ผู้เขียน หัวข้อ: ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ  (อ่าน 4164 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 2554, 07:50:29 »
ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
ท่านพระสุรจิตเทศน์ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙

จาก หนังสือ “ธรรมะหลวงพ่อ” และพระอริยเจ้าบางองค์
โดย พระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)
รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

---ไอ้คำว่าเบื่อ ๆ อยาก ๆ เพราะว่ามันยังไม่ทรง เข้าใจไหม

---นิพพิทาญาณจริง ๆ นี่ ท่านเบื่อท่านทรง มันเบื่อจริง ๆ เบื่อจนมันไม่เอาอะไร ไอ้ตัวนี้มันเบื่อจริง ๆ มันเห็นร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ๆ มันเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มันเห็นความไม่เป็นสาระ ในเมื่อโลกทั้งโลกนี้ ดูแล้วไม่เป็นสาระ มันมีแต่ความเบื่อหน่ายในโลก เบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ คราวนี้ถ้ามันเบื่ออยู่อย่างนั้น แล้วจิตไม่สามารถจะถอนความเบื่อได้ มันก็อาจจะฆ่าตัวตายได้ เพราะมันเป็น มันเป็นมาก เข้าใจไหม

---จิตก็จะต้องหาทางออกให้ได้ ออกจากนิพพิทาญาณ คราวนี้ถ้าจิตจะออกจากนิพพิทาญาณ จิตนั้นจะต้องเห็นธรรมดาของโลก เห็นธรรมดาของร่างกายว่ามันเป็นอย่างนี้ มันต้องทุกข์อย่างนี้ มันต้องสกปรกอย่างนี้ เราอยู่กับคนที่มีกิเลส เราก็ต้องถูกกิเลสกระทบอย่างนี้ มันหนีไม่พ้นหรอก ไอ้โลกนี้มันสกปรกไปด้วยกิเลสของคน เข้าใจไหม

---เราอยู่กับคนที่มีกิเลส เค้าก็สาดกิเลสมาหาเรา มันก็มีแต่ความเดือดร้อน ไอ้ความวุ่นวายทั้งหมดมันก็มาจากกิเลส ทำให้ใจเห็นธรรมดาให้ได้ จิตที่มองเห็นธรรมดาและยอมรับนับถือในธรรมดาตรงนี้แหละ คือ โคตรภูญาณ มันต่อเนื่องกันกับนิพพิทาญาณ ถ้าจิตไม่สามารถออกจากนิพพิทาญาณได้ เข้าโคตรภูญาณไม่ได้ มันก็เสร็จอยู่ตรงนั้นแหละ คราวนี้บางคนพอเบื่อเข้ามาก ๆ ไอ้นิพพิทาญาณมันก็ถอย ไม่เอา ๆ คือ ไม่ยอมพิจารณาต่อ กลัวว่าจะฆ่าตัวตาย กลัวว่าจะไปผิดทางแล้วมันก็ถอยกลับเข้าปุถุชนเลย จิตมันจะไม่ก้าวต่อ เข้าใจไหม



ที่มา
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1044
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 11 มิ.ย. 2554, 07:52:42 »
ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ ๒

---เราต้องไม่ถอยจากตรงนั้น ต้องพิจารณาต่อไป แต่ขณะที่พิจารณาต่อไป ต้องมองให้เห็นความจริงของโลกว่าความจริงมันเป็นอย่างนี้ ร่างกายของคนทุกคนมันเป็นอย่างนี้ ร่างกายไม่มีของใครดีหรอก มันมีแต่ความเสื่อม มันมีแต่ความทุกข์ มันมีแต่ความปวดเมื่อย มันมีแต่มองดูแล้ว ร่างกายเราตั้งแต่ตื่นจนหลับ มันไม่มีคุณให้เราเลย เราหาเลี้ยงมันเท่าไร มันไม่เคยเชื่อฟังเรา มันมีแต่ทำโทษให้เราทั้งนั้น เราคือจิต ทำโทษให้เราตรงไหน ตรงที่ต้องคอยดูแลรักษามัน ทำโทษตรงที่ว่า เราต้องโดนกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่าง ๆ ก็เพราะเรามีร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายก็ไม่ต้องดูแล ก็ไม่ต้องกระทบอารมณ์ต่าง ๆ ใช่ไหม

