ผู้เขียน หัวข้อ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร  (อ่าน 4183 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (1/9)

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับต่อนี้ไป ก็โปรดฟังการปฏิบัติในพระกรรมฐาน สำหรับการปฏิบัติพระกรรมฐานที่จะพูดต่อไป

นี้ ถือว่าเป็นการปฏิบัติ สำหรับระเบียบภายใน หรือว่าโดยเฉพาะคนที่อยู่ภายในวัด แต่ว่าท่านทั้งหลายที่อยู่นอกวัดจะปฏิบัติด้วยก็ได้

ที่บอกว่าเฉพาะคนภายในวัดก็เพราะว่า ถ้าจะพูดมากไปถึงคนภายนอกก็เกรงว่าจะเห็นว่าเป็นการบังคับกันเกินไป แต่ความจริงวิธี

ปฏิบัตินี้ไม่ใช่การบังคับ เพราะว่าเราปฏิบัติเพื่อมรรคผล

คำว่ามรรคผลก็หมายถึงว่า ทุกคนต้องการนิพพาน ปัญหามีอยู่ว่า ทุกคนน่ะถ้าจะปฏิบัติเพื่อนิพพานน่ะ หวังกันได้แน่นอนไหมว่าจะ

ไปนิพพาน ทั้งนี้ก็ขอว่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายสร้างกำลังใจตามนี้

ตามธรรมดาของคนเดินทางไกล เราจะเดินกันแค่วันเดียว หรือชั่วครู่เดียวถึง ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่แน่นัก อาศัยที่กำลังกายกำลัง

ใจมีความฉลาด ก็สามารถจะทำทางไกลให้เป็นทางใกล้ได้ ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถจะทำทางไกลเป็นทางใกล้ได้แต่ว่าเดินไปไม่หยุด

ยั้ง เราก็ถึงปลายทางฉันใด สำหรับพระนิพพานนี้ มีคนส่วนมากพูดว่า ไม่หวังในพระนิพพาน ก็เป็นเรื่องของท่าน เพราะว่าคนบวชเข้า

มาในพระพุทธศาสนานี่ สมเจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มีกำลังใจไม่เสมอกันในเมื่อการที่มีกำลังใจไม่เสมอกันอย่างนี้ บรรดา

ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย อาตมาก็จะไม่เข้าไปยุ่งกับกำลังใจ กำลังใจของคนที่ไหนเท่าไรเป็นเรื่องของท่าน เรามาพูดกันเรื่องของ

เราเวลานี้ทุกคนปฏิบัติมโนมยิทธิได้แล้ว และก็มีมากรายด้วยกันที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้ สามารถไปเห็นสวรรค์ได้ เห็นพรหมโลกได้

เห็นนิพพาน เห็นนรกเปรต อสุรกายได้ และก็บอกว่า ปรารภว่า เวลานี้จบกิจจากการศึกษาของวัดท่าซุงแล้ว แต่ความจริงบรรดาท่าน

พุทธบริษัท การปฏิบัติในมโนมยิทธิไม่ใช่จบการศึกษาทั้งนี้เพราะอะไรเพราะว่ามโนมยิทธิก็ดี สองในวิชชาสามก็ดี ที่องค์สมเด็จพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสามารถทำได้เห็นได้ ไปได้ เรื่องนี้เพื่อเป็นการป้องกันความสงสัยกำลังใจของเราเท่านั้น

เอง เพื่อสร้างความมั่นใจในจิตจิตเราจะได้ไม่สงสัยว่า เพราะพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จเพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่ใช่สอน

แบบเลอะเทอะเป็นการสอนตามความเป็นจริงว่ามีจริง

ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิงก็ดี บรรดาภิกษุสามเณรก็ดีที่ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ จงอย่ามีความรู้สึกว่ามโนมยิทธิที่เราได้

เป็นการพอสำหรับเราแล้ว เราทำจบแล้ว อันนั้นยังไม่จบ มโนมยิทธิที่พวกเราได้เป็นฌาณโลกีย์ ฌานโลกีย์นี่ถึงแม้ว่าเราจะพบอะไร

ได้ก็ตาม สามารถจะเห็นนิพพานได้ เรื่องนิพพานนี่ความจริงเป็นของไม่หนัก เพราะว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงหวง

นิพพานไว้เฉพาะพระองค์ และก็โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

เมื่อพระองค์ทรงใกล้จะนิพพานสมเด็จพระพิชิตมารก็ทรงมีพระพุทธฏีกาตรัสกับพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ คำสอนใดที่

เราจะหวงไว้เฉพาะครู อันนั้นไม่มีอยู่สำหรับเรา เราสอนแล้วทุกอย่าง เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่สอนเธอไว้ จะเป็น

ศาสดาสอนเธอ คำว่าศาสดาก็แปลว่าครู

ฉะนั้นความรู้ทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส เวลานี้เราก็มีสิทธิ์นำมาใช้ทั้งหมดแม้แต่ว่าพระนิพพานที่มีหลายคนบอกว่า เกินวิสัยสำหรับ

เราก็ช่างปะไร จะเกินวิสัยสำหรับใครก็ช่าง ก็ถือว่าไม่เกินวิสัยสำหรับเรา ถ้าชาตินี้เราไปไม่ได้ ชาติหน้าเราก็อาจจะไปได้ ชาติหน้าไป

ไม่ได้ ชาติโน้นเราก็อาจจะไปได้ แต่เราตั้งใจไปไว้ทุกชาติไม่รู้ละชาตินี้

ใครเขาจะว่าบ้าว่าบวมยังไงก็ตาม ถ้าเราบ้าเพื่อไปนิพพาน ดีหว่าบ้าไปนรก ดีกว่าบ้าลาภ บ้ายศ บ้าสรรเสริญ บ้าสุข บ้ารับสินจ้าง

รางวัลชาวบ้านชาวเมืองทำจิตให้เป็นทาส ไม่ทำใจให้เป็นไป บ้าประเภทนั้นลำบากกว่าเรามาก

ทีนี้วิธีที่เราจะเลิกละความบ้าค่อยๆ ละมัน ละทีเดียวมันหมดความบ้าไม่ได้เวลานี้เราบ้าในอะไรบ้าง บ้าในความรัก บ้าในความโลภ

บ้าในความโกรธ บ้าในความหลง และที่ว่าบ้าก็เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีการทรงตัว

ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยัง พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเศร้าโศกเสียใจเกิดจากความรักภัยอันตรายเกิดจากความรัก

ทั้งๆ ที่เราฟังอยู่อย่างนี้ เราก็ยังบ้ารักกันอยู่ตลอดเวลาแต่ก็จำจะต้องบ้า เพราะว่าเกิดมาในกลุ่มของความเป็นคนบ้า ในเมื่อมันบ้ามา

แล้ว ก็ค่อยๆ คลายบ้าทีละน้อยๆ อย่าคลายมาก คลายมากมันจะเครียดเกินไป

วิธีคลายบ้าทำยังไง บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย และบรรดาภิกษุสามาเณรผู้รับฟัง ปฏิบัติตามนี้เราจะนำสังโยชน์ 10 ประการมา

เป็นเครื่องปราบความบ้า พิจารณาดูใจเราว่า ใจเราบ้าอะไรบ้างใน สังโยชน์ 10 ประการ

1.สักกายทะฏฐิ เรามีความเมาในร่างกาย ว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเราเรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเราหรือไม่ ก็รวมความว่า เรา

คิดว่าร่างกายนี้มันจะทรงตัวตลอดกาลตลอดสมัย ไม่รู้จักตาย ไม่รู้จักแก่ ไม่รู้จักป่วยน่ะ มีความรู้สึกอย่างนั้นไหม เห็นชาวบ้านเขา

แก่ไม่เคยมีความรู้สึกว่าตนเองวันหนึ่งข้างหน้ามันจะแก่ เห็นชาวบ้านเขาป่วยก็ไม่มีความรู้สึกว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะป่วย

อย่างนี้ เห็นชาวบ้านเขามีความตกระกำลำบาก มีการทุพพลภาพในร่างกาย เราก็ไม่เคยคิดว่าอาการร่างกายเราจะเป็นอย่างนี้ ใน

ที่สุด เห็นชาวบ้านเขาพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เราก็ไม่เคยคิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ เห็นชาวบ้านเขาตายเราก็ไม่เคยคิดว่าเรา

จะตาย

ขอประทานอภัยเถิดขอรับ ว่าทุกท่านที่ฟังอยู่น่ะ ความบ้าอย่างนี้มีอยู่ไหมถ้ายังมีส่วนใดส่วนหนึ่งพยายามลดความบ้ามันเสีย นี่

หมายความว่าเราพยายามจะตัดความบ้า อย่าตัดให้มันมาก ตัดทีละน้อยละน้อย

และข้อที่ 2 ที่เราต้องลดความบ้าที่เราบ้า คือสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ในความดีในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ความดีของพระอริยสงฆ์ สงสัยว่าพระอริยสงฆ์ไม่มีแล้วในโลก พระพุทธเจ้านิพพานไปนานแล้วเวลานี้ไม่มีพระอริยสงฆ์ ความบ้า

อย่างนี้มีสำหรับเราไหม คำสอนของพระพุทธเจ้าที่บอกว่า ถ้าสามารถฝึกสองในวิชชาสามได้ ฝึกมโนมยิทธิได้ ฝึกห้าในอภิญญาหก

ได้เป็นต้น อย่างนี้ถ้อยคำใดที่องค์สมเด็จพระทศพลสอนไว้

เราฝึกได้เราไม่สงสัยติตาม พระพุทธเจ้าบอกสวรรค์มีจริงไหม เราก็ต้องไปสวรรค์ พรหมโลกมีจริกไหมเราก็ไปพรหมโลก พระ

นิพพานมีจริงไหม เราก็ไปนิพพาน นรก เปรต อสุรกายมีจริงไหมไปที่นั่น ใครเขาพูดว่าอะไรมีที่ไหนยังไม่เคยไป ไปที่นั่น ไปมันไม่

ยาก อาการอย่างนี้เราฝึกให้มันเข้าถึงเสียจริงๆ จะได้ลดความบ้าคือความสงสัย แต่ว่าบางทีเราก็ไม่บ้าคนเดียวนะ คนอื่นเขาดี เราไป

หาคนอื่นเขาบ้าเสียด้วย เพราะเราทำไม่ได้ อย่างนี้ไม่ควร ความบ้าประเภทนี้ต้องลด ค่อยๆ ลดลงไปด้วยเหตุผลแล้วก็วิธีลดยังไงจะ

ว่ากันไปทีหลัง

ทีนี้สังโยชน์ข้อที่ 3 นั่นคือไม่เห็นชอบด้วยศีล ก็หมายความว่า ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติในศีลนี่ วาจาดี กายดีต้องรวมทั้งใจดีด้วย ศีลถ้าที

แต่กาย วาจา ไม่เป็นเรื่อง คือก็ต้องใจดีสำหรับฆราวาส ชาวบ้าน ใจคิดจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เมื่อใจคิดจะไม่ฆ่าสัตว์ มือมันก็ไม่ห่า

ปากมันก็ไม่พูดจะฆ่า ใจคิดว่าจะไม่ลักไม่ขโมยของใครเมื่อใจคิดแล้ว ปากมันก็ไม่พูดเพื่อการลักขโมย มือมันก็ไม่ทำ ใจคิดว่าเราจะ

ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น เมื่อใจคิดอย่างนั้น ปากมันก็ไม่เกี้ยวพาราสี ไม่พูดกายก็ไม่ทำ ใจดีว่าเราจะทรงสัจจะวาจาอย่าง

เดียว จะไม่พูดวาจาไม่จริง เมื่อใจคิดปากมันก็ไม่พูดอย่างนั้น ใจคิดว่าเราจะไม่ดื่มสุราและเมรัย ใจคิดอย่างนี้ ปากมันก็ไม่ดื่ม นี่ถ้า

เราจะละความบ้า

สำหรับฆราวาส สำหรับสามเณรต้องศีล 10 พร้อมด้วยเสขิยวัตรอีก 75 แล้วก็พระต้องพร้อมไปด้วยสิกขาบท 227

รวมทั้งอภิสมาจารด้วย บวกธรรมะด้วย พระต้องมีมาก ถ้าเราทำไม่ได้อย่างนี้ เราก็บ้าในสังโยชน์ข้อที่ 3 ถ้าเราละความบ้า ค่อยๆ

คลายความบ้าลงมาเสียได้แล้ว ไม่ช้าความบ้าก็สลายตัวไป รวมความง่ายๆ ว่า อันดับแรก ถ้าจิตใจเราพยายามควบคุมสังโยชน์ 3

ประการไม่ให้เกิดกับใจนั่นมันแน่นอน นั่นก็คือว่า

1.สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันต้องตาย เราจะไม่เมาในร่างายร่างกายมันจะเป็นยังไงก็ช่างเห็ฯร่างกายใครร่างกายนั้นก็

ตาย เห็นร่างกาใครเห็นว่าร่างกายนี้ก็ต้องทรุดโทรม ร่างกายเราร่างกายเขาก็ป่วยไข้ไม่สบาย ร่างกายเราร่างกายเขาก็ประกอบไป

ด้วยความทุกข์ ร่างกายเราร่างกาเขาไม่ช้าก็ตายเช่นเดียวกัน ความเมาในร่างกายลดตัวลง ก็รวมว่าความบ้าและความเมาในร่างกาย

ยังไม่หมดนะ มีความรู้สึกว่าจะต้องตาย แต่ก็ยังรักร่างกายอยู่ แต่จิตคิดว่าร่างกายนี้สักวันหนึ่งมันก็ต้องพังแน่ ก็มีอยู่เหมือนกัน ไม่

เมากินไป ยังมีความรักในมัน แต่ว่าคิดว่ามันจะตาย เลยไม่ประมาทในการปฏิบัติในด้านของความดี

หลังจากนั้น ก็เอาปัญญาเข้า พิจารณาความดีขององค์สมเด็จพระชินสีห์และก็ความดีของพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งความดีของพระอริยสงฆ์ ใคร่ครวญด้วยความเป็นจริง ตกลงว่าทั้งสามสรณคมน์นี้ คือ ไตรสรณคมน์ ได้แก่

พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ยอมรับว่าท่านดีแน่ ไม่มีการสงสัยในพระไตรสรณคมน์ทั้งสามประการ

หลังจากนั้นจับศีลให้เคร่งครัด ปฏิบัติในศีลยิ่งกว่าชีวิต ถือว่าตัวตายดีกว่าศีลขาด ค่อยนะๆ ถ้าพูดย่างนี้แล้วจะมีใครมาลอง เอ๊ะ ที่

เค้าว่าตัวตายดีกว่าศีลขาดไปลองตีลองด่าเข้า ระวังๆ นะ เพราะว่าทุกคนกำลังฝึกเพื่อย่างนี้ แต่ยังไม่ถึงอย่างนั้น ด่าเบาๆ อาจจะทน

ได้ ด่าแรงๆ ด่าบ่อยๆ อาจจะทนไม่ไหวอย่างนี้ก็ได้ตีเบาๆ อาจจะทนได้ แต่ตีแรงๆ สปริงแข็งสปริงขามันจะเกิด อย่าไปยุ่งกัน เพราะ

ว่าทุกคนกำลังฝึก การกำลังฝึกนี่ไม่ได้หมายถึงผล

เป็นอันว่า องค์สมเด็จพระทศพลตรัสว่า บุคคลใดบรรเทาความเมาในชีวิตคือร่างกาย มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้มันจะต้องตาย แต่ว่า

ยังรักร่างกายอยู่ ไม่ใช่ไม่รักอย่าไปเคาะ อย่าไปตี อย่าไปแตะ อย่าไปต้องกันเข้า

แล้วก็ประการที่สอง มีความไม่สงสัยในคุณพระไตรสรณคมน์ทั้งสามประการ

ประการที่สามมีศีลครบถ้วนตามสังโยชน์

ท่านกล่าวว่า ท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ถือว่าเป็นพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามีแต่ว่าขอบรรดาท่านภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อ

ฟังไปแล้วก็อย่าเมากายเกินไปนะ อ่านตามหนังสือแล้ว หนังสือนี่เขาก็เขียนเฉพาะตามความเข้าใจของบุคคล ผู้เขียน จงอย่าลืมว่า

การคุยเรื่องขนม มันไม่มีความรู้สึกจริงเท่ากินขนม ฉะนั้นหนังสือเขาเขียนว่า ถ้าระวังสังโยชน์สามประการคือ สักกายทิฏฐิ มีความ

รู้สึกว่า ต้องตาย วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคุณพระรัตนตรัย สีลัพพตปรามาส รักษาศีลเคร่งครัดเป็นพระโสดาปัน หรือสกิทาคามี อันนี้ยัง

ถ้านักปฏิบัติก็คือ คนกินแกงจริงๆ ต้องบอกวายัง ยังก่อน ทำไมจึงว่ายัง ก็เพราะว่ายังไม่เป็นจริงๆ ถ้าอารมณ์แค่นี้ละก็ ยังไม่เรียกว่า

พระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี ต้องเรียกว่าเป็นผู้เข้าถึงไตรสรณคมน์

สำหรับท่านที่จะเป็นพระโสดาบันจริงๆ ต้องมีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง ในพระธรรมจริง ในพระอริยสงฆ์จริงต้องปฏิบัติจิต จน

กระทั่งจิตมีอารมณ์รักในพระนิพพานอย่างยิ่ง บรรดาจะเป็นชายก็ดี หญิงก็ดี ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาก็ตาม ทำความดีแล้วจิต

คิดไว้อยู่เสมอว่าความดีที่เราทำแล้ว ตายเมื่อไรเราต้องการจุดเดียวคือนิพพาน อารมณ์นี้ต้องมั่นคงแล้วก็ใจชาลงจากความรักใน

ระหว่างเพศ ชาเล็กน้อยนะคือไม่ค่อยจะแรงเหมือนเดิมชาจากกำลังของความร่ำรวย ใจชาลงจากกำลังของความโกรธ ใจชาจาก

กำลังของความหลง มันชาเล็กน้อยไม่ชามาก

หมายความว่าอารมณ์มันเกิดช้าไปนิดหนึ่ง พอเกิดแล้วอารมณ์ก็มันเฉื่อยไปหน่อยหนึ่ง ความรัก ความอยากรวย ความโกรธ ความ

หลง ยังมีครบถ้วนบริบูรณ์ แต่ว่ากำลังมันช้าไป

และกำลังใจของท่านผู้นั้นมีความรู้สึกอยู่บ้างว่า ในยามว่าง รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับกฏธรรมดาทั้งหมดแต่ว่าะให้ละได้ทั้ง

หมดน่ะยังไม่จริง ยังละไม่ได้หมด แต่คิดว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้นี่นะ

เราเกิดมาเพื่อชาวบ้านเขาด่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า นัตถิ โลเก อนินทิโต พระพุทธเจ้าบอกว่า คนที่เกิดมาในโลกนี้ไม่ถูกด่าถูกนิ

นทาน่ะไม่มีจำไว้ว่า เราเกิดมาเพื่อถูกชาวบ้านเขาด่า เขาอยากด่าก็เชิญด่า แต่ระวังนะพระโสดาบันนี่ด่าท่านมากๆ ไม่ได้หรอก ท่าน

มีจิตเมตตามาก เกรงว่าจะขาดทุนดีไม่ดีท่านด่าให้มั่ง

ก็รวมความว่า ถ้าจะเป็นพระโสดาบันจริงๆ จิตต้องรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ อารมณ์เริ่มเฉื่อยในความต้องการ นั่นก็คือความรักยังมี

อยู่ครบถ้วนบริบูรณ์แต่เฉื่อยไปหน่อย ความโกรธยังมีช้าไปนิดความหลงยังมีจืดไปหน่อย อย่างนี้ท่านเรียกว่าพระโสดาบัน

ฟังดูจริงๆ แล้วก็เป็นของไม่ยาก ทีนี้วันนี้เราก็มาพูดกันแค่พระโสดาบันก่อน ในเมื่อการศึกษาเขาศึกษากันในพระพุทธศาสนา ซึ่ง

พระพุทธเจ้ายืนยันไว้มาก ว่าเรื่องบารมี 10 นี่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าทีบารมีไม่ครบถ้วนเราจะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ ถ้าบารมีครบ

ถ้วน เราก็จะเป็นพระอริยเจ้า คือตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปได้ อันนี้บรรดาท่านพุทธบริษํทพระเณรทุกองค์ที่ได้มโนมยิทธิแล้วสังวรให้

มาก คำว่าสังวรคือระวังให้มาก อย่าไปหลงฌานสมาบัติเกินไป ฌานสมาบัติ

นั่นควรทำไม่ควรละ แต่ฌานสมาบัติน่ะ เป็นแต่เพียงตัวระงับกิเลสเท่านั้น ถ้าเผลอเมื่อไร มันก็ฟูเมื่อนั้นผมน่ะ นอนๆ แล้วก็แว่วๆ

เสียง บางท่านบอกว่า เวลานี้ฉันทรงอยู่ในฌานสี่บ้าง ฉันทรงอยู่ในฌานสามบ้าง กำลังใจฉันมีสภาพแจ่มใสบ้าง อันนี้ระวังๆ มันแจ่ม

ในขนาดไหน ถ้าแจ่มใสขนาดเป็นพระอรหันต์ละก็ไม่เป็นไรแต่ส่วนมากที่แจ่มใสมันเป็นการแจ่มใสของฌานโลกีย์ ระวังให้ดีนะ

ฉะนั้นท่านทั้งหลายจงศึกษาอย่างนี้ ถ้าจิตเป็นฌานทรงฌานไว้เป็นของดี แต่ยังดีไม่พอ ยังไม่พ้นนรก สิ่งที่จะทำให้เราพ้นนรกก็คือ

สังโยชน์ 10 ตัดให้ได้ แต่การที่จะตัดสังโยชน์ 10 ต้องประกอบไปด้วยองค์คุณทั้ง 10 ประการก่อน สังโยชน์ที่เราจะตัด 10 แต่กำลัง

ช่วยการตัดก็10 เหมือนกัน ที่เรียกว่าบารมี 10 บารมีนี่ท่านแปลว่าเต็ม เรียนมาว่าอย่างนั้น

แต่ว่า ศัพท์ของพระพุทธเจ้า ได้ฟังมา ได้ฟังมีคนเขาพูดว่า บารมีพระพุทธเจ้าท่านแปลว่ากำลังใจเต็มจำให้ดีนะ เขาถามว่าที่วัดนี้

แปลบารมีว่ายังไงก็ตอบเขาบอกว่า ที่วัดนี้แปลบารมีว่า กำลังใจเต็ม กำลังใจให้มันเต็มทั้ง 10 อย่าง คือ เต็มในการให้ทาน เต็ม

พร้อมในการรักษาศีล เต็มพร้อมในการถือบวช เต็มพร้อมในด้านของปัญญาค้นคว้าหาความเป็นจริง เต็มพร้อมในด้านของความ

พียรเป็นการกำจัดอุปสรรค เต็มพร้อมในขันติคือ การอดทนต่ออารมณ์ต่างๆ เต็มพร้อมในสัจจะ คือทรงความจริงไม่ท้อถอย ไม่ถอย

หลัง ไม่สับปลับ เต็มพร้อมในอธิษฐานคือตั้งอารมณ์ไว้ให้มันแน่นอน เต็มพร้อมในเมตตาคือความรัก ไม่มีความเลวเข้ามาผสม

ไม่มีความโหดร้ายเข้ามาผสม เต็มพร้อมในอุเบกขาคือการวางเฉย แล้วก็ค่อยฟังกันต่อไป

ตานี้ก็มานั่งคุยกัน มาคุยสักนิด มองดูเวลาเหลือประมาณ 5 นาที ได้มั้ย 4 นาที ก็มาคุยกันสักหน่อยว่าทานบารมีนี่ ความจริงบารมี

ทั้ง 10 ประการนะตื่นขึ้นมาเช้าจะต้องเขียนและท่องจำไว้ว่า บารมี 10 ประการน่ะมีอะไร คือ

1.ทาน การให้

2.ศีล การรักษา

3.เนกขัมมะ การอดใจในนิวรณ์ 5 ประการขั้นต้น ขั้นต้นนะ

4.ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริง ไม่เมาในร่างกายเราเขามีมั้ย

5.วิริยะ ความเพียรต่อสู้กับอุปสรรคไม่ท้อถอย

6.ขันติ ความอดทนต่ออารมณ์ต่างๆ

7.สัจจะ มีความจริงมุ่งหน้าเฉพาะพระนิพพาน

8.อธิษฐาน ตั้งใจไว้ตรงไม่หลีกเลี่ยงเฉพาะพระนิพพาน

9.เมตตา หน้าตาชื่นบาน เห็นคนและสัตว์เป็นมิตร แล้วก็ท้าย

10.อุเบกขา จิตคิดวางเฉยไม่โต้ตอบ ไม่รุกราน ไม่ซ้ำเติมใคร

กำลังใจทั้ง 10 ประการนี้แหละบรรดาท่านภิกษุสามเณรทั้งหลาย และอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ถ้าไม่สามารถจะทรงได้ทั้ง 10 มโน

มยิทธิที่ท่านได้น่ะมันไม่มีผลหรอก ผลน่ะมีเหมือนกัน แต่มันจะมีตรงไหนล่ะ มีตรงที่ได้ฌานโลกีย์แต่ไม่ช้าฌานนี่มันจะสลายตัว

อารมณ์เสื่อมมันจะเกิด คือความดีมันไม่ทรงตัวถ้าความดีไม่ทรงตัวแล้วเป็นยังไง ขั้นสุดท้ายสิ่งที่เราจะไปก็คือนรก เพราะอุปาทาน

มันจะกินเหลือเวลาอีก 3 นาที ขอพูดเรื่องสังโยชน์ สังโยชน์นี่มี 10 ต้องระมัดระวังให้มาก อันดับแรกตัดสามให้ได้ก่อน ต้องให้ได้

แน่นอน อย่าสักแต่ว่าทำ เรื่องฌานโลกีย์ได้เท่าไรก็ตาม แต่สังโยชน์สามยังไม่ได้นี่ ต้องมีความรู้สึกว่าเอาดีไม่ได้เรายังไม่เข้าถึง

ความดี แต่ความดีที่ตัดสังโยชน์สามได้ก็เป็นความดีเล็กน้อย

สังโยชน์อีกเจ็ดก็คือ กามฉันทะ การตัดอารมณ์ในกามคุณ ปฏิฆะ การตัดอารมณ์กระทบใจ ถ้าตัดได้อีกสองเป็นพระอนาคามี ตัดได้

อีกห้าคือไม่หลงในรูปฌาน และไม่หลงใน อรูปฌาน กันนัก ระวังให้ดีมันจะนรกไป

แล้วก็ไม่หลงใน มานะ การถือตัวถือตน อุทธัจจะ ตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน มุ่งพระนิพพานเป็นที่ไป อวิชชา ตัดกำลังใจที่เห็นว่ามนุษย์โลก

เทวโลก พรหมโลก พรหมโลกเป็นของดีให้สิ้นไปกำลังใจมีอารมณ์เดียวคือนิพพาน

นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ถ้าทำได้อย่างนี้นะจะเป็นอรหันต์อย่าไปมัวเมาแต่ฌานโลกีย์เกินไปบางท่านบอกสำรวจใจ

แหม.. แจ่มใส ใสแจ๋วไอ้ใสนั่นมันไม่ได้ใสในสภาพของพระอริยเจ้า มันเป็นการใสในขั้นของฌานโลกีย์ จะใสขนาดไหนก็ตามที ถึง

แม้ว่าจะเป็นพระอรหันต์ จำไว้ว่า ถ้าเรายังมีร่างกายเพียงใด เรายังไม่ดีเท่านั้น เราจะดีได้จริงๆ ก็คือ ร่างกายหมดไป เข้าพระนิพพาน

เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน มองดุเวลาพอดีๆ สำหรับตอนนี้ก็ยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์

พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี

ขอบคุณและที่มา
http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1938:-10--10--1-&catid=37:2010-03-02-03-52-18&Itemid=2
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 07 เม.ย. 2554, 11:54:13 »
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (2)

 

 

 

ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย และก็บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย วันนี้เราก็มาปรารภในการปฏิบัติเพื่อมรรคผลกันต่อไป และการ

ปฏิบัติจริงๆ เราต้องหวังพระนิพพาน ใครเขาจะว่าบ้าว่าหลังก็ช่างเขาเถอะ การฝึกมโนมยิทธิของบรรดาท่านพุทธบริษัททำได้แล้ว

ทุกคน และก็ทุกคนจงอย่าคิดนะว่า ถ้าบวชเข้ามาแล้ว หรือว่าเข้ามาอยู่จะทำดีก็ได้ จะทำชั่วก็ได้ สัญญาใดที่มีอยู่ก่อนบวชให้

ระมัดระวังปฏิบัติให้เคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมฐาน เมื่อก่อนบวชถือว่าได้แล้ว ถ้าบวชแล้วทำสภาพเสื่อมก็จะต้องอยู่ที่นี่ไม่

