ผู้เขียน หัวข้อ: วัดชายคลอง กับ...ประเพณี 'แห่ผ้าขึ้นธาตุ'  (อ่าน 2122 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นรก

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 136
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ของเมืองนครศรีธรรมราช ในอดีตนั้นจะจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือนสาม (คือวันมาฆบูชา) ครั้งหนึ่ง และในวันเพ็ญเดือนหก (คือวันวิสาขบูชา)

แต่ในช่วงตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ แต่ประชาชนก็ยังคงนิยมมาร่วมในประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันเพ็ญเดือนสาม มากกว่าในวันเพ็ญเดือนหก

 ส่วนความเป็นมาของประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุนั้น สันนิฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อครั้งชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดีย ก็รับเอาประเพณีต่างๆ ตามแบบของชาวพุทธในอินเดียเข้ามาด้วย  โดยมักจะยึดถือกันว่า หากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริงๆ จะต้องปฏิบัติเฉพาะหน้าพระพักตร์พระพุทธองค์ หรือใกล้ชิดพระพุทธองค์มากที่สุดเท่านั้น 

 เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว แต่ยังมีตัวแทนอยู่ เช่น เจดีย์และพระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้ย่อมเท่ากับบูชาพระบรมธาตุเจดีย์  โดยการโอบรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ (ซึ่งชาวนครเรียกว่า "แห่ผ้าขึ้นธาตุ") เช่นนี้คือการบูชาที่สนิทแนบกับองค์พระพุทธองค์นั่นเอง

 เหตุที่ประชาชนนิยมมาร่วมในประเพณีนี้ในวันเพ็ญเดือนสามมากกว่า คงจะเพราะว่า ในสมัยนั้นการคมนาคมทางบกไม่สะดวก ชาวพุทธจากถิ่นไกลจึงมักจะนิยมมานมัสการพระบรมธาตุเจดีย์โดยทางเรือเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนสามนั้น แม่น้ำคลองทุกสายที่จะมาสู่เมืองนครน้ำยังคงเต็มเปี่ยม สามารถที่จะมาทางเรือได้อย่างสะดวก ส่วนเดือนหกน้ำในคลองแห้งลงมาก การคมนาคมทางเรือจึงไม่สะดวกนัก

 ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนสาม โดยปกติพุทธศาสนิกชนที่มีภูมิลำเนาในท้องที่ อ.ปากพนัง หัวไทร และเชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช  (ซึ่งชาวนครมักจะเรียกว่า "ชาวนอก") 

 และชาวเมืองสงขลา เพชรบุรี ราชบุรี ระนอง ชุมพร กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี มักจะออกเดินทางมาร่วมในประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันเพ็ญเดือนสาม โดยทางเรือ

 เรือที่ใช้มักจะเป็นเรือแจวขนาดเล็ก ที่มีกระแซงมุงหลังคาของเรือทุกลำ โดยนำเรือผ่านเข้ามาทางปากนคร แล้วแยกเข้ามายังคลองหน้าเมือง ครั้นถึงหน้าเมือง (บริเวณสะพานนครน้อยปัจจุบันนี้) จะนำเรือเข้าเทียบท่าทั้งสองฝั่งคลอง

 ในคลองหน้าเมืองจึงมีเรือของพุทธศาสนิกชนจากต่างถิ่นจอดกันแน่นขนัด บางปีมีเรือดังกล่าวนับเป็นร้อยๆ ลำ ทุกลำมีสมาชิกมากันลำละหลายๆ คน ภายในเรือมีการเตรียมเครื่องครัว ข้าวสาร และกับข้าวมาหุงกินกันในเรืออย่างพร้อมเพียง 

 ครั้นใกล้จะถึงกำหนดแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันเพ็ญเดือนสาม ทุกคนจะขนข้าวของที่นำมาเพื่อทำบุญ และบริโภคขึ้นจากเรือ ไปพักรวมกันในวัดหนึ่งวัดใดใกล้ๆ กับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เช่น วัดชลเฉนียน (วัดชายคลอง) วัดหน้าพระธาตุ วัดสระเรียง วัดสวนป่าน วัดหน้าพระลาน เป็นต้น

