ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ  (อ่าน 24769 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
« เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 10:50:31 »
                                           

                                                                                ประวัติพระครูนิวาสธรรมขันธ์​ (หลวงพ่อเดิม)

                                                                                                   วัดหนองโพ​

                                                                                       อำ​เภอตาคลี​      ​จังหวัดนครสวรรค์

                                                                                       จาก​หนังสือ​ ​กิตติคุณหลวงพ่อเดิม

                                                                                           ธนิต​ ​อยู่​โพธิ์​ ​เรียบเรียง
  ชาติภูมิ​ ​หลวงพ่อเดิมถือกำ​เนิดเมื่อวันพุธ​ ​แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๓ ​ปีวอก​ ​จุลศักราช​ ๑๒๒๒ (แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​นั่นมิ​ใช่​วันพุธ​ ​เป็น​วันศุกร์ตรง​กับ​วันที่​ ๘ ​กุมภาพันธ์​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๐๓ ​โยมบิดาชื่อ​ ​นายเนียม​ โยมมารดาชื่อ​ ​นางภู่​ ​มีพี่น้องร่วมบิดา​ ​มารดา​ ​คือ
๑.   ​หลวงพ่อเดิม​ ​เพราะ​เหตุที่​เป็น​บุตรชายคนแรกของบิดามารดา​ ​ปู่ย่าตายาย​จึง​ให้​ชื่อว่า​ “เดิม”      ๒.   ​นางทองคำ​ ​คงหาญ     ๓.   ​นางพู​ ​ทองหนุน   ๔.   ​นายดวน​ ​ภู่มณี
๕.   ​นางพัน​ ​จันทร์​เจริญ   ๖.   ​นางเปรื่อง​ ​หมื่นนรา​เดชจั่น
      ต่อมา​เมื่อวันอาทิตย์​ ​แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๑๑ ​ปีมะ​โรง​ ​โทศก​ ​ตรง​กับ​วันที่​ ๓๑ ​ตุลาคม​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๒๓ ​โยม​ผู้​ชายของหลวงพ่อ​ได้​พา​ไปอุปสมบท​เป็น​พระภิกษุภาวะ​ ​ณ​ ​พัทธสีมาวัด​เขา​แก้ว​ ​อำ​เภอพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​โดย​มีหลวงพ่อแก้ววัดอินทาราม​ (วัด​ใน)​ ​เป็น​พระอุปัชฌายะ​ ​และ​หลวงพ่อเงิน​ (พระครูพยุหานุศาสก์) ​วัดพระปรางค์​เหลือง​  ​ตำ​บลท่าน้ำ​อ้อย​ ​กับ​หลวงพ่อเทศ​ ​วัดสระทะ​เล​ ​ตำ​บลสระทะ​เล​ ​เป็น​คู่สวด​ ​เมื่ออุปสมบท​ ​พระอุปัชฌาย์​ให้​นามฉายาว่า​ “พุทฺธสโร”

      (  ​หลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์​เหลืองนี้ต่อมา​เป็น​พระครูพยุหานุศาสก์​ ​เจ้าคณะ​แขวงพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​ประชากรนับถือ​กัน​ว่า​เป็น​พระ​ผู้​เฒ่าที่มีคาถาอาคมขลัง​ ​และ​มีชื่อเสียงทางรดน้ำ​มนต์
​เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​เสด็จประพาสมณฑลนครสวรรค์ขึ้นไปตามลำ​น้ำ​เจ้าพระยา​ได้​เสด็จขึ้นแวะ​เยี่ยม​และ​โปรด​ให้​หลวงพ่อเงินรดน้ำ​มนต์ถวายเมื่อวันที่​ ๑๑ ​สิงนาคม​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๔๙ )
         ครั้นอุปสมบท​แล้ว​ก็มา​อยู่​วัดหนองโพ​ ​และ​ได้​เริ่มเล่า​เรียนศึกษา​เป็น​จริง​เป็น​จัง​ใน​ระยะนี้​เพราะ​เหตุที่หลวงพ่อ​ไม่​มี​โอกาส​ได้​อยู่​วัด​อยู่​วา​เล่า​เรียนศึกษา​กับ​พระมาตั้งแต่​เยาว์วัย​ ​เหมือนกุลบุตร​ทั้ง​หลาย​โดย​ทั่ว​ไป​ใน​สมัย​นั้น​ความ​รู้​ใน​วิชาหนังสือ​และ​วิทยาการต่าง​ ​ๆ​ ​ซึ่ง​โดย​ปกติกุลบุตร​อื่นๆ​ ​ที่​เคย​เป็น​ศิษย์วัด​ ​เมื่อระยะ​เด็ก​เขา​ศึกษา​เล่า​เรียน​กัน​มา​แต่ก่อนบวช​ ​หลวงพ่อ​ต้อง​มา​เล่า​เรียนเอา​เมื่อตอนอุปสมบท​แล้ว​แทบ​ทั้ง​นั้น​ ​แต่หลวงพ่อ​เป็น​คนมีมานะพากเพียร​เป็น​ยอดเยี่ยม​
หลวงพ่อเคยเล่า​ให้​ฟังว่า​ “ท่านมีนิสัย​จะ​ทำ​อะ​ไร​แล้ว​ต้อง​ทำ​ให้​สำ​เร็จ​ ​คิดอะ​ไร​ไม่​ได้​เป็น​ไม่​ยอมหยุดคิด​ ​คิดมันไปจนออกจน​เข้า​ใจ​ ​ดูอะ​ไร​ไม่​ได้​เรื่อง​ไม่​ได้​ความ​ ​ก็คิด​ค้น​มันไปจนแตกฉาน”
พออุปสมบท​แล้ว​ ​หลวงพ่อก็ตั้งต้นศึกษา​ความ​รู้​เป็น​การ​ใหญ่​ ​เมื่อมาจำ​พรรษา​อยู่​ใน​วัดหนองโพตลอดเวลา​ ๗ ​พรรษา​แรก​ได้​ศึกษา​เล่า​เรียนพระธรรมวินัย​และ​ท่องคัมภีร์วินัย​ ๑๐ ​ผูก​  ​กับ​หลวงตาชม​ ​ซึ่ง​เป็น​ผู้​ครองวัดหนองโพ​อยู่​ใน​เวลา​นั้น​ ​และ​ศึกษา​เล่า​เรียนพระปริยัติธรรม​และ​วิชาอาคม​กับ​นายพัน​ ​ชูพันธ์​ ​ผู้​ทรงวิทยาคุณ​อยู่​ใน​บ้านหนองโพ​ ​ซึ่ง​เป็น​ศิษย์รุ่น​เล็ก​ของหลวงพ่อเฒ่า​และ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ใน​สมัย​นั้นภายหลังเมื่อนายพัน​ถึง​มรณกรรม​แล้ว​ ​ได้​ไปจำ​พรรษา​และ​ศึกษา​เล่า​เรียน​กับ​หลวงพ่อมี​ ​ณ​ ​วัดบ้านบน​ ​ตำ​บลม่วงหัก​ ​อำ​เภอพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​อยู่​วัดบ้านบน​ ๒ ​พรรษา​ ​ใน​ตอนนี้หลวงพ่อก็หา​โอกาสไปเรียน​และ​หัดเทศน์​กับ​พระอาจารย์นุ่ม​ ​วัด​เขา​ทอง​ ​และ​ไปมอบตัว​เป็น​ศิษย์​เรียนข้อธรรม​และ​วินัย​กับ​อาจารย์​แย้ม​ ​ซึ่ง​เป็น​ฆราวาส​และ​อยู่​ที่วัดพระปรางค์​เหลือง​ด้วย​ ​จนนับว่า​เป็น​ผู้​มี​ความ​รู้​แตกฉานพอแก่สมัย​นั้น​ก็​เริ่ม​เป็น​นักเทศ

                 
                                                                                                เป็น​นักเทศน์

เล่า​กัน​มาว่า​ ​หลวงพ่อเคยเทศน์​เก่ง​ ​ทั้ง​เทศน์คู่​และ​เทศน์​เดี่ยว​ ​ฉลาด​ใน​การวิสัชนาปัญหาธรรม​ ​และ​เข้า​ใจแยกแยะ​ให้​อรรถาธิบายข้อธรรม​ให้​ผู้​ฟัง​เข้า​ใจ​ได้​ง่าย​ ​จนปรากฏว่า​ใน​ครั้ง​นั้น​มีคนชอบ นิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์​กัน​เนื่องๆ​ ​พูด​กัน​จน​ถึง​ว่า​ ​พอเทศน์​ใน​งานนี้จบ​ ​ก็มีคน​เข้า​ไปประ​เคนพานหมากนิมนต์​ไปเทศน์​ใน​งานโน้นอีก​ ​ติดต่อ​กัน​ไป
        หลวงพ่อ​เป็น​นักเทศน์​อยู่​หลายปี​ ​แต่​แล้ว​หลวงพ่อก็​เลิกเทศน์​ ​เหตุที่​เลิกเทศน์​นั้น​ ​เพราะ​หลวงพ่อปรารภว่า​
        “มัวแต่​ไปเที่ยวสอนคน​อื่น​ ​และ​เอาสตางค์​เขา​เสียอีก​ด้วย​ ​ส่วน​ตัวเอง​ไม่​สอนสักที​ ​ต่อไปนี้​ต้อง​สอนตัวเองเสียที”

​         ต่อแต่​นั้น​มาก็​เลิกเทศน์​เป็น​เด็ดขาด​ ​แม้​จะ​มี​ใครมานิมนต์​เทศน์อีกหลวงพ่อก็​ไม่​รับนิมนต์​ ​ถ้า​เจ้าของงาน​ต้อง​การ​จะ​ได้​พระ​เทศน์จริง​ ​ๆ​ ​หลวงพ่อก็ระบุ​ให้​ไปนิมนต์พระภิกษุรูป​อื่น​ไปเทศน์​แทน​ ​แต่​ถ้า​เป็น​ธรรมสากัจฉา​ ​หลวงพ่อก็ชอบฟัง​ ​และ​ถ้า​ปัญหาธรรมที่หยิบยกขึ้นมาวิสัชนา​กัน​นั้น​ ​แก้​ไข​กัน​ไม่​แจ่มแจ้งหลวงพ่อก็​ช่วย​วิสัชนา​แยกแยะอรรถาธิบาย​ให้​แจ่มแจ้งจนคลายข้อกังขา
          เมื่อเลิก​เป็น​นักเทศน์​แล้ว​ใน​พรรษาที่​ ๙ - ๑๐ ​และ​ ๑๑ ​หลวงพ่อ​ได้​ไปเรียนทางวิปัสสนา​กับ​หลวงพ่อเงิน​ (พระครูพยุหานุศาสก์) ​วัดพระปรางค์​เหลือง​ ​อำ​เภอพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​เรื่องเรียนวิปัสสนากรรมฐาน​นั้น​ ​หลวงพ่อปฏิบัติจริงจังตลอดมา​ ​ท่านนั่งตัวตรงตามหลักพระบาลีที่ว่า​ “นิสีทติ​ ​ปลฺลงฺกํ​ ​อาภุชิตฺวา​ ​อุชุ ​กายํ​ ​ปณิธาย​ ​ปริมุขํ​ ​สตึ​ ​อุปฏฺฐเปตฺวา​ - ​นั่งคู้บัลลังก์​ ​ตั้งกายตรง​ ​ตั้งสติกำ​หนดอารมณ์​ไว้​เฉพาะหน้า” ​หลวงพ่อนั่งตัวตรงเสมอมาจนอายุ​ ๙๐ ​เศษ​ ​ก็​ยัง​นั่งตัวตรง​


