ผู้เขียน หัวข้อ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์  (อ่าน 5057 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ หลวงพี่เก่ง

  • สำนักงานวัดบางพระ
  • ล่องลอย
  • *****
  • กระทู้: 146
  • เพศ: ชาย
  • สุเมโธภิกฺขุ
    • ดูรายละเอียด
    • http://facebook.com/bangphra
    • อีเมล
    พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ เป็นอาทิ.
    ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่า ในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป. ครั้นถึงวันนัด จึงถามอาชีวก ผู้เข้าไปสู่ตระกูลของตน ว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ พวกผมจักทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนผู้นี้ ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้ เลยวันไปแล้ว กลับมาถามเรา เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง. จึงพูดว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี พวกท่านอย่ากระทำการมงคลในวันนี้เลย ถ้าขืนทำจักพินาศใหญ่.
    พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัวในวันนั้น. ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็นพวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้การงานของพวกเรา ก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไปคอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้ นั้นแหละ.
    ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้าสาวให้พวกเราเถิด. ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถีก็พากันบริภาษพวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่า เป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสีย ไม่มาตามกำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากัน นั่นแหละ. พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นแล้ว.
    พวกชาวบ้านนอกก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มา นั่นเอง. เรื่องที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่ารู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. และภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว. พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว. ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อน ก็โกรธคนเหล่านั้น กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้ว เหมือนกัน แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้ เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น.
    รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่า เป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป.

    ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดีจึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้ อย่างไรเล่า?
    เมื่อคนเหล่านั้นโต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดี มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
    “ ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้ ” ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิมาเนนฺตํ ความว่า ผู้คอยดูอยู่ อธิบายว่า มัวรอคอยอยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในบัดนี้.
    บทว่า อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา ความว่า ประโยชน์ กล่าวคือการได้เจ้าสาว ผ่านพ้นคนโง่ผู้เป็นชาวเมืองนี้. บทว่า อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ ความว่า บุคคลเที่ยวแสวงหาประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เขาได้แล้วนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นฤกษ์ของประโยชน์. บทว่า กึ กริสฺสนฺติ ตารกา ความว่า ก็ดวงดาวทั้งหลายในอากาศนอกจากนี้ จักยังประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จได้.
    พวกชาวเมืองทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาวอยู่นั่นเอง เลยพากันไป.
    แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้นทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูลนั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน.
    ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า อาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้ แม้ตระกูลทั้งนั้นในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 04 ต.ค. 2554, 09:12:54 »
กราบขอบพระคุณครับ :054:
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ หลวงพี่เก่ง

  • สำนักงานวัดบางพระ
  • ล่องลอย
  • *****
  • กระทู้: 146
  • เพศ: ชาย
  • สุเมโธภิกฺขุ
    • ดูรายละเอียด
    • http://facebook.com/bangphra
    • อีเมล
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 04 ต.ค. 2554, 05:18:16 »
การนำพุทธพจน์และเรื่องราวในชาดกมาเผยแผ่ มิได้มีเจตนาไปตำหนิติเตียนผู้ใด

ออฟไลน์ Gearmour

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1204
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • ลานพิศวง
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 04 ต.ค. 2554, 05:40:36 »
รู้ธรรมอย่างขวางโลก
รู้โลกอย่างขวางธรรม

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 05 ต.ค. 2554, 12:36:38 »
กราบนมัสการหลวงพี่เก่งขอรับ

นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ      อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา

อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ   กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.

   ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้ (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก ๒๗/๑๖.

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 05 ต.ค. 2554, 01:02:44 »
ขอบคุณท่าน ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

พระพุทธองค์ยังได้แบ่งมนุษย์ เป็น4เหล่า คนที่คุยไม่รู้เรื่องท่านก็เพิกเฉยเสีย

ผิดถูกประการใด ต้องขออภัย :054:

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/bigbabe/2009/02/04/entry-2

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 05 ต.ค. 2554, 07:30:46 »
ในปัจจุบันนี้มีการนำเรื่อง "บัว ๔ เหล่า" ไปใช้เปรียบเทียบเรื่องต่างๆ จนผิดความหมายเดิมที่แท้จริงไปมากขอรับ

ที่มาที่แท้จริงมีอยู่ว่า...

   เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ แล้ว พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ด้วยกัน (๔๙ วัน)

   ครั้นเมื่อสัปดาห์ที่ ๗ ผ่านไป พระพุทธองค์ก็ทรงพิจารณาถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งนัก ยากแก่การเข้าใจสำหรับเวไนยสัตว์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาได้เช่นนี้แล้ว พระทัยของพระพุทธองค์จึงน้อมไปในทางขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไปในการเผยแผ่พระธรรมที่ทรงบรรลุแต่อย่างใด

   เมื่อนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบความดำริและคิดปริวิตกว่าโลกจักฉิบหายเสียแล้ว จึงทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ (เรื่องนี้ ได้ปรับแปลงมาใช้กับพิธีกรรมการแสดงธรรมในปัจจุบัน คือ เมื่อจะอาราธนาพระภิกษุให้แสดงธรรม ก็จะกล่าวถึงท้าวสหัมบดีพรหม ที่ได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์แสดงธรรม มีมาในบทสวดอาราธนาธรรมว่า "พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาป ปะระชัก ขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ")

   พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาถึงอุึปนิสัยของเวไนยสัตว์ที่แตกต่างกันไป ผู้มีธุลีในจักษุน้อย ถ้าไม่ได้ฟังธรรมอาจเสื่อมจากคุณวิเศษได้ และทรงเปรียบเทียบอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ที่จะสามารถบรรลุธรรมได้กับดอกบัว ๔ เหล่า กล่าวคือ

   ๑.อุคฆฏิตัญญู คือ ผู้ที่เข้าใจได้เร็วพลัน เพียงยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง ก็สามารถตรัสรู้ได้เลย เปรียบเสมือนดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ พอถูกแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานได้ทันที

   ๒.วิปจิตัญญู คือ ผู้ที่จะรู้และจะเข้าใจได้ ก็ต่อเมื่อท่านอธิบายขยายเนื้อความจึงจะรู้แจ้ง เปรียบเสมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาเสมอผิวน้ำ พร้อมจะเบ่งบานในวันรุ่งขึ้น

   ๓.เนยยะ (อ่านว่า ไน - ยะ) คือ ผู้ที่ต้องพร่ำสอนอยู่บ่อยๆ จึงจะเข้าใจได้ เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ พร้อมที่จะบานในวันต่อ ๆ ไป

   ๔.ปทปรมะ คือ ผู้ที่ด้อยปัญญาจดจำได้เฉพาะตัวบทธรรมเท่านั้น ไม่สามารถที่จะเข้าใจเห็นแจ้งในธรรม พร่ำสอนไปก็เป็นเพียงให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภพต่อไป เปรียบเสมือนดอกบัวที่มีโรค และจมอยู่ในโคลนตม ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาเบ่งบานได้ ต้องเป็นอาหารของเต่าและปลาไปในที่สุด

   ทั้งหมดนี้ เรียกว่า "เทศนาธิษฐาน" คือ การที่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานเพื่อที่จะทรงเผยแผ่สั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์นั่นเอง

ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงอ้อนวอนทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเหล่าเวไนยสัตว์ถึง ๓ ครั้ง พระพุทธองค์จึงทรงรับอาราธนา

   ต่อจากนั้น พระพุทธองค์จึงทรงทำ "อายุสังขาราธิษฐาน" คือ ทรงตั้งพระพุทธปณิธานว่า จะทรงดำรงค์พระชนมายุอยู่ ตราบเท่าที่จะได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายประดิษฐานพระศาสนาไว้อย่างมั่นคง ( อยากเล่าต่อแต่จะออกนอกประเด็นที่เกริ่นนำข้างต้นไป ขอจบพุทธประวัติคร่าวๆไว้เพียงเท่านี้ก่อนขอรับ)

   สรุป - บัว ๔ เหล่า มีที่มาในพุทธประวัติ โดยพระพุทธองค์ทรงใช้เปรียบเทียบกับอุปนิสัยของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะสามารถบรรลุธรรม (บุรุษ ๔ คู่ เรียงตัวได้ ๘ บุรุษ คือ ๑.พระโสดาปัตติมรรค ๒.พระโสดาปัตติผล ๓.พระสกทาคามิมรรค ๔.พระสกทาคามิผล ๕.พระอนาคามิมรรค ๖.พระอนาคามิผล ๗.พระอรหัตตมรรค ๘.พระอรหัตตผล )ได้ขอรับ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ต.ค. 2554, 07:33:59 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »

ออฟไลน์ shagath

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 541
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 05 ต.ค. 2554, 07:46:49 »
กราบนมัสการหลวงพี่เก่งและขอขอบคุณครับ

ออฟไลน์ รันตี

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 743
  • เพศ: ชาย
  • อยากเห็นผู้อื่นสุข จงฝึกตนให้มีเมตตา อยากเป็นผู้มีสุข จงฝึกตนให้มีเมตตา:ดาไลลามะ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นักขัตตชาดก ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 05 ต.ค. 2554, 08:12:19 »
 :002: กราบขอบพระคุณครับ การใดที่เป็นประโยชน์ก็เป็นฤกษ์ดีในตัวอยู่แล้ว ได้ข้อคิดดีครับ

เมตตาพระอาจารย์อภิญญา คณุตฺตโม ศิษย์ขอน้อมรำลึกพระคุณไว้ ณ ที่นี้