---อารมณ์ที่กระทบกับบุคคลบ้าง รอบข้างต่าง ๆ นี้ มันเป็นความทุกข์ ทั้งราคะ ทั้งโทสะ ทั้งโมหะ เพราะเรามีร่างกาย เราถึงกระทบ ถ้าร่างกายไม่มีมันไม่กระทบหรอก อย่างคนที่เขาว่าเขาตำหนิ เขาตำหนิกาย ไม่มีใครตำหนิจิตหรอก ถูกไหม

---เขาตำหนิกาย แต่จิตมันไปยึดกาย จิตมันก็โกรธ มันก็เป็นโทสะไป ไอ้อารมณ์เหล่านี้มันก็เกิดเพราะเรามีกาย เข้าใจไหมนี่

---กายมันไม่มีคุณ มันมีแต่โทษ ให้มันเห็นความจริงของกายภายนอก พอจิตวางลงธรรมดาได้ ตัวธรรมดาตัวนี้แหละคือ โคตรภูญาณ คราวนี้ตรงโคตรภูญาณนี่ก็เหมือนกัน ต้องทรงธรรมดาให้อยู่ ถ้าทรงไม่อยู่ จิตมันก็ถอยกลับไปสู่ปุถุชนเหมือนกัน คราวนี้ทรงให้อยู่ ทรงให้มันเห็นอยู่ตลอดเวลาว่า โลกทั้งโลกมันไม่มีอะไรดี ให้มันเห็นความจริงของโลกให้ได้ พอจิตมันทรงอยู่ได้แล้ว จิตมันจะพ้นโคตรภูญาณ พอพ้นโคตรภูญาณจะเข้าพระโสดาบัน เวลาอยู่ในโคตรภูญาณ หลวงพ่อท่านถึงบอกว่า มันเหมือนกับเหยียบอยู่ลำรางข้างหนึ่งเป็นโลกีย์ อีกข้างเป็นโลกุตระ ถ้ากำลังมันไม่พอ เดี๋ยวมันก็ถอยกลับมาโลกีย์ใหม่ เข้าใจไหม

---คราวนี้กำลังมันอาจจะไม่พอ มันก็อยู่ที่เราขยันไม่ขยัน อยู่ที่ปัญญาของเรา ถ้าหากว่าทำ ๆ แล้วเดี๋ยวก็ถอยบ้าง คือ กิเลสมันพาให้ถอยอยู่เรื่อย ว่ากันตรง ๆ กิเลสมันจะฉุดให้ถอยหลัง ถ้าเราไม่เชื่อกิเลส อย่างที่ท่านบอกว่า ต้องมีวิริยะบารมี ต้องมีขันติบารมี คือ ไม่ยอมเชื่อกิเลส เราบากบั่นจะเอาชนะมันให้ได้อย่างเดียว ยังไงมันก็ชนะ แต่ถ้าหากเราบารมีไม่พอ เดี๋ยวก็ถอยหลังกิเลสมันคอยฉุดไม่ให้ขาก้าวไปข้างหน้า มันก็เข้าพระโสดาบันไม่ได้ จิตมันต่อเนื่องอยู่อย่างนี้

ที่มา
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1044

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 11 มิ.ย. 2554, 07:55:30 »
ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ ๓/๓

---คำถาม การเป็นพระโสดาบันนี่ ยากตรงไหนคะ
---คำคอบ ยากตรงศีล ยากตรงศีล พระพุทธเจ้าบอกว่า บุคคลจะเข้าถึงพระโสดาบันได้ ต้องมีศีลเป็นอธิศีล เคยได้ยินไหม
---บุคคลจะเข้าถึงพระอนาคามีได้ ต้องมีจิตเป็นอธิจิต จะเข้าถึงพระอรหันต์ได้ ต้องมีปัญญาเป็นอธิปัญญา คราวนี้จะมีศีลเป็นอธิศีล เราก็ต้องมาดูว่ายังไงเรียกว่า อธิศีล จะทำอย่างไรให้ศีลของเราเป็นอธิศีล ให้เราไปย้อนดูคำสอนของหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านบอกว่า จะทำศีลให้เป็นอธิศีล ต้องรักษาศีล ๓ ขั้น คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นละเมิดศีล แล้วไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นละเมิดศีลแล้ว เคยได้ยินไหม
---เคยได้ยินหรือเปล่า คราวนี้เราก็มาดูคำสอนของท่าน ปกติเวลาที่เรารักษาศีลนี่ เรามีความรู้สึกว่า ถ้าเรารักษาศีล ครบทุกข้อ ไม่ละเมิดซักข้อหนึ่ง เราก็ถือว่าเรามีศีลบริสุทธิ์ ถูกไหม

