กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 [10]
91


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๖๐...

...ชีวิต..จิต..วิญญาณ
ต่างต้องการดิ้นรนแสวงหา
เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข
แม้นเพียงน้อยนิดก็ยินดี
ทำให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป
...มนุษย์
เสพสุขอยู่กับความฝัน
จินตนาการไปกับคืนวัน
สร้างฝันเพื่อปลอบใจตนเอง
บางครั้งก็สุขสมหวัง
บางครั้งพลาดพลั้งฝันสลาย
สลับสับเปลี่ยนกันไป
ไม่มีอะไรจริงแท้และแน่นอน
...ฝันไปเถิดเจ้าจงฝัน
ฝันให้ไกล ไปให้ถึงซึ่งความฝัน
อย่าท้อแท้เลิกร้างเสียกลางคัน
จงสานฝันนั้นให้เห็นความเป็นจริง
...เพื่อเป็นรางวัลแก่ชีวิต จิต วิญญาณ....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๘ มกราคม ๒๕๖๕...
92


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๙...
...ปรารภธรรมและคำกวีในยามก่อนรุ่งอรุณ...

...สายลมยังเปลี่ยนทิศ จิตคนก็เปลี่ยน
แปลง เมื่อมีเรื่องของผลประโยชน์มา
แอบแฝง เจตนาที่เคยบริสุทธิ์ก็หายไป
เพราะใจนั้นไม่มั่นคงในพระสัทธรรม
ปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำ ก่อเกิด
ซึ่งอกุศลกรรม อกุศลจิต ลืมหมู่มิตรและ
ครูบาอาจารย์...

๐ สายลม พัดพา ความหนาว
เรื่องราว ของเช้า วันใหม่
ยอดสน ต้องลม แกว่งไกว
เอนไป ตามสาย ลมแรง
๐ หมู่เมฆ บนฟ้า กระจาย
ลับหาย เมื่อยาม ต้องแสง
ฟ้าใส อากาศ เปลี่ยนแปลง
แสดง ถึงกาล เวลา
๐ เปลี่ยนแปลง ไปตาม วิถี
ที่มี มานาน หนักหนา
คู่โลก คู่กาล นานมา
ดินฟ้า อากาศ ฤดู
๐ โลกนี้ มันเป็น เช่นนั้น
แปรผัน ตามที่ เป็นอยู่
เอาโลก นั้นมา เป็นครู
เรียนรู้ กับโลก ด้วยธรรม
๐ ฝึกฝน ปรับกาย ปรับจิต
เพื่อคิด ให้พบ สุขล้ำ
น้อมกาย น้อมจิต น้อมนำ
เอาธรรม มาเป็น อารมณ์
๐ เรียนรู้ ฝึกทำ กรรมฐาน
ตามกาล เพื่อความ เหมาะสม
ทางโลก ทางธรรม กลืนกลม
ผสม ให้เป็น หนึ่งเดียว
๐ เอาธรรม นำทาง สร้างสรรค์
ร่วมกัน เข้ามา เกาะเกี่ยว
รวมกาย รวมจิต กลมเกลียว
กายเดียว จิตเดียว รู้ทัน
๐ ตามดู ตามรู้ กายจิต
พินิจ ด้วยจิต สร้างสรรค์
ดูกาย ดูใจ ทุกวัน
ให้ทัน กับความ เปลี่ยนแปลง
๐ ทุกอย่าง มีเกิด และดับ
สลับ ไปทุก หนแห่ง
ทำไป ตามที่ มีแรง
แสดง ให้เห็น เป็นจริง
๐ ความจริง คือพระ ไตรลักษณ์
คือหลัก ของทุก สรรพสิ่ง
คือโลก แห่งความ เป็นจริง
จิตนิ่ง สงบ พบธรรม.....

... ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๗ มกราคม ๒๕๖๕...
93


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๘...