ได้ เพราะคนเลวๆ ไร้สัจจะ ไร้บารมีเขาไม่คบกันสำหรับสังโยชน์ 10 ประการให้ประจำใจคิดไว้เสมอว่าเราจะละให้ได้

 

1.สักกายทิฏฐิ ใช้ปัญญาเบาๆ อย่างพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคาทีคิดว่าสภาพของร่างกายนี้มันต้องตาย มันอยู่ไม่นานเท่าไร มัน

ก็ต้องตายกันแน่ถ้าใช้กำลังสูงไปนิด ถ้ากำลังของพระอนาคามีเห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มีสภาพไม่ต่างกับ

ถุงไถ้ที่ห่ออุจจาระเดินไป เป็นอันว่า มองตามความจริงว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยความสกปรก ถ้ามองตามกำลังใจของพระอรหันต์ จะ

มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราร่างกายนี้สักแต่เพียงว่าธาตุ 4 มาประชุมกัน มัน

เป็นธาตุที่อาศัยชั่วคราว ไม่ช้ามันกับเราก็จากกัน ถ้าคบมันมากเพียงใด เราก็มีทุกข์มากเพียงนั้น ถ้าเราเอาจิตใจไม่เข้าไปสนใจกับ

ร่างกาย ใจเราก็มีความสุข นี่เรื่องของสักกายทิฏฐิ ต้องคิดอย่างนี้ทุกวันนะ

และก็ประการที่สอง วิจิกิจฉา ความสงสัยในคุณพระรัตนตรัยต้องไม่มีเพราะเรามีปัญญา ถ้าเราสงสัยเราจะมาบวชทำไม จะเข้ามา

ปฏิบัติฝึกศีล สมาธิปัญญาเพื่อประโยชน์อะไร ถ้าสงสัยก็ไปเสียให้พ้นจากที่นี่ ที่นี่ไม่ต้องการคนสงสัยและก่อนจะเข้ามาอยู่ ให้

สัญญากันแล้วว่า ฝึกได้ดีแล้วเราจะไม่สงสัย การไม่สงสัยคือยอมรับนับถือ ต้องปฏิบัติตามทุกอิริยาบท ทุกสิกขาบท ทุกถ้อยคำที่

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญยกย่อง ว่าอย่างไหนดีทำอย่างนั้น พระพุทธเจ้าว่าอย่างไหนไม่ดี เราจะไม่ทำอย่าง

นั้น นี่คนไม่สงสัย ขาต้องทำอบย่างนี้

และก็ สีสัพพตปรามาส ฆราวาสศีล 5 สามเณรศีล 10 หรือว่าอุบาสิกาจะเป็นศีล 5 ก็ได้ ศีล 8 ก็ได้ พระศีล 227 ครบด้วย

อภิสมาจารต้องครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่ใช่ว่าสักแต่ว่าเป็นพระเฉยๆ ก่อนบวชดี เข้ามาพูดดี บวชแล้วมีอารมณ์โย้เย้อย่างโน้นอย่างนี้ นั่น

ก็ไม่เหมาะสม นี่ก็ไม่ไหว หลบหน้าหลบหลัง หลบการ หลบงาน สันดานคนแบบนี้เป็นสันดานของสัตว์นรก นี่เราพูดกันธรรมะพูดกัน

ตรงๆ ฉะนั้นถ้าจะเอาไม่ไหวจริงๆ อย่าเข้ามาอยู่ในสถานที่นี้

ในสถานที่เขาจะมีให้ยังมีเยอะที่เขารับรองคนประเทภเลวๆ นี่มีเยอะ ที่นี่ไม่ต้องการคนเลว ฉะนั้น คุณธรรม 3ประการ คือ สักกาย

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ที่ต้องละ ต้องทำให้ได้และข้อต่อไปที่เรายังทำได้ หรือไม่ได้ไม่เป็นไร ค่อยๆ ทำไปอาจจะถึง

ข้อสี่ กามฉันทะ ค่อยๆ ใช้กายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐานเข้าไปตัด และใช้ปัญญาพิจารณาว่า ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก

โสโครก และก็ไม่มีการทรงตัว ไม่มีอะไรมาก แค่น้ำลายในปากอมได้ บ้วนออกมาแตะต้องไม่ได้ อุจจาระ ปัสสาวะ มันอยู่ในท้อง หิ้ว

ไปหิ้วมาได้ พอเคลื่อนออกมาเราไม่อยากจะมอง แค่นี้ก็พอแล้วนี่คิดไว้ทุกๆ วันว่า เราจะตัดให้ขาดเรื่องความพอใจร่างกาย ร่างกาย

เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก แล้วก็ ปฏิฆะ อารมณ์ที่ไม่พอใจ มันเป็นอารมณ์ของความเลวคือ ความกระทบกระทั่งใดๆ นิด

หน่อยเกิดขึ้น ก็ไม่ชอบใจอย่างโน้น ไม่ชอบใจอย่างนี้อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์ของสัตว์ในอบายภูมิ มันจะเข้ามาสร้างความเดือด

ร้อนความทุกข์ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็มีทุกข์ มีแต่ความเร่าร้อน ตายไปแล้วก็พบกับความเร่าร้อน นั่นคืออบายภูมิ เราไม่เอา ตัดด้วย

กำลังของพรหมวิหาร 4 หรือตัดด้วยกำลังของกสิณ 4 คิดกสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนที่ฟังได้

โนมยิทธิอยู่แล้ว นี่มันเป็นของไม่แปลก ใช้กำลังของมโนมยิทธิ ใช้กำลังของปุพเพนิวาสนุสสติญาณ ถอยหลังชาติเข้าไปแต่ละชาติ

ว่าเราเคยตกนรกเพราะความโกรธมีกี่ครั้ง ดุตัวเราให้ดีเราตกนรกเพราะความโกรธน่ะมีเท่าไร ไปดูว่าเสวยผลเป็นยังไงตกนรกเพราะ

ความเมาในร่างกาย เห็นว่า ร่างกายที่มันเลวเห็นว่าดี นี่เป็นยังไง ร่างกายที่ตัดนี่ เขาตัดด้วยกายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน เราใช้

กำลังของความเป็นทิพย์ของจิต เข้าไปถอยหลังไปดูสภาพเดิม เราเกิดมากี่ชาติ เป็นอะไรบ้างร่างกายมันทรงตัวไหม มันก็ไม่มีการ

ทรงตัว จะพบกับความสกปรกที่มันหลั่งไหลออกมาทุกวัน ถอยหลังเข้าไปจำสภาพแต่ละชาติที่มันเลวๆ มันก็เลวทุกชาติ ไม่มี

ร่างกายชาติไหนมันเป็นร่างกายดี มันเป็นร่างกายเลว เท่านี้จิตมันก็จะถอยหลังแต่ก็หลังจากนั้นมา เราก็ไปมองดู รูปราคะ คือรูปฌาน

อรูปราคะ คือ อรูปฌาน ถ้าตัด กามฉันทะ กับปฏิฆะ ได้แล้วก็เป็นพระอนาคามี เราจะถึงหรือไม่ถึง เราก็พยายามตัด ค่อยๆ คิด ค่อยๆ

นึก ค่อยๆ พิจารณาหลังจากนั้นถ้าทำได้มั่นคง อย่าลืมนะ พระอนาคามีนี่บรรดาท่านพุทธบริษัทที่เป็นฆราวาส อารมณ์ใจจะต้องทรง

ศีล8 เป็นนิจ คือไม่ต้องมีใครบังคับละ จิตมั่นไม่พอใจศีล 5

พระอนาคามีเป็นพรหมจรรย์ พระอนาคามีแปลว่าผู้ไม่ครองเรือน คือไม่มีคู่ครอง ถ้ามีคู่ครองอยู่แล้ว ความรู้สึกในระหว่างเพศนั้น

ไม่มี ความโกรธจริงๆ ไม่มีในพระอนาคามีจิตเป็นสุข มีอารมณ์เยือกเย็น อันนี้สบายมาก สุขเหลือเกินต่อมาก็ปัดกวาดผงรกใจ ได้แก่

รูปราคะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปฌานและก็อรูปราคะ คือความหลงใหลใฝ่ฝันในรูปฌาน อันนี้ความจริงไม่หักเราจะหลงทำไม

เราหวังนิพพาน รูปฌานและอรูปฌานส่งเราไปถึงพรหมเท่านั้น เราก็ดั้นด้นอดทนใช้ปัญญา ความจริงแค่อนาคามีเขาก็ไม่หลงแล้ว

ท่านวางไว้ ก็พูดตามไป ตามท่านไม่พูดมากต่อไปก็ตัดมานะ การถือตัวถือตน ไม่ต้องตัดมาก คิดว่าคนกับสัตว์มีสภาพเหมือนกัน

คือมีธาตุ 4 เหมือนกัน เราคิดว่าสัตว์มันต่ำทราม มันต่ำที่ไหน มันก็มีธาตุ 4 มีความสกปรก และร่างกายมีความต้องการเหมือนเรา

เราสิบางครั้งเลวกว่าสัตว์ ความพอของาจิตมันไม่มี สัตว์มันไม่เคยไปโกงใคร ไม่เคยไปโกงทรัพย์สินของใคร ไม่เคยไปแย่งความรัก

ความรักของเขาเป็นอิสรสภาพ สัตว์ไม่มีการโลภโมโทสันเท่าเรา พวกเราระยำมากกว่ามองดูจะไปถือตัวเราดีกว่าสัตว์ คนก็ดี สัตว์ก็

ดี มีธาตุ 4 เหมือนกัน ร่างกายสกปรกเหมือนกัน ทรุดโทรมเหมือนกัน ก็เลยไม่มีอะไรที่เราจะต้องเหยียดยามกัน แค่นี้คิดเบาๆ ส่วน

ละเอียดกว่านี้มันจะเกิดไปเองด้วยปัญญาหลังจากนั้นก็ตัดอุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่าน ตอนนี้ก็ไม่ยากแล้ว ใจตรงนิพพานว่า ถ้าได้

อนาคามีแล้วไม่มีอะไรหนักหลังจากนั้นก็ตัดอวิชชา คือความโง่ คือหลงในมนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก มันก็ไม่มีอะไรขนาด

นี้แล้วไม่ต้องอธิบายกัน จนกระทั่งกำลังใจมีความสุข มีความสุข มันป่วยไข้ไม่สบาย ร่างกายป่วยไข้ไม่สบายก็มีความสุข กระทบ

กระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจขนาดไหน ใจก็ยังมีความสุข ความแก่เข้ามาครอบงำขนาดไหนใจเราก็มีความสุข มันจะตายเมื่อไร ใจก็

ยังมีความสุข นี่คืออารมณ์ของพระอรหันต์

สังโยชน์ 10 ประการนี้ต้องใคร่ครวญศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังโยชน์ 3 ประการต้องทำให้ได้ ทีนี้ก็ไอ้การที่เราจะปฏิบัติกันให้ได้ดี

จริงๆ อย่าลืมบารมี 10 วันนี้ก็จะมาย่ำบารมี บารมีนี่มี 10 ท่องจำให้ได้ ถ้าสังโยชน์10 ประการยังละไม่ได้หมด เรายังไม่ใช่คนดี จำ

ให้ดีนะ อย่าไปนั่งเมากันนะ อย่านึกว่าผมไม่รู้นะพระน่ะเมากำลังใจกันน่ะ อย่านึกว่าผมไม่รู้ เพราะอะไร เพราะผมเคยเมามาก่อน

กำลังใจที่ยังมีอุปทาน ยังมีนิวรณ์เข้ากินน่ะไม่ใช่กำลังใจดีหรอก แต่ว่า เราก็พอใจที่มันตัดเลวลงไปได้เยอะ และก็ต้องพยายามตัด

เลวต่อไป เลวที่เราจะมองก็คือ สังโยชน์ 10 ประการ เรายังไม่ได้อะไรบ้าง ถ้าละยังไม่ได้หมดนั่นยังไม่ดี ละได้หมดแล้ว ถ้ากำลังใจ

ยังไม่เข้าถึงนิพพาน กายยังมีอยู่ ยังไม่ดี เพราะตัวไม่ดี เรายังอยู่กับตัวไม่ดี คืออยู่กับร่างกายที่มันไม่ดี ก็ยังดีไม่พอต้องเข้าถึงความ

ดับที่ไม่มีเชื้อดับทั้งกิเลส ดับทั้งขันธ์ อารมณ์หรือร่างกาย จุดทรมานไมมีสำหรับเรานั่นดีมากคือไปพระนิพพานต่อไปสิ่งที่จะส่งเสริม

ความดีทำให้สังโยชน์ 10 ประการครบถ้วน ทุกคนต้องทบทวนให้ดีนะ ทุกวันจะต้องทรงอารมณ์แบบนี้ ไม่อย่างนั่นที่คิดวาทำดีทำ

ดีน่ะมันยังไม่ดีหรอก ก็คือได้แก่บารมี 10 อย่าลืมว่าใครเขาถามว่าบารมีแปลว่ายังไงก็ต้องตอบว่า ที่นี่บารมีแปลว่ากำลังใจเต็ม เขา

บอกว่า ตามภาษาตำราบอกแค่เต็มเฉยๆ บอกก็ช่างปะไร ตำรานั่นมันตำราวัดอื่น ไม่ใช่ตำราวัดท่าซุงปัจจุบัน วัดท่าซุงก่อนเค้าจะ

เขียนตำราแบบไหนช่างเขา

ปัจจุบันนี่เขียนตำราว่าบารมีแปลว่ากำลังใจเต็ม กำลังใจเต็มในการให้ทาน กำลังใจเต็มในการรักษาศีลกำลังใจเต็มในสภาวะแห่ง

การถือบวชคือเนกขัมมะ กำลังใจเต็มพร้อมในการใช้ปัญญาเข้าตัดกิเลสตัดอุปาทาน กำลังใจเต็มพร้อมที่มีวิริยะ อุตสาหะ ความ

พากเพียรต่อสู้อุปสรรคทุกด้าน งานการทุกอย่างไม่ท้อถอย เห็นงานเป็นกรรมฐาน กำลังใจเต็มไปด้วยความอดทนคือขันติ อย่า

ป้อแป้นะ ที่นี่เขาไม่ต้องการคนป้อแป้ ป้อแป้ไปที่อื่นถ้าบอกว่าไม่ไหวละก็ ไปที่อื่นซะเลย กำลังใจเต็มในการรักษาสัจจะอารมณ์ใจที่

จริงกำลังใจเต็มในการอธิษฐาน ต้งใจไว้เฉพาะว่าเพื่อนิพพาน กำลังใจเต็มในด้านการเมตตาไอ้ตัวเมมตานี่สำคัญ เมตตานี่หน้ามัน

ต้องสดชื่นนะ ไอ้หน้าตูมเป็นตูดหมาหน้าบูดยังงี้เขาไม่มีเมตตา ไม่เรียกเมตตา ให้คนอื่นเขาเห็นหน้าเรามีความยิ้ม มีแต่ความชื่นใจ

ไม่ใช่เห็นหน้าแล้วรู้สึกว่า แหม.ไอ้ตัวจัญไรนี่หน้าบูดเหมือนกะดูดหมา ยังงี้มันใช้ไม่ได้ และก็กำลังใจเต็มด้วยอุเบกขา อุเบกขาความ

วางเฉยนี่มันเฉยธรรมดาได้ เฉยมี 2 เฉยธรรมดา กับเฉยในขันธ์ 5 มีรวมความว่า 10 ประการนี้ก็ต้องครบนะ ทุกวันต้องคิด

1.ทาน การให้ 2.ศีล รักษากายวาจาและใจให้เรียบร้อย 3.เนกขัมมะ การระงับนิวรณ์เป็นขั้นต้น และก็ 4.ปัญญา พิจารณาเห็นว่าทุก

คน สัตว์ทุกคน สัตว์ทุกเพศไม่เป็นเรื่อง พังทั้งหมด 5.วิริยะ มีความเพียร บากบั่นต่อสู้กับอุปสรรค 6.ขันติ มีความอดทนด้วยประการ

ทั้งปวง 7.สัจจะ ทรงไว้ซึ่งความจริง จริงใจไม่ถอยหลัง 8.อธิษฐาน ตั้งใจไว้ตรงแน่ 9.เมตตา มีความเมตตาบารมี จิตใจชื่นบาน ใจ

ชื่นบาน กายให้มันดี หน้าให้มันชื่นด้วย ไม่ใช่หน้าตูมเป็นตูดหมา และ 10.อุเบกขา วางเฉยสองขั้นนี้ วันนี้จะว่าแต่ละขั้นไปเลยนะ จำ

ไว้เลยว่า 10 ปะการนี้ต้องครบถ้วนกำลังใจทุกวินาที 10ประการนี้สร้างให้เต็มขั้นมา 10 ประการก่อนคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สี

ลัพพตปรามาส กามฉันทะ ปฏิฆะ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา 10 ประการต้นตัดให้พินาศไป แล้วก็ 10 ประการหลัง

ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ทำให้ทรงตัวให้เต็มที่ เป็นอันว่าขับไล่ไสส่งไป

10 และดึงเข้ามาอีก 10 วันนี้ก็มีเวลาเหลือ 16 นาที จะอธิบายตามขั้นสำหรับทานบารมี ทำยังไงมันถึงจะเต็ม การทำทานให้เต็มนี่ก็

จะขอพูดย่อๆ คือว่าคาสเซ็ทนี้ต่อไปก็จะวนไปวนมา ในเวลาเที่ยงวันไม่ต้องเปิดอะไรละ วนกันอยู่แค่นี้ สังโยชน์ 10 บารมี 10 อุทุม

พริกสูตร วนกันอยู่แค่นี้ไม่ต้องะไรมาพูดกันมาก ถ้าแค่นี้ทำไม่ได้อย่าไปฟังอบย่างอื่นให้มันเสียเวลา สำหรับทานบารมี ทำกำลังใจ

ทานเต็มทานนี่เป็นปัจจัยตัดโลภะ ความโลภ เป็นก้าวที่หนึ่ง ที่เราจะเข้านิพพานและทานนี่เป็นการสร้างความรัก กำลังใจของบุคคล

ให้เกิดความรักซึ่งกันและกัน จะเป็นปัจจัยให้เดความสุข ถ้าเราไปที่ไหนมีคนรักมาก ที่นั่นเราก็มีความสุข ถ้าไปที่ไหนมีคนเกลียด

มาก ที่นั่นก็มีความทุกข์ ต้องระวังภัย ตานี้ทำยังไง ทานจึงจะครบถ้วนบริบูรณ์เอ้า! พูดให้ฟังง่ายๆ ประเดี๋ยวจะสงสัยว่า ทานเป็นเหตุ

ให้เกิดความรักยังไงด้วยเหตุผลสั้นๆ เอาตัวเราเป็นสำคัญ สมมุติเราหิวข้าวมันจะตาย ถ้ามีใครเอาข้าวให้กินสักอย่าง ถึงแม้ว่ากับข้าว

มันจะไม่ดี ข้าวมันจะเย็นอาจจะกลายเป็นข้าวตังก็ได้แต่พอกินประทังชีวิตไปได้อย่างนี้

เราจะมีความรักในคนให้ หรือว่าเราจะเกลียดในบุคคลผู้ให้ ถ้ารู้สึกเกลียดในบุคคลผู้ให้ ก็แสดงว่าเราก็ควรจะไปอยู่โรงพยาบาลบ้าได้

แล้ว คนดีน่ะไม่มีใครเขาเกลียด คนเขาให้ มีแต่เขารักคนเขาให้ ถ้าให้อย่างไม่มีพันธะ ถ้าให้อย่างมีพันธะ เราอาจจะเกลียดผู้ให้ก็ได้

กินอิ่มเดียวบังคับให้ไปฆ่าควายให้ไปฆ่าวัว ให้ไปฆ่าสัตว์ ไปด่าคนโน้น ไปตีคนนี้ ไปขโมยคนนั้น ถ้าอย่างนี้เราก็ไม่ควรจะรักผู้ให้ ให้

แล้วก็แนะนำเราให้มีความทุกข์ คือทำลายความดี สร้างความเดือดร้อนไม่ควรรัก ทีนี้ถ้าเขาให้ด้วยไม่มีพันธะใดๆ ให้เพื่อกิน เพื่อยัง

ชีวิตให้ทรงอยู่ เราก็ต้องรัก ที่พูดนี่ไม่ได้บังคับให้รักนะปกติคนธรรมดาๆ

นี่เขาต้องรัก แต่คนไม่รักคือ อกตัญญูไม่รู้คุณคน มันก็มีหาไม่ยาก เวลานี้มีดื่น คนที่เลวกว่าสัตว์นี่ ขอพูดง่ายๆ ว่า คนที่เลวกว่าสุนัข

นี่หาไม่ยาก นี่เราพูดของเราในสำนักของเรา คนอื่นฟังก็ฟัง ฟังได้ก็ฟัง ฟังไม่ได้ก็จงอย่าฟัง ไม่ได้บังคับคนฟัง ไอ้คนที่เลวกว่าสุนัข

นี่เคย ผมนี่เคยสัมผัสมามาก ให้ความสุขทุกอย่างให้ความดีทุกอย่าง เกื้อกูลทุกอย่าง แต่ว่าจากคนพวกนี้ก็เต็มไปด้วยความอกตัญญู

ไม่รู้คุณ แถมไม่ใช่ไม่รู้คุณเฉยๆมันทำลายเสียด้วย ด้วยประการทั้งปวง หาทางทุกอย่างเพื่อล้มล้างให้พินาศ ตัวคนเดียวไม่พอ ยังยก

พวกมา ไปจ้างพวกมา ไปจ้างหนังสือหาด่าซะก็ไม่มี หาทางฟ้องร้องก็เยอะ แล้วไอ้คนที่มันเลว เลวกว่าสุนัข พูดภาษาไทยดีมั้ย

สุนัขเขาแปลว่าเล็บงาม แต่ว่าสัตว์ที่มีเล็บมีถมไป

ฉะนั้น การให้ทานของบรรดาพวกเราๆ ทั้งหลาย จงอย่าหลังผลตอบแทนแล้วการให้ทานเพื่อหวังให้บารมีเต็ม ด้วยการตัดโลภะเขา

ทำยังไง เป็นวิธีทำง่ายๆ ถ้าเราให้แต่ทานเฉยๆ นี่มันไม่มีผล ผลมันน้อยจะต้องให้ด้วยกำลังใจด้วย กำลังใจที่เราจะพึงให้น่ะ คือว่า

เขาทำยังงี้ ปกติของเราให้นั่งพิจารณาหาความเป็นจริง ว่าทานนี่เป็นปัจจัยให้บ่อเกิดความรัก หรือว่าเป็นปัจจัยให้สร้างศัตรู ถ้าทาน

เป็นปัจจัยให้บ่อเกิดแห่งความรัก เราก็พยายามให้ทาน วิธีให้ทานที่จะมีกำลังตัดความโลภ จริงๆ ก็คือ ใช้จาคานุสสติกรรมฐาน

ประจำใจ จาคานุสสติกรรมฐานนั้นได้แก่อารมณ์คิดจะให้ คิดว่าคนก็ดี สัตว์ก็ดี ที่เกิดมาในโลกนี้ ทุกคนรักสุข เกลียดทุกข์ แต่ว่า

บางทีไอ้ความทุกข์มันเข้ามาบีบคั้นทั้งๆ ที่ไม่ต้องการมันด้วยความจำเป็น และก็คิดว่า ถ้าเขามีทุกข์เราจะสงเคราะห์จิตคิดไว้ยังงี้

เสมอว่า ถ้าเราไม่เกินวิสัย

ไอ้การให้ทานน่ะต้องให้พอเหมาะนะ อย่าให้เกินพอดี แล้วให้ก็ดูคน ไม่ใช่ใครก็ให้ดะ ต้องดูพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสในเรื่องของนาง

วิสาขาว่า เขาให้เราจึงให้ เขาไม่ให้เราจงอย่าให้ นั่นก็หมายความว่า ถ้าเราให้เขาแล้ว เขาก็ให้เรา เราให้ความเมตตาในเขา เรา

สงเคราะห์ในเขา เขาให้ความรักในเรา เราให้ ถ้าเราให้ความเมตตาสงเคราะห์เขาแล้ว เขาไม่ให้ความรัก เขาเกลียดเป็นศัตรู เลิกให้

ไปเลยไม่ต้องให้ ใครเขาจะสอนว่ายังไงอีกก็เชิญเถอะ จะไปรับฟังใครเขาก็ได้ แต่ผมขอแนะนำว่าไม่ควรให้ต่อไป เพราะคนประเภท

นี้นี่ผมลองมาทุกสิ่งทุกอย่างแล้วและเวลานี้จะตั้งต้นไว้ในเฉพาะใจว่า อเสวนา จ พาลานัง บัณฑิตานัญจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานัง

เอตัมมังคลมุตตมัง การคบคนชั่วเป็นอัปมงคล การไม่คบคนชั่วอย่างหนึ่งการคบแต่คนดีอย่างหนึ่ง การบูชาแต่บุคคลที่ควรบูชา

อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าจัดว่าเป็นอุดมมงคล

ฉะนั้นผมจึงขอตัดไปเลย ผมทำมาสัก 20 ปีกว่า คนทุกประเภทผมคบสงเคราะห์ ผมหมดเงินหมดทองไปนับไม่ได้ ญาติโยมทำบุญ

มาก็สงเคราะห์ด้วยประการทั้งปวง บางทีเราไม่มี เราก็เกือบจะไม่มีกินให้เขา แต่ว่าคนที่เลวกว่าสุนัข คือเลวกว่าหมานี่ ไม่เคยมอง

เลยในเมื่อเรามีทุกข์ เพราะว่าเขามีสันดานชั่วเป็นพาล ฉะนั้นเราก็ควรจะเชื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารว่า การให้นี่ต้องเลือก ถ้าจะรับ

หรือมาบังคับด้วยการขอ ไม่มีความเคารพในการขอ เราจะไม่ให้ ทำใจเฉยๆ ไว้ จงอย่าไปเมตตาคนชั่ว เมตตาจิตมีได้ แต่ว่าเราจะ

ไม่ให้คนชั่ว ในเมื่อเขายังชั่วอยู่เราไม่ให้

ถ้าขืนให้เราจะมีแต่ความเดือดร้อน อันนี้มาพูดกันถึงทานบารมี การให้ทานนี่ต้องประกอบไปด้วยความดีหลายประการ การที่เราจะให้

 


ทานได้ก็คือ

 


1.อันดับแรก เราต้องมีจิตเมตตา ก็ต้องมีเมตตาบารมีเข้ามาผสม

2.เราก็ต้องมีปัญญาเข้าพิจารณาว่า การให้ทานนี่มันดี เป็นปัจจัยให้เกิดความรักใช่ไหม แล้วการให้ทานก็ต้องมีวิริยะ

อดทน เพราะของทรัพย์สมบัติที่เราหามาได้ยาก เราตัดใจให้เขาไป มีความเพียรตัดกำลังใจ ตัดมัจฉริยะ ความตระหนี่ จะให้ทานได้

ก็ต้องมีขันติ คืออดทนต่ออารมณ์ที่มันจะหวงแหน การจะให้ทานได้ ก็ต้องมีสัจจะ ตั้งใจว่าจะให้ เราให้จริง การให้ทานก็ต้องมี

อธิษฐาน อารมณ์ที่ต้องไว้ ตามกำลังความตั้งใจเดิมว่า ฉันจะให้ทาน คือตั้งใจไว้นาน ทีนี้คนให้ทานก็เป็นคน มีศีล ศีลคือความดี

ศีลนี่มิได้เพราะเมตตา ทีนี้ ถ้าเราไม่มีศีลเป็นคนใจร้าย โหดร้าย เป็นคนชอบลักขโมย มันให้ไม่ได้หรอก นี้คนที่ให้ทานจริงๆ อย่าง

น้อย ต้องมีศีลข้อที่ 1

อารมณ์เมตตา แล้วก็มีศีลข้อที่ 2 คือละจากอทินนาทาน ใจจึงจะให้ทานได้ การที่จะให้ทานได้ต้องมีเนกขัมมะคือเวลาที่เราจะให้

ทาน อารมณ์รักในระหว่างเพศมันก็ไม่มี อารมณ์โกรธก็ไม่มี ถ้าเรารักเราโกรธ เราให้ทานไม่ได้ ทีนี้การให้ทานจริงๆ เราต้องมี

อุเบกขา เอาไปแล้วเราก็เฉยไม่เสียดายในมัน

นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ให้ทานอย่างเดียว บารมีทั้ง 10 ประการครบถ้วน เป็นอันว่าขบวนความที่เราจะสร้างความดี

นั้น ถ้าสร้างเป็นการสร้างบารมี สร้างทีเดียวพร้อมกัน และความดีทั้ง 10 ประการ นี้ต้องทำให้ได้ทุกวันประจำใจอยู่นะ พระ เณร ทุก

องค์ อย่าไปหลงดีหลอกๆ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 12:39:08 »
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และทุทุมพริกสูตร (3)

ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับต่อนี้ไป ก็มาศึกษาผลของการปฏิบัติการปฏิบัติของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ขอให้ตั้งใจ

