ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องสักการะ.เป็นเครื่องบูชาของคนพื้นเมืองที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา  (อ่าน 3987 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

knife420

  • บุคคลทั่วไป
เครื่องสักการะ..เป็นเครื่องบูชาของคนพื้นเมืองที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
งานพิธีต่างๆ และใช้ถวายองค์พระมหากษัตริย์หรือเจ้าหลวงผู้ครองนคร มีอยู่ทั้งหมด ๕ ส่วน


๑.ต้นเทียน  มีลักษณะเป็นต้นเทียน โดยการนำเทียนมาผูกเชือกห้อยติดกับต้นไม้ ตกแต่งด้วยกระดาษสีแล้วปักกับต้นกล้วยเล็กๆ
ตามความเชื่อว่าเทียนเป็นของใช้ยามค่ำคืน สำหรับการศึกษาพระธรรมของพระสงฆ์ การถวายเทียนจึงช่วยให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ และก่อให้เกิดสติปัญญา

knife420

  • บุคคลทั่วไป
๒. ต้นผึ้ง  ทำตามความเชื่อที่ว่า ขี้ผึ้งเป็นสิ่งของที่ใช้ในกิจของสงฆ์ อาทิ การฝั้นเทียน การนำขี้ผึ้งมาอุดรูรั่วภาชนะ
รวมทั้งการใช้ขี้ผึ้งต้มใส่ลงบนพื้นกฎิโดยนำขี้ผึ้งมาปั้นหรือพิมพ์เป็นรูปดอกไม้ต่างๆ เช่น
รูปดอกจิก ดอกเอื้อง ดอกกระจัง แต่งเกสรด้วยดอกบานไม่รู้โรย ใช้ก้านมะพร้าวทำเป็นก้านปักลงบนต้นกล้วย

knife420

  • บุคคลทั่วไป
๓. หมากสุ่ม  หรือ "สุ่มหมาก" เป็นการนำใบมะพร้าวสานขึ้นเป็นรูปดาว ๕ แฉกที่เรียกว่า "หมงมะเด็ง"
ใช้ลูกหมากดิบเสียบไว้ตรงกลาง แล้วปักลงบนต้นกล้วยที่มีการประดิษฐ์ขึ้นรูปเป็นโครง
ส่วนบนตกแต่งด้วยใบตองเป็นกรวยยอดแหลมตกแต่งดอกไม้ให้สวยงาม
ทั้งนี้ หมากสุ่มอาจทำได้จากหมากแห้ง หรือหมากสายประมาณ ๑๐ เส้น มัดรวมกันแล้ววางบนโคลงไม้ไผ่รูปกรวยและใช้เชีอกมัดติดโดยรอบ

knife420

  • บุคคลทั่วไป
๔.พลูสุ่ม  ใช้ใบพลูนำมาซ้อนเป็นตับ แล้วนำไปติดลงบนโครงไม้ไผ่โดยรอบ ส่วนด้านบนทำเป็นกรวยใบตอง
ตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้ เนื่องจากใบพลูถือเป็นของจำเป็นในครัวเรือน มีประโยชน์ในแง่สมุนไพรและใช้ประโยชน์ในพิธีกรรม

knife420

  • บุคคลทั่วไป
๕.ต้นดอก หรือ "สุ่มดอก" ทำจากดอกไม้ที่ถือเป็นเครื่องสักการะที่สำคัญ ประกอบเป็นพุ่มโดยใช้
ใบเล็บครุฑทำเป็นพุ่มตามโครงตัดแต่งให้ได้รูปทรงพุ่ม นำดอกไม้มาประดับให้สวยงาม การทำสุ่มดอกวัดแต่ละแห่ง
มักมีลักษณะพิเศษแตกต่างกันตามโครงที่ใช้ ซึ่งอาจจะเป็นการใช้ไม้จริงแกะสลักลงรักปิดทองที่เรียกว่า "ขันเลี่ยนม" "ต้อมก้อม" หรือ "ขันดอก"