ผู้เขียน หัวข้อ: พระนางจามเทวี วีรสตรีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย  (อ่าน 3529 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

porvfc

  • บุคคลทั่วไป
พระนามแห่ง ?พระนางจามเทวี? วีรสตรีปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญไชย มีปรากฏโดดเด่นอยู่ในตำนานต่างๆ ของล้านนา ที่กล่าวถึงนางกษัตริย์พระองค์นี้ว่าทรงเป็นสตรีที่มีพระสิริโฉมงดงาม แต่ขณะเดียวกันก็ทรงมีความเด็ดขาด ถึงขนาดเคยนำกองทัพทหารออกรบด้วยพระองค์เองแล้วยังสามารถชนะข้าศึกศัตรูได้ครั้งแล้วครั้งเล่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่สร้างความรุ่งเรืองให้บังเกิดบนแผ่นดินล้านนา และทรงเป็นต้นวงศ์กษัตริย์ หริภุญไชย ที่มีการสืบทอดครองราชย์ต่อเนื่องกันมากว่า 600 ปี จนถือเป็นรัฐที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศสยามครั้งอดีต

เรื่องราวต่างๆ ที่กล่าวถึง ?พระนางจามเทวี? และ ?นครหริภุญไชย? นั้นปรากฏอยู่ในตำนานต่างๆ หลายเล่ม อาทิ จามเทวีวงศ์ ทีแต่งโดยพระมหาเถราจารย์นามว่า ?พระโพธิรังษี? ตำนานมูลศาสนา ตำนายไฟบ้างกัปป์ และชินกาลมาลีปกรณ์ ฯลฯ

กำเนิดของ ?พระนางจามเทวี? มีปรากฏในเอกสานดังที่ยกมา กล่าวกันว่าพระองค์ทรงมีชาติกำเนิดเป็นชาวหริภุญไชยแต่เดิม โดยเป็นบุตรีของคหบดีผู้หนึ่งนามว่า ?อินตา? (ไม่ปรากฏนามมารดา) ได้มีการบันทึกดวงพระชะตาของพระนางจามเทวี เมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ.1176 เวลาจวนจะค่ำ เมื่อยังทรงพระเยาว์มีเรื่องเล่าว่า

วันหนึ่งเมื่อยังทรงพระชนมายุได้ 3 เดือน กำลังประทับนอนบนเบาะ พญานกใหญ่ได้บินเข้าไปจกพระวรกายถึงในบ้านพาขึ้นไปบนท้องฟ้า พอดีกับท่านสุเทวฤาษีแห่งระมิงค์นครกำลังบำเพ็ญตบะอยู่ ณ อุจฉุตบรรพต ได้เห็นพญานกบินผ่านและเห็นกรงเล็บของมันได้จิกร่างทารกน้อยมาด้วย ท่านฤาษีจึงได้แผ่นเมตตาให้พญานกปล่อยพระนางเสีย พญานกจึงคลายกรงเล็บให้เด็กนั้นร่วงลง แต่ก่อนที่ร่างของพระนางจะตกถึงพื้นก็เกิดมีลมหอบพาไปตกในสระใหญ่ โดยมีดอกบัวหลวงขนาดมหึมารองรับ บังเกิดความปลอดภัยโดยปาฏิหาริย์

ท่านฤาษีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ไม่สามารถใช้มื้ออุ้มร่างเด็กหญิงขึ้นมาได้ จึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ?หากทารกหญิงผู้นี้มีบุญญาธิการ จะได้เป็นใหญ่ในภายหน้าแล้วก็ขอให้พัดของเรานี้รองรับร่างเธอไว้ได้โดยมิร่วงหล่นเถิด? จากนั้นท่านก็ใช้พัดช้อนร่างพระนางขึ้นมาได้จริงๆ และด้วยเหตุที่ท่านได้ใช้พัดช้อนทารกขึ้นมานี้จึงได้ตั้งชื่อเด็กหญิงว่า ?วี? และได้มอบให้พญาวานรชื่อกากะวานรและบริวารรวม 35 ตัวช่วยเลี้ยงดู ทั้งยังได้สอนศิลปวิทยากรต่างๆ รวมทั้งวิชาฝ่ายบุรุษ เช่นการพิชัยสงครามและการต่อสู้ด้วยอาวุธต่างๆ ซึ่งพระนางก็เรียนได้อย่างคล่องแคล่ว มีพระสติปัญญาดีเยี่ยม

