มีฤทธิ์อำนาจ จงช่วยเหลือท่านผู้อ่านให้ประสบความรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดกาลนานเทอญ.

ตัวอย่างคำอธิษฐานการเบิกบุญจากสวรรค์

“ขออำนาจของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าเคยสร้างมาตั้งแต่อดีตชาติ จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรที่มาเบียดเบียนข้าพเจ้า.......................................... เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า, เทวดาดูแลบ้าน, นาคครุฑ, อสูร, ยักษ์, คนธรรพ์ และภูติผีปีศาจ ที่อยู่บริเวณบ้านของข้าพเจ้า”

การอุทิศบุญที่ได้รับผลทันที

ขณะใส่บาตรหรือถวายของพระให้ตั้งจิตอธิษฐานทันที “บุญนี้ยกให้เจ้ากรรมนายเวรที่มาเบียดเบียนข้าพเจ้า เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า”

หมายเหตุ : การทำบุญเล็กๆ น้อยๆ หากผู้ทำมีความยินดี หรือมีความสุขในการทำ เช่น การทำกับข้าวให้ครอบครัว การให้เงินลูก การให้ข้าวสุนัข หรือการทำอะไรให้คนอื่นก็ถือว่าเป็นบุญทั้งสิ้นสามารถโอนบุญได้

การนั่งสมาธิ

ก่อนนั่งสมาธิ อธิษฐานจิตว่า “ขอบุญกุศลที่เกิดจากการนั่งภาวนาจงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรที่มาถึงตัวข้าพเจ้า และเทวดาประจำตัวข้าพเจ้า........ ในขณะนั่งสมาธิหากเกิดบุญกุศลขึ้นเมื่อใดขอให้ท่านอธิษฐานเอาบุญจากข้าพเจ้าไปได้เลย และขออย่าได้ขัดขวางการภาวนาของข้าพเจ้า”

การอุทิศบุญที่ได้รับผลทันที การอุทิศบุญ หรือการโอนบุญ สามารถทำได้ทุกขณะจิต โดยทำได้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่ผู้ทำมีความสุข และมีความยินดีในการกระทำ เช่น

ตอนเช้า
- ตื่นนอนสามีภรรยาหอมแก้มกัน
- ป้อนข้าวให้ลูก
- ให้เงินลูกไปโรงเรียน
- ให้ข้าวสุนัข
- ดูทีวีแจ้วจิตมีความสุข

บุญเหล่านี้สามารถโอนได้ทันที โดยตั้งจิตอธิษฐานว่า “บุญที่เกิดจากจิตมีความสุขจากการหอมแก้มภรรยานี้ยกให้กับ...............(เจ้ากรรมนายเวรที่มาเบียดเบียนข้าพเจ้า เทวดาผู้รักษาข้าพเจ้า เทวดาผู้รักษาพ่อแม่ข้าพเจ้า...ฯลฯ)”

ตอนกลางวัน ขณะทำงาน
- ขณะยื่นงานให้กับเจ้านาย
- เลี้ยงอาหารผู้ร่วมงาน
- คุยกับเพื่อนแล้วมีความสุข

ตอนกลางคืน
ขณะที่สามีภรรยามีเพศสัมพันธ์กัน และช่วงที่จิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเกิดความพอใจ ยินดีในกิจกรรมนี้สามารถโอนบุญได้ทันทีว่า บุญที่เกิดจากจิตพอใจยินดีนี้ยกให้กับ.......... (เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวรที่เบียดเบียนข้าพเจ้า............ฯลฯ) หมายเหตุ การทำอะไรๆ ก็ตามที่ผู้ทำมีความสุขและมีความยินดีในการทำถือว่ามีบุญเกิดขึ้นทั้งสิ้น สามารถโอนบุญได้หมด

การเบิกบุญจากสวรรค์ ทำเมื่อจิตเรารู้สึกเฉยๆ และไม่ได้ทำอะไรให้ผู้อื่น เช่น

- การเข้าห้องน้ำ เช่น การแปรงสีฟัน และการอาบน้ำ เบิกบุญจากสวรรค์ได้โดยอธิษฐานในจิตว่า “ขออำนาจคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้บุญกุศลทั้งหมดที่ข้าพเจ้าเคยสร้างมาจงมาถึงแก่แบตทีเรีย หรือสัตว์ใดๆ ก็ตาม ที่ข้าพเจ้าเบียดเบียนและทำร้ายเมื่อเข้าห้องน้ำ”

- ระหว่างขับรถ หรือนั่งรถไปทำงาน

- ระหว่างการทำงานเบิกบุญจากสวรรค์ได้โดยอธิษฐานจิตว่า

“ขออำนาจของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้บุญกุศลทั้งหมดที่ข้าพเจ้าเคยสร้างมาถึงแก่เทวดาประจำตัวข้าพเจ้า, เทวดาประจำตัวรถ, เทวดาประจำที่ทำงาน และภูต ผี ปีศาจ ที่ติดตามตัวข้าพเจ้ามา”

วิธีที่จะทำให้เทพที่เป็นหมอมาทำการรักษาตัวเรา

ให้ตั้งจิตก่อนที่จะนอนหลับดังนี้ “ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้เหล่าเทพเทวาที่เป็นญาติข้าฯ จงได้ยินเสียงข้าฯ ในเวลานี้ด้วยเถิด ขอให้ท่านทั้งหลายจงไปนำเทพที่เป็นหมอมาทำการตรวจรักษาข้าในเวลาที่ข้าหลับด้วย ข้าฯ จะเปิดโอกาสไว้ ข้าฯ มีอาการ........................... (ปวดหัวหรือเป็นอะไรก็บอกไปตามนั้น) เมื่ออาการดีขึ้น ข้าฯ จะทำบุญให้แก่พวกท่านยิ่งๆ ขึ้นไป”

แล้วต่อไปให้คิดดังนี้อีกว่า “ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้ร่างกายข้าฯ ให้เปิดโอกาสแก่เหล่าเทพที่เป็นหมอให้เข้าตรวจร่างกายข้าฯ ในเวลาที่ข้าหลับไดด้วยเถิด”

ดังนี้แล้วให้คิดจ่ายบุญดังนี้ว่า

“ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลให้บุญของข้าฯ ที่ได้สร้างสมอบรมไว้ จงไหลรวมมาสู่ข้าฯ ในเวลานี้ แล้วขอให้บุญนี้จงอยู่กับข้าฯ แล้วหากผู้ใดไปนำหมอเทพมา และหมอเทพใดที่มาทำการตรวจรักษาข้าฯ ขอบุญนี้จงเป็นของท่านผู้นั้น” ดังนี้

หมายเหตุ : แล้วอย่าลืมเอาบุญให้ญาติทิพย์ของตนและเหล่าเทพที่มาทำการรักษาบ่อยๆ ด้วย ยาก็ให้กินด้วย หากเป็นยาสมุนไพรก็ให้เอาบุญให้แก่เหล่าเทพที่รักษาต้นยาที่เอามากินนั้นด้วย แล้วก็เอาบุญให้ผู้ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตรงนั้นๆ ด้วย อนึ่ง วิธีนี้สามารถสลับสับเปลี่ยน ซิกแซ็กตามแต่ใครจะคิดเอา แต่อย่าให้หนีจากหลักนี้ เช่น ขอเชิญเอานาคมาทำการรักษา ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน

*** แล้วที่พิมพ์คำว่า “ข้าฯ” นั้น จะว่าข้าพเจ้าแบบเต็มๆ ก็ได้ ***



.................... จบ ....................


ขอขอบคุณที่มาจากเว็บไซต์หลวงปู่เกษม อาจิณฺณสีโล
http://www.geocities.com/watsamyaek

560
ภาพไม่ขึ้นอะ
ให้คลิ๊กดูวิธีตามลิ้งค์นี้ครับรองดู...http://www.bp.or.th/webboard/index.php/topic,2148.html

561
บทความ บทกวี / อาลัย...พัทยา
« เมื่อ: 25 ธ.ค. 2552, 04:23:46 »
ยามเมื่อ         จากพัทยา           อ้างว้างจิต
คนึงนิจ           ใฝ่หา                ที่อาศัย
พอเป็นที่       พักผ่อน               หย่อนกายใจ
หลังจากได้    ตรำงาน                มานานปี
ที่พักกาย        หาได้                ไม่ยากนัก
ที่พักใจ          สิลำบาก             แม้อยากหนี
กิเลสล้น        พ้นท่วม              ทับทวี
อยากจะคลี่     คลายปลด           ลดจำนวน
จะเข้าวัด         ลัดทาง              สงบสุข
แต่ตัวทุกข์       ตามหรือไม่        ใคร่สอบสวน
พบมนุษย์         ก็ต้องพบ          สิ่งรบกวน
มีมากมวล        โลภโม            โทโสร้าย
สู้สำรวม           กายใจ            ใฝ่ธรรมะ
หมั่นชำระ        จิตสะอาด          สมมาดหมาย
เลิกหลงโลก      โศกรัก            จักสบาย
เหตุทั้งหลาย      แหล่แท้         เกิดแต่ใจ...


ด้วยความรักและปรารถนาดี...ธรรมะรักโข

562

พระประธาน 28 พระองค์ในพระอุโบสถ หนึ่งในอันซีนบางกอก
เที่ยว “วัดหมู” ดูพระประธาน 28 องค์แห่งเดียวในเมืองกรุงฯ

วันนี้ขอแนะนำ “วัดหมู” หรือ “วัดอัปสรสวรรค์” ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร” วัดนี้ถือเป็นวัดระดับ “อันซีนบางกอก” เพราะมีความพิเศษตรงที่คาดว่าจะเป็นวัดหนึ่งเดียวในโลกที่มีพระประธานในพระอุโบสถถึง 28 พระองค์ ที่ถือว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยใดนั้นยังไม่สามารถระบุหลักฐานที่แน่ชัดได้ รู้แต่สาเหตุที่เรียกวัดนี้ว่าวัดหมูนั้นก็เนื่องจากว่า ผู้สร้างวัดแห่งนี้เป็นชาวจีนชื่อ อู๋ มีอาชีพเลี้ยงหมูเป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อมีวัดแล้วหมูเหล่านั้นก็มาเดินเพ่นพ่านเต็มลานวัด ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า “วัดหมู” กันมาตั้งแต่นั้น แม้ภายหลังไม่มีหมูมาเดินแล้วก็ยังเรียกกันว่าวัดหมูต่อมา

 
พระปรางค์เก่าแก่ก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นคู่กับวัดอัปสรสวรรค์

ภายหลังจากที่จีนอู๋สร้างวัดนี้ขึ้นแล้ว เวลาล่วงไปวัดก็ทรุดโทรมลงไปตามกาล จนมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เจ้าจอมน้อย (สุหรานากง) เห็นว่าวัดหมูทรุดโทรมมาก จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ทั้งวัด

และหลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ก็ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มอีก และในครั้งนั้นก็ได้พระราชทานชื่อวัดให้ใหม่ว่า “วัดอัปสรสวรรค์” เพื่อเป็นที่ระลึกแด่เจ้าจอมน้อย ซึ่งมีความสามารถในการแสดงละครเรื่องอิเหนา เป็นตัวสุหรานากงได้ดี จนได้รับฉายาว่า เจ้าจอมน้อยสุหรานากง และในการบูรณะครั้งนี้ ทำให้วัดอัปสรสวรรค์กลายมาเป็นวัดที่มีความพิเศษหนึ่งเดียวในเมืองไทย

เราไปถึงวัดอัปสรสวรรค์ในตอนสายๆ ภายในวัดค่อนข้างเงียบผู้คนบางตา ไม่คึกคักเหมือนกับวัดข้างเคียงอย่างวัดปากน้ำภาษีเจริญที่มีคนแวะเวียนไปมากมายทุกวัน


พระอุโบสถหน้าบันแบบจีน พระราชนิยมของรัชกาลที่ 3


เมื่อไปถึง อย่างแรกที่ทำก็คือเข้าไปกราบพระในพระอุโบสถก่อนเป็นอย่างแรก พระอุโบสถวัดอัปสรสวรรค์นี้ขนาดไม่ใหญ่โตนัก สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นศิลปะแบบ “พระราชนิยม” ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หน้าบันไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันมีลายประดับปูนปั้นแบบจีน กล่าวกันว่าสร้างคล้ายกับที่ วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ 3

สำหรับความพิเศษหนึ่งเดียวในเมืองไทยของวัดหมูนั้นอยู่ภายในพระอุโบสถ นั่นก็คือ แทนที่จะเป็นพระประธานองค์โตตั้งตระง่าอยู่กลางพระอุโบสถ และมีเพียงองค์เดียวเหมือนกับพระอุโบสถวัดอื่นๆ ทั่วไป แต่ภายในพระอุโบสถนี้ก็กลับมีพระประธานองค์เล็กที่นับจำนวนได้ถึง 28 พระองค์ มีสีทองสุกใส พระพุทธรูปทั้ง 28 พระองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งหมด ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเดียวกัน วางเรียงตั้งลดหลั่นกันลงมาเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม พระประธานแต่ละองค์มีหน้าตักกว้าง 1 ศอก สูง 1 ศอก 4 นิ้ว ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ รัชกาลที่ 3 เป็นผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น

 
พระประธาน 28 พระองค์ในพระอุโบสถ


เหตุที่สร้างพระพุทธรูปมากถึง 28 พระองค์ ก็เพื่อแทนพระพุทธเจ้าที่ได้เกิดขึ้นมาในชาติภพต่างๆ รวมแล้ว 28 พระองค์ ได้แก่ พระพุทธตัณหังกร พระพุทธเมธังกร พระพุทธสรณังกร พระพุทธทีปังกร พระพุทธโกณฑัญญะ พระพุทธสุมังคละ พระพุทธสุมนะ พระพุทธเรวตะ พระพุทธโสภิตะ พระพุทธอโนมทัสสี พระพุทธปทุมะ พระพุทธนารทะ พระพุทธปทุมุตตระ พระพุทธสุเมธะ พระพุทธสุชาตะ พระพุทธปิยทัสสี พระพุทธอัตถทัสสี พระพุทธธรรมทัสสี พระพุทธสิทธัตถะ พระพุทธติสสะ พระพุทธปุสสะ พระพุทธวิปัสสี พระพุทธสิขี พระพุทธเวสสภู พระพุทธกกุสันธะ พระพุทธโกนาคมนะ พระพุทธกัสสปะ และพระพุทธโคตมะ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่เราได้เรียนรู้เรื่องราวของพระองค์

พระพุทธรูปทั้ง 28 พระองค์นี้ หล่อขึ้นให้มีขนาดเท่าๆ กัน วางเรียงตั้งลดหลั่นกันลงมาเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมงดงามแปลกตา ไม่มีวัดไหนในประเทศไทยและวัดไหนในโลกจะมีเหมือน และถ้าอยากจะรู้ว่าองค์ไหนเป็นองค์ไหนก็ดูได้จากตัวอักษรจารึกพระนามด้วยงาช้าง อยู่ที่ฐานพระพุทธรูปแต่ละองค์ แต่จะไปชะเง้อชะแง้หรือปีนป่ายดูก็ใช่ที่ เอาเป็นว่าจะบอกให้ว่าองค์ที่อยู่ด้านบนสุดนั้นคือพระพุทธเจ้าองค์แรก หรือ พระพุทธตัณหังกร ส่วนองค์ที่อยู่ด้านหน้าสุดของแถวล่างก็คือ พระพุทธโคตมะ หรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั่นเอง

และด้วยความที่วัดแห่งนี้เป็นเพียงแห่งเดียวที่มีพระประธาน 28 พระองค์ ที่วัดนี้จึงมีบทสวดมนต์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์เฉพาะของวัดอัปสรสวรรค์ ซึ่งจะใช้สวดทุกครั้งที่ทำวัตรเช้าเย็น และจะเพิ่มบทสวดนี้เป็นกรณีพิเศษด้วยในการสวดมนต์ในพิธีการต่างๆ

ด้วยความพิเศษที่มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวเช่นนี้ พระพุทธรูปพระประธาน 28 พระองค์ในพระอุโบสถวัดอัปสรสวรรค์ จึงถูกยกย่องให้เป็น “อันซีนบางกอก” ไปด้วยประการฉะนี้


ทวารบาลนางฟ้าอ่อนช้อยงดงามที่ประตูพระวิหาร


ส่วนที่ตั้งอยู่ข้างๆ พระอุโบสถนั้นก็คือ พระวิหาร เป็นศิลปะแบบจีนเช่นเดียวกัน ภายในมีพระพุทธรูปอยู่สององค์ เป็นพระปางมารวิชัยทั้งสององค์ และในภายหลังได้มีผู้มาสร้าง รูปหล่อนางสุชาดา กำลังถวายข้าวมธุปายาสแก่พระพุทธเจ้าด้วย

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของพระวิหารวัดอัปสรสวรรค์ก็คือ ภาพทวารบาลที่ประตูพระวิหาร ซึ่งเขียนลงรักปิดทองเป็นรูปนางฟ้ากำลังเพลิดเพลินอยู่ในสระบัว ดูอ่อนช้อยงดงามสมกับชื่อวัดอัปสรสวรรค์ ต่างจากวัดอื่นๆ ที่มักทำเป็นรูปเทวดาหรือทหารที่ดูขึงขังมากกว่า

 
พระมณฑป ภายในมีพระพุทธรูปปางฉันสมอ
และระหว่างพระอุโบสถและพระวิหารนั้น เป็นที่ตั้งของ พระมณฑปสีขาว องค์ไม่ใหญ่นัก แต่ภายในนั้นเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธรูปปางฉันสมอ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวว่าได้มาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งอัญเชิญลงมายังกรุงเทพฯ พร้อมๆ กับพระบรมธาตุ พระบาง และพระแซกคำ พระพุทธรูปปางฉันสมอนี้ บางคนอาจจะยังไม่คุ้นหูนัก จึงอยากขออธิบายถึงที่มาหน่อยหนึ่งว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุข หรือตรัสรู้ได้ 7 สัปดาห์แล้ว ยังไม่ได้เสวยพระกระยาหารเลย ท้าวสักกอมรินทราธิราชจึงได้นำผลสมอหรือลูกสมอซึ่งเป็นทิพย์โอสถไปถวาย พระพุทธจริยาที่เสวยผลสมอนั้นจึงถูกนำมาสร้างเป็นพระพุทธรูปปางฉันสมอนั่นเอง

แต่พระพุทธรูปปางฉันสมอในพระมณฑปนี้ เจ้าอาวาสได้อัญเชิญไปเก็บรักษาไว้บนกุฏิ และได้นำองค์จำลองมาประดิษฐานไว้แทนเพื่อความปลอดภัย

 
หอไตรเก่าแก่ ต้นแบบหอเขียนของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด


จากนั้นเราเดินข้ามถนนสายเล็กๆ ภายในวัดมาหยุดยืนอยู่ที่หน้า หอไตรเก่าแก่ กลางน้ำของวัด หอไตรแห่งนี้สร้างอยู่กลางสระน้ำเพื่อป้องกันมอดปลวกจะมากัดแทะหนังสือเสียหาย พูดถึงลวดลายของหอไตรแห่งนี้แล้วก็สวยงามมากทีเดียว ฝาผนังประดับกระจก ส่วนบานประตูและหน้าต่างก็เขียนด้วยลายรดน้ำ แม้จะดูเก่าแก่ไปมากแต่ก็ยังคงความสวยงามให้เห็น โดยหอไตรนี้ยังเป็นต้นแบบของ “หอเขียน” ที่จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด อีกด้วย

นอกจากนั้น บริเวณด้านหน้าของพระอุโบสถและพระวิหาร ก็ยังมี พระปรางค์องค์สูงใหญ่ สีขาวหม่น ดูเก่าแก่ก่ออิฐถือปูน สูงประมาณ 15 วา สร้างขึ้นคู่กับวัด และใกล้ๆ กันนั้น ก็เป็น ศาลาท่าน้ำริมคลองด่าน ที่สามารถซื้อขนมปังให้อาหารปลาตรงนี้ก็ได้ หรือใครอยากจะยืนชมวิว ชมเรือหางยาวที่แล่นพานักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชมคลองก็ได้เช่นกัน


พระปรางค์เก่าแก่ก่ออิฐถือปูนบริเวณหน้าพระอุโบสถ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

วัดอัปสรสวรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ 174 ถ.เทอดไท แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 พระอุโบสถและพระวิหารเปิดให้เข้าชมทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.00 น. หากประสงค์จะเข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ ต้องโทรศัพท์แจ้งทางวัดเป็นกรณีพิเศษ สอบถามรายละเอียดที่โทรศัพท์ 0-2467-5392, 0-2458-0917

การเดินทาง สามารถนั่งรถประจำทางสาย 4, 9, 10, 175 มาจนสุดสาย จากนั้นเดินต่อไปอีกประมาณ 500 เมตร มีป้ายบอกทางไปจนถึงวัด

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ขอขอบคุณข้อมูลโดย ผู้จัดการออนไลน์

.....................................................

563
ขอขอบคุณพี่ตี๋ครับ...ที่ได้นำภาพเรื่องราวประวัติและบรรยากาศในวัดมาให้ชม

564
เหรียญสวยงามเข้มขลังมากครับ...ขอบคุณที่นำเรื่องราวมาให้ชม

565
Merry Christmas ครับ... :052:ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและ บารมีหลวงพ่อเปิ่น จงดลบันดาลให้ชาวเวปวัดบางพระทุกๆคน จงมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปครับ...

566
Merry Christmas ครับ :052:ขอบคุณครับสำหรับประวัติวันคริสต์มาส                                                                   

567
กราบนมัสการ...หลวงพ่อฤาษีลิงดำครับ :054: และขอขอบพระคุณที่นำภาพบรรยากาศงานทำบุญมาฝาก                                                                                                 ขออนุโมทนาสาธุครับ...

568
บทความ บทกวี / คัมภีร์โบราณ
« เมื่อ: 24 ธ.ค. 2552, 10:10:33 »
                                                                                                                   คัมภีร์โบราณ 100 กว่าปี 3 หีบ



มีทั้งแบบใบลาน คัมภีร์โบราณ



รายละเอียดคร่าวๆนะครับ เป็นตำรายาโบราณบางเล่มก็มีพวกยันต์ต่างๆภาษาโบราณภาษาขอม  อย่างต่ำร้อยกว่าปีแน่นอน




-ขอขอบคุณ...คุณโจ้

569
ขอแสดงความยินดีด้วยคนครับ... :053:โชคดีจริงๆ ถึงคราวบุญหนุนส่งอะไรก็ฉุดไม่อยู่ครับ...   ขอให้มีความสุขในปีใหม่นี้นะครับ ขอบคุณครับ

570
ขอขอบคุณ...ที่นำประวัติเสด็จพ่อจตุคามรามเทพมานำเสนอกันนะครับ :053: :016: :015:

571
สวยงามทุกชิ้นครับ...ขอขอบคุณที่มาให้ชมกันนะครับ :016: :015:

572





เรียนวิชา - ธรรมะจากพ่อท่านคล้าย

อาตมาหนีมาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พอแรมค่ำหนึ่งก็ถึงสุราษฎร์ธานีแล้ว ไปทางรถไฟ ไปอยู่ วัดสุคนธาวาส ตำบลบ้านนาสาร เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน จำเป็นต้องมาอยู่เพื่อช่วยเหลือคนให้รอดตาย สละชีวิตไปแล้วว่าต้องไปให้ได้ ถึงจะโดนหนักขนาดไหนก็ยอม
ก่อนจะไปอยู่ที่นั่น เขานิมนต์ไปเทศน์ก่อน อาตมาได้ไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว ทางวัดได้นิมนต์ไปเงียบๆ ไม่ให้ทางวัดชายนารู้
เมื่อเดินทางไป ระหว่างทางได้มีครู นักเรียนและชาวบ้านได้มารับสองข้างทาง ตั้งแต่สถานีจนถึงวัดหลายพันคน
อาตมาอยู่ที่วัดสุคนธาวาสนี้ ๑๐ ปี ต่อสู้กับฝ่ายผู้ก่อการร้าย นายทหารเจ้าหน้าที่ บุคคลที่ไม่มีความเป็นธรรมชาวบ้านถูกเขาฆ่าตายมาก ก็ช่วยเหลือให้รอดตายมาเป็นจำนวนมากทีเดียว
เพราะเห็นว่าถ้าเราไม่ไปทำอย่างนั้น ศาสนาของเราจะหมดและการรบราฆ่าฟันจะเพิ่มขึ้นมากมายทำให้เดือดร้อนมาก
อาตมาจำเป็นต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงเพื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่น เขายิงกันตายทุกวัน ตานกันมาก ทิ้งระเบิดบ้าง อะไรบ้าง ก็ขอความร่วมมือจากชาวบ้านมาสำรวจสถานที่
ต่อมาก็เรียกประชุมแม่ม่ายได้ ๗๐๐ กว่าคน ที่ผัวถูกฆ่าตายไป ๗๐๐ กว่าคนมาสอบถามได้ความว่า ถูกเจ้าหน้าที่ฆ่าบ้าง ผู้ก่อการร้ายฆ่าบ้าง ฆ่ากันเองบ้าง ล้วนแต่เรื่องการเมือง
อาตมาได้พยายามชักชวนทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ก่อการร้าย ไม่ให้ฆ่าประชาชน ชาวบ้านก็อยากให้ช่วยเหลือเขา
อาตมาก็ไปหา หลวงพ่อคล้าย ให้ช่วยปลุกเสกให้ยิงไม่ออกจะปราบปืนให้หมดเลย มันกำลังยิงกันอยู่ มีแต่ที่เขาเขาจะฆ่าอาตมา แล้วพวกเราที่เป็นชาวพุทธก็ตายไปเรื่อย จำเป็นต้องลุกขึ้นต่อสู้แบบใดแบบหนึ่งขึ้นมา แต่ไม่ต้องจับอาวุธ เอาธรรมาวุธไปขอให้หลวงพ่อคล้ายท่านช่วยปลุกเสกของช่วยป้องกันให้ยิงไม่ออก
หลวงพ่อคล้ายท่านบอก " แล้วทำอย่างไร หลวงพ่อ คนตายกันมาก อุบาสกในวัดนี้คนสำคัญตายแล้ว ถูกยิงตายไปแล้ว "
ท่านก็บอกว่า " เออ มันเกิดมาฆ่ากันจริงๆ เอาอย่างนี้ดีกว่า เอายิงไม่ถูกดีกว่า ถูกไม่เข้าและเข้าก็ไม่ตาย "
อาตมาก็ว่า " หลวงพ่อ ผมอยากได้ยิงไม่ออก "
ท่านบอกว่า " ยิงไม่ออกปืนก็เสีย มันมีค่า เอายิงไม่ถูก ถูกไม่เข้า เข้าไม่ตาย เถอะ "
อาตมาก็ตอบตกลงว่า " เอ้า ตกลง ผมเอาแล้วครับหลวงพ่อครับ ผมทำเองมันเสื่อม ทำอย่างไรล่ะ ถ้าผมรับประกันแล้ว เขายังตาย มันเสื่อม ผมเสกทำมาแล้วไม่ได้ผล "
ท่านบอกว่า " โลกุตระซิ "
อาตมาก็ถามว่า " เอ๊ โลกุตระมีหรือหลวงพ่อ การปลุกเสกมันเดรัจฉานวิชา "
ท่านบอกว่า " คุณอย่าพูดเดรัจฉานวิชามันหนักไป คำพูดนั้นเสกโลกุตระ มันไม่เสื่อม เอาไปฝังในดินก็ได้ไม่เสื่อม ใส่กางเกงก็ไม่เสื่อมหรอก โลกุตระ "
อาตมาก็ถามท่านอีกว่า " เอ หลวงพ่อเป็นอย่างไรโลกุตระ "
ท่านตอบว่า " คุณทำกรรมฐานเป็นอาจารย์วิปัสสนา ทำไมไม่เข้าใจโลกุตระ "
อาตมาตอบท่านว่า " ผมเข้าใจวิปัสสนา แต่ผมไม่เข้าใจปลุกเสก "
แล้วท่านบอกอย่างนี้ว่า " เอาผ้าเช็ดหน้ามาผืนหนึ่ง ผ้าเช็ดปากของท่านก็ได้ เสกนี่ไหม เอาเสกนี่ ให้นึกว่า ว่างหมดในผ้านี้ ว่างๆ ๆ ๆ ไม่มีอะไรทั้งหมด ว่าหมด ไม่มีใครปลุกเสก ไม่มีใครถูกฆ่า ไม่มีใครเบียดเบียนกัน พอจิตว่าบริสุทธิ์ ไม่มีใคร ไม่มีผู้หญิงไม่มีผู้ชาย ไม่มีตัวเราแล้วเสกอะไรก็ได้ "
อาตมาถามว่า " แล้วหลวงพ่อเสกอะไร เมื่อจิตหลวงพ่อเป็นโลกุตระว่างแล้ว จนเป็นโลกุตระ หลวงพ่อเสกอะไร
ท่านบอกว่า " พุทธัง อะระหังพุทโธ ธัมมัง อะระหังพุทโธ สังฆัง อะระหังพุทโธ เท่านั้นเอง ก็ให้เข้าโลกุตระ ถ้าคุณเสกประจำ คุณเป็นพระอรหันต์ด้วยในชาตินี้ "
โอ้จริง อาตมาเข้าใจแล้ว เชื่อทันทีเพราะว่าเสกด้วยความว่างหมด ไม่มีกิเลส
ท่านบอกว่า " ผมก็แก่แล้ว ผมจะอยู่ไม่นาน ผมจะบอกคาบให้คุณ "
คำว่า " คาบ " คือการเสกให้ว่าง ในผ้านี้ พอจิตแวบนึกไปหาใครจะจบคาบเลย จะเสกต่อไปไม่ได้ พอเรานั่งทำว่างอยู่ พอจิตถึงเรื่องหมู ว่าหมู หมูอรหันต์ๆ ๆ ใช้ไม่ได้ ถ้านึกถึงผู้หญิง ว่าผู้หญิงอรหันต์ๆ ๆ มันเข้ามาทั้งผู้หญิงอรหันต์อยู่ ใช้ไม่ได้
พอจิตว่างบริสุทธิ์ดีก็ว่า ไม่มีอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น เสร็จแล้วก็ยกให้เขาไป นั่นแหละโลกุตระไม่เสื่อม ถ้าหากว่าไม่ใช่กรรมเก่าเขาก็ไม่เป็นอะไร
พอหลวงพ่อคล้ายบอกให้อาตมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
อาตมาก็บอก " หลวงพ่อไม่ต้องอธิบายมาก ผมเข้าใจ "
อาตมาดีใจมากทีเดียว คืออาตมาทำถูกแล้ว แล้วก็ถามอีกเพื่อให้แน่ใจ เอากระดาษมาแล้วพูดกับท่านว่า
" หลวงพ่อครับกระดาษนี่มันบางนะครับผมนึกว่าจิตอยู่ในกระดาษนี้ ละเอียดที่สุด แกร่งที่สุด แข็งที่สุดแล้วแคล้วคลาดที่สุด อย่างนี้ถูกไหมครับหลวงพ่อครับ "
ท่านตอบว่า " ถูกๆ ๆ ใช้ได้แล้ว กระดาษมันไม่มีความหมายหรอก แต่ว่าอำนาจจิตมันมีความหมาย "
อ๋อ อย่างนั้นดีใจ อาตมาลุกขึ้นรีบกลับจะมาช่วยคน สักประเดี๋ยวหลวงพ่อท่านก็ให้ โกล้วน ตามมา บอกให้กลับไปหาท่านอีก
โกล้วนบอกว่า " ท่านอาจารย์ หลวงพ่อบอกให้ไปเร็วๆ "
เอ๊ะ สงสัยหลวงพ่อท่านจะให้อะไรเป็นของดี คิดว่าฟันหรืออะไรของท่านสักอย่าง ดีใจ พอไปถึง ท่านก็ถามว่า
" คุณดีใจมากไหม "
อาตมาตอบว่า " ครับผมดีใจ "
ท่านว่า " ไม่ได้ ดีใจไม่ได้ คุณต้องฝึกโลกุตระ ดีใจมันเป็นโลกีย์ ไม่ได้คุณต้องฝึกใหม่ "
อาตมาถามว่า " ทำอย่างไรหลวงพ่อ "
ท่านสอนให้ว่า " ก็คุณอย่าดีใจสิแล้วคุณอย่าเสียใจนะ ทำใจให้ดีให้ว่าง "
อาตมารับปากว่า " ครับผมไม่เสียใจ "
ท่านบอกว่า " มาๆ ๆ "
พอเข้าไปถึง ท่านให้คุกเข่าลงที่ตัก แล้วเอามือตบลงที่หัวอาตมาแล้วบอกว่า " คุณระวังใจให้ดีนะ "
อาตมาตอบ " ครับผมระวังแล้วผมไม่เสียใจหรอก แต่ยังดีใจอยู่ "
ท่านบอกว่า " นี่ยังดีใจอยู่ล่ะ ถ้าดีใจกับเสียใจมันคู่กันนะ "
อาตมาตอบอีกว่า " จริงครับผมดีใจ "
ท่านบอกอีกว่า " เอ้อ คุณอย่าดีใจ อย่าเสียใจ ทำใจให้เป็นกลาง คุณทำจิตให้ว่างสิ "
อาตมาก็นึกว่าดีใจก็ไม่เอา ว่างๆ ๆ แล้วบอกกับหลวงพ่อว่า " หลวงพ่อครับจิตว่างแล้ว ไม่ดีใจแล้ว ว่างแล้ว "
ท่านบอกว่า " ที่คุณเอาไปเสกช่วยเหลือไม่ให้ถูกยิงตายนั้นดีครับ คุณช่วยไว้คุณมีบุญด้วย คุณช่วยได้ด้วย แต่ที่จะช่วยไม่ได้น่ะคือ อนันตริยกรรม ฆ่าบิดา มารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำลายพระสงฆ์ ทำลายผู้มีศีล ฆ่าผู้มีศีล ทำลายพระโพธิสัตว์ ไม่มีเครื่องรางของขลังใดในโลกช่วยได้ โลกุตระก็ช่วยไม่ได้ พระโมคคัลลานะตีมารดากระดูกหัก ต้องใช้กรรม ได้ถูกโจรตีทั้งที่เป็นเอตทัคคะบุคคล ก็ไม่พ้นนะคุณ "
พอหลวงพ่อพูดอย่างนั้นใจอาตมาตกทันที คือกลัวว่าอาตมาไปรับรองว่าเขาไม่ถูกฆ่าตาย หากใครถูกฆ่าตาย เขาไม่เชื่ออาตมาก็หนีจากอาตมาไปหมดอีก จิตตก แล้วท่านรู้ทันที
หลวงพ่อพูดขึ้นมาอีกว่า " ผมบอกคุณว่าอย่าเสียใจ คุณเสียใจใช่ไหมว่าช่วยเขาไม่ได้ คุณกลัวจะถูกคนมีกรรมใช่ไหม "
อาตมาบอกว่า " ครับๆ "
หลวงพ่อรู้หมดเลย ที่อาตมาคิดอะไรบอกได้หมอเลย
หลวงพ่อบอกอีกว่า " นี่คุณแบบนี้ ถ้าถูกคนมีกรรมก็ไม่ต้องช่วยกัน คุณนั่งทำสติใหม่ เอ้าลุกขึ้นนั่ง "
ท่านบอกให้อาตมานั่ง ถามว่า " ทำจิตว่างได้ไหม "
อาตมาตอบว่า " ครับ ผมทำจิตว่างแล้วครับ หลวงพ่อผมจิตว่างแล้ว "
หลวงพ่อบอกว่า " เออ คุณทำเร็วดี ว่างแล้วคุณฟังนะ เสียใจก็ไม่ได้ ดีใจก็ไม่ได้ ที่คุณคิดกลัวว่าเขาจะถูกฆ่าตาย แล้วคุณจะหมดกำลังใจ คุณคิดผิด คุณต้องคิดตามผม "
อาตมาตอบ " ครับ ผมตามหลวงพ่อหมดเลย ผมนับถือหลวงพ่อมากในชีวิตผม "
ท่านบอกว่า " ร้อยคน ถ้าทำอนันตริยกรรมมา ๒ คน คุณช่วย ๙๘ คน คุณว่าดีไหม แต่คุณช่วยทั้งร้อยไม่ได้หรอกทั้งโลกนี้ คุณทำไม่ได้ แม่ค้าขายลางสาด ลางสาดเปลือกข้างนอกนั้นเขาปอกทิ้งไป เขากินเนื้อใน เมล็ดในก็ทิ้งอีก ทิ้งสองอย่างนะคุณแล้วก็ขายเป็นกิโลฯ เมล็ดในเขาก็ชั่งรวมเป็นกิโลฯ ด้วย แต่ทำไมเขายังซื้อล่ะ "
อาตมานึกในใจ " เอ้อ หลวงพ่อพูดถูก "
หลวงพ่อพูดอีกว่า " แล้วทุเรียนข้างนอกเปลือกมันเป็นหนามด้วย แล้วก็ปอกทิ้งไป กินแต่เนื้อเมล็ดในเราทิ้งอีกแล้วคุณจะช่วยคนทั้งร้อยคนได้อย่างไร ถ้าคุณอยากจะช่วยคนจริง คุณก็ช่วยคนไม่มีกรรมอนันตริยกรรม รอดหมด แต่ถ้าคุณไม่ช่วยมันก็ตายหมด เพราะว่ากรรมอดีตมี กรรมปัจจุบันมี มันจะบวกกันจะทำให้เป็นอันตราย "
อาตมาบอกหลวงพ่อว่า " ถ้าอย่างนั้น ผมทำใจได้แล้ว ใจสงบดีแล้ว "
อาตมาก็ลาท่านกลับ ท่านไม่ว่าอะไรเลยทีนี้ ท่านไม่ว่าแล้ว กลับมาก็ทำเหรียญแจกชาวบ้าน และรับรองให้กำลังใจแก่ทุกคน ก็ช่วยคนให้รอดพ้นจากถูกฆ่าได้มาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก... http://www.dharma-gateway.com/monk-h...index-page.htm
ขอขอบคุณภาพจาก...   http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph__2_971.jpgและ http://gotoknow.org/file/wassanacoas/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%203.jpg

