หมวด ผู้ทรงวิทยาคุณ (เกจิอาจารย์) > เกจิอาจารย์ภาคใต้

พระอาจารย์ทองเฒ่าวัดเขาอ้อ อ.ควนขุน จ.พัทลุง

(1/3) > >>

ลูกผู้ชายตัวจริง:
พระอาจารย์ทองเฒ่า หรือ พ่อท่านทอง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า " พ่อท่านเขาอ้อ " เป็นเจ้าอาวาสเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน เชื่อกันว่าเป็นอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมทางไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ จนเป็นที่เคารพนับถือยำเกรงของคนทั่วไป ตรงศีรษะของท่านมีเส้นผมสีขาวกระจุกหนึ่ง เล่ากันว่าไม่สามารถโกนหรือตัดให้ขาดได้

ในสมัยของ พระอาจารย์ทองเฒ่า สานุศิษย์ของท่านนิยมทำพิธีแช่ว่านยา กินเหนียว กินมัน กันมาก ราวสมัยรัชกาลที่ 5 พระอาจารย์ทองเฒ่า ได้รับแต่งตั้งดำรงสมณะศักดิ์เป็น "พระครูสังฆาพิจารณ์ฉัตรทันต์บรรพต เป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาด้วย ท่านได้ปรับปรุงวัดให้มีความเจริญขึ้นเป็นอันมาก พระอาจารย์ทองเฒ่า มรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.2470 รวมอายุได้ 78 ปี

วัดเขาอ้อ เป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณ พระเกจิอาจารย์ผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด) พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง) วัดบ้านสวน พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ และ ที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นต้น



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

ninjao:
วัดเขาอ้อเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยอาจารย์รุ่นแรกๆผมไม่สามารถหารูปของท่านมาลงได้ครับ โดยมีลำดับดังต่อไปนี้
  ๑.พระอาจารย์ทอง
  ๒.พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง
  ๓.พระอาจารย์พรหมทอง
  ๔.พระอาจารย์ไชยทอง
  ๕.พระอาจารย์ทองในถ้ำ
  ๖.พระอาจารย์ทองหน้าถ้ำ
  ๗.พระอาจารย์สมเด็จภารทอง
  ๘.พระอาจารย์ทองหูยาน
  ๙.พระอาจารย์ทองเฒ่าหรือ พระครูสังฆวิจารณ์ฉัตทันต์บรรพต
พระอาจารย์ทองเฒ่าท่านเกิดในปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ตรงกับรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สิริอายุ ๗๘ พรรษา หรือมรณภาพเมื่อ ๘๐ ปีล่วงมาแล้ว ท่านสำเร็จวิชา ?หินเบา? หรือ ?ชาตรี? อันเป็นวิชาที่ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาท่านสามารถ เสกน้ำมันงา ให้ศิษย์กินเพื่อความคงกระพัน โดยทำให้น้ำมันงาแข็งตัวเป็นวุ้นได้ภายในอึดใจ ซึ่งโดยปกติแล้ว น้ำมันงาดังกล่าว ต่อให้เอาไปแช่ในช่องฟริสตู้เย็นเป็นเดือน ๆ ก็จะไม่มีวันแข็งว่าจะเป็นการแบกซุงต้นใหญ่โดยตัวท่านเพียงลำพัง หรือ การแบกก้อนดินสำหรับการสร้างพระอุโบสถ ซึ่งเรื่องวิชาหินเบานี้ ศิษย์สำนักเขาอ้อรุ่นเก่า ๆ หลายคนทำได้
ในยุคพระอาจารย์ทองเฒ่า ท่านได้ใช้ประคำพวงนี้แสดงฤทธิ์หลายครั้ง อย่างเมื่อครั้งที่ท่านนำชาวบ้านไปตัดไม้ในป่ามาก่อสร้างเสนาสนะภายในวัด ก่อนที่จะตัดไม้แต่ละต้น ท่านจะทำพิธีพลีกรรมขอเสียก่อน จากนั้นท่านก็จะเอาพวงประคำฟาดไปที่โคนต้นไม้ ต้นไม้ก็จะขาดเหมือนโดนเลื่อยล้มลงทันที ไม่ต้องมาเลื่อยให้เหนื่อยแรงหรือเสียเวลา หรือบางทีท่านต้องการใช้หินก้อนเล็ก ๆ ท่านก็จะเอาพวงประคำฟาดไปที่หินก้อนใหญ่ ๆ ก็จะแตกเป็นหินก้อนเล็ก ๆ ได้ตามที่ต้องการ
