ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ  (อ่าน 2549 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายธรรมะ

  • ดีชั่วอยู่ที่ตัวทํา สูงต่ำอยู่ที่ทําตัว
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 615
  • เพศ: ชาย
  • เหนื่อย ได้แต่อย่า ท้อ
    • ดูรายละเอียด
วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« เมื่อ: 02 ต.ค. 2553, 09:47:58 »
วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ


ถาม : เวลานั่งสมาธิ ทำอย่างไรถึงไม่ง่วง?

ตอบ : มีหลายวิธี อันดับแรก เปลี่ยนอิริยาบถ ถ้านั่งแล้วง่วง ก็เดิน ถ้าเดิน แล้วง่วง ก็ไปยืนอยู่โน้น ขอบระเบียง เผลอให้หัวทิ่มลงไปเลย แก้แบบ หลวงปู่ฝั้น ก็ได้ หลวงปู่ฝั้นเป็นครูบาอาจารย์องค์แรกที่เป็นครูกรรมฐานของอาตมา ที่เป็นพระไม่ใช่ฆราวาส

ฆราวาสคนแรกที่เป็นครูกรรมฐาน ท่านเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ หลวงปู่ฝั้นท่านบอก ท่านภาวนาเมื่อไหร่ ก็โงก ภาวนาเมื่อไหร่ก็ง่วง ท่านก็เลยให้ลูกศิษย์หาปีบมาใบหนึ่ง แล้วท่านไปตั้งไว้ข้างขอบเหวเลย นั่งภาวนาอยู่บนปีบ ตั้งใจว่าถ้ามันโงก ก็ให้หัวทิ่มลงเหวตายไปเลย คราวนี้กลัวตาย ตาสว่างไม่ยอมง่วง ท่านบอกภาวนา สำเร็จก็ตรงนั้นแหละ

พระพุทธเจ้า ท่านบอกว่า

ถ้าหากว่าง่วง ให้เปลี่ยน อิริยาบถ

ถ้าเปลี่ยนอิริยาบถไม่หาย เอาไม้ขนไก่มาปั่นหู

ปั่นหูไม่หาย เอามือลูบเนื้อลูบตัวลูบหน้า

ถ้ายังไม่หายอีก หาน้ำมาล้างหน้า

ถ้าไม่หาย ให้ทำกายบริหาร

ถ้าไม่หาย ให้ตั้งใจสวดมนต์ดังๆ

ถ้ายังไม่หายอีก ให้ กำหนดแสงสว่าง นึกถึงว่ามันสว่าง

ถ้าหากว่ายังไม่หายอีก แก้อย่างไร ก็ไม่ได้แล้ว ไปไม่รอดแล้ว ท่านบอกให้นอนไปเลย

แสดงว่าร่างกาย ต้องการพักผ่อนจริงๆ ถ้าหากว่าเราไปบังคับ จะเครียดมาก เดี๋ยวจะเกิดอาการที่เรียกว่า กรรมฐานแตก


ถาม : เรานั่งสมาธิ ลืมตาได้หรือไม่ครับ?

ตอบ : ได้ สมาธิลืมตาเก่งกว่านะ เพราะว่าจิตของเราต้องจดจ่ออยู่กับ ภายใน ถ้าจะทรงตัวจริงๆ อย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌาน ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะแวบไปดูนั่น แวบไปดูนี่ เห็นเขาเคลื่อนไหวอะไร ก็ไปสนใจ ถ้าคุณทำได้ แสดงว่ากำลังของคุณอย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌานแล้ว

ถาม : (ไม่ชัด)

ตอบ : คุณลืมตาธรรมดาอย่างนี้แหละ แต่คุณนึกว่ามีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ครอบคุณอยู่อย่างนี้ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์นั้นเสมอ ความรู้สึกส่วนนั้นแค่สัก ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นแหละ อีกความรู้สึก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ของเรานั้น ก็ทำงานทำการของเราไปนั่นแหละ ลืมตาทำง่ายดีถึงเวลาต้องการเห็นผี เห็นเทวดา ก็แค่ว่า ขอให้ภาพพระนี้หายไป ภาพเทวดาจงปรากฏขึ้น เราเห็นภาพพระชัดแค่ไหน? เราก็เห็นผีเห็นเทวดาชัดแค่นั้น


สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ (ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ


ขอขอบคุณสิ่งดีๆจาก เว็บบอร์ดพลังจิต

ขอให้เจริญสมาธิกันนะครับ ขอเป็นกำลังใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ต.ค. 2553, 10:01:05 โดย นายธรรมะ »
[shake]ศรัทธา ไม่ใช่ ไสยศาสตร์ ศรัทธา เพื่อ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีความ ศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเกิด ปาฏิหาริย์[/shake]

ออฟไลน์ pepsi

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 325
  • เพศ: ชาย
  • ทําดี คิดดี พูดดี
    • ดูรายละเอียด
    • http://sbntown.com/forum/group.php?groupid=33
ตอบ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 02 ต.ค. 2553, 10:03:30 »
ถ้าลืมตา..กลัวจะเห็น จะ จะ
ผมขอหลับตาภาวนาครับ.
ไหนๆถ้าจะเห็นเหมือนกัน.(ภูต  ผี ปีศาจ )
กาลเวลาเป็นเครื่องชี้ตัวตนแห่งคน

ออฟไลน์ มนต์ตรามหาเวทย์

  • มารไม่มี บารมีไม่เกิด
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 85
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 02 ต.ค. 2553, 07:09:33 »
ขอบคุณมากครับ

ออฟไลน์ ศึกษาธรรม

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 27
  • เพศ: ชาย
  • อนุรักษ์ความเป็นไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 22 มี.ค. 2554, 08:53:24 »
ขอบคุณครับ  ผมนั่งที่ไรง่วงทุกทีครับ(ตั้งแต่หลังไหว้ครูนะครับ)

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 มี.ค. 2554, 10:09:04 »
หิวก็กิน  ง่วงก็นอน

