ผู้เขียน หัวข้อ: ทิฐิพระ มานะคนแก่  (อ่าน 2593 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suwatchai

  • การนิ่งเงียบต่อคนโง่คนสามหาว เป็นทางยาวสู่เกียรติที่ใฝ่ฝัน ทั้งรักษาในศักดิ์ศรีเป็นเกราะกัน ไม่หุนหันฉันท์หมาวัดที่จัญไร เราจงดูราชสีห์น่าเกรงขาม ทุกผู้นามเกรงกลัวได้ไฉน ไม่เคยเห่าเคยหอนไล่ผู้ใด แล้วไซร้ใยมีเกียรติเป็นราชันต์...
  • สมาชิกที่ถูกแบน
  • **
  • กระทู้: 241
  • เพศ: ชาย
  • Death Is Beautiful & Sweet ....
    • MSN Messenger - suwatchai.com@windowslive.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ทิฐิพระ มานะคนแก่
« เมื่อ: 31 ก.ค. 2552, 10:26:46 »
   ก่อนที่เราจะมาดูความหมายของสำนวน " ทิฐิพระ มานะคนแก่" นี้กัน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของคำสองคำนี้กันก่อนนะครับ
   คำว่า " ทิฐิ " ( Pride ): หมายถึง ความอวดรั้นถือดี
   คำว่า " มานะ " ( Peseverance ):หมายถึง ความพยายาม ความตั้งใจจริง และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง " ความถือตัว " ( Holding in esteem )
   เพราะฉะนั้น คำว่า" ทิฐิ " และ " มานะ " ในสำนวน " ทิฐิพระ มานะคนแก่ " ที่กล่าวถึงในที่นี้ จึงมีความหมายว่า " ความอวดดื้อถือดี และความถือตัว " นั่นเอง  หรือถ้าจะแปลให้สั้น ๆ รวมกันก็คงจะได้ความหมายว่า " ความดื้อรั้น " (Stubbornness )
   ปกติแล้ว คนดื้อรั้นมักไม่ค่อยมีใครชอบ แต่เมื่อไม่ชอบก็ไม่ควรทำตัวดื้อรั้นเสียเอง....
   คนดื้อรั้นมักเป็นคนไม่มีเหตุผล ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ ไม่ชอบฟังความคิดเหตุผลของคนอื่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนดื้อรั้น มักจะเป็นเด็ก ๆ เพราะไม่คอ่ยรู้ประสีประสาอะไร ทั้งนี้ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าเด็กไม่คอยมีเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่ แต่ถึงอย่างไรเด็กเมื่อดื้อรั้นก็พอจะให้อภัยกันได้
   การที่เขาพูดว่า " ทิฐิพระ มานะคนแก่ " นั้น ก็เพราะว่าคนแก่กับพระนั้น เมื่อมีความดื้อรั้นแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายที่สูดสำหรับคนใกล้ตัวหรือคนที่โชคร้ายบังเอิญต้องไปคบหาสมาคมด้วย ทั้งนี้ เพราะหากเด็กดื้อรั้นแล้ว ก็คงไม่เท่าไหร่ แต่หากลงว่าคนแก่กับพระดื้อรั้นแล้ว นับเป็นเรื่องน่าหนักใจครับ คนแก่เมื่อดื้อรั้นก็จะอ้างว่า " กูอาบน้ำร้อนมาก่อน รู้มากกว่ามึง " ส่วนพระหากดื้อรั้นขึ้นมาบ้าง ก็มักอ้างว่า " กูไปไหน ๆ ใคร ๆ เขาก็ไหว้ นั่นก็แสดงว่ากูดีกว่ามึง เพราะฉะนั้น มึงอย่าสะเออะมาสอนกูซะให้ยาก " ซึ่งผมคิดว่าท่านสมาชิกหลาย ๆ ท่านคงจะเคยมีประสบการณ์ได้พบเจอกับความดื้อรั้นของพระและคนแก่มาบ้างแล้ว
ไม่มากก็น้อย
    ผมมีตัวอย่างอันหนึ่งที่เห็นว่าน่าจะสอดคล้องกับสำนวนไทยที่กล่าวมานี้ อีกทั้ง น่าจะให้ประโยชน์สาระแก่ท่านสมาชิกไว้เป็นเครื่องเตือนใจอะไร ๆ ได้บ้าง  ตัวอย่างที่ว่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในพงศาวดารสามก๊ก อันเป็นพงศาวดารที่เหล่าบรรดานักการทหาร นักปกครองในอดึต เรื่อยมาจนถึงบรรดานักบริหารทั้งหลายในยุคไอที ต่างศึกษาค้นคว้าและนำข้อคิดต่าง ๆ ในพงศาวดารสามก๊กนี้ไปใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและองค์กรอย่างมากมายจนมีคำพูดติดปากอันหนึ่งว่า " ถ้าไม่ได้อ่านสามก๊ก จงอย่าคิดการใหญ่ " เอาหล่ะเพื่อมิให้เสียเวลา ขอเชิญท่านสมาชิกลองอ่านตัวอย่างที่ผมยกมาจากในพงศาวดารสามก๊กได้เลยครับ....
     ในตอนที่โจโฉยกกำลังทัพรุกไล่เล่าปี่ไปจนมุมที่เมืองกังแฮ ตอนนั้นโจโฉยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะเข้าบดขยี้กองทัพของเล่าปีซะเลยทีเดียว ทั้งนี้ เนื่องจากโจโฉเห็นว่าเมืองกังแฮมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองกังตั๋งของซุนกวน เกรงว่าจะไปกระทบกระทั่งกับซุนกวนอันจะนำมาซึ่งการเปิดศึกสองด้านพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ โจโฉจึงพยายามเกลี่ยกล่อมซุนกวนไว้เป็นพวก แต่ในขณะเดียวกัน ฝ่ายเล่าปี่เองก็ส่งขงเบ้งไปเกลี้ยกล่อมซุนกวนเพื่อไว้ช่วยยันกำลังโจโฉเช่นเดียวกัน ซึ่งท้ายที่สุด ซุนกวนก็ยอมตัดสินใจร่วมมือกับเล่าปี่
    เมื่อตัดสินใจว่าจะร่วมมือกับเล่าปี่เพื่อเปิดศึกกับโจโฉแล้ว ซุนกวนจึงแต่งตั้งให้จิวยี่เป็นแม่ทัพ มีอำนาจอาญาสิทธิ์ทั้งปวง...
    ตอนที่จิวยี่ได้รับอาญาสิทธิ์แต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่นั้น จิวยี่เพิ่งจะมีอายุเพียงแค่สามสิบกว่า ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งในขณะนั้น ในเมืองกังตั๋งเองก็มียอดขุนพลอยู่หลายคน ซ้ำบางคนก็มีอาวุโสคราวพ่อของจิวยี่ด้วยซ้ำ แต่ทำไมน๊อ ซุนกวนจึงได้ไว้ใจแต่งตั้งจิวยี่ขุนพลหนุ่มทีมีอายุเพียงแค่สามสิบกว่าให้เป็นถึงแม่ทัพใหญ่ที่มีอำนาจเด็ดขาดล้นแผ่นดินเช่นนั้น ?
   ครั้งนั้น มียอดขุนพลอาวุโสด้วยทั้งวัยวุฒิและประสบการณ์อันช่ำชองในการศึกอยู่ท่านหนึ่งชื่อว่า " เทียเภา " ซึ่งเป็นผู้ที่เคยร่วมรบเคียงบ่าคียงไหล่มาตั้งแต่สมัยพ่อและพี่ชายของซุนกวนเลยทีเดียว โดยนับเป็นผู้ที่สร้างความดีความชอบยิ่งกว่าบรรดาขุนพลทั้งหลายในเมืองกังตั๋ง เทียนเภาผู้นี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดและมีความสามารถอย่างเพียบพร้อมที่จะเป็นแม่ทัพใหญ่ได้
   เทียเภาคงจะคิดว่าตนเองทำศึกมาก็มาก ความสามารถก็มี ความดีความชอบก็เยอะ แล้วทำไมซุนกวนถึงปล่อยให้เด็กที่ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมอย่างจิวยี่ข้ามหัวมาเป็นแม่ทัพ จึงเกิดความไม่พอใจอย่างรุนแรง อีกอย่างตั้งแต่มีการสถาปนาเมืองกังตั๋งขึ้นเป็นใหญ่ ก็ไม่เห็นปรากฎว่าจิวยี่ ได้สร้างความดีความชอบที่ไหนมาก่อนแม้แต่ครั้งเดียว ( เป็นอย่างนี้ มันก็น่าโมโห น้อยใจอยู่หรอกนะ )
   แล้วไอ้เด็กคนนี้ มันมีดีมาจากไหนกันวะ ? เทียเภาคงจะคิดอย่างนี้
   ส่วนจิวยี่เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพแล้ว วันรุ่งขึ้นก็เรียกประชุมขุนนางและนายทหารทั้งปวงทันที แต่เทียเภากลับไม่ยอมไปร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ เพราะไม่พอใจและถือดีในตนเองว่ามีอาวุโสและชั่วโมงบินกว่าจิวยี่ทุกอย่าง แต่ก็ได้ส่งลูกชายไปร่วมประชุมแทนโดยให้ไปบอกกับจิวยี่ว่าตนเองป่วย ไปประชุมไม่ได้จริง ๆ
   เมือขุนนางและนายทหารทั้งหมดมาพร้อมกันแล้ว จิวยี่ก็เริ่มประชุมทันทีโดยเริ่มที่การบอกกล่าวให้ทุกคนทราบถึงกฎอัยการศึกของการสงคราม จากนั้น จิวยี่ก็เริ่มแบ่งงานแบ่งหน้าที่ให้กับนายทหารที่ได้รับการแต่งตั้งและจัดขบวนศึกเพื่อพร้อมจะทำสงครามไว้เสร็จสรรพ
   หลังจากประชุมเสร็จ ขุนนางและนายทหารแต่ละคนต่างก็แยกย้ายเตรียมการตามหน้าที่ ลูกชายเทียเภาที่มาร่วมประชุมแทนพ่อก็กลับไปรายงานผลการประชุมและการจัดขบวนทัพให้เทียเภาทราบ
   เทียเภาฟังแล้วเห็นว่าจิวยี่จัดขบวนทัพได้อย่างถูกต้องตามกลยุทธ์พิชัยสงครามทุกอย่าง ก็ถึงกับตกใจเอามือลูบอกและพูดว่า " จิวยี่นี่กูคิดว่าเป็นเด็กมิได้รู้สิ่งใด กลับรู้ดีกว่ากูผู้ใหญ่อีกด้วยซ้ำ อีกทั้งยังมีสติปัญญาสามารถจัดแจงทหารวางกองทัพถูกที่ขบวนศึก สมควรแล้วที่จะเป็นแม่ทัพหลวงได้ ตัวกูนี้ซะเปล่าที่มัวแต่คิดประมาทมิควร "
   ที่เขาว่า " ความรู้เรียนเท่าทันกันได้ " ก็คงเป็นความจริงอย่างว่าน่ะครับ ดูอย่างจิวยี่ก็แล้วกัน ขนาดมีอายุ่อ่อนรุ่นคราวลูกเทียเภา แต่กลับสามารถเรียนรู้กลยุทธ์ในตำราพิชัยสงครามอย่างแตกฉาน เทียเภาขนาดว่าหัวหงอกแล้ว ยังเรียนมาไม่รู้เท่าเลย....
   เทียเภาจากที่ตอนแรกถือตัวว่ามีอาวุโสกว่าจิวยี่ จึงอวดดีสบประมาท แต่พอรู้ความจริงว่าจิวยี่แม้จะเป็นเด็ก แต่ก็มีความรู้มากกว่าตน ก็เลิกทิฐิแล้วเข้าไปขอขมาต่อจิวยี่ว่า " ข้าถือทิฐิมานะว่าเป็นผู้ใหญ่ ประมาทท่านสำคัญว่าเป็นเด็ก มิได้มาปรึกษาราชการคำนับท่านนั้นผิดนักหนา ขอท่านได้อดโทษแก่ข้าพเจ้าเถิด "
   ส่วนจิวยี่ก็ไม่ได้โกรธถือโทษอะไร อาจจะเพราะเห็นว่าเทียเภาเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้อาวุโส ซึ่งผู้ใหญ่ที่ยอมลดทิฐิเมื่อเห็นว่าตนเองผิดเช่นนี้ ท่านสมาชิกคิดว่าน่าจะมีสักกี่คนกันในสังคมเรา ผมเองก็คงจะไม่ปลื้มนักหรอกหากได้ยินลูกหลานพูดว่า " ใหญ่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน "

ปล. กระทู้บทความเรื่องนี้ มิได้มีเจตนาที่จะเป็นการกล่าวลบหลู่พระสงฆ์องคเจ้าหรือผู้อาวุโสใด ๆ ทั้งสิ้น หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อให้ท่านสมาชิกทั้งหลายที่ได้มีโอกาสอ่านบทความนี้ ได้เกิดประกายความคิดที่จะลด ละ เลิกความทิฐิดื้อรั้น ถือตัว อันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลเสียทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคมลงให้มากที่สุดเพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พร้อมหันหน้าเข้าหากันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ๆ ให้เกิดขึ้นต่อไปข้างหน้า....

ออฟไลน์ Kanya

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 99
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ทิฐิพระ มานะคนแก่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 ส.ค. 2552, 12:47:16 »
เฮ้อ สุวัจชัยเอยสุวัจชัย
สำนวนนี้เหมาะมากแต่คงไม่พอ ต้องเป็นทิฐิพระมานะคนแก่และปริญญาโท 2 ใบ ดูจะสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง
เทียเภาเอยเทียเภอ แม้แก่แต่ชั่งน่าสรรเสริญเป็นยิ่งนัก คนโง่อวดรู้นำเอาเทียเภามาเปรียบเทียบเป็นคนมีมานะ
ไม่ยอมลงให้จิวยี่ แต่เทียเภายังรู้จักยอมรับในความสามารถของจิวยี่
แต่จิวยี่เอยจิวยี่ เจ้ายังเด็กเล็กนัก คิดว่าตนเองนั้นสามารถเสียนักหนา แม้โลซกเตือนกลับไม่ฟัง หวังใจจะให้ร้ายขงเบ้ง
ด้วยความหยิ่งแลไม่รู้ประมาณตน สุดท้ายเจ้ากลายเป็นผู้ถ่มนำลายลดฟ้า ให้คนรุ่นหลังตราหน้าว่าไม่เจียมตน
ส่งผลให้รู้ว่าคนมีความรู้ดี แต่ไม่รับฟังคำตักเตือนของผู้อื่น แม้จะเตือนแล้วเตือนอีก ผลคือความช้ำใจในตนเอง
พระดื้อ คนแก่ดื้อ นั่นคือมีดีให้ดื้อ คนแก่ดื้อพระเตือนท่านก็ฟัง พระดื้อ พระที่แก่กว่าเตือนท่านก็ฟัง เพราะต่างคนต่าง
เคารพกันตามคุณที่มี แต่ปัญหาที่ว่าคนอวดรู้ดื้อนี่หนาหามีใครเตือนได้ไม่ ล้วนแล้วแต่พาพวกตายไปกับตัวดังจิวยี่
อันเด็กดื้อเพราะอวดว่าข้าแน่ จะพระ จะแก่เตือนข้าไม่ฟัง ทั้งๆที่ว่าไปด้วยเหตุผล  เจ้าตนก็หาได้สำนึกไม่
เฮ้อ!! โง่แล้วหยิ่งนั่นหนาพาตนตาย  แต่โง่แล้วอวดฉลาดนี่ฉิบหายไปทั้งเมือง