ครั้งหนึ่งพระอาจารย์ทองเฒ่า กำลังทำพิธีอาบว่านแช่ยาให้กับศิษย์ที่บนยอดเขาอ้อ ขณะนั้นได้เกิดท้องฟ้ามืดครึ้มเพราะฝนจะตก ท่านกลัวว่า หากฝนตกจะทำให้เสียพิธี จึงถอดพวงประคำออกจากคอมาบริกรรม แล้วโยนอย่างแรงขึ้นไปในอากาศ พวงประคำจะลอยหายไปครู่ใหญ่ ๆ แล้วก็เกิดลมกระโชกพัดพาเอาเมฆฝนไปตกที่อื่น จากนั้น พวงประคำก็จะตกมาหาท่านอย่างเดิม
ปีหนึ่งฝนแล้งขาดช่วงมานานจนข้าวกล้าที่ศิษย์วัดเขาอ้อปลูกไว้กินในนาทำท่าว่าจะแห้งตายคาต้นพระอาจารย์ทองเฒ่าได้เอาพวงประคำพวงนี้มาบริกรรมแล้วก็โยนไปในอากาศพวงประคำก็จะลอยหายไปครู่ใหญ่ๆท้องฟ้าก็จะมืดครึ้มจะมีฝนตกลงมาอย่างหนักจนเพียงพอแล้วท้องฟ้าก็จะแจ่มใสเป็นปกติจากนั้นพวงประคำก็จะลอยมาหาท่าน
๑๐.พระอาจารย์เอียด
พระครูสิทธิยาภิรัตน์ มีนามเดิมว่า เอียด ทองโอ่ เกิดที่บ้านดอนนูด ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2425 เป็นบุตรของนายรอด นางพัด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อแก้ว เริ่มการศึกษาหลังจากบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว โดยมารดาได้นำไปฝากพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ร่ำเรียนจนรู้หนังสือขอมไทย เมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดเขาอ้อ มีพระอาจารย์ทองเฒ่า เป็นอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปทุมสโร ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณจากพระอาจารย์ทองเฒ่า ต่อมาทางวัดดอนศาลา ว่างเจ้าอาวาสลง คณะพุทธบริษัทของวัดดอนศาลา ได้พร้อมในกันนิมนต์อาจารย์เอียดมาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาไม่นานท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และเป็นพระอุปัชฌาย์ตามลำดับในปี 2473 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี 2480 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสิทธิยาภิรัตน์ แต่ชาวบ้านยังนิยมเรียกท่านว่า " พ่อท่านเอียด " หรือ " พ่อท่านดอนศาลา " บางทีก็เรียกว่า " พระครูสิทธิ์ "
     พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้ที่มีความเมตตา กรุณา ปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอภาค ใครมีความทุกข์ร้อนไปหาท่าน ถ้าท่านช่วยได้ก็จะช่วยทันที เป็นคนที่เคารพในเหตุผล จึงต้องเป็นตุลาการให้คนในหมู่บ้านอยู่เสมอ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นผู้นำชาวบ้านดอนศาลาและบริเวณใกล้เคียงพัฒนาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นในวัด และจัดสร้างอาคารเรียนถาวรให้โรงเรียนวัดดอนศาลาเป็นผลสำเร็จ ใช้เป็นที่เรียนของนักเรียนมาจนทุกวันนี้ ทั้งยังเป็นผู้นำในการขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน ตัดถนนจากวัดเชื่อต่อกับถนนสายควนขนุน-ปากคลอง เพื่อให้ประชาชนได้ติดต่อกับตัวอำเภอได้สะดวกยิ่งขึ้น
