ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงพ่อชื้น อริยธัมโม วัดเขาพอง สวนนกชัยนาท  (อ่าน 4101 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Putthaporn

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
เต็มอิ่มประวัติที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนของเทพเจ้าแห่งเขาพลอง หลวงพ่อชื้น อริยธัมโม  
ทายาทธรรมปรมาจารย์กสิณไฟ สมเด็จพระบรมครู (หลวงพ่อกบ) วัดเขาสาริกา และศิษย์น้อง หลวงพ่อโอภาสี บางมด

 
                ประวัติหลวงพ่อชื้น อริยธัมโม เทพเจ้าแห่งเขาพลอง (อัพเดทล่าสุด วันที่ 26 มิ.ย. 55 เวลา 01.09 น.)
  
หลวงพ่อชื้น เกิดที่บ้านวัดงิ้ว ต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ก.ย. 2437 เป็นบุตรคนโตของ คุณพ่อแส คุณแม่จันทร์ ธรรมชัย  มีพี่น้องร่วมท้องรวม 5 คน ได้แก่
1.   หลวงพ่อชื้น อริยธัมโม (มรณภาพแล้ว)
2.   นายเหว่า (ถึงแก่กรรม)
3.   นายพร้อม (ถึงแก่กรรม)
4.   นางถม (ถึงแก่กรรม)
5.   นางปุย (ถึงแก่กรรม)

หลวงพ่อชื้น เรียนหนังสือจบชั้น ป.4 จากโรงเรียนวัดงิ้ว ต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท และไม่ได้เรียนต่อ ออกมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากินจนอายุ 18 ปี ก็สมัครเข้ารับราชการทหารที่มณฑลทหารบกที่ 4 จ.ชัยนาท (สมัยนั้น) จนเลื่อนยศเป็น สิบตรี สิบโท สิบเอก ตามลำดับ

สมัยรับราชการทหาร หลวงพ่อชื้น เคยร่วมรบในสงครามสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามอินโดจีน จนสงครามสิ้นสุดลง ก็ลาออกจากราชการไปค้าไม้กับเพื่อนร่วมรบในสงครามอินโดจีนด้วยกันนาน 2-3 ปี และกลับเข้ารับราชการอีกครั้งติดยศ จ่าสิบตรี และเลื่อนยศตามลำดับจนถึง ร.ท. ก็ลาออกจากราชการมากินบำนาญตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 โดยเพื่อนฝูงและคนคุ้นเคยมักชื่อท่านติดปากเรียกว่า “ร้อยโทชื้น” หรือ “หมวดชื้น”

หลังออกจากราชการทหาร ร.ท.ชื้น หันมาสนใจศึกษาธรรมะและแสวงหาความรู้ด้าน “วิปัสสนากรรมฐาน” สมัยก่อนมีพระเกจิหลายรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ท่านเลือกที่จะไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของ “หลวงพ่อกบ” วัดเขาสาริกา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ซึ่งในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาทุกคนจะเรียกหลวงพ่อกบว่า “สมเด็จพระบรมครู หลวงพ่อเขาสาริกา” ด้วยอุปนิสัยหลวงพ่อกบไม่ชอบสุงสิงกับใคร แต่ก็รับไว้เป็นศิษย์ โดยให้ ร.ท.ชื้น ศึกษาธรรมะและฝึกนั่งวิปัสสนากรรมฐานและวิชาต่าง ๆ กับท่าน ที่มีข้อมูลคือหลวงพ่อชื้นสำเร็จ วิชานะปัดตลอด กับ นะมหาอุตม์

จากนั้น ร.ท.ชื้น ก็ไปเรียนพระกรรมฐานเพิ่มเติมกับศิษย์ฆาราวาสของหลวงพ่อกบคือ อาจารย์สาย ยอดสุวรรณ และอาจารย์ชื่น สดศรี ชาว จ.นครสวรรค์ จนแตกฉานและสำเร็จธรรมขั้นสูง รวมทั้งยามว่างจะไปสนทนาธรรมและขอวิชาความรู้จาก หลวงพ่อโอภาสี ที่อาศรมบางมดอยู่บ่อยครั้งด้วย

