ผู้เขียน หัวข้อ: ตระกรุด  (อ่าน 10098 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

จอร์จ บูรพา

  • บุคคลทั่วไป
ตระกรุด
« เมื่อ: 15 ธ.ค. 2548, 08:02:02 »
หวัดดคับพี่ๆ ผมอยากรู้ว่าการใส่ตระกรุดมีข้อห้ามอะไรหรือป่าวครับ :086: :086: :086:

ออฟไลน์ ไมล์ เหนือฟ้ายังมีฟ้า

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 5
  • เพศ: ชาย
  • ไมล์
    • MSN Messenger - pinky_pig80@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
Re: ตระกรุด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 ธ.ค. 2548, 09:09:42 »
ห้ามรอดราวตากผ้า ห้ามด่า พ่อเเม่ ครูบาอาจรย์ 
ธีระกุล

ออฟไลน์ เด็กเชียงใหม่

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 140
  • เพศ: ชาย
  • จอมขมังเวทย์แห่งนครพิงค์
    • MSN Messenger - minnakrub@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 เม.ย. 2550, 04:27:20 »
ห้ามด่าว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์คับ
นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ นะมะอะอุ
สุวิอะนะสะมะ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ
สุวะอังอาภะ นิมุปัสสะ

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 31 ส.ค. 2550, 05:12:30 »
ห้ามทำหาย หรือ ลืม พกติดตัว ขอรับเจ้านาย

ออฟไลน์ •••--สายัณ--•••

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1322
  • อัครมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ทุกภพชาติ
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 06 พ.ค. 2551, 02:32:20 »
ขุดขึ้นมา เอาไว้กันถาม

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 06 พ.ค. 2551, 07:34:30 »
 :)  ห้ามนำ ตะกรุด ไปใช้ในทางที่ผิดครับ เช่น กินเข้าไป คร๊าบ อันตรายคร๊าบ
55555 (ล้อเล่ง คร๊าบ ขำๆ คร๊าบ ) ;D

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 06 พ.ค. 2551, 08:56:38 »
เมื่อก่อนตอนเป็นเด็ก เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ "ตะกรุด" ที่คนเก่าๆ บางท่านก็ออกเสียงเป็น "กะตรุด" ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องราวด้านคงกระพันชาตรี เรียกว่าตีรันฟันแทงไม่เข้า อะไรประมาณนั้น

อันที่จริงแล้ว "ตะกรุด" เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในการรบทัพจับศึกเข้าสู่สนามรณรงค์สงคราม ตะกรุดจะติดตัวติดตามแบบไปไหนด้วยช่วยกันรบ

?ตะกรุด? ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความนิยมประเภทเครื่องรางของพระเกจิอาจารย์ แต่ละยุคสมัยคงไว้ซึ่งความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตรายภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ

"ตะกรุด" ในความเข้าใจทั่วไปมักจะหมายถึงการนำโลหะแผ่นบางๆ อาจจะเป็น ทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะธาตุผสมอื่นๆ มาลงอักขระเลขยันต์โดยโบราณาจารย์ซึ่งจะใช้เหล็กจารเขียนพระคาถาผูกขึ้นเป็นมงคล ก่อนที่จะม้วนให้เป็นแท่งกลม โดยมีช่องว่างตรงแกนกลาง สำหรับร้อยเชือกติดตัวไปไหนต่อไหน

บางครั้งจะพบตะกรุดที่ทำจาก ใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นทรงกลม

บางคณาจารย์ก็มีตำรับลับเฉพาะ เช่น อาจจะถักด้วยเชือก หญ้า หรือด้ายมงคล แล้วนำไปจุ่มหรือชุบรัก แต่จะทำกรรมวิธีใดก็ตาม ประเด็นหรือประโยชน์ใช้สอยของตะกรุดโบราณในระยะแรกๆ อยู่ที่จะต้องร้อยเชือกหรือผูกได้ทั้งสองด้าน

หากเป็นดอกเดียว เราเรียกว่า "ตะกรุดโทน" หากเป็นสองดอกจะเป็น "ตะกรุดแฝด" หรือเป็นโลหะ ๓ ชนิด ที่เรียกว่า "สามกษัตริย์"