อิติ สุคคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ  ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร
มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 11:00:08 »
                                         

                                                                   เรียนวิชาอาคม

​                โดย​เหตุที่หลวงพ่อ​ได้​เคยเรียนวิชาอาคมมา​กับ​นายพัน​ ​ตั้งแต่​เริ่มอุปสมบท​ใน​พรรษา​แรก​ ​ๆ​ ​บ้าง​แล้ว​ ​ใน​ตอนนี้ก็ปรากฏว่า​ได้​เรียน​และ​หัดทำ​อีก​ ​แต่หลวงพ่อ​จะ​ไปศึกษา​เล่า​เรียนมา​จาก​สำ​นักของอาจารย์​ใด​บ้าง​ ​ไม่​ทราบ​ได้​ตลอด​ ​เท่า​ที่ทราบ​กัน​บ้างก็ว่า​ ​หลวงพ่อ​ได้​เรียน​กับ​นายสาบ้าง​ ​ไปเรียน​กับ​หลวงพ่อเทศ​ ​วัดสระทะ​เล​ ​บ้าง​ ​ไปเรียน​กับ​หลวงพ่อวัด​เขา​หน่อ​ ​ตำ​บลบ้านแดน​ ​อำ​เภอบรรพตพิสัย  จังหวัดนครสวรรค   ์บ้าง​เวทย์มนต์คาถา​หรือ​วิทยาอาคมแต่ก่อนๆ​ ​มาก็นิยม​กัน​ว่า​ ​สามารถ​ปลุกเสก​ให้​มี​เสน่ห์มหานิยม​หรือ​อยู่​ยงคงกระพันชาตรี​ ​หรือ​ขับไล่ภูตผีปีศาจ​ ​หรือ​ทำ​ให้​เกิดอำ​นาจเกิดอิทธิฤทธิ์ขึ้น​ ​และ​ทำ​ความ​ศักดิ์สิทธิ์ต่าง​ ​ๆ​ ​อย่างที่​เรียกว่าปาฏิหาริย์​ ​เป็น​ของที่นิยม​และ​เชื่อ​กัน​มา​แต่ดึกดำ​บรรพ์​ ​ดัง​จะ​เห็น​ได้​ใน​หนังสือเกี่ยว​กับ​เรื่องโบราณ​ ​มีปฐมสมโพธิ​ ​เป็น​ต้น​ ​การเรียน​และ​ฝึกหัดทำ​เวทย์มนต์คาถา
               วิทยาอาคมเหล่านี้​ ​เรียก​กัน​ว่า​ ​เรียนวิชา​ ​หรือ​เรียนคาถาอาคม​ ​แต่​โบราณมาก็สืบเสาะ​แสวงหาที่ร่ำ​เรียน​กับ​พระอาจารย์ตามวัด​ ​ดัง​จะ​เห็น​ได้​จาก​เรื่อง​ ​ขุนช้างขุนแผน​ ​เป็น​ต้น
ปรากฏว่า​ ​หลวงพ่อ​ “ทำ​วิชาขลัง” ​จน​เป็น​ที่​เลื่องลือท่าน​ผู้​อ่านบางท่าน​จะ​เชื่อ​หรือ​ไม่​ก็ตาม​ ​แต่​เห็น​จะ​มี​ผู้​รู้​ผู้​เห็น​ “ความ​ขลัง” ​ของหลวงพ่อประจักษ์​แก่ตา​และ​แก่ตนเอง​ ​แล้ว​เล่า​กัน​ต่อๆ​ ​ไป​ ​จน​เป็น​ที่ประจักษ์​แก่หู​อยู่​เป็น​อันมาก​ ​จึง​ปรากฏว่าประชาชน​ทั้ง​ชาวบ้าน​และ​ข้าราชการ​ทั้ง​ทหาร​และ​พลเรือน​ทั้ง​ใน​จังหวัดนครสวรรค์​และ​จังหวัดที่​ใกล้​เดียงตลอดไปจนจังหวัดที่ห่าง​ไกล​บางจังหวัด​ ​พา​กัน​ไปมอบตัว​เป็น​ศิษย์หลวงพ่อมากมาย​ ​ขอ​ให้​หลวงพ่อรดน้ำ​มนต์บ้าง​ ​ขอวิชาอาคมบ้าง​ ​ขอแป้งขอผงบ้าง​ ​ขอน้ำ​มันบ้าง​ ​ขอตะกรุดบ้าง​ ​ขอผ้าประ​เจียดบ้าง​ ​ขอรูป​และ​อื่นๆ​ ​บ้าง​ ​จาก​หลวงพ่อ​ ​และ​ที่​แพร่หลายที่สุดก็คือ​ ​ขอแหวนเงิน​หรือ​นิ​เกิลลงยันต์​ ​มีรูปหลวงพ่อนั่งขัดสมาธิที่หัวแหวน
              ต่อมา​เมื่อสมัยสงครามมหาอา​เซียบูรพา​ ​มีประชาชนพา​กัน​ไปหาหลวงพ่อ​ ​วันละมากมาก​ ​นอก​จาก​ขอของขลังเช่นกล่าว​แล้ว​ ​ยัง​พา​กัน​หาซื้อผ้าขาวผ้า​แดง​ ​ผืนหนึ่ง​ ​ๆ​ ​ขนาดกว้างยาวราว​ ๑๒ ​นิ้วฟุต​ ​ เอาน้ำ​หมึกไปทาฝ่า​เท้าหลวงพ่อ​ ​แล้ว​ยกขาของท่านเอาฝ่า​เท้ากดลงไป​ให้​รอยเท้าติดบนแผ่นผ้า​ ​บางคนก็กดเอา​ไปรอยเท้า​เดียว​ ​บางคนก็กดเอา​ไป​ทั้ง​สองรอย​ ​แล้ว​ก็​เอาผ้าผืน​นั้น​ไป​เป็น​ผ้าประ​เจียดสำ​หรับคุ้มครองป้อง​กัน​ตัว​ ​ฝ่า​เท้าของหลวงพ่อ​ต้อง​เปื้อนหมึก​อยู่​ตลอดทุกวัน​ ​หลวงพ่อเคยบ่น​กับ​ผู้​เขียน​ใน​เวลาลับหลัง​เขา​ว่า​
“มันทำ​กู​เป็น​หนูถีบจักร​ ​เมื่อยแข้งเมื่อยขา​ไปหมด”
ใน​เวลามีงานนักขัตฤกษ์ที่วัดหนองโพ​ ​หรือ​ที่วัด​อื่นๆ​ ​ซึ่ง​เขา​นิมนต์หลวงพ่อไป​เป็น​ประธานของงาน​ ​มัก​จะ​มีประชาชนมาขอแป้งขอน้ำ​มนต์น้ำ​มัน​และ​ของขลังต่าง​ ​ๆ​ ​กัน​เนื่อง​แน่นมากมาย​ ​ที่ก้มศีรษะมา​ให้​หลวงพ่อเสกเป่าหัว​ให้​ก็มี​ ​ที่ขอ​ให้​ถ่มน้ำ​ลายรดหัว​ไม่​น้อย​
             ผู้​เขียนจำ​ได้​ว่า​เมื่อคราวทำ​ศพหลวงน้าสมุห์ชุ่ม​ ​ที่วัดหนองโพ​ ​ใน​เดือนกุมภาพันธ์​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๙๑ ​มี​ผู้​คนมา​ใน​งานศพ​นั้น​มากมาย​ ​และ​พา​กัน​ไปนั่งล้อมหลวงพ่อ​ ​ขอ​ “ของขลัง” ​บ้าง​ ​ให้​เป่าหัว​ให้​บ้าง​ ​ ให้​ถ่มน้ำ​ลายรดหัวบ้าง​ ​ครั้นค่อยเบาบาง​ผู้​คน​ ​หลวงพ่อก็​ให้​ศิษย์​ช่วย​พยุงตัวพาลุกหนีออกมากุฏิของท่าน​ ​แล้ว​มาคุย​กับ​ผู้​เขียน​ซึ่ง​กำ​ลังนั่งคุย​กันอยูที่ชานหน้ากุฏิอีกหลังหนึ่ง​และ​ตั้ง​อยู่​ห่าง​จาก​กุฏิ หลวงพ่อ​ ​พอปูอาสนะถวาย​ ​หลวงพ่อก็นั่งลง​แล้ว​บ่นว่า​
“เดี๋ยวคน​นั้น​ให้​ถ่มน้ำ​ลาย​ใส่​หัว​ ​เดี๋ยวคน​ให้​เป่าหัว​ ​จนคอแห้งผาก​ไม่​มีน้ำ​ลาย​จะ​ถ่ม​ ​เล่นเอา​จะ​เป็น​ลมเสีย​ให้​ได้”
             แต่พอหลวงพ่อมานั่งคุย​อยู่​ได้​สักประ​เดี๋ยวก็มีคนตามมาขอ​ให้​ทำ​อย่าง​นั้น​อีก​ ​หลวงพ่อก็ทำ​ให้​อีก​ ​ไม่​เห็นแสดงอาการเบื่อหน่ายระอิดระอา​
เมื่อพระภิกษุ​ซึ่ง​เป็น​ศิษย์รุ่น​ใหม่ๆ​ ​ไปขอเรียนคาถาอาคม​กับ​หลวงพ่อ​ ​ท่านก็​เมตตาบอก​ให้​แล้ว​เตือนว่า​
“เรียน​ไว้​เถอะดี​ ​แต่ต่อไป​จะ​คิด​ถึง​ตัว”
               เห็น​จะ​หมาย​ความ​ว่า​ ​เมื่อทำ​ว่า​ได้​ขลังขึ้น​แล้ว​ ​ถูกประชาชนรบกวนเหมือนอย่างที่หลวงพ่อประสบ​อยู่​จนตลอดชีวิตของท่าน
แต่ก็สังเกตเห็นตลอดมาว่า​ ​หลวงพ่อทำ​ให้​เขา​ด้วย​ความ​ยิ้มแย้มแจ่มใส​ ​เห็น​จะ​ปลงตกประหนึ่งถือ​เป็น​หน้าที่​จะ​ต้อง​ทำ​ให้​เขา​ทั่ว​หน้า​กัน​ ​เพราะ​หลวงพ่อ​เป็น​ผู้​มีอัธยาศัยกว้างขวาง​และ​ต้อนรับปฏิสันถารดี​ ​โอภาปราศรัยเหมาะ​แก่บุคคล​และ​กาลเทศะ​ ​ไม่​มาก​ไม่​น้อย​ ​ประกอบ​กับ​ท่านมีรูปร่างสูง​ใหญ่​ ​และ​มีอิริยาบถ​เป็น​สง่า​ ​จึง​เป็น​ที่น่า​เคารพยำ​เกรงของคน​ทั่ว​ไป
           กิตติคุณ​ใน​เรื่อง​ “วิชาขลัง” ​ของหลวงพ่อ​นั้น​ ​เป็น​ที่​เลื่องลือ​กัน​แพร่หลายมานานหนักหนา​ ​มี​เรื่องเล่า​กัน​ต่างๆ​ ​หลายอย่างหลายเรื่อง​ ​ถ้า​จะ​จดลง​ไว้​ก็​จะ​เป็น​หนังสือเล่ม​ใหญ่​ ​ผู้​เขียนเคย​ได้​ยิน​ได้​ฟังมาตั้งแต่​เป็น​เด็ก​ ​ครั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น​ ​คราวหนึ่งเมื่อมี​โอกาส​จึง​กราบเรียนถามหลวงพ่อตรงๆ​ ​ว่า​   “มีดีจริงอย่างที่​เขา​เลื่องลือ​กัน​หรือ​ขอรับ​ ?”

​         ท่านก็ยิ้ม​แล้ว​ตอบว่า​ “เขา​พา​กัน​เชื่อถือ​กัน​ว่าอย่าง​นั้น​ดี​ ​มาขอ​ให้​ทำ​ก็ทำ​ให้”
         ฟังดู​เหมือนหลวงพ่อทำ​ให้​ตามใจ​ผู้​ขอ​ ​เมื่อ​เขา​ต้อง​การ​ ​ท่านก็ทำ​ให้​ ​ผู้​เขียน​จึง​กราบเรียนต่อไปว่า​ “คาถา​แต่ละบทดูครูบาอาจารย์​แต่ก่อน​ ​ท่านก็บอกฝอยของท่าน​ไว้​ล้วนแต่ดีๆ​ ​บางบทก็​ใช้​ได้​     หลายอย่างหลายด้าน​ ​จะ​เป็น​จริงตาม​นั้น​บ้างไหม​ ?”
           หลวงพ่อ​ได้​ไปรดชี้​แจงอย่างกลางๆ​ ​เป็น​ความ​สั้นๆ​ ​ว่า​ “ของจริง​ ​รู้จริง​ ​เห็นจริง​ ​ย่อมทำ​ได้​จริง”
            ครั้น​ผู้​เขียน​ได้​ฟังอย่างนี้​ ​ก็มิ​ได้​กราบเรียนซักถามหลวงพ่อต่อไป​ ​แต่หลวงพ่อ​ได้​เมตตาบอกคาถา​ให้​จดมา​ ๗ ​บท​ ​ขอนำ​มาพิมพ์​ไว้​ต่อท้ายประวัติของหลวงพ่อนี้

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 11:22:05 »
                                                              สันโดษ​ ​และ​ ​พากเพียร

​                หลวงพ่อมีนิสัยสันโดษ​ ​จนบางคราวเห็น​ได้​ว่ามักน้อย​ ​และ​มี​ความ​พากเพียรพยายาม​ ​สบง​และ​จีวรที่นุ่งห่มก็นิยม​ใช้​ของเก่า​ ​จะ​ได้​เห็นหลวงพ่อนุ่งห่มสบงจีวร​ใหม่​ ​ก็ต่อเมื่อมี​ผู้​ศรัทธาถวาย​ให้​ครอง​  ใน​กิจนิมนต์​ ​หลวงพ่อ​จึง​ครองฉลองศรัทธา​ ​ถ้า​เป็น​ไตรจีวรแพร​ ​ครอง​แล้ว​กลับมา​จาก​ที่นิมนต์ก็มอบ​ให้​พระภิกษุรูป​อื่น​ไป​ ​ข้าวของที่มี​ผู้​ถวาย​ ​ถ้า​มีประ​โยชน์​แก่พระภิกษุรูป​อื่นๆ​ ​หลวงพ่อก็​ให้​ต่อไป​
             ของสิ่ง​ใด​ที่มี​ผู้​ถวาย​ไว้​ ​ถ้า​มี​ใครอยาก​ได้​แล้ว​ออกปากขอ​ ​หลวงพ่อก็​ให้​ ​แต่​เมื่อหลวงพ่อบอก​ให้​แล้ว​ ​ผู้​ขอ​ต้อง​เอา​ไปเลยที​เดียว​ ​ถ้า​ยัง​ไม่​เอา​ไป​และ​ทิ้ง​ไว้​ ​หรือ​ฝาก​ไว้​กับ​หลวงพ่อ​ ​เมื่อมี​ใครมา​เห็น​  ใน​ภายหลัง​และ​ออกปากขออีก​ ​หลวงพ่อก็​ให้​อีก​ ​เมื่อ​ผู้​ขอภายหลังเอา​ไป​แล้ว​ผู้​ขอก่อนมาต่อว่าว่า​ให้​ผม​แล้ว​เหตุ​ใด​จึง​ให้​คน​อื่น​ไปเสียอีก​ ​หลวงพ่อ​จะ​ตอบว่า​ ​ก็​ไม่​เห็นเอา​ไป​ ​นึกว่า​ไม่​อยาก​ได้​ ​จึง​ให้​คนที่​เขา​อยาก​ได้
            กุฏิที่มี​ผู้​สร้างถวายดี​ ​ๆ​ ​มีฝารอบชอบชิด​ ​หลวงพ่อก็​ไม่​ชอบ​อยู่​ ​ชอบ​อยู่​ใน​ศาลา​ซึ่ง​มี​แต่ฝาลำ​แพนบังลม​ใน​บางด้าน​ ​ต่อมา​เมื่อหลวงพ่อมีอายุล่วง​เข้า​วัยชรามาก​แล้ว​ ​บรรดาศิษยานุศิษย์​จึง​ช่วย​กัน​รื้อศาลาหลัง​นั้น​ไปปลูก​ไว้​ ​ณ​ ​ป่าช้า​เผาศพ​ ​ทางทิศตะวันออกของวัดหนองโพ​ ​แล้ว​สร้างกุฏิมีฝารอบขอบชิดขึ้นแทน​ใน​ที่​เดิม​ ​ถวาย​ให้​เป็น​ที่​อยู่​ของหลวงพ่อต่อมา​ ​จน​ถึง​วันมรณภาพ
           ณ​ ​ศาลาหลังที่รื้อไป​นั้น​ ​เมื่อ​ผู้​เขียน​เป็น​เด็กวัด​ ​เคยไปนอน​อยู่​ปลายตีนเตียงนอนปลายเท้าของหลวงพ่อ​ ​ครั้นตื่นขึ้นตอน​เช้า​มืด​ ​ราวตี​ ๔ ​ตี​ ๕ ​ก็​เห็นหลวงพ่อจุดเทียนอ่านหนังสือคัมภีร์​ใบลานสั้นๆ​ ​เสมอ​ ​เคยสอบถามศิษย์รุ่นเก่าก็​เล่าตรง​กัน​ว่า​ ​เคยเห็นหลวงพ่อลุกขึ้นจุดเทียนอ่านหนังสือ​เช้า​มืดอย่างนี้ตลอดมา​ ​แม้​จะ​ไปนอนค้างอ้างแรม​ใน​ดง​ใน​ป่า​ ​หลวงพ่อก็จุดเทียนอ่านหนังสือ​ใน​ตอน​เช้า​มืดเช่น​นั้น​เป็น​นิตย์​
         ​ผู้​เขียนอยากรู้ว่าหนังสือ​นั้น​เป็น​เรื่องอะ​ไร​ ​ไม่​รู้จน​แล้ว​จนรอด​ ​เพราะ​หลวงพ่อมัก​จะ​เอาติดตัวไปไหนมา​ไหน​ด้วย​เสมอ​ ​เวลาท่าน​อยู่​ ​ไม่​มีศิษย์คน​ใด​กล้า​ไปขอดู​ ​หรือ​เรียนถามว่า​เป็น​หนังสืออะ​ไร​ ​มาจนหลวงพ่อมรณภาพ​แล้ว​ ​เมื่อ​ผู้​เขียนขึ้นไปนมัสการศพหลวงพ่อ​จึง​ให้​ค้น​ดู​ ​ปรากฏว่า​เป็น​หนังสือปฤศนาธรรม​ ​สำ​นวนเก่ามาก​ ​คัมภีร์หนึ่งมี​ ๖๒ ​ลาน​ ​เรียกว่า​ มูลกัมมัฏฐาน​และ​ทางวิปัสสนา ​อีกคัมภีร์หนึ่ง​ ​มี​ ๑๖ ​ลาน​ ​เรียกว่า​ พระอภิธรรมภาย​ใน ​ตลอดอายุของหลวงพ่อเห็น​จะ​อ่านคัมภีร์​ทั้ง​สอง​นั้น​ตั้งหลายพันครั้ง
 