573






มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณฯ ได้นำพระเครื่องเก่าองค์หนึ่งมาถวายแก่กรมหลวงชุมพรฯ แล้วทูลว่าพระเครื่ององค์นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยอด ตกทอดมาตั้งแต่วังหน้า เนื่องจากพระองค์ชอบพิสูจน์หรือทดลองให้เห็นจริง จึงให้มหาดเล็กนำพระเครื่ององค์นั้นไปแขวนที่ปลายไม้ จากนั้นพระองค์จึงมีพระบัญชาให้นาวาเอกพระยาพลพยุหรักษ์ เป็นผู้ทดลองยิงพระเครื่ององค์นั้น โดยใช้ปืน ร.ศ. บรรจุกระสุนที่เลือกแล้วเป็นอย่างดี ท่ามกลางผู้ที่ยืนดูการทดลองจำนวนมาก จากการยิง 3 นัด ผลปรากฏว่าปืนกระบอกนั้นไม่มีเสียงระเบิดทั้ง 3 นัด คงมีเสียงสับนกกระทบตูดชนวนลูกปืนดัง แชะ แชะ แชะ อันหมายความว่า กระสุนด้านและไม่ทำงาน เสด็จในกรมทรางมีบัญชาให้หันลำกล้องปืนไปทางอื่นและยิงใหม่ ปรากฏว่ากระสุนเดิมทั้ง 3 นัด ส่งเสียงสนั่น อันหมายถึงกระสุนมิได้ด้าน
นับตั้งแต่ครั้งนั้นกรมหลวงชุมพรฯ จึงมีความเชื่อถือในพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์และ พุทธานุภาพ พร้อมกันนั้นได้เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์ดี เพื่อศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากผู้ทรงคุณต่าง ๆ
ครั้นชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงปู่ศุขมีมากขึ้น ก็มีความสนพระทัย ความคิดใคร่จะไปทดลองดูให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาว่าเป็นอย่างไร หากมีโอกาสเมื่อใดก็จะไปพบหลวงปู่ศุขให้จงได้ ในครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ เสด็จไปตากอากาศภาคเหนือและเสด็จกลับด้วยเรือทหารล่องลงมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา แต่แทนที่จะล่องกลับถึงกรุงเทพฯ พระองค์ทรงรับสั่งให้เรือกลไฟที่จูงเรือประเทียบล่องลงมาตามลำน้ำท่าจีน อันแม่น้ำท่าจีนนั้นแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท ไหลลงสู่อ่าวไทยที่เมืองสมุทรสาคร มีความยาวถึง 200 กม. และเส้นทางสายแม่น้ำท่าจีนนี้ได้ไหลผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย เมื่อเรือพระที่นั่งล่องมาถึงวัด ก็บังเอิญให้เรือมีอันขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะพยายามแก้ไขเครื่องยนต์อย่างไรก็ไม่สำเร็จ (ภายหลังหลายคนเชื่อว่าคงเป็นการสำแดงอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข) ในที่สุดก็เลยต้องชะลอเรือทั้งหมดเข้าไปจอดที่ศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่เรือประเทียบและเรือกลไฟเข้ามาเทียบอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ พระองค์ทรงแลเห็นเด็กลูกศิษย์วัดกำลังชุลมุนอยู่กับการตัดหัวปลีเอามากองที่ข้างศาลาทีละหัวสองหัว จนเรือเข้าเทียบศาลาท่าน้ำนั่นแหละจึงเห็นหัวปลีกองโตขึ้น ขณะเสด็จในกรมทรงยืนบนเรือมองดูการกระทำของเด็กวัดเหล่านั้นด้วยความฉงนพระทัย ได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินตรงเข้ามาที่กองหัวปลี ท่าทางเคร่งขรึม ท่านมองรอบ ๆ กองหัวปลีอยู่ 2-3 อึดใจ แล้วจึงหย่อนร่างนั่งบนกองหัวปลีนั้น พระภิกษุรูปนั้นนั่งหลับตาภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง จากนั้นท่านก็หยิบหัวปลีขึ้นมาเป่าลูบไล้ไปมา จากนั้นท่านเหวี่ยงหัวปลีลงพื้น แล้วเสด็จในกรมตลอดจนทหารข้าราชบริพารต้องตกตะลึงเพราะหัวปลีนั้นเมื่อตกถึงพื้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวนวล กระโดดโลดเต้นอยู่ไปมา ภิกษุรูปเดิมหาได้หยุดเสกเป่าหัวหลี ท่านทำอย่างต่อเนื่อง หัวปลีกลายเป็นกระต่ายขาวหลายตัววิ่งอยู่บนศาลาและพื้นดินเต็มไปหมด
เมื่อเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนี้ กรมหลวงชุมพรฯ พร้อมด้วยนายทหารและข้าราชบริพารทั้งปวงในที่นั้นก็เข้าไปแสดงอาการคารวะต่อพระภิกษุรูปนั้นโดยทั่วหน้ากัน
ครั้นกระต่ายวิ่งมาหาท่านทีละตัว ท่านก็เอามือลูบคลำไปมาสักครู่ แล้วปล่อยวางลงกับพื้น กระต่ายก็กลับเป็นหัวปลีอย่างเดิม และทำอยู่อย่างนั้นทุกตัว จนกลายเป็นหัวปลีกองโตเหมือนเดิม
กรมหลวงชุมพรฯ ได้สอบถามพูดคุยกับหลวงพ่อองค์นั้น (ขณะนั้นเสด็จในกรมเรียกหลวงพ่อ) จึงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้าท่านก็คือ “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ที่พระองค์ได้ยินชื่อเสียงมาช้านานนั่นเอง
และหลวงปู่ศุขก็รู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหน้าคือพระราชโอรสแห่งพระพุทธเจ้าหลวง “กรมหลวงชุมพรฯ” นั่นเอง
การพูดคุยกันวันนั้นเป็นที่ถูกอัธยาศัยกันทั้ง 2 ฝ่าย เสด็จในกรมจึงอยากพักอาศัยอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าสักหลายวัน หลวงปู่ศุขก็มิได้ว่ากระไร ยกศาลาท่าน้ำให้เป็นที่จอดเรือ ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุชราและโอรสของเจ้าเหนือหัวได้เริ่มขึ้นแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก...http://www.dharma-gateway.com/monk-home-hist-index-page.htm
ขอขอบคุณภาพจาก...  http://upload.wikimedia.org

574
เมื่อหลวงปู่โง่นโสรโยพบท้าวหิรัญพนาสูร


นายพรานป่าที่น่าหวาดกลัวเข้ามาหา
 


เวลาอัสดงของวันนั้น เรากำลังเดินจงกรม อยู่ด้วยความสงบ เดินไปเดินมาอย่างช้า ได้ยินแต่เสียงวิหค นกกามาส่งเสียงเจื้อยแจ้ว หาที่นอนตามธรรมชาติของมัน ในขณะนั้นเอง เราเห็นนายพรานป่า ที่น่าสะพรึงกลัว เพราะบนหัว แกโพกผ้าสีแดง มือทั้งสองถือปืนยาว แบกปืนโบราณ ใช้เหล็กนกนับหิน คงเป็นปืนที่ใช้ล่าเนื้อ สะพายย่ามใบใหญ่ ด้านหลังมีมีดเล่มใหญ่ ใส่ฝัก ออกปากทักคำเดียวว่า พระคุณท่าน แล้วแกก็คุกเข่า เอาปืนวางไว้ข้างๆ ถอดมีดอีโต้ ออกมาจากเอวข้างหลัง แล้วยกมือไหว้แบบโบราณ คือ ยกมือขึ้นใส่เกล้าบนหัว แล้วกราบลงสามครั้ง แล้วออกปากว่า พระคุณท่าน ผมชื่อ หิรัญพนาสูร ผมมาตามคำสั่ง ของเจ้าเหนือหัว ผู้ยิ่งใหญ่ ให้มาเป็นอารักขา พาเป็นมัคคุเทศก์ ช่วยป้องกันเหตุร้าย ที่จะมากล้ำกลาย ทำร้ายท่าน ในขณะที่ท่าน จะเดินทางสู่แดนอันตราย และเรียบผ่านป่าเขาลำเนาไพร ไปทางทิศตะวันตก แล้ววกขึ้นไปทางเหนือ ที่ท่าน จะต้องลัดเลาะ เข้าไปในเขตทุรกันดาร ผ่านมนุษย์หลายเผ่า หลายชาติ หลายศาสนา แม้แต่พวกคนเงาะ คนป่าก็มีไม่น้อย เจ้าเหนือหัวให้ข้าไปด้วย ดูแลเพื่อจะได้ช่วยแก้ไข ภาวะวิกฤตที่พี่น้องของพระองค์ท่าน ยังตกติดค้างอยู่ต่างแดน เป็นเชลยยังติดอยู่ ท่านจะต้องใช้เวลาเดินทาง อย่างน้อย 1 เดือน ผมจะไปด้วย เพื่อช่วยนำบอกทาง และป้องกันอันตราย ไม่ไปไม่ได้ คอขาดแน่ เจ้าเหนือหัวสั่งมา ผมจะรับอาสา ไปส่งและกลับพร้อมท่าน ข้าพเจ้าจึงถามแกว่า โยมจะพาฉันไปไหนหละ ก็ไปตามทาง ที่เจ้าเหนือหัวสั่งนั่นแหละ ผมจะนำพาท่านไปเอง เราก็ตอบเขาว่า มันจะเหมาะหรือ คุณโยม ฉันเป็นนักบวช เป็นพระภิกษุสงฆ์ จะไปด้วยกันกับท่าน ที่เป็นนายพรานป่า ผู้มีอาวุธอยู่ในมือ ในพระวินัยสงฆ์ ก็ห้ามพูดคุยกับบุคคล ผู้มีศัสตราวุธในมือนะโยม ถ้าฝ่าฝืน อาตมาก็เป็นอาบัติ และฉันเองบวชเข้ามา ก็มิใช่เป็นพระนักรบอย่างคนอื่นๆ เขา พอแกได้ฟังแล้ว ก็ท่างงๆ แล้วออกปากถามว่า พระนักรบ เป็นอย่างไร พระคุณท่าน เออคุณโยม พระนักรบก็คือ พวกรบกวนชาวบ้านนะซิโยม ได้แก่ นักบวชที่ชอบขอ ที่ชอบเรี่ยไรไม่รู้จักพอ ขอตะบันยันเต คือเมื่อหลายวันมาแล้ว ฉันเดินธุดงค์ มาหยุดพักตามห้างไร่ห้างนา ได้อาศัยเอาเป็นที่บรรเทาความร้อน ได้ถามชาวบ้านเขาว่า เป็นอย่างไรบ้างโยม ข้าวนาข้าวไร่ มีพอใช้พอกินตลอดปีหรือเปล่า เขาตอบว่า เออถ้าปีไหน หนูไม่กัด วัดไม่ขูด ก็พอกินเจ้าข้า พออาตมาได้ฟังเขาตอบอย่างนั้น แล้วก็รู้สึก อายตัวเอง และอายแทนพระนักรบ คือรบกวนชาวบ้านด้วย ดังนั้น จึงไม่อยากจะรบกวนใคร คราวนี้ถ้าคุณโยมไปกับฉัน ครอบครัวโยมจะลำบากอีก อาตมากับโยมไปด้วยกันได้ แต่จะพูดด้วยกันไม่ได้ ถ้าหาไม่ อาตมาก็เป็นอาบัติ อาตมาขอทีเถอะ คุณโยมอย่าไปเลย ถึงเจ้าเหนือหัว ท่านตรัสถาม หรือ ทำโทษโยม ก็ต้องกราบเรียนท่าน อย่างที่อาตมากล่าวมานี้ ขอบใจนะคุณโยม เราคุยสนทนากัน จนตะวันลับขอบฟ้า แล้วแกก็อำลาไป ก่อนไปนายพราน ยกสองมือขึ้น แบบประนมมือขึ้นเหนือศีรษะ กราบ 3 ครั้ง แล้วบอกว่า ผมขอถวายหัวกับพระคุณเจ้า เอามือทั้งสองถอดผ้าแดง ที่พันหัวแกอยู่ถวายให้ แล้วบอกว่าเอาไว้ป้องกันตัว เมื่อนายพรานจากไปแล้ว เราเอาผ้านั้นมาคลี่ดู เห็นเป็นผ้ายันต์ เขียนด้วยอักษรไทยเหนือ ในคำนำบอกว่า เป็นพระคาถา ที่พระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้ประสิทธิ์ประสาทให้ พระนเรศวร กับพระเอกาทศรถ พร้อมด้วยทหารหาญ ในการกู้บ้านกู้เมือง เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ภาวนาบ่อยๆ เนืองนิจจะพิชิตหมู่ไพรี ไล่ความอัปรีย์ จัญไรได้หมด ข้าพเจ้าอ่านแล้ว ก็พับเอาไว้อย่างเดิม เพราะคาถานี้ ข้าพเจ้าเองสวดทุกเช้าเย็น และตอนกลางคืน คือ วันศุกร์ที่ 30 เมษายนนั่นเอง นายพรานคนนั้น ก็กลับมาอีก มาคราวนี้แกนำเอาแท่งเงิน แท่งทองคำ มาให้จำนวนมาก บอกว่า กลัวท่านจะลำบาก ในการเดินทาง เมื่อท่านอดอยาก ก็ขายเงินแท้ๆ ทองคำแท้ๆ เพื่อประทังชีพในการเดินทาง เพราะทางเปลี่ยว ต้องข้ามเขา ลงห้วย ลำบาก ก็ปฏิเสธแกไปว่า ไม่หรอกโยม ขอบใจมากที่เป็นห่วง ขอให้คุณโยมเอากลับไปเถิด อาตมาไม่เอาติดตัวไป ไม่ว่าทรัพย์สมบัติชนิดใด ที่เขา สมมุติว่ามีค่า สิ่งนั้นจะนำทุกข์มาให้ทุกอย่าง อาตมาเอง มาแสวงหาทรัพย์ภายใน คือ อริยทรัพย์ ส่วนทรัพย์ภายนอกคือ ข้าวของเงินทอง ที่จะต้อง ใช้จ่าย เพื่อความสุขของชีวิตทางโลกนั้น อาตมาไม่ถือเงินทองไปด้วยเลย มีก็แต่เสื้อผ้า ที่จะนำไปให้คนจน อาตมาจึงขอขอบใจ เจตนาดีของคุณโยม อย่างมาก เมื่อเราไม่ยอมรับ แกก็กลับไป และก่อนไปแกถวายไม้เท้าไว้หนึ่งท่อน แกบอกว่าป้องกันได้สารพัด อันตัวหนอน ตัวทาก มันชุกชุม มันรุมกัน ไต่ขึ้นขา มาดูดกินเลือด ตัวมันคล้ายตัวปลิง ปลิงบกเราเรียกทาก หากมันเกาะ เอาไม้นี้แตะเข้า มันจะหลุดไป และกันภัยได้ทุกอย่างเลย อันไม้เท้าที่แกให้นั้น บัดนี้เรายังรักษา และถือประจำอยู่ จึงนึกในใจว่า ผู้ชายนายพรานคนนี้ เป็นใครกันแน่ แต่ที่แกบอกว่า ชื่อหิรัญพนาสูรนั้น คือใครกันแน่ และแกอยู่ที่ไหน เราก็ลืมถามแกด้วย เมื่อพิเคราะห์ดู ก็คงจะเป็นเจ้าป่า คือท้าวหิรัญ ซึ่งมีรูปปั้นหล่อ อยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎนั้นเอง จึงมาเชื่อมั่นว่า คิดดี พูดดี ทำดี ผีช่วย เราจึงมีรูปท้าวหิรัญ ไว้ดูเป็นขวัญตามาทุกวันนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก... http://members.fortunecity.com/saney/kalaya/tumnan7.htm                                                        ขอขอบคุณภาพจาก...   http://www.ounamilit.com/prapong_files/b21_maneerat2.jpg

575
หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.dhammajak.net

576
หน้าผากแม่นาคพระโขนง
       
        หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก ไปมาหาสู่ระหว่างวัดกับวังนางเลิ้งเสมอ โอรสเสด็จในกรมฯพระองค์หนึ่งคือ หม่อมเจ้าคำแดงฤทธิ์ เคยประชวรหนัก รักษาทั้งยาฝรั่ง ยาไทย เวทมนตร์คาถาก็ไม่หาย เสด็จในกรมฯเลยรับสั่งให้บนบวช 10 วัน ปรากฏว่าได้ผล หายประชวร ทั้งครอบครัวเลยต้องไปจำศีลอยู่ที่วัดบางประกอกเกือบเดือน
       
        หน้าผากแม่นาคพระโขนงนั้นตกทอดเป็นลำดับจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาถึงหม่อมเจ้าพระพุทธปาธปิลันทร์ และหลวงพ่อพริ้ง
       
        เล่ากันสืบมาว่า สมัยนั้นแม่นาคอาละวาดผู้คน ชาวบ้าน พระ เณรแถบย่านคุ้งน้ำพระโขนงจนได้รับความเดือดร้อน สมเด็จโตจึงต้องเดินทางไปปราบด้วยพุทธคุณ เจาะกะโหลกแม่นาค ขนาดความกว้างประมาณ นิ้วครึ่ง – 2 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว (โดยประมาณ) มาขัดมัน ลงอักขระ ปิดทองและติดย่ามไปไหนด้วยเสมอ แม้ว่าแม่นาคจะซาบซึ้งในรสธรรม แต่ก็ยังคงมีนิสัยชอบหยอกล้อสามเณรอยู่เหมือนเดิม ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อครั้นที่มาบวชเป็นสามเณรที่วัดระฆัง ก็โดนการหยอกล้อจนสมเด็จโตต้องล้วงกะโหลกแม่นาคออกจากย่ามแล้วบอกว่า โยมนาค อย่าไปกวนสามเณรเลย เมื่อกะโหลกแม่นาคตกทอดมาถึงพระพุทธปาธปิลันทร์ก็มีการกล่าวตักเตือนกันอีก หลังจากที่หลวงพ่อพริ้งส่งมอบกะโหลกแม่นาคให้กรมหลวงชุมพรฯ พระองค์ท่านทรงเอามาเจาะรูทำเป็นปั้นเหน่งรัดบั้นพระองค์ติดตัวไปด้วยเสมอ เมื่อประทับอยู่ในตำหนักจะใส่พานวางไว้ที่ห้องพระ และทรงบอกเล่าให้หม่อมทุกคนได้ฟังเพื่อให้รับรู้ถึงความสำคัญ กระนั้นแม่นาคก็เคยปรากฏกลิ่นถึง 2 ครั้งที่ตำหนักนางเลิ้ง
       
       หม่อมแจ่ม หรือหม่อมองค์น้อยนั้นเป็นคนกล้าหาญ ไม่ค่อยเกรงกลัวใคร นอกเหนือจากเสด็จในกรมฯเท่านั้น วันหนึ่งเพื่อนๆของหม่อมได้แวะมาเยี่ยมเยือน การสนทนาวันนั้นได้วกเข้าหาเรื่องแม่นาค จนเกิดการท้ากันว่า หากหม่อมไม่กลัวก็ให้เดินเข้าห้องพระ เมื่อหม่อมแจ่มเดินเข้าห้องพระ ปรากฏว่ามีกลิ่นเหม็นเน่าคละคลุ้งไปหมดจนต้องเผ่นหนีออกมาจากห้องพระ
       
       เสด็จในกรมฯตรัสว่า คนที่แม่นาคไม่พอใจจะเห็นร่างของแม่นาคในแบบที่น่ากลัว มีกลิ่นเหม็น ดังนั้นจึงไม่ควรไปท้าเขา กลัวหรือไม่กลัวก็เฉยๆ ซะ ส่วนคนที่แม่นาคพอใจจะมาหยอกล้อด้วยแบบที่สวยงาม กลิ่นหอมชื่นใจ
       
       อีกคราวหนึ่ง ขณะกำลังเสวยพระกระยาหารอยู่นั้น พระองค์ได้ตรัสกับบรรดาหม่อมทั้งหลายว่า ใครอยากจะคุยกับแม่นาคก็ได้ หม่อมแจ่มอีกนั่นแหละที่ขอทดสอบ เสด็จในกรมฯจึงส่งหน้าผากแม่นาคให้ เมื่อถึงเวลาเข้านอน หม่อมแจ่มได้อธิษฐานขอให้แม่นาคมาอย่างงดงาม สักครู่ใหญ่ๆจึงได้กลิ่นเหม็นไหม้ ยิ่งนานก็ยิ่งอบอวลหนักขึ้น หม่อมแจ่มจึงรีบนำเอากะโหลกหน้าผากแม่นากไปคืนเสด็จฯทันที พร้อมกับทูลถึงเรื่องที่เจอมา พระองค์ทรงพระสรวลและตรัสว่า รออีกสักประเดี๋ยวก็เห็นแล้ว หลังจากนั้นไม่มีใครกล้าลองของอีก
       
       กระทั่งวันหนึ่ง ระหว่างอยู่ที่โต๊ะเสวย เสด็จเตี่ยได้ตรัสว่า แม่นาคเขาลาไปเกิดแล้ว
       เมื่อสิ้นเสด็จในกรมฯ สมบัติชิ้นนี้ได้ตกทอดอยู่ในการดูแลของนายเทียบ อุทัยเวช น้องชายของหม่อมแจ่ม ซึ่งเป็นมหาดเล็กคู่พระทัย ในตำแหน่งพลทหารเรือ ฝ่ายเสนารักษ์ หลังออกจากราชการ ได้ทำหน้าที่ดูแลศาลเสด็จเตี่ยเชิงสะพานเทวกรรม นางเลิ้ง ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของตำหนัก ปั้นเหน่งแม่นากเคยเก็บไว้ที่ศาลแห่งนี้ จนเมื่อมีการตัดถนนจึงได้โยกย้ายศาลดังกล่าวไปที่วัดโพธิ์ ปรากฏต่อมาว่า ของชิ้นนี้สูญหายไป
       
       เนื่องจากเสด็จในกรมฯมีพระอาจารย์หลายท่าน ดังนั้นจึงเชื่อกันว่า วิชาของท่านที่ร่ำเรียนมานั้นน่าจะมากกว่านี้ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวทางไสยเวทของกรมหลวงชุมพรฯที่มีการบันทึกไว้เป็นเกร็ดโดย หม่อมเจ้าเริงจิตรแจรง พระธิดาของเสด็จในกรมฯ เท่านั้น

ขอขอบคุณภาพจาก... http://modernine.mcot.net/inside.php?modid=3799&modtype=1     
ขอขอบคุณข้อมูลจาก...http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=41676.msg979795

577
คาถาอาคม / ตอบ: คาถาบูชาเทพกวนอู
« เมื่อ: 21 ธ.ค. 2552, 07:18:34 »
ขอขอบคุณ...ท่านขุนแผน ที่นำคาถาบูชาเทพกวนอู มาฝากกัน  ท่านเจ้าพ่อกวนอูเป็นเทพที่ซื่อสัตย์จริงๆ :054:

578
ขอขอบคุณ...ท่านโรนัลโด้  ที่นำเสนอ :053:

579


กว่า 4 ปีบนผืนแผ่นดินบริเวณแห่งนี้ที่ได้ก่อกำเนิดเป็น วัดโพธิ์สัตว์บรรพตนิมิต มีเส้นทางการเดินทางและความเป็นมาของพระนักสู้แห่งกองทัพธรรมรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็น เทพเจ้าแห่งเมืองนักรบ เมืองด่านหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินสยามแต่โบราณกาลด้วยกองกำลังทหาร แต่สำหรับ ครูบาบุญคุ้ม กลับปกป้องกองทัพแห่งธรรม ด้วยคำกล่าวประโยคหนึ่งที่ยึดหัวใจคนทั้งปวงว่า “ สงบนิ่งชนะทุกสรรพสิ่ง”  ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหวทั้งปวง จากพระธุดงค์ ผู้ปฎิบัติกรรมฐานวิปัสสนา ตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อยกจิตวิญญาณให้เข้าถึงหลักแห่งอมตะธรรม โดยน้อมนำพระธรรมคำสั่งสอน แห่งองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ไปใคร่ครวญและปฏิบัติตามแล้วจึงนำคำสั่งสอนที่ ปฏิบัติ แล้วนั้นมาเผยแพร่แก่สาธุชน หลายคนฟังจากท่านแล้ว ซาบซึ้งตรึงใจและได้ข้อคิดพิจารณาว่าทำอย่างไรเราจะมุ่งเข้าสู่ทางธรรมที่ถูกต้อง เป็น สัมมาทิฐิ นอกจากนี้ครูบาบุญคุ้มยังได้ริเริ่ม สร้างปูชนียะวัตถุขึ้น เพื่อเป็นการประกาศพระพุทธศาสนาทางด้านรูปธรรมคือจุดเริ่มต้น ให้เป็นจุดยึดเหนี่ยวก่อนการเข้าสู่หนทางการละเอียดแยบคายคือการได้รับฟังธรรม เพื่อการเข้าถึงธรรมต่อไป จากชีวิตในวัยเด็กที่แสนจะลำบากในครอบครัวที่มีพี่น้อง 7 คน เป็นผู้หญิง 2 คน ผู้ชาย 5 ของ บิดาชื่อนายหุ้ม และ มารดาชื่อนางสม โดยครูบาบุญคุ้มมีชื่อเดิมคือ อภิลักษณ์ ทาสีเพชร เป็นคนที่ 4 เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2509  ปีมะเมีย ที่ บ้านดอนฮี  อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ในวัยเด็กของครูบาบุญคุ้มนั้น ออกจะผิดแผกไปจากเด็กในวัยเดียวกันโดยทั่วไป ไม่ค่อยได้รวมกลุ่มเล่นกับเพื่อนๆ แต่ชอบจะหาผ้าห่ม มาคลุมตัวเล่นเป็นพระ แม้แต่เงินก็ไม่ขอพ่อแม่แต่ใช้วิธีไปหาผักมาขายขายได้สตางค์มาก็เก็บไว้ จนในที่สุดได้บรรพชาสามเณรตั้งแต่เยาว์วัยศึกษาเล่าเรียนจาก หลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งวัดปู่จ้อก้อ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ท่านเป็นอาจารย์ สายวิปัสสนาของ หลวงปู่มั่น ภูริทัต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเมื่อเติบใหญ่พอจะออกธุดงค์ได้ ได้ธุดงค์ไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ ได้ไปนมัสการ หลวงปู่หล้า จันโท วัดป่าตองตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และน้อมถวายตัวเป็นศิษย์ จากนั้นได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่เกษม เขมโก แห่ง สำนักสุสานไตรลักษณ์ จังหวัด ลำปาง ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้อยู่ในระยะหนึ่งครูบาบุญคุ้มได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันเดียวกับที่ ประชุมเพลิงหลวงปู่หล้า วัดปู่จ้อก้อ มี พระครูจันทวิสุทธา วัดศรีมงคล เหนือ จังหวัดมุกดาหาร เป็น พระอุปปัชฌาย์ พระครูมุกดาหารโมลี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระประยูร   กันยาศีโล เป็น พระอนุสาวนาจารย์  ภายหลังได้ลาครูบาอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อศึกษาหลักธรรมไปตามจังหวัดต่างๆ ทั้งในเขตพม่าและเขตเขมร กระทั่งเมื่อได้ ธุดงค์ ผ่านจังหวัด สุพรรณบุรี มาถึงพระแท่นดงรัง ได้อยู่ที่นั่น 1 ปี พยายามพาลูกศิษย์สร้างสำนักสงฆ์ขึ้น แต่ก็มีปัญหา ก่อนตัดสินใจอะไร ครูบาบุญคุ้มเหมือนจะมีจิตสัมผัสก่อนทุกครั้ง เวลานั้นครูบาบุญคุ้มได้มีสัมผัสขึ้นว่ามีอุปสรรคเกิดขึ้นที่พระแท่นดงรัง หลังจากนั้น ก็เกิดนิมิตขึ้นว่าเห็นตัวเองไปยืนอยู่หน้าโบสถ์ แต่ว่าโบสถ์หลังเก่ามาก ในที่สุดก็มีคนขัดขวางอาตมาทำไม่ได้ จนกระทั่ง วันหนึ่ง คิดไปคิดมาว่าไม่สบายก็อยากสึก แต่พอตกกลางคืนก็เกิดนิมิตขึ้นเห็นพระประธานองค์ใหญ่มากมีแสงสีทองพุ่งออกมาโดนครูบาบุญคุ้ม  ตัวครูบาบุญคุ้มก็เป็นสีทองหมดเลย พอตื่นเช้าก็เจอพระธุดงค์จึงชวนกันออกธุดงค์ ไปทางทิศตะวันตก เรื่อยๆ จนมาแยกกับเพื่อนที่ สะพานสมเด็จพระสังฆราช จังหวัด กาญจนบุรี ครูบาบุญคุ้มได้เดินทางถึง ตำบล หนองหญ้า เข้าไปบำเพ็ญอยู่ในภูเขา ลูกหนึ่งอยู่ใน ช่องเขา เรียกว่า ทางผ่านเขาช่องเสด็จ ตกกลางคืนได้นิมิตว่ามีคนใส่ชุดขาวมีความรู้สึกเหมือน เจ้าแม่กวนอิม และนำฉัตรมาถวาย 4 ต้น อาตมามีความรู้สึกว่าอาตมาจะต้องสร้างวัด ต้องเผยแพร่ธรรม แก่ศิษย์ เมื่อไปอยู่ในถ้ำทางเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้มาขับไล่ให้ออกไป แต่ครูบาบุญคุ้มท่านได้บอกว่า มาแสวงหาความเงียบสงบสันโดษเท่านั้น ไม่ได้เคยคิดจะเอาอะไรติดไม้ติดมือไปจนในที่สุดเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ก็ได้ตกลงให้ครูบาบุญคุ้มท่านอยู่บำเพ็ญต่อไป และสืบสานภูมิปัญญาล้านนา อยู่มาวันหนึ่งครูมาบุญคุ้มได้คิดอยากเดินทางกลับ ใจจะเลือกว่าจะกลับระหว่าง จ.เชียงใหม่หรือว่าจะกลับไปที่บ้านเกิดคือจังหวัดยโสธร ดีในช่วงนั้นได้มีชาวบ้านได้เกิดแรงศรัทธาบอกว่ามีที่ดินแห่งนึ่งนิมิตให้ครูบาบุญคุ้มไปอยู่ เมื่อเข้าไปอยู่จึงรู้ว่ากันดารมากน้ำและไฟฟ้ายังไม่มี ซึ่งก็คือที่สร้างสำนักสงฆ์วัดโพธิ์สัตย์บรรพตนี่เอง

จากนั้นครูบาเจ้าบุญคุ้มได้นำธูปจำนวน ๑๙ ดอก มาจุดอธิษฐาน ปรากฏว่ามีผึ้งจำนวนมากเกาะทำรังใหญ่บนต้นตะโก มีความรู้สึกว่า วันนี้ฤกษ์งามยามดี

.ต่อมาตั้งจิตอธิษฐานว่า หากว่าข้าพเจ้ามีบารมี ขอให้ข้าพเจ้าได้น้ำ ขอให้ข้าพเจ้ามีลูกศิษย์ลูกหามาช่วยสร้างวัดภายใน ๑ ปี ข้าพเจ้าจะบวชตลอดชีวิต และปฏิบัติธธรรมรับใช้พระพุทธศาสนา เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชั่วกาลนาน
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 ได้รับบริจาคที่ดิน 2 ไร่จึงปลูกกุฏิเป็นเพิงแฝก และได้เข้าไปอยู่ในวันที่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 มีสามเณร 3-4 รูปได้มาขออยู่อาศัยด้วย มีอยู่คืนหนึ่งฝนตกหนักมีพายุใหญ่เณรหนาวมากครูบาบุญคุ้มจึงนำจีวรไปคลุมไว้เป็นช่องๆและคลุมตัวเองกันหนาวแต่ทุกๆคนเปียกหมด พอรุ่งเช้าครูบาบุญคุ้มได้บอกแก่สามเณรว่าสึกเถอะลูกเณรมันเป็นทุกข์ แต่ตรงนั้นสามเณรกลับไม่สึกอยากอยู่ด้วยกันแต่อยู่ด้วยความยากลำบาก ไปบิณฑบาตได้ข้าวมาฉันนิดหน่อย

ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครูบาบุญคุ้มได้คิดจะสร้างวัดขึ้นให้ได้ ตกกลางคืนคืนหนึ่งครูบาบุญคุ้มได้นิมิตว่ามีคนหามเสลี่ยงเป็นแถวเต็มไปหมดเหมือนคณะเจ้าเมืองเก่าๆ มากราบครูบาบุญคุ้มและได้พูดขึ้นว่าสถานที่นี้ต่อไปจะมีความเจริญรุ่งเรืองจะมีคนมีบุญบารมีมาก่อสร้างวัดให้ หลังจากนั้นไม่นานมีชาวสวิตเซอร์แลนด์และอุบาสกอุบาสิกาบอกความประสงค์ว่า จะร่วมกันสร้างกุฏิสงฆ์ให้สัก11 หลังพร้อมศาลา ครูบาบุญคุ้ม ท่านบอกว่าเป็นไปไม่ได้เพียงแต่ระยะเดือนกว่าๆ หลังจากนั้นอีกเดือนก็ปรากฏผลขึ้นเขาเริ่มลงมือสร้างกุฏิให้ 11 หลัง หลังละประมาณ 8-9 หมื่นบาท เป็นกุฏิทรงล้านนาทั้งหมด ตามที่ครูบาบุญคุ้มฝันเห็นและสร้างศาลาการเปรียญอีก 1 หลังมี 6 ห้อง ใช้ปัจจัยในการสร้างทั้งสิ้น 2-3 ล้านบาท พร้อมทั้งถมที่ให้ด้วย หลังจากได้สร้างกุฏิเสร็จแล้วครูบาบุญคุ้มยังมิได้ย้ายเข้าไปยังอาศัยอยู่ในกุฏิแฝกเพราะกุฏิยังไม่เสร็จและก่อนถึงวันเกิดในเดือนมิถุนายนจะมีคนมาสร้างกุฏิให้ครูบาบุญคุ้มก็ยังไม่เชื่อแต่ไม่นานชาวสวิตเซอร์แลนด์ ขนไม้มาจอดที่ด้านหน้าวัดมาบอกว่าจะสร้างกุฏิให้และหาที่ตั้งกุฏิปัจจุบันข้างกุฏิเขาขุดดินไปขายทิ้งไว้เป็นบ่อร้างมาแต่เดิม บ่อนั้นเก็บน้ำไม่ได้ครูบาบุญคุ้มได้ให้สร้างกุฏิตั้งไว้ที่ด้านข้างบ่อดินจะเกิดความอุดมสมบูรณ์และหันหลังพิงเขาใหญ่เหมือนมีแขนสองข้างโอบล้อมเรา ต่อมาครูบาบุญคุ้มได้ฝันเหมือนมีคนบอกในฝันว่า ครูบาเจ้าท่านอย่าได้ทุกข์ใจเรื่องน้ำต่อไปหากท่านได้น้ำให้ท่านเดินหาต้นมะขามเทศ หากเจอต้นมะขามเทศให้เจาะน้ำได้เลย และในฝันมีคาถามาให้ 3 บท สวดแล้วให้เอาสิ่งมงคลไปโปรยลงในน้ำต่อไปน้ำจะเต็มบ่อทำให้วัดของท่านอุดมสมบูรณ์เขียวขจีชั่วนาตาปีซึ่งเมื่อเจาะแล้วได้น้ำอุดมสมบูรณ์มาจนกระทั่งทุกวันนี้มีบางคนถามครูบาบุญคุ้มว่าท่านเป็นพระกรรมฐานทำไมสร้างวัดใหญ่โตมโหฬาร และเน้นขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะล้านนา ซึ่งถ้าไม่มีประเพณีต่อ ครูบาเจ้าบุญคุ้มว่าต่อไปจะมีแต่คนป่าถอดผ้าเดินเพราะเดี๋ยวนี้เขานุ่งผ้าเหนือสะดือกันแล้ว

หลากหลายสิ่งหลากหลายอย่างที่ท่านบรรจงสร้างขึ้นในบวรพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นเนรมิตสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นที่ วัดโพธิ์สัตย์บรรพตนิมิตหมายรวมถึงการ เคร่งครัดปฏิบัติจนเป็นที่ศรัทธาในหมู่พุทธศาสนิกชน เรียกว่าคลองใจชาวพุทธก็ว่าได้ ลุ่มแม่น้ำแควมีพระดีชื่อครูบาเจ้าบุญคุ้มผู้เปรียบเสมือนดวงใจของชาวลุ่มน้ำแควเป็นพระแท้ที่ผู้คนศรัทธาในญาณบารมี น้ำใจไม่เคยเหือดแห้งสาดส่องดุจแสงสุรีย์เบิกฟ้านี่คือคำกล่าวที่สะท้อนตัวตนของท่านอย่างแท้จริง ครูบาเจ้าบุญคุ้มกล่าวว่าจุดที่สำคัญของการเผยแพร่ธรรมผู้ฟังจะต้องได้รับผลที่เกิดขึ้นคือสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพราะผู้มีธรรมจะแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ ผู้ที่แสดงธรรมต้องมีเป้าหมายที่จะกล่าวธรรมออกไปการแสดงธรรมจึงนะเกิดผลสำเร็จกับผู้รับธรรม ครูบาเจ้าบุญคุ้มเป็นผู้สืบทอดสายครูบามาจากเมืองเหนือผู้ที่ไปกราบท่านหลายคนต่างรู้สึกชื่นใจเย็นใจ จากพระธรรมที่ท่านเทศนาและเมตตา บารมี ที่ท่านแผ่ออกมา คนที่มาหาท่านด้วยความทุกข์ใจก็มากมาหาของดีก็มากที่มาฟังด้วยความรู้จริงในทางสายอริยมรรคหลากหลายเหตุผลที่ต้องการมาพบครูบาเจ้าบุญคุ้มล้วนไม่มีผิดหวังเพราะครูบาเจ้า ท่านเป็นสายพระเกจิและสายนักปฏิบัติสำหรับท่านที่ต้องการกำลังใจ ท่านก็มีวัตถุมงคลช่วยเสริมกำลังใจซึ่งหลายท่านนำพกติดตัวซึ่งก็ได้ผลดีมีประสบการณ์ด้วยกันทั้งสิ้น ยิ่งเป็นสุดยอดเครื่องรางตะกรุดไผ่ตัน อันเป็นอันเป็นเครื่องรางของดีที่ครูบาเจ้าบุญคุ้มพกติดตัวตลอดนั้นว่ากันว่ามีพุทธคุณทั้งแก้และกันของไม่ดีต่างๆทั้งยังเป็น เมตตามหานิยมได้ด้วยตะกรุดไผ่ตันที่ครูบาเจ้าบุญคุ้มพกติดตัวนั้นเป็น ของดีที่ได้จากหลวงปู่หล้าตาทิพย์ และถ่ายทอดสุดยอดเคล็ดวิชานี้ให้กับท่าน ทั้งศิษย์ใกล้ไกลต่างถวิลหาอยู่เนืองๆ สมัยที่เดินธุดงค์อยู่ในป่าเขาครูบาเจ้าบุญคุ้มก็ได้สิ่งมงคลนี้ปัดเป่าเภทภัย และคุ้มครอง ภยันตราย จากคุณไสย มนต์ดำที่คนเล่นของส่งมาลองภูมิซึ่งครูบาท่านรู้อยู่เต็มอกจึงตั้งจิตเจริญสมาธิแผ่เมตตาและ บริกรรมพุทธาคม กำกับด้วยตะกรุดไผ่ตันที่ประดุจพลังพุทธเวทย์ทุกวันจนเกิดเป็นพลังมวลสารศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธานุภาพมหาศาลสามารถต้านทานสิ่งอัปมงคลมิให้เข้าสู่ตัวได้ นอกจากตะกรุดตันแล้วครูบาเจ้ายังได้เก็บผงพิเศษที่ได้จากการสร้างตะกรุดไผ่ตันมาจัดสร้างวัตถุมงคลชุดพิเศษนั่นคือ พระผงรูปเหมือนมงคลจักรวาล พระผงรูปเหมือนมงคลจักรวาลนี้ เป็นของดีที่รวมอนุภาพพลัง วิเศษที่สุดของที่สุด นั่นคือตะกรุดเงิน ทุกองค์ตอกหมายเลขกำกับ เช่น พญาครุฑออกศึก พญาครุฑออกทัพสยบความจน ของดีที่ผ่านการปลุกเสกหนุนชาติ จากพลังจิตของครูบาเจ้าบุญคุ้มล้วนเป็นเครื่องรางของขลังที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เว้นแม้แต่ พระท่ากระดาน พระปิดตาแร่เหล็กไหลมหาลาภ พระยาจระเข้ เมตตาค้าขายดี ตะกรุดข้อมือ สร้อยคอกะลาตาเดียว ราหูอมจันทร์ ไม้ขนุนแก่ 12 นักษัตร นกคุ้มมหาลาภ พระผงพิมพ์น้ำตาลแว่นโภคทรัพย์ กำไลข้อมือตะกรุดเงินแคล้วคลาด พญาครุฑมหาอำนาจและอื่นๆอีกมากมาย หากใครมีไว้พกติดตัวและเวลานำออกไปใช้ตั้งจิตอธิฐานถึงบารมีครูบาเจ้าบุญคุ้มจะคุ้มครองป้องกันภัยและบันดารโชคลาภได้ราวปาฏิหาริย์สิ่งสำคัญที่ทำให้ครูบาเจ้าบุญคุ้มเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา นอกเหนือจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและวัตถุมงคลที่โด่งดัง ยังมีเรื่องของการอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนาอีกด้วย

สืบสานภูมิปัญญาล้านนา ครูบาเจ้าบุญคุ้มเป็นผู้สืบสานด้วยการแห่ตุงและเสลี่ยงภายในวัดและในตัวเมืองกาญจนบุรี ท่านเล่าขานตำนานตุงว่าเริ่มเทศกาลสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทยชาวล้านนามักมีการประดับธงหรือตุงจะมีสีและลวดลายทั้งที่ทำจากผ้า กระดาษและวัตถุอื่นๆมีการใช้ตุงปรากฏเป็นหลักฐานนานนับพันปี และพัฒนาไปตามความเชื่อในแต่ละสังคมจนใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน การใช้ตุงทางภาคเหนือปรากฏเป็นหลักฐานเป็นครั้งแรกในพระธาตุดอยตุงชาวเหนือนิยมใช้ตุงในการประกอบพิธีกรรมต่างๆทั้งทางศาสนาและพิธีที่เกี่ยวกับชีวิตงานเทศกาลและเฉลิมฉลองต่างๆตามคติความเชื่อการจัดงานของท่านครูบาเจ้าบุญคุ้มบาทเดียวก็ไม่มี ขอขอบคุณเทวดาหรือผู้มาร่วมงานเทวดาทั้งหมดในนี้ คนใดฟังเทศน์จิตใจในขณะนั้นเป็นพรหมคนใดรักษาศีลขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เค้าเรียกเริ่มเป็นอนาคามี คนใดไม่ฟังเทศน์หรือฟังธรรมระวังจะเกิดไปเป็นเปรตอสุรกายคือมีแต่โลภอยากได้ของเค้า คิดแต่กอบโกยแต่อนาคตของเราไม่แน่ว่าเมื่อใดยังมีชีวิตต้องทำความดีที่สุด คืออนาคตอย่างตรงนี้ไม่ใช่คิดว่าพรุ่งนี้จะได้เท่าไหร่ จะถูกโกง ใครจะมาทวงหนี้ ถ้าอนาคตมี ไม่เป็นไรวางในเป็นกลาง มัชฌิมา
และให้ถือคติสงบนิ่งชนะทุกสรรพสิ่งไม่ว่าอะไรมารุมเร้าให้นิ่งๆใครว่าเราให้เฉยๆ ให้เราเอาคนเหล่านั้นเป็นครูเราจะไม่เป็นคนอย่างนั้นกล่าวในวันสงกรานต์นำศิลปวัฒนธรรมประเพณีเผยแพร่ว่าครูบาว่างานใดก็ตามหากว่าตามหากว่าเรามีความตั้งใจ หากว่าเรามีความเชื่อมั่น หากว่าสิ่งนี้เราทำลงไปทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมให้คนส่วนมากได้มีความชื่นชมยินดีและผู้ที่อยากจะทำหรือสืบสานไม่ให้สิ่งเก่าแก่ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณที่สืบทอดกันมายังรุ่นหลังตั้งแต่รุ่นของปู่ย่าตาทวดได้สูญหาย หรือเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นมีความงามและความอ่อนโยนอยู่ในตัวเอง มีศิลปะอันงดงามบ่งบอกสิ่งที่ดีสิ่งที่สวย และยังบ่งบอกถึงอนาคตบอกถึงอดีตให้เราได้รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างครูบาท่านว่าเป็นธรรมะชนิดหนึ่ง หากใครมองทะลุได้ ศิลปะวัฒนธรรมประเพณี เป็นบ่อเกิดแห่งพลังสามัคคีให้แก่คนที่รักคำว่าพุทธ พุทธ คือเบ่งบาน จะเป็นศีลก็ได้ จะเป็นสมาธิอย่างเช่น มาร้อยดอกไม้หากว่าเราไม่มีจิตดี สมาธิไม่ดี ใจไม่ดี เราร้อยดอกไม้ไม่ได้สวยไหนจะสอดด้ายลงรูเข็มจับมันใส่ลงรูเข็มนั้นนิดเดียว เปรียบเสมือนธรรมะ เราจะนำด้ายแยงเข้าไปในรูเข็ม เราจะต้องมีสมาธิที่ดีอย่ามองการตบแต่งถ้าให้เกิดความสวยงามแต่หารู้ไม่ว่ามันลำบากกว่าจะได้มาลำบากมาก ผู้ที่จะอนุรักษ์ประเพณีนั้นต้องรักมันจริงๆ ครูบาเจ้าบุญคุ้มท่านยกตัวอย่างยุกต์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามถ้าคนรุ่นใหม่เห็นประเพณีชอบทุกคน แต่ว่าใครจะทำให้โดดเด่นสำคัญกว่า ต่อสังคม หรือต่อประเทศชาติ สมาธิสำคัญเบื้องหลังการทำงานสืบสานประเพณีกว่าจะออกมาได้อย่างสวยงามมันลำบากมาก เปรียบเสมือนการปฏิบัติธรรม เราบวชมาตั้งแต่เด็กๆ บวชมาตั้งแต่เณรกว่าเราจะฝ่ากิเลสไม่ลุ่มหลงไม่ยึดติด เหมือนกับการปฏิบัติมารักษาประเพณี หรือการตบแต่งขบวนบุพชาติหรือมาต้องลายคือการฉลุลายออกมาให้เป็นภาพที่เก่าแก่นำติดกับไม้ตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้างทำให้เกิดความสวยงาม ก็เปรียบเสมือนกับการแสดงธรรมนำมาแต่งนำมาเสริมจิตใจที่มันหายไปให้เกิดพลังที่สวยงาม วันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่คิดพิจาณาประเพณีจะเป็นตัวช่วย พระพุทธศาสนาให้คงอยู่ยืนนานได้ ประเพณีหรือวัฒนธรรมสำคัญ วัฒนธรรมก็คือการรักษาลูกหลานของเขา ประเพณีจะต้องกตัญญูกตเวทิตา ลูกหลานเราอยู่ที่ไหนก็เรียกมารวมกันเรียกว่ารวมพลัง เช่นประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรเทโว เข้าพรรษาเป็นต้น จุดมุ่งหมายในการสร้างตุงจึงทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาสร้างกุศลให้ตนเองและอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์ โดยเฉพาะภัยที่เชื่อว่าเกิดจากภูตผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย และยังใช้ในทางไสยศาสตร์หรือพิธีกรรมเทศกาลต่างๆ เช่นพิธีสวดพุทธมนต์ พิธีสืบชะตา งานปอยหลวง ทอดกฐิน ประเพณีสงกรานต์ หรืองานอวมงคลเกี่ยวกับคนตาย ปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ ก็ยังนิยมสร้างตุงเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆงานเทศกาลหรือเฉลิมฉลองเราจึงเห็นตุงประดับประดาตามสถานที่จัดงานต่างๆเพื่อ ความสวยงามแต่ทั้งนี้ควรนำตุงไปใช้ให้เหมาะสม เพราะหากไม่มีการอนุรักษ์หรือศึกษารูปแบบตามคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจ อย่างถ่องแท้ ก่อนนำไปใช้แล้ว อนาคต การใช้ตุงในพิธีต่างๆตามความเชื่อเดิมอาจจะถูกดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปในที่สุด ครูบาเจ้าบุญคุ้มจึงได้สืบสานประเพณี แห่ตุงแบบวัฒนธรรมล้านนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาให้เป็น มรดกธรรม มรดกไทย มรดกโลก ต่อไป
 


..สำหรับการสร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดโพธิสัตว์ ที่สวยงามเหมือนเข้าสู่แดนสวรรค์ ครูบาเจ้าบุญคุ้ม บอกว่า เป้าหมายแรกเพื่อต้องการให้ชาวต่างชาติได้เห็นว่า ความสามารถของคนไทย และพระพุทธศาสนายั่งยืนอยู่ได้มาจากพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การสร้างทุกสิ่งขึ้นมาในวัดมาจากเม็ดเงินอันบริสุทธิ์ของชาวพุทธที่นำมาสร้างศิลปะและวัฒนธรรมประดับประเทศชาติ มาประดับไว้ใน จ.กาญจนบุรี เพื่อให้คนที่มาได้นำไปปฏิบัติและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป

.เป้าหมายที่สอง คือการขยายอาณาเขตเอาไว้อบรมจริยธรรมเด็กนักเรียนชั้นมัธยมที่กำลังหลงใหลในการเที่ยวเตร่ หลงในโลกีย์ต่างๆ ที่กำลังสูญเสียอย่างมาก การสร้างสถานบำบัดจิตของคนที่กำลังจิตตก รวมทั้งเป็นสถานที่เพื่อรองรับคนที่มาปฏิบัติธรรม

.ในอนาคตอันใกล้ ที่เป็นความหวังอันสูงสุดคิดไว้ว่า จะสร้างโรงพยาบาลรักษาคนที่เป็นโรคมะเร็ง โรคไต เพราะมีลูกศิษย์ที่วัดเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องไปรักษาในกรุงเทพฯ ปณิธานที่มีอยู่สูงมาก ไม่รู้ว่าจะมรณภาพไปก่อนหรือเปล่า

.มาวันนี้ ชีวิตที่ดำรงอยู่ภายร่มกาสาวพัสตร์ จึงมี ๔ เป้าหมายของการทำหน้าที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ประกาศศาสนา สร้างประเพณีให้เด่นชัด คนจะได้ไม่หลงทาง

.และอีกอย่าง อยากสร้างสังคมให้มีความสงบ ด้วยคำว่าพุทธให้ปรากฏอยู่ในใจคน "อาตมาอยากให้ชาวพุทธมารักษาสืบทอดถาวรอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ได้อยู่แบบมีโลกีย์ทุกวัน ไม่หลงตัวเอง ไม่หลงใหลอยู่กับวัฒนธรรมตะวันตก ที่มาเผยแพร่ความเน่าเปื่อยเสียหายในสังคมเรา เขาเลิกเน่า แต่ตัวเองยังเน่า วันนี้การปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เป็นเรื่องงมงาย วัดจึงตั้งสถานปฏิบัติธรรมบำบัดจิต ให้เป็นศูนย์ล้างบาปในใจพุทธ ด้วยการใช้ธรรมะล้างบาปในใจก่อนปฏิบัติธรรม คือ โลภ โกรธ หลง" ครูบาเจ้าบุญคุ้ม กล่าวทิ้งท้าย
   
 บริเวณภายในวัด
 
  
 
 
 
 
 
 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://krubaboonkoom.siam2web.com/
 
 

580
ประวัติวัดสะตือ

วัดสะตือสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ.2400 โดยหลวงพ่อโต หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มาของชื่อวัดนี้ เนื่องจากสมัยก่อนบริเวณมีต้นสะตือใหญ่เป็นสัญลักษณ์ เลยนำมาตั้งเป็นชื่อวัด ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐานทางทิศใต้ของวัด องค์พระยาว 25 วา เชื่อหรือไม่ว่าหลวงพ่อโตท่านเกิดที่นี่ มารดาของท่านได้ให้กำเนิดท่าน ณ บนเรือที่จอดอยู่ในแม่น้ำป่าสักที่ทอดตัวทางด้านหลังของวัด



ด้านหน้าวัดสะตือครับ



องค์หลวงพ่อโต


ใครบนอะไรไว้แล้วสำเร็จจะแก้บนโดยการรำวงรอบองค์หลวงพ่อ รำร้อยกว่ารอบก็เคยมีนะครับ



องค์หลวงพ่ออีกซักรูปครับ


วิหารด้านข้างองค์หลวงพ่อ
พระสมเด็จกรุวัดสะตือ

ในวิหารจะมีช้างอธิษฐานเสี่ยงทาย วิธีคือ นั่งคุกเข่าชิดตัวช้างและเสมอด้านหน้าในด้านที่ตนเองถนัด ตั้งใจระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็อธิษฐานถามเรื่องอะไรก็ได้ แล้วจึงยกช้าง โดยที่ผู้ชายใช้นิ้วก้อยยกช้าง ผู้หญิงใช้นิ้วนางยก ยกครั้งที่ 1 เรื่องที่อธิษฐานถาม ประสบความสำเร็จ จะยกช้างขึ้น ยกครั้งที่ 2 อธิษฐานเรื่องเดิม ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะยกช้างไม่ขึ้นครับ


ช้างอธิษฐานเสี่ยงทาย


อภินิหาริย์หลวงพ่อโต วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา
.........ปฐมตำนานการสร้างพระพุทธไสยาสน์ได้กล่าวเอาไว้ว่า พระพุทธไสยาสน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีดังที่จะกล่าวต่อไปนี้…
-พระพุทธไสยาสน์กลางแจ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
-พระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอนจักสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี
        เราจะเห็นว่าจังหวัดสิงห์บุรีกับจังหวัดอยุธยามีความใกล้ชิดกันมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนบธรรมเนียมและวัฒนะธรรมประจำท้องถิ่น รวมไปถึงงานบุญต่างๆ จังหวัดทั้งสองมีความละม้ายคล้ายกันมากทีเดียว
พระพุทธไสยาสน์กลางแจ้งที่มีขนาดยาวที่สุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดสะตือ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตตาราม กทม.ี

.........เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงแก่มรณภาพในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีวอก จัดวาศกจุลศักราช 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 เวลา 24.00 น. บนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) สิริรวมอายุ 84 พรรษาที่ 64

.........ในปี พ.ศ. 2413 ก่อนมรณภาพ 3 ปี เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้มาทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางพุทธ-
ไสยาสน์ริมแม่น้ำป่าสัก ณ บ้านที่ถือกำเนิด ปัจจุบันคือ วัดสะตือ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีความยาว 25 วา กว้าง 4 วา สูง 8 วา มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2465 โดยหลวงพ่ออุปัชฌาย์บัตร จันทโชติ อดีตเจ้าอาวาสวัดสะตือ ร่วมกับชาวบ้าน ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2499 จอมพล ป พิบูลสาคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางมานมัสการหลวงพ่อโต เห็นว่าองค์หลวงพ่อชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้ทำการบูรณะอยู่ 3 เดือน 25 วันจึงแล้วเสร็จ ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2531 โดยพระครูพุทธไสยาภิบาล (หมึก) อดีตเจ้าอาวาส ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะอยู่ 3 เดือน 25 วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้งที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2540 โดยพระอธิการทองคำ คัมภีรปัญโญ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการบูรณะและทาสีใหม่

.........ทางวัดสะตือได้จัดให้มีงานเทศกาล (งานประจำปี) เพื่อปิดทององค์หลวงพ่อโตเป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 ครั้ง คือกลางเดือน 5 และกลางเดือน 12 พระพุทธไสยาสน์ หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่มาก และมีอายุการสร้างที่ยาวนาน มีประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางมานมัสการกราบไหว้ มีกรขอพรและโชคลาภต่างๆ ซึ่งมักประสบผลตามที่ตั้งใจขอไว้ หลวงพ่อจะช่วยดลบันดาลอภิบาลรักษาให้ท่านที่เดินทางมานมัสการ มีความอยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านและครอบครัว

.........อภินิหาริย์หลวงพ่อโต.........เรื่องที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ผู้เขียนได้รับข้อมูลจากคำบอกเล่าของคุณเสงี่ยม ใจซื่อ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ต.หนองโสน อ.เมือง จ.สระแก้ว คุณเสงี่ยมได้เล่าว่าเขามีอาการป่วยเรื้อรัง รักษาแพทย์แผนปัจจุบันหมดเงินหมดทองเป็นจำนวนมากแต่อาการก็ไม่ทุเลา
"แพทย์ลงความเห็นว่าเส้นประสาทของผมอาจจะพลิก รักษาให้หายขาดมีทางเดียวคือ ต้องทำการผ่าตัด ตอนนั้นผมกลัวมาก เพราะมีหมอดูซึ่งเป็นคนเขมรได้ทายเอาไว้ว่า ผมจะต้องเข้าโรงพยาบาล และต้องผ่าตัดแต่ไม่หายและจะต้องตาย ทีแรกผมไม่เชื่อ จนกระทั่งผมมีอาการปวดชาตามขา เดินไม่ไหว ผมจึงไปให้หมอตรวจ ก็ไม่คิดว่ามันจะลุกลามใหญ่โตถึงเพียงนี้"
พวกลูกๆ ของคุณเสงี่ยมพยายามชี้แจงว่า การวงการแพทย์แผนปัจจุบันมีความทันสมัยมาก อย่าไปเชื่อเรื่องหมอดูให้มากนัก แต่คำพูดของลูกๆ ก็ไม่อาจจะทำให้คุณเสงี่ยมเปลี่ยนใจ เขาขอเลือกการนอนรักษาตัวอยู่กับบ้านดีกว่าต้องเข้าไปนอนในโรงพยาบาล
อาการของคุณเสงี่ยมมี "ทรง" กับ "ทรุด" คุณเสงี่ยมเริ่มหันมาศึกษาในคำสอนของพระพุทธองค์ เริ่มท่องคาถาชินบัญชร มีการปฏิบัติธรรม รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด "ไม่กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด เพราะถือว่าเป็นการเบียดเบียนสัตว์โลกด้วยกัน จากนั้นไม่นานอาการเจ็บป่วยก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งคืนหนึ่งผมฝันว่าได้ไหว้พระนอน ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก แต่ไม่รู้ว่าพระนอนองค์นั้นอยู่ที่ไหน พอผมกราบท่านเสร็จผมก็ได้ยินเสียงท่านพูดว่า โยมกำลังจะพ้นทุกข์แล้วนะ บรรดาเจ้ากรรมนายเวรเขาเห็นโยมทำดี เขาเลยอโหสิให้ เพียงแต่โยมทำบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้พวกบ้าง ทุกอย่างมันก็จะดีขึ้น จากนั้นผมก็ตกใจตื่น"

..........คุณเสงี่ยมไม่รู้ว่าพระนอนองค์นั้นอยู่ที่ไหน สอบถามเพื่อนฝูงก็ไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่งวันหนึ่งญาติของคุณเสงี่ยม ซึ่งเป็นข้าราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มาเยี่ยมคุณเสงี่ยมที่บ้าน
"ผมถามเขาว่าตอนนี้ทำงานที่ไหน เขาบอกว่าอยู่กรุงเทพฯ แต่ไปได้เมียเป็นคนอยุธยา ตอนนี้เลยต้องเดินสายขึ้นล่องกรุงเทพ ฯ - อยุธยา ทุกอาทิตย์ ผมถามเขาว่าแถวบ้านมีพระนอนองค์โตๆ บ้างหรือเปล่า เป็นพระนอนกลางแจ้ง เขาบอกว่ามีอยู่องค์หนึ่ง ชื่อ หลวงพ่อโต อยู่ที่วัดสะตือ ศักดิ์สิทธิ์มาก พอได้ยินเช่นนั้นมันรู้สึกเย็นวาบทั้งตัว บอกกับตัวเองว่าใช่แน่แล้ว พระองค์นี้แหละที่ผมเห็นในความฝัน ผมก็เลยขอเขาติดรถมาที่จังหวัดอยุธยาด้วยทันที…"

.........คุณเสงี่ยมเล่าให้ฟังว่ายิ่งเข้าใกล้วัดสะตือเท่าใดก็ยิ่งรู้สึกตื่นเต้น จนกระทั่งรถได้ขับเข้ามาภายในบริเวณวัด ภาพของพระนอนขนาดใหญ่ที่ปรากฏตรงเบื้องหน้า ทำให้คุณเสงี่ยมถึงกับขนลุกเกลียวเลยทีเดียว
"เป็นพระองค์เดียวกับที่ผมเห็นในความฝัน เป็นเหตุการณ์ที่ต้องบอกว่าเหลือเชื่อ ไม่น่าเป็นไปได้แต่มันก็เป็นไปแล้ว"
คุณเสงี่ยมรีบลงจากรถเพื่อไปมนัสการหลวงพ่อโต อาการปวดที่ขามันค่อยๆ ทุเลาลง ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มาก คุณเสงี่ยมพักอยู่ที่บ้านญาติ 3 วัน ทุกวันจะต้องนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาหลวงพ่อโตไม่ขาด
"อาการปวดเรื้อรังมันดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ตอนนี้ผมหายเป็นปกติแล้ว ไปตรวจครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลเมื่อเดือนก่อน หมอคนที่เป็นเจ้าของไข้ยังงง บอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่มันก็เป็นไปแล้ว"

.........ใครจะเชื่อบ้างว่า อำนาจของพระพุทธคุณจะสามารถรักษาโรคร้ายให้หายได้… 
 
   
 
 
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก...http://railway.exteen.com/20050505/entry
                                       http://www.thaluang.go.th/article-315.html
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 
   
 



581
                หลวงพ่อปลื้ม

               


วัดสวนหงส์ ตั้งอยู่หมู่ ๘ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เล่ากันว่า มีเศรษฐีโคกครามสองสามีภรรยา ชื่อ นายสวน กับ นางหงส์ มีศรัทธาสร้างวัดขึ้นมา แล้วเรียกขานชื่อวัดว่า วัดสวนหงส์

 ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส องค์ตรวจการคณะสงฆ์ได้มาตรวจพื้นที่วัดสวนหงส์ ในขณะนั้น โดยมี  พระอาจารย์แก้ว นนฺทโชติ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ตรัสชมว่า

 “วัดสวนหงส์อยู่ในชัยภูมิที่ดี มีภูมิฐาน คือ มีต้นไม้ใหญ่ๆ มาก และมีแม่น้ำวกอ้อมวัดถึง ๓ ทิศ ๓ ด้าน”


                             


 ลำดับ เจ้าอาวาสปกครองวัดสวนหงส์ ตั้งแต่รูปแรกจนถึงรูปปัจจุบัน มี ๑.พระอธิการแก้ว นนฺทโชติ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๖๙) ๒.พระครูแก้ว อิสฺสโร (พ.ศ. ๒๔๖๙- ๒๔๘๙) ๓.พระครูพิทักษ์ธรรมคุณ (พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๑) ๔.พระครูสุมนคณารักษ์ หรือ หลวงพ่อปลื้ม (พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๔๕) และ ๕.พระครูโกศลธรรมานุสิฐ เป็นเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน

 หลวง พ่อปลื้ม เป็นชาว อ.บางปลาม้า ถือกำเนิดที่บ้านยอด ต.เก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอาจารย์ชื่อดังที่ชาว อ.บางปลาม้าให้ความเคารพนับถือมาก เป็นพระอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ค่อนชีวิตของท่านเป็นครูสอนนักธรรมแก่พระเณรมาโดยตลอด ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านก็ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นพระที่ชอบเดินจงกรม กำหนดจิตให้เป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา

 แม้ ว่าหลวงพ่อปลื้มเป็นพระที่ดุ แต่โดยส่วนลึกในจิตใจของท่านนั้น มีเมตตาแก่ทุกคนที่แวะเวียนไปกราบไหว้ ผู้ที่เดือดร้อนเป็นทุกข์ทางใจไปหาท่าน หลวงพ่อจะพรมน้ำมนต์ให้ เรื่องร้ายมักผ่อนคลาย แถมโชคดีอีกต่างหาก


                                 
                               ล็อคเก็ตหลวงพ่อปลื้ม

 เรื่อง ราวของหลวงพ่อปลื้ม ชาวบ้านกล่าวขานกันมาตลอด ด้วยความเป็นพระครูที่มีลูกศิษย์มาก ชาวบ้านจึงเคารพยำเกรงท่าน เป็นพระที่ชาวบ้านรักและนับถือมากเป็นที่สุด มีเรื่องเล่ากันว่า คนสุพรรณที่เคยไปกราบหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ยังต้องถูกสั่งสอนว่า “มึงไม่ต้องมาถึงกูหรอก ไปกราบหลวงพ่อปลื้ม อาจารย์กูที่วัดสวนหงส์ก็พอแล้ว"

 เมื่อครั้งที่หลวงพ่อปลื้มท่านเข้า มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ สมัยนั้นวัดสวนหงส์มีสภาพเป็นวัดเล็กๆ เสนาสนะต่างๆ ก็ทรุดโทรม หลวงพ่อจึงซ่อมแซมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระผู้คงแก่เรียน มากด้วยวิชาอาคม มีญาณสมาบัติแก่กล้า ท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวผู้ใด เล่ากันว่า มีหลายคนที่ท่านว่ากล่าวด้วยเพราะเหลือวิสัยจริงๆ ผู้นั้นมักมีอันเป็นไปตามวาจา จึงเชื่อกันว่า หลวงพ่อปลื้มวาจาสิทธิ์

 หลวง พ่ออยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ศิษยานุศิษย์ ชาวบ้านบางปลาม้า จนกระทั่งวันที่ ๒๓ มีนาคม  ๒๕๔๕ ท่านจึงได้ละสังขาร ด้วยอาการสงบ เนื่องจากหัวใจล้มเหลว สิริอายุรวม ๙๔ ปี ๕ เดือน ๗ วัน ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของชาวอำเภอบางปลาม้า เป็นอย่างยิ่ง


                                       


 ในระหว่างที่สวดศพตลอด ๙ วัน  มีเหตุอัศจรรย์ คือ ผึ้งหลวงและผึ้งธรรมดา บินรอบศาลา และตกลงมาตายจำนวนมาก

 ปัจจุบัน สรีระของหลวงพ่อสงบนิ่งในโลงแก้ว ภายในหมู่กุฏิใหญ่ สรีระของท่านเพียงแต่แห้งไปเท่านั้น  ไม่เน่าไม่เปื่อยแต่อย่างใด มีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้ รับวัตถุมงคลไปบูชา ด้วยความศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลายกันไม่ขาด

 สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อ ปลื้มนั้น เนื่องจากหลวงพ่อเป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านไม่นิยมการสร้างวัตถุมงคลแต่อย่างใด  พระปลัดประสิทธิ์ ผู้คอยปรนนิบัติรับใช้ ได้จัดการสร้างวัตถุมงคลออกมาแจกจ่าย ตามวาระอันควร

 วัตถุมงคลทุกรุ่นที่พระปลัดประสิทธิ์สร้างออกมา ได้ให้หลวงพ่อปลื้มปลุกเสกเดี่ยว ปัจจุบันมีผู้รู้จักวัตถุมงคลหลวงพ่อปลื้มมากขึ้น ประสบการณ์ออกในทางแคล้วคลาด ค้าขายเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงพ่อปลื้ม เป็นเหรียญใบเสมา เนื้ออัลปาก้า จัดสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ เหรียญนี้หายากมาก มีผู้ได้รับประสบการณ์แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถหลายราย


พระขุนแผนของหลวงพ่อ                                                                                                                                                                                                           ขอขอบคุณที่มา... ภาพจาก๑o๘พระเกจิ,คุณอิทธิพล บุญคำ, คุณTong Nongpaknak ข้อมูลจากคมชัดลึก คุณไตรเทพ  ไกรงู                                                                                                                                                                 

582

ในพระประวัติหลายแห่ง ไม่ค่อยพบเรื่องราวความผูกพันทางไสยเวทระหว่างเสด็จเตี่ยกับหลวงพ่ออี๋ ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อใกล้ชิดกับพระองค์มากกว่าพระเกจิอาจารย์รูปอื่น นายกัน ก็ได้รับการยกย่องว่า เป็นจอมอาคม หลวงพ่ออี๋ ก็เป็นเกจิจอมอาคม ทั้งพระองค์ก็สนพระทัยอาคม มีการฝึก และแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดอาคมต่อกัน ตามแบบคนเล่นของในยุคนั้น

กล่าวถึงนายกัน สลัดทะเลโหด สักหน่อย นายกันผู้นี้โด่งดังจนถึงกับตั้งเป็นชื่ออ่าวบริเวณสัตหีบว่า "อ่าวตากัน" อายุแก่กว่าหลวงพ่ออี๋ เคยบวชเรียน แต่ร้อนวิชา ลาสิกขา ปลูกกระต๊อบอยู่บนหน้าผาแห่งหนึ่ง (อ่าวตากัน) ร้อนวิชา จนสร้างความเดือดร้อนแก่นักเดินเรือทั่วไป

นายกัน หรือ ตากัน จะใช้วิชาอาคม "สะกดเรือ" ใหญ่ทุกลำที่แล่นเข้ามาในรัศมีด้วยพลังจิต ไม่ให้เรือแล่นต่อไป เครื่องหยุดเดิน แล้วตากันจะใช้ลูกศิษย์ นำเรือเทียบขอค่าผ่านทาง ผู้ใดไม่ให้ ก็จะแสดงปาฏิหาริย์ไม่ให้เรือแล่นต่อไป ถ้าผู้ใดให้ ก็จะทำให้เครื่องติด เดินทางไปได้อย่างอัศจรรย์ ชาวเรือหวาดกลัวกันมาก และแล้วตากันก็สำแดงเดชผิดที่ เพราะไปสะกดเอาเรือกองทัพเรือเข้า เรื่องจึงถึงเสด็จเตี่ย เกิดเป็น "ศึกอาคม ระหว่าง เสด็จเตี่ย กับ ตากัน"

