ผู้เขียน หัวข้อ: >>>หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี<<<  (อ่าน 15229 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nok2009

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1672
  • เพศ: ชาย
  • แท้เทียมอาจคล้ายกันจงเชื่อมั่นในตนเอง
    • ดูรายละเอียด
หลวงปู่ไปล่
วัดดาวเรือง ปทุมธานี


ตอนที่ 1 กล่าวนำ
   
   
   ร่ำลือกันจนทั่วตำบลบางพูด ว่า ท่านพระครูปัญญาพลคุณ หรือที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปเรียกท่านว่า "พระครูไปล่"
เป็นพระแท้ มีคุณธรรมสูง มีพรหมวิหาร 4 มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี มีอารมณ์แจ่มใสอยู่เสมอมีแต่ความเมตาแก่บรรดาศิษย์ทุกคนเสมอเหมือนกันหมด ชาวบางพูดยกย่องท่านเป็น เทพเจ้าแห่งความเมตตา ท่านไม่เคยดุหรือกล่าวว่าใคร
จนกระทั่งมีคำกล่าวกันว่า "ท่านมีปากพระร่วง" หรือ "มีวาจาศักดิ์สิทธิ์" ถ้าลองได้ดุหรือว่าใครแล้ว ผู้ที่ถูกว่าจะถึงกับอับโชคไปนานทีเดียว หรือหากมีใครต้องถูกตำหนิจากท่านแล้ว ก็มักจะต้องเป็นจริงตามนั้นเสมอ
หลวงปู่ไปล่ หรือ ท่านพระครูไปล่ ท่านเป็นผู้ที่มีความเกรงใจคนมาก มีความมักน้อย พอใจเพียงสมณสารรูป ไม่มีความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูงในลาภ ยศ สรรเสริญ


      คำสอนที่ได้ให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ก็จัดว่าเป็นคำสั่งสอนที่เป็นสัจจวาจา และอมตะตลอกกาล เช่น ท่านจะสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอๆ ว่า "จงอย่าลืมตนอย่าหลงงมงายในลาภ ยศสรรเสริญ มีลาภก็มีเสื่อมลาภมียศก็มีเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา มีสุขก็มีทุกข์ เป็นธรรมดาโลก คนเราถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ในทางที่ดีแล้วแม้จะมีพระศักดิ์สิทธิ์ เพียงใดห้อยคอ ก็ไม่สามารถจะปกปักรักษาหรือให้คุณแก่เจ้าของได้เลย จงรู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ แล้วจะไม่มีวันตกอับในชีวิตเลย" ดังนั้นบรรดาศิษย์ที่ได้ผ่านการอบรมสั่งสอนจากหลวงปู่ส่วนมากจะพบกับความ สำเร็จในชีวิต มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวเพราะบารมีของหลงปู่นั่นเอง

ประวัติวัดดาวเรือง
วัดดาวเรือง ตั่งอยู่ริมฝั่งคลองแม่น้ำอ้อมด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม ในเนื้อที่ 16 ไร่ ตามทะเบียนราษฎร์ เลขที่ 131 บ้านบางพูด หมู่ที่ 6 ตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อาณาเขตทิศเหนือยาว 80วา ติดต่อกับคลองอ้อม ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว 85 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชนและที่สวน ทิศตะวันตกยาว 125 วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน
พื้นที่ตั่งวัดเป็นที่ราบล่มน้ำจะท่วมในฤดูน้ำหลากมาทั้งนี้เพราะอยู่ริม คลองแม่น้ำอ้อม ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ อุโบสถหลังใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ตั้งอยู่คู่กับอุโบสถหลังเก่า ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว กุฏิสงฆ์ จำนวน 11 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารไม้ ศาลาการเปรียญหลังเก่า และหลังใหม่ หอสวดมนต์หลังใหม่ฌาปนสถาน (เมรุ)
วัดดาวเรือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2423 โดยมี นายดาวเรือง กับ ญาติมิตรเป็นผู้ถวายที่ดิน ซึ่งตามประวัติที่คนเก่าแก่และผู้ใหญ่ในสมัยนั้นได้เล่ากันต่อๆ มาว่า นายดาวเรืองได้สร้างบ้านเรือนอยู่บนเนื้อที่ผืนนี้ โดยปลูกบ้านไว้หลายหลัง มีข้าทาสไว้ใช้สอยมาก นายดาวเรืองประกอบอาชีพทำนาและทำสวน และจัดว่าเป็นผู้ร่ำรวยมากในสมัยนั้น แต่ไม่มีบุตร
ต่อมาบ้านของนายดาวเรืองถูกโจนปล้น นายดาวเรืองและภรรยาถูกฆ่าตาย ข้าทาสชายหญิงก็ได้หนีไปหมด หมู่ญาติมิตรพี่น้องของนายดาวเรือง จึงยกบ้านและที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้เป็นที่สร้างวัด และได้ให้ชื่อว่า "วัดดาวเรือง"
เดิมทีเดียวในตำบลนี้เรียกว่า ตำบลท้ายโกลน ต่อมาเมื่อมีวัดดาวเรืองเกิดขึ้นซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าสำนักสงฆ์โกลน ก็เสื่อมและร้างไปในที่สุด
วัดดาวเรือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 และได้ผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน
สำหรับปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดดาวเรือง ก็มี พระศรีอาริยเมตไตร 2 องค์ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตรเนื้อดินผสมทาชาดลงรักปิดทอง ศิลปะสมัยลพบุรี พระพุทธโสธรจำลอง หม้อกรักและธรรมมาสน์ประดับมุข
การศึกษา ทางวัดดาวเรืองได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม โดยเริ่มมาตั้งแต่แ พ.ศ. 2495 นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย ชั้น 2 และเป็นศูนย์อบรมประชาชนของตำบลบางพูดอีกด้วย