จวบเมื่อพระนางจามเทวีเจริญพระชนมายุได้ 13 พรรษา สำเร็จวิชาทั้งหลายแล้วท่านสุเทวฤาษีจึงผูกดวงและตรวจสอบชะตา ทราบว่าพระนางผู้เป็นบุตรบุญธรรมของท่านจะมีวาสนาได้เป็นถึงนางกษัตริย์ จึงตกลงใจส่งพระนางไปสู่ราชสำนักเพื่อรับรองอภิเษก ขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ให้สมควรแก่การที่จะได้เป็นใหญ่ต่อไปและที่เหมาะสมในสายตาท่านฤาษีก็คือราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในสุวรรณภูมิเวลานั้น

ท่านสุเทวฤาษีจึงได้เนรมิตแพขึ้นส่งพระนางน้อยล่องไปตามน้ำจากเมืองเหนือโดยพญากากะวานรและบริวารจำนวนหนึ่งโดยสารเรือไปด้วย ทั้งยังฝากหนังสือไปฉบับหนึ่งเพื่อกราบทูลพระเจ้ากรุงลวปุระว่ากุมารีน้อยนี้จะไปช่วยละโว้ประหารศัตรู แพเล็กซึ่งเป็นแพเนรมิต ล่องลอยมาตามลำน้ำ จนถึงท่าน้ำหน้าวัดชัยมงคล ก็หยุดไม่ลอยต่อแต่กลับลอยวนเวียนอยู่บริเวณนั้น ชาวบ้าน ชาวเมืองเห็นเป็นสิ่งอัศจรรย์ ต่างจึงพากันโจษจันพร้อมทั้งชื่นชมพระนางซึ่งมีผิวพรรณผุดผ่องน่ารักน่าเอ็นดู

ความทราบถึงบรรดาขุนนางจึงได้ไปตรวจดูที่ฝั่งน้ำ เห็นความจริงประจักษ์แก่ตาจึงรีบกลับเข้าพระราชวัง เพื่อกราบบังคมทูล ?พระเจ้าวักติ? ผู้ครองนครลวปุระ ให้ทรงทราบทันที พระองค์จึงเสด็จไปยังท่าน้ำพร้อมด้วยพระมเหสี จนทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปทั้งหมด ทรงมีรับสั่งให้ทหารชะลอแพเข้าฝั่ง แต่กำลังทหารก็ไม่อาจชักลาก แพเข้าสู่ท่าน้ำได้ ไม่ว่าจะทรงมีรับสั่งให้เพิ่มจำนวนทหารมากสักเท่าใดก็ตาม

การณ์อันเป็นไปโดยอัศจรรย์นี้ ทำให้ ?พระเจ้าวักตุ? ทรงประจักษ์แจ้งพระปรีชาญาณว่า กุมารีผู้นี้จะต้องมีบุญญาธิการมากมาย และแพนั้นต้อง เป็นแพวิเศษที่สามัญชนจะไปแตะต้องมิได้ พระองค์จึงเสด็จพร้อมด้วยพระมเหสี ทรงยึดเชือกกี่ผูกแพนั้นไว้ด้วยพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ ทันใดนั้นแพก็ลอยเข้าสู่ท่าอย่างง่ายดาย รวมกับเทพยดาจะทรงอำนวยพร ดลบันดาลให้ประชาชนชาวเมืองต่างจึงพากันสรรเสริญบุญญานุภาพของกุมารีพระองค์น้อย ทั่วทั้งพระนคร

พระเจ้ากรุงละโว้รับพระกุมารีน้อยไว้ด้วยความเสน่หายิ่ง ทั้งได้มีพระราชดำรัสให้พระราชครู พยากรณ์ดวงชะตาของกุมารีน้อย พระราชครูได้คำนวณดวงพระชะตาโดยละเอียดแล้วถวายคำพยากรณ์ว่า

?ขอเดชะ กุมารีน้อยผู้นี้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญญานุภาพ และพระบารมีอันยิ่งใหญ่ ต่อไปภายหน้าจักได้เป็นถึงจักรพรรดินีครองแว่นแคว้น ปรากฏพระเกียรติยศเกริกไกรไปทั่ว แม้ว่าพระราชาและเจ้าชายพระองค์ใดได้เสกสมรส ด้วยก็จักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรัตนะ ทั้ง 7 ประการอย่างแน่นอน?

พระเจ้ากรุงละโว้และมเหสีเมื่อทรงทราบดังนั้นก็ทรงโสมนัสยิ่งเพราะทั้งสองพระองค์ยังมิได้ทรงมีพระโอรสธิดาจึงมีพระราชโองการให้จัดพระราชพิธีอภิเษกกุมารีขึ้นดำรงพระยศเป็นพระธิดาแห่งกรุงละโว้ ทรงเฉลิมพระนามใหม่ประกาศไว้ในพระสุพรรณบัฏว่า ?เจ้าหญิงจามเทวี ศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัตติยนารี รัตนกัญญา ลวะปุรีราเมศวร์เวลานั้นทรงมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา

พระนางจามเทวีได้อภิเษกสมรสกับ ?เจ้าชายรามราช? แห่งนครรามบุรีซึ่งอยู่ใกล้กรุงลวปุระ ตามตำนานว่าเจ้าชายพระองค์นี้ทรงเป็นพระญาติของพระเจ้ากรุงละโว้ แต่ด้วยความพี่ทรงมีพระสิริโฉมมาก แม้จะมีการหมั้นหมายกับเจ้าชายรามราชแล้ว ก็ยังมีกษัตริย์จากต่างเมืองมาหมายปองอีก จนถึงกับต้องทำสงครามโดยพระนางจามเทวีต้องคุมทัพออกรบด้วยพระองค์เอง ทรงมีพระปรีชาเยี่ยมยอดในการวางแผนการรบ จนได้รับชัยชนะ นำความชื่นชมยินดี มาสู่บรรดาเสนาอำมาตย์ ทหารและประชาชน ชาวละโว้เป็นอันมาก แต่สำหรับพระนางจามเทวีแล้ว พระองค์มิได้ทรงปิติยินดีในชัยชนะที่ทรงได้รับเลย แม้จะทรงได้รับการสรรเสริญจากราชสำนัก ตลอดจนกษัตริย์ผู้ครองนครที่เป็นพันธมิตรที่อยู่ห่างไกลออกไปเพียงใด พระนางจามเทวีก็ยังทรงระลึกถึงภาพของเหล่ากษัตริย์และทหารที่ต้องล้มตายเพราะพระองค์เป็นต้นเหตุ จึงทรงมีรับสั่งให้สร้างศาลเป็นจำนวนเท่ากับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ในครั้งนี้ และทรงสร้างวัดขึ้นในพื้นที่อันเป็นสมรภูมิรบด้วยวัดหนึ่ง

ในภายหลังพระนางจามเทวีได้เสด็จไปครองเมืองหริภุญไชย (จ.ลำพูน ในปัจจุบัน) ตามคำทูลขอของท่านสุเทวฤาษี เพราะเวลานั้นเมืองหริภุญไชยขาดผู้นำราษฎร์เดือดร้อนมาก พระนางจามเทวีทรงระลึกถึงพระคุณท่านสุเทวฤาษี ที่เคยชุบเลี้ยงมาแต่ก่อนจึงยินดีเสด็จไปด้วยเหตุนี้จึงทรงมีพระราชโองการอภิเษกเจ้าหญิงจามเทวีขึ้นเป็นกษัตริญ์โดยเฉลิมพระนามใหม่ว่า

?พระนางจามเทวี บรมราชนามี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ปิ่นธานีหริภุญไชย?

การจากไปครองเมืองหริภุญไชยของพระนางจามเทวี เป็นการจากเมืองละโว้ไปจากพระสวามีและพระญาติพระวงศ์ไปชั่วนิรันดร์ วันที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย พุทธศักราช 1202 พระชนมายุได้ 26 พรรษา และเมื่อครองราชย์แล้ว 7 วัน พระนางจามเทวีก็ได้ทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส 2 พระองค์ พระราชกุมารทั้งคู่ทรงศิริลักษณ์งามละม้ายกัน เป็นที่ปิติยินดีไปทั่วพระนคร ทรงพระนามว่า ?พระมหันตยศ? และ ?พระอนัตยศ?

พระนางจามเทวี ทรงสถาปนาความรุ่งเรืองให้บังเกิดแก่นครหริภุญไชยมากขึ้นอาณาประชาราษฎร์เป็นสุขสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติโดยถ้วนหน้า มีพระสงฆ์ที่ลงมาจากเมืองละโว้มากมายมาสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนาเกิดวันมากมายที่มีภิกษุจำพรรษาเต็มทุกพระอาราม

ในตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าพระนางจามเทวีไม่เพียงแต่ทรงเอาพระทัยใส่ในการศาสนาเพียงเท่านั้น ในด้านยุทธศาสตร์การป้องกันพระนคร พระองค์ก็โปรดฯ ให้สร้างด่านไว้ที่ชายแดนที่เวียงนอกและเวียงสามเสี้ยว นอกจากนี้ก็โปรดฯให้จัดการซ้อมรบเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อมของกำลังพลอยู่เสมอ