เรื่องราวความกำแหง โหด ป่าเถื่อน ของตากัน เข้าถึงพระกรรณเสด็จเตี่ย ทรงกริ้วอย่างมาก ถึงกับเสด็จมาด้วยพระองค์เอง การปะทะกันด้วยอาคมจึงเกิดขึ้น วันนั้น ตากันนั่งอยู่ในกระท่อม พลันปรากฏมีฝูงผึ้งใหญ่ บินเข้าจะต่อยตีตากัน แต่ตากันก็เอาผ้าขาวม้าโบกพัด จนผึ้งตกลงมา กลายเป็นใบไม้ ตากันก็รู้ทันทีว่า เจอคนดีเข้าแล้ว

ตากันปล่อยเสืออาคมเข้าใส่ เสด็จเตี่ยปล่อยควายธนูออกมา ต่างสู้กันฝุ่นตลบไม่แพ้ชนะ ผลสุดท้าย ตากันโยนผ้าขาวม้าสงบศึก เป็นพันธมิตร และกลายเป็นพระสหายต่างวัยกัน

ครั้งหนึ่งตากันเคยคุยโอ้อวดว่า ตนเคยลงไปเดินในทะเลเป็นครึ่งข่อนวัน เสด็จเตี่ยโปรดคนจริง จึงมีรับสั่งให้มัดตากันไว้ในกระสอบแล้วถ่วงในทะเลเป็นเวลา ๑ วัน เมื่อครบก็ดึงตากันขึ้นมาปรากฏว่าตากันนั่งอยู่ในท่าสมาธิ หัวเราะร่า แถมยังไม่เปียกเลยสักนิด เสด็จในกรมจึงตั้งชื่อให้อ่าวแห่งนั้นว่า "อ่าวตากัน" หรือ "อ่าวดงตาล" ในปัจจุบัน

ภายหลังเมื่อเสด็จต้องการสำรวจพื้นที่ สร้างกองทัพ ตากันได้มีส่วนร่วมรับใช้พระองค์ และย้ายมาอยู่บริเวณหลังตลาดสัตหีบ นี่คือที่มาของความผูกพันระหว่างเสด็จเตี่ย หลวงพ่ออี๋ และตากัน จอมอาคม





ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.palungjit.com/

583
 


ภูลังกาเป็นเทือกเขาห้าลูก เกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้กับบึงโขงโหลงและภูวัว ท้องที่จังหวัดหนองคาย เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านแพง แต่ในปัจจุบันเป็นพื้นที่ของอำเภอบึงโขงโหลง ใกล้กับอำเภอเซกา ภูลังกาเป็นตำนานอันลือเลื่อง เกี่ยวพันกับศาสนาและคติความเชื่อปรัมปรา

ภูลังกามีความลี้ลับอาถรรพ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องพูดยากอธิบายยากเพราะเป็นเรื่องของนามธรรม ที่ทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์ไม่ได้ แต่ทั้งๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีการศึกษาสูงๆ เป็นครู เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และระดับศาสตราจารย์ด็อกเตอร์จากต่างประเทศจำนวนไม่น้อยก็ยอมรับว่า เรื่องความลึกลับนามธรรมเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ทางจิต ที่ต้องรับฟังไว้เพื่อศึกษาพิจารณาค้นคว้าต่อไป จะปฏิเสธเสียเลยทีเดียวไม่ได้

ภูลังกา เป็นตำนานเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ นโมพุทธายะ และเป็นเมืองหลวงของชาวบังบดลับแลอันมีเมืองพญานาครวมอยู่ด้วย และยังเป็นสนามรบกับกองทัพกิเลส ที่กองทัพธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ส่งศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระธุดงค์กรรมฐานทุกรุ่นทุกสมัยมารบราฆ่าฟันกับกิเลสตัณหาที่ภูลังกาไม่เคยเลิกราจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

พระกรรมฐานที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของมหาชนที่เคยไปบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูลังกามาแล้วคือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ครูบาวัง ฐิติสาโร พระอาจารย์สมชาย เขาสุกิม พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง พระอาจารย์โง่น โสรโย ฯลฯ

ตามตำนานพระเจ้าห้าพระองค์นั้นกล่าวว่า กาเผือกได้ตกไข่ 5 ฟองที่ภูลังกา วันหนึ่งเกิดลมพายุใหญ่หอบเอาไข่ปลิวไปตามลม ไข่นั้นได้ตกกระจัดกระจายไปในสถานที่หลายแห่ง ต่อมาไข่นั้นได้ฟักออกมาเป็นพระเจ้ากกุสันโธ พระเจ้าโกนาคโม พระเจ้ากัสสโป พระเจ้าโคตโม และองค์ต่อไปได้แก่ พระศรีอาริยเมตรัยโย ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตอีกประมาณ 750 ล้านปี เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในภัทรกัปนี้ ( ตัวเลข 750 ล้านปี เป็นเพียงสันนิษฐานของปราชญ์ผู้รู้ อย่าได้ยึดเอาเป็นหลักฐานทางประวัติพุทธศาสนา )

และยังมีความพิสดารแถมท้ายอีกว่า กาทั้งหลายไม่กล้าบินผ่านไปจะต้องถูกอำนาจอาถรรพ์ลึกลับที่ภูลังกาเป็นพายุใหญ่พัดพากาตัวนั้นให้เซถลาปลิวว่อนไปทางป่าเซกา ( เขตอำเภอเซกาในปัจจุบัน )

ภูลังกาในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อนโน้น เป็นดงหนาป่าทึบกว้างใหญ่ไพศาล ชุกชุมไปด้วยเสือสิงห์กระทิงแรด และโขลงช้างเถื่อน แต่ในปัจจุบันนี้ป่าใหญ่หายไปหมดสิ้นกลายเป็นทุ่งโล่งรกร้างและไร่นา จะพอมีป่าเหลืออยู่รอบๆ ภูลังกาบ้างเล็กน้อยพอเป็นยากระษัยเท่านั้นเห็นแล้วเศร้าใจ

รอบๆ ภูลังกามีวัดป่าตั้งอยู่ประมาณ 10 วัด มีทั้งฝ่ายนิกายและมหาธรรมยุต พระสงฆ์องค์เณรรูปใดถ้าบกพร่องในศีลพระวินัยแล้วจะอยู่ไม่ได้นาน ต้องมีอันเป็นไปเพราะพระภูมิหรือเจ้าที่เจ้าทางแรงมาก

หลวงปู่ตอง ถ้ำชัยมงคลภูลังกา เล่าให้ฟังว่า มีพระธุดงค์ทรงเครื่องคณะหนึ่งมาจากทางขอนแก่นขึ้นไปแสวงวิเวกอยู่บนภูลังกาใกล้กับถ้ำชัยมงคล เป็นพวกไม่รู้ประสีประสามีวิทยุทรานซิสเตอร์ไปด้วย เปิดเพลงเปิดเทปกันดังลั่นสนุกสนาน ครองจีวรก็ไม่มีสังฆาฏิเพราะไม่ได้เอาสังฆาฏิมาด้วย หลวงปู่ตองเห็นแล้วได้แต่นึกในใจว่า
“ พระผีบ้าพวกนี้ ไม่ได้ฉันข้าวเช้าแน่ๆ พรุ่งนี้ “

และแล้วก็เป็นจริง เสียงเพลงหมอลำซิ่งจากเทปทรานซิสเตอร์ดังลั่นสนั่นหวั่นไหวอยู่พักหนึ่งก็เงียบไป เปลี่ยนเป็นเสียงทะเลาะวิวาทกันเสียแล้ว ไม่รู้ทะเลาะกันเรื่องอะไร แล้วก็พากันหอบข้าวของเครื่องบริขารวิ่งลงจากภูลังกาไปคนละทิศละทาง วิ่งกันกระเจิดกระเจิงอย่างคนเสียสติเข้าป่าเข้าดงหลงทางอยู่ในป่าไม่ได้ฉันข้าวในวันต่อมา เป็นไปตามที่หลวงปู่ตองว่าไว้จริงๆ เพราะหลวงปู่ตองรู้ว่าเจ้าป่าเจ้าเขาที่ภูลังกาต้องเล่นงานพวกพระกำมะลอเหยียบย่ำพระธรรมวินัยคณะนี้แน่ๆ เนื่องจากท่านมีประสบการณ์ นี่คือความเฮี้ยน ความอาถรรพ์ของภูลังกา

" ถ้าอยากจะรู้เรื่องพญานาค เรื่องเมืองลับแล เรื่องเหล็กไหล...ต้องไปหาหลวงปู่ตอง " :::::>>
ผู้เขียนรู้จักกับหลวงปู่ตองได้ก็เพราะ ท่านเจ้าคุณพระราชเมธาการ เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี วัดโพธิสมภรณ์
( ธรรมยุต ) ได้บอกว่า " ถ้าอยากจะรู้เรื่องพญานาค เรื่องเมืองลับแล เรื่องเหล็กไหล...ต้องไปหาหลวงปู่ตอง
เวลานี้ภูลังกาถ้ำชัยมงคล มีหลวงปู่ตองเฝ้าถ้ำอยู่กับเณรน้อยชื่อเณรเคน หลวงปู่ตองอายุ 66 แล้ว ยังแข็งแรงมีวิชาตัวเบาหรือลูกเบา ท่านแบกปูนหนักถุงละ 25 กิโลกรัม ขึ้นไปสร้างพระเจดีย์บนยอดภูลังกาวันละหลายเที่ยวสบายมาก อยากจะรู้เรื่องลึกลับผีสางเทวดาปีศาจยักษ์มาร หรือเรื่องยาสมุนไพรต้องถามหลวงปู่ตอง ถ้าเป็นพระกรรมฐานปฏิบัติธรรมมีศีลเสมอกันท่านถึงจะเล่าให้ฟัง เป็นฆราวาสญาติโยมชาวบ้านท่านจะปิดปากเงียบ ไม่ยอมพูดเรื่องนี้ ขืนพูดไปก็เป็นความผิดเข้าข่ายอวดอุตริมนุสธรรมถูกปรับเป็นอาบัติ “

นอกจากจะบอกล่าวแล้ว ท่านเจ้าคุณราชเมธากรได้มีเมตตาพาผุ้เขียนไปกราบไหว้หลวงปู่ตองที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาอีกด้วย ก่อนที่จะได้ฟังหลวงปู่ตองเล่าเรื่องเมืองลับแลนั้น มาฟังประวัติอัตโนย่อๆ ของท่านก่อน...
สถานะเดิมของท่านชื่อ ตอง ศรีสาพันธ์ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 พศ. 2475 ที่บ้านน้ำเที่ยง ตำบลบ้านส้ง ( ซ่ง ) อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เรียนหนังสือจบ ป. 4 บิดาและมารดาชื่อนายจอม และนางเภา ศรีสาพันธ์ บิดามารดาได้อพยพครอบครัวหนีความกันดารแห้งแล้งมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านโนนสวนปอ อยู่ใกล้บึงโขงโหลง เขตจังหวัดหนองคาย
นายตอง ศรีสาพันธ์ ได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พศ. 2522 อายุได้ 47 ปี บวชเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว บวชที่วัดธรรมทูนุสรณ์ อำเภอบึงโหลง จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์อุ้ม หรือพระครูจันทเขตพิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอเซกา เป็นพระอุปัชฌาย์ อำเภอเซกานี้อยู่ใกล้กับบึงโขงดหลง เหตุที่บวชเป็นพระเมื่อแก่เริ่มผมหงอกแล้ว หลวงปู่ตองเล่าว่า

ความจริงท่านได้เลื่อมใสในพระศาสนามาตั้งแต่เป็นเด็กไปวิ่งเล่นในวัดแล้ว ครั้นเติบใหญ่ก็ไม่มีวาสนาได้บวชเพราะฐานะยากจน ต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาหาเลี้ยงชีพแบบปากกัดตีนถีบอยู่ชั่วนาตาปี ต้องผจญกับโลกธรรมต่างๆ มีทั้งสุขและทุกข์

ที่ว่าสุขนั้นก็เป็นความสุขอย่างแกนๆ แห้งๆ ไปอย่างนั้นเอง ความจริงแล้วมันมีความทุกข์เป็นตัวยืนโรง ดุจแผ่นดินเป็นที่ยืนเหยียบของคนเรา ถึงแม้จะหนีขึ้นไปอยู่บนต้นไม้หรือขึ้นไปอยู่บนบ้านมีความสุข ก็ต้องมีเหตุให้ลงมาเหยียบพื้นดิน ทำมาหากินอยู่บนดินอยู่นั่นเอง แม้กระทั่งตายลงก็ต้องเอาศพฝังดินหรือเผาที่กองฟอนบนดิน ชีวิตคนเราทุกคนเกิดมาเป็นเรื่องสมมติทั้งนั้น ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย

           สมมติว่าเป็นตัวเราของเรา พากันหลงในสมมติแข่งกันทำมาหากินไม่รู้จักพอ แก่งแย่งเบียดเบียนกัน ข่มเหงรังแกกัน เข่นฆ่ากันด้วยอำนาจ โลภโมโทสัน สนุกสนานมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขอันไม่จีรังยั่งยืน ไม่เที่ยงแท้แน่นอน และแล้วในที่สุดก็ล้วนต้องเน่าเข้าโลง ตายไปเอาอะไรไปด้วยไม่ได้สักอย่าง ร่างกายอันเป็นที่รักยิ่งของตัวเองก็เอาไปด้วยไม่ได้ ตายไปแล้วร่างกายของเราก็ต้องเน่ากลายเป็นอาหารของฝูงหนอนชอนไชกัดกิน น่าขยะแขยงน่าหวาดเสียวยิ่งนัก ใครคนไหนคิดว่าตัวเองรูปสวยรูปงามนั้น แต่พอตายลงไปนอนขึ้นอืดอยู่ในโลงก็ต้องเน่าเปื่อยเละเทะเป็นปลาร้าปลาเจ่ายังไงยังงั้น

ชีวิตคนเราเกิดมาล้วนหลงผิด ดังที่ทางพระศาสนาได้กล่าวไว้ว่า การร้องเพลงดูไปแล้วเหมือนร้องไห้ การฟ้อนรำเต้นรำดุจเป็นอาการของคนบ้า เสียงหัวเราะเฮฮาอ้าปากเห็นเหงือกเห็นฟันเหมือนอาการของทารกเด็กอมมือในเบาะ

หลวงปู่ตองบวชในฝ่ายมหานิกายเป็นพระอยู่ในบ้านในเมืองไม่ค่อยจะถือเคร่งในธรรมวินัยเท่าไรนัก เป็นที่รู้กันไม่ว่ากันเพราะเป็นพระฝ่ายศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรม ไม่ใช่พระป่าปฏิบัติกรรมฐานถือเคร่งในธุดงค์ 13 ข้อ
หลวงปู่ตองบวชมาได้ 3 พรรษา ก็รู้สึกเบื่อหน่ายวัด เพราะพระเณรในวัดไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พลอยทำให้ท่านประพฤติผิดในพระธรรมวินัยไปด้วย พระเณรในวัดมั่วสุมกันสนุกสนานมากกว่าที่จะปฏิบัติศาสนกิจ

ท่านระลึกนึกถึงพระธุดงค์ที่ไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ในป่า แสวงหาความสงัดเงียบบำเพ็ญเพียรจนได้พบกับความสุขในทางธรรมะ จึงอยากจะทำอย่างนั้นบ้าง เพื่อหาทางหลีกหนีพระเณรในวัดที่ย่อหย่อนธรรมวินัย ท่านได้เดินธุดงค์ไปที่ภูลังกาอยู่ห่างจากวัดไม่ไกลเท่าไรนัก โดยขึ้นทางด้านบ้านดงบัง อยู่ห่างจากถ้ำชัยมงคลออกไปไกลพอสมควร

บนภูลังกามีถ้ำมีเงื้อมผาให้เลือกเอาเป็นที่พักบำเพ็ญภาวนา มีลานหินกว้างเหมาะที่จะเดินจงกรม ดินฟ้าอากาศรื่นรมย์ กระแสลมพัดเย็นสบาย กลิ่นดอกไม้ป่าโชยชื่น บรรยากาศสัปปายะวิเวกเหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมมาก เมื่อขึ้นมาอยู่บนภูลังกาแล้ว หลวงปู่ตองก็ปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติธุดงค์ 13 เหมือนพระป่าธุดงค์ทุกประการ นั่นคือ “ กินน้อย...นอนน้อย “

กินน้อย คืออดอาหารฉันแต่น้ำลูบท้อง เป็นการทดสอบกำลังใจตัวเองว่าจะมีความทรหดอดทนขนาดไหน จะสร้างขันติบารมีได้ไหม กลัวเป็นลมตายเพราะอดข้าวไหม ?

นอนน้อย คือจะนอนพักผ่อนเอาเฉพาะตอนกลางคืน ไม่นอนมากนอนเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในการเดินจงกรม สร้างวิริยะความเพียรและนั่งสมาธิสงบกายสงบจิตให้จิตได้พักผ่อนเสพเสวยปิติสุขในวิหารธรรม อันปราศจากนิวรณ์ 5

เมื่อนั่งสมาธิเสพสุขก็มักจะยึดติดเกิดเกียจคร้าน จึงต้องลุกขึ้นเดินจงกรม สร้างวิริยะความเพียรขับไล่ความเกียจคร้าน สรุปแล้วก็คือมีการเดินจงกรมและนั่งสมาธิสลับกันไปทั้งวันและเกือบทั้งคืน

ผลของการทดลองอดอาหารปรากฏว่า สามารถอดได้หลายวัน ในวันแรกจะหิวมาก พอเข้าวันที่สองร่างกายจะปรับตัวเองได้ไม่หิว ฉันแต่น้ำตัวเบาสบายไม่ง่วงเหงาหาวนอนเลย เกิดความขยันหมั่นเพียรอย่างแปลกประหลาด ไม่อยากหลับนอนอยากจะเจริญภาวนาลูกเดียว ทั้งนี้ทั้งนั้นเกิดจากอำนาจสมาธิมันมีปิติแรงมากเป็นปิติในธรรม

และในช่วงนี้แหละที่ทำให้หลวงปู่ตองได้ประสบเข้ากับ “ มิติเร้นลับ “ กายและจิตของท่านที่เป็น “ กายวิเวก จิตวิเวก “ ได้เชื่อมโยงเข้าหา “ โลกวิญญาณ “ หรือโลกอันเป็นทิพย์ คือโลกของภูตผีปีศาจ ยักษ์ มาร นาค ครุฑ คนธรรพ์ หรือบังบดลับแล และเทพเจ้าเหล่าพรหมทั้งหลาย ภาษาของปรจิตวิทยาเขาเรียกว่า กระแสจิตที่เป็นสมาธิอันมั่นคงแน่วแน่ ได้กลายเป็นคลื่นจิตในระดับคลื่นเดียวกันกับกระแสจิตของโลกวิญญาณ สามารถรับและส่ง สื่อความหมายทั้งเสียงและภาพติดต่อกันได้ ( คงจะเหมือนการรับส่งโทรทัศน์ละกระมัง )

มาฟังหลวงปู่ตองเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ ท่านเล่าว่า...

" ตอนนั้นในราว 1 ทุ่ม มืดสนิทอากาศกำลังเย็นสบายๆ อาตมากำลังเดินจงกรมอยู่ที่พลายหินบนภูลังกา เสียงแมลงกลางคืนจักจั่นและแม่ม่ายลองไน ส่งเสียงร้องก้องกังวานไปทั่วทั้งขุนเขา อาตมาแหงนดูท้องฟ้ามืดมีดวงดาวเกลื่อนกลาดมากมายเต็มท้องฟ้าไปหมด ดาวหลายดวงอยู่ใกล้ๆ ดูราวจะเอื้อมถึง เป็นคืนที่น่าดูมาก เบิกบานใจอย่างบอกไม่ถูก

ทันใดนั้น...เสียงจักจั่นและแม่ม่ายลองไนหยุดส่งเสียงกระทันหัน เกิดความเงียบสงบอย่างแปลกประหลาด

ความมืดได้ทวีมากยิ่งขึ้น เดินไม่เห็นทางเดินจงกรม เอ๊ะ! ทำไมมันมืดอย่างนี้ แหงนมองฟ้าก็ยังเห็นดวงดาวดารดาษส่องแสงระยิบระยับ ไม่มีเมฆฝนปิดบังไว้แต่อย่างใด

ขณะที่อาตมากำลังยืนงงๆ อยู่นั้น ก็ได้เห็นแม่ชีนุ่งห่มสีขาวเดินเข้ามาหา มี 5 คน นั่งคุกเข่าลงกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อาตมารู้สึกแปลกใจที่มีแม่ชีบนภูลังกาในยามค่ำคืน ใจคอไม่ดีเลยเพราะไม่มีพระเณรหรือลูกศิษย์อยู่ด้วย กลัวจะเป็นบาปอาบัติถูกตำหนิติเตียน ตอนนั้นลืมคิดไปถนัดว่าในความมืดเหมือนอยู่ในถ้ำอย่างนั้น ทำไมสามารถมองเห็นแม่ชีทั้ง 5 คน ได้ถนัดชัดเจนเหมือนในยามกลางวัน ขณะที่อาตมายืนตัวแข็งทำอะไรไม่ถูกอยู่นั้น แม่ชีผู้เป็นหัวหน้าได้พูดขึ้นว่า...

" หลวงพ่อขึ้นมาปฏิบัติภาวนาบนนี้จะต้องมีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ถ้าหลวงพ่อย่อหย่อนในพระวินัยจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ มีพระสงฆ์องค์เณรขึ้นมาอยู่บนนี้หลายรูปแล้วแต่อยู่ไม่ได้ "

ตอนนี้อาตมาตั้งสติได้แล้วขนลุกซู่ขึ้นมาเฉยๆ ความรู้สึกบอกว่า ผีแน่ๆ เป็นผีแม่ชี แต่ก็ไม่กลัวเพียงแต่ขนลุกเท่านั้น เพียงแค่นึกรู้สึกขึ้นมาเท่านั้น หัวหน้าแม่ชีก็พูดชี้แจงในทันทีว่า

" พวกเราไม่ใช่ผี หลวงพ่ออย่าเข้าใจผิด พวกเราเป็นพรหม สมัยเป็นมนุษย์เป็นแม่ชีสำเร็จฌาน พรหมไม่มีเพศหญิง พวกเราเพียงแต่แสดงร่างที่เคยเป็นแม่ชีให้ดูเท่านั้น ภูลังกาเป็นแดนบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ หลวงพ่อมาอยู่ที่นี่จะต้องฉันมังสวิรัติ ขออย่าได้ฉันเนื้อสัตว์ "

อาตมาพูดอะไรไม่ออก ได้แต่ยืนนิ่งฟังจะว่าถูกสะกดจิตก็ไม่เชิง นึกอยากจะถามแต่ไม่รู้จะถามอะไร ในที่สุดแม่ชีลึกลับทั้ง 5 คนนั้นก็ลาจากไป

การมาและการไปสวยงามมาก ย่อตัวลงคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ตัวลอยอยู่เหนือพื้นตอนเข้ามาหา แต่ตอนจะกลับถอยหลังออกไป 3 ก้าว แล้วจึงนั่งคุกเข่าลงกราบลา ตอนลุกขึ้นยืนคล้ายๆ ลอยตัวขึ้นสง่างามมาก ไม่เหมือนมนุษย์ลุกขึ้น

เมื่อแม่ชีทั้งห้าไปแล้ว บรรยากาศอันเงียบงันอาถรรพ์ก็หายไป กลับเป็นปกติเหมือนเดิม จักจั่นเรไรเริ่มส่งเสียง กระแสลมที่หยุดนิ่งก็พัดมาโชยชื่น กลิ่นหอมดอกไม้ป่าพาให้รื่นรมย์ใจ ความมืดมิดคลายไป สามารถมองเห็นทางเดินจงกรมได้เหมือนเดิม

หลวงปู่ตองเป็นคนเชื่ออะไรยาก ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบโต้เถียงเรื่องผีสางเทวดาว่าไม่มีจริง เพราะไม่เคยเห็น ผีมีที่ไหน คนโบราณแต่งเรื่องผีๆ สางๆ หลอกให้คนกลัว เพื่อที่จะได้ปกครองกันง่ายเท่านั้นแหละ

แต่แล้วในที่สุด หลวงปู่ตองก็มาเจอผีแม่ชีเข้าให้ที่ภูลังกา เป็นการเจอผีตอนเป็นพระกรรมฐานเสียด้วย เหมือนถูกล้างสมองครั้งใหญ่ให้หายโง่ ไม่เชื่อไม่ได้แล้ว เพราะได้เห็นอย่างจะแจ้งกับตา ได้ยินกับหู แถมยังถูกผีแม่ชียื่นคำขาดให้ฉันมังสวิรัติ ถ้าฉันเนื้อสัตว์ต่อไปจะอยู่ภูลังกาไม่ได้ "

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลวงปู่ตองต้องเลิกฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิดตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้นับได้ 17 ปีเข้าให้แล้ว การฉันอาหารมังสวิรัติทำให้จิตสงบเร็วขึ้น การพิจารณาธรรมตามหลักไตรลักษณ์ก็ปลอดโปร่ง เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าแต่ก่อน การทดลองอดอาหารทรมานตัณหาความอยากก็สามารถอดอาหารได้ถึง 1 เดือนเต็มๆ ท่านเล่าถึงตอนนี้ว่า...

วันนั้นทั้งวันนั่งเข้าสมาธิเงียบเชียบไม่ลุกขึ้นเลย จิตมันนิ่งมันติดใจในรสสมาธิ หมูป่าฝูงใหญ่มาหากินใกล้ๆ แล้วมันก็ทะเลาะกันกัดกันอุตลุด อาตมาก็เห็นแต่ประสาทหูไม่ยอมรับเสียง ไม่ได้ยินเสียง รู้เห็นว่ามันกัดกันเท่านั้น แล้วจิตก็วิ่งเข้าไปอยู่ในภวังค์จ่อไป ประสาทหูมันดับไม่ยอมรับเสียง แปลกจริงๆ ดูคล้ายกับว่าจิตไม่ใช่อาตมา จิตเป็นตัวหนึ่งต่างหาก และตัวอาตมาก็เป็นตัวหนึ่งต่างหาก จิตกับตัวเรามันแยกจากกัน เพราะสมาธิมันมากเหลือเกิน

อาตมานั่งเข้าสมาธิอยู่ทั้งวันเหมือนฤาษีเข้าฌาน จะลุกขึ้นในตอนใกล้ค่ำ ฉันน้ำแล้วก็เดินจงกรม การอดอาหารทำได้แต่น้ำต้องฉัน จะขาดไม่ได้ อันนี้เป็นกฏตายตัวสำหรับพระธุดงค์ในป่าที่อดอาหารหลายๆ วัน แต่อย่าให้ขาดน้ำเป็นอันขาดเพราะน้ำช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตเอาไว้

อาตมาบำเพ็ญความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ที่ภูลังกาหลายเดือน ได้รู้ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ลึกลับหลายอย่างด้วยอำนาจศีล อำนาจสมาธิที่อาตมาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถูกต้องพระธรรมวินัย

หลวงปู่ตองกลับไปจำพรรษาที่วัดเดิม วัดตานเทพมงคลใกล้บึงโขงโหลง ได้ดำริขบคิดจะญัตติเป็นพระธรรมยุต เพื่อจะได้เข้าสู่สายพระกรรมฐานเป็นพระป่าอย่างแท้จริง ครั้นปรึกษากับญาติโยมชาวบ้านก็ไม่มีใครเห็นด้วยเลย ชาวบ้านอยากจะให้อยู่พัฒนาวัดเดิมให้เจริญรุ่งเรือง ถ้าหลวงปู่ตองไปเสียแล้วพระเณรก็จะสึกกันหมดวัดก็จะร้าง

ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่ตองต้องจำใจอยู่วัดนี้ต่อมาถึง 5 ปีเป็นหลักใจให้ชาวบ้าน หนักไปทางพิธีกรรมที่พระสงฆ์องค์เจ้าจะต้องทำ เช่น งานบุญต่างๆ งานบวช งานศพ ฯลฯ ตลอดถึงซ่อมแซมปฏิสังขรณ์กุฏิ ศาลาโบสถ์ วิหาร พัฒนาวัดวาอารามเป็นงานหลัก

เมื่อเห็นว่าได้ทำความเจริญให้วัดนี้มั่นคงดีแล้ว ท่านจึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตเข้าสู่สายปฏิบัติกรรมฐานในปี พศ. 2530 แต่ยังจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมเพราะญาติโยมยังไม่ยอมให้ท่านไปธุดงค์

อยู่มาคืนวันหนึ่งยังไม่ดึกนัก...ขณะที่หลวงปู่ตองนั่งเข้าสมาธิอยู่ที่กุฏิวัดตานทพมงคลริมบึงโขงโหลง อากาศคืนนั้นค่อนข้างเย็นจนท่านรู้สึกหนาว มีลมพัดแรงมาจากบึงโขงโหลงจนต้นไม้ใหญ่น้อยเอนลู่ซู่ซ่าเหมือนพายุฝนจะมา ท่านได้เห็นนิมิตในสมาธิเป็นแสงสว่างสีขาวพุ่งปราดข้ามบึงโขงโหลงมาตกลงที่กุฏิที่ท่านนั่งอยู่

           นิมิตภาพแสงสว่างนั้นได้แปรเปลี่ยนไปเป็นร่างชายคนหนึ่งผมเกรียนคล้ายทิดสึกใหม่ นุ่งขาวห่มขาวกิริยาท่าทางเรียบร้อยสำรวม ลักษณธอุบาสกผู้มีบุญได้เดินเข้ามายกมือไหว้และแนะนำตัวเองว่า

" เราคืออาจารย์วัง อยู่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกาเวลานี้ เราไปเกิดเป็นพรหมอยู่บนพรหมโลก เราอยากจะให้ท่านไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา "

กล่าวแล้วก็เดินหายไป หลวงปู่ตองได้พิจารณาแล้วเห็นว่า นิมิตนี้เป็นเพียงจิตสังขารปรุงแต่งธรรมดาดุจดังคนเรานอนหลับแล้วฝันไป ไม่ควรยึดถือเป็นเรื่องจริงจัง

ครั้นต่อมาอีกหลายวัน ก็เกิดนิมิตภาพนี้อีกขณะนั่งสมาธิจิตสงบวิญญาณ อาจารย์วังซึ่งเป็นพรหมมาชวนให้ไปอยู่ถ้ำชัยมงคลเป็นครั้งที่สอง แต่หลวงปู่ตองก้ไม่สนใจเพราะถือว่านิมิตต่างๆ เป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนานิมิต เป็นเพียงภาพล่อ ภาพหลอก ภาพลวง

ต่อมาอีกประมาณ 15 วัน ก็เกิดนิมิตในสมาธิอีก เป็นภาพอาจารย์วังนุ่งขาวห่มขาวมาหาเป็นครั้งที่ 3 พอมาถึงก็ถามว่า

" ท่านปั้นพระพุทธรูปได้ไหม ? " หลวงปู่ตองตอบในสมาธิว่า " เคยปั้นมาแล้วแต่ไม่เก่ง " นิมิตภาพอาจารย์วังกล่าวต่อไปว่า " เราจะให้ท่านขึ้นไปอยู่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา ไปปั้นพระพุทธรูปหลายองค์ มีเจดีย์ธาตุอยู่บนยอดภูลังกาใส่อัฐิธาตุของเรา แต่เวลานี้เจดีย์ธาตุนั้นได้ถูกคนร้ายใจบาปทุบทิ้งป่นปี้ ค้นหาสิ่งของเงินทอง เราต้องการให้ท่านไปช่วยสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ด้วย "

นิมิตภาพของอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็หายไปอีก คราวนี้หลวงปู่ตองชักเอะใจสงสัย เพราะนิมิตอาจารย์วังมาหาอย่างมีความมุ่งหมายขึงขังจริงจัง เป็นการออกคำสั่งให้ทำเลยทีเดียวบ่งบอกถึงอำนาจบังคับบัญญชาดูน่ากลัว หากขัดขืนเห็นจะเกิดเรื่องเป็นแน่

หลวงปู่ตองจึงได้ออกสืบถามชาวบ้านว่า อาจารย์วังภูลังกามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ก็ได้ความว่า พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เป็นพระธรรมกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเลื่องลืออยู่ถ้ำชัยมงคลบนยอดภูลังกาในสมัยปี พศ. 2480 - 2496...

