ผู้เขียน หัวข้อ: ถามผู้รู้หน่อยคับเรื่องปู่ฤาษีและหนุมาน  (อ่าน 18384 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ เค็น

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 189
  • เพศ: ชาย
  • หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ "เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี"
    • ดูรายละเอียด
คัยรุบ้างคับว่าปู่ฤาษีและหนุมานมีกี่ตัวและมีอะรัยบ้าง คัยรุบอกที :010:

ออฟไลน์ นาย วัชรพล น้ำใจดี(###เปียกปูน###)

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 433
  • เพศ: ชาย
  • ***มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุระนารี***
    • MSN Messenger - w_nai2525@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sut.ac.th/sutweb/index.html
    • อีเมล
เท่าที่เห็นที่ วัดน่ะคราบ  ฤาษี จะมี 2องค์ น่ะที่เห้นสักยันต์ ที่ วัดบางพระ รูปหนึ่งเป็นรูป ฤาษี หน้าเสือ อีกรูป เป็นรูป ฤาษี ที่เราเห็นจนชินตา แต่จะเป็น แบบเต็มตัว หรือ มีเฉพราะศรีษะ นั้นอีกเรื่องหนึ่งคราบ แต่เท่านที่เคย อ่าน รามเกลียณ ฤาษี มีหลายตน มาก ๆ เลยคราบ มีชื่อเรียกแตกต่างกันด้วย แต่ที่ทำการได้ทำการ สักยันต์ รูป ฤาษี นั้นก็เพราะว่า เป็นการระลึกถึง ครูอจารย์ ท่านที่เป็นผู้มีคราบ รู้ทางด้านแขนงนี้คราบ 
....ส่วน หนุมาน นั้นมีตัวเดียว แน่นอนคราบ ผม แต่จะมีลิกตัวอื่นๆ อีกคราบ แต่ไม่ใช้ หนุมาน แต่รูปลักษณ ของหนุมาน ที่ทำการสักยันต์ ที่ วัดบางพระ อาจจะแตกต่าง ทางด้าน รูปร่างอยู่บ้างคราบ เท่าที่รู้ วัดบางพระ เรียกชื่อ ของ หนุมาน ไว้ดังนี้คราบ หนุมานอมเมือง หนุมานออกศึก หนุมานคลุกฝุ่น ประมาณ นี้คราบเท่าที่รู้มา แต่ที่วัดมีหลายรูปมาก แต่ทุกตัวเป็นหนุมาน หมดคราบผม
*** คิดดี ทำดี พูดดี สิ่งดีๆ ต่างๆ ก็จะทำให้เราได้ดี***
     คนเราจะดีได้...ต้องทำที่ชั่วให้ดีก่อน
     ที่ดีอยู่แล้ว อย่าไปทำราย...

ออฟไลน์ NaMaPaTa

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 90
  • เพศ: ชาย
  • { ลูกหลวงพ่อบ้านแหลม }.....(((ศิษฐ์หลวงพ่อเปิ่น)))
    • MSN Messenger - SIT1802@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
 จิงหรือนี่   ;) ;)
อิติปิโสวิเสเสอิ�� � � อิเสเสพุทธะนาเมอิ
อิเมนาพุทธะตังโสอิ� � � อิโสตังพุทธะปิติอิ

ออฟไลน์ นาย วัชรพล น้ำใจดี(###เปียกปูน###)

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 433
  • เพศ: ชาย
  • ***มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุระนารี***
    • MSN Messenger - w_nai2525@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sut.ac.th/sutweb/index.html
    • อีเมล
 :095:.. แน่นอนเลยคราบ ถ้าใครเคยอ่านเรื่อง รามเกลียณ ก้จะเข้าใจแบสุดเลยคราบ ฤาษี มีหลายองค์ หนุมาน มีตัวเดียว และมีตัวอื่น ที่เป็นลิงอีกเยอะแต่ชื่อนั้นแตกต่างกันออกไป แต่หนุมานนั้น มีตัวเดียวแน่นอนคราบ   :005:

5555

  • บุคคลทั่วไป
ฤาษีมีทั้งหมด 108 องค์ครับ มีฤาษี  นารอด  ตาไฟ  หน้าวัว  ชีวงโกมารกัล  นาราณ์  แต่ผมจำชื่อได้แคนี้คับ

ออฟไลน์ ไมล์ เหนือฟ้ายังมีฟ้า

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 5
  • เพศ: ชาย
  • ไมล์
    • MSN Messenger - pinky_pig80@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ฤาษีตาไฟ มี เนตร3เนตรป่าวครับ  ถามหน่อยครับ :o :o :o
ธีระกุล

ออฟไลน์ NaMaPaTa

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 90
  • เพศ: ชาย
  • { ลูกหลวงพ่อบ้านแหลม }.....(((ศิษฐ์หลวงพ่อเปิ่น)))
    • MSN Messenger - SIT1802@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ปู่ฤาษีตาไฟ  มีตาปกติ  แต่ท่านสำเร็จ   (เตโช กสิน) กสินไฟ  เลยได้ชื่อว่า ฤาษีตาไฟ 
หลวงพ่อโต  พรหมรังสี  ก็เก่ง  เตโช กสิน  เหมือนกัน   :P

ออฟไลน์ นาย วัชรพล น้ำใจดี(###เปียกปูน###)

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 433
  • เพศ: ชาย
  • ***มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุระนารี***
    • MSN Messenger - w_nai2525@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sut.ac.th/sutweb/index.html
    • อีเมล
เรื่อง ฤาษี ตาไฟเท่าที่เคยได้ยินมาประมาณ ว่าเป็นการฝึก สมาธิ ด้วยวิธีการ เพ่ง ไฟจากเปลวเธียน เรียกว่ากาน เพ่งกระสิน ไรสักอย่างหนึ่งละ

ออฟไลน์ เค็น

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 189
  • เพศ: ชาย
  • หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ "เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี"
    • ดูรายละเอียด
เรื่องนี้ต้องถามพี่NaMaPaTaคับ คนนี้เค้าเก่งอ่ะเรื่องกสินๆๆๆๆอารัยเนี่ย 555 เปนงัยอยู่ดีๆก้อปัยถามลุงฮิปฮอปที่วัด น่าแตกเยย 555 ;D ;D ;D