พระนางจามเทวีทรงปกครองเมืองหริภุญไชยด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรงสั่งสอนบรรดาเสนาข้าราชสำนัก ตลอดจนพสกนิกรทั้งหลายให้ยึดมั่นในทางธรรมเสมอนครหริภุญไชยจึงเป็นแดนดินที่สงบสุข เจริญรุ่งเรือง ไม่มีโจรผู้ร้าย มีแต่ความสงบร่มเย็นด้วยกลิ่นไอแห่งพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระนางจามเทวีได้โปรดฯให้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่มากมาย อาทิ วัดอรัญญิกกรัมการาม วัดอาพัทธาราม วัดมหาวนาราม วัดมหารัดารามฯลฯ

ภายหลังพระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติให้แก่พระเจ้ามหันตยศครองเมืองแทน กระทั่งพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 60 พรรษา ได้ทรงสละเพศฆราวาสฉลองพระองค์ขาวเสด็จไปประทับทรงศีลที่วัดจามเทวี ทรงเอาพระทัยใส่ต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นอีกมากมาย

พระนางจามเทวีเสด็จสวรรคต เมื่อวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1294 รวมพระชันษาได้ 98 ปี สิ้นพระชนม์ไปขณะทรงบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่นั่นเอง พระราชโอรสทั้ง 2 พระองค์ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์พระศพเป็นพัสตราภรณ์แห่งกษัตริย์หริภุญไชเป็นครั้งสุดท้าย ท่ามกลางความโศกสลดของทวยราษฎร์

พระศพพระนางจามเทวีได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดจามเทวี 2 ปี ก่อนที่จะประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงเมื่อวันแรม 2 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ.1276 จากนั้นได้ก่อเจดีย์ให้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐธิธาตุ มีนามว่า ?สุวรรณจังโกฏิเจดีย์? ซึ่งได้กลายเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของนครหริภิญไชต่อมาจนทุกวันนี้

เอกสารอ้างอิง

1. ลำพูนที่น่ารู้ คนดีที่โลกมิลืม : สนั่น หมื่นแก้ว
2. ตำนานมูลศาสนา : กรมศิลปากร
3. จามเทวี จอมนางหริภุญไช : กิติ วัฒนะมหาตม์

หมายเหตุ : สุวรรณจังโกฏเจดีย์ ที่ปรากฏอยู่ในตำนานนั้นเชื่อกันว่าคือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี นั่นเอง

ออฟไลน์ ~เสน่ห์โจรสลัด~

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 7913
  • เพศ: ชาย
  • " ถ้ามุ่งมั่นจะเป็นที่หนึ่งคุณจะเป็นที่หนึ่ง "
    • ดูรายละเอียด

ออฟไลน์ ขุนส่อง

  • คนเหนือ เหนือคน
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 199
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ข้อมูลแน่น ครบถ้วน กระทัดรัดดีมากครับ

 :002:  :002:  :002:  :002:  :002:
นะโมพุทธายะ  ยะนะมะ  พะทะจะ  ภะกะสะ  นะมะอะอุ
สุวิอะ  นะสะมะ  อะสังวิสุโล  ปุละพุภะ
สุวะอัง  อาภะนิมุ  ปัสสะ


ออฟไลน์ nutagul

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 573
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ เรื่องราวประวัติศาสตร์อ่านไม่มีวันเบื่อครับ ทำให้ผมคิดย้อนกลับตอนเป็นนักศึกษา ตอนนั้นไปฝึกงานในบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน(พศ2539)ชึ่งหลังจากฝึกงานเสร็จตอนเย็นผมชอบไปนั่งตรงหลังอนุสาวรีย์เจ้าแม่ และเห็นผู้คนต่างนำของเซ่น ช้าง ม้า มาแก้บนเป็นประจำทุกวัน(ขอย้ำทุกวันจริงๆครับ) ก็เป็นเครื่องยืนยันถึงความศักสิทธิ์และความเมตตาของเจ้าแม่ไม่มีเสื่อมคลายครับ
อิติสุคโตอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ฐิตคุโณอาจาริโย จะมหาเถโร มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะณัง ภะวัณตุเม

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
สาธุ น่าสนใจครับ ประวัติของพระองค์ท่านทรงมีบุญญาธิการจริงๆ ครับ

เหรียญของท่าน ประสบการณ์ไม่น้อยเลยจริงๆ

ออฟไลน์ เด็กนอกวัด

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 742
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
บารมีพระนาง มากสมกับไปผู้สร้าง พระรอด พระคง พระเปิม พระลี้ สุดยอดครับ :054:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
วีรสตรีผู้สร้างตำนานพระพิมพ์สกุลลำพูนที่ปัจจุบันหายากและเล่นหากันอย่างแพร่หลาย ขอบคุณบทความดีๆนะครับผม น่ารักจัง  :077:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณพี่ปอครับผมสำหรับข้อมูล