แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Myrmidon

หน้า: [1]
1
หลวงพ่อช่วงเกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2470 เดิมชื่อ ช่วง นามสกุล รักหนู

โยมบิดาชื่อนาย พร้อม โยมมารดาชื่อนาง ฝ้าย ที่บ้านปันเต หมู่ 5 ต.ปันเต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

เมื่อตอนเยาว์วัยได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดควนปันตาราม จนสำเร็จการศีกษาชั้นปะถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2482 ต่อมาท่านได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวนด้วยความขยันขันแข็งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของบิดามารดาตลอดมา จนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดามารดาได้จัดให้ท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดควนปันตาราม ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยมี

พระครูรัตนาภิรัต (แก้ว) เห็นพระอุปัชฌาย์
พระเกิด ติสฺสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการเคว็จ เกสฺโร วัดคูหาสวรรค์ จ.พัทลุง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ 2490



เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดควนปันตาราม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อ พ.ศ. 2492 และสอบได้นักธรรมชั้นโท ใน พ.ศ. 2500 นอกจากนี้ ยังมีความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับการก่อสร้าง หลวงพ่อช่วงเป็นบุคคลที่มีความวิริยะอุสาหะและมีความรู้ความสามารถ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมะและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่เป็นประจำ เป็นพระภิกษุนักพัฒนา นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อช่วงท่านยังได้ศึกษาเล่าเรียน พุทธาคมต่างๆจากอาจารย์ที่มีวิชาความรู้ทางคาถาอาคม ไสยเวท มนตรา โดยเฉพาะสายเขาอ้อที่มีชื่อเสียงสืบต่อกันมานับได้กว่า 100 ปี
 จากร่มโพธิ์ไทรใครมรูปก็ช่วยโพสรูปด้วยน่ะครับ

2
จัดให้ครับ :002:            

3
พระครูอรรถธรรมรส (ซัง สุวัณโณ)

วัดวัวหลุง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เจ้าของเหรียญแพงที่สุดอันดับหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระคณาจารย์ในยุคเก่าที่มีบารมีสูง ท่านไม่เคย

สร้างเหรียญ หรือรูปถ่ายใด ๆ จะมีก็แต่เครื่องรางของขลังประเภทตะกรุด เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ซึ่งก็มีจำนวนไม่มากนัก แต่หรียญจของท่านกลับ เปี่ยมล้นไปด้วยพุทธคุณอันเป็น อมตะและมีราคาสูงกว่าเหรียญพระเกจะอาจารย์ท่านอื่น ๆ ซื่งปกติเหรียญหรือวัตถุมงคลที่สร้างในภายหลังที่

พระเกจิอาจารย์มรณภาพ (เหรียญตาย) มักจะได้รับความนิมยมไม่มากนัก แต่เหรียญหลวงพ่อซังกลับมีราคาสุงถึงหลักแสน แสดงให้เห็นว่า ถึงบารมีอันเปลี่ยมล้นของท่านนั้นเอง ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่6 มค.2384 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน นามเดิมซัง ศักดาวุธ บิดามารดาวื่อ นายขุนวิน และนางส้น ศักดาวุธ เกิดที่บ้านตะพังแขวงควนตะพัง วังตะมิทซะ เมืองนครศรีธรรมราช อายุ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำรักของ ท่านพระอุปัชฌาย์รักษ์

เล่าเรียพระธรรมวินัยอยู่ 1 พรรษา ก็ลาสิกขา อาจะ 20 ปี ลาออกจากราชการ เข้าอุปสมบทพศ.2415 ขณะอายุ 21 ปี ณ พัทธสัมาวัดคันธ มาลี อ.ร่อนพิบูลย์ โดยมีพระอุปัชฌาย์รักษ์ วัดปังเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นาก เจ้าอาวาสวัดควนพัง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระ อาจารย์นาค เจ้าอาวาสวัดควนพัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองดี วัดปัง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สุวั ณโณ" หลังจากอุปสมบทแล้วได้ย้ายไปอยู่ กับพระอาจารย์เจ้ย วัดวัวหลุง เพื่อศึกษาคันถธุระและอบรมวิปัสสนากรรมฐาน พศ.2425 พรรษาที่ 10 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดวัวหลุง พศ.2467 ได้รัยพระราชทานสมณศํกดิ์เป็นพระครูอรรถธรรมรส ใน บั้นปลายชีวิตท่านได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อ พศ.2478 สิริอายุ 84 ปี 63 พรรษา



4
พ่อท่านคล้าย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันอังคาร เดือน ๔ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเนี่ยว สีนิล นิสัยเป็นคนมีมานะ ขยันหมั่นเพียร สุภาพเรียบร้อย เมื่ออายุ ๑๕ ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่ กระดูกปลายเท้าสามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ
ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอำเภอฉวาง ต่อเมื่ออายุครอบ ๒๐ ปีจึงได้อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนทสวณโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาชย์ แล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี 
   
พ่อท่านคล้ายเริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้านโดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาภาษาบาลี (มูลกัจจายนะ) ณ สำนักวัดหน้าพระบรมธาตุฯ โดยมีพระครูกาแก้ว (ศรี) เป็นอาจารย์ ต่อมา ได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาส เป็นผู้สอนท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ 
   
ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษ ในนามสมณศักดิ์เดิม แต่คนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย ท่านดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณะภาพ แต่เมื่อ พ.ศ ๒๕๐๐ ท่านยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยอีกด้วย เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ..ศ. ๒๕๑๓ รวมอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน จึงได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน
 
   
ท่านเป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก เช่น สร้างวัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย ท่านได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุ การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร
   
ท่านได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์" คนทั่วไปต่างเชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจาของท่านว่าพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านจะพูดจา กับทุก คนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุขเป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด
 
   
ท่านได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์" คนทั่วไปต่างเชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจาของท่านว่าพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านจะพูดจา กับทุกคน ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุขเป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่ง ชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด ประสบณ์การจากวัดถุมงคลของท่านมากมายจนนับไม่ถ้วน เป็นเวลา ห้าสิบกว่าปีมาแล้วที่คนปักษ์ใต้เล่าต่อๆกันมาจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังมีมนต์ขลังไม่เสื่อมคลาย เป็นที่เชื่อถือได้อย่างสนิทใจ ว่าท่านปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
   
บทสรุป   

พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ..ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้ บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน ท่านเป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก เช่น สร้างวัดมะปรางงาม ต.ละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. 2490 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้าง วัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย ท่านได้สร้างเจดีย์องค์ ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุ การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2513 ท่านได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลาย องค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ต.นาแว อ.ฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสาร ท่านได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์" คนทั่วไปต่างเชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา ของท่านว่าพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านจะพูดจา กับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา
"นักบุญแห่งดินแดนทักษิณ" : พ่อท่านคล้าย

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือ 'พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์' เป็นพระเกจิอาจารย์แถวหน้าของภาคใต้ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๙ ปี ที่วัดจันดี ต.หลักช้าง โดย พระอธิการจัน เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พ่อท่านกราย วัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี ท่านเป็นพระนักพัฒนา สร้างวัดไว้หลายแห่ง จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ท่านมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี สรีระของท่านบรรจุอยู่ในหีบแก้ว ในสภาพที่ไม่เน่าเปื่อย และเป็นสรีระอมตะจนถึงปัจจุบัน
 
 
วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ทางใต้กันดูบ้าง พระเกจิอาจารย์ที่ผมจะพูดถึงก็คือหลวงพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสมัยผมเด็กๆ นั้น จะได้ยินผู้ใหญ่หรือท่านว่า "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์" ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และเป็นที่นับถือของประชาชนโดยทั่วไป อีกทั้งในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ก็นับถือท่านมาก ปัจจุบันเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นหาค่อนข้างยากและสนนราคาสูงมากทีเดียวครับ

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (หลวงพ่อท่านคล้าย) ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2417 โยมบิดาชื่ออินทร์ โยมมารดาชื่อเนี่ยว หลวงพ่อท่านเป็นคนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อท่านอายุได้ 10 ขวบ ท่านเรียนหนังสือไทยจนอ่านออกเขียนได้จากโยมบิดา ต่อมาพออายุได้ 13 ปี โยมบิดาจึงได้นำท่านไปฝากเรียนกับสำนักอาจารย์ขำ อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งปอน ต่อมาท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ที่วัดวังม่วง อำเภอฉวาง โดยพระอาจารย์ทอง เจ้าอาวาสวัดวังม่วง เป็นอาจารย์ฝึกสอนหนังสือไทย หนังสือขอมให้กับท่าน หลวงพ่อท่านบรรพชาเป็นสามเณรได้ 2 พรรษา ก็ลาสิกขาออกไปอยู่ที่บ้าน ช่วยบิดามารดาประกอบกิจการงาน

เหรียญหลวงพ่อท่านคล้าย บล็อกขอบเดียว

 

ครั้นอายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบท ที่วัดวังม่วง โดยมีท่านพระครูกราย เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สังข์ เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทอง เจ้าอาวาสวัดวังม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอนเป็นเวลา 2 ปี ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและฝึกซ้อมพระปาฏิโมกข์จนชำนิชำนาญ

ต่อมาในปีพ.ศ.2441 ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มูลกัจจายน์ ในสำนักพระครูกาแก้ว วัดหน้าพระธาตุ นครศรีธรรมราช ปีพ.ศ.2443 ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์หนู วัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีพ.ศ.2445 กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหาดสูง ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานในสำนักพระครูกราย อุปัชฌาย์ของท่าน ปีพ.ศ.2447 ได้ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อำเภอระโนด สงขลา เพื่อศึกษาภาษาบาลีและอภิธรรมเพิ่มเติม ปีพ.ศ.2448 หลวงพ่อท่านก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน

ต่อมาในปีพ.ศ.2448 พระปลัดคง เจ้าอาวาสวัดสวนขันลาสิกขาบท คณะอุบาสกอุบาสิกาของวัดสวนขัน ได้ร่วมกันไปขอนิมนต์หลวงพ่อท่านคล้ายกับท่านพระครูกราย เพื่อให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน หลวงพ่อท่านคล้ายจึงย้ายมาเป็นเจ้าอาวาส วัดสวนขัน และท่านก็ได้พัฒนาวัดสวนขันจนเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2492 ท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หลวงพ่อท่านคล้ายท่านได้สร้างวัดและอื่นๆ มากมาย เช่น สร้างวัดพระธาตุน้อยและพระเจดีย์ในปีพ.ศ.2505 สร้างโรงเรียน และโบสถ์วิหารวัดต่างๆ มากมาย ตลอดจนถนนหนทางต่างๆ เช่น ถนนสายฉวาง ลานสกา ไม่ใช่แต่ในอำเภอฉวางเท่านั้น เช่น การบูรณะพระระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ สร้างศาสนวัตถุที่วัดขันเงิน อำเภอหลังสวน ชุมพร ตลอดจนสร้างพระพุทธรูปในเกาะปีนัง เป็นต้น ไม่ว่าท่านจะปรารภว่าจะสร้างอะไรที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ ร่วมกันทำงานจนกระทั่งสำเร็จทุกประการ

หลวงพ่อท่านคล้ายได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชาติศาสนาและสังคมเป็นเวลานาน จนกระทั่งวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 หลวงพ่อท่านก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 96 ปี 74 พรรษา

หลวงพ่อท่านคล้ายท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างด้วยกัน แต่ในวันนี้ ผมได้นำรูปเหรียญของหลวงพ่อท่านคล้ายรุ่นแรก ซึ่งสร้างในปีพ.ศ.2498 ทั้งเหรียญบล็อกสองขอบและบล็อกขอบเดียวมาให้ชมกันครับ สำหรับเหรียญรุ่นแรกนี้ ทั้งสองบล็อกสวยๆ สนนราคาหลักแสนเลยทีเดียวครับ แต่ถ้าเป็นบล็อกสองขอบจะนิยมกว่าบล็อกขอบเดียว และจะมีราคาสูงกว่าบล็อกขอบเดียวครับ

 
ขอขอบคุณเว็บอลังการพระเครื่องครับ

5
พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ


พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ พระเกจิเอกด้านจตุคามฯ

คอลัมน์ มงคลข่าวสด




พระเกจิอาจารย์ อายุเกิน 100 ปี นับวันจะเหลือน้อยลงทุกที ทางสายใต้ก็มีรูปนี้กำลังโด่งดังมาก ท่านมีนามคุ้นหูเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมวัตถุมงคล สายใต้

"พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ" ปัจจุบันมักได้รับอาราธนานิมนต์ไปนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก และกดพิมพ์นำฤกษ์วัตถุมงคลยอดนิยม "จตุคามรามเทพ" อยู่บ่อยครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่แถวภาคใต้ เพราะติดปัญหาเรื่องการเดินทาง

ความชราไม่เป็นปัญหากับหลวงพ่อเอื้อม ด้วยความเมตตาที่เปี่ยมล้น อยากให้คณะศรัทธามีวัตถุมงคลมากพุทธคุณไว้บูชา วัดใกล้หรือไกลหากจัดพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษกวัตถุมงคลแล้วทำใบฎีกานิมนต์ มา ท่านไม่เคยปฏิเสธ

บางครั้งศิษย์ของท่านเองต้องขอร้อง เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ

"1 ศตวรรษ 5 แผ่นดิน" พ่อท่านเอื้อม พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวท ทองทั้งแท่ง เพชรแท้แห่งลุ่มน้ำปากพนัง เจ้าอาวาสวัดสุวรรณจัตตุพลปันนาราม (วัดบางเนียน) ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

ถือกำเนิด ณ บ้านเลขที่ 68 หมู่ที่ 12 ต.การะเกด อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ปีระกา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2449 นับถึงปัจจุบันสิริอายุ 101 ปี

หลังจบการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนใกล้บ้านแล้ว ประกอบอาชีพทำนาช่วยเหลือครอบครัว

อุปสมบทเมื่ออายุ 65 ปี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2514 เวลา 13.45 น. ณ พัทธสีมา วัดปากเชียร อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพระครูถาวรบุญรัต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมานิต มานิโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา "กตปุญโญ"

ตามประวัติก่อนอุปสมบท ท่านเคยเป็นเสือเก่ามาก่อน และได้เคยปะทะกับท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ต่างคนต่างมีวิชาสายสำนักเขาอ้อเหมือนกัน จนในที่สุดท่านทั้งสองคบหาเป็นสหายกัน

ต่อมาท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้แนะนำให้ท่านไปบวชกับพ่อท่านคล้าย วัดจันดี

แต่พ่อท่านคล้ายท่านชราภาพมากแล้ว จึงแนะนำให้ไปบวชกับพระรูปอื่น ก่อนบวชท่านได้บอกว่าถ้าบวชกับพระรูปไหนจะไปสึกกับพระรูปนั้น ในที่สุดท่านก็ได้อุปสมบทกับพระครูถาวรบุญรัต ในเวลาต่อมาท่านพระครูถาวรบุญรัตได้มรณภาพลง พ่อท่านเอื้อมจึงลาสิกขาไม่ได้ตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน

การศึกษาพุทธาคม หลังจากอุปสมบทแล้วอยู่จำพรรษาวัดปากเชียรศึกษาข้อวัตรปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน จากนั้นได้จาริกธุดงค์ตามป่าเขา ขึ้นเหนือถึงประจวบคีรีขันธ์ ลงใต้สำนักอาจารย์เขาอ้อ ไปสุดชายแดนมาเลเซีย

ระหว่างธุดงค์ได้สร้างวัดตามสถานที่ต่างๆ รวมได้ 7 วัด ได้แก่ วัดท้ายทะเล อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, วัดเนินธัมมัง อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, วัดไสไท อ.เมือง จ.กระบี่, สำนักสงฆ์สะเดา อ.เมือง จ.ชุมพร, สำนักสงฆ์เขาวงแหวน อ.ห้วยยอด จ.ตรัง, สำนักสงฆ์ควรเขาดิน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี และวัดบางเนียน อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช กิตติคุณเป็นที่กล่าวขานเรื่องเมตตา มหานิยม คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย

วัตถุมงคลเข้มพลังมากประสบการณ์ เช่น เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2533 อายุ 82 ปี ตะกรุดผ้ายันต์ พระผง รูปหล่อบูชา เป็นต้น

พ่อท่านเอื้อมศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ระหว่างธุดงค์ปักกลดตามป่า ถ้ำ และเดินข้ามภูเขาน้อยใหญ่รวม 69 ลูก การปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดของพ่อท่านเอื้อมจึงเชื่อกันว่าพ่อท่านได้ บรรลุธรรมขั้นสูง นอกจากศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแล้ว พ่อท่านเอื้อมยังได้ศึกษาค้นคว้าทางไสยเวท และวิทยาคมทั้งศาสตร์อิสลาม พราหมณ์ ขอม และพุทธ มาตั้งแต่อายุ 16 ปีจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้พ่อท่านเอื้อมมีความรู้แตกฉาน ลึกซึ้งและแกร่งกล้าทางด้านไสยศาสตร์ เวทมนตร์ คาถา อาคม ในทุกด้าน

ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เพชรน้ำหนึ่งของภาคใต้ ที่มีตบะบารมีอันสูงยิ่ง วัตถุมงคลที่พ่อท่านเอื้อมอธิษฐานจิตหรือปลุกเสกจะมีอิทธิปาฏิหาริย์และ ประสบการณ์ทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ และเมตตามหานิยม ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปบูชาจนนับครั้งไม่ถ้วน ศิษยานุศิษย์ ผู้ศรัทธาและบุคคลทั่วไปจึงเคารพนับถือ ศรัทธา แสวงหาวัตถุมงคลของพ่อท่านเอื้อมไว้บูชา และไปคารวะกราบไหว้พ่อท่านเอื้อมกันมากมายตลอดเวลา

ปัจจุบัน "พ่อท่านเอื้อม" ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิเอกอุด้านจตุคามรามเทพรูปหนึ่ง

หน้า: [1]