แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - หลวงพี่เก่ง

หน้า: [1]
1
มาบอกบุญ
ขณะนี้กำลังจัดพิมพ์หนัีงสือที่ระลึกงานบำเพ็ญกุศลฉลองอายุวัฒนมงคลครบ ๖๐ ปี พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ ในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ ท่านใดจะสมทบทุนจัดพิมพ์หนังสือ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม สามารถบริจาคสมทบการจัดพิมพ์ได้ที่ หลวงพี่เก่ง ที่วัดบางพระ หรือโอนเงินเข้าบัญชี (ตามรูป)




โอนแล้ว แจ้งชื่อ-นามสกุล พร้อมหลักฐานการโอนได้ที่กระทู้นี้ เพื่อจะพิมพ์ชื่อลงในหนังสือต่อไป --- ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึง วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.



3
ไม่พูดมาก มาชมภาพกันดีกว่า
























4
ใครได้ของรางวัล (หมวก) ไปบ้าง กรุณาใส่บนศีรษะ แล้วถ่ายรูปโพสลงกระทู้นี้ด้วยครับ

มาโชว์หน้าโชว์ตา โชว์หมวกกันหน่อย  :016: :015:

5
สวดพระพุทธมนต์



สวดมาติกา - รับทักษิณานุประทาน



รับทักษิณานุประทาน






6
ขอแจ้งสำหรับผู้ที่พลาดเสื้อ รุ่น ๔ เนื่องจากเกิดความผิดพลาดทางการจัดส่งทำให้บางท่านยังไม่ได้รับเสื้อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสั่งทำใหม่ และขั้นต่ำในการสั่งทำใหม่ คือ ๑๐๐ ตัว ดังนั้นในขณะนี้ จึงเปิดโอกาสให้แก่ท่านทีสั่งจองไม่ทัน สามารถซื้อได้ ในวันคล้ายวันมรณภาพพระอุดมประชานาถ (หลวงพ่อเปิ่น) ที่สำนักงานวัดบางพระ ในวันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เท่านั้น โดยไม่รับสั่งจองทางเวปบอร์ด หรือทางเฟสบุ๊คของวัดบางพระ

เสื้อผู้ชายมี ๔ size คือ M   -    L    -     XL    และ     XXL
เสื้อผู้หญิงมี ๓ size คือ M   -    L    และ  XL   

แต่ละขนาดมีจำนวนจำกัด

7
ขณะนี้ขนาดพิเศษ รอบอก 80 " จำนวน 1 ตัว ของ คุณจิรัญธนา  เพ็ชรรัตน์ เรียบร้อยแล้วครับ ไม่ทราบว่าจะให้จัดส่งหรือมารับเองที่วัด

8
ตามลิงค์นี้เลยนะครับ 



https://www.facebook.com/media/set/?set=a.331420820260630.73411.100001781452048&type=1&l=465d04cb54



จะให้อัพลงทีละรูปคงไม่ไหว เลยต้องขออภัยผู้ที่ไม่มีเฟสบุ๊กด้วย

9
ผู้ที่สั่งจองเสื้อบอร์ดรุ่น 4 ไว้ และจะมารับเองที่วัด ขอให้มารับวันที่ 1 มีนาคม เป็นต้นไปนะครับ เนื่องจากว่าติดเรียนและไม่ได้อยู่วัด กลัวว่าจะมาเสียเที่ยว เสียเวลา

11
    พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ เป็นอาทิ.
    ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่า ในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป. ครั้นถึงวันนัด จึงถามอาชีวก ผู้เข้าไปสู่ตระกูลของตน ว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ พวกผมจักทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนผู้นี้ ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้ เลยวันไปแล้ว กลับมาถามเรา เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง. จึงพูดว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี พวกท่านอย่ากระทำการมงคลในวันนี้เลย ถ้าขืนทำจักพินาศใหญ่.
    พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัวในวันนั้น. ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็นพวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้การงานของพวกเรา ก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไปคอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้ นั้นแหละ.
    ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้าสาวให้พวกเราเถิด. ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถีก็พากันบริภาษพวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่า เป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสีย ไม่มาตามกำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากัน นั่นแหละ. พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นแล้ว.
    พวกชาวบ้านนอกก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มา นั่นเอง. เรื่องที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่ารู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. และภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว. พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว. ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อน ก็โกรธคนเหล่านั้น กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้ว เหมือนกัน แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้ เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น.
    รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่า เป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป.

    ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดีจึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้ อย่างไรเล่า?
    เมื่อคนเหล่านั้นโต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดี มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
    “ ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้ ” ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิมาเนนฺตํ ความว่า ผู้คอยดูอยู่ อธิบายว่า มัวรอคอยอยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในบัดนี้.
    บทว่า อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา ความว่า ประโยชน์ กล่าวคือการได้เจ้าสาว ผ่านพ้นคนโง่ผู้เป็นชาวเมืองนี้. บทว่า อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ ความว่า บุคคลเที่ยวแสวงหาประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เขาได้แล้วนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นฤกษ์ของประโยชน์. บทว่า กึ กริสฺสนฺติ ตารกา ความว่า ก็ดวงดาวทั้งหลายในอากาศนอกจากนี้ จักยังประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จได้.
    พวกชาวเมืองทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาวอยู่นั่นเอง เลยพากันไป.
    แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้นทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูลนั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน.
    ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า อาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้ แม้ตระกูลทั้งนั้นในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้

12
ขอเชิญร่วมสรงน้ำพระ วันสงกรานต์ ที่วัดบางพระ
ในวันเสาร์ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๔   เวลา ๑๓.๐๐ น.

(เริ่มทำบุญตั้งแต่วันที่ ๑๓ - ๑๗ เมษายน)

13
ไม่พูดพร่ำทำเพลง ชมรูปเลยดีกว่า


















14
เพิ่งมาครับ มาแบบยังร้อนๆ อยู่เลย สำหรับท่านที่มารับที่สำนักงานวัดบางพระ มารับได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ส่วนผู้ที่รอเสื้อทางไปรษณีย์ พรุ่งนี้ (วันที่ ๑๕ มีนาคม) จะจัดส่งแบบด่วนไปหาท่านที่บ้าน เตรียมรอรับเสื้อได้เลย โดยคืนนี้จะรีบแพ็คเกจให้
ปล. ไม่รู้ว่าจะได้นอนกี่โมงกี่ยาม หรือถึงเช้า เดี๋ยวรู้กัน 555








15
กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ)

นางปลั่ง  ปานอำพันธ์

โยมมารดา ของ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ (สำอางค์ ปภสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดบางพระ

วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

เวลา ๑๖.๐๐  น.

ณ ฌาปนสถานวัดบางพระ

16
ขอแจ้งข่าวแก่สมาชิกเวปไซด์วัดบางพระ

เนื่องด้วยโยมแม่ ของหลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ

ได้ถึงแก่มรณกรรม วันนี้ ที่โรงพยาบาลธนบุรี ๒

ขณะนี้ศพตั้งอยู่ที่ศาลาฌาปนกิจวัดบางพระ

และจะมีการรดน้ำศพในวันพรุ่งนี้

ขอเชิญศิษย์วัดบางพระที่ว่างมาร่วมรดน้ำศพ

และฟังพระสวดพระอภถิธรรมศพได้ตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป

โดยยังไม่มีกำหนดฌาปนกิจศพ

หากมีการเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

17
หากต้องการข้อมูลใดๆ เพิ่ม สามารถติดต่อได้ที่
   
sutheekan21@gmail.com


หรื่อที่

http://www.facebook.com/bangphra?cropsuccess#!/bangphra

18
ขอเจริญพร

ท่านใดมีหนังสือ ชีวประวัติของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ที่เขียนโดย เทพ  สุนทรศารทูล บ้างครับ

ถ้าใครมีก็รบกวนแจ้งกลับมาด้วย ต้องการนำมาอ้างอิงใน วิทยานิพนธ์


19
บรรยากาศเมื่อสักครู่ที่ผ่านมา






























20
ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๓ ให้อัญเชิญธรรมเจดีย์ คัมภีร์พุทธศาสนาโบราณ
เก่าแก่ที่สุดจากราชอาณาจักรนอร์เวย์ มาประดิษฐานในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว ความเป็นมาของโครงการ
อัญเชิญคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณเก่าแก่ที่สุด ที่รัฐบาลประเทศนอร์เวย์ได้มอบให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการเป็นเวลา ๙๐ วัน ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ข้อมูลจากเวปไซด์ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม






























