ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีทำบุญที่สอง-การรักษาศีล เป็นเกราะป้องกันภัยมหัศจรรย์  (อ่าน 1806 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
              วิธีทำบุญที่สอง-การรักษาศีล สีลํ กวจมพฺภุตํ ศีล เป็นเกราะป้องกันภัยมหัศจรรย์

  การทำบุญด้วยการให้ทานที่กล่าวมาแล้วในวันก่อน จะต้อง "ลงทุน" พอสมควรจึงจะทำได‰ อย่างน้อยเราต้องจัดหาข้าวปลาอาหาร หรือสิ่งของมาเสียก่อน จึงจะให้ทาน เช่น ใส่บาตร หรือบริจาคได้

แต่การทำบุญด้วยการรักษาศีลนี้ไม่ต้อง "ลงทุน" อะไร คือไม่ต้องจัดหาสิ่งของภายนอกใดๆ ทุกอย่างมีที่ตัวเราแล้ว

เพียงแต่เราตั้งใจงดเว้น จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดในกาม ไม่พูดเท็จและไม่ดื่มสุราเมรัย แล้วควบคุมมิให้ละเมิดด้วยจิตใจแน่วแน่มั่นคง ก็นับว่า เราได้ทำบุญแล้ว

ถ้าถามว่าทำไม เพียงเท่านี้จึงเป็นบุญ คำตอบก็คือ ถ้าเราตั้งใจแน่วแน่จะไม่ทำความชั่วดังกล่าวข้างต้น แล้วพยายามรักษาไว้ไม่ให้เสียความตั้งใจ จิตใจของเราก็จะเข้มแข็ง บริสุทธิ์สะอาดขึ้นๆ

ความสะอาดของจิตนี่แหละคือบุญ

ความสกปรกคือบาป

โลภ โกรธ หลง มันคือสิ่งที่คอยรุกรานจิตใจตลอดเวลา ถ้าตกเป็นทาสของมันจิตเราก็จะสกปรก

โลภ คอยดลใจให้อยากลักอยากขโมย ยิ่งโกงเขาได้เท่าไรมันยิ่งกำเริบ เท่ากับเราให้น้ำให้ปุ๋ยแก่มัน

โกรธ คอยยุให้ทำลายคนอื่น ยิ่งฆ่าทำลายคนอื่นได้ ยิ่งมันในอารมณ์ ดุจดังให้เชื้อแก่ไฟ

หลง มันคอยยุให้ลุ่มหลง ยิ่งยุ่งกับสุรานารีพาชีกีฬาบัตรเท่าใด ยิ่งทำให้หน้ามืดตามัว

จิตเราก็ไม่มีวันว่างเว้นจากอิทธิพลของ "กิเลส" สามตัวนี้ นานวันเข้า พื้นจิตก็จะสกปรก ตกต่ำ หยาบกระด้างขึ้น

การต่อสู้กับกิเลสก็เหมือนกับการรบทัพจับศึก ถ้าเรายังตีโต้ขับไล่ข้าศึกไม่ได้ ก็ต้องยับยั้งการรุกคืบหน้าของข้าศึกไว้ก่อน ตรึงข้าศึกไว้กับที่ก่อน มีโอกาสค่อยหาทาง "ตัดเสบียง" ของข้าศึกแล้วเข้าทำลายภายหลัง เมื่อมีกำลังพร้อม

การรักษาศีล ไม่ว่าศีลห้าหรือศีลแปด ก็คือการไม่ให้โอกาสแก่โลภ โกรธ หลง มันรุกคืบหน้านั้นเอง ยับยั้งได้นานเท่าใด จิตใจก็ปลอดภัยนานเท่านั้น

  วิธีทำบุญที่สาม-การเจริญภาวนา

กุสลํ ภาเวตพฺพํ

พึงปลูกฝังและพัฒนาความดีงาม

คนส่วนมากมักเข้าใจว่า "ภาวนา" ก็คือการนั่งหลับตา บ่นอะไรพึมพำๆ การทำบุญด้วยวิธีภาวนาก็คือ หาเวลาไปนั่งบ่นบริกรรมในที่เงียบๆ ไม่ต้องมาทำมาหาเลี้ยงชีพเหมือนคนทั่วๆ ไป

ถ้าเป็นเช่นนั้นคนก็ไม่พร้อมที่จะทำบุญชนิดนี้ ปล่อยให้คนเฒ่าคนแก่เขาทำกันดีกว่า!

นั่นเป็นความเข้าใจผิด

ภาวนา ตามศัพท์หมายถึง "ทำความดีที่ยังไม่เกิดมีให้เกิดมีและให้เจริญงอกงาม" ความดีที่จะต้องทำให้เกิดมีและให้เจริญงอกงามมีอยู่ ๓ เรื่องด้วยกันคือ

๑. การศึกษา ศิลปวิทยาการต่างๆ ที่ทำให้คนฉลาดขึ้น มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตและสร้างประโยชน์แก่สังคม เราตั้งใจศึกษาหาความรู้เข้าไว้เต็มที่ เช่นตั้งใจอ่านหนังสือ ท่องจำ ฝึกฝน ฟังเทศน์ฟังธรรม ฟังปาฐกถา สนทนาสอบถามเอาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ

๒. การทำงานด้วยเหตุด้วยผลด้วยการใช้ปัญญา เช่น รู้จักเลือกทำแต่งานที่เป็นประโยชน์ รู้จักวางแผนงานปรับปรุงงานให้ดีขึ้น รู้จักค้นคว้าทำงานให้ก้าวหน้า รู้จักทำงานถูกกาลเทศะ รู้จักทำงานที่สุจริต

๓. การทำจิตให้สงบ คือหาวิธีควบคุมจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้จิตมันคิดโน่นคิดนี่ตลอดเวลา และการรู้จักใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจกฎธรรมชาติและธรรมดาของชีวิต ว่าทุกอย่าง "ไม่คงที่ ไม่คงตัว และไม่เป็นตัว" แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายความยึดติดจนเกินไป

การทำทั้งสามเรื่องนี้ให้พร้อม เรียกว่า "ภาวนา" การทำบุญด้วยการภาวนาตามนัยนี้ ใครๆ ก็ทำได้ เพราะฉะนั้น โปรดตรวจสอบตัวเองว่า ตนได้ทำสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือยัง

- ศิลปวิทยาการต่างๆ ที่มีประโยชน์ ที่ส่งเสริมให้เกิดความฉลาดตนได้เรียนรู้แล้วหรือยังเรียนแล้วเพียงพอที่จะดำรงชีวิตและทำประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาหรือไม่?

- หน้าที่การงานที่สุจริตตนได้ทำแล้วหรือยัง เมื่อได้ทำแล้ว ได้ตั้งใจอุทิศตนแก่งานเต็มที่ ปรับปรุงแก้ไขพัฒนายิ่งๆ ขึ้นหรือไม่?

- รู้จักหาวิธีสงบระงับใจ ไม่ฟุ้งซ่านโลเล และรู้จักใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจความเป็นไปของโลกและชีวิตตามเป็นจริง ลดความยึดมั่นถือมั่นเกินกว่าเหตุ จนสามารถสร้างความสุขปลอดโปร่งแก่จิตใจได้บ้างหรือยัง?

ถ้ายังก็จงรีบๆ ทำเข้าเถิด ทำแล้วก็เกิดประโยชน์แก่ท่านเองหาใช่ใครไม่

     ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?