ว่า เราปฏิบัติเพื่อความดับไม่มีเชื้อ ทั้งนี้ก็ปฏิบัติตามมติของพระสารีบุตร ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายไปลา

พระสารีบุตรเพื่อจะข้าป่าไปปฏิบัติพระกรรมฐานเป็นการตัดกิเลส เวลานั้น พระสารีบุตรถามพระสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้นว่า ถ้าท่านไป

ในที่อื่นที่ไกลจากที่นี่ ถ้าทีคนเขาถามว่า ท่านบวชในสำนักของพระสมณโคดมและก็บวชเพื่อประสงค์อะไร บรรดาภิกษุทั้งหลาเหล่า

นั้น ท่านเป็นภิกษุใหม่ ท่านก็ตอบว่า

ผมไม่ทราบว่าจะตอบว่ายังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่าให้ตอบว่า ถ้าเขาถามอย่างนั้น พวกเธอทั้งหลายจงตอบเขาว่า บวชเพื่อ

ความดับไม่มีเชื้อ ทั้งนี้ก็หมายความว่าเราจะตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานมาวันนี้ก็มาพูดกันถึงหลักแห่งการปฏิบัติ แต่หลักการ

ปฏิบัติจริงๆ ก็จะของดไว้ก่อน สิ่งที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติกันได้แล้วคือมโนมยิทธิ

ซึ่งแปลว่ามีฤทธิ์ทางใจสำหรับมโนมยิทธิมีฤทธิ์ทางใจนี่ ถือว่าเป็นการปฏิบัติเข้าถึงแก่นในพระพุทธศาสนาซึ่งท่านจะทราบจากอุทุม

พริกสูตรที่จะพูดในกาลต่อไปในวันนี้ แต่ทว่าในตอนต้น ขอท่านทั้งหลายรักษากำลังใจตามนี้ เราคิดไว้เสมอว่าเราจะตัดสังโยชน์ 10

ประการให้พินาศไปจากจิต สังโยชน์ 10

ประการที่เราต้องทำลายก็คือ

1.สักกายทฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่ากายนี้มันจะไม่ตาย กายเป็นของดี เป็นของสะอาด กายนี้เป็นเรา เป็นของเรา อย่างนี้เป็นต้น

อารมณ์นี้ขอบรรดาท่านพระ โยคาวจรทั้งหลายจงระงับเสีย อย่าให้มันเกิดขึ้นมากับใจ แต่ความจริงเราจะตัดมันทีเดียวน่ะตัดไม่ได้

ต้องค่อยๆ พยายามตัด อันดับแรกให้มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าร่างกายที่เรามีอยู่นี้มันจะต้องตาย มันจะตายอายุมาก ตายอายุน้อย ตาย

สาย ตายบ่าย ตายเที่ยงนี่เราทราบไม่ได้ ต้องตายแน่

คิดอย่างนี้เพื่อเป็นการไม่ประมาทในการทำความดี ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้อยู่ท่านถือว่าเป็นอารมณ์ของพระโสดาบันถ้าท่านทั้งหลายมี

ความรู้สึกยิ่งไปกว่านั้น คิดว่าก่อนที่ร่างกายมันจะตายหรือเมื่อชีวิตมันทรงอยู่ ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ภายในมีน้ำ

เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น เป็นร่างกายที่คนไม่ควรจะต้องการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของพรอนาคามี

ถ้าอารมณ์ที่สุดของร่างกายก็หมายความว่า เห็นว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นแต่เพียงธาตุ 4 เข้าประชุมกัน เป็น

เรือนร่างที่อาศัยชั่วคราวร่างกายจะเป็นยังไง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายจะแก่ก็ถือว่าเกิดมาเพื่อแก่ ร่างกายจะป่วยไข้ไม่สบาย

ถือว่าเกิดมาเพื่อป่วยไข้ไม่สบาย ร่างกายจะตายก็ถือว่ามันเกิดมาเพื่อตาย ถ้ากระทบกับอารมณ์ใดๆ ก็ดี เรื่องของร่างกายประเภทนี้

ก็ตาม เรามีอารมณ์วางเฉย เฉยในอาการของมันไม่หวั่นไหว แก่ก็เชิญแก่ ป่วยก็เชิญป่วย ตายก็เชิญตาย อารมณ์อะไรเข้ามากระทบ

ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลก

ถ้าเรามีชีวิตอยู่ต้องมีสภาพอย่างนั้น ความเลวของร่างกาย อย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก เราไม่ต้องการมันอีก อันนี้เป็นอารมณ์ของ

พระอรหันต์

ข้อที่ 2 วิจิกิจฉา เราจะไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อนี้ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาตามสมควร

ข้อที่ 3 เราจะไม่ละเมิดในศีล คำว่า สีลัพพตปรามาส การปฏิบัติศีลไม่จริงจังจะไม่มีสำหรับเรา การสงสัยในคำสั่งสอนขององค์

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่มีสำหรับเรา เราจะใช้ปัญญาตามสมควร พิจารณาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และเชื่อมั่นในความดีของพระองค์ สำหรับการปฏิบัติศีลก็ เช่นเดียวกันศีลเราจะถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าชีวิต คิดไว้เสมอ

ถ้าทรงอารมณ์ทั้ง 3 ประการนี้ได้ครบ ท่านเรียกท่านผู้นั้นว่า พระโสดาบันหรือพระสกิทาคามี สำหรับรายละเอียดยิ่งกว่านี้ฟังข้างหน้า

แต่ว่าการที่จะละ การที่จะตัด

ขอบรรดาพระโยคาวจรทั้งหลายพึงทราบ ว่าเรามีกิเลสมานานนับอสางไขยกัปอยู่ๆ จะตัดมันทีเดียวเด็ดขาดย่อมไม่ได้ แต่ว่าจงอย่า

ท้อถอยในกำลังใจ มีวิริยะอุตสาหะ คือประกอบไปด้วยอิทธิบาท 4 คือต้องมี ฉันทะ มีความพอใจในการตัด กิเลส มีวิริยะ มีความ

เพียรในการต่อต้านอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับจิต จิตตะ เอาจิตใจจดจ่อไว้เสมอ ว่าเราจะตัดสักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าตาย

เราจะไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะรักษาศีลให้ครบถ้วน แล้วก็ต่อไป วิมังสา เราจะใช้ปัญญาเป็นเครื่องใคร่ครวญ

คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และข้อวัตรปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงเรียกว่า อิทธิบาท 4 คือ

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คำว่าวิมังสานี่ใคร่ครวญใช้ปัญญาไว้เสมอ ถ้าทุกท่านมีอิทธิบาท 4 ประการครบถ้วน อารมณ์ของพระ

โสดาบันไม่ยากสำหรับท่าน แต่ก็จงอย่าลืมว่า เราจะตัดเด็ดขาดทันทีทันใด มันก็ไม่ได้เหมือนกันต่อไปก็พยายามตัดกามฉันทะ คือ

ความใคร่ในกามารมณ์ด้วยกายคตานุสสติกับ อสุภกรรมฐาน ตัดปฏิฆะ ความไม่พอใจในอารมณ์ที่เข้ามากระทบกระทั่งด้วยพรหม

วิหาร 4 หรือว่ากสิณ 4 ตามแบบฉบับ ถ้าตัดได้5 ประการนี้ เป็น พระอนาคามี

แล้วก็ต่อไปก็ตัดอารมณ์รักใคร่ในฌานเกินไป คือหลงฌานสมาบัติที่เรียกว่า รูปราคะ และตัดในอารมณ์ที่ติดมั่นในอรูปฌานเกินไป

ที่เรียกว่า อรูปราคะ ให้ถือว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นกำลังเพื่อห้ำหั่นกิเลสเท่านั้น ยังไม่ใช่ผลสุดท้ายของการปฏิบัติ ตัด มานะ คือ

การถือตัวถือตน ตัด อุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่านที่ไม่หลัง นิพพานที่เกิดขึ้นกับจิต แล้วตัวอารมณ์ที่มีความคิดที่เรียกว่า อวิชชา คือ

มีความติดอยู่ในมนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก

การตัดทั้ง 10 ประการนี้ ขอบรรดาพระโยคาวจรทุกท่านพยายามตัดให้สลายตัว แต่ผมก็ทราบดีว่าการตัดเดี๋ยวเดียวมันขาดไม่ได้ เรา

ก็ต้องพยายามตัดและขอทุกท่านจงอย่าท้อถอย จงอย่าคิดว่าการกระทำปฏิบัติตาม

คำสั่งสอนขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือตัดความชั่ว 10 ประการเป็นของยาก แต่ความจริงมันยากจริงแต่ว่าจงอย่า

ท้อถอย ถ้ามีกำลางท้อถอยละก็ถอยละก็ขอได้โปรดทราบ เราก็ถอยไปอยู่บ้านเสียดีกว่า จงอย่าอยู่วัดเพราะวัดเป็นที่ตัดกิเลส วัด

ไม่ใช่ที่สั่งสมกิเลส

ต่อไปนอกจากนั้นเราก็สนับสนุนทำบารมี 10 ประการ ให้ครบถ้วนให้เต็มกำลัง

บารมีข้อที่ 1 คือ ทานบารมี ทานบารมีนี่ส่งเสริมด้วยจาคานะสสติกรรมฐาน

2.ศีลบารมี ส่งเสริมด้วยพรหมวิหาร 4

บารมีที่ 3 ที่เรียกว่า เนกขัมมบารมี ส่งเสริมด้วยการระงับนิวรณ์ 5 เป็นเบื้องต้น

แล้วข้อที่ 4 ปัญญาบารมี คือยอมรับความจริง

ข้อที่ 5 วิริยบารมี คือมีกำลังต่อต้านต่อสู้กับอุปสรรคด้วยชีวิต

บารมีที่ 6 ขันติบารมี คือคิดต่อสู้ อดทนต่ออารมณ์ต่อต้านไว้เสมอ เพราะอารมณ์กิเลสน่ะมันมาก มันมีกับเราอยู่แล้ว ถ้าเราจะคิด

ต่อสู้กับมัน อดทนต่ออารมณ์ อดกลั้น ต่อสิ่งที่ไม่เคยสัมผัสมา

7.สัจจบารมี มีความจริงใจ คิดว่าเราตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติเพื่อมรรคผล พระนิพพาน

8.อธิษฐานบารมี ทรงอารมณ์แน่นอน ไม่ย้ายไปสู่อารมณ์อื่น คิดว่าพระนิพพานเป็นของเราแน่

9.เมตตาบารมี มีความรักอยู่เสมอ ไม่เป็นศัตรูกับใคร

10.อุเบกขาบารมี มีการวางเฉยในอารมณ์ปกติ และก็ใช้สังขารุเปกขาญาณคือวางเแยในขันธ์ 5 เป็นเครื่องประคับประคอง

อาการทั้ง 10 ประการ ทั้ง 2 อย่าง สังโยชน์ 10 และก็บารมี 10 สังโยชน์ 10 พยายามตัดพยายามละให้ค่อยๆ หมดไป จงใช้กำลังใจ

เป็นเครื่องต่อสู้ถือว่าเราเป็ฯสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู ยังไงๆ เราก็ต้องสุ้ได้แน่ เราไม่ยอม แพ้ต่อกิเลส และเราสามารถจะทรง

บารมี 10 ให้ครบถ้วนได้อย่างจริงจัง

นี่ขอเป็นกำลังใจของบรรดาทุกท่านที่เป็นพระโยคาวจร จะเป็นภิกษุ สามเณร หรืออุบาสก อุบาสิกาก็ตาม ขอคิดตัดสินใจทำตามนี้

ไว้เสมอ จงอย่าคิดว่ายากเกินไปถ้ายากเกินไปละก็ อบายภูมิมันเป็นของเรา เป็นของไม่ดีแน่ ค่อยๆ ละ ค่อยๆ ตัด ค่อยๆ คิด เหมือน

กันหินก้อนใหญ่ ถ้าค่อยๆ ทุบไปทีละน้อยๆ จะไม่ละการทุบเราก็สู้มันได้บ้าง เราก็แพ้มันบ้างเป็นของธรรมดา แต่เราจะไม่ยอมแพ้เด็ด

ขาด ต้องสู้เพื่อหวังการชนะ หวังว่าบรรดาพระโยคาวจรทั้งหลายทุกท่านคงจะปฏิบัติได้ตามนี้

ต่อนี้ไปก็จะนำเอาระเบียบปฏิบัติ การฟังทั้งหมดนี่ถือว่าเป็นระเบียบของวัดฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทโปรดทราบ ว่าระเบียบนี้จะ

ใช้จำกัดเฉพาะในเขตในวัดของเราเท่านั้น สำหรับท่านที่มาจากที่อื่น เวลาที่เข้ามาปฏิบัติอยู่ที่นี่ต้องปฏิบัติร่วมกัน มีความคิด มี

ความเห็น มีการตัดร่วมกัน แต่ว่าท่านกลับไปอยู่ในที่ของท่านเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ต่อไปนี้ก็จะนำพระสูตรที่มีความสำคัญ ที่

เรียกว่า อุทุมพริกสูตร พระสูตรนี้มีความสำคัญมาก ที่เรียกว่า อุทุมพริกสูตร พรุสูตรนี้มีความสำคัญมาก ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยืนยันว่าเราสอนแบบนี้ และก็

บรรดาพระสาวกของเราปฏิบัติตามนี้มีผลจริงต่อนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ฟังอุทุมพริกสูตร และก็จำไว้ด้วยว่าสิ่งใดที่

พระพุทธเจ้าว่าไม่ดีเราจะไม่ทำอย่างนั้นเด็ดขาด สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าว่าต้องทำ เราก็ทำอย่างนั้นเด็ดขาด ทำแน่นอนมั่นคง และจง

อย่าคิดว่ายากเกินไปถ้ายากเกินไปก็อยู่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ อยู่ไม่ได้ ไปไหน กลับบ้าน ตายแล้ว ไปไหน ไปนรก

อุทุมพริกสูตรที่ปรากฏขึ้นมาในหนังสือพระไตรปิฏก ฉบับสมโภชรัตนโกสินทร์ เป็นหน้าที่ 26 และก็เล่มที่เท่าไรเล่มที่ 11 นะ เล่มที่

11 หน้าที่ 26 เป็นสูตรที่ 2 ที่บอกไว้ก็เพื่อว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย และนักปราชญ์ทั้งหลายสงสัยจะได้ไปเปิดดู

ต่อไปนี้ก็ขอนำเอาสำนวนของพระไตรปิฏกล้วนๆ มาอ่านให้ท่านฟัง แต่ว่าตาผมก็ไม่ค่อยดีนะ อ่านเร็วๆจะไม่ไหว มองไปมันก็ไม่

ค่อยเห็น เพราะสภาพของร่างกายจะอายุ 70 นี่มันก็แย่ วันนี้เป็นที่ 21 กันยายน 2526จะได้ทราบว่าบันทึกเสียงไว้ตั้งแต่วันที่เท่าไร

และผมเองก็แก่เหลาเหย่ ใกล้จะตายแล้ว พระสูตรนี้ ตั้งใจจะนำมาพูดนานแล้ว แต่ก็ไม่มีโอกาสเพราะป่วยไข้ไม่สบายมาหลายปี

เวลานี้ก็ยังป่วยอยู่

ต่อนี้ไปก็นำเอาถ้อยคำที่บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลาย 500 รูป ทำสังคายนาครั้งแรก ที่พระอานนท์บอกว่าเป็นถ้อยคำขององค์สมเด็จ

พระบรมครู มาพูดกันให้ท่านฟัง ท่านบอกว่าสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏในเขตนครราชคฤห์ สมัยนั้น

นิดครธปริพพชกอาศัยอยู่ที่ปริพพาชการามของนางอุทุมพริกา พร้อมไปด้วยบริษัทคือลูกศิษย์ บริษัทของท่านหมู่ใหญ่มีประมาณ

3,000 ท่าน โอ้โฮ! ไม่น้อยเลยนะครับ ครั้งนั้น ท่านสันธานคฤหบดี ซึ่งเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์ ออกจากพระนครราฃ

คฤหบดีก็ดำริว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นเวลาอันสมควร ที่จะเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน

เพราะว่าพระผู้มี

พระภาคเจ้ายังกำลังทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด แม้ภิกษุทั้งหลายผู้อบรมใจก็มไใช่สมัยที่จะพบเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายผู้อบรมใจยัง

หลีกเร้นอยู่ ถ้ากระไรเราก็ควรจะเข้าไปหานิโครธปริพพาชกยังปริพพาชการามของนางอุทมพริกา จึงเข้าไป ณ ที่นั้น ทีนี้ผมก็อ่าน

ตามพระไตรปิฏกเลยนะครับ

ก็ในสมัยนั้น นิโครธปริพพาชกนั่งอยู่แบปริพพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ กำลังสนทนาเดรัจฉานคาถา คำว่าคาถาที่แปลว่า วาจาที่เป็น

เครื่องกล่าว คำว่าเดรัจฉานคาถานี่เขาอกพูดขวางๆ เหมือนกับสัตว์เดรัจฉานนี่มันไปไนมันไปขวางๆ มนุษย์ เอาหัวขึ้น สัตว์เอาหัว

ไปตามทางที่ขวางๆ อันนี้ผมก็อธิบายนะครับ

ท่านบอกว่า พูดกันอย่างนี้ด้วยเสียงอึกทึกครึกโครม อึกทึกมาก คือพูดถึงเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ

เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม

เรื่องชนบท เรื่องนคร เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องดื่มสุรา เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรียกว่าเรื่อง

โลกๆ เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ เรื่องความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ อันนี้ทั้งหมดนี้ที่เรียกว่า เดรัจฉานภาถา เพราะพูดในเรื่องที่ไม่มี

การบรรลุมรรคผล คือพูดไปแล้วมันไร้มรรคไร้ผล

เป็นอันว่า เวลานั้นนิโครธปริพพาชกได้เห็นท่านสันธานคฤหบดีมาแต่ไกล จึงห้ามลูกศิษย์คือบริษัทของตนให้สลบว่า ขอท่านทั้ง

หลายเบาๆ เสียงน่ะเบาๆ หน่อยอย่าส่งเสียงอึกทึกนัก สันธานคฤหบดีนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังมา สาวกของพระสมณโค

ดมเป็นคฤหัสถ์ที่นุ่งผ้าขาวมีปริมาณเท่าใด อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์

บรรดาสาวกทั้งหลายเหล่านั้น ท่านสันธานคฤหบดีก็เป็นสาวกคนหนึ่ง ท่านทั้งหลายเหล่านั้นชอบเสียงเบา และกล่าวสรรเสริญคุณ

ของเสียงเบา และบางทีสันธานคฤหบดี นั้นทราบว่าบริษัทมีเสียงเบาแล้ว จะพึงสำคัญที่จะเข้ามาก็ได้ เมื่อนิโครธปริพพาชกกล่าว

อย่างนั้น บรรดาพวกปริพพาชกทั้งหลายเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่

ท่านกล่าวต่อไปว่าครั้งนั้นแล ทั้งสันธานคฤหบดีเข้าไปหานิโครธปริพพาชกถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยนิดครธปริพพาชก ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และได้กล่าวกับนิโครธปริพพานชกว่า ปริพพาชก อัญญเตียรถีย์ผู้เจริญ

เหล่านี้ คำว่าอัญญะนี่เขาแปลว่าต่างๆ นะครับ ไอ้คำวาเดียรถีย์ นี่แปลว่าภายนอก ไม่ใช่ด่ากันเจ็บช้ำ เดียรถีย์นี่ไม่ใช่พวกเดียวกัน

คนละพวก

ท่านกล่าวว่า พวกปริพพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้เจริญเหล่านี้มาพบกันมาประชุมกันแล้วมีเสียงดังอึกทึกขวนขวายในดิรัจฉานคาถาต่างๆ

เรื่องกันอยู่โดยประการอื่นนี่แล คือขวนขวายในเรื่องของพระราชา เรื่องโจรเป็นต้นด้วยประการดังนั้น ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

พระองค์ทรงเสพราวไพร คำว่าเสพแปลว่าอยู่ อยู่ราวไพรในป่าเสนาสงัดมีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลม และคนผู้เดิน

เข้าออก นั่นหมายความว่า ลมไม่ค่อยจะมี คนเดินเข้าออกก็ไม่เกลื่อนกล่น สมควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ และก็สมควร

แก่การหลีกเร้นโดยประการอื่น

เมื่อสันธานคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านนิโครธปริพพาชกก็กล่าวกับท่าน สันธานคฤหบดีว่า เอาเถิดคฤหบดีท่านถึงรู้พระสมณโค

ดม นี่เป็นว่าท่านสัธานคฤหบดีพูดอย่างนั้นน่ะเขาโกรธ โกรธท่านสันธานคฟหบดีก็เลยเป็นการท้ากันขึ้นมาว่า เอาเถิด คฤหบดีท่าน

ถึงรุ้พระสมณดคดมจะทรงเจรจากับใครได้ หมายความว่าจะพูดกับใครได้ จะถึงการสนทนากับใครได้ จะถึงความเป็นผู้ฉลาดไปด้วย

ปัญญากว่าใคร ปัญญาของพระสมณโคดมไม่กล้าเสด็จเที่ยวไปในบริษัท ไม่สามารถที่จะทรงเจรจา พระองค์ท่านทรงเสพที่อันสงัด

ภายใน ฉะนั้นเอาเถิด คฤหบดี

พระสมณโคดม พึงเสด็จมาสู่บริษัทนี้ พวกข้าพเจ้าจะสนทนากับพระองค์ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้นเห็นจึงถึงบีบรัดพระองค์ท่าน

เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่าฉะนั้นมองดูเวลาเหลืออีก 5 นาที บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย และบรรดาพระโยคาวจรทั้ง

หลาย ตอนนี้เรื่องราวของอุทุมพริกสูตรยังไม่ไปไหน แต่อารมณ์ที่น่าคิดในตอนนี้ก็คืออารมณ์ของนิโครธปริพพาชก นั้นคือพอมีคน

มาตำหนิเข้าเท่านั้นก็ปรากฏว่า นั่นคือพอมีคนมาตำหนิเข้าเท่านั้นก็ปรากฏว่า นิโครธปริพพาชกซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โกรธทันทีทันใด

ความจริงอาการอย่างนี้เป็นอาการที่ไม่ดี บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย ต้องคิดไว้เสมอว่าพวกเราก็เช่นเดียวกัน การที่จะไม่ถูก

ตำหนิจากคนน่ะไม่มีแน่ เพราะว่าตามธรรมดาของคน คนเขาแปลว่ายุ่ง และก็คนส่วนใหญ่เขาจะไม่มองดูตัวเอง เขาจะมองแต่

เฉพาะบุคคลอื่นว่าชั่วอย่างนั้น เลวอย่างนี้ ประพฤติไม่ถูกแบบนั้นประพฤติไม่ถูกแบบนี้ แต่ครั้นไปถามเขาจริงๆ ว่าศีล 5 หรือกรรมบถ

10 ท่านปฏิบัติได้ครบไหมและก็ระวังๆ นะครับ ถ้าไปย้อนถามเข้าแบบนั้น ความโกรธจะเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาทันที เพราะว่าบรรดา

พวกคนทั้งหลายเหล่านี้หาความดีไม่ค่อยจะได้

นี่ผมพูดถึงคนนะไม่ใช่มนุษย์ ถ้ามนุษย์ละก็ บรรดาท่านที่เป็นมนุษย์นี่ท่านมีกรรมบถ 10 ครบถ้วน คือกายไม่ฆ่าสัตว์ กายไม่ลักทรัพย์

กายไม่ประพฤติผิดในกาม วาจาพูดแต่วาจาจริง พูดแต่วาจาไพเราะ พูดวาจาสร้างความสามัคคีวาจาดีใดที่เป็นประโยชน์ท่านพูด

แบบนั้น สำหรับกำลังใจของท่านที่เป็นมนุษย์ก็คือท่านไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของใครเอามาเป็นของตน และไม่มีอารมณ์ที่เป็น

อกุศล คือคิดจะทำลายล้างบุคคลอื่นให้พินาศ

จิตใจของท่านก็ไม่มีความหวั่นหวาดในการสร้างความดี มีความเห็นถูกอยู่เสมอ ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาฉะนั้นบรรดาท่านทั้ง

หลายโดยถ้วนหน้าที่ฟังอยู่เวลานี้ เวลานี้ทุกคนพยายามทำใจของตนไว้เสมอว่า นัตถิโลเก อนินทิโต คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก

พวกเราทั้งหมดต้องถูกนินทาว่าร้ายกันแน่ อย่างนี้ถือว่าเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง เพราะว่าองค์สมเด็จพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็เถอะ ก็ถูกนินทาว่าร้ายถูกด่าต่อหน้าอยู่เสมอ ฉะนั่นขอทุกท่านจงสังวรรู้ไว้ ทำกำลังใจให้ดี

สำหรับวันนี้มองดูเวลาก็หมดเสียแล้วนี่ท่านทั้งหลาย ในตอนนี้ก็ของดไว้ก่อนเอาไว้ฟังกันตอนต่อไป ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒ

นมงคล สมบูรณ์พูนผล จงมีแต่บรรดาท่านทั้งหลายทุกคน สวัสดี

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 08:31:30 »
ฟังประกอบ
[youtube=425,350]H2LDMEVNc3Q[/youtube]
[youtube=425,350]siFcCcMmWWc[/youtube]
[youtube=425,350]Nv8cOlcQnGE[/youtube]
[youtube=425,350]IQhUdXwKF-I[/youtube]

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 08:35:00 »
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (4)


ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย ตอนนี้ก็มาพบกับระเบียบปฏิบัติด้านทางจิตใจของสำนักต่อไป เป็นอันว่าระเยียบนี้มีความสำคัญ ถ้าว่า

ท่านผู้ใดจะเข้ามาบวชในที่นี่ก็ดี หรือว่าบวชอยู่แล้วก็ดี ถ้าเขาปรารภว่าระเบียบนี้หนักเกินไปละก็ เขาไม่สามารถจะปฏิบัติได้ ขอคณะ

กรรมการสงฆ์และพระสงฆ์ทุกองค์ ช่วยกันเชิญเขาออกไปจากวัดทันที เพราะอลัชชีประเภทนี้ไม่ควรมีในสำนัก

สำหรับระเบียบปฏิบัติเราไม่ได้บังคับกันเกินไป ว่าจะต้องทำให้ได้ทันทีทันใด ถ้ายังตัดไม่ได้ก็ให้ระงับใจไว้ก่อน อย่าให้มันฟูออกมา

จากจิต ฟูจากใจ ไหลมาถึงปากไหลมาถึงกายอย่างนี้ใช้ไม่ได้

ถ้ายังตัดไม่ได้ให้ระงับไว้ในใจ คือใช้ขันติอดทนเข้าไว้ใช้ได้ อย่าลืม ถือว่า เป็นระเบียบที่เราจะต้องปฏิบัติกันในสำนักจริงๆ สิ่ง

ที่เราจะต้องตัดกันในปัจจุบันก็คือ สังโยชน์ 10 ที่เราปฏิบัติพระกรรมฐานกันนี่ ถ้าเราไม่

ตัดสังโยชน์ 10 เราก็ไม่ควรจะทำเลย ถ้ายังทำไม่ได้ก็ตัด 3 ค่อยๆ ตัดยังไงๆ มันมีผลแน่ 3 ก็คือ

1.สักกายทิฏฐิ ที่มีความเห็นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เป็นต้น หรือที่มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะไม่ตาย ร่างกายนี่สะอาด

ร่างกายจะทรงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย อย่างนี้เป็นสักกายทิฏฐิที่มีความเห็นผิด ทำลายความดีมีแต่ความทุกข์นี่การเข้าไปตัก

สักกายทิฏฐิที่มีความเห็นผิด ทำลายความดีมีแต่ความทุกข์นี่การเข้าไปตัดสักกายทิฏฐิ

อันดับแรกก็ถือว่ามีความเห็นอยู่เสมอว่า ร่างกายนี้มันจะต้องตาย มันจะทรงกายอยู่ไม่ได้ อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระ

โสดาบัน ถ้ามีความรู้สึกว่าร่างกายนี้สกปรกโสโครก เรามีความรังเกียจในร่างกาย จนกระทั่งกามฉันทะไม่เกิดขึ้นกับใจ ไม่ใช่ของเรา

เราไม่สนใจในมัน มันจะแก่ก็เชิญแก่ มันจะป่วยก็เชิญป่วย มันจะตายก็เชิญตาย เรามีอารมณ์เฉย ไม่สะดุ้งสะเทือน คิดวาตายเมื่อไร

เราไปนิพพานดีกว่า มีความสุขกว่า อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

ต่อไปสังโยชน์ข้อที่ 2 ก็คือ วิจิกิจฉา มีความสงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือไม่ยอมเชื่อพระพุทธเจ้า ถ้า

มีขึ้นอย่างนี้เชิญออกไปจากวัดทันที เราจะต้องยอมรับนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่สงสัยด้วยปัญญา