     เมื่อ พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจน ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบในสงครามครั้งนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารอาสาสมัคร และพลเรือนในยามสงคราม พระครูสิทธิยาภิรัตน์ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นหลายชนิด เช่น พระเครื่อง ลูกอม ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ผ้ารองหมวก ตะกรุด ปลอกแขน โดยทำพิธีปลุกเสกที่วัดเขาอ้อ วัตถุมงคลเหล่านี้ได้แจกจ่ายให้แก่ ทหารอาสาสมัคร พลเรือน พระเครื่องที่สำคัญที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ คือ พระมหายันต์ และพระมหาว่าน ขาว-ดำ การสร้างเครื่องรางของขลังในครั้งนี้จึงเป็นการสร้างสนองคุณแก่ประเทศชาติ เยี่ยงพระมหาช่วย วัดป่าเลไลย์ ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง ที่เคยช่วยเหลือชาติบ้านเมืองมาแล้วในอดีต
     พระครูสิทธิยาภิรัตน์ เป็นพระเถระที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นอันมาก ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 รวมอายุได้ 66 ปี
๑๑.พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม
พระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางวิทยาคุณ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เจ้าสำนักเขาอ้อ พระอาจารย์ปาล นอกจากจะเป็นศิษย์เอกรูปหนึ่งของท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าแล้ว ยังได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากท่านด้วย
ตอนแรกปรมาจารย์ทองเฒ่า ได้คัดเลือกพระอาจารย์เอียด ปทุมสโรให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อเพราะพระอาจารย์เอียดเป็นศิษย์พี่พระอาจารย์ปาลและมีความเหมาะสม
แต่เพราะความจำเป็นในเรื่องที่วัดดอนศาลา ซึ่งเป็นวัดสาขา เป็นสำนักที่ถือว่าเป็นแขนขาสำคัญแห่งหนึ่งของสำนักเขาอ้อขาดเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านไปขอพระจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เพราะเห็นว่าวัดแห่งนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อเนื่องกันมา และที่สำคัญตอนนั้นวัดที่มีพระที่เหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาสมากที่สุด คือ วัดเขาอ้อ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสำนักใหญ่ที่คึกคักด้วยคณาศิษย์และผู้คนที่เดินทางไปมาหาสู่ ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องส่งคนที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้น ก็คือพระอาจารย์เอียด ปทุมสโร
เมื่อต้องสละพระอาจารย์เอียดให้กับวัดดอนศาลาไป ท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าจำเป็นต้องคัดเลือกศิษย์รูปใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นทายาทสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักเขาอ้อแทนท่านอาจารย์เอียด พิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ แล้วในที่สุดท่านปรมาจารย์ทองเฒ่าก็ตัดสินใจเลือก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสืบต่อจากท่าน
บรรพบุรุษของพระอาจารย์ปาลเป็นชาวระโนด จังหวัดสงขลา ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณบ้านเขาอ้อ พระอาจารย์ปาลท่านมาเกิดที่เขาอ้อ ครอบครัวของพระอาจารย์ปาลคงจะใกล้ชิดและเคารพนับถือพระอาจารย์ทองเฒ่ามาก ด้วยเหตุนี้เมื่อพระอาจารย์ปาลมีอายุพอที่จะเรียนหนังสือได้ พ่อแม่จึงได้พาไปฝากให้อยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดเขาอ้อ ซึ่งสมัยนั้นเป็นสำนักใหญ่และสำคัญที่สุดในละแวกนั้น มีลูกศิษย์มากมาย