๐ ธรรมทาน ๐
...ธรรมทานนี้เลิศกว่าทานทั้งหลาย...
...การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคล
ผู้เงี่ยหูลงรับฟัง นี้เลิศกว่าการพูด
ถ้อยคำอันเป็นที่รัก
...การชักชวนผู้ไม่ศรัทธา ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
...ชักชวนผู้ละเมิดศีล ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยศีล
...ชักชวนผู้ไม่อยากให้ ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยการปันให้
...ชักชวนผู้มีปัญญาทราม ให้ตั้งมั่น
ทรงไว้ ได้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย
...จากพระไตรปิฎก ภาษาไทยฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๓ “ พลสูตร “ ข้อที่๒๐๙...
...สภาวธรรมเป็นของเฉพาะตน
รู้ได้ด้วยการปฏิบัติ เหมือนดั่งคำ
โบราณท่านกล่าวว่า" สิบปากว่า
ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่า
มือคลำ สิบมือคลำ ไม่เท่าทำเอง "
...การเข้าใจในสภาวธรรมเกิดขึ้น
ในจิต มิใช่คิดไปเอง แยกอารมณ์
ความรู้สึกออกจากกัน มีสติตั้งมั่น
ไม่เสื่อมคลาย ทำความเข้าใจใน
สภาวะจิต ว่าความคิดนั้นเกิด
จากสิ่งใด สัญญา อุปาทาน ผัสสะ
แล้วจะพบสภาวธรรมที่แท้จริง
...พฤติกรรมภายนอกไม่สามารถ
บ่งบอกสภาวะภายในได้เสมอไป
สภาวะจิต สภาวธรรมนั้นอยู่ภายใน
เป็นของที่รู้ได้เฉพาะตน...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๖ มกราคม ๒๕๖๕...
94


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๗...

...การปลดเปลื้องภาระทั้งหลายใกล้
จะสิ้นสุดลงในไม่ช้านี้ พยายามเร่งบริหาร
จัดการให้ทุกอย่างที่วางแผนไว้ให้ลงตัว
ให้ทุกอย่างเดินต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง
รอวันเวลาที่จะกลับคืนสู่สามัญ เพื่อเดินไป
ตามเส้นทางที่มุ่งหวังและตั้งใจ กลับไปสู่
ธรรมชาติแห่งธรรมอย่างแท้จริง...
...ธรรมชาติแห่งธรรม...
...สรรพสิ่งไม่หยุดนิ่งเคลื่อนไหว
แปรเปลี่ยนไปตามจังหวะและฤดูกาล
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ไม่นานก็ดับสะลายไป
สิ่งใหม่ก็เคลื่อนไหวเกิดข้นแทนที่
เป็นอย่างนี้ต่อเนื่องสืบต่อเรื่อยมา
จนไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
เพราะว่าจิตใจนั้นหลงใหลเผลอสติ
ลืมกายลืมจิตไม่ได้คิดพิจารณา
จึงไม่รู้ว่ามีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปทุกขณะ...
...ธรรมะเป็นเรื่องของการกระทำ
ไม่ใช่คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์หรือใบลาน
ไม่ใช่การอ่านให้จำได้แล้วเอาไปอวดรู้
ธรรมะทั้งหลายอยู่ที่กายและที่จิต
อยู่ในทุกความคิดและทุกอย่างที่ทำ
เพราะว่าธรรมะนั้นคือธรรมชาติของจิต
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามจังหวะเวลาและโอกาส
สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลาย...
...ดูหนังดูละครแล้วจงย้อนมาดูกาย
ให้ใจนั้นมาอยู่กับเนื้อกับตัว
ไม่หลงเมามัวไปตามกิเลสและตัณหา
มีสติสัมปชัญญะระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อม
น้อมเข้ามาระลึกรู้ถึงกายและจิตของตัวเอง
ดูกาย ดูจิต ให้รู้ความคิด ให้รู้การกระทำ
มีคุณธรรมคือความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
คุ้มครองจิตในการที่จะคิดและในการที่จะกระทำ
ทำได้อย่างนั้นแล้วท่านจะพบกับความสุขในชีวิต...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๕ มกราคม ๒๕๖๕...
95


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๖...

