แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Captainthailand

หน้า: [1]
1
หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม ละสังขารแล้วเมื่อเวลา ๑๙.๐๐น.
วันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
แรม ๑๐ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม
สิริอายุ ๘๓ปี ๖๓พรรษา






2
แบงก์ชาติเปิดตัวธนบัตร ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ สมเด็จพระเทพฯ ชนิด ราคา 100 บาท พิมพ์จำนวนจำกัด 10 ล้านฉบับ อัญเชิญ พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จ พระเทพฯ เป็นภาพประธาน ด้านหลัง งดงามน่าประทับใจ เปิดให้แลกได้ที่แบงก์พาณิชย์ และแบงก์เฉพาะกิจของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. เป็นต้นไป

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ บางขุนพรหม นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าวการออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน 2558 โดยธนบัตรที่ระลึกนี้ จัดพิมพ์ในชนิดราคา 100 บาท จัดพิมพ์จำนวนจำกัด 10 ล้านฉบับ จะเปิดจ่ายแลกให้กับประชาชนตามราคาหน้าธนบัตรพร้อมกัน ทั่วประเทศในวันที่ 2 เม.ย.ที่จะถึงนี้ โดยแนวคิดในการออกแบบเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติแห่งขัตติยราชกุมารีทุกประการ ทรงมีพระจริยวัตรเรียบร้อยงดงาม และมีพระราชกรณียกิจอันอเนกประการของพระองค์เพื่อประชาชนชาวไทย รวมถึงโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์อีกหลาก หลายโครงการ ซึ่งพระองค์ทรงงานอย่างอุตสาหะเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ล้วนทำให้พสกนิกรชาวไทยซาบซึ้งในน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมเมตตาธรรมอย่างหาที่สุดมิได้ และพระราชภารกิจที่ทรงพากเพียรนั้น มิเพียงแต่ปรากฏแก่ปวงชนชาวไทยเท่านั้น ยังเป็นที่รับทราบในนานาประเทศด้วย

สำหรับภาพด้านหน้าของธนบัตรที่ระลึกนี้มีลักษณะขนาดและสี เช่นเดียวกับธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบ 16 ที่เพิ่งนำออกใช้เมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา สีโดยรวมเป็นสีแดง ส่วนภาพด้านหลังธนบัตร เชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นภาพประธาน โดยมีภาพเสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ไปยังสถานีพัฒนาที่ดิน เขต 6 ต.ดอยแก้ว จ.เชียงใหม่ เพื่อทอดพระเนตรแปลงทดลองปลูกหญ้าแฝก ภาพตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา และภาพพรรณไม้ในพระนามาภิไธย ประกอบด้วย ดอกจำปีสิรินธร และดอกม่วงเทพรัตน์ เป็นภาพประกอบ

ส่วนการป้องกันการปลอมแปลงของธนบัตรที่ระลึกจะเหมือนกับธนบัตรชนิดราคา 100 บาท แบบ 16 แต่มีการเพิ่มลักษณะพิเศษไว้ คือลักษณะภายใต้รังสีเหนือม่วง เมื่อนำธนบัตรด้านหลังส่องกับแสงแบล็กไลท์ พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และลวดลายโดยรอบ ในส่วนที่พิมพ์ด้วยสีเหลืองจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง โดยประชาชนสามารถติดต่อขอแลกได้ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นการจ่ายแลก 100 บาท แลก 100 บาท ที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง รวมทั้ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย



ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/490385

3
บทความ บทกวี / หัวใจนักปราชญ์
« เมื่อ: 13 มี.ค. 2558, 11:03:15 »
หัวใจนักปราชญ์ ๔ (๑)

สุ. จิ. ปุ. ลิ.
สุ. อันหมายถึง ฟัง ฟังให้ได้ศัพท์ สดับในจิต
จิ. อันหมายถึง คิด คิดให้ลึก ซึ้งในคำสอน
ปุ. อันหมายถึง ถาม ถามสิ่งที่สงสัยจริงๆ
ลิ. อันหมายถึง ลิขิตซ้อนเขียน เขียนบทกำหนดจำให้มั่น



หัวใจนักปราชญ์ ๔(๒)

ส. สุตะ อันหมายถึง ฟังคำสั่งสอน ทุกวรรค ทุกตอน ต้องผ่านทางช่องหู ให้หมั่นเพียรศึกษาเป็นประจำ ดังที่ว่า "ฟังคำครูไว้ จะรอบรู้เรื่องราวที่เข้ามา"

