แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Gearmour

หน้า: 1 [2]
1000
บทความ บทกวี / เย ธมฺมา
« เมื่อ: 24 ต.ค. 2551, 12:25:49 »
ด้วยความเคารพครับ
ที่นครปฐม มักจะพบคาถา เย ธมฺมา อยู่ตามจารึกของวัดเก่าๆ เสมอ
ผมได้อ่านบทความ ชิ้นหนึ่งรู้สึกว่ามีคุณค่าจะขอ
นำมาลงไว้ ณ ที่นี้ครับ

คาถา เย ธมฺมา

โดย เกษม ศิริสัมพันธ์
ผู้จัดการออนไลน์ ๖ กันยายน ๒๕๔๗

มักมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอว่า พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนา หรือ religion หรือ เป็นปรัชญา หรือ philosophy หรือเป็นวิถีการครองชีวิตแบบหนึ่ง a way of life

นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบันของเรา อย่างท่านพุทธทาส และท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) จึงเลี่ยงมานิยมใช้คำว่า พุทธธรรม เพื่ออธิบายถึงประมวลคำสอนของพระพุทธองค์

พุทธธรรมนอกจากเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังรวมถึงความเป็นไปในพระชนม์ชีพและพระปฏิปทาของพระพุทธองค์ ซึ่งสะท้อนออกมาให้ปรากฏในพุทธธรรมอีกด้วย

พระพุทธศาสนาเป็นธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ในความงมงาย เพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล

ในกาลามสูตร พระพุทธองค์ทรงเทศนาสั่งสอนชาวกาลามะ แห่งเกศปุตตนิคม ในแคว้นโกศลว่า อย่าให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ด้วยเหตุต่างๆ ถึง ๑๐ ประการ รวมทั้งอย่าเชื่อเพราะนับถือว่าผู้นั้นเป็นสมณะหรือครูของตน แต่ให้เชื่อต่อเมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาของตนเองแล้วสิ่งใดกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล

หลักธรรมที่สอนให้เชื่อด้วยปัญญาของตนเองนั้น ตรงกับหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักวิธีคิด เป็นการพิจารณาเพื่อเข้าถึงความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เป็นการตริตรองด้วยตนเอง ให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว แยกแยะได้เองว่าอะไรเป็นกุศลกรรม อะไรเป็นอกุศลกรรม

เหนือสิ่งอื่นใด จะเห็นได้ว่า พระธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น แต่ละเรื่องแต่ละราว ล้วนประกอบด้วยเหตุและผลสัมพันธ์กันทั้งนั้น

มีคาถาสำคัญบทหนึ่ง ซึ่งบรรยายถึงลักษณะสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลในหลักพุทธธรรมเรียกว่า คาถา "เย ธมฺมา"

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงตัวคาถาดังกล่าวพร้อมทั้งความหมายที่สำคัญ ต้องขอเล่าเรื่องประกอบคาถาบทนี้ เป็นเรื่องนำเสียก่อน

มีเรื่องเล่ามาว่า ที่ใกล้กรุงราชคฤห์ มีหมู่บ้านพราหมณ์อยู่ ๒ หมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองได้เป็นมิตรสหายสนิทสนมกันมาช้านาน และต่างก็มีบุตรชาย หัวหน้าพราหมณ์ หมู่บ้านหนึ่ง มีบุตรชายชื่อ อุปติสสะ อีกหมู่บ้านหนึ่งหัวหน้าพราหมณ์ก็มีบุตรชายเหมือนกัน ชื่อ โกลิตะ

อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้คบหากันเป็นเพื่อนสนิท เล่าเรียนวิชาทางลัทธิพราหมณ์มาด้วยกัน แต่ก็มีความรู้สึกว่าแนวทางสั่งสอนของสำนักพราหมณ์ต่างๆ นั้น หาใช่ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริงไม่

ทั้งสองคนจึงต่างออกแสวงหาศาสดา ที่สอนอมตธรรมคือธรรมที่ไม่ตาย โดยให้คำมั่นสัญญากันว่า เมื่อฝ่ายใดสามารถได้พบศาสดาที่สอนธรรมเช่นนั้นได้ก่อน ก็ต้องกลับมาบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้ทราบด้วย จะได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์พร้อมกัน

วันหนึ่ง อุปติสสะมาณพ ได้ไปพบ พระอัสสชิ ซึ่งเป็นภิกษุองค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นปฐมสาวกของพระพุทธองค์

ขณะนั้นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสะเห็นกิริยาสำรวมและสงบของพระอัสสชิ ก็เกิดความสนใจและเลื่อมใส

อุปติสสะจึงเดินตาม พระอัสสชิ จนท่านบิณฑบาตเสร็จ กลับไปฉันเรียบร้อยแล้ว จึงได้ช่อง เข้าไปถามว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน

พระอัสสชิตอบว่า พระศาสดาของท่านคือพระสมณโคดม ซึ่งอยู่ในวงศ์ศากยะ ได้เสด็จทรงผนวชจนตรัสรู้โดยพระองค์เอง

อุปติสสะ จึงถามต่อไปว่า พระสมณโคดม ศาสดาของท่าน สอนธรรมอะไรเป็นสำคัญ ขอให้แสดงธรรมะนั้นให้ฟัง

พระอัสสชิก็กล่าวถ่อมตนว่า ท่านเพิ่งเข้ามาบวช ยังไม่อาจแสดงหลักธรรมได้กว้างขวางมากนัก ได้แต่กล่าวอย่างย่อๆ อุปติสสะ ก็บอกว่าไม่ต้องแสดงหลักธรรมให้ยืดยาวเยิ่นเย้อหรอก เอาแต่แค่ใจความก็พอแล้ว!

พระอัสสชิ จึงกล่าวเป็นคาถาสั้นๆ รวมสี่บาท ความว่า :

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
เตสํ เหตุํ ตถาคโต พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ และความดับของธรรมเหล่านั้น
เอวํ วาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้

พระอัสสชิถ่อมตนว่าบวชใหม่ รู้น้อย แต่สามารถสรุปหัวใจของอริยสัจได้ในคาถาเพียงสี่บาทเท่านั้น แสดงว่าพระปัญจวัคคีย์รูปนี้เป็นผู้รู้จริง รู้ลึกถึงแก่นของหลักอริยสัจทีเดียว

ฝ่ายอุปติสสะ ได้ฟังคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแล้ว ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม มองเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา แต่สรรพสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความดับสูญเป็นธรรมดาเช่นกัน

อุปติสสะจึงกลับไปหาเพื่อนที่ชื่อ โกลิตะ ตามที่สัญญากันไว้ บอกเพื่อนว่าได้พบศาสดาผู้ล่วงรู้อมตธรรมแล้ว

มาณพทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แถมยังพาบริวารของตนมีจำนวน ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย ทั้งหมดได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ประทานให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คืออุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธองค์

มาณพทั้งสอง รวมทั้งบริวาร เมื่อได้อุปสมบทแล้ว และได้บำเพ็ญเพียร ไม่ช้านักก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

พระอุปติสสะ รู้จักในวงการพระพุทธศาสนาว่า พระสารีบุตร คือเรียกขานท่านตามชื่อของมารดา คือเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี จึงชื่อว่าสารีบุตร หรือผู้เป็นบุตรของนางสารีนั่นเอง

ส่วนพระโกลิตะ ก็เช่นเดียวกันในทางพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า พระโมคคัลลานะ ตามชื่อของมารดาท่านเช่นกัน แปลว่าบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ว่า เป็นอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีปัญญามาก ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีฤทธิ์มาก

ในสมัยต่อมาเมื่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อย่างเช่นพระประธานในพระอุโบสถ หรือในพระวิหาร จึงนิยมสร้างรูปพระอัครสาวกทั้งคู่ ให้ยืนหรือให้นั่งอยู่สองข้างพระประธานด้วยกัน พระอัครสาวกที่สร้างขึ้นนั้นมีสองรูป คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ แต่ทั้งสองรูปมีร่างเหมือนกัน

การสังเกตว่าพระอัครสาวกเป็นรูปใด ก็ให้สังเกตว่าเบื้องขวาของพระประธาน คือพระสารีบุตรเถระ ส่วนด้านซ้ายของพระประธานคือพระโมคคัลลานะเถระ ต้องสังเกตด้วยว่าเมื่อเราหันหน้ากราบพระประธานนั้น ก็ต้องกลับกัน ด้านซ้ายของตัวเราคือพระสารีบุตร ส่วนด้านขวาของเราคือพระโมคคัลลานะ

ส่วนคาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิ กล่าวแก่ อุปติสสะมาณพนั้น เป็นการกล่าวสรุปในหลักธรรมสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา คือ อริยสัจ

อริยสัจมีสี่ประการ ประการแรก ได้แก่ ทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ประการที่สอง ได้แก่ สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ จึงเป็น เหตุ ที่ทำให้เกิด ผล คือ ทุกข์ ในประการแรก ประการที่สาม คือ นิโรธ คือความดับทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป และประการที่สี่ซึ่งเป็นประการสุดท้าย คือ มรรค เป็นข้อปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์ นับว่าเป็น เหตุ อีกเหมือนกัน

เมื่อนำหลักอริยสัจสี่ประการนี้ เข้ามาพิจารณาตัวคาถา เย ธมฺมา จะเป็นดังนี้

คาถาบาทที่หนึ่ง มีความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ก็หมายถึง ทุกข์ ซึ่งป็น ผล อันเกิดจาก เหตุ ดังกล่าว

คาถาบาทที่สอง มีความว่า พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น นี่ก็คือเรื่อง สมุทัย ซึ่ง เหตุ เป็นอริยสัจข้อที่สอง

คาถาบาทสาม มีความว่า และความดับของธรรมเหล่านั้น ก็คือพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่อง นิโรธ และ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันเป็น ผล นำไปสู่ให้ถึงความดับทุกข์ในที่สุด

ส่วนคาถาบาทสุดท้าย ความว่า พระมหาสมณะมีวาทะไว้อย่างนี้ ก็คือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนี้

อันที่จริง คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิกล่าวนี้ มิได้หมายเฉพาะแต่เรื่องอริยสัจสี่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงหลักธรรมทั่วไปของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุ กับ ผล ผล ที่ดีต่างๆ ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ดีทั้งนั้น ซึ่งจะเรียกว่า บุญ หรือกุศลกรรมก็ได้ ส่วน ผล ที่ไม่ดีต่างๆ ก็ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ไม่ดี คือบาป หรืออกุศลกรรมนั่นเอง

พระพุทธองค์จึงได้ทรงชี้ให้เห็นว่า เหตุ ที่ดี คือ บุญหรือกุศลกรรมย่อมมี ผล ในทางที่ดี ส่วน เหตุ ที่ไม่ดี คือ บาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมมี ผล ในทางตรงข้าม

นอกจากนั้นยังตรัสชี้ เหตุคือทำความดี คือทำบุญหรือกุศลกรรม เพื่อให้เกิดผลที่ดีแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง ในทำนองเดียวกัน เหตุคือทำความไม่ดี คือทำบาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมนำผล ร้ายมาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติเองเช่นกัน

พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่ได้สอน ให้คนหวังความช่วยเหลือเอื้ออำนวยจากพลังภายนอก หรือพลังเหนือธรรมชาติ ในรูปใดๆ ก็ตาม

แต่สอนให้เชื่อมั่นในหลัก "กรรม" คือการกระทำของตนเอง ถ้าทำดี ก็ย่อมได้ผลที่ดี ตรงกันข้าม ถ้าทำชั่วทำเลว ก็ย่อมได้รับผลร้ายหรือผลไม่ดีเอง!

คาถา เย ธมฺมา ซึ่ง พระอัสสชิ กล่าวนั้น จึงเป็นการกล่าวคาถาสรุป รวมยอดของพุทธธรรมเดียว

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโปรดให้สลักแท่งศิลาจารึกคาถาบทนี้ไว้มากมาย ต่อมามีผู้ขุดค้นพบหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้อยู่ทั่วไปในชมพูทวีป แสดงว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลื่อมใสในคาถา เย ธมฺมา บทนี้ ว่าเป็นคาถาซึ่งสรุปหัวใจพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุมทีเดียว

มีเกร็ดเล่า เมื่อก่อสร้างโรงแรมอินทรา ที่บริเวณประตูน้ำ ผู้ลงทุนได้มาปรึกษาท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่าจะสร้างศาลพระพรหมอย่างโรงแรมอื่นเขาบ้างจะดีไหม?

ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้แนะนำว่า ไม่ควรสร้างเทวรูปตามลัทธิพราหมณ์ แต่ควรสร้างเป็นศาลประดิษฐานรูปธรรมจักร ที่ฐานสลัก คาถา เย ธมฺมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนาจะเหมาะสมกว่า! เชื่อว่าศาลที่มีรูปธรรมจักร และจารึกคาถาบทนี้ ก็คงยังตั้งอยู่ที่โรงแรมแห่งนั้น..


คงมีประโยชน์บ้างนะครับ
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour



1001
ด้วยความเคารพครับ
   อาจจะไม่ตรงคำถามนะครับ
ขออนุญาตเกรียน  นี้เป็นเวปของวัด
  รบกวนเจ้าของกระทู้ อ่านความข้างล่างนี้ด้วยนะครับ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริง ฯ


   เท่าที่อ่านที่คุณโพส
คำตอบของผมเกี่ยวกับเรื่องแม่พิมคงมีแค่นี้ครับ

ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1002
ด้วยความเคารพครับ
   เรียนท่านหอมเชียง
เรื่องยันต์วันไหนเค้าวัดจะเรียนถามหลวงปู่ให้ครับ
   ว่าแต่
ท่านack01
  ทำไมถึงอยากให้แม่พิมไปหานะครับ
ถ้าเจอผมในเอ็มช่วยทักด้วยนะครับ
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1003
ดีใจด้วยนะคะ ได้ของดีมาเก็บ ไว้ ครบแล้ว

รักษาให้ดี ดี นะคะ
อีกหน่อยจะหายากแล้วค่ะ
หลวงปู่ท่านไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว
   ทำไมกล่าวแบบนั่นครับ

1004
ช่วงนี้เป็นไปได้อย่ารบกวนหลวงปู่ท่านเลยครับ
   ตอนรับกฐินเห็นว่าท่านเล่าว่าเกือบไม่ไหว
ตอนนี้งดเจิมรถ  อาบน้ำมนต์ แต่นี้ เห็นว่า24 ท่านจะไปตาก
ไปช่วยเค้าหล่อพระ

   นางพิม ลองวิธีนี้ดูนะครับ
 ระลึกคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    จุดธูปดอกเดียว แล้วเรียกแม่พิม มากินเหล้า
คาถาเก้าจบ
   ลองดูครับ

1005
แน่ใจหรอครับว่าเหมือน
  ???