                                                    ชอบเลี้ยงสัตว์พาหนะ

      ​หลวงพ่อชอบเลี้ยงสัตว์พาหนะ​ ​ตอนแรกๆ​ ​ได้​เลี้ยงวัวขึ้น​ไว้​ฝูง​ใหญ่​ ​แล้ว​ภายหลัง​ได้​ยก​ให้​นายต่วน​ ​คงหาญ​ ​ผู้​เป็น​หลานชายไป​ ​สัตว์ที่ชอบเลี้ยง​เป็น​ประจำ​ก็คือช้าง​และ​ม้า​ ​เรื่องเลี้ยงช้าง​นั้น​มิ​ใช่​แต่ชอบเลี้ยงอย่างว่าพอมีช้าง​เท่า​นั้น​ ​หลวงพ่อ​ได้​ศึกษาวิชาการช้างจน​ถึง​ร่วม​กับ​หมอข้างไปโพนจับช้างป่า​ด้วย​
      ​หลวงพ่อเคยมีช้างหลายเชือก​ ​ทั้ง​ช้างงา​และ​ช้างสีดอ​ ​ตาย​แล้ว​ก็หามา​เลี้ยง​ไว้​ใหม่​ ​แม้จนเวลามรณภาพก็​ยัง​มี​อยู่​อีก​ ๓ ​เชือก​ ​แต่​ได้​ยกมอบ​ให้​เป็น​กรรมสิทธิ์ของ​ผู้​คน​ไว้​แล้ว​ก่อนท่าน​ถึง​มรณภาพ​
      ​สัตว์พาหนะที่หลวงพ่อชอบเลี้ยง​ไว้​ก็​เพื่อ​ใช้​เป็น​พาหนะสำ​หรับบรรทุก​และ​ลากเข็นทัพพสัมภาระ​ ​ใน​การก่อสร้างถาวรวัตถุ​ ​และ​ใช้​ใน​การมหกรรมเครื่องบันเทิงของชาวบ้าน​ใน​ท้องถิ่น​ด้วย​ ​ดัง​จะ​เห็น​ได้​ใน​เมื่ออ่านประวัติของหลวงพ่อต่อไป​
      ​แม้หลวงพ่อ​จะ​ชอบเลี้ยงช้างก็จริง​ ​แต่ก่อน​ไม่​เคยเห็นท่านขี่ช้าง​ ​มาขี่ตอนหลังเมื่ออายุหลวงพ่อล่วง​เข้า​วัยชรามาก​แล้ว​
      ​แต่ก่อนหลวงพ่อชอบเดิน​และ​เดินทนเดิน​เร็ว​เสีย​ด้วย​ ​เรื่องเดินของหลวงพ่อนี้บรรดาศิษย์ตั้งแต่รุ่นก่อนๆ​ ​มาจน​ถึง​รุ่นหลังๆ​ ​ที่​เคยติดตามหลวงพ่อ​ ​ต่างระอา​และ​เกรงกลัวไปตาม​ ​ๆ​ ​กัน​บางคนเดินทางไป​กับ​หลวงพ่อครั้งเดียวก็​เข็ด​ ​เพราะ​หลวงพ่อเดินตั้งครึ่งวันค่อนวัน​ ​ไม่​หยุดพัก​และ​เดิน​เร็ว​ ​สังเกตดูก็​เห็นก้าวช้า​ ​ๆ​ ​จังหวะก้าวเนิบ​ ​ๆ​ ​คล้าย​กับ​ช้างเดิน​ ​แต่คน​อื่น​ต้อง​รีบสาวเท้าตาม​
      ​ผู้​เขียนเองเมื่อ​เป็น​เด็กเคยสะพายย่ามตามหลัง​ ​ถึง​กับ​ต้อง​วิ่งเหยาะ​ ​และ​ถ้า​มัวเผลอเหม่อดูอะ​ไรเสียบ้างก็ทิ้งจังหวะ​ไกล​จน​ถึง​ต้อง​วิ่งตาม​ให้​ทัน​เป็น​คราว​ ​ๆ
       เรื่องเดินทน​ ​ไม่​หยุดพักของหลวงพ่อนั่น​ ​ถึง​กับ​เคยมีศิษย์บางคนที่ตามไป​ด้วย​ต้อง​ออกอุบายเก็บหญ้าพุ่งชู้ตามข้างทาง​ ​เดินตามไปพลาง​ ​แล้ว​เอาหญ้าพุ่งชู้ขว้าง​ให้​ติดจีวรของหลวงพ่อไปพลาง​ ​จนเห็นว่าหญ้าติดจีวรมาก​แล้ว​ ​พอ​ถึง​ที่มีร่มไม้ก็ออกอุบายเรียนขึ้นว่า​
“หลวงพ่อครับ​ ​หญ้าติดจีวรเต็มไปหมด​แล้ว​ ​หยุดพัก​ ​เก็บหญ้าออก​กัน​เสียที​เถอะ”
​จึง​เป็น​อัน​ได้​หยุดพัก​กัน​ครั้งหนึ่ง


                                                   ชอบ​ค้น​คว้าทดลอง

      ​หลวงพ่อมีนิสัยชอบศึกษา​และ​ค้น​คว้าทดลอง​ ​การ​ค้น​คว้าทดลองของหลวงพ่อ​นั้น​มีหลายเรื่อง​ ​ขอนำ​มา​เล่า​แต่บางเรื่อง​ ​เช่นคราวหนึ่ง​ได้​ประดิษฐ์สร้างเกวียน​ให้​เดิน​ได้​เอง​โดย​ไม่​ต้อง​ใช้​แรงวัว​หรือ​แรงควายเทียมลาก​ ​เรียกของท่านว่า​เกวียนโยก​ ​เมื่อสร้างขึ้น​แล้ว​ก็​โยก​ให้​เดิน​ได้​คล่องแคล่วดี​ ​แต่​เดิน​ได้​แต่รุดหน้า​ ​เลี้ยว​ไม่​ได้​ ​จะ​ได้​พยายามแก้​ไขอย่างไรอีก​หรือ​เปล่า​ไม่​ทราบ​ได้​ ​แต่​ไม่​ช้าก็​เลิกไป​
      ​ตามปรกติชาวบ้าน​เขา​สร้างเกวียนวัวเกวียนควาย​ใช้​กัน​ ​แต่หลวงพ่อสร้างเกวียนช้างคือ​ใช้​ช้างเทียมลาก​ ​แต่​เกวียนช้างที่หลวงพ่อสร้างขึ้นครั้งแรก​นั้น​ ​ไม่​สำ​เร็จประ​โยชน์ดังประสงค์​ ​เพราะ​เมื่อบรรทุก​แล้ว​ ​พื้นดินทานน้ำ​หนัก​ไม่​ได้​ ​กงล้อจมลงไป​ใน​พื้นดิน​ ​ต่อมาก็​เลิก​
      ​ครั้นมา​เมื่อสมัยเริ่มแรกนิยม​ใช้​รถยนต์บรรทุก​กัน​ตามหัวเมือง​ ​หลวงพ่อก็ซื้อรถยนต์​ไป​ใช้​ ​แต่รถยนต์สมัย​นั้น​แล่นไป​ได้​แต่ตามทางเกวียนที่​เรียบๆ​ ​เมื่อแล่นไปตามท้องนา​ ​ซึ่ง​มีคันนา​และ​มีหัวขี้​แต้​ ​หรือ​ใน​ท้องที่ขรุขระ​ ​ก็​แล่น​ไม่​ได้​ ​ต้อง​มีคนคอยบุกเบิกทาง​ ​เอาจอบสับเอา​เสียมแซะ​และ​เอาขวานคอยฟันคอยกรานต้นไม้กิ่งไม้ตามทางที่รถยนต์​จะ​ผ่านไป​
​     ไม่​ช้าหลวงพ่อก็​เบื่อ​ ​ต่อมาก็​เลิก​ ​แล้ว​หันกลับไปนิยมเลี้ยงช้างอย่างเดิม​ ​และ​คราวนี้​ได้​ประดิษฐ์สร้างเกวียนช้างขึ้น​ใหม่​ ​แก้​ไขจน​ใช้​บรรทุกลากเข็น​ได้​ประ​โยชน์ดีมาก​ได้​ใช้​สำ​หรับเข็นลากไม้​เสา​และ​สัมภาระ​อื่นๆ​ ​ใน​การสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งเรียกว่า​ ​วัดหนองหลวง​ ​เพราะ​สร้างขึ้น​ ​ณ​ ​ที่ริมหนองน้ำ​ชื่อ​นั้น
    ​นอก​จาก​ค้น​คว้า​ใน​ทางประดิษฐ์​แล้ว​ ​ตำ​รับตำ​ราที่ครูบาอาจารย์ทำ​ไว้​แต่ก่อน​ ​ๆ​ ​บางอย่างหลวงพ่อก็นำ​มาทดลอง​ด้วย​ ​เช่นวิชา​เล่นแร่​ ​คือทำ​แร่ตะกั่ว​ให้​เป็น​เงิน​และ​ทำ​เงิน​ให้​เป็น​ทอง​ ​บรรดาลูกศิษย์รุ่นเก่า​เล่า​ให้​ฟังว่า​ ​หลวงพ่อพยายามทดลอง​ค้น​คว้าวิชาทำ​เงิน​ให้​เป็น​ทอง​อยู่​หลายปี​ ​โดย​มีลูกศิษย์​เป็น​ลูกมือ​ช่วย​เผาถ่าน​ ​ช่วย​สูบไฟ​และ​อื่นๆ​ ​แต่ตอนผสม​ส่วน​ของธาตุ​โลหะ​และ​ผสมยาซัด​นั้น​ ​เล่า​กัน​ว่าหลวงพ่อ​ต้อง​ทำ​เอง​
      ​บรรดาศิษย์รุ่นเก่า​เหล่า​นั้น​เล่าตรง​กัน​ว่าหลวงพ่อพยายามทำ​เงิน​ให้​เป็น​ทองคำ​จน​ได้​ ​ศิษย์รุ่น​ใหญ่​ระบุ​ ​ทองที่หลวงพ่อทำ​ได้​และ​มอบ​ให้​กับ​ศิษย์บางคน​ ​ซึ่ง​ศิษย์​ผู้​นั้น​ได้​เอา​ไปทำ​เครื่องประดับ​ให้​ลูกหลานสวม​ใส่​อยู่​ต่อมา
     ​เรื่องที่​จะ​เลิกทำ​ทอง​นั้น​ ​เล่า​กัน​มาว่า​ ​วันหนึ่งหลวงพ่อถลุงเงิน​ให้​เป็น​ทอง​ ​หนักราวสัก​ ๑ ​บาท​ ​พอหลอมเสร็จเทออกมา​จาก​เบ้าทิ้ง​ไว้​ให้​เย็น​ ​เอาขึ้นทั่ง​แล้ว​ก็​เอาฆ้อนตี​แผ่ออก​เป็น​แผ่นบาง​ ​แล้ว​ก็​เอาลงหลอมดู​ใหม่​แล้ว​ก็​เอามาตี​แผ่ดูอีก​ ​เข้า​ใจว่า​ ​หลวงพ่อคงตรวจตราพิจารณาดูว่า​จะ​เป็น​ทองคำ​ได้​จริง​หรือ​ไม่​ ​แล้ว​ก็​เอาลงเบ้าหลอมดูอีก​และ​เทออก​จาก​เบ้าทิ้ง​ไว้​ให้​เย็น​เป็น​ก้อนค่อนข้างกลม​ ​แล้ว​หลวงพ่อก็หยุดไปนั่งพักเฉย​อยู่​บนอาสนะ​เป็น​เชิงตรึกตรอง​ ​ไม่​พูดจาว่ากระ​ไร​ ​บรรดาศิษย์ต่างก็หยิบมาดู​กัน​คนละทีสองที​แล้ว​คน​นั้น​ก็ขอ​ ​คนนี้ก็ขอ​
     ​สักครู่หลวงพ่อก็ลุกเดินมาหยิบทองก้อน​นั้น​ขึ้นไปถือกำ​ไว้​ใน​อุ้งมือ​แล้ว​ก็​เอามือไขว้หลังเดินไปบนคันสระลูก​ใหญ่​ใน​วัดหนองโพ​ ​เอามือที่ถือก้อนทองเดาะ​เล่น​กับ​อุ้งมือ​ ๒ - ๓ ​ครั้ง​ ​แล้ว​ก็ขว้างก้อนทอง​นั้น​ลงสระน้ำ​ไป​ ​พอเดินกลับมา​ถึง​ที่ถลุงทอง​ ​หลวงพ่อก็หยิบฆ้อนทุบเตา​ ​ทุบเบ้าถลุงแตกหมด​ ​แล้ว​ก็​เลิกเล่นเลิกทำ​แต่วัน​นั้น​มา