ลำดับเจ้าอาวาส
วัดดาวเรือง ตั้งแต่ก่อสร้างเป็นวัดมาถึงปัจจุบัน มีอายุ 106 ปี มีเจ้าอาวาสปกครองตามลำดับ ดังนี้
1. พระอธิการทองพูน เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก มีตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ มีเรือเก๋งประจำวัด สำหรับ
ไปสมบทพระตามวัดต่างๆ อีกด้วย
2. พระอธิการทองจุ้ย สมภารรูปนี้ท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุ มีความถนัดในการทำพลุและลูกหนู ในงานเผาศพ
พระที่วัดต่างๆ ด้วย
3. พระอธิการขาว (ครั้งแรก) เป็นอดีตสมภารที่เรืองวิทยาคม สร้างเชือกคาดเอว ดังอย่าบอกใคร ปัจจุบันหายาก
และราคาแพง ต่อมาท่านถูกฟ้องและต้องอธิการณ์ ทางคณะสงฆ์จึงถอดท่านออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นพระลูกวัดธรรมดา
4. พระอธิการเผือก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่เป็นเจ้าอาวาสได้ไม่นาสน ท่านก็มรณภาพ
5. พระอธิการขาว (ครั้งที่ 2) พระอธิการขาวซึ่งถูกถอดจากตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ชำระอธิกรณ์ เรื่องราวของ
ท่านจนบริสุทธิ์ ท่านจึงได้รับการแต่งตั่งเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง ท่านปกครองวัดมีคนเกรงกลัวท่านมาก เพราะท่านดุ ต่อมาท่านชราภาพมากสุขภาพไม่ดี ไม่สามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้ ทางคณะสงฆ์จึงยกท่านเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์
6. พระอธิการไปล่ ปญฺญาพโล ได้รับการแต่งตั่งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ถึงปี พ.ศ. 2528
7. พระภิกษุเผื่อนอชิโต เป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดาวเรืองอยู่ในขณะนี้ และเป็นผู้จัดการในเรื่องงาน

พระราชทานเพลิงศพท่านพระครูปัญญาพลคุณ
พระครุปัญญาพลคุณ สถานะเดิม ชื่อ ไปล่ นามสกุลเดิม ภูมิจันทร์ เกิดที่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสาม
โคก จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 ปีจอ พ.ศ. 2440 บิดาชื่อ เทศ มารดาชื่อ อำพัน มีพี่น้องร่วม
บิดา-มารดาเดียวกัน 3 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 3 คน คือ
1. นางปุ่น เพื่อนนัด
2. พระครูปัญญาพลคุณ
3. นางผูก เล็กละมุด
หลวงปู่ไปล่ เมื่อเยาว์วัย บิดา-มารดา ได้นำไปฝากกับพระให้อยู่ที่วัดดาวเรืองเพื่อศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยหลวง ปู่ได้เล่าเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ที่เก่งหนังสือไทยหลายรูป โดยเฉพาะ