1006
ด้วยความเคาพรครับ
     นำมาฝากกันครับ
รูปวัตถุมงคลของหลวงปู่ หลังออกพรรษา ปี 50
 

รุ่นนี้ลูกศิษย์ของอาจารย์อั้น เป็นผู้สร้างครับ สร้างน้อยมาก มีแบบสีและขาวดำ 
  มวลสารก็อย่างที่เห็น   ตระกรุดเงินนั้น หลวงปู่จารเองทุกดอก  ซึ่งวัตถุมงคลข้างหลังนั้น บางองค์ อาจจะแปลกแตกต่างไป
เนื่องจากบางท่านที่จองไว้ตั้งก่อนสร้าง เอาปรกมะขามรุ่นแรก พระตระกั่วกันผี องค์เล็กมาติดไว้เพิ่มเติมก็มี  แต่หลักๆ มีมวลเท่าที่เห็นนี้ครับ  องค์ของผมขาวดำ เป็นของหลวงปู่ คือผู้สร้าง ถวายไว้ที่หลวงปู่ สี่องค์ ผมจองทันแต่สี ขาวดำไม่ได้ไว้
เพราะยอดจองเต็ม  ใครที่อยากได้ไม่ต้องเสียใจเพราะว่ามีเจ้าของหมดทั้งเริ่มทำแล้วครับ คือตั้งแต่ก่อนเข้าพรรษา
   
 มีด

  มีพระลูกวัด ขอให้หลวงปู่ทำ โดยมีมวลสารหลักเป็นตะปูโบสถ์วัดสำคัญๆ ในจังหวัดนครปฐม
มีดรุ่นนี้ หลวงปู่จารเองทุกเล่ม ครับ
 ตระกรุดไม้ไผ่ตัน

ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1007
ด้วยความเคารพครับ
รบกวนด้วยครับ นำมาบันทึกไว้





แกะรูปสิงห์คู่ ไว้ทั้งสองด้าน

และที่ขาดเสียมิได้ นางพิม ที่สันด้ามครับ

  ของส่วนตัวผมเองครับ
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1009
ด้วยความเคารพครับ
 

ผมเพิ่มเติมเรื่องของแม่พิมไว้ที่นี้นะครับ
    http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1924&st=30
ขอบคุณครับ
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1010
พี่เอ็กเรียกคุณตา ผมเรียกท่านว่าคุณปู่ หุๆๆ
เด็ดขาดและแน่นอนมากครับ เรื่องแก้คุณไสยของท่าน
ด้วยความเคารพครับ
  อยากไปคาราวะครับ
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1011
...ขอบันทึกไว้เพื่อประกาศเกียรติคุณครูบาอาจารย์ครับ มิได้มีเจตนาจะอวดศักดาแต่ประการใด...
  ชอบคำพูดนี้
     ครูบาอาจารย์ของผมเองมานั่งนึกๆ
ยังเรียงลำดับออกมาได้ละเอียดเท่าเลย
  ขอบคุณครับ

1012
เข้าไปดูนะครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1924

1013

4 วัดท้องไทร ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี นมัสการหลวงปู่อั๊บ เขมจาโร  สืบทอดวิชาหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา -วัดกลางบางแก้ว โดยตรง  เงินปัจจัยจากการเช่าบูชาวัตถุมงคลทั้งหมดร่วมทำบุญสาธารณกุศลกับหลวงปู่ท่านครับ (วันเสาร์-อาทิตย์มีการสักยันต์ โดยอาจารย์อั้น)
พอก่อนครับ เมื่อยมือ นึกไม่ออกแล้วด้วย

     
   วันเสาร์วันเดียวครับ










1014
จะเหมือนเราเลี้ยงผีรึเปล่า ก็บูชาไว้ในห้องนอน กลัวผู้ปกครองจะว่าเอา แล้วถ้าเราบูชาแล้ว ตอนพาท่านเข้าบ้าน จะต้องจุดูธูป บอกเจ้าที่ที่บ้านรึเปล่า
กลัวว่าจะไปขัดกันกับสิ่งศักดิ์ในบ้าน
ถ้ากลัวรบกวนเอาไปคืนวัด หรือ มอบต่อ ให้คนที่อยากบูชาครับ


1015
ของผมก็จางลงเป็นจุดๆ
    นายขนมต้ม
ของอาจารย์ถึง นะครับ
ไม่รู้จะทำอย่างไร
 จะซ้ำก็ หมึกมันระเบิดใต้หนัง
เส้นมันแตกไปหมดแล้ว
  เข้มบ้างจางบ้าง

1016

เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ
ถูกต้องครับ ต้องถูกปรับอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระ
(แต่หากตนเองสามารถทำได้จริง ....และแสดงจริงโดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเอง อันนั้นยกเว้น ครับ )
พระอรหันสมัยก่อนก็ทรงแสดง ครับ ...แต่เพื่อกำหลาบให้คนที่ไม่ศรัทธาในพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น .......หากท่านสามารถสำเหร็จยานจนแสดงได้ ถือว่าไม่ผิดครับ
เหมือนตอนที่หลวงปู่บุญทำนายเหตุการล่วงหน้า ....... และก็เป็นจริง ถือว่าไม่ผิดในพระธรรมวินัย ครับ
(เพราะว่ามีในตนโดยไม่ได้ใช้มายากลหลอกลวง)

แต่งานผมว่าไม่มีนะครับ ที่ประลองเนี่ย ...... เพราะหากทำแสดงมากๆ ก็อาจทำให้ยานเสื่อมลงได้ นอกซะจากเกิดเหตุการจำเป็นจริงๆ

  ทำได้จริงก็ผิดครับ
ตามสิกขบทนี้ครับ
ปาจิตตีย์ 92 สิกขาบท
มุสาวาทวรรคที่ 1
สิกขาบทที่ 8
ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ต้อง
ปาจิตตีย์
    ปลงอาบัติก็ตกครับ

1017

ท่านเป็น ๑ใน๑๐พระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศไทยที่ผ่านการทดสอบวิทยาคม และใช้พลังจิตทำให้กบไสไม้ขึ้นหน้า แล้วหันกลับได้โดยไม่ใช้มือจับหัน ที่จังหวัดนครปฐม ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๒ (ในคราวนั้นมีพระเกจิอาจารย์จากสำนักต่างๆร่วมทดสอบ ๑๐๐ กว่าองค์)  อริยสงฆ์ที่ผ่านการทดสอบทั้งหมด ๑๐ องค์ มีดังนี้

๑.หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว

๒.หลวงปู่ทอง วัดเขากบ

๓.หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน

๔.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

๕.หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก

๖.หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย

๗.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

๘.หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ

๙.หลวงปู่จร วัดเขารวบ

๑๐.หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

เคยอ่านบทความช่วงนี้มา
   เห็นว่าเป็นนิยายครับ
ที่ไหนจำไม่ได้แล้วครับ
  การลองกันแบบนี้ การแลกเปลี่ยนวิชา
เห็นมีแต่ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ทำให้ลูกศิษย์เห็นว่ากบที่ไสไม้ไป สามารถไสกลับได้โดยไม่ต้องจับให้กลับ
  ในขณะที่ ครั้งแรก นั้น หลวงตาแช่ม วัดตาก้อง ทำไสไป แต่ต้องจับให้ไสกลับ
ครับ   เรื่องนี้เห็นมีในหนังสือหลายๆ เล่มครับ
แต่ทดสอบ ได้อะไรแบบนั้น ไม่เห็นมีกล่าวไว้ครับ
       
    และที่สำคัญการทดสอบอย่างที่ถ้าเกจิมาเยอะๆจริง
จนเป็นงานเป็นเรื่องราว เท่ากับอวดอุตริที่มีในตน  อย่างไรก็ต้องปรับอาบัติครับ

1018
ไม่ทราบว่าผมอายุ17จะไปสักนำมันไม่ทราบว่าที่วัดบางพระจะสักให้หรือเปล่า?ครับ

และจะไปสักกับท่านใดครับ

จะสักเสือเขาจะสักให้ไหมครับ  หรือว่าต้องไปตามขั้นตอน

แล้วถ้าตามขั้นตอนต้องสักอะไรก่อนเหรอ(หรือ)ครับ

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ

ขอบคุณครับผม


1019
อย่ากลัว 
     คิดว่าไม่ดี มีโทษ ก็
    ตั้งเตาไฟก่อกองไฟกลางแจ้งเข้า
โยนลงกองไฟไป  อยู่กันได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ต่างคนต่างไป
   เราเป็นมนุษย์ศักดิ์ยังดีกว่าเทวดาบางพวกซะด้วยซ้ำ

1020
สาธุ
   บทความดีๆ
นำมาส่งสมเป็นเวปวัดในพระพุทธศาสนา

1021
ของนะไม่เสื่อม แต่คนนะเสื่อมไปแล้ว
  อย่าเสื่อมไปอีก

1022
ขออนุญาต
   นำไปลงไว้ที่เวปคนรักมีกเป็นเครื่องเตือนใจนะครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1023
ด้วยความเคารพครับ
   เห็นว่ากุฏิหนึ่งในบางพระ เลือกภาพได้โดยคิดค่าฝีมือตามภาพ
อย่างไรไม่ทราบครับ
   ผมเชื่อความเมตตาของครูบาอาจารย์และค่าครู25บาทดอกธูปเทียนบุหรี่หนึ่งซอง
มากกว่า
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour
น่าจะเป็นกุฏิพระมหาสมชาย นะครับ  :075:

ปกติธรรมดาเห็นอาจารย์ที่มาช่วยสักจะแต่งขุดขาว เลยนึกว่าลงรูปผิดเป็นตำหนักสัก
ดูจากภาพเห็นด้านหลังยังเปลือยอยู่มาก สักกับอาจารย์ที่กุฏินี้ไม่จำเป็นต้องลงยันต์ครูก่อนได้ใช่ไหมครับ หรือจะเคยลงแล้วเป็นน้ำมันเลยสักรูปเสือได้เลย ??

อันนี้ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ
  :075:

ด้วยความเคารพครับ
   เห็นว่ากุฏิหนึ่งในบางพระ เลือกภาพได้โดยคิดค่าฝีมือตามภาพ
อย่างไรไม่ทราบครับ
   ผมเชื่อความเมตตาของครูบาอาจารย์และค่าครู25บาทดอกธูปเทียนบุหรี่หนึ่งซอง
มากกว่า
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1024
ด้วยความเคารพครับ
     คนสร้างก็ตาย คนเสกก็ตาย คนห้อยก็ตาย
สุดท้ายตายหมด
   บูชาพระให้ระลึกถึงความดีครับ
คนเรานึกเอาเองทั้งนั้นและครับ
ห้อยนั้นแขวนนี้ และจะดี
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1025
ด้วยความเคารพครับ


   สองภาพบนไม่ทราบว่าของใครครับ
อันนี้จูงนาง ปกติอาจารย์จะไม่ค่อยให้ใครครับ

ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1027
ด้วยความเคารพครับ
    พี่เพชรอีกแบบครับ


1028
^
^
^
ด้วยความเคารพครับ
   โจรพูดดี
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1029
ด้วยความเคารพครับ
   ไปเสาร์อาทิตย์
เรียกพี่ด้วยนะครับ
  พี่จะไปด้วยครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1030
ด้วยความเคารพครับ
   
 พูดถึงอาจารย์อั้น
ผมนับถืออาจารย์อั้นมากครับ
   ท่านไปช่วยหลวงปู่ทุกเสาร์
ไม่เคยขาดเกือบสองปีแล้ว
  ค่าครูทุกบาทถวายให้หลวงปู่
ซึ่งนำมาสร้างกำแพงโรงเรียน
และส่วนควบของโรงเรียน
   นับจากสมุดลงชื่อได้เงินเกินห้าแสนบาท
ซึ่งผมเห็นมาตลอดว่าอาจารย์อั้นถวายหลวงปู่ทั้งหมดจริงๆ
ไม่เหมือนฆาราวาสที่เรียนไปบางคน
  ไม่จำเป็นไม่กลับมาเหยียบวัดอีก
ทำวัตถุแข่งกับวัด แล้วมาเหยียดครูบาอาจารย์ว่าไม่มีอะไรสอนแล้ว
   ยันต์ของหลวงปู่รูปแปลกๆยังมีอีกครับ แต่เอามาสักไม่ไหว
นอกจาก นางพิม ดำเซ็น นางแก้ว นารีสวน   
 ยังมีอีกหลายอย่างครับ  แต่โดยส่วนตัวผมไม่แนะนำให้ใครสักครับ
     ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1031
ด้วยความเคารพครับ
    ตัวจริงเลยครับ
เยอะมากหลากหลายดีครับ
ฝากรูปแม่นางพิมไว้แล้วกันครับ

  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1032
ด้วยความเคารพครับ
ภาพยันต์พระศรี
จากเวปคนรักมีด เป็นของผมเองครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=2881







ขอแสดงความนับถือ
Gearmour


1033
ด้วยความเคารพครับ
   เบื้ยหลวงพ่อเปิ่นท่านใส่มวลสารไว้ข้างในไว้ครับ
มิใช่ปรอทครับ
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1034

เป็นกระทู้เจ็ดแบกครับ เป็นหัวใจของพระอภิธรรมครับ


กระทู้เจ็ดแบก  อิระชาคะตะระสา
 
ข้างล่างคัดลอกของเค้ามาครับ

 พระอภิธรรมปิฎก มีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง. วิ. ธา. ปุ. กะ. ยะ. ปะ. (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่
๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี 
          ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มีทั้งหมด ๔ กัณฑ์ คือ
 ๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์  แสดงการจำแนกจิตและเจตสิก เป็นต้น
 ๒) รูปวิภัตติกัณฑ์  แสดงการจำแนกรูป เป็นต้น
 ๓) นิกเขปราสิกัณฑ์  แสดงคำอ้างอิงว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้นอย่างนี้
 ๔) อัตถุทธารกัณฑ์  แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของ ปรมัตถธรรม
 
 
 
๒. คัมภีร์วิภังค์ 
          ว่าด้วยการจำแนกมาติกาในคัมภีร์ธัมมสังคณี ทั้งติกมาติกา ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๑๐๐ หมวด โดยแบ่งเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น ขันธวิภังค์ จำแนกขันธ์, ๒ อายตนวิภังค์ จำแนกอายตนะ, ธาตุวิภังค์ จำแนกธาตุ, สัจจวิภังค์ จำแนกสัจจะ, อินทริยวิภังค์ จำแนกอินทรีย์, ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ จำแนกปฏิจจสมุปบาท, สติปัฏฐานวิภังค์ จำแนกสติปัฏฐาน เป็นต้น
 
 
๓. คัมภีร์ธาตุกถา 
          ว่าด้วยคำอธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ โดยนำมาติกาของคัมภีร์นี้จำนวน ๑๐๕ บท และมาติกาจาก คัมภีร์ธัมมสังคณีจำนวน ๒๖๖ บท (ติกมาติกา ๖๖ บท ใน ๒๒ หมวด และทุกมาติกา ๒๐๐ บท ใน ๑๐๐ หมวด) มาแสดงด้วยนัยต่างๆ (จำนวน ๑๔ นัย) เพื่อหาคำตอบว่าสภาวธรรมบทนั้นๆ สงเคราะห์เข้าได้กับ ขันธ์เท่าไร เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร เข้าไม่ได้ กับขันธ์เท่าไร เข้าไม่ได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าไม่ได้กับธาตุเท่าไร 
 
 
๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ 
          ว่าด้วยการบัญญัติ (การประกาศ แสดง หรือชี้แจง) ในเรื่อง ๖ เรื่อง คือ (๑) ขันธบัญญัติ การบัญญัติเรื่องขันธ์ (๒) อายตน บัญญัติ การบัญญัติเรื่องอายตนะ (๓) ธาตุบัญญัติ การบัญญัติเรื่องธาตุ (๔) สัจจบัญญัติ การบัญญัติเรื่องสัจจะ (๕) อินทริยบัญญัติ การบัญญัติ เรื่องอินทรีย์ (๖) ปุคคลบัญญัติ การบัญญัติเรื่องบุคคล 
 
 
 
๕. คัมภีร์กถาวัตถุ 
          ว่าด้วยการโต้วาทะเพื่อชี้แจงแสดงเหตุผลให้เห็นว่าวาทกถา (ความเห็น) ของฝ่ายปรวาที (พวกภิกษุในนิกายที่แตกไปจาก เถรวาท ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จำนวน ๒๒๖ กถา ล้วนผิด พลาดคลาดเคลื่อนจากพระพุทธพจน์ดั้งเดิมที่ภิกษุฝ่ายเถรวาทยึดถือ ปฏิบัติอยู่ วิธีการโต้วาทะใช้หลักตรรกศาสตร์ที่น่าสนใจมาก นับเป็น พุทธตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งมีในคัมภีร์นี้เท่านั้น 
 
 
๖. คัมภีร์ยมก 
          ว่าด้วยการปุจฉา-วิสัชนา สภาวธรรม ๑๐ หมวด ด้วย วิธีการยมก คือการถาม-ตอบ เป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะ ของคัมภีร์ยมก สภาวธรรม ๑๐ หมวด ได้แก่ (๑) หมวดมูล (สภาวธรรมที่เป็น เหตุ) (๒) หมวดขันธ์ (๓) หมวดอายตนะ (๔) หมวดธาตุ (๕) หมวด สัจจะ (๖) หมวดสังขาร (๗) หมวดอนุสัย (๘) หมวดจิต (๙) หมวด สภาวธรรมในกุสลติกะ เรียกสั้นๆ ว่า หมวดธรรม (๑๐) หมวดอินทรีย์ สภาวธรรม ๑๐ หมวดนี้ทำให้แบ่งเนื้อหา ของคัมภีร์ยมกออกเป็น ๑๐ ยมก เรียกชื่อตามหมวดสภาวธรรม ที่เป็นเนื้อหา คือ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจยมก (๖) สังขาร ยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก 
 
 
๗. คัมภีร์ปัฏฐาน 
          ว่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมแม่บท หรือ มาติกา ทั้ง ๒๖๖ บท (๑๒๒ หมวด) ในคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยอำนาจปัจจัย๒๔ ประการ ๓ มี เหตุปัจจัย เป็นต้น เพื่อให้เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลาย ปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น มิได้เกิดจากการบงการของ ผู้ใด แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่า จิตตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม 
 