munee

  • บุคคลทั่วไป
กสิณ 10 ประกอบด้วย
(*เมื่ออ่านเสร็จแล้วอย่าลืมอ่านตอนท้ายนะคับ)
1.) กสิณดิน คือการเพ่งดินที่นำมาปั้นเป็นวงกลม(แบน) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ โดยทำความรู้สึกถึงความแข็งของดิน ไม่ใช่เพ่งที่สีของดินนั้น เพราะจะกลายเป็นกสิณสีต่างๆ แทน
2.) กสิณน้ำ คือการเพ่งน้ำที่บรรจุในภาชนะปากกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ
3.) กสิณไฟ คือการเพ่งเปลวไฟผ่านช่องที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ โดยทำความรู้สึกถึงความร้อนของไฟ
4.) กสิณลม คือการเพ่งอาการเคลื่อนไหวของใบไม้ กิ่งไม้ที่ถูกลมพัด
5.) กสิณสีเขียว คือการเพ่งวัตถุสีเขียว เช่น กระดาษสีเขียว ที่เป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ โดยทำความรู้สึกถึงสีเขียวที่ปรากฏ
6.) กสิณสีเหลือง คือการเพ่งวัตถุสีเหลือง เช่น กระดาษสีเหลือง ที่เป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ
7.) กสิณสีแดง คือการเพ่งวัตถุสีแดง เช่น กระดาษสีแดง ที่เป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ
8.) กสิณสีขาว คือการเพ่งวัตถุสีขาว เช่น กระดาษสีขาว ที่เป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเท่ากับ ความยาวของใบหน้าของผู้ปฏิบัติ
9.) กสิณแสงสว่าง คือการเพ่งแสงสว่างที่ลอดช่องหลังคาลงมากระทบพื้น หรือฝาผนังเป็นวงกลม หรืออาจจะประยุกต์ใช้แสงอย่างอื่นก็ได้ โดยทำความรู้สึกถึงความสว่าง ไม่ใช่เพ่งที่สีของแสงนั้น(*วิธีการนึกนิมิตคือ ดวงแก้วใส่ หรือองค์พระแก้วใส่ไว้กลางท้องนี้ตามหลักพระเดชพระคุณหลวงพ่อถือว่าเป็นกสินแสงสว่างคับ)
10.) อากาสกสิณ (ช่องว่าง) คือการเพ่งช่องว่างต่างๆ เช่น ช่องว่างในกรอบหน้าต่าง ประตู

อสุภะ 10
คือการเพ่งซากศพชนิดต่างๆ มีข้อดีคือ ภาพจะติดตาได้ง่ายมาก และจะได้เตือนใจถึงความตายที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ประกอบด้วย

1.) ศพขึ้นอืด
2.) ศพที่เปลี่ยนสภาพเป็นสีเขียวคล้ำปนกับสีอื่นๆ
3.) ศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
4.) ศพที่ขาดเป็น 2 ท่อน
5.) ศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว
6.) ศพที่ขาดกระจุยกระจาย มือ เท้า ศีรษะแยกขาดไปอยู่ข้างๆ
7.) ศพที่ถูกสับเป็นท่อนๆ กระจัดกระจาย
8.) ศพที่มีเลือดอาบ
9.) ศพที่ถูกหนอนชอนไชเต็มไปหมด
10.) ศพที่เหลือแต่กระดูก

อนุสติ 10 ประกอบด้วย

1.) พุทธานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา
2.) ธัมมานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระธรรม ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา
3.) สังฆานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์ ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา
4.) สีลานุสติ คือการระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลของตนเอง ด้วยความอิ่มเอิบใจ พร้อมด้วยการพิจารณาถึงอานิสงส์ต่างๆ ที่จะได้รับจากความบริสุทธิ์ของศีลนั้น
5.) จาคานุสติ คือการระลึกถึงการให้ทานที่ตนได้ทำไปแล้ว ด้วยความอิ่มเอิบใจ พร้อมด้วยการพิจารณาถึงอานิสงส์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการให้ทานนั้น
6.) เทวตานุสติ คือการพิจารณาถึงบุญกุศลต่างๆ ที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา แล้วระลึกถึงบุญกุศลต่างๆ ที่ตนได้ทำไว้แล้ว อันจะส่งผลให้ได้เกิดเป็นเทวดา
7.) มรณานุสติ คือการระลึกถึงความตายที่ต้องมีขึ้นเป็นธรรมดา โดยไม่รู้ว่าจะช้าหรือเร็วเท่าใด จะได้ไม่ประมาทในการรีบทำบุญกุศลต่างๆ รวมทั้งมีความเพียรในการทำกรรมฐาน คือสมาธิ และวิปัสสนา เพื่อให้พร้อมสำหรับความตาย
8.) กายคตาสติ คือการพิจารณาถึงร่างกายว่าประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูก ฯลฯ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด น่าเกลียด ไม่สวยงาม เป็นที่เกิดของโรคนานาชนิด ไม่น่ารักน่าใคร่ เพื่อไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมาในกาย
9.) อานาปานสติ คือการเพ่งลมหายใจเข้าออก
10.) อุปสมานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระนิพพาน

อัปปมัญญา 4 คือ การแผ่ความรู้สึกออกไปโดยไม่มีประมาณ ประกอบด้วย

1.) เมตตา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
2.) กรุณา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์
3.) มุทิตา คือความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข
4.) อุเบกขา คือความรู้สึกที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความสุขความทุกข์ของผู้อื่น เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม จึงทำลายความยินดียินร้าย ความชอบความชังลงได้ วางจิตให้เป็นกลาง ไม่ฟูไม่แฟบ ไม่กระเพื่อมหวั่นไหว สงบนิ่งอยู่

อื่นๆ อีก 2 อย่างคือ

1.) อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือการพิจารณาถึงความเป็นปฏิกูล น่ารังเกียจ ของอาหารที่รับประทานเข้าไป พิจารณาถึงการแปรสภาพของอาหาร ตั้งแต่ถูกเคี้ยว คลุกเคล้ากับน้ำลายอยู่ในปาก ผ่านไปยังกระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ จนกระทั่งออกมาจากร่างกายอีกครั้ง ด้วยสภาพที่บูดเน่า น่ารังเกียจ เพื่อประโยชน์ในการไม่ติดในรสอาหาร รวมถึงป้องกันกิเลสตัวอื่นๆ ที่จะเกิดจากอาหาร
2.) จตุธาตุววัฏฐาน คือการพิจารณาร่างกายของตนว่าเป็นเพียงธาตุ 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม เท่านั้น ปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เพื่อขจัดความยึดมั่นถือมั่น

อรูปสมาบัติ 4 คือ การใช้สิ่งที่ไม่ใช่รูปธรรมเป็นเครื่องยึดจิต เป็นสมาธิขั้นสูงกว่าขั้นที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด (ซึ่งเป็นรูปสมาบัติ) ประกอบด้วย