21
เนื่องจากการจัดทำเสื้อบอร์ดรุ่นที่ ๒ ได้มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมถึงการจัดส่งเสื้อทางไปรษณีย์ เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วยังมีเงินเหลืออยู่ ๕,๔๘๕ บาท ดังนั้นจึงได้นำเงินในส่วนที่เหลือนี้ไปจัดซื้อ หนังสือเรียนธรรมศึกษา มาตั้งแต่เดือนกรกฏาคม ที่ผ่านมา



ได้จัดซื้อหนังสือเป็นจำนวนเงิน ๕,๔๐๐ บาท



และหนังสือชุดนี้ได้เป็นอุปกรณ์การเรียนธรรมศึกษา ของนักเรียนวัดบางพระ เมื่อเทอมต้นที่ผ่านมา




ส่วนเงินที่เหลือนั้นได้ใส่ตู้ค่าน้ำค่าไฟ ของวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน



ดังนั้น จึงขออนุโมทนาบุญแก่ทุกท่านที่ได้ทำบุญแก่นักเรียนทุกๆ ท่าน ขอให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญคิดปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ชอบประกอบด้วยธรรม ขอให้สิ่งนั้นจงสำเร็จสมความปรารถนาทุกคนทุกท่าน เทอญ
ขอเจริญพร

22
ฝากไว้สำหรับผู้ที่ใช้เฟสบุ๊คเป็นประจำ

http://www.facebook.com/#!/pages/wad-bang-phra-cnkhrpthm-hlwng-phx-pein/123218131071866?v=wall



23
สมาชิกท่านใดทำงานเกี่ยวกับ ป้ายอิงค์เจ็ท กับ ตัดสติ๊กเกอร์บ้างครับ ช่วย pm มา หรือ ติดต่อที่สำนักงานวัดด้วยครับ

24
วันศุกร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น.
คณะสงฆ์ และคณะศิษย์วัดบางพระ ได้ร่วมกันทำบุญฉลองอายุ ๕๗ ปี ของ พระครูอนุกูลพิศาลกิจ หรือ หลวงพ่อสำอางค์ เจ้าอาวาสวัดบางพระ
ขออภัยชาวบอร์ดวัดบางพระทุกท่านที่ไม่ได้แจ้งข่าวให้ทราบเนื่องจากว่ากระทันหัน  :054:

ชมภาพบรรยากาศกันเลยครับ























25
เสื้อเสร็จแล้วจ้า

เพิ่งมาถึงวันนี้หมาดๆ

ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อสำอางค์อธิษฐานจิตปลุกเสก เมื่อเวลา ๑๖.๓๙ น.






สำหรับท่านที่รับเสื้อทางไปรษณีย์ อดใจรอสักนิด จะจัดส่งให้ในวันพรุ่งนี้

สำหรับท่านที่จะมารับเอง สามารถรับเสื้อได้แล้ว ที่สำนักงานวัดบางพระ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (๑๙ ก.พ. ๕๓)  เป็นต้นไป โดยอย่าลืมหลักฐานแสดงตัวตน หรือสำเนาในสั่งจองมาด้วย

26
พิธีพุทธาภิเษก วัดกงลาด ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม (๖ ก.พ. ๕๓)
วัตถุมงคลในงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ที่จะมีขึ้นในวันที่ ๑๒ - ๒๒ ก.พ. ๕๓






















พิธีพุทธาภิเษก วัดหนองหมู ตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (๖ ก.พ. ๕๓)





27
 
คลังความรู้ “ทุ่ม-โมง-นาฬิกา” โดย ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ

คำพูดที่เราใช้เกี่ยวกับเวลานั้น มักจะใช้กันไม่ค่อยถูก ในปัจจุบันนี้มักใช้คำว่า “โมง” กันอย่างพร่ำเพรื่อ ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน เช่น ๗ โมงเช้า ๘ โมงเช้า หรือบางทีแม้แต่เวลากลางคืนก็ยังพูดว่า ๘ โมง ๙ โมง ในเรื่องนี้จะใช้อย่างไรจึงจะถูก และคำว่า “นาฬิกา” กับ “โมง” และ “ทุ่ม” ใช้ต่างกันอย่างไร

เรื่องการใช้คำว่า “โมง” นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานกระแสพระราชดำริในเรื่องการตั้ง “สมาคมรักษาภาษาไทย” ไว้ครั้งหนึ่ง เมื่อรัตนโกสินทรศก (รัด-ตะ-นะ-โก-สิน-สก) ๑๒๖ ตรงกับ พุทธศักราช ๒๔๕๐ ตอนหนึ่งว่า “ยังมีคำพูดไม่มีภาษา เช่น ๖ โมง ๓ ทุ่ม จะเป็นภาษาฝรั่งก็ไม่ใช่ ภาษาไทยก็ไม่ใช่” ทั้งนี้เพราะในภาษาไทยเรา เวลากลางวัน เราแบ่งเวลาออกเป็นภาคเช้ากับภาคบ่าย ภาคเช้าเวลา ๗ นาฬิกา เราพูดว่า “๑ โมงเช้า” หรือ “โมงเช้า” เวลา ๘ นาฬิกา ก็พูดว่า “๒ โมงเช้า” เวลา ๙ นาฬิกา ก็พูดว่า “๓ โมงเช้า” เวลา ๑๐ นาฬิกา ก็พูดว่า “๔ โมงเช้า” หรือตามชนบทบางทีก็เรียกว่า “น้องเพล” เวลา ๑๑ นาฬิกา มักไม่พูดว่า “๕ โมงเช้า” แต่มักพูดว่า “เพล” หรือ “เวลาเพล” และ เวลา ๑๒ นาฬิกา ก็พูดว่า “เที่ยง” หรือ “เที่ยงวัน”

ภาคบ่าย เวลา ๑๓ นาฬิกา ก็พูดว่า “บ่ายโมง” หรือ “บ่าย ๑ โมง” เวลา ๑๔ นาฬิกา ก็พูดว่า “บ่าย ๒ โมง” เวลา ๑๕ นาฬิกา ก็พูดว่า “บ่าย ๓ โมง” เวลา ๑๖ นาฬิกา ก็พูดว่า “บ่าย ๔ โมง” หรือ “๔ โมงเย็น” เวลา ๑๗ นาฬิกา ก็พูดว่า “บ่าย ๕ โมง” หรือ “๕ โมงเย็น” เวลา ๑๘ นาฬิกา ไม่พูดว่า “บ่าย ๖ โมง” เพราะเกินบ่ายแล้ว พูดว่า “๖ โมงเย็น” หรือ “ย่ำค่ำ” เพราะตอน ๖ โมงเย็น พระท่านมัก “ย่ำกลอง” บอกเวลาว่าถึง ๖ โมงเย็นแล้ว ถ้าเป็นภาษาวรรณคดี ท่านก็เรียกว่า “ย่ำสนธยา”

คำว่า “ย่ำ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ “ก. เหยียบหนัก ๆ ซ้ำ ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่ เรียกว่า ย่ำเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลอง หรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ย่ำกลอง ย่ำฆ้อง, ย่ำยาม ก็เรียก, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ย่ำรุ่ง (ราว ๖ นาฬิกา), ถ้าทำในเวลาค่ำ เรียกว่า ย่ำค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา).”