 
 

1035
สาธุ
    บทนี้สวดแล้วไม่ทำก็ไม่เป็นมงคล
ข้อเดียวที่ทำตอนนี้ไม่ได้ คือ
จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
    กราบขอบคุณ ผู้โพสด้วยครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1036
^
^
^
ลายมือหลวงปู่อั๊บ
นางแก้วตัวแรกในรอบสิบปี
ปกติท่านไม่แทงให้ใคร
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1037
ด้วยความเคารพครับ
    นางแก้วได้ครับ ต่ำว่าเอว
แต่นางเอื้อย นี้ตอนแรกไว้ต่ำกว่าเอวได้
ไปๆมาๆตอนหลังต้องเอาไว้สูงกว่าเอวนะครับ
เห็นว่าเค้ามาขอลูกศิษย์หลวงปู่ให้เอาเค้าไว้สูงกว่าเอว
    เรื่องเค้าเล่ามานี้จริงเท็จอย่างไร ผมไม่ทราบครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1038

 ด้วยความเคารพครับ
    นางเอื้อยครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1039

  ด้วยความเคารพครับ
ลายมือศิษย์หลวงปู่อั๊บ ที่เป็นพระครับ
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1040
วันที่ 12 กระผมมองหาพี่บัฟ ไม่เจอเลยขอรับ  :100:

ด้วยความเคารพครับ
   ไม่ทราบเหมือนกันครับ
ก็มองหาอยู่
     
   ผมยืนข้างหลังพระมหาสุชาติ (พระที่แจกนางพิม) บ้าง
ไปยืนข้างโฆษกบ้าง
   ใครเรียกไปไหนก็ไปตามเค้านะครับ
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1041
ด้วยความเคารพครับ
  อันนี้เห็นด้วยกับท่านโจรครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1042
ด้วยความเคารพครับ
   นำมาจาก หนังสือคู่มือชาวพุทธ ฉบับ พูดจาภาษาวัด
ของ สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เกจิอาจารย์ แปลว่า อาจารย์บางท่าน อาจารย์บางพวก
    หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  พระสาวกได้รวบรวมคำสอนของพระองค์
ไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าพระไตรปิฎก ต่อมามีภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ ได้แต่งหนังสือ
อธิบายข้อความที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกภิกษุผู้แต่งหนังสือนั้นว่า
พระอรรถกถาจารย์ บ้าง พระฏีกาจารย์ บ้าง  และในหนังสือที่แต่งนั้น มักจะมีอ้างถึงความคิด
เห็นของอาจารย์อื่นๆ ที่เห็นด้วยหรือเห็นแย้งกับผู้แต่ง เรียกอาจารย์ที่ถูกอ้างถึงนั้นว่า เกจิอาจารย์
    เกจิอาจารย์ ในปัจจุปันถูกใช้ในความหมายที่ผิดไปจากเดิมคือใช้เรียกพระที่มีอาคมขลังทางปลุกเสกหรือ
พระที่ทรงวิทยาคุณทางกรรมฐานว่า พระเกจิอาจารย์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระเกจิ

     ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1043
ของอาจารย์ท่านใดครับ นี้

1044


ขอบคุณพี่บัฟ มากครับผม ที่พิมพ์คาถาถวาย อนุโมทนาบุญครับ  :089:


ขอบคุณพี่บัฟมากครับ ที่ให้ความกระจ่างสำหรับแม่นางพิมรุ่นนี้

..ก็ต้องเชื่อตามพี่บัฟเค้าล่ะนะครับท่านเณร..

ถ้าสังเกตสักนิด..ในใบฝอยสีเขียว ที่แจกคู่มากับแม่นางพิม..

มีชื่อ Gearmour ตัวเล็กๆอยุ่ที่มุมล่างขวาด้วยนะครับ


..โดยส่วนตัวแล้ว ทุกอย่างที่สร้างมาเป็นรูปของแม่นางพิม ผมเคารพนับถือเท่ากันทั้งหมดครับ..

  ด้วยความเคารพครับ
 ขอบคุณครับที่ระลึกถึง
    คนที่ทำเพื่อหลวงปู่ มีอีกเยอะครับ
อย่างอาจารย์อั้น สักให้วัดทุกวันเสาร์
มาเกือบๆสองปีแล้ว
  ค่าครูทั้งหมดถวายให้วัดไป โดยถวายวันทุกวันที่ได้ทำ
โดยไม่ได้ค่าแรง อันนี้ผมและลูกหลานหลวงปู่ พร้อมกรรมการวัด
เห็นมาโดยตลอด  เรียกว่าอาจารย์ท่านมาโดยไม่ค่าตอบแทนอะไรเลย
คำนวนจากรายชื่อคนที่สักแล้วได้ เกือบ 5แสนบาท
   ได้กำแพงให้โรงเรียน
เดี้ยวมาต่อครับ
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1045
    ได้นางพิมมาเหมือนกันจับดูแล้วพลังดี  ดูดมือดีมากๆนะครับ แต่ก็น้อยกว่ารุ่นแรกที่ดูดแรงมากๆครับ
ด้วยความเคารพครับ
     อะไรเป็นตัวชี้วัด ครับ
ในเรื่องของพลัง
     นางพิม รุ่นนี้ เป็นนางพิมเนื้อผงรุ่นแรกที่กดในวัดโดยขออนุญาตหลวงปู่
และมีพิธีพุทธาภิเสก โดยนิมนต์หลวงปู่แย้ม ร่วมปลุกเสก ณ หอฉันท์
วัดท้องไทร เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยหลวงพี่ขวัญ ลูกบุญธรรมของหลวงปู่
เป็นผู้ผสมเนื้อ มวลสารและกดพิมพ์เอง  ทำวันสองสามร้อยตัว จนครบจำนวน
  เท่าที่ทราบท่านไม่ได้ปัจจัยอะไรตอบแทนกลับมาซักบาท  ท่านเพื่อแจกในงานครบรอบของหลวงปู่เท่านั้น
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1046
บทสวดมนต์ / บทสวดชัยน้อย
« เมื่อ: 12 ส.ค. 2551, 12:32:49 »
เบิ้องต้นแต่ละแห่งไม่ตรงกัน
   ผิดพลาดขออภัยครับ



นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา
สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต

ชัยยะ ชัยยะ ธ รณี ธ รณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที
ชัยยะ ชัยยะ คะคน ละตน ละนิสัย นิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระ โสมภี นาเคน ทะนาคี ปิ ศาจ จะ ภู ตะกาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุน นิมิต ตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา

ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ

ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฑะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี

ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา

ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข

ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา

ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง

ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสา วัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา

ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ

อินโท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ
อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย
อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง
เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะ เต เชนะ โหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง


ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเห สิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย
อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน



ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก กะยานัง นันทิ วัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล
อะปะรา ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร
อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ
สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง

สุกขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ


เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา
กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง

อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สะมันตัง

1047
ขอบคุณพี่บัฟ ครับ ผมจะเข้าไปครับผม  :095:
    ไม่รับปากจะเตรียมของไว้ให้
 ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1048
ด้วยความเคารพครับ
     มีการสรงน้ำหลวงปู่ครับ
เวลาประมาณบ่ายโมงเป็นต้นไป
   
  วันพรุ่งนี้ อาจารย์อั้นท่านไปสักที่ท้องไทร
ด้วยครับ
 
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1049
ด้วยความเคารพครับ
ขอบคุณครับ สำหรับภาพ
    ขอความรู้ครับ
ฝังตระกรุดเกราะเพชรนี้
ฝังบริวเณไหนของร่างกายหรือครับ
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1050
ด้วยความเคารพครับ
   จริงหรือเปล่า?ครับ
ที่แช่มาแล้ว
  ห้ามกินมะละกอ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1051
ด้วยความเคารพครับ
   วันที่ 12 สิงหาคม 51 ที่วัดท้องไทรมีงานครับ
สรงน้ำหลวงปู่
 ตอนเช้าเหมือนทุกปีครับ
 ทำบุญเลี้ยงพระ
     ตอนบ่าย สรงน้ำหลวงปู่ครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1052
พิมใหญ่นี้ผมเห็นแล้วที่ขาอาจารย์ งามมากๆๆ อาจารย์ว่าหลวงปู่แทงเหมือนโกรธ กันมาจากชาติใหนไม่รู้
 
   อาจารย์ท่านไหนครับ ???

1053
ด้วยความเคารพครับ
    ขอความรู้ครับ
จริงๆ แล้วครูบาอาจารย์เก่าๆ ท่านสักหรือครับ
ยันต์สูง เห็นแต่ทำตระกรุดกันอย่างเดียว
 ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1054
ด้วยความเคารพครับ
     อันนี้ลายมือหลวงปู่เมื่อ
3ปีทีแล้ว ครับ 
   
ขอบคุณ คุณออยไทยพุทธ สำหรับภาพด้วยครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1055
ด้วยความเคารพครับ
   ลายมือหลวงปู่อั๊บ
เมื่อประมาณสิบห้าปีที่แล้ว
ขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือผู้ชายไทย

  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1056
ด้วยความเคารพครับ
   เรื่องตะกรุด
ผมไปหาอาจารย์ประคองตั้งแต่ท่านครองเพศเป็นสงฆ์
  และล่าสุดปี้นี้ที่ผมพบท่าน ท่านเมตตาให้ตระกรุดมอญผมมา 3 ดอก
ผมเห็นออกขายตามเวป มันแพงเกิน ก็เลยนำมาเล่าสู่พี่ๆเพื่อนๆในเวปบางพระฟังเท่านั้น
เพราะทำบุญไหว้ครูปีที่แล้ว ราคาไม่ใช่ที่ออกตามเวป  หรือเรื่องนี้ผมควรต้องไปโพสที่อื่นครับ
จะขัดประโยชน์ใครก็ตามใจครับ
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour
 

1057
ด้วยความเคารพครับ
    อย่าเช่าหาให้มันแพงเกินควรนะครับ
เพราะอาจารยประคองท่านให้เปล่า?นะครับ
  ถ้าไปขอกับมือท่าน
แต่เรื่องวันไหว้ครูนั้นทำบุญเท่าไรผมไม่ทราบ
  ขอบคุณสำหรับข่าวสารครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1058
ไม่มีตัวชี้วัดครับ

1059
ด้วยความเคารพครับ
 ประวัตหลวงปู่
เรียนเชิญที่นี้ครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63&st=0&start=0
ที่เวปนี้ก็เคยเอาลงไว้ครับ ลองหาอ่านดูครับ
เรื่องของแม่พิมพา
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1924&st=0&start=0

ขอแสดงความนับถือ

Gearmour

1060
บทธรรมจักร เป็นบทแรกที่พระพุทธเจ้าท่านทรง ตรัสแก่พระอานนท์ ครับ
เป็นบทอันศักสิทธิ์มาก ครับ
ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วย

ด้วยความเคารพครับ
     
  ปัญจวัคคีย์  ครับ
เป็นนักบวช ห้าท่านที่ติดตามพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้
   

1061
ด้วยความเคารพครับ
? ?ลอกเค้ามาครับ
คำแปลครับ
(๑) พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธ
ครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามาร
โห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้
ด้วยธรรมวิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดช
แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

(๒) อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจาก
ความอดทน ดุร้าย สู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่าง
ทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรง
เอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

(๓) พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน
ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า
พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำ
คือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

(๔) โจรองคุลิมาล (โจรฆ่าคนเอานิ้ว
ทำพวงมาลัยแสนดุร้าย) ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า
พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุณี
ทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ
ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

(๕) นางจิญจมาณวิกา (สาวิกาพวกนิครนถ์)
เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการ
ประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทะเจ้า
ท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้
ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วย
เดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

(๖)สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด
เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ
ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคน
มืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วย
?แสงปัญญา? ทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่ง
ชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

(๗) พญานาค ชื่อนันโทปนันทะ ผู้มี
ความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก พระจอมมุนี ทรงมี
พุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไป
ปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดช
แห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคล จงมีแก่ท่าน

(๘) พรหมชื่อพกะ (ถือตัวว่า) มีความ
บริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์
ยึดมั่นในความเห็นผิด
ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา

(๙) คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล
คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน
พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง
พระนิพพานอันเป็นสุข

ขอแสดงความนับถือ

Gearmour

1062
ด้วยความเคารพครับ
     ผมพยายามจะสวดทุกวัน
สวดเพื่อปฏิบัติตามทางสายกลาง
สวดแล้วพิจารณาเหตุ ปัจจัย
สวดพิจารณาความไม่ได้สวดเอาฤทธิ์เอาเดช

ลอกเค้ามานะครับ
สูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

คำแปลธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง โดยคุณ Amine post ไว้ที่ webboard

จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี หน้า 97 - 113ซึ่งค่อนข้างจะแปลละเอียดและคาดว่าจะเป็นบทสวดเต็ม มาให้ครับ .. ถ้าคัดลอกผิดไปบ้าง..ขออภัยด้วย..ผู้ใดพบเห็นกรุณาเสนอแก้ด้วยนะครับ ;
บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค **โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ

เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )

- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์

- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ**นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

[bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

* --------- * จบบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร * --------- *

1064
ด้วยความเคารพครับ
   ขอบคุณทุกท่านมากครับ
ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1065
ด้วยความเคารพครับ
   เบี้ยฝังเหรียญมีครับ
ตีกันที่กุฎิพระอาจารย์เจือนั้นละครับ
 http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=276&st=300&start=300

http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=5692

ลองเข้าไปอ่านตามลิงค์ดูครับ
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1067
ด้วยความเคารพครับ
     เห็นหิ้งแล้วทราบว่าเป็นอาจารย์ท่านไหน
 นับถือครับ 
ว่าแต่อาจารย์จะไม่แทงมหาโจรให้ผมจริงๆ หรอ
ถ้าพบอาจารย์อีก   ผมขอเสือตัวเล็กๆซักตัว
     ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1068
อาจารย์จี้ด หรือเปล่า?ครับ
  หรือว่าอาจารย์กลิ้ง

1069
ระวังเบี้ยของพระอาจารย์ปุ้ม วัดศาลาแดงลูกศิษย์หลวงตาเผือด
  ผมเห็นบางคนเอามาเล่นเป็นของหลวงตาเผือดครับ

1070

ธรรมจักร กงกรรมกงเกวียนจึงหยุดหมุน บุคคลที่ถูก อหิงสักกะ สังหารจะไปแก้แค้นเอากรรมคืนที่ไหน

อันนี้ตอบง่ายๆ ครับ
  ตามหนังสือที่เคยอ่านมา
คนทั้ง999 คนหรือกว่านั้น ภพชาติที่ผ่านมาเคยสังหาร อหิงสักกะมาแล้วทั้งสิ้นครับ
ลองหาหนังสือนักธรรม มาอ่านดูครับ
 ผมไม่แน่ใจว่าอยู่เล่มไหนครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour
 

1071
ถ้ามีคนคอยติดตาม ทำร้ายตัวเรา เราก็รู้อยู่เต็มอก ฉนั้นจึงหลีก หลบ หนี ไปให้พ้นจากการถูกทำร้าย
ถ้าเราหนีได้ หลบได้ หลีกได้ ไอ้คนที่จะทำร้ายเรามันจะทำร้ายเราได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ ในเมื่อเขาทำร้ายเราไม่ได้
เขาก็ไม่ต้องติดคุก หรือ/และ? มีเวรกรรมต่อกันอีก
นี่เป็นความคิดอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ
ในกรณีที่ทรงฤทธิ์ ยิ่งหลีกภัย ได้โดยง่าย

ด้วยความเคารพครับ
   ถ้าคุณเป็นหนี้
ที่ไม่มีอายุความ ไม่สามารถยกหนี้นั้นได้
   อย่างไรก็จำต้องใช้หนี้นั้น
แล้วจะหนีไปได้อย่างไร???
    ต้องหนีไปอีกนานเท่าไร ???

1072
ไม่เกี่ยวกันครับ? อาจารย์ที่เป็นาฆราวาสก็
ไม่ต่างกับอาจารย์ที่เป็นพระเพราะเขาเรียนมาครูเดียวกันก็ถือว่า
เป็นศิษปู่เหมือนกัน?

