ประวัติหลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จาก http://board.palungjit.com/showthread.php?p=215609
ภาคตะวันออก....นอกจากจะเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆแล้ว ทางด้านพระเกจิอาจารย์ก็มีพระภิกษุ
ผู้มีวิชาอาคมที่เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาและเชี่ยวชาญงานด้านนวกรรม เข้มขลังทางด้านพุทธาคมอยู่มากมาย.....
.....หลวงพ่อฟู.....หรือ.....พระครูมนูญธรรมรัตน.....ก็รวมอยู่ในกลุ่มพระผู้ทรงคุณเหล่านั้นด้วย.....
ปัจจุบัน หลวงพ่อฟู สิริอายุได้ 81 ปี พรรษาที่ 61 เป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และดำรงค์ตำ
แหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางปะกง ในปัจจุบัน (ท่านเคยดำรงค์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ มาก่อนหน้านี้ )
ในเส้นทางศิษย์ตถาคตผู้เป็นพุทธบุตรสืบสานพระพุทธศาสนา หลวงพ่อฟูได้สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
มากมาย อาทิ..... หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา .....หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี.... หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.
จันทบุรี .....หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี ..... หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา.....เป็นต้น
.....หลวงพ่อฟู เป็นพระเกจิเถราจารย์ อาวุโสอีกรูปหนึ่งในจ.ฉะเชิงเทรา ที่มากด้วยคุณธรรม - เมตตาธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาของ
ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชาวบางปะกง ชาวแปดริ้ว หรือจังหวัดไกล้เคียง ด้วยเหตุที่ว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญตำ
หรับตำรายาสมุนไพรต่างๆ นำมาสงเคราะห์ญาติโยมผู้เดือดร้อนโดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น.......
ท่านเกิด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2465 ณ.บ้านบางสมัคร เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่ออายุครบ 20 ปี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
พ.ศ.2485 ณ.วัดบางสมัคร มีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ ( หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ) เป็นพระอุปัชฌาย์.....หลวงพ่อชื่น วัดทองนพคุณ
เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูเมธีธรรมโฆสิต ( พระมหาจอม ) วัดบางสมัคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า " อติภัทโท " เมื่อท่านได้อุปสมบทโดยสมบูรณ์แล้ว ท่านได้ศึกษาด้านคันถธุระ ที่วัดทองนพคุณ กทม. จนสอบได้
นักธรรมโท และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 หลวงพ่อฟู ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดอุทยานที จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมเอก.....พ.ศ.2492
ท่านสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค....และต่อมาพรรษาที่16พ.ศ.2501 หลวงพ่อฟูท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าอาวาส
วัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรีจนกระทั่งปี พ.ศ.2503 ท่านได้รับ
การแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ...
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2505 เจ้าอาวาสวัดบางสมัครว่างเว้นลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านมาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบาวสมัครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ท่านได้พัฒนาวัดจนเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง มีพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง .....
ในปีพ.ศ.2543 หลวงพ่อฟู ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแพร่พระพุทะศษสนา จากสมเด็จพระเทพฯ.....ท่านมุ่งเน้น
ด้านการศึกษามาตลอด ท่านได้เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมอีกด้วย......
ด้านพุทธาคม และ ไสยศาสตร์.........การศึกษาสรรพเวทวิทยาคมจากครูบาอาจารย์ต่างๆหลวงพ่อฟูให้ความสนใจ และตั้งใจศึกษา
อย่างแท้จริง เพราะท่านต้องการนำมาช่วยเหลือเหล่าศิษยานุศิษย์สืบต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง.....
บรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนกรรมฐานและถ่ายทอดวิชาอาคมให้ หลวงพ่อฟู มีอยู่มากมาย เพราะนอกจากท่านจะศึกษากับครูบา
อาจารย์ที่มีตัวตนแล้ว ท่านยังได้ศึกษาจากตำหรับตำราต่างๆทั่วไปอีกด้วย.......
สำหรับวัตถุมงคล ที่หลวงพ่อฟู ท่านนำมาแขวนตั้งแต่เด็กๆ ก็คือ ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ซึ่งกันผีพรายน้ำได้ เป็นความเชื่อ
สมัยก่อนสำหรับผู้คนที่มรบ้านช่องติดแม่น้ำลำคลอง ต่างเกรงว่าลูกเด็กเล็กแดง จะถูกผีพรายน้ำเอาตัวไป จึงหาของไว้ป้องกันให้
เด็กๆเป็นต้น.....หลวงพ่อฟูจึงมีความสนใจ เมื่อท่านบวชแล้วท่านจะต้องขอเรียนวิชา กับหลวงพ่ออี๋ ให้ได้ แต่หลวงพ่ออี๋ กลับมา
มรณะภาพลง ในคราวที่หลวงพ่อฟู บวชได้ไม่นานนัก.....
หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา นอกจากจะเป็นพระอุปัชาย์ของท่านแล้ว ยังเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมขลังยิ่ง ชื่อเสียงของท่าน
โด่งดังไปทั่วเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป วัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อ ก็มีเหรียญรุ่น81 ตะกรุดเสือเสื้อยันต์ และลิงจับหลักแกะจากรากพุด
ซ้อนเป็นต้น.....ท่านได้วิชาดีคือวิชา สูญผีไล่ผีคาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์ อันเป็นวิชาชั้นสูงสุดยอดของหลวงพ่อดิ่ง ซึ่งท่านไม่
ยอมสอนวิชานี้ให้กับใครมากนัก นอกจากศิษย์ผู้นั้นเป็นผู้มีคุณธรรมเท่านั้นท่านถึงจะให้วิชานี้เท่านั้น เพราะเกรงว่าลูกศิษ์จะนำไปใช้
ในทางที่ผิดๆ......วิชาการสร้างลิงจับหลัก ที่แกะจากรากต้นพุดซ้อน ท่านก็ได้จากหลวงพ่อดิ่ง ......
หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี เป็นอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาทำเครื่องรางของขลัง ตะกรุดผ้ายันต์ ปลัดขิก เสืออาคม
เสือสมิง การเขียนและลบผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห และการสร้างพระปิดตาให้แก่หลวงพ่อฟูจนหมดสิ้น....
หลวงพ่อบุญมี วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา พระอาจารย์ผู้โด่งดังทางด้านการสร้างลูกอม ท่านได้ถ่ายทอด ให้หลวงพ่อฟู พร้อมทั้ง
วิชากรรมฐานในการออกธุดงค์ และ คาถาที่ใช้ภาวนา คือ อรหัง กับ นะ ขัตติยะ ซึ่งหลวงพ่อฟูนำมาใช้จนได้ผลที่ดียิ่งในด้านเมตตา
มหานิยม.........
หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกเฌอ จ.ชลบุรี เป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อฟู ให้ความเคารพมาก เพราะท่านเป็นเกจิฯ สายภาคตะวันออกที่มี
ชื่อเสียงมากทางฝั่งชายทะเลตะวันออก ......หลวงพ่อเริ่ม เป็นศิษย์สืบสานวิชา " ฝนแสนห่า " และ สีผึ้งเจ็ดจันทร์ จาก หลวงปู่อ่ำ
วัดหนองกระบอก กับวิชา การทำปลัดขิก และ หน้าผากหนังเสือ จากหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ โดยตรง.....และวิชาทั้งหมดนี้ได้ตกมาถึง
หลวงพ่อฟูจนหมดสิ้น......
.....หลวงพ่อเริ่มยังได้วิชา ทำผง 12 นักษัตร จากหลวงปู่เทียนวัดโบสถ์ วิชาการสร้างพระปิดตา และวิชาโหราศาสตร์จากสมเด็จ
พระสังฆราช ( อยู่ ) วัดสระเกศ กทม.ด้วย..... วิชาเหล่านี้หลวงพ่อเริ่ม ได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อฟู ในฐานะศิษย์เอก จนครบถ้วนเช่น
กัน....หลวงพ่อฟู ได้นำวิชาหุงสีผึ้งเจ็ดจันทร์มาทำใหม่ โดยผสมของเก่า ของ หลวงพ่อเริ่มลงไปด้วย โดยหลวงพ่อฟูเป็นผู้ผสมเอง
ด้วยความชำนาญ เมื่อ นำออกใช้ก็เกิดผลดีด้านเมตตามหานิยม และค้าขายดี เช่เดียวกันกับของ หลวงพ่อเริ่ม ทุกประการ.....
หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี ได้สอนตำราพระเวทสายเกจิอาจารย์ชายฝั่งทะเลตะวันออก และสูตรการผสมผงสร้างพระปิด
ตาสายวัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี ให้แก่หลวงพ่อฟู และวิชาการทำยาหอม ยาหม่อง น้ำมันใส่แผล จากสมุนไพรต่างๆ และหลวงพ่อฟู
ได้นำมาใช้และแจกจ่ายประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น.....
พระมหาจอม ( พระครูเมธีธรรมโฆสิต ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร รูปก่อน หลวงพ่อฟู ยังได้สอนวิชาการสร้างเสืออาคม จากตำรา
เดิม ของ หลวงพ่อปาน ( บางเหี้ย ) วัดคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ให้หลวงพ่อฟู ท่านจึงนำมาสร้างตะกรุดหน้าผากเสือ ขึ้นจนโด่งดัง
อยู่ในขณนี้ ครับ......
นับได้ว่า หลวงพ่อฟู ท่านได้รับการถ่ายทอดสรรพวิทยา ต่างๆจากอดีตพระเถราจารย์ และ พระเกจิอาจารย์ ต่างๆที่เป็นที่ยอมรับ
ของประชาชนทั่วไป และวิชาต่างๆ หลวงพ่อฟู ท่านได้นำมาใช้อย่างได้ผลดีทุกด้าน โดยเฉพาะด้านเมตตา มหานิยมท่านเป็นเอก
ไม่รองใคร.....สมแล้วกับ สมยานามที่ศิษยานุศิษย์ขนานนามให้ท่านว่า "พระเกจิแห่งลุ่มน้ำบางปะกง "