พระอาจารย์ปาลเป็นคนเรียนเก่ง แต่ค่อนข้างจะดื้อ มีอุปนิสัยรักสนุก ร่าเริง เป็นนักเสียสละตัวยง เป็นที่รักใคร่ของศิษย์ร่วมสำนักทุกรูปทุกคน ท่านถึงกับเคยรับโทษแทนเพื่อนหลายครั้ง พระอาจารย์ปาลเรียนอยู่ในสำนักวัดเขาอ้อนานจนมีวัยพอที่จะบวชเรียนได้ พระอาจารย์ทองเฒ่าจึงได้จัดการให้บวชเป็นสามเณรแล้วให้อยู่ศึกษาพระธรรมและวิทยาคมต่างๆ อยู่ในสำนักเขาอ้อ
พระอาจารย์ปาลบวชตั้งแต่สามเณรจนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่าเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ อุปสมบทแล้วก็ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมและช่วยพระอาจารย์ทองเฒ่าอยู่ที่สำนักเขาอ้อต่อไป จนกระทั่งพระอาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาทเจ้าสำนักถ่ายทอดวิชาสำคัญๆให้จนหมดสิ้น
ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพลง
ภายหลังการมรณภาพของพระอาจารย์ทองเฒ่า จึงมีศิษย์ของสำนักวัดเขาอ้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังพร้อมกันสองรูป คือ พระอาจารย์เอียด เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ในฐานะศิษย์เอกคนโต และพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เจ้าสำนักเขาอ้อ แต่เจ้าสำนักทั้งสองต่างเคารพรักใคร่กันมาก ไปมาหาสู่กันไม่ได้ขาด พระอาจารย์เอียด แม้จะมีภาระใหญ่อยู่ที่วัดดอนศาลา แต่ก็ไม่ทอดทิ้งวัดเขาอ้อ เพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเป็นสำนักที่ให้วิชาความรู้ เป็นบ้านที่ท่านเติบโตขึ้นมา ฉะนั้นเมื่อไม่มีพระอาจารย์ทองเฒ่า ก็จะต้องไปดูแลช่วยเหลือพระอาจารย์ปาลทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพราะโดยส่วนตัวพระอาจารย์เอียดรักใคร่เมตตาศิษย์น้องรูปนี้มาก เคยใกล้ชิดสนิทสนมกันเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักที่เขาอ้อ ในสายตาพระอาจารย์เอียด พระอาจารย์ปาลคือศิษย์น้องหัวดื้อ แต่เคารพรักศิษย์พี่อย่างท่านมาก
ในขณะเดียวกัน ในสายตาพระอาจารย์ปาล พระอาจารย์เอียดคือพี่ชาย คือศิษย์พี่ที่จะต้องเคารพเชื่อฟังต่อจากอาจารย์ และโดยส่วนตัวแล้วเมื่อคราวอยู่ร่วมสำนักกัน ศิษย์พี่รูปนี้คอยช่วยเหลือเจือจุนท่านมามาก ด้วยความเคารพนับถือที่มีต่อกัน ท่านทั้งสองจึงถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ต่างระมัดระวังในบทบาทของกันและกัน ด้วยเกรงว่าจะเด่นกว่าอีกฝ่าย
ว่ากันว่าโดยธรรมเนียมแล้ว ผู้เป็นประธานหรือควรจะมีบทบาทเด่นที่สุดในสายเขาอ้อขณะนั้น ก็คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ในฐานะเจ้าสำนัก แต่เนื่องจากพระอาจารย์เอียดก็เป็นศิษย์ที่ปรมาจารย์ทองเฒ่าคัดเลือกให้เป็นทายาท ถ่ายทอดวิชาไว้ให้เท่าๆกัน และที่สำคัญมีความอาวุโสมากกว่า พระอาจารย์ปาลจึงเคารพและระมัดระวังบทบาทของตัวเองไม่ให้ยิ่งไปกว่าศิษย์พี่ พระอาจารย์เอียดเองก็ตระหนักในข้อนี้ แม้ว่าท่านจะมีความรู้ความเชียวชาญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาจารย์ปาล มีพรรษาอาวุโสกว่า แต่ก็ตระหนักดีว่าพระอาจารย์ปาลเป็นเจ้าสำนักใหญ่ ทานจึงให้เกียติมาก ระมัดระวังในบทบาทตัวเองอย่างสูง