ศิษย์ฆารวาส ใครครอบครูให้ ใครสอนวิชาสักให้ อย่างหลวงพี่ติ่ง หลวงพี่ต้อย หลวงพ่อเปิ่นครอบครูให้
และศิษย์ฆารวาส ท่านนี้ ได้ เอายันต์นางพิม ของหลวงปู่อั๊บ มาสัก ใครครอบครูให้ เอายันอาจารย์หนู
มาสัก ใครครอบครูให้? สักตามลาย ตามแม่พิมพ์ใครๆ ก็สักได้ ถ้ามีความรู้เรื่องสักอยู่บ้าง
อย่างอาจารย์หนวด ซิแน่นอนกว่า สักราคามาตรฐาน ค่าครู 25 บาท

ด้วยความเคารพครับ
   เอาอีกแล้วหรอครับ
ขอเถิดครับ
  จะทำอะไรก็ทำไปอย่าเอาของของครูบาอาจารย์อื่นเข้าไปวัดบางพระเลย
ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1073
ด้วยความเคารพครับ
   ไปดูเครื่องรางเรต x บ้างไหมครับ
 คลิกที่นี้
ไม่กล้าเอามาลงที่นี้ครับ
    ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1074
ด้วยความเคารพครับ
   
  ลอกมาจากบันทึกของผม
      ขี้เกียจย่อครับ

                 จังหวัดแจ้งแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งโดยกำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2551 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พร้อมได้แจ้งกำหนดเวลาที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้สำนักทะเบียนท้องถิ่นทราบและดำเนินการ
      โดยให้ดำเนินการดังนี้
      1. วันลงคะแนนล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางของเขตเลือกตั้ง และวันลงคะแนนนอกเขตจังหวัด คือวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 23 -24 กุมภาพันธ์ 2551
      2. วันสุดท้ายที่ผู้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งความประสงค์ขอลงทะเบียนการใช้สิทฺธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด คือวันที่ 31 มกราคม 2551
      3. วันสุดท้ายที่ผู้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดจะแจ้งขอเปลี่ยนแปลงเพื่อกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งเดิมที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง คือวันที่ 31 มกราคม 2551
      4. วันสุดท้ายที่ต้องประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง (ส.ว.2) และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ว.10)  คือวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551
      5. วันสุดท้ายที่หนังสือที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (สว.11) จะต้องส่งถึงเจ้าบ้าน คือ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551
      6. วันสุดท้ายที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะขอเพิ่มชื่อ ? ถอนชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551
      7. วันสุดท้ายที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะแจ้งเหตุความจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (รอบแรก) คือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ? 1 มีนาคม 2551
                         8. วันสุดท้ายที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะแจ้งเหตุความจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (รอบสอง) คือ 3-9 มีนาคม 2551
                         คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยมีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง คือบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งก่อนวันที่ 4 ธันวาคม 2550

ที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ครับ

      2. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกเขต
ราชอาณาจักรไว้ในคราวการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ถือว่าเป็น
ผู้ลงทะเบียนขอให้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักรในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้ด้วยโดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
      
                                3. ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนฯไว้แล้วตามข้อ 2 ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจังหวัดที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งจะต้องยื่นคำขอลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักทะเบียนแห่งที่ตนอยู่ตามแบบ ส.ว.42 โดยจะมีผลเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลง
      โดยให้สำนักทะเบียนอำเภอดำเนินการเปิดรับลงทะเบียนขอให้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2551 ทั้งในและนอกเวลาราชการโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยให้ถือปฏิบัติในการการรับลงทะเบียนฯการออกหนังสือรับการลงทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการลงทะเบียนฯของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยื่นคำขอทุกรายให้เสร็จภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์  2551  พร้อมให้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตและผู้เคยลงทะเบียนขอให้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดหรือนอกราชาอาณาจักรไว้เมือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 23 ธันวาคม 2550  และประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการลงทะเบียนฯให้ยื่นคำขอลงทะเบียน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนฯเนื่องจากมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง และต่อมาภายหลังระยะเวลาการมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนับได้
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ให้ถือว่าเป็นการเพิกถอนการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่เป็นเงื่อนไขดังกล่าวโดยไม่ต้องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก


      อย่าลืมไปเลือกตั้งนะครับ

ขอแสดงความนับถือ

Gearmour

1075
ด้วยความเคารพครับ
ด้วยผมได้รับแจ้งจากลูกหลานของ
หลวงพ่อดำ วัดเขาพูลทอง
ว่าท่านได้ มรณะภาพเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ด้วยเหตุเส้นโลหิตในสมองแตก

ลูกหลานท่าน เข้าไปในห้องท่านพบนามบัตรของผม
สมัยทำงานอยู่แถวนั้น เลยแจ้งข่าวมา

ใครเป็นลูกศิษย์ท่านขอให้ไปเคารพศพท่านด้วย

ขอแสดงความนับถือ

Gearmour

1076
ด้วยความเคารพครับ
ท่านใดไม่สะดวกที่วัด เรียนเชิญทางจดหมายได้ครับ
แต่ของความกรุณา ส่งซองเปล่าติดแสตป์ไปด้วยครับ นะครับ
พระท่านแจกเปล่าอยู่แล้ว อย่าให้ท่านรับภาระเรื่องค่าส่งอีกเลย
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1077
ด้วยความเคารพครับ
    ได้เห็นอย่างนี้ก็ดีครับ
ผมมีบันทึกประวัติอาญกรรมของกองทะเบียนประวัติ สมัยที่ยังเป็นกรมตำรวจอยู่
รวบรวมรอยสัก ตั้งแต่ปี 24 ลงไป มีรอยสักของครูบาอาจารย์เก่าๆ ที่เราไม่ยินแต่ชื่อแล้วในปัจจุบัน
  เห็นกระทู้นี้แล้วตัดสินในว่า ไม่เอามาลงดีกว่าครับ
  ขอแสดงความนับถือ
      Gearmour
ปล.

1078
ด้วยความเคารพครับ
เบอร์โทร กุฏิพระอาจารย์ครับ
028067375 ช่วงนี้ท่านโหมงานเยอะ
นะครับ เรื่องสัก เรื่องฝังเข็มงดไว้ก่อนนะครับ
พระปิดตาแจกจนกว่าจะหมดนะครับ วันนี้เริ่มแจกแล้วครับ
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1079
ด้วยความเคารพครับ
ขอประชาสัมพันธ์ข่าวของพระอาจารย์ปุ้ม วัดศาลาแดงนะครับ
จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด


พระปิดตาปฐมเศรษฐี รุ่นแรก ของขวัญปีใหม่-พระอาจารย์ปุ้ม

คอลัมน์ ซูมโฟกัส

เอกอุ


"พระปิดตา" เป็นพระเครื่องที่มีลักษณะพิเศษ มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพระเครื่องประเภทอื่นๆ กล่าวคือ จะมีองค์พระอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์ หรือบางแห่งเพิ่มพระหัตถ์ขึ้นอีก 2 ข้าง ปิดทวารด้านล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ดังกล่าวนี้ แสดงนัยหรือแฝงปริศนาธรรมเอาไว้คือ การปิด "ทวาร" ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "อายตนะ" หมายถึง แดนรับรู้ หรือที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แบ่งเป็น 2 คู่ คือ แดนรับรู้ภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

แดนรับรู้ภายนอกได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สิ่งนึกคิด แต่โดยทั่วๆ ไป จะคุ้นเคยกับ คำว่า "ทวาร" ที่หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออกทั้ง 9 ทาง ได้แก่ ตา 2 จมูก 2 หู 2 ปาก 1 และช่องขับถ่ายด้านหน้า ด้านหลัง อย่างละ 1 รวมเป็น 9

กล่าวกันว่า "พระปิดตา" ที่สร้างขึ้นในสมัยแรกๆ เป็นของครูบาอาจารย์สายกัมมัฏฐาน เพื่อใช้เป็นอุบายในการสั่งสอนธรรมสำหรับศิษย์ ให้มีสติในการรับรู้รูป กลิ่น เสียง รส สัมผัส และความนึกคิด หากการเข้าไปรับรู้อารมณ์เหล่านี้อย่างขาดความระมัดระวัง จะทำให้กิเลสเก่าที่มีอยู่เพิ่มพูน และเป็นหนทางให้กิเลสใหม่เกิดขึ้นได้อีก

เพราะฉะนั้น การปิดทวาร จึงหมายถึง การดำเนินอยู่อย่างระมัดระวังในการรับรู้อารมณ์ภายนอก อันเปรียบเสมือนของร้อนเป็นบ่อเกิดแห่งราคะ โทสะ และโมหะ ซึ่งเป็นต้นธารแห่งกิเลสทั้งหลาย

ต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือพระปิดทวารนิยมแพร่หลาย ที่นิยมสร้างกันจะมี 2 ลักษณะคือ อย่างแรกเรียกว่า "พระปิดตามหาลาภ" มีลักษณะนั่งขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ปิดพระพักตร์ อย่างที่สองเรียกว่า "พระปิดตามหาอุด" นอกจากจะมีลักษณะนั่งขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ปิดพระพักตร์เช่นเดียวกันแล้ว ยังเพิ่มพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ ปิดด้านล่าง ซึ่งหมายถึง ช่องขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลัง นิยมเรียกกันว่า "พระปิดทวาร 9" หรือสั้นๆ ว่า "พระปิดทวาร"

เชื่อกันว่า การสร้างให้รูปลักษณะขององค์พระมีความอวบอ้วนนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติของ "พระมหากัจจายนะ" หรือ "พระภควัมปติ" ซึ่งการที่ท่านได้รับการขนานนามว่า "ภควัมปติ" ที่มีความหมายว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" เหตุเพราะว่า ท่านมีรูปกายที่งดงาม ทำให้ประชาชนทั้งหลายต่างลุ่มหลงคลั่งไคล้ในรูปลักษณ์ภายนอกของท่าน ไม่สนใจในการฟังธรรมเท่าที่ควร ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐานให้สรีระร่างกายเปลี่ยนแปลง ให้มีสรีระร่างกายต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นที่มาของ "พระสังกัจจายน์" ที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน

พระมหากัจจายนะ หรือ พระภควัมปติ หรือ พระสังกัจจายน์ เป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเป็นหนึ่งใน 80 องค์ ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องไว้เป็นพิเศษ ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีความสามารถในการขยายธรรมและย่อธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร ดังพระธรรมเทศนาที่ท่านได้แสดงโปรดพระเจ้าจัณฑปัชโชต ตอนหนึ่งว่า

"...คนมีปัญญาถึงจะไม่มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ได้ แต่คนมีทรัพย์ถ้าไร้ปัญญาก็เป็นอยู่ไม่ได้แน่ หูมีไว้ฟังเสียงทุกเสียง ตามีไว้ดูรูปทุกประเภท ผู้มีปัญญาไม่ควรมองข้ามสิ่งที่ได้เห็นได้ยินไปเสีย คนฉลาด ถึงมีตาดีก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเหมือน หูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงแข็งแรงก็ทำเหมือนอ่อนแอ แต่ถ้าประโยชน์เกิดขึ้น ถึงจะเจ็บป่วย นอนรอความตายก็ยังทำประโยชน์ได้..."

ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ ทำให้ครูบาอาจารย์สายกัมมัฏฐาน ได้จำลองลักษณะของท่านในรูปของ "พระภควัมปติ" อันหมายถึง ผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ในรูปของ "พระสังกัจจายน์" อันหมายถึง ผู้เป็นที่รักที่นิยมยินดี เต็มเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ ในรูปของ "พระปิดตา" อันหมายถึง การปิดกั้นอาสวะกิเลส และในรูปของ "พระปิดทวาร" อันหมายถึง การป้องกันสรรพภยันตรายทั้งปวง

พระอาจารย์นคร โฆสการี หรือ พระอาจารย์ปุ้ม เกจิอาจารย์แห่งวัดศาลาแดง ผู้สืบทอดคำสอนของพระเกจิอาจารย์หลายรูป อาทิ "หลวงตาเผือด นราสโภ" แห่งวัดมะกอก ได้จัดสร้าง "พระปิดตาปฐมเศรษฐีรุ่นแรก" ซึ่งได้รับเมตตาจากพระเกจิอาจารย์และผู้มีศรัทธามอบมวลสารของพระเกจิอาจารย์ที่สะสมมาหลายยุคหลายสมัยอันเปี่ยมด้วยสรรพพุทธาคมดังเช่น ผงว่านกว่า 500 ชนิด ของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ผงพระเครื่องชั้นยอดต่างๆ เช่น ผงพระสมเด็จกรุบางขุนพรหม ขณะเปิดกรุ เมื่อ พ.ศ.2500, ผงพระสมเด็จจิตรลดา, ผงพระพุทธนวราชวันตบพิตร (พระพิมพ์จิตรลดา) โครงการหลวง พ.ศ.2539, ผงพระพุทธนราวันตบพิตร พ.ศ.2542, ผงหลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, ผงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผงมหาภูติรูปทอง และผงอาถรรพ์ต่างๆ ผงมวลสารกว่า 1,000 ชนิด

พระอาจารย์ปุ้ม ได้จัดสร้าง "พระปิดตาปฐมเศรษฐีรุ่นแรก" ขึ้นด้วยศรัทธาผสมมวลสารวิเศษและมงคล กดพิมพ์ประณีตด้วยตนเอง ทุกองค์ผ่านพิธีปลุกเสกประจุพุทธวิทยาคม วิชาอาถรรพ์ ตามตำรับโบราณที่สืบทอดต่อกันมา

ฉะนั้นในดิถีขึ้นปีพุทธศักราช 2551 พระอาจารย์ปุ้ม จึงขอมอบ "พระปิดตาปฐมเศรษฐีรุ่นแรก" เป็นของขวัญสิริมงคลนำพาชีวิตพุทธศาสนิกชน ให้แคล้วคลาดปลอดภัย ร่ำรวยมั่งมี เป็นที่นิยมรักใคร่ ให้อยู่ยั่งยืนตลอดไปและตลอดไป

ผู้มีความประสงค์โปรดแจ้งความจำนงแห่งศรัทธาที่ พระอาจารย์นคร โฆสการี หรือ พระอาจารย์ปุ้ม วัดศาลาแดง กุฏิสุดภวา แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160

หน้า 31



วันนี้ไปวัดศาลาแดงมาเห็นคน ไปที่วัดเพื่อรับ
ตกลงพระอาจารย์ปุ้ม แจกในวันที่ 1 -2 มกราคม 2551 นะครับ
และยืนยันว่า เนื้อหามวลสารดีแน่นอนครับ
พิมพ์พระในวัดศาลาแดงเองเลย
ผมเองก็ไปช่วยท่านกดพิมพ์อยู่ด้วยครับ และเห็นการผสมเนื้อทั้งหมดด้วย
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour



1080
หลวงปู่อั๊บ กับการสักยันต์

ด้วยความเคารพครับ

หลวงปู่ ท่านสักมานานแล้ว ตั้งแต่อายุท่านประมาณ 30 กว่าๆ
ว่ากันว่า เมื่อหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา สอน ตัวนะ หรือยันต์อะไรให้ท่าน
ท่านจะมาทดลองสักกับลูกศิษย์ท่าน ปัจจุบันท่านอายุ 85 แล้ว
ลายมือท่านจะไม่สวยนะครับในยุคหลัง แต่ก็มีคนนิยมให้ท่านสักให้
เรื่องของการสัก ยันต์ หลวงปู่ จะมีการสัก
เอาเท่าที่ผมเห็นนะครับ
ที่เป็นที่นิยมที่คนชอบไปขอกันในปัจุบัน ของท่าน คืนนางพิม ใครๆ ก็มักจะให้ท่านสักให้
นอกจากนั้นจะมี ดำเซ็น ซึ่งปัจจุบันท่านจะสัก
แต่ในท่ายืน แต่ก่อนมีพิมพ์ครบทุกท่า
นารีสวน ที่เป็นรุปผู้หญิง กลับหัวหลับ เดินสวนกันสองคน
หมูทองแดง
นอกจากนี้หลวงปู่ยังมียันต์ อื่นๆอีก
ที่เป็นรูปยันต์ และ อักขระ
 ลายมือหลวงปู่ สมัยมือยังไม่สั่นครับ


น่าจะมีเกินสิบห้าปีขึ้นนะครับ



ฤาษี ซึ่งศิษย์รุ่นเก่าจะมีแทบทุกคนครับ

พระราม ครับ

แม่นางพิม ซึ่งพิมพ์นี้ใหญ่กว่าฝ่ามือคนปกติครับ

   สังเกตุยันต์แปดทิศนะครับ
ได้แก่เก้ายอด แปดทิศ (ไม่เหมือนของหลวงพ่อเปิ่น)
งบน้ำอ้อย ยันต์สี่ทิศ (ตำราหลวงปู่ศุข)
รูปภาพ
หนุมาน(มีหลายพิมพ์หลายตัว) ลิงลม (มีหลายพิมพ์หลายตัว) ครุฑ จิ้งจก คางคก บุตรลบ พระรามเดินดง ฤาษี เสือ(มีหลายพิมพ์หลายตัว)
นางเอื้อย นางแก้ว (แก้วหน้าม้า)