1.) อากาสานัญจายตนะ คือการเพ่งช่องว่างที่กว้างใหญ่หาที่สุดไม่ได้ ซึ่งเกิดจากการเพิกรูปธรรม (เช่น นิมิตต่างๆ ที่ใช้ยึดจิตในรูปสมาบัติ) ออกไป ในชั้นอรูปสมาบัตินี้ จะพ้นจากความยินดีพอใจในรูปธรรมทั้งปวง ยินดีพอใจเฉพาะในนามธรรมเท่านั้น
2.) วิญญาณัญจายตนะ คือการเพ่ง หรือทำความรู้สึกไปที่วิญญาณหรือจิต ที่แผ่ออกไปรับรู้ความรู้สึกในช่องว่างที่กว้างใหญ่ไพศาลในขั้นอากาสานัญจายตนะนั้น จิตจะละเอียด ประณีตกว่าอากาสานัญจายตนะ
3.) อากิญจัญญายตนะ คือการทำความรู้สึกถึงความไม่มีอะไรเลย หลังจากเพิกวิญญาณัญจายตนะออกไป จิตจึงละเอียดประณีตขึ้นไปอีก
4.) เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือความรู้สึกที่เหลืออยู่น้อยมาก จนแทบไม่รู้สึกตัวเลย หลังจากเพิกความรู้สึกในอากิญจัญญายตนะออกไป เป็นจิตที่ละเอียด ประณีตที่สุดที่ปุถุชน โสดาบัน และสกทาคามีบุคคลจะทำได้
(อนาคามีบุคคล และพระอรหันต์จะทำได้ถึงขั้นหมดความรู้สึกตัวอย่างสิ้นเชิง ที่เรียกว่านิโรธสมาบัติ หรือสัญญาเวทยิตนิโรธ

*หมายเหตุ เมื่อเราทำตาม40วิธีแล้วไม่ว่าจะทำวิธีไหนก็ตาม(ไม่ว่าจะเป็น กสินแสงสว่าง กสินไฟ อสุภะ พุทธานุสติ อรูปสมาบัติ เป็นต้น)
เราต้องอย่าลืมน้อมใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่7นะคับเพราะเป็นทางเดียวที่เราจะเข้าถึงพระธรรมกายได้นะคับ สุดท้ายนี้ผมขอพูดหน่อยนะคับว่าไม่ว่าเราจะทำวิธีอะไรไม่ว่าจะเป็น40วิธีนี้ก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดคือใจของเราก็ต้องมาหยุดมานิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่7นะคับหรือว่าเราจะทำวิธีแบบพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ได้นะคับทำตามท่านนั้นและคับดีที่สุดคับ หรือว่าเราอาจจะนำวิธีใน40วิธีนี้มาใช้นิดๆหน่อยๆก็ได้นะคับ

อนุโมทนาบุญคับ

จาก อนิยตโพธิสัตว์ผู้มุ่งไปสู่ที่สุดแห่งธรรม
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=2852

munee

  • บุคคลทั่วไป

http://www.devalai.com/story1.htm

 

เรื่องเล่าพระฤาษี

 

         "พุทธวันทิตวา ข้าพเจ้าของอาราธนาบารมีคุณ พระพุทธคุณนัง ธรรมคุณนัง สังฆคุณนัง วันทิตวา ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีคุณ พระสังฆคุณนัง อีกทั้งคุณพระบิดา พระมารดา พระอนุกรรมวาจา อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ อีกทั้งพระฤาษีนารอด พระฤาษีนารายณ์ พระฤาษีตาวัน พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีเกตุ พระฤาษีเนตร พระฤาษีมุชิตวา พระฤาษีมหาพรหมเมศ พระฤาษีสมุหวัน ทั้งพระเพชรฉลูกัน และนักสิทธวิทยา อีกทั้งพระคงคา พระเพลิง พระพาย พระธรณี พระอิศวรผู้เป็นเจ้าฟ้า ขออัญเชิญเสด็จลงมาประสิทธิพระพรชัย ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาวันนี้ ข้าพเจ้าขอเชิญเทพดาเจ้าทั้งหลายทั่วพื้นปถพีดล พระฤาษี ๑๐๘ ตน บันดาลดลด้วยสรรพวิทยา พระครูยา พระครูเฒ่า พระครูภักและอักษร สถาพรเป็นกรรมสิทธิ์ ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาบัดนี้เถิด

          ข้าพเจ้า ขออาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชิญเสด็จลงมาปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพเจ้าขอเชิญพระพรหมลงมาอยู่บ่าซ้าย ขอเชิญพระนารายณ์มาอยู่บ่าขวา ขอเชิญพระคงคาลงมาเป็นน้ำลาย ขอเชิญพระพายลงมาเป็นลมปาก ขอเชิญพญานาคลงมาเป็นสร้อยสังวาล ข้าพเจ้าขอเชิญพระอังคารมาเป็นด้วยใจ ถ้าแม้นข้าพเจ้าจะไปรักษาไข้แห่งหนึ่งแห่งใด ให้มีชัยชนะแก่โรค ขอจงประสิทธิให้แก่ข้าพเจ้าทุกครั้ง พุทธสังมิ ธรรมสังมิ สังฆสังมิ" (คัดตามต้นฉบับเดิม)

          ที่นำมากล่าวข้างต้นนั้นคือ บทไหว้ครูของเก่า ที่ผมได้จดไว้ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียนเตรียมอุดมศ ึกษา เพราะมีกิจต้องเข้าพิธีไหว้ครูกับลุง ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณอยู่เป็นประจำทุกปี

          คนไทยเราดูจะคุ้นกับฤาษีอยู่มาก เพราะตามพงศาวดารสมัยโบราณ หรือจดหมายเหตุเก่าๆ มักจะกล่าวถึงฤาษี อย่างเช่นฤาษีวาสุเทพกับฤาษีสุกกทันต์ ผู้สร้างเมืองหริภุญไชย และในคำไหว้ครูที่กล่าวถึงข้างต้น ได้ออกชื่อฤาษีแปลกๆ หลายชื่อ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า

          นอกจากนี้ ในวรรณคดีต่างๆ ก็มักจะมีเรื่องของฤาษีแทบทุกเรื่อง เพราะพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินจะต้องไปศึกษาเล่าเ รียนกับฤาษี และฤาษีเป็นเจ้าพิธีการต่างๆ เป็นต้น

          ตำราของวิชาการหลายสาขา เช่น ดนตรี แพทย์ ก็มีเรื่องของฤาษีมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ดังจะเห็นว่าพวกดนตรีและนาฏศิลป์เคารพบูชาฤาษี แพทย์แผนโบราณก็มีรูปฤาษีไว้บูชา ดังนี้เป็นต้น

          ลักษณะของฤาษีแบบไทยๆ มักจะรู้จักกันในรูปของคนแก่ นุ่งห่ม หนังเสือ โพกศีรษะเป็นยอดขึ้นไป

          ทำไมจึงต้องนุ่งห่มหนังเสือ ลองเดาตอบดูก็เห็นจะเป็นเพราะอยู่ในป่า ไม่มีเสื้อผ้า ก็ใช้หนังสัตว์แทน ส่วนจะได้มาโดยวิธีอย่างไรไม่แจ้ง แต่คงไม่ใช่จากการฆ่าแน่นอน เพราะฤาษีจะต้องไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ถ้ามีคนเอาเนื้อสัตว์มาถวายก็กินได้ ไม่เป็นไร

