แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ~@เสน่ห์เอ็ม@~

หน้า: [1]
1






ตะกรุดดอกนี้พี่สาวใจดีให้ผมมา ขอบคุณพี่สาวด้วยนะครับ

ดอกนี้หลวงลุงติ่งท่านจาร หลวงปู่เปิ่นปลุกเสก ...ด้านในมีลอยจารเมจิกที่หนังเสือ และมีตะกรุดจารมืออีก1ดอกสอดอยู่ตรงกลางด้วย


2


พระสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง พ.ศ.2513แจกกรรมการลงรักสีแดง ..สภาพเดิมๆครับ
พระสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง พ.ศ.2514 พิมกลางค์ ...สภาพเดิมๆครับ

 :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:  :054:

3



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







องค์นี้หน้าสึกไปนิดแต่โดยรวมแล้วก็ยังดูง่ายครับ




(ขอบคุณพี่เก่งบ้านดอนอีกครั้งครับ)

4



++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ผงว่านสบู่เลือดครับ.....


(ขอบคุณพี่เก่งบ้านดอนด้วยครับ ที่เป็นธุระให้ ...)

5




(ขอบคุณพี่เก่งบ้านดอนด้วยนะครับที่เป็นธุระให้)

6
วันนี้เป็นวันครบรอบวันเกิด ~เสน่ห์ต้นน้ำ~  มาร่วมอวยพรกันครับ

ขอให้เพื่อนมีความสุขมากๆ คิดอะไรสมดั่งใจนึก ...ได้งานดีๆๆ มีตังใช้ตลอดไป

มีความสุขมากๆนะเพื่อน ......


 :047:

7


ด้วยความอนุเคราะห์จากพี่ผู้หลักผู้ใหญ่ท่านนึง

8


เด่นทางด้าน เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ครับ แรงเลยทีเดียว ... !

9


ขออนุญาตินำรูปมาให้ชมกันอีกสักครั้ง ขออนุญาติทางผู้ดูแลด้วยครับ.... เครดิตโดยรูปภาพจาก tong_lomsak  ขออนุญาตินำรูปมาลงนะครับ
สุดยอดมวลสาร+การปลุกเสก


พี่ชายผมเล่าให้ฟังว่า เหมือนมีคนมาขย่มเบาะรถเลยครับ เหมือนคอยตามไปไหนมาไหนด้วยตลอด (ประสบการณ์การส่วนบุคคล แล้วแต่คนนะครับ)  

ใครอยากร่วมทำบุญที่วัดยังมีให้บูชานะครับ ....  ใครอยากบูชาทำบุญได้โดยตรงที่วัด

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณเสน่ห์เอ เสน่ห์ต้นน้ำ และ เสน่ห์ที ครับ

อนุโมทนาด้วย....

10


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



หลวงปู่เปิ่น วัดบางพระ เสกด้วยครับ รุ่นนี้ ........

ขอบพระคุณพี่เสน่ห์เอ ด้วยนะครับที่เมตตา

11
ธรรมะ / อริยสัจสี่โดยสังเขป...
« เมื่อ: 13 ต.ค. 2553, 05:04:51 »
อริยสัจสี่โดยสังเขป

ความจริงอันประเสริฐ  คือทุกข์,  ความจริงอันประเสริฐ  คือเหตุให้เกิดทุกข์,  ความจริงอันประเสริฐ  คือความดับไม่เหลือของทุกข์,  และความจริงอันประเสริฐ  คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
ทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? คำตอบคือ  ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง.  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ
เหตุให้เกิดทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหา  อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน  มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ  ได้แก่  ตัณหาในกาม,ตัณหาในความมีความเป็น,  ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น,
ความดับไม่เหลือของทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ?  คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหา    ความปล่อยวางซึ่งตัณหานั่นเอง
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางประกอบด้วยองค์ ๘ นี้นั่นเอง  คือ  ความเห็นชอบ  ความดำริชอบ;  การพูดจาชอบ   การทำการงานชอบ   การเลี้ยงชีวิตชอบ ;  ความพากเพียรชอบ  ความระลึกชอบ  ความตั้งใจมั่นชอบ.    พวกเธอพึง ทำความเพียร  เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง   ว่า “นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,  นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด
.

ที่มาจากเวป วัดหนองป่าพง http://www.watnongpahpong.org/buddha.php  :054:
หากมีท่านใดเคยนำใว้แล้ว กระผมต้องขออภัยเป็นอย่างสูงด้วยครับ  :054:

12
ธรรมะ / อกุศลเจตสิก / กุศลเจตสิก
« เมื่อ: 24 ก.ย. 2553, 09:53:30 »
เจตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ

เจตสิก หมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ

            1. เกิดพร้อมกับจิต   2. ดับพร้อมกับจิต    3. มีอารมณ์เดียวกับจิต    4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น  สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

 

1.  ลักษณะของเจตสิกคือ                   มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2.  กิจการงานของเจตสิกคือ              เกิดร่วมกับจิต
3.  ผลงานของเจตสิกคือ                     รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต 
4.  เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ  การเกิดขึ้นของจิต 
 
อกุศลเจตสิก 14 1.โลภะ ความต้องการในสิ่งยั่วยุไม่รู้จักเต็ม 2.อิสสา ความริษยาในใจอยากได้เหมือนของผู้อื่น 3. มัจฉริยะ ตระหนี่หวงแหนยึดไว้แต่ผู้เดียวจนไม่เกิดคุณ 4. โทสะ ความหงุดหงิดโมโหร้ายพยาบาทหรืออาฆาต 5. อหิริกะ ความหน้าด้าน ไม่ละอายต่อการทำชั่ว 6. อโนตตัปปะ การกระทำความชั่วโดยไม่หวั่นกลัวต่อบาปกรรม 7. อุทธัจจะ ความคิดมากฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ 8. กุกกุจจะ ความกลุ้มใจ กังวลใจ กระวนกระวายใจ ร้อนใจ 9. ถีนะ ความหดหู่ เศร้าซึม ง่วงซึม จิตตก หมดกำลังทำงาน 10. มิทธะ ความท้อแท้ ถอดใจ หมดกำลังใจ 11. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคำสอนที่จะปฏิบัติตาม 12. โมหะ ความโง่เขลา ความเข้าใจผิด เชื่อตามข้อมูลที่ผิดๆ 13. ทิฏฐิ ความเห็นที่ทำให้ตนหลงยึดติดอย่างเหนียวแน่น 14. มานะ ความหยิ่งทะนงตนจนไม่ยอมรับคำแนะนำจากใคร

กุศลเจตสิก 25 1. สัทธา มีความมั่นใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง 2. สติ มีสติสัมปชัญญะอยู่อย่างไม่ประมาททั้งในเวลาจุติ 3. หิริ ละอายต่อการทำชั่ว ไม่หน้าด้าน 4. โอตัปปะ เกรงกลัวต่อบาปที่จะตามมาจากการกระทำของดัว 5. อโลภะ ความโลภลดลง ไม่ต้องการตามสิ่งยั่วยุ 6. อโทสะ ความโกรธลดลง ไม่หงุดหงิดโมโหร้าย 7. ตัตรมัชณัตตตา จิตนิ่งเฝ้าสังเกตอยู่กับสิ่งที่ทำโดยไม่วอกแวก 8. กายปัสสัทธิ ผิวพรรณผ่องใส มีราศีดี ร่างกายไม่เกร็งตัว 9. จิตตปัสสัทธิ จิตใจผ่องใส สุขภาพจิตดี สบายใจ 10. กายลหุตา ตัวเบา กายเบา ร่างกายผ่อนคลายทุกสัดส่วน 11. จิตตลหุตา สบายใจ มีจิตร่าเริงเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดในใจ 12. กายมุทุตา ร่างกายอากัปกิริยานุ่มนวลอ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง 13. จิตตมุทุตา จิตใจดีนุ่มนวลมีอัธยาสัยดี มีเมตตาจิต 14. กายกัมมัญญตา ร่างกายเหมาะกับงานทุกอย่าง 15. จิตตกัมมัญญตา จิตใจเหมาะกับการใช้งานทางสมอง 16. กายปาคุญญตา ร่างกายทำงานได้คล่องแคล่วว่องไว 17. จิตตปาคุญญตา มีความคิดรวดเร็วลึกซึ้งละเอียดในทุกเรื่อง 18. กายุซุกตา คล่องแคล่ว มั่นคงอยู่กับการฝึกนั้นๆได้ 19. จิตตุซุกตา จิตมุ่งตรงไปกับสิ่งที่คิดอย่างมุ่งมั่น ไม่เสียสมาธิ 20. สัมมาวาจา การพูดมีความสุภาพนุ่มนวล ไม่ไร้สาระ 21.สัมมากัมมันตะ พฤติกรรมดี ไม่ก่อโทษให้ใครๆ 22. สัมมาอาชีวะ มีการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ทุจริตฉ้อโกง 23. กรุณา มีความสงสารและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบาก 24. มุฑิตา พลอยมีใจยินดีด้วยกับผู้อื่นที่ได้ดี ไม่ริษยา 25. ปัญญา ปัญญาที่รู้ความจริงของชีวิตได้อย่างถูกต้อง

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.abhidhamonline.org/thesis/cetasika/cetasika.htm
และเวปพลังจิต ขอบคุณครับ
หากมีคนเคยนำมาลงแล้ว ต้องขออภัยด้วย

13
ธรรมะ / สมถกรรมฐาน ระงับนิวรณ์ ๕
« เมื่อ: 23 ก.ย. 2553, 07:59:47 »
ภาวนาพุทโธไปจนกว่าจิตจะสงบ มีความสว่าง มีปีติ มีความสุข อันเป็นสมาธิขั้นสมถกรรมฐาน มีจุดมุ่งหมายที่จะระงับนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทะ ความใคร่ในกามหรือความสุขสบาย พยาปาทะ ความพยาบาทเคียดแค้น ถีนะมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมโดยเอาชีวิตเข้าแลก นี่คือจุดมุ่งหมายของการเจริญกรรมฐานขั้นสมถะ

กรรมฐานอันใดที่เนื่องด้วยบริกรรมภาวนาพุทโธ สัมมาอรหัง ยุบหนอพองหนอ เป็นวิธีการปฏิบัติสมถกรรมฐาน ใครปฏิบัติบริกรรมภาวนาอะไรก็ได้ จุดมุ่งหมายเพื่อระงับนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไปจากจิตในขณะที่ภาวนาอยู่

กรรมฐานอันใดสามารถทำจิตให้สงบ สว่าง มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง จิตรู้ ตื่น เบิกบาน นิวรณ์ ๕ หายไปหมดสิ้น กรรมฐานอันนั้นเป็นกรรมฐานที่ถูกต้องใครจะภาวนาแบบไหนอย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิ ขจัดนิวรณ์ ๕ ได้ เป็นการใช้ได้ทั้งนั้น ดังนั้น ณ โอกาสต่อไปนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายจงบริกรรมภาวนา ใครคล่องตัวในการบริกรรมภาวนา พุทโธ ก็ว่า สัมมาอรหัง ก็เอา ยุบหนอพองหนอ ก็ใช้ได้ หลักสำคัญ ให้ขจัดนิวรณ์ ๕ ได้ เป็นจุดมุ่งหมายของการเจริญสมาธิขั้นสมถะ อันนี้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสำหรับผู้ที่ภาวนาเก่งแล้ว จิตมีภูมิจิต ภูมิใจ มีภูมิธรรมเกิดขึ้น เมื่อภาวนาไป จิตเกิดมีความคิด ให้มีสติกำหนดตามรู้ความคิดเรื่อยไปสำหรับผู้ใหม่ ภาวนาพุทโธ พุทโธ เป็นต้น เมื่อจิตทิ้งพุทโธไปคิดอย่างอื่น ให้กลับมานึกพุทโธๆๆ ถ้าจิตสงบลงไปแล้ว หยุดว่าพุทโธ แต่มีปีติ มีความสุข นิ่ง ว่าง อยู่เฉยๆ ก็ปล่อยให้นิ่งว่างอยู่อย่างนั้น ถ้าหากเกิดความคิดขึ้นมา ปล่อยให้คิดไป แต่มีสติตามรู้ไปทุกขณะจิต นี่คือจุดเริ่มต้นของการภาวนา

อย่ากลัวติดสมถะ
สมาธิขั้นสมถะนี่ต้องเอาให้ได้ ต้องพยายามบริกรรมภาวนาเอาให้ได้ ให้จิตสงบ นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน มีปีติ มีความสุข กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ นิวรณ์ ๕ หายไป ความฟุ้งซ่านรำคาญหายไป มีแต่ปีติและความสุขบังเกิดขึ้นในจิต

จิตมีปีติและความสุขเป็นภักษาหาร ผู้ภาวนาย่อมอยู่อย่างสงบเยือกเย็น หาความสุขอันใดจะเทียมเท่าความสงบจิตที่ประกอบด้วยปีติและความสุขไม่มีแล้วดังนั้น อย่ามองข้ามความสงบ อย่ามองข้ามสมาธิ ต้องให้เอาสมาธิให้ได้อย่าไปกลัวจิตจะติดสมาธิ ถ้าจิตไปติดความสงบ ติดสมาธิ ดี ดีกว่าไปติดอย่างอื่น ให้มันติดสมาธิ ติดความสงบเอาไว้ก่อน อย่าไปกลัว บางทีบางท่านภาวนาพุทโธแล้วกลัวจิตจะติดสมถะ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ยังไม่เคยเป็นสมถะ จิตยังไม่สงบเป็นสมถะ ยังไม่สงบเป็นสมาธิ แต่ไปกลัวจิตจะติดเสียก่อนแล้ว ในเมื่อเกิดกลัวขึ้นมา จิตก็ไม่เป็นสมาธิ เมื่อไม่เป็นสมาธิ วิปัสสนาก็ไม่มี ต้องเอาจิตให้เป็นสมาธิก่อน อันนี้สำหรับผู้ปฏิบัติเบื้องต้น ต้องยึดอันนี้เป็นหลัก

หากมีผู้เคยนำมาลงแล้ว ต้องขออภัยด้วยครับ
ที่มาจากเวป  http://www.thaniyo.com/index.php/2009-05-03-02-45-43

14


หนุมาน พบ 7 ยอดมนุษย์  13;

ตามลิ้งด้านล่างเลยครับ

http://www.clipmass.com/movie/หนุมานพบ-7-ยอดมนุษย์-1---202017394238965

http://www.clipmass.com/movie/หนุมานพบ-7-ยอดมนุษย์-2---1580111596238977

http://www.clipmass.com/movie/หนุมานพบ-7-ยอดมนุษย์-3---1336014009238981

 :109: :039: 09;



15
ศิษย์คือใคร?
๑. ความหมายของศิษย์
ศิษย์ คือ ผู้ศึกษา, ผู้เชื่อฟัง, ผู้ที่ยอมรับให้ครูอาจารย์สอน
ศิษย์ที่ดี คือ ผู้ที่ครูอาจารย์สามารถนำไปสู่จุดหมายปลายทางได้
๒. ประเภทของศิษย์

ศิษย์แบ่งได้ ๒ ประเภทคือ
๑ ศิษย์กตัญญู คือศิษย์ที่ดีสำนึกในพระคุณของครูแล้วตอบแทน
๒ ศิษย์อกตัญญู คือศิษย์เนรคุณ ไม่สำนึกในพระคุณของครู คิดล้างผลาญครู

๒.. ศิษย์เกิดจากอะไร?เกิดจาก การที่ต้องการสติ – ปัญญา ความรู้จึงยินยอมมอบกายและจิตใจให้ครูอาจารย์ทำการอบรมสั่งสอน

๓ เป็นศิษย์เพื่ออะไร? เพื่อ ยกระดับจิตวิญญาณของตนให้สูงขึ้น

๔.เป็นศิษย์โดยวิธีใด?

โดย การเป็นศิษย์ที่ดี และทำหน้าที่ของศิษย์ที่ดีได้ถูกต้องดังนี้

๑. ศิษย์ที่ดี
๑. ฟังดี – ฟังถูกต้อง
๒. คิดดี – คิดถูกต้อง
๓. เชื่อดี – เชื่อถูกต้อง
๔. ทำตามอย่างดี – ทำตามอย่างถูกต้อง
๕. ทำการสืบต่อไปอย่างดี – อย่างถูกต้อง

นักเรียน (ศิษย์) ที่ดี
๑. ไม่โยกเก้าอี้ ๒. ไม่หนีโรงเรียน ๓. ไม่เขียนข้างฝา
๔. ไม่ด่าครูสอน ๕. ไม่นอนตื่นสาย ๖. ไม่หน่ายการเรียน
๗. ไม่เพียรทำผิด ๘. ไม่คิดมุ่งร้าย ๙. ไม่อายการงาน
๑๐. ไม่ผลาญเงินตรา ๑๑. ไม่ซ่าหาเรื่อง ๑๒. ไม่เคืองโกรธกัน
๑๓. ไม่หันหาอบายมุข ๑๔. ไม่คลุกกับเกมส์
๑๕. เกษมแน่ ๆ พ่อแม่ก็ชื่นใจ ครูก็ชื่นใจ

หน้าที่ของศิษย์ที่ดี
๑. ลุกขึ้นยืนต้อนรับ เป็นการแสดงความเคารพ
๒. เข้าไปยืนคอยรับใช้ เมื่อท่านมีกิจธุระ
๓. เชื่อฟังคำสั่งสอนและปฏิบัติตาม
๔. อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด
๕. ตั้งใจเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
หน้าที่ของศิษย์ที่ดีอีกนัยหนึ่ง
๑. ต้องมีความเคารพ
๒. คบการศึกษา
๓. กล้ารับความผิด
๔. คิดช่วยเหลือครู
๕. กตัญญูต่อสถาบัน

อุดมการณ์ของนักเรียน (ศิษย์) ที่ดี
๑. แสวงหาความรู้ ๒. เคารพครูอาจารย์
๓. รักการศึกษา ๔. มีจรรยาเรียบร้อย
๕. มักน้อยตามฐานะ ๖. เสียสละเพื่อสถาบัน
๗. มุ่งมั่นประพฤติดี ๘. หลีกหนีสิ่งชั่ว
๙. ไม่มั่วสิ่งเสพติด ๑๐. รู้จักคิดใช้ปัญญา

อุดมการณ์ของนักเรียน (ศิษย์) ที่ดีอีกนัยหนึ่ง
๑. เคารพ ๒. เชื่อฟัง ๓. ตั้งใจเรียน
๔. เพียรขยัน ๕. ไม่ดื้อรั้น ๖. มารยาทดี
๗. มีระเบียบวินัย ๘. น้ำใจเอื้อเฟื้อ ๙. เชื่อมั่นตนเอง
๑๐. เกรงกลัวความชั่ว ๑๑. ทำตัวกล้าหาญ ๑๒. การงานซื่อตรง
๑๓. ตรงต่อเวลา ๑๔. วาจาน่ารัก ๑๕. รู้จักพอดี
๑๖. มีความอดทน ๑๗. เป็นคนกตัญญู ๑๘. รู้จักคิดใช้ปัญญา

หน้าที่ ของชาวประมงคือหาปลา
หน้าที่ ของพ่อค้าคือหาผลกำไรจากการทำมาหากิน
หน้าที่ ของศิลปินคือสร้างศิลปะ
หน้าที่ ของพระคือสอนมนุษย์
หน้าที่ ของชาวพุทธคือทำดี
หน้าที่ ของศิษย์ที่ดี คือ กตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์


ผลดี ของการทำหน้าที่ศิษย์ที่ดี
๑. ทำให้เป็นคนมีปัญญาดี
๒. ทำให้ครูอาจารย์ชื่นใจสุขใจ สบายใจ เย็นใจ
๓. ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากบัณฑิต
๔. เป็นที่รักของคนทั่วไป
๕. ใคร ๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย
๖. เป็นผู้มีความเจริญสุขในชีวิต
๗. สังคมสงบสุข
๘. ประเทศชาติได้คนดี

โทษ ที่ไม่สามารถเป็นศิษย์ที่ดีได้
๑. ทำให้เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
๒. ทำให้ครูอาจารย์เดือดร้อนใจ
๓. ถูกติเตียนจากบัณฑิต
๔. เป็นที่เกลียดชังของคนทั่วไป
๕. ใคร ๆ ไม่อยากคบเป็นเพื่อนด้วย
๖. ไม่เป็นผู้เจริญสุขในชีวิต
๗. สังคมวุ่นวาย
๘. ประเทศชาติได้คนไม่ดี

หน้าที่ของศิษย์พึงมีต่อครูอาจารย์
๑. ให้การต้อนรับ
๒. เสนอตัวรับใช้
๓. เชื่อฟัง
๔. คอยปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

" ศิษย์ที่ดี พึงจดจำ "
ถึงสูงเยี่ยม เทียมฟ้า อย่าดูถูก
ครูซึ่งปลูก วิชา มาแต่หลัง
ศิษย์ไร้ครู อยู่ได้ ไม่จีรัง
อย่าโอหัง บังอาจ ประมาทครู
สักวันหนึ่ง คงจะรู้ ว่าครูรัก
สักวันหนึ่ง คงประจักษ์ เป็นสักขี
สักวันหนึ่ง คงจะรู้ ว่าครูดี
สักวันหนึ่ง คงได้ดี เพราะเชื่อครู


ขอบคุณบทความจากเวปธรรมจักรครับ

16


ชุดนี้ผมแกะออกมา ถักใหม่นะครับ เนื่องจากปลอกเดิมแตก เปลี่ยนปลอกใหม่
เป็นลอยจารมือด้วยครับ  :015:
รบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะครับ เพื่อเป็นความรู้เกี่ยวกับตะกรุดชุดนี้  พระอาจารย์ท่านใดจาร

ขอบคุณสำหรับท่านผู้สุดหล่อด้วยนะครับที่มอบให้มา   :054:

17
ธรรมะ / ชนะตนนั่นแลดีกว่า
« เมื่อ: 21 ส.ค. 2553, 04:07:43 »
ชนะตนนั่นแลดีกว่า

ชัยชนะเป็นความปรารถนาของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงเพราะเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู่เพื่อแสวงหาอาหารของสัตว์ป่า การทำสงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้มีอำนาจ การต่อสู่เพื่อครอบครองดินแดน เป็นชัยชนะที่ทำให้เกิดศัตรูหรือเป็นคู่ปรปักษ์กัน ไม่ได้นำมาเพื่อสันติภาพ เพราะเป็นชัยชนะที่สร้างความเกลียดชัง ความอาฆาต จอวเวรกันมากขึ้นและจะเกิดการต่อสู่ไม่มีที่สิ้นสุด มีการแพ้และชนะกันไปมา และรุนแรงยิ่งขึ้นไป ดังนั้นการชนะศัตรูไม่ได้นำมาซึ่งสันติภาพ การชนะตนเองเท่านั้นจะนำมาซึ่งความสุขตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
          การชนะตน คือ ความสามารถในการควบคุมตนเองให้ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การควบคุมตนเองหมายถึงการควบคุมทั้งทางกาย วาจา ใจ หรือ กล่าวได้ว่า เป็นหลักธรรม ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงพุทธวจนะไว้ ในวันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ หรือ โอวาท 3 คือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส
         การชนะตนเอง หมายถึง การเอาชนะกิเลสของตนเองให้ได้ การชนะแบบนี้เท่านั้นนำมาซึ่งสันติภาพ เมื่อชนะใจตนเองแล้วการชนะใจผู้อื่นจะยิ่งนำมาซึ่งสันติภาพของโลก เหมือนกับที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ พระองค์ทรงชนะตนเองแล้วจึงชนะใจผู้อื่น ด้วยการอบรมสั่งสอนสาวกให้เลื่อมใสในพระธรรม เมื่อปวงชนได้นำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติย่อมเกิดความสงบสุขทำให้เกิดสันติภาพบนโลก

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/buddha_supasit/chanaton.html

18
กทิงวันปีนี้ .....ตรงกับ ปีเสือ เดือนสิง  ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙
ในวันพฤหัสบดี ที่  19 สิงหาคม พ.ศ. 2553



19


พระนางพญาองค์นี้ผมได้จากคุณอาของผมครับ  ใครรู้ว่าของทีไหนบอกด้วยนะครับ

ประสบการณ์องค์นี้ก็คือ ประมาณปี 2548 สมัยผมเรียนอยู่ปวช ปี 2
กำลังนั่งรถกลับบ้านเป็นรถประจำทางสาย 402 มหาชัย-นครปฐม  ช่วงเย็นๆหลังเลิกเรียน
พอถึงใกล้ๆประมาณพุทธมณฑลสาย 8  ตรงบริเวณเลยศาลาแคแถวมาหน่อย
มีคนร้ายขี่รถจักรยานยนต์ใส่หมวกกันน็อค ทั้ง 2  จอดรถประกบยิงตรงบริเวณประตูตรงที่ผมนั่งอยู่พอดี
ปรากฏว่าไม่ออก คนร้ายก็ไม่ละความพยายาม ขี่ตามมาอีกจากที่ไหนไม่รู้อีก 1-2 คันประกบไล่ยิงตั้งแต่พุทธมณฑลสาย 8 ถึงประมาณหน้าสวนสามพรานได้ประมาณ 5-6 ครั้ง
ปรากฏว่าทุกครั้งที่ยิง ยิงไม่ออกเลยสักนัด ทั้งที่มีปืนทั้ง 2 คน ที่ขี่ตามประกบมา  
วันนั้นผมรอดตายมาได้ เพราะพระองค์นี้ที่คอองค์เดียว กับ ตะกรุดโทนวัดบางพระดอกเงินๆเชือกสีเหลือง เพียงดอกเดียว
แต่น่าเสียดายครับ ตะกรุดดอกนั้นดันโดนเพื่อนเอาไปแล้วเลยไม่มีรูปมาลงให้ชมกัน ผมตามหายังไงก็ไม่เจอ บูชาจากวัด 100 เดียว
ถ้าวันนั้นกระสุนออก ผมคงโดนยิงเต็มๆ เพราะปากกระบอกปืนหันมาที่ผม สงสัยบุญเก่ารักษาบารมีคุณพระและหลวงปู่ช่วยกระมังเลยรอดมาได้

ที่พิมมาไม่ได้มีเจตนาโอ้อวดครับแต่เป็นการแบ่งปันประสบการณ์กัน  ใครมีประสบการณ์การก็แบ่งปันกันได้
ของแบบนี้ต้องพูดได้คำเดียวว่า ใครไม่เคยเจอกับตัวเองย่อมไม่รู้หลอกครับ ขอบคุณครับ  :054:

20
ธรรมะ / +++ กิเลส +++
« เมื่อ: 01 ส.ค. 2553, 01:52:16 »


เมื่อกิเลสยึดครองโลก

เมื่อกิเลส ไหลนอง ยึดครองโลก
  
มันสุดแสน โสโครก ที่โกรกไหล

เมื่อกระแส ไฟตัณหา ไหม้พาไป

ทิ้งซากไว้ ระเกะระกะ อนิจจัง


กลับยกย่อง ว่านั่นสิ่ง ศิวิไลซ์

ยั่วความใคร่ เพิ่มเหยื่อ แก่เนื้อหนัง

เป็นเครื่องล่อ กามา บ้าติดตัง

ทั่วโลกคลั่ง ก็ยิ่งคล้าย อบายภพ


ทั้งแก่เฒ่า สาวหนุ่ม ล้วนจมกาม

เกลียดศีลธรรมเห็นเป็นหนามระคายขบ

อาชญากรรม ลุกลาม สงครามครบ

ร้อนตลบ โลกกิเลส สังเวชจริงฯ  


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กิเลส
คำว่า กิเลส แปลว่า สิ่งที่เศร้าหมอง หรือ เครื่องทำให้เกิดความเศร้าหมอง
มีความหมาย ๓ อย่าง คือ


ให้เกิดความสกปรก หรือ เศร้าหมองอย่างหนึ่ง
ให้เกิดความมืดมิดไม่สว่างไสวอย่างหนึ่ง
ให้เกิดความกระวนกระวายไม่มีความสงบอีกอย่างหนึ่ง



เพื่อให้เข้าใจง่าย ท่านแบ่งชั้นกิเลสเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นละเอียดหรือชั้นใน
อย่างหนึ่ง, ชั้นกลางอย่างหนึ่ง, ชั้นหยาบหรือชั้นนอก อย่างหนึ่ง

ที่เป็นชั้นใน หมายถึงชั้นที่นอนนิ่งอยู่ในสันดานอย่างเงียบๆ จนกว่าจะมีอารมณ์มา
กระทบ จึงจะปรุงขึ้นเป็นกิเลสชั้นกลางที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต หรือเป็นกิเลสชั้นหยาบ
ที่ทะลุออกมาปรากฏเป็นกิริยาต่างๆ ที่ชั่วร้ายภายนอก ตัวอย่างกิเลสชั้นละเอียดที่
เป็นภายในมีชื่อเรียกว่า อกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ-ความโลภ, โทสะ-ความ
โกรธ ประทุษร้าย, โมหะ-ความหลง หรือ ที่มีชื่อเป็นอย่างอื่นอีกมากชื่อ  แต่โดย
ใจความแล้ว ได้แก่ กิเลสที่ยังสงบอยู่ภายใน จนกว่า ได้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องจน
เกิดความรู้สึกอยากได้รุนแรง รบกวนอยู่ในใจ พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความอยาก หรือ
พลุ่งพล่าน อยู่ด้วยความโกรธแค้นเกลียดชัง หรือ พลุ่งพล่านอยู่ด้วยความโง่สงสัย
กระวนกระวายอยู่ในใจ เป็นกิเลสชั้นกลางเรียกชื่อว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา. ถ้าความปรุงแต่งไม่หยุด
อยู่แต่เพียงเท่านั้น ก็จะทะลุออกมา ทางกาย ทางวาจา เป็นการกระทำด้วยเจตนา
เช่น การล่วงละเมิดในทางกาม การฆ่าเขา เบียดเบียนเขา การพูดเท็จ ตลอดจน
การดื่มน้ำเมา เป็นต้น
ซึ่งเรียกว่า กิเลสหยาบ ถ้าพิจารณากันอีกทางหนึ่ง จะเห็นได้
ว่า ตัวกิเลสที่แท้นั้น คือ กิเลสชั้นใน หรือ ชั้นละเอียดนั่นเอง ส่วนอีก ๒ ชั้นที่เหลือ
เป็นเพียงกิริยาอาการของกิเลสชั้นในที่แสดงออกมา มากกว่าที่จะเป็นตัวกิเลสเอง
แต่โดยเหตุที่ท่านเพี่งเล็งถึงตัวความเศร้าหมองมืดมัวและไม่สงบ ท่านจึงจัดกิริยา
อาการของกิเลสอย่างนั้นทั้ง ๒ ชั้น ว่าเป็นตัวกิเลสโดยตรงอีกด้วย เช่นกิริยาอาการ
ที่เรียกว่า กามฉันทะ หรือ พยาบาทนั้น ทำให้มโนทวาร หรือ ใจเศร้าหมอง และ
กิเลสในการล่วงละเมิดในกาม และการพูดเท็จ เป็นต้นนั้น ทำให้กายและวาจาเศร้า
หมอง ในทำนองเดียวกันกับที่กิเลสชั้นละเอียดได้ทำให้สันดานพื้นฐานส่วนลึกของ
ใจเศร้าหมอง ในที่สุดเราก็จะได้เป็นคู่ๆ กันดังนี้

๑. กิเลสชั้นละเอียด ทำให้สันดานเศร้าหมอง
๒. กิเลสชั้นกลาง ทำให้มโนทวารเศร้าหมอง
๓. กิเลสชั้นหยาบ ทำให้วจีทวารและกายทวารเศร้าหมอง


กิเลสชั้นละเอียด ซึ่งได้กล่าวแล้วเรียกว่า อกุศลมูล ในที่นี้ มีเพียง ๓ อย่าง แต่ใน
ที่อื่นมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น และจำแนกออกไปมากกว่า ๓ อย่าง ตัวอย่างเช่น
แทนที่จะจำแนกเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ก็จำแนกเป็น กามราคะ ปฏิฆะ ทิฎฐิ
วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา รวมเป็น ๗ อย่าง และเรียกว่า อนุสัย แต่ในที่สุด
เราก็เห็นได้ว่า กามราคะ ความกำหนัดในกาม และ ภวราคะ ความกำหนัด ใน
ความมีความเป็น ในที่นี้ ได้แก่ โลภะ หรือ ราคะ นั่นเอง ปฏิฆะ ในที่นี้ ก็คือ โทสะ
นั่นเอง ส่วน ทิฎฐิ วิจิกิจฉา มานะ อวิชชา ทั้ง ๔ อย่างนี้ สรุปลงรวมได้ในโมหะ
จึงยังคงเหลือเพียง โลภะ โทสะ โมหะ อยู่นั่นเอง แม้จะจำแนกให้มากออกไปกว่า
นี้ เช่น เป็น สังโยชน์ ๑๐ ก็ทำนองเดียวกัน คือ อาจจะย่นให้เหลือ เพียง ๓ ได้
ดังกล่าว หากแต่ว่า เป็นเรื่องละเอียดเกินภูมิ ของผู้เริ่มศึกษา จะงด ไม่กล่าวถึง



คัดจาก หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ  
คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐  
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ความรู้จากเวป http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/kires.html
กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ  :054:

21
ธรรมะ / บุญ กับ กุศล
« เมื่อ: 30 ก.ค. 2553, 01:51:04 »


เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียกว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย
แล้วแต่ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่า โดยเนื้อแท้แล้ว
บุญ กับ กุศล ควรจะเป็น คนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม
ตามความหมาย ของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำ นี้ทีเดียว

คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น,
ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมาย
เช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง


บุญ เป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจพอใจชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม
แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือ แม้ที่สุดแต่รู้สึกว่า ตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก
ในกรณีที่
ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ ก็ได้ชื่อว่า ได้บุญ เหมือนกัน แม้จะ
เป็น บุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เพื่อเอาบุญกันจริงๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่า ตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์
มีความปรารถนาอย่างนั้น อย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่
การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ ตนจะปรารถนา ไม่ออก
ไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสาร ได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ
อย่างไรก็ตาม ฉะนั้น ความหมายของคำว่า บุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจ
และ เวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้

ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง
ไม่ข้องแวะ กับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง
สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพัน อยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้ เกิดแล้ว
เกิดอีก
และมีจุดมุ่งหมาย กวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว ในเมื่อบุญต้องการ
โอบรัด เข้ามาหาตัว ให้มีเป็น ของของตัว มากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถือ
อะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น  ฝ่ายที่ถือข้างกุศล ก็เห็นว่า การทำอย่างนั้น
เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไป กอดรัดงูเห่า ทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า
ฉลาด นั้น ต้องการจะ ปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่น ให้ปล่อยวาง หรือ
ผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญนั้น ยังเป็นความมืดบอดอยู่

แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ
ทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้
เข้าใจกันง่ายๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่างๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริงๆ คือ
ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทน เป็นกำไร
หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่ เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้
เรียกว่า ให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ แต่ถ้าให้ทาน อย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ
เพื่อขูดความขี้เหนียว ของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนา เอาไว้
เพราะเห็นว่า ศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ ของโลก หรือ ให้เพราะ เมตตาล้วนๆ
โดยบริสุทธิ์ใจ หรืออำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า
ให้ไปเสีย มีประโยชน์มากกว่าเอาไว้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทานเอากุศล หรือได้กุศล
ซึ่งมันแตกต่างๆ ไปคนละทิศ ละทางกับการให้ทานเอาบุญ เราจะเห็นได้กันสืบไป
อีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน
จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่นๆ เช่น มีคน
ขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์
ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง
พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะ
ให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่า
ควรให้ ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูปละโมบบุญหรือเมาบุญ เพราะว่ากุศล
ไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือ
ผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ
ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร

ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จัก
ความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวด
เพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่ นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้
หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น
ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้น เท่านั้น
ยิ่งมีความ
ยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ เพราะ ความเคร่งครัด
ในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ ส่วนบุคคลอีกประเภท
หนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความ
บริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญา
ชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล รักษามีจำนวน เท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัด
เดียวกัน แต่กลับเดินไป คนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะ แห่ง
ความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล คำว่า กุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็
ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ และกินเข้าไป มากเท่าไร
ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ ในขณะที่ คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น คำว่า
กุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และ ปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์

ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญ ก็ได้ เอากุศลก็ได้
สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ ที่โลกอื่น ตามที่ ตนกระหาย จะทำให้
 เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิ เพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า
สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมัน
นั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้อง รับการรักษา
เป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หาย จนตลอดชีวิต ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้
มีตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน
แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสาร
ตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน ส่วนสมาธิ ที่มีความมุ่งหมาย
เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้
ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมา ในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส เป็น
ทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึง
ตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ

ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัว
ปัญญานั้น เป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์
อย่างเดียว แม้ยังจะต้อง เกิดในโลกอีก เพราะยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความ
รู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน
จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า
ปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทาง
อาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น

ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริง ที่เกี่ยวกับ การกระทำ ของพวกเราเอง
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลงเอา
บุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวง
เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสน
อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา
ของสองอย่างนี้ เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า
"บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ
การทำบุญกุศล นี้  ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสาน ก็ได้

ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงาม หรือ
ปรากฏ หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมา และงอกงามสืบไปอีก


ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัด รากเหง้าของบาป อยู่เรื่อยไป จนมันเหี่ยวแห้ง
สูญสิ้นไม่มีเหลือ ความต่างกัน อย่างยิ่ง ย่อมมีอยู่ ดังกล่าวนี้


คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล
และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น
และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใดจึงจะชื่อว่า
พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้า และ
ทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกัน
ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย

คัดจาก หนังสือ ชุมนุมข้อคิดอิสระ พุทธทาสภิกขุ  
พิมพ์ ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ขอบคุณที่มากจากเวป http://www.buddhadasa.com/freethinkbook/boonkusol.html


กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุด้วยครับ สาธุ   :054:

22
ในวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2553 ครบรอบวันเกิดท่าน เสน่ห์กวาง


เอ็ม ก็ขออวยพรให้กวางล่วงหน้านะ ขอให้มีความสุขมากๆ รวยๆๆ โชคดีมีความสุข ไม่เจ็บไม่จน

สุขสันต์วันเกิดนะครับ H B D  ... แล้ววันที่ 12 สิงหาพบกัน
 


23
ธรรมะ / พรหมวิหาร 4
« เมื่อ: 29 ก.ค. 2553, 04:34:33 »
ความหมายของพรหมวิหาร 4- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย


คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์


3. มุทิตา :
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html

24
ธรรมะ / มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )
« เมื่อ: 29 ก.ค. 2553, 04:31:12 »
มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์
.....เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับ
.....ตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือด
.....แห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสาย
.....กลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว


..........คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์
.....ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
.....อำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
.....ฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-
1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกัน
.....แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและ
.....ทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็น
.....การเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง
.....คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร
.... อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิท
.....ของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้
.....อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่
.....และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น
เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
 สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว
.....ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การ
.....ไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อ
.....ความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์  
 .สัมมาวาจา (ศีล)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมากัมมันตะ (ศีล)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาอาชีวะ (ศีล)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
 .สัมมาวายามะ (สมาธิ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทาง
.....ดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
 .สัมมาสติ (สมาธิ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอด
.....อวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อ
.....พบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
 .สัมมาสมาธิ (สมาธิ)
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็น
.....อาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา
.....ทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้
.....แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ


องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา
.....สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล
.....เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับ
.....มรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ
..... ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิก
.....อยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกัน
.....เป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของ
.....ตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วน
.....องค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้
.....กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคี
.....พร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรม
.....ยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า

ขอบคุณที่มาขากเวป http://www.learntripitaka.com/scruple/muck8.html#muck

25


อนุโมทนากับทุกท่าน ล่วงหน้าเลยนะครับ  :054:

26
ธรรมะ / +++ ตัณหา ๓ +++
« เมื่อ: 21 ก.ค. 2553, 05:16:32 »
ตัณหา ๓

ขอให้รู้จักความอยาก โดยความหมาย มีสองชนิด ในภาษาไทย
อย่างนี้ ในภาษาบาลี ถ้าจะเรียกว่า กิเลสตัณหา หรือ ความโลภ
แล้ว ต้องเป็น เรื่องที่มาจากอวิชชา ถ้ามาจากวิชชา ก็เรียกเป็น
อย่างอื่น เรียกว่าเป็น ความปรารถนา หรือ ความต้องการ หรือ
ความขยัน ขันแข็ง ในหน้าที่การงาน ไปเสียทางโน้น ไม่ได้เป็น
เหตุ ให้เกิดความทุกข์ แต่ว่ากลับเป็น สิ่งที่จะทำลายความทุกข์
ความต้องการที่มันมีถูกต้อง แทนที่จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
กลายเป็นเรื่องจะดับความทุกข์ ความอยาก ในภาษาไทย
ภาษากำกวม เพราะว่า เราไม่มี ความหมาย รัดกุม เหมือน
ภาษาบาลี ให้รู้กันไว้อย่างนี้

กามตัณหา

นี้อย่างที่หนึ่ง อยากในกาม กามตัณหา ก็ด้วยความโง่ ความหลง
ความยึดมั่น ถือมั่น ด้วยอวิชชา จึงอยากในกาม มันก็เร่าร้อน
ตั้งแต่เริ่มอยาก แล้วก็เริ่มประพฤติ ปฏิบัติ กระทำลงไป แต่ข้อนี้
สำหรับ ฆราวาสทั่วไป เขาก็มิได้หมายความว่า จะไม่ต้องเกี่ยว
ข้องกับกาม เพราะคำว่า กาม มีความหมาย หลายอย่าง, กาม
เรื่องเกี่ยวกับเพศ เพศหญิง เพศชาย นี้ก็กาม นี้ส่วนที่มันเนื่อง
กัน ไม่ถึงขนาดนั้น ก็ยังเรียกว่า กาม เช่น ชอบอาหารเอร็ดอร่อย
ชอบเสียงไพเราะ แม้ยังไม่เกี่ยวกับเพศ ก็ยังเรียกว่า กาม
เหมือนกัน เพราะมันเนื่องกัน โดยส่วนลึก

ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วย คือ ไปอยากด้วยความโง่ ความหลงอะไร
มันก็เกิดสิ่งเร่าร้อน หรือเป็นทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าต้องไปเกี่ยวข้อง
ด้วย สติสัมปชัญญะ ก็มีความเป็นกามน้อยลง แม้เรื่องเพศ ที่จะ
ประกอบกิจกรรมทางเพศ ด้วยความรู้สึก ที่เป็นหน้าที่ของฆราวาส
แล้วก็ทำไปด้วย สติสัมปชัญญะ อย่างนี้ ความที่เรียกว่า เป็นกาม
มันก็น้อยลง มันก็มีความเป็น กามตัณหา น้อยลง ถ้าสมมติว่า
บริสุทธิ์ใจจริงๆ ในการที่จะทำเพียง หน้าที่ เพื่อการสืบพันธุ์ ล้วนๆ
ถ้ามันเป็นสิ่งที่ ปฏิบัติได้ มันก็ไม่ถึงกับจัดว่า เป็นกาม มันกลาย
เป็นหน้าที่ ไปก็ได้ แต่ตามปกติ ไม่มีใครทำได้ เพราะว่าธรรมชาติ
มันลึกกว่า มันลึกซึ้งกว่า มันใส่กาม ไว้กับการสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่
ไม่ค่อยมีใคร ชอบทำกันนัก แต่โดยเหตุ มันเอากาม มาจ้าง เอา
ความรู้สึก ทางกามนี้ มาจ้างให้ สัตว์ทั้งหลาย ทำหน้าที่สืบพันธุ์
มันยุ่งยาก ลำบาก เท่าไร มันก็ยอมทน

นี้ถ้าเราไปโง่ ไปหลงกินเหยื่อ ของธรรมชาติ อันนี้เข้า มันก็เกิด
ความทุกข์ จากสิ่งที่เรียกว่า กามตัณหา เมื่อคนยังมี อวิชชา อยู่
มันก็ต้องโง่ ก็ต้องตกเป็นเหยื่อ ของสิ่งนี้  เป็นทาสของอวิชชา
เป็นทาสของตัณหา แล้วคนยอมลำบาก ให้สิ่งที่เรียกว่า ตัณหา
โดยเฉพาะกามตัณหานี้ เคี้ยวกิน ภาษาบาลีเขาใช้คำว่า เคี้ยวกิน
คือ คนมันเป็นทาส ของกามตัณหา ยอมทนลำบาก นานาประการ
เพื่อจะให้ได้มา นี้คือสิ่งที่เรียกว่า กามตัณหา หมายถึง เรื่องเพศ
โดยตรง

สิ่งที่เป็นอุปกรณ์ทางเพศ ความไพเราะ สนุกสนาน เอร็ดอร่อย
แม้ไม่เกี่ยวกับเพศ โดยตรง มันก็เป็นกาม นี้ไปเกี่ยวกับเพศ
โดยตรง แล้วยิ่งเป็นกาม อย่างยิ่ง นี้อย่างที่หนึ่ง เรียกว่า
กามตัณหา

ภวตัณหา

อย่างที่สอง ก็คือว่า อยากเป็น ความเป็นอย่างไรที่น่าเป็น
เรียกว่า ภ.สำเภา ว.แหวน ภวตัณหา คือภพ แปลว่า เป็น
ภวตัณหา แปลว่า อยากเป็น นี่ก็อยาก ด้วยอวิชชา อีกเหมือนกัน
อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ที่มันยั่วกิเลส ยั่วความอยาก บางทีมันก็ปนเป
กับกามตัณหา เช่น อยากเป็นหญิง อยากเป็นชาย อยากเป็นนั่น
เป็นนี่ ที่มันไปเกี่ยวกับทางเพศ ก็มี อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยาก
มีหน้ามีตา อยากเป็นผู้มีชื่อเสียง อยากเป็นผู้มีอำนาจวาสนา

ถ้าทำไปด้วยความโง่ ของอวิชชา มันก็รุนแรง แล้วเป็นภวตัณหา
แล้วก็เกิดทุกข์ แต่ถ้าเรามี ความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี มีวิชชา เช่นว่า
เป็นนักศึกษา อย่างที่นั่งอยู่นี้ ก็อยากจะเป็น นักศึกษาที่ดี ที่ถูกต้อง
ตรงตามความหมาย อย่างนี้ก็ไม่ใช่ตัณหา ไม่ใช่ภวตัณหา เพราะ
มันไม่ได้ทำไป ด้วยอวิชชา ทำไปด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญา
อยากเป็นนักเรียนที่ดี อยากเป็นนักศึกษาที่ดี แม้ที่สุด แต่ว่าอยาก
จะเป็น พ่อบ้าน แม่เรือน ที่ดี ถ้ามันไม่ได้ทำไป ด้วยความโง่ ด้วย
อวิชชา ด้วยความไม่รู้เท่า ในสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ไม่ถูกจัดเป็นตัณหา
แต่เป็นความปรารถนา ความต้องการ ที่ควรจะปรารถนา ฉะนั้น
ขอให้มัน แน่ลงไปทีว่า มันอยากด้วยวิชชา หรือ อยากด้วยอวิชชา

แล้วก็อย่าลืม อย่างเดียวกันอีก เชื่อว่า คนบางพวก อาจารย์บาง
หมู่ เขาสอนกันลงไปตรงๆเลย ขึ้นชื่อว่า ความอยากแล้ว เป็น
กิเลสตัณหา ไปหมด นี้ผมไม่ถืออย่างนั้น ไม่เข้าใจอย่างนั้น
หลังจากที่ได้ศึกษา มาถึงป่านนี้แล้ว ไม่ทำให้เข้าใจอย่างนั้น
ถ้าเผื่ออยากเป็นอะไร ให้มันดีขึ้นไป ให้มันถูกต้อง ให้มันสำเร็จ
ประโยชน์ ด้วยการรู้สึกตัวนี้ ไม่เรียกว่า ตัณหา

ยกตัวอย่าง เช่นว่า อยากเป็นเทวดานี้ มันก็อยากด้วยอวิชชา
ถ้าไปพิจารณาดูให้ดี แล้วเทวดานี้ มันไม่น่าเป็นดอก แล้วมัน
ก็ไม่อยาก เองแหละ ก็มันมีอะไรที่น่าเป็น ที่ควรจะเป็น มีความ
รู้สึกผิดชอบชั่วดี พิจารณาดูแล้ว มันควรจะเป็น หรือควรจะรับ
หน้าที่ อันนั้น มันก็เป็นได้ โดยไม่ต้องเป็นตัณหา อย่างจะเป็น
อาจารย์อย่างนี้ เป็นตัณหาก็ได้ ไม่เป็นตัณหาก็ได้ มันแล้วแต่
ความอยากนั้น มีมูลมาจากอะไร จากความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ถูกต้องสมบูรณ์นี้ มันก็ไม่ต้องเป็นตัณหา หรือถ้ายิ่งไปกว่านั้น
อยากจะเป็น ผู้ครองบ้าน ครองเมือง ก็ต้องรู้โดย หลักเกณฑ์
อันเดียวกัน ถ้าทำไปด้วยความโลภ ด้วยความโง่ ด้วยความหลง
ด้วยความยึดมั่น มันแล้ว มันก็เป็น ตัณหาทั้งนั้น แล้วก็เป็น
ความทุกข์ แต่ถ้าเป็นความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี มีเหตุผล มีความ
ลืมหูลืมตา มีสติสัมปชัญญะอยู่ รู้ว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องช่วยเหลือ
เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อย่างนี้ ไม่เป็นตัณหา ไม่เป็นกิเลสตัณหา

แต่แล้ว มันก็หายากนะ หาโอกาสยากนะ หรือว่า เขาสมมติว่า
พระพุทธเจ้า ท่านตั้งความปรารถนา ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า นี้
ด้วยเหตุผลอย่างนั้นๆ ตามที่มีอยู่ในพระคัมภีร์ อย่างนี้จะเรียก
ว่า เป็นตัณหาไม่ได้ มันเป็นความปรารถนา แม้จะทำรุนแรง
เป็นการอธิษฐานจิต ตั้งสัจจาทิฎฐาน อะไรนี้ ก็ไม่เป็นตัณหา
ได้ เพราะทำได้ ด้วยความรู้สึก ผิดชอบชั่วดี ของวิชา ของสติ
สัมปชัญญะ การที่อยากเป็นอะไร ด้วยความลุ่มหลง ในผลของ
การที่จะได้เป็นแล้ว มันก็เป็นตัณหา

วิภวตัณหา

นี้มาถึง อันที่สาม ก็เป็น วิภวตัณหา อยากไม่เป็น อยากไม่เป็น
อย่างนั้น อยากไม่เป็นอย่างนี้ กระทั่ง อยากไม่เป็น เสียเลย ไม่
เป็นอยู่เลย เช่น อยากตาย เป็นต้น พวกอยากเป็นนั่น เป็นนี่ มัน
อาศัย สัสสตทิฎฐิ ยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นอยู่ อย่างเที่ยงแท้
ถาวร พอมาถึงตอนนี้ มันเกิด อุจเฉททิฎฐิ เชื่อว่าต้องขาดสูญ
หรือไม่ได้เป็นอยู่ อย่างถาวร อุจเฉททิฎฐิ นี้ มันชักจูงตัณหา
ให้เกิด ภวตัณหา ไม่อยากเป็น ไม่อยากเป็นนั่น ไม่อยากเป็นนี่
ก็ด้วยความโง่ ไม่ใช่ไม่อยากเป็น ด้วยความรู้ที่ถูกต้อง มันไม่
อยากเป็น ด้วยความโง่ ความเอือมระอา ความอะไรที่เป็นความ
โง่ จนกระทั่ง อยากตาย แล้วก็ฆ่าตัวตาย เป็นต้น นี้ผู้ที่จะ
ปราศจากตัณหาแล้ว ก็จะไม่มี ความอยากอย่างนี้ ความอยาก
ไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ นี้ก็เร่าร้อน เหมือนกันแหละ

คุณลองสังเกตดู เมื่อรู้สึกว่า เราไม่ได้อะไร อย่างอก อย่างใจ
มันก็เดือดร้อน แล้วก็เป็นทุกข์ ฉะนั้นอย่าได้มี ตัณหาสามอย่าง
นี้ แล้วก็ไม่มีทุกข์ ชนิดที่ระบุไปว่า ตัณหาสามอย่างนี้ เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์

ทีนี้ ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป พระพุทธเจ้าท่านตรัส ระบุตัณหาไว้ว่า
โปโนพฺภวิกา นนฺทิราค สหคตา ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี นี่ นันทิราคะ
สะหะคะตา นี้คือ กามตัณหาโดยตรง แล้วก็ปัญหานอกนั้น โดย
อ้อมก็ได้ ตัตตร ตัตตราภินันทิ นันทินี นี้มันหลงใหล เคลิบเคลิ้ม
อยู่ในสิ่งนั้นๆ แล้วก็มีคำว่า โปโนพฺภวิกา เป็นไปเพื่อให้เกิดภพ
ใหม่ เกิดชาติใหม่นี่ พอเราอยาก มีตัณหาขึ้นมาแล้ว เราจะ
รู้สึกว่า เราอยาก เราผู้อยาก ฉันอยาก กูอยาก อะไรก็เดือด
พล่านอยู่นี้ นี่เรียกว่า เกิดตัวกูตัวใหม่ขึ้นมา หลังจากเกิดความ
อยากอย่างนี้ก็เรียก่า โปโนพฺภวิกา ได้ เมื่อเราอยู่เฉยๆ เรา
ไม่รู้สึกว่า มีตัวเรา หรือ เราตัองการอะไร แต่พอมีการกระทำ
ให้เกิดความอยากแล้ว หลังจากความอยากแล้ว ต้องเกิดความ
ยึดถือ เป็นอุปาทานแล้ว ตัวกูนี้ จะเอาให้ได้ คือตัวกูมันอยาก
มันจึงเห็นได้ชัดว่า ตัณหานี้ มันเป็นเหตุ ให้เกิดตัวกู คือ ชาติ
แห่งตัวกู อันใหม่ขึ้นมา เกิดอย่างนี้บ่อยๆ บ่อยๆ ก็คือ ใหม่
เรื่อยไปทุกที อันนี้จะเห็นชัดในเรื่องของ ปฏิจจสมุปบาท

นี้ผมพูดโดยอริยสัจจ์เล็ก ว่า เหตุให้เกิดทุกข์นั้น คือ ตัณหา
สามประการ สรุปโดยย่อว่า ความอยากที่มาจากอวิชชา ไม่รู้
ตามที่เป็นจริง มันก็อยาก ไปในรูปของกาม เรื่องเพศบ้าง ถ้า
อยาก ไปในเรื่องของภพ คือ เป็นนั่นเป็นนี่ แม้ไม่เกี่ยวกับ
กามบ้าง แล้วเป็นวิภพ คือ ไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่.

กราบมนัสการ หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ
ที่มาจากเวปhttp://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tanha62.html

27
ธรรมะ / วิธีแก้ไข นิวรณ์ 5 ........
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2553, 01:31:40 »
นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป  ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ  อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที   ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

๏ วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5
เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน

พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด

เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย

เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้

มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น

คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ

พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น

คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ

หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย

ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย
ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ  จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ  ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง  หลับตาปี๋  เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด   กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด

ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้

*** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น

*** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่

*** ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน

*** เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย
พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป

ขอบคุณข้อมูลจากเวป http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate01.php


28
อิทธิบาท ๔
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม
เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้อง
ทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น


ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้
ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึงการการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอนเป็นระยะยาว
จนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้น ไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น
วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ
อยู่ด้วยอย่างเต็มที่


วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่

บุคคลเมื่อประกอบด้วย คุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่
ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียก
ว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่น นอกนั้นไป ถือว่าเป็น เรื่องพิเศษ และ ไม่มี ขอบขีดจำกัด
เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องนอกเหนือ วิสัยธรรมดา อยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่า คนเรา
อาจมีอายุยืน ถึงกัลป์ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้มิได้มีความหมาย
ขัดกัน ในข้อที่ว่า อิทธิบาท ๔ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่
มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถ เจริญอิทธบาทให้มากถึงเท่านั้นได้หรือไม่ ต่าง
หาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า หลักเกี่ยวกับอิทธิบาท นี้ คงมีความหมาย ไปตาม
ตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆว่าวิสัยของใคร
ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลังของอิทธิบาทนั้น
แม้ในสิ่งที่บางคน ถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน

ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปเตยย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย
วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น
ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่
เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่
หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท
นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา
สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่ง
การกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความ
สำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การ
ประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดย
เท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้
บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวด
หนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลาย

นี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็น เครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้ โดย
ปราศจากอุปสรรค ตั้งแต่ต้น จนถึง จุดหมายปลายทาง

กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ คัดลอกมาจากเวป http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/itibath4.html

29
ธรรมะ / +++ ความกลัว ++++
« เมื่อ: 19 ก.ค. 2553, 05:13:57 »
ความกลัว
ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง
ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ
หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน

ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ
ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต

เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่
หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา
แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป

ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด
แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราวที่ตนรับ
เข้าไว้ในสมอง

วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัวกันเป็นส่วนมากนั้น
โดยมากหาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็นเพียงสิ่งที่ใจสร้างขึ้น
สำหรับกลัวเท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรากลัวนาน
หรือ มากเท่าสิ่งที่ใจสร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราวลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก

บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป
เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่องของมัน
และผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ทรมานจิตของมนุษย์
มากเท่าเรื่องหลอกๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง

เด็กๆ หรือคนธรรมดา เดินผ่านร้านขายโลง ซึ่งยังไม่เคย ใส่ศพเลย
ก็รู้สึกว่า เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่ อวมงคล เสียจริงๆ
เศษกระดาษ ชนิดที่เขา ใช้ปิดโลง ขาดตก อยู่ในที่ใด
ที่นั้น ก็มี ผี สำหรับเด็กๆ

เมื่อเอาสีดำ กับกระดาษ เขียนกันเข้า เป็น รูปหัวกระโหลก ตากลวง
ความรู้สึกว่าผี ก็มาสิง อยู่ใน กระดาษ นั้นทันที

เอากระดาษฟาง กับกาวและสี มาประกอบกัน เข้าเป็น หัวคนป่า ที่น่ากลัว
มีสายยนต์ ชักให้แลบลิ้น เหลือกตา ได้ มันก็พอที่ทำให้ใคร ตกใจเป็นไข้ได้
ในเมื่อนำไปแอบ คอยที่ชักหลอกอยู่ในป่า หรือที่ขมุกขมัว
และแม้ที่สุด แต่ผู้ที่เป็นนายช่าง ทำมันขึ้นนั่นเอง ก็รู้สึกไปว่า
มันมิใช่กระดาษฟาง กับกาวและสี เหมือนเมื่อก่อน เสียแล้ว
ถ้าปรากฏว่า มันทำให้ใคร เป็นไข้ ได้สักคนหนึ่ง

เราจะเห็นได้ ในอุทาหรณ์ เหล่านี้ ว่า
ความกลัวนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยสัญญาในอดีตของเราเอง ทั้งนั้น
เพราะปรากฏว่า สิ่งนั้นๆ ยังมิได้เนื่องกับผีที่แท้จริง แม้แต่นิดเดียว และ

สิ่งที่เรียกว่า ผี ผี , มันก็ เกิดมาจากกระแส ที่เต็มไปด้วย อานุภาพอันหนึ่ง
อันเกิดมาจาก กำลังความเชื่อแห่งจิต
ของคนเกือบทั้งประเทศ หรือ ทั้งโลก เชื่อกันเช่นนั้น
อำนาจนั้นๆ มัน แผ่ซ่าน ไปครอบงำจิตของคนทุกคน
ให้สร้าง ผีในมโนคติ ตรงกันหมด
และทำให้เชื่อ ในเรื่องผี ยิ่งขึ้น และผีก็มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้

จนกว่าเมื่อใด เราจะหยุดเชื่อเรื่องผี หรือ เรื่องหลอก นี้กันเสียที ให้หมดทุกๆ คน
ผีก็จะตายหมดสิ้นไปจากโลกเอง จึงกล่าวได้ว่า
ความกลัวที่เรากลัวกันนั้น เป็นเรื่องหลอก ที่ใจสร้างขึ้นเอง
ด้วยเหตุผล อันผิดๆ เสียหลายสิบเปอร์เซ็นต์

ความกลัว เป็นภัยต่อความสำราญ เท่ากับความรัก โกรธ เกลียด หลงใหล และอื่นๆ
หรือบางที จะมากกว่าด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า
ธรรมชาติ ได้สร้างสัญชาตญาณ อันนี้ให้แก่สัตว์ ตั้งแต่ เริ่มออกจากครรภ์ ทีเดียว,
ลูกนก หรือ ลูกแมว พอลืมตา ก็กลัวเป็นแล้ว แสดงอาการหนี
หรือป้องกันภัย ในเมื่อเราเข้าไปใกล้

เด็กๆ จะกลัวที่มืด หรือการถูกทิ้ง ไว้ผู้เดียว
ทั้งที่ เขายังไม่เคย มีเรื่องผูกเวร กับใครไว้
อันจะนำให้กลัวไปว่า จะมีผู้ลอบทำร้าย
เพียงแต่ผู้ใหญ่ ชี้ไปตรงที่มืด แล้วทำท่ากลัว ให้ดูสักครั้งเท่านั้น
เด็กก็จะกลัว ติดอยู่ในใจไปได้นาน
คนโตแล้วบางคน นั่งฟังเพื่อนกันเล่าเรื่องผีเวลากลางคืน
มักจะค่อยๆ ขยับๆ จนเข้าไป นั่งอยู่กลางวง โดยไม่รู้สึกตัว
และยังไปนอนกลัว ในที่นอนอีกมาก กว่าจะหลับไปได้

เดินผ่านป่าช้าโดยไม่รู้ เพิ่งมารู้และกลัวเอาที่บ้านก็มี
สำหรับบางคน ทั้งหมดนี้ เป็น เครื่องแสดงว่า
ความกลัว เป็นเรื่องของจิต มากกว่า วัตถุ
ผู้ใด ไม่มี ความรู้ ในการควบคุม จิตของตน ในเรื่องนี้
เขาจะถูกความกลัวกลุ้มรุมทำลายกำลังประสาท
และความสดชื่นของใจเสียอย่างน่าสงสาร

ในทำนอง ตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่มีอุบายข่มขี่ความกลัว
ย่อม จะได้รับ ความผาสุก มากกว่า มีกำลังใจ เข้มแข็งกว่า
เหมาะที่จะเป็น หัวหน้าหมู่ หรือ ครอบครัว

เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว
บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป
เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า
ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น
เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป
เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยววิธีต่างๆ กัน

แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ

๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย

ในประการต้น อันเราอาจเห็นได้ทั่วไป คือ วิธีของ เด็กๆ ที่เชื่อตะกรุด หรือ
เครื่องราง ฯลฯ ตลอดจน พระเครื่ององค์เล็ก ที่แขวนคอ
และเป็นวิธีของผู้ใหญ่บางคน ที่มีความรู้สึกอยู่ในระดับเดียวกับเด็กด้วย

คนในสมัยอนารยะ ถือภูเขาไฟ ต้นไม้ ฟ้า หรือ สิ่งที่ตนเห็นว่า มีอำนาจน่ากลัว
ควรถือเอา เป็นที่มอบกายถวายตัว ได้อย่างหนึ่ง นี่ก็อยู่ในประเภทเดียวกัน
ที่ยังเหลือมาจนทุกวันนี้ เช่น พวกที่บนบานต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น
เพื่อความเบาใจของตน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
วิธีนี้ เป็นผลดีที่สุด ได้ตลอดเวลา ที่ตน ยังมีความเชื่อมั่นคงอยู่
ความเชื่อที่เป็นไปแรงกล้า อาจหลอกตัวเอง
ให้เห็นสิ่งที่ควรกลัวกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวไปก็ได้
ถ้าหากจะมีอุบายสร้างความเชื่อชนิดนั้น ให้เกิดขึ้นได้มากๆ

เมื่อใดความเชื่อหมดไป หรือมีน้อย ไม่มีกำลังพอที่จะหลอกตัวเองให้กล้าหาญแล้ว
วิธีนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ กลายเป็นของน่าหัวเราะเท่านั้น

เล่ากันมาว่า เคยมีคนๆ หนึ่ง อมพระเครื่อง เข้าตะลุมบอน ฆ่าฟันกัน
เชื่อว่า ทำให้อยู่คง ฟันไม่เข้า เป็นต้น ดูเหมือนได้ผล เป็นที่น่าพอใจ เขาจริงๆ
ขณะหนึ่ง พระตกจากปากลงพื้นดิน ในท้องนา
ตะลีตะลานคว้าใส่ปากทั้งที่เห็นไม่ถนัด
แทนที่ จะได้พระ กลับเป็นเขียดตัวหนึ่ง เข้าไปดิ้นอยู่ในปาก
ก็รบ เรื่อยไป โดยยิ่งเชื่อมั่นขึ้นอีกว่า พระในปาก แสดงปาฏิหาริย์
ดิ้นไปดิ้นมา เมื่อเลิกรบ รีบคายออกดู เห็นเป็นเขียดตาย
ก็เลยหมดความเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา
ไม่ปรากฏว่า พระเครื่ององค์ใด ทำความพอใจ ให้เขาได้อีก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า วิธีนี้ ไม่ใช่ ที่พึ่ง อันเกษม คือ
ทำความปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริง
ไม่ใช่ วิธีสูงสุด, เนตํ สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

ประการที่สอง สูงขึ้นมาสักหน่อย พอที่จะเรียกได้ว่า
อยู่ในชั้นที่จัดว่า เป็นกุศโลบาย
หลักสำคัญอยู่ที่ส่งความคิดนึก ของใจไปเสียที่อื่น

ซึ่งจะเป็นความรักใครที่ไหน โกรธใครที่ไหน เกลียดใครที่ไหน ก็ตาม
หรือหยุดใจเสียจากความคิดนึก ทุกอย่าง (สมาธิ) ก็ตาม เรียกว่า
ส่งใจไปเสียในที่อื่น คือจากสิ่งที่เรากลัวนั้นก็แล้วกัน
ที่เราเห็นกันได้ทั่วไป เช่น กำลังเมารัก บ้าเลือด เหล่านี้เป็นต้น
จะไม่มีความกลัวผี กลัวเสือ กลัวเจ็บ
แม้เรื่องราวในหนังสือข่าวรายวัน ก็เป็นพยาน ในเรื่องนี้ได้มาก
แต่เรื่องชนิดนี้ เป็นได้โดย ไม่ต้องเจตนา ทำความรู้สึก เพื่อส่งใจไปที่อื่น
เพราะมันส่งไปเองแล้ว ถึงกระนั้น
ทุกๆ เรื่อง เราอาจปลูกอาการเช่นนี้ขึ้นได้ในเมื่อต้องการ
และมันไม่เป็นขึ้นมาเอง การคิดนึกถึงผลดีที่จะได้รับ คิดถึงสิ่งที่เรารักมาก
จนใฝ่ฝัน คิดถึง ชาติประเทศ คิดถึงหัวหน้าที่กล้าหาญ ดูสิ่งที่ยั่วใจให้กล้า เช่น
ระเบียบให้มองดู ธงของผู้นำทัพ ในเมื่อตนรู้สึกขลาด
อันปรากฏอยู่ในนิยาย เทวาสุรสงคราม ในพระคัมภีร์ เป็นต้น
เหล่านี้ ล้วน แต่ช่วยให้ใจแล่นไปในที่อื่น จนลืมความกลัว ได้ทั้งนั้น ในชั้นนี้
พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ระลึกถึงพระองค์
หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในเมื่อภิกษุใดเกิดความกลัวขึ้นมา ในขณะที่ตนอยู่ในที่เงียบสงัด
เช่นในป่าหรือถ้ำ เป็นต้น
อาการเช่นนี้ทำนองค่อนไปข้างสมาธิ แต่ยังมิใช่สมาธิแท้ทีเดียว
แต่ถ้าหากว่า ผู้ใดแม้ระลึกถึง พระพุทธองค์ก็จริง แต่ระลึกไปในทำนองเชื่อมั่น
มันก็ไปตรงกันเข้ากับประการต้น คือความเชื่อ เช่น
เชื่อพระเครื่อง หรือคนป่าเชื่อปู่เจ้าเขาเขียว
ต่อเมื่อระลึก ในอาการเลื่อมใสปิติในพระพุทธคุณ เป็นต้น
จึงจะเข้ากับประการที่สองนี้

ส่วนอาการที่สงบใจไว้ด้วยสมาธินั้น เป็นอุบายข่มความกลัว ได้สนิทแท้
เพราะว่า ในขณะแห่งสมาธิ ใจไม่มีการคิดนึก อันใดเลย
นอกจากจับอยู่ที่สิ่งซึ่งผู้นั้น ถือเอาเป็นอารมณ์ หรือนิมิต
ที่เกาะของจิตอยู่ในภายในเท่านั้น

แต่ว่าใจที่ เต็มไป ด้วยความกลัว ยากที่จะเป็นสมาธิ
เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสมาธิ ที่ชำนาญ อย่างยิ่งจริงๆ
จนเกือบกลายเป็นความจำอันหนึ่งไป พอระลึกเมื่อใด
นิมิตนั้นมาปรากฏเด่นอยู่ที่ "ดวงตาภายใน" ได้ทันที
นั่นแหละ จึงจะเป็นผล แม้ข้อที่ พระองค์สอนให้ระลึกถึงพระองค์
หรือพระธรรม พระสงฆ์ ตามนัยแห่งบาลี ธชัคคสูตรนั้น ก็หมายถึง
พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อยู่แล้ว
แม้ว่าจะเป็นเพียง อุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงขึดฌาณก็ตาม
ล้วนแต่ต้องการความชำนาญ
จึงอาจเปลี่ยนอารมณ์ที่กลัวให้เป็นพุทธานุสสติ เป็นต้นได้

ส่วนสมาธิ ที่เป็นได้ถึงฌาณ เช่น พรหมวิหาร เป็นต้น
เมื่อชำนาญแล้ว สามารถที่จะข่มความกลัว ได้เด็ดขาดจริงๆ
ยิ่งโดยเฉพาะ เมตตา พรหมวิหาร ยิ่งเป็นไปได้ง่ายที่สุด

แต่พึงทราบว่า ทั้งนี้เป็นเพียงข่มไว้เท่านั้น เชื้อของความกลัว ยังไม่ถูกรื้อถอนออก
เมื่อใดหยุดข่ม มันก็เกิดขึ้นตามเดิม อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่วิธีที่ง่ายสำหรับคนทั่วไป
สำหรับการข่มด้วยสมาธิ
คนธรรมดาเหมาะสำหรับเพียงแต่เปลี่ยนเรื่องคิดนึกของใจเท่านั้น 
หาอาจทำ การหยุด พฤติการของจิต ให้ชะงักลงได้ง่ายๆ เหมือน นักสมาธิไม่
และค่อนข้าง จะเป็นการแนะให้เอา ลูกพรวน เข้าไปแขวนผูกคอแมวไป
ในเมื่อสอนให้ คนธรรมดาใช้วิธ๊นี้

และน่าประหลาดใจอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีที่สาม ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า
ฃึ่งเป็นวิธีที่สูงนั้น กลับจะเหมาะสำหรับคนทั่วไป และได้ผลดีกว่าเสียอีก
วิธีนั้น คือ ตัดต้นเหตุ แห่งความกลัวเสีย ตามแต่ที่กำลังปัญญาความรู้ของผู้นั้น
จะตัดได้มากน้อยเพียงไร ดังจะได้พิจารณากันอย่างละเอียด กว่าวิธีอื่น ดังต่อไปนี้

เมื่อมาถึงประการ ที่สามนี้ ขอให้เราเริ่มต้นด้วย อุทาหรณ์ง่ายๆ
ของท่านภิกขุ อานันท เกาศัลยายนะ
[เขียนไว้ในเรื่อง คนเราเอาชนะความกลัวได้อย่างไร ในหนังสือพิมพ์มหาโพธิ
และบริติชพุทธิสต์ แต่เขียนสั้นๆ เพียงสองหน้ากระดาษเท่านั้น และกล่าวเฉพาะ
การประพฤติ กายวาจาใจ ให้สุจริตอย่างเดียว ว่า เป็นการตัดต้นเหตุแห่งความกลัว]
เขียนไว้เรื่องหนึ่งเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายในข้อที่ว่า
การสะสางที่มูลเหตุ นั้นสำคัญเพียงไร
อุทาหรณ์ นั้น เป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นให้เหมาะสมกับความรู้สึกของคนเราทั่วไป
เรื่องมีว่า เด็กคนหนึ่งมีความกลัวเป็นอันมาก ในการที่จะเข้าไปใน ห้องมืดห้องหนึ่ง
ในเรือนของบิดาของเขาเอง เขาเชื่อว่า มีผีดุตัวหนึ่งในห้องนั้น และจะกินเขา
ในเมื่อเขาเพียงแต่เข้าไป บิดาได้พยายามเป็นอย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ทุกๆ ทาง
เพื่อให้บุตรของตน เข้าใจถูกว่า ไม่มีอะไร ในห้องนั้น เขากลัวไปเอง
อย่างไม่มีเหตุผล แต่เด็กคนนั้น ได้เคยนึกเห็นตัวผีมาแล้ว เขาเชื่อว่า
ไม่มีทางใดที่จะช่วยบุตรของตน ให้หลุดพ้นจากการกลัวผี
ซึ่งเขาสร้างขี้นเป็นภาพใส่ใจของเขาเองด้วยมโนคติได้จริงแล้ว
ก็คิดวางอุบาย มีคนใช้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมใจด้วย ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่ง
เขาเรียกบุตร คนนั้นมา แล้วกล่าวว่า "ฟังซิ ลูกของพ่อ ตั้งนานมาแล้ว
ที่พ่อเข้าใจว่า พ่อเป็นฝ่ายถูก เจ้าเป็นฝ่ายผิด ก่อนหน้านี้ พ่อคิดว่า
ไม่มีผีดุ ในห้องนั้น บัดนี้ พ่อพบด้วยตนเองว่า มันมีอยู่ตัวหนึ่ง
และเป็นชนิดที่น่าอันตรายมาก เสียด้วย พวกเราทุกคน จักต้องระวังให้ดี"

ต่อมาอีกไม่กี่วัน บิดาได้เรียกบุตรมาอีก ด้วยท่าทาง เอาจริงเอาจัง กล่าวว่า
"หลายวันมาแล้ว ผีพึ่งปรากฏตัววันนี้เอง พ่อคิดจะจับและฆ่ามันเสีย
ถ้าเจ้าจะร่วมมือกับพ่อด้วย ไปเอาไม้ถือ ของเจ้า มาเร็วๆ เข้าเถิด
ไม่มีเวลาที่จะรอ แม้นาทีเดียว เพราะมันอาจหนีไปเสีย" เด็กน้อยตื่นมาก
แต่ไม่มีเวลาคิด ไปเอาไม้ถือมาทันที พากันไปสู่ห้องนั้น เมื่อเข้าไปก็ได้พบผี
(ซึ่งเรารู้ดีว่า เป็นฝีมือของคนใช้ทำขึ้น และคอยเชิดมันในห้องมืดนั้น)
สองคนพ่อลูกช่วยกันระดมตีผี ด้วยไม้ถือ และไม้พลอง จนมันล้มลง
มีอาการของคนตาย พ่อลูกดีใจ คนในครอบครัวทั้งหลาย มีการรื่นเริง
กินเลี้ยงกันในการปราบผี ได้สำเร็จ ฉลองวันชัย และเป็นวันแรก ที่เด็กนั้น
กล้าเข้าไปในห้องนั้น โดยปราศจากความกลัวสืบไป
นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงทำลายล้างผี ที่เด็กสร้างขึ้น ด้วยมันสมองของเขาเอง
บิดาต้องสร้างผี ขึ้นตัวหนึ่งจริงๆ จึงทำลายได้สำเร็จ โดยอาศัยความฉลาด
รู้เท่าทันการ รู้จักตัดต้นเหตุ คนโง่ กับคนฉลาด นั้น ผิดกันในส่วนที่
ระงับเหตุร้าย ลงไปจากทางปลาย หรือตัดรากเหง้า ขึ้นมาจากภายใต้

เสือย่อมกระโดด สวนทาง เสียงปืน เข้าไปหาผู้ยิง ในเมื่อรู้สึกว่า ตนถูกยิง
แต่สุนัข ย่อมมัว ขบกัด ตรงปลายไม้ ที่มีผู้แหย่ ตนนั่นเอง
หาคิดว่าต้นเหตุสำคัญ อยู่ที่ผู้แหย่ไม่

เมื่อเราพบจุดสำคัญว่า การตัดต้นเหตุเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้แล้ว
เราก็ประจัญกันเข้ากับปัญหาว่า อะไรเล่า ที่เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว ?

เมื่อเราคิดดูให้ดีแล้ว อาจตอบได้ว่า เท่าที่คนเราส่วนมาก จะคิดเห็นนั้น
ความกลัวผี มีต้นเหตุมากมาย คือ ความไม่เข้าใจในสิ่งนั้นบ้าง
การมีความกลัวติดตัวอยู่บ้าง ใจอ่อนเพราะเป็นโรคประสาทบ้าง
อาฆาตจองเวรไว้กับคนไม่ชอบพอกันบ้าง รักตัวเองไม่อยากตายบ้าง
เหล่านี้ ล้วนเป็น เหตุแห่งความกลัว

มูลเหตุอันแท้จริง เป็นรวบยอด แห่งมูลเหตุทั้งหลาย คืออะไรนั้น
ค่อนข้างยากที่จะตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นกันนั้น เห็นว่า มันมีมูลมากมายเสียจริงๆ
แต่แท้ที่จริงนั้น ความกลัวก็เป็นสิ่งที่ เกิดมาจากมูลเหตุอันสำคัญอันเดียว
เช่นเดียวกับ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด และ ความหลง
เพราะว่า ความกลัว ก็เป็นพวกเดียวกันกับ ความหลง (โมหะ หรือเข้าใจผิด)
มูลเหตุอันเดียวที่ว่านั้น ก็คือ อุปาทาน
ความยึดถือต่อตัวเองว่า ฉันมี ฉันเป็น นั่นของฉัน นี่ของฉัน เป็นต้น
อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัสมิมานะ (เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคย อธิบายไว้บ้างแล้ว
ในเรื่อง "สุขกถา" ที่คณะธรรมทาน เคยพิมพ์โฆษณาแล้ว)

ความรู้สึก หรือ ยึดถืออยู่เอง ในภายในใจ ตามสัญชาตญาณนั้น
มันคลอดสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ฉัน" ขึ้นมา และความรู้สึกนั้น ขยายตัวออกสืบไปว่า
ฉันเป็นผู้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ฉันจะได้รับนั่น รับนี่ หรือเสียนั่น เสียนี่ไป
นั่นจะส่งเสริมฉัน เป็นมิตรของฉัน นี่จะตัดรอนฉัน ทำลายฉัน เป็นศัตรูของฉัน
"ฉัน" สิ่งเดียวนี้ เป็นรากเหง้า ของความรัก โกรธ เกลียด กลัว หลงใหล
อันจักทำลาย ความผาสุก และอิสรภาพ ของคนเรา
ยิ่งไปกว่าที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันทำแก่เรา มากกว่ามากหลายเท่า หลายส่วนนัก

อุปาทาน ผูกมัดเรา ทำเข็ญให้เรา
ยิ่งกว่าที่หากเราจะถูกแกล้งหาเรื่องจับจองจำในคุกในตะรางเสียอีก
เพราะปรากฏว่ามันไม่เคยผ่อนผันให้เราเป็นอิสระ หรือพักผ่อน แม้ชั่วครู่ชั่วยาม

เมื่อมี "ฉัน" ขึ้นมาในสันดานแล้ว "ฉัน" ก็อยากนั่น อยากนี่
อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไม่ให้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ซึ่งเมื่อพิจารณาดู ซ้ำอีกทีหนึ่งแล้ว จะเห็นว่า เต็มไปด้วย ความเห็นแก่ตนเอง
หรือ "ฉัน" นั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ "ฉัน" ไม่อยากเจ็บปวด ไม่อยากตาย
หรือแหลก ละลายไปเสีย ฉัน จึงกลัวเจ็บกลัวตาย เป็นสัญชาตญาณ ของ "ฉัน"
เมื่อกลัวตายอย่างเดียว อยู่ภายในใจแล้ว ก็กลัวง่าย ไปทุกสิ่งที่เชื่อกันว่า
มันจะทำให้ตาย หรือทำให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นน้องของตาย ทำให้ฉันกลัว
ผีจะหักคอฉัน กินฉันหลอกฉันขู่ฉัน กลัวเสือซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเป็นเพื่อนกันได้
และ
กลัวสัตว์อื่นๆ แม้แต่งูตัวนิดๆ กลัวที่มืดซึ่งเป็นที่อาศัยของสิ่งน่ารังเกียจเหล่านั้น
กลัวที่เปลี่ยว ซึ่งไม่มีโอกาส ที่ตนจะต่อสู้ป้องกันตัวได้
กลัวคู่เวร จะลอบทำฉันให้แตกดับ
กลัวฉันจะอับอายขายหน้าสักวันหนึ่ง เพราะฉัน มีความผิดปกปิดไว้ 
บางอย่าง ฉันกลัว เพราะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ไม่รู้ เช่น
ผลไม้ดีๆ บางอย่าง แต่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ถ้ารูปร่าง หรือ สีมันชอบกลแล้ว
ฉันก็กลัว ไม่กล้ากิน หรือแม้แต่จะชิมก็ขนลุก และในที่สุดเมื่อ
"ฉัน" ปั่นป่วน ในปัญหาการอาชีพ หรือ ชื่อเสียงเป็นต้นของฉัน
กลัวว่า ฉันจะเสื่อมเสียอยู่เสมอ ฉันก็เป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
สะดุ้งง่าย ใจลอย ความยึดถือว่า ฉันเป็นฉัน เหล่านี้เป็น มูลเหตุของความกลัว
ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็กวาดความสดใส ชุ่มชื่นเยือกเย็น ให้หมดเตียนไปจากดวงจิตนั้น

เมื่อพบว่า ต้นเหตุ ของความกลัว คืออะไร ดังนี้แล้ว
เราก็มาถึง ปัญหา ว่าจะตัดต้นเหตุนั้นได้อย่างไร เข้าอีกโดยลำดับ
ในตอนนี้เป็นการจำเป็น ที่เราจะต้องแบ่งการกระทำ ออกเป็นสองชั้น
ตามความสูงต่ำ แห่งปัญญา หรือความรู้ ของคนผู้เป็นเจ้าทุกข์
คือถ้าเขามีต้นทุนสูงพอ ที่จะทำลายอุปาทาน ให้แหลกลงไปได้
ก็จะได้ ตรงเข้าทำลาย อุปาทาน ซึ่งเมื่อทำลายได้แล้ว
ความทุกข์ทุกชนิด จะพากันละลายสาบสูญไปอย่างหมดจดด้วย นี้ประเภทหนึ่ง
และอีกประเภทหนึ่ง คือ พยายาม เพียงบรรเทาต้นเหตุให้เบาบางไปก่อน
ได้แก่ การสะสางมูลเหตุนั้น ให้สะอาดหมดจด ยิ่งขึ้น

ประเภทแรก สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติธรรมทางใจ ให้ก้าวหน้าสูงขึ้นตามลำดับๆ
จนกว่าจะหมดอุปาทาน ตามวิธีแห่งการปฏิบัติธรรม อันเป็นเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง
ผู้สำเร็จ ในประเภทนี้ คือ พระอรหันต์ จึงเป็นอันว่า จักงดวิธีนี้ไว้ก่อน
เพราะไม่เป็นเรื่องที่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป
และเป็นเรื่องที่เคยอธิบายกันไว้อย่างมาก ต่างหากแล้ว

ส่วนประเภทหลัง นั้นคือ การพยายาม ประพฤติ ความดี ทั้งทางโลก และทางธรรม
ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ จนตนติเตียนตนเองไม่ได้ ใครที่เป็นผู้รู้ แม้จะมีทิพยโสต
หรือทิพยจักษุ มาค้นหา ความผิด เพื่อติเตียนก็ไม่ได้
เป็นผู้เชื่อถือ และเคารพตัวเองได้เต็มเปี่ยม ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนท่าน
ไม่มีเวรภัยที่ผูกกันไว้กับใครรู้กฏความจริงของโลกศึกษาให้เข้าใจในหลักครองชีพ
หาความ หนักแน่น มั่นใจให้แก่ตัวเอง ในหลักการครองชีพ และรักษา ชื่อเสียง
หรือคุณความดี พยายามทำแต่สิ่งที่เป็นธรรมด้วย ความหนักแน่น เยือกเย็น
ไม่เปิดโอกาสให้ใครเหยียดหยามได้ ก็จะไม่ต้องเป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
เพราะมีความ แน่ใจตัวเอง เป็นเครื่องป้องกัน และสำเหนียก อยู่ในใจ เสมอว่า
สิ่งทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเรื่อง คือ เหตุปัจจัยของมัน ไม่เป็นของแปลก
หรือได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรแก่กัน ในเรื่องนี้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลัว ก็หมดไป ใจได้ที่พึ่ง ที่เกษม ที่อุดม ยิ่งขึ้น
สมตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการเห็นแจ้ง อริยสัจ สี่ประการ ไว้ในรองลำดับ
แห่งการถือ ที่พึ่งด้วยการถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
อริยสัจ ก็คือการรู ้ เหตุผลของความทุกข์ และของความพ้นทุกข์
ความกลัว ก็รวมอยู่ในพวกทุกข์ เห็นอริยสัจอย่างเพลา
ก็คือ การเห็น และตัดต้นเหตุแห่งความกลัว
ประเภททีหลังนี้ เห็นอริยสัจ เต็มที่ถึงที่สุด ก็คือ
พระอรหันต์ หรือ การตัดต้นเหตุประเภทแรก ได้เด็ดขาด

ข้าพเจ้าขอจบ เรื่องนี้ลง ด้วย พระพุทธภาษิต
ที่เราควร สำเหนียก ไว้ในใจ อยู่เสมอ
อันจะเป็นดุจ เกราะ ป้องกันภัย จาก ความกลัว ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้

"มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัว คุกคาม เอาแล้ว
  ย่อม ยึดถือเอา ภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
  สวนที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่งของตนๆ
  นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความ เกษม ให้ได้เลย
  นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว
  ก็ยังไม่อาจ หลุดพ้น ไปจากความทุกข์ ทั้งปวงได้

  ส่วนผู้ใดที่ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
  เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุ
  เครื่องให้เกิดทุกข์ เห็นการก้าวล่วงไปเสียได้จากทุกข์ และ
  เห็นหนทาง อันประกอบด้วยองค์แปดประการ อันประเสริฐ
  อันเป็นเครื่องยังผู้นั้น ให้เข้าถึง ความรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ
  คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นแหละ คือที่พึ่งอันสูงสุด
  ผู้ใด ถือเอา ที่พึ่ง นั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ (ธ. ขุ. ๔๐)

  ความโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก
  ความกลัว ย่อมเกิดแต่ความรัก
  สำหรับผู้ที่พ้นแล้ว จากความรัก
  ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมาแต่ที่ไหนเล่า

  ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้)
  ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก)
  สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า " (ธ. ขุ. ๔๓)

ขอให้ความกลัว หมดไปจากจิต ความสุข จงมีแต่ สรรพสัตว์ เทอญ


กราบมนัสการหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ เครดิตจากเวปhttp://www.buddhadasa.com/shortbook/fearghost.html

30
กิเลสชั้นละเอียด ที่ถูกปรุงขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง เรียกว่า "นิวรณ์ ๕" รบกวน
อยู่ที่ มโนทวาร นั้น มีเรื่องที่พึงศึกษาดังนี้

คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป
อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
เช่นเดียวกัน

อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

(๑) ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
กามฉันทะได้

(๒) ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

(๓) ให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
ตามสมควร

(๔) ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

(๕) ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น

กราบขอบพระคุณบทความของ ...หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ  :054:

จากเวป http://www.buddhadasa.com/index.html

31
บทความ บทกวี / กลอนธรรมมะ ....
« เมื่อ: 14 ก.ค. 2553, 11:28:42 »
ตัวกู-ของกู


ถ้าจะอยู่ ในโลกนี้ อย่างมีสุข

อย่าประยุกต์ สิ่งทั้งผอง เป็นของฉัน

มันจะสุม เผากระบาล ท่านทั้งวัน

ต้องปล่อยมัน เป็นของมัน อย่าผันมา

เป็นของกู ในอำนาจ แห่งตัวกู

มันจะดู วุ่นวาย คล้ายคนบ้า

อย่างน้อยก็ เป็นนกเขา เข้าตำรา

มันคึกว่า "กู-ของ-กู" อยู่ร่ำไป

จะหามา มีไว้ ใช้หรือกิน

ตามระบิล อย่างอิ่มหนำ ก็ทำได้

โดยไม่ต้อง มั่นหมาย ให้อะไรๆ

ผูกยึดไว้ ว่า "ตัวกู" หรือ "ของกู"ฯ


.......................................................................
"สักกายทิฏฐิ" หมายถึง ความยึดถือว่า กายกับใจนี้เป็นของตน เมื่อมีความรู้สึกคิดเช่นนั้นแล้ว เขาก็หวงแหน อยากให้มันดีให้มันเที่ยงแท้ถาวร เพื่อประโยชน์แก่ "ตัวเขา" โดยธรรมชาติที่แท้นั้น มันไม่มีอะไรที่จะเป็นของเขาได้เลย แต่ความหลงผิด ทำให้เขาเข้าใจว่ามันมีอะไรๆ เป็นของเขาจนได้ โดยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นเพียงธาตุดินน้ำลมไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ที่รวมกลุ่มกันอยู่ ก็ถูกยึดถือเป็นกายและใจ "ของเขา" มันจึงมีลักษณะเป็น ความเห็นแก่ตัว แล้วก็ทำอะไรๆ ไปในลักษณะที่เป็นความทุกข์ยากลำบากแก่ตัวเองและแก่ผู้อื่น ปัญญาอย่างโลกๆ ก็ส่งเสริม "ตัวตน-ของตน" ให้หนักยิ่งขึ้น ต่อเมื่อได้รับการศึกษาอบรมที่ถูกทาง หรือปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักแห่งพุทธศาสนา เขาจึงจะไม่อาจมี "ตัวตน-ของตน" ชนิดที่จะไปฆ่าไปลัก หรือเบียดเบียนผู้อื่น และจะเริ่มนึกถึงการที่กายทุกกาย หรือธาตุทุกกลุ่ม เป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตายอย่างเดียวกัน จึงลดความหมายมั่นปั้นมือที่จะเอาประโยชน์ จากผู้อื่นมาเป็นของตนเองล้วนๆ ดังแต่ก่อน

ความลดไปแห่งสักกายทิฏฐินี้ ทำให้เกิดความสงบเย็น ความสงบเย็นทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะก็ทำความปลอดภัยให้แก่ตนเองและผู้อื่น ถ้าเพียงแต่คนเราสามารถ ละสังโยชน์ข้อที่ ๑ นี้ได้เท่านั้น โลกนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไป อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ อย่างน้อยที่สุด การเบียดเบียนกันจะหายไปจากโลก มีแต่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอย่างแท้จริง เข้ามาแทน




ท่านพระอาจารย์พุทธทาส .....ภิกขุ เวป http://www.buddhadasa.com/history/budprofile1.html

32
นะโม 3 จบ

พุทโธล้อม ธัมโมล้อม สังโฆล้อม

พระพุทธเจ้ามาพร้อม สมเด็จพระพุทธโธ นะโมพุทธายะ
ท่อง 3 จบก่อนคล้องพระออกจากบ้าน สั้นๆง่ายๆได้ใจความ

 



หรือบทอื่นๆ

พุทธัง อาราธะนานัง ธัมมัง อาราธะนานัง สังฆัง อาราธะนานัง
พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
พุทธะคุณัง ธัมมะคุณัง สังฆะคุณัง
พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม

หรือ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะมะกะสะ


หรือของเวปเพื่อนบ้าน (เครดิตจากพี่อชิตะ ครับ)

พุทโธ อะนุตตะโร อะระหัง ประสิทธิเมฯ

หรือ

พระพุทธอยู่หลัง พระอะระััหังอยู่หน้า ตรงกลางคือตัวข้า มะหาเตชา ภะวันตุเมฯ

หรือ

อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ
หรือ

นะอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ สิ่งดีๆ จงมาสู่ตัวข้าพเจ้าตลอดวันนี้ โสมาเรสะฯ

เลือกใช้ บทใด บทนึงตามสะดวกพอนะครับ
ใครมีบทใดดีๆ ก็มาแบ่งปันกันได้นะครับ ขอบคุณครับ

33





นำมาให้ชมก่อนไปเลี่ยมครับ  ได้รับความเมตตามาจากพี่ที่ใจดี    :065:  
ขอบคุณมากนะครับจะเก็บใว้อย่างดีเลย  :054:


ขอประทานโทษครับพิมพ์ปีผิด ปี 28 ครับ กดผิดขออภัย  :054:

34




ตะกรุด หลวงปู่เต้า วัดเกาะวังไทร  จ.นครปฐม

ได้รับความเมตตามากจากผู้ใหญ่แถวพื้นที่มาท่านนึงครับ   :001:

35
ก่อนที่จะนั่งสมาธิ ใช้คำสมาทานกรรมฐาน ก่อนนั่งสมาธิด้วยบทนี้ครับ
หรือมีบทอื่นก็ใช้ได้เช่นกัน

นะโม 3 จบ

อุกาสะ อุกาสะ ณ โอกาสบัดนี้ ข้าพเจ้าขอสมาทานเอา ซึ่งพระกรรมฐาน ขอขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และวิปัสสนาญาณ ขอจงบังเกิดขึ้น ในขันธสันดานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะตั้งสติกำหนดไว้ ที่ลมหายใจเข้าออก ลมหายใจเข้ารู้ ลมหายใจออกรู้ สามหนและเจ็ดหน ร้อยหน และพันหน ด้วยความไม่ประมาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.

ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป วัดพิชโสภาราม

อนุโมธนาสาธุ ครับ  :054:


36
กฎแห่งกรรม / +++ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5+++
« เมื่อ: 17 มิ.ย. 2553, 04:34:32 »
ผิดศีลข้อ 1
(ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนทำร้ายสัตว์ กักขังทรมานสัตว์)

ผลกรรมคือ
1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาน ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้
6.อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน (ท่าน้ำของวัด) หรือ ซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง



ผิดศีลข้อที่ 2
(ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์)

ผลกรรมคือ
1.ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2.มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3.ทรัพย์หายบ่อย ๆ หลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4.มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อย ๆ ทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5.ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อย ๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟวัดเ พื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัย ส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์อย่างสุจริตรวม ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพ ไม่ฉ้อโกงใคร แม้แต่สลึงเดียวและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง



ผิดศีลข้อ 3
(ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียเขา ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น กีดกันความรักคนอื่น นอกใจคู่ครอง หลอกลวง ข่มขืน ค้าประเวณี ล่วงเกินทางเพศต่าง ๆ)

ผลกรรมคือ

1.หาคู่ครองไม่ได้,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์, โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2.เป็นหม้าย, ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง, คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3.คนรักนอกใจ, คนรักมีชู้, มีเมียน้อย, คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้, โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี, โดนข่มขืน
4.ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก, พ่อแม่ทอดทิ้ง, ชีวิตขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย, ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศ, ทางร่างกาย, ทางจิตใจ, ถูกกีดกันทางความรัก, สังคมไม่ยอมรับความรักของตน, มีความรักหลบ ๆ ซ่อน ๆ
6.ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ (ก่อนเวลาอันควร)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิดทำร้ายความรู้สึกคนรัก ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก พอใจในคู่ครองของตนเอง หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จักเอาใจใส่คู่ครอง คนรักเอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญ ทำให้ความรักของเราสดใสไม่เจ็บช้ำหากทรมานพ่อแม่ ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอ ๆ กับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้



ผิดศีลข้อ 4
(โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่นใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญาสาบานแล้วไม่ทำตาม)

ผลกรรมคือ

1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียดนินทายุแยงใคร ไม่ด่าใคร พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่า ไม่เถี ยง ไม่นินทาผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ให้คำสั ญญาใครไว้ต้องรักษา อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่าง ๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อย ๆ ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะพูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูด ไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร คนจะเชื่อถือมากขึ้น


ผิดศีลข้อ 5
(ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา ขายยาเสพติด)

ผลกรรมคือ
1.สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2.เกิดในตระกูลที่โง่เขลา เต็มไปด้วยอบายมุข
3.หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน เป็นโรคทางปัญญา
4.ลูกหลานสำมะเลเทเมา มีลูกหลานติดยาเสพติด
5.เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง มีแต่ความประมาท
6.มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย (ขาดสติ)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด ไม่จำหน่ายจ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทาน วิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไปและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง


ขอบขอบคุณที่มาจากเวป http://www.baanmaha.com/community/thread25520.html
หากมีคนเคยนำมาลงใว้แล้ว ผมขออภัยด้วยครับ  :054:

37
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับธรรมมะเรื่องนึง มาแบ่งปันให้พี่น้องวัดชาวบางพระได้อ่านกันครับ
ซึ่งผมก็ได้รับฟังมาอีกที บางท่านก็อาจจะเคยได้ยิน บางท่านก็อาจจะยังไม่เคยได้ยิน
ใครเคยได้ยินหรือเคยอ่านฟังแล้วก็ขออภัยด้วยนะครับ


เรื่องมีอยู่ว่า มีสามี ภรรยาคู่นึง ซึ่งสามีชาติที่แล้วทำกรรมมาดี เกิดมาชาตินี้ ก็มีทรัพย์สมบัติพอมีอยู่กินไม่อดอยาก
มีภรรยาก็ภรรยาดี แต่ทว่าในชาตินี้สามีกับมีแต่ความโลภหลงในทรัพย์สมบัติ ไม่รู้จักทำความดีเอาซะเลย
แต่ภรรยานั้นเป็นคนดี เชื่อเรื่องเวรกรรม มีศิลธรรม เป็นคนทำบุญสม่ำเสมอ ก็ชวนให้สามีมาทำความดี แต่สามีกับไม่สนใจ

แล้วมีอยู่วันๆนึง ภรรยาก็ออกมาใส่บาตรพระปกติ (ซึ่งปกติภรรยานั้นจะออกมาทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ทุกเช้าเป็นประจำ)
วันนั้นเอง สามีก็เกิดขุ่นเคืองใจ เลยพูดกับภรรยาว่า

สามี: ทำ ทำไมบุญ ไม่มีจริงหลอก เสียดายของป่าวๆเปลือง มีแต่ของดีๆ ทำไมไม่เก็บใว้กินเอง อีกหน่อยก็อดตายหลอก
ภรรยา : ก็เงียบไม่ได้พูดอะไร ใส่บาตรพระตามปกติ

แล้วอีกวันนึง  ภรรยากำลังจะไปวัดเพื่อไปฟังเทศน์ฟังธรรม ที่วัด

ภรรยา : คุณค่ะคุณ ไปวัดกันใหม ไปฟังเทศน์ฟังธรรมซะบ้าง ได้มีปัญญา ได้บุญได้กุศล
สมามี : วู้ไม่ไปหลอก เสียเวลาป่าวๆ วันนี้ว่าจะไปตกปลา บ่อตกปลามาเปิดใหม่ น่าสนุกกว่าอีกไม่น่าเบื่อ

แล้วต่อมาอีกวัน มีงานเทศการทำบุญเอาของไปแจกเด็กๆกำพร้าผู้ยากไร้

ภรรยา
: กำลังขนของ ใส่รถกระบะ เพื่อนำของไปแจกเด็กๆ โดยมีลูกๆมาช่วยกันขน
สามี : พอเห็นเข้าก็เกิดอารมณ์ฉุนเฉียว บอกกับภรรยาว่า - เอาไปแจกทำไม เปลือง ของบ้านเรากว่าจะหามาได้ต้องทำงานมาไม่รู้เท่าไหร่
              นี่อยู่ดีๆจะเอาไปให้ใครไม่รู้ บ้าหรือป่าว อีกหน่อย อดตายไม่มีของใช้ของกินแล้วจะรู้มัวแต่เอาไปแจกให้ชาวบ้าน

ภรรยา
: ได้ยินก็เฉยๆๆ ก็ให้ลูกๆๆขนของกันต่อไป

แล้วเวลาก็ผ่านไป 30 ปี สามีภรรยาคู่นี้ก็แก่ตัวลง สามีดันเป็นโรคมะเร็งโดย เพียง 2 เดือนก็ถึงแก่กรรม
เมื่อตายวิญญาณ ก็ออกจากร่าง ยมบาลก็พาไปสู่ขุมนรก เปิดบัญชีดู


ยมบาล : เจ้าผู้นี่ชาติที่แล้วทำความดี ชาตินี้เลยเกิดมาสุขสบายมีทรัพสมบัติมาก แต่ด้วยชาตินี้มีแต่ความโง่เขลา ไม่คิดทำบุญ ถือศิล ไม่รุ้จักทำบุญทำทาน ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตายมาชาตินี้ก็ไม่ได้มีบุญติดตัวมาเลย ผลของกรรมเจ้า ต้องตกนรกโดนทรมาน เกิดมาชาติหน้าเป็นคนพิการมีแต่โรคเพราะชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีทรัพสมบัติใดๆ แม้แต่บ้านก็ไม่มี  


สามีที่ตายแล้ว  : ผมจะไม่มีอะไรได้ไง บ้านผมก็มี รถผมก็มี 3-4 คัน ทรัพย์สมบัติมีมากโข ทำไมตายไปผมกับไม่ได้อะไรสักอย่างเดียว ทำไม

ยมบาล :    ก็เจ้าไม่รู้จักทำบุญสร้างกุศลแล้วเหตุใดของเหล่านั้นจะติดตัวเจ้ามาด้วยหละ ของที่เจ้ามีที่เจ้าเห็นล้วนเป็นสมบัติภายนอก ตายไปก็เอาอะไรมาไม่ได้สักอย่าง  เจ้าลองดูนี่สิภรรยาเจ้าสิเป็นคนดี หมั่นรักษาศิลทำบุญสร้างกุศล ดูซะ ถ้าภรรยาเจ้าตายไปจะได้อะไรมาบ้าง

แล้วยมบาลก็เนรมิตรให้ดูบุญกุศลที่ภรรยาของสามีผู้ตายได้บำเพ็ญทำมา - สามีก็มองไป เห็นแสงสว่างเจิดจ้า มีของกินของใช้เพียบเต็มไปหมดประดับประดาไปด้วยเครื่องประดับนานาชนิด -ซึ่งสามีเห็นก็รู้สึกเสียใจภายหลังที่ตนตอนมีชีวิตอยู่ไม่รู้จักทำบุญสร้างกุศลใว้เลยตายไปก็ไม่มีอะไรติดตัวมา
ส่วนภรรยานั้นเมื่อตายไป   ด้วยบุญกุศล ก็จะได้เกิดเป็นเทวดามีของประดับสวยงามอยู่อย่างมีความสุขบนสวรรค์เมื่อบุญหมดเศษบุญที่ติดตัวมา ก็จะได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์
ที่มีความพร้อมทั้งด้านปัญญา ทรัพสินเงินทอง


เพราะฉะนั้นเรามาทำความดี  ทำบุญสร้างกุศล ก่อนที่เราจะตายกันเถอะครับ สาธุ
การมีสติ คือความรู้ผิดชอบดีชั่ว ในความไม่ประมาทในความตาย คนเราตายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ก่อนตายมีสติ ละเว้นชั่ว สร้างแต่บุญ ความดีใว้เถอะครับ

38
สำหรับคนที่ชอบ ปลัดขิกนะครับ คิกคิกๆๆๆๆ

คาถาเรียกปลัดขิกใช้งาน
โอมละลวย..มหาละลวย..สามสิบสองตวยตาขุนเพ็ด

(...)ย็ดน้องเข้าสองที เข้าแล้วอย่าให้ออก ดอกให้เปื่อย ดอกให้เปื่อย ฯ

ตรง(...) ตรงนี้ให้ใส่สระ เอ นะครับ เหอๆๆ อาจติดเหรดนิดขออภัย


คาถาใช้งานปลัดขิก


โอม . . . มหาปลัดขิก ศิวลึงค์ อึงคะนึงอื้อฉาว

คุ้มครองตัวข้าพเจ้าด้วย กัณหะ เณหะ อุอุ อะอะ มะมะ อะอุ โอมฯ


จากนั้นก็อาราธนาขอให้ปลัดขิกช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ จะแคล้วคลาด คงกะพัน

เมตตา หรือโชคลาภก็ได้ตามแต่จะอธิษฐานครับ



เครดิตจากพี่อชิตะ  วัดชายนานะครับ

39
คาถาอาคม / +++++ การตั้งธาตุ +++++
« เมื่อ: 15 มิ.ย. 2553, 01:05:41 »
ในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางๆ ต่างๆ

ซึ่งหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้คือการ ตั้งธาตุ-ปลุกธาตุ

นะ คือธาตุนํ้าหล่อเลี้ยงร่างกายและดวงจิต เรียกว่า อาโปธาตุ  

โม คือธาตุดินได้แก่ของที่แข็ง มีหนัง มีเนื้อ มีกระดูก เรียกว่า ปฐวีธาตุ  

พุท คือธาตุไฟได้แก่ความอบอุ่นในร่างกาย เรียกว่า เตโชธาตุ  

ธา คือธาตุลม ลมหายใจเป็นต้น เรียกว่า วาโยธาตุ  

ยะ คืออากาศธาตุ

นะ คือธาตุนํ้า กําลัง = ๑๒  

โมคือธาตุดิน กำลัง =  ๒๑  

พุท คือธาตุไฟ กำลัง = ๖  

ธา คือธาตุลม กำลัง = ๗  

ยะ คืออากาศธาตุ กำลัง = ๑๐  

รวมทั้งหมด=๕๖ คือคุณของพระพุทธ

 

คุณพระพุทธ ๕๖ นี้ ถ้าแบ่งครึ่งออกจะเป็น= ๒๘ และ เอาอากาศธาตุ๑๐ บวกรวมเข้าไปจะเป็น=๓๘ คือคุณพระธรรม  คุณพระพุทธ ๕๖ นี้ ถ้าแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนก็จะ = ๑๔ คือคุณพระสงฆ์

 

เมื่อเราจะประกอปพิธีกรรมใดๆก็ดี เช่นจะปลุกเสกนางกวัก กุมารทอง รักยมหนุมาน สิงห์ เสืออะไรก็ดีที่มีชีวิต

ต้องประจุหรือใส่ธาตุทั้ง4 ก่อน แล้วตามด้วย อาการ ๓๒ ที่ว่า อัตถิอิมัสมิง กาเย เกษา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ...ฯ    

วิธีตั้งธาตุ

การตั้งธาตุนั้นให้ตั้งแม่ธาตุใหญ่ก่อน คือ นะโมพุทธายะ

แล้วตามด้วยธาตุ4 คือ นะมะพะธะ

หนุนด้วยธาตุกรณีคือ จะภะกะสะก่อนที่จะตั้งธาตุให้ว่า

 

 คาถาชุมนุมธาตุ ดังนี้    

เอหิปะถะวีพรหมา

เอหิอาโปอินทรา

เอหิเตโชนารายะ

เอหิวาโยอิสสะราฯ

 

คาถาตั้งแม่ธาตุใหญ่ ว่าดังนี้    

นะอิเพชรคงอะระหังสุคะโตภะคะวา

โมติพุทธะสังอะระหังสุคะโตภะคะวา

พุทปิอิสะวาสุอะระหังสุคะโตภะคะวา

ธาโสมะอะอุอะระหังสุคะโตภะคะวา

ยะภะอุอะมะอะระหังสุคะโตภะคะวาฯ

 

นะมะพะะธะ ต้องมีธาตุพระพุทธเจ้า คือ ธาตุพระกะระณี ตั้งกํากับลงไปด้วย คือ จะภะกะสะเพื่อเป็นพี่เลี้ยงคุมธาตุลงไปอีกทีหนึ่ง    

วิธีตั้งธาตุ

พยายามจําให้ได้มีประโยชน์มากต่อผู้ที่เรียนคาถาอาคมว่าดังนี้

 

ตั้งอาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) ว่า นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะกะสะ  

ตั้งปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ว่า นะโมพุทธายะ มะพะธะนะ ภะกะสะจะ  

ตั้งเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ว่า นะโมพุทธายะ พะธะนะมะ กะสะจะภะ  

ตั้งวาโยธาตุ (ธาตุลม) ว่า นะโมพุทธายะ ธะนะมะพะสะจะภะกะ

 

วิธีหนุนธาตุ

นะ คือ แก้วมณีโชติ  มะ คือ แก้วไพทูรย์  อะ คือ แก้ววิเชียร  อุ คือ แก้วปัทมราช      

เมื่อตั้งอาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) ให้เอาแก้วมณีโชติหนุน  

เมื่อตั้งปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ให้เอาแก้วไพทูรย์หนุน  

เมื่อตั้งเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ให้เอาแก้ววิเชียรหนุน  

เมื่อตั้งวาโยธาตุ (ธาตุลม) ให้เอาแก้วปัทมราชหนุน  

หลักของการใช้ธาตุมีดังนี้    

ธาตุนํ้า ใช้ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม  

ธาตุดิน ใช้ทางอิทธิปาฏิหารย์ คงกระพันชาตรี  

ธาตุไฟ ใช้ทางสะเดาะกุญแจขับไล่ผี  

ธาตุลม ใช้ทางสะกด กําบังตัว ล่องหน  

ทางเสน่ห์ เมตตามหานิยมใช้ธาตุนํ้า (อาโปธาตุ)

ภาวนาว่า      นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะกะสะ

แล้วหนุนด้วยแก้วมณีโชติว่า นะมะมะนะ นะอะอะนะ นะอุอุนะ

 

ทางคงกระพันภาวนาปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)

ภาวนาว่า  นะโมพุทธายะ มะพะธะนะ ภะกะสะจะ

หนุนด้วยแก้วไพทูรย์ว่าต่อ มะนะนะมะ มะอะอะมะ มะอุอุมะ

 

ทางเสดาะขับไล่ผีภาวนาเตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ภาวนาว่า

นะโมพุทธายะ พะธะนะมะ กะสะจะภะ

หนุนด้วยแก้ววิเชียร ว่าต่อ อะนะนะอะ อะมะมะอะ อะอุอุอะ

 
  
ทางสะกด ล่องหน กําบังตัวภาวนา วาโยธาตุ(ธาตุลม)

ภาวนาว่านะโมพุทธายะ ธะนะมะพะ สะจะภะกะ

หนุนด้วยแก้วปัทมราชว่าต่อ อุนะนะอุ มะมะอุ อุอะอะอุ

การตั้งธาตุเป็นกิจที่ต้องทำ ควรฝึกฝนให้ชำนาญ กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ

แล้วกำหนดใจปลุกเสกตามสายวิชาที่ครูบาอาจารย์ประสิทธิมาตามแต่ถนัดครับ


ขอบคุณเครดิตจากเวป ของพี่อชิตะนะครับ http://fws.cc/sitwadchaina/index.php?topic=107.0

40
คาถาอาคม / คาถาถอนคุณไสย์+++
« เมื่อ: 11 มิ.ย. 2553, 08:25:50 »
นะโม 3 จบ นึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง และ พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ทุกท่าน

สะมุหะเนยยะ สะมุหะคะติ สะมุหะคะโต สีมาคะตัง พัทธะเสมายัง

 สะมุหะนิตัพโพ เอวัง เอหิ นะเคลื่อน โมคลอน พุทถอน ธาเลื่อน ยะเลื่อนหลุดลอย


ตั้งจิตอธิฐานขอบมารมี แด่คุณพระศรีรัตนตรัย พระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลายที่เรานับถือ
โปรดเมตตา ล้าง ถอดถอน คุณไสย์มนต์ดำ คุณผีทั้งหลาย คุณคนทั้งหลาย คุณยาแฝด ฝังรูปฝังรอย ออกสิ้น ณะ บัดนนี้เถิด
สาธุสาธุ



41
ตั้งนะโม 3 จบ

อุ อะ มะ สังวัตติสงสาร เอหิใจพาน มามะมะแห่งกู มาเร็วแม่เอยมารัก มาประจำหลัก ทรามรักประจำโขลง

มาโรงแม่เวย นางทองอย่าเลือกนางเผือกประไพ มะอยู่มิได้ อะร้องไห้ อุตามกูมา โอมสะวาโหม ติดติด

42
การเจริญสมาธิแบบปล่อยวางและพิจารณาอารมณ์

กัมมัฏฐานมี ๔๐ วีธี ใครจะใช้วิธีไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงให้ถูกกับจริตของตนเป็นใช้ได้ หลวงปู่เทสก์บอกว่า การเจริญภาวนากัมมัฏฐานจะกำหนดพุทโธๆ ๆ หรือ อรหังๆ ๆ หรือ สัมมาอรหังๆ ๆ หรือ มรณังๆ ๆ หรือกายคตาสติก็ทำได้ทั้งนั้น ไม่มีขีดขั้น ข้อสำคัญคือการเจริญนั้นๆ จิตจะรวมลงสู่จุดเดียวได้หรือไม่ ถ้ารวมลงได้ก็เรียกว่าสมถะด้วยกันทั้งนั้น
การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ จิตใจต้องมั่นคง อย่ามัวไหลไปตามกระแส ใครว่ามีอะไรดีที่ไหนก็ไปตามเขา พอเขาเปลี่ยนใจ เราก็เปลี่ยนใหม่อีก จิตใจโลเล จิตใจวุ่นเสียแล้วแต่ต้นอย่างนี้ จะหาความก้าวหน้าจากการเจริญสมาธิไม่ได้เลย หลวงปู่เทสก็บอกว่าหลักธรรมที่แท้มิได้เกิดจากความคิดที่ส่งออก แต่เกิดจากการคิดค้นตรงเข้ามาหาของจริงที่มีอยู่ในตัวนี้ เมื่อเราค้นเข้ามาหาของจริงในตัวนี้แล้วจิตก็เป็นสมาธิ (คือคิดค้นอยู่ในที่อันเดียว)ต่อนั้นไปทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในรัศมีของจิต ก็จะกลายเป็นอุบายให้เกิดเป็นธรรมไปทั้งหมด
อุบายในการเข้าถึงธรรมมีมิใช่น้อย ถ้ารู้จักฉุกคิดขณะที่พระกำลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ ตัวพระเองอาจบรรลุถึงธรรมก็ได้ ถ้าส่งใจไปตามกระแสธรรมที่ตนแสดงจนเกิดสมาธิและปัญญา ขณะที่เรากำลังถูบ้านถูไปถูมา เราคิดถึงจิตของตนว่า ถ้าจิตของเรามีการขัดถูให้สะอาดอย่างบ้านเรือน จิตอาจปลอดจากกิเลส หรือขณะตัดผม จะเป็นช่างตัดผม หรือเอาผมไปให้ช่างตัด อาจจะอาศัยอาการอย่างนี้ เพื่อตัดกิเลสตัดทุกข์ได้
พุทธวจนะคำสอนของพระพุทธองค์มีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามที่ท่านกำหนดไว้แต่ละหมวดแต่ละข้อ หรือแต่ละขันธ์ ล้วนแต่เป็นของดี ท่านโบราณาจารย์เคยปฏิบัติได้รับผลสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น จึงได้รวมตั้งไว้เป็นปริยัติเพื่อเป็นบทศึกษาแก่อนุชนสืบมา

ธรรมเป็นของดีแล้ว แต่เราปฏิบัติดียังไม่พอที่จะเป็นรากฐานให้เกิดธรรมของดีได้ มรรค ๘ ผล ๔นิพพาน๑ เป็นของผู้ปฏิบัติที่มีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน อริยสัจธรรมทั้งสี่ คือ ทุกข์๑ สมุทัย๑ นิโรธ๑ มรรค๑ เป็นวิชาของสัมมาสมาธิอย่างถูกต้อง ทุกข์ ทั้งหลาย มีชาติทุกข์เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี สมุทัย มีความทะยานอยากในความใคร่เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเห็นโทษในสมุทัยันั้นแล้วละเสียไม่มี นิโรธ คือความเข้าไปดับซึ่งราคะธรรมเป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้จะเข้าไปดับไม่มี มรรค มีองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางยังผู้ดำเนินตามแล้วให้พ้นทุกข์ได้มีอยู่ แต่ผู้จะดำเนินตามไม่มี ทางจึงเป็นทางว่างหาผู้สัญจรไม่มี ก็เพราะขาดสัมมาสมาธิอันเป็นรากฐานที่มั่นคง
สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของฌาน ๔ อันได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เราเจริญสมาธิเพื่ออะไร?
ก็เพื่อให้เกิดปัญญา รู้เห็นสภาวะสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เพื่อให้ชีวิตเป็นอิสระ เบาสบายมากขึ้น มีภาระที่ต้องแบกด้วยความยึดมั่นถือมั่นน้อยลงๆ จนหมดสิ้น เพราะฉะนั้น ควรกระทำด้วยความตั้งใจจริง เพื่อให้เกิดผลแท้จริง
วิธีการเจริญสมาธิภาวนาของหลวงปู่เทสก์ มี ๒ วิธีด้วยกันคือ วิธีปล่อยวางอารมณ์ กับวิธียกเอาอารมณ์ขึ้นมาพิจารณา ทั้งสองวิธีนั้นมีคำอธิบายว่า
๑) เราปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด ไม่ให้มีอะไรเหลืออยู่ที่ใจ พร้อมๆ กับอัดลมหายใจเข้าไปแล้วปล่อยวางลมหายใจออกมา แล้วตั้งสติกำหนดเอาผู้รู้ จะไปตั้งอยู่ตรงไหนแล้วแต่ความถนัดของตน แบบนี้ทำได้ง่ายสบายแต่ไม่มีหลักหนักแน่น ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็ส่งส่ายไปตามอารมณ์ที่ตนชอบเสีย

๒)ให้หยิบเอาอารมณ์อันใดก็ได้ ซึ่งมันเป็นอารมณ์ที่มันเคยทำความกระเทือนใจให้เราเกิดความสลดสังเวช จิตของเราเคยไปจดจ่ออยู่เฉพาะในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่นเราเคยพิจารณาเห็นโทษทุกข์ในความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นต้น เรายกเอาเรื่องนั้นขึ้นมาพิจารณาค้นคว้าทบทวนกลับไปกลับมา ไม่ให้จิตแลบออกไปจากเรื่องนั้น จนเข้าไปรู้เรื่องความเป็นอยู่เป็นมาและเป็นไปของเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วจะเกิดมีอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ณ ที่นั้นอย่างแปลกประหลาด คือความชัดเจนแจ่มแจ้ง อันมิใช่เกิดแต่ความนึกคิดคาดคะเน และได้สดับศึกษามาจากคนอื่น แต่มันเป็นความรู้ที่จัดเจนอันประกอบด้วยปีติปราโมทย์ ที่เกิดเองเป็นเอง อันใครๆ จะแต่งเอาไม่ได้๑
มิฉะนั้น จิตก็จะหดตัวเข้าไปนิ่งสงบเฉยอยู่ โดยไม่คิดอะไร แม้แต่ความคิดที่คิดค้นอยู่นั้น ก็พักหมด๑
บางทีสงบนิ่งเข้าไปอยู่ในที่แห่งหนึ่งเฉพาะจิตอย่างเดียว บางที่ก็รู้อยู่เฉพาะตัว แต่ความรู้อันนั้น มิใช่รู้อย่างอย่างที่เราจะพูดกันถูก หรือบางที่ก็ไม่รู้ตัวเสียเลย คล้ายๆกับหลับที่เรียกว่าจิตเข้าภวังค์ อาการเหล่านั้นใครๆจะทำเอาไม่ได้ แต่เมื่อภาวนาถูกต้องดังแสดงมาแล้ว มันก็จะเกิดขึ้นมาเอง๑
อาการทั้งสามอย่างนี้มิใช่จะเกิดเหมือนกันหมดทุกๆคน และทุกๆอาการก็หาไม่ บางคนก็เป็นและครบ บางคนก็เป็นอย่างสองอย่าง เรื่องของการภาวนานี้พิสดารมากหากจะนำมาพรรณาไว้ ณ ที่นี้ จะเป็นหนังสือเล่มเขื่องเล่มหนึ่ง ที่แย้มให้เห็นเพียงเล็กน้อยนี้ก็เพื่อแนะให้ทราบว่าผู้ภาวนาเป็นแล้วจะเป็นไปอย่างนั้น
แบบที่ ๒ ที่ให้หยิบยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นการหัดสมถะและวิปัสสนาไปในตัว ถ้าผู้ที่มีนิสัยวาสนาแล้วเป็นไปได้รวดเร็ว ถ้านิสัยพอประมาณได้ปานกลาง บางทีก็จะหนักไปทางสมถะ จิตเข้าหาความสงบ มีอาการสองหย่างดังแสดงมาแล้ว ถึงอย่างไรการพิจารณาอย่างนี้ย่อมมีอานิสงส์มาก เพราะพิจารณาให้เห็นสภาวะเป็นจริง ถึงไม่ได้ปัญญาขั้นละเอียด แต่ก็ยังรู้เท่าเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วค่อยๆ ถอนวางจากอุปทานลงได้โดยลำดับ

การยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นอุบายของการภาวนาโดยแท้ อย่าได้สงสัยว่าเราไม่ได้ภาวนา อุบายภาวนา คือการที่หยิบยกเอากัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณาเมื่อจิตแน่วแน่ลงสู่อารมณ์อันเดียวจนเข้าเป็นภวังค์ เรียกว่าจิตเข้าถึงภาวนาแล้ว ฉะนั้นการที่เรายกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณาจิตของเราจะจดจ่ออยู่ในเรื่องนั้นอย่างเดียว เรียกว่าเรากำลังเจริญภาวนาอยู่แล้ว ขอให้ยินดีพอใจในจิตของตนที่เป็นอยู่นั้นเถิด จิตก็จะได้แน่วแน่และเกิดปีติปราโมทย์จนละเอียดลงไปโดยลำดับ ผู้ไม่เข้าใจภาวนามักจะสงสัยไปต่างๆนาๆ แล้วก็ปรุงแต่งไปว่า ภาวนาจะต้องเป็นอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ แล้วจัดระดับชั้นภูมิของตนๆ ไว้ก่อนภาวนา เมื่อจิตไม่เป็นไปตามสังขาร ก็เลยฟุ้งซ่านเกิดความรำคาญ สังขารเป็นผู้ลวง จะไปแต่งภาวนาไม่ได้ โดยเฉพาะแล้วสังขารเป็นอุปสรรคแก่การภาวนาอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อยังละสังขารไม่ได้ตราบใดแล้ว ไม่มีหวังจะได้ประสบรสชาติของการภาวนาเลย ที่สุดการฟังเทศน์หรือยกอุบายใจขึ้นมาพิจารณาก็ไม่เป็นผล มีแต่ความลังเลใจ ธรรมทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ก็จะไม่มีคุณค่าแก่เขา แม้เท่าที่เขาได้ส่ายตาไปมองดูรูปที่สวยๆ ขณะแวบเดียว ผู้ที่ท่านช่างคิดค้นหาข้อเท็จจริงทั้งหลาย ท่านไม่ใช้สัญญาออกหน้า แต่ท่านใช้เหตุผลและปรากฏการณ์เฉพาะเพาะหน้าเข้าค้นคว้าพิจารณา จึงได้ผลสมประสงค์ ธรรมหรือวิธีเจริญกัมมัฏฐานมิใช่ของมีโครงการอะไร ขอแต่ให้หยิบยกเอาเหตุผลหรือสิ่งปรากฏการณ์นั้นๆ มาพิจารณาให้เข้าถึงหลักของจริงก็เป็นอันใช้ได้ ที่มีพิธีรีตองและโครงการมากๆ นั้น ล้วนแล้วแต่ว่าตามความจริงจากท่านที่ท่านได้ทำสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น
ฉะนั้น ยิ่งนานและมีผู้ค้นพบของจริงมากเข้าเท่าไร วิธีและโครงการหรือตำราก็ยิ่งมากขึ้น จนผู้ศึกษาภายหลังทำตามไม่ถูก ก็เลยชักให้สงสัย บางคนพาลหาว่าตำราไม่ได้เรื่องอย่างนี้ก็มี ถ้าหากทำตามดังแสดงมาแล้ว คือยกเอาของจริง เช่น เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จนเกิดเป็นภาวนาสมาธิขึ้นมาแล้ว โครงการหรือวิธีทั้งหลายแหล่จะมากสักเท่าไร ก็เป็นแต่เพียงกระจกเงาเท่านั้น หาใช่ตัวจริงไม่ ด้วยเหตุนี้สาวกของพระพุทธองค์จึงได้สำเร็จมรรคด้วยอุบายแปลกๆ ไม่เหมือนกัน

ขนาดแสงไฟในดวงเทียนจะมีธรรมอะไร ใครๆ เขาก็ใช้กันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ก็ไม่เห็นจะวิเศษวิโสได้สำเร็จมรรคผลอะไร แต่ภิกษุณีชื่อ ปฏาจารา จุดเทียนบูชาในวิหาร แล้วเพ่งดูแสงเทียน ยึดเอาอาการแสงเทียนพลุ่งขึ้นด้วยกำลังแรงไฟ แล้วย่อยยับๆ ลงมาด้วยความอ่อนกำลังของมันเอง อยู่อย่างนั้นเป็นอารมณ์ น้อมเข้ามาเทียบกับอายุขัยและวัยในอัตภาพของตน จนเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งหลาย ที่สุดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะไฟนั้นนี้เป็นตัวอย่าง ท่านยกเอาแสงเทียนขึ้นมาพิจารณา เห็นเป็นของไม่เที่ยงตามลักษณะที่มันพลุ่งขึ้นแล้งย่อยยับหดตัวลงตามเป็นจริง แล้วหมดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง ธรรมอื่นๆ ไม่ต้องไปตามพิจารณา แต่มันมาปรากฏชัดในที่แห่งเดียวแล้ว
บัณฑิตสามเณรลูกศิษย์ของท่านพระสารีบุตร เห็นเขาไขน้ำให้มันไหลไปตามนา ท่านนำมาพิจารณาว่า น้ำเป็นของไม่มีจิตใจ แต่ก็ไหลไปตามนาได้ตามประสงค์ จิตของเราเมื่อทรมาณให้อยู่ในอำนาจก็จะทำได้ เห็นเขาถากไม้ดัดลูกศร เขาหลิ่วตาข้างเดียวดูที่คดที่ตรง ท่านก็นำมาพิจารณาว่า ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่าง ก็จะสงบไม่ได้และไม่เห็นสภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเบ่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นของควรละ ผลที่สุดท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะอุบายอันนั้น นี่แหละความละเอียดและเป็นธรรมมิใช่อยูที่อุบาย แต่อยูที่จิต อบรมถูกจนจิตเป็นภาวนาสัมมาสมาธิแล้ว อุบายทั้งหลายที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณานั้น ไม่ว่าหยาบและละเอียดก็จะได้ปัญญามีคุณค่าให้สำเร็จมรรคผลเป็นที่สุดเช่นเดียวกัน
ฉะนั้นทุกๆ คนเมื่อเราหยิบยกเอาอุบายอันใดขึ้นมาพิจารณา เห็นชัดจนแจ่มแจ้งแล้ว แม้แต่ครั้งเดียวก็ตามขออย่าได้ทอดทิ้ง ให้นำเอาอุบายนั้นแหละมาพิจารณาอีก จิตจะเป็นอย่างที่เคยเป็นมาแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอให้ทำเรื่อยไปจนชำนาญ
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเจริญสมาธิควรกระทำจนเกิดความชำนิชำนาญ แคล่วคล่องว่องไว จะยกอุบายอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ยกมาได้ทันที จะเข้าออกสมาธิก็ง่าย ทำให้สมาธิตั้งอยู่นานก็ได้ และเชี่ยวชาญในการกำหนดรู้อารมณ์ของสมาธิเป็นอย่างดี
( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ศีลเป็นเบื้องต้นของสมาธิ
การรักษาศีลมิใช่เป็นของยากลำบากและเป็นการหนักอกหนักใจอะไร ทั้งไม่น่าเกลียดและขายขี้หน้าอีกด้วย เพราะการรักษาศีลก็คือการงดเว้นจากการทำชั่วนั่นเอง งดเว้นจากการทำชั่วมากเท่าไร ก็เรียกว่าได้รักษาศีลมากเทานั้น คนที่ไม่งดเว้นจากการทำชั่วนั้นเสียอีกเป็นผู้ที่น่าตำหนิและอับอายมาก ถึงคนอื่นเขาไม่ว่าอะไรตัวของเราเองก็ตำหนิและร้อนใจเราเองอยู่เสมอ เพราะเห็นความชั่วของตัวเองอยู่แล้ว
เช่นชาวประมงนั่นซิเขาลำบากสักหน่อย เมื่อไม่ทำก็ไม่มีอันจะกิน แต่ถึงขนาดนั้น หากเขาเห็นโทษของการไม่มีศีล เกิดศรัทธาเลื่อมใสในการรักษาศีลแล้ว เขาก็สามารถทำได้ เรื่องเช่นนี้เคยมีตัวอย่างมามากต่อมากแล้ว อาชีพของคนเกิดมาในโลกนี้ มิใช่ยมบาลจะจำกัดให้พวกประมงทำแต่บาปอย่างเดียว ยมบาลก็เป็นผู้ยุ่งเพราะสอบสวนพวกนี้อยู่แล้ว ขออย่างเดียวแต่ให้เห็นโทษของการไม่มีศีล แล้วงดเว้นจากโทษนั้นๆ ก็เป็นพระได้เท่านั้นแหละ การไม่ล่วงละเมิดศีลในข้อนั้นๆ เพราะไม่จำเป็น เช่นเรามีอันอยู่อันกินมีผู้เลี้ยงดูสุขสมบูรณ์ ไม่ต้องไปหาฆ่าสัตว์ลักทรัพย์เขามาเลี้ยงชีพ แต่เราไม่ตั้งเจตนางดเว้นศีลในข้อนั้นๆ ก็ไม่จัดว่ารักษาศีล เพราะศีลเกิดจากการงดเว้น ฉะนั้นผู้ที่ทำปานาติบาตมากอยู่แล้ว เมื่องดเว้นได้ มารักษาศีลจึงได้ชื่อว่า"รักษาศีลบนกองบาป"เป็นของมหัศจรรย์มาก ส่วนผู้ไม่ละเมิดศีลเพราะไม่จำเป็นดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ตั้งใจรักษาศีลเพราะความสุขเป็นสิ่งที่น่าเสียดายได้ชื่อว่า"เสวยสุขในกองคูถ" แต่ถ้าเขามีปัญญารู้ตัวว่าเขาได้รับความสุขเช่นนั้นเพราะกุศลหนหลังส่งผลให้และเป็นโอกาสอันดีที่เขาจะได้บำเพ็ญความดี มีการรักษาศีลเป็นต้น แล้วตั้งใจงดเว้นจากบาปนั้นๆ ถึงแม้เขาไม่จำเป็นต้องระวังศีล เพราะเขาไม่มีโอกาสจะทำเช่นนั้นก็ตาม แต่เขามาภูมิใจ เพราะบุญของเขาอำนวยให้ แล้วตั้งใจงดเว้นให้บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป ได้ชื่อว่าเขา "สร้างบุญกุศลบนกองเงินกองทอง" เป็นของหาได้ยากแท้ ศีลเป็นของรักษาได้ง่าย ถ้าเป็นผู้เห็นโทษในการทำบาปจริงๆ และเมื่องดเว้นจากโทษ๕ โทษ๘ ประการดังพระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ตัวของเขาก็เป็นพระขึ้นมาทันที ถึงมิใช่พระอริยเจ้าผู้ไกลจากกิเลสอย่างท่าน แต่ก็เป็นพระไกลจากกิเลส ๕ ข้อ ๘ ข้อ ก็ยังนับว่าดีเลิศอยู่แล้ว


ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=31116

43
การเดินจงกรม คือการเดินภาวนา เพื่อเป็นอุบายให้สงบใจ เดินกลับไปกลับมาพร้อมกับกำหนดคำบริกรรมภาวนาเหมือนวิธีการนั่งสมาธิ คำอธิษฐานก็ใช้แบบเดียวกัน เปลี่ยนแต่ตรงคำว่า “นั่งสมาธิภาวนา” เป็น “เดินจงกรมภาวนา” เวลาจะเดินจงกรม ให้กำหนดทิศทางที่จะเดิน แล้วไปยืนตรงต้นทาง ยกมือประนมขึ้นระหว่างคิ้วกล่าวคำอธิษฐาน ครั้นจบแล้ววางมือลง เอามือขวาทับมือซ้ายวางทาบไว้ใต้สะดือ ทอดตาลงเบื้องต่ำไม่แลซ้ายแลขวา ทำท่าสำรวมกาย ก้าวเดินขาขวาบริกรรมคำภาวนาว่า “พุท” ก้าวเดินขาซ้ายบริกรรมคำภาวนาว่า “โธ” บริกรรมภาวนา “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” ๓ หนแล้ว ให้กำหนดเอาคำบริกรรมภาวนาว่า “พุทโธ” แต่เพียงคำเดียว ครั้นพอถึงปลายทางที่เรากำหนดไว้แล้ว หมุนตัวกลับไปทางขวามือ เดินภาวนากลับไปกลับมา การกำหนดคำบริกรรมภาวนานั้น จะกำหนดอยู่ที่เท้าเวลาเดินก็ได้ หรือกำหนดไว้ในใจก็ได้ตามชอบ ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับแต่ประการใด


ส่วนการกำหนดทิศทางเดินจงกรมนั้น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต องค์ท่านกล่าวไว้ว่า “ทางเดินจงกรมตามที่ท่านกำหนดรู้ไว้ และปฏิบัติตามเรื่อยมานั้นมีสามทิศด้วยกัน คือตรงไปตามแนวตะวันออก – ตะวันตกหนึ่ง ไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้หนึ่ง และไปตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่ง การเดินจงกรมก็เดินไปตามแนวทั้งสามที่กำหนดไว้ในแนวใดแนวหนึ่ง

ความสั้นยาวของทางจงกรมแต่ละสายนั้น ท่านว่าตามแต่ควรสำหรับรายนั้นๆ ไม่ตายตัว กำหนดเอาเองได้ตามสมควร แต่อย่างสั้นท่านว่าไม่ควรให้สั้นกว่าสิบก้าว สำหรับเวลาอยู่ในที่จำเป็นหาทางเดินมิได้” “การเดินไม่พึงเดินไกวแขน ไม่พึงเดินเอามือขัดหลัง ไม่พึงเดินเอามือกอดอก ไม่พึงเดินมองโน้นมองนี้อันไม่เป็นท่าสำรวม”


การนั่งสมาธิภาวนา หรือการเดินจงกรมนั้น เราจะทำที่ไหนก็ได้ ที่วัด ที่บ้าน ในที่ทำงาน ในร้านอาหาร ในช๊อปปิ้งมอลล์ ทำการทำงานทุกสิ่งทุกอย่าง ทำภาวนาได้ทั้งนั้น มีสติระลึกขึ้นมาได้ก็กำหนด “พุทโธ” ทันทีเลยไม่ต้องรอให้เสียเวล่ำเวลา ก้าวขาขวา “พุท” ก้าวขาซ้าย “โธ” เรียกว่าภาวนาได้ทุกเมื่อไม่มีกาลเวลา จึงสมดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “อกาลิโก” ไม่มีกาล ไม่มีเวลา ไม่มีฤดู ทำได้เสมอ


ขอจบลงด้วยโอวาทธรรมของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร “เมื่อเหล่าท่านทั้งหลายได้พากันสดับตรับฟังแล้ว ในโอวาทศาสนีย์ธรรมะคำสั่งสอนนี้ ซึ่งแสดงโดยย่นย่อพอเป็นเครื่องปฏิบัติ ประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย ให้พากันโยนิโสมนสิการ กำหนดจดจำ นำไปประพฤติปฏิบัติฝึกหัดตนของตน ให้เป็นไปในศีล เป็นไปในธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว แต่นี้ต่อไป พวกท่านทั้งหลายจะประสบแต่ความสุข ความเจริญงอกงาม ดังได้แสดงมา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้”


ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jit-apinya&month=10-10-2009&group=5&gblog=2
หากเคยมีคนมาลงแล้วก็ขออภัยด้วยครับ

44
ธรรมะ / เกี่ยวกับการตามดูจิต ..
« เมื่อ: 27 พ.ค. 2553, 03:47:31 »


พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถาม - ดูจิตอย่างไรจึงจะเป็นวิปัสสนาคะ

ถ้ามีสติจริงๆ นะ สมาธิจะเกิดอัตโนมัติได้ด้วย
เพราะเมื่อไรจิตเราฟุ้งซ่าน เรามีสติรู้ทันนะ
ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา ได้สมาธินะ
เพราะฉะนั้นดูจิต ดูจิต ไป ได้สมาธิ
ทีนี้บางทีครูบาอาจารย์บางท่านก็บอก เอ๊ย ดูจิตเป็นสมถะนะ
ถูกของท่านนะ ดูจิตเป็นสมถะ ถูกของท่าน
แต่ถ้าดูเป็น ก็เป็นวิปัสสนาได้
ดูกายก็เป็นสมถะได้นะ ไม่ใช่ดูกายเป็นวิปัสสนา
ถ้าดูกายแล้วเห็นแต่กายเนี่ย ไม่เห็นไตรลักษณ์แล้วนะ สมถะละ
ดูจิตนะ พอเห็นจิตเราฟุ้งซ่าน เรารู้ทันนะ
จิตมันก็สงบเข้ามา ตรงนี้เป็นสมถะ

เพราะฉะนั้นมันเป็นวิปัสสนา จะขึ้นวิปัสสนาด้วยการดูจิตทำยังไง
พูดมาแล้วนะเรื่องศีล ใช่ไหม
มีสติรู้จิตเนี่ยศีลเกิด มีสติรู้จิตสมาธิเกิด
มีสติรู้จิตแล้วทำยังไงปัญญาจะเกิด
การจะเกิดปัญญาได้เนี่ย เราต้องค่อยๆ ฝึกแยกธาตุ แยกขันธ์ไป
แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว
อย่างเราดูจิตดูใจ เราเห็นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น
เราค่อยๆ ดูไป เราจะเห็นเลยความโกรธเป็นสิ่งหนึ่งนะ
จิตที่เป็นคนรู้ความโกรธเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เนี่ยเป็นการแยกขันธ์ออกไปนะ
ความสุขเกิดขึ้น เรารู้ทันนะ มีสติรู้ทันนะ จิตตั้งมั่นอยู่ จิตตั้งมั่น
แต่ถ้ามีสติรู้ทันแต่จิตไม่ตั้งมั่น มันจะไปเพ่ง
ถ้ามีสติรู้ทันนะ จิตตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่
จิตมีสัมมาสมาธิหนุนหลังอยู่ มันถึงจะเดินปัญญา
มันจะแยกธาตุแยกขันธ์ได้
ความสุขเกิดขึ้น จิตตั้งมั่นอยู่ สติรู้ความสุขที่เกิดขึ้น ในขณะที่จิตตั้งมั่นอยู่เนี่ย
มันจะเห็นทันทีว่าความสุขกับจิตเนี่ยเป็นคนละอันกัน
ความสุขกับจิตก็คนละอันกัน
ถ้าสติระลึกรู้ร่างกาย แล้วจิตตั้งมั่นอยู่นะ
มันจะเห็นว่าร่างกายก็อยู่ส่วนหนึ่ง จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง เป็นคนละอันกัน
เนี่ยมันจะค่อยๆ แยกนะ ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง
เวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ ก็ส่วนหนึ่ง
จิตก็อยู่อีกส่วนหนึ่งนะ
กุศลอกุศลทั้งหลาย เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง
หรือสภาวะธรรมที่เป็นกลางๆ ทั้งหลาย
ความปรุงแต่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
จิตที่เป็นคนรู้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
มันจะแยกจิตออกจากสิ่งอื่นๆ แยกจิตออกจากกาย แยกจิตออกจากเวทนา
แยกจิตออกจากจิตสังขารที่เป็นกุศลอกุศล หรือเป็นกลางๆ
จิตจะแยกตัวออกมา

พอขันธ์มันแยกตัวออกไปแล้วเนี่ย สิ่งที่จะเห็นได้ชัดก็คือ
ขันธ์แต่ละขันธ์แต่ละกองที่แยกออกไปนั้น ไม่ใช่ตัวเรา
จะเห็นทันทีนะ ไม่ใช่ตัวเรา
อย่างพอเรามีสติขึ้นมา รู้ร่างกายอยู่ในขณะนั้นจิตตั้งมั่นอยู่
มันจะเห็นว่าจิตอยู่ส่วนหนึ่ง กายอยู่ส่วนหนึ่ง
ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าสติระลึกรู้เวทนา เช่น ความสุขเกิดขึ้น จิตมันตั้งมั่นขึ้นมา
จิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะเห็นว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง
จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าโทสะเกิดขึ้นมา สติระลึกรู้โทสะที่เกิดขึ้น
จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่ มันจะเห็นว่าโทสะอยู่ส่วนหนึ่ง
จิตอยู่อีกส่วนหนึ่ง โทสะไม่ใช่ตัวเรา
นี่มันจะเห็นลงไปเรื่อย แล้วเห็นว่าไม่มีเราในขันธ์ทั้งหลาย
เนี่ยคือการเจริญปัญญานะ






ถาม - หัดเจริญปัญญาอย่างไรจึงจะแยกขันธ์ได้ครับ

การหัดเจริญปัญญา ขั้นแรกก็แยกขันธ์ออกไปก่อน
อย่างโทสะกะจิตนี่คนละอันกัน
โทสะนี่เรียกว่าสังขารขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์นะ
ร่างกายก็ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นรูปขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
เวทนาก็เป็นอีกขันธ์หนึ่ง เรียกเวทนาขันธ์นะ จิตเป็นวิญญาณขันธ์
ถ้าแยกออกไปแล้วเนี่ย มันจะเริ่มเห็นความจริง
ว่าขันธ์แต่ละขันธ์ที่แยกออกไปแล้ว ไม่ใช่ตัวเราหรอก
พวกเราที่หัดภาวนากับหลวงพ่อนะ สังเกตไหมไม่นานก็แยกขันธ์ได้
ถ้าไม่มีการแยกขันธ์ อย่าพูดเรื่องเจริญปัญญา อย่าพูดเรื่องวิปัสสนา
วิปัสสนาคือการเห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์นั้นเอง
ถ้าขันธ์ยังไม่แยกตัวออกไป ยังเป็นก้อนเดียวกันอยู่นะ
มันจะไม่เกิดวิปัสสนาตัวจริงหรอก

ทำไมต้องแยกออกไป
เพราะวิธีศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าวิภัชวิธี
ว.แหวน สระอิ ภ.สำเภา ไม้หันอากาศ ช.ช้าง "วิภัช"
วิภัช แปลว่า แยก
แยกอะไร แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
แยกออกได้ ๕ ส่วน ก็เรียกว่าขันธ์ ๕
บางทีแยกอีก อีกอะไร อีกแบบหนึ่ง แยกเป็น ๖ ส่วน เรียกอายตนะ ๖
ความจริงก็คือขันธ์ ๕ เหมือนกันแหละ แต่แยกไปอีกสไตล์หนึ่ง
หรือแยกอีกแง่มุมหนึ่ง อีกมิติหนึ่ง แยกเป็นธาตุ ธาตุ ๑๘ ธาตุ
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เนี่ยคือวิปัสสนาภูมินะ
คือสิ่งที่จะใช้เรียนทำวิปัสสนา
เพราะฉะนั้นบางคนเรียนเรื่องขันธ์ บางคนเรียนเรื่องธาตุ
บางคนเรียนเรื่องอายตนะ แต่ใจความก็อันเดียวกัน
คือการแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ
เพื่อจะได้เห็นว่าแต่ละส่วนนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา
สิ่งที่เรียกว่าตัวเรานั้นคือกายกับใจ คือขันธ์ ๕ ที่มารวมกัน
แล้วเราก็มีการเข้าไปหมายรู้ผิดๆ มีสัญญาเข้าไปหมายรู้ผิดๆ
เรียก "สัญญาวิปลาส" หมายรู้ผิดๆ ว่านี่คือก้อนนี่คือตัวเรา
วิธีที่จะทำลายความวิปลาสนี้คือหัดแยกขันธ์ไป
สติระลึกรู้กาย จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู กายกับจิตก็แยกกัน
สติระลึกรู้เวทนา จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เวทนากับจิตก็แยกกัน
สติระลึกรู้สังขาร จิตตั้งมั่น สังขารกับจิตก็แยกกัน คนละอันกัน
เนี่ยจะแยกอย่างนี้ พอมันแยกไปนานๆ แล้วแต่ละอันจะไม่ใช่เรา
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบนะ มีรถยนต์หนึ่งคัน
เราเห็นว่ารถยนต์นั้นมีจริงๆ รถยนต์มีจริงๆ
ถ้าเรียนแบบชาวพุทธนะ เราจะถอดรถยนต์ออกเป็นชิ้นๆ
นี่พวงมาลัยนะ นี่เกียร์ นี่เบรค นี่คันเร่ง นี่กันชน
นี่ตัวถัง นี่ช่วงล่าง นี่คลัชนะ นี่แยกๆ แยกๆ ไป
คลัชไม่ใช่รถยนต์ใช่ไหม ตัวถังไม่ใช่รถยนต์
เบาะไม่ใช่รถยนต์ โช้คไม่ใช่รถยนต์ กันชนไม่ใช่รถยนต์
วิทยุก็ไม่ใช่รถยนต์ เบาะก็ไม่ใช่รถยนต์นะ

เนี่ย พอแยกๆ แยกออก ไปนะ ก็จะพบว่ารถยนต์ไม่มีจริง
รถยนต์เป็นสิ่งซึ่งหลายอย่างๆ มาประกอบกันขึ้นมา
แล้วเราก็หมายเอาว่านี่คือรถยนต์
ตัวเราจริงๆ ก็ไม่มี มันคือขันธ์ที่มาประกอบกันขึ้นมา
คืออายตนะที่มาประกอบกันขึ้นมา คือธาตุที่ประกอบกันขึ้นมา
เรียนอันใดอันหนึ่งก็พอแล้ว ไม่ต้องเรียนหมดหรอก
เพราะฉะนั้นเรามาคอยดูไป ทำยังไงมันจะแยกออกไป
มันจะแยกออกไปได้ด้วยเครื่องมือสองอัน
อันหนึ่งฝึกมีสติขึ้นมา
อันหนึ่งฝึกให้มีสัมมาสมาธิ มีใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา
การฝึกสติเนี่ยฝึกยังไง คอยหัดรู้สภาวะไปเรื่อย
ความโลภเกิดขึ้นรู้ทัน ความโกรธเกิดขึ้นรู้ทัน ความหลงเกิดขึ้นรู้ทัน
ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นรู้ทัน ใจเฉยๆ ความเฉยๆ เกิดขึ้นก็รู้ทัน
ร่างกายหายใจออกก็รู้ ร่างกายหายใจเข้าก็รู้
ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ก็รู้ นี่หัดรู้บ่อยๆ

หัดรู้บ่อยๆ นะ ต่อไปมันจะรู้โดยไม่ได้เจตนาจะรู้
นี้เรียกว่ามันมีสติขึ้นมา อย่างเราหัดรู้ความรู้สึกของตัวเองเรื่อยๆ นะ
คอยดูความรู้สึกตัวเองไปเรื่อย
เดี๋ยวโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์นะ
ต่อมาพอใครมาพูดขัดใจเรานิดเดียว ความโกรธเกิดนะ
สติจะเห็นเองเลยว่า โอ้ ใจนี้มันมีความโกรธผุดขึ้นมา
นี่วิธีฝึกให้มีสตินะ คือหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ
ถ้าจิตมันจำสภาวะได้แม่นเมื่อไหร่ สติจะเกิดอัตโนมัติ
สติที่เกิดอัตโนมัติเป็นสติที่มีกำลังกล้า
สติที่ต้องจงใจให้เกิดนี่มีกำลังอ่อนนะ
เพราะฉะนั้นเราฝึกจนสติมันอัตโนมัติขึ้นมา
อีกอันหนึ่งเราเรียนเรื่องจิตสิกขา
บทเรียนเรื่องจิตสิกขาเรียนเพื่อให้จิตมีสัมมาสมาธิ จิตมีความตั้งมั่นนั่นเอง
ทีนี้เราชอบมั่ว บางทีได้ยินคำว่าจิตสิกขา คิดว่าเป็นเรื่องเข้าฌานอย่างเดียว
นั่งจะทำฌานอย่างเดียว วัตถุประสงค์ไม่ได้มุ่งทำฌาน
วัตถุประสงค์จริงๆ จะให้จิตเกิดสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นขึ้นมา
ส่วนจะตั้งมั่นถึงระดับฌานหรือไม่
เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่จิตต้องตั้งมั่น

ขอบคุณที่มาจากเวป http://www.dharmamag.com/ หากมีคนเคยนำมาลงแล้วก็ขออภัยดว้ยนะครับ

45


เอามาให้พี่น้องสมาชิกได้ชมกัน จากข้อมูลถ้าจำไม่ผิดปลุกเสก พิธีเสาร์5 ที่ผ่านมาด้วยนะครับ

กราบมนัสการ และ ขอบพระคุณหลวงพี่ญา วัดบางพระมากครับ ที่เมตตาผมมาเสมอครับ  :054:  :054:  :054:

ขอบพระคุณพี่นนโองการ ด้วยครับ

46
ประวัติคาถา และความเป็นมาของ พระคาถา: คาถา ความหมายของคำว่า “คาถา”และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ประวัติ คาถา และความเป็นมาของ พระคาถาต่างๆ การใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต

เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจาก การสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3 (ตติยสังคายนา) แล้ว พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเริ่มร่วงโรยลง และต่อมาได้ย้ายไปประดิษฐานในลังกา ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ในอินเดียสมัยนั้น ได้ผสมผสาน กันมา จนเกิดมีลัทธิ พุทธตันตระ (ลัทธิพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับการใช้คาถา-อาคม พระคาถา)เกิดขึ้น อีกลัทธิหนึ่ง

ศาสนาพราหมณ์ในขณะนั้น มีความมั่นคงเลื่อมใส ในลัทธิไสยศาสตร์มาก มีการใช้เวทมนตร์"คาถา"เป่าพ่นปลุกเสกและลงเลขยันต์ ประกอบ อาถรรพณ์ต่างๆแม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ใช่ว่าจะปฏิเสธเสียทีเดียว เพราะ พระพุทธศาสนาเองก็ยังมีคุณอัศจรรย์ ที่จัดเป็น ปาฏิหาริย์ไว้ 2 อย่าง คือ

1. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์

2. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่เป็นอัศจรรย์ถึงกับ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่อง พระโมคคัลลานะ เถระไว้เป็น ยอดของพระภิกษุที่ทรงอิทธิฤทธิ์ หากแต่ พระองค์ไม่ทรงยกย่อง อิทธิปาฏิหาริย์เท่ากับ อนุสาสนีปาฏิหาริย์

       การใช้เวทมนตร์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดบนฐาน แห่ง วิปัสสนาญาณถึงแม้หาก ว่าปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูงไม่เกินฌานสมาบัติก็ตามกระนั้นก็สามารถที่จะแสดง อิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิของตน เช่น พระเทวทัตต์หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอก็ยังสามารถบิดเบือน แปลงกายกระทำอวด ให้อชาตศัตรูกุมารหลงใหลเลื่อมใสได้

      ส่วนอารมณ์ของรูปฌานนั้น ท่านใช้กสิณบ้างใช้คาถาบริกรรมบ้าง สุดแต่นิสัยของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ โดยเฉพาะ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตามนั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น

เพื่อผลในทางอิทธิปาฏิหาริย์ที่ตนมุ่งหวังปรารถนา พระคาถาและการทำสมาธิแบบนี้ ได้เจริญ แพร่หลาย มากขึ้น ได้เกิดมีคณาจารย์มุ่งสั่งสอนเวทมนตร์กัน และได้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทางไสยศาสตร์ ของพราหมณ์มาใช้ โดยคัดตัดตอนเอาเนื้อมนต์ของพราหมณ์นั้นออกเสีย บรรจุพระพุทธมนต์ แทรกเข้าไปแทน เพราะมาคิดเห็นกันว่ามนต์พราหมณ์ยังเรืองอานุภาพถึงอย่างนี้ ถ้าหากว่า เป็นพุทธมนต์ คงจะยิ่งกว่าเป็นแน่
       ฉะนั้นในการใช้เวทมนตร์คาถาที่พวกเราพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกวันนี้ จึงล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธมนต์ที่ท่าน โบราณาจารย์ดัดแปลง แก้ไขเลียนแบบอย่างวิธีทางลัทธิไสยศาสตร์เดิมมาเท่านั้นหาใช่เป็นลัทธิไสยศาสตร์ ของพราหมณ์ดังที่บางท่านเข้าใจกันไม่

      การรวบรวมคัมภีร์พระเวทพระคาถา อย่างจริงจังเกิดขึ้นในสมัย เจ้าพระคุณพระมงคลราชมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ แต่เมื่อครั้ง ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสัจจญาณมุนีอยู่นั้นพระคุณท่านเป็น ผู้สนใจในศาสตร์ ประเภทนี้อยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมขึ้นไว้จากสรรพตำราต่างๆ ส่วนมากเป็นของ สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ของท่าน อันได้รับสืบต่อมาจาก สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านได้ตั้ง ปณิธานที่จะให้วิชาเหล่านี้ได้เผยแพร่ต่อไปเพราะเกรงว่าจะสาบสูญเสียหมด

       ในการรวบรวมคัมภีร์พระเวท พระคาถาเหล่านี้ข้อความบางแห่งพอ ที่จะมี ต้นฉบับสอบทาน ก็ได้จัดการ สอบทานแก้ไข ให้ถูกต้อง ตามต้นฉบับเดิม ซึ่งได้คัดลอกสืบต่อกันมา แต่ก็ยังมีอักขระพระคาถา เนื้อมนต์นั้นบางทีก็มีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง สำหรับบทที่หาต้นฉบับ สอบทานไม่ได้ ก็คงไว้ ตามรูปเดิม ซึ่งถ้าหากได้ผ่านสายตาท่าน ผู้รู้ทั้งหลายก็ได้โปรด กรุณา แก้ไขต่อเติมเสีย ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้เป็นตำราที่ถูกต้องบริบูรณ์ ดุจต้นฉบับ ของเดิมเพื่อเป็นการเทิดทูน วิทยาการอันประเสริฐ รวมทั้งได้ดำรงคงอยู่เป็นแนวศึกษาของชั้นหลังสืบต่อไป

   คาถา  รวมพระคาถา ความหมายของคำว่า “คาถา” พระคาถา และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบันการใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์  คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต  ในนี้จะมีบท คาถาต่างๆ ทั้ง คาถาชินบัญชร  คาถาทางเมตตามหานิยม คาถาทางคงกระพันชาตรี คาถาแคล้วคลาด คาถาแผ่ส่วนกุศล คาถาแผ่เมตตา คาถากันของไม่ดี หัวใจพระคาถาต่างๆ คาถาบูชาเทพเจ้า คาถาบูชาพระพุทธรูปต่างๆ ซึ่งคาถาต่างๆเป็นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนคนจะใช้คาถาต่างๆได้สัมฤทธิผลกันมากเนื่องจากมีความเชื่อความศรัทธาและสัจจะเป็นสำคัญ ส่วนการท่องหรือตัวอักษรอักขระการออกเสียงต่างๆ อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนสำคัญอยู่ที่ความมั่นใจและตั้งมั่นมากกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆแค่ บทสวดมนต์ต่างๆการออกเสียงในส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ก็ต่างกันแล้ว แต่ทำไมถึงมีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันละ ก็เพราะความตั้งมั่น ไม่สงสัยในครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนมา

คาถาใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเราจะต้องท่องให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องได้ง่ายจำได้แม่น แล้วก็กราบตำรานั้น 3 ครั้ง ต่อจากนั้นก็เปิดขึ้นมาท่องจำ หนังสือนั้นอย่าเหยียบอย่าข้าม อย่านั่งทับหรือนอนทับ ขณะท่องอย่านอนหลับให้หนังสือทับคาอก จะทำให้ปัญญาเสื่อม

เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถาใด ๆ ทุก ๆ พระคาถา จะต้องตั้ง นะโม 3 จบก่อน

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ความหมายของคำว่า “คาถา”
แต่คาถาและวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ยังมีนัยอีกหลายประการนัยแรกตรงกับความหมายของพระเวท ใช้อ้อนวอนเซ่นสรวงบูชาและขอพรอำนาจแม้แต่การเชื่อว่าเป็นรหัสที่ได้รับจาก เทพเจ้าเป็นพิชอักขระมีความหมายในตัวเองต้องท่องบ่นให้ถูกต้องทุกคำ ห้ามแก้ไขการเรียนควรเรียนจากปากเพื่อรักษาสำเนียงโบราณไว้ ซึ่งทำให้คาถาเพี้ยนอยู่ทุกวันนี้นัยที่สองเป็นสิ่งลึกลับ มีอำนาจและมีตัวตน ใช้ได้เหมือนเครื่องมือสำเร็จรูปคาถาเมตตา คาถามหาเสน่ห์ บริกรรมภาวนาแล้วเมตตา คาถาทรหดบริกรรมภาวนาแล้วอยู่คงคาถาทั้งปวงมีอาถรรพณ์ เรียนแล้วไม่เจริญ มีพลังสร้างโทษแก่ผู้ใช้ได้สามารถสูบตัวตนของอาคมได้ คล้ายกับตำนานอสูรสูบพระเวทของพระพรหมตอนหลับแผลงฤทธิ์วุ่นวายจนพระนารายณ์ ต้องอวตารไปปราบ เกิดเป็นคำว่าอาคมเข้าตัว (เข้าหัวใจเข้าสมอง) เป็นที่เกรงกลัวกันมากสำหรับคนเรียนคาถายุคใหม่ สับสนกับคำว่าของถ้าเข้าตัวแล้วจะทำให้อายุสั้น บ้าใบ้วิกลจริต ตาบอดฉิบหายตายโหง คล้ายกับผิดครู ซึ่งโบราณนั้นต้องการให้อาคมเข้าตัวอย่างที่สุดก่อนทำการใดๆ ท่านให้เรียกอาคม เรียกอักขระเข้าตัวก่อนเรียนวิชาต้องเรียนจนกว่าอาคมเข้าหนัง เนื้อ และกระดูกไม่มีใครเลยที่กลัวอาคมเข้าตัว แต่กลัวผิดครูถ้าใช้คาถาแล้วฉิบหายตายโหงทันตาแสดงว่าผู้เรียนนั้นใช้คาถา ไปในทางเลวอย่างแน่นอนเพราะกรรมไม่ใช่เพราะตัวอาคม การเรียกอาคมเข้าตัวนี้สนับสนุนว่า อาคม หมายถึงวิชาความรู้ แต่การสูบอาคมหรือคัดทิ้งแท้จริงเป็นการสูบปราณหรือลดพลังปราณคุ้มครองตัว ของฝ่ายตรงข้ามการจะทำได้ต้องมีปราณที่แข็งแกร่งทัดเทียมกันเป็นอย่างน้อย (ให้ศึกษาบทความเรื่องจิตและกายทิพย์) การให้โทษต่อสุขภาพร่างกายของปราณอย่างที่เรียกว่าอาคมเข้าตัวนั้นเกิดจาก การที่ปราณแตกกระจายหรือถูกกระแทกโดยปราณของผู้อื่นอย่างรุนแรงการกระทำ ย่ำยี การคัดของก็ใช้หลักการเดียวกันนี้

     แรกเริ่มของการเรียนไสยศาสตร์ทั่วไปจะได้รับคาถาไหว้ครูบทไม่ยาวนักเพื่อ ฝึกความจำ จากนั้นจะได้รับคาถายาวขึ้น จนกระทั่งถึงโองการและแม่บทคัมภีร์ต่างๆ เมื่อเข้าใจเรื่องการใช้ภูต ปราณ และจิต อย่างคล่องแคล่วแล้วคาถาไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่อาจจะมีความเคยชินว่าในการใช้พลังจิตต้องมีคาถาบูรพาจารย์มักยกคาถา สั้นๆมาใช้ ดังคำว่าสูงสุดคืนสู่สามัญจากกระบวนท่าเป็นไร้กระบวนท่า คาถาที่ได้รับตอนแรกเรียนเช่น พุทโธ นะมะพะทะนะโมพุทธายะ ฯลฯจึงเป็นคาถาที่บูรพาจารย์นำกลับมาใช้แสดงฤทธิ์จนเลื่องลือถึงทุกวันนี้ เคยพบหลายท่านที่คล่องแคล่วในการวางอารมณ์และถ่ายปราณไม่ได้ใช้คาถาใดในการ แสดงวิชาเลย
เมื่อเข้าใจว่าการใช้คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในตนสร้างความเชื่อมั่น และโน้มน้าวจิตตามวัตถุประสงค์ เราจะพบเห็นการแปลงคาถา เช่นสวาหะ แปลงเป็นสวาหาย สวาหับ สวาโหม ฯลฯ การนำคำพ้องเสียงมาใช้โดยไม่สนใจความหมายเช่น อุทธังอัทโธ แปลว่า เบื้องล่างเบื้องบน นำมาใช้ในวิชามหาอุด เป็นต้นดังนั้นหลักใหญ่ของการใช้คาถาคือความสม่ำเสมอของอารมณ์ในขณะนั้น( ไม่ใช่ความนิ่งไร้อารมณ์)ความเชื่อมั่นไร้ความลังเลสงสัยในกระแสทั้งสามและ อำนาจของกระแสจิตในตนคาถาทั้งปวงจะขลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับอุปาทานข้อนี้ และ ๑.อำนาจสัจจะ๒.อำนาจคุณพระและ ๓.อำนาจเคราะห์กรรม (พึงศึกษาบทความเรื่องคุณพระต่อไป)การใช้คาถาทั้งปวงเมื่อเข้าถึงคุณพระได้ ย่อมเกิดอานุภาพความยาวและความยากของภาษาที่ใช้มีผลต่อการเข้าถึงคุณพระพอ สมควรดังนั้นควรเลือกบทที่ชอบ จิตเกาะได้ดี อารมณ์สม่ำเสมอ หรือเกิดปีติ


ขอขอบคุณที่มาจาก board.palungjit.com หากผิดพลาด หรือมีคนเคยลงแล้วก็ขออภัยด้วย

47




สวัดดีปีใหม่ไทยทุกท่านนะครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุข เดินทางปลอดภัย ไม่ประมาทนะครับ

48
ธรรมะ / ฌานสมาบัติ ...
« เมื่อ: 13 เม.ย. 2553, 01:54:37 »
คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ 
เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
          สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ
ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

ขณิกสมาธิ

          ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

ฌาน

          ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน  ๘
           ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

อุปจารสมาธิ

          อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
          ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
          ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
          ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
          ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
          ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
          ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
          ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
          ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
          อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
          ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

          ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
ดังต่อไปนี้
          ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
อย่างนี้เรียกว่าวิตก
           ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
           ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
           ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
เรียกว่า วิจาร
          ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
          ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
          ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
          ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
ในเรื่องของกาย  เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

          เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
โดยย่อมีดังนี้
          ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
          ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
          ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
          ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
ประณีต
          ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
แทรกแซง
          องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน

          เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน
 

นิวรณ์ ๕

          อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
          ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส  อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
          ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
          ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
          ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
          ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
เพียงใด
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
          อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
จนเสียผลฌาน
 

ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ

          ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
          อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

อารมณ์ทุติยฌานมี ๓
          ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
          ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
          ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
          อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ 
เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์ 
วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้  เคยฟังท่านสอน
เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร

ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ
 
          ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา 
มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน  ๒
ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
          พูดมาอย่างนี้  คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง  เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก

เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

          เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง  เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู  เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน  จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา

อานิสงส์ทุติยฌาน

          ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
ให้ผลดังนี้
          ก. ทุติยฌานหยาบ   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๔
          ข. ทุติยฌานกลาง   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๕
          ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๖
          ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง
 

ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

          ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
          ๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
ที่เนื่องด้วยกาย
          ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
          อาการของฌานที่ ๓ นี้  เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว
 

เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

          ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓

อานิสงส์ฌานที่ ๓

          ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
          ๑. ฌานที่ ๓ หยาบ   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๗
          ๒. ฌานที่ ๓ กลาง   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๘
          ๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๙
          ฌาน  ๓  ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ

          จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่

อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง

          ฌาน  ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
          ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
          ๒.  อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย

อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

          เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ  ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย  ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
ได้โดยตรง

เสี้ยนหนามของฌาน ๔

          เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
ลมหายใจเลยเป็นอันขาด

อานิสงส์ของฌาน ๔

          ๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
          ๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
          ๓. ท่านที่ได้ฌาน  ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
          ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑

รูปสมาบัติหรือรูปฌาน

          ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
          รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
ต่อไป
 

อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน
   
          ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
          ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
          ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
อะไรเลยเป็นสำคัญ
          ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน  เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก

สมาบัติ ๘
          ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

ผลสมาบัติ 

          คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
ท่านเรียกว่าเข้าฌาน  เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง 

นิโรธสมาบัติ

          นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

          สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
          ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
          ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
          ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

เข้าผลสมาบัติ 

          ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
สมาบัตินั้น  เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้  เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน

ขอขอบคุณเวปพลังจิต สำหรับข้อมูลนะครับ หากมีผู้เคยลงใว้แล้วต้องขออภัยครับ

49
เนื้อมนุษย์
เนื้อช้าง
เนื้อม้า
เนื้อสุนัข
เนื้องู
เนื้อสิงโต
เนื้อเสือโคร่ง
เนื้อเสือเหลือง
เนื้อหมี
และเนื้อเสือดาว


เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย เวลาทำกับข้าวไปถวายพระอย่านำเนื้อพวกนี้ทำกับข้าวไปถวายพระนะครับผม
โดยเฉพาะเนื้องู บางคนไม่รู้ แหม่ได้งูมาผัดเผ็ดถวายพระซะงั้น  กรรม (มีนะครับสมัยนี้ทำเป็นเล่นไป) เพราะฉะนั้นอย่าทำนะครับ :075:
เจตนาเพื่อให้เด็กๆที่ยังไม่รู้หรือคนที่ยังไม่รู้ได้รู้กันใว้นะครับ ไม่ได้มีเจตนาอื่นแอบแฝงเพราะก่อนจะทำกับข้าวไปถวายพระควรรู้ว่าเขาห้ามอะไรใว้บ้าง

ขอบคุณที่มาจากhttp://www.larndham.net/index.php


50
ธรรมะ / เรื่องของวิปัสสนาญาณ....
« เมื่อ: 08 เม.ย. 2553, 10:31:52 »


เรื่องของวิปัสสนาญาณ

 

                        -การขึ้นต้นของการเจริญพระกรรมฐาน  ถ้าเอากันเต็มแบบจริง ๆ  ท่านให้ใช้วิปัสสนาญาณก่อน  คือว่าใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน  ให้คิดถึงไตรลักษณญาณ  คือ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  อันดับแรก  ท่านให้คิดถึงความเป็นจริงของไตรลักษณญาณ

                        1.  ทุกขัง  การเกิดมาในโลก  การมีชีวิตของคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความทุกข์  ที่มันทุกข์ก็เพราะอาการต่าง ๆ  มันไม่เที่ยง  เป็นอนิจจัง  มันไม่มีการทรงตัว  ความทุกข์มันมีมาตั้งแต่เด็ก  ความหิวก็เป็นทุกข์  ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์  การประกอบกิจการทุกอย่างเหน็ดเหนื่อยก็เป็นทุกข์  การพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นทุกข์ และในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์  มีความทุกข์ตั้งแต่เด็ก  ต่อมาเป็นผู้ใหญ่และก็แก่ตายในที่สุด  มีความทุกข์  อนิจจัง  ทุกขัง ต่อไปก็อนัตตาตามลำดับ

                        2.  อนัตตา คิดตามความเป็นจริงว่าคนหรือสัตว์ก็ดีที่เกิดมาในโลกนี้  ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมดทั้งโลก  เราก็ตายเหมือนกัน

                        -เรื่องของวิปัสสนาญาณนั้น  ส่วนสำคัญถ้าจะกล่าวให้ละเอียดก็คือ  ตอนต้นที่จะเริ่มทำสมาธิ  ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคนใช้กำลังปัญญาก่อน  ปัญญานี่เป็นส่วนหนึ่งของวิปัสสนาญาณ  อันดับแรกใช้ปัญญาของสมาธิ  โดยการใช้อารมณ์เมตตาจิต เมตตาความรัก  กรุณา ความสงสาร  แผ่เมตตาไปในจักรวาลทั้งปวง  คือทั้งโลก  ให้มีความรู้สึกว่าเราจะเป็นมิตรที่ดีของคนและสัตว์ทั้งหมด

                        กรุณาความสงสาร  ถ้าคนหรือสัตว์ก็ตามเขามีความทุกข์  ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะพึงช่วยได้ เราจะช่วยให้เขามีความสุข  ตั้งใจตามนี้ไว้ก่อนเป็นอันดับแรก

                        -เมื่อจิตมีอารมณ์โปร่ง  มีความสุขดีแล้ว  ต่อไปให้นึกถึงด้านวิปัสสนาญาณขั้นอ่อน  มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า  โลกนี้มีแต่ความไม่เที่ยง  เป็นอนิจจัง  ทุกอย่างไม่เที่ยงไม่มีการทรงตัว  เราเองเกิดจากท้องมารดาใหม่ ๆ  เป็นเด็กเล็ก  ต่อมาก็เปลี่ยนแปลง  กลายเป็นเด็กใหญ่  เป็นหนุ่มเป็นสาว  เป็นวัยกลางคน  จนมาเป็นคนแก่  เป็นเพราะมันไม่เที่ยง  ขณะที่ทรงร่างกายอยู่มันก็ไม่เที่ยง  มีการป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ  ที่อาการไม่เที่ยงทำให้เราเป็นทุกข์  ในที่สุดพึงเข้าใจว่าในที่สุดเราก็ต้องตาย  ก่อนตายเราก็เลือกทางไปว่าเราจะไปทางไหน  ถ้าเราไปสวรรค์  เพียงแค่ให้ทานก็ได้  รักษาศีลก็ได้  ถ้าจะไปพรหมโลก  ก็ต้องเจริญสมาธิจิตให้ได้ญาณสมาบัติ  แต่ถ้าต้องการนิพพาน  ก็ต้องให้เข้าใจตามความเป็นจริงด้วยปัญญา  มีความเข้าใจว่าโลกนี้เป็นทุกข์  หาความสุขไม่ได้  ร่างกายมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  ถ้าเรายังมีร่างกายแบบนี้  เราก็มีแต่ความทุกข์ไม่สิ้นสุด  ฉะนั้น  ขึ้นชื่อว่าการเกิดมีร่างกายแบบนี้จะมีกับเราชาตินี้ชาติเดียวเป็นชาติสุดท้าย  เราไม่ต้องการเกิดแบบนี้อีก  เราต้องการนิพพาน

ขอขอบคุณที่มาจากเวป(และอ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่)
http://kaskaew.com/index.asp?contentID=10000004&title=%E0%C3%D7%E8%CD%A7%A2%CD%A7%C7%D4%BB%D1%CA%CA%B9%D2%AD%D2%B3&getarticle=138&keyword=&catid=23

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก google.com

51











ภาพสุดท้ายพี่บอล(ราหู) กำลังตั้งใจกรวดน้ำ อิอิ

52
ธรรมะ / คำอนของ ท่านพุทธทาส ภิกขุ
« เมื่อ: 27 มี.ค. 2553, 10:16:14 »
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา

จงเลือกเอา ส่วนดี เขามีอยู่

เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู

ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี อยู่ส่วนเดียว

อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย

เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย

ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริงฯ



คนเราย่อมมี 2 ด้านเสมอ ไม่มีใครดี 100 หรือเลว 100 จงมองอย่างเข้าใจ และเข้าใจในสิ่งที่เป็น

หากข้อความนี่เคยมีคนมาลงแล้ว ก็ขออภัยครับ

ขอบคุณที่มา
http://my.dek-d.com/fairy-fai/blog/?blog_id=10017363



53


ขออนุญาติทุกๆท่าน นำมาให้ชมกันครับ

รุ่นนี้เป็นรุ่นพิเศษย้อนยุค พระนางพญานั่งไก่ รุ่นแรก 2496 นะครับ ของวัดไร่ขิง
จึงนำมาให้ชมสวยดีครับ  ภาพอาจไม่เค่ยชัดต้องขออภัยด้วย

นำมาให้ชมเฉยๆนะครับ ไม่ได้มีเจตนาอื่นใด (ส่วนตัวผมไม่รับจัดหาพระ หรือ ใดๆในเชิงธุรกิจทุกชนิดนะครับ )
ใครมีโอกาศไปทำบุญเอาเองและกัน ครับ

54
พรุ่งนี้ในวันที่ 20 มีนาคม 2553 ซึ่งฤกดีวันเสาร์ 5 และตรงกับวันเกิด ท่านเสน่ห์โจรสลัด

ก็ขออวยพรใว้ล่วงหน้านะครับ

ขอให้เพื่อนโชคดีมีความสุข คิดสิ่งใดสมดั่งใจหวัง  รวยๆ ด้วย มีเมียสวยๆหลายๆ คน อิอิ

พรุ่งนี้เจอกันที่วัด คืนนี้ขอให้เดินทางปลอดภัยนะเพื่อน โชคดี






ขอศรัทธา..ความดี..ที่มีมั่น
..จงช่วยสรรค์..สร้างชีวี..ให้สุขขี
..ช่วยแก้ไข..ปัญหา..นานามี
..ให้เธอนี้..มีสุข..ทุกข์อยู่ไกล


55





ได้รับความเมตตาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีเกศาด้วยสุดยอดครับ

ขอกราบมนัสการหลวงพี่ญา และขอบพระคุณที่เมตตาครับ  :054:

ขอขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆ ที่น่ารักทุกคนเลยครับ พี่ๆดูแลน้องเป็นอย่างดีเลย  :054:
ขอขอบคุณพี่จ๊อบด้วยครับ สำหรับพระหลวงตาวาส วัดสะพานสูง (รูปพี่จ๊อบเคยลงใว้แล้วนะครับ ) ขอบพระคุณครับ
ขอบคุณพี่ชายสุดหล่อ(ไม่ขอเอ่ยนาม) สำหรับพระเครื่องด้วยนะครับ
ไหว้ครูเจอกันครับ  :002:

56
ข้าพเจ้าฝึกกสินสีขาว พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง ขอแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้วิธีหรือเกิดปัญหาดังนี้

ตั้งวงกสินให้อยู่ไกลประมาณ 1 เมตร 10 ซม.
นั่งให้ระดับสายตาอยู่สูงกว่าตรงกลางวงกสินเล็กน้อย ไม่ให้เงยหน้ามองหรือก้มหน้ามอง
ตั้งกสินให้ไม่อยู่ในที่ๆ มีแสงสะท้อน หรือย้อนแสงนั่นเอง

- จากนั้นให้มองดวงกสินแบบให้มองเหม่อเหมือนส่องกระจกไปที่จุดศูนย์กลางของวงกสิน เพื่อไม่ให้มีแสงลายๆวิ่งรอบๆ ดวงกสิน

- พร้อมกันนั้นให้กำหนดคำภาวนาในใจ เช่น "สีขาว", "สีขาว" เป็นต้น ทุกลมหายใจเข้าออก

- จากนั้นให้เรากระพริบตา เมื่อรู้สึกว่าตาของเรามองกสินไม่ชัด

- เมื่อเรามองกสินไปได้พักหนึ่ง ซึ่งประมาณ 15 วินาที - 1 นาที หรือเมื่อรู้สึกว่านาน ให้หลับตาลงมองดูเงาโครงร้างของกสิน ไม่ใช่นึกภาพเอาเอง เราจะเห็นเป็นวงเงาจางๆ ที่ในหนังตากลางระหว่างคิ้ว

- พยายามรักษารูปเงาของกสินไว้ให้นานที่สุด เมื่อภาพของกสินหายไป อาจจะเพราะจิตเกิดนิวรณ์ หรือภาพที่เคยมองหายไปเอง ให้เราลึมตามองแล้วทำอย่างที่บอกมาแล้วอีกเรื่อยไป

- เวลาที่หลับตาและลืมตานั้น ข้าพเจ้ามีเทคนิคอยู่ว่า อย่าให้ร่างกายของตนเองขยับเขยื่อนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ภาพหายเร็วขึ้น สมาธิเคลื่อน, แต่เวลาที่รู้สึกตามันหนัก ตาจะหลับตาท่าเดียวไม่ลืมตาล่ะก็ ให้หายใจยาวๆ ได้จะทำให้อาการหนักตาหายไป และเวลาที่หลับตาหรือลืมตานั้นควรใช้ตอนที่อยู่ในช่วงเวลาหายใจเข้า เพราะตอนกำลังหายใจเข้าร่ายกายของเราจะนิ่งและรู้สึกเบาตัว

- เมื่อเราดำรงตนอยู่กับคำภาวนา พร้อมกับลืมตามองดวงกสิน สลับกับหลับตามองภาพเงาของกสินได้อยู่ตลอดโดยคำภาวนานั้นไม่ได้ตกหล่นแม้สักครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกได้แล้ว

- ต่อไปนานวันเข้า จะทำให้นิวรณ์ดับไปช่วงสั้นๆ คือ ดำรงสมาธิโดยไม่มีนิวรณ์ได้ช่วงสั้นๆ สลับกับมีนิวรณ์แทรกเข้ามาช่วงสั้นๆ ตลอดเวลาการฝึก เมื่อเราทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติอยู่ทุกวี่วัน จะทำให้เราสามารถมองเห็นเงาของกสินชาวๆ จางๆ ติดตาในเวลาหลับตาที่ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ฝึกสมาธิอย่างจริงจัง เช่น หลับตาตอนนั่งรถประจำทาง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าสมาธิอยู่ใน ระดับ "ขณิกสมาธิ"

- ต่อเมื่อฝึกไปนานๆ เข้าทุกวัน สามารถดำรงขณิกสมาธิได้เป็นปกติแล้ว จะทำให้นิวรณ์ดับไปนานขึ้น จนเกือบไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกเลยในช่วงหลังจากที่เริ่มนั่งฝึกสมาธิแล้ว เมื่อกระทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติเคยชินจะทำให้ภาพของกสินนั้นชัดขึ้น จนติดตาของเรา เห็นภาพเหมือนกับลืมตาปกติ (ก่อนที่จะเห็นเหมือนกับลืมตาได้นั้นจะมีวิวัฒนาการคือ จะเห็นขอบของเงากสินชัดขึ้น ตรงกลางของเงากสินเปลี่ยนสีไปเป็นสีขาวก่อนจุดอื่น และค่อยขยายตัวขึ้น จนในที่สุดจะขาวทั้งดวงเหมือนกับลืมตา) อย่างนี้เรียกว่าสมาธิของเรานั้นอยู่ในระดับ "อุปจารสมาธิ"

- เมื่อกระทำอย่างนี้แล้วเราสามารถวัดความก้าวหน้าได้คือ เมื่อไม่ได้อยู่ในเวลาฝึกปกติ เพียงเราต้องการจะเห็นภาพให้เราหลับตาลง นึกถึงดวงกลมๆ ของเงากสินเพียงลัดนิ้วมือจะเห็นภาพเหมือนกับลืมตาทันที

- เมื่อกระทำอุปจารสมาธิได้เป็นปกติแล้ว เราสามารถก้าวหน้าไปได้ด้วยการกระทำแบบเดิมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้สมาธิก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นคือ นิวรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในตอนเริ่มนั่งลงฝึก แล้วพอเรากำหนดคำภาวนาไปนิวรณ์จะหายไป  ไม่กลับมาอีกเลยตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก อาการปิติต่างๆ เช่น ขนลุก, น้ำตาไหล, ตัวโยกโคลง, ตัวเบาเหมือนลอยได้ ความชุ่มชื่นอิ่มเอมใจน้อยๆ ปรากฏขึ้นมา จิตของเราที่เคยรู้สึกตามลมหายใจเข้าไปหรือตามลมหายใจออกมา ไม่อยู่นิ่งจะอยู่นิ่งเอยู่พียงจุดเดียว คือ ระหว่างคิ้วที่ภาพของกสินนั้นชัดเหมือนลืมตา และคำภาวนาปรากฏชัดมากขึ้น เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าสู่ "ปฐมฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกระทำไปด้วยวิธีการดังเดิม แม้ในวันเดียวกัน หรือหลายวันขึ้นอยู่กับความเพียร จะทำให้คำภาวนาของเราค่อยๆ หายไป บางทีอยู่ดีๆ หายไป กลายเป็นเรารู้ลมหายใจชัดมากขึ้นไม่มีคำภาวนามาแทรก อาการต่างๆ ของปิติยังคงอยู่ ภาพของกสินยังเป็นสีเดิมแต่ชัดขึ้น ใสขึ้น นูนขึ้นเหมือนกับภาพ 3 มิติ เมื่อนั้นสมาธิของเราเข้าสู่ "ทุติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสินจิตจ่ออยู่ตรงกลางระหว่างคิ้ว ลมหายใจแผ่วเบาลง ภาพของกสินเริ่มเปลี่ยนเป็นเหมือนแก้วขาวใสขุ่นๆ เหมือนกับมรกตที่มีสีขาวใสผสมกับเนื้อกระจก อาการต่างๆ ของปิติสงบไปเองไม่ต้องบังคับ อาการแช่มชื่น สุขใจ ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดปรากฏขึ้นเต็มตัว เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าถึง "ตติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสิน ภาพของกสินจะค่อยๆ ใสคล้ายกับเนื้อของเพชร สีขาวค่อยๆ หมดไป จนเหลือแต่เพียงสีผลึกเพชร 7 สีอย่างเดียว สว่างไสว ลมหายใจที่มีอยู่หายไปเอง ไม่ต้องบังคับ อาการความสุขต่างๆ หายไปเหมือนกันไม่ต้องบังคับ เมื่อนั่นสมาธิของเราเข้าสู่ "จตุถฌาน"

- จากนั้น ถ้าเราต้องการที่จะฝึกวิชชา 8 หรือเข้าอรูปฌาน หรืออภิญญาก็สามารถกระทำได้ เช่น
        - ถ้าต้องการฝึกอรูปฌานให้เริ่มโดยการกำหนดอยู่นิ่งๆ กับภาพกสินที่เป็นผลึกเพชร ไม่มีลมหายใจปรากฏ จิตแน่วแน่ขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ภาพของเงากสินนั้นค่อยๆ ไปเหลือเพียงดวงกสินไม่มีใส้ ผลึกเพชรหายไป พูดง่ายๆ เหมือนกับวงกลมธรรมดาที่เขียนขึ้นมีพื้นสีดำที่เป็นเหมือนอากาศ  เรากำหนดรู้อยู่อย่างนั้นเป็นต้นไปเรียกว่าเข้าสู่อรูปฌานที่ 1

ที่มาจากเวป  www.larndham.net หากมีคนลงซ้ำแล้วก็ต้องขออภัย

57
ท่านทั้งหลายเอ๋ย สังขาร ของคนเรา ล้วนไม่เที่ยงแท้ ล้วนไม่มีแก่นสาร ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้เลย
ความตาย ทุกคนเกิดมาต้องตาย จงพิจณา ท่านทั้งหลายนี้ความจริงนี้ไม่พ้น
เมื่อเราตายไป ของรัก ของหวง เพื่อน คนรัก ญาติอันเป็นที่รัก สิ่งมีค่า ก็เอาไปไม่ได้เลย  ล้วนแต่ต้องพลัดพราก
ความสวยความงาม ล้วนไม่คงอยู่ไม่ถาวร ท่านทั้งหลายโปรดมีสติจงไม่ประมาทในความตาย จงทำสิ่งที่ดีก่อนที่เราจะตายไป
เพราะคนเราจะตายเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ ไม่มีใครทราบได้....จงมีสติอยู่ในความไม่ประมาท
ข้อความทั้งหลายตลอดเนื้อหา ข้าพเจ้าขอนอบน้อมถวายแด่ พระพุทธบูชา พระธรรมะบูชา พระสังฆะบูชา และครูบาอาจารย์
ท่านทั้งหลายโปรดพิจณาภาพต่อไปนี้ ทุกคนล้วนหลีกหนีมันไม่พ้น จงมีสติ สาธุอนุโมธามิ


คนเราทุกคนล้วนแค่นี้หละ

นี่คือร่างกายของเรามันก็แค่นี้เอง


ความสวยงามล้วนไม่คงทนและไม่ถาวรเลยหนอ มีแต่น้ำเหลืองน้ำหนองเต็มไปหมด


ควายตายไม่เลือก แม่แต่เด็ก คนหนุ่ม คนแก่ หนอ


เนี่ยหละ คนเราหนีความจริงไม่พ้น ตายไปก็เน่าอืด



ดูซะ ร่างกายที่ว่าสวย  สุดท้ายแล้วเป็นยังไง



นี่หละเหตุเกิดเพราะความประมาท หากไม่อยากเป็นควรมีสติอยู่ในความไม่ประมาท



สุดท้ายของคนเรา ก็อยู่แค่ตรงนี้เอง



สุดท้ายเหลือเพียง


ขอขอบคุณรูปภาพจาก google ครับ
สุดท้ายขอให้ท่านพึงมีสติอยู่ในความไม่ประมาท  สาธุอนุโมธามิ
[/color]

58


คำพังเพยโบราณที่กล่าวขานไว้ว่า “อยุธยาไม่สิ้นคนดี”ย่อมมีความเป็นจริงโดยแน่แท้ เช่นเดียวกันกับที่ “วัดดอนยายหอม” อ.เมือง จ.นครปฐม

ในอดีตนั้นมีพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่หลายรูป เป็นที่เคารพนับถือและกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจของผู้คนทั้งใกล้และไกล โดยเฉพาะ “พระราชธรรมาภรณ์” หรือ “หลวงพ่อเงิน” ขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้สร้างประโยชน์และคุณความดีไว้มากมาย จึงทำให้ชาวบ้านในตำบลดอนยายหอมพร้อมใจกันเรียกขานท่านว่า “เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม”

และหลังจากท่านละสังขารแล้วก็ยังมี “พระครูเกษมธรรมานันท์” หรือ “หลวงพ่อแช่ม” เป็นผู้สืบสานคุณความดีต่อไปไม่สิ้นสุด ชาวบ้านตำบลดอนยายหอมและใกล้ไกลจึงยกย่องท่านเป็น “เทพเจ้าแห่งดอนยายหอม” รูปที่ สอง จวบจนท่านละสังขารเมื่อปี พ.ศ.2536 วัดดอนยายหอมก็ยังมีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสืบสานให้วัดดอนยายหอมแห่งนี้เป็นอมตะแห่ง “พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ” สืบไปอย่างไม่สิ้นสุด

พระสงฆ์รูปนี้ก็คือ “พระครูสมุห์อวยพร ฐิติญาโณ” หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “พระครูอวยพร” หรือ “หลวงพ่ออวยพร” ซึ่งปัจจุบันท่านได้รับแต่งตั้งเป็น “พระครูสังฆรักษ์อวยพร” พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ที่ผู้คนทั้งในนครปฐมและต่างจังหวัดใกล้ไกลให้ความเคารพนับถือ “วัตรปฏิบัติดี” ที่แทบจะไม่แตกต่างจากหลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม ผู้เป็น “พระอาจารย์” ของท่านเล

ชื่อเสียงของหลวงพ่ออวยพรจึงขจรขจายแผ่ไปไกลมีลูกศิษย์ลูกหาจากทั่วประเทศ และลูกศิษย์คนไทยในต่างประเทศที่ได้นิมนต์ท่านไปโปรดญาติโยมในต่างแดนหลายต่อหลายครั้ง และรวมทั้งชาวต่างชาติอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และบรูไน ที่แม้จะเป็นคนต่างชาติต่างภาษาแต่ก็เดินทางมาให้ท่านสงเคราะห์ช่วยเหลือปัดเป่าความทุกข์กายทุกข์ใจ รวมทั้งการอาบน้ำมนต์ พร้อมขอวัตถุมงคลไปคุ้มครองป้องกันตัว แม้กระทั่งการนำรถยนต์ไปให้ท่านเจิมเสริมความเป็นสิริมงคลถึงวัดก็มีแทบจะทุกวันเลยทีเดียว

หลวงพ่ออวยพร จึงเป็นศิษย์ผู้สืบสายพุทธาคมของหลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม ที่เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยบารมีอีกรูปหนึ่งของเมืองนครปฐมในปัจจุบัน

พระครูสังฆรักษ์อวยพร ฐิติญาโณ หรือหลวงพ่ออวยพร เกิดเมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ.2485 ซึ่งตรงกับช่วงสงครามอินโดจีน ภูมิลำเนาเดิมเป็นชาวดอนยายหอม โยมบิดาชื่อ นายพวง โยมมารดาชื่อ นางอินทร์ อินทนชิดจุ้ย มีพี่น้อง 5 คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ซึ่งหากจะลำดับญาติความผูกพันทางสายเลือกแล้ว หลวงพ่ออวยพรมีศักดิ์เป็น “หลานของหลวงพ่อเงิน” และเป็นหลาน “หลานของหลวงพ่อแช่ม” ดังนี้

“หลวงพ่อแช่ม” เป็นหลานแท้ๆ ของ “หลวงพ่อเงิน” เนื่องจากคุณปู่ของหลวงพ่อแช่มที่ชื่อ “ปู่จุ้ย” เป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตของ“ปู่พรหม” ผู้เป็นบิดาของหลวงพ่อเงิน ส่วนบิดาของหลวงพ่อแช่ม ที่ชื่อ “คุณพ่อเนียม อินทนชิดจุ้ย” เป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตของ “คุณพ่อพวง อินทนชิดจุ้ย” ซึ่งเป็นบิดาของ “หลวงพ่ออวยพร” นั่นเอง


จากการที่หลวงพ่ออวยพรมีหลวงลุง (หลวงพ่อเงิน) และหลวงอา (หลวงพ่อแช่ม) เป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องนับถือจากผู้คนทั่วไป อีกทั้งยังมีคุณพ่อพวงเป็นที่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม บ่อยครั้งที่ท่านให้บุตรชาย “ด.ช.อวยพร” อ่านหนังสือชัยมงคลให้ท่านฟัง จึงทำให้ ด.ช.อวยพรซึมซับสิ่งที่บิดาปฏิบัติไปด้วย เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้วก็ช่วยทางบ้านทำไร่ทำนาตามอาชีพของพ่อและแม่

ต่อมาเมื่ออายุได้ 14 ปี จึงมาเป็นศิษย์วัดรับใช้ใกล้ชิด หลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม เทพเจ้าแห่งวัดดอนยายหอม หลวงพ่อแช่มจึงสอนให้อ่านและเขียนอักขระขอม ท่องบทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ตลอดทั้งคาถาอาคม ทำให้หลวงพ่ออวยพรมีพื้นฐานเรื่องไสยเวทวิทยาควบคู่ไปกับความสนใจในพระธรรมคำสอน ในขณะที่อายุ 15 ปี ก็มักจะเอาผ้านุ่งของมารดาที่มีสีเหลืองมานุ่งห่มเป็นพระ พร้อมกับทุกคนว่า “หากอายุครบบวชแล้วก็จะออกบวชโดยจะไม่สึกเหมือนกับหลวงลุง (หลวงพ่อเงิน) และหลวงอา (หลวงพ่อแช่ม) จริงๆ

นับว่าหลวงพ่ออวยพรเป็นผู้ที่พูดจริงทำจริงโดยแท้ เพราะว่าต่อมาเมื่ออายุได้ 21 ปี ในปี พ.ศ.2506 “นายอวยพร อินทนชิดจุ้ย” ก็ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดดอนยายหอม โดยมี พระราชธรรมาภรณ์ หรือหลวงพ่อเงิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดแช่ม (สมณศักดิ์ในตอนนั้น) หรือหลวงพ่อแช่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสังฆรักษ์แก้ว วัดดอนยายหอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิติญาโณ”

สมัยที่หลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้รับการนิมนต์ให้ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ อยู่เสมอ บางครั้งท่านอาพาธ หรือติดกิจนิมนต์ก็จะให้หลวงพ่อแช่มไปแทน หรือบางครั้งก็มอบหมายให้หลวงพ่ออวยพรไปแทนตามโอกาสอันควร

ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2512 หลวงพ่อเงินได้รับนิมนต์ให้ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดยางสุทธาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ครั้นถึงกำหนดเวลา หลวงพ่อเงินท่านไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานพุทธาภิเษกได้ ท่านจึงมอบหมายให้พระครูสมุห์อวยพรไปนั่งปรกแทน เมื่อหลวงพ่ออวยพรมาพบหลวงพ่อเงินที่กุฏิ หลวงพ่อเงินจึงพูดขึ้นว่า

“คุณพรไปนั่งปรกแทนฉันที ฉันไปไม่ไหว ไม่ค่อยสบาย ไปแทนฉันที่วัดยางสุทธาราม อยู่ในกรุงเทพฯ”

หลวงพ่อยังได้สอนอีกว่า “เวลานั่งปรกปลุกเสก ต้องทำใจให้เป็นสมาธิ อย่าทำใจเลื่อนลอย ต้องเอาใจอยู่ในวัตถุมงคลนั้น ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ เอาคาถาที่ฉันให้คุณไว้นั่นแหละ ก่อนปลุกเสกต้องดูก่อนว่าวัตถุมงคลนั้นเป็นอะไร ถ้าเป็นพระพุทธรูปต้องปลุกเสกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นกุมารทอง นางกวัก หรือของต่างๆ ที่ไม่ใช่พระ ต้องปลุกเสกตามชื่อของวัตถุมงคลประเภทนั้นๆ” หลวงพ่ออวยพรได้จดจำคำสอนของหลวงพ่อเงินไว้อย่างแม่นยำ และได้ประพฤติปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนของหลวงพ่อเงินอย่างเคร่งครัดนับเป็นการปลุกเสกวัตถุมงคลครั้งแรก (พ.ศ.2512) ของหลวงพ่ออวยพร ซึ่งก็ได้รับคำชมเชยจากเจ้าอาวาสวัดยางสุทธารามเป็นอย่างมาก

พิธีกรประจำพิธีพุทธาภิเษกได้ประกาศว่า “ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์หนุ่มที่มีอนาคตไกล (ขณะนั้นหลวงพ่ออวยพร อายุ 27 ปี) ถ้าไม่แน่จริงหลวงพ่อเงินคงจะไม่ให้มานั่งปรกปลุกเสกแทนท่าน” เพราะในงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้นมีพระเกจิอาจารย์อาวุโสมานั่งปรกแผ่เมตตาจิตเจริญสมาธิภาวนาหลายรูปด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโสร่วมสมัยรุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม แทบทั้งนั้น

เมื่อ หลวงพ่อเงินละสังขาร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520 รวมสิริอายุ 86 ปี พระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม ฐานนุสโก) ได้เป็นเจ้าอาวาสลำดับต่อมาด้วยวัยกว่า 70 ปี ซึ่งก็ชราภาพมากแล้ว หลวงพ่อแช่มได้รับนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีพุทธาภิเษกมากขึ้น จนบางครั้งไม่สามารถไปนั่งปลุกเสกได้ เนื่องจากวัดบางแห่งอยู่ต่างจังหวัดไกลๆ ประกอบกับท่านก็ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้หลวงพ่ออวยพรไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลแทนท่าน ในฐานะทายาทพุทธาคมของสำนักวัดดอนยายหอม

ความเป็นศิษย์รู้คุณครูบาอาจารย์ หลวงพ่ออวยพรจึงคอยปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงพ่อเงิน สนองงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เช่นปฏิบัติหน้าที่เป็นครูสอนปริยัติธรรม อบรมสั่งสอนดูแลพระสงฆ์-สามเณร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และงานก่อสร้าง หลวงพ่ออวยพรได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาวัดดอนยายหอม จนกระทั่งมีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งหลวงพ่อเงินละสังขารไป หลวงพ่อแช่มรับตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปต่อมา

หลวงพ่อแช่มได้สืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเงินไว้ทุกประการ โดยมีหลวงพ่ออวยพรปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้ช่วยเหลือหลวงพ่อแช่มบูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาเสนาสนะสงฆ์ภายในวัดดอนยายหอมอยู่ตลอดเวลา เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ โรงครัว กำแพงวัด ศาลาอเนกประสงค์ ห้องน้ำ ถนน ศาลาเมรุ และซุ้มประตู ฯลฯ

ต่อมาหลวงพ่อแช่มได้รับอุปถัมภ์สร้างตึกคนไข้พิเศษของโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม (พ.ศ.2535) เป็นตึก 4 ชั้น ขณะนั้นหลวงพ่อแช่มอายุ 85 ปี การสร้างตึกคนไข้พิเศษต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวน 25 ล้านบาท จึงได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อแช่มขึ้นมา เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม สร้างเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อแช่มครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฏิ ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ตามแบบฉบับของหลวงพ่อแช่ม สร้างเป็นเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง จำนวน 5,000 เหรียญ


ในครั้งแรกคณะกรรมการสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นดังกล่าว จะจัดพิธีพุทธาภิเษกนิมนต์พระเกจิอาจารย์ในจังหวัดนครปฐมมาร่วมนั่งปรกปลุกเสก จึงได้เข้าไปปรึกษาหลวงพ่อแช่ม เมื่อหลวงพ่อแช่มได้ฟังท่านก็นั่งนิ่ง แล้วต่อมาก็ยิ้มๆ ด้วยความเมตตาแล้วก็ปรารภว่า

“ไม่เป็นไร ฉันเชื่อว่าฉันทำได้ วัดเราสร้างเองเราก็ต้องปลุกเสกเอง”

ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อแช่มและพระครูหลวงพ่ออวยพรจึงได้ร่วมกันปลุกเสกเหรียญรุ่นพิเศษสร้างตึกคนไข้โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม พิธีปลุกเสกจัดขึ้นเวลากลางคืน ที่ตึกกรรมฐานบูรพาจารย์ของวัดดอนยายหอม โดยหลวงพ่อแช่มเป็นผู้จุดเทียนชัย หลังจากนั้นท่านก็นั่งบริกรรมภาวนา โดยมีหลวงพ่ออวยพรร่วมนั่งปรกปลุกเสกด้วย

เมื่อนั่งปรกไปได้ระยะหนึ่งปรากฏว่ามีเสียงระเบิดขึ้นที่หลังคาหอกรรมฐาน คณะกรรมการวัดจึงปีนหลังคาขึ้นไปดู พบว่ากระเบื้องหลังคาแตกเป็นรูใหญ่ ทุกคนเชื่อว่าเกิดจากพลังจิตตานุภาพของหลวงพ่อแช่มและหลวงพ่ออวยพรที่นั่งปรกแผ่กระแสจิตออกมาอย่างเต็มที่จนทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้พากันเรียกเหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นนี้ว่า

“รุ่นหลังคาระเบิด”


ประชาชนที่ทราบข่าวพากันมาเช่าบูชาเหรียญรุ่นหลังคาระเบิดอย่างเนืองแน่น ทั้งนี้เพราะเชื่อมั่นว่าเหรียญรุ่นนี้มีพลังพุทธคุณสูงเป็นพิเศษ ทำให้ได้เงินสมทบทุนสร้างตึกคนไข้พิเศษสำเร็จสิ้นภายในปีเดียว รวมเงินประมาณ 25 ล้านบาทเศษ โรงพยาบาลศูนย์นครปฐมได้ตั้งชื่อตึกดังกล่าวนี้ว่า “อาคารพระครูเกษมธรรมานันท์ (หลวงพ่อแช่ม)” และได้หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ไว้ที่หน้าตึกหลังนี้ เพื่อให้คนได้สักการบูชา และรำลึกถึงคุณความดีที่ท่านได้อุปถัมภ์จนสามารถสร้างอาคารหลังนี้ได้เป็นผลสำเร็จ

หลวงพ่ออวยพรเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพครูบาอาจารย์อย่างสูงสุด ทุกครั้งที่จะอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล หรือประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เจิมป้ายร้านอาคาร เจิมรถ ท่านจะต้องระลึกถึงหลวงพ่อเงินและหลวงพ่อแช่ม และอาราธนาขอบารมีของท่านมาช่วยเพิ่มความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ ความเคารพนับถือและความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของหลวงพ่ออวยพรปรากฏชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อแช่มมรณภาพละสังขารไป เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2536 รวมสิริอายุได้ 88 ปี

ซึ่งก่อนหน้าที่หลวงพ่อแช่มจะละสังขาร ท่านได้รับอุปถัมภ์สร้างหอประชุมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งใช้งบการก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาทเศษ เมื่อวางศิลาฤกษ์ไปแล้ว หลวงพ่อแช่มได้ละสังขารไป จึงทำให้การก่อสร้างหยุดชะงัก หลวงพ่ออวยพรซึ่งเป็นทายาทธรรมและเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงพ่อแช่ม จึงได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์และดำเนินการหาทุนทรัพย์มาก่อสร้างหอประชุมต่อ

กล่าวถึงวันที่หลวงพ่อแช่มละสังขารไป เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2536 ซึ่งในวันที่หลวงพ่อแช่มมรณภาพนั้น หลวงพ่ออวยพรได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่จังหวัดเชียงราย เมื่อทราบข่าวท่านจึงรีบเดินทางกลับมาวัดดอนยายหอม เพื่อมาเคารพศพหลวงพ่อแช่มผู้เป็นครูบาอาจารย์และเป็นหลวงอาของท่านด้วย

หลวงพ่ออวยพร ยึดถือหลัก 3 ประการ กับพระภิกษุสงฆ์ตามที่หลวงพ่อเงินท่านได้สั่งสอนลูกศิษย์ไว้ให้ปฏิบัติตาม ได้แก่

1. ภิกษุต้องสำรวมอินทรีย์ มิให้ความยินดีครอบงำจิตใจจนเกินไป เช่น เมื่อมองเห็นรูป สมมุติว่าเหลือบไปเห็นสีกาสาวสวยเข้าคนหนึ่ง หรือไปได้ยินเสียงอันไพเราะจากการขับร้อง หรือเมื่อได้สูดกลิ่นอันเป็นที่สัพโผฏฐัพพะแห่งความปรารถนา

2. ภิกษุต้องนมัสการกรรมฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะ และกายคตาสิ หรือสิ่งอันยังจิตให้สลด คือมรณสติ

3. ภิกษุต้องเจริญวิปัสสนา คือพิจารณาสังขาร แยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นว่าเป็นสภาพไม่แน่นอน ไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กิเลสกามคือเจตสิกที่ทำให้เศร้าหมอง ชักไม่เกิดความรัก ความใคร่ และความอยากคือตัณหา ความทะยานออก ราคะความกำหนัด และอคติความขึ้งเคียด เป็นต้น จัดว่าเป็นมาร ทั้งนี้เพราะเป็นโทษล้างผลาญทำลายคุณงามความดีของมนุษย์เรา ทำให้มนุษย์เสียคน เรียกว่าชั่ว สิ่งที่เป็นปัจจัยคือวัตถุแห่งกาม มีรูป รส กลิ่น เสียง เป็นสื่อให้น่าชอบ เช่น รูปสวย รสอร่อย กลิ่นหอม และเสียงไพเราะ

เหรียญรุ่นแรก


ตะกรุด


วัวธนู


ล็อคเก็ตหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม (ด้านหลังมีเกศา)



ขอขอบคุณที่มาจากเวป ลานโพธิ์ไทย และ google สำหรับรูปภาพด้วยด้วยนะครับ หากลงซ้ำ ก็ขออภัยด้วย
( ส่วนตัวผมเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับท่านหลายครั้งครับ ซึ่งไม่ขอเล่าเดี๋ยวจะหาว่าเชียร์  )

59


ขออภัยภาพไม่ค่อยชัด

พ่อท่านสังข์ รุ่น ๑ ปี 38 เหรียญทั้งหมดนี้เจอกันในงานไหว้ครู
พล้อมทั้งเศษผ้าตัดแจก หลวงปู่เจือ และอาจมีอะไรเพิ่มเติม ..

60




ภาพอาจไม่เค่ยชัดขออภัยนะครับ

เดิมพระองค์นี้ เลี่ยมกรอบใว้และกระจกด้านหน้าแตกน้ำเข้า เลยแกะเอามาให้ชม  :075:

ด้านหลังเป็นลอยลักที่เดิมประกบติดใว้ แต่ผมได้นำมาแกะออกไป ใว้แยกตางหาก

องค์นี้โดยส่วนตัวมีประสบการณ์โดยตรงกับผมนะครับตอนสมัยเรียน เลยนำมาให้ชมกัน

ขอบพระคุณครับ

61


สำหรับคนที่ไปงานไหว้ครู วัดบางพระปีนี้นะครับ มาร่วมสนุกกัน

คำถามมียู่ว่า .. ?? ในรูป คือที่ไหน วัดอะไร จ.อะไร  

โดย ใครตอบถูกเป็นคนแรก จะได้ตะกรุดคาดเอว แม่นางพิม-ดำเซ็น หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร ฟรี 1 ดอก  (ตะกรุดนี้ให้หลวงปู่เสกกำกับให้อีกทีแล้วครับ)

แต่มีข้อแม้ ... ให้มารับกับตัวผมเองที่งานไหว้ครูวัดบางพระ ที่จะถึงนี่เท่านั้นนะครับ  ผมจะอยู่ที่กุติหลวงพี่ญา ครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดี ..


ถ้ายากไป พรุ่งนี้ เดี๋ยวมีคำใบ้ให้

62









นำมาให้ชมเป็นตัวอย่าง อิอิ

กราบมนัสการและขอบพระคุณหลวงพี่ญา ที่เมตตา เป็นอย่างสูง :054:

ขอบคุณเพื่อนต้น พี่เอ และพี่ๆ ทุกๆคน ครับ ที่เมตตา

63
ธรรมะ / กรรมฐานคืออะไร ???
« เมื่อ: 29 ม.ค. 2553, 05:44:36 »
กรรมฐาน  เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร  ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆ ส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป   

หากกล่าวถึง คำว่า กรรมฐาน เราจะเข้าใจกันว่า กรรมฐาน คือ สมาธิหรือการนั่งหลับตาท่องคำซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการกระทำบางอย่างที่ต่างไปจากพฤติกรรม การให้ทาน การรักษาศีล แต่สำหรับความหมาย ที่มีมาในพระบาลี ตามนัยแห่งมูลฎีกาแสดงวินิจฉัยคำ “กรรมฐาน” ไว้ว่า

กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺส ฐานนฺติ กมฺมฐาน

              แปลว่าการงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษชื่อว่า“กรรมฐาน”

เหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะนั่งหลับตาภาวนาดังกล่าว แต่มีองค์ประกอบและรายละเอียด อีกมากมาย ดังนั้น ความหมายของกรรมฐานเท่าที่เราเข้าใจ จึงยังคลุมเครือและยังต่างจากความหมายที่แท้จริงอยู่มาก การสร้างความบริสุทธิ์แห่งจิตนี้ จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ได้ สิ่งอิงที่ว่านี้มี  ๒  ลักษณะ คือ อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบร่างกายและจิตใจ หรือสิ่งที่อยู่ภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจก็ได้ สิ่งที่อยู่นอกระบบร่างกายและจิตอาจเป็นส่วนที่สร้างขึ้นหรือมาจากภาวะแวดล้อม เช่น ดวงกสิณ ซากศพ หรืออาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน ส่วนสิ่งที่มาจากภายในระบบร่างกายและระบบจิตใจ ก็คือ อริยาบถต่าง ๆ และความคิด เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการฝึกอบรมจิตที่เรียกว่ากรรมฐานได้ (ชิน วินายะ มปป : ๒)

การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการกระทำด้วยความตั้งใจหรือจงใจลักษณะหนึ่ง แต่เป็นไปในฝ่ายกุศลส่วนเดียว เพราะมิได้มีเหตุจูงใจจากความต้องการในกามคุณอารมณ์ การปฏิบัติกรรมฐานจึงไม่ขึ้นกับโลกธรรมและกามคุณดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายพื้นฐาน คือ การอบรมจิตใจให้สงบจากนิวรณ์ธรรม คือ ตัณหา ความคิดมุ่งร้าย ความเกียจคร้าน ความเร่าร้อน ไม่สบายใจ และระแวงสงสัย เป็นต้น จิตที่สงบจากนิวรณ์ธรรมทั้งหลายจักเข้าถึงสภาวะแห่งปัญญาได้ไม่ยากนัก

 เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ (กิริยวาท) และเป็นศาสนาแห่งความเพียรหรือวิริยวาท (พระมหาบุญชิต สุดโปร่ง : ๒๕๓๖) ความเพียรในการปฏิบัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่สำคัญ คือ ศรัทธา ๔ ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องกรรมหรือการกระทำ (กมฺมสทฺธา) ในเรื่องผลของกรรม (วิปากสทฺธา) ในความเป็นเจ้าของกรรมที่ตนทำ (กมฺมสกฺตาสทฺธา) และความเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ (ตถาคตโพธิสทฺธา) ดังนั้น “ กรรม ” จึงเป็นคำสำคัญในคัมภีร์พระพุทธศาสนาใช้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตในเชิงพุทธ มีความหมายสัมพันธ์กับคำว่า กุศล อกุศล บุญ บาป วาสนา บารมี (พระเมธีธรรมาภรณ์, “กรรม” ในคำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย ๒๕๓๗ : ๑ )
การกระทำโดยทั่วไปมี ๓ ลักษณะ โดยแบ่งตามช่องทางที่แสดงออก คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีทั้งส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ส่วนมากอาศัยอารมณ์ทั้ง ๕ และมีโลกธรรม ๘ เป็นอารมณ์ และเป็นเหตุจูงใจให้มีการกระทำที่เป็นกุศลหรืออกุศล เช่น บุคคลมีเจตนาคิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น (อกุศลมโนกรรม) ด้วยอำนาจความโลภ จึงแสดงพฤติกรรมของการแย่งชิง หรือไม่ก็หยิบฉวยไปโดยไม่ได้รับอนุญาต (อกุศลกายกรรม) เป็นต้นทรัพย์สมบัติของผู้อื่นซึ่งเป็นรูปธรรมจึงเป็นเหตุให้มีการกระทำต่าง ๆ ตามมา

กล่าวโดยสรุป การฝึกกรรมฐานเป็นการกระทำกุศลกรรมชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะมโนกรรม ต่างจากกรรมทั่วไป  ตรงที่เป้าหมายการกระทำเป็นไปเพื่อความสิ้นภพชาติ สิ้นทุกข์ ไม่ต้องไปเกิดในแหล่งกำเนิดใดอีก เนื่องจากจิตต้องอิงอาศัยอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้ และธรรมชาติของจิตมีความสัดส่ายไปตามอารมณ์ ไม่อาจหยุดนิ่งเพื่อการพิจารณาแม้เพียงชั่วครู่ จึงจำเป็นต้องใช้อุบายบางอย่าง เพื่อลดความสัดส่าย โดยหาสิ่งที่ไม่เป็นโทษให้จิตอิงอยู่ อุบายที่ว่านี้คือ  ที่มาของกิจกรรมที่เรียกว่ากรรมฐาน

 อุบายดังกล่าวแยกออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

๑. อุบายสงบใจ  กล่าวคือ อาศัยวิธีการท่องถ้อยคำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน และบังคับตนเองในลักษณะ การสร้างแนวคิด เกี่ยวกับคำนั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ความคิด หรือภาพพจน์ของคำ ๆ นั้น ล้วนเป็นองค์ประกอบของความสงบที่เรียกว่า    สมถกรรมฐาน
๒. อุบายเรื่องปัญญา อาศัยความรู้สึกตัวที่มีอยู่ รู้ถึงการสัมผัสทางทวารทั้ง ๖ รู้ถึงปรากฏการณ์ทางจิต ขณะร่างกายมีการกระทบสิ่งเร้า เฝ้าติดตามการรับรู้นี้ด้วยความตั้งใจ เมื่อมีความตั้งใจอยู่ที่ การรับ กระทบความคิดต่าง ๆ ก็จะถูกตัดออกไป จนไม่สามารถสอดแทรกเข้ามาได้ ไม่เปิดโอกาส ให้มีการก่อตัว ของแนวคิด ภาพลักษณ์หรือความคิดใด ๆ ตามมา เท่ากับเป็นการรู้เท่าทัน กระบวนการที่เกิดขึ้นโดยตรงในทันทีที่เกิดขึ้น จึงไม่เกิดการบิดผันใด ๆ ทางด้านความคิดนี้ คือ  ส่วนของกิจกรรมที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (ชิน วินายะ มปป : ๒ - ๗ )

 เนื่องจากกรรมฐานเป็นกุศโลบายบางอย่างที่เกิดจากความตั้งใจสร้างแนวคิดขึ้นหรือไม่ก็เป็นการตั้งใจรับความรู้สึกโดยไม่ผ่านแนวคิด อารมณ์ที่จิตอิงอยู่จึงไม่เหมือนอารมณ์ทั่วไป ที่รับรู้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาพลักษณ์และความรู้สึกตัวเป็นผลมาจากความตั้งใจ ดังกล่าว และถูกจัดเป็นหมวดหมู่ของอารมณ์พิเศษที่มีหลักการและวิธีการรับรู้เป็นการเฉพาะสำหรับกรรมฐานแต่ละประเภท เช่น แนวคิดของคำหรือภาพลักษณ์ที่สร้างขึ้นจากสมถกรรมฐาน ๔๐ อย่าง หรือความรู้สึกตัวในนาม-รูปจากวิปัสสนากรรมฐาน  มีขันธ์ อายตนะ เป็นต้น อารมณ์พิเศษและวิธีการเฉพาะนี้มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้โดยบังเอิญ หรือนึกคิดจะทำตามความนิยมที่สืบต่อกันมาก็ทำได้  แต่เป็นสิ่งที่ต้องการความเข้าใจในเหตุปัจจัยและหลักการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลตามที่ต้องการ ดังนั้น การเข้าหาอาจารย์ผู้มีความชำนาญในการใช้อุบายกรรมฐาน การรู้ถึงจริตอัธยาศัยผู้เรียน การอยู่ในสถานที่ที่ไม่พลุกพล่าน มีการเรียนการสอน และการปฏิบัติควบคู่กันไป และการอุทิศเวลาบางส่วนเพื่อศึกษาและปฏิบัติจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเจริญกรรมฐาน

 ความสำคัญของกรรมฐาน

 ความทุกข์เป็นสิ่งที่ชีวิตไม่ต้องการ พระพุทธศาสนาแบ่งความทุกข์ไว้ ๒ อย่าง คือทุกข์ประจำและทุกข์จร ทุกข์ประจำ หมายถึง ทุกข์ที่มาพร้อมชีวิต คือ การเกิด แก่ ตาย ไม่มีใครหลีกเลี่ยงทุกข์ประจำนี้ได้ ส่วนทุกข์จรได้แก่ ความเศร้าโศก รำพัน ต้องอาลัยไม่ขาด การไม่สมความปรารถนา และการพลัดพรากจากของรัก เป็นต้น เป็นเพียงทุกข์ที่ผลัดกันเกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดแก่และตายนั่นเอง อาจจะบรรเทาได้บางส่วนตามสมควร แต่ก็ไม่อาจทำให้ทุกข์จรนั้น หมดไปได้เช่นกัน สังคมในอดีตเคยต้องเกิด แก่ ตายอย่างไร ปัจจุบันแม้จะมีเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าทันสมัยอย่างไร เทคโนโลยีเหล่านั้น ก็ยังไม่อาจ แก้ปัญหาชีวิตที่ต้องแก่และต้องตายของชีวิตใครได้

 พระพุทธศาสนามิได้สอนหรือบังคับให้หนีสังคม มิได้ถ่วงความเจริญ หรือพยายามหยุดยั้งเทคโนโลยีที่กำลังก้าวกระโดดนั้น อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ที่จริงแล้วจะมีเทคโนโลยีหรือไม่มีก็ตาม ปัญหาก็มิได้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ มีทั้งส่วนที่ให้คุณและให้โทษ ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้มากกว่า จุดยืนทางศาสนาอยู่ที่การเป็นสัญญาณ เตือนภัยที่จะเกิดแก่มนุษย์ ภัยนั้นมีอยู่รอบด้านโดยเฉพาะภัยทางความคิด ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็นและไม่เชื่อว่าเป็นภัยจริง  มุมมองที่คับแคบอาจทำให้มนุษย์มอง เห็นเพียงด้านเดียว  ของความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี แล้วกล่าวอ้างถึงความเจริญทันสมัย เพื่อสนับสนุนความคิดของตน และเลือกที่จะทำตามความคิดนั้น จนละเลยปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง

 ศาสนามีหน้าที่แสดงความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิต แนะนำถึงความรอบคอบ  และรอบรู้ในการดำเนินชีวิต  โดยเกิดความเดือดร้อน น้อยที่สุด รอบรู้ว่าสิ่งใดควรคิดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจชีวิตและส่วนที่เป็นปัญหา มีระเบียบในเรือนใจ และการยอมรับเหตุผล ทำให้สามารถหาทางออกจากความขัดแย้งและอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาได้อย่างผู้รู้กาลเทศะ

 จุดมุ่งหมายของกรรมฐาน

 การฝึกกรรมฐาน  เป็นกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เกิดขึ้นเพื่อเป็น พื้นฐานรับรองเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังกล่าว ในพระศาสนา แม้จะ มีจุดหมายสูงสุดอยู่ที่การบรรลุ คุณวิเศษ คือ มรรค ผล นิพพาน แต่ถ้าจิตใจยังพัฒนา ไม่ผ่านขั้นตอนการยอมรับ การเวียนว่ายตายเกิด  อันยาวนานของตนเอง หรือยังมีความสงสัยในเรื่องภพชาติ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและที่จะเป็นไปในอนาคตแล้ว ขบวนการถอนรากถอนโคนกิเลสตัณหา อาสวะ และอนุสัยต่าง ๆ ในจิตใจอย่างจริงจังจะยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ภัยของภพชาตินั้น มาจาก ความจำเจวนเวียน ที่ชีวิตต้องอยู่กับ ความสุขบ้าง  ความทุกข์บ้าง  มีความผันแปรไปตามเหตุปัจจัย มิได้ผันแปรไปตาม ความต้องการของตนเอง   การเห็นภัยจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เห็นภัยดังกล่าวยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตจากที่เคยวนเวียน เป็นไปเนื่องด้วยกิเลสตัณหา   สู่วิถีชีวิตที่มีสติสัมปชัญญะดำเนินชีวิตไปตามทางมรรคได้อย่างมั่นคง

 ความกลัวภัย ทำให้เราเปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนความต้องการใหม่ ตรงนี้คือ จุดเริ่มของพระพุทธศาสนา การทำทาน รักษาศีล ไม่ช่วยให้เกิดความรู้สึกกลัวภัยได้   คนที่จะน้อมเข้ามาในการปฏิบัติกรรมฐานจะต้องเห็นภัยในวัฏสงสารก่อน จึงจะมองหาการปฏิบัติ แต่การปฏิบัติบางอย่างอาจทำให้เกิดความสุขมากมาย ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภัยของวัฏฏะ นั่นก็ไม่ตรงกับพระพุทธศาสนา  พื้นฐานความคิดเกี่ยวกับ  ภัยของวัฏสงสารจะได้จากการเรียนก่อน จากนั้นจึงน้อมเข้ามาสู่การปฏิบัติ (พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิตญาโณ. สัมภาษณ์.)

 การพิสูจน์การเวียนว่ายตายเกิดนั้น มิใช่เพียงการทำจิตให้สงบแล้วพาไปดูนรกสวรรค์หรือจินตนาการถึงพระนิพพาน  ว่าเป็นเมืองแก้วตามที่ได้ยินมา การยอมรับว่ามีนรกสวรรค์ดังกล่าว มีประโยชน์ในแง่ของการสร้างศรัทธา ที่จะทำความดี ละเว้นความชั่ว เพื่อความสุขของชีวิตในภพนี้และภพหน้า  แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อและทิฏฐิ ที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานได้ จึงมีความปรารถนาการเกิดอยู่เสมอไป ไม่รู้สึกว่าสังสารวัฏฏ์ จะเป็นภัย ต่อชีวิตตนเองได้อย่างไร การเผชิญ กับความเกิดดับ (ตาย) อย่างซ้ำซากเฉพาะหน้า จำต้องอาศัยความเข้าใจ และการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรทางจิตขั้นเอกอุ จึงจะยอมรับภัยของชีวิตได้    ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๒ วิธี คือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

วิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น  ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายในการฝึกสังเกตความเป็นไปของจิตขณะ   กระทบอารมณ์ต่าง ๆ    เป้าหมายการสังเกตอยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตนเองก่อนที่จะ   แสดงพฤติกรรมอะไรออกไปทางกาย วาจา หากเราเข้าใจช่วงต่อของความรู้สึกนึกคิด จากความรู้สึกเก่า (วิบากวัฏ) ปรุงแต่งไปสู่ความรู้สึกใหม่ (กิเลสวัฏ)  เป็นเหตุให้เกิดการกระทำใหม่อีก (กรรมวัฏ) ว่าวิบากเป็นเพียงผลมาจากอดีตกรรม ไม่มีใครเลือกรับแต่วิบากดี   หรือย้อนกลับไปเปลี่ยนกรรมในอดีตได้  ตัววิบากเองไม่ดีและไม่ชั่วรับผลแล้วดับไป  แต่การดับไป ถูกตัวกิเลสปิดบัง และปรุงแต่งให้ดูเหมือน  ยังมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ด้วยวิธีการสืบต่ออารมณ์อย่างรวดเร็วไม่ขาดสาย ก็ด้วยความเป็นกลุ่มของ อัตตาที่ยึดถือขึ้นมาเอง ความยึดถือและสำคัญผิดนี้ คือส่วนของการปรุงแต่งเป็นกรรมใหม่ที่พยายาม จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง  สิ่งภายนอกให้เป็นไปตามความต้องการของตน วัฏสงสารแห่งกิเลส - กรรม - วิบาก อันเป็นปมปัญหาของชีวิต  ที่เคยทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น แฝงอยู่ ณ จุดเชื่อมต่อระหว่างความรู้สึกนึกคิดในปัจจุบันนั่นเอง

 หากเข้าใจจุดมุ่งหมายและสามารถปฏิบัติกรรมฐานธรรมไปตามแบบที่พระพุทธองค์วางไว้จนเกิดผลในระดับหนึ่งแล้ว ประสบการณ์ทางศาสนาดังกล่าวจะเป็นตัวกระตุ้นความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้น มิใช่ศรัทธาที่เกิดขึ้นจากการ ฟังตามกันมา แต่เป็นความศรัทธาที่มั่นคงในความจริงเฉพาะหน้า  รู้จักว่าส่วนใดเป็นคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา  ส่วนใดมิใช่คุณค่า และหาโอกาสตอบแทนบุญคุณพระศาสนาด้วยความเคารพและกตัญญู

พุทธศาสนิกชนที่มีความประสงค์จะแสวงหาวิชาในด้านพระพุทธศาสนา ควรศึกษาพระไตรปิฎก อรรถกา ฎีกา จากท่านผู้รู้ที่มีวิทยฐานะโดยถูกต้องและสมบูรณ์ จึงจะได้รับความรู้นั้นตามความประสงค์ ได้เหตุผลในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถ้าหากว่ามีแต่การชอบฟังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยทำนอง ปาฐกถาบ้าง ธรรมเทศนาบ้าง ธรรมสากัจฉาบ้างเช่นนี้แล้ว ความประสงค์ที่จะได้รับวิชาความรู้โดยถ่องแท้นั้น จะมีแก่ตนไม่ได้เลย เพียงแต่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ผ่องใส เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่ง ๆ พร้อมกับความรู้เล็กๆน้อยๆเท่านั้น (พระสัทธัมมโชติกะ ๒๕๑๐ : ๕๕ )

(หากลงซ้ำหรือมีคนนำมาลงแล้ว ก็ขออภัยด้วยครับ)
อ้างอิงจากเวป http://www.abhidhamonline.org/kammathana.htm

64


ได้มาจากพี่หมู พี่ชายเพื่อนต้นน้ำสุดหล่อผมเอง ครับ อิอิ
ขอบคุณมากนะครับ สำหรับน้ำใจที่มีให้กัน

(ตัดแบ่งไปพอสมควรและครับเหลือแค่นี้เองอะ ค่อยๆ แบ่งเพื่อนๆกันไปอีก อิอิ)
ปล.รบกวนเพื่อนต้นด้วย เรื่องงานวัดนก ใว้มาคุยที่บ้านเอ็ม

65


พระสิบทัศน์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม: พระพิมพ์สิบทัศ เนื้อผงใบลาน สร้างในราวปี 2481 คณะกรรมการของวัดดอนยายหอม ต้องการแรงจูงใจ เพื่อให้ชาวบ้านมาช่วยงานก่อสร้างอุโบสถ เพราะการก่อสร้างต่างๆ อาทิ การผูกเหล็กติดแบบ, เทปูน ตลอดจนมุงหลังคา จำเป็นต้องการแรงงานจำนวนมาก งานแบบนี้ชาวบ้านทำกันเองทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ทางคณะกรรมการของวัดดอนยายหอมจึงได้จัดสร้าง พระเครื่องวัตถุมงคล "พระพิมพ์สิบทัศเนื้อผงใบลาน" ขึ้นเพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่ชาวบ้านที่มาช่วยงาน พระสิบทัศน์ หลวงพ่อเงินที่จัดสร้างนี้ใช้วัสดุที่เป็น "ดินสีดำ" โดยดินชนิดนี้ได้จากที่นาของนายหวย ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองดอนยายหอม โดยหลวงพ่อเงินได้ให้นายหวยเป็นผู้ทำพิธีขอดินจากแม่ธรณี (พิธีบวงสรวง) ก่อนจะขุดดินจากบริเวณนั้น เมื่อได้ดินมาแล้วก็นำดินดำไปละลายน้ำ และกรองด้วยผ้าขาวเนื้อดี จนได้ดินดำที่มีเนื้อละเอียด แล้วนำไปตากให้แห้ง เสร็จแล้วนำมาตำเป็นผง ก่อนจะปั่นเป็นแท่งดินสอแล้วให้ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นำไปใช้เขียนอักขระเลขยันต์บน กระดานดำ เพื่อลบเป็นผงดำก่อนจะเก็บผงที่ได้จากลบผงนำมาเข้าแม่พิมพ์เป็นรูปพระ


ที่มาจากเวป tumsrivichai





66


กราบขอบพระคุณหลวงพี่ญา สำหรับความเมตตาที่มีให้ผมเสมอมาครับ
ปีใหม่นี้ขอให้ท่าน มีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุข มากๆนะครับ ด้วยความเคารพ  :054: :054: :054:

ขอกราบ พระอาจารย์ หลวงลุง หลวงพี่ หลวงอา ทุกรูป และท่านอาจารย์  ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงมีความสุขมากๆนะครับ  :054: :054:

กราบขอบพระคุณหลวงพี่มาร์ค ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ :054: :054:

ขอขอบคุณพี่เอ พี่ที(นกเป็ดน้ำ) พี่เก่ง พี่บอล และพี่ๆทุกคน สำหรับน้ำใจมิตรภาพ และคอยดูแลน้องๆเสมอมาครับ

ปีใหม่นี้ โชคดีมีความสุขทุกท่านนะครับ สาธุ

67


+++++++++++++++++++++++++



ได้รับความเมตตามาจาก หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดท่าพูด  (รูปปัจจุบัน)

68


กัลปังหาดำ ถือเป็นของทนสิทธิ์มีดีในตัว ชาวประมงมักใช้ในการผูกเรือเพื่อป้องกันภัยอันตรายต่างๆ
ใช้ทางด้าน กันผี กันคุณไสย์ กันเขี้ยว กันงา
เมื่อนำมาแกะเป็นปลัดขิกแล้วเสกเพื่อเพิ่มพลังแล้วนั้น
ยิ่งสุดยอด ทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ อีกด้วย
โบราณจารย์ก็มักใช้กัลปังหามาเกะปลัดขิก เช่น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แจกแม่ครัวแล้วแม่ครัวทิ้งลงน้ำ แล้วปลัดวิ่งแข่งกะเรือ

ปลัดขิกตัวนี้ เป็นของดีของวัดบางพระ เราเองครับ ไม่ธรรมดาเลยจริงๆป็นของดีที่ไม่ควรมองข้าม

ตัวนี้ได้รับความเมตตามาจากพี่ชายท่านนึง(พี่ราหู)ในเวปเรานี่เองครับ ขอบคุณอีกครั้งนะครับ

69


พระผงวัดจันทรังษี สร้างขึ้นโดย หลวงพ่อแต้ม ปณฑฺโต วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง เมื่อปี 2514 โดยหลวงพ่อแต้ม ท่านเคยมาเล่าเรียนที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังนั้นเมื่อท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีแล้วพบว่า วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมท่านจึงได้ดำริที่จะพัฒนาวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ท่านจึงนำความดังกล่าวไปปรึกษาเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ในขณะนั้นเพื่อขอผงวิเศษกลับไปสร้างพระพิมพ์และขออนุญาตนำพระที่สร้างขึ้นดังกล่าวมาเข้าพิธีปลุกเสกพระผงของขวัญวัดป ากน้ำรุ่นสี่ด้วย ครับ โดยพระพิมพ์ของวัดจันทรังษีนี้จำลองมาจาก หลวงพ่อโยก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารของวัด ซึ่งชาวบ้านระแวกนั้นให้ความเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างสูงเนื่องจากในอดีตเคยมีผู้พบเห็นว่าท่านโยกองค์ให้ เห็น และเมื่อปิดทองที่องค์ท่านแล้วปรากฏว่าองค์ท่านนิ่มคล้ายกับเป็นเนื้อคน นั่นเองครับผม ดังนั้นถ้าหาพระปากน้ำรุ้นสี่ไม่ได้ก็หาพระผงวัดจันทรังษี บูชาแทนได้เลยครับผม

เพิ่มเติมข้อมูลจากเครดิต http://romphosai.com/forums/forum10/thread392.html

70
พรุ่งนี้ วันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เป็นวันครอบรอบวันเกิดหลวงพี่เก่ง

ข้าพเจ้า ขอกราบมนัสการ ขอให้หลวงพี่มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะครับ

คิดสิ่งใดสมดั่งตั้งใจหวัง มีความสุขมากๆนะครับหลวงพี่ ขอมนัสการ

สาธุ  :054: :054: :054: :054: :054: :054:

72
พระกริ่งเนื้อเงิน พิธีใหญ่ พ.ศ. 2539  หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
ถือว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่ออกมาเป็นเนื้อเงิน ครับ ขอบคุณครับ





73


กระเบื้องหลังคาโบสถ์ วัดไร่ขิง สร้างขึ้นจากประเทศจีน ในสมัยรัชกาลที่ 3
และได้ทำการบูรณะพระอุโบสถ เลยได้ลื้อกระเบื้องออก ใน พ..ศ. 2530
โดยในจำนวนนึงได้ถูกนำไปวางใว้ใต้ต้นไม้แถวบริเวณวัดโดยไม่ได้มีใครสนใจ

แล้วก็มีนายทหารคนนึงได้ลองยิงกระเบื้อง บริเวณใต้โคนต้นไม้นั้นปรากฏว่ายิงไม่ออก เลยลองยิงขึ้นฟ้าก็ยิงออก
ทำให้ผู้คนได้เห็นและ ทราบข่าว มาขนกระเบื้องกลับบ้านกันไป (เป็นประสบการณ์ที่ได้ฟังมาจากผู้ใหญ่ในพื้นที่ )
โดยทางวัดก็ได้เก็บกระเบื้องอีกจำนวนนึง แจกแก่ให้ผู้ที่มาทำบุญบูรณะพระอุโบสถวัดไร่ขิง (โดยที่บ้านข้าพเจ้าก็ได้ทำบุญมาและได้มาจำนวนนึงไม่มาก)  และทางวัดยังได้นำกระเบื้องนี้เป็นมวลสารผสมในพระเนื้อผงของวัดมาจนถึงปัจจุบัน และในพื้นที่ยังได้มีการนำกระเบื้องไปบูชาใว้บนหิ้ง
และบูชาใว้ในรถยนต์ บางคนก็เอาไปเกะเพื่อแขวนคอ (หากใครเคยไปมนัสการหลวงพ่อไร่ขิง คงเห็นลุง อ.พ.ป.ร.แขวนนะครับ ใหญ่มาก
และพ่อค้าขายน้ำอ้อยแขวนอยู่ ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เหอๆๆ

รูปตัวอย่างลุง อ.ฟ.ป.ร. ที่วัด ครับ  :075:

(ความจริงลุงแก น่าทำทำให้แผ่นเล็กๆ และเกะแขวนก็ได้นะครับ หุหุ  :075: )

ที่มาว่าทำไมคนที่บูชากระเบื้องกัน หากผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ เป็นข้อมูลจากพื้นที่ ครับ

74
คาถาอาคม / คาถาช้างหลงโขลง
« เมื่อ: 17 พ.ย. 2552, 09:43:33 »
นะโม3จบ
อุ อะ มะ สังวัตติสงสาร เอหิใจพาน มามะมะแห่งกู มาเร็วแม่เอยมารัก มาประจำหลัก ทรามรักประจำโขลง มาโรงแม่เวย นางทองอย่าเลือกนางเผือกประไพ มะอยู่มิได้ อะร้องไห้ อุตามกูมา โอมสะวาโหม ติดติด

คาถาบทนี้เสกเป่าของให้คนที่เรากใคร่ปราณถนากินดื่มจะล่มหลงใหลคลั่งไคล้ คิดถึง ...

75
คาถาอาคม / คาถาพญานกการะเวก
« เมื่อ: 17 พ.ย. 2552, 09:38:02 »
นะโม 3 จบ
ชานัง ชานัง ตักขะติ ติชชะธัมมัง อัตตะกัง มะระชาติ โพธิยา สะตังธัมมัง นะโมธัมมัง

คาถาบทนี้ ท่านให้ใช้บริกรรมเมื่อก่อนจะใช้เสียงเทศนา หรือปาฐกถา เสียงจะดี เสียงไม่ตกสม่ำเสมอเป็นที่น่าฟังของคนทั่วไป
ไพเราะเสนาะหู ดีนักแล

76
นะโม 3 จบ
วิ เว สุ เว อะ ยะ เวย  ยะ เส เพ เส วะเส ตะ อะ เส

ใช้คาถานี้เสกน้ำลูบตัว เนื้อจะลื่นเหมือนปลาไหล จับตัวมิอยู่ มัดรัดรึงด้วยโซ่ตรวนเชือกมิอยู่เลย กับทั้งแคล้วคลาด คงทนต่อหอกดาบ
ปืนผาหน้าไม้อีกด้วย ...

77
อิติปิโสธงชัย


อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


อิติปิโสนะวะหอระคุณ


อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู



อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา


อิติปิโสแก้นะวะหอระคุณ


1. อะระหัง อะ(แก้อะระหัง) - อะระกัตตากิเลเสหิ สาวาสะเนหิ สัพพะปูชาระ วิทิโต อะระหังอิติฯ
2. สัมมาสัมพุทโธ สัง(แก้สัมมาสัมพุทโธ) - สัมมา สามัญจะ สัจจานิ พุทโธจะ อัญญะโพธะโน เตเนสะ สัมมาสัมพุทโธ สัพพะธัมเมสุ จักขุมาฯ
3. วิชชาจะระณะสัมปันโน วิ(แก้วิชชาจะระณะสัมปันโน) - วิชชาหิ จะระเณเหสะ สัมมะเทวะสะมาคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน อุตตะโม เทวะมานุเสฯ
4. สุคะโต สุ(แก้สุคะโต) - สัพพะเกลละสัพปะหาเนนะ คะโตสุคะโต กาเยนะ วาจายะ มะนะสา สุคะโต คะโตฯ
5. โลกะวิทู โล(แก้โลกะวิทู) - โลกัง วิภูคะโต สัพพัง ญาเณนัญญาสิ สัพพะกา นาโถโลกัสสะ สัมมาวะ เตนะ โลกะวิทู ชิโนฯ
6. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ปุ(แก้อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ) - สาเรตา นะระทัมมานัง อะกุปปายะ วิมุตติยัง ตะโต อะนุตตะโร นาโถ ปุริสะทัมมะสาระถิฯ
7. สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะ(แก้สัตถา เทวะมะนุสสานัง) - โลกิเยหิ จะ อัตเถหิ อะโถ โลกุตตะเรหิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง สาสิตาเทวะมานุเสฯ
8. พุทโธ พุ(แก้พุทโธ) - สัมพุชฌิตาจะ สัจจานิ เกลละสะนิททา ปะพุชฌิตา สัพพะโส คุณะวิกาสัมปัตโต พุทโธ นะรุตตะโมฯ
9. ภะคะวา ภุ(แก้ภะคะวา) - ภาเคยะนะ ภะคะธัมเมหิ สะมังคีจาตุโล มุนิ คะรุคาระ วะยุตโตจะ วิสสุโต ภะคะวา อิติฯ


- หัวใจพระอิติปิโส
อะสังวิสุโลปุสะพุภะ (เอาตัวหน้าของอิติปิโสมารวมกัน)


อิติปิโส(เต็มที่)
อิติปิโส ภะคะวา - เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง - เป็นผู้ไกลจากกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ - เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน - เป็นผู้พร้อมด้วยวิชาและจรณะ
อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต - เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู - เป็นผู้รู้โลกแจ่มแจ้ง
อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง - เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ - เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ - เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์


อิติปิโส 8 ทิศ 8 ด้าน
- อิติปิโส 8 ทิศ 8 ด้าน เริ่มด้วย "อิ" ไล่ลงมาเป็นแถวที่ 1 แล้วขึ้นแถวใหม่จนจบ
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา (อิ)
ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง (ติ)
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท (ปิ)
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ (โส)
ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ (ภะ)
คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ (คะ)
วา โธ โน อะ มะ มะ วา (วา)
อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ (อะ)


- อิติปิโสเรือนเตี้ย (มงกุฎพระพุทธเจ้า)
อิติปิโสวิเสเส อิอิเสเสพุทธะนาเม อิอิเมนาพุทธะตังโส อิอิโสตังพุทธะปิติอิ
หมายเตุ จะมี 32 อักขระ เปรียบเหมือนอาการ 32 ของพระพุทธเจ้า


- อิติปิโส (ตามทิศ)เจ็ดแบก


๑. อิระชาคะตะระสา เรียกว่า กระทู้ ๗ แบก คุ้มทิศบูรพา เสกเป่าพิศสัตว์กัดต่อย
๒.ติหังจะโตโรถินัง เรียกว่า ฝนแสนห่า คุ้มทิศอาคเนย์ บทนี้ทำน้ำมนต์ รดคนเจ็บไข้ได้ป่วย
๓.ปิสัมระโลปุสัตพุธ เรียกว่า นารายณ์เกลื่อนสมุทร คุ้มทิศทักษิน ภาวนากันภูตผีปีศาจ
๔.โสมานะกะริถาโธ เรียกว่า นารายณ์คลายจักร คุ้มทิศหรดี เสกสวด108 คาบทำน้ำมนต์ ไล่ผี หรือคนท้องกินคลอดลูกง่าย
๕. ภะสัมสัมวิสะเทภะ เรียกว่า นารายณ์ขว้างจักรไตรตรึงภพ คุ้มทิศประจิมเสกพรมร่างคนไข้ ไล่ภูพผีปีศาจ
๖.คะพุทปันทูธัมวะคะ เรียกว่า นารายณ์พลิกแผ่นดิน เสกน้ำมนต์ป้องกันผีเจ้าเข้าทรง หรือถูกคุณกระทำชะงักนัก
๗.วาโธโนอะมะมะวา เรียกว่า ตวาดป่าหิมพานต์ คุ้มทิศอุดร เสกด้าย หวาย มีด ข้าวสาร ขับไล่ผี ผีป่าเวลาเดินทาง


๘.อะวิชสุนุตสานุสติ เรียกว่า นารายณ์แปลงรูป คุ้มทิศอีสาน เสกเป่าตัวเอง เวลาออกจากบ้านแคล้วคลาด..



กระทู้เจ็ดแบก อาจารย์จําแนกไว้บูชา เสกข้าวกินทุกวัน อาจป้องกันเครื่องศาสตรา อนึ่งภาวนา แล้วหันหน้าสู่ช้างสาร อาจหักงวงคชา ด้วยพลาอันห้าวหาญ มีกําลังเหลือประมาณ ยิ่งช้างสารอันตกมัน ฤษีทั้ง7องค์ ท่านดํารงอยู่ทิศนั้น เมื่ออภิวันท์ หันพักตร์นั้นทางทิศบูรพา


อาคเนย์ฝนแสนห่า ใช้ภาวนาคราเดินทาง ถึงเดินสิ้นทั้งวัน เรื่องนํ้านั้นอย่าระคาง เสกหมากรับประทานพลาง สิบห้าคําอ้างกินเรื่อยไป แม้นใคร่ให้มีฝน อย่าร้อนรนจงใจเย็น ให้เสกไส้เทียนชัย เสกให้ได้แสนเก้าพัน แล้วให้นึกเทเวศ ผู้เรืองเดชในสวรรค์ อิทรพรหมสิ้นด้วยกัน ตลอดจนถึงชั้นอะกะนิฏฐ์ ฝนก็จะตกหนัก เพราะอารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีโรคอันวิปริต จงพินิจพิจารณา เอาทํานํ้ามนต์ แล้วพรํ่าบ่นด้วยคาถา เสกพ่นสัก7ครา มิทันช้าก็จักหาย อาคเนย์นามทิศศา จงหันหน้าไปโดยหมาย เคารพครูบรรยาย แล้วจึงร่ายคาถาเอย


นารายณ์กลืนสมุทร์ ฤทธิรุททิศทักษิณ เรื่องฝีเกลื่อนหายสิ้น ไม่ต้องกินเสกพริกไทย เจ็ดเม็ดเสกเจ็ดหน แล้วจงพ่นลงทันใด สามครั้งก็จะหาย สมดังใจจํานง อนึ่งใช้เสกปูน สําหรับสูญฝีหัวลง มิช้าฝีก็คง ยุบย่อลงในบัดใด ภาวนาลงกระดาษ อย่าประมาทจงตั้งใจ ฟั่นเทียนเอาทําไส้ เทียนนั้นไซร้หนึ่งบาทหนา ลงคาถาล้อมให้รอบ ตามระบอบอย่ากังขา เท่ากําลังเทวดา ตามชันษาผู้เป็นไข้ แล้วจุดบูชาพระ อย่าได้ละภาวนาไป มิช้าไข้นั้นไซร้ จะหายดังปลิดทิ้ง



หรดีพึงสําเหนียก มีชื่อเรียกเป็นสองอย่าง คือนารายณ์คลายจักรอ้าง กับอีกทั้งพลิกแผ่นดิน มีฤทธิ์และศักดา ทั้งเดชาและโกสินทร์ ภาวนาเป็นอาจิณ ยําเกรงสิ้นเหล่าศัตรู รําลึกแต่ในใจ ข้าศึกไซร้ปืนสู้ หย่อนกําลังพรั่งพรู ไม่คิดสู้เราต่อไป ถึงแม้คนใจกล้า พอเห็นหน้าก็อ่อนไป ครูเฒ่าท่านสอนไว้ แม้สิ่งใดมีประสงค์ สิ่งนั้นพลันต้องได้ สมดังใจจํานง เพราะคาถาเป็นมั่นคง อย่างวยงงจงบูชา คุณครูผู้บรรยาย ท่านเร่ย้ายหรดีทิศา เมื่อจะภาวนา จงหันหน้าทางนั้นเอย



ทิศประจิมนามประหลาด ชื่อตวาดหิมพานต์ มีเดชอันห้าวหาญ ดุจช้างสารไม่กลัวตาย พบช้างและปะเสือ ที่ดุเหลือทั้งโคควาย อีกทั้งโจรดุร้าย ก็อย่าได้นึกกลัวมัน จงนิ่งภาวนา พระคาถาไปฉับพลัน เป็นมหาจังงังอัน วิเศษยิ่งอย่ากริ่งใจ สัตว์ร้ายและคนพาล ไม่อาจหาญเข้ามาใกล้ ให้แคล้วให้คลาดไป จงท่องไว้ทั้งเช้าคํ่า อนึ่งเมื่อภาวนา จงหันหน้าอย่าถลํา ทิศประจิมจงจดจํา ดังแนะนําดังนั้นเอย


พายัพนามทิศ มหิทฤทธิ์นั้นมากนัก ชื่อว่านารายณ์กลืนจักร์ มีฤทธิ์ศักดิ์นั้นย้อนยอก ครูเฒ่าท่านกล่าวมา ถ้าแม้นลูกไม่ออก เอานํ้าใส่ขันจอก แล้วเปล่งออกซึ่งวาจา เสกนํ้าทํานํ้ามนต์ ร้อยแปดหนด้วยคาถา ให้กินอย่ารอช้า พรหมกายาตลอดศรีษ์ บุตรน้อยจะค่อยเคลื่อน ขยัยเขยื้อนเคลื่อนอินทรีย์ เสดาะเสกวารี หากไม่มีนํ้ากระสาย จงเป่าด้วยคาถา ไม่ทันช้าหลุดกระจาย ครูประสิทธิ์บรรยาย ท่านเร่ย้ายอยู่พายัพ เพื่อเป็นการคํานับ ตามตําหรับอาจารย์เอย


นารายณ์ขว้างจักร์นี้เลิศลบ อีกนามหนึ่งตรึงไตรภพ สองชื่อย่อมลือจบ ทั่วพิภพเรืองเดชา ภาวนาสูดลมไป ว่าให้ได้สักสามครา คอยดูที่ฉายา ถ้าเห็นเงาว่าหายไป ครานั้นจงชื่นชม คนนับหมื่นหาเห็นไม่ บังตาหายตัวได้ ครูกล่าวไว้เร่งบูชา หันพักตร์สู่อุดรทิศ แล้วตั้งจิตภาวนา ตามบทพระคาถา ที่กล่าวมาแต่ต้นเอย


อิสานนามแถลง นารายณ์แปลงรูปโดย หมาย ภาวนาอย่าระคาย ศัตรูร้ายแปลกเราไป เมื่อจะเสดาะแล้วไซร้ เสกให้ได้ร้อยแปดคาบ ตั้งใจให้แน่วแน่ ครั้นถ้วนแล้วเป่ากระหนาบ ต้องหลุดอย่างราบคาบ ได้เคยปราบเห็นประจักษ์ ถ้าชอบทางเสน่ห์ ทําเป็นเล่ห์ให้เขารัก นํ้าหอมอย่าหอมนัก จงรู้จักที่อย่างดี แล้วเสกให้บ่อยๆ อย่างน้อยๆ108ที แล้วเก็บไว้ให้ดี ถึงคราวที่จะต้องใช้ เสกอีกสักเจ็ดหน ประกายตนแล้วจึงไป เป็นเสน่ห์แก่ผู้ใช้ ทั้งหญิงชายทุกภาษา ไม่ว่าคนชั้นไหน แต่พอได้เห็นพักตรา ให้รักด้วยเมตตา ประหนึ่งว่าเป็นลูกหลาน แคล้วคลาดเหล่าศัตรู สิ้นทั้งหมู่อันธพาล ครูอยู่ทิศอิสาน จงนมัสการและบูชาเอย


++++++++++++++++++++++++++++++++

อิติปิโสแปลงรูป


กะ วิ โล ทู โต อะ คะ นุต สุ ตะ โน โร ปัน ปุ
สัม ริ ณะ สะ ระ ทัม จะ มะ ชา สา วิช ระ โธ ถิ
พุท สัต สัม ถา มา เท สัม วะ หัง มะ ระ นุส อะ สา
วา นัง คะ พุท ภะ โธ โส ภะ ปิ คะ ติ วา อิ ติ
(เริ่มจากก่อนตัวท้ายสุดหนึ่งตัวมายังจุดเริ่มต้น อ่านสลับตัว)



อิติปิโสตรึงไตรภพ


อิ ติ ติ วา ปิ คะ โส ภะ ภะ โธ คะ พุท วา นัง
อะ สา ระ นุส หัง มะ สัม วะ มา เท สัม ถา พุท สัต
โธ ถิ วิช ระ ชา สา จะ มะ ระ ทัม ณะ สะ สัม ริ
ปัน ปุ โน โร สุ ตะ คะ นุต โต อะ โล ทู กะ วิ
(เริ่มจากจุดเริ่มต้นมายังจุดท้าย อ่านสลับตัว)


อิติปิโสนารายณ์คลายจักร
ติ อิ วา ติ คะ ปิ ภะ โส โธ ภะ พุท คะ นัง วา
สา อะ นุส ระ มะ หัง วะ สัม เท มา ถา สัม สัต พุท
ถิ โธ ระ วิช สา ชา มะ จะ ทัม ระ สะ ณะ ริ สัม
ปุ ปัน โร โน ตะ สุ นุต คะ อะ โต ทู โล วิ กะ
(เริ่มจากจุดถัดจากจุดเริ่มต้นมาจุดท้าย อ่านสลับตัว)



- อิติปิโสถอยหลัง


ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต
ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ
กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ
พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ
(อ่านถอยหลังจากจุดท้ายมายังจุดเริ่มต้น)


อิติปิโสย้ายรูป


อิ ติ คะ วา โธ วิช กะ วิ
ปิ ภะ อะ พุท ชา โล ทู ระ
โส ระ สัม จะ โต อะ สา ถิ
หัง มา ระ คะ นุต มะ สัต นัง
สัม ณะ สุ ตะ ทัม ถา สา พุท
สัม โน โร สะ เท นุส โธ วา
ปัน ปุ ริ วะ มะ ภะ คะ ติ


(จากจุดเริ่มต้นอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางขวาไปยังจุดสุดท้ายจนจบ)


- อิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง
ติ วา พุท นัง ถิ ระ วิ กะ
คะ โธ สา สัต สา ทู โล วิช
ภะ นุส ถา มะ อะ โต ชา โธ
มะ เท ทัม นุต คะ จะ พุท วา
วา สะ ตะ สุ ระ สัม อะ คะ
ริ โร โน ณะ มา ระ ภะ ติ
ปุ ปัน สัม สัม หัง โส ปิ อิ


(จากจุดท้ายสุดอ่านเฉียงขึ้นบนลงล่างไปมาทางซ้ายไปยังจุดเริ่มต้นจนจบ)


- อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหัว


ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง
อะ ทู วิ กะ โล โต สา
นุต สัม มา สัม หัง คะ นุส
ตะ พุท ปิ ติ ระ สุ มะ
โร โธ โส อิ อะ โน วะ
ปุ วิช ภะ คะ วา ปัน เท
ริ ชา จะ ระ ณะ สัม ถา
สะ ทัม มะ สา ระ ถิ สัต


(เริ่มจากตรงกลางอ่านทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปจนถึงขอบจนจบ)


อิติปิโสภุชฌงค์ซ่อนหาง


อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา
โต โล กะ วิ ทู อะ อะ
คะ ถา เท วะ มะ นุต ระ
สุ สัต คะ วา นุส ตะ หัง
โน ถิ ภะ ติ สา โร สัม
ปัน ระ โธ พุท นัง ปุ มา
สัม สา มะ ทัม สะ ริ สัม
ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท


(เริ่มจากจุดเริ่มต้นอ่านตามทวนเข็มนาฬิกาไล่ไปหาตรงกลางจนจบ)


อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์


ปุ ริ มะ นุส ปิ โส ภะ คะ
โร สะ วะ สา ติ ระ จะ วา
ตะ ทัม เท นัง อิ ณะ ชา อะ
นุต มะ ถา พุท ติ สัม วิช ระ
อะ สา สัต โธ วา ปัน โธ หัง
ทู ระ ถิ ภะ คะ โน พุท สัม
วิ กะ โล โต คะ สุ สัม มา


(เริ่มจากตรงกลางไล่ขึ้นบนอ้อมขวาลงล่างเก็บด้านขวาให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นซ้ายแล้วเก็บซ้ายให้หมด)


อิติปิโสนารายณ์บรรทมสินธุ์ถอยหลัง


มา สัม สุ คะ โต โล กะ วิ
สัม พุท โน คะ ภะ ถิ ระ ทู
หัง โธ ปัน วา โธ สัต สา อะ
ระ วิช สัม ติ พุท ถา มะ นุต
อะ ชา ณะ อิ นัง เท ทัม ตะ
วา จะ ระ ติ สา วะ สะ โร
คะ ภะ โส ปิ นุส มะ ริ ปุ
(เริ่มจากตรงกลางไล่ลงอ้อมซ้ายลงล่างเก็บด้านซ้ายให้หมด แล้วอ้อมขอบขึ้นขวาแล้วเก็บขวาให้หมด)




อิติปิโสถอยหลัง 3 ห้อง


ติ สา กัส โล ตัง เขต ญัก ปุญ รัง
ตะ นุต อะ โย ณี ระ กะ ลี ชะ
อัญ โย เณย ขิ ทัก โย เนย หุ ปา
โย เนย หุ อา โฆ สัง กะ วะ สา
โต วะ คะ ภะ สะ เอ ลา คะ ปุค
สะ ริ ปุ ฐะ อัฐ นิ คา ยุ สะ
ริ ปุ ริ ตา จัต ทัง ทิ ยะ โฆ
สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ โน
ปัณ ฏิ ปะ จิ มี สา โฆ สัง กะ
วะ สา โต วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ
ปะ ยะ ญา โฆ สัง กะ วะ สา โต
วะ คะ ภะ โน ปัน ฏิ ปะ ชุ อุ
โฆ สัง กะ วะ สา โต วะ คะ ภะ
โน ปัน ฏิ ปะ สุ ติ หี ญู วิญ
โฑ ตัพ ทิ เว ตัง จ้ต ป้จ โก ยิ
นะ ปะ โอ โก สิ ปัส หิ เอ โก
ลิ กา อะ โก ฐิ ทิฏ สัน โม ธัม
ตา วะ คะ ภะ โต ขา สวาก ติ วา
คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ
เท คา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ
ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ
โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ
จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง
ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ

อิติปิโสรัตนมาลา 108 คาถาบท
โดยนำอิติปิโสแบบเต็มมาขยายความหมายของแต่ละคำ


พระพุทธคุณ 56


อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ


(1) อิฏโฐ สัพพัญญุตะญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง
อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง
(2) ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมิ อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
(3) ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโย พรัหมานะมุตตะโม
ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทะริยัง นะมามิหัง
(4) โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะมาโน สะเทวะเก
โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง
(5) ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา
ภะยะสัตเต ปะหาเสนะโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง
(6) คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง
คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง
(7) วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง
วานะนิพพานะมัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง
(8) อะนิสสาสะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน
อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามัง นะมามิหัง
(9) ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน
รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง
(10) หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง
หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง
(11) สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง
สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง
(12) มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต
มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง
(13) สัญจะยัง ปารมี สัมมา สัญจิตวา สุขะมัตตะโน
สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง
(14) พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชานัง
พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง
(15) โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง
โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง
(16) วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตวา ธัมมะเทสะนัง
วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง
(17) ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต
ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง
(18) จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง
จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง
(19) ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา
ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง
(20) นะมิโตเยวะ พรัหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา
นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง
(21) สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต
สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง
(22) ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก
ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง
(23) โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง
(24) สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน
สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง
(25) คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง
คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง
(26) โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร
โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง
(27) โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร
โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง
(28) กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน
กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถะสัณหัง นะมามิหัง
(29) วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว
วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง
(30) ทูเส สัตเต ปะกาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาเสติ
ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง
(31) อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม
อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง
(32) นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง
นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง
(33) ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง
ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง
(34) โรเสนเต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ
โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง
(35) ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปารมี
ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง
(36) ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ
ริตติ กัมมัง น กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง
(37) สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน
สยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง
(38) ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตวา สะเทวะกัง
ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทะริยัง นะมามิหัง
(39) มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ
มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทโธ นะมามิหัง
(40) สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง
สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง
(41) รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง
รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง อะระหันตัง นะมามิหัง
(42) ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก
ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง
(43) สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สัจจะนิพพานะปาปะกัง
สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง
(44) ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ
ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง
(45) เทนโต โย สัตตะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง
เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง
(46) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง
วันทิตัง เทวะพรัหเมหิ วะรัง พุทธัง นะมามิหัง
(47) มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา
มะนุสสะเทวะพรัหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง
(48) นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง
นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง
(49) สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง
สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง
(50) นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ
นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง
(51) พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง
พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง
(52) โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน
โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง
(53) ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก
ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง
(54) คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง
คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง
(55) วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง
วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง
(56) ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต
ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง
(57) ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
(ต่อ)


พระธรรมคุณ 38


สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
(1) สะวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สะวานะยัง ธัมมะเทสิตัง
สะวาหุเนยยัง ปุญญักเขตตัง สะวาสะภันตัง นะมามิหัง
(2) ขาทันโต โย สัพพปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร
ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง
(3) โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง
โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง
(4) ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อะนุตตะโร
ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง
(5) คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก
คัจฉันเต พรัหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง
(6) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง
วันตัง พาละมิจฉาทีนัง วันตะคันถัง นะมามิหัง
(7) ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมัง ติรัง
ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง
(8) ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง
ธะเรติ อะมะตัง ฐานัง ธาเรนตันตัง นะมามิหัง
(9) โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ
โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง
(10) สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก
สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง
(11) ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต
ทิฏเฐ ทะวาสัฏฐิ ฉินทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง
(12) ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตวะสะธุตังคะเก
ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง
(13) โกกานัง ราคัง ปิเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ
โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง
(14) อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ
อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตังวะ นะมามิหัง
(15) กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย
กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง
(16) ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปิฏะกัตตะเย
ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง
(17) โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ
โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง
(18) เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง
เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะนันตัง นะมามิหัง
(19) หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคะติง
หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง
(20) ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก
ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง
(21) สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง
(22) โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ
โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง
(23) โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง
โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง
(24) ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี
ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง
(25) นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง
นะรานัง กามะปังเกหิ นิมิตันตัง นะมามิหัง
(26) ยิชชะเต สัพพะสัตตานัง ยิชชะเต เทวะพรัหมุนี
ยิชชิสสะเต จะ ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง
(27) โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ
โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง
(28) ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชะหิตา ปาปะกา จะโย
ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง
(29) จะริตวา พรัหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ
จะชาเปนตังวะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง
(30) ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวิริยัง
ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง
(31) เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ
เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง
(32) ทีฆายุโก พะหูปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล
ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง
(33) ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน
ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโต โมกขัง นะมามิหัง
(34) โพธิ วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ
โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง
(35) วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา
วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง
(36) ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคัง สะมัปปิตัง
ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง
(37) หีสันติ วัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ
หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง
(38) ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม
ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง
(39) อัฏฐัตติงสะ ธัมมะคาถา ธัมมะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
(ต่อ)


พระสังฆคุณ 14


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
(1) สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐุ โย ปะฏิปันนะโก
สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง
(2) ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร
ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง
(3) ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน
ติตถิโย พุทธะวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง
(4) ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโค
ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง
(5) โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิ
โนนะตัง พุชฌะตัง ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง
(6) ภัคคะราโค ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง
ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง
(7) คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ
คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นะมามิหัง
(8) วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทัง
วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง
(9) โตเสนโต เทวะมานุสเส โตเสนโต ธัมมะมะเทสะยิ
โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง
(10) สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินัง
สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง
(11) วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง
วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง
(12) กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน
กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง
(13) สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โส
สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง
(14) โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรัง
โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง
(15) จะตุททะสะ สังฆะคาถา สังฆะคุณา สุคัมภิรา
เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา
ฉัปปัญญาสะ พุทธะคุณา ธัมมะคุณา อัฏฐะติงสะติ
สังฆะคุณา จะตุททะสะ อัฏฐุตตะระสะเต อิเม
ทิเน ทิเน สะระเตปิ โสตถี โหนติ นิรันตะรันติ
(จบ)

+++++++++++++++

อานุภาพแห่งรัตนมาลา
(1) - อิ จงหมั่นภาวนา ป้องกันศัสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทำให้แคล้วคลาด
นิราศไพรี สิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา
(2) - ติ ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา
ทั้งปอปทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน
(3) - ปิ ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำใจร้อน สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์
ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา
(4) - โส ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าร้าย
ศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล
(5) - ภะ จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาด มิอาจทำได้ พินาศยับไป
ด้วยพระคาถา
(6) - คะ ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มาย่ำยี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี
มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา
(7) - วา บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำๆ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนีอู้ ไม่คิดต่อสู้
ออกได้หายไป
(8) - อะ ให้ภาวนา กันเสือช้างมา ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งชบวน
จระเข้ประมวล สัตว์ร้ายนานา
(9) - ระ ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามา
ถูกต้องกายา พินาศสูญไป
(10) - หัง ให้ภาวนา ในเมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้าม
ไม่คิดพยายาม ทำร้ายเราแล
(11) - สัม ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านให้รำพัน เมื่อจะเข้าสู่ เหล่าศัตรูสรรพ์
หมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธี
(12) - มา ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกไซร้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรงมี
ใจอ่อนทันที ไม่เย่อไม่หยิ่ง
(13) - สัม สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริงจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่ง
สุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน
(14) - พุท ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรไร ก็ไม่คะคาน
แสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา
(15) - โธ ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุนัขหมา ใช้ป้องกันภัย สัตว์ร้ายนานา
ไม่อาจเข้ามา ย่ำยีบีทา
(16) - วิช สำหรับบทนี้ คุณาย่อมมี อดิเรกนานา กับพวกศัตรู เหล่าหมู่พาลา
ไม่อาจเข้ามา หลบหน้าหนีไป
(17) - ชา ภาวนากัน คุณไสยอนันต์ ทำมามิได้ จงหมั่นภาวนา อย่าได้สงสัย
อาจารย์กล่าวไว้ ดังได้อ้างมา
(18) - จะ บทนี้ดีล้น เสกทำน้ำมนต์ รดเกล้ากายา เสกมะกรูดส้มป่อย
ถ้อยความมีมา ใข้สระเกศา ถ้อยความสูญไป
(19) - ระ ภาวนานั้น ศัตรูอาธรรพ์ สรรพโพยภัย กันได้หลายอย่าง ทั้งเสนียดจัญไร
ภาวนาไว อย่าได้กังขา
(20) - ณะ บทนี้บทเอก มีคุณเอนก สุดจะพรรณนา ระงับดับโศก กันโรคผีห่า
อันจะมาคร่า ชนมายุไป
(21) - สัม สำหรับบทนี้ ท่านอาจารย์ชี้ แนะนำกล่าวไว้ ใช้เป็นเสน่ห์ สมคะเนดังใจ
อย่าได้สงสัย ดียิ่งนักหนา
(22) - ปัน บทนี้สามารถ กันภูติปีศาจ ไม่อาจเข้ามา หลอกหลอนเราได้ ท่านใช้ภาวนา
จงได้อุตส่า ท่องให้ขึ้นใจ
(23) - โน บทนี้ภาวนา ป้องกันฟ้าผ่า และช้างม้าร้าย มีจิตจำนง ประสงค์สิ่งใด
ลงของก็ได้ ใช้ตามปรารถนา
(24) - สุ ภาวนากัน คุณว่านยาอัน เขากระทำมา กับทั้งอาวุธ และเครื่องศัสตรา
แม้ถูกกายา ก็มิเป็นไร
อนึ่ง ถ้าแม้นว่า มีความปรารถนา บังคับเขาให้ อยู่ในโอวาท อนุศาสน์ไรไร
ภาวนาเรื่อยไป เขาจะเกรงกลัว
(25) - คะ ให้ทำน้ำมนตร์ บริกรรมพร่ำบ่น อย่าได้เมามัว ประพรมสินค้า จงอย่ายิ้มหัว
กำไรเกินตัว อย่ากลัวขาดทุน
(26) - โต ภาวนาเสก มีคุณอย่างเอก เข้าหาเจ้าขุน มูลนายพระยา เมตตาอุดหนุน
โปรดปรานการุณย์ เพราะคุณคาถา
(27) - โล ภาวนาเป่า ศัตรูทุกเหล่า แม้กริ้วโกรธา แต่พอได้เห็น เอ็นดูเมตตา
ปรานีนักหนา ดุจญาติของตน
(28) - กะ เอาข้าวสารมา แล้วภาวนา เสกให้หลายหน เสร็จแล้วซัดไป ไล่ผีบัดดล
หนีไปไกลพ้น ไม่มาราวี
(29) - วิ เสกขมิ้นและว่าน เสกข้าวรับประทาน อยู่คงอย่างดี อีกอย่างหนึ่งไซร้
ใช้ไล่ขับผี ภูตพรายไม่มี สิงสู่กายา
(30) - ทู ภาวนาบทนี้ เมตตาปรานี ไม่มีโทสา หญิงชายทั้งหลาย รักใคร่หนักหนา
ห่างภัยนานา สิ้นทุกข์สุขใส
(31) - อะ จงหมั่นตรองตรึก มั่นพินิจนึก ภาวนาไป ศัตรูเห็นหน้า เมตตารักใคร่
ภาวนาไว้ เป็นศุภมงคล
(32) - นุต บทนี้ดีเหลือ ให้ใช้ในเมื่อ ถึงความอับจน ป้องกันผู้ร้าย โรคภัยเบียดตน
พินาศปี้ป่น ไม่ทนรบกวน
(33) - ตะ ภาวนาเสก ปลุกตัวและเลข ว่านยาทั้งมวล อนึ่งใช้เสก เครื่องคาดก็ควร
เมื่อรณศึกล้วน เป็นสิริมงคล
(34) - โร ภาวนาใช้ ในยามครรไล จากด้าวถิ่นตน ทั้งใช้ปลุกเสก ซึ่งเครื่องคงทน
อย่าได้ฉงน แก้กันสรรพภัย


(35) - ปุ บทนี้ศักดิ์สิทธิ์ ภาวนากันพิษ สัตว์ร้ายทั้งหลาย ตะขาบแมลงป่อง
หากต้องเหล็กใน จงภาวนาไป พิษห่างบางเบา
(36) - ริ บทนี้ภาวนา รุ่งเรืองเดชา อำนาจแก่เรา ทั้งหญิงและชาย พอได้เห็นเข้า
ครั่นคร้ามไม่เบา เมื่อเข้าสมาคม
(37) - สะ ภาวนาทุกวัน หมู่เทพเทวัญ ชวนกันระดม พิทักษ์รักษา โดยเจตนารมณ์
มิให้ระทม เดือดเนื้อร้อนใจ
(38) - ทัม บทนี้ภาวนา สำหรับเสกผ้า โพกเศียรครรไล เจริญราศี สวัสดีมีชัย
เสกเจ็ดทีไซร้ แปลงรูปบัดดล
(39) - มะ อาจารย์กล่าวไว้ ให้เสกดอกไม้ ทัดหูของตน มีสง่าราศี สวัสดีมงคล
เสน่ห์เลิศล้น แก่คนทั่วไป
(40) - สา ภาวนาให้มั่น กันฝังอาถรรพ์ เวทมนตร์ทั้งหลาย อีกกันกระทำ มิให้ต้องกาย
อีกอาวุธร้าย เมื่อเข้ารณรงค์
(41) - ระ ใช้ภาวนา ป้องกันสัตว์ร้าย เสือช้างกลางดง ทั้งควายและวัว กระทิงตัวยุ่ง
ไม่กล้าอาจอง ตรงเข้าราวี
(42) - ถิ บทนี้กล้าหาญ เสกข้าวรับประทาน คงกระพันชาตรี ศัตรูหมู่ร้าย ไม่กล้าราวี
เป็นสง่าราศี ไม่มีศัตรู
(43) - สัต เมื่อจะใส่ยา จงได้ภาวนา ตามคำของครู ป้องกันโจรร้าย ไม่มีศัตรู
ที่จะมาขู่ ข่มเหงน้ำใจ
(44) - ถา ภาวนานึก เมื่อจะออกศึก สงครามใดใด แคล้วคลาดศัสตรา ไม่มาต้องได้
คุ้มครองกันภัย ได้ดีนักหนา
(45) - เท บทนี้ก็เอก สำหรับใช้เสก ธูปเทียนบุปผา บูชาเทพเจ้า พุทธธรรมสังฆา
จะมีสง่า ราศีผ่องใส
(46) - วะ บทนี้ยิ่งดี ใช้เสกมาลี สิบเก้าคาบไซร้ เอามาทัดหู คนดูรักใคร่ บูชาพระไซร้
ย่อมเป็นมงคล
(47) - มะ เมื่อลงนาวา ขับขี่ช้างม้า ยาตราจราดล หรือขึ้นเรือนใหม่ อย่าได้ฉงน
เสกสิบเก้าหน จะมีเดชา
(48) - นุส ภาวนาบ่น ประเสริฐเลิศล้น อย่าได้กังขา ชนช้างก็ดี หรือขี่อาชา
มีเดชแกล้วกล้า ไชยาสวัสดี
(49) - สา บทนี้ดีมาก เมื่อจะกินหมาก เสกสิบเจ็ดที ทั้งแป้งน้ำมัน จวงจันทร์มาลี
ทัดกรรณ์ก็ดี มีเสน่ห์ยิ่งยง
(50) - นัง บทนี้เลิศล้ำ เสกลูกประคำ สังวาลย์สวมองค์ ตะกรุดพิสมร สิบเก้าคาบตรง
มีเดชมั่นคง ราศีผ่องใส
(51) - พุท ภาวนาบทนี้ เมื่อจะจรลี สู่บ้านเมืองไกล ป้องกันสรรพเหตุ ภัยเภทใดใด
มีคุณยิ่งใหญ่ แก่ผู้ภาวนา
(52) - โธ บทนี้เป็นเอก สำหรับปลุกเสก เครื่องรางนานา ประสิทธิ์ทุกอย่าง อีกทั้งเงินตรา
จงเสกอย่าช้า เจ็ดทีบันดาล
(53) - ภะ บทนี้ดีล้นค่า ใช้เสกศัสตรา อาวุธคู่ตน นิราศผองภัย ไม่ต้องสกนธ์
เสกสิบเก้าหน ตนจะอาจหาญ
(54) - คะ บทนี้ภาวนา เมื่อจะเข้าหา สมณาจารย์ ท่านมีเมตตา กรุณาสงสาร
ล้วนมงคลการ ประเสริฐเลิศล้น
(55) - วา เข้าหาขุนนาง แม้ใจกระด้าง โอนอ่อนบัดดล จงได้ภาวนา ท่านเมตตาตน
กรุณาล้นพ้น อย่าแหนงแคลงใจ
(56) - ติ ภาวนาบทนี้ เหมือนดังมณี หาค่ามิได้ เจริญทุกวัน ป้องกันโรคภัย
ทุกข์โศกกษัย สูญหายสิ้นเอย
++++++++++++++++++++++++

อิติปิโสคุ้มแก้ว เดินหน้า ถอยหลัง

1.อะระหัง อะระหัง

2.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ - สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

3.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน -วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

4.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต - สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

5.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู - โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

6.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ - อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทูสุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

7.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง - สัตถา เทวะมะนุสสานังอะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธอะระหัง

8.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ - พุทโธ สัตถาเทวะมะนุสสานัง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโต วิชชาจะระณะสัมปันโนสัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

9.อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา - ภะคะวาพุทโธ สัตถา เทวะมะนุสสานัง อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ โลกะวิทู สุคะโตวิชชาจะระณะสัมปันโน สัมมาสัมพุทโธ อะระหัง

***อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโนสุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธภะคะวา***


พระคาถาอิติปิโสสร้อยสน
.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
๒.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง วิชชาจะระณะสัมปัณโณ
๓.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สุคะโต
๔.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง โลกะวิทู
๕.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง อะนุตตะโร
๖.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง ปุริสะทัมมะสาระถิ
๗.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง สัตถาเทวะมะนุสสานัง
๘.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง พุทโธ
๙.โสภะคะวา อิติปิอะระหัง ภะคะวาติ



จักกล่าวอุปโท พระอิติปิโสสร้อยสนโดยย่อ


บทต้น ชื่อกระต่ายแฝงคอ ไปสงครามพึงพอ บริกรรมพร่ำต่อ ๑๗คาบ แล้วให้ภาวนาแม้นมาตรว่าปืนยิงมา บ่ถูกกายา ปลายเส้นเกศาโลมานั้นบ่ได้ชดเชย



บทสอง ชื่อฝนแสนห่ารำเพย แม้นต้องขื่อคาท่านเอ๋ยสะเดาะ ๑๓ คาบโดยหมาย โซ่ตรวนขื่อคากระจาย ทะลักทะลายด้วยเดชะพระพุทธมนต์



บทสาม ชื่อกลิ่นไตรภพจบสกล ยามเมื่อเดินหนประจัญหนามขวากอาดูร ให้ชุบ ๑๕ คาบโดยตรา ถ้าเข็บแมลงป่องหิงสาปลาดุกแสยงกล้า ให้ชุบ ๘ คาบโดยหมาย ถ้าทำเสน่ห์หญิงชาย เอาแป้งน้ำมันหอมโดยหมาย สามเจ้ามาทำโดยมี ๗ คาบทาที่เข้ามาชมเชย ย่อมเป็นเสน่หาท่านเอ๋ย บ่ได้ละเลย ชมเชยเสน่หาอาลัย

บทสี่ ท่านกล่าวไว้ใหม่ ชื่อว่าการใหญ่จะไปรบศึกโดยตรา ให้ชุบด้วยพระคาถา ๑๗ คาบมาได้โดยดังใจถวิล ร่ายมนต์พ่นไปไขว้ขวินแล่นแยกแตกไปสิ้นไพรี หนึ่งเล่าชุบตัวให้ใหญ่เรี่ยวแรงแข็งดี เอาขมิ้นอ้อยโดยมี มาเสกตามกำลังวัน ๑๖ คาบใหญ่โตมหันต์ ครั้นแล้วจึงกลั้นใจฝนทา ทั่วตัวตนเหมือนหนึ่งกล่าวไว้โดยตรา รูปร่างใหญ่โตหนักหนา คนเห็นตกประหม่า ข้าศึกสยดสยองขน>


บทห้า ชื่อกระทู้ ๗ แบกฤทธิรณ ทิ้งขว้างกลางหนบ่ต้องกายาหม่นหมอง ท่านให้ชุบ ๓๒ คาบแล้วโดยปอง ลงในน้ำโดยตราให้เอาไม้แทงกายา คลาดเส้นเกศาบ่หวาดไหวกายี มูลนายขึ้งโกรธแสนทวี จะเอาไปทุบตี จำจองเฆี่ยนขับสารพัน เจ้านายให้ฆ่าฟัน เสกแป้งน้ำมัน ๙ คาบแล้วทาอาตมา เห็นหน้าหายความโกรธา ทำเสน่ห์นั้นหนา ให้เอาหมากมาที่บนทะลายโดยจง ทำเป็นแมลงภู่แล้วลงชื่ออันประสงค์ ในปีกแมลงภู่อย่าคลา ท่านให้ชุบด้วยพระคาถา ๑๗ คาบนา ปล่อยแมลงภู่ไปโดยประสงค์ ถ้าแม้นมิมาหาโดยตรง คลั่งคลาบ้าหลง ถึงเจ้าแมลงภู่พิศวาส

บทหกชื่อกลืนอากาศ ฤทธาสามารถ ถ้าจะดำผุดล่องหน สำนึกถึงเพทอากาศไพชยนต์ เอาขมิ้นมาฝนแล้วชุบถ้วน ๓๒ คาบแล้วให้ได้ดังใจปองอย่าได้เศร้าหมองทาตัวให้ทั่วอินทรีย์ ถ้าว่าเล่นมวยปล้ำดี ให้ระงับอินทรีย์ชุบ ๑๔ คาบอย่าครา ท่านให้กำกราบกายา สุขจิตจินดา ให้ตั้งปรารถนานึกกระสัน ถ้าเขาหาความเรานั้นเอาขี้ผึ้งอันหนัก ๖ บาทอย่านาน เอากระดาษลงชื่อคนพาล เป็นใส่เทียนฐาน ตามถวายพระห้ามมารด้วยดี แล้วนั่งภาวนาตามที่ตามอาจารย์จนสิ้น
เทียนอย่าคลายแล้วเอาผงเทียนนี้ไว้ ขย้ำน้ำโดยหมาย ถ้อยความสูญหายบ่มินาน


บทเจ็ด ชื่อปราบจักวาล ตามคำอาจารย์ จักเล่นพนันขันตี ให้ชุบมนต์นี้ ๓๒ คาบโดยมี แล้วให้เสกซ้ำน้ำมัน ๓๐ ทีแล้วด้วยพลันทาทั่วกายา เล่นปล้ำตีเถิดนา บ่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เป็นสวัสสัตถาไชยา มูลนายขึ้งโกรธโทษทัณฑ์ จะให้หายโกรธนั้นจึงเอาน้ำมันมา ๓๗ คาบเสกด้วยคาถา แล้วใส่เกศาประไปให้ทั่วกายี ครั้งท่านเห็นหน้ายินดี รักดิ้นสิ้นดี คือบุตรอุทรเกิดกาย ถ้าจะทำเสน่ห์หญิงชาย เอาขมิ้นมาหมาย ฝนเสก ๑๒ คาบทาตัวโดยปอง ไปในบ้านช่องหญิงเห็นชอบใจนารี หญิงชายในบ้านทั้งนี้รักดิ้นสิ้นดี งวยงงหลงใหลหายเดือดดาน เอาใบมะขามมาอย่านานกำหนึ่งประมาณ เสก ๒๗ คาบพลันทันใจสำเร็จเป็นหุ่นเหาะระเห็จและคนธรรพ์ทันใด ถ้าจะใช้สิ่งอันใดทำการอะไรก็ได้เสร็จสิ้นทุกอัน ถ้าจะให้สู้รบขยันทำได้ทุกอัน รบพุ่งแข็งขันฟันแทงประเสริฐฤทธิล้ำซ้ำแข็ง เอาไมทำรูปเสือแดง ฤทธิล้ำซ้ำแข็ง ชุบด้วยมนต์ปราบจักวาล ๓๗ คาบประมาณ ตามคำอาจารย์เสร็จแล้วจึงให้ปล่อยไป ฤทธากล้าหาญชาญชัย พ่วงพีโตใหญ่ สีหนาทคำรน>

บทแปด ชื่อสูบสมุทรอลวล ให้ข้าศึกสยองขน เอาปฐพีดลมาเสก ๒๘ คาบด้วยใจ ดินนั้นกลับกลายทันใด เป็นต่อแตนไปไล่ข้าศึกแตกหนี ถ้าจักประดาน้ำวารี ให้แห้งเหือดดี เอาหวายตะค้าขนาดตีคน มาลงคาถาสถาผล สูบสมุทรประจญ ชุบด้วยพระมนต์ ๑๗ คาบงามตามมี เอาหวายนั้นฟาดตี สาครชลธีนั้นก็แห้งเหือดหาย

บทเก้า ชื่อสมุทรเกลื่อนกระจาย อาจารย์ว่าไว้ แม้นว่าถ้าปรารถนาบ้านเมือง อย่าได้แค้นเคือง เอาถั่วเขียวมาประมาณให้ได้กำมือ เสกคาถานี้คือสมุทรเกลื่อนฤๅ ให้ได้ ๑๐๘ คาบโดยหมายเอาถั่วนั้นโปรยปราย ในเมืองทั้งหลาย ก็ยกเมืองให้แก่เรา
++++++++++++++++++++++++++

อิติปิโสหูช้าง



พุทโธ อิติปิโสภะคะวา พุทโธภะคะวาติ อิติปิโสภะคะวา อรหังอิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทธ



อิติปิโสถอด


อิปิภะวาระสัมสัมโธ
ชาระสัมโนคะโลวิอะ
ตะปุสะมะระสัตเทมะ
สาพุทภะวาติคะโธนัง
นุสวะถะถิสาทัมริโร
นุตทูกะโตสุปัน
ณะจะวิพุท
มาหังอะคะโสติ


พระคาถาอิติปิโสถอดนี้ มีคุณอันมาก เมื่อภาวนาเข้านอน3ที สารพัดศัตรูทำร้ายมิได้เลย ถ้าภาวงนาเช้าที1 หัวค่ำที1 เที่ยงคืนที1 บุคคลผู้นั้นอยู่มิรู้อดอาหารเลย เป็นสวัสดีมงคลแก่ผู้นั้นอยู่สุขสำราญแล อายุยืนได้84000ปี เมื่อเข้านอน ปลุกหมอนทุกวัน ศัตรูทำร้ายเรามิได้เลย บังเอิญให้รู้สึกตัวก่อน ให้เสกน้ำล้างหน้าทุกวัน กันเสนียดจัญไร คุ้มผีชมบ 12 จำพวก กันได้สารพัด เสกข้าวกินทุกวันถึงสามเดือน คงถึง7ปี คงจนกระดูกเผาไปมิไหม้ ถ้าจะให้คงทั้งเรือนเอาดินสอพองมาทำเป็นผงเสกด้วยตนเอง 108 แล้วจึงใส่โอ่งข้าวสารเสกด้วยตนเอง108คาบ หญิงชายใดได้กินคงจนตายแล ให้ลงใส่แผ่นตะกั่วเสก108คาบใส่โอ่งน้ำกินคงทั้งเรือน กันคุณคนคุณผีทุกประการแล ถ้าถูกจองจำไว้ในคุกก็ดี ให้ภาวนาคาถานี้108คาบลุ่ยหลุดสิ้นแล ประตูก็เผยออก ถ้าแม้นมีช่องแต่เพียงมือก็ลอดไปได้แล



อิติปิโสพระเจ้า 5 พระองค์




อิติปิโส ภะคะวา นะ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิอิ
อิติปิโส ภะคะวา โม ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง ปิจังงัง วา โสภะคิปิอิ


อิติปิโส ภะคะวา พุทธ์ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิติอิ
อิติปิโส ภะคะวา ธา ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา ปิจังงัง วา โสภะคะปิติอิ
อิติปิโส ภะคะวา ยะ ศัตรูทั้งหลายเอ๋ย เจวะ พัทธะภัณฑัง วา นะจังงัง วา โสภะคะปิติอิ




เมื่ออยู่กลางดงเสือสิงห์กระทิงแรด
หมั่นภาวนาพระคาถานี้ ศัตรูไม่รบกวนเลย



อิติปิโสนพเคราะห์
(อาทิตย์) อิติปิโสภะคะวา พระอาทิตย์เทวา



วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ โมระปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (อะ วิช สุ นุต สา นุต ติ 6 จบ)






(จันทร์) อิติปิโสภะคะวา พระจันทร์เทวา


วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ อถัยยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา 15 จบ)








(อังคาร) อิติปิโสภะคะวา พระอังคารเทวา


วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ กะระณียะเมตตาสุตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง 8 จบ)








(พุธ) อิติปิโสภะคะวา พระพุธเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ โพชฌังคะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท 17 จบ)






(เสาร์) อิติปิโสภะคะวา พระเสาร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ อังคุลิมาละปะริตตังมังรักขันตุ สัพพะทา

(โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ 10 จบ)






(พฤหัสบดี) อิติปิโสภะคะวา พระพฤหัสบดีเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ รัตตะนะสุตตัง อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ วัฏฏะกะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ 19 จบ)






(ราหู) อิติปิโสภะคะวา พระราหูเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ สุริยะจันทะพุทธะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา (คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ 12 จบ)






(ศุกร์) อิติปิโสภะคะวา พระศุกร์เทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ธะชัคคะ สุตตัง อะระหัง สุคะโต ภะคะวา อาฏานาฏิยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(วา โธ โน อะ มะ มะ วา 6 จบ)






(พระเกตุ) อิติปิโสภะคะวา พระเกตุเทวา วิญญาณะสัมปันโน โสธายะ ชะยะปะริตตังมัง รักขันตุ สัพพะทา

(อะระหัง สุคะโต ภะคภวา 6 จบ)






อิติปิโสนพเคราะห์ ใครเจริญภาวนาได้ตลอดชีวิตเป็นมหามงคลเพราะรวม กำลังพุทธคุณ บุญญานุภาพ พุทธปริตร บารมีเทพนพเคราะห์ และ วิชาศักดิ์สิทธิ์ เข้าด้วยกันเป็นการสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา สิริมงคลชีวิตได้ดีมากเคราะห์ร้ายกลายเป็นดี เคราะห์ดีก็ดียิ่งขึ้นไป สวดแล้วภาวนาคาถาในวงเล็บ ตามกำลังวันจนครบทั้ง 9 องค์ ถ้าให้สมบูรณ์ ควรเจริญ วิชาธาตุศักดิ์สิทธิ์ พระคาถาอื่น และแพร่เมตตา ตามลำดับเป็นที่สุดซึ่งแบบสมบูรณ์นี้ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง นอกจากนั้นสวดทุกวันสวดเฉพาะบทอิติปิโสนพเคราะห์ 9 องค์ก็ยิ่งดี





พระคาถาอิติปิโสผิด

อิตินะ โมอิติ ปิวาพุท ธาภะโส ภะสะยะ ยะระคะ วาชาทา พุทโธอะ ระสะโม นะระหังฯ
+++++++++++


ที่มา จากเวปhttp://board.palungjit.com/f17/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA-153820.html

78
ข้าพเจ้า เอ็มเมืองไร่ขิง  ขอเลิกเหล้าเลิกเบียร์ และน้ำมึนเมาทุกชนิดตลอดชีวิต ถวายแด่หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงปู่เปิ่น และพระเกจิอาจารย์ พระอาจารย์ ที่เคารพทุกรูป ตลอดครูบาอาจารย์ พระเจ้าแผ่นดิน และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย  เจ้ากรรมนายเวร

ขอให้สิ่งไม่ดี  เรื่องไม่ดีอันใด โปรดหายไปด้วยเถิด

ขออนุญาติ บันทึกเพื่อเป็นพยานหลักฐาน ณ เวปบอร์ดแห่งนี้ สาธุ

ขอบคุณครับ




79
พอดีไปค้นเจอไม่แน่ใจแท้หรือป่าว มีกากเพรชด้วย เหอๆๆๆๆ งง

ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ  :054: :054: :054: :054:




หลวงพ่อเต๋ รุ่นมูลนิธิ

80
ด้วยความเมตตาจากหลวงพี่ญา ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ครับ :054: :054: :054:





ฝากนำรูปมาแบ่งกันดูครับ กระผมไม่เค่ยได้เข้ามาเล่นบอร์ดซักเท่าไหร่ หากไม่ได้กดขอบคุณให้ ขออภัยด้วยนะครับ

81


กราบมนัสการและขอบพระคุณ หลวงพี่ตูน หลวงพี่ญา หลวงพี่เก่ง ด้วยนะครับที่เมตตาครับ  :054:

ขอบคุณพี่เอ เพื่อนต้น และพี่บอลด้วยนะครับ

ยันต์จูงนาง งานเข้าครับ

82


หนังหลวงพ่อวัดไร่ขิง หรือแผ่นรักปิดทอง

แผ่นรักปิดทองออกของหลวงพ่อวัดไร่ขิง คือของดีที่ชาววัดไร่ขิงศรัทธา

โดยแผ่นรักนี้ มีอายุราวๆ 100 กว่าปี  
และได้ทำการลอกออกครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 เพียงเล็กน้อยโดยบังเอิญ
และได้ทำการลอกครั้งใหญ่เพื่อบูรณะองค์หลวงพ่อเมื่อปี พ.ศ. 2530
ซึ่งตอนนี้ไม่มีแล้วครับ  ถือเป็นของหายาก

โดยทางวัดได้ทำเป็นชนวนมวลสารในการสร้างพระเนื้อผง
แต่จะมีเพียงบางรุ่นซึ่งไม่เกิน 3 รุ่น ที่แผ่นทองรักเต็มแผ่นติดอยู่ด้านหลัง และสร้างน้อย ดั่งในรูปภาพ

โดยก็ทราบกันดีแผ่นรักที่ปิดทองกับองค์หลวงพ่อนี้ได้ผ่านพิธี นับ หลายๆครั้ง ทั้งพุทธาพิเศก การบวชพระใหม่  การลงบวชเพื่อสวดมนต์ภาวนา อีกหลายๆพิธี ร่วมทั้งความศรัทธาจากประชาชนที่หลั่งไหลกันเข้ามา และยังโดยความศักสิทธิ์จากองค์หลวงพ่อเองแล้ว เช่นเดียวกับหลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูปศักสิทธิ์อื่นๆ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นของมีคุณค่าและพุทธคุณของชาวไร่ขิงเป็นอย่างยิ่ง

โดยรักหลวงพ่อไร่ขิงนี้ ยังถูกปลุกเสกตอนที่พระเกจิ แต่ละยุคของจังหวัดนครปฐม ทั่วประเทศมาปลุกเสกในพระอุโบสถแล้วด้วย
เช่นหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก (ผู้สร้างพระเหรียญหล่อก้นแมงดารุ่นแรกของวัดไร่ขิง)
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม (เป็นประธานเททองพระกริ่ง ปี 08 ที่วัดไร่ขิง)
อื่นๆอีกมากมาย ครับ

ส่วนตัวผมได้มีประสบการณ์กับรักหลวงพ่อไร่ขิงทางด้านมหาอุตมาแล้วเช่นกัน

84


เดินเข้าไปในบริเวณวัดไผ่โรงวัว  เปรตตัวแรกที่ได้พบก็คือ  เปรต...มือถือสากปากถือศีล
ทำให้คิดว่า.....โทษ หรือ ผลกรรม คนประเภทนี้ มีถึงขนาดนี้เชียว  
การที่คนเมื่อสมัยยังมีชีวิตอยู่  ทำใจ วาจา และความประพฤติเป็นเยี่ยง  คนมีศีล มีสัจ  แต่ตรงกันข้าม  เขากลับกระทำการที่ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ  เขาเป็นคนอย่างนั้น  เราก็ต้องตั้งจิต  ตั้งวาจา และตั้งใจ  ในการพูดคุยกับผู้อื่น   โดยไม่พูดคุยโวโอ้อวด  อย่ายกตนข่มท่าน  ไม่ได้มีอะไร แล้วไปคุยโว  ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดคิดว่าเราเป็นอย่างนั้น มีอย่างนั้น
จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่  รัก และทนุถนอมสิ่งที่มีอยู่ด้วยใจที่ซื่อสัตย์
จงคิดว่า  เราทำบุญ ทำกรรม มาแบบนี้  ต้องได้รับแบบนี้  และจงรีบทำดี  ตั้งบัดนี้  เพื่อในวันข้างหน้าจะได้ มีอะไรที่ดีในชีวิตด้วย
เคยได้ยินคนพูดว่า...กรรมเวรติดเทอร์โบ....หมายถึง  กรรมเวร  ปัจจุบันนี้เดินทางมาตอบสนองเราได้รวดเร็วมากทีเดียว  โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้า   บางที  กรรมเวรมาแบบ นาทีต่อนาที  ยังเคยมีเลย....
กลับมากล่าวถึง  บุคคลมือถือสาก  ปากถือศีล...แฝงตัวอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางและสูง  ที่มักชอบทำตัวเป็นที่ให้ผู้อื่นปรึกษา  ทำให้ผู้อื่นนิยมชมชอบ  ชอบให้ผู้อื่นกล่าวชมชอบ  เลยทำดี  พูดดีด้วย  แต่ลับหลังกลับพูดจาเชือดเฉือน  ให้ได้เสียหาย  เสื่อมเสียชื่อเสียง  เกียรติยศ  และกลับมาพูดคุยกับตัว..บุคคลแบบนี้เรียกว่า.....  มือถือสาก  ปากถือศีล
เคยพบบุคคลประเภทนี้บ่อยมาก และมีจำนวนมากทีเดียว เราไปว่ากล่าวตักเตือน ก็ไม่ค่อยได้  เพราะพวกเขามักจะมีอีโก้สูง  มีอัตตา  คำพูดของเราคงจะไม่มีความหมาย  และไม่มีประโยชน์อะไร  ที่จะไปยุ่งวุ่นวายกับคนเหล่านี้  
จึงต้องประมาณตน  อยู่ห่างๆไว้  ทักทาย  พอเป็นพิธี  หลีกเลี่ยงได้เป็นดี  เพราะอาจจะมีภัย   พูดอะไรก็จะแปรเปลี่ยนคำพูดของเราเป็นอื่น  ให้ได้เสียหาย...จำไว้เลย  
เชื่อแน่ว่า...คนแบบนี้  จะต้องจนมุม และตายด้วยคำพูดของตนเองแบบ....ปลาหมอตายเพราะปาก


ขอบพระคุณที่มา http://gotoknow.org/blog/goaround1/177883

85


ตะกรุด 3 ห่วง หลวงปู่แย้มวัดสามง่าม เช่ามาหลังออกพรรษาปี 51 ครับ

ตะกรุด 3 ห่วง หลวงพี่ญาเมตตามอบให้มาครับ

ปลัดขิก วัดบางพระ พี่โองการเมตตาให้มา ครับ

ขอบพระคุณหลวงพี่ญา
และพี่โองการด้วยนะครับ

ที่เมตตาให้มา ครับ  :054:

86




ตะกรุดดอกนี้ หลวงพ่อเมตตาจารมือและม้วนเองด้วยครับ ยาวประมาณ 5นิ้วได้
ด้านในมีแป้งเสกเจิมด้วย
ตะกรุดดอกนี้ผมฝากเพื่อนต้นเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดบางพระด้วย

แบ่งมาให้เพื่อนๆชมครับ

87




เป็นอีก 1 พิมที่หาชมได้ยาก แบ่งมาให้ชมกันครับ อิอิ
พระคู่บ้านคู่เมือง ของจ.นครปฐมอีก 1 วัดครับ

88


กราบมนัสการหลวงพี่ญา ที่วันนี้ได้เมตตามอบพ่อปู่ฤาษี เสาร์ 5 มาให้ ครับ
ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับที่เมตตาเสมอครับ

 :054: :054: :054:

และขอบคุณพี่เจมส์ สำหรับแบงค์ขวัญถุงวัดช่องแค ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับสำหรับน้ำใจที่มีให้น้องๆ

และขอบคุณเพื่อนต้นเช่นเคย  :015:

89


ได้ของดีมาอีกแล้วครับ
กราบมนัสการ และขอกราบขอบพระคุณหลวงพี่ญาที่เมตตาต่อผมเสมอครับ
หลวงพี่ญา วัดบางพระ ท่านเมตตาต่อศิษทุกท่านจริงๆ ครับ


ขอบคุณเพื่อนต้นด้วย

90


ปลัดขิกชุดนี้ได้รับความเมตตา จากหลวงพี่ญา แห่งวัดบางพระเป็นผู้เสกและเจิมแป้งให้ครับ
ต้องกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ หลวงพี่ญาท่านเมตตาต่อศิษย์ทุกคนเสมอครับ

ปลัดขิกชุดนี้มีประสบการณ์แล้ว......
ขอบคุณพี่ ราหู ซึ่งเป็นผู้แกะปลัดขิกให้ด้วยครับ แกะได้สวยงามมากครับ

91




ขอแจ้ง งานบุญ ในวันที่อาทิตย์ 13 กันยายน พ.ศ. 2552 เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 เป็นต้นไป
ทางวัดไร่ขิง หรือวัดมงคลจินดาราม (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ.นครปฐม
จัดเทศน์มหาชาติ  ก็ใครที่ว่าง หรือมีโอกาศ ไปร่วมทำบุญ ฟังเทศน์ กันได้นะครับ

ขอบคุณพี่ๆ ผู้ดูแลบอร์ด ทุกท่าน ครับ สำหรับให้แจ้งข่าวงานบุญ

92
หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด อ.สามพราน จ.นครปฐม เนื้อเมฆพัด รุ่นแรก ครับ 







ส่วนตะกรุด ขอสอบถามหน่อย ครับ
ตะกรุดดอกนี้ ผมได้เช่ามาจากวัดบางพระเร็วๆนี้ ซึ่งที่หน้าตู้ไม่มีครับ หลวงพี่หยิบมาให้จากด้านล่าง
ใครที่อยุ่แถวๆ วัด หรือพอทราบข้อมูล ผมอยากรู้ ครับ ว่าทันหลวงปู่เสกหรือไม่ ของคุณครับทุกๆท่าน
[/color]

93


กราบขอบพระคุณหลวงพี่เก่ง สำหรับเหรียญหลวงพ่ออวยพร
กับขอบพระคุณพี่โองการ สำหรับเหรียญหลวงปู่มาก ครับ

95
ด้วยความเมตตาจากหลวงพี่ญา ครับ  :054:



96
อยากจะเอามาใช้เตือนใจกันครับ
ชื่อว่า บทกลอนทำดีต้องใจบริสุทธิ์
ทุกคนจำต้องทำความดี ทำดีเท่านั้นจึงได้ดี
คนที่ทำดีพระเจ้าเกื้อ พระเจ้าทรงเกื้อคนทำดี
คนที่ทำดีไม่ได้ดี ก็เพราะกรรมเก่านั้นยังมี
กรรมเก่าหมดแล้วดีย่อมได้ มีหรือทำดีไม่ได้ดี
คนที่ทำชั่วไม่ได้ดี ก็เพราะฟ้าดินไม่ปราณี
ฟ้าดินไม่เกื้อคนทำชั่ว มีหรือทำชั่วจะได้ดี
คนที่ทำชั่วกลับได้ดี ก็เพราะบุญเก่านั้นมากมี
บุญเก่าหมดแล้วกรรมชั่วติด สร้างกรรมใช้กรรมทุกข์เวียนดี
ทุกตนจำต้องทำความดี ด้วยเหตุฟ้าดินท่านรู้ดี
ฟ้าดินรู้ทั่วคนชั่วดี ทำดีละชั่วต้องได้ดี
ทำดีอย่าทำเพื่อเอาหน้า ทำเพื่อเอาหน้าไม่ใช่ดี
ทำดีต้องใจบริสุทธิ์ มายาเสแสร้งใช่ทำดี
ทำดีจำต้องไม่หลงดี หลงดีติดดีอาจเสียที
ทำดีจำต้องมีสติ ประมาททำดีมักเสียที
ทำดีต้องทำอย่างรอบคอบ รอบคอบทำดีไม่เสียที
ทำดีจำต้องไม่อวดดี อวดดีถือดีไม่ได้ดี
คนที่ถือดีดีไม่ได้ ทำดีดีแล้วอย่าอวดดี
ทำดีมีคนทำดีกว่า ใช่แต่เพียงท่านมุ่งทำดี
ทำดีต้องรู้คนเหนือดี คนที่เหนือดีไม่พาที
เหนือฟ้ายังมีฟ้าเหนือกว่า นิพพานเหนือฟ้าเหนือมวลดี
ตำราโบราณสอนไว้ดี   สอนเตือนไว้ทั่วให้ทำดี
ตงฉินคนดีคนรู้ทั่ว คนโกงคนชั่วอเวจี
ขอกล่าวเตือนย้ำไว้อีกที พระเจ้าไม่เคยทิ้งคนดี
สวรรค์คือถิ่นไร้ความชั่ว นิพพานสถิตยอดคนดี


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทกลอนทำดีต้องใจบริสุทธิ์
ทุกคนจำต้องทำความดี                        ทำดีเท่านั้นจึงได้ดี
คนที่ทำดีพระเจ้าเกื้อ                                   พระเจ้าทรงเกื้อคนทำดี
คนที่ทำดีไม่ได้ดี                                ก็เพราะกรรมเก่านั้นยังมี
กรรมเก่าหมดแล้วดีย่อมได้                         มีหรือทำดีไม่ได้ดี
คนที่ทำชั่วไม่ได้ดี                                ก็เพราะฟ้าดินไม่ปราณี
ฟ้าดินไม่เกื้อคนทำชั่ว                                 มีหรือทำชั่วจะได้ดี
คนที่ทำชั่วกลับได้ดี                                ก็เพราะบุญเก่านั้นมากมี
บุญเก่าหมดแล้วกรรมชั่วติด                       สร้างกรรมใช้กรรมทุกข์เวียนดี
ทุกตนจำต้องทำความดี                           ด้วยเหตุฟ้าดินท่านรู้ดี
ฟ้าดินรู้ทั่วคนชั่วดี                                ทำดีละชั่วต้องได้ดี
ทำดีอย่าทำเพื่อเอาหน้า                             ทำเพื่อเอาหน้าไม่ใช่ดี
ทำดีต้องใจบริสุทธิ์                                มายาเสแสร้งใช่ทำดี
ทำดีจำต้องไม่หลงดี                                   หลงดีติดดีอาจเสียที
ทำดีจำต้องมีสติ                                ประมาททำดีมักเสียที
ทำดีต้องทำอย่างรอบคอบ                           รอบคอบทำดีไม่เสียที
ทำดีจำต้องไม่อวดดี                                 อวดดีถือดีไม่ได้ดี
คนที่ถือดีดีไม่ได้                                     ทำดีดีแล้วอย่าอวดดี
ทำดีมีคนทำดีกว่า                                       ใช่แต่เพียงท่านมุ่งทำดี
ทำดีต้องรู้คนเหนือดี                                 คนที่เหนือดีไม่พาที
เหนือฟ้ายังมีฟ้าเหนือกว่า                             นิพพานเหนือฟ้าเหนือมวลดี
ตำราโบราณสอนไว้ดี                                 สอนเตือนไว้ทั่วให้ทำดี
ตงฉินคนดีคนรู้ทั่ว                                คนโกงคนชั่วอเวจี
ขอกล่าวเตือนย้ำไว้อีกที                             พระเจ้าไม่เคยทิ้งคนดี
สวรรค์คือถิ่นไร้ความชั่ว                        นิพพานสถิตยอดคนดี


ขอบคุที่มาจากเวป http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=78793576ca861857

ฝากใว้ ครับ ขอบคุณ

97
องค์ที่ 1






รบกวนด้วย ครับ แท้หรือป่าว ครับ ช่วยฟันธงทีครับ ผมไม่แน่ใจเลย ครับ ขอบคุณครับ

98


นำทีมดวย ต้นน้ำ โปเตโต้ เจ้าเก่า





พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์  เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม เป็นพระธานในงาน














ภาพอาจไม่เค่ย ชัดต้องขออภัยเป็นอย่างสูง ครับ  :054:


99


กราบขอบพระคุณ ทั้ง 2 ท่านด้วยความเคารพ ครับ .......

เมตตามหานิยมสุด ครับ  :054: :054: :054: :054:

100
ในวันนี้ เป็นวันดี เป็นวันพิเศษ เป็นวันเกิดของต้นน้ำ

เป็นวันที่คุณแม่ผู้เลี้ยงเรามาเจ็บที่สุด กว่าจะเลี้ยงเรามาโตขนาดนี้ กว่าจะเก็บเงิน ลำบากเพื่อเรา มาตลอด อย่าลืมกราบแม่งามๆนะเพื่อน


ก็ขอให้เพื่อน ต้นน้ำเป็นคนดีของทุกๆคนและ มีความสุข มากๆๆๆๆๆๆๆ  ตั้งใจเรียน และมีครอบครัวที่มีความสุข  รวยๆด้วยนะ

และในฐานะที่ต้นเป็นผู้ดูแลบอร์ดก็ขอให้ต้น เป็นผู้ดูแลบอร์ดที่ดีต่อไป

อย่าลืมไปทำบุญ ให้กับผู้มีพระคุณครูบาอาจารย์ ด้วย

ของขวัญให้ไปแล้วนะ ล่วงหน้าเลย อิอิ ขอให้เพื่อนเก็บใว้ให้ดีละกัน

เพื่อนเอ็มคนนี้ จะอยู่เคียงข้างนายตลอดไป............สุขสันวันเกิดเพื่อน





101
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสนหรือขาดความ
๒. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดง ให้ผู้ฟังเข้าใจ
 ๓. สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ

๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น  ตัวเจ้าของไม่คิด แต่คนตอบ อาศัยเป็นเคริ่องมือ บาปปปปปปปปปปปปปปปปป

ขอบคุณเวปพลังจิต สำหรับบทความดีๆ ครับ   <<< เคดิต

102
นับ จากโบราณกาลมา การผิดประเวณีนับเป็นยอดแห่งความชั่วบทลงโทษในโลกมนุษย์นับว่าหนักแล้ว แต่บทลงโทษในนรกยิ่งหนักเพิ่มขึ้นวิธีการลงโทษมีหลากหลายดังขยายต่อไป หวังว่าท่านผู้อ่านควรละเว้นทันที

พี่น้องเสพสุขตกนรกชั่วนิรันดร หากถึงขั้นฆ่าชีวิตด้วยแล้ว จะถูกฟ้าผ่าผู้ใดข่มขืนศพหญิง จะตกนรกชั่วนิรันดรเช่นกัน ผู้ใดได้รับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์มาแล้วจะไม่ถูกฟ้าผ่า ผู้ใดที่มีความกตัญญูจะลดโทษ 4 ส่วน ผู้ใดเคยสร้างบุญใหญ่ 1,500 ครั้งก็ถูกลดโทษ 4 ส่วนเช่นกัน ผู้ใดข่มขืนหญิงหม้าย จะขาดลูกหลานสืบทอดวงศ์ตระกูลตกนรก 500 ชาติ แล้วเกิดเป็นมด หนอน 500 ชาติ ยังมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอีก 500 ชาติ จึงเกิดมาเป็นคน มีอาชีพเป็นโสเภณี ผู้ใดได้รับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์แล้ว ลด 100 ชาติ หากมีการฆ่าถึงชีวิต เพิ่มโทษ 5 เท่าผู้ใดเป็นผู้กตัญญูต่อพ่อแม่และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์กับประเทศ ชาติลดโทษกึ่งหนึ่งประกอบบุญใหญ่ 500 ครั้ง ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน

หมาย เหตุ :บทลงโทษในเมืองนรก คำว่า 1 ชาติ หมายถึงการลงโทษถึงตายแล้วฟื้นคืนกลับมาแล้วรับโทษเหมือนเดิมจนครบกำหนดแล้ว โทษนั้นจึงยุติหากยังมีโทษอื่นอีก ก็ต้องรับโทษในขุมนรกอื่น ๆ ในหนังสือ "บันทึกถ้ำนรก"ได้บรรยายอย่างละเอียด ผู้ใดทำผิดศีลข้อ 3 แล้วหากสำนึกผิดแล้วหันมาประกอบกรรมดีช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อตายจากโลก มนุษย์แล้วจะได้รับการลดโทษตามส่วน ผู้ใดไม่สำนึกผิดเลยจนตาย เมื่อตายจากโลกมนุษย์แล้วจะได้รับการลงโทษจากขุมนรกที่ 1 แล้วยังต้องไปรับโทษขุมนรกอื่น ๆโทษที่จะได้รับเช่น "แหวกหัวใจ" "คนโลหะ" "ตัดไต" "หนูกัด" "ลงกระทะทองแดง" "รถบด"ฯลฯ

ผู้ใดทำผิดศีลข้อ 3 ระหว่างพี่น้อง ลูกกับแม่เลี้ยง พ่อผัวกับลูกสะใภ้ฯลฯ จะตกนรกตลอดกาล เพราะการผิดศีลข้อ 3 ระหว่างหมู่ญาติ นับว่าโทษหนักที่สุด

เมื่อรับ โทษทัณฑ์ครบแล้ว จึงเกิดมาเป็นคน 1 ครั้ง เรียกว่า 1 ชาติ หนังสือ "ตำรับทอง" และ "ตำรับวงเวียน" 2 เล่มนี้ได้บรรยายบทลงโทษอย่างละเอียดกฎเมืองนรกก็มีการลดหย่อนผ่อนโทษเช่น กัน ฉะนั้นเห็นได้ว่าบาปบุญคุณโทษไม่มีการผิดเพี้ยน หากผู้ใดได้อ่านหนังสือ "ตำรับทอง" "ตำรับวงเวียน"และ "บันทึกถ้ำนรก" 3 เล่มนี้แล้ว ยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นในเรื่องกฎแห่งกรรม


ผู้ใดหลอกข่มขืนหญิงหม้าย

จะ ไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 2 ชาติและรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 400 ชาติแล้วจึงเกิดมาเป็นคนพิการ ผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 80 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 4 เท่าผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นบุตรกตัญญูลดโทษ 70% ผู้ใดเคยสร้างบุญขนาดกลาง 500 ครั้งลดโทษ 70% เช่นกัน




ผู้ใดแทะโลมจนหญิงหม้ายเสียตัว



จะ ไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 3 ชาติ หลังจากรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 300 ชาติ จึงมาเกิดเป็นคนยากจนแสนเข็ญผู้ที่ได้รับโทษในโลกมนุษย์แล้ว จะลด 60 ชาติ หากถึงขั้นฆ่าตาย เพิ่มโทษ 3 เท่าผู้ใดจงรักภักดีและเป็นบุตรกตัญญู ลดโทษ 90% ผู้ใดเคยสร้างบุญ 500 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน


ข่มขืนสาวพรหมจรรย์

บุตร ธิดาจะมั่วกามตัวเองจะต้องรับโทษทัณฑ์ในขุมนรก 400 ชาติ แล้วไปเกิดเป็นหนอน เป็นมด อย่างละ 400 ชาติ จึงเกิดมาเป็นคนขี้ข้า (ทาส) ผู้ใดเคยรับโทษในโลกมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 100 ชาติหากมีการฆ่ากันถึงชีวิต เพิ่มโทษ 4 เท่า ผู้ใดเคยทำประโยชน์แก่ประเทศชาติหรือเป็นบุตรกตัญญู ลดโทษกึ่งหนึ่ง เคยประกอบกรรมดี 400 ครั้งก็ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน



ใช้วิธีหลอกลวงข่มขืนสาวพรหมจรรย์

จะ ไม่มีลูกหลานสืบตระกูล 2 ชาติ และรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มดสัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 250 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคนขี้โรคอ่อนแอผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 70 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตายเพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญู ลดโทษ 70 % ผู้ใดเคยสร้างบุญขนาดกลาง 400 ครั้ง ลดโทษ 70 %




ผู้ใดแทะโลมจนสาวพรหมจรรย์เสียตัว

ภรรยา และบุตรสาวจะต้องชดใช้กรรม และตัวเองต้องรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 100 ชาติแล้วจึงเกิดเป็นคนมีฐานะยากจน ผู้ใดเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ลดโทษ 40 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 2 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญูลดโทษ 90% ผู้ใดเคยสร้างบุญเล็ก 400 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน

ข่มขืนเด็กสาว (อายุต่ำกว่า 15 ปี)

ภรรยา และบุตรสาวจะต้องชดใช้กรรมตัวเองต้องรับโทษในขุมนรกแล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 350 ชาติแล้วจึงมาเกิดเป็นคนผู้น้อย ถ้าเคยรับโทษทัณฑ์ในโลกมนุษย์ ลดโทษ 100 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 3 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีกับเป็นลูกกตัญญูลดโทษกึ่งหนึ่ง ประกอบบุญใหญ่ 300 ครั้ง ลดโทษกึ่งหนึ่งเช่นกัน

ใช้วิธีหลอกลวงข่มขืนเด็กสาว (อายุต่ำกว่า 15 ปี)


ลด อายุ 24 ปีตายแล้วต้องรับโทษทัณฑ์ในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 100 ชาติ แล้วจึงมาเกิดเป็นคน ไร้คู่ครอง ผู้ใดเคยรับโทษในเมืองมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 30 ชาติ หากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 2 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นลูกกตัญญูลดโทษ 70% สร้างบุญขนาดกลาง 300 ครั้ง ลดโทษ 70% เช่นกัน


ผู้ใดแทะโลมจนเด็กสาวเสียตัว


ลด อายุ 12 ปีตายแล้วรับโทษในขุมนรก แล้วมาเกิดเป็นหนอน มด สัตว์เดรัจฉาน อย่างละ 70 ชาติแล้วจึงมาเกิดเป็นคนมีฐานะยากจน ผู้ใดเคยรับโทษในเมืองมนุษย์มาแล้ว ลดโทษ 20 ชาติหากถึงขั้นทำร้ายชีวิตถึงตาย เพิ่มโทษ 1 เท่า ผู้ใดจงรักภักดีและเป็นลูกกตัญญูลดโทษ 90% สร้างบุญขนาดเล็ก 300 ครั้ง ลดโทษ 90% เช่นกัน

บทลงโทษ 3 ข้อข้างต้น (หญิงหม้าย สาวพรหมจรรย์ และเด็กสาว) มีผลเฉพาะที่ไม่ใช่เครือญาติหากเป็นวงศาคณาญาติ เพิ่มโทษ 1 เท่า หากเป็นพี่น้องกันหรือมีเพศสัมพันธ์ระหว่างงานศพ เพิ่มโทษ 3 เท่า หากข่มขืนสาวใช้ รับโทษหนักเช่นกันข่มขืนไม่สำเร็จ ลดอายุ 6 ปี หากถึงขั้นเสียชีวิต มีโทษหนักดั่งโทษข่มขืน

เที่ยวซ่อง 1 ครั้ง ลดอายุขัยครึ่งปี ผู้ใดติดกามโรค ลดอายุขัย 1 ปีหากสำนึกผิด ยกเว้นลดอายุขัย

รักร่วมเพศ รับโทษดั่งข่มขืนหญิงสาวถ้าคู่หูเป็นชายอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นเด็กสาว รับโทษดั่งเที่ยวซ่องโสเภณี

>>
ประพันธ์ หนังสือลามก ลดอายุขัย 24 ปีหากมีผู้อ่านอ่านแล้วเกิดไปข่มขืนหญิงอื่นผู้ประพันธ์จะต้องรับโทษเสมือน หนึ่งเป็นผู้ข่มขืนเองหากหนังสือลามกไม่ถูกทำลายหมดสิ้น จะไม่ได้ไปผุดไปเกิด ผู้ถ่ายทำหนังลามกรับโทษหนักเหมือนกัน

เปิดเผยเรื่องลามก ลดอายุขัย 6 ปี ถ้ามีการฆ่าถึงชีวิตลดอายุขัย 12 ปี คุยเรื่องในมุ้ง มีโทษเช่นกัน หากสำนึกผิด จะได้รับลดโทษบ้าง


กฎลามกของผู้พิพากษาแซ่ลก (สมัยราชวงศ์ซ้อง) ได้เพิ่มเติมว่าผู้ใดผิดศีลข้อ 3 จนตั้งครรภ์และทำแท้งถึงขั้นเสียชีวิเต เพิ่มโทษ 1 เท่า

ผู้ ใดข่มขืนเด็กสาวตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปไม่ว่าจะใช้วิธีล่อลวงหรือเกลี้ยกล่อม ให้ถือเป็นคดีข่มขืน หากมีการฆ่าถึงชีวิตเพิ่มโทษ 1 เท่า

ผู้ใดมีภรรยาและบุตรแล้ว ยังแอบมีภรรยาน้อย 1 คน ลดอายุขัย 2 ปี คนที่มีชื่อเสียงเกียรติยศอยู่แล้ว จะถูกลดชื่อเสียงลง 8 ส่วน แต่ไม่ลดอายุขัย

หญิงหม้ายใดที่ไม่คิดแต่งงานใหม่ ใช้วิธีหลอกลวงจนได้เสียจะลดอายุขัย 3 ปีหากเธอมีจิตจะแต่งงานใหม่ ไม่ต้องลดอายุขัย

ผู้ ใดแต่งงานกับหญิงหม้ายและไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูบุตรธิดาของสามีเก่า 1 คน ลดอายุขัย 2 ปี หากทรมานลูก ๆของสามีเก่าจนเสียชีวิต ลดอายุขัย 12 ปี

สนทนาระหว่างเพื่อนฝูงเรื่องตัณหา 3 ครั้ง ลดอายุขัย 1 เดือน

นำเพื่อนไปเที่ยวซ่องโสเภณี ลดอายุขัย 3 ปีผู้ใดมีชื่อเสียงโชคลาภ งดการลดอายุขัย แต่ลาภยศจะเลื่อนเวลาออกไป

ผู้ ใดเห็นหญิงงามเดินผ่านและเหลียวมองอย่างไม่ลดละ 3 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน หากหาอุบายตีสนิทแฝงด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือน

ผู้ใดชอบฟังเรื่องลามก 1 ครั้ง ลดอายุขัย 3 เดือนผู้ที่มีชื่อเสียงเกียรติยศ จะถูกบั่นทอน

ผู้ใดตั้งใจดูหนังลามก 1 ครั้งลดอายุขัย 3 เดือน หากถึงขั้นเสียชีวิต เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน 1 ชาติ

ผู้ใดชอบอ่านหนังสือลามก 3 ครั้ง ลดอายุขัยครึ่งเดือน ผู้ใดถึงขั้นไม่สบายลดอายุขัย 3 ปี

ผู้ ใดชักชวนเพื่อน ๆ รื่นรมย์กับกามตัณหา ถูกลงโทษ 2 ชั้นพ่อหรือพี่ชายไม่ยับยั้งลูก ๆ หรือน้อง ๆ จนหลงกามารมณ์หรือปล่อยปละละเลยคนใช้รื่นเริงกับกามารมณ์ ถูกลงโทษ 2 ชั้นเช่นกัน


ผู้พิพากษาแซ่ลกเขียนไว้ว่า โทษทัณฑ์ในเมืองนรกยากต่อการผ่อนปรนโทษของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างญาติยิ่ง หนักกว่าเพื่อนไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยละเมิดกามต่อผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่ล่อลวงผู้น้อยเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ต้องรับโทษในขุมนรกทั้งนั้น
สังคมในมนุษย์ปัจจุบันผู้ผิดศีลข้อ 3 มักเกิดขึ้นกับครอบครัวที่รับราชการบัณฑิต พวกเขาประพฤติเช่นนี้บ่อยครั้งจนติดเป็นนิสัยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ยัง ไม่สำนึกว่าการกระทำของตนนั้นผิด

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจึงได้ ทูลพระเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ (ท้าวสักกะเทวราช) ท่านทรงอนุญาตให้ตีแผ่กฎลงโทษของนรกสู่โลกมนุษย์โดยไม่ปิดบังเพื่อให้ผู้ อ่านจะได้สำนึกผิดและจะได้รับการลดโทษผู้ที่มีความจงรักภักดีและกตัญญูได้ รับการลดโทษผู้ใดเคยสร้างสมบุญกุศลได้รับการลดโทษเช่นกัน

หากผู้ใดได้อ่านบทความนี้แล้วไม่เพียงสำนึกผิดกลับติเตียนทำลาย จะได้รับโทษหนัก หรือถูกฟ้าผ่าตาย

หากมีผู้ใดเชื่อคำสั่งสอนของบทความนี้ และได้เผยแพร่ให้ผู้อื่นได้ทราบ

เผยแพร่ 100 คน เพิ่มอายุ 12 ปี

>>
เผยแพร่ 200 คน ผู้ไร้บุตรจะได้บุตร
เผยแพร่ 500 คน ยศชื่อเสียงเพิ่มทวีคูณ
เผยแพร่ 1,000 คน มีชื่อบนสวรรค์เผยแพร่ทั่วพิภพ ตายแล้วได้จุติเป็นเซียน

เผยแพร่กับเศรษฐี 10 คนได้บุญกุศลเท่ากับเผยแพร่กับคนสามัญ 200 คน
เผยแพร่กับข้าราชการได้บุญกุศลเท่ากับเผยแพร่กับคนสามัญ 100 คน


ที่มาจากเวป http://dek-d.com/board/view.php?id=1304517

หากเคยมีคนลงแล้ว หรือ ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วย ครับ

103




พระผงสุพรรณ รุ่น ภ.ป.ร. ของกลมอาชีวะศึกษา (องค์นี้สังเกตุดีๆ มีมวลสารพระผงสุพรรณของเก่า ติดตรงฐาน แน้นๆ 1 ก้อน ครับ



เสือไม้มะรุม เกะ หลวงปู่เพี้ยน วัดตุ๊กตา +++++




เหรียญเม็ดแตงหลวงปู่เจือ ได้จากแจกในงาน อายุครบ 7 รอบที่ผ่านมา ครับ

 :002:

104

ด้วยวันนี้ ผมกำลังอ่านหนังสือเรียนอยุ่ที่บ้าน ก็ได้มีเพื่อนผม ต้นน้ำ ได้นำหมวก หัวเสือ จากวัดบางพระมาให้
บอกว่าหลวงพี่ญาฝากมาให้
ทั้งที่ผม ก็ไม่เค่ยได้โผล่ไปวัดสักเท่าไหร่ นานๆจะไปที แต่ท่านก็ยังมีเมตตา ได้มอบหมวกใบนี้มาให้ผม
ผมรุ้สึกปลื้มและดีใจมาก ครับ หลวงพี่ญา ท่านเมตตาลูกศิษทุกคนอยุ่เสมอ ครับ ..........

ต้องกราบขอบพระคุณ หลวงพี่ญา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
ด้วยความเคารพ ครับ

105


รอเข้าแถวรับวัตถุมงคล คนเยอะมาก ครับ ฝนตกลงมาปลอยๆ ครับ




ไปเจอลุงคนนึง ครับ ...สุดยอดเลย แฟนพันธ์แท้ เลยขอถ่ายรูปมา




ต้นน้ำ & สิบทัศ (พี่เก่งสุดหล่อ) ........



และผมเอ็มเมืองไร่ขิง กับ ต้นน้ำ ครับ .... ณ ริมกำแพงวัดกลางบางแก้ว



หน้าที่เช่า วัตถุมงคล วัดตุ๊กตา

ส่วนภาพที่เหลือ รอ ท่านพี่เก่ง ลง นะครับ ..........ขอบคุณครับ



106
?คำถาม-คำตอบ เรื่องน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา?

โดย ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ


พระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของนิกายอื่นๆ อยู่ ๒ นิกายด้วยกัน คือ

๑) นิกายหินยาน

๒) นิกายมหายาน

นิกายหินยาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเถรวาท และทักษิณนิกาย เหตุที่เรียกว่า นิกายเถรวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาโดยพระเถระตั้งแต่ครั้งที่ทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) ซึ่งถือว่าเป็นพระเถระที่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นพระพุทธเจ้าและได้รักษาคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ตามรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ต่อมานิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทักษิณนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายใต้ หมายความว่า เป็นนิกายของพระภาคใต้
นิกายหินยานได้แตกสาขาออกมาอีกในเวลาต่อมารวมกันเป็น ๑๘ นิกาย และในปีพุทธศักราช ๒๑๘ ปี หลังจากทำตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สายด้วยกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด คือ ในประเทศลังการวมทั้งประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนคือ ลาว เขมร พม่าก็รวมอยู่ด้วย
พระพุทธศาสนาที่เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศดังกล่าวมานี้ล้วนเป็นพระพุทธศาสนาประเภทเถรวาททั้งสิ้น

นิกายมหายาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายอาจริยวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ในแต่ละสำนักเป็นหลักและแก้ไขพระวินัยให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นเหตุการณ์และตามความประสงค์ของตนเองได้ โดยยึดถือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้เมื่อครั้งใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า ?หากสงฆ์ประสงค์จะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ให้ถอนได้?
เพราะฉะนั้น ในนิกายนี้จึงมีการแก้ไขพระวินัยหลายข้อด้วยกัน และบางสาขาในนิกายนี้แก้ไขพระวินัยถึงขนาดที่ว่า พระมีครอบครัวได้
ต่อมา นิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุตตรนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายเหนือ หมายความว่า เป็นนิกายที่แพร่หลายขึ้นไปในแถบภาคเหนือของอินเดีย คือ กำหนดเอาตั้งแต่แคว้นปัญจาปขึ้นไปจนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศอาฟกานิสถานในปัจจุบัน
นิกายมหายานได้เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และปัจจุบันได้รับความนิยมกว้างขวางอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดมากเกินไป

(หมายเหตุ ในเมืองไทยเรา ก็มีพระพุทธศาสนานิกายมหายานเหมือนกัน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ ๑. อนัมนิกาย (ญวน หรือเวียดนาม) และ ๒. จีนนิกาย)

อย่างไรก็ตาม นิกายทั้งสองนี้ แม้จะมีข้อวัตรปฏิบัติและพิธีกรรมของพระและฆราวาสแตกต่างกันบ้าง แต่เมื่อพูดถึงจุดหมายปลายทางแล้วก็มุ่งพระนิพพานเป็นจุดสูงสุดเหมือนกัน และนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเช่นเดียวกัน


ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในเมืองไทยเรานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ

๑. มหานิกาย

๒. ธรรมยุติกนิกาย

ซึ่งนิกายทั้งสองนี้เรานิยมเรียกพระแต่ละนิกายว่า พระมหานิกาย พระธรรมยุต นิกายทั้งสองนี้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย จนเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลยไม่ว่าจะเป็นในด้านวินัยบัญญัติ หลักธรรม ที่สำคัญพระในนิกายทั้งสองยังสามารถปฏิบัติศาสนพิธีร่วมกันได้ โดยยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาร่วมกัน
ส่วนในด้านการปกครอง สมเด็จพระสังฆราช (จากนิกายไหนก็ได้) ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์
ข้อเพิ่มเติม นิกายหินยาน นั้นในทางวิชาการเรามักจะไม่ค่อยใช้กัน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูกที่นิกายมหายานยัดเยียดให้นิกายหินยาน เพราะคำว่า หิน (อ่าน หิ-นะ) หมายถึง ต่ำช้า เลวทราม สาเหตุเพราะมุ่งความบริสุทธิ์เฉพาะตัวเป็นหลักก่อนจึงค่อยสอนผู้อื่น แต่นักปราชญ์ฝ่ายหินยานก็เลี่ยงเสียใหม่ แปล หิน ว่า เล็ก เพราะฉะนั้น หินยาน จึงแปลว่า ยานเล็ก หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้น้อยกว่า ส่วน มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้มากกว่า
มหายานท่านว่าอย่างนี้ จะจริงเท็จแค่ไหนก็ต้องปฏิบัติดู


จาก... วารสาร พ.ส.ล. ปีที่๓๙ ฉบับที่ ๒๕๖ กรกฎาคม ? กันยายน ๒๕๔๙


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป  http://anamnikay.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=126

107





มีนายทหาร ท่านนึง มอบให้มานานแล้ว ครับ แต่ผมไม่รู้ลายละเอียดไรสักอย่างเลย
ด้านหลังเขียนว่า วัดบางนมโค
สู่มาตุภูมิ 2533  ครับ
ใครมีลายละเอียดรบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณ ครับ ทุกท่านล่วงหน้า  :054:

108











พอดีมีคน..มาให้ผมดูให้อะครับ ตาผมไม่ถึงพอ ครับ :075: ก็เลยอยากให้เพื่อนๆ ช่วยดูให้หน่อย ครับ
ส่วนความคิดเห็นส่วนตัวผมน่าจะไปทางวัดปากทะเลปะครับ
ยังไงลบกวนด้วยนะครับ ...........ขอบคุณครับ

109








คุณแม่ผ่องศรี ก็มาทำบุญด้วย ครับ







110
พอดี เข้าไปชมเวปพระ...และเจอเหรียญนี้ ....เลยมาให้เพื่อนๆดูอะครับ
เหรียญนี้ คงจะเริ่ม หายากเต็มทีแล้ว ตัวจริงเสียงจริง ครับ ................
มีจารด้วย ..... (ไม่ใช่ของผมนะครับ ยื้มรูปเขามา )

มาชมกันเลย ครับ




ขอบคุณรูปภาพ จาก เวป--- นิตยสารพระท่าพระจันทร์ ---

111


เริ่มกันด้วยผ้ายันต์ผืนใหญ่ ชุดกรรมการ




ผืนเล็ก

ว่าด้วยเรื่องของผ้ายันต์ ผ้ายันต์หลวงพ่อนี้คนไร่ขิงรุ้ดี ครับ เพราะจากประสบการณ์มีให้เห็นมากมาย (กระซิบถามนายต้นน้ำสิครับ เขามีหลายผืน 55 )


รุ่น พิเศษ 9 เหลี่ยม รุ่นประสบการณ์ ปี 45 ครับ ปลุกเสก อาทิเช่น หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม  หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม  และอีกๆ หลายๆ ท่านในยุคนั้น ครับ





สุดท้ายเป็น รุ่นมหามงคล ครับ ปลุกเสกในวัน ลอยกระทง ซึ่งพิธีใหญ่มาก
อาธิเช่น หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงปู่แผ้ว ปวโร  หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน และอีกหลายท่าน ครับ

112
กราบขออนุญาติพี่ๆ และทีมงานเวปบางพระ ครับ ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา
วันนี้ก่อนผมจะเดินทางไปทำธุระที่ จ.กาญจบุรี
มีเรื่องไม่สบายใจตั้งแต่เมื่อคืน ครับ

ด้วยที่ว่าพี่ปอม และ ท่านก๊อต เกิดความเข้าใจผิดกัน
โดยในนามผมเอ็มเมืองไร่ขิง ซึ่งก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับบอร์ดมากมาย แต่ด้วยความเห็นพี่น้องผิดใจกัน ผมก็ไม่สบายใจ ครับ
ผมก็รักพี่ๆ น้องๆๆ เพื่อนๆๆ ทุกคนเท่าๆกันหละครับ ...แต่เห็นมาเป็นแบบนี้แล้ว ก็ไม่สบายใจเลย ครับ

เอาเป็น ว่า ผมรู้ครับ ด้วยความที่นิสัยอาจจะใจร้อนทั้งคู่ไปหน่อย เลยเกิดปัญหาขึ้น ครับ
เหตุนี้ไม่ว่าใครจะ ผิด หรือ ถูก มันไม่ใช่ประเด็น ครับ ผมอยากให้ท่านทั้ง 2 ให้อภัยกันมากกว่า
ถ้าหลวงปู่ท่านมองอยู่ก็คงไม่สบายใจ ครับ ที่เห็นพี่น้องต้องมาผิดใจกัน

เอาเป็นว่า ตัวผมเองก็ไม่ได้ดีเท่าไหร่ เคยสร้างปัญหามาก็เยอะ แต่ผมก็อยากขออภัย และสัญญาว่าจะไม่ทำอีก

ด้วยเหตุนี้แล้ว ผมอยากให้ พี่ปอม และ เพื่อนก๊อต ซึ่งเป็นทั้งพี่และเพื่อนที่ผมรัก ให้อภัยต่อกัน ครับ
ด้วยความเป็นลูกผู้ชาย ผมอยากให้ท่านทั้ง 2 แสดงความมีน้ำใจโดยการให้อภัย ตอบคำว่า
ไม่เป็นไร ครับ ที่ผ่านมาก็ขอให้แล้วไป ซึ่งผมเชื่อ ครับ ว่าท่านทั้ง 2 เป็นลูกผู้ชายพอและใจกว้างที่จะให้อภัยกันได้ ครับ
ซึ่งผมก็ฝากใว้ด้วยนะครับ .....ผมจะดีใจเป็นอย่างมากเลย

(แล้วทุกๆท่านด้วยนะครับ ใครอะไรผิดใจกัน หากใช้คำว่า อภัย ก็จะมีแต่ความสุข ครับ)
(และอีกข้อ เกี่ยวกับบอร์ดเรา ผมขอให้พี่น้องทุกท่าน เลิกมาจีบกัน แล้วอะไรรักๆใคร่ๆ ไม่ว่าหลอก ครับ แต่กลัวจะเป็นปัญหาเรื่องชู้สาวแล้วก็เกิดปัญหากันครับ..ขอหละครับ ใครจะจีบกัน รัก อกหัก กรุณานอกบอร์ดเลย ครับ ขอได้โปรดจงสำรวมใว้หน่อย ครับ นี่บอร์ดพระ ไม่ใช่บอร์ดหาคู่รักนะครับ....บอร์ดหลวงปู่เปิ่นที่เคารพ เพราะพักนี้ผมเห็นกระทู้แบบนี้บ่อย ก็เกิด ความเซ็งครับ เห็นใจพี่ โองการกันหน่อย ครับ เพราะเขาทำงานเหนื่อย ไหนจะต้องป้องกันพวกเอาบอร์ดมาหาผลประโยชน์ ไหนจะต้องดูแลระบบ แต่ต้องมาเจอปัญหาซ้ำๆซากๆ ก็ขอให้โปรดงด และช่วยกันหน่อยนะครับ.อยากให้คำนึงใว้อย่าง.............ที่นี่บอร์ดวัดบางพระ บอร์ดพระ ไม่ใช่บอร์ดหาคู่ ครับ )

และต้องขอรบกวนเพื่อนๆสมาชิกที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีเหตุในความจำเป็นงดแสดงความคิดเห็น หรือมาปั่นป่วน กรุณางดแสดงความคิดเห็นด้วย ครับ

113










องค์นี้ กับ ความผากภูมิใจของผม ครับ ......... ขอนอกรายการ สักนิด ครับ



หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม บารมี 10 ทัศ ยุคต้น ครับ  เป็นพระที่ผมชอบ มากที่สุด ครับ

แถมรูปเพื่อนผม และ บรรยากาศ วันสงกราน ที่วัดไร่ขิง ครับ เมื่อวานที่ผ่านมา











114
พรีเซ็นเตอร์ โดย นายต้นน้ำ บางพระเรานี่เอง อิอิ













สำหรับคืนนี้เป็นคืนที่ 2 นะครับ... งานมีถึงวันที่ 14 นะครับ มาร่วมทำบุญ ได้

สำหรับวันนี้ช่วงหัวค่ำ ฝนตก แต่คนก็ยังมีมาเรื่อยๆครับ เพราะด้วยแรงศรัทธา ที่มีต่อหลวงพ่อ





115
สมมุตผมคาดตะกรุด แม่นางพิม กับพี่ดำเซ็นที่เอว 1 เส้น
แล้วอีกเส้น แขวน สามห่วง หลวงปู่แย้ม

ที่เอวควรจะคาดคู่หรือเดี่ยวดี ครับ แล้วถ้าผมจะคาดทั้ง 2 เส้น พล้อมๆ กันจะเป็นอะไร ใหม ครับ
ขอบพระคุณมาก ครับ  :054:

116




ต้องขอบพระคุณ หลวงพี่ญา พี่นน และพี่ๆ สมาชิกทุกท่านที่เมตตามอบให้มา ครับ
ขอขอบพระคุณ ณ ที่นี้ด้วย ครับ ........
มีลายมือ และ ชื่อเวป อย่างชัดเจน .... สวยงามมาก ครับ  :015:

117




รบกวนทุกท่านเลยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าทุกท่าน ครับ

118




ได้มาจาก ท่านสิบทัศ ครับ สวยงามมาก ครับ แบ่งๆกันชม ครับ
ขอบคุณข้อมูลจากพี่ต้น พระงามด้วย ครับ  :015:

ออกที่วัดมคทัยวัน ครับ

119


แบ่งกันชมนะครับ อาจไม่เค่ยสวย เพราะยังไม่เต็ม ครับ แต่เอามาให้ชมก่อน
เดี๋ยวพอวันงาน มาขอถกดูในงาน คนเยอะๆ อายกว่า ครับ แหะๆๆๆ
เลยนำมาให้ดูก่อน ได้ไม่ถกกัน แหะๆๆๆ ..... ขอบคุณครับ

120


ศิลปทางเหนือพระบูชาไม้แก่นจันทร์

121




พระองค์แรก พระเนื้อดินโบราณ แบบพระ 3 ยืน (มีขนาดใหญ่เกือบเท่าฝ่ามือ)ซึ่งองค์นี้ ผมได้นำไปแห่และเช็คตามศูนย์พระ ก็ได้ข้อมูลมาว่า
พระองค์นี้น่าจะเป็นพระที่อยู่ตามวัดโบราณ มีอายุ ไม่สมัยศรีวิชัย ก็ทราวาดี นะครับ
ซึ่งเจ้าของพระองค์นี้ .ที่ได้มาเป็นช่างก่อสร้าง บูรณะวัดตามสถานที่วัดต่างๆ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าวัดอะไร
เพราะถามไม่ทัน ครับ แกตายไปนานแว้ว เหอๆๆๆๆ.................
ด้านหน้าพระองค์นี้มีลอยถลอก เนื่องจากการเก็บพระองค์นี้ไปรวมกับพระองค์อื่นเลยเกิดทำให้มีลอยถลอกนิดนึง ครับ
ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ ....หรือแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ผิดถูกไม่ว่ากัน  หรือข้อมูลที่ผมได้มาผิดก็แจ้งทีนะครับ ขอบคุณครับ

122


หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ไม่ทราบว่าปีไหน ครับ





ไม่ทราบปีเช่นกัน ครับ

123


.......................




รบกวนด้วยนะครับ ผมไม่ทราบบจริงๆ ครับ ออกทีไหน ขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้านะครับ  :054:

124


หน้าจะเป็นเขี้ยวหมีนะครับ พี่ชายที่กรุงเทพให้มา ครับ

ขอบพระคุณพี่บอล .... ณ ที่นี้ด้วย ครับ สำหรับของที่ให้มา  :054:


130




รบกวนด้วยนะครับ ไม่ทราบที่ แท้หรือป่าวก็ไม่ทราบ ครับ
ใครรู้ช่วยดูให้หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

132





มีพี่ใจดีที่กรุงเทพให้มา ครับ ....

134








เต็มที่เลยนะครับ ผิดถูกไม่ว่ากันไม่ต้องเกรงใจ ครับ คิดว่าไงแสดงได้เต็มที่ ครับ  :002:

ดีไม่ดีก็ว่ากันไป ครับ  อยากได้เหตุผลหลาๆยเสียงๆหนะครับ

135


ยื้มรูปมาลงนะครับ


กล้องส่องพระ ZEISS D40 10X GERMANY พันธุ์ แท้ ๆ ที่สุดของ ตำนาน
กล้องตัวนี้ วงการนิยมกันมาก ครับ ...และเป็นกล้องในฝันของใครหลายๆคน

ซึ่งผมก็ได้แต่มอง ครับ 5555++ เอารูปมาให้ชมกันนะครับ กล้องที่ธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา

136




รบกวนด้วยนะครับ ผมว่าแปลกๆ ไงขอรบกวนด้วยนะครับ

137




องค์แรกสมเด็จหลวงพ่อพริ้งมีในสาระบบ แท้ปะครับ ไม่เคยเห็น

139


เจ้าของภาพคือท่าน ชลาพุชะ ครับ


141


ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย)
? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
ชาติกำเนิด

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ มีนามเดิมว่า "น้อย" มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

เกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 เวลา 04.00 น. ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้

ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7 - นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่าเพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ?รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"
 

หลวงพ่อน้อย มีโยมบิดา ชื่อแสงโยมมารดาชื่อ อ่อน โยมพี่เป็นหญิง ชื่อ ปู๋ ซึ่งแต่ละท่านได้ถึงแก่ อนิจกรรมมานาแล้ว ตามที่สืบทราบมาได้ญาติคนสุดท้าย ของหลวงพ่อที่ยังอยู่บ้านหนองอ้อ คือ นายเอม มีศักดิ์เป็นหลาน

ตามความนิยมในประเพณี ของไทยแต่โบราณ วัดไม่เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเดียว วัดเปรียบเสมือนเป็นโรงพยาบาลของชาวบ้าน ใครเป็นโรคอะไรเดือดร้อนก็ต้องวิ่งไปหาพระที่วัดช่วยเป่ารักษาด้วยเวทย์มนต์ หายกันมาส่วนมาก วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน เด็กที่อยู่ใกล้วัดไหนก็มักจะไปเรียนหนังสือกันตามวัดมีพระเป็นครูวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้ แก่ลูกหลานชาวบ้านมาก พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็ช่วยเหลือถวายปัจจัย 4 แก่พระและช่วยสร้างถาวรวัตถุให้เป็นบางครั้งบางคราวจึงพูดกันเป็นบทเป็นกลอนติดปากว่า


วัดจะดี มีสถาน เพราะบ้านช่วย
บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย ยิ่งอวยชัย
ถ้าขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง

ดังนั้นในสมัยที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครู ปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลาในยุคนั้นเพื่อการศึกษา เล่าเรียนและรับการอบรม ตามความนิยมในประเพณีของไทยแต่โบราณ

การศึกษาและการบรรพชาอุปสมบท

 
ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ

เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนและได้รับการอบรมจากท่านพระครูปริมานุรักษ์(นวม)เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอมได้

พอหลวงพ่อมีอายุได้ 15 ปี โยมบิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการ "ชา" เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อการศึกษาต่อ เรียนอักขระสมัยภาษาขอม ภาษาไทย ได้ดีและเขียนอ่านได้อย่างแตกฉานจนพระอธิการชา เจ้าอาวาส วัดสามกระบือเผือก เป็นที่ชอบอกชอบใจในตัวหลวงพ่อ

จากนั้นจึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร ในระหว่างที่เป็นสามเณรนี้ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำจวบจนกระทั่งโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน หลวงพ่อจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพด้วยความกตัญญูกตเวที ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 มีพะอธิการทองวัดลมุด อำเภอนครชัยศรีเป็นพระอุปัชฌายะ พรครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกัมมวาจาจารย์และพระสมุห์แสง วัดใหม่ อำเภอนครชัยศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

นับแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความสมใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวทย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น จากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดลมุด พระครูปริมานนุรักษ์(นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์ แสงวัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาสรวมอยู่ด้วย โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่งคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคม ของท่านเป็นได้ความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยและบุคลิกของหลวงพ่อ

อุปนิสัยของหลวงพ่อ ท่านสงบเงียบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิจ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า หลวงพ่อนั้นมีดีอย่างไรจึงไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเท่าที่รู้ๆ กันนั้นก็ในหมู่ลูกศิษย์ เป็นสิ่งที่ปรากฏการณ์มาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละโลภะ โมหะ โหสะ ทั้งมวล หลวงพ่อมุ่งแต่ประกอบความเจริญให้กับผู้อื่นและส่วนรวม เคร่งครัดในศีลในธรรม และประกอบด้วยความมั่งคงในพรหมจรรย์อันเป็นจริยาวัตรเป็นที่ประจักษ์แต่ผู้พบเห็นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงว่า

หลวงพ่อแก่กล้าในญาณสมาบัตินั้นเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ทั่วไปว่า มีความแก่กล้าทันตามวัยวุฒิของหลวงพ่อในทางวิปัสสนาธุระมามากพอสมควร ดังปรากฏจากสิ่งแสดงออกหลายประการ อันได้แก่วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่า คือวานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของหลวงพ่อด้วย รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัดหลวงพ่อให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่อาจมีผู้ใดมาทำอันตรายได้ ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียวข่าวนี้ได้รำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้างจึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น

บุคลิกของหลวงพ่อ

 
โดยปกติหลวงพ่อมีร่างเล็ก แกร่งแข็งแรง มีกิริยากระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเช่นผู้ชราบางคน มีความเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และเคร่งครัดต่อกิริยาบทของหลวงพ่อ จะปรากฏให้ผู้อื่นได้เห็นอยู่ตลอดเวลาในกิริยาสำรวมนี้

นอกจากนี้ หลวงพ่อท่านยังมีความนักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว แม้ในเรื่องการสร้างกุฎิให้หลวงพ่อก็เช่นกัน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ต่างเห็นว่าหลวงพ่อท่านจำวัดในห้องเล็กๆ ทึบ อบอวล เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัยชราของท่าน จึงมีความปรารถนาร่วมกันที่จะสร้างกุฏิให้หลวงพ่อใหม่ เพื่อบังเกิดความสะดวกสบายตามสังขารอันควรจะเป็นไป รวมทั้งจักได้มีที่รับรองลูกศิษย์ลูกหาให้เหมาะสมซึ่งจะมีไปนมัสการหลวงพ่อท่านเป็นประจำทุกวัน

การขอร้องในเรื่องนี้หลวงพ่อท่านไม่ยอมอนุญาตในระยะแรก โดยปฏิเสธว่าท่านจะอยู่อีกไม่นานนัก แล้วประกอบกับหลวงพ่อท่านได้พิจารณาเห็นว่า เป็นการส่วนตัวเฉพาะท่านเท่านั้น หลวงพ่อมีความปรารถนาแต่เพียง ต้องการให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวัดนี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อท่านก็ต้องยอม โดยขัดศรัทธาความรบเร้าจากลูกศิษย์บ่อยๆครั้งอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อจึงอนุญาตตามใจลูกศิษย์ การสร้างกุฏิ "อินทสโร"ในการปลูกกุฏินี้ปลูกทับลงที่เก่าระหว่างก่อสร้าง จึงทำเพิงที่พักให้กับหลวงพ่อเป็นการชั่วคราว

แล้วลูกศิษย์กับกรรมการช่วยกันเก็บข้าวของของหลวงพ่อออกจากพื้นที่ เพื่อการรื้นกุฏิหลังเดิมในการเก็บข้าวของนี้ได้พบซองใส่เงินอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังมิได้แก้ออกเลย ในซองมีทั้งปัจจัยและนามบัตรผู้ถวายบางซองกระดาษคร่ำคร่า อยู่ใต้ที่นอนของหลวงพ่ออันเป็นสิ่งแสดงว่า หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะเหล่านี้ ใครเขาถวายมาก็ได้แต่เก็บรวมๆ ไว้ในการรื้อกุฏิเก่าของหลวงพ่อครั้งนั้นรวมเป็นเงินได้ประมาณสองแสนกว่าบาท คณะกรรมการจึงได้นำเงินเข้าธนาคารต่อไป

การปกครองวัดในระยะแรกที่หลวงพ่อครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่อใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะโล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิจ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าวนี้ กรณีนี้ท่านผู้รู้ให้ทรรศนะว่าอันความสงบเงียบของสถานที่ ตามพระอารามเช่นนั้นจะเป็นแหล่งอำนวยประโยชน์ในการสร้างปัญญา โดยพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาศึกษาทั้งทางคันถธุระและวิปัสนาธุระ จะได้อาศัยในการพิจารณาหัวข้อและปัญหาธรรมทั้งมวล เพื่อความแตกฉานในภูปัญญา นอกจากนั้นสัตว์เล็กๆ ต่างก็จะได้อาศัยความร่มรื่นปราศจากภัยอันตรายเป็นที่พำนักพักพิงของนกกา

ในสมัยที่หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น หลวงพ่อท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดีและในฤดูกาลเข้าพรรษา มีพระภิกษุนวกะมากท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสมณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ กับหลวงพ่อ สำหรับการฉันจังหันของหลวงพ่อนั้นก่อนอื่นท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันหลวงพ่อจะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง

หลวงพ่อจะฉันด้วยมือและใกล้ท่านต้องมีถ้วยใส่น้ำไว้คอยชุบมือ นอกจากหลวงพ่อจะฉันที่เป็นน้ำเช่น แกงจืด หลวงพ่อจึงจะใช้ช้อนโดยเฉพาะขนมครกหลวงพ่อชอบมาก เวลาท่านจะฉันหมาก หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์หรือญาติโยมที่นำมาถวาย ใส่ในตะบันและตำให้ละเอียดถ้าไม่กลับเอาข้างล่างขึ้นมาอยู่บนและตำใหม่อีกครั้งหลวงพ่อจึงจะฉัน แต่ถ้าลูกศิษย์หรือโยมบางคนไม่รู้เมื่อตำเสร็จส่งให้หลวงพ่อๆ จะไม่ฉันทั้งที่หลวงพ่อไม่ได้ดูการตำผู้เขียนเอายังงงว่าหลวงพ่อรู้ได้ยังไง

ในสมัยที่หลวงพ่อยังแข็งแรงนี้ หลวงพ่อได้มีโอกาสสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลานี้ ด้วยการแสดง พระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกนเพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประพฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนา
ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไปประกอบกับเป็นที่เลื่องลือในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมเกี่ยวกับการสนับสนุนในด้านการปกครองท้องถิ่นไปโดยปริยาย โดยจะไม่มีปรากฏว่าผู้ใดมาประพฤติชั่วในเขตวัดของหลวงพ่อ และลูกศิษย์บางคนที่จะคิดประพฤติชั่วในทางที่ไม่ควรลับหลังท่าน ถ้าระลึกถึงท่านได้แล้วมักจะระงับ ที่จะพฤติปฏิบัติเช่นนั้นเสีย

ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในกรณีที่ทางวัดได้ประกอบเป็นงานบุญขึ้น จะไม่บังเกิด เรื่องราวภายในวัดให้กระทบกระเทือนสถาบันทางพระศาสนา จึงมิต้องอาศัยเจ้าพนักงานของบ้านเมือง มารักษาความสงบสุข นี้ก็เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์เคารพนับถือตามคำสั่งสอนของท่าน หลวงพ่อยังได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรือง

? หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลหลังแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495
? ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499
? พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
? สะพานคอนกรีต และถนนทะยอยสร้างมาราว พ.ศ. 2502
? อาคารโรงเรียนประชาบาลหลังที่ 2 สร้าง พ.ศ. 2505
? ฌาปนสถานสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509
? ระบบน้ำบาดาล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510
? กุฏิสงฆ์ (อินทสโร) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511
? หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512

ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมานมัสการหลวงพ่อเพื่อขอพรจากท่าน หลวงพ่อมักจะแฝงการสั่งสอนธรรมะให้ด้วยเสมอๆ เป็นต้นว่ามีนักศึกษาจะไปสอบหลวงพ่อท่านก็จะให้พรขอให้สมตามความปราถนา แต่ก็ให้ขยันหมั่นเพียรดูหนังสือให้มากอย่าประมาทและผู้ที่มาขอให้หลวงพ่อเจิมรถอันมีอยู่เป็นประจำนั้น นอกจากหลวงพ่อให้พรเกี่ยวกับความปลอดภัยแล้วท่านก็จะเตือนสติให้การขับรถไว้ทุกราย ส่วนลูกศิษย์ที่เขาพบหลวงพ่อท่านเป็นประจำ ท่านก็มักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดีลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่า ท่านแฝงการสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา

การร่วมกุศลพิธีพุทธาภิเษก

โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิชาการฝังลูกนิมิต การเสกทรายและการลงไม้หลักมงคลซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธิวางศิลาฤกษ์นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วๆ ไปมานานแล้ว จนปรากฏว่าสังฆเสนาสนะทั้งหลาย ที่หลวงพ่อท่านได้สร้างแล้วนี้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์เท่าที่รู้เห็นกันก็คือผลอันปรากฏจากผู้มีใจบาปหยาบช้า เข้ามาโจรกรรมสิ่งของมีค่าภายในปูชนียสถานวัตถุเล่านั้นก็บังเกิดความงงงวย ไม่อาจจะเล็ดลอดออกไปได้ ถึงออกไปแล้วก็ต้องกลับมาให้จับจนได้ ดังปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับอภินิหารซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมไว้ในท้ายเรื่อง

ในชีวิตเบื้องปลายของหลวงพ่อท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่อื่นๆ อยู่เนืองๆ เช่นเมื่อปี พ.ศ. 2500 พระครูกัลยานุกูล( ) ได้นิมนต์หลวงพ่อไปร่วมชุมนุมพระอาจารย์ 1782 รูปเข้าพิธีพุทธาภิเษกสร้างพระสมเด็จและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นอนุสรณ์กึ่งพุทธกาลโดยบันทึกประวัติในหนังสือชุมนุมพระอาจารย์ ความสำคัญมีว่า

พระอาจารย์น้อย อินทสโต อายุ 77 ปี พรรษา 57 เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลาลงทางมหาอุตย์กันกระทำ มหานิยม คลอดบุตรง่าย - ปลอดภัยกันภยันตรายต่างๆ เลี้ยงบุตรง่าย ก็เด็กขี้อ่อน กันแท้งลูก ใส่ก้งถุง - มีเงินใช้ไม่ขาด มีอำนาจ"

และในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดประสาทบุญญาวาท เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2508 หลวงพ่อท่านร่วมลงแผ่นโลหะปลุกเสกไปเข้าพิธีด้วย และปรากฏว่าแผ่นโลหะที่หลวงพ่อปลุกเสกนี้ เมื่อใส่ไปในเบ้าหลอมกลับไม่ละลายซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพระอาจารย์ที่ปรากฏการณ์แบบเดียวกันอันเป็นที่โจษจรรย์ในอิทธิปาฏิหาริย์มาแล้วครั้งหนึ่งในหมู่ลูกศิษย์ย่อมรู้กันดี ในระยะหลังที่ได้ของดีจากหลวงพ่อไปแล้วต่างได้ประสบการณ์ในอิทธิปาฏิหาริย์ ใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อจึงหวงแหนมาก
มูลเหตุการสร้างอิทธิวัตถุ

หลวงพ่อได้ศึกษาวิชาการทางพุทธคุณพร้อมกับเจริญด้วยวิปัสสนาธุระมาเป็นเวลานาน แต่ก็มิได้แสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบ แต่จากจริยาวัตรของท่านที่เห็นแต่ภายนอกก็สร้างความศรัทธาให้กับบุคคลผู้พบเห็นจวบจนระยะวัยชรา ศิษย์ทั้งหลายต่างก็พร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อ ได้สร้างอิทธิวัตถุเพื่อเป็นมงคลแก่บรรดาศิษย์ทั้งมวล เมื่อไปขอท่านแต่ละครั้งท่านก็ให้เหตุผลว่า สมัยนี้มีคนประพฤติชั่วกันมากของท่านหากสร้างขึ้นมาก็อาจจะมีบุคคลนำไปใช้ในทางที่ผิด แล้วความเสื่อมเสียก็จะมีมาถึงหลวงพ่ออันเป็นสิ่งไม่บังควรในสภาวะการครองสมณเพศ

แต่ในเวลาต่อๆ มา บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็ไม่ละความพยายามที่จะขอให้หลวงพ่อท่านสร้างอิทธิวัตถุมงคลให้ได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดกล้าจัดพิธีการสร้างเพราะทุกคนต่างกลัว เกรงใจและรักเคารพต่อหลวงพ่อเป็นเคารพเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่อยากทำอะไรให้เป็นที่ขัดความประสงค์

จวบจนมาในระยะหลังๆ มีลูกศิษย์ผู้หนึ่งได้ไปพบพระเมฆพัดที่ร้านจำหน่ายพระมีไว้ให้เช่าพระเมฆพัดนี้ พิมพ์เดียวกันกับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเป็นผู้ปลุกเสก เพื่อแจกทหารเรือในสมัยสงครามอินโดจีน มีลักษณะเป็นรูปพระสมาธิสี่ด้านและมาเรียกกันว่าพิมพ์พรหมสี่หน้าเมื่อ 30 ปีก่อนผู้เขียนก็เคยพบพระพิมพ์นี้เหมือนกัน ที่ร้านจำหน่ายพระพุทธและเครื่องบวชในสะพานหัน และเข้าใจว่าเป็นพระที่สร้างเกินจำนวนจากการสร้างถวายหลวงพ่ออี๋ในปี พ.ศ. 2433

ดังนั้นศิษย์หลวงพ่อน้อยที่มาพบพระพิมพ์พรหมสี่หน้าที่กรุงเทพฯ นี้อาจจะได้จากร้านพระพุทธรูปบูชาในสะพานหันและเสาชิงช้าก็ได้ จึงได้เช่าไปประมาณ 200 กว่าองค์ เมื่อเช่ามาได้แล้วจึงพากันไปหาหลวงพ่อ แล้วถวายหลวงพ่อเพื่อการปลุกเสก

พร้อมกับมีผู้เรียนหลวงพ้อว่าพระจำนวนนี้เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกแล้ว จัดได้แจกจ่ายให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดทั้งหลายคงจะไม่มีผู้ใดนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะแต่ละคนมีความเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของหลวงพ่อทั้งสิ้น โดยลักษณะนี้หลวงพ่อท่านจำยอมรับมาปลุกเสกให้ ในการปลุกเสกหลวงพ่อท่านทำทุกวัน เป็นระยะเวลานานพอสมควร แต่ก็ไม่มีผู้ใดจำว่านานเท่าใด จึงได้แต่เชื่อว่าประมาณ 1 พรรษาหลวงพ่อจึงนำมาแจกจ่ายให้กับศิษย์ทั้งหลาย พระชุดนี้จึงถือว่าเป็นพระชุดแรกที่หลวงพ่อท่านปลุกเสกให้

ในระยะต่อมาก็มีลูกศิษย์อีกหลายคนที่ยังมิได้รับพระปลุกเสกครั้งแรกจากหลวงพ่อ ต่างก็มาขอร้องให้ท่านสร้างหรือเหรียญเพื่อจักได้ให้เป็นที่ระลึกโดยทั่วถึง ความปรารถนาของศิษย์ทั้งหลายที่หลวงพ่อได้รับรู้นี้ ท่านได้ใช้เวลาไตร่ตรองอยู่เป็นนานพอสมควร และในโอกาสที่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งมีความมักคุ้นกันมากหลวงพ่อท่านก็ได้ปรารภความปราถนาของศิษย์ดังกล่าวให้หลวงพ่อเงินทราบ หลวงพ่อเงินท่านก็สนับสนุน ควรจะตอบสนองความศรัทธา

หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อบรรดาลูกศิษย์ นำเรื่องนี้เรียนกับหลวงพ่ออีก หลวงพ่อท่านก็ไม่กล่าวความแต่อย่างใด กลุ่มลูกศิษย์จึงถือว่าท่านอนุญาตแล้วจึงเริ่มตั้งต้นการสร้างเหรียญของท่านก่อนเป็นปฐมฤกษ์

แต่ในครั้งแรกนี้ในฐานะที่แต่ละคนยังไม่เคยสร้างพระ หรือสร้างเหรียญมาก่อน จึงใช้วิธีการติดต่อช่างว่าจ้างให้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อขึ้นจำนวนหนึ่ง เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญรุ่นอัดพิมพ์ เนื้อโลหะผสมที่แก่ทองแดงพิมพ์เสมา มีขนาดค่อนข้างเล็ก

ด้านหน้าเบื้องบนอักษรไทยตัวนูนว่า "หลวงพ่อน้อย" ขอบด้านหน้ามีลายกนกกิ่งกลางด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ลอยเด่นอยู่ตรงกลาง มีใบหน้าหนุ่มและรู้สึกดูด้านล่างของรูปหลวงพ่อประมาณแนวอก ตัดตรงและไม่มีส่วนใดชิดเส้นขอบ

สำหรับด้านหลังเรียบมียันต์นะปถมังอยู่ตรงกลางเป็นเส้นนูนขึ้นมา ดังนั้นเหรียญรุ่นนี้จึงนับว่าเป็นรุ่นแรก ที่หลวงพ่อได้สร้างและปลุกเสกจากมูลเหตุที่จะมีการสร้างอิทธิวัตถุของหลวงพ่อขึ้นดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าลูกศิษย์ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าหลวงพ่อจะอนุญาตซึ่งการสร้างเหรียญชุดแรกขึ้นนี้ ท่านก็คงมุ่งหวังแต่เพียงเป็นของที่ระลึกสำหรับลูกศิษย์ในกาลอนาคตที่ท่านจากไปแล้ว

ส่วนก่อนหน้านี้สิ่งที่หลวงพอกระทำอันเกี่ยวกับพุทธาคมก็มีเรื่องการลงไม้หลักมงคล การรดน้ำมนต์การเสกทราย การทำตะกุดโทน เป็นอาทิ

"อิทธิวัตถุของพระครูภาวนากิตติคุณ"

 
รูปหล่อ หลวงพ่อน้อย

หลวงพ่อน้อย อินทสโร หรือท่านเจ้าพระคุณภาวนากิตติคุณองค์นี้ได้สร้างอิทธิวัตถุอันเป็นมงคลไว้หลายชนิด ทั้งที่สร้างเป็นรุ่นๆ ในจำนวนมาก และที่ปลุกเสกเป็นการเจาะจงให้กับลูกศิษย์เป็นเฉพาะรายในจำนวนน้อย เมื่อรวมกันแล้วถึง 50 กว่าชนิด การสร้างนั้นท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับบรรดาผู้ที่มานมัสการหลวงพ่อ รวมทั้งแจกในโอกาสต่างๆ เช่น งานทอดกฐิน และผ้าป่า งานสร้างศาลาการเปรียญ-สร้างพระอุโบสถ-สร้างโรงเรียน-สร้างหอระฆัง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีการฉลองสิ่งก่อสร้างทางสงฆ์ภายในวัดธรรมศาลา

"หลวงพ้อน้อย เป็นเกจิอาจารย์ที่เรืองด้วยวิทยาคุณ" การปลุกเสกก็มักจะเป็นไปในทำนองเกจิอาจารย์ทั้งหลายคือ มักจะปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่ปลุกเสกเพียงองค์เดียว แต่ก็ปรากฏอยู่บางครั้งเหมือนกันที่จัดเป็นพิธีพุทธาภิเษก อันเป็นงานใหญ่ของวัด โดยคณะกรรมการวัดได้นิมนต์พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และคุ้นเคยชอบพอกับหลวงพ่ออีกหลายแห่ง มาร่วมการปลุกเสกกับหลวงพ่อ เช่นในงานสมโภชที่หลวงพ่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูภาวนากิตติคุณเมื่อเดือนมีนาคม 2512 เป็นต้น

นอกจากนั้นหลวงพ่อก็เคยรับนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกที่อื่นๆ อยู่เสมอแต่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันควรทราบก็คืออิทธิวัตถุต่างๆ ที่ปลุกเสกนี้ หลวงพ่อจะเก็บเอาไว้นานอย่างน้อยก็ 1 พรรษา ระหว่างที่เก็บ ท่านก็จะปลุกเสกของท่านไปทุกวัน ตามเวลาจะเอื้ออำนวย กว่าจะนำเอาออกมาให้สาธุชนสักการะบูชาได้ก็ร่วมขวบปีผ่านไปแล้ว โดยลักษณะดังกล่าวนี้อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อแต่ละชิ้นจึงนับว่ามีกฤติยาคมหนักแน่นจริงๆ จนปรากฏข่าวทางอภินิหารเกิดขึ้นเสมอ ผู้เขียนเองก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อและเคยมีประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน เมื่อสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่ช่างก่อสร้างอุเทนถวาย

 
เหรียญปั๊มหลวงพ่อน้อยรุ่นแรก เนื้อทองแดง

นอกจากนั้นอิทธิวัตถุจากที่อื่นๆ ก็มีอยู่หลายครั้งที่นำถวายหลวงพ่อให้ท่านช่วยปลุกเสก เมื่อแล้วเสร็จท่านก็มอบคืนไป และผู้รับก็มักจะแบ่งถวายหลวงพ่อท่านไว้ส่วนหนึ่ง เมื่อมีใครมาขอท่านก็ให้ไปจนหมด อิทธิวัตถุเหล่านี้มีผู้มาติดตามเพื่ออยากได้อยู่หลายราย โดยเฉพาะภายหลังที่หลวงพ่อมรณะภาพแล้ว ทางวัดก็มิรู้จะหาที่ไหน สอบรายละเอียดก็มิใช่ทางวัดสร้าง แต่เขาก็ยืนยันว่ารับไปจากหลวงพ่อ กว่าจะเข้าใจเรื่องราวตรงกันก็ต้องสืบถามคนเก่าๆ อยู่นานถึงได้รู้แล้วหลวงพ่อได้แจกไปจริง

อิทธิวัตถุต่างๆ ที่สร้างนี้ในยุคแรกๆ มีทั้งเนื้อโลหะและเนื้อผง บางส่วนจัดสร้างขึ้น โดยเฉพาะภิกษุเป็นช่างกันเองภายในวัดนั้น ดังนั้นของจำพวกหล่อที่แท้จริงไปบ้างส่วนจำพวกเหรียญอัดพิมพ์( ปั๊ม) นั้นก็มีการว่าจ้างโรงงานผลิตขึ้น ความปราณีตงดงามจึงสวยกว่าเป็นไปตามแบบมาตราฐานทั่วไป ที่มาของ "เหรียญหน้าเสือ" กรณีนี้ได้เล่าสู่กันว่า เหรียญหน้าเสือและเหรียญคอน้ำเต้ายุคแรกเมื่อออกมาใหม่ๆ ลูกศิษย์ให้ความสนใจกันน้อยเพราะด้อยในความปราณีตและสวยงาม เมื่อช่างหล่อเทพิมพ์และถอดออกมาจะพบเหรียญนี้ใบหน้าจะเทไม่ค่อยติด ช่างได้บอกกับหลวงพ่อว่า "หน้าเสีย" หลวงพ่อได้ยินก็ตอบช่างว่าไม่ใช่ "หน้าเสือ" แต่เมื่อลูกศิษย์ที่นำใช้ติดตัว เมื่อประสบผลทางกฤติยาคมกันเข้า ต่างก็เสาะหา แสวงหา จนเป็นของหายากในยุคนี้ไปเสียแล้ว

 
เหรียญหล่อรุ่นแรก เนื้อทองผสม(เหรียญหน้าเสือ) หลวงพ่อน้อย 

ในกรณีที่คนไปนมัสการหลวงพ่อ เพื่อจะขอของจากท่านและแทบทุกครั้งเมื่อเขาจะเอ่ยปาก หลวงพ่อท่านเห็นท่า ท่านก็ยิ้มก่อน แล้วลุกไปนำออกมา โดยไม่ต้องรอคำขอ เมื่อเลือดได้แล้วจึงจะส่งให้หลวงพ่อท่านประสาทให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่ท่านหยิบให้เองมักจะเป็นของชนิดที่ตรงกับผู้ขอมาต้องการ ซึ่งได้สร้างความแปลกใจกันในหมู่ลูกศิษย์เสมอมา

มรณกาล

เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา 34 นาที ความเศร้าโศกก็ได้ครอบงำตำบลธรรมศาลา เมื่อได้ทราบข่าวมรณภาพของหลวงพ่อด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 67 การนี้มีศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ 100 วัน และทางวัดก็ได้ตั้งศพของท่านที่กุฏิอินทรสรจวบจนในปี พ.ศ.2516 พระอธิการบำเพ็ญปญญาโภได้สร้างวิหารจตุรมุขเมื่อวัยที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2516 เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือท่านได้มีความสะดวกมาสักการะบูชาต่อไปจวบจนทุกวันนี้
 


ข้อมูลจากเวป http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=801

143


หลวงปู่สาย หรือ พระครูสังวรสุตาภิวัฒน์ นามสกุลเดิม เพชรนิล เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กย 2435 ปีมะโรง บิดาชือ สง มารดาชือ อุบ อาชีพกสิกรรม มีพี่น้องบิดามารดาเดียวกัน 6 คน ท่านเป็นคนที่ 3
เมื่อเยาว์วัย หลวงปู่ได้เรียนหนังสือกับหลวงปู่นิล วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จนมีความรู้ความชำนาญในด้านภาษาไทยเทียบเท่าชั้นประถม 4 ในด้านภาษาขอม ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนจนสามารถจารอักขระลงในใบลานเป็นหนังสือเทศน์

เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป้นสามเณร ณ วัดตึก โดยมีหลวงปู่นิล เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้รับมอบหมายจากหลวงปู่นิล ได้เป็นผู้จารหนังสือเทศน์เป็นภาษาขอมลงในใบลานวันละหลายๆหน้า เพราะหลวงปู่มีความวิริยะอุสาหะใหนการทำงานเป้นอย่างยิ่ง ท่านเคยเล่าให้ฟังว่ากิจวัตรของหลวงปู่สมัยเป็นสามเณร เวลาเช้าก็บิณฑบาต เมื่อกลับจากบิณฑบาตก็ถวายการปรนนิบัติอุปัชฌาย์จารย์ แล้วก็เริ่มจารหนังสือขอมลงในใบลานตลอดวัน เว้นระยะฉันเช้าและเพลเท่านั้นจะหยุดพักจำวัดต่อเมื่อ 5 ทุ่มเศษ และตื่นจากจำวัตรเวลาตี 4 ของทุกวัน 
 ***อุปสมบท***.....หลวงปู่อายุได้ 20 ปี ก็เข้ารับการอุปสมบท ณ วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร โดยมี หลวงปู่นิล วัดตึก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษา ณ วัดตึก ได้ 9 พรรษา ก็ได้ทำการลาสิกขาบท เพื่อไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพยังภูมิลำเนาเดิม
อุปสมบทครั้งที่ 2.......เมื่อหลวงปู่ลาสิกขาบทได้ 7 วัน จะเป็นด้วยบารมีที่หลวงปู่สั่งสมไว้หรือไม่ ท่านได้รับการเข้ารับการอุปสมบทอีกครั้ง เมื่อ 9 เมย. 2468 ณ วัดใหม่โพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ ราชบุรี โดยมีพระอธิการแช่ม วัดดอนเซ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมสาทิศ (แม้น) เป้นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลื้ม วัดโพหัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และหลวงปู่ได้มาจำพรรษา ณ วัดหนองสองห้อง ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่ท่านจะลาสิกขาครั้งแรก ท่านก็ได้รับการเชิญจาก ทายก ทายิกาให้มาจำพรรษา ณ วัดหนองสองห้องก่อนแล้ว 
ความดีพิเศษของหลวงปู่สาย......
โดยปกติหลวงปู่เป็นพระที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก ตามที่ปรากฎเวลาที่ท่านจะไปทำธุระอะไรก็ตาม แม้จะเป็นภายในวัด ท่านมักจะนุ่งห่มอย่างเรียบร้อยและปฎิปทาอันนี้มิใช่ท่านจะปฏิบัติเฉพาะตัวท่านเอง ยังได้อบรมพระภิกษุสามเณรให้ประพฤติตามด้วยจนได้การยกยอ่งจากคนทั่วไปว่า พระเณรของหลวงปู่มีความประพฤติดี นุ่งห่มเรียบร้อย ...
หลวงปู่เป็นพระที่มีอัธยาศัยอันงาม โอบอ้อมอารีย์ ท่านจะทำกิจของสงฆ์ไม่เคยขาดคือการทำวัตร และท่านจะนำการสวดมนต์ทำวัตรเอง ให้แก่พระภิกษุสามเณร
ฌานสมาบัติ........
หลวงปู่เป็นพระเถระที่มีฌานสมาบัติสูง มีศิษย์ที่ใกล้ชิดท่านหนึ่งเคยได้ยินได้ฟังกับหูตัวเองว่า.....หลวงปู่เคยถามท่านปลัดพิศาลฯ (อดีตปลัดกระทรางมหาดไทยนับถือท่านมากๆ) ว่า นั่งสมาธิ เป็นไหม ท่านปลัดตอบว่า ท่านนั่งได้ถึงขั้นโอภาส หลวงปู่สายได้ชวนท่านปลัด ให้ไปค้างคืนที่วัดสักคืน ท่านว่าจะพาปลัดฯ ไปเที่ยวสวรรค์ ถ้าหลวงปู่ฯ ไม่มีฌานสมาบัติที่สูง ก็คงทำอย่างนั้นไม่ได้เป็นแน่..... 
 วัตถุมงคลที่นิยมและมีประสบการณ์มากรุ่นหนึ่ง ของหลวงปู่สาย ก็คือ พระเครื่องพันแปดไฟ ท่านสร้างเนื่องในโอกาส แจกศิษย์ที่ไปสงครามอินโดจีนและสงครามเกาหลี ที่เรียกว่า ธาตุพันแปดไฟ นั้น เพราะ หลวงปู่ได้ใช้แผ่นตะกั่วมาลงอักขระปลุกเสกแล้วนำไปหลอม เมื่อหลอมเสร็จ เมื่อแผ่นตะกั่วเย็นก็นำมาลงอักขระอีก แล้วนำไปหลอมใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ จนครบ หนึ่งพันกับแปดครั้ง จึงเรียกว่า พระธาตุ พันแปดไฟ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2485-2487
ขอบคุณข้อมูลจากเวป http://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=show&No=24902

144
วันที่ 3 ก.พ. 2552 นี้ สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการสักยันต์ อย่าลืมดูช่อง ไทยทีวี(ITV เก่า)
มีรายการเกี่ยวกับการสักยันต์ เวลาประมาณ 20.20 นาที จึงเรียนมาให้พี่น้องเวปวัดบางพระ ผู้ที่สนใจรอชมนะครับ

145








ขอบคุณทุกทท่านล่วงหน้าเลยนะครับ

146




พระรุ่นนี้ โดยสมเด็จพระญานสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธาน พร้อมพระคณาจารย์ที่ล้วนทรง กิตติคุณในขณะนั้น จำนวน อีก108 รูป ปลุกเสกอธิฐานจิต ...และยังมีมวลสารเก่าจำนวนมาก ตำและผสมลงไป สำหรับองค์นี้พิมคะแนนนะครับองค์เล็ก

พิจณาได้เต็มที่เลยครับ  :002:

147



สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราคุยกันถึงหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอกกันบ้างครับ หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระของท่านมีทั้งเหรียญและพระเนื้อผง และเป็นที่นิยมของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาครับ

ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดบางปะกอก ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์ บูรณะ กทม. ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านเป็นชาวบางปะกอกโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อสุ่น ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่วัดพลับ โดยอยู่กับพระน้าชายชื่อพระอาจารย์ดี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดทอง นพคุณ และต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้มาอยู่ที่วัดบางปะกอก อีก 2-3 ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ และเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคสงครามอินโดจีน สมณศักดิ์สุดท้ายที่ท่านได้รับก็คือ พระครูประศาสน์สิกขกิจ พระครูชั้นพิเศษ แต่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้งบ้าง หลวงปู่พริ้งบ้าง
พระสมเด็จพิมพ์บัวห้าเม็ด

 


การศึกษาวิชาของท่านนั้นสืบไม่ได้ว่าท่านเรียนมาจากที่ใดเข้าใจว่าท่านคงศึกษามาจากที่วัดพลับนั่นเอง หลวงพ่อพริ้งท่านมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และทางหมอยา ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปะกอกใหม่ๆ ในย่านนี้มีนักเลงหัวไม้อยู่หลายก๊กงานวัดเมื่อไรก็จะมีการตีกันอยู่เป็นประจำ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ต่างๆ ก็เกรงกลัวท่านไม่กล้ามาก่อเรื่องอีก บ้างก็ฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่ก็หายหน้าหายตาไปเลย

ในสมัยก่อนนั้นการเดินทางไปยังวัดบางปะกอกยังยากลำบาก ต้องเดินทางโดยเรือพาย แต่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมากราบท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ เช่นเสด็จใน กรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งท่านได้รับการบอกกล่าวมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ว่ายังมีพระอาจารย์ที่เก่งมีวิทยาคมสูงอยู่ทางบางปะกอก ซึ่งหลวงพ่อพริ้ง ครั้นต่อมาเสด็จในกรมฯ ท่านจึงได้มาลองวิชากับหลวงพ่อพริ้ง จนฝากตัวเป็นศิษย์ และนำพระโอรสมาบวชเป็นสาม เณรกับท่านถึง 3พระองค์ นอก จากนี้ทหารเรืออีกมากมายก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพริ้ง บางครั้งมีเรือจอดกันที่หน้าวัดแน่นขนัดไปหมด ผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อพริ้งต่างก็มาขอของขลังบ้าง ลงกระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บ้างเวลามีงานไหว้พระครูประจำปี ขบวนเรือจะจอดกันยาวเหยียดไปจนถึงปากคลอง ซึ่งจรดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางเกือบกิโลทีเดียว
พระเนื้อผงพิมพ์พระคง

 


หลวงพ่อพริ้งท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง เช่น ลูกอมเนื้อผงเหรียญรูปท่านปี พ.ศ.2483 พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ไพ่ตอง พิมพ์พระคง และสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ธงผ้ายันต์เชือกคาดเอว ตะกรุด ฯลฯ เป็นต้น พระเครื่องของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อครั้งตอนสงครามอินโดจีนพระเครื่องและเครื่องรางของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว

หลวงพ่อพริ้งท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ด้วยทุกครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านนิมนต์หลวงพ่อพริ้งลงแผ่นทองคำเพื่อนำไปหลอมในการสร้างพระกริ่งของท่าน ปรากฏว่าเมื่อช่างได้นำแผ่นทอง แดงของท่านลงในเบ้าหลอมรวมกับแผ่นทองแดงของอาจารย์ท่านอื่นๆ มีแผ่นทองแดงที่ไม่หลอม ละลายอยู่แผ่นหนึ่ง จึงนำขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นแผ่นทองแดงของหลวงพ่อพริ้ง จึงได้ทำการหลอมต่อ แต่ทำอย่างไรแผ่นทองแดงนั้นก็ไม่ละลาย ถึงกับต้องนิมนต์หลวงพ่อพริ้งมาจากวัด เมื่อท่านกำกับ ปรากฏว่าแผ่นทองแดงนั้นละลายไปอย่างง่ายดาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปอย่างกว้างขวาง

หลวงพ่อพริ้งท่านมรณภาพลงในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2490 ในวันที่ท่านมรณภาพนั้นท่านได้ให้ลูกศิษย์ประคองท่านลุกขึ้นนั่งแล้วท่านก็ประสานมือในท่าสมาธิ ครู่เดียวท่านก็มรณภาพลง สิริอายุได้ 78 ปี เหรียญพระเนื้อผงและลูกอมของท่านนั้นปัจจุบันหายากพอสมควรครับ


จากเวป http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538664016&Ntype=40

148


วันนี้ได้มีโอกาศไปทำบุญ ณวัดกลางบางแก้วมา ครับ เลยนำพระรุ่นบรรจุกรุ มี 5 องค์ ทำบุญ 100 บาทมาให้ชม ครับ
โดยใช้ดิน และมวลสารเก่าของหลวงปู่บุญผสม ปลุกเสกเดี่ยว โดยหลวงปู่เจือ ครับ

ส่วนอีกองค์เป็นพระรูปเหมือนหลวงปู่บุญ ที่แจกมากับชุดดอกๆไม้ธูปเทียน ครับ

อะครับ ...และก็เอาบุญมาฝากพี่น้องชาวบางพระดว้ยนะครับ สาธุ

ใครจะไปก็ขออนุโมธนาบุญล่วงหน้าเลยนะครับ ........................สาธุ ครับ
วันนี้คนเยอะมาก ครับ เหอๆๆๆๆ

ขอโทษนะครับ ที่มได้เก็บบรรยากาศมาให้ชม ครับ เหอๆๆ คนเยอะมาก ครับ ไม่กล้าถ่าย

151
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือศาสนาพุทธ มีความศรัทธาในพระพุทธ พระสงฆ์ จึงได้มีการสร้างสัญลักษณ์ หรือตัวแทนความศรัทธาต่อสิ่งเหล่านี้ในรูปของ รูปภาพ รูปหล่อเหมือน เหรียญพระห้อยคอ ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เคารพบูชา ประชาชนส่วนใหญ่จะมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในครอบครอง เพราะฉะนั้นจึงควรมีความเข้าใจความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ การผลิต การใช้สิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน การดูแลรักษา การทำความสะอาด การเก็บรักษา ให้คงสภาพเดิมให้อยู่ได้นานเท่าที่จะนานได้
เหรียญส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย จะเป็นเหรียญโลหะ ซึ่งก็มีหลายชนิด เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง ชิน เป็นต้น ซึ่งจะแยกอธิบายทีละชนิด
ทองคำเป็นโลหะหนัก มีสีเหลืองเป็นมันวาว มีสัญลักษณ์ทางเคมี (Au) มีจุดหลอมเหลวที่ 1063 องศาเซลเซียล เป็นโลหะที่เฉื่อยต่อปฏิกิริยา คือจะคงสภาพเป็นทองคำอยู่เช่นนั้น ไม่เป็นสนิมแต่ที่ผลิตเป็นเหรียญทั่วไปจะไม่อยู่ในสภาพที่เป็นทองคำบริสุทธิ 100%แต่จะมีส่วนผสมของทองแดงอยู่บ้างในปริมาณที่น้อยมากๆเพื่อเพิ่มให้เนื้อโลหะมีความแข็งมากขึ้นไม่ให้นิ่มจนเกินไป สิ่งที่เหรียญทองคำเหล่านี้จะเกิดการเสียหายก็อาจจะมาจากการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นการเสียดสีกับลำตัวโดยตรงจากการห้อยคอ มีคราบฝุ่นคราบสบู่อยู่ หรือเห็นว่าเหรียญมีความสกปรกแล้วนำไปทำความสะอาดตามร้านทองทั่วไปซึ่งทำโดยนำไปแช่ในน้ำยาล้างทองซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ กรดกัดทอง น้ำยาประสานทอง ล้วนแล้วแต่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งซึ่งเป็นการทำลายไม่ใช่การรักษา สำหรับการเสียดสีแก้ไขโดยการใส่กรอบเสีย และถ้าสกปรกเราก็จะใช้แอลกอฮอล์เช็ดออก หรือนำไปแช่ในน้ำอุ่นแล้วก็เช็ดออกด้วยผ้าแห้งนุ่มๆ สำหรับการเก็บรักษาไม่ควรห่อรวมกับชิ้นอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดการขัดสีกัน
เงินเป็นโลหะสีขาวมันวาว เนื้อค่อนข้างนิ่ม มีสัญลักษณ์ทางเคมี(Ag) มีจุดหลอมเหลว 961 องศาเซลเซียล เป็นโลหะที่ค่อนข้างเฉื่อยต่อปฏิกิริยาเช่นเดียวกับทองคำ แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดสนิมได้มากกว่าทองคำ ซึ่งสนิมที่กล่าวถึงอาจจะมีสีขาวเทาซึ่งเป็นสนิมที่เกิดจากคลอไรด์ เรียกว่าเงินคลอไรด์(AgCl)ซึ่งมาจากน้ำซึ่งมีอนุมูลของคลอไรด์โดยเฉพาะน้ำประปา สภาพแวดล้อมทั่วๆไปบ้าง และสนิมอีกชนิดจะมีสีออกดำเกิดจากซัลไฟล์เรียกว่าเงินซัลไฟล์(AgS) เกิดจากเหงื่อไคล สภาพแวดล้อมที่มีซัลเฟอร์ ที่มีเขม่าควันของรถยนต์ โรงงาน สนิมสีดำที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเอาออกเพราะชั้นของสนิมมีคุณสมบัติที่เป็นฟิล์มป้องกันเนื้อเงินที่ลึกลงไป ถ้าเห็นว่าไม่สวยอยากจะเอาออกก็ไม่ควรขัดด้วยน้ำมะขามเปียกเพราะเป็นกรด ควรใช้น้ำยาขัดเงินโดยเฉพาะแต่ก็ไม่สมควรขัดบ่อยเพราะเป็นการขัดเนื้อเงินออกไปด้วย ยิ่งขัดยิ่งหายไปถ้าสกปรกจากฝุ่นละออง คราบไคล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดออก สำหรับการเก็บรักษาควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมข้างต้นซึ่งอาจจะใส่กรอบพลาสติกที่ปราศจากซัลเฟอร์ แต่ก็อยู่ได้ชั่วระยะหนึ่งก็อาจจะดำได้เพราะอากาศเข้าได้ อย่าเก็บรวมกับของอย่างอื่นเพราะจะเกิดการเสียดสีกันได้
ทองแดงเป็นโลหะค่อนข้างจะออกสีแดง สามารถดึงเป็นเส้นได้ นำไฟฟ้าได้ดี มีสัญลักษณ์ทางเคมี(Cu) มีจุดหลอมเหลว 1083 องศาเซลเซียล ทองแดงสามารถเกิดสนิมหรือปฏิกิริยาได้ง่ายกว่าโลหะทองคำและเงิน เหรียญทองแดงสามารถเกิดสนิมได้หลายชนิด ที่พบส่วนมากได้แก่ สนิมของออกไชด์ เรียกว่า Copper Oxide ซึ่งจะมีสีออกน้ำตาลแดง เช่นสนิม คิวไปรท์ (Cu2O) สนิมคาร์บอเนต เรียกว่า copper carbonate จะมีสีเขียวเข้ม เช่น มาลาไคต์ Cu2CO3(OH)2 และสนิมของคลอไรด์ เรียกว่า Copper Chloride เช่น Cu2Cl(OH)3 จะมีสีเขียวออ่นเป็นขุยๆ จะเห็นได้ว่าทองแดงสามารถเกิดสนิมได้มากมาย เป็นทั้งสนิมที่ดีและสนิมที่ไม่ดี สนิมที่เกิดจากออกไซด์ และคาร์บอเนตจะเป็นสนิมที่ดีจะเกิดเป็นฟิล์มป้องกันการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาอื่นๆได้และถ้าเป็นสนิมสีเขียวปกคลุมเสมอกันทั้งเหรียญก็จะมองดูสวยงาม สำหรับสนิมที่เกิดจากคลอไรด์จะเป็นสนิมที่อันตรายเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะกัดกร่อนเนื้อของเหรียญให้เกิดความเสียหายได้ สาเหตุส่วนใหญ่ก็จะมาจากสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น มีออกซิเจน และมีอนุมูลของคลอไรด์ เช่นใกล้น้ำทะเล เพราะฉะนั้นควรป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นเพราะถ้าเกิดขึ้นแล้วจะไม่สามารถทำให้กลับคืนดังเดิมได้ การป้องกันก็ควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมข้างต้น อาจจะทำกรอบใส่เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง สำหรับการทำความสะอาดก็ใช้แอลกอฮอล์เช็ดคราบไคล ไขมัน ความเป็นกรดออกและอาจจะเคลือบผิวด้วย Acrylic Polymer ก็ได้ที่สำคัญควรหมั่นตรวจดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบ่อยๆเพราะจะได้แก้ไขทันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ทองเหลืองเป็นโลหะที่ผสมระหว่าง ทองแดง(Cu) และ สังกะสี (Zn) โดยมีทองแดงประมาณ 80%ขึ้นไป และอาจมีโลหะอื่นผสมอยู่ด้วยในปริมาณเล็กน้อย ทองเหลืองจะมีสีออกเหลืองแดง เป็นมันวาวสามารถทำปฏิกิริยาได้เช่นเดียวกับทองแดงเพราะองค์ประกอบหลักคือทองแดง สนิมที่เกิดขึ้นมีทั้งสนิมดำ แดง เขียว การดูแลก็เช่นกันป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง การทำความสะอาดก็ใช้แอลกอฮอล์เช็ดและทำให้แห้ง อย่าใช้น้ำมะขามเปียกในการขัดให้เหลืองอร่ามเพราะจะเป็นการทำลายโดยใช่เหตุ เราอาจจะใช้น้ำยาที่ใช้เฉพาะทองเหลืองเท่านั้น แต่ก็ไม่สมควรขัดบ่อยเพราะเนื้อโลหะจะหลุดออกไปด้วย
ชินเป็นโลหะที่ผสมระหว่างดีบุก(Sn)และตะกั่ว(Pb)มีปริมาณของดีบุกประมาณ 80% โลหะจะมีสีขาวค่อนข้างมันวาวสามารถเกิดสนิมได้มีสีขาวอมเทาเรียกว่า Basic lead carbonateซึ่งสนิมนี้เกิดขึ้นแล้วอาจจะขยายตัวขึ้นทำให้ผิวโลหะแตกเป็นรอยร้าว สนิมนี้จะเปราะและแตกหักง่ายและเนื้อโลหะจะเกิดสนิมจนเป็นรูและทะลุในที่สุด สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากที่ชินได้สัมผัสกับไอกรดจำพวกAcetate ควรหลีกเลี่ยงการเก็บชินไว้ในตู้ที่เป็นไม้เพราะจะมีไอกรดเหล่านี้ทำให้ทำลายเนื้อชินโดยตรง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมนี้ และไม่ควรให้สัมผัสกับความชื้นและออกซิเจน สำหรับการทำความสะอาดก็ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดเฉพาะที่มีฝุ่นและคราบใคลเท่านั้นและอาจจะเคลือบผิวด้วย Acrylic Polymer ซึ่งเป็นการป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับสภาพแวดล้อม


เหรียญโลหะอื่นๆ
โลหะชนิดอื่นๆก็ล้วนแต่มีปัญหาของสนิมมาจากสภาพแวดลอ้มที่มีความชื้น ออกซิเจน และกรด อยู่จึงควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมข้างต้น ควรมีสิ่งป้องกันไม่ให้โลหะสัมผัสกับสภาพแวดล้อมโดยตรง ไม่ควรใช้สารเคมีต่างๆกับโลหะโดยตรงเพราะอาจจะเป็นการทำลายฉะนั้นถ้าเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาเบื้องต้นเหรียญวัตถุมงคลของเราก็จะอยู่กับเราได้อีกนานสิ่งที่สำคัญควรหมั่นตรวจดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสมอถ้ามีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นก็หาข้อมูลเพื่อใช้แก้ไขได้ทันท่วงที


มหาผล   
ขอขอบคุณจากเวป http://mail.vcharkarn.com/vcafe/61400 มาก ครับ

และขอบคุณพี่บอล ที่เซิดความรู้ ของเวปนี้มาให้ผมลงอีกที ครับ

152








แบบชัดๆเลยนะครับ รบกวนด้วยนะครับ เต็มที่เลยครับ กระแสเนื้อทองผสม ครับ
ฟันธงเลยครับ :002:

153
การวิเคราะห์พระหล่อโบราณ
    การดูพระหล่อโบราณนั้นต้องใช้การพิจารณาเชิงวิเคราะห์ถึงธรรมชาติพระเราต้องรู้ก่อนว่าพระองค์นี้มีวิธีการสร้างแบบไหนอย่างไร พระเครื่องของหลวงพ่อทบ ข้าพเจ้าพิจารณาจากประสบการณ์ในแวดวงพระเครื่องกว่าค่อนชีวิตและเคยเขียนบทความลงในนิตยสารพระเครื่องหลายๆฉบับมาก็หลายปี เห็นพระหล่อโบราณมาก็หลายเกจิหลายสายการพิจารณาก็ไม่แตกต่างกันมากนัก ข้าพเจ้าจะให้ความสำคัญกับ กระแสพระมาเป็นอันดับต้นๆ ลองมาจะเป็นคราบเบ้า คราบนำทอง และลักษณาของการตะไบ...ส่วนพิมพ์ทรงนั้นยุติยากในพระหล่อโบราณ พระหล่อโบราณมีการแต่งพระในภายหลังก็มี บางองค์พิมพ์ผิดหมดแต่กระแสพระและธรรมชาติพระยังอยู่ เจอพระแบบนี้จะไปเหมาว่าเป็นพระปลอมก็นับว่าใจแคบเกินไป คนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ได้รับข้อมูลผิดๆในที่สุดพระแท้ก็ต้องกลายเป็นพระเก็ไปอย่างน่าเสียดาย บางคนเล่นพระสไตส์เดียวตือถ้าพระไม่เหมือนของข้าต้องเป็นพระเก็ทั้งหมด ซึ้งไม่ถูกต้อง ประสบการณ์เท่านั้นครับถือว่าสำคัญ ขึ้นอยู่ที่ว่าใครเคยเห็นพระแท้ๆหลายสภาพมากกว่ากันต่างหาก ข้าพเจ้าเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ๆที่เข้ามาพลอยทำให้ได้รับข้อมูลที่ผิดๆและหลงทางในที่สุดการพิจารณาพระหล่อโบราณต้องดูธรรมชาติของพระให้เป็นต้องพิจารณาจากหลักความเป็นไปได้และความน่าจะเป็นควบคู่กันไปอย่ายึดติดกับความรู้สึกส่วนตัวแบบเก่าๆมาเป็นเครื่องตัดสิน น้องๆที่กำลังศึกษาต้องศึกษาให้รู้ท่องแท้และศึกษาจากคนที่รู้จริงเท่านั้นไม่อย่างนั้นเราจะหลงทาง ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณทีมงานเปิดตำนานหลวงพ่อทบมากไ ที่เปิดเว็บนี้ขึ้นมาถือว่าเป็นประโยชน์มากแก่ผู้ที่สนใจพระหลวงพ่อทบนับว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องขอให้กำลังใจทีมงานทุกคนให้ทำงานต่อไปอย่าท้อถอยจะเป็นกำลังใจให้ครับ 


ที่มา http://www.pantown.com/board.php?id=27010&area=4&name=board8&topic=28&action=view
ขอบคุณมากครับ :054:

และอีกอันอันนี้ครับ เกี่ยวกับข้อมูลพระหลวงพ่อทบครับ
http://www.pantown.com/board.php?id=27010&area=4&name=board2&topic=173&action=view
ลองอ่านหัวข้อด้านบนดู ครับ ....ผมว่าดี ครับ ......
อยากรู้พระอะไรแท้ไม่แท้ ควร..ถามคนในพื้นที่ครับ เพราะคนในพื้นที่มักเห็นของแท้มากกว่าคนทั่วไป ครับ
ส่วนจะเก่งหรือไม่ก็อีกเรื่อง ครับ ลองอ่านดูครับ เห้นว่ามีประโยชน์ดีเลยเอามาฝากกัน ครับ

154

เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เนียม ผู้คนทั้งหลายจะต้องเรียกชื่อท่านควบกับชื่อวัดไปด้วย หรือเมื่อเอ่ยชื่อวัดน้อยนี้ก็ต้องควบชื่อท่านเข้าไปด้วยเช่นกัน เพราะในสุพรรณบุรีมีวัดที่ชื่อวัดน้อยหลายแห่งด้วยกัน แต่วัดอื่นๆ ก็ไม่ติดปากผู้คนเหมือนวัดน้อย หลวงปู่เนียม

 

วัดน้อยเป็นวัดเก่าอายุกว่าร้อยปี มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่สร้างโดยผู้ใดไม่ปรากฏ อยู่ในท้องที่ตำบลโตกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี วัดน้อยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม เส้นเดียวของเมืองสุพรรณบุรี สู่เมืองบางกอก

 

สมัยเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ก่อนจะมีถนนมาลัยแมนตัดจากนครปฐมมายังตัวเมืองสุพรรณวัดน้อยอยู่ระหว่างอำเภอบางปลาม้ากับตัวจังหวัด คิดระยะทางทางน้ำ ก็จะอยู่ห่างตัวเมืองสุพรรณราวเจ็ดแปดกิโลเมตร

 

สมัยเมื่อราวๆ ร้อยปีที่ผ่านมา วัดน้อยมีความเจริญสูงสุด เพราะครองวัดโดยพระมหาเกจิ-เถราจารย์นามกระเดื่อง ผู้เชี่ยวชาญทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระและวิทยาคมชื่อหลวงปู่เนียม

 

ในสมัยที่หลวงปู่ครองวัดอยู่ วัดน้อยของหลวงปู่ มีพระเณรมากกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง และค่อนข้างจะคลาคล่ำไปด้วยผู้ศรัทธาที่มาให้ท่านช่วยรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยยาสมุนไพร น้ำมนต์และอาคม ที่ชะงัดมากเห็นผลทันตาก็เรื่องหมาบ้าและงูพิษกัด เพียงเสกเป่าพรวดออกไปแล้วบอกว่า เอ้า ! มึงไปได้แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครตายสักราย น้ำมนต์ของท่านเล่าลือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก

 

ถาวรวัตถุที่เชื่อกันว่าสร้างมาในสมัยหลวงปู่ที่ยังพอมีให้เห็นก็คือ มณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ศาลาข้างสระน้ำ ซึ่งสิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้มีสภาพเป็นซากที่ถูกทอดทิ้งใช้การไม่ได้แล้ว

 

ถนนมาลัยแมน ที่สร้างขึ้นมาเมื่อราว ๕๐ ปีก่อน ทำให้สุพรรณบุรีเป็นเมืองเปิดขึ้นมาโดยทันที แม่น้ำท่าจีนที่เคยเป็นเส้นทางคมนาคมเดียวสู่บางกอกเริ่มลดความสำคัญ การเดินทาง และการส่งสินค้าเข้าออกเมืองสุพรรณทางเรือก็ค่อยเปลี่ยนเป็นทางรถยนต์และรถไฟ หน้าวัดที่คลาคล่ำด้วยหรือแพ เริ่มน้อยลงๆ จนไม่มีเลยในปัจจุบัน ผู้คนจะไปไหนๆไม่จำเป็นต้องผ่านวัดน้อยอีกแล้ว ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดน้อยลง คนรุ่นหนุ่มสาวที่พอมีกำลังทำบุญแทบไม่เหลือติดหมู่บ้าน วัดในตำบลโตกครามก็มีมากเสียจนผู้คนในตำบลนี้ ไม่สามารถที่จะอุปถัมภ์ได้ทุกวัด

 

ความเสื่อมโทรมของวัดน้อยค่อยๆ เริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับความเจริญของจังหวัดสุพรรณบุรี

 

ในวัดน้อยเองขณะนี้ก็มีพระเณรอยู่ในวัดเพียงไม่ถึงสิบรูป แค่เพียงดูแลถาวรวัตถุ เช่น กุฏิ วิหาร มณฑป หอฉัน ศาลา ที่หลวงปู่สร้างไว้ ไม่ให้ผุพังไปตามกาลเวลาก็ดูจะเป็นเรื่องยากเสียแล้ว รายได้เข้าวัดน้อยมากสมชื่อวัด น้อยเสียจนทำอะไรไม่ค่อยได้ บางวันพระเณรต้องหุงหาอาหารไว้ฉันกันเอง ผู้คนที่จะมาที่วัดน้อยในปัจจุบันนี้ ร้อยทั้งร้อยจะแวะมาเพียงเพื่อมากราบรูปหล่อของหลวงปู่เนียมในมณฑปเท่านั้น

 

ประวัติของหลวงพ่อเนียม

 

ขุนดอน เขียนประวัติของหลวงพ่อในนิตยสารพระเครื่องชื่อ พุทโธ ฉบับเดือนพฤษภาคม- เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๑ และคุณทนงทิพย์ ม่วงทอง เขียนในฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๕ มีเนื้อความใกล้เคียงกันว่า

 

หลวงปู่เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นคนบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด มารดาของท่านเป็นคนบ้านป่าพฤกษ์ ตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า ส่วนบิดาเป็นคนบ้านส้อง ตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ แต่ได้ย้ายมาลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิงตามประเพณี หลวงปู่มีพี่สาวชื่อจาด ท่านเป็นคนที่สอง มีน้องชายหนึ่งคนชื่อเสียงใดไม่ปรากฏ

 

การศึกษาของท่านก็คงเหมือนลูกชาวบ้านทั่วไปคือ เรียนอักขรวิธีและภาษาบาลีจากพระในวัดใกล้บ้าน

 

เมื่อครบบวช (พ.ศ.๒๓๙๒-๒๓๙๓) ก็บวชตามประเพณี คาดว่าคงเป็นวัดป่าพฤกษ์หรือไม่ก็วัดตะค่า

 

เล่ากันว่าเมื่อท่านอยู่ในสมณเพศแล้วท่านก็เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย มูลกัจจายนสูตร วิปัสสนา และเวทย์มนต์คาถาจากพระเถรานุเถระสำนักต่างๆ ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านมาพำนักอยู่วัดใดและเป็นศิษย์สำนักใดแน่ บ้างก็ว่าท่านมาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ บ้างก็ว่าวัดโพธิ์ วัดทองธรรมชาติ และวัดระฆังโฆสิตาราม

 

ในสมัยนั้นเมื่อกล่าวถึงพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของวิปัสสนาธุระแล้ว ต้องยกให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หลวงปู่ช่วง วัดรังสี (ขณะนี้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดบวรฯ) หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จันทร์ วัดพลับ

 

ขุนดอนเขียนว่า ถ้าหลวงปู่มาอยู่วัดระฆังฯ ก็ต้องเป็นศิษย์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แน่ เพราะสมเด็จท่านมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๕ สำหรับคุณทนงทิพย์ เขียนว่า คุณทองหยด จิตตวีระ อดีต ส.ส. สุพรรณบุรี เคยเล่าให้คุณบดินทร์ สุประสงค์ อดีตผู้พิพากษาศาลสุพรรณบุรีฟังว่า บิดาของท่านเคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ ตอนมาอยู่ที่วัดน้อยแล้ว หลวงปู่เคยส่งคุณพ่อของท่านและศิษย์คนอื่นๆ อีกหลายคน ให้ไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดระฆังฯ เรื่องนี้น่าจะเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าหลวงปู่เนียมต้องเคยเป็นศิษย์วัดระฆังฯ ด้วย

 

เล่ากันว่าหลวงปู่พำนักเล่าเรียนอยู่ที่เมืองบางกอกถึง ๒๐ พรรษา เมื่อร่ำเรียนจนจบกระบวนการแล้ว ท่านก็กลับมาอยู่ที่วัดที่ท่านบวชชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ย้ายไปอยู่ที่วัดรอเจริญ อำเภอบางปลาม้า (อยู่เยื้องลงมาทางใต้ของวัดน้อยไม่กี่ร้อยเมตร) ท่านอยู่ที่วัดรอเจริญได้ไม่นาน ชาวบ้านวัดน้อยเห็นแววของท่านก็มานิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยที่ทรุดโทรมและกำลังจะร้าง เพราะขาดสมภารเจ้าวัด เมื่อท่านมาอยู่วัดน้อยตามศรัทธาของชาวบ้านแล้วก็ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างหอฉัน และบูรณะโบสถ์ วิหาร จนดี มีสภาพเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้ง วัดน้อยเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีพระเณรมากขึ้นทุกปี

 

เล่ากันว่าทุกก่อนเข้าพรรษาชาวบ้านทั้งในละแวกนิ่งและละแวกใกล้เคียงจะนำบุตรหลานมาให้ท่านบวชให้มากมาย และที่จำพรรษาที่วัดน้อยก็มีเกือบสิบรูปทุกปี

 

ศิษย์เอกของหลวงปู่เนียม

 

คุณมนัส โอภากุล (พ่อของคุณแอ๊ด คาราบาว) คนสุพรรณผู้เชี่ยวชาญและโด่งดังจากการรวบรวมค้นคว้าและเขียนเรื่องพระเกจิอาจารย์และพระเครื่องเมืองสุพรรณบุรีจนเป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องได้เขียนว่า

 

สุพรรณบุรีมีพระเกจิอาจารย์ดังมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศ และพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ผู้ทรงวิทยาคมที่ถือว่าเป็นที่สุดยอดของพระมหาเกจิ-เถราจารย์ของเมืองสุพรรณก็คือหลวงปู่เนียม

 

คุณมนัสกล่าวว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่เนียมที่ดังๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศก็มีหลายรูปด้วยกัน ที่ท่านค้นคว้ามาได้มีหลวงพ่ออ่ำ แห่งวัดชีปะขาว อ.บางปลาม้า หลวงพ่อรูปนี้หลวงพ่อเนียมเป็นผู้บวชให้และมีศักดิ์เป็นหลานของท่านด้วย ที่ดังระดับประเทศก็คือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ และอีกรูปก็คือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี

 

ไตรภาคี ตรีเพชร เซียนพระเครื่องท่านหนึ่งได้เขียนเรื่องของหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งไว้ในนิตยสารพระเครื่องชื่อ พุทโธ ฉบับที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ว่าหลวงปู่เนียมเป็นพระนักปฏิบัติธรรม เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน และมีวิทยาคมแก่กล้า ที่หลวงพ่อปานมาฝากตัวขอเป็นศิษย์ และได้รับการถ่ายทอดทั้งวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมไปจนหมดสิ้น ครั้นเมื่อเรียนจบแล้วก่อนจะลากลับสู่สำนักเดิม หลวงปู่เนียมยังได้ส่งเสียว่าในวันข้างหน้าถ้าติดขัดสงสัยในเรื่องคำสอนของท่าน ขอให้ไปสอบถามหลวงพ่อโหน่ง ศิษย์รุ่นพี่ (ห่างกันหลายปีและไม่ทันเห็นกันในขณะนั้น) โดยบอกว่า ถ้าข้าตายไปแล้ว หากสงสัยอะไร ให้ไปถามท่านโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาพอแทนข้าได้

 

ใหญ่ ท่าไม้ เซียนพระ เจ้าของนิตยสารพระเครื่องดังของเมืองไทยอีกท่านหนึ่ง ได้เขียนถึงความเป็นพระอริยสงฆ์ของหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งศิษย์อาวุโสของท่าน ในนิตยสารพระเครื่องชื่อ มหาโพธิ์ ฉบับพิเศษ ที่ ๑๓ ว่าหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งเป็นพระผู้มีอภิญญาสูง รู้เวลาตายของตนเอง เพราะทั้งสองท่านมรณภาพในท่านอนพนมมือ

 

ปาฏิหาริย์และวัตถุมงคลของหลวงปู่เนียม

 

มีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาถึงปาฏิหาริย์ของหลวงปู่เนียมมากมาย ประวัติและปาฏิหาริย์ของท่านได้ถูกเขียนลงในนิตยสารพระเครื่องดังๆ หลายฉบับ พระเครื่องที่ท่านทำขึ้นมาเพื่อแจกสานุศิษย์มีหลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่ พิมพ์พระประธาน พิมพ์พระคง พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์พุทธลีลา พิมพ์ขุนแผน และที่ดังมากก็คือพิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์มารวิชัยเศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม พระของหลวงปู่ทุกพิมพ์เป็นเนื้อชินตะกั่ว มีรูปทรงไม่สวยนัก แต่มีพุทธคุณสูงยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องคงกระพัน ขณะนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในมือของคนรุ่นลูก หลาน เหลนของสานุศิษย์แท้ ๆ ของท่าน ในพื้นที่บางปลาม้า ซึ่งเห็นห้อยคอเดี่ยวๆ และไม่ค่อยจะมีใครยอมปล่อยให้หลุดจากคอ พระของหลวงปู่จึงไม่ค่อยมีให้เห็นในตลาดพระ ส่วนที่เล็ดลอดออกมาบ้างก็มีสนนราคาเป็นเรือนหมื่นทุกพิมพ์

 

นอกจากพระเครื่องแล้ว ที่กล่าวตรงกันว่าศักดิ์สิทธิ์นักคือน้ำมนต์ของท่านและการรักษาพิษงูและหมาบ้า

 

รักษาพิษงูและพิษหมาบ้า

 

สมัยก่อนไม่ว่าท้องไร่ท้องนาถิ่นไหนจะมีงูชุกชุมมาก แต่ละปีจะมีผู้ถูกงูพิษกัดตายหลายราย เพราะไม่มีเซรุ่มจะฉีด เช่นเดียวกับคนโดนหมาบ้ากัดจะต้องตายทุกรายไป คุณสมบัติ พัดขุนทด (มาลา) บุตรสาวของสมุห์เหลือ มาลาอดีตสรรพากรจังหวัดสุพรรณบุรี พี่สาวของคุณวิภาวัลย์ ต้นสายเพ็ชร (มาลา) ผู้ที่พาผู้เขียนไปรู้จักวัดน้อยเล่าว่า คุณยายของท่านเล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งเป็นเด็ก ได้ถูกหมาบ้ากัดแถวๆ บ้านหลังวัดกลาง พ่อแม่ต้องพานั่งเรือพาย พายไปตามลำน้ำท่าจีน ผ่านวัดสวนหงษ์ วัดรอเจริญ และวัดอะไรต่อมิอะไรอีกหลายวัดไปให้หลวงปู่รักษาให้

 

เมื่อไปถึงท่าน ท่านก็ทักว่า มึงโดนไอ้ดำมันกัดเอาใช่ไหม มันเพิ่งวิ่งผ่านหน้ากูไปเมื่อกี้นี้เอง แล้วท่านก็เป่าพรวดๆ ให้ แล้วว่า มึงไม่ตายแล้ว อายุยืนซะด้วยนะมึง (หมาไม่ได้วิ่งไปทางวัดน้อยดอก วัดของท่านอยู่ห่างที่เกิดเหตุไปหลายกิโลเมตร ท่านคงเห็นโดยญาณ) แล้วคุณยายก็อยู่มาจนถึงอายุ ๙๓ ปี

 

น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์

 

เล่ากันว่าครั้งหนึ่งมีคนจีนคนหนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดโพธิ์คอย ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ ไกลวัดน้อยนัก ได้พายเรือมาหาท่านด้วยความร้อนรน เนื่องด้วยลูกสาวของแกป่วยหนัก รักษาทางยามาก็มากแล้วอาการก็ไม่ทุเลา ซ้ำทำท่าจะแย่ลงทุกที (บางคนเล่าว่าลูกสาวเจ็บท้องจะคลอดลูก แต่ลูกไม่ออก เจ็บปวดทุรนทุราย)

 

มาถึงวัดก็เห็นหลวงปู่อยู่บนหลังคาศาลาท่าน้ำ กำลังช่วยพระเณรมุงหลังคากันอยู่ ด้วยความรีบร้อนก็ตะโกนเรียกหลวงปู่ให้ลงมาช่วยทำน้ำมนต์ให้หน่อย แต่ท่านก็คงให้รอก่อนหรืออย่างไรไม่แจ้ง

 

เถ้าแก่คงร้อนใจและเซ้าซี้ท่านจนน่ารำคาญ และอาจจะเป็นด้วยท่านต้องการจะแสคงอภินิหารหรือรำคาญเถ้าแก่คนนั้น ไม่มีใครเดาได้ ท่านจึงตะโกนจากหลังคาศาลาท่าน้ำว่า มึงตักน้ำที่ตีนท่านั่นแหละไป กูเสกไว้แล้ว แล้วท่านก็มุงหลังคาต่อ

 

เถ้าแก่คนนั้นไม่รู้จะทำท่าไหน คงโมโหไม่เบา นั่งมุงหลังคาอยู่เห็นชัดๆ เสกแสกอะไรกัน แต่ก็สิ้นท่าแล้ว ชีวิตลูกสาวแขวนอยู่บนเส้นด้าย จะพาไปโรงพยาบาลหลวงก็อยู่บางกอกโน่น แจวเรือไปสามวันสองคืนก็ยังไม่ถึง เมื่อร้อยปีก่อนโน้นเรือเมล์แดงก็ยังไม่มี ถึงมีก็เถอะก็ต้องวิ่งกันถึงค่อนวันกว่าจะถึง

 

หมดท่าแล้ว หลวงปู่ให้ตักเอาน้ำที่หัวบันไดท่าน้ำไป ก็ต้องเอา ใจน่ะ ไม่ค่อยจะเชื่อเอาเสียเลยแต่ก็ไม่รู้จะทำท่าไหน เล่าว่าเถ้าแก่คนนั้นจ้วงตักเอาน้ำนั้นไปด้วยความโมโหและไม่เลี่อมใสว่าน้ำในแม่น้ำจะเป็นน้ำมนต์ได้อย่างไร ครั้นจะไม่เอาก็เกรงใจ เกรงว่าวันหน้าจะเข้าหน้ากันไม่ได้

 

พอพายเรือกลับ เลยหน้าวัด พ้นสายตาหลวงปู่ ก็หยิบเอาขวดหรือไหที่ใส่มา เททิ้งด้วยความโมโห และก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น คือน้ำนั้นเทไม่ออก และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา คนสุพรรณต่างก็รู้กันว่า น้ำในแม่น้ำหน้าวัดหลวงปู่เนียมศักดิ์สิทธิ์เท่ากับน้ำมนต์ที่ท่านทำขึ้นมา เพียงอธิษฐานจิตคิดถึงหลวงปู่ก็เอาไปใช้ได้เช่นกัน

 

ขุนดอน เขียนต่ออีกว่า พระยาศิริชัยบุรินทร์ ปลัดเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี เมื่อครั้งมาตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ก็มาแวะกราบขอพรจากหลวงปู่ และขอให้ท่านอาบน้ำมนต์ให้ หลวงปู่ท่านก็สั่งให้ไปอาบน้ำที่ท่าน้ำหน้าวัดรวมกับชาวบ้าน แม้ว่าท่านพระยาจะตะขิดตะขวงใจในเรื่องน้ำหน้าวัด ทั้งมีความเหนียมอายชาวบ้านและบริวารแต่ก็ยอมทำตาม และปรากฏว่าอีกไม่นาน ท่านเจ้าคุณพระยาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเทศาเมืองนครสวรรค์

 

แม้หลายสิบปีหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว พวกชาวเรือชาวแพที่ล่องผ่านหน้าวัด ก็ยังเชื่อว่าน้ำหน้าวัดใช้แทนน้ำมนต์ได้ คุณสำราญ แก้ววิชิต (อายุ ๖๘ ปี) ลูกหลานวัดน้อย และขณะนี้ก็เป็นกรรมการวัดได้เล่าว่า

 

ตอนที่แกเป็นเด็กมักจะมาเล่นกับเพื่อน ๆ ที่ศาลาท่านาหลังที่หลวงปู่สร้างไว้เป็นประจำ สมัยนั้นเรอแพยังล่องขึ้นลงไปมาเสมอ และมีเรือเมล์แดงวิ่งรับส่งคนโดยสารระหว่างสุพรรณกับบางกอกแล้ว เมื่อเรือแจวหรือเรือโยงมาถึงหน้าวัดพวกชาวเรือเหล่านั้น (ส่วนมากเป็นคนจีน) ก็จะเริ่มจุดธูปอาราธนาขอพร เอาธูปนั้นปักไว้ที่หัวเรือ เสร็จแล้วก็คว้ากระป๋อง ตักน้ำหน้าวัด สาดขึ้นหลังคาเรือ ส่วนพวกเรือเมล์ ก็จะลดความเร็วลง แล้วผู้โดยสารทั้งหนุ่มสาวเฒ่าชราจะเอื้อมมือลงไปวักเอาน้ำหน้าวัดขึ้นลูบหัวลูบหน้าแทนน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

แม้ขณะนี้ก็ยังเห็นคนเฒ่าคนแก่ มาตักเอาน้ำมนต์ในตุ่มหน้าองค์ท่านไปใช้ ซึ่งก็เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหมือนเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่

 

ญาณวิเศษรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

 

ไตรภาคี กล่าวถึงหลวงปู่เนียมว่า หลวงปู่สำเร็จวาโยกสิณขั้นอภิญญา สามารถล่วงรู้อนาคตและรู้ความในใจของคนที่สนทนากับท่านได้ โดยเขียนว่าหลวงพ่อปานเคยเล่าให้ศิษย์ของท่านฟังว่า

 

วันหนึ่งแมวของหลวงปู่เนียมตาย ไป วันนั้นขณะที่หลวงปู่ฉันข้าวร่วมวงอยู่กับพระลูกวัดสองรูป อยู่ดีๆ หลวงปู่เนียมก็หัวเราะก๊ากขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยแล้วก็เอ่ยขึ้นว่า เออ อีไฝของกูมันดีเว้ย มันไปเกิดเป็นคนแล้ว แล้วก็เอ่ยต่อถึงชื่อของผัวเมียคู่หนึ่งที่ท้ายตลาดคอวัง

 

พระลูกวัดที่ร่วมวงได้ยินท่านพูดและจำไว้ด้วยความสงสัย อีกหนึ่งปีต่อมาพระสองรูปนั้นก็ลองไปที่ตลาดคอวังเพื่อพิสูจน์คำพูดของหลวงปู่ โดยไปถามหาผัวเมียคู่ที่หลวงปู่เนียมพูดถึง ก็พบว่ามีลูกสาวเกิดมาแล้วอายุได้หนึ่งเดือน มีรูปพรรณตรงกับที่หลวงปู่บอกไว้ คือมีไฝที่ริมฝีปากเหมือนแมวตัวที่ตายไปเมื่อปีที่แล้วจริง พระทั้งสองรูปบอกความจริงให้สองผัวเมียทราบถึงการมาพิสูจน์ของท่าน

 

สองผัวเมียดีใจที่ลูกของตนคือแมวของหลวงปู่กลับชาติมาเกิด เมื่อเด็กอายุได้สามเดือน จึงพากันมาที่วัดแล้วเอาเด็กไปประเคนที่หน้าตัก บอกยกให้เป็นลูกหลวงปู่

 

หลวงปู่ทำท่าตกใจถามว่า พวกมึงเอาอีหนูนี่มาประเคนให้กูทำไม

 

ถามไปถามมาก็รู้เรื่องพระลูกวัดสองรูปที่ไปหาผัวเมียคู่นั้น หลวงปู่จึงให้พระทั้งวัดมายืนให้ผัวเมียคู่นั้นดูว่าเป็นพระรูปใดที่ไปหา แต่พระทั้งสองรูปได้หลบไปซ่อนตัว กลัวโดนด่าอยู่หลังวัด หลวงปู่ก็รู้ว่าไปแอบที่ไหน จึงให้พระรูปหนึ่งไปตาม แต่พระทั้งสองรูปขอให้มาโกหกว่าตามหาไม่พบ พระรูปนั้นก็กลับมาบอกหลวงปู่ตามที่สั่งกัน

 

ท่านก็สวนคำไปว่า มันจะพบได้ยังไงวะ ก็มันสั่งมึงให้มาบอกกูว่าหาไม่เจอนี่หว่า

 

เรื่องรู้เหตุการณ์ล่วงหน้านี้มีการเขียนถึงหลายคนด้วยกัน ขุนดอน เขียนว่า

 

วันหนึ่งมีพระหนุ่ม 4 รูป จากวัดสุวรรณภูมิ เข้ามากราบหลวงปู่ หลวงปู่ก็ทักว่าจะมาหาฤกษ์สึกใช่ไหมล่ะ ยังความแปลกใจให้กับพระทั้ง 4 รูปนั้นมาก หลวงปู่ก็ดูฤกษ์ให้ด้วยความเมตตา แต่สำหรับพระอีกรูปหนึ่งท่านได้ห้ามไว้ บอกว่าชะตาไม่ดี อย่างเพิงสึกตอนนี้ สึกออกไปก็ถึงตาย ท่านไม่ยอมให้ฤกษ์กับพระรูปนั้น ในที่สุดพระทั้ง 4 รูปก็ลากลับ

 

สามรูปที่ท่านดูฤกษ์ให้ ก็สึกออกไปตามฤกษ์ และพระรูปที่สี่นั้น ร้อนผ้าเหลือง ไม่ยอมฟังคำทัดท่านของหลวงปู่ ก็พลอยสึกไปด้วย แล้วกลับไปอยู่บ้าน หัวค่ำคนหนึ่ง ไม่ทันที่ผมจะยาวถึงครึ่งองคุลี ขณะที่นั่งคุยกันกับพ่อแม่พี่น้องที่ชานบ้าน ได้มีคนร้ายแอบซุ่มอยู่ข้างล่างยิงปืนเข้ามาที่กลุ่มญาติ พอสิ้นเสียงปืน ท่ามกลางความตะลึงของคนทั้งบ้าน ปรากฏว่าทิดสึกใหม่หงายหลังลงสิ้นใจทันทีเพราะลูกปืนเจาะเข้าที่หัวพอดี

 

ตั้งแต่นั้นมา เมื่อหลวงปู่พูดว่ากล่าวทักท้วงสิ่งใด ชาวบ้านจะเชื่อถือ ไม่กล้าตะแบงกับท่านอีกเลย

 

มีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาอีกเรื่องว่า ท่านสามารถสื่อความหมายรู้เรื่องกับสัตว์เลี้ยงของท่าน เขาเล่ากันว่าท่านเลี้ยงไก่ หมา กับแมวไว้มากมาย บนกุฏิของท่านยั้วเยี้ยไปด้วยแมว ชาวบ้านจะเห็นว่า วันๆ ถ้าว่างจากพูดคุยกับคนท่านก็จะพูดกับสัตว์พวกนี้เหมือนดังว่ามันรู้ภาษา พอมันร้องอี๊ดอ๊าดตอบ ท่านก็พูดต่อคำกับมันเป็นเรื่องเป็นราว คนในละแวกวัดน้อยหลายคนหาว่าท่านเป็นบ้า ร้อนวิชา ที่ใช้เวลาวัน ๆ ถ้าไม่พูดกับคน ก็พูดคุยกับแมว หมา กา ไก่ ในวัดและมีวัตรแปลก ๆ อยู่เสมอ

 

คุณมงคล วงษ์ลือ (อายุ ๖๑ ปี) ลูกหลานวัดน้อยอีกคน ที่ผู้เขียนไปพบขณะแวะไปกราบหลวงพ่อครั้งที่สามเล่าถึงอภินิหารของหลวงปู่ให้ฟังอีกมากมาย น่าสนุกสนานคล้ายๆ กับที่เขียนลงในนิตยสารพระเครื่องหลายฉบับ ซึ่งถ้าคนรุ่นใหม่ได้ฟังก็คงไม่มีใครเชื่อ แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับตอนที่หลวงพ่อปานเดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์นั้นน่าสนใจ

 

ท่านเล่าว่า เมื่อหลวงพ่อปานธุดงค์มาถึงวัดน้อย เห็นพระแก่ๆ ครองสบงเก่า ๆ มอมแมมทำงานวัดอยู่กับพระเณร หลวงพ่อปานก็เดินตรงเข้าไปสนทนาด้วย แล้วถามหาหลวงปู่เนียม ท่านก็บอกว่าฉันนี่แหละชื่อเนียม ถึงได้รู้กัน ก็คงมีการกราบกรานขอโทษขอโพยกันตามธรรมเนียมที่จุดไต้ตำตอ เพราะไม่คาดว่าพระแก่มอมแมมจะเป็นพระเถราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ จึงปวารณาตัวขอเป็นศิษย์ ครั้งแรกท่านก็ปฏิเสธท่าเดียว โดยถ่อมตนเองว่า เป็นลูกศิษย์ฉันจะได้อะไร คนแถวนี้เขาว่าฉันบ้ากันทั้งนั้น หลวงปู่ท่านทำไม่สนใจไล่กลับลูกเดียว แต่โดยคำแนะนำของพระลูกวัด บอกให้หลวงพ่อปานค้างคืนอยู่ที่วัดก่อน คงประกอบกับความอุตสาหะของหลวงพ่อปานด้วย ท่านก็ทำตามคำแนะนำ

 

ครั้นพอเวลากลางคืนยามดึกสงัด หลวงปู่ก็ให้พระไปตามหลวงพ่อเข้าไปพบที่กุฏิ เขาว่าหลวงพ่อปานตกใจมาก เพราะรูปร่างหน้าตาของหลวงปู่เนียมที่เห็นนั้น ผอมเกร็ง-ดำ-แก่และมอมแมม ตอนนี้ครองจีวรเรียบร้อยสะอาดสมบูรณ์ สดใส ผิดกับที่พบเมื่อตอนกลางวันเป็นคนละคนเลย นั่งอยู่เหมือนจะรอให้ท่านเข้าพบ ในที่สุดหลวงพ่อปานก็ได้เป็นศิษย์ดังที่เรารู้กัน

 

เล่าขานสืบกันมาอีกว่าตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่มีชีวิตอยู่นั้น ไม่เคยมีใครถ่ายรูปท่านได้ -ขุนดอน เขียนไว้ว่าเมื่อครั้งพระประมาณฯ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน นำฝรั่งช่างรังวัด๒ คนมารังวัดที่ ในเขตเมืองสุพรรณ เพื่อออกโฉนดให้ราษฎร์ เมื่อรังวัดมาถึงท้องที่วัดน้อย ก็ได้ถือโอกาสเข้าขอถ่ายรูปหลวงปู่ โดยให้ฝรั่งเอากล้องถ่ายรูปของทางราชการช่วยถ่ายให้ ตัวคุณพระประมาณฯ นั้น เคยรู้กิตติศัพท์มาแล้วว่ามีคนเคยมาขอถ่ายรูปหลวงปู่หลายรายแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จสักราย คราวนี้มีกล้องฝรั่งอย่างดีมาด้วย ก็อยากจะลองพิสูจน์สักหน่อย มันก็น่าจะติด


 

คุณพระฯ ได้นิมนต์หลวงปู่และพระทั้งวัดมานั่งเรียงลำดับแล้วถ่ายรูปหมู่และถ่ายเดี่ยวด้วย แต่จะเป็นกี่รูปไม่ทราบ ครั้นเมื่อนำฟิล์มไปล้างอัดเป็นรูปออกมา ความอัศจรรย์ก็ปรากฏคือ ในทุกภาพที่อัดออกมาไม่มีรูปของหลวงปู่ติดอยู่ด้วยเลย ที่ถ่ายเดี่ยวข้างโอ่งน้ำมนต์ก็ติดแต่ตัวโอ่ง เล่ากันว่าทั้งตัวคุณพระประมาณฯ และฝรั่งทั้งสองคนต่างก็เลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงปู่ยิ่งนัก และได้ปวารณาตัวฝากตัวขอเป็นศิษย์หลวงปู่

 

ถ่ายรูปไม่ติด

 

อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าแล้วรูปถ่ายที่ลูกศิษย์ลูกหาเอาใส่กรอบบูชาและที่เอาลงหนังสือกันนั้นมาจากไหน จึงขอเรียนว่า รูปของหลวงปู่ที่ได้มามีเพียงรูปเดียว เป็นรูปที่ถ่ายได้หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว คือท่าที่เขาจัดให้ท่านนอนตะแคงบนตั่งเตียง ส่วนรูปท่านั่งนั้นเล่ากันว่า ช่างได้เอารูปหน้าของท่านไปตัดต่อสวมกับส่วนลำตัวของพระภิกษุรูปอื่น โดยมีการตกแต่งส่วนใบหน้าที่ไม่ชัดขึ้นมาโหม่ ทำให้ดูเป็นหน้าค่อนข้างกลมและศีรษะล้านไปหน่อย

 

ทดสอบวิชากับหลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย

 

ขุนดอน เล่าว่า วันหนึ่งท่านให้ชาวบ้านเตรียมภัตตาหารเลี้ยงพระไว้ ๕๐ สำรับ ซึ่งยังความแปลกใจให้ชาวบ้านมาก เพราะหลวงปู่ไม่เคยบอกว่าพรุ่งนี้จะมีงานอะไร วันที่ว่าก็ไม่ใช่วันพระ พระเณรในวัดก็มีแค่ไม่ถึงสิบรูป สงสัยเป็นหนักหนาก็พากันไปกามท่าน ท่านก็ยิ้มๆ แล้วบอกว่า พวกมึงทำมาเถอะน่า ชาวบ้านไม่กล้าซักไซ้มากกลัวท่านจะเอ็ดเอา

 

วันรุ่งขึ้นต่างก็พากันนำอาหารมาตามที่ท่านขอ ดูชุลมุนวุ่นวายราวกับมีงานใหญ่ ครั้นพอถึงเวลาเพล ก็ไม่เห็นมีพระเณรที่ไหนจะมาฉัน ต่างซุบซิบกันว่าท่านจะเล่นอะไรอีกละนี่ แต่เลยเพลมาครู่เดียวก็พากันตกตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ เพราะเห็นพระเณรจำนวนมาก แบกกลดเดินตามพระแก่ ๆ รูปหนึ่งเป็นแถวเข้ามาในวัด ชาวบ้านเห็นหลวงปู่ออกไปปฏิสันฐานทักทายกับหลวงพ่อองค์นั้นแบบคนรู้จักกัน ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน แล้วหลวงปู่ก็นำพระเณรทั้งหมดขึ้นไปบนหอฉัน ภายหลังชาวบ้านก็ทราบว่าหลวงพ่อรูปนั้นคือ หลวงปู่ปานแห่งวัดบางเหี้ย คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ เจ้าของเขี้ยวเสือที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักเลงพระในปัจจุบัน ซึ่งท่านนำพระเณรสานุศิษย์เกือบร้อยรูปธุดงค์ลัดเลาะตามทางเกวียนผ่านมาเพื่อไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลย์ เมื่อจวนเวลาเพลก็ธุดงค์มาใกล้วัดน้อย และพอได้ยินกลองเพลดังขึ้น ก็เกิดลมพายุขึ้นอย่างแรงจนพระเณรที่แบกกลดพะรุงพะรังแทบจะทรงตัวไม่อยู่ เล่ากันว่าหลวงปู่ปานแปลกใจในปรากฏการณ์นี้มาก ท่านยืนหลับตาสงบเงียบอยู่ชั่วครู่ แล้วก็บอกพระเณรลูกแถวของท่านว่า จะต้องแวะฉันเพลที่วัดน้อยซะแล้ว เพราะเจ้าวัดท่านนิมนต์ให้แวะ ไม่ควรขัดศรัทธา

 

และทันใดนั้นเองพายุนั้นก็สงบลงทันที

 

ห้ามฝนตกในงานวัด

 

เล่ากันว่าเมื่อต้นฤดูฝนปีหนึ่ง ท่านมีอายุครบ ๖ รอบ (ราวๆ พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕) ชาวบ้านร่วมใจกันจัดงานทำบุญแซยิดให้ท่าน โดยจัดเป็นงานใหญ่ มีเทศน์หลายธรรมาสน์ มีการออกร้านมีการละเล่น ลิเก ลำตัด เพลงฉ่อย หนังตะลุง ฯลฯ สมโภชฉลองกันอย่างเอิกเกริกแบบงานประจำปี มีร้านขายดอกไม้ธูปเทียน และทองบูชาหลวงพ่อในโบสถ์ มีร้านรวงขายของเล่น จับรางวัลและขายอาหารเพียบพร้อม ซึ่งบังเอิญช่วงเวลานั้นเข้าหน้าฝนแล้ว

 

พอเวลาใกล้ค่ำผู้คนก็ทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มเมฆดำที่ก่อตัวมาจากที่อื่นถูกลมพัดพามาปกคลุมท้องฟ้าเหนือบริเวณวัดดูมืดครึ้มไปหมด แล้วฝนก็พรำๆ ลงมา ชาวบ้านเริ่มวิ่งหลบเข้าหาที่กำบังกัน ตามใต้ถุนกุฏิและศาลา ดูกลุ่มเมฆแล้วฝนต้องตกหนักแน่ ทุกคนคาดกันว่างานนี้ต้องพังแน่นอน พวกร้านรวงที่ไม่มีหลังคากำบัง ก็โกลาหลเริ่มขนย้ายข้าวของหาที่หลบฝน ขณะนั้นเองคนทั้งหลายก็เห็นหลวงปู่เดินออกมาจากกุฏิ ยืนแหงนมองดูท้องฟ้า สักพักใหญ่ๆ แล้วเดินวนไปมาแบบเดินจงกรม อีกชั่วครู่ท่านก็ตะโกนบอกชาวบ้านว่าไม่ต้องเก็บข้าวของแล้วเทวดาท่านช่วยไล่ฝนไปแล้ว

 

ชาวบ้านต่างก็แหงนมองดูฟ้าก็เห็นปรากฏการณ์อัศจรรย์ขึ้น กล่าวคือเห็นกลุ่มเมฆหนาทึบนั้นแตกตัวลอยห่างออกไป แล้วท้องฟ้าเหนือวัดก็ค่อยแจ่มใสขึ้น เม็ดฝนที่พรำลงมาก็ขาดเม็ดไป ผู้คนก็เริ่มทยอยกันเข้ามาจนเต็มงาน เล่ากันว่าเมื่องานเลิกผู้คนที่อยู่ห่างวัดออกไปสักหน่อยก็ต้องเดินท่องน้ำกลับบ้าน

 

ปราบคุณไสย

 

คุณป้าทรัพย์ เหลนชวดจาด พี่สาวของหลวงปู่ ที่ผู้เขียนไปหาเพื่อขอประวัติของหลวงปู่ เล่าว่าชวดจาดเคยคุยให้ฟังว่า หลังฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี จะมีคนกลุ่มหนึ่งรู้จักกันว่า เป็นพวกลาวข่าจากหมู่บ้านห่างไกล รวมกลุ่มตระเวนมาตามหมู่บ้านต่างๆ พวกนี้จะร่อนเร่มาขายเครื่องยาสมุนไพร-เครื่องรางของขลังของเผ่า หรือทั้งขาย แลก และขอข้าวสาร ข้าวเปลือก เสื้อผ้าและของอื่นใดที่เหลือกินเหลือใช้จากชาวบ้าน ตระเวนกันเป็นแรมเดือนและเข้าไปแทบจะทุกหมู่บ้านเลย ตกเย็นคนพวกนี้ก็จะมารวมพลค้างแรมกันตามวัด ซึ่งโดยทั่วไปค่อนข้างจะกว้างขวางโล่งเตียนปราศจากสัตว์ร้าย

 

วันหนึ่งที่วัดน้อยก็มีคนกลุ่มนี้มาอาศัยพักแรม รวมพลและรวมเสบียงที่ขอมาได้ ตกเย็นมีการหาปลาโดยการทอดแห วางข่ายกันแถวปากคลองข้างวัด มาประกอบอาหาร ส่วนที่เหลือก็ทำเค็มตากแห้งไว้เป็นเสบียง ที่ๆ ทำปลาและตากปลาก็คือพื้นสะพานศาลาท่าน้ำหน้าวัดหลังนั้นนั่นแหละ เป็นที่สกปรกเกะกะมาก

 

หลวงปู่มาเห็นเข้าขณะที่พวกมันกำลังทำปลาอยู่พอดี ท่านก็เอ็ดเอาว่าไอ้พวกนี้นรกจะกินหัว จับปลาหน้าวัดแล้วทำเลอะเทอะเกะกะไปหมด พระเณรจะอาบน้ำอาบท่าก็ไม่ได้ ขวางไปหมด ไปๆ พวกมึงไปทำกันที่อื่น

 

ท่านคงว่าไปมากกว่านี้ แล้วท่านก็หันหลังเดินกลับและแล้วท่านก็ต้องเหลียวขวับกลับมา เพราะมีเสียงแซกๆ มาข้างหลัง หัวปลาสดๆ ที่เจ้าพวกนั้นตัดแยกไว้เตรียมทำเค็ม กองไว้บนพื้นสะพานนั้นเอง กระดืบตามหลังท่านมาเป็นขบวน ท่านหันหลังกลับทันที ชี้มือไปที่กลุ่มลาวข่านั้นแล้วตวาดว่า พวกมึงจะทำอะไรกู หัวปลาเหล่านั้นก็หยุดอยู่กับที่ ท่านคงด่าต่อไปอีกเป็นแน่

 

เพียงครู่เดียวแล้วเจ้าลาวข่าคนสูงอายุที่เป็นจ่าฝูง ที่นั่งเฉยๆ ดูลูกเมียทำปลาอยู่ใกล้ๆ ก็ตัวงอหน้านิ่วคิ้วขมวด พวกลูกเมียและพวกบริวารทั้งหลายก็รู้ได้ทันทีว่า ไอ้ตัวจ่าฝูงโดนหลวงปู่เล่นงานกลับแล้ว ต้องกราบขอโทษขอให้หลวงปู่ถอนอาคมให้

 

ย่นระยะทาง

 

คุณป้าทรัพย์ เล่าแถมอีกสองเรื่อง เรื่องที่หนึ่งว่าแม่ของแกเล่าว่า ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้รับตราตั้งอะไรจำไม่ได้ ซึ่งต้องไปรับตาลปัตรที่เมืองบางกอก เมื่อถึงกำหนดแล้วก็ไม่เห็นหลวงปู่กระตือรือร้นที่จะไป พวกลูกหลานลูกศิษย์ลูกหาก็มาเตือนให้ไป ท่านก็ได้แต่เออๆ แต่ไม่ไปสักที เตือนแล้วเตือนอีกหลายหน เพราะกลัวว่าท่านจะลืมและเลยกำหนด มาวันหนึ่งก็มาเซ้าซี้ให้ท่านไปอีก ท่านก็บอกไปว่า กูไปรับมาแล้วโว้ย พวกลูกศิษย์ก็เถียงว่าหลวงพ่อไปเมื่อไหร่ ฉันเห็นหลวงพ่ออยู่วัดทุกวัน ท่านก็เถียงกลับว่า เออ กูไปรับมาแล้วซิวะ แล้วท่านก็เดินเข้ากุฏิถือตาลปัตรพัดยศออกมาให้ดู

 

ไปรับบิณฑบาตที่พระพุทธบาท สระบุรี

 

มีเรื่องเล่าถึงการย่นระยะทางไปมาตามที่ต่างๆ คล้ายกับที่คุณป้าทรัพย์เล่าเรื่องหลวงปู่ไปรับพัดที่เมืองบางกอก เรื่องมีอยู่ว่า ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้องอย่างไร หลวงปู่ต้องนำขบวนพระลูกวัดออกรับบิณฑบาตเป็นกิจวัดร ถ้าหน้าแล้งก็อาจเดินไปตามทางหลังวัด หรือไม่ก็ทางน้ำโดยเรือพาย อยู่มาวันหนึ่งในเดือนสาม ซึ่งเป็นหน้าเทศกาลไหว้พระพุทธบาท สระบุรี ท่านให้พระลูกวัดออกไปบิณฑบาตกันเอง

 

ครั้นเมื่อพระลูกวัดกลับมาแล้ว และตั้งวงฉันเช้า หลวงปู่ก็เอาบาตรของท่านออกมาร่วมวงด้วย เมื่อท่านเปิดฝาบาตรเท่านั้น พวกพระลูกวัดต่างก็แปลกใจมาก เพราะในบาตรนั้นมีข้าวปลาอาหารและไข่เค็มเต็มบาตร จึงพากันถามท่านว่าไปรับบิณฑบาตบ้านไหน ท่านก็ตอบหน้าตาเฉยว่า ข้าไปบิณฑบาตที่พระพุทธบาท สระบุรี

 

เหตุการณ์แปลก ๆ เช่นนี้เกิดขึ้นอีกครั้งตอนเช้ามืดของวันหนึ่ง ท่านให้พระลูกวัดไปบิณฑบาตกันเองอีก โดยบอกว่าวันนี้ได้รับนิมนต์ไว้ แล้วท่านก็แยกเดินไปทางหลังวัด ชั่วครู่ใหญ่ ๆ ท่านก็กลับ เมื่อพระลูกวัดกลับก็ตั้งวงฉันร่วมกันเช่นปกติ คราวนี้ในบาตรของหลวงปู่มีข้าวและอาหารอื่นดีๆ ทั้งนั้นเต็มบาตรมาอีก พระลูกวัดถามท่านอีกว่าไปบ้านใครมา คราวนี้ท่านก็ตอบหน้าตาเฉยอีกว่า วันนี้พวกรุกขเทวดาที่สถิตย์อยู่แถวชายป่าข้าง หลังมณฑป มานิมนต์ไปรับบาตร

 

ใช้มนตร์บังตาข้าราชบริพารของพระพุทธเจ้าหลวง

 

เรื่องนี้เป็น เรื่องล่าสุดที่ผู้เขียนได้รับฟังมาสดๆ ร้อนๆ จากพระเดชพระคุณท่านพระครูสุมณฑ์ภาวนานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอบางปลาม้า และเจ้าอาวาสวัดกลาง เมื่อวันไปทำบุญกระดูกให้สมุห์เหลือ-คุณครูบุญส่ง มาลา บิดา-มารดาของมัคคุเทศก์ที่พาผู้เขียนไปกราบนมัสการรูปหล่อของหลวงปู่เป็นครั้งแรก

 

ท่านหลวงพ่อวัดกลางเล่าว่า มีเรื่องเขียนในจดหมายเหตุว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จโดยชลมารค มาตรวจราชการที่เมืองสุพรรณบุรี เมื่อราวๆ ร้อยปีที่ผ่านมา ชาวบ้านชาวเมืองและวัดวาอารามสองฟากฝั่งลำน้ำท่าจีนตามรายทางเสด็จ ต่างประดับธงทิวรอรับเสด็จกันถ้วนทั่ว รวมทั้งวัดน้อยของหลวงปู่ด้วย

 

การเสด็จครั้งนี้ นอกจากจะแวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์เป็นปฐมแล้ว พระองค์ท่านก็ได้แวะขึ้นเยี่ยมวัดบางวัดตามรายทางด้วย ในครั้งนั้นพระองค์ทรงทราบถึงประวัติความเป็นมาของหลวงปู่เนียมเป็นอย่างดีจึงได้รับสั่งว่า เมื่อขบวนเรือถึงวัดน้อยให้แวะเยี่ยมหลวงปู่ด้วย จะเป็นเหตุใดไม่ปรากฏ เที่ยวแรกขบวนเรือแจวกันเพลิน ผ่านเลยวัดน้อยขึ้นไปจนถึงวัดถัดไป จึงเอะอะกันว่าเลยวัดไปแล้วเกือบคุ้งน้ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็รับสั่งให้กลับเรือ แต่แล้วก็เกิดการแจวเรือเลยวัดอีกจนได้ พวกพนักงานเรือคราวนี้เหงื่อท่วมตัวแล้วด้วยเกรงพระราชอาญา กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ และจะกลับขบวนเรืออีกครั้งเพื่อจะแวะให้ได้

 

แต่สมเด็จพระพุทธเอาหลวงกลับไม่คือโทษอะไรตรัสว่า ไม่ต้องแวะแล้ว เจ้าวัดเขาคงไม่ยินดีต้อนรับเราและแล้วก็เสด็จเลยไปแวะที่วัดตะค่า (วัดตะเคียนทองในปัจจุบัน) ให้ท่านสมภารรดน้ำมนต์ให้แทน และได้ถวายเครื่องอัฐบริขาร จำนวนหนึ่งให้เจ้าอาวาส ซึ่งท่านเจ้าอาวาสรูปนั้นก็เก็บรักษาไว้ไม่ยอมนำออกใช้ และเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบสิ่งของเหล่านั้น และเป็นเรื่องฮือฮากันในหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อต้นปี ๒๕๓๙ นี้เอง

 

คราวนี้ย้อนกลับมาทางด้านวัดน้อยบ้าง มีเรื่องเล่าขานกันสืบมาว่า แม้คราวนั้นจะมีการประดับประดาธงทิวรับเสด็จตามธรรมเนียม ตามวัดทั้งหลายพระเณรจะต้องมีการสวดชยันโตถวายพระพรเมื่อขบวนเรือมากึงหน้าวัด ที่วัดน้อยก็เช่นกัน แต่พวกลูกศิษย์ลูกหาได้สังเกตเห็นหลวงปู่เก็บตัวเงียบอยู่ในกุฏิ ไม่ออกมาสวดชยันโตร่วมกับพระลูกวัด จึงเข้าไปถามกันภายหลังถึงเหตุที่ไม่คอยรับเสด็จเหมือนสมภารวัดอื่น

 

หลวงปู่ก็ว่า ก็กูมัวแต่ใจหายใจคว่ำนั่งภาวนากลัวว่าพระองค์ท่านจะแวะวัดกูนะซิวะ

 

พวกลูกศิษย์ญาติโยมก็ซักถามว่า มันเรื่องอะไรกันใครๆ ก็อยากให้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินแวะเยี่ยมกันทั้งนั้น

 

หลวงปู่ก็ตอบว่า พวกมึงดูซิวัดกูมีอะไร หมา-แมว-ไก่เกลื่อนไปทั้งวัด ยิ่งบนกุฏิกู มันขี้กันเกลื่อน เหม็นไปหมดแล้วจะให้กูเอาหน้าที่ไหนไปรับเสด็จพระองค์ท่าน

 

ศพของหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อย

 

มีเรื่องของหลวงปู่ในหนังสือเรื่องพระเครื่องของหลวงพ่อปาน โดยคุณบุรี รัตนา ตอนหนึ่งอ้างว่าหลังจากที่หลวงปู่มรณภาพแล้ว ทางวัดได้เก็บศพของท่านไว้ระยะหนึ่ง จึงได้ทำพิธีถวายเพลิงศพของท่าน เมื่อสัปเหร่อเปิดหีบศพเพื่อประกอบพิธีกรรมตามประเพณี ปรากฏว่าศพของหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อยและไม่มีกลิ่นเหม็น หลวงพ่อปานซึ่งท่าน ได้มาช่วยงานในฐานะศิษย์ ได้ขอให้ทางวัดเก็บศพของหลวงปู่ไว้ให้สานุศิษย์ได้สักการะบูชา แต่บรรดาคณะกรรมการวัดได้ปฏิเสธท่าน โดยอ้างว่าได้เตรียมการถวายเพลิงไว้แล้ว และแขกเหรื่อก็มากันเต็มวัดแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการไปตามกำหนดการเดิม เล่ากันว่าหลวงพ่อปานเสียใจมากที่คนพวกนั้นไม่ฟังคำทักท้วงของท่าน เราท่านลองคิดดูซิว่าถ้าศพของหลวงปู่ถูกเก็บรักษาอยู่ถึงวันนี้ วัดน้อยจะมีสภาพเช่นทุกวันนี้หรือไม่ก็เหลือที่จะเดาได้

 

ดอกเทียนตกจากท้องฟ้าวันถวายเพลิงศพหลวงปู่

 

เรื่องนี้เล่าโดยป้าทรัพย์อีก โดยบอกว่าฟังมาจากคุณแม่ของท่าน ว่างานถวายเพลิงศพหลวงปู่นั้นเป็นงานใหญ่มาก ลูกศิษย์ลูกหามากันเป็นร้อยเป็นพัน มีทั้งพวกเจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่จากบางกอก และหัวเมืองใกล้เคียง พวกพระเถรานุเถระ-พระเกจิอาจารย์ดัง ๆ ทั้งที่เป็นสหธรรมิกและศิษยานุศิษย์ของท่าน หน้าวัดคลาคล่ำไปด้วยเรือเมล์ เรือพาย เรือแจว บนศาลาวัดมีวงระนาด วงดังของบางปลาม้า สองวงประชันกัน ตกกลางคืนมีมหรสพฉลองกระดูกครึกครื้นเหมือนงานประจำปี เวลาถวายเพลิงศพท่านนั้นวันนั้นท้องฟ้ามืดครึ้มทั้ง ๆ ที่เป็นกลางฤดูร้อน ครั้นได้เวลาถวายเพลิงยังไม่ทันที่คนสุดท้ายจะลงจากเมรุ ฝนก็โปรยปรายลงมา แต่ก็ไม่มากนักพอได้เปียกเย็นหัวกันเท่านั้น

 

แต่ที่อัศจรรย์ที่สุดก็คือ พวกที่จะลงเรือกลับบ้านได้เห็นว่าที่ท้องน้ำหน้าวัด มีดอกเทียนแบบที่หยดลงในขันน้ำมนต์ลอยเกลื่อนไปหมด ผู้คนที่เห็นพากันเอะอะลอยเรือแย่งกันเก็บดอกเทียนเป็นโกลาหล ป้าทรัพย์เล่าว่าขณะนี้ดอกเทียนที่ว่านั้นยังอยู่บนหิ้งบูชาของลูกหลานของคนบางคนที่เก็บได้มาในวันนั้น

 

แกเล่าต่อว่าพอศพท่านไหม้หมด เถ้าถ่านและเศษกระดูกของหลวงปู่ที่ไหม้ไม่หมดบนเชิงตะกอนยังไม่ทันจะเย็น สัปเหร่อก็ยังไม่ทันจะขึ้นไปทำพิธีเก็บอัฐิของท่าน พวกลูกศิษย์ลูกหาก็เฮโลขึ้นไปแย่งอัฐิที่ยังหลงเหลือบนเชิงตะกอนกันคนละชิ้นสองชิ้น บ้างก็เอาเข้าปากเคี้ยวกลืนกินจนหมดสิ้น ฉะนั้นส่วนที่เหลือบรรจุอยู่ในสถูปของท่านขณะนี้ก็คือเถ้าถ่านไม้ฟืนและอังคารธาตุของท่านเท่านั้น

 

มีเรื่องเล่าขานถึงอภินิหารของหลวงปู่มากมาย ฟังแล้วน่าสนุกเพราะผู้เล่าและผู้เขียนเรื่องของท่านถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดราวกับอัดเทปไว้ ถ้าผู้อ่านต้องการอ่านให้สนุกก็ไปหาอ่านเอาเองจากหนังสือที่ได้อ้างอิง แต่อย่างไรก็พอสรุปได้ว่าหลวงปู่เนียมนั้นเก่งกล้ามีอภินิหารเป็นที่เลื่องลือและเป็นสุดยอดของพระมหาเกจิเถราจารย์ที่คนเมืองสุพรรณรุ่นเก่าให้ความเคารพบูชามาก บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าท่านเป็นเสมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) ของเมืองสุพรรณ

 

เรื่องเล่าขานถึงปาฏิหาริย์ของหลวงปู่มีอีกมากมาย นอกจากน้ำมนต์ท่าน้ำ แมวที่เลี้ยงไว้กลับชาติไปเกิดเป็นคน การทดสอบวิชากับหลวงปู่ปานวัดบางเหี้ย ห้ามฝนไม่ให้ตกในงานแซยิดของท่าน ก็มีเรื่องเทศนาโปรดผีสาวท้องแก่ผูกคอตายใกล้ ๆ วัด ไม่ให้มาอาละวาดหลอกหลอนพระเณรและชาวบ้าน ฟังแล้วสนุกสนานน่าทึ่งพอ ๆ กับเรื่องแม่นาคพระโขนง

 

เรื่องราวของท่านบางเรื่องก็น่าจะเป็นไปได้จริง ๆ ในสมัยนั้นยุคนั้น แต่ก็มีการเขียนเรื่องหรือเล่าแต่งเติมเอาวันเวลาและโดยเฉพาะเรื่องคำพูดคำจา ที่ถ่ายออกมาราวกับว่าถอดออกมาจากเทปหรือผู้เขียนอยู่ในเหตุการณ์ด้วย จนทำให้เรื่องที่เอามาเขียนดูเป็นเรื่องนิยายไป อาจไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้อ่านผู้ฟังที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพราะในยุคนั้นไม่ปรากฏว่ามีพระเกจิอาจารย์ดัง ๆ เช่นในยุคก่อน จึงไม่ขอนำมาเขียนในที่นี้ และส่วนที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็รวบรวมมาจากการเขียนและคำบอกเล่ามาจากแหล่งที่เอ่ยชื่ออ้างอิงมา ทั้งนี้เพื่อมิให้เรื่องของหลวงปู่ต้องสูญหายไปกับกาลเวลา จะเท็จจริงแค่ไหนขอท่านได้วินิจฉัยกันเอาเอง

 

เรื่องปาฏิหาริย์อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนเพิ่งได้ฟังและได้เห็นคือขณะที่กำลังจะไปกราบองค์ท่านเพื่อขอเก็บเถ้าธูปและดอกไม้แห้งหน้าองค์หลวงปู่ และร่อนเอาฝุ่นผงจากอิฐผุจากผนังวิหารหลังเก่าเพื่อใช้เป็นมวลสารสร้างพระเครื่องถวายให้วัดเอาไว้แจกพรรคพวกที่ผู้เขียนชักชวนมาทอดผ้าป่าเพื่อรวบรวมเป็นทุนสมทบกับผู้ใจบุญท่านอื่น ๆ ที่มาบริจาคเงินสมทบทุนสร้างมณฑปถวายหลวงปู่

 

ได้ยินชาวบ้านแถวนั้นคนหนึ่งยืนคุยกับคนต่างถิ่นที่แวะมากราบหลวงปู่ว่า อภินิหารของหลวงปู่นั้นน่าทึ่งนัก ที่โคนมะขามใหญ่มีกิ่งมะขามขนาดโตกว่าโคนขา ยาวหลายวากองอยู่ข้าง ๆ แกเล่าว่ากิ่งมะขามกิ่งนี้ปกติเคยแผ่ออกไปอยู่เหนือหลังคาศาลา อยู่ ๆ มาเกิดแห้งไปเฉย ๆ ทุกคนมีแต่ความวิตกว่าไม่วันหนึ่งวันใด ถ้ามันผุและหักลงมา หลังคาศาลาต้องพังเป็นแถบแน่ ๆ คิดจะตัดออกก่อนที่มันจะผุและหักลงมา ก็ยังไม่ได้ทำ ทุกคนได้แต่ภาวนาในใจขอบารมีหลวงปู่ช่วยให้กิ่งมะขามใหญ่ อย่าเพิ่งหักลงมาเลย เพราะหลังคาต้องพังแน่ ๆ

 

และแล้ววันนั้นก็มาถึง คืนหนึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีพายุพัดมาทำให้กิ่งมะขามกิ่งมหึมานั้นหักลงมา เช้าของวันรุ่งขึ้นทุกคนต้องเกิดอาการขนหัวลุก เห็นกิ่งมะขามใหญ่ลงมากองอยู่กับพื้นดิน แต่กระเบื้องหลังคาศาลาที่ว่าไม่มีแตกแม้แต่แผ่นเดียว และทุกคนก็ไม่รู้ว่ามันหักท่าไหนจึงไม่โดนหลังคา

 

เผยแผ่ประวัติโดย อิทธิปาฏิหาริย์ พระเครื่อง
จากเวปhttp://www.itti-patihan.com/pra13.php

155


วัดคลองมะดัน เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง อยู่กลางทุ่งนา ในสมัยก่อนมีลำคลองผ่าน หน้าวัดและมีต้นมะดันขึ้นอยู่ชุกชุมมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดคลองมะดัน แม้ว่าภายหลังได้มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอัมพวัน แต่ชาวบ้านและคนใน จ.สุพรรณบุรี ทั่วๆ ไปยังนิยมเรียกชื่อเก่าว่า วัดคลองมะดัน เหมือนเดิม

หลวงพ่อโหน่ง เกิดปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๔๐๙ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๒๔๐๘) ณ หมู่บ้านท้ายบ้าน ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองสองพี่น้อง ฝั่งเดียวกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรคนที่สอง (บางแห่งว่า เป็นบุตรคนที่ ๔) ของนายโต นางจ้อย โตงาม อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน อายุได้ ๒๔ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง โดยพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระอธิการสุด วัดท่าจัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌายะว่า อินฺทสุวณฺโณ

เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อศึกษาธรรมวินัย หลวงพ่อโหน่งสังเกตเห็นเจ้าคุณมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ จึงเอ่ยปากถามว่า ท่านละกิเลสหมดแล้วหรือ ท่านเจ้าคุณบอกให้หลวงพ่อโหน่งเข้าไปดูในกุฏิว่ามีอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งไปเห็นโต๊ะหมู่บูชาทำด้วยมุก โต๊ะหมู่ทอง งาช้าง และสิ่งของมีค่าอีกมากมาย เมื่อออกมาจากกุฏิ หลวงพ่อโหน่งกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม แล้วเดินทางไปจำพรรษาที่วัดทุ่งคอกเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ อุปัชฌาย์ของท่าน

หลวงพ่อโหน่งศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อจันทร์ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อเนียมพูดกับหลวงพ่อปานว่า ?เวลาข้าตายแล้ว เอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้?

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพ่อโหน่ง อายุ ๔๑ ปี จำพรรษาอยู่ ที่วัดสองพี่น้อง พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากนํ้า ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้องและ พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการอุปสมบทในครั้งนั้นคือ หลวงพ่อโหน่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และต่อมาหลวงพ่อสดก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโหน่งเช่นกัน นอกจากหลวงพ่อสดแล้ว ศิษย์ของท่านยังมี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดโพธิ์ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก

เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับไปจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จิตใจวาบหวิวชอบกล จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะว่าอะไร หลวงพ่อเนียมพูดขึ้นก่อนว่า ?ฮื้อ! ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหร๊อก กลับไปเถอะ? หลวงพ่อโหน่งรู้สึกสบายใจขึ้น และก็มิได้เป็นอะไรอีกเลย

เมื่อมาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน ท่านฉันอาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาต นมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม เคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงิน เจริญวิปัสสนากรรมในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าเลยแม้แต่น้อย สร้างสาธารณูปการสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก

จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ฌานของหลวงพ่อแก่กล้า สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ พระทำผิดวินัย ท่านสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องเห็น พระที่ไปรุกขมูลทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านก็รู้ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดันโดยไม่บอกเล่าเก้าสิบ หลวงพ่อโหน่งสั่งลูกศิษย์เตรียมจัดที่จัดทางไว้ ว่าวันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา

มีเรื่องเล่าว่า ใครนิมนต์ท่านไปไหนมาไหน ท่านต้องถามพระประจำตัวในกุฏิท่านก่อนเสมอ ถ้าพระท่านบอกไปได้ ท่านก็ไป ถ้าพระท่านบอกไม่ให้ไป ท่านก็ไม่ไป

แม้กระทั่งการสร้างพระประธานองค์ย่อม ท่านก็ถามพระว่า สร้างได้ไหม พระบอกว่าสร้างได้ ท่านก็สร้างตามนั้น แต่ท่านไม่ทราบว่าจะหาช่างปั้นช่างหล่อที่ไหน พระก็บอกให้เดินไปทางโน้นทางนี้ ท่านก็เดินตามนั้น พบช่างมาช่วยปั้นและหล่อตามที่พระบอก

เมื่อหล่อเสร็จช่างก็หายตัวไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว

ท่านก็ตกใจว่า อ้าว....เงินค่าจ้างยังไม่ได้จ่าย เป็นการเบียดเบียนเขา จึงเดินย้อนไปตามทางเดิมถึงจุดที่พบช่าง ก็บอกลักษณะหน้าตาถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกไม่รู้จัก คงเป็นคนถิ่นอื่น เมื่อกลับกุฏิก็ถามพระว่า จะไปตามช่างได้ที่ไหน

พระบอกไม่ต้องไปตาม เพราะช่างคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น ช่างเทวดา มาช่วย เมื่อหมดหน้าที่ท่านก็ไปตามเรื่องของท่าน ไม่ต้องไปตามหรอก ถึงตามก็ไม่เจอ

หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย

ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ

เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัด

แต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่ จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะ ฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้น หลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ

เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าว ได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่า อย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่า ให้รอท่านก่อน

ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุกวี่วัน ช่างไม่รู้บ้างเลย ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ

ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ เมื่อปี 2481 ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน

สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน 

a8a8a8a8a8a8a8a8a8a

หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเองก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์

บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย

แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาสในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์ ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน

ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย

ลักษณะเนื้อพระมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อละเอียดบางองค์เหมือนพระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร สีดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา เฉพาะสีดำปนเทามีจำนวนน้อย ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บางทีก็ พ.ศ. การสร้าง ภาษาจีนก็มีจารึก

a8a8a8a8a8a8a8a8a8a

พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ

นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว

ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลายๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุกๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้นๆ

พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อยๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุกๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน

นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน

เมื่อหลวงพ่อโหน่งมรณภาพแล้ว พระก็ยังเหลืออยู่ อาจารย์ฉวย ปัญญารตนะ เจ้าอาวาส รูปต่อมาก็ได้ทำตามเจตนารมณ์ ของหลวงพ่อโหน่งทุกประการ คือ แจกพระหลวงพ่อโหน่งให้แก่ผู้ที่มาทำบุญเรื่อย มาจนอาจารย์ฉวยมรณภาพลง พระที่แจกก็ยังไม่หมด

อาจารย์หนำ ยะสะสี เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็ได้แจกพระหลวงพ่อโหน่ง ตามเจ้าอาวาสรูปก่อน พระหลวงพ่อโหน่ง จึงได้หมดไปในที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระหลวงพ่อโหน่งสร้างไว้หลายพิมพ์และมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริงว่าสร้างมากเท่าไร จะรู้เพียงว่าสร้างด้วยเนื้อดินเผาทั้งหมด

นอกจากพระเครื่องชนิดเล็กๆ สำหรับห้อยคอติดตัวแล้ว หลวงพ่อโหน่ง ยังได้สร้างพระขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บูชาตั้ง ไว้ในบ้านอีกด้วย เช่น พระกำแพงศอกเนื้อดินเผาและพิมพ์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระรูปเหมือนหลวงพ่อโหน่ง แบบลอยองค์แบบพระบูชา เนื้อทำด้วยปูน เป็นต้น โดยท่านจะเขียนคำอวยพรไว้ด้านหลังองค์พระเป็นภาษาไทยไว้ด้วย

ส่วนการสร้างพระของบรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดสร้างขึ้นไว้เป็น สมบัติส่วนตัวโดยเฉพาะโดยได้ขออนุญาตให้หลวงพ่อโหน่ง ปลุกเสกให้ แต่มีจำนวนน้อยมากยากที่จะเสาะหาในปัจจุบัน เนื่องจากพระหลวงพ่อโหน่งมีของเทียมมาก เช่าหาโปรดจงระวัง

a8a8a8a8a8a8a8a8a8a

หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๗๗ อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๖ โดยท่านมรณภาพในปางไสยาสน์แบบอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย

หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีวิชาพุทธาคมอันเข้มขลังอยู่ระดับแนวหน้าของประเทศไทย กล่าวกันว่า พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีพุทธคุณเด่นทางเมตตา มหานิยมมากและแคล้วคลาด จากอันตราย เป็นเลิศ จึงเป็นที่เสาะหาของบรรดานักสะสม เพื่อเอาไว้ใช้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นับว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษท่านหนึ่งของประเทศไทย

 

เผยแผ่ประวัติโดย อิทธิปาฏิหาริย์ พระเครื่อง
จากเวป http://www.itti-patihan.com/pra12.php

157


ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อเป็นชาว อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดจากตระกูลชาวนา

บิดาชื่อ นายมาก
มารดาชื่อ น่างอ่อนศรี
เกิดวันที่ 7 พฤษาภาคม 2445
ในแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี หลวงพ่อได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่  16 เมษายน พ.ศ. 2461 ที่วัดกลางพนมไพร
อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด พระครูเม้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้เป็นอาจารย์องค์สำคัญที่หลวงพ่อให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
ก่อนหน้าที่จะบวชเณร หลวงพ่อได้รับวิทยฐานะสำเร็จชั้นประถมปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดฟ้าหยาด ต.คำไฮ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
บวชเณรได้ระยะหนึ่ง หลวงพ่อก็เดินทางรอนแรมจากร้อยเอ็ดมุ่งเข้าสู่กรุงเทพ เพื่อแสวงหาความรู้ทางธรรมจากสำนักเรียนในกรุงเทพ
เข้าใจว่า หลวงพ่อคงจะมาบวชเป็นพระที่วัดกาหลง นี่เอง ทั้งนี้เพราะใน พ.ศ. 2481อายุได้ 36สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดกาหลง

ด้านการปกครอง
พ.ศ.2478 เป็นเจ้าอาวาสวัดกาหลง
พ.ศ.2479เป็นเจ้าคณะหมวด
พ.ศ.2484เป็นเจ้าคณะตำบล
พ.ศ.2495เป็นสาธารณูปการอำเภอ

ด้านการศึกษา
พ.ศ.2482เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดกาหลง
พ.ศ.2485 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
พ.ศ.2495 เป็นกรรมการการตรวจธรรมสนามหลวง

ด้านสมณศักดิ์
พ.ศ.2490 เป็นพระครูสัญญบัตร ชั้นตรี
พ.ศ.2511 เป็นพระครูสัญญบัตร ชั้นโท
พ.ศ.2517 เป็นพระครูสัญยญบัตรชั้นเอก

พระครูสมุทรธรรมสุนทร ถึงแม้ท่านมิใช่คนสมุทรสาคร  แต่ท่านก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง ของชาวทะเลเลือดสมุทร
เพราะคนในแถบจังหวัด สุทรสาครท่านก็ได้เมตตาช่วยเหลือมาตลอด และเป็นที่รักของลูกศิษลูกหา

ด้านวิชาศึกษาด้านอาคม
1.หลวงปู่เม้า วัดกลางพนมไพร(พระที่บวชให้ท่านในสมัยตอนเป็นเณร)
2.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบื่อ (สำหรับหลวงพ่อรุ่ง ในปี 2484 หลวงพ่อสุดเป็นเจ้าคณะตำบล หลวงพ่อรุ่งได้จัดเหรียญรุ่นแรกของท่าน
หลวงพ่อสุดได้อยุ่ในการร่วมสร้างเหรียญนี้ด้วยเช่นกัน)
3.หลวงพ่อคง วัดบางกระพล้อม (เป็นพระที่หลวงพ่อสุดนับถือมาก)
อื่นๆอีกหลายท่าน

ในสมัยที่หลวงพ่อสุดนั้นยังมีสังขารอยู่ ท่านได้ร่วมกิจนิมน หลายพิธีไม่ตำกว่า 100 ครั้ง หรือมากกว่า
เช่นพิธี ปลุกเสกพระพุทธ 25 ศตวรรษ 

และในทางหนึ่งท่านตือผู้เมตตา ให้ของขลังแก่ตี๋ใหญ่ จอมโจรชื่อดัง ในช่วงปี 251 กว่า -2524

ข้อมูลจากหนังสือ หลวงพ่อสุดวัดกาหลง จ.สมุทสาคร

158




เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ รุ่นสามัคคีมีสุข 2521

159
หลวงพ่อทวีศักด์กับนิมิตประหลาดที่หนองน้ำแดง
            ดึกมากแล้วแสงจันทร์ส่องสกาวแต่ทำไมนอนไมหลับข่มเปลือกตาอย่างไรก็ไม่หลับแล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะ  คงจะวิตกเรื่องสร้างวัดละซี  ไม่เป็นไรน่า  แล้วค่อยคิดก่อนจะม่อยหลับไปก็คิดอยู่ว่า  หากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริงและบารมีจะสร้างวัดได้ก็คงจะทำได้
                ม่อยหลับไปเมื่อใดก็ไม่รู้  รู้แต่ว่าในท่ามกลางแสงสกาวของดวงจันทร์นั้นได้มีนิมิตประหลาดเกิดขึ้นอันเป็นนิมิตที่ท่านเองก็ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น

            น้ำค้างพร่างพรมลมกรรโชกเป็นครั้งคราว  ร่างของพระธุดงค์นอนจำวัดนิ่งสนิทด้วยความอ่อนเพลีย  เพราะครุ่นคิดแต่เรื่องสร้างวัด  งานสร้างวัดไม่ใช่สร้างกระต๊อบ  เพราะวัดนั้นต้องมีทั้งหมู่กุฎิสงฆ์วิสุงคามสีมา  พระอุโบสถ  และองค์ประกอบอื่นๆ  อีกมากมาย

            ใกล้อรุณจะรุ่งนั้นเองพระธุดงค์รูปนั้นก็เกิดนิมิตประหลาด  ซึ่งท่านได้เปิดเผยให้ฟังดังนี้

            ?อาตมายังจำได้ดีเหมือนเมื่อเกิดขึ้นเมื่อเช้าวานนี้  อาตมาฝันว่ากำลังนั่งพักผ่อนอยู่หน้ากลด  พลันท้องฟ้าอันมืดมิดทางด้านทิศเหนือก็ปรากฎแสงสว่างอันแพรวพราว  แสงนั้นรวมตัวกันเป็นภาพของนักรบโบราณ  สวมเครื่องแต่งกายแบบขุนศึกมีสังวาลย์และเครื่องรางต่างๆ  อันเป็นของสูงใส่กางเกงแบบสนับเพลาบนศีรษะ  สวมหมวกปีกกว้างปลายปีกหลุบลงด้านข้างในมือถือ  ดาบฝักคร่ำทองสวยงามกระชับมั่น?

            นักรบโบราณคนนั้นได้เดินตรงเข้ามายังที่ที่อาตมานั่งอยู่  พอได้ระยะพอสมควรที่จะพูดจากันได้  จึงนั่งคุกเข่าลงข้างหนึ่งดาบในมือปลดออกวางไว้ด้านข้าง  เข่าข้างหนึ่งชันขึ้นนมัสการแล้วก็เอ่ยขึ้นด้วยเสียงอันนุ่มนวลแต่มีอำนาจว่า

            ?ท่านยังจำผมได้อยู่หรือเปล่าเล่า?

          อาตมารู้สึกมึนงงเพราะตั้งแต่อาตมาเกิดมาจำความได้จนบวชเรียนมาถึงปัจจุบันก็ไม่เคยพานพบนักโบราณผู้นี้เลย  จึงจ้องหน้าด้วยความแปลกใจไม่ตอบเพราะไม่รู้จักจริงๆ  เสียงอันนุ่มนวลแต่ทรงอำนาจก็ย้ำขึ้นอีกครั้งหนึ่งว่า

            ?ท่านยังจำผมได้อยู่หรือเปล่าเล่า?

            อาตมาจึงนึกว่าเป็นขุนแผนแสนสะท้านกาญจนบุรีร้องตอบไปว่า

            ?ท่านขุนแผนแสนสะท้านเจ้าเมืองกาญจนบุรีหรือเปล่าล่ะ?

          นักรบโบราณคนนั้นส่ายหน้าช้าๆ  แล้วจึงเอ่ยขึ้นว่า

            ?ท่านจำผมไม่ได้จริงๆ  แหละผมก็สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยไว้เมื่อ 400  กว่าปีมาแล้วยังไงล่ะท่าน  ก็น่าเห็นใจเพราะเวลาผ่านมาหลายร้อยปีจะให้ท่านจำผมได้นั้นย่อมเป็นการลำบาก?

            อาตมาปีติจนขนลุกซู่เพราะไม่นึกว่าจะได้พบกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาในค่ำคืนวันนี้  จึงกล่าวตอบไปว่า

            ?ต้องขออภัยให้อาตมาด้วยเถิดมหาบพิตร  อาตมามิอาจจำพระองค์ได้เลยเป็นความสัตย์จริงหาไม่ก็คงไม่บอกว่าเป็นขุนแผน?

            พระพักตร์อันสง่างามไม่ไว้พระมัสสุ(หนวด)  โดยเฉพาะดวงพระเนตรนั้นมีแววเด็ดเดี่ยวและเมตตาระคนกัน  อาตมาภาพยังจดจำเค้าพระพักตร์ได้ไม่ลืมเลือนพระวรกายอุดมไปด้วยมัดกล้าม  แผงพระอุระใหญ่สมชายชาตรีทรงแย้มพระโอษฐ์เล็กน้อยแล้วกล่าวกับอาตมาสืบไป

            ?ท่านรู้สึกหนักใจมากนักหรือในการสร้างวัด  ผมเห็นว่าท่านมีทุกข์จึงมาหาและมาคุยกับท่านเป็นพิเศษ  ท่านรู้ไหมว่าทำไมที่ดินนี้จึงถูกยกมาให้ท่านอย่างง่ายดาย  ถ้าไม่รู้ผมจะบอกให้ที่นี่แต่โบราณเรียกกันว่าหนองน้ำแดง  ผมเคยหยุดกองทัพพักที่นี่  ผมเคยเหยียบรอยเท้าไว้เมื่อมีผู้จะสร้างวัดผมจึงมาอนุโมทนา?

            ?เจริญพรมหาบพิตร  อาตมาหนักใจมาก  เพราะเป็นเรื่องใหญ่และต้องลงทุนมหาศาลนัก  อาตมาเป็นสงฆ์จะทำได้แค่ไหนก็ไม่รู้ได้?

            ยังไม่ทันจะได้พูดอะไรกันต่อไป  ท้องฟ้าทางด้านทิศตะวันออกก็พลันปรากฎแสงสว่างขึ้นอีก  แสงสว่างนั้นรวมตัวกันเป็นนักรบโบราณ  แต่งกายชุดเครื่องรบ  สวมหมวกปีกกว้างไว้พระมัสสะ (หนวด)  ในมือถือดาบกระชับมั่น  เมื่อเข้ามาใกล้จนเห็นถนัด  อาตมาจำได้เป็นมั่นเหมาะถึงกับอุทานว่า

            ?มหาบพิตรสมเด็จพระตากสินมหาราช?

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  แสดงการคารวะต่อพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ก่อนที่จะเข้ามาคุกเข่าลงข้างหนึ่ง  แล้วปลดดาบลงวางไว้ข้างพระองค์เคียงคู่กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระราชดำริกับอาตมาว่า

            ?ที่หนองน้ำแดงนี่กองทัพกู้ชาติของผมก็เคยมาพักท่านไม่ต้องกังวล  ถ้าผมกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชคอยหนุนแล้วท่านไม่ต้องเป็นห่วง  ท่านจะทำอะไรก็บอกมาเลย?

          อาตมาจึงกล่าวตอบทั้งสองพระองค์ไปว่า

            ?เจริญพรมหาบพิตร  อาตมาต้องการสร้างวัดเมื่อมีวัดก็ต้องมีโรงเรียน  มีพระอุโบสถ  มีสถานฝึกอาชีพ  และสิ่งสุดท้ายก็คือโรงพยาบาล?

          พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงมีพระดำรัสว่า

            ?โครงการอย่างนั้นไม่ใช่ล้านสองล้านนะท่าน?

            อาตมาก็ชิงทูลท่านไปว่า
            ?สี่ห้าสิบล้านก็จะขอสู้หากพระบารมีคอยหนุนอยู่ละก็?

          ทั้งสองพระองค์ทรงพระสรวลเบาๆ  พร้อมๆ  กัน  พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระดำรัสว่า

            ?งานชิ้นแรกที่ท่านจะต้องทำก็คือ  ท่านต้องหาทางตัดถนนเข้ามายังที่ที่ท่านจะสร้างวัด  แต่ไม่ใช่ทำเปล่าๆ  นะท่าน  ต้องปักป้ายเอาไว้ด้วยว่า  ถนนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  นั่นแหละ  คือเส้นทางที่จะนำปัจจัยมาสู่สถานที่นี้  แต่ท่านต้องต่อสู้นะอย่าอยู่นิ่งแล้วทุกอย่างจะสำเร็จตามที่ท่านปรารถนาทุกประการ?

            สิ้นพระสุรเสียงภาพของทั้งสองพระองค์ก็กลายเป็นแสงสว่างพุ่งออกไปทางทิศเหนือทิศตะวันออกตามที่เสด็จมา  นี่คืออีกประสบการณ์หนึ่งที่อาตมาได้ประสบมา
http://m.exteen.com/blog/jantatip/read/1176619

160










ขอบคุณที่มาจากเวป (และชมภาพที่เหลือได้จากเวปนี้ ครับ )


2.สารคดีเกี่ยวกับตี๋ใหญ่
http://hiptv.mcot.net/player/hipPlayer.php?SelectSpeed=256k&id=17338

3.ละครทีวี เรื่องตี๋ใหญ่ ครับ ชมได้ที่เวป

http://www.youtube.com/watch?v=1Mh8JWkN9d4

เข้าไปชมตอนอื่นๆได้ที่เวป  -www .youtube.com/watch?v=1Mh8JWkN9d4
(มีหลายตอนนะครับ ศรราม เป็นพระเอกในเรื่อง)

161


วัด พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ยังมีเหรียญเก่าแก่อีกหนึ่งรุ่นที่เป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระ เครื่องไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเหรียญพระปฐมเจดีย์ ปี 2465 ที่ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งต้องกล่าวถึงด้วยเช่นกัน นั่นคือ "เหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์ใบเสมา" สร้างโดย พระธรรมวโรดม (โชติ ธัมมปัชโชติโก) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.2472 ครับผม

พระ ธรรมวโรดม (โชติ ธัมมปัชโชติโก) เกิดที่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2423 บรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. 2438 ณ วัดมหาธาตุ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) เมื่อครั้งเป็นที่พระอมรเมธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปี พ.ศ.2443 ได้เป็นนาคหลวงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

พระธรรมวโรดม เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ และอุทิศตนเพื่อพระบวรพุทธศาสนาโดยแท้ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวนครปฐมและใกล้เคียง รวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เกียรติประวัติของท่านมีดังนี้ ปี พ.ศ.2445-2454 ได้รับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัดเบญจมบพิตรฯ ปี พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระนิกรมมุนี" ปี พ.ศ.2454-2464 เป็นกรรมการสอบนักธรรมและบาลีสนามหลวง และเป็นกรรมการแปลนิบาตชาดก สันนิบาตบางวรรคอีกด้วย ปี พ.ศ.2465 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ และเป็นพระอุปัชฌาย์

ปี พ.ศ.2466 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชสุธี" ปี พ.ศ.2467 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี ปี พ.ศ.2471 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ "พระเทพสุธี" ปี พ.ศ.2484 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ "พระธรรมปิฎก" และสมณศักดิ์สุดท้ายได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏ ตำแหน่งเจ้าคณะรองสมเด็จพระราชาคณะที่ "พระธรรมวโรดม" ก่อนจะมรณภาพลงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2497 สิริอายุ 74 ปี พรรษาที่ 54 ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุวัดพระปฐมเจดีย์ ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2498

ในราวปี พ.ศ.2472 จังหวัดนครปฐมเกิดฝนแล้งอย่างต่อเนื่องโดยทั่วไป พระธรรมวโรดม (โชติ ธัมมปัชโชติโก) ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์ที่พระเทพสุธี จึงได้จัดสร้างพระพุทธรูปพระคันธารราษฎร์ปางขอฝนขึ้นจำนวน 150 องค์ แจกจ่ายไปยังวัดต่างๆ วัดละองค์ เพื่อนำออกมาทำพิธีบวงสรวงในยามที่เกิดฝนแล้งหรือข้าวยากหมากแพง และได้จัดสร้างวัตถุมงคลคือ เหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์ใบเสมา เหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์ใบมะยม และเหรียญหล่อรูปเหมือน ในคราวเดียวกัน

" เหรียญหล่อพระคันธารราษฎร์ใบเสมา" สร้างโดยใช้กรรมวิธีการหล่อแบบโบราณด้วยเนื้อโลหะผสม รูปทรงเสมาคว่ำ แกะขอบเป็นลายกระหนกทั้งด้านหน้าและหลัง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธปฏิมากรประทับยืนเหนืออาสนะรองรับรูปบัว แสดงปางขอฝน คือ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระในกิริยากวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายทอดลงข้างพระวรกาย หงายฝ่าพระหัตถ์ในกิริยารองรับน้ำฝน ส่วนด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์อักขระขอม ตัวนูน

เหรียญหล่อพระ คันธารราษฎร์ใบเสมานี้ นับเป็นเหรียญเก่าแก่ที่มีความงดงาม ทรงคุณค่า และเป็นที่นิยมสะสม ด้วยความเชื่อที่ว่าจะนำความมั่งมีศรีสุขและความอุดมสมบูรณ์มาสู่ตนและครอบ ครัวครับผม

ขอบคุณที่มา http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538701269&Ntype=40

162
ชมแบบเต็มรูปแบบกันเลยนะครับ กับพระหล่อโบราณ รุ่นแรก วัดพระปฐมเจดีย์ ครับ




ด้านหน้า ครับ



ด้านหลัง ครับ

164



ผ้ายันต์ม้าเสพนางมหานิยม เก่าเก็บเพิ่งงัดออกจากรอบที่บ้านครับ ทำจากจีวรครับ (แกะไม่ระวังขาดเลยครับ เหอๆ)T_T

เลยเอามาให้ชม ครับ ติชมได้นะครับ
  :002:

166


ท่านอาจารย์ลำใย หรือหลวงพ่อลำใย แห่งวัดทุ่งลาดหญ้า ต.ลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

ท่านเป็นพระเถระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา มีกิจวัตรอันประเสริฐยิ่ง ตลอดชีวิตแห่งการดำรงเพศพรหมจรรย์

นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรจวบจนกระทั่งอุปสมบทเป็นพ ระภิกษุในพระพุทธศาสนา ยาวนานกว่า 60 ปี

คุณงามความดีที่ท่านได้สร้างสมไว้แก่พระพุทธศาสนา และสังคมประเทศชาติ มากมาย

จนมิอาจจะกล่าวได้หมดในเวลาอันสั้นนับแต่ได้รับภาระเ ป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า เป็นเจ้าคณะตำบล

เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีสวัสดิ์ และเป็นพระอุปัชฌาย์ นอกจากจะพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง ได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนาแล้ว

ท่านยังสร้างวัดและร่วมพัฒนาวัดทั้งในเขตปกครองและนอ กเขตปกครองอีกกว่า 200 วัด เป็นประธานหาทุนทรัพย์สร้าง?โบสถ์?

?ศาลาการเปรียญ? อีกกว่า 100 วัด สร้าง?โรงเรียน? ทั้งมัธยม-ประถม (รวมที่ดินและอาคารเรียน) กว่า 10 แห่ง

(โรงเรียนมัธยมวัดทุ่งลาดหญ้า-หลวงพ่อลำใย อุปถัมภ์ ได้รับการยกระดับเป็นโรงเรียนมัธยมระดับตำบลเป็นแห่ง แรกของประเทศไทย)

หลวงพ่อสร้าง?สถานีอนามัย?มอบให้แก่ทางราชการทั้งอาค าร และที่ดินนับได้ประมาณ 20 แห่ง

ครั้งหลังสุดเพิ่งสร้าง?สถานพยาบาลบ้านพักคนชรา?บนเน ื้อที่ราว 70 ไร่ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 100 ล้านบาท

มอบให้แก่กรมประชาสงเคราะห์ และห้องสมุดประชาชนกาญจนาภิเษก ต.ลาดหญ้า พร้อมที่ดิน มูลค่ากว่า 20 ล้าน(ที่ดินติดถนนใหญ่)

มอบให้แก่กรมการศึกษานอกโรงเรียนหลวงพ่อสร้าง?ระบบปร ะปา?มอบให้แก่หมู่บ้านต่างๆหลายสิบแห่ง

และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแคว ตรงด้านหน้าวัดทุ่งลาดหญ้า มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท และอีกแห่งตรงช่วงที่ผ่านตำบลหนองบัว

มูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท มอบให้เป็นสาธารณะประโยชน์ ในส่วนของการ?สงเคราะห์?ผู้ยากไร้

หลวงพ่อได้กระทำอย่างต่อเนื่องนับเป็นเวลาหลายสิบปี ท่านเป็นธุระจัดหาข้าวสารอาหารแห้งให้แก่สถานสงเคราะ ห์คนชราที่ท่านสร้างขึ้น

และทุกวันที่ 14 เมษายน หลวงพ่อจะจัดงานเทกระจาด แจกข้าวสารอาหารแห้ง รวมถึงเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นแก่ผู้ยากไร้

เป็นงานประจำปีที่วัดทุ่งลาดหญ้าในเขตปกครองของท่าน คืออำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นอำเภอติดชายแดน มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ทั้ง มอญ กระเหรี่ยง และกระหร่าง เป็นอำเภอที่ทุระกันดานมาก ในช่วงเข้าพรรษา ท่านก็จะนำข้าวสารอาหารแห้ง รวมถึงสิ่งของจำเป็น

ไปแจกจ่ายแก่พระสงฆ์ตามวัดต่างๆอย่างทั่วถึงนับเป็นร ัอยวัด ทำให้เขตปกครองของท่านมีความสงบเรียบร้อยมาก

ซึ่งเป็นผลดีต่อบ้านเมืองจากผลงานและจริยาวัตรอันประ เสริฐของท่าน ทำให้ท่านได้การยกย่องเชิดชูจากสถาบันต่างๆมากมาย

รวมถึงได้รับพระราชทาน?เสมาธรรมจักร?ในฐานะ?คนดีศรีส ังคม?จากสมเด็จพระเทพฯ

โครงการที่ท่านกำลังดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ คือการสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

ภายในบริเวณวัดทุ่งลาดหญ้า ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน น่าเสียดายที่ท่านด่วนจากไป 

ด้วยความดีอันมากล้นของหลวงพ่อ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามั ญ ที่ พระมงคลสิทธิคุณ

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2539 คนๆหนึ่ง พระสงฆ์รูปหนึ่ง เกิดมามีชีวิตที่ไม่สูญเปล่า สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมประเทศชาติมากมาย

ตลอดชีวิตของท่านมีแต่การให้และการเสียสละโดยไม่เห็น แก่ความเหนื่อยยากลำบากกายใดๆ ท่านได้ทำหน้าที่"พระสงฆ์"

ที่สมควรกราบไหว้จนถึงนาทีสุดท้ายแห่งชีวิต สมควรที่เราทั้งหลายจะยกย่องเชิดชูให้เป็น?ปูชนียบุค คลอันประเสริฐ


ข้อมูลจากเวป
http://romphosai.com/forums/forum15/thread4720.html

167






องค์แรกพระคันธราช แท้หรือไม่แท้ ครับ ขอบคุณครับ

168


ขอสาธุ อนุโมธนาบุญทุกท่านด้วยนะครับ

169


บอก ว่า ในอดีตที่ผ่านมานั้น เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพอันเป็นที่นิยมของนักสะสม เหรียญในอันดับต้นๆ มีอยู่ ๒ เหรียญ คือ

 เหรียญที่ระลึกของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ "เสด็จเตี่ย" สิ้นพระชนม์ ที่ ต.หาดทรายรี เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖

 ลักษณะของเหรียญ เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มี ๓ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ ค่านิยมประมาณ +-+ บาท เนื้อเงิน ค่านิยมประมาณ + บาท และเนื้อทองแดง ค่านิยมประมาณ + บาท

 
ส่วนอีกเหรียญหนึ่ง คือ เหรียญช้างสามเศียร เป็นเหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ทั้งนี้ประชาชนชาวไทยได้พร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง หรือ สมเด็จพระปิยมหาราช โดยเสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๕ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในปีเดียวกัน ณ บริเวณท้องสนามหลวง 

 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำริให้นำ เหรียญเงินหนึ่งบาท ตราช้างสามเศียร ร.ศ.๑๒๗ ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างก่อนที่จะเสด็จสวรรคต นำมาเป็นของที่ระลึกใช้พระราชทานในงาน มี ๓ ชนิด คือ

 ๑. ตลับเงินเหรียญคู่ หรือกล่องคู่ (ตลับเงินใหญ่) มีเหรียญบาทช้างสามเศียร ร.ศ.๑๒๗ จำนวน ๒ เหรียญ โดยวางสลับด้านกัน ด้านบนของตลับมีข้อความว่า "งานพระบรมศพ" ด้านล่างมีคำว่า "ร.ศ.๑๒๙" เป็นเหรียญที่พระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายใน ชั้นผู้ใหญ่ 


๒. ตลับเงินเดี่ยว หรือกล่องเดี่ยว (ตลับเงินเล็ก) มีลักษณะคล้ายตลับเงินเหรียญคู่ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยฝาตลับจะมีเพียง ๑ เหรียญเท่านั้น ด้านบนของตลับมีข้อความว่า "งานพระบรมศพ" ด้านล่างมีคำว่า "ร.ศ.๑๒๙" เป็นเหรียญที่พระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายใน ชั้นผู้น้อย

 และ ๓. แผ่นเงินพระศพ มีลักษณะด้านหน้าเป็นรูปพระเมรุ ด้านบนเป็นรูปเมฆ ด้านล่างมีข้อความว่า "งานพระบรมศพ ร.ศ.๑๒๙" บริเวณมุมขวามีเหรียญเงิน ร.ศ.๑๒๗ อยู่ในวงกรอบกนก ด้านหลังไม่มีข้อความ หรือลวดลายใดๆ 

 ปัจจุบันตลับเงินเหรียญคู่ ตลับเงินเหรียญเดี่ยว รวมทั้งแผ่นเงินพระบรมศพ ที่สวยสมบูรณ์ หาชมได้ยากมาก และถือว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่า





 ทั้ง นี้ นายอรรถวัติได้ให้เหตุผลของค่านิยม เหรียญเสด็จเตี่ย ที่สูงกว่าเหรียญช้างสามเศียรว่า น่าจะเกิดจากเหรียญเสด็จเตี่ยเป็นเหรียญเดียวของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งเป็นเหรียญที่ พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ปลุกเสกก่อนที่จะนำมาเป็นเหรียญที่ระลึก

 ส่วน เหรียญช้างสามเศียร เป็นเหรียญที่สั่งมาเพื่อใช้เป็นเงินตราในการซื้อขายสิ้นค้า แต่ยังมิทันถูกนำมาใช้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อน ขณะเดียวกัน ก็มีเหรียญชนิดอื่นที่ออกในสมัย ร.๕ จำนวนมากอยู่แล้ว

 นอกจากนี้แล้ว นายอรรถวัติ ยังบอกด้วยว่า เหรียญตาย ซึ่งหมายถึงเหรียญพระเกจิอาจารย์ ที่ลูกศิษย์สร้างขึ้นหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคุณงามความดีของท่าน หรือสร้างไว้เป็นที่เคารพสักการะ เป็นต้น ปกติเหรียญตายจะไม่ค่อยน่าสนใจ เพราะครูบาอาจารย์ เจ้าของเหรียญได้จากไปแล้ว ค่านิยมที่แท้จริงของวัตถุมงคลที่แจกในงานศพนั้น ต้องดูกันในระยะยาว

 สำหรับวัตถุมงคลที่แจกในงานศพยอดนิยมอันดับต้นๆ ต้องยกให้ เหรียญพระครูอรรถธรรมรส หรือ "พ่อท่านซัง" อดีตเจ้าอาวาสวัดวัวหลุง และอดีตเจ้าคณะแขวงอำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกท่านหนึ่ง ที่ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนวิชาคาถาอาคม ที่สำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง 

 เหรียญพ่อท่านซัง เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ โดยท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๗๘ คณะศิษย์เก็บศพของท่านไว้เป็นเวลาปีเศษ จึงขอพระราชทานเพลิงศพ

 ตอนนั้นทางวัดได้นำเหรียญรุ่นนี้วางไว้ตรงหน้าสรีระของพ่อท่าน ใครจะหยิบไปอย่างไรก็ได้ ทำบุญหรือไม่ก็ตามใจ

 เหรียญนี้ถึงแม้ว่าจะสร้างออกมาตอนที่ท่านมรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่ก็ได้ผ่านการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์มาก โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพัน ที่มีประสบการณ์ปรากฏมาหลายครั้ง

 แม้ว่าจะเป็นเหรียญเนื้อทองแดง สภาพสวยสมบูรณ์ เช่าหากันราคาสูงถึง +-+บาท จำนวนสร้างน่าจะอยู่ในหลักพัน
ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข้อมูลมาจากเวป http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538708351&Ntype=40

172



พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย  ศิษสายหลวงปู่มั่น ครับ.


พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ท่านมีชื่อที่แท้จริงว่า จวน นามสกุล นรมาส เกิดเมื่อวันเสาร์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่บ้านเหล่ามันแกว ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

โยมพ่อของท่านมีอาชีพทำนา แต่ก็เป็นผู้ที่มีความรู้ในทางด้านสมุนไพร และรักษาแผนโบราณ เรียกได้ว่า เป็นหมอประจำหมู่บ้านก็ว่าได้ ซึ่งเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง

เพราะว่า บรรดาเพื่อนบ้านเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะได้อาศัยโยมพ่อของท่านพระอาจารย์จวน ได้รักษาจนหายป่วยหายไข้ นอกจากว่าจะเป็นหมอประจำหมู่บ้านไปด้วยในตัวแล้วก็ยังได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านอีกด้วย

โยมพ่อของท่านชื่อ สา และโยมแม่ของท่านซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพ มาจากทางเวียงจันทน์ เป็นอุปราชของทางเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้นจนกระทั่งเวียงจันทน์แตก

อุปราชผู้เป็นต้นตระกูลก็ได้พาครอบครัวอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองวัวลำภู และต่อมาก็ได้ย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง มาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จนได้มาพบกับโยมพ่อของท่าน และได้อยู่ร่วมครอบครัวเดียวกัน

โยมแม่ของท่านชื่อ แหวะ นามสกุลเดิม วงศ์จันทร์ ท่านพระอาจารย์จวน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๖

หมู่บ้านตามชนบทในสมัยก่อนนั้นการศึกษาเล่าเรียนนับว่าลำบากมากพอสมควรทีเดียว เพราะโรงเรียนนั้น ไม่ได้มีไปทุกหมู่บ้าน บางโรงเรียน จะเป็นที่รวมกันของหมู่บ้านใกล้เคียง หลายๆ หมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้าน บางทีต้องเดินไปเรียนหนังสือกันเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ดังนั้นเด็ก ๆ ที่จะได้ไปเรียนหนังสือตามหมู่บ้านที่ห่างไกลออกไปนั้นก็จะต้องโตพอสมควร

ท่านพระอาจารย์จวนได้มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือที่อีกหมู่บ้านหนึ่ง จนกระทั่งท่านเรียนหนังสือจบชั้นประถม ๓ โรงเรียนที่ท่านเรียนอยู่นั้นก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ซึ่งติดกับบ้านเหล่ามันแกว ใกล้ ๆ กับบ้านของท่าน

และที่โรงเรียนนี้เอง ท่านพระอาจารย์จวนจึงได้มีโอกาสเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่า เป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนตามชนบทนั่นเอง

ท่านพระอาจารย์จวนเป็นเด็กที่ฉลาดและขยันหมั่นเพียรเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ชั้นประถม ๑ จนถึงชั้นประถม ๖ นั้น ท่านสอบไล่ได้ที่ ๑ มาโดยตลอด

ได้รับคำยกย่องชมเชย จากครูบาอาจารย์เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความประพฤติและด้านการเรียนจนเป็นที่เชื่อถือรักใคร่ของครูบาอาจารย์

ในปีที่สุดท้ายก่อนที่ท่านพระอาจารย์จวนจะออกจากโรงเรียนนั้น ได้มีพระธุดงค์องค์หนึ่งมาปักกลดอยู่ใกล้ ๆ บ้านของท่าน ท่านพระอาจารย์จวนได้ไปที่กลดของพระธุดงค์องค์นี้อยู่เสมอ

เมื่อไปสนทนากับพระธุดงค์นี้ครั้งใดก็จะบังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ถึงกับตั้งปฏิธานไว้ว่า ต่อไปจะต้องบวชอย่างท่านบ้าง

และด้วยความสนใจฝักใฝ่ในทางพระพุทธศาสนาของท่านพระอาจารย์จวน พระธุดงค์องค์นั้นจึงได้มอบหนังสือ ไตรสรณาคมน์ ซึ่งพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยคโม วัดป่าสาลวัน นครราชสีมาได้บรรยายไว้ให้

ซึ่งหนังสือนี้เป็นหนังสือที่สอนให้ได้รู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้อย่างแท้จริง และสอนให้รู้จักวิธีการปฏิบัติภาวนาด้วย และนี่เองท่านพระอาจารย์จวน จึงได้เกิดความคิด ความเลื่อมใสศรัทธาที่จะลองปฏิบัติไปตามหนังสือนั้นดู

พระอาจารย์จวนได้เริ่มฝึกหัดสวดมนต์ ไหว้พระ และทำวัตร ตลอดจนนั่งสมาธิบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ จนกระทั่งปรากฏว่า จิตของท่านในขณะนั้นรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอารมณ์

จิตกับกายแยกกันไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย ท่านพระอาจารย์จวนเล่าว่า

 เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง เพราะว่าหัดเอง ทำเอง ตามลำพังแต่เพียงคนเดียว ไม่มีผู้รู้ผู้ใดมาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ก็ได้แต่รู้สึกว่า เมื่อได้นั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่บนอากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก

 นึกอยากจะภาวนาอยู่เสมอ ๆ วันใดถ้าจิตใจไม่สบายเป็นต้องเข้าที่นั่งภาวนาให้จิตสงบอยู่เสมอ ๆ

 ท่านพระอาจารย์จวนได้ฝึกหัดปฏิบัติภาวนาพุทโธตามแบบฉบับในหนังสือ ไตรสรณาคมน์ ของท่านพระอาจารย์สิงห์นี้จนกระทั่งท่านเรียนจบ และออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพแล้ว ท่านก็ยังได้ฝึกหัดปฏิบัติอยู่เช่นนั้น

 เพราะโดยนิสัยส่วนตัวของท่านแล้ว ท่านพระอาจารย์จวนก็เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในทางวัดวามาตั้งแต่เด็ก ๆ นิสัยทางด้านของเรื่องการสร้างบาปสร้างกรรมของท่านนั้น ไม่มีเลย

ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต สัตว์เล็กสัตว์น้อยท่านก็ไม่เคยทำ หรือจะเป็นการหยิบฉวยลักขโมยสิ่งของแต่อย่างใด จนแม้อาจจะกล่าวได้ว่า เข็มสักเล่มเดียวก็ไม่เคยลักไม่เคยหยิบของใครเลย

อายุของท่านย่างเข้า ๑๘ ปีในตอนนั้น ท่านพระอาจารย์จวนก็ได้มีโอกาสเข้าทำราชการที่กรมทางหลวงแผ่นดิน ในระหว่างที่ทำงานอยู่ที่กรมทางหลวงแผ่นดินนี้ ท่านก็มีโอกาสได้อ่านหนังสือของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ชื่อ จตุราลักษณ์

ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้บรรยายไว้ เกี่ยวกับเรื่องของมรณานุสติ เมื่ออ่านไปทำให้จิตใจของท่านพระอาจารย์จวนมีความสลดสังเวชใจเป็นอย่างยิ่ง ความสลดใจนั้นเกิดขึ้นจากคำบรรยายเป็นธรรมะของท่านพระอาจารย์เสาร์

ซึ่งได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเรานั้นย่อมมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้เป็นบุญหรือเป็นบาปเมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจะเป็นทายาท ให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อ ๆ ไป   

 คือ หมายความว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ ให้เป็นไปต่าง ๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่อได้อ่านไปถึงตอนนี้ จิตใจของท่านพระอาจารย์จวนก็ยิ่งบังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่งว่า

คนเรานั้นก็ต้องมีตายอยู่นั่นเอง ถ้าเกิดมาไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก

ในขณะนั้นเองจิตใจของท่านพระอาจารย์จวนได้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพิ่มพูนขึ้นเป็นอย่างมาก ระหว่างนั้นเองถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบจากการทำงานอยู่ที่กรมทางหลวงทั้งหมดรับเป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินเพียงคนเดียว นำเงินไปสร้างพระประธานสร้างส้วมในวัดจนหมด

จนกระทั่งท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้ลาออกจากกรมทางหลวงแผ่นดินเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งยังเป็นฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌาย์ชื่อ บุ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง และได้รับฉายาว่า กลฺยาณธมฺโม

ในขณะนั้น เมื่อบวชแล้วท่านพระอาจารย์จวน ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนนักธรรม จนสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้นเอง

ในการบวชของท่านพระอาจารย์จวนนั้นเรียกกันได้ว่า เป็นพระบ้านแต่ท่านพระอาจารย์จวนก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะออกเดินธุดงค์ เพื่อเจริญรอยตามพระธุดงค์กรรมฐานที่ท่านพระอาจารย์จวนได้เคยไปกราบนมัสการเมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กอยู่

ดังนั้นเมื่อไปขอลาพระอุปัชฌาย์ก็ไม่ยอมให้ออกไปธุดงค์ ท่านพระอาจารย์จวนจึงตัดสินใจลาสิกขาบท สึกออกมาเป็นฆราวาสก่อนเป็นการชั่วคราว

หลังจากที่ได้ลาสิกขาบทเป็นฆราวาสแล้ว ท่านพระอาจารย์จวนก็ได้เดินทางไปแสวงหาพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน จนกระทั่งได้ไปถึงที่ สำนักวัดป่าสำราญนิเวศน์ อำเภออำนาจเจริญ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๔ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖

โดยมีท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิตเทวิโธ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งเป็นศิษย์กรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น พระอุปัชฌาย์รูปนี้ท่านเพิ่งได้รับแต่งตั้ง และมาบวชท่านพระอาจาย์จวน เป็นองค์แรก

ได้ตั้งฉายาให้ท่านพระอาจารย์จวนว่า กุลเชฏฺโฐ ซึ่งแปลความหมายได้ว่า พี่ชายใหญ่ที่สุดของวงศ์ตระกูลนี้ ส่วนพระภิกษุองค์ที่ ๒ ที่พระอุปัชฌาย์ รูปนี้ได้บวชให้ในเวลาภายหลัง นั่นคือ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร แห่งวัดป่าแก้ว บ้านชุมพลนั่นเอง...

พรรษาต่อมา พระอาจารย์จวนได้ชวนพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต ไปพำนักปฏิบัติภาวนาที่ดงหม้อทองอีก พรรษานี้มีพระเณรร่วมเดินทางไปพำนักด้วยถึง ๔ องค์ สัตว์ป่าก็ดูจะคุ้นเคยไม่เป็นข้าศึกแก่กัน

จนกระทั่งออกพรรษาแล้วก็ได้วิเวกไปทางดงศรีชมภู ทางเขตอำเภอโพนพิสัย ได้ไปพบสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กับ ซากเมืองเก่าบริเวณแห่งนี้มีต้นจันทน์มากมาย

พระอาจารย์จวนจึงได้ขอให้ญาติโยมช่วยปลูกเป็นร้านเล็ก ๆ และ ที่ถ้ำจันทน์นี้อยู่ห่างจากบ้านคนมาก มีบ้านของพวกข่าอยู่ ๒ หลังคาเรือน ซึ่งห่างไปประมาณ ๑๐๐ เส้นทางที่จะไปบิณฑบาตนั้นเป็นทางที่ช้างเดิน กว่าจะถึงทางเกวียนต้องเดินไปอีกไกลโขทีเดียว

พอพวกญาติโยมกลับไปแล้วพระอาจารย์จวนก็อยู่เพียงองค์เดียว ตกกลางคืนได้ยินเสียงเสือมาคำรามอยู่ใกล้ ๆ บางคืนก็ได้ยินเสียงคนพูดคุยกันอยู่ตามพลาญหินก็มี บางวันก็ได้ยินเสียงเหมือนคนสวดมนต์ไหว้พระทำวัตรอยู่ที่ถ้ำจันทน์นั้น

ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครอยู่ด้วยเลย

ที่ถ้ำจันทน์มีวัตถุโบราณเป็นพระโบราณฝังอยู่ในดิน เมื่อขุดดูก็ได้ปรากฏว่าพบเศียรพระ แขนพระ และองค์พระ ซึ่งแต่ก่อนถ้ำจันทน์นั้นเป็นที่อยู่ของบรรดาสัตว์ป่าทั้งหลาย ระยะแรกที่พระอาจารย์จวนไปปักกลดอยู่นั้นก็ได้อาศัยบิณฑบาตจากข่า ๒ ครอบครัวนั้นเองมาประทังเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ตลอดมา

การปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาที่ถ้ำจันทน์นี้ แม้จะอยู่เพียงองค์เดียว แต่ก็เป็นสัปปายะในการภาวนาเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์จวนท่านเล่าว่าจิตรวมดี การค้นคิดพิจารณาในร่างกายก็เป็นไปอย่างดี ท่านได้บำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างไม่ลดละ

หลังจากออกจากพรรษาแล้วท่านก็เกิดอาพาธหนักด้วยไข้ป่าอีก ไม่มียาจะรักษาก็ได้ปล่อยให้ธาตุขันธ์รักษาตัวเองไปตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น

ระหว่างที่เป็นไข้อยู่นั้น วันหนึ่งขณะจะเคลิ้มหลับไปก็ได้นิมิตเห็นโยมพ่อซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้วตั้งแต่ที่ท่านพระอาจารย์จวนอายุได้ ๑๖ ปี โยมพ่อซึ่งเป็นหม้อกลางบ้านนั้นได้เข้ามาหาและได้ถวายฝนยาให้พระอาจารย์จวนดื่ม กลิ่นของยาหอมน่าดื่มจริง ๆ หลังจากนั้น อาการเจ็บป่วยก็ได้หายสนิทลง ร่างกายก็มีกำลังฉันอาหารได้เป็นปกติ และตั้งแต่นั้นมาอาการเจ็บป่วยในลักษณะนั้นก็ไม่เคยได้เกิดขึ้นอีกเลย ท่านพระอาจารย์จวนได้พำนัก บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำจันทน์เป็นเวลาถึง ๓ พรรษาด้วยกัน แต่ถ้านับปีก็นานถึง ๔ ปี ในระยะหลังก็ได้มีบรรดาชาวบ้านพากันอพยพเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นจำนวนมาก เพราะเหตุว่า ในภายหลังบรรดาชาวบ้านได้ไปเห็นว่าเป็นที่อันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีน้ำดี ดินดี

ท่านพระอาจารย์จวนเห็นว่า เมื่อมีผู้คนอพยพมาอาศัยอยู่กันมาก ๆ ทำให้สถานที่นั้นไม่สงบเป็นการรบกวนต่อการทำสมาธิภาวนาท่านจึงคิดที่จะโยกย้ายไปหาที่อันสงบสงัดวิเวกเพื่อทำความเพียรต่อไป

ออกจากถ้ำจันทน์ พระอาจารย์จวนได้มุ่งหน้าไปยังภูสิงห์ ในเขตอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ได้ขอให้ญาติโยมพาไปดูสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นภูเขาลูกหย่อม ๆ ระหว่างภูสิงห์ใหญ่และภูทอกใหญ่ เขาลูกนี้เรียกชื่อว่า ภูสิงห์น้อย หรือ ภูกิ่ว ตามลักษณะคอดกิ่วของภูเขานั้น

ระยะแรกที่ พระอาจารย์จวนไปพำนักอยู่นั้น ภูสิงห์น้อยยังเป็นป่าที่รกมากมีถ้ำเงื้อมหินอันสงบสงัด มีน้ำซับตามธรรมชาติ ได้ปลูกเสนาสนะหลังหย่อม ๆ อยู่เป็นการชั่วคราว  โดยอาศัยญาติโยมจากบ้านนาสะแบงบ้าง บ้านนาคำภูบ้างมาช่วยกันยกกระต๊อบเป็นเสนาสนะอย่างหยาบ ๆ และพระอาจารย์จวนได้เล่าว่าที่ภูสิงห์น้อยนี้การทำความเพียรได้ผลดีมาก แม้การบิณฑบาตก็ไม่ลำบากไม่ขาดแคลนพออาศัยยังชีพไปได้วันหนึ่ง ๆ

ในพรรษานี้มีพระติดตามท่านมาด้วยองค์หนึ่งและมีเณรอีกองค์หนึ่ง ผ้าขาวผู้ชราอีกคนหนึ่ง ก็ได้ไปบิณฑบาตที่บ้านคำภู ซึ่งอยู่ห่างจากเชิงเขาไปถึงหมู่บ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร ต่างองค์ต่างก็แยกกันอย่างขะมักเขม้นยิ่งยวดตลอดทั้งพรรษา

อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์จวนกำลังเดินจงกรมอยู่นั้น ได้กำหนดจิตภาวนาบริกรรมไปโดยตลอด ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้จะค่ำแล้ว ก็รู้สึกว่าได้กลิ่นเหม็นอยู่ชอบกล พระอาจารย์จวนได้ตั้งจิตถามไปจิตก็ได้ตอบว่า

เป็นกลิ่นของเปรต

พระอาจารย์จวนก็ได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ กลิ่นนั้นก็ได้จางหายไปในที่สุด พอรุ่งเช้าได้พบปะพูดคุย กันกับพระอาจารย์สอนที่ไปด้วยนั้นท่านก็ว่าได้กลิ่นเหม็นเหมือนกัน

และในคืนนั้นเอง พระอาจารย์จวนก็ได้นิมิตอย่างประหลาด คือเห็นเปรต ๒ ตน เป็นผู้หญิง นุ่งแต่ผ้าไม่ใส่เสื้อเปลือยตลอด ผมยาว ผิวดำคล้ำเศร้าหมอง

เมื่อได้สอบถามดูก็ได้ความว่า เป็นเปรตอยู่ที่ภูสิงห์นี้มานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งเป็นมนุษย์ก็ได้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ผู้เป็นพี่ชื่อนางเสาทา ผู้เป็นน้องชื่อนางเสาสี

ได้เอาตัวไหมตัวหม่อนซึ่งมีฝักรังใหม่อยู่ข้างในมีตัวอ่อนอยู่ข้างในมาต้มในน้ำร้อนเพื่อสาวเอาใยใหมมาทอผ้า และด้วยบุพกรรมอันนี้พอตายจากมนุษย์ก็ได้กลายเป็นเปรตไป ดังนี้

พระอาจารย์จวนท่านกล่าวว่า ถ้าจะเปรียบเทียบกับสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านได้เคยไปมาแล้วนั้น ที่ภูสิงห์น้อยนี้นับว่าเป็นสถานที่ ที่เป็นสัปปายะที่สุด เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของท่าน แม้ที่ดงหม้อทองจิตจะรวมง่าย แต่ปัญญาก็ไม่แก่กล้า

ท่านพึ่งมาได้พิจารณาคิดค้นกายอย่างหนัก พึ่งจะเริ่มกระจ่างมาเป็นลำดับก็ที่ภูสิงห์น้อยนี่เอง ในระหว่างพรรษานี้ พระอาจารย์จวนได้เร่งทำความพากเพียรอย่างเต็มความสามารถ

ได้พิจารณาร่างกายอันเป็น กายาคตาสติ ไม่ให้จิตรวมไม่ให้จิตพัก ได้พิจารณาไปพอสมควร พอสงบก็พิจารณาค้นในร่างกาย พิจารณาทวนขึ้นและตามลงเป็นปฏิโลมและอนุโลม พยายามพิจารณาร่างกายให้รู้เห็นตามเป็นจริงไป

พอออกพรรษาแล้วพระอาจารย์จวนก็ได้ไปพำนักปฏิบัติภาวนาอยู่ที่ถ้ำบูชา ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านแห่งนั้นไป ๑๐ กิโลเมตร ในที่นี้การบิณฑบาตลำบากมาก

พระอาจารย์จวนได้ขอให้ญาติโยมช่วยกันตัดทางจากบ้านดอนเสียดขึ้นไปบนภูวัวไปถ้ำบูชา ได้ช่วยกันทำอยู่ ๓ เดือนจึงสำเร็จเป็นทางที่รถและเกวียนพอจะเดินขึ้นไปได้

พรรษาแรกนั้นได้มีพระไปอยู่พำนักด้วย ๕ องค์ มีเณร ๒ องค์ ต่างองค์ก็ต่างแยกย้ายกันหาที่วิเวกได้ปรารภความเพียรกันอย่างไม่ประมาท

อยู่มาวันหนึ่งในขณะที่พระอาจารย์จวนท่านได้นั่งภาวนาอยู่นั้นก็ได้นิมิตขึ้นว่า ท่านกำลังค้นหาพระแต่หาไม่เห็น ในขณะนั้นได้มียักษ์ผู้หญิง รูปร่างสูงใหญ่มีร่างกายดำสนิท ผมยาวรุงรัง นุ่งผ้าอยู่เพียงท่อนล่าง ส่วนท่อนบนนั้นเปลือยกาย ท้องก็อ้วนใหญ่ อยู่ในน้ำตกสะอาม

พระอาจารย์จวนได้เข้าไปถามว่าเป็นใครทำไมถึงได้มาอยู่ในที่นี้ ยักษ์นั้นก็ได้ตอบว่า เป็นยักษ์อยู่ที่น้ำตกสะอาม เพราะแต่ก่อนได้เคยทำบาป คือในชาติที่ได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นได้เกิดมาเป็นภรรยา ของท่านอาจารย์

แต่เป็นผู้ทุจริตประพฤติผิดมิจฉากาม ไม่ซื่อสัตย์ต่อสามีคือท่านอาจารย์ ไปคบชายอื่นเป็นชู้ เมื่อสามีจับได้ก็ล่อลวงปิดบังไว้ และด้วยบาปอกุศลกรรมอันนั้นก็จึงทำให้ต้องมาเกิดเป็นยักษ์อยู่ในที่นี้

พระอาจารย์จวนได้ถามต่อไปว่า มีพระพุทธรูปโบราณอยู่ที่ถ้ำสะอานนี้ใช่ไหม ยักษ์ก็บอกว่ามีอยู่จริง แต่ยักษ์นั้นก็ไม่ยอมบอกว่าอยู่ที่ไหน เพราะเหตุว่า ยังเกลียดชังท่านพระอาจารย์ที่ได้ทิ้งยักษ์ไปตั้งแต่ชาติที่เคยเป็นคน และเป็นสามีภรรยากันนั่นเอง

พระอาจารย์จวนก็ได้บอกญาติโยมว่า อย่าเข้าไปหาพระพุทธรูปโบราณนั้นเลย ไม่เห็นหรอก เพราะเขาไม่ให้เห็น

ในพรรษาต่อมาพระอาจารย์จวนได้กลับลงมาพำนักอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ขาวที่วัดถ้ำกลองเพล ได้ปฏิบัติหลวงปู่ ได้ฟังเทศนารับการอบรมจากหลวงปู่ขาวอย่างใกล้ชิด พอออกพรรษาแล้ว ก็ได้กราบลาหลวงปู่ขาวกลับไปวิเวกที่ภูวัวอีก

ระยะที่พำนักวิเวกอยู่ที่ภูวัวได้ ๑ เดือน คืนวันหนึ่งขณะที่นั่งทำความเพียรอยู่นั้นก็ได้เกิดนิมิตขึ้นว่า ได้มีปราสาท ๒  หลังหนึ่งเล็ก อีกหลังนั้นมีความสวยงามวิจิตรมาก ตั้งอยู่ทางด้านเขาภูทอกน้อย และภูทอกใหญ่ เมื่อมองจากภูวัวจะปรากฏเห็นชัดเจนทีเดียว

ในนิมิตนั้นพระอาจารย์จวนได้เหาะขึ้นไปบนปราสาทหลังนั้น แต่บังเอิญประตูเข้าปราสาทนั้นปิดอยู่ ท่านไม่สามารถจะเข้าไปข้างในได้ ก็จึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า ถ้าหากว่าท่านมีบารมีแรงกล้าแล้ว ขอให้ประตูนั้นเปิดออกมาให้ท่านเข้าไปข้างในได้

ในทันใดนั่นเองประตูปราสาทหลังเล็กนั้นก็เปิดออก พระอาจารย์จวนก็จึงได้เข้าไปภายในปราสาทนั้น ในห้องมีความวิจิตรพิสดารงดงามเป็นอย่างยิ่ง มีหญิงสวยงาม ๔ คนด้วยกันเฝ้าอยู่ในปราสาทนั้น

ได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์จวนให้อยู่ร่วมด้วย แต่ท่านไม่ยอมตกลง เพราะเป็นพระจะอยู่ร่วมกับผู้หญิงไม่ได้ พระอาจารย์จวนจึงลงจากปราสาทหลังนั้น พอจิตถอนออกมาท่านจำนิมิตนั้นได้ติดตา พร้อมทั้งจำทางขึ้นทางลงได้อย่างแม่นยำ

ดังนั้นพระอาจารย์จวนจึงเดินทางจากภูวัว ไปยังภูทอกน้อยเพื่อพิสูจน์นิมิตนั้น พอไปถึงก็เดินทางขึ้น ไปบนภูเขาระยะทางที่ผ่านไปนั้น เหมือนดังในนิมิตอยู่ทุกประการ

ได้สำรวจดูเขาชั้นต่าง ๆ ก็ได้เห็นเป็นโตรก เป็นซอก เป็นถ้ำ เป็นหินผา อันสูงชัน มีภูมิประเทศที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะบูรณะให้เป็นสถานที่สำหรับพระภิกษุสามเณรจะได้อาศัย เป็นที่ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรมต่อไป

ดังนั้นเองท่านพระอาจารย์จวน จึงได้ตัดสินใจอยู่บูรณะและก่อสร้างเป็นวัดขึ้น และขณะนั้นก็ประกอบเข้าด้วยกับว่าบรรดาชาวบ้านนาคำแคน บ้านนาต้องได้พากันอาราธนาให้ท่านพระอาจารย์จวนได้อยู่โปรด พวกเขาเป็นหลักยึดเหนี่ยวต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย

ท่านพระอาจารย์จวนได้เริ่มขึ้นไปอยู่บนภูทอกนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ระยะแรกที่ขึ้นไปอยู่นั้นอยู่กันเพียง ๒ องค์กับท่านพระครูสิริธรรมวัฒน์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ ในอำเภอบึงกาฬนั้น กับผ้าขาวน้อยองค์หนึ่งเท่านั้น ได้อาศัยอยู่ที่ตีนเขาซึ่งเป็นโรงที่ต่อกับโรงครัวในปัจจุบัน

บริเวณโดยรอบยังเป็นป่าทึบ และรกชัดมาก มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมากทีเดียวสมัยนั้น ความเป็นอยู่ต้องอดน้ำ ต้องอาศัยน้ำฝนที่ค้างขังอยู่ตามแอ่งหิน

และเรื่องการบิณฑบาต ก็ต้องอาศัยจากชาวบ้านนาคำแคน ซึ่งอพยพเข้าไปอยู่กันใหม่ ๆ ประมาณ สัก ๑๐ หลังคาเรือน จึงทำให้การบิณฑบาตขาดแคลนมาก พอที่จะได้อาศัยฉันไปตามมีตามได้

พอเข้าหน้าแล้งท่านก็ได้ขอให้ชาวบ้านช่วยกันสร้างทำนบกั้นน้ำ และได้ปลูกกระต๊อบไว้ชั่วคราว ที่โขดหินตีนเขาบนชั้นที่ ๒ นั้นเอง

ในปีแรกที่ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่ภูทอกนั้น มีพระอยู่ด้วยกัน ๓ องค์ ได้พากันปลูกกระต๊อบขึ้นพอที่จะอาศัยทำความเพียรกันได้ ๔ หลังด้วยกัน พระทุกองค์ต่างก็ทำความเพียรกันอย่างเต็มที่ 

พอตกค่ำพระอาจารย์จวนจะขึ้นไปจำวัดอยู่บนชั้น ๕ โดยปีนขึ้นไปตามเครือของเถาวัลย์ตามรากไม้ ปัจจุบันบนชั้น ๕ นั้นเป็นถ้ำวิหารพระ ซึ่งในสมัยก่อนยังเป็นป่าทึบมีต้นไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น

แต่ด้วยความอุตสาหะของท่านพระอาจารย์จวนระหว่างกลางพรรษาที่ ๒๗ นั่นเอง พระอาจารย์จวนได้ชักชวนญาติโยมให้ทำบันไดเวียนขึ้นไปบนเขาชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ จนสำเร็จ ได้ทำอยู่ประมาณแค่ ๒ เดือน กับ ๑๐ วันเท่านั้นจึงเสร็จเรียบร้อยดี

การสร้างบันไดนี้เสร็จในกลางพรรษาโดย ได้อาศัยศรัทธาญาติโยมช่วยกันคนละเล็กคนละน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยกันด้วยกำลัง เรื่องกำลังทรัพย์นั้นหายากเพราะต่างก็เป็นคนยากจน มีแต่ศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใส และใช้กำลังเป็นที่ตั้งเท่านั้น

มาในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ระหว่างกลางพรรษานั้นเอง พระอาจารย์จวนได้นิมิตไปว่า ท่านได้เดินอุ้มบาตรลัดเลียบ ไปตามหน้าผาที่ภูทอกใหญ่ อ้อมไปเรื่อย ๆ ก็ได้เห็นหน้าต่างปิดอยู่ และตามหน้าผานั้นมองไม่เห็นใครเลย

ท่านจึงหยุดยืนรำพึงว่า ?ทำไม จึงมีแต่หน้าต่างปิด ไม่เห็นคนออกมาใส่บาตรเลย? ครู่หนึ่งก็ได้เห็นคนเปิดหน้าต่างออกมาใส่บาตรกัน ท่านจึงตั้งจิตถามขึ้นมาว่า ?นี่เป็นใครกัน? เขาก็ได้ประกาศขึ้นมาว่า ?พวกผมนี้เป็นพวกบังบดขอรับอยู่กันที่ภูทอกใหญ่ หรือภูแจ่มจำรัสนั่นเอง?

พวกบังบดนี้ท่านพระอาจารย์จวนได้อธิบายว่า คือพวกภูมมเทวดาที่มีศีล ๕ ประจำ และพวกนี้ก็ได้อธิบายต่อไปว่า ชื่อเดิมของภูทอกใหญ่นี้คือ ภูแจ่มจำรัส ซึ่งแต่ก่อนมีฤาษีชีไพรมาบำเพ็ญพรตภาวนากันอยู่ที่ภูแจ่มจำรัสมากมาย

เมื่อใส่บาตรเสร็จเรียบร้อยพระอาจารย์จวนได้ถามว่า ?ทำไมจึงรู้ว่าอาตมามาบิณฑบาต? เขาก็พากันยิ้ม ๆ แล้วตอบว่า

รู้ครับ รู้ด้วยกลิ่น กลิ่นของพระผู้เป็นเจ้า

พระอาจารย์จวนก็ซักต่อไปว่า  ?กลิ่นนั้นเป็นอย่างไร? เขาก็ตอบว่า ?กลิ่นหอมขอรับ ถูกกลิ่นพระผู้เป็นเจ้าก็เลยพากันมาเปิดหน้าต่างมาใส่บาตรพระผู้เป็นเจ้ากัน เพราะว่าท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีควรแก่การบูชา พวกเราจึงได้พร้อมใจกันมาใส่บาตร?

พอเขาใส่บาตรเสร็จท่านก็กลับมา ขณะนั้นก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาได้พิจารณาดูนิมิตนั้นก็เห็นว่าแปลกดี เช้าวันนั้นอาหารที่บิณฑบาตได้ก็รู้สึกว่าจะมีรสเอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้มีคนอื่นมาใส่บาตรเลย มีแต่ชาวบ้านเท่านั้น และอาหารก็เป็นอาหารพื้นบ้านธรรมดา ๆ นั่นเอง

ในพรรษาแรกพระเณรที่ไปอยู่นั้นพากันเจ็บไข้กันมาก บางองค์ก็บอกว่าเทวดาประจำภูเขามาหลอกหลอนดึงขาปลุกให้ลุกขึ้นทำความเพียรบ้าง บางทีก็ไล่ให้หนีเพราะพากันมาแย่งวิมานของเขา พระอาจารย์จวนได้พยายามตักเตือนพระเณรให้มีศีลที่บริสุทธิ์ บำเพ็ญความเพียรแผ่เมตตาให้ทำความเพียร อย่าได้ประมาท

ภายหลังอยู่ต่อมาวันหนึ่ง พระอาจารย์จวนได้นิมิตว่ามีเทวดามาหาท่านแล้วบอกว่า ?ขอน้อมถวายภูเขาลูกนี้ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดรับไว้รักษาพวกข้าพเจ้าจะลงไปอยู่ข้างล่าง? และยังให้ท่านประกาศแก่มนุษย์ที่จะมาเที่ยวบนเขาลูกนี้ว่า

ขออย่าได้กล่าวคำหยาบ อย่าได้ส่งเสียงดังอึกทึก อย่าถ่มน้ำลายลงไปข้างล่าง อย่างขว้างปา หรือทิ้งเศษขยะเอาไว้บนเขาเลย

เมื่อพระอาจารย์จวนออกจากนิมิตนั้นแล้ว ก็ได้พิจารณาคำขอร้องของเทวดาก็เห็นว่าเป็นแยบคายดี น่าจะเป็นข้อที่บรรดาสาธุชน ทั้งหลายควรจะปฏิบัติอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดีในวันต่อมาได้มีชาวบ้านมาเล่าให้ฟังว่า พวกเขาก็ได้พากันฝันไปว่ามีคนมามอบภูเขาให้พระอาจารย์จวนรักษาไว้ และพวกเขาก็จะลงไปอยู่ข้างล่างแทนช่างน่าบังเอิญอะไรเช่นนั้น ที่ทุกคนต่างก็มาฝันตรงกัน

ท่านพระอาจารย์จวน ได้มาพำนักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูทอกนี้และได้ก่อสร้างจนกระทั่งภูทอกนี้เป็นสถานที่อันเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำความสงบให้เกิดขึ้นในจิตในใจ

ด้วยจิตกราบบูชา


ข้อมูลจากเวป http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-chuan-hist.htm


173


หลับปุ๋ยเลย นายตะกรุดเรา 55555+

174


กรุวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลก เป็นแหล่งกำเนิดพระพิมพ์อันทรงวิจิตรตระการตาเลิศล้ำด้วย พุทธศิลป์จากฝีมือช่างหลวง แห่งราชสำนักในวัง และเข้มขลังเอกอุจากพระเวทยาคมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) เมื่อกว่า 150 ปี ก่อน จากจำนวนกว่า 50 พิมพ์
มีอยู่พิมพ์หนึ่งซึ่งปรากฎพบจากกรุวัดท้ายตลาด เท่านั้นและมีจำนวนน้อยนับองค์ได้นั่นคือพิมพ์พุทธกวัก

ด้วยความที่เป็นที่เป็นพิมพ์แปลกมีพบจากที่นี้เท่านั้นทั้ง ที่กรุอื่นก็น่าจะมีบ้าง เพราะเป็นปางหนึ่งในพุทธประวัติ และจำนวนที่พบก็น้อยทำให้ นักสะสมรุ่นเก่าลองนำมาอารธนาบูชาติดตัว เป็นการทดสอบพุทธคุณว่าจะแปลกโดดเด่นหรือไม่ และแล้วก็จริงดังคลาดพระพุทธกวัก

กรุวัดท้ายตลาด มีพุทธคุณที่เลิศล้ำทางโชคลาภอย่างเด่นชัด บูชาติดตัวแล้วเหมือนมีแม่เหล็กดูดทรัพย์ เรียกเงินทอง ให้โชคให้ลาภและส่งผลเกื้อหนุนให้ทำมาค้าขึ้นมีความเจริญรุ่งเรือง พลิกตัวเองเป็นเศรษฐีในพริบตา เวลาพระพิมพ์นี้หลุดเข้าไปในตลาดพระให้ยลโฉม เซียนใหญ่ น้อย จึงแย่งกันซื้ออุตลุด ใช่ เพราะจ่ายแค่นิดหน่อยแต่เรียกทรัพย์ได้อื้อซ่า ใครเล่าจะไม่สน ?


ข้อมูลจากเวป http://www.banphra.com/reviews/reviews01_015.htm

สำหรับทุกท่าน ที่ชอบพระพิมพ์นี้ หากหาพระกรุไมได้ ผมก็แนะนำ ให้ใช้วัดอื่นแทนได้ ครับ
เช่น ของหลวงพ่อขันธ์ วัดพระศรีอารย์ จ. ราชบุรี  สุดยอดเหมือนกัน
     หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม
     และวัดอื่นๆ ครับ เด่นโชคลาภเหมือนกัน 

175
ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทำบุญ ปิดทองสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญ ถ่ายชีวิตโคกระบือ ณ วัดตุ๊กตา ต.บางกระเบา
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

วันที่ 24 ม.ค.-1ก.พ. 2552 นี้นะครับ วัดอยู่ตรงข้าม วัดกลางบางแก้ว

พระครูวิบูลสิริธรรม หลวงพ่อเพี้ยน เจ้าอาวาส วัดตุ๊กตา รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เป็นประธานจัดงาน

176



ท่านพระครูสุนันทวิริยาภรณ์ หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ จ.สมุทรสงคราม   

หลวงพ่อเก๋ สุนันโท ท่านเป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิด เกิดที่บ้านสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โยมบิดาชื่อ จู๋ โยมมารดาชื่อ แป้น นามสกุล ตรีเพชรคง มีพี่น้อง  ๖ คน

หลวงพ่อเก๋ท่านเป็นคนที่ ๓ อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ วัดวชิรคาม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีพระครูธรรมวิถีสถิต (หลวงพ่อโต) วัดคู้ธรรมสถิต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุตาภิรัต (หลวงพ่อรอด) วัดบางขันแตก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อทองอยู่ วัดแม่น้ำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์...

 

หลังจากหลวงพ่อเก๋ สอบนักธรรมตรีได้และมีความสามารถในเชิงช่างไม้ หลวงพ่อทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดแม่น้ำจึงขอตัวท่านให้มาช่วยงานที่วัดแม่น้ำ

สมัยนั้นหลวงพ่อทองอยู่ท่านมีชื่อเสียงในด้านวิชาอาคมและแพทย์แผนโบราณ เก่งสมุนไพร ว่านยา ทำให้หลวงพ่อเก๋ได้ศึกษาวิชาการต่างๆเหล่านี้จากหลวงพ่อทองอยู่ไว้จนหมดสิ้น

ต่อมาหลวงพ่อทองอยู่จึงได้นำท่านไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์?หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิต? และ ?หลวงพ่อรอด วัดบางขันแตก? ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิชาอาคมขลัง



นอกจากนี้ท่านยังได้ฝากตัวเข้าเป็นศิษย์ของ?หลวงพ่อคง ธมมโชติ วัดบางกะพ้อม...? สมัยนั้นวัดบางกะพ้อม ถือว่าเป็นสำนักเรียนวิชาอาคมที่มีชื่อเสียง

บางท่านถึงกับกล่าวกันว่า วัดบางกะพ้อมแห่งนี้นัยว่าเป็นสำนักวัดประดู่ทรงธรรมของอยุธยาเลยทีเดียว ศิษย์พี่ที่มีชื่อเสียงร่วมสถาบันวัดบางกะพ้อมแห่งนี้คือ ?หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท? หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า ?คุณพ่อเนื่อง? แห่งวัดจุฬามณีครับ



?หลวงพ่อเนื่องท่านมีลูกศิษย์เยอะ คนส่วนมากมักจะไปหาท่านเพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องเงินๆ ทองๆ

ยิ่งวันหวยออกคนแน่นวัดจุฬามณี เขาว่าท่านให้หวยแม่น ก็ว่ากันไป แต่ว่าห้ามท้านะเสร็จท่านทุกราย แม่นจริงๆ?

พวกผมเคยหยอกล้อหลวงพ่อเก๋ว่า เคยได้ยินคนเขาเล่าลือมาเหมือนกันว่า ท่านเก๋ วัดแม่น้ำก็แม่นไม่เบา เห็นท่านอมยิ้มพลางพูดเบาๆ ด้วยสำเนียงเหน่อๆ...



?อยากฉิบหายให้เล่นหวย....?

?คนเราที่วุ่นวายทุกวันนี้ เพราะมีความโลภเป็นนิสัย ตัดความโลภไปได้ ชีวิตก็จะสบาย บางคนเห็นคนอื่นมี ก็อยากมีอย่างเขา..

พวกเอ็งลองมองดูตัวเองซิ ถ้าทำอะไรได้ไม่เหมือนเขาก็อย่าไปทำเลย มันจะทำให้พวกเอ็งและครอบครัวเดือดร้อนเปล่าๆ...?

ว่ากันว่าถ้า ?ความสามารถ? เป็นตัวปั่นกำไร  ?การรู้จักใช้? เป็นตัวปั่นความเชื่อ เมื่อสองอย่างนี้มารวมตัวกันเมื่อไหร่ ก็จะเกิดเป็นพลังงานมหาศาล ยากที่จะเปลี่ยนแปลง...



?จงอย่าไปทำตามอย่างคนอื่น จงทำและจงใช้ ตามความสามารถของตนเอง และจงเป็นผู้ที่รู้จักรักษาสมบัติของตนเองที่มีที่หาได้ นั่นแหละพวกเอ็งก็จะไม่เดือดร้อน...?

หลายสิบปีของการเรียนรู้วิชาอาคมและฝึกปฏิบัติ การออกเดินธุดงค์เป็น ?โอกาส? สำคัญ..

เป็น"มหาวิทยาลัยชีวิต"ที่สอนหลักสูตรภาคเร่งรัดให้พระภิกษุสงฆ์ได้สั่งสมประสบการณ์



?สมัยก่อนเดินธุดงค์ลำบากมาก ถนนหนทางก็ไม่ดี บ้านเรือนก็น้อย บางวันได้ฉันอาหารนิดเดียว บางวันก็ไม่ได้ฉัน บางทีเดินทั้งวันไม่เห็นบ้านคนสักหลัง..

แต่การเดินธุดงค์มันดีเพราะมันเป็นการชำระจิตใจให้ห่างไกลจากกิเลส..

ข้าไปมาหมดแล้วภาคเหนือ ภาคอีสาน เฉพาะแถวภาคกลางนี่เดินหลายปีเลย ไปพระพุทธบาท อยุธยา ถ้าใต้สุดก็ประจวบ....?

หลวงพ่อเก๋ ท่านได้ออกเดินธุดงค์แสวงหาสัจธรรมและความรู้ด้านต่างๆอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ท่านได้หลายสิ่งหลายอย่างติดตัวเป็น ?ต้นทุน? สำหรับวันข้างหน้าที่ตัวท่านเองมุ่งมั่นลึกๆเสมอมาว่า วันหนึ่งจะต้องถึงเวลากลับไป ?ทดแทน? พระพุทธศาสนาและครูบาอาจารย์..

ท่านหยุดเดินธุดงค์ ด้วยว่าหลวงพ่อทองอยู่ ได้ขอร้องให้ท่านหยุดเดินและช่วยดูแลวัด เนื่องจากหลวงพ่อทองอยู่ท่านชราภาพมากแล้วและต้องการให้ท่านสอนนักธรรมแก่พระเณร...

 

?เป็นพระสงฆ์ต้องมีธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดขาดซึ่งสิ่งเหล่านี้แล้ว จะเป็นผู้ที่หาความเป็นพระไม่ได้

จะว่าไปสมัยนี้พระที่ไร้ศีล ไร้สมาธิ และใช้ปัญญาในทางที่ผิดยังมีอีกมากจริงๆ...?

คำสอนของหลวงพ่อเก๋ ผมว่าไม่ใช่เฉพาะพระเท่านั้นที่ควรปฏิบัติ มนุษย์อย่างเราๆท่านๆ ก็สามารถนำคำสอนของท่านมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นกัน...

สำหรับผมแล้วเชื่อว่าเมื่อคนเรามีศีล ทำให้เรามีสมาธิ พอเรามีสมาธิ สติปัญญาจะตามมาเอง เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีปัญญาแล้ว เราย่อมจะทำอะไรต่ออะไร หรือเราจะตัดสินใจทำอะไรได้อย่างมีเหตุผล...

ครูบาอาจารย์หลายองค์ที่พวกผมเคยกราบนมัสการ มักสอนพวกเราอยู่เสมอว่า เมื่อ?นั่งสมาธิ?แล้วอย่าลืมเอา?สติ?ตามไปด้วย

หรือบางองค์ก็ว่า ?สมาธิเป็นบ่อเกิดของดวงตาธรรม...?

เพื่อนผมในกลุ่มถามท่านว่าเวลานั่งสมาธิหลวงพ่อเห็นอะไร..



?เวลาที่ข้านั่งสมาธิ ข้าเห็นธรรม คนอื่นจะนั่งแล้วเห็นอะไรข้าไม่รู้ แต่ว่าข้าเห็นธรรม คนเราถ้าขาดธรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความเป็นธรรมแน่นอน..?

ว่ากันว่าท่ามกลางความมี?ชื่อเสียง?ของมนุษย์ มนุษย์มักเลือกที่จะนำเอาชื่อเสียงเข้าแลกกับ?ความสบาย? แต่นั่นย่อมไม่ใช่มนุษย์ที่ชื่อว่าหลวงพ่อเก๋

เนื่องเพราะไม่ว่าชื่อเสียงหรือฐานันดรทางพระจะเสกสรรปั้นแต่งให้ท่านเป็นอย่างไร หลวงพ่อเก๋ท่านก็ไม่เคยมีความคิดที่จะบัญญัติคำว่า ?ความสบาย? ลงใน"ประมวลกฎหมายของชีวิต.."



?คนเราจะเอาอะไรกันมาก พระพุทธเจ้าท่านมีแค่บาตรกับผ้าไม่กี่ชิ้น ท่านยังประกาศคำสอนได้ทั่วโลก....?

ฟังแล้วได้ใจครับ..หากว่าเรามองพุทธเจ้าของเราเป็นเช่นคนธรรมดา พระองค์ก็เป็นคนธรรมดาที่มี?ชื่อเสียง?มาก ชื่อเสียงของพระองค์เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของคนบนโลก..

แต่พระองค์ท่านก็ยังอยู่ห่างไกลจากคำว่า ?ความสบาย? หลายต่อหลายเท่านัก การที่พระองค์ทรงดำเนินออกสั่งสอนผู้คน พระองค์ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอะไรเลย นอกจาก?บาตรใบเดียว...?

ธรรมะก็ว่าไปแล้ว คราวนี้มาเข้าเรื่องของคาถาบ้าง....



สายน้ำแม่กลองเป็นสายน้ำที่ไหลมาจากจังหวัดกาญจนบุรี ผ่านทอดยาวเข้าสู่จังหวัดสมุทรสงคราม สองฝั่งของลำน้ำแม่กลอง"อุดมสมบูรณ์"ไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายองค์

เช่นหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ฯลฯ

ซึ่งหลวงพ่อ หลวงปู่เหล่านี้ในอดีตที่ผ่านมา ทุกท่านล้วนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป และก็เป็นโชคดีของพวกเราครับ ไม่ทันเกจิรุ่นปู่แต่มีโอกาสได้สัมผัสเกจิรุ่นหลาน...



?สมัยก่อนอยากได้วิชา ก็เลยไปฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับครูบาอาจารย์ในละแวกนี้ เดินไปบ้าง ติดเรือเขาไปบ้าง..?

?โชคดีที่มีอาจารย์หลายองค์ แต่ละองค์ก็เป็นหนึ่งในแต่ละด้าน มีดีกันคนละอย่าง บางองค์เก่งหมอยา บางองค์เก่งตะกรุด..?

บรรดาครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาให้หลวงพ่อเก๋ ไม่มีองค์ไหนเลยที่จะสอนให้หลวงพ่อมีความละโมบโลภมาก เห็นแก่ตัว ไม่รู้จักพอ..

ดูเหมือน?เคล็ดลับ?ความสำคัญที่สุดที่หลวงพ่อเก๋ท่านได้รับการปลูกฝัง มิใช่จำนวนปริมาณหรือคุณภาพของวิชาที่เรียน หากแต่เป็น...?คุณธรรมที่อยู่ในหัวใจ...?



?ข้าเรียนทั้งวิชากระทำและวิชาแก้ ครูบาอาจารย์สอนว่าวิชาที่เรียนไม่ได้มีไว้ให้ทำร้ายคน สอนไว้ให้ช่วยสงเคราะห์คน..?

มีเรื่องจริงที่เล่าขานกันทั่วลำน้ำแม่กลองว่า เด็กหนุ่มคนหนึ่งเป็นเด็กชอบเที่ยว ชอบทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ พ่อแม่ว่าก็ไม่เชื่อ เรียนหนังสือก็เพื่อกันตำรวจจับโดยเอาโรงเรียนอาชีวะที่ตนเองเรียนบังหน้า

พอตำรวจจับก็บอกว่าตนเองเป็นนักเรียน ตำรวจก็ไม่อยากทำ เพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไป เจ้าเด็กคนนี้ชอบยกพวกไปเที่ยวไล่ตีกับคนอื่น..



จนในงานวัดแห่งหนึ่ง ระหว่างที่เด็กหนุ่มคนนี้แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน คู่อริเห็นเข้าเลยพาพรรคพวกไล่ฟันเด็กหนุ่มคนนี้ด้วยมีดสะปาต้า ว่ากันว่าฟันแบบไม่เลี้ยง เล่นเอาเสื้อผ้าขาดกระจุย กว่าตำรวจจะมาถึง เจ้าเด็กคนนี้ก็น่วมไปทั้งมีดและไม้ แต่น่าอัศจรรย์คือเมื่อตำรวจให้พ่อแม่ของเด็กนำส่งโรงพยาบาล



หมอที่รักษาหาแผลไม่เจอสักแผล พบแต่รอยฟกช้ำเท่านั้น ส่วนเสื้อผ้าขาดยับเยินไม่มีชิ้นดี ตำรวจสงสัยเลยขอดูว่ามีของดีอะไรในตัว ก็เลยพบว่าเด็กหนุ่มคนนี้มีเพียงสายเชือกร่มที่ห้อยคอพร้อมเหรียญหลวงพ่อเก๋เท่านั้น ที่ทำให้เขารอดตาย เหรียญรุ่นนี้ก็เลยเรียกกันติดปากว่า ?เหรียญจิ๊กโก๋?

 

หลวงพ่อเก๋ สร้างวัตถุมงคลครั้งแรกในลักษณะของเหรียญสามแบบ เมื่อพ.ศ.๒๔๙๐  คือ เหรียญหลวงพ่อวิหาร และเหรียญรูปเหมือนท่าน ทรงเรือบดไว้สำหรับแจกผู้หญิง

และที่มีประสบการณ์ตามเรื่องจะเป็นทรงรูปไข่ จะขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย ไว้แจกผู้ชาย ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ?เหรียญจิ๊กโก๋..?



สำหรับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีวัตถุมงคลชุดนี้ติดตัว มีมากมายเหลือเกิน เช่นแคล้วคลาด คงพระพัน เมตตาและปัองกันผี ซึ่งน่าจะเกิดจากงานปลุกเสกเหรียญชุดนี้มีครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อเก๋มาร่วมปลุกเสกหลายองค์

เท่าที่หลวงพ่อเคยบอกพวกผมก็จะมี หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิต หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ฯลฯ องค์ไหนที่อยู่ใกล้ๆ ท่านจะใช้วิธีเดินทางไปนิมนต์ด้วยตนเอง องค์ไหนที่อยู่ไกลๆ ใช้นั่งเรือขนทรายไปนิมนต์...



ปัจจุบันนี้เหรียญหลวงพ่อวิหารและเหรียญรูปท่าน ทรงเรือบด ยังพอหาได้ในแวดวงพระเครื่อง แต่ทรงจิ๊กโก๋ นานๆ จะมีโผล่มาให้ผู้ที่สนใจน้ำลายไหลเล่นๆ ด้วยความอยากได้...

แต่เห็นหลวงพ่อเก๋ เสกพระได้เหนียวๆอย่างนี้เถอะ ใครอย่าได้แหยมไปถามท่านเป็นอันขาดว่าอยากหนังเหนียว เพราะเพื่อนผมบางคนเคยโดนท่านตำหนิว่า..



?ข้าเป็นพระศีล ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่พระนักเลง...?

ไม่ใช่ก็ไม่ใช่ครับ ท่านก็พูดของท่านอย่างถูกต้องว่าตัวท่านเป็น?พระศีล ปฏิบัติธรรม? แต่หากย้อนหลังตรวจสอบประสบการณ์ที่เกิดจากผู้ที่มีเหรียญของท่าน บางคนเคยโดนยิงหงายท้องตกลงกลางคูสวน

แต่เขาผู้นั้นไม่ได้รับอันตรายแม้แต่น้อย ปรากฏการณ์อย่างนี้ไม่เรียกว่า ?เหนียว? ก็คงเรียกใหม่ว่า ?สุดเหนียว..?แหละครับ

แถมท่านยังบอกกับพวกเราด้วยว่าพระของท่านต่อให้สร้างมาดี เสกอย่างดี จึงใช้คุ้มครองเฉพาะคนดี ถึงกระนั้นก็ดี ต่อให้เป็นคนดีก็ยังต้องตาย..ท่านว่า



?มันเป็นเรื่องของเวรกรรม..

ใครสร้างกรรมใดไว้ก็ต้องรับกรรม หากกรรมนั้นยังมีบุญคุ้มอยู่ ก็ยังสามารถป้องกันได้เมื่อยังมีบุญวาสนา

หากเมื่อหมดบุญวาสนาเมื่อไร..เมื่อนั้นแหละกรรมจะส่งผลให้ได้รับความทุกข์อย่างสาหัส...?

พักเรื่องเหนียวซึ่งเป็นเรื่องของความรุนแรง มาว่ากันในเรื่องเมตตามหานิยม ใครเห็นใครรัก ใครทักใครชอบกันบ้าง

ของเมตตาที่ขึ้นชื่อว่าแน่สุดๆของหลวงพ่อเก๋ ก็คือ ?ดอกบานไม่รู้โรยเสก..? ซึ่งลูกศิษย์ตลอดจนญาติโยมละแวกวัดรู้ดีว่า นั่นแหละเป็น?ของเมตตาชั้นเยี่ยม..?

สอบถามพระที่นั่งข้างๆหลวงพ่อได้ความว่า...



?สมัยก่อนหลวงพ่อยังไม่ได้สร้างวัตถุมงคล ลูกศิษย์ต่างอยากได้ของที่หลวงพ่อเสก หลวงพ่อเก๋ จึงได้ให้พวกเขาเหล่านั้นไปเก็บดอกบานไม่รู้โรยมาให้ท่าน เพราะท่านจะเสกให้เป็นของเมตตา..

ท่านว่า...ดอกบานไม่รู้โรยเป็นของดี นามของดอกไม้นี้ก็บอกแล้วว่า ?บานไม่รู้โรย? ฉะนั้นความมั่งมีมันจะไม่โรยรา....?

ครั้งหนึ่งผมเคยถาม?หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา? ว่า ตอนนี้มีพระเกจิอาจารย์องค์ไหนที่เก่งๆบ้าง หลวงปู่บอกผมว่า..

?หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ..?

ท่านว่า หลวงพ่อเก๋เวลาเสกตะกรุด เมื่อเสกเสร็จแล้วลืมตามาดู ตะกรุดที่อยู่ในพานมักจะหายไปเสียทุกที..ค้นหาขนาดพลิกแผ่นดินวัดแม่น้ำแล้วก็ยังไม่พบ แต่อนิจจา....



ตะกรุดที่ท่านเสกมันไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ มันลอยไปอยู่บนต้นมะพร้าว ต้นตาล ที่มีอยู่ในสวนข้างๆวัด และผู้ที่พบก็ไม่ใช่ผู้วิเศษที่ไหนทั้งนั้น กลับเป็นคนงานชาวสวนที่ต้องปีนขึ้นไปบนยอดต้นมะพร้าวเพื่อหักปลิดขั้วมะพร้าวให้ตกลงมาจากต้น..

เจอครั้งที่หนึ่งไม่แปลก แต่เจอครั้งที่ขึ้นหลักสิบ จึงรีบมารายงานกับเจ้าของสวนซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ  ทำให้ทราบว่าตะกรุดอันนั้นเป็นตะกรุดของวัดแม่น้ำ ที่หลวงพ่อเก๋ ท่านเสกในตอนกลางคืนและได้หายไปนั่นเอง...

หลวงปู่เมี้ยน บอกผมว่า นั่นแหละเขาเรียกว่า ?สำเร็จกสิณลม..?

ครูบาอาจารย์ผู้ทรงภูมิทางด้านนี้ยังกล่าวรับรอง แล้วกับคนภูมิแพ้เรื่องของขลังอย่างเราจะรีรอได้ยังไงเล่าครับ...ย้อนกลับมาพ่นเรื่องของ ?กสิณ? กันหน่อย...



คำว่า ?กสิณ? สำหรับตัวผมแล้วนับว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมโหฬาร เนื่องจากตัวเองไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก เท่าที่สมองน้อยๆ ระดับเด็กอนุบาลพอทราบก็คือว่า...

กสิณ คือ เรื่องของการ?เพ่งมอง?เพื่อทำให้จิตเป็นสมาธิ จัดว่าเป็นกรรมฐานชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการนำจิตให้เข้าไปยึดติด มีส่วนช่วยส่งผลทำให้จิตเป็นสมาธิไว มีอานุภาพมาก

ดังนั้นการฝึกกสิณจึงเป็นการฝึกสมาธิวิธีหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวิธีฝึกจิตแบบหนึ่งเรียกว่า "เจริญสมถกรรมฐาน"



ส่วนเรื่องของกสิณจะมีกี่อย่างอันนี้ด้อยปัญญาจริงๆครับ แต่เท่าที่รู้จะต้องมี ?ปฐวีกสิณ? กสิณดิน คือ การเพ่งดิน ?อาโปกสิณ? กสิณน้ำ คือ การเพ่งน้ำ ?เตโชกสิณ? กสิณไฟ คือ การเพ่งไฟ และ?วาโยกสิณ? กสิณลม คือ การเพ่งลม ทำนองนี้แหละครับ

กล่าวกันว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เราเรียกว่า ?ธาตุทั้งสี่? เป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิตคนในโลกของความเป็นจริงที่มีคุณค่าและไม่น้อยหน้า ดิน น้ำ ลม ไฟ ตาม"นัยของกสิณ..."

จะให้ไม่สำคัญยังไงเล่าครับ ก็ในเมื่อหลวงพ่อทองอยู่ พระหมอโบราณเคยสอนหลวงพ่อเก๋ไว้ว่า..

?ความผิดปกติของชีวิตกับเลือดลม? มีสาเหตุมาจากธาตุทั้งสี่ ซึ่งถือว่าเป็น?ปัจจัยภายในตัวของเราเอง.....?



?ชีวิตคนเราประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ปัถวี อาโป วาโย เตโช ดิน น้ำ ลม ไฟ ปัถวีคือดินอยู่ที่เท้า อาโป คือน้ำลาย น้ำเหลือง วาโยคือลมหายใจ

เตโช คือไฟธาตุที่ให้ความอบอุ่นในกายเราอยู่ทุกวัน ดังนั้นคนเราจึงตายเมื่อไฟธาตุแตก เพราะร่างกายเสียสมดุล....?



?ธาตุทั้งสี่ในร่างกายคนเราเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา ตอนเช้าอาจจะยังดีอยู่ ตอนเที่ยงเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที

โบราณจึงกล่าวกันว่า ความไข้ที่จะเกิดแก่ร่างกาย มันไม่เลือกวันเวลา เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ทั้งนั้น...?

ตำรายาโบราณบันทึกไว้ว่า..

?เมษายน คนมักเป็นไข้รากสาด เดือนสิบสอง ลมว่าวพัดลงมา ท่านเรียกว่าไข้หัวลมหรือไข้หวัด พอช่วงหน้าฝนคนมักเจอมาลาเรีย และช่วงที่คนเราไม่สบายกันมากก็คือช่วงที่ฤดูกาลมาเจือจุนกัน นั่นคือการที่ความร้อนและเย็นมากระทบกัน...?



?ฤดูกาลเปลี่ยนก็ส่งผลกระทบต่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายคนเราว่าจะสามารถคงความสมดุลอยู่ได้หรือไม่ ทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กันไปหมด...ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยภายนอก..?

ว่ากันว่า?การค้นพบตัวตน สำคัญคือต้องผ่านการแสวงหาด้วยตนเอง...?

เช่นเดียวกันครับ หลวงพ่อเก๋ ท่านเรียนวิชาการต่างๆ มามาก ทั้งช่างไม้ หมอยา คาถา ฯลฯ เป็นที่รู้กันในกลุ่มของผู้ที่มีคตินิยมในแนวทางนี้ว่า การทำของให้ขลัง ให้เกิดความเสถียร นอกจากวิชาการต้องเข้มแข็งแล้วยังคงต้องพึงพา ?ความจริง? ที่มีชื่อว่า ?เคล็ดลับ...?



?ทุกสิ่งในโลกนี้สำเร็จด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คาถาทั้งหลายทั้งหมดจะต้องใส่ด้วยธาตุทั้งสี่ จึงจะได้ผล..?

หลวงพ่อเก๋ สุนันโท หรือท่านพระครูสุนันทวิริยาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดแม่น้ำ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มี?วิชาอาคมเก่งกล้า? พอๆกับ ?ความเมตตาที่กล้าแข็ง?

ปัจจุบันท่านได้มรณภาพไปนานแล้วครับ ศพของท่านถูกบรรจุอยุ่ในโลง ตั้งอยู่บนกุฎิเพื่อให้ลูกศิษย์และญาติโยมที่เคารพในตัวท่านได้กราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเอง..



บันทึกน้อยของผมตอนนี้เขียนระลึกถึงบุญคุณและคุณงามความดีของท่าน ที่ได้สั่งสอนอบรมธรรมะแก่ชาวบ้าน พัฒนาวัดแม่น้ำให้มีความเจริญรุ่งเรือง..และแรงบันดาลใจอีกประการหนึ่งคือท่านเป็นพระสหธรรมมิกองค์สำคัญของ?ครูบาอาจารย์? ของผมอีกหลายองค์ ซึ่งคำว่า

?คนคอเดียวกัน ย่อมรู้ใจกัน..?

เป็นนิยามที่ดีที่ใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์อันนั้น...ขออนุญาตปิดบันทึกน้อยตอนนี้ด้วยคำสอนของหลวงพ่อเก๋ สุนันโท ครับ



?คนเราเกิดมามิได้พบพระพุทธเจ้าเลย...

แต่ว่าถ้าได้ดำเนินชีวิตของตนเองให้ตรงทางจริยมรรคแปดประการ ถูกต้องตามแบบแผนในการปฏิบัติโดยไม่ทอดทิ้ง และทำอย่างจริงๆ ก็สามารถสำเร็จมรรคผล เป็นอริยบุคคลได้...?  สวัสดีครับ



ขอขอบคุณ คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย สำหรับข้อมูล คุณณัฐวุฒิ เลิศวนานนท์ กับรูปภาพประกอบเรื่อง เพื่อนต่อ สำหรับคำแนะนำที่มีคุณค่า และไม่อาจลืมคุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรี สำหรับกำลังใจที่มีให้อย่างสม่ำเสมอ..

 

177
ขอให้พี่สิบทัศชนะ ผ่านฉลุย ครับ .... สาธุ

179
รบกวนทุกท่านด้วยนะครับ ....เหรียญแรกมาจาก กาญจบุรี 
หลวงพ่อบ้อง รุ่นแรก ครับ



181



เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช

อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด

พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่

พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

มรณภาพ
ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ

ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี

ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร

ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ

นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป http://www.dhammathai.org/monk/sangha47.php

182




ไกลออกไปจากเมืองหลวงเมื่อหลายสิบปีมาแล้วบริเวณทุ่งแถบนั้นเต็มไปด้วยต้นข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่าม ข้าวแต่ละรวงเบ่งบานและอวบโต จนลำต้นไม่อาจทานน้ำหนักของเมล็ดข้าวได้ ต้องโน้มทอดลงสู่พื้นดิน บริเวณนั้นมีชื่อเรียกว่า ?บ้านไผ่เดาะ? อยู่ในตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนี้เองนับแล้วก็คืออู่ข้าวอู่น้ำของเมืองไทยก็คงไม่ผิด
บ้านไผ่เดาะ เป็นชุมนุมชนที่หนาแน่นพอสมควร อาชีพหลักของผู้คนที่นั่นคือการทำนา อันเป็นอาชีพดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้มอบให้ไว้ เนื่องจากเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ผลมากมาย ความสงบสุขจึงปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป
ณ. ที่นี่แหละ คือถิ่นกำเนิดของเด็กคนหนึ่งที่มีชื่อว่า ? เป้า ? เด็กชายเป้าผู้นี้ เมื่อเติบใหญ่ได้กลายเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แต่ก่อนจะถึงเวลานั้นขอให้เราย้อนกลับไปสู่ครั้งปฐมวัยของเด็กน้อยผู้นี้กันก่อนเถอะ
เด็กชายเป้าเป็นบุตรของชาวนาโดยตรงผู้หนึ่ง บิดาชื่อว่า ?นายช้าง? มารดาชื่อว่า ?นางเปรม? มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๘ คน เป้าเป็นบุตรคนที่ ๕ เมื่อเป้าเกิด ทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็รู้ว่าเป้าไม่ใช่คนแข็งแรงอะไรนัก เพราะเป้าเป็นเด็กผอม พุงป่อง และเจ็บออดๆ แอดๆ เสมอ แต่ว่าอาการนั้นก็ไม่หนักหนาอะไร คงเลี้ยงดูกันได้เรื่อยมา ชีวิตในวัยเด็กนั้นเป้าก็เหมือนกับเด็กอื่นๆทั่วไป คือชอบเล่นฝุ่นสนุกซุกซนตะลอนๆ ไปตามชายทุ่ง และดำผุดดำว่ายอยู่ในคลองบึงที่ไม่ห่างจากบ้านนัก ทั้งๆ ที่เป็นเด็กซึ่งพ่อแม่ออกจะเป็นห่วงอยู่ เพราะเกรงว่าโรคภัยจะแทรกแซง เนื่องจากความอ่อนแอ แต่เป้าก็คงซุกซนและเจริญวัยเรื่อยมา พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป้าก็เริ่มมีภาระเล็กๆ น้อยๆ คือติดตามผู้ใหญ่ออกไปทำนา ตามแรงความสามารถเท่าที่จะทำได้ ซึ่งถือว่าเป็นการสอนวิชาชีพที่จะกลายเป็นสมบัติติดตัวไปข้างหน้าวิธีหนึ่ง
 
  หลวงพ่อขอม ( อนิโชภิกขุ )
 
แต่กับพ่อกับแม่ของเป้าแล้วคิดไปไกลกว่านั้นอีก คือชีวิตของชาวนาจะมีอะไรมากไปกว่า ตื่นเช้าออกสู่เส้นทุ่งกว้าง เย็นลงก็กลับบ้าน วิชาความรู้อย่างอื่นนั้นคงไม่มี ในเมื่อหาเวลาที่จะร่ำเรียนมิได้ ความคิดที่วูบขึ้นมาเช่นนั้น ในขณะนั้น ทำให้พ่อแม่ของเป้าตัดสินใจส่งลูกชายน้อยๆ ไปขอรับวิชาความรู้ จากแหล่งรวมของสรรพวิชาทั้งหลาย นั่นก็คือวัด วัดแรกที่เป้าได้ร่ำเรียนคือวัดใกล้ๆ บ้านนั่นเอง เป้าได้รับรู้ธรรมเนียมใหม่ กล่าวคือเป้าต้องรับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ด้วย หลังจากเลิกเรียนแล้ว ซึ่งก็หาได้ทำให้เด็กน้อยเบื่อหน่ายไม่ การรับใช้อาจารย์ก็เหมือนรับใช้พ่อแม่ ดังนั้นเป้าจึงมิได้รังเกียจ ตรงกันข้ามกลับมีความกระตือรือร้น เมื่ออาจารย์เรียกหา
ความรู้ในด้านอ่านออกเขียนภาษาไทยของเด็กชายเป้าก็ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และด้วยความกระตือรือร้นของเด็กผู้นี้ ทำให้อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาบังเกิดความเมตตา สอนเด็กชายเป้าให้รู้จักอ่านเขียนภาษาขอมต่อไป
ว่ากันว่าใครก็ตามในสมัยนั้นยุคนั้น ถ้าเรียนภาษาขอมก็ถือว่าเป็นการเรียนในชั้นสูง แต่เรียนไปได้ไม่นาน เป็นก็จำต้องย้ายวัดเพื่อการศึกษาต่อไป ตามธรรมเนียมของนักเรียนใหม่ พระอาจารย์ย่อมจะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้เป้าจึงต้องย้อนเรียนภาษาไทยอีกครั้งเป็นการทบทวน ดูเหมือนว่าความรู้ในภาษาไทยที่เป้ามีอยู่แล้ว จะเป็นที่รับรองของพระอาจารย์ เป้าจึงได้ก้าวต่อไปสู่ชั้นสูงคือเรียนภาษาขอมอีกครั้ง
และในครั้งนี้เด็กน้อยผู้นี้ได้แสดงความสามารถให้ประจักษ์อีกครั้งหนึ่งเพราะชั่วเวลาไม่นาน เป้าก็อ่านเขียนหนังสือขอมเลยหน้าเด็กๆ รุ่นเดียวกันจนเป็นที่เลื่องลือยกย่อง อาจารย์เองก็ถึงกับออกปากชมไม่ขาดปากเลย เพื่อนๆ ของเป้าถึงกับออกปากอย่างล้อเลียนว่า เป้าน่ากลัวไม่ใช่คนไทย แต่เป็นขอม จึงอ่านเขียนหนังสือขอมได้คล่องแคล่วนัก และแล้วฉายาว่า ?ขอม? ก็ปรากฎขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่เมื่อเรียกกันไปนานๆ ชื่อเป้าก็ชักเลือนหายไปทุกทีๆ เพื่อนฝูงและผู้รู้จักมักคุ้น ตลอดจนคนที่สูงอายุกว่า ต่างยอมรับเอาฉายาขอมเข้าไว้อย่างสะดวกปาก คำหนึ่งก็ขอมสองคำก็ขอมที่สุด ชื่อเป้าอันเป็นชื่อเดิมของเด็กน้อยผู้นี้ ก็สูญหายไปจากปากอย่างเด็ดขาด กลายเป็นเด็กชายขอมขึ้นมาแทนที่
กล่าวถึงการศึกษาที่วัด อันเสมือนโรงเรียนสำหรับยุคนั้นเปรียบได้กับการศึกษาของนักเรียนประจำในยุคนี้ กล่าวคือต้องพำนักอยู่ที่วัดตลอดไป โดยมีอาจารย์ที่เป็นทั้งครูและผู้ปกครองไปพร้อมๆกัน แต่นั่นก็หาใช่ว่านักเรียนของวัดจะไม่มีโอกาสได้กลับบ้าน ที่จริงเมื่อถึงเวลาอันสมควร นักเรียนวัดก็กลับบ้านกันทั้งนั้น เป้า หรือบัดนี้มีชื่อใหม่ตามความนิยมว่า ? ขอม? ก็กลับบ้านเหมือนกัน เมื่อถึงบ้านความซุกซนแบบเดิมๆ ที่เป้าเคยเล่นซุกซนก็หายไป เป้าหรือขอมกลายเป็นเด็กที่มีระเบียบ รู้จักการปรนนิบัติรับใช้ผู้สูงอายุกว่า การพูดจาก็ฉาดฉาน จะอ่านจะเขียนก็คล่องแคล่ว สร้างความชื่นใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นายช้างและนางเปรมลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ตนนั้นได้แก้วไว้ในมือแล้ว สมควรที่จะได้รับการเจียรไนต่อไป ดังนั้นหลังจากที่ศึกษาอยู่ ณ วัดบางสามได้ระยะหนึ่ง ขอมก็ถูกส่งตัวเข้ากรุง ซึ่งเป็นการเผชิญชีวิตครั้งใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่เคยจากบ้านไปไหนไกลเกินกว่าวัดบางสาม แต่การไปครั้งนี้หมายถึงอนาคตที่จะชี้บอกว่า ต่อไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ดังคำเปรียบเทียบที่ผู้ใหญ่ชอบพูดกันหรือไม่ แทนที่จะเป็นเพียงชาวไร่ชาวนาดังบรรพบุรุษของตน และแน่ล่ะกรุงเทพฯ ช่างเป็นคำที่หวานหูเสียนี่กระไร สวรรค์สำหรับทุกคน ใครได้ไปแล้วมักไม่ยอมกลับกัน
ขอมถูกพ่อแม่พามาฝากไว้วัดสระเกศ เนื่องจากมีภิกษุที่รู้จักคุ้นเคยกับทางบ้านจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดสระเกศก็เลยได้เป็นบ้านที่สองของเด็กขอม พร้อมๆ กับการเข้าโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่วัดนั้นด้วย บัดนี้แทนที่จะเรียนแบบแผนเก่า แต่ขอมได้เรียนหลักสูตรการศึกษาแบบใหม่ ที่หลวงท่านกำหนดให้อนุชนได้เล่าเรียน ชีวิตอันเป็นประจำวันของขอม ในกรุงเทพฯ ก็เริ่มต้นด้วยการตื่นแต่เช้าตรู่ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องแต่พออิ่ม แล้วก็มุ่งหน้าไปยังโรงเรียน คร่ำเคร่งอยู่กับการเรียนไปจนบ่ายคล้อยจึงกลับวัด คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ที่ขอมอาศัยอยู่ด้วย และได้อาศัยข้าวก้นบาตรของพระอาจารย์นั้นเอง เป็นอาหารยังชีพเรื่อยมา
เวลาผ่านไป จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และจากเดือนเป็นปี ขอมคงปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลายกับการศึกษา ขณะที่การรับใช้พระอาจารย์ก็รักษาไว้ มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอยู่เช่นนี้ล่วงได้ 3 ปี ขอมจบการศึกษาในชั้นประถมปีที่ 3 ก็เดินทางกลับคืนสู่อ้อมอกของพ่อแม่อีกครั้งหนึ่ง
ขอมกลับบ้านอย่างคนที่ไปชุบตัวในเมืองหลวงมาแล้วเมื่อย่างก้าวไปทางใด ก็มีแต่คนนิยมชมชอบ จะพูดจาก็มีคนนับถือ และแม้ว่าชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งหมายถึงวัยแห่งความกระตือรือร้น และการเที่ยวเตร่สนุกสนานเฮฮากับเพื่อนฝูงและสาวพื้นบ้านเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่หนุ่มน้อยขอมก็ไม่ยอมปล่อยใจให้ล่องลอยไปเกินกว่าขอบเขต สิ่งที่ขอมคิดมากในขณะนั้นคือ ทำนาช่วยภาระของพ่อแม่ แต่คนเรานั้นหาได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ไม่หากยังไม่ได้บวชเรียน ดังนั้นเมื่อขอมอายุครบบวช พ่อแม่ก็จัดการบวชให้ที่วัดบางสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านและสถานศึกษาเดิมของขอม เพราะระยะเวลานี้ ขอมมีนิสัยไปในทางรักสันโดษ ชอบพินิจพิเคราะห์ตรึงตรองต่างกว่าเพื่อนวัยเดียวกันคนอื่นๆ
พิธีอุปสมบทขอมจัดทำกันอย่างเต็มที่ เท่าที่ฐานะจะอำนวยได้ และท่ามกลางความชื่นชมของทุกคน เนื่องจากพ่อแม่ของขอมเป็นผู้ที่กว้างขวางมีคนไปมาคบหาด้วยจำนวนมาก การบวชคราวนี้จีงมีพระครูวินยานุโยคแห่งวัดสองพี่น้อง เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระอาจารย์กอนวัดบางสาม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เผือก วัดบางซอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขอมได้รับฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ ?อนิโชภิกขุ?
นวกะภิกษุอนิโช หรือ เด็กชายเป้า ที่เพื่อนๆ เรียกกันว่า ? ขอม? ก็ได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ตั้งแต่บัดนั้นพระขอม หรือ อนิโชภิกษุ เมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดบางสาม ก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และได้ปฏิบัติตนในศีลจารวัตร เป็นอย่างดี อยู่หลายปีจนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงก็มาถึง ยังมีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า ? วัดไผ่โรงวัว? ที่นี้ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ทีสมควรได้ตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ไม่มีท่านใดเหมาะเท่า พระขอม เมื่อลงความเห็นกันดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์ อนิโชภิกษุ หรือ พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัวก่อน พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่น ไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา 2 ปี
ชีวิตของท่านอนิโชในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ขาดสถานศึกษาเล่าเรียน สิ่งนี้ทำให้พระขอมได้พิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประตูสารใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป 3 ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ
คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารกิจให้พระศาสนาเต็มที่ ดังได้กล่าวแล้วว่าวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ความใหม่นี้เอง เป็นความใหม่ที่ยังไม่ถึงพร้อมกล่าวง่ายๆ คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน กุฏิที่อยู่จำพรรษาของภิกษุสามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง 2 หลัง ศาลาการเปรียญที่จะเป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงโรงทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลาน่าอนาถใจยิ่ง
ภาระของพระขอมคือ ปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดเสียก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้นที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใด น้ำท่วมทุกปีและท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำและดื่มน้ำของพระภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า ? วัด? ศรัทธาของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น
นับตั้งแต่พระขอม สละเพศฆาราวาสมาสู่พระพุทธศาสนา ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธานเรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า ?..อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลยจนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..? ด้วยมโนปณิธานนี้เองทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดมด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2500 ท่านขอมก็เริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา 2 ปีกว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด 12 ปีด้วยกัน จนแล้วเสร็จ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นท่านขอมก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่างอาทิเช่น สังเวชนียสถาน 4 ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์และอีกหลายๆ อย่างด้วยกันดังที่เห็นกันอยู่กันเท่าทุกวันนี้ถ้าถามว่าหลวงพ่อขอมจะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านก็ตอบว่าอาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธาและอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ นอกจากงานก่อสร้างแล้วหลวงพ่อขอมท่านก็ยังเป็นนักเขียน นักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งไม่หย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฎอยู่หลายเรื่องเฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา
จนมาถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา ทำให้นึกถึงคำปฏิญานของท่านอนิโชที่กล่าวไว้ ๕ ข้อคือ ๑. ชีวิตของเราที่เหลือขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย ๒. เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ๓. เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี ๔. โอ..โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน ๕. เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเราบัดนี้ท่านอนิโชนั้น ได้ทำคำปฏิญานของท่านให้สมบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านพระครูผู้นี้ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเด็กชายเป้าในอดีต ซึ่งบัดนี้สละทุกสิ่งเพื่อเจริญรอยบาทพระพุทธองค์ ท่านคือศิษย์พระตถาคตผู้มุ่งมั่น

183









เรื่องของหอยที่คนไม่ค่อยจะรู้จัก : หอยเบี้ย
วันนี้กระผมนายหอยเฒ่าก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับหอยๆ  มาให้ท่านๆ  ทั้งหลายได้สดับรับชมกันอีกสักเรื่องหนึ่ง วันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหอยเบี้ยขอรับ เรื่องราวจะเป็นอย่างไรขอเชิญท่านๆ  ทั้งหลายร่วมสดับรับชมได้ในบัดเดี๋ยวนี้ขอรับ


เราๆ  ท่านๆ  ทั้งหลายคงจะคุ้นหูกับคำพูดติดปากบางคำเช่น ?เบี้ยน้อยหอยน้อย? หรือไม่ก็ ?เบี้ยเลี้ยง? ซึ่ง คำเหล่านี้เชื่อว่าในปัจจุบันคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่ามีที่มาอย่างไร  ถ้าคนแก่จะบอกว่ามีที่มาจากเรื่องหอยหอยอีกนี่จะเชื่อกันหรือไม่ขอรับ อย่างที่ทราบกันว่าหอยนั้นมีมากมายหลายชนิด เรียกได้ว่ามีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสองรองจากสัตว์พวกแมลงเลยเชียว ในจำนวนชนิดที่มากมายเหล่านี้ หอยทะเลในกลุ่ม ?หอยเบี้ย? หรือที่คนโบราณเรียกว่า ?เบี้ยจั่น? ได้ถูกนำมาใช้แทนเงินตราในอดีต ส่วนใหญ่เป็นเบี้ยที่มาจากหมู่เกาะมัลดีฟในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ จากการศึกษาทางด้านโบราณคดี มีรายงานว่า หอยเบี้ยได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถานะทางสังคม  และใช้เป็นเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้ามาตั้ง แต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว  และมีการใช้อย่างแพร่หลายในชุมชนโบราณบริเวณรอบทะเลสาบคาลิเบียน เยอรมัน ลิธัวเนีย ชายฝั่งทวีปอเมริกา อินโด-แปซิฟิก จนถึงแอฟริกา โดยหอยเบี้ยที่นิยมนำมาใช้เป็นเงินตรา คือหอยเบี้ยชนิด Cypraea moneta ซึ่ง  ถ้าเราดูคำแสดงคุณลักษณะจำเพาะ (specific epithet) ของหอยเบี้ยชนิดนี้ก็จะไม่แปลกใจ เพราะคำว่า moneta เป็นคำภาษาลาติน แปลว่าเงินตรา (money) อยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่าคนที่ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับหอยเบี้ยชนิดนี้ คงทราบว่าเป็นหอยที่ใช้แทนเงินตราในอดีตกระมัง แม้กระทั่งชื่อสามัญ (common name) ของหอยชนิดนี้ก็เรียก money cowrie  และอีกชนิดหนึ่งที่มักพบว่าใช้แทนเงินตราร่วมกับ C. moneta เสมอ คือ C. annulus ซึ่ง คนไทยเรียกว่า เบี้ยวแก้ว ฝรั่เรียก gold-ring cowrie ขอรับ พูดถึงเรื่องเงินๆ  ทองๆ  แล้วอดนึกถึงเรื่องการปั่นราคาเบี้ย ที่พอนึกดูแล้วก็ไม่ต่างกับการปั่นราคาหุ้นในสมัยนี้เลย เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการนำเข้าเบี้ยมาเป็นหาบๆ  ทำให้บรรดาเหล่าพ่อค้านายทุนทั้งหลายมีการกักตุนเบี้ยเพื่อปั่นราคา หรือในบางครั้งเบี้ยก็เกิดการขาดแคลน ดังเช่นในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้ทำดินเผาตีตราขนาดต่างๆ  ขึ้นใช้แทนเบี้ย เรียกว่า ?ประดัน? เหตุเหล่านี้ทำให้ราคาเบี้ยมีการไกวตัวมาก จากเดิมที่มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 800 ตัวต่อเฟื้อง ผันผวนไปได้ถึง 1600 ตัวต่อเฟื้อง ดูไปก็คล้ายกับการซื้อขายหุ้นสมัยนี้ยังไงก็ไม่รู้นะขอรับ จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้กำหนดพระราชอาญาเอาโทษกับผู้ที่ขายเบี้ยในราคาเกินกว่า 400 ต่อเฟื้องเชียวขอรับ


และต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้ผลิตเหรียญดีบุกผสม เรียกว่า กะแปะจีน  และโสฬสขึ้นใช้ เบี้ยจึงได้หายไปจากระบบการเงินของไทย
   เอาล่ะไหนๆ ก็พูดถึงหน่วยเงินตราโบราณ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าในสมัยนั้นมีอัตราการแลกเปลี่ยนกันอย่างไร อืม.....จะว่ายังไงดีล่ะขอรับ มันอธิบายยากมากถึงมากปานกลาง เอาเป็นว่ากระผมขอยกตัวอย่างอัตราการแลกเปลี่ยนเงินในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเล่าให้ฟังก็แล้วกัน เพราะกระผมเองก็มีข้อมูลอยู่เพียงแค่นี้แหละเหมือนกัน อัตราการแลกเปลี่ยนเงินในหน่วยต่างๆ  มีดังนี้ขอรับ

๘๐๐  เบี้ย          เป็น    ๑    เฟื้อง               
๕๐    เบี้ย          เป็น    ๑    โสฬส(สิบหก)    ๑๖    โสฬส              เป็น     ๑     เฟื้อง
๒     โสฬส          เป็น    ๑    อัฐ(แปด)        ๘      อัฐ                   เป็น     ๑     เฟื้อง
๒     อัฐ           เป็น    ๑    เสี้ยวหรือไพ          ๔      อัฐ                 เป็น     ๑     เฟื้อง
๒     เสี้ยวหรือไพ  เป็น   ๑   ซีก          ๒     เสี้ยวหรือไพ    เป็น       ๑     เฟื้อง
๒    ซีก เป็น          เป็น   ๑   เฟื้อง         ๘     เฟื้อง              เป็น       ๑     บาท
๒    เฟื้อง เป็น      เป็น    ๑   สลึง           ๔    สลึง                เป็น       ๑     บาท
๑    มายนหรือมะยง  เป็น   กึ่งบาท หรือ ๒ สลึง           
๔    บาท          เป็น   ๑   ตำลึง               
๒๐  ตำลึง          เป็น   ๑   ชั่ง               
๘๐  ชั่ง           เป็น  ๑   หาบ               
(อัตรานี้อ้างอิงจาก : www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/krasab/index1.htm)

   นอกจากเบี้ยจะถูกใช้แทนเงินตราแล้ว หอยเบี้ยยังถูกนำมาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม และความเชื่อต่างๆ  มากมายเช่นกัน ดังเช่นในเรื่องของประเพณีฝังศพของคนโบราณ พบหลักฐานว่ามีการนำเบี้ยใส่ในหลุมฝังศพด้วย เช่น ในหลุมฝังศพของมนุษย์ในลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก ในแหล่งโบราณคดีบ้านใหม่ชัยมงคล พบว่ามีการ นำเบี้ยที่ตัดหรือขัดฝนด้านโป่งออก แล้ววางไว้ด้านข้างศพ  แต่พบเพียงชิ้นหรือสองชิ้นในลักษณะที่ไม่ได้เป็นการร้อยเป็นเครื่องประดับ ในขณะที่กลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียงที่บ้านนาดี พบว่ามีการร้อยหอยเบี้ยเป็นสร้อยคอ สันนิษฐานว่าน่าจะใช้เป็นเครื่องประดับมีค่า และเป็นของหายากจากแดนไกลก่อนที่จะใช้แลกเปลี่ยนสินค้า นอกจากนี้ในต่างประเทศได้มีรายงานว่า ในอารายธรรมโบราณ หอยเบี้ยถูกใช้เป็นของแสดงสถานะทางสังคม และมีบทบาทในทางความเชื่อด้วย เช่น พบหอยเบี้ยใส่ในกล่องสำริดหรือภาชนะสำริด บางแห่งมีมากกว่า 20,000 ตัวในหลุมฝังศพคนรวย ในเรื่องของ เซ่นสรวงบูชานั้นเล่า ก็มีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ขุนช้างขุนแผน หรือที่เก่าแก่ที่สุดเห็นจะเป็นโครงกระทู้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ว่า

ทู บาจุดธูปเบี้ย      บวงสรวง
สุ รภีพิกุลพวง         พู่ห้อย
มุ หน่ายกระแจะจวง      เจิมต่อ ศาสนา
ดุ สิตเทพให้คล้อย      เคลื่อนฟ้ามาสม

ในเรื่องการบนบานศาลกล่าว ก็พบว่าหอยเบี้ยถูกนำเข้าเกี่ยวข้องกับการบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหลายพื้นที่ เช่น การยกเบี้ยขึ้นอธิษฐานแล้ววางบนศาล การเอาเบี้ยเหน็บฝาเรือน เป็นต้น แม้ แต่ในตำราช้าง ก็ว่าเมื่อช้างไม่ลงน้ำ ให้เอาเบี้ยสามเบี้ย หมากสามคำ ข้าวสุกสามกระทงไปพลีต้นผักครอบ แล้วเอาผักมาเคี้ยว ทามือ และเอายีตาช้างเจ็ดที ช้างก็จะยอมลงเล่นน้ำ หรือ ความเชื่อที่ว่าการแขวนเบี้ยจั่นจะสามารถป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย และฟันผุได้ บ้างก็ว่า เอาไปฝนละลายกับน้ำมะนาว ช่วยแก้โรคปัสสาวะไม่ออกได้ หรือการพก ?เบี้ยแก้? อันเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง ว่ากันว่าทำจากเบี้ยจั่นที่บรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า  ถ้าพกเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางรอนแรมในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกัน และแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ เรื่องเหล่านี้จริงเท็จอย่างไรคงต้องพิสูจน์กันเองแหละขอรับ เอาล่ะขอรับเรื่องของหอยเบี้ยกับคน กระผมคงขอเล่าเพียงแค่แล้วกัน จริงๆ  แล้วมีอีกเยอะ แต่กลัวว่าท่านๆ  ทั้งหลายจะเบื่อเสียก่อน ไว้ ถ้ามีโอกาสกระผมจะมาเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องนี้ใหม่ขอรับ
  ขอปิดท้ายด้วยเบี้ยจั่นที่น่าจะ "แพงที่สุดในโลก" ในภาพที่นำมาให้ยลกันนั้น หมายเลข 1 เป็นเบี้ยจั่นธรรมดาขอรับ ราคาก็ไม่กี่สลึงเฟื้อง ส่วนหมายเลข 2  และ 3 นั้น ฝรั่งเขาเรียกว่า rostrate money cowrie คือส่วนหัวท้ายจะยกสูงขึ้น ในวงการนักสะสมเปลือกหอยนั้น เขาว่ากันว่า รูปทรงแบบนี้สวยที่สุด และหายากมาก ราคาจึ่งแพง ท่านๆ  ลองเดาดูขอรับว่าราคาเท่าใด ลองคิดตัวเลขในใจไว้ก่อน แล้วค่อยดูเฉลยนะขอรับ

ราคาของเปลือกหอยหมายลข 2 กับ 3 นั้น ราคาอยู่ที่เปลือกละ 25 ล้านบาท (เอง) ขอรับ ไม่ทราบว่าท่านใดทายถูกมั่ง หึ หึ ขอบคุณทุกท่านที่เพียรพยามอ่านขอรับ



ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเวป
http://www.siamensis.org/board/8060.html

184






เหรียญ หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ..... 2509 ช่วยพิจณา ด้วย ครับ อิอิ :002:

185


ประวัติพระครูอุทัยธรรมสาคร (หลวงพ่อมาลัย)

 ชาติกาล

ข้าพเจ้าเป็นคนกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 8 กันยายน 2483 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ณ บ้านเลขที่ 63 หมู่ 8 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร คุณย่าตั้งชื่อว่า ไอ้หมา มีนามสกุลว่า แตงอ่อน บิดาชื่อ นายบุญธรรม แตงอ่อน มารดาชื่อ นางกิม แตงอ่อน มีพี่น้องด้วยกันทั้งสิ้น 6 คน รวมข้าพเจ้าด้วย เป็นผู้หญิง 5 คน และผู้ชายมีคนเดียวคือข้าพเจ้า ดังนี้

1. พี่บุนนาค แตงอ่อน
2. พี่ทับทิบ แตงอ่อน
3. พี่สุดใจ แตงอ่อน
4. นายมาลัย แตงอ่อน
5. นางทองอยู่ แตงอ่อน
6. นางสมรักษ์ แตงอ่อน

? ชีวิตวัยเยาว์

ตอนเป็นเด็กอายุประมาณ 10 ขวบ คุณแม่พาไปอยู่ที่บ้านคุณน้าทุเรียน คุณน้าแป้นและคุณเนย (มีศักดิ์เป็นน้องของคุณแม่) ที่โกรกกรากในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นบ้านเกิดของคุณแม่ โดยนั่งเรือจากมหาชัยมาขึ้นหน้าวัดโกรกกรากนอก ข้าพเจ้ามาเที่ยวที่นี่อยู่บ่อยๆอยู่บ้านบางกระดี่บ้างมาอยู่สมุทรสาครบ้าง จนกลายเป็นคน 2 จังหวัด

คุณย่าของข้าพเจ้าท่านชอบดูลิเก ถ้าท่านรู้ว่างานไหนมีลิเก ท่านมักจะชวนหลานๆไปดูลิเกด้วย บางครั้งก็เดินไป บางคร้งก็ไปทางเรือ ขอให้รู้ว่ามีลิเกเท่านั้น คืนนั้นคุณย่าพาหลานไปดูลิเกงานบวชที่บ้านขอม คณะบุญเชิญ ท่วมศิริ ข้าพเจ้านั่งดูลิเกอยู่ใกล้ย่า ลิเกแสดงตลกย่าหัวเราะ พอนางเอกลิเกแสดงบทโศก ย่าก้อเอาผ้าสไบเช็ดน้ำตา ข้าพเจ้าก็หัวเราะ ย่าทุบข้าพเจ้าดังอั๊กหลบแทบไม่ทัน

เมื่อวัยหนุ่มอายุ 17 ปี ข้าพเจ้าชอบร้องเพลงเป่าออแหละกับเพื่อนๆรุ่นเดียวกัน ไปเที่ยวตามงานวัดใกล้ๆบ้านเช่นวัดแสมดำ, วัดบางกระดี่, วัดลูกวัว ในปีนั้นข้าพเจ้าประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ชื่อเพลง ลั่นทม ซึ่ง โฆษิต นพคุณ ขับร้องไว้ ข้าพเจ้าได้รางวัลมา 1 กล่อง ข้างในกล่องมีอะไรกล่องใหญ่ด้วย พอเปิดกล่องออกมาดู พบว่ามีผ้าห่มผืนใหญ่ 1 ผืน ข้าพเจ้าดีใจมาก และคืนต่อมาคือคืนที่สอง ข้าพเจ้านัดกับเพื่อนๆเอาไว้ว่าพรุ่งนี้ไปอีกสักคืน เมื่อถึงกำหนดข้าพเจ้านำเสื้อกางเกงหย่อนลงไปใต้ถุนบ้าน เพื่อไม่ให้พ่อ-แม่-พี่-น้อง รู้ว่าจะไปเที่ยวงานประจำปีวัดแสมดำ ช่างเคราะห์ร้ายจริงๆโยมพ่อของข้าพเจ้าทานเหล้าเมามาตั้งแต่ 6 โมงเย็น นอนขวางประตูทางออกเหมือนกับจะรู้ว่าข้าพเจ้าจะหนีไปเที่ยวงานวัดแสมดำ เพื่อนที่นัดกันเอาไว้ว่า 1 ทุ่มจะลงเรือจ้างหน้าบ้านมาเคาะอยู่ใต้ถุนบ้านใกล้ๆกับโยมพ่อของข้าพเจ้าที่นอนเมาขวางประตูทางออกอยู่ ข้าพเจ้าเหงื่อไหลออกมายังกับคนเพิ่งอาบน้ำ พอได้ยินโยมพ่อพูดขึ้นมาว่า คืนนี้คนแสมดำกับคนเกาะโพนัดว่าจะตีกันในงาน พวกมึงอย่ามาชวนลูกกูไปเลย พวกมึงไปกันเถอะ ข้าพเจ้าหัวใจแทบหยุดเต้นเพราะไม่ได้ไปเที่ยวงาน ซ้อมร้องเพลงไว้อย่างดีน่าเสียดายจัง

? เมื่อถูกเกณฑ์ทหาร

ข้าเจ้าถูกหมายเรียกเกณฑ์ทหารเมื่ออายุ 21 ปี ที่วัดบางขุนเทียน ข้าพเจ้าจับได้ใบแดง มีน้องสาวคือคุณทองอยู่ ติดตามข้าพเจ้าไปด้วย โยมพ่อ-โยมแม่ไม่ได้มาด้วย พอจับได้ใบแดงน้องสาวข้าพเจ้าร้องไห้ ข้าพเจ้าพูดว่า "ร้องไห้ทำไม จะบ้าหรือไงไม่อายชาวบ้านหรือ" ข้าพเจ้าทุบหัวน้องสาวไปหนึ่งครั้งแล้วก็นำเสื้อผ้ามาใส่เหมือนเดิม กลับมาถึงยังไม่ทันขึ้นบ้านเลย พอลงจากรถไฟสาย มหาชัย-แม่กลอง ข่าวมาเร็วมาก ได้ยินเสียงแว่วมาว่า "กูบอกมึงแล้วว่าให้จุดธูปเทียนบอกผีบ้านผีเรือน มึงไม่เชื่อกู ให้มึงกลับมาก่อน กูจะล่อมึง" ข้าพเจ้างงไปหมดโดนทั้งขึ้นทั้งร่อง ข้าพเจ้าไม่กลับไปบ้านเพราะพ่อ-แม่ เตรียมไม้ตะพดเอาไว้ มีคนส่งข่าวมาว่าอย่าเพิ่งเข้าบ้านน้ำกำลังเชี่ยว คืนนั้นข้าพเจ้าหนีไปนอนบ้านเพื่อน ที่บ้านตามหาข้าพเจ้าทั้งคืน มีคนไปบอกโยมพ่อ-โยมแม่ ว่าข้าพเจ้านอนอยู่บ้านคุณสำรวย เท่านั้นเอง โยมพ่อ-โยมแม่ ย่องไปจับข้าพเจ้าออกมา โดนตีหลายที ย่าผู้หวังดีเคยพาข้าพเจ้าไปดูลิเกพูดออกมาว่า "พวกมึงตีมันทำไมกัน ลูกพวกมึงแต่มันเป็นหลานกู" บรรยากาศเงียบ ข้าพเจ้าโดนไม้ตับจากตีเป็นแนวไปหมดตั้งแต่หลังจนถึงเท้า แนวระบมไปทั้งตัว คืนนั้นนอนหงายไม่ได้ต้องนอนตะแคง เจ็บหลัง ย่าฝนไพลสดด้วยฝาละมีทาหลังข้าพเจ้า ถามข้าพเจ้าว่าแสบไหมหลาน

? การศึกษาเล่าเรียน

ข้าพเจ้าเข้าเรียนตั้งแต่ป.เตรียม จนถึงป.4 จัดว่าเป้นคนเรียนหนังสือไม่เก่ง ซึ่งในสมัยนั้นไปโรงเรียนบ้างขาดเรียนบ้างเนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน ประกอบอาชีพ ทำนา ตัดจาก ตัดฟืน รับจ้าง ข้าพเจ้าเป็นโรคหลายอย่าง ทั้งโรคผิวหนัง โรคไทฟอยด์ ผอมไม่ค่อยมีแรง แต่โชคดีที่ข้าพเจ้ามีโอกาสเป็นลูกศิษย์วัดรับใช้พระสงฆ์ สามเณร อยู่หลายปีจนเรียนภาษารามัญแตกฉานพอสมควร

? ทำบาปไม่ขึ้น

วันหน่งข้าพเจ้ารู้สึกตัวว่าข้าพเจ้าทำบาปไม่ขึ้น เรื่องมีอยู่ว่า ข้าพเจ้าไปสุ่มปลาด้วยกันกับเพื่อนหลายคน แต่น่าประหลาดใจที่ข้าพเจ้าจับปลาได้ไม่กี่ตัว แต่เพื่อนที่ไปด้วยกันได้มาเต็มตะข้อง จึงทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกท้อใจว่าดีเหมือนกันที่ตัวเองทำบาปไม่ขึ้น เพราะว่าถ้าทำบาปขึ้น ข้าพเจ้าคงจะไม่ได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ คงเป็นตาแก่วกๆเงิ่นๆอยู่กลางทุ่งนาแน่ๆ

? ความจำที่ไม่มีวันลืม

วันนั้นเป็นวันลงแขกเกี่ยวข้าว ข้าพเจ้าไปเกี่ยวข้าวกลับมาเห็นคนเขาเชือดคอไก่เพื่อเลี้ยงคนที่มาร่วมงานในวันรุ่งขึ้น คืนนั้นข้าพเจ้านอนไม่หลับตลอดทั้งคืน บวกกับเสียงดังของพ่อที่นั่งทานเหล้ากับพวกในโรงนาจนเกือบตีหนึ่ง ข้าพเจ้าบอกกับท่านว่าพ่อดึกแล้วนอนกันบ้างเถิดพรรุ่งนี้ค่อยทานกันใหม่ก็ได้ เท่านั้นเองพ่อโกรธและนำไฟฉาย 2 ท่อน ปรี่เข้ามาตีศีรษะของข้าพเจ้าจนเซเห็นดาวระยิบระยับเต็มไปหมด จนกระทั่งข้าพเจ้าได้สติ จึงฉวยไม้คมแฝกวิ่งไปหาพวกเพื่อนๆพ่อที่มาทานเหล้ากับพ่อในคืนนั้น แต่ว่าไหวตัวทันและกลับไปเสียก่อน ในคืนนั้นข้าพเจ้านอนไม่หลับเพราะได้ยินว่า "อย่าให้กูเจออีกทีนะ" เช้าวันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าไปลงแขกเกี่ยวข้าว พอตกเย็นข้าพเจ้าเดินเลาะริมคลองมาเรื่อยและเห็นเพื่อนพ่อ 2 คน นั่งทานเหล้าอยู่ ข้าพเจ้าเดินไปหาพร้อมกับเคียวที่พันด้ายดิบเอาไว้อย่างดี ข้าพเจ้าถามทั้งสองคนนั้นว่าเมื่อคืนใครบอกว่า "อย่าให้กูพบ กูมาแล้วไง" แต่ทั้งสองคนไม่มีใครตอบหรือแสดงอาการอย่างไรออกมา ข้าพเจ้าจึงพูดทิ้งท้ายไว้ประโยคหนึ่ง "ถ้าคิดฆ่ากู ต้องฆ่าให้ตาย ถ้าฆ่ากูไม่ตาย มึงสั่งลูกเมียมึงได้เลย กูต้องฆ่ามึงถึงมุ้งเลย มึงจำเอาไว้"

? มางานบวชหมู่บ้านกำพร้า

วันหนึ่ง แม่ได้นำข้าพเจ้ากับน้องอีกสองคนนั่งเรือโดยสารจากมหาลัย วิ่งเข้ามาในคลองบางหญ้าแพรก สมัยนั้นคลองบางหญ้าแพรกแคบและคดเคี้ยวมาก ไม่กว้างเหมือนในสมัยนี้ ถ้าลงน้ำจะเชี่ยวมาก พอถึงสะพานข้ามคลองบางหญ้าแพรก มีแม่ค้าซื้อผักมาขายทุกวัน แต่วันนั้นแดดร้อนน้ำเชี่ยวแรง ข้าพเจ้ามองไปที่หัวเรือลำหนึ่งเห็นผู้หญิงสองคนเถีนงและตบกันจนตกน้ำไปทั้งคู่ ข้าพเจ้าจึงถามแม่ว่าที่นี่คือที่ไหน แม่บอกข้าพเจ้าว่าหมู่บ้านบางหญ้าแพรก ข้าพเจ้าเลยพูดออกไปว่า "คนที่นี่ดุจัง ให้ผมมาอยู่มีเงินเดือนด้วยผมก็ไม่เอาเพราะเป็นหมู่บ้านคนดุ" แม่เลยพูดออกมาว่า "เอ็งจำเอาไว้ด้วยว่าเอ็งจะไม่มาอย่ที่นี่" ทำให้ข้าพเจ้าลืมคำนี้ไม่ลงและฝังใจมาจนถึงทุกวันนี้ว่าข้าพเจ้ามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร?

 ข้าพเจ้าบวชเมื่อวันที่

ข้าพเจ้าบวชเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2509 เวลา 13.00น. ณ วัดบางกระดี่ ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่ออายุ 25 ปี พระเทพณานมุนี วัดราชโอรสาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ อาจารย์สง่า การวิโก วัดบางกระดี่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สงวน อาสโภ วัดกำพร้าเป็นพระอนุสาวนาจารย์

? อุปสมบท

ข้าพเจ้าตั้งใจเอาไว้ว่าจะบวชพรรษาเดียวแล้วจะสึกเพราะฐานะทางบ้านยากจนและไม่มีใครช่วยพ่อ-แม่ ส่วนพี่ๆก็มีเหย้ามีเรือนกันไปหมดแล้ว เหลือน้องๆอีก 2 คน

? มาเที่ยววัดบางหญ้าแพรก

ครั้งขณะที่ข้าพเจ้าบวชเป็นพระ พรรษาแรกข้าพเจ้าก็สวดพระปาฏิโมกข์ภาษารามัญได้ชัดเจน จนเพื่อนๆพระด้วยกันขอคำแนะนำข้าพเจ้าหลายรูป แต่ก็ล้มเหลว วันหนึ่งมีคุณสุนทร เขาแกร่ง บ้านเดิมเขาอยู่บางกระดี่ ท่านบวชอยู่ที่วัดบางหญ้าแพรกและท่านชวนข้าพเจ้ามาเที่ยวที่วัดบางหญ้าแพรกด้วยกันกับเพื่อนพระด้วยกัน ในขณะนั้น พระครูสาคร อรรถโกวิท เป็นเจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรกอยู่ อายุท่านประมาณเกือบ 70 ปี วันรุ่งขึ้นพระสุนทรท่านลาสิขาบทข้าพเจ้าเห็นกางเกง เสื้อสวยๆก็อยากสึกกับเขาบ้าง ท่านอาจารย์มหาจำนงค์คล้ายกับจะรู้ใจของข้าพเจ้าว่าอยากสึก จึงออกอุบายชวนให้ข้าพเจ้าอยู่สวดปาฏิโมกข์ด้วย ขณะนั้นข้าพเจ้าก็แบ่งรับแบ่งสู้ไม่รับปากทีเดียว จนทนการขอร้องไม่ได้ก็เลยรับปากว่าจะอยู่ช่วย ในปีแรกก็สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก โดยไม่เคยตกชั้นเลย

...คิดถึงวัด คิดถึงบ้าน...

? วันที่กลับวัดบางกระดี่

ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังจะเข้าพรรษาที่ 5 ข้าพเจ้าอยากลาสิขาบท โดยตัดเสื้อ กางเกง เอาไว้ 2 ชุดกว่า 3 ปี ไปถึงบ้านเวลาประมาณ 19.00น. ตั้งใจจะแจ้งให้พ่อ-แม่ได้ทราบ พอนั่งเสร็จเรียบร้อยญาติโยมมารออยู่ในบ้านประมาณ 6-7 คน เป็นเพื่อนของคนมอญซึ่งอยู่หมู่บ้านเดียวกัน อาราธนาศีล 5 ครั้นเสร็จแล้วพ่อก็เริ่มพูดก่อน เสร็จแล้วแม่ก็เริ่มพูดบ้าง พี่บ้างโยมที่ร่วมฟังบ้าง คืนนั้นข้าพเจ้าไม่ได้พูดเรื่องลาสิขาบทแม้แต่คำเดียวเป็นฝ่ายนั่งฟังพ่อ-แม่ พี่ๆญาติที่มาร่วมคืนนั้นพูดจนกลับประมาณ 21.00น. พอรุ่งเช้าก็มีโยมแหยบ โยมที่ให้ความช่วยเหลือข้าพเจ้ามาเล่าให้ฟังว่าอาจารย์ท่านพระมหาจำนงค์เขาจะปรึกษาเรื่องสำคัญ เมื่อจะสึกก็ไม่ว่าแต่ขอให้ไปพบท่านด้วย ขอร้องเถอะ ข้าพเจ้าได้ฟังคำขอร้องจากโยมที่มีบุญคุณเช่นนั้นก็คล้อยตามลงเรืออวนดุลมาด้วยกัน

? คำสั่งเสียของคุณพ่อ

หลังจากที่ข้าพเจ้าตามโยมแหยบมาที่วัดแล้ว ท่านอาจารย์ก็เรียกข้าพเจ้าไปพบ ซึ่งในปีนั้นสุขภาพท่านไม่ค่อยดี หมอที่โรงพยาบาลมหาชัยลงความเห็นว่าเป็นไทรอยด์ เสียงไม่ดี เสียงขัดทั้งปี ท่านอาจารย์บอกกับผมว่า คุณสึกออกไปโรคไทรอยด์คุณหายหรือเปล่า ผมคิดขึ้นได้ว่าคงไม่หาย และในปีนั้นพ่อกับโยมเกิดเขามาพบกันและถูกคอกันมาค้างอยู่หลายคืน และก่อนที่พ่อจะกลับพ่อสั่งโยมเกิดไว้ประโยคหนึ่งว่า "ช่วยดูแลพระลูกชายผมด้วย ผมคงไม่ได้มาเพราะสุขภาพไม่ค่อยดี" หลังจากที่พ่อลงเรือโดยสารกลับไปข้าพเจ้าก็ขึ้นหอฉันในวัด และนั่งร้องไห้อยู่คนเดียวจนเกือบพลบค่ำ สมัยนั้นไฟฟ้าไม่มีข้าพเจ้ารู้สึกหงอยเหงาว้าเหว่ซึมเศร้าเหมือนคนไร้สติ เหมือนมีลางสังหรณ์ว่าจะต้องเกิดอะไรสักอย่าง จึงมีความรู้สึกออกมาอย่างนั้น คิดถึงพ่อคิดถึงแม่-พี่-น้อง ที่เคยอยู่ด้วยกันมาต้องมาอยู่ห่างกัน และในปีนั้นเองพ่อป่วยหนักมากด้วยโรคตับแข็งเพราะทานเหล้ามากจนเสียชีวิตลงเมื่อต้นปี และโยมแม่ก็เสียชีวิตลงในปลายปีเดียวกัน ทำให้ข้าพเจ้าคิดหาทางออก ไม่ได้ทำศพพ่อแม่ โดยเก็บท่านไว้ทั้งสองคน ทำตามบุญตามประเพณีของคนมอญ หลังจากที่ผมกลับมาจากวัดบางกระดี่ ท่านอาจารยืคง พูดกับข้าพเจ้าเหมือนรู้ใจว่า "คุณมาลัย คุณมีอะไรให้ผมช่วยเหลือ บอกมาอย่าเกรงใจ คุณเสียพ่อแม่ของคุณปีเดียวกันถึงสองคน ผมขอแสดงความเสียใจกับคุณด้วย" น้ำตาผมไหลพรากออกมาต่อหน้าท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ก็ทำตาแดงคล้ายกับข้าพเจ้าเหมือนกัน เสร็จแล้วข้าพเจ้าก็ขึ้นพักบนหอฉัน นอนนึกถึงคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของคุณพ่อ จนพล่อยหลับไป

? จำพรรษาที่วัดบางหญ้าแพรก

สมัยนั้นมีพระจำพรรษาไม่มาก ไม่เกิน 9 รูปทั้งวัด ข้าพเจ้าขึ้นแสดงพระปาฏิโมกข์ มีโยมฝั่งมอญ โยมเป๊อะ โยมแหยบที่มาคอยสังเกตการณ์และเอาใจใส่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่เคยลืมพระคุณท่านเหล่านี้เลย

? อาจารย์พระมหาจำนงค์ลาสิขาบท

มีปัญหาเกิดขึ้นภายในวัด พระอาจารย์ท่านลาสิขาบทจากเจ้าอาวาสโดยเข้าอุโบสถหลังเก่าและกล่าวคำลาต่อหน้าพระประธาน ข้าพเจ้าได้ถือถุงเสื้อผ้าของท่านและนั่งรอที่หน้าอุโบสถ ข้าพเจ้ามีความสลดใจมากที่ท่านทำลายตัวเองซึ่งเกิดความน้อยใจและไม่ยุติธรรม


ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2517 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีขาล พระเทพสาครมุนี (หลวงพ่อแก้ว) วัดสุทธิวาตวราราม (ช่องลม) มอบตราตั้งเจ้าอาวาสแก่ข้าพเจ้าโดยให้ดูแลพระภิกษุ สามเณร ภายในอาวาสให้เรียบร้อย นี่ถ้าหากข้าพเจ้าไม่เชื่อฟังคำครูอาจารย์ เป็นไปตามเพื่อนศิษย์ด้วยกันแล้วบัดนี้คงจะเป้นตาแก่อยู่บางกระดี่หรือมิฉะนั้นคงเป็นตาแก่เฝ้าบ้านมีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมืองอย่างแน่นอน บางครั้งเมื่อข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงชีวิตตอนนั้นยังสงสัยอยุ่ว่าเพราะอะไรเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าซังกะตายมาอยู่ทุกวันนี้

? ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าฉลอม

ซึ่งสมัยนั้นพระครูโกมุทธรรมธาดา (พระมหาสมัย) วัดป้อมวิเชียรโชติการามเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองได้พิจารณาว่าในตำบลท่าฉลอม วัดใดที่มีเจ้าอาวาสที่ดำรงตำแหน่งก่อน ซึ่งข้าพเจ้าเป็นเจ้าอาวาสวัดอื่นๆจึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลมาจนถึงทุกวันดวงชะตาดีก็มีผู้มอบให้

ข้าพเจ้าเป็นพระฐานานุกรมมา 2 ครั้ง เป็นพระครูวินัยธร เป็นพระครูปลัดพรหมจริยวัฒน์ของหลวงพ่อพระวิสุทธิวงษาจารย์ เจ้าคณะภาค 14 วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ และมอบให้ท่านกำนันวิเชียร อากาศ ทำงานพระพุทธศาสนา

? อุบัติเหตุครั้งสำคัญในชีวิต

เมื่อข้าพเจ้าเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆ ครั้งหนึ่ง มีกิจนิมนต์ที่จ.อยุธยา คนขับรถขับรถเร็วมากพุ่งลงไปในครองชลประทาน ซึ่งลึกพอสมควร รถค่อยๆจมลงไป ข้าพเจ้าติดอยู่ในรถคันนั้นด้วยและเปิดประตูออกมาไม่ได้เพราะน้ำข้างนอกมากกว่าข้างในรถ แต่คงยังไม่ถึงคราวจมน้ำตาย บังเอิญรถไปค้างอยู่บนตอไม้ที่มีใครไปแช่น้ำเอาไว้ คนขับทุกกระจกออกมาจึงรอดตายมาได้

ครั้งที่ 2 มีผู้ไม่หวังดีนำดินระเบิดใส่แป๊บยาวประมาณ 60 ซ.ม. 2 กระบอกจ่อไว้ตรงศีรษะของข้าพเจ้าห่างไปประมาณ 1 เมตร โดยใช้ธูปเป็นชนวน แป๊บจะระเบิดเวลาประมาณ 24.00 น. แรงระเบิดทำให้ฝากุฏิแบบโบราณพังลงมาทั้งแถบ ข้าพเจ้านอนเฉย...

? คำเตือนของเทพยดา

อีกประการหนึ่งของการจัดตั้งมูลนิธิครั้งนี้ ก็ด้วยมานึกถึงคำตัดเตือนของเทพยดาตนหนึ่ง ที่ได้มากราบทูลพระพุทธเจ้า ในเรื่องการทำทรัพย์สมบัติของตนที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนว่า "ในขณะนั้นที่ไฟไหม้บ้านเรือน ทรัพย์สมบัติที่เจ้าของเรือนหอบออกมาไว้ด้านนอกเท่านั้น จึงจะมีประโยชน์ ส่วนทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ในเรือนที่ถูกไฟไหม้หามีประโยชน์ไม่เพราะย่อมย่อยยับไปกับกองไฟ เพราะเหตุนี้ ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นสังขารนี้ ที่ถูกไฟราคะ โทสะ โมหะ เผาไหม้อยู่ ถูกไฟคือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เผาไหม้อยู่ เป็นเสมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้ จึงรีบขนทรัพย์สมบัติออกไว้นอกเรือนด้วยการแปรทรัพย์ภายนอกให้เป็นทรัพย์ภายในที่ไฟไหม้ไม่ได้ เขาย่อมใช้สอยทรัพย์ภายในนั้นทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า"

187








  พระครูอาทรพิทยคุณ&nbsp; ชื่อเดิมของท่านคือ ผล นามสกุล แสงโสภา บิดาเป็นคน อยุทธยา&nbsp; มารดาเป็นคนจังหวัดนครปฐม อาชีพทำนา มีพี่น้อง 8 คน&nbsp; ท่านเป็นคนสุดท้อง
ท่านเกิดปีขาล วันเสาร์ ขึ้น 24 ค่ำ เดือน12 พ.ศ. 2433
ท่านอุปสมบท พันธเสมา วัดเทียนดัด โดยมี
พระอาจารย์แสง วัดนางสาว เป็นพระอุปปัชฌาย์
พระอธิการคง วัดนางสาว เป็นพระกรรมวาจารย์
พระปลัดใจวัดเชิงเลน&nbsp; เป็นพระอนุสาวจารย์
ต่อมาได้ไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดมหาธาตุ โดยอาศัยพำนักอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม ธนบุรี เมื่อสอบได้
นักธรรมชั้นตรีแล้วก็ได้มาเป็นครูสอนปริยัตธรรมที่วัดเทียนดัด และ วัดต่างๆหลายวัด เพราะสมัยนั้นหาครูผู้รู้ยากมาก ท่านได้ไปๆมาๆที่วัดระฆังเสมอ เพราะท่านต้องการเรียนวิชาต่างๆ โดยเฉพาะการเรียนวิปัสสนากรรมฐานท่านก็สนใจเป็นอย่างดี นอกจากนั้นท่านเป็นพระที่ชอบไขว่เรียนรู้วิชาต่างๆไม่ว่าจะเป็น&nbsp; คาถาอาคม และวิชาไสย์เวทต่างๆ และที่สำคัญท่านเป็นพระสหายธรรมกับ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม&nbsp; สมัยที่ท่านยังหนุ่มๆ
ท่านไปมาหาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเพื่อนสนทนาธรรม และแรกเปลี่ยนวิชาต่างๆ โดย หลวงพ่อเงิน บางทีท่านได้ไป เรียนชาเพิ่มเติมจากอาจารย์ใด ก็มักชวนหลวงพ่อผล วัดเทียนดัดไปด้วยเสมอ ......โดยท่านทั้ง 2 รูปนี้สนิทกันมาก ครับ ...
หลวงพ่อผล ก่อนที่ท่านจะบวชก็ได้ศึกษาวิชาขอม และ วิชาต่างๆ จากโยมพ่อ และอาจารย์ ในตอนนั้น
ทำให้ท่านเป็นพระ ที่มี อาคม ก่อนที่ท่านจะบวชเสียอีก&nbsp; สมัยที่ท่านยังหนุ่มๆ&nbsp; ได้มีลูกศิษย์ มาขอขึ้นครูให้ท่านสัก
ซึ่ง ก็มีประสบการณ์ทางด้าน ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก มานักต่อนัก ทำให้หน่อยราชการ มาขอให้ท่านหยุดสัก
เพราะสมัยนั้น พวกโจรเสือ เยอะมาก ท่านก็เลยหยุดสัก นับแต่นั้นมา ....

บอกเสือโจรให้กลับใจ

ในสมัยนั้นพวกเสือโจรเยอะมาก ได้มีกลุ่มเสือโจรระแวกบางกระทึก และวัดเทียนดัด ได้รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะเข้าปล้น บ้านคหบดี แถววัดเทียนดัด แต่ยังไม่ทันปล้น ก็เกิดฝนตกหนัก พวกโจรกลุ่มนั้นได้เข้ามาหลบฝนในวัดเทียนดัด ขณะนั้นเอง พวกโจรกำลังประชุมเรื่องแผนปล้น หลวงพ่อผลก็เดินมาได้ยินพอดี จึงได้ขอร้องบอกให้พวกโจรกลุ่มนั้นให้เลิกปล้นกลับตัวเป็นคนดีซะเถอะ เพราะจะทำให้เขาเดือดร้อนมันเป็นบาปกรรม และให้ล้มเลิกความตั้งใจเสีย และหลวงพ่อก็ได้สอนธรรมให้กับพวกโจรกลุ่มนั้น จนพวกโจรกลุ่มนั้นได้กลับใจ
ส่วนใครที่ไม่ฟังที่หลวงปู่สอน ส่วนมากติดคุกหมด

ปราบจระเข้ หน้าวัด
สมัยก่อนนั้นที่หลวงปู่ผลมาจำพรรษาที่วัดใหม่ๆ หน้าน้ำวัดเทียนได้เป็นน่าน้ำลึก จึงมักมีจระเข้ มาอาศัยอยู่เป็นประจำ จนทำให้ชาวบ้านกลัวและเดือดร้อน&nbsp; พวกชาวบ้านจึงไปขอให้หลวงพ่อผลช่วย&nbsp; หลวงปู่ผลจึงถามชาวบ้านว่า เคยเห็นตัวจระเข้ไหม ชาวบ้านบอกเคยเห็นครับ มันมี ตัวใหญ่มากพวกผมกลัวมันจะขวางเรือทำให้เรือคว่ำ
ไม่ช้า มันก็กัดกินชาวบ้านแน่ๆๆๆๆ&nbsp; หลวงพ่อผลจึงบอกว่า มันก็อยู่ของมันที่ท่าน้ำนี้ แต่ก็ไมได้ทำอะไรใครไม่ใช่เหรอ&nbsp; ชาวบ้านก็บอกว่า ถึงยังงั้นยังไงพวกผมก็กลัว ขอให้หลวงพ่อผล ช่วยด้วยเถอะครับ&nbsp; หลวงพ่อผลจึงรับปาก

หลังจากชาวบ้านกลับไปหมดแล้ว หลวงพ่อก็ได้เดินไปที่ท่าน้ำ ของวัดและก็ได้ร่ายคาถาอาคมที่ได้เรียนมา ประมาณ5นาที จระเข้ก็ตวักน้ำโผล่หัวขึ้นมา น้ำกระจาย หลวงพ่อผลเลยได้แผ่เมตตาจิตให้มัน และบอกกับมันว่า
 (นับแต่นี้ต่อไป ขออย่าได้ไปปรากฏตัวให้ใครเห็นเพราะเขากลัวกัน ถ้าจะอาศัยอยู่หน้าวัด อยู่ได้ปรากฏตัวให้ใครเห็นอีก เพราะเขากลัว ทำให้เดือดร้อนจะเป็นบาป หากหิวก็ ให้โผล่หัวมา และจะให้พระเณรที่เห็นหาอาหารมาให้กิน ) ซึ่งก็น่าแปลก เวลาจระเข้หิวก็มักโผล่หัวมา ให้พระเณรเห็นและ พระเณรก็จะหาอาหาร เท่าที่หาได้มาให้มันกินอยู่เสมอ

น้ำมนต์หลวงพ่อผล
ในบริเวณชุมชนวัดเทียนดัด ได้มีผัวเมียอยู่คู่หนึ่งทะเลอะกันเป็นประจำ จนเป็นที่รำคาณของชาวบ้าน เพราะสามีเป็นคนขี้เมา และชอบหาเรื่องทะเลอะกับภรรยาเป็นประจำ จนบางทีเอามีดมาไล่ฟันก็มี
ภรรยาจึงเดินไปกราบหลวงพ่อผล และก็เล่าให้หลวงพ่อฟัง
เมื่อหลวงพ่อได้ฟังท่านจึงถาม เวลาสามี เขามาหาเรื่องโยมไปเถียงเขาเหรอ&nbsp; (ค่ะหลวงพ่อมันเมาชอบหาเรื่อง
อดไม่ไหวเลยเถียงและก็ทะเลอะกันทุกที หลวงพ่อช่วยหน่อยนะค่ะ)
หลวงพ่อผลท่านก็บอกว่า งั้นโยมเอาน้ำมนต์ในตุ่มไปอม เวลาสามีกลับบ้าน และเมาหาเรื่อง
อมจนกว่าสามีโยมจะเลิกบ่นเลิกว่า และกัน

ภรรยาคนนั้นก็ได้ทำตามที่หลวงพ่อบอก&nbsp; พอตกเย็นสามีเมากลับบ้านมา ก็ได้หาเรื่องทะเลอะแต่แปลกทำไมวันนี้ภรรยาตนจึงไม่เถียงสวนมา
พอเห็นก็เห็นแก้มภรรยาอูม จึงนึกสงสารเลิกบ่นเลิกด่า และไปช่วยงานบ้านจนเสร็จ
ภรรยาก็อมมาตลอด จนถึงวันที่ 7 ก็ได้ไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกโยมไม่ต้องอมและหละ ลองกลับไปบ้านใหม่

พอสามีกลับมาเจอ จึงถามภรรยาว่า อ่าวแก้มที่เป็นคางคูมหาหายและเหรอ ภรรยาก็ตอบว่าปล่าว อมน้ำมนหลวงพ่อ
ตั้งแต่นั้นมา ทำให้สามีคิดได้ว่า เราไม่น่ากินเหล้าเมาและหาเรื่องภรรยาเลยเพราะมันไม่มีความสุข&nbsp; และเลิกกินเหล้า ขยันทำงาน จนปัจจุบัน เป็นคนมีฐานะ จนทุกวันนี้


ประสบการณ์ ทางด้านวัตถุมงคล ก็มีให้เห็นจนเป็นที่ศรัทธาของชาวเทียนดัดและคนในระแวกนั้น มีทั้งคนที่ถือคลิสและพุทธต่างกับนับถือหลวง
พ่อเป็นที่พึ่งเสมอ เพราะคนแถวนั้น เป็นคลิสก็เยอะ แต่ก็ศรัทธาหลวงพ่อไม่ต่างจากชาวพุทธเลย เพราะท่านเป็นผู้เมตตา และเมื่อใดมีคนมาขอบูชาวัตถุมงคลท่าน ท่านก็จะสอนธรรมมะเสริมให้อีก

ท่านบอกว่า วัตถุมงคลของท่านสร้างเพื่อ
1.ทำให้คนเข้าวัด พระจะได้มีโอกาศสั่งสอน
2.แขวนพระแล้วจะได้มีจิตละลึกไม่ได้ทำความชั่ว
3.เพื่อคุ้มภัย (ถ้าเชื่อว่าคุ้มได้เพราะมั่นใจ)
4.จะได้นำปัจจัยมาพัฒนาวัดให้เจริญๆ

หลวงปู่ผลท่านมรณะภาพโดยอาการอันสงบ เมื่อเวลา4.00 (ตี4) วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม 2532 อายุ94 ปี ณ โรงพยาบาลบางไผ่


ทั้งหมดได้ย่อมาจากหนังสือ อนุสรณ์ 101 ปี หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด หากข้าพเจ้าพิมขาดตกบกพ่อง ก็ขอให้อภัย ณ ที่นี้ด้วย...

188
ขอเชิญพี่น้อง ที่สนใจเที่ยวงานประเพณีแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน วันที่ 20-21 ธันวาคม 51
ณ วัดมงคลจินดาราม หรือ วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง)



ข้อมูลจากหนังสือพิม ข่าวสด

การแข่งเรือพายเป็นประเพณีเก่าแก่มาแต่ก่อนของชาวลุ่มน้ำ เริ่มมาจากการไปทำบุญไหว้พระในยุคอดีต ที่ชาวบ้านต้องใช้เรือเป็นพาหนะไปวัดทางน้ำ ระหว่างทางเกิดการพายเรือแข่งกันว่า ใครจะไปถึงวัดก่อน ในที่สุดก็เกิดเป็นประเพณีขึ้น

แต่ต่อมาในยุคสมัยปัจจุบัน การคมนาคมใช้กันแต่ทางบกเป็นส่วนใหญ่

อีกทั้งคูคลองก็ตื้นเขินบางแห่งบางจุดก็ถูกปิดบดบังไม่สะดวก

วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (เจ้าคุณแย้ม กิตตินธโร ป.ธ.3) เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑล เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ได้ดำริให้ฟื้นฟูประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้น ณ แม่น้ำท่าจีนหน้าวัดไร่ขิง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมประเพณีอันดีงามในวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ และศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างสัมพันธ์ระหว่างคนไทยในแต่ละภาคแต่ละจังหวัด

นายจำรัส ตั้งตระกูลธรรม นายกเทศมนตรีเมืองไร่ขิง จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม กำหนดจัดการแข่งขันเรือพายประเพณี ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้น

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองไร่ขิง นายจำรัส พร้อมคณะผู้บริหาร, นายขวัญทอง สอนศิริ กรรมการบริหารสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทยพร้อมผู้แทนเรือยาวจากทั้ง 4 ภาค ได้ร่วมกันแถลงข่าว "การแข่งขันเรือพายประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานฯ" พร้อมจับสลากคู่การแข่งขัน
 


นายจำรัส กล่าวว่า การแข่งขันเรือพายประเพณี ชิงถ้วยพระราชทาน ซึ่งวัดไร่ขิง เทศบาลเมืองไร่ขิง ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม โดยมีพระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑล เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) เป็นประธานที่ปรึกษาในการจัดงาน วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณีอันดีงามในวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ และศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครปฐม ซึ่งจะมีเรือยาวจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน ในวันที่ 20-21 ธันวาคม 2551 ณ บริเวณสะพานมงคลรัฐประชานุกูล กลางแม่น้ำท่าจีนหน้าวัดไร่ขิง

เรือที่มาร่วมการแข่งขันประกอบด้วย ประเภทเรือยาวใหญ่ (41-55 ฝีพาย) จำนวน 8 ลำ ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ประเภทเรือยาวเล็ก (30 ฝีพาย) จำนวน 16 ลำ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท นอกจากนี้ ทางวัดยังจะมีพระเครื่องที่ระลึกมอบแก่ทุกฝีพาย พร้อมเหรียญรางวัลที่ออกแบบโดยเฉพาะในการแข่งเรือพายครั้งนี้ของวัดไร่ขิง
 


พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ ประธานที่ปรึกษาในการจัดงาน และคณะกรรมการจัดการแข่งขัน มั่นใจว่า การแข่งขันเรือยาวประเพณี ณ วัดไร่ขิง ครั้งที่ 1 จะประสบผลสำเร็จ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแข่งขันเรือยาวไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน ทั้งนี้ วัดไร่ขิงมี "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของประชาชนในจังหวัดนครปฐม และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก นอกจากจะได้มาชมการแข่งขันเรือยาวประเพณีแล้ว ยังได้มากราบไหว้นมัสการหลวงพ่อวัดไร่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวด้วย

สำหรับประเภทเรือยาวใหญ่ (41-55 ฝีพาย) ที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 8 ลำ ประกอบด้วย เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง กองทัพเรือ เรือเจ้าแม่ประดู่เงิน กองทัพเรือ เรืออัครนาวา กองทัพเรือ เรือชาละวัน สิงห์นาวา 1 จ.พิจิตร เรือศรสุวรรณ วัดสุวรรณราชหงส์ จ.อ่างทอง เรือเทพหงส์ทอง วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม เรือหงส์นคร วัดเกาะหงส์ จ.นครสวรรค์ และเรือนางคำปิว วัดบ้านยาง จ.อุบลราชธานี

ประเภทเรือยาวใหญ่ (30 ฝีพาย) ที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 16 ลำ ประกอบด้วย เรือเพชรวัดประดู่ เทศบาลตำบลวัดประดู่ จ.สุราษฎร์ธานี เรือนครสุราษฎร์ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เรือย่าบุญโฮม จ.อุบลราชธานี เรือชาละวัน สิงห์นาวา 3 จ.พิจิตร เรืออัครโยธิน กองทัพบก เรือจ้าวนาง วัดเคียนซา จ.ปราจีนบุรี เรือพรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี เรือนางพญาผาแดง จ.อ่างทอง เรือคนสวยเมืองเพชร จ.เพชรบุรี เรือสาวเมืองเพชร จ.เพชรบุรี เรือศรีพรชัย จ.ราชบุรี เรือเจ้าแม่สายชล วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม เรือมงคลสาคร วัดประชานาถ จ.นครปฐม เรือดาราวรรณ วัดประชานาถ จ.นครปฐม เรือสายวารี หนองดินแดง จ.นครปฐม และเรือเทพประทานพร วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม

นอกจากนี้ ยังมีเรือยาวจากท้องถิ่นที่ไม่ได้กล่าวถึง เข้าร่วมแข่งขันด้วยอีกจำนวนมาก โดยวันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม 2551 จะมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันตั้งแต่เวลา 14.00 น. ถึง 16.00 น. ทางทีวีช่องไทยพีบีเอสด้วย และทั้งสองวันของการแข่งขันจะได้พบกับทีมพากย์ ทีมบรรยายช่วงการแข่งขันเรือยาวประเพณีมืออาชีพ

เป็นที่รู้จักในวงการแข่งขันเรือยาวของไทย

189





วัดอะไร ครับ ......ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้า ครับ

191
ขออนุญาติพี่ๆ เวปมาสเตอร์และทุกท่าน ลงรูปอีกรอบ ครับ

พี่ๆเพื่อนๆ ท่านใด พอทราบพระปิดตาองค์นี้ใหมครับ  ว่าวัดไหน ขอบพระคุณ ครับ









 :054: :054: :054: :054: :054: :054: :054:

192
ขออนุญาติพี่ๆและเพื่อนๆ ที่เคารพ นอกเรื่องสักนิดครับ ...พอดีถ่ายภาพแปลกๆ ได้เลยเอามาให้ชมครับ แปลกดี



เรื่องราวระหว่างพี่จกกับพี่แก ครับ หุหุ

193




สวัดดีครับพี่ๆน้องๆชาวบางพระ ..วันนี้เรามาดูตำหนิ เหรียญวัดไร่ขิง 2482 กัน ครับ .........
จากที่ผมได้ศึกษา จากหนังสือรวมเหรียญทางวัดก็ดี จากคนรุ้จักก็ดี ...และได้เห็นเหรียญแท้ๆหลายๆเหรียญ
ก็ได้ข้อสรุปดังนี้ครับ ....ทั้งนี้ผมไม่เอาเหรียญผมมาลงนะครับ เพราะ
1.เหรียญของผมสภาพใช้ครับ ลอยตำหนิอาจจางลงบ้างแต่ก็มีให้เห็น ครับ
2.ก้องผมซูมไม่ชัดถ่ายได้แต่ก็ลางๆ&nbsp; ซึ่งถ่ายออกมาแล้วทำให้ไม่เห็นลอยตำหนิ
3.จึงขอยืมรูปจากเวปเพื่อนบ้านมาครับ ก็ขออภัยด้วยนะที่นี้ .............

ขอบ ครับ ขอบเหรียญรุ่นนี้บางครับ ...และจะมีลอยตะไบด้วยเลื่อยจากมือครับ
เหรียญพิมนี้ เกะพิมและสร้างจากช่างในพื้นที่ครับ เป็นงานฝีมือล้วนๆ ครับ
ดูตำหนิใว้นะครับ ...ที่ทำลูกศรชี้ ปกติธรรมชาติของเส้นบล็อคเกิน จะบางครับ ไม่หนา ทั้งใต้ฐานทั้ง 2 เส้น
ข้อสำคัญไม้เอก ตรงคำว่าพ่อจะชนกับเส้นบล็อคเส้นล่างหรือเส้นที่ 2 พอดี ครับ
ด้านหลัง ตำหนิจุดตายอีกจุดครับ ของปลอมปกติจะไม่มี และหรือไม่ก็หนา หรือยาวจนไม่งามตาครับ

เหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญปั๊ม รุ่นแรก ของทางวัดเลย ครับ ที่ออกที่วัด .......
 ....เหรียญนี้สร้างโดยพระอาจารย์ เฉย กิตติสาโร อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6
มี 3 เนื้อ ครับ ทองแดง เงินที่สร้างจะโกตกระดูก(ไม่ใช่เงินแท้) และเหรียญทองฝาบาตรครับ ......
ซึ่งส่วนมาก จะพบแต่เหรียญทองแดง ส่วนเหรียญทองฝาบาตร และ เงิน ไม่เค่ยพบเห็น ครับ


ทั้งนี้ทั้งนั้น ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ ..........ขอบคุณด้วยความเคารพ

194




รบกวนพี่สิบทัศ ....และพี่น้องชาวบอร์ดวัดบางพระ มาฟันธง กัน ครับ 

195
ช่วยดูให้หน่อย ครับ อยากทราบ เพื่อเป็นวิทยาทาน (ไม่ใช่ของผมนะครับ เห็นพิมสวยดี )




196
พระกริ่งหลวงพ่อโสธร รุ่น 80 ปี กลมตำรวจ เนื้อเงินพ่นทราย ครับ .......
รุ่นนี้เป็นพระรุ่นที่พิธีใหญ่พิธีหนึ่ง ของวัดโสธร เลย ครับ ผม







ต่อไปพระกริ่งบารมี 84 พระสมเด็จญาณังวร  วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2540 ครับ


198
ไม่ทราบว่า รูปนี้เคยลงในบอร์ดของเราหรือยัง หากลงแล้วก็ขออภัยด้วย ครับ ......



 :054: :054: :054: :054: :054: หลวงปู่ของเรา เมตตาสุดยอดเลย ครับ

ขออนุญาติยืมรูปมาจากเวป http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t47.html ด้วย ครับ

199


หลวงพ่อเพิ่ม วาจาสิทธิ์

ประวัติหลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพชญ หรือพระครูถาวรวิทยาคม ท่านมีนามเดิมว่า เพิ่ม นามสกุล เพ็ญเพียร เกิดวันอังคาร ขึ้น 5 ค่ำ เดือน
12 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2438 ท่านเป็นบุตรของนายแสง นางเขียว เพ็ญเพียร ท่านเกิดที่บ้านคุ้มลมทวนใต้ วัดบางขันแตก
ตำบลบางนางจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม การศึกษาเบื้องต้น ท่านได้เล่าเรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนวัดบ้านแหลม (วัดเพชรสมุทรวรวิหาร) เมื่อปี พ.ศ. 2455 ท่านได้ช่วยบิดาประกอบอาชีเกษตรกรรมตลอดมา

และเมื่อปี 2456 ได้สมัคเข้ารับราชการเป็นทหารเรือ โดยเป็นนายทหารมหาเล็กติดตามเสด็จพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และท่านได้ยศชั้นประทวนเป็น จ่าโท จึงได้ลาออกจากทางราชการมาอยู่กับบิดามารดาถูมิลำเนาเดิม

เนื่องจากท่านปราถนาที่จะทดแทนพระคุณบิดามารดาตามแบบของกุลบุตร ท่านจึงได้บรรพชาและอุปสมบท ณ วัดบ้านขันแตก เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2465 โดยมีพระครูมหาสิทธิการสังฆวาสี(ถม) เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระครูสุตาภิรัต (รอด อุทโย) เจ้าอาวาสวัดบางขันแตก เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูปลัดแหร่ม วัดจันทร์สุขเป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสทบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดขันแตก 1 พรรษา เพื่อโปรดญาตโยมบิดามารดา และย้ายไปจำพรรษาวัด อัมพวันเจตยารามเพื่อเรียนปริยัตติธรรม และศึกษาทางคันถธุระ ต่อมาท่านได้ย้ายไปสอบนักธรรม สนามหลวงได้นักธรรมชั้นโท เมื่อปี พ.ศ. 2467

ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันเจติยาราม ท่านได้รับตำแหน่งให้เป็นพระสมุห์ของพระครูมหาสิทธิการสังฆวาสี (ถม) ซึ่งตอนนั้นท่านได้รับตำแหน่งเป็นเข้าคณะจังหวัด จนกระทั่งเมื่อปี 2471 พระครูมหาสิทธิการสังฆวานร ได้ลาออกจากการเป็นตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัด และได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) กรุงเทพมหานคร และช่วง ที่ท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดเชิงเลน ก็ได้มีพระลูกศิษท่านย้ายมาจำพรรษา กับท่าน และ วัดอื่นๆ พล้อมท่าน โดยมีดังนี้

1.พระมหาหวัง อยู่พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
2.พระวินัยธร (เที่ยง) อยู่วัดช่องลม
3.พระสมุห์เพิ่ม อยู่วัดสรรเพชญ
ตอนที่ท่านเดินทางมาจำพรรษาที่วัดสรรเพชญ ก็ได้มีลูกศิษท่านตามมาด้วย&nbsp; มี สามเณรฮะ สมัยเลิศ นายเจียด สมัยเลิศ และนายสุข เพ็ญเพียร(หลานแท้ๆของท่าน)

ก่อนที่หลวงพ่อเพิ่มจะเดินทางมาวัดสรรเพชญ พระครูมหาสิทธิการสังฆวาสี (ถม) ได้มีหนังสือล่วงหน้ามาถึงพระครูทักษิณาษุกิจ (ผัน)

(ขอกล่าวถึง หลวงพ่อผันกันสักนิดก่อน ครับพี่น้องบางพระจะได้ไม่ งง หลวงพ่อผัน ท่านเป็นเจ้าอาวาส อยู่ที่วัดสรรเพชญ ก่อนที่หลวงพ่อเพิ่ม จะย้ายมาจำพรรษา ท่านเป็นพระ ศิษพี่น้องร่วมสำนัก กับหลวงพ่อทับ วัดทอง หลวงพ่อผันรูปนี้ เก่งสุดยอดเลย ครับ )
ว่าท่านไม่อยากให้พระสมุห์เพิ่ม ลาสิขาบทไป เนื่องจากพระภิกษุเพิ่มเป็นพระที่มีความรู้และความสามารถช่วยในงานพุทธศาสนาต่อไป ขอให้หลวงพ่อผันช่วยพูดให้พระสมุห์เพิ่ม อย่าได้ลาสิขาไป ...แล้วหลวงพ่อผันก็พูดได้สำเหร็จ โดย หลวงพ่อเพิ่มก็จำพรรษา ที่วัดสรรเพชญ ตลอดมา


หลวงพ่อเพิ่ม ท่านเป็นพระที่ใฝ่ความรู้ ทุกๆด้าน โดยเฉพาะวิธีการสร้างวัตถุมงคลและอาคมต่างๆจากหลวงพ่อผัน ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ นอกจากนั้น หลวงพ่อเพิ่มท่านยังเป็นลูกมือช่วยหลวงพ่อผันสร้างวัตถุมงคลต่างๆอีกด้วย
ต่อมาหลวงพ่อเพิ่ม ได้ไปเยี่ยมพระมหาวังที่วัดพระประโทรเจเดย์ และได้พบกับเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งจึงได้ร่ำเรียนวิชามาจากท่านจนจบ
และในสมัยนั้น หลวงพ่อเพิ่ม ท่านก็ยังไปพบหลวงพ่อเงิน เพื่อแรกเปลี่ยนธรรมมะ และ วิทยาคมอยู่เสมอ ตั้งแต่ยังไม่ได้เป้นเจ้าอาวาสวัด สรรเพชญ&nbsp; บางทีมีคนมาขอวัตถุมงคล (หากเป็นชาวสามพราน)หลวงพ่อเงินท่านก็บอกว่า ที่วัดสรรเพชญ พระครูเพิ่ม ก็เก่งเหมือนกัน

ในเรื่องเข้มขลัง ทางวิทยาคม ของหลวงพ่อเพิ่มนี้ แม้แต่หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ยังยอมรับ พระอาจารย์เจียม (วัดไร่ขิง) เคยเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อรุ่งเคยทดลองวิชาจากหลวงพ่อเพิ่มมาแล้ว โดยมี นายบุญมา เหมือนคี้ กรรมการวัดสรรเพชญท่านหนึ่งยืนยันได้ว่าจริง

หลวงพ่อเพิ่มวัดสรรเพชญ นั้น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดสรรเพชญ 2483-2526
และยังเคยเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดไร่ขิงในช่วงปี 2500-25003 (โดยประมาณ)

ท่านเป็นพระสมาถะ ถ่อมตน และประพฤในหลักของศาสสนาอย่างเคร่งครัด เป็นพระศิลบริสุทธิ์ที่กราบได้สนิทใจ ของ จ. นครปฐมอีกรูปนึงเลยทีเดียว

โดยหลวงพ่อเพิ่ม ท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ วันที่ 7 พฤศิจิกายน พ.ศ. 2526 เวลา 11.00 เศษ

(ข้อมูลทั้งมีคัดลอกมาจากหนังสือประวัติ วัดสรรเพชญ โดย มีการดัดแปลงแก้ไข เพื่อให้อ่านได้เข้าใจขึ้น โดยอาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย )

200






รบกวนหน่อย ครับ ...... ใครทราบประวัติ บ้าง ครับ  ขอบคุณ ครับ

201



...........................






พระพุทธกวัก หรือพระพุทธยอดขุนพล ของหลวงพ่อขัน วัดพระศรีอารย์นั้น

หลวงพ่อขัน ท่านก็ให้ลูกศิษย์หาบ มาวัดหนองรี ให้หลวงปู่อินทร์ ท่านปลุกเสกอยู่หลายเพลา

จนสามารถใช้ได้ก็ให้หลวงพ่อขันท่านเอากลับไป และหลวงพ่อขัน ท่านก็ไปปลุกเสกต่อ

คนหนองรี หรือแถวหนองโพ จึงนับถือหลวงปู่อินทร์ ท่านมาก พร้อมทั้งเก็บพระเครื่องของหลวงปู่อินทร์ มากกว่า

และท่านเป็นพระที่ไม่ค่อยสนทนากับใครเก็บตัวอยู่ในกุฏิของท่าน

ข้อมูลจากเวป http://www.siamamulet.net/phpboard/qb.php?Qid=153900

202


   อ้าว เฮ้ย...เอ็ง...ลองของ...มันก็เข้าสิวะ เขาให้บอกบูชาครู บอกใหม่... บูชาครู? เสียงลูกศิษย์หลวงพ่อสั่งให้เด็กหนุ่มเปลี่ยนคำพูด ซึ่งเขาก็รีบกุลีกุจอทำตามอย่างว่าง่าย แม้จะดูตื่นเต้นอยู่ไม่น้อย ?ครับขอบูชาครูครับ? กลุ่มคนจำนวนหลายสิบที่เข้ามาขอบูชาตะกรุดชุดแรกของช่วงบ่ายและกำลังทยอยออกจากห้องต่างหันหลังกลับในทันทีที่ได้ยินเสียงยืนยันชัดเจน แล้วการเบียดตัวหาที่ว่างภายในกุฏิก็เกิดขึ้น คำพูดตะกุกตะกักสั้นๆแต่หนักแน่นของหนุ่มร่างสูง หน้าจืด แต่แววตาดูเอาเรื่องคนนี้ ได้เปลี่ยนบรรยากาศอบอ้าวของช่วงบ่ายกลางเดือนมิถุนายน ที่สมานกับพลังศรัทธาในตัวหลวงพ่อจำลองแห่งวัดเจดีย์แดง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ด้านคงกระพันชาตรีจากตะกรุดลงอาคมของหลวงพ่อให้ทวีร้อนแรงมากยิ่งขึ้น


        สำหรับสุขสันต์ กลบกลิ่น หนุ่มชาวนครสวรรค์วัย 27 ปี การลองของคงถือเป็นวิธีการเรียกศรัทธาได้ดีที่สุดของเขา แม้จะดูบ้าบิ่นและไร้เหตุผลสำหรับคนทั้งกุฏิในวันนั้น นี่ไม่ใช่การลองของครั้งแรก ย้อนหลังไปราวสิบปี สุขสันต์ผู้บ้าบิ่นเคยเดินทางไปรับการสักน้ำมันกับหลวงพ่อเปิ่นแห่งวัดบางพระที่เมืองนครชัยศรี และปิดฉากด้วยการทดสอบความขลังโดยให้หลวงพ่อใช้ดาบเล่มยาวคมกริบฟันที่กลางหลัง แต่ไม่ระคายผิวของเขาแม้แต่น้อย และเช่นเดียวกันสำหรับหลวงพ่อจำลองการบูชาครูครั้งนี้หาได้เป็นการพยายามค้นคำตอบและเรียกศรัทธาครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของผู้คน ทั้งชาวบ้านและพระลูกวัดที่ตั้งโต๊ะให้บริการสวมปลอกตะกรุดอยู่ข้างกุฏิเก่าโทรมของหลวงพ่อ ยืนยันว่าการปลุกเสกพร้อมเปิดให้บูชาตะกรุดมีขึ้นทุกวัน วันละหลายร้อย

ดอก และการบูชาครูเช่นนี้เกิดขึ้นแทบทุกอาทิตย์

        ที่ข้างอาสนะ มีดหมอวาววับเสียบแช่อยู่ในขวดแอลกอฮอล์ล้างแผล โค้งคมของมันทำให้รู้สึกเสียววาบถึงสันหลัง ?กำไว้แน่นๆ? เสียงหลวงพ่อกำชับ ก่อน ตามมาด้วยเสียงร่ายคาถาสะกดคนดูให้เงียบงัน นักลองของใจหาญถอดเสื้อหมอบลงกับพื้นให้หลวงพ่อประพรมน้ำมนต์จนเปียกโชก เขากำดอกตะกรุดหุ้มยางรักสีดำมะเมื่อมปิดส่วนกลางด้วยแผ่นทองคำเปลวไว้ในมือ และทันทีที่เสียงร่ายอาคมจบลง หลวงพ่อก็ลุกพรวดขึ้นพร้อมฉวยมีดหมอข้างกายปักปลายแหลมลงที่สะบักไหล่ซ้ายแล้วกรีดยาวลงไปจนถึงบั้นเอวอย่างรวดเร็วและหนักหน่วง เสียงออกแรงกดของหลวงพ่อดังผสานเสียงมีดโลหะกรีดผิวเนื้อดังก้องไปทั่วทั้งกุฏิอย่างต่อเนื่อง กลุ่มคนดูยืนจ้องตัวเกร็งราวกับจะลืมหายใจ หลายคนครางด้วยความเสียวไส้ ไม่กี่อึดใจเสียงมีดกรีดเนื้อก็หยุดลง รอยสีแดงเรื่อเป็นทางยาวนับ 30 รอยก็ประทับบนแผ่นหลังของเจ้าหนุ่ม เลือดสีแดงสดเริ่มซึมออกมาเหมือนยางมะตูม ?นี่...ของแท้?หลวงพ่อพูดพลางหายใจหอบ ก่อนทรุดนั่งและหย่อนมีดหมอลงในแอลกอฮอล์ล้างแผลขวดเดิม

        เรื่องราวของตะกรุดรวมทั้งเครื่องรางของขลังที่คนไทยรู้จักดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด รวมทั้งว่านยา มีหลักฐานกล่าวถึงสรรพคุณต่างๆ ทั้งความคงกระพันหนังเหนียวและเมตตามหานิยม ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอยุธยา จากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน หากความเชื่อดังกล่าวปรากฏขึ้นก่อนหน้านั้น จารึกในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ยี่สิบสาม กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเจ้าพระยาโกษา-ปานเป็นทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจฝรั่งเศส และได้จัดแสดงความคงกระพันชาตรีของหน่วยทหารกองอาทมาตจำนวน 100 นาย ผู้ขึ้นชื่อว่าเชี่ยวชาญวิชชาชาตรี เจนจบในตำรับพิชัยสงคราม แต่อ้างเพียงว่าเป็นกะลาสีเรือทั่วไปเท่านั้น ครั้งนั้นเจ้าพระยาโกษาปานจัดให้บรรดากะลาสีเข้าไปนั่งรวมกลุ่มในวงล้อมสายสิญจน์ โดยมีปะขาวเป็นผู้ทำพิธีปักธงธวัชและตั้งศาลเพียงตา ก่อนให้สัญญาณแก่บรรดานายทหารจำนวน 200 นายของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ ซึ่งยืนถือปืนห่างออกไปราวยี่สิบวา ระดมยิง จารึกกล่าวว่า ?เสียงปืน 200 กระบอกดังสนั่นหน้าพระที่นั่ง ควันปืนอบอวลคลุ้งกระจาย ลูกกระสุนปืนทั้ง 200 นัดมิได้ระคายแม้ชายเสื้อทหารสยามทั้งหลาย เป็นที่อัศจรรย์?

 

ขอขอบคุณเวป
http://www.ngthai.com/ngm/0708/feature.asp?featureno=1

203
ช่วยดูให้หน่อยนะครับ แท้หรือป่าวครับ ขอบคุณมาก  ครับ  :054:
เหรียญ ที่ 1 ครับ


............................



............................




204


คืออะไร ครับ
มีใว้ทำไม ครับ
เป็นเครื่องรางได้ปะครับ

205
บทความ ที่พิมมา ล้วน ไม่ได้แต่งขึ้น ล้วนแต่เป็นประสบการณ์จริง มีที่มาอ้างอิงทั้งสิ้น  โดยจากหนังสือประวัติ ปากต่อปาก หรือแหล่ง ที่น่าเชื่อถือได้ครับ  กระผม จะนำเสมอ มาให้ อ่าน เป็นระยะ ๆ ครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน ครับ
กระผมต้องขออนุญาติ จากเจ้าของเวปบอร์ดด้วย ครับ ขอบคุณ ครับ


รอดชีวิตจากฟ้าฝ่า

เป็นนาทีวิกฤตอันระทึกใจที่สุดในชีวิตน้อยๆ ของผู้ได้อยู่รับเหตุการณ์อย่างไม่คาดฝันมาก่อน น้อยเหลือเกินที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ ในจำนวนน้อยนั้น จะเป็นการบังเอิญหรืออย่างไรก็เหลือวิสัยที่จะถูกคาดเดาถูก คุณแม่จำรัส กลัดจินดา ได้รอดชีวิตมาอย่างหวุดหวิดเส้นยาแดงผ่าแปดก็ว่าได้ทั้งน่าทึ่ง ใจหายใจคว่ำไปตามๆกัน  วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เวลาประมาณ 10.00 เศษ แม่จำรัส ได้เดินทางกลับจากนา มือถือเคียว
เกี่ยวข้าว ถือแกลอนจุน้ำมันประมาณ 5 ลิตร และไม้รองเครื่อง ฝนตกเปาะแปะเล็กน้อย อีกประมาณ 1 เส้นเศษจะถึงบ้าน ฟ้าได้ฝ่าลงมาที่งอบกันแดดฝน ซึ่งอยู่บนศรีษะ รังงอบละเอียด ตัวงอบยับเสียหายบางส่วน เป็นช่องขนาดผลมะนาวรอดได้สบาย  งอบใช้ไม่ด้ข้างศรีษะด้านขวามีเลือดเกรอะกรัง เสื้อชั้นในและชั้นนอก ขาดเป็นรูเล็กๆ ทั้ง 2 ตัว ข้างๆเป็นลอยไหม้  สร้อยคอทองคำ หนัก 1 บาท ไหม้ละลาย เหลือที่ใกล้ขอสร้อย ซึ่งแขวนพระ ข้างหนึ่งเหลือ 4 ข้อ ข้างหนึ่ง เหลือ 2 ข้อ ตรงสร้อยที่คล้องคออยู่มีเลือดซิบๆ ตามรอยไหม้ไฟอยู่หลายวัน  จนออกจากโรงพยาบาลมาได้เลือดที่ซิบๆ จังได้หายไปทีละน้อยๆ

พระที่แขวนสร้อยเป็นพระด้านหนึ่งประจำวันอังคารด้านหนึ่งรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระที่ลูกสาวคล้องคอไปช่วยงานกลับมาจากบ้านแล้วเลย
ถอดมาให้แม่เก็บใว้ แม่ได้คล้องคอออกไปนา และกลับาเวลาดั่งกล่าว แม่จำรัส กลัดจินดา ถูกฟ้าฝ่าหมดสติไป สิ้นเสียงฟ้าลูกสาวสงสัยแม่หายไปไหน จึงชวนคุณพ่ออกไปดู เห็นคุณแม่สลบอยู่ จึงนำส่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ให้หมอดูในความปลอดภัยถึงเวลาประมาณ 12.30 นาที เศษ จีงได้สติฟื้นกลับมาเป็นบางขณะ ตั้งแต้เข้าโรงบาล จนถึงออกจากโรงบาล  หมอให้น้ำเกลือ(ขนาด 1000 ซีซี 5 ขวด 500 ซีๆ 13ขวด ) หลังจากถูกฟ้าฝ่าแล้ว ขณะก้มหน้า หรือเงยหน้าศรีษะมีอาการมึนงงอยู่ แต่เค่ยรู้สึกตัว ทีละน้อย คุณแม่จำรัส กลัดจินดา เล่าว่า ตายและเหมือนเกิดใหม่ หมอยังยืนยันว่าไม่เคยมีรอดสักรายเดียว ขนาดถูกสายฟ้าไม่ถึงขนาดตัวด้วยซ้ำยังไม่รอดเลย

อ้างอิงจากหนังสือ ประวัติหลวงพ่อไร่ขิง ปี พ.ศ. 2528 ครับ


ส่วนตัวข้าพเจ้า ก็รอดตายด้วยบารมีหลวงพ่อ มาหลายครั้งเหมือนกัน ใครมีประสบการณ์เกี่ยวกับหลวงพ่อมาแชร์กันมั่งนะครับ

206
บทความนี้ หากซ้ำหรือ มีคนเคยลงแล้ว ก็ขอประทานโทษด้วยนะครับ
ผมไปอ่านเจอมา น่าสนใจมาก ครับ ........






........................เฉียดตายแต่ "รอด" เพราะ "พระเครื่อง" !!!
........."พระเครื่อง" จะต้องทำความเข้าใจว่า เป็นคนละส่วน คนละชนิดกับ "เครื่องราง-ของขลัง" แต่คนส่วนมากชอบเรียกรวมกันว่า พระเครื่อง คือ เครื่องราง-ของขลัง คนเรามักจะมีความเชื่อว่า พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จะต้องคุ้มครองแต่คนที่ทำความดี ส่วนคนที่ทำความชั่วพระท่านจะไม่คุ้มครอง นั่นเป็นความเชื่อที่ผิด
ท่านจะคุ้มครองทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกว่าคนนี้เป็นตำรวจ คนนี้เป็นโจร รวมความก็คือ ผู้ใดก็ตามหากใส่พระเครื่องท่านแผ่พุทธคุณคุ้มภัยให้หมด
ในอดีต?
.........เสือผาด ทับสายทอง เป็นขุนโจรที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอันมากในจังหวัดนครปฐม เสือผาดเป็นเสือร้ายที่มีประวัติน่าเกรงขาม ปล้น ฆ่า ข่มขืน จนคนทั่วไปขนานนามเสือผาดว่า ขุนโจรร้อยศพ !
เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามไล่ล่าเสือผาด แต่จนแล้วจนรอดก็ต้องคว้าน้ำเหลวทุกครั้งไป คุณลุงเสงี่ยม พู่คำ ชาวดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันอายุ 67 ปี ได้เล่าให้ฟังว่า เคยอยู่ในเหตุการณ์ที่ตำรวจไล่ล่าเสือผาดอย่างกระชันชิด เคยเห็นปากกระบอกปืนเป็นจำนวนมาก พุ่งเป้าไปที่ร่างของเสือผาด แต่กระสุนทุกนัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ถูกเสือผาดเลยแม้แต่นัดเดียว
........"วันนั้นตำรวจได้ข่าวว่าเสือผาดจะปล้นที่บ้านดอนยายหอม กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจยกมาเป็นร้อย อาวุธปืนยาวคาร์บินคนละกระบอก พอมาถึงก็กระจายกำลังไว้รอบด้าน ตอนนั้นเป็นเดือนพฤศจิกายน ปี 2510
 ชาวบ้านไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน พอตอนเที่ยงเศษๆ เสือกับลูกน้องก็นั่งเรือกันมา พอจังหวะที่เสือผาดก้าวลงจากเรือเท่านั้น .ตำรวจก็ระดมยิงใส่ทันที"
ทำไมตำรวจจึงไม่คิดจะจับเป็นเสือผาด?
"เขาไม่ยอมให้จับหรอก ตำรวจถูกเสือผาดยิงตายไม่รู้กี่ศพมาแล้ว เพราะต้องการอยากจะจับเป็น เสือผาดมีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เขาหายตัวได้"
แสดงว่าเสือผาดเป็นศิษย์มีครู?
"ใช่ เสือผาดเป็นศิษย์มีครูจริงๆ และครูของเสือผาดนั้นก็คือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นั่นเอง เสือผาดได้ของดีไปจากหลวงพ่อเงินหลายอย่าง เช่น เหรียญรุ่นแรก ผ้ายันต์ และวิชากำบังตัว แค่เหรียญอย่างเดียวก็เหลือกินแล้ว แต่นี่ได้ทั้งผ้ายันต์ ได้ทั้งวิชากำบังตัว ตำรวจที่ไหนจะจับเสือผาดได้ล่ะ"
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็แสดงว่า พระเครื่อง เครื่องรางของขลัง จะคุ้มครองพวกโจรผู้ร้ายด้วยอย่างนั้นหรือ?
"แน่นอนอยู่แล้ว เรื่องของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ มันเป็นเรื่องที่แปลกมาก คือ อำนาจของพระพุทธคุณที่พูดมาทั้งหมดนั้น ท่านจะคุ้มครองคนทุกคนที่สวมใส่ จะไม่แยกแยะว่าคนไหนดี คนไหนชั่ว"
แสดงว่าเหตุการณ์ในวันนั้นเสือผาดก็สิ้นชื่อ?
"ไม่หรอก เสือผาดพอได้ยินเสียงปืนก็กระโดดขึ้นฝั่ง มันก็เป็นเรื่องแปลก แทนที่จะกระโดดลงเรือแล้วหนีไป โอกาสจะมีมากกว่าหนีขึ้นฝั่ง เข้าใจว่าตอนนั้นเสือผาดคงจะตกใจมากกว่า เลยทำให้ตัดสินใจพลาด พอเสือผาดขึ้นฝั่งก็ออกวิ่งทันที เสือผาดวิ่งตรงไปที่กำลังของตำรวจซุ้มอยู่ ลุงเห็นตำรวจนับร้อยระดมยิงใส่เสือผาดเสียงดังสนั่น ชาวบ้านได้ยินเสียงปืนก็วิ่งมาดู เสือผาดถูกจับได้ แต่ที่น่าแปลกก็คือ ตามตัวไม่มีร่องรอยของกระสุนปืนเลยแม้แต่นัดเดียว"
ลุงเห็นกับตาเลยหรือครับ?
"ใช่ ลุงเห็นกับตาตัวเองเลย ทุกวันนี้ยังจำภาพนั้นได้ดี พอตำรวจได้ตัวเสือผาดก็เอาตัวเข้ากรุงเทพทันที เสือผาดถูกตัดสินใจประหารชีวิต ตำรวจเอาตัวเสือผาดมายิงเป้าที่หน้าองค์พระ คนดูนับพันๆ คน"
การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสือผาดไม่เข้าเพราะอะไร?
"ตำรวจบอกว่าเสือผาดอมเหรียญของหลวงพ่อเงินไว้ในปาก เหรียญของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มีกิตติศัพท์ในเรื่อง คงกระพันชาตรี อยู่แล้ว"
บรรยากาศตอนที่เสือผาดถูกยิงเป้าเป็นยังบ้าง?
"เสือผาดเป็นเสือที่มีประวัติเหี้ยมโหดมาก พอยิงเสือผาดตาย ตำรวจก็ให้ตัดหัวเสือผาดแล้วเสียบประจานกลางองค์พระ"
คุณลุงเสงี่ยม พู่คำ เป็นผู้ที่มีความในใจในพระเครื่อง และเครื่องรางของขลัง ในชีวิตเคยพบกับประสบการณ์ เฉียดเป็น เฉียดตาย จนนับไม่ถ้วนมาแล้ว
การที่จะเป็นเซียนพระมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ ?
"ความสนใจ สิ่งแรกเลยคนที่จะเป็นเซียนพระ เขาจะต้องมีความสนใจ อยากเรียนรู้ในพระเครื่อง ศึกษาประวัติความเป็นมาจนรู้แจ้งเห็นจริง คนที่ไม่สนใจใฝ่รู้จริงๆ โอกาสที่จะเก่งจนถึงขั้นเป็นเซียนพระ พูดได้เลยว่าไม่มีทาง"
เมื่อมีความสนใจแล้ว ขั้นตอนต่อมาควรปฏิบัติอย่างไร?
"ก็เสาะหาพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง ซึ่งเราต้องการจะศึกษา เช่นหากว่าเราต้องการจะเดินสายพระกรุเก่า เราก็จะต้องเสาะหาพระกรุเก่ามาศึกษา อาจจะอ่านจากตำราควบคู่ไปด้วยก็ยิ่งดีใหญ่ พระกรุเก่าบางพิมพ์ราคาไม่แพง องค์ละไม่กี่ร้อยก็มีถมเถไป หัดดูพิมพ์พระ ดูเนื้อพระ จำให้ขึ้นใจ มือใหม่อย่าเพิ่งไปจับพระราคาแพงๆ การเรียนรู้สิ่งใดก็ตาม จะต้องมีขั้นตอน อย่าริเรียนทางลัด มันจะถูกหลอก วงการพระเครื่องน่ากลัวมาก"
การเล่นพระเครื่องมีข้อห้ามอย่างไรบ้าง?
"ข้อห้ามที่สำคัญที่สุด ซึ่งคนที่เล่นพระเครื่องจะลืมไม่ได้เลยก็คือ ห้ามด่าแม่ ห้ามพูดคำหยาบ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ พลั้งปากออกมาเมื่อใด พระพุทธคุณจะเสื่อมทันที"
ในชีวิตเคยพบกับเหตุการณ์ใดบ้างที่เกือบจะเอาชีวิตไม่รอด
"มีหลายครั้งด้วยกัน แต่ก็รอดมาอย่างปาฏิหาริย์ทุกครั้ง เชื่อว่าเกิดจากพระพุทธคุณของพระเครื่อง เช่น มีอยู่วันหนึ่งขับรถไปทำธุระที่จังหวัดกาญจนบุรี วันนั้นฝนตกลงมาหนักมาก มองถนนแทบไม่เห็น จู่ๆ รถคันที่วิ่งสวนมาเกิดกินเลนมาทางฝั่งเรา ผมตกใจก็หักหลบ ตอนนั้นถนนมันลื่นมาก หักหลบก็ได้เรื่องเลย รถพุ่งตกลงไปข้างทาง ซึ่งมีความลึกราวๆ 10 เมตร เรียกว่าลึกมาก เสียงดังสนั่นแก้วหูแทบแตก มันเจ็บระบมไปทั้งตัว พยายามเรียกให้คนช่วยแต่ก็ไม่มีใครได้ยิน คงจะเป็นเพราะฝนกำลังตกหนัก .........ตอนนั้นมันขยับตัวไม่ได้ เข้าใจว่าขาคงจะหัก ตอนนั้นนึกถึงหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม ซึ่งเราห้อยติดตัวอยู่ตลอดเวลา ภาวนาขอให้ท่านช่วย พักเดียวก็เหมือนมีแสงสว่างวูบเข้ามาในรถ สักพักก็ได้ยินคนพูดกันว่ามีรถตกถนน เป็นเจ้าหน้าที่กู้ภัยผ่านมาประสบเหตุเข้าพอดี
ผมต้องเข้าโรงพยาบาลนอนอยู่ 2 วัน เพื่อดูอาการ แต่ไม่มีอะไรมาก แค่ขัดยอกเล็กน้อยเท่านั้น คนที่มาช่วยถามผมว่าห้อยพระอะไร ดูจากสภาพรถแล้วน่าจะบาดเจ็บสาหัส แต่กลับไม่เป็นอะไรเลย ผมบอกว่าห้อยเหรียญของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เขาพูดว่า หลวงพ่อเงินอีกแล้ว เขาช่วยคนประสบอุบัติเหตุจนนับครั้งไม่ถ้วน คนที่ใส่หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มักจะปลอดภัยไม่เป็นอะไรเลยสักราย"
.........ปัจจุบัน เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม รุ่นแรก มีราคาแพง และมีการทำปลอม (เหมือนจริง) กันมาก เหรียญรุ่นใหม่ๆ ที่ทางวัดสร้างขึ้นมา ราคาอยู่ที่หลักร้อยต้นๆ เท่านั้น แต่ พระพุทธคุณ "เข้มขลัง" เหมือนกันทุกประการครับ?
.........เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณลุงเสงี่ยม ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า พระพุทธคุณของพระเครื่องนั้น "มีจริง" !!! 


.......อ้างอิงจากเวป http://www.geocities.com/vinateth/V1.htm

207
วันนี้ เป็นวันคล้ายวันเกิด ของพี่สิบทัศ แห่งวัดบางพระ 

ขอให้ พี่ เก่ง มีความสุข อายุมั่นขวัญยืน คิดทำอะไรขอให้ได้ตามปราณถนา ทุกๆเรื่อง

ขอให้มี ความสุข มากๆ ครับ
 


เอ็ม ณ วัดไร่ขิง 


208
เหรียญหลวงพ่อปรกแก้ว วัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
เหรียญนี้เท่าที่ทราบ มีหลวงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และหลวงพ่อเต๋วัดสามง่ามปลุกเสก ครับ
ใครมีข้อมูล หรือข้อมูลใดๆ ช่วยบอกทีนะครับ ขอบคุณครับ

1.

........................
2.


เหรียญต่อไป หลวงพ่อแขก วัดท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม ครับ
เหรียญนี้เท่าที่ทราบ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยานยหอม เป็นประธานในพิธีปลุกเสก ด้วย ครับ
ใครมีข้อมูล ช่วยบอกทีนะครับ

3.

......................

4.


ที่สำคัญ 2เหรียญนี้แท้ปะครับ ขอบคุณ ครับ

209
หลวงพ่อเปิ่น ครับ
1.


............



2.


โทษครับด้านหลัง ลืมถ่ายมา ครับ หน้ากล่องเขียนว่ารุ่นตราแผ่นดิน ปี2535 ครับ


210
ใครมีพระผงเอามาแบ่งกันชมบ้าง ครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน


ของผม

1.พระสมเด็จหลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม  ฝังตะกรุด สร้างพระอุโบสถ



......................


211


.........................................................................




เหรียญนี้ ผ่านการขัดแปลงมานะครับ หุหุ ..... ช่วยพิจณาให้หน่อย ครับ .....ขอบคุณล่วงหน้า ครับ

212



...........................

ใช่หมากทุยป่าว ครับ
วัดไหน ครับ
พุทธคุณใช้ด้านไหน ครับ

ขอบคุณครับ

213
เจ้าอาวาส พระราชปริยัติโมลี (เจ้าคณะ อ.เมืองนครปฐม) วัดพระงาม (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.นครปฐม
มรณภาพแล้ว ....ขอเชิญศิษและสาธุชนทุกท่านร่วมใว้อาลัย ณ ที่นี้ด้วย ครับ ......

ท่านเป็นพระผู้ให้ ท่านคือดวงใจของเราทุกคน ...........


214


..........................................................





หลวงพ่อวัดไร่ขิงทรงหยดน้ำ รุ่น 2 เนื้อฝาบาตร พ.ศ. ๒๔๘๒ (สร้างจำนวนน้อยครับ)

216
เหรียญรุ่นนี้ สร้างปีไหน ....ใครรู้มั่ง ครับ ขอบคุณครับ








217


ผมเคยดูตอนเด็กๆ มันมาก ครับ   :025:

218
ไม่ทราบที่ ครับ ....ใครรู้บ้างช่วยหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ





219
แท้&ไม่แท้ มี 2 เหรียญ ครับ มาชมกัน










222
รวมสมาชิก (มิตรไมตรี) / ,มือผี -
« เมื่อ: 10 ต.ค. 2551, 02:39:09 »





224
สวัดดีครับ ...ชั่วโมงนี้เรามาสนทนา กัน ครับ เกี่ยวกับเรื่อง ของขึ้น หรือ ไม่ขึ้น
เอ ของเนี่ย ทำไมต้องขึ้น หรือไม่ขึ้นด้วยหละครับ ....คนมีของจริงต้องขึ้น จริงหรือ ! หรือคนไม่ขึ้นก็ใช่จะไม่มี

ผมลองถาม อาการของขึ้น จากพี่ๆ และความรุ้สึกของตัวผมเอง เกี่ยวกับอานาจจิตกับของขึ้น

อาการของขึ้น โดยส่วนมาก ...จัดหายใจเข้าออกอย่างรุนแรง มือแขนขาเกร็ง ทำท่าตามสิ่งหรือสัตว์ที่ขึ้นนั้นๆ

สำหรับท่านที่ ของยังไม่เคยขึ้น ให้ท่านนึกภาพ รูป ที่ท่านเคยสักเช่น หนุมาน เสือ หรืออื่นๆ และหายใจเข้าออกเค่ยๆเข้าสุด และออกสุด
และเร็วขึ้นๆๆๆๆๆๆ....+กับจิต ที่เรานึกถึง เช่นหนุมาน +กับทำท่าของหนุมาน หรือสัตว์ดู ครับ ...... และให้คิดว่าเป็น
เป็นไงมาเล่าให้ฟังด้วย ครับ


การที่คนเรา ของจะขึ้นหรือไม่ มันอยู่ที่จิต ..เหมือนว่า จิตท่านคิดว่าตัวท่านเป็นนก ก็ให้ทำท่านดู ว่าเราเป็นนกกำลังบิน
หรือเป็นเสือกำลังคาน ... ก็จะเป็นตามนั้น ครับ มันอยู่ที่จิตของเรา

ส่วนคนที่ของไม่ขึ้นเพราะจิตท่านไม่ได้ฝักใฝ่ หรือไม่ได้สนใจ ก็อาจจะไม่ขึ้น ครับ .....(เป็นความคิดเห็นส่วนตัว)
ผมจึงตัดสินในความคิดของผมว่า .. จิตนั้นเป็นส่วนสำคัญ ครับ สามารถสื่อกับสิ่งที่เรามองไม่เห็น

ยกตัวอย่าง บางคนไม่ได้สัก ไม่ได้แขวนพระ แต่ใจนับถือกับพระหรือสิงศักสิทธิ์ เวลานั้น เกิดอุบัตติเหตุ หรือ อันตราย ในใจคิดถึงที่เรานับถือก็จะมาคุ้มคลองเราโดยไม่รู้ตัว ครับ .......(เพราะฉะนั้นของจะขึ้นหรือไม่ขึ้น จะเสือมหรือไม่เสื่อมจะหายหรือไม่หาย มันอยู่ที่ใจของท่านเอง ครับ )


จงทำอะไร เพื่อความศรัทธาของตนก่อนครับ .... บางคนเซาะหาของดีทั่วประเทศ แต่ตัวเองดันลืมว่า ของดีอยู่ใกล้ๆเราเราดันมองไม่เห็นมัวแต่ไปเซาะหาไม่รู้จักจบจักสิ้น (ก็เหมือนตัวผม) ..จนได้รู้ว่า ของดี นั้นคือพ่อแม่ และผู้มีพระคุณที่เลี้ยงดูเรามา ครับ  วัดไร่ขิงก็อยู่ใกล้ๆ เมื่อก่อนกลับไม่สนใจ ...มัวแต่ดิ้นลนไปหาของดีที่อื่น จนลืมมองข้ามของดีข้างตัวเรา ....และตัวท่านหละครับ ...มองข้ามอะไรกันไปหรือป่าว


ป.ล. หากพิมอะไรผิด หรือ ไม่ถูกต้องอย่างไรต้องขออภัยด้วย ครับ ......และเพื่อนๆหรือพี่ๆ และทุกๆท่าน หากมีข้อคิดเห็นอะไรอย่างไรแนะนำพิมมาคุยกันได้ครับ 

 :054: :054: :054:

225
กุศโลบายเพื่อความสำเร็จ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


มีคนพูดว่า กุศโลบาย ก็คือการโกหกนั่นเอง แต่คำจำกัดความนี้คงจะ "แรง" ไป สำหรับ คำว่า "กุศโลบาย" เพราะตามศัพท์จริงๆ แปลว่า อุบายหรือวิธีที่ฉลาด วิธีที่ฉลาดไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีที่โกหกคดโกงเสมอไป

จริงอยู่วิธีการอาจมองเผินๆ ว่า เป็นการพูด หรือทำ "ไม่ตรง" ตามนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องดูที่เจตนาและผลที่ออกมา ว่าพูดหรือทำด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์หรือไม่ ผลที่ออกมานั้นเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือไม่

ยกตัวอย่างที่ผมชอบยกอยู่เสมอคือ มีแม่ทัพท่านหนึ่งนำกองทัพเข้าสู้รบกับข้าศึก กองทัพของตนมีกำลังน้อยกว่ากองทัพของข้าศึก เหล่าทหารหาญทั้งหลายเห็นดังนั้นก็ขวัญไม่ค่อยจะดี แม่ทัพก็ทราบเรื่องนี้

วันหนึ่ง แม่ทัพก็พานายทหารเข้าไปไหว้พระในโบสถ์แห่งหนึ่งล้วงเหรียญขึ้นมา กล่าวอธิษฐานดังๆ ว่า ถ้ากองทัพของข้าพเจ้าจะรบชนะข้าศึก ขอให้เหรียญนี้ออกหัว ว่าแล้วก็เขย่าเหรียญในมือ โยนลงบนพื้น

เหรียญออกหัว

ท่านแม่ทัพหยิบเหรียญขึ้นมาเขย่า พลางอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สองแล้วโยนลง เหรียญออกหัวเช่นเดิม ท่านทำอย่างนี้ถึงสามครั้ง เหรียญก็ออกหัวทุกครั้ง เหล่านายทหารทั้งหลายต่างก็ขวัญดีมาเป็นกอง ที่รู้ว่ากองทัพของตนจะชนะ เพียงไม่กี่นาทีข่าวว่ากองทัพของตนจะรบชนะข้าศึก ก็แพร่กระจายไปทั่วกองทัพ ทหารหาญทั้งหลายต่างฮึกเหิม มีกำลังใจ ถึงคราวรบก็รบกันอย่างอุทิศ จนสามารถเอาชนะข้าศึกได้

นายทหารคนสนิทพูดกับท่านแม่ทัพในวันหนึ่งว่า พระเจ้าอวยพรให้เราชนะก็ชนะจริงๆ แม่ทัพล้วงเหรียญขึ้นมาแบให้นายทหารคนสนิทดู พร้อมกล่าวว่า

"ไม่ใช่ดอกคุณ เหรียญนี้ต่างหากที่ช่วยให้พวกเราชนะ"

ปรากฏว่าเหรียญนั้นมีแต่ "หัว" ทั้งสองด้าน ซึ่งแม่ทัพท่านทำขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อนำมาใช้ในคราวคับขัน

อย่างนี้ก็เรียกว่า "กุศโลบาย" ของแม่ทัพ จะว่าแม่ทัพท่านโกหกหรือไม่ก็แล้วแต่จะคิด แต่เจตนาของแม่ทัพเป็นกุศลต้องการให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวม

ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ปัญญา อย่างน้อยก็ให้รู้จักวิธีแก้ไขปัญหาและวิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และก้าวหน้าไปด้วยดี

คนทำงานอย่างโง่ๆ ไม่ศึกษาหาความก้าวหน้าในทางความรู้และประสบการณ์ ก็คงไม่ต่างกับตาแก่กับลูกชายจูงลา

ตาแก่คนหนึ่งกับลูกชายอายุประมาณไม่เกิน 10 ขวบ จูงลาผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งชาวบ้านพูดว่า ?ดูตาแก่กับลูกชายสิ มีลาอยู่ทั้งตัวจูงตั้งสองคน ทำไมไม่ขี่คนหนึ่ง อีกคนหนึ่งจูง?

ตาแก่ได้ยินดังนั้น จึงให้ลูกชายขึ้นขี่ลา ตัวเองจูงไปได้หน่อยหนึ่งมีคนพูดว่า ?ดูเด็กน้อยคนนั้นสิ นั่งลาสบาย ปล่อยให้พ่ออายุมากแล้วจูง ทรมานคนแก่เปล่าๆ?

คราวนี้ตาแก่ไล่ลูกชายลงตัวเองขึ้นนั่งหลังลาให้ลูกชายจูง ผ่านอีกหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านพูดว่า ?ดูอีตาแก่คนนั้นสิให้เด็กตัวเล็กๆ จูงลา ตัวเองขี่สบายใจเฉิบ เอาเปรียบเด็กเหลือเกิน?

ตาแก่รีบลงจากหลังลา คิดหนักจะทำอย่างไร จูงทั้งสองคนก็ถูกว่า ให้ลูกขี่ตนจูงก็ถูกว่า ตนขี่ให้ลูกจูงก็ถูกว่า อย่ากระนั้นเลยขึ้นขี่มันทั้งสองคนดีกว่า ว่าแล้วก็บอกให้ลูกขึ้นขี่ลาพร้อมกับตน ลาเดินหลังแอ่นด้วยความหนัก

ชาวบ้านเห็นเข้าก็ชี้ให้กันดูว่า ?ดูยายแก่กับเด็กคนนั้นสิ ขึ้นขี่ลาจนมันหลังแอ่น ทารุณสัตว์เหลือเกินนะ?

นิทานก็เป็นเพียงนิทานอาจมิใช่เรื่องจริงก็ได้ แต่ ?สาระ? ของนิทานก็มีอยู่ เรื่องนี้ต้องการชี้ว่า ปัญญาความรู้เท่านั้นจะเป็นตัวบอกว่าตาแก่ควรจะทำอย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม จะขี่ให้ลูกจูง หรือจะให้ลูกขี่ตัวเองจูง หรือผลัดกันขี่ ความเหมาะสมอยู่ที่ไหน อย่างไร คนมีปัญญาจะรู้เอง เพราะฉะนั้นในการดำเนินชีวิตจึงต้องการปัญญา คอยชี้แนะแนวทาง นักสู้ชีวิตควรแสวงหาปัญญาและประสบการณ์ไว้ให้มาก อุบายที่จะนำออกใช้จะได้เป็น ?กุศโลบาย? (อุบายอย่างฉลาด) มิใช่อุบายโง่ๆ แบบตาแก่

ผมเป็นคนชอบฟังดนตรี ฟังเพลง จะเรียกว่าเป็นชีวิตจิตใจก็ว่าได้ ฟังเป็นอย่างเดียว แต่ร้องไม่เป็น ดนตรีก็ฟังอย่างเดียวเล่นไม่เป็น สิ่งหนึ่งที่ทำเป็นนิสัยก็คือ ฟังเพลงไปด้วยเขียนหนังสือหรืออ่านหนังสือไปด้วย เพื่อนบางคนว่าผมจะมีสมาธิแต่ที่ไหน แต่ผมมีสมาธิในการทำงานครับ ขณะเขียนหนังสือ (ที่จริงพิมพ์ดีด) ก็จดจ่ออยู่ที่เรื่องกำลังพิมพ์ พอละจากการพิมพ์ จิตใจก็จับอยู่ที่เสียงเพลง มันทำงานคนละจังหวะไม่ปนกัน

สมาธิ แปลว่า ความที่จิตมีอารมณ์ (Object) เป็นหนึ่ง ขณะพิมพ์หนังสือดีดต้นฉบับ ใจก็มีอารมณ์เป็นหนึ่งอยู่กับเรื่องที่พิมพ์ขณะฟังเพลงจิตก็เป็นหนึ่งกับเสียงเพลง

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จิตที่พัฒนาแล้วจะต้องมีลักษณะอย่างใหญ่ๆ คือ

1) ลักษณะนุ่มนวล อ่อนโยน ซึ่งมีคุณธรรม เช่น ความเมตตา กรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นใจคนอื่นเป็นเครื่องสนับสนุน

2) ลักษณะแข็งแกร่ง ซึ่งมีคุณธรรม เช่น ขันติ (ความอดทน) สติ (ความยับยั้งใจ) ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจโลกและชีวิต) เป็นเครื่องสนับสนุน

3) ลักษณะผ่อนคลาย ซึ่งมีคุณธรรม เช่น ปีติ (ความปลื้มใจ) สุข (ความสบายใจ) โสมนัส (ความดีใจ) เป็นเครื่องสนับสนุน

ดนตรีและเสียงเพลง นับเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้จิตใจมีความผ่อนคลาย สุขสบายหายเครียด พูดอีกนัยหนึ่งก็ว่า การฟังดนตรี การฟังเพลงเป็นประจำ ช่วยสร้างสุขภาพจิตให้ดีขึ้นได้ ขูดชำระความกระด้างสกปรกจากจิตใจได้ ดุจเดียวกับผงซักฟอกซักล้างเสื้อผ้าให้สะอาด ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะเหตุนี้ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 จึงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกบฏอัปลักษณ์

ดนตรีหรือเพลง ทำให้จิตใจผู้ฟังอ่อนโยน อ่อนหวาน มีอารมณ์สุนทรีย์ คลายเครียด เมื่อไม่เครียดทำงานอะไรก็ทำด้วยใจรัก มีความสุขในขณะที่ทำไม่รู้เบื่อ งานการที่ทำก็มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

อย่าว่าแต่คนเลย แม้สัตว์มันก็ชอบ เคยได้ฟังนิทานโคนันทวิศาล ตอนเด็กๆ ก็ไม่คิดอะไร พอโตมา มานั่งนึกว่าโคมันเป็นสัตว์เดรัจฉาน มันได้ฟังคำพูดที่กรรโชกโฮกฮากจากเจ้าของ ถึงมันไม่เข้าใจ ?ความหมาย? ของคำที่พูด (ในนิทานว่ามันฟังรู้ แต่คงไม่รู้ดอก) แต่มันก็คงเดาออกว่าเป็นคำพูดที่ไม่มีแน่นอน มันจึงโกรธไม่ยอมทำตามที่คนเลี้ยงมันต้องการในที่สุดก็แพ้การพนัน แต่เมื่อเจ้าของพูดด้วยสำเนียงอ่อนหวานไพเราะ มันก็เต็มใจทำงานให้เต็มที่จนเจ้าของชนะการพนัน

นี่แค่คำพูดนะครับ ถ้าเป็นเพลงหรือหรือดนตรีเพราะๆ นันทวิศาลมันคงฟังเพลินมีความสุขใจ และเต็มใจทำงานให้เจ้านายมันแน่

ผมได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่า เกษตรกรท่านหนึ่งมีความรู้แค่ประถมสี่ แต่แนวคิดในการพัฒนาการเกษตรของท่านผู้นี้ไม่ต่ำเลย คนจบปริญญายังคิดไม่ได้ดีเท่า

ท่านผู้นี้ชื่อ บุญศรี ปลาทอง จังหวัดอะไรข่าวไม่บอก เลี้ยงไก่ตอนแรกๆ ก็ได้ไข่ไม่มากนัก วันหนึ่งขณะที่แกถือวิทยุเดินฟังเพลงไปฝูงไก่ก็เดินตาม เงี่ยหูฟังเพลงไปด้วย แกก็ได้คิดว่า ?ไก่มันชอบฟังเพลงเหมือนกันแฮะ? ตั้งแต่นั้นมาจึงเอาวิทยุไปตั้งไว้ที่เล้าไก่ เปิดเพลงให้พวกมันฟังทุกวัน เพลินเลยเชียวแหละครับ

นายบุญศรีแกค้นพบว่า หลังจากได้ฟังเพลงเป็นประจำ ไม่นานนักไก่ออกไข่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จากนั้นมานายบุญศรีจึงจัดสถานที่ฟังเพลงให้ไก่อย่างดี เลือกเพลงให้พวกมันฟัง บรรดาไก่ทั้งหลายต่างก็เป็นแฟนนักร้องลูกทุ่งลูกกรุงไปตามๆ กัน มีฝูงไก่มารุมล้อมวิทยุซึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ดูแล้วน่ารักจัง

ไก่ยังชอบฟังเพลง ฟังแล้วก็มีความสุข กินอาหารอย่างอร่อยกินอาหารดี สุขภาพดี ก็เลยออกไข่ได้มาก ทำให้นายบุญศรีคนเลี้ยงไก่ได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

นักสู้ชีวิตลองทำอย่างนี้ดูสิครับ หัดฟังเพลง ฟังดนตรี สร้างอารมณ์สุนทรีย์ในใจ บางทีอาจช่วยให้ท่านมีฉันทะในการทำงานได้อย่างมหัศจรรย์ยิ่งก็เป็นได้



........................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 29
คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ โดย ไต้ ตาม

226
เราชาวพุทธ เคยพบเห็นวัดในประเทศไทยที่มีเจ้าอาวาส สมัยละ 1 องค์ แต่ที่เขาเล่าลือกันว่าที่วัดท่าพูด
ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เคยมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ที่วัดนี้ มีสมภาพถึง 2 องค์ คือหลวงพ่อแก้ว และหลวงพ่อชื่น  และมีความผูกพันกับกลมหลวงชุมพร และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อแก้ว เกิดที่ ต.ท่าพูด อ.สามพราน จ.นครปฐม   ซึ่งประวัติท่าน ยังไม่เค่ยแน่ชัดมากนัก
หลวงพ่อชื่น  เกิดที่ ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง แต่ได้ย้ายอพยพครอบครัวมาอยุ่ที่จังหวัดนครปฐม แถบวัดท่าพูดนั่นเอง ประวัตินอกนั้นยังไม่แน่ชัดมาก
แต่ทราบในหนังสือประวัติของครูเอื้อน วาชนนท์ ได้กล่าวใว้ว่า  สมัยที่หลวงพ่อแก้วและหลวงพ่อชื่นได้เรียนวิชากรรมฐานนั้น
ได้มีพระภิกษุซึ่งเป็นพระสหายทางธรรม ของหลวงพ่อแก้วอยู่รูปนึง ที่ไปมาหาสู่กันเป็นพระจำ พระรูปนั้นคือ
พระครูโสอุดร (หลวงพ่อศุข วัดปากคลองมาขามเฒ่า ) นั่นเอง  ซึ่งตรงกับคำเขียน ของ คุณทัศนะ อัชวังกูร ในนิตรสาร นะโม ฉบับที่ 79 ใว้ว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั่น ได้จารยันต์ตัวเดียวกับของหลวงปู่ศุขไม่มีผิดเพี้ยน ทั้งยันต์พุทธรอบโลก ยันต์นะสะบัดหัว  และมีหลักฐานยืนยันต์อีกๆอีกมากมาย ที่เชื่อมโยงกัน
เคยมีผู้กล่าว ใว้ว่า ในสมันนั้นหลวงพ่อชอบปั้นดินทำลูกสะกด เม็ดใหญ่า เท่าเม็ดพุดทราตากใว้ทั่วบริเวณวัด ก็มีพวกที่ชอบ ยิงสัตว์ได้เข้าเข้าไปยิงสัตว์ในบริเวณวัด ปรากฆว่าปืนเหล่านั้น ยิงยังไงก็ไม่โดนตัวสัตว์เลย  ชาวบ้านแถวนั้นจึงรีบเก็บ...เอาใว้ป้องกันตัวกันมากมาย
หลวงพ่อท่านมิใช่พระที่เก่งด้านวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ท่านยังเก่งวิชาช่างต่างๆด้วย และได้สอนให้ลูกศิษในวิชาการช่างต่างๆ และท่านยังสามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำด้วย

และในสมัยนั้น ท่านกลมหลวงชุมพรได้เสด็จไปหาหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า  ซึ่งหลวงปู่ท่านก็ได้แนะนำให้ท่านไปหาพระที่เป็นสหายธรรม อยู่ที่ วัดท่าพูด อ.สามพราน จ.นครปฐม  ซึ่งด้วยความอยากรู้
ท่านกลมหลวงชุมพรก็ได้เสด็จไปวัดท่าพูด จากวัดปากคลองมะขามเฒ่า ไปถึงวัดท่าพูดสมัยนั้นก็รุ่งสรางพอดี พอไปถึงที่วัด ในฐานะผู้เคยร่วมสำนักอาจารย์ เดียวกัน ท่านก็ได้กราบมนัสการและเพื่อไม่ให้เสียเที่ยว  จึงขอโอกาศ ขอ คะกรุดหลวงพ่อ ท่านละ 1 ดอก เพื่อทดสอบวิชา ปรากฏว่า ตะกรุดนั้น ไม่ละลายไฟ


ทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าได้ย่อ มาจากหนังสือประวัติวัดท่าพูด หากมีอะไรตกหล่นไปบ้างก็ขอ อภัย ณ ที่นี้ด้วย ครับ .......

227
เหรียญหล่อเนื้อทองคำผสม...รุ่นฉลองพระอารามหลวงปี 2538 ....รุ่นประสบการณ์ อีก 1 รุ่นของวัดไร่ขิง ครับ




เพื่อนๆมีเหรียญอะไรสวยๆ ....ก็มาแลกกันชมมั่งนะครับ ขอบคุณครับ

228
ช่วยดูให้หน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้า ครับ 
ผมอยากรู้แท้ หรือ เก๊ .... ขอบคุณครับ

หน้า




หลัง





ขอบ



229
ตะกรุดตี๋ใหญ่เนื้อว่านผสมผงใบลาน  รุ่น 1 พล้อมเชือก ครับ



231
ขอรายละเอียดเกี่ยวกับตะกรุดตี๋ใหญ่หน่อย ครับ
บูชาเท่าไหร่ ครับ
 มีแบบไหนบ้าง บ้าง ครับ
อยากทราบว่าที่เปงกลมๆ เชือกสีแดง แพงมะครับ
ขอบคุณครับ ....ใครรู้ช่วยบอกด้วยนะครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
ประมาณวันที่ 24 ผมจะไป ครับ อยากได้ข้อมูลล่วงหน้า ครับ ขอบคุณครับ

232
พระสมเด็จวัดปากน้ำครับ ....พิมอาจเพี้ยนๆไปนิดครับ เนื่องจากตอนแรกเลี่ยมกรอบพลาสสติก และเกะออกมา ป่นเปงผงๆๆ เลยเอากาวลาแท็คเคือบใว้และดึงออก ครับ .เลยทำให้พิมเลื่อน .......... ได้มานานและครับ องค์นี้ อยากทราบว่า แท้ปะครับ ฟันธงเลย ครับ  รบกวนด้วย ครับ ทุกๆท่าน


233
เพื่อนๆพี่ๆ และทุกๆท่าน ใครมีกะลาตาเดียว แรกเลปี่ยนกันชมบ้างเน้อ ครับ

นี่ของผม ครับ ไม่เค่ยสวยนะครับ ......





234
พี่ๆเพื่อนๆ คิดว่า แขวนที่เอวได้มะครับ.......

235
 :075:  หากผมลงซ้ำแล้ว โปรดแจ้งด้วยนะครับ   และก็ขออภัยด้วย ครับ  :075:

"อะสังวิสุโลปุสะพุภะ" คืออะไร? แปลว่าอะไร และมีความหมายว่าอย่างไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?

เป็นพระพุทธคุณ 9 ประการของพระพุทธเจ้า ใช้เป็นพุทธานุสสติในการเจริญพระกรรมฐาน หมายถึงระลึกเอาคุณพระพุทธเจ้ามาเจริญภาวนา เจริญมากๆ จนกระทั่งจิตใจเป็นสมาธิ ก็จะระงับนิวรณ์ต่างๆในชั่วระยะอยู่ในฌาน สมเด็จพระพุฒาจารย์อาจ อาสภเถระท่านแนะนำว่า ต้องสวดมากๆ เพื่อทำให้พระพุทธคุณติดอยู่กับใจ หรือให้ใจติดกับพระพุทธคุณ เมื่อใจติดกับพระพุทธคุณดีแล้ว เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ พอจะนึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ใจวิ่งไปหาพระพุทธคุณเลยทีเดียว หรือพระพุทธคุณมาปรากฏแก่ใจทันที อย่างนี้เรียกว่าเจริญได้ที่แล้ว.....ต้องสวดต้องท่องกันให้ได้ เพราะไม่ได้นี่แหละ เวลาภาวนา พระพุทธคุณ ก็ไม่มาคุ้มครองปกป้องรักษาเรา มีเหตุเภทภัย ก็คุ้มครองอะไรไม่ได้ และเพราะเราไม่เจริญพระพุทธคุณนี่แหละ เราก็ไม่รู้จักคุณพระพุทธเจ้าจริงๆ พระพุทธเจ้าก็เลยไม่รู้จักเรา เมื่อเราไปไหนมาไหน พระพุทธเจ้าก็ไม่ตามรักษา.....พระพุทธคุณนี้ ถ้าเจริญได้จริงๆ ใจรักจริงๆ ไปไหน พระพุทธเจ้าไปด้วย พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด ให้เราได้เล็ดลอดปลอดภัย ให้เราได้มีความสุขด้านจิตใจจริงๆ.........พระพุทธคุณ 9ประการนั้น คือ อิติปิโส ภควา สมเด็จพระผู้มรพระภาคพระองค์นั้น...

พระพุทธคุณ 9 ประการนี้ ย่อเหลือพระคุณละ 1 อักษร ดังนี้ คือ.-

1)อะ (อรหัง)-เป็นพระอรหันต์ ไกลจากกิเลส.....

2)สัง(สัมมา สัมพุทโธ)-ตรัสรู้ความจริงด้วยพระองค์เอง โดยถูกต้อง.......

3)วิ(วิชชา จรณะสัมปันโน)-ทรงสมบูรณืด้วยวิชาสมบัติและจริยาสมบัติ........

4)สุ(สุคโต)-เสด็จไปดี......

5)โล(โลกวิทู)-ทรงรู้เท่าทันโลกทั้ง 3..........

6)ปุ(อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ)-ทรงเป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน.......

7)สะ(สัตถา เทวมนุสสานัง)-ทรงเป็นครูสอนทั้งเทวดาและมนุษย์........

8)พุ(พุทโธ)-ทรงเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส.......

9)ภะ(ภควา)-เป็นผู้ทรงแจกพระอมตะมรดก.......

ย่อเป็น 9 คำ อ่านได้ว่า" อะ-สัง-วิ-สุ-โล-ปุ-สะ-พุ-ภะ".......โดบสวดเป็นอนุโลมตั้งแต่ 1-9 และสวดย้อนกลับเป็นปฏิโลมว่า "ภะ-พุ-สะ-ปุ-โล-สุ-วิ-สัง-อะ"........ภาวนาไปสัก 10 เที่ยว 20 เที่ยว 10 0เที่ยว 1,000 เที่ยวก็ได้........


ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเวป http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=buddhapoemcom&thispage=1&No=64758 ครับ

236
ใครเคยมีประสบการณ์ เข็มฉีดยาแทงไม่เข้ามั่ง ครับ   หรืออื่นๆ

ไงก็ช่วยเล่าให้ฟังด้วยนะครับ แรกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับวัตถุมงคลกัน ครับ


237
เป็นพระกริ่ง ครับ ข้างหน้าเขียนว่าบรม ครับ  .......



อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ครับ

1. สร้างปีไหน ครับ
2. ใครปลุกเสก ครับ
3. ข้อมูล อื่นๆ และประสบการณ์ ครับ

238
พระองค์นี้มีลุงที่รู้จักกันทำงานก่อสร้างเกี่ยวกับวัดต่างๆ ขุดเจอและได้มาและแบ่งมาให้ ครับ ........ แต่ไม่เค่ยทราบประวัติ
ใครรู้บอกหน่อยนะครับ ....แต่มีคนบอกว่าเป็นพระสมัย ศรีวิชัย ครับผม ........





เคยถามพี่ๆในเวปพระเครื่อง(ไม่เอ่ยชื่อเวปนะครับ)  ก็บอกเป็นพระสมัยศรีวิชัย ครับ
แต่พระไร ครับ ....ช่วยชี้แนะหน่อยครับ ขอบคุณครับ 
และสมัยศรีวิชัย นี่คือสมัยไหนอะครับ งง

องค์จริงมีขนาดใหญ่ พอสมควรครับ หุหุ

239
กราบสวัดดีพี่ๆน้อง ชาวเวปวัดพระทุกท่านนะครับ ..สาเหตุที่ผมตั้งกระทู้อันนี้ขึ้นมาเพื่อแรกเปลี่ยนความรู้
เกี่ยวกับพระแท้-พระเก๊ ของบ้านเราในปัจจุบัน ครับ เพื่อเป็นความรู้ ....นะครับ
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วย ครับ กระผมยังเป็นผู้มีความรู้น้อย ยังไงก็ขอคำชี้แนะด้วยครับ

การปลอมพระ... จริงๆ แล้ว มีมานานมากแล้ว ครับ  นานมากโขเลยทีเดียว
มีท่านคนนึง ...เอาพระไปให้เซียนที่ไหนดู เขาก็บอกพระปลอมครับ  แต่เจ้าของพระมั่นใจมากว่าแท้ เพราะเป็นของปู่ย่าตายาย
ให้มา ... แต่พระปลอมก็คือพระปลอม ครับ ...บางท่านก็บอกว่าสมัยคุณพ่อพระท่านให้มา แท้ชัวเลย พอเอาไปดูก็ปลอม ครับ
..ปัญหาเหล่านี้ มีมามากพอสมควรนะครับ เราจึงจำแนก ได้ เป็น 2 พระเภทใหญ่ๆครับ

ประเภทที่ 1 ..ปลอมทั่วไป ....คือพวกเซียนปลอมพระ ทั่วๆไปครับ
ประเภทที่ 2 ปลอมจากวัด  ......

จะขอจำแนกเป็นประเภทต่อจากนี้นะครับ

1. ปลอมทั่วไป ... การปลอมพระสมัยนี้ยิ่งยุคเทคโนโลยีแล้วน่ากลัว ครับ เพราะเหมือนมากๆๆ ขนาดเซียนยังหลงมาแล้ว
แต่ไงพระปลอมก็ คือพระปลอมหละครับ ..ถ้าคนเก่งจริงๆสามารถแยกแยะได้ แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรนะครับ

1.1. ปลอมเก่า ... คือพระที่ปลอมมานาน จนมีความเก่ามาก อะครับ ....ทั่วๆไป ที่บอกว่า พระของปู่ย่าตายายจะปลอมได้ไง
เขาเรียกเก๊เก่า ครับ ซึ่งปัจจุบันก็พบทั่วไปจริงๆ ครับ บางคน สมัยคุณปู่คุณย่าได้พระปลอม ก็เก็บใว้ พอมาถึงรุ่นลูกๆหลานๆ
ความเก่าของพระจึงมีครับ .....แต่ยังไง เก๊ คือเก๊ ครับ .......ต้องทำใจครับ

2.2 ปลอมนอกระบบหรือปลอมนอกวงการ ....คือการปลอบแบบว่า ...พระแท้เลียนแบบ ยาก เลยปลอมเองขึ้นมาเฉยๆๆ
เช่นพระพิมแปลกๆ ไม่รู้ที่ หรือพระ รุ่นแปลกๆ อ้างว่าสร้างน้อยมั่ง  หรือเนื้อแปลกๆ  ซึ่งปัจจุบันก็สามารถพบเห็นได้ครับ ทั่วๆไป
เช่น เหรียญ . หลวงปู่ศุข หลังกลมหลวงชุมพร ผมว่าท่านเคยเห็นนะครับ  หรือพระสมเด็จโต พิมแปลกๆพิมภายเรื่อ
หรือเหรียญ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธ์ รุ่นปี 2482 หลังยันต์ 5 อันนี้ปลอมครับ ถ้าใครมี อยู่ หรือพระสมเด็จพิมแปลกๆ
...ซึ่งวงการพระ ถือว่าไม่เป็นพระที่มีอยู่ในมาตฐาน ครับ .........ไม่มีหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน
ถ้ามีก็ลองไปหาดูครับ จะหาตำราไหนกี่เล่ม ยังไง ก็หาไม่เจอหลอกครับ แบบปลอมนอกสาระบบ

 2.3 ปลอมให้เหมือน .......ปัจจุบันมีเยอะมากหลากหลายฝีมือ ทั้งเหมือนมาก และห่างไกลจากความเป็นจริง
แต่ยิ่งยุคสมัยยิ่งเจริญเทคโนโลยีมาก ยิ่งน่ากลัว ครับ เพราะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ และสารเคมี สามารถทำให้เหมือนได้

เช่นพระเหรียญ.... ใช้คอมแสกน ออกมา ทั้งตำหนิ และอะไร ใกล้เคียงมาก จนเซียนงงมามากมาย ครับ
แต่อย่างว่า ของปลอม คือของปลอม ครับคนเก่งจริง และเคยดูพระแท้ๆมาบ่อยๆสามารถแยกแยะได้ครับ

พระเนื้อผง อย่าสมเด็จวัดระฆัง ก็เยอะมาก และขอบอกว่าเนียน ครับ .......มีหลากหลายฝีมือมากครับ
ซึ่งพวกเสี่ยๆ .... โดนกันมาหลายร้านบาทและเหมือนกัน
เช่น สมัยนี้ เอาสาเคมีบางอย่างไปผสมกับพระสมเด็จและฝังดินใว้สัก 1 ปี รับรองว่าเก่าเหมือนอายุเป็น 100 เลย ครับ
555++
เนื้อดินก็น่ากลัว ครับ  ที่ว่าเนียนๆนี่ .....เช่นพระซุ้มกอ องค์เป็นล้าน ครับ ...... คนหัวหมอ ไปหาพระที่เนื้อและมวลสารกับความเก่า
ใกล้เคียงมาสร้างใหม่ ครับ  เช่นนำพระคง หรือพระเปิมที่ เนื่อหาใกล้เคียง นำมาบด และมาสร้างเป็นพระซุ้มกอ
ซึ่งลงทุนหลัก หมื่น แต่ได้กำไรหลักล้าน ครับ เพราะมวลสาร หรือว่านดอกมะขามก็มีคล้ายๆ กัน (น่ากลัว)

พระเนื้อชินก็ใช่ย่อย ครับ ..... ต้องศึกษาดีครับๆ


 

240
3 ส.ค. 51 งานประกวดพระที่ หอประชุมชุณหะวัน โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน

หารายระเอียดเกี่ยวกับรายการ .....พระเครื่องที่เข้าประกวดมะได้ครับ รบกวนใครรู้บ้างช่วยหน่อย ครับ ...

241
ไม่ทราบว่าที่ไหน อะครับ ใครเคยเห็นพระขุนแผนพิมนี้บอกด้วย ครับ
ภาพไม่เค่ยชัดนะครับ เนื่องจากก้องไม่อยู่เลยใช้โทรศัพถ่ายก่อง
ขอบคุณล่วงหน้า ครับ




ด้านหลังคล้ายๆเหมือนลายผ้าเลย ครับ

242
จากข้อข่าว
นักดาราศาสตร์ เผย! เกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคา เต็มดวง วันทมี่ 1 ส.ค. นี้ มองเห็นได้ในหลายประเทศ ขณะที่ไทยมองเห็นได้ในบางส่วน ให้มองด้านทิศะตวันตก ด้านโหรส.ว.ทำนายอีก ดาวอังคารทับดาวเสาร์เล็งดาวมฤตยู ทายบ้านเมืองเกิดวิกฤตเปลี่ยนแปลงสูงสุด

เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 16 ก.ค.   นายวรวิทย์   ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าวที่หอดูดาวบัณฑิต  ตลาดบางบ่อ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ว่า  ในวันที่ 1 ส.ค. นี้ จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคามองเห็นได้เต็มดวงในต่างประเทศหลายประเทศ และเห็นได้บางส่วนในประเทศไทย  สำหรับการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดจากการเรียงตัวในแนวระนาบเดียวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เกิดในช่วงกลางวันโดยเงามืดของดวงจันทร์บังโลกหากโลกโคจรผ่านเงามัวของดวงจันทร์ เราเรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน แต่หากโลกโคจรผ่านแกนของเงามืดของดวงจันทร์เราเรียกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง?

นายวรวิทย์  กล่าวต่อว่า

สำหรับสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นครั้งนี้ในหลายประเทศได้แก่  แคนาดา  รัฐเซีย  มองโกลเลีย  และทางตอนเหนือของจีน  ส่วนในประเทศไทยนั้นมองเห็นได้เป็นจันทรุปราคาบางส่วน สามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ทั่วประเทศทุกภาค  โดยช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์โดยเฉลี่ยในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่เวลา 17.58 น. เป็นต้นไป โดยจะเริ่มมองเห็นบนท้องฟ้าทางด้านทิศทิศตะวันตกตั้งแต่เริ่มปรากฏการณ์จนอาทิตย์ลับขอบฟ้า อันจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้านดาราศาสตร์

?ในการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ห้ามมองด้วยตาเปล่าโดยเด็ดขาดเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อดวงตา การชมใช้แผ่นกรองแสงจากดวสงอาทิตย์ หรือใช้กระจกที่รมควันอย่างหนาจึงจะปลอดภัย แต่จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงเฉพาะช่วงก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้ 2 นาทีที่แสงอ่อนลงแล้วเท่านั้น? นายวรวิทย์กล่าว

ด้านนายบุญเลิศ  ไพรินทร์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.ฉะเชิงเทรา หรือฉายาโหร ส.ว.กล่าวว่า

? อิทธิพลสุริยุปราคา มีอิทธิพลทางดาราศาสตร์เช่นกันแต่น้อยกว่าอิทธิพลดวงดาว  ที่ขณะนี้ดาวอังคารโคจรทับดาวเสาร์และเล็งดาวมฤตยู ที่ล้วนเป็นดาวบาปเคราะห์ ส่งผลร้ายกับดวงโลกและดวงเมือง ดาวพฤหัสบดีที่ให้คุณเดินวิปริตถอยหลังให้คุณไม่ได้  จะเป็นช่วงวิกฤตแก่บ้านเมืองอันเกิดการเปลี่ยนแปลงสูงสุดในขณะนี้  จนถึงวันที่ 9 ส.ค. 51ที่พอบรรเทาแต่ยังวิกฤต


?จะต้องผ่านพ้นถึง 16 ก.ย. 51 สถานการณ์ด้านต่าง ๆ จะเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และจะดีเรื่อย ๆ ไปในระหว่างตั้งแต่เดือน มี.ค. ? เม.ย. 52 เป็นต้นไป? นายบุญเลิศกล่าว

ที่มา มติชนออนไลน์

http://news.hunsa.com/detail.php?id=10552

243
เที่ยววัดดังกราบพระดี หลวงพ่อสมพงษ์ ; วัดใหม่ปิ่นเกลียว - 2/9/2548

เที่ยววัดดังกราบพระดี หลวงพ่อสมพงษ์; วัดใหม่ปิ่นเกลียว
++ หนึ่งในพระเกจิอาจารย์เมืองนครปฐม

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว อ.เมือง จ.นครปฐม เจ้าคณะอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม นับเป็นพระเถระสำคัญรูปหนึ่ง ที่มีศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพนับถือทั่วทุกทิศ

นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พ.ศ.2510 เป็นต้นมา ได้พัฒนาสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับวัดใหม่ปิ่นเกลียว ตลอดทั้งชุมชนใกล้เคียง มีผลงานการพัฒนาวัดการสร้างและบูรณะถาวรวัตถุต่างๆ งานสาธารณูปการ งานส่งเสริมเผยแผ่ศาสนาและงานสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา งานสังคมสงเคราะห์ต่างๆ เป็นที่ยอมรับของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ทำให้ท่านได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณ เช่น ได้รับการพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โดยสถาบันราชภัฏนครปฐมเป็นผู้เสนอเข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ในฐานะเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนและสังคม เมื่อ พ.ศ.2540 และต่อมากรมการศาสนาเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะพระสงฆ์ผู้มีผลงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในงานสัปดาห์วิสาขบูชา พ.ศ.2542

หลวงพ่อสมพงษ์ ธีรธมฺโม เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2479 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ที่บ้าน ต.หันคา อ.หันคา จ.ชัยนาท โยมบิดามารดา ชื่อนายบัว นางกลุ่ม พวงสุข บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2499 ณ วัดท่ากฤษณา ซึ่งเป็นวัดตั้งอยู่ในถิ่นกำเนิด มีพระครูสรชัยวิชิต เจ้าอาวาสวัดท่ากฤษณา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสำราญ วัดราษฎร์ศรัทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดประไพ วัดท่ากฤษณา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นเอกที่สำนักเรียนวัดพระงาม จ.นครปฐม และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

ตำแหน่งหน้าทางคณะสงฆ์ที่ได้รับ พ.ศ.2510 เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว พ.ศ.2512 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม พ.ศ.2513 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2514 เป็นเจ้าคณะอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม สมณศักดิ์ปัจจุบัน เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษที่พระครูปราการลักษาภิบาล

หลวงพ่อสมพงษ์ เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งในด้านพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน การบำเพ็ญเพียรจิตภาวนาวิชาโหราศาสตร์ และไสยเวทวิทยาคม ได้ใช้วิชาความรู้ดังกล่าวพัฒนาวัดจนกระทั่งวัดใหม่ปิ่นเกลียวเป็นวัดใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางชุมชน เป็นศูนย์รวมในการประกอบศาสนกิจและเป็นแหล่งส่งเสริมอาชีพชุมชน โดยสงเคราะห์ประชาชนให้เข้ามาใช้บริเวณวัดนำผลิตภัณฑ์และสินค้าพื้นเมืองมาจำหน่าย

อุโบสถของวัดใหม่ปื่นเกลียว ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ประดิษฐานไว้ทั้งสองข้าง ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง ขนาดใหญ่มีพุทธลักษณะสวยงามมาก เป็นที่เจริญศรัทธาของสาธุชนทั่วไป ที่ฐานพระประธาน จารึกพระนามย่อ ญสส.ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรนิเวศวิหาร

จุดเด่นอีกประการหนึ่งของอุโบสถหลังนี้คือมีภาพเขียนประวัติความเป็นมาของตำนานพญากง พญาพาน เป็นภาพเขียนอนุรักษ์งานจิตรกรรมสืบสานภูมิปัญญาไทย เป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

หลวงพ่อสมพงษ์ ได้สร้างถาวรวัตถุต่างๆ ไว้ภายในวัดใหม่ปิ่นเกลียวหลายอย่างด้วยกัน นับตั้งแต่อุโบสถ ศาลาการเปรียญ ฌาปนสถาน ศาลาบำเพ็ญกุศล กุฏิสงฆ์ ห้องน้ำห้องสุขา ถนนหนทางภายในและบริเวณรอบๆ วัด ขณะนี้กำลังดำเนินการสร้างกำแพงด้านหน้าของวัด และวิหารหลวงพ่อนิมิตมงคล

นอกจากนั้น หลวงพ่อสมพงษ์ท่านได้ให้ความสนใจเรื่องการศึกษาอย่างมาก จึงส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของพระสงฆ์สามเณรตลอดทั้งเยาวชน โดยเปิดสำนักเรียนธรรมศึกษาที่วัดใหม่ปิ่นเกลียว จัดบรรพชาสามเณรภาคเรียนฤดูร้อนต่อเนื่องกันทุกปี รวมทั้งงานอื่นๆ ที่ท่านได้บำเพ็ญเพียรต่อเนื่องกันมาตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

วัตถุมงคลของหลวงพ่อสมพงษ์ที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ เครื่องรางชูชกเพิ่มพูนทรัพย์ รูปหล่อลอยองค์ชูชก ผ้ายันต์ชูชก เครื่องรางชูชก หลวงพ่อสมพงษ์ รุ่น 1 พ.ศ.2544 ราคาค่านิยมอยู่ในราคาหลักพันแก่ๆ ถึงหมื่นบาท เพราะประสบการณ์ปาฏิหารย์เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทุกภูมิภาค

ขณะนี้กำลังเปิดให้บูชาเครื่องรางชูชกเพิ่มพูนทรัพย์ มีทั้งเหรียญเนื้อผงพุทธคุณผสมว่าน 108 รูปหล่อชูชกลอยองค์ และผ้ายันต์ชูชก

หลวงพ่อสมพงษ์ เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อดัด วัดท่าโบสถ์ และหลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร จ.ชัยนาท เมื่อท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระงาม จ.นครปฐม จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเงินท่านให้ความเมตตาอบรมสั่งสอนแนะนำวิชาความรู้ต่างๆ และได้อนุญาตให้หลวงพ่อสมพงษ์ใช้อักขระเลขยันต์มาสร้างเป็นเหรียญเสาร์ 5 รุ่น 1 พ.ศ.2512 เหรียญหลวงพ่อสมพงษ์ รุ่น 1 อธิษฐานจิตปลุกเสกโดยหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ฯลฯ



244
ผมไปอ่านเจอเลยเก็บมาฝากพี่น้องกัน ครับ
หากลง ซ้ำช่วยเตือน และ แจ้งด้วยนะครับ  ขอบคุณครับ


ตำนานกุมารทอง

          กุมารทอง  คืออะไร กุมารทองนั้นก็คือเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่มีวิญญานของเด็กสิงสถิตอยู่  และสามารถแสดงตัวให้คนในบ้านเห็นหรือในยามที่เจ้าของบ้านไม่อยู่  ซึ่งกุมารทองนี้ให้ได้ทั้งโชค ทั้งเมตตา และยังเป็นมหาเสน่ห์ได้อีกด้วย

          กุมารทองเป็นผีเด็กที่ตายในท้องพร้อมกับแม่ ผู้ที่มีคาถาอาคมจะใช้คาถาอาคมแหวะเด็กออกจากท้องของศพผู้เป็นแม่  แล้วนำไปประกอบพิธีย่างในโบสถ์  หน้าพระประธานในเวลากลางดึกพร้อมกับบริกรรมคาถาไปขณะย่างนั้น  เมื่อย่างจนแห้งดีจะนำมาปิดทองให้ทั่วทั้งตัว  จึงเรียกว่า กุมารทอง  แล้วนำมาเก็บรักษาไว้ในที่อันควร  ให้อาหารกุมารทองกินทุกวันอย่างคนปกติ  ตามที่เล่ากันมานั้น วิญญาณกุมารทองจะสามารถปรากฏกายให้ผู้ที่สร้างกุมารทองเห็น  และสามารถทำตามคำสั่งของผู้ที่สร้างกุมารทองได้ทุกอย่าง  ความสามารถนั้นไม่ใช่ความสามารถของเด็กที่ยังไม่เกิด แต่จะสามารถทำได้เหมือนเด็กที่โตแล้ว  ผู้มีคาถาอาคมจึงพยายามหากุมารทองไว้ใช้

กำเนิดกุมารทอง

       กุมารทองนั้นเป็นของขลังที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล  เป็นที่นับถือคุ้นเคยของคนรุ่นปู่ย่า  แม้กระทั่งในทุกวันนี้ความเชื่อในเรื่องกุมารทองนั้นก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่  โดยจะเห็นได้จากการที่ร้านค้าหรือผู้ประกอบกิจการต่างๆ มักจะมีหุ่นกุมารทองตั้งไว้บูชาไว้ด้วยความเชื่อที่ว่ากุมารทองนั้นจะสามารถเรียกลูกค้าให้เข้าร้าน  หรือให้โชคลาภแก่ผู้เลี้ยงอีกด้วย 

          กุมารทองจากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นได้กล่าวถึงกำเนิดของกุมารทองไว้ตอนหนึ่งว่า ขุนแผนจับได้ว่านางบัวคลี่เมียของตนคิดวางยาพิษเพื่อจะฆ่าตน จึงได้ลงมือฆ่านางบัวคลี่ แล้วจึงผ่าท้องของนางเพื่อเอาบุตรชายภายในท้องนั้นมาทำเป็นกุมารทอง  โดยทำพิธีในย่างศพเด็กและปิดทองคำเปลวจนกระทั่งกลายเป็นผีกุมารทอง แล้วใส่ห่อผ้าไว้  กุมารทองจัดได้ว่าสำคัญกับขุนแผนมาก เพราะกุมารทองนั้นก็เป็นบุตรคนหนึ่งของขุนแผนเช่นเดียวกัน

         เหตุที่กุมารทองนั้นถูกจัดให้เป็นของวิเศษอย่างหนึ่งนั้น  สันนิษฐานได้ว่าได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยขุนแผนซึ่งอยู่ในยุคกรุงศรีอยุธยา และได้รับสืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ แต่การสร้างกุมารทองนั้นไม่สามารถทำแบบขุนแผนได้เนื่องจากผิดทั้งกฎหมาย และศีลธรรม

ตำนานกุมารทองเพชรฆาต

 กุมารทองนั้นมี 2 ประเภทคือ กุมารทองที่มีฤทธิ์ทางด้านทำร้ายศัตรู และอีกประเภทคือด้านเมตตามหานิยม กุมารทองประเภทแรกนั้นจะมีความดุร้ายอยู่มาก แบ่งได้เป็น 4 ชนิดด้วยกัน คือ 1.เพชรมั่น 2.เพชรดับ 3.เพชรคง 4.เพชรสูญ  กุมารทั้ง 4 ชนิดนี้ เรียกโดยรวมว่า "เพชรภูติงาน" หรือ "เพชรปราบ" มีไว้สังหารหรือทำร้ายศัตรูโดยเฉพาะ  ตามตำรากล่าวไว้ว่าการสร้างกุมารทองชนิดนี้จะใช้การอัญเชิญของพวกผีตายโหงหรือปีศาจให้มาสถิตอยู่ในหุ่นกุมารทอง ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีวิธีการทำร้ายศัตรูที่ต่างกันไป กุมารทองเพชรสูญจะมีฤทธิ์ในการทำให้คนกลายเป็นบ้า กุมารทองเพชรคงและเพชรมั่นนั้นจะดีในทางด้านเฝ้าบ้านเรือนด้วยการฆ่าคนแปลกหน้าที่มาบุกรุกบ้าน  สิ่งที่ปราบกุมารทองเพชรมั่นได้นั้นได้แก่วัวธนูที่ทำจากไม้ไผ่หามผี แต่กุมารทองเพชรคงจะมีฤทธิ์สูงกว่ากุมารทองเพชรมั่นเพราะสามารถเอาชนะได้หรือแม้กระทั่งที่ทำจากครั่ง สิ่งที่เดียวที่จะหยุดได้คือวัวธนูทองแดง ยิ่งไปกว่านั้นกุมารทองเพชรคงยังมีอำนาจในการไล่ตามศัตรูได้ในขณะที่กุมารทองเพชรมั่นจะอยู่แต่ภายในอาณาเขตบ้านเท่านั้น  กุมารทองเพชรดับเป็นเพชรฆาตเลือดเย็นที่สามารถหักคอศัตรูอย่างรวดเร็วฉับพลันเหมือนนักฆ่ามืออาชีพมีไว้สำหรับปลิดชีวิตศัตรูโดยเฉพาะ กุมารทองจำพวกนี้ยังคงนิยมอยู่ในเฉพาะนักไสยเวทย์มนต์ดำที่เก่งกล้าหรือแถบเขมรและอิสลาม ไม่ได้นิยมในหมู่นักสะสมเครื่องรางทั่วไป

กุมารทองโชคลาภเมตตามหานิยม

          กุมารทองอีกประเภทหนึ่งนั้นมีไว้เฝ้าบ้าน เรียกลูกค้า เป็นเมตตามหานิยม ไม่มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ  โดยทั่วไปนั้นผู้บูชาจะตั้งชื่อเอง  โดยจะตั้งชื่อที่เป็นมงคล เรียกทรัพย์ต่างๆ  กุมารทองชนิดนี้จะไม่มีความดุร้ายสามารถเลี้ยงกันได้ทุกคนไม่มีอันตรายเหมือนอย่างกุมารทองทองชนิดข้างต้น

            กุมารทองด้านเมตตาที่สร้างโดยอาจารย์รุ่นเก่าที่ขึ้นชื่อว่าขลังได้แก่หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม แต่ปัจจุบันนี้คือหลวงพ่อแย้มซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเต๋  กุมารทองทางเมตตานี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านของการเฝ้าบ้าน เรียกลูกค้า

วิญญาน 3 ชนิด

       การสร้างกุมารทองนั้นแบ่งออกหลักๆเป็น 3 วิธีการสร้างคือ
       1. สร้างด้วยดิน 7 ป่าช้าผสมผงพรายกุมาร ผงพรายกุมารนั้นคือผงที่ได้จากการเอากระดูกเด็กมาป่นละเอียดผสมกับผงอิทธิเจและปถมัง กุมารประเภทนี้จะเฮี้ยนและแรงที่สุด  แต่มีทั้งคุณและโทษภายในตัว วิญญานที่เชิญลงมานั้นมักเป็นวิญญานในป่าช้า หรือเป็นวิญญานเด็กที่ติดอยู่กับผงพรายกุมารนั่นเอง  กุมารประเภทนี้ต้องเซ่นไหว้ให้ดี และหากเวลาผ่านไปนานวันวิญญานภายในตัวกุมารก็สามารถโตขึ้นได้

     2. การสร้างด้วยเนื้อดินหรือเนื้อไม้แล้วเชิญญานเทพลงมา  กุมารประเภทนี้มักจะไม่ค่อยแสดงตัวเหมือนอย่างแรก เพราะเป็นเทพไม่ต้องเสพอาหารหยาบ ปกติมักปลุกเสกรวมกับพระเครื่อง เช่น กุมารทองของหลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม

      3. สร้างด้วยไม้ตายพราย ที่นิยมนั้นมักจะสร้างด้วยเนื้อไม้รักซ้อมตายพรายและไม่มะยมตายพราย เพราะถือว่าไม้ตายพรายนั้นเป็นไม้เทพสถิต มีความขลังอยู่ในตัวแม้ไม่ต้องปลุกเสก เมื่อได้ไม้ชนิดนี้มานั้นอาจารย์ผู้เสกจะประจุอาคมพระเวทย์ จิต ตั้งธาตุ หนุนธาตุ เรียกอาการ 32 เรียกนาม จนเกิดเป็นวิญญานอุบัติขึ้นมา วิญญานที่เกิดขึ้นมานั้นจะเรียกว่าพราย คือไม่รู้จักโต พรายพวกนี้จะไม่ทำร้ายผู้ใด แต่ถ้าขาดการดูแลจะอ่อนกำลังและสลายไปในที่สุด

การนำกุมารทองเข้าบ้าน

       ก่อนนำกุมารทองเข้าบ้านนั้นเราจะต้องจุดธูป 16 ดอก บอกพระภูมิเจ้าที่ว่าให้เปิดทางให้แก่กุมารทองที่เรานำมาเลี้ยง  ถ้าหากภายในบ้านเรามีกุมารทองอยู่ก่อนแล้วให้เราทำการจุดธูปหรือบอกปากเปล่าว่าจะเอาพี่หรือน้องมาอยู่ด้วย และเรายังต้องสอนกุมารในทางที่ดีอีกด้วยเพราะเค้าเป็นเด็กยังไม้รู้อะไรดีไม่ดี

การบูชากุมารทอง

            กุมารทองเป็นของขลังที่วิเศษในตัว การบูชานั้นทำโดยการตั้งเครื่องบูชา ประกอบด้วยข้าวปากหม้อ ไข่ต้ม น้ำแดง ขนมหวาน นอกจากนี้หากว่าบนสิ่งใดไว้ก็ให้ตอบแทนตามสิ่งที่บนมาเช่น ให้ของเล่น หรือให้สร้อยทอง ตามที่เราได้บนเอาไว้  สำหรับการถวายนั้นให้เราตกลงกับกุมารทองเอาว่าเราสะดวกวันไหน เช่นเราตกลงกับกุมารทองไว้ว่าจะถวายข้าวทุกๆวันพระเราก็ต้องให้เค้าทุกๆวันพระ เพราะกุมารทองเป็นกายทิพย์ถือเรื่องสัจจะเป็นสำคัญ แต่ถ้าหากไม่มีเวลาให้เราบอกเค้าไว้ว่า เวลาไปไหนก็ให้ไปด้วยกันกินอะไรก็กินด้วยกัน

คาถาบูชากุมารทอง (นะโม 3 จบ)

"นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ จะภะกะสะ จิเจรุนิ

นะออแอ โมออแอ พุทออแอ ธาออแอ ยะออแอ

มะอะอุ พุทธะสังมิ อิติกุมาโร ประสิทธิเม



ขอขอบคุณเคดิต http://xzce.saiyaithai.org/xzce/data/0008-1.php ด้วยครับ :015:

245
แนะนำข้อมูลมาฝากกัน ครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย ครับ
หากท่านไป ไปวัดกลางบางแก้ว และได้แวะไปที่ตู้วัตถุมงคล คงเคยเห็นพระปิดตา
2 สี คือ 1.แดง 2.เหลือง อยุ่ในกล่อง คู่กัน
แต่พระปิดตาคู้นี้ มีความพิเศษ ครับ
ความพิเศษ อยู่ตรงที่ ว่า พระปิดตาชุด นี้ ได้ผสมผงเก่า ของหลวงปู่บุญใว้ด้วย









เมื่อวันที่ ๒๗ ต.ค. ๔๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พลโท นายแพทย์ธำรงค์รัตน์ แก้วกาญจน์ นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ วัดกลางบางแก้ว ที่ประชุมสงฆ์มอบให้ หลวงปู่เจือ ปิยสีโล เป็นผู้รับผ้าพระกฐินพระราชทาน
ในงานนี้ทางวัดได้จัดสร้าง พระปิดตาสุริยะมหาลาภา-จันทรามหานิยม เป็นที่ระลึกขึ้น โดยนำผงเก่าของหลวงปู่บุญมาสร้างแล้วบรรจุ ไม้รัก ไว้ในพระปิดตาสุริยะ ส่วนพระปิดจาจันทรา บรรจุไม้ยม ซึ่งในการนี้หนังสือลานโพธิ์ได้ขออนุญาตสร้าง พระปิดตาผงพุทธคุณสีขาว พิมพ์เดียวกันเรียกว่า พระปิดตาพุทธมหาลาภาขึ้น และร่วมพิธีเสกด้วย เพื่อแจกให้แก่ผู้อ่านในโอกาสครบรอบ ๒๘ ปี ของหนังสือครับ
จัดเป็นของดีที่น่าบู๙ติดตัวอีกหนึ่งรุ่นของหลวงปู่เ จือท่านครับผม

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากเวป http://romphosai.com/forums/forum26/thread3422.html มากครับ



246
ช่วยดูให้ผมทีนะครับ ผมดูไม่เค่ยเป็น ครับ ไงก็ขอบคุณนะครับ
พอดีมีคนให้มา นานแล้ว  หุหุ





247
ธรรมะ / เตือนสติ ครับ
« เมื่อ: 13 มิ.ย. 2551, 10:47:05 »
หากลงซ้ำ ก็ขออภัยด้วยนะครับ กรุณาแจ้งเตือนด้วยนะครับ
สังขารร่างกายต้องตายเป็นผี
อยู่ในโลกนี้ไม่มีแก่นสาร
ทรัพย์สินเงินทองเป็นของสาธารณ์
ไม่ใช่ของท่านลูกหลานต้องลา

อย่ามัวประมาทโอกาสยังมี
อย่าหลงโลกีย์จะมีปัญหา
โลกนี้แท้จริงเป็นสิ่งมายา
เป็นสิ่งลวงตาใช่ว่าจีรัง

สังขารร่างกายอยู่ไม่กี่ปี
ก็ตายเป็นผีไม่มีความหวัง
เกิดแก่เจ็บตายร่างกายผุพัง
ทุกวันเดินทางสู่ยังกองฟอน

จะห้ามไม่ฟังจะรั้งไม่อยู่
เป็นสิ่งสมมติตามพุทธะสอน
อำนาจใดๆอย่าไปวิงวอน
ให้ช่วยเราตอนที่วันสิ้นใจ

สังขารเรานี้เป็นสิ่งที่สังเวช
มันเป็นสาเหตุสังเกตเอาไว้
เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวปวดร้าวอาลัย
หิวอิ่มเกินไปก็อยู่ไม่นาน

หนาวก็จะตายร้อนไปก็จะแย่
ลำบากแท้ๆนี่แลสังขาร
ต้องกินต้องถ่ายทนไปทุกวัน
ดูน่าสงสารคิดกันให้ดี

สังขารร่างกายทั่วไปเน่าเหม็น
มีของกากเดนมองเห็นทุกที
ไหลเข้าไหลออกย้อยยอกมากมี
ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วกัน

น้ำเลือดน้ำหนองล้วนของปฏิกูล
ไหลมาเป็นมูลพอกพูนหลายชั้น
ข้างนอกเน่าเหม็นมองเห็นทุกวัน
อีกข้างในนั้นล้วนขั้นไม่งาม

สังขารร่างกายไม่ใช่ตัวตน
เกิดมาเป็นคนไม่พ้นโดนห้าม
ต้องนอนเปลือยกายให้ไฟลุกลาม
เมื่อเจ้าโดนหามสู่เชิงตะกอน

ผู้ดีเข็ญใจก็ตายเหมือนกัน
อย่าหลงสังขารปลงกันไว้ก่อน
ลูกหลานหญิงชายส่งได้แน่นอน
ก็แค่กองฟอนแล้วย้อนกลับมา

สังขารร่างกายล้วนตายเป็นศพ
ถูกแผ่นดินกลบอยู่ในป่าช้า
หมู่หนอนชอนไชตามไต่กายา
เป็นเหยื่อนกกาหมูหมาในดง

กระดูกเกลื่อนกลาดเรี่ยราดทั่วไป
เอ็นเล็กเอ็นใหญ่ไร้จุดประสงค์
ต้องถูกทอดทิ้งนอนกลิ้งในดง
เป็นป่ารกพงเฝ้าดงกันดาร

กระทำให้แจ้งเจาะแทงตลอด
ให้จิตนี้ปลอดหลุดลอดสังขาร
หยุดความกระหายมุ่งไปนิพพาน
ไม่หลงสังขารทั่วกันด้วยเถิด

จะได้หยุดเกิดมันไม่ประเสริฐ
ตราบใดยังเกิดอยู่ในสงสาร
รีบภาวนาเพื่อละอัตตา
ข้ามพ้นมายาทั่วหน้ากันเทอญฯ

คัดจากหนังสือเผยแผ่ธรรม

248
พอเอ่ยชื่อหลวงพ่อโตนดหลวง คนเกือบทั้งเมืองใคร ๆ ก็ต้องรู้จัก ในฐานะผู้ทรงวิทยาคุณทางไสยศาสตร์ เป็นที่นับถือของคนทั่วไป มิใช่เฉพาะคนเมืองเพชรฯ ตลอดถึงชาวจังหวัดใกล้เคียง

หลวงพ่อ มีนามเดิมว่า สุข นามสกุล ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๒๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู บิดาชื่อนายจู มารดาชื่อนามทิม กำเนิด ณ บ้านทับใต้ ตำบลหินเหล็กไฟ แขวงเมืองเพชรบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 6 คน

การศึกษา

เมื่ออายุ 9 ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด โดยเป็นศิกย์เจ้าอาวาส หลวงพ่อก็เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และยังได้เรียนหนังสือขอมและบาลีอีกด้วย หลวงพ่อยังรักการต่อสู้ รักในวิชาหมัดมวย กระบี่กระบอง จนต่อมาภายหลังได้มีลูกศิกย์ลูกหาในวิชาเหล่านี้หลายคน

ต่อมา เมื่ออายุ 15 ปี ย้ายไปอยู่ที่บ้านเพลง จังหวัดราชบุรี เป็นระยะหลวงพ่อเป็นวัยรุ่น หนุ่มคนอง จึงชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ชอบไปแสดงลิเก ละคร โขนหนัง จนขนาดเป็นครูสอนผู้อื่นได้ ครั้นเมื่อเบื่อการแสดง ลิเก ละคร ฯลฯ ก็เที่ยวเตร่ไปโดยไม่มีจุดหมาย จนไปคบพวกนักเลงอันธพาล จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล และในที่สุดเป็นอาชญากรสำคัญในย่านเพชรบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม ต้องคอยหลบนี้อาญาบ้านเมือง ซุกซ่อนอยู่ในป่าด้วยความลำบากยากแค้น ครั้นหนึ่งหลบหนี้เข้าไปในป่าจนไม่ได้กินอาหารเลย 3 วัน ตอนนี้เองได้สำนึกตัวได้ว่าตนได้ดำเนินชีวิตผิดทางเสียแล้ว ถ้าไม่กลับตัวย่อมจะได้รับความทุกข์ทรมารทั้งกายและใจ จึงตัดสินใจเล็ดลอดเข้าอุปสมบท ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 32 ปี

หลวงพ่อบวช ครั้งนั้น ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม 2452 ณ.วัดปราโมทย์ ตำบลโรงหวี อำเภอบางคนฑี จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีหลวงพ่อตาด วัดบางวังทองเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปัชฌาย์ได้จำพรรษาอยุ่ที่วัดปราโมทย์ 4 พรรษา แล้วไปอยู่วัดแก้ว 2 พรรษา จังหวัดราชบุรี และไปอยู่วัดใหม่ 1 พรรษา ต่อจากนั้นก็ออกธุดงค์ไปกับสมาเณรจันทร์ (พระครูจันทร์ ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน) หลังจากธุดงค์ไปหลายจังหวัดแล้ว ในที่สุดก็มาถึงตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ ขณะนั้นพอดีวัดโตนดหลวงขาดสมภาร ชาวบ้านไปพบหลวงพ่อก็เกิดเลื่อมใส จึงนิมนต์ไปอยู่วัดโตนดหลวง เพื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.2548 หลวงพ่ออายุได้ 38 ปี

กรณีจกิจ หลวงพ่อได้บำเพ็ญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนาและบ้านเมืองมีมากมาย เช่นบูรณะวัดโตนดหลวงเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น ยังมีเมตตาจิตสร้างวัดช้างแทงกระจาด วัดท่าขาม และวัดเขาลูกช้าง ในด้านการศีกษาก็ได้ช่วยสร้างอาคารเรียนให้ 3 ครั้ง ในที่สุดก็ได้สมนศักดิ์เป็น พระครูพินิจสุตคุณ

เรื่องอารณ์ขัน ของหลวงพ่อ คุณประสิทธ์ พ่วงพี ได้พบกับหลวงพ่อที่วัดเพรียง ซึ่งนิมนต์หลวงพ่อปลุกเสกวัตถุมงคลเพื่อหาเงินสร้างโรงเรียน เมื่อปี 2498 คุณประสิทธิไปหาหวงพ่อให้กระหม่อม พร้อมด้วยผู้สนใจอีกหลายคน เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกเสร็จแล้ว ได้พูดกับผุ้ที่ไปชุมนุมอยู่รอบ ๆตัวหลวงพ่อว่า ?อย่าเชื่อฉันให้มากนักนะ ฉันมันบ้าๆ อยู่? หลวงพ่อพูดพร้อมกับหัวเราะหึ ๆ ทำให้ทุกคนทั้งขบขันและทั้งยิ่งศัรธาในความถ่อมตนของท่าน

หลวงพ่อเพรียบพร้อมทั้งคุณธรรมและความรู้หลายอย่าง เช่นมีความรู้ในทางแพทย์แผนโบราณ และยังมีความขลังทางวิชาไสยาศาสตร์มาก จนมีผู้เลื่อมในนับถืออยู่ทั่วไป มีข้าราชากรชั้นผู้ใหญ่ของประเทศนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เท่าที่สืบได้ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เคยไปลงกระหม่อม พ.อ.พระยาศรีสรุสงคราม ได้ไปให้ลงกระหม่อม และนิมนต์ไปร่วมปลุกเสกแหวนมงคล 9 และพระกริ่งยอดหมุด ณ พระอุโบสถ์วัดราชบพิธ ร่วมกับอาจารย์คนสำคัญ ๆ รวม 18 องค์ เมื่อปี 2495 และทางกองทัพบกได้นิมนต์ไปประพรมพระพุทธมนต์ และปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ให้แก่ทหารในคราวสงครามอินโดจีน ครั้งสุดท้ายได้นิมนต์ไปปลุกเสกพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

ของขลังของหลวงพ่อ ที่ขึ้นชื่อลือชา มีดังนี้

1. สักยันต์ที่เหนือราวนม ทำให้คงกระพันชาตรี อาวุธมีด ปืน ฟันแทง ยิงไม่ข้า

2. ลูกอม ปืนยิงไม่ออก คนทำร้ายไม่ถูก

3. เหรียญรูปหลวงพ่อ ใช้ทางคงกระพัน รวมทั้งครั่งด้านหลังสำหรับรักษาพวกสัตว์มีพิษ

4. แหวน ใช้ป้องกันอสรพิษและสัตว์ร้าย ต่างๆ

5. ตะกรุด ตะกรุดของหลวงพ่อมีหลายชนิดด้วยกัน คือชนิดเจ็ดดอก สามกษัตริย์ ใช้ทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ชนิดคลอดง่ายใช้ทางคลอดบุตร ชนิดสาริกา ใช้ทางเมตตามหานิยม

ของขลัง ของหลวงพ่อเท่าที่เล่ามานี้ ใช้ว่าจะมุ่งหมายชักชวนให้ผู้ใดเกิดความเชื่อถือในเครื่องรางของขลังทางไสยศาสตร์ก็หามิได้ แต่เล่าตามที่ได้รู้เห็นมา โดยยังมีประจักษ์พยานหลักฐานตัวบุคคลยืนยังอยู่ ผู้ใดจะเชื่อหรือไม่ ก็สุดแต่สติปัญญาและอารมณ์ของท่าน

อันเรื่องราวของหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงพ่อ ดังสารธยามานี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า คนทำดีไว้นั้นแม้ชีวิตจะสิ้นแล้ว แต่คุณความดีหาได้สิ้นไปด้วยไม่ และแม้บางคนจะเคยประพฤติไม่ดีมาก่อน แต่ต่อมาก็สำนึกตัวละชั่วกลับประพฤติดีได้ ก็เป็นบุคคลที่ควรแก่ยกย่องสรรเสริญ ดังเช่นหลวงพ่อทางสุข แห่งวัดโตนดหลวง พระดีอีกองค์หนึ่ง

ภาคอภิณญาของหลวงพ่อ ครั้งหนึ่ง ณ วัดท่าขาม มีคนมาขอยาต้มจากหลวงพ่อ บังเอิญยาต้มขนานนั้นต้องลงพระเจ้า 5 พะองค์ในใบมะกาด้วย แต่ใบมะกามาก ท่านจึงให้พระเณร และศิกย์ช่วยกันลง คณะศิกย์และพระเณรก็ช่วยกันลงทีละใบ ท่านรำคาญจึ่งเอ่ยว่า ?ลงอย่างนี้เมื่อไรจะหมด เรียงซ้อน ๆ มาข้าลงเอง ลูกศิกย์ก็ช่วยเรียงใบมะกาซ้อน ๆ กันประมาณ 10 -20 ใบ ท่านลงใบเดียว แต่ปรากฏว่าใบล่าง ๆ ทุกใบติด นะ โม พท ธา ยะ ทั้งหมด นับว่าอัศจรรย์ยิ่งนัก



เรื่องราวทั้งหมดนี้ คัดมาจากหนังสือวางศิลาฤกษ์อุโบสถ์วัดโตนดหลวง เรียบเรียงโดย ท่านประสิทธิ์ พวงพี


http://www.krusiam.com/community/forum2/view.asp?ForumID=cate00003&PostID=ForumID0012770
เคดิต

249
เหรียญจัก ปี 28 มหาอุด หลวงพ่อเต้า หลังหลวงพ่อแช่ม นั่งปืน ครับ ....







250
เทียน 1 เล่ม ถึงแม้ เวลาการใช้งานนั้นมินาน แต่ก็มีคุณค่า ในยามที่เรามองไม่เห็น
เหมือนแสงธรรม ที่สอ่งสว่างเราทุกเช้าเย็น? ....
แม้เทียนต้นเล็กยังมีค่ามากมาย .........

เราดูเทียนสิครับ เทียนมีประโยนช์มาก หากเวลาเราไฟดับ หรือไม่มีไฟใช้
สมัยโบรารไม่มีไฟฟ้า ก็ใช้เทียน หรือตะเกียง ในยามมืด เพื่อส่องสว่างนำทาง
แม้เทียน 1 เล่ม เวลาการใช้มินาน แต่ก็มีคุณค่าทำให้ส่องสว่างในความมืดได้

ลองคิดดูหนอ เทียน 1 เล่ม มีคุณค่าและประโยชน์ มาก ถึงแม้การใช้งานมันมินาน
แต่ชีวิตคนเรา ... อายุการใช้งานมากว่าเทียนหลายเท่า แต่มีคุณค่าเหมือนเทียนหรือไม่

เทียนมีคุณค่ามาก ถึงอายุมันจะน้อย
คนมีอายุมาก ...แต่คุณค่าจะเท่าเทียนหรือป่าว
เทียนมันยอมเผาตัวมันเอง เพื่อ ส่องสว่าง เพื่อเกิดประโยชน์

แล้วคุณๆหละครับ เคยทำประโยชน์ และ ความดีให้กับตัวเองและผู้อื่นหรือยัง


251
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้


หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ


หลวงพ่อม้วนวัดไทร


หลวงพ่อสุข วัดห้วยจระเข้


หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม



หลวงพ่อใย วัดบางช้างใต้


หลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก



หลวงพ่อเบี้ยว วัดใหม่สุคนธาราม


หลวงพ่อเกิด วัดทัพหลวง


พระอธิการชา วัดสามกระบือเผือก


หลวงพ่อสุบิน วัดวังตระกูล



252








นำมาจาก หนังสือหลวงปู่บุญ ครับ ..... เป็นผ้ายันต์ ของหลวงปู่ครับ?

254
เชิญชาวบ้านพี่น้อง ร่วมงาน พระราชทานเพลิงศพ สังขาร หลวงพ่อ  ณ วัดไร่ขิงด้นะครับ ตั้งแต่เวลา 15.00 เป็นต้นไป ครับ

255
วัดพระศรีอารย์ มีอายุประมาณ ๒๖๐ ปี เป็นวัดเก่าแก่สร้าง มาแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เดิมวัดพระศรีอารย์ ชื่อ วัดสระอาน สันนิษฐานว่า วัดพระศรีอารย์ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ ประมาณปี ๒๒๗๕ ซึ่งแต่ก่อนเป็นวัดสร้างยังไม่มี พระภิกษุ มาอยู่จำพรรษา เป็นวัดเก่าที่มีมาช้านาน มีผู้พบอุโบสถก่ออิฐ ถือปูน ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร เป็น อุโบสถมหาอุด มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีสระน้ำโบราณอยู่คู่กับ อุโบสถด้านทิศเหนือ

ขณะที่ค้นพบมีสภาพเก่าและชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ภายในอุโบสถมีพระประธานที่เก่าแก่ เป็นอิฐเผาถือปูน บริเวณรอบๆ อุโบสถเป็นป่ามีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมอยู่ จนถึงประมาณปี ๒๔๗๕ เริ่มมีพระภิกษุเข้ามาพักจำพรรษา เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๐๐ ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดสระอาน มาเป็น วัดพระศรีอารย์

วัดศรีอารย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนตลอดมา และได้สร้าง อุโบสถหลังใหม่ขึ้น เป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า มีความวิจิตรตระการตา ประดับด้วยลายปูน ปั้นในรูปลักษณ์ต่างๆ อย่างงดงาม มั่นคง อย่างลงตัวทั้งหลัง

อุโบสถทองคำร้อยล้านก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๑๐ โดย พระครูสิริพัฒนกิจ (หลวงพ่อขันธ์ กนฺตธโร) อดีตเจ้าวัดพระศรีอารย ์ เป็นผู้ริเริ่ม และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ การก่อสร้าง อุโบสถครั้งนี้ เพื่อใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีกรรมของภิกษุสงฆ์ อีกทั้ง ยังเป็น กาาแสดงถึงมรดกของไทย ด้านศิลปกรรม และจิตรกรรม

อุโบสถทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประดับด้วยลวดลายรูปปั้น เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน อุโบสถหลังใหม่นี้ไม่มี แบบสำเร็จรูป เป็นการสร้างตามแบบที่หลวงพ่อขันธ์ ต้องการ และที่ สำคัญไม่มีการตอกเสาเข็ม เพราะ ในสมัยนั้น การก่อสร้างในต่างจังหวัด ยังไม่มีการ ตอกเสาเข็ม เพียงแต่นำหินมาถมและเทคานรองรับเพื่อสร้างตัวอุโบสถได้เลย

ช่างผู้รับงานก่อสร้างเป็นคนบ้านพระศรีอารย์ ส่วนแรงงานเป็นการลงแรงของคนในชุมชน และใกล้เคียง การก่อสร้าง?

ส่วนมากทำในเวลาที่ว่างจากงานประจำของชาวบ้าน กระทั่งในปี ๒๕๑๗ เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตกว่า อุโบสถที่อยู่ระหว่าง ก่อสร้างจะพังลงมา เพราะไม่มีเสาเข็ม แต่หลัง จากน้ำลดลงแล้ว ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆ

การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงระยะหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อขันธ์มรณภาพ พระครูวิทิตพัฒนโสภณ (สง่า ฐานิสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์ รูปปัจจุบันได้เป็นผู้สานต่องานทั้งหมด

ต่อมา นายประเสริฐ อรชร ได้เข้ามารับช่วงการก่อสร้างต่อ จึงได้ดำเนินการเทคานรอบตัวอาคาร อีกครั้ง เพื่อความมั่นคง

การก่อสร้างในสมัยที่นายประเสริฐเข้ามารับงานนี้ เป็นการตกแต่งเพื่อความสมบูรณ์มากกว่า เพราะโครงสร้างของอาคาร ได้เสร็จก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น งานใหญ่ที่สำคัญคือ การติดลายปูนปั้นต่าง ทั้งภายในและรอบนอกอุโบสถ

ส่วนพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สร้างด้วยหยกขาวทั้งองค์ โดยมี หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชสังวรอุดม) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี เป็นประธานในการอัญเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถร้อยล้านหลังนี้ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๖

ภายในติดกระจก ลงรักปิดทองบานประตู หน้าต่าง แกะสลักเรื่อง พุทธประวัติ ฝาผนัง แต่งแต้มด้วย จิตรกรรม เรื่องพระมหาชนก พระเจ้า ๕ พระองค์ พระประธานในอุโบสถ สร้างจากหินหยกขาว ซึ่งหลวงพ่อ อุตตมะ แห่งวัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี เมตตาอธิฐานจิต อัญเชิญมา จากประเทศพม่า มาประดิษฐานที่ประเทศไทย ณ อุโบสถวัดพระศรีอารย์

และการก่อสร้างอุโบสถทองคำร้อยล้าน วัดได้รับการถวายประตูอุโบสถจาก นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ ประธานบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน ๑ ล้านบาท หลังจากนั้นทุกปีนายเกรียงไกรก็จะมาช่วยงาน ที่วัดพระศรีอารย์เป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มาชมอุโบสถทองคำร้อยล้านแห่งนี้แล้ว ยังจะมีโอกาสได้กราบสักการะร่าง ของหลวงพ่อขันธ์ที่ ไม่เน่าเปื่อยอยู่ในโลงแก้วอีกด้วย ผู้สนใจสอบถามเส้นทางไปวัดพระศรีอารย์ หมู่ ๙ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โทร.๐-๓๒๒๓-๒๕๙๕, ๐-๓๒๒๓-๑๓๕๑, ๐-๑๗๖๓-๗๖๘๘



ใครที่เคยเข้าค่ายมาแล้ว คงจะรู้ดี ว่าเป้นค่ายที่ดีมาก ถึงมากที่สุด ที่ทำให้เราเข้าใจถึงหลักคำสั่งสอน ของพระพุทธองค์

ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวสดคมชัดลึกครับ





256
โดย...รณธรรม ธาราพันธุ์

?คนสมัยนี้เป็นทุกข์เพราะความคิด? ธรรมะสั้นๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งทำนองเซ็น มักออกจากปากของหลวงปู่ดูลย์อยู่เสมอ โดยนิสัยท่าน ไม่ใช่คนพูดพร่ำเพรื่อแต่เดิม คำสอนแบบเซ็นจึงดูจะถูกใจท่านนัก
สมัยท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยังทรงสังขารอยู่นั้น มือขวาก็เป็นท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และมีมือซ้ายชื่อท่านอาจารย์พระมหาปิ่น ปัญญาพโล ทั้งสององค์นี้นับว่าแบ่งเบาภาระในการอบรมหมู่คณะแทนท่านได้มาก แต่ถึงกระนั้นท่านพระอาจารย์มั่นก็ยังมีศิษย์ที่เชี่ยวชาญกัมมัฎฐาน พอจะสั่งสอนหมู่เพื่อนแทนท่านได้อีกองค์หนึ่ง
พระดูลย์ อตุโล คือชื่อของท่านองค์นั้น
คนสนใจก็จะทราบ คนไม่สนใจก็จะไม่ทราบเลยว่า หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำข้าม จ.สกลนคร ผู้ลือนาม แท้จริงต่างก็เป็นศิษย์ของหลวงปู่ดูลย์มาก่อนทั้งนั้น เมื่อฝึกฝนพื้นฐานจนชัดเจนลงตัว หลวงปู่ดูลย์จึงส่งไปถวายตัวกับทานพระอาจารย์มั่น เพื่ออบรมขั้นสูงต่อไป
นอกจากนั้นก็ยังมี หลวงปู่โชติ คุณสัมปันโน วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผู้ทรงอภิญญาเป็นอัศจรรย์ กับ พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ฆราวาสผู้เคร่งธรรม อีกสองท่านที่เป็นศิษย์ของหลวงป่ดูลย์เช่นกัน ท่านเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของวงศ์กัมมัฎฐานจริงๆ
วัตถุมงคลที่ออกในสมัยหลวงปู่ดูลย์ยังมีชีวิตอยู่นั้น ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งที่ท่านก็ปรารภอยู่เสมอว่าไม่ใช่นิสัยท่านเลย ก็ความเมตตาเต็มออกหรอกที่ทำให้ท่านต้องทำ
เมื่อมีคนถามท่านว่า ?พระรุ่นไหนของหลวงปู่ที่ดังที่สุด?
ท่านตอบทันทีว่า ?ไม่มีดัง?
ผมคิดแง่ดีไปว่า ถ้าถูกส่องด้วยลูกโม่ หรือแม็กนั่มจุมีจุดเท่าไรก็ตาม
คง ?ไม่ดัง?
สมัยผมเรียนอยู่โรงเรียนประจำจังหวัดชลบุรี ผมรู้จักกับอาจารย์สอนภาษาอังกฤษท่านหนึ่ง คุยกันไปคุยกันมาก็มาลงที่เรื่องพระ เมื่อผมขอดูสร้อย ก็เป็นพระปรกใบมะขามเนื้อทองคำ องค์น่ารักองค์หนึ่ง ด้านหลังมีตัวขอมว่า ?พุทโธ? แขวนรวมอยู่กับลูกอมชานหมากหนึ่งลูก
อาจารย์ท่านว่า พระปรกนั้นเป็นของหลวงปู่ดูลย์ แต่ลูกอมนั้นเป็นของหลวงปู่สาม
?อื้อฮือ! ทำไมได้ของดีขนาดนี้ละครับ? ผมถาม
ท่านตอบว่า ?เพราะพ่อครูสร้างเอง และท่านทั้งสององค์ก็มาบ้านบ่อยๆ? ผมก็ตาโตไปเท่านั้น
นั่นเป็นเหตุให้ผมได้ไปนั่งตรงหน้าคุณพ่อของอาจารย์ เพื่อจะถามถึงกระบวนการสร้างพระปรกใบมะขาม แต่กลับได้ของแถมคือ เรื่องเหรียญ 8 รอบ เพราะ ?ป๊า? เป็นคนสร้างอีกเหมือนกัน





?ป๊า? เล่าว่า สนิทกับหลวงปู่ดูลย์มากเคารพท่านที่สุด เมื่อป๊าเห็นว่าหลวงปู่จะมีอายุครบ 8 รอบ ในปี พ.ศ. 2526 จึงของอนุญาตสร้างเหรียญกับเขาบ้าง ซึ่งหลวงปู่ก็อนุญาตให้ทำ
ป๊าจึงกลับมาติดต่อกับช่างมือ 1 ของไทยคือ นายช่างเกษม มงคลเจริญ ถึงราคาจะสูงแต่ก็ยอม เพราะเป็นผลงานเหรียญรูปเหมือนครั้งแรกที่ป๊าทำเลยอยากให้งานออกมาดีที่สุด
เมื่อช่างเกษมออกแบบเหรียญหลวงปู่ดูลย์เสร็จ ก็โทรตามป๊าให้ไปดูว่าเป็นไปตามความต้องการหรือยัง ป๊าเห็นแบบแล้วก็ตกลง ช่างเกษมจึงแกะบล็อกทันที ครั้นบล็อกเสร็จ ป๊าก็ไปดูอีก และบอกให้ช่างเกษมทดลองปั๊มเหรียญตัวอย่างออกมาดู ปกติการปั๊มเหรียญตัวอย่างเขาก็จะใช้ตะกั่วเป็นตัวลองพิมพ์ เพราะราคาถูก และเนื้อนิ่ม ย่อมจะติดรายละเอียดในพิมพ์ได้คมชัดที่สุด




เหรียญ 8 รอบ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (ด้านหลัง)

แต่ป๊ากลับให้ช่างเกษมลองพิมพ์ด้วย ?ทองคำ? เพราะทองก็นิ่มเหมือนกัน เมื่อเหรียญตัวอย่างมาแล้ว ป๊าก็รีบเดินทางขึ้นวัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เพื่อเอาเหรียญไปถวายให้หลวงปู่ได้พิจารณา
ในกุฎิหลวงปู่ ป่าเอาเหรียญในกล่องถวายให้หลวงปู่ดู ท่านเอื้อมมือมาหยิบเหรียญทองคำตัวอย่างโดยลักษณะการเอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งมือขวาคีบเหรียญด้านบนและด้านล่างขึ้นมาดู ท่านมองอยู่ไม่กี่กะพริบตาก็ส่งคืน ป๊าเรียนถามท่านว่า
?มีอะไรต้องแก้ไขไหมครับหลวงปู่?
ท่านตอบเนิบๆ
?ไม่ต้องแก้ไขอะไรแล้ว ทำมาเลย?
ป๊าก็เลยเดินทางกับมายังโรงงานของนานช่างเกษม พลางนำเหรียญ 8 รอบตัวอย่างซึ่งหลวงปู่ดูแล้วให้ช่างเกษมทำการยุบใหม่ เพราะเหรียญตัวอย่างนั้นหนาเกินไป หากว่าปั๊มเหรียญทองคำตัวจริงออกมาด้วยความหนาเท่านั้นจะเปลืองมาก
ช่างเกษมเอาเหรียญทองคำใส่เบ้าหลอมรวมกับทองคำอื่นๆ และแล้วเหตุอัศจรรย์ก็พลันเกิด... เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมงก็แล้ว 2 ชั่วโมงก็แล้ว เหรียญหลวงปู่ดูลย์เหรียญนั้นยังไม่ยอมละลาย ไม่...แม้แต่จะบิดงอด้วยความร้อนอันสูงลิบ ในขณะที่ทองอื่นกลายเป็นน้ำไปหมดแล้ว
ทั้งป๊า ทั้งช่างต่างตะลึงงันดูปรากฏการณ์พิศวงนี้อยู่จนขึ้นชั่วโมงที่ 3 ป๊าจึงตัดสินใจขอธูปช่างมา 3 ดอก จัดแจงจุดแล้วหันไปยังทิศที่ตั้งของวัดบูรพาราม เอ่ยปากขอขมาว่า ที่ต้องหลอมเหรียญหลวงปู่ในครั้งนี้ ไม่ใช่เพราะจะอวดดีฝืนคำหลวงปู่ที่ว่า ?ไม่ต้องแก้ไข? แต่อย่างใด แต่มันเป็นความจำเป็นเพราะเหรียญหนาเกินไป ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก ขอหลวงปู่โปรดเมตตา พอปักธูปแล้ว ป๊าก็ไปดูที่เบ้าหลอม ไม่เล่าก็เดาถูกนะว่า...
เหรียญละลายไปในพริบตา
มันน่าอัศจรรย์ใจไหมล่ะ หลวงปู่ยังไม่ได้เสกได้เป่าอะไรเลย เพียงหยิบขึ้นมาพิจารณาแล้วบอกว่า ?ไม่ต้องแก้ไข? มันก็เป็นประกาศิตขนาดหลอมไม่ละลาย แล้วถ้าท่านตั้งใจแผ่เมตตาอธิษฐานจิตให้เล่า จะสักแค่ไหน !!
ผมเลยไล่เก็บเหรียญนี้สนุกไป เพราะในเมืองชลมีเหรียญ 8 รอบ เพ่นพ่านให้พบบ่อยๆ เนื่องจาก ?คลัง? อยู่ไม่ไกล แค่ร้านข้าวเป็ดท่าเกวียนเท่านั้นเอง
ป๊าสร้าง เหรียญทองคำทั้งหมด 31 เหรียญ, เหรียญเงินลงยา 14 เหรียญ,เหรียญเงินบริสุทธิ์ 2,000 เหรียญ และเนื้อทองแดง 20,000 เหรียญ
ประสบการณ์ของเหรียญนี้มีอยู่ไม่น้อย ผมไม่เล่าไม่บอกหรอกนะ ลองหาแขวนดูเองเถิด เผื่อจะมีประสบการณ์เอง แล้วจะได้มาเล่าให้ผมฟัง ใครที่อยากได้ มาเที่ยวเมืองชลสิครับ มองหาในสนามพระตัวเมืองชลก็คงจะพบหรอก
ขออวยพรให้คนมีศรัทธาครับ...

257
เชิญท่านใดที่ทีใจศรัทธาหลวงปู่ แผ้ว ปวโร ไหวครู้ วันที่15พ.ค. เวลา 09.09 น. ณ
วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐมครับ
โยนิมนพระ 108 รูปมาร่วมพิธี และแจกวัตถุมงคล และร่วมทำบุญ ด้วย ครับ

258
ผมมีโครงการจะไป วัดเขียนเขต  จ.ปทุม ครับ แถวนั้น มีไรน่าสนมั่ง ครับ ช่วย
แนะนำหน่อย ครับขบอคุณครับ

259
พระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช

อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ

พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด

พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่

พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"

มรณภาพ
ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ

ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี

ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร

ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ

นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง


ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อ http://www.sitluangpor.com/

260
จงเชื่อและศรัทธา แต่อย่างมงาย 
อะหนึ่ง เราไม่ทำความดีเลย หรือไม่ทำอะไรด้วยตัวเองเลยเราก็แย่
มัวแต่พึ่งของ  อย่างเดียวก็ไม่ได้
อยากรวย แต่ไม่ทำงาน มัวแต่รอบุญวาสนา  พึ่งของขลังก็แย่
อยากมีคู่ ใช่ว่า มีของดี เขาจะรัก หากเข้ากันไม่ได้เขาก็ไป  อยู่ที่บุญ ที่ทำกันมาว่ามีแค่ไหน
บางคน แต่งงานมีลูก แล้ว ก็ยังเลิกได้ นับประสาไรกับคุ่รัก ทั่วไป แล้วแต่เวรแต่กรรม
จึงยึดมั่นในความดีเทิด ทุกสิ่งทุกอย่าง เปงที่พึ่งทางใจ และเครื่องยึดเหนี่ยว
อยากรวย ก็ต้อง ขยัน ทำงาน เก็บออม
อยากมีแฟนดี ก็ต้อง คิดดี พูดดี ทำดี เลือกคนที่ดี 
และท่านจะประสบความสำเร็จ

261
เนื่องจาก ประวัติหลวงพ่อเงิน มีคนนำมาลง แล้ว ในกระทู้บางส่วน นะครับ เลยมิได้นำมาลงใน ในกระทู้นี้

 
พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม ฐานุสฺสโก)
วัดดอนยายหอม
ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ชื่อเดิม :
? แช่ม อินทนชิตจุ้ย
 
ชาตะ
 วันพุธที่ ๖ มีนาคม ๒๔๔๙ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายเนียม และนางอ่ำ อินทนชิตจุ้ย
 
อุปสมบท :
 ที่อุโบสถวัดดอนยายหอม ในวันศุกร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ โดยมีพระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูทักษิณานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม เป็นพระกรรมวาจารย์ และพระครูวินัยธร (ใย) วัดบางช้างใต้ เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า "ฐานุสฺสโก"
 
การศึกษา :
 ในด้านพระปริยัติธรรม หลวงพ่อแช่ม สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จากนั้นได้หันมาศึกษาด้านการปฎิบัติ โดยได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และพระเวทวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อรุ่ง วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม และพระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้วยจรเข้
 
สมณศักดิ์ :   
 - ปี พ.ศ. ๒๕๐๖   เป็นพระครูฐานานุกรมของพระราชธรรมาภรณ์ (เงิน) ในตำแหน่งพระครูปลัดแช่ม
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๑๒   เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนา ที่ พระครูเกษมธรรมานันท์
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๑๖   เป็นพระอุปัชฌาย์
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๒๐   เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
 
 
 - ปี พ.ศ. ๒๕๒๔   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก วิปัสสนา พัดพุฒตาลขาว ในราชทินนามเดิม
 
ผลงานด้านการพัฒนา :
 สมัยที่หลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อแช่มเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง สำคัญของหลวงพ่อเงินในการพัฒนาสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์ต่างๆ มากมาย เมื่อหลวงพ่อเงินมรณภาพไปในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงพ่อแช่ม ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเงินต่อไป
 
 
 ๑. การบูรณปฎิสังขรณ์เสนาสนะ กุฎิสงฆ์ และถาวรวัตถุต่างๆในวัดดอนยายหอม
 
 
 ๒. เป็นประธานอุปถัมภ์ในการสร้างวัดตะแบกโพรงสามัคคีธรรมที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 
 
 ๓. สร้างโรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ (ฉิมเกตุ อ่อนอุทิศ) ที่ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 
 
 ๔. สร้างตึกคนไข้ ๔ ชั้น ที่โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 
 
 ๕. จัดหาทุนสร้างหอประชุมอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 
ชื่อเสียงกิตติคุณ :
 เชื่อกันว่าหลวงพ่อแช่มสำเร็จเตโชกสิณตั้งแต่พรรษายังน้อย บางคนเชื่อว่าท่านสำเร็จฌานอภิญญามีพลังจิตเข้มขลัง ปรากฏการณ์ที่ทำให้ชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก็คือ สามารถอธิษฐานจิตปลุกเสกจนน้ำมนต์เทไม่ออก วัตถุมงคลต่างๆที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก มีพุทธคุณครบเครื่องทุกๆด้าน แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ เมตตามหานิยม ปัจจุบันวัตถุมงคลชุดสำคัญๆของท่านเริ่มเป็นที่นิยมและสะสมกันมากขึ้น นอกจากพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆแล้ว น้ำพระพุทธมนต์ แป้งเจิม มงคลสวมคอ การผูกหุ่นพยนต์ และสาริกาลิ้นทอง เป็นวิชาเฉพาะตัวที่หลวงพ่อทำได้ขลังยิ่งนัก
 
มรณภาพ :
 วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมสิริมายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๗


อริยเมตตาแห่งดอนยายหอม

หลวงพ่อแช่ม ฐานุสสฺโก
โดย....อำพล เจน

ที่มา http://www.suankhung.com/index.php?l...524186&Ntype=6



นักเลง 2 ชีวิต ละแวกภาษีเจริญ

นักเลงเบิ้ม และนักเลงไก่

ชื่อเบิ้มและไก่บนถนนสายที่ปูด้วยมีดและปืน ให้ถามไถ่คนแถวนั้นเป็นที่รู้จักหมด

คนทั้งสองโลดแล่นอยู่บนถนนดุ โดยมีทั้งความรุ่งเรืองและตกต่ำ คงไม่ต้องบอกว่าเขาทั้งสองคนเป็นนักเลงประเภทไหน คุมบ่อน คุมซอย หรือเป็นมือปืนอาชีพรึเปล่าดีกว่า แต่ว่าวันตกอับแห่งชีวิตนักเลงก็มีมาถึง วันเข้าตาจน สุดตรอก ไม่มีที่จะถอย ห้วงทุกข์สุดขีดที่คนทั้งสองร่วงดิ่งลงสุดกู่ ก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายว่าคืออะไร มันเป็นทุกข์อันยิ่งใหญ่ที่นักเลงทุกคนล้วนเคยประสบ

ทุกข์อันนั้นแหละที่ทำให้นักเลงเบิ้มและนักเลงไก่นึกถึงพระ นึกถึงวัด นึกถึงบุญกุศลที่ตนเองไม่มีหรือมีน้อย

ทว่าการนึกถึงพระนั้นก็เป็นการนึกที่ไม่ออก นึกไม่เห็นว่าพระมีอยู่ที่ไหน

พระรูปใดจะแก้ทุกข์ให้ได้ ที่นึกออกคือนึกเห็นแต่ ?อาจารย์เบิ้ม? เพื่อนสนิท คนชื่อเดียวกัน แต่ไม่มีอะไรเหมือนกัน

อาจารย์เบิ้มเคร่งธรรม นักเลงเบิ้ม และไก่เคร่งปืน

สวนทางกันอย่างนี้

อาจารย์เบิ้มรับทุกข์ที่คนทั้งสองระบายใส่เสียเต็มปรี่และสนองปรารถนาคนทั้งสองโดยยินดีในฐานเพื่อน คิดถึงพระที่จะช่วยคลี่คลายทุกข์ให้สหายผู้อมทุกข์ ถ้าหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ยังไม่สิ้น ก็แค่เดินข้ามคลองไป แต่ท่านผู้เป็นอาจารย์ก็สิ้นไปแล้ว

?ไปดอนยายหอม? อาจารย์เบิ้มบอก ?วัดดอนยายหอมมีหลวงพ่อแช่มอยู่ทั้งคน?

 วัดดอนยายหอม ประมาณปี 2531 หลวงพ่อแช่ม หรือพระครูเกษมธรรมนันท์ มีอายุได้ 82 ปี แข็งแรง บึกบึน หน้าแดง ล่ำใหญ่กว่าทุกวันนี้ ซึ่งมีอาพาธ เหน็ดเหนื่อย และผอมลงอย่างเป็นตรงกันข้าม

ท่านนั่งบนตั่งหน้าห้องพักในกุฏิใหญ่ เป็นที่เดิมที่ท่านนั่งรับคนผู้มีศรัทธา

มากราบโดยไม่เคยเปลี่ยน ท่านมองดูนักเลงเบิ้มและไก่ที่คลานเข้ามากราบแล้วร้องอวยพรแปลกประหลาดว่า

?ยมฑูตทั้ง 4 รักษา?

แปลกไปจากที่เคยอวยพรใครต่อใครว่า พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา

อวยพรพิสดารแล้วก็หันไปร้องสั่งลูกศิษย์ให้เอาตะกรุดโทนมาเร็ว ๆ เอามาคาดใส่เอวให้คนทั้งสองด้วยมือท่านเอง

?อย่าถอดนะ? ท่านสำทับลงไปอีก

รดน้ำมนต์ให้อีกหนึ่งชุด รดแล้วก็สั่งนักเลงเบิ้มและนักเลงไก่ให้ไปเอารูปหล่อบูชาของหลวงพ่อเงินคนละองค์ คนทั้งสองนอกจากจะเอารูปหล่อบูชาหลวงพ่อเงินแล้ว ยังพ่วงรูปหล่อบูชาของหลวงพ่อแช่มมาด้วยอีกคนละองค์ และนำมาวางตรงหน้าท่าน เพื่อท่านจะได้เจิมแป้งอธิษฐานจิตเป็นพิเศษอีกครั้ง ท่านเห็นแล้วก็กล่าวว่า

?นี่รูปหลวงพ่อเงิน อาจารย์ฉัน ท่านเสียอายุ 87 นี่รูปฉัน หลวงพ่อแช่ม อายุ 82 เอาไปไว้ที่บ้าน อย่าวางสูงกว่าพระพุทธรูปนะ?

งวดนั้นหวยออกทั้งบ่นและล่าง 87 และ 82 นักเลงเบิ้มถูกทั้งบนล่าง เต็งโต๊ดเบ็ดเสร็จเป็นเงิน 2 แสนกว่าบาท นักเลงไก่ถูกเท่าไหร่ไม่ทราบชัด คนทั้งสองย้อนกลับไปดอนยายหอมอีกครั้งหนึ่ง ถวายเงินหลวงพ่อแช่ม 2 หมื่นบาท

หลังจากกลับออกจากวัดครั้งนั้น คนทั้งสองไม่มีวันกลับไปอีกเลย

นักเลงเบิ้มป่วยตาย

นักเลงไก่เป็นอัมพาต

อาจารย์เบิ้มบอกกับผมว่า ?ชะตาคนทั้งสองล่อแหลมต่อการตายโหง หลวงพ่อท่านช่วยได้แค่นี้ นั่นเพราะยมฑูตทั้ง 4 รักษา เป็นคำอวยพรบอกใบ้ให้ทราบถึงวาระแห่งกรรมของเขาทั้งสองคน

4 ปีต่อมา

ผม คุณกมล เอกุมโนชัย และคุณสุวิทย์ เกิดพงษ์บุญโชติ เดินทางไปกราบหลวงพ่อแช่มด้วยกันในวันที่ 10 กรกฎาคม 2535 เพื่อจุดประสงค์ 2 อย่างคือ เพื่อขออนุญาตสร้าง ?เหรียญหยดน้ำมนต์มงคล? ของหลวงพ่อแช่ม สำหรับแจกแก่ผู้อ่านหนังสือศักดิ์สิทธิ์ และเพื่อถวายพระเครื่องจำนวน 300 กว่าองค์ ที่ผมรับธุระจากเพื่อนผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวายนำไปถวายแทน

ระหว่างเดินทาง คุณสุวิทย์ แสดงความประหลาดใจแก่ผมคำหนึ่งว่า

?คุณอำพลอยู่ไกลถึงอุบลฯ แต่คุณมากราบพระถึงนครปฐม?

ผมอยากบอกว่า หลวงพ่อแช่ม คือพระในดวงใจอีกรูปหนึ่งของผม ใครไปกราบท่านแล้วจะรักและเคารพท่านทุกคน ผมเชื่อเช่นนั้นและเห็นท่านเป็น ?อริยเมตตา? อย่างแท้จริงอีกรูปหนึ่ง ที่ยากจะพบเห็นได้ง่ายในทศวรรษนี้

ท่านเป็นพระเถระที่เข้าพบง่ายที่สุด ไม่มีทศกัณฐ์หรือปีเตอร์กันเป็นบริวาร ไม่มีความพิเศษให้กับใคร ทุกคนเสมอกันหมด ไม่มีชั้นวรรณะเมื่ออยู่ต่อหน้าท่าน ไม่มีนายพล เศรษฐี หรือคนเข็ญใจอยู่ตรงหน้าท่าน

ตรงนั้นคือสถานที่เดียวที่ผมเห็นความเสมอภาคของมนุษยชน

ใครไม่เชื่อ ให้ไปพิสูจน์ความจริง

ทำไมผมรักและเคารพหลวงพ่อแช่ม ผมไม่สามารถจะตอบให้ถึงใจได้

ความเงียบงันอ้ำอึ้งจึงเป็นคำตอบสำหรับคำถามเชิงปรารภของคุณสุวิทย์

ระหว่างเดินทางไปวัดดอนยายหอม ผมเล่าเรื่องนักเลงเบิ้มและนักเลงไก่ให้คุณกมลและคุณสุวิทย์ฟังด้วย ซึ่งเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เรื่องที่ได้เล่าไป ไม่ได้หวังว่าจะเล่าเพื่ออะไร เป็นไปเพื่อฆ่าเวลาเท่านั้น

เราได้กราบหลวงพ่อแช่มง่าย ๆ ไม่มีพิธีการเยิ่นเย้อ เพียงถอดรองเท้าไว้หน้าประตูกุฏิก็ถึงตัวท่านทันที และไม่มีสิทธิพิเศษ หรือเป็นอะไรที่ดูพิเศษกว่าใครเมื่ออยู่ต่อหน้าท่าน

เราก้าวเข้าไปสู่แดนแห่งความเสมอภาค

?โชคดี โชคดี?

อวยพรก่อนแล้วสะบัดแส้น้ำมนต์ใส่ศีรษะพวกเรา คำทุกคำของท่านล้วนแต่เป็นไปในทางเมตตา ปรารถนาจะให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขเสมอกัน คำร้ายน้อยหนึ่งจากปากท่านไม่เคยมีใครได้ยิน

เราได้เสพพลังเมตตาที่แผ่ให้จนอิ่มใจพอแล้ว จึงได้ทำจุดประสงค์ที่ตั้งใจให้บรรลุและบรรลุโดยง่ายทุกประการ

หนังสือศักดิ์สิทธิ์จะมี ?เหรียญหยดน้ำมนต์มงคล? ของหลวงพ่อแช่มแจกเป็นที่ระลึกในไม่ช้านี้

ขณะนั้นมีสตรีวัยประมาณ 50 ปี เข้ามากราบท่านด้วยสีหน้าอมทุกข์ และกราบเรียนท่านว่าถูกโกงเงินไป 8-9 แสนบาท และขอให้ท่านช่วยบันดาลให้ผู้คดโกงนำเงินมาคืน

หลวงพ่อก็เฉยอยู่

เธออ้อนวอนร้องขอความกรุณาให้ท่านช่วย เงินนับล้านเป็นทุกข์อันยิ่งใหญ่ของเธอ แต่ไม่มีใครเข้าใจได้ดีกว่าตัวหลวงพ่อเองว่าทำไมท่านจึงเฉยอยู่ นั่นอาจหมาย ความว่าท่านช่วยไม่ได้ หรือไม่มีหวังจะได้เงินคืนท่านจึงเฉยก็ไม่รู้

ที่สุดท่านปรารภว่า

?เรามันโง่เอง อย่าว่าแต่โยมเลย ฉันเป็นพระยังล่อนเหลือแต่กระดูก เขามาบอกว่าจะเอาพระไปก่อน แล้วจะนำเงินมาถวาย 2 หมื่น ก็หายเข้ากลีบเมฆ นี่มันเป็นเวรของเราที่ทำให้เราต้องไปเชื่อเขา?

ความทุกข์มากมายกอดกำดวงใจเธอจนหมดสิ้น ไม่มีที่เหลือพอจะทำความ เข้าใจในธรรมะง่ายๆ ที่หลวงพ่อปลอบ เธอจึงคงยืนกรานให้หลวงพ่อช่วยต่อไปไม่ หยุดยั้ง ท่านก็ปลอบประโลมด้วยคำพูดที่เปี่ยมเมตตา ยากจะถ่ายทอดให้เห็นซึ้งได้ เหมือนพ่อปลอบใจลูกว่างั้น

พอดีมีใครคนหนึ่งบูชารูปหล่อหลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อแช่ม แล้วยกมาถวายให้ท่านเจิมแป้ง ท่านเห็นก็เอะอะว่า

?นี่หลวงพ่อเงิน คิดถึงท่าน ระลึกถึงท่านแล้วเงินไหลมาเทมา นี่รูปฉันหลวงพ่อแช่ม มีแต่แช่มชื่นเบิกบาน หลวงพ่อเงินท่านเสียอายุ 87 ฉัน 86 ยังรู้สึกว่าหนุ่มปร๋ออยู่เลย ต่อไปจะเป็นฉันแล้วก็จะเท่ากัน?

ท่านเจิมแป้งให้แล้วก็คว้าแส้น้ำมนต์สะบัดรดใส่หญิงผู้เต็มไปด้วยความทุกข์ ใบหน้าท่านอมยิ้มและกล่าวด้วยว่า

?โดนเขาโกงเงินเลยไปฟ้องปู่ ฟ้องปู่?

อีกครู่หนึ่งมีผู้บูชาพระเครื่องของท่านมาถวายท่านเจิมแป้ง ท่านกล่าวว่า

?พระเครื่องฉันหมากัดไม่เข้า ปืนยิงไม่เป็นไร? ใบหน้าของท่านมีรอยยิ้มและกล่าวต่อไปอีกว่า ?หมากัดเราก็ไม่เข้าไป ปืนก็อย่าใส่ลูก ใส่แต่แก๊ป?

วันนี้หลวงพ่ออารมณ์ดีเป็นพิเศษ

และใครจะเชื่อได้ว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย

งวดวันที่ 1 สิงหาคม ตัวล่างออก 87 ผมซื้อล็อตเตอรี่ 86 ไม่ถูก

งวดวันที่ 16 สิงหาคม ผมคิดถึงคำว่าที่ ?ต่อไปฉัน? ผมตาม 86 อีก 2 คู่ เลยได้เงินมาเป็นค่าขนมจังเบอร์

ใครก็อย่าแจ้นไปหาท่านเพราะเรื่องหวยเลย เพราะว่าท่านไม่ใช่พระใบ้หวย ที่ถูกนั้นเป็นวาสนาของแต่ละคนเอง

แหม...แต่ว่าท่านให้แม่นเหมือนจับวางจริง ๆ

คนถูกก็มีวาสนาน้อย ๆ แค่นั้น

 

262
ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหฺมรงฺสี)
จากบันทึกของ
มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหนันทน์)



ตอนที่ ๑



ความนำ

คำปรารภและอนุมานสันนิษฐานว่าประวัติเรื่องความเป็นไปของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครั้งในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ นั้น มีความเป็นมาประการใด เพราะเจ้าพระคุณองค์นี้ เป็นที่ฤๅชาปรากฏ เกียรติศักดิ์เกียรติคุณเกียรติยศ ขจรขจายไปหลายทิศหลายแคว มหาชนพากันสรรเสริญออกเซ็งแซร่กึกก้องสาธุการ บางคนก็บ่นร่ำรำพรรณ ประสานขานประกาศกรุ่นกล่าวถึงบุญคุณสมบัติ จริยสมบัติของท่านเป็นนิตยกาลนานมา ทุกทิวาราตรีมิรู้มีความจืดจาง

อนึ่ง พระพุทธรูปของท่านที่สร้างไว้ในวัดเกตุไชโย ใหญ่ก็ใหญ่ โตก็โต วัดหน้าตักกว้างถึงแปดวาเศษนิ้ว เป็นพระก่อที่สูงลิ่ว เป็นพระนั่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ดูรุ่งเรืองกระเดื่องฤทธิ์มหิศรเดชานุภาพ พระองค์นี้เป็นที่ทราบทั่วกันตลอดประเทศแล้วว่า เป็นพระที่มีคุณพิเศษสามารถอาจจะดลบันดาลดับระงับทุกข์ภัยไข้ป่วยช่วยป้องกันอันตรายได้ จึงดลอกดลใจให้ประชาชนคนเป็นอันมาก หากมาอภิวิวันทนาการ สักการบูชาพลีกรรม บรรณาการเส้นสรวงบวงบล บางคนมาเผดียงเสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ก็อาจสำเร็จสมปณิธานที่มุ่งมาตร์ปรารถนา จึงเป็นเหตุให้มีสวะนะเจตนาแก่มหาชนจำนวนมากว่าร้อยคน คิดใคร่รู้ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม บ้างก็คืบเที่ยวสืบถามความเป็นไปแต่หลังๆ แต่คราครั้งดั้งเดิมเริ่มแรก ต้นสกุลวงศ์เทือกเถาเหล่ากอ พงษ์พันธุ์ พวกพ้อง พื้นภูมิฐาน บ้านช่อง ข้องแขว แควจังหวัด เป็นบัญญัติของสมเด็จนั้นเป็นประการใด

นานมาแล้วจะถามใครๆ ไม่ได้ความ หามีใครตอบตรงคำถามให้ถ่องแท้ จึงได้พากันตรงแร่เข้ามาหา นายพร้อม สุดดีพงศ์ อ้อนวอนให้รีบลงมากรุงเทพฯ ให้ช่วยเข้าสู่เสพย์ษมาคม ถามเงื่อนเค้าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงนายพร้อม สุดดีพงศ์ ตลาดไชโย เมืองอ่างทอง จึงได้รีบล่องลงมาสู่หา ท่านพระมหาสว่าง วัดสระเกษ นมัสการแล้วยกเหตุขึ้นไต่ถาม ตามเนื้อความที่ชนหมู่มากอยากจะรู้ จะดูจะฟังเรื่องราวแต่คราวครั้งต้นเดิมวงษ์สกุล ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นเป็นฉันใด ขอพระคุณได้สำแดงให้แจ้งด้วย

ที่นั้นมหาสว่าง ฟังนายพร้อมเผดียงถาม จึงพากันข้ามฟากไปวัดระฆัง ขึ้นยังกุฏิเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช้าง) อันเป็นผู้เฒ่าสูงอายุศม์ ๘๘ ปี ในบัดนี้ยังมีองค์อยู่ ทั้งเป็นผู้ใกล้ชิด ทั้งเป็นศิษย์ทันรู้เห็น ทั้งเคยเป็นพระครูถานาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เคยอยู่ตั้งแต่เล็กๆ เมื่อเป็นเด็กเป็นชั้นเหลน

นายพร้อมจึงประเคนสักการะ ถวายเจ้าคุณพระธรรมถาวรแล้วจึงได้ไถ่ถามตามเนื้อความที่ประสงค์

ฝ่ายเจ้าคุณพระธรรมถาวร ท่านจึงได้อนุสรณ์คำนึงนึกไปถึงเรื่องความ แต่หนหลัง ท่านได้นั่งเล่าให้ฟังหลายสิบเรื่อง ล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าควรคิดพิศวงมาก ลงท้ายท่านบอกว่า อันญาติวงศ์พงษ์พันธ์ ภูมิฐานบ้านเดิมนั้น เจ้าของท่านได้ให้ช่างเขียนเขียนไว้ที่ผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร บ้านบางขุนพรหม พระนคร ล้วนแต่เป็นเค้าเงื่อนตามที่สมเด็จเจ้าโตได้ผ่านพบทั้งนั้น ท่านเจ้าของบอกใบ้สำคัญด้วยกิริยาของรูปภาพ ขอจงไปทราบเอาที่โบสถ์วัดอินทรวิหารนั้นเถิด

ครั้น ม.ล. พระมหาสว่าง เสนีวงศ์ กับนายพร้อม สุดดีพงศ์ ฟังพระธรรมถาวรบอกเล่าและแนะนำจำจดมาทุกประการแล้วจึงนมัสการลาเจ้าคุณพระธรรมถาวรกลับข้ามฟากจากวัดระฆัง รุ่งขึ้นวันที่ ๑๖ กรกฎาคา พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงขึ้นไปหารท่านพระครูสังฆรักษ์เจ้าอธิการ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม แล้วขออนุญาตดูภาพเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตามคำแนะนำของเจ้าคุณพระธรรมถาวรวัดระฆังบอกให้ดูทุกประการ

ส่วนท่านพระครูสังฆรักษ์ เจ้าอธิการก็มีความเต็มใจ ท่านนำพาลงไปในโบสถ์พร้อมกันแล้ว เปิดหน้าต่างประตูให้ดูได้ตามปรารถนา

นายพร้อมจึงดูรูปภาพ ช่วยกันพินิจพิจารณา ตั้งแต่ฉากที่ ๑ จนถึงฉากที่ ๑๒ นายพร้อมออกจะเต็มตรอง เห็นว่ายากลำบากที่จะขบปัญหาในภาพต่างๆ ให้เห็นความกระจ่างแจ่มแจ้งได้ นายพร้อมชักจะงันงอท้อน้ำใจไม่ใคร่จะจดลงทำยืนงงเป็นงันงันไป

ม.ล.พระมหาสว่าง รู้ในอัธยาศัยของนายพร้อมว่าแปลรูปภาพไม่ออก บอกเป็นเนื้อความเล่าแก่ใครไม่ได้ นายพร้อมอึดอัดตันใจสุดคาดคะเนทำท่าจะรวนเรสละละการจดจำ ม.ล.พระมหาสว่างจึงแนะนำให้นายพร้อมอุตสาห์จดทำเอาไปทั้งหมดทุกตัวภาพ ไม่เป็นไร คงจะได้ทราบสิ้นทุกอย่าง คงไม่เหลวคว้างเหลือปัญญานัก ฉันจะช่วยดุ่มเดาดักให้เด่นเด็ดจงได้ ฉันจะคิดค้นรัชสมัยและพระบรมราชประวัติและราชพงศาวดาร เทียบนิยาย นิทานตำนานต่างๆ ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าสืบกันมา เรื่องนี้คงสมมาตร์ปรารถนาอย่าวิตก ฉันจะเรียบเรียงและสาธกยกเหตุผลให้เป็นเบื้องต้นและเบื้องปลายให้สมความมุ่งหมายใคร่รู้ ในเรื่องประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์

แต่ข้อสำคัญเกรงว่าจะช้ากินเวลาหลายสิบวัน เปรียบเช่นกับช่างไม้ทำช่อฟ้า จำต้องนานเวลาเปลืองหน้าไม้ ช่างต้องบั่นทอนผ่อนไปจนถึงแงงอนกนก ของที่ต้องการเปรียบเทียบเท่าที่ตำนานของสมเด็จนี้ กว่าจะเรียงความถูกตามที่ร่างข้อต่อตัดถ้อยคำที่เขินขัด ก็ต้องขุดคัดตัดทอนทิ้ง หรือความขาดไม่พาดพิงพูดไม่ถูกแท้ ก็ตกแต้มแถมแก้แปลให้สอดคล้องต้องกับความจริง สืบหาสิ่งที่เป็นหลักมาพักพิงไม่ให้ผิด สืบผสมให้กรมติดเป็นเนื้อเดียว ไม่พลำพลาด ถึงจะเปลืองกระดาษเปลืองเวลา ฉันไม่ว่าไม่เสียดาย หมายจะเสาะค้นขวนขวายหาเรื่องมาประกอบให้ จะได้สมคิดติดใจมหาชน จะได้ทราบเรื่องเบื้องตนและเบื้องปลาย โดยประวัติปริยายทุกประการ

นายพร้อม สุดดีพงศ์ ได้ฟังคำบริหารอาษาของ ม.ล. พระมหาสว่างรับแข็งแรง จึงเข้มขมัดจัดแจงจดเพียรเขียนคัดบอกเป็นตัวหนังสือมาพร้อม ทุกด้านภาพในฝาผนังทั้ง ๑๒ ฉาก แล้วก็ละพากันกลับมายังวัดสระเกษ ต่อแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ศกนี้มา พระมหาสว่างก็ตั้งหน้าตรวจตราเสาะสืบหาและไต่ถาม ได้เนื้อความนำจดลงคนพงศาวดาร รัชกาลราชประวัติบั่นทอนตัดให้รัดกุม ไม่เดาสุ่มมีเหตุพอความไม่ต่อใช้วิจารณ์ เป็นพยานอ้างตัวเองไปตามเพลงของเรื่องราวที่สืบสาวเรียงเขียนลงเอาที่ตรงต่อประโยชน์ ไม่อุโฆษป่าวร้องใคร ไม่หมิ่นให้ธรเณนทร์ โดยความเห็นจึงกล้าเล่า ดังจะกล่าวให้ฟังดังนี้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านให้ช่างเขียน เขียนเรื่องของท่านไว้ในฝาผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม ดังนี้ เขียนเมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองว่างว่างไม่มีคน มีแต่ขุนนางขี่ม้าออก เขียนวัดบางลำพูบนผนังติดกับเมืองกำแพงเพชร เขียนบางขุนพรหม เขียนรูปเด็กอ่อนนอนหงายแบเบาะอยู่มุมโบสถ์วัดบางลำพู เขียนรูปนางงุดกกลูก เขียนรูปตาผลว่าพระผล เขียนรูปอาจารย์แก้ววัดบางลำพูกำลังกวาดลานวัด เขียนรูปนายทอง นางเพ็ชร นั่งยองยอง ยกมือทั้งสองไหว้พระอาจารย์แก้ว เขียนรูปพระอาจารย์แก้วกำลังพูดกับตาผลบนกุฏิ เขียนรูปเรือเหนือจอดที่ท่าบางขุนพรหม จึงต้องขอโอกาสแก่ท่านผู้อ่านผู้ฟัง ด้วยข้าพเจ้าตรวจดูภาพทราบได้ตามพิจารณาและคาดคะเนสันนิษฐาน แปลจากรูปภาพบนนั้นคงได้ใจความตามเหตุผลต้นปลายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ )โต) วัดระฆัง ดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

แต่ครั้งเดิมเริ่มแรก ต้นวงศ์สกุลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ ตั้ง คฤหสถานภูมิสำเนา สืบวงศ์พงศ์เผ่าพืชพันธุ์พวกพ้อง เป็นพี่เป็นน้องต่อแนวเนื่องกันมาแต่ครั้งบุราณนานมา ณ แถบแถวที่ใกล้ใต้เมืองกำแพงเพชร เป็นชนชาวกำแพงเพชรมาช้านาน ครั้นถึงปีระกา สัปตศก จุลศักราช ๑๑๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๐๒) จึงพระเจ้าแผ่นดินอังวะภุกามประเทศ ยกพลพยุหประเวสน์สู่พระราชอาณาเขตร์ประเทศยามนี้กองทัพพม่ามาราวี ตีหัวเมืองเอกโทตรีจัตวา ไล่รุกเข้ามาทุกทิศทุกทาง ทั้งบกทั้งเรือทั้งปากใต้ฝ่ายเมืองเหนือและทางตะวันตก เว้นไว้แต่ทิศตะวันออก หัวเมืองชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นโท ต่อรบต้านทานพม่าไม่ไหว ก็ต้องล่าร้างหลบหนี้ ซ่อนเร้นเอาตัวรอด ราษฎรก็พากันทอดทิ้งภูมิสถานบ้านเรือน เหลี่ยมลี้หนีหายพลัดพรากกระจายไป คนละทิศคนละทางห่างห่างวันกัน ในปีระกาศกนั้นจำเพาะพระยาตาก (สิน) เจ้าเมืองกำแพงเพชรกี้หาได้อยู่ดูแลรักษาเมืองไม่ มีราชการเข้าไปรับสัญญาบัตร เลื่อนที่เป็นพระยาวชิรปราการ แล้วยังมิได้กลับมา พอทราบข่าวศึกพม่า เสนาบดีให้รอรับพม่าอยู่ในกรุงนั้น ครั้นทัพหน้าพม่ารุกเข้ามาถึงกรุง พระยาวชิรปราการก็ต้องกุมพลรบพุ่ง ต้านทานรบรับทัพพม่า พม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยานั้นไว้ กองทัพพม่ามาล้อมกรุงเก่าคราวนั้นเกือบสามปี

ครั้นถึงปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ถึง ณ วันอังคารเดือนห้า แรมเก้าค่ำ เวลาบ่าย ๓ โมงเย็น พม่าจึงนำปืนใหญ่เข้าระดมยิงพระมหานคร พระมหานครก็แตก เสียแก่พม่าในวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุนศกนั้น

ฝ่ายพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้ถือพล ๕๐๐๐ ช่วยป้องกันพระมหานคร ครั้นเห็นว่าชาตากรุงขาด ไม่สามารถจะต่อสู้พม่าได้ ก็พาพล ๕๐๐๐ นั้น ฝ่าฟันหนีออกไปทางทิศตะวันออก ข้ามไปทางพเนียดคล้องช้าง เดินทางไปเข้าเขตเมืองนครนายก แล้วข้ามฟากไปแย่งเอาเมืองจันทบุรี ตีได้แล้วก็เข้าตั้งมั่นบำรุงพลพาหนะละเลียงเสบียงอาหาร สรรพศาสตราวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมมูลบริบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งตัวเป็นเจ้า ชาวเมืองเรียกว่าพระเจ้าตาก ตั้งอยู่เมืองจันทบุรีก๊กหนึ่งในคราวนั้น

ครั้นถึงปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๓๐ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๑) พระเจ้าตาก (สิน) ได้ยกพลโยธิแสนยากรเป็นกองทัพ เข้าบุกบั่นรบทัพพม่าตั้งแต่เมืองปาใต้ฝ่ายตะวันตกวกเข้าตีกองทัพพม่ามาถึงกรุงเก่า กองทัพพม่าสู้มิได้ก็แตกฉานล่าถอยขึ้นไปทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ แล้วก็เข้าชิงเอากรุงเก่าคืนจากเงื้อมมือพม่าข้าศึกได้แล้ว ลอยขบวนลงมาตั้งราชธานีที่เมืองธนบุรี ตำบลที่วัดมะกอกนอก เหนือคลองบางกอกใหญ่ ใต้คลองคูวัดระฆังโฆษิตาราม ทรงขนานนามเมืองว่ากรุงธนบุรี พระนามาภิธัยว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ปีชวดศกนั้นมา

จึงหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ออกไปตั้งคฤหสถานบ้านเรือนครอบครองทรัพย์สมบัติอยู่ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ได้เข้ามาพร้อมด้วยเอกะและน้องแลบุตรทั้ง ๔ เข้ามารับราชการในพระเจ้ากรุงธนบุรีๆ ได้ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็นที่พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ถือศักดินา ๑๖ๆๆ ไร่ จึงตั้งคฤหสถานบ้านเรือนอยู่เหนือพระราชวังหลวง ใต้วัดบางหว้าใหญ่ (คือวัดระฆังในบัดนี้) ในปีชวดศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานเกียรติยศเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพิมายมีชัยชำนะกลับลงมา ทรงพระกรุณาเลื่อนขึ้นเป็นที่พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ทรงศักดินา ๓๐๐๐ ไร่ ครั้นถึงปีขาลโทศก ๑๑๓๒ ปี (พ.ศ.๒๓๑๓) พระเจ้ากรุงธนบุรีรับสั่งให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ ถืออาญาสิทธิ์เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบเจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตีกองทัพเจ้าพระฝางแตก จับตัวเจ้าพระฝางได้ พร้อมทั้งช้างพังเผือกกับลูกดำ จับตัวพรรคพวกและช้างลงมาถวาย ส่วนพระยาอภัยรณฤทธิ์รั้งหลังเพื่อจัดการบ้านเมืองฝ่ายเหนือป่าวร้องให้อาณาประชาราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้รวมเข้ามาเป็นหมวดหมู่ตั้งอยู่ดังเก่า ตามภูมิลำเนาเดิมของตน ที่ขัดขวางยากจนก็แจกจ่ายให้ปันพอเป็นกำลังสำหรับตั้งตัวต่อไปภายหน้า เมื่อขณะนี้เองชาวเมืองเหนือจึงได้พากันนิยมสวามิภักดีต่อท่านพระยาอภัยรณฤทธิ์ รักใคร่สนิทแต่คราวนั้นเป็นต้นเป็นเดิมมา เมื่อกองทัพกลับแล้ว พวกราษฎรเมืองเหนือบางครัว จึงได้พากันมาอยู่ในกรุงเก่าบ้าง เมืองอ่างทองบ้าง เมืองปทุมบ้าง เมืองนนทบุรีบ้าง เมืองพระประแดงบ้าง ในกรุงธนบุรีบ้าง ในบางขุนพรหมบ้าง ต่างจับจองจำนองที่ดินซื้อหา ตามกำลังและวาสนาของตนๆ เป็นต้นเหตุ ที่มีผู้คนคับขันขึ้นทั้งในกรุงและหัวเมืองแน่นหนาขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นลำดับมา

ส่วนพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงเลื่อนที่ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ขึ้นเป็นพระยายมราชเสนาบดีที่จตุสดมภ์ กรมพระนครบาล ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่ พรรษายุกาลได้ ๓๔ ปี ในปลายปีขาลศกนั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเลื่อนที่เจ้าพระยายมราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก อรรคมหาเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ทรงศักดินา ๑๐๐๐๐ ไร่

ครั้นถึงปีเถาะตรีศก จุลศักราช ๑๑๓๓ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๔) พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาชญาสิทธิ์ต่างพระองค์ ยกกองทัพใหญ่ออกไปปราบปรามเมืองเขมรกัมพูชาประเทศก็มีชัยชนะเรียบร้อยกลับมา ได้รับพระราชทานรางวัลพิเศษ

ครั้นถึงปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๑๓๖ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๗) มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ ยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปล้อมเมืองเชียงใหม่ที่พม่ารักษาอยู่นั้น พม่าซึ่งรักษาเมืองเชียงใหม่ ได้ความอดอยากยากแค้นเข้า ก็พากันละทิ้งเมืองเชียงใหม่เสียแล้วหนีไปสิ้น ก็ได้เมืองเชียงใหม่โดยสะดวกง่ายดาย ในปลายปีมะเมีย ฉศกนั้นเอง อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าอายุ ๗๒ ปี เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในพระเจ้ามังระกรุงอังวะ ครั้งนั้นพระเจ้าอังวะมีพระโองการรับสั่งให้อะแซหวุ่นกี้ถืออาญาสิทธิ์ยกทัพใหญ่ เดินกองทัพเข้ามาถึงด่านเมืองตาก แล้วให้พม่าล่ามถามนายด่านว่า พระยาเสืออยู่รักษาเมืองหรือไม่ นายด่านตอบว่าพระยาเสือไม่อยู่ยังไม่กลับ

อะแซหวุ่นกี้จึงหยุดกองทัพหน้าไว้นอกด่าน แล้วประกาศว่าให้เจ้าเมืองเขากลับมารักษาเมืองเสียก่อน จึงจะยกเข้าตีด่าน เลยเข้าตีเมืองพิษณุโลกทีเดียว (เขียนตามพงศาวดารพม่า)

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงทราบข่าวข้าศึก จึงกรีฑาทัพหลวงขึ้นไปรักษาเมืองพระพิษณุโลกไว้ แล้วให้หากองทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ทราบว่ากองทัพมาอยู่ปลายด่านเมืองตาก และทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกรีฑาทัพหลวงขึ้นมาประทับอยู่เพื่อป้องกันรักษาเมืองพิษณุโลกด้วย จึงรีบยกกองทัพกลับ ครั้นถึงเมืองพิษณุโลกแล้วเข้าเฝ้าถวายบังคม เจ้าพระยาจักรีอยู่จัดการเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว ได้เลยตั้งข้าหลวงไปพูดจาปลอบโยนชี้แจงแนะนำเจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง เจ้าเมืองลำพูน เป็นต้นเหล่านี้ ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ขอพึ่งพระบารมีโพธิสมภารเป็นข้าขอบขัณฑสีมาสืบไปตลอดกาลนาน เจ้าพระยาจักรีจึงได้เลิกทัพพาเจ้าลาวและพระยาลาวทั้งปวง ลงมาถึงเมืองพิษณุโลก เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลพร้อมกัน ณ เมืองพิษณุโลกนั้น

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระโสมนัสนัก จึงพระราชทานฐานันดรศักดิ์จ้าวลาว พระยาลาวทั้งปวงนั้น ให้กลับขึ้นไปรักษาเมืองดังเก่า แล้วจึงพระราชทานรางวัลเป็นอันมากแก่เจ้าพระยาสุรสีห์นั้นได้ออกไปรักษาด่านหน้าเมืองตากโดยแข็งแรงกวดขันมั่นคงทุกประการ

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่พม่า ทราบว่าเจ้าพระยาเสือกลับมาแล้ว ออกมารักษาด่านอยู่ จึงสั่งให้มังเรยางู แม่ทัพพม่าเข้าตีด่าน ฝ่ายทหารรักษาด่านต้านทานทหารพม่าไม่ไหวก็ร่นเข้ามา กองทัพพม่าก็ตีรุกเข้าไปแล้วตั้งค่ายมั่นลงภายในด่านถึง ๓๐ ค่าย

ฝ่ายเจ้าพระยาจีกรีทราบว่า กองทัพเจ้าพระยาสุรสีห์เสียด่านร่นเข้ามา จึงกราบบังคมทูลรับอาสาช่วยเจ้าพระยาสุรสีห์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระโองการรับสั่งว่า "ข้าก็อยากเห็นความคิดสติปัญญาของเจ้าและฝีมือของเจ้าว่าจะเข้มแข็งสักเพียงใด ข้าจะขอดูด้วย จงรีบออกไปช่วยสุรสีห์เถิด"

เจ้าพระยาจักรีกราบถวายบังคมลา ออกมาจัดขบวนทัพพร้อมสรรพ์ แล้วยกออกไปถึงค่ายเจ้าพระยาสุรสีห์ แล้วจึงเจรจาว่า "เจ้าถึงแม้ว่าจะเป็นขุนนางผู้ใหญ่ก็จริงอยู่ แต่เจ้าเป็นขุนนางบ้านนอก อะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่านั้น เขาเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่อยู่ในเมืองหลวงพม่า ทั้งเขากอรปด้วยความคิด สติปัญญาเยี่ยมยิ่งอยู่ ความรู้ก็พอตัว พี่จะรบเอง" ต่อแต่นั้นมา เจ้าพระยาจักรีก็จัดทัพออกรุกรับรบพุ่งกับกองทัพอะแซหวุ่นกี้เป็นหลายครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ล่วงวันและเวลาช้านานมา จนถึงเดือนห้าเดือนหก ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี (พ.ศ. ๒๓๑๘) เป็นปีที่ ๘ ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่า ก็คิดขยาดระอิดระอา ทั้งทางเมืองพม่าก็ชักจะวุ่นวายขึ้น ทั้งเสบียงอาหารก็บกพร่องจวนเจียนไม่พอจ่าย จึงคิดเพทุบายถามว่า "ใครผู้ใดออกมาเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการ" ทหารไทยบอกไปว่า เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ อะแซหวุ่นกี้จึงประกาศหย่าทัพ ขอดูตัวแม่ทัพไทย

เวลานั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จทอดพระเนตรอยู่ในค่ายนั้นด้วย ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นกิริยาท่าทางสุภาพองอาจ และท่วงทีรูปโฉมของเจ้าพระยาจักรีเมื่อออกยืนทัพรับอะแซหวุ่นกี้คราวนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระเกษมสันต์โสมนัสปราโมทย์ถึงกับออกพระโอษฐรับสั่งชมว่า "งามเป็นเจ้าพระยากษัตริย์ศึกเจียวหนอ" แต่นั้นมานามอันนี้ จึงเป็นนามที่แม่ทัพนายกองแลทหารทั้งปวง พากันนิยมเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกแต่คราวนั้นมา ในกองทัพพม่าก็พลอยเรียกว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึก ตลอดไปจนถึงทางราชการฝ่ายพม่า ก็ได้จดหมายเหตุลงพงศาวดารไว้ว่า เจ้าพระยากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพฝ่ายไทย ได้รบกับอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่าที่เมืองพระพิษณุโลก เมื่อปีมะเส็งถึงปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี ครั้นเมื่อทอดพระเนตรแลทรงชมเชยแล้ว ก็ยาตรากระบวนออกยืนม้าหน้าพลเสนา ณ สนามกลางหน้าค่ายทั้งสองฝ่าย

ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ ก็จัดกระบวนแต่งตัวเต็มที่อย่างจอมโยธา ออกยืนอยู่หน้ากระบวน ณ กลางสนาม หน้าค่ายทั้งสองฝ่ายเช่นเดียวกัน (ตอนดูตัวนี้ความพิสดารมีแจ้งอยู่ในพระราชพงศาวดาร) ครั้นอะแซหวุ่นกี้ ได้เห็นเจรจาชมเชย พูดจาประเปรยตามชั้นเชิงพิชัยสงคราม แล้วก็นัดรบต่อไป แต่อะแซหวุ่นกี้คิดจะล่าทัพถอยกลับกรุงอังวะเป็นอย่างมากกว่าจะคิดแข็งใจรบเอาเมืองพิษณุโลก แต่แตกแล้วก็ร่นถอยล่าไปออกทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ทำกิริยาท่าทางเหมือนจะไปชิงเอาเมืองกำแพงเพชร ทำให้ฝ่ายไทยต้องแบงออกเป็นหลายกองติดตามพม่า ก้าวสกัดหน้าตีวกหลังตามเชิงกลยุทธ ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จกลับเข้ากรุงธนบุรี ป้องกันพระราชธานีต่อไป

ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีนั้น ครั้นส่งเสด็จแล้ว จึงจัดกองทัพออกติดตามสกัดจับพม่าตีรุกหลังพม่าแตกฉานเป็นหลายทัพ จับได้รี้พลช้างม้าเป็นอันมาก ทั้งตัวเจ้าพระยาจักรีเองก็ยกทัพหนุนไปด้วย จนถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วจัดการพิทักษ์รักษาเมืองโดยกวดขัน ส่วนตัวท่านเจ้าพระยาเองก็ออกขี่ม้าสำรวจตรวจตรากองทัพน้อยๆทั่วไป เพราะใส่ใจต่อหน้าที่ราชการจนพม่าไม่กล้าหาญชิงเอาเมืองเหนือใต้ ต้องหนีออกไปทางด่านชั้นนอก พ้นเขตแดนสยาม กองทัพไทยไล่จับพม่าที่ล้าหลังได้ไว้เป็นกำลังราชการเป็นอันมาก ทัพอะแซหวุ่นกี้ล่าทัพออกพ้นประเทศอาณาเขตสยามในคราวนี้ตามกำหนดมีว่าเดือน ๗ ปีมะแม สัปตศก จุลศักราช ๑๑๓๗ ปี

ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าวกลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพงจำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชร เป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้นไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ได้ เห็นแต่หญิงสาวตนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้ข้ากินสักขันเถิด นางสาวคนนั้นจึงวิ่งด่วนเข้าไปในห้อง หยิบได้ขันล้างหน้าใบหนึ่งแล้วจ้วงตักน้ำในหม้อกลั่น แล้วล้วงไปหักดอกบัวหลวงในหนองน้อยข้างโรงนั่นสองสามดอก แล้วฉีกกลีบเด็ดเอาแต่เกสรบัวโรยลงไปในขันน้ำนั้นจนเต็ม แล้วนำส่งให้บนหลังม้า เจ้าคุณทัพรับเอามาเป่าเกสรเพื่อแหวกหาช่องน้ำแล้วต้องเอาริมฝีปากเบื้องบนเม้มเกสรไว้ แล้วดูดดื่มน้ำจนหมดขันด้วยอยากกระหายน้ำ ครั้นดื่มน้ำหมดแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพจึงถามนางสาวคนนั้นว่า เราอยากกระหายน้ำสู้อุตสาห์บากหน้ามาขอน้ำเจ้ากิน เหตุไฉนจึงแกล้งเราเอาเกสรบัวโรยลงส่งให้เรากินน้ำของเจ้าลำบากนัก เจ้าแกล้งทำเล่นแก่เราหรือ

นางสาวคนนั้นตอบว่า "ดิฉันจะได้คิดแกล้งท่านนั้นก็หาไม่ ที่ดิฉันเอาเกสรบัวโรยลงในขันน้ำให้เต็มนั้น เพราะดิฉันเห็นว่า ผากแดดแผดลมเหนื่อยมา และกระหายน้ำด้วย ก็เพื่อป้องกันเสียซึ่งอันตรายแห่งท่าน เพื่อจะกันสำลักน้ำและสะอึกน้ำ และกันจุกแน่นแห่งท่านผู้ดื่มน้ำของดิฉัน ถ้าท่านไม่มีอันตรายในการดื่มน้ำแล้ว น้ำจะได้ทำประโยชน์แก้กระหายแห่งท่าน ดิฉันจะพลอยได้ประโยชน์เพราะให้น้ำแก่ท่าน ท่านสมปรารถนาแล้วก็จะเป็นบุญแก่ดิฉัน เหตุนี้ดิฉันจึงโรยเกษร" เจ้าคุณแม่ทัพฟังคำนางสาวตอบอย่างไพเราะอ่อนหวาน ถ้อยคำที่ให้การมานั้นก็พอฟัง จึงลงมาจากหลังม้าแล้วถามว่า "ตัวของเจ้าก็เป็นสาวเต็มเนื้อแล้ว มีใครๆมาหมั้นหมายผูกสมัครรักใคร่เจ้าบ้างหรือยัง" นางสาวบอกว่า "ยังไม่เห็นมีใครๆ มารักใคร่หมั้นหมายดิฉัน และดิฉันก็ยังไม่ได้ไปเที่ยวบอกใครว่าเป็นสาว มัวแต่หลบซ่อนตัวอยู่ ด้วยบ้านเมืองเกิดยุ่งนุ่งถุงมานานจนกาลบัดนี้ จึงมิได้มีใครเห็นว่าดิฉันเป็นสาว" เจ้าคุณทัพว่า "ถ้ากระนั้นเราเองเป็นผู้ที่ได้มกเห็นเจ้าเป็นสาวก่อนคน เจ้าต้องยอมตกลงเป็นคู่รักของเรา เราจะต้องเป็นคู่ร่วมรักของเจ้าสืบไป เจ้าจะพร้อมใจยินยอมเป็นคู้รักของเราโดยสุจริตหรือว่าประการใด"

นางสาวตอบว่า "การที่ท่านจะมาเป็นคู่รักของดิฉันนั้น ก็เป็นพระเดชพระคุณยิ่งอยู่แล้ว แต่ทว่าการจะมีผัวมีเมียกันตามประเพณีนั้น ดิฉันไม่ทราบเรื่อง จะว่าประการใดแก่ท่านก็ไม่มีอะไรจะว่า เรื่องการผัวการเมียนั้น ท่านต้องเจรจากับผู้ใหญ่ขึงจะทราบการ" เจ้าคุณแม่ทัพถามว่า "ผู้ใหญ่ของเจ้าไปไหน" นางสาวตอบว่า "ไปรดน้ำถั่วจวนจะกลับแล้ว" เจ้าคุณแม่ทัพขยับเดินเข้าให้ใกล้ นางสาวไพล่วิ่งปรู๋ออกแอบที่หลังโรงเลยไม่เข้าหา ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ต้องนั่งเฝ้าโรงคอยท่าบิดามารดาของนางสาวต่อไป จนเกือบตะวันตกดินจวนค่ำ

ฝ่ายตาผล ยายลา กลับมาถึงโรงแล้ว เจ้าคุณแม่ทัพได้เห็นแล้ว จึงยกมือขึ้นไหว้ตายายก็น้อมตัวก้มลงไหว้ตอบ ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็ก้มลงไหว้ให้ต่ำลงไปอีก ตายายก็หมอบลงไปไหว้อีก ท่านเจ้าคุณแม่ทัพก็หมอบไว้อยู่อย่างนั้น ต่างคนต่างหมอยตัวกันอยู่นั่น ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายยายแกเป็นคนปากเร็ว แกนึกขันและประหลาดใจแกจึงเปิดปากถามออกไปก่อนว่า "นี่เป็นขุนนางมาแต่บางน้ำบางกอก เหตุไฉนจึงมาหมอบกราบไหว้ข้าเจ้า เป็นชาวบ้านนอกเป็นชาวทุ่งชาวป่า เป็นคนยากจน ท่านจะมาหมอบไหว้ข้าเจ้าทำไม" เจ้าคุณแม่ทัพบอกว่า "ฉันมาสมัครเข้ามาเป็นลูกเขยท่านทั้งสอง จ้ะข้ะ"

ยายถามว่า "ท่านเห็นดีงามอย่างไร เห็นลูกสาวฉันเป็นอย่างไร ท่านจึงจะมายอมตัวเป็นลูกเขยเล่า" เจ้าคุณแม่ทัพว่า "ฉันเห็นบุตรสาวท่านดีแล้ว พอใจแล้ว จึงเข้ามาอ่อนน้อมยอมตัวเป็นลูกเขยท่าน" ท่านเจ้าคุณแม่ทัพเล่าถึงกาลแรกมาขอน้ำและนางเอาเกสรบัวโรยลงและได้ต่อว่า นางได้โต้ตอบถ้อยคำน่าฟังน่านับถือ จึงทำให้เกิดความรักปราณีขึ้น และตั้งใจจะเลี้ยงดูจริงๆ จึงต้องทนอยู่คอยท่า เพื่อจะแสดงความเคารพและขอเป็นเขย ขอให้แม่พ่อมีเมตตากรุณาเห็นแก่ไมตรีที่ได้มาอ่อนน้อมพูดจาโดยเต็มใจจริงๆ ตามวาจาที่ว่ามานี้ทุกอย่าง "ขอพ่อแม่ได้โปรดอนุญาตยกนางสาวลูกนั้นให้เป็นสิทธิ์แก่ฉันในวันนี้" ยายตาแกร้องขึ้นด้วยความตกใจว่า "โอตายจริง ข้าเจ้าเป็นคนยากจนข่นแค้นและต่ำศักดิ์ ทั้งผ้าผ่อนที่หลับที่นอนก็เหม็นตืดเหม็นสาบ ทั้งเครื่องเย่าเครื่องเรือนก็ขัดขวาง ทั้งถ้วยชามรามไหทีดีงามก็ไม่มี ฉิบหายป่นปี้แต่ครั้นบ้านเมืองเกิดยุ่งนุงนังหลายครั้งหลายครามาแลตัวนางหนูเล่าก็ยังไม่เป็นภาษา ทั้งจริตกิริยาก็ยังป่าเถื่อน ไม่เหมือนชาวใต้ จะใฝ่สูงเกินศักดิ์เกินสมควรไปละกระมังพ่อคุณ"

เจ้าคุณแม่ทัพว่า "ข้อนั้นพ่อแม่อย่ามีความวิตกหวาดกลัวอะไรเลย ข้อสำคัญก็คือ แม่พ่อยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ฉันเด็ดขาดแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของฉันฝ่ายเดียว ตามที่แม่พ่อยกขึ้นเป็นทางปรารมภ์นั้น เป็นธุระของฉันหมดทุกอย่าง ขอแต่ว่าอย่าเกี่ยงงอนขัดขวางดิฉันเลย"

ยายลา ตาผล ขอทุเลาถามเจ้าตัวว่า "มันอยากมีผัวหรืออย่างไรไม่ทราบ" แล้วก็ออกไปตามหาที่หลังโรง ตายายพูดกับลูกสาว ลูกสาวพูดกับพ่อกับแม่ได้ยินแต่กระจู๋กระจี๋กระเส่าๆ กระซิบกระซาบอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็กลับมา แล้วนั่งลงถามว่า "ในเวลานี้ท่านก็มาแต่ตัวกับม้าตัวหนึ่ง ถ้าหากว่าดิฉันทั้งสองพร้อมใจยกอีงุดลูกสาวฉันให้เป็นเมียท่าน ท่านจะจัดการประการใดแก่ดิฉันเพื่อให้เป็นมงคล จงว่าให้ดิฉันฟังก่อนเถิดเจ้าข้ะ"

เจ้าคุณแม่ทัพถอดแหวนออกจากนิ้วแล้วบอกว่า "แหวนวงนี้มีราคาสูง ถ้าว่าท่านบิดามารดายินยอมพร้อมใจ ยกแม่งุดให้เป็นเมียเป็นสิทธิ์แก่ฉันแล้ว ฉันจะยกแหวนวงนี้ ตีราคาทำสัญญาให้ไว้เป็นสินถ่าย ๒๐ ชั่ง คิดเป็นทุนเป็นค่าของหมั้นขันหมากผ้าไหว้อยู่ใน ๒๐ ชั่ง ทั้งค่าเครื่องเย่าเครื่องเรือนเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงค่าดู ค่าเครื่องเส้นวักตั๊กแตนเสร็จในราคา ๒๐ ชั่ง ด้วยแหวนวงนี้" สองตายายได้ฟังดีใจ เต็มใจ พร้อมใจ ตกลงยกลูกสาวให้ตามปรารถนา เจ้าคุณแม่ทัพก็จัดแจงยืมพานปากกระจับทองเหลืองมาแล้วเขียนสัญญาถ่ายแหวนแล้วเอาใบตองรองก้นพานแล้ววางแหวนที่ว่านั้นลงบนใบตองรองในพาน เชิญเข้าไปคุกเข่าส่งให้ตายายๆ ก็ให้ศีลให้พร เป็นต้นว่า ขอให้พ่อมีความเจริญด้วยลาภยศ ให้เป็นเจ้าคนนายคนเถิด แล้วจัดแจงหุงข้าว ต้มแกง พล่ายำ ตำน้ำพริก ต้มผัก เผาปลา เทียบสำรับตามป่าๆ แล้วเชิญให้อาบน้ำทาดินสีพอง ยายตาก็อาบน้ำ ลูกสาวก็อาบน้ำ ตาตักน้ำให้ม้ากิน พาไปเลี้ยงให้กินหญ้า ครั้นเจ้าคุณแม่ทัพอาบน้ำทาดินสีพองแล้ว ลูกสาวทาขมิ้นแล้ว ยายก็ยกสำรับปูเสื่อลำแพน แล้วเอาผ้าขาวม้าปูบนเสื่อลำแพน ยายเชิญเจ้าคุณแม่ทัพให้รับประทานอาหาร

ยายตาก็รับประทานพร้อมกัน นางงุดนั้นให้กินภายหลัง ครั้นรับประทานอาหารแล้วต่างคนนั่งสั่งสนทนากัน ครั้นเวลา ๔ ทุ่ม จึงพาลูกสาวออกมารดนำรดท่า เสร็จแล้วก็ส่งมอบหมายฝากฝังตามธรรมเนียมของชาวเมืองกำแพงเพชรอันเคยทำพิธีมาแต่ก่อน

ส่วนเจ้าคุณแม่ทัพรับตัวแล้ว ก็หลับนอนอยู่ด้วยนางงุดในกระท่อมโรงนาจนรุ่งสางสว่างฟ้าแล้ว ตื่นขึ้นอาบน้ำ รับประทานอาหารแล้วก็ลาตายายขึ้นม้ามาบัญชาการที่กองทัพ พอเวลาค่ำสั่งการเสร็จสรรพแล้ว ห่อเงิน ๒๐ ชั่งมาสู่โรงบ้านปลายนาถ่ายแหวนคืนสัญญาแล้วก็หลับนอน เช้ากลับค่ำไป เป็นนิยมมาดังนี้ แม่ทัพนายกองทั้งปวงจะได้ล่วงรู้และร่ำลือให้อื้อฉาวก็เป็นอันว่าหามิได้ แต่บุตรชายของเจ้าคุณแม่ทัพซึ่งนอนอยู่ในค่ายมีอายุ ๘ ขวบโดยปี จะรู้ก็เข้าใจว่าไปดูแลตรวจตราบัญชาการ แต่เป็นดังนี้นานประมาณเดือนเศษ ตามสังเกตรู้ว่านางงุดตั้งครรภ์ ต่อแต่นั้นก็เพียงแต่ไปมาถามข่าว

ครั้นมีท้องตราหากองทัพกลับ เจ้าคุณแม่ทัพก็ไปล่ำลาและสั่งสอนกำชับกำชาโดยนานับประการ จนนางเข้าใจราชการตลอดรับคำทุกประมาร แล้วท่านก็คุมทัพกลับกรุงธนบุรี

ครั้นนางงุดได้แต่งงานแล้ว เมื่อเดือนแปด ปีมะแม สัปตศก แล้วก็ตั้งครรภ์ เมื่อครรภ์ยังอ่อนๆอยู่นั้น นางงุดไปปรึกษาหารือด้วย ตาผล ยายลา ผู้เป็นบิดามารดาว่าจะคิดการขึ้นล่องค้าขายกรุงธนบุรีและเมืองเหนือนั้น ครั้นคนทั้งสามปรึกษาตกลงเห็นชอบพร้อมใจกันแล้ว คนทั้งสามจึงได้รวบรวมเงินต้นทุนที่ได้ไว้ ปันส่วนออกเป็นค่าเรือ ค่าสินค้า ค่ารองสินค้า ค่าจ้างคน ค่าซ่อมแซมอุดยาเรือ มั่นคงเรียบร้อยแล้ว จึงละโรงนานั้นเสีย ส่วนนาและไร่ผักก็ให้เขาเช่าเสียแล้ว พากันลงอยู่ในเรือใหญ่ จัดการซื้อสินค้าบรรทุกเรือนั้นเต็มระวาง

ครั้นถึงกำหนดล่องกรุงธนบุรี จึงเรียกคนแจวออกเรือ ล่องลงมาถึงบ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออกแห่งกรุงธนบุรีแล้ว เข้าจอดเรืออาศัยท่าหน้าบ้านนายทอง นางเพียน บางขุนพรหม เป็นคนเคยอยู่เมืองเหนือแต่ก่อน และนายทองนางเพียนได้ลงมาอยู่บางขุนพรหม ครั้นตาผลจัดการจอดเรือเรียบร้อยแล้ว จึงผ่อนสินค้าขายส่งจนหมดลำ จึงจัดซื้อสินค้าบางกอกและสินค้าเมืองปักษ์ใต้ บรรทุกเรือตามระวางแล้ว พอถึงวันกำหนดจึงแจวกลับขึ้นไปปากน้ำโพจำหน่ายในตลาดเมืองเหนือ ตั้งแต่เมืองนครสวรรค์ขึ้นไป จนถึงเมืองกำแพงเพชร ครั้นคนทั้งสามซื้อและขายหมดเสร็จแล้วก็กลับบรรทุกสินค้าเมืองเหนือกลับล่องเรือลงมาจอดท่าหน้าบ้านนายทอง นางเพียน บางขุนพรหม ค้าขายโดยนิยมดังนี้ ล่วงวันและราตรีมาถึงเก้าเดือน ได้กำไรมากพอแก่การปลูกเรือนแล้ว จึงเหมาช่างไม้ให้ปลูกเป็นเรือนแพสองหลังแฝด มีชานสำหรับผึ่งแดดพร้อมทั้งครัวไฟ บันไดเรือนบันไดน้ำ จำนองที่ดินลงในถิ่นบางขุนพรหมเหนือบ้านนายทอง นางเพียนขึ้นไปสัก ๔ ว่าเศษ เพื่อเหตุจะได้อาศัยคลอดลูกและใช้ผูกพักผ่อนหย่อนสินค้า เห็นเป็นการสะดวกดีที่สุด

ครั้นถึง ณ วันพุธ เดือนหก ปีวอก อัฏฐศก จุลศักราช ๑๑๓๘ (พ.ศ. ๒๓๑๙) นางงุดปั่นป่วนครรภ์เป็นสำคัญรู้กันว่าจะคลอดบุตร จึงจัดแจงห้องนางงุดให้เป็นที่คลอดบุตรโดยฉับไว บนเรือนที่ปลูกใหม่บางขุนพรหมนั้น ครั้นได้ฤกษ์งามยามดี นางงุดก็คลอดบุตรเป็นชายที่ล่ำสัน หมู่ญาติมิตรก็ได้มาพร้อมกันช่วยอภิบาลบำรุงรักษาพยาบาล

ครั้นบุตรนั้นเจริญวัฒนาการประมาณได้สักเดือนเศษ ญาติมิตรพากันมาสังเกต ตรวจตราจับต้อง ประคองทารกน้อยขึ้นเชยชม บางคนคลำถูกกระดูกแขนเห็นเป็นแกนกระดูกท่อนเดียวกัน ก็พากันเฉลียวใจโจทย์กันไปโจทย์กันมา ครั้นช้อนทารกขึ้นนอนบนขาเพื่อจะอาบน้ำจึงพากันเห็นปานดำที่กลางหลังอยู่หนึ่งดวง ต่างคนต่างก็ทักท้วงกันไปทายกันมาพูดไปต่างๆ นานาเป็นวาจาต่ำบ้างสูงบ้างเป็นความเห็นของคนหมู่มาก ทักทายหลายประการ จึงทำความรำคาญให้แก่นางงุดไม่สบายใจ เกรงไปว่าวาสนาตัวน้อย จะไม่สามารถคอยเลี้ยงลูกคนนี้ยาก นางงุดถึงออกปากอ้อนวอนบิดา นายทองและนางเพียน ให้ช่วยสืบเสาะดูให้รู้ว่าพระสงฆ์องค์เจ้ารูปใดอยู่วัดไหนที่อย่างดีมีอยู่บ้างในแถวนี้ เห็นพระสงฆ์ที่ดี มีศีลธรรมวิชาภูมิรู้ปฏิบัติเคร่งครัดอยู่ในวัดใด ขอได้ช่วยพาบุตรไปถวายเป็นลูกท่านองค์นั้นในวัดนั้นด้วยเถิด

นายทอง นางเพียนจึ่งพากันนิ่งนึกตรึกตราไปทุกวัน ในแถบนั้นจึงคิดถึงหลวงพ่อแก้ว วัดบางลำพูบน จึงบอกแก่นายผลว่า หลวงพ่ออาจารย์แก้ววัดบางลำพูบนนี้ท่านดีจริง ดีทุกสิ่งตามที่กล่าวมานั้น ทั้งเป็นพระสำคัญเคร่งครัด ปริยัติ ปฏิบัติก็ดี วิชาก็ดี มีผู้คนไปมานับถือขึ้นท่านมากถ้าพวกเราไปออกปากฝากถวายเจ้าหนูแก่ท่าน เห็นท่านจะไม่ขัดข้อง เพราะท่านมีอัธยาศัยกว้างขวางดี เมื่อคนทั้ง ๔ นิ่งปฤกษาหารือตกลงเห็นพร้อมใจกันแล้ว จึงได้พากันลงเรือช่วยกันแจวล่องมาวัดบางลำพูบนเมื่อเวลาบ่าย ๔ โมงเย็น ถึงแล้วก็พากันขึ้นวัด นางงุดอุ้มเบาะลูกอ่อนพาไปนอนแบเบาะไว้มุมโบสถ์วัดบางลำพู ตอนข้างใต้หน้ากุฏิพระอาจารย์แก้ว แล้วนายทองนางเพียน จึงไปเที่ยวตามหาพระอาจารย์แก้ว เวลาเย็นนั้นท่านพระอาจารย์แก้วเคยลงกระทำกิจกวาดลานวัดทุกๆ วันเป็นนิรันดรมิได้ขาด

นายทอง นางเพียน มาหาพบหลวงพ่อ กำลังกวาดลานข้างตอนเหนืออยู่ นายทอง นางเพียนจึงทรุดตัวลงนั่งยองยอง ยกมือทั้งสองขึ้นประนมไหว้ แล้วออกวาจาปราสรัยบอกความตามที่ตนประสงค์มาทุกประการ ฝ่ายหลวงพ่ออาจารย์แก้ว ฟังคำทำนายนางเพียนแล้วตรวจนิ้วมือ ดูรู้ฤกษ์ยามตามตำรา ท่านจึงพิงกวาดไว้ที่ง่ามต้นไม้แล้วก็มาขึ้นกุฏิ ออกนั่งที่สำหรับรับแขกบ้านทันที

ตาผล นางงุด ก็ประคองบุตรน้อยขึ้นกุฏิ เข้ากราบกรานพระอาจารย์แก้ว แล้วจึงกล่าวคำว่า กระผมเป็นตาของอ้ายหนูน้อย อีแม่มันนั้นเป็นลุกสาวของกระผมๆ กับอีแม่มันมีความยินยอมพร้อมใจกันยกอ้ายหนูน้อยถวายหลวงพ่อเป็นสิทธิขาดแต่วันนี้ ขอหลวงพ่อได้โปรดปรานีโปรดอนุเคราะห์ รับอ้ายเจ้าหนูน้อยเป็นลูกของหลวงพ่อด้วยเถิดภ่ะค่ะ ครั้นกล่าวคำเช่นนั้นแล้ว จึงพร้อมกันอุ้มเบาะทารกขึ้นวางบนตักหลวงพ่อพระอาจารย์แก้ว แล้วก็ถอยมานั่งอยู่ห่างตามที่นั่งอยู่เดิมนั้น

ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว ตั้งใจรับเด็กอ่อนไว้แล้ว ท่านก็ตรวจตราพิจารณาดู ท่านก็รู้ด้วยการพิจารณา รู้ว่าเด็กคนนี้มีปัญญาสามารถทั้งเฉลียวฉลาดในการร่ำเรียนทั้งประกอบด้วยความเพียรและความอดทน ทั้งจะเป็นบุคคลที่เปรื่องปราชญ์อาจหาญ ทั้งจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญวิทยาคม ทั้งจะมีแต่คนนิยมฤๅชาปรากฏ ทั้งจะเป็นคนกอรปด้วยอิสริยศบริวารยศมาก ทั้งจะเป็นคนประหลาดแปลกกว่าคน ทั้งจะเจริญทฤฆชนม์มีอายุยืนนาน ครั้นพระอาจารย์แก้วตรวจวิจารณ์ชะตาราศีแล้ว จึงผูกข้อมือเสกเป่าเข้าปากนวดนาบด้วยนิ้วของท่าน เพื่อรักษาเหตุการณ์ตาลทราง หละ ละลอก ทรพิศม์ ไม่ให้มีฤทธิมารบกวนแก่กุมารน้อยต่อไป แล้วท่านก็ฝากให้นางงุดช่วยเลี้ยง กว่าจะได้สามขวบเป็นค่าจ้างค่าน้ำนมข้าวป้อนเสร็จปีละ ๑๐๐ บาท แล้วท่านก็ประกาศสั่งซ้ำว่า อย่าให้มารดากินของขมและของเผ็ดร้อน และของบูดแฉะเกรงขีระรสธาราจะเสีย แล้วท่านก็กำชับสั่งนายผลให้เอาใจใส่ระไวระวังคอยเตือน อย่าให้นางแม่มันเล่นเล่อเหม่อประมาท คอยขู่ตวาดนางแม่มันอย่าให้กินของแสลงตามที่เราห้ามจงทำตามทุกประการ

ฝ่ายตาผล นางงุด พนมมือรับปฏิญาณแล้วกราบกรานลา รับเบาะลูกน้อยมาแล้วลงกุฏิ พากันมาลงเรือปู้แหระ ช่วยกันแจวแชะแชะมาจนถึงเรือใหญ่ท่าหน้าบ้านบางขุนพรหมแล้วก็รออยู่พอหายเหนื่อย จนอายุเด็กเจริญขึ้นได้ ๓ เดือน จึงหาฤกษ์โกนผมไฟในเดือน ๙ ปีวอก ฉศกนั้น ครั้นกำหนดวันฤกษ์แล้วจึงนายผลออกไปวัดบางลำพูบน นิมนต์ท่านพระอาจารย์แก้ว แล้วขอเผดียงสงฆ์อีก ๔ รูป รวมเป็น ๕ รูป เข้ามาเจริญพระปริตรพุทธมนต์ในเวลาเย็น รุ่งขึ้นฤกษ์โกนผมไฟ แล้วนิมนต์รับอาหารบิณฑบาตร

ครั้นนายผลทราบว่า พระอาจารย์ทราบแล้วจึงนมัสการลากลับมา เที่ยวบอกงานและจัดหาเครื่องบูชา เครื่องใช้สอย โตกถาดภาชนะ ทั้งเครื่องบุดาดอาสนะพร้อมแม่ครัว เมื่อถึงวันกำหนด พระสงฆ์มาพร้อม จึงเผดียงขึ้นสู่โรงพิธีบนเรือนแพที่ปลูกใหม่นั้น แล้วพระสงฆ์ก็เริ่มการสวดมนต์ ครั้นสวดมนต์แล้ว พระสงฆ์กลับแล้วจึงจัดการเลี้ยงดูกัน

ครั้นรุ่งเช้าพระสงฆ์มาพร้อมนั่งอาสน์ จึงนำเด็กออกมาฟังพระสวดมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้วโกนผมไฟกันไปเรื่อย แล้วจัดอาหารบิณบาตรอังคาสแก่พระสงฆ์แล้ว พระสงฆ์ทำภัตกิจ อนุโมทนาแล้วกลับ จึงจัดการประพรมเย่าเรือนจุณเจิมเรือและเรือนเสร็จ

ครั้นจัดการทำบุญให้ทานเสร็จแล้ว พักผ่อนพอหายเหนื่อยจึงจัดสรรพสินค้าเมืองปักษ์ใต้ได้เต็มระวางแล้วจึงออกเรือไปเมืองเหนือ จำหน่ายสินค้า ก็จัดรองสินค้าเมืองเหนือมาจำหน่ายในบางกอก กระทำพานิชกรรมสัมมาอาชีวะอย่างนี้เสมอมา ก็บันดาลผลให้เกิดหมุนภูลเถามั่งคั่งสมบูรณ์ขึ้นหลายสิบเท่า พ่อค้าแม่ค้าทั้งปวงก็รู้จักมักคุ้นมากขึ้นเป็นลำดับมา ตาผล ยายลา นางงุด จึงได้ละถิ่นถานทางเมืองกำแพงเพชรเสียลงมาจับจองจำนองหาที่ดินเหนือเมืองพิจิตรปลูกคฤหาสถานตระหง่านงามตามวิสัยมีเรือนอยู่ หอนั่ง ครัวไฟ บันไดเรือน บันไดน้ำ โรงสี โรงกระเดื่อง โรงพักสินค้า โรงเรือน รั้วล้อมบ้าน ประตูหน้าบ้าน ประตูหลังบ้าน ได้ทำบุญให้ทานที่วัดใหญ่ในเมืองพิจิตรนั้น จึงได้มีความชอบชิดสนิทกับท่านพระครูใหญ่ วัดใหญ่นั้น มีธุระปะปังอันใดก็ได้สังสรรค์ไปมา ทายกแจกฎีกาไม่ว่าการอะไร มาถึงแล้วไม่ผลัก ยินดีรักในการทำบุญการกุศล เลยเป็นบุคคลมีหน้าปรากฏในเมืองพิจิตรสืบไป

ท่านพระครูใหญ่วัดใหญ่ในเมืองพิจิตรนั้นท่านองค์นี้ดีมากในทางความรู้วิชาอาคมก็ขลังมาก วิชาฝ่ายนักเลงต่างๆ พอใช้ เป็นที่เคารพยำเกรองของหมู่นักเลงขยั้นเกรองกลัวท่านมาก ท่านพระครูใหญ่วัดใหญ่พระองค์นี้ เชี่ยวชาญชำนาญรอบรู้ในคัมภีร์มูลประกรณ์ทั้ง ๕ คัมภีร์หามีผู้เปรียบเทียบเท่าท่านในเมืองนั้นในคราวนั้นมิได้ ใช่แต่เท่านั้นท่านขลังในอาคมทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีทางภูตทางผีทางปีศาจก็เก่งพร้อม ห้ามเสือห้ามจรเข้ ห้ามสัตว์ร้ายก็ได้ เสกเป่าให้คนและสัตว์ร้ายอ่อนเพลียเสียกำลัง ยืนงงนั่งจังงังก็ทำได้ พระสงฆ์ในเมืองพิจิตรเกรองกลัวท่านมากตลอดแขวงตลอดคุ้ม ไม่มีวัดไหนล่วงบัญญัติกัตติกสัญญาณาบัติเลย ทั้งเจ้าเมืองกรมการก็ยำเกรมขามท่านพระครูวัดใหญ่มาก ใช่แต่เท่านั้น ท่านกอรปด้วยเมตตากรุณาอนุกูล สัปปุรุส อุบาสิกา สานุศิษย์ มิตรญาติ สงเคราะห์อนุเคราะห์ อารีอารอบทั่วไป มีอัธยาศัยกว้างขวาง เผื่อแผ่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลคนที่ ควรสงเคราะห์ ไม่จำเพาะบุคคล ข่มขี่ขัดเกลากิเลสด้วยไม่โลภโมห์โทสันต์ ขันติธรรมก็พอใช้ วินัยก็พอชม มีผู้นิยมสู่หามาไปมิได้ขาด ทั้งฉลาดในข้อปฏิสัณฐาน การวัดก็จัดจ้านเอาใจใส่ การปฏิสังขรก็เข้าใจปะติประต่อก่อปรุงถาวร วัตถุกรรมแนะนำภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ให้รู้จัดกิจถือพระพุทธศาสนาให้กอรปด้วยประสาทะศรัทธามั่นคง จำนงแน่ในพระรัตนตรัยหมั่นเอาใจใส่สอนศิษย์ให้รู้ทางประโยชน์ดี

เมื่อตาผล ยายลา นางงุดจะล่องลงมาค้าขาย ก็ต้องออกไปล่ำลารดน้ำมนต์รับน้ำมาพรมสินค้า และพรมเรือ พรมคนแจว พรมบ้านเรือน เพื่อให้พ้นภัยอันตรายให้ซื้อง่ายขายคล่อง เวลาตาผลนางงุดกลับ ก็ต้องขึ้นสักการะท่านพระครู จึงบันดาลให้มีผู้นิยมรักแรงเข็งขอบไปทั้งเมืองเหนือเมืองใต้ มีคนเกรงใจเชื่อหน้าถือตา เมื่อจะค้าก็ไม่ต้องลงทุนได้ผ่อนทรัพย์ออกไปหมุนหาดอกเบี้ย และปัวเปียเข้าหุ้นกับพ่อค้าใหญ่ๆ ก็ได้กำรงอกงาม ตามประวัติการแห่งพาณิชยกรรม ร่ำมาด้วยประการดังนี้

(เรียบเรียงตามเค้ารูปภาพในฉากที่หนึ่ง คงได้ความเพียงนี้)

เรื่องที่ว่า ตาผล ยายลา นางงุด ค้าขายเกิดหนุนพูลเถา ได้กำไรมั่งมี ถึงกับย้ายถิ่นฐานภูมิลำเนาเดิมมาตั้งหลักฐานอยู่ในแขวงเมืองพิจิตรนั้น เรียงความตามเค้ารูปภาพในฝาผนังเป็นฉากที่ ๒ เจ้าของท่านเขียนเป็นรูปเมืองพิจิตร เขียนรูปเจ้าเมืองพิจิตรกำลังมีงาน เขียนรูปวัดใหญ่ในเมืองพิจิตร เขียนรูปท่านพระครูใหญ่ เขียนรูปสามเณรโตเรียนหนังสือ เขียนรูปสามเณรโตทดลองวิชาที่เรียนจากท่านพระครูใหญ่วัดใหญ่ เขียนบ้านเรือน ตาผล ยายลา นางงุด เขียนหนูโต ๗ ขวบ พิจารณาแล้วลงสันนิษฐาน อนุมานแปลออกจากใบ้ในรูปภาพประวัติฉากที่ ๒ ของท่าน คงได้เรื่องได้ความ ดังจะเล่าสู่กันฟังดังนี้

ครั้นถึงปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีสิ้นอำนาจแล้ว เป็นปีที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ขึ้นเถลิงถวัลราชย์ปราบดาภิเษกเปลี่ยนเป็นปฐมบรมจักรีพระองค์แรก และย้ายพระมหานครมาข้างฝั่งตะวันออกแห่งกรุงธนบุรี ตรงหัวแหลมระหว่างวัดโพธิและวัดสลัก เป็นวัดเก่ามากทั้ง ๒ วัด เป็นคราวผลัดแผ่นดินใหม่ ทรงขนานนามพระนครใหม่ว่า กรุงเทพพระมหานครฯลฯ พระบรมราชนามาภิไธยว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ ทรงตั้งเจ้าพระยาสุรสีห์น้องชาย เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามหาสุรสีหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงตั้งมเหสีเดิม เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงตั้งสมเด็จพระจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าภคิเณยราชกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ฝ่ายพระราชวังหลังรับพระราชบัญชา

ฝ่ายหนูโตบุตรชายของนางงุดเมืองพิจิตรนั้น มีชนมายุได้ ๗ ขวบ ครั้นการบ้านเมืองสงบเรียบร้อยเป็นปกติแล้ว นางงุดจึงได้นำหนูโต อายุ ๗ ขวบ นั้นเข้าไปถวายท่านพระครูใหญ่ เมืองพิจิตร ให้เป็นศิษย์เรียนหนังสือไทย หนังสือขอมและกิริยามารยาท และขนบธรรมเนียมการวัด การบ้านการเมือง การโยธา การเรือน การค้าขาย เลขวิธี การของผู้อยู่ การของผู้ไป การรับการส่ง การที่เจ้าจะใช้นายจะวาน การไว้ท่าวางทาง ทำท่วงทำทีสำหรับผู้ลากมากดี ในสำนักนี้ ท่านพระครูใหญ่วัดใหญ่นั้น

ครั้นถึงปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๕๐ อายุหนูโตได้ ๑๓ ขวบ เป็นคราวที่จะทำการโกนจุกแล้ว ตาผล นางงุดจึงรับเข้าพักอยู่ที่บ้าน เพื่อระวังเหตุการณ์ แล้วจึงจัดบ้านช่องค้ำจุนหนุนเตาหม้อ ก่อเตาไฟ ซ่อมบันได เตรียมเครื่องครัวพร้อมกำหนดวันฤกษ์งามยามดี หนีกาฬกิณีตามวิธีโหราจารย์บุราณประเพณีได้วันดีแล้ว ในเดือน ๖ ข้างขึ้น จึงเผดียงท่านพระครูใหญ่พระอาจารย์พระเจ้าอธิการวัด พระฐานา พระที่เป็นญาติและพระที่เป็นมิตรรวม ๑๑ รูป กำหนดวันเวลาแล้วเผดียงสวดมนต์ฉันเช้า และเชิญท่านเจ้าเมืองกรมการผู้ใหญ่ พ่อค้าแม่ค้า คฤหบดี คฤหปตานี เจ้าภาษี นายอากร อำเภอ กำนัน พันทะนายบ้าน นายกองขุนตำบล และคณะญาติผู้ใหญ่ผู้น้อยรอบคอบแล้ว จัดกระจายใบบัวบรรจุขนมของกิจและผลาผลกับปิยจรรหรรมัจฉมังสาหาร เป็นเครื่องไทยทาน ถวายแถมพกตอนเช้า ผ้าไตรจีวรถวายตอนเย็น หาเสภามาขับตลอดกลางคืน หาละครสมโภชในตอนทำขวัญ แล้วบุดาษมุงบัง ปู ปัด จัดตั้งพร้อมทุกสิ่งทุกประการ

ครั้นถึงวันกำหนด พระสงฆ์มา แขกก็มา จัดบุคคลที่สมควรรับรองเชื้อเชิญนั่งลุกตามขนบธรรมเนียมอย่างชาวเหนือในเวลานั้น เริ่มการสวดมนต์ตั้งหม้อเต้าน้ำสังข์มังมี มีดโกนด้ามสามกษัตริย์ บัตรบายศรีมีพร้อมในโรงพิธีบนหอนั่งเป็นที่เอิกเกริก สวดมนต์พระสงฆ์แล้วก็จัดแจงเลี้ยงดูกันอิ่มหนำสำราญ พอตกพลบค่ำ ก็จุดตามประทีปโคมไฟสว่างมีเสภารำต่อไป

ครั้นเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น พระสงฆ์มาพร้อมตามเวลา แขกที่เชิญมานั่งพร้อมตามกำหนดนัด นำหนูโตออกจากเรือน มานั่งในโรงพิธีที่หอนั่ง ฟังพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาแล้วได้เวลากำหนดฤกษ์ พระสวดชะยันโต ท่านเจ้าเมืองหยิบกรรไกรยกกระบัตรแหวกจุกผูกสามรอบเรียกว่าไตรสิงขร พระสวดถึง (ปัลลังเกสีเส) ท่านเจ้าเมืองลงกรรไกรคีบจุกขาดออกทั้งสามจอบแล้วโกนด้วยมีดด้ามนาค ด้ามเงิน ด้ามทอง เรียกว่ามีดสามกษัตริย์

ถามว่า เหตุไฉนจึงทำกันอย่างนี้

ตอบ เดิมเป็นทางมาตามคัมภีร์ไสยศาสตร์ก่อน

ภายหลังพราหมณ์นำมาเชื่อมกับพุทธศาสตร์ (แต่ผู้เรียบเรียงมีความเห็นว่า ท่านบุราณคณาจารย์คงจะคิดเห็นตามศัพท์ว่า สัพเพเต อันตรายา ฯลฯ ชะรอยท่านจะแปลคำว่า เต ว่า ๓ ท่านจะไม่แปลคำ เต ว่า เหล่านั้น จึงทำ ๓ แหยม เป็นปอยๆ )

ครั้นพนักงานโกนผมที่ศีรษะหนูโตหมดแล้วจึงอุ้มหนูโตออกไปนั่งเตียงเบญจา ท่านเจ้าเมืองรดน้ำมนต์ด้วยสังข์ก่อน แล้วบรรดาแขกที่เชิญมาและคณะญาติมิตรก็ช่วยรดน้ำหลั่นกันลงไป เสร็จการรดน้ำแล้วก็อุ้มหนูโตเข้าเรือนจัดแจงเปลี่ยนเสื้อผ้าต่อไป

ฝ่ายพนักงานยกสำรับก็ยกมา พวกใส่บาตรก็ใส่ไป เสร็จแล้วก็ยกประเคนพระ พระลงมือฉัน ครั้นพระเสร็จจากภัตตกิจแล้ว เจ้าของงานก็จัดแจงถวายเครื่องไทยทานตามที่จัดไว้และเพิ่มเติมค่าจตุปัจจัยตามควร พระอนุโมทนาแล้วกลับไป

ฝ่ายเจ้างานก็จัดแจงเลี้ยงดูปูเสื่อกันเสร็จ แล้วจึงตั้งระเบียบบายศรี แว่นเวียนแวดล้อมญาติมิตรคนเชิญขวัญก็มานั่ง จึงอุ้มหนูโตออกมานั่งกลางหอนั่งให้คอยฟังคนเชิญขวัญร่ำรำพรรณ พรรณาสิ้นวาระ ๓ จบแล้ว ก็ออกเทียน แว่นที่มีรูปหอยออกก่อน เวียนเป็นทักษิณาวัฏ ๓ รอบแล้ว ผู้อวยพรก็รับมาเศกวิศณุเวทย์มนตราคมน์ เป่าลมแล้วระบายควันดับเทียนนั้นเป่าควันให้กุมารได้รับสัมผัส แล้วผจงผลัดผ้าหุ้มคลุมบายศรี หยิบเครื่องพลี มีกุ้งพล่าและปลายำ สิ่งละคำคุกเข่าป้อน เปิดมะพร้าวอ่อน ช้อนตักน้ำนำให้ซด จุณจันทน์บทกระแจะเจิมเสกส่งเสริมสวัสดี ตามพิธีไสยศาสตร์ พวกพิณพาทย์บรรเลงเพลงครื้นเครงโครม เสียงส่งสำเนียงโห่สนั่น เมื่อทำขวัญกุมารโตเป็นทะโหราดิเรก เป็นเอ้เอกอึกกระธึก ที่ระลึกทั่วไปสำหรับให้เป็นตัวอย่างคนลางบางในภายหลัง จะได้ฟังเป็นการดี ครั้นทำพิธีทำขวัญแล้ว เป็นที่แผ้วผ่องภิญโญ กุมารโตจึงส่งผ้าให้มารดารับไว้ เก็บเข้าไปในเรือนพลัน พวกลงขันยื่นเงินตราให้เสื้อผ้าตามฐานะ ไม่เกณฑ์กะเป็นอัตราเคยมีมาแต่โบราณ

ครั้นการนั้นเสร็จแล้ว โดยสะดวกเรียบร้อยทุกประการ พวกละครรำก็โหมโรงเล่นไปวันหนึ่งจึงเลิกงาน แล้วเลี้ยงดูกันสำราญในเวลาเย็นอีกคราวหนึ่ง ครั้นล่วงมาอีก ๗ วัน นางงุดจึงนำกุมารโตบุตรออกไปมอบถวายท่านพระครูวัดใหญ่ในเมืองพิจิตรอีก แล้วให้ท่านสอนสามเณรสิกขา นาสะนังคะให้รู้ข้อปฏิบัติในวัตรทางสามเณรภูมิต่อไป

ครั้นถึงเดือน ๘ ปีวอกนั้นเอง นางงุดมารดาและคณาญาติใหญ่น้อย ได้จัดบริขารไตรจีวรและย้อมรัดประคดของบิดาที่ได้กำชัดมอบหมายไว้แต่เดิมนั้นเป็นองคะพันธบริขารพร้อมทั้งบาตรโอตะลุ่ม เสื่อมุ้งน้ำมันมะพร้าวตะเกียง กับเครื่องถวายพระอุปัชฌาย์และถวายพระอันดับอีก ๔ องค์ แล้วพากันออกไปที่วัด อาราธนาท่านพระครูให้ประทานบรรพชาแก่กุมารโตและขอสงฆ์นั่งปรกอีก ๔ องค์ รวมเป็น ๕ ทั้งพระอุปัชฌาย์ลงโบสถ์ พระครูก็อนุมัติตามทุกประการ

ครั้นสามเณรโตได้บรรพชาเสร็จแล้ว ก็ตั้งใจเคร่งครัด เกรงต่อพระพุทธอาญา อุตสาห์เอาใจใส่ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ทุกวันวาร อุตสาห์กิจการงานในหน้าที่ อุตสาห์เล่าเรียนคัมภีร์มูละกัจจายนะปกรณ์ เป็นต้นว่าเล่าสูตรจบเล่าโจทย์จบจำได้แม่นยำดี เรียนบาลีไวยากรณ์ ตั้งแต่สนธิ นาม และษมาส ตัทธิต อุณณาท กริต การก และสนธิพาละวะการ สัททะสาร สันททะพินธุ์ สัททะสาลินี คัมภีร์มูลทั้งสิ้นจบสิ้นบริบูรณ์แม่นยำจำได้ดี ถึงเวลาค่ำราตรีก็จุดประทีปถวายพระอุปัชฌาย์นวดบาทาบีบแข้งขานวดเฟ้น หมั่นไต่ถามสอบทานในการที่เรียนเพียรหาความตามภาษาเด็ก ถามเล็กถามน้อยค่อยๆออเซาะพูดจาประจ๋อประแจ๋ กระจุ๋มกระจิ๋มยิ้มย่องเป็นที่ต้องใจในท่านพระครุอุปัชฌาย์ ท่านเกิดเมตตากรุณาแนะนำธรรมปริยาย ท่านต้องขยายเวทย์มนต์ดลคาถาสำหรับ แรด หมี เสือ สาง ช้าง ม้า มะหิงษา โคกระทิงเถื่อนที่ดุร้าย จระเข้เหราว่ายวนเวียนไม่เข้าใกล้ สุนัขป่า สุนัขไน สุนัขบ้าน อัทธพาล คนเก่งกาจฉกรรจ์เป่าไปให้งงงันยืนจังงัง ตั้งฐานภาวนาบริกรรมทำศูนย์ตรงนี้ฯ ตั้งสติไว้เบื้องหน้าแห่งวิถีจิตต์อย่างนี้ๆ ท่านบอกกะละเม็ดวิธีสอนสามเณรให้ชำนิชำนาญ รอบรู้ในวิทยาคุณคาถามหานิยม เกิดเป็นมหาเสน่ห์ทั่วไป สามเณรโตก็อุตสาห์ร่ำเรียนได้ในอาคมต่างๆ หลายอย่างหลายประการ ออกป่าเข้าบ้านทดลองวิชาความรู้ ในวันโกนวันพระที่ว่างเรียนมูละปกรณ์แล้ว ก็ต้องทดลองวิชาเบ็ดเตล็ดเป็นนิตยกาล จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญใช้ได้ดังประสงค์ทุกอย่าง

ครั้นถึงปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๑๕๒ อายุสามเณรโตได้ ๑๕ ปี บวชเป็นเณรได้ ๓ พรรษา เล่าเรียนคัมภีร์มูละกัจจายนะปกรณ์จบ เข้าใจไวยากรณ์ รู้สัมพันธ์บริบูรณ์ ครั้นถึงเดือน ๑๒ ปีจอ โทศกนั้น สามเณรโตเกิดกระสันใคร่เรียนคัมภีร์พระปริยัติศาสนาต่อไป

ฝ่ายท่านพระครูได้ฟังคำสามเณรโต เข้ามาร้องขอเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรม อีกท่านก็อั้นอกอึกอักอีก ด้วยคัมภีร์พระปริยัติได้กระจัดกระจายตกเรี่ยเสียหายป่นปี้มาก แต่ครั้งพม่าเข้ามาตีกรุง ซ้ำสังฆราชเรือง เผยอตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน ทำให้สมบัติของวัดวาอารามเสียหายหมดอีกเป็นคำรบ ๒ ซ้ำร้ายพวกผู้ร้ายเข้าปล้นพระพุทธศาสนาคว้าเอาพระคัมภีร์ปริยัติ สำหรับวัดนี้ไปจนหมดสิ้นเป็นคำรบ ๓ และวัดแถบนี้ก็หาตำราหยิบยืมกันยาก ถึงจะมีบ้างก็เล็กน้อยสักวัดละผูกสองผูก ก็จะไม่พอแก่สติปัญญาของออสามเณรโต จะเป็นทางกระดักกระเดิก ครั้นกูจะปิดบังเณรเพื่อหน่วงเหนี่ยวชักนำไปทางอื่นก็จะเป็นโทษมากถึงอเวจี ควรกูจะต้องชี้ช่องนำมรรคาจึงจะชอบด้วยพระพุทธศาสนาตามแบบพระอรหันตาขีณาสพแต่ก่อนๆ ท่านได้กุลบุตรที่ดีมีสติปัญญาวิสาระทะแกล้วกล้า สามารถจะทำกิจพระศาสนาได้ตลอด ท่านก็มิได้ทิ้งทอดหวงห้ามกักขังไว้ ท่านย่อมส่งกุลบุตรนั้นๆไปสู่สำนักพระมหาเถระเจ้าซึ่งเชี่ยวชาญต่อๆ ไปเป็นลำดับจนตลอดกุลบุตรนั้นๆ ลุล่วงสำเร็จกิจตามประสงค์ทุกๆพระองค์มา ก็กาลนี้สามเณรโตเธอก็มีปรีชาว่องไว มีอุปนิสัยยินดีต่อพระบวรพุทธศาสนามากอยู่ ไม่ควรตัวกูเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์จะทานทัดขัดไว้

ครั้นท่านดำริเห็นแจ่มแจ้งน้ำใจที่ถูกต้องตามคลองพระพุทธศาสนานิกมณฑลฉะนี้แล้ว ท่านจึงมีเถระบัญชาแก่สามเณรโตดังนี้

เออแน่ะ สามเณรโต ตัวกูนี้มีคัมภีร์มูล กูชอบและกูสอนกุลบุตรได้ตลอดทุกคัมภีร์ แต่กูก็มีแต่คัมภีร์มูลครบครัน เหตุว่ากูรักกูนิยม กูรวบรวมรักษาไว้ ถึงว่าจะขาดเรี่ยเสียหายกระจัดกระจายไป ก็จัดงานซ่อมแซมขึ้นไว้จึงเป็นแบบแผนพร้อมเพรียงอยู่ เพราะกูมีนิสัยรู้แต่เรื่องมูลและไวยากรณ์เท่านั้น แต่คัมภีร์ปริยัติธรรมนั้นเป็นของสุดวิสัยกู กูไม่ได้สะสมตำรับตำราไม่มีคัมภีร์ฎีกาอะไรไว้เลย ในตู้หอไตรเล่าก็มีแต่หอและตู้อยู่เปล่าๆ ถ้าหากว่ากูจะเที่ยวยืมมาแต่อารามอื่นๆ มาบอกมาสอนเธอได้บ้าง แต่กูไม่ใคร่จะไว้ใจตัวกู ก็คงบอกได้แต่ก็คงไม่ดี เพราะกูไม่สู้ชำนาญในคัมภีร์พระปริยัตินัก จะกักเธอไว้ ก็จะพาเธอโง่งมงายไปด้วย เพราะครูโง่ลูกศิษย์ก็ต้องโง่ตาม กูเองก็เป็นเพราะเหตุนี้จึงได้ยอมโง่ แต่ครั้นมาถึงเธอเข้าจะทำให้เธอโง่ตามนั้นไม่ควรแก่กู และว่าถ้าเธอมีศรัทธาอุตสาหะใคร่แท้ในทางเรียนคัมภีร์พระปริยัติศาสนาแน่นอนแล้ว กูจะบอกหนทางให้ กูจะแนะนำไปถึงท่านพระครูวัดเมืองไชยนาท ท่านพระครูเจ้าคณะพระองค์นี้ดีมาก ทั้งท่านก็คงแก่เรียน ทั้งเป็นผู้เอาใจใส่หมั่นตรวจตราสอบสวนศัพท์แสงถ้อยคำบาบาทพระศาสนาเสมอ ทั้งบอกพระบอกเณรเสมอ จึงเรียกว่ามีความรู้กว้างขวางทางคัมภีร์พระพุทธศาสนา อรรถฎีกาก็มีมาก ทั้งท่านเอาใจใส่ตรวจตรารวบรวมหนังสือไว้มาก ถึงนักปราชญ์ในกรุง ท่านก็ไม่หวั่นหวาดสยดสยอง

ถ้าเธอมีความอุตส่าห์จริงๆ เธอก็พยายามหาหนทางไปเรียนกับท่านให้ได้เธอจะรู้ธรรมดีทีเดียว

ฝ่ายสามเณรโตได้สดับคำแนะนำของท่านพระครูผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ดั่งนั้นเธอยิ่งมีกระสันเกิดกระหายใจใคร่เรียนรู้ จึงกราบลาท่านพระครู เลยเข้าไปบ้านอ้อนวอนมารดาและคุณตาโดยอเนกประการ เพื่อจำให้นำไปถวายฝากมอบกับท่านครูจังหวัด วัดเมืองไชยนาทบุรี

ฝ่ายคุณตาผล นางงุดโยมผู้หญิง ฝังสามเณรโตมาออดแอดอ้อนวอนก็คิดสงสารไม่อาจขัดขวางห้ามปรามได้ จึงได้รับคำสามเณรว่าจะนำจะพาไปฝากให้ ขอรอให้จัดเรือจัดคนขัดเสบียงอาการก่อนสัก ๒ วัน จะพาไป สามเณรโตได้ฟังก็ดีใจกลับมาสู่อารามเดิม

ครั้นรุ่งขึ้นเวลาเย็นๆ นางงุด ตาผลจึงออกไปกราบเรียนบอกความประสงค์สามเณรโตแก่ท่านพระครูสัดใหญ่ทุกประการ แล้วขอลาพาเณรไปส่งตามใจในวันรุ่งเช้าพรุ่งนี้ ท่านพระครูก็ยินดีอนุญาตตามประสงค์ ทั้ง ๒ ผู้ใหญ่นั้นก็ลากลับมาบ้านจัดเรือจัดคนจัดเสบียงอาการไว้พร้อมเสร็จจบริบูรณ์ ครั้นได้เวลารุ่งเช้าสามทเณรโตเข้าไปฉันที่บ้าน ครั้นฉันเช้าแล้วก็ลงเรือแขวออกไปทางแม่น้ำไชยนาทบุรี

(สิ้นข้อความในรูปภาพประวัติสมเด็จโตที่ฝาผนังฉากที่ ๒)

ทีนี้จะได้แปลจากรูปภาพที่ฝาผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร สมเด็จโต ท่านให้ช่างเขียนประวัติของท่าน เมื่อท่านได้ผ่านมาเรียนพระปริยัติธรรมในสำนัก ท่านพระครูหัวเมืองไชยนาทบุรี เจ้าของท่านเขียนไว้ดังนี้

เขียนท่าวัดเมืองไชยนาทบุรี เขียนเรือท่านจอดอยู่ที่ท่าวัด เขียนจรเข้ชึ้นทางหัวเรือของท่าน เขียนคนหัวเรือของท่านนอนหลับ เขียนคนที่สองตกใจตื่นลุกขึ้นโยงโย่ฉุดคนหัวให้ถอยเข้ามาเพื่อให้พ้นปากจรเข้ เขียนคนแจวคนที่สามนั่งไขว่ห้างหัวเราะ เขียนคนบนบ้าน ๓ คน แม่ลูกยายเหนี่ยวรั้งกันขึ้นบ้านเรือน กระโตงกระเตงกระต่องกระแต่งเพื่อหนีจรเข้ เขียนตาผลนายเรือออกมายืนตัวแข็งอยู่ที่อุดเรือ เขียนรูปสามเณรโตเรียนคัมภีร์กับท่านพระครูจังหวัด วัดเมืองไชยนาทบุรี

ผู้เรียบเรียงจึงอนุมาน สันนิษฐานตามลักษณะพร้อมกับเหตุผลแล้วแปลเป็นเรื่อง ความดังนี้

ครั้นคนแจว แจวเรือเป็ดมาสุดระยะทาง ๒ คืนก็ถึงท่าเรือวัดเมืองไชยนาทบุรี จึงได้จอดเรือเข้าที่ท่าในเวลากลางคืน คนแจวเรือจอดเรือเรียบร้อยแล้ว จึงอาบน้ำดำเกล้าแล้วพักนอนในเรือทั้ง ๓ คน

ครั้นเวลารุ่งเช้าสว่างแล้ว เจ้าจระเข้ใหญ่ในน่านน้ำท่านั้น ก็ขึ้นเสือกตัวมาตรงหัวเรือเป็ดของตาผลนั้น คนบนเรือริมตลิ่ง ๓ คน แม่ลูกหญิงผู้ใหญ่ลงอาบน้ำหน้าบันไดแต่เช้า ครั้นเห็นจระเข้ขึ้นจะคาบคนนอนหลับที่หัวเรือใหญ่ จึงพากันตกใจกลัว แล้วร้องบอกกล่าวกันโวยวายขึ้น คนแจวที่ ๒ นอนถัดเข้ามา ได้ยินเสียงคนบนบ้านเรือนนั้นร้องเอะอะโวยวายจึงตกใจตื่นขึ้น เห็นจระเข้ขึ้นที่ตรงหัวเรือลุกขึ้นโยงโย่จับบั้นเอวคนนอนหลับหัสเรือ เพื่อจะให้พ้นจากปากจะเข้ ส่วนคนแจวเรือคนที่ ๓ ก็ตื่นขึ้นนั่งไขว่ห้างหัวเราะ คนบนบ้านที่กำลังหนีจระเข้ขึ้นบันไดผ้าผ่อนหลุดลุ่ยล่อนจ้อน ลูกเด็กหญิงเหนี่ยวขาแม่ นางแม่เหนี่ยวขายาย ยายผ้าลุ่ยหมด ก้าวขาต่อไปก็ก้าวไม่ออก ตาผลอยู่ในเรือก็โผล่ออกมายืนดูอยู่หน้าเรืออุดเฉย จะว่าอย่างไรก็ไม่ว่าดูชอบกล

ฝ่ายสามเณรโตก็ลุกขึ้นนั่งภาวนาอยู่ในประทุนเรือ จระเข้ขึ้นมาแล้วก็อ้าปากไม่ออกจมก็ไม่ลง และไม่วาดไม่ฟาดหางทั้งนั้น ดูอาการอ่อนมาก คนบนบ้านก็งง คนในเรือก็งันอยู่ท่าเดียว

ครั้นเวลาเช้า โยมของสามเณรโต ก็จัดแจงหุงต้มอาหารอยู่ตอนท้ายเรือเป็ดนั้น ครั้นได้เวลาก็จัดแจงเลี้ยงดูกัน ถวายอาหารให้เณรขบฉันเสร็จแล้วพอถึงเวลา ๓ โมงเช้า ก็พาเณรขึ้นจากเรือ เณรเดินหน้า ตาผลตามเณร นางงุดโยมผู้หญิงพากันเดินตามเป็นแถว ขึ้นกุฏิท่านพระครู ครั้นถึงท่านพระครูแล้วต่างคนต่างปูผ้าลงกราบกันเป็นแถว เณรก็ยืนวันทาแล้วลงกราบท่านพระครูแล้วนั่ง

ฝ่ายท่านพระครูเจ้าวัดเมืองไชยนาทบุรี จึงมีปฏิสัณฐานปราศรัยไต่ถามถึงเหตุการณ์ที่มา ถามถึงบ้านช่อง และถามความประสงค์

ฝ่ายตาผลจึงกราบเรียนท่านว่า เณรหลานชายของเกล้ากระผม บวชอยู่ในสำนักท่านพระครูใหญ่ เจ้าคณะวัดใหญ่ ในเมืองพิจิตร ได้ร่ำเรียนบาลีไวยากรณ์ทั้ง ๕ คัมภีร์จบแล้ว เณรใคร่จะเรียนคัมภีร์ใหญ่ต่อไป จึงขอเรียนที่ท่านพระครูวัดใหญ่ แต่ท่านไม่เต็มใจสอนเณรและท่านพระครูวัดใหญ่ได้แนะนำเณรให้ได้มาสู่สำนักพระเดชพระคุณเพื่อเล่าเรียนคัมภีร์ใหญ่กับพระเดชพระคุณแล้วจะมีความรู้ดีกว่าเรียนกับท่านๆ แนะนำมาดังนี้ เณรดีใจเต็มใจใคร่เรียนในสำนักของพระเดชพระคุณ เณรจึงมารบเร้าเกล้ากระผมและมารดาเณร ขอร้องให้เกล้ากระผมเป็นผู้นำมาสู่สำนักพระเดชพระคุณ ในวันนี้เกล้ากระผมพร้อมด้วยมารดาเณร ขอถวายเณรให้เป็นศิษย์เรียนพระคัมภีร์กับพระเดชพระคุณต่อไป

ครั้นกล่าวสุดถ้อยคำแล้วจึงบอกให้เณรถวายดอกไม้ธูปเทียนต่อท่านพระครู ฝ่ายท่านพระครูผู้รู้พระปริยัติธรรมเมืองไชยนาทบุรี จึงรับเครื่องสักการะแล้ว พิจารณาดูเณรก็รู้ด้วยการพินิจพิจารณาว่า สามเณรนี้มีวาสนาบารมีธรรมประจำอยู่ สรรพอวัยวะก็สมบูรณ์โตพร้อมไม่บกพร่องต้องตามลักษณะ ท่านก็ออกวาจาว่า รูปจะช่วยแนะนำเสี้ยมสอนให้มีความรู้ในคัมภีร์ต่างๆ ตามวัยและภูมิของสามเณรดังที่โยมทั้ง ๒ ได้อุตส่าห์มาทางไกล ไม่เป็นไร รูปจะช่วยให้สมดังปรารถนาทุกประการ

ตาผลและนางงุดก็ดีใจ กราบไหว้แล้วมอบหมายฝากฝังทุกสิ่งอัน แล้วถวายกับปิยะจรรหรรมัจฉะมังสาหารทั้งปวงแล้ว พระสมุห์ของท่านก็เรียกคนมายกถ่ายทันที แล้วจัดห้องหับให้พักอาศัยสำราญ ตาผลและนางงุดก็ยกบริขารของสามเณรเข้าบันจุจัดปูอาศน์ เรียบเรียงตั้งไว้ตามตำแหน่งแห่งที่ แล้วออกมากราบลาท่านพระครูลงไปพักในเรือ ค้างคืนคอยปรนนิบัติสามเณรดูลาดเลา การอยู่การขบฉันบิณบาตรยาตรา เห็นว่าสะดวกดีไม่คับแค้นเดือดร้อน พอเป็นที่ไว้วางใจได้แล้ว จึงขึ้นนมัสการลาท่านพระครูกลับมายังบ้าน ณ แขวงเมืองพิจิตร

ตั้งแต่สามเณรโตได้เข้าสู่สำนักท่านพระครูวัดเมืองไชยนาทบุรีแล้ว เป็นปรกติก็หมั่นทำกรณียกิจตามหน้าที่และอนุโลมตามข้อกติกาไม่ฝ่าฝืนชะอ้อนอ่อนน้อมต่อพระลูกวัดมิให้ขัดอัชฌาสัย เพื่อนศิษย์เพื่อนเณรเหล่านั้นก็ประนีประนอมพร้อมหน้าไม่ไว้ท่า ไม่ถือตัว ไม่หัวสูง อดเอาเบาสู้ ระงับไม่หาเหตุแข่งดีกว่าเพื่อนไม่ส่อเสียดสอพลอพร่อย เรียบร้อยหงิบเสงี่ยมเจียมตัว หมั่นเอาใจใส่รับใช้ปฏิบัติท่านพระครูระแวดระวังหน้าหลัง ท่านมีกิจธุระจะไปไหน ก็จัดการสิ่งของที่จะต้องเอาไป ไม่เกี่ยงงอนเพื่อนศิษย์ เวลาท่านจะกลับ ก็รับรองเก็บงำสม่ำเสมอตลอดมา ครั้นถึงเวลาเรียนก็เข้าเรียน ถึงคราวฟังก็ฟัง ตั้งสติสัมปชัญญะ สำเหนียกสำเนาเสมอ เรียนแล้วจดจำตกแต้มกำหนดกฎหมาย กลางคืนก็เข้ารับโอวาทปริยายของท่านพระครู สิ่งใดที่ไม่รู้ก็ถาม รู้เท่าไม่ถึงความก็ซัก ที่ตรงไหนขัดข้องไม่ต้องกันก็หารือ ตามบาฬีที่มีมาในพระคัมภีร์นั้นๆ ถ้าบทไหนบาฐไหนเป็นนิรุติ ไม่ชอบด้วยเหตุผลไม่เข้ากัน เธอก็ยังไม่ลงมติไม่ถือเอาความคิดเห็นความรู้ของตนเป็นประมาณ ตั้งใจวิจารณ์จนเห็นถ่องแท้แน่นอนตามพระบาฬี ในธรรมบททีปะนี ทศะชาติ (๑๐ชาติ) สารตถ์ สามนต์ ฎีการโยชนาคัณฐี ในคัมภีร์พระไตรปิฎกธรรมนั้น ทุกสันทุกเวลาเรียนแปลเป็นภาษาลาวบ้าง แปลเป็นภาษาเขมรบ้าง แปลเป็นภาษาพม่าบ้างตามเวลา ครั้นล่วงมาได้ ๓ ปีเรียนจนถึงแปดปั้นบาฬี สามเณรโตไม่มีอุปสรรคกีดกั้น ไม่มีอาการเจ็บป่วยไข้สะดวกดีทุกเวลาทั้งไม่เบื่อไม่หน่าย นิยมอยู่แต่ที่จะหาความจริงซึ่งยังบกพร่องภูมิปัญญาอยู่ร่ำไป

ครั้นถึงเดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ สามเณรโตมีความกระหายใคร่จะล่องลงมาร่ำเรียนในสำนักราชบัณฑิตนักปราชญ์หลวงบ้าง ใคร่จะเข้าสู่สำนักพระเถระเจ้าผู้สูงศักดิ์อรรคฐานในกรุงเทพพระมหานครโดยความเต็มใจ

ครั้งสามเณรโต อายุได้ ๑๘ ปีย่าง ปลงใจแน่วแน่แล้วในการที่จะละถิ่นฐาน ญาติโยมได้จะทนทานในการอนาถาในกรุงเทพฯ ได้แน่ใจแล้ว จึงได้กราบกรานท่านพระครูจังหวัดบรรยายแถลงยกย่องพิทยาคุณและความรู้ของท่านพระครูเมืองไชยนาทบุรี พอเป็นที่ปลื้มปราโมทย์ปราศจากความลบหลู่ดูหมิ่น ด้วยระเบียบถ้อยคำอันดีพอสมควรแล้ว ขอลาว่าเกล้ากระผมขอถวายนมัสการลาฝ่าท้าวเพื่อจะลงไปสู่สำนักราชบัณฑิตย์ ผู้สูงศักดิ์อรรคฐานให้เป็นการเชิดชูเกียรติคุณของฝ่าท้าวให้แพร่หลายในกรุงเทพฯ ขอบารมีฝ่าท้าวจงกรุณาส่งเกล้ากระผมให้ถึงญาติโยม ณ แขวงเมืองพิจิตรด้วย

ฝ่ายท่านพระครูเจ้าคณะเมืองไชยนาทบุรีได้ฟัง ซึ่งมีความพอใจอยู่แล้วในการที่จะแสวงหาศิษย์ที่ดีมีสาระทะแกล้วกล้าองค์อาจ ฉลาดเฉลียวรอบรู้คัมภีร์ คิดจะส่งศิษย์อย่างดีเข้ากรุงเทพฯ เพื่อช่วยเผยแพร่ให้ความรู้และความดีของท่านนั้นโด่งดังปรากฏแพร่หลายไปในกรุงเทพฯ อนึ่งสามเณรองค์นี้ก็เป็นคนดี มีความรู้กอร์ปด้วยคติสติปัญญา ความเพียรก็กล้าไม่งอนง้อท้อถอยเลย หัวใจก็จดจ่ออยู่แต่การเล่าเรียนหาความรู้ดูฟังตั้งใจจริง ไม่เป็นคนโว่งมซมเซา พอจะเข้าเทียบเทียมเมธีที่กรุงเทพพระมหานครได้ ท่านพระครูเห็นสมควรจะอนุญาตได้ ท่านจึงกล่าวเถระวาทสุนทรกถา เป็นทางปลูกผูกอาลัยแก่สามเณรพอสมควรแล้ว ท่านก็ออกวาจาอนุญาตว่า "ดีแล้ว นิมนต์เถอะจ้ะ" เราขอรอผลัดจัดการส่งสัก ๓ วัน เพื่อเตรียมตัวเตรียมการส่งให้เป็นที่เรียบร้อยตามระเบียบแบบธรรมเนียมการ สามเณรก็กราบถวายนมัสการลามายังกุฏิที่อยู่ แล้วก็จัดการตระเตรียมเก็บสรรพสิ่งเครื่องอุปโภคต่างๆ ส่งคืนเข้าที่ตามเดิม คัมภีร์ที่ยังเรียนค้างอยู่ก็ทำใบยืมๆ ไปเรียนต่อไป สิ่งของที่เหลือบริโภคอุปโภคแล้ว ก็แบ่งปันถวายเพื่อนสามเณรที่อยู่ที่เคยเป็นเพื่อนกันไว้ใช้สรอยพอเป็นทางผูกอาลัยทำไมตรี

ครั้นเวลารุ่งเช้าแล้ว สามเณรโตก็ออกพายเรือสามปั้นบิณฑบาตไปถึงบ้านที่สุดเหนือน้ำและใต้น้ำ สามเณรก็บอกกล่าวล่ำลาแก่ญาติโยมอุปฐากและที่ปวารณาและผู้ที่มีวิสาสะทั่วหน้ากันทั้งสองฝั่ง ที่อยู่บ้านดอนขึ้นไปก็บอกลาฝากขึ้นไปทั่วกัน

ฝ่ายเจ้าพวกเด็กๆ ลูกศิษย์วัดทั้งปวงรู้ว่าหลวงพี่เณรของเขาจะลงไปอยู่บางกอก พวกเด็กทั้งหลายก็พากันเสียดาย ใจเขาหาย เขาทำได้แต่หน้าแห้ง ทำตาแดงๆ เหตุเขามีความคุ้นเคยรักใคร่อาลัยหลวงพี่สามเณรโต เขาเคยกินอยู่สำราญด้วยอาหารเกิดทวีขึ้น เพราะอำนาจบารมีศีลธรรมของสามเณรโต จนเข้าของแปลกประหลาดเหลือเฟือเอื้อเอาใจเขามาช้านานประมาณ ๓ ปีล่วงมา

ฝ่ายแม่รุ่นสาวๆ คราวกันกับพ่อเณร ซึ่งมีใจโอนเอนไปข้างฝ่ายรัก ก็ทำอึกอักผะอืดผะอมกระอักกระอ่วนรัญจวนใจ ด้วยพ่อเณรเธอจะไปอยู่ไกลถึงบางน้ำบางกอก ต่างก็อั้นอันอ้นจนใจไม่อาจออกวาจาห้ามปรามเพราะความอาย รักก็รักเสียดายก็เสียดาย ทั้งความยึดถือมุ่งหมายก็ยังมีอยู่มั่นคงจงใจ ทั้งเกรงผู้หลักผู้ใหญ่จะล่วงรู้ดูแคลน แสนกระดากทำกระเดื่องชำเลืองโฉมพ่อเณรโต แอบโผล่หน้าต่างตามมองแลรอดสอดตามช่องรั้วหัวบ้านแลจนลับนัยน์ตา เสียวซ่านถึงโสกาเช็ดน้ำตาอยู่ก็มี

ฝ่ายพวกเด็กๆ พอกลับถึงวัด เขาก็ตะโกนบอกเพื่อนกันว่า ต่อแต่วันนี้พวกเราจะอดกันละโว้ยๆ

ครั้นพระเณรฉันเช้าแล้ว ท่านพระครูเจ้าคณะจังหวัดจึงเรียกพระปลัดพระสมุห์มาสั่งการว่า แนะพระปลัดจ๋า พรุ่งนี้เธอต้องสั่งเลขวัด ให้เขาจัดเรือเก๋ง ๔ แจว คนแจวประจำพร้อมและจัดเสบียงทางไกลให้พร้อมมูลด้วย ให้พอเลี้ยงกันทั้งเวลาไปและมาด้วย ส่วนเธอและพระสมุห์ช่วยพาสามเณรโตเข้าไปส่งให้ถึงญาติโยมเณร ณ เมืองพิจิตรในวันรุ่งพรุ่งนี้แทนตัวดิฉันด้วย พรุ่งนี้มารับจดหมายส่งของฉันก่อน

ฝ่ายพระปลัด ๑ พระสมุห์ ๑ รับเถระบัญชาแล้วออกมาเรียกร้องกะเกณฑ์เลขวัดสั่งให้จัดเรือจัดเสบียงให้พร้อมทั้งเครื่องต้มเครื่องแกง หม้อน้อยหม้อใหญ่ กระทะ ข้าวเหนียว น้ำตาล มาขามเปียก พริกสด พริกแห้ง หอมกระเทียม ขิง ข่า กระทือ พริกไท ให้พร้อมไว้ เวลาเที่ยงมาแล้วจอดไว้ที่ท่าวัดนี้ตามที่ท่านพระครูสั่ง

ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๓ พระปลัดฉันเช้าแล้วเข้าหาท่านพระครู รับจดหมายแล้วกราบลาออกมา แล้วนัดหมายพระสมุห์และนัดสามเณรโตว่าเที่ยงแล้วลงเรือพร้อมกัน ครั้นถึงเวลาฉันเพลแล้ว ขอแรงศิษย์วัดและเพื่อนเณร ๒-๓ คน ช่วยขนขนบบริขารหีบ ตะกร้า กระเช้า กระบุงที่บรรจุของสามเณรโตลงท่าวัดพร้อมกัน สามเณรโตก็เข้าไปสักการวันทาลาท่านพระครูด้วยความเคารพ

ส่วนท่านพระครูก็ประสิทธิ์ประสาทพรให้วัฒนาถาวรภิญโญภาวะยิ่ง ให้สัมฤทธิ์สมความมุ่งหมาย จงทุกสิ่งทุกประการเทอญ

ครั้นเวลาเที่ยงทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พระปลัด พระสมุห์ และสามเณรโต พร้อมคนแจวเรือก็ลงเรือ ได้เวลาบ่ายโมงก็ออกเรือทางแม่น้ำ บ่ายหัวเรือไปเมืองพอจิตรในวันนั้น

ครั้นแจวมา ๒ คืนก็ถึงท่าบ้านสามเณรโต ฝ่ายตาผล ยายลา นางงุด เห็นเรือเป็นเก๋งมาจอดท่าหน้าบ้าน ต่างก็ออกมาดู รู้ว่าท่านปลัด ท่านสมุห์และสามเณรโตมา ก็ดีใจลงไปในเรือต้อนรับและนิมนต์ขึ้นเรือน แล้วขึ้นมาปูอาศน์ ตักน้ำเย็น ต้มน้ำร้อน จัดเภสัชเพลายาสูบใส่พานแล้ว ครั้นพระปลัด พระสมุห์ สามเณรขึ้นมาอาราธนาที่หอนั่ง ประเคนหมาก น้ำ ยาสูบ แล้วก็กราบ

ครั้นพระปลัดเห็นเจ้าบ้านนั่งปรกติเรียบราบแล้วจึงปฏิสันฐาน และนำจดหมาย ของท่านพระครูเมืองไชยนาทบุรี ส่งให้ตาผลๆ รับมาอ่านได้ทราบความตลอดแล้วด้วยความพอใจ เมื่อสนทนาเสร็จจึงพาพระปลัด พระสมุห์และสามเณรออกไปยังวัดใหญ่ เมืองพิจิตรทราบ

ครั้นท่านพระครูอ่านดูรู้ข้อความตลอดแล้ว ก็เห็นดี เห็นชอบด้วย ตกลงก็เห็นดีเห็นงามด้วยกันทั้งครูอาจารย์และคณะยาติโยมพร้อมใจกันหมด ครั้นได้เวลา พระปลัด พระสมุห์ ตาผลและนางงุดก็ลาท่านพระครูใหญ่กลับมาบ้าน แล้วก็จัดแจงอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงเณร และคนแจวเรือจนอิ่มหนำสำราญแล้วทั้ง ๓ เวลา ส่วนพระปลัดและพระสมุห์เมื่อได้ทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายมาเสร็จและสมควรแก่เวลา ก็ลาเจ้าล้านๆ ก็จัดการส่งพระปลัดและพระสมุห์ให้กลับไปยังวัดเมืองไชยนาทบุรี

ส่วนทางบ้านเมื่อได้กำหนด นางงุดก็จัดเรือจัดคนจัดลำเลียงสเบียงอาหารจัดของแจกให้ของฝากชาวกรุงเทพฯ ทั้งของถวาย ของกำนัลท่านผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ลงบรรทุกในเรือเรียบร้อยเสร็จแล้ว ก็เกณฑ์ตาผลให้เป็นผู้นำพร้อมด้วยคนแจวส่งสามเณรไปกรุงเทพฯ แต่ต้องให้แวะนมัสการบูชาพระพุทธชิณราชในวันกลางเดือน ๑๒ นี้ก่อน และพ่อต้องอ้อนวอนขอหลวงพ่อชิณราชให้ช่วยคุ้มครองกำกับรักษาส่งพ่อเณรอย่าให้มีเหตุการณ์ และอย่าให้ป่วยไข้ได้เจ็บอย่าให้มีภัยอันตราย ตั้งแต่วันนี้จนตราบเท่าจนเฒ่าจนแก่ และขอให้เณรร่ำเรียนลุสำเร็จจงทุกสิ่งทุกประการ กับขอบารมีหลวงพ่อชิณราชช่วยปกป้องกันศัตรูหมู่อันธพาล อย่าผจญและอย่าเบียดเบียนพ่อเณรได้ ขอพ่อจงแวะไหว้บูชาอ้อนวอนว่าตามคำสั่งข้านี้อย่าหลงลืมเลย

ฝ่ายตาผลรับคำลูกสาวแล้ว ก็ลงเรือออกเรือจากท่าหน้าบ้าน และให้แจวออกทางแม่น้ำพิษณุโลก ล่องมาหลายเพลาก็มาถึงวัดพระชิณราชในวันขึ้น ๑๔ เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ ปีนั้น

ครั้น ณ วันที่ ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ศกนั้น ตาผลนิมนต์สามเณรโตขึ้นไปโบสถ์พระชินราช เดินปทักษิณรอบแล้ว เข้านมัสการทำสักการะบูชา สามเณรยืนขึ้นวันทาแล้วตั้งสักการะ โดยสักกัจจะเคารพแก่พระพุทธชิณราช ตาผลจึงพร่ำพรรณาถวายเณรแก่พระชิณราชและวิงวอนขอฝาก ขอความคุ้มครองป้องกัน ขอให้พระพุทธชิณราชบันดาลดลส่งเสริมแก่สามเณรตามคำนางงุดโยมของเณรสั่งมาทุกประการ

ครั้นทำการเคารพสักการบูชาแก่พระพุทธชิณราชเสร็จแล้ว ก็กราบลาพาสามเณรโตมาลงเรือแจวล่องมา ๒ คืนก็ถึงหน้าท่าวัดบางลำภูบน กรุงเทพฯ ตอนเวลาเช้า ๒ โมง แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหานคร

ตาผลชาวเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถอยลงมาตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาอยู่เหนือเมืองพิจิตรได้นำสามเณรโตผู้หลานอันเป็นลูกของนางงุดลูกสาว สามเณรโตนั้นมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี ตาผลผู้เป็นตา จึงได้นำพาสามเณรโตขึ้นไปมอบถวายพระอาจารย์แก้ววัดบางลำภูบน พระนคร ตาผลได้เล่าถึงการเรียนของสามเณรโตจนกระทั่งถึงท่านพระครูจังหวัดเมืองเหนือทั้ง ๒ อาราม มีความเห็นชอบพร้อมกันที่จะให้ลงมากรุงเทพ เกล้ากระผมจึงได้นำสามเณรโตมาสู่ยังสำนักของหลวงพ่อ เพื่อหลวงพ่อจะได้ทำนุบำรุงชี้ช่องนำทาง ให้สามเณรดำเนินหาคุณงามความดีมีความรู้ยิ่งในพระมหานครสืบไป

ฝ่ายพระอาจารย์แก้วทราบพฤติการณ์ ตามที่ตาผลเล่า ก็เกิดความเชื่อ และเลื่อมใสในสามเณรโต และมีความเห็นพ้องด้วยกับท่านพระครูทั้ง ๒ จังหวัด สมจริงดังที่พยากรณ์ไว้แต่ยังนอนแบเบาะ และได้รับเป็นลูกไว้ จึงนึกขึ้นได้ถึงเงินที่ได้ลั่นวาจาว่าจะจ้างแม่มันเลี้ยงปีละ ๑๐๐ บาท ๓ ปีหย่านมเป็นเงินค่าจ้าง ๓๐๐ บาท จึงให้ศิษย์ที่เป็นไวยาวัจจกรหยิบเงินมา ๓๐๐ บาท ส่งมอบให้ตาผลเพื่อฝากไปใช้ให้นางงุดเป็นค่าน้ำนมข้าวป้อน ๓ ปี เงิน ๓๐๐ บาท

ตาผลน้อมคำรับเอาเงิน ๓๐๐ บาท มากำไว้สักครู่ เมื่อจวนจะลากลับ จึงพร่ำพรรณนามอบฝากเณรโดยอเนกประการ แล้วถวายเงิน ๓๐๐ บาทนั้นคืนหลวงพ่อแก้ว แล้วถวายอีก ๑๐๐ บาทเป็นค่าบำรุงเณรสืบไป แล้วก็ลาท่านอาจารย์แก้วไปเยี่ยมญาติพี่น้อง ณ บางขุนพรหมต่อไป

ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว จึงจัดห้องหับให้สามเณรอยู่บนหมู่คณะวัดบางลำพูบนวันนั้นมา เวลาเช้าก็ลุกขึ้นบิณฑบาตร และสำรับกับข้าวของฉันในคณะอาจารย์แก้วนั้นอุดมล้นเหลือไม่บกพร่อง ทั้งบารมีศีลและธรรมที่สามเณรโตประพฤติดี ก็บันดาลให้มีผู้ขึ้นถวายเช้าและเพลและที่ปวารณาก็กลายเป็นโภชนะสับบายของโยคะบุคคลทุกเวลา

ฝ่ายพระอาจารย์แก้วเมื่อเห็นเวลาฤกษ์ดีแล้ว จึงได้นำสามเณรโตไปฝากพระโหราธิบดี, พระวิเชียร กรมราชบัณฑิต ให้ช่วยแนะนำสั่งสอนสามเณรให้มีความรู้ดีในคัมภีร์ พระปริยัติธรรมทั้ง ๓ ปิฎก พระโหราธิบดี, พระวิเชียรก็รับและสอนตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

พระโหราธิบดี พระวิเชียร อยู่บ้านหลังวัดบางบำภูบน เสมียนตราด้วงบ้านบางขุนพรหม ท่านขุนพรหมเสนา บ้านบางขุนพรหม ปลัดกรมนุท บ้านบางลำภูบน เสมียนบุญและพระกระแสร ทั้ง ๗ ท่านนี้เป็นคนมั่งคั่งหลักฐานทั้งมีศรัทธาความเชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา เมื่อได้เห็นจรรยาอาการของสามเณรโต และความประพฤติดี หมั่นเรียนเพียรมาก ปากคอลิ้นคางคล่องแคล่วไม่ขัดเขินเคร่งครัดดี รูปร่างกายก็ผึ่งผายองอาจ ดูอาการมิได้น้อมไปทางกามคุณ มรรยาทเณรก็ละมุนละม่อม เมื่อร่ำเรียนธรรมะในคัมภีร์ไหนก็เอาใจใส่ไต่ถามให้รู้ลักษณะ จะเดินประโยคอะไร ก็ถูกต้องตามในรูปประโยคแบบอย่าง ถูกใจอาจารย์มากกว่าผิด ท่านทั้ง ๗ คนดั่งออกนามมานี้พร้อมกันเข้าเป็นโยมอุปฐากช่วยกันอุปถัมภ์บำรุง หมั่นไปมาหาสู่ที่สัดบางลำพูเสมอ และสัปปรุษอื่นๆ ต่างก็เลื่อมใสใส่บาตร์อย่างบริบูรณ์ บางคนก็นิมนต์แสดงธรรมเทศนา ถึงฤดูหน้าเทศน์มหาชาติตามวัดแถวนั้น คนก็ชอบนิมนต์สามเณรโตเทศน์ หิมพานบ้าง เทศน์ทานกัณฑ์บ้าง เทศน์วันประเวศน์บ้าง เทศน์ชูชกบ้าง เทศน์จุลพนบ้าง เทศน์มหาพนบ้าง เทศน์กุมารบรรพบ้าง เทศน์มัทรีบ้าง เทศน์สักกะบรรพบ้าง เทศน์มหาราชบ้าง เทศน์ฉกษัตริย์บ้าง เทศน์นครกัณฑ์บ้าง ตกลงเทศน์ได้ถูกต้องทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ทำเสียงเล็กแหลมก็ได้ ทำเสียงหวานแจ่มใสก็ได้ ทำเสียงโฮกฮากก็ได้ กลเม็ดมหาพนและแหล่สระแหล่ราชสีห์ ว่ากลเม็ดแพรวพราว ที่หยุดที่ไป ที่หายใจขึ้นลงเข้าออกสนิททุกอย่างทุกกัณฑ์ กระแสเสียงเสนาะน่าฟังทุกกัณฑ์ ทำนองเป็นหมดไม่ว่ากัณฑ์อะไรเทศน์ได้ทุกกัณฑ์ จังหวะก็ดีเสมอ แต่สามเณรโตมิได้มัวเมาหลงใหลในการรวยเรื่องเทศนามหาชาติ และมิได้มัวเมาหลงใหลด้วยอุปัฏฐากมาก เอาใจใส่แต่การเรียนการปฏิบัติทางเพลิดเพลินเจริญสมณธรรมเป็นเบื้องหน้า จึงได้เป็นที่รักที่นับถือของท่านโหราธิบดี, พระวิเชียร, เสมียนตราด้วง, ปลัดกรมนุท, ขุนพรหมเสนา, และท่านขรัวยายโหง, เสมียนบุญ, พระกระแสร, ท่านยายง้วน และใครต่อใครอีกเป็นอันมากจนจดไม่ไหว

ครั้นถึงเดือนห้า ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหานครฯ พระชนมายุกาลแห่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ย่างขึ้นได้ ๒๘ พรพรรษาโดยจันทรคตินิยม อายุสามเณรโตก็ได้ ๑๘ ปีบริบูรณ์ในเดือน ๕ ศกนั้น

จึงท่านพระโหราธิบดี, พระวิเชียร, เสมียนตราด้วง ได้พิจารณาเห็นกิริยาท่าทาง และจรรยาอาการสติปัญญาอย่างเยี่ยมแปลกกว่าที่เคยได้เห็นมาแต่ก่อน ทั้งมีรัดประคดหนามขนุนคาดด้วย จะทักถามและพยากรณ์เองก็ใช่เหตุ จึงปรึกษาเห็นตกลงพร้อมกันว่าควรจะนำเข้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้ได้ทรงทอดพระเนตร อนึ่งพระองค์ท่านก็ทรงโปรดพระและเณรที่ร่ำเรียนรู้ในธรรมทั้ง ๒ คือ คัณถธุระและวิปัสสนาธุระ บางทีพ่อเณรมีวาสนาดีก็อาจจะเป็นพระหลวง เณรหลวงก็ได้ ครั้นท่านขุนนางทั้ง ๓ ปฤกษาตกลงเห็นพร้อมใจกันแล้ว จึงแนะนำให้สามเณรโตให้รู้ตัวว่า จะนำเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ในวันเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ศกนี้เป็นแน่

ฝ่ายสามเณรรู้ตัวแล้ว จึงเตรียมตัวสุผ้าย้อมผ้า และสุย้อมรัดประคดหนามขนุนของโยมผู้หญิงให้มานั้น ซึ่งโยมผู้หญิงกระซิบสั่งสอนเป็นความลับกำกับมาด้วย ฟอกย้อมรัดประคดสายนั้นจนใหม่เอี่ยมดี

ครั้นถึงวันกำหนด จึงพระโหราธิบดี, พระวิเชียร, และเสมียนตราด้วงได้ออกมาที่วัดบางลำภู เรียนกับท่านอาจารย์แก้ว ให้รู้ว่าจะพาสามเณรโต เข้าเฝ้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรฯ พระอาจารย์แก้วก็อนุมัติตามใจแล้วท่านจึงเรียกสามเณรโต มาซ้ำร่ำสอนทางขนบธรรมเนียมเดินนั่ง พูดจากับจ้าวใหญ่นายโตใช้ถ้อยคำอย่างนั้นๆ เมื่อจะทรงถามอะไรมาก็ให้มีสติระวังระไว พูดมากเป็นขี้เมาก็ใช้ไม่ได้ พูดน้อยจนต้องซักต่อก็ใช้ไม่ได้ ไม่พูดก็ใช้ไม่ได้ พูดเข้าตัวก็ใช้ไม่ได้ จงระวังตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในถ้อยคำของตน เมื่อพูดอย่าจ้องหน้าตรงพระพักตร์ เมื่อพูดอย่าเมินเหม่ไปทางอื่น ตั้งอกตั้งใจเพ็ดทูลให้เหมาะถ้อยเหมาะคำ ให้ชัดถ้อยชัดคำ อย่าหัวเราะ อย่าตกใจ อย่ากลัว อย่ากล้า จงทำหน้าให้ดี อย่ามีความสะทกสะท้าน จงไปห่มผ้าครองจีวรให้เรียบร้อย ไปกับคุณพระเดี๋ยวนี้

สามเณรโตน้อมคำนับรับเถโรวาทใส่เกล้าแล้ว ไปห้องครองผ้า คาดรัดประคดเสร็จแล้ว จุดธูปเทียนอาราธนาพระบริกรรมภาวนาประมาณอึดใจหนึ่ง แล้วก็ออกเดินมาหาพระโหราธิบดี พระวิเชียร เสมียนตราด้วง ท่านทั้ง ๓ จึงนมัสการลาพระอาจารย์แก้ว แล้วพาสามเณรโตลงเรือแหวด ๔ แจว คนแจวก็ล่องลงมาจอดที่ท่าตำหนักแพหน้าพระราชวังเดิม แล้วนำพาสามเณรขึ้นไปบนท้องพระโรงในพระราชวังเดิม ณ ฝั่งธนบุรีใต้วัดระฆังนั้น

ฝ่ายพนักงานหน้าท้องพระโรง นำความขึ้นกราบทูลว่า พระโหราธิบดี พาสามเณรมาเฝ้า จึงเสด็จออกท้องพระโรง ทรงปราศรัยทักถามพระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วงแล้ว ได้ทรงสดับคำพระโหราธิบดีกราบทูลเสนอคุณสมบัติของสามเณรขึ้นก่อน เพื่อให้ทรงทราบ

จึงทอดพระเนตรสามเณรโต ทรงเห็นสามเณรโตเปล่งปลั่งรังสีรัศมีกายออกงามมีราษี เหตุด้วยกำลังอำนาจศีละคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณหากอบรมสมกับผ้ากาสาวพัตร์ และมีรัดประคดหนามขนุน อย่างของขุนนางนายตำรวจใหญ่ คาดเป็นบริขารมาด้วย

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงฯ พระองค์นั้น ทรงพระเกษมสันต์โสมนัสยิ่งนัก จึงเสด็จตรงเข้าจับมือสามเณรโตแล้วจูงให้มานั่งพระเก้าอี้เคียงพระองค์ แล้วทรงถามว่าอายุเท่าไรฯ ทูลว่า ขอถวายพระพรอายุได้ ๑๘ เต็มในเดือนนี้ฯ ทรงถามว่า เกิดปีอะไรฯ ทูลว่า ขอถวายพระพรเกิดปีวอกอัฐศกฯ รับสั่งถามว่า บ้านเกิดอยู่ที่ไหนฯ ทูลว่าขอถวายพระพรฯ บ้านเดิมอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร แล้วย้ายลงมาตั้งบ้านอยู่เหนือเมืองพิจิตร ขอถวายพระพรฯ รับสั่งถามว่า โยมผู้ชายชื่ออะไรฯ ทูลว่า ขอถวายพระพร ไม่รู้จักฯ รับสั่งถามว่า โยมผู้หญิงชื่ออะไรฯ ทูลว่า ขอถวายพระพร ชื่อแม่งุดฯ รับสั่งถามว่า ทำไมโยมผู้หญิงไม่บอกตัวโยมผู้ชายให้เจ้ากูรู้จักบ้างหรือฯ ทูลว่า โยมผู้หญิงเป็นแต่กระซิบบอกว่าเจ้าของรัดประคดนี้เป็นเจ้าคุณแม่ทัพขอถวายพระพร

ครั้นทรงได้ฟัง ตระหนักพระหฤทัยแล้ว ทรงพระปราโมทย์เอ็นดูสามเณรยิ่งขึ้น จึงทรงรับสั่งทึกทักว่า แน่ะ คุณโหรา เณรองค์นี้ ฟ้าจะทึกเอาเป็นพระโหรานำช้างเผือกเข้ามาถวาย จงเป็นเณรของฟ้าต่อไป ฟ้าจะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงเอง แต่พระโหราต้องเป็นผู้ช่วยเลี้ยงช่วยสอนแทนฟ้า ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง ช่วยฟ้าบำรุงเณร เณรก็อย่าสึกเลยไม่ต้องอนาทรอะไร ฟ้าขอบใจพระโหรามากทีเดียว แต่พระโหราอย่าทอดธุระทิ้งเณรช่วยเลี้ยง ช่วยสอนต่างหูต่างตาช่วยดูแลให้ดีด้วย และเห็นจะต้องย้ายเณรให้มาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราชมี จะได้ใกล้ๆ กับฟ้า ให้อยู่วัดนิพพานารามจะดี (วัดนิพพานาราม คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์เดี๋ยวนี้)

ครั้นรับสั่งแล้ว จึงทรงพระอักษรเป็นลายพระราชหัตถเลขามอบสามเณรโตแก่สมเด็จพระสังฆราช (มี) แล้วส่งลายพระราชหัตถเลขานั้นมอบพระโหราธิบดีให้นำไปถวาย พระโหราธิบดีน้อมเศียรคำนับรับมาแล้วกราบถวายบังคมลา ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง สามเณรโตก็ถวายพระพรลา แล้วก็เสด็จขึ้น

ฝ่ายขุนนางทั้ง ๓ ก็พาสามเณรลงเรือแจวข้ามฟากมาขึ้นท่าวัดมหานิพพานารามตามคำสั่ง พาเณรเดินขึ้นบนตำหนักสมเด็จพระสังฆราช (มี) ครั้นพบแล้วต่างถวายนมัสการ พระโหราธิบดีก็ทูลถวายลายพระราชหัตถเลขาแก่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ คลี่ลายพระหัตถออกอ่านดูรู้ความในพระกระแสรับสั่งนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้พระครูใบฎีกาไปหาตัวพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำภูบน ซึ่งเป็นเจ้าของสามเณรเดิมนั้นขึ้นมาเฝ้า ครั้นพระอาจารย์แก้วมาถึงแล้วจึงรับสั่งให้อ่านพระราชหัตถ์เลขา พระอาจารย์แก้วอ่านแล้วทราบว่าพระยุพราชนิยมก็มีความชื่นชอบ อนุญาตถวายเณรให้เป็นเณรอยู่วัดนิพพานารามต่อไป ได้รับนิสัยแต่สมเด็จพระสังฆราชด้วยแต่วันนั้นมา

สามเณรโตนั้นก็อุตส่าห์ทำวัตรปฏิบัติแก่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และเข้าเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรม จนทราบสันธวิธีของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจนชำนิชำนาญดี และเรียนกับพระอาจารย์เสมวัดนิพพานารามอีกอาจารย์หนึ่งด้วย

ครั้นถึงเดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหานครฯ จึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงพระคำนวณปีเกิดของสามเณรโต เป็นกำหนดครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ควรอุปสมบทได้แล้ว จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดีกับเสมียนตราด้วงมาเฝ้า แล้วทรงรับสั่งโปรดว่า พระโหราฯต้องไปบวชสามเณรโตแทนฟ้า ต้องบวชที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก แล้วทรงมอบกิจการทั้งปวงแก่พระโหราธิบดี พร้อมทั้งเงินที่จะใช้สอย ๔๐๐ บาท ทั้งเครื่องบริกขารพร้อม และรับสั่งให้ทำขวัญนาค เวียนเทียนแต่งตัวนาคอย่างแบบนาคหลวง การซู่ซ่าแห่แหนนั้นอนุญาตตามใจญาติโยมและตามคติชาวเมือง แล้วรับสั่งให้เสมียนตราด้วงแต่งท้องตราบัวแก้วขึ้นไปวางให้เจ้าเมืองพิษณุโลก ให้เจ้าเมืองเป็นธุระช่วยการบวชนาคสามเณรโต ให้เรียบร้อยดีงาม ตลอดทั้งการเลี้ยงพระเลี้ยงคน ให้อิ่มหนำสำราญทั่วถึงกัน กับทั้งให้ขอแรงเจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิชัยและเจ้าเมืองไชยนามบุรี ให้มาช่วยกันดูแลการงาน ให้เจ้าเมืองพิษณุโลกจัดการงานในบ้านในจวนนั้นให้เรียบร้อยและให้ได้บวชภายในข้างขึ้นเดือน ๖ ปีนี้ แล้วแต่จะสะดวกด้วยกันทั้งฝ่ายญาติโยมของเณร

รับสั่งให้สังฆการีในพระราชวังบวรวางฎีกาอาราธนาสมเด็จพระวันรัต วัดระฆังให้ขึ้นไปบวชนาคที่วัดตะไกร ให้ขึ้นไปแต่ข้างขึ้นอ่อนๆ ให้สำเร็จกิจบรรพชาอุปสมบทภายในกลางเดือน ให้ไปนัดหมายการงานต่อเจ้าเมืองพิษณุโลกพร้อมด้วยญาติโยมของเณร และตามเห็นดีของเจ้าเมืองด้วย

พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง รับพระกระแสรับสั่งแล้วถวายบังคมลาออกมาจัดกิจการตามรับสั่งทุกประการ

ฝ่ายข้างญาติโยมของสามเณรโต ทราบพระกระแสร์รับสั่งแล้ว จึงจัดเตรียมเข้าของไว้พร้อมสรรพ แล้วไปนิมนต์ท่านพระอาจารย์แก้ววัดบางลำพูบนให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ รับขึ้นไปพร้อมด้วยตน แล้วนิมนต์ท่านเจ้าอธิการวัดตะไกรเป็นอนุสาวนาจารย์ จะเป็นวัดไหนก็แล้วแต่สมเด็จพระอุปัชฌาย์จะกำหนดให้ และเผดียงพระสงฆ์อันดับ ๒๕ รูป ในวัดตะไกรบ้าง วัดที่ใกล้เคียงบ้าง ให้คอยฟังกำหนดวันที่สมเด็จพระอุปัชฌาย์จะกำหนดให้

ฝ่ายพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง จึงจัดเรือญวนใหญ่ ๖ แจว ๑ ลำ เรือญวนใหญ่ ๘ แจว ๑ ลำ, เรือครัว ๑ ลำ คนแจวพร้อม และจัดหาผ้าไตรคู่สวดอุปัชฌาย์ จัดเทียนอุปัชฌาย์คู่สวด จัดเครื่องทำขวัญนาคพร้อมผ้ายก ตาลอมพอก แว่น เทียน ขันถม ผ้าคลุม บายศรี เสร็จแล้ว เอาเรือ ๖ แจว ไปรับสมเด็จพระวันรัต ลาเณรจากสมเด็จพระสังฆราช แล้วนำมาลงเรือ ๖ แจว ส่วนพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง ไปลงเรือ ๘ แจว

เรือสมเด็จพระวันรัตและสามเณรโต เรือพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง ออกเรือแจวขึ้นไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ตามกันเป็นแถวขึ้นไปรอนแรมค้างคืนตามหนทางล่วงเวลา ๒ คืน ๒ วัน ก็ถึงเมืองพิษณุโลก ตรงจอดที่ที่หน้าจวนพระยาพิษณุโลก เสมียนตราด้วงจึงขึ้นไปเรียนท่านผู้ว่าราชการเมืองให้เตรียมตัวรับท้องตราบัวแก้ว และรับรองเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตวัดระฆังตามพระกระแสรับสั่ง

ครั้นท่านพระยาพิษณุโลกทราบแล้ว จึงจัดการรับท้องตราก่อน เสมียนตราด้วงจึงเชิญท้องตราบัวแก้วขึ้นไปบนจวน เชิญท้องตราตั้งไว้ตามที่เคยรับมาแต่กาลก่อน เมื่อเจ้าเมือง ยกกระบัตร กรมการมาประชุมพร้อมกันแล้ว เสมียนตราด้วงจึงแกะครั่งประจำถุงตรา เปิดซองออกอ่านท้องตรา ให้เจ้าเมือง ยกกระบัตร กรมการฟัง ทราบพระประสงค์ และพระกระแสร์รับสั่งตลอดเรื่องแล้ว เจ้าเมืองกรมการน้อมคำนับถวายบังคมพร้อมกันแล้ว เสมียนตราด้วงจึงวางไว้บนพานถมบนโต๊ะแล้วคุกเข่าถวายบังคม ภายหลังแล้วจึงคำนับท่านเจ้าเมือง ไหว้ยกกระบัตร กรมการทั่วไป ตามฐานันดรแลอายุ ท่านเจ้าเมืองจึงลงไปอาราธนาสมเด็จพระวันรัต และสามเณรโตขึ้นพักบนหอนั่งบนจวน กระทำความคำนับต้อนรับเชื้อเชิญตามขนบธรรมเนียม โดยเรียบร้อยเป็นอันดี ผู้ว่าราชการจึงสั่งหลวงจ่าเมือง หลวงศุภมาตรา ๒ นาย ให้ออกไปบอกข่าวท่านสมภารวัดตะไกรให้ทราบว่า สมเด็จพระวันรัตวัดระฆัง มาถึงตามรับสั่งแล้ว ให้ท่านสมภารจัดเสนาศ์ปูอาศนะให้พร้อมไว้ ขาดแคลนอะไร หลวงจ่าเมือง หลวงศุภมาตรา ต้องช่วยท่านสมภาร สั่งหลวงแพ่ง หลวงวิจารณ์ ให้จัดที่พักคนเรือและนำเรือเข้าโรงเรือ เอาใจใส่ดูแลรักษาเหตุการณ์ทั่วไป สั่งขุนสรเลขให้ขอแรงกำนันที่ใกล้ๆ ช่วยยกสำรับเลี้ยงพระเลี้ยงคนในตอนพรุ่งนี้ จนตลอดงาน สั่งพระยายกกระบัตรให้มีตราเรียกเจ้าเมืองทั้ง ๔ ให้มาถึงปะรืนนี้ สั่งหลวงจู๊ให้ขอกำลังเลี้ยงฝีพายบางกอก สั่งรองวิจารณ์ รองจ่าเมือง ให้นัดประชุมกำนันในวันปะรืนนี้ สั่งรองศุภมาตราให้เขียนใบเชิญพ่อค้าคฤหบดี ครั้นเวลาเย็นเห็นว่าที่วัดจัดการเรียบร้อยแล้ว จึงอาราธนาสมเด็จพระวันรัต ออกไปพักผ่อนอิริยาบถที่วัด สบายกว่าพักบ้านตามวิสัยพระ ส่วนท่านเจ้าเมืองพร้อมด้วยเสมียนติดตามส่งสมเด็จพระวันรัต ณ วัดตะไกร และนัดหมายสามเณรโตให้นัดญาติโยมพร้อมหาฤากันใน ๒ วันนี้

ครั้นท่านเจ้าเมืองมาส่งสมเด็จพระวันรัตที่วัดตะไกรถึงแล้ว ได้ตรวจตราเห็นว่าเพียงพอถูกต้องแล้ว จึงสั่งกรรมการ ๒ นายให้อยู่ที่วัดคอยระวังปฏิบัติ แ

263
ข้อมูลจากเวบวัดบพิตรพิมุข
 http://www.watbopit.com/story_longpoo.html

(จากหนังสือ วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ประวัติและ เกียรติคุณหลวงปู่ไข่ อินทสโร, พิมพ์ครั้งแรก, กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ,2542)



อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ

ขณะที่ท่าน อายุ 6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและเทศน์ประชัน

กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์ ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ

ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่มีอายุได้ 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417)

ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422) จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี

พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปสมบทแล้วได้เดินทางไปเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม

ต่อมาหลวงปู่ไข่ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรีเป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 - 2429)

ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า

"ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน (ท่านฉันหนเดียว)

เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป

ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน"

หลวงปู่ไข่เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ - พ.ศ.๒๔๔๔) เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นหลวงปู่ไข่ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี ในที่สุดหลวงปู่ไข่ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑

การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔) เป็นเจ้าอาวาส

ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง

หลวงปู่ไข่เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์

ราว พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ไข่เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่ จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป

หลวงปู่ไข่เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ

ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ หลวงปู่ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ

ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ให้นอนลง รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา

ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุขไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด และมีผู้เคารพนับถือมาก จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ที่บริเวณกุฏิ กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐ วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน)

ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า อภินิหารของหลวงปู่มากเหลือเกิน

เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

264
ประวัติหลวงปู่หลิว  ปณฺณโก

วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 

จากกระทู้ในหัวข้อ บทความสาระน่ารู้  เวป uamulet.com โพสท์โดย คุณ ไทยสมบัติ เมื่อ 14/10/2546

ปฐมวัย 

หลวงปู่หลิว  ปณฺณโก   มีนามเดิมว่า   ?หลิว?   นามสกุล   ?แซ่ตั้ง?   (นามถาวร) บิดามีนามว่า   คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง   มารดามีนามว่า   คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง  ท่านเกิดเมื่อ  วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีมะเส็ง)    ที่หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันทังหมด 9 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 4 คน (มีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 1 คน มีน้องชาย 3 คน และน้องสาว 3 คน) ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว

ครอบครัวของหลวงปู่หลิวอยู่ในชนบท ที่ห่างไกลความเจริญ บิดามารดามีอาชีพหลักคือ ทำนา ต่างคนต่างต้องช่วยกันทำมาหากินกันไปตามสภาวะ หลวงปู่หลิวในวัยเด็กมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากเด็กในวัยเดียวกันอย่างสิ้นเชิงทนที่จะไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กในวัยเดียวกันแต่หลวงปู่หลิวกลับมองเห็นความยากลำบากของบิดา มารดา และพี่ ๆ จึงได้ช่วยงานบิดา มารดา และพี่ ๆ อย่างขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวเป็นที่รักใคร่ของบิดา มารดา ตลอดจนพี่ ๆ และน้อง ๆ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความขยันขันแข็ง ทำให้หลวงปู่หลิวได้เรียนรู้วิชาช่าง ควบคู่ไปกับการทำไร่ ทำนา เพราะบิดานั้นเป็นช่างไม้ฝีมือดีคนหนึ่ง เมื่อเติบใหญ่หลวงปู่หลิว จึงมีฝีมือทางช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านทั่วไป

ในบางครั้งหลวงปู่หลิว ท่านต้องไปรับจ้างคนอื่นเพื่อให้ได้เงินมา ท่านต้องเดินทางไกลเพื่อไปทำงานบางครั้งไปกลับใช้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานา บางครั้งทำให้ท่านถึงกับล้มป่วยไปเลยก็มี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่หลิวมีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรมากมาย (เพราะหลวงปู่หลิวท่านมีลักษณะเด่นอยู่ในตัวคือ ท่านมี ?ความจำ? เป็นเลิศ) นอกจากท่านจะเป็นช่างไม้ฝีมือดีแล้วท่านยังเป็นหมอยาประจำหมู่บ้านหนองอ้อ, ทุ่งเจริญ, บ้านเก่า และละแวกใกล้เคียงไปโดยปริยายใครมาขอตัวยากับท่าน ท่านก็ให้ไปทุกคน

ครอบครัวโดนรังแก 

ในอดีตนั้นเขตภาคกลางโดยเฉพาะ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กล่าวกันว่าเป็นแดนเสือ ดงนักเลง มีโจรผู้ร้ายโด่งดังมากมาย คนหนุ่มทั้งหลายกลุ่ม หลายถิ่นต่างตั้งกล่มเป็นโจรผู้ร้ายปล้นจี้สร้างอำนาจอิทธิพลในพื้นที่ของตน คนบางกลุ่มก็ตั้งกลุ่มเพื่อปกป้องคุ้มครองถิ่นของตน ครอบครัวหลวงปู่หลิวเองก็ได้รับความเดือดร้อนจากกลุ่มโจร ท่านได้พูดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า   ?โยมพ่อโยมแม่และพี่ชายเป็นคนซื่อ ใจรมาขโมยวัว ขโมยควายก็มิได้ต่อสู้ขัดขืน ทำให้พวกโจรได้ใจทำให้วัดควายและข้าวของที่พยายามหามาด้วยความยากลำบากต้องสูญเสียไป อาตมาจึงเจ็บใจและแค้นใจ เป็นที่สุด แต่ทำอะไรมันไม่ได้? 

ในบางครั้งโจรที่มาปล้นวัวควาย คุณพ่อเต่งและพี่ชายคนโดไม่เคยกล้า ที่จะเข้าขัดขวาง ขอเพียงแต่อย่าทำร้ายบุตรหลานก็เป็นพอ   ?ข้าวของเป็นของนอกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้? 

หลวงปู่หลิวในช่วงนั้นก็เป็นวัยรุ่นเลือดร้อน ก็ทวีความโกรธแค้นมากขึ้น จึงคิดหาวิธีปราบโจรผู้ร้าย อย่างเด็ดขาดให้ได้ อันเป็นการช่วยตนเอง และชาวบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายต่อไป

เข้าป่าเรียนอาคม

หลวงปู่หลิว ได้ชวนหลานชายผู้เป็นลูกของพี่ชาย และหลานชายผู้เป็นลูกของพี่สาว หนีออกจากบ้านไปแสวงหาอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ในดงกระเหรี่ยง เพื่อขอเรียนวิชาไสยศาสตร์ เพื่อนำมาปราบโจรผู้ร้าย ที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านแทบทุกวัน ซึ่งหลานชายทั้งสองก็เห็นด้วย  บนเส้นทางอันเป็นป่าเขาดงดิบด้านชายแดนไทย-พม่า มีป่าไม้รกทึบ อากาศหนาวเย็นด้วยจิตใจอันแน่วแน่ เด็กหนุ่มทั้ง 3 จึงรีบเร่งเดินทางให้ถึงจุดหมายโดยเร็วที่สุด

ป่าดงดิบสมัยก่อนนอกจากจะรกทึบแล้ว ยังเต็มไปด้วยไข่ป่าอันน่าสะพรึงกลัว ในระหว่างการเดินทางหลานชายผู้ซึ่งเป็นลูกของพี่ชายเกิดป่วยหนักด้วยโรคไข้ป่า ยารักษาก็ไม่มีเพราะไม่ได้เตรียมมา หลวงปู่หลิวจึงหยุดพักการเดินทางเพื่อรักษาไข้ป่าไปตามมีตามเกิด หลานชายทนความหนาวเหน็บและพิษของไข้ป่าไม่ไหว จึงได้สิ้นใจตายไปต่อหน้าต่อตาของหลวงปู่หลิวผู้เป็นอา และหลานอีกคน

ความรู้สึกในเวลานั้นทำให้พาลโกรธโจรผู้ร้ายมากยิ่งขึ้น ทางหลานชายเมื่อเห็นลูกพี่ลูกน้องของตนต้องมาตายจากไปจึงเกิดขวัญเสียไม่อยากเดินทางต่อไปตามที่ตั้งปณิธานเอาไว้ เพราะเกรงว่าหนทางข้างหน้าไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก จึงเอ่ยปากชวนน้าชายกลับบ้าน แต่หลวงปู่หลิวได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้วว่าจะไม่กลับแน่นอน ถ้าไม่สำเร็จวิชา

หลังจากนั้นหลวงปู่หลิว ได้แยกทางกันกับหลานชายมุ่งหน้าสู่ดินแดนกระเหรี่ยง ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ เมื่อไปถึงมีชาวกระเหรี่ยงที่พอพูดไทยได้บ้างก็เข้ามาสอบถาม หลวงปู่หลิวจึงได้บอก ความต้องการให้เขาฟัง

หลวงปู่หลิวโชคดีได้พบอาจารย์หม่งจอมขมังเวทย์ชาวกระเหรี่ยง จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนวิชาอาคมด้วย ท่านใช้เวลาอยู่ในหมู่บ้านั้นนานร่วม 4 เดือน  ถึงจะได้เริ่มเรียนวิชากับอาจารย์หม่ง อาจารย์ชาวกระเหรี่ยงให้ความเมตตาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้อย่างเต็มใจ ระหว่างอยู่กับอาจารย์ หลวงปู่หลิวมีความมานะบากบั่นช่วยงานทุกอย่าง จนเป็นที่รักใคร่ของทุกคน สำหรับวิชาที่ได้ร่ำเรียนในขณะนั้นคือวิชาฆ่าคนโดยเฉพาะ เพื่อไปแก้แค้นโจรที่ลักวัวควาย หลวงปู่หลิวอยู่กับอาจารย์ชาวกระเหรี่ยงได้ 3 ปี กว่าจนถึงวัย 21 ปี ก็ศึกษาวิชาอาคมได้อย่างลึกซึ้ง ก่อนจะเดินทางกลับผู้เป็นอาจารย์ได้กำชับอย่างเด็ดขาดว่าวิชาอาคมต่าง ๆ ที่ประสิทธิ์ประสาทให้ ห้ามใช้จนกว่าจะถูกผู้อื่นทำรังแกทำร้ายอย่างถึงที่สุด เพราะมันเป็นวิชาฆ่าคน ท่านก็รับคำและเดินทางกลับบ้านเกิดด้วยความมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาให้หมู่บ้านของตนจึงเดินทางกลับบ้าน เมื่อได้พบบิดา มารดาแล้ว หลวงปู่หลิวได้ลาท่านไปท่องเที่ยวอีกครั้ง

ใช้ควายธนูปราบโจรขโมยวัว 

ในฤดูฝนปีถัดมา หลวงปู่หลิวได้กลับจากท่องเที่ยว มาช่วยบิดามารดาทำไร่นาที่บ้านเกิดอีกครั้ง วัวควายที่เคยเลี้ยงอย่างระมัดระวัง ก็ปล่อยให้มันกินหญ้าตามสบาย  เขาทำมาหากินได้ไม่กี่เดือนมีเพื่อนฝูงที่สนิทคนหนึ่งแจ้งข่าวให้ทราบว่า โจรก๊กหนึ่งจะเข้าปล้นวัวควายเขาในเร็ว ๆ นี้  หนุ่มหลิวก็เตรียมรับมือทันที   แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาเตรียมตัวเช่นไร่   ทุกวันเขาทำตัวปกติมิได้อาทรร้อนใจกับเรื่องที่โจรจะเข้าปล้นกลางวันทำไร่ เลี้ยงควายไปตามเรื่อง ตกเย็นค่ำมืดกินข้าวกินปลาหากไม่มีเพื่อนแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเขาก็เข้านอนแต่หัววัน

อีกหลายสิบวันต่อมา  คืนหนึ่งดึกสงัดเป็นวันข้างแรม ท้องทุ่งอันเวิ้งว้างมืดสนิทไร้แสงเดือน ท้องฟ้ามีแต่หมู่ดาวกลาดเกลื่นระยิบระยับไปทั่ว แต่ที่บ้านของหนุ่มหลิว มันเงียบแต่ไม่สงัด ร่างตะคุ่มหลายสายพากันเคลื่อนไหวเข้าใกล้เรือนที่มืดมืดของเขา ร่างเหล่านั้นมุ่งไปที่คอกวัวควายส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคุมเชิงระวังภัยให้กับเพื่อน

ทันใดนั้น กลุ่มโจรที่เข้าไปเปิดคอกถึงกับตะโกนร้องอย่างตกใจ ระคนด้วยความหวาดกลัวแล้วแตกกระเจิงออกคนละทิศละทาง เสียงโวยวายร้องบอกให้เพื่อนหลบหนีดังขึ้นสลับร้องโหยหวนเจ็บปวด

เช้าตรู่ของวันใหม่ ท่านเอาวัวควายออกเลี้ยงตามปกติที่ไร่ แม้ว่ารอบบ้านจะมีร่องรอยเท้าคนย่ำอย่าสับสนและมีรอยเลือดกองเป็นหย่อม ๆ และกระเซ็นไปทั่ว เขาไม่ยี่หระวางเฉย  เพียงแต่ก้มลงหยิบสิ่งหนึ่งที่หน้าคอกสัตว์ มันคือ   รูปปั้นควายดินเหนียว   ซึ่งเลอะไปด้วยเลือดเต็มเขาและหัวของมัน  หรือว่าสิ่งนี้ คือ  ?ควายธนู?   ทำการขับไล่เหล่าโจรร้าย ไม่มีใครรู้นอกจากหนุ่มหลิวเพียงคนเดียว

ข่าวการใช้ควายธนุขับไล่โจรก๊กนั้นแพร่สะพัดไปทั่วหมู่บ้านและลือกันต่าง ๆ นานาว่าท่านเป็นผู้มีของดี ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายมีมิจฉาชีพคิดอยากลองของ ด้วยการซุ้มรุมทำร้ายด้วยอาวุธนานาชนิด แต่มีด ปืนผาหน้าไม้ที่รุมกระหน่ำไม่สามารถทำอันตรายท่านได้แม้แต่น้อย แถมการที่ท่านสู้แบบไม่ถอยทำให้คนร้ายวิ่งหนีกันหัวซุกหัวซุน จากชัยชนะหลายครั้ง หลายหนต่อการรุกรานในรูปแบบต่างๆ สร้างความพอใจให้กับคนในหมู่บ้านบางรายถึงกับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ แต่ก็มีชาวบ้านบางพวกกับมองว่าท่านเป็นนักเลงหัวไม้

ในที่สุดหลวงปู่หลิวก็ปราบโจรลงอย่างราบคาบ จนโจรหลายคนต้องมากราบขออโหสิ และบางคนก็มาขอเป็นศิษย์  นับแต่นั้นมาชาวบ้านก็มีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องหวาดผวาโจรผู้ร้าย บรรดาโจรผู้ร้ายหลายคนก็ได้กลับตัวกลับใจ ทำมาหากินด้วยความสุจริต อย่างชาวบ้านทั่วไป หลวงปู่หลิวได้กล่าวถึงพวกโจรขโมยวัวควายที่พ่ายแพ้ตนว่า   ?คนเราถ้าอยากจะชนะ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยกล ก็ต้องเอาด้วยคาถา แต่เมื่อเขายอมรับผิด ยอมกลับตัวกลับใจ เราก็ควรให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิดเป็นการให้ที่ประเสริฐและได้กุศลด้วย? 

ชีวิตที่ยังไม่เปิดเผย

ภายหลังที่หลวงปู่หลิวได้ปราบโจรเป็นที่เรียบร้อย และชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขแล้ว หลวงปู่หลิวก็ได้กลับมาทำไร่ ทำนาตามปกติ ตอนนี้ท่านได้แยกตัวออกมาทำงานของตัวเอง ท่านทำหลายอย่าง เผาถ่านท่านก็เคยทำ เก็บเห็นเผาะขายก็เคย รับจ้างทำไร่ก็เคย ตอนที่ท่านทำไร่นี่แหละ ท่านไปเจอแม่ม่ายคนหนึ่งชื่อ ?นางหยด?  เกิดชอบพอกันขึ้นมา ก็เลยอยู่กินด้วยกัน และมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่งคือ   นายกาย  นามถาวร  ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านธรรมดา ๆ ที่มีความรักเอื้ออาทรต่อกัน

สู่โลกธรรม 

เมื่อหลวงปู่หลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับนางหยด ระยะหนึ่งแล้ว ได้สัมผัสกับกระแสแห่งความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ ความโลภ โกรธ หลง อวิชชา ตัณหา ราคะต่าง ๆ หลวงปู่หลิวเริ่มจับตามองความเป็นไปต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังคมทีละน้อย ๆ และความรู้สึกนั้นได้เพิ่มพูนมากขึ้น

จนกระทั่งหลวงปู่หลิวมีอายุได้ 27 ปี ได้เกิดความเบื่อหน่ายสุดขีด ในการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันตามสภาวะแห่งกิเลสตัณหา ราคะของชีวิตฆราวาส ซึ่งไม่ถูกกับนิสัยที่แท้จริงของตน คือรักความสงบชอบความสันโดษเรียบง่าย จิตใจของหลวงปู่เริ่มเองเอียงไปทางธรรมะธัมโม อยากจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา   หลวงปู่หลิวจึงได้ขออนุญาตบิดา มารดา เพื่ออกบวชแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ท่านทั้งสองก็เห็นดีเห็นงาม ด้วยความปลาบปลื้มเป็นล้นด้น ที่ลูกชายจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

หลวงปู่หลิว ได้เข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ประมาณเดือน 7 ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. 2475 ปีวอก) โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรมย์ แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า   ?ปณฺณโก?  อ่านว่า ปัน-นะ-โก 

เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่หลิว  ปณฺณโก ได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมและปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานควบคู่กันไปทั้งยังความสะดวกสบายกว่าที่อื่น ๆ  เพราะมีญาติพี่น้องให้ความอุปัฏฐากอย่างใกล้ชิด

ในพรรษาแรกนั้น หลวงปู่หลิวได้มีโอกาสใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่งซึ่งใหญ่มากจนสำเร็จ

ต่อมาอีก 4 เดือนท่านได้ช่วยปรับพื้นศาลาเสร็จอีก และยังได้สร้างกี่กระตุก (ที่ทอผ้า) อีก 50 ชุด เพื่อถวายให้กับวัดหนองอ้อ จึงนับได้ว่าหลวงปู่หลิวไม่เคยหยุดนิ่ง ท่านมีพรสวรรค์ทางเชิงช่างเป็นเลิศ จนเป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ และญาติโยม ชาวบ้าน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งภายหลังจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของหลวงปู่หลิวทั้งสิ้น

265
อะครับ พี่ๆ ชาวพี่น้อง วัดบางพระ ขอเชิญ มาร่วมเป็นกำลัง ใจ กับ พี่สิบทัศ ในการสอบ หน่อย ครับ 

ผมก็ขอให้สอบได้ คะแนน ดีๆนะ ครับ โย่วๆๆๆ

เรามาร่วมเป็นกำลังใจ กันหน่อย ครับ อิอิ



สู้ๆๆๆๆๆ

266


อยากทราบว่า ลูกอม นี่ของทีไหน ครับ ใครรู้พอเดาๆให้ผมหน่อย ได้ใหม ครับ  คุณย่าได้รับมาจากพระ สมัยก่อน
แต่ท่านจำไม่ได้อะครับ ........ ใครพอรู้ ช่วยบอกหน่อยเน้อ ขอบคุณครับ

267


เอามาฝากกัน ครับ ผมว่าดีนะ

268
 (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง อำเภอเมือง นครปฐม ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยางนอก สืบทอดวิชาสร้างพระปิดตามาด้วยครับ หลวงพ่อเล็กท่านนี้สมถะ

หลวงพ่อเล็กวัดหนองดินแดง ท่านสืบทอดตำหรับวิชาดินขุยปูของหลวงปู่จันทร์วัดบ้านยาง มาด้วย และท่านสร้างไว้ไม่กี่องค์ ครับเนื้อออกดินสีดำ ท่านเลือกเฉพาะที่ดินขุยที่ปิดรูเท่านั้น


ใครรู้เพิ่มเติม ช่วยลงทีครับ เกจิ อีก ท่านนึง ของ จ. นครปฐม ครับ
 

269



ใครมียันต์ดีๆแบ่งกันมาให้ดูบ้างนะครับ อิอิ

270
หลวงพ่อมี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ. อยุธยา

ท่านพระครูเกษมคณาภิบาล หรือหลวงพ่อมี เขมธัมโม มีชื่อเดิมเต็ม ๆ ว่า ?บุญมี? ถือกำเนิดในตระกูล ?ธนสนธิ์? ชื่อของท่านโยมบิดามารดาสมมตินามขึ้นเพื่อเรียกขาน อันมีความหมายถึง ?การมีกุศลแห่งความสุข ที่ร่ำรวยมีอันจะกินมิได้ขาด? มาปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกนามองค์ท่านแบบสั้น ๆ ว่า ?หลวงพ่อมี? จนติดปากกันมาจวบปัจจุบัน ถือเป็นมงคลนามอย่างใหญ่หลวง เมื่อองค์ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บำเพ็ญบารมีธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนนามกระเดื่องประกาศกิตติคุณให้สานุศิษย์และชนชาวไทยทั่วแคว้นได้ประจักษ์โดยถ้วนทั่วกัน
โยมบิดานาม นายโหมด
โยมมารดานาม นางพุฒ
หลวงพ่อมีถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน ณ หมู่บ้านขนมจีน ข้างวัดมารวิชัยตอนใต้ หลวงพ่อมีเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องท้องเดียวกัน 5 คนดังนี้
1. หมอแบน
2. นายจุ่น
3. นางสำลี
4. หลวงพ่อมี เขมธัมโม
5. นายสำแล
เมื่อปฐมวัย
ในวัยเด็ก หลวงพ่อมีเป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก ท่านมีโรคประจำตัวเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ เรียกว่า สามวันดีสี่วันไข้ไม่ว่าอากาศจะร้อนนิดหนาวหน่อยก็ป่วย ถ้าอากาศร้อนขึ้นก็จะเกิดอาการชักขนาดถูกแมวหรือสุนัขชนถูกตัวเท่านั้นก็ชักแล้ว
ดังนั้น หลวงพ่อมีจึงเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอมโซ แบบเด็กพุงโรก้นปอด เหมือนเป็นตาลขโมยไม่มีผิด ลักษณะเซื่อง ๆ ซึม ๆ ขี้อาย ไม่ช่างพูดและไม่เล่นหัวเหมือนกับเด็กชาวบ้านโดยทั่วไป คล้าย ๆ กับเป็นเสมือนปัญญาอ่อน เหล่านี้คือบุคลิกของหลวงพ่อมีในวัยเด็ก ซึ่งปราศจากวี่แววแห่งความรุ่งโรจน์ของชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะมองไปในแง่ใด ตามสายตาที่แสดงความเป็นห่วงของญาติผู้ใหญ่และชาวบ้านข้างเคียงทั้งปวง
คุณสมบัติพิเศษ
ธรรมชาติสร้างสรรค์มนุษย์ให้เกิดมา ถ้าจะว่ากันแล้วก็ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม มีดีก็มีชั่ว มีขาดต้องมีเกิน เหมือนดังตัวอย่างในวัยเด็กของหลวงพ่อมี ที่ไม่มีผู้ใดสามารถคาดการณ์อนาคตของท่านว่าจะเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้กล่าวคือ
หลวงพ่อมี มีคุณสมบัติพิเศษที่ผิดแปลกไปจากเด็กชาวบ้านธรรมดา ๆ ตรงที่ท่านเป็นเด็กที่มีใจบุญสุนทาน ชอบติดตามบิดามารดาเข้าวัด ถ้าถูกห้ามปรามไม่ให้ตามไปด้วยจะต้องร้องไห้คร่ำครวญจนถึงกับชักตาตั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องอัศจรรย์อยู่ไม่น้อยที่เด็กเซื่องซึมคล้ายปัญญาอ่อนจะมีความกระตือรือร้นในการไปวัด อันเป็นการส่อแววการเป็นเกจิอาจารย์ของหลวงพ่อมีมาแล้วตั้งแต่ยังเล็ก ๆ
ดังนั้น เมื่อพี่ชายคนโต คือ หมอแบนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมี ขณะนั้นมีอายุเพียง 12 ปี จึงขอบิดามารดาติดตามพระพี่ชายมาอยู่ด้วยทันที (ภายหลัง พระพี่ชายลาสิกขาแล้ว ได้เป็นแพทย์ประจำตำบล ชาวบ้านเรียกท่านว่า ?หมอแบน?) ในตอนแรกบรรดาญาติผู้ใหญ่ไม่มีผู้ใดยอมให้หลวงพ่อมีที่มีลักษณะปัญญาอ่อนไปอยู่ด้วย เพราะเกรงจะเป็นภาระให้กับพระพี่ชายที่เพิ่งอุปสมบทใหม่ ๆ
หลวงพ่อมีจึงร้องไห้และเกิดชักขึ้น จนทุกคนต้องตามใจให้ไปอยู่กับพระแบนที่วัดมารวิชัย ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี บัดนั้นเป็นต้นมา
สติปัญญากลับปราดเปรื่อง
เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากจริง ๆ ตั้งแต่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดมารวิชัยแล้ว ลักษณะอาการที่โง่งมประดุจเด็กปัญญาอ่อนและขี้โรค กลับกลายเป็นตรงกันข้าม อาการขี้โรคต่าง ๆ หายดังปลิดทิ้งไม่เคยมีอาการชักอีกเลย สติปัญญาที่ใคร ๆ มองกันว่าทึบ ก็กลับปราดเปรื่องสามารถศึกษาอักขระสมัย ทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับหลวงพี่แบนและได้รับการแนะนำสั่งสอนจากครูเยื้อน ซึ่งเป็นบุตรของอา จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน จนหลวงพ่อมีสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว นั่นเป็นที่แปลกใจของญาติสนิททั้งปวง และเริ่มมองเห็นแววแห่งอัจฉริยะฉายขึ้นในตัวเด็กชายบุญมีคนนี้
วัยหนุ่มอันบริสุทธิ์
ชีวิตในวัยเด็กจนถึงรุ่นหนุ่มก่อนอุปสมบทของหลวงพ่อมี ก็เป็นไปเหมือนกับชาวบ้านธรรมดา เพราะครอบครัวยากจนและมีอาชีพเป็นชาวนา ต้องคอยช่วยพ่อแม่ทำไร่ไถนาตามประสาไปวัน ๆ โดยไม่มีการผาดโผนอันน่าตื่นเต้นใด ๆ
เนื่องจากท่านเป็นคนใจบุญชอบทำทานเข้าวัดวาฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว เหล้ายาปาปิ้ง การพนันขันต่อ หรือการเที่ยวเตร่ต่าง ๆ เยี่ยงหนุ่มลูกทุ่งทั้งหลายนั้นท่านไม่เคยผ่านมาก่อนเลยทั้งสิ้น จากการที่หลวงพ่อมี มีความขยันขันแข็งในการทำงาน จึงมีหญิงมาชอบพอกับท่านคนหนึ่ง แต่ติดที่ท่านเป็นคนขี้อาย ไม่ช่างพูดประกอบกับหญิงนั้นเป็นคนที่งามจึงไม่เคยชวนกันไปเที่ยวไหน 2 ต่อ 2 เหมือนหนุ่มสาวคู่อื่น ๆ เลย
ภายหลังเมื่อท่านมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ผัดผ่อนการหมั้นหมายเรื่อยมา สตรีนั้นเห็นว่า ท่านไม่ถึงแน่แล้วก็เลยไม่ได้ติดต่อกันอีก ปัจจุบันก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังครองตัวเป็นโสดมาถึงบัดนี้ นับว่า สตรีท่านนี้เป็นหญิงที่มีความมั่นคงในความรักอันน่ายกย่องสรรเสริญยิ่งทีเดียว
เริ่มเล่นแร่
ในวัยเด็กนี่เองที่องค์ท่านหลวงพ่อมี เขมธัมโม ได้ไปเยี่ยมหลวงน้าที่วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี โดยติดตามโยมคุณแม่ไป
หลวงน้าคือ ?หลวงพ่อเขียน โชติสโร? ในเวลานั้นกำลังเล่นแร่แปรธาตุ (เหมือนกับหลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี) ถือเป็น
โอกาสของเด็กชายบุญมี ที่ได้สัมผัสกับสายวิชาเร้นลับนี้ เป็นการหล่อหลอมธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีหน้าที่เติมฟืนช่วยสูบลมให้ไฟร้อนจัดตลอดเวลา
ถือว่าเป็นการเริ่มการศึกษาด้วยตนเองในสายวิชา ?เล่นแร่แปรธาตุ? มาตั้งแต่บัดนั้น หลวงพ่อมีเคยเล่าว่า ?เหนื่อยมากเพราะกว่าจะหลอมธาตุแปรธาตุได้ หลวงพ่อเขียนท่านต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ร่างกายสกปรกไปหมด ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นเวลานานกว่าจะเสร็จ?
?ส่วนวิชาทำตะกั่วให้เป็นเงิน ทำเงินให้เป็นทองคำนั้น หลวงพ่อเขียนท่านหวงมาก ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครง่าย ๆ ในสมัยนั้น เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย? หลวงพ่อมีท่านเคยถามถึงการที่อยากจะศึกษาสายวิชานี้ แต่หลวงน้าหลวงพ่อเขียน กล่าวว่า ?จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระ? ตั้งแต่วันนั้นเด็กชายมีก็เฝ้ารอเพื่อถึงอายุเวลาอุปสมบท
บรรพชาอุปสมบท
หลวงพ่อมี เขมธัมโม มีใจฝักใฝ่ใคร่จะบรรพชาเป็นสามเณรมานานแล้ว แต่ติดขัดที่มีภาระช่วยโยมบิดา มารดา ทำไร่ไถนา จึงต้องคอยให้มีอายุครบบวชเสียก่อนจึงจะได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุตามประเพณีนิยม ซึ่งบรรดาชายทั้งหลายกระทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล
ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อมีอายุ 21 ปี อายุครบเกณฑ์ทหารต้องถูกคัดเลือกเข้าประจำการเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ ท่านจึงตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่ถูกทหารจะบวชทดแทนคุณพ่อแม่ทันที แล้วหลวงพ่อมีก็สมความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ เมื่อท่านจับได้สลากใบดำไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสมดังใจ ณ พัทธสีมา วัดมารวิชัย ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระครูอดุลวุฒิกร หลวงพ่อพิน จันทโชโต วัดช่างเหล็ก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อเขียน โชติสโร วัดบ้านพร้าวนอก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลวงน้า คือเป็นน้องโยม มารดาของหลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเกลี้ยง อินทโชติ วัดมารวิชัย ซึ่งภายหลังไปเป็นเจ้าอาวาส วัดสามตุ่ม ในเขตอำเภอเสนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทน หลวงพ่อคล้าย เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยขณะนั้น ซึ่งเกิดอาพาธพอดี
หลวงพ่อมี ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลี จากหลวงพ่อพินผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ว่า ?เขมธัมโม? แปลว่า ?ผู้มีธัมมะอันเกษม?
การศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นขององค์ท่านหลวงพ่อมี ท่านได้เรียนรู้จาก หลวงพี่แบน ซึ่งเป็นพระพี่ชาย ต่อมาได้เข้าศึกษาทั้งภาษาไทยและ ภาษาขอมกับครูเยื้อน บุตรของอา จนพอจะมีพื้นฐานอ่านออกเขียนได้ หลังจากนั้นท่านจึงศึกษาด้วยตนเอง และเมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จึงไปศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่คล้าย พลายแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ในขณะนั้นถือเป็นรากฐานอันมั่นคงในการสืบสานพุทธศาสนาต่อไป ?ในช่วงที่อาตมาบวชอยู่ที่วัดมารวิชัยนั้น เป็นจังหวะที่ได้ศึกษาเล่าเรียนในทางปริยัติธรรมด้วย เพราะขณะนั้นกำลังเจริญอย่างเต็มที่?

ศึกษาพระธรรมวินัย
เวลาส่วนใหญ่หลวงพ่อมีท่านจะศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยตนเอง ไม่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนจากสำนักใด ๆ แต่ท่านสอบได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ไล่มาเป็นลำดับ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ผสานความมีมานะพากเพียรที่มีอยู่ในองค์ท่าน
ในภายหลังเมื่อท่านอายุมากขึ้นแล้ว ได้เข้าศึกษาหาความรู้ในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนสำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อมี นำความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมที่ท่านร่ำเรียนมาสอนพระภิกษุสามเณรภายในวัดมารวิชัยตั้งแต่ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส และเมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ทำการสอนนักธรรมด้วยตัวของท่านเอง ในระหว่างเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน จนพระภิกษุสามเณรทั้งหลายมีความรู้ความสามารถสอบเปรียญธรรมขั้นสูงได้ปีละหลายสิบรูป จวบจนปัจจุบันนี้ หลวงพ่อมียังคงทำการสอนนักธรรมด้วยตนเองทุกปี โดยไม่ได้นิมนต์พระภิกษุจากสำนักอื่น ๆ มาทำการสอนเลย

ผลงานการก่อสร้าง
จากการที่หลวงพ่อมี ได้รับการอบรมบ่มจิตจากหลวงพ่อปานในการปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ยกเอานิมิตมาพิจารณาจนกลายมาเป็นวิปัสสนาญาณ บังเกิดมี ศีล สมาธิ ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกข์ขัง ความเป็นทุกข์และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน มีอารมณ์จิตเบื่อหน่ายสภาพความเป็นอยู่ของร่างกายตนเองและผู้อื่น จิตใจจึงระลึกนึกถึง พระนิพพานเป็นปกติ จนสามารถบรรเทาอารมณ์รัก โลภ โกรธ และหลง หรือความพอใจใด ๆ ทั้งสิ้นนั้น แทบจะถูกขจัดออกไปจากจิตใจของหลวงพ่อมี อย่างสิ้นเชิง










เมื่อหลวงพ่อมี ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ท่านจึงสามารถตัดใจได้ทุกอย่าง โดยมีสัญญากับพระลูกวัดอีก 6 คน คือ พระอาจารย์ครอบ, พระอาจารย์สาย ซึ่งเป็นพระอาวุโส และพระเย็น, พระเสริฐ, พระหนอม และพระโกยว่า ?พระทุกองค์ห้ามสึก จนกว่าจะตายหรือสร้างอุโบสถให้สำเร็จเสียก่อน จึงสึกได้? พระภิกษุผู้รักษาสัจจะทั้ง 7 องค์ ต่างช่วยกันบูรณะอุโบสถวัดมารวิชัย จนเสร็จและยังช่วยทำนุบำรุงจนมีความเจริญถาวรสืบต่อมา แต่ด้วยเหตุที่เจ้าอาวาสคือหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ผู้ถือสมถะทั้งยังมักน้อย บรรดาเสนาสนะต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จะสร้างเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ หรือสร้างแบบง่าย ๆ อย่างพออาศัยอยู่ได้เท่านั้น และเมื่อเกิดชำรุดทรุดโทรม ก็ทำการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้สร้างให้ถาวรใหญ่โตและสวยงามเหมือนกับวัดอื่น ๆ ทั่วไป เพราะเหตุที่หลวงพ่อมีเป็นพระสมถะ รักสันโดษและมักน้อยนั่นเอง
อุโบสถวัดมารวิชัยได้รับการบูรณะจนพระภิกษุสงฆ์ สามารถประกอบสังฆกรรมได้แล้ว ต่อมาจึงได้สร้างหน้าบันเพิ่มเติม พร้อมกับทำพิธียกช่อฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2491
ในขณะที่ทำการบูรณะอุโบสถอยู่นั้น ตรงกับปี พ.ศ. 2485 ได้รื้อกุฏิริมคลองย้ายขึ้นมาปลูกในบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อหนีน้ำที่หน้าน้ำท่วมสูงขึ้นทุกปี ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่จะต้องหาทุนมาสร้างกุฏิใหม่อีกด้วย
ต่อมาปี พ.ศ. 2501 หลวงพ่อมี ได้สร้างศาลาเรียงล้อมศาลาการเปรียญ หลังใหญ่ที่ หลวงพ่อปาน มาสร้างไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วสร้างหอระฆังและกุฏิอีก 3 หลัง ปัจจัยที่มีอยู่ทั้งหมดไปสมทบทุนกับทางราชการสร้างโรงเรียน 2 แห่ง คือโรงเรียนวัดมารวิชัย และโรงเรียนจุฬาราษฎร์วิทยา ในเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2509 และยังได้สร้างสถานีอนามัย เนื้อที่ 7 ไร่ กับสำนักงานผดุงครรภ์ประจำตำบลบางนมโค ในเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน อีกด้วย
สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่วนใหญ่เป็นที่ดินของบรรพบุรุษที่ตกทอดมาถึงหลวงพ่อมี แล้วท่านนำมาบริจาคต่อ ทั้งยังขายที่ดินอีกบางส่วนไป เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุนในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สร้างฌาปนสถาน พ.ศ. 2510 สร้างกำแพงรอบอุโบสถเพื่อความเป็นสัดส่วน พ.ศ. 2512 และสิ่งที่ชาวบ้านทั้งหลายมีความประทับใจในตัวหลวงพ่อมีอย่างไม่รู้ลืมอยู่ทุกวันนี้ คือ
หลวงพ่อมี เป็นผู้ขอไฟฟ้าโดยเริ่มปักเสาจากปากทางถนนสาคลี ผ่านหน้าวัดมารวิชัยเรื่อยไป ถึงตลาดสาคลี เป็นระยะทางประมาณ 7 ก.ม. ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของหลวงพ่อมีทั้งสิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2514 นอกจากนี้หลวงพ่อมียังได้สร้างแท้งน้ำ เครื่องสูบน้ำสำหรับพระและชาวบ้านได้ใช้ดื่มน้ำที่สะอาด สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างหอสวดมนต์ในปี พ.ศ. 2521 ฯลฯ
นับว่าหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ที่มีความมุมานะ พยายามสูงในการสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นอย่างมากองค์หนึ่ง

ศึกษาวิทยาคม
หลวงพ่อมีได้เล่าให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งฟังว่า ยุคที่ท่านเป็นพระหนุ่มนั้น วิชาด้านคาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่นิยมเรียนกันมาก ชาวอยุธยาแทบทุกคนที่เป็นชายก็ล้วนแต่มีผู้สนใจเรียนกันมากเป็นพิเศษ เพราะคนหนุ่มในยุคนั้นต้องการของจริงมาทดลองกัน
คือ ใครมีอะไรดีก็มาอวดต่อหน้าสาว ๆ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ สำหรับหลวงพ่อมีนั้น เมื่อท่านบวชได้พรรษาแรก ท่านก็ได้เรียนภาษามคธ และทางปริยัติควบคู่กันไป
ในตอนหัวค่ำ หลวงพ่อมีและพระเณรรุ่นหนุ่ม ๆ ก็มักจะจับกลุ่มกันเรียนคาถาอาคมอย่างขะมักเขม้น คือเรียนทั้งจากตำราสมุดข่อย และจากหลวงตาที่บวชเรียนมาหลายพรรษาในวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาถาเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ นั้น หลวงพ่อมีท่านได้เรียนอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว
เช่น คาถาหัวใจหนุมาน หัวใจเสือ หัวใจราชสีห์ และหัวใจลิงลม เป็นต้น
หลวงพ่อมีเมื่อได้พระอาจารย์ดี ท่านก็ตั้งใจในการเรียนอย่างเต็มที่ เพราะหลวงตาผู้สอนท่านจะคอยกำกับโดยให้ผู้เรียนนั่งสมาธิพนมมือ และหลับตาภาวนาหัวใจของคาถาต่าง ๆ ไปด้วย ในระหว่างการเรียนจะเงียบสงบ เพราะต้องการให้เกิดสมาธิเร็วขึ้นเป็นเอกัคตา คือเป็นหนึ่งตลอด เรียกว่าผู้เรียนคาถาต่าง ๆ ต้องมีสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
สมัยหลวงพ่อมีนั้น จะมีพระเณรเรียนในทางวิชาอาคมกันมาก เพราะมีพระอาจารย์คอยสอนให้อยู่อย่างมากมายนั่นเอง
?เพื่อเห็นแก่อนาคตก็ต้องเรียนไว้ เพราะต่อไปจะหาไม่มีอีกแล้ว ที่จะมีอาจารย์ผู้เก่งกล้าสามารถเช่นสมัยนั้น?

หัวใจลิงลม
หลวงพ่อมีท่านได้ตั้งใจศึกษาวิชาทุกอย่างจากครูบาอาจารย์ที่มีอยู่ในสมัยนั้น เช่น การเรียนคาถาปลุกหัวใจลิงลมก็เรียนมาจากหลวงพ่อสำลี ซึ่งท่านเก่งในวิชานี้เป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่หลวงพ่อสำลีท่านจะเริ่มพิธีปลุกหัวใจลิงลมนั้น ท่านได้บอกกับพระเพื่อน ๆ ว่า
?ถ้าผมมือสั่นและตัวสั่นก็ช่วยกันจับเอาไว้ให้ดีนะ?
พิธีการปลุกคาถาหัวใจลิงลมของหลวงพ่อสำลีนั้น ท่านได้ทำให้พระเณรผู้เป็นลูกศิษย์ดูกันเพื่อจะได้รู้ได้เห็นของจริง คือเวลาปลุกหัวใจลิงลมนั้น ผู้ปลุกจะอยู่ไม่เป็นสุขจะมีการกระโดดโลดเต้น จับโน่นเกาะนี่คล้ายกับลิงจริง ๆ หลวงพ่อสำลีท่านจะพนมมือทำใจให้เป็นสมาธิเพื่อท่องคาถาหัวใจลิงลมประมาณได้สัก 2-3 นาที มือของท่านจะเริ่มสั่น และหัวเข่าทั้ง 2 ข้างก็จะตีกับพื้นกระดานเสียงดังสนั่นพร้อมกับหายใจแรงมาก
บรรดาพระเณรที่เป็นศิษย์ซึ่งรวมทั้งหลวงพ่อบุญมีด้วย ต่างก็ระวังกันอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าหากหลวงพ่อสำลีกระโดดออกหน้าต่างกุฏิไปก็จะยุ่งกันใหญ่ ครั้นเมื่อหลวงพ่อสำลีปลุกหัวใจลิงลมแล้ว ก็ช่วยกันจับ แต่จับไม่ค่อยจะอยู่ เพราะกิริยาอาการและท่าทางของท่านมีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จนพระผู้รู้อากัปกิริยาดังกล่าวได้ตบร่างของท่านอย่างแรง อาการต่าง ๆ จึงได้ลดลงและสงบไปในที่สุด
เรื่องคาถาอาคมนี้ เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ให้ได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ใช้มีจิตเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่ ต้องมีความเชื่อและศรัทธาจริง ๆ สำหรับหลวงพ่อสำลีนั้น ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อมีจนหมดสิ้น จึงทำให้หลวงพ่อมีท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถท่องปฏิบัติ เกิดเป็นอาการได้ทุกอย่างสมดังประสงค์

ไม่คิดลาสิกขา
ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากหลวงพ่อมีท่านบวชได้ 1 พรรษา และท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้ใหม่ ๆ ท่านไม่คิดที่จะลาสิกขาบท ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา แต่ท่านกลับอยากจะบวชเพื่อศึกษาต่อเพราะท่านชอบศึกษาเล่าเรียนมาก หลวงพ่อมีท่านได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า จะขอบวชและศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาตลอดไป ซึ่งหลวงพ่อมีกล่าวว่า
?การได้เข้ามาศึกษาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนานั้น เป็นของยากเพราะทุกคนต้องพร้อมที่จะเสียสละความสุขสบายในโลกภายนอกทุกอย่าง แต่ถ้าได้อยู่ศึกษาจนถ่องแท้แล้ว ก็ไม่อยากจะสึกออกไปอีก?

มุ่งสู่หลวงพ่อเขียน
เนื่องจากโยมมารดาของหลวงพ่อมี เป็นชาวบ้านพร้าว ปทุมธานี มักเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องยังบ้านเดิมอยู่เสมอ ทั้งในงานเทศกาลทำบุญตรุษสารทตามประเพณีต่าง ๆ ก็มักจะกลับไปทำบุญยังวัดท้องที่ใกล้บ้าน คือวัดบ้านพร้าวนอก ซึ่งมีน้องชายเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดในขณะนั้น ชื่อ หลวงพ่อเขียน โชติสโร
โดยความตั้งใจเดิมขององค์ท่านหลวงพ่อมี เมื่อสมัยยังเป็นเด็ก และได้ช่วยหลวงน้าในการแปรธาตุ ได้สัมผัสรับรู้วิชาเร้นลับนี้โดยตรง แต่องค์หลวงน้าไม่ยอมสอนให้กลับบอกว่า จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระเสียก่อน จึงเป็นโอกาสดีของหลวงพ่อมี หลวงพ่อเขียนองค์นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาเป็นที่เลื่องลือว่า ท่านสำเร็จอภิญญาจิตมีอิทธิปาฏิหาริย์ สามารถเดินบนยอดไม้และนอนบนยอดตองได้ (นอนบนยอดใบกล้วย)
ปฏิปทาอันงดงาม เคร่งครัดพระธรรมวินัยและปฏิบัติวิปัสสนาธุระอย่างสม่ำเสมอของหลวงพ่อเขียน เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านพร้าวเป็นอย่างมากในสมัยนั้น หลวงพ่อเขียนท่านมีปฏิปทาแปลกไปอีกอย่างหนึ่งคือชอบเล่นว่านยา และชอบเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเป็นวิชาการหล่อหลอมวัตถุธาตุต่าง ๆ ที่มีราคาถูกให้กลายเป็นธาตุสูงค่าขึ้น เช่น การทำตะกั่วให้กลายเป็นเงินหรือทำเงินให้เป็นทองคำ ดังนี้เป็นต้น
อุปกรณ์ใช้ในการเล่นแร่แปรธาตุของหลวงพ่อเขียนก็มี เตาสูบ ที่ใช้ในการหลอมโลหะ ซึ่งมีเครื่องสูบลมติดอยู่กับเตาสำหรับใช้สูบลม เป่าผ่านให้เป็นเปลวไฟแรงจัด นอกจากนี้ก็ยังมีเบ้าหลอม ซึ่งมีทั้งเบ้าดินและเบ้าที่ทำจากโลหะหลายใบ ทั้งยังมีสากดินสำหรับใช้กวนโลหะให้เข้ากันอีกด้วย ฯลฯ
หลวงพ่อมี เล่าว่า ?หลวงพ่อเขียนท่านชอบเล่นว่านอาบน้ำมันว่านจนตัวมันไปหมด จึงไม่ค่อยชอบอาบน้ำ เวลาท่านนั่งหลอมโลหะอยู่หน้าเตาสูบ ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นวัน จนตัวดำมิดหมีมันหมดทั้งตัว... ท่านก็ยังไม่ยอมอาบน้ำ...?
หลวงพ่อมีเล่าปฏิปทาการไม่ชอบอาบน้ำของหลวงพ่อเขียนให้ฟัง พร้อมกับหัวเราะขัน ๆ อย่างอารมณ์ดี

เรียนวิชาตรงจากหลวงพ่อเขียน
หลวงพ่อเขียนถือได้ว่าเป็นอาจารย์องค์แรกในสายวิทยาคมขององค์ท่านหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย
หลังจากอุปสมบทหลวงพ่อมีมุ่งตรงสู่วัด บ้านพร้าวนอก จ.ปทุมธานี และศึกษาสายวิชา เล่นแร่แปรธาตุกับพระอาจารย์หลวงน้าในทันที ในช่วงนั้นโยมบิดาขององค์ท่านหลวงพ่อมี กำลังเจ็บป่วยด้วยโรคชรา ซึ่งเรื้อรังมานานแล้ว และได้ถึงแก่กรรม หลวงพ่อมีจึงต้องกลับมายังบ้านเกิด เพื่อจัดงานศพโยมบิดา ที่วัดมารวิชัยและเข้าจำพรรษา ณ วัดมารวิชัย นับตั้งแต่บัดนั้น
เมื่อเข้าจำพรรษา ณ วัดมารวิชัย หลวงพ่อมียังคงเดินทางไปพำนักที่วัดบ้านพร้าวนอก เพื่อเยี่ยมเคารพและศึกษาสายวิชาจากหลวงน้า หลวงพ่อเขียนอยู่สม่ำเสมอ ตราบจนกระทั่งหลวงพ่อเขียนมรณภาพด้วยวัยของความชรา

สายวิชา
ในส่วนของสายวิชาที่องค์ท่านหลวงพ่อมีศึกษาจากพระอาจารย์หลวงพ่อเขียน นับแล้วท่านเริ่มเรียนรู้มาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ๆ ตอนติดตามคุณแม่ไปวัดบ้านพร้าวนอก การศึกษาในตอนนั้นถือเป็นการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด เพราะได้ใกล้ชิดหลวงพ่อเขียน เนื่องจากต้องหาฟืนเติมเชื้อไฟให้ร้อนกรุ่นอยู่อย่างตลอดในเวลาหล่อหลอม สายวิชาการต่าง ๆ ทุกอย่างและขั้นตอนปฏิบัติจึงตกเป็นของหลวงพ่อมี เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อมี ท่านเคยเล่าว่า ท่านนั้นไม่ได้ของดีจากอาจารย์หลวงพ่อเขียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ ?สังขวานร? เพราะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวอาจารย์ท่าน ซึ่งหลวงพ่อเขียนถึงแม้มรณภาพ สังขวานรก็ติดตามไปด้วยทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อเขียนเก็บใส่ตลับติดตัวเอาไว้เป็นอย่างดี พอท่านสิ้นลมได้นำเอาตลับที่บรรจุสังขวานรตลับนั้นมาเปิดออกดู ปรากฏว่าสังขวานรได้อันตรธานหายไปได้เองอย่างน่าอัศจรรย์
อนึ่ง สังขวานร คือแร่ชนิดหนึ่งซึ่งเราเรียกว่า ?เขี้ยวหนุมาน? หลวงพ่อเขียนทำสำเร็จด้วยความยากลำบากเพราะต้องใช้เวลามาก เริ่มต้นจากการทำตะกั่วให้เป็นเงินแล้วนำโลหะแร่อีกหลายชนิดที่ทำขึ้นมาหล่อหลอมรวมกัน ขัดด้วยว่านยา 108 ตามตำรับตำรา จนสำเร็จกลายเป็นสังขวานรก้อนเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดข้าวโพด มีสีเขียวแวววาวคล้ายสีปีกแมลงทับ
แต่ว่าสังขวานรมีสีเลื่อมพรายสวยงามกว่าปีกแมลงทับมาก ถ้านำไปทิ้งไว้ในที่มืด จะปรากฏลำแสงสว่างคล้ายรุ้งพวยพุ่งขึ้นให้รู้ว่าไปตกอยู่ ณ ที่แห่งใด
หลวงพ่อเขียนเคยทดลองคุณวิเศษ ของสังขวานรให้หลวงพ่อมีชมดูหลายประการและบอกให้ท่านฟังว่า ?สังขวานรมีคุณดุดเหล็กไหล? ถ้าผู้ใดได้พกติดตัวเป็นมหาอุด และมีความอยู่ยงคงกระพันชาตรีสูง บุกน้ำลุยไฟได้ทั้งนั้น? นับว่า สังขวานร เป็นสุดยอดแห่งของขลังที่หาได้ยากโดยแท้

เล่นแร่แปรธาตุ ผ้าจะขาดไม่รู้ตัว
แม้ว่าหลวงพ่อมีจะเห็นกรรมวิธีการหล่อหลอมเล่นแร่แปรธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด แต่ใจจริงแล้วท่านไม่ค่อยชอบทางด้านนี้เท่าใดนัก เนื่องจากทำให้เนื้อตัวสกปรกดำไปหมดทั้งตัวในเวลาทำการหล่อหลอมแล้ว หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระอาจารย์องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของหลวงพ่อมี เคยกล่าวเปรย ๆ เป็นทำนองเตือนสติให้ท่านรู้ว่า
?ระวังการเล่นแร่แปรธาตุ ผ้าจะขาดไม่รู้ตัว?
นับเป็นคำเตือนที่มีค่ายิ่ง เพราะถ้าในสมัยนี้ ผู้ใดคิดเล่นแร่แปรธาตุหวังร่ำรวยทางลัด ด้วยการทำตะกั่วให้กลายเป็นทองคำ กว่าจะทำได้คงต้องลงทุนจนหมดตัว ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะทำตะกั่วกลายเป็นเงิน แล้วทำเงินให้กลายจนเป็นทองคำได้อีกหรือไม่ เรียกว่า กว่าจะสำนึกตัวผ้าอาจขาดจนไม่มีติดกายก็เป็นได้ เล่นแร่แปรธาตุชั้นสูง สามารถทำให้ตะกั่วกลายเป็นเงิน เงินกลายเป็นทองคำได้
ในภายหลังที่หลวงพ่อมีไปศึกษาอสุภกรรมฐานกับหลวงพ่อปานแล้ว ท่านพิจารณาเห็นว่า วิชาเล่นแร่แปรธาตุ ไม่ใช่หนทางหลุดพ้นจากสงสารวัฏแห่งการเวียนว่าย ตาย เกิด หลวงพ่อมีจึงตัดใจไม่เรียนวิชาทำตะกั่วให้เป็นทองคำต่อจากหลวงพ่อเขียน ดังนั้นหลวงพ่อมีจึงเรียนรู้แต่วิธีทำตะกั่วให้เป็นทองคำมาเพียงผิวเผินเท่านั้น โดยไม่เคยทดลองทำจริง ๆ มาก่อนเลย ส่วนกรรมวิธีการทำเมฆพัดนั้น หลวงพ่อมีเคยทดลองทำมากับหลวงพ่อเขียน จนมีความเชี่ยวชาญมาแล้วในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งหลวงพ่อมีกรุณาเปิดเผยสูตรทำเมฆพัดให้ทราบว่า
การทำเมฆพัดประกอบด้วย เงิน ทองแดง ตะกั่ว ปรอท กำมะถันเหลือง และว่านยา 108 ชนิด มีว่านทองคำ เป็นอาทิ โดยมีส่วนของน้ำหนักพิกัดสิ่งละไม่เท่ากันตามตำรา นำมาหล่อหลอมรวมกันแล้วซัดด้วยกำมะถันเหลืองและว่านยาอยู่ตลอดเวลาตามกรรมวิธีอันแยบยลตามลำดับ จนกระทั่งเนื้อเมฆพัดหลอมจนเหลวได้ที่ดีแล้ว จะสำเร็จเป็น ?กายสิทธิ์?
หลวงพ่อเขียน บอกว่า เมฆพัดจะมีฤทธิ์เดชในตัวเองสามารถป้องกัน ภูตผีปีศาจ เป็นคลาดแคล้วคงกระพัน บันดาลความร่มเย็นเป็นสุขให้คุณแด่ผู้เป็นเจ้าของยิ่งนัก หลวงพ่อมี เคยกล่าวยืนยันว่า วิชาทำตะกั่ว จนกลายเป็นทองคำนี้ หลวงพ่อเขียนท่านทำได้จริงเมื่อท่านสามารถพิสูจน์จนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ท่านก็เลิกเล่น และไม่ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ผู้ใดอีก
ชะรอยหลวงพ่อเขียนท่านคงจะเห็นโทษจากการหมกมุ่นในการแปรธาตุ ซึ่งเป็นความละโมบผิดธรรมชาติ ดังนั้นในบั้นปลายของชีวิต หลวงพ่อเขียนท่านมุ่งบำเพ็ญภาวนา แสวงหาความหลุดพ้นจนถึงแก่กาลมรณภาพโดยสงบในที่สุด

ทำแตงหนูเป็นทองแดง
ท่านผู้อ่านคงรู้จัก ลูกแตงหนู ดีนะครับเป็นพืชจำพวกเถาเลื้อยไปตามดินเถาและใบแตงหนูเป็นขนคล้ายต้นขี้กาขาว มีผลเหมือนแตงไทยที่เราเอามาใส่กะทิน้ำแข็งกินเป็นของหวานนั่นแหละ แต่ลูกแตงหนูเล็กกว่าลูกแตงไทยมาก คือมีขนาดโตแค่หัวแม่มือเท่านั้น บรรดาแพทย์แผนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพร กล่าวกันว่า ใช้แก้ไข้ได้วิเศษนัก
หลวงพ่อเขียน นอกจากจะปลูกต้นแตงหนูไว้ทำยาแล้ว ท่านยังเอาลูกแตงหนูกับน้ำประสานทองมาสุมไฟจนกลายเป็นโลหะทองแดงได้อีกด้วย วิชาการเล่นแร่แปรธาตุดังกล่าว นับวันจะสูญหายไปแล้ว เนื่องจากต้นทุนในการหล่อหลอมสูงกว่าแร่โลหะแท้ ๆ ที่จะทำไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นการทำทองแดง ต้องหาลูกแตงหนูมาเต็มเบ้า ซึ่งยังหาง่ายไม่แพงเท่าน้ำประสานทอง ซ้ำยังต้องหล่อหลอมอีก 500 ครั้ง จึงจะได้ทองแดงก้อนเล็ก ๆ แค่ปลายนิ้วก้อยเท่านั้น นับมีต้นทุนการผลิตที่สูงมากทีเดียวถ้าทำมาขายไม่คุ้มกันแน่
แต่พระโบราณจารย์ท่านไม่ได้คิดเช่นนั้น กล่าวคือทองแดงที่ได้จากการเปลี่ยนแปรธาตุเมื่อทำสำเร็จ ถ้านำมาปลุกเสกตามตำรา จะกลายเป็นของกายสิทธิ์ ถึงขั้นสามารถป้องกันศาสตราวุธได้ทุกชนิด ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่า พระเครื่องรางเก่า ๆ ของพระอาจารย์หลายสำนักที่สร้างขึ้นจากตำราเล่นแร่แปรธาตุโดยนำโลหะธาตุต่าง ๆ ที่ทำขึ้นมาสร้างเป็นพระเครื่องจึงมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันสูงส่ง
เป็นที่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเขียน ไม่เคยสร้างอิทธิมงคลใด ๆ ไว้เลย ชื่อเสียงในวงการพระเครื่องจึงไม่มีใครรู้จัก แต่ก็ยังโชคดีที่ท่านมิศิษย์ผู้สืบทอดพระเวทวิทยาคมอยู่องค์หนึ่ง คือ หลวงพ่อมี เขมธัมโม พระเถราจารย์จอมขมังเวทแห่งวัดมารวิชัย ซึ่งเป็นทั้งศิษย์และหลานแท้ ๆ ของหลวงพ่อเขียน พระอาจารย์ผู้เรืองวิชาแห่งวัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี

รูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียน
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในสมัยที่หลวงพ่อเขียนยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยสร้างอิทธิมงคลใด ๆ ขึ้นเลย แต่เมื่อท่านถึงแก่กาลมารณภาพแล้วได้ 1 ปี หลวงพ่อมีสร้างรูปหลวงพ่อเขียนอัดกระจก ขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกบรรดาญาติโยมและชาวบ้านทั้งหลายที่มีความเคารพนับถือหลวงพ่อเขียน โดยสร้างพระรูปหล่อจำลองเกือบเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ที่มณฑปวัดบ้านพร้าวนอกในปัจจุบัน
?รูปหลวงพ่อเขียนที่วัดมีไม่ได้เลย ถ้าชาวบ้านเห็นแล้ว ต้องขอกันไปหมด ถ้าไม่ให้ก็ปลดเอาไปบูชาที่บ้านเสียเฉย ๆ ที่วัดก็เลยไม่มีรูปของหลวงพ่อเขียนหลงเหลืออยู่เลยแม้แต่เพียงรูปเดียว?
จากศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อภาพถ่าย หลวงพ่อเขียนดังกล่าว ย่อมแสดงออกถึงความเคารพนับถือที่มีต่อท่านสูงส่งเพียงใด นับว่าหลวงพ่อเขียนเป็นพระอาจารย์อันควรแก่การเคารพกราบไหว้โดยแท้! จึงเป็นที่น่าเสียดายจริง ๆ หลวงพ่อเขียนวัดบ้านพร้าว นอกจากไม่ได้สร้างอิทธิมงคลใด ๆ ไว้เป็นอนุสรณ์แก่สานุศิษย์ มิเช่นนั้นหลวงพ่อเขียนต้องเป็นพระอาจารย์ที่ขึ้นชื่อลือชาอยู่ในแนวหน้าองค์หนึ่งของจังหวัดปทุมธานีอย่างแน่นอน แต่ก็นับว่า พวกเรายังโชคดีที่วิทยาเวทและสายเคล็ดลับของหลวงพ่อเขียน ยังมีผู้สืบทอดซึ่งเป็นหลานแท้ ๆ ของท่าน หลวงพ่อมี เขมธัมโม พระเถราจารย์สุดขมังเวท แห่งวัดมารวิชัย ผู้สร้างรูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียน จนได้รับความนิยมจากชาวบ้านพร้าวและเป็นผู้สร้างพระเครื่องสูตรเมฆพัด (พระสังกัจจายน์ และพระปิดตา) ตามตำรับหลวงพ่อเขียนทุกประการ
ด้วยอำนาจแห่งบารมีหลวงพ่อเขียน รวมทั้งหลวงพ่อมีผู้ปลุกเสกและลงอักขระด้านหลังภาพอัดกระจกทั้งหมด ทำให้ผู้รับรูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียนไปแล้ว ต่างพบประสบการณ์มากมายในทางคงกระพันแคล้วคลาดและมีเด็กห้อยคอแล้วตกน้ำไม่จมจนเป็นที่เลื่องลือ
ปัจจุบัน หาชมรูปอัดกระจกหลวงพ่อเขียนซึ่งหลวงพ่อมีเป็นผู้สร้างขึ้นได้ยาก เพราะมีอายุการสร้างมานานร่วม 50 ปี และที่ชาวบ้านพร้าวมีอยู่ก็หวงแหน เนื่องจากเป็นรูปหลวงพ่อเขียนที่ชาวบ้านพร้าวทั้งหลาย ให้ความเคารพนับถือและมีประสบการณ์มาแล้วอย่างกว้างขวางนั่นเอง

 เรียนวิชากับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ในปี พ.ศ. 2470 ขณะนั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค เลื่องลือไปทั่วประเทศ ประชาชนทั้งใกล้และไกลให้ความศรัทธาแห่กันมาให้หลวงพ่อปานรักษาโรคเนืองแน่นทุกวัน รวมทั้งชาวบ้านวัดมารวิชัย ซึ่งอยู่ตำบลเดียวกับวัดบางนมโค มีระยะทางห่างกันไม่ไกลเท่าใดนัก เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็พากันมาให้หลวงพ่อปานช่วยบำบัดรักษาเช่นกัน
ดังนั้นครอบครัวโยมบิดา มารดาของหลวงพ่อมีจึงคุ้นเคยกับหลวงพ่อปานพอสมควร รวมทั้งหลวงพ่อมีครั้งยังเป็นเด็กวัดมารวิชัยก็เคยรับใช้หลวงพ่อปานมาแล้วในสมัยที่ท่านมาสร้างศาลาการเปรียญที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมีจึงให้ความเคารพหลวงพ่อปานเป็นอย่างสูง เนื่องจากรู้จักกิตติคุณความเก่งกล้าของท่านเป็นอย่างดีมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย และเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ 1 พรรษา ก็มาปวารณาตัวเป็นศิษย์คอยรับใช้หลวงพ่อปานที่วัดบางนมโค เมื่อต้นปี พ.ศ. 2476
ในวันแรกที่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดบางนมโค ได้พำนักที่กุฏิของหลวงพ่อปาน ซึ่งใช้เป็นสถานที่รักษาโรคและให้บรรดาคนไข้และแขกเหลื่อมาค้างแรม หลวงพ่อมี จึงมีโอกาสเห็นหลวงพ่อปาน ทำการรักษาคนไข้อย่างใกล้ชิดด้วยน้ำมนต์บ้าง ด้วยยาสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่าย เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น แต่ก็มีสรรพคุณสูงสามารถใช้รักษาโรคร้ายและไข้ต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ถูกคุณไสยถูกเขากระทำย่ำยีมา หรือถูกผีเข้าเจ้าสิง กระดูกแตกหักต่าง ๆ หลวงพ่อปานสามารถรักษาให้หายได้ทั้งนั้นอย่างน่าอัศจรรย์
?ผู้ที่ได้บวชเรียนแล้ว อย่าให้ตกเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อย่าเกาะโลกธรรม 8 อันเป็นเรื่องทางโลก คือ...อิฏฐารมณ์ ความพึงพอใจในลาภยศ สุข และสรรเสริญและความไม่พึงพอใจในอนิฏฐารมยณ์...คือการขาดลาภ ขาดยศ มีทุกข์ และการนินทา...?
?เมื่อเป็นพระอย่าหวังร่ำรวย ปัจจัยที่ได้มาจงนำมาเป็นสาธารณประโยชน์แก่ศาสนาและประชาชนให้หมด...อย่าหวังลาภ ยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าเมาในยศถาบรรดาศักดิ์...เรื่องของลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นตัวกิเลส ต้องตัดออกให้หมด เราเป็นพระภิกษุสงฆ์รวยด้วยบุญญาบารมี เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าการบวชนี้ เพื่อหวังนิพพานเท่านั้น?
โอวาทของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อมีกล่าวว่ายังจำขึ้นใจถึงปัจจุบันและระลึกอยู่เสมอ ปฏิบัติอยู่เสมอ

เมื่อหลวงพ่อปาน พิจารณาลักษณะอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของหลวงพ่อมี นึกรักขึ้น จึงรับปากจะถ่ายทอดวิชาให้ โดยให้ฝึกอสุภกรรมฐานก่อน เพื่อเป็นการสร้างอำนาจจิตของตัวเองให้กล้าแข็ง
อสุภ แปลว่าไม่สวยไม่งาม ซากศพ
กรรมฐาน แปลว่าการชนะใจด้วยความสงบ
อสุภกรรมฐาน จึงรวม ๆ ความได้ว่า ฝึกจิตใจที่ยึดเอาเจ้าสิ่งที่ไม่สวยงาม มาเป็นหลักในการพิจารณาอารมณ์แห่งจิต
มองกันอย่างธรรมชาติ พอมองกันออกว่ามองไปนาน ๆ แล้วปลงอย่างไรสภาพของซากศพนั้น คงคิดรูปร่างกันได้ เป็นการเริ่มต้นที่ฉลาดและแน่นอนมั่นคง เมื่อพิจารณาเป็นหลักโดยไม่หนักไปทางเพ่งในระยะแรก เมื่อพิจารณาซากศพที่เสียชีวิต จากความรู้สึกที่แท้จริง แล้วโน้มความรู้สึกนั้น ๆ เข้าไปเปรียบเทียบกับตัวของเราเอง อธิบายเพิ่มขึ้นสักนิด เมื่อเราพิจารณามองศพที่น่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน มองนาน ๆ จะเกิดสังเวชขึ้นในจิตใจ จะเริ่มหนักขึ้น มองเห็นอะไรมากขึ้น ทราบถึงกับปลงในร่างกายของคนเรานั้นไม่มีอะไรเลย สังขารเปื่อยเน่าหมดสิ้นก็สิ้นกัน เพียงแค่นั้น ทุกอย่างที่เกิดเป็นอารมณ์สร้างให้จิตใจสงบแน่นิ่งเป็นพลังพุ่งเข้าสู่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้โดยง่าย ดั่งคำของหลวงพ่อปานที่กล่าวไว้ว่า

?เมื่อปฏิบัติอสุภกรรมฐานจนมีความชำนาญแล้ว ย่อมเป็นของง่ายในการวิปัสสนาญาณ และจนลุล่วงสำเร็จไปด้วยดี?

 เรียนวิชากับหลวงพ่อจง
เมื่อสิ้นหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคไปแล้ว ศิษย์ของท่านทุกองค์รวมทั้งหลวงพ่อมี ต่างมุ่งตรงไปศึกษาหาความรู้ต่อกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เพราะก่อนที่หลวงพ่อปานท่านจะมรณภาพ ท่านได้บอกบรรดาศิษย์ของท่านให้ไปหาหลวงพ่อจง ซึ่งท่านว่าเป็น ?พระทองคำทั้งองค์? ความจริงหลวงพ่อมี ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจงมาก่อนหน้านั้นแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 โดยไปขึ้นกรรมฐานกับท่าน และเมื่อออกพรรษาทุกปีก่อนที่หลวงพ่อมีจะออกธุดงค์ท่านต้องไปให้หลวงพ่อจงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อนทุกครั้งไป
ดังนั้น เมื่อหลวงพ่อมีออกรุกขมูลคราวใด ท่านจึงไม่เคยได้รับอันตรายใด ๆ จากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่มีอยู่มากภายในป่าดงดิบทุกแห่งหนที่หลวงพ่อมีเดินธุดงค์ไปถึง เรียกว่า รอดพ้นปลอดภัยกลับถึงวัดมารวิชัยโดยสวัสดิภาพทุกคราวไป หลวงพ่อมีจึงมีความเคารพนับถือหลวงพ่อจงมาก นอกจากท่านจะมีปฏิปทางดงามแล้ว ท่านยังเคยแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ความมีวิทยาคมขลังให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของหลวงพ่อมีอยู่เสมอ เนื่องจากท่านมีวาสนาบารมีผูกกันฉันศิษย์กับอาจารย์มากนั่นเอง
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2481 หลวงพ่อมีจึงมาฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อจงอย่างจริงจัง โดยขอเล่าเรียนวิชาทำตะกรุดกับท่านก่อนตามที่เคยตั้งใจไว้ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาส ในสมัยเป็นฆราวาส หลวงพ่อมีท่านเคยเห็นคนมาลองของกับหลวงพ่อจงด้วยการเอาตะกรุดให้ท่านเป่า แล้วไปลองยิง ปรากฏว่าปืนขัดลำกล้อง แต่เมื่อหันปากกระบอกปืนไปทางอื่น เสียงปืนก็ลั่นเปรี้ยงทันที
เมื่อหลวงพ่อมีประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ในตะกรุดที่หลวงพ่อจงเป่าด้วยสายตาตนเอง เช่นนี้ จึงตั้งใจไว้ว่าเมื่อบวชเรียน จะมาขอวิชาจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อจงท่านสอนวิธีลง นะหน้าทอง ให้แก่หลวงพ่อมีและบอกให้ใช้นะหน้าทองตัวนี้ลงแผ่นโลหะทำตะกรุดเมตตา หลวงพ่อมีจึงถามหลวงพ่อจงขึ้นว่า เมื่อถึงเมตตามหานิยมทำไมถึงยิงไม่ออก หลวงพ่อจงเปิดเผยเคล็ดลับในการใช้วิทยาคมโดยไม่ปิดบังอำพรางแก่หลวงพ่อมี ว่าลงทางเมตตาก็จริง แต่เวลาปลุกเสก เริ่มต้นว่าอย่างไร ให้ลงท้ายว่าอย่างนั้นเป็นมหาอุด เพราะยันต์นะหน้าทองมีความศักดิ์สิทธิ์ใช้ได้สารพัด ข้อสำคัญต้องสร้างสมาธิจิตของตนเองให้แก่กล้า จึงจะใช้ได้สารพัดตามใจนึก
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มสมาธิจิตให้กล้าแข็งอันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเล่าเรียนพระเวท หลวงพ่อจงท่านจึงถ่ายทอดวิธีปฏิบัติการเพ่ง เตโชกสิณ แก่หลวงพ่อมี พร้อม ๆ กับการสอนสูตรการลง นะหน้าทอง หลวงพ่อมี ผู้สำเร็จอสุภกรรมฐานกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แล้วยังมาได้วิชากสิณไฟจากหลวงพ่อจง อันเป็นกรรมฐานเกี่ยวกับการสร้างพลังจิตทั้งสิ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า
ทำไมอิทธิมงคลทุกอย่างที่ผ่านมาปลุกเสกจากหลวงพ่อมี ล้วนมีประสบการณ์เข้มขลัง เป็นที่กล่าวขานโดยทั่วไปในขณะนี้ !
หลวงพ่อมีได้ศึกษากรรมฐานและวิทยาคมต่าง ๆ มากับหลวงพ่อจงเป็นเวลานานเกือบ 30 ปี ท่านได้เดินทางไป ๆ มา ๆ ระหว่างวัดหน้าต่างนอก และวัดมารวิชัยอยู่เสมอ ๆ ทั้งยังได้ร่วมงานกับหลวงพ่อจงอย่างใกล้ชิดอยู่บ่อยครั้ง และได้ปฏิบัติดูแลหลวงพ่อจง ตราบจนท่านสิ้นลมหายใจ

หลวงพ่อจงมรณภาพ
หลวงพ่อมีเล่าเหตุการณ์แห่งวาระสุดท้ายในคราวที่หลวงพ่อจงมรณภาพให้ฟังว่า หลวงพ่อจงท่านเป็นพระที่มีสุขภาพดี ไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยมาก่อนเลย นอกจากจะเป็นไข้หวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ที่ท่านมีสุขภาพดีเพราะว่าในตอนเช้ามืด ท่านจะตื่นขึ้นทำวัตรสวดมนต์ เสร็จแล้วก็คว้าไม้กวาดปัดกวาดไปทั่วบริเวณวัด ได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน สุขภาพของท่านจึงแข็งแรง มีความกระฉับกระเฉงเดินเหินคล่องแคล่วว่องไว แม้แต่พระหนุ่ม ๆ ก็ยังเดินเร็วสู้ท่านไม่ได้
ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ประมาณ 1 เดือน ท่านเกิดหกล้มในห้องน้ำ จึงเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย เพราะแก่มากแล้ว มีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น เวลาพูดก็มีเสียงแหบ ๆ ฟังไม่ค่อยชัด พอมีพระไปเยี่ยมท่านก็จะให้สวดมนต์ให้ท่านฟัง ท่านจะนอนยิ้มฟังพระสวดเป็นการระงับทุกขเวทนาทั้งหลาย โดยไม่เคยร้องหรือบ่นอะไรให้ใครได้ยินเลยแม้แต่เพียงคำเดียว นอกจากท่านจะส่ายหน้าไปมาแล้วพูดว่า ?คราวนี้เขาเอาเราอยู่แน่แล้ว? เพียงแค่นี้เท่านั้น
ในขณะที่ท่านป่วย ท่านก็ยังนั่งรับแขกอยู่จนดึกจนดื่น ไม่ว่าใครจะขอร้องท่านให้พักผ่อนด้วยความเป็นห่วง แต่ท่านก็ไม่ยอกพักกลับพูดว่า ?เขาอยู่ได้ เราก็อยู่ได้? ดูกำลังใจของท่านซิ ดีแค่ไหน
วันที่ท่านจะเสียก็ยังนั่งรับแขกอยู่ดี ๆ ตามปกติ วันนั้นฉันสังเกตเห็นอาการของท่านรู้สึกทุเลาขึ้นมาก ต้อนรับแขกด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่เหมือนกับทุก ๆ วันที่ผ่านมา ฉันเห็นแล้วเกิดสังหรณ์ใจ มันผิดปกติ...เพราะว่าคนเราก็เหมือนกับตะเกียง หรือดวงเทียนที่กำลังจะดับ มันจะสว่างวูบขึ้นอีกครั้งก่อนจะดับ ฉันจึงไม่กลับวัด เฝ้าดูท่านอยู่ถึงเย็นก็ได้เรื่องจริง ๆ
หลวงพ่อจงท่านบอกขอตัวกับแขกว่า จะนอน...ฉันเห็นแล้ว ท่านคงจะไม่ไหวจริง ๆ เพราะตามธรรมดา ท่านไม่เคยออกปากขอตัวกับแขกเลยแม้แต่เพียงครั้งเดียว พอฉันเห็นท่านนอนเข้าสมาธิเท่านั้น ก็แน่ใจทันที รีบหาธูปเทียนจุดบูชาพระรัตนตรัย ท่านก็นอนหลับตาเข้าฌานเฉยอยู่อย่างนั้น...ฉันก็บอกให้ทุก ๆ คนรู้และให้เงียบ ๆ เข้าไว้เพราะท่านยังไม่ได้ละสังขารยังอยู่ในฌาน
คืนนั้นทั้งพระและฆราวาสผลัดกันนั่งเฝ้าหลวงพ่อจงจนดึก ก็มีพระที่วัด 2-3 องค์เท่าที่จำได้ก็มี หลวงพ่อครุฑ องค์นี้ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกต่อจาก หลวงพ่อไวทย์ แล้วก็มีพระเพ็ง... พระมหาแสวง วัดสีคต เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นวัดสันติการามอยู่เยื้อง ๆ วัดน้ำเต้านั่นแหละ และก็ฉันรวม 4 องค์ แต่ฆราวาสมีมาก พอชาวบ้านรู้ข่าวเข้าเท่านั้นแห่กันมาเฝ้าดูอาการของหลวงพ่อจงด้วยความเป็นห่วงเต็มกุฏิไปหมด
เวลาประมาณตีหนึ่งกว่า ๆ ของวันที่เท่าไหร่ฉันจำไม่ได้ แต่จำได้ว่าเป็นคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันมาฆะบูชาพอดี...(ผู้เขียนเทียบปฏิทินร้อยปีดูแล้วตรงกับวันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ตรงตามบันทึกวันมรณภาพของทางวัด ซึ่งแสดงถึงความทรงจำของหลวงพ่อมียังดีเลิศจริง)... หลวงพ่อจงก็หมดลมละสังขารด้วยความสงบ โดยไม่มีอาการทุรนทุรายใด ๆ ทั้งสิ้นแต่น้อยเลย เพราะท่านมรณภาพในฌาน
ฉันกับพระมหาแสวงนั่งสมาธิตามดูท่าน เห็นแต่ลูกไฟดวงใหญ่มีแสงสีเหลืองนวลสว่างไสวลอยออกจากศีรษะของหลวงพ่อจงหายขึ้นไปอย่างรวดเร็ว... ดูตามท่านไม่ทันจริง ๆ สักพักหนึ่งก็ได้ยินเสียงเอะอะไปทั่วกุฏิ เพราะพระและฆราวาสทุกคนที่นั่งอยู่ที่นั่น ต่างก็เห็นดวงไฟลอยออกจากร่างหลวงพ่อจงด้วยตาเปล่าเหมือนกันหมด แม้แต่ชาวบ้านทุก ๆ คนที่นั่งอยู่นอกกุฏิก็ยังเห็นลูกไฟดวงใหญ่พุ่งออกมาจากกุฏิหายขึ้นไปบนท้องฟ้า เป็นที่น่าอัศจรรย์จริง ๆ เหมือนกับว่าท่านจะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้คนเห็นครั้งสุดท้ายเป็นการอำลาอย่างนั้นแหละ
พอชาวบ้านรู้ว่าหลวงพ่อจงท่านละสังขารแล้วเท่านั้น ก็พากันร้องไห้ระงม ฮือออกันเข้าไปยื้อแย่งฉีกจีวรกันใหญ่ พอตอนเช้าก็มีคนแห่กันมาอีกฉีกจีวรจนต้องเปลี่ยนใหม่ไม่รู้กี่ชุดต่อกี่ชุด แม้แต่สายสิญจน์ที่โยงจากศพยังแย่งกัน บางคนเอาขมิ้นทามือ ทาเท้า พิมพ์ลงผ้ากันจนมือเท้าของหลวงพ่อเหลืองไปหมด บางคนถอนเล็บออกจากนิ้วมือนิ้วเท้า ยังมีเลือดแดง ๆ ติดอยู่เลย มีอยู่รายหนึ่งถึงกับตัดนิ้วมือของท่านไป ปัจจุบันยังใช้ติดตัวอยู่ ก็คนพื้นที่นั่นแหละ ไปถามคนที่นั่นรู้จักชื่อกันทั้งนั้น ดูความศรัทธาที่พวกเขามีต่อท่านซิ แม้แต่ตายแล้วสังขารก็ยังถูกรบกวนไม่มีที่สิ้นสุดสมกับที่ท่านเคยบอกให้ฉันฟังว่า...?ฉันเกิดมาเพื่อใช้หนี้ชาวบ้านเขา?...จริง ๆ
หลวงพ่อจงถึงแก่กาลมรณภาพในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2508 เวลา 01.55 น. รวมสิริอายุ 93 ปี

หลวงพ่อมีออกธุดงค์ครั้งแรก
ขอย้อนกลับมากล่าวถึงในสมัยที่หลวงพ่อมีเพิ่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุใหม่ ๆ ท่านได้ติดตาม หลวงพ่อเขียน ไปอยู่วัดบ้านพร้าวนอกปทุมธานี ได้เพียง 1 พรรษา ในปลายปี พ.ศ. 2475 นั้น โยมบิดาก็ถึงแก่กรรมท่านจึงต้องกลับมาจัดงานศพที่วัดมารวิชัย อันเป็นบ้านเดิม หลังจากทำการฌาปนกิจศพโยมบิดาเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อมีก็หนีโยมมารดาออกธุดงค์ อันเป็นการเริ่มต้นของการถือธุดงควัตร ครั้งแรกของหลวงพ่อมี
สาเหตุที่หลวงพ่อมีต้องหนีโยมมารดาออกธุดงค์ก็เพราะว่า เมื่อสิ้นโยมบิดาแล้ว โยมมารดาก็ไม่มีผู้ช่วยทำไร่ไถนา จึงมาขอร้องให้ท่านสึก แต่ใจจริงของหลวงพ่อมีนั้น รักที่จะอยู่ในสมณะเพศมากกว่า ประกอบกับคำพูดของโยมบิดาที่เคยสั่งเสียไว้ในขณะป่วยหนักก่อนถึงแก่กรรมว่า
?พ่อไม่มีบุญได้บวชเรียน ขอให้บวชเพื่อพ่อต่อไปนาน ๆ นะ?
จากคำพูดกึ่งขอร้องของโยมบิดา ที่เพิ่งถึงแก่กรรมไปหยก ๆ นั่นเอง จึงเป็นสาเหตุให้หลวงพ่อมี คิดอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่นาน ๆ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่โยมบิดาให้มากและนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แต่ถ้ายังขืนจำพรรษาอยู่ที่วัดมารวิชัยต่อไป คงจะทนต่อคำอ้อนวอนของโยมมารดาให้ลาสิกขาไม่ได้แน่นอน เมื่อหลวงพ่อมี คิดได้ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจหนีโยมมารดาติดตามหลวงตาปลั่งซึ่งเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาอีกรูปหนึ่งของวัดมารวิชัย ออกธุดงค์ไปกราบไหว้พระพุทธบาท และพระพุทธฉาย ยังจังหวัดสระบุรี ในต้นปี พ.ศ. 2476
การออกธุดงค์ครั้งนั้น มีหลวงพ่อมี พร้อมพระภิกษุอีก 5 องค์ รวมทั้งหลวงพ่อเรืองผู้เป็นพระอาจารย์นำทาง รวมทั้งหมด 7 องค์ด้วยกัน ได้ออกเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่าไปยังจังหวัดสระบุรีทันที หลังจากออกพรรษาและรับกฐินแล้ว เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2475 การออกธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อมีไม่พบอุปสรรคใด ๆ ทั้งไปและกลับ เนื่องจากหลวงตาปลั่งรู้จักเส้นทางเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าสภาพตลอดทางจากอยุธยาไปสระบุรีจะเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่าชุกชุมก็ตาม แต่หลวงตาปลั่งเคยเดินธุดงค์ไปบ่อยครั้งจนมีความชำนาญทางมาก สามารถกล่าวได้ว่า รู้กระทั่งสถานที่มีสัตว์ร้ายและแหล่งที่มีไข้ป่าชุกกันเลยทีเดียว คณะธุดงค์จึงมาปักกลดเพื่อกราบไหว้รอยพระพุทธบาทอยู่ ณ เชิงเขาสุวรรณบรรพต

ตำนานพระพุทธบาท
เคยได้ยินตำนานเล่าสืบ ๆ กันมาว่า รอยพระพุทธบาทที่สระบุรีนี้ ?พรานบุญ? เป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อปี พ.ศ. 2167 ในรัชสมัย พระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ
พรานบุญได้ติดตามกวางที่ตนเองยิงบาดเจ็บหนีหายเข้าไปในพุ่มไม้ แต่พอวิ่งกลับออกมาปรากฏว่า ตัวกวางไม่มีบาดแผลใด ๆ เลย เป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงติดตามเข้าไปดูก็พบเห็นรอยพระพุทธบาทนี้เป็นรอยลึกเข้าไปอยู่ในเนื้อหินเหมือนรอยเท้ามนุษย์ แต่มีขนาดกว้างและใหญ่กว่ามาก คือมีส่วนกว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11 นิ้ว และมีน้ำขังอยู่เต็ม พรานบุญเห็นดังนั้นจึงวักน้ำนั้นมาล้างหน้าและล้างมือ ปรากฏการณ์อันมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้น ร่างกายพรานบุญซึ่งเป็นโรคเรื้อนทั้งตัวก็หายจนหมดสิ้น
ปัจจุบันมีการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นเหนือรอยจริง แล้วสร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐานไว้อย่างสวยงาม สำหรับเป็นที่เคารพสักการะของชนทั่วไป แล้วจัดให้มีงานเทศกาลไหว้พระพุทธบาทใน กลางเดือน 3 ถึง กลางเดือน 4 ระหว่างตรุษจีน ทุกปีเป็นเวลาถึง 1 เดือน นับว่าเป็นงานใหญ่ที่มีพระภิกษุสามเณรและชาวพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางไปกราบไหว้กันมาก เพราะมีความเชื่อถือกันมาช้านานแล้วว่า ?ได้ไหว้พระพุทธบาท สระบุรี 7 ครั้ง ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์?
ส่วน พระพุทธฉาย ก็นับเป็นปูชนียะสถานสำคัญอันควรแก่การเคารพสักการะอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีตำนานเล่าสืบ ๆ กันมาช้านานว่า พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมายังที่แห่งนี้ แล้วแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นิมิตกายของพระองค์ติดไว้ที่หน้าผาเพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยแลเห็นเป็นเงาสีแดง ของขอบรอบนอกเหมือนองค์พระพุทธรูปสูงประมาณ 5 เมตร ปัจจุบันได้สร้างวัดพระพุทธฉายขึ้นบริเวณเชิงเขาและมีบันไดทางขึ้นไปสู่หน้าผาพระพุทธฉาย พุทธศาสนิกชนจึงไปกราบไหว้กันซึ่งมีงานเทศกาล กลางเดือน 3 ถึงกลางเดือน 4 เช่นเดียวกับพระพุทธบาท

ความกตัญญูเป็นเลิศ
ในการออกธุดงค์ครั้งแรกของหลวงพ่อมีนี้ แทนที่จิตใจของท่านจะบังเกิดความสงบต่อความสงัดงดงามของธรรมชาติภายในป่าเขาลำเนาไพร แต่ดวงจิตของท่านกลับร้อนรุ่มวุ่นวาย หาความสงบสบาย ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากท่านมีความเป็นห่วงเป็นใยในโยมมารดาของท่านเป็นอย่างมาก เกรงว่าเมื่อหนีท่านมาอย่างนี้แล้วจะไม่มีผู้ช่วยเหลือโยมมารดาทำไร่ไถนา แต่ถ้าจะกลับไปท่านต้องขอร้องให้สึก ไปช่วยทำนาอย่างแน่นอน แล้วการที่ตนจะบวชอุทิศส่วนกุศลไปให้กับโยมบิดาที่เพิ่งถึงแก่กรรมไปนาน ๆ คงจะไม่สมกับความตั้งใจเป็นแน่












เมื่อยิ่งคิดก็ยิ่งมีแต่ความสับสนวุ่นวายใจ เรียกว่าตลอดเวลา 2 เดือนเศษ ที่ออกธุดงค์มานั้นหาความสุขใจไม่ได้เลยแม้แต่เพียงวันเดียว แต่พอได้จากโยมมารดามานานจึงทำให้คิดขึ้นมาได้ว่า ควรจะกลับไปช่วยโยมที่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยท่านทำไร่ไถนาและเลี้ยงดูท่านเป็นการทดแทนพระคุณจะดีกว่า แม้ว่าท่านจะให้ลาสิกขาก็ยอม
ดังนั้นหลวงพ่อมีจึงตัดสินใจบอกความจำเป็นกับหลวงตาปลั่ง และพระภิกษุที่ร่วมธุดงค์ไปด้วยกัน ซึ่งทุกท่านก็มีความเห็นใจจึงพร้อมใจกันถอนกลด เดินทางกลับสู่วัดมารวิชัยในเช้าวันรุ่งขึ้น

ดีใจสุดชีวิต
คณะธุดงค์กลับถึงวัดเมื่อปลายเดือน 3 ในปี พ.ศ. 2476 โยมมารดาของหลวงพ่อมีดีใจมากที่ท่านจะกลับมาช่วยทำงาน แต่ท่านก็มีความเข้าใจในกุศลและเจตนาของหลวงพ่อมีอย่างลึกซึ้งว่า ท่านตั้งใจอยู่ในสมณะเพศ โดยไม่ใช่บวชหนีงาน แต่เป็นการบวชอุทิศเพื่อต้องการแผ่กุศลผลบุญให้กับโยมบิดา ซึ่งหาได้ยากยิ่งที่จะมีบุตรกตัญญูเช่นหลวงพ่อมีภายในหมู่บ้านนี้ โยมมารดาจึงมีความยินดีอนุโมทนาสาธุ อนุญาตให้หลวงพ่อมีครองเพศบรรพชิตต่อไป โดยกล่าวว่า
?เมื่ออยู่ได้ ก็อยู่ไปนาน ๆ ไม่ต้องเป็นห่วงแม่ ไร่นาแม่จะทำแต่น้อยให้พอกินพอใช้เท่านั้น?
จากคำพูดเพียงสั้น ๆ ของโยมมารดา ทำให้หลวงพ่อมีบังเกิดความปิติตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งท่านบอกว่า ตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวตน ไม่เคยมีความดีใจอย่างใหญ่หลวงเท่ากับความดีใจ ครั้งกระนั้นเลย ดังนั้นหลวงพ่อมี จึงตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยด้วยตนเอง พร้อมกับไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค เพื่อศึกษาพระเวทวิทยาคม การรักษาโรค ตลอดทั้งการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนากรรมฐานอยู่ 5 ปี ซึ่งในระหว่างเข้าพรรษาก็กลับมาเข้าพรรษาที่วัดมารวิชัยตามเดิม
ส่วนเวลากลางวันก็มาช่วยหลวงพ่อปานรักษาโรคคนไข้บ้าง ติดตามท่านไปสร้างกุฏิวิหารยังวัดอื่นๆ บ้าง ช่วยสร้างเขื่อนที่หน้าวัดบางนมโคบ้าง เพราะระยะทางจากวัดบางนมโคและวัดมารวิชัยไม่ไกลเท่าใดนัก การเดินทางไปกลับก็สะดวกพอสมควร และเมื่อถึงคราวออกพรรษารับกฐินเรียบร้อยแล้ว ก็กราบลาหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อจงก่อนออกธุดงค์ทุกปี

การธุดงค์ครั้งที่ 2
ปลายปี พ.ศ. 2476 หลวงพ่อมีติดตามหลวงตาปลั่งออกธุดงค์ไปเขาวงพระจันทร์ ลพบุรี เป็นการออกธุดงค์ครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้ภายในดวงจิตของท่านไม่มีสิ่งใดต้องคอยห่วงกังวลอีกแล้ว การออกจาริกแสวงบุญ เพื่อหาความสงัดวิเวกของท่านจึงเป็นการค้นหาสัจจะธรรมอันแท้จริงของมนุษย์ เพื่อให้ดวงจิตบังเกิดมีศีล คือรู้จักการละซึ่งอาสวะแห่งกิเลสให้เบาบางลง จนบริสุทธิ์หลุดพ้นจาก วัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป อีกทั้งยังเป็นการบำเพ็ญตบะให้สมาธิจิตมีพลังกล้าแข็งแก่กล้ายิ่งขึ้น
ดังนั้น การที่จิตใจของหลวงพ่อมี ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วงกังวล ท่านจึงปฏิบัติธรรมทางจิตใจได้ผลก้าวหน้าดีอย่างเกินคาด ประกอบกับท่านสำเร็จอสุภกรรมฐานมาใหม่ ๆ ท่านจึงใช้เวลาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นขณะที่กำลังเดิน นั่งพักผ่อน หรือจำวัด ภายในกลดยามค่ำคืน หลวงพ่อมี ได้กำหนดอารมณ์ภาวนาอานาปานา นุสสติกรรมฐาน คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาวนาว่า ?พุท-โธ? อยู่ตลอดเวลา ควบคู่กับการพิจารณาขันธ์ 5 และกำหนดนิมิตเทียบเคียง แห่งซากอสุภ มาเป็นกสิณ เปรียบเทียบกับร่างกายของตนเองอยู่ทุกขณะจิต

เป็นพระอาจารย์นำธุดงค์
ในปลายปี พ.ศ. 2477 หลวงพ่อมีออกธุดงค์เป็นครั้งที่ 3 มาคราวนี้หลวงตาปลั่ง ไม่ได้เป็นผู้นำทางเพราะท่านชราภาพมาก เนื่องจากมีอายุถึง 70 ปีแล้ว หลวงพ่อมีจึงต้องเป็นอาจารย์นำคณะธุดงค์ไปยังเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรีอีกครั้ง การได้เป็นผู้นำไปธุดงค์คราวแรกของหลวงพ่อมี พระภิกษุร่วมคณะยังไม่ค่อยจะเชื่อใจท่านเท่าใดนัก เพราะมีพรรษาวัยแค่ 3 พรรษาเท่านั้น รวมพระภิกษุในคณะธุดงค์ครั้งนั้น 5 องค์ด้วยกัน
เหตุการณ์ทุกอย่างเป็นปกติ

ผจญช้างแม่ลูกอ่อน
แต่แล้วเหตุการณ์อันไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อคณะธุดงค์กำลังเข้าสู่แนวป่าทึบก็ประจันหน้าเข้ากับช้างแม่ลูกอ่อนอย่างกระชั้นชิด
ช้างซึ่งมีลูกอ่อนตามมาด้วย หยุดชะงักชูงวงขึ้นพุ่งตัวสู่พระธุดงค์ทั้ง 5 ด้วยความประสงค์ร้าย จึงทำให้พระธุดงค์ที่ร่วมคณะหลวงพ่อเผ่นหนีเข้าข้างทางด้วยความอกสั่นขวัญแขวน ส่วนหลวงพ่อมีจะเลี่ยงหลบเข้าข้างทางก็ไม่ทัน เพราะยืนใกล้ช้างมากที่สุด ท่านจึงยืนสำรวมจิต เผชิญหน้ากับช้างแม่ลูกอ่อน นิ่งอยู่อย่างนั้นประมาณ 10 นาที พลังจิตและเวทวิทยาคมที่ร่ำเรียนมาใช้ได้ผล ช้างแม่ลูกอ่อนซึ่งธรรมชาติวิสัยอันดุร้ายก็ค่อย ๆ ถอยกลับไปทางริมป่า ไม่ทำอันตรายหลวงพ่อมีที่ยืนบริกรรมพระคาถา เป็นการเปิดทางให้พระธุดงค์ไปกันก่อน แล้วจึงพาลูกน้อยค่อย ๆ เดินทางไปภายหลัง

เริ่มมีชื่อเสียงตั้งแต่พรรษา 3
พระธุดงค์ไปถึงจุดหมายปลายทาง คือ เขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรีแล้วกก็เดินธุดงค์กลับวัดมารวิชัย โดยไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นอีก เมื่อเดือน 5 ของต้นปี พ.ศ. 2478
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กิตติศัพท์การมีวิทยาคมแก่กล้าของหลวงพ่อมีที่สามารถปราบช้างแม่ลูกอ่อนให้เกรงกลัว จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อมีอุปสมบทเป็นพระภิกษุมาได้แค่ 3 พรรษาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว พอหลวงพ่อมีประกาศว่าปีนี้จะธุดงค์ไปกราบนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุที่ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ จึงมีพระภิกษุทั้งภายในวัดมารวิชัยและวัดที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งมีความเชื่อถือในวิทยาคมของหลวงพ่อมี ขอติดตามท่านไปด้วยเป็นจำนวนมากถึง 25 องค์ด้วยกัน
ก่อนที่หลวงพ่อมีจะเป็นอาจารย์นำพระภิกษุทั้งหลายออกธุดงค์ หลวงพ่อปาน ได้ถ่ายทอดวิชา ?ร่มโพธิ์? ให้ใช้คุ้มคน ตลอดทั้งพระเวทวิทยาคมและเคล็ดลับอันสำคัญในการถือรุกขมูลต่าง ๆ ภายในป่าเขาลำเนาไพร แก่หลวงพ่อมีจนหมดสิ้นความรู้ เมื่อพระธุดงค์ทั้ง 25 องค์ ได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงพ่อปาน และ หลวงพ่อจงแล้ว คณะธุดงค์ก็เริ่มออกเดินด้วยเท้าเปล่าไป จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทางเกือบพันกิโลเมตร ในปลายปี พ.ศ. 2478

พบเสือโคร่งเฝ้าศาล
คณะธุดงค์เดินทางออกจากอยุธยามุ่งตรงไปยังจังหวัดสระบุรี เมื่อนมัสการ พระพุทธฉาย แล้วก็เลยไปนมัสการพระพุทธบาท จากนั้นก็เข้าเมืองลพบุรีสู่เทือกเขาวงพระจันทร์ ที่อำเภอโคกสำโรง โดยไม่พบกับเหตุการณ์อันน่าตื่นเต้นใด ๆ ตลอดทางมาจนถึงเชิงเขาสาริกา ณ อำเภอบ้านหมี่ ชาวบ้านในละแวกนั้นเห็นพระธุดงค์พากันมาปักกลดที่เชิงเขาอยู่ที่หน้าศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณกว้างขวาง จึงมาตักเตือนพระธุดงค์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำและท่าทีที่มีความเคารพ เกรงกลัวขึ้นว่า
ม้าขาว ของเจ้าพ่อที่เฝ้าศาลนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ในตอนกลางคืนมักปรากฏตัวออกมาเดินหน้าศาลอยู่เสมอ พระธุดงค์ที่ผ่านมาปักกลดหน้าศาลนี้ต้องทิ้งกลดเผ่นหนีในกลางดึกมามากแล้ว ขนาดชาวบ้านละแวกนี้ ยังไม่กล้าออกมาเดินหลังจากที่พระอาทิตย์ตกดินแล้ว หลวงพ่อมีทราบเรื่องจึงกล่าวเตือนบรรดาพระภิกษุทั้งหลายว่า คืนนี้ต้องมีความสำรวมให้มากและต้องเจริญภาวนาพระกรรมฐานให้หนัก เพราะว่าท่านจะขอชมบารมี
ดังนั้นพระธุดงค์ทุกองค์จึงใจคอไม่ค่อยดีนัก เมื่อรู้ว่าคืนนี้จะต้องพบกับเสือโคร่งที่เฝ้าศาล จึงเข้ากลดไปนั่งสมาธิภาวนากันเงียบกริบด้วยความสำรวมตั้งแต่ยังหัวค่ำ
ตกดึกของคืนวันนั้น สภาพบริเวณศาลเจ้าเงียบสงัดปราศจากเสียงร้องของสัตว์ใด ๆ นอกจากเสียงจักจั่น เรไร และเสียงจิ้งหรีดร้อง แล้วนาน ๆ ถึงจะได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอนมาแต่ไกล ประกอบอากาศอันหนาวเย็นยะเยือกยามหน้าหนาว ยิ่งทำให้บรรยากาศบริเวณนั้นเพิ่มความวังเวงอย่างน่าสะพรึงกลัวจนจับขั้วหัวใจพระธุดงค์ ที่กำลังเจริญภาวนาอยู่ภายในกลด
โฮก...!
ทันใดนั้น เสียงคำรามของเสือ ก็ดังกึกก้องขึ้นทำลายความเงียบ ทำให้พระธุดงค์ทุกองค์สะดุ้งตกใจไปตาม ๆ กัน หลวงพ่อมีนั่งทำสมาธิภาวนานิ่งเฉยโดยปราศจากอารมณ์หวั่นไหว มองลอดกลดออกไปที่หน้าศาลก็เห็นเสือโคร่งขนาดใหญ่ค่อย ๆ เดินปรากฏตัวออกมา
ร่างพญาเสือโคร่งกระทบกับแสงเดือนที่ขึ้นเหนือยอดต้นไผ่ จนตัวขาวโพลน แลดูแล้วคล้ายกับม้าขาวตัวใหญ่ไม่ผิดจากคำเล่าลือของชาวบ้าน พญาเสือโคร่งเดินวนไปมาที่ลานกว้างหน้ากลดหลวงพ่อมี อยู่ 3 รอบ จึงค่อย ๆ ย่างเดินอย่างน่าเกรงขามเข้าไปในศาล สักครู่หนึ่งต่อมาเสียงคำรามก็ค่อย ๆ เงียบหายไปในที่สุด
หลวงพ่อมี เล่าเหตุการณ์ที่ท่านนำพระภิกษุออกธุดงค์มาพบเสือโคร่งที่เชิงเขาสาลิกามาถึงตอนนี้แล้ว ก็หัวเราะก่อนเล่าต่อไปว่า ?พอเสือเดินหายเงียบเข้าไปในศาลแล้ว ฉันก็หันไปมองข้างหลัง...พระที่ตามฉันไปถอดกลดกันเกือบหมด...บางองค์ตั้งท่าเตรียมสู้...บางองค์ก็เตรียมเผ่นหนีหน้าตื่นกันไปหมด...ฉันก็เลยหัวเราะบอกว่า ปัดโธ่เอ๊ย หลวงพ่อเจ้าพ่อท่านมาให้ชมบารมีท่านไม่ทำร้ายเราหรอก จะไปสู้อะไรกับท่านได้?

พบปาฏิหาริย์หลวงพ่อกบ
ในเวลาเช้า ณ เขาสาริกา พระธุดงค์ที่นำโดยหลวงพ่อมีได้เตรียมตัวที่จะออกบิณฑบาตกันตามปกติ ขณะนั้นมีชายชราผู้หนึ่งแต่งกายด้วยชุดขาวล้วน ๆ มาบอกว่า หลวงพ่อกบให้มานิมนต์พระคุณเจ้าทุกองค์ขึ้นไปฉันเช้าบนถ้ำเขาสาริกา หลวงพ่อมีจึงนำพระภิกษุทั้งหลายติดตามตาผ้าขาวขึ้นเขาในทันที เพราะเคยได้ยินชื่อเสียงของหลวงพ่อกบ ทั้งยังมีความตั้งใจจะขึ้นไปกราบนมัสการท่านอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อพระธุดงค์ทั้งหมดขึ้นไปถึงก็ต้องแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะภาพที่เห็นหลวงพ่อกบ ท่านได้จัดสำรับข้าวและแกงเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว โดยไม่ทราบว่าท่านไปหามาจากไหนในเวลาอันเช้าตรู่เช่นนี้ พอฉันเสร็จก็พากันไปนมัสการหลวงพ่อกบ ซึ่งแต่งกายด้วยผ้าอังสะ กำลังนั่งยอง ๆ เอาสิ่งของโยนใส่กองไฟ เมื่อเข้าไปกราบหลวงพ่อกบ ท่านก็นั่งเฉยไม่เป็นธุระเอาแต่เผาไฟอยู่อย่างเดียว... ฉันจึงกราบท่านหลวงพ่อครับผมขอให้หลวงพ่อช่วยแนะนำทางธรรมบ้าง ท่านจึงหันมายิ้มแล้วพูดว่า.. ?เรียนมากับหลวงพ่อปานนั่นดีแล้ว...ถูกแล้วปฏิบัติตามพระพุทธองค์ท่านไว้?...ดูซิฉันยังไม่ทันได้บอกท่านเลยว่าเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน ท่านก็สามารถรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว... ต่อจากนั้น ท่านก็แนะนำหลักปฏิบัติธรรมบางอย่างให้และพูดถึงเรื่องการ เผาไฟของท่านว่า...
?มันเป็นการเผากิเลสนะ...อ้ายพวกนั้นมันไม่เคยเห็นก็เลยตื่นกันใหญ่...เราจะทำยังไง ที่ไหน มันก็เหมือน ๆ กันทั้งนั้น มันอยู่ที่ใจ...? พอท่านพูดจบก็นั่งเฉยนิ่งไม่พูดไม่จากับใครอีก ฉันไม่อยากรบกวนการปฏิบัติธรรมของท่านก็เลยกราบลาท่านลงจากเขาไป หลวงพ่อมีเล่าเหตุการณ์ในระหว่างการเดินธุดงค์ไปพบหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา และโชคดีได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมบางประการจากท่านมาโดยบังเอิญ

เมื่อพระธุดงค์หลงป่า
?พอออกจากจังหวัดลพบุรีแล้ว ก็เข้าจังหวัดนครสวรรค์เดินขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ...คราวนี้ไปถึงไหนก็ไม่รู้ เพราะเกิดหลงป่าไม่รู้ทางไป ก็ได้อาศัยถามชาวบ้านบ้าง แต่ก็เดินมุ่งขึ้นเหนือเรื่อยไป... บางวันก็ไม่พบเห็นแสงเดือนแสงตะวัน เพราะมันเป็นป่าทึบไปหมด...แต่เพราะบารมี หลวงพ่อปานและหลวงพ่อจง คอยคุ้มครอง จึงไม่มีพระธุดงค์องค์ใดพบกับอันตรายใด ๆ เลย นอกจากบางครั้งจะผิดข้าวผิดน้ำบ้างเท่านั้น...มีบางทีพระเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ช่วยแก้ไขรักษากันไปตามมีตามเกิด... ก็พักรักษาตัวตามโรงทานบ้าง มีชาวบ้านช่วยกันบ้าง บางวันได้อาหารมาก็ถวายพระแบ่งกันฉัน บางทีก็ไม่ได้ฉันมาตั้ง 3-4 วัน ก็เคยอยู่บ่อย ๆ?
หลวงพ่อมีเล่าเหตุการณ์หลงป่าเมื่อคราวนำพระภิกษุออกธุดงค์แสวงบุญไปจังหวัดเชียงใหม่
?เคยขอบิณฑบาตกับรุกขเทวดาอยู่บ่อย ๆ ถ้าวันไหนบิณฑบาตไม่ได้ก็เอาบาตรไปแขวนกับต้นไม้ไว้...ก็ไม่เคยได้ข้าวปลาอาหารจริง ๆ จากรุกขเทวดาตามที่มีคนเขาเล่ากัน แม้แต่เพียงครั้งเดียว...หลวงพ่อปานท่านสอนว่า ?มันเป็นเคล็ด? ถ้าวันไหนบิณฑบาตไม่ได้ให้เอาบาตรไว้กับต้นไม้...สักครู่หนึ่งก็เอาบาตรนั้นมาล้างน้ำ แล้วเอาน้ำในบาตรนั้นมาฉันเพียงแค่นั้นมันก็รู้สึกอิ่มไปทั้งวันแล้ว...หลวงพ่อปานท่านสอนให้เอาเคล็ดอย่างนั้น ก็มีกำลังวังชาเดินได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่มีอาการหิวโหยเลย...?

เด็กหญิงประหลาดใส่บาตร
มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อมีอาราธนาขอชมบารมีเจ้าป่าเจ้าเขาให้มาใส่บาตรตามหลวงพ่อมีไป ท่านได้กล่าวตักเตือนพระภิกษุทั้งหลายให้รู้ตัวล่วงหน้าว่า ถ้าเช้าวันนี้พบเห็นอะไรแปลก ๆ อย่าได้พูดวิพากษ์วิจารณ์อะไร หรือถ้ามีผู้มาใส่บาตรก็อย่าไปทักหรือถามไถ่อย่างเด็ดขาด ให้ตั้งสติสำรวมกาย วาจา ใจ ยึดมั่นอยู่แต่คำภาวนาให้มาก ๆ เข้าไว้ ถ้าเอาเหตุการณ์ที่พบเห็นมาพูดคุยกันแล้ว ต่อไปจะไม่ได้พบเห็นอีก
เมื่อหลวงพ่อมีกล่าวซักซ้อมกับพระภิกษุทั้งหลายจนเข้าใจดีทุก ๆ องค์แล้ว ท่านก็ออกเดินบิณฑบาตนำหน้าเข้าไปในป่าลึก ซึ่งตลอดทางเป็นป่าดงดิบปราศจากบ้านของผู้คนแม้แต่หลังคาเรือนเดียวก็ไม่มี เช้าวันนั้นพระธุดงค์ทุกองค์ออกเดินด้วยลักษณะอันสำรวมยิ่งกว่าทุก ๆ วัน แต่เวลาได้ผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะพบกับผู้คนเลย เมื่อยิ่งเดินไปก็ยิ่งเข้าป่าลึกและยิ่งทึบขึ้นทุกที จนแทบจะไม่มีทางเดินต่อไปได้อีกแล้ว
ทันใดนั้น สายตาของหลวงพ่อมีก็เห็นเด็กผู้หญิงเล็ก ๆ ไว้ผมจุกอายุประมาณ 12 ปี แต่งกายปอน ๆ แบบชาวบ้านป่าโดยทั่วไป ยืนถือขันข้าวอยู่ข้างหน้าเพื่อคอยใส่บาตร
หลวงพ่อมีมองเห็นแล้วก็ทราบแก่ใจดีว่าลักษณะของเด็กหญิงประหลาดนั้น ไม่ใช่เป็นมนุษย์ธรรมดาอย่างแน่นอน แต่ท่านก็ไม่ได้เอามาใส่ใจ คงเดินอย่างสำรวมตรงเข้าไปรับข้าวอย่างปกติ แล้วเดินอ้อมกลับออกมาให้พระภิกษุที่ยืนต่อแถวจากท่านได้รับบ้างอย่างสะดวก โดยไม่ได้เหลียวหลังกลับมามองดูให้เสียกิริยาเลยแม้แต่น้อย
หลวงพ่อมีเล่าว่า ?พอฉันเดินเข้าไปใกล้เด็กผู้หญิงผมจุกนั้น พอได้กลิ่นหอมของข้าวเข้าเท่านั้น ก็รู้สึกหายหิวทันที...เด็กผมจุกตักข้าวเปล่า ๆ ใส่บาตรพระด้วยกิริยามารยาทอันเรียบร้อยองค์ละทัพพีเดียวเท่านั้น แต่ไม่มีกับข้าวอย่างอื่นอีก...เมื่อพระทั้งหมดกลับมาฉันแล้วก็รู้สึกว่า ข้าวนั้นมีสีขาวและเม็ดใหญ่กว่าปกติ เวลาตักใส่ปาก ก็หอมนุ่มนวลอย่างไม่เคยฉันมาก่อนเลย...พอฉันเสร็จแล้วรู้สึกอิ่มไปตลอดทั้งวันเลยทีเดียว?
?พระที่ติดตามฉันไปเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่จู่ ๆ ก็มีเด็กผู้หญิงเล็ก ๆ มาใส่บาตรกลางป่าลึก ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบ้านคนอยู่ในละแวกนั้นเลย...ก็เลยเผลอตัวลืมคำตักเตือนของฉัน เดินวิพากษ์วิจารณ์กันมาตลอดทาง บ้างก็ว่าเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นเจ้าป่าเจ้าเขายุ่งกันไปหมด...ฉันจะหันไปห้ามปรามก็ไม่ได้ เพราะต้องคอยสำรวมใจ ควบคุมสติและอารมณ์อยู่ทุกขณะลมหายใจเข้า ออก...ถ้าหันกลับไปพูดว่าพระท่านแล้วอาจจะเสียอารมณ์ภาวนาได้...อาจจะทำให้เสียการณ์เกิดอันตรายขึ้นกับพระท่านได้ ก็เลยปล่อยเลยตามเลย...ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ไม่เคยพบเห็นสิ่งแปลก ๆ อะไรอีกเลย?
ฉะนั้น ในการออกธุดงค์ของหลวงพ่อมีในครั้งต่อไป หลวงพ่อปานจึงบอกให้ท่านธุดงค์เพียงองค์เดียว เพื่อเป็นการทดสอบจิตใจว่า เมื่อเดินธุดงค์เพียงองค์เดียว โดยไม่มีเพื่อนร่วมทางแล้ว จะมีความกล้าพอหรือไม่นั่นเอง
ในที่สุดคณะธุดงค์ก็รอนแรมมาถึงจุดหมายปลายทางคือ ดอยสุเทพ เชียงใหม่ และเมื่อได้กราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุ บนดอยสุเทพแล้วก็เดินทางกลับวัดมารวิชัย เหตุการณ์ตอนขากลับนี้ ตลอดทางไม่มีเรื่องราวอะไรที่น่าตื่นเต้นควรแก่การนำมาเล่า จึงขอรวบรัดตัดตอนผ่านไป ซึ่งกว่าจะกลับถึงวัดมารวิชัยก็เป็นเวลาเกือบถึงเทศกาลเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2479 เป็นการออกธุดงค์ครั้งนี้นานนับ 8 เดือนทีเดียว
ดังนั้นเมื่อพระธุดงค์ทั้งหลายเดินทางกลับสู่วัดมารวิชัยโดยสวัสดิภาพ ไม่มีพระภิกษุรูปใดได้รับอันตรายจากการบุกป่าฝ่าดง ซึ่งมีแต่ภัยอันตรายต่าง ๆ นา ๆ รอบด้านเลยแม้แต่น้อย กิตติศัพท์ความมีวิทยาคมแก่กล้าของลูกศิษย์หลวงพ่อปานที่สามารถให้ความคุ้มครองพระทุกองค์เดินธุดงค์ไปกลับจากเชียงใหม่โดยปลอดภัยในครั้งนี้ จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภายในเขตบ้านแพนสมัยนั้น ชื่อเสียงของหลวงพ่อมีจึงมีผู้คนกล่าวขวัญถึงอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
แต่แทนที่หลวงพ่อมี จะดีใจหรือหลงระเริงลืมตัวกับคำสรรเสริญเยินยอต่อคำกล่าวชมของชาวบ้านทั้งหลาย ท่านกลับออกตัวพูดอย่างถ่อมตนว่า เหตุที่เดินทางโดยปลอดภัยในครั้งนี้ เป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจงที่คอยคุ้มครองปกป้องโดยแท้

ธุดงค์พบหลวงพ่อแช่ม
หลังจากออกพรรษาในปลายปี พ.ศ. 2479 ก็กราบลาหลวงพ่อปานและหลวงพ่อจงก่อนออกธุดงค์เช่นเคย แล้วแบกกลดถืออัฐบริขารเดินดุ่มไปเพียงลำพัง ไปยังจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการธุดงค์ครั้งที่ 5 ของท่าน การเดินทางตั้งต้นที่อยุธยา นนทบุรี เข้าสู่นครปฐม จึงได้มีโอกาสไปกราบนมัสการและเล่าเรียนเวทบางประการกับ หลวงพ่อแช่ม ที่วัดตาก้อง ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงอยู่ในเวลานั้น
?ปฏิปทาของท่านก็งดงามดีแล้ว แต่แปลกตรงที่ปลูกผักทำสวนครัวเองเท่านั้น และก็รู้สึกว่าชาวบ้านในละแวกนั้นให้ความเคารพนับถือยำเกรงท่านเป็นอย่างดีทุก ๆ คน...?
หลวงพ่อมีได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมภาวนาและวิชาบางประการกับหลวงพ่อแช่มอยู่ 1 คืน พอวันรุ่งขึ้นเมื่อฉันเช้าเรียบร้อยแล้วก็กราบลาหลวงพ่อแช่มออกจากวัดตาก้องใฝ่แสวงหาความสงัดวิเวกทางจิตต่อไป โดยมุ่งเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี ไปสังขละบุรีจนถึงด่านพระเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนพม่า จากนั้นหลวงพ่อมีก็เดินอ้อมเข้าจังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี แล้วก็ถึงอยุธยากลับเข้าวัดมารวิชัย เมื่อกลางเดือน 6 ของปี พ.ศ. 2480
การถือรุกขมูลเพียงลำพังเป็นครั้งแรกของหลวงพ่อมีนี้ ภายในดวงจิตของท่านปราศจากความหวาดกลัวต่อภัยอันตรายใด ๆ เลยแม้แต่น้อย ท่านบอกว่า ?จะเป็นจะตายก็ช่าง เพราะชีวิตนี้ได้อุทิศตนให้แก่บวรพุทธศาสนาหมดสิ้นแล้ว? ดังนั้นหลวงพ่อมีจึงไม่มีความหวั่นไหวแต่ประการใด ซึ่งท่านได้กล่าวเปิดเผยว่า การเดินธุดงค์เพียงลำพังองค์เดียวยังดีกว่าไปกันหลาย ๆ องค์เสียอีก เพราะไม่ต้องไปคอยห่วงพะวงถึงความเป็นอยู่และความปลอดภัยของผู้อื่น อันเป็นภาระรับผิดชอบที่หนักหนาไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะประการที่สำคัญยิ่งก็คือ
การปฏิบัติธรรมภาวนาแต่ลำพัง ทำให้ดวงจิตได้รับความสงบจากความสงัดวิเวกได้เป็นสุขดียิ่งกว่าการปฏิบัติกับหมู่คณะหลาย ๆ องค์
นี่คือเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ อันเป็นประสบการณ์ของหลวงพ่อมี ซึ่งมีค่าต่อนักปฏิบัติที่กำลังใฝ่หาความจริงกันอย่างยิ่ง ก็ขอฝากเป็นข้อคิดสำหรับนักปฏิบัติที่มีความตั้งใจต้องการจะเอาดีกันจริง ๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าจะปฏิบัติอวดชาวบ้าน ทดลองทำดูเล่น ๆ หรือทำตามเพื่อนแบบพวกมากลากกันไปเท่านั้น !

วิญญาณหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยนอก จ.สมุทรปราการ
ปลายปี พ.ศ. 2480 อันเป็นการรุกขมูลครั้งสุดท้ายของหลวงพ่อมี ในเช้าวันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อมีเตรียมหาสถานที่ปักกลด ก็มาพบกับขบวนพระธุดงค์คณะหนึ่ง ซึ่งต้องกล่าวว่าเป็น ?ขบวนธุดงค์? เพราะเหตุว่า มากันเป็นหมู่คณะที่มีทั้งพระภิกษุ และแม่ชีมีจำนวนมากกว่าร้อยรูป กำลังปัดกวาดสถานที่สำหรับปักกลดอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเช่นกัน
หลวงพ่อมีเห็นขบวนพระธุดงค์แล้ว บังเกิดความเลื่อมใสในตัวพระอาจารย์ที่เป็นหัวหน้าผู้ควบคุมพระภิกษุและแม่ชีนับร้อยรูป ออกธุดงค์ด้วยกิริยาอันสำรวมและมีวินัยอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเช่นนี้ ท่านต้องไม่ใช่เป็นพระภิกษุธรรมดาอย่างแน่นอน
เมื่อดวงจิตของหลวงพ่อมี บังเกิดความสัมผัสอันประหลาดดังนี้แล้ว ท่านจึงสอดส่ายสายตามองหา ก็บังเอิญพบเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งมีลักษณะพิเศษ นั่งขัดสมาธิโดดเด่นอยู่บนโขดหินห่างจากกลุ่มพระธุดงค์ขึ้นไปทางเหนือ หลวงพ่อมีจึงเดินตรงไปกราบนมัสการท่านทันที
หลวงพ่อมีเล่าว่า ท่านยังจำลักษณะของพระภิกษุรูปนั้นได้ติดตา เพราะว่าท่านมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร คือมีรูปกายสูงใหญ่ดุจคนโบราณ ห่มผ้าจีวรสีกรักมองดูดำทะมึน แต่ก็มีลักษณะราศีงดงามอย่างบอกไม่ถูก จนทำให้ภายในจิตใจของหลวงพ่อมี บังเกิดความเลื่อมใสท่านมากยิ่งขึ้น
?ผมมากราบนมัสการหลวงพ่อขอให้ช่วยแนะนำหลักการปฏิบัติธรรมกับผมบ้างครับ? หลวงพ่อมี เข้าไปกราบนมัสการท่านแล้ว เอ่ยปากขอเล่าเรียนธรรมปฏิบัติทันที โดยไม่มีการอ้อมค้อมตามแบบฉบับชอบพูดตรง ๆ ของท่านอย่างฉะฉาน หลวงพ่อองค์ใหญ่ยกมือขึ้นรับไหว้ แล้วพูดด้วยสำเนียงเสียงอันดังกังวานอย่างมีอำนาจขึ้นโดยไม่ได้ขยับตัวว่า
?ที่ท่านทำมานั่นดีแล้ว...ถูกต้องแล้ว ผมไม่มีอะไรจะสอนท่านอีก...ขอให้ท่านเจริญรอยตามพระพุทธองค์ท่านไว้...?
ว่าแล้วท่านก็สอนวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกำชับให้หลวงพ่อมีหมั่นเพียรปฏิบัติต่อไปจนถึงที่สุด เพื่อให้หมดสิ้นซึ่งอาสวะกิเลสทั้งมวล ไม่ติดอยู่ในสงสารวัฏอันเป็นการดับทุกข์ซึ่งมีแต่ความเป็นสุขยิ่งกว่าความสุขทั้งปวง
หลวงพ่อมีได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากพระภิกษุรูปนั้นแล้ว พอสมควรแก่เวลาก็กราบลาท่าน และเมื่อเรียนถามชื่อของท่านแล้วก็ทราบโดยละเอียดว่าท่านเป็นใครมาจากไหน ?ฉันชื่อปาน อยู่วัดคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ มาคอยคุ้มครองพระท่านออกรุกขมูล? พอหลวงพ่อมีทราบว่า ท่านคือหลวงพ่อปาน อยู่วัดคลองด่านเข้าเท่านั้น ก็รู้สึกแปลกใจ เพราะเคยได้ยินชื่อเสียงของท่านเป็นอย่างดี เพราะทราบว่าท่านถึงแก่มรณภาพไปนานแล้ว แต่หลวงพ่อมีก็ไม่ได้แสดงอาการแปลกใจให้เสียกิริยาตามที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านเคยกล่าวย้ำสั่งสอนเป็นนักเป็นหนาว่า
ถ้าพบเห็นสิ่งแปลก ๆ ในระหว่างรุกขมูลอย่าได้สงสัยไตร่ถามเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะไม่ได้พบเห็นสิ่งลี้ลับอันมหัศจรรย์นั้นอีก และอย่าเก็บเอาสิ่งที่เห็นนั้นมาวิพากษ์วิจารณ์หรือเก็บเอามาคิดจนเสียเวลาภาวนา หลวงพ่อมีจึงกราบลาหลวงพ่อปานวัดคลองด่านแล้วถอยกลับมาเข้าสู่กลดของตนเอง กระทำสมาธิภาวนาตามกิจวัตรประจำวันเรื่อยไป จนถึงรุ่งเช้าก็ถอยกลด ออกเดินรุกขมูลต่อไป
ในภายหลังที่หลวงพ่อมีกลับถึงวัดและได้เล่าเรื่องราวที่ได้พบกับหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ให้กับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคฟัง จึงทราบว่า หลวงพ่อปาน วัดคลองด่านท่านถึงแก่กาลมรณภาพไปนานเกือบ 30 ปีแล้ว
มีผู้รู้ประวัติหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านเป็นอย่างดีกล่าวว่า ดูจากลักษณะพระภิกษุที่หลวงพ่อมีพบแล้วอ้างว่าเป็นหลวงพ่อปาน อยู่วัดคลองด่านนั้น คงจะเป็นตัวท่านจริง ๆ เพราะตามประวัติวัดก็บอกไว้แล้วว่า หลวงพ่อปานท่านมีรูปร่างใหญ่โต และพูดจาเสียงดังฟังชัด ซึ่งจะเป็นหลวงพ่อปานองค์อื่นไปไม่ได้ เนื่องจากวัดคลองด่าน มีหลวงพ่อปานองค์นี้องค์เดียวเท่านั้น ที่มีรูปร่างสูง
ใหญ่เช่นนี้
ดังนั้น พระภิกษุที่หลวงพ่อมีกราบนมัสการ ระหว่างทางต้องเป็นดวงวิญญาณของหลวงพ่อปาน วัดคลองด่านที่มาคอยให้ความคุ้มครองศิษย์ของท่านทั้งหลาย ที่มาถือรุกขมูลตามที่ท่านบอกนั่นเอง ! ในการออกรุกขมูลของหลวงพ่อมีครั้งนี้ใช้เวลาแค่ 6 เดือนเท่านั้น ท่านก็เดินธุดงค์กลับเข้าวัดบางนมโค ก่อนที่จะเข้าวัดมารวิชัยเมื่อเดือน 6 ในปี พ.ศ. 2481 เนื่องจากหลวงพ่อมี ท่านเป็นห่วงอาการอาพาธของหลวงพ่อปาน เป็นอย่างมาก เพราะท่านเคยประกาศว่าจะถึงแก่มรณภาพภายในเดือน 8 ของปีนี้แล้ว

สิ้นสุดการออกธุดงค์
การถือธุดงค์ของหลวงพ่อมี 6 ครั้ง ต้องสิ้นสุดลงแค่ 7 ปีเท่านั้น (2475 ? 2481) เพราะเดิมทีท่านได้ตั้งใจจะออกธุดงค์ตลอด 10 ปี แต่บังเอิญมีสาเหตุถูกตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ทำการบูรณะอุโบสถที่กำลังชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จนพระภิกษุสงฆ์ทำสังฆกรรมไม่ได้ ให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้นสืบต่อไป

การสร้างพระเครื่อง
ในสมัยหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างใน น้องชายคู่บารมีขององค์ท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนกอก เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ได้กล่าวคำทำนายอนาคตของหลวงพ่อมีต่อหน้าองค์ท่านหลวงพ่อจงไว้ว่า
?หลวงพ่อมี จะมีชื่อเสียงเมื่ออายุมากแล้ว แต่จะค่อย ๆ มีชื่อเสียงเหมือนกับหลวงพ่อจง ไม่โด่งดังตูมตามเหมือนกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค? การที่หลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างในกล่าวคำเปรียบเทียบหลวงพ่อมีดังนี้ เนื่องจากในยุคสมัยนั้น ชื่อเสียงกิตติคุณขององค์ท่านหลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค โด่งดังมากกว่าหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อีกทั้งยังมีลูกศิษย์ลูกหาหลัก ๆ มากกว่าหลวงพ่อจงเสียอีกด้วย สังเกตได้จากวิชาอาคมที่องค์ท่านหลวงพ่อมี นำมาใช้จึงมักจะเป็นวิชาจากหลวงพ่อปาน ส่วนพระเลขพระยันต์ ที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เป็นยันต์หลักประจำตัวตลอดมานั้น ท่านใช้ยันต์พระพรหม 4 หน้า ของหลวงพ่อเขียน พระอาจารย์หลวงน้า วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานีผู้เรืองวิชา
มาบัดนี้ หลวงพ่อมีท่านมีสิริอายุ 87 พรรษา คำทำนายของหลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างนอกในครั้งกระนั้นตรง ๆ จะ ๆ เมื่อเหตุการณ์และสานุศิษย์ ต่างได้เห็นในพลังคุณ ในพุทธคุณที่องค์ท่านหลวงพ่อมีใช้เวลาผ่านมาในพรรษาถึง 65 พรรษา ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วแคว้นในปัจจุบัน ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศทั้งใกล้และไกลต่างเดินทางเข้าขอพร ขอของดีกับหลวงพ่อมี ที่วัดมารวิชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังเกตได้จาก ไม่ว่าหลวงพ่อมี ท่านสร้างและปลุกเสกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใด ๆ ออกมา ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมชมชอบจากพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวางทุกอย่างเป็นเพราะ

ของท่านใช้ได้ผล
กาลเวลาที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์แล้วว่า ชื่อเสียงขององค์ท่านหลวงพ่อมี โด่งดังมาได้อย่างไร ท่านผู้อ่านที่ติดตามมาถึงบรรทัดนี้ คงไม่แปลกใจเพราะได้ทราบในปฏิปทาและศีลาจารวัตร ตลอดถึงเรื่องเวทวิทยาคมที่องค์ท่านศึกษา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วมากล้นด้วยความเพียบพร้อม คือเป็นประกาศกิตติคุณมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นก็ว่าได้

พระคาถาปลุกเสกพระ
หลวงพ่อมี มอบประสิทธิ์ประสาทพระคาถาปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังทุกชนิดของท่านแด่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ทั้งยังใช้ปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังได้ทุกอย่าง และทุกสำนักอีกด้วย เพราะเป็นพระคาถาจากพระคัมภีร์โบราณเก่าแก่ของหลวงพ่อสุวรรณ อดีตเจ้าอาวาสผู้เรืองวิทยาคมองค์ที่ 2 ของวัดมารวิชัย ดังนี้
ตั้ง ?นะโม? 3 จบแล้วว่า... ?อิสวาสุ ตะโนติ กุสะลังธัมมังตะโนติ ธัมมะเทสะนัง กุสะลังธัมมังตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหานะคาตัง นะมามิหัง? ท่านให้ปลุกเสก 3-5-7 หรือ 9 คาบ ก็ได้ยิ่งมากยิ่งดี ข้อสำคัญจะใช้ไปในทางไหนควรอธิษฐานกล่าวคำอาราธนาก่อนทุกครั้ง จะประเสริฐยิ่งนักแล
?พุทธังอาราธนานัง ธัมมังอาราธนานัง สังฆังอาราธนานัง ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธัมมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า คุณพระบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ คุณพระพรหม เทพเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้า (ปรารถนาสิ่งใด ให้ว่าสิ่งนั้นเพียงประการเดียว)...สรรพพุทธาประสิทธิ์ สรรพธัมมาประสิทธิ์ สรรสังฆาประสิทธิ์ สรรพสิทธิ์ ภะวันตุเม?

สร้างพระเครื่องอิทธิมงคล
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ของหลวงพ่อมี ปี พ.ศ. 2507 เป็นเหรียญยอดนิยมที่มีสนนราคาสูงเล่นหากันในวงการพระเครื่องถึงหลักพันต้น ๆ ก็ยังหายาก และไม่ค่อยจะมีใครปล่อยหลุดมือง่าย ๆ กล่าวคือ ประสบการณ์ด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีของเหรียญรุ่นแรกเด่นชัดมาก เพราะเคยมีผู้ถูกฟันด้วย มีดพร้า คือมีดขอขนาดใหญ่ ด้ามยาวมีปลายเป็นขอคมมาก ใช้สำหรับเกี่ยวตัดต้นอ้อยฉับเดียวขาดครั้งละหลาย ๆ ลำ แต่มีดพร้าที่ว่าคมแสนคมยังฟันคอ ผู้ที่มีเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อมีไม่เข้ามาแล้วหลายราย !
ที่เคยถูกแทงด้วย มีดปลายแหลม จนเสื้อทะลุแต่ไม่เข้าก็มีหลายราย ประสบการณ์จากการถูกยิงด้วยปืน ชนิดที่ห้อยเหรียญเดี่ยว ๆ อยู่บนคอ ไม่เคยเข้าเลยสักรายเดียว เรียกว่ามีผู้เคยถูกยิงด้วยปืนไม่เข้ามาแล้วหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปืนลูกโดด ปืนลูกซองแผด ปืนจุด 38 และปืนคอลท์ตราควายไทยประดิษฐ์ ที่ผ่านการปลุกเสกประจุอาคมซึ่งนักแสดงลูกทุ่งชอบใช้ยิงคัดทำลายอาคมต่าง ๆ ก็ยังไม่สามารถทำอะไรได้ สำหรับปืนเอ็ม 16 อาวุธสงครามร้ายแรงยังไม่เคยมีประสบการณ์ แต่ใคร ๆ ก็เชื่อว่า ?กันได้แน่? ! เพราะเคยมีผู้ใช้ติดตัว เหยียบกับระเบิดไม่เป็นอะไรมาแล้ว อาวุธอย่างอื่นเห็นทีไม่ต้องพูดถึง
และประสบการณ์สด ๆ ร้อน ๆ เมื่อปีที่แล้ว ลูกเขยลุงสำแล ธนสนธิ์ ถูกลอบยิงด้วย ปืนเอ็ม 16 เสียชีวิต ส่วนลูกสาวถูกยิงทะลุฝ่ามือ ที่ยกขึ้นป้องหน้าอก แต่ลูกกระสุนสงครามที่ยิงทะลุฝ่ามือ 2 นัด นัดหนึ่งยิงถูกสร้อยคอขาด ไม่ระคายผิว ! อีกนัดหนึ่งยิงถูกพระของหลวงพ่อมีเลี่ยมพลาสติกแตกละเอียด แต่ก็ไม่ระคายผิวเช่นกัน !
ลูกสาวลุงสำแล ซึ่งเป็นน้องของหลวงพ่อมี ไม่ได้ห้อยเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อมี เพียงแต่ห้อยภาพถ่ายเล็ก ๆ เป็นกระดาษขาว-ดำ เลี่ยมพลาสติกอยู่บนคอภาพเดียวเท่านั้น... เป็นภาพถ่ายรุ่น 2 หลวงพ่อมีสร้างและปลุกเสก เมื่อปี พ.ศ. 2522 นี่เอง ! ภาพถ่ายรุ่นนี้จึงได้รับการขนานนามว่า ?รุ่นเอ็มสิบหก?

ขนาดภาพถ่ายเล็ก ๆ ของหลวงพ่อมียังมีพุทธานุภาพมหาศาล สามารถป้องกันปืนเอ็ม 16 ได้ อิทธิมงคลทุกชนิดของหลวงพ่อมีจึงถูกผู้รู้เสาะหากันอย่างเกรียวกราว ซึ่งก็เป็นที่แน่นอน เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อมีจึงมีผู้เสาะแสวงหาอย่างกว้างขวางขึ้น ค่านิยมก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ประสบการณ์ในเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อมีทางด้านอื่น ๆ ยังมีอีกมาก เช่น ถูกรุมตีด้วยไม้จนน่วมไปหมดทั้งตัวถึงกับเสียสติ ก็ยังไม่แตก ! ไม่ตาย ! ทางด้านอุบัติภัย แคล้วคลาด ทางท้องถนนก็รอดพ้นจากภยันตรายมาแล้วราวปาฏิหาริย์นับครั้งไม่ถ้วน แม้แต่ทางด้านเขี้ยวงา เช่น สุนัขกัด งูกัด หรือถูกประหลาดุกยักษ์ก็ไม่มีใครเป็นอะไรเลย แม้แต่น้อย บรรดาชาวไร่ชาวนาละแวกวัดมารวิชัย ได้ประจักษ์เห็นความศักดิ์สิทธิ์ในเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อมีมามากแล้ว ดังนั้นชาวบ้านที่มีอยู่จึงหวงแหนกันมากขนาดเหรียญสึก ๆ ที่ใช้แล้ว ชาวกรุงเทพฯ เสนอราคาให้ถึง 3-4 พันยังไม่มีใครยอมออกง่าย ๆ ทั้งที่คนส่วนใหญ่จะจน และยังเช่านาหลวงทำนาอยู่ก็ยังไม่ปล่อย เพราะเหตุที่นับถือและใช้ได้ผลดีจริงนั่นเอง
หลวงพ่อมี พระเถราจารย์จอมขมังเวทผู้มีสิริอายุในตอนนั้น 75 ปี เล่ากรรมวิธีการปลุกเสกเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกให้ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอว่า ?ฉันยกเหรียญที่อยู่ในหีบไปให้หลวงพ่อจง หน้าต่างนอก ปลุกเสกถึงที่นอน 7 วัน ยกไปให้หลวงพ่อสังข์ วัดน้ำเต้า ปลุกเสกอีก 7 วัน...แล้วนิมนต์พระคุณเจ้าเก่ง ๆ ของอยุธยามาทำพิธีปลุกเสกในโบสถ์อีก 4 องค์ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ...หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช และหลวงพ่อบุญ วัดบางกระทิง และหลวงพ่อเจาะ ประดู่โลกเชษฐ์...พิธีปลุกเสกนั่นทำกันตั้งแต่เช้า ฉันก็เข้านั่งด้วย รวม 5 รูปตลอดคืนยันรุ่ง?
จากการเปิดเผยของหลวงพ่อมีนี้เอง ทำให้บรรดาลูกศิษย์ลูกหานิยมใช้เหรียญรุ่นแรกกันมาก เพราะอาศัยที่ผ่านการปลุกเสกจากหลวงพ่อจงถึง 7 วัน จึงเชื่อในพุทธคุณ ?สามารถใช้แทนเหรียญหลวงพ่อจงได้เป็นอย่างดี? ทั้งยังได้รับการปลุกเสกจากพระอาจารย์ผู้เรืองวิชาอีก 4 องค์ ดังกล่าว ซึ่งล้วนเสียชีวิตไปหมดแล้ว

เหรียญรุ่นแรก ยิง 3 ครั้ง ปืนแตก
---------------------------------------------------------------------------------
คุณกลมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทดลองอิทธิมงคลของหลวงพ่อมีให้ฟังต่อไปว่า ?ผมได้พระทุกอย่างของหลวงพ่อไปแล้ว ต้องนำมาทดลองทุกครั้ง...ไม่ใช่ผมจะไม่เชื่อถือท่านนะครับ แต่ผมอยากจะรู้ว่า พระแบบไหนใช้ทางไหนบ้าง เรียกว่าเคยทดลองยิงมาแล้วทุกอย่าง...บางอย่างก็ยิงไม่ออก บางอย่างก็ยิงออกแต่จ่อยิงใกล้ ๆ ไม่เคยถูก มีพระบางอย่างยิงถูกกระเด็นไปไกล แต่ไม่มีรอยถูกลูกปืนยิงเลยก็มี?
?เท่าที่คุณพี่เคยทดลองมาแล้ว มีพระอะไรของหลวงพ่อที่ยิงไม่ออกบ้างครับ?? ผู้เขียนซักถามต่อด้วยความสนใจ
?ก็มีเหรียญของหลวงพ่อรุ่นแรก...รุ่นฉลองพระครูนั่นแหละที่ยิงถึง 3 นัด ไม่ออก แต่พอยิงนัดที่ 3 ปืนแตก...ผมจึงไม่กล้ายิงพระรูปหล่อ 3 นัด เพราะกลัวปืนแตกอีก...แล้วก็มีตะกรุดโทน เคยยิงออกบ้างไม่ออกบ้าง จึงมาถามหลวงพ่อ ท่านก็บอกว่า...ไม่ได้ลงมหาอุดทุกดอก? !
?แล้วพระผง เหรียญ แหวนต่าง ๆ และพระเมฆพัดเล่าครับ คุณพี่ทดลองแล้วได้ผลยังไงบ้าง??
?พระของหลวงพ่อใช้ดีทุกทางละครับ ส่วนใหญ่จะใช้ดีทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน...ที่เมตตาดีก็มีเพราะมีคนพบประสบการณ์มากมายแล้วทุก ๆ ด้าน ถ้าคุณไม่เชื่อให้ไปถามชาวบ้านแถวนี้ดูก็ได้รู้ดีทุกคน ขึ้นชื่อว่าเป็นพระของหลวงพ่อแล้ว ใครได้พระอะไรก็ใช้ติดตัวกันอย่างนั้น ไม่ได้จำกัดรุ่น ขอให้เป็นพระของหลวงพ่อก็ใช้ได้? คุณกมลกล่าวอธิบาย
?คุณทดลองยิงผ้ายันต์รอยมือแล้วหรือยัง??
?ยังครับ ผมเห็นหลวงพ่อท่านตั้งใจทำพิธีพิมพ์มือและปลุกเสกในโบสถ์แล้ว ผมเชื่อว่าต้องเป็นของดีแน่ ๆ เพราะไม่เคยเห็นหลวงพ่อทำพิธีจริงจังอย่างนี้มานานแล้ว? !

รถคว่ำ 2 ครั้ง ไม่เป็นอะไร
---------------------------------------------------------------------------------
?คุณกมลใช้พระอะไรของหลวงพ่อประจำตัว??
?อ๋อ...ก็เหรียญรุ่นแรกนะครับ เพราะเคยมีประสบการณ์รถคว่ำมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่เป็นอะไรเลย จึงมาขอบวชอยู่กับหลวงพ่อครั้งแรกนานมาแล้ว ได้เหรียญมาใหม่ ๆ ก็เจอเลย ครั้งที่ 2 เมื่อ 5 ปีที่แล้ว รถคว่ำตรงทางโค้งหน้าวัดสามกอ มีคนตายและบาดเจ็บสาหัสทุกคน แต่มีอยู่คนหนึ่งชื่อ ลุงจอง นามสกุล อื้อฉาว อายุเกือบ 60 ปีแล้วก็ไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรแม้แต่น้อย ได้ถามแกแล้วก็ มีเหรียญรุ่นแรก ของหลวงพ่อเหมือนกัน?
?เท่าที่คุณพี่ได้ยินได้ฟังมา ยังมีใครอีกบ้างที่มีประสบการณ์การใช้พระของหลวงพ่อ??
?ก็มีอยู่หลายคน เอาเฉพาะลูกชายผมเอง ชื่อ ธวัชชัย ตอนนี้อายุ 19 แล้ว เมื่อ 2 ปีก่อน ไปเยี่ยมลุงที่พระประแดง รถปิคอัพคว่ำกลางทางก็ไม่เป็นอะไร ในตัวก็มีเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเหมือนกัน น้องชายผมเป็นตำรวจชื่อนายดาบประมวล ประจำอยู่ที่วัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ก็ใช้เหรียญ และตะกรุด ของหลวงพ่อ เคยถูกผู้ก่อการร้ายยิงไม่เข้ามาแล้ว เรียกว่ามีประสบการณ์หนัก ๆ มาแล้วอย่างโชกโชนทางด้านชายแดน?
นี่คือเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับปาฏิหาริย์อิทธิมงคลวัตถุหลวงพ่อมี เขมธัมโม พระอาจารย์จอมขมังเวทแห่งวัดมารวิชัย ซึ่งผู้เขียนได้สัมภาษณ์ผู้พบประสบการณ์อย่างสด ๆ ร้อน ๆ มาแทรกเรื่องให้ท่านผู้อ่านคลายความเคร่งเครียดลงไปบ้าง

271
ประวัติ หลวงพ่อไสว ฐิตวณฺโณ วัดปรีดาราม จ.นครปฐม

พระครูสถิตโชติคุณ(หลวงพ่อไสว ฐิตวณฺโณ) วัดปรีดาราม (ยายส้ม) ต.คลองจินดา อ.สามพราน จ.นครปฐม

 

ณ ดินแดนศรีทวาราวดี เมืองแห่งพระปฐมเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ซึ่งมีตำนานประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ที่สุดนับด้วยพันปีของสุวรรณภูมิ ได้ปรากฏกำเนิดยอดแห่งเกจิอาจารย์ เป็นที่ศรัทธาเป็นที่พึ่งของชาวบ้านทุกระดับชั้นมีมานานนับเนื่องหลายร้อยรูป จนมาถึงปัจจุบันก็ปรากฏ ?หลวงพ่อไสว ฐิตวณฺโณ? ปรากฏบุญญฤทธิ์บารมีโดดเด่นลือลั่นไปทั่วประเทศ ด้วยสรรพวิทยาพุทธาคม ไสยเวทย์ที่เจนจบ ร่ำเรียนสั่งสมมาจากบยอดเกจิอาจารย์มากมายในอดีต ตลอดทั้งได้จาริกธุดงค์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในเถื่อนถ้ำ ภูเขาลำเนาไพรอันเติมไปด้วยภยันอันตรายสรรพสัตว์ร้ายและภูติไพรนานา กระทั่งสำเร็จวิชาชาคมพุทธเวทย์ก็ล่วงเวลาก็ล่วงเวลามาเกือบค่อนศตวรรษ อายุ ๗๗ ปี พรรษที่ ๕๖

 

หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ถือกำเนิดเมื่อ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๔ ตรงกับพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ณ บ้าน ราชคราม อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ ?เสือ? มาราชื่อ ?ยิ้ม? นามสกุล ?พุทธศร? โดยโยมบิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านจอมขมังเวทย์ เป็นคนใจดี แต่สนใจเรื่องวิชาอาคมต่างๆ เวลาดื่มเหล้าชอบเคี้ยวแก้วเล่นประจำ แสดงให้ชาวบ้านเห็นว่าวิชาคงกระพันชาตรีของโบราณเป็นของแท้มีจริง แถมยังมีพุทธาคมดับพิษไฟได้ถึงขนาดพ่นไฟ อมไฟเล่นให้ชาวบ้านเห็นเสมอๆ และเป็นการจุดประกายขึ้นภายในจิตใจของ ด.ช. ไสว พุธทศร ให้ชอบและเชื่อในเรื่องของอำนาจเวทมนต์คาถาอาคมขมัง และพุทธานุภาพของพุทธมนต์ต่างๆ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ ต่อมาบิดาเสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้ร่อนเร่พเนจร ไปอยู่ที่ต่างๆ หลายแห่งกระทั่งผลบุญนำมาเป็นเด็กวัดยายส้มหรือวัดปรีดารามในปัจจุบัน ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดปรีดารามเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ จึงบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดปรีดาราม โดยหลวงปู่ใจ วัดเชิงเลนเป็นพระอุปัชฌาย์สามเณรไสว พุทธศร ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดปรีดารามเป็นเวลา ๔ ปี ครั้นที่วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เวลา ๑๔.๐๐ น.จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดปรีดาราม โดยหลวงพ่อใย วัดบางช้างใต้ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เจิมวิสุทธิญา โณ เจ้าอาวาสวัดยายส้ม (วัดปรีดาราม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลื้อง ยติมณี วัดจินดาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ?ฐิตวณฺโณ? จำพรรษาอยู่ที่วัดปรีดาราม ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมสอบ ได้นักธรรมชั้นเอก พร้อมทั้งศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน และร่ำเรียนอย่างอุกฤษฏ์ด้านวิทยาคม ไสวเวทย์ วิชาอาถรรพณ์ เร้นลับ พุทธคมต่างๆ มีความรู้ลึกซึ่งเป็นพหูสูตมาตั้งต้น และนำมาช่วยญาติโยมเห็นผมเป็นที่ประจักษ์

 

บูรพาจารย์ที่ถ่ายทอดวิทยาคม ให้หลวงพ่อมีทั้งฆรวาสและบรรพชิต โดยท่านเป็นผู้คงแก่เรียนเมื่อทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีเก่งกล้าอยู่ที่ทิศใด ท่านก็จะดั้นด้นไปหา ขอศึกษาหาความรู้จนแตกฉาน เรียกว่า ปรนนิบัติอาจารย์เป็นเลิศ อาจารย์ก็เมตตาเห็นว่าตั้งใจจริง จึงถ่ายทอดวิชาให้ ชนิดแบบหมดไส้หมดพุง ถึงลูกถึงคนถึงพริกถึงขิง คือทดลอง ให้เห็นกันจะจะเลยทีเดียว ศิษย์ทำได้ถือว่าสำเร็จ แม้บางครั้งเสี่ยงต่อชีวิตแต่หลวงพ่อก็ไม่ย้อท้อ ขอเพียงให้ได้วิชาหรือศาสตร์อันลึกล้ำพิสดารนั้นมาท่านก็พอใจแล้วครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อไสว เท่าที่พอจะประมวลได้พอสังเขปมีดังนี้

 

๑.หลวงปู่พูน เกสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่ปิ่นเกลียว เป็นยอดพระเกจิฯ ร่นเดียวกับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผัดกูด และสหธรรมิกรุ่นพี่ของ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งหลวงพ่อเงินท่านนับถือหลวงปู่พูน ในฐานะเป็นพระเกจิฯ รุ่นอาวุโสและเคยนิมนต์ให้มาปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นแรกๆ ของท่านหลวงปู่พูนท่านเป็นเจ้าตำรับวิชาคงกระพันชาตรี ขนาดใช้ฝ่ามือผ่าไม้รวกได้ วัตถุมงคลหลวงปู่พูน เซียนพระรุ่นเก่าๆรู้จักกันดี เช่นพระสังกัจจายน์ เนื้อผงใบลาน นางกวัก เนื้อผงดินเผา ปลัดขิก เหรียญรุ่น ๑ พ.ศ.๒๔๙๐ ผ้ายันต์-ผ้าประเจียด-ตะกรุดโทนปัจจุบันโด่งดังแต่หายากมาก หลวงพ่อไสว ได้รับการถ่ายทอดวิชา การลงอักขระเลขยันต์คงกระพันชาตรี วิชามหาอุด วิชาเมตตามหานิยม และอาถรรพ์เวทย์หลายด้านครบถ้วนจากหลวงปู่พูน ชนิดที่เรียกว่าครอบจักรวาลทีเดียว ที่หลวงพ่อไสวโด่งดังมากคือ ตะกรุดโทน ตำรับหลวงปู่พูน

หลวงปู่พูน มรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ปัจจุบันมีรูปเหมือนขนาดเท่าองศ์จริงประดิษฐานอยู่ที่ ณ วัดใหม่ปิ่นเกลียว เป็นที่เคารพนับถือของคนนครปฐมมาก ทุกครั้งที่ทางวัดมีงานสำคัญ จะนิมนต์หลวงพ่อไสว ไปร่วมงานในฐานนะศิษย์เอกหลวงปู่พูน วัดใหม่ปิ่นเกลียว อันเป็นที่ อมตะในตำรับผ้ายันต์-ตะกรุดโทน

 

๒.หลวงพ่อเงิน วัดยายส้ม (วัดปรีดาราม) ท่านบวชที่ วัดใหม่ปิ่นเกลียว เป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่พูน ลำได้รับการถ่ายทอดพุทธวิทยาคมไปจากหลวงปู่พูน หลวงพ่อไสว ได้รับการฝึกฝนสมาธิจิตพื้นฐาน จากหลวงพ่อเงิน วัดยายส้ม เมื่อได้เคล็ดวิชาเบื้องต้นแล้ว หลวงพ่อเงิน วัดยายส้ม จึงได้นำหลวงพ่อไสวไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่พูน ซึ่งเป็นปรมาจารย์จึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิทยาคาทั้งหมดฯลฯ ในปัจจุบันมีรูปเหมือนเท่าจริงหลวงพ่อเงิน ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถหลังเก่าวัดปรีดาราม

 

๓.อาจารย์ยัง เพชรบุรี เป็นครูสักยันต์ชื่อดังระดับประเทศ เคยบวชเรียนและศึกษาพุทธาคมจากหลวงปู่พูน วัดใหม่ปิ่นเกลียว อาจารย์ยัง ท่านเก่งทางวิชาหาสะเดาะ สะเดาะลูกกุญแจหรือกลอนประตูดุจ ขุนแผน กลับชาติมาเกิด หลวงพ่อเงิน วัดยายส้ม นำหลวงพ่อไสว ไปเรียนวิชาบางประการ อันเป็นเอตทัคคะของอาจารย์ยัง อาจารย์ยังเกรงใจหลวงพ่อเงิน จึงถ่ายทอดวิชาพิเศษให้

หลวงพ่อไสว อาทิเช่น การทำมหายันต์กำเนิดนารายณ์ อันมีฤทธานุภาพยิ่งต่อมาผ้ายันต์กำเนิดนารายณ์ของหลวงพ่อไสว ก็โด่งดังลือลั่นมีศิษย์หลวงพ่อคนหนึ่งเผชิญมหาภัย ใช้ผ้ายันต์อธิษฐาน

ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองมาเห็นตัว กลับเห็นคนโพกผ้าแดงเต็มไปหมด จึงหนีรอดจากปวงภัยไปได้ด้วยปาฏิหาริย์ผ้ายันต์นั้น นอกจากนี้ป้องกันภูตผีปีศาจ ด๗รผู้ร้ายไม่อาจทำอันตรายได้ นิยมติดผ้ายันต์นี้ไว้เหนือประตูบ้าน มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก มีผู้นักพบประสบการณ์มากมาย

 

๔.เสือย้อยชูรอด เป็นเสือร้ายจำใจในอดีต เป็นคนหมู่บ้านถนนขาด แถวเกาะวังไทร นครปฐม ตอนหลังกลับใจเป็นคนดีเป็นจอมขมังเวทย์ฤทธิ์เวทย์ขมังขลังนักเป็นที่เลื่องลือหลวงพ่อไสว ได้ขอเรียนวิชา ?ยันต์หน้าพระ? หรือนะหน้าคนจากเสือย้อย ซึ่งได้รับการประสิทธิ์ประสาทให้ด้วยความเต็มใจชนิดครอบครูยกตำรับตำราให้เลย หลวงพ่อไสวฝึกฝนสูตรสนธิแม่นยำ และประทับใจในยันต์หน้าพระมาก หลวงพ่อไสวจึงใช้ยันต์เป็นสัญลักษณ์ประจำตัวท่าน โดนใช้ยันต์นี้ประทับอยู่ด้านหลังเหรียญของท่านแทบทุกรุ่น ได้รับปรากฏอิทธานุภาพเป็นที่รำลือเช่นกัน ตำรับยันต์หน้าพระเสือย้อยได้มอบแก่ ?พระอาจารย์สำราญ? วัดเขาตะเครา และพระราชสุธรรมเมธี (หลวงพ่อ-เทพ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวิหาร อีกด้วย หลวงพ่อไสวจะเขียวยันต์นี้เจิมบ้าน เจิมรถ ลงกระหม่อมให้ลูกศิษย์ โดยบริกรรมภาวานาเรียกสูตรเรื่อยไปตากตำรับ ห้ามยกดินสอ กระทั่งเขียวเสร็จ

 

๕.หลวงพ่อขาว วัดสวนส้ม อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาครเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ?ปิดทองเข้าหน้าผาก? หรือลงนะหน้าทองตำรับพิสดารให้แก่หลวงพ่อไสว เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง ต้องใช้พลังจิตชั้นสูงบริกรรมภาวานา โดยปิดทองคำเปลวที่หน้าผาก โดยใช้ ๓ แผ่นบ้าง ๙แผ่นบ้าง โดยไม่ต้องแกะกระดาษปิดออก หลวงพ่อเสกบริกรรม แล้วตบเบาๆ เปรี้ยงเดียวแผ่นทองคำก็หายไปในหน้าผากทั้งหมด มีอาณุภาพทางเมตตามหานิยม คุ้มภัยนานา

 

๖.อาจารย์ปิ่น รอดคลองตัน สมุทรสาคร เก่งในเรื่อง ?ปลัดขิก? เพราะเป็นศิษย์หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี เป็นศิษย์หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นศิษย์หลวงปู่พูน

วัดใหม่ปิ่นเกลียว ปลัดขิกของหลวงพ่อไสวมีผู้อาราธนาฟาดสายรุ้ง ขาดออกจากกัน และเมื่อปลุกเสกในบาตรน้ำมนต์ วิ่งพล่านดุจมีชีวิต และกระโดดออกจากบาตรได้ ปัจจุบันหลวงพ่อไสว เป็นศูนย์รวมหนึ่งเดียวของการปลุกเสกปลัดขิกมีอานุภาพอัศจรรย์ปรากฏชื่อเกียรติคุณอยู่ในขณะนี้


 

๗.อาจารย์แช่ม ตะโกสูง จ.นครปฐม เป็นศิษย์หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อแช่มนั้นเป็นศิษย์ของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์หลายประการรวมทั้งย่นระยะทางได้ อาจารย์แช่มเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผ่นโบราณตำรับพุทธมนต์โอสถแก่หลวงพ่อไสว ซึ่งหลวงพ่อไสว เคยรักษาโรคร้ายแรง ที่โรงพยาบาลไม่รับ หายมาแล้วมากมาย ฯลฯ

 

๘.พระปลัดตู่ วัดหนองเสือ มีวิชาเร้นลับสำคัญอยู่ เรียกว่า วิชาตกวิญญาณ สำหรับใช้เรียกวิญญาณคนตกน้ำตายเพื่อนำวิญญาณไปอยู่ในที่อันควร พระปลัดตู่ได้ถ่ายทอดวิชาตกวิญญาณ

ให้หลวงพ่อไสวอย่างสมบูรณ์แบบได้ผลอัศจรรย์ยิ่งพิธีสังเขปคือ เมื่อเรียกวิญญาณปลุกเสกหุ่นเสร็จ ตั้งเครื่องเสียกบาลต่างๆ แล้วใส่กระทงกากล้วย ทำบัตรพลี ใช้เบ็ดตกปลาเกี่ยวดินอาคมหย่อนลงไปในน้ำที่มีคนตกไปตาย บริกรรมคาถาเรียกวิญญาณ ผู้ที่มาเห็นปรากฏการณ์ประหลาดมีคลื่นวิ่งเป็นทางยาว สายเบ็ดกระตุกดุจมีปลาใหญ่มากินเหยื่อ จนคันเบ็ดโค้งโก่งไปโก่งมา ต้องกันดึงขึ้นมา ฯลฯ เรื่องนี้ชาวบ้านคลองจินดาต่างประจักษ์กันดี การตายโหงทุกรูปแบบหลวงพ่อก็ไปทำพิธีมาหมดแล้วแม้แต่มีผีเจ้าของสิงที่ไหนท่านก็เคยปรากมาหมดแล้ว โดยมากพาคน โดนผีเข้าที่อาการหนัก มารดน้ำมนต์หลวงพ่อ ผีดิ้นพราด ร้องโหยหวนวังเวง ก่อนจะออก

 

๙.หลวงพ่อประพันธ์ คำสิงห์ อยู่ในถ้ำดงพญาไฟ ได้ถ่ายทอดวิชาสร้างพระปรอท-ธาตุกายสิทธิ์ให้ศิษย์คนหนึ่งที่รับสัจจะเลิกเป็นโจรสลัด ต่อมาศิษย์คนนั้น ได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่หลวงพ่อไสว หลวงพ่อได้สร้างพระปรอทแจกทหารเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารหาญผ่านสมรภูมิอย่างโชกโชน ถูกยิงไม่เข้า แคล้วคลาดจากระเบิด ปราศจากโรคภัยรอดมาได้ฯลฯนอกจากนี้หลวงพ่อไสวยังได้ไปเรียนวิชาอาคมเป็นเกร็ดเล็กน้อย จากพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง เจ้าแห่งการสร้างพระราหูดันเลื่องลือ เป็นต้น เหตุที่หลวงพ่อไสวมีจิตตานุภาพสูง ก็เพราะท่านได้บำเพ็ญธุดงค์วัตรฝึกสมาธิจิตหลังจากสอบได้นักธรรมเอก โดยอธิฐานออกธุดงค์ในพรรษาที่ ๓ มุ่งหน้าสู่ภาคอีสานไปมนัสการ พระธาตุพนม พรรษที่ ๗ ธุดงค์จาริกไปทางเขาวงพระจันทร์ ดินแดนถ้ำผาท้าวกกขนาก จ.ลพบุรี สู่ จ.อุตรดิตถ์ ฯลฯ สมัยนั้นเป็นป่ารกทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด และคลาคล่ำด้วยภูตผีปีศาจโขมดดง ผีก็องกอย ไข้ป่า และกฎอันศักดิ์สิทธิ์ของการสมาทานธุดงค์ เช่นครั้งท่านปักกลดลงไปแล้วครอบเอารังมดเข้าถอนกลดก็ไม่ได้จึงสมาธิแผ่เมตตาว่าคาถากันหมด ซึ่งได้มาจากหลวงพ่อพระครูสาครคุณาธาร เจ้าอาวาส วัดเดชาฯ จ.นครปฐม เกิดปรากกฎการณ์อัศจรรย์ มดฝูงใหญ่รวมกันอยู่ภายในกลดไม่มาไต่ท่านเลย เรื่องราวปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ยังอีกมาก

 

 

คาถาของหลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม

 

อิสิหะพะยัคโค อิปิภะวาระสัมสัมโธ ชาระสัมโนคะโลวิอะ ตะปุสะ มะระสัตเทมะ สาพุทภะวาติคะโธนัง นุสวะถะถิสารทัมระโร นุตทูกะโต สุปัณณะจะวิพุท มาหังอะคะโสติ สิงหะนาถัง จายังประสิทธิเม

 

เสกข้าวกินทุกวัน สวดมนต์ก่อนนอน 3 จบ ตื่นนอนตอนเช้า 1 จบ เป็นสวัสดิมงคล อายุยืน

 

 

หลวงพ่อไสว ได้ถึงกาล มรณะภาพ 11 พฤศจิกายน 2543 วันเพ็ญเดิอน 12

272
พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ   หรือหลวงพ่อพูน    ฐิตสีโล   มีนามเดิมว่า   ทองพูน   นามสกุล  สัญญะโสภี             ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันพุธที่   ๑๖   พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๗๕  (แรม  ๔   ค่ำ  เดือน  ๑๒     ปีวอก)   โยมบิดาชื่อแบน  โยมมารดาชื่อสมบุญ   สัญญะโสภี   ณ  บ้านสามกอ   หมู่   ๑   ตำบลสามกอ   อำเภอเสนา     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อพูนหรือเด็กชายทองพูนในขณะนั้นได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนศรีรัตนานุกูล    หรือปัจจุบันนี้คือโรงเรียนวัดบ้านแพน ?ศรีรัตนานุกูล?   จนกระทั่งจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่   ๔   ในปี   พ.ศ.  ๒๔๘๘   จึงได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง   จนกระทั่งอายุได้   ๑๔   ปี   จึงได้ติดตามหลวงปู่คำปัน   พระธุดงค์มาจากจังหวัดลำพูน  ขึ้นไปเมืองเหนือเป็นเวลา   ๑ ปี  จึงได้กลับมายังบ้านเกิดโดยสำเร็จวิชาด้านโหราศาสตร์กลับมา  เมื่ออายุเพียง   ๑๕  ปี ต่อมาในปี  พ.ศ. ๒๔๙๒  นายทองพูนจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร      ณ  วัดบ้านแพน  จากคำชวนของหลวงพ่อวาสน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแพนในขณะนั้น     เมื่อวันที่  ๓๐  เมษายน  ๒๔๙๒   โดยมี  พระปลัดแจ่ม   วัดโพธิ์   เป็นพระอุปัชฌาย์  ซึ่งในปีนั้นเองสามเณรทองพูนก็สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี  และ หลังจากบรรพชาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยได้  ๓  ปี      สามเณรทองพูนจึงได้อุปสมบท   เมื่ออายุครบ   ๒๐  ปีบริบูรณ์  ในวันที่  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๙๕  ปีมะโรง  โดยมีพระครูปริยัติคุณูปการณ์ (วาสน์)  วัดบ้านแพน  เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี)  วัดมารวิชัย  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูวิบูลย์ธรรมศาสน์  (หลวงพ่อสังวาลย์)วัดกระโดงทอง  เป็นพระอนุสาวนาจารย์  สำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์เวลา  ๐๘.๐๐   น.  ได้รับนามฉายาว่า ?ฐิตสีโล?  จากนั้นจึงได้ตั้งใจสอบนักธรรมชั้นโทและ  ชั้นเอกได้สำเร็จภายใน  ๒

การศึกษาพุทธาคม

ในด้านพระเวทย์วิทยาคมหลวงพ่อพูนท่านได้สนใจและได้ศึกษาในเรื่องพุทธเวทย์มหามนต์ซึ่งเป็นศาสตร์
แห่ง ?พุทธ? มาตั้งแต่อายุ    ๑๔  ปี  โดยในเวลานั้นได้ติดตามหลวงปู่คำปัน    พระธุดงค์ที่มาจากภาคเหนือขึ้นไปอาศัยอยู่ภาคเหนือเป็นเวลา ๑ ปี  จึงได้กลับมาบ้านเกิดพร้อมทั้งตำราการดูดวงที่ถือได้ว่าแม่นยำอย่างหาใครเปรียบได้ยาก ไม่เพียงแค่นั้นหลวงพ่อพูนท่านยังได้ฝึกเรียนกรรมฐานกับอาจารย์พริ้งฆราวาสจอมขมังเวทย์ในย่าน
บ้านแพน  และได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำน้ำมนต์มาจากอาจารย์พริ้งจนจบหลักสูตรวิชา  จึงเป็นเหตุให้น้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงพ่อพูนทำขึ้นมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก   สามารถใช้ขับไล่ภูตผี  ปีศาจ  เสนียดจัญไรได้อย่างชะงัด
นอกจากอาจารย์พริ้งแล้วหลวงพ่อพูนยังได้ร่ำเรียนวิชามาจากอาจารย์ลพ   เกตุบุตร  ซึ่งเป็นพี่ชายของหลวงพ่อวาสน์พระอุปัชฌาย์ของท่าน  และเป็นศิษย์เอกของอาจารย์จาบแห่งตำบลสำเภาล่ม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยหลวงพ่อพูนได้รับการถ่ายทอดวิชาการลงยันต์ตรีนิสิงเห  ซึ่งเป็นยันต์ที่หลวงพ่อมักใช้จารลงในแผ่นยันต์หรือแหวนอยู่เสมอ  ๆ  สำหรับครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์นั้น  หลวงพ่อพูนได้ศึกษาวิชามาจากหลวงพ่อมี  วัดมารวิชัย  ที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน  จนมีความเชี่ยวชาญด้านพระเวทย์เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายวิชาพระคาถาชินบัญชรอันลือลั่นของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต   พรหมรังสี)  ที่แม้ว่าหลวงพ่อมีจะมีความเชี่ยวชาญในพระคาถานี้อย่างหาผู้ใดเทียบได้ยาก  เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่    ยังชมหลวงพ่อพูนว่า ?มีความเชี่ยวชาญพระคาถาชินบัญชรมากกว่าท่าน?
งานการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน

หลังจากที่หลวงพ่อพูนบวชได้เพียง  ๔  พรรษา  คือ ในพ.ศ. ๒๔๙๙  ก็ได้รับการมอบหมายจากหลวงพ่อวาสน์พระอุปัชฌาย์ของท่าน  และเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแพนในขณะนั้น   ให้หลวงพ่อเป็นพระกรรมวาจาจารย์
คือเป็นพระคู่สวดประจำวัดบ้านแพน  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สำคัญ ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อวาสน์ 
เจ้าอาวาสวัดบ้านแพน  คือ  พ.ศ. ๒๔๙๙   ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบ้านแพน  พ.ศ. ๒๕๑๓  ได้รับการมอบหมายให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดบ้านแพน  วันที่  ๒๒  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๒๗
เนื่องจากหลวงพ่อ พระครูปริยัติคุณูปการณ์ (วาสน์)   ท่านชราภาพมาก  ท่านมีอายุถึง  ๘๕  ปี   ท่านจึงได้รับการยกฐานะเป็นเจ้าอาวาส
และเจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์   หลวงพ่อพูนท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแพน
ต่อจากหลวงพ่อวาสน์ มาจนถึงปัจจุบันนี้ ภายหลังจากที่หลวงพ่อพูนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส
วัดบ้านแพน   ท่านได้ปกครองดูแลวัดและทำการก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถาวรวัตถุต่าง  ๆ 
ภายในวัดบ้านแพนให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด  จนในวันที่  ๕  ธันวาคม  ๒๕๓๓   หลวงพ่อจึงได้รับพระมหากรุณาฯจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแต่งตั้งสมณศักด
ิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท (จร.ชท.)  ในราชทินนามที่ ?พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ?
วันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๓๕   ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์   มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท   และมีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎมหาเถรสมาคม  ฉบับที่  ๗  (พ.ศ. ๒๕๐๖)  ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอน   พระอุปัชฌาย์ 
สำหรับงานและภาระหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเสนานั้น  ท่านได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ
ดังนี้ คือ   วันที่  ๑๑  กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๙  ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์   วัดสุวรรณาราม   
  เจ้าคณะภาค  ๒ในขณะนั้น  ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะอำเภอเสนา        พ.ศ. ๒๕๔๓    ในปีนี้หลวงพ่อพระครูเสนาคณานุรักษ์     เจ้าคณะอำเภอเสนาในขณะนั้นท่านได้ลาออกจากตำแหน่ง      เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   จึงมอบหมายให้หลวงพ่อเป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเสนา    และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเสนา   ในวันที่  ๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๔๕     
และในวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘    หลวงพ่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้า ฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์
เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นเอก  (จอ.ชอ.) 

           
สำหรับงานในหน้าที่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเสนาในปัจจุบันนี้     หลวงพ่อต้องรับภาระหน้าที่ดูแลวัดจำนวน  ๓๓   วัด   โดยแบ่งการปกครองเป็น  ๖  ตำบล  มีพระภิกษุในพรรษา  ๔๑๑  รูป  นอกพรรษา  ๓๓๗  รูป  มีพระครูสัญญาบัตร  ๑๘  รูป  พระอุปัชฌาย์  ๑๐  รูป  พระทรงปาฏิโมกข์  ๓๘  รูป  พระมหาเปรียญธรรม  ๗  รูป  มีการประชุมคณะสงฆ์ ทุก ๆ ๒ เดือน    คือ  ประชุมในวันขึ้น  ๑๒  ค่ำ  เดือน  คี่



273
ความเป็นมา

ของ วัดหน้าต่างนอก
**************************************

พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (พระอาจารย์แม้น อาจารสมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้เล่าถึงประวัติของวัดหน้าต่างนอก พอสังเขปว่า ท่านได้ฟังมาจากคำบอกเล่าของหลวงพ่อสังข์ วัดน้ำเต้า เจ้าคณะอำเภอบางบาล หลวงพ่อไวยท์ วัดบรมวงศ์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา อำเภอบางบาล หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว เจ้าคณะอำเภอบางไทร ถึงประวัติของวัดหน้าต่างนอก อย่างตรงกันว่า
วัดหน้าต่างนอกนี้ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2300 ซึ่งหลวงปู่เณรเป็นผู้ดำเนินก่อสร้างขึ้นเหตุที่ชื่อวัดหน้าต่างนอกนั้น ก็มีเหตุอยู่สองประเด็นด้วยกัน
ประเด็นแรก กองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ตั้งค่ายใกล้กับสะพานสีกุก ทางกองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ได้ให้ทหารหน่วยสอดแนมสอดส่องดูว่า ข้าศึกจะขยับเขยื้อนไปทางไหน โดยให้ดูด้วยการเปิดหน้าต่าง หน้าต่างใน หมายถึง ใกล้ชายแม่น้ำน้อย ก็คือที่ตั้งวัดหน้าต่างใน หน้าต่างนอก หมายถึง ทางนอกทุ่ง ก็คือที่ตั้งวัดหน้าต่างนอก
ประเด็นที่สอง ในสมัยโบราณนั้น พระสงฆ์ท่านเคร่งครัดในทางปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน และได้มีการกล่าวเอาไว้ว่า เดิมที่ตรงวัดหน้าต่างนอกเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์วัดหน้าต่างใน ต่อมาหลวงปู่เณรได้สร้างเป็นวัดขึ้น อาจจะตั้งชื่อวัดโดยอรรถโดยธรรมก็ได้ เช่น วัดหน้าต่างนอก ท่านหมายเอาอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส วัดหน้าต่างใน ท่านหมายเอา อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เมื่อหลวงปู่เณรได้มรณภาพไปแล้ว ทางคณะสงฆ์ คณะอุบาสก อุบาสิกา ได้อาราธนาหลวงปู่เอี่ยมขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนหลวงปู่เณรสืบมา
ปฏิปทาของหลวงปู่เอี่ยมเป็นที่เลื่องลือกันมากในสมัยนั้น ท่านเป็นพระปฏิบัติในด้านพระกัมมัฏฐานน้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้คนเลื่อมใสศรัทธาไปมาหาสู่เพื่อสักการะไม่ขาดสาย ครั้นพอต่อมาหลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ สิ้นอายุขัย ทางคณะสงฆ์จึงได้อาราธนาหลวงปู่อินทร์ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็จเจ้าอาวาสแทนหลวงปู่เอี่ยม ต่อมาหลวงปู่อินทร์ได้ลาสิกขาบท ทางคณะสงฆ์จึงได้อาราธนาหลวงพ่อจง ซึ่งบวชอยู่วัดหน้าต่างใน มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เมื่อหลวงพ่อจงได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกนั้น ท่านก็ได้บูรณะอุโบสถหลังเก่าซึ่งเดิมทีเป็นเรือนไม้ แล้วก็ได้บูรณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตลอดทั้งวิหารซึ่งคู่กับอุโบสถนั้น แล้วก็ได้สร้างพระพุทธฉายขึ้นที่หน้าวัด ขึ้นเป็นอนุสรณ์และได้สร้างเรือหงส์ขึ้นอีกหนึ่งลำ จากนั้นได้ซ่อมแซมเสนาสนะ เช่น กุฏิมีสภาพทรุดโทรม ให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้น
จนกระทั่งหลวงพ่อท่านอายุย่างเข้า 93 ปี กับ 10 เดือน ท่านก็ได้มาป่วยด้วยโรคอัมพาตอยู่เดือนหนึ่ง แล้ว่านก็มรณภาพลง เมื่อวันจันทร์ เดือน 3 พ.ศ. 2508 ทางคณะกรรมการจึงได้ทำฌาปนกิจศพหลวงพ่อจง พ.ศ. 2509 จากนั้นก็ได้อาราธนาพระอาจารย์ไวทย์ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส และได้แต่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 พระอาจารย์ไวยท์ได้เป็นเจ้าอาวาสเพียง 5 เดือน ก็ได้มรณภาพลง จากนั้นก็จึงได้อาราธนาพระอาจารย์พุท ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส พระอาจารย์พุทก็ได้มรณภาพลง จากนั้นพ.ศ. 2515 ทางคณะกรรมการจึงได้อาราธนาพระอาจารย์แม้น หรือพระครูสมบูรณ์จริยธรรม จากวัดกลางคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มารักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เมื่อเดือนสี่ พ.ศ. 2515 และเป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบันนี้

ชาติกำเนิด
หลวงพ่อจง พุทฺธสโร ท่านได้ถือกำเนิดที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในต้นสมัยรัชการที่ 5 ของราชวงศ์จักรี ท่านเกิดในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2415
นามเดิมของท่านชื่อว่า "จง" ในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล เลยยังไม่มีนานสกุลพ่วงท้ายชื่อ เป็นบุตรชายคนโตของ "นายยอด" และ "นางขลิบ" ที่มีอาชีพเป็นชาวนา หลวงพ่อจงท่านมีน้องร่วมอุทรณ์เดียวกันอีก 2 คน คือ "นายนิล" หรือ "พระอธิการนิล" และ "นางปลิก"
ชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงพ่อจงท่านอยู่ในฐานะเฉกเช่นผู้อาภัพอับโชค อุดมไปด้วยทุกขโรคา มากกว่าความสุขร่าเริงสดใสเหมือนกับเด็กในวัยเดียวกันทั่วไป
หลวงพ่อจงท่านถูกโรคพยาธิเบียดเบียนมาตั้งแต่เล็ก จึงทำให้มีรูปร่างค่อนข้างจะผอมโซ ไม่แข็งแรง หน้าตาซีดเซียว แถมยังมีอุปนิสัยค่อนข้างขี้อาย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพังคนเดียว ไม่ค่อยพูดคุยกับใคร ถามมาคำก็ตอบกลับไปคำ
และซ้ำร้ายไปกว่านั้นได้กลายเป็นที่น่าเวทยาสำหรับผู้พบเห็นและรู้จักมักคุ้นก็คือหลวงพ่อจงในวัยเยาว์ท่านมีอาการหูอื้อจนเกือบหนวกรับฟังเสียงต่าง ๆ ไม่ค่อยชัดเจน นัยน์ตาก็ฝ้าฟางมองอะไรแทบไม่เห็น
แต่ด้านของจิตใจท่านกลับเพียรใฝ่หารสพระธรรม ชอบทำบุญตักบาตรในวันธรรมสวนะอยู่เป็นเนืองนิจ โดยให้บิดามารดาหรือญาติพี่น้องพอไปยังวัดหน้าต่างใน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก

เข้าสู่ร่มกาสาวกพัสตร์
จวบจนกระทั่งอายุของหลวงพ่อจงอายุได้ 12 ปี บิดามารดาของท่านเห็นถึงอุปนิสัยของท่านว่ามีความชอบวัด ติดวัด จึงนำเข้าบรรพชาเป็นสามเณรซะเลย ณ วัดหน้าต่างใน และก็ช่างเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่าเมื่อท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่รุมเร้ามานานแรมปี ไม่ว่าจะเป็นโรคพยาธิ ที่ทำให้กิดอาการผอมโซ เซื่องซึม หูอื้อ นัยน์ตาฝ้าฟาง ก็ได้หายไปจนหมดสิ้น ท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีสุขภาพพลานามัยดีมาก และท่านก็มีความสุขในสมณเพศนั้น ดุดดั่งเป็นนิมิตรหมายให้รู้ว่า หลวงพ่อจงจะต้องครองเพศอยู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ไปจนชีวิตจะหาไม่
ในปี พ.ศ. 2435 เมื่ออายุครบบวช โยมบิดามารดาจึงได้จัดพิธีอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน โดยมี หลวงพ่อสุ่น เจ้าอาวาส วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "พุทฺธสโรภิกขุ"
และหลวงพ่อจงก็ได้พนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดหน้าต่างใน ศึกษาพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมด้วยฝึกฝนในอักษรสมัยทั้งขอมและไทย จากพระอาจารย์เจ้าอาวาสจนมีความรู้ปราดเปรื่องชำนาญ จนใคร ๆ ก็อดสงสัยมิได้ว่า เอ๊ะ ทำไมหลวงพ่อจง มิยังงมโข่งหรืออุ้ยอ้ายอับปัญญาดุจดั่งที่มีบุคลิกอันอ่อนแอ ส่อสำแดงว่าน่าจะเป็นไปในทางทึบ หรือ อับ
หลวงพ่อจง พลิกความเข้าใจของโยมและวงศ์ญาติให้เป็นการกลับตาลปัตรไปไกลกว่านั้น โดยนอกจากศึกษารู้แจ้งในพระธรรมและภาษาหนังสือจนแตกฉานแล้ว มิช้ามินาน ยังสามารถรับการถ่ายทอดวิทยาการในแขนงว่าด้วยคุณเวทย์วิทยาคมขลัง จากพระอาจารย์โพธิ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสไพศาลในยุคนั้น มาได้ขนาดว่าหมดสิ้นพุงความรู้ของพระอาจารย์ และก็มิได้หยุดยั้งแค่นั้น หลวงพ่อจงยังได้พากเพียรแสวงหาความรู้ไม่ขาด รู้ว่าที่ไหนมีพระอาจารย์ดี มีผู้เคารพนับถือมาก ในวิชาหรือเจนบจนในวิทยาการหนึ่งวิทยาการใด ท่านเป็นเสาะแสวงหาหนทางนำตนไปนมัสการน้อมยอมเป็นสานุศิษย์ ศึกษาวิชาอย่างไม่มีท้อถอยไม่มีกลัวความลำบาก ในการต้องบุกป่าฝ่าหนามข้ามทุ่งไกล ๆ ซึ่งสมัยนั้นไปไหนต้องใช้พาหนะเท้าย่ำกันเป็นหลัก
ต่อมาจึงได้ไปศึกษาเรียนวิชาปฏิบัติกรรมฐานจากพระอาจารย์หลวงพ่อปั้น เกจิอาจารย์ของวัดพิกุล ซึ่งท่านมีชื่อเสียงกิตติศัพท์โด่งดังมากจนสมญาว่า เป็นพระมหาเถระฝ่ายอรัญญาวาสีผู้ยิ่งใหญ่รูปหนึ่งหมั่นศึกษาและพากเพียรด้วยอิทธิบาทอันแก่กล้าช้านาน จนในที่สุด "ทั่ง" ถูกฝนลงเป็นเข็มสำเร็จ กาลต่อมา หลวงพ่อจงจึงได้รับขนานนามเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเจริญกรรมฐาน ประเภท อสุภปฏิกูล โดยที่ท่านมีบุคลิกภาพเปี่ยมพร้อมสมบูรณ์ สำหรับการปฏิบัติเจริญภาวนา เหมาะสมกับสภาวะนั้นได้ ด้วยปราศจากอารมณ์หวาดหวั่น หวาดไหว เป็นต้น เปี่ยมพร้อมด้วย มีองค์คุณอันเหมาะสมที่เรียกว่า สัปปายะ (สี่) และมี องค์คุณอันเป็นที่ตั้งของความเพียร (ห้า) ที่เรียกว่า ปธานิยังคะ
เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมสิกขา และปฏิบัติพระปริยัติธรรมศึกษาพระเวทย์และวิชาการคุณเวทย์วิทยาคม ซึ่งมีความสนใจเป็นพิเศษ เพราะนอกจากมีนิสัยส่วนตัวพอใจแล้ว ยังมีเหตุแวดล้อมจากความรู้สึกชมชื่นและศรัทธาของชาวบ้านชาวเมืองสมัยยุคนั้นให้ความนิยมต่อศาสตร์แขนงนี้ ดังจะเห็นจากมีผู้ถวายความเคารพศรัทธาต่อความเป็นพหูสูตร ความยิ่งยงเกรียงไกรในอำนาจฤทธิ์มนต์ขลังของท่านพระครูโพธิ ท่านเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งครั้งกระนั้นเป็นต้นสังกัดของหลวงพ่อจงจนล่วงผ่านวันเดือนไปหลายรอบปีนักษัต ตราบจนพระอาจารย์โพธิได้ถึงมรณภาพไปเพราะโรคภัยเบียดเบียนตามอายุขัยของผู้ชราภาพ ประกอบด้วยหลวงพ่อจง เป็นผู้ขึ้นชื่ออยู่ในความรับรู้ของผู้ใกล้ชิด ทั้งใกล้ไกลตลอดมวลหมู่ผู้สนใจเฝ้าสังเกตว่า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาการทางเวทย์วิทยาคมมาจากพระอาจารย์โพธิได้อย่างเต็มภาคภูมิ วุฒิที่พระอาจารย์โพธิมีอยู่ แต่นั้นมาบรรดาชาวบ้านก็ให้ความศรัทธาเชื่อมั่นต่อหลวงพ่อจงอย่างท่วมท้น ทำให้ท่านต้องรับภาระหนักในการทำพิธีรดน้ำมนต์ ใช้เวทย์วิทยาคมกระทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ให้ฤกษ์งามยามดี บำบัดเหตุมิดีกาลีร้ายนานาประการ ตามแต่จะมีผู้มาอาราธนานิมนต์ให้โปรดจึงกระทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นเงาตามตัว
ในขบวนการใช้อุบายอันแยบคาย อบรมบ่มจิตให้ได้รับความสงบจนบังเกิดเป็นสมาธิและฌาน (สมถะกัมมัฏฐาน หรือเรียกว่าสมถะกรรมฐาน) กับอาการบอรมจนให้ดวงจิตบังเกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) หลวงพ่อจงพอใจชอบใช้ฝึกจิตในแนวทางเรียกว่า อศุภะ
อศุภะ ตามความหมายก็คือ หมายความถึง สิ่งอันเป็นซากของวัตถุหรือซากร่างปราศจากชีวิต อันไร้ความน่าดู ปราศจากความสวยงามตงข้ามกลับน่ารังเกียจ น่าเบื่อหน่าย และน่าขยะแขยงสะอิดสะเอียน หลวงพ่อจงพอใจใช้วิธีการ เพ่งอศุภะ เป็นแนวทางอบรมบ่มจิต ก็เพราะได้ความคิดว่า มันเป็นการช่วยให้ตนสามารถมองเห็นชัดด้วยตา และบังเกิดความรู้สึกในใจให้คิดสังเวชอย่างซาบซึ้งถึงความจริงในข้อที่ว่าตนและสรรพสัตว์ เมื่อต้องมีอันต้องตายไปแล้วก็ต้องมีสภาพน่าอเนจอนาถไม่น่าดู ไม่น่ารัก แต่น่าชัง น่ารังเกียจ ทุเรศ อุจาดตา ดังนี้ด้วยกันทั้งนั้นและเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น ซึ่งจากข้อคิดนี้ จะทำให้ดวงจิตแห้งแล้งหดหู่ ปราศจากความร่านยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ปราศจากความหลงงมงาย คิดว่าร่างกายเป็นสิ่งสวยงาม จะได้เป็นเครื่องบรรเทาอัสมิมานะ คือ ความสำคัญผิด เพ้อเห็นไปว่าร่างกายนั้นมันเป็นตัวตนของเขาของเราจริงแท้ ซึ่งความจริงมันมิใช่ ความจริงมันเป็นเพียง อัตตะปราศจากตัวตน เป็นที่รวมอยู่ของธาตุทั้งห้าชั่วครั้งคราว โดยสภาวะปรุงแต่งแวดล้อม ครั้งถึงกาลเวลาก็แตกดับล่วงลับสลายไป ไม่เป็นเขาไม่เป็นเรา ดังนั้น หลงและโลภในรูปรส กลิ่น เสียง
หลวงพ่อจงชอบเพ่งมอง อศุภะ คือ รูปเน่าเปื่อยของศพที่มีผู้เอามามอบให้ และท่านเก็บไว้ในห้องที่จัดไว้พิเศษโดยเฉพาะอย่างซ่อนเร้น มิให้ประเจิดประเจ้อต่อความรู้เห็นของผู้อื่น ท่านจะใช้เวลายามปลอดและสงัดจากผู้คนเข้าไปในห้องพิเศษพร้อมด้วยดวงเทียนที่มีแสงสว่างเพียงมองเห็น ท่านจะนั่งเฝ้าเพ่งมองดูรูปศพคนตาย ไม่เลือกว่าจะเป็นศพขึ้นอืดจนเป็นน้ำเหลืองหยด มีกลิ่นเหม็น หรือเป็นซากศพแห้งเหี่ยวจนหน้าตาน่าเกลียดเพียงใด ท่านก็จะเฝ้าจ้องมองเพ่งดูอย่างจริงจัง เพ่งมองให้เป็นภาพติดตา จนจำขึ้นใจว่า ศพนั้นท่าทางรูปร่างเป็นอย่างนั้น แห้งเหี่ยวเป็นรอยย่นผิดหน้าตามนุษย์ธรรมดายังงั้นยังงี้ หรือมีน้ำเหลืองหยดเพราะอาการเน่าเปื่อยตรงนั้นตรงนี้ พร้อมกันนั้นก็กระทำจิตใจให้บังเกิดอารมณ์สังเวช ว่ารูปกายที่เกิดมาแล้วก็ต้องถึงวาระมีอันเป็นไปให้เจ็บป่วย ถูกทำร้ายหรือยังเกิดอุบัติเหตุเป็นภัยอันตรายถึงตาย ตายแล้วก็มีอาการน่าอเนจอนาถต่าง ๆ นานา เป็นเช่นนี้เสมอไป ร่างกายหนอ... ชีวิตหนอ... ต่างล้วนเป็นภาพน่าอนาถ น่าสังเวช น่าชิงชัง น่าเบื่อด้วยกันทั้งนั้น
เมื่อมีผู้สงสัยถามว่า ทำดังนี้และปลงอารมณ์ได้ดังนี้แล้ว จะบังเกิดประโยชน์อะไร หลวงพ่อจงให้คำตอบว่าได้ประโยชน์คือ ทำให้ไม่หลงใหลรักตัวตนว่าเป็นตัวตนของเขาของเรา มันเป็นแค่ชีวิตกายเกิดที่ก่อสารรูปขึ้นได้ด้วยสภาวะแวดล้อมของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช้ารวมตัวกัน ความคิดเห็นแก่ตนเอง เอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น จะหย่อนหายไปจากสันดานโลภโมโทสัน เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งขัดเกลาสันดานจิตใจ ให้ผ่องใสสะอาด หากมนุษย์อันเป็นตัวสมมติของกาย เกิดไม่หลงนึกแยกประเภทของกายเกิด ว่านั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา ดังนี้แล้ว การอยู่ร่วมกันในสังคม บ้านเมือง ตลอดทั่วโลก ก็จะมีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องมีการดิ้นรนจองล้างจองผลาญย่ำยีต่อกันและกัน
หลวงพ่อจงเป็นผู้มีกำลังหนุนมั่นคงด้วยการใช้แรงอิทธิบาทสี่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เข้าปฏิบัติกระทำในกิจการไม่ว่าสิ่งใดที่สนใจ ตลอดจนการท่องบ่นทบทวนวิทยาคมที่พระอาจารย์โพธิ์ประสิทธิ์ประสาทให้ไม่ย่อท้อ ท่านได้พากเพียรกระทำสม่ำเสมออยู่เป็นนิจ ด้วยความมานะแรงกล้า
ยิ่งนานวันนานคืนล่วงไป ภูมิจิตของท่านเก็เพิ่มพลังความชำนาญจนเข้าขั้นนับว่าเป็นผู้ได้ฌาณสมาบัติขั้นสูงผู้หนึ่ง
หลวงพ่อจงเป็นผู้มีบุคลิกเหมาะสมหลายประการ เหมาะสมจะเข้าบำเพ็ญบารมีใฝ่หาสัจธรรม อาทิ
เป็นผู้มีสัจจะ คือ ผู้ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น มีจิตใจปราศจากความกลับกลอก พูดคำไหนเป็นคำนั้น ตั้งใจทำสิ่งใด ด้นดั้นใช้ความพากเพียรทำไปจนปรากฏผลโดยปราศจากยับยั้ง ไม่มีถอยหน้าถอยหลัง
เป็นผู้เปี่ยมด้วย ฑมะ คือ เป็นผู้มีอำนาจใจกล้าแข็ง สามารถยืนหยัดบังคับใจตนเองไว้ในอำนาจการตัดสินปลงใจ ได้อย่างเด็ดขาด
เป็นผู้ซึ่งพร้อมด้วย จาคะ คือ มีดวงจิตสะอาดบริสุทธิ์ พร้อมจะเสียสละได้ทุกเมื่อ มีความกล้าหาญสามารถทุ่มเทแม้แต่ชีวิตเพื่อเลี่ยงเสียแลกกับประโยชน์ยิ่งใหญ่ ซึ่งหากทำไปแล้วผู้อื่นหรือสาธารณประโยชน์จะพึงได้รับจากการเสียสละนั้น ๆ ของท่าน โดยเฉพาะเมื่อแน่ใจว่าการปฏิบัติตามธัมมะของพระพุทธเจ้าย่อมเป็นเครื่องทำให้จิตใจได้รับความสงบหนีพ้นจากทุกข์ได้ ท่านก็มิเห็นแก่ความลำบากเหนื่อยยาก หรือกลัวเกรงสิ่งใด นอกจากตั้งหน้าบำเพ็ญธรรมนั้น ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ
เป็นผู้มีภูมิปัญญา คือ มีความฉลาดสามารถรู้จักสิ่งใด ทำแล้วเป็นคุณงามความดีมีประโยชน์ต่อตนเอง และกับผู้อื่น ควรไม่ควร เป็นไปได้หรือเป็นไปมิได้ ทั้งเป็นผู้ใช้ความฉลาด บ่มเกลานิสัยทั้งของตนและผู้อื่นอย่างไม่ขาดสาย
เป็นผู้มี ศีล ครบถ้วน ไม่ก่อกรรมสร้างเวรรุกรานรังควานใครให้เดือดร้อน เป็นผู้ใช้ศีลฟอกใจตนเองให้สะอาดประณีตเป็นนิจ แม้แต่คำน้อยไม่เคยตำหนิติเตียนให้ผู้ใดต้องได้รับความสะเทือนใจ เด็กศิษย์วัดขโมยเงินที่เก็บไว้ทำบุญสร้างโบสถ์ ก็ไม่โกรธไม่เอาเรื่อง ตรงข้าม กลับขอร้องมิให้ตำรวจถือผิดเพราะเป็นเรื่องในวัด ส่วนพวกเด็ก ๆ ก็โดนดุเพียงว่า ที่เขาจับพวกเอ็งได้ว่าเป็นคนขโมยเงินของอาตมาไป ก็เพราะเอาไปแล้วไปแบ่งไม่ยุติธรรม อย่าเอาเปรียบ อย่าขัดคอขัดใจกันซิ จะได้ไม่แตกความสามัคคี
เป็นผู้มีสมาธิและฌาน มั่นคงเป็นพื้นฐาน หลวงพ่อจง สามารถบำเพ็ญฌาน และกระทำบำเพ็ญสมาธิได้อย่างสงบทันที แม้ในท่ามกลางเสียงกระจองอแง
เป็นผู้มีสุขภาพดี ฉันเป็นเวลา แม้จะนอนไม่เป็นเวลา แต่สามารถลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ตามกำหนดกฏเกณฑ์สม่ำเสมอ มีอำนาจจิตแข็งขัน จวบจนลุล่วงวัย 94 ปี ในปีสุดท้ายที่มรณะเข้ามาเยือนและพาสังขารของท่านไปสู่ความผุพัง ยังคงมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เมื่อเจ็บหนัก รู้ว่าจะไม่รอด ท่านพูดว่า "คราวนี้เขาเอาเราอยู่แน่ อย่างไรเป็นหนีไม่รอด"... จากนั้นก็รอความตายโดยสงบ ไม่บ่นไม่หวั่นไหวอย่างไรทั้งสิ้น
หลวงพ่อจงท่านเป็นผู้รู้พระปริยัติธรรมตามฐานันดร และตามความต้องการเรียนรู้ให้เข้าใจในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อใช้ปฏิบัติให้บังเกิดความสงบสุข และบรรลุเข้าสู่วิถีแห่งความพ้นทุกข์ พร้อมด้วยใช้เป็นเครื่องกล่อมเกลาบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่นตามควรแก่ฐานานุรูป เหมาะสมตามกาลเทศะ...ตลอดจนได้เป็นผู้รอบรู้เจนจบในทางวิทยาคม ซึ่งพระอาจารย์โพธิผู้เป็นพระอาจารย์ได้ถ่ายทอดไว้ให้และท่านก็สามารถนำไปใช้ช่วยปลดทุกข์ทางกายทางใจแก่ปวงชนมากหลาย แม้แต่ในมหาสงครามโลกครั้งที่สอง สมรภูมิอินโดจีน และสมรภูมิรบในเกาหลี อิทธิบารมีของหลวงพ่อจง ก็ได้สอดแทรกมีบทบาทช่วยให้เหล่าทหารหาญของชาติไทยทั้งสามกองทัพบังเกิดพลังใจใหญ่หลวง กระทำการรบได้อย่างห้าวหาญ มีชื่อเสียงเกรียงไกรไพศาล เป็นที่หวาดหวั่นยั่นระย่อต่อเหล่าข้าศึกไม่น้อย
เมื่อเผชิญกับการรับรุกบุกเข้าปะทะหมายกวาดล้างของทหารไทย ข้าศึกก็ล้มตายอย่างย่อยยับหรือถอยหนีโดยไม่คิดสู้บ่อยที่สุด...แม้แต่ในวงล้อมของฝูงข้าศึก ที่จอมทัพฝ่ายพันธมิตรคาดหมายว่าอย่างไรเสียกองร้อยทหารไทยคงไม่มีทางรอดเหลือกับฐานทัพ เพราะคำนวณจากจำนวนทหารข้าศึกที่ล้อมทหารไทยไว้กว่าห้าชั้น ด้วยกำลังรบที่มากกว่าเป็นสิบ ๆ เท่า ไม่มีทางที่จอมทัพฝ่ายพันธมิตรซึ่งทัพไทยร่วมด้วยจะคาดคิดเป็นอย่างอื่นไปได้ และไม่น่าจะเป็นการคาดคะเนที่ผิดไปเลย
แต่...ทหารไทยผู้ห้าวหาญก็สามารถต่อสู้กับข้าศึกษาทั้งทางพื้นดินและหลบระเบิดที่เครื่องบินข้าศึกษาทิ้งพรมลงมาไม่ขาดสาย พร้อมกับต้องบุกฝ่าพายุปืนกลหนักเบาจากวงล้อมห้าชั้นทั้งสี่ทิศ หลุดรอดออกมาได้เกือบครึ่งจำนวน... ทหารไทยเลยถูกลือว่าเป็นกองทัพมัจจุราช กองทัพมหากาฬ กองทัพผี สารพัดจะถูกขนานสมญานาม
มันเป็นการรบในยุทธวิธีตีฝ่าที่ใจห้าวกร้าวแกร่งอย่างอัศจรรย์เหมือนฝัน... จอมทัพพันธมิตรรับรู้ข่าวแสนจะพึงปิติปราโมทย์ด้วยอาการตกตะลึง ต้องสั่นหัวและถามซ้ำเป็นสองสามซ้ำว่า นั่นเป็นรายงานข่าวรับฟังเชื่อได้รึ ? แต่เมื่อเป็นข่าวชัดเจนมีการยืนยันเป็นหลักฐาน จอมทัพพันธมิตรภาคเอเซียก็ต้องเชื่อและอุทานชมลั่น
ถึงขนาดจอมทัพแม๊คอาเธอร์ ขอพบผู้บังคับบัญชากองทัพ เพราะอยากเห็นตัวเหล่ายอดทหารไทยผู้เกรียงไกร และจอมทัพแม๊คอาเธอร์ก็ได้รู้ว่าเลือดไทยทุกคนระอุอ้าวไปด้วยความห้าวเหี้ยมหาญ คิดเชื่อมั่นกันอยู่แต่ว่า ถ้ายิง ต้องยิงให้ถูกข้าศึก แต่ข้าศึกจะยิงไม่ถูก เพราะพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า แห่งบวรพุทธศาสนาท่านคุ้มครอง
ธรรมต้องชนะอธรรมไม่มีปัญหา แต่อย่างไรก็ดี ทหารไทยที่รอดตายเกือบครึ่ง ปรากฏว่า ส่วนใหญ่บ้างมีตะกรุดชุด 16 ดอก บ้างมีตะกรุดดทน บ้างก็ใช้เสื้อพระยันต์ราชสีห์สีแดงบ้างมีพระทุ่งเศรษฐีดำใหญ่ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และจำนวนทหารผู้รอดตายเหล่านั้นเชื่อว่าบรรดาเครื่องรางของขลังที่พวกตนมั่นใจในคุณขลังเหล่านี้มีส่วนช่วยชีวิตของตน
ทหารรุ่นศึกอินโดจีน และต่อมาในมหาสงครามโลก จนกระทั่งศึกษาเกาหลี ส่วนมากมีความศรัทธานิยมบูชาสักการะต่อตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 16 ดอก และเสื้อยันต์แดงราชสีห์ของมหาสงครามโลกครั้งที่สอง หรือสงครามเกาหลี ว่าเป็นทหารหาญที่ทากรรับเก่งกล้าที่สุด ตายและเสียหายน้อยที่สุด เฉพาะขวัญของทหารได้รับการยกย่องว่าเลิศที่สุด
นำติดตัวเข้าสมรภูมิเพื่อเป็นการบำรุงขวัญ
กองทัพไทยทั้งสามเหล่า ขึ้นชื่อว่าเป็นที่รับรู้ของกองทัพข้าศึก ไม่ว่าครั้งอินโดจีน มหาสงครามโลกครั้งที่สอง หรือสงครามเกาหลี ว่าเป็นทหารหาญที่ทากรรับเก่งกล้าที่สุด ตายและเสียหายน้อยที่สุด เฉพาะขวัญของทหารได้รับการยกย่องว่าเลิศที่สุด
มนต์ขลังและวิทยาคม เป็นเครื่องประสิทธิ์ประสาทให้ผู้ศรัทธาสักการะ แคล้วคลาด ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า ตีไม่แตก และบ้างเป็นมหาลาภ มหาเสน่ห์ มหานิยม ได้จริงจังแค่ไหนเพียงไรหรือไม่ หากจะพิสูจน์กันจริงจัง บางทีอาจจะกระทำได้ยาก เพราะอุปมาดุจดั่งเป็นอิทธิพลหรืออำนาจลึกลับอะไรทำนองนั้น จึงยากจะหาผู้ยืนยันท้าพิสูจน์เป็นผลแตกหัก..แต่อย่างไรก็ตาม ความศรัทธา ความเชื่อมั่นในอิทธิพลบารมี ของความขลังศักดิ์สิทธิ์ในประการเหล่านี้ ก็มีอยู่ในความรู้สึกอย่างมั่นคงของชาวไทย ไม่เลือกชั้น วรรณะ มานานกว่าพัน ๆ ปี...ฉะนั้นใครจะเชื่อหรือไม่ ก็แล้วแต่จิตใจของคนนั้น

ทิพยอำนาจ กับ ความขลัง
สมัยเมื่อเป็นภิกษุในระยะสิบพรรษาแรก เป็นระยะกำลังอยู่ในวัยศึกษาหาความรู้ หลวงพ่อจงเป็นผู้มีมานะพยายาม และกระตือรือร้นใคร่เป็นพหูสูตรอยู่เสมอ เมื่อรู้ว่ามีพระอาจารย์ทรงวิทยาคุณดีเด่นในทางใดก็ขวนขวายไปนมัสการขอน้อมยอมเป็นศิษย์ และหลังจากได้รับการถ่ายทอดวิทยาอาคมจากพระอาจารย์โพธิจนชำนาญ ต่อมาท่านเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก คือหลวงพ่ออินทร์ลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพทางฆราวาส ชาวบ้านและผู้เป็นกำนันส่วนมากของตำบลนั้นและใกล้เคียง ซึ่งต่างเริ่มมองเห็นว่า ภิกษุจงเป็นผู้ทรงสมถะ สำรวม พร้อมทั้งมีคุณสมบัติแห่งความเป็นอริยสงฆ์ดีเด่นหลายประการประกอบทั้งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อโพธิ วัดหน้าต่างใน ซึ่งมีผู้เลื่อมใสศรัทธาในวิทยาคุณของท่านมาก จึงพากันนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสเสียที่วัดหน้าต่างนอกแทนพระอธิการอินทร์ (สมัยนั้น ชาวบ้านมีสิทธิเสียงเลือกตั้งเจ้าอาวาสได้เอง)
หลวงพ่อจงเมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกแล้ว ก็ได้พยายามปฏิบัติตนตามฐานะ ได้รับยกย่องเขยิบฐานะอย่างเหมาะสม นอกจากบริหารภารกิจอันเป็นของสงฆ์และของวัด อันพึงกระทำตามสิกขาบทเฉพาะที่เกี่ยวกับชาวบ้าน ก็ได้สำแดงจิตอัธยาศัย แผ่ไม่ตรีโอบเอื้ออารีต่อบุคคลไม่เลือกหน้า ไม่ว่าใคร จะยากดี มีจนหรือเป็นคนถ่อยชั่ว จนขึ้นชื่อว่าพาลชน จะเข้าหาหรือขอร้องให้ช่วยงานกิจธุระหรือจะช่วยทุกข์หรือนิมนต์ไปโปรดที่ไหน ไม่ว่าหนทางใกล้ไกล ท่านเป็นยอมรับยินดีกระทำธุระปลดเปลื้องบำเพ็ญกรณีให้ผู้ขอได้รับความสมปรารถนา ตามปัญญาของท่านโดยควรแก่ฐานานุรูป และกาลเทศะของผู้ขอเสมอไป ด้วยความเต็มใจยิ้มแย้มแจ่มใส ท่านไม่เคยปฏิเสธหรือผลัดผ่อน มิเคยสำแดงกิริยาการอ้ำอึ้งไม่พอใจ หรือขึ้นโกรธกระทำแง่เงื่อนอิดออดอย่างไร และแม้แต่การกินอยู่ (ฉัน) ท่านไม่เคยบ่นไม่เคยพูดว่า อยากฉันโน่นนี่ ถึงเวลาใครถวายอะไรให้ฉัน ก็ฉันจนอิ่มตามความพอใจไม่มีอาการผิดปกติ
ต่อมาราวอายุได้ 30 เศษ ภายหลังจากที่ได้เคยเดินทางบุกดงรกชัฏท่องป่า ข้ามภูเขา ห้วย และหานเหว ไปกระทำนมัสการบูชารอยพระพุทธบาท และเจดีย์สำคัญทุกแหงในเมืองไทยแล้ว หลวงพ่อจงได้ยินเขาเล่าว่าประเทศพม่ามีเจดีย์สำคัญสูงใหญ่ คือพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง ท่านก็เกิดความกระตือรือร้นใคร่จะได้ไปนมัสการทันที แต่เมื่อได้ปรารภเรื่องนี้ให้ญาติ เพื่อนภิกษุ และสงฆ์ผู้ใหญ่ฟังแล้ว ส่วนมากทักท้วงให้ระงับยับยั้ง มิอยากให้ไป ต่างอ้างเหตุผลว่าทางมันไกลนัก อีกอย่างเป็นเมืองต่างด้าวพูดกันไม่รู้เรื่อง ประการสำคัญคือถนนหนทางที่จะไปก็ไม่มีเป็นเส้นสายแน่นอน นอกจากจะต้องเดินวกเวี้ยวเลี้ยวลัดและมุดลอดไปตามดง ทับ หรือป่าเถาวัลย์ ไม้พุ่มไม้เลื้อยนานาชนิด... ด่านแรกสำคัญที่สุดก็คือจะต้องบุกฝ่าไปในดงพญาเย็น ดงพญาไฟ ซึ่งครั้งกระนั้นรกชัฎ ยามร้อน-ร้อนจัด ยามเย็น-เย็นยะเยือก และชื้นแฉะ จนได้รับสมญาขนานนามเป็นดงผีห่า ผู้เดินทางผ่านดงยิ่งใหญ่ทั้งสองซึ่งมีระยะยาวนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร มีสภาพถูกปกคลุมไปด้วยไม้ใหญ่เป็นดงทึกจนมองไม่เห็นแสงแดด เต็มไปด้วยไม้เลื้อยพัวพันกันเป็นพืด เหมือนแนวกำแพงชั้นแล้วชั้นเล่าไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากนี้ก็เต็มไปด้วยหินแหลมหินคม โขดเขา หุบเหวใหญ่น้อย เต็มไปด้วยสรรพสัตว์ร้ายทั้งทวิบาท จตุบาท กับอสรพิษสัตว์เลื้อยคลานร้อยแปดพันอย่าง ซึ่งหากพลั้งเผลอปราศจากระวังพริบตาเดียว ก็เท่ากับเอาชีวิตไปทิ้งเสียเปล่า ยิ่งกว่านั้น ในเรื่องหมอเรื่องยา หลวงพ่อจงก็ปราศจากความรู้ ผู้จะเป็นเพื่อนเดินทางไปด้วยก็เช่นกัน ฉะนั้นแม้จะรอดจากเขี้ยวเล็บ สัตว์จตุบาทไหนเลยจะรอดจากโรคภัย โดยเฉพาะจากดงใหญ่มหากาฬ พญาเย็น-ญาไฟ ซึ่งขึ้นชื่อกระฉ่อนว่า เป็นดงผีห่ามหาประลัยไปพ้น
ใครจะชักแม่น้ำทั้งห้ากีดกัน ขัดคออย่างไรก็ไม่เป็นผล... หลวงพ่อจงไม่เถียง ไม่แม้แต่จะเหตุผลใดเข้าหักร้างข้อแย้ง เป็นแต่เพียงหัวเราะ หึ หึ หึ ตีหน้าตาเสมือนมิได้แยแสต่อสรรพสิ่งที่น่ากลัวสยดสยอง ตามคำบอกเล่าเหล่านั้นแม้แต่น้อย คำพูดของท่าน พูดสั้น ๆ ห้วน ๆ ตามนิสัยซึ่งผู้ฟัง ฟังแล้วรู้สึกได้ทันทีว่า ลงพูดยังงั้นเอาช้างฉุดไว้ก็ฉุดไม่อยู่ ท่านว่า "ไม่เป็นไรน่า ทั้งฉันก็ศรัทธาอยากไปจริง ๆ ด้วย"
เมื่อปณิธานมั่นคงไม่เอนเอียงไม่ทรุดต่ำต่อเหตุผลของใคร ในใจท่านแน่วแน่เป็นประการฉะนี้ การทักท้วงทัดทานมิว่าด้วยเหตุผลน่า หวั่นไหวอย่างใด ก็ไม่ทำให้ท่านเอนเอียงย่อท้อถอยหลัง หลวงพ่อจงปักหลักเจตนาของท่านไม่มีแคลนคลอน ตั้งจิตจะไปนมัสการพุทธเจดีย์ชะเวดากอง ไม่ว่าอยู่พม่าหรือมุมใดของโลกก็ต้องไปให้ถึงจนได้ เพื่อกระทำไตรสรณะคมน์สักการะให้สมศรัทธาซึ่งจงใจใฝ่ฝันไว้
และในราวกลางปีพุทธ ศก 2450 หลวงพ่อจงพร้อมด้วยย่ามสองย่ามยาวศอกเศษ มีเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นกับตัวยาประเภทแก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ห้ามเลือด อาหารแห้งบาดอย่าง ไม้ขีดไฟ เทียนไข และกระป๋องตักน้ำเล็ก ๆ พร้อมด้วยกลดสำหรับกางนอน ในขณะธุดงค์ได้ออกเดินจาริกด้วยเท้าเปล่า โดยลำพังองค์เดียวจากวัดหน้าต่างนอกมุ่งหน้าไปสู่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และที่นี่ท่านก็ได้พระภิกษุผู้มีจิตศรัทธาขอติดตามไปอีกสององค์ จากนั้นเมื่อเดินไปถึงชายแดนลพบุรี ซึ่งเป็นทางออกสู่ดงพญาเย็น ดงพญาไฟ ก็ได้ภิกษุเพิ่มอีกสององค์ร่วมเดินทางไปด้วย รวมเป็นห้าองค์ทั้งหลวงพ่อจง และทั้งห้าองค์ก็ไม่มีศิษย์แม้แต่คนเดียวที่จะติดตามไปรับใช้ปฏิบัติวัฏฐาก
ตั้งแต่สระบุรีเข้าดงพญาเย็น ดงพญาไฟ ต้องใช้เวลาถึงสี่วันกว่าจะผ่านไปได้ เพราะหนทางเดินนั้นขวางกั้นไปด้วยอุปสรรค บางแห่งหนาแน่นไปด้วยดงหญ้าและเถาวัลย์รกทึก ยิ่งกว่านั้นบางตอนก็ต้องเดินผ่านห้วยลึกและหุบเหว ซึ่งมองหรือสังเกตไม่เห็นได้โดยง่ายว่าเป็นเส้นทางที่ใช้เดิน บางตอนก็ไปออกทางเกวียนและริมน้ำ ซึ่งมีทั้งรอยตีนเสือ ช้าง หมี ที่เป็นรอยใหญ่ ๆ ก่อให้เกิดความหวั่นไหวได้ไม่น้อย แต่พระภิกษุทั้งห้าก็มิได้เกรงกลัว และบางครั้งก็เดินหลงทางบ่อย ๆ บางวันต้องหาทางเดินใหม่ให้เข้าสู่เส้นทางที่ชาวบ้านใช้ถึงสี่ครั้งห้าครั้ง และบางวันเดิน ๆ ไปแล้ว ไม่รู้ว่าเป็นเวลาไหน ก็เป็นอันว่าไม่ได้หยุดหุงหาฉันเพล เพราะบางที่กว่าจะรู้มันเลยเที่ยงไปนานแล้ว รู้จากแสงตะวันที่เผอิญทางเดินไปออกป่าโปร่ง ก็ได้แต่อาศัยฉันผลหมากรากไม้แก้หิวไปพลางบางวันที่ฉันเพลแทนเช้าไปเลยก็มี
และในตอนสายของวันที่สี่ ขณะที่อยู่กลางดงพญาไฟ ก่อนจะถึงจังหวัดนครราชสีมา ภิกษุผู้ร่วมทางได้อาพาธเป็นไข้ป่าอย่างรุนแรง แม้จะช่วยกันถวายยาที่มีติดไปเท่าไรก็ไม่หาย อาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลวงพ่อจงและพระภิกษุอีกสามองค์ก็ต้องผลัดกันเฝ้าดูแลอาการ เพราะมาด้วยดันจะทิ้งไว้เดียวดายนั้นไม่ได้ ที่สุดก็ต้องเสียเวลาอยู่ในป่า โดยเลือกเอาริมเหวที่มีพื้นราบสูงกว่าแห่งอื่นได้แห่งหนึ่งเป็นที่พำนัก พักรักษาภิกษุผู้อาพาธ จวบจนวันรุ่งขึ้นตอนสาย ภิกษุองค์นั้นมิอาจทนทานพิษไข้ได้ ก็ถึงกับมรณภาพ เมื่อช่วยกันฝังไว้ตามีตามเกิดแล้ว บ่ายวันนั้นจึงได้เดินทางหลุดรอดจากดงพญาเย็น ดงพญาไฟ ผ่านเขตลพบุรี ย่างเข้าเขตนครสวรรค์
ที่นครสวรรค์ ก็ได้มีพระภิกษุขอร่วมเดินทางไปด้วยอีกรูปนึ่งรวมจำนวนเป็นห้ารูปเหมือนเดิม เส้นทางเดินระหว่างนครสวรรค์จนถึงพิษณุโลกเป็นพื้นที่ราบป่าโปร่ง ไม่เป็นป่าทึบเหมือนในดงพญาเย็น ดงพญาไฟก็จริง แต่บางแหล่งก็เต็มไปด้วยอสรพิษร้าย โดยเฉพาะตอนที่เป็นบึงบรเพ็ดเวลานี้ มีน้ำท่วมเจิ่งนองเป็นบริเวณกว้าง ท่วมตอนที่เป็นทางรถไฟอยู่นานหลายเดือนในปีหนึ่ง ๆ ตามทางที่เป็นป่าริมน้ำซึ่งต้องเดินผ่าน มีจระเข้อยู่เต็มไปหมดทั้งสองฟากฝั่ง รวมทั้งงูเห่าและงูจงอางเลื้อยเพ่นพ่านให้เห็นอยู่ตลอดระยะทางเดิน เมื่อได้ยินฝีเท้าแม้จะเดินกันอย่างแผ่วเบา แต่สัญชาตญาณระวังภัยและมีสันดานดุโดยกำเนิดของมันตามธรรมชาติ มันต่างชูคอแผ่แม่เบี้ยคุกคามภิกษุทั้งห้ารูปอย่างน่าสยดสยอง แม้จะมีการระมัดระวังกันเป็นอย่างดี เจ้างูจงอางตัวหนึ่งก็ได้ฉกกัดพระภิกษุรูปหนึ่งที่มาจากสระบุรีเข้าจนได้ และพิษร้ายกำเริบจนทนไม่ได้ พระภิกษุองค์นั้นก็ต้องมรณภาพไปอย่างน่าสลดใจ
เมื่อผ่านถึงจังหวัดพิจิตร ที่วัดตะพานหิน ก็ได้มีพระภิกษุอีกรูปหนึ่งขอร่วมทางไปด้วย ฉะนั้นการเดินทางจากพิจิตรมุ่งสู่พิษณุโลก ก็ยังคงมีคณะร่วมทางครบจำนวนห้ารูปตามเดิม แต่จากพิจิตรระหว่างเข้าเขตพิษณุโลก พระภิกษุจากลพบุรีก็ต้องมรณภาพ เสียชีวิตไปอีกรูปหนึ่งขณะเดินข้ามลำธารที่เป็นพงรก โดยถูกจระเข้คาบไปกัดกิน และทิ้งซากศพไว้เพียงครึ่งเดียว
หลวงพ่อจงกับพระภิกษุอีกสามรูปจากพิษณุโลกมุ่งเข้าสู่แม่สอดเดินขึ้นไปเชียงราย โดยหมายเส้นทางเข้าไปแม่ฮ่องสอน และจะเข้าสู่พม่าในด้านที่ตั้งเจดีย์ชะเวดากอง พระภิกษุร่วมเดินทางต่างค่อยมรณภาพไปทีละองค์ด้วยโรคไข้ป่า และบ้างขาดอาหาร เป็นโรคท้องร่วงอย่างแรง (อหิวาต์) จึงคงเหลือเพียงหลวงพ่อจงแต่องค์เดียว ที่ธุดงค์ไปถึงพม่าและได้เข้านมัสการพระเจดีย์ชะเวดากองอย่างที่ตั้งใจเอาไว้
หลวงพ่อจงยอมรับว่าแรก ๆ เมื่อเห็นภิกษุผู้ร่วมเดินทางมีอันเป็นต้องจากกันไปในสภาพที่เรียกว่า ตายจากก็รู้สึกใจคอหดหู่และสลดจิตคิดสังเวช แต่เมื่อได้ทบทวนคิดได้ว่า อันรูปกายเกิดของมนุษย์และปวงสรรพสัตว์ก็มีความตายนี่แลเป็นความเที่ยงแท้ที่ชีวิตกายเกิดทุกรูปนามพังต้องประสบ รูปกายใดมิว่าจะอยู่ในฐานันดรและอยู่ในสภาพมิว่าเยี่ยงใด จะเป็นจอมนับรบผู้เกรียงไกร เป็นจอมมหาราชผู้มีศักดินายิ่งใหญ่ รูปกายเกิดเหล่านี้ก็จะต้องประสบกับมรณะสัญญาเป็นปริโยสานด้วยกันทั้งนั้น มิว่าจะในลักษณะการละม้ายแม้นเหมือน หรือแตกต่างกันในบทบาทเคลื่อนไหวอย่างใดก็ตาม มฤตยูมิยอมยกเว้นหรือแม้แต่จะให้มีการผ่นอผันให้รูปกายใดผลัดผ่อนประกันวันตายยืดออกไป เมื่อปลงตกคิดเห็นสาเหตุความต้องตายเป็นอย่างนี้จิตก็รู้สึกจืดชืดต่อความหวั่นไหวหวาดเสียวแห่งมรณะสัญญาณ มิว่าจะย่างกรายเข้ามาคุกคามในวิธีการเยี่ยงใด ตรงข้ามเมื่อเห็นความตายของผู้อื่นแต่ตนเองยังมิเคยถูกรุกรานให้บังเดเหตุเภทภัยย่ำยี กลับทำให้บังเกิดเพิ่มพูนอำนาจใจให้ทวีความกล้าแข็งยิ่งขึ้น
ที่พม่า แม้จะพูดจากันไม่รู้เรื่องในตอนแรก ๆ แต่เมื่ออยู่กันไปการใช้ภาษาบุ้ยใบ้บ้าง ใช้ภาษามคธ และภาษาพม่าที่สังเกตจดจำไว้ ก็ทำให้หลวงพ่อจงรู้เรื่องและได้รับความสะดวกในการอยู่ในพม่าเป็นเวลานานหลายเดือนเป็นอย่างดี
ตอนขากลับ หลวงพ่อจงต้องเดินทางเพียงรูปเดียวอย่างโดดเดี่ยวด้วยจิตใจกล้าหาญ ไม่กริ่งเกรงเหตุเภทภัยอย่างใด และได้แวะจำพรรษาที่วัดแห่งหนึ่งที่กำแพงเพชร เพราะคาดคะเนแล้วว่าการเดินทางจะทำไม่ได้รวดเร็วตามกำหนด จึงคิดเห็นสมควรกลับวัดเมื่อรอให้พ้นกำหนดออกพรรษาจะสะดวกกว่า
ทั้งขาไปและขากลับ หลวงพ่อจงได้รับความปลอดภัยอย่างอัศจรรย์แต่ผู้เดียว ส่วนภิกษุผู้ร่วมทาง 7 องค์ถึงแก่มรณภาพไปสิ้น
หลวงพ่อจงเคยพูดว่า ท่านเองก็ไม่รู้ได้เหมือนกันว่าเป็นเพราะเหตุใด ท่านจึงไม่พานพบเหตุร้ายหรือเจ็บปวดแม้แต่เล็กน้อยก็ไม่เคยมี แต่ระหว่างทางเคยเหยียบหินและลื่นลงหลุมเล็กจนเท้าแพลงสักหนสองหน นอกนั้นไม่เคยประสบเหตุการณ์อะไร จิตใจของท่านก็รู้สึกว่ามันเป็นปกติ ไม่เคยซู่ซ่าพลุ่งพล่านหวาดสยองกับการคุกคามของธรรมชาติอันเป็นวิบากมรุกันดาน ไม่เคยกริ่งกลัวต่อความวิเวกวิกาล หรือความอ้างว้างท่านกลางเสียงสายผล จึงสาดโกรกลอดใบไม้ทึกลงมา สายฟ้าได้ฟาดกราดเกรี้ยวลงมาถึงสองครั้ง กิ่งยางต้นใหญ่ขนาดสองสามคนโอบได้หลุดมาทั้งกิ่งไหม้ดำ แต่ในกรณีนั้น ไม่มีใครผู้ใดเป็นอันตราย กลับพากันหลุดรอดไปได้ จนต่อภายหลังจึงเสียชีพเพราะสัตว์ร้ายขบกัด และพิษไข้ป่า
ระหว่างทางเขตแม่ฮ่องสอน ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อจงท่านกำลังจะกางกลดจำวัดอยู่ใต้เพิงผาหุบเขาแห่งหนึ่ง ก็มีงูจงอางสีเหลือง แวววาวมะเมื่อย พุ่งปราดเข้ามาทางท่านอย่างว่องไว้ ท่านก็มองจ้องไปที่งูจงอางตัวนั้น รู้สึกระทึกใจอยู่ว่า นี่ถ้าจะตรงเข้าจู่โจมเล่นงานเราแน่ แต่เวรกรรมอย่างนี้เป็นกรรมเก่า หากเคยเป็นคู่ผลาญกันมาก็ยากจะหนีเขาไปรอดพ้น งูตัวนั้นใหญ่ยาว สักสองเมตรเห็นจะได้ มันชูคอพลิกเอียงไปเอียงมาอย่างผยองฤทธิ์ พุ่งปราดผ่านกองไม้ริมธารน้ำอีกสักห้าวาจะถึงตัวหลวงพ่อจง ท่านก็คงมองเพ่งอาการของมันด้วยความสงบ ในใจนึกภาวนาว่า หากไม่เคยมีเวรเก่าต้องชดใช้ ขออย่ามาก่อกรรมสร้างหนี้เวรใหม่ไว้ต่อกันเลย เจ้าจงไปตามทางของเสียเถิด
เมื่อหลวงพ่อจงนึกแผ่กระแสจิตอยู่นั้น งูจงอางได้พุ่งมุ่งสู่กองไม้ ข้ามเข้าหาท่านอย่างปราดเปรียว แต่ในทันทีทันใด ดุจดั่งราวกับถูกเบรดห้ามล้ออย่างแรง มันชะงักพรืดพลางบิดตัวอย่างรุนแรงพลิกคล่ำลงจากกองไม้ ปรากฏว่าตะขาบสีเขียวแก่จนเกือบดำตัวหนึ่งยาวราวสักสองคืบตัวใหญ่แบนสองนิ้วเศษ กำลังขบกัดติดอยู่ตรงสะดือใต้ท้องของมัน เมื่อตอนงูจงอางสะบัดโผนตัวโดยแรงนั้น ตะขาบได้กระเด็นหลุดออกไป ปรากฏว่าตรงสะดือขาดมีก้อนกลมเล็กไหลย้อยเป็นน้ำเขียวจาง ๆ ออกมาจุกอยู่ และการสะบัดอย่างแรงทำให้มันพลิกตัวหล่นลงไปน้ำนอนหงายท้องอยู่ และไม่นานนักก็สิ้นใจตาย ส่วนตะขาบตัวฮีโร่ก็คลานงุ่มงามออกจากกองไม้มุ่งเข้าราวป่าข้างหน้า โดยมิได้สนใจจะหันหลังมามองหลวงพ่อจงเป็นการอำลาหรือทวงคุณแม้แต่น้อย

บารมี ภูมิเวทย์ วิทยาคม
เมื่อเป็นบุคคลมีจิตแกล้วกล้าสามารถธำรงตนจนมีสมาธิศีลบริสุทธิ์ปราศจากว่อกแว่กหวั่นไหวในสรรพเหตุอันจักมาสั่นคลอนดวงใจให้ไหวหวาด ไม่ว่าจะเป็นต้นตอก่อภัยมืดสว่าง จากเวรกรรมเก่า หรือจากกรณีแวดล้อมซึ่งจะจู่โจมเข้ามาไม่ว่าในลักษณะการใด จวบแม้กระทั่งสามารถเดินทางโดดเดี่ยวกลับจากพม่าสู่ผืนแผ่นดินไทยด้วยตนเองตามลำพัง... แต่นั้นมาหลวงพ่อจง ก็ทวีความเชื่อมั่นในบำเพ็ญบารมีแสวงสำรวมหาอิทธิบารมีในทางปฏิบัติ กัมมัฏฐานตั้งในแนวทางของสมถะกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน กระทั่งอบรมบ่มฌานสมาบัติให้แก่กล้าทั้งทางกสิณและสมาธิ จนปรากฏว่า หลวงพ่อจงประสบความสำเร็จสมมโนหมายในวิถีซึ่งท่านต้องการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางภายหลังต่อมา หลวงพ่อจงได้ชื่อว่าเป็นอริยสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ มีพร้อมซึ่งอิทธิบาทมีแก่กล้าในแนวทางของวิชาแปดประการ อันเรียกขานกันว่า "อภิญญา"
ความเป็นผู้รู้ในธรรมแจ่มกระจ่างและปฏิบัติธรรมได้สม่ำเสมอเป็นนิจสิน มิเคยเบื่อหน่ายท้อถอยของหลวงพ่อจง ย่อมประจักษ์แก่ตาแก่ใจของบุคคลผู้ใกล้ชิดทั่วไปเป็นอย่างดี จนท่านถือเป็นคิพจน์ขึ้นว่า "การสวดมนต์ไหว้พระ เป็นกิจวัตรอันมิควรขาดกระทำ"
หลวงพ่อจงขึ้นชื่อลือเลื่องว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในทางกสิณ สมาธิ ท่านสามารถหลับตานอนและตื่นเวลาใดก็ทำได้ดั่งใจหมาย ดวงจิตของท่านเปี่ยมด้วยความสันโดษและสงบอย่างแน่วแน่จริงแท้เปี่ยมด้วยความเมตตาพร้อมจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อส่ำสัตว์ทั้งผองให้ได้ผ่านพ้นทุกข์ภัยทั้งมวลและได้ประสบพบแต่ความสุขสำเร็จประสงค์ หลวงพ่อจงมีแต่ความมุ่งดี หวังดี ปรารถนาดี ต่อชีวิตกายเก่าสม่ำเสมอโดยปราศภยาคติ อันเป็นความลำเอียง ไม่เลือกหน้า ไม่มีจิตคิดเห็นแก่ฐานะความเป็นอยู่ หรือ อำนาจฐานันดรและภาวะสภาพของใครสิ่งใดมาเป็นน้ำหนักถ่วง หรือกดดันให้บังเกิดความโน้มน้าวโอนเอียง มิว่าใครผู้ใดไปหาสู่ ท่านโอภาอราศรัยต้อนรับความยิ้มแย้มทันทีไม่ต้องให้มีการรีรอหรือผิดหวัง
ไม่มีใครเลยจะสามารถสร้างความรังเกียจความขึงขังให้บังเกิดในน้ำใจหลวงพ่อจงขึ้นได้ ท่านไม่เคยจะพูดจาว่ากล่าวว่าใครผู้ใดไม่ดีเลวร้าย บางครั้งแม้แต่มีใครไปเล่าเรื่องราวของคนไม่ดี กระทำทุราจาร ผิดศีล หรือประพฤติเลวร้ายแสนสาหัสในทางใจ พร้อมด้วยวิพากษ์วิจารณ์ด่าว่ากันตามสันดานอัธยาศัย หลวงพ่อจงก็ไม่ห้ามไม่ให้พูด ใครพูด ใครด่ากัน ก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง ไปจนเขาพูดจบเรื่อง แต่ไม่เคยสนับสนุนซ้ำเติมว่าใครดีใครไม่ดี ท่านพูดเป็นกลาง ๆ ว่า "เรารู้ว่าใครไม่ดีก็หลีกออกให้ห่าง ใครดีจึงคบหาไปมาสู่กัน ทุก ๆ คน ควรกระทำแต่ความดีมีศีลสัจจธรรม ส่วนคนประพฤติชั่วก็จะต้องได้รับกรรมตามสนอง และเขาเป็นคนน่าสงสาร หากช่วยกันได้ควรช่วยกัน ตามหลักพรหมวิหาร ทำบุญทุกอย่างย่อมได้กุศลสนอง แต่การช่วยผู้มีทุกข์ ช่วยคนคิดผิดให้คิดถูก กลับตนประพฤติชอบนั้นเป็นกุศลอย่างยิ่ง"
ครั้งหนึ่ง มีขโมยเข้าไปขโมยสมบัติของวัด ขโมยแม้กระทั่งโอ่งไหลายมังกร หลวงพ่อจงยังนอนไม่หลับในคืนหนึ่งนั้น ตื่นขึ้นมาเห็นหัวขโมยกำลังช่วยกันหามโอ่งชุลมุนวุ่นวาย ท่าทาเกะกะเก้งก้าง จะเอาไปได้ลำบากอยู่ ท่านเดินเข้าไปหาหัวขโมยพร้อมด้วยให้สติว่า "ทำไมต้องรีบด่วนขนให้เป็นการยุ่งยากลำบาก การขนโอ่งคราวละหลายใบมันหนัก เอาไปก็เกะกะหาบหามไม่สะดวก ควรขนไปครั้งละใบดีกว่า มันจะไม่ตกแตกและเอาไปใช้ประโยชน์ตามต้องการได้"
พวกหัวขโมยมองหลวงพ่อ นึกว่าท่านจะเอาเรื่อง แต่เห็นท่านพูดยิ้ม ๆ อาวุธอะไรก็ไม่มีติดมือที่จะให้คิดว่าท่านคงจะเล่นงาน พวกหัวขโมยเลยวางโอ่งนั่งย่อง ๆ ยกมือไหว้ แล้วเดินหลบหลีกไปโดยพูดว่า "ถึงท่านจะให้พวกกระผมก็ไม่ขอเอาไปแล้ว"
อีกเรื่องหนึ่ง เด็กวัดร่วมใจกันขโมยเงินในถุงย่ามไปสามพันบาท เงินจำนวนนั้นมีผู้ศรัทธาถวายเพื่อสร้างโบสถ์ แต่ยังไม่ทันมอบให้ผู้ดูแล ฝ่ายเด็กวัดครั้นเอาไปแล้วเกิดแบ่งไม่ถูกใจกัน เรื่องเลยไปถึงตำรวจ เมื่อตำรวจไปขอถ้อยคำทำคดีจากหลวงพ่อจง ท่านกลับว่าเป็นความบกพร่องของท่านที่เก็บไว้ไม่มิดชิด เด็ก ๆ มันอยากได้และสามารถหยิบฉวยง่าย มันจึงเอาไปตามประสาสันดาน แต่เป็นเรื่องในวัด ขอให้ทางวัดจัดการเองเถอะ ไม่อยากให้เรื่องไปถึงทางบ้านเมือง เพราะเด็กพวกนั้นมันยังอ่อนศึกษา ยังโง่ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไม่งั้นคงไม่เอาของวัดพระดังนี้
พร้อมกันนั้น ท่านเรียกเด็กวัดสองสามคนมาสอนว่า "ต่อไปการจะทำอะไรจงอย่าให้แตกสามัคคีกัน ร่วมมือกันทำงาน มีรายได้ก็ควรแบ่งสันปันส่วนให้มันยุติธรรม ถ้าแตกสามัคคีก็ต้องมีการอิจฉาแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน มีแต่ทำให้เสียพวกเสียประโยชน์ ดีไม่ดีจะต้องติดคุกตารางลำบากเสียชื่อตระกูลไม่ควรทำ"
ปกติหลวงพ่อจงไปไหนท่านชอบไปองค์เดียว จนตอนระยะวัยสูงมีสภาพของคนชรา ไม่น่าวางใจว่าอาจไปเกิดพลั้งเผลอมีอุบัติเหตุ ผู้เจตนาดีและศิษย์ผู้ภักดีจึงต้องติดตามท่านไปด้วยสองสามคน เพื่อคอยดูแลและรับใช้ถวายปรนนิบัติท่าน
หลวงพ่อจงเป็นภิกษุผู้ปราศจากละโมบในลาภสการ ยศศักดิ์ทั้งปวง ท่านพอใจสภาพที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกเท่านั้น ต่อมามีผู้คิดสนับสนุนให้ท่านมียศทางสมณะศักดิ์ ท่านก็ห้ามปรามไม่ยินยอมให้ทำเรื่องเราวเสนอขึ้นไปตามระเบียบ ซึ่งเมื่อไม่มีเรื่องเสนอตามแบบของทางราชการ ก็ไม่มีการให้สมณะศักดิ์ แทนที่ท่านจะสนใจเพราะมีผู้หมั่นไปกระตุ้นและหว่านล้อม ท่านกลับหัวร่อแล้วพูดว่า "ไม่น่าสนใจเรื่องนี้ เพราะยศ ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ เป็นเรื่องของโลก อาตมาไม่ใยดีในทางนี้ เมื่อเป็นภิกษุและได้ศึกษาพระธรรม มีความรู้ในธรรม หมั่นปฏิบัติธรรมได้เป็นนิจ ได้รับความสงบทางใจ ได้มีช่องทางให้ผู้อื่นมีโอกาสพิจารณาปฏิบัติได้ด้วยดี อย่างนี้ก็ควรเป็นสิ่งพึงใจของสมณะสงฆ์แล้ว เพราะพวกเรานี้ ที่มาบวชก็เพราะมุ่งเสียสละทางตัณหาโลกามิส ได้ตัดใจตัดโลกไว้เบื้องหลัง เพื่อเข้าแสวงหาวิถีทางให้รอดพ้นจากทุกข์ทรมาน ใครทั้งหลายเคารพกราบไหว้เรา เพราะรู้ว่าเราเป็นผู้พยายามสละกิเลสอันเป็นมารชั่วร้ายเจ้าของ โทสะ โลภะ โมหะ และ ราคะ ความทะยานอยากทั้งผอง ซึ่งแม้เราตัดไม่ออกหมด แต่กิเลสสงฆ์ถึงอย่างไรก็ต้องบางเบากว่าปุถุชนฆราวาส เราก็จึงต้องบำเพ็ญแนวทางตามความรู้ของพระธรรมให้เขาเห็น เช่น เรามุ่งมาเป็นนักเสียสละ เราก็ต้องเสียสละทุกสิ่ง เท่าที่จะพึงกระทำได้ หากเราไม่ประพฤติกระทำ คำว่าสงฆ์ หรืออริยสงฆ์ก็จะหมดความหมายลงทุกวัน... แต่นี่ก็มิจำเป็นต้องเป็นความคิดที่ถูกเสมอไป การกระทำตามระเบียบที่มีวางไว้เป็นปทัสถานนั้นเป็นไม่ผิด แต่การที่อาตมาไม่นิยมมีสมณะศักดิ์ประดับกาย ก็เป็นเอกสิทธิ์และความพอใจตามอัตภาพของอาตมา ไม่มีอะไรเป็นผิดดอก"
ความเป็นผู้ถือสันโดษ ถือความสงบทางโลกเป็นสรณะยิ่งใหญ่ของหลวงพ่อจง ท่านแสดงแน่วแน่มั่นคงไม่มีบิดเบือนทำบ้างไม่ทำบ้าง ท่านกระทำเป็นอาจิณ ในถุงย่ามของท่านนอกจากมีเหล็กจาน สำหรับประกอบกิจกรรมสุดแต่จะมีผู้นมัสการในด้านวิทยาคมแล้ว ก็ช้อนซ้อมสำหรับตักอาหารฉัน นอกนั้นไม่มีแม้แต่หมากยา ไฟขีด ยานัตถุ์ หมากพลูบุหรี่ เพราะท่านไม่เสพย์ติดมัน และไม่ต้องการมัน โรคภัยเจ็บป่วยนั้นก็ไม่มี ซึ่งท่านเคยกล่าวว่า ถ้ามีก็ต้องรู้อาการล่วงหน้า มีโรครักษาเองไม่ได้ ต้องหาหมอ เพราะยังงั้นหยูกยาในย่ามไม่ต้องเตรียมไป แต่เผอิญมีผู้ใจบุญเขาบริจาคถวายข้าวของเงินทองมีราคาติดมา หากใครเกิดโชคดีรู้วี่แววและอาราธนาขอ หลวงพ่อจงจะรีบหยิบยื่นให้ด้วยความยิ้มแย้ม โดยไม่ถามไถ่ว่าเป็นใครมาจากไหน จะเอาไปทำไม เหตุไฉนต้องมาขอของมีราคาอย่างนี้ไปจากท่าน
เรื่องความมีชื่อลือเลื่องโด่งดังในทางวิทยาคม ซึ่งลูกศิษย์เกือบทั่วประเทศมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแก่กล้า เพราะเชื่อหลวงพ่อจงท่านมีอาคมขลังในทางเมตตา คงกระพันแคล้วคลาด
หลวงพ่อจงได้อรรถาธิบายไขข้อเคลือบแคลงว่า การซึ่งผู้ใดจะยึดมั่นเชื่อถือต่อสิ่งใดเป็นสรณะหรือไม่ แล้วแต่ศรัทธาความเชื่อของจิต จิตบางดวงมีพลังต่ำ บางดวงทรงพลัง จิตทั้งหลายปราศจากระดับอิทธิแห่งพลังเท่าเทียมกัน แต่ถึงกระนั้น จิตเป็นสิ่งที่อาจลดอัตราระดับหรือเพิ่มพูนอิทธิพลังให้สูงส่งมีอำนาจขึ้นได้ คนที่ไม่เชื่อว่ามีผีเพราะเห็นและคิดเห็นขึ้นว่าคนตายแล้วย่อมผุพังเน่าเปื่อยจะกลายเป็นผีไปไม่ได้ คนผู้นั้นไม่มีวันกลัวผี แต่บางคนเชื่อว่ามีผีจริง ผู้นั้นก็ย่อมจะมีพลังจิตอ่อนไหวกลัวผีเสมอไป ก่อนนี้เราไม่เชื่อกันว่ามนุษย์จะเหาะเหินเดินฟ้าได้ นอกจากในนิยาย แต่เราก็สามารถมีจรวดและอากาศยานเข้าไปนอนนั่งดั้นฟ้าได้... ความเชื่อของมนุษย์คือ ขุมกำเนิดซึ่งกอ่ให้เกิดสิ่งใดที่มนุษย์เชื่อว่ามีได้ให้บังเกิดได้มีได้อยู่เสมอ อามและ มนต์ขลังทำให้เกดกำลังใจเป็นขุมพลังของจิตไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ไม่เคยเชื่อว่าเขาจะทำสิ่งไรได้สำเร็จ เขาก็ยากจะประสบความสำเร็จในชีวิต ความเชื่อคือพลังของโลกและพลังของชีวิตเชื่อหรือไม่ จึงเป็นเรื่องของศรัทธาตัวเดียว หากเชื่อว่าอริยสัจสี่และทางของมรรคแปด เป็นทางเดินไปสู่ความพ้นทุกขกำจัดต้นตอทุกข์ได้ ก็มีทางเดินไปสู่บั้นปลายของความเชื่อ ถ้าเริ่มขึ้นด้วยความไม่เชื่อ ก็ไม่มีทางพิสูจน์และไม่มีทางเดินไปสู่....
หลวงพ่อจงชอบขึ้นนั่งบนเครื่องบินมากนัก แต่สงครามอินโดจีนจนถึงมหาสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพ่อจงได้นั่งเครื่องบินนับเป็นร้อย ๆ ครั้ง เพราะท่านถูกนิมนต์ไปกระทำพิธีรดน้ำมนต์ ปัดรังควานบ่อยที่สุด ไม่วาจะมีการเคลื่อนทัพบก เรือ อากาศ ไปสู่สมรภูมิรบที่ใด ก่อนเดินทัพจะต้องมีพิธีทางศาสนาเป็นมิ่งมงคลบำรุงขวัญทหาร มีการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เจิมอาวุธกับพาหนะและอุปกรณ์รบ บรรดาหลวงพ่อและเกจิอาจารย์อันเป็นที่เคารพศรัทธาในอัจฉริยะความเป็นอริยสงฆ์ต่างจะต้องถูกนิมนต์ไปร่วมกระทำพิธีอยู่อย่างไม่ควรขาด
หลวงพ่อจงเป็นสงฆ์ผู้มีบุคลิกเด่นดวง ลักษณะใบหน้าของท่านอิ่มเอิบ ดวงตาวาววับด้วยแสงเมตตาจิต ใครเห็นท่านจะรู้สึกเคารพรักและบังเกิดศรัทธาในวูบแรก แม้ว่าดวงหน้าท่าทีของท่านจะเฉยเมย แต่ปมเด่นทางเมตตาของท่านโผล่ผลุดดุจเป็นรัศมี รอบกายปรากฏออกมาสะดุดความรู้สึกผู้พบเห็นเอง และยิ่งเมื่อผู้ใดได้เข้าใกล้ชิดเสวนารมณ์ด้วยพระคุณท่าน ประจักษ์ในอัธยาศัยและไมตรีที่ท่านหลั่งโอภาปราศรัยออกมาแล้ว ไม่เคยมีผู้ใดลืมเลือน อัธยาศัยวิเศษของท่านจะเข้าซึมแทรกดวงจิตผู้ใกล้ชิดทันทีอย่างตราตรึงใจ
ทหารน้อยใหญ่ของสามกองทัพ ส่วนมากที่ได้เคยพบเห็นและเข้าหานมัสการหลวงพ่อจงในทุกหนที่ไปกระทำพิธีแจกเสื้อพระยันต์ราชสีห์ตะกรุดโทนจึงพากันเคารพสักการะศรัทธาในท่านมากที่สุด
เฉพาะกองพลทหารม้ายานเกราะสระบุรี ดูเหมือนจะศรัทธาแก่กล้าในอิทธิบารมีของหลวงพ่อจงมากที่สุด ถึดไปก็น่าจะเป็นในกองทัพอากาศ ซึ่งตั้งแต่นานมาแล้ว เริ่มแต่ปี 2475 สมัยปฏิวัติหนแรกบรรดาแม่ทัพนายกองต่างขึ้นชื่อเป็นศิษย์และเป็นผู้ศรัทธาเคารพขึ้นในหลวงพ่อจง อาทิ ท่านจอมพลฟื้นนรนภากาศฤทธาคนี พลอากาศเอกนักรบ บัณฑศรี นาวาอากาศเอกประสงค์ สุชีวะ ฯลฯ ท่านที่กล่าวนามเหล่านี้ ตลอดจนทหารเหล่าอื่น ต่างได้รับแจกเสื้อพระยันต์ราชสีห์และตะกรุดโทน จากหลวงพ่อจงด้วยมือท่านเองเป็นส่วนมาก
ท่านจอมพลฟื้นได้พบกับประสบการณ์ในสมัยศึกอินโดจีน เมื่อต้องคุมขบวนเครื่องบินรบไปทิ้งระเบิดสะตรึงเต็งและอื่น ๆ อันเป็นฐานทัพสำคัญของฝรั่งเศสยุคนั้นจนไฟลุกไหม้แหลกลาญ ขณะกำลังจะคิดผละจากความเพลิดเพลินเข่นขยี้ข้าศึกจนไม่มีคู่ต่อสู้ และบรรดาเครื่องบินรบที่อยู่ในการดูแลกองนั้นต่างทยอยกลับฐานทัพดอนเมืองแล้วจนหมดสิ้น จู่จู่ก็มีเครื่องบินจากฐานทัพใหญ่ของข้าศึกอันเป็นกองหนุนสามเครื่องจิกหัวโฉบเข้าใส่ รุมกันทักทายเครื่องบินรบของจอมพลฟื้นด้วยกระสุนปืนกลประจำเครื่องอย่างเกรี้ยวกราด
แต่... ยอดเสืออากาศไม่สะดุ้ง คันบังคับถูกดึงเลี้ยวซ้ายกะทันหันดิ่งหัวหลบวูบลงไปราวห้าร้อยเมตร และครั้นแล้วก็ตั้งลำเชิดขึ้นมาใหม่พุ่งเข้าหาเครื่องบินข้าศึกด้านขวามือ ซึ่งเป็นเรือธงบังคับดารดุจเหยี่ยวไล่เหยื่อ กระสุนนับร้อยของหลายชุดถูกพ่นกรูเกรียวออกไป แค่นั้นเองเครื่องบินของศัตรูผู้ผยอง ก็ม้วนเอียงลำดิ่งพสุธาพร้อมควันดำโขมง
จากนั้นเหยี่ยวฟ้าไทย โผโผนลำขึ้นเบื้องสูงทำทีจะหนีจาก และเครื่องบินของข้าศึกกำลังจะเลี้ยวไล่นั่นเอง เสืออากาศไทยก็บังคับเครื่องบินพุ่งควับลงมาดุจสายฟ้าปานกัน มีเสียงคำรามติดต่อกันอย่างดุดันกระสุนกลที่ยิงเหมือนจับวางเป็นร้อย ๆ พรูพรั่งเข้าตัดกลางลำ เครื่องบินของข้าศึกษาเป็นรูพรุนตลอดถึงแพนหาง ปรากฏเป็นควันดำแล้วก็ดิ่งสู่พสุธาไปอีกลำ
ทันทีทันใดนั้น เครื่องบินลำของข้าศึกถลาหัวฉกจิกลงมาจากเบื้องสูง สาดกระสุนกึกก้องเข้าใส่เครื่องบินของจอมพลฟื้นอย่างเหี้ยมเกรียม แต่เปล่า...เครื่องบินของเสืออากาศไทยไม่ยักมีอันเป็นไปเพราะห่ากระสุนสองสามชุดที่ข้าศึกรัวเข้าใส่ จอมพลฟื้นยิ้มอย่างเหี้ยวเกรียม นึกในใจว่าดีละ เดี๋ยวรู้กัน
ทว่า เมื่อสายตามัจจุราชของจอมเสืออากาศไทยเหลือบแลที่เครื่องวัดน้ำมัน อัตราน้ำมันที่มีอยู่จะไม่พอพาเครื่องบินกลับฐานทัพ ถ้ายังจะบินอยู่อีก
แต่อย่างไรก็ดี ก่อนตีจาก ก็ควรจะมีการอำลากันอย่างไว้ลายเสือจอมพลฟื้นลูกหมับไปที่พระยันต์แดงราชสีห์ พลางดึงตะกรุดมหารูดมงคลชาตรี (โทน) ของหลวงพ่อจง อาราธนาขอความคุ้มครองแคล้วคลาดตามพิธี ด้วยพลังจิตอันมั่นคงแน่วแน่อบอุ่นใจเต็มที่ จากนั้นก็โยกคันบังคับผงกหัวเข้าใส่นกเหล็กของข้าศึกอย่างปราศจากพรั่นพรึงปืนกลหน้าถูกเร่งกระสุนกราดออกไปถี่ยิบ พร้อมกับฝ่ายข้าศึกก็ตอบโต้ด้วยปืนหลังแล้วทำมุมเลี้ยวขวาแสดงท่าจะปรี่เข้าโจมตีใหม่อย่างบ้าบิ่น แต่ทันทีนั้นเองกระสุนอีกชุดหนึ่งของเหยี่ยวฟ้าไทย ก็กระทบเข้าที่แพนหางนกเหล็กของข้าศึกเสียงกราวสนั่นเป็นระยะข้าศึกเปลี่ยนใจเป็นบินหนี ซึ่งเป็นการสมประสงค์ของเสืออากาศไทยยิ่งนัก เพราะหากมีภาวะต้องจำพัวพันกันไป ไม่ถูกยิงหกคะเมนก็ต้องดิ่งนรก เพราะไม่มีฐานทัพจะลงและไม่มีน้ำมันสำหรับเครื่องบินจะพากลับ
เหตุการณ์เหล่านี้ ภายหลังต่อมาเมื่อศึกสงบ ทหารนักบินข้าศึกชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นนักบินผู้ทำการรบกับเครื่องบินของจอมพลฟื้นได้เล่าให้เพื่อนฝูงทหารไทยหลายคนฟังในโอกาสที่นักบินไทยผู้หนึ่งได้ไปราชการที่ไซ่ง่อน โดยเขาบอว่าการที่ทัพอากาศของเขาต้องพ่ายเสมือนไร้ฝีมือ เป็นเพราะเหตุสองประการ เครื่องบินฝ่ายเขาหย่อนสมรรถภาพและนักบินมีขวัญย่อหย่อน แต่ในประการสำคัญก็คือ มันคล้ายกับมีอุปาทานทำให้ฝ่ายเขามองเห็นเครื่องบินของฝ่ายไทย เป็นสีแดงฉานคล้ายกลุ่มควันแดง ทำให้นักบินพิศวงสงสัยและตกตื่นขวัญ
อนึ่ง โดยเหตุนี้หลวงพ่อจงชอบขึ้นเครื่องบิน ท่านมักถูกนิมนต์จากนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในบางโอกาสเสมอ ท่านเคยพูดว่า เมื่อได้เหาะขึ้นเบื้องสูงแล้วหายใจสบาย มองอะไรก็เห็นเป็นธรรมชาติสวยงาม
และได้มีนักบินผู้หนึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งหลวงพ่อจงได้ขึ้นเครื่องบินสองที่นั่งไปกับจ่าอากาศเอกผู้หนึ่ง ขณะเครื่องบินวนไปทางอยุธยาหลวงพ่ออยากดูวิวัดหน้าต่างนอกของท่านทางอากาศ จึงชี้ทิศทางบอกให้นักบินพาไป เมื่อถึงแล้วนักบินจึงแจ้งให้ทราบ ตอนนั้นเองหลวงพ่อจงนึกสนุกขึ้นมา เพราะมองเห็นวัดของท่านมีขนาดเล็กนิดเดียว จึงกล่าวแก่นักบินว่าจะหยุดสักครู่ได้ไหม นักบินตอบว่า หยุดนั้นเห็นจะไม่ได้เพราะไม่มีสนามลง นอกจากทำได้ก็เพียงแต่เบาเครื่องโฉบลงไปต่ำหน่อย
หลวงพ่อจงหัวเราะหึหึ พูดทำนองปรารภขึ้นว่า เอ๊ะน่าจะได้นะพลางชี้นิ้วไปที่คันบังคับและเครื่องบิน ทันใดนั้นเครื่องบินมีสภาพคล้ายตกหลุมอากาศมหึมา ไม่มีอาการพุ่งไปข้างหน้า แต่หล่นวูบลง นักบินตกใจเป็นอย่างมากและยังคิดไม่ออกว่าจะแก้ไขอย่างไรดี ด้วยไปคิดสงสัยในด้านว่าเครื่องบินอาจมีอุบัติเหตุเครื่องเสีย ในใจก็ให้นึกเป็นห่วงหลวงพ่อจง ครั้นเหลียวมามองดูก็เห็นท่านหลับตาเฉยราวเกือบสิบวินาที ท่านจึงลืมตาขึ้นในขณะที่นักบินก็ง่วนอยู่กับการตรวจดูนั่นนี่หาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัย แล้วก็ได้ยินหลวงพ่อจงพูดยิ้ม ๆ ขึ้นว่า ลงมามากโขพอแล้วเครื่องบินบินต่ำแบบนี้หัวใจมันวูบวาบชอบกล
ท่านพูดสิ้นคำ เครื่องบินก็ครางกระหึ่ม ทรงตัวเคลื่อนลำพุ่งหน้าออกไป พ้นจากภาวะดั่งราวถูกดูดดึงอยู่กลางหลุมอากาศ
ในยุคสมัยไล่ไล่กัน มีพระเกจิที่มีศรัทธาเคารพเลื่อมใสในอิทธิบารมีของท่าน ยุคเดียวกับหลวงพ่อจงรุ่นราวคราวเดียวกันหลายองค์และแต่ละองค์มักได้รับนิมนต์ไปกระทำพิธีสงฆ์ เผยแพร่ธรรมบรรณาการในสถานที่ต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ มีหลวงโอภาสี (มรณภาพแล้ว) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว พิจิตร หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง สมุทรปราการ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ปราจีน หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อฟ้อน ลพบุรี ฯลฯ ซึ่งท่านเหล่านี้มีสมญาเป็นวลียกย่องจากบุคคลทั่วประเทศว่าเป็นเกจิอาจารย์ชั้นบรมครูแต่ในกลุ่มนี้ ดูเหมือนหลวงพ่อจงจะเป็นผู้ได้จาริกเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ไปตะวันตกตะวันออกถี่และบ่อยหนยิ่งกว่าองค์อื่น เพราะท่านมีปณิธานแน่วแน่อยู่ว่า ได้รับนิมนต์มาเป็นต้องไป ไม่ว่าใกล้หรือไกล ท่านไม่เคยบ่นเบื่อหน่าย หรือบ่นว่าด้วยความรำคาญใจว่าถูกรบกวน ทั้งไม่เคยรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยขบในการเดินทาง และต้องไปกระทำพิธีใดตามคำอาราธนาที่เขามีปรารถนานิมนต์ท่านไป
หลวงพ่อจงขึ้นชื่อว่า เป็นอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมด้วยสง่าราศีมาก ผิวพรรณวรรณะของท่านผ่องใส ดวงหน้าผุดผ่องด้วยละอองเลือด และเมลืองเรื่อไปด้วยรัศมีแห่งพระ แห่งความเมตตาฉายกราดอยู่ตลอดเวลา สายตาของท่านมองทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน ผู้องอาจมีสง่าหรือผู้อาภัพหม่นหมอง ท่านมองทุกคนด้วยสายตาของมิตรผู้พร้อมจะเข้าช่วย และโดยมากผู้ที่วิงวอนขอให้ท่านช่วยปลดเปลื้องทุกข์ แม้ท่านเองต้องเสียสละเพียงไร ท่านก็ไม่เคยทำให้ผู้ขอผิดหวัง นอกจากสิ่งที่ท่านไม่มีและไม่อาจแสวงหาให้ได้หรือหมดหนทางช่วยเพราะผิดศีลผิดธรรม
ยิ่งกว่านั้น ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน พอใจในความอะลุ้มอล่วยไม่ต้องการให้ใครทะเลาะเบาะแว้งวิวาทแก่งแย่งชิงดีกันในทางผิดศีลธรรม หลวงพ่อจงถือว่าเป็นภารกิจอันหนักอึ้งซึ่งท่านจะต้องแบกไว้เสมอ แม้ว่าบางครั้งท่านจะต้องลำบากยากกาย เพื่อเสียสละในการเข้าโอบอุ้มช่วยคนทำถูก สิ่งที่ท่านหมั่นกระทำไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยก็คือ พอใจเกลี้ยกล่อมให้โอวาทแก่ผู้ประสบทุกข์ร้อนด้วยการแนะแนวทางที่ชอบที่ควรให้เอาไปมั่นประพฤติปฏิบัติ ท่านเป็นผู้มีภูมิปฏิภาณสูงส่ง สามารถรอบรู้จิตใจผู้ที่เข้าหาท่าน และรู้ว่าท่านพูดอย่างไรจึงจะเป็นที่สบอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของเขาประกอบกับท่านมีความรู้ในการดูลักษณะคนเป็นอย่างเยี่ยมยอด เพียงแต่เห็นดวงหน้า ท่าทางเดินเหินยืนนั่ง และพูดจาฟังน้ำเสียง ท่านก็จะหยั่งทราบได้ทันทีว่าบุคคลผู้นั้นมีสภาพฐานะเป็นอย่างไร และควรจะยึดถืออาชีพเป็นหลักธำรงชีวิตอย่างไรจึงจะมีฐานะมั่นคงสถาวรตามสมควรแก่อัตภาพ บุคคลนับเรือนหมื่นแสนที่ได้รับคำชี้แจงแนะนำจากหลวงพ่อจง แล้วเชื่อถือเอาไปปฏิบัติตามไม่ทอดทิ้ง ปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีอาชีพหลักแหล่งเป็นหลักฐานทำมาหากินคล่อง มีความสุขกายสบายใจตามอัตภาพอันสมควร
เกี่ยวกับเรื่องรางของขลัง ซึ่งท่านปลุกเสกเวทย์วิทยาคม กระทำภาวนาด้วยบุญฤทธิ์อธิษบานอันเป็นพลังจิตแกร่งกล้าในแนวที่ให้ความนิยมกันมากนั้น ส่วนมาก แรก ๆ ท่านก็ใช้แนวทางความรู้อันดีที่เรียนมาจากท่านพระครูโพธิ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างในผู้เป็นปรมาจารย์องค์แรกของท่าน แต่ต่อมาเมื่อท่านได้ศึกษารอบรู้ในหลักการอันเป็นกฏเกณฑ์ของผู้จะไต่เต้าเข้าหาความสำเร็จในอภิญญาอันเป็นพุทธวิธีชั้นสูงสุด จากนั้นมาท่านก็ใช้ความรอบรู้อันเกิดจากภูมิปฏิภาณของผู้ใกล้เป็นสัพพัญญูเยี่ยงท่านผู้เป็นองค์อรหันต์แต่โบราณกาลมานั้น เข้าบำเพ็ญธรรมกิจเพื่อให้บรรลุผลในทางอิทธิบารมีจนสามารถอาจดลบันดาลให้ผลดีตามความต้องการของบุคคลที่เป็นคนดีสมมโนรสปรารถนา และดังนั้นก็พูดได้ว่าวิทยาอาคมของท่านมิใช่ในแนวทางไสยศาสตร์
หลวงพ่อจงเมื่อให้สิ่งของปลุกเสกของท่านแก่ผู้ใด ท่านจะต้องบอกเตือนสติด้วยการให้คติเสมอว่า ขอให้รักษาตัวรักษาใจไว้ให้จงดี ศีลธรรมอย่าลืม หากหมั่นบูชาพระ รำลึกถึงพระและหมั่นศรัทธาปฏิบัติพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นนิจแล้ว ยากนักจะมีโพยภัยเหล่าใดเบียดเบียนบีฑาราวีขอให้ท่องไว้ในใจเสมอว่า เวรย่อมมีขึ้นเฉพาะเมื่อได้มีการก่อเวร มีหนี้ก็หนีไม่พ้นจะต้องชดใช้เขาในเวลาหนึ่ง... คนเราไม่ทำบาปพึงไว้ใจได้ว่าต้องมีมีบาปใดติดตามสนองปองผลาญ จงหมั่นแจกจ่ายเมตตาอย่าให้ขาดสาย คงต้องได้กุศลแรงกว่ากุศลอื่นใดหลายเท่านัก
มีเรื่องเล่าลือกันมากเรื่องหนึ่งว่า
ครั้งหนึ่ง ณ ตำบลบางช้าง ได้มีพระเกจิอาจารย์หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อปาน หลวงพ่อจีม ท่านพระอาจารย์ฟ้อน หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อจง ได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมพิธีสงฆ์ร่วมกันในงานพิธีนั้นเจ้าของบ้านเขาได้เอาไม่ไผ่มาจักตอกสลับเป็นฉัตรเจ็ดชั้นรูปลักษณะคล้ายเจดีย์ยอดสูงมีความสูงราวสักสองวาเห็นจะได้ และเจ้าของผู้เป็นเข้าพิธีได้อาราธนาขอให้เหล่าเกจิอาจารย์ปีนขึ้นไปบนยอดฉัตร โดยถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์มาประทานพระให้กับเจ้าของบ้าน อันนี้จะเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่อย่างไร เมื่อเขาอาราธนานิมนต์พระเกจิเหล่านั้นท่านก็มีอาการอีหลักอีเหลื่อ แต่บางองค์เห็นว่าจะกระทำมิได้เพราะไม่ไผ่สานถักเป็นรูปฉัตรสูงตั้งสองวานั้น และมีลักษณะแบบบาง ตามรูร่องที่ทำไว้ให้เหยียบก็ไม่มั่นคง อาจงอหักเรือล้มลงมามีอันตรายได้โดยง่าย พระหลายรูปจึงปฏิเสธ
จะมีก็หลวงพ่อเดิม เห็นว่าควรรับนิมนต์ไม่ควรขัดอัธยาศัยเจ้าของบ้าน ซึ่งขณะนั้นทั้งหลวงพ่อเดิมและหลวงพ่อจงต่างมีชื่อโด่งดังในทางคล้ายคลึงกัน หลวงพ่อเดิมได้ปรึกษาหลวงพ่อจงว่า หากท่านเห็นด้วย เราทั้งสองควรรับนิมนต์เป็นผู้เทนพระรูปอื่นเสียด้วยก็จะดี จะได้เสร็จกิจไป เพราะเคยได้ยินว่าท่านก็มีพลังจิตในทางทำตัวเบาเป็นเยี่ยม... พลางก็ชี้ฉัตรด้านข้างเป็นสัญญาณว่าให้หลวงพ่อจงไปที่นั่น ส่วนหลวงพ่อเดิมเองยึดเอาฉัตรที่ตั้งตรงหน้า ตั้งท่าป่ายปืนขึ้นไป อันฉัตรที่สร้างด้วยไผ่สานนี้ ไม่มีที่เกาะจับ แม้จะสอดเท้าเข้ารูที่เว้นเป็นช่องไว้ก็จะสอดเข้าได้เพียงปลายนิ้วเท้าเท่านั้น
ฝ่ายหลวงพ่อจงไม่ว่ากระไร ท่านหัวร่อหึหึ แล้วออกเดินดุ่มไปหาฉัตรที่ห่างออกไปราวสามวาทันที
หลวงพ่อเดิมสอดปลายเท้าเข้าไปที่รูสำหรับเหยียบ มือเพียงแตะฉัตรก้าวอย่างแผ่วเบาปราดขึ้นไป ท่ามกลางสายตาผู้คนรอบ ๆ ชะเง้อมองอย่างตื่นเต้น พลางปรายตามองดูหลวงพ่อจง แต่แล้วก็ต้องตะลึงเพราะพอหลวงพ่อเดิมขึ้นไปได้ราวห้าศอก หลวงพ่อจงก็ขึ้นไปยืนคร่อมยอดฉัตรซะแล้ว
เรื่องราวเกี่ยวกับความเก่งกาจ แผลง ๆ ซึ่งบุคคลและสงฆ์อื่นยากจะทำได้ ยังมีเรื่องพิลึกพิลั่นมาเล่าลือสืบเนื่องกันอีกมาหลายกระทงความอย่างกับอีกครั้งหนึ่งท่านไปปัตตานี และสงขลาตามคำอาราธนานิมนต์ให้ไปประกอบพิธีมงคลทางพุทธศาสนา ได้มีคนนอกศาสนา สติไม่ใคร่เรียบร้อย มักชอบตะลบตะแลงลิ้นพ่นหาว่าพระสงฆ์ไทยไม่ดีจริงไม่เก่งจริง กล่าวท้าทายกระทำว้าวุ่นหลายครั้งหลายคราต่อภิกษุสงฆ์ไทยหลายองค์ และวันที่เขาจะเจอดีก็มาถึงเมื่อหลวงพ่อจงต้องเดินทางผ่านสวนยางพาราของเขาไป เห็นมีไฟป่าลุกไม้อย่างรุนแรงแล้วลามเข้าหาสวนยางของเขา เขาผู้นั้นได้ร้องเอ็ดตะโรและคร่ำครวญต่าง ๆ นานาว่าฉิบหายแล้ว ฉิบหายแน่. หลวงพ่อจงเห็นเป็นการน่าเวทนา จึงพูดขึ้นว่า ไม่ฉิบหายน่า พูดแล้วท่านก็ปีนขึ้นไปบนยอดกอไผ่จีนที่ขึ้นอยู่ข้างทาง เอายอดไผ่มาอมในปาก สะบัดไปแล้วร้อง ดับ...ดับ...ดับ...ดับ...ซึ่งอีกสิบนาทีต่อมา ไฟป่าก็ดับโดยอัศจรรย์ ทำคนนอกศาสนาคนนั้นเกิดอาการตะลึงจังงัง และแต่นั้นมาก็ไม่กล้ากระทำวุ่นวายท้าทายใครต่อใครในพุทธศาสนาอย่างคนปากพล่อยสามหาวอีก พร้อมทั้งมีจติใจหันไปเคารพศรัทธาเลื่อมใสต่อภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งสืบไปในระยะหลังของชีวิต
เคยมีผู้สงสัย แคลงใจหลายข้อกระทงความต่อคำเลื่องลือต่าง ๆ ที่ออกจะเชื่อยากว่า เรื่องราวเหล่านี้ที่เขาเล่าลือกันมาจะเป็นความจริงเพียงใด
หลวงพ่อจงกล่าวตอบด้วยอาการสำรวมมีนัยว่า เรื่องของอารมณ์อย่างนี้ อริยสงฆ์ไม่พึงถือเป็นกิจ แต่อาตมาจะเคยทำอะไรมาบ้าง ถ้าเป็นเรื่องนานแล้ว ก็ไม่ได้สนใจจดจำเอาไว้ เพราะต้องใช้เวลาปฏิบัติกิจของสงฆ์หนักเหนื่อยอยู่เป็นอันมาก ทำชั่วชีวิตก็ยังคงทำไปไม่ได้เท่าไร ส่วนผู้อื่นจะพูดกล่าวขวัญถึงอาตมาทำนองไหนอย่างไร อาตมาไม่ถือสาโกรธเขาดอกนะ
สมควรกล่าวขวัญถึงอัธยาศัยและอารมณ์กับการปฏิบัติตามความรู้สึกนึกคิดของหลวงพ่อจงอีกสักหน่อย เพราะท่านเป็นสงฆ์ประเภทที่มีผู้กล่าวขนานสัญลักษณ์เป็นวลีได้เต็มภาคภูมิว่า ท่านคืออริยสงฆ์จริงแท้แห่งพุทธสาวกในพระพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ดี เรื่องราวความเป็นมาเมื่ออดีตของท่านเต็มไปด้วยเรื่องราวขานไขมากเรื่อง ส่วนมากก็เป็นกรณียกย่องเชิดชูว่า ท่านทรงอิทธิบารมีแก่กล้าไปในทางอิทธิปาฏิหาริย์พิลึกพิลั่น จริงหรือเท็จยากจะพิสูจน์ เพราะตามความเป็นจริงของข้อเท็จจริงอยู่ที่ว่า มีเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเมื่อผู้ใดเอาไปซักไซ้หาคำตอบจากท่าน ท่านไม่ใช่นักพูดและไม่มีนิสัยเป็นผู้ชอบโอ้อวด ทั้งไม่ชอบข่มขู่ใครทั้งทางกาย วาจา ใจ ท่านก็มักตอบปฏิเสธในท่วงท่าแบบเดียวกับเรื่องหลวงพ่อเดิมดังกล่าวเป็นนิจ อนึ่งในประการสำคัญก็คือ ระหว่างอายุ 30 ถึง 70 เศษ ท่านไปไหนมาไหนก็มักมีแต่ศิษย์เล็ก ๆ ไม่ใคร่สนใจอะไรติดตามรับใช้ปรนนิบัติ จวบจนอายุ 80 เศษ จึงมีชนชั้นมีอายุติดตามเพราะเห็นกันว่ามีวัยชรามาก กลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุบังเอิญขึ้น ด้วยประการฉะนี้ นอกจากมีผู้รู้เห็นเองบ้าง ฟังจากคำเลื่องลือบ้าง กล่าวขวัญถึงท่านในทางที่เป็นความอัศจรรย์ของสมรรถภาพ หรือ อิทธิบารมีจึงเป็นเรื่องค้นหาประจักษ์หลักฐานยาก ผู้ได้ยินได้ฟังมาพูดมาร่ำลือกันนั่นแหละ หนทางที่ดี จะต้องวินิจฉัยรับผิดชอบต่อเรื่องราวที่นำเอามาพูดสู่กันฟัง... แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อรับรองซึ่งสาธุชนพึงเชื่อมั่นได้แน่นอนอย่างหนึ่งก็คือ ในชีวิตของหลวงพ่อจง หากสิ่งใดเป็นความประพฤตินอกรีดนอกรอย ไร้ศีลสัจธรรม หลวงพ่อจงท่านจะต้องนำตนพ้นหนี มิยินยอมนำพาข้องแวะด้วยอย่างเด็ดขาด ในชีวิตของท่าน น้อยหนหรือพูดได้ว่า ...ไม่มีเสียเลย... คือไม่มีใครผู้ใดจะสามารถย้อมอารมณ์ให้บังเกิดอาการรังเกียจหรือโกรธเคืองท่าน จากพฤติการณ์ทั้งทาง กาย วาจา ใจของท่าน
แต่มันก็แปลก ความเชื่อและความตื่นของคนเรานี้ช่างมีอานุภาพกังวานก้องไกล กรณีร่ำลือเกี่ยวกับหลวงพ่อจง แม้ท่านจะยิ่งปฏิเสธในปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ผู้คนก็ยิ่งเอาไปร่ำลือกันหนักเข้า มีสภาพดุจดั่งเอาน้ำมันราดบนกองไฟปานนั้น

อุดมทัศนะและสัจธรรม
หลวงพ่อจง มีปณิธานดำรงอัตตะของชีวิตบรรพชิตของท่านด้วยอาการเคร่งต่อศีล
นอกจากพลังจิตของท่านเหี้ยมฮึกต่อทมะ คือ สามารถต่อการคุมจิตของตนไว้ใต้อำนาจ มิให้กระดิกกระโดดออกนอกทาง ที่เคร่งมากที่สุด คือ มั่นอยู่ในพรหมวิหารสี่ และใช้มากหนักไปในทางเมตตาแต่กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็มีครบครัน นอกจากนี้ ท่านยึดมั่นในหลักจาคะ สมัครใจเสียสละเพื่อผู้อื่นเท่าที่สามารถทำได้ตามที่กล่าวถึงมาตอนต้น ๆ แล้วประการสำคัญก็คือ เป็นผู้ดำรงสัจจะ และต้องการอบรมคนทุกคนให้เป็นผู้มีสัจจะ ไม่พูดปดมดเท็จ
ดังนั้น ทั้งที่ท่านโกรธใครยากที่สุด ทว่าหากเป็นในเรื่องการกล่าวคำเท็จ ท่านมักมีอามรณ์เผลอโกรธเหมือนกัน เป็นแต่สามารถระงับได้รวดเร็ว มิปล่อยให้ไฟโกรธครอบงำอารมณ์เป็นายเหนือการบังคับพลังจิตของท่าน จนต้องตกเป็นทาสของมันให้กระทำการก่อเหตุเภทภัยขึ้น
หลวงพ่อจงมีเกียรติคุณเป็นที่นิยมกว้างขวางจริงจังในคุณแห่งวิทยาคม เมตตา เป็นอันดับแรก ต่อไปก็เป็นคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดมหานิยม และน้ำมนต์ของท่านขึ้นชื่อลือชาว่า สามารถสะเดาะเคราะห์ ความอับโชคได้ผลประสิทธิมาก ด้วยประการฉะนี้ วัดหน้าต่างนอกจึงปรากฏมีทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนแทบทุกจังหวัดเดินทางไปมานมัสการขอรดน้ำมนต์จากท่านไม่ขาดสาย โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่มีงานฉลององค์พระประธานในโบสถ์ ปรากฏว่าได้มีประชาชนจากทั่วทุกทิศเป็นจำนวนร่วมแสนคน ไปร่วมพิธี ณ วัดหน้าต่างนอกตลอดทั้งเจ็ดวันเจ็ดคืน และได้ร่วมบริจาคเงินอย่างมากมาย ซึ่งต่อมา พระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าต่างนอก ที่หลวงพ่อจงเป็นประธานสร้างนั้น ก็ได้รับพระราชทานพระราชลัญจกรนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี้นาถ "พระสัพพัญญู" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 อันเป็นวันหลังจากที่หลวงพ่อจงได้ถกคัดเลือกนิมนต์ไปร่วมกระทำพิธีถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าย่า ของสมเด็จพระบรมราชินี พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ สำคัญและล้วนมีเกียรติคุณสูง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดในความมีบุคลิกพิเศษ เต็มไปด้วยสง่าราศีของหลวงพ่อจงไม่น้อย และได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารด้วยพระราชอัธยาศัยเป็นอันดีบ่อยครั้ง ในที่สุดทรงมีพระราชเสาวนีย์ขอรับเป็นองค์โยมอุปัฏฐานของวัดหน้าต่างนอก แต่ตราบกระทั่งหลวงพ่อจงมรณภาพ ไม่เคยทำเรื่องรบกวนพระราชหฤทัยเลย เคยมีผู้แนะให้ขอพระราชทานเงินสร้างเขื่อนกั้นน้ำและหอระฆัง กับปฏิสังขรณ์โบสถ์ของวัดหน้าต่างในซึ่งชำรุดมาก จนทำสังฆกิจมิได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคไม่สะดวกแก่การสัญจรทั้งของวัดหน้าต่างนอกและวัดหน้าต่างใน หลวงพ่อจงได้ปฏิเสธว่า ไม่ควรรบกวนพระราชอัธยาศัยในการนั้น เพราะท่านที่ทรงสำแดงพระเมตตารับเป็นองค์อุปัฏฐาน ก็นับว่าเป็นนิมิตมงคลแก่ท่านและวัดมากอยู่แล้ว เรื่องของวัด วัดก็ควรทำเอง เพราะเรื่องสร้างเขื่อนนี้ต้องค่อยทำค่อยไป ประชาชนทั่วไปก็ร่วมมืออยู่แล้ว คงทำสำเร็จจนได้ในวันหนึ่ง
หลวงพ่อจงเป็นผู้มีอัธยาศัยปกติไม่ชอบรบกวนจุกจิกต่อน้ำใจใคร ไม่เคยบิณฑบาตรขอร้องอะไรต่ออะไรจากใคร โดยมากมักมีผู้ไปนมัสการท่าน แล้วมองตรวจหรือสอบถามเพื่อช่วยเหลือทำบุญแก่ท่านเอง เช่น รู้ว่าท่านขาดเหลืออะไร มีอันใด ทำให้ท่านมีความไม่สะดวกเป็นความอึดอัดต่างก็จัดหาถวาย แต่ถ้าหากจะถามท่านว่า ท่านจะต้องการสิ่งนี้สิ่งนั้นไหม ท่านจะปฏิเสธทันทีว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือ รอไปก่อนดีกว่า หรือ ไม่เป็นไรหรอก อาตมายังไม่ปรารถนา
บรรดาพระราชวงศ์ พ่อค้าเศรษฐี ข้าราชการทุกประเภทโดยทั่วไปส่วนมากที่เคารพสักการะศรัทธาต่อท่าน ต่างมักพากันไปมาหานมัสการและคอยสอดส่องอุปการะท่านเสมอ อาทิ พระองค์ชายอนุสรณ์ พระองค์ใหญ่เฉลิมเขตต์ พระองค์เจ้าเฉลิมพล พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุภัณฑ์ น.อ.ประสงค์ สุชีวะ ฯลฯ
หลวงพ่อจงเป็นผู้มักน้อยมีสันโดษมาแต่เล็ก ดังนั้นเมื่อดำเนินตามแนวพุทธวิธีตามพระธรรมคำสอน ท่านจึงสามารถสำเร็จในฌานสมาบัติได้โดยมิยาก
ชีวิตวัยเด็ก นอกจากช่วยพ่อแม่เลี้ยงควาย ดูแลบ้านและน้องแล้ว หลวงพ่อจงมิเคยทำงานหนักเบาสิ่งใด เพราะมีลักษณะคล้ายเป็นคนพิการ ตาก็ฝ้าฟาง หูก็ตึง แต่เป็นการอัศจรรย์ นับแต่เข้าเป็นพระภิกษุแล้ว ความพิการต่าง ๆ หายไปเป็นปลิดทิ้ง อวัยวะทุกสิ่งแจ่มใส อายุ 92 ปี ยังอ่านหนังสือได้โดยมิต้องใช้แว่น และยังสามารถสนตะพายเข็มได้ด้วยตนเอง ยกเว้นจากหูซึ่งมีประสาทชา ต้องพูดกับท่านดังหน่อย
หลวงพ่อจงเป็นผู้เคร่งครัดต่อการรักษาความสะอาด มีจิตใจเป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ บริเวณในวัดนอกวัด หากท่านอยู่ไม่ไปไหนจะต้องทำการปัดกวาดขัดเกลาด้วยตนเองเสมอ และไม่ชอบใช้ใครทำหากใครจะช่วยทำก็ให้มาทำเองด้วยความสมัครใจของเขา ทั้ง ๆ ที่ท่านมีศิษย์ไม่ต่ำกว่าห้าคนอยู่ประจำเสมอ
ตั้งแต่วัดหน้าต่างนอกเคยมีงานพิธีใด ๆ มา มีผู้มาร่วมชุมนุมสมทบการกุศล ชมงานวัด ไม่เคยมีสักครั้งเดียวที่จะเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้มีทหารยศนายสิบผู้หนึ่ง เกิดอาการมึนเมาครองสติไม่อยู่ ได้อาละวาดไล่ตีผู้คนและชักปืนยิงวุ่นวาย มีผู้ไปนิมนต์หลวงพ่อจงขอให้ไปห้ามระงับเหตุ ท่านหัวร่อ พลางบอกว่าไม่ต้องห้ามเดี๋ยวก็หยุดไปเอง หากอาละวาดจนหยุดไม่ได้ ก็เห็นจะต้องตาย
...มันช่างเป็นความอัศจรรย์อะไรเช่นนั้น หลวงพ่อจงพูดขาดคำไปไม่ถึงสิบนาที มีคนวิ่งกระหืดกระหอบไปแจ้งท่านว่า นายสิบทหารผู้นั้นตายเสียแล้ว โดยอยู่อยู่ก็อวดศักดาเอาปืนจ่อขมับตนเอง อวดใครต่อใครว่าเป็นผู้ศักดาอาคมขลัง ปืนยิงไม่เข้า
และอีกครั้งหนึ่ง มีนายทหารชั้นร้อยโทผ่านศึกอินโดจีน เป็นคนพิการขาขาด ได้ไปขออาศัยอยู่ด้วย หลวงพ่อจงก็ไว้วางใจ มอบให้เป็นผู้เก็บรักษาเงินของวัด อยู่มาสองปีเศษ เงินของวัดก็สูญหายไปเรื่อย ๆ มากบ้างน้อยบ้าง แต่หลวงพ่อจงก็ไม่เคยเป็นห่วงเอาธุระซักไซ้ดูว่าอย่างไร สืบมาไม่นาน หลวงพ่อจงได้เงินมาหมื่นเศษก็มอบให้ไว้อีก โดยบอกว่าเงินนี่จะเอาไว้ทำโบสถ์ให้รักษาไว้ให้ดีหน่อย
ต่อมาถึงเวลาต้องการใช้เงิน คนผู้นั้น กลับตอบปฏิเสธว่าเงินไม่มีเสียแล้ว หลวงพ่อจงกล่าวซักว่า ...ก็ให้เก็บไว้บอกว่าจะเอาทำโบสถ์ ทำไมว่าเงินไม่มี พูดเป็นคนเสียสตินี่...
อีกสี่วันต่อมา บุรุษพิการขาขาดผู้นั้นได้กลายเป็นคนบ้า บ้าขนาดหนัก และมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึงเจ็ดวันก็เกิดมีอาการคลุ้มคลั่งขนาดตรีทูตจนป่วยเป็นไข้อย่างแรงถึงเสียชีวิต
หลวงพ่อจงมีกิตติคุณอีกทางหนึ่งในการใช้น้ำมนต์ น้ำมันมนต์ของท่าน ท่านสร้างเองโดยหุงเดือดแล้วบริกรรมด้วยอาคมขลัง แล้วเอามือคนไปจนได้ที่ น้ำมันนี้มีสรรพคุณกินแก้ปวดท้อง หยอดยาแก้เจ็บ ตาแดง ตาต้อ ทานวดแก้เมื่อยขบ
ในชีวิตของท่าน ท่านต้องปฏิบัติกิจโดยพิถีพิถันและต้องไปร่วมพิธีใหญ่ ๆ ของทางราชการ และของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่อยู่อย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าในการปลุกเสกอาคมสร้างของขลังในชมรมบรรดาเกจิอาจารย์หรืองานหลวง เช่น พิธีพุทธาภิเษกเหรียญและรูป อดีตสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ตลอดจนถึงพิธีพุทธาภิเษกครั้งหลังสุดในชีวิต 94 ปีของท่าน คือพิธีพุทธาภิเษกสร้างเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ปัจจุบันกับร่วมในพระราชพิธีฉลองพระชนมายุครบสามรอบ ณ วัดราชบพิธ นี่ย่อมเป็นเครื่องสำแดงว่า มิว่าในสังคมชั้นใดเอกชน หรือว่าวงราชการชั้นสูงสุดแค่ไหน หลวงพ่อจงถูกยอมรับนับถือเป็นยอดอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธรรมสูงสุดผู้หนึ่ง
ประการสำคัญ ในชีวิตท่าน หลวงพ่อจงมิเคยมีอารมณ์หลงตะหงิดอยากได้นั่นได้นี่เป็นสมบัติ นอกจากกระทำไปตามหน้าที่ เช่น สร้างกุฏิซึ่งเก่าคับแคบ มีน้อยให้มากขึ้นที่วัดหน้าต่างนอกตามอัตภาพ สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงเรียนตามที่ทางราชการ อำเภอ จังหวัดนิมนต์พึ่งขอความร่วมมือจากบารมีของท่าน แต่อย่างไรก็ดี สิ่งของของวัดท่าน เช่น ตะเกียงเจ้าพายุ (สมัยนั้นยังไม่มีผู้ถวายไฟฟ้ากำเนิดแก่วัด) หากวัดอื่นยากจนกว่าไปขอใช้ ท่านก็ให้ไป ศาลาวัดบางหลังที่ควรเอาไว้ใช้ แต่มีผู้มาบอกว่าจะขอรื้อเอาไม้ไปทำโรงเรียน ช่วยเด็กไม่มีโรงเรียนจะนั่งเรียน ท่านก็อุทิศให้ไปอย่างยิ้มแย้มเต็มใจ ท่านได้พัดวิเศษอันสูงค่ายิ่ง เพราะเป็นของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อมีผู้มาขอยืมไปใช้เพราะเห็นว่าสวยสุดสง่า แต่แล้วไม่เอาคืนให้ มีผู้อาสาไปเอาคืน ท่านก็เพียรครางหึหึในลำคอ พลางก็ห้ามว่า เมื่อคนอื่นเขาพอใจจะเป็นเจ้าของเอาไว้ครองเป็นสมบัติของเขายิ่งกว่าเรา เราอุทิศให้เขาไปเสียให้สมใจ ก็มิเห็นจะเป็นไรไป
พฤติการณ์กรณีวาจาสิทธิ์ ของหลวงพ่อจงมีผู้พูดถึงกันมาก และ ปรากฏมีผู้ศรัทธาเชื่อกันว่า ท่านมีวาจาดุจดังพระร่วงอะไรทำนองนั้น แต่ท่านก็ไม่เคยว่ากล่าวใครสักกี่ราย แม้แต่การให้พรท่านก็มักให้แต่ในแนวทางสงฆ์ มีการสวดมนต์ภาวนาประพรมน้ำมนต์ ไม่เคยกล่าวคำอวยพรให้ใครอย่างใดในแบบสังคม
กล่าวกันทางด้านสุขภาพ หลวงพ่อจงมีสุขภาพอนามัยดีเลิศ โรคที่มีบ้างก็แค่หวัดธรรมดา กิจวัตรการฉันของท่านก็เช่นเดียวกับสงฆ์อื่นเปลี่ยนแต่เป็นว่าตอนเช้าหกโมง ท่านฉันข้าวต้มหมูชามขนาดกลางชามหนึ่ง น้ำชากาแฟไม่ฉันเลย ส่วนน้ำดื่มชอบน้ำต้มธรรมดา ๆ เท่านั้น อย่างอื่นไม่ดื่มเลย เคยติดยานัตถุ์และบุหรี่อยู่ 4 - 5 ปี แต่ต่อมาเห็นว่าเป็นเครื่องทำให้รำคาญรุงรัง เพราะต้องเอาติดย่ามไปด้วย ทำให้มีห่วง ท่านเลยตัดสินใจเลิก เป็นการตัดกังวล มีผู้ถามว่า ของสองสิ่งเป็นยาเสพติดมีฤทธิ์ชะงัด เลิกกับมันยากนัก มีคนอยากเลิก เลิกไม่ได้ ท่านมีวิธีขมังอย่างไร หลวงพ่อเพียงตอบยิ้ม ๆ
"...ตั้งใจอดจริง ก็ต้องทิ้งมันได้... ไม่มีอะไรในโลก ซึ่งเราตั้งใจทำและทำจริงแล้วจะทำไม่ได้ ทำได้ดีหรือไม่ สุดแต่กรรมและวาสนา หรือที่เรียกว่า แล้วแต่พระพรหมลิขิตไว้ประจวบเหมาะอย่างไรนั่นเอง..."
อย่างไรก็ดี เวลาเข้านอนของท่าน กลับไม่เป็นเวลาแน่นอนเสมอไป เว้นแต่อยู่ที่วัดของท่าน แต่ก็อีกนั่นแหละ หากมีผู้ไปเยี่ยมนมัสการ ท่านก็มักไม่ชอบจะหนีเข้านอนในเวลาราวสี่ทุ่มอันเป็นปกติ เพราะท่านชอบรับแขก และเกรงใจว่าเขาอุตส่าห์ไปหา ก็ควรต้อนรับคุยกันให้เขาได้รับสิ่งที่ต้องการสมปรารถนา จวบจนวัยย่าง 90 เป็นต้นมา ลูกศิษย์ลูกหาเกรงกันว่าสุขภาพของท่านจะร่วงโรยเกินไป จึงมักจะรู้ว่าไม่ควรรบกวนท่านเกินเวลากำหนดเข้าจำวัด
ก่อนนอน หลวงพ่อจงมักชอบเล่นกับแมว อุ้มมันตบหัวลูบหลังมันอยู่ราวสิบนาที จากนั้นศิษย์ทุบน่องทุบหลังอีกราวสิบถึงสิบห้านาทีเป็นอย่างมากจึงนอนหลับไปเลย วิธีนอนของท่านก็แปลก ตอนแรกจะนอนแบบก้มหลังโก้งโค้งพร้อมด้วยมีผ้าคลุมตลอดองค์ เป็นเช่นนี้ตลอดไป แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง แต่ก็จะกลับมาอยู่ในลักษณะนี้ จนถึงเวลาตื่นราวตีสี่ จากนั้นก็กระทำกิจวัตร คือปัดกวาดทั่วตลอดวัดด้วยตนเอง เสร็จก็พอดีได้เวลาเคาะระฆัง เรียกเป็นสัญญาณทำวัตรสงฆ์ร่วมด้วยภิกษุลูกวัด อย่างนี้เป็นนิจ
วิธีใช้พระเวทย์ปลุกเสกเตือนอาคม (กับ) นับถือบูชาพระในวิธีถูกต้อง
บรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งพลังพิสดารกลายเป็นคำเลื่องลือนับถือในอานุภาพนาประการ ของหลวงพ่อจงอย่างไรก็ตามที เมื่อมีบุคคลเชื่อ บุคคลผู้ปราศจากเชื่อก็คงต้องมีควบคู่กันไป ดุจมีดำต้องมีขาวไม่มีปัญหา และจะวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไรก็ปราศจากข้อพิสูจน์อำนาจลึกลับที่ (อาจ) มีขึ้นจริง ในเหล่าคนผู้ไม่ศรัทธาก็ไม่เชื่อเป็นธรรมดา
เมื่อราวปลายปีพ.ศ.2506 ได้มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นขึ้นว่า หลวงพ่อจงก็มีอายุมากแล้ว เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาจะต้องมีมาสู่ท่าน และขณะนั้นท่านก็มักมีกิจเป็นห่วงอย่างเดียว คือประสงค์จะสร้างเขื่อนกั้นน้ำบริเวณริมหน้าวัดหน้าต่างใน ด้านนอกของวัดหน้าต่างนอกของท่าน กับบูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์ที่เกือบใช้การไม่ได้ให้มีสภาพดีขึ้นจนใช้การได้ไปก่อน โดยมิใช่คิดสร้างใหม่เป็นเงินล้านอย่างเขาอื่น กับสร้างหอระฆังให้มีสภาพโอ่อ่าขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้บ้างบกพร่อง บ้างมิมีโอกาสสร้างไว้ก่อน ทั้งที่เป็นเรื่องภายในวัดของท่าน มัวแต่ใช้เวลาไปวุ่นวายช่วยธุรกิจของผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดไม่กล้าและไม่พึงใจจะออกปากรบกวนชวนเชิญใครให้เขาทำบุญ เพราะถือว่าการทำบุญไม่ต้องเชิญชวน มันแล้วแต่จิตใจของผู้จะทำด้วยศรัทธาแค่ไหน โดยความนึกคิดของเขาเองเป็นสำคัญ จึงพากันเสมอข้อคิดเห็นว่า สมควรสร้างรูปเป็นรูปปั้นของท่านขึ้น และสร้างหนังสือประวัติของท่านขึ้น เขียนทุกสิ่งเกี่ยวกับท่านด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นข้อเท็จจริง ทั้งสองสิ่งนี้สืบไปเบื้องหน้า หากใครเขานับถือเคารพมีศรัทธาตัวท่านจริงจังมิเสื่อมคลาย เขาก็จะได้หาไปไว้บูชาสักการะแทนตัวจริงของท่าน ซึ่งเงินรายได้เหล่านั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่อาจรวบรวมสมทบเข้าเป็นกองทุนดำเนินการสร้างสรรค์งานสามประการ เขื่อนกั้นน้ำ บูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์สร้างหอระฆังให้สำเร็จบริบูรณ์ลุล่วงผลตามปรารถนาของหลวงพ่อจงซึ่งท่านมีประสงค์ต้องการกระทำอย่างแรงกล้าก่อนมรณภาพ และสิ่งนี้แม้ท่านมิได้แสดงเป็นห่วง... แต่แน่ละท่านไม่ชอบรบกวนใคร ท่านคงจะคิดถึงมันและมันอาจเป็นอารมณ์รบกวนท่านในเฮีอกท้าของลมปราณมรณะบ้างก็ได้ ฉะนั้นความสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้จนเป็นผลสำเร็จ แม้หลวงพ่อจงจะสถิตย์อยู่ในภพใด แม้นวิญญาณของท่านรับทราบถึงบรรดา เจตนาดีที่มีผู้ต่อท่านกระทำต่อท่านเพื่อท่านในปัจจุบัน อนาคต ทั้งที่ไม่มีท่านเป็นตัวตนอยู่ วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็คงจะประสบปิติสุขเกษมสันต์สำราญอย่างอเนกอนันต์กาล
เคยมีผู้ทำหนังสืออย่างย่อ ๆ แจกเป็นที่ระลึกในงานพิธีศพของท่านแต่ก็พิมพ์จำนวนจำกัดและแจกจ่ายไปหมดสิ้น ไม่พอกับจำนวนนับหมื่นแสนที่ต้องการทราบประวัติละเอียด และต้องการได้ไว้ เป็นเครื่องรำลึกบูชาคุณของท่านที่มีต่อสรรพสัตว์ไม่เลือกหน้า เพราะทุกคนยังรำลึกถึงพระเดชพระคุณของท่านมิมีวันลืมเลือนโดยง่าย
สำหรับรูปปั้น เคยมีศิลปินรับอาสาไปสร้าง เขาคือ ชาญ สารพุทธิ อาจารย์ศิลปชั้นเอกจากเพาะช่าง
หลวงพ่อจง พอใจรูปปั้นนั้นมาก เพราะเคยมีผู้ปั้นไปให้ท่านดู ท่านดูไปดูมาแล้วหัวร่อ บอกว่าไม่เหมือนไม่รู้ใคร คนอื่นไม่รู้จักหรือแม้ที่รู้จัก ก็คงจะยิ่งฉงนกันมาก... แต่เมื่อเป็นรูป โดย ชาญ สารพุทธิปั้น ท่านบอกว่า นี่เอง... จึงจะเป็นอาตมาได้อย่างคล้ายคลึงพอดูได้...
จากนั้น ท่านได้ทำพิธีปลุกเสกรูปปั้นของท่านแทบทุกเช้าค่ำเวลาทำวัตรในเมื่อมีโอกาสเวลาไม่ต้องเดินทางไปที่อื่นใด และต่อมา ท่านได้ปลุกเสกเถ้าธูปเทียน ดอกไม้บูชาแห้ง และผมปลงของท่าน รวมส่งให้ศิลปินชาญ เพื่อใช้ผสมผงสร้างรูปปั้นอีกมาก หากใครผู้ใดมีรูปปั้นของท่านไว้บูชาและอาราธนาถูกวิธี จะบันดาลให้บังเกิดผลในอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มหาศาลเป็นอัศจรรย์ อาทิ
เป็นมหาเมตตา มหานิยม มหาลาภ คงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด
สะบัด "ปัด" อัคคี ป้องกันฟืนไฟรังควานและระงับดับจิต ตลอดจนความร้อนอกใจนานาประการปราศจากศัตรูผู้คิดบีฑาทำร้าย
สำหรับพิธีบูชาหลวงพ่อจง คือ ใช้ธูปเจ็ดดอก เทียน และดอกไม้หอม กระทำบูชา อธิษฐานรำลึกถึงหลวงพ่อจง อาราธนาขอให้ท่านแผ่อิทธิบารมีปกป้องบังเกิดคุณตามเจตจำนง ซึ่งอธิษฐาน หมั่นทำเช่นนี้จะไม่ผิดหวัง มักได้ผลดีมาก
บรรดาเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อจงมีมากชนิด ท่านสร้างและปลุกเสกไว้เป็นจำนวนมาก แต่ก็มักหมดสิ้นไปโดยรวดเร็ว เพราะมีผู้แสวงหากันไว้มาก เพียงท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัดในเวลาวันสองวัน เครื่องรางของขลังซึ่งบรรดาศิษย์และผู้ติดตามเอาติดไปมักไม่ใคร่พอจ่ายแจกประชาชนทุกแห่ง เพราะพอรู้ว่าหลวงพ่อจงไปอยู่ที่ใด มักจะแห่กันเข้าหานมัสการอย่างคับคั่งเสมอไป
ต่อไปนี้เป็นคำเฉลยอรรถาธิบายวิธีอาราธนาปลุกเสกอธิษฐาน การใช้เครื่องรางของขลังต่าง ๆ (ซึ่งเวลานี้ของแท้หายากอยู่เหมือนกัน แต่ที่มีอยู่แล้วก็มีเป็นจำนวนแสน ๆ ล้าน ๆ)...แต่อย่างไรก็ดี ก็ใช้ได้กับรูปปั้นและรูปบูชาด้วย... ให้สวดภาวนาอธิษฐานดังนี้
ตั้ง นะโมสามจบ
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธรรมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ต่อจากนี้ สวดบทอิติปิโส อีกสามจบ แล้วจึงตั้งบทว่า
พุทธัง อาราธนานัง
ธรรมมัง อาราธนานัง
สังฆัง อาราธนานัง
จึงอธิษฐานดังนี้ ต่อไป
ขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์เจ้า และหลวงพ่อจง (พุทธสโร)... และถ้ามีเสื้อยันต์ ตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 16 ดอก และของอื่น ๆ ให้ระบุชื่อของนั้น ๆ เวลารำลึกใช้
จงดลบันดาลให้ข้าพระพุทธเจ้า จงประสบความเป็นผู้คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดจากมหาอำนาจร้ายสรรพโพยภัยภยันอันตรายไม่ให้เข้าใกล้ทำร้าย และจงบังเกิดเป็นมหาเสน่ห์ มหานิยม จิตคิดเมตตาจากจิตใจผู้อื่นพึงมีต่อข้าพระพุทธเจ้า โดยอำนาจบารมีของพระคุณเจ้าที่ข้าพระพุทธเจ้าน้อมรำลึกบูชาโดยบริสุทธิ์ใจ ขออาราธนาจงดลบันดาลให้บังเกิดผลเป็นไปดังอธิษฐาน โดยพลันทันที
หากมีเหตุฉุกเฉิน ให้รีบอธิษฐานภาวนา ดังนี้
พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา พระบิดารักษา พระมารดารักษา พระอินทร์รักษา พระพรหมรักษา พระครูบาอาจารย์รักษา อิมังอังคพัน ธนังอธิถามิ
แล้วปลุกเสกต่อไป ดังนี้
อิติสุคโต อุสุวิหิสุ พุทธะสังมิ มออุ อุกันหะเนหะ อุตะธัง โธอุตะ ธังอะตะ หังระอะ อะนะปัสสะ
(ภาวนาทบทวน ตั้งแต่ 3 ถึง 7 จบ)
การใช้คำอธิษฐานภาวนาบทปลุกเสก ต้องจำให้แม่นยำคล่องแคล่วตึ้งจิตคิดรำลึกถึงพระบารมีคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และท่านอาจารย์หลวงพ่อจงโดยแน่วแน่
หากใช้ตะกรุดโทน (มหารูดมงคลชาตรี) หรือใช้ตะกรุดชุด 16 ดอกติดตัวไป เมื่อจะเข้าโรมรันรบประจันบาน ให้เอามือรูดพระตะกรุดไว้เบื้องหน้าสะดือ จะแคล้วคลาดคงทนต่อปืนผาหน้าไม้ สรรพสาตราวุธ แหลนหลาว หอกดาบ ขวากหนาม ของแหลมของคมทุกชนิด แต่ยามคิดหนีศัตรู ให้รูดพระตะกรุดไว้เบื้องหลัง จะแคล้วคลาดอันตราย ไม่มีผู้ติดตามทำร้าย หรือไม่ขัดขวาง แม้จะไล่ติดตามก็ให้มีเหตุไล่ไม่ได้ไล่ไม่ทัน
แต่ถ้าจะใช้เข้าหาเจ้านายผู้ใหญ่ ท้าวพระยาผู้มีอำนาจบารมียิ่งใหญ่ให้รูปพระตะกรุดทั้งสองประเภทที่มีอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง รูดไปเบื้องขวาตน ถ้าเข้าหาท้าวพระยากษัตริย์หรือนางผู้สูงศักดิ์ ให้รูดไปเบื้องซ้าย
ถ้าจะทำการแข่งขัน แข่งเรือ แข่งม้า วัวควาย วิ่งแข่ง ตอนจะเริ่มออกแข่งขัน ให้ภาวนารูดพระตะกรุดไว้ใต้สะดือ แลเมื่อสามารถออกเลยล้ำหน้าเขาไปแล้ว จึงรูดพระตะกรุดกลับไปไว้เบื้องหลัง คู่แข่งขันจะไม่มีโอกาสไล่ตามทัน
ผู้ใดหมั่นบูชาหลวงพ่อจง (พุทธัสสโร) และบรรดาเครื่องรางของขลังซึ่งตนมีศรัทธาเลื่อมใสเชื่อมั่นในพระคุณอิทธิบารมีของท่าน ซึ่งมีได้แก่
เสื้อพระยันต์ราชสีห์มหาอำนาจ (สีแดง) คงกระพันชาตรี
พระเครื่อง ทุ่งเศรษฐี (ดำใหญ่ และ แดงเล็ก)
พระยันต์มหาอำนาจ (มหานิยมแคล้วคลาด)
พระตะกรุดชุด 16 ดอก (แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ มหาลาภ)
ธนบัตรขวัญถุง (เรียกเงินตราไหลมาเทมาหา)
พระตะกรุดโทน (เช่นเดียวกับพระตะกรุดชุด 16 ดอก แต่มีอิทธิบารมีแก่กล้าทางคงกระพัน ค่าพันตำลึงทอง)
รูปปั้น (หล่อ) ของหลวงพ่อจงเอง
พระยันต์ต่าง ๆ เขียนลงบนผืนผ้าขาว
เหรียญกลมรูปหลวงพ่อจง (สำหรับเด็ก)
ลักยม (เมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์)
ยันต์พระฉิม (มหาลาภ ค้าขายเป็นมหานิยม)
โดยเฉพาะ พระยันต์ พระตะกรุด หากใช้ในการเดินทางและบังเกิดเมื่อยล้า หรือเกรงว่าจะเหน็ดเหนื่อยจะปลุกเสกภาวนาป้องกันเสียก่อนก็ได้ โดยทำพิธีภาวนาอธิษฐานปลุกดังข้างต้นแล้ว ให้ยกมืออธิษฐานเสกซ้ำต่อไปอีกว่า
เศกขาธัมมา อเศกขาธัมมา เนวเศกขาธัมมา ธัมมาเศกขาธัมมา จากนี้เอามือลูกแข้งขามือและร่างกายให้ทั่ว ให้คิดเชื่อว่าต่อไปนี้ตัวเราเดินวิ่งเท่าไร ๆ เป็นไม่มีเมื่อย ไม่มีเหนื่อยอีกแล้วอย่างเด็ดขาด เพราะพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้

274
1.ล็อคเก็ต พระอุบาลีคุณูปมาจารย์? ครับ   หลังพัดยศ ( เลี่ยมเดิมมาจากวัด)
2.หลวงพ่อไร่ขิง พิม 2 หน้า สำหรับแจกกกรรมการนักเรียน เท่านั้น ครับ (เลี่ยมเดิมมาจากวัดครับ)

 




 :054: :054: :054: :054: :054:

275
งานประจำปีหลวงพ่อวัดไร่ขิง มีตั้งแต่ วันที่ 17-25 เมษายน พ.ศ. 2551 นะครับ จึงขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธา ร่วมทำบุญปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง ครับ

276
ผมมีบทความดีๆมาให้อ่านครับ ผมชอบมากเลย  จากใจด้วยความเคารพและศรัทธาหลวงพ่อแช่ม  วัดตาก้อง


ความไม่ชอบใจหลวงพ่อแช่มของสมภารกร่ายได้นำไปสู่การร้องเรียนต่อเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด โดยสมภารกร่ายเป็นผู้ร้องเรียนด้วยตัวท่านเอง ที่สุดนำไปสู่การสอบสวนด้วยข้อกล่าวหาที่ฉกรรจ์หลายข้อด้วยกัน คือ

1. ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส

2. ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าจะไปไหน ไปทำอะไร

3. หายไปจากวัดหลายๆ วันเสมอ ไม่ทราบว่าไปทำอะไรที่ไหน

4. ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นพร้อมพระภิกษุอื่นในวัด

5. ไม่ลงฟังพระสวดปาติโมกข์ในวันพระ

6. ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามธรรมเนียมของพระภิกษุ

7. หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวทำครัวเหมือนชาวบ้าน

8. รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์ เป็นหมอรักษาไข้ให้ชาวบ้าน ผิดกิจของสงฆ์

9. อวดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ผิดศีลของพระภิกษุ

ในการสอบสวนหลวงพ่อแช่มนั้น มีเจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบล และคณะผู้ติดตาม เดินทางมาสอบสวนถึงวัดตาก้อง เมื่อมาถึงกุฏิของสมภารกร่ายได้ให้พระลูกวัดไปนิมนต์หลวงพ่อแช่มมาพบที่กุฏิ ทว่าพระลูกวัดได้กลับมารายงานว่า หลวงพ่อแช่มไม่ยอมมาพบ และได้ฝากข้อความมาว่า ตัวของท่านเป็นจำเลยอยู่แล้ว มีคดีร้ายแรงอย่างใดก็ขอให้ไปที่กุฏิของท่าน หากผิดจริงจะได้จับสึกกันเสียทีเดียวที่กุฏิของท่าน

คณะของเจ้าคณะจังหวัดจึงได้ไปยังกุฏิของหลวงพ่อแช่มเพื่อทำการสอบสวนเรื่องร้องเรียนของสมภารกร่าย เมื่อมาถึงกุฏิที่หลวงพ่อแช่มปลูกเป็นศาลา พบหลวงพ่อแช่มนุ่งสบงผืนเดียวนั่งขัดสมาธิคอยอยู่บนพื้นกระดานแผ่นใหญ่ที่ปูอยู่กับพื้นดิน มีไม้ขอนวางรอง ไร้เฟอร์นิเจอร์ใดๆ ทั้งสิ้น กระทั่งเสื่อปูรองก็ไม่มี

เจ้าคณะตำบลที่มาด้วยเห็นเช่นนั้นก็ได้บอกให้หลวงพ่อแช่มไปครองจีวรเสียให้เรียบร้อยและชี้แจงให้รู้จักว่า นั่นเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดให้นมัสการกราบไหว้เสีย เพราะท่านเป็นเจ้าคณะใหญ่ผู้ปกครองสงฆ์ชั้นสูง หลวงพ่อแช่มยังคงเฉย และกล่าวต่อเจ้าคณะตำบลว่า "ผมมันไม่ใช่พระใช่เจ้าอะไรแล้ว เป็นจำเลยให้เขาฟ้องร้อง มีตุลาการมาสอบสวน ก็อยากให้สอบสวนกันอย่างนี้ ดีร้ายจะได้ถอดสบงสึกกันง่ายๆ ไม่ต้องครองไตรจีวรให้เสียเวลา"

ซึ่งเจ้าคณะตำบลได้กล่าวปลอบชี้แจงว่า ยังไม่ใช่นักโทษ เพียงแต่ถูกอธิกรณ์ข้อกล่าวหา จะต้องสอบสวนกันก่อน ถ้าผิดจึงจะลงโทษ ถ้าไม่ผิดก็ไม่มีโทษอะไร เจ้าคณะท่านเป็นพระผู้ใหญ่มา ควรครองไตรจีวรให้เรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพท่าน หลวงพ่อแช่มก็กล่าวว่า "ถ้าหากผมนุ่งสบงตัวเดียวอยู่วัดอย่างนี้ ผมไม่ใช่พระหรืออย่างไร ถ้าหากผมครองไตรจีวรเรียบร้อยแล้ว ผมมีศีลด่างพร้อย ต้องอาบัติปาราชิก ผมจะเป็นพระเพราะครองไตรจีวรหรือ"

ท่านเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้นิ่งฟังอยู่เป็นนานแล้ว ได้กล่าวกับหลวงพ่อแช่มว่า "นี่แน่ะท่านแช่ม ถ้าท่านเป็นพระถือศีลบริบูรณ์อยู่ ให้ท่านไปห่มจีวรให้เรียบร้อยก่อน เรื่องผิดถูกค่อยพูดกันทีหลัง" หลวงพ่อแช่มจึงลุกขึ้น คว้าจีวรห่มนั่งลงที่เดิม ไม่ได้นิมนต์ให้เจ้าคณะจังหวัดนั่ง ซึ่งท่านก็ได้นั่งลงเองพร้อมๆ กับพระภิกษุรูปอื่นๆ

ต่อเมื่อได้นั่งมองสังเกตไปรอบๆ กุฏิของหลวงพ่อแช่ม ที่ปลุกเป็นศาลาโรงดิน หลังคามุงจาก เปิดฝาผนังโล่งทั้ง 4 ด้าน ไม่มีพื้นกระดาน นอกจากแผ่นกระดานใหญ่ที่ปูนอนอยู่บนพื้น และเป็นที่นั่งรับแขก สักครูหนึ่ง เจ้าคณะจังหวัดจึงได้เอ่ยขึ้น "ที่มาวันนี้ก็ไม่ได้ตั้งใจจะมาสอบสวนอะไร ไม่ได้คิดว่าท่านแช่มจะทำผิดศีลวินัยอะไร แต่อยากจะมาดูให้รู้กับหูกับตาว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะมีคำร้องฟ้องกล่าวโทษไปหลายข้อ" ว่าแล้วก็หยิบคำฟ้องจากย่ามขึ้นมาอ่านให้ฟัง แล้วถามเป็นข้อๆ

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมก็อยู่ในเขตวัดตาก้อง เจ้าอาวาสก็อยู่ในกุฏิของท่าน ผมก็อยู่ในกุฏิของผม ต่างคนต่างอยู่ ไม่เคยพบหน้ากัน เจ้าอาวาสไม่เคยมาว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนอะไรผม ไม่เคยสั่งห้ามอะไร ผมก็ไม่เคยฝ่าฝืนข้อห้ามข้อใดเลย แล้วจะว่าผมไม่อยู่ในปกครองได้อย่างไร ธรรมดาพ่อแม่ปกครองลูก ก็ต้องดูแลว่ากล่าว ตักเตือน สั่งสอน ห้ามปราม นี่ไม่เคยเลย ผมก็ไม่เคยทำอะไรฝ่าฝืน จะว่าฝ่าฝืนข้อไหน ท่านไม่มาปกครองผมเองต่างหาก"

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าไปไหน ทำอะไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"เมื่อสมภารไม่มาปกครองผม ปล่อยผมตามใจ ผมก็ปกครองตัวเอง จะไปไหนก็ไปเอง กลับเอง ทำอะไรก็ทำเอง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของวัด ข้อนี้ผมมีความผิดธรรมวินัยของสงฆ์อย่างไร"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หายหน้าไปจากวัดเสมอ ครั้งละหลายๆ วัน ไม่ทราบว่าไปทำผิดทำชั่วทำความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์อย่างไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมออกจากวัดไปเสมอจริง ไปครั้งละหลายๆ วันจริง ก็ไปทำกิจส่วนตัวที่ชาวบ้านเขานิมนต์เป็นกิจส่วนตัว ไม่ได้ไปทำผิด ทำชั่ว ทำความเสื่อมเสียอะไร ถ้าหากว่าไปทำผิดทำชั่วจริง คงจะมีคนจับได้ คงจะถูกฟ้องร้อง ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวเข้าคุกตะรางไปแล้ว แต่นี่ก็ไม่มีใครพบเห็นว่าทำผิดทำชั่วที่ไหนเลย อย่างนี้จะผิดธรรมวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหา ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์องค์อื่น หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ผมก็ทำของผมองค์เดียวเพราะผมอยู่องค์เดียว ผมเป็นพระป่า เคยออกธุดงค์เดินป่า ก็ทำวัตรสวดมนต์องค์เดียวมาตลอด พระอรหันต์ท่านไปอยู่ป่า อยู่ถ้ำ ท่านก็สวดมนต์ภาวนาองค์เดียว การสวดมนต์องค์เดียวผิดศีลวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์ในวันพระ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"วันพระผมก็สวดพระปาติโมกข์เอง สวดเอง ฟังเอง เหมือนพระสงฆ์อื่นๆ ที่ท่านให้ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์นั้น สำหรับพระที่สวดพระปาติโมกข์เองไม่ได้ จะได้ฟังเอาบุญก็ผมสวดเองได้ จะต้องไปฟังใครสวดอีกเล่า พระอื่นๆ เสียอีกที่สวดพระปาติโมกข์ไม่ได้นั่นแหละจะสู้ผมไม่ได้ ถ้ามาว่าพระปาติโมกข์แข่งกัน"

ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดได้แย้งว่า "การฟังพระปาติโมกข์นั้น ฟังจบแล้วก็ได้ฟังคำสั่งสอนอบรมของเจ้าอาวาสด้วย" หลวงพ่อแช่มจึงตอบกลับว่า "ผมสวดพระปาติโมกข์จบแล้วก็นั่งเจริญสมาธิภาวนา อบรมจิตของตนเป็นการบำเพ็ญภาวนา ดีเสียกว่านั่งฟังครูอาจารย์สั่งสอบอบรมเสียอีก คนเราลองถ้าได้สงบจิตเตือนใจของตนได้แล้ว ใครเล่าจะวิเศษไปกว่าตนของตนเตือนตน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามธรรมเนียมของพระภิกษุสงฆ์ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ที่ท่านให้ออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์นั้นก็เพื่อจะได้อาหารมาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่ง กับเพื่อจะได้ออกไปเตือนอุบาสกสีกาให้บริจาคทานทำบุญ ก็เมื่อผมเองไม่ต้องออกไปบิณฑบาตก็มีอาหารเลี้ยงชีพ จะต้องออกบิณฑบาตอีกทำไม ถ้าจะว่าออกไปเตือนคนให้บริจาคทานทำบุญทำกุศลก็ผมเองนั่งอยู่ที่กุฏินี้ เขาก็คิดถึงนำอาหารมาถวาย ผมทำให้คนทั้งหลายบริจาคทานทำบุญได้อยู่แล้ว ไม่ต้องออกไปเตือนให้เขาทำบุญจนถึงบ้าน อย่างนี้จะว่าผิดธรรมเนียมสงฆ์อย่างไรอีก ถ้าผมออกบิณฑบาตกลับจะเป็นโทษ เพราะคนเขาจะพากันทำบุญตักบาตรผมเสียมาก พระภิกษุอื่นๆ จะขาดลาภไปเสีย อย่างนี้จะไม่ว่าผมมีเมตตาแก่ภิกษุบวชใหม่บ้างหรือ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวเอง เหมือนชาวบ้าน หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ก็เมื่อผมไม่ออกบิณฑบาตขอภิกขาจารอาหารเช้ากิน จึงต้องหุงข้าวกินเอง เพราะผมฉันอาหารแต่เช้า พอตะวันขึ้นชาวบ้านเขาเอาถวายไม่ทัน อีกประการหนึ่ง ผมมีลูกศิษย์หลายคน ทั้งพระทั้งฆราวาสจึงต้องตั้งครัวหุงต้มเลี้ยงกันเอง ชาวบ้านเขาเอาข้าวสาร กะปิ น้ำปลา ปลาแห้ง ปลาเค็ม มาถวาย ก็จัดการหุงต้มแกงกินกันเอง อย่างนี้จะผิดศีลวินัยข้อไหน"

เจ้าคณะจังหวัดว่า "ผิดที่สะสมอาหารไว้อย่างไรเล่า พระภิกษุเราไม่ควรจะต้องสะสมอาหาร ควรบิณฑบาตเลี้ยงชีพไปชั่วมื้อชั่ววันเท่านั้น"

หลวงพ่อแช่มได้ตอบกลับว่า "ผมไม่ได้สะสมอาหารสุกไว้กินในยามวิกาล ผมสะสมอาหารดิบอาหารแห้งไว้ประกอบกินในวันพรุ่งนี้ต่างหาก ผมไม่ได้สะสมไว้เพื่อตัวเอง สะสมไว้เพื่อศิษย์ต่างหาก การประกอบอาหารผมก็ไม่ลงมือทำเองศิษย์ทำถวายทั้งสิ้น"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "อาหารดิบนั้น มีปลาเป็นๆ ไข่ไก่อยู่หรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ปลาเป็นๆ ไม่มีอุบาสกสีกาคนใดอุตริเอามาถวายเลย ไข่สดไม่มีมีแต่ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาเป็นๆ นั้นไม่มีใครถวาย ถ้าประสงค์จะหามาแกง ปลาในสระวัดตลอดหน้าวัดก็มีแยะไป แต่ไม่มีใครไปจับเอามาทำอาหารเลย"

"ผักสด ผักเขียว ไม่มีเลยหรือ" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อ

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ยอดผักบุ้ง ยอดผักกะเฉด ผักแว่น สายบัว ผมฉันสดๆ เสมอ แต่ไม่เคยไปเด็ดเอง ท่านเจ้าคณะไม่เคยฉันผักสดเลยทีเดียวหรือ"

เจ้าคณะจังหวัดได้ตอบว่า "ผมไม่ชอบ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์เป็นหมอยารักษาไข้ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"รดน้ำมนต์ ผมรดจริง เพื่อสงเคราะห์คนที่เขามีทุกข์ พระอาจารย์ทั้งหลายก็รดกันอยู่ทั่วไป จะผิดศีลวินัยข้อไหน ก็คงผิดกันมาก อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่เคยบอกว่ารดน้ำมนต์ผิดวินัย หลวงพ่อของผมท่านก็รดน้ำมนต์ให้ใครๆ อยู่เรื่อยๆ"

"เรื่องให้หวยเล่า" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบไปว่า "หวยก็ให้ เมื่อมีคนเขามาถามว่าหวยงวดนี้ออกตัวอะไร ก็บอกให้เขาไปเล่นกัน รัฐบาลท่านอนุญาตให้เล่นหวยกัน พระสงฆ์ก็ต้องบอกหวยได้"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "เห็นตัวเลขจริงหรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "เข้าสมาธิภาวนา จิตเป็นหนึ่งก็เหมือนน้ำใส ไม่มีตะกอน ไม่มีละลอกคลื่นก็มองเห็นเงาในน้ำได้"

"เห็นอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มจึงตอบว่า "เห็นเป็นตัว ก. ตัว ข. เห็นเป็นตัวม้า ตัวเรือ" (สมัยนั้นเป็นหวย ก. ข.)

"เขาเอาไปเล่นกันถูกไหม" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มก็ตอบ "เขามาบอกว่าถูกก็มี ไม่ถูกก็มี"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "ทำไมจึงมีถูกบ้าง ผิดบ้าง"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "แล้วแต่โชคลาภของคนแทง เพราะเราไม่ได้บอกตรงๆ เราใบ้หวยให้เขาต่างหาก"

"ทำไมต้องใบ้ ทำไมจึงไม่บอกตรงๆ" เจ้าคระจังหวัดได้ถามต่อ

"ถ้าบอกตรงๆ ก็อวดอุตริมนุสธรรม" เป็นคำตอบจากหลวงพ่อแช่ม

จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เรื่องทำเสน่ห์ว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ไม่เคยทำเสน่ห์ยาแฝด ของลามก มีแต่คนมาขอเสน่ห์ ก็ให้สีผึ้งไปสีปาก"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ "ใช้สีผึ้งสีปาก แล้วมีเสน่ห์จริงๆ หรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "สุดแล้วแต่ศรัทธาของคน ขี้ผึ้งนี้ก็เสกด้วยคาถาเมตตาจิต ทำด้วยเมตตาจิต ถ้าใช้ด้วยเมตตาจิต ก็เกิดเมตตาจิต มีเสน่ห์"

"คาถาเมตตาจิตว่าอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "คาถาต้องเรียนด้วยความเชื่อมั่น มีครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ต้องยกครู กว่าผมจะเรียนได้มาก็ต้องอุตส่าห์พยายาม ไม่ใช่มาบอกคาถากันต่อหน้าธารกำนัลถึงจะบอกไปท่องได้ ถ้าไม่เชื่อถือก็ป่วยการเปล่า"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เป็นหมอรักษาไข้ จริงหรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยเป็นหมอรักษาไข้ใคร นอกจากมีคนป่วย ญาติเขามาหาถามอาการดู เห็นว่าพอรักษาได้ ก็ให้คนไปซื้อยามา ผมก็เอาลงหม้อ เสกให้เอาไปต้มกินเท่านั้น"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "แล้วหายไหมเล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ก็เห็นบอกว่าหายดี"

"เป็นหน้าที่ของสงฆ์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยเป็นหมอรักษาใครบ้างหรือเปล่า" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามหลวงพ่อแช่มต่อ

คำตอบจากหลวงพ่อแช่ม คือ "การเป็นหมอรักษาไข้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ถ้าเขาหมดทางรักษา เรามียาอยู่ ควรจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้เขาพ้นทุกข์ ผมก็ต้องสงเคราะห์ไปจะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ยอม ผมไม่ใช่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะเป็นได้ก็พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีช่วยเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ถ้าผมเห็นว่าควรจะสละศีลเพื่อช่วยชีวิตเขา ผมก็จะสละ ถ้าผมคิดว่าจะสละวินัย เพื่อช่วยคนให้พ้นทุกข์ ผมก็จะสละ ถ้าผมพบผู้หญิงกำลังจะจมน้ำตาย ผมก็จะกระโดดน้ำลงช่วยอุ้มเขาขึ้นมาให้รอดตาย ถึงผมจะถูกปรับอาบัติว่าสังฆาทิเสส ผมก็จะยอม ผมจะไม่รักษาศีลบริสุทธิ์ยอมให้คนจมน้ำตายไปต่อหน้า ถ้าผมทำเช่นนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าผมบวชเพื่ออะไร"

เจ้าคณะจังหวัดฟังคำตอบแล้วถามหลวงพ่อแช่มต่อว่า "เรื่องอวดอุตริมนุสธรรมต่างๆ จะว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยอวดอ้างความวิเศษอะไรที่ผมไม่มี ถึงความวิเศษที่ผมมีมากกว่าพระภิกษุอื่นๆ ผมก็ไม่เคยอวด นอกจากมีคนมาถาม ผมก็ตอบเขาไป ใครมีพยานหลักฐานว่า ผมอวดฤทธิปาฏิหาริย์อย่างไรบ้าง ก็ยืนยันมาเถิด"

เจ้าคณะจังหวัดว่าต่อ "เช่นเรื่องหนังเหนียว คงกะพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก"

หลวงพ่อแช่มกล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้อวด แต่ผมบอกว่าอานุภาพของคุณพระนั้น ช่วยป้องกันอันตรายได้จริง มีอานุภาพจริง เช่น ทำให้ผิวหนังเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก คลาดแคล้ว"

"ของดีที่แจกไป เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ จะกันมีดพร้าอาวุธได้จริงหรือ" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มได้ตอบไปว่า "ถ้าเขามีศรัทธาเชื่อมั่น แล้วใช้เป็นก็ป้องกันศัสตราวุธได้จริง"

เจ้าคณะจังหวัดถามอีก "ถ้าผมจะลองฟันคุณเดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่"

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "ยังไม่เคยมีใครมากล้าผมเลย"

เจ้าคณะจังหวัดหัวเราะแล้วกล่าวว่า "ผมก็ไม่กล้าลองคุณเหมือนกัน"

ครั้นแล้วการสอบสวนก็เป็นอันเสร็จสิ้น เจ้าคณะจังหวัดได้บอกว่า "คุณไม่มีความผิดอะไร" จากนั้นก็ได้สนทนากับหลวงพ่อแช่มถึงการเดินธุดงค์ และคาถาอาคมต่างๆ

เทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวถึงตอนท้ายของการสอบสวนหลวงพ่อแช่ม โดยเจ้าคณะจังหวัดในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ว่า

"ในที่สุดเจ้าคณะจังหวัด ก็ถามว่า ไหนคุณว่าคุณมีดีกว่าพระภิกษุอื่น คุณมีดีกว่าอย่างไร

หลวงพ่อแช่ม ก็ว่าอิติปิโสแปดบทให้ฟัง แล้วก็ว่าอิติปิโสถอยหลังให้ฟัง จบแล้วก็บอกว่าพระองค์อื่นก็ว่าอิติปิโสเดินหน้าได้อย่างเดียว แต่ผมนั้นเชี่ยวชาญขนาดว่าทะแยงก็ได้ ว่าถอยหลังก็ได้ จะไม่ดีกว่าพระอื่นได้อย่างไร

เจ้าคณะจังหวัดก็เลยพาคณะกลับ"

277

พระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มน้ำนครชัยศรีอีกรูปหนึ่ง นามหลวงพ่อแช่ม อินฺทสโร ที่ไม่อาจปฏิเสธถึงชื่อเสียงแห่งพระเกจิอาจารย์จากลุ่มน้ำนครชัยศรีไปได้

ยิ่งเมื่อทอดสายตาไปทั่วเมืองนครปฐม พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและโดดเด่นมากรูปหนึ่งในนั้น มี หลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก ยืนอยู่ตรงแถวหน้ารูปหนึ่ง

หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นี่แหละที่น่าจะกล่าวถึงไว้ในอัตโนประวัติหลวงพ่อแช่ม เนื่องเพราะอย่างน้อยมีสายสัมพันธ์กันในฐานะ อาจารย์ และ ศิษย์โดยเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อแช่ม

ทว่าปูมหลังการอุปสมบทของหลวงพ่อแช่ม มีอยู่ถึง 2 เส้นทาง

ทางหนึ่งกล่าวว่า หลวงพ่อแช่ม ได้อุปสมบทที่วัดตาก้อง โดยมีพระอธิการจันทร์ วัดท่ามอญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูกลั่น วัดพระประโทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

อีกเส้นทางหนึ่งกลับว่า หลวงพ่อแช่ม อุปสมบทที่วัดพระประโทน มีพระอุตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น) วัดพระประโทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชุ่ม วัดพระประโทน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

กล่าวสำหรับพระอาจารย์ชุ่มนี้ จากประวัติในเส้นทางแรกว่า เป็นน้องชายของหลวงพ่อแช่ม แต่ในประวัติตามเส้นทางที่สองว่า เป็นน้าชายของหลวงพ่อแช่ม และต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสมถกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดพระประโทนต่อจากพระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น)

ปูมหลังของพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าๆ สับสนเช่นนี้เสมอ ที่สับสนเนื่องเพราะไม่มีการบันทึกรายละเอียดของประวัติไว้ นอกจากอาศัยคำบอกเล่าจึงมักคลาดเคลื่อนเสมอ

ความสับสนไม่เพียงในเรื่องของการอุปสมบท วันเดือนปีเกิดของหลวงพ่อแช่ม ก็ยังไม่ชัดแจ้ง

ทางหนึ่งนั้นว่า หลวงพ่อแช่ม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 3 ปีจอ พ.ศ.2405 ที่บ้านตาก้อง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

เป็นบุตรของนายชื่น และนางใจ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน โดยท่านเป็นคนโต และน้องชายชื่อชุ่ม

ทางที่สองกลับว่า หลวงพ่อแช่ม เป็นบุตรคนหัวปี มีจำนวนพี่น้อง 7 คน อันประกอบด้วย ชาย 5 หญิง 2 ของนายกลัด และนางเหม นามสกุล มากลัด เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2398-2400 ที่บ้านหอคอย (มีบางท่านบอกว่าเป็นชาวบ้านดอนข่อย) อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านดอนกลาง ตำบลมาบแค

แต่ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อพลิกหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" อันเรียบเรียงโดย เทพ สุนทรศารทูล กลับกล่าวว่า

"หลวงพ่อแช่ม เป็นชาวตำบลตาก้องโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเกิดวัน เดือน ปีอะไรก็ไม่มีใครรู้ หลวงพ่อแช่มเองก็ไม่ทราบท่านจำไม่ได้เหมือนกันว่าท่านเกิดปีอะไร ทั้งนี้เพราะบิดามารดาไม่ได้บอกไว้ ท่านเองก็ไม่สนใจปีเกิดของท่าน เมื่อประมาณ พ.ศ.2490 ข้าพเจ้าเคยถามท่านว่า หลวงพ่ออายุเท่าไรแล้ว ท่านตอบว่า "เกือบร้อย" ท่านบอกใครๆ ว่า อายุท่านเกือบร้อยทั้งนั้น โยมผู้ชายหลวงพ่อแช่มชื่อ "กลัด" หลวงพ่อแช่ม เป็นุบตรคนหัวปี มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ "นาค" น้องสาวชื่อ ทิม น้องชายคนสุดท้องชื่อทับ"

กล่าวว่าเมื่อหลวงพ่อแช่ม อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระประโทน ยาวนานถึง 8 พรรษา แต่ เทพ สุนทรศารทูล ระบุไว้ในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" (ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2519 ต่อมาคณะศิษยานุศิษย์วัดตาก้องได้นำมาพิมพ์ซ้ำเมื่อปี พ.ศ.2537) ว่า

"หลวงพ่อแช่ม บวชแล้วก็มิได้จำพรรษาที่วัดตาก้อง ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ไปจำพรรษาที่วัดพะเนียงแตก ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม"

พระอุปัชฌาย์มิใช่ไหนอื่นไกลเลย คือ พระครูอุตรการบดี (ทา) นั่นเอง

ได้อยู่ศึกษาวิชากับพระครูอุตรการบดี ร่ำเรียนวิชากรรมฐาน เป็นเบื้องต้น ก่อนจะสอนวิชาคาถาอาคมต่างๆ ให้กับหลวงพ่อแช่ม จากนั้นจึงออกธุดงควัตรเป็นการทดสอบจิต

กล่าวว่านอกเหนือจากการศึกษาวิชาจากพระครูอุตรการบดี (ทา) วัดพะเนียงแตกแล้ว หลวงพ่อแช่มยังได้ศึกษาวิชาจากพระเกจิอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น เรียนทางด้านการทำผงมหาราช ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ และผงปถมัง กับพระครูปริมานุรักษ์ (คด) วัดริมจวน นครปฐม เรียนวิชาทางด้านคงกระพันชาตรีกับพระอาจารย์จันทร์ วัดพระงาม เรียนทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาดกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

ภายหลังจากธุดงควัตรกลับมาถึงวัดพะเนียงแตกแล้ว หลวงพ่อแช่มได้เข้าไปกราบลาพระครูอุตรการบดี (ทา) เพื่อขอกลับไปอยู่ยังวัดตาก้อง เพื่อให้อยู่ใกล้ญาติโยมทางโน้น ซึ่งพระครูอุตรการบดี (ทา) ได้กล่าวเพียงว่า

"ไปอยู่วัดตาก้องน่ะ ต้องระวังให้ดี ที่นั่นเขาเป็นพระบ้านทั้งนั้น เราเป็นพระป่านะ"

ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัด เป็นเพียงพระลูกวัดธรรมดา แต่เพราะชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่ม นั่นแหละวัดตาก้องจึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

อย่างที่กล่าวไว้แต่แรกว่า ปูมหลังของหลวงพ่อแช่มนั้นมีอยู่ถึง 2 ทาง ทางหนึ่งบอกหลวงพ่อแช่มเป็นชาวตำบลตาก้อง แต่อีกทางหนึ่งกลับว่าเป็นชาวบ้านหอคอย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

กระนั้นความเชื่อถือในข้อมูลของทางที่หนึ่งนั้นมีมากกว่า เชื่อว่าหลวงพ่อแช่มเป็นชาวตำบลตาก้อง ที่มีวัดหนึ่งอยู่ในตำบลชื่อเดียวกัน คือ วัดตาก้อง

ตำบลตาก้องที่แต่เดิมเรียกกันว่า "อ้ายก้อง" ดังเมื่อครั้งที่หมื่นพรหมพักศร (มี) กวีมีชื่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เดินทางผ่านระหว่างไปนมัสการพระแท่นดงรัง ที่เมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2376 ได้แต่งนิราศไว้ว่า

"ข้ามห้วยหนองคลองบึงถึงอ้ายก้อง

สกุณร้องรัญจวนถึงนวลหงษ์

พอโพล้เพล้เพลาจะค่ำลง

ให้งวยงงง่วงเหงาเศร้าฤทัย

เสียงจักกระจั่นแจ้งแจ้วให้แว่วหวาด

หนาวอนาถนึกน่าน้ำตาไหล

ยะเยือกเย็นเส้นหญ้าพลาลัย

วังเวงใจจรมาในราตรี"

ที่วัดตาก้องในสมัยที่หลวงพ่อแช่มไปจำพรรษา มีเจ้าอาวาสชื่อ กร่าย ใน หนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ของ เทพ สุนทรศารทูล กล่าวไว้ว่า

"สิ้นบุญหลวงพ่อเกริ่นแล้ว สมภารกร่ายก็ได้ปกครองวัดต่อมา สมภารกร่ายองค์นี้เป็นญาติทางฝ่ายมารดาของข้าพเจ้า แต่สมภารกร่าย หรือหลวงน้ากร่ายของข้าพเจ้านี้ สู้หลวงพ่อเกริ่นไม่ได้ เพราะท่านโมโหร้ายนัก สมัยนั้นนักเรียนประชาบาลอาศัยเรียนอยู่บนศาลาการเปรียญ เวลาหยุดพักกลางวันเด็กๆ ก็เล่นกันส่งเสียงเอะอะเกรียวกราวหนวกหู ท่านสมภารกร่ายก็ลงจากกุฏิ ถือขวานลูกหนึ่งวิ่งกวดนักเรียน นักเรียนก็วิ่งหนีเป็นการสนุกแกมหวาดกลัว เที่ยวซุกซ่อนอยู่ตามใต้ถุนศาลาบ้าง วิ่งขึ้นไปหาครูบนศาลาบ้าง ปีหนึ่งจะมีเรื่องต้องวิ่งหนีสมภารกร่ายกัน 2-3 ครั้งเสมอ เพราะนานๆ เข้าเด็กๆ ก็ลืม ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวให้ท่านไล่กวดตะเพิดเอาเรื่อยๆ"

เมื่อหลวงพ่อแช่มมาถึงวัดตาก้องแล้วนั้น ได้ขึ้นไปกราบเรียนให้สมภารกร่ายทราบว่า ท่านมาจำพรรษาที่วัดตาก้อง แต่กลับพบความเฉยเมยของเจ้าอาวาสวัดตาก้อง ที่เพียงพยักหน้ารับทราบอย่างเมินๆ กับหลวงพ่อแช่ม

แต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงเป็นที่ทราบว่าสมภารกร่าย ดูจะไม่ค่อยชอบหลวงพ่อแช่ม ดังนั้นหลวงพ่อแช่มจึงได้ไปปลูกกุฏิอยู่นอกเขตวัดตาก้อง บริเวณกุฏิท่านเป็นป่าละเมาะ ซึ่งหลวงพ่อแช่ม และชาวบ้านอีก 2-3 คน มาช่วยกันหักร้างถางพง ปลูกกุฏิขึ้นแบบศาลาไม่มีฝาผนังเปิดโล่งตลอด ไม่ยอมลงโบสถ์ทำสังฆกรรมร่วมกับพระวัดตาก้อง

เมื่อท่านจำพรรษาอยู่ ณ กุฏิแห่งนี้ ชาวบ้านพากันมากราบท่านทุกวี่วัน ซึ่งคงขัดนัยน์ตาสมภารกร่ายยิ่งนัก ที่หลวงพ่อแช่มมีญาติโยมมาเยี่ยมกราบมิได้ขาด

ความไม่ชอบใจหลวงพ่อแช่มของสมภารกร่ายได้นำไปสู่การร้องเรียนต่อเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัด โดยสมภารกร่ายเป็นผู้ร้องเรียนด้วยตัวท่านเอง ที่สุดนำไปสู่การสอบสวนด้วยข้อกล่าวหาที่ฉกรรจ์หลายข้อด้วยกัน คือ

1. ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส

2. ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าจะไปไหน ไปทำอะไร

3. หายไปจากวัดหลายๆ วันเสมอ ไม่ทราบว่าไปทำอะไรที่ไหน

4. ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นพร้อมพระภิกษุอื่นในวัด

5. ไม่ลงฟังพระสวดปาติโมกข์ในวันพระ

6. ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามธรรมเนียมของพระภิกษุ

7. หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวทำครัวเหมือนชาวบ้าน

8. รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์ เป็นหมอรักษาไข้ให้ชาวบ้าน ผิดกิจของสงฆ์

9. อวดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ผิดศีลของพระภิกษุ

ในการสอบสวนหลวงพ่อแช่มนั้น มีเจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบล และคณะผู้ติดตาม เดินทางมาสอบสวนถึงวัดตาก้อง เมื่อมาถึงกุฏิของสมภารกร่ายได้ให้พระลูกวัดไปนิมนต์หลวงพ่อแช่มมาพบที่กุฏิ ทว่าพระลูกวัดได้กลับมารายงานว่า หลวงพ่อแช่มไม่ยอมมาพบ และได้ฝากข้อความมาว่า ตัวของท่านเป็นจำเลยอยู่แล้ว มีคดีร้ายแรงอย่างใดก็ขอให้ไปที่กุฏิของท่าน หากผิดจริงจะได้จับสึกกันเสียทีเดียวที่กุฏิของท่าน

คณะของเจ้าคณะจังหวัดจึงได้ไปยังกุฏิของหลวงพ่อแช่มเพื่อทำการสอบสวนเรื่องร้องเรียนของสมภารกร่าย เมื่อมาถึงกุฏิที่หลวงพ่อแช่มปลูกเป็นศาลา พบหลวงพ่อแช่มนุ่งสบงผืนเดียวนั่งขัดสมาธิคอยอยู่บนพื้นกระดานแผ่นใหญ่ที่ปูอยู่กับพื้นดิน มีไม้ขอนวางรอง ไร้เฟอร์นิเจอร์ใดๆ ทั้งสิ้น กระทั่งเสื่อปูรองก็ไม่มี

เจ้าคณะตำบลที่มาด้วยเห็นเช่นนั้นก็ได้บอกให้หลวงพ่อแช่มไปครองจีวรเสียให้เรียบร้อยและชี้แจงให้รู้จักว่า นั่นเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดให้นมัสการกราบไหว้เสีย เพราะท่านเป็นเจ้าคณะใหญ่ผู้ปกครองสงฆ์ชั้นสูง หลวงพ่อแช่มยังคงเฉย และกล่าวต่อเจ้าคณะตำบลว่า "ผมมันไม่ใช่พระใช่เจ้าอะไรแล้ว เป็นจำเลยให้เขาฟ้องร้อง มีตุลาการมาสอบสวน ก็อยากให้สอบสวนกันอย่างนี้ ดีร้ายจะได้ถอดสบงสึกกันง่ายๆ ไม่ต้องครองไตรจีวรให้เสียเวลา"

ซึ่งเจ้าคณะตำบลได้กล่าวปลอบชี้แจงว่า ยังไม่ใช่นักโทษ เพียงแต่ถูกอธิกรณ์ข้อกล่าวหา จะต้องสอบสวนกันก่อน ถ้าผิดจึงจะลงโทษ ถ้าไม่ผิดก็ไม่มีโทษอะไร เจ้าคณะท่านเป็นพระผู้ใหญ่มา ควรครองไตรจีวรให้เรียบร้อย เพื่อแสดงความเคารพท่าน หลวงพ่อแช่มก็กล่าวว่า "ถ้าหากผมนุ่งสบงตัวเดียวอยู่วัดอย่างนี้ ผมไม่ใช่พระหรืออย่างไร ถ้าหากผมครองไตรจีวรเรียบร้อยแล้ว ผมมีศีลด่างพร้อย ต้องอาบัติปาราชิก ผมจะเป็นพระเพราะครองไตรจีวรหรือ"

ท่านเจ้าคณะจังหวัดซึ่งได้นิ่งฟังอยู่เป็นนานแล้ว ได้กล่าวกับหลวงพ่อแช่มว่า "นี่แน่ะท่านแช่ม ถ้าท่านเป็นพระถือศีลบริบูรณ์อยู่ ให้ท่านไปห่มจีวรให้เรียบร้อยก่อน เรื่องผิดถูกค่อยพูดกันทีหลัง" หลวงพ่อแช่มจึงลุกขึ้น คว้าจีวรห่มนั่งลงที่เดิม ไม่ได้นิมนต์ให้เจ้าคณะจังหวัดนั่ง ซึ่งท่านก็ได้นั่งลงเองพร้อมๆ กับพระภิกษุรูปอื่นๆ

ต่อเมื่อได้นั่งมองสังเกตไปรอบๆ กุฏิของหลวงพ่อแช่ม ที่ปลุกเป็นศาลาโรงดิน หลังคามุงจาก เปิดฝาผนังโล่งทั้ง 4 ด้าน ไม่มีพื้นกระดาน นอกจากแผ่นกระดานใหญ่ที่ปูนอนอยู่บนพื้น และเป็นที่นั่งรับแขก สักครูหนึ่ง เจ้าคณะจังหวัดจึงได้เอ่ยขึ้น "ที่มาวันนี้ก็ไม่ได้ตั้งใจจะมาสอบสวนอะไร ไม่ได้คิดว่าท่านแช่มจะทำผิดศีลวินัยอะไร แต่อยากจะมาดูให้รู้กับหูกับตาว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะมีคำร้องฟ้องกล่าวโทษไปหลายข้อ" ว่าแล้วก็หยิบคำฟ้องจากย่ามขึ้นมาอ่านให้ฟัง แล้วถามเป็นข้อๆ

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่ยอมอยู่ในปกครองของเจ้าอาวาส หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมก็อยู่ในเขตวัดตาก้อง เจ้าอาวาสก็อยู่ในกุฏิของท่าน ผมก็อยู่ในกุฏิของผม ต่างคนต่างอยู่ ไม่เคยพบหน้ากัน เจ้าอาวาสไม่เคยมาว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนอะไรผม ไม่เคยสั่งห้ามอะไร ผมก็ไม่เคยฝ่าฝืนข้อห้ามข้อใดเลย แล้วจะว่าผมไม่อยู่ในปกครองได้อย่างไร ธรรมดาพ่อแม่ปกครองลูก ก็ต้องดูแลว่ากล่าว ตักเตือน สั่งสอน ห้ามปราม นี่ไม่เคยเลย ผมก็ไม่เคยทำอะไรฝ่าฝืน จะว่าฝ่าฝืนข้อไหน ท่านไม่มาปกครองผมเองต่างหาก"

ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่บอกเล่าให้ทราบว่าไปไหน ทำอะไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"เมื่อสมภารไม่มาปกครองผม ปล่อยผมตามใจ ผมก็ปกครองตัวเอง จะไปไหนก็ไปเอง กลับเอง ทำอะไรก็ทำเอง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของวัด ข้อนี้ผมมีความผิดธรรมวินัยของสงฆ์อย่างไร"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หายหน้าไปจากวัดเสมอ ครั้งละหลายๆ วัน ไม่ทราบว่าไปทำผิดทำชั่วทำความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์อย่างไร หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ผมออกจากวัดไปเสมอจริง ไปครั้งละหลายๆ วันจริง ก็ไปทำกิจส่วนตัวที่ชาวบ้านเขานิมนต์เป็นกิจส่วนตัว ไม่ได้ไปทำผิด ทำชั่ว ทำความเสื่อมเสียอะไร ถ้าหากว่าไปทำผิดทำชั่วจริง คงจะมีคนจับได้ คงจะถูกฟ้องร้อง ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวเข้าคุกตะรางไปแล้ว แต่นี่ก็ไม่มีใครพบเห็นว่าทำผิดทำชั่วที่ไหนเลย อย่างนี้จะผิดธรรมวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหา ไม่ปฏิบัติกิจของสงฆ์ เช่น ไม่สวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ร่วมกับพระภิกษุสงฆ์องค์อื่น หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ผมก็ทำของผมองค์เดียวเพราะผมอยู่องค์เดียว ผมเป็นพระป่า เคยออกธุดงค์เดินป่า ก็ทำวัตรสวดมนต์องค์เดียวมาตลอด พระอรหันต์ท่านไปอยู่ป่า อยู่ถ้ำ ท่านก็สวดมนต์ภาวนาองค์เดียว การสวดมนต์องค์เดียวผิดศีลวินัยข้อไหน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์ในวันพระ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"วันพระผมก็สวดพระปาติโมกข์เอง สวดเอง ฟังเอง เหมือนพระสงฆ์อื่นๆ ที่ท่านให้ลงโบสถ์ฟังพระสวดพระปาติโมกข์นั้น สำหรับพระที่สวดพระปาติโมกข์เองไม่ได้ จะได้ฟังเอาบุญก็ผมสวดเองได้ จะต้องไปฟังใครสวดอีกเล่า พระอื่นๆ เสียอีกที่สวดพระปาติโมกข์ไม่ได้นั่นแหละจะสู้ผมไม่ได้ ถ้ามาว่าพระปาติโมกข์แข่งกัน"

ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดได้แย้งว่า "การฟังพระปาติโมกข์นั้น ฟังจบแล้วก็ได้ฟังคำสั่งสอนอบรมของเจ้าอาวาสด้วย" หลวงพ่อแช่มจึงตอบกลับว่า "ผมสวดพระปาติโมกข์จบแล้วก็นั่งเจริญสมาธิภาวนา อบรมจิตของตนเป็นการบำเพ็ญภาวนา ดีเสียกว่านั่งฟังครูอาจารย์สั่งสอบอบรมเสียอีก คนเราลองถ้าได้สงบจิตเตือนใจของตนได้แล้ว ใครเล่าจะวิเศษไปกว่าตนของตนเตือนตน"

ต่อข้อกล่าวหาว่า ไม่ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามธรรมเนียมของพระภิกษุสงฆ์ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ที่ท่านให้ออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์นั้นก็เพื่อจะได้อาหารมาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่ง กับเพื่อจะได้ออกไปเตือนอุบาสกสีกาให้บริจาคทานทำบุญ ก็เมื่อผมเองไม่ต้องออกไปบิณฑบาตก็มีอาหารเลี้ยงชีพ จะต้องออกบิณฑบาตอีกทำไม ถ้าจะว่าออกไปเตือนคนให้บริจาคทานทำบุญทำกุศลก็ผมเองนั่งอยู่ที่กุฏินี้ เขาก็คิดถึงนำอาหารมาถวาย ผมทำให้คนทั้งหลายบริจาคทานทำบุญได้อยู่แล้ว ไม่ต้องออกไปเตือนให้เขาทำบุญจนถึงบ้าน อย่างนี้จะว่าผิดธรรมเนียมสงฆ์อย่างไรอีก ถ้าผมออกบิณฑบาตกลับจะเป็นโทษ เพราะคนเขาจะพากันทำบุญตักบาตรผมเสียมาก พระภิกษุอื่นๆ จะขาดลาภไปเสีย อย่างนี้จะไม่ว่าผมมีเมตตาแก่ภิกษุบวชใหม่บ้างหรือ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า หุงข้าวกินเอง ตั้งครัวเอง เหมือนชาวบ้าน หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"ก็เมื่อผมไม่ออกบิณฑบาตขอภิกขาจารอาหารเช้ากิน จึงต้องหุงข้าวกินเอง เพราะผมฉันอาหารแต่เช้า พอตะวันขึ้นชาวบ้านเขาเอาถวายไม่ทัน อีกประการหนึ่ง ผมมีลูกศิษย์หลายคน ทั้งพระทั้งฆราวาสจึงต้องตั้งครัวหุงต้มเลี้ยงกันเอง ชาวบ้านเขาเอาข้าวสาร กะปิ น้ำปลา ปลาแห้ง ปลาเค็ม มาถวาย ก็จัดการหุงต้มแกงกินกันเอง อย่างนี้จะผิดศีลวินัยข้อไหน"

เจ้าคณะจังหวัดว่า "ผิดที่สะสมอาหารไว้อย่างไรเล่า พระภิกษุเราไม่ควรจะต้องสะสมอาหาร ควรบิณฑบาตเลี้ยงชีพไปชั่วมื้อชั่ววันเท่านั้น"

หลวงพ่อแช่มได้ตอบกลับว่า "ผมไม่ได้สะสมอาหารสุกไว้กินในยามวิกาล ผมสะสมอาหารดิบอาหารแห้งไว้ประกอบกินในวันพรุ่งนี้ต่างหาก ผมไม่ได้สะสมไว้เพื่อตัวเอง สะสมไว้เพื่อศิษย์ต่างหาก การประกอบอาหารผมก็ไม่ลงมือทำเองศิษย์ทำถวายทั้งสิ้น"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "อาหารดิบนั้น มีปลาเป็นๆ ไข่ไก่อยู่หรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ปลาเป็นๆ ไม่มีอุบาสกสีกาคนใดอุตริเอามาถวายเลย ไข่สดไม่มีมีแต่ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาเป็นๆ นั้นไม่มีใครถวาย ถ้าประสงค์จะหามาแกง ปลาในสระวัดตลอดหน้าวัดก็มีแยะไป แต่ไม่มีใครไปจับเอามาทำอาหารเลย"

"ผักสด ผักเขียว ไม่มีเลยหรือ" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อ

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ยอดผักบุ้ง ยอดผักกะเฉด ผักแว่น สายบัว ผมฉันสดๆ เสมอ แต่ไม่เคยไปเด็ดเอง ท่านเจ้าคณะไม่เคยฉันผักสดเลยทีเดียวหรือ"

เจ้าคณะจังหวัดได้ตอบว่า "ผมไม่ชอบ"

ต่อข้อกล่าวหาว่า รดน้ำมนต์ ให้หวย ทำเสน่ห์เป็นหมอยารักษาไข้ หลวงพ่อแช่มได้ตอบว่า

"รดน้ำมนต์ ผมรดจริง เพื่อสงเคราะห์คนที่เขามีทุกข์ พระอาจารย์ทั้งหลายก็รดกันอยู่ทั่วไป จะผิดศีลวินัยข้อไหน ก็คงผิดกันมาก อุปัชฌาย์อาจารย์ก็ไม่เคยบอกว่ารดน้ำมนต์ผิดวินัย หลวงพ่อของผมท่านก็รดน้ำมนต์ให้ใครๆ อยู่เรื่อยๆ"

"เรื่องให้หวยเล่า" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบไปว่า "หวยก็ให้ เมื่อมีคนเขามาถามว่าหวยงวดนี้ออกตัวอะไร ก็บอกให้เขาไปเล่นกัน รัฐบาลท่านอนุญาตให้เล่นหวยกัน พระสงฆ์ก็ต้องบอกหวยได้"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "เห็นตัวเลขจริงหรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "เข้าสมาธิภาวนา จิตเป็นหนึ่งก็เหมือนน้ำใส ไม่มีตะกอน ไม่มีละลอกคลื่นก็มองเห็นเงาในน้ำได้"

"เห็นอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มจึงตอบว่า "เห็นเป็นตัว ก. ตัว ข. เห็นเป็นตัวม้า ตัวเรือ" (สมัยนั้นเป็นหวย ก. ข.)

"เขาเอาไปเล่นกันถูกไหม" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มก็ตอบ "เขามาบอกว่าถูกก็มี ไม่ถูกก็มี"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "ทำไมจึงมีถูกบ้าง ผิดบ้าง"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "แล้วแต่โชคลาภของคนแทง เพราะเราไม่ได้บอกตรงๆ เราใบ้หวยให้เขาต่างหาก"

"ทำไมต้องใบ้ ทำไมจึงไม่บอกตรงๆ" เจ้าคระจังหวัดได้ถามต่อ

"ถ้าบอกตรงๆ ก็อวดอุตริมนุสธรรม" เป็นคำตอบจากหลวงพ่อแช่ม

จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เรื่องทำเสน่ห์ว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ไม่เคยทำเสน่ห์ยาแฝด ของลามก มีแต่คนมาขอเสน่ห์ ก็ให้สีผึ้งไปสีปาก"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ "ใช้สีผึ้งสีปาก แล้วมีเสน่ห์จริงๆ หรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "สุดแล้วแต่ศรัทธาของคน ขี้ผึ้งนี้ก็เสกด้วยคาถาเมตตาจิต ทำด้วยเมตตาจิต ถ้าใช้ด้วยเมตตาจิต ก็เกิดเมตตาจิต มีเสน่ห์"

"คาถาเมตตาจิตว่าอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "คาถาต้องเรียนด้วยความเชื่อมั่น มีครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ต้องยกครู กว่าผมจะเรียนได้มาก็ต้องอุตส่าห์พยายาม ไม่ใช่มาบอกคาถากันต่อหน้าธารกำนัลถึงจะบอกไปท่องได้ ถ้าไม่เชื่อถือก็ป่วยการเปล่า"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เป็นหมอรักษาไข้ จริงหรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยเป็นหมอรักษาไข้ใคร นอกจากมีคนป่วย ญาติเขามาหาถามอาการดู เห็นว่าพอรักษาได้ ก็ให้คนไปซื้อยามา ผมก็เอาลงหม้อ เสกให้เอาไปต้มกินเท่านั้น"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "แล้วหายไหมเล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ก็เห็นบอกว่าหายดี"

"เป็นหน้าที่ของสงฆ์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยเป็นหมอรักษาใครบ้างหรือเปล่า" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามหลวงพ่อแช่มต่อ

คำตอบจากหลวงพ่อแช่ม คือ "การเป็นหมอรักษาไข้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ถ้าเขาหมดทางรักษา เรามียาอยู่ ควรจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้เขาพ้นทุกข์ ผมก็ต้องสงเคราะห์ไปจะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ยอม ผมไม่ใช่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะเป็นได้ก็พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีช่วยเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ถ้าผมเห็นว่าควรจะสละศีลเพื่อช่วยชีวิตเขา ผมก็จะสละ ถ้าผมคิดว่าจะสละวินัย เพื่อช่วยคนให้พ้นทุกข์ ผมก็จะสละ ถ้าผมพบผู้หญิงกำลังจะจมน้ำตาย ผมก็จะกระโดดน้ำลงช่วยอุ้มเขาขึ้นมาให้รอดตาย ถึงผมจะถูกปรับอาบัติว่าสังฆาทิเสส ผมก็จะยอม ผมจะไม่รักษาศีลบริสุทธิ์ยอมให้คนจมน้ำตายไปต่อหน้า ถ้าผมทำเช่นนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าผมบวชเพื่ออะไร"

เจ้าคณะจังหวัดฟังคำตอบแล้วถามหลวงพ่อแช่มต่อว่า "เรื่องอวดอุตริมนุสธรรมต่างๆ จะว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยอวดอ้างความวิเศษอะไรที่ผมไม่มี ถึงความวิเศษที่ผมมีมากกว่าพระภิกษุอื่นๆ ผมก็ไม่เคยอวด นอกจากมีคนมาถาม ผมก็ตอบเขาไป ใครมีพยานหลักฐานว่า ผมอวดฤทธิปาฏิหาริย์อย่างไรบ้าง ก็ยืนยันมาเถิด"

เจ้าคณะจังหวัดว่าต่อ "เช่นเรื่องหนังเหนียว คงกะพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก"

หลวงพ่อแช่มกล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้อวด แต่ผมบอกว่าอานุภาพของคุณพระนั้น ช่วยป้องกันอันตรายได้จริง มีอานุภาพจริง เช่น ทำให้ผิวหนังเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก คลาดแคล้ว"

"ของดีที่แจกไป เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ จะกันมีดพร้าอาวุธได้จริงหรือ" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มได้ตอบไปว่า "ถ้าเขามีศรัทธาเชื่อมั่น แล้วใช้เป็นก็ป้องกันศัสตราวุธได้จริง"

เจ้าคณะจังหวัดถามอีก "ถ้าผมจะลองฟันคุณเดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่"

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "ยังไม่เคยมีใครมากล้าผมเลย"

เจ้าคณะจังหวัดหัวเราะแล้วกล่าวว่า "ผมก็ไม่กล้าลองคุณเหมือนกัน"

ครั้นแล้วการสอบสวนก็เป็นอันเสร็จสิ้น เจ้าคณะจังหวัดได้บอกว่า "คุณไม่มีความผิดอะไร" จากนั้นก็ได้สนทนากับหลวงพ่อแช่มถึงการเดินธุดงค์ และคาถาอาคมต่างๆ

เทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวถึงตอนท้ายของการสอบสวนหลวงพ่อแช่ม โดยเจ้าคณะจังหวัดในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ว่า

"ในที่สุดเจ้าคณะจังหวัด ก็ถามว่า ไหนคุณว่าคุณมีดีกว่าพระภิกษุอื่น คุณมีดีกว่าอย่างไร

หลวงพ่อแช่ม ก็ว่าอิติปิโสแปดบทให้ฟัง แล้วก็ว่าอิติปิโสถอยหลังให้ฟัง จบแล้วก็บอกว่าพระองค์อื่นก็ว่าอิติปิโสเดินหน้าได้อย่างเดียว แต่ผมนั้นเชี่ยวชาญขนาดว่าทะแยงก็ได้ ว่าถอยหลังก็ได้ จะไม่ดีกว่าพระอื่นได้อย่างไร

เจ้าคณะจังหวัดก็เลยพาคณะกลับ"



สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม ท่านทำขึ้นมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ธง เสื้อยันต์ ผ้าเช็ดหน้ามหานิยม ผ้าประเจียดแดง ตะกรุดฝาบาตร พระพลายเพชรผงผสมดินหน้าตะโพน ลูกสะกดปรอท

เหล่านี้เป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อแช่ม ได้สร้างขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว

จนเมื่อปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย ลูกศิษย์ของท่านขอให้หลวงพ่อแช่มสร้าง "เหรียญพระเครื่อง" ท่านจึงได้สร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ.2484

เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง มีทั้งชนิดรมดำ และไม่รมดำ มีหูในตัว แล้วเชื่อมต่อด้วยห่วงกลมอีกห่วงหนึ่ง ขอบโดยรอบเป็นมุมแหลม 16 มุม หรือหยักเป็น "โสฬสมงคล"

บ้างก็เรียกเหรียญพิมพ์พัดพุดตาน

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มรูป ครองจีวรในแบบสบายใจของท่าน ซึ่งเป็นลักษณะห่มคลุมไว้เท่านั้น ท่านั่งของท่านกลับแผกต่างจากเหรียยหรือพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นอันมาก ท่านนั่งนอกแบบอย่างสิ้นเชิง คือ ไม่เป็นทั้งแบบสมาธิ หรือมารวิชัย กลับเป็นท่านั่งที่ยกมือขึ้นข้างซ้าย อันหมายถึง ห้ามลูกปืน เป็นมหาอุด และประทับอักขระขอมตัว "นะ" ไว้ในฝ่ามือ

อาสนะท่านกลับเป็นนั่งทับปืนไขว้ โดยรอบเหรียญภายในวงกลมเป็นอักขระขอม เป็นพระนามย่อพระเจ้าสิบพระองค์ เริ่มต้นตัวแรกสุดใต้ห่วงหูอ่านว่า "นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อุ" ภายในกรอบกลมมีอักษรชื่อ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และอักขระขอม อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" เฉพาะตรงกลางอกเป็นตัว "อะ"

ด้านหลัง เป็นยันต์ที่แตกต่างจากพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นยันต์ที่ผูกเป็นราหู ประกอบด้วยมือทั้งสอง และหน้าที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นลายกระหนก และอักขระ เฉพาะตรงส่วนจมูกเป็นองค์พระ ดวงตาทั้งสองเป็น "มะ อะ" ส่วน "อุ" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม ภายในช่องปากนั้นลงด้วย "นวหรคุณ" คือ "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" และยอดหัวใจต่างๆ

มีผู้กล่าวแย้งว่า ด้านหลังไม่ใช่รูปราหู แต่เป็นรูปหนุมานอมพลับพลา

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มนี้ มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพืหูเดียว และพิมพ์สองหู ที่แตกต่างกัน คือ ตรงใบหู ในพิมพ์หูเดียว ใบหูด้านซ้ายของหลวงพ่อ (ด้านขวามือเรา) ไม่มี มีเพียงด้านขวาด้านเดียวเท่านั้น

พิมพ์หูเดียว เป็นพิมพ์นิยม เนื่องเพราะค่อนข้างหายากกว่าพิมพ์สองหู

ในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่มได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเสมาอีกรุ่นหนึ่ง

ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มครึ่งรูป

ด้านหลัง เป็นอักษรเรียงกัน 5 แถว ว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ช.ล. 2485"

อักษร ช.ล. นี้ยังเป็นปัญหาว่า หมายถึงอะไร?

พระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของหลวงพ่อแช่ม คือ พระเนื้อดินหน้าตะโพน

ดินหน้าตะโพน คือ ดินที่พวกตีกลองจะผสมกันขึ้นมาทาปิดหน้ากลอง เพื่อให้เกิดเสียงดังทุ้ม กลองที่ทาพอกด้วยดินหน้าตะโพนนี้ มีทั้งกลองยาว และกลองเพล

ส่วนผสมของดินหน้าตะโพน ประกอบด้วย ดินเสกเป่าด้วยคาถาอาคม ข้าวสุก ฯลฯ ผสมคลุกเคล้ากัน ความเหนียวจากข้าวสุกจะเป็นตัวยึดดินให้ติดกับหน้ากลอง ดินตะโพนที่ขึ้นชื่อแล้วจ้องเป็นดินจากหลวงพ่อแช่ม

จากการขอดินหน้าตะโพนจากหลวงพ่อแช่มอย่างมากมายนี้เอง ท่านจึงได้คิดทำเป็นองค์พระเครื่องขึ้นมา เนื่องเพราะในบางครั้งนั้นผู้ที่ขอไปไม่ใช่พวกลิเกที่ต้องการดินหน้าตะโพนสำหรับใช้ทาบนหน้ากล้อง

พระดินหน้าตะโพนจึงถือกำเนิดขึ้น หลายคนเรียกขานกันว่า "พลายเพชรผงดินหน้าตะโพน" ทั้งนี้เนื่องว่าคล้ายกับพระพลายคู่ของกรุบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เรียกกันว่า "พลายเพชรพลายบัว" สันนิษฐานว่า หลวงพ่อแช่มได้ล้อพิมพ์ขึ้นมา

ด้านหน้า เป็นพระเครื่องปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว พิมพืพระค่อนข้างตื้น

ด้านหลัง มียันต์ประทับในลักษณะจมลงไปในเนื้อพระด้านหลัง

องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมกลีบบัว มีขนาดกว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร สร้างขึ้นด้วยเนื้อดินผสมผงและว่าน มีสีเทาอมเขียวอ่อนแก่คละเคล้ากัน ที่สำคัญเนื้อพระจะต้องมีความแห้งสนิท

นอกเหนือจากนั้นหลวงพ่อแช่มยังได้สร้างพระกริ่งเฉลิมพลขึ้นมาด้วย เป็นพระกริ่งที่ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งเฉลิมพลของพระองค์ชายกลาง ที่เททองหล่อสร้างขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราม และที่วัดช้างให้ สำหรับของหลวงพ่อแช่มที่ถอดพิมพ์มานั้นใต้ฐานจะตอกโค้ดไว้เป็นอักษร "เฉลิมพล" และมีหมายเลขกำกับ หากบางองคก็ไม่ตอกหมายเลขไว้

ทั้งยังมีพระปิดตา และเครื่องรางของขลังต่างๆ


 
หลวงพ่อแช่มตอบว่า "เข้าสมาธิภาวนา จิตเป็นหนึ่งก็เหมือนน้ำใส ไม่มีตะกอน ไม่มีระลอกคลื่นก็มองเห็นเงาในน้ำได้"

"เห็นอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มจึงตอบว่า "เห็นเป็นตัว ก. ตัว ข. เห็นเป็นตัวม้า ตัวเรือ" (สมัยนั้นเป็นหวย ก. ข.)

"เขาเอาไปเล่นกันถูกไหม" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มก็ตอบ "เขามาบอกว่าถูกก็มี ไม่ถูกก็มี"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "ทำไมจึงมีถูกบ้าง ผิดบ้าง"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "แล้วแต่โชคลาภของคนแทง เพราะเราไม่ได้บอกตรงๆ เราใบ้หวยให้เขาต่างหาก"

"ทำไมต้องใบ้ ทำไมจึงไม่บอกตรงๆ" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อ

"ถ้าบอกตรงๆ ก็อวดอุตริมนุสธรรม" เป็นคำตอบจากหลวงพ่อแช่ม

จากนั้นเจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เรื่องทำเสน่ห์ว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ไม่เคยทำเสน่ห์ยาแฝด ของลามก มีแต่คนมาขอเสน่ห์ ก็ให้สีผึ้งไปสีปาก"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ "ใช้สีผึ้งสีปาก แล้วมีเสน่ห์จริงๆ หรือ"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "สุดแล้วแต่ศรัทธาของคน ขี้ผึ้งนี้ก็เสกด้วยคาถาเมตตาจิต ทำด้วยเมตตาจิต ถ้าใช้ด้วยเมตตาจิต ก็เกิดเมตตาจิต มีเสน่ห์"

"คาถาเมตตาจิตว่าอย่างไร" เจ้าคณะจังหวัดถาม

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "คาถาต้องเรียนด้วยความเชื่อมั่น มีครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ต้องยกครู กว่าผมจะเรียนได้มาก็ต้องอุตส่าห์พยายาม ไม่ใช่มาบอกคาถากันต่อหน้าธารกำนัลถึงจะบอกไปท่องได้ ถ้าไม่เชื่อถือก็ป่วยการเปล่า"

เจ้าคณะจังหวัดได้ถามต่อว่า "เป็นหมอรักษาไข้ จริงหรือเปล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยเป็นหมอรักษาไข้ใคร นอกจากมีคนป่วย ญาติเขามาหาถามอาการดู เห็นว่าพอรักษาได้ ก็ให้คนไปซื้อยามา ผมก็เอาลงหม้อ เสกให้เอาไปต้มกินเท่านั้น"

เจ้าคณะจังหวัดถามต่อว่า "แล้วหายไหมเล่า"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ก็เห็นบอกว่าหายดี"

"เป็นหน้าที่ของสงฆ์หรือเปล่า พระพุทธเจ้าเคยเป็นหมอรักษาใครบ้างหรือเปล่า" เจ้าคณะจังหวัดได้ถามหลวงพ่อแช่มต่อ

คำตอบจากหลวงพ่อแช่ม คือ "การเป็นหมอรักษาไข้ ไม่ใช่หน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ เป็นหน้าที่ของหมอ แต่ถ้าเขาหมดทางรักษา เรามียาอยู่ ควรจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ให้เขาพ้นทุกข์ ผมก็ต้องสงเคราะห์ไปจะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ยอม ผมไม่ใช่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผมจะเป็นได้ก็พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีช่วยเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ถ้าผมเห็นว่าควรจะสละศีลเพื่อช่วยชีวิตเขา ผมก็จะสละ ถ้าผมคิดว่าจะสละวินัย เพื่อช่วยคนให้พ้นทุกข์ ผมก็จะสละ ถ้าผมพบผู้หญิงกำลังจะจมน้ำตาย ผมก็จะกระโดดน้ำลงช่วยอุ้มเขาขึ้นมาให้รอดตาย ถึงผมจะถูกปรับอาบัติว่าสังฆาทิเสส ผมก็จะยอม ผมจะไม่รักษาศีลบริสุทธิ์ยอมให้คนจมน้ำตายไปต่อหน้า ถ้าผมทำเช่นนั้น ผมก็ไม่รู้ว่าผมบวชเพื่ออะไร"
 


เจ้าคณะจังหวัดฟังคำตอบแล้วถามหลวงพ่อแช่มต่อว่า "เรื่องอวดอุตริมนุสธรรมต่างๆ จะว่าอย่างไร"

หลวงพ่อแช่มตอบว่า "ผมไม่เคยอวดอ้างความวิเศษอะไรที่ผมไม่มี ถึงความวิเศษที่ผมมีมากกว่าพระภิกษุอื่นๆ ผมก็ไม่เคยอวด นอกจากมีคนมาถาม ผมก็ตอบเขาไป ใครมีพยานหลักฐานว่า ผมอวดฤทธิปาฏิหาริย์อย่างไรบ้าง ก็ยืนยันมาเถิด"

เจ้าคณะจังหวัดว่าต่อ "เช่นเรื่องหนังเหนียว คงกระพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก"

หลวงพ่อแช่มกล่าวตอบว่า "ผมไม่ได้อวด แต่ผมบอกว่าอานุภาพของคุณพระนั้น ช่วยป้องกันอันตรายได้จริง มีอานุภาพจริง เช่น ทำให้ผิวหนังเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก คลาดแคล้ว"

"ของดีที่แจกไป เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ จะกันมีดพร้าอาวุธได้จริงหรือ" เจ้าคณะจังหวัดถามต่อ

หลวงพ่อแช่มได้ตอบไปว่า "ถ้าเขามีศรัทธาเชื่อมั่น แล้วใช้เป็นก็ป้องกันศัสตราวุธได้จริง"

เจ้าคณะจังหวัดถามอีก "ถ้าผมจะลองฟันคุณเดี๋ยวนี้จะได้หรือไม่"

หลวงพ่อแช่มตอบกลับว่า "ยังไม่เคยมีใครมากล้าลองผมเลย"

เจ้าคณะจังหวัดหัวเราะแล้วกล่าวว่า "ผมก็ไม่กล้าลองคุณเหมือนกัน"

ครั้นแล้วการสอบสวนก็เป็นอันเสร็จสิ้น เจ้าคณะจังหวัดได้บอกว่า "คุณไม่มีความผิดอะไร" จากนั้นก็ได้สนทนากับหลวงพ่อแช่มถึงการเดินธุดงค์ และคาถาอาคมต่างๆ

เทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวถึงตอนท้ายของการสอบสวนหลวงพ่อแช่ม โดยเจ้าคณะจังหวัดในหนังสือ "ประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" ว่า

"ในที่สุดเจ้าคณะจังหวัด ก็ถามว่า ไหนคุณว่าคุณมีดีกว่าพระภิกษุอื่น คุณมีดีกว่าอย่างไร

หลวงพ่อแช่ม ก็ว่าอิติปิโสแปดบทให้ฟัง แล้วก็ว่าอิติปิโสถอยหลังให้ฟัง จบแล้วก็บอกว่าพระองค์อื่นก็ว่าอิติปิโสเดินหน้าได้อย่างเดียว แต่ผมนั้นเชี่ยวชาญขนาดว่าทะแยงก็ได้ ว่าถอยหลังก็ได้ จะไม่ดีกว่าพระอื่นได้อย่างไร
 


เจ้าคณะจังหวัดก็เลยพาคณะกลับ"

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม ท่านทำขึ้นมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ธง เสื้อยันต์ ผ้าเช็ดหน้ามหานิยม ผ้าประเจียดแดง ตะกรุดฝาบาตร พระพลายเพชรผงผสมดินหน้าตะโพน ลูกสะกดปรอท

เหล่านี้เป็นวัตถุมงคลที่หลวงพ่อแช่ม ได้สร้างขึ้นมาเนิ่นนานแล้ว

จนเมื่อปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นยกพลเข้าสู่ประเทศไทย ลูกศิษย์ของท่านขอให้หลวงพ่อแช่มสร้าง "เหรียญพระเครื่อง" ท่านจึงได้สร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ.2484

เป็นเหรียญปั๊มเนื้อทองแดง มีทั้งชนิดรมดำ และไม่รมดำ มีหูในตัว แล้วเชื่อมต่อด้วยห่วงกลมอีกห่วงหนึ่ง ขอบโดยรอบเป็นมุมแหลม 16 มุม หรือหยักเป็น "โสฬสมงคล"

บ้างก็เรียกเหรียญพิมพ์พัดพุดตาน

ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อแช่มนั่งเต็มรูป ครองจีวรในแบบสบายใจของท่าน ซึ่งเป็นลักษณะห่มคลุมไว้เท่านั้น ท่านั่งของท่านกลับแผกต่างจากเหรียญหรือพระเครื่องของพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นอันมาก ท่านนั่งนอกแบบอย่างสิ้นเชิง คือ ไม่เป็นทั้งแบบสมาธิ หรือมารวิชัย กลับเป็นท่านั่งที่ยกมือขึ้นข้างซ้าย อันหมายถึง ห้ามลูกปืน เป็นมหาอุด และ ประทับอักขระขอมตัว "นะ" ไว้ในฝ่ามือ

อาสนะท่านกลับเป็นนั่งทับปืนไขว้ โดยรอบเหรียญภายในวงกลมเป็นอักขระขอม เป็นพระนามย่อพระเจ้าสิบพระองค์ เริ่มต้นตัวแรกสุดใต้ห่วงหูอ่านว่า "นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อุ" ภายในกรอบกลมมีอักษรชื่อ "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง" และอักขระขอม อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" เฉพาะตรงกลางอกเป็นตัว "อะ"

ด้านหลัง เป็นยันต์ที่แตกต่างจากพระเกจิอาจารย์อื่นๆ เป็นยันต์ที่ผูกเป็นราหู ประกอบด้วยมือทั้งสอง และหน้าที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นลายกระหนก และอักขระ เฉพาะตรงส่วนจมูกเป็นองค์พระ ดวงตาทั้งสองเป็น "มะ อะ" ส่วน "อุ" ขึ้นยอดเป็นอุณาโลม ภายในช่องปากนั้นลงด้วย "นวหรคุณ" คือ "อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ" และยอดหัวใจต่างๆ

มีผู้กล่าวแย้งว่า ด้านหลังไม่ใช่รูปราหู แต่เป็นรูปหนุมานอมพลับพลา

เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มนี้ มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หูเดียว และพิมพ์สองหู ที่แตกต่างกัน คือ ตรงใบหู ในพิมพ์หูเดียว ใบหูด้านซ้ายของหลวงพ่อ (ด้านขวามือเรา) ไม่มี มีเพียงด้านขวาด้านเดียวเท่านั้น

พิมพ์หูเดียว เป็นพิมพ์นิยม เนื่องเพราะค่อนข้างหายากกว่าพิมพ์สองหู

ในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อแช่มได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเสมาอีกรุ่นหนึ่ง

ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแช่มครึ่งรูป

ด้านหลัง เป็นอักษรเรียงกัน 5 แถว ว่า "หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ช.ล. 2485"

อักษร ช.ล. นี้ยังเป็นปัญหาว่า หมายถึงอะไร?

พระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของหลวงพ่อแช่ม คือ พระเนื้อดินหน้าตะโพน

ดินหน้าตะโพน คือ ดินที่พวกตีกลองจะผสมกันขึ้นมาทาปิดหน้ากลอง เพื่อให้เกิดเสียงดังทุ้ม กลองที่ทาพอกด้วยดินหน้าตะโพนนี้ มีทั้งกลองยาว และกลองเพล

ส่วนผสมของดินหน้าตะโพน ประกอบด้วย ดินเสกเป่าด้วยคาถาอาคม ข้าวสุก ฯลฯ ผสมคลุกเคล้ากัน ความเหนียวจากข้าวสุกจะเป็นตัวยึดดินให้ติดกับหน้ากลอง ดินตะโพนที่ขึ้นชื่อแล้วต้องเป็นดินจากหลวงพ่อแช่ม

จากการขอดินหน้าตะโพนจากหลวงพ่อแช่มอย่างมากมายนี้เอง ท่านจึงได้คิดทำเป็นองค์พระเครื่องขึ้นมา เนื่องเพราะในบางครั้งนั้นผู้ที่ขอไปไม่ใช่พวกลิเกที่ต้องการดินหน้าตะโพนสำหรับใช้ทาบนหน้ากล้อง

พระดินหน้าตะโพนจึงถือกำเนิดขึ้น หลายคนเรียกขานกันว่า "พลายเพชรผงดินหน้าตะโพน" ทั้งนี้เนื่องว่าคล้ายกับพระพลายคู่ของกรุบ้านกร่าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เรียกกันว่า "พลายเพชรพลายบัว" สันนิษฐานว่า หลวงพ่อแช่มได้ล้อพิมพ์ขึ้นมา

ด้านหน้า เป็นพระเครื่องปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์พระค่อนข้างตื้น

ด้านหลัง มียันต์ประทับในลักษณะจมลงไปในเนื้อพระด้านหลัง

องค์พระเป็นรูปสามเหลี่ยมกลีบบัว มีขนาดกว้างประมาณ 1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร สร้างขึ้นด้วยเนื้อดินผสมผงและว่าน มีสีเทาอมเขียวอ่อนแก่คละเคล้ากัน ที่สำคัญเนื้อพระจะต้องมีความแห้งสนิท

นอกเหนือจากนั้นหลวงพ่อแช่มยังได้สร้างพระกริ่งเฉลิมพลขึ้นมาด้วย เป็นพระกริ่งที่ถอดพิมพ์มาจากพระกริ่งเฉลิมพลของพระองค์ชายกลาง ที่เททองหล่อสร้างขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราราม และที่วัดช้างให้ สำหรับของหลวงพ่อแช่มที่ถอดพิมพ์มานั้นใต้ฐานจะตอกโค้ดไว้เป็นอักษร "เฉลิมพล" และมีหมาย เลขกำกับ หากบางองค์ก็ไม่ตอกหมายเลขไว้

ทั้งยังมีพระปิดตา และเครื่องรางของขลังต่างๆ
นำมาจากเวปhttp://article.pornpra.com/topic_detail.php?id=197

278
ประวัติ หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ

วัดพระญาติการาม

ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



คัดลอกจาก http://www.saranugrompra.com/sara_02_0052.html

พระเดชพระคุณเจ้า หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ ผู้เป็นพระอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเมืองไทย ในบรรดาพระอาจารย์เจ้าของเหรียญเป็น คือ เป็นพระอาจารย์ที่ปลุกเสกเหรียญรูปเหมือนของท่านด้วยตัวของท่านเอง เหรียญของท่านที่เป็นพิมพ์นิยมนั้นราคาแพงอันดับหนึ่งในเมืองไทยก็แล้วกันคือแพงเป็นล้านบาท จริงๆ ว่ากันไปแล้ว หลวงพ่อเงิน บางคลาน จังหวัดพิจิตร ท่าน ก็ดังมากแต่เหรียญรูปเหมือนของท่านยังไม่แพงเหมือนหลวงพ่อกลั่นเลย หรืออย่างหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งประวัติอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้นขลังมากมาย แต่ก็เป็นที่น่าแปลกอย่างมาก ที่เหรียญของท่านแพงสู้เหรียญของหลวงพ่อกลั่นไม่ได้

ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นพระอาจารย์ยุคเก่าๆ หลายท่านด้วยกัน ที่มีวิชาความรู้ในด้านธรรมชั้นสูง ด้านกรรมฐาน ด้านวิชาอาคมขลังอย่างยอดเยี่ยมหลายๆ ท่านด้วยกัน พระอาจารย์หลายท่านสมัยก่อนในกรุงเก่าที่ลงตำราพิชัยสงครามได้ ในจังหวัดต่างๆ ของเมืองไทย ไม่มีที่ไหนบอกเอาไว้เลยว่าลงเครื่องพิชัยสงครามได้มีแต่ที่กรุงเก่าเท่านั้น

ยุคของหลวงพ่อกลั่น พระเกจิฯ ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในกรุงเก่ามีด้วยกันหลายรูป หลวงพ่อปุ้มวัดสำมะกัน อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อรอด วัดสามไถ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อนวม วัดกลาง หลวงพ่อกรอง วัดเทพขันทร์ลอย หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง ท่านเก่งทางรักษาโรคด้วย สามารถมองหน้าคนก็รู้ว่าเป็นโรคอะไรท่านเก่งทางรักษาโรคขึ้นชื่อที่สุด นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อแพ วัด โตนด นครหลวง หลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง เสนา ท่านก็เก่ง สำหรับพระอาจารย์ที่สร้างเหรียญเอาไว้เป็นเหรียญที่เก่ามากอีกท่านหนึ่งก็คือ พระอุปัชฌาย์เย ท่านเป็นเจ้าคณะแขวง คือเจ้าคณะจังหวัดนั่นเองเหรียญท่านสร้าง พ.ศ. 2467 แต่เหรียญท่านราคาไม่แพง

อดีตในจังหวัดนี้มีพระอาจารย์ที่รับการถ่ายทอดอาคมขลังจากสำนักต่างๆ ในยุคนั้นมีสำนักวัดตูม สำนักวัดประดู่ทรงธรรม ทั้งสองสำนักนี้ได้สืบทอดตำรามนต์อาถรรพณ์ และด้านธรรมะมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระอาจารย์ในยุคกึ่งพุทธกาลก็หลายสิบรูปด้วยกัน แม้แต่ทุกวันนี้และที่ผ่านมาพระอาจารย์หลายๆ ท่านก็รับการสืบทอดตำรามาจากสองสำนักนี้แหละ

วัดพระญาติการาม วัดนี้ในอดีตถือว่าเป็นสำนักเรียนวัดหนึ่ง ถึงจะเป็นวัดเล็กก็ตาม วัดอยู่ริมคลองระฆัง ก่อนเข้าตัวเมืองอยุธยาจะเห็นทางแยกเข้าวัดพระญาติการาม แยกจากถนนเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะถึงวัด เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดนี้ก่อนหลวงพ่อกลั่นนั้นไม่ทราบว่ามีใครบ้าง หลังจากสิ้นหลวงพ่อท่านก็มาถึงหลวงพ่ออั้น หลานชายของหลวงพ่อกลั่นและมาถึงหลวงพ่อเฉลิมหลานของหลวงพ่ออั้น

ปัจจุบันวัดนี้ได้รับการพัฒนาอย่างมากจากหลวงพ่อเฉลิม ท่านสร้างวิหารขึ้นประดิษฐานรูปเหมือนของหลวงพ่อกลั่น หลวงพ่ออั้น มีคนเดินทางไปกราบไหว้รูปเหมือนของท่านกันไม่ขาด มณฑปท่านสร้างถึงหลายล้านบาทสวยงามอย่างยิ่ง

ชาติภูมิของหลวงพ่อกลั่น ท่านเกิดที่บ้านอรัญญิก แต่ก่อนขึ้นกับอำเภอนครหลวง ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอท่าเรือ พ่อท่านชื่ออิน แม่ท่านชื่อชั้น มีพี่น้อง 4 คนหลวงพ่อกลั่นท่านเป็นคนโต พ่อแม่ท่านประกอบอาชีพในการทำนา

เยาว์วัย ท่านเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดอย่างมาก รูปร่างหน้าตาคม รูปร่างโปร่งผิวขาวหมดจด ท่านได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดประดู่ทรงธรรม พระอาจารย์ม่วงเป็นพระอาจารย์สอนพระอาจารย์รูปนี้มีวิชาความรู้มาก สมาธิแก่กล้า มีความรู้ทางธรรมสูง หลังจากที่เล่าเรียนเขียนอ่านแล้วท่านก็ไปช่วยพ่อแม่ท่านประกอบอาชีพทำนา ด้วยท่านเป็นผู้ที่ชอบในวิชากระบี่กระบอง ทั้งวิชาการต่อสู้ในเชิงมวย ท่านเป็นคนที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวและมีชั้นเชิงในการต่อสู้และชั้นเชิงในวิชากระบี่กระบองเป็นอย่างมากเมื่อเรียนมาแล้วท่านยังฝึกฝนในชั้นเชิงการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยตัวของท่านเอง การชกมวยของท่านดังกระฉ่อนไปไกล อีกทั้งรูปร่างหน้าตาที่ดีเป็นเสน่ห์ต่อฝ่ายตรงข้าม ทำให้ท่านมีศัตรูมาก บางครั้งถึงขนาดดักทำร้ายท่านแต่ก็ถูกท่านปราบมาแล้วอย่างง่ายดาย ขนาดรุ่นใหญ่ยังต้องหลีกทางให้ท่าน ท่านไม่รังแกใครก่อนแต่ไม่ยอมให้ใครมารังแกท่าน

พระอาจารย์สมัยก่อนนั้น แต่ละรูปล้วนแต่ผ่านชีวิตมาแล้วอย่างโชกโชน แม้แต่หลวงพ่อนวมวักลางท่านก็ไม่เบาเอาเลย สมัยเป็นหนุ่มนั้นก็เคยไปช่วยเพื่อนฉุดสาวคนรักของเพื่อนมาให้ ท่านใจกล้าเข้าไปในบ้านเจ้าสาวเอาสาวงามออกมาได้ถึงจะผ่านมีดดาบ หอก ไม้ตะพดมาแล้ว ก็ไม่ระคายผิวหนัง หลวงพ่อกลั่นท่านผ่านมาแล้วอย่างโชกโชน เพื่อนๆ ของท่านถูกรังแกจากคนบ้านอื่น จะต้องมาขอร้องให้ท่านช่วยเหลือ จนท่านได้รับสมยานามว่า พี่ใหญ่

นอกจากจะเก่งทางวิชาการกระบี่กระบองวิชามวยไทยในแบบการป้องกันตัวต่อสู้ที่ยอดเยี่ยมแล้ว ท่านได้สนใจวิชาอาคมขลัง สมัยก่อนต้องหนังดีคงกระพันชาตรีใครตีไม่แตก จะเป็นวิชาเสกหมาก เสกใบพูลกินให้เหนียว เสกปูนพาดคออาพัดเหล้ากินให้หนังเหนียวหรือจะเสกฝุ่นเสกน้ำอาพัดน้ำลายกลืน ฟันแทงไม่เข้าตีไม่แตก นอกจากนี้ท่านยังเรียนวิชาปลาไหลเผือกจับไม่ติด เวลาเข้าประจันด้วยศัตรูที่มีมากกว่าจะจับอย่างไรก็หลุดไปหมด หากไม่แน่จริงแล้วท่านจะไม่ได้รับสมญานามอย่างแน่นอน

ท่านใช้ชีวิตมาอย่างมาก ในที่สุดท่านก็เบื่อชีวิตที่ผ่านมา หาแก่นสารอะไรไม่ได้เลย ชีวิตผ่านไปวันหนึ่ง อีกประการหนึ่ง วันนี้ชนะได้วันต่อไปอาจแพ้แน่นอน ไม่มีใครที่จะชนะไปได้ทุกครั้งท่านเองก็เคยล้มพวกนักเลงใหญ่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องถูกคนรุ่นใหม่ขึ้นมาแทนล้มท่านบ้าง ผู้คนที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิงการต่อสู้และการหักหลังท่านพบเห็นมาแล้ว ท่านจึงตัดสินใจบวช

หลวงพ่อบวชที่วัดประดู่ทรงธรรม ท่านพระอุปัชฌาย์ม่วงเป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นพระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านธรรมและด้านมนต์อาถรรพณ์ต่างๆ ท่านศึกษาอยู่สำนักวัดประดู่ทรงธรรมได้รับความรู้ต่างๆ เอาไว้อย่างมาก ประกอบกับท่านเป็นพระที่เอาการเอางานเป็นธุระในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์ หลวงพ่อม่วงเห็นว่าท่านสมควรจะไปอยู่ดูแลวัดพระญาติการาม ซึ่งตอนนั้นวัดกำลังขาดผู้ดูแลผู้นำในการบูรณะซ่อมแซมด้วยสภาพที่ก่อสร้างมาช้านาน

ด้วยชื่อเสียงของท่านที่โด่งดังไปทั่วไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาจารย์อื่นๆ ในลุ่มเจ้าพระยา เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์ท่านชอบวิชาอาคมขลังและด้านความรู้ทางสมุนไพร ยังเดินทางไปกราบท่านและฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน ยังได้พบกับความขลังความศักดิ์สิทธิ์ให้ประจักษ์มาแล้ว หลวงพ่อกลั่นท่านเป็นพระที่ชอบความสงบเงียบ ชอบการเจริญกรรมฐานภาวนา ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ สมัยนั้นเมื่อเล่าเรียนวิชาแล้วต้องฝึกกรรมฐานให้แก่กล้า มีความรู้ทางด้านยาสมุนไพร ในการรักษาไข้รักษาโรคร้ายต่างๆ อีกทั้งถอดถอนคุณไสยร้ายได้อย่างดี ถึงจะสามารถรักษาตัวรอดพ้นไปได้

เหรียญรูปเหมือน เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2469 เป็นเหรียญทรงเสมาถือว่าเป็นเหรียญราคาแพงที่สุด สภาพสวยงามสมบูรณ์ราคาแพงเป็นล้านบาท เหรียญของท่านมีไม่มากนัก ส่วนมากที่พบจะเป็นเหรียญเก๊ สร้างขึ้นในโอกาสที่ระลึก ในการปฏิสังขรณ์โบสถ์ สมัยนั้นให้ผู้ร่วมทำบุญคนละบาทเดียวเอง คุณเอ๋ย สมัยนั้นเงินบาทหนึ่งแพงมาก ขนมตะโก้อันละสองสตางค์อันโตรับประทานสองชิ้นก็อิ่ม ก๋วยเตี๋ยวชามละไม่กี่สตางค์ เหรียญของท่านด้านหน้า จะเป็นรูปหลวงพ่อกลั่นท่านนั่งเต็มองค์ห่มจีวรรัดอก ข้างเหรียญเป็นภาษาไทยเขียนเอาไว้ว่า หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์กลั่น พระญาติ ใต้ขอบห่วงเหรียญเป็นตัวเลข พ.ศ. 2469 ด้านหลังตรงกลางเหรียญจะเป็นตัวยันต์นะเฑาะว์สมาธิ ใต้ตัวเฑาะว์จะเป็นตัวนะปิดล้อมหรือนะตัวต้น และมีตัวขอมว่า พุท ธะ สัง มิ คือ ตัวย่อหัวใจยอดศีล ใช้ทางมหานิยมและแคล้วคลาด พิมพ์นิยมของเหรียญรุ่นนี้ให้ดูที่เส้นซึ่งแกะพลาดเป็นเส้นเกินตรงขมวดยันต์ มีลักษณะคล้ายเบ็ดตกปลา จึงเรียกบล๊อกนี้ว่า พิมพ์ขอเบ็ด

หลังจากนั้นคณะกรรมการจากทางวัดพระญาติการามพร้อมด้วยหลวงพ่ออั้นเดินทางไปยังร้านฮั่งเตียนเซ้ง ซึ่งเป็นผู้ปั๊มเหรียญนี้ทำขึ้นมาอีกครั้งนั้น สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม จันทนิล) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดชนะสงคราม ขณะนั้นท่านยังเป็นสามเณรอยู่วัดเลียบ ยังเป็นสามเณรอยู่ ร่วมเดินทางไปยังร้านด้วย ทางร้านบอกว่าด้านหน้ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนด้านหลังชำรุดต้องทำขึ้นใหม่อีก 2 พิมพ์คือ พิมพ์เสี้ยนตอง ให้ดูด้านหลังเหรียญที่จะมีเส้นเป็นริ้วตลอดหลังเหรียญเต็มไปหมด และอีกพิมพ์หนึ่งคือ พิมพ์หลังเรียบ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อกลั่นท่านยังมีชีวิตอยู่ได้ปลุกเสกเหรียญทั้งสองรุ่นด้วยตัวท่านเอง ซึ่งระยะเวลาห่างจากเหรียญที่ปั๊มครั้งแรกไม่กี่ปี ทำให้เหรียญมีราคาการเช่าหาแตกต่างกันอย่างมาก เหรียญหลังเสี้ยนตองและเหรียญหลังเรียบราคาการเช่าหาสภาพสวยๆ ก็เป็นหมื่นเหมือนกัน อีกทั้งให้ดูตัวตัดเหรียญที่ไม่เหมือนเหรียญรุ่นขอเบ็ด รอยตัดจะเรียบร้อยแล้ว เหรียญหลังเสี้ยนตองกับเหรียญหลังเรียบ รอยตัดจะไม่เหมือนกัน และดูที่ด้านหน้าของเหรียญหลังเสี้ยนตอง และเหรียญหลังเรียบ ด้านหน้าของเหรียญจะมีริ้วรอยของเม็ดขี้กลากขึ้นอยู่ทั่วไปของเหรียญ เพราะสนิมขึ้นบนเหล็กนั่นเอง

เหรียญกลมของหลวงพ่อกลั่น สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2478 ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ห่มจีวรมีผ้ารัดอก แตกต่างจากเหรียญรุ่นแรกตรงที่ผ้ารัดอกรุ่นแรก ผ้าสังฆฏิจะทับผ้ารัดอก แต่รุ่นพ.ศ. 2478 ผ้ารัดอกจะทับผ้าสังฆาฏิ รอบขอบเหรียญจะเป็นตัวขอมอ่านว่า นะ มะ นะ อะ นอ กอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะ อะ กะ อัง คาถาพระเจ้าสิบหกพระองค์ ด้านหลัง จะเป็นตัวเฑาะว์เหมือนรุ่นแรก แต่การเขียนแตกต่างกัน และมีตัวขอมเป็นตัวคาถาทางมหาอุด เหรียญรุ่นนี้มีทั้งเหรียญที่เรียกว่า นะกลม นะรี ให้ดูตรงใต้ฐานด้านหน้ารูปหลวงพ่อ ตัวนะปิดล้อมจะกลมและรี และอีกบล็อกหนึ่ง เรียกว่าบล็อกตาชั่ง คือตัวนะใต้รูปหลวงพ่อจะติดไม่ชัดเจน เกิดจากการปั๊มเหรียญที่จริงนั้นเกิดจากการกดกระแทกของช่างที่ทำการปั๊มนั่นเอง เครื่องมือสมัยนั้นยังไม่ทันสมัย ประกอบกับใช้การมาก เหรียญมักจะเป็นห่วงเชื่อม เหรียญรุ่นนี้มีเนื้อทองแดงและทองเหลือง ราคาการเช่าหาเป็นหมื่นเหมือนกัน คนในอยุธยาเขานิยมกันมาก มีประสบการณ์ไม่แพ้รุ่นแรกเลย พระอาจารย์ที่ปลุกเสกก็เป็นพระอาจารย์ในยุคนั้นหลายรูปด้วยกัน

เหรียญยันต์ตะกร้อ เหรียญรุ่นนี้มีรูปทรงคล้ายรูปอาร์มแต่สวยกว่าอาร์ม หลวงพ่อนั่งเต็มองค์มีตัวขอมอ่านว่า มะผุดผัดผิดอิติปัดปิด เป็นคาถาทางคงกระพันชาตรีทางป้องกันอันตราย ด้านหลัง เป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์มีเส้นลากลักล้อมตัว นะ โม พุท ธา ยะ ถึงสามเส้นซ้อนกัน มีตัวขอมอีกหลายตัวอ่านว่า พุทธ สัง มิ เป็นคาถาทางยอดศิลทางเมตตามหานิยม มะ อะ อุ เรียกว่า แก้วสามประการ ใช้ทางป้องกันอันตรายภัยต่างๆ และตัว พุท โธ ตัวต้นของคาถาบทสำคัญๆ ใช้ย่อมา เหรียญรุ่นนี้สร้างเมื่อพ.ศ. 2483 มีหลวงพ่ออั้นและหลวงพ่อต่างๆ อีกหลายท่านด้วยกันร่วมกันปลุกเสก

เหรียญที่กล่าวมาแล้วของท่านแต่ต้น เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมและราคาการเช่าหาแพงนอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นชาตรีและเหรียญรุ่นอนุสาวรีย์เป็นเหรียญรูปไข่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2505 ด้านหน้าเป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์ ด้านหลังจะใช้ยันต์ไม่เหมือนก่อนๆ ที่ผ่านมา รุ่นนี้ใช้ยันต์นะโมตาบอด หรือยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อีกแบบหนึ่ง ยันต์ตัวนี้ใช้ทางป้องกันอันตรายใช้ทางคงกระพันชาตรีและทางแคล้วคลาดเป็นพระนะจังงังอีกด้วย แต่เหรียญรุ่นชาตรีเป็นรูปทรงเสมาใช้ยันต์นะโมตาบอดเหมือนรุ่นอนุสาวรีย์ แต่มีตัวนะตัวต้นเหนือยันต์นะโมตาบอดอีกตัวหนึ่ง

เหรียญทั้งสองรุ่นนี้ราคาการเช่าหาแค่พันต้นๆ เท่านั้นเอง นอกจากนี้ยังมีเหรียญรุ่นทวีลาภ ด้านหลังเหรียญรุ่นทวีลาภจะเป็นพระสิวลีราคาการเช่าหาถ้าสวยๆ ก็พันกว่าบาท หรือหย่อนลงมา รุ่นนี้หลวงพ่ออั้นท่านปลุกเสกและยังมีพระอาจารย์สายหลวงพ่อกลั่นอีกหลายท่านด้วยกัน

หลวงพ่อกลั่นเป็นหนึ่งในสิบคณาจารย์ผู้มีพลังจิตสูงในปีพ.ศ. 2452 ที่จังหวัดนครปฐมได้มีการชุมนุมพระอาจารย์จากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศไทย มีการทดสอบวิทยาคม และพลังจิตจากพระอาจารย์ทั่วประเทศที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีร้อยกว่าองค์ ซึ่งแต่ละจังหวัดได้จัดให้พระอาจารย์เดินทางไปร่วมในพิธี โดยมีการทดสอบพระอาจารย์ต่างๆ ครั้งละสิบองค์ มีสมเด็จพระสังฆราช (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ที่บริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ ในการทดสอบครั้งนั้นมีกติกาว่าให้เอาท่อนไม้มา 1 ท่อน วางบนม้า 2 ตัว แล้วเอากบไสไม้วางไว้บนท่อนไม้ แล้วประธานฝ่ายสงฆ์จึงบอกกติกาว่า อาจารย์องค์ใดสามารถทำกบไสไม้ให้วิ่งไสไม้ไปกลับได้โดยกบไม่หล่นทำการทดสอบกันถึงสามวันสามคืน พระอาจารย์ส่วนมากสามารถใช้จิตบังคับให้กบวิ่งไปได้ แต่กลับไม่ได้ ที่ทำให้กบไสไม้ไปกลับได้ มีด้วยกัน 10 รูป ในสิบรูปนั้นมีหลวงพ่อกลั่นเป็นหนึ่งในสิบนั้นด้วย

หลวงพ่อกลั่น

หลวงปู่บุญ

หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า

หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

หลวงพ่อทอง วัดเขากบทวาศรี นครสวรรค์

หลวงพ่อปาน วัดบางเ***้ย

หลวงปู่ยิ้ม หนองบัว

หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ ชุมพร

ความขลังของหลวงพ่อกลั่นเป็นที่กล่าวขานกันมาช้านานทั้งในคนอำเภออุทัย อำเภอนครหลวง หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่อนวม วัดกลาง หลวงพ่อกรอง วัดเทพจันทร์ลอย ทั้งสามท่านนี้นับถือกัน มักจะลองวิชากันเสมอๆ หลวงพ่อนวมนิมนต์ให้หลวงพ่อกลั่นไปร่วมงาน หรือเมื่อท่านไปเยี่ยม มักจะลองวิชากัน ถ้าแก้เคล็ดได้ ก็สามารถเข้าวัดได้ ทั้งสามท่านนี้นับถือกันมาก แต่ต้องยอมให้หลวงพ่อกลั่นก็พลังจิตของท่านวิชานะจังงังของท่านเหนือกว่ามาก ทั้งย่นหนทางก็เก่งกว่า

ผู้ใหญ่ทองดี ผาสุขโอษฐ์ ปัจจุบันอายุเกือบ 90 ปี แล้วแต่ยังแข็งแรงมาก บุหรี่ไม่สูบ สุราไม่ดื่ม คนรุ่นเดียวกันล้มหายตายไปกันหมด ผู้ใหญ่ทองดีเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อกลั่นท่านมีสมาธิแก่กล้ามาก เราคิดอะไรท่านจะรู้หมด พอเห็นหน้าเท่านั้น ท่านจะทักทันที ใครไม่ดีถ้าเตือนไม่เชื่อ จะตายโหงทุกราย ผู้ใหญ่ทองดียังเล่าอีกว่าไปกราบท่าน 5 ครั้ง สมัยนั้นไปทางเรือพายไป แจวไปบ้าง นอกจากนั้นแล้วถึงจะเดินด้วยเท้า สมัยนั้นมีคนเดินทางไปหาหลวงพ่อท่านไม่เคยขาด

เหรียญของท่านสุดยอดเหนียว เมื่อยี่สิบปีก่อนนั้นชาวบ้านใกล้วัดคลองน้ำชา ใกล้วัดมเหยงค์ เดินทางไปหาเพื่อนกลับเอามืด ถูกคนร้ายดักยิงระยะห่างแค่สองเมตรเท่านั้น ด้วยปืนลูกซอง แต่ว่าลูกปืนยิงไม่เข้า และเมื่อหลายปีที่ผ่านมาที่ตำบลบ่อโพธิ์กำนันคนดัง ถูกหลานชายตนเองฆ่าตายเพราะผลประโยชน์คุมคลังสินค้าต่างๆ กำนันคนดังมีเหรียญหลวงพ่อกลั่น ถูกหลานตนเองยิงด้วยปืนพกหลายนัดไม่เข้า กำนันคิดไม่ถึงว่าหลานชายตนเองจะทำได้ พวกหลานชายรู้ว่ายิงไม่เข้า พอกำนันชักปืนมาจะยิงสวน พวกนั้นจับกำนันและตีด้วยไม้แล้วกระชากสายสร้อยทองคำหนักสิบบาทออกแล้วยิงด้วยปืนนัดเดียว กำนันตาย ตอนหลังพวกนั้นก็ตายจนหมด คนที่มีศีลธรรมประกอบแต่ความดีเรื่องตายโหงไม่มี ผู้ใหญ่ทองดีบอกว่า เคยได้เหรียญท่านมาและตะกรุดโทน ลูกอมผ้ายันต์ก็มอบให้บุตรชายไปจนหมด

เกือบลืมไป พระเครื่องของหลวงพ่อกลั่นที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งคือ รูปเหมือนหล่อโบราณ เป็นเนื้อโลหะทองเหลืองผสมขนาดหน้าตักประมาณ 2 ซม หลังค่อมถ้าใครไม่ใช้ความสังเกตแล้วอาจคิดว่าเป็นรูปหล่อของหลวงพ่อหินวัดหนองสนม ระยอง รูปหล่อของท่านเมื่อก่อนจะพบบ่อยตอนหลังหายากมาก ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ปลุกเสก หลวงพ่ออั้นท่านเป็นผู้สร้างปลุกเสกก็ตาม รูปหล่อของท่านมีประสบการณ์ทางแคล้วคลาดทางเหนียวอย่างมาก

เหรียญหลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ เป็นเหรียญที่มีอายุการสร้างถึง 70 ปี แล้วเป็นเหรียญที่เก่ามาก มีประสบการณ์สูง ผู้ใดได้ไว้บูชามักจะประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ เป็นเหรียญที่มีเหรียญเก๊มาก มีการตบแต่งให้เนื้อหาเหมือนของเก่า แต่ผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วยังสามารถดูออก ถ้าหารุ่นที่แพงอันดับหนึ่งไม่ได้ก็ลองหารุ่นอื่นที่ราคาไม่แพงมาบูชาซีครับแล้วจะรู้ว่ามีประสบการณ์ขนาดไหน


279
 หากเอ่ยชื่อ พระครูวิมลคุณากร คนทั่วไปอาจจะยังไม่คุ้นหูเท่าใดนัก แต่ถ้าเอ่ยชื่อ หลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่าแล้วล่ะก้อ ไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าไม่รู้จัก โดยเฉพาะนักนิยมพระเครื่องแล้ว แทบทุกคนต่างใฝ่หาพระเครื่องของหลวงปู่ศุขมาใช้เพราะเชื่อกันว่า พระหลวงปู่ศุขนั้นให้พุทธคุณ ทั้งด้านเมตตามหานิยม และ ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน

ภูมิลำเนา - ชีวิตก่อนบวช

             หลวงปู่ศุขท่านอยู่ในละแวก วัดมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันยังมี  ลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดปากคลองมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี  หลวงปู่ศุขท่านใช้นามสกุล เกศเวชสุริยา อีกสกุลหนึ่ง ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 9 คน ด้วยกัน    เมื่อหลวงปู่ศุขอยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ  ทำมาหากินค้าขายเล็กๆน้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน    คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำ        ที่สำคัญ และกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้  เพราะขาดการทนุบำรุงที่ควร     หลวงปู่ศุขท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้ภรรยาชื่อนางสมบูรณ์ และกำเนิด     บุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา 

บวช

             หลวงปู่ ท่านครองเพศฆาราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ 22 ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขน หรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี   พระอุปฌาย์ท่านชื่อ  หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ ฝ่ายรามัญ ที่ถือเคร่งในวัตรปฎิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคม         ก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากพระอุปฌาย์ของท่านมาพร้อมกับพระอาจารย์ เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่าวัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

กลับภูมิลำเนา

             หลวงปู่ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี  จนกระทั่งมารดาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า      ได้ชราภาพลงตามอายุขัย ด้วยความเป็นห่วงใยในมารดาและบิดา ท่านจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆที่วัดอู่ทองคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณที่อยู่ลึก เข้าไปในคลองมะขามเฒ่าหรือบริเวณต้นแม่น้าท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพวัดในขณะนั้น ชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณะให้กลับคืนในสภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้    ขยับขยายออกมา ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและได้สร้างกุฎิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัย ไปพลางก่อน

วัตถุมงคลรุ่นแรก

             สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดฌาปนกิจศพ และในงานนี้เองหลวงปู่ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไปได้ปรากฎอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกัดไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างใน ชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้น การที่แวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระเครื่องของหลวงปู่จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกัดไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน  จึงเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ      สมัยก่อนพระวัดปากคลองเนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า "เอ็งมีลูกกี่คน?" ท่านจะให้ครบทุกคน กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจนการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำ เจ้าพระยาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น         เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าพ่อขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน  เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจร     ที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็น  เสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี"หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า"

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

          อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี  ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5         นับลำดับราชสกุลวงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 28 และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ ที่1             ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติ         ปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้ว ได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ  จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน  จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์-อาจารย์เพื่อจะได้ศึกษาทางมหาพุทธาคมและปรากฎว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความ  สามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงปู่ศุขเองก็หมดความรู้ที่จะถ่ายทอด จึงแนะนำให้เสด็จในกรมฯไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้น    เมื่อหลวงปู่ศุขท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่จะสร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯบนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่กรมศิลปากรยกย่องว่า เสด็จในกรมหลวงชุมพร ทรงมีฝีมือทางการเขียนภาพเป็นอย่างมาก และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธ-เจ้าชนะมารในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบิดมวยผม ทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้ กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดใส่อารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยัน อย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก     ฝีมือของเสด็กในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือ ภาพเขียนสีน้ำมัน เป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนในขณะที่หลวงปู่ศุข ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงในการเดิน  ซึ่งภาพนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่ที่วัดปากคลอง  มะขามเฒ่าจวบจนทุกวันนี้  ความสัมพันธ์ ระหว่างอาจารย์ กับ ลูกศิษย์ นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯได้สร้างกุฎิอาจารย์ ไว้กลางสระที่วัดนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิค   ตอเรีย  มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด  และรู้สึกว่ากลางใบจะมีหนามคมด้วย อันนี้ได้รับคำบอกเล่า   จาก ลุงผล ท่าแร่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ศุขมาแต่เล็ก ท่านเป็นชาวอุตรดิตถ์     หรือพิษณุโลก จำได้ไม่ถนัดนัก หลวงปู่ท่านขอพ่อแม่เขามาเลี้ยงเป็นบุตร บุญธรรม เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ศุข ท่านก็ เลยลงหลักปักฐานได้ภริยาอยู่ที่ตำบลท่าแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท       เลยเรียกกันติดปาก ว่า ลุงผล ท่าแร่   แต่อย่างไรก็ตาม ภายในกำหนด 1 ปี หลวงปู่ท่านจะต้องลงมากรุงเทพฯ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย  เพราะเสด็จในกรมฯท่านจะทำวิธีไหว้ครูราวๆ เดือนเมษายน งานจะจัดเป็น 3 วัน วันแรกไหว้ครูกระบี่กระบอง  วันที่สองไหว้ครูหมอยาแผนโบราณ  และวันที่สามไหว้ครูทางวิทยายุทธ์ พุทธาคมและไสยศาสตร์ จัดเป็นงานใหญ่มีมหรสพสมโภชทุกคืน กับมีการแจกพระเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ศุขอีกด้วย แต่ในระยะหลังๆ หลวงปู่ศุขท่านมีอายุ   มากแล้ว สุขภาพไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าใดนัก ท่านจึงไม่ค่อยได้ลงมา

พระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง

          การที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลัง ได้ประสิทธิ์ มี ฤทธิ์ มีเดช ทั้งๆที่อักษรเลขยันต์พื้นๆนั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้น กล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้งสี่ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือและการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกดิผลด้วยการ ใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือ หลีกลี้ลับ บังคบให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขาม ให้เป็น ตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจนการผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ  แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็ยังคงเป็นใบมะขาม หัวปลี ก็ คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟาง ก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่อำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง จากหนังสือ "พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี 2519 เรื่องพระใบมะขาม " ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุขขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ.2459)ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว  มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่น เงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง ข้าพเจ้าถามว่า การค้าขายจะให้ลงว่ากระไร ท่านบอกว่า "นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู "   ข้าพเจ้าจึงบอกว่า "หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร " หลวงพ่อบอกว่า" มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา"ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั้นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม และท่านเสกเป่าไปที่ศรีษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมทีไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุก ก็ ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์ จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฐาก รูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า "ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ"

            อนึ่งท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี  ไม่ใคร่พูดจานั่งสงบอารมณ์ เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น " เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯเห็นจนท่านยอมเป็นศิษย์ " หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า ลวงโลก แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่า อะไรอีก หลวงพ่อพูดต่อไปว่า "เวลานี้ กรมหลวงชุมพรฯไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง ) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติ ท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯ นี้ ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้ "

ท้ายบท

              การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณะภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง จากการสอบถามบรรดาลูกศิษย์ ลูกหาของท่าน ซึ่งส่วนมากจะล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการที่ท่านได้รับรู้จากการเขียน ของ "ท่านมหา" ซึ่งเคยเป็นอุปัฏฐากหลวงปู่ จึงใกล้เคียงความจริงเท่าที่จะหาได้มากที่สุด

(ที่มานำมาจากเวป http://www.chainat.go.th/sub1/trd/page5.htm)

280
ประวัติวัดบางกะพร้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ประวัติหลวงพ่อคงวัดบางกะพร้อม

หลวงพ่อคง ท่านเกิดวันอาทิตย์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๐๘ ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อ "...เกตุ จันทร์ประเสริฐ..." โยมมารดาชื่อ "...ทองอยู่.. ." พออายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาให้บวชเณร เพื่อเล่าเรียนศึกษา ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้งละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่า เย็นวันนั้น หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่านถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจ้งกันเป็นการใหญ่

ต่อมาท่านก็อุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนาสืบมาได้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับเกียรติยกย่องว่า ท่านทำวัตถุมงคลทุกอย่างได้ขลัง และศักดิ์สิทธิมีอิทธิฤทธิ์อันมหัศจรรย์เป็นที่ขนานนามยกย่องกัน ทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

หลวงพ่อคง มรณภาพวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษาที่ ๕๘

เมื่อครั้งอาจารย์เภา ศกุนตะสุต ปรมาจารย์เหรียญผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ยังมีชีวิตอยู่ กระผมเคยสนทนาเรียนถามท่านว่า "...หลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ อาจารย์เภาจะเลือกพระเถระองค์ใดว่าท่านเด่นดังมากที่สุด..." อาจารย์เภาตอบว่า "...ฉันขอเลือกหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม เพราะว่าท่านเป็นหลวงพ่อของฉัน ถึงจะยิงกันฉันก็ไม่กลัว..." จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า อาจารย์เภา ศกุนตะสุต ท่านมีความเชื่อมั่น และเคารพหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม อยู่เหนือพระเถระองค์อื่นๆ ทั้งหมด นี้เป็นประสบการณ์จากการสนทนากับปรมาจารย์เหรียญ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าทรงคุณวุฒิทางด้านนี้อย่างแท้จริง


281
หลวงพ่อม่วง หรือท่านพระครูสิงคีคุณธาดา แห่ววัดบ้านทวน
วัดเดือนปีเกิดไม่แน่ชัด
ประมาณปี2376 ท่านได้บวชโดย มี หลวงพ่อทา วัดดอนสะแหนบ เป็นพระอุปปัชฌาย์ส่วนพระอนุสาวจารย์ และกรรมวาจารย์ คือลวงพ่อปอง วัดเขารักษ์ แลหลวงพ่อดอกไม้วัดดอนเจดีย์ ท่านเป็นพระ ที่น่าศรัทธามาก สำหรับคนในรุ่นก่อน ๆ ถือศิล และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่ง ครัด และเป็นที่ยกย่อง ของชาวจังหวัด กาญจบุรี ในยุคก่อนเป็นอย่างมาก

วัตถุมงคล
หรียญรุ่นแรกพระครูสิงคิคุณธาดา ( ม่วง จันทสโร ) วัดบ้านทวน อ.บ้านทวน จ.กาญจนบุรี เป็นเหรียญที่สร้างเมื่อหลวงพ่อม่วงท่านได้รับสมณศัก ดิ์ เป็น พระครูสิงคิคุณธาดา บรรดาศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพเลื่อมใส ได้แสดงมุทิตาจิตทำบุญฉลองเป็นงานใหญ่ ด้วยอายุของท่านในขณะนั้นก็ชรามาก จึงได้ออกเหรียญรูปไข่เป็นรูปท่านครึ่งองค์ห่มลดไหล่ เหรียญหลวงพ่อม่วงนั้น มี 2 แบบ คือ แบบเหรียญหล่อ และเหรียญปั๊ม เหรียญหล่อนี้จะมีหลายเนื้อด้วยกัน โดยแบ่งเป็นเหรียญยันต์ใหญ่ และเหรียญยันต์เล็ก

สำหรับเหรียญนี้เป็นเหรียญหล่อเนื้อเงิน พิมพ์ยันต์ใหญ่ ( นิยม ) เป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้ารูปหลวงพ่อ มีอักขระรอบเหรียญ 8 ตัว ด้านหลังมีข้อความว่า " ที่ระฤกอุปชาวัดบ้านทวน " และมีอักขระขอมว่า อิโส มิโส โมอะ นะลือ

เหรียญของหลวงพ่อม่วงมีคนนิยมมาก มีประสบการณ์ในทางมหานิยม และแคล้วคลาดอันตราย เรื่องอยู่ยงคงกระพัน ชาตรี ก็มีคนเห็นฤทธิ์มามาก เหนียวดีจริง ๆ เดี๋ยวนี้เป็นเหรียญยอดนิยมที่หายากมาก ๆ ด้วยความที่เป็นเหรียญรุ่นเก่า ออกมานานมากแล้ว มีคำขวัญว่า " ใครมีเหรียญวัดบ้านทวน ใครจะมาก่อกวนก็ไม่ต้องกลัว " เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อม่วงนี้จึงเป็นที่เสาะแสวงหา กันโดยทั่วไป



282


พระครูเกษมนวกิจ(หลวงพ่อเต้า), วัดเกาะวังไทร นครปฐม


ท่านนั้น ฤานาม หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร นครปฐม ซึ่งหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ยังยกย่องว่า
"ท่านเต้า วัดเกาะวังไทร เขาเป็นเต้าทอง ไม่ใช่เต้าปูน"
ท่านเกิดเมื่อ ๒๐ ก.ย. ๒๔๕๑ บวชเมื่อ ๒ พ.ค. ๒๔๗๒ มรณะ วันที่ ๒๑ พ.ค. ๒๕๓๕ (วันพฤหัสบดี แรม ๕ คํา
เดือน ๖) เวลา ๐๖.๐๐ น. ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ ๘๔ ปี ๘ เดือน ๖๒ พรรษา

พระสหธรรมิก ที่สนิทสนมเป็นพิเศษ ทั้งอายุพรรษาอยู่ในวัยไล่เลี่ยกัน มีหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ,
หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง
หลวงพ่อเต้ามรณะเป็นรูปแรก(ศพท่านไม่เน่าหลังจากเก็บไว้ ๑๐๐ วัน แล้ว)
ตามมาด้วยหลวงพ่อแช่ม(ทางวัดเก็บอยู่ในโลงไม่ได้เผาเหมือนหลวงพ่อเงิน
ถามคนที่วัดท่านบอกว่าศพไม่เน่าเหมือนกัน) และหลวงพ่อหลิวเป็นรูปสุดท้าย
"หลวงพ่อเต้า" เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรน่าเคารพเลื่อมใส
ท่านไม่เคยติดยึดลุ่มหลงในยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ยึดติดในลาภสักการะ
ตลอดชีวิตของท่านมีแต่การสงเคราะห์ช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือกับหน่วยราชการและประชาชนโดยตลอด
จะมีกี่คนที่ทราบว่า หลวงพ่อขายที่ดินอันเป็นมรดกส่วนตัวของท่าน
เพื่อนำเงินมาสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังใหญ่ของวัดเกาะวังไทร
ความไม่ติดยึดลุ่มหลงในยศถาบรรดาศักดิ์ของหลวงพ่อ ความมักน้อยสันโดษ
ยิ่งเพิ่มพูนศรัทธาแก่ผู้เคารพนับถือทวีคูณยิ่งขึ้น สังฆสาวกของพระตถาคตรูปนี้ กราบได้ ไหว้ได้
อย่างสนิทใจ
*** ในเรื่องนี้แม้แต่พระเถระผู้ใหญ่ของ จ.นครปฐม เป็นต้นว่า พระศรีรัตนโมลี วัดเสถียรรัตนาราม
รองเจ้าคณะ จ.นครปฐม พบเห็นหลวงพ่อเต้าที่ใด พระเดชพระคุณท่านจะกราบแทบเท้า หลวงพ่ออยู่เสมอ
แสดงให้เห็นถึงความเคารพอย่างสูงสุด คนที่ไปหาท่าน นั่งที่ขั้นบันไดเสมอเหมือนกันหมด
ในเรื่องเครื่องรางของขลังนั้น ถ้าอยู่ใกล้ๆมือท่านแล้ว หลวงพ่อแจกไม่อั้น ไม่สนใจเรื่องกำไรขาดทุน

บิดาท่านชื่อ นายบุญ มารดาท่านชื่อ นางฮวย ห้วยหงส์ทอง

บรรพชาอุปสมบท

ณ พัทธสีมาวัดตาก้อง ตำบลตาก้อง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

พระครูอุตตรการบดี (สุข) วัดห้อวยจระเข้ ตำบลพระปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต วัดตาก้อง ตำบลตาก้อง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นพระกรรมวาจารย์

พระใบฎีกาล้ง วัดห้วยจระเข้ ตำบลพระปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นพะอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า \\"เขมโก\\"
หลวงพ่อเต้า (พระครูเกษมนวกิจ) หรือหลวงพ่อเต้า เขมโก ซึ่งมีฉายาเหมือนหลวงพ่อเกษม เขมโก
และที่แปลกกว่านั้น คือ หน้าตาของท่านทั้งสองละม้ายคล้ายคลึงกันมาก
สิ่งที่ท่านไม่ชอบก็คือ การประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของตนเอง โดยเปรียบเทียบว่า "ไม่ใช่พลุ
ไม่ต้องมาจุดให้ ดังแล้วก็เงียบหายไป" หรือไม่ก็พูดแทงใจตรงๆว่า "คนสมัยนี้หน้าคนไม่ยอมใส่
เที่ยวไปเอาหน้าม้ามาใส่แทน" และคอยพรําสอนศิษย์เสมอว่า "เรามาแต่ตัว
เมื่อตายไปอะไรก็ถือติดมือไปไม่ได้ มีแต่ความดีที่เคยทำไว้ พอจะให้คนเขานึกถึงได้บ้าง"

ปลุกเสกนํามนต์ร้องเป็นเสียงจิ้งจก มีเรื่องเล่าสืบมาว่าหลวงพ่อแช่มได้ครอบวิชา
นํามนต์ร้องไห้ไว้ให้หลวงพ่อเต้า เรื่องนี้ศิษย์รุ่นเก่าๆทราบดี เพราะเคยเจอมากับตัวเอง เล่ากันว่า

*** บาตรนํามนต์ของหลวงพ่อ เมื่อสงัดคนจะมีเสียงจุ๊ๆๆ เหมือนจิ้งจกทัก ดังมาจากข้างใน
ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดก็รีบไปดู คิดว่าจิ้งจกจะตกลงไป กินนําแล้วพลาดตกลงไป
หากไม่ไปเอาขึ้นก็จะตายในบาตรนํามนต์ หลวงพ่อจะต้องทำใหม่ ปรากฏว่าไปดูใกล้ๆ
ชะโงกไปดูเอาไฟฉายส่องก็ไม่เห็นจิ้งจกสักตัว แต่เสียงดังจุ๊ๆ ก็ยังคงมีอยู่แล้วก็ค่อยๆ หายไป

บางบ้านตักนํามนต์ของหลวงพ่อไปใส่ขันไว้ที่บ้านก็มีเสียงจุ๊ๆ ดังมาจากภาชนะเหมือนกัน
และตุ่มนํามนต์ใหญ่ที่หนาหลวงพ่อศิลาแลง(หลวงพ่อแดง พระพุทธรูปศักสิทธิ์ ประจำวัด)
อันเป็นตุ่มนํามนต์กลางที่ผู้คนจะพากันไปตักกลับบ้าน หากหลวงพ่อเต้าไม่อยู่วัด
เพราะหลวงพ่อทำไว้เป็นส่วนกลาง เสียงจุ๊ๆ จะดังขึ้นเป็นระยะๆ ตลอดวันตลอดคืน
ไปค้นหาดูเถอะไม่มีจิ้งจกสักตัว และเสียงไม่ได้ดังมาจากฝา หรือเพดาน
แต่ดังมาจากบาตรและตุ่มนํามนต์จริงๆ

ที่นับว่าเล่าลือกันอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือในงานพุทธาภิเษก ในวัดใหญ่แห่งหนึ่งในนครปฐม
มีพระเกจิอาจารย์ร่วมนั่งปรกกันมาก เจ้าภาพตั้งบาตรนํามนต์ไว้หน้าอาสนะ
ที่พระเกจิอาจารย์จะนั่งปรกปลุกเสก และจุดเทียนนํามนต์เอาไว้ที่ปากบาตร

พอพิธีเริ่มไปได้ไม่นาน ฝนก็ตั้งเค้าลมกระโชกมาอย่างรุนแรง เทียนนํามนต์ในที่บาตร
ของพระเกจิที่นั่งปรกถูกลมพัดดับหมด
*** เหลือแต่เพียงเทียนที่ปากบาตรนํามนต์หน้าหลวงพ่อเต้า
ยังไม่ดับและเปลวไฟตั้งตรงเหมือนไม่โดนลมพัดอีกด้วย
หลวงพ่อเต้านั้นท่านมีฌาณสูง และในการนั่งปรกทุกครั้ง หลวงพ่อจะกำหนดจิตนั่งปรกเป็นเวลานาน
เรียกว่าไม่มีพักยกหลับตาเข้าฌาณแล้วนิ่งอยู่อย่างนั้น จนเวลาผ่านไปตามที่หลวงพ่อกำหนด
ท่านก็จะออกจากฌาณเหมือนตั้งนาฬิกาปลุก ไม่ต้องไปยุ่งกับท่าน
แม้พระเกจิส่วนใหญ่จะกลับกันหมดแล้ว แต่ถ้าไม่ถึงเวลาที่กำหนดไว้ในงาน หลวงพ่อก็จะนั่งอยู่อย่างนั้น
จนถึงเวลาจะออกจากฌาณ

นางกวักของหลวงพ่อ นั่งโยกตัวไปมา เหมือนมีชีวิต บางท่านพบว่ากำลังลุกขึ้นเดินด้วยซ้ำ
เสกเสากระทู้ปักกลางวัด คนมายิงนกยิงปลาภายในวัด ปาฏิหาริย์ปืนยิงไม่ออก

ประสบการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับปาฏิหาริย์นั้น มีประจักษ์พยาน และมีหลักฐานยืนยันได้ แต่หลวงพ่อกลับบอกว่า


"อิทธิปาฏิหาริย์ไม่ใช่วิถีทางของการดับทุกข์ ดั่งที่พระพุทธองค์ท่านสอนไว้
อิทธิปาฏิหาริญ์ไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ ศีล สมาธิ ปัญญา
เท่านั้นที่จะทำให้หลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารได้"
"หลวงพ่อเต้า" เป็นพระที่สมถะ พูดน้อย คมในฝัก จึงเข้าตำราที่ว่า "ของจริงนิ่งเป็นใบ้
ของพูดได้ของไม่จริง" ปฎิปทางดงามจนเป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น

การปฎิบัติธรรมตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เคร่งครัดยิ่งนักเรื่องความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยนี้ ประจักษ์ปละประทับใจผู้ได้พบเห็น
ทั้งต่อหน้าและลับหลังญาติโยม ศีลาจารวัตรของท่านสะอาดบริสุทธิ์

สมณสารูปของหลวงพ่อ ผู้ใดพบเห็ฯเป็นต้องศรัทธา รูปร่างของหลวงพ่อผอมสูง ผิวดำแดง กร้านแกร่ง
แต่แฝงไว้ด้วยความอดทน เข้าตำรา "สัตว์พี ฤาษี ผอม" ความอดทนและเพียรอย่างยอดเยี่ยมของหลวงพ่อ
เป็นผลานิสงส์จากการธุดงค์วัตรรอนแรมตามป่าเขาลำเนาไพรมาอย่างโชกโชนนั่นเอง

ดวงตาของหลวงพ่อ เป็นแระกายด้วยตบะเดชะแห่งมหาอำนาจ แต่เปี่ยมด้วยความเมตตา ผิวพรรณวรรณะของท่าน
ดูแล้วผุดผ่อง มีสง่าราศีด้วยบุญบารมีทั้งๆ ที่หลวงพ่อไม่ได้สรงน้ำ
แต่ไม่เคยปรากฎร่องรอยคราบเหงื่อไคลความสกปรกให้พบเห็น เป็นที่น่าอัศจรรย์นัก
"หลวงพ่อเต้า" เป็นตัวอย่างของภิกษุสงฆ์ผู้มีความมักน้อย ถือสันโดษอย่างจริงจัง
ผู้เขียนกล้าเอาเกียรติเป็นประกันว่า หลวงพ่อเป็นพระที่ไม่สะสมและปรุงแต่ง
ในกุฏิของท่านไม่พบของมีค่าเกินความจำเป็ฯของสมณเพศ บริขารปัจจัยต่างๆของหลวงพ่อก็คือ

เสื่อผืน หมอนใบ และผ้าไตรจีวรสีกรักเก่าๆ

ไม่เคยจำวัดในห้องนอนที่มีฟูกหนาๆหมอนนิ่มๆ

ที่จำวัดเดิมที เป็นเตียงผ้าใบแบบพับได้เก่าคร่ำคร่า ตั้งแอบไว้หลังโต๊ะรับแขก
ในกุฎิตรงที่ท่านนั่งรับแขกนั่นเอง

หลวงพ่อท่านยึดว่า ความสุขสบายของกายสังขารเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ เกิดกิเลส เกิดตัณหา มีอุปทาน
ไม่สามารถหลุดพ้นจากสภาวะจิตใจทางใฝ่ต่ำ ซึ่งเป็ยข้าศึกต่อเพศบรรพชิต

"เรามาแต่ตัว เมื่อตายไปอะไรก็ถือติดมือไปไม่ได้ มีแต่คสามดีที่เคยทำไว้
พอจะให้คนเขานึกถึงได้บ้าง"

เป็นคำพูดและคติธรรมที่หลวงพ่อบอกกล่าวกับผู้เขียนอยู่เสมอๆดังนั้น ไม่ว่าจะเป็ฯวิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์
หรืออุปกรณ์อำนวยความสุขสบายอื่นใด หลวงพ่อยกให้เป็นสาธารณประโยชน์ทั้งหมด

ตู้เย็นเก่าๆในกุฎิ แทนที่จะแช่น้ำ แช่อาหารการกินเพื่อความอร่อยลิ้น กลับกลายเป็นแช่ผลไม้
แช่เนื้อสัตว์ เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสิงสาราสัตว์สารพัดชนิด ที่คนนำมาถวายท่าน
ซึ่งท่านก็สงเคราะห์เลี้ยงไว้บริเวณหน้ากุฎิจนเต็มไปหมด

หลวงพ่อท่านบอกว่า บรรดาสัตว์ที่คนนำมาถวายนี้ ถ้าเลี้ยงไว้ในเขตอภัยทาน
ย่อมปลอดภัยกว่าที่จะปล่อยให้ไปผจญภัยตามเวรตามกรรม

สัตว์เลี้ยงของหลวงพ่อทุกตัว จะเชื่องไม่ดุร้าย ทั้งนี้ด้วยอานุภาพจากความเมตตาของหลวงพ่อ
ซึ่งลงทุนขึ้นรถเมล์ไปตลาดนครปฐมด้วยตัวของท่านเอง เพื่อซื้ออาหารมาเลี้ยงสัตว์
และท่านจะเป็ฯผู้ให้อาหารสัตว์ด้วยตัวของท่านเอง ตลอดระยะเวลาที่กายสังขารของท่านยังแข็งแรงสมบูรณ์

ในช่วงปีพ.ศง 2534 จนถึง 2535 กายสังขารของหลวงพ่อร่วงโรยไปตามวัย
ความชราภาพและความเจ็บไข้เริ่มเข้ามาเยือน คณะกรรมการวัดตลอดจนศิษย์
จึงปราถนาที่จะให่หลวงพ่อได้มีห้องจำวัดเป็นสัดส่วน
เพื่อมที่ท่านจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ตามคำสั่งของแพทย์ ดังนั้น
จึงได้กั้นห้องติดมุงลวดภายในบริเวณกุฎิรับแขกของท่าน แล้วซื้อเตียงไม้มาถวายมีเบาะเล็กๆเก่าๆ
ปูเตียงสำหรับเป็นที่จำวัด นั่นแหละหลวงพ่อจึงได้มีเวลาพักผ่อนอย่างพอเพียง

หลวงพ่อเต้า" เป็นศิษย์เอกหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองนาม
เจ้าตำรับวิชามหาอุดและคงกระพันชาตรี ผู้ทรงคุณวิเศษในการย่นระยะทาง ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคม
การลงอักขระเลขยันต์ การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตลอดจนการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อแช่มโดยตรง
หลวงพ่อแช่มรักและไว้ใจหลวงพ่อเต้ามาก ขนาดให้ทำหน้าที่ลงอักขระเลขยันต์แทน
แม้ขณะนั้นหลวงพ่อเต้าจะยังบวชได้ไม่ถึง 5 พรรษา

หลังจากอุปสมบท

"หลวงพ่อเต้า" อยู่ปฎิบัติรับใช้หลวงพ่อแช่ม ที่วัดตาก้องอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่เลี้ยงวัวให้
ต้มน้ำร้อนน้ำชา ปัดกวาด เช็ดถูกุฎิ และทุกๆเรื่องที่หลวงพ่อแช่มท่านใช้สอย พร้อมทั้งศึกษาพระธรรมวินัย
อักขระเลขยันต์ทางไสยเวทวิทยา ตลอดจนิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อแช่ม

นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากสำนักนางสาว แภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ในสมัยที่หลวงพ่อคง เป็ฯเจ้าอาวาส อีกด้วย
หลวงพ่อเต้า" ออกเดินธุดงค์เพื่อบำเพ็ญเพียรให้สมาธิแกร่งกล้า โดยให้รุกขมูลไปทางพิจิตร ลพบุรี
พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย เชียงราย และขึ้นไปแถบชายแดนพม่า ฝ่าฟันอุปสรรคอันตรายรอบด้าน
ทั้งจากภูติผีปีศาจ สิงสาราสัตว์ ภัยจากธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เนื่องจากต้องผ่านป่าดงดิบจริงๆ
และเป็นการเดินธุดงค์วัตรอย่างแท้จริง

หลวงพ่อเล่าเรื่องประสบการณ์ธุดงค์ให้ฟังว่า บางครั้งเดินหลงเข้าไปในป่าดงดิบ ไม่มีบ้านผู้คนอาศัย
อดข้าวอดน้ำอยู่หลายวัน ต้องอธิฐานขอฉันใบไม้เป็นอาหารยังชีพ บางครั้งต้องใช้บาตรหุงข้าวฉันเอง
มิฉะนั้นต้องอดตายในป่า

ขณะเดินไปถึงเขาวงพระจันทร์จังหวัดลพบุรี พักปักกลดอยู่ มีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่ปรากฏให้เห็น
แต่ไม่ได้ทำอันตรายท่าน เพราะหลวงพ่อได้แผ่เมตตาตลอดเวลา แต่ที่สำคัญก็คือหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
ท่านได้นั่งสมาธิอธิฐานจิตติดตามคุ้มครองป้องกันภัยให้ด้วย เรื่องนี้หลวงพ่อเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
ขณะที่ท่านเจริญสมาธิ หรือกำลังสวดมนต์ จะเห็นหลวงพ่อแช่มวัดตาก้อง มาเดินดูใหล้ๆกลด
แล้วก็หายไปอานิสงฆ์จากการเดินธุดงค์ ทำให้หลวงพ่อมีสมาธิจิตมั่นคง
มีพลังจิตอันทรงปาฎิหารย์ได้รับการยกย่องเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแถวหน้าของเมืองไทย
งานพุทธาภิเษกแทบทุกงาน ซึ่งหลวงพ่อก็เต็มใจรับอารธนานิมนต์นั่งปรกปลุกเสก
ซึ่งหลวงพ่อก็เต็ฒใจรับอารธนานิมนต์เป็นพิเศษ แม้สังขารร่วงโรยไปตามกาลเวลา
แต่ในใจของท่านกลับยิ่งแข็งแกร่ง ท่านจะนั่งขัดสมาธิอย่างสง่างาม อกผายไหล่ผึ่ง หลังตั้งตรงดุจคันทวน
สมาธิแน่วแน่ ไม่มีการเผลอหลับคอพับคออ่อน ไม่มีเอียงซ้ายเอียงจขวา และไม่มีการกลับก่อนเวลา
หากยังไม่ดับเทียนชัยเป็นไม่เลิก จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อผู้พบเห็ฯยิ่งนัก
พิธีพุทธาพิเษกครั้งสำคัญๆที่วัดบวรนิเวศวิหาร วัดสุทัศนเทพวราราม
หรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามจะต้องมีหลวงพ่อเข้าร่วมพิธีทุกครั้ง

"หลวงพ่อเต้า"
เป็ฯพระคมในฝักจริงๆสังเกตจากงานพุทธาภิเษกเท่าที่ผู้เขียนเป็นศิษย์ติดตามอย่างใกล้ชิด
ถ้ามีคนรุมล้อมมนัสการท่านมากๆ ท่านจะไม่แสดงอิทธิฤทธิ์ อิทธิเดชอะไรได้แต่นั่งยิ้มๆ แต่ถ้าคนน้อยๆ
หรืออยู่กันตามลำพัง อยากได้อะไรหลวงพ่อทำให้ทั้งนั้น ทั้งนี้เพราะท่านไม่ต้องการโอ้อวดคุณวิเศษต่างๆ
ที่หลวงพ่อท่านเป็นเลิศในเรื่องของไสยเวทย์ มีผู้คนพบเห็นเป็นพยานในทธิฤทธิ์บุญฤทธิ์ของหลวงพ่อ

พระเครื่อง พระบูชา ตลอดจนอิทธิมงคลของหลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร มีทุกรูปแบบทั้ง ตะกรุด ผ้ายันต์
พระกริ่ง รูปหล่อเหมือน เหรียญรูปเหมือน พระเนื้อดินเผา พระเนื้อผง พุทธคุณ ภาพถ่าย พระปิดาตาเนื้อผง
และ เนื้อเมฆพัด ฯลฯ

อิทธิมงคลวัตถุของหลวงพ่อ ลง้วนแล้วครบวงจรของความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์
จากพลังจิตและพุทธาคมอันเอกอุดมจากตำรับตำราของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทให้หลวงพ่อซึ่งเป็นศิษย์เอกอย่างหมดสิ้น

ประสบการณ์จากอิทธิมคลวัตถุของหลวงพ่อ ปรากฎความมหัศจรรย์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ จนเป็นเรื่องปกติ
ทั้งด้านแคล้วคลาดจากอันตราย อยู่ยงคงกะพัน มหาอุด เมตตามหานิยม

"หลวงพ่อเต้า"
เป็นพระเกจิออาจารย์ที่ยึดคติโบราณณาจารย์ในการสร้างอิทธิมงคลวัตถุสมัยที่ท่านมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง
ท่านจะลงอักขระเลขยันต์ตามสูตรสนธิด้วยมือของท่านเอง ไม่ว่าจะเป็ฯผ้ายันต์ ตะกรุด
รวมทั้งพระเครื่องเนื้อดินโป่ง ทุกองค์จะเป็นลายมือซึ่งท่านบรรจงจารไว้อย่างสวยงาม อักขระคาถาอาคมต่าง
หลวงพ่อจะเขียนเป็นหนังสือขอมตัวบรรจง สมัยหนุ่มๆ จัดว่าท่านมีลายมือสวยทีเดียวล่วงศุ่วัยชรา
มือของท่านจะสั่น ลายมือโย้ไปเย้มา แต่ก็มีความแม่นยำไม่คลาดเคลื่อน เส้นยันต์ไม่ขาด
อักขระไม่ทับตารายันต์

หลวงพ่อไม่นิยมวิธีปั๊มอักขระเพื่อลงยันต์ ยกเว้นระยะหลังท่านชราภาพมาก จึงยอมให้ใช้ยันต์ปั๊ม
แต่ถ้าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ท่านจะใช้ให้ลงอักขระเลขยันต์แทนท่าน ไม่ว่าจะเป็ฯยันต์หัวเสาปลูกบ้าน
ยันต์หล่อพระ หรือยันต์วางศิลาฤกษ์ คาถาที่ใช้ลงอักขระเลขยันต์ จะเป็ฯบารมีสามสิบทัศน์
พระเจ้าสิบหกพระองค์ อิติปิโสแปดทิศ แล้วมักจะต่อท้ายหรือล้อมด้วยนวหรคุณ พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ
สุดแท้แต่ท่านจะสั่งให้เขียน เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ท่านจะตรวจสอบ
จากนั้นจึงจะปลุกเสกตามตำรับเวทย์วิทยาคมของท่าน เป็นอันใช้ได้
ในเรื่องของการปลุกเสกวัตถุมงคล หลวงพ่อนิยมที่จะปลุกเสกเดี่ยวมากกว่าแบบมวยหมู่

ในการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้น หลวงพ่อจะพิถีพิถันมาก ตัวอย่างเช่น การสร้างพระพิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร
เนื้อดินโป่งผสมผงพุทธคุณ อันเป็นการสร้างวัตถุมงคลรุ่นแรกของท่านประมาณปี 2496
ท่านได้รวรวมดินโป่งซึ่งถือเป็ฯมวลสารกายสิทธิ์ มีเทพยดาอารักษ์คุ้มครอง
โดยเก็บจากป่าดงดิบแถวจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ดินอุดรูหนู รูปู ตามเคล็ด วิชามหาอุด
จากนั้นนำมาบดจนละเอียด แล้วผสมกับผงพระพุทธคุณและว่าน 108

เมื่อเริ่มเข้าพรรษา หลวงพ่อจะดเนินการสร้างพระเครื่อง โดยนำผงดินโป่งที่ผสมผงพุทธคุณแล้ว
ผสมใส่น้ำมนต์ที่ปลุกเสกลงไป แผ่ดินโป่งที่ผสมแล้วออกเป็นแผ่น เขียนยันต์ ตามตำรับของหลวงพ่อแช่ม
วัดตาก้อง ปลุกเสกด้วยโองการมหาทะมื่นและชินบัญชรคาถา เอาน้ำมนต์รดลงไป แล้วลบยันต์ทิ้ง เขียนขึ้นใหม่
ปลุกเสก แล้วลบทิ้ง ทำอย่างนี้จนครบ 108 ครั้ง เรียกว่า "ลบถม"

กรรมวิธีการต่อไปก็คือ หลวงพ่อจะกดพิมพ์พระเองตลอด จนเสร็จพิธี หลวงพ่อจะจารหลังองค์พระด้วยตนเองทุกองค์
ลักษณะของยันต์และอักขระที่จารจะเป็นตัวเฑาว์มหาอุด นะอุณาโลมคงกะพันชาตรี และนะแคล้วคลาด เป็นหลัก
จากนั้นก็จะปลุกเสกตลอดไตรมาส
ในช่วงสมัยที่ "หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม" ซึ่งถือเป็นพระอาจารย์รุ่นพี่
และวัดดอนยายหอมก็อยู่บริเวณใกล้เคียงกันกับวัดเกาะวังไทร ดังนั้น
พระพิมพ์เนื้อดินโป่งผสมผงพุทธคุณในรุ่นแรก จึงได้รับอธิษฐานจิตปลุกเสกโดยหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ด้วย
(ประมาณ พ.ศ.2497-249

โดยข้อเท็จจริงแล้ววัตถุมงคลพระเครื่องเนื้อดินโป่ง หลวงพ่อท่านพร้อมที่จะนำพระเครื่องเนื้อดินโป่ง
อิทธิมงคลรุ่นแรกของท่าน แจกให้รุ่นศิษย์ แต่หลวงพ่อเป็นผู้มีคารวะธรรมต่อพระอาจารย์ (หลวงพ่อล้ง
พระอนุสาวนาจารย์ ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะวังไทร) ท่านจึงเก็บพระพิมพ์เนื้อดินโป่งไว้เงียบๆ
กระทั่งปี พ.ศ. 2499 เมื่อหลวงพ่อล้งไปรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดห้วยจระเข้
และหลวงพ่อเต้าได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการณ์ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะวังไทรแทน
ท่านจึงเริ่มเผยแพร่วัตถุมงคลรุ่นแรกของท่าน

ประสบการณ์วัตถุมงคลทุกรุ่นของหลวงพ่อเต้า ย่อมเป็นที่ทราบและรู้อยู่แก่ใจของผู้ได้พบเห็น
ซึ่งถือเป็นปัจจัตตัง
(นำมากจากเวปไซค์ครับ ด้วยความเคารพและศรัทธา หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร)

283
สวัดดีครับ ....จากเหตุการที่ผ่านมา เรื่องสมภารวัดวังน้ำขาวซดยาพิษ ครับ ทำให้ความศรัทธาของประชาชนเริ่มน้อยลง แต่ ก็ไม่ได้ทำให้ศิษย์ทั้งหลายที่นับถือเจ้าอาวาสรูปก่อนอย่างหลวงพ่อเหว่า ได้ศรัทธาน้อยลงไม่ ในประสบการณ์ ขณะนั้นผมยังเด็ก ผมได้มีโอกาศวนเวียนอยู่ที่วัดวังบ่อย ครับ ไม่ว่าจะเป็นงาน ต่างๆ รวมทั้งงานทำบุญ
ตอนนั้นที่ข้าพเจ้า ได้บวชเณร ที่วัดวังน้ำขาวนั้น ทุกเช้า จะเห็นพระรูปนึง ซึ่งจะตื่นมากวาดลานวัด ทุกๆเช้า ครับ ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจมากครับ
หลวงพ่อเหว่า จะลงมือเอง ทั้งด้านงานในวัด และชุมชน โดยมีลูกศิษย์คอยช่วยเหลือครับท่านเป็นพระที่ปฏิบัติธรรมตามแบบของหลวงพ่อเงินอย่างเคร่งครัดครับ
ซึ่งท่านก็เป็นศิษย์หลวงพ่อเงิน อีก 1 รูปเหมือนกันครับ รุ่นเดียวกับหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
สำหรับชาวบ้านในระแวกนั้น ...ถามได้ครับ หลงพ่อเหว่า เป็นพระที่ดี จิงๆ
ส่วนเรื่องวัตถุมงคล ท่านไม่เค่ยสร้าง ครับ มีก็น้อย ส่วนมากจะทำแจกเฉพาะลูกศิษย์ลูกหาจิงๆครับ ไม่ได้สร้างเยอะ
ตอนที่หลวงพ่อยังอยู่ ก็คงจะเป็น ขุนแผน อะครับ ที่ค่อนข้าง มีประสบ การณ์? (แต่คงบอกไม่ได้นะครับด้านไหน เดี๋ยวจะหาว่าโฆษณาครับ)
ส่วนรุ่นที่เหลือ เป็นรุ่นหลังๆ ครับ ทันหลวงพ่อหรือป่าวไม่ทราบนะครับ แต่ที่นิยม คงเป็นเหรียญรุ่นแรก อะครับแน่นอน
และเมื่อไม่นานมานี้ วัดวังกรุแตกครับ พบ พระหลวงพ่อเงิน หลายพิมหลายรุ่นครับ ...แต่ทางวัดจะเก็บใว้ หรือ แจกในงานทำบุญหรือป่าว ผมไม่ทราบ ครับ
ต้องไปสืบหากันเอาเอง ครับ ........ (ทั้งหมด นี้ ไม่ได้เป็นการโฆษณาแต่อย่างใด แต่เป็ยการเผยแพร่ด้วยความศรัทที่ข้าพเจ้ามีแต่หลวงพ่อเหว่า )

ปล หากผิดพลาดประการใด ขออภัยนะที่นี้ด้วยนะครับ .......

284
หาก ไม่พูดถึงเรื่อง วัตถุมงคล แล้ว นั้น วัดพระงาม ถือเป็นวัดดี อีก 1 วัดครับ ทางเรื่อง การศึกษาธรรม และการทำบุญแบบชาวพุทธที่ตกทอดกันมา แต่สมัยโบราณครับ
วัดพระงาม นั้น ถือเป็นอีก 1 วัด ที่มาการเปิดสอนทางธรรม ให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจ มาศึกษาครับ และทุกวันพระ ที่วัดจะมีการ สวดมนต์ และมีพระมาเทศให้ฟัง ถวายอาหารเพล ให้พระสงฆ์ ซึ่งทางวัดก็เปิดผู้ที่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา มาทำบุญกันครับ ....
มาต่อ สถานที่สำคัญของวัดนะครับ
วัดพระงาม มีภูเขาลูกเล็กๆ อยู่ภายในวัด  ซึ่งน่าจะมีมานาน สมัยโบราณและครับ ...และภายในบริเวณนั้น ยังขุดพบพระโบราณ เป็นจำนวนมากครับ และเครื่องใช้โบราณ
บนภูเขา มีพระพุทธรูปศักสิทธิ์ ของ วัดครับ ที่มีมาแต่โบราณแล้ว
ต่อไปพระอุโบสถซึ่งมี 2 หลังตั้งคู่กันครับ
หลังเล็กมีอยูเดิม ครับ
หลังใหญ่ นั้น น่าจะสร้างเมื่อปี 2500-2504 นะครับ โดยอุโบสถหลังใหม่นี่ หลวงพ่อเงิน ท่านหน้าจะเป็นผู้สร้างหรือร่วมสร้าง ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่มีหลวงพ่อเงินแน่ ครับ
หอพระปริยัติธรรม  นั้น  จะเป็ดสอน พระถิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไปที่สนใจครับ
ต่อมาผมจะกล่าวถึง ท่านเจ้าอาวาส วัดพระงาม นะครับ ท่ามีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะ อ.เมืองนครปฐม ครับ
ท่านเป็นผู้เสียสละ เวลา เพื่อ ประโยชน์ สังคม ทุกๆด้าน ครับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา และ หลักธรรม คำสั่งสอน ท่านจึงได้ฉายาว่า ตู้พระไตรปิฏก เคลื่อนที่
ท่านมีความรู้ ในด้านพระธรรมค่อนข้างสูงครับ  และท่านยังช่วย สนับสนุน ทางด้านการศึกษาตามโรงเรียนต่างๆ  โรงเรียนยากจน และนักเรียน ทุน ครับ
คอยช่วยเหลือ ทางด้านการศึกษา ทางด้าน สังคม และ ทางธรรม ครับ วันๆท่านแทบไม่มีเวลาได้ผักผ่อน เพื่ออทิศเวลา ให้กับสังคม มากกว่าตัวเองครับ
ส่วนเรื่องวิชาอาคม ..ท่านก็ไม่ธรรมดา ครับ เพียงแต่ท่าน ไม่ชอบออกวัตถุมงคล
 ครับ แต่ถามว่า วัดพระงาม มีวัตถุมงคล ดีๆ ใหม มี ครับ
วัดพระงาม มีเหรียญ หลวงพ่อเงิน ที่มาออกวัดพระงาม ปี 2503 ครับ และ ยังมีเหรียญ อื่นๆ อีก ครับ ซึ่งจะสร้างช่วง พ.ศ. 2503 ครับโดยมีหลวงพ่อเงินปลุกเศกด้วย
แต่ที่สำคัญ .... ของวัดพระงามก็คือ   (พระปิดตาหลวงพ่อพล้อม ครับ ซึ่งมีพุทธคุณสูง บางคนเชื่อว่า ใช้แทนของหลวงปู่นาค วัดห้วยจรเข้ได้เลยครับ ซึ่งปัจจุบันหายากครับ)
และยังมีพระ ที่สืบทอดวิชามา จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผมมิอาจเอ่ยนามได้ครับ เพราะท่านไม่ชอบให้ใครไปโปรโหมด ใครอยากทราบ ลองไปสืบถามกันเอาเองนะครับ
ซึ่ง มี  หลายรูปภายในวัดครับ  ปัจจุบันจะมีแต่ลูกศิษย์ในละแวก วัดพระงามที่มีประสบการณ์ เท่านั้น ครับที่รู้ ลองไปถามดูครับ
และอีกอย่าง น้ำมนของวัดพระงาม นั้นก็สุดยอดครับ ผมมิอาจ บอกได้ครับ ว่าดีด้านไหน ลองไปขอและไปใช้กันเองนะครับ

(ข้อความทั้งหมดที่พิมมา มิได้เป็นการโปรโหมด แต่ยางไดครับ เพียงแต่เผยแพร่ ความรู้ และความศรัทธา ที่มี ต่อวัดครับ ซึ่งผู้เขียนได้พบและเห็นครับ...หากผิดพลาดประการใดขอขมานะที่นี้ด้วยครับ)  ...ขอให้ทุกท่านมีความสุข  ทุกๆท่าน ครับ และอยู่ในศิลในธรรม ครับ

 

285
ผมนำเสื้อ ยันต์สุดยอด ยุคสงครามอินโดจีนครับ ...ที่ชาวต่างชาติเรียกทหารไทยว่าทหารผี โดนยิง กับลุกขึ้นมาสู้ใหม่ (นำมาจากเวปไซค์ครับ)










สุดยอดเสื้อยันต์สมัยก่อนครับ

286
โบราณ นั้น ได้นำพืชมาเป็นยารักษาโรคมานานมากแล้ว ....ผมมีพืช มาแนะนำ เพื่อชาววัดบางพระครับ

สมุนไพรมาแรง ฮว่านง็อก สมุนไพรเดียวที่รักษาโรคได้อเนกอนันต์

--------------------------------------------------------------------------------

สมุนไพรมาแรง ฮว่านง็อก (HOAN-NGOC)

ในฉบับนี้ผู้เขียนขอพักเรื่องว่านไว้ก่อนจะแนะนำสมุนไพรที่ค้นพบล่าสุด และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับแฟนเทคโนฯเนื่องจากเป็นสมุนไพรเดียวที่รักษาโรคได้อเนกอนันต์ เจ้าต้นไม้ฮว่านง็อกนี้เข้ามายังประเทศไทยเราเกือบจะสิบกว่าปีแต่ยังหวงแหนปกปิดเป็นความลับเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งด้วยนิสัยสอดรู้สอดเห็นและชอบสืบสาวราวเรื่องของสมุนไพรแปลก ๆนิสัยชอบดั้นด้นค้นหานำสิ่งที่ดีมาตีแผ่ เมื่อมีความพยายามความสำเร็จจึงตามมาจึงขอนำมาเล่าดังนี้

สมุนไพรฮว่านง็อก

เป็นต้นสมุนไพรถือกำเนิดในประเทศเวียดนามผู้นำเข้ามาใช้เป็นกลุ่มทหารผ่านศึกสมัยสงครามเวียดนามกระถางแรกมีราคาถึง 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาท) นำมากินใบสด ๆ แก้โรคต่าง ๆ มากมายและเห็นผลเร็ว รู้จักกันในรุ่นของทหารผ่านศึกรุ่นนั้นรุ่นเดียวผู้เขียนได้ข้อมูลและมีความสนิทชิดชอบกับทายาทของนายทหารผู้นั้น ซึ่งไม่ขอเอ่ยนาม (ปัจจุบันอายุ 68 ปี) จึงได้ถามประวัติความเป็นมา การใช้และสรรพคุณซึ่งท่านใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัวท่าน เช่น ภรรยาของท่านเป็นเบาหวานกินใบสมุนไพรฮว่านง็อกไม่นานก็หายซึ่งจะแจกแจงรายละเอียดต่อไป

ลักษณะของต้น

เป็นต้นไม้ชนิดใบอ่อนปลายแหลม ส่วนล่างของใบจะหยาบสีเขียวเข้ม ด้านบนสีเขียวอ่อนเป็นต้นไม้ที่มีใบมากสักหน่อย แตกกิ่งก้านทรงพุ่มได้ดีการขยายพันธุ์เพียงตัดยอดปักชำลงดินก็เกิดรากตั้งตัวได้เร็ว ย้ายลงปลูกในกระถางใส่ปุ๋ยพรวนดินรดน้ำก็จะเจริญงอกงาม

วิธีใช้

ส่วนสำคัญคือ ใบใช้เคี้ยวกินสด ๆ หรือคั้นและกรองเอาน้ำข้น ๆ รับประทานหรือต้มเป็นน้ำแกงรับประทานก็ได้ ส่วนเปลือกและรากไม้สามารถต้มกลั่นเป็นสุราได้ด้วย ใบไม้ไม่มีกลิ่นและรส สามารถต้มเอาน้ำใส ๆ ดื่มได้ส่วนการรับประทานมากหรือน้อย อยู่ที่ธาตุ หนัก-เบา ของแต่ละคนโดยทั่วไปจะรับประทานกัน 1-4 ใบ คนที่มีอาการหน้ามืดตาลายหลังรับประทาน 15 นาทีจะหาย ให้รับประทานติดต่อกัน 7 วัน วันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร

จากหลักฐานคนไข้รายหนึ่งหลังจากรักษาโรคมะเร็งตับจากยานานาชนิดไม่หาย เมื่อได้รับประทานใบสดของต้นฮว่านง็อกคนไข้มีปฏิกิริยาตอบรับอย่างไม่น่าเชื่อ จากการมีไข้สูงถึง 40 องศา ลดลงเหลือ 37 องศา การเจ็บปวดลดลงมาก ผิวหนังเคยเหลืองก็ลดลง หน้าท้องแฟบลงตัวเบาทำให้คนไข้ลุกขึ้นมาสนทนาได้

ทำไม คนไข้จึงฟื้นตัวเร็วขนาดนั้นหลังจากรับประทานได้ 20 นาที ยาได้ออกฤทธิ์ รับประทาน 5 ใบ จะลดความเจ็บปวดได้ 3 ชั่วโมง รับประทาน 7 ใบ ลดได้ 5 ชั่วโมงเสมือนหนึ่งยาวิเศษเพราะคนไข้โรคตับได้เจ็บป่วยมาถึงวาระสุดท้ายแล้วกลับฟื้นและมีความหวัง ต้นฮว่านง็อกเป็นต้นไม้ใบยาที่มีคุณค่าสูงส่งเป็นของขวัญจากสวรรค์ มอบให้แก่มวลมนุษย์ ก่อนหน้านี้เรียกว่าต้นลิงเพราะพวกลิงอยู่ในป่า เมื่อเป็นอะไรมันจะกินใบของต้นไม้ชนิดนี้ ทำให้หายได้ในทุก ๆโรค ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น HOAN-NGOC เนื่องจากมีเด็ก 2 คน ทะเลาะวิวาทและตีกันจนทำให้ลูกอัณฑะหายไป เมื่อรับประทานใบไม้นี้ทำให้ลูกอัณฑะกลับคืนเป็นปกติ

สรรพคุณของต้นสมุนไพร (จากเอกสาร ฮานอย 2-9-1995 ถ่ายทอดจากต้นฉบับจริง)
1. รักษาคนสูงอายุ ปวดเมื่อยตามร่างกายทำงานหนัก เกิดประสาทหลอน
2. รักษาเป็นไข้หวัด ความดันโลหิตสูงท้องไส้ไม่ปกติ
3. รักษาอาการมีบาดแผล เคล็ด ขัด ยอก กระดูกหัก
4. รักษาอาการทางเดินอาหารไม่ปกติ
5. รักษาอาการโรคกระเพาะอาหารโรคเลือดออกในลำไส้เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
6. รักษาอาการคอพอกตับอักเสบ
7. รักษาอาการไตอักเสบ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นข้น
8. รักษาอาการโรคมะเร็งปอด มีอาการปวดต่าง ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รับประทานต่อไป 100-200 ใบ อาการจะหายขาด
9. รักษาโรคตาทุกชนิด เช่น ตาแดง ตาต้อตาห้อเลือด
10. รักษาอาการมดลูกหย่อนของหญิงคลอดบุตรใหม่ ได้ผลดีช่วยให้มดลูกเข้าอู่
11. รักษาโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำโรคประสาทอ่อน ๆ (เพื่อเป็นการสนับสนุนเหตุผลโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้เขียนก็เป็นจึงกินเข้าไปครั้งละ 5 ใบ เช้า-เย็น 1 วัน อาการหน้ามืดหนักหัวหายไป รู้สึกสบายเบาสมอง)
12. สามารถใช้กับสัตว์ได้จากเอกสารระบุว่าใช้กับไก่ชนหลังจากชนไก่แล้ว ต้องการให้ไก่ฟื้นจากอาการบาดเจ็บให้ไก่กินใบของต้นสมุนไพรฮว่านง็อกจะฟื้นตัวได้เร็ว


รายละเอียดในการใช้รักษาแต่ละโรค

1. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล รับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้งรับประทานติดต่อกันไปจนครบ 50 ใบ
2. โรคเลือดออกในลำไส้ รับประทานใบสด 7-13 ใบ หรือคั้นเอาน้ำ วันละ 2 เวลา
3. โรคเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่เป็นบิดรับประทานครั้งละไม่เกิน 7 ใบ วันละ 2 ครั้ง รับประทานติดต่อกันไปประมาณ 100 ใบ
4. โรคตับอักเสบ คอพอก รับประทานครั้งละ 7 ใบ วันละ 3 ครั้งรับประทานติดต่อกันไปจนครบ 150 ใบ
5. โรคไตอักเสบ ปวดเป็นประจำรับประทานครั้งละ 3-4 ใบ วันละ 3 ครั้ง รับประทานไปจนครบ 30 ใบ
6. อาการท้องไส้ไม่ปกติ รับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
7. ปวดเมื่อยตามร่างกายรับประทาน 7-14 ใบ 2 ครั้ง หาย
8. อาการปัสสาวะแสบ ปัสสาวะเป็นเลือดรับประทาน 14-21 ใบ โดยการคั้นเอาน้ำข้น ๆ รับประทาน
9. โรคตาแดง รับประทาน 7 ใบ และบด 3 ใบ ปิดที่ตา เวลานอน 1 คืน จะหาย
10. โรคความดันสูงจะลดทันทีเมื่อรับประทาน 5-9 ใบ (ผู้เขียนได้ทดลองด้วยตนเองดีสมราคาคุย)
11. แก้โรคเบาหวานผู้ชายรับประทานวันละ 7 ใบ ผู้หญิงรับประทานวันละ 9 ใบ ภายใน 90 วัน หาย
12. ใช้กับสัตว์ เช่น ไก่เหงา เป็นอหิวาต์ หรือนิวคาสเซิล ให้ไก่กิน 2-3 ใบไก่ชนหลังจากการชนแล้วให้กิน 2-3 ใบ (น่าจะประยุกต์ใช้กับสัตว์อื่น ๆได้)
13. สตรีหลังคลอด รับประทานวันละ 1 ใบรับประทานทุกวันจะทำให้ฟื้นสุขภาพได้เร็ว

อนึ่งการรับประทานหรือกินใบสมุนไพร ให้กินก่อนอาหารเสมอ

ขอขอบคุณ คุณทศทิศแก่นสุข ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลโดยละเอียดของสมุนไพรฮว่านง็อก


ข้อมูลจาก หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 309 หน้า 32
เล่าขานตำนานว่าน
สมุนไพรมาแรงฮว่านง็อก (HOAN-NGOC)




287
หลวงพ่อเติม (พระครูนวการโสภณ) อดีตลองเจ้าอาวาส วัดไร่ขิง ผู้ปติบัติดี มีลูกศิษลูกในพื้นที่ ให้ความเคารพ ท่านได้ดำรงตำแหน่งลองเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง และได้ช่วย พัฒนาวัดไร่ขิง และวิชาอาคม ที่น่าศรัทธามากครับ หลวงพ่อได้ออกวัตถุมงคล ทั้งในนามของท่าน และ ของวัดครับ เช่นล็อคเก็ต พระผง ซึ่งหาได้ยากมากครับ ในปัจจุบัน 

288
พระสมเด็จหลวงพ่อวัดไร่ขิง ...พ.ศ.2514 นั้น จิงๆ แล้ว สร้างเพียงแค่ไม่กี่องค์ ครับ ...... ซึ่งปลอม เยอะ มากๆครับ ........(ผมมีตัวอย่างแบบ ให้ดูครับเพื่อเป็นแนวทางศึกษา ครับ )

289
ผมนำพระกริ่ง .....ของวัดไร่ขิง 2516 ซึ่งสร้างน้อยแจกเฉพาะ ลูกศิษย์ ของหลวงพ่อเติม ลองเจ้าอาวาสองค์ก่อน ของวัดไร่ขิง ครับ  (หายากมาก) ..

ใครมีข้อมูล เพิ่มเติม ..... ช่วย บอกที ครับ ......ขอบคุณครับ

290
ช่วยดูให้หน่อย ครับ สมเด็จทีไหน ครับ แท้หรือป่าว ......ขอบคุณครับ

291
แท้หรือป่าวครับ .......ช่วยบอกด้วยครับพระที่ไหน แท้หรือไม่แท้ .......ช่วยหน่อยนะครับ


292
ผมอยากทราบว่า หลวงปู่แผ้วหายจากอาการอาพาธ หรือยังครับ ที่ท่านไม่สบาย ......ไม่ทราบว่าตอนนี้เป็นยังไง บ้าง ครับ ....แล้วกลับมาที่วัดหรือยังครับ
หากผมจะไปกราบท่าน ....ตอนนี้ยังเข้าไปหาได้อยุ่ใหม ครับ ..... ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะครับ ......ขอบคุณครับ

293
วัดคือสถานที่....สืบสานวัฒนธรรม .....เป็นที่ควนให้ความเคารพ.....ควรช่วยกันดูแลรักษา .....แต่จากเหตุการที่ผ่านมา ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น ....มานน่าเศร้าใจสิ้นดี ครับ .... / ตั้งแต่ การขโมยพระ การลักรอบ ขโมยของวัด มานจนถึง ...ลอกทองที่กำลังดังอยู่ขณะนี้ ...แถมไวรุ่นยังเข้าไปจุ๋จี๋กันในวัด แถมยังยึกเป็นที่มั่วสุมเสพยา  ...สลดใจ ครับ ....ขอความกรุณาพี่น้องชาวพุทธทุกท่าน หากเห็นการกระทำของพวกนี้ ....ช่วยกันที ครับ ...ตักเตือน ...สอดส่งดูแล ในวัดที่อยู่ในระแวกบ้านของท่าน ..... ทั้งการไปกอดจู๋จี๋กันในวัด ....ช่วยกันดูๆหน่อยเถอะครับ .... (หากไม่ฟังเปงพวกผมก็คงทืบซะเลย 55555555)   :093: :093: :043: :043: :093: :093: :093: :043: :043: :093: :093: :011:

294
ท่านอาจารย์ เม้ง หรืออาจารย์เจต อยู่แถวสามแยกกระจับ บ้านโป่ง ศิษหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระเช่นเดียวกันครับ ...... ใครมีข้อมูล แบ่งบันกันบ้างนะครับ ขอบคุณ ครับ

295
ผมอยากรู้ว่า เหรียญหลวงพ่อ เหว่า วัดวังน้ำ ขาว รุ่นแรกใบเสมา หลวงพ่อสร้างเองหรือป่าว ครับ 
แล้ว ใครมีประวัติ ของ พระพอศาลศึกษาการ (หลวงพ่อสงัด วัดบางช้างเหนือ บ้าง ครับ ) เกี่ยวกับประวัติ และประสบการ์ ครับ
ทั้ง 2 หลวงพ่อเลย ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

296
สวัดดีครับ ผมมีเรื่อง ที่อยากจะแลกเปลี่ยนความคิดครับ .... ผมเองนั้น ได้ดูหลายๆ กระทู้ ... ปรากดว่าผมเห็นพวก ที่ชอบด่าพระ ไม่รู้จัก ..
กลัวบาปกรรม ไงพระก็คือ พระครับ .... เจงใหม ครับ .... มิสมควรไปว่า  เขาบอกว่า พระ ไม่สมควร สร้างพิธี ปลุกเศกของ ไม่ใช่กิจของสงฆ์
แล้วก็มีคำหยาบ ต่างๆ นาๆ นรกกำลังกินหัวครับ พวกนั้น ..... (ผมมีหัวข้อ ง่ายๆ ครับ ถ้าพระ เจอผู้หญิงจมน้ำ กำลัง จะตาย ท่านจะโดด ลงไปช่วยใหม ครับ  ถ้าโดนตัวผู้หญิง ก็อาจจะต้องอาบัติหนัก ... แต่ถ้ายืนเฉย ผู้หญิง ก็ตาย ก็ต้ :054:องเลือกระหว่าง ศิล กับชีวิต คนครับ ...ก็ควรที่จะยอมแลกศิล กับชีวิต คนดี กว่า ครับ เจงใหม .......การช่วยชีวิต คนถือ เป็นกถศลอันแรงกล้า ...) พระอาจารย์ ที่สอนผมบอกว่า ... คนเรา ไม่ควรไปเงมันมาก  อย่างที่พระพุทธองค์ บอก อย่าตึง เกินไป ก็อย่าหย่อน จนเกินไป ทำอะไรในที่ พอดีๆ และรู้จักสมควร มอสมควร
เอาหละครับ ผมจะกล่าวต่อไป .... สมัยก่อน ช่วงยุคสงคราม พระนั้น มีทั้งการ สอนวิชาเรียนหนังสือ อาคม ...และวิชายุทธ ต่างๆ ปลุกเสกของอาคม เพื่อให้เกิดกำลังใจ  แน่นอน หละครับ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ....แต่ท่านก็ยอมแลกศิล กับการช่วย เหลือคน นี่แหละครับของจิง
....เพราะ ฉะนั้น การช่วยเหลือ มนุษย์ ..... ก็คือ กุศล ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ก็ตาม ครับ ....( ขอเตือน สำหลับพวกท่ชอบด่า พระ นะครับ ... ท่านกำลังทำบาปกรรม อย่างร้ายแรง พระยังไงก็คือพระ ครับ ....หากแต่พระไม่ดีมากๆ ก็มักจะอยู่ในผ้าเหลืองไมได้นาน จะต้องมีเรื่องให้สึก เชื่อผม เหอะครับ ผมเห้นมาเยอะแล้ว)

298
อยากทราบ เหรียญ 2หน้า หลวงพ่อเงินหลังหลวงพ่อแช่มปี 16 ว่า หลวงพ่อเงิน สร้าง หรือป่าว มีประวัติไง ครับ มีตำรวจให้มา บอกว่า ตอนนั้น เขาแจกตำรวจ นะครับ
ใครมีข้อมูล แบ่งบันกันบ้างนะครับ .....ขอบคุณครับ

299
เจ้าอาวาส วัดไร่ขิง ....... ท่านเป็นพระนักพัฒนา ที่น่าชื่มชม ครับ ประวัติของท่านดีมากๆครับ
เมื่อคืน ท่านได้ลาลูกศิษลูกหาไปแล้วครับ(มรณะภาพ) ..... ข้าพเจ้า ขอแสดงความใว้อาลัยด้วยครับ


300
ใครมีข้อมูลของ หลวงพ่อจำลอง ตอนนี้มั่งครับ....ว่าท่านเป็นยังไงบ้าง ......
แล้วเวลาลงรูปภาพทำไงครับ

301
หากเราคลี่ตะกรุด ออกแล้วม้วนใหม่ ตะกรุด ของหลวงพ่อตัดจะเสื่อมปะครับ

302
สวัดดีครับ.........มีใครรู้ เกี่ยวกับงานพุทธาพิเศก ที่วัด วังน้ำเขียวกำแพงแสน มั่งครับ ........เกี่ยวกับตะกรุด ไม้ตาลฟ้าฝ่า ..... เห็นออกมาหลายชุดนะครับ และมีพระองค์ใดบ้างมาร่วมปลุกเสก ครับ .....ผมมีตะกรุด ลูกปืนอะครับ ..... ใครู้ตอบหน่อยนะครับ

หน้า: [1]