ยกครูแต่ก่อน 99 บาท ดอกไม้ ธูปเทียนบุหรี่หนึ่งซอง แต่ยันต์บางตัวอาจจะต้องมีสิ่งของยกครูเป็นพิเศษ
สักวัน อังคาร พฤหัสบดี ที่ไม่ตรงกับวันพระ
แต่ในขณะนี้หลวงปู่ได้งดสักอยู่ครับ
เนื่องจากท่านมีอายุมากแล้ว
ซึ่งครั้งหนึ่งหลานผู้ดูแลหลวงปู่ได้นำเข็มสักทั้งหมดของท่าน ฝากไว้ที่ผม เนื่องจากมีผู้ไปรบกวนหลวงปู่จนเกินควรเกินกาละ
 เข็มสักของหลวงปู่ครับ



 ใน5เล่มนี้เป็นเข็มที่หลวงปู่ใช้ประจำ จริงๆ2 เล่ม
ซึ่งด้ามเป็นของครูบาอาจารย์เก่าๆ (ทำปลายใหม่)
  ที่นำมาเก็บไว้ เนื่องจากผู้ดูแลหลวงปู่ไม่อยากให้หลวงปู่เหนื่อยเรื่องของการสักอีก
ซึ่งผมไม่มีเจตนายึดถึงเพื่อเป็นของตน   (ปัจจุบันผมได้นำไปถวายคืนไว้ที่หลวงปู่แล้ว)
    หลวงปู่เวลาท่านสักมือของท่านจะหนักมาก 
เรียกว่าถ้าคนหนังดีมาจากไหน สักที่ไหนเลือดไม่ออก
มาพบท่าน ได้เลือดไหลทุกคนไป
   ทุกวันนี้ถามว่าหลวงปู่ ยังสักไหม ขออนุญาตตอบว่า
แล้วแต่วาสนาครับ 
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1081
ของผมเอง
  ลองลงภาพดูนะครับ






1082
ด้วยความเคารพครับ
   ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ประวัติของหลวงปู่อั๊บ ครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=4646

   อันนี้เรื่องของยันต์แม่นางพิม ครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1924

   เนื่องจากผมลงรูปไม่เป็นจึงของอนุญาตทำลิงค์ไปนะครับ

ขอแสดงความนับถือ
 
   Gearmour

1083
ด้วยความเคารพครับ
    เห็น หลวงแดง ท่านหนุ่มๆ อย่างนั้น
ท่านเก่งนะครับ
   วัดของท่านอยู่อำเภอหนองจิก
วัดอยู่ในที่ที่เรียกว่าไม่ปลอดภัย
 ตอนผมไปราชการเห็นท่านกวาดวัดอยู่คนเดียว
    กำนันต่างศาสนา ยังมีตระกรุดลูกปืน ท่านติดตัว
ตระกรุดลูกปืนท่าน มาก่อนอาจารย์ออด แต่ดังในพื้นที่เงียบๆ
ท่านแจกอย่างเดียว แต่ก่อน
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1084
ด้วยความเคารพครับ
     ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ครับ
ขอแสดงความนับถือ 
   Gearmour
       

1085
ด้วยความเคารพครับ
   นี้มันบทหนังนี้ครับ
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1086
ด้วยความเคารพครับ
   นางพิม หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร
ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี ครับ
  แต่ถ้าเป็นนางพิม ตุ๊กตา แบบนี้ ถ้าได้จากแผงแถวๆวัดสามง่าม
ดอนตูม ให้ระวังไว้ ครับ
 เห็นว่าทำเนื้อได้ใกล้เคียงของจริง
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1087
ด้วยความเคารพครับ
    ลองไปดูที่วัดศีสินมา
บ้านแพ้ว นะครับ
  มีพระท่านสักอยู่
      สายอาจารย์หนู ดำเนิน ราชบุรี
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1088
ปล. พี่บัฟเอารุปขาผมที่ลงบัวบังใบ ไปลงเวบคนรักมีดไม่บอกกันเลยนะครับเนี่ย เหอะๆ...
ด้วยความเคารพครับ
   ขออภัยครับ
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1089
ด้วยความเคารพครับ
   รูปนางพิม ดำเซ็น นี้ไม่ทราบอาจารย์ท่านไหนสักครับ
ครับ คุณแงซาย
  ขอแสดงความนับถือ
     Gearmour

1090
ด้วยความเคารพครับ
ไปที่ดูนี้ประกอบนะครับ
    http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63
กันงูจะบางกว่า และ เชือกจะถักปมเป็นระเบียบกว่า ครับ
    ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1091
ด้วยความเคารพครับ
    พวกโฆษณา
มีทุกเวป
   ชอบหาแต่ประโยชน์
 อ่านกฏกติกาเค้าบ้างซิครับ
   หรือว่าอ่านแต่ไม่รับรู้
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1092
ด้วยความเคารพครับ
? ?ขอประเดิมก่อนเลยครับ
ขอแสดงความนับถือ
? ?Gearmour

1093
สาธุ

1094
ด้วยความเคารพครับ
    อย่าไปรบกวนท่านเลยครับ
ท่านอายุมากแล้ว
    ถ้าเป็นลูกศิษย์ท่านจริงจะทราบว่า
ท่านไม่สะดวกรับแขกที่บ้านครับ
ถ้าสะดวกอย่างไร เชิญที่ วัดบางแวกครับ
  ท่านมีบ้านพักที่กรุงเทพ
และสวนที่แก่งหางแมว จันทร์บุรี
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour
   
 

1095
ด้วยความเคารพ
    อาจารย์ประคอง ไม่ว่าสมัยท่านเป็นพระ หรือ เป็นฆารวาส
ท่านไม่เคยเรียกร้องเงินค่าตระกุดมอณนะครับ
   ครั้งสุดท้ายที่ไปกราบท่าน
ท่านยังมอบให้มา ผมมาเลย 
 
   ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1096
ด้วยความเคารพครับ
    บทความนี้ไม่ทราบเอามาจากไหนครับ
รบกวนแจ้งด้วยครับ
   ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1097
ผมว่าไปรับกับมือจะดีกว่านะ?  คุนได้มาเยอะก้อไปแจกจ่ายดีกว่า อย่าไปทัมเป็นพุทธพานิตย์เรย

ด้วยความเคารพครับ
     เห็นด้วยความหลวงพ่อตัด
ตอนผมไปวัดท่าน ท่านเมตตา แจกวัตถุมงคลแทบทุกชิ้น
ที่มีผู้ขอแบบไม่เรียกร้องการทำบุญด้วยครับ
    ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1098
ด้วยความเคารพครับ
      ในวันที่ 12 สิงหาคม 2550 เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 86 ปีของ หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี
ซึ่งในงานจะมีการแสดงมุทิตาจิตต่อหลวงปู่ด้วยการสรงน้ำหลังเวลา 12.00 น.
     และอาจารย์อั้นซึ่งมาช่วยสักในทุกๆวันเสาร์ จะอยู่ในวันอาทิตย์นี้ด้วย
 รายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี้ครับ
         http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63&st=180
ขอแสดงนับถือ
    Gearmour


1099
ด้วยความเคารพครับ
  เคยเขียนไว้นานแล้วครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=2556&pid=42779&st=0&#entry42779
   ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1100
ด้วยความเคารพครับ
     สายหลวงพ่อพิมมาลัย ท่านห้ามเตะหมาจริงครับ
         ยังมีอีกสองท่าน ที่ผมเห็นว่าท่านฝังเข็มนะครับ
พระอาจารย์เจษ ท่านเคยอยู่วัดศีสินมา บ้านแพ้ว
ปัจจุบัน ย้ายกลับไปจำวัดที่ วัดหุบมะกล่ำ ที่ราชบุรีแล้วครับ
  พระอาจารย์ปุ้ม วัดศาลาแดง
    ขอแสดงความนับถือ
        Gearmour
   

1101
อาจารย์เอ็ดสระบุรีสักให้ครับ อยากทราบว่าหลวงปู่อับมีลูกศิษย์ชื่อหลวงพี่นมหรือป่าวครับ
  ด้วยความเคารพครับ
     เคยพบแต่ พระอาจารย์พนม อยู่ทางอยุธยา นะครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour
ปล.อาจารย์เอ็ดไม่เคยพบท่านที่วัดครับ

1102
ด้วยความเคารพครับ
    ตระกรุดท่านห้ามซื้อขายอยู่แล้วนี้ครับ
ขอแสดงความนับถือ
    Gearmour

1103
ด้วยความเคารพครับ
    เมื่อวานพึ่งไปเยี่ยมไปหาไปกราบท่านมานะครับ
ท่านเป็นพระเมตตามากๆ
   เท่าที่คุยเห็นท่านอยากอยู่เงียบๆ ครับ
 ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour
ปล. วัตถุที่เค้ามาขายกับตามเวป ไปพบไปหาท่าน จริงๆ ท่านแจกมากกว่า ต้องทำบุญนะครับ

1104
ด้วยความเคารพครับ
   ลองอ่านบทความนี้ดูครับ
ลอกเค้ามาครับ
 
พระโมคคัลลานะ 

อัครสาวกผู้พ่ายกรรม

**************

                พระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละองค์ก็ล้วนเป็นผู้ทรงคุณความดี มีบารมี มีฤทธิ์ มีเดช ไปต่าง ๆ กัน

                พระโมคคัลลานะ อรหันต์อีกองค์หนึ่งซึ่งทรงด้วยอิทธิฤทธิ์ จนหาพระอรหันต์องค์อื่นมาเปรียบเทียบไม่ได้ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาของเรา ยังยกย่องแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวกเบื้องซ้าย ของพระองค์ อันเป็นเลิศด้วยฤทธิ์

                พระโมคคัลลานะ  เดิมชื่อว่า โกลิตะ เป็นบุตรของนายพราน สกุลโกลิตะ กับนางโมคคัลลี ผู้เป็นมารดา โกลิตะมีเพื่อนรักอยู่คนหนึ่ง ชื่อ อุปติสสะ (ต่อมาเป็นพระสารีบุตร) เด็กชายทั้งสองนี้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย และเปี่ยมด้วยบารมี มีข้าทาสบริวารมากมาย เมื่อฐานะความเป็นอยู่เท่าเทียมกัน ความสนิทสนมเข้าใจกันจึงมีเป็นอันมาก  เวลาไปไหนมาไหน ก็มักจะไปด้วยกันเสมอ เมื่อถึงช่วงงานเทศกาลต่าง ๆ ทั้งสองจะชักชวนกันไปเที่ยวอย่างไม่เคยขาด

                หลังจากที่เที่ยวเตร่กันจนรู้แจ้งเห็นจริงไปทุกอย่าง  คงเป็นเพราะบุญบันดาลให้เขาทั้งสองเกิดรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งที่ไม่จีรังเหล่านี้  จนโกลิตะถึงกับเอ่ยกับอุปติสสะขึ้นว่า

                ?คนที่เขาแสดงการละเล่นให้เราดู อีกไม่เกินร้อยปีเขาก็จะต้องตาย แม้แต่ตัวเราเองซึ่งเป็นผู้เสพ ก็จะต้องตายตามไปด้วย เมื่อเวลามาถึง ฉะนั้น เราจะไปหาสาระอะไรกับการแสดงเช่นนี้ เราควรจะแสวงหาธรรม เพื่อให้หลุดพ้นจากวงจรเหล่านี้ จะมิดีกว่าหรือ?

                ทั้งสองต่างมีใจและความเห็นตรงกัน จึงได้รวบรวมข้าทาสบริวาร ไปขอบวชอยู่ที่สำนักของท่าน ?สัญชัยปริพาชก?

                เมื่อเล่าเรียนและศึกษาธรรมจนครบถ้วนแล้ว ทั้งโกลิตะ และ อุปติสสะ ก็ได้นำธรรมะเหล่านั้นมาสอนสั่ง และอบรมข้าทาสบริวารสืบไป

                แต่กาลต่อมา ทั้งสองก็เกิดความคิดขึ้นตรงกันอีกว่า  เห็นทีแนวทางของท่านอาจารย์สัญชัยนี้ จะไม่ใช่แนวทางไปสู่ธรรมอันถูกต้องเสียแล้ว  จึงปรึกษากันแล้ว เห็นสมควรว่า จะต้องสืบเสาะหาโมกขธรรมอันแท้จริงต่อไป

                ทั้งสองก็เที่ยวสืบหาแหล่งธรรม ที่จะไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ทั่วทุกภูมิภาค จนกระทั่ง อุปติสสะ ได้ไปพบกับ  พระอัสสชิ  ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมจากท่านอัสสชิ จนเกิดเห็นธรรมขึ้นมา จึงได้ชักชวนโกลิตะ ให้เดินทางไปถวายตัวเป็นพุทธสาวกของพระพุทธเจ้า

                แต่ด้วยความกตัญญูรู้คุณคน โกลิตะ กับ อุปติสสะ จึงได้ไปเยี่ยมกราบลาอาจารย์สัญชัย และยังได้เอ่ยปากชักชวนอาจารย์ไปถวายตัวเข้าเป็นพุทธสาวกด้วยกัน แต่ท่านอาจารย์นั้นมีทิฐิมานะสูง จึงตอบปฏิเสธต่อศิษย์ทั้งสองไป

                หลังจากที่อุปติสสะ และ โกลิตะ จากสำนักปริพาชกมาแล้ว ก็มุ่งตรงเข้าสู่พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ เพื่อทูลของอุปสมบท เป็นพุทธสาวกกับพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงเมตตาจัดการบวชให้สมดังความตั้งใจ

                เมื่อได้บวชแล้ว โกลิตะ ก็ได้นามใหม่ว่า ?พระโมคคัลลานะ? อันเป็นชื่อที่ถูกเรียกตามชื่อมารดาของท่านคือ ?โมคคัลลี?

                จากที่เคยได้กล่าวเอาไว้แล้วว่า พระโมคคัลลานะ  เป็นผู้ที่ทรงพุทธานุภาพมาก ทรงเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์  แต่ในเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วนั้น  ไม่มีใครหลีกพ้นได้ แม้แต่พระโมคคัลลานะ ก็มิอาจหลุดพ้นไปจากตัว ถึงแม้จะได้เป็นอรหันต์แล้วก็ตาม เมื่อมีกรรมเก่า ก็ย่อมต้องชดใช้เป็นธรรมดา

                ครั้งหนึ่ง  พระโมคคัลลานะ  ได้พำนักอยู่ ณ ตำบลกาฬศิลา  ก็เกิดมีโจรกลุ่มหนึ่ง คิดจะจับตัวท่าน  เพื่อจะทำการประทุษร้าย  เพราะเห็นว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีผลต่อการเผยแพร่ธรรม จนทำให้พุทธศาสนาเฟื่องฟู  อันเป็นผลทำให้ลัทธิต่าง ๆ ที่พวกโจรนับถืออยู่ ต้องเสื่อมด้อยถอยลง

                พวกโจรนั้นพยายามเข้าห้อมล้อม เพื่อดักจับตัวท่านเป็นจำนวนครั้งแล้วครั้งเล่า  เป็นเวลาสองเดือน เต็ม ๆ ไม่อาจจับตัวพระโมคคัลลานะได้  เพราะท่านเอาตัวรอดมาได้ทุกครา

                จวบจนเข้าเดือนที่สาม  พระโมคคัลลานะก็เกิดความแปลกใจขึ้นมาว่า  เหตุไฉนพวกโจรเหล่านี้ จึงไม่ลดละความพยายามที่จะทำร้ายท่าน  นี่คงเป็นเพราะกรรมบันดาลแน่แท้ จึงได้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้

                ท่านจึงกำหนดอธิษฐานย้อนดูกรรมเก่าในอดีตของท่าน  ก็พบว่า เป็นบาปกรรมแต่ชาติก่อนอย่างที่คิดไว้จริง ๆ ซึ่งเห็นทีท่านมิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว  ท่านจึงยอมให้พวกโจรจับตัวท่านไป ทุบตีในป่าเปลี่ยว จนกระทั่งพวกโจรเห็นว่า ท่านตายแล้ว จึงจับตัวของท่านโยนทิ้งไว้ในป่าลึก

                หลังจากที่พวกโจรคล้อยหลัง และลับหายไปแล้ว  พระโมคคัลลานะ จึงได้นั่งสมาธิ เพื่อเข้าฌาน เพื่อประสานอาการบอบช้ำ และประสานกระดูกให้คืนดังเก่า ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางไปทูลลาเพื่อเข้าสู่นิพพาน ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                ถึงแม้พระโมคคัลลานะจะเป็นถึงพระอรหันต์  ซึ่งประกอบแต่คุณงามความดี ไม่มีกรรมไม่ดีในชาตินี้  แต่ทว่า เมื่อเป็นกรรมเก่าแต่ปางก่อนแล้ว ท่านก็ต้องชดใช้ไป ซึ่งในครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย

                เมื่อข่าวพระโมคคัลลานะ ถูกประทุษร้ายจนถึงแก่ความตายแพร่สะพัดออกไป  เหล่าสาวกทั้งหลายก็พากันแปลกใจเป็นอันมาก  เพราะเห็นว่า พระโมคคัลลานะเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก เหตุไฉนจึงถูกพวกโจรทำร้ายได้ เหล่าสาวกจึงนำปรัศนีย์นี้ ไปทูลถามต่อพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงตรัสแก่บรรดาสาวกให้หายสงสัยว่า

                ?เหล่าสาวกทั้งหลาย การที่พระโมคคัลลานะตายนี้ ถึงแม้จะไม่สมควรแก่กรรมในชาตินี้ แต่ก็สมควรแล้วแก่กรรมที่เคยมีในชาติก่อน?