...เมื่อจิตของเราอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทุกอย่างรอบกายที่ได้พบเห็นก็จะเป็น
ธรรมะไปหมด โศลกธรรมต่างๆก็จะ
เกิดขึ้นแก่จิต ซึ่งเรียกว่า" อุทานธรรม "
เพราะจิตกำลังพิจารณาอยู่กับปัจจุบันธรรม
ทำให้อกุศลจิตไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
ก็เพราะใจของเรานั้นเป็นกุศล ความเป็น
มงคลก็ย่อมมีแก่เรา ผู้รักษาธรรม...

... ปีเก่าหรือปีใหม่ ทำอะไรแล้วหรือยัง..?

๐ ไม่มีคำ อวยพร ที่อ่อนหวาน
เนื่องในกาล เวลา ที่มาถึง
มีแต่เพียง ข้อคิด ให้คำนึง
สิ่งที่พึง ครวญคิด พิจารณา

๐ เคยทบทวน นึกคิด กันบ้างไหม
มีอะไร เป็นแก่นแท้ และเนื้อหา
จากอดีต ของกาล ที่ผ่านมา
สร้างคุณค่า ให้ชีวิต แล้วหรือยัง

๐ วันเวลา ผ่านไป คือสมมุติ
ที่ไม่หยุด อย่าได้ ไปมุ่งหวัง
กำหนดนับ บอกยาม ตามกำลัง
ไม่ให้พลั้ง ให้พลาด คาดคะเน

๐ทุกขณะ ของจิต ที่ตื่นอยู่
ระลึกรู้ กายใจ ไม่หันเห
สติมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ซวนเซ
ไม่โลเล ตั้งใจ ทำให้จริง

๐ ทำในสิง ที่ชอบ ประกอบกิจ
ไม่เป็นพิษ เป็นภัย ในทุกสิ่ง
เอาหลักธรรม นำทาง ใช้อ้างอิง
ให้จิตนิ่ง ระลึกรู้ อยู่ทั่วกาย

๐ มีสติ มีธรรม นำชีวิต
รู้ถูกผิด รู้เห็น ในความหมาย
เพราะหนทาง แห่งความดี มีมากมาย
จงขวนขวาย ประกอบกรรม ทำความดี

๐ ให้ชีวิต ของเรานี้ นั้นมีค่า
คุ้มราคา ที่ได้เกิด บนโลกนี้
การได้เกิด เป็นมนุษย์ สุดจะดี
เพราะว่ามี เวลา จะสร้างบุญ

๐ อย่าให้วัน นั้นผ่านไป โดยไร้ค่า
เพียรเสาะหา ความดี มาเกื้อหนุน
สร้างความดี สะสมไว้ ให้เป็นทุน
บุญเกื้อหนุน จะส่งให้ ได้ไปดี....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๔ มกราคม ๒๕๖๕...
96


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๕...

...เรื่องของพระนั้นต้องปฏิบัติ
ตามหลักของพระธรรมวินัย
พวกฆราวาสที่ไม่เข้าใจเรื่อง
ของศาสนา อย่าเอาความคิด
ของตนเองมาตัดสิน มันจะเป็น
บาปเป็นกรรมต่อเองและครอบครัว
เพราะจะกลายเป็นผู้ร่วมทำลาย
พระพุทธศาสนาให้เสื่อมลง...