ท่านเป็นศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และต่อมาได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถระ จึงได้เป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์ดังๆในสมัยนั้น เช่นพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์สีโห เขมโก พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ เป็นต้น ชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า " ครูบาวัง "

ศิษย์สำคัญๆ ของครูบาวัง หรือพระอาจารย์วังมีหลายรูป อาทิ พระอาจารย์วัน อุตตโม แห่งภูเหล็ก สกลนคร พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี หลวงปู่โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พระครูอดุลธรรมภาณ เจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม ( ธรรมยุต ) นครพนม เป็นต้น

พระครูอดุลธรรมภาณเป็นพระเพียงรูปเดียวที่รอดตาย เมื่อคราวเรือล่มในบึงโขงโหลงมีพระกรรมฐานภูลังกาจมน้ำถึงแก่มรณภาพ 3 รูป คือพระอาจารย์ปุ่น พระอาจารย์ทอง และพระอาจารย์ทองดี เรือล่มคราวนั้นเป็นเรื่องโด่งดังมาก ในปี พศ. 2499 ใกล้กึ่งพุทธกาลชาวบ้านเล่าลือกันว่า พญาอือลือผีเงือก ( พญานาค ) บึงโขงโหลง เป็นผู้เอาชีวิตพระกรรมฐานภูลังกา

พระอาจารย์วังเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางกสิณอภิญญา เป็นพระธุดงค์กรรมฐานมีฤทธิ์มาก พระอาจารย์พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวันครั้งนั้นยังไม่มรณภาพเคยเล่าให้ศรัทธาญาติโยมคณะ " ธรรมทานทัวร์ " ฟังเมื่อหลายปีมาแล้วว่า

คราวหนึ่งพระเณรและเถรชีที่ขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่บนภูลังกา ได้รับความลำบากกันมากเพราะขัดสนอาหารบิณฑบาตร และยังเจ็บไข้ได้ป่วยอาพาธด้วยโรคภัยไข้ป่าบ้าง แพ้อากาศบ้าง พระอาจารย์วังได้พาลงจากภูลังกามาส่งให้พ้นป่าใหญ่ ปรากฏว่ามีฝูงเสือโคร่งหลายตัวได้ติดตามมาด้วย ทำให้พระเณรเถรและชี ( พ่อขาวแม่ขาว ) หวาดกลัวกันมาก พระอาจารย์วังได้บอกให้พระภิกษุสามเณรตาเถรและแม่ชี พากันรีบเดินไปก่อนส่วนองค์ท่านนั่งลงขวางทางเสือไว้ ฝูงเสือเห็นท่านนั่งก็พากันนั่งลงบ้าง

พระอาจารย์วังทำอย่างนี้อยู่หลายครั้ง ถ่วงเวลาไว้เพื่อให้คณะพระเณรเถรชีเดินทางพ้นป่าใหญ่ระยะทางสิบกว่ากิโลเมตรไปถึงหมู่บ้านที่ปลอดภัย ต่อจากนั้นพระอาจารย์วังจึงได้เดินทางกลับภูลังกาโดยมีฝูงเสือติดตามต้อยๆ ไป เหมือนสุนัขที่จงรักภักดีต่อเจ้าของ

พระอาจารย์พุธ ฐานิโย สรุปว่าทำไมฝูงเสือถึงได้จงรักภักดีพระอาจารย์วัง

คำตอบก็คือ พระธุดงค์กรรมฐานอย่างพระอาจารย์วังนั้นมีอำนาจจิตแรงกล้า และโดยเฉพาะมีเมตตามาก จะเข้าสมาธิระดับลึกมากอยู่ทุกวันคืน แล้วแผ่เมตตาไปทั่วทุกสารทิศ อันมีทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทั่วทุกโลกธาตุภพภูมิอันไม่มีขอบเขตเรียกว่า " แผ่เมตตาเจโตวิมุตติ "

การแผ่เมตตาเจโตวิมุตตินั้นคือ ต้องเข้าสมาธิให้ได้ระดับจตุตถญาณ เพื่อให้บรรลุภาวะดวงจิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว เรียกว่า เจโตวิมุตติ ประเภทยังไม่หลุดพ้นอย่างเด็ดขาดเป็นแต่เพียงหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยอำนาจพลังจิตโดยเฉพาะด้วยกำลังฌาน 4 คือกิเลสทั้งหมดได้ถูกอำนาจอัปปนาสมาธิกดข่มไว้ หรือทับไว้ดุจก้อนหินใหญ่มหึมาทับหญ้าเอาไว้ฉะนั้น ตลอดเวลาที่อยู่ในฌาน 4 นั้นเรียกว่า " วิขัมภนะวิมุตติ "

การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติมีอานุภาพมาก เป็นกระแสคลื่นจิตตานุภาพอันชุ่มชื่นเยือกเย็น ภูตผีปีศาจยักษ์มาร เทวดา พรหม คนธรรพ์ นาคและมนุษย์ตลอดถึงสิงสาราสัตว์ดุร้ายทั้งหลาย เมื่อได้กระทบสัมผัสกระแสเมตตาเจโตวิมุตติแล้วจะบังเกิดความรู้สึกชุ่มชื่น เย็นกายเย็นใจ อิ่มเอิบเบิกบาน ปีติปราโมทย์ดุจดังได้เสวยความสุขอันเป็นทิพย์สุดวิเศษ จะมีไมตรีจิตมิตรภาพ รักใคร่เคารพนับถือผู้ทรงศีลที่แผ่เมตตาเจโตวิมุตตินั้น ไม่กล้าคิดทำร้ายแต่ประการใดเลย

พระอาจารย์วังได้มรณภาพไปนานแล้ว ตั้งแต่ปี พศ. 2496 เมื่อนับถึงปี พศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่ตองได้นิมิตพระอาจารย์วังนั้น ก็เป็นเวลายาวนานถึง 38 ปี ทำให้หลวงปู่ตองข้องใจว่า นับตั้งแต่พระอาจารย์วังมรณภาพไป เหตุใดถึงไม่แสวงหาผู้มีวาสนาบารมีให้มาบูรณปฏิสังขรณ์ถ้ำชัยมงคล-ภูลังกา ทำไมปล่อยให้เวลาผ่านมาถึง 38 ปี จึงมาบอกให้ท่านไปบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งๆ ที่ท่านก็เป็นเพียงพระบ้านนอกธรรมดา ไม่มีบุญบารมีอะไรเลย แต่ด้วยความยำเกรงพระอาจารย์วังที่เป็นวิญญาณมาสั่งให้ไปอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา หลวงปู่ตองจึงจำใจเดินทางขึ้นไปภูลังกา ทำการสำรวจถ้ำชัยมงคลก็ได้เห็นสภาพความเป็นจริงว่า เจดีย์ธาตุบนยอดเขาภูลังกาที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์วังนั้น ได้ถูกพวกคนร้ายใจบาปทุบทำลายพังทลายลงมา เหลืออยู่เพียงฐานเจดีย์เท่านั้น อัฐิธาตุของพระอาจารย์วังตกอยู่กระจัดกระจายในบริเวณนั้น ทำให้หลวงปู่ตองเกิดความรู้สึกสลดสังเวชยิ่งนัก...

"ครั้นเมื่อไปดูที่ถ้ำชัยมงคลก็พบกับสภาพถ้ำที่เสื่อมโทรมเต็มไปด้วยหยากไย่ใยแมงมุม พระพุทธรูปหลายองค์ที่พระอาจารย์วังปั้นไว้ ได้ถูกคนใจร้ายใจบาปจับกลิ้งไว้กับพื้นก็มี ที่ถูกขุดเจาะทำลายก็มี คนใจร้ายคงค้นหาเหล้กไหลในองค์พระพุทธรูป ยิ่งทำให้หลวงปู่ตองเศร้าสลดใจ

โอหนอ...คนเราทำไมมันถึงได้ใจร้ายต่ำทรามถึงเพียงนี้ กล้าทำลายปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนาไม่เกรงกลัวบาปกรรม นรกมหาอเวจี หลวงปู่ตองได้บอกตัวเองว่า " ถ้ำชัยมงคลก็ดี ภูลังกาก็ดีเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ จิตสัมผัสทำให้เราขนพองสยองเกล้าอยู่เป็นระยะ ที่นี่เป็นอาศรมสถานปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์มาตั้งแต่อดีต ไม่สมควรจะปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเศร้าหมอง เราจะต้องบูรณปฏิสังขรณ์ที่นี่ให้สำเร็จจงได้ "

วันนั้นหลวงปู่ตองจึงพักค้างคืนในถ้ำชัยมงคล พอเข้าที่นั่งทำสมาธิภาวนาได้ไม่นาน วิญญาณพระอาจารย์วังก็มาหาอีก ลืมตาก็เห็นหลับตาก็เห็น นุ่งขาวห่มขาวเหมือนเดิม วิญญาณพระอาจารย์วังพูดว่า อัฐิธาตุของเราที่ตกอยู่กระจัดกระจายนั้น เมื่อท่านได้เก็บรวบรวมไว้แล้วก็ให้เอาบรรจุใส่ไว้ในเจดีย์อย่างเดิม ถ้าท่านสงสัยอะไรให้ไปถามพระครูอดุลธรรมภาณ ที่วัดศรีวิชัย บ้านศรีวิชัย อำเภอศรีสงคราม พระครูอดุลฯ สมัยเป็นสามเณรเคยอยู่กับเราที่ถ้ำชัยมงคลนี้

นิมิตภาพพระอาจารย์วังบอกกล่าวแล้วก็เดินออกจากถ้ำหายไป

หลวงปู่ตองได้เดินทางไปหาพระครูอดุลธรรมภาณในวันต่อมา เล่าเรื่องทั้งหมดที่ตนประสบให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ พระครูอดุลธรรมภาณได้ยินแล้วก็พิศวงงงงันไม่อยากจะเชื่อ ตนเองเป็นศิษย์ก้นกุฏิมาตั้งแต่เป็นสามเณรน้อยจนกระทั่งเป็นพระ อายุพรรษาแก่เท่าถึงวันนี้ยังไม่เคยเห็นวิญญาณพระอาจารย์วังมาหาเลย จึงถามว่า " ท่านตองจำรูปร่างหน้าตาพระอาจารย์วังที่เห็นในสมาธิได้แน่รี ? "

หลวงปู่ตองตอบว่า " ผมจำได้ติดตา "

พระครูอดุลธรรมภาณลุกขึ้น เดินเข้าไปในห้องหยิบเอารูปถ่ายพระอาจารย์วังมาส่งให้หลวงปู่ตองดู ถามว่า " เหมือนรูปนี้ไหม ? "

หลวงปู่ตองได้เห็นรูปถ่ายของพระอาจารย์วังแล้วก็ตะลึง ขนพองสยองเกล้าถึงกับรีบวางรูปถ่ายลง แล้วกราบรูปถ่ายด้วยความเคารพเลื่อมใส เพราะวิญญษณพระอาจารย์วังที่มาหานั้นเป็นคนๆ เดียวกันกับรูปถ่ายนี้ จึงได้กราบเรียนให้พระครูอดุลธรรมภาณทราบตามนั้น พระครูอดุลธรรมภาณได้ฟังแล้วก็อัศจรรย์ใจขนลุกไปทั้งตัว เหลียวซ้ายแลขวาเข้าใจไปว่าวิญญาณพระอาจารย์วังจะต้องติดตามหลวงปู่ตองมา ท่านพระครูอดุลฯ ได้ร้องว่า " ผมขนลุกไปหมดแล้ว ท่านพระอาจารย์วังอาจจะมาอยู่ในห้องนี้แล้วก็ได้ "

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองทำให้หลวงปู่ตองเกิดความเลื่อมใสพระอาจารย์วัง มีความเชื่ออย่างปราศจากข้อสงสัยว่า วิญญาณพระอาจารย์วังมีจริง เป็นเทพเจ้าชั้นสูงอยู่พรหมโลกมาวนเวียนอยู่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา ด้วยความห่วงใย ดังนั้นหลวงปู่ตองจึงตัดสินใจมาอยู่ถ้ำชัยมงคลด้วยความเต็มใจเคารพเลื่อมใสในองค์อาจารย์วังอย่างสุดจิตสุดใจทีเดียว

ขอหยุดเรื่องหลวงปู่ตองไว้ชั่วคราวก่อน จะขอเล่าถึงเรื่องราวพิสดารของพระอาจารย์วัง เมื่อเล่าจบแล้วจึงจะได้เล่าเรื่องหลวงปู่ตองเป็นตอนสรุปส่งท้าย...

พระอาจารย์โง่น หรือหลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองฤทธิ์เชี่ยวชาญในกฤตยาคม สามารถพูดได้หลายภาษา เป็นต้นว่า ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย สเปน ลาตินอเมริกา จีน ญวณ เขมรและพม่า

เคยมีผู้กล่าวว่าหลวงปู่โง่นเก่งหลายภาษาเพราะสำเร็จ
" อรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ " นั้น หลวงปู่โง่นตกใจมากรีบปฏิเสธเป็นการใหญ่

" อย่าหาเรื่องให้ฉันตกนรก ! ฉันไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ! อย่าได้พูดเป็นอันขาดว่าฉันเป็นพระอรหันต์ ฉันเป็นเพียงพระธรรมดา เป็นหลวงตาแก่ๆ องค์หนึ่ง เหตุที่สามารถพูดได้หลายภาษาก็เพราะศึกษาค้นคว้าหัดพูดหัดเขียนภาษาต่างๆ ด้วยความอยากรู้เท่านั้น "

หลวงปู่โง่นสมัยเป็นฆราวาสหนุ่มนั้น เคยสอนศาสนาคริสต์อยู่ที่เกาะลังกาหรือประเทศศรีลังกา เกิดเบื่อขึ้นมาเลยมาอยู่กับพระอาจารย์วัง ฐิติสาโร ที่วัดป่าบ้านศรีเวินชัย ริมฝั่งแม่น้ำศรีสงคราม ต. สามผง อ. ศรีสงคราม จ. นครพนม ประมาณปี พศ. 2485 ปรารภอยากบวช พระอาจารย์วังจึงจับตัวให้นุ่งขาวห่มขาวเป็น " พ่อขาว " ปรือชีปะขาวถือศีล 8 ทดลองดูใจก่อนว่าจะเป็นนักบวชได้ไหม

หน้าที่ของพ่อขาวในวัดป่าก็คือ รับใช้พระสงฆ์องค์เณรทุกอย่าง หัดหมอบ หัดคลาน หัดกราบไหว้ ล้างถาน ( ส้วม ) ล้างกระโถน ล้างเท้าพระและเช็ดเท้าพระทุกรูปที่กลับจากบิณฑบาต ฯลฯ เป็นงานหนักมาก ต้องทำใจพร้อมที่จะถูกครูบาอาจารย์ดุด่า และประการสำคัญจะต้องท่องบทสวดมนต์ 7 ตำนานให้ได้หมดอีกด้วย ถึงจะยอมให้บวชได้

หนุ่มโง่นอดีตนักเทศน์นักสอนศาสนาคริสต์สามารถผ่านด่านทดสอบได้สบายมาก เพราะปัญญาไวสมองเปรื่องปราดมาแต่เกิดแล้ว พระอาจารย์วังจึงพาไปบวชเป็นพระภิกษุที่จังหวัดนครพนม โดยมีหลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อบวชเป็นพระแล้ว พระอาจารย์วังก็พาออกธุดงค์ไปจำพรรษาที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกา เป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิด มีสามเณรคำพันธ์ อายุ 14 ปีอยู่ด้วย ( ต่อมาเป็นพระครูอดุลธรรมภาณ ) ร่วมกับสามเณรอีก 3 - 4 รูป และอุบาสกหรือพ่อขาวถือศีลจำนวนหนึ่งจำไม่ได้ว่ากี่คน ดังนั้นพระอาจารย์โง่นและพระครูอดุลธรรมภาณ ( อดีตสามเณรคำพันธ์ ) จึงเป็นผู้รู้เรื่องพระอาจารย์วังได้ดีที่สุด รู้เรื่องเมืองลับแล เรื่องพญานาคที่ภูลังกาได้ดีที่สุดอีกด้วย

ต่อไปนี้เป็นเรื่องที่พระอาจารย์โง่น หรือหลวงปู่โง่นเล่าให้ฟัง ท่านได้เล่าว่า...

พระอาจารย์วังเป็นชาวจังหวัดยโสธร บวชเป็นพระที่จังหวัดนครพนม หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วไปอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ปฏิบัติธรรมภาวนา " พุทโธๆ ๆ " ตามแนวทางของหลวงปู่เสาร์ เอาสมถกรรมฐานก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อให้จิตมีอำนาจแก่กล้าเพราะท่องเที่ยวธุดงค์กันอยู่แต่ในป่า สมัยนั้นชุกชุมไปด้วยเสือสางคางลายดุร้ายเหลือหลาย ถ้าพระธุดงค์กรรมฐานรูปไหนไม่ได้สมาธิไม่ได้ฌาน เสือคาบเอาไปกินแน่ๆ เมื่อชำนาญในฌานสมาบัติแล้วจึงค่อยใช้สมาธิฌานนี้เป็นบาทฐานเจริญวิปัสนาญาณ เอามรรคผลนิพพานเป็นขั้นสุดท้าย

           เรียกวิธีการปฏิบัติธรรมแบบนี้ว่า " สมถยานิก " การปฏิบัติกรรมฐานแนวทางนี้ เป็นที่นิยมชมชอบกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เพราะพระอาจารย์มั่นเป็นศิษย์เอกของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

พระอาจารย์วัง หรือครูบาวัง เชี่ยวชาญในกสิณสมาบัติสำเร็จวิชชาอภิจิตอิทธาภิสังขาร คือ " ฉฬภิญโญ " หรืออภิญญาฤทธิ์ เมื่อมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลบนภูลังกา ท่านชอบอดอาหารครั้งละหลายๆ วัน ออกไปนั่งทำสมาธิวิปัสนาที่ชะง่อนผาบนยอดภูลังกาท้าทายมฤตยู พระเณรเถรชีศิษยานุศิษย์เห็นแล้วก็สยองใจหวาดเสียว พาลจะเป็นลมกลัวท่านจะตกเขาตาย

หน้าผาแห่งนั้นสูงชันลึกลิ่ว มีกระแสลมบนพัดแรงน่ากลัว การนั่งอยู่ที่นั่นถ้าเผลอสติง่วงนอนสัปหงกวูบเดียวก็จะหัวทิ่มดิ่งพสุธาตกลงไปร่างแหลกเหลวตาย แต่พระอาจารย์วังสามารถนั่งอยู่ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทั้งวันทั้งคืนด้วยความปลอดภัยน่าอัศจรรย์ บ่งบอกถึงจิตใจอันกล้าหาญแข็งแกร่งปานเพชรผิดมนุษย์มนา ไม่รู้สึกหวาดกลัวต่อความตายเลยแม้แต่น้อย จิตใจชนิดนี้แหละเรียกว่า " อภิจิต " มีจิตตาภินิหาร สามารถแสดงฤทธิ์ได้ทุกรูปแบบเป็นที่น่าอัศจรรย์

พระป่าบำเพ็ญธุดงค์กรรมฐาน ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้นล้วนเก่งกล้าทางสมาธิ ได้ " ฌาน " กันเป็นส่วนมาก แต่ที่ได้ฌานสมาบัติแล้วได้ตาทิพย์หรือทิพย์จักษุญาณ และอิทธิฤทธิ์ด้วยนั้นมีจำนวนน้อย ดังที่ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโ วัดป่าบ้านตาดได้กล่าวไว้ว่า

" จิตส่งออกรู้อะไรๆ ต่างๆ ด้วยอำนาจสมาธิ หรือทิพยจักษุนั้นจะมีร้อยละ 5 คนก็ทั้งยาก "

อันนี้เป็นการยืนยันว่า ถึงแม้บรรลุอัปปนาสมาธิได้ฌานสมาบัติแล้วก็ตาม มีจำนวนน้อยมากที่ได้อภิญญา 5 ส่วนผู้ที่ได้อภิญญา 5 นั้น จะต้องมี " ปุพเพจะกตะปุญญตา " หรือความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในชาติปางก่อนมาส่งเสริมสนับสนุน จึงจะได้อภิญญาญาณ และที่ได้นั้นก็มีน้อยมากที่จะได้อภิญญา 5 ครบทั้งห้าประการ ส่วนมากจะได้กันเพียงบางประการเท่านั้น

พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร เป็นผู้มีวาสนาบารมีฌานลาภีบุคคล สำเร็จกสิณทั้งอิทธิวิธี ( อิทธิฤทธิ์ ) และทิพยจักษุญาณเป็นที่แน่ชัด เพราะท่านติดต่อพูดจาปราศรัยกับพวกเทวดา พวกพรหม และภูตผีปีศาจ นาค คนธรรพ์ หรือลับแลได้สบายมาก แสดงถึงการรู้เห็นด้วยตาใน ( ทิพยจักษุญาณ ) ที่ท่านสามารถนั่งอยู่ที่ชะง่อนผาบนยอดเขาสูงได้ตลอดวันตลอดคืน 24 ชั่วโมงรวดโดยไม่เผลอสติง่วงโงกพลัดตกลงไปถึงแก่มรณภาพนั้น บ่งบอกถึงการใช้ฤทธิ์อภิญญา ( อิทธิวิธี ) รวมถึงที่ท่านสามารถบังคับฝูงเสือโคร่งได้ ท่านใช้ฤทธิ์ทางเมตตาเจโตวิมุติ


ส่วนอภิญญาข้ออื่นๆ อีก 3 ประการนั้น ไม่ทราบว่าท่านจะได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่กล้าเดาหรือสัณนิษฐานเพราะกลัวจะเป็นบาปโทษ

หลวงปู่โง่น โสรโย ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

ตอนที่พระอาจารย์วังมาอยู่ที่ถ้ำชัยมงคลภูลังกาใหม่ๆ นั้น ท่านก็ประสบเข้ากับความลึกลับของวิญญาณอย่างแปลกประหลาด เหตุเกิดในตอนหัวค่ำคืนวันหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์วังนั่งเจริญภาวนาอยู่นั้น มีแสงสว่างสาดเข้ามาในถ้ำเป็นแสงเย็นๆ เหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญเข้าใจว่าเป็นแสงสว่าง หรือ " โอภาส " ตามปกติธรรมดาเวลาทำสมาธิมักจะเกิดขึ้นเสมอ

แสงนั้นสว่างไสวแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกรำคาญ จึงได้ลืมตาขึ้นก็ได้เห็นคนนุ่งขาวห่มขาว 3 - 4 คน เดินเข้ามาหาเนิบๆ ดูลอยๆ พิกล แต่ละคนไม่แก่ไม่หนุ่ม รูปร่างหน้าตาเหมือนชาวบ้านทั่วไปแต่ผ่องใสมีสง่าราศีชวนให้สะดุดใจ พวกเขานั่งลงกราบอย่างสวยงามเบญจางคประดิษฐ์ คนที่เป็นหัวหน้าได้เอ่ยขึ้นว่า " ได้เห็นพระอาจารย์วังขึ้นมาอยู่ที่ภูลังกาตั้งแต่วันแรกแล้ว เพิ่งมีโอกาสมาเยี่ยมเยือนนมัสการในวันนี้ "

ทีแรกพระอาจารย์วังเข้าใจว่า พ่อขาวทั้ง 4 คนเป็นนักปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำใดถ้ำหนึ่ง ในเทือกเขาภูลังกาอันกว้างใหญ่ พากันดั้นด้นมาเพื่อจะสนทนาธรรมด้วย แต่ก็คิดผิดไปถนัดเมื่อพ่อขาวผู้นั้นได้เล่าต่อไปว่า...พวกเขาไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นโอปปาติกะหรือวิญญษณมาจากสวรรค์แดนพรหมโลก มาบำเพ็ญบารมีแสวงบุญที่ภูลังกา เพราะเป็นสถานที่สงัดวิเวกและศักดิ์สิทธิ์มานานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

พวกเทวดาและพรหมชอบพากันมาเยือนโลก เพราะได้เห็นสถานภาพที่แท้จริงของโลกมนุษย์มีสภาวะ ความทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ทำให้เกิดสลดสังเวชรู้แจ้งในธรรมได้ง่ายกว่าอยู่บนสวรรค์ เพราะบนสวรรค์มีแต่ความสุขสารพัดอันเป็นทิพย์มอมเมาให้หลงเพลิดเพลิน จึงยากที่จะปฏิบัติธรรมให้เห็นแจ้งในความทุกข์

พระอาจารย์วังได้ฟังแล้วก็พิศวงงงงัน เกิดความสงสัยว่าตัวเองฝันไปหรือเปล่า ? ชายทั้งสี่ได้กล่าวอย่างรู้วาระจิตว่าพระอาจารย์วังไม่ได้ฝันไปแต่อย่างใด พวกเขาเป็นพรหมมาพบจริงๆ โดยการแสดงกายหยาบให้เห็นเป็นกรณีพิเศษ เพราะมีวาสนาบารมีเคยผูกพันกันมากับพระอาจารย์วังในอดีตกาลจึงสามารถแสดงกายหยาบให้เห็นได้ตามกฏแห่งกรรมไม่ผิดหลัก " โอปปาติกธรรม " แต่ประการใด

พระอาจารย์วังได้ถามว่า พวกวิญญาณหรือที่เรียกกันตามภาษาบาลีว่า โอปปาติกะนั้นมีกายเป็นทิพย์ที่มนุษย์ไม่สามารถจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เวลาจะแสดงกายหยาบให้มนุษย์เห็นจะต้องใช้เวทมนตร์คาถาไหม ?

พรหมทั้งสี่ได้กล่าวว่า พวกโอปปาติกะหรือวิญญาณชั้นสูง เป็นต้นว่า เทวดา พรหม ที่มีบุญฤทธิ์หรือเคยสำเร็จอัปปนาสมาธิมาก่อนในสมัยเกิดเป็นมนุษย์สามารถแสดงกายหยาบได้ ทำที่โล่งแจ้งว่างเปล่าให้เป็นป่าไม้ภูเขาได้ ล่องหนหายตัวได้ แปลงกายเป็นอะไรก็ได้ เมื่อทำไปแล้วก็จะสูญเสียพลังทิพย์ ต้องมีการ " เข้ากรรม " คือรักษาศีลเจริญเทวธรรมและพรหมธรรม เพื่อเรียกเอาพลังอำนาจทิพย์นั้นกลับมาให้เหมือนเดิม

ที่พิเศษพิสดารได้แก่พวกปีศาจต่างๆ ได้แก่ ผีหรือเปรต เช่น มหิทธิเปรตและเปรตอีกหลายจำพวกที่มีฤทธิ์เป็นผีปีศาจดุร้าย แสดงกายหลอกหลอนได้ต่างๆ นาๆ สามารถทำร้ายมนุษย์และสัตวืได้นั้นมีฤทธิ์เดชได้ด้วยผลกรรมเรียกว่า " กรรมวิปากชาฤทธิ์ "

พวกโอปปาติกะหรือวิญญาณต่างๆ ที่มีบุญน้อยและเทวดาบางจำพวกที่มีบุญฤทธิ์น้อย ( แต่มีเทวธรรมดีงาม ) จะแสดงกายหยาบไม่ได้เลย แต่สามารถทำกลิ่นได้ เป็นต้นว่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นธูปเทียน กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหารคาวหวาน และทำให้เกิดเสียงต่างๆ ได้ เช่น เสียงขว้างปาหลังคาบ้าน เสียงพูด เสียงร้องไห้คร่ำครวญ หรือหัวเราะ เสียงลมพายุเป็นต้น แต่แสดงกายหยาบเป็นตัวตนไม่ได้ พวกผีหรือวิญญาณโอปปาติกะจำพวกนี้มีจำนวนมากที่สุดในโลกวิญญาณ

พรหมทั้งสี่ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ภูลังกามี 5 ลูก เป็นเทือกเขาบริเวณกว้างขวางหนาแน่นด้วยต้นไม่ใหญ่น้อย เป็นสวนสมุนไพรนานาชนิด มีโอสถสารวิเศษหายาก มากไปด้วยคูหาเถื่อนถ้ำลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับพิสดาร

ทางโลกวิญญาณได้แบ่งภูลังกาเป็นเขตเป็นภูมิต่างๆ เป็นต้นว่า เขตหรือภูมิของพรหมสำหรับพวกพรหมลงมาบำเพ็ญธรรมในโลก เขตหรือภูมิของพวกพญานาค เขตหรือภูมิของพวกปิศาจอสุรกาย เขตหรือภูมิของพวกลับแล ( บังบดหรือคนธรรพ์ ) ซึ่งเป็นผีจำพวกหนึ่งที่มีกายหยาบใกล้เคียงกับมนุษย์เรียกว่า " อมนุษย์ " ผีลับแลมีคุณธรรมสูงถือศีล 5 เคร่งครัด จะเป็นเทวดาก็ไม่ใช่จะเป็นผีก็ไม่เชิง จะเป็นมนุษย์ก็ก้ำๆ กึ่งๆ ครึ่งๆ กลางๆ เพราะมีบุญฤทธิ์พิเศษล่องหนหายตัวได้ และสร้างภพภูมิของพวกตนเป็นบ้านเป็นเมืองอยู่อาศัยได้ แต่เมื่อถึงคาวพวกลับแลสิ้นกรรม ( หมดอายุขัย ) บ้านเมืองของพวกเขาก็จะหายวับเป็นอากาศธาตุไปทันที ภูตผีปีศาจทั้งหลายมีความยำเกรงพวกลับแลมากไม่กล้าตอแยข่มเหงเบียดเบียน

พระอาจารย์วังพอใจในคำตอบของพวกพรหม จึงได้ถามว่า ที่มาในคืนนี้มีกิจธุระอันใด ?

พรหมทั้งสี่ได้ตอบว่า ถ้ำชัยมงคลที่พระอาจารย์วังมาอยู่นี้ อยู่ในเขตของพวกพรหมที่ลงมาปฏิบัติธรรมอยู่สมอ จึงอยากให้พระอาจารย์วังเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อย่าล่วงเกินธรรมวินัยเป็นอันขาด เพราะจะได้รับอันตรายจากพวกพญานาค พวกลับแลหรือบังบด และพวกยักษ์ที่รักษาป่าม้ภูเขาเถื่อนถ้ำ ห้ามฉันเนื้อสัตว์ทุกชนิด ให้ฉันได้ก็แต่อาหารพรหมหรืออาหารมังสวิรัติ ( อาหารเจ ) เพราะย่านถ้ำชัยมงคลบนภูลังกาเป็นภูมิหรือเขตบริสุทธิ์ของพวกพรหม

พระอาจารย์วังเห็นว่าคำขอร้องนี้เป็นเรื่องที่ดีงาม ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร การไม่ฉันพวกปลาพวกเนื้อของคาวๆ ก็ดีเหมือนกัน ให้พวกศิษย์ที่เป็นพ่อขาว ( อุบาสก ) และสามเณรไปหาหัวเผือกหัวมันในป่ามาขบฉันแบบฤาษีชีไพรก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่ทุกข์ร้อนอะไร ดังนั้นท่านจึงได้ตอบตกลงที่จะทำตามคำขอร้องของพวกพรหมด้วยความยินดีไม่ขัดข้อง

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา พวกพรหมอีกหลายองค์ได้ผลัดเปลี่ยนกันมาสนทนาธรรมกับพระอาจารย์วังอยู่เสมอ ท่านบอกพระสหธรรมมิกร่วมสมัย เช่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน ว่าเรื่องของพรหมบนภูลังกาเป็นเรื่องลี้ลับพิสดารมาก ไม่อยากจะเล่าให้ใครฟังเลยกลัวเขาไม่เชื่อ หลวงปู่โง่น โสรโย ได้เล่าต่อไปอีกว่า...

นอกจากจะสามารถติดต่อกับพวกพรหมจากสวรรค์พรหมโลก...พระอาจารย์วังยังติดต่อกับชาวลับแลหรือบังบด หรือคนธรรพ์ได้ ติดต่อกับพวกพญานาคได้ รวมถึงยักษ์หรืออสูรหรือรากษสได้เป็นปกติ เพราะที่ภูลังกาเป็นภูมิหรือที่อยู่ของวิญญษณหลายภูมิดังกล่าวมาแล้ว

เกี่ยวกับพวกพญานาค พระอาจารย์วังได้ตักเตือนพระเณรที่อยู่ด้วยบนภูลังกาในสมัยแรกๆ นั้น ได้แก่ พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์คำ ยัสสะกุลละปุตโต พระอาจารย์วัน อุตตโม สามเณรคำพันธ์ ( ปัจจุบันเป็น พระครูอดุลธรรมภาณ ) สมาเณรสุบรรณ สามเณรใส สามเณรอุทัย มีความว่า...

ภูลังกาเป็นแดนอาถรรพ์ เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับภพภูมิผีสางเทวดาสิ่งลี้ลับ มีทั้งฝ่ายดีคือ สัมมาทิฐิ และฝ่ายชั่วคือมิจฉาทิฐิ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วได้จับตาดูพระสงฆ์องค์เณรอยู่ตลอดเวลาว่า จะประพฤติผิดศีลวินัยข้อใดบ้าง เรียกว่าเขาคอยจ้องจับผิด ถ้าพบว่าพระสงฆ์องค์เณรรูปใด ทำผิดเป็นอาบัติเขาจะเล่นงานทันที เป็นต้นว่า ทำให้เจ็บไข้อาพาธ ทำให้ถึงพิการหรือตายก็ได้

ฉะนั้นขอให้พระเณรทุกรูปรักษาศีลทุกข้อให้เคร่งครัดตามสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมความนึกคิดให้อยู่แต่ทางบุญกุศล อย่านึกคิดชั่วๆ ลามกจกเปรตคึกคะนองเป็นอันขาด

หลังจากที่พระอาจารย์วังได้กล่าวตักเตือนแล้วได้ไม่กี่วัน ก็ปรากฏมีพวกงูจำนวนมากได้เลื้อยเพ่นพ่านอยู่ทั่วไป เป็นต้นว่า งูเห่า งูจงอาง งูสิงห์ดง งูเขียว งูเหลือม และงูสีสันแปลกๆ งูเหล่านี้เลื้อยเข้าๆ ออกๆ ถ้ำชัยมงคล ทำให้พระเณรหวาดกลัวกันมาก แต่งูก็ไม่ขบกัดใครผู้ใด

พระอาจารย์วังได้บอกพระเณรและพ่อขาวว่า ห้ามทำร้ายงู ห้ามดุด่า ให้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลให้งุทั้งหลายทุกโอกาสที่พบเห็นหรือเกิดการเผชิญหน้าอย่างคับขันอันตราย จิตที่เมตตาของเราจะทำให้งุมีความเป็นมิตรไม่ทำอันตราย เพราะงูมีประสาทสัมผัสพิเศษทางใจรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ได้

ในจำนวนงูทั้งหลายที่ปรากฏ มีงูประหลาดตัวหนึ่งชอบเลื้อยเข้าไปหาพระอาจารย์วังในถ้ำ บางครั้งในเวลากลางวัน บางครั้งในเวลากลางคืน เป็นงูใหญ่ขนาดต้นเทียนพรรษาหรือใหญ่โตขนาดต้นหมากทีเดียว ลักษณะแตกต่างจากงูทั่วไป ที่ลำคอพังพานสีแดง จะแผ่พังพานส่ายโงนเงนแล้วผงกคำนับ 3 ครั้ง ......

"ครูบาวัง ฐิติสาโร" หรือ "พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร" แห่งวัดถ้ำชัยมงคล ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย เป็นพระป่านักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สลับสี เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2455 ที่ บ้านหนองคู ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2475 ที่พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมี หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้ไปปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ต่อมาได้กลายเป็นลูกศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ครั้งหนึ่ง "หลวงปู่โง่น โสรโย" ในฐานะลูกศิษย์ของครูบาวัง ได้เล่าให้ฟังว่า "...การเจริญภาวนาของครูบาวังนั้นเป็นการปฏิบัติขั้นอุกฤษฏ์ จริงๆ เป็นที่เล่าลือกันทั่วไปในหมู่พวกสหธรรมิกด้วยกัน ครูบาวังชอบไปนั่งบำเพ็ญเพียรที่ชะง่อนผาอันสูงลิบลิ่วบนยอดภูลังกา ชะง่อนผานั้นกว้างประมาณ 2 ศอก กำลังเหมาะเจาะพอดี เวลานั่งลงไป ถ้าเอียงซ้ายหรือเอียงขวานิดเดียวเป็นต้องร่วงลงไปในเหวลึก หรือถ้าสัปหงกไปข้างหน้าก็หัวทิ่มลงเหวอีกเหมือนกัน"

"การปฏิบัติธรรมขั้นอุกฤษฏ์ของครูบาวังนี้ เป็นการเอาชีวิตตัวเองเป็นเดิมพันกับความตาย ครูบาวังจะนั่งอยู่บนชะง่อนผามรณะนั้นนานนับชั่วโมง บางครั้งนั่งอยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นการเจริญมหาสติปัฏฐานแบบเจโตวิมุตติ โดยใช้อำนาจของอัปปนาฌานเป็นบาทฐาน เป็นการปฏิบัติแบบสมถกรรมฐานเจือปนวิปัสสนากรรมฐาน เจริญกายคตาสติพิจารณาอาการ 32 นั่นเอง..."

ครูบาวัง มีลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุอยู่ 3 รูป คือ

1.ท่านเจ้าคุณสังวรวิสุทธิเถระ (หลวงปู่วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

2.พระอาจารย์โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

3.พระจันโทปมาจารย์วัดศรีวิชัย ต.สามพง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ทั้งสามรูปล้วนแต่มรณภาพไปแล้ว

ครูบาวัง ละสังขารมรณภาพลง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2496 สิริรวมอายุได้ 41 ปี

ตัวอย่างธรรมคำสอนอันหนึ่งของท่าน คือ "ให้พิจารณาใคร่ครวญ ด้วยปัญญา ให้เห็นแจ้ง ตามความเป็นจริงแล้วอย่ายึดติด ในสมมติที่เราเป็น"

                                                            -------------------------------------------------
ขอขอบคุณที่มาจาก...จากหนังสือ " พญานาค...เมืองลับแล " โดยคุณนรเศรษฐ์
และขอขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก อ. กิตตินันท์ เจนาคม http://www.kittinun.com
จากหนังสือชื่อ ชำแหละกฎแห่งกรรม เขียนโดย ร.ต.เจ้าประเวศ ณ เชียงใหม่

584
ขอแสดงความยินดี...กับท่านเอ็มด้วยครับ :053: :053: :053:ขอขอบคุณลุงต้อผู้ใจดีด้วยครับ :054:

585
ขออภัยครับ...พี่น้องศิษย์วัดบางพระทุกท่าน ...ที่ผมได้เอ่ยนามอาจารย์ญาเป็นคนสัก เพื่อนผมจำผิดครับ พอเพื่อนผมมานั่งดูรูปถ่ายอาจารย์ที่สักในเว็ปแล้ว...บอกว่าเป็นอาจารย์แป๊วครับ   ต้องขอขอบคุณ...ท่านTeerawat เป็นอย่างสูงครับ ตาถึงจริงๆ :054:                             

586
พวกผู้หญิงเผ่ากาลิงคะนุ่งผ้าโจงกระเบน เห็นรูปก้นเป็นปั้นทีเดียว ผู้คนเหล่านี้อุตส่าห์พากันมาแต่ไกล เพื่อจาริกแสวงบุญ ขณะที่หลวงพ่อกัสสปนั่งขัดสมาธิ อยู่บนม้าหินหน้ากุฏิดูชมอยู่นี้ พวกประชาชน
กลุ่มใหญ่ก็เปิดประตูรั้วเข้ามา ตรงเข้ามากราบหลวงพ่อกัสสป กราบแบบหน้าผากจรดพื้น พวกผู้ชายเอามือแตะแขนหลวงพ่อ แล้วเอาไปแตะที่หน้าผากของตนเช่นเดียวกัน เสร็จแล้วก็ทรุดตัวลงกราบอีก
หลวงพ่อกัสสป ได้ให้พรเป็นภาษาฮินดีอย่างกระท่อนกระแท่นว่า “ตุม ซับบะ ประสันระฮีเย ปีน้ากีชีคดุ๊เค่” แปลความว่า ขอพวกเธอทุกคนจงอยู่เป็นสุข และปราศจากภัย บางคนก็ยิ้มอย่างชื่นชม บางคนก็พนมมือกล่าวว่า “นมัสการ สวามีจี นมัสการ” แล้วพวกเขาก็พากันเดินออกไป บางคนพ้นประตูออกไปแล้วยังหันกลับมาไหว้อีก หลวงพ่อก้มมองดูปัจจัยที่พวกเขาบริจาคทาน แล้วรำพึงว่า “นี่แหละคือทานที่ได้โดยชอบในต่างถิ่นต่างแดน เป็นทานที่ปราศจากมลทิน เกิดจากศรัทธาอย่างแท้จริงของผู้บริจาค” ตอนเย็นวันนั้น หลวงพ่อได้นำเอาปัจจัยทั้งหมดเกือบสองรูปี ไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ของสำนักอาศรม ทำให้เลขานุการของสำนักอาศรมแปลกใจ ถามว่า “ทำไมท่านไม่เก็บเอาปัจจัยที่ศรัทธาบริจาxxxให้นี้ เก็บเอาไว้ใช้อย่างฤาษี หรือสาธุอื่นๆ ?” “อาตมาไม่ขัดสน อาหารจากโรงทานของอาศรมก็เป็นการเพียงพอแล้ว และ นี้เป็นส่วนของทานที่ได้มา จึงขอมอบให้สำนักไว้ แล้วแต่จะจัดการ” หลวงพ่อกล่าวชี้แจง ทำให้เลขานุการของสำนักอาศรม ยกมือพนมสาธุ ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างจริงใจ

หลวงพ่อได้รับบริจาคทานทำนองนี้ ตลอดเวลาที่บำเพ็ญธรรมอยู่เมืองฤาษีเกษ ได้เงินเป็นจำนวนหลายรูปี ไม่เคยเก็บไว้เลย ได้นำไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่ของอาศรมเสมอมา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ในสำนักอาศรมทุกคน ให้ความคารวะนับถือ คอยช่วยเหลือต่างๆ อยู่เสมอมา ต่อมาในเช้าวันหนึ่ง ขณะที่หลวงพ่อกัสสปกำลังล้างบาตร และภาชนะสองสามใบหลังจากฉันภัตตาหารแล้ว ฝูงชนยังคงเดินหลั่งไหลอยู่ทั่วเมืองฤาษีเกษ ขณะนั้นมีชายกลางคนผู้หนึ่งแต่งตัวเรียบร้อย เปิดประตูเดินตรงเข้ามาหาหลวงพ่อ แล้วเอ่ยขอน้ำสักหนึ่งขัน หลวงพ่อบอกว่าไม่มีขัน มีแต่ถ้วย ชายคนนั้นก็ว่าขอสักถ้วยเถอะ หลวงพ่อคิดว่าแกเดินทางมาเหนื่อยคงจะมาขอน้ำกิน จึงได้เดินไปตักน้ำมาส่งให้ แกรับน้ำแล้วก็รีบเดินหันหลังกลับออกไป เอาน้ำไปส่งให้กับผู้หญิงแก่คนหนึ่ง พอยายนั่นรับถ้วยน้ำได้ ก็รีบเดินหายเข้าไปในป่า หลวงพ่อนึกเอะใจร้องในใจว่า “ตายละวา เจ้าหมอนั่นเอาถ้วยน้ำอาตมา ไปให้ยายแก่นั่นล้างก้นแน่ๆ” สักครู่ยายแก่นั่นก็กลับออกมาจากป่าส่งถ้วยคืนให้เจ้าหมอนั่น แล้วหมอนั่นก็รีบเอาถ้วยมาส่งคืนให้หลวงพ่อ ซ้ำยังขอกินน้ำอีกสักถ้วย หลวงพ่อจึงเอาถ้วยใบนั้นแหละตักน้ำในถังส่งให้ แต่หมอไม่รับ กลับทำมือห่อจรดเข้าที่ปาก บอกให้เทน้ำลงในมือของแก หลวงพ่อก็ทำตาม ชายคนนั้นจึงเอามือรับน้ำหยอดใส่ปากตัวเองดื่ม แสดงว่าประเพณีของพวกเขา คงเป็นอย่างนั้นเอง เป็นอันว่าถ้วยน้ำใบนั้น หลวงพ่อเลยไม่กล้าใช้ จึงเอาไว้ตักน้ำล้างเท้าต่อไป
 

           ในราวบ่ายสามโมง มีสามีภรรยาครอบครัวหนึ่ง พร้อมทั้งพ่อตาแม่ยายและลูกชายอายุ ๑๒ ปี ชื่อราเชนทร์ ได้พากันเข้ามาหาหลวงพ่อกัสสปที่กุฏิ เสื้อผ้าการแต่งตัวแสดงถึงฐานะอันมั่นคง เมื่อได้เข้ามา และแสดงคารวะอย่างนอบน้อมแล้ว ก็บอกว่า เขาชื่อนายมหลตรา และภรรยา เด็กคนนี้เป็นบุตรชายคนโต และบุรุษและสตรีชราทั้งสอง เป็นพ่อตาแม่ยายของเขา สำหรับนางมหลตราใบหน้าสวยยิ้มเสมอ รูปร่างค่อนข้างอ้วน นั่งขัดสมาธิลงกับพื้นซีเมนต์ โดยไม่คำนึงถึงว่าเสื้อผ้าอันสะอาดงามของแกจะเปื้อน ส่วนเด็กชายราเชนทร์นั้น ยืนมือไขว้หลังดูหลวงพ่ออยู่อย่างสนใจ นายมหลตราถามว่า “ท่านมาจากไหน เป็นสาธุของลัทธิใด เพราะผมเห็นกิริยาอาการของท่าน แปลกกว่าพวกฤาษีและสาธุที่นี่” หลวงพ่อกัสสปได้ตอบให้แกทราบอย่างไม่ปิดบัง ทำให้นายมหลตราและภรรยาแปลกใจ และพอใจมาก สำหรับพ่อตาและแม่ยายขออนุญาตเข้าไปในกุฏิเพื่อดูชม ครั้นเมื่อได้เห็นกลดธุดงค์แขวนอยู่ และบาตรใหญ่ที่วางไว้บนหิ้งชั้นกลาง แกได้ไต่ถามว่า ของเหล่านี้ใช้สำหรับทำอะไร? ซึ่งหลวงพ่อก็ได้อธิบายให้เป็นที่เข้าใจทุกประการ ทำให้ทุกคนพอใจ และเลื่อมใสมาก ผู้เป็นพ่อตาได้ถามว่า “ทำอย่างไรจึงจะทำใจให้เป็นสมาธิได้ ?” “จงทำใจของท่านให้ดับจากความขุ่นเคือง ดับจากความครุ่นคิดถึงสิ่งใด รักษาอารมณ์ของใจให้สงบนิ่ง มีสติรู้สึกตัว ทำได้อย่างนี้เมื่อใด เมื่อนั้นใจท่านอยู่ในสมาธิแล้ว” “จริงสินะท่านภิกขุ จริงอย่างที่ท่านพูด ผมจะพยายามกระทำอย่างที่ท่านแนะนำ” ชายชราพูดเสียงแจ่มใส ส่วนหญิงชราได้แต่พนมมือ


นางมหลตราถามว่า “อย่างดิฉันและคุณผู้ชายนี่ จะทำได้ไหม?” “ได้ซิ แม้แต่พ่อหนูราเชนทร์ก็สามารถจะกระทำได้ ถ้าตั้งใจจริง” หลวงพ่อตอบพลางเอื้อมมือไปจับแขนเด็กน้อยดึงเข้ามาใกล้ ซึ่งแกก็ไม่ขัดขืน หน้าตาท่าทางแกน่ารัก นางมหลตรามองดูหลวงพ่อด้วยแววตาสดใส ส่วนนายมหลตรายืนยิ้ม นางมหลตราบอกว่า “ราเชนทร์นี่ดื้อจริงๆค่ะท่านกัสสป จะสั่งให้ทำอะไรก็มักจะโกรธขัดขืนอยู่เสมอ ท่านช่วยเตือนหน่อยซิคะ ว่าแกควรจะทำอย่างไร” “อันธรรมดานั้น ลูกย่อมผูกพันกับแม่และพ่อ ถ้าเป็นคำพูดคำเตือนของพ่อและแม่แล้ว ลูกก็ไม่ปรารถนาจะขัดขืน ฉะนั้นถ้าพ่อและแม่รู้จักอัธยาศัยของลูก รู้ธาตุแท้ของลูก ให้คำเตือนสั่งสอนว่ากล่าว ให้ถูกกับอัธยาศัย และธาตุแท้ของเขาแล้ว เขาจะไม่ดื้อดึงขัดขืนเลย มีแต่เพิ่มพูนความรักความผูกพัน ในพ่อแม่ยิ่งขึ้น จริงไหมราเชนทร์ ?” หลวงพ่อกล่าว พลางหันไปถามหนูน้อยอย่างปรานี ซึ่งราเชนทร์ได้มองดูหลวงพ่ออย่างยิ้มแย้มถูกใจ “ท่านจะกลับเมืองไทยเมื่อใด?”
นายมหลตราถาม หลวงพ่อได้ตอบให้ทราบ จะออกจากเมืองฤาษีเกษในวันที่ ๑๐ เมษายน จะไปพักที่สำนักชาวพุทธซีลอน ที่กรุงเดลลีก่อนสัก ๒-๓ วัน แล้วจึงจะไปกัลกัตตาขึ้นเครื่องบินกลับเมืองไทย ซึ่งนายมหลตราได้บอกว่า เขาจะไปรอพบหลวงพ่อที่นั่นอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นได้ถวายปัจจัยไว้เป็นเงิน ๑๐ รูปี ก่อนอำลาจากไป พวกนักพรต นักบวช ลัทธินิกายต่างๆ ในเมืองฤาษีเกษ ได้ถูกคหบดีชาวอินเดียผู้มั่งคั่งนิมนต์เลี้ยงอาหารอยู่เสมอ โดยแจกสลาก แต่เป็นการเลี้ยงในตอนเย็น หลวงพ่อกัสสปฉันอาหารตอนเช้ามื้อเดียว จึงได้มอบสลากนั้นให้กับเพื่อนฤาษีรูปอื่นไปแทน นั่นแสดงว่าผู้ที่มีใจศรัทธาในศาสนานั้น มีอยู่ทุกแห่งไม่ว่าประเทศใด พวกเขาหวังประกอบการกุศล เพื่อเป็นเสบียง และกำลังอุดหนุนค้ำชูตน ทั้งภพนี้และภพหน้า นับว่าชนเหล่านี้เป็นสาธุชน เป็นกัลยาณชนที่ควรคบหาสมาคมด้วย

           อนึ่ง การที่หลวงพ่อกัสสปมุนี ได้เข้ามาอยู่ในท่ามกลางกลุ่มฤาษี และโยคีใหญ่น้อยในเมืองฤาษีเกษอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ยิ่งนานวันเข้า หลวงพ่อได้ตกเป็นเป้าเพ่งเล็ง ด้วยสายตาที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก ประกอบกับอากาศหนาวเริ่มจางไป และอากาศอบอุ่นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรดาฤาษีผู้สูงอาวุโส ได้ทยอยกันกลับมาบำเพ็ญธรรมที่เมืองฤาษีเกษมากหน้าหลายตา บางครั้งหลวงพ่อกัสสปนั่งสมาธิอยู่เงียบๆ ก็มีฤาษีและโยคีบางรูปได้เข้ามาที่กุฏิถามด้วยเสียงอันดัง บางคนทำท่าจะก้าวเข้าไปในกุฏิอย่างล่วงเกินดูหมิ่น หลวงพ่อต้องร้องห้ามไว้จึงชะงักอยู่แค่ประตู มีฤาษีโยคีหลายรูปถามเป็นเชิงขู่ตะคอกว่า หลวงพ่อมาจากไหน? มีฐานะสำคัญอย่างไร ? จึงได้มาอยู่ในสถานที่แห่งนี้ หลวงพ่อก็ตอบไปว่า “อาตมาภาพมาจากเมืองไทย ดินแดนพระพุทธศาสนา เข้ามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร ให้ไปถามผู้จัดการอาศรมดูก็แล้วกัน พวกท่านเห็นอย่างไร ที่เราเข้ามาอยู่ที่นี่ ท่านรังเกียจเราหรือ ?” ก็ได้รับคำตอบพร้อมกับโคลงศีรษะว่า “ก็ไม่เห็นอย่างไร เราจะไปรังเกียจทำไม” ว่าแล้วก็ทำท่ายกไม้ยกมือขึ้นชู เปล่งเสียงว่าโองการ เกือบเป็นเสียงตะโกนว่า “โห โห โอม...นารายณ์...นารายณ์...โอม” แล้วเดินปึงปังออกไป แต่อีกหลายคนไม่ยิ้ม มีแต่มองถxxxทึงแสดงความไม่เป็นมิตร

เช้าวันหนึ่ง หลวงพ่อเดินจงกรมชักลูกประคำคอภาวนาอยู่ มีอุบาสกผู้หนึ่งแต่งตัวสะอาดโอ่โถงเข้ามาฟุบหมอบกราบอยู่ตรงหน้า หลวงพ่อจึงถามว่า “สุขีระฮีเย่ อุปาสะกะ ท่านมีกิจอะไรหรือ?” อุบาสกผู้นั้นลุกขึ้นพนมมือ ถามอาตมาภาพเป็นภาษาอังกฤษว่า “ขอประทานอภัย ท่านเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาใช่ไหมครับ?” “ใช่...อุบาสก” “ท่านมาแต่ไหนครับ ?” “มาจากเมืองไทย” หลวงพ่อตอบ อุบาสกผู้นั้นทรุดตัวลงกราบ ที่หลังเท้าหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง แล้วลุกขึ้นยืนพนมมือ “กระผมนึกไม่ผิด ว่าท่านต้องเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา กระผมได้ออกเดินทุกเช้า และยืนดูท่านที่ริมรั้วทุกวัน ท่านก็ไม่มองออกไป วันนี้จึงตัดสินใจเข้ามากราบเท้า กระผมชื่อซิบรามโสบั๊ด เป็นข้าราชการประจำประเทศพม่า ๑๐ กว่าปี จนพม่าได้รับเอกราช กระผมจึงถูกเรียกตัวกลับอินเดีย และเดี๋ยวนี้ได้ถูกปลดจากข้าราชการ รับเบี้ยบำนาญ เพราะอายุมากแล้ว” “ขอบใจท่านอุบาสก จงเรียกอาตมาภาพว่า กัสสปมุนี ท่านพักอยู่ที่ไหน ?” “กระผมมาแสวงวิเวกกับภรรยา พักอยู่ที่ปรมาทนิเกตันนี่เองครับ กระผมดีใจอย่างยิ่งที่ได้พบท่าน” นายซิบรามโสบั๊ดว่าแล้ว ก็กราบจนหน้าผากจรดพื้นสามครั้ง แล้วควักปัจจัยถวาย ๑๐ รูปี จากนั้นก็กล่าวคำอำลานมัสการจากไป พอตกตอนเย็นนายซิบรามโสบั๊ด ได้พาใครต่อใครมาอีก ๒-๓ คน เข้ามานมัสการหลวงพ่อกัสสปอีก ด้วยการก้มลงสองมือจับข้อเท้าหลวงพ่อไว้ แล้วใช้ปากจุ๊บที่หลังเท้า อันเป็นการแสดงความเคารพ ยิ่งไปกว่าเมื่อเช้า ส่วนบุคคลนอกนั้น มีสุภาพสตรีอายุอยู่ในวัยเดียวกันได้คุกเข่าลงกราบ

“กระผมได้กลับไปเล่าเรื่อง ที่ได้พบท่านกัสสปเมื่อเช้านี้ให้ภรรยาฟัง เธอทราบเรื่องแล้วก็อยากจะมาเห็นท่าน เพราะเราไม่ได้พบพระภิกษุมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ออกจากประเทศพม่ามา กระผมสองคนผัวเมียได้ปรึกษากัน ตกลงว่าจะขอปวารณาเป็นโยมอุปัฏฐากท่านกัสสปมุนี นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จึงได้ชวนเพื่อนอีกสองคนมาเป็นพยานด้วย” นายซิบรามโสบั๊ดกล่าว หลวงพ่อได้กล่าวอนุโมทนาในกุศลจิตของสองผัวเมียชาวอินเดีย แล้วการกล่าวคำปวารณาตัว เป็นโยมอุปัฏฐากตลอดชีวิตของสองผัวเมียก็ได้กระทำขึ้น ณ บัดนั้น นายซิบรามโสบั๊ดกล่าวว่า “นับตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ท่านไม่ต้องไปรับอาหารที่โรงครัวทานอีกแล้ว กระผมจะนำมาส่งให้ทุกเช้า โดยจะทำอาหารสับเปลี่ยนกัน คือเป็นอาหารจาปาตีวันหนึ่ง และเป็นอาหารข้าวสุกวันหนึ่ง” “โยมอย่าลำบากเลย เพราะอยู่ไกล อาหารทางโรงครัวทาน เป็นอาหารประจำ ก็พอแก่ความเป็นอยู่ของอาตมาภาพแล้ว” “อาหารโรงครัวทานไม่ค่อยเปลี่ยน ทำไม่ค่อยดีนัก ท่านกัสสปอย่าคิดอะไรเลย เป็นหน้าที่ของดิฉันและคุณผู้ชายเองจะจัดทำ ตอนเช้าเราเดินทุกเช้าเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ลำบากอะไร ผู้ภรรยากล่าว ซึ่งฝ่ายสามีก็รับรอง หลวงพ่อเลยต้องนิ่งโดยดุษณีภาพ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ความเป็นอยู่ของหลวงพ่อที่เมืองฤาษีเกษ ก็ดีขึ้นเหมือนกับอยู่เมืองไทย ไม่ต้องไปยืนเข้าคิว และถูกแซงคิวที่โรงครัวทาน

หลวงพ่อพูดถึงการแซงคิวให้ฟังว่า วันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อกำลังยืนเข้าคิว รอรับแจกอาหารทานอยู่นั้น ได้มีเจ้าโยคีคนหนึ่ง นุ่งเตี่ยวห่มขาวหนวดเครารุงรัง เนื้อตัวสกปรกมอมแมม ผมเป็นกระเซิงสะพายย่ามถือไม้เท้า เดินแซงพรวดเข้ามายืนบังหน้าหลวงพ่อไว้ แล้วหันหน้ามามองหลวงพ่อ ทำท่ายียวน แต่พอดีผู้จัดการสำนักอาศรมยืนดูอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบ ได้เอามือชี้หน้าโยคีตวาดว่า “ถอยออกไป ไม่รู้ระเบียบหรืออย่างไร ถอยไป” เจ้าโยคีไม่มีมารยาทนั่นทำหน้าล่อกแล่ก รีบถอยกรูดหนีไปอยู่ท้ายแถวโดยเร็ว ทำให้หลวงพ่อกัสสปต้องรำพึงว่า “นี่แหละฤาษีก็ฤาษี โยคีก็โยคีเถอะ ถ้ามันยังมีความอยากอยู่ตราบใด ก็แสดงออกซึ่งกิเลสในxxxตราบนั้น” ….


           “นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว หลวงพ่อก็จะเก็บอาสนะ แล้วขึ้นทางด้านหลังกุฏิ ลัดเลาะขึ้นไปตามทางบนภูเขา ไปประมาณ หนึ่งชั่วโมง แล้วหลบเข้าไปเจริญสมณธรรมอยู่ในหลืบเขา ปกคลุมด้วยดงมะม่วง และมะตูม มะขามป้อม เป็นที่เงียบวังเวงยิ่งนัก แต่งูชุกชุมมาก แต่มันก็ไม่ได้สนใจหลวงพ่อแต่อย่างใด บ่ายวันหนึ่ง โยม ซิบรามโสบั๊ด และภรรยา ได้นำดอกไม้ธูปเทียน ผ้าปูที่นอน ผ้าห่มแบรงเก็ต พร้อมทั้งผ้าเช็ดเท้า และไม้กวาดแข็งมาถวาย มีโยคี ฤาษี และอาชีวกหลายรูป ยืนชุมนุมกันจ้องมองดูอยู่นอกรั้ว พลางเอียงหน้าเข้าซุบซิบกัน ครั้นพอโยมซิบรามโสบั๊ด และภรรยากลับไปแล้ว พวกฤาษีโยคี และอาชีวกเหล่านั้น ได้พากันเข้ามายืนล้อมหลวงพ่อไว้ แล้วตะคอกถามว่า “คนทั้งสองนั่นเป็นอะไรกับสาธุ เขามาทำอะไรให้ ?” หลวงพ่อกัสสปมุนี มองหน้าพวกฤาษี และโยคี แต่ละคนด้วยอาการสงบ ไม่โกรธ ไม่รัก ไม่ชัง เพียงรู้สึกเฉยๆ ท่านได้ตอบไปเรียบๆว่า “ไม่ได้เป็นอะไรกะเรา เป็นแต่เพียงเขาคอยช่วยเหลือ ปฏิบัติเราด้วยความเคารพนับถือ พวกท่านเห็นแล้วจะถามทำไม ?” เมื่อได้ยินคำตอบเฉยเมยเช่นนี้ พวกฤาษีโยคีเหล่านั้นต่างก็มองหน้ากันเลิ่กลั่ก พอดีมีพวกประชาชนชาวอินเดียจากรัฐต่างๆ พากันแห่เข้ามาไหว้ หลวงพ่อกัสสปมุนี เพราะยังอยู่ในระหว่างวันพิธีศิวาราตรี

เลยทำให้พวกฤาษีโยคีเหล่านั้น ผละจากไปอย่างไม่พอใจ แต่ก็ไปรีๆรอๆ อยู่ที่ประตูรั้ว ยิ่งได้เห็นประชาชนอินเดียหลั่งไหลมาไหว้ หลวงพ่อกัสสปมุนี แล้วยังเอาสตางค์ถวายให้อีกด้วย พวกฤาษีโยคีเหล่านั้น ก็พากันชะเง้อมองเป็นการใหญ่ แล้วเที่ยวได้แบมือขอสตางค์จากประชาชนบ้าง ประชาชนบางคนก็ให้สตางค์แก่พวกฤาษีโยคีเหล่านั้นบ้าง ไม่ให้บ้าง แสดงความรังเกียจบ้าง ดูๆ ไปก็แปลก รู้สึกว่ากิริยาท่าทางของพวกฤาษีโยคีเหล่านี้ เหมือนไม่เต็มเต็ง หลวงพ่อกัสสปมุนีครุ่นคิดว่า เรามาอยู่ในต่างถิ่น ท่ามกลางพวกนักพรตโยคีฤาษีชีไพร นิกายแปลกๆเช่นนี้ หากเราสงบสำรวมไม่แสดงสิ่งที่ปกปิดไว้นานแล้ว หมายถึงอานุภาพของพุทธศาสนา ให้พวกมิจฉาทิฐิเจ้านิกายแปลกพิสดารเหล่านี้ ได้รู้เสียบ้าง เห็นทีเราจะอยู่ที่นี่ไม่ได้อย่างสงบสันติเสียแล้ว ฉะนั้นเพื่อความสวัสดีแก่เราเอง ทั้งบัดนี้และกาลต่อไป เราควรออกไปต่อสู้กับฤาษีโยคีเจ้าของถิ่น ให้รู้แจ้งแดงแจ๋กันเสียที ในตอนประมาณ ๖ โมงเย็นวันนั้น ภายหลังที่หลวงพ่อกัสสปมุนี ได้นำปัจจัยที่ได้จากการบริจาคทาน ไปมอบให้กับสำนักงาน ดำเนินกิจการอาศรมแล้ว หลวงพ่อกัสสปก็กลับมาเดินจงกรม อยู่ที่ลานดินหน้ากุฏิที่พัก โดยชักลูกประคำภาวนาไปเรื่อยๆ “ลูกประคำ” นี้ ภาษาฮินดีเรียกว่า “หม่าลัย” คล้ายสำเนียงไทยๆเราว่า “มาลัย”


           ขณะนั้นได้มีโยคีหนุ่มชาวอินเดียสองคน ได้เข้ามาหยุดยืนขวางหน้าหลวงพ่อกัสสปไว้ ทำให้ท่านต้องหยุดชะงักเดินจงกรม เงยหน้าขึ้นถามเป็นภาษาอังกฤษว่า “มีธุระอะไร ?” โยคีหนุ่มกล่าวตอบว่า “ท่านมหาฤาษีอาจารย์ของผม ให้มาเชิญท่านไปพบหน่อย” “มหาฤาษีของเธอชื่ออะไร ?” หลวงพ่อกัสสปจ้องหน้าถาม “อยู่ไกลแค่ไหน ?” โยคีหนุ่มทั้งสองตอบว่า “ท่านอาจารย์ของผมชื่อ รามด๊าส ขณะนี้กำลังนั่งชุมนุมอยู่กะศิษย์ทั้งหลาย บนลานหินกว้างอันศักดิ์สิทธิ์กลางแม่น้ำคงคา อยู่เหนือสะพานแขวน ลงไปไม่มากนัก” “แล้วมีธุระอะไร ?” “ไม่ทราบครับ” “ให้อาตมาไปเดี๋ยวนี้รึ ?”
“อย่างนั้นครับ” “ถ้าอาตมาไม่ไป ?” “โอ... ถ้าท่านกัสสปไม่ไป ท่านมหาฤาษีรามด๊าส และพวกเราเหล่าสานุศิษย์ทั้งหลาย ที่ชุมนุมคอยอยู่ที่โน่น จะเสียใจกันมากทีเดียวครับ” โยคีหนุ่มทั้งสองพูดละล่ำละลัก หลวงพ่อกัสสปมุนียิ้มให้ด้วยไมตรี พลางถามเป็นนัยๆ ว่า “เธอสองคนสามารถเดินตามอาตมาทันรึ ?” โยคีหนุ่มทั้งสองมองหน้ากันอย่างงุนงง แต่ก็กล่าวตอบว่า “นมัสเต้” หลวงพ่อกัสสปมุนี ยิ้มฉันท์เมตตาจิตน้อยๆ เก็บสายประคำแล้วเข้าไปเอาย่าม และไม้เท้าในกุฏิจัดแจงปิดประตูใส่กุญแจให้เรียบร้อย จากนั้นจึงเชิญชวนให้โยคีหนุ่มทั้งสองตามไป

พอก้าวพ้นประตูรั้ว หลวงพ่อกัสสปมุนีได้หันมาพูดยิ้มๆ กับโยคีทั้งสองเป็นนัยๆ อีกครั้งว่า “ เธอทั้งสองเดินตามอาตมาให้ทันนะ ! ” “นมัสเต้” ทั้งสองกล่าวรับ หลวงพ่อกัสสปมุนี กำหนดจิตด้วยความชำนาญในชั่วขณะจิต จิตวูบเข้าสู่ปฐมฌานเร็วยิ่งกว่ากระพริบตา ใช้ปฐมฌานเป็นบาทฐาน ออกจากปฐมฌานในแวบเดียวของขณะจิต เข้าสู่อากาศธาตุในแวบจิตเดียว ทำร่างกายให้เบาดุจปุยนุ่น หรือละอองสำลี ! อธิษฐานจิตให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปดุจลมพัด แล้วออกก้าวเดินช้าๆ ตามปกติในสายตาปุถุชน โยคีหนุ่มทั้งสองออกเดินตาม รู้สึกว่าหลวงพ่อเดินตามธรรมดา โยคีทั้งสองกลับก้าวตามไม่ทัน จนต้องออกจ้ำอ้าวแทบกลายเป็นวิ่ง แต่ก็ไม่สามารถตามหลวงพ่อได้ทัน สร้างความประหลาดใจให้โยคีหนุ่มทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อกัสสปมุนีไปยืนรอโยคีหนุ่มทั้งสอง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เลยสะพานแขวนไปประมาณ ครึ่งกิโลเมตร ห่างจากลักษมัณจุฬา ประมาณกิโลเมตรเศษ หลวงพ่อกัสสปยืนรออยู่เกือบ ๒๐ นาที โยคีทั้งสองจึงได้ตามมาถึง ในอาการหอบเหนื่อยอย่างแรง เพราะต้องเดินจ้ำอ้าว คล้ายวิ่งตามหลวงพ่อมาตลอดทาง “โอ... ท่านกัสสปเดินยังไง ถึงได้รวดเร็ว น่ามหัศจรรย์แท้ ?” โยคีหนุ่มทั้งสองถามพลางหายใจกระหืดกระหอบด้วยความเหนื่อย

           หลวงพ่อกัสสปมุนี กลับถามว่า “ไหนที่อาจารย์ของเธอรออยู่ พาอาตมาไปซิ ?” โยคีทั้งสองรีบชิงกันเดินนำหน้า ลงไปตามริมตลิ่งแม่น้ำอันสูงชันมาก พอลงไปถึงก็ต้องก้าวข้ามโขดหินเป็นระยะ ไปในแม่น้ำอันไหลเชี่ยวกรากน่ากลัว หลวงพ่อกัสสปมุนี ก้าวตามไปอย่างสงบไม่ยินดีไม่ยินร้ายใดๆ มองไปข้างหน้าในความมืดกลางแม่น้ำคงคา ตรงพลาญหินกว้างก้อนใหญ่กลางแม่น้ำ เห็นกองไฟลุกส่องแสงสว่างโชติช่วง ชุมนุมไว้ด้วยเหล่าฤาษี โยคี และพวกพราหมมิน นั่งล้อมเป็นหมู่ๆ จำนวนมากมายหลายสิบคน พอเข้าไปใกล้ก็เห็นมหาฤาษีชราร่างใหญ่อ้วนคนหนึ่ง เกล้าผมเป็นมวยสูง หนวดและเครายาวเป็นพุ่ม คิ้วดกหนา ห่มผ้าสีเหลืองหม่นเฉวียงบ่า กิริยาที่นั่งเป็นสง่ามาก ไม่มองดูหลวงพ่อกัสสปมุนีเลย คงนั่งหลับตาก้มหน้านิดหนึ่ง สองมือท้าวหัวเข่า โยกตัวไปข้างหน้า และข้างหลังอย่างช้าๆ ตรงหน้ามีกองไฟขนาดเขื่อง ลุกเป็นเปลวโชติช่วง บรรดาพวกที่เป็นสานุศิษย์ นั่งห้อมล้อมอยู่นั้นต่างพากันหันมามองหลวงพ่อ กัสสปมุนีเป็นตาเดียว แต่มิได้กล่าวคำเชิญใดๆ หลวงพ่อกัสสปมุนีสังเกตดูพบว่า ตรงข้ามกับมหาฤาษีรามด๊าสผู้ยิ่งใหญ่ มีกองไฟคั่นกลางนั้น มีอาสนะแบบเสื่อกกปูไว้ผืนหนึ่ง เข้าใจได้ทันทีว่า นั่นคืออาสนะที่มหาฤาษีรามด๊าส จัดไว้สำหรับให้หลวงพ่อกัสสปมุนีนั่ง อย่างไม่ลังเล หลวงพ่อกัสสปมุนีก้าวตรงเข้าไปดึงเอาอาสนะส่วนตัวออกจากย่าม แล้วปูทับลงไปบนเสื่อของเจ้าภาพ


ทำให้พวกสานุศิษย์มหาฤาษี จ้องมองอย่างประหลาดใจ ตาไม่กระพริบเลยทีเดียว แต่หลวงพ่อกัสสปมุนีไม่ได้เอาใจใส่ จึงทรุดกายลงนั่งขัดสมาธิ ตรงข้ามกับมหาฤาษีรามด๊าสอย่างเงียบๆ ท่ามกลางสายตาของพวกฤาษีโยคี และพราหมมิน และบรรยากาศอันเย็นยะเยียบของแม่น้ำคงคา ขอบป่าหิมพานต์อันวิเวกวังเวงใจ เป็นอันว่าตอนนี้กองxxxรณ์อัคคีใหญ่ ลุกโชติช่วงร้อนแรงกล้า อยู่ท่ามกลางระหว่าง หลวงพ่อกัสสปมุนี และมหาฤาษีรามด๊าส โดยมีพวกสานุศิษย์ของมหาฤาษีนั่งล้อมอยู่ทั้งสองด้าน บรรยากาศเงียบสงัดน่าสะพรึงกลัว แต่ลมพัดอู้รุนแรง เสียงกระแสน้ำคงคาไหลเชี่ยว กระแทกโขดหินดังอยู่ตลอดเวลา เป็นที่น่าประหลาดว่า ไฟโชติช่วงในกองxxxรณ์ ได้ลุกพลุ่งโพลงขึ้นไปบนท้องฟ้าในความมืด เป็นลำไฟขนาดใหญ่ตั้งตรงดุจลำเสาแดงฉาน แน่วแน่ไม่ไหวติง แผ่ความร้อนอันรุนแรงกระจายไปทั่ว แสงสว่างเต็มพลาญหิน และพื้นน้ำคงคา กระแสลมพัดอู้ไม่สามารถทำให้ลำแสงไฟขนาดใหญ่นั้นไหวติงเลย ต่อเมื่อมหาฤาษีรามด๊าส โยกตัวไปข้างหน้า และข้างหลังอย่างช้าๆ นั่นแหละ ลำแสงไฟจึงเคลื่อนไหวพุ่งสูงขึ้นไปทุกที ลมยังคงพัดอู้ไปทิศทางตรงกันข้าม แต่ทันใดลำเปลวไฟสูงลิ่วนั้นได้ถูกมหาฤาษีบังคับให้สวนทางลม ตวัดโค้งมายังหลวงพ่อกัสสปมุนี เปลวไฟร้อนแรงกล้าแทบจะเผาไหม้ร่างหลวงพ่อทีเดียว

           หลวงพ่อกัสสปมุนีรู้ได้ในฉับพลันว่า เขาเชิญมาทดลองวิชาเพื่อพิสูจน์ว่าฝ่ายใดจะแน่กว่ากัน และบัดนี้เขาได้เริ่มทดลองแล้ว โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า การกระทำของเขาด้วยการบังคับลำแสงไฟมา จะให้เผาไหม้เรานี้ เป็นการประกาศอยู่ในตัวว่า เขาจะกระหนาบเราให้เห็นอำนาจของเขา ว่าเหนือกว่าพุทธศาสนา แล้วก็จะข่มเราในภายหลัง ถ้าเราไม่มีอะไรเหนือเขา หรือมีเพียงเสมอกับเขา เราก็จะอยู่ในแดนฤาษีเกษเชิงภูเขาหิมาลัยป่าหิมพานต์ ได้อย่างไม่ปกติสุขสงบราบรื่นแน่ๆ เขาจะต้องคอยข่มขู่ดูหมิ่นบีบบังคับให้เราตกเป็นเบี้ยล่างตลอดไป หลวงพ่อกัสสปมุนีรำพึงในใจว่า เมื่อเราอยู่เมืองไทย ก็อยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว ไม่ได้สำแดงอะไร เพราะเรามีอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ต้องเคารพ แต่เมื่อเราย่างเหยียบเข้ามาสู่ต่างแดน ต่างลัทธินิกายศาสนาเช่นนี้ เมื่อเห็นสมควรว่าจะสำแดง เพื่อความสงบสวัสดีก็พึงสำแดงเถิด ธรรมดาพญานาคราช หรือ พญากุมภีร์จะเป็นใหญ่ในถ้ำที่สถิตย์ อย่างมีสง่าทรงอำนาจนั้น ย่อมจะต้องถึงพร้อมด้วยอิทธิที่มีอยู่ในกาย เมื่อคิดรำพึงได้แล้วเช่นนี้ หลวงพ่อกัสสปมุนีจึงน้อมจิตรำลึกถึง พระพุทธคุณ พระอริยสาวกานุภาพ ตลอดทั้งไตรสิกขานุภาพ และทั้งเทพยดาผู้ติดตามรักษา พลางเพ่งสายตาจับอยู่ที่กองไฟมหึมา ที่กำลังลุกโชติช่วงสูงตระหง่าน ปานต้นไม้ไฟขนาดใหญ่ ส่งเสียงลุกฮือกระหึ่มคล้ายเสียงปิศาจร้าย คุกคามจะเอาชีวิตก็ปานนั้น หลวงพ่อกัสสปมุนีจึงระงับจิตรวมสงบเข้าสู่ ปฐมฌานเป็นบาทฐาน ออกจากปฐมฌานเข้าสู่อากาศสมาบัติ แล้วอธิษฐานจิตประมวลอากาศธาตุ เข้าตัดลำแสงไฟนั้นให้ลดวูบลงมาครึ่งหนึ่งในพริบตา

เพื่อทดลองกำลังจิตอิทธิของมหาฤาษีรามด๊าส จะไปถึงขั้นไหน เจตนาของหลวงพ่อ มิใช่เป็นการปฏิบัติเพื่อรุกราน แต่ปฏิบัติครั้งนี้เพื่อการปะทะ และระงับความหลงผิดมิจฉาทิฐิ ของพวกมหาฤาษีเท่านั้นเอง เมื่อกระแสลำแสงไฟอันโชติช่วงสูงตระหง่านถูกบังคับให้ลดวูบลงมากึ่งหนึ่ง มหาฤาษีรามด๊าสทำอาการคล้ายสะดุ้งนิดหนึ่ง แต่ยังนั่งตัวตรงหลับตาอยู่ ปากภาวนามนตรามหาเวทอยู่ในลำคอไม่ขาดระยะ ร่างกายเบ่งพองขึ้นแสดงถึงการเร่งพลังจิตกำลังภายใน ตามลัทธิโยคีมุนีไพร ของตนอย่างเต็มที่ หลวงพ่อกัสสปมุนี จึงลองถอยอากาศสมาบัติออกเป็นช่องว่างดู ก็ปรากฏว่าลำแสงไฟได้พวยพลุ่งขึ้นฟ้าไปอีก ตามอิทธิพลังจิตสาธยายมนต์ของมหาฤาษีรามด๊าส ทำให้มหาฤาษีรามด๊าสมีสีหน้าปีติลิงโลดใจ จึงเร่งภาวนาใหญ่บังคับลำแสงไฟด้วยการโยกตัวไปมา ทำให้ลำแสงไฟแผ่กว้างโค้งวูบเข้ามาหาหลวงพ่อกัสสปมุนี เพื่อจะให้ไฟเผาผลาญร่างกาย แสงไฟใกล้เข้ามาห่างระยะประมาณหนึ่งวา หลวงพ่อกัสสปมุนีจึงบังคับ อากาศสมาบัติในฉับพลัน อากาศตัดลำแสงไฟของมหาฤาษีวูบวาบลงต่ำจนติดกองไฟ มีเปลวแสงนิดหน่อยเท่ากับไฟแลบก้นหม้อเท่านั้น ครั้นแล้วหลวงพ่อก็ประมวลสรุปอากาศสมาบัติกดประทับกองไฟ ให้ดับวูบมอดสนิทไปหมดสิ้น แม้แต่ควันก็จางหายไปด้วยในพริบตา

           มหาฤาษีรามด๊าส สะดุ้งเฮือกขึ้นสุดตัว ผงะแทบหงายหลังด้วยความตะลึงลานตื่นตระหนก หายใจดังฟืดฟาดกระหืดกระหอบ คล้ายวัวควายเหน็ดเหนื่อย ทำให้พวกสานุศิษย์ของมหาฤาษีทั้งหลาย ที่นั่งชุมนุมอยู่ที่นั้นโดยรอบ ต่างขยับเคลื่อนไหวกระสับกระส่าย ระคนเสียงถอนใจ และเสียงเคาะนิ้วกับพลาญหิน หลวงพ่อกัสสปมุนี คงนั่งนิ่งสงบดุษณีภาพ เพ่งมองหน้ามหาฤาษีรามด๊าสฉันท์เมตตาจิต มหาฤาษีรามด๊าส ถอนหายใจยาว ยิ้มแย้มออกมาอย่างนักพรตที่เข้าถึงธรรม ยกมือขึ้นนมัสการอย่างนอบน้อมแค่อก พลางเปล่งวาจาออกมาโดยปราศจากทิฐิมานะว่า “โอม นมัสเต กัสสปมุนี” หลวงพ่อกัสสปมุนี กล่าวตอบยิ้มแย้มว่า “ยีระเตโฮ้ รามด๊าส ยีระเตโฮ้” มหาฤาษีรามด๊าสผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองฤาษีเกษ ถอนใจยาว ลุกขึ้นก้าวเข้ามานั่งลงข้างๆ หลวงพ่อ พลางเอามือหนาใหญ่ของแกจับเข่าหลวงพ่อแสดงความเคารพนับถือ หลวงพ่อกัสสปมุนีตบหลังมือแกเบาๆ นัยน์ตาของมหาฤาษี เป็นประกายแจ่มใสปีติยินดี แม้แกจะอายุ ๗๘ ปี ชรามากแล้ว แต่นัยน์ตาก็ใสกระจ่าง และดูร่างกายแข็งแรงอยู่มาก แกหัวเราะอย่างบริสุทธิ์ใจ กล่าวถามว่า หลวงพ่อกัสสปพูดภาษาฮินดีได้มากไหม หลวงพ่อตอบว่าพูดได้บ้าง พอกระท่อนกระแท่นเท่านั้น แต่ภาษาอังกฤษใช้ได้ดี

มหาฤาษีรามด๊าสเปิดเผยว่า ตัวแกเมื่อสมัยหนุ่มจบการศึกษาจากโรงเรียนฝรั่งอังกฤษ แล้วก็เข้าทำงานเป็นข้าราชการกรมรถไฟอยู่นาน ครั้นต่อมาจึงได้ออกจากราชการมาปฏิบัติธรรม จากนั้นมหาฤาษีรามด๊าสได้นิมนต์หลวงพ่อให้กลับกุฏิ และบอกว่าพรุ่งนี้จะไปเยี่ยมคารวะ ครั้นรุ่งขึ้นวันต่อมา มหาฤาษีรามด๊าสก็เดินเข้าประตูรั้วมา ด้วยใบหน้าเบิกบาน ดังวาจาที่ได้พูดไว้จริงๆ รูปร่างของแกใหญ่อ้วนผึ่งผาย หนวดเคราดกงาม แต่วันนี้แกปล่อยผมยาวลงมาปรกหลัง ถือไม้เท้าท่อนโต เมื่อเชิญให้นั่งเรียบร้อยแล้วแกก็ถามว่า หลวงพ่อจะอยู่ที่เมืองฤาษีเกษนานสักเท่าใด หลวงพ่อกัสสปมุนีตอบไปว่า อย่างเร็วสองเดือน อย่างช้าก็สามเดือน ถ้าไม่รังเกียจ อยากให้ท่านมหาฤาษีรามด๊าส ช่วยแนะนำสอนภาษาฮินดีให้บ้าง เพื่อจะได้เป็นการสะดวกในการพูดจากับคนทั่วไป เพราะประชาชนคนอินเดียทั่วไป ไม่รู้ภาษาอังกฤษ มหาฤาษีรามด๊าสไม่ขัดข้อง ยินดีสอนให้ด้วยความเต็มใจ มหาฤาษีได้มาสอนภาษาฮินดีให้หลวงพ่อทุกวัน สอนเสร็จแล้วก็มักชวนกันไปนั่งฉันน้ำชาที่ร้านนายฤาษีราม โดยหลวงพ่อกัสสปมุนีเป็นเจ้ามือทุกวัน นายฤาษีรามทั้งแปลกใจ และดีใจมาก เพราะแกเองก็เคารพนับถือมหาฤาษีรามด๊าสไม่น้อยเหมือนกัน มหาฤาษีรามด๊าสเป็นมหาฤาษีผู้ใหญ่ ที่มีลูกศิษย์มากมาย ดังนั้น จึงไม่ยอมเป็นเพื่อนคบหา สนิทสนมกับใครง่ายๆ การที่มหาฤาษีรามด๊าส ยอมเคารพนับถือ หลวงพ่อกัสสปมุนี ทำให้บรรดาพวกนักพรตนิกายต่างๆ ในเมืองฤาษีเกษ มีความเคารพยำเกรง ในตัวหลวงพ่อกัสสปมุนีอย่างมาก
           เวลาเดินสวนทางกันตามถนน ต่างก็จะก้มศีรษะพนมมือคารวะ หลวงพ่อกัสสปมุนี และเปล่งคำว่า “โอม” ทุกคนไป ต่อมาก็ได้รู้จักสนิทสนมกับนักพรต โยคีฤาษี มากขึ้นทุกวัน เท่าที่จำได้ก็มีมหาฤาษี
ศิวานันทะ ฤาษีโกรกานันทะ นักพรตกมลาคีรี และอีกมากที่จำชื่อไม่ได้ ต่อมาในวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๐๘ ประมาณ ๑๐ โมงเช้า มหาฤาษีรามด๊าสได้มาเยี่ยม และขออำลากลับกรุงเดลลี แล้วจะเลยขึ้นไปปัญจาบ และกัษมีระ ต่อจากนั้นแกก็เดินทางไปบำเพ็ญธรรมที่ไกรลาสคีรี แดนส่วนลึกของหิมพานต์ “ท่านกัสสป นับแต่เราได้วิสาสะกันมาตลอดเวลาเดือนเศษนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกรัก และเลื่อมใสในน้ำใจ ตลอดจนการปฏิบัติธรรมของท่านมาก สักเมื่อใดเราจะได้พบกันอีก เพราะไม่ช้าท่านเองก็จะกลับเมืองไทยแล้ว” มหาฤาษีรามด๊าสกล่าวอย่างซาบซึ้งตรึงใจ หลวงพ่อกัสสปมุนีรู้สึกซึ้งในน้ำใจของแก แม้จะต่างกันในลัทธิศาสนา และในการปฏิบัติธรรม แต่ในส่วนน้ำใจแล้วเหมือนกัน คือใฝ่สันติสงบสุข หลวงพ่อจึงได้ตอบไปว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกเช่นเดียวกะท่านมหาฤาษี เราคงจะไม่ได้พบกันอีกนาน หรืออาจไม่ได้พบกันเลย แต่อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของเราทั้งสอง ยังคงอยู่ตราบเท่าที่เรายังระลึกถึงกัน สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่แน่นอน เราอาจจะได้พบกันหรือไม่ได้พบกันก็ได้ ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่านมหาฤาษีจงเดินทางไปด้วยความปลอดภัย และผาสุก”

มหาฤาษีรามด๊าส พนมมือรับพรแล้วพูดว่า “ข้าพเจ้าจะกระทำอย่างไร ในระหว่างการเดินทาง จึงจะเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย” “ท่านมหาฤาษีเองก็มีวิชชาอยู่กะตัว ไม่น่าจะถามข้าพเจ้าอย่างนั้นเลย” “ไม่ใช่อย่างนั้นท่านกัสสป ข้าพเจ้าหมายถึงความสบายภายใน ข้าพเจ้าใคร่จะขอฟังคำแนะนำจากท่าน” “ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงตั้งใจฟัง จงอย่ายึดมั่น อย่าเพลิดเพลินในสิ่งที่ได้พบเห็นใดๆ ทั้งสิ้นในโลกนี้ จงดับอารมณ์ความครุ่นคิดทั้งหลายให้หมดสิ้น ทำใจให้ผ่องแผ้ว นั่นแล ท่านจะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางทุกประการ ” มหาฤาษีรามด๊าส หลับตาตั้งใจฟัง พลางผงกศีรษะอันขาวโพลนเนิบๆ ใบหน้ามีปีติอิ่มเอิบ แสดงว่ามีความเข้าใจในความหมายคำพูดของหลวงพ่อกัสสปมุนี อย่างซาบซึ้ง” ...

ขอขอบพระคุณที่มาจาก:http://www.praruttanatri.com/webboar...atipata&No=127
                                                                                   __________________
 

587
 ประวัติท่าน สนุกตื่นเต้นน่าสนใจดี ท่าน เคยปะลองกสิน กับ โยคีมาแล้ว ดังมากเลย ในอินเดียช่วงนั้น ท่านมีทั้ง อิทธิฤทธิ์ และ บุญฤทธิ์พอตัว ใครชอบแนวอภิญญาพลาดไม่ได้ แถม ความรู้เรื่อง อินเดียแบบ เต็ม อิ่มไปเลยท่านผู้สามารถบำเพ็ญภาวนา ในเมืองฤาษีโยคี ... หลวงพ่อกัสสปมุนี 

สวัสดีครับ ท่านที่เคารพ วันนี้มาเปลี่ยนบรรยากาศกันบ้างนะครับ เมื่อประมาณ ๒๐ ปีก่อน สมัยที่กระผมยังหนุ่มมากๆ อยู่นั้น เพื่อนที่สนิท และเป็นผู้ใฝ่ในธรรม ได้มาชักชวนให้กระผม ไปหาหลวงพ่อองค์หนึ่ง ซึ่งท่านจะเข้านิโรธสมาบัติเป็นเวลา ๗ วัน ทุกปี แต่จนแล้วจนรอด กระผมก็ยังไม่ได้ไปหาท่าน เขาก็เลยหาประวัติ และเรื่องราว ของพระคุณเจ้ารูปนั้นมาให้อ่าน ซึ่งก็น่าทึ่ง และน่าสนใจดีมาก จนกระทั่งวันหนึ่งได้มีโอกาสไปพบท่าน เนื่องจากท่านรับนิมนต์ลูกศิษย์ มาที่กรุงเทพฯ บ้านของลูกศิษย์ท่านนั้น อยู่แถวๆ หัวถนนสีลม พวกเราก็ชวนกันไปหลายคน หลวงพ่อองค์นั้นก็คือ หลวงพ่อกัสสปมุนี ที่เราจะได้อ่านเรื่องของท่าน นี่แหละครับ

ขณะที่ไปถึงเป็นเวลาหัวค่ำ (คือเลิกงานแล้ว เราแวะทานข้าวแล้วก็ไปกันเลย) คนยังไม่มากนัก ไปคอยอยู่สักครู่หนึ่ง ก็ได้พบกับท่าน หลวงพ่อฯมีอายุมากแล้ว ประมาณสัก ๗๐ ปีเศษ รูปร่าง ผอม โปร่ง ท่าทางกระฉับกระเฉง และ ยังนั่งหลังตรง เป็นสง่า ท่านยิ้มอย่างมีเมตตามาก เพื่อนๆก็พากันคลาน และกระเถิบเข้าไปใกล้ๆท่าน ส่วนกระผมนั้นด้วยความเลว ก็เลี่ยงไปนั่งหลังสุด แต่ก็คอยเงี่ยหูฟังอยู่ (ตอนนั้น กระผมได้พบหลวงพ่อฤาษีฯแล้ว และก็มีความรู้สึกเหมือน ดร.ปริญญา ที่ว่า เรามีครูอาจารย์ที่เก่งมากๆอยู่แล้ว (พบท่านอื่นๆ เราก็เลยเฉยๆ ไม่ตื่นเต้น จนโดนพระองค์ที่สิบท่านสอนว่า “ ไอ้คนบางคนมันถือตัวว่ามีอาจารย์ดี แล้วตัวมันเองดีเหมือนอาจารย์หรือเปล่า” ...) หลังจากได้สอบถามเรื่องทั่วๆไป เช่นหน้าที่การงาน อะไรต่างๆ เป็นการเริ่มต้นแล้ว ท่านก็บอกว่า ช่วงนี้ ท่านมาพักผ่อน เพราะสุขภาพท่านไม่ค่อยดี จะไม่สอนข้อธรรมะอะไร คุยกันไปเรื่อยๆก็แล้วกัน แล้วท่านก็เริ่มคุยเรื่องทั่วๆไป แต่แหมมันกระทบเข้ากับกิเลสในใจของกระผมอย่างแรง

เพียงเวลาไม่ถึงยี่สิบนาที กระผมก็ค่อยๆกระเถิบ จากหลังสุดขึ้นไปอยู่หน้าสุด และเริ่ม ซักถามพูดคุยกับท่านบ้าง สายตาของท่านที่มองมานั้น กระผมอยากให้ท่านได้ไปเห็น ท่านมองกระผมเหมือนกับจะบอกว่า เธอชอบธรรมะอย่างนี้ใช่ไหมเล่า อาตมารู้นะว่าเธอคิดยังไง เป็นสายตาที่ ออกจะขบขัน (ปนสังเวช) แต่แฝงด้วยความเมตตา แต่ละคำพูดของท่าน แหลมคม... แหลมคมมากๆ ทำให้กระผมนึกถึง หลวงพ่อฤาษีฯ ของเราขึ้นมาทันที ถ้าสองท่านนี้ ได้มาปุจฉาวิสัชนากัน คงจะเป็นธรรมบันเทิงอันสุดยอด สำหรับศิษย์ทั้งหลาย และ สาธุชนผู้ชมชอบในปฏิภาณไหวพริบ เวลาล่วงเลยไปอย่างรวดเร็ว เป็นเวลาถึงชั่วโมงเศษๆ ก่อนลาท่านกลับ ท่านพูดยิ้มๆ เหมือนกับเจตนาจะบอกกับกระผมโดยตรงว่า “ คนบางคน เมื่อแรกพบกันก็รู้สึกเฉยๆ แต่เมื่อได้พูดจาวิสาสะกันแล้ว กลับมีความรู้สึกว่า เหมือนได้รู้จักคุ้นเคยกันมาแสนนานทีเดียว” ... นับแต่วันนั้น กระผมก็ตั้งใจไว้ว่า คราวหน้าถ้าท่านเข้านิโรธสมาบัติอีก จะต้องลางานไปทำบุญกับท่านให้ได้ แต่ปรากฏว่า บุญของกระผมน้อย เพราะท่านได้มรณภาพ ก่อนวันที่กระผมจะเดินทางเพียงวันเดียวเท่านั้น ...
                                                                                     __________________
           ก่อนอื่น ขอเรียนให้ทราบเกี่ยวกับประวัติคร่าวๆ ของท่านเสียก่อนนะครับ (จากนิตยสารโลกทิพย์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เขียนโดย ท่านสิทธา เชตวัน ปัจจุบันนี้ท่านบวชแล้วนะครับ) หลวงพ่อกัสสปฯ ท่านบวชเมื่ออายุ ๕๐ ปีเศษ สมัยที่ยังไม่บวชท่านทำงาน อยู่ฝ่ายสรรพสามิตและดื่มเหล้าเก่ง ตอนหลังท่านเห็นโทษของการดื่มเหล้า และเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงได้ลาออกจากราชการ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้ไปฝากตัวอยู่กับสมเด็จ พระวันรัต (ต่อมาทรงได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดโพธิ์ ท่าเตียน) โดยเป็นอุบาสก นุ่งขาวห่มขาว ถือศีลอุโบสถอย่างเคร่งครัด ในที่สุดจึงได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในปี
พ.ศ. ๒๕๐๕ แม้บวชได้เพียงพรรษาเดียว หลวงพ่อกัสสปมุนี ได้ออกธุดงค์ ไปบำเพ็ญเพียรภาวนา อยู่บนยอดเขาภูกระดึง อันแสนจะหนาวเหน็บ (เดือน พ.ย. ๒๕๐๖) หลังจากนั้นถัดมาอีกเพียง พรรษาเดียว ท่านก็ได้จาริกแสวงบุญ ไปบำเพ็ญภาวนาในแดนไกล คือเมือง ฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย เมืองนี้เป็นที่ชุมนุม ของโยคี ฤาษี มุนีไพร ผู้ทรงตบะและฤทธาอันแก่กล้ามากมาย ต้องเก่งจริงๆ ถึงจะอยู่ได้อย่างสันติอิสระ...

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อออกพรรษา ปวารณาปีพ.ศ. ๒๕๐๗ แล้ว หลวงพ่อฯก็ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย. ๒๕๐๗ โดยสายการบิน ซี.พี.เอ. ร่วมกับคณะทัศนาจรแสวงบุญ ซึ่งมีทั้งพระ และฆราวาส อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณราชปัญญาเมธี เจ้าคณะจังหวัดยะลา ท่านเจ้าคุณสิริสารโสภณ เจ้าคณะอำเภอยะลา หลวงพ่อทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างพระเครื่อง หลวงพ่อทวด อันลือลั่นไปทั่วประเทศ และท่านเจ้าคุณ ญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล ซอยปุณณวิถี พระโขนง ซึ่งเป็นศิษย์เอก พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฝ่ายฆราวาสก็มี นายเอื้อ บัวสรวง ธ.บ. และ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต นายน่วม
นันทวิชัย นายกพุทธสมาคม สิงห์บุรี จุดมุ่งหมายของคณะจาริกแสวงบุญ คือจะพากันไปนมัสการ สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ด้วยความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธคุณ และ เพื่อปลงธรรมสังเวช หลวงพ่อกัสสปนั้น ต้องการจะเดินทางต่อไป เพื่อไปจำศีลภาวนาที่เมือง “ฤาษีเกษ” อันเป็นเมืองของนักพรต ฤาษีชีไพร นักบำเพ็ญตบะ พวกนุ่งลมห่มฟ้า (ฑิฆัมพร) และ นักบวชนิกายต่างๆ

           การเดินทางไปนมัสการ ต้นศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา ไปชมเมืองราชคฤห์ หรือรัฐพิหารในปัจจุบัน ไปเมืองพาราณสี แล้วขึ้นรถไฟไปยังตำบล สารนาถ คือ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน อันเป็นสถานที่ พระบรมศาสดาทรงแสดงปฐมเทศนา เสร็จสิ้นไปตามลำดับ ต่อจากนั้นก็ไปยังตำบลกุสินาราน์ สถานที่เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ซึ่งหลวงพ่อกัสสปมุนี เล่าถึงตอนนี้ว่า “รถได้พาคณะเรามาถึงเมือง กุสินาราน์ เวลาประมาณ ๙.๐๐ น. ความใฝ่ฝันของอาตมาภาพแต่อดีต ที่ใคร่จะได้เห็นเมืองกุสินาราน์ และสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานยิ่งนัก บัดนี้ความใฝ่ฝันนั้น ความปรารถนาอันแน่วแน่นั้น ก็ได้บรรลุผลแล้ว ใครจะเดินล่วงหน้าไปแล้วก็ตาม อาตมาภาพยังคงยืนเหลียวไปโดยรอบ เพื่อพินิจพิจารณา บริเวณสถานที่นั้นให้เต็มตา

แต่อนิจจา ! อันว่าป่าสาลวัน อันเป็นสวนที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ และเป็นที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ของพระบรมศาสดาของเรา คงมีเหลืออยู่แต่ชื่อ อันเป็นที่หมายรู้เท่านั้น เพราะบัดนี้มีสภาพเป็นที่โล่ง มีต้นไม้เบาบาง ปราศจากหมู่ และกลุ่มไม้ ต้นสาละ หรือต้นรังอินเดีย มีอยู่ไม่มากนัก แต่ทางการอินเดียเขาได้จัดรักษา และบำรุงอย่างดีมาก แม่น้ำหิรัญญวดี ที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรก็มิได้มี นี้ก็เป็นอนุสสติให้ระลึกพิจารณา ถึงความแปรปรวนแห่งสังขาร เครื่องผสมปรุงแต่ง ว่าไม่เที่ยง ย่อมแปรผันเปลี่ยนไป อาตมาสลดใจจึงรีบเดินตามหมู่พวกไป เห็นพวกเรากำลังขึ้นบันได เข้าสู่อาคารหลังหนึ่ง ทำแบบวิหาร อาตมาภาพจึงตามติดเข้าไป ที่นี่เอง คือที่ตั้งพระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปางอนุฏฐานไสยาสน์ (คือปางเสด็จบรรทม โดยไม่ลุกอีกต่อไป) นายช่างปฏิมากรรม เขาปั้นเป็นพระพุทธรูปนอนตะแคงขวา แต่ไม่หลับพระเนตร เลยกลายเป็น พระพุทธปฏิมานอนลืมพระเนตร ช่างปั้นคงไม่ได้คิดถึงข้อนี้ เพราะเป็นช่างแขกอินเดีย ซึ่งพิจารณาดูแล้ว เห็นว่าผิดความจริงอย่างยิ่ง
 

           แต่ก็ประหลาดอย่างยิ่งอีกเหมือนกัน เพราะขณะที่อาตมาภาพยืนอยู่นั้น รู้สึกเหมือนกับว่า ได้เข้ามาเฝ้าเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ ซึ่งผิดกับสถานที่อื่นๆ เช่น ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นที่ตรัสรู้ และ ที่สารนาถที่แสดงปฐมเทศนา เอ๊ะ... นี่ยังไงกัน ? ที่นี่เหมือนมีแม่เหล็ก อาตมาจึงพิงไม้เท้าไว้ที่ประตู ปลดย่ามลงจากบ่า ทรุดตัวลงคุกเข่าพร้อมกับเพื่อน สพรหมจารี จุดธูปเทียนน้อมอภิวาทถวายนมัสการบูชา ด้วยหัวใจอันวังเวง ดูเหมือนว่ามีอะไรอบอุ่นวนเวียนอยู่ใกล้ๆ และมีอะไรเย็นๆ พรมไปตามตัว มิใยใครจะลุกไปแล้ว อาตมาภาพก็ยังคงคุกเข่า พนมมือหลับตา ใจจดใจจ่ออยู่อย่างนั้น ช่างอบอุ่นร่มเย็น และสงบแท้ นี่เป็นความรู้สึกขณะนั้น จนคณะพากันออกไปหมด อาตมาภาพจึงได้ลุกขึ้นเดินเวียนประทักษิณ แล้วจะเดินออกประตู เห็นหลวงพ่อทิมวัดช้างไห้ กำลังยืนพนมมืออยู่ข้างมุมประตู ตาลืมจ้องดูที่พระพุทธรูป อาตมาจึงเอื้อมมือจะไปหยิบไม้เท้าที่พิงอยู่ ข้างประตู

ทันใดนั้น อัศจรรย์ยิ่ง อัศจรรย์จริงๆ มีเสียงหนึ่งกระซิบที่หูเบาๆ แต่ชัดเจนว่า “ทำไมไม่กราบพระบาท! ทำไมไม่กราบพระบาท!” อะไรกัน อาตมาหันขวับไปดู หลวงพ่อทิมวัดช้างไห้ ก็เห็นกำลังยืนอยู่ไม่ห่างในท่าเดิม แล้วเป็นเสียงใคร? อาตมาจึงหันมาจะหยิบไม้เท้าอีก ก็มีเสียงกระซิบอีกอย่างชัดเจน อ่อนน้อมว่า “ ทำไมไม่กราบพระบาท! ทำไมไม่กราบพระบาท! ” อาตมาชะงัก ฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้บางอย่าง หันกลับเดินไป ทรุดคุกเข่าอยู่ที่ปลายพระบาท พระพุทธปฏิมาปางไสยาสน์ เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน กราบแล้วกราบอีก แล้วพนมมือน้อมระลึกถึง พระพุทธคุณ และพุทธานุภาพ ที่ได้ทรงปกแพร่ไปเป็นอนันตเขต แม้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนานแล้ว แต่พุทธเกษตรนี้ยังกระจ่าง อีกนานไกล อาตมาภาพพนมมือ ค้อมตัวลงปลงธรรมสังเวช เสียงหลวงพ่อทิม วัดช้างไห้ สะอื้นเบาๆอยู่ทางเบื้องหลัง ไม่ทราบว่าหลวงพ่อทิม มายืนอยู่ตั้งแต่เมื่อไร อาตมาลุกขึ้น ถามท่านว่า “หลวงพ่อสะอื้นทำไม ?” “เห็นแล้วมันตื้นตันใจ บอกไม่ถูก” หลวงพ่อทิม ตอบเสียงสะอื้น เป็นคำตอบที่กลั่นออกมาจากหัวใจของพระสาวก ถึงแม้จะเกิดทีหลัง ห่างไกล นานถึง สองพันปีเศษก็ตาม ความผูกพันในพระพุทธบิดา ย่อมมีอยู่แก่ สมณศากยบุตรพุทธชิโนรส ด้วยประการฉะนี้
 
           วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ คณะของหลวงพ่อกัสสป ฉันอาหารเช้าแล้ว ได้เวลา ๙.00 น. จึงพาพวกอุบาสกและอุบาสิกาออกเดินทาง ไปยังสถานีเนาก้า เพื่อไปยังสวนป่าลุมพินีวันในแคว้นเนปาลอันเป็นสถานที่พระบรมศาสดาทรงประสูติ ถึงสถานีเนาก้าเวลา ๑๑.๐๐ น. แต่เจ้ากรรมแท้ๆ... ที่พนักงานรถไฟแขกอินเดียมันมักง่าย ตัดรถตู้คณะของหลวงพ่อกัสสปมุนีออกปล่อยทิ้งไว้ อยู่ห่างจากตัวสถานีเกือบสามร้อยเมตร ตรงที่รถตู้ถูกตัดออกนี้เป็นที่ลาดต่ำกว่าที่ตั้งสถานี และห่างจากที่รถบัสจอดเกือบครึ่งกิโลเมตร ในคณะแสวงบุญของหลวงพ่อ มีอุบาสิกาอยู่ในวัยชราหลายคนจะต้องเดินไกลทั้งตัวรถตู้ก็สูง บันไดก็ยิ่งลอยสูงขึ้นไปด้วย เพราะรถถูกตัดทิ้งไว้ในที่ลาดต่ำ แม้แต่ผู้ชายที่แข็งแรงอย่างนายเอื้อ บัวสรวง ก็ยังต้องเกร็งข้อโหนตัวลอยขึ้นไป ยิ่งเป็นพระเป็นผู้หญิงยิ่งทุลักทุเลใหญ่ ทำให้นายสุวรรณ เจามหาสุข ผู้อำนวยการเดินทางในครั้งนี้ และนายเอื้อ บัวสรวงโมโหมาก ปัญหาจึงมีอยู่ว่า จะทำอย่างไรจึงจะให้ตู้รถแล่นขึ้นไปจอดบนชานชาลาเหนือสถานีได้ ในที่สุดปรึกษาตกลงกันได้ว่า ให้คณะแสวงบุญที่ขึ้นไปก่อนลงมาจากรถเพื่อให้รถเบาขึ้น แล้วจ้างพวกแขกสองสามคน และเด็กแถวนั้นให้ช่วยกันดันรถ แต่เมื่อทำดูแล้วรถไม่ได้ขยับเขยื้อนเลย เพราะตู้รถไฟใหญ่กว่าตู้รถไฟในบ้านเมืองเรามาก มีน้ำหนักเป็นตันๆ และจะต้องดันให้เคลื่อนขึ้นที่สูงเสียด้วย มันต้องใช้ช้างสารฉุดถึงจะเขยื้อนขึ้นไปได้

ตอนนี้นายเอื้อ บัวสรวงเห็นหมดหนทางที่จะพึ่งแรงคน จึงคิดจะพึ่งแรงบารมีของพระเสียแล้วจึงได้หันมาอาราธนาขอร้อง อาจารย์วิริยัง (ท่านเจ้าคุณญาณวิริยาจารย์) ช่วยให้รถเคลื่อนด้วยอานุภาพที่ท่านมีอยู่ เพราะมองไม่เห็นใครที่จะช่วยได้ ก็ต้องพึ่งพระกันบ้าง ท่านพระอาจารย์วิริยัง ได้เข้าไปยืนข้างตู้รถไฟภาวนาอยู่สักครู่ก็ทำท่าดัน แล้วบอกให้ทุกๆ คนช่วยกันดันรถ แต่ดันเท่าไหร่ๆ รถก็ไม่มีทีท่าจะเขยื้อน นายเอื้อจึงได้หันมาอาราธนาท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดยะลา ท่านเจ้าคุณเจ้าคณะอำเภอยะลาและหลวงพ่อทิมวัดช่างไห้ ขอให้ช่วยแสดงอานุภาพทำให้ตู้รถไฟเคลื่อนที่ แต่ท่านทั้งสามองค์ก็ตอบตรงๆ ว่าไม่ได้ฝึกมาทางนี้ คือไม่ได้ฝึกทางอภิญญา สุดท้ายนายเอื้อ บัวสรวงหมดหนทางอับจนปัญญา จึงได้ขอร้องให้ หลวงพ่อกัสสปมุนี ช่วยด้วย “ยังเหลือแต่หลวงพ่อกัสสป องค์เดียวเท่านั้น ผมเชื่อว่าคงจะไม่สิ้นหวังเสียทั้งหมด” นายเอื้อ บัวสรวง พูดค่อนข้างเสียงดังเปิดเผย พลางพนมมือนอบน้อม หลวงพ่อกัสสป จึงเอ่ยว่า “ทำไมมาเจาะจงอาตมา ก็ท่านเหล่านั้นยังรับไม่ไหว แล้วอาตมาภาพจะรับได้ยังไง” นายเอื้อ บังสรวง ได้ยืนกรานว่า “ถึงอย่างนั้น ก็ขอให้หลวงพ่อเห็นแก่ญาติโยมผู้หญิง และคนแก่ เถอะครับ ที่จะต้องโหนตัวขึ้นรถ” ว่าแล้วก็ไหว้อีก หลวงพ่อกัสสปเห็นนายเอื้อมีความมั่นใจเช่นนั้น จึงจำเป็นต้องช่วยสงเคราะห์ จึงบอกเบาๆว่า “โยมบอกพวกนั้นให้ดันรถพร้อมๆกัน พอเห็นอาตมาเดินขึ้นหน้ารถก็ดันเลย”

           นายเอื้อก็รับคำเตรียมอยู่ข้างตู้รถไฟ จากนั้นหลวงพ่อกัสสป ก็เดินขึ้นไปทางริมรั้วสถานี ครั้นพอถึงหน้ารถตู้ นายเอื้อก็ร้องบอกให้พวกนั้นดันรถ เสียงรถเคลื่อนดังครืด แล่นตามหลังหลวงพ่อกัสสปมาได้หน่อยหนึ่ง หลวงพ่อกัสสปจึงยื่นไม้เท้าให้นายเอื้อจับปลายไว้ นายเอื้อเอื้อมมือขวามาคว้าปลายไม้เท้าไว้ ส่วนมือซ้ายจับอยู่ที่ราวบันไดรถ หลวงพ่อจับหัวไม้เท้าไว้ข้างแล้วจูงนำหน้า เท่านั้นเอง ตู้รถไฟอันใหญ่โตหนักอึ้ง ก็แล่นปราดๆขึ้นไปตามรางสู่สถานีอย่างง่ายดาย น่ามหัศจรรย์ สร้างความตะลึงงันให้แก่ญาติโยม อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ที่ได้เห็นประจักษ์ทั่วหน้า นับว่าหลวงพ่อกัสสป ได้ฝังรากความมั่นใจให้แก่นายเอื้อ และญาติโยมในที่นั้นว่า อานุภาพของพุทธศาสนานั้น เป็นของมีจริง ที่พระสาวกของพระพุทธองค์ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เมื่อถึงคราวจำเป็น หรือวาระอันสมควรจะพึงแสดง! คณะแสวงบุญทัศนาจร ได้ท่องเที่ยวไปชมสถานที่ สำคัญๆนอกเหนือจากสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง แล้วอีกหลายแห่ง จนฉ่ำชื่นใจสมปรารถนาทั่วหน้ากัน จากนั้นก็ได้ถึงวันเวลาที่จะต้องแยกทางจากกัน โดยหลวงพ่อกัสสปได้แยกทาง ลงที่เมืองปัตนะ (เมืองปาตลีบุตร ครั้งพุทธกาล) เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๗ เพื่อจะได้จาริกท่องเที่ยวไปตามลำพัง สององค์กับ พระวิเวกนันทะ

