ผู้เขียน หัวข้อ: ...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑...  (อ่าน 140 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เว็บมาสเตอร์...

  • ผู้ดูแลระบบ
  • *****
  • กระทู้: 571
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • www.bp.or.th


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๒๑...

..." ดูก่อน สุภัทธะ ในธรรมวินัยนี้
ถ้ายังมีมรรค อันประกอบด้วย
องค์ ๘ อยู่ตราบใด แม้พระโสดาบัน
พระสกิทาคามี พระอนาคามีและ
พระอรหันต์ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น
ถ้าภิกษุทั้งหลายพากันประพฤติ
ปฏิบัติอยู่โดยชอบ โลกนี้ก็ไม่ว่าง
จากพระอรหันต์ "...

...การปฏิบัติธรรมนั้นคือการทำหน้าที่
ของตนเองให้ดีที่สุด ให้สมบูรณ์ที่สุด
โดยมีสติและสัมปชัญญะที่เป็น
สัมมาทิฏฐิคุ้มครองอยู่ มีการระลึกรู้
และรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกขณะจิต
พยายามน้อมจิตให้เป็นกุศลธรรม
เป็นไปทั้งเพื่อประโยชน์ตนและ
ประโยชน์ท่าน การทำงานนั้นจึงเป็น
การปฏิบัติธรรม คือทำให้เหมาะสมกับ
สถานะและสภาวะของตน ตามบทบาท
และหน้าที่ ที่ตนนั้นมีอยู่
...ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ การไม่รู้จักบทบาท
และหน้าที่ของตนเอง สิ่งที่ตนเองนั้น
ควรกระทำ มันจึงทำให้บกพร่องใน
บทบาทและหน้าที่ของตน เรียกว่า
ธรรมนั้นไม่สัปปายะ คือเลือกธรรมมา
ปฏิบัติไม่เหมาะสมกับตน เป็นฆราวาส
ผู้ครองเรือน แต่อยากจะปฏิบัติให้
เหมือนพระ ทำให้บทบาทและหน้าที่
ของการเป็นสามี ภรรยานั้นบกพร่องไป
หรือทำให้หน้าที่การงานนั้นเสียหายไป
...ธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัส
สอนไว้นั้น มีหลายขั้นหลายตอน
ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งในทางโลก
และในทางธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกัน
โดยสันติสุข ตามกำลังของแต่ละคน
ที่สะสมอบรมมา " ธรรมะนั้นมีมากมาย
ประดุจใบประดู่ลายทั้งราวป่า แต่ตถาคต
มีเวลาที่จะเอามาชี้นำ เพียงกำมือเดียว "
คือความเป็น " อนัตตา " ของธรรม
ทั้งหลายทั้งปวง แปรเปลี่ยนไปเพื่อ
ความเหมาะสม ตามจังหวะ เวลา
โอกาส สถานที่ บุคคล เป็นไปตาม
เหตุและปัจจัยในขณะนั้น อย่างเช่น
ไตรสิกขา ๓ สำหรับประชาชนคนทั่วไป
อันได้แก่ ทาน ศีล ภาวนาหรือ
ฆราวาสธรรม ๔ ธรรมะสำหรับ
ฆราวาสผู้ครองเรือน อันได้แก่ สัจจะ
ทมะ ขันติ จาคะ ซึ่งมีให้ศึกษามา
ในพระไตรปิฎก
...ฉะนั้นการเลือกเฟ้นธรรม ที่จะนำมา
ปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาวะสถานะ
ของตนนั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะ
ทำให้ท่านผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ไม่หลงประเด็น" ไม่เป็นภัยต่อชีวิต
ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรม
อันดีงาม เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วย
กุศล เป็นมงคลต่อชีวิตและสังคม "
นั่นคือสิ่งที่ควรจะศึกษาและนำมา
ปฏิบัติ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะ
และสถานะของตน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ ธันวาคม ๒๕๖๔...