                หลังจากนั้น พระองค์ก็ตรัสเล่าเหตุการณ์ถึงที่มาให้ฟังอีกว่า

                เมื่อชาติก่อน พระโมคคัลลานะ  เกิดเป็นบุตรของคนมั่งมีตระกูลหนึ่ง   อาศัยอยู่ที่เมืองพาราณสี  พระโมคคัลลานะมีความขยันขันแข็ง เอาการเอางานจนเป็นที่รักใคร่ของบิดามารดาเป็นอันมาก

                ต่อมา ด้วยความรักลูก บิดามารดาเห็นว่าลูกชายนั้นเติบใหญ่  สมควรที่จะมีเมียเพื่อมาเป็นแม่ศรีเรือน  เพื่อคอยช่วยงานบ้านงานเรือนได้แล้ว  ลูกชายจะได้ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป พ่อแม่ก็เฝ้าอ้อนวอนให้ลูกแต่งงาน แต่ลูกชายก็ไม่ยอม เมื่อหลาย ๆ ครั้งเข้า พ่อแม่ทนดูลูกชายเหน็ดเหนื่อยต่อไปอีกไม่ได้ จึงได้ตัดสินใจพาหญิงสาวคนหนึ่งมาเป็นเมีย เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้ ลูกชายก็สุดวิสัยที่จะบ่ายเบี่ยงได้ จึงรับหญิงนั้นไว้

                อยู่มานานเข้า  ข้างฝ่ายเมียก็เกิดอิจฉาริษยาพ่อผัวแม่ผัวขึ้นมา ที่แย่งเอาความรักจากผัวของตัวไปสิ้น  จึงใช้กลอุบายคอยใส่ร้ายพ่อผัวแม่ผัว ให้ผัวของตัวฟังเสมอ ไม่ว่าจะพูดสักกี่ครั้ง ผัวก็ไม่ยอมเชื่อ เมียตัวดีแม้จะไม่ สมหวัง แต่ก็ไม่หมดความตั้งใจที่จะกล่าวร้าย จึงได้คิดเล่ห์กลขึ้นมาใหม่

                คราวนี้เมียตัวแสบก็แกล้งเอาขยะ และสิ่งโสโครกมาเททิ้งในบ้าน  พอผัวกลับมาเห็นเข้า นางก็แกล้งทำเป็นร้องไห้ แล้วลงมือทำความสะอาดของเหล่านั้นทันที นางแกล้งทำเช่นนี้อยู่สองสามวัน  เมื่อผัวกลับเข้ามาบ้าน ก็เห็นสภาพรกรุงรังเช่นเคย จึงได้เอ่ยถามผู้เป็นเมียว่า

                ?ทำไมถึงทำบ้านสกปรกอย่างนี้ทุกวันล่ะ?

                พอเห็นว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ นางจึงแกล้งทำเป็นร้องไห้โฮ แล้วกล่าวให้ร้ายพ่อผัวแม่ผัวว่า ?พี่ขา ฉันทนไม่ไหวแล้ว พ่อแม่พี่แกล้งเอาของเหล่านี้มาเทเรี่ยราดทุกวัน ฉันปัดกวาดไม่ไหวแล้ว ถ้าพี่รักฉันจริง พาฉันไปอยู่ข้างนอกเถอะ?

                ฝ่ายผัวเมื่อได้ยินเช่นนั้น เกิดเชื่อ และสงสารเมียขึ้นมา เลยเกิดใจอ่อน เห็นผิดเป็นชอบ จึงกล่าวปลอบผู้เป็นเมียไปว่า ?พ่อแม่ทำอย่างนี้ก็เกินไป แล้วพี่จะจัดการให้?

                เมื่อความหลงใหลเข้าครอบคลุมจิตใจเช่นนี้แล้ว  ทำให้ขาดสติยั้งคิด กลับไปทำสิ่งซึ่งเป็นบาปกรรมได้ง่าย กรรมเก่าแต่ชาติปางก่อนของพระโมคคัลลานะจึงเกิดขึ้น

                อยู่มาวันหนึ่ง  ลูกชายได้โกหกพ่อแม่ว่า จะไปเยี่ยมญาติซึ่งอยู่ห่างออกไป จึงอยากจะชวนพ่อแม่ให้ไปเยี่ยมด้วยกัน แล้วก็ขับเกวียนพาพ่อแม่เข้าไปในป่า เมื่อถึงกลางทาง ก็บอกกับพ่อแม่ว่า จะขอลงไปทำธุระก่อน เสร็จแล้วจะตามไปทีหลัง

                เวลาไม่นานต่อมา ลูกชายซึ่งปลอมตัวเป็นโจร ก็แอบลอบสังหารผู้เป็นพ่อแม่ถึงแก่ความตาย

                กรรมที่ทำร้ายพ่อแม่อย่างนี้ ต้องตกนรกและต้องถูกทุบตีจนตาย เวียนว่ายตายเกิดอยู่หลายชาติ จวบจนชาติสุดท้ายที่จะต้องได้รับกรรม จนมาเกิดเป็นพระโมคคัลลานะ

                นอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังตรัสต่อไปอีกว่า

                ผู้ที่ประทุษร้ายพระโมคคัลลานะก็เช่นกัน  ย่อมต้องชดใช้กรรมที่ได้สร้างไว้ด้วย อย่างเช่น พวกโจรที่ทุบหัวของพระโมคคัลลานะจนเสียชีวิต ก็ต้องไปเกิดวิบัติตามไปด้วย เพราะไปทำร้ายผู้อื่นเขา

                เมื่อเหล่าโจรได้ฆ่าพระโมคคัลลานะจนถึงแก่ความตายแล้ว  ก็นึกกระหยิ่มใจ พากันดื่มสุราจนเมามายขาดสติ  เมื่อสติไม่มี เหล่าโจรก็พากันโอ้อวดกันเป็นยกใหญ่ ว่าตนเองเป็นผู้ที่ลงมือเอาหินทุบหัวพระโมคคัลลานะก่อน เสียงถกเถียงระเบ็งเซ็งแซ่ไปทั่ว จนกระทั่งมีตำรวจเมืองผ่านเข้ามา และได้ยินเรื่องที่เหล่าโจรทำการสังหารพระโมคคัลลานะ จึงได้ทำการจับกลุ่มโจรกลุ่มนั้นไปตัดสินความ

                พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นผู้ตัดสินความ ได้ตรัสรับสั่ง ให้จัดการขุดหลุมแค่เอว แล้วให้พวกโจรลงไปยืนในหลุม กลบดินฝังครึ่งล่างของพวกโจรให้แน่น จนไม่สามารถกระดิกตัวได้ หลังจากนั้นก็ให้เอาฟางมาโปะคลุมหัวพวกโจรไว้จนมิด แล้วจุดไฟเผา แค่นั้นยังไม่สาสมกับความผิดที่ฆ่าพระสงฆ์ ยังรับสั่งให้เอาศพที่ถูกไฟเผาแล้ว มาตัดเป็นท่อน ๆ

1105
ด้วยความเคารพครับ
ที่นครปฐม มักจะพบคาถา เย ธมฺมา อยู่ตามจารึกของวัดเก่าๆ เสมอ
ผมได้อ่านบทความ ชิ้นหนึ่งรู้สึกว่ามีคุณค่าจะขอ
นำมาลงไว้ ณ ที่นี้ครับ

คาถา เย ธมฺมา

โดย เกษม ศิริสัมพันธ์
ผู้จัดการออนไลน์ ๖ กันยายน ๒๕๔๗

มักมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอว่า พระพุทธศาสนา เป็น ศาสนา หรือ religion หรือ เป็นปรัชญา หรือ philosophy หรือเป็นวิถีการครองชีวิตแบบหนึ่ง a way of life

นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบันของเรา อย่างท่านพุทธทาส และท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) จึงเลี่ยงมานิยมใช้คำว่า พุทธธรรม เพื่ออธิบายถึงประมวลคำสอนของพระพุทธองค์

พุทธธรรมนอกจากเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังรวมถึงความเป็นไปในพระชนม์ชีพและพระปฏิปทาของพระพุทธองค์ ซึ่งสะท้อนออกมาให้ปรากฏในพุทธธรรมอีกด้วย

พระพุทธศาสนาเป็นธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ในความงมงาย เพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนา ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล

ในกาลามสูตร พระพุทธองค์ทรงเทศนาสั่งสอนชาวกาลามะ แห่งเกศปุตตนิคม ในแคว้นโกศลว่า อย่าให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ด้วยเหตุต่างๆ ถึง ๑๐ ประการ รวมทั้งอย่าเชื่อเพราะนับถือว่าผู้นั้นเป็นสมณะหรือครูของตน แต่ให้เชื่อต่อเมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาของตนเองแล้วสิ่งใดกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล

หลักธรรมที่สอนให้เชื่อด้วยปัญญาของตนเองนั้น ตรงกับหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักวิธีคิด เป็นการพิจารณาเพื่อเข้าถึงความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เป็นการตริตรองด้วยตนเอง ให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว แยกแยะได้เองว่าอะไรเป็นกุศลกรรม อะไรเป็นอกุศลกรรม

เหนือสิ่งอื่นใด จะเห็นได้ว่า พระธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น แต่ละเรื่องแต่ละราว ล้วนประกอบด้วยเหตุและผลสัมพันธ์กันทั้งนั้น

มีคาถาสำคัญบทหนึ่ง ซึ่งบรรยายถึงลักษณะสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลในหลักพุทธธรรมเรียกว่า คาถา "เย ธมฺมา"

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงตัวคาถาดังกล่าวพร้อมทั้งความหมายที่สำคัญ ต้องขอเล่าเรื่องประกอบคาถาบทนี้ เป็นเรื่องนำเสียก่อน

มีเรื่องเล่ามาว่า ที่ใกล้กรุงราชคฤห์ มีหมู่บ้านพราหมณ์อยู่ ๒ หมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านทั้งสองได้เป็นมิตรสหายสนิทสนมกันมาช้านาน และต่างก็มีบุตรชาย หัวหน้าพราหมณ์ หมู่บ้านหนึ่ง มีบุตรชายชื่อ อุปติสสะ อีกหมู่บ้านหนึ่งหัวหน้าพราหมณ์ก็มีบุตรชายเหมือนกัน ชื่อ โกลิตะ

อุปติสสะ และ โกลิตะ ได้คบหากันเป็นเพื่อนสนิท เล่าเรียนวิชาทางลัทธิพราหมณ์มาด้วยกัน แต่ก็มีความรู้สึกว่าแนวทางสั่งสอนของสำนักพราหมณ์ต่างๆ นั้น หาใช่ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริงไม่

ทั้งสองคนจึงต่างออกแสวงหาศาสดา ที่สอนอมตธรรมคือธรรมที่ไม่ตาย โดยให้คำมั่นสัญญากันว่า เมื่อฝ่ายใดสามารถได้พบศาสดาที่สอนธรรมเช่นนั้นได้ก่อน ก็ต้องกลับมาบอกอีกฝ่ายหนึ่งให้ทราบด้วย จะได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์พร้อมกัน

วันหนึ่ง อุปติสสะมาณพ ได้ไปพบ พระอัสสชิ ซึ่งเป็นภิกษุองค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นปฐมสาวกของพระพุทธองค์

ขณะนั้นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสะเห็นกิริยาสำรวมและสงบของพระอัสสชิ ก็เกิดความสนใจและเลื่อมใส

อุปติสสะจึงเดินตาม พระอัสสชิ จนท่านบิณฑบาตเสร็จ กลับไปฉันเรียบร้อยแล้ว จึงได้ช่อง เข้าไปถามว่า ท่านบวชกับใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน

พระอัสสชิตอบว่า พระศาสดาของท่านคือพระสมณโคดม ซึ่งอยู่ในวงศ์ศากยะ ได้เสด็จทรงผนวชจนตรัสรู้โดยพระองค์เอง

อุปติสสะ จึงถามต่อไปว่า พระสมณโคดม ศาสดาของท่าน สอนธรรมอะไรเป็นสำคัญ ขอให้แสดงธรรมะนั้นให้ฟัง

พระอัสสชิก็กล่าวถ่อมตนว่า ท่านเพิ่งเข้ามาบวช ยังไม่อาจแสดงหลักธรรมได้กว้างขวางมากนัก ได้แต่กล่าวอย่างย่อๆ อุปติสสะ ก็บอกว่าไม่ต้องแสดงหลักธรรมให้ยืดยาวเยิ่นเย้อหรอก เอาแต่แค่ใจความก็พอแล้ว!

พระอัสสชิ จึงกล่าวเป็นคาถาสั้นๆ รวมสี่บาท ความว่า :

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
เตสํ เหตํ ตถาคโต พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ และความดับของธรรมเหล่านั้น
เอวํ วาที มหาสมโณ พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้

พระอัสสชิถ่อมตนว่าบวชใหม่ รู้น้อย แต่สามารถสรุปหัวใจของอริยสัจได้ในคาถาเพียงสี่บาทเท่านั้น แสดงว่าพระปัญจวัคคีย์รูปนี้เป็นผู้รู้จริง รู้ลึกถึงแก่นของหลักอริยสัจทีเดียว

ฝ่ายอุปติสสะ ได้ฟังคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแล้ว ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม มองเห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดา แต่สรรพสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความดับสูญเป็นธรรมดาเช่นกัน

อุปติสสะจึงกลับไปหาเพื่อนที่ชื่อ โกลิตะ ตามที่สัญญากันไว้ บอกเพื่อนว่าได้พบศาสดาผู้ล่วงรู้อมตธรรมแล้ว

มาณพทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แถมยังพาบริวารของตนมีจำนวน ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วย ทั้งหมดได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าก็ประทานให้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา คืออุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธองค์

มาณพทั้งสอง รวมทั้งบริวาร เมื่อได้อุปสมบทแล้ว และได้บำเพ็ญเพียร ไม่ช้านักก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

พระอุปติสสะ รู้จักในวงการพระพุทธศาสนาว่า พระสารีบุตร คือเรียกขานท่านตามชื่อของมารดา คือเป็นบุตรของนางสารีพราหมณี จึงชื่อว่าสารีบุตร หรือผู้เป็นบุตรของนางสารีนั่นเอง

ส่วนพระโกลิตะ ก็เช่นเดียวกันในทางพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า พระโมคคัลลานะ ตามชื่อของมารดาท่านเช่นกัน แปลว่าบุตรของนางโมคคัลลีพราหมณี

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ว่า เป็นอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีปัญญามาก ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ทรงยกย่องว่าเป็นเลิศในทางมีฤทธิ์มาก

ในสมัยต่อมาเมื่อสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อย่างเช่นพระประธานในพระอุโบสถ หรือในพระวิหาร จึงนิยมสร้างรูปพระอัครสาวกทั้งคู่ ให้ยืนหรือให้นั่งอยู่สองข้างพระประธานด้วยกัน พระอัครสาวกที่สร้างขึ้นนั้นมีสองรูป คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ แต่ทั้งสองรูปมีร่างเหมือนกัน