จิ. จินตะ อันหมายถึง หมั่นคิด คอยเอาจิตตรองตรึกการศึกษา ขวนขวายค้นคิดทุกมวลวิชา เกิดปัญญาแจ่มกระจ่างสิ้นคลางแคลง

ปุ. ปุจฉา อันหมายถึง หมั่นถาม อันซึ่งเนื้อความที่สงสัยในทุกแห่ง ให้คุณครูรู้ดีช่วยชี้แจง จนรู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งเอย

ลิ. ลิขิต อันหมายถึง หมั่นเขียน เป็นแบบ เป็นบทเรียนทั้งมวล ควรขยัน เอาใจใส่ จดจำเป็นสำคัญ ทำให้ครบครันทั้งสี่ หนทางเจริญ

( ฟังให้หมด จดให้มาก ปากต้องไว ใจต้องคิด )

"เรียนให้จริง เรียนให้รู้ ตามครูสอน

ทุกขั้นตอน ต้องเข้าใจ สงสัยถาม

อย่าเรียนเล่น เรียนหลอก นอกเนื้อความ

หากเรียนตาม ไม่ทัน ต้องขยันเรียน

เรียนธรรมะ จากตัวเรา เอาเป็นหลัก

ต้องใจรัก พิจารณาไป ในสังขาร

มองให้เห็น เอาปัญญา มาวิจารณ์

มิช้านาน จะถึงจุด วิมุตโต."

"ตัดเนื้อหาบางส่วนออก เนื่องจากผิดกฎกติกามารยาทการใช้กระดานสนทนาวัดบางพระ ว่าด้วยเรื่องของเนื้อหาที่เกี่ยวกับการโฆษณาซื้อขายแลกเปลี่ยน"

ขอขอบคุณ สยามมงคล www.siammongkol.xxxxxxxxxxxx (ลิ้งก์มีเนื้อหาเกี่ยวกับการโฆษณาซื้อขายแลกเปลี่ยน)


กฎกติกามารยาทการใช้กระดานสนทนาวัดบางพระ: http://www.bp.or.th/webboard/index.php?action=rules

4
บทความ บทกวี / การเดินธุดงค์
« เมื่อ: 04 ก.พ. 2558, 03:28:11 »
ธุดงค์ หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก
การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด
การเดินธุดงค์ ออกพรรษาหน้าแล้งสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีโอกาสก็ให้พระภิกษุสามเณรออกเดินธุดงค์ หาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อผ่อนคลายความเครียดถ้าอยู่แต่วัดอย่างเดียว บางทีมันอยากจะสึก
การเดินธุดงค์นั้น ยังเป็นการฝึกฝนอบรมจิตใจไม่ให้ติดในที่อยู่ที่อาศัยความสะดวกสบาย ถ้าอยู่ใกล้วัดใกล้ที่นอน ฉันเสร็จแล้วมันจะหงายท้องเร็ว
การไปเดินธุดงค์นี้มีประโยชน์มากถ้าเราตั้งใจปฏิบัติให้เคร่งครัดในศีลทุกสิกขาบทและในธุดงควัตร เพราะการไปอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ตามป่าตามเขานั้นศีลจะเป็นที่พึ่งของเราได้
การเดินธุดงค์นั้นมันจะมีทุกข์มาก เราจะได้ฝึกทำใจให้นิ่ง เมื่อเจอสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจเช่น เราต้องไปนอน ตามพื้นดิน ตามโคนไม้ ตามป่าช้า ตามป่าเขาทุรกันดาร มีการอยู่การฉันอย่างอด ๆ อยาก บางทีมด ปลวก สัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจ
การเดินต้องเจอทั้งแดด ทั้งฝน ทั้งเท้า พองทั้งหิวน้ำ เราต้องผอม ต้องตัวดำ ความสุขทุกอย่างเราต้องละหมด ผิวพรรณก็ไม่ต้องกลัวมันดำ ร่างกายก็ไม่ต้องกลัวมันผอม ให้มันขาวที่จิตที่ใจ ให้มันอ้วนที่จิตที่ใจ มันจะได้ฉันบ้าง ไม่ได้ฉันบ้าง เราก็ต้องยอม อย่างมากก็ตายเท่านั้น
****************************************
ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
1.) การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น)
2.) การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)
หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต )
3.) การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน
4.) ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
5.) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
6.) ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร
7.) ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม
หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ )
8.) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
9.) ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
10.) ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
11.) ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
12.) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
13.) ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน


ขอขอบคุณ
ที่มา : https://www.facebook.com/bogboon/posts/861150740595230:0

5
บทความ บทกวี / สุภาษิตสอนชาย
« เมื่อ: 28 ม.ค. 2558, 03:22:32 »
สุภาษิตสอนชาย


ในวัยเรียน เพียรศึกษา หาความรู้
จากคุณครู ผู้สอน ก่อนเถิดหนา
รู้อะไร ไม่สู้ รู้วิชา
รู้รักษา ตัวรอด เป็นยอดดี

สุภาษิต สอนชาย ท่านหมายมั่น
ให้รู้ทัน รู้เท่า อย่างเข้าที่
สุนทรภู่ ปรมาจารย์ ท่านพาที
ยุวชน คนดี จงปรีดา

จงเชื่อฟัง คำสั่งสอน ของพ่อแม่
ซึ่งมีแต่ หวังดี ล้วนมีค่า
อย่าคบเพื่อน พันพัว ทำชั่วนา
จงห่างยา เสพติด อย่าคิดลอง

ความรู้คือ บันได ที่ไปส่ง
ความมั่นคง แห่งงาน ตระการส่อง
คือโอกาส เยี่ยมยุทธ์ เพื่อขุดทอง
คือต่อรอง ค่าตัว ดั่งบัวบาน

จงขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ไว้
อดทนใส่ กตัญญู รู้คุณท่าน
ให้ความรู้ คู่ความดี ดั่งมียาน
ข้ามสะพาน สายรุ้ง ที่มุ่งตรง

สู้ตั้งหลัก ปักฐาน ทำงานหนัก
เมื่อมีรัก ริเริ่ม ต่างเสริมส่ง
ต่างเฝ้ารัก ผูกพัน อย่างมั่นคง
เพื่อดำรง วงศ์ตระกูล ให้เกรียงไกร

“ไพร พนาวัลย์”

ขอขอบคุณ ท่าน “ไพร พนาวัลย์”
ข้อมูลจาก : http://www.klonthaiclub.com/index.php?topic=22080.0

6
ขอเชิญร่วมถวายมุทิตาสักการะอายุวัฒนมงคล
ครบรอบ ๙๐ ปี
หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร (พระครูสุนทรศลีขันธ์)
ณ วัดป่าสุนทราราม ต.กุดแห่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร





ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10203242850582008&set=o.335629013147408&type=1

7
ข่าวดีสำหรับ คนโสดครับ  คาถาลงคาน
ทดลองใช้ดูนะครับ 




ขอขอบคุณท่านเจ้าของ คาถาด้วยครับ
ได้มาจากเวปไซต์  เช่นกันครับ
ผิดถูกอย่างไร ขออภัยไว้นะที่นี้
ขอบคุณครับ





8
หลวงปู่สาย เขมธมฺโม วัดป่าพรหมวิหาร ได้ละสังขารแล้วด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม. ๒๕๕๘








ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :  https://www.facebook.com/saythantham

9
พระคาถาพญาไก่เถื่อน(ตำรับสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถือน)

พระคาถาพระยาไก่เถื่อน

เริ่มต้นภาวนาให้ว่า นะโม ๓ จบ แล้วว่า

พุทธัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณังคัจฉามิฯ

(แล้วสวดบทพระพุทธคุณ ๑ จบ)
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

แล้วจึงว่าตัวพระคาถา ๓ จบ, ๗ จบ, ๙ จบ ก็ได้ ดังนี้

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ
พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็น พระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง

พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับ ไก่ป่ามากมาย และทรงกล่าวกับ พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ว่าไก่ป่านี้ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว

เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก

เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป

ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ

พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุก อีกว่า

"พระคาถาไก่เถื่อน ๔วรรค แต่ละวรรค กลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร"

พระอาจารย์สุกตอบว่า

"แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด

วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ

วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ

วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา

วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด"

ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกองค์คุณแห่ง ไก่ปา ในมิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะได้บรรลุมรรด ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ

๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน

๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน

๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน

๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด

๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน

นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ

๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล

๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน

๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น

๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น

๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน
พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง จึงกล่าวกับพระอาจารย์สุกฯ ว่า
"ดีนัก ดีนักแล และพระอริยเถราจารย์ ได้กล่าวอีกว่า ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาไก่เถื่อน ไว้ว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ผู้ใดภาวนาได้สามเดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ดังพระพุทธโฆษาฯ"
และไก่ป่านี้ ขันขานเพราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก

ถ้าแม้สวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น
ถ้าสวดครบหนึ่งปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย
แม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย
ให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก
เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา

พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง
พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ

ต่อมาพระอาจารย์สุกฯ มาถึงวัดท่าหอยแล้ว พระองค์ท่าน ก็ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่าพระยันต์ มหาปราสาท ไก่เถื่อน ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี

ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครูสิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

พระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตยพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน แม้พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน

และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการสามสิบสอง ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของพระอาจารย์สุก ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้

คัดความจาก
หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

ขอขอบคุณ รูปภาพจาก : http://www.somdechsuk.org/book/export/html/64
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1537006206585650&id=100008288552831&comment_id=1537012009918403&notif_t=share_comment

10
ประกาศวัดบ้านกรวด
5มกราคม2558
ขณะนี้พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์หรือหลวงปู่ผาดฐิติปัญโญเจ้าอาวาสวัดบ้านกรวดได้ละสังขารณ์ลงอย่างสงบเมื่อเวลา11.58น.ศิริอายุได้ 105 ปี 8 เดือน 2 วัน พรรษา 85 ขอให้ศิษยานุศิษย์ทุกท่านน้อมส่งหลวงปู่เข้าสู่พระนิพพานเทอญ


เชิญพุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์หลวงปู่ผาดฐิติปัญโญเจ้าอาวาสวัดบ้านกรวดร่วมงานพระราชทานน้ำหลวงสรงศพแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่ผาดฐิติปัญโญในวันอังคารที่6มกราคม2558ตั้งแต่เวลา13.00น.เป็นต้นไปสำหรับท่านที่มาร่วมงานขอให้แต่งกายสุภาพจึงแจ้งมาเพื่อทราบ







เชิญพุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์พระครูวิบูลย์ปัญญาวัฒน์หลวงปู่ผาดฐิติปัญโญเจ้าอาวาสวัดบ้านกรวดร่วมงานพระราชทานน้ำหลวงสรงศพแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่ผาดฐิติปัญโญในวันอังคารที่6มกราคม2558ตั้งแต่เวลา13.00น.เป็นต้นไปสำหรับท่านที่มาร่วมงานขอให้แต่งกายสุภาพจึงแจ้งมาเพื่อทราบ

ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/watbankruat

11

พระอริยสงฆ์ พระมหาเถราจารย์ ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน ที่ถือกำเนิดในถิ่นนักปราชญ์ โดยเฉพาะในเขตป่าติ้วนี้ ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ถือกำเนิดเป็นจำนวนมาก และปฏิบัติตามข้อวัตรปฏิปทา ที่พ่อแม่ครูอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และครูอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยได้มาวิเวกโปรด จนเป็นที่เชื่อกันว่า พระกัมมัฏฐานได้นัดพากันจุติจากทิพยสถานบนเทวโลก มาถือกำเนิดในแดนดินถิ่นอริยภูมินี้

ครูบาอาจารย์ที่มีชาติกำเนิดอยู่ในถิ่นบ้านศรีฐาน เขตอำเภอป่าติ้วนี้ ได้แก่ หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่สอ สุมังคโล วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร , หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี , หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู , หลวงปู่พวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร , หลวงตาสรวง สิริปุญฺโญ วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร , หลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสามัคคีสิริมงคล จ.หนองบัวลำภู , หลวงปู่คำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ วัดป่านานาชาติ สหรัฐอเมริกา , หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร , หลวงปู่จวน โชติธัมโม วัดนิคมวนาราม จ.ยโสธร, หลวงปู่ทองดี วรธัมโม วัดนิคมวนาราม จ.ยโสธร , หลวงปู่ทองสี กตปุญโญ วัดป่าสุทธิมงคล จ.ยโสธร , หลวงปู่เบ็ง กัลยาโณ วัดป่ากุสลธโร จ.เลย เป็นต้น


หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
ข้อมูลจาก : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-singh-thong/lp-singh-thong-hist_01.htm


หลวงปู่เพียร วิริโย
ข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2


หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
ข้อมูลจาก : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13095


พระราชธรรมสุธี (พวง สุขินทริโย)
ข้อมูลจาก : http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-puang/lp-puang_hist_01.htm


หลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสามัคคีสิริมงคล จ.หนองบัวลำภู
ข้อมูลจาก : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=46820


หลวงปู่คำพอง(หลวงตาน้อย) ปัญญาวุโธ วัดป่านานาชาติ สหรัฐอเมริกา
ข้อมูลจาก : http://www.luangpornoipanyawudho.com/


หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
ข้อมูลจาก : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8620


หลวงปู่ทองสี กตปุญโญ วัดป่าสุทธิมงคล จ.ยโสธร
ข้อมูลจาก : http://www.clubpra.com/index.php?topic=1362.0

หลวงตาสรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร องค์ท่านถือกำเนิด ในสกุล “ลุล่วง” ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๓ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร) มีพี่น้อง ๖ คน โดยมีหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นพระพี่ชาย สมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก มารดาของท่านมักพาไปทำบุญที่วัดป่าศรีฐานในอยู่เสมอ วัดศรีฐานในนี้หลวงปู่บุญช่วย ธัมมวโร ลูกศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ เป็นผู้มาสร้างขึ้น ปีที่องค์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พาพระสงฆ์มาวิเวกปักกลดในป่า ภายในวัดป่าศรีฐานในนั้น เป็นช่วงที่หลวงตาสรวง ท่านเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ (ตำแหน่งที่หลวงปู่เสาร์ มาปักกลดปัจจุบันอยู่บริเวณกุฏิหลังเก่าของหลวงตาสรวงนั่นเอง) ท่านได้ติดตามโยมแม่ มาถวายภัตตาหารหลวงปู่เสาร์ และยังได้มีโอกาสล้างเท้าหลวงปู่เสาร์ ประเคนอาหาร ล้างกระโถนให้ท่าน และได้ก้นบาตรไปกินที่โรงเรียนอีกด้วย เมื่อหลวงปู่เสาร์ อำลาบ้านศรฐาน ไปวัดดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี พี่ชายท่านหลวงตาพวง ซึ่งตอนนั้นเรียนจบแล้ว ได้มีโอกาสติดตามหลวงปู่เสาร์ไปด้วยกันกับหลวงปู่สอ สุมังคโล ส่วนที่วัดศรีฐานใน ภายหลังหลวงปู่ดี ฉันโน ศิษย์เอกของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ได้มาเป็นเจ้าอาวาส ทำให้หลวงตาสรวง เมื่อครั้นยังเป็นเด็กได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระกัมมัฏฐาน และเป็นการปลูกฝังนิสัยในทางพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมขึ้นไปอีก

หลวงตาสรวง ท่านอุปสมบท เมื่ออายุ ๒๓ ปี ตรงกับวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๖ ณ วัดศรีฐานใน จ.ยโสธร โดยมี พระครูพิศาลศีลคุณ(หลวงปู่โฮม วิสาโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่บุญสิงห์ สีหนาโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่คำสิงห์ อาภาโส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพุทธศาสนาว่า “สิริปุญโญ” แปลว่า “ผู้มีบุญอันประเสริฐ” ภายหลังจากบวชแล้ว ได้ไปศึกษาธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์หลาย ๆ รูป เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร , หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร , หลวงปู่ชอบ ฐานสโม , หลวงปู่ขาว อนาลโย , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นต้น

“..กรรมฐาน ๕ พระอุปัชฌาย์ให้แล้วตั้งแต่วันบวช ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้พิจารณา ให้จิตมันเบื่อหน่ายกาย มันถึงจะได้ไม่มาเกิดอีก ถ้าไม่เบื่อมันก็มาเกิดอีก ถ้าเกิดอีกก็แสดงว่ายังมีบาปยังมีบุญ...” โอวาทธรรมคำสอนหลวงตาสรวง สิริปุญโญ

ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร
. . . ช่วงที่อยู่ที่ถ้ำขามนั้น พระอาจารย์สรวงท่านเล่าว่า เสือมันร้องอยู่ตลอด ทำให้จิตไม่ค่อยเป็นสมาธิ เพราะกลัวเสือ วันหนึ่งหลังสรงน้ำหลวงปู่ฝั้น เสร็จก็ไปนวดเส้นท่าน หลวงปู่ฝั้น ถามว่า “ท่านภาวนากันยังไง ภาวนาแบบไหนไม่มีพุทโธ ระวังพวกช้างพวกเสือจะมาคาบไปกินหล่ะ” พอหลวงปู่ฝั้น พูดเสร็จ ก็ยิ่งทำให้ท่านเกิดความกลัวยิ่งขึ้น หลวงปู่ฝั้น จึงบอกว่า “ขยับมานี่ จะบอกคาถาลี้ช้างลี้เสือให้” จากนั้นหลวงปู่ฝั้น ก็มาจับที่มือ ตอนที่เราประนมมือไหว้อยู่ ชี้ลงที่กลางหน้าอก และบอกว่า “ให้เอาจิตจี้ลงไปตรงนี้ จี้ลงไปลึก ๆ อย่าให้มันออกไปที่อื่น ให้มันเข้าไปที่โครงกระดูกลึก ๆ โน่น ให้ทำทุกวัน อย่าให้มันส่งออกไปที่อื่น”