         ในขณะที่ท่านอาจารย์บันเกอิสอนศิษย์อยู่ที่วัดริมมอนนั้น  พระนิกายชินชูองค์หนึ่ง (เป็นนิกายที่ถือว่าการกล่าวนามของพระพุทธเจ้าแห่งความรัก(อมิตตาพุทธะ)อยู่เสมอนั้นจะทำให้ถึงความหลุดพ้นได้)  มีความอิจฉาริษยาที่ท่านอาจารย์บันเกอิมีศิษย์มากมาย  จึงเดินทางมาเพื่อทำการโต้วาทีกับท่านอาจารย์บันเกอิ
         พระนิกายชิชู  ได้เดินทางเข้ามาสู่ที่ประชุมซึ่งอาจารย์บันเกอิกำลังเทศนาสั่งสอนศิษย์อยู่จึงส่งเสียงรบกวนอยู่ไปมา  ท่านอาจารย์ได้หยุดเทศนาและถามถึงการส่งเสียงเช่นนั้น
         พระนิกายชินชูองค์นั้นได้กล่าวขึ้นด้วยท่าทางวางโตว่า
         “นี่แน่อาจารย์บันเกอิ  อาจารย์ผู้ก่อตั้งนิกายของเรานั้นสามารถแสดงอภินิหารได้อย่างมหัศจรรย์  คือ  ตัวท่านยืนชูพู่กันอยู่บนแม่น้ำฝั่งนี้  แล้วให้ลูกศิษย์ชูกระดาษอยู่บนอีกฝั่งหนึ่ง  ท่านสามารถเขียนพระนามอมิตาภาพุทธะในอากาศให้ไปติดบนกระดาษได้  ท่านบันเกอิล่ะ  สามารถทำอะไรที่มหัศจรรย์อย่างนี้ได้ไหม?”
         ท่านอาจารย์บันเกอิตอบอย่างสงบว่า
         “บางทีสุนัขจิ้งจอกของท่านอาจจะสามารถแสดงกลเช่นนั้นได้  แต่นั่นมันไม่ใช่วิธีการของเซน  อภินิหารของฉันมีดังนี้  คือเมื่อฉันรู้สึกหิวฉันก็กิน  และเมื่อรู้สึกกระหายฉันก็ดื่ม”
----------------
ความลึกซึ้งของคำสอนเซนอยู่ที่ทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ  เมื่อหิวใครๆก็ต้องกิน  และเมื่อง่วงใครๆก็ต้องนอน  ซึ่งถ้ามองให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า  ความสุขของชีวิตก็อยู่ตรงการมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายนั่นเอง..
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 22 มี.ค. 2554, 10:13:12 »
วันเสาร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒
ตื่นเช้าทำกิจวัตรของสงฆ์ในภาคเช้าตามปกติ
ตอนสายๆลงไปดูญาติโยมเขาทำงานกันที่หอพระ หอธรรม
ฝนตกหนักในตอนบ่ายกลับขึ้นศาลาทำความสะอาดปัดกราดศาลา
พิจารณาธรรมไปตามสภาวะปัจจุบันธรรมกำหนดดูอิริยาบทของกายในขณะทำงาน
ทรงไว้ในสภาวะธรรมจนกระทั่งสวดมนต์ทำวัตรเย็นเสร็จเวลา ๑๙.๐๐ น.
เพื่อนวิศวะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยเกษตรฯขึ้นมาเยี่ยม
โดยมีเป้าหมายที่ได้นัดกันไว้ว่าจะมาสนทนาเรื่องธรรมะปฏิบัติและสภาวะธรรม
ซึ่งคนเหล่านี้ในสมัยที่เรียนมหาวิทยาลัยนั้น ไม่เคยสนใจในธรรมะและเรื่องศาสนามาก่อนเลย
ซึ่งเหมือนกับตัวของข้าพเจ้าในสมัยนั้นที่ห่างไกลจากศาสนา ไม่เคยศึกษาและสนใจธรรมะ
แต่เมื่อข้าพเจ้าบวชเป็นพระและอยู่มาได้นาน ทุกคนจึงเริ่มจะสงสัยกันว่าอยู่ในผ้าเหลืองนานได้อย่างไร
จึงได้แวะมาเยี่ยมเยือนกัน และได้มีโอกาศที่จะกล่าวธรรมให้เขาเหล่านั้นได้รับรู้และรับทราบ
และแนะนำการประพฤติปฏิบัติให้แก่เขาเหล่านั้น จนมีความรู้และความเข้าใจในธรรม
โดยการสอนที่ไม่เน้นรูปแบบและพิธีกรรม ให้ดูที่การกระทำของกายและจิตโดยมีสติและสัมปชัญญะ
ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมีสมาธิโดยธรรมชาติเป็นพื้นฐานอยู่แล้วทุกคน ซึ่งสมาธินั้นเกิดจากการทำงาน
การอ่าน การเรียนหนังสือ เพราะว่าคำว่าสมาธินั้นคือจิตใจที่ตั้งมั่นและจดจ่อกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเวลานาน
เพียงแต่เราเข้าไปชี้แนะเพือปรับแนวทางให้เข้าสู่หลักของพระพุทธศาสนา พวกเขาก็สามารถที่จะต่ออารมณ์ได้
เพราะบุคคลเหล่านี้มีพื้นฐานในการคิดและวิเคราะห์อยู่แล้วและเป็นพวกที่มี"ไอคิวสูง"ฉลาดในทางโลกกันทุกคน
จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากแก่การอธิบายโดยมีเหตุ มีผล มีที่มาและที่ไป และยกตัวอย่างอุปมาอุปมัยให้เห็นเป็นรูปธรรมได้
พวกเขาเหล่านั้นจึงมีความสนใจและได้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมากจากปากต่อปากที่เล่าสู่กันฟัง
และทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตทำธุระกิจและหน้าที่การงานได้ตามปกติ ไม่ขัดทั้งทางโลกและทางธรรม
แต่สิ่งที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปคือแนวความคิดและมุมมองต่อโลก รู้จักหน้าที่ ความพอดีและพอเพียง
สนทนาธรรมกันตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ น. ตอบปัญหาสิ่งที่ค้างคาใจและสงสัย จนเป็นที่เข้าใจหายสงสัย
และชี้แนะแนวทางที่จะปฏิบัติต่อไปทั้งในทางโลกและทางธรรม ให้เดินไปคู่กันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน
จากเวลา ๑๙.๓๐ น.ของวันที่ ๑๒ กันยายนจนถึงเวลา ๑๐.๐๐ น.ของวันที่ ๑๓ กันยายน
ใช้เวลาทีพูดคุยสนทนาธรรมกัน ๑๔ ชั่วโมงครึ่ง ใครง่วงก็นอนไป ใครตื่นขึ้นมาใหม่ก็สนทนากันต่อ
ตอบปัญหาทุกข้อทุกเรื่องที่สงสัย ทรงไว้ในอารมณ์ปิติที่ได้กล่าวธรรม จิตตื่นอยู่ตลอดเวลา
มีสติและสัมปชัญญะคุ้มครองกาย ในการคิด การพิจารณา และการตอบปัญหาธรรมะทุกข้อ
เวลา ๑๐.๓๐ น.ส่งหมู่คณะพรรคพวกเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯกัน
ลงไปฉันข้าวแล้วจึ่งกลับขึ้นมาเขียนบันทึกธรรม......
 :059:แด่ความก้าวหน้าและเจริญในธรรมของหมู่เพื่อนผู้เคยร่วมชะตากรรมกันมาในวัยเยาว์ :059:
                         เชื่อมั่น-ศรัทธา-ปรารถนาดี-ด้วยไมตรีจิตแด่มิตรสหาย
                              รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๒๒ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=12319
=======
สนทนาธรรมกันตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ น. ตอบปัญหาสิ่งที่ค้างคาใจและสงสัย จนเป็นที่เข้าใจหายสงสัย
และชี้แนะแนวทางที่จะปฏิบัติต่อไปทั้งในทางโลกและทางธรรม ให้เดินไปคู่กันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน
จากเวลา ๑๙.๓๐ น.ของวันที่ ๑๒ กันยายนจนถึงเวลา ๑๐.๐๐ น.ของวันที่ ๑๓ กันยายน
ใช้เวลาทีพูดคุยสนทนาธรรมกัน ๑๔ ชั่วโมงครึ่ง ใครง่วงก็นอนไป ใครตื่นขึ้นมาใหม่ก็สนทนากันต่อ
ตอบปัญหาทุกข้อทุกเรื่องที่สงสัย ทรงไว้ในอารมณ์ปิติที่ได้กล่าวธรรม จิตตื่นอยู่ตลอดเวลา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: วิธีแก้อาการง่วงขณะทำสมาธิ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 24 มี.ค. 2554, 12:12:00 »
กุฏิน้อยในป่าไทร วัดทุ่งเซียด พุนพิน สุราษฏร์ธานี
   ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา๐๔.๓๐ น.
         เจริญสุข เจริญธรรมท่านผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายลำดับต่อไปเป็นภาคปฏิบัติภาวนา
หลังจากที่เราท่านทั้งหลายได้ร่วมกันสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้ว เราก็มาเพิ่มกำลังบุญกุศล
ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในไตรสิกขาสาม คือ ทาน ศีัล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา ตามหน้าที่
และบทบาทของแต่ละท่านแต่ละคน เพื่อสร้างบุญกุศลเพิ่มพูลบารมีให้แก่ตัวของเราเอง
          ซึ่งการเจริญภาวนาในภาคเช้านี้ จะมีอุปสรรคนิวรณ์มาเป็นมารขวางกั้นการเจริญทางธรรม
นิวรณ์ที่ว่านั้นคคือ"ถีนะมิทธะ" ความซึมเซาง่วงเหงาหาวนอน เป็นนิวรณ์ที่มีกำลังมากในภาคเช้า
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า จิตของเรายังอาลัยยินดีในการหลับนอน จิตยังไม่ถอนออกมาจากอารมณ์นั้น
เมื่อเราเจริญภาวนาอารมณ์นั้นก็จะเพิ่มพูลมีกำลังมากขึ้น ความง่วงความซึมเซาจะเข้ามาครอบงำจิตของเรา
ถ้าเราเผลอสติตามองค์ภาวนาไม่ทัน มันก็จะทำให้เราเผลอหลับไป
          การแก้ปัญหาในกรณีนี้ก็คือเราต้องเคลียร์จิตของเราเสียก่อน คือปลุกจิตปลุกใจของเราให้มีกำลัง