และก็ 3 สีลัพพตปรามาส การลูบคลำศีลไม่ปฏิบัติศีลจริงจังอย่างนี้ อย่าให้มีในเขตของวัด ทั้งบรรดาพุทธบริษัทและพระโยคาวจร

ทั้งหลาย ก็ต้องทรงอารมณ์ด้วย คือเราจะรักษาศีลอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติทุกสิกขาบทตามเพศของเรา เราเป็นฆราวาสก็ศีล 5 ก็ได้

ศีล 8 ก็ได้ตามใจ เณรศีล 10 พร้อมไปด้วยเสขิยวัตรอีก 75 พระก็มีศีล 227 พร้อมด้วยอภิสมาจาร และก็มีธรรมปฏิบัติอีกด้วยถ้าทรง

อารมณ์ 3 ประการคือ เมื่อร่างกายจะต้องตายแน่ ไม่เมาในกายมีความเลื่อมใสเชื่อในพระพุทธเจ้า ไม่สงสัยในความดี

ของท่าน ทรงศีลครบถ้วนทุกประการโดยเคร่งครัด

จิตต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน อย่างนี้ท่านเรียกว่า พระโสดาบัน หรือ สกิทาคามี

ต่อไปก็ตัด กามฉันทะ คือความพอใจในกามคุณ ตัดด้วยกายคตานุสสติกับอสุภกรรมฐาน ตัดอารมณ์ปฏิฆะ คืออารมณ์หวั่น

ไหวในการสัมผัสในอารมณ์ต่างๆ ความไม่พอใจมีอยู่เสมอ อย่างนี้ตัดด้วยพรหมวิหาร 4 ถ้าทำอาการทั้ง 2 อย่างนี้ไม่ปรากฎ คือชื่อ

ว่าเป็น พระอนาคามี

ต่อไปก็ใช้ปัญญาดีสักนิด คือไม่ติดใน รูปฌาน การติดในรูปฌานก็ดี ติดในอรูปฌาน ก็ดี ไม่ใช่ของดีติดเกาะแค่นั้นไป

นิพพานไม่ได้ ถือว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นกำลังใหญ่เพื่อช่วยในการตัดกิเลส เราจะไม่หยุดยั้งอยู่ในขั้นรูปฌานและอรูปฌาน

ตัด มานะ การถือตัวถือตนตัด อุทธัจจะ คืออารมณ์ที่คิดว่า นิพพานไกลมากเกินไป ไปไม่ไหล เราจะตั้งใจต่อสู้อุทธัจจะ

ด้วยการคิดว่า เราต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ ที่เรียกกันว่าอุปสมานุสสติกรรมฐานแล้วตัด อวิชชา

ด้วยความคิดเห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเราทิ้งไปตัดอารมณ์ติดในมนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก ตัดความพอใจใน

โลกธรรมทั้ง 8 ประการ คือมีลาภชอบใจ ลาภเสื่อมไปเสียใจ มียศชอบใจยศหมดไปเสียใจแล้วก็มีความสุขชอบใจ มีความทุกข์ไม่

ชอบใจ อย่างนี้เป็นต้น หรือว่าถ้าใครเขาสรรเสริญมาชอบใจ ใครเขาติมาไม่ชอบใจ อันนี้ตัดอามรณ์ไป อันนี้เป็นอารมณ์ของความ

โง่ เพราะขึ้นชื่อเสมอว่า คำนินทาและสรรเสริญไม่เป็นสาระสำหรับบุคคล ผู้รับฟังนี่เรื่องต้องตัดและเรื่องต้องเสริม

สำหรับอีก 10 ทำให้เต็มอัตรา นั่นคือ

1.ทานบารมี ทานการให้เป็นการตัดโลภะความโลภใช้จาคานุสสติสนับสนุน

2.ศีลบารมี เป็นการทรงพรหมจรรย์ที่มีความสำคัญ ทรงศีลด้วยพรหมวิหาร 4 และก็

3.เนกขัมมบารมี ระงับนิวรณ์ 5 ประการ และก็

4.ปัญญาบารมี ใช้ปัญญาใคร่ครวญตามความเป็นจริง

5.วิริยบารมี ต่อสู้อุปสรรคด้วยประการทั้งปวง ถือว่าตายดีกว่าที่จะยอมแพ้

6.ขันติบารมี มีความอดทน อะไรที่ไม่พอใจตัดไม่ไหว เก็บไว้ในใจก่อนอย่าให้มันไหลมาทางกายและวาจา

7.สัจจบารมี ตั้งใจไว้ว่าเราจะทำสิ่งใดเพื่อนนิพพาน เราจะทำอย่างนั้น แน่นอน ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

8.อธิษฐานบารมี ทรงใจแน่นอนไม่ถอนกำลังใจ

9.เมตตาบารมี คิดไว้ว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์เสมอ จะไม่เป็นศัตรูกับใคร

10.อุเบกขาบารมี วางเฉยต่ออารมณ์ที่ไม่ชอบใจเป็นปกติ

อารมณ์อย่างนี้ทั้งหมดของบรรดาพระโยคาวจร ผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคตพยายามทำเป็นปกติ จงอย่าคิดว่าเกินวิสัย

สำหรับเรา ไม่มีพระอรหันต์องค์ไหนทานเป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่ในท้องแม่ ทุกท่านก็๖องต่อสู้กับอุปสรรคเช่นเดียวกับเราเหมือนกัน

ดูตัวอย่างพระอานนท์ ทานอดทนอารมณ์อย่างนี้อยู่เสมอก่อนที่จะเข้ามาบวชท่านก็มีอารมณ์เหมือนเรา มาพบองค์สมเด็จพระสัมมา

สัมพุทธเจ้าท่านเป็นพระโสดาบัน และก็ต้องเป็นพระโสดาบันอยู่นานเกิน 20 ปี แต่ว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์นิพพานแล้วจึงได้เป็น

อรหันต์ ท่านอดทนไหว ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่เป็นภิกษุสามเณรก็ดี และก็เป็นญาติโยมพุทธบริษัทก็ดีให้

ปฏิบัติคิดว่า สิ่งทั้งหลาเหล่านี้ไม่เกินวิสัยสำหรับเรา อารมณ์ทั้งหมดถือเป็นระเบียบของสำนักที่จะต้องปฏิบัติ ใครบอกว่าเคร่งครัด

เกินไป เคร่งเกินไปเชิญท่านไปออกจากวัดนี้ ในการตัดก็จงคิดว่าการตัดจริงๆ น่ะมันทีเดียวไม่ไหว เมื่อยังตัดไม่ได้อดใจไว้ก่อน

อย่างนี้ใช้ได้ ความดีมีอยู่ ควรคบหาสมาคม

ต่อนี้ไปก็มาฟัง อุทุมพริกสูตร ต่อจากที่แล้วมา อุทุมพริกสูตรบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า จะเป็นภิกษุสามเณร

อุบาสก อุบาสิการก็ตามจะต้องปฏิบัติเหมือนกันในฐานะที่มาเจริญพระกรรมฐาน ท่านปฏิบัติตามนี้ไม่ได้ก็ถือว่าเป็นอาภัพบุคคล เป็น

บุคคลที่หาความเจริญไม่ได้ ก็ไม่ควรจะอยู่ในเขตของพระพุทธศาสนา เพราะฝ่าฝืนคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เรื่องต่อไปนี้นะ ผมเวลาอ่านหนังสือเล่มมันใหญ่ เวลากลางคืนตาก็ไม่ค่อยดีอ่านถูกมั่งไม่ถูกมั่งไม่ถูกมั่งไม่ถูกมั่ง พลั้งเผลอไปก็

ขออภัยด้วย ถ้าเผลอไปและพลั้งไปผมจะย้อนใหม่ต่อจากที่แล้วมาเลย

ต่อจากนั้นไปท่านบอกว่า หลังจากที่ทั้งสองท่านท่านสนทนากันแล้ว วันก่อนนะสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับการเจรจาของ

ท่านสันธานคฤหบดี กับ นิโครธปริพพาชกนี้ คือพระพุทธเจ้าอยู่ยอดเขาคิชฌกูฏไม่ได้อยู่ใกล้ๆ ท่านบอกฟัง ได้ยินด้วยอำนาจ

ทิพโสตธาตุ นั่นหมายความว่า หูของท่านเป็นทิพย์โดยประสาทจริงๆ ไม่ใช่ทิพจักขุฐาณอย่างเรา อย่างพวกเรา ถ้าต้องการใช้หูเป็น

ทิพจักขุญาณคือรู้ด้วยกำลังของญาณเป็นทิพย์ ที่เรียกว่ามีทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ท่านบอกว่า ล่วงจากหูของบรรดามนุษย์ทั่วไป คือ

พระพุทธเจ้าน่ะทรงเป็นอัจฉริยะมนุษย์ เป็น

มนุษย์อัศจรรย์จริงๆ

ท่านกล่าวว่า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเขาคิชฌกูฎ การเสด็จลงมานุ่ไม่ใกล้นะท่านทั้งหลาย มันไกล แต่ว่าการเสด็จ

ของท่านมาในคราวนั้นในที่บางแห่งบอกท่านเหาะลงมา เดินน่ะคงจะไม่ไหวก็ได้

เพราะพระพุทธเจ้านี่ท่านมีฤทธิ์เป็นกรณีพิเศษไม่เหมือนพวกเรา ท่านลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ แล้วก็เสด็จไปยังที่ให้เหยื่อแก่นกยูง

หมายความเป็นสถานที่ใกล้ๆ ท่านเดินไปเดินมาตามพระบาลี บอกว่าจงกรม จงกรมนี่เค้าแปลว่าเดิน ที่ฝั่งสระโบกขรณีมีชื่อว่าสุมา

คธา แล้วตามหนังสือบอกว่า ครั้นแล้วเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้งเดินไปเดินมา ณที่นั้นที่ให้เหยื่อแก่นนกยูงที่ฝั่งสระโบกขรณีที่ชื่อว่าสุ

มาคธาพอนิโครธปริพพานชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ณ ที่แจ้ง ในที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งโบกขรณีที่มีชื่อว่าสุมาคธา จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่าของท่านทั้งหลายจงเบาๆ พูดเบาๆ เสียงลงมาหน่อยอย่าส่งเสียงอื้ออึงนัก พระสมณโคดมนี้

เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง และก็อยู่ที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบกขรณีที่มี

นามว่าสุมาคธา พระองค์ท่านโปรดเสียงเบา และกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบาบางทีพระองค์ท่านจะทรงทราบว่าบริษัทนี้มีเสียง

เขาแล้ว ก็พึงสำคัญที่จะเสด็จเข้ามาก็ได้ ถ้าว่าพระสมณโคดมจะพึงเสด็จเข้ามาสู่บริษัทนี้แล้วไซร้ เราจะถึงทูลถามปัญหากับ

พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพระผู้มีพระภาคสำหรับทรงแนะนำบรรดาสาวกนั้นชื่อว่าอะไร ธรรมชื่ออะไร สำหรับรู้แจ้ง

ชัด อธิพรหมจรรย์อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสาวก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้วถึงความยินดีในเมื่อนิดครธปริพพาชกกล่าว

อย่างนี้แล้ว พวกปริพพาชกนั่งหลายเหล่านั้นก็นิ่งอยู่นี่เป็นอันว่า พวกเขาไม่มีการสงบสงัดก็ล่อกัน จ้อกแจ้กๆ เสมอนะ

ตามพระบาลีท่านบอกว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปหานิโครธปริพพาชกถึงที่อยู่แล้ว นิโคธปริพพาชกจึงกราบทูลเชิญพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเถิดพระเจ้าค่ะ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว นานๆ พระองค์จึงจะมีโอกาสเสด็จมาที่

นี่ ขอเชิญประทับนั่งตรงนี้คือ อาสนะที่จัดไว้แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ให้ นิโครธปริพพาชกถือเอา

อาสนะหนึ่งที่ต่ำกว่า และอยู่ส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามนิโครธปริพพาชกว่า ดูก่อนนิโครธะ บัดนี้ พวกท่านสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ อันนี้เป็นลีลาของ

พระพุทธเจ้าและบรรดาพระสาวกทุกคน ขอท่านที่รับฟังอยู่ได้โปรดทราบ พวกท่านได้มโนมยิทธิบางท่านอาจจะมีจิตละเอียด มี่

ความสัมผัสในอารมณ์ของบุคคลหนึ่งเป็นเรื่องลี้ลับถ้ามีอารมณือย่างนั้นละก็ขอได้โปรด ถ้ารู้แล้วต้องทำเป็นไม่รู้เสมอนะครับ ตอน

นี้เป็นเรื่องของผมน่ะ ผมพูดนะไม่ใช่บาลี ต้องดูตัวอย่างพระพุทธเจ้าที่ท่านฟังมาชัดแล้วไม่ว่าที่ไหนเรื่องอะไรทั้งหมดเป็นแบบนี้

เหมือนกัน พระองค์สมเด็จพระสุคตไปที่ไหนก็ต้องถามว่า เวลานี้เธอคุยกันเรื่องอะไร อันนี้เป็นลีลาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และ

ก็เรื่องอะไรเล่าที่พวกท่านสนทนากันอยู่ยังค้างอยู่

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพพานชกก็กราบทูล่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค

เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง และอยู่ที่ให้เหยื่อแนกยูงที่ฝั่งสระโบกขรณีที่มีนามว่าสุมาคธา จึงได้กล่าวคำอย่างนี้ว่า

ถ้าว่าพระสมณโคดมจะพึงเสด็จเข้ามาสู่ที่นี่แล้วไซร็ พวกเราจักพึงถามปัญหานี้แก่พระองคืวา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพระผู้

มีพระภาคเจ้าสำหรับทรงแนะนำพระสาวกนั้นชื่ออะไร ธรรมชื่ออะไร สำหรับรู้แจ้งชัด อธิพรหมจรรย์อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสาวก

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้วถึงความยินดีข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้แล้วที่ข้าพระองค์สนทนากันค้างอยู่ ก็พอดีพระองค์

เสด็จเข้ามาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ดูก่อนนิโคธะ การที่ท่านมีความเห็นไปทางหนึ่ง และมีความพอใจไปทางหนึ่ง มี

ความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความพยายาม ไม่มีลัทธิอาจารย์ ยากที่จะรู้ธรรมที่เราแนะนำพระสาวก ยากที่จะรู้ธรรมสำหรับผู้รู้แจ้ง

อธิพรหมจรรย์ อันเป็นที่อาศัยแห่งพระสาวกที่เราแนะนำ แล้วถึงความยินดี เชิญเถิด นิโครธะ ท่านจงถามปัญหาในการหน่ายบาป

อย่างยิ่ง ในลัทธิอาจารย์ของตน ให้ถามกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การหน่ายบาปด้วยตบะที่บริบูรณ์ คำว่าตบะนี่

แปลว่าความเพียร เป็นเครื่องเผาบาปนะ ตบะ จำไว้ด้วยภาษาบาลีเขาว่า ตบะ เขาแปลว่าความเพียรเป็นเครื่องเผาบาป มีอย่างไร

หนอแลที่ไม่บริบูรณ์ และก็มีอย่างไรหนอที่บริบูรณ์ เมอพระผมพระภคเจตรสอยงนแลวพวกปริพพานชกทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นผู้มี

เสียงดังกึกก้องอึกทึกกันว่า อัศจรรย์นักท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาเลย

ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดมมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พระองค์ จักหยุดวาจาของพระองค์ไว้ จัดปรารถนาด้วยวาทะของผู้อื่น นี่ก็

หมายความว่าเขาถามถึงลัทธิของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ยังก่อน ยังก่อน

ถามถึงลัทธิของพวกเธอก็แล้วกัน หมายความว่ายังงี้นะ ตอนนี้ผมก็จะอ่านเรื่อยๆ ไปตอนไหน ควรจะปฏิบัติก็จะบอก นี่ตาก็ชักจะมอง

ไม่ค่อยเห็นแล้ว

ตามพระบาลีท่านกล่าวต่อไปว่า ครั้งนั้น นิโครธปริพพาชก ห้ามบรรดาปริพพาชกทั้งหลายเหล่านั้นให้เสียงเบาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้

มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์แลกล่าวการหน่ายบาปด้วยตบะที่บริบูรณ์มีอย่างไรหนอแล ที่ไม่บริบูรณ์เป็น

อย่างไรหนอแล เหลือเวลาอีก 8 นาที เอ้า ก็ว่าไปตามเวลา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้เป็นคน

เปลือย (แก้ผ้าอย่างอเจลกนะ) เป็นคนเปลือยไร้มรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้รับบิณฑบาต คือรับอาหารก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่

หยุด ไม่รับภิกษาที่เขานำมาไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำไว้โดยเฉพาะ ภิกษาคืออาหาร ว่าถึงอาหารก็แล้วกัน เข้าใจง่ายนะ ไม่รับ

อาหารที่เขานิมนต์ ไม่รับอาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากหม้อข้าว หมายถึงเขาใส่บาตรด้วยหม้อข้าวไม่รับ ไม่รับอาหารที่

บุคคลยืนคร่อมธรณี ประตูนำมา หมายถึงก่อนที่เขาจะนำมาเขายืนคร่อมธรณีประตู แล้วก็มาใส่ขันใส่บาตรไม่เอา ไม่รับอาหารที่

บุคคลยืนคร่อมครกนำมา ไม่รับอาหารที่บุคคลยืนคร่อมสากแล้วก็นำมา ไม่รับอาหารที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้แล้วก็นำมา ไม่รับ

อาหารที่บุคคล 2 คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้ลูกดื่มนม หมายความว่า

แม่ลูกอ่อนนะ ไม่รับอาหารของเขาที่นัดแนะทำกันไว้ ไม่รับอาหารในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู หมายความเวลานั้นเขาเลี้ยงสุนัขแล้ว

เขาก็อาหารนี่ไม่ใช่สุนัขกินนะ แต่ยืนเพื่อจะใส่บาตร อีกส่วนหนึ่งเขาให้สุนัข ไม่ยอมรับไม่รับอาหารในที่แมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ

ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดองไม่รับอาหารที่เรือนหลังเดียว แล้วก็เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสองคำบ้าง อี

ตอนก่อนนี้น่ากลัวจะพลาดนะ

ท่านบอกไม่รับไม่ถูก เขารับอาหารที่เรือนหลังเดียว และก็กินคำเดียวบ้าง รับอาหารที่เรือน 2 หลังแล้วก็กิน 2 คำบ้าง รับอาหารที่

เรือน 7 หลัง แล้วก็กิน 7 คำบ้าง อันนี้เข้าใจง่ายกว่า แล้วก็ เยียวยาอัตภาพไปด้วยอาหารในถาดน้อย ๆ ใบเดียวบ้าง ในถาดเล็กๆ 2

ใบบ้าง ในถาดเล็กๆ 7 ใบบ้าง กินอาหารที่มีระหว่าเว้นวันหนึ่งบ้างหมายความวันหนึ่งกินบ้าง เว้นหนึ่งวันกินบ้าง และก็เว้น 2 วันกิน

บ้าง เว้น 7 วันกินบ้าง เป็นผู้ประกอบไปด้วยความขวนขวายในการบริโภคที่เวียนมา มีระหว่างเว้น ท่านว่ายังงั้นนะ ตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้

บ้าง เขาเป็นผู้มักดองเป็นอาหารบ้าง กินเฉพาะผักดอง มีข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินเฉพาะข้าวฟาง มีลูกเดือยเป็นอาหารบ้าง กิน

เฉพาะลูกเดือย มีกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินเฉพาะกากข้าวอย่างอื่นไม่กิน มียางหรือว่าสาหร่ายเป็นอาหารบ้าง มีรำเป็นอาหารบ้าง

มีข้าวตังเป็นอาหารบ้าง มีกำยานเป็นอาหารบ้างมีหญ้าเป็นอาหารบ้าง มีโคมัยคือขี้วัวเป็นอาหารบ้าง มีเหล้าและไม้ในป่าเป็นอาหาร

บ้าง บริโภคผลไม้หล่นเองอย่างเดียวเยียวยาอัดภาพ คือเฉพาะ ผลไม้ที่หล่นนะไม่หล่นไม่กิน เขาทรงผ้าป่านบ้าง คือนุ่งผ้าป่านบ้าง

ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเหลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือมีทั้งเล็บบ้าง อันก่อนไม่มีเล็บนะ เวลามันจะ

หมดลืมดูเวลา และก็มี ผ้าคากรองบ้าง เป็นต้น

ก็รวมความว่า ไอ้เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ วันนี้ไม่จบ ไม่จบเพราะเวลามันหมดนะครับ ก็เป็นอันว่าฟังๆ กันไว้ให้ดีนะส่วนที่ว่ามา

นี้ทั้งหมดน่ะ องค์สมเด็จพระบรมสุคตท่านบอกว่าใช้ไม่ได้เลย สำหรับในตอนนี้ก็ต้องหยุดแค่นี้ซิครับ เพราะว่าเวลามันหมดนี่ ขอ

บรรดาท่านทั้งหลายที่เป็นสาวกของสมเด็จพระบรมสุคต ผมก็เกือบจะดูเวลาย้อนหลังอีกนิดหนึ่ง สังโยชน์ 10 ประการพยายามริดรอ

นอยู่เสมอ ผมไม่ได้บังคับว่าจำจะต้องตัดได้เด็ดขาด แต่ทางที่ดีนะขอรับ สังโยชน์ 3 ประการคือ

1.มีความคิดว่าร่างกายนี่มันต้องตาย

2.ไม่สงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

3.ทรงศีลให้บริสุทธิ์ และจิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์

อย่างนี้ควรทำให้ได้ เพราะเป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ถ้าเราทำไม่ได้จริงๆ เราขาดทุนนะขอรับ เกิดเป็ฯมนุษย์ ถ้ากลับเป็นสัตว์

นรกอีกมันแย่

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 08:38:32 »
หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,1
[youtube=425,350]-iaeFsbn6SI[/youtube]

หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,2
[youtube=425,350]y52gXkGWXr8[/youtube]

หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,3
[youtube=425,350]AnePxI6AWGk[/youtube]

หลวงพ่อฤๅษีลิงดํา กรรมฐาน40,4
[youtube=425,350]MawWsG5VBe0[/youtube]

ออฟไลน์ boomee

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 339
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 09:06:25 »
ขอบคุณที่นำมาให้อ่าน และ ให้ชมครับ :001:
หากตัวท่านไรซึ่งความหวัง  กายท่านจะคงอยู่เพื่อสิ่งใด

ออฟไลน์ jidarsarika

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 93
  • เพศ: หญิง
  • อาจาริโย วันทามิ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 10:50:58 »
ขอบคุณสำหรับธรรมมะดีๆ ค่ะ
พุทธัง ธรรมมัง สังฆัง มาตาปิตุโร อาจาริโย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 08 เม.ย. 2554, 07:27:53 »
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (5)


พระโยคาวจรทั้งหลาย ตอนนี้ก็มาพบกันเรื่องระเบียบปฏิบัติ สำหรับระเบียบปฏิบัตินี่ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่จะเป็นภิกษุ

สามเณรก็ดี อุบาสก อุบาสิกาก็ดี ขอให้ถือเป็นหลักปฏิบัติที่มีความสำคัญมาก เพราะมิฉะนั้นแล้วก็จะถือว่าเราไม่ใช่สาวกขององค์

สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราคัดค้านคำสอนของท่าน ที่ว่าคัดค้านเพราะว่า เราฟังคำสอนของท่านแล้ว เรา

ไม่ยอมปฏิบัติตาม ในเมื่อไม่ยอมปฏิบัติตามนี่ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า เดียรถีย์ คือ ไม่ได้ถือว่าเป็นสาวกของพระองค์

ฉะนั้น ขอบรรดาพระสงฆ์ก็ดี ภิกษุ สามเณรก็ดี อุบาสกอุบาสิกาก็ดี ที่ท่านตั้งใจมาปฏิบัตินี้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเคร่งครัด สำหรับสิ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัตินั่นก็คือ การตัดให้ได้แน่นอน ถ้าตัดไม่ได้ก็ระงับไว้ อย่าให้มันดิ้น

ออกมาจากใจ ผมไม่ได้บังคับว่า จะต้องตัดได้ทันทีทันใด ไม่ได้บอกว่าตัดได้หมด ทั้งหมดครบถ้วน ทั้งนี้เพราะว่าสังโยชน์ 10

ประการนี่ไม่ใช่ของเบานัก แต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับคนเอาจริง

สังโยชน์ 10 ประการที่เราต้องตัดแน่นอนก็คือ

1.สักกายทิฏฐิ ที่มีความเห็นว่า ร่างกายนี้มันจะทรงตัวอยู่เสมอ มันไม่รู้จักตาย มันไม่รู้จักเปลี่ยนแปลงซึ่งมันไม่ต้องกับความเป็นจริง

ให้คิดไว้เสมอว่า ร่างกายนี้มีสภาพเมื่อไร ไม่ช้าก็ตามมันต้องตายแน่ ร่างกายมีสภาพสกปรกโสโครก เหมือนกับถุงอุจจาระเคลื่อนที่

ได้ร่างกายไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ทั้ง 3 อย่างนี้ ถ้าคิดว่าถึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรามันจะหนักเกินไป

ถ้าคิดว่าร่างกายนี้จะต้องตายอยู่เสมอ แล้วไม่ประมาทในชีวิต อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน คิดว่าร่างกายสกปรกโสโครก

จนกระทั่งมีความรังเกียจในร่างกาย รังเกียจในร่างกายเราด้วย รังเกียจในวัตถุธาตุด้วย

อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอนาคามี เห็นว่าร่างกายนี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรามันเป็นแต่เพียงธาตุ 4 เข้ามาทรงตัว มีความเกิดขึ้น

แล้วก็มีแก่ มีป่วย มีตายในที่สุด เรามีอาการวางเฉยในอาการต่างๆ ของมัน ไม่สนใจในมัน มีอารมณ์ปกติอย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระ

อรหันต์

ถ้าหากว่าเราคิดอย่างนี้ไม่ได้จริงๆ ก็ระงับไว้ อย่าให้ใจมันกำเริบ ถ้าใจกำเริบ คิดว่าร่างกายนี้จะเป็นอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย แล้วก็มี

ความประมาทมากสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถือว่ายังเป็น อนิยตบุคคล

แล้วข้อที่ 2. วิจิกิจฉา หารสงสัยในความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องไม่มีในจิตใจของเรา

ข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส การลูบคลำศีล นั่นหมาความว่า ปฏิบัติศีลไม่จริง ก็ไม่มีในคติของเรา

4. ตัด กามฉันทะ คิดไว้เสมอว่า เราจะตัดมันด้วยกายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐาน

5. ปฏิฆะ อารมณ์ไม่พอใจ เราจะตัดมันด้วยพรหมวิหาร 4 กสิณ 4

6. เราจะไม่เมาใน รูปฌาน

7. อรูปฌาน

8. เราจะตัด มานะ การถือตัวถือตนอย่าให้มีในใจ

9. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านนั่นไซร้ เราจะตัดออกไปจากใจของเรา เราจะมีอารมณ์ต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน

10. เราจะตัดด้วยเหตุด้วยผลว่า คนเราทุกคนที่เกิดมาแล้วมันเป็นทุกข์ไม่มีอารมณ์ของความสุข สิ่งที่เราต้องการคือนิพพาน วาง

เฉยในขันธ์ 5 นี่เป็นเรื่องของสังโยชน์ สำหรับบารมี 10 ประการให้ทบทวนไว้เสมอนะครับ

1. คิดจะให้ทานเป็นการตัดโลภะ ความโลภ ด้วยจาคานุสสติ

2. ศีลบารมี รักษาศีลให้ครบถ้วนด้วยพรหมวิหาร 4

3. เนกขัมมบารมี อารมณ์คิดว่าเราจะบวช ญาติโยมพุทธบริษัทที่มาอยู่ในวัดนี้ก็ถือว่า ท่านมีเนกขัมมบารมีด้วยกันทุกคน เพราะว่า

ทุกคนพ้นจากการเป็นสามี ภรรยา

4. ปัญญาบารมี คิดรับรองความเป็นจริงของขันธ์ 5

5. วิริยบารมี มีความพากเพียร ทำลายกิเลสให้สิ้นไป

6. ขันติบารมี อดทน กำลังใจบับยั้งไม่ทำให้กิเลสเฟืองฟู

7. สัจจบารมี คิดไว้เสมอว่า เราจะทรงความจริงที่เราตั้งใจไว้ อะไรก็ตามถ้าเป็นความจริงใจเราจะทรงไว้ไม่ยอมคลายตัว

8. อธิษฐานบารมี เราตั้งใจไว้อย่างไร ตั้งใจดีไว้โดยเฉพาะ จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

9. เมตตาบารมี คิดแต่ในด้านของความดีไว้โดยเฉพาะ จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

10. อุเบกขาบารมี เราจะวาเฉยในกรรมทั้งหลายทั้งหมด แก่ก็เฉย ป่วยก็เฉย ตายก็เฉย พลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เฉย คิดว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นธรรมดาของการเกิดมาในโลกเท่านี้พอ