ในเวลา ๑๘ นาฬิกานั้นตามวัดต่าง ๆ ในชนบทท่านมักจะ “ย่ำกลอง” หรือ “ย่ำฆ้อง” “ย่ำระฆัง” เพื่อบอกเวลาให้ชาวบ้านรู้ เพราะในสมัยก่อนบ้านเมืองยังไม่เจริญอย่างในปัจจุบันนี้ นาฬิกามักจะมีเฉพาะตามวัดเท่านั้น พระท่านก็ต้องตีกลองหรือฆ้องระฆัง เป็นสัญญาณบอกให้ทราบเวลาเป็นระยะ ๆ ไป เดี๋ยวนี้ชาวบ้านมักมีนาฬิกาใช้กันทั่วไปแล้ว การย่ำกลอง ย่ำฆ้อง หรือย่ำระฆัง ในปัจจุบันจึงชักค่อย ๆ หมดไป

การที่เรามักเรียก ๖ นาฬิกาว่า “๖ โมงเช้า” หรือ “๖ โมง” นี้เอง เป็นสาเหตุอันสำคัญทำให้เรียก “๗-๘-๙ นาฬิกา ฯลฯ” ว่า “๗ โมง ๘ โมง ๙ โมง ฯลฯ” ไปด้วย เพราะถ้าหากเรียก ๖ นาฬิกาว่า “๖ โมง” แล้วจะเรียก ๗ นาฬิกา ว่า “๑ โมง” หรือ “โมงเช้า” ได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้มีผู้ถามว่า ถ้าเราไม่เรียก ๖ นาฬิกาว่า “๖ โมง” แล้ว จะเรียกว่าอย่างไร คำว่า “๖ นาฬิกา” เป็นภาษาทางราชการ ถ้าจะพูดให้เป็นภาษาที่ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะชาวชนบทพูดกัน ให้เข้าชุดกับ “โมง” ก็ต้องใช้คำว่า “ย่ำรุ่ง” ให้เข้าคู่กับ ๑๘ นาฬิกา หรือ ๖ โมงเย็น ที่เรียกว่า “ย่ำค่ำ”

เมื่อคราวที่แล้ว ได้พูดถึงเรื่องการเรียกเวลาว่า “ทุ่ม-โมง” ยังไม่จบ ได้กล่าวถึงเฉพาะเวลาในตอนกลางวันเท่านั้นต้องเรียกว่า “โมง” ส่วนเวลากลางคืนยังมิได้กล่าวถึง เวลากลางคืนท่านก็แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคแรกตั้งแต่หลัง ๑๘ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา ภาคหลังตั้งแต่หลัง ๒๔ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา

เวลาช่วงแรกของกลางคืน ท่านใช้ว่า “ทุ่ม” มีตั้งแต่ ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม เวลา ๑๙ นาฬิกา พูดว่า “๑ ทุ่ม” หรือ “ทุ่มหนึ่ง” เวลา ๒๐ นาฬิกา พูดว่า “๒ ทุ่ม” เวลา ๒๑ นาฬิกา พูดว่า “๓ ทุ่ม” เวลา ๒๒ นาฬิกา พูดว่า “๔ ทุ่ม” เวลา ๒๓ นาฬิกา พูดว่า “๕ ทุ่ม” เวลา ๒๔ นาฬิกา ตามปรกติก็ควรเป็น “๖ ทุ่ม” แต่ท่านนิยมใช้ว่า “๒ ยาม” หรือ “เที่ยงคืน” การที่มีผู้เรียกเวลาในช่วงแรกของกลางคืนว่า “โมง” จึงนับว่าไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

ช่วงหลังของกลางคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๕ นาฬิกา เรียกว่า “ตี ๑” ถึง “ตี ๕” ส่วน ๖ นาฬิกา ซึ่งควรจะเป็น ตี ๖ เพราะแขกยามหรือไทยยามจะตีบอกยาม ๖ ครั้ง แต่ท่านนิยมเรียกว่า “ย่ำรุ่ง”

ในเรื่อง “ทุ่ม-โมง” นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือ “นิทานโบราณคดี” ตอนหนึ่ง ดังนี้

“เมื่อวันแรกไปถึงเมืองพาราณสี เวลาค่ำฉันนั่งกินอาหารกับพวกที่ไปด้วยกัน และพวกข้าราชการอังกฤษ ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พอเวลายามหนึ่ง (๒๑:๐๐ นาฬิกา) ได้ยินเสียงตีฆ้องโหม่งทางประตูวังย่ำลา ๑ เช่นเดียวกันกับตีฆ้องตีระฆังย่ำยามในเมืองไทย ฉันนึกประหลาดใจ จึงถามข้าราชการอังกฤษที่อยู่ในเมืองนั้นว่า ตีฆ้องย่ำเช่นนั้นหมายความว่าอย่างไร เขาตอบว่า “เป็นสัญญาเรียกคนมาเปลี่ยนพวกที่อยู่ยาม” พอฉันได้ยินอธิบายก็จับใจแทบจะร้องออกมาว่า “อ๋อ” เพราะวิธีตีฆ้องระฆังยามในเมืองไทย เมื่อถึงเวลาเช้า ๖:๐๐ นาฬิกา เวลาเที่ยงวัน (๑๒:๐๐ นาฬิกา) เวลาค่ำ (๑๘:๐๐ นาฬิกา) และเวลากลางคืน ยาม ๑ (๒๑:๐๐ นาฬิกา) เวลาเที่ยงคืน (๒๔:๐๐ นาฬิกา) เวลา ๓ ยาม (๓:๐๐ นาฬิกา) ก็ตีย่ำทำนองเดียวกับได้ยินที่เมืองพาราณสี แม้คำที่ไทยเราพูด ก็เรียกเวลา ๖ นาฬิกาเช้า ว่า “ย่ำรุ่ง” คำที่พูดว่า “ย่ำ” คงมาจากย่ำฆ้องระฆังนั่นเอง แต่ฉันยังไม่คิดมาแต่ก่อนว่าเหตุใดจึงตีย่ำ เมื่อได้ฟังอธิบายที่เมืองพาราณสีก็เข้าใจซึมซาบในทันทีว่า “ย่ำ” เป็นสัญญาเรียกคนเปลี่ยนยาม เห็นว่าประเพณีไทยแต่โบราณ เวลากลางวันให้คนอยู่ยามผลัดละ ๖ ชั่วนาฬิกา แต่กลางคืนผลัดระยะ ๓ นาฬิกา และยังแลเห็นสว่างต่อไปอีก ด้วยประเพณีตีระฆังยามที่พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ เมื่อตีย่ำระฆัง แล้วมีคนเป่าแตรงอน และเป่าปี่ตีมโหรทึกประโคมต่อไปอีกพักหนึ่ง  และเวลานี้พระบรมศพหรือพระศพเจ้านาย ตลอดจนศพขุนนางผู้ใหญ่บรรดาที่มีกลองชนะประโคมย่อมประโคมกลองชนะตรงกับย่ำฆ้องระฆังยามทั้งกลางวันและกลางคืน  อาการประกอบกันให้เห็นว่า การย่ำฆ้องระฆังเป็นสัญญาเรียกคนมาเปลี่ยนยาม การประโคมเป็นสัญญาบอกว่าพวกอยู่ยามใหม่ได้เข้ามาประจำหน้าที่พร้อมกันแล้ว มูลของประเพณีย่ำฆ้องระฆังยามและประโคมพระศพในเมืองไทย เห็นเป็นดังกล่าวมาและอาจจะได้มาจากอินเดียแต่ดึกดำบรรพ์”

จากพระนิพนธ์ ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็พอจะทำให้เรามองเห็นเค้าของการใช้คำว่า “ทุ่ม-โมง” บอกเวลาบ้างแล้ว เรื่องนี้ต้องขอนำมาเสนอต่อในคราวหน้าอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ ๒ คราวที่แล้ว ข้าพเจ้าได้กล่าวถึง “ทุ่ม-โมง” ยังไม่จบ วันนี้จะขอกล่าวถึงสาเหตุที่เรียกเวลาในตอนกลางวันว่า “โมง” และในตอนกลางคืนว่า “ทุ่ม” ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง

สาเหตุที่เรียกเวลากลางวันว่า “โมง” และเวลากลางคืนว่า “ทุ่ม” นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือ “นิทานโบราณคดี” อีกตอนหนึ่งดังนี้

