ผู้เขียน หัวข้อ: นางกวักของคนล้านนา  (อ่าน 3226 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ขุนส่อง

  • คนเหนือ เหนือคน
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 199
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
นางกวักของคนล้านนา
« เมื่อ: 20 มี.ค. 2552, 05:53:54 »
นางกวักของคนล้านนา 

วันนี้ตั้งใจจะแนะนำแม่หญิงคนงามชาวล้านนาให้แฟน ๆ ได้รู้จักสักคนส่วนมากที่เขียน ๆ มามีแต่เรื่องพระเรื่องเจ้า เปลี่ยนเป็นหญิงสาวบ้างจะได้ไม่เบื่อหน่ายค้ายชังกัน อันว่าสตรีเพศนั้นนอกจากแม่และเมียที่เคารพแล้ว ยังมีอีกนางหนึ่งที่ผู้เขียนเคารพนบไหว้มิได้ขาด ท่านคือ แม่นางกวัก

นางกวักที่ปรากฏในล้านนานั้น เท่าที่คุ้นสายตามีอยู่สองแบบคือ รูปผู้หญิงแต่งกายอย่างหญิงสูงศักดิ์ของไทยภาคกลาง มักปรากฏที่มุมหนังสือปีใหม่เมืองของร้านประเทืองวิทยา อีกแบบหนึ่งเป็นรูปหล่ออย่างโบราณขนาดเล็กเท่าปลายก้อย หรือบางองค์มีขนาดโตกว่านั้น เป็นรูปสตรีแต่งกายอย่างล้านนา กล่าวคือ มวยผมห่มสไบใส่ผ้าซิ่นลายก่านนั่งพับเพียบเรียบร้อยเท้าแขนแอ่นอ่อน มืออีกข้างทำกริยากวัก มีทั้งกวักซ้ายและกวักขวา บางองค์มีรายละเอียดน่าศึกษายิ่ง มีถุงยามหรือถุงเป้งห้อยแขนบ้างก็เป็นถุงเงินวางตัก ผมมวยปักปิ่นเหน็บดอก และบางองค์มีลูกน้อยห้อยข้าง มือหนึ่งกวักมือหนึ่งอุ้ม ที่ทรงเครื่องอย่างนางกษัตริย์ก็มี เท่าที่ผู้เขียนได้ศึกษามานั้น นางกวักในขนบความเชื่อของคนล้านไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทั้งเอกสารลายลักษณ์ใบลานและพับสา หรือมุขปาฐะซึ่งตามปกติในเอกสารดั่งกล่าวมักบันทึกไว้ทุก ๆ เรื่อง ในล้านนามีคำและความใกล้เคียงกับคำว่ากวัก เป็น กวั๊ก แต่หมายถึงเห็ดกระด้างทำนองเห็ดหลินจือ บางเรือนจะนำเห็ดที่มีลักษณะคล้ายกับมือกวักมาผูกติดกับหำยนต์หรือใช้ตะปูตอกติดเสาเรือนเรียกว่า เห็ดกวั๊ก มีความหมายทางความเชื่อทำนองเดียวกับรูปนางกวักนั่นเอง ส่วนรูปหล่อนางกวักอย่างล้านนาที่กล่าวในตอนต้นนั้นเป็นฝีมืออย่างชาวบ้านหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์หรือทองเหลือง ทองแดงก็มีแต่พบน้อย ผู้รู้ทางพระเครื่องบางท่านกล่าวว่าน่าจะมีอายุอยู่ในยุคพระไม้ คือประมาณ 100 ? 200 เป็นยุครัตนะหรือยุคกาวิละเจ้าเชื้อเจ็ดตน แต่บางองค์เชื่อกันว่าร่วมสมัยกับเชียงแสนซึ่งยังไม่พบหลักฐานการสร้างนอกจากการสังเกตและประเมินอายุจากผิวโลหะ

ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลภาคสนามที่ผู้เขียนสำรวจเมื่อปี 2543 จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปหล่อนางกวักอย่างล้านนา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมามีผู้นิยมใช้นางกวักเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวไทยภูเขา และบรรดาวัดต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ ที่นิยมทำเครื่องราง ร้านไทอัง จึงสั่งทำจากช่างฝีมือจากสามแหล่ง คือ ย่านถนนช่างหล่อ ย่านวัดพวกแต้มและ ย่านวัดหมื่นสาร ซึ่งร่วมยุคสมัยกับพระบูชาตระกูลช่างจันทร์อันงดงาม มีทั้งนางกวัก และเครื่องรางประเภทอื่น ๆ เช่น ไอ้งั่ง อีเป๋อ อิ่น เป็นต้น การสั่งทำนั้น บางครั้งทำทีละ 20 ชิ้น ถึงครั้งละ 200 ชิ้น ปั้นทีละชิ้น โดยใช้เศษโลหะที่เหลือจากการหล่อพระในแต่ละครั้ง มีบรรดาลูกหลานและลูกมือทั้งหลายร่วมกันปั้น มีหลายขนาดตั้งแต่ 1 นิ้ว ถึง 3 นิ้ว โตกว่านี้ก็มี นางกวักบางองค์ช่างประจงปั้นแบบงามมากแต่มีจำนวนน้อย บางรายสั่งทำเป็นรูปกวักซ้าย บ้าง ก็กวักขวา เชื่อว่า กวักขวาหากินไกล กวักซ้ายหากินใกล้ จนปัจจุบันนี้ยังทำกันอยู่ แต่รูปแบบเปลี่ยนไป กล่าวคือ ปัจจุบันจะใช้วิธีถอดพิมพ์ลำตัวแล้วแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมถ้านับเวลาสืบกันมาตั้งแต่ทำเนื้อทองแดง ปั้นทีละชิ้นในยุคแรก จนถึงยุคถอดพิมพ์ ลำดับได้ชั้นหลานแล้ว แต่ฝีมือและอารมณ์ยังสามารถสืบเชื้อได้ ชาวเขาบางรายลงมาจากดอย นำตัวอย่างมา บอกว่าจะเอานางกวักตามตัวอย่างนี้ แล้วบอกว่าองค์ตัวอย่างนี้ได้สืบมาจากบรรพบุรุษ ทั้งที่ทางร้านจำได้ว่า เป็นรุ่นที่สั่งทำเมื่อปีที่แล้ว

สำหรับขนบความเชื่อเรื่องนางกวักล้านนานั้น ในส่วนที่รับมาจากไทยภาคกลางคือการตั้งไว้บูชาเพื่อให้เกิดความโชคดี หรือตามสำนวนว่า ค้าม่วนขายหมาน หรือ ฮิมาค้าขึ้น โดยเน้นคำว่า หมาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ โชคดีบวกกับมหานิยม ถวายผลไม้ ดอกไม้ น้ำ และอาหาร ซึ่งแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล ส่วนคำขอหรือคำอธิษฐานก็พรรณนาตามปรารถนา ไม่ปรากฏคำไหว้เด่นชัด นอกจากตามที่ได้ยินมาคือ จะขึ้นต้นว่า โอมปู่เจ้าเขาเขียว?

สำหรับนางกวักองค์เล็ก ๆ นั้น พ่อค้าแม่ขายจะใส่ในหีบสตางค์ปนกับเงิน หรือใส่ในถุงเป้งถุงสตางค์พกติดเอว


~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
 
   โดย วิลักษณ์ ศรีป่าซาง
www.lannaworld.com

 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:
นะโมพุทธายะ  ยะนะมะ  พะทะจะ  ภะกะสะ  นะมะอะอุ
สุวิอะ  นะสะมะ  อะสังวิสุโล  ปุละพุภะ
สุวะอัง  อาภะนิมุ  ปัสสะ


ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นางกวักของคนล้านนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 มี.ค. 2552, 06:03:38 »
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: นางกวักของคนล้านนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 มี.ค. 2552, 08:35:59 »
ข้อมูลแน่นมากครับ น่าสนใจทีเดียว ขอบคุณครับผม  :054:

ออฟไลน์ tum72

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 2246
  • ณ ตลาดพลู
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นางกวักของคนล้านนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 มี.ค. 2552, 08:41:01 »
นางกวัก มีตั้งแต่สมัยล้านนาเลยเหรอ ขอบคุณครับ
โอม ราศีกูเอ๋ย  จงมาเป็นอาสน์  สีธาวาส  มาเป็นเกียรติ  ศรีชายมาเป็นช่วง
หญิงชายทั้งปวง รักกูมิรู้วาย  ด้วยราศีกูงามคือฟ้า  หน้ากูงามคือพรหม
หญิงเห็นหญิงรัก  ชายเห็นชายทัก  กูอยู่ทุกเมื่อ  ไม่เบื่อแต่สักวัน
โอม หญิงชายทั้งหลายเอ๋ย  มา

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: นางกวักของคนล้านนา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 มี.ค. 2552, 08:44:37 »
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ  :016:

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