ผู้เขียน หัวข้อ: การต่อสู้กับกิเลส  (อ่าน 1632 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
การต่อสู้กับกิเลส
« เมื่อ: 30 ส.ค. 2553, 10:05:10 »
                                                                การต่อสู้กับกิเลส

                         โดย พระอาจารย์อัครเดช  ถิรจิตโต  (ตั๋น)
                        วัดบุญญาวาส  ต.บ่อทอง  อ.บ่อทอง  จ.ชลบุรี

 

   ถ้าจิตของเรานั้นไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ที่จะรักษาจิตใจของเราแล้ว
จิตของเรานั้นก็จะยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลาย ว่าเป็นจิตใจของเราอยู่เสมอๆ
ไม่ว่าจะมีความโลภ เกิดขึ้น ก็เป็นใจของเรา
ไม่ว่าจะมีความโกรธเกิดขึ้น ก็เป็นใจของเรา
ไม่ว่าจะมีความพอใจ ความไม่พอใจ
ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ก็คิดว่าเป็นใจของเรา
ไม่ว่าจะมีความกำหนัด ยินดีในรูป ก็คิดว่าเป็นใจของเรา
ใจของเราก็เป็นทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา
เพราะใจของ เรานั้นไม่ทราบตามความเป็นจริง
ไปยึดมั่นถือมั่น ในอารมณ์ทั้งหลายว่าเป็นจิตใจของเรา
ความทุกข์ ต่างๆ จึงเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ
เพราะฉะนั้นพระ พุทธองค์หรือครูบาอาจารย์จึงสอน
ให้พวกเราทุกคน พยายามมีสติ เฝ้าดูจิตใจของเรานี้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ไม่ใช่ว่าไปดูบุคคล อื่น ว่าเขาทำอะไร หรือเขาพูดอะไร
แล้วเอาสิ่งที่ไม่ ดีมาเผาอารมณ์จิตใจของเรา
ทำให้จิตใจของเรานั้น มีความทุกข์ใจ มีความไม่สบายใจ
นักประพฤติ ปฏิบัตินั้นพึงมีสติ เฝ้าเห็นกิเลสภายในใจของเราอยู่เสมอ
ว่าสิ่งใด เป็นสิ่งที่ไม่ดี สิ่งใดเป็นกิเลสซึ่งเกิดขึ้นภายในใจของเรานั้น
ให้ หาอุบายปัญญา ทำลายความโลภ ให้บรรเทาเบาบางลงไป
หา อุบายปัญญาทำลายความโกรธ ความไม่พอใจ หรือความยินดีในรูป
ให้บรรเทาเบาบางลงไป จึงจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

 
ถ้าเรามีสติเฝ้าดู จิตใจของเรานั้นอยู่เสมอๆ
เราก็จะเห็นอารมณ์ เห็นกิเลส
เมื่อเราเห็นอารมณ์ เห็นกิเลสภายในใจของเรา
เราก็หาอุบายปัญญา มาพิจารณาละวางอารมณ์ที่ไม่ดีออกไป
แต่ถ้ากำลัง ของสติไม่ตั้งมั่นพอ จิตของเรานั้นหลงไปกับอารมณ์ทั้งหลาย
ก็ให้กำหนด สมาธิภาวนา ตัดอารมณ์ที่ไม่ดีออกไปอยู่เสมอๆ
กำหนดสติ กำหนดสมาธิให้ต่อเนื่อง
เมื่อจิตของเรามีกำลัง มีสติตั้งมั่น อยู่ในปัจจุบันธรรมแล้ว
คือเห็น จิตอยู่เสมอ ก็เห็นอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้น
เมื่อเห็นอารมณ์เกิด ขึ้น ก็มีปัญญาในการที่จะพิจารณาทำลาย ทุกๆ ขณะจิต
ถ้า เราทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จิตใจของเรานั้นก็จะค่อยๆ ว่างจากอารมณ์ทั้งหลาย
ถึงแม้มีอารมณ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็รู้จักปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นออกไปได้
มี สติ มีปัญญา รู้เท่าทันสภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวง
ว่าอารมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้น มีความเกิดขึ้น
และมีความดับ ไปเป็นธรรมดาอยู่เช่นนั้น หาใช่บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่

เพราะฉะนั้นเราทุกคนจะต้องพยายาม
ที่จะรู้จักต่อสู้กับกิเลสภายในจิตใจของเรา
ในทุกๆ วันให้พยายามที่จะมีสติดูจิตใจของเรา
และปรารภความเพียรไปทุกๆ วัน ไม่ท้อถอย
สำรวมจิตใจของเรานั้น อยู่เสมอๆ
ถ้า เราทุกคนทำความเพียรไปเช่นนี้
ไม่ว่าเราจะอยู่ ที่ไหนก็ตาม เราทำความเพียรไปตลอดเวลา
ในอนาคตข้างหน้าเราอาจ จะแยกย้ายไปปฏิบัติคนละสถานที่ก็ตาม
แต่เราก็ มุ่งหวังในการประพฤติการปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ ไม่ทิ้งความเพียร
เราก็สามารถที่จะประสบกับความ สำเร็จในการประพฤติการปฏิบัติธรรมได้

        พระโบราณาจารย์ พระกรรมฐานาจารย์ เคยกล่าวไว้ว่า

 

 " เมื่อเห็นผู้อื่นตกทุกข์ได้ยาก อดข้าว อดน้ำ ถ้าหากเราหยิบยื่นปลาตัวหนึ่งให้เขา เขาก็พึงอิ่มท้องอยู่ได้แค่มื้อเดียว แล้วก็อดอยากเช่นเดิม แต่ถ้าหากเราสอนวิธีการหาปลาให้เขา เขาจะอยู่รอดได้ด้วยตัวของเขาเอง จนตราบสิ้นอายุขัย "

 

"เราศิษย์ตถาคต เมื่อใดก็ตามเมื่อเห็นสัตว์โลกทั้งหลายมีความทุกขเวทนาทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ด้วยแรงแห่งกรรมสงเคราะห์ เราพึงสงเคราะห์โดยให้ธรรมทั้งหลายแก่เขาเหล่านั้นตามสมควรแก่เหตุ เพื่อให้เขามีกำลังใจ และแนะนำวิธีการรักษากำลังใจให้เต็ม และมีจิตสะอาดสุขสดชื่นโดยการเจริญสมาธิภาวนา และการละบาป อกุศลทั้งปวงด้วยตัวของเขาเอง  เพื่อยังประโยชน์ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นพ้นเสียซึ่งจากเวรภัยนานาประการ จนตราบเสียซึ่งอายุขัย ไม่ใช่ให้เราไปแก้กรรมให้เขา" 

   ที่มา ขอบคุณครับ  http://tevisho.com