เป็นอันว่าบารมีทั้ง 10 ประการนี้ ต้องทรงให้ครบถ้วนนะขอรับ ถ้าไม่ครบถ้วน เราเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา หวังว่า

ทุกท่านคงจะไม่คิดว่ายากเกินไป

ต่อนี้ไปผมจะนำ อุทุพริกสูตร ต้องย้อนกลับใหม่แล้วนะขอรับ คราวที่แล้วมามันไม่จบ ตาของผมก็ไม่ค่อยจะดี นัยน์ตาไม่ดีไม่เป็นไร

เป็นหวัดเสียด้วย กำลังป่วยอยู่นะครับ ไม่เป็นไร ไปๆ มาๆ ก็ได้ยินเสียการเป่าการสั่งน้ำมูกเข้ามาในไมโครโฟน เอ้า! ก็ไม่เป็นไร มัน

เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ผมน่ะมันป่วยทุกวันไม่ใช่ป่วยเฉพาะวันนี้ ป่วยมาเป็นสิบๆ ปี ก็เป็นเรื่องของมัน อย่านึกว่า ผมเป็น

อรหันต์นะขอรับ ผมไม่ได้คิดว่าผมเป็นพระอริยเจ้า ผมคิดแต่เพียงว่า เวลานี้ผมเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เท่านั้น ก็มาคุยกันเรื่องนิโครธปริพพาชกย้อนกลับ ไม่อย่างงั้นมันจะไม่จบ จะฟังไม่ต่อเนื่องกันเป็นอันว่า ครั้งนั้น นิโครธปริพพาชก

ได้ห้ามปริพพาชกบริวารเหล่านั้นให้เบาเสียงแล้ว ได้กราบทูลองค์องค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์แลกล่าวการหน่ายบาปด้วยตบะ การติดการหน่ายบาปด้วยตบะอยู่ การหน่ายบาปด้วยตบะที่

บริบูรณ์ มีอย่างไรหนอแล แล้วก็ที่ไม่บริบูรณ์เป็นอย่างไรหนอแล

นี่ผมอ่านพระไตรปิฏกเลยนะครับ อย่าคิดว่าสำนวนเฟ้ยๆ แบบนี้มันไม่เข้าใจผมก็ไม่รู้ล่ะ ในเมื่อเป็นสำนวนพระอรหันต์ท่านว่ามา ผม

ก็ต้องยอมรับท่านแล้วก็ยอมรับด้วยความเต็มใจนะขอรับ เป็นอันว่าต่อไปพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลที่มีตบะใน

โลกนี้ คำว่าตบะนี่เป็นความเพียร เป็นเครื่องเผาบาป คือ

ตั้งใจเผากิเลสให้มันหมดไป แต่ว่าเป็นการเผากิเลสตามแบบฉบับของพราหมณ์ ท่านบอกว่า เป็นคนเปลือยหนึ่งหมายความว่า แก้ผ้า

ไม่มีเครื่องนุ่งห่มกันเลย แล้วก็ ไร้มรรยาท ไม่ระวังมรรยาท ปล่อยตามสบาย ๆแล้ว เสียมือไม่ไหนก็เสียมือเรื่อย ๆ เขาเชิญให้รับ

อาหารก็ไม่มา เธอเคร่งนะ ในบาลีท่านบอกว่า รับภิกษาภิกษาคืออาหารของเขา ขอใช้ศัพท์ภาษาไทยเลยนะครับ เขาเชิญให้รับ

อาหารก็ไม่มาเขาเชิญให้หยุดก็ไม่ยอมหยุด ไม่ยอมรับอาหารที่เขานำมาไว้ก่อน ไม่ยอมรับอาหารที่เขาทำไว้เฉพาะ ไม่ยอมรับ

อาหารที่เขานิมนต์ ไม่รับ

อาหารจากปากหม้อ คงจะเข้าใจไม่ยากนะ ไม่รับอาหารจากหม้อข้าว ไม่รับอาหารที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูแล้วก็นำมา ไม่รับ

อาหารที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้แล้วก็นำมา ไม่รับอาหารที่บุคคลสองคนที่กำลังบริโภคอยู่ หมายความว่าเขากำลังกินอยู่ แต่ว่าเขา

เตรียมไว้ให้แต่ไม่ยอมรับแกนั่งกินกัน 2 คนล่ะตะนี้ข้าไม่เอาละมั่นเป็นกิเลสเขาว่าอย่างนั้น ไม่รับอาหารจากหญิงที่มีครรภ์ หมาย

ถึงว่า หญิงลูกอ่อนนะครับ ไม่ใช่ดื่มนมเวลานั้น ไม่รับอาหารที่เขานัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารที่สุนัขรับเลี้ยง อะไรนี่ ได้รับเลี้ยงดู

คือ ไม่รับอาหารที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู หมายความว่าเขากำลังเลี้ยงอาหารสุนัขอยู่ แต่เขาเตรียมอาหารใส่บาตรไว้แล้วก็ไม่ยอม แก

มีหมาอยู่ฉันไม่เอา ไม่รับอาหารที่แมลงวันตอมเป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ที่เรียกว่า มังสวิรัติ ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาด

อง เขารับอาหารที่เรือนหลังเดียว แล้วก็กินข้าวคำเดียวบ้าง รับอาหารเรือน2 หลัง กินข้าว 2 คำบ้าง รับอาหารจากเรือน 7 หลัง กิน

ข้าว 7 คำบ้าง เยียวยาอัตภาพไปด้วยอาหารในถาดน้อยๆ ใบเดียวบ้าง 2 ใบบ้าง 7 กินอาหารที่มี ระหว่างวันเว้นวันหนึ่งบ้าง คือว่า

กินข้าว 1วัน แล้วก็เว้นไป 1 วันนะ

นี่มันก็เสียงหนักบ้าง เสียงเบาบ้าง ผมอ่านหนังสือนี่มันก็เดี๋ยวก็ปากใกล้ ไมโครโฟนบ้าง ไกลไมโครโฟนบ้าง แล้วก็ เว้นไป 2 วัน

บ้าง เว้น 3 วันบ้าง ถึงเว้น 7 วัน เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวาย ในการบริโภคภัตที่เวียนมา หมายความว่า การให้เรื่อยๆ นะ แล้ว

ก็มีระหว่างเว้นตั้งครึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง ก็หมายความว่าเว้นได้มาแล้วกินไป 1 วัน เว้นไปครึ่งเดือนบ้าง ดูท่าทางก็เคร่งดี เขาเป็นผู้มีผัก

ดองเป็นอาหารบ้าง กินเฉพาะกากข้าว แล้วมียางและมีสาหร่ายเป็นอาหารบ้าง มีรำเป็นอาหารบ้าง มีข้าวตังเป็นอาหารบ้าง มีกำยาน

เป็นอาหารบ้าง มีหญ้าเป็นอาหารบ้าง มีโคมัย คือมีกินขี้โคโดยเฉพาะ เป็นอาหารบ้าง มีเหล้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภค

ผลไม้หล่นเองอย่างเดียว คือไม่สอย ไม่ขึ้น ถ้าหล่นจึงจะกิน ไม่หล่นจึงจะกินไม่หล่นไม่กิน เขาทรง คือนุ่ง ผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกัน

บ้าง คือผ้าป่านกับใยอื่นผสมกันบ้าง แล้วก็ ผ้าห่อศพบ้างผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือที่มีเล็บบ้าง ผ้า

คากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขน

ปีกนกเค้าบ้าง แล้วก็ เป็นผู้ถอนผมและหนวดบ้าง ก็คือ ประกอบด้วยความขวนขวายในการถอนผมและถอนหนวดบ้าง

เอ้า! ก็ฟังไว้ก็แล้วกันนะ ไม่เป็นสาระหรอก แต่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นสาระแต่เรื่องนี้เป็นเรื่องเละ เป็นผู้ยืนคือห้ามอาสนะบ้าง

หมายความว่ายืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เป็นผู้นั่งกระหย่งบ้าง ไม่นั่งแบบอื่น คือ ประกอบไปด้วยความเพียรในการนั่งกระหย่งบ้าง เป็น

ผู้นอนบนหนาม คือสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคง

ข้างเดียวบ้าง เป็นผู้หมักหมมไปด้วยธุลีบ้าง คลุกฝุ่นน่ะ เปื้อนช่างมัน เป็นผู้อยู่กลางาแจ้งคือไม่ยอมเข้าในร่มบ้าง เป็นผู้นั่งอาสนะ

ตามที่ลาดไว้ เป็นผู้บริโภคคูถบ้างเป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง กินเฉพาะน้ำร้อน เป็นผู้อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง

บ้าง คือ

ประกอบความขวนขวายในการอาบและลงน้ำบ้าง ดูก่อนนิโครธปริพพาชก ท่านสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ

หน่ายบาปด้วยตบะเป็นการหน่ายที่บริบูรณ์หรือไม่บริบูรณ์

นี่พระพุทธเจ้าตรัสลัทธิของพราหมณ์ที่แล้วๆ มา เพราะว่าเป็นลัทธิของพราหมณ์แต่ละคนๆ นะ ไมีใช่ว่าพราหมณ์ทุกคนจะปฏิบัติกัน

เหมือนกันทุกอย่างแต่ละคนๆ ย่อมปฏิบัติต่างๆ กัน อันนี้ก็ฟังต่อไป แล้วท่านก็ย้อนถามว่า อย่างนี้ล่ะบริบูรณ์หรือยัง นิโครธปริพพา

ชกกราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้นการหน่ายบาปด้วยตบะ คือความเพียรเป็นเครื่องเผาบาป เป็นการหน่ายที่

บริบูรณ์หามิได้พระเจ้าข้า เขาบอกไม่เป็นเรื่อง แบบนี้เขาไม่ทำ เขาเห็นว่าไม่ดี เขาไม่ยอมทำตามนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ เรากล่าวว่าอุปกิเลสมาก อย่างในการหน่ายบาปด้วยตบะ แม้ที่บริบูรณ์อย่างนี้แล นั่น

หมายความว่า การปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วนี่ มีอุปกิเลสอยู่มาก เราจะเป็นว่าการไม่ดื่มสุราเมรัยเป็นของดีแต่ว่า พวกพราหมณ์เขา

ไม่ได้หมายถึงทางจิต เขาคิดอย่างเดียวหมายถึงทางกาย ไอ้การทำไป

อย่างนั้นเป็นการถือตัวถือตน ทะนงตนว่าฉันทำดี ฉันทำเลิศ ฉันทำประเสริฐ ยังมีกิเลสฝังอยู่ในใจมาก นี่ขอความกรุณาเข้าใจตามนี้

นะครับ จะเห็นว่าบางอย่างเขาดี ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบอกว่าไม่ดี เหลือเวลาอีกเท่าไหร่ อีก 10นาที

ตอนนี้ท่านบอกว่า ด้วยอุปกิเลสของบุคคลผู้มีตบะ หมายความว่า คนที่ทำความเพียรเพื่อเป็นการเผาบาปนี่ ทำไปไม่ถูกต้องมันก็มี

อุปกิเลส คำว่า .อุป. นี่แปลว่าเข้าไป หรือว่าใกล้หรือว่ามั่น กิเลสแปลว่าความเศร้าหมองของจิต หมายถึงว่าเดินเข้าไปหาความชั่ว

ของจิตนั่นเอง ฟังนะครับ 10 นาทีจะหมดหรือไม่หมด ผมไม่รู้เหมือนกัน ท่านกล่าววา นิโครธปริพพาชกทูลถามว่า ข้าแต่พรพอง่ค์ผู้

เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปกิเลส คือความเศร้าหมองของจิตมากอย่างในการหน่ายบาปด้วยตบะที่บริบูรณ์ แล้วอย่างนี้

อย่างไรเล่าพระเจ้าข้า นี่เขาถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ ย่อมถือมั่นตบะ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนี่แล ย่อมเป็น

อุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ นั่นหมายความว่า ถ้าทำอย่างไงก็นึกว่าดี ถ้าพอใจกค่นี้แล้วไม่ยอมรับฟังจากใคร ไอ้นี่เป็นอุปกิเลส แล้ว

ท่านก็กล่าวต่อไปว่า ดูก่อนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลที่มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น แม้

ข้อมีผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้นนี่แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ นี่ถือว่าของฉันดี คนอื่นสู้เขาไม่ได้นะครับ

แล้วต่อไปท่านบอกว่า นิโครธะ คำอื่นที่เราควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อมเมา ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความ

เมาด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่มีตบะถือมั่นตบะ เมา ลืมสติ ถึงความเมาด้วยตบะนั้นนั่นแล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่ผู้มีตบะนั้น จำให้ดีนะครับ

ผมจะไม่อธิบาย ฟังไปแล้วก็มีเทปนี่ ไม่เข้าใจก็ไปฟัง ไอ้ที่มนควรละ

ท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะคือความเพียรเป็นเครื่องเผาบาป ย่อมถือมั่นตบะ เขา

ให้ลาภสักการะ ความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภ สักการะและความสรรเสริญ แม้ข้อที่ผู้

มีตบะดีใจ มีความกำริบริบูรณ์ด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญอ่างนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่ผู้มีตบะนั้น นี่หมายความว่า ตั้งใจ

จะทำลายบาป ไปยินดีกับลาภ สักการะคำสรรเสริญ นี่ใช้ไม่ได้ เป็นโลกธรรม

ท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่เราควรจะกล่าวอยู่มีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาให้ลาภ สักการะ และความ

สรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมยกตนข่อผู้อื่นด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ นั้นหมายความว่า มีลาภยินดีในลาภ เขา

สรรเสริญยินดีในการสรรเสริญ ข่มผู้อื่นว่าแกนี่ไม่เท่าฉัน แกมีลาภน้อยกว่าฉัน แกมีคนสรรเสริญเยินยอน้อยกว่าฉัน อันนี้เป็นกิเลส

แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ ยังลาภ สักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภ สักการะ และความ

สรรเสริญ ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะนั้น นั่นเดี๋ยวนี้ก็หมายความว่า เวลากำลังประพฤติธรรมอยู่ ใครเขายกย่องสรรเสริญ ตั้ง

ยศถาบรรดาศักดิ์ให้ก็เลยนึกว่าเด่น เอ๊ะ ไอ้คนที่ไม่มียศสู้ฉันไม่ได้ นี่แหละ อันนี้ แหละลาภสักการะสรรเสริญแล้วท่านกล่าวต่อไปว่า

ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรจะกล่าวยังมีอู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาให้ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะ

นั้นเขาย่อมเมา ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความเมาไปด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นในตบะ ยังลาภ สัก

การะ ความสรรเสริญนั้นให้เกิดความขึ้นด้วยตบะนั้น เมาแล้วก็ลืมสติ ถึงความเมาด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ อย่างนี้ย่อม

เป็นอุปกิเลสแก่ผู้มีตบะนั้น รวมความว่าการประพฤติปฏิบัติ อย่าสนใจกับคำสรรเสริญ อย่าสนใจกับลาภ ได้มาทำเป็นประโยชน์

ต่อไปท่านกล่าวว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่เราควรจะกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ ย่อมถือมั่นส่วนสองในโภชนะทั้ง

หลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา ก็สิ่งใดแลที่ไม่ควรแก่เรา เขามุ่งละสิ่งนั้น แต่ส่วนสิ่งใดที่ควรแก่เขา เขากำลังลืมสติ ติด

ในสิ่งนั้น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคอยู่แม้ข้อนี้ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่ผู้มีตบะ นี้หมายความว่า ติดของอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า จงอย่าติดในร่างกายเรา อย่าติดในร่างกายเรา อย่าติดในร่างกายบุคคลอื่น อย่าติดวัตถุธาตุใดๆ

ทั้งหมด ต้องปฏิบัติอย่างนี้ นี่แกติดอยู่เป็นกิเลส

ท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อน นิโครกะ คำอื่นที่เราควรจะกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะด้วยคิดว่าพระราชา มหา

อำมาตย์ของพระราชากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ในลาภ สักการะ และสรรเสริญ แม้

ข้อนี้ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ที่ทำไปแล้วต้องการการเคารพนับถือ ต้องการลาภสักการะ ไม่ใช่ตัดกิเลส นี่มันยึดกิเลสทรง

กล่าวว่า นิโครธะ คำอื่นที่เรากล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ แต่ที่ไหนๆ ว่าก็ไฉน ผู้นี้เลียงชีพด้วย

วัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุกๆ อย่าง คือกินพืชเกิดเหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบ 5

อย่าง คือปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า คนทั้งหลายย่อมจำกันได้ด้วยวาทะเป็นสมณะ แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มี

ตบะ นี่หมายความว่า ถ้าตัวไม่กินและไม่มีกิน คนอื่นเขามีมากก็เลยรังเกียจเขา

ก็มองดูเวลามันไม่ทันจบก็หมดเสียแล้ว ต่อไปผมจะไม่ย้อนนะ เพราะว่าเทปมีอยู่ ทีนี้เมื่อเวลามันหมดผมก็ขอหยุดไว้เพียงเท่านี้ ก็

รวมความว่าการประพฤติสมณธรรมที่เรียกกันว่ากรรมฐานและพรหมจรรย์ เราจะต้องทำด้วยอารมณ์ไม่ติด ตามที่พระพุทธเจ้ากล่าว

ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า เราจะไม่สนใจในร่างกายของเรา เราจะไม่สนใจในร่างกายของบุคคลอื่น แล้วเราจะไม่สนใจในวัตถุธาตุ

ใดๆ ต้องเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละเพื่อวางจริงๆ

เอาล่ะ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง และบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรผู้ใคร่ธรรม ในเมื่อเวลาหมดแล้ว ก็ยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ การก

ล่าวอย่างนี้เป็นการศึกษาเป็นการยืนยันนะขอรับ ว่าพระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่าไม่ดี สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าว่าไม่ดี เราต้องไม่ทำอย่างนั้น

สิ่งใดที่องค์สมเด็จพระภควันตรัสว่าดี อย่างบารมี 10 ต้องทำอย่างนั้นวันนี้หมดเวลาแล้วก็ขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒ

นมงคล สมบูรณ์พูนผลจงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี
http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1992:--10--10--5-

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 10 เม.ย. 2554, 01:36:47 »
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (6)

โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

เวลานี้เวลาที่บันทึกเสียงเพื่อท่านเป็นเวลา 2 นาฬิกาของวันที่ 22 กันยายน 2526 เป็นเวลาสำหรับเจริญพระกรรมฐานแต่ทว่าการ

บันทึกเสียงคั่งค้างมาตั้งแต่หัวค่ำของวันคืนวันที่ 21 กันยายน 2526 ความจริงเวลานี้ผมป่วยไข้ไม่สบายอยุ่มากแต่การบันทึกเรื่องอุ

ทุมพริกสูตร หรือระเบียบการปฏิบัติ ตั้งใจมา 3 ปี โอกาสไม่มีเพื่อจะทำเพื่อกิจนี้ ฉะนั้นมีโอกาสเมื่อแรงมีอยู่บ้าง ความจริงเวลานี้

ท้องถ่าย คืนละ 4-5 ครั้ง เสียงก็ไม่ดี แต่ไม่เป็นไร ก็ทำเพื่อท่าน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเรียกบุญคุณจากท่าน และจะไม่ได้หวัง

ความชดเชยจากท่าน เป็นแต่เพียงห่วงว่า ผมน่ะมันใกล้จะตาย และอาการร่างกายก็ไม่ดี ก็เสียดายชีวิต คิดว่าถ้าไม่ได้ทำเรื่องนี้ ถ้า

ตายแล้วมันเสียทีเปล่า เพราะว่าปฏิปทาที่ปฏิบัติมา ปฏิบัติตามสายนี้

ต่อนี้ไปก็มาคุยกันถึงเรื่องระเบียบปฏิบัติ คำว่าระเบียบปฏิบัตินี้มันเป็นระเบียบปฏิบัติของผู้เอาดีกัน และเราก็ปฏิบัติตามแนวที่

พระพุทธเจ้าทรงแนะนำและคัดค้าน ส่วนใดที่พระพุทธเจ้าคัดค้าน เราไม่ทำสิ่งนั้น ส่วนใดที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญส่งเสริมเราทำ

สิ่งนั้น แล้วก็ก่อนที่จะพูดอะไรทั้งหมด ก็ให้ถือเป็นคติว่าการปฏิบัติของพวก

เราจะต้องละความเลว 10 อย่างก็คือ

1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความเห็นว่า ร่างกายของเราจะไม่ตาย ร่างกายของเรามีความสะอาด ร่างกายมันเป็นเรา เป็นของเราในร่างกาย

เป็นต้น นี่ต้องทิ้งไปต้องมีความรู้สึกอันดับต้นว่า ชีวิตคือร่างกายนี้มันต้องตายตามที่พระพุทธเจ้าตรัสดับ เปสการีว่า ชีวิตเป็นของไม่

เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง แล้วก็สอนให้เห็นตามความเป็นจริง ร่างกายของเราเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก มันเต็มไป

ด้วยเลือดเนื้อ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น แล้วชีวิตนี้ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นแต่เพียง

ธาตุ 4 เข้ามาผสมกัน สภาพของมันที่เกิดขึ้นมาก็คือ แก่ ป่วย พลัดพรากจากของรักของชอบใจ แล้วก็ตายไปในที่สุด ถ้ามันเป็นเรา

จริงเป็นของเราจริง มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น

2. วิจิกิจฉา ความสงสัยในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องไม่มีกับเรา เราจะต้องยอมรับนับถือคำสอน คำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าด้วยปัญญา

3. สีลัพพตปรามาส เราจะไม่ลูบคลำศีล คือไม่สักแต่ว่าบอกว่ารักษาศีล เราจะต้องรู้ว่าศุลของเราทั้งหมดมีกี่สิกขาบท ปฏิบัติให้

ครบถ้วนเพื่อความสุขของเราในปัจจุบันและสัมปรายภพ

ถ้าปฏิบัติครบทั้ง 3 ประการอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าพระโสดาบันหรือสกิทาคามี ความจริงทั้ง 3 ประการนี้ขอทุกคนพยายาม

ปฏิบัติให้ได้ จะได้ช้าได้เร็วไม่เป็นไร พยายามปฏิบัติ พยายามลดความเลว 3 ประการ

แล้วก็สร้างความดี 3 ประการให้เกิดขึ้น ต้องถือว่าชีวิตนี้ถ้าทำไม่ได้เราก็ตายเสียดีกว่าโด่ยเฉพาะอย่างยิ่งมโนยิทธิที่ได้ไปแล้ว

พยายามปฏิบัติให้เคร่งครัด ให้มีสภาพแจ่มใส และนำกำลังใจส่วนนั้นเข้ามาปฏิบัติ ตัดสังโยชน์ 3 ประการนี้ให้ขาดไปเป็นของทำไม่

ยาก

4. ที่เราจะต้องละแล้วก็เสริมนั่นก็คือ กามฉันทะ พยายามตัดความรู้สึกหรือว่าความเห็นที่ได้เห็นกามารมณ์เป็นของดี ให้ใช้กายคตา

นุสสติกับอสุภกรรมฐานเข้าสนับสนุน

5. ตัด ปฏิฆะ ความรู้สึกกระทบไม่ชอบใจ อารมณ์ที่กระทบกระทั่งใจคิดว่าอารมณ์อย่างนี้มันเป็นอารมณ์ไม่ดี เป็นปัจจัยให้เกิดความ

ทุกข์ ตัดมันด้วยพรหมวิหาร 4 หรือกสิณ 4 คือ กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว

6. ไม่หลงใหลใน รูปฌาน

7. ไม่หลงใหลใน อรูปฌาน

8. ไม่มี มานะ ไม่ถือตัวถือตน

9. ตัด อุทธัจจะ คือทรงกำลังใจให้ตรง มุ่งพระนิพพานเป็นที่ไป แล้วก็

10. ตัด อวิชชา ตัดความรู้สึกว่า โลกนี้ก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี เป็นของดี แล้วตัดความห่วงใย

ความมีความต้องการในร่างกายที่เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ ให้มีความรู้สึกเฉยต่ออาการที่มันเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในร่างกาย

ร่างกายจะแก่ก็ดี จะป่วยก็ดี จะพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็ดี จะตายก็ดี วางเฉย ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดานี่สิ่งที่ต้องตัด

แล้วสิ่งที่ต้องเสริมเข้ามาให้ครบถ้วนให้มีทุกวัน คือ

1. ทาน การให้ ใจคิดไว้เสมอว่าเราจะให้ ที่เรียกว่า จาคานุสสติกรรมฐาน เมื่อโอกาสมีเราให้ แต่การให้ต้องเลือกบุคคล อย่าให้คน

เลว

2. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ด้วยกำลังของพรหมวิหาร 4 แล้วก็

3. คิดไว้เสมอว่าเราเป็นพระก็ดี เป็นเณรก็ดี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดี เข้ามาอยู่ในวัดนี้ ทุกคนถือว่าเป็นผู้บวชแล้ว คือบวชกำลังใจให้

บริสุทธิ์ อันดับต้นพยายามระงับนิวรณ์ 5 อย่าให้นิวรณ์ 5 มันฟูขึ้นมา แล้วก็พยายามตัดสังโยชน์ 10 ทรงบารมี 10 ให้ครบถ้วน

ถือเป็นการบวชแน่นอน ถึงแม้ว่าไม่ห่มผ้าเหลือง ก็ถือว่าเป็นการบวช แล้วก็

4. ปัญญาบารมี ใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริงเพื่อละกิเลส

5. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้ทำอุปสรรคไม่ย่อท้อ

6. ขันติ อดทนต่ออารมณ์ที่ต้านทาน คือความเลวมันจะต้านทาน อารมณ์เลวเดิมมั่นจะต้านทานเราเราต้องต่อสู้มันด้วยขันติ อดทน

ไว้ อดกลั้น ให้มันมีอยู่แค่ในใจ อย่าให้ไหลมาถึงกายและวาจา

7. สัจจะ ทรงความจริงเป็นปกติ แล้วก็

8. อธิษฐาน ตั้งใจไว้อย่างไร ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

9. เมตตา ปกติมีความเมตตาปรานี คิดว่าคนก็ดี สัตว์ก็ดี ในโลกนี้เป็นมิตรที่ดี สำหรับเรา

10. อุเบกขา วางเฉย เฉยต่ออารมณ์ที่เป็นโลกีย์วิสัย แล้วก็เฉยต่อสภาวะของาขันธิ์ 5 ที่เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ

ก็รวมความว่าทั้ง 10 ประการนี้ ขอบรรดาทุกท่านปฏิบัติให้ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเราถือว่า

เราบวชเพื่อความดับไม่มีเชื้อตามความประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ่เจ้า ถึงแม้วามันจะดับ มันจะปฏิบัติได้ไม่นานนัก

ถึงวาระท่านต้องลาสิกขาแล้วญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ถึงวาระต้องกลับบ้านก็ตามที แต่ความดีนี้ไม่ต้องลด ไปบ้านเราก็ทำได้

แต่การที่จะพึงทำ ก็ดูตามความเหมาะสม อันดับแรกคือ คงองค์ของพระโสดาบัน นี่ขอบรรดาพุทธบริษัททุกท่านถ้าไปบ้านแล้ว

อย่าพึงละต่อไปนี้ก็มาพูดกันถึงเรื่องของการแนะนำในอุทุมพริกสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกวามันเป็นของไม่ดี สิ่งที่

สร้างกิเลสให้เกิดขึ้นในใจ อย่าลืมว่า เราทำนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เราปฏิบัติกันเพื่อเพื่อละกิเลส ก็ต่อจากที่แล้วมานั่น

เลยมันดึกสงัด ตี 2 ก็เสียงมันก็ไม่เป็นเรื่องก็ไม่เป็นไร สู้แค่มีกำลังสู้ได้ เสียงแหล เสียงแห้งไม่เป็นไร ดีกว่าไม่มีเสียงเลย เพราะ

ความตายเข้ามาถึง

ต่อนี้ไปก็ขอต่อ พระพุทธเจ้าตรัสกับนิโคธะว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ คำว่าตบะแปลว่า ความ

เพียรเป็นเครื่องเผาบาปบาปให้เร่าร้อน นั่นก็หมายความว่า มีความเพียรในการทำลายบาปให้สิ้นไป หรือความชั่วให้สิ้นไป บาปคือชั่ว

ท่านบอกว่า บุคคลผู้มีตบะเห็นสมณะ หรือพราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพนับถือ บูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาดำริอย่างนี้ว่า คนทั้ง

หลายย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาสมณะหรือพราหมณ์ผู้ชื่อนี้ ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลายอย่างในสกุลทั้งหลาย แต่ไม่สักการะ ไม่

เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีวิต ด้วยวัตถุที่เศร้าหมอง เขาเป็นผู้แห่งความริษยา เป็นไหม อารมณ์ริษยาเขาเป็นผู้แห่ง

ความริษยา  และความตระหนี่ที่เกิดขึ้นในตระกูลทั้งหลายเหล่านั้น แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ เอ้า! ผมจะอ่าน