แล้ววิธีใช้ตะกรุดน่ะ ทำยังไงล่ะครับ

อย่างแรกเลยใช้เชือกหนังร้อยรูตรงกลางแล้วห้อยคอ อีกอย่างก็ใช้คาดสะเอว โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน ไม่เกะไม่กะ แต่ไม่ใช่ร้อยรูตรงโคนแล้วห้อยด่อกแด่กอย่างห้อยปลัดขิก

นอกจากนี้บางสำนักยังสร้างตะกรุดจากวัสดุอื่นอีก อาทิ ไม้ไผ่ ซึ่งมีทั้ง ไผ่ตัน และ ไผ่รวก เช่น ตะกรุดของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม ตะกรุดของหลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี

บางสำนักก็นำ "ชันโรงใต้ดิน" มาอุดด้านที่กลวง กลายเป็นเครื่องรางของขลังอันศักดิ์สิทธิ์

บางครั้งยังพบว่ามีการทำตะกรุดจาก หนังสัตว์ เช่น หนังเสือ หนังเก้ง อีกด้วย

จะเห็นว่าบรรดาวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังอันเกิดจากฝีมือคนโบราณในอดีตนั้น ล้วนแล้วแต่มีความหมายและแฝง "นัย" ของภูมิปัญญาผู้คนในอดีตทั้งสิ้น

ตะกรุดก็เช่นเดียวกัน เรามักพบหลักฐานเกี่ยวกับการ "ใช้" ตะกรุดและเครื่องรางในงานวรรณคดีไทยหลายต่อหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน ที่จะครบเครื่องเรื่องของขลังชนิดเต็มสูบ มีพระเครื่อง พระภควัมบดี วัตถุมงคล และวัตถุอาถรรพณ์ต่างๆ อาทิ ดาบฟ้าฟื้น กุมารทอง ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ลูกสะกด หอกสัตตโลหะ ตะกรุด เรียกว่าจาระไนกันไม่หวาดไม่ไหว แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วล้วนแสดงให้เห็นถึง ความเชื่อ และ ภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษไทยแต่โบราณทั้งสิ้น

แล้วมันเป็นความเชื่ออีท่าไหน และแสดงภูมิปัญญาไทยยังไงกันล่ะ กับสิ่งที่เราๆ ท่านๆ เรียกกันว่า "ตะกรุด" เนี่ย มาว่ากัน เรื่องความเชื่อ ก่อน เวลาคนจะไปรบทัพจับศึก ถ้าหากได้พกพาวัตถุที่เราเชื่อว่าเป็นมงคล ในอันที่จะป้องกันอันตรายได้ มันก็ทำให้ใจเราเนี่ยฮึกเหิม ไอ้จะไปนั่งแอบๆ ซ่อนๆ อยู่กลางช้างศึกม้าศึกพวกประดาศัตรูทั้งหลายมันคงจะยอมหรอก เวลาจะออกรบรู้สึกเหมือนกับจะต้องไปตายแน่ๆ ขอโทษครับ...ท่าทางมันจะรอดกลับมายาก

ดังนั้นวัตถุมงคลเช่น "ตะกรุด" ที่ได้รับการจารพระคาถาบนโลหะอันวิเศษ และผ่านพิธีการปลุกเสกก็จะเป็นที่พึ่งทางใจอย่างสำคัญมากถึงมากที่สุด

แล้วคนที่มันมีกำลังใจเนี่ย ทำอะไรมันก็มักจะสำเร็จ เรียกว่า กำลังใจดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

เรื่อง ตะกรุด กับ ภูมิปัญญาไทย น่ะ ผมมาเข้าใจแจ่มแจ้งแทงตลอดเมื่อเห็น พระบรมราชานุสาวรีย์ ของ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ประทับนั่งเด่นเป็นสง่าอยู่ใน มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก นี่เอง

เหตุผลก็เพราะที่พระรูปขององค์สมเด็จฯ ท่านคล้องไว้ด้วยตะกรุดดอกโตๆ เรียงเป็นแนวยาวพาดพระอังสะ ในลักษณาการเฉียงลงถึงบั้นพระองค์ พูดง่ายๆ ก็คือ มีสายตะกรุด ๑๖ ดอก คล้องเป็นแนวยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โบราณเรียกกันว่า "ตะกรุดโสฬส"