การสังเกตว่าพระอัครสาวกเป็นรูปใด ก็ให้สังเกตว่าเบื้องขวาของพระประธาน คือพระสารีบุตรเถระ ส่วนด้านซ้ายของพระประธานคือพระโมคคัลลานะเถระ ต้องสังเกตด้วยว่าเมื่อเราหันหน้ากราบพระประธานนั้น ก็ต้องกลับกัน ด้านซ้ายของตัวเราคือพระสารีบุตร ส่วนด้านขวาของเราคือพระโมคคัลลานะ

ส่วนคาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิ กล่าวแก่ อุปติสสะมาณพนั้น เป็นการกล่าวสรุปในหลักธรรมสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา คือ อริยสัจ

อริยสัจมีสี่ประการ ประการแรก ได้แก่ ทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ประการที่สอง ได้แก่ สมุทัย ได้แก่ เหตุให้เกิดทุกข์ จึงเป็น เหตุ ที่ทำให้เกิด ผล คือ ทุกข์ ในประการแรก ประการที่สาม คือ นิโรธ คือความดับทุกข์ ซึ่งเป็น ผล ทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป และประการที่สี่ซึ่งเป็นประการสุดท้าย คือ มรรค เป็นข้อปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์ นับว่าเป็น เหตุ อีกเหมือนกัน

เมื่อนำหลักอริยสัจสี่ประการนี้ เข้ามาพิจารณาตัวคาถา เย ธมฺมา จะเป็นดังนี้

คาถาบาทที่หนึ่ง มีความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ก็หมายถึง ทุกข์ ซึ่งป็น ผล อันเกิดจาก เหตุ ดังกล่าว

คาถาบาทที่สอง มีความว่า พระตถาคตตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น นี่ก็คือเรื่อง สมุทัย ซึ่ง เหตุ เป็นอริยสัจข้อที่สอง

คาถาบาทสาม มีความว่า และความดับของธรรมเหล่านั้น ก็คือพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่อง นิโรธ และ มรรค ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติอันเป็น ผล นำไปสู่ให้ถึงความดับทุกข์ในที่สุด

ส่วนคาถาบาทสุดท้าย ความว่า พระมหาสมณะมีวาทะไว้อย่างนี้ ก็คือ พระพุทธองค์ได้ ตรัสสั่งสอนไว้เช่นนี้

อันที่จริง คาถา เย ธมฺมา ซึ่งพระอัสสชิกล่าวนี้ มิได้หมายเฉพาะแต่เรื่องอริยสัจสี่เท่านั้น แต่ยังหมายถึงหลักธรรมทั่วไปของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุ กับ ผล ผล ที่ดีต่างๆ ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ดีทั้งนั้น ซึ่งจะเรียกว่า บุญ หรือกุศลกรรมก็ได้ ส่วน ผล ที่ไม่ดีต่างๆ ก็ล้วนเกิดจาก เหตุ ที่ไม่ดี คือบาป หรืออกุศลกรรมนั่นเอง

พระพุทธองค์จึงได้ทรงชี้ให้เห็นว่า เหตุ ที่ดี คือ บุญหรือกุศลกรรมย่อมมี ผล ในทางที่ดี ส่วน เหตุ ที่ไม่ดี คือ บาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมมี ผล ในทางตรงข้าม

นอกจากนั้นยังตรัสชี้ เหตุคือทำความดี คือทำบุญหรือกุศลกรรม เพื่อให้เกิดผลที่ดีแก่ตัวผู้ปฏิบัติเอง ในทำนองเดียวกัน เหตุคือทำความไม่ดี คือทำบาปหรืออกุศลกรรม ก็ย่อมนำผล ร้ายมาสู่ชีวิตของผู้ปฏิบัติเองเช่นกัน

พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่ไม่ได้สอน ให้คนหวังความช่วยเหลือเอื้ออำนวยจากพลังภายนอก หรือพลังเหนือธรรมชาติ ในรูปใดๆ ก็ตาม

แต่สอนให้เชื่อมั่นในหลัก "กรรม" คือการกระทำของตนเอง ถ้าทำดี ก็ย่อมได้ผลที่ดี ตรงกันข้าม ถ้าทำชั่วทำเลว ก็ย่อมได้รับผลร้ายหรือผลไม่ดีเอง!

คาถา เย ธมฺมา ซึ่ง พระอัสสชิ กล่าวนั้น จึงเป็นการกล่าวคาถาสรุป รวมยอดของพุทธธรรมเดียว

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงโปรดให้สลักแท่งศิลาจารึกคาถาบทนี้ไว้มากมาย ต่อมามีผู้ขุดค้นพบหลักศิลาจารึกดังกล่าวนี้อยู่ทั่วไปในชมพูทวีป แสดงว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเลื่อมใสในคาถา เย ธมฺมา บทนี้ ว่าเป็นคาถาซึ่งสรุปหัวใจพระพุทธศาสนาไว้อย่างรัดกุมทีเดียว

มีเกร็ดเล่า เมื่อก่อสร้างโรงแรมอินทรา ที่บริเวณประตูน้ำ ผู้ลงทุนได้มาปรึกษาท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ว่าจะสร้างศาลพระพรหมอย่างโรงแรมอื่นเขาบ้างจะดีไหม?

ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ได้แนะนำว่า ไม่ควรสร้างเทวรูปตามลัทธิพราหมณ์ แต่ควรสร้างเป็นศาลประดิษฐานรูปธรรมจักร ที่ฐานสลัก คาถา เย ธมฺมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนาจะเหมาะสมกว่า! เชื่อว่าศาลที่มีรูปธรรมจักร และจารึกคาถาบทนี้ ก็คงยังตั้งอยู่ที่โรงแรมแห่งนั้น..


คงมีประโยชน์บ้างนะครับ  ได้ชื่อว่าเป็นคนพุทธอย่าพึ่งเป็นแต่ในข้อมูลในทะเบียนบ้าน
ทุกวันนี้ จะเป็นพราหมณ์ ไปหมดแล้ว
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour


1106
ด้วยความเคาพครับ
  อัตถิ อิมัสมิง กาเย (ที่มีอยู่ในกายนี้) เกสา (ผมทั้งหลาย) โลมา (ขนทั้งหลาย) นขา (เล็บทั้งหลาย) ทันตา (ฟันทั้งหลาย) ตะโจ (หนัง) มังสัง (เนื้อ) นะหารู (เอ็นทั้งหลาย) อัฏฐี (กระดูกทั้งหลาย) อัฏฐิมิญชัง (เยื่อในกระดูก) วักกัง (ม้าม) หะทะยัง (หัวใจ) ยะกะนัง (ตับ) กิโลมะกัง (พังผืด) ปิหะกัง (ไต) ปัปผาสัง (ปอด) อันตัง (ไส้ใหญ่) อันตะคุณัง (ไส้น้อย) อุทะริยัง (อาหารใหม่) กะรีสัง (อาหารเก่า) ปิตตัง (น้ำดี) เสมหัง (เสลด) ปุพโพ (น้ำเหลือง) โลหิตัง (น้ำเลือด) เสโท (เหงื่อ) เมโท (มันข้น) อัสสุ (น้ำตา) วะสา (มันเหลว) เขโฬ (น้ำลาย) สังฆาณิกา (น้ำมูก) ละสิกา (น้ำมันไขข้อ) มุตตัง (น้ำมูตร) มัตถะเก มัตถะลุงคันติ (เยื่อในสมอง)
  ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1107
ด้วยความเคารพครับ
    ได้ยินมาว่ารักษายากนะครับ
ถ้าได้ไปงดข้าวมันไก่เลยนะครับ
  ขอแสดงความนับถือ
      Gearmour

1108
ด้วยความเคารพครับ
       ลายลักข้างหน้าเป็นเสือหลวงพ่อเปิ่น
ข้างหลังเป็นหนุมานตัวแปดของหลวงพ่อแล วัดพระทรง
เห็นได้ไว้หลายตัว
   เสียดายลายสักครับ ถ้าเป็นแผนเป็นนี้
 ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1109
เท่าที่ทราบมา หลวงปู่อั๊บท่านจะเด่นทางด้านเมตตา ลายสักที่เด่นเป็น นางพิม นะครับลายอื่นๆท่านก็มีนะครับ ท่านมือหนักจริงๆ ครับและชราภาพมากแล้ว วันคล้ายวันเกิดหลวงปู่อั๊บตรงกับวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อเปิ่นด้วย คือ วันที่ 12 สิงหาคม ปีอะไรนั้นผมไม่ทราบจริงๆ (รบกวนผู้รู้ตอบด้วย) ที่วัดบางพระมีงานทุกปีที่ตรงกับวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อเปิ่น ถ้ามีโอกาสก็น่าจะแวะไปกราบหลวงปู่อั๊บด้วยก็น่าจะดีเหมือนกันนะครับเพราะที่ วัดท้องไทรก็มีงานบุญเหมือนกัน
พระอธิการเกษม เขมจาโร หรือหลวงปู่อั๊บ ถือกำเนิดในตระกูล ?ทิมมัจฉา? เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๕ (หนังสือ หรือประวัติในเวป อื่น จะเป็น ๒๔๖๔ แต่สอบถามหลวงปู่แล้วว่า ๒๔๖๕ ถูกต้อง) ที่บ้านแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

1110
ด้วยความเคารพครับ
     หลวงปู่แย้มแต่ก่อน ถ้าจะให้ท่านสักของยกครูต้องครบนะครับท่านสักเป็นอักขระ  แทงทั้งตัวครับ
ตอนนี้ให้ลงกระหม่อมก็ได้ครับ แต่มือท่านหนักมากนะรับ
แต่ผมว่าตอนนี้เบาแล้วครับ
    หลวงปู่อั๊บ ตอนนี้มีลูกศิษย์มาช่วยในวันเสาร์ที่วัดนะครับ
ยันต์ของท่าน เข็มของท่าน ดูได้ที่นี้ครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63&st=0
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1111
ด้วยความเคารพครับ
    ไม่ทราบว่าใครสักให้ครับ
เรื่องของนางพิม
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1924
เรื่องของหลวงปู่อั๊บ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63&st=120
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1112
ด้วยความเคารพครับ
   เก้ายอดครับ
      จุดเริ่มต้นครับ
ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1113
ด้วยความเคารพครับ
   ลองไปดูที่นี้นะครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=68
ขอแสดงความนับถือ
   Geamour

1114
ด้วยความเคารพครับ
    หลวงปู่ชื่น ท่านมรณภาพไปแล้วนะครับ
ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour
  ลองไปดูที่นี้ครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=526
และ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=1636

1115
ด้วยความเคารพครับ
  ไปหาท่านเจ้าอาวาส วัดบางพระ ดูครับ
ว่าท่านจะให้ทำอย่างไรต่อ
     ผลเป็นประการโปรดแจ้งให้ทราบด้วยครับ
ขอแสดงความนับถือ
    Gearmour

1116
ถูกต้องที่สุด ตรงที่ว่ามันเป็นสิทธิ์ของเวปมาสเตอร์เขาครับ เราก้อแค่คนผ่านมาเจอ (อย่าซีเรียส) ::) 8)

  ด้วยความเคารพครับ
      โลกของเค้า เคารพในสถานที่ของเค้า
เห็นด้วยกับข้อความข้างบนครับ
   ขอแสดงความนับถือ
      Gearmour

1117
ด้วยความเคารพครับ
ไม่ทราบว่ารู้จักอาจารย์นิคม ที่ท่านเคยอยู่วัดระฆัง หรือเปล่า?ครับ
ท่านเขียนผ้ายันต์ได้สวยงามมาก
และท่านสักเพชรพญาธรได้ขลัง
อยากทราบข่าวของท่านนะครับ
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1118
ด้วยความเคารพครับ
    นั้นละครับ
 ตามรูปคุณถึกนะครับ
  ขอบคุณครับสำหรับรูป
      ขอแสดงความนับถือ
        Gearmour

1119
ด้วยความเคารพ
? ? ? ?เห็นที่วัดท้องไทรครับเค้าจะมาสักเพิ่ม
ถามว่าใครสักให้ไม่ยอมบอก
คนที่สักที่ขา? เค้าเห็นท่าทางศิษย์หลวงพ่อเปิ่นที่อยู่ที่มาช่วย?
ยิงคำถามใส่เลยรีบๆหลบไปนะครับ
? ไม่ยอมตอบคำถามนะครับอยากทราบเหมือนกันครับ
? ? ? ? ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour
? ?ปล.ถ้าท่านใด้เห็นช่วยถามที่เถอะครับว่าใคร หรือตำหนักไหนสัก
พร้อมอธิบายด้วยว่าพิมพ์ใครลายใคร ใครก็เครพบูชา ถ้าลอกไป
ก็ไปทำให้ดีแล้วกัน ขอบคุณครับที่รับฟังครับ

1120
ก็ต้องดูก่อนนะครับ ว่าสักมาจากที่ไหนอาจจะสักมาจาก ที่อื่นซึ่งไม่ใช่วัดบางพระ หรือถ้าสักจากวัดบางพระก็ต้องดูอีกด้วยว่าใครเป็นผู้ที่ทำการสักให้
   ด้วยความเคารพครับ
ที่อยากสื่อคือย่างนี้ครับ
    พิมพ์เอกลักษณ์ของบางพระ ถ้าเป็นที่อื่นสำนักอื่น นำไปสักน่าจะให้เกียรติกัน
ถ้าเป็นที่วัดบางพระสักเองทำไมมันเปลี่ยนไปได้แบบนี้
   เรียนตามตรงเห็นแล้วไม่สบายใจนะครับ

อีกเรื่องที่อยากแสดงความคิดเห็น ผมเห็นบางคนเครพหลวพ่อเปิ่นถึงขนาดสักรูปท่านติดตัว
    ซึ่งผมเชื่อว่าในวัดคงไม่มีใครสักรูปหลวงพ่อให้แน่แต่ (หรือว่ามีผมก็ไม่ทราบ) การที่สักรุปครูบาอาจารย์ติดตัวไว้
ท่านเป็นพระมีศีลตั้ง227  คนเป็นคนปกติศิลห้ายังไม่ไม่ค่อยปกติเลย ไม่ต้องถึงศิลแปด ศีลสิบ
  ทำดีก็ไป
     ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเท่านี้ครับ
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1121
วัดศาลาแดง ริมคลองทวีวัฒนา ใช่ไหมครับ ท่านปลัด
ด้วยความเคารพครับ
ใช่ครับท่านโยค ?เห็นลายสักท่านสวยนะครับ
เห็นเริ่มออกวัตถุมงคลแล้วด้วยครับ
 ? ? ขอแสดงความนับถือ
 ?Gearmour

1122
ด้วยความเคารพครับ
    เสือบางพิมพ์ของวัดบางพระไว้ได้ครับ
แต่พิมพ์ที่ผมขอเรียกว่าเสือการตูน์ ที่ปกติไว้ที่หน้าอก นี้ถ้าไปถามอาจารย์สมัยสักที่อยู่กุฎิท่าน้ำ
 ทุกท่าน ท่านว่าต้องสูงกว่าเอวครับ
  ขอแสดงความนับถือ
       Gearmour

1123
    ด้วยความเคารพครับ
ผมได้ยินมาหลายครั้งแล้ว แต่พึ่งได้เห็นด้วยตานี้
   ผมเห็นมีคนสักเสือครู ผมเรียกว่าเสือการ์ตูน ที่ปกติศิษย์บางพระ
สักไว้ที่หน้าอก  แต่มีคนทำแปลกๆ เอาไปสักที่น่อง ที่วัดบางพระคงไม่มีใครทำ
ศิษย์สายบางพระคงไม่มีใครสักให้   เพราะปกติพิมพ์เสือครูนี้เค้าไม่สักต่ำไม่ใช่หรอครับ
   ผมละงง   
      เรื่องความเห็นอื่นคงไม่มี ฝากไว้แค่นี้ครับ
 ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1124
ด้วยความเคารพครับ
อยากทราบข้อมูลนะครับ
ว่าอาจารย์ปุ้มท่านสักอะไรบ้าง
คราวที่แล้วไป เห็นว่าท่านไปปริวาส
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1125
ด้วยความเคารพครับ
    ถ้าจะไปเช่าหาของรุ่นเก่าๆของหลวงปู่ก็ดีครับ
แต่ถ้าไปสัก ดูเรื่องค่ายกครูด้วยนะครับ
จะไม่ได้เสียความรู้สึก  แบบว่าแตกต่างจากกุฎิอื่นในวัดนะครับ
   ขอแสดงความนับถือ
      Gearmour