---แต่ตรงนี้หลวงพ่อบอกว่า ยังไม่ใช่ศีลบริสุทธิ์ มันยังเป็นเพียงแค่ศีลไม่ขาดเท่านั้นเอง ตรงนี้เพียงข้อแรกเราไม่ละเมิดศีลแค่นั้นเอง เข้าใจไหม

---ในขณะที่เราไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองนั้น บางครั้งเราไปยุบุคคลอื่นทำ เราไม่ทำเองแต่ใช้เขาทำ อย่างบางทีบ้านของเรา หรือว่าห้องของเรา บางทียุงมันเยอะหรือแมลงสาบมันเยอะ ไม่ทำเองหรอก แต่ใช้เด็กทำ เรากลัวบาปแต่โยนบาปไปให้เขา ไอ้ตรงนี้สัตว์ก็ตายเพราะเราเป็นเหตุ แล้วศีลของเราจะบริสุทธิ์ได้อย่างไร เข้าใจไหม

---และศีลก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้ เราไม่ทำเองด้วย แล้วเราไม่ยุบุคคลอื่นเขาทำด้วย แล้วศีลจะบริสุทธิ์หรือยัง มันก็ยังอยู่ดี เพราะบางครั้งจิตเรายังคิดละเมิดศีล ไอ้จิตคิดละเมิดศีลนี้ มันจิตคิดยังไง จิตไปยินดีการละเมิดศีลของบุคคลอื่น อย่างสมมุติบ้านเรา หรือว่าห้องของเราก็แล้วแต่ บางทียุงมันเยอะ แมลงสาบมันเยอะ เราไม่ทำด้วย เราไม่ใช้เด็กทำด้วย แต่เด็กมันมาเห็นว่ายุงมันเยอะ แมลงสาบมันเยอะ มันหวังดีทำให้เรา เรากลับถึงมันไม่มี ยุงไม่มีแมลงสาบไม่มีดีนี่หว่า มันอุตส่าห์ช่วยทำให้ นี่ไปยินดีเขาฆ่าสัตว์ ถูกไม่ถูก จิตยินดีแค่นี้ จิตมันก็ไม่บริสุทธิ์ในศีล ถูกไหม

---ท่านถึงบอกว่า ศีลอย่างไรที่ศีลจะบริสุทธิ์อย่างไร ? พร้อมกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ คือ ไม่ละเมิดด้วยตนเองด้วย ปากต้องไม่ยุบุคคลอื่นเขา ใจก็ไม่ยินดีในการละเมิดศีลของบุคคลอื่นเขา มันต้องบริสุทธิ์พร้อมกันทั้งหมดอย่างนี้จึงจะเรียกว่า อธิศีล เข้าใจไหม

---คำว่า อธิศีล นะ คราวนี้เมื่อจิตเป็นศีล จิตรักษาศีลมั่นคง เวลานั้นศีลมันจะเข้าถึงจิต มันจะรักศีลจริง ๆ พอจิตเป็นศีลขนาดนั้น จิตมันจะเหมือนศีลนี้เป็นเหมือนพ่อเหมือนแม่เราเลย คอยระวังไม่ให้เราตกไปในที่ชั่ว ระวังไม่ให้เราละเมิดศีล เวลานั้นจิตมันจะรักศีลจริง ๆ จิตรักศีลแล้วนั้น จิตจะมีความสงบ จิตจะมีความเยือกเย็น มันจะมองเห็นเลยว่าเรานี่ แม้แต่คิดชั่วก็ไม่มี อย่าว่าแต่ทำชั่วเลยนะ ไอ้กายมันไม่ทำอยู่แล้ว ถ้าลองรักษาศีลถึงจิตนี่ ปากก็ไม่พูด กายก็ไม่ทำ แม้แต่จิตคิดชั่วยังไม่มีเลย จิตคิดละเมิดศีลยังไม่มี เมื่อจิตไม่คิดละเมิดศีล จิตก็มีแต่ความเยือกเย็น จิตก็มีแต่ความสงบ ถูกไหม

---เมื่อจิตมีความเยือกเย็น จิตมีความสงบ ไอ้ตัวความเยือกเย็น ความสงบตรงนั้นน่ะ มันจะทำให้มองเห็นกิเลสในใจชัด ศีลนี่ท่านแปลว่าเย็นนะ ที่ท่านแปลว่าเย็น เพราะผู้ที่รักษาศีลใจจะเย็น เมื่อจิตมีความเยือกเย็น มันก็เห็นกิเลสในใจชัด ไอ้ตัวปัญญาตัดกิเลสมันก็จะตามมาเอง จิตของผู้ไม่มีศีลจิตจะเร่าร้อน ถึงแม้ว่าผู้นั้นจะมีสมาธิขนาดไหนก็แล้วแต่ รับรองได้ว่าจิตเร่าร้อน จิตไม่สงบ อันนี้จริง ๆ นะ เขาอาจจะสงบ เขาอาจจะมีสมาธิถึงฌาน ๔ ถึงอภิญญา ๕ แต่ความสงบอันนั้นมันเป็นความเร่าร้อน มันสงบอยู่บนความเร่าร้อน (ตัวอย่างคือท่านเทวทัต)

---คำถาม ถ้าอย่างนี้ถ้าเราทรงอธิจิตก็แสดงว่า กรรมบถ ๑๐ ก็รวมด้วย ใช่ไหมค่ะ
---คำตอบ คำว่ากรรมบถ ๑๐ มันอย่างนี้นะ เรื่องศีล ๕ กับกรรมบถ ๑๐ นี่ ศีล ๕ เป็นคุณสมบัติของพระโสดาบัน กรรมบถ ๑๐ เป็นคุณสมบัติของพระสกิทาคามี คราวนี้เราเอาเบื้องต้นพระโสดาบันให้ได้ดีกว่า เอาแค่ศีล ๕ ข้อ เอาให้มันเป็นอธิศีลให้ได้ เข้าใจไหม เอาตรงนี้ให้เป็นสำคัญ

---คำถาม ถ้าเป็นอธิศีลแล้วนี่ กรรมบถ ๑๐ จะตามมาทีหลัง
---คำตอบ มันจะง่ายขึ้น เพราะเรารักษาศีลด้วยจิต กรรมบถ ๓ ข้อท้าย มันเป็นจิตเข้าใจไหม ในเมื่อศีล ๕ เรารู้จักใช้จิตรักษาศีลคือ รักษาศีลด้วยจิตแล้ว ไอ้ ๓ ข้อท้ายนี่มันทำไม่ยากเข้าใจนะ บางตัวมันใกล้กัน มันจะดึงกันขึ้นมา
_______________จบ

ที่มา
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1044

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 11 มิ.ย. 2554, 08:10:55 »
“นิพพิทาญาณ” ญาณที่ผู้ฝึกจิตหากไม่ได้ ก็เท่ากับสูญเปล่า
 
นิพพิทาญาณเป็นไฉน?

   นิพพิทาญาณ คือ ญาณเบื่อโลก คือ ปัญญาที่หยั่งรู้เท่าถึงความไม่จีรัง ความมายา ความทุกข์ ความหลงมัวเมาที่เต็มอยู่ในโลก ความรู้สึกที่เบื่อหน่ายเรื่องทางโลกีย์อย่างยิ่ง เบื่อหน่ายเรื่องราวทางโลกอย่างยิ่ง จนละทิ้งบ้านเรือนออกแสวงหาสัจธรรม นี่คือ อาการของนิพพิทาญาณ ซึ่งจะเกิดเมื่อ จิตผู้หนึ่งมีความสงบสุขสงัดทางธรรมมากๆ แล้วหันกลับไปมองทางโลกก็รู้สึกแตกต่างจากความสุขทางธรรมได้แจ้งชัด ชัดเจน จึงหันหลังให้ทางโลก หรือเกิดจากความเบื่อสุดระอา เพราะความทุกข์อย่างยิ่งทางโลก แล้วได้พบธรรมเข้าพอดี เกิดความสงบสุขได้ จิตละจากทางโลกได้ฉับพลันเข้าหาทางธรรมทันทีก่อนที่จะไม่เหลือจิตสมประดี เช่น กรณีหญิงบ้าที่แก้ผ้าเข้าวัดไปหาพระพุทธองค์ สติของนางยังพอมีเหลืออยู่บ้างยังไม่ถึงขนาดขาดหมดไม่สมประดี เมื่อได้พบธรรม ได้พบพระพุทธเจ้า ก็เหมือนมีพระมาโปรดให้ใจชุ่มเย็น ดับความเร่าร้อน แล้วได้สติ เห็นทางธรรมเป็นทางรอด จนได้บรรลุธรรมในที่สุด นี่ก็ต้องมีนิพพิทาญาณเกิดขึ้นก่อน
 
ทำไมต้องได้นิพพิทาญาณ?

    สำหรับท่านที่ฝึกสมาธิแล้วไม่ได้ฌาน ย่อมยังผลให้ไม่ได้ญาณด้วย นั่นหมายถึง ไม่เกิดนิพพิทาญาณขึ้นเลย ไม่มีความเบื่อหน่ายเรื่องโลกีย์ถึงขั้นละทิ้งบ้านเรือนเลย บุคคลนั้นแม้ได้เปรียญเก้าประโยค มีความรู้ทางธรรมท่วมหัว ก็ไม่อาจเอาตัวพ้นเสียจากความทุกข์ไปได้ ไม่อาจเอาตัวพ้นเสียจากนรกไปได้ (เพราะไม่บรรลุโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายในสามภพ นั่นหมายถึง นรกด้วย) ดังนั้น บุคคลผู้ฝึกสมาธิ หากไม่ได้ฌาน ก็ไม่ได้ญาณ เมื่อไม่ได้ญาณ นิพพิทาญาณไม่เกิด แล้วจะบรรลุธรรมได้อย่างไร เช่นนี้ นรกย่อมมีอยู่เบื้องหน้าเขาผู้นั้นเป็นแน่แท้ ไม่แปรอื่น ไม่ชาติภพใดก็ชาติภพหนึ่ง ไม่อาจพ้นไปได้
 
ฝึกสมาธิไม่ได้ฌานและญาณเท่ากับสูญเปล่า

    คนที่ฝึกสมาธิได้อภิญญามากมาย เช่น ฤษีในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเกิดนั้น บ้างได้ตายลงไปเกิดเป็นงู เป็นสัตว์นรก ฯลฯ พวกเขาเหล่านั้น ฝึกสมาธิขั้นสูง ได้อภิญญามากมาย แต่เสียดาย พวกเขาไม่ได้ญาณหยั่งรู้ที่สำคัญอันนำไปสู่การบรรลุธรรม ทำให้ต้องวนเวียนในสามภพไม่สิ้นสุดไปได้ ดังนั้น จึงขอเน้นย้ำอย่างยิ่งว่า ฝึกสมาธิไม่ใช่เพื่อให้ได้แค่สมาธิ แต่ต้องให้ได้ฌาน แล้วฝึกฌานเพื่อให้ได้ญาณ อนึ่ง ญาณหยั่งรู้ทั้งหลายญาณใดๆ ไม่เท่านิพพิทาญาณเป็นจุดเริ่มต้น เนื่องจากเป็นความหยั่งรู้ในความน่าเบื่อของเรื่องทางโลกีย์ที่ไม่สิ้นสุด จึงเป็นญาณเปิดทางสู่การบรรลุธรรมโดยแท้
 
การฝึกวิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณ

   นับเป็นความล่อแหลมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอย่างยิ่ง สำหรับการฝึกเอานิพพิทาญาณในกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ฌาน เพราะจิตที่อ่อนกำลัง ไม่มีความสงบสงัดรองรับสภาวะความจริงอันน่าเบื่อของโลก ความมายาหลอกลวงของโลก ความไม่เที่ยงไม่จีรังของโลก ความทุกข์ระทมของโลก ความลุ่มหลงมัวเมาของโลกนั้น ย่อมอาจนำบุคคลไปสู่การฆ่าตัวตายหนีโลกได้ ดังนั้น ก่อนการฝึกวิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณ จึงต้องมีการเตรียมใจเตรียมจิตให้พร้อม คือ ควรได้ฌานสี่ ในระดับที่คล่องแคล่วพอควร และแน่วแน่ในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ควรมีทั้งวสีในฌานและตบะในฌานในระดับหนึ่ง เพราะหากขาดวสีในขณะที่เห็นความจริงอันแสนน่าเบื่อของโลกแล้ว จิตจะดิ่งลงสู่ฌาน รองรับอารมณ์สภาวธรรมไม่ทัน และเกิดอาการ “จิตตก” จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้ ในขณะที่บางท่านไม่มี “ตบะ” เลย เมื่อได้เห็นความน่าเบื่อหน่ายของโลกนี้แล้ว แม้จิตเข้าสู่ภาวะฌานรออยู่ แต่หากได้เห็นความจริงของโลก แล้วเกิดอาการฌานเสื่อมถอยเพราะจิตตกทันควัน ก็อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณ ควรมีทั้งวสีและตบะในฌานในระดับหนึ่ง จึงไม่ขอกล่าวอธิบายเรื่องการทำวิปัสสนาญาณเพื่อนิพพิทาญาณต่อไปในบทความนี้ (จำต้องถ่ายทอดตัวต่อตัว)

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=239156

ออฟไลน์ โบตั๋นสีขาว

  • ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 146
  • เพศ: หญิง
  • จะสูงจะต่ำอยู่ที่เราทำตัวจะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวเราทำ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 12 มิ.ย. 2554, 06:30:48 »
ขอบคุณมากคะ สำหรับบทความธรรมะดีๆ อ่านแล้วได้ความรู้มากคะ :090: :050: :090:
เคารพ กตัญญู บูชา หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ ทั้งครอบครัวคะ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ศีล นิพพิทาญาณ และโคตรภูญาณ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 12 มิ.ย. 2554, 08:00:27 »
ศีล-คือ ศีลบารมี.....

อธิศีล-คือ ศีลอุปบารมี.......

ปรมัตถศีล-คือ ศีลปรมัตถบารมี......

เป็นการถือศีล รักษาศีลในระดับต่างๆ แตกต่างกันที่"บารมี" ที่เรียกว่า"กำลังใจ"ของแต่ละคน.......

ศีล-รักษากาย  อธิศีล-รักษาใจ ปรมัตถศีล-รักษาจิต......
เมื่อศีลเข้าไปถึงจิต ถึงใจได้แล้ว นั่นคือ ไม่ยอมทำชั่วจนตลอดชีวิตแล้ว หากจำเป็นเหลือวิสัย ก็ยอมสละชีวิตให้กับศีล เพื่อรักษาศีลไว้ได้ ขั้นนี้เป็นศีลของพระอริยเจ้าไปแล้ว.....

เช่นเดียวกับ กุศลกรรมบถ10-40 ที่ครอบคลุมหมดทั้งกาย-วาจา-ใจไว้ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีช่องโหว่ให้กิเลสหลุดรอดเข้ามาได้เลยไม่ว่าประตูไหน.....จุดใด ด้วย(สติสัมปชัญญะ-ความรู้ตัวทั่วพร้อม)ปิดทางอบายไว้ได้โดยเด็ดขาด อยู่ในกระแสอารมณ์จะพุ่งไปสู่พระนิพพานประการเดียว......นิพพานะ ปัจจโย โหตุ สาธุ ๆ ๆ.......

ศีล-คือ กาย รักษา"กาย"กับ "ปาก" .....

นั่นแหละ รักษาศีล......

อธิศีล-คือ "ใจ" รักษา"ใจ" นั่นแหละ รักษาอธิศีล เพราะเป็นต้นเหตุให้ศีลวิบัติ.....

ปรมัตถศีล- คือ การรักษาจิต จิตปกติ-มี"ตัวรู้" รู้ทุกอย่างที่ขวางหน้า แล้วไม่ใช้"ตัวรู้"ไปทำชั่ว  ไม่ใช้"ตัวรู้"ไปยึดดี ว่าตัวเองดีกว่าผู้อื่น รวยกว่าผู้อื่น มียศศักดิ์เหนือกว่า มีตำแหน่งสูงกว่า มีความรู้มากกว่า เพราะทุกคนมี"ตัวรู้"เท่ากันทั้งนั้น คือ "ตัวรู้"-ที่ว่างเปล่า ไม่มีรูป ไม่มีชื่อ มีแต่"รู้ตัว" และ"ตัวรู้".........


ที่มา
http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=buddha-dhammacom&thispage=13&No=130585