พระภิกษุวิเวกนันทะ มาจากวัดอุโมงค์ เชียงใหม่ ได้ศึกษาอยู่ในอินเดียถึงสิบปี ได้ปริญญา เอ็ม.เอ.ทางพุทธศาสตร์ ท่านวิเวกเป็นผู้กว้างขวางในประเทศอินเดีย และแว่นแคว้นใกล้เคียง เช่น เนปาล... สามารถพูดภาษาพื้นเมืองได้คล่อง เข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นต่างๆ ในอินเดียได้อย่างดี ท่านเป็นพระที่เปี่ยมเมตตา เป็นที่รักใคร่นับถือจากชาวอินเดียทุกหนทุกแห่งที่ท่านย่างก้าวไปถึง เพื่อเผยแพร่ธรรมะ ท่านวิเวกนันทะ ไม่เคยรู้จักกับ หลวงพ่อกัสสปมาก่อนเลย เพิ่งมารู้จักกันคราวมาแสวงบุญที่อินเดียนี้เอง โดยท่านวิเวกได้รับการติดต่อจาก คุณสุวรรณ เจามหาสุข ผู้อำนวยการนำเที่ยวแสวงบุญ ให้ท่านวิเวกช่วยอำนวยความสะดวก พระสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา ในการแสวงบุญในครั้งนี้ “ท่านวิเวกนันทะ กับอาตมา ดูเหมือนว่าชาติปางก่อนได้เคยเป็น ญาติมิตรอันสนิทยิ่งกันมา ยังงั้นแหละ มาชาตินี้จึงได้ถูกอัธยาศัยกันมาก คล้ายกับว่าเป็นเพื่อนร่วมตายกันมานาน ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย” หลวงพ่อกัสสปกล่าว ท่านวิเวกนันทะ ได้พาหลวงพ่อกัสสป ท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนทำความรู้จักกับพวก สวามีและมหาฤาษี สำคัญๆ ตามสำนักต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้กันในเรื่องธรรมะ และการฝึกจิตอย่างถึงแก่น

           ความเป็นอัจฉริยภาพ และพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของหลวงพ่อกัสสป ได้สร้างความประทับใจให้แก่มหาฤาษี และสวามีคุรุทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษอันคล่องแคล่วแตกฉาน ของหลวงพ่อในธรรมะ ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ อย่างพระสงฆ์ที่รู้แจ้งเห็นจริงของหลวงพ่อนั่นเอง ทำให้บุคคลเหล่านั้นบังเกิดความเคารพศรัทธา ในหลวงพ่อกัสสป ทุกหนทุกแห่งที่ย่างเหยียบไปในแผ่นดินชมพูทวีป พูดได้ว่า หลวงพ่อเป็นพระไทยองค์เดียว ที่ไปสร้างความประทับใจอย่างพิเศษพิสดาร ทั้งทางธรรม และอภิญญาให้แขกอินเดียชื่นชม และอัศจรรย์อย่างถึงใจยิ่งนัก คนสำคัญของอินเดียท่านหนึ่ง ที่จะต้องกล่าวถึงคือ ดร.เมตตา เป็นนักปราชญ์ใหญ่ มีความรอบรู้แตกฉานในเรื่องศาสนาต่างๆ อย่างยอดเยี่ยมทางภาคทฤษฎี พักอยู่หอพักตึกห้าชั้นชื่อ เมย์แฟร์ในมหานครบอมเบย์ อันศิวิไลชั้นหนึ่งของอินเดีย ดร.เมตตา ประพฤติตนอย่างนักพรต นุ่งขาวห่มเฉียงบ่า รูปร่างบุคลิกลักษณะเป็นสง่า ไว้หนวดและเคราเป็นพุ่มงามสะอาด ภายในห้องรับรองบ้านพัก จัดเป็นห้องพระไปในตัว

โต๊ะพระจัดดังนี้ คือ ตอนบนสุดมีเศียรพระพุทธรูปติดไว้กับผนัง เป็นเศียรผ่าครึ่งคล้ายหัวตุ๊กตาทำขาย ถัดลงมาเป็นรูปพระเยซู ยืนเต็มตัว ถัดลงมาอันดับที่สาม เป็นรูปปั้นพระศิวะ ท่านั่งสมาธิ มีกระถางธูป และที่เสียบดอกไม้ ทางด้านขวามือมีโต๊ะหมู่ตั้งพระพุทธปฏิมามหายาน แบบญี่ปุ่นอยู่ชิดกับผนัง ขณะที่หลวงพ่อกัสสปก้าวเข้าไปในห้องนี้นั้นมีแขกผู้มีเกียรติชั้นคหบดี อันเป็นเสมือนศิษย์ของ ดร.เมตตานั่งอยู่ ๒ คน และ หลานสาวสวยของ ดร.เมตตา ๑ คน และพระภิกษุไทยสามองค์ คือ ท่านวิเวกนันทะ พระมหาสุเทพ และพระมหาอุดม รวม ๘ คน หลวงพ่อกัสสปนุ่งห่มดองรัดประคตอกอย่างรัดกุม ผิดกับพระไทยทั้งสามองค์ที่นั่งอยุ่ในนั้น (ห่มดองคือครองผ้าเหมือนพระบวชใหม่ในโบสถ์) แถมหลวงพ่อกัสสปยังถือไม้เท้ายาว สะพายย่าม จึงเป็นเป้าสายตาของ ดร.เมตตา และพรรคพวกเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยเห็นพระภิกษุไทยในอินเดียนุ่งห่มครองจีวรแบบนี้มาก่อน ดร.เมตตา เพ่งมองดูหลวงพ่อกัสสป ด้วยนัยน์ตาแหลมคมอย่างพินิจพิเคราะห์ พลางกล่าวเชิญให้นั่งแต่มิได้บอกว่าจะให้นั่งตรงไหน อาสนะที่จัดไว้ในห้องนั้นก็มีเรียงรายหลายที่ด้วยกัน หลวงพ่อกัสสปกล่าวขอบใจเบาๆ เดินช้าๆ ผ่านเข้าไปนั่งที่อาสนะตรงกลาง โดยนั่งขัดสมาธิ ตั้งตัวตรง
 
           ดร.เมตตาได้ยกมือขึ้นไหว้ แล้วถามเรียบๆ ว่า “ท่านมาจากเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไร มาประเทศอินเดียด้วยความมุ่งหมายอะไร ท่านมีหน้าที่อะไรในฝ่ายพุทธศาสนา ในเมืองไทย ?” หลวงพ่อกัสสปมาทราบภายหลัง จากท่านวิเวกนันทะ และพระมหาสุเทพว่า ดร.เมตตาผู้นี้ยังไม่เคยยกมือไหว้พระสงฆ์องค์ไหนเลย หลวงพ่อกัสสป ได้ตอบไปว่า “อาตมาภาพมาถึงอินเดียเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ปีก่อน ตั้งใจมาก็เพราะเพื่อต้องการให้ได้เห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตาตนเอง ตามที่ได้อ่าน และได้ศึกษามาทางพระพุทธศาสนาว่า สถานที่ต่างๆที่ได้กล่าวไว้ในพระสูตรนั้น ยังจะคงมีอยู่จริงหรืออย่างไร และคนอินเดียในชมพูทวีปเป็นอย่างไร สำหรับหน้าที่ กิจการงานทางฝ่ายศาสนานั้น อาตมาภาพไม่มีเพราะมุ่งไปทางปฏิบัติอย่างเดียว” ดร.วาสวาณี อายุ ๓๖ ปียังสาวโสด ใบหน้างาม เป็นหลานสาวของ ดร.เมตตา ดร.วาสวาณีเป็นผู้อำนวยการสำนักงานสถิติ อุตสาหกรรม เธอไม่ยอมมีเรือน บอกว่ายุ่งยากใจ และไม่มีอิสระ เพราะประเพณีของชาวอินเดียกด และกีดกันผู้หญิงมาก เธอบอกว่าอยู่อย่างนี้ดีกว่า ทั้งที่พ่อแม่ของเธอก็อ้อนวอนให้แต่งงาน แต่เธอก็ไม่ยอมแต่ง ดร.วาสวาณี ได้ถามหลวงพ่อกัสสป เป็นเชิงขอความเห็นในเรื่องนี้ว่า “หรือท่าน กัสสปเห็นอย่างไร ที่ดิฉันพูดนี้ ?”

หลวงพ่อกัสสปตอบอย่างกลางๆว่า “อันการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้น ถ้าทำตัวให้เป็นไทแก่ตัวเองได้เท่าไร ก็ห่างจากทุกข์ได้เท่านั้น” ดร.วาสวาณีเม้มริมฝีปาก แล้วย้อนถามว่า “พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้นหรือ ?” “อาตมาภาพกล่าวตามพุทธวจนะ” ดร.วาสวาณีนิ่งคิด แล้วกล่าวว่า “จริงอย่างท่านกัสสปว่า ดิฉันเห็นด้วย” ตั้งแต่วันนั้นมา ดร.วาสวาณี ได้ให้ความสนิทสนมเลื่อมใสมากขึ้น ทำให้หลวงพ่อกัสสป ต้องระวังตัวยิ่งขึ้นเช่นกัน หวนรำลึกถึงพระโอวาท ของพระพุทธองค์บรมศาสดาเจ้า ที่ประทานไว้ว่า “จะพูดกับมาตุคามต้องถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ” หมายความว่า สมณะนักบวชในพระพุทธศาสนา หากจะพูดคุยกับสตรีเพศ พึงมีสติสัมปชัญญะ ควบคุมใจตัวเองไว้ให้มั่นคง เราส่วนเรา เขาส่วนเขา อย่าเอาเรา และเขามาปนกัน แล้วความปลอดภัยจักมีด้วยประการฉะนี้ ดร.เมตตาได้ถามวิธีปฏิบัติทางจิต กับหลวงพ่อกัสสป และถามต่อไปว่า หลวงพ่อกัสสปได้กำลังจิตขั้นไหนแล้ว ? มีความสามารถอย่างไร ? ศิษย์ทางเมืองไทยมีมากเท่าใด? คำถามนี้ทำให้ทุกคนในห้อง พากันนิ่งฟังนิ่งเงียบ หลวงพ่อกัสสปนิ่งพิจารณา แล้วจึงตอบว่า “คำถามที่ท่าน ดร.ถามนี้ ถ้าเป็นคำถามที่ต้องการรู้ด้วยความจริงใจแล้ว อาตมาภาพก็จะตอบให้ฟัง แต่ถ้าถามเป็นเชิงลองเปรียบเทียบแล้ว ก็ขอให้พักไว้ก่อน เพราะทิฐิความเชื่อของบุคคลนั้น ไม่เหมือนกัน”
 
           ดร.เมตตา มองหน้าหลวงพ่อกัสสปอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงพูดว่า “ท่านกัสสปทราบได้อย่างไรว่า ข้าพเจ้าจะถามเพื่อเป็นเชิงลองเปรียบเทียบ ?” “แล้วจริงหรือไม่เล่า ที่ท่านคิดเช่นนั้น ?” หลวงพ่อย้อนถาม ดร.เมตตาถอนใจยาว เส้นหนวดปลิว พยักหน้าช้าๆ หลวงพ่อจึงกล่าวต่อไปว่า “ นั่นเป็นคำตอบของอาตมาที่ได้ตอบคำถามข้อที่สองของท่านแล้ว ” “ ข้อที่สองอะไรที่ข้าพเจ้าถาม ? ” “ ก็ที่ท่านถามว่า อาตมาได้กำลังจิตถึงขั้นไหนแล้ว นั่นยังไง ” หลวงพ่อตอบ ดร.เมตตายกมือพนม แขกผู้มีเกียรติอีก ๒-๓ คนในห้องชาวอินเดีย ก็ยกมือพนมเช่นเดียวกัน ส่วนดร.วาสวาณี คงนั่งขัดสมาธิ ประสานมือฟังด้วยความตั้งใจ ดร.เมตตากล่าวอย่างปลื้มปิติว่า “ข้าพเจ้าพอใจอย่างยิ่ง ที่ได้พบกับท่านกัสสป ซึ่งข้าพเจ้ายังไม่พบภิกษุใดในพุทธศาสนา ตอบข้าพเจ้าอย่างนี้เลย จดหมายของวิเวกนันทะ ได้พูดถึงท่านหลายอย่าง” “และอาตมาก็ยังไม่เคยพบบุคคลใด ที่มีคำถามอันทรงปัญญาอย่างท่าน” หลวงพ่อกัสสป กล่าวอย่างสำรวมฉันท์เมตตาจิต ทำให้ดร.นักบุญชาวภารตะ ต้องเอื้อมมือมาบีบมือหลวงพ่อกัสสป ด้วยความนับถืออันสนิท แล้วพูดต่อไปอย่างเบิกบานใจว่า “ก่อนที่ท่านกัสสปจะจากไป ยังจะมีอะไร ให้เป็นความรู้ในทางจิตแก่ข้าพเจ้า แม้เพียงเล็กน้อยก็จะเป็นบุญอย่างยิ่ง”

หลวงพ่อกัสสป บีบมือแกตอบ ใบหน้าแกแจ่มใส หลวงพ่อตอบว่า “ ท่านดร. อายุของท่านมากแล้ว จงพยายามอย่าทำจิตให้ฟุ้งซ่านเกินไป จงอยู่คนเดียวในที่สงัดให้มากที่สุด พูดแต่น้อย กินพอประมาณ อย่าเห็นแก่นอน ตัดอารมณ์เครื่องครุ่นคิดทั้งหมด แล้วทำใจให้แจ่มกระจ่างผ่องใส นี้แหละคือทางที่จะพาเราไปสู่ความล่วงทุกข์ ได้โดยหมดจด ไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า นี่เป็นธรรมที่อาตมาได้ศึกษา ฝึกฝนมา แม้จนบัดนี้ ” ดร.เมตตา ได้ฟังแล้ว จึงพูดว่า “ท่านกัสสป ข้าพเจ้ายังมีธุระที่จะต้องทำอีกมาก ยังต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอีกมาก... ถึงอย่างนั้นก็จะพยายาม” “นั่นแหละท่าน ดร. แม้ข้อนี้ เราก็พึงสังวรระวัง ตราบใดเรายังมีธุระมาก ยังเกี่ยวข้องกับบุคคลอีกมาก ตราบนั้นเรายังไม่ใช่คนพิเศษเหนือคน ยังมีความเป็นอยู่เหมือนๆเขาอยู่ แล้วเราก็ยังสอนเขาไม่ได้เต็มที่ ขอจงจำข้อนี้ไว้ให้ดี” หลวงพ่อกัสสปกล่าว แขกผู้มีเกียรติของ ดร.เมตตา จำนวน ๒-๓ คนที่นั่งฟังอยู่ที่นั้น มีความพอใจมาก ที่ได้ฟังหลวงพ่อพูดโต้ตอบกับ ดร.เมตตามาทั้งหมด ต่างก็พนมมือ คนหนึ่งสูงอายุพูดขึ้นว่า “ข้าพเจ้ายังไม่เคยได้ยิน นักบวชคนใดพูดอย่างนี้เลย” ดร.เมตตา ได้ขอนิมนต์ หลวงพ่อกัสสปว่า พรุ่งนี้เขาขอจัดอาหารเพลถวายด้วยฝีมือตนเอง เป็นการเลี้ยงส่ง ใคร่ขอนิมนต์หลวงพ่อให้มาฉัน ในห้องรับรองภายในบ้านของเขาด้วย ซึ่งหลวงพ่อรับทราบด้วยอาการดุษณี ท่านวิเวกนันทะ และ พระมหาสุเทพ บอกในภายหลังว่า “ยังไม่เคยเห็น ดร.เมตตาให้เกียรติใครอย่างนี้”
 
           วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อออกจากห้องพัก ไปฉันเพลยังห้องรับรองส่วนตัว ของดร.เมตตา ซึ่งอยู่ภายในตึกเดียวกัน อาหารทุกอย่าง ดร.เมตตา ลงมือปรุงเองอย่างประณีต มีแกงดาลใส่มันฝรั่ง และมะเขือเทศ อย่างโอชา ข้าวผัดถั่ว ผัดมะเขือเทศ ปนมันฝรั่ง ผัดถั่วลันเตา ส่วนของหวานมีพวกขนมหวาน และชาร้อนใส่นมสด เมื่อเสร็จอาหารเพลแล้ว หลวงพ่อกัสสป ออกมาเก็บกลด และบาตร พอเวลา ๒๑.๐๐ น. หลวงพ่อได้กลับเข้าไปลา ดร.เมตตาอีกเป็นครั้งสุดท้าย ตอนนี้มีแขกผู้มีเกียรติ นั่งอยู่ด้วยสามคน หลวงพ่อได้กล่าวให้พร และอนุโมทนาในกุศลจิต และการกระทำในส่วนดีของ ดร.เมตตา ตลอดระยะเวลาหลายวันที่หลวงพ่อ ได้พำนักอยู่ ณ สำนักนี้ ขอส่วนกุศลคุณความดีนั้น จงบันดาลให้ ดร.เมตตา จงประสบแต่ความสุขสิริสวัสดิ์ ทุกประการ ดร.เมตตาพนมมือรับพร พอหลวงพ่อกัสสป ลุกขึ้นจากอาสนะ ดร.เมตตาก็ตรงเข้ามาสวมกอดไว้ ค่าที่แกเป็นแขกอินเดียร่างใหญ่ อ้วนสมบูรณ์กว่าหลวงพ่อกัสสปมาก ทำให้หลวงพ่อต้องยืนตั้งหลักใช้ไม้เท้ายันไว้กับพื้นข้างหน้า มิฉะนั้นเป็นต้องล้มคะมำแน่ ดร.วาสวาณีจ้องมองตาเขม็ง ต่อเป็นครู่ใหญ่ แกจึงได้ปล่อยมือจากหลวงพ่อ แล้วหลวงพ่อก็ก้าวออกจากห้องด้วยลีลาอันทิ้งไว้เพื่อให้เป็นที่ประทับใจ ซึ่งทุกผู้ในที่นั้นจะต้องจดจำไปอีกนาน

ท่านวิเวกนันทะ บอกอย่างปลาบปลื้มว่า “ ผมยังไม่เคยเห็น ดร.เมตตา แสดงความรักเคารพเลื่อมใสใครอย่างนี้เลย แกนับถือหลวงพ่อมากทีเดียว ” ขณะที่หลวงพ่อ และท่านวิเวกนันทะเดินออกมายังรถแท็กซี่ ที่จอดอยู่ คหบดีผู้เป็นแขกผู้มีเกียรติ ของดร.เมตตาคนหนึ่งได้รีบตามออกมา คหบดีคนนั้นได้ทรุดตัวลง ไหว้หลวงพ่อกัสสป แล้วเอาธนบัตรใบละ ๑๐ รูปีวางลงบนหลังเท้าของหลวงพ่อ พร้อมกับเอามือแตะหลังเท้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วเงยหน้าขึ้นพนมมือเพียงอก กล่าวว่า “ขอถวายเงินนี้ สำหรับไว้ใช้ตามทาง” หลวงพ่อได้อนุโมทนาให้พร สร้างความปลาบปลื้มปีติให้แก่ คหบดีชาวภารตะผู้นั้น จนน้ำตาคลอ ... 

           “จากนั้นหลวงพ่อก็ขึ้นแท็กซี่พร้อมกับท่านวิเวกนันทะ ตรงไปยังสถานีเซ็นทรัล เรลเวย์ รถออกเวลาสี่ทุ่มเศษ เดินทางสู่เมืองมัดดร๊าส แคว้นทางใต้ของอินเดีย ซึ่งเรียกว่า “ อันตระประเทศ ” เพื่อท่องเที่ยวเยี่ยมเยือนสำนักปฏิบัติทางศาสนา ของคณาจารย์ลัทธิต่างๆ ท่านวิเวกนันทะได้มาส่ง หลวงพ่อกัสสป เข้าสู่เมืองฤาษีเกษ โดยนั่งรถไฟมาลงที่เมืองหาดวาร์ รถไฟเข้าถึงหาดวาร์ เวลาตี ๕ เศษ เอาข้าวของฝากเก็บไว้ในห้องฝากเก็บของสถานีรถไฟ แล้วออกมานั่งรอเวลาที่ม้ายาว ชานชาลาจนสว่าง ลูบหน้าลูบตาที่ก๊อกน้ำของสถานี แล้วว่าจ้างสามล้อถีบไปฉันน้ำชาในตลาด ฉันเสร็จแล้วไปชมสะพานหาดวาร์ และท่าอาบน้ำหาดวาร์ สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ตรงโค้ง ของ แม่น้ำคงคามหานที ใต้เมืองฤาษีเกษ น้ำไหลเชี่ยวทั้งน่ากลัว และน่าดู ตรงกลางแม่น้ำหมุนคว้างบิดเป็นเกลียว พวกฮินดูชาวพื้นเมือง และต่างเมือง มีนักบวช นักพรต ฤาษี โยคี ฯลฯ มากมายลงอาบน้ำเต็มไปหมด ท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ หลวงพ่อกัสสปเล่าว่า เขาทำเป็นชานชลาเทคอนกรีตลงไปที่กลางน้ำ เปิดท่าให้ลงอาบได้ทั้งสองด้าน ของชานชลา ตรงกลางเป็นที่ตั้งร้านแผงลอย ขายดอกไม้และเครื่องเจิมทุกชนิด ริมชานชลาทำเป็นขั้นบันไดซีเมนต์สำหรับลงอาบ และมีรั้วตาข่ายเหล็กกั้นอยู่ข้างหน้าตามความยาวของชานชลา ห่างจากบันไดที่ลงอาบราวสองเมตร เพื่อป้องกันสัตว์น้ำ ที่หาดวาร์นี้มีสะพานข้ามแม่น้ำหลายแห่ง เพราะเป็นที่แคบ ง่ายต่อการก่อสร้าง

เวลาบ่ายโมงนั่งรถไฟไปเมืองฤาษีเกษ ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงก็ถึง แล้วเช่ารถม้านั่งต่อไปที่ท่าเรือข้ามฟาก “ท่าเรือศิวะนันทะ” ข้ามแม่น้ำคงคาไปทางฝั่งซ้าย อันเป็นที่ตั้งสำนัก “สวรรค์ อาศรม” ฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคานี้ ภูมิประเทศสวยงาม และเงียบสงบกว่าฝั่งขวา ฝั่งขวาแม่น้ำคงคา เป็นที่ตั้งของสำนักอาศรม “ศิวะนันทะ” อันมีชื่อเสียง แต่ไม่เงียบสงบเท่าที่ควร เพราะใกล้ทางรถยนต์ รถม้า และทางเดินผ่านของผู้คน ประกอบกับตั้งอยู่ต่ำจากถนนเพราะเป็นไหล่เขา รถวิ่งอยู่บนหลังคาอาศรมหนวกหูมาก พวกฤาษี นักบวช และนักพรตอยู่ในอาศรมศิวะนันทะ อย่างแออัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้น หลวงพ่อกัสสปจึงเปลี่ยนใจไม่พักบำเพ็ญเพียรที่สำนักแห่งนี้ เพราะไม่สงบเท่าที่ควร จึงได้ข้ามฝากไปฝั่งซ้ายที่สำนักอาศรมสวรรค์ดังกล่าว หลวงพ่อกัสสปเล่าถึงการเข้าสู่สำนัก สวรรค์อาศรม อย่างน่าสนใจว่า กว่าจะลงเรือที่ท่า ศิวะนันทะ ข้ามฟากแม่น้ำคงคามาฝั่งซ้ายได้ ต้องออกพละกำลังกันนิดหน่อย เพราะพวกที่รอจะลงเรือบนฝั่ง ไม่มีวัฒนธรรม พอเรือเข้าเทียบจอดก็เฮโลดาหน้ากันมา พวกที่อยู่ในเรือก็จะขึ้นบก เลยเกิดดันกันชุลมุน หลวงพ่อตัวเล็กเพราะเป็นคนไทย สู้แขกอินเดียตัวใหญ่ๆไม่ไหว เลยต้องใช้หัวกลดเป็นเครื่องเบิกทางโดยเอากลดหนีบรักแร้แล้วพุ่งตัวไปข้างหน้า แหย่พรวดเข้าไปกลางหมู่แขกที่ไม่มีมารยาท ทำเอาพวกมันส่งเสียงร้องกันเอ็ดตะโร หงายหลังผลึ่งไป ๓-๔ คน เพราะถูกขอทองเหลืองที่หัวกลดกระแทกเอา “ขอทองเหลืองที่หัวกลดนี้มีประโยชน์มาก เวลาขึ้นรถไฟชุลมุนในเมืองแขกก็ใช้ขอทองเหลืองเป็นใบเบิกทางแหย่เข้าไปก่อน พวกแขกที่เห็นแก่ตัวชอบแย่งกันขึ้นลงชุลมุน เป็นต้องร้องขรมหลีกทางให้เป็นแถว” หลวงพ่อกล่าวขำๆ “... ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่มีทางได้ขึ้นหรือลง เพราะบางกลุ่มคนเมืองแขก พูดไม่รู้เรื่อง และไม่นึกถึงวัฒนธรรม”
 
           พวกร้านขายของริมท่าน้ำคงคากับพวกฤาษีมากหน้าหลายตา ต่างพากันยืนดูหลวงพ่อ และท่านวิเวกนันทะด้วยความแปลกใจ เพราะยังไม่เคยเห็นพระภิกษุสงฆ์ ในพุทธศาสนา เข้ามาในเมืองฤาษีชีไพรแห่งนี้มาก่อนเลย หลวงพ่อ และท่านวิเวกนันทะพากันเดินเรื่อยไป ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปหาใคร จึงพากันเดินเรื่อยไป จนถึงเนินเขาหลังที่ทำการของสำนักอาศรมสวรรค์ ได้พบอาชีวกหนุ่มผู้หนึ่ง นุ่งผ้าเตี่ยวเปลือยตัว หน้าตาคมขำ ผมเป็นกระเซิงไม่มีหนวดเครา ลักษณะท่าทางทะมัดทะแมงเป็นสง่า ได้สอบถามว่า มาจากไหน ต้องการอะไร ท่านวิเวกนันทะจึงตอบแทนว่า หลวงพ่อชื่อ กัสสปมุนี ต้องการมาบำเพ็ญเพียรที่ฤาษีเกษชั่วระยะหนึ่ง หวังว่าคงจะได้รับการอนุเคราะห์ด้วยดี สำหรับท่านวิเวกนันทะเป็นแต่เพียงมัคคุเทศก์ นำทางมาเท่านั้น อาชีวกหนุ่มทราบเช่นนั้น จึงสั่งให้ชายสูงอายุผู้หนึ่งอยู่ ณ อาศรม ให้นำหลวงพ่อ และท่านวิเวกนันทะไปยังที่ทำการของสำนัก ชายสูงอายุผู้นี้ชื่อ นายเอช.แอล.เศรษฐี ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสำนัก “สวรรค์ อาศรม” นั่นเอง มีกิรกยาวาจาเรียบร้อย แสดงว่าได้รับการศึกษามาแล้วเป็นอย่างดี จากนั้นผู้จัดการสำนักก็เขียนใบสมัคร ขอเข้าอยู่ในสำนักอาศรมให้เรียบร้อย โดยกรอกข้อความให้เสร็จ เพียงแต่ให้หลวงพ่อเซ็นชื่อเท่านั้น

หลวงพ่อกัสสปได้จ่ายปัจจัยเงินรูปี ให้เป็นค่าบำรุงสำนัก อาศรมสวรรค์ตามสมควร แล้วแสดงหนังสือรับรองของ ทูตทหารอากาศประเทศไทยประจำอินเดีย ให้แกดูประกอบ รู้สึกว่านาย เอช.แอล.เศรษฐี ผู้จัดการสำนักมีความพอใจอย่างยิ่ง กล่าวยิ้มแย้มว่า “ดีมากที่ท่านสวามีกัสสป มาพำนักเพื่อบำเพ็ญเพียรที่นี่” เสร็จแล้วแกก็พาหลวงพ่อ และท่านวิเวกนันทะ ตรงไปยังที่จะให้พัก โดยให้เด็กของอาศรมช่วยแบกของตามไปด้วย หลวงพ่อครุ่นคิดว่า ที่พักนี้คงจะเป็นกุฏิสร้างด้วยดินเหนียวเก่าๆ พออาศัยนอนตามลักษณะของพวกบำเพ็ญพรต ฤาษีชีไพร ตามแถบเชิงเขาหิมาลัยนิยมอยู่อาศัยกัน แต่เมื่อเดินมาถึงที่พักกลับพบว่า กุฏิที่แกจัดให้พักเป็นตึกใหม่เอี่ยมหลังหนึ่ง มีรั้วลวดหนามล้อมรอบ “ขอเชิญท่านอยู่ที่กุฏิหลังนี้ เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อแปดวันมานี้เอง ยังไม่มีใครเข้ามาอยู่เลย ผมมอบให้ท่านอยู่เป็นคนแรก” นายเศรษฐีบอกอย่างยิ้มแย้ม พลางจัดแจงไขประตูเปิดให้ผ่านเข้าไป ท่านวิเวกนันทะกระซิบ อย่างตื่นเต้นว่า “บุญของหลวงพ่อจริงๆ ไม่มีใครได้เข้ามาอยู่เช่นนี้ นอกจากจะเป็นมหาฤาษีชั้นสำคัญ หรือผู้ที่เขานับถือจริงๆ เท่านั้น” กุฏิหลังนี้สร้างอย่างทันสมัย แต่กลับไม่มีห้องน้ำห้องส้วม ทำความประหลาดใจให้หลวงพ่ออย่างมาก
 
           นายเศรษฐีผู้จัดการอาศรม ยิ้มอย่างกว้างขวาง อธิบายว่า “ถ้าจะถ่ายทุกข์ ต้องเข้าไปถ่ายในป่า” หลวงพ่อได้ฟังคำตอบของแกแล้วก็กังวลใจ เพราะจะต้องเข้าไปหาที่ถ่ายหนักถ่ายเบาในป่า ซึ่งตนไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศ อันว่าป่าแถบนั้นเป็นป่าขอบหิมพานต์ก็ว่าได้ เพราะอยู่เชิงเทือกทิวเขาหิมาลัย แน่ละว่าจะต้องมีสิงห์สาราสัตว์ชุกชุม สำหรับน้ำอาบนั้นให้ถือเอาแม่น้ำคงคา เป็นที่อาบสาธารณะ อยากอาบต้องเดินไปอาบเอง ห้องน้ำในกุฏิไม่มีให้ เช้าวันรุ่งขึ้น ตรงกับวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ เวลา ๑๐.๐๐ น. หลวงพ่อกับท่านวิเวกนันทะ จึงครองจีวรถือบาตรออกไปรับภัตตาหาร ที่โรงครัวทาน ของสำนักอาศรม แต่ระฆังสัญญาณแจกอาหารยังไม่ดี หลวงพ่อจึงเดินเลยไปนั่งสนทนากับผู้จัดการอาศรม จำนวนพวกฤาษีโยคี สัญญาสี อาชีวก และปริพาชกที่มายืนคอยรับอาหารที่ครัวทาน มีในราว ๓๐ คน นายเศรษฐีผู้จัดการชี้แจงให้ฟังว่า ขณะนี้เป็นหน้าหนาว พวกฤาษีชีไพรเหล่านี้ ส่วนใหญ่พากันหลบอากาศหนาว ลงไปบำเพ็ญเพียรอยู่ทางภาคใต้ แถบถิ่นมัชฌิมประเทศ และอันตระประเทศ กว่าจะกลับเข้ามารวมหมู่คณะที่เมือง ฤาษีเกษ ก็ในราวเดือน มีนาคม ที่โรงครัวทานของอาศรมสวรรค์ ผู้ทำหน้าที่ภัตตุเทสก์ (ผู้แจกภัตตาหาร) เป็นฤาษีชั้นผู้ใหญ่อายุ ๖๐ เศษ ท่าทางทะมัดทะแมง ชื่อ “ โคปาละ ” นุ่งผ้าเตี่ยวตัวเดียว หน้าหนาวหรือหน้าร้อน ก็นุ่งอย่างนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง คล้องด้ายดำสะพายเฉียงจากขวามาซ้าย หนวดและเคราเกรอะกรังเป็นสังกะตัง ร่างกายเป็นเกล็ด เพราะไม่เคยอาบน้ำ

ที่ประพฤติตนแบบนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญตบะเผากิเลสอย่างหนึ่ง คือไม่นิยมยินดีในร่างกายของตนเอง มันจะเป็นยังไงก็ช่างมัน ถือธรรมะ คืออาตมัน (วิญญาณ) เป็นใหญ่ เพื่อให้อาตมันเข้าร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พระศิวะเจ้า ฤาษีโคปาละ พอเห็นหน้าหลวงพ่อกัสสป ก็ยิ้มจ้องมองแล้วหัวเราะ ส่งเสียงทักทายเป็นภาษาฮินดี แต่หลวงพ่อไม่ถนัดภาษาฮินดี จึงเพียงแต่ยิ้มตอบ ฤาษีโคปาละหยิบจาปตี้ปิ้ง ใส่ลงในบาตรสี่แผ่น ข้าวสุกหนึ่งทัพพีใหญ่ แกงดาลสองทัพพีใหญ่ สับจี๊ (แกงข้น) หนึ่งทัพพี ใส่โล๊ะรวมกันลงไปในบาตร กำลังร้อนๆ ต้องเอาผ้าเช็ดหน้ารองก้นบาตร เสร็จแล้วนำบาตรกลับมานั่งฉันที่กุฏิ “มีอาหารอย่างนี้ หลวงพ่อพอไปไหวไหม ?” ท่านวิเวกถามด้วยความเป็นห่วง หลวงพ่อกัสสปหัวเราะ ตอบว่า “อาหารแขกอย่างนี้ให้ฉันไปอีกสิบปีก็ฉันได้อยู่ได้ ไม่ไหวอย่างเดียวคือการเข้าไปหาที่ถ่ายทุกข์ในป่า” ฉันอาหารอิ่มแล้วถือบาตรไปล้างที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ล้างมือแปรงฟันที่นั่นเสร็จ พอหันกลับจากแม่น้ำก็พอดีพบกับ มาดามบริจิต ชาวอิตาลี ซึ่งเคยพบกันมาครั้งหนึ่ง ที่กุลิตาลัยต้นเดือนก่อน เธอเป็นชาวยุโรปที่ชอบแสวงหาสัจจะให้กับชีวิต ได้เดินทางมายังชมพูทวีป เพื่อศึกษาและ ปฏิบัติตามแนวลัทธิโยคี ได้เคยสนทนาธรรมกับหลวงพ่อมาแล้ว
 
           มาดามบริจิต นุ่งห่มแบบนักพรตผ้าสีเหลืองอ่อน ทำให้ร่างงามของเธอระหงยิ่งขึ้น เธอยิ้มอย่างแช่มช้อยดีใจที่ได้พบหลวงพ่ออีกครั้ง เธอเล่าว่าได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ที่เมืองฤาษีเกษได้ ๑๗ วันแล้ว อีกราว ๓-๔ วันก็จะเดินทางกลับอิตาลี ขณะเดินสนทนากันกลับกุฏิ มาดามบริจิตมองหลวงพ่อด้วยสายตาหวานเยิ้ม มีความหมายชอบกล หลวงพ่อรำพึงว่า มาตุคาม (สตรีเพศ) ก็เป็นอย่างนี้เอง ความมีเสน่ห์ยั่วยวนใจเพศตรงข้ามย่อมแสดงออกได้เสมอ ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา แต่ใจเรานิ่งแน่ไม่หวั่นไหวเสียแล้ว หามีความรู้สึกใดไม่ ถึงกระนั้นสมณะก็อย่าพึงประมาท จงระวังมาตุคามให้จงหนัก มาตุคามย่อมเป็นภัยกับพรหมจรรย์ มาดามบริจิต เดินตามมาส่งถึงกุฏิแล้ว ก็ไหว้อภิวาทอย่างงามแช่มช้อย อำลาจากไป บ่ายโมงเศษท่านวิเวกนันทะพาเดินชมภูมิประเทศ เมืองฤาษีเกษ โดยย้อนขึ้นไปทางต้นแม่น้ำคงคา เพื่อเดินดูสถานที่ และภูมิประเทศ ตลอดจนชุมนุมเหล่านักพรต ลัทธินิกายแปลกๆ ภูมิประเทศที่เดินย้อนขึ้นไปทางต้นแม่น