1126
ด้วความเคารพคับ
  ทำเป็นเกมส์อาร์พีจีไปได้
      ไม่มีช่อง มานา ด้วยละครับ
MP นะครับ
  สงสัยผู้บริหารบอรด์ชอบเล่นเกมส์
   ขอแสดงความนับถือ
    Gearmour

1127
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง

ด้วยความเคารพครับ
ลอกเค้ามานะครับ
สูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

คำแปลธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง โดยคุณ Amine post ไว้ที่ webboard

จากหนังสือ "สวดมนต์แปล" วัดจันทาราม อ.เมือง จ.อุทัยธานี หน้า 97 - 113ซึ่งค่อนข้างจะแปลละเอียดและคาดว่าจะเป็นบทสวดเต็ม มาให้ครับ .. ถ้าคัดลอกผิดไปบ้าง..ขออภัยด้วย..ผู้ใดพบเห็นกรุณาเสนอแก้ด้วยนะครับ ;
บทสวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมื
องพาราณสี ฯ

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพ
ระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค **โน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ

เสยยะถีทัง
ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ

- สัมมาทิฏฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )

- สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

- สัมมาวาจา
วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )

- สัมมากัมมันโต
การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )

- สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )


- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )

- สัมมาสะติ
การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

- สัมมาสะมาธิ ฯ
การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ

- ชาติปิ ทุกขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์

- ชะราปิ ทุกขา
เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- มะระณัมปิ ทุกขัง
เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์

- โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์

- อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

- ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์

- ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

- สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่าง
แท้จริง

โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์

ภะวะตัณหา
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์

วิภะวะตัณหา
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ**นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

[bตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

* --------- * จบบทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัฒนสูตร * --------- *



1128
ด้วยความเคาพครับ
   ขอบคุณครับ
 ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1129
:) :)แล้วค่าบูชาตะกรุดเท่าไหรค่ะ.....เห็นมีคนบอกว่า3000-5000? แน่ะ....จริงมั้ยค่ะ.....ที่ว่าตะกรุดนี่ตะกรุดรางพิมกับตะกรุดกันงูรึเปล่าคะ

  ด้วยความเคารพครับ
      อะไรจะขนาดนั้นครับ
ที่วัดในตู้ให้เปลี่ยน 300-500 บาทครับ
ตระกรุดนางพิมก็นางพิมครับ
 กันงูก็กันงูครับ
รบกวนดูรายละเอียดที่นี้ครับ
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63

ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1130
ท่าน Geamour? ปลายเดือนจะไปหาอาจารย์ที่วัดท้องไทร อาจจะมีพรรคพวกไปด้วยเยอะหน่อยนะคะ?  ขอรบกวนค่ะ
    ด้วยความเคาพรครับ
มาเถอะครับ
 เสร็จธุระจากวัดบางพระ ก็มาเถอะครับ
จะได้ช่วยๆ กันสร้างโรงเรียน นี้เห้นจะสร้างเสมารอบโบสถ์กันอีกแล้ว
  ขอแสดงความนับถือ
      Gearmour

1131
ด้วยความเคารพครับ
    ตั้งแต่  7โมงเช้าครับของวันเสาร์
         นำเรียนว่าเรื่องที่เค้าว่ากันหากัน
ทางวัดทางครูบาอจารย์ไม่ได้ส่งเสริมครับ
    แล้วแต่คนนำไปใช้ครับ
ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1132
ด้วยความเคารพครับ
    เรื่องทางไปวัดท้องไทรรบกวนใช้กูลเกิ้ล หาดูครับ เคยมีคนนำลงไว้ให้แล้ว
ส่วนเรื่องทางเสน่ห์อะไรนั้น อาจารย์อั้นท่านเป็นศิษย์อาจารย์พัน วัดบางพระ
 และหลวงปู่อั๊บผู้เป็นครูและเจ้าอาวาส ซึ่งท่านไม่ส่งเสริมเรื่องพวกนี้ครับ
 http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63
    ส่วนวัดสามง่าม อยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอดอนตูมมีรถประจำทางเข้าถึง
ซึ่งที่คุณอยากได้ หลวงปู่แย้มบอกว่าได้หน้าจะเสียหลังนะครับ 
   ขอแสดงความนับถือ
Geramour

1133
ด้วยความเคารพครับ
ขออนุญาตมาแก้มาเติมให้ครับ

พระอธิการเกษม เขมจาโร หรือหลวงปู่อั๊บ ถือกำเนิดในตระกูล ?ทิมมัจฉา? เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๕ (หนังสือ หรือประวัติในเวป อื่น จะเป็น ๒๔๖๔ แต่สอบถามหลวงปู่แล้วว่า ๒๔๖๕ ถูกต้อง) ที่บ้านแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้อง ๑๒ คน (หนังสือ หรือประวัติในเวป อื่น จะเป็น ๘ แต่สอบถามหลวงปู่แล้วว่า ๑๒ ถูกต้อง) ดังนั้นจึงต้องรับหน้าที่ดูแลน้องๆ และช่วยพ่อแม่ทำไร่นาเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว
การศึกษา เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๒๐ ปีท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทตามแบบแผนประเพณีโบราณ โดยอุปสมบท ณ วัดทุ่งน้อย มี ?หลวงพ่อมา? เกจิอาจารย์อาคมขลังเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วหลวงปู่ได้มาจำพรรรษาอยู่ที่วัดท้องไทร ๙ ปี หลังจากนั้นท่านจึงเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ และไปจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่ต้านทาน อำเภอบ้างซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ราว ๑๓ ปี แล้วย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีก ๒ ปี จนกระทั่งปี ๒๕๐๘ หลวงพ่อจึงกลับมายังวัดท้องไทรและอยู่ที่วัดท้องไทรจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งหลวงปู่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๓ปรากฏตามตราตั้งเจ้าอาวาส และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๕๑๔

ขอแสดงความนับถือ

Gearmour

1134
ด้วยความเคารพครับ
     กุฏิไหนก็ได้ อย่าเป็นกุฎิที่เก็บเงินตามภาพแล้วกันครับ
  มีอยู่กุฎิเดียว
   ขอแสดงความนับถือ
       Gearmour

1135
ด้วยความเคารพครับ
ตามหาข้อมูลอาจารย์ทูล วัดบางพูดนอก
ครับ
อยากทราบว่าขณะนี้ท่านอยู่ที่วัดไหนครับ
และ ท่านยังสักพี่เพชร หรือเปล่า?
ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1136
ด้วยความเคารพครับ
   ยืนยันครับว่าควรไปหาท่านที่วัด ครับ
       ขอแสดงความนับถือ
  Gearmour

1137
ไม่ทราบ ยันต์ ที่เป็นรูปคน ที่กางแขน อ่ะครับ ชื่ออะไรหรอคับ?  ที่หลังของ คุณ BIG TOD อ่ะครับ ขอบคุณครับ .. :075: :075: :002:
   ด้วยความเคารพครับ
 สี่สมิงครับ ครับ
 ไม่ทราบว่า ของคุณSKYLINE R33
นี้เป็นรูปอะไรหรือครับ ไม่ทราบจูงนางหรือเปล่า?
   ของหลวงพี่ญาใช่หรือไม่ครับ
       ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1138
ด้วยความเคารพครับ
   ไม่เป็นไรครับ ศิษย์หลวงปู่ หลวงพ่อ
เหมือนกัน
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour
  คราวหาไปหาหลวงพี่ติ่ง ขอนกสาริกาซักคู่
ว่าแต่น่าเสียดาย อาจารย์ไม่ให้นางแก้ว
เหอ เหอ เหอ

1139
ด้วยความเคารพครับ
นำมาให้ชมกันครับ
ตระกรุดของหลวงปู่
   


เข็มสักของหลวงปู่

   ขอแสดงความนับถือ
 Gearmour

1140
ด้วยความเคารพครับ
     ครับแล้วไม่ทราบว่า ไปเอายันต์ของที่อื่นมาสัก
แล้วครอบมา เรียนมาจริงหรือเปล่า? หรือนึกจะสักเอาค่าครูก็สัก
   หรือนึกว่านำของใครมาสักก็ได้ เอาแบบเอาพิมพ์มาสักเข้าไป
ครูบาอาจารย์ทำไว้ดีแล้วทำไมมาทำแบบนั้นละครับ
   ผมยืนยันว่าหลวงพ่อเปิ่นท่านสุดยอด  ผมก็ลูกศิษย์วัดบางพระ
ทำไมไม่ยึดตามแนวทางครูบาอจารย์ละครับ
   ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1141
ด้วยความเคารคพครับ
     ไม่ทราบมาจะเหมาะสมหรือเปล่า  หากเจ้าของเวป เห็นว่าไม่เหมาะสมรบกวนลบด้วย
 ทำไมที่กุฎิมหาสมชายถึงได้ เอารายลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของงวัด
อื่นมาสัก ครับ  วันนี้ผมไปสอบถามมาด้วยตนเองพบว่าเป็นความจริง
ตอนแรกฟังมาจากที่อื่นผมไม่เชื่อ แต่พอประสบด้วยตนเอง
รู้สึกว่า ทำไมทำแบบนี้ ครูบาอาจารย์ วางรูปแบบ ไว้ดีแล้ว
แต่ก่อนค่าครู 12 บาทมีเหตุต้องขึ้นเพราะสร้างสะพาน
ฆารวาสที่เรียนไปครอบไป ยึดค่าครู 25 บาท เหมือนต้ำตำหรับก็มี
 อยู่วัดแท้ๆ ทำไมทำเยี่ยงนั้น
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour   

1142
ด้วยความเคารพครับ
ภาพนางพิมตามนี้ครับ





รูปสุดท้าย เป็นนางพิมไตรมาศปี 49 ที่เหลือเป็นพิม ห้าเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นของปี 48 ครับ

Gearmour

1143
ด้วยความเคารพครับ
   ขอบคุณครับ
      เก่งนะครับ เท่าที่ฟังจากลูกศิษย์
อาจารย์อั้น เห็นว่าเป็นผู้หญิงตัวนิดเดียว
   สักได้จบไม่ต้องพัก
 นับถือ นับถือ ครับ
 ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour
ปล.ขออนุญาตนำไปลงที่คนรักมีดนะครับ

1144
ด้วยความเคารพครับ
     ขอบคุณjaratkul มากครับ
วันนี้ยังเป็นเพื่อนผมไปหาอาจารย์พันธ์
   ไว้เจอกันนะครับ
ขอแสดงนับถือ
  Gearmour

1145
ด้วยความเคารพครับ
    ขออนุญาตตอบไปทางอีเมล์ครับ
คุณเจ้าของกระทู้ ครับ หรือทางPM 
     กรุณาเรียกผมว่าGearmour เฉยก็พอครับ

 ขอเรียนไว้นิดหนึ่ง หลวงปู่เป็นพระ  ใครหรือตาม
เวปโฆษณาว่า
วัตถุมงคลของท่านทำนั้นทำนี้ได้ ขอเรียนว่าไม่จริง
หลวงปู่เหมือนหลวงพ่อเปิ่นที่ว่า
 มีแต่ดีไม่ดี ทำได้ทำไม่ได้  ไม่เคยบอกว่าท่านเก่ง
ตัวเองเก่ง
ท่านเป็นพระไม่ทำของชักผัวชักเมียใคร
ขออภัยที่นอกเรื่อง
เรื่องของตระกรุดลองใช้ดูครับ
รายละเอียดจะตอบให้ที่อีเมล์ครับ หรือพีเอ็ม
(ข้อความส่วนตัว)
ขออภัยที่นอกเรื่อง
ครับ
ขอแสดงความนับถือ

Gearmour
http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63

1146
ด้วยความเคารพครับ
? ?? รบกวนอย่าแจ้งที่อยู่ของอาจารย์พันในเวปครับ
ท่านอยากอยู่เงียบๆ ครับ
? ขอแสดงความนับถือ
?? Gearmour
? วันนี้โทรถามหลวงหลวงพี่พันธ์? ท่านบอกมาเลยไม่ต้องเกรงจาย? และหลวงพี่ท่านยังบอกอีกว่ามันมีอยู่กลุ่มนึงหวังดีแต่ประสงค์ร้ายกับท่าน?  พอผมถามว่าเรื่องไรหลอครับ? ท่านบอกว่าชั่งมันเหอะ? ยังยืนครับว่าท่านอยากเจอศิษย์ของท่านมากๆ?
? ?  **? หากไม่เชื่อและหากเปงศิษย์ท่านจริงลองโทรถามท่านได้เลยครับ? เพราะศิษย์ท่านไปหาท่านออก จาบ่อยครับ

***.....เมื่อซักครู่อ้างผิดกระทู้......ขอโทดคร๊าบ

  ด้วยความเคารพครับ
      รบกวนโทรไปหาอาจารย์พันธ์อีกครับ
 ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1147
วัดบางพระไม่แน่จายครับ?  แต่อาจารย์อั้น(ไทรน้อย)? ศิษย์หลวงพี่พันธืเหมือนจาเคยเห็นไม่รู้พิมเดียวกันรึเปล่าครับ? ลองถามอ.อั้นท่านดูครับ

ด้วยความเคารพครับ
   อาจารย์อั้น ท่านไปช่วยหลวงปู่ทุกวันเสาร์ สักให้ที่วัดท้องไทรครับ
ใช้พิมพ์ใช้น้ำมัน น้ำหมึกของหลวงปู่
แต่ที่ผมเรียนถามคือที่วัดบางพระครับ
  มีคนแจ้งว่า มีฆาราวาสที่วัดบางพระ สักนางพิมนะครับ
เลยอยากทราบข้อเท็จจริง
  ขอแสดงความนับถือ
Gearmour

1148
ด้วยความเคารพครับ
     อยากเรียนถามว่า ที่วัดบางพระมีฆาราวาสสักรูปนางพิม ด้วยหรือครับ???
มีคนแจ้งว่าที่วัดบางพระ มีฆาราวาสสักรูปนางพิม อยากทราเรียกค่าบว่ายกครูราคาเท่าไร
แล้ว อย่างไรอยากทราบความจริงครับ
   เพราะเท่าที่ทราบ ที่หลวงปู่ อนุญาตไปที่วัดบางพระ มีอาจารย์พันธ์ องค์เดียว
อยากทราบความจริงครับ
   http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=63
ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1149
ด้วยความเคารพครับ
     รบกวนอย่าแจ้งที่อยู่ของอาจารย์พันในเวปครับ
ท่านอยากอยู่เงียบๆ ครับ
  ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1150
ด้วยความเคารพครับ
   อึดจริงๆ ครับ
ขอแสดงความนับถือ
    Gearmour

1151
ด้วยความเคารพครับ
     ไปโดนสบู่มาหรือเปล่า?ครับ
ในช่วงสองสามวันแรกหรืออาจจะติดเชื้อ
  อย่างไรถ้ายังไม่หาย คงต้องหาหมอทางผิวหนังแล้วละครับ
ขอแสดงความนับถือ
    Gearmour
   

1152
ด้วยความเคารพครับ
    สวยและแน่นดีครับ
 ขอแสดงความนับถือ
   Gearmour

1153
ด้วยความเคารพครับ
    วันนี้ไปวัดสอบถามที่กุฏิท่าน
เห็นว่าท่านสบายดีครับ
  ขอแสดงความนับถือ
     Gearmour

1154
ด้วยความเคาพรครับ
  ท่าอย่างนั้นเข้าทางท่านา ดีกว่าครับ
     
   ถ้าเข้าทางม.มหิดล ต้องไปทาง ศาลายา - นครชัย
แล้วผ่านทางตลาดท่านา
    ซึ่งเส้นทางจะใกล้กว่า  แต่ทำเวลามากกว่าเนื่องจากเป็นสองเลน สวนกัน
และมีรถบรรทุก รถเกษตรกรรมเยอะ ครับ
  ขอแสดงความนับถือ
      Gearmour

1155
ด้วยความเคารพครับ
    อยากถามต่อว่า เจ้าของกระทู้อยู่ที่ไหนครับ
ถ้าอยู่กรุงเทพไปทาง ทางถนนเพชรเกษม(ท่านา) แล้วเข้า ห้วยพลู จะดีกว่าไม่งง
    ถ้าอยู่ศาลายา  (มหิดล) ไปทางคลองโยง เข้านราภิรย จะเร็วกว่า
 ขอแสดงความนับถือ
    Gearmour
ปล. เดี้ยวนี้ย้งมีรถตู้จาก สายใต้มาห้วยพลู หรือเปล่า?

1156
ด้วยความเคารพครับ
   เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
ขอแดสงความนับถือ
   Gearmour

หน้า: 1 [2]