ศรัทธาเพิ่มขึ้น ในการประพฤติปฏิบัติ ขจัดความอาลัยในการหลับนอนออกไปเสียก่อน ฆ่านิวรณ์ให้หมดกำลัง
ด้วยการเคลื่อนไหวทางกาย สลายทางจิต ทำความคิดให้เป็นกุศล สวดมนต์ด้วยเสียงที่ดังมีพลังเพื่อปลุกจิต
ให้ตื่น ฟื้นจากการซึมเซา ความง่วงเหงาหาวนอน ให้ความร้อนเกิดข้นในกายขณะสาธยายมนต์ ด้วยการสวดมนต์
ด้วยพลังปราณ คือสวดด้วยพลังลมขับขึ้นมาจากหน้าท้อง ขณะที่เราสาธยายมนต์นั้นสมาธิขั้นขนิกสมาธิก็เกิดขึ้น
เพราะว่าจิตของเราจดจ่ออยู่กับมนต์อักขระทั้งหลายนั้น และเมื่อเข้าสู่การภาวนาเราก็รักษาอารมณ์สมาธินั้นให้เจริญ
ก้าวหน้ายิ่่งขึ้นไป เพราะว่าคำว่าภาวนานั้นก็คือการพัฒนา ทำให้ดียิ่งขึ้นๆต่อไป
         ถ้าในขณะที่เราเจริญภาวนาอยู่นั้น นิวรณ์มันเข้ามา ก็ให้ใช้วิธีการเคลื่อนไหวทางกาย สลายทางจิต ตั้งสติใหม่
โดยการเปลี่ยนอิริยาบททางกาย จากการนั่งมาเป็นการยืนกำหนด การยืนกำหนดภาวนานั้น ให้เราตั้งสติเอาจิตมาคุมกาย
เสียก่อน การเอาจิตมาคุมกายนั้น ก็คือการระลึกนึกไปให้ทั่วกายของเรา ตั้งแต่เบื้องบนคือศรีษะลงมาไปจนถึงเบื้องล่าง
คือฝ่าเท้า ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้บังเกิด คือความถึงพร้อมซึ่งสติและสัมปชัญญะให้ทั่วกาย สูดลมหายใจเข้าไปให้เต็มกำลัง
ขณะที่หายใจออกนั้นให้ทำความรู้สึกเทน้ำหนักของกายเราไปสู่ฝ่าเท้าที่สัมผัสผื้น เพื่อให้การยืนของเรานั้นมั่นคงไม่ซวนเซ
เหมือนวิชากำลังภายในของหนังจีน คือวิชาทองพันชั่ง จะทำให้การยืนกำหนดของเรานั้นมั่นคง ไม่ซวนเซเสียสมดุลย์ในการยืน
         เมื่อเรากำหนดท่ายืนของเราได้มั่นคงแล้ว ก็เข้าสู่องค์ภาวนาที่เคยประพฤติปฏิบัติมา ที่เรียกว่้าเสมอกันในอิริยาบทนั้น
คือการเสมอกันในทางปฏิบัติกรรมฐานที่ต่อเนื่องเสมอกัน กองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นไปในกอง
เดียวกัน ไม่ใช่ว่า ต้องนั่งเวลาเท่ากับการยืน เท่ากับการเดิน เท่ากับการนอน คือไม่ได้เอาเวลามาเป็นตัวกำหนดความเสมอกัน
แต่เสมอกันด้วยการเจริญกรรมฐานในกองเดียวกันให้ต่อเนื่อง
         ขอฝากไว้ว่า ในความเป็นสมาธินั้น สติเรายังมีอยู่และเห็นอยู่ เพียงแต่จิตนั้นไม่ได้เข้าไปปรุงแต่ง คือเห็นและรู้ว่ามันสงบ
เห็นและรู้ว่าปิติ สุข และสงบนิ่ง ถ้าเราขาดสติเผลอลงพวังค์ สงบนิ่งโดยไม่รู้สึกตัวไม่มีสตินั้น มันเป็นสมาธินอกระบบที่ไม่มีพลังงาน
เพราะว่าขาดซึ่งสติที่จะควบคุมจิต สาเหตุเกิดจากการที่สติของเรานั้นอ่อนกำลัง ตามองค์ภาวนาไม่ทัน เพราะเมื่อเข้าสู่ความเป็นสมาธ
นั้นจิตมันจะละเอียดลงเรื่อยๆ จนถึงความสงบเป็เอตัคตารมณ์เข้าสู่องค์ฌาน
        ขอให้การเจริญภาวนาของท่านจงบังเกิดความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป จะไม่ใช่เสียงบรรยายรบกวนอารมณ์สมาธิของท่านทั้งหลาย
ให้ท่านได้รับความวิเวกทางกาย เพื่อให้เกิดความวิเวกทางจิตในลำดับต่อไปตามสมควรแก่เวลา ขอเจริญสุข เจริญธรรม
                           .................................................................................................
เป็นคำบรรยายในยามเช้าเพื่อปลุกศรัทธาให้แก่เพื่อนนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย หลังจากการสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้ว โดยจะเป็นการเจริญ
ภาวนาในยามเช้าเป็นเวลาประมาณ ๔๕ นาที ก่อนที่จะแผ่เมตตา ขอขมา อธิษฐานจิต วันทาลาพระ จบการปฏิบัติภาคเช้าเวลา ๐๖.๐๐ น.
โดยเริ่มตั้งแต่ ๐๔.๐๐ น.-๐๖.๐๐ น. สองชั่วโมงในยายเช้า
               ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิตแด่มวลมิตรทุกผู้คน
                          รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
๒๒ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๗.๕๒ น. ณ กุฏิน้อยในป่าไทร วัดทุ่งเซียด พุนพิน สุราษฎร์ธานี
       