          ฉะนั้น หนังสัตว์ก็อาจจะเป็นของพวกนายพราน หรือคนที่เคารพนับถือ เอามาถวายก็เป็นได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังอาจจะสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมจึงเลือกเอา หนังเสือ เรื่องนี้ก็ต้องเดาตอบเอาอีกว่า เพราะหนังเสือนุ่มดี

          แต่ฤาษีไทยเราเห็นครองแต่หนังเสือเหลือง สังเกตจากรูปฤาษีส่วนมาก จะระบายสีเป็นอย่างเสือลายเหลืองสลับดำ แต่ฤาษีของบางอาจารย์ปิดทองก็มี

          ชุดเครื่องหนังนี้อ่านตามหนังสือวรรณคดีว่า เป็นชุดออกงาน เช่นเข้าเมืองหรือไปทำพิธีอะไรต่างๆ ก็ใช้ชุดหนัง แต่ถ้าบริกรรมบำเพ็ญตบะอยู่กับอาศรมในป่าก็ใช้ ชุดคากรอง คือนุ่งห่มด้วยต้นหญ้าต้นคา

          ในหนังสือบทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ กล่าว ไว้ตอนท้าวไกรสุทรับสั่งให้สังฆการีออกไปนิมนต์ฤาษีน ารอท มาเข้าพิธีอภิเษกสมรสพระอุณรุทกับนางศรีสุดา มีความว่า

          "เมื่อนั้น พระนารอททรงญาณฌานกล้า ได้แจ้งไม่แคลงวิญญา ก็บอกหมู่สิทธาพร้อมกัน ต่างผลัดเปลือกไม้คากรอง ครองหนังเสือสอดจำมขัน กรกุมไม้เท้างกงัน พากันรีบมายังธานี"

          ดังนี้แสดงว่าเวลาอยู่ป่านุ่งเปลือกไม้คากรอง ออกนอกอาศรมเข้าเมือง ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องหนัง และที่กล่าวมานี้ที่จะเป็นฤาษีแบบไทยๆ ที่มีระเบียบวัฒนธรรมแล้วหรืออย่างไรไม่ทราบ ฤาษีของอินเดียก็ว่านุ่งห่มสีขาว ทีจะเป็นฤาษีเมื่อบ้านเมืองเจริญแล้ว ดึกดำบรรพ์ก่อนโน้นจะมีนุ่งหนังเสือบ้างกระมัง

          ตามภาพเขียนสมัยโบราณ ถ้ามีภาพป่าหิมพานต์ มีรูปต้นมักกะลีผล จะเห็นพวกวิทยาธรและพวกที่แต่งตัวคล้ายๆ ฤาษีเหาะขึ้น ไปเชยชมสาวมักกะลีผลกันเป็นกลุ่มๆ ความจริงไม่ใช่ฤาษีแท้ เป็น พวกนักสิทธ นี่ว่าตามคติอินเดียที่เขาถือว่า นักสิทธไม่ใช่ฤาษี เป็นแต่ผู้สำเร็จจำพวกหนึ่งเท่านั้น ทำนองเดียวกับพวกวิทยาธรหรือพิทยาธร ในหนังสือวรรณคดีไทยเรียกว่า ฤาสิทธ ก็มี มักเรียกรวมๆ กันว่า ฤาษีฤาสิทธ หรือ ฤาษีสิทธวิทยาธร

          ในวรรณคดีอินเดียกำหนดจำนวนพวกนักสิทธไว้ตายตัว มีจำนวน ๘๘,๐๐๐ ทางไทยเราดูจะนับนักสิทธเป็นฤาษีไปด้วย

          ในเอกสารที่เก่าที่สุดของไทยคือ ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิ ไท ก็เรียกฤาสิทธว่าเป็นอย่างเดียวกับฤาษี ดังความตอนหนึ่งว่า



           "ครั้นว่านางสิ้นอายุศม์แล้วจึงลงมาเกิดที่ในดอกบัวหลวงดอก ๑ อัน มีอยู่ในสระๆ หนึ่ง มีอยู่แทบตีนเขาพระหิมวันต์ฯ เมื่อนั้นยังมีฤาษีสิทธองค์ ๑ ธ นั้นอยู่ในป่าพระหิมพานต์ ธ ย่อมลงมาอาบน้ำในสระนั้นทุกวัน ธ เห็นดอกบัวทั้งปวงนั้นบานสิ้นแล้วทุกดอก ๆ แลว่ายังแต่ดอกเดียวนี้บมิบานแล ดุจอยู่ดังนี้บมิบานด้วยทั้งหลายได้ ๗ วัน ฯ พระมหาฤาษีนั้น ธ ก็ดลยมหัศจรรย์นักหนา ธ จึงหันเอาดอกบัวดอกนั้นมา ธ จึงเห็นลูกอ่อนอยู่ในดอกบัวนั้นแล เป็นกุมารีมีพรรณงามดั่งทองเนื้อสุก พระมหาฤาษีนั้น ธ มีใจรักนักหนา จึงเอามาเลี้ยงไว้เป็นพระปิยบุตรบุญธรรม แลฤาษีเอาแม่มือให้ผู้น้อยดูดกินนม แลเป็นน้ำนมไหลออก แต่แม่มือมหาฤาษีนั้นด้วยอำนาจบุญพระฤาษี"

          ดังนี้จะเห็นว่า ใช้คำ ฤาสิทธ ในความหมายเดียวกับ ฤาษี และนิยายทำนองนี้ดูจะแพร่หลายมาก ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง มีเรื่องฤาษีเก็บเด็ก จากดอกบัวมาเลี้ยงแทรกอยู่เสมอ

          ลักษณะความเป็นอยู่ของฤาษีเท่าที่เราเข้าใจกัน โดยทั่วๆ ไปนั้น ก็ว่ากินเผือกมันเป็นอาหาร เพราะไม่มีการทำไร่ไถนา บางคัมภีร์มีข้อห้ามพวกฤาษีไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ไม่ให้ย่างเหยียบเข้าไปในเขตพื้นดิน ที่เขาไถแล้ว แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า ฤาษีนั้นแบ่งออกเป็น ๘ จำพวกด้วยกันคือ

๑.สปุตตภริยา คือฤาษีที่รวบรวมทรัพย์ไว้บริโภคเหมือนมีครอบครัว
๒.อุญฉาจริยา คือฤาษีที่เที่ยวรวบรวมข้าวเปลือกและถั่วงาเป็นต้นไว ้หุงต้มกิน
๓.อนัคคิปักกิกา คือฤาษีที่รับเฉพาะข้าวสารไว้หุงต้มกิน
๔.อสามปักกา คือฤาษีที่รับเฉพาะอาหารสำเร็จ (ไม่หุงต้มกินเอง)
๕.อัสมุฏฐิกา คือฤาษีที่ใช้ก้อนหินทุบเปลือกไม้บริโภค
๖.ทันตวักกลิกา คือฤาษีที่ใช้ฟันแทะเปลือกไม้บริโภค
๗.ปวัตตผลโภชนา คือฤาษีที่บริโภคผลไม้
๘.ปัณฑุปลาสิก คือฤาษีที่บริโภคผลไม้หรือใบไม้เหลืองที่หล่นเอง