“จะเลยเล่าแถมถึงประเพณีตีบอกเวลาในเมืองพม่า ซึ่งฉันได้ไปรู้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ต่อไป เพราะได้เค้าที่เหมือนกับไทยอีกอย่างหนึ่ง ที่ในพระราชวังเมืองมัณฑะเล มีหอนาฬิกาหลังหนึ่ง เป็นหอสูง ข้างล่างมีห้องสำหรับไว้นาฬิกา ข้างบนเป็นหอโถง สำหรับแขวนกลองกับฆ้องตีบอกเวลา เขาว่าเคยมีหอเช่นนั้นทุกราชธานี ในเมืองพม่าแต่ก่อนมาฉันถามว่า ฆ้องกับกลองที่แขวนไว้บนหอนั้นตีต่างกันอย่างไร ไม่มีใครบอกอธิบายได้ เพราะเลิกราชประเพณีพม่ามาเสียหลายสิบปีแล้ว ฉันนึกจับหลักได้ ฆ้องสำหรับตีกลางวัน กลองสำหรับตีกลางคืน หลักนั้นอยู่ในคำพูดของคนไทยเราเอง ที่เรียกเวลากลางวันว่า “โมง” เช่นว่า ๔ โมง ๕ โมง แต่ตอนเวลากลางคืนเรียกว่า “ทุ่ม” เช่นว่า ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม คำ โมง กับ ทุ่ม มาแต่เสียงฆ้องและกลองนั่นเอง ในเมืองไทยแต่โบราณก็เห็นจะใช้ฆ้องและกลองตีบอกเวลาอย่างเดียวกันกับในเมืองพม่า”

จากพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทำให้เราทราบสาเหตุที่เรียกเวลาในตอนกลางวันว่า “โมง” เพราะในสมัยโบราณใช้วิธีตีฆ้องบอกเวลาในตอนกลางวันนั่นเอง เสียงฆ้องจะดัง “โมง” ๗ นาฬิกา ตีฆ้องทีเดียวก็เป็น “๑ โมง” ๘ นาฬิกา ตีฆ้อง ๒ ที ก็เป็น “๒ โมง” เรื่อย ๆ ไปเช่นนี้ ส่วนในเวลากลางคืน ใช้ตีกลองบอกสัญญาณ เสียงกลองก็ดัง “ตุม” “ตุ้ม” หรือ “ทุ่ม” เวลา ๑๙ นาฬิกา ตีกลอง ๑ ที ก็เป็น ๑ ทุ่ม เวลา ๒๐ นาฬิกา ตีกลอง ๒ ที ก็เป็น ๒ ทุ่ม ฯลฯ เรื่อย ๆ ไปจนถึง ๒๔ นาฬิกา ตีกลอง ๖ ที จึงเรียกว่า ๖ ทุ่ม

คำว่า “ทุ่ม” ในส่วนที่เกี่ยวกับเวลานั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า ๒ ยาม.”

ส่วนคำว่า “โมง” นั้น พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามความหมายไว้ดังนี้ “น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกาถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็นหรือ ย่ำค่ำ.”

ถ้าหากจะใช้คำว่า “นาฬิกา” บอกเวลา ก็นับว่าเป็นสากล ใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา คือ ตี ๑ จนถึง ๒๔ นาฬิกา คือ ๒ ยาม จงอย่าใช้ให้สับสนกันจะกลายเป็น “ภาษาพันทาง” เช่น ๗ โมงเช้าอย่างนี้ไม่ถูก ถ้าไม่พูดว่า “๗ นาฬิกา” ก็ควรพูดว่า “โมงเช้า” หรือ “๑ โมงเช้า”

คำว่า “ย่ำสนธยา” ก็คือ “ย่ำค่ำ” นั่นเอง เพราะ “ยามสนธยา” เราหมายถึง เวลาโพล้เพล้เข้าไต้เข้าไฟ เพราะ “สนธยา” มาจากคำว่า “สนธิ” ซึ่งแปลว่า “การต่อ, ที่ต่อ” ตามปรกติ “สนธยา” จะหมายถึงช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางคืนกับกลางวัน คือ ตอนเช้ามืด หรือระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือ ตอนพลบค่ำ ก็ได้ แต่ตามที่เข้าใจโดยทั่ว ๆ ไป มักจะหมายถึง “ตอนพลบค่ำ” หรือ “ยามโพล้เพล้เข้าไต้เข้าไฟ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า twilight คำว่า “สนธยา” นี้ พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “น. เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ, บางทีก็ใช้ว่า ย่ำสนธยา: ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก.”

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม
ที่มา : ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘. หน้า ๒๒๙-๒๓๗.
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1273*/
 

28
ขอเชิญร่วมพิธีครอบเศียรพ่อปู่ฤาษี

ที่ กุฏิหลวงพี่ติ่ง (อยู่หลังพิพิธภัณฑ์ฯ)
ใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓
ก่อนไหว้ครูพิธีใหญ่ ๒ วัน



29
ไม่มีคำบรรยาย ดูกันเอาเองครับ






























31
บทความ บทกวี / ภรรยา ๔ คน
« เมื่อ: 29 ธ.ค. 2552, 11:04:20 »
ภรรยา ๔ คน


       ชายคนหนึ่งมีภรรยา อยู่ ๔ คน
ภรรยาคนที่ ๑  เขารักที่สุด ไปไหนมาไหนด้วยกัน ตามใจตลอดอยากได้อะไร เขาหาให้ทุกอย่าง 
ภรรยาคนที่ ๒  เขารักมาก เขาจะทำทุกสิ่ง ทุกอย่างเพื่อภรรยาคนนี้ และจะไปหาภรรยาคนนี้เสมอ
ภรรยาคนที่ ๓  เขารักรองลงมา ดูแลเอาใจใส่พอควร แวะไปหาบางเป็นครั้งคราว
ภรรยาคนที่ ๔  เขาไม่เคยสนใจ ไม่เคยดูแลเอาใจใส่ ไม่เคยไปหา ไม่คิดถึงเลย ด้วยซ้ำ


    ต่อมาชาย คนนี้ไปกระทำความผิดร้ายแรง และถูกจับ ต้องถูกประหารชีวิต ก่อนที่จะถูกประหาร เขาขอร้องว่า เขาขอกลับบ้าน เพื่อไปร่ำลาภรรยาสุดที่รักซักครั้ง ผู้คุมเห็นใจจึงอนุญาต เมื่อกลับมาถึงบ้าน เขารีบตรงไปหาภรรยาคนที่ ๑ เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังและถามภรรยา คนที่ ๑ ว่า
"ถ้าเขาต้องตายภรรยาคนที่ ๑ จะทำอย่างไร ? "



ภรรยาคนที่ ๑ ตอบน้ำเสียงที่เย็นชาว่า   “ถ้าเธอตาย เราก็จบกัน” 
คำตอบที่ได้รับ  เหมือนสายฟ้าที่ผ่าเปรี้ยง!! ลงมาที่เขาอย่างจัง  เขารู้สึกเจ็บปวด และเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นึกเสียดาย ว่าเขาไม่ควรทุ่มเทให้ภรรยาคนนี้เลย


จากนั้นเขาก็ ไปหา ภรรยาคนที่ ๒ ด้วยอาการเศร้าโศก เล่า เรื่องราวต่างๆ ให้ ฟัง  และถามคำถามเดิมกับภรรยาคนที่ ๒ ว่า 
"ถ้าเขาต้องตาย ภรรยาคน ที่ ๒ จะทำอย่างไร? "


ภรรยาคนที่ ๒ ก็ ตอบอย่างหน้าตาเฉย ว่า "ถ้าเธอตาย ฉันจะมีใหม่ " 
เหมือนสายฟ้า!! ผ่าลงมาซ้ำที่เขา อย่างจัง เขารู้สึกเสียใจมาก และนึกเสียดายว่าที่ผ่านมา เขาไม่ควร ทุ่มเทให้ภรรยาคนนี้เช่นกัน 

เขาเดินคอตกมาหาภรรยาคนที่ ๓ เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง และถาม ภรรยา คนที่ ๓ ว่า  "ถ้าเขาต้องตาย ภรรยาคนที่ ๓ จะทำอย่างไร? "

ภรรยาคนที่ ๓ ตอบว่า "ถ้าเธอตาย ฉันจะไปส่ง" ทำให้เขาคลายความ เศร้าโศกขึ้นมาได้บ้าง  อย่างน้อยก็ ยังมีภรรยาที่จริงใจกับเขา   

    ก่อนกลับไปรับโทษ เขานึกขึ้นมาได้ว่ามีภรรยาอีกคน ซึ่งไม่เคยไปหาเลย จึงไปหา ภรรยาคนที่ ๔ และถามว่า  "ถ้าเขาต้องตาย ภรรยาคนที่ ๔  จะทำอย่างไร?"   