ภายหลัง หลวงพ่อกบ ชราภาพ มอบหมายให้ ร.ท.ชื้น รับหน้าที่เป็นอาจารย์ถ่ายทอดสอนวิปัสสนากรรมฐานให้คณะศิษย์ในสายสืบต่อมา โดย ร.ท.ชื้น สอนลูกศิษย์ลูกหาอยู่ที่วัดเขาสาริกาพักหนึ่งก่อนขยับขยาย ย้ายไปปลูกบ้านเปิดเป็นสำนักสอนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างจริงจัง ที่บ้านเลขที่ 28 หมู่ 4 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท (ใกล้วัดพระยาตากปัจจุบัน) ได้รับการเคารพนับถือจากบรรดาศิษย์สายหลวงพ่อกบและสายหลวงพ่อโอภาสีด้วยดีเสมอมา โดยเฉพาะข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ศรัทธากันมาก ถึงขนาดขยายเรือนชานให้ใหญ่โตกว้างขวางกว่าเดิมหลายเท่า จวบจนหลวงพ่อกบและหลวงพ่อโอภาสีละสังขาร ลูกศิษย์ในสายนี้ยิ่งหลั่งไหลมาหา ร.ท.ชื้น มากขึ้น ซึ่งนับว่าท่านอาคมกล้าแกร่งและเชียวชาญวิปัสสนากรรมฐานยอดเยี่ยมตั้งแต่ยังเป็นฆาราวาส

ปี พ.ศ. 2506 ร.ท.ชื้น ธรรมชัย ตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสวพัตร อุปสมบทเป็นพระภิกษุครั้งแรกที่ตะเคียนเลื่อน ต.ตะเคียนเลื่อน อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ แต่อยู่ในเพศบรรพชิตได้แค่ 2 ปี จนถึง พ.ศ. 2508 ท่านก็ลาสิกขามาเป็นฆาราวาสนุ่งขาวห่มขาว สาเหตุสำคัญ เพราะติดภารกิจสอนลูกศิษย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อีกทั้งต้องดูแลครอบครัวและลูกหลาน

ในสมัยเป็นฆราวาส ตั้งแต่วัยหนุ่ม ร.ท.ชื้น ได้แต่งงานกับ นางสำลี ธรรมชัย มีบุตรชาย-หญิงด้วยกัน 3 คน คือ
1.   นางเฉลียง สุนทราคม (ถึงแก่กรรม) แต่งงานกับ ร.ต.แกล้ว สุนทราคม (ถึงแก่กรรม) มีบุตรชาย 2 คน หญิง 1 คน ได้แก่ นางลัดดา เมฆสัจจากุล อดีตครูโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม (ถึงแก่กรรมแล้ว) พล.ต.เอกชัย สุนทราคม อดีตนายทหารสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย  และ นายประวัติ สุนทราคม (ถึงแก่กรรมแล้ว)

2.   นางเฉลา เทพกาญจนา (อดีตข้าราชการครูโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง กทม.) ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ แต่งงานกับ พล.อ.ต.สุพจน์ เทพกาญจนา (ถึงแก่กรรม) พี่ชายของบิดานักการเมืองตระกูลดัง มีบุตร-ธิดาเป็นชาย 3 คน และหญิง 1 คน (ถึงแก่กรรม)  

3.   พ.ต.ประโยชน์ ธรรมชัย (ถึงแก่กรรม) อดีตนายทหาร มทบ. 13 ค่ายจิระประวัติ จ.นครสวรรค์ อดีตปลัดอำเภอ หัวหน้ากิ่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย และอดีตผู้จัดการโรงเลื่อยจักรภูกระดึง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แต่งงานกับ นางยุวดี ธรรมชัย (ถึงแก่กรรม) มีบุตรชาย 1 คน

นอกจากนี้ ร.ท.ชื้น ยังมีบุตรกับภรรยาชาว จ.อุทัยธานี อีก 1 คนชื่อ นายจำรูญ ธรรมชัย (ถึงแก่กรรม)

ในช่วงครองเพศบรรพชิต หลวงพ่อชื้น ได้สนใจศึกษาด้านคาถาอาคม การลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ ได้ศึกษามาไม่ด้อยกว่าพระเกจิรูปอื่น และท่านยังเป็นสหายธรรมที่สนิทมากกับ หลวงพ่อแสวง ญาติของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงได้รับการถ่ายทอดวิชาสายหลวงปู่ศุข (มีหลักฐานตำราเก่าที่วัดเขาพลอง เกี่ยวกับการลงอักขระเลขยันต์ รวมทั้งตำราพระคาถาต่าง ๆ เก็บไว้ในกุฏิหลังเก่า)