จากนั้นจึงได้ทำตามคำสอนของหลวงปู่ฝั้น พอกลับไปที่กุฏิก็ได้ยินเสียงเสือมันร้องอีก ก็เลยกำหนดตามคำสอน เอาจิตจดจ่อไปที่กลางอกเข้าไปที่กลางกระดูก พอจิตสงบก็เห็นโครงกระดูกทั้งร่าง ภาวนาต่อไปจนจิตมันสงบ มารู้ตัวอีกทีก็เช้าแล้ว พระอาจารย์สรวง ท่านเล่าว่า “พอจิตมันเข้าไปอยู่ที่ตรงนั้นแล้วมันมีอำนาจมาก ไม่รู้สึกกลัวช้างกลัวเสือเลย มีแต่ความกล้าหาญ หากเราเคยทำกรรมกับมันไว้ก็ขอให้เสือมันกินเลย จะได้หมดเวรหมดกรรม” นี่แหละ หลังจากนั้นก็ไม่กลัวช้างกลัวเสืออีกเลย

ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่วัดป่าเขารัง จ.อุดรธานี
. . . ช่วงที่จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี ได้มีโอกาสอุปัฏฐากรับใช้องค์ท่านด้วย ในพรรษานี้พระอาจารย์สรวง ท่านได้ถือเนสันชิก คือถืออริยบท ๓ ยืน เดิน และนั่ง ไม่เอนกายนอนตลอดไตรมาส หลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็ต้องการทดสอบ ว่าจะมีความตั้งใจมากน้อยแค่ไหน วันหนึ่งได้ไปนวดจับเส้นที่เท้าหลวงปู่มหาบุญมี ขณะที่นวด ๆ อยู่ก็รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน และไม่รู้สึกตัว หลับฟุบคาขาของท่าน หลวงปู่มหาบุญมี ก็เลยใช้เท้าถีบยันพระอาจารย์สรวง ติดฝาผนังกุฏิ พอหลวงตาสรวงรู้สึกตัวก็ค่อย ๆ คลานเข้าไปจับเส้นที่เท้าต่อ พอเริ่มหลับก็โดนถีบอีกนับไปนับมาคืนนั้นโดนยันไป ๓ รอบ

ต่อจากนั้น หลวงปู่มหาบุญมี ก็ลุกขึ้นไปเดินจงกรม พระอาจารย์สรวง เห็นดังนั้นจึงลุกขึ้นไปเดินจงกรมเช่นกัน เมื่ออาจารย์ท่านเนจงกรมไม่หยุด ลูกศิษย์ก็ต้องเดินต่อทั้งง่วง ๆ อย่างนั้นแหละ เดินจนสว่าง หลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็สะพายบาตรไปที่ศษลา พระอาจารย์สรวง ก็เตรียมหาน้ำไปถวายหลวงปู่ ล้างหน้าบ้วนปาก และทำข้อวัตรตามปกติ หลวงปู่มหาบุญมี ได้ถาม พระอาจารย์สรวงว่า “เป็นอย่างไร กิเลสตัวใหญ่มั้ย มันตัวใหญ่ขนาดไหนนะกิเลส”

พระอาจารย์สรวง ตอบว่า “ไม่ได้มีอะไรครับหลวงปู่ ดีแล้ที่หลวงปู่ตักเตือนให้ ทำให้มีสติขึ้นมาพอสมควรครับ” ถ้าเป็นพระรูปอื่นโดนแบบนี้คงหนีหายไปเลย หรือไม่ก็โกรธเคืองครูบาอาจารย์เป็นอย่างมาก แต่สำหรับพระอาจารย์สรวง ท่านกลับขอบพระคุณในความเมตตาของหลวงปู่มหาบุญมี ที่ให้ข้อคิด และทำให้ท่านสามารถตั้งฐานตั้งตัวนี้ให้มั่นคงในการประพฤติปฏิบัติต่อไปได้

ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
. . . คืนหนึ่งท่านได้จับเส้นถวายหลวงปู่ชอบ หลวงปู่จึงถามถึงการทำความเพียรว่า “เอาจิตไว้ที่ไหน” จึงกราบเรียนท่านไปว่า “หลวงปู่ฝั้น บอกให้ดูที่อก เอาไว้ในโครงกระดูกข้างใน กระผมจึงดูที่หัวใจตั้งแต่นั้นมา” หลวงปู่ชอบพูดว่า “เออดี ให้ทำอยู่ทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจเข้าออก ขอให้เร่งเร็ว ๆ ให้เดินหน้า อย่าถอยหลังนะ” พอจับเส้นเสร็จก็ออกจากกุฏิท่าน ไปเดินจงกรมต่อ ซึ่งทางจงกรมอยู่ไม่ไกลจากกุฏิหลวงปู่ชอบมากนัก สักครู่ได้มองเห็นแสงสว่างเจิดจ้าสว่างไสววยพุ่งสู่ท้องฟ้าทางด้านกุฏิหลวงปู่ชอบอยู่ที่เนินสูง ๆ อีกสักครู่ได้ยินเสียงชาวบ้านตื่นตระหนกตกใจ พากันวิ่งกรูพร้อมถือถังน้ำ ร้องเรียกไฟไหม้ ๆ กุฏิหลวงปู่ชอบ พอไปถึงกุฏิ หลวงปู่ชอบท่านออกจากสมาธิ แล้วบอกลูกหลานชาวบ้านว่า “พากันมาทำไม ไม่เห็นมีไฟไหม้ที่ไหน แสงไฟอันนี้ไม่มีพิษภัยกับใคร เป็นแสงศีลแสงธรรมนั่นเอง การที่เกิดเป็นแสงรัศมีโชติช่วงในบริเวณกุฏินั้นเป็นเพราะอานิสงส์จากการภาวนานั่นเอง

เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคม ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เวลาประมาณตี ๔ ตี ๕ ขณะที่หลวงตาสรวง ท่านกำลังพักอยู่ภายในกุฏิ ได้มีเทวบุตร เทวธิดา จำนวนมากมายมหาศาล ลอยผ่านมาทางอากาศ เมื่อผ่านมาทางวัดศรีฐานใน ก็ลงมากราบนมัสการท่าน แล้วลอยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่อไปทางจังหวัดมุกดาหาร เป็นจำนวนมากเต็มท้องฟ้า มีเทวดาเป็นหมื่นเป็นแสนลอยอยู่เต็มท้องฟ้าเลย

พอช่วงเช้า เวลาฉันจังหัน หลวงตาสรวง จึงได้เล่าเหตุการณ์นี้ให้พระสงฆ์ที่วัดฟัง เรื่องเห็นเทวดาจำนวนมากลอยอยู่บนอากาศ พอเมื่อเวลาสาย ๆ ใกล้ ๆ เที่ยง พระที่วัดจึงมากราบเรียนว่า มีโยมโทรศัพท์มาแจ้งว่า “หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ท่านละสังขารลงเมื่อเวลา ๐๙.๐๙ น. ช่วงเช้าวันนี้เอง(วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖)” หลวงตาสรวง ท่านจึงพูดว่า “มิน่าถึงได้เห็นเทวดามาจำนวนมากมายมหาศาลลอยมาทั่วทุกทิศทุกทาง ที่แท้ก็เพื่อไปรอรับหลวงปู่จาม เรานี่เอง”

ปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา หลวงตาสรวง สิริปุญโญ มีอายุวัฒนมงคลครบ ๘๔ ปี และในพรรษานี้ ท่านก็จะจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เช่นเคย

“..ถ้าความเพียรของเรากล้า มันเผาได้หมดทุกอย่าง เผากิเลสได้หมด เผาความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกจากหัวใจของสัตว์โลก เผาได้หมดทุกอย่าง ในร่างกายของเรานี้อะไรจะมาขวางไม่ได้ จะมาปิดบังไม่ได้..” โอวาทธรรมคำสอนหลวงตาสรวง สิริปุญโญ






12

วัดหนองไคร้ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สังกัดคณะสงค์ธรรมยุต มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ๓

งาน ๖๒ ตารางวา  ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๔๘๒ โดยหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก พร้อมด้วยชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างวัดเดิมได้ใช้ชื่อคือ

 สำนักสงฆ์หนองตะไคร้ ต่อมา นายโทนคำ ลูกคำ ได้บริจาคที่ดินสำหรับสร้างวัด และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ โดยมีเจ้าอาวาสรายนามนามคือ รูปที่ ๑ หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก รูปที่  ๒ หลวงปู่บัวทอง เรวโต

และรูปที่ ๓ พระครูสุมนสารคุณ ( หลวงปู่ประสาร สุมโน ) ตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ จนถึงปัจจุบัน