          ในหนังสือ ลัทธิของเพื่อน โดย เสฐียรโกเศศ นาคประทีป ได้กล่าวถึงพวกฤาษีไว้ตอนหนึ่งว่า

          "เกิดมีพวกนักพรตประพฤติเนกขัมม์ขึ้น พวกนี้มักอาศัยอยู่ ในดงเรียกว่า วานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) หรือเรียกว่า ฤาษี (ผู้แสวง) ปลูกเป็นกระท่อมไม้หรือมุงกั้นด้วยใบไม้ (บรรณศาลา) เป็นที่อาศัย"

          กระท่อมชนิดนี้ถ้าอยู่รวมกันได้หลายคนเรียกว่า อาศรม พวกฤาษีใช้เปลือกไม้หรือหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม และขมวดผมมวย ให้เป็นกลุ่มสูงเรียกวา ชฎา อาศัยเลี้ยงชีพด้วยมูลผลาหารของป่า

          ลัทธิที่ประพฤติมีการบำเพ็ญตบะทรมานกายอย่างเคร่งเคร ียด เพียรพยายามทนความหนาวร้อน อดอาหาร และทรมานด้วยวิธีต่างๆ

          ความมุ่งหมายที่บำเพ็ญตบะ ยังคงหวังให้มีฤทธิเดช อย่างความคิดในชั้นเดิมอยู่ แต่ว่าเริ่มจะมุ่งทางธรรมแทรกขึ้นอีกชั้นหนึ่งด้วย กล่าวคือการบำเพ็ญตบะ เป็นทางที่จะซักฟอกวิญญาณให้บริสุทธิ์สะอาด เข้าถึงพรหม และเกิดฤทธิเดชเหนือเทวดามนุษย์

          ในอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า "ผู้ที่อยากเป็นฤาษีเขามีตำราเรียนเรียกว่า คัมภีร์อารัญยกะ แปลว่า เนื่องหรือเกี่ยวกับป่า ชายหนุ่มที่ไปบวชเรียน เป็นฤาษีจะต้องเรียนและปฏิบัติที่มีกำหนดไว้ในคัมภีร ์ อะไรเป็นปัจจัย ให้ต้องประพฤติตนเป็นฤาษี ตอบได้ไม่ยากนักคือ เขาเห็นว่า ความประพฤติของ ชาวกรุงชาวเมืองในมัธยมประเทศสมัยโน้น เลอะเทอะเต็มที มักชอบประพฤติ แต่เรื่องสุรุ่ยสุร่ายเอ้อเฟ้อ อยู่ด้วยกามคุณ ต้องการจะมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ เหมือนบรรพบุรุษครั้งดึกดำบรรพ์ ครั้งไกลโน้นประพฤติกันอยู่ ชะรอยบรรพบุรุษของชาวอริยกะครั้งกระโน้น จะไม่ใช่เป็นคนเพาะปลูก และใช้เปลือกไม้และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม เห็นที่จะเอาอย่างบรรพบุรุษ ครั้งดึกดำบรรพ์ ซึ่งยังไม่รู้จักหว่านไถและยังไม่รู้จักทอผ้า คงจะสร้างทับ กระท่อมกันอยู่ในป่า ไว้ผมสูงรกรุงรัง พวกฤาษีจึงได้เอาอย่าง"

          เท่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือลักษณะและความเป็นอยู่ข องฤาษีโดยทั่วๆ ไป แต่ยังมีอีกลักษณะหนึ่งซึ่งไม่ได้กล่าวถึง คือ การมีบุตรและภรรยา

          ฤาษีประเภทนี้มีมากจนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ฤาษีมีเมียได้ ซึ่งจะได้เล่าถึงในประวัติของฤาษีต่างๆ ต่อไปข้างหน้า

          ดังได้กล่าวแล้วว่าฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะกันอย่างหน ัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมีแตกต่างกันไปตามความเพียรพย ายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่องให้เป็นฤาษีอันดับ สูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี)
๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี)
๓.เทวรรษี (เทพฤาษี)
๔.มหรรษี (มหาฤาษี)



แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ
๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว
๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น



          การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้นจะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจน ได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยวด

 

             ดังได้กล่าวแล้วว่า ฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะ กันอย่างหนัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมี        แตกต่างกันไป ตามความเพียรพยายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่อง ให้เป็น

ฤาษีอันดับสูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

 

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี)
๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี)
๓.เทวรรษี (เทพฤาษี)
๔.มหรรษี (มหาฤาษี)

แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ
๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว
๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น

          การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้น จะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจนได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยว ด

          ในคำไหว้ครู ที่ได้ยกมากล่าวในตอนต้น มีชื่อฤาษีที่คุ้นหูคนไทยส่วนมากอยู่ ๓ ตนด้วยกันคือ ฤาษีนารอด ฤาษีตาวัว ฤาษีตาไฟ

          ฤาษีทั้งสามนี้คนระดับชาวบ้านสมัยก่อนรู้จักกันดี มักพูดถึงอยู่เสมอในตำนานพระพิมพ์ ที่ว่า จารึกไว้ในลานเงินก็ได้กล่าวถึงฤาษีตาวัว (งัว) และฤาษีตาไฟไว้เหมือนกัน ดังความว่า

          "ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนๆ หนึ่งฤาษีพีลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตางัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะ เอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะ นี้ฉลองพระองค์ จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา

          พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่าน ทั้งหลายอันมีฤทธิ์ เอามาให้สัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ ๑๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ องค์นั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้น เอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด"

          ดังนี้แสดงว่า แต่กาลก่อนทางภาคพื้นประเทศไทยเราก็มีฤาษีอยู่มาก โดยเฉพาะ ฤาษีตาวัว กับ ฤาษีตาไฟ ติดปากคนมากกว่าฤาษีอื่นๆ และประวัติก็มีมากกว่า เท่าที่ทราบพอจะรวบรวมได้ดังต่อไปนี้

          ฤาษีตาวัว นั้นเดิมทีเป็นสงฆ์ตาบอดทั้งสองข้าง แต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำให้ปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ทันใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ก็เอาไปทำหล่นตกถาน (ส้วมของพระตามวัด) เสีย จะหยิบเอามาก็ไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น เก็บความเงียบไว้ ไม่กล้าบอกใคร จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกศิษย์ไปถาน แลเห็นแสงเรืองๆ จมอยู่ใต้ถาน ก็กลับมาเล่าให้อาจารย์ฟัง หลวงตาดีใจบอกให้ศิษย์พาไป เห็นแสงเรืองตรงไหนให้จับมือจุ่มลงไปตรงนั้น จะเลอะเทอะอย่างไรช่างมัน

