หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล > สนทนาภาษาผู้ประพฤติ

ปฎิบัติธรรม........เรื่องใกล้ตัวหรือไกลตัว

(1/3) > >>

derbyrock:
หลายคนคงเคยมีความคิดแบบนี้ อยากปฎิบัติธรรมแต่ติดตรงที่ตัวเองไม่มีเวลาไปปฎิบัติที่วัด บางทีอยากนั่งสมาธิแต่ไม่รู้จะทำยังไง เริ่มต้นอย่างไร จะไปปฎิบัติธรรม3วัน7วัน ก็ลางานไม่ได้ อยากจิตใจสงบอยากไปวัดป่า แต่ยังหาเวลาไปไม่ได้ อยากปฎิบัติธรรมต้องหาชุดขาวมาใส่ เลยยังไม่ได้ไปซื้อ สรุปคืออยากปฎิบัติธรรม อยากสงบ แต่ติดตรงไม่มีเวลา ติดเงื่อนไขต่างๆ เลยไม่ได้ปฎิบัติซะที อยากสงบ เลยไม่ได้สงบ เรามาหาคำตอบ แนวทางที่เราจะปฎิบัติธรรม มาทำให้เรื่องปฎิบัติธรรมเป็นเรื่องง่ายๆใกล้ตัว เราจะได้เริ่มลงมือปฎิบัติธรรมกันตั้งแต่วันนี้ ถึงวันนี้ผมพอรู้แนวทางแต่ผมคงไม่กล้าตอบในคำถามที่ผมตั้งได้ เพราะปัญญาในธรรมผมมีน้อยนิด จึงขอรบกวนผู้รู้ วานตอบที หรือ รบกวนพระอาจาร์ยช่วยเมตตา ชี้ทางให้ด้วยครับ

SiMPle:

อาศัยบ้านไกล นั่งรถตู้ไปทำงาน ระหว่างทางก็กำหนดจิตไปด้วย (บางวันก็หลับ - -')

ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เริ่มแล้วบอกว่าทำไม่ได้

รอพระอาจารย์เมตตาด้วยคนะค่ะ

yout:
กำหนดที่ลมหายใจเข้าออก พุทโธ ทุกเมื่อก็ได้ครับ.............. :114: :114: :114:............สวัสดี

รวี สัจจะ...:
 :059:การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการทำที่ใจ มิใช่ภายนอก(ท่าทางหรือการแต่งกาย) แต่เป็นการทำภายในคือที่ใจของเรา การปฏิบัติเป็นเรื่องง่ายๆที่ใกล้ตัว สามารถที่จะทำได้ทุกเวลา ทุกโอกาศ ทุกสถานที่ ...แต่ที่เราคิดว่าเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของคนที่ต้องมีเวลาว่างนั้น เพราะเราไปติดยึดในรูปแบบ มากเกินไป ซึ่งเกิดจากการที่เราได้ยินได้ฟัง ได้เห็นเขาทำกัน ว่าการปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องไปสมาทานศีล
นุ่งขาว ห่มขาว ต้องนั่งสมาธิ ต้องเดินจรงกรม ต้องไปปฏิบัติตามป่าตามเขาหรือต้องไปหาที่สงบตามที่ปฏิบัติธรรมต่างๆนั้น มันเป็นความเชื่อที่ถูกปลูกฝังกันมา ให้มันเป็นรูปแบบของการปฏิบัติ มันเลยเป็นการจำกัดขอบเขตของการปฏิบัติให้แคบลง และเมื่อเราไปติดยึดในรูปแบบมันก็เลยทำให้เราอึดอัด ในการปฏิบัติ(เพราะถูกจำกัดด้วยรูปแบบ)
      การปฏิบัติธรรมนั้นมันต้องให้เหมาะสมกับตัวเรา คือไม่เป็นภัยต่อชีวิต ไม่เป็นพิษต่อผู้อื่น ไม่ฝ่าฝืนศีลธรรมและวินัย เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยกุศล พัฒนาตนให้มีคุณธรรม...ก่อนปฏิบัติธรรมให้มีความอยากที่จะปฏิบัติ แต่เมื่อขณะกำลังปฏิบัติเราต้องละความอยาก(ตัณหาละตัณหา)....การปฏิบัติธรรมทุกอย่างเริ่มจากจิต คือเริ่มที่ความคิดของตัวเรา เริ่มแรกให้เราฝึกคิดให้เป็นกุศลเสียก่อน คือฝึกคิดถึงแต่เรื่องที่ดีๆ
ไม่คิดในทางที่ผิดศีลธรรมและกฏหมาย  ฝึกคิดไปจนใจมันอยู่กับบุญมากกว่าบาป โดยมีองค์แห่งคุณธรรมคือหิริ โอตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นตัวควบคุมความคิด
      เมื่อคิดจนจิตของเราเป็นกุศลจิตแล้ว เราจึงเข้าสู่การเจริญสติโดยการสังเกตุกิริยาอาการของตัวเราเอง(การเคลื่อนไหวของร่างกาย)เรียกว่าเอาใจมาอยู่กับเนื้อกับตัว  ดูไปเรื่อยๆทันบ้างไม่ทันบ้างอย่าไปเครียดกับมัน  แต่ต้องหมั่นดูอย่างสม่ำเสมอ  ทำไปเรื่อยๆจนเรารู้สึกว่าเรารู้ทันอาการความเคลื่อนไหวทางกายของเรา ดำเนินชีวิตของเราไปตามปกติ แต่ให้มีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
      ส่วนการภาวนานั้น เราต้องดูเวลาว่าเรามีเวลาว่างจากหน้าที่ภาระการงานตอนไหน มีเวลานานเท่าไหร่ที่เป็นส่วนตัว ถ้ามีเวลาเพียงพอประมาณครึ่งชั่วโมงขึ้นไป เราจึงจะทำได้ เพราะจะได้ไม่เสียในเรื่องหน้าที่และการงาน.....(เลือกหาเวลาทีเป็นส่วนตัวของเรา)
      การปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการกระทำเฉพาะตน ไม่ใช่การแสดง(โชว์)ให้ผู้อื่นเขายกย่องชมเชยเรา (ภายนอกเคลื่อนไหว แต่ภายในสงบ)
อย่าไปโอ้อวดว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม  อย่าเอาการปฏิบัติของเราไปข่มผู้อื่น  ให้รู้แก่ใจว่าเรากำลังทำอะไร และทำเพื่ออะไร จงรักษาใจของเรา
ให้เป็นกุศล อย่าทำตนให้แปลกแยกเป็นคนแปลกประหลาดในสังคม ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ในหน้าที่บทบาทและตำแหน่ง
 :059:สิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นคือการปฏิบัติธรรม :059:ทำอย่างเรียบง่าย สบายๆไร้รูปแบบ แต่อย่าไร้สาระ :069:
             ขอความเจริญในธรรมจงบังเกิดมีแก่ผู้ใฝ่ธรรม
                       รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา๑๔.๓๖ น. ณ ริมฝั่งโขง ชายแดนประเทศไทย

derbyrock:
กราบนมัสการพระอาจาร์ย ขอบพระคุณที่ชี้แนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version