                                                                รับสมณศักดิ์

        ต่อมา​ใน​รัชกาลที่​ ๖ ​เมื่อพระครูพยุหานุศาสก์​ (สิทธิ์) ​วัดบ้านบน​ ​เจ้าคณะ​แขวงอำ​เภอพยุหะคีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​มรณภาพลง​ ​เมื่อวันที่​ ๒๑ ​ธันวาคม​ ​พ​ ​ศ​. ๒๔๕๗ ​ได้​ทรงพระกรุณา​โปรดเกล้าฯ​ “ให้​เจ้าอธิการเดิม​ ​วัดหนองโพ​ ​เป็น​พระครูนิวาสธรรมขันธ์​ ​รองเจ้าคณะ​แขวงเมืองนครสวรรค์) (๓) เมื่อวันที่​ ๓๐ ​ธันวาคม​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๕๗ ​เนื่อง​ใน​งานเฉลิมพระชนมพรรษา​ ​พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​ใน​รัชกาลที่​ ๖ ​เวลา​นั้น​หลวงพ่อมีอายุ​ได้​ ๕๕ ​ปี​ ​และ​มีพรรษา​ ๓๔ ​พรรษา​ ​ทั้ง​นี้ย่อมนำ​ความ​ปีติมา​ให้​แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อ​เป็น​อันมาก​ ​แต่ก็​ยัง​พา​กัน​เรียกท่าน​ด้วย​ความ​เคารพนับถือ​ทั้ง​ต่อหน้า​และ​ลับหลังว่าหลวงพ่อ​ ​อยู่​อย่าง​นั้น​ ​เว้นแต่ศิษย์รุ่น​ผู้​ใหญ่​ ​จึง​มัก​ใช้​สรรพนามเรียกหลวงพ่อว่า​ “ทาน” ​ส่วน​ประชาชน​ทั่ว​ไป​นั้น​คงรู้จัก​กัน​แพร่หลาย​ ​โดย​นามว่า​ “หลวงพ่อเดิม”
        ต่อมาทางการคณะสงฆ์​ได้​แต่งตั้งหลวงพ่อ​เป็น​เจ้าคณะ​แขวงอำ​เภอพยุหะคีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​และ​หลวงพ่อ​ได้​รับตราตั้ง​เป็น​พระอุปัชฌายะ​ ​เมื่อ​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๖๒ ​หลวงพ่อก็​ได้​ปฏิบัติศาสนกิจ​ ใน​หน้าที่​นั้น​มา​ด้วย​ความ​เรียบร้อยตลอดเวลากว่า​ ๒๐ ​ปี​ ​เมื่อท่านล่วง​เข้า​วัยชรามาก​แล้ว​ ​ทางการคณะสงฆ์​จึง​ได้​เลื่อนหลวงพ่อขึ้น​เป็น​ตำ​แหน่งกิตติมศักดิ์

                                                                                สร้างถาวรวัตถุ​ใน​วัด

       ศาลาการเปรียญหลังแรก​ ​หลวงพ่อเดิมสร้างขึ้นเมื่อ​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๕๔

       ​หลวงพ่อมีนิสัย​และ​มีฝีมือ​ใน​การสร้าง​ ​ซึ่ง​หลวงพ่อ​ได้​ก่อสร้างสิ่งที่​เป็น​ถาวรวัตถุ​ใน​พระพุทธศาสนา​ ​และ​ที่​เป็น​สาธารณประ​โยชน์​อื่นๆ​ ​ไว้​มากมาย​ ​เมื่ออุปสมบท​แล้ว​มา​อยู่​จำ​พรรษา​ใน​วัดหนองโพ​ ​ใน​พรรษา​แรก​ ​ๆ​ ​นั้น​ ​หลวงพ่อก็​เริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้น​ใน​วัดหนองโพ​ ​แล้ว​เมื่อ​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๕๔ ​หลวงพ่อก็ปฏิสังขรณ์​แก้ขยายขึ้น​จาก​หลังที่หลวงพ่อสร้าง​ไว้​แต่ก่อน​นั้น​อีก​
       ก่อนหน้า​นั้น​ ​เมื่อปีมะ​โรง​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๓๕ ​หลวงพ่อ​ได้​สร้างกุฏิขึ้น​ใหม่​ใน​วัดหลังหนึ่ง​เป็น​กุฏิหลังแรกที่​ใช้​ฝา​ไม้กระดาน​ ​และ​ชื้อมา​จาก​บ้านบางไก่​เถื่อน​ (ตำ​บลบ้านตลุก​ ​อำ​เภอสรรพยา​ ​จังหวัดชัยนาท) ​เมื่อสร้างศาลา​และ​กุฏิขึ้น​ใหม่​ใน​วัดหนองโพครั้ง​นั้น​บรรดาท่าน​ผู้​เฒ่า​ผู้​แก่ปู่ย่าตายายของชาวบ้านหนองโพ​ซึ่ง​มีชีวิต​อยู่​ใน​สมัย​นั้น​ ​ต่างออกปากชม​กัน​ว่า​ “ท่านองค์นี้​ไม่​ใช่​ใคร​อื่น​แล้ว​ ​คือหลวงพ่อเฒ่า​เจ้าของวัดของท่านมา​เกิด”
      ศาลาการเปรียญหลังแรก​ ​หลวงพ่อเดิมสร้างขึ้นเมื่อ​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๕๔
     ​นอก​จาก​ศาลาการเปรียญ​และ​หมู่กุฏิ​ ​หลวงพ่อ​ได้​ร่วม​กับ​ทายกทายิกาชาวบ้าน​ ​สร้างโรงอุ​โบสถขึ้น​ใน​ที่​โรงอุ​โบสถเดิม​ ​เมื่อ​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๕๘ ​และ​ใน​คราวเดียว​กัน​ได้​สร้างพระ​เจดีย์​ ๓ ​องค์​ ​มีกำ​แพงแก้วล้อมรอบ​ไว้​ตรงหน้า​โรงพระอุ​โบสถ​ด้วย
     ​นิสัยชอบก่อสร้างของหลวงพ่อ​นั้น​ ​อาจกล่าว​ได้​ว่า​เป็น​ชีวิตจิตใจของหลวงพ่อติดต่อมาจนตลอดชีวิต​โดย​เหตุที่วัดวาอารามตามท้องถิ่น​ใน​สมัย​นั้น​ ​มักมี​แต่กุฏิสงฆ์​และ​มี​แต่ศาลาดิน​ ​คือ​ใช้​พื้นดิน​นั้น​เอง​เป็น​พื้นศาลา​ ​หลังคาก็มุงแฝก​ ​ไม่​มี​โบสถ์​ ​หลวงพ่อ​จึง​สร้างศาลาการเปรียญ​ ​เป็น​ศาลายกพื้น​ ​หลังคามุงกระ​เบื้อง​ ​และ​สร้างโรงอุ​โบสถก่ออิฐถือปูน​และ​คอนกรีต​ ​ขึ้น​เป็น​ถาวรวัตถุของวัด​
     ​โบสถ์​และ​ศาลาการเปรียญที่หลวงพ่อสร้างขึ้น​ ​มัก​จะ​กว้างขวาง​ใหญ่​โตสำ​หรับท้องถิ่น​ ​จึง​ต้อง​ใช้​เงินทอง​และ​สิ่งของเครื่อง​ใช้​ใน​การก่อสร้างมาก​ ​วัตถุปัจจัย​หรือ​เงินทองที่มี​ผู้​ถวายหลวงพ่อ​
     เนื่อง​ใน​กิจนิมนต์ก็ดี​ ​หรือ​ถวาย​ด้วย​มีศรัทธา​เลื่อมใส​ใน​ตัวหลวงพ่อเองก็ดี​ ​หลวงพ่อมิ​ได้​เก็บสะสม​ไว้​ ​หากแต่​ได้​ใช้​จ่ายไป​ใน​การทำ​สาธารณประ​โยชน์​และ​ใช้​เป็น​ทุนรอน​ใน​การก่อสร้างถาวรวัตถุ​ใน​พระพุทธศาสนา​และ​สถานศึกษา​เล่า​เรียน​ ​จนหมดสิ้น​
     ​เห็น​จะ​เป็น​เพราะ​เหตุนี้​ ​และ​เนื่อง​จาก​กิตติคุณทางวิทยาอาคมของหลวงพ่อ​ด้วย​ ​จึง​มักมีพวกทายกทายิกา​ช่วย​กัน​เรี่ยไรรวบรวมทุนถวาย​ให้​หลวงพ่อทำ​การก่อสร้าง​อยู่​เนือง​ ​ๆ​ ​วัด​ใน​ตำ​บล​ใด​  ต้อง​การ​จะ​สร้าง​หรือ​ปฏิสังขรณ์​โบสถ์วิหาร​หรือ​ศาลาการเปรียญ​ ​ขึ้น​เป็น​ถาวรวัตถุ​ใน​วัด​ ​หรือ​เริ่มก่อสร้างปฏิสังขรณ์​กัน​ไว้​แล้ว​ ​แต่ทำ​ไม่​เสร็จ​ ​เพราะ​ขาดช่าง​และ​ขาดทุนรอน​ ​ขาวบ้านสมภารวัด​ใน​ตำ​บล​นั้นๆ​ ​ก็มักพา​กัน​มานิมนต์หลวงพ่อ​ ​ให้​ไป​ช่วย​อำ​นวยการสร้าง​ ​หรือ​ไป​เป็น​ประธาน​ใน​งานก่อสร้างปฏิสังขรณ์​ ​หลวงพ่อก็ยินดี​ไปตามคำ​นิมนต์​
     ​และ​มิ​ใช่​แต่​จะ​ไปบงการ​ให้​คน​อื่น​ทำ​เท่า​นั้น​ ​แต่หลวงพ่อ​ได้​ลงมือทำ​ด้วย​ตนเอง​ด้วย​ ​เช่น​ ​ถ้า​เป็น​เครื่องไม้ก็ลงมือกะตัวไม้​ ​และ​ถากไม้ฟันไม้​ ​เลื่อยไม้​ ​ด้วย​ตนเอง​ ​ถ้า​เป็น​เครื่องปูน​ ​ก็ลงมือตัด​และ​ผูกเหล็กโครงร่าง​ ​และ​ผสมทรายผสมปูนเทหล่อ​ด้วย​ตนเอง​ ​จน​เป็น​เหตุ​ให้​คน​อื่น​นั่งเฉย​อยู่​ไม่​ได้​ ​ทั้ง​ชาวบ้าน​และ​ชาววัดต่างก็พา​กัน​ลงมือทำ​งาน​ช่วย​หลวงพ่อ​ ​บางรายหลวงพ่อก็ทำ​ตั้งแต่ตัดไม้​  ชักลาก​ ​ทำ​อิฐ​และ​เผาอิฐ​ ​เผาปูนมาที​เดียว​ ​ยิ่ง​เป็น​การก่อสร้าง​ใน​บ้านป่าขาดอน​ซึ่ง​ห่าง​ไกล​เส้นทางคมนาคม​ ​กำ​ลัง​ผู้​คน​และ​พาหนะก็​เป็น​ของจำ​เป็น​ยิ่งนัก​ ​แต่หลวงพ่อก็จัดสร้าง​ให้​สำ​เร็จจน​ได้
      ​คิดดูก็​เป็น​ของน่าประหลาด​ ​ดูหลวงพ่อช่างมีอภินิหาร​ใน​การก่อสร้างเสียจริง​ ​ๆ​ ​โบสถ์วิหาร​หรือ​ศาลาการเปรียญ​ ​ที่หลวงพ่อไปอำ​นวยการก่อสร้างปฏิสังขรณ์​ ​หรือ​ไป​เป็น​ประธาน​ใน​งานก่อสร้าง​หรือ​ปฏิสังขรณ์​นั้นๆ​ ​ย่อมสำ​เร็จเรียบร้อยทุกแห่ง​ ​ทุนรอนที่ขาด​อยู่​มากน้อย​เท่า​ใด​ ​ก็มักมี​ผู้​ศรัทธาบริจาคถวาย​ให้​จนครบ​ ​หรือ​บางแห่งบางรายก็​เกินกว่าจำ​นวนที่​ต้อง​การเสียอีก​ ​เมื่อเห็นมีคนชอบเอา​เงินทองมาถวายหลวงพ่อเนือง​ ​ๆ​ ​และ​บางรายก็ถวาย​ไว้​มาก​ ​ๆ​ ​เสีย​ด้วย​
      ​ผู้​เขียนเคยกราบเรียนถามว่า​ “หลวงพ่อทำ​อย่างไร​จึง​มีคนชอบนำ​เงินมาถวายเนือง​ ​ๆ ?”
      ​หลวงพ่อก็ยิ้ม​แล้ว​ตอบว่า​ “ก็​เรา​ไม่​เอานะสิ​ ​เขา​จึง​ชอบ​ให้​ ​ถ้า​เราอยาก​ได้​ใคร​เขา​จะ​ให้”
      ​บรรดาศิษย์รุ่นเก่า​ ​ซึ่ง​เคยติดลอยห้อยตามหลวงพ่อมาหลายสิบปี​ ​เช่น​ ​นายยิ้ม​ ​ศรี​เดช​ ​มรรคนายกวัดหนองโพ​ ​ซึ่ง​เวลา​นั้น​มีอายุกว่า​ ๘๐ ​ปี​ (บัดนี้ล่วงลับไป​แล้ว)​ ​เคยปรารภว่า​ “เงินทองสัมผัสแต่​เพียงตาของหลวงพ่อ​ ​ไม่​กระทบ​เข้า​ไป​ถึง​ใจ”
      ​เงินทองที่มี​ผู้​ถวายมากมาย​เท่า​ใด​หลวงพ่อก็​ใช้​จ่ายไป​ใน​การก่อสร้าง​และ​ทำ​สิ่งสาธารณประ​โยชน์​ ​หมดสิ้น
      ​สิ่งก่อสร้างที่หลวงพ่ออำ​นวยการสร้าง​ ​หรือ​เป็น​ประธาน​ใน​การก่อสร้าง​ ​และ​มีถาวรวัตถุ​เป็น​พยาน​ให้​เห็นมากมายหลายแห่ง​ ​จนหลวงพ่อเองก็จำ​สถานที่​และ​ลำ​ดับรายการ​ไม่​ได้​ ​นอก​จาก​จะ​มี​ใครถามขึ้น​ ​บางทีหลวงพ่อก็นึก​ได้​สิ่งก่อสร้าง​และ​ถาวรวัตถุที่หลวงพ่อสร้างขึ้นนี้​ ​เห็น​ได้​ว่าหลวงพ่อ​ได้​สร้าง​ความ​เจริญ​ให้​เกิดขึ้นแก่ท้องถิ่นเหล่า​นั้น​ ​เพราะ​เท่า​กับ​ทำ​บ้าน​และ​ตำ​บล​นั้น​ ​ๆ​ ​ให้​ตั้ง​อยู่​เป็น​หลัก​เป็น​แหล่ง​ ​และ​มีถาวรวัตถุ​เป็น​หลักฐานของหมู่บ้าน​ ​ซึ่ง​จะ​เป็น​พยานยั่งยืนมั่นคงไปชั่วกาลนาน