          ศิษย์กลั้นใจทำตาม หลวงตาก็ควักเอาปรอทคืนมาได้ จัดแจงล้างน้ำให้สะอาดดีแล้วก็แช่ไว้ในโถน้ำผึ้งที่ท ่านฉัน ไม่เอาติดตัวไปไหนอีก เพราะกลัวจะหล่นหาย

          อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็มารำพึงถึงสังขาร ว่าเราจะมานั่งตาบอดอยู่ทำไม มีของดีของวิเศษอย่างนี้แล้ว ก็น่าจะลองดู จึงให้ศิษย์ไปหาศพคนตายใหม่ๆ เพื่อจะควักเอาลูกตา แต่ลูกศิษย์หาศพใหม่ๆ ไม่ได้ ไปพบวัวนอนตายอยู่ตัวหนึ่ง เห็นเข้าที่ดีก็เลยควักลูกตาวัวมาแทน

          หลวงตาจึงเอาปรอทที่แช่น้ำผึ้งไว้มาคลึงที่ตา แล้วควักเอาตาเสียออก เอาตาวัวใส่แทน แล้วเอาปรอทคลึงตามหนังตา ไม่ช้าตาทั้งสองข้างก็กลับเห็นดีดังธรรมดา แล้วหลวงตาก็สึกจากพระ เข้าถือเพศเป็นฤาษี จึงได้เรียกกันว่าฤาษีตาวัว มาตั้งแต่นั้น

          ส่วน ฤาษีตาไฟ นั้นยังไม่พบต้นเรื่องว่า ทำไมจึงเรียกว่า ฤาษีตาไฟ ที่ตาของท่านจะแรงร้อนเป็นไฟ แบบตาที่สามของพระอิศวรกระมัง

          อย่างไรก็ตาม ฤาษีทั้งสองนี้เป็นเพื่อนเกลอกัน และได้สร้างกุฎีอยู่ใกล้กันบนเขาใกล้เมืองศรีเทพ ท่านออกจะรักและโปรดมาก มีอะไรก็บอกให้รู้ ไม่ปิดบัง

          วันหนึ่งฤาษีตาไฟได้เล่าให้ศิษย์คนนี้ฟังว่า น้ำในบ่อสองบ่อที่อยู่ใกล้กันนั้นมีฤทธิ์อำนาจไม่เหม ือนกัน น้ำในบ่อหนึ่ง เมื่อใครเอามาอาบก็จะตาย และถ้าเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดก็จะฟื้นขึ้นมาได้อีก

          ศิษย์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ฤาษีตาไฟจึงบอกว่า จะทดลองให้ดูก็ได้ แต่ต้องให้สัญญาว่า ถ้าตนตายไปแล้ว ต้องเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดให้คืนชีวิตขึ้นใหม่ ศิษย์ก็รับคำ ฤาษีตาไฟจึงเอาน้ำในบ่อตายมาอาบ ฤาษีก็ตาย ฝ่ายศิษย์เห็นเช่นนั้นแทนที่จะทำตามสัญญา กลับวิ่งหนีเข้าเมืองไปเสีย

          กล่าวฝ่ายฤาษีตาวัว ซึ่งเคยไปมาหาสู่ฤาษีตาไฟอยู่เสมอ เมื่อเห็นฤาษีตาไฟหายไปผิดสังเกตเช่นนั้นก็ชักสงสัย จึงออกจากกุฎีมาตา ม เมื่อเดินผ่านบ่อน้ำตายเห็นน้ำในบ่อเดือด ก็รู้ว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว เดินต่อไปอีกก็พบซากศพของฤาษีตาไฟ

          ฤาษีตาวัวจึงตักน้ำอีกบ่อหนึ่งมาราดรด ฤาษีตาไฟก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา แล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฤาษีตาวัวฟัง และว่าจะต้องแก้แค้นศิษย์ลูกเจ้าเมือง ตลอดจนประชาชนพลเมืองทั้งหมดอีกด้วย

          ฤาษีตาวัวก็ปลอบว่า อย่าให้มันรุนแรงถึงอย่างนั้นเลย ฤาษีตาไฟก็ไม่เชื่อฟังได้เนรมิตวัวขึ้นตัวหนึ่ง เอาพิษร้ายบรรจุไว้ในท้องวัวจนเต็ม แล้วปล่อยวัวกายสิทธิ์ให้เดินขู่คำรามด้วยเสียงกึกก้ อง รอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้ เพราะทหารรักษาประตูปิดประตูไว้

          พอถึงวันที่เจ็ด เจ้าเมืองเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็สั่ง ให้เปิดประตูเมือง วัวกายสิทธิ์คอยทีอยู่แล้วก็วิ่งปราดเข้าเมือง ทันทีนั้นท้องวัวก็ระเบิดออก พิษร้ายก็กระจายพุ่งออกมาทำลาย ผู้คนพลเมืองตายหมด เมืองศรีเทพก็เลยร้างมาแต่ครั้งนั้น

          ถ้าว่าตามเรื่องที่เล่ามานี้ ฤาษีตาวัวก็ดูจะใจดีกว่าฤาษีตาไฟ และคงจะเป็นด้วยฤาษีตาวัวเป็นผู้ช่วยให้ฤาษีตาไฟฟื้น คืนชีพขึ้นมานี่เองกระมัง ทางฝ่ายแพทย์แผนโบราณจึงได้ถือเป็นครู ส่วนทางฝ่ายทหารออกจะยกย่องฤาษีตาไฟ ดังมีมนต์บทหนึ่งกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา"  ดังนี้

ส.พลายน้อย

 

ออฟไลน์ เค็น

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 189
  • เพศ: ชาย
  • หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ "เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี"
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุนคับ  :)

ไมล์

  • บุคคลทั่วไป
เคยเห็นเศียรที่เป็นฤาษีมี3เนตรเรียกว่าฤาษีอะไรครับ
 ? ? ? ? ? ? ? ? ?ตอบหน่อยครับ

test

  • บุคคลทั่วไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มี.ค. 2549, 08:57:55 โดย นร... »

เอ็ม

  • บุคคลทั่วไป
ไปซื้อหนังสือคนสักยันต์ มาอ่านครับแล้วจะรู้ว่า ที่วัดบางพระมี หนุมารอะไรบ้างครับ ? :002:

กนก

  • บุคคลทั่วไป
@ ก่อนกระผมจะตอบคำถามนี้ กระผมขอเล่าเรื่องคาถาพอเป็นเครื่องปรุงจิตแด่พุทธมามกผู้สนใจทุกท่าน ฯ เป็นการคัดลอกมาจากงานเขียนของ
ท่านพระธรรมโกศาจารย์ โดยแปลงสำนวนใหม่ให้พอเหมาะกับสถานะของกระผม เช่น พระโกศาจารย์ใช้คำว่าฤาษี กระผมก็เพิ่มคำอุปสรรคว่า 'พระ' ลงไป ได้เป็น พระฤาษี ฯ ล ฯ แลได้เสริมความบางตอนให้ละเอียด
พิศดารยิ่งขึ้น ทั้งปรับเนื้อความบางส่วนที่กระผมมั่นใจว่าข้อนั้นไม่ใช่อย่างนั้น ดังต่อไปนี้
==========
'ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย พระคาถา คือธงไชยของพระฤาษี'

