ผู้เขียน หัวข้อ: เหยื่อไซเบอร์ติดเบ็ดอีเมลล่อใจ  (อ่าน 689 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suwatchai

  • การนิ่งเงียบต่อคนโง่คนสามหาว เป็นทางยาวสู่เกียรติที่ใฝ่ฝัน ทั้งรักษาในศักดิ์ศรีเป็นเกราะกัน ไม่หุนหันฉันท์หมาวัดที่จัญไร เราจงดูราชสีห์น่าเกรงขาม ทุกผู้นามเกรงกลัวได้ไฉน ไม่เคยเห่าเคยหอนไล่ผู้ใด แล้วไซร้ใยมีเกียรติเป็นราชันต์...
  • สมาชิกที่ถูกแบน
  • **
  • กระทู้: 241
  • เพศ: ชาย
  • Death Is Beautiful & Sweet ....
    • MSN Messenger - suwatchai.com@windowslive.com
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ภาพนักศึกษาสยิว คลิปหลุดของน้องแพนเค้ก อ่านด่วนต้องการความช่วยเหลือ ตั๋วฟรีทัวร์ยุโรปช่วงคริสต์มาส ฯลฯ

เจอเมลจ่าหัวเรื่องมาแบบนี้ ใครล่ะจะอดใจไม่คลิก หารู้ไม่ อีเมลล่อใจล่ออารมณ์แบบนี้ลวงเหยื่อติดเบ็ดมานักต่อนักแล้ว แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแจ้งเตือนอยู่บ่อยครั้ง แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมากก็ยังหลงกลกับคำลวงเหล่านี้

นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล ที่ปรึกษาด้านเทคนิคจากบริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า อาชญากรไซเบอร์ไม่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีใหม่มาล่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ติดกับ แต่ยังใช้ความสนใจในสังคมเพื่อหลอกล่อให้ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจเข้ามาติดกับ เช่น อีเมลลวงที่กล่าวถึงเจ้าชายไนจีเรียกำลังเดือดร้อน และต้องการให้ผู้ที่ได้รับอีเมลนี้โอนเงินไปให้ จากนั้นหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อใดจะตอบแทนด้วยเงินจำนวนมหาศาลอย่างนี้เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีอีเมลเกี่ยวกับเล่าเรื่องนักโทษชาวสเปน ชวนซื้อของช่วงเปิดเทอม การเลือกตั้งของสหรัฐฯ การแข่งขันฟุตบอล เป็นต้น และยังมีอีเมลในรูปแบบข้อความเตือนเหยื่อระวังเกี่ยวกับอีเมลแฝงภัยร้าย ไวรัส โดยใช้วิธีเขียนให้ดูน่าเชื่อถือ แล้วจะหลอกล่อให้เหยื่อคลิกลิงก์ที่จะนำไปสู่เว็บไซต์อันตรายต่อไป

กลุ่มเป้าหมายที่เป็นที่จับจ้องของพวกต้มตุ๋นไฮเทคพวกนี้มักเป็นผู้บริหาร ระดับสูง และมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลบัญชีธนาคารต่างๆ ของพนักงาน ข้อมูลส่วนตัวในการเข้าสู่ระบบ หรือแม้แต่ที่อยู่อีเมลที่สามารถต่อขยายไปได้ทั้งองค์กร

ด้านนายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย เสริมว่าแนวทางปฏิบัติในการป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้น อยู่ที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยควรระมัดระวังอีเมลแปลกๆ และอีเมลที่ไม่คิดว่าจะได้รับ ไม่ว่าผู้ส่งจะเป็นใครก็ตาม ไม่ควรเปิดไฟล์แนบท้ายหรือคลิกลิงก์ที่มีอยู่ในข้อความอีเมลที่ไม่น่าไว้ใจ เหล่านั้น และไม่ควรเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก

รวมทั้งอย่าติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่จากเว็บไซต์แปลกหน้า นอกจากมั่นใจว่าเว็บไซต์หรือเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นน่าเชื่อถือจริง และที่สำคัญคือควรมีระบบป้องกันภัยข้อมูลที่เพียงพอ ใช้บริการสแกนไวรัสแบบเรียลไทม์ (ตรวจสอบทุกนาที) เพื่อช่วยให้การท่องโลกออนไลน์ปลอดภัยไร้กังวล

นายโจอี้ คอสโตย่า นักวิจัยภัยคุกคามขั้นสูงจากบริษัท เทรนด์ ไมโคร เปิดเผยถึงรายงานล่าสุดที่พบว่ามีอีเมลเชื้อเชิญให้คลิกเยี่ยมชมเว็บไซต์ สำนักข่าวของ msnbc.com เมื่อผู้ใช้งานหลงกลคลิกก็ต้องพบเรื่องประหลาดใจ เพราะแทนที่จะเข้าไปที่เว็บไซต์ MSNBC ของไมโครซอฟท์ กลับกลายเป็นเว็บไซต์ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น

ยิ่งไปกว่านั้น หน้าจอยังปรากฏข้อความแจ้งให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแฟลชของอะโดบีสำหรับเล่นภาพเคลื่อนไหว แท้จริงแล้วไม่ใช่โปรแกรมอะโดบี แต่เป็นไวรัสตัวร้ายจากตระกูลโทรจัน ที่เข้าไปล้วงข้อมูลในเครื่องต่างหาก และเหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถูกหลอก

“แล้วจะทำอย่างไร เมื่อเราได้รับอีเมลซ่อนไวรัสหลอกให้คลิกในลักษณะนี้ ? " วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือ ผู้ใช้งานควรมีระบบป้องกันภัยคุกคามบนเว็บที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ" นายโจอี้กล่าวและทิ้งปริศนาให้คิดว่าระบบความปลอดภัยนั้นควรเป็นของเจ้าไหน