ต่อมาดูเหมือนว่าท่านทั้งสองหาทางออกได้ โดนพระอาจารย์ปาลแสดงบทบาทของตัวเองเต็มที่ในสำนัก ส่วนภายนอกมอบให้พระอาจารย์เอียด และตัวพระอาจารย์เอียดเองก็เปลี่ยนไปทำงานให้คณะสงฆ์เสียมากกว่า มอบภาระอันเป็นหน้าที่ของเจ้าสำนักเขาอ้อให้พระอาจารย์ปาลดำเนินการต่อไป ท่านอยู่ในฐานะผู้ช่วยและที่ปรึกษา
การสำเร็จวิชานิ้วชี้เพชรของท่านอาจารย์ปาล ในกระบวนวิชาสำคัญๆระดับหัวกะทิที่บุคคลระดับเจ้าสำนักถึงจะได้เรียนนั้น มีวิชานิ้วชี้เพชรเป็นวิชาหนึ่งที่น่าสนใจ เล่ากันว่าใครสำเร็จวิชานี้ นิ้วชี้ด้านขวาจะแข็งเป็นหิน มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใช้ชี้อะไรก็สามารถกำหนดให้เป็นให้ตายได้ ผู้ที่สำเร็จวิชามรณภาพแล้ว แม้สังขารถูกเผาไฟไหม้ส่วนต่างๆได้หมด แต่นิ้วชี้เพชรจะไม่ถูกไฟไหม้
๑๒.พระครูอดุลธรรมกิต (กลั่น)
หลวงพ่อกลั่น อัคคธัมโม หรือพระครูอดุลธรรมกิตติ เจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ ถือเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดวิทยาคม สายวิชาสำนักวัดเขาอ้อ
อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า กลั่น แก้วรักษา เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2456 ที่บ้านไสคำ ต.โตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายตุด และ นางจันทร์ แก้วรักษา ช่วงวัยเยาว์ มีแววความฉลาดปราดเปรียว เริ่มเข้าโรงเรียนประชาบาลต.ละอาย อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช และเรียนจบชั้น ป.4 ในปี พ.ศ.2467 จากนั้นก็ออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา กระทั่งอายุ 17 ปี โยมบิดาเห็นสมควรที่บุตรชายจะได้ศึกษาพระธรรมวินัย ส่งเสริมให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสมบูรณ์ จึงได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดสวนขัน ต.ละอาย อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพระอาจารย์สังข์ วัดทุ่งไหม้ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ไปศึกษาอยู่กับพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน พร้อมกับพรสุดอันประเสริฐที่ได้รับก็คือ คำที่ว่า "ปรารถนาสิ่งใดก็ขอให้สมปรารถนาเถิด"
ภายหลังใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์เป็นเวลา 4 ปี ท่านได้ตัดสินใจลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตทางโลก ตามความปรารถนาของคนวัยหนุ่มและได้แต่งงานกับ น.ส.กุหลาบ ทองพันธุ์ ลูกสาวผู้ใหญ่เปลี่ยน-นางพลับ ทองพันธุ์ มีบุตรชาย-หญิง รวม 6 คน
หลังจากที่ได้อบรมเลี้ยงดูบุตรธิดาทุกคนเติบใหญ่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แล้ว นายกลั่น เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตทางโลก จึงได้ตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2514 ณ วัดบ้านสวน ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยมีพระครูพิพัฒน์ศิริธร (หลวงพ่อคง) เจ้าอาวาสวัดบ้านสวน เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อหนานสูง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อัคคธัมโม" มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นยอด