เรื่อยๆ ไปนะ ข้อความไม่ยาก จึงกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่เราควรจะกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้นั่งใน

ที่เป็นทางแลเห็น หมายความว่าบุคคลผู้จะทำพระกรรมฐานนั้นนั่งให้ชาวบ้านเขาเห็น ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคล

ผู้มีตบะ ระวังให้ดีนะการเจริญพระกรรมฐานต้องนั่งในที่ลับๆ มันจะกลายเป็นโชว์ตัวไป

ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่เราจะกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเที่ยวแสดงตนไปในที่สกุลทั้งหลายว่า

กรรมอย่างานี้อยู่ในตบะของเรา คืออวดเขาว่าฉันเจริญกรรมฐาน เวลานี้ฉันได้มโนมยิทธิแล้วเวลานี้ฉันได้ฌานสมาบัติ เวลานี้ฉันได้

มรรคได้ผล อันนี่ละ ระวังให้ดี กรรมแม้นี้ในตบะของเรา แม้ข้อนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เป็นอุปกิเลสแก่บุคคลแก่

บุคคลผู้มีตบะ เห็นไหม แทนที่จะทำให้ดีกลับทำให้เลวด้วยคนทำ

และท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรจะกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเสพโทษอันปกปิดบางอย่าง เขาถูกผู้อื่น

ถามว่า โทษอย่างนี้ควรแก่ท่านหรือ และกล่าวโทษที่ไม่ควรว่าควร กล่าวโทษที่ควรว่าไม่ควร เขาเป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่อย่างนี้ แม้

ข้อนี้ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้บำเพ็ญตบะ ในอย่างนี้มีเยอะนะความจริงนักบวชที่เราเรียกว่าพระก็มีเยอะเหมือนกัน

และท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรจะกล่าวยังมีอีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคตหรือพระสาวกของพระตถาคต

แสดงธรรมอยู่ ย่อมไม่ผ่อนตามปริยายซึ่งควรจะผ่อนตามอันมีอยู่ แม้ข้อนี้แลก็ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ นั่นหมายความว่า

พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี เวลาเทศน์ท่านเทศน์เพื่อตัดกิเลสแต่ก็มีมานะว่าของฉันแน่กว่า ไม่ยอมรับ ถือว่าเป็นอุปกิเลส มัน

เป็นอยู่จริงๆ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าปรับ ดูก่อนนิโครธะท่านกล่าวอีกว่า คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มักผูก

โกรธ แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ

และต่อไปท่านบอกว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้ลงหลู่ แล้วตีเสมอริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มี

มายาคือเจ้าเล่ห์ ไม่ตรงไปตรงมา แข็งกระด้าง ถือตัวจัด เป็นผู้มีความประมาท และมีความประพฤติลามกไปสู่อำนาจแห่งความ

ปรารถนาอันลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือมีความเห็นผิด ประกอบไปด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด หมายความว่าเลวแล้วไม่ยอมถอย เป็นผู้ลูล

คลำทิฏฐิ คำว่าทิฏฐินี้แปลว่าความเห็น ทิฏฐิที่ดีๆ เอาแค่ลูบคลำเฉยๆ บอกฉันทำอย่างงั้น ฉันทำอย่างงี้ ฉันทำอย่างโง้น ฉันละแบบ

นี้ แบบนี้ แต่ไม่จริงอะไรโกหก เป็นผู้ถือมั่น สละคืนได้ยาก ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้ถือมั่นสละคืนได้ยาก ก็

หมายความว่า ถืออย่างไหนถืออย่างนั้น สอนไม่ตรงกับที่ฉันปฏิบัติมา ฉันไม่เอาสอนไม่ตรงกับที่ฉันมีความเห็นอยู่ฉันไม่เอา ไอ้แบบ

นี้ก็ไม่ต้องห่วง นรกแน่

พระองค์จึงกล่าว่า ดุก่อนนิโครธะ ท่านจะถึงสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉนการหน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้เป็นอุปกิเลสหรือวาไม่เป็น

อุปกิเลส นิโครธะ ปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การหน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้เป็นอุปกิเลสแท้ พระเจ้าข้า ไม่เป็น

อุปกิเลสก็หามิได้ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ พึงเป็นผู้ประกอบไปด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่าง ข้อนี้แลเป็นฐานะที่จะมีได้ จะป่วย

กล่าวไปใยถึงอุปกิเลสเพียงบางข้อๆ  นี่ขอย้อนกล่าวอีกหน่อยหนึ่งว่า ท่านบอกว่า นิโครธปริพพาชกกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ความหน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้เป็นอุปกิเลสแท้ หมายถึงว่าการปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี่ ตั้งแต่ต้นเลยนะครับไม่ใช่

ของดี เลว เป็นของเลวทั้งหมด อุปกิเลสที่ก่อให้จิตเศร้าหมอง คืออารมณ์เลว อารมณ์ที่จะนำเราไปสู่อบายภูมิ แล้วก็ท่านบอกว่า ไม่

เป็นอุปกิเลสหามิได้ หมายความว่าต้องเป็นอุปกิเลสแน่  บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้เป็นผู้ประกอบไปด้วยอุปกิเลส ท่านหมายความว่า

บุคคลที่ปฏิบัติสมถวิปัสสนาน่ะเวลานี้เวลาไหนก็ตาม ถ้าทำให้มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด แม้แต่อย่าง

เดียวก็หมายถึงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้สั่งสมกิเลส ไม่ใช่สั่งสมความดี ท่านบอกว่าพึงเป็นผู้ประกอบไปด้วยอุปกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ครบ

ทุกอย่าง ข้อนี้แลเป็นฐานะที่จะมิได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงอุปกิเลสเพียงข้อใดข้อหนึ่ง

นี่ท่านก็หมายความว่า ท่านนิโครธปริพพาชกยอมรับว่า คนที่ปฏิบัติความดีเพื่อละกิเลสที่เราเรียกกันว่าพรต หรือพวก

เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานตามที่ทำๆ กันมาเนี่ย มักจะยึดเอาอุ)กิเลส คือความชั่วทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่อง

ครองใจ ไม่ได้มีความหวังว่า เพื่อจะละกิเลสให้สลายตัวไป

ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายกับพระโยคาวจร คำว่า พระโยคาวจรนี้ก็หมายความว่าท่านที่ประกอบความดีเพื่อตัด

กิเลสให้เป็นสมุจเฉทปทาน รวมความว่าตอนต้นที่กล่าวมา แต่ความจริงฟังแล้วมันเหนื่อยๆ ท่านก็อาจจะคิดว่าผมเอาอะไรมาอ่านก็

ไม่รู้ ฟังแล้วเฉื่อยๆ ดีไม่ดีก็หลับไปหรือรำคาญ แต่ทั้งนี้ก็ต้องการให้ทุกท่านทราบว่า การปฏิบัติพระกรรมฐานเพื่อละกิเลส อย่าลืมว่า

เราปฏิบัติกันเพ่อความดับไม่มี่เชื้อ ระเบียบ  ตอนเย็นเราก็กล่าวตามคติขอหลวงพ่อปานว่า นิพพานัสละ สัจฉิกิริยา ยะ เอตัง กาสาวัง

คเหตวา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัสตร์มาเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

ถึงแม้ว่าญาติโยมพุทธบริษัทที่ไม่มีผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ว่าการที่ท่านมาอยู่วัดอยู่ในสภาพของพรหมจรรย์ ท่านมีสามี ท่านมีภรรยา

แล้ว แต่ว่าเวลานี้ท่านไม่ได้คำนึงถึงภาวะของความเป็นสามีภรรยา อยู่กันอย่างพรหม ถึงว่าจะมาร่วมกันพร้อมกันทั้งสามีภรรยา เราก็

งดเว้นกามคุณชั่วคราว อย่างนี้ก็ถือว่าท่านเป็นนักบวชที่ดีคนหนึ่งจะถามว่าผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้นใช่ไหมที่เป็นบวช ก็ต้องตอบว่า

ไม่ใช่ นักห่มผ้ากาสาวพัสตร์ใด ถ้าปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามทีพระพุทธเจ้าตรัสมาแล้ว ที่ตรัสมาแล้วทั้งหมดนี้ใช้อะไรไม่ได้เลย

เป็นความเลวทั้งหมด ถ้ากำลังของบุคคลใดยังยึดถือความเลวนี้เป็นสำคัญก็หมายความว่า ไอ้การบวชกันนี่อย่าถือจีวรสบงเป็น

สำคัญนะ ไม่ได้ต้องทำดีกัน

ทีนี้เราจะพิจารณากันพิสูจน์ดูว่า ที่ปฏิบัติมาแล้วทั้งหมด หรือว่าที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวมาแล้วทั้งหมดในลัทธิของพราหมณ์ ว่ามี

ความเลวทุกอย่างไม่ใช่ความดี ไม่ใช่ทางมรรคผล ทีนี้ผมเองก็ไม่กล้าวินิจฉัยคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทศพล ที่ไม่กล้าก็ไม่ใช่

ว่าจะกลัวพระพุทธเจ้าเสียเกินไป ไม่กล้าจะแตะต้องอะไรแต่ความจริงผมก็กลัวจริงๆ เพราะอะไร เพราะว่าผมเองเคยวินิจฉัยคำ

แนะนำของพระพุทธเจ้าผิดมาหลาวยาระ สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงคิดว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ แล้วผมก็คิดว่าจะเป็นได้

อย่างไงนี่  ในระยะต้นๆ ผมเรียนนักธรรม ผมเรียนบาลี เคยมีตอนหนึ่งเป็นตอนที่สำคัญ ทีอ่งค์สมเด็จพระทรงธรรมบริศาสดากล่าวไว้

ในโอวาทปาติโมกข์ ผมก็ขอจำยันตาย ท่านกล่าวว่า สัพพปาปัสสะ อกรณัง ท่านทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทั้งหมด กุสลัสสูป

สัมปทา จงทำแต่ความดี สจิตตปริโยทปนัง จงทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส เอตัง พุทธาน สาสนัง พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้

เหมือนกันหมด ตอนที่บอกว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด นี่ผมสงสัย สงสัยว่า นิพพานมีสภาพสูญ พระพุทธเจ้า

องค์อื่นๆ นิพพานไปหมดแล้ว แล้วสมเด็จพระประทีปแก้วทรงรู้ได้อย่างไงว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด

หนังสือมันก็มีไม่ได้ ไฟไหม้ไปหมด มันนับเป็นเวลาเป็นล้านๆ ปี ถึงแม้ว่าจะเป็นกัปเดียวกัน เวลาเป็นล้านๆ ปี ทีนี้ไม่มีอะไรมันเหลือ

นี่ความเลวของผมในเวลานั้นถึงขั้นนี้ แล้วต่อมาก็ได้พยายามปฏิบัติทุกอย่างตามกำลังใจที่จะพึงมี ไม่ใช่ ครบถ้วนนะ 84,000 พระ

ธรรมขันธ์น่ะ แต่ว่า 3 อย่างนี่ผมไม่ยอมละ จะนึกว่าผมน่ะดีมาตั้งแต่ต้นอย่าไปนึกอย่างนั้น แล้วก็เวลานี้ ก็อย่าเพิ่งนึกว่าผมเป็นพระ

อรหันต์ ให้มีความเข้าใจแต่เพียงว่า ผมก็เป็นคนปฏิบัติเพื่อตามที่พระพุทธเจ้าตรัสโดยเฉพาะ มันก็ไม่แน่ว่าจะดีหรือเลว ที่เลวก็ยังมี

อีกเยอะ แล้วก็ต่อมาได้ค้นคว้า คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้หนึ่งในล้านในความดีของ

พระพุทธเจ้าก็บังเอิญไปพบอตีตังสญาณ และกำลังของปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ไปพบญาณ 2 อย่างนี้เข้า นึกในใจว่า โอหนอ เรา

ไปนึกคัดค้านองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้แต่นิดเดียว ก็โทษหนัก แต่ความจริงความรู้กระจุ๋มกระจิ๋มนิดๆ หน่อยๆ แค่กข. ไม่

กระดิกหู ท่านทั้งหลายอาจยังไม่เคยฟัง แค่กข. ไม่กระดิกหูนี่ หมายความว่า แม้แต่อักษรตัวเดียวก็อ่านไม่ออก เราก็ยังมีความ

สามารถทบทวนได้ แล้วก็ทบทวนได้ ถึงแม้ว่าจะไปไม่ไกลก็ไม่ใกล้นัก แต่ก็เกินกำลังเดิมของเรามากสามารถทบทวนว่า สมเด็จพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าองค์ไหนกล่าวอะไร สำคัญแก่ใครไว้บ้าง เทานี้แหละบรรดาท่านทั้งหลาย ผมต้องขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยเสีย

ย่ำแย่ก็รวมความว่า ตบะต่างๆ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวมาว่าเป็นอุปกิเลส มองแล้วจริงๆ มันเป็นโลกธรรม ท่านที่ทำมาแล้วทั้งหมดติด

โลกธรรมคือ ติดมีลาภ แล้วเสียกำลังใจในการไม่มีลาภ ยินดีเมื่อมีลาภ เสียกำลังใจเมื่อไม่มีลาภ ยินดีเมื่อได้ยศเสียกำลังใจเมื่อยศ

หมดไป ยินดีในการสรรเสริญ ไม่ยินดีในการนินทา ยินดีในกามสุข หวั่นไหวในทุกข์

รวมความว่าโลกธรรมทั้ง 8 ประการนี้ มองดูในข้อวัตรปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ตรัสมาหลายสิบข้อนี่

ตกอยู่ในลักษณะ 8 ประการเป็นความเลว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระทศพลต่อไปข้างหน้า เวลานี้ก็หมดเวลา เสียง

ก็แย่ มองดูนาฬิกาแล้ว 2 นาฬิกาครึ่ง เศษๆ ก็ขอยุติแต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลมรรคผลใดที่องค์

สมเด็จพระจอมไตรบรมศษสดาสัมมาสัมพุทธ่เจ้า ทรงบัญญัติไว้แล้ว ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทั้งหมด จงได้

รับผลนี้ตามความประสงค์ทุกท่านสวัสดี
http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2819:-10-10-6-&catid=37:2010-03-02-03-52-18

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 20 เม.ย. 2554, 12:22:34 »
สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (7)

ท่านโยคาวจรทั้งหลาย วันนี้เป็นวันที่ 22 กันยายน 2526 เวลาบันทึกเป็นเวลา 18 น. ทั้งนี้เผื่อบรรดาท่านทั้งหลาย จะได้ทราบว่า

บันทึกไว้ตั้งแต่เมื่อไรสำหรับวันนี้ก็คงมาพูดกันเรื่องของบารมี 10 ตามเดิม แต่หลายท่านคงคิดว่าบารมี 10 ทำไมจึงมากนัก ที่ต้อง

ใช้อย่างอื่นมากๆ ก็เพราะเป็นการประคับประคองใจให้มีกำลังใจสามารถทรงบารมี 10 ได้ครบถ้วน สิ่งที่บรรดาพวกเราเหล่าพุทธ

บริษัททั้งหมดจะต้องตัด นั่นก็คือ

สังโยชน์ 10 ประการ ที่มีความเห็นไม่ถูกไม่ต้องเป็นปัจจัยของความทุกข์ ได้แก่

1.สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะไม่ตาย หรือว่าร่างกายมีความสะอาดน่ารัก หรือว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีใน

ร่างกาย ร่างกายมีในเรา เป็นต้น อารมณ์อย่างนี้ต้องตัดออกไปจากใจตามกำลังของท่าน ถ้ามีความรู้สึกว่าร่างกายนี้จะต้องตาย ยัง

ไงๆ มันก็ต้องตายแน่ เราไม่สามารถทรงมันได้ แล้วตั้งใจปฏิบัติความดีหนีความตาย อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบันและพระ

สกิทาคามีถ้ามีความรู้สึกเหนือขึ้นไป เห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครกเหมือนกับถุงอุจจาระเคลื่อนที่ได้เรามีความ

รังเกียจร่างกายอย่างยิ่ง ถ้ากำลังใจอย่างนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทชาหญิง และภิกษุสามเณรคิดอย่างนี้แน่วแน่ เป็นเอกัคคตารมณ์

ไม่หลงในร่างกายจริงๆ ท่านพุทธบริษัททั้งชายหญิงและพระภิกษุสามเณร พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าพระอนาคามี

ถ้ามีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา กำลังใจวางเฉยเมื่อความแก่เข้ามาถึง ความ

ป่วยไข้ไม่สบายเช้ามาถึงความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเข้ามาถึง ความตายเข้ามาถึง ก็มีอารมณ์เฉยในร่างกาย คิดว่ามัน

เป็นเรื่องธรรมดา กำลังใจอย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่าท่านผู้นั้นว่าเป็นพระอรหันต์ และเราก็ต้องประพฤติปฏิบัติ

ตามนี้เพื่อคามหมดทุกข์

และสังโยชน์ข้อที่ 2 ที่เราต้องจัด ก็คือว่า วิจิกิจฉา ความสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ในพระธรรมพระอริยสงฆ์ ความสงสัย

อย่างนี้เป็นความเห็นผิดองค์สมเด็จพระธรรมสามิสรทรงบอกว่าต้องตัดไปจากใจ ให้สร้างความเสื่อมใสในพระจอมไตรเป็นต้น ด้วย

ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า และก็ยอมรับนับถือในคำสั่งและคำสอน

สังโยชน์ข้อที่ 3 เห็นว่าศีลเป็นของดี มีปกติเป็นปัจจัยของความสุข การลูบคลำศีลสักแต่ว่าสมาทานศีลไม่มีในกำลังใจของเรา เรา

เคร่งครัดปฏิบัติในศีลด้วยดีอย่างนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า ถ้าทำได้ทั้ง 3 ประการท่านเรียกท่านผู้นั้นว่าพระโสดาบัน หรือ

สกิทาคามี

ถ้ากำลังใจสูงไปกว่านี้ก็ตัดอีกอันหนึ่งนั่นก็คือ กามฉันทะ ที่มีความสนใจในกามคุณ 5 ประการ ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส

เป็นต้น แล้วก็ ปฏิฆะ ความไม่ประสบใจ ไม่ถูกใจของตน ใครทำอะไรแล้วไม่ถูกใจไม่มี ในกำลังใจของเรามีแต่ความเมตตาปรานี

เป็นที่ตั้ง อย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกท่านผู้นั้นว่าพระอนาคามี

หลังจากนั้น ใช้ปัญญาด้วยดี พิจารณาเห็นว่าการหลงในรูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี ไม่มีสำหรับเรา เราอาศัยรูปฌาน เป็นกำลังตัดกิเลส

ให้เป็น สมุจเฉทปหาน แล้วก็ตัดมานะการถือตัวถือตน ตัดความฟุ้งซ่านของจิตที่คิดวาเราไม่ต้องการนิพพานไม่มี เราต้องการอย่าง

เดียวคือนิพพาน หลังจากนั้นตัดอวิชชาตัวล้างผลาญความดี คือตัดความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ไม่หวังผล ในการ

เกิดต่อไป อย่างนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงเรียกท่านผู้นั้นว่าพระอรหันต์

ฉะนั้น ขอท่านพระโยคาวจรทุกท่านทำตามกำลังของท่าน ท่านมีกำลังพอจะทำจุดไหนได้ทำจุดนั้น แล้วก็จงบอย่าใช้กำลังใจว่าไม่

ไหว ถ้าท่านเป็นผู้ไม่ไหวในด้านการตัดความชั่ว ทรงความดี ก็คือว่าท่านไม่ใช่สาวกขององค์สมเด็จพระชินสีห์ควรกลับไปอยู่บ้าน

ถ้าอยู่บ้านแล้วหลังจากนั้นไม่นานนักตาไปก็เลยไปอยู่นรก เป็นอันว่าสังโยชน์10 ประการต้องทำลายให้พินาศจากจิต แต่กำลังใจ

ของท่านพอใจ แค่ 3 ก็ตัด 3 พอใจแค่ 5 ก็ตัด 5 พอใจ 10ตัด 10 ยังไงๆ 3 เอาให้ได้ไว้ก่อน เพราะในฐานะที่เราเป็นสาวกขององค์

พระชินวรจะต้องยึดให้ได้

ต่อจากนี้ไป ก็ขอให้ท่านทั้งหลา ตั้งใจในการรักษาบารมีกำลังใจในบารมี 10 ให้ครบถ้วน ได้แก่

1.ทานบารมี คิดให้ทานไว้เสมอ ด้วยกำลังจาคานุสสติกรรมฐษนประจำใจ

2.ศีลบารมี ตั้งใจรักษาศีลให้เคร่งครัดปฏิบัติด้วยดี

3.เนกขัมมบารมี ถือบวชนั่นคือระงับนิวรณ์นิวรณ์ 5 ประการอย่าให้กวนใจ นิวรณ์ 5 ประการมันตัดไม่ได้ ถ้าตัดจริงๆ ตรงเป็นพระ

อรหันต์ ถ้ามันจะมีกับเรา ให้มันยุ่งแค่ในใจ อย่าให้ไหลมาจากปากและก็ทางกาย

4.ปัญญาบารมี มีความคิดดี มีปัญญายอมรับนับถือกฎของธรรมดา

5.วิริยบารมี มีกำลังใจแกล้วกล้า ต่อสู้อุปสรรคทั้งปวงไม่ท้อถ้อย

6.ขันติบารมี มีความอดทนต่อกิเลสทั้งหลายที่เข้ามากวนจิต ไม่คิดยอมแพ้กิเลส

7.สัจจบารมี มีความจริงใจไว้อย่างนั้น ทำอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

8.อธิษฐานบารมี ตั้งกังใจไว้ว่าเราจะทำลายความชั่ว 10 ประการ คือสังโยชน์ 10 ประการ ให้หมดไปจากใจหวังนิพพาน

9.เมตตาบารมี นั้นมีจิตโอบอ้อมอารี มีอารมณ์ใจเยือกเย็นเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั่วโลก

10.อุเบกขาบารมี วางเฉยด้วยประการทั้งปวง

อารมณ์ใดจะมาสิงใจ คือจะเป็นได้ลาภก็ดี เสื่อมลาภก็ดี ได้ยศก็ดีเสื่อมยศก็ดี เขาสรรเสริญก็ดี มีสุขก็ดีมีทุกข์ก็ดี เราก็วางเฉย และก็

เฉยในขันธ์ 5 ร่างกายมันจะแก่ก็เฉย ร่างกายป่วยก็เฉย ร่างกายมันจะพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เฉย เฉยในโลกธรรมทั้งหมด

เพราะจิตตรงใจตั้งใจอย่างเดียวคือนิพพาน นั่นแหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน กำลังใจของนักพรตที่ปรากฏว่าจะได้ดีต้อง

ปฏิบัติตามนี้

ต่อไปนี้ก็มาว่ากันในเรื่องของ อุมุมพริกสูตร วันนี้มาว่ากันถึงเรื่องของความบริสุทธิ์ ว่าด้วยฐานะบริสุทธิ์ของผู้มีตบะ และท่านทั้ง

หลายก็อย่าลืมนะขอรับ ว่าคำว่าตบะแปลว่าผู้มีความเพียรเพื่อเผาบาป คือทำลายบาปให้เร่าร้อน คือเผาบาปให้พินาศไป บาปคือ

ความชั้ว เพียรพยายามทำลายความชั่ว ตอนนี้ต้องอ่านกันช้าๆ หน่อยอาจจะต้องมีอธิบายกันสักนิดหน่อย เพราะว่าเป็นตอนที่พรพะ

พุทธเจ้าบอกว่าทำเพื่อความบริสุทธิ์ ไอ้ที่แล้วๆ มา

พระพุทธเจ้าบอกใช้ไม่ได้ เรื่องใช้ไม่ได้ผมก็อ่านพลาดๆ ไป ก็เพราะว่าผมก็ไม่ในใจ เรามาในใจกันแค่ที่ใช้ได้และก็ดีดีกว่าแต่ว่าที่ใช้

ไม่ได้ก็ควรจะทราบไว้บ้าง เผื่อว่าใครเขามาปนะนำเราไปในทางที่ผิดที่องค์สมเด็จพระะรรมสามิสรบอกวาเป็นอุปกิเลส กิเลสมัน

ท่วมท้นใจ เราจะบอกว่านี่ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า อุทุมพริกสูตรนี้มีประโยชน์มาก ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวโดย

สำคัญ

ตอนนี้ก็มาว่ากันถึงพระไตรปิฏกละนะ ที่ว่าวันนี้ก็ขึ้นด้วยหน้า 32 แล้วก็ตอ่นที่ 25 ท่านกล่าวว่า นิโครธะดูก่อนนิโครธะ เออ ลืมไปว่า

พระไตรปิฏกเล่มที่ 11 หน้าที่ 32 แล้วก็ตอนที่ 25 ท่านกล่าวว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ

ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น ข้อที่ผู้อื่นมีตบะถือมั่นในตบะไม่ดีใจ ไม่บริบูรณ์ด้วยตบะนั้นอย่างนี้ ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น

นี่ก็หมายความว่าก้านการประพฤติปฎิบัติความดีเพื่อตัดกิเลส ยังไงๆ เราก็ยังถือว่าไม่เต็ม ถ้าไม่ถึงอรหัตตผล ถ้ายังไม่ถึงพระอรหัน

คต์เพียงใด เราถือว่ายังไม่ดีพอ ใครเขาจะยกย่อง เลอเลิศว่าเราประเสริฐ อย่างไรก็ตาม เราก็บอกฉันยังไม่ดีจ๊ะ ฉันยังไม่ดีจ๊ะ สอนใจ

เราไว้  และต่อไปองค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า

นิโครธะ คำอื่นที่คนจะกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อมไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้นอย่างนี้

เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น อันนี้ก็จำไว้ให้ดีว่า ความประพฤติของเราจะเป็นอันดับฌานโลกีย์

ฌานโลกุตระ เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อะไรก็ตาม

ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเราปฏิบัติได้ยิ่งกว่าเขา ละได้มากกว่าเขา เราก็ไม่เอาความดีไปข่มคนอื่น

ไอ้ความข่มน่ะมันเป็นความเลว จำไว้ด้วยนะครับ อันนี้ต้องสนใจให้มาก

เพราะเป็นด้านของความบริสุทธิ์ต่อไปพระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่คนกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ

เขาให้ลาภสักการะ และความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้นอย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น อันนี้ก็หมายความว่า เราคิดว่าเขาให้ลาภก็ดี ให้การสรรเสริญก็ดี เรา

เองก็แก่ทุกวันๆ ไม่ช้ามันก็ตาย ลาภและคำสรรเสริญนั้นไม่ได้ สร้างให้เราไปสวรรค์ ไปนิพพาน การจะไปสวรรค์ไปนิพพานนั้นต้อง

อาศัยความดีคือความบริสุทธิ์ของจิต คิดอย่างนี้มันก็ไม่ติดในลาภสักการะและสรรเสริญ

ท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่คนกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่อผู้อื่น ด้วยลาภสักการะและการสรรเสริญนั้นอย่างนี้ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น นี่ก็

หมายคามว่าเรามีลาภสักกกระเพราะเขาให้ ก็จงคิดว่าการที่ได้ลาภสักการะมาอย่างนี้ ก็ด้วยความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม

พุทธเจ้าเราจะดีได้เพราะเราไม่เมาในลาภยศสรรเสริญสุข เวลานี้ก็สำคัญยศ อย่าเมายศ ยศท่านตั้งให้เป็นความดีของผู้ให้ แต่เรา

เมายศเป็นความจัญไรของเรา ท่านให้เรากับรับแล้วก็วางไว้เป็นปกติ อย่าบ้ายศ อย่าเห่อยศ แล้วก็เอายศไปเบียดเบียนและทับถมผู้

อื่น อย่างนี้มันจะไม่ถึงความดีและพระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรจะกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่น

ตบะย่อมไม่ถึงส่วนสองในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา ก็สิ่งใดแลที่ไม่ควรแก่เขา เขาไม่มุ่งละสิ่งนั้นเสีย

ส่วนสิ่งใดที่ควรแก่เขา เขาก็ไม่กำหนด ไม่ลืมสติ ไม่ตัดในสิ่งนั้น และเห็นโทษที่ปัญญาคิดสลัดออกบริโภคอยู่อย่างนี้เขาย่อมเป็นผู้

บริสุทธิ์ นี่ก็หมายความว่า สิ่งใดก็ตามถ้าไม่ผิดธรรมผิดวินัยเรายอมรับ สิ่งใดถ้าผิดธรรมผิดวินัยเราไม่ยอมรับ เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน

อย่าไปเมามัน แล้วอย่าไปพูดให้ชาวบ้านเข้าใจผิด ที่เป็นมายามันมีมากๆ บางทีลับหลังคนเลวแสนเลว ต่อหน้าคนทำตนเหมือน

กล้วย พระอรหันต์หลอกอันนี้ไม่ควร

แล้วท่านกล่าวต่อไปอีกว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะไม่เป็นผู้รุกรานสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ก็ไฉน

ผู้นี้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลายอย่าง คือกินพืชอันเกิดแต่เหล้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดที่ครบห้า

ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้าคนทั้งหลาย่อมจำกันได้ ด้วยวาทะว่าเป็นสมณะ อย่างนี้เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น อย่างนี้

ง่าย ๆ ก็หมายความว่าไม่เพ่งโทษคนอื่นก็แล้วกันนะใครจะดีใครจะชั่ว ใครจะมีกินมาก ใครจะมีกินน้อย เป็นเรืองวาสนา

บารมีของท่าน เขามีมากก็หมายความว่าชาติก่อนทานบารมีของท่านมีมากก็ควรจะโมทนา แล้วกล่าวต่อไป

พระพุทธเจ้าตรัสใหม่ว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคล ผู้มีตบะเห็นสมณะ หรือพราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพ

นับถือบูชา ในสกุลทั้งหลายเขาไม่ดำริอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาสมณะหรือพราหมณ์ชื่อนี้แล ผู้เลี้ยงชีพ

ด้วยวัตถุหลายอย่างในสกุลทั้งหลาย แต่ไม่สักการะเคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เราผู้มีตบะ เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุเศร้าหมอง เขาไม่ให้

ความริษยา ความตระหนี่ที่เกิดขึ้นในสกุลทั้งหลายดังนี้ อย่างนี้เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น นี้ก็เหมือนกัน ไม่เพ่งโทษคนอื่นอย่าง

ท่าน ยังไงก็เรื่องของท่าน สนใจกับเรา

ต่อมาพระพุทธเจ้าดำรัสต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้ไม่นั่งในที่ทางคนจะแลเห็น อย่างนี้

เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ข้อนี้ระวังให้มากนะครับ การนั่งสมาธินั่งเจริญพระกรรมฐานต้องนั่งในที่ลี้ลับ ซึ่งคิดว่าคนไม่เห็นแล้วจึง

นั่ง ถ้านึ่งคิดว่าจะโชว์เขา ว่าเราเป็นนักเจริญกรรมฐานอย่างนี้เป็นอุปกิเลสนะครับ เคยเห็นบางทีไปเดินจงกรมอวดชาวบ้าน

พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะไม่เที่ยวแสดงตนในตระกูลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้

อยู่ในตบะของเรา กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเขาอย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐนะนั้น นี้ก็หมายความว่า เวลาที่เข้าไปหาฝูงชนหรือ

เข้าไปในบ้านน่ะ อย่าไปแสดงตนว่าเราเป็นนักพรต นักเจริญกรรมฐาน ได้ฌานสมาบัติ อย่าไปคุยกับเขา อย่าฟุ้ง การแต่งตัวก็

เหมือนกัน ไม่ต้องไปแต่งแสดงสัญลักษณ์ว่าฉันนี่แหละเป็นพระเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน มันมีเครื่องแบบชนิดหนึ่ง

แสดงออกชัดว่า ฉันนี่แหละเป็นนักพรตล่ะ ความจริงไม่ควรทำอย่างนั้น ห่มผ้านุ่งผ้าตามทีเขาถวายดีกว่า ตามปกติที่เขาคิดว่าเรา

เป็นพระธรรมดาๆ ปกตินั่นแหละดีที่สุด จิตใจสบาย

และท่านกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมไม่เสพโทษอันปกปิดบางอย่าง

เขาถูกผู้อื่นถามว่าโทษนี้ควรแก่ท่านหรือกล่าวโทษที่ไม่ควรว่าควร กล่าวโทษที่ควรว่าไม่ควร ท่านว่าเฝอๆ นา เขาเป็นผู้กล่าวเท็จ

อ๋อ ฟังรู้อยู่ดังนี้ อย่างนี้ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ อย่างนี้หมายความว่าดูดตรงไปตรงมาอะไรที่เราปฏิบัติมันดีหรือไม่ดี เขาพูดมาเรารับ

ตามความเป็นจริงก็แล้วกันจะได้เข้าใจขงบ่ายๆ นะ อย่าหลอกลวงเขา

และข้อต่อไปท่านกล่าวว่า ดูก่อนนิโครธะ คำอื่นที่ควรกลาวยังมีอยู่อีกบุคคลผู้มีตบะ

เมื่อพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตแสดงธรรมอยู่ คือพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์สาวกก็ดีแสดงธรรมอยู่ ย่อม

ผ่อนปรนตามปริยาย โดยเอ้อ ซึ่งควร เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ย่อมผ่อนปรนตามปริยาย ซึ่งควรผ่อนตามอันมีอยู่อย่างนี้เขาย่อมเป็นผู้

บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ก็หมายความว่า ท่านเทศนามันไม่ตรงกับที่เราปฏิบัติ แต่ความจริงคำเทศน์สอนนั้นเป็นทางบรรลุมรรคผล เรา

ยอมรับล่ะ ของเรายอมรับของท่าน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ไม่ถือตนเกินไป

ข้อต่อไปท่านกล่าวว่า นิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก

บุคคลผู้มีตบะไม่เป็นผู้มีความหลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาคือ เจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่

กระด้าง ไม่ถือตัวจัด ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิฉาทิฏฐิอคือ

ความผิด ไม่ประกอบไปจับทิฏฐิอันหยั่งถึงที่สุด ไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิเอง ไม่เป็นผู้ถือมั่นสละคืนได้ง่าย

อย่างนี้เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ผมจะรีบอ่านให้จบ

ดูต่อไป ท่านกล่าวว่า ดูก่อนนิโคธะ ท่านควรจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉนถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่

บริสุทธิ์ นิโครธปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้ บริสุทธิ์แท้ ไม่บริสุทธิ์

หามิได้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนนิโคธะ การหน่ายบาปด้วยตบะด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกริยาที่ถึงยอดและถึงแก่นก็หามิได้ ที่แท้จริงแล้วเป็นกริยาที่ถึง

สะเก็ดเท่านั้น จำให้ดีว่ากริยา ถ้าจริยาที่ผ่านมาแล้วทั้งหมดอาจจะเกินกำหนดที่เราจะพึงทำอยู่ปกติ แต่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่ามันเป็น

จริยาที่เข้าถึงสะเก็ตของความดีที่พระองค์ทรงสั่งสอน

ไอ้การเป็นสะเก็ดไม่ถึงแก่นนี้ บรรดาท่านทั้งหลายระวังให้มาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะมันยังเป็นปัจจัยแห่งอบายภูมิอยู่ เราปฏิบัติกัน

เกือบตายนี่ แหม. แทนที่จะได้ดี ถ้าไปหลงอยู่แค่นี้มันตายแล้วไปอบายภูมิ

แล้วสำหรับหน้านี้นี่ท่านพุทธบริษัท มองดูเวลาก็เหลืออีก 2 นาที 2 นาทีก็จะหาทางหยุด จะไม่พูดต่อไปขอบรรดาพุทธบริษัททั้ง

หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านพระโยคาวจร ถ้อยคำที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสมาทั้งหมด ในขั้นของความบริสุทธิ์

แม้แต่เพียงสะเก็ด ก็ขอท่านทั้งหลายจงอย่าได้ประมาท คิดว่าถ้อยคำใดก็ดี ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถตรัสเป็นความจริงอยู่

เสมอ เรื่องนี้ใครจะคิดยังไงก็ช่าง ผมไม่เถียงพระพุทธเจ้าแน่เพราะอารมณ์บางครั้งในสมัยที่บวชใหม่ๆ แปลหนังสือใหม่ๆ บางทีคิด

ว่าจะเป็นอย่างนั้นได้ หรือจะเป็นอย่างนี้ได้

หรือ นั่นเป็นความเลวของผม แล้วในที่สุดผมก็ต้องจนด้วยเกล้า เพราะคำกล่าวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงตามความ

เป็นจริงทุกอย่างในกาลต่อมา

http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1994:-10--10--7-&catid=37:2010-03-02-03-52-18

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 27 เม.ย. 2554, 12:06:18 »



สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร 8/9

ท่านพุทธบริษัททั้งหลายวันนี่ก็คงมาพบกันตามปกติ การบันทึกก็เป็นระยะเดียวกัน คือวันที่ 22 กันยายน 2526 เป็นเวลาใกล้จะสิบ

เก้านาฬิกา หน้าโน้นสิบแปดนาฬิกาเศษๆ แต่ว่าทำไมห่างกันนัก เพราะมันเหนื่อย แก่และป่วยไข้ไม่สบายด้วย ถ้าถามว่าป่วยไข้ไม่

สบายแล้วทำทำไม ก็อย่าลืม ทำอย่างนี้เป็นกรรมทาน ผมจะเอาทุนไว้เวลาตาย เวลาที่ป่วยไข้ไม่สบายมาก ผมก็สนใจในธรรมะมาก

ขึ้น เพราะถ้าตายผมจะได้แบกไปใช้ในเมืองผี

ถึงยังไงๆ ผมก็ตายแน่ เวลานี้มันก็ใกล้จะ 70 ปีเข้าแล้ว อาการป่วยไข้ไม่สบายไม่ได้ถอนตัวเลย ทางท้องหนักที่สุด

เริ่มโรคทางอาหาร อย่างนี้เขาเรียกโรคตัดอาชีพ ตัดการกินอาหาร ตัดความสุข ช่างเถอะ มันเกิดมาเพื่อป่วยก็เชิญมันป่วยไปตาม

ธรรมดา มันเกิดมาเพื่อแก่ก็เชิญ เออ ไม่เชิญมันก็แก่นะ จะ 70 แล้วนี่นะ ถ้ามันจะเกิดมาเพื่อตายก็เชิญให้มันตายไป แล้วก็เลิกตาย

กันซะที ไอ้ร่างกายเลวๆ อย่างนี้ผมไม่ต้องการมันอีก อันดับแรกเราก็ฟังกันเรื่อง

สังโยชน์ 10 ก่อน ความเลวที่เราต้องตัดทิ้งก็คือ

1.สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าร่างกายของเราจะไม่ตาย หรือว่ามีความเห็นว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดีสวยสดงดงาม

ทรงตัว หรือว่ามีความเห็นว่าร่างกายนี้มันเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกา ร่างกายมีในเรา ความคิดเลวๆ อย่างนี้ทำให้เราเกิดอยู่

เสมอ ต้องมีชาติมีภพตลอด ตัดทิ้งไปจากใจ กลับมาตัดสินใจด้วยปัญญาเสียใหม่ว่า ร่างกายนี้เกิดมามันต้องตาย เราก็ไม่เมากาย

เกินไป ก่อนจะตายสร้างความดี อารมณ์ใจอย่างนี้

เป็นอารมณ์ใจของพระโสดาบันหรือพระสกิทาคามี อันมีความคิดเห็นว่า ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครกมีความรังเกียจ

ถึงที่สุด เหมือนกับรังเกียจถุงอุจจาระที่เขาส่งมาให้ กำลังใจอย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามี แต่มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็นธาตุ

สี่เข้ามารวมตัวกันเป็นที่อาศัย ชั่วคราว มันไม่ใช่เรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเราอย่างนี้เป็นกำลังของพระอรหันต์ ท่านมีกำลังใจขั้น

ไหนทำขั้นนั้นเพื่อความสุขของท่าน

2.วิจิกิจฉา ความสงสัยในคำสั่งสอน ขององค์สมเด้จพระสัทมมาสัมพุทธเจ้า จะต้องไม่มีในเรา ความจริงเรื่องคำสอนของ

พระพุทธเจ้านี้ผม่ยอมแพ้ราบคาบ ผมเคยต่อต้าน ไม่ใช่ต้านหรอก เคยคิดฝืนนิดๆ หน่อยๆสงสัย ผมก็แพ้ทาน ยังไงๆ ถ้าเป็นเรื่อง

พระพุทธเจ้าแล้วผมไม่ยอมวินิฉัยเด็ดขาด เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมโลกนาถหัวชนฝาเลย ใครเชื่อไม่เชื่อก็ช่าง

ผมเชื่อของผม ผมเจอะมาแล้ว แล้วจะไม่สงสัย ตัดความสงสัยทิ้งไปเพราะเป็นความเลว

3.สีลัพพตปรามาส มีเท่าไรปฏิบัติให้ครบเท่านั้น เราจะไม่ลูบคลำศีล สักแต่ว่าสมาทานศีลหลอกชาวบ้าน หรือว่าห่มผ้า

กาสาวพัสตร์หลอกขาวบ้าน ถ้าเรามีศีลพรตครบถ้วนแบบนี้ ความดีสามประการย่อมปรากฏมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้จะต้องตาย ไม่

สงสัยคุณพระรัตนตรัย มีศีลพรตครบถ้วน ศีลพรตครบถ้วนหมายความว่าฆราวาสก็ศีลห้า พระศีล 227 พร้อมอภิสมาจาร สามเณรศีล

10 พร้อมเสขิยวัตร อย่างนี้เรียกว่าพระโสดาบันหรือพระสกิทาคามี

4.ปฏิฆะ การตัดอารมณ์ไม่พอใจที่เกิดขึ้นออกไปจากจิต มีจิตเมตตาเป็นปกติเข้าทดแทน ถ้ากำลังใจทำได้อย่างนี้ สมเด็จพระชิน

สีห์บอกว่าเป็นปฏิปทาของพระอนาคามี

ต่อไปนั้นใช้ปัญญาให้ดี เห็นโทษแห่งการหลงในรูป รูปฌาน และ อรูปฌาน รูปฌานและอรูปฌานเราต้องมีแน่ อย่าหลงแค่นั้น คิดว่า

เพียงแค่เป็นกำลังเพื่อห้ำหั่นกิเลสเท่านั้น ยังไม่หมดกิเลส และก็ตัด มานะ การถือตัวถือตนออกจากใจตัดอารมณ์ฟุ้งซ่านไม่ทรงใจไว้

ในแน่นอน คืออารมณ์ อุทธัจจกุกกุจจะ มีจิตตั้งไว้โด่ยเฉพาะหวังตัดภพตัดชาติ คือหวังนิพพานโดยเฉพาะ

และก็ 10 อวิชชา ความโง่เง่าเต่าตุ่นตัดทิ้งไปจากใจ หากกำลังใจไม่หลง ในมนุษย์โลก เทวโลก แล้วก็พรหมโลก จิตมุ่งอย่างเดียว

คือนิพพาน อย่างนี้องค์สมเด็จพิชิตมารกล่าวว่าเป็นอารมณ์ของพระอรหัน๖ การกำจัด

สังโยชน์ 10 ประการท่านมีกำลังใจแค่ไหนกำจัดแค่นั้น แต่ขอได้โปรดอย่าอกว่าไม่ไหว ถ้าบอกว่าไม่ไหวก็นิมนต์ไปจากวัดนี้นะ

ขอรับ มันต้องไหว 10 ไม่ไหว 3 ต้องไหว ถ้า 3 ไหวแล้วกำลังใจดีขึ้นต้องตัดไปถึง 5 5 ดีขึ้นแล้วต้องว่าไปถึง 10 โดยเฉพาะอย่าง

ยิ่ง ท่านพุทธบริษัททั้งชายทั้งหญิง ทั้งภิกษุสามเณร แค่ขึ้น 3 นี่ต้องทำให้ไหวจะได้หรือไม่ได้ ถึงหรือไม่ถึงไม่สำคัญ เราพยายาม

ทำ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน อย่าไปนึกว่าไม่ไหวๆ ถ้าไม่ไหวๆ ก็อย่าอยู่ที่นี่เลย คนที่ไม่เอาไหนขาดกำลังใจไม่ควรจะอยู่ร่วมกันในเขต

พระพุทธศาสนา

ต่อมาก็ทรงบารมี 10 ให้ครบถ้วน อันนี้แหละ จะไหวไม่ไหวอยู่ที่นี่ สังโยชน์ 10 ประการจะพินาศไปหรือไม่พินาศอยู่ที่บารมี 10

1.ทานบารมี คิดไว้เสมอว่าจะให้ทาน

2.ศีลบารมี ระมัดระวังศีลให้ครบด้วน

3.เนกขัมมบารมี ถือบวชระงับนิวรณ์ อย่าให้มีอำนาจเหนือใจ

4.ปัญญาบารมี ทรงปัญญาพิจารณาไว้ว่า อะไรในโลกไม่มีการทรงตัวไม่เหลือ

5.วิริยบารมี มีความพากเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ต่อสู้ด้วยประการทั้งปวง

6.ขันติบารมี มีความอดทน มีความอดใจไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ต่างๆ

7.สัจจบารมี ตั้งใจไว้อย่างไร จะทรงไว้อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

8.อธิษฐานบารมี ตั้งหลักกำลังใจไว้ว่า เราปฏิบัติทุกอย่างมุ่งพระนิพพาน

9.เมตตาบารมี นั้น เราคิดว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีต่อคนและสัตว์ทั่วโลก

10.อุเบกขาบารมี วางเฉยต่ออารมณ์ทุกอย่าง

และใช้สังขารุเปกขาฐาณในขันธ์ 5 คือค่างกาย กามันจะแก่เชิญตามสบาจิตไม่ดิ้นรน กายมันจะป่วยเชิยตามสบายจิตไม่ดิ้นรน กาย

มันจะตายเชิญตามสบาย ใจไม่เศร้าหมาอง ไม่ดิ้นรน ไม่ลำบาก ถ้าเต็มอย่างนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวว่า ท่านผู้นั้นมี

หลังพระนิพพานในชาตินี้

ฉะนั้น เรื่องบารมีนี้มีความสำคัญ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคู่กับ สังโยชน์ 10 สังโยชน์ 10 ต้องกำราบ บารมี 10 ทำไว้ให้

ทรงตัวอันนี้แน่นอน

ต่อไปก็เอาถ้อยคำขององค์สมเด็จพระชินวร ตอนที่ 26 ในอุทุมพริกสูตร ว่าจับสังวร คือการระมัดระวังหน้า 26 น่ะ ตอนที่ 26 ด้วย

หน้า 35 ขอโทษหน้า 354 ตอนที่ 26 เล่มที่ 11 เผื่อว่าสงสัยจะได้เปิดู จะหาว่าผมเปะปะๆ มาร่างบัญญัติกันเองล่ะผมจะตกนรก

ท่านกล่าวต่อไปว่า อย่าลืมนะขอรับ สะเก็ดๆ น่ะประกอบ กันไว้ให้ดี อย่าให้สะเก็ดมันหลุดนะขอรับ ถ้าคนใดทรงความดีขั้นสะเก็ดไม่

ได้ ผมคิดว่าไม่ควรจะอยู่ในขอบเขตของผ้ากาสาวพัสตร์ ถ้าเห็นว่ามาก ถ้าพยายามระงับ ตั้งใจฟังไว้ทุกวัน ตั้งใจละครับ ไม่เป็นไร

มันยังละความชั่วได้ไม่หมดทรงความดีได้ไม่หมดไม่เป็นไร ตั้งใจละความชั่ว ตั้งใจทรงความดี ไม่ช้าไม่นานเท่าไร อารมณ์ใจเราก็

ชิน ต้องค่อยๆ ทำ แล้วอย่านึกว่าผมเป็นผู้ประเสริฐวิเศษเสียแต่ผู้เดียว แต่ต้องคิดว่าผมนี่น่ะยังไม่มีอะไรดี กระผมอยู่ในฐานะสาวก

ของสมเด็จพระชินสีห์ ก็รุ่นจิ๋วๆ ถือว่าผมก็คือเหมือนท่าน เป็นพระธรรมดาๆ

บางคนก็ถือว่าผมเป็นพระอรหันต์บ้าง บางคนก็บอกว่าฤาษีลิงดำหรือพระมหาวีระ ไม่ใช่พระอรหันต์ เป็ฯผู้ทรงฌานโลกีย์ ผมว่าไม่ถูก

ทั้ง 2 ท่านแหละไม่ถูกทั้ง 2 ฝ่าย กระผมถือตัวเองว่า ผมเป็นพระแก่ที่มันใกล้จะตายเท่านั้น ทำไมจะรู้ดีกว่าผมไม่ล่ะ ผมนี่แหละรู้ดี

ตัวของผมเองมันดีหรือมันชั่ว ผมยังมองไม่เห็นความดีของตัวแม้แต่นิดเดียว คุยมากไป ต่อไปฟังเรื่องพระพุทธเจ้าท่านดีกว่าตอนนี้

ระวังนะครับ

เมื่อกี้นี้สะเก็ด ตอนนี้เข้าถึงเปลือก เปลือกนี้มีความสำคัญมาก เป็นกำลังใจที่จะทรงฌานได้ทุกลมหายใจเข้าออก คำว่าทรงฌานนี่

ไม่ใช่ไปนั่งภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องการจะใช้ฌาณใช้ฌานเมื่อไรมันจะมีผลทันทีก็ตอนเปลือกนี่แหละ ฟังไว้

ให้ดีนะครับ ท่านมีอะไรบ้างท่านกล่าวว่า นิโครธปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การหน่ายบาปด้วยตบะ เป็ฯกิริยาที่ถึง

ยอดและถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าหร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงบให้ข้าพระองค์ถึงอยดถึงแก่นแห่งการหน่าย

บาปด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้เป็นผู้สังวร คือระมัดระวังด้วยสังวร 4

ประการเป็นไฉน ท่านถามของท่านเองนะ แล้วท่านก็ตรัสว่า นิโคธะดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้

1.ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ เมื่อผู้อื่นฆ่าสัตว์แล้วไม่เป็นผู้ดีใจ

2.ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ด้วยตนเอง ไม่ใช้ให้บุคคลอื่นเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เมื่อผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้

ให้มา ได้แล้วไม่ดีใจ หรือไม่เป็นผู้ดีใจ คือไม่มีใจด้วย

3.ไม่พูดเท็จด้วยตนเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นพูดเท็จ เมื่อคนอื่นพูดเท็จก็เป็นผู้ม่ดีใจ

4.ไม่เสพกามคุณ ไม่ให้บุคคลอื่น หรือไม่แนะนำ ไม่ส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพกามคุณ เมื่อผู้อื่นเสพกามคุณก็เป็นผู้ไม่ดีใจนี้ท่านพูด

ระหว่างนักพรตนะครับ ถ้าอย่างพวกเราๆ มันต้องเติมอีกนิดหนึ่งจะต้องเติมนะครับ เดี๋ยวคนเลวๆ จะบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม

ดื่มสุรานั่นน่ะความระยำ ไม่ใช่ระยำคนมันจะเกิดขึ้นมาแล้ว พวกมิจฉาทิฏฐิจะคิดว่าพระพุทธเจ้าบอกแค่ 4 นี่ 5 ไม่ได้ห้าม ถ้าคนดีละ

ก็แค่ 1 ก็พอ ถ้าคนเลว 227 มันก็ไม่พอฉะนั้นควรเติมข้อ 5 ว่า

5.ไม่เสพสุราเมรัยด้วยตนเอง ไม่แนะนำบุคคลอื่นให้เสพสุราและเมรัยไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นเสพสุราและเมรัยแล้วต้องเติมเพื่อกันคน

เลวนะขอรับ ท่านตรัสต่อไปว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้สังวรคือระมัดระวังแล้วด้วยสังวร 4 ประการอย่างนี้ ดูก่อน

นิโครธะเพราะว่าบุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะเป็นผู้มีตบะ

เขารักษายิ่งซึ่งศีล ไม่เวียนมาเพื่อเพศอันเลวเขาเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภุเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าข้า ป่าชัฏ ที่

แจ้ง ลอมฟ่างในเวลาปัจฉาภัต คือ

ฉันอาหารแล้ว กินข้าวแล้ว เขากลับจากบิณฑบาตแล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ย่อมขำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

ความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือ พยาบาท แล้วก็ไม่พยาบาทมีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ ย่อมขำ

ระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถึนมิทธะแล้ว ถึนมิทธะ

แปลว่า ความง่วงเหงาหาวนอน ผู้ปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน นี่ผมแปลออกมาเลยนะครับถึนมิทธะ เดี๋ยวจะฟังกันไม่รู้เรื่อง มี

ความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง ฟังให้ดีนะครับ มีสติสัมปชัญญะอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความง่วง แล้วก็ ละอุทธัจจกุกกุจจะ

คืออารมณ์ที่ฟุ้งซ่านและรำคาญ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา

อุทธัจกุกกุจจะคืออารมณ์ฟุ้งซ่านและรำคาญนะครับ ละ

วิจิกิจฉาคือความสงสัย เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาคือความสงสัย เขาละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งในที่ทำให้ปัญญาถอยหลังมี

ใจประกอบไปด้วยเมตตาแผ่ไปในทิศที่ ๑ ที่ ๒ ที่๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบนทั้งเบื้องล่าง ทั้งเบื้องขวาแผ่ออกไป

ตลอดโลก และก็ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีการเบียดเบียนอยู่เขามีใจประกอบไปด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดในทิศที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็ เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้อง

ล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีการเบียดเบียนอยู่

เขามีใจประกอบไปด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไป

ตลอดโลก สัตว์ทั่วทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียนเขามีใจประกอบไปด้วยอุเบกขาแผ่ไปในทิศที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง และเบื้อง

ขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่อันประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีการเบียดเบียนอยู่ทรงกล่าวว่า มิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้นการหน่ายบาปด้วยตบะ จะ

บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ นิโครธปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้นการหน่ายบาปด้วยความเพียรอย่างนี้

บริสุทธิ์แท้พระเจ้าค่ะ จะพูดว่าไม่บริสุทธิ์ไม่ได้ เป็นกริยาที่ถึงยอดและถึงแด่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ การหน่าย

บาปด้วยตบะด้วยเหตุเพียงเท่านี้นเป็นกริยาที่ถึงยอดและถึงแก่นที่หามิได้ ที่แท้เป็นกริยาเปลือกเท่านั้น

เอ้า ! ตอนนี้เวลาเหลืออีกเท่าไรล่ะ อีก 7 นาที ถ้าจะอ่านต่อไปให้รู้สึกว่าจะไม่จบ ก็ย้อนมาคุยกันสักนิดถอยหลังย้อนรอยนะขอรับ

การถอยหลังยอนรอยนี่ก็ หมายความว่า กริยาที่เป็นสะเก็ดน่ะ อย่าลืมนะขอรับ ถ้าท่านมีความดีไม่ถึงสะเก็ดก็จงอย่านึกว่าความดี

ของเรามีแล้ว ก็แสดงว่าเรายังไม่มีอะไรดีเลย อย่าคิดเอาเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ผ้ากาสาวพัสตร์ว่าฉันเป็นพระ ผมเคยบอกแล้ว

นะขอรับว่าฆราวาสน่ะตกนรกยากกว่าพระ

พระนี่ตกนรกง่ายกวาฆราวาสมาก ถ้าพูดกันโดยเปอร์เซ็นต์ พระตกนรกมากกว่าฆราวาสเยอะ ถ้าพูดโดยปริมาณแล้วฆราวาสเขา

มากกว่า เขาก็ตกมากกว่า แล้วพระเราตกดีด้วย ส่วนใหญ่ก็ไหลลงอเวจีเป็นที่พึ่งทั้งนี้เพราะอะไร เพราะส่วนใหญ่เป็นพระแค่ผ้า

กาสาวพัสตร์ แล้วก็บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทท่านมีศรัทธา แล้วก็นักบวชเลวๆ นี่มีจริยาดีเสียด้วยนะเรียบร้อย ท่าทางนิ่มนวล ทั้งนี้

เพราะอะไร เพราะมีจริยาหลอกชาวบ้าน ไอ้การหลอกกันตรงทำดี แต่ของดีนี่เขาเฉยๆ ของดีตั้งอยู่ในตู้ แต่ใช้ของปลอมนี่มัน

โฆษณาก้องไปทั้งถนนหนทาง ทั้งซอกบ้านมุมเรือนไปหมด พูดจาพูดมากด้วย ข้อนี้มีอุปมาฉันใด

นักบวชเลวๆ ก็เป็นเช่นนั้น บางทีก็ชูแบบกิ้งก่า ไอ้กิ้งก่าได้ทองน่ะมันชูคออวดทองฉันใด นักบวชที่เมาในลาภยศสรรเสริญสุข ก็มี

สภาพเช่นนั้น ชูคอบอกว่าฉันเป็นนั่นนะ ฉันเป็นนี่น่ะ ฉันเป็นโน้นนะ มีศักดิ์ศรีใหญ่ ญาติโยมท่านยังติดโลกธรรมมากก็พากันบูชา พา

กันสักการะ แต่ความจริงไม่ได้ตำหนิญาติโยม ตำหนิพวกกันเองว่ายังโลกธรรมมากอยู่

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู อันดับแรกเลาะสะเก็ดให้ดีนะขอรับ แล้วก็มาจับเปลือก เปลือกนี่

ดีใจความสั้นๆ ว่าทรงศีลให้ดี ศีลนี่จะบูชาแค่ 4 แต่ควรจะเป็น 5 กันคนเลว แต่ว่าถ้าเป็นเณรต้อง 10 นะขอรับพร้อมไปด้วยเสขิยวัตร

เป็นพระตั้ง 227 และพร้อมด้วยอภิสมาจาร ไม่ละเมิดเอง ไม่แนะนำให้คนอื่นละเมิด ไม่ยินดีเมื่อเขาละเมิดแล้ว