ออฟไลน์ นรก

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 136
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 01 เม.ย. 2550, 07:15:42 »
ศิษย์หลวงพ่อเดิม องค์สุดท้ายคือ หลวงพ่อจรัญ จ.สิงห์บุรี ท่านได้สอนวิชา หยุดช้าง(อะไรประมาณนี้)

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 02 เม.ย. 2550, 01:06:41 »
                                                                                 ปลายชีวิตของหลวงพ่อเดิม

​                หลวงพ่อ​เป็น​เสมือนต้นโพธิ​และ​ต้นไทรที่มีกิ่งก้านสาขา​แผ่ออกไปอย่างไพศาล​เป็น​ที่พึ่งพาอาศัยของประชาชน​ไม่​เลือกหน้า​ ​เนื่อง​จาก​หลวงพ่อมีอายุยืนยาวมาก​ ​บรรดาศิษยานุศิษย์รุ่น​ผู้​ใหญ่​ซึ่ง​เคยติดสอยห้อยตาม​และ​ร่วมงานร่วมการ​กัน​มา​ ​ก็ล้มหายตาย​จาก​ไปก่อนหลวงพ่อเกือบหมด​ถ้า​ว่า​กัน​อย่างฆราวาส​ ​ก็น่า​จะ​ทำ​ให้​หลวงพ่อว้า​เหว่มาก​
ครั้นต่อมาราว​ ๑๐ ​กว่าปี​ ​ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ​ ​ร่างกายของหลวงพ่อ​ ​ซึ่ง​ใช้​กรากกรำ​ทำ​สาธารณประ​โยชน์มาช้านานหลายสิบปี​ ​ก็ทรุดโทรมจนแข้งขา​เดิน​ไม่​ได้​ ​จะ​ลุกนั่งก็​ต้อง​มีคนพยุง​ ​จะ​เดินทางไปไหนก็​ต้อง​ขึ้นคานหาม​ ​หรือ​ขึ้นเกวียนไป​
              แม้กระ​นั้น​ ​ก็​ยัง​มี​ผู้​เลื่อมใสศรัทธามานิมนต์หลวงพ่อไป​ใน​งานการบุญกุศลเนือง​ ​ๆ​ ​เพราะ​หลวงพ่อมีศิษยานุศิษย์มาก​ ​ทั้ง​ผู้​ใหญ่​ผู้​น้อยแทบ​ทั่ว​บ้าน​ทั่ว​เมือง​ ​หลวงพ่อปรารภว่า​ถ้า​ท่านแตกดับลง​ ​บรรดาหลานเหลน​และ​ศิษยานุศิษย์​ใน​ตำ​บลหนองโพ​และ​หมู่บ้าน​ใกล้​เคียง​ ​จะ​ได้​รับ​ความ​ลำ​บาก​ ​หลวงพ่อ​จึง​ได้​ปรารภ​ถึง​ความ​ตาย​ให้​เห็นประจักษ์​ ​สิ่ง​ใด​ควรจัดทำ​ขึ้น​ไว้​ได้​ก่อนท่านแตกดับ​ ​หลวงพ่อก็​ให้​จัดทำ​เตรียม​ไว้​ ​เช่น​ ​สร้างหีบบรรจุศพของท่านเอง​และ​ให้​ก่อสร้างตัวเมรุที่​เผาศพของท่าน​ไว้​ด้วย​ ​แต่บังเอิญตัวเมรุ​นั้น​ทำ​ล่าช้ามาก​ ​ยัง​มิทันเสร็จ​ ​จนหลวงพ่อมรณภาพ​แล้ว​
​              แม้​แข้งขาของหลวงพ่อ​จะ​ทานน้ำ​หนักตัวของท่านเอง​ไม่​ได้​แล้ว​ ​หูก็ตึงไปบ้าง​ ​แต่นัยน์ตา​ยัง​แจ่มใสดี​ ​มือก็​ยัง​ลงเลขยันต์​ได้​ตามเคย​ ​ปากก็​ยัง​เสกเป่า​และ​เจรจาปราศรัย​ได้​ ​โดย​มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีตลอดมา
​              ภายหลังที่หลวงพ่อกลับ​จาก​ไป​เป็น​ประธาน​ใน​งานก่อสร้างโบสถ์​ใน​วัดอินทาราม​ (วัด​ใน)​ ​ตำ​บลพยุหะ​ ​อำ​เภอพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​และ​กลับมา​อยู่​ใน​วัดหนองโพ​แล้ว​ ​ต่อมาหลวงพ่อก็​เริ่มอาพาธ​ ​ตั้งแต่วันอังคาร​ ​ขึ้น​ ๑๐ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๖ (ตรง​กับ​วันที่​ ๑๕ ​พฤษภาคม) ​พ​.​ศ​. ๒๔๙๔ ​อาการทรุดลง​เป็น​ลำ​ดับมา​ ​จน​ถึง​วันอังคาร​ ​แรม​ ๒ ​ค่ำ​ ​เดือนเดียว​กัน​ ​วันที่​ ๒๒ ​พฤษภาคม) ​อาการก็​เพียบหนักขึ้น​ ​บรรดาศิษยานุศิษย์​และ​หลานเหลนต่างพา​กัน​มาห้อมล้อมพยาบาล​และ​ฟังอาการ​กัน​เนื่อง​แน่น​ ​ด้วย​ความ​เศร้า​โศกห่วงใย​เล่ากันว่า“ครั้นตกบ่าย​ใน​วัน​นั้น​ ​หลวงพ่อก็คอยแต่สอบถาม​อยู่​วา​ ‘เวลา​เท่า​ใด​แล้ว​ ๆ’ ​ศิษย์​ผู้​พยาบาลก็กราบเรียนตอบไปๆ​ ​จน​ถึง​ราว​ ๑๗.๐๐ ​น​. ​หลวงพ่อ​จึง​ถามว่า​ ‘น้ำ​ใน​สระมีพอกิน​กัน​หรือ’ ​(​เพราะ​บ้านหนองโพมัก​กัน​ดารน้ำ​ดังกล่าว​แล้ว)​ ​ศิษย์ที่พยาบาล​อยู่​ ​ก็​เรียนตอบว่า​ ‘ถ้า​ฝน​ไม่​ตกภาย​ใน​ ๖ - ๗ ​วันนี้​ ​ก็น่ากลัว​จะ​ถึง​กับ​อัตคัดน้ำ’ หลวงพ่อก็นิ่งสงบ​ไม่​ถามว่ากระ​ไรต่อไปอีก​ ​ใน​ทัน​ใด​นั้น​กลุ่มเมฆก็ตั้งเค้ามา​และ​ฟ้าคะนอง​ ​มิช้าฝนก็ตกห่า​ใหญ่​ ​น้ำ​ฝนไหลลงสระราวครึ่งค่อนสระ​ ​พอฝนขาดเม็ด​ ​หลวงพ่อก็สิ้นลมหายใจ​ ​เมื่อเวลา​ ๑๗.๔๕ ​น​.  ​คำ​นวณอายุ​ได้​ ๙๒ ​โดย​ปี​ ​สรรวมแต่อุปสมบทมา​ได้​ ๗๑ ​พรรษา
​              บรรดาศิษยานุศิษย์​ทั้ง​บรรพชิต​และ​คฤหัสถ์​ได้​ช่วย​กัน​สรงน้ำ​ศพหลวงพ่อ​ ​แล้ว​บรรจุศพ​ ​ตั้งบำ​เพ็ญกุศล​ ​ณ​ ​วัดหนองโพ​ ​ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น​ ​เว้นที่​ ๒๓ ​พฤษภาคม) ​ติดต่อมาครบ​ ๗ ​วัน​ ​เมื่อวันที่​ ๒๙ ​พฤษภาคม​ ​แล้ว​ก็ทำ​ติดต่อมาอีก​และ​ทำ​บุญครบ​ ๕๐ ​วัน​ ​เมื่อวันที่​ ๑๑ ​กรกฎาคม​ ​ทำ​บุญครบ​ ๑๐๐ ​วัน​ ​เมื่อวันที่​ ๓๐ ​สิงหาคม​ ๒๔๙๔ ​จึง​เก็บศพหลวงพ่อรอ​ไว้​ ​จน​ถึง​เวลาจัดการพระราชทานเพลิงหลวงพ่อเดิม​ ​ผู้​ซึ่ง​ได้​รับการขนานนาม​และ​ยกย่อง​เป็น​ “เทพเจ้า​แห่งเมืองสี่​แคว” ซึ่ง​ชาวนครสวรรค์ทุกคน​ยัง​เคารพ​ให้​ความ​นับถือหลวงพ่อ​อยู่​เสมอ​ ​โดย​เฉพาะทางวัดหนองโพ​ได้​สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อพระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม​ ​ขนาด​เท่า​องค์จริง​ ​ซึ่ง​หลวงพ่อเดิมท่านหล่อสร้าง​ไว้​เมื่อปี​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๘๒ ​ซึ่ง​ตั้งประดิษฐาน​อยู่​ที่มณฑป​ ​ซึ่ง​มีประชาชนมากราบนมัสการทุกวันมิ​ได้​ขาด​ ​และ​ทางวัดหนองโพ​ได้​จัดงานทำ​บุญประจำ​ปีปิดทอง​ ​ไหว้พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม​ ​ใน​วันขึ้น​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๓ ​ของทุกปี