ในปี พ.ศ. 2509 ร.ท.ชื้น เห็นว่าที่บ้านคับแคบไม่เพียงพอกับความศรัทธาของคณะศิษย์ที่ต้องการเรียนพระกรรมฐาน จึงหารือกับบรรดาผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างวัดขึ้นเป็นศูนย์รวมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและใช้ในกิจกรรมทางศาสนา โดยมอบหมายให้ นายทองดี เตชะสุวรรณ หนึ่งในลูกศิษย์เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตกรมการศาสนา ได้รับความเห็นชอบมหาเถรสมาคม และกระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้สร้างวัดขึ้นที่บ้านเขาพลอง (สมัยนั้น) ต.เขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท ในวันที่ 27 ก.ย. 2516 และได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาให้เป็นวัดในวันที่ 15 พ.ย. พ.ศ. 2519 ลงนามโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี (สมัยนั้น) และมีชื่อเป็นทางการว่า “วัดปฐมเทศนาอรัญวาสี” แต่ชาวบ้านจะนิยมเรียกว่า “วัดเขาพลอง” กันมากกว่า


กระทั่งปี พ.ศ. 2512 หลังจาก นางสำลี ภรรยาถึงแก่กรรม ร.ท.ชื้น จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้ง ณ พัทสีมา วัดโคกเข็ม อ.สรรพยา จ.ชัยนาท โดยมีเจ้าคณะอำเภอสรรพยา (สมัยนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อทรัพย์ วัดตลุก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า “อริยธัมโม” และสอนวิปัสสนากรรมฐานให้ผู้ศรัทธาเรื่อยมาจวบจนมรณภาพในวันที่ 25 ต.ค. พ.ศ. 2521 รวมอายุ 84 ปี

ระหว่างครองเพศบรรพชิต หลวงพ่อชื้น ได้รวบรวมปัจจัยจากผู้ศรัทธาหาและทุนทรัพย์พัฒนาวัดปฐมเทศนาอรัญวาสี (เขาพลอง) อย่างต่อเนื่องจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา รวมทั้งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงก่อสร้าง “พระพุทธอริยธัมโม” พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่  ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานบนเชิงเขาพลองข้างสวนนกชัยนาท ไม่ว่าใครผ่านไปผ่านมาก็ต้องเหลียวมองเพราะความงดงามและยกมือไหว้ด้วยความศรัทธา ใช้เวลาก่อสร้างนานหลายปีจนแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

ด้วยความที่ หลวงพ่อชื้น เล่าเรียนคาถา วิธีลงอักขระเลขยันต์ และศึกษาธรรมะมายาวนาน เพื่อรำลึกพระคุณครูอาจารย์ หาทุนทรัพย์สร้างวัด สร้างเสนาสนะ จึงอนุญาตให้คณะศิษย์ จัดสร้างวัตถุมงคลไว้เป็นที่ระลึกหลายแบบและหลายวาระ มีทั้งเหรียญ พระสมเด็จ พระผง รูปหล่อบูชาหลวงพ่อกบ หลวงพ่อโอภาสี และตัวท่านเอง รูปบูชา รูปถ่าย แจกญาติโยมที่มาทำบุญและลูกศิษย์ ซึ่งวัตถุมงคลทุกรุ่น ส่วนใหญ่หลวงพ่อชื้นจะปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษาหรือ 1 ไตรมาส บางรุ่นก็ มีพระเกจิท่านอื่นที่สนิทสนมกันร่วมอธิษฐานจิตด้วย เช่น หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ หลวงพ่อพุฒ วัดศรีวิชัยวัฒนาราม หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาราม หลวงพ่อประเทือง วัดโพธาราม ถือว่าสุดยอดเข้มขลังไม่เป็นรองใคร น่าบูชาและน่าศรัทธามาก สำหรับคนชื่นชอบวัตถุมงคลมูลค่าไม่สูงมาก แต่พุทธคุณหลักล้าน
 ขอขอบคุณหมู มหาเวทย์(หลานหลวงพ่อชื้น อริยธัมโม) ผู้รวบรวม

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ต.ค. 2556, 09:39:29 โดย Putthaporn »
ทอง ๑ + ๑ ทอง

ออฟไลน์ Putthaporn

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
รูปสมัยท่านเป็นฆราวาส

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ต.ค. 2556, 09:44:17 โดย Putthaporn »

ออฟไลน์ Putthaporn

  • ทุติยะ
  • **
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
หากมีเวลาว่างจะนำวัตถุมงคลของท่านมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