ภรรยาคนที่ ๔ ตอบว่า "ถ้าเธอตาย ฉันจะตามไปด้วย"  แทนที่เขาจะดีใจกลับนึกเสียใจหนักขึ้นไปอีก 
เพราะ...มัน สายเกินไปเสียแล้ว ช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เขาไม่เคยเห็นค่าของภรรยาคนนี้ แต่ภรรยาคนนี้ไม่คิดที่จะทิ้งเขา จะติดตามเขาไปอยู่ด้วย  แล้วชายคนนี้ก็กลับไปรับโทษประหาร และเมื่อเขาตาย ภรรยาคนที่ ๔ ก็ตายตามไป ด้วย.....



*** เราทุกคนก็ มีภรรยา ๔ คน นี้ มีคำถามว่า ภรรยาทั้ง ๔ คนเป็นใคร? คิดกันก่อนนะ แล้วค่อยเฉลย...





 



ทีนี้เรามาดูกันว่า 
ภรรยาคน ที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ 
เป็นใครกันบ้าง






 



ภรรยาคน ที่ ๑ 

ร่างกายของเรา เพราะเวลาเรามีชีวิตอยู่ 
เราจะบำรุงบำเรอด้วยของสิ่งทุกอย่าง 
อยากได้อะไรก็หาให้ 
แต่พอเราตายมันกลับไม่ไปกับเรา 
เมื่อเราตาย ร่างกายมันก็มีค่าเท่ากับท่อนไม้
ท่อนหนึ่งเท่านั้น






 



ภรรยาคน ที่ ๒ 

ทรัพย์สมบัติ เพราะเวลาเรามีชีวิตอยู่ 
เราจะทำทุกอย่าง เพื่อให้ได้มันมา 
แต่พอเราตาย มันกลับไม่ไปกับเรา 
แต่ไปเป็นของคนอื่น 







 



ภรรยาคนที่ ๓ 

พ่อแม่ ลูกเมีย ญาติ พี่น้อง เพราะพอเราตาย 
เขาจะทำศพให้เรา ทำบุญไปให้
แปลว่า เขาแค่ไปส่งเราเท่านั้น   







 



ภรรยาคนที่ ๔ 

บุญกับบาป เมื่อเราตายไป 
เราไม่สามารถเอาอะไรไปด้วยได้ 
มีเพียงแค่บุญกับบาปเท่านั้น
ที่จะตามเราไป ..... 

32
          :053:  หลังจากให้ชมบรรยากาศการสอบธรรมศึกษาไปแล้ว  ในที่สุดผลการสอบก็ออกมาแล้ว (เฉพาะนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรีเท่านั้น) พระนวกะและนักเรียนคนใดสอบได้ดูตามรายชื่อ  :107:  ได้เลยครับ 

นักธรรมชั้นตรี (พระภิกษู - สามเณร)



ธรรมศึกษาชั้นตรี (นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป)




พระวีรวัชร์   ปุญฺญานุสฺสติ หรือ หลวงพี่เก่ง (สิบทัศน์) ก็สอบผ่านครับ



33


          พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ และคณะบุคคลที่เข้าเฝ้า เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธ.ค. ๒๕๕๒ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง

         “ขอขอบพระทัย และขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิตพรั่งพร้อมกัน มาให้พรวันเกิดด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริงซึ่งปรารถนาดี มุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดีโดยประการต่างๆ ไว้ซึ่งความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ มั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญ มั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงใดได้ ก็ด้วยทุกคน ทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่างแล้วตั้งจิต ตั้งใจให้เที่ยงตรง หนักแน่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือชาติ บ้านเมืองอันเป็นที่อยู่ ที่ทำกินของเรา มีความเจริญมั่นคงยั่งยืนไป  ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุข สิริสวัสดิวัฒนมงคล ให้สำเร็จผลขึ้นแก่กันทั่วหน้ากัน”








34
         ขอเจริญพร นำมาให้ชมชมกันครับ เป็นภาพที่ไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน หากใครมีภาพในลักษณะแบบนี้ก็ช่วยนำมาแบ่งปันกันครับ ภาพเก่าๆ หายากแบบนี้ สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ครับ ถ้าบอกเหตุการณ์และปีที่ถ่ายก็จะดีมากเลย

ภาพที่ ๑,๒  งานมงคลสมรสของโยมแม่และโยมพ่อ ประมาณ ปี พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงปู่เปิ่นเป็นหัวหน้าเจริญพระพุทธมนต์




ภาพที่ ๓ ในงานเดียวกัน ในภาพมีหลวงพ่อสำอางค์ด้วยนะครับ สมัยนั้นยังเอ๊าะๆ อยู่เลย ทายว่าสิว่าองค์ไหน  :095:



ภาพที่ ๔ ในงานเดียวกัน หลวงปู่เปิ่นท่านเมตตาให้ถ่ายภาพก่อนจะเดินทางกลับวัด



ภาพที่ ๕ หลวงปู่เปิ่นรับประเคนเครื่องกัณฑ์เทศน์ในงานฌาปนกิจศพ ไม่ทราบปี พ.ศ.



ภาพที่ ๖ - ๘ หลวงปู่เปิ่นเป็นประธานประชุมเพลิงฝ่ายสงฆ์ ในงานฌาปนกิจศพโยมยาย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ในปีนั้นได้บวชเณรหน้าไฟด้วย เป็นการบวชเณรครั้งแรกในชีวิต






         สมาชิคท่านใดมีภาพหลวงปู่เปิ่นไม่ว่าจะเป็นงานหรือโอกาศใดก้ได้ครับ ส่งภาพมาแบ่งปันกันในกระทู้นี้ได้เลยครับ     จะเก็บรวบรวมสำหรับเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่หลวงปู่ในโอกาสต่อไป

35
               มีภาพหลวงพี่เว็ปมาฝากครับ เมื่อครั้งที่ไปดูงานกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ ๒๑ - ๒๕ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา  

ภาพแรก

ถ่ายที่วิหารอูลูวาตู เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียครับ (๒๓ พ.ย. ๕๒)

ภาพที่ ๒

ถ่ายที่เจดีย์โบโรพุทโธ เมืองยอร์คยากาตาร์ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียครับ (๒๒ พ.ย. ๕๒)

ภาพที่ ๓


ภาพที่ ๔

        เจดีย์โบโรพุทโธ หรือที่ชาวอินโดนีเซีย เรียกว่า โบโรบูดูร์ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าประเทศอินโดนีเซียก็เคยนับถือพระพุทธศาสนามาก่อนศาสนาอิสลาม และเป็นสิ่งปลูกสร้างทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รอดพ้นจากการถูกทำลายด้วยฝีมือมนุษย์ เพราะเถ้าถ่านจากภูเขาไฟได้ปกคลุมไว้ ถือว่าโชคดีมากครับ

        ส่วนรายละเอียดอื่นจะเพิ่มเติมให้ในภายหลังครับ


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ชาวบอร์ดทุกๆ ท่านครับ เจริญพร

36
งานประจำปีปิดทองรูปหล่อเหมือนหลวงปู่หิ่ม หลวงปู่เปลี่ยน หลวงปู่ทองอยู่ หลวงพ่อเปิ่น (งานเทศกาลกลางเดือนยี่ วัดบางพระ)
เริ่มงาน วันพุธที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒      ถึง        วันศุกร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
 


ปกติแล้วงานจะมีประมาณเดือนมกราคม แต่ปีนี้พอดีตรงกับปีใหม่พอดี

นอกจากปิดทองรูปหล่อเหมือนองค์หลวงปู่ทั้ง ๔ แล้ว  มีตักบาตรสตางค์พระประจำวันเกิด ๑๐๘  ทำบุญโลงศพอุทิศให้กับศพที่ไม่มีญาติ หรือ  ศพที่ยากจน การถวายสังฆทาน  การสร้างพระไตรปิฎกและหนังสือทางพระพุทธศาสนา รวมถึงหนังสือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษา ฯลฯ  กลางคืนมีมหรศพ (ภาพยนตร์ ลิเก) สมโภชน์ทุกคืนครับ

37
การสอบธรรมศึกษา เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ของสนามสอบโรงเรียนวัดบางพระ มีนักเรียนและครู เข้าสอบธรรมทั้งสิ้น ๓๕๓ คน  โดยมีพระครูอนุกูลพิศาลกิจ (หลวงพ่อสำอางค์) ให้การอุปถัมภ์และสนับสนุน ส่วนผลสอบจะเป็นอย่างไร จะแจ้งให้ทราบครับ









บรรยากาศในสนามสอบ เครียดกันแทบทุกคน






ช่วงพักกลางวัน



สำหรับนักเรียนที่สอบธรรมศึกษาชั้นตรีได้      จะได้รับทุนการศึกษา   ๖๐๐ บาท
สำหรับนักเรียนที่สอบธรรมศึกษาชั้นโทได้      จะได้รับทุนการศึกษา   ๘๐๐ บาท
สำหรับนักเรียนที่สอบธรรมศึกษาชั้นเอกได้      จะได้รับทุนการศึกษา   ๑,๐๐๐ บาท



38
เช้าสดใสวันอากาศดี ถ่ายหลังจากกลับจากบิณฑบาต


ถ่ายเมื่อ ๑๐ กันยายน





อันนี้แถม จากธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา ประเทศอินเดีย


39
         ปัจจุบันนี้คนในสังคมมากมายมักจะพูดกันจนเกือบจะติดปากว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” ซึ่งทำให้วัยรุ่นปัจจุบันไม่ค่อยยึดมั่นในการทำความดี การที่คนเรามักมองว่าการทำความดีผลตอบแทนแห่งความดีต้องมากจากการที่ได้รับคำชมจากคนรอบข้างนั้นบางครั้งทำให้วัยรุ่นหลายๆคนเกิดความท้อแท้และผิดหวังจากการทำความดี เราควรจะปรับปรุงตัวเองอย่างไรจึงจะถูกต้อง คุณอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดผู้เขียนก็ได้ ขอแต่เพียงคิดว่าเป็นอีกมุมมองหนึ่งในความเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้ปรับปรุงความคิดเสียใหม่ ซึ่งย่อมจะเป็นผลดีกับชีวิตและงานทั้งปัจจุบันและอนาคต เพื่อความเข้าใจจะขอยกกรณีศึกษาของคนๆ หนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง

กรณีศึกษานี้มีอยู่ว่า
         เธอผู้นี้เป็นสุภาพสตรีเพิ่งจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เธอเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัว มีอายุห่างจากพวกพี่ๆ หลายปี แน่นอนว่าทั้ง พ่อ-แม่ และพี่ ๆ ต่างก็รักและเอ็นดูพร้อมทั้งตามใจเธอ ดูเหมือนอะไร ๆ จะเป็นไปตามความต้องการของเธอเสียเป็นส่วนใหญ่ เธอก็มีความสุขและความอบอุ่นกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่แบบนั้นดีอยู่หรอก ชีวิตในครอบครัวจึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

          แต่เธอก็ยังอุตส่าห์คิดให้มีปัญหาจนได้ คือ เธอเป็นเด็กที่ชอบทำกิจกรรมและเล่นกีฬา แถมยังเรียนเก่งอีกต่างหาก ความประพฤติดี จนเคยได้รับคัดเลือกเป็นนักศึกษาดีเด่น เพราะเธอทำอะไรก็จะมุ่งมั่นตั้งอกตั้งใจอยากจะทำให้ดีที่สุด นั่นเป็นนิสัยของเธอตั้งแต่เด็กๆ เป็นต้นมา เพราะเธออยากให้พ่อ-แม่ พี่น้องของเธอพึงพอใจ โดยเธอก็ไม่เคยคิดอะไรมาก่อนเลย ก็ยังคงเป็นคนดี เรียนดี มีกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง จึงมีความสุขและพอใจกับชีวิตนักเรียน-นักศึกษาของเธอตลอดมา ตราบจนสำเร็จตลอดมา

          ปัญหาของเธอก็คือ เมื่อเธอเริ่มเป็นวัยรุ่น อายุ ๑๖-๑๗ ปี เธอเริ่มรู้สึกน้อยใจว่า เธออุตส่าห์ทำตัวเป็นเด็กดี รักการเรียนได้ผลการศึกษาดีมาตลอด ทำกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มอกเต็มใจ ไม่เคยเลยที่จะมีความประพฤติที่ทำให้พ่อ-แม่ต้องเสียใจ หรือเสียความรู้สึกกับเธอ

          แต่กระนั้นเธอก็ไม่ได้รับคำชมเชยหรือความปราบปลื้มของพ่อ-แม่ จากการเรียนและความประพฤติของเธอเลย เพราะท่านดูเฉยๆ ในขณะที่เพื่อนๆ ของเธอ ไม่ได้มีการศึกษาดีไปกว่าเธอเลย แถมไม่สนใจกิจกรรมอีกต่างหาก ได้แต่แต่งตัวเกินวัยและเกินฐานะความเป็นนักศึกษา ออกเที่ยวเตร่กลับบ้านผิดเวลา ใช้เงินเปลืองอย่างไม่มีแก่นสาร ถึงขนาดนั้นพ่อ-แม่ของพวกเขาก็ยังพอใจ และชื่นชมว่าลูกเป็นเด็กดีและรักเรียนไม่สร้างปัญหาให้พ่อ-แม่ต้องยุ่งยากใจ เธอจึงคิดน้อยใจอยู่ลึกๆ ว่า ทำไมนะพ่อ-แม่จึงไม่ชื่นชมหรือพูดชมให้เธอชื่นใจและภูมิใจกับทุกสิ่งที่เธอตั้งใจทำ เพราะที่เธอทำล้วนเพื่อให้เป็นที่ภาคภูมิใจของพ่อ-แม่ ทำไมไม่เหมือนพ่อ-แม่ของเพื่อนๆ เลยเล่า ทั้งๆ ที่ลูกๆ ของพวกเขาไม่ได้เก่ง และเป็นเด็กดีอย่างเธอสักหน่อย พ่อ-แม่ยังเป็นปลื้มกับลูกของเขา ทั้งชมเชยทั้งตบรางวัลอีกต่างหาก
สภาพเช่นนี้เคยคิดท้อแท้ว่าไม่รู้จะทำดี เรียนดี เพื่ออะไรกัน พ่อแม่ไม่เห็นชื่นชมสักนิดหรือว่าเธอจะต้องทำตัวเป็นวัยรุ่นเที่ยวเธค ใช้เงินเปลือง ฟุ่มเฟือย ไปโน่นมานี้ เรียนขาดๆเกินๆ ได้ผลการศึกษาแทบจะเอาไม่รอดบางทีพ่อแม่อาจจะหันมาให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญเธอบ้างกระมัง ยิ่งกว่านั้นความรู้สึกน้อยใจทำให้เธอรู้สึกไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลย เพราะเธอคิดว่าการที่พ่อ-แม่ไม่ได้แสดงความชื่นชมเธอนั้น เธอน่าจะมีปมด้อยอะไรในตัวเองกระมังท่านจึงแสดงเช่นนั้นกับเธอ


จงตั้งความคิดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

          คนเราควรตั้งความคิดให้ถูกต้องอย่างเป็นเหตุเป็นผล อย่าเพียงแต่เอาความคิดหรือความรู้สึกของตนเองมาตัดสินในเรื่องต่าง ๆ เพราะอาจจะใช้อารมณ์ของตนเองป็นบรรทัดฐานซึ่งอาจจะขาดเหตุผลอันสมควรก็ได้และการคิดเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและงานได้ในอนาคต



จึงควรจะลองตั้งความคิดในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้

          คนเรานั้นควรจะทำความดีด้วยเหตุผลที่ว่า เพราะมันเป็นความดีที่พึงกระทำและเมื่อทำแล้วย่อมจะส่งผลดีต่อตนเองอีกด้วย เช่น ถ้าเป็นนักเรียน-นักศึกษา การตั้งใจและเอาใจใส่ในการเรียน ได้ผลการศึกษาดีหรือดีเยี่ยม ย่อมเป็นเกียติประวัติของตนเองตลอดไป เป็นความภาคภูมิใจและมีความมั่นใจในความมานะพยายาม และสติปัญญาของตนเอง

          หรือการประพฤติปฏิบัติตัวเป็นนักเรียน-นักศึกษา หรือเป็นลูกที่ดีของพ่อ-แม่ ใช้จ่ายอย่างประหยัดตามสภาพนักเรียน-นักศึกษาไม่เที่ยวเตร่ไร้สาระ ซึ่งไม่ควรเป็นสิ่งประพฤติปฏิบัติ สำหรับนักเรียนนักศึกษา

          การทำเช่นนี้จะทำให้คุณเป็นคนมีระเบียบวินัยในการควบคุมตนเองเป็นอย่างดีๆไม่ออกนอกลู่นอกทางในวัยที่ยังไม่สมควร ยังไม่มีรายได้ของตนเอง เมื่อเติมโตเป็นผู้ใหญ่หรือเป็นคนทำงาน ก็จะเป็นผู้ใหญ่หรือคนทำงานที่ดี มีความรับผิดชอบในชีวิตและงานย่อมจะพบความสุขและความสำเร็จ

          การทำกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย จะมีประโยชน์ต่อชีวิตในภายภาคหน้า เพราะจะสอนให้คุณปรับตัวเองยอมรับคนอื่นได้ง่ายขึ้น ทำให้คุณมีมนุษย์สัมพันธ์ดีขึ้น เพราะต้องทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น ทำให้คุณมีความรับผิดชอบกับภาระหน้าที่ที่ทีมงานมอบหมาย

เพราะฉะนั้นแทนที่จะเบื่อหน่ายท้อแท้กับการทำความดีที่ผ่านมา จงเลิกความคิดแบบนั้นเสียเถิด และคิดใหม่ว่าสิ่งดี ๆ ที่คุณทำล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองในแง่ของการสร้างทักษะที่ดี ๆ ให้กับชีวิตและการงานในอนาคตของคุณ ให้ประสบความสุขและความสำเร็จดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกทักษะเช่นนั้นมาก่อน
[/b]

          จงรู้จักชื่นชมตัวเอง เพราะจะทำให้คุณองอาจเชื่อมั่นในตัวเองและสะท้อนออกมาเป็นความสุข คนเราเมื่อทำในสิ่งที่ดีงาม ย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจกับสิ่งที่ตนเองทำอยู่แล้ว และภาคภูมิใจในตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องรอคำชื่นชมจากผู้อื่น และถ้าบุคคลที่คาดหวังว่าจะชื่นชมคุณ เกิดไม่แสดงออกถึงความสามารถ หรือความดีของคุณที่ทำไปนั้นด้วยคำพูดชมเชย หรือด้วยกิริยาอาการชื่นชมยินดี คุณก็เลยคิดว่าพวกเขาไม่เห็นคุณค่าของคุณ คุณจึงน้อยใจจนไม่อยากจะทำอะไรดี ๆ ต่อไปอีก ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้องและไม่เป็นผลดีกับตัวคุณเลย ความจริงคนอื่นหรือคุณพ่อคุณแม่ก็คงจะชื่นชมดีใจที่คุณเป็นคนเก่ง เป็นคนดี เพียงแต่ไม่ได้พูดหรือแสดงอาการให้คุณได้รู้ได้เห็นเท่านั้นเอง คนเราอาจจะมีวิธีแสดงออกถึงความรู้สึกที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้

          บางทีการเป็นลูกคนสุดท้องของคุณทำให้คุณได้รับการตามใจจากทุก ๆ คน จนติดเป็นนิสัยว่าอะไรๆ ก็ควรเป็นไปดังใจคุณเสมอ ไม่มีใครอยากขัดใจคุณ แต่จงตระหนักว่าสักวันหนึ่งเมื่อคุณเป็นผู้ใหญ่ ต้องไปทำงานร่วมกับผู้คนมากหน้าหลายตา จะไม่มีใครตามใจหรือเอาใจคุณเหมือนกับที่คุณเคยได้รับเมื่ออยู่ในครอบครัวอีกต่อไป
          ยิ่งกว่านั้น สักวันหนึ่งเมื่อคุณต้องแต่งงานมีครอบครัว สามีของคุณก็คงไม่ยอมตามใจคุณทุกอย่างเหมือนที่คุณเคยได้รับมาจนเคยตัว

          ด้วยเหตุนี้ คุณจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนิสัยและความคิดในเรื่องนี้เสียใหม่ เพราะตอนนี้คุณไม่ใช่เด็กๆ อีกต่อไป แต่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กำลังจะเป็นคนทำงาน ไม่ใช่เด็กๆ ที่ใครๆ ก็จะต้องพะเน้าพะนอตามใจคุณไปเสียทุกอย่าง

          ถ้าหากคุณไม่ปรับเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ คุณก็จะไร้ความสุข ผิดหวังกับผู้คนรอบข้าง เบื่อหน่ายผู้คนที่ไม่เป็นไปอย่างใจคุณในรายละเอียด คงจะผูกสัมพันธ์กับใครๆ ได้ยาก เพราะคุณตั้งข้อจำกัดไว้มากมาย

          ขอได้โปรดตระหนักไว้ล่วงหน้าได้เลยว่า โลกนอกบ้านหรือในที่ทำงานและสังคมใหม่ นอกบ้านและนอกรั้วมหาวิทยาลัยจะไม่มีวันเหมือนกันเลย โลกใหม่ของคุณจะต้องพบผู้คนมากมายที่ล้วนแต่มีความแตกต่างกันในโลกของงาน ในการประกอบอาชีพ เป็นโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันในความสามารถ ความทรหดอดทน การรู้จักผูกมิตรกับผู้อื่น

          ถ้าขาดคุณสมบัติเหล่านี้เสียแล้วก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต ควรจะต้องรู้จักชื่นชมตนเอง และจะต้องรู้จักชื่นชมคนอื่นบ้าง อย่าเอาตัวเองเป็นความถูกต้องเสียทุกอย่าง คนเราทุกคนมีสิ่งดีๆ และสิ่งบกพร่องในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น ถ้าคุณขืนมีข้อจำกัดอะไรมากมายละก็ คงจะหาคนที่ได้อย่างใจไม่ได้เลย หรือหาได้ยากมาก คนเราจะทำงานใหญ่ก็ต้องมีคนรักใคร่ ศรัทธาอยากร่วมงานด้วย คนเดียวน่ะ ถึงแม้จะเก่งแค่ไหน ก็คงไม่สามารถไปได้ไกลในชีวิต

          คนที่จะได้รับความใครศรัทธาจากผู้คนรอบข้าง จึงมักจะต้องเป็นคนที่มีใจคอกว้างขวาง ยอมรับผู้อื่นได้เสมอโดยไม่มีข้อจำกัดมากนัก
ความดีก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่รู้ แต่ผู้ปฏิบัติย่อมรู้แก่ใจตนเอง เพราะฉะนั้นจงมุ่งมั่นทำความดีเพราะมันเป็นสิ่งที่ดีกับตัวของคุณและสังคมเถิด แล้วคุณจะประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิตอนาคตอย่างแน่นอน


•  การทำความดี คือ กำไรของชีวิต
•  เพราะว่าความดี เท่านั้นเป็นสิ่งที่เพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิต
•  ทำชีวิตให้มีความสุข ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
•  หากปราศจากการทำความดีแล้ว
•  ชีวิตที่แสนสั้นในโลกใบนี้ ก็ยิ่งจะหมดค่าลงไปทุกทีๆ
•  เพราะฉะนั้นเราจึงควรรีบทำความดีทุกๆ วัน
•  เพื่อแข่งกับเวลาที่มันกลืนเอาชีวิตของเราไปทุกขณะจิต

** และสุดท้าย จงจำไว้ว่า ความดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง ........ **

โดย: รศ. นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์

40
บทความ บทกวี / สติ = ความรู้สึกตัว
« เมื่อ: 18 ต.ค. 2552, 11:51:43 »
อาจจะมีบางคนสงสัยว่าการมีสตินั้นเป็นเช่นไร? ขอให้ความหมายของการมีสติง่ายๆ ว่า การมีสติก็คือ การมีความรู้สึกตัว ผู้ใดมีความรู้สึกตัว ผู้นั้นก็สามารถเลือกที่จะทำความดี-ละความชั่วได้ ผู้ใดมีความรู้สึกตัว จิตมันก็บริสุทธิ์ เมื่อมีความรู้สึกตัว เราก็ไม่ทำความชั่ว คิดก็ไม่กล้าคิด พอคิดขึ้นมาก็เห็นแล้วว่าหากกระทำลงไปนั้นจะเป็นความดีหรือชั่ว แต่หากเราขาดสติ ไม่รู้สึกตัว เราอาจจะคิดอะไรก็ได้ คิดบ้า ๆ บอ ๆ มนุษย์เราสมัยนี้มักจะทำอะไรโดยขาดสติ ก่อนที่เราจะพูด ก่อนที่เราจะทำ เราต้องคิดเสียก่อน โดยลำพังแล้วความคิดทำความดีด้วยตนเองไม่เป็น ทำชั่วไม่เป็น หากแต่ก่อนที่จะทำดีเป็นเพราะจิตคิดดี ก่อนที่จะทำชั่วเพราะจิตคิดชั่ว การมีสติมีความรู้สึกตัวคือสิ่งที่สำคัญที่สุดของความเป็นมนุษย์ เป็นทั้งหมดของชีวิต เมื่อมีสติมีความรู้สึกตัวเราก็จับได้ทั้งหมด จับได้ว่าเมื่อกายอยู่ตรงนั้น วาจาก็อยู่ตรงนั้น ใจก็อยู่ตรงนั้น ถ้าผู้ใดเข้าถึงความรู้สึกตัวได้ทั้งหมดของชีวิต เวลาใดที่เกิดอารมณ์ขึ้นมาพอเรามีความรู้สึกตัวมันจะคอยควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้

การมีสติหรือความรู้สึกตัวนี้แหละ จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตของเราได้ พอเรามีสติเราจะทำอะไรก็จะเกิดความรู้สึกตัว ว่าเรากำลังจะทำอะไร ความรู้สึกตัวจะเป็นเสมือนเข็มทิศที่จะนำทางสำหรับการดำเนินชีวิตของเรา เช่นบางคนกวาดบ้านไม่มีสติไม่ความรู้สึกตัว ขณะกวาดบ้านไปก็คิดไปว่า คนนั้นไม่ช่วย คนนี้ไม่ช่วย เรากวาดคนเดียว เราทำคนเดียว คนนั้นทำให้รกรุงรัง คิดไปต่างๆนานา เกิดทุกข์จากการไม่มีสติไม่ความรู้สึกตัว เป็นต้น นักเรียนที่ยกพวกตีกันก็เช่นกัน เวลาเดินทางไปเรียน นั่งไปบนรถเมล์ก็ขาดสติ ไม่รู้สึกตัวว่าตนเองกำลังจะเดินทางไปทำอะไร? และต้องมีหน้าที่อย่างไร? แต่กลับไปคิดถึงเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของการเป็นนักเรียน ไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนักเรียนกลายเป็นนักเลงไปเพียงชั่วพริบตาเพราะคิดไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว ขาดสติ หรือหนุ่มสาววัยรุ่นสมัยนี้ก็เช่นกันได้เสพ ได้เห็นภาพยนตร์ หรือสื่อลามกต่างๆ ทำให้ขาดสติ ไม่รู้สึกตัว ตำราวางเปิดอยู่ข้างหน้าแต่ก็คิดไปถึงเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในตำรา ไม่รู้จักแยกแยะในการบริโภคสื่อ ไม่รู้สึกตัวว่าตนเองอยู่ที่ไหน? สมควรทำอะไร? และ ไม่สมควรทำอะไร?

มนุษย์เราไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จะนั่งขับรถ จะทำงานทำการ จะกวาดบ้าน จะเขียน จะอ่านหนังสือ จะพูดจา จะนั่งอยู่บนรถเมล์ ทำงาน สอนหนังสือ เรียนหนังสือ หรืออย่างไรก็ตาม ถ้ามีความรู้สึกตัวก็ถือว่าใช้ได้ เพราะคนมีสติมีความรู้สึกตัว ก็จะละความชั่ว มีความรู้สึกตัวก็จะทำความดี เมื่อมีความรู้สึกตัว จิตมันก็บริสุทธิ์ สติ-ความรู้สึกตัวจะเป็นเสมือนห้ามล้อรถยนต์ เหมือนหางเสือเรื่อที่จะช่วยรักษาชีวิตของเราไม่ให้เดินอยู่ในหนทางที่ไม่ถูกต้อง คืนความเป็นมนุษย์ให้เรากลับมาได้จริง ๆ ครับ และตลอดหนทางชีวิตของเราทั้งหลายเมื่อมีสติมีความรู้สึกตัว เราก็จะสามารถเรียนรู้ และได้สะสมบทเรียนชีวิตที่มีคุณค่าไปเรื่อย ๆ ทำให้เราฉลาดขึ้นเรื่อยๆ ชำนาญขึ้นเรื่อยๆ เช่น พอเราจะมีความโกรธ สติก็จะเปลี่ยนเป็นไม่โกรธทันที พอเราจะมีอารมณ์มีความต้องการมีความหลง สติก็จะช่วยให้เราสามารถควบคุมตนเองไว้ได้ ช่วยเปลี่ยนทัศนคติที่ผิดๆ ทำให้เราคิดได้คิดเป็น โดยทันที

การฝึกหัดให้เรามีสติและรู้สึกตัวนั้นไม่ยากครับ ไม่ต้องถือศิล ไม่ต้องภาวนา ไม่ต้องนั่งตัวให้ตรง ไม่ต้องหลับตาบริกรรมคาถา เพียงแต่เราต้องหมั่นเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ก่อนทำอะไรให้รู้จักคิด และตอบตนเองให้ได้ว่าทำไปทำไม? ผลของการกระทำนั้นเป็นเช่นไร? แยกแยกความดีความชั่ว และรู้ในหน้าที่ของตน รู้ว่าเรานั้นกำลังทำอะไร? กายทำอะไร? ใจก็อยู่ที่นั่น ลองทำกันดูนะครับ และหมั่นทำอยู่เป็นประจำจนเป็นนิสัย ถ้าเราได้สัมผัสกับความรู้สึกตัว เราก็จะมีสติ เราก็ไม่ต้องไปอดทน ไม่ต้องไปสำรวมกาย วาจา ใจ มันจะสำรวมเอง เพราะเมื่อมีความรู้สึกตัวความรู้สึกของเราจะเปลี่ยน เปลี่ยนจากความทุกข์เป็นความไม่ทุกข์ เปลี่ยนความโกรธเป็นความไม่โกรธ ทำบ่อยๆ จนกลายเป็นนิสัย ทำจนกลายเป็นปกติของชีวิต เมื่อเรามีสติมีการสัมผัสความรู้สึกตัวอยู่กับกายกับใจของเรา เวลาใดที่เราจะหลง เราก็ไม่หลง เพราะได้สัมผัสกับสติ สัมผัสกับความรู้สึกตัว จึงรู้ว่าความโกรธเป็นอย่างไร? ความหลงเป็นอย่างไร? ทำให้เราเป็นผู้มีความรู้เท่าทัน รู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี เราก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข บ้านเมืองและโลกมนุษย์เราก็จะมีแต่ความสงบครับ

41
เรื่องของผู้ใหญ่ ถ้าหลงเชื่อคำเชียร์ของบริวารนัก มักจะยุ่ง และคำเชียร์ของบริวารนั้นก็เอาแน่ไม่ได้ ที่เชียร์ด้วยมุ่งร้ายก็มี ที่เชียร์ด้วยหวังดีก็มี แต่ทางที่ดีที่สุดต้องระวังไว้ อย่าลืมว่า เวลาปลูกต้นไม้ เขาใช้เสียมขุดหลุม แต่เสียมเล่มเดียวกันนั่นแหละอาจขุดโค่นต้นไม้ลงก็ได้ ที่พูดนี้ไม่ใช่ให้ระแวง แต่พูดให้ระวัง จะเล่านิทานที่ตายเพราะกองเชียร์ให้ฟัง

หน้า: [1]