พระองค์ท่านไม่ได้คล้องเส้นเดียวนะครับ พระองค์ท่านสะพายตั้ง ๒ เส้น แล้วตะกรุดโบราณน่ะครับท่านผู้อ่าน ไม่ใช่ตะกรุดดอกเล็กดอกน้อย เรียกว่าเป็นโคตรตะกรุดมากกว่า แต่ละอันใหญ่โตมโหฬาร และที่เชื่อได้แน่ๆ ก็คือตะกรุดที่ยาวใหญ่และหนามาร้อยเรียงกันแขวนออกรบ ไม่ว่าจะคล้องคอ หรือคาดเอว ก็คงไม่ต่างอะไรกับเกราะที่จะคอยป้องกันอาวุธมีคม ประเภทดาบ ง้าว มีด หรืออะไรต่อมิอะไร หากฟันมาโดนตะกรุดพอดี ผลก็คือฟันยังไงก็ไม่เข้าครับ เห็นไหมเล่าครับ ความสำคัญของตะกรุดผลิตผลของภูมิปัญญาไทย

บรรดาเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนิยมสร้าง "ตะกรุด" เพื่อป้องกันอันตราย และ "ตะกรุด" ก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อยๆ ลดขนาดลง หรือใช้วัสดุประเภทไม้สร้าง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็กๆ ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกฝังเข้าไปในร่างกายได้

ตะกรุดของเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงก็มีตัวอย่าง เช่น ตะกรุดนเรศวรปราบหงสา ของ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม ตะกรุดหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท และ ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ เป็นต้น

นี่แหละครับ ความสำคัญของตะกรุดที่มีมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน

นำมาจากเวป http://www.komchadluek.net/column/pra/2006/03/13/01.php

ออฟไลน์ gottkung

  • จะหมึกหรือน้ำมันไม่สำคัญ จงตั้งมั่นให้อยู่ในความดี
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 4088
  • เพศ: ชาย
  • "จะลูกใครนั้นไม่สำคัญ เป็นศิษย์ฉันเท่ากันทุกคนไป "
    • ดูรายละเอียด
    • www.gottkung.multiply.com
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 06 พ.ค. 2551, 10:27:44 »
ไม่ด่าพ่อแม่ทั้งของตนเองและผุ้อื่น
ไม่พกเข้าสถานที่อโคจร
เช่นซ่องโสเภณีหรือใส่ร่วมเพศครับ
ถ้าเป็นไปได้ก็ถือศีล ห้าด้วยครับ
จะดีมากๆ ^ ^
เราเป็นศิษย์คิดมีครูดูก่อนเถิด อย่าละเมิดคำครูที่พร่ำสอน
ปุถุชนคนธรรมดาพึงสังวรณ์ ครูท่านสอนมอบสิ่งดีแก่เราๆ

ออฟไลน์ golf f1

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 310
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 06 พ.ค. 2551, 10:33:24 »
เป็นคนดี เป็นคนดี เป็นคนดี
เป็นคนด๊     เท่านี้ก็แจ๋วแล้ว :093: :093: :093: :093: :093: :093: :093: :093: :093:
สักเสกเลขยันต์ ทำดีทำได้ทุกวัน ความรักเกิดได้ทุกวินาที

ออฟไลน์ เด็กวัดหนัง

  • ของดีมาอยู่กับตัว จงรักษาไว้ ตามเท่าชั่วชีวิต.
  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 453
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
    • MSN Messenger - P_1_P_2_880@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 06 พ.ย. 2552, 10:04:56 »
ขออนุโมทนาคับ... :053:
พระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร)

ออฟไลน์ cho presley

  • ------> I'm Cho Presley
  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 2049
  • เพศ: หญิง
  • สุดท้ายก็กาหลง!
    • MSN Messenger - cho.khalong@hotmail.com
    • AOL Instant Messenger - เมืองเสน่ห์กาหลง
    • Yahoo Instant Messenger - มหาเสน่ห์+เมตตา+มหานิยม
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.khalong.com
ตอบ: ตระกรุด
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 06 พ.ย. 2552, 10:11:49 »
น่านหละเรื่องใหญ่ ห้ามทำหาย... ผูกติดเอวดีๆ..   :004:

cho presley