 โดยมักจะอยู่กันเป็นกลุ่ม ใครมาจากถิ่นเดียวกันก็อยู่วัดเดียวกัน เช่น ชาวสงขลาอยู่วัดหน้าพระธาตุ ชาวปากพนังอยู่วัดสระเรียง และชาวไทรบุรีอยู่วัดหน้าพระลาน เป็นต้น

 วัดชายคลอง มีความเกี่ยวพันกับประเพณี ?แห่ผ้าขึ้นธาตุ? ซึ่งเป็นประเพณีโบราณสัญลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราช เพราะในอดีตเป็นวัดหนึ่งในจำนวนหลายวัด ที่พุทธศาสนิกชนจากหลายจังหวัดทางภาคใต้ อาทิ เพชรบุรี สงขลา ชุมพร ระนอง กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี ที่เดินทางโดยเรือ มาร่วมงาน จะขนข้าวของที่นำมาทำบุญและบริโภคขึ้นจากเรือไปพักไว้ ซึ่งส่วนมากจะเป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อาทิ วัดชลเฉนียน วัดหน้าพระธาตุ วัดสระเรียง วัดสวนป่าน วัดหน้าพระลาน เป็นต้น

 พระครูปัญญาสุทธิโสภณ เจ้าอาวาสวัดชายคลอง บอกว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ที่คลองเคยกว้าง เรือสามารถแล่นและกลับลำได้ กลับกลายเป็นคลองแคบๆ ประโยชน์ใช้สอยเป็นแค่ทางระบายน้ำเท่านั้น คลองไม่ได้ใช้ประโยชน์เหมือนในอดีต ซึ่งเดิมทีนั้น เป็นท่าเทียบเรือของคนที่เดินทางมาจากต่างอำเภอ เช่น อ.ปากพนัง อ.หัวไทร ก่อนที่จะไปงานห่มผ้าพระธาตุ และงานเทศกาลเดือน ๑๐ หรืองานสาร์ทเดือน ๑๐ เมื่อมาเทียบเรือแล้วก็จะมาหุงหาอาหาร ทั้งไว้กินเอง รวมทั้งถวายอาหารแด่พระสงฆ์

 ปัจจุบันนี้การคมนาคมเปลี่ยนไป คนหันไปใช้รถยนต์แทนคลองที่เคยขึ้นชื่อว่าเป็นหน้าวัด กลับกลายเป็นหลังวัด เนื่องจากมีถนนตัดเข้ามาแทน ขณะเดียวกันชาว อ.ปากพนัง อ.หัวไทร ที่เคยมารวมตัวกันที่วัด ก่อนจะไปงานแห่ผ้าห่มธาตุ ก็ลดน้อยไปตามกาลเวลา ไม่มากเหมือนในอดีต

http://www.komchadluek.net/2007/05/15/photo_19898.php
http://www.komchadluek.net/2007/05/15/photo_19899.php
เครดิต >ไตรเทพ  ไกรงู<

ออฟไลน์ นรก

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 136
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
เจ้าอาวาสวัดชายคลอง ยังบอกด้วยว่า กว่า ๑๐๐ ปี ของการตั้งวัดมา ศาสนสถานก็ทรุดโทรมตามกาลเวลา แต่ก็ดูแลพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ขณะนี้มีโครงการจัดสร้างกุฏิสงฆ์ เพื่อรองรับพระภิกษุสามเณรที่เพิ่มขึ้น โดยจะจัดสร้างเป็นแบบ ๒ ชั้น จำนวน ๒๔ ห้อง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก  คณะกรรมการวัดจึงมีมติจัดสร้างวัตถุมงคล จตุคามรามเทพ รุ่น ?ค้าได้ขายรวย? ประกอบด้วยพระบูชา พระผงว่าน พระพุทธสิหิงค์ เหรียญ ผ้ายันต์ และกำไล นับเป็นจตุคามฯ รุ่นแรกที่วัดจัดสร้างขึ้นเอง

 โดยประกอบพิธีเททอง และกดพิมพ์นำฤกษ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดย พระราชธรรมสุธี เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน และจะประกอบพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก ครั้งที่ ๒ วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ณ พระวิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.นครศรีธรรมราช และพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ จ.พัทลุง ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต

 พุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาร่วมบุญ สอบถามได้ที่ พระครูปัญญาสุทธิโสภณ โทร.๐๘-๗๒๗๑-๘๘๐๑ และ ๐-๗๕๓๖-๐๑๑๒

 
  :025: