ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒  (อ่าน 991 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ รวี สัจจะ...

  • รองประธาน
  • *****
  • กระทู้: 1137
  • รวี สัจะ-สมณะไร้นาม-วจีพเนจร
    • ดูรายละเอียด
    • รวี สัจจะ สมณะไร้นาม (เคลื่อนไหวดุจสายลม)
บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2552, 07:38:08 »
 :059:วันนี้เป็นวันพระ....
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู
ประเพณีของท้องถิ่น ในวันพระญาติโยมจะมาทำบุญตักบาตรที่วัดกัน
สังคมในชนบทยังสืบทอดศรัทธากันมาอย่างยืนยาว
หลังจากเสร็จนาในต้นฤดูฝน ทุกคนก็พอจะมีเวลามาช่วยงานภายในวัด
ช่วยกันพัฒนาวัดวาอารามตามกำลังเท่าที่จะทำได้
ฝนตกลงมาตั้งแค่เช้า....
ลงไปทำงานภาคสนามไม่ได้
ไม่มีใครมาหามาธุระ เพราะเป็นวันพระ งดทำกิจของโยม
เลยได้มีเวลาที่จะทบทวนหลักธรรมที่ร่ำเรียนมา
ยกเรื่องมหาสติปัฏฐานมาพิจารณาเป็นอารมณ์
เพื่อให้จำได้หมายรู้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงตั้งเป็นกระทู้ไป
ลองเปลี่ยนแนวใหม่มาเขียนแบบเชิงวิชาการ
โดยยกอ้างพุทธพจน์ที่มีมาในพระไตรปิฏก
เพื่อให้มีที่มาและที่ไปเพราะส่วนใหญ่แล้วจะเขียนเรื่องสภาวะธรรม
เพราะเห็นว่าเรื่องหลักธรรมมีผู้เขียนกันมามากมายแล้ว
ผู้สนใจสามารถที่จะค้นหาได้ในตำรับตำราที่ผู้รู้ได้รจนาไว้
แต่เรื่องสภาวะธรรมนั้น.....
มันเป็นของเฉพาะตน มีเพียงคล้ายและใกล้เคียง
และบางครั้งไม่สามารถที่จะบรรยายเป็นคำพูดได้
จึงนำมาบอกเล่าเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน
และผู้ที่เคยผ่านการฝึกฝนปฏิบัติมาแล้วได้เข้าใจ
ในสิ่งที่ยังสงสัยและค้างคาใจ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร
และสิ่งที่เขียนออกไปทุกครั้งนั้นเป็นการย้ำเตือนตัวเอง
เพื่อให้ใคร่ครวญทบทวนในสิ่งที่ตนได้ทำมาและกล่าวไป
ทำไปด้วยใจเจตนาที่บริสุทธิ์ไม่ได้หวังลาภยศและชื่อเสียง
เพราะพยายามหลีกเลี่ยงหนีออกจากโลกธรรม ๘ อยู่ตลอดเวลา
ศึกษาปัญหาและจิตใจมนุษย์....
ของยุคไอทีที่ไร้ขอบเขตและไร้พรมแดน
แต่ละข้อความ แต่ละกระทู้ เข้าไปดูเพื่อศึกษา
กิเลส ตัณหา มายา และความบริสุทธิ์ใจ
มีมากมายหลายหลากที่ปรากฏออกมา
เอาทุกอย่างมาเป็นครู...เรียนรู้จากอุปสรรคและปัญหา
ตัณหาละตัณหา...ทุกข์ละทุกข์...คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา...
 :054:ขอบคุณทุกสิ่งอย่างที่ได้พบเห็นและเรียนรู้มา :054:
              เชื่อมั่น-ศรัทธา-ในความบริสุทธิ์ใจ
                   รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๗.๓๘ น. ณ กุฏิน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย
ใช่หวังจะดังเด่น  จึงมาเป็นสมณะ
เพียงหวังจะลดละ  ซึ่งมานะและอัตตา
เร่ร่อนและรอนแรม ไปแต่งแต้มแสวงหา
สัญจรร่อนเร่มา  ผ่านร้อยป่าและภูดอย
ลาภยศและสรรเสริญ  ถ้าหลงเพลินจิตเสื่อมถอย
พาใจให้เลื่อนลอย  จิตเสื่อมถอยคุณธรรม
       ปณิธานในการปฏิบัติธรรม

ออฟไลน์ derbyrock

  • คณะกรรมการ
  • *****
  • กระทู้: 2494
  • เพศ: ชาย
  • สติมา ปัญญาเกิด........ปัญหามา ปํญญามี.......
    • MSN Messenger - derbyrock@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 31 ก.ค. 2552, 08:19:52 »
เอาทุกอย่างมาเป็นครู...เรียนรู้จากอุปสรรคและปัญหา
กราบนมัสการพระอาจารย์ ขอบพระคุณสำหรับคำสอนดีๆ ผมจะเรียนรู้และปฎิบัติตามครับ

ความสุขที่แท้จริงรอคอยคุณอยู่.......เพียงแค่คุณนั่งลงแล้วหลับตา

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: บันทึกธรรม...๓๐ ก.ค.๕๒
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 21 มี.ค. 2554, 12:14:56 »
สติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ [1][2][3] (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง[4] คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง[5] โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต

มหาสติปัฏฐานสูตร​ หมายถึง ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​ ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​ทีฆนิกาย​ ​มหาวรรค​ ​เป็น​สูตรที่​ 9 ​รองสุดท้ายของวรรคนี้
สติปัฏฐานสูตร​ ​คือ​ ​พระสูตรที่กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ ​สติปัฏฐานสูตรนี้อาจมีอยู่ในพระไตรปิฎกหลายที่​แล้ว​แต่​ท่านจะ​ตั้งชื่อ​ ​แต่ที่นิยมเอามาพูด​ถึง​ ​จะ​อยู่​ใน​พระสุตตันตปิฎก​ ​มัชฌิมนิกาย​ ​มูลปัณณาสก์​ ​กล่าว​ถึง​วิธี​เจริญสติปัฏฐาน​ 21 ​บรรพะ​เหมือน​ใน​ทีฆนิกายนั่นเอง​.

โครงสร้างสูตร

ในมหาสติปัฏฐานสูตรท่านได้แสดงเรื่องเกี่ยวกับสติปัฏฐานไว้อย่างละเอียด โดยแบ่งแสดงออกเป็นข้อ ๆ เรียกว่า ปพฺพ(ปัพพะ,บรรพะ, ข้อ, แบบ) โดยในพระบาลีใช้คำว่า อปิจ(อะปิจะ - อีกอย่างหนึ่ง) เป็นเครื่องหมายในการแบ่งสติปัฏฐาน 4 อย่างลงไปอีก รวมทั้งสิ้น 21 บรรพะ เริ่มที่อานาปานบรรพะ และไปสิ้นสุดที่ สัจจบรรพะ โดยเรียงตาม พระพุทธพจน์ ได้ดังต่อไปนี้ :-

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับร่างกายไว้ 14 แบบ คือ :-

อานาปานบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องอานาปานสติคือลมหายใจเข้าออก ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
อิริยาปถบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ท่าทางของมนุษย์ ใน 4 อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
สัมปชัญญบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องโคจรสัมปชัญญะ คือการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เช่น อิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
ธาตุมนสิการบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ธาตุ 4 คือ ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม  ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
ปฏิกูลมนสิการบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง กายคตาสติ คือ องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ 32 อย่าง หรือที่เรียกว่า อาการ 32 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
-14. นวสีวถิกาบรรพะ - อธิบายแนวพิจารณาคิดเรื่องนวสีหรือ ซากศพ 9 วาระ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการได้สัมผัสรับรู้ไว้ 1 แบบ คือ :-
เวทนาบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ที่เกิดจากการสัมผัสรับรู้ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับการรับรู้ไว้ 1 แบบ คือ :-
จิตตบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่องจิตคือ การรับรู้-ความคิดคำนึงมี กิริยาจิต ทั้ง 11 เป็นต้น ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อธิบายวิธีคิดเกี่ยวกับการรับรู้ไว้ 5 แบบ คือ :-
ขันธบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง ร่างกายและจิตใจทั้งหมด ตามการจัดหมวดแบบขันธ์ 5 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
อายตนบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตามการจัดหมวดแบบอายตนะ12 โดยพิจารณาตามการยึดติดที่ผูกมัดจิตของเหล่าสัตว์ของสังโยชน์ 10 ที่ผูกจิตในทุกปัจจุบันขณะ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
นีวรณบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง จิตใจฝ่ายชั่วร้าย 5 กลุ่ม ตามการจัดหมวดแบบนิวรณ์5 อันส่งเสริมสมาธิ ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
โพชฌังคบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง จิตใจฝ่ายดีงามพร้อมจะตรัสรู้ 7 อย่าง อันส่งเสริมศีล ตามการจัดหมวดแบบโพชฌงค์7 ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
สัจจะบรรพะ - อธิบายแนวคิดพิจารณาเรื่อง สภาวะอันเป็นปรมัตถ์ ตามการจัดหมวดแบบอริยสัจ4 อันส่งเสริมปัญญา ที่เมื่อคิดตามให้มากแล้วจะสามารถละคลายอนุสัยกิเลสได้.
การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้.
แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับชำนาญเฉพาะทางอยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.
อนึ่ง ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ใน สุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ใน ปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ใน สารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ใน สัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ใน สัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการและความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ใน ขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.

เปรียบเทียบมหาสติปัฏฐานสูตรกับสติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐานสูตร กับ สติปัฏฐานสูตร ต่างกันดังนี้ :-
มหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ในทีฆนิกาย ส่วนสติปัฏฐานสูตรอยู่ในมัชฌิมนิกาย และในสังยุตตนิกายเป็นต้น
​สติปัฏฐานสูตร​ใน​มัชฌิมนิกาย ​จะ​มีการ​ใช้​เปยยาล​(ฯลฯ) ​มาย่อข้อ​ความ​ที่​ซ้ำ​ๆ​กัน​ ​จึง​ทำ​ให้​ดู​เหมือน​​สั้นลง​ ​แต่​ความ​จริง​ถ้า​แทนเปยยาล​ด้วย​ข้อ​ความ​ปรกติก็​จะ​ต้อง​มีขนาด​เท่า​ กัน
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​ทีฆนิกายนั้น​ ​บางบรรพะ​ ​เช่น​ อรรถกถาของสัมปชัญญบรรพะ ​เป็น​ต้น​ ​จะมีขนาด​สั้นกว่า​ อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกาย ​เพราะ​ท่าน​ได้​อธิบาย​ไว้​ก่อน​แล้ว​ในอรรถกถาของสามัญญผลสูตรเป็น​ต้น​ ​ท่าน​จึง​ไม่​กล่าว​ซ้ำ​อีก​. ​อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​ ​ใน​มัชฌิมนิกายก็​เช่น​กัน​ ​คือ อรรถกถาของบางบรรพะ​ ​เช่น​ อรรถกถาของสัจจบรรพะ ​เป็น​ต้น​ ​ก็​จะ​สั้นกว่าอรรถกถา​เรื่องเดียว​กัน​น​ ​ใน​ทีฆนิกาย ​เพราะ​ท่าน​ได้​กล่าว​ไว้​ก่อน​แล้ว​ใน​อรรถกถาสูตร​อื่น​ที่มาก่อน​ซึ่ง​ อยู่​ใน​มัชฌิมนิกายเหมือน​กัน​ ​เพราะ​แต่ละนิกายก็​จะ​มีอรรถกถาคนละ​เล่มเช่น​ ​อรรถกถาขอทีฆนิกาย​ ​ชื่อ​ ​สุมังคลวิลาสินี​, ​อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย​ ​ชื่อ​ ​ปปัญจสูทนี​ ​เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​แม้​จะ​มี​เนื้อหาคล้ายๆ​กัน​ ​แต่ก็​จะ​มีการเรียงเนื้อหาอธิบายต่าง​กัน​ขึ้น​อยู่​กับ​ว่า​ ​สูตรไหนมาก่อน​-​คำ​ไหนมาก่อน​ ​ก็ถูกอธิบายก่อน​, ​สูตรไหนมาหลัง​-​คำ​ไหนมาหลัง​ ​ก็ถูกอธิบายทีหลัง​ ​ที่อธิบายมา​แล้ว​ท่านก็​จะ​ให้​ย้อนดูอันที่ผ่านมา​แล้ว​ ​ไม่​อธิบาย​ซ้ำ​อีก​, ​พอ​เป็น​อรรถกถาคนละ​เล่ม​กัน​ ​อรรถกถา​จึง​สั้นยาวต่าง​กัน​ ​แต่​ถ้า​เอาที่ท่านละ​ไว้​มา​เติมก็​จะ​ได้​พอๆ​กัน​ ​ต่าง​กัน​บ้าง​เล็ก​น้อยแค่​ใน​บางจุด​เท่า​นั้น​.
อนึ่ง ข้อน่าสังเกต คือ ฉ. ฉัฏฐสังคายนาของพม่า สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย ชื่อของพระพุทธพจน์จะใช้ มหาสติปัฏฐานสูตร ส่วนในอรรถกถาจะใช้แค่สติปัฏฐานสูตร. เมื่อตรวจสอบกับที่อื่นๆ ในอรรถกถาก็พบว่า เมื่อสุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกายอ้างถึงมหาสติปัฏฐานสูตรว่าจะอธิบายในสูตรนี้ ท่านก็จะใช้คำว่า "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". แต่ถ้าเป็นปปัญจสูทนี อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย เวลาอ้างท่านจะใช้แค่ว่า "สติปฏฺฐานสุตฺต" ไม่ใช่ "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". ซึ่งเป็นอย่างนี้ทั้งในอรรถกถาและฏีกาของทั้ง 2 คัมภีร์ และตรงกันทั้ง ฉบับไทย ทั้ง ฉบับพม่า. จึงมีความเป็นไปได้ว่า ท่านใช้ชื่อสติปัฏฐานสูตรกับมหาสติปัฏฐานสูตร ตามแบบที่ไทยใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยแยกอย่างนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว.
ในอรรถกถาที่อื่นนั้น มีอยู่ 1 ที่ ในนิทานวรรคท่านเรียกรวมทั้ง มหาสติปัฏฐานสูตร ในทีฆนิกาย และ สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย รวมกันทั้ง 2 สูตร ว่าเป็น "มหาสติปัฏฐาน" ไปเลยก็มี. คงเป็นเพราะว่า ถ้าสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกายไม่ทำเปยยาลแล้วเขียนเต็มก็จะต้องมีขนาดเท่ากับมหาสติปัฏฐาน สูตรในมัชฌิมนิกายนั่นเอง.
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