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่า เข้าไปตัดหรือระงับนิวรณ์ 5 ประการฟังไปเมื่อกี้นี้อาจจะเข้าใจชัด เพราะยาวเหยียด ท่านพูดเพื่อ

ความเข้าใจระหว่างอาจารย์ด้วยกัน ระหว่างศาสดาด้วยกัน ก็ต้องพูดกันละเอียดแบบนี้พูดกันอย่างเราๆ ย่อ ๆ ก็ศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลาย

เองด้วย ไม่แนะนำคนอื่นเขาทำลาย ไม่ยินดีเมื่อเขาทำลาย แล้วก็พยายามระงับนิวรณ์ 5 ให้ทรงใจสงบสงัดจากนิวรณ์ หลังจากนั้นก็

ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหาร 5 ประการ ครบถ้วนเนื้อแท้จริง ๆ ที่ท่านกล่าวมามีเท่านั้นแหละครับ ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุก

ท่าน จะเป็นพระเป็นเณร เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้หญิงเป็นผู้ชายก็ตาม ทรงกำลังใจอย่างนี้เป็นปกติ เขาเรียกว่าเป็นจิตของผู้ทรง

ฌาน คือฌานโลกีย์ฌานโลกีย์น่ะทรงกันแค่นี้แหละ ไม่มีอะไรมาก ถ้ามีกำลังใจได้อย่างนี้ทุกอิริยาบถ ครบถ้วน ไอ้คำว่าครบถ้วน

ไม่ใช่ไปนั่งท่อง ศีลมีเท่าไร นิวรณ์มีเท่าไร พรหมวิหาร 4 มีเท่าไร ไม่ใช่อย่างนั้น อารมณ์ใจมันทรงตัว

อารมณ์ละเมิดศีลไม่มี แนะนำเขาละเมิดศีลไม่มี เวลาต้องการจิตสงัดจากนิวรณ์ปั๊ปนิวรณ์จะหลุดทันที แต่อารมณ์ใจของ

พรหมวิหาร 4 ทรงเป็นปกติ ลืมตาขึ้นมาก่อนจะหลับตาจิตมีเมตตาเสมอ มีกรุณาสงสารเสมอ มีมุทิตาอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร

พลอยยินดีเมื่อคนอื่นได้ดีเสมอ มีอุเบกขาวางเฉยไม่ดิ้นรนเกินไป

เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่าถึงเปลือก คือเป็นผู้ทรงฌาน จะถามว่ายังไม่ภาวนา

เลย ถ้าได้อย่างนี้ไม่ต้องภาวนาจิตทรงตัวแน่ มีความเยือกเย็น ถ้าจิตมีความเยือกเย็นอย่างนี้จะใช้ญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือทิพ

จักขุญาณก็ดี ปุพเพนิวาสานุสสติญาณก็ดี เป็นต้น ทุกญาณอย่างนั่นแหละ จะใช้เมื่อไรมีผลเมื่อนั้น ฝึกเมื่อไรได้เมื่อนั้น

เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน และเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย มองเวลาก็หมดแล้วนะขอรับพยายามทำให้ได้นะขอรับ

สะเก็ดก็ดี กระพี้ก็ดี เปลือกก็ดี ทั้ง 3 ประการนี้ ต้องทำให้ได้นะขอรับ ผมไม่บอกควรจะทำ ผมบอกว่าต้องทำเพราะที่วัดนี้ฝึกมโนมยิ

ทธิกันได้แล้ว ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ถือว่าท่านเป็นผู้หลอกหลวงบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทำบุญกับเปรต ทำบุญกับสัตว์นรก เอาล่ะ

วันนี้ขอลาก่อนขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่พุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี

ที่มา
http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2017:-10--10--8-&catid=37:2010-03-02-03-52-18
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เม.ย. 2554, 12:07:22 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 28 เม.ย. 2554, 09:44:52 »


สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุทุมพริกสูตร (9/9) จบ

ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และก็บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านสำหรับวันนี้ก็พบกันในเรื่องของบารมี 10 แต่ความจริงสิ่ง

ประกอบทั้งหมดเป็นเรื่องของบารมีทั้งหมด โดยก่อนจะพูดเรื่องอื่นก็บอกเวลากันเสียก่อนเวลานี้เป็นเวลา 19 นาฬิกาเศษๆ ของวันที่

22 กันยายน 2526 ที่บอกไว้ก็ทราบว่าพูดไว้ตั้งแต่เมื่อไร ประเดี๋ยวไปเปิดฟังไม่ทราบว่าพูดเมื่อไร ก่อนจะพูดอย่างอื่นก็เตือนกันไว้

ว่าความเลว 10 ประการ พยายามทำลายให้พินาศไป

1.สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้มันจะไม่ตาย ร่างกายสวยสดงดงาม ร่างกายเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมี

ในเรา ทิ้งไปจากกำลังใจ มาสร้างความรู้สึกเสียใหม่ ว่าร่างกายนี้มันต้องตายแน่เมื่อความมั่นใจ อย่างนี้มีอยู่ จะได้ปฏิบัติความดี คือ

ประกอบความดีให้ครบถ้วน อารมณ์ใจอย่างนี้ เป็นอารมณ์ใจของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี

ถ้ามีความรู้สึกว่า ร่างกายนี้ น่าเกลียดโสโครก มันเกลียดจริงๆ ไม่ใช่น่าเกลียดเฉยๆ มันสกปรก เราไม่ต้องการทั้งร่างกายของเรา

ร่างกายคนอื่น หรือวัตถุธาตุใดๆ อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอนาคามีถ้ามีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีใน

ร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อย่างนี้เป็นกำลังใจของพระอรหันต์ กำลังใจ 3 ประการให้เลือกปฏิบัติเอานะขอรับ จะเอาขั้นไหนก็ได้

ตามกำลังใจของท่านแต่ขอได้โปรดอย่าบอกว่าทั้ง 3 อย่างนี้ผมไม่ไหว ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็เชิญกลับไปเถอะครับ อย่าอยู่ที่นี่เลย มัน

รกที่ไม่ต้องการคนประเภทนี้

2.วิจิกิจฉา สงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงอย่ามีในใจ ใช้ปัญญาพิจารณานิดเดียว เราจะเข้าใจว่า

พระพุทธเจ้าพูดถูก พูดจริงทุกอย่าง ยอมรับนับถือคำสอนของพระองค์

3.สีลัพพตปรามาส คือลูบคลำศีล รักษาศีลไม่จริงไม่จัง หลอกชาวบ้านในฟ้ากาสาวพัสตร์ ประเภทอย่างนี้อย่ามีในเรา จงเป็นผู้ทรง

ศีลพรต กำหนดให้แน่นอนชัด ปฏิบัติให้ครบถ้วน ถ้าปฏิบัติครบทั้ง 3 ประการคือ

1. มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะต้องกาย

2. ไม่สงสัยในคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมยอมรับปฏิบัติตาม

3. รักษาศีลครบถ้วนทุกประการโดยเคร่งครัด

อย่างนี้องค์สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิโสภาคย์ตรัสว่า ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบันและพระสกิทาคามีต่อไปก็กำจัด กามฉันทะ คือมีความ

พอใจในกามคุณ คือรูปสวย เสียง เพราะ กลิ่นหอม กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ รู้ตามความเป็นจริงว่า ร่างกายเต็มไปด้วย

ความสกปรก เรื่องอะไรที่จะต้องการในร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่นสิ่งโสโครกทั้งหลายเหล่านี้เราไม่ต้องการ

และกำจัด ปฏิฆะ คือการกระทบกระทั่งความไม่พอใจออกจากจิต มีความเมตตา กรุณาเข้ามาแทน แม้จิตใจมีความเบื่อหน่ายใน

ร่างกายเป็นที่สุดอย่างนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นอารมณ์ของพระอนาคามีหลังจากนั้น ทำปัญญาให้ดี พิจารณาให้เห็นว่า รูปราคะ รูป

ฌานก็ดี อรูปราคะ อรูปฌานก็ดี ต้องทรงอารมณ์เอไว้ แต่เราจะไม่ติดอยู่แค่รูปฌานและอรูปฌาน เราจะก้าวต่อไปเพื่อนิพพาน ใน

การตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ตัด มานะ ความถือตัวถือตนออกจากใจ ทำใจเสมอกัน ตัด อุทธัจจะ คืออารมณ์ฟุ้งซ่านคือว่า

นิพพานเราไม่ต้องการตัดทิ้งไป แต่ตอนนี้ไม่ต้องตัดก็ได้นี่ ถึงอนาคามีแล้วเขาก็สบายมาก ตอนนี้ไม่ตัดแน่ ท่านพูดไว้ก็พูดตามท่าน

ตั้งกำลังใจไว้เฉพาะพระนิพพานแน่วแน่

ตัด อวิชชา ความระยำของจิตที่คิดว่ามนุษย์โลก เทวโลก เป็นของดี ตัดออกไปจากใจ กำลังใจตั้งใจอย่างเดียวคือพระนิพพาน และ

ทำใจของทุกท่านให้ตั้งอยู่ในสังขารุเปกขาญาณ คือไม่เมาในร่างกาย วางเฉยร่างกายมันจะแก่เชิญแก่ตามสบายของมัน ใจไม่ดิ้นรน

ร่างกายมันจะป่วยเชิญป่วยไปตามเรื่องของมัน ใจไม่ดิ้นรนไม่ทุกข์ ร่างกายมันจะตายก็เชิญตาย ฉันไม่ได้ตายด้วย ช่วยให้ฉันมีความ

สุขอย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์

หลังจากนั้นกำจัดสังโยชน์ 10 ประการ ให้พินาศไปจากใจ ทรงกำลังใจในด้านของความดี มารวบรวมบารมีทั้ง 10 ประการ ให้ถึงขั้น

อุกฤษฏ์ คือให้เต็มอยู่เสมอกำลังใจ กำลังใจเต็ม 10 ประการ ได้แก่

1.ทาน ให้ทานพร้อมให้ทานเพื่อเป็นการตัดโลภะความโลภ

2.ศีล เพื่อตัดโทสะความโกรธ

3.เนกขัมมะ คือการบวชระงับนิวรณ์ 5 ประการ อย่าให้มายุ่งกับใจ

4.ปัญญา มีไว้เพื่อเป็นการตัดกิเลส

5.วิริยะ มีความพากเพียร ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใดๆ อุปสรรคใดๆ เข้ามาต่อสู้ให้ยับยั้งไป ให้บรรลัยไปจะไม่ทรงศัตรูไว้คือกิเลสให้

รอหน้า

6.ขันติ ความอดทน อดใจ อดกลั้นมีไว้เสมอ ไม่ยอมปล่อยความเลวให้หลั่งไหลมาทางกายและวาจา

7.สัจจะ ตั้งใจไว้ว่าเราจะทำอะไร ต้องทำแน่นอน ไม่ท้อถอย ไม่เปลี่ยนแปลง

8.อธิษฐาน ตั้งใจไว้เฉพาะกาล ว่าเราต้องการนิพพานจุดเดียว

9.เมตตา มีจิตเมตตาปรานี ยินดีต่อบรรดาสัตว์ทั้งหมด คือว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของสัตว์และคนทั้งหมดทั่วโลก

10.อุเบกขา วางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆ หากการใดที่มันเกิดขึ้น เราเฉย ถือว่าเป็นกฎธรรมดาของการเกิดมาในโลก เพียงเท่านี้ก็เต็ม

กำลังใจบารมี 10 นี่นะขอรับ ต้องเต็มกำลังใจทุกวันนะขอรับ เช้าขึ้นมาก็เปิดบารมี 10 มาดู ทานพร้อมจะให้แล้วหรือยัง ศีลครบถ้วน

ไหม นิวรณ์เราชนะกำลังใจได้นิวรณ์หรือเปล่า ปัญญาคิดว่าโลกนี้ดี เทวโลกดี พรหมโลกดีมีไหม ถ้าทีใช้ไม่ได้ วิริยะ ความย่อท้อต่อ

อันตรายต่างๆ มีหรือเปล่า ขันติ ความอดใจมีไหม สัจจะ ทรงกำลังใจแน่นอนไหม อธิษฐานตั้งไว้เฉพาะการคือพระนิพพานมีหรือ

เปล่า เมตตา ความเมตตาปรานียินดีต่อคนและสัตว์ทั้งโลก ว่าเป็นมิตรที่ดีสำหรับเรามีไหม อุเบกขา กำลังใจวางเฉย ไม่ดิ้นรนมีหรือ

เปล่า  ถ้าไม่มีปรับปรุงใจให้มีครบถ้วนทุกประการ อย่างนี้ถือว่าเป็นสาวกขององค์สมเด็จพิขิตมารแน่นอน เราก็ย้ำๆ ไปเฉยๆอีตอนนี้

เข้าถึงกระพี้นะขอรับ

วันนี้ก็เข้าถึงกระพี้และแก่นกันแล้ว เมื่อวาน เอ้อ ตอนก่อนผมไปหยุดไว้ที่ไหนก็ไม่รู้ซิน่ะ พวกท่านบอกว่าถึงกระพี้เท่านั้น อ้อ จำได้

แล้ว เห็นแล้ว หยิบพระไตรปิฏกมาแล้วก็งง ไอ้ทำอย่างนี้นี่มันทำติดๆ กันหลายคาสเซ็ทนี่ท่านถามว่าเหนื่อยไหม ผมก็ต้องตอบว่า

เวลานี้เกือบจะทรงกายไม่ไหว มันทั้งเพลีย มันทั้งเหนื่อย มันทั้งอึด มันทั้งเสียด และก็เสมหะก็ขึ้นคอ มันทำท่าจะอาเจียนอยู่ตลอด

เวลา ท่านถามว่าทำทำไม ผมก็ตอบว่า ผมทำเอาทุนไว้เพื่อตาย ถ้าผมตายไปนี่ ผมทำนี่เป็นธรรมทานนะครับ ผมไม่ได้รับจ้างรางวัล

จากใคร พระพุทธเจ้าบอกว่า

สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมเป็นทานชนะทานทั้งปวง เวลาผมตายผมจะได้แบกไปใช้ของผมด้วยอะไรที่ผมนำมาให้ไว้

แพวกท่านนะ เวลาตายผมแบกของผมไปด้วย แต่กากมันจะอยู่ที่นี่ เสียงมันยังอยู่นะครับ แต่กำลังใจผมแบกไปทุกอย่าง นี่ผมคิด

อย่างนี้นะ ดีไม่ดีผมพูดๆ นี่ผมเสือกตายขึ้นมาตอนนี้ ผมจะดีใจมาก แต่มันยังไม่ตาย ผมก็ไม่กลุ้ม มันอยากจะตายห้ามไม่ได้ก็ช่าง

มัน ที่เป็นมันยังไม่ตาย ก็ทำงานไปก็หมดเรื่อง

วันนี้ก็มาพูดกันตอนที่ 28 เป็นตอนไม่ใช่เฉพาะเรื่องนะครับ ท่านเขียนไว้อย่างนั้น ตอนที่ 28 ที่เป็นหน้าที่ 37 ตอนนี้เป็นตอนที่มี

ความสำคัญมากแล้วท่านที่ปฏิบัติมโนมยิทธิได้นี่ท่านเข้มกว่านี้นิดหนึ่งขอรับ เพราะว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสนี่เป็นหลักสูตรของวิชชา

สาม แต่วามโนมยิทธิที่ท่านทั้งหลายได้นี่ เป็นหลักสูตรของอภิญญาหกเป็นการเตรียมตัวเพื่ออภิญญาหก เข้มกว่าวิชชาสามหน่อย

แต่ถ้าบังเอิญท่านทั้งหลายลืมใช้ความดีที่มีอยู่ ผมก็ต้องขอสรรเสริญทานว่าท่านเลวที่สุดถ้ามีแล้วต้องใช้ให้ครบ เพราะว่าเท่าที่ผม

พยายามหามานี่ เพื่อความดีของท่านทั้งหลาย ถ้าแค่กำลังใจของผมถือว่าพอกินพอใช้ อย่านึกว่าผมเป็นพระอริยเจ้า อย่าไปนึก

อย่างนั้นนะ ผมไม่ได้คิดว่าผมเป็นพระอริยเจ้า แล้วท่านอย่าไปคิดแทน

เอ้า ! คุยเรื่องวันต่อไป ตอนที่ 28 พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า เอ้า ไม่ใช่ซิ นิโคธปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การ

หน่ายบาปด้วยตบะเป็นกริยาที่ถึงยอดและถึงแก่นด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอประทานวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้ข้าพระองค์ถึง

ยอดถึงแก่นแห่งการหน่ายบาปด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้เป็นผู้มี

สังวรแล้วไปด้วยกิเลส 4 ประการเป็นต้น ย่อมระลึกชาติ

ก่อนได้เป็นอันมาก นี้ต้องอย่าลืมนะครับท่านบอกว่าย่อมสังวรแล้วด้วยสังวร 4 ประการ แล้วก็ระงับนิวรณ์ 5 ประการทรงพรหมวิหาร

4 เป็นปกติ ท่านละไว้นะครับ ต้องให้ครบนะ จะเอาแค่สังวร 4 ประการไม่ได้นะ

ฆราวาสต้อง 5 ประการนะ เดี๋ยวจะไปย่องดื่มสุรา เป็นอันว่า

1. สะเก็ดเราเลาะดีแล้ว

2. สังวร 4 ประการก็ทรงตัว

3. การระงับนิวรณ์ได้โดยฉับพลัน

4. จิตทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ

ท่านบอกว่า เขาย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้างสองชาติบ้าง และเขาระลึกได้ถึงชาติก่อนๆ เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมด้วยประการนี้ หมายความว่าไม่จำกัด นึกชาติได้ทุกๆ ชาติ รู้ทั้งเพศทั้งวัย ทั้งความเป็นอยู่ ทั้ง

ความสุข ความทุกข์ ความรู้สึก การพูดจาปราศรัย เอาอย่างนี้ก็แล้วกันว่าอย่างละเอียด เขาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว

บ้างปราณีตบ้าง ปรารีตคือดี มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพจักขุจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้จัก

ถึงหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการ

กระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอุบายทุคคติ วิบาก วินิบาติ นรกส่วนสัตว์ทั้งหลายเหล่า

นี้ประกอบไปด้วยกายสุจริต วจีสจริต มโนสุจริต นี่ท่านควบเลยนะครับ เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง ไม่ติเตียนพระอริยาเจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ

เบื้องหน้าแต่พอตายเพราะกายแตกเขาย่อมเข้าถึงสุคติ มีโลกสวรรค์ดังนี้ เขาย่อมเป็นผู้เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติเลวบ้าง

ปราณีตบ้าง ผิวพรรณดีบ้าง ผิวพรรณทรามบ้าง ได้ดีตกยากด้วยทิพจักขุ จักษุอันบริสุทธิ์ ได้ดีและก็ได้ตกยาก ท่านกล่าวว่ารู้ได้โดย

ทิพจักขุจักษุญาณอันบริสุทธิ์ อ้า ! ด้วยทิพจักขุ จักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักขุของมนุษย์ธรรมดา ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ด้วยประการฉะนี้

ดูก่อนนิโครธะ ท่านสำคัญความเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้การหน่าวยบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เพียงใด

นิโครธปริพพาชกกราบทูล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้การหน่ายบาปด้วยตบะบริสุทธิ์แท้ไม่บริสุทธิ์หามิได้ เป็นกริยาที่ถึง

ยอดถึงแก่นพระเจ้าค่ะ

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ การหน่ายบาปด้วยตบะเป็นกริยาที่ถึงยอดถึงแด่นด้วยการเพียงเท่านี้ ดูก่อนนิโครธะ

ท่านได้กล่าวกับเราอย่างนี้ว่า ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าสำหรับทรงแนะนำสาวกนั้นชื่ออะไร ธรรมชื่ออะไร สำหรับผู้รู้แจ้งชัด อธิ

พรหมจรรย์ อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสาวกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว ถึงความยินดี ดูก่อนนิโครธะ ฐานะที่ยิ่งกว่าและ

สกปรกนี่แล เป็นธรรมสำหรับเราแนะนำพระสาวก

เป็นธรรมสำหรับผู้รู้แจ้งชัดใน อธิพรหมจรรย์ อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสาวกที่เราแนะนำแล้ว ถึงความยินดีเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอย่างนี้ พวกปริพพาชกทั้งหลายเหล่านั้นได้เป็นผู้มีเสียงดังอึกทึกว่า พวกเรากับอาจารย์ยังไม่เห็นคัมภีร์อเจลก เป็นต้น พวกเรา

กับอาจารย์ยังไม่เห็นมีบาลีในบาลีอเจลกเป็นต้น พวกเรายังไม่รู้ชัด การบรรลุคัมภีร์ที่ยิ่งไปกว่านี้

แต่ท่านกล่าวว่า ในการที่สันธานคฤหบดีทราบว่า บัดนี้พวกปริพพาชก อัญญเดียรถีย์ เอ้า ที่แปลที่แล้วๆมา อัญญะ แปลว่าต่างๆ นัน

ไม่ถูกนะครับ ต่างๆ มันมาจากนานา อัญญะแปลว่าอื่น อันเดียรถีย์อื่นๆ เหล่านั้นตั้งใจฟัง เลี่ยงโสตก็สดับตั้งจิตเพื่อจะรู้ถึงภาษิต

ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้จริง จึงได้กล่าวกับนิโครธปริพพาชกว่า

ดูก่อนท่านนิโคธะ ท่านได้กล่าวกับเราไว้อย่างนี้ว่า เอาเถิดคฤหบดี ท่านถึงรู้พระสมณโคดมจะทรงเจรจากับใคร จะถึงกาลสนทนา

ด้วยใคร จะถึงความเป็นผู้ฉลาดด้วยพระปัญญากว่าใคร พระปัญญาของพระสมณโคดมฉิบหายเสียในเรือนอันสงัด พระสมณโคดม

ไม่กล้าเสด็จเที่ยวไปในบริษัท ไม่สามารถเพื่อจะทรงเจรจา พระองค์ท่านทรงเสพอันสงัด ณ ภายในนั้นอย่างเดียว อุปมาเหมือนแม่

โคบอดที่เที่ยววนเวียนที่อันสงัด ณ ภายใน

ฉะนั้น เอาเถิดคฤหบดี พระสมณโคดมถึงเสด็จมาที่สู่บริษัทนี้ พวกข้าพเจ้าจะพึงสนทนากับพระองค์ท่าน ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น

เห็นจะพึงบีบรัดพระองค์ท่านให้ไม่ให้กล้าเสด็จเที่ยวไปในบริษัท จะทำให้เป็นเหมือนแม่โคบอดเที่ยววนเวียนอยู่ จะสนทนากับท่าน

ด้วยปัญหาเพียงข้อเดียวเท่านั้น เห็นจะบีบรัดพระองค์ท่านเหมือนกับบุคคลบีบรัดหม้อเปล่า

ฉะนั้น เมื่อท่านสันธานคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิโคธปริพพาชกก็เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณจะโต้ตอบ

ไอ้นี่เขาเอาจริงๆ เลยนะ เขาเอากันจริงๆ อ่านต่อไปเหลือเวลาอีก 8 นาทีท่านกล่าวว่า ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ซึ่งนิ

โครธปริพพาชกเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฎิภาณ จึงตรัสกับนิโครธ

ปริพพาชกว่า ดูก่อน นิโครธะ วาจานี้ท่านกล่าวจริงหรือ นิโครธปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วาจานี้ข้าพระองค์

กล่าวจริงด้วยความเป็นคนเขลา คนหลงไม่ฉลาด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ทส่านเคยได้เป็ฯปริพพชกผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นอาจารย์ และ

เป็นปรมาจารย์กล่าวว่ากระไร พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธ่เจ้าทั้งหลายได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาเหล่านั้นประชุม

พร้อมกันแล้วมีเสียงดังอึกทึก ขอให้เดียรฉานคาถาต่างๆ เรื่องอยู่

คือขวนขวายเรื่องพระราชาเรื่องโจร เป็นต้น เรื่องความเจริญเรื่องความเสื่อมด้วยประการ ดังนั้น นั้นเหมือนท่านกับอาจารย์ในขัดนี้

อย่างนี้หรือหรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายย่อม แสดงธรรมอะไร. ย่อมทรงเสพ เอ้อ ทรงเสพราวไพรในป่า เสนาสนะอันสงัด ซึ่ง

มีเสียงน้อย มีเสียงอันกึกก้องน้อยปราศจากลม แต่ชนผู้เดินเข้าออก ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับแห่งมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น

เหมือนเราในบัดนี้

นิโครธปริพพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินปริพพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นอาจารย์และปรมาจารย์กล่าวว่า

พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหายได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นเหมือนข้าพระองค์กับอาจารย์ในบัดนี้

อย่างนี้ก็หามิได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นย่อมทรงเสพราวไพรในป่า และมีเสนาสนะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้อง

น้อย ปราศจากลม แต่ชนผู้เดนเข้าออกสมควรแก่กรรมอันเร้นลับแห่งมนุษย์สมควรแก่การหลีกเร้น เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในบัดนี้

อย่างนี้

และพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนิโคธะ ท่านแลเป็นผู้รู้ เป็นผู้แก่ ไม่ได้ตำหนิว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระพุทธะ ย่อมทรง

แสดงธรรมเพื่อการตรัสรู้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ฝึกแล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อความฝึก และก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้สงบ

ระงับแล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบระงับ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ข้ามไปได้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความข้าพ้น

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้สดับแล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความสดับเป็นอันว่าเหลือเวลาอีก 5 นาที ดีใจเกือบแย่

เรื่องตอไปข้างหน้าไม่มีอะไร เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงยืนยันว่า ถ้าบุคคลใดปฏิบัติความรู้ตามที่กล่าวมานี้แล้วนั้นได้หมด ถ้า

มีบารมีแก่กล้า จะเป็ฯอรหันต์ภายในเจ็ดวัน ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายในเจ็ดเดือนมีบารมีอย่างอ่อน จะเป็นอรหันต์

ภายในเจ็ดปี และสมเด็จพระขินสีห์ยังกล่าวกับนิโครธปริพพาชกและปริพพาชกทั้งหมดว่า เธอต้องการให้เราสอน เราจะสอนเป็น

อันว่าเวลานั้นทุกคนนิ่งสงัด องค์สมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงทราบว่ามารเข้าดลใจ บุคคลทั้งหลายไม่สามารถทรงความดีได้

สมเด็จพระจอมไตรก็เสด็จกลับ

เป็นอันว่า นิโคธปริพพาชก และปริพพาชกทั้งหมดไม่มีความหมายไม่ได้อะไรจากพะพุทธเจ้าเลย อย่างนี้ท่านเรียกว่าอาภัพบุคคล

คนที่หาความเจริญมิได้ เป็นอันว่าเรื่องรวมทั้งหลายเหล่านี้ บรรดาท่านทั้งหลายฟังแล้วเข้าใจไหม

ขอสรุป เรื่องสะเก็ดผมก็จำไม่ได้หมด หลังจากสะเก็ดแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวเน้นว่าสังวร 4 ประการมีประจำใจ

หลังจากนั้นระงับนิวรณ์ 4 ประการให้ได้ขาดในเวลาที่เราต้องการ แล้วก็จิตทรงพรหมวิหาร 4 จนเป็นปกติ ไอ้คำว่าปกตินี่หมายความ

ว่า ถ้าตื่นขึ้นมาต้องทรงพรหมวิหาร 4 ทันทีนะครับ หลังจากนั้นทำปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือการระลึกชาติได้ให้เกิดขึ้นการระลึก

ชาติได้นี่อย่าเบื่อนะขอรับ อย่าถืออุปาทานพวกท่านทำได้ ผมถือว่าทำได้ถ้าลืมก็ถือว่าก็แย่หน่อย คือก่อนจะบวชนี่ทุกคนทำได้หมด

และก็ทิพจักขุญาณหรือว่า

จุตูปปาตญาณ เป็นญาณอันเดียวกันที่รู้การตายและการเกิดของคน เป็นคนเห็นสัตว์รู้ได้ทันทีเลยว่าก่อนเกิดมาจากไหน มีข่าวคน

ตายสัตว์ตายรู้ได้ทันทีว่าไปอยู่ไหนทำให้ชัดเจนแจ่มใน เมื่อทรงกำลังใจได้อย่างนี้ ทุกท่านที่นั่งฟังอยู่ที่วัดนี้ ก็เขาสอนมาแล้วก็

ยืนยันว่าได้ดีแล้วทุกคน ก็ขอให้รักษาความดีขององค์สมเด็จพระทศพลที่ทรงให้ไว้ หลังจากนั้นก็ตั้งใจตัดกิลเลสเป็ฯสมุจเฉทปหาน

จะใช้ญาณอะไรเข้าประกอบบ้าง วันนี้มันก็หมดเวลานะครับขอลาก่อน

เอาไว้ค่อยคุยกันเวลาหลังตอไปขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน

สวัสดี