หมวด ธรรมะ และ นอกเหตุ เหนือผล > สนทนาภาษาผู้ประพฤติ

ระดับขั้นสมาธิ

(1/2) > >>

derbyrock:
ระดับขั้นของสมาธิ
แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นกล่าวคือ
๑.สมาธิที่เกิดขึ้นชั่วขณะ แต่ตั้งมั่นอยู่ได้ไม่ได้นาน (ขณิกสมาธิ)
๒.สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นิ่งสงบ และนิ่งสงบนานกว่าระดับแรกแต่ยังไม่สามารถตัดขาดจากสิ่งรบกวนภายนอกหรือเรียกว่าสมาธิขั้นจวนเจียน (อุปจารสมาธิ)
๓.สมาธิที่แนบแน่นและมั่นคงอยู่ในอารมณ์นั้นๆ จนตัดจากสิ่งรบกวนภายนอกได้สิ้น เป็นสมาธิในฌาน (อัปปนาสมาธิ)กราบนมัสการรบกวนพระอาจาร์ย ช่วยอธิบายเพิ่มเติมระดับขั้นของสมาธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและเป็นความรู้ให้กับผู้สนใจที่จะปฎิบัติครับ

รวี สัจจะ...:

--- อ้างจาก: derbyrock ที่ 02 ก.ค. 2552, 09:22:17 ---ระดับขั้นของสมาธิ
แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นกล่าวคือ
๑.สมาธิที่เกิดขึ้นชั่วขณะ แต่ตั้งมั่นอยู่ได้ไม่ได้นาน (ขณิกสมาธิ)
๒.สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นิ่งสงบ และนิ่งสงบนานกว่าระดับแรกแต่ยังไม่สามารถตัดขาดจากสิ่งรบกวนภายนอกหรือเรียกว่าสมาธิขั้นจวนเจียน (อุปจารสมาธิ)
๓.สมาธิที่แนบแน่นและมั่นคงอยู่ในอารมณ์นั้นๆ จนตัดจากสิ่งรบกวนภายนอกได้สิ้น เป็นสมาธิในฌาน (อัปปนาสมาธิ)กราบนมัสการรบกวนพระอาจาร์ย ช่วยอธิบายเพิ่มเติมระดับขั้นของสมาธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและเป็นความรู้ให้กับผู้สนใจที่จะปฎิบัติครับ

--- End quote ---
:069:เจริญพรถึงผู้ที่ใฝ่ธรรม....อย่าไปยึดติดกับสมมุติบัญญัติ(ศัพย์และภาษา) แต่ให้ชัดเจนในอารมณ์ที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นอย่างไร ทำความรู้ความเข้าใจในอารมณ์นั้น ว่ามันมีอาการเป็นอย่างไร เกิดขึ้นตอนไหน ตั้งอยู่นานเท่าไร และดับไปตอนไหน มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ให้มัน
เกิดและมันดับ จดจำทางเดินของสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นนั้นให้ได้ แล้วเราจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
           ลำดับชั้นของสมาธินั้น คืออาการของจิตที่สงบโดยมีสิ่งที่ผูกจิต(สิ่งที่เราสนใจและไปมองอยู่)ภาษาธรรมเรียกว่าองค์ภาวนา ซึ่งเราทุกคนมีอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของเราคือสมาธิระดับ"ขณิกสมาธิ"คือเมื่อไรที่เราสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วมีความตั้งใจในสิ่งนั้น จิตของเราก็เข้าสู่ขั้นของ"ขณิกสมาธิ" ยกตัวอย่างเช่นตอนที่เราสวดมนต์โดยไม่ดูหนังสือ แล้วเรานึกถึงมนต์วรรคต่อไป เรารู้สึกเหมือนกับเห็นตัวหนังสือที่เราเคยศึกษามา วิ่งขึ้นมาในความรู้สึกของเรา สิ่งนั้นคือสมาธิขั้นขณิกสมาธิ
         และถ้าเราเห็นตัวอักษรชัดเจนยิ่งขึ้น จิตของเราก็จะเข้าสู่"อุปจารสมาธิ" คือมีความชัดเจน แจ่มชัดในสิ่งที่สนใจมากขึ้น มีความตั้งใจมากขึ้น
รู้และเห็นในสิ่งที่เป็นอยู่ แต่เราไม่สนใจในสิ่งรอบข้างนั้น จิตสนใจอยู่กับสิ่งที่เรากำลังมอง แต่ยังรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในขณะนั้น แต่เราไม่ไปใส่ใจ
ปล่อยให้จิตเลื่อนไหลไปตามสภาวะธรรม
        จิตเราดื่มด่ำอยู่ในอารมณ์ ชัดเจนยิ่งขึ้นในสิ่งที่เพ่งมองและเฝ้าดู รู้เฉพาะในสิ่งนั้น จิตก็เข้าสู่ขั้น"อัปปนาสมาธิ" มีสติอยู่กับสิ่งเดียวที่เฝ้าดู
ไม่รับรู้กับสิ่งรอบกาย มีความสุข ความสบายเข้าสู่อารมณ์"ฌาน" มีวิตก วิจารน์ ปิติ สุข และเอตคตา เป็นอารมณ์

۞เณรน้อยเส้าหลิน۞:
ขอบพระคุณหลวงอาที่เมตตาครับ

สาธุ สาธุ ครับ

yout:
สาธุ...........ขอครับ :114: :114: :114:

Chotipat:
ขอบพระคุณมากครับ เป็นประโยชน์ต่อผู้กำลังศึกษาอย่างมาก

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version