ในสมัยโบราณ คนแรกที่สุด ที่ออกบวช จากสังคมไปทำการค้นคว้าในป่า ค้นคว้าเรื่องที่สูงไปกว่าที่ชาวบ้านนี้รู้ ๆ กันอยู่ คือ พระฤาษี; พระฤาษีนี้ คือ ครู เพราะว่า ฤาษีรุ่นแรก ชุดแรก ยุคแรก เป็นผู้สอนวิชาความรู้ อาจผ่านบทประพันธ์ที่เรียกว่าคาถา ซึ่งเป็นโคลง-คำกลอน พระฤาษีเหล่านี้จะผูกความรู้ขึ้นเป็นคาถา แลท่องไว้ บ้างมีการประดิษฐ์ตัวอักษรสำหรับบันทึกพระคาถาเหล่านั้นไว้ โดยอักษรเหล่านั้นมีลักษณะขยุกขยิก เลียนแบบลักษณะของรากไม้ในป่า จึงเรียกว่า ?ภาษารากไม้?
บ้างใช้วิธีจำ จะจำได้ดีก็จะต้องผูกเป็นคาถา พูดให้เป็นคำกลอน เมื่อพระฤาษีนั้นผูกความรู้ไว้นานเข้า ๆ ก็มีคำกลอนหรือคาถาที่จำไว้ได้มาก หลายคาถา หลายโศลก; ต่อเมื่อ มีคนไปพบ ไปคารวะนมัสการ ขอเป็นศิษย์ให้ท่านชี้แนะ ท่านจึงบอกคาถานี้ให้บ้าง ต่อมาพระคาถามากเข้า ๆ และคนนำไปใช้เกิดประสิทธิผล เป็นกรรมสิทธิ์ คนจึงเรียกว่าเวทมนต์ เรียกยุคนี้ว่า ยุคพระเวท แลคนเรียนมนต์สืบทอดต่อๆ กันมานานนัก จนชนรุ่นหลังที่ได้รับพระคาถามาจากบรรพบุรุษ ไม่ทราบความหมายของพระคาถาดีนัก ต้องการผู้อธิบาย จึงมีผู้ให้ความหมายเป็นคำอธิบายขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เป็นยุคพราหมณ์ มีการอธิบายคาถา พระสูตรต่าง ๆ ของพระฤาษี ด้วยเหตุดังนี้ ความรู้ศักดิ์สิทธิ์ ศิลปศาสตร์ วิชาการต่างๆ จึงค่อยเจริญขึ้น มีทุกแขนงทุกวิชา ทีแรกก็ตั้งปัญหาว่า อะไรดี ? อะไรดีกว่า ? อะไรดีที่สุด ? แล้วพระฤาษีก็บำเพ็ญตบะเข้าฌานพบว่า อะไรดี ? อะไรดีกว่า อะไรดีที่สุด ? ในด้านการเป็นอยู่ การประพฤติ การกระทำ การอะไรก็ตาม พบอะไรก็ผูกเป็นคาถาไว้เสมอ ก็แล ฤาษีไม่ได้มีศีลเสมอกันทั้งหมดมีตั้งแต่เคร่งคัดมาก ปานกลาง และน้อย ผู้ที่เคร่งคัดมากจะเรียก พระฤาษี ปานกลางเรียก พ่อฤาษี และน้อยเรียก ฤาษี (เช่น ฤาษีที่บวชโดยมีภรรยา)

ฝ่ายเคร่งครัดมากก็สอนโมกษะธรรมเพื่อความหลุดพ้นและก้าวไปไกลที่สุดถึงอรูปฌาน (เป็นพรหมที่สูงกว่าสุทธาวาสไป) มรรคผลที่ได้ในโลกุตรภูมิก็มี (อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘) เว้นแต่อรหัตตผล (อภิญญา ๖ สมาบัติ ๙)

ฝ่ายไม่เคร่งคัด ก็แสวงหาความรู้พร่าออกไปจนถึงเรื่องโลก เรื่องชาวบ้าน, แม้ที่สุดแต่เรื่องกิจกรรมระหว่างเพศ เป็นกามสุขัง ฤาษีฝ่ายนี้ก็พยายามค้นและก็ได้ผูกเป็นคาถา เป็นสูตร เป็นอะไรด้วยเหมือนกัน สืบต่อกันลงมาอย่างนี้

ด้วยเหตุนี้วิชาการของฤาษี จึงมีหลากหลาย ทั้งทางโลกแลทางธรรม บางศาสตร์ยังสืบทอดจนถึงทุกวันนี้ เช่น โขน ลิเก ตะลุง อาคม ฤกษ์ยาม โหราศาสตร์ เลขยันต์ พิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แลยังมีการบูชาพระฤาษี ผู้เป็นต้นกำเนิดของครูอยู่ กล่าวกันว่า ความรู้ของพระฤาษีนี้ดำรงอยู่ ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ (กวนเกษียรสมุทร ให้เกิดน้ำอมฤต สุราและนางอัปสร) ยุคที่ยักษ์และคนอยู่ภูมิเดียวกัน มีพระพรหมหญิง ไม่มีพระพุทธธรรม จนถึงยุคปัจจุบันที่มีการแยกเป็นไตรภูมิ ไม่มีพระพรหมหญิง มีพระพุทธธรรม