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 18 เม.ย. 2550, 11:33:41 »
หลวงพ่อเดิม​ ​กับ​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่าน

ข้อมูล​จาก​ ​กระดานสนทนาธรรม​ ​เวปพระรัตนตรัย​ ​กระทู้ที่​ 00414 ​โดย​ ​คุณ​ : ​คนรู้น้อย​ 16-05-2003

http://www.praruttanatri.com/webboard/show.php?Category=other&No=414

​สวัสดีครับ​ ​ท่านที่​เคารพ​ ​วันนี้ขอนำ​เรื่องของหลวงพ่อเดิม​ ​วัดหนองโพ​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​มา​เรียนเสนอ​ ​(​เป็น​ข้อเขียนของคุณ​ ​สุรเวทย์​ ​เสนภูษา​ ​จาก​คำ​บอกเล่าของ​ ​คุณประดิษฐ์​ ​ลิ้มประยูร) ​หลวงพ่อเดิมนี่​ ​ท่านมีอภินิหารมาก​ ​จนชาวบ้านขนานนามท่านว่า​ "​เทพเจ้า​ ​แห่งลุ่มน้ำ​สี่​แคว" ​เรื่องของท่านที่น่าสนใจมีมากมาย​ ​ถ้า​มี​โอกาส​จะ​นำ​เรื่องของท่าน​ ​มา​เรียนเสนออีกหลายๆ​ ​ตอนครับ​ ​และ​แถมท้าย​ด้วย​เรื่อง​เล็กๆ​น้อยๆ​ ​พอ​เป็น​อุทาหรณ์​ ​ใน​ทางธรรม​ .... ​เพื่อ​ไม่​ให้​เสียเวลา​ ​เรียนเชิญติดตาม​ได้​ ​ดังต่อไปนี้ครับ​....


"​เรื่องนี้​ ​ข้าพเจ้า​ได้​ยินมา​จาก​นายเฟื้อ​ ​คนบ้านเก้า​เลี้ยว​ ​เรื่องมี​อยู่​ว่า​ ​อา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​ ​แก​จะ​ชื่อจริงอะ​ไรก็​ไม่​ทราบ​ได้​ ​แต่ชาวบ้านเรียกแกว่าอย่าง​นั้น​จนติดปาก​ ​อา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​เป็น​เถ้า​แก่รับซื้อข้าว​จาก​ชาวนา​ใน​สมัยโน้น​

​ปี​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๘๔ ​ราคาข้าวเกวียนละ​ถึง​ ๓๐ ​บาท​ ​เพราะ​เป็น​ระยะสงคราม​ ​ข้าวยากหมากแพง​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านแก​จึง​หากำ​ไร​จาก​การซื้อข้าว​จาก​ชาวนา​ใน​ราคาถูก​ ​แล้ว​เอามาขายส่งโรงสี​ใน​ราคา​แพง​ ​ลำ​พังซื้อถูกกดราคาก็พอทำ​เนา​อยู่​ ​แต่อา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​ ​แกเล่นโกงตาชั่ง​เข้า​ไป​ด้วย​ ​ชาวนาสมัยก่อน​ไม่​ใช่​ชาวนาสมัยนี้​ ​เรื่อง​จะ​รู้​เท่า​ทันเล่ห์​เหลี่ยมของอา​แป๊ะ​ไม่​ต้อง​หวัง​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านก็​โกงตาชั่งชาวนา​ ​ได้​กำ​ไรทบ​ซ้ำ​เข้า​ไป​ ​แถมเวลาตวงหากชาวนา​เผลอก็​จะ​ถูกโกง​เข้า​ไปอีก​ ​เพราะ​ตวงเกินแต่​ไม่​ได้​นับ​

​แกประพฤติตนเช่นนี้จนมีฐานะดีขึ้นทันตา​เห็น​ ​ความ​ลับ​ไม่​มี​ใน​โลก​ ​ลูกจ้างที่​แกจ้างไปแบกข้าว​ ​ขนข้าว​กับ​แก​นั้น​เกิดขัดใจ​กับ​แกขึ้นมา​ ​ด้วย​เรื่อง​ส่วน​แบ่งที่​ไม่​ค่อย​จะ​เป็น​ธรรม​ ​จึง​ลาออก​และ​เที่ยว​ได้​ไปโพนทะนา​กับ​ชาวบ้าน​ให้​รู้​ทั่ว​กัน​ ​ว่าตา​แป๊ะ​ไล่ห่านโกง​ ​แต่ก็นั่นแหละ​เสียงนกเสียงกา​จะ​มีคนฟังบ้างก็​เป็น​ส่วน​น้อย​ ​เพราะ​ชาวนา​ส่วน​ใหญ่​เชื่อว่าตา​แป๊ะ​แก​ไม่​โกง​ ​นายสน​เป็น​ชาวนาที่รวม​อยู่​ใน​พวกที่​เชื่อว่าตา​แป๊ะ​โกงตาชั่ง​ ​จึง​ได้​แอบตวงข้าวของตน​แล้ว​จดนับเอา​ไว้​อย่างละ​เอียด​ ​เพื่อตรวจสอบ​กับ​ของตา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​

​ครั้นเมื่อตา​แป๊ะมารับซื้อข้าวก็ตวงมา​ ​และ​คิดเงิน​ให้​ ​ปรากฏว่าน้อยกว่าจำ​นวนที่นายสนแกสำ​รวจเอา​ไว้​ ​นายสน​จึง​โวยวายขึ้น​ ​และ​ขอสอบตาชั่ง​ ​แต่มี​หรือ​ที่ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านแก​จะ​ยอมจำ​นน​ ​แกแสยะยิ้ม​แล้ว​เอามือกดหัวตาชั่งของแกมาข้างหน้า​ (ตาชั่ง​เป็น​แบบคาน​ ​ใช้​ลูกน้ำ​หนักถ่วง) ​เจ้าตุ้มถ่วงน้ำ​หนักที่​แกเตรียมโกงเอา​ไว้​ก็​เลื่อนออก​จาก​ที่​ ​ตาชั่งก็ตรงดังเดิม​ ​นายสนทดสอบก็​เท่า​กับ​น้ำ​หนักจริง​ ​จึง​จำ​ใจขายข้าว​ให้​ไป​เพราะ​หมดปัญญา​เถียง​ ​ด้วย​ว่าที่นายสน​ได้​รับฟังมา​นั้น​ ​ลูกจ้าง​เถ้า​แก่​ไล่ห่าน​ไม่​ได้​ล่วงรู้​ถึง​สายสนกล​ใน​ ​ใน​การโกงตาชั่งของตา​แป๊ะอย่างละ​เอียด​