หลังจากที่ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อคง ที่วัดบ้านสวน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นานพอสมควร ท่านได้รับมอบหมายให้ไปรักษาการบูรณะวัดเขาอ้อ พร้อมทั้งศึกษาพระธรรมวินัยควบคู่ไปกับการศึกษาวิทยาคมสายเขาอ้อกับพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อในขณะนั้น
พ.ศ.2518 พระอาจารย์ปาล ไปจำพรรษาที่วัดดอนศาลาชั่วคราว หลวงพ่อกลั่น ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกากลั่น รวมทั้งได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทที่ พระครูอดุลธรรมกิตติ ตามลำดับ
ตลอดเวลา หลวงพ่อกลั่นได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูวัดเขาอ้อ จนเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ พร้อมสร้างสาธารณประโยชน์มากมาย เป็นที่ศรัทธาของประชาชนทั่วไป ท่านกล่าวว่าคุณธรรม คือ ตำนานคน
หลวงพ่อกลั่น ได้ปฏิบัติงานศาสนกิจด้วยดี ได้อบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่พระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดในการปกครอง อบรมสั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม แก่พุทธบริษัทอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการที่ปรึกษาหมู่บ้านอพป.หมู่ที่ 3 บ้านเขาอ้อ โดยให้คำแนะนำปรึกษาและช่วยเหลือแก่คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมปฏิบัติกิจทางศาสนาเป็นตัวอย่างแก่ภิกษุสามเณรและประชาชน
ด้านงานสาธารณูปการ หลวงพ่อกลั่น ได้สร้างกุฏิถาวรเป็นเรือนไม้ 1 หลัง สร้างพระประธานยืนหน้าอุโบสถ ถังประปาถาวร ห้องน้ำห้องส้วม กุฏิถาวรทรงไทย สร้างที่ประดิษฐาน รูปเหมือนพระอาจารย์ทองเฒ่า สร้างโรงครัวแบบถาวร เมรุเผาศพ แบบถาวร หอสมุดแบบถาวรลักษณะทรงไทย สร้างบันไดขึ้นภูเขาอ้อ จำนวน 89 ชั้น ศาลาพักร้อนบนภูเขา 1 หลัง สร้างพระพุทธรูป ฯลฯ
ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อกลั่นได้ชักชวนประชาชนช่วยกันสร้างถนนเข้าสู่วัดเขาอ้อ และทำถนนต่อจากวัดไปถึงบ้านเขากลาง พร้อมทั้งจัดสร้างสะพานข้ามคลอง ร่วมหาเงินและบริจาคเงินสมทบสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนวัดเขาอ้อ สร้างสะพานข้ามคลอง ถนนสายเขาอ้อ-ปากคลอง ร่วมกับประชาชนสร้างถนนสายเขาอ้อ-ดอนศาลา ฯลฯ
หลวงพ่อกลั่น ได้สืบทอดวิชาสายเขาอ้อ ท่านได้นำวิชาความรู้ปลุกเสกสร้างวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่นด้วยกัน และที่กำลังได้รับความนิยมมากขณะนี้ก็คือ รุ่นพุทธาคมนอโม ซึ่งสร้างขึ้นในโอกาส ฉลองอายุวัฒนมงคล 90 ปี พระครูอดุลธรรมกิตติ "หลวงพ่อกลั่น" วัดเขาอ้อ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2546 จนเหลือแต่ความว่างเปล่าแห่งธรรมด้วยวัยวุฒิ 94 ปี 36 พรรษา เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2549
หลวงพ่อกลั่น เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่ง ที่ได้เล่าเรียนวิชาความรู้ตำรับวัดเขาอ้อสืบต่อมา ซึ่งก่อนท่านจะละสังขารอย่างสงบ เมื่อช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมา ณ บัดนี้ นามแห่งหลวงพ่อกลั่น กลายเป็นอีกตำนานสุดยอดวิทยาคมแห่งสำนักวัดเขาอ้อ
๑๓.พระอาจารย์ห้อง เจ้าอาวาสวัดเขาอ้อองค์ปัจจุบัน