จบกัณฑ์ที่ ๑

http://board.dserver.org/e/easydharma/00000294.html

   [๔๙๓] คำว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระเทพฤาษี (เมื่อมีผู้ถาม
ปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์ดังนี้ ความว่า ข้าพระองค์ได้ศึกษา ทรงจำ เข้าไป
กำหนดไว้แล้วอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าใครทูลถามปัญหา อันชอบแก่เหตุเป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรง
พยากรณ์ มิได้ตรัสห้าม.
   คำว่า ผู้เป็นพระเทพฤาษี ความว่า พระผู้มีพระภาคทั้งเป็นเทพทั้งเป็นฤาษี เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เป็นพระเทพฤาษี. พระราชาทรงผนวชแล้ว เรียกกันว่า พระราชฤาษี พราหมณ์บวช
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่  ๑๙๐.
แล้วก็เรียกกันว่า พราหมณ์ฤาษี ฉันใด พระผู้มีพระภาคทั้งเป็นเทพ ทั้งเป็นฤาษี ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพระเทพฤาษี.
   อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงผนวชแล้ว แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อว่า
พระฤาษี. พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ แม้เพราะเหตุอย่างนี้
พระองค์จึงชื่อว่าเป็นพระฤาษี. พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสมาธิขันธ์ใหญ่
ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์
จึงชื่อว่า เป็นพระฤาษี. พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งการทำลายกองแห่ง
ความมืดใหญ่ การทำลายวิปลาสใหญ่ การถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ การคลายกองทิฏฐิใหญ่
การล้มมานะเพียงดังว่าธงใหญ่ การสงบอภิสังขารใหญ่ การสลัดออกซึ่งโอฆกิเลสใหญ่ การปลง
ภาระใหญ่ การตัดเสียซึ่งสังสารวัฏใหญ่ การดับความเดือดร้อนใหญ่ การระงับความเร่าร้อนใหญ่
การให้ยกธรรมดังว่าธงใหญ่ขึ้น แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงชื่อว่า เป็นพระฤาษี. พระผู้มีพระภาค
ทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธานใหญ่ อิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์
ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่ นิพพานใหญ่ แม้เพราะเหตุดังนี้
พระองค์จึงชื่อว่า พระฤาษี.
   อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคอันสัตว์ทั้งหลายที่มีอานุภาพมาก แสวงหา เสาะหา
ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเป็นเทวดา ล่วงเทวดาประทับอยู่ ณ
ที่ไหน พระผู้มีพระภาคผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ ณ ที่ไหน แม้เพราะเหตุดังนี้ พระองค์จึงชื่อ
ว่า เป็นพระฤาษี. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระเทพฤาษี
(มีผู้ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
      ข้าแต่พระสักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม ๒ ครั้งแล้ว. พระ-
      ผู้มีพระภาคมีพระจักษุมิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ข้า-
      พระองค์ได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระเทพฤาษี (มีผู้
      ทูลถามปัญหา) เป็นครั้งที่ ๓ ย่อมทรงพยากรณ์.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐  บรรทัดที่ ๔๖๖๒ - ๔๖๙๐.  หน้าที่  ๑๘๙ - ๑๙๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=30&A=4662&Z=4690&pagebreak=1อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/read
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=30&item=493&items=1&preline=0&pagebreak=1


ผู้ใคร่รู้

  • บุคคลทั่วไป
ถามเกี่ยวกับฤาษี 108 ตน
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 15 ส.ค. 2549, 08:52:40 »
 :015 :ใครรู้ประวัติของฤาษีทั้ง 108 ตนช่วยบอกที พร้อมทั้งรูปภาพประกอบด้วยจักเป็นพระคุณ :o
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มิ.ย. 2550, 07:31:47 โดย เว็บ... »

หนึ่ง ปทุมธานี

  • บุคคลทั่วไป
ที่ตำหนักที่สัก
ฤาษี มี
นิ้วเพรช ตาไฟ เดินดง นารายณ์ ฯลฯ
หนุมาน มี
 เชิญธง ขุนศึก ออกศึก นำทัพ คลุกฝุ่น(ขุนกระบี่) แหวกบาดาล(แหวกอกนางฟ้า) ล้อยักษ์ ปั่นเศียร ปราบศึก ร่ายเวต ถวายแหวน สำรวมจิต ประสานกาย หักด่าน ฯลฯ

ออฟไลน์ คชวรมัน

  • ปฐมะ
  • *
  • กระทู้: 1
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ถามผู้รู้หน่อยคับเรื่องปู่ฤาษีและหนุมาน
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 26 พ.ค. 2551, 08:57:53 »
 :095: :095:? ?สวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ ผมอาจจะตอบคำถามได้บางประการเท่านั้นนะ คำถามในเรื่องปู่ฤาษีมีกี่องค์ และ หนูมานมีกี่ตัว ถ้าศึกษาโดยละเอียดแล้วแท้จริงปู่ฤาษีมีอยู่ตามนัตยสูตรคือ 108 องค์ซึ่งเป็นการส่อให้เห็นถึงความสมบูรณ์ในสาขาวิขา? ? 1 0 8? ?แขนงเช่น ปู่ฤาษีตาไฟ สำเร็จญาณขั้นเตโชกสินทร์? ปู่ฤาษ๊ขาวมณีแก้ว สำเร็จ ญาณขั้นกสินทร์ดิน? ส่วนหนุมานนะครับ? หนุมานเป็นบุตรที่เกิดจากความสมดุลในสามภพ(? โดยรวม? )เกิดจากการทำลายล้าง? การพิทักษ์? การประทานบารมีอาวุธที่ประสานกายของหนุมานล้วนแล้วเป็นสิ่งที่สามารถทำลายและสร้างขึ้นมาไหม่ได้หนุมานจะมีเยงองค์เดียว แต่ในรามมายานะ ได้กล่าวไว้ตอนหนึง่ว่า? หนุมานแบ่งภาคออกมาเป็น 5 เศียร 8? กรโดยจะรวมเศียรไว้ซึ่งแต่ละกิริยา คือ หน้าคน หน้ายักษ์ หน้าลิง หน้าวัว และ หน้าม้าวึ่งก็สามารถบ่งบอกได้ว่า หนุมานมีองค์เดียวต่สามารถแปลงกาย ขยายภาคได้ตามอิทิฤทธิ์

ออฟไลน์ รพินทร์

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 130
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ถามผู้รู้หน่อยคับเรื่องปู่ฤาษีและหนุมาน
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 27 พ.ค. 2551, 01:57:28 »
ฤาษีก็คือนักบวช...ซึ่งแสวงหาสิ่งต่างๆเช่น อยากค้นพบจุดกำเนิดของตัวเอง อยากอยู่ใกล้พระเจ้า แสวงหาความเป็นอมตะ เป็นต้น ซึ่งต้นกำเนิดของนักบวชเหล่านี้นั้น เริ่มจริงๆมาจากศาสนาพราหมณ์ หรือที่ประเทศอินเดียนั่นเอง ซึ่งตามรามายณะหรือรามเกียรติ์นั้นหากอ่านดูแล้ว จะพบว่าอันนักบวชต่างๆนั้น ต้องมีการทรมานตนเองจนถึงที่สุด ถึงจะได้พบพระผู้เป็นเจ้า เช่นพระนางปราวตีได้นั่งภาวนาหน้ากองไฟในฤดูร้อน และแช่ตัวในลำธารในฤดูหนาว เพียงเพื่อต้องการพบพระศิวะ   ...เป็นต้น
ดังนั้นฤาษีที่เราๆรู้จักกัน (ความคิดของผม) ผมว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก เทพปกรณัม หรือรามเกียรติ์นั่นแหละครับ
ส่วนหนุมานก็น่าจะมาจากแหล่งเดียวกัน แต่ผิดแผกแตกต่างตรงที่ว่า ทางจีนก็มี เห้งเจียด้วย ผมเองเคยคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งถึงเรื่องนี้เหมือนกัน ท่านให้ข้อคิดผมว่า น่าจะมาจากรามเกียรติ์เหมือนกัน ในช่วงที่เกิดเส้นทางสายไหมหรือ  Silk Road ผมก็ว่าเป็นข้อคิดที่ดีเหมือนกัน