​และ​แล้ว​ใน​ที่สุด​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านก็​เจอดี​เข้า​จน​ได้​ ​โดย​กำ​นันปลิว​ได้​รับทราบพฤติกรรมของตา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​ใน​การโกงตาชั่ง​ ​เมื่อตา​แป๊ะ​ไปซื้อข้าวที่บ้านของญาติ​ ​กำ​นันก็​ไปคุมดู​โดย​ตรวจสอบจำ​นวน​ไว้​ ​เช่นเดียว​กับ​นายสน​ ​ครั้นขอชั่งทดสอบ​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านก็​ใช้​วิธี​เดิม​ใน​การโกง​ ​กำ​นันปลิวหมดปัญญา​จึง​ลากมือตา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​ ​ไป​ยัง​วัดที่​อยู่​ใกล้ๆ​ ​นั้น​ ​เพราะ​ได้​ข่าวว่าหลวงพ่อเดิมท่าน​ได้​รับนิมนต์มานั่งอุปัชฌาย์อุปสมบทนาคหมู่​

​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านมากราบหลวงพ่อเดิมพร้อม​กับ​กำ​นันปลิว​ ​กำ​นันปลิวเล่า​เรื่อง​ให้​หลวงพ่อฟัง​ ​พร้อม​ทั้ง​เสริมท้ายว่า​ ​อ้าย​ผู้​ร้ายปากแข็ง​ ​โกงหาตัวจับยาก​ ​หลวงพ่อท่านก็​ไม่​ว่าอะ​ไร​ ​ท่านถามตา​แป๊ะ​ไล่ห่านว่า​

​"​เถ้า​แก่​โกงตาชั่ง​เขา​จริงๆ​ ​หรือ​เปล่า​"

​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านยิ้มเห็นฟันเหลืองตอบว่า​ "อาหลงพ่อ​ ​อั๊วบอริสุก​ ​ค้าขายกงไปกงมา​ ​ตาชั่งอีก็ทดสอบลู​แล้ว​ ​ไม่​ได้​ผิดน้ำ​หนัก​ ​แล้ว​จามาหาว่าอั๊วโกงล่ายอย่างไล​ ​อาหลงพ่อลองคิดดูซิครับ"

​หลวงพ่อนั่งนิ่งคล้าย​ใช้​ความ​คิด​ ​และ​เอ่ยขึ้นว่า​ "​แน่นะ​ ​เถ้า​แก่​ ​ถ้า​ไม่​เป็น​ดังปากพูด​ ​มอดมวนลงกินข้าวเปลือกหมดนา​เถ้า​แก่​"

​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านคิด​ใน​ใจว่า​ ​ฮี่ธ่อ​ ​มอดที่​ไหน​จะ​มากินข้าวเปลือก​ ​เห็นมี​แต่มอดกินไม้กินข้าวสาร​ ​ซี้ซั้วต่า​ ​รับปากส่งเดชไปก็​แล้ว​กัน​ ​ว่า​แล้ว​ก็ตอบสวนไปว่า​ "คักหลวงพ่อ​ ​อั๊วบริสุก"

​หลวงพ่อโบกมือ​ให้​กลับออกไป​โดย​มีกำ​นันเดินนำ​หน้า​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านเอาข้าวเปลือกที่ซื้อ​ได้​มา​เข้า​ฉาง​ ​เก็บรวมเอา​ไว้​เพื่อขาย​ให้​โรงสีอีกทอดหนึ่ง​ ​ฝันหวานว่า​ไม่​นานนี้​แล้ว​กำ​ไร​จาก​การขายข้าวเปลือก​ ​ที่​โกงหยาดเหงื่อแรงงาน​เขา​มา​ได้​คง​จะ​มากมายจนนับ​ไม่​ไหว​

​แต่​แล้ว​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านก็ตกใจร้อง​ ​ไอ้หยา​ ​เมื่อวันหนึ่งลูกน้องมาบอกว่า​ ​ข้าวเปลือก​ใน​ฉางที่​เก็บมี​แมลงอะ​ไรก็​ไม่​รู้ตัว​เล็กๆ​ ​ดำ​ๆ​ ​คล้าย​กับ​มอดกินข้าวสาร​ ​มารุมกินข้าวเปลือก​ใน​ฉางจนดำ​มืดไปหมด​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านเสียวสันหลังวูบ​ ​หรือ​ว่าคำ​สาบานของตน​จะ​เป็น​จริง​

​รีบตาลีตา​เหลือกไปดูก็​แทบสิ้นสติ​ ​เพราะ​มอดลงกัดกินข้าวเปลือก​เป็น​การ​ใหญ่​ ​ขืนปล่อย​ให้​เป็น​อย่างนี้​ ​คงวอดวายหมดแน่​ ​จึง​รีบไปเอายาฆ่า​แมลงที่​ใช้​สำ​หรับทำ​ลายมอดที่มี​อยู่​ ​มา​ให้​ลูกน้องทำ​การฆ่ามอด​ ​แต่ดู​เหมือนว่า​ ​มัน​จะ​เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ​

​ข่าวเรื่องมอดลงกินข้าวเปลือกของตา​แป๊ะ​ไล่ห่านลือ​กัน​ให้​แซดไปหมด​ ​กำ​นันปลิว​ได้​ยิน​เข้า​ก็ถ่มน้ำ​ลายบอกว่า​ ​สมน้ำ​หน้า​ ​นี่​แหละ​ไปล้อเล่น​กับ​หลวงพ่อ​ ​ดี​แล้ว​ให้​มันหมดตัว​เพราะ​มันโกง​เขา​มา​

​ไม่​กี่วันตา​แป๊ะ​ไล่ห่านก็​โผล่มาที่บ้านกำ​นันปลิว​ ​ขอร้อง​ให้​พา​ไปวัดหนองโพ​ ​กำ​นันปลิวหมั่นไส้ก็หมั่นไส้​ ​สงสารก็สงสาร​ ​เพราะ​กำ​นันปลิวก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งที่ทำ​ให้​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​ต้อง​ไปสาบาน​กับ​หลวงพ่อเดิม​ ​ก็​เลยพา​ไปหาหลวงพ่อที่วัด​ ​แต่​ไม่​พบ​จึง​ต้อง​ไปที่วัดหนองหลวง​ ​เมื่อ​เข้า​ไปกราบหลวงพ่อ​แล้ว​ ​หลวงพ่อก็พูดขึ้นว่า​

"​ไงล่ะ​ ​เอา​เข้า​แล้ว​ใช่​ไหม​ ​กรรมมัน​ให้​ผล​เร็ว​นะ​ ​อ้าวก็ว่าบริสุทธิ์​ไม่​ใช่​หรือ​เถ้า​แก่​"

​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านหน้าซีดนึก​ใน​ใจว่า​ ​ไอ้หยา​ยัง​ไม่​ทัน​จะ​บอก​ ​อาหลงพ่อก็ลู้​เลี้ยว​ ​ซี้​แน่คราวนี้​ ​เลยปากคอสั่นทำ​อะ​ไร​ไม่​ถูก​ ​หลวงพ่อ​จึง​ให้​ไปขอขวด​จาก​กรรมการวัด​ ​มา​ให้​ท่านบรรจุน้ำ​มนต์ปลุกเสก​ให้​เรียบร้อย​ ​แล้ว​ก็สั่งว่า​

"​เอา​ไปพรมฉาง​ให้​ทั่ว​นะ​ ​ตัวแมลงที่​เกิด​จาก​กรรมของ​เถ้า​แก่​จะ​หมดไป​ ​ข้าวที่​ได้​มา​โดย​บริสุทธิ์​จะ​คงเหลือ​อยู่​ ​ส่วน​ที่​เถ้า​แก่​โกง​เขา​มาก็​จะ​ถูกทำ​ลายไป​ ​นี่​เพราะ​กรรมของ​เถ้า​แก่​เอง​ไม่​มี​ใครทำ​ให้​"

​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านควักเงิน​จาก​กระ​เป๋า​ ​มามอบ​ให้​กรรมการวัดหนองหลวง​ ​เพื่อ​ช่วย​ใน​การก่อสร้างถาวรวัตถุ​ ​หลวงพ่อมอบเหรียญ​ให้​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านเหรียญหนึ่ง​ ​พร้อม​ทั้ง​ตะกรุดโทน​ให้​อีกดอก​ ​สั่งกำ​ชับว่าตะกรุด​ให้​ติดตัว​ไว้​ ​เพราะ​กรรมที่​เถ้า​แก่​โกงชาวบ้าน​เขา​ ​ยัง​ไม่​หมด​ ​ตะกรุด​จะ​ช่วย​ให้​หนัก​เป็น​เบา​

​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านกลับมาที่ฉาง​ ​เอาน้ำ​มนต์พรมไปจน​ทั่ว​ ​สองวันต่อมามอดตัวดำ​ๆ​ ​ก็อันตรธานหายไป​ ​หลัง​จาก​ทำ​ลายข้าวเปลือกไปจำ​นวนหนึ่ง​ ​เป็น​จำ​นวนที่​โกง​เขา​มานั่นเอง​ ​และ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่านก็​ไปถูกปล้นที่ส้มเสี้ยว​ ​ใน​ระหว่างไปซื้อข้าว​ ​พวกโจรยิง​ไม่​ออก​ ​จึง​ช่วย​กัน​ทุบตา​แป๊ะ​ไล่ห่านจนน่วม​ ​แต่​ไม่​ถึง​ตาย​ ​คนร้าย​เข้า​ใจว่าตาย​ ​ตา​แป๊ะ​ไล่ห่าน​ไม่​ตาย​ ​แต่หูตึงไปข้างหนึ่ง​เพราะ​ถูกตีทัดดอกไม้อย่างหนัก​ ​ตั้งแต่​นั้น​มา​เถ้า​แก่​ไล่ห่านก็หัน​เข้า​หา​ความ​สุจริต​ ​รับซื้อข้าวเปลือก​ด้วย​ความ​ซื่อตรง​ ​จนสิ้นชีวิตไป​ ​ลูกหลานของแกก็ดำ​เนินอาชีพสืบมา​" ....

​อานิสงส์​ ​แห่งธรรมทาน​ ​ที่กระผม​ได้​นำ​มา​เรียนเสนอนี้​ ​หาก​จะ​พึงมี​ ​ขอกราบอุทิศถวายครูบาอาจารย์​ ​และ​ท่าน​ผู้​มีพระคุณ​ ​รวม​ทั้ง​คุณประดิษฐ์​ ​ลิ้มประยูร​ผู้​เล่า​เรื่อง​ ​ไม่​ว่า​จะ​อยู่​ ​ณ​ ​ภพ​ ​ณ​ ​ภูมิ​ไหน​ ​โปรดอนุ​โมทนา​ด้วย​... ​เทอญ​

http://dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm