หมวด มิตรไมตรี > บทความ บทกวี

ความหมายของพานครูและข้อควรปฏิบัติ

(1/2) > >>

๛][รัตu:][๛:

ความหมายของพานครูและข้อควรปฏิบัติ
"พระ อาจารย์สักหรือครูสัก" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนๆหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคนๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็กๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

พานครูประกอบไปด้วย
"ธูป  ๓ ดอก"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่อพระพุทธ(พระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า3ประการ)
พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
"เทียน ๒ เล่ม"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่อพระธรรม(คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
ได้แก่ พระธรรม และ พระวินัย
"ดอกไม้"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่อพระสงฆ์(สงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
พระสงฆ์มาจากหลายเชื้อชาติ ต่างชนชั้น .. แจกันใส่ดอกไม้ หมายถึง อารามซึ่งเป็นที่รวมแห่งบรรดาพระสงฆ์
"บุหรีและเงินครู ๒๕ บาท"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่ออาจารย์(พระอาจารย์สักหรือครูสัก)
บุหรีและเงินครูขั้นต่ำ ๒๕ บาท ถือว่าเป็นของกำนัลครู ที่ได้อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจ
ในการสักยันต์และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์นั้นเอง

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ได้รับการสักยันต์
๑. ให้ปฏิบัติตัวอยู่ในศีล ๕ ถ่าทำได้ถือว่าดี
     ศีลข้อที่ ๑ งดเว้นการฆ่าสัตว์(ปาณาติปาตา เวรมณี)
     การฆ่า มิใช่นำมีดไปฆ่าคน ฆ่าสัตว์ จึงเรียกว่าฆ่า จิตใจเริ่มคิดไม่ดี สิ่งที่ละเอียดอ่อนบางแง่มุม มิได้ระมัดระวังจะก่อเกิดการช่วย
     เสริมการฆ่าขึ้น
     ศีลข้อที่ ๒ งดเว้นการลักขโมย(อทินนาทานา เวรมณี)
     ปัจจุบันสังคมวุ่นวาย โจรขโมยมากมาย นักการศึกษา นักการศาสนา ต้องเพิ่มภาระในการสั่งสอนมากขึ้น
     ขโมย ลักเล็กลักน้อย ปล้น หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญเพื่อให้ได้มา
     ศีลข้อที่ ๓ งดเว้นการละเมิดกาม(กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี)
     อิ่มนักมักมุ่นคิดทางกามารมณ์ ความผิดทั้งหลายผิดศีลกาเมเลวที่สุด สังคมวัตถุอุดมสมบูรณ์ จะพาให้สังคมคุณธรรม
     ตรงข้ามกับความเจริญ
     ศีลข้อที่ ๔ งดเว้นการพูดเท็จ(มุสาวาทา เวรมณี)
     พูดโกหก รวมทั้งปากร้าย ลิ้นสองแฉก คำเยินยอ โกหกหลอกลวง พูดโกหก พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
     พูดส่อเสียด
     ศีลข้อที่ ๕ งดเว้นการเสพสุราเมรัย(สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี)
     เหล้ามิใช่ของคาว แต่มันเป็นสิ่งเริ่มต้นของบาปกรรมทั้งปวง เหล้าลงคอฆ่าสัตว์ ลักขโมย ผิดศีลกาเม พูดเท็จเกิดจาก
     จิตใจที่เมามัว
     หลังสร่างเมาจึงเห็นความเป็นไปที่แน่นอน ต้องหยุดดื่ม จึงเรียกศีลหยุดไม่ดื่ม
๒. ห้ามด่าบุพการี
      บุพการี หมายถึง ญาติทางสาโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด

ผู้ที่ได้รับการสักยันต์ จะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วยบุญญาธิการของบูรพาจารย์ คณาจารย์ที่ถ่ายทอดสู่ตัวของคนสักยันต์ไม่ให้เสื่อมคลายความขลัง ต้องถือปฏิบัติในความดี ข้อห้ามต่างๆ ที่มีมาในสมัยโบราณอย่างที่เรียกว่า คนดี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีคุ้ม ปกป้องกันภัย เป็นข้อเตือนสติให้ตะหนักถึงผลกรรมดี กรรมชั่ว

พระอาจารย์หรือครูสัก๕๐ลูกศิษย์๕๐ ถึงจะเต็ม๑๐๐
ขออธิบายต่อนิดนึงพระอาจารย์หรือครูสักก็เปรียบได้เหมือนกับน้ำ ส่วนลูกศิษย์ก็เปรียบได้เหมือนกับแก้วน้ำ
การใหลของน้ำใหลมาแบบนึ้งๆ แต่แก้วก็สั่นไหว ก็ไม่สามารถเทน้ำได้เต็มแก้ว ข้อนี้เปรียบได้ดั่งผู้ที่ได้รับการสักยันต์ ถือข้อควรปฏิบัติ ได้ไม่ดีนัก ลายสักหรืออักขะระเลขยันต์ที่อยู่บนร่างกายของลูกศิษย์ ก็ไม่สามารถเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่ถ่าแก้วน้ำนั่นไม่สั่นไหวหยุดอยู่นึ้งๆ เหมือนกับการใหลของน้ำใหลมาแบบนึ้งๆ น้ำก็จะเต็มแก้วได้ไม่ยากนัก เปรียบได้ดั่งผู้ที่ได้รับการสักยันต์ ถือข้อควรปฏิบัติได้ดี ลายสักหรืออักขะระเลขยันต์ก็จะเกิดความศักดิ์สิทธิ์ แก่ผู้ที่ได้รับการสักยันต์นั้งเอง

"เพชรยังไงก็คือเพชร แม้จมอยู่ในบ่อโคลนก็ยังเป็นเพชร"
:016: สิ่งศักดิ์สิทธิ์ควรยืดถือเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวจิตใจ ไม่ใช้ยืดถือรูปภาพเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวจิตใจ :015:
ถ่าตัวอักษรตกหล่นหรือผิดพลาดประการใด ต้องของประทานอภัยมา ณ. ที่นี้ด้วย
๛][รัตu:][๛ ศิษย์น้อยด้อยประสบการณ์
    :114: :114: :114:

ploynapat:
ขอบคุณค่ะ
อยากรักษาศีล 5 แต่ว่า
มักทำผิดศีลข้อห้ามพูดปดน่ะค่ะ
บางทีก็ลืม เวลาคนถามไปไหนมาชอบบอกว่า ป่าว
ทั้งๆที่ไปมา

ข้าวหลามตัด:
ดีมากเลยครับ บางท่านอาจไม่รู้ความหมาย :016: :015:

๛][รัตu:][๛:

--- อ้างจาก: ploynapat ที่ 12 ธ.ค. 2553, 12:48:50 ---ขอบคุณค่ะ
อยากรักษาศีล 5 แต่ว่า
มักทำผิดศีลข้อห้ามพูดปดน่ะค่ะ
บางทีก็ลืม เวลาคนถามไปไหนมาชอบบอกว่า ป่าว
ทั้งๆที่ไปมา

--- End quote ---

เข้าวัด รับศีล๕ อยู่บ่อยๆสิครับ :050:

bangphralism:
กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้ครับ

เมื่อถวายพานครูกับพระอาจารย์แล้วนั่นหมายความว่าเราฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับท่านแล้ว
เราน้อมรับที่จะให้ท่านอบรมสั่งสอน ว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ท่านเมตตาการสัก เสก เลข ยันต์
ไม่ว่าจะเป็นการสักหมึกก็ดี  น้ำมันก็ดี ลงนะหน้าทองก็ดี  หรือการเป่ากระหม่อมก็ดี
ขอให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายน้อมรับด้วยความเชื่อมั่น ความศรัทธา ด้วยความตั้งใจ
อย่าทำเป็นเล่นอย่าเห็นแก่ความขบขันโดยเฉพาะคุณผู้หญิง ทีนี้เมื่อเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันแล้ว
ใช่ว่าจะเป็นกันวันเดียวแล้วก็จบกัน ความเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันแล้วนั้นเป็นกันตั้งแต่วันแรกที่ฝากตัวเป็นศิษย์
จนถึงวันตาย เราก็ต้องมีหน้าที่ที่จะเป็นลูกศิษย์ที่ดี คือรู้จักปรนนิบัติรับใช้ครูอาจารย์ แบ่งเบาภาระต่างๆ
ช่วยเหลืองานต่างๆเท่าที่จะทำได้ เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอารย์(บางคนเชื่อหนังสือ เชื่อคนนั้นคนนี้มากกว่าครูอาจารย์)
ไปแล้วใช่ไปลับหมั่นมาหามาเคารพสักการะครูอาจารย์ ใช่ว่าได้ตามความประสงค์ดั่งใจหมายแล้วก็หายไปเลย
ฝากไว้เท่านี้ก่อนนะครับ

ปล.หากการสัก สก เลข ยันต์ นั้นไม่ได้สมดั่งใจหมาย ใจต้องการ ก็อย่าได้น้อยใจ อย่าได้บ่นนินทาครูอาจารย์ลับหลังนะครับ
มิควร มิควร[/size][/size]  :069: :069: :069: :069: :069: :069: :069: :069: :069: :069: :069: :069:
 
:114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114: :114:
 :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090: :090:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version