วัดหนองไคร้ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญอาทิ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๔ เมตร สูง ๗ เมตร ประดิษฐานไว้ภายในวิหาร

ในงานสมโภชเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๓ โดยท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธฺมมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน

กรุงเทพมหานคร ได้ประทานนามว่า "พระพิชิตมาร" และท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ

 บรรจุประดิษฐานไว้ที่พระเกศ และบรรจุพระอัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต ไว้ที่พระนาภี จำนวนประมาณครึ่งแก้วน้ำปกติ

หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก

พระครูสุมนสารคุณ (หลวงปู่ประสาร สุมโน)

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ ประกอบ จาก : http://watnongkrai.th.ht/profile.html
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://watnongkrai.th.ht/profile.html
หรือ https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/639833279415520



13

หลวงปู่แสงจันทร์ จันดะโชโต
ประวัติย่อ หลวงปู่แสงจันทร์ จันดะโชโต
ปัจจุบัน  หลวงปู่จำพรรษาที่ วัดป่าดงสว่างธรรม  ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว ยโสธร
เดิมชื่อ นายแสง ดีหอม เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๖๗ อ. ฟ้าหยาด จ. อุบลราชธานี
(๑๗ เมษายน ๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนชื่อ อ.ฟ้าหยาด เป็น อ.มหาชนะชัย
และเมื่อ ๑ มีนาคม๒๕๑๕ อ.มหาชนะชัย ย้ายไปขึ้นกับ จ. ยโสธร จนถึงปัจจุบัน )
อุปสมบทเมื่อ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ วัดศรีจันทร์ อ. เมือง จ. ขอนแก่น
ปัจจุบันจำพรรษาที่ สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
ท่านได้จำพรรษา - วิเวกธุดงค์ทั้งในประเทศไทย ลาว และพม่า
ประวัติการจำพรรษา - วิเวกธุดงค์และไปมาหาสู่กับพระรูปต่างๆ
- ศึกษาหลักธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
(ช่วงบั้นปลายของท่านอาจารย์มั่นที่อยู่บ้านหนองผือ)
- หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ. เลย (พ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๖)
- พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร - ได้ร่วมสร้างวัดถ้ำขาม (พ.ศ. ๒๔๙๗)
- หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (๑ พรรษา)
- หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดราษฎร์สงเคราะห์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (๒๐ พรรษา)
- พระอาจารย์แบน ธนากโร - ได้ร่วมสร้างกุฏิศาลาที่วัดธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
- หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
- หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี - ได้ร่วมธุดงค์ที่ภูวัว
- หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
- หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย
- หลวงปู่ศรี มหาวีโร - ได้วิเวกธุดงค์ที่ภูเกล้า ภูเวียง จ.ขอนแก่น
- หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย - ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่วัดดอยหินหมากเป้ง
- หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี - ได้วิเวกธุดงค์ด้วยกันที่ อ.ผือ อ.สามพราน และ อ.น้ำโสม
- พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์วัน อุตตะโม หลวงปู่หล้า เขมปัตโต และพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร - ได้วิเวก
ธุดงค์ร่วมกันที่ถ้ำสาลิกา ภูสิงห์ ภูทอง ภูพานคำ และ ภูทอก ฯลฯ
- หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม - ได้จำพรรษาด้วยกัน (พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓)
- ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ จำพรรษา ที่วัดป่าอรัญญาวิเวก บ้านไก่คำ จ.อำนาจเจริญ
- ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ - ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จำพรรษาที่วัดป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (เสนาสนป่าโคกค่าย)
บ้านหนองไฮน้อย ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
- ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ จำพรรษาที่วัดป่านาเกิ้งญาณวโร บ้านนาเกิ้ง อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ
- ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ จำพรรษาที่วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (สำนักสงฆ์ภูทิดสา)
บ้านห้วยฆ้อง ตำบลหนองข่า อำเภอ ปทุมราชวงศา จัดหวัด อำนาจเจริญ
- ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖- ๒๕๕๗ สำนักสงฆ์บ้านเวินชัย อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
- ปัจจุบัน  หลวงปู่จำพรรษาที่ วัดป่าดงสว่างธรรม  ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว ยโสธร

ขอขอบคุณที่มา : https://www.facebook.com/luangpoosang/posts/298136693641343
ขอขอบคุณ รูปภาพจาก : http://www.sitlumsum.com/amulet/?p=1975


หน้า: [1]