 นายวันชัย  สุพรรณ นักจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ เซียนชื่อดัง ลูกศิษย์คนหนึ่งที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อกลั่น กล่าวว่า วัดเขาอ้อเป็นแหล่งวิทยาคมทางไสยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยโบราณ พระ เกจิผู้สืบต่อวิชาทางไสยศาสตร์ ต่างก็เป็นที่พึ่งที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป เช่น พระอาจารย์ทองเฒ่า  พระครูสิทธิยาภิรัต(เอียด)  พระอาจารย์นำ  แก้วจันทร์  พระอาจารย์ศรีเงิน  วัดดอนศาลา  พระครูพิพัฒน์สิริธร (อาจารย์คง)  วัดบ้านสวน  พระอาจารย์ปาน  วัดเขาอ้อ และที่เป็นฆราวาสที่คนทั่วไปรู้จักกันดี ได้แก่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช  เป็นต้น
  ปัจจุบัน วัดเขาอ้อ มีหลวงพ่อกลั่น หรือพ่อท่านกลั่น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และสืบทอดวิชาสายเขาอ้อ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายใต้ผู้ทรงวิทยาคมเข้มขลังเป็นที่ยอมรับนับถือของสาธุชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ และเป็นพระนักพัฒนา ซึ่งในสมัยท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัด ด้วยวัตรปฏิบัติงดงาม เคร่งครัดอยู่ใน ศีลในธรรม และมากเมตตา ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธา เป็นจำนวนมาก หากมีพิธีพุทธาภิเษก หรือเทวาภิเษกวัตถุมงคลรุ่น ไหน ทางคณะจัดสร้างวัตถุมงคลจะต้องมีการนิมนต์ท่านไปนั่งปรกอธิษฐานจิตด้วยเสมอ โดยเฉพาะวัตถุมงคลสายใต้แทบทุกรุ่น การจากไปของหลวงพ่อกลั่นครั้งนี้ถือเป็นการสูญเสียพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง สายใต้ไปอีกรูปหนึ่ง ซึ่งสร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาอย่างมาก
วัตถุมงคลรุ่นล่าสุดที่จัดสร้างในนามวัดเขาอ้อ หลวงพ่อกลั่นได้อธิษฐานจิตปลุกเสกไว้?พระยอดขุพลเขาอ้อ,สมเด็จ หลังฤาษีโรยแร่และเส้นผม.,.ตอนนี้หายากมาก ผู้บูชาได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา พุทธคุณด้านเมตตา แคล้วคาด มหาอุต พุทธคุณครอบจักรวาล ตามแต่อธิษฐาน ไม่ควรพลาด  มีประสบการณ์หลายครั้ง หายากมากๆ

ninjao:
7นารีพันหลัก กับ พรานบุญ(หน้าทอง) อาจารย์ประสูติ วัดในเตา  จังหวัดตรัง
แรงยิ่งกว่าเครื่องรางไหนๆเรื่องจริง จริงที่กล้าท้า?เด่นดังมหาโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน สุดยอดเฆตตา แบบสุดๆ เสน่หาอาลัยโด่งดังมากๆ กันภัย แคล้วคาด มหาอุต พุทธคุณครอบจักรวาล จัดสร้าง ตามตำราโบราณสายเขาอ้อแท้ๆ เพื่อสืบสารไสยเวท์ให้เกรียงไกลอีกครั้ง ด้วยมวลสาร วัตถุอาถรรพ์ แร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์มากมาย แรงสุดๆดังไปถึงต่างประเทศ?ต่างประเทศยังต้องเช่าหากันในราคาที่แพงมาก?พุทธคุณไม่แพ้ของโบราณ ไม่แรงจริงไม่กล้าท้า

hanuman_southside:
วัดเขาอ้อไม่ได้สักแล้วนะครับ เพราะกรรมการ วัดชุดใหม่เข้ามาเลย มีปันหากัน เพราะ เงินที่สักนั้นจะวัดโดยตรงไม่ผ่าน กรรมการ ส่วนเงินที่ทำพระนั้นจะผ่านกรรมการก่อน
และถึงจะเข้าวัด (ส่วนมากไอพวกกรรมการนี้ละจะแดกเงินไปหมด) ผมขอเปนกำลังใจให้หลวงพี่ได้สักยันต์อีกนะครับ

ผู้ชนะสิบทิศ:
สุด สุด

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version