ถ้าเราเผลอสติตามองค์ภาวนาไม่ทัน มันก็จะทำให้เราเผลอหลับไป
          การแก้ปัญหาในกรณีนี้ก็คือเราต้องเคลียร์จิตของเราเสียก่อน คือปลุกจิตปลุกใจของเราให้มีกำลัง
ศรัทธาเพิ่มขึ้น ในการประพฤติปฏิบัติ ขจัดความอาลัยในการหลับนอนออกไปเสียก่อน ฆ่านิวรณ์ให้หมดกำลัง
ด้วยการเคลื่อนไหวทางกาย สลายทางจิต ทำความคิดให้เป็นกุศล สวดมนต์ด้วยเสียงที่ดังมีพลังเพื่อปลุกจิต
ให้ตื่น ฟื้นจากการซึมเซา ความง่วงเหงาหาวนอน ให้ความร้อนเกิดข้นในกายขณะสาธยายมนต์ ด้วยการสวดมนต์
ด้วยพลังปราณ คือสวดด้วยพลังลมขับขึ้นมาจากหน้าท้อง ขณะที่เราสาธยายมนต์นั้นสมาธิขั้นขนิกสมาธิก็เกิดขึ้น
เพราะว่าจิตของเราจดจ่ออยู่กับมนต์อักขระทั้งหลายนั้น และเมื่อเข้าสู่การภาวนาเราก็รักษาอารมณ์สมาธินั้นให้เจริญ
ก้าวหน้ายิ่่งขึ้นไป เพราะว่าคำว่าภาวนานั้นก็คือการพัฒนา ทำให้ดียิ่งขึ้นๆต่อไป


http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=16344.msg144997#msg144997