...กวีธรรมจากรอยทางที่ย่างผ่าน...
๐ สายลม พัดพา ความหนาว
เรื่องราว ของเช้า วันใหม่
ยอดสน ต้องลม แกว่งไกว
เอนไป ตามสาย ลมแรง
๐ หมู่เมฆ บนฟ้า กระจาย
ลับหาย เมื่อยาม ต้องแสง
ฟ้าใส อากาศ เปลี่ยนแปลง
แสดง ถึงกาล เวลา
๐ เปลี่ยนแปลง ไปตาม วิถี
ที่มี มานาน หนักหนา
คู่โลก คู่กาล นานมา
ดินฟ้า อากาศ ฤดู
๐ โลกนี้ มันเป็น เช่นนั้น
แปรผัน ตามที่ เป็นอยู่
เอาโลก นั้นมา เป็นครู
เรียนรู้ กับโลก ด้วยธรรม
๐ ฝึกฝน ปรับกาย ปรับจิต
เพื่อคิด ให้พบ สุขล้ำ
น้อมกาย น้อมจิต น้อมนำ
เอาธรรม มาเป็น อารมณ์
๐ เรียนรู้ ฝึกทำ กรรมฐาน
ตามกาล เพื่อความ เหมาะสม
ทางโลก ทางธรรม กลืนกลม
ผสม ให้เป็น หนึ่งเดียว
๐ เอาธรรม นำทาง สร้างสรรค์
ร่วมกัน เข้ามา เกาะเกี่ยว
รวมกาย รวมจิต กลมเกลียว
กายเดียว จิตเดียว รู้ทัน
๐ ตามดู ตามรู้ กายจิต
พินิจ ด้วยจิต สร้างสรรค์
ดูกาย ดูใจ ทุกวัน
ให้ทัน กับความ เปลี่ยนแปลง
๐ ทุกอย่าง มีเกิด และดับ
สลับ ไปทุก หนแห่ง
ทำไป ตามที่ มีแรง
แสดง ให้เห็น เป็นจริง
๐ ความจริง คือพระ ไตรลักษณ์
คือหลัก ของทุก สรรพสิ่ง
คือโลก แห่งความ เป็นจริง
จิตนิ่ง สงบ พบธรรม.....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๓ มกราคม ๒๕๖๕...
97


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๔...

...พุทธพจน์ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐาน
ให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่
มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่
อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนัง
มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย
มีหลังคาป้องกันลมแดดและฝน
ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก
แดดออกก็ไม่ร้อน
...ฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิดีก็ฉันนั้น
ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวาย
เมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรม
แผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามา
ครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ย่อมก่อ
ให้เกิดปัญญา ในการฟาดฟันย่ำยี
และเชือดเฉือนกิเลสอาสาวะต่างๆ
ให้เบาบางและหมดสิ้นไป
เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตรา
อันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียน
ก็ปานกัน "
...นั้นคืออานิสงส์แห่งการฝึกสติ
โดยการรักษาศีล มีศีลเป็นพื้นฐาน
ในการเจริญจิตภาวนา ตามหลัก
ของพระพุทธศาสนาในไตรสิกขา ๓....
...ทบทวนกวีธรรมในยามเช้า...
๐ ยามเย็น น้อมจิต คิดธรรม
น้อมนำ ธรรมมา ใคร่ครวญ
ฝึกจิต ให้คิด ทบทวน
สิ่งควร ที่จะ จดจำ
๐ เตรียมกาย เตรียมจิต คิดทำ
น้อมนำ ทำด้วย สติ
ทำจิต ให้เป็น สมาธิ
ดำริ คือคิด ก่อนทำ
๐ มองงาน ให้แตก แยกงาน
อย่าผ่าน พินิจ คิดซ้ำ
มองงาน มองด้วย หลักธรรม
เพลี่ยงพล้ำ ไม่เกิด แก่เรา
๐ รู้เห็น เข้าใจ ปัญหา
ปัญญา ทำให้ ไม่เขลา
ทำกาย ทำจิต โปร่งเบา
รู้เท่า รู้ทัน อารมณ์
๐ ชีวิต คือการ ทำงาน
ต้องผ่าน ซึ่งการ สะสม
เรียนรู้ สู่โลก สังคม
เหมาะสม กับวัน เวลา
๐ รู้โลก รู้ธรรม นำจิต
พินิจ และหมั่น ศึกษา
เจริญ สติ ภาวนา
ปัญญา เกิดได้ จากธรรม....

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๒ มกราคม ๒๕๖๕...
98


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๓...

...การปฏิบัติธรรมนั้นหลายท่าน
ได้กระทำไปโดยไม่รู้ตัวว่ากำลัง
ปฏิบัติธรรมอยู่ ในชีวิตประจำวัน
เพราะว่าการปฏิบัติธรรมคือการ
เจริญสติ การเจริญสัมปชัญญะ
ในสภาวะแห่งปัจจุบันธรรม
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะถุกปลูกฝัง
ให้ติดยึดในรูปแบบ ว่าการปฏิบัติ
นั้นมันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากต้องมี
เวลาว่าง ต้องไปวัดรับศีล ถือศีล
นุ่งขาวห่มขาว ต้องไหว้พระสวดมนต์
ต้องนั่งสมาธิ ต้องเดินจงกรม
ต้องฟังธรรม จึงจะเป็นการปฏิบัติธรรม
ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติ
เพราะว่าไปติดยึดในรูปแบบ
ในพยัญชนะในตัวอักษร ไม่ได้สนใจ
ในเนื้อหาอรรถธรรมว่ามันเป็นมา
อย่างไร มันจึงเป็นการสอนอย่าง
“ เถรส่องบาตร “ คือการทำตามๆ
กันมาโดยไม่รู้เนื้อหาและเจตนา
ที่เขาทำ ว่ามันมีที่มาอย่างไร
ว่าทำไมเขาจึงทำแบบนั้น ซึ่งเป็น
การกระทำโดยขาดปัญญา ขาดการ
พิจารณา วิเคราะห์ ใคร่ครวญและ
ตริตรอง ไม่ได้มองให้เห็นซึ่งที่มา
และที่ไป เหตุและปัจจัยของสิ่ง
เหล่านั้น มันจึงเป็นการกระทำ
ที่งมงาย เพราะไร้ซึ่งการคิด
พิจารณา ขาดปัญญาในการกระทำ...

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๑๑ มกราคม ๒๕๖๕...
99


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๒...

...“ จงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แต่อย่าได้
มักง่ายในการใช้ชีวิต ” ชีวิตที่เรียบง่าย
นั้นเป็นไปโดยหลักแห่งความพอเพียง
ในการเลี้ยงชีวิต ยังคงทำกิจตามบทบาท
และหน้าที่ของตน มีความอดทน ขยันขันแข็ง
มีระเบียบวินัยของชีวิต เพียงแต่จิตนั้นไม่
ทะเยอทะยานอยาก ฟุ้งเฟ้อไปมากกว่า
กำลังของตนเองที่มีอยู่ ทำให้ชีวิตนั้นมี
ความสงบสุข ไม่ทุกข์กับการดิ้นรนเพื่อ
สนองตอบตัณหาความอยากของตนเอง
...ส่วนการมักง่ายในการใช้ชีวิต นั้นเกิดมา
จากจิตที่เกียจคร้านทอดทิ้งธุระที่ตนนั้นพึง
กระทำ ไม่ยอมทำตามบทบาทและหน้าที่
ของตน ไม่มีความขยันและอดทน เป็นคน
ไม่มีระเบียบวินัยของชีวิต ไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น
เพราะไม่มีวิจารณญาณ ต้องการเพียงตอบ
สนองตัณหาความอยากของตนเอง ขาดซึ่ง
จิตสำนึกต่อส่วนรวม ทำแต่ในสิ่งเป็นประโยชน์
แก่ตนเพียงอย่างเดียว ถ้าตนไม่ได้รับผลประโยชน์
ตอบแทน จะไม่ลงมือกระทำ ไม่สนใจสังคม
รอบข้างว่าจะมีผลกระทบอย่างไร จิตใจมัก
จะคับแคบเห็นแก่ตัว
...คนที่ขี้เกียจมักง่ายนั้น มักจะอ้างว่าตน
เป็นผู้ปล่อยวาง ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
เพราะเขาไม่อยากขวนขวายทำกิจของตน
ที่ต้องพึงกระทำ ดั่งคำครูบาอาจารย์ได้
กล่าวสอนไว้ให้พิจารณา...
...จงอยู่อย่างเรียบง่าย แต่อย่าอยู่อย่างมักง่าย
...จงพยายามปล่อยวาง แต่อย่าได้ทอดทิ้งธุระ
...จงพูดแต่สิ่งที่ดี แต่อย่าดีแต่พูด จงลงมือทำด้วย
...จงอยู่อย่างไร้รูปแบบ แต่อย่าไร้ซึ่งระเบียบวินัย
...เมื่อมีระเบียบวินัยต่อชีวิต กฎกติกาก็ไม่ต้องกำหนด
...ความเจริญในธรรมทั้งหลาย เกิดได้ด้วยกุศลจิต

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม...
...๑๐ มกราคม ๒๕๖๕...
100


...บันทึกเส้นทางบนสายธรรม บทที่ ๕๑...

...ชีวิตที่ดำเนินมานั้น ได้สร้างสรรค์
สิ่งที่ดีงามต่อสังคม ตามวิถีโลกและ
วิถีธรรม ไม่ได้ทำเพื่อสนองตัณหา
ของตนเอง แต่เป็นไปด้วยจิตสำนึก
แห่งคุณธรรม ทำไปตามกำลังเท่าที่
จะทำได้ สิ่งที่ได้รับนั้นหรือคือความ
ปีติสุขใจ จากสิ่งที่คิดและกิจที่ได้ทำ
...ไม่ได้หวังจะดังเด่นจึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละซึ่งมานะและอัตตา
ท่องไปบนโลกกว้างบนเส้นทางแสวงหา
ก้าวผ่านกาลเวลาพิสูจน์ค่าคำว่าคน...
...ใบไม้
ยามเจ้าอยู่บนกิ่งใบ
เจ้านั้นช่วยสร้างสีสัน
และมีประโยชน์อนันต์
ต่อพืชพรรณและธรรมชาติ
ถึงคราวที่เจ้าร่วงหล่น
เจ้ายังมีผลประโยชน์ต่อพื้นดิน
ย่อยสะลายเป็นปุ๋ยให้พืชได้ดูดกิน
เจ้าไม่เคยสิ้นประโยชน์เลย...ใบไม้เอย
...คนเอย
วันเวลาที่ผ่านไป
เจ้าได้สร้างประโยชน์อะไรแล้วรึยัง
เพื่อให้คนข้างหลังได้ภาคภูมิใจ
เจ้าได้สร้างทำประโยชน์อะไร
ให้กับตนเองและสังคมรอบข้าง
ให้เขาทั้งหลายได้ชื่นชมยินดี
หลังจากเจ้านั้นได้ตายไปแล้ว
หรือให้เจ้าได้ภาคภูมิใจก่อนตาย
...คนเอย
อย่าให้ชีวิตไร้ค่ากว่าใบไม้
อย่าให้เวลาที่ผ่านไปนั้นเปล่าประโยชน์
สร้างแต่สิ่งที่เป็นโทษอันก่อให้เกิดบาปกรรม
เจ้าควรที่จะคิดและควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล
ให้เป็นมงคลแก่ชีวิตให้เป็นนิมิตที่ดีแกตนเอง
จงใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่เจ้านั้นได้ผ่านมา
อย่าให้ชีวิตของเจ้านั้นไร้ค่ากว่าใบไม้...คนเอย

...ปรารถนาดีด้วยไมตรีจิต...
...รวี สัจจะ - สมณะไร้นาม...
...๙ มกราคม ๒๕๖๕...
หน้า: 1 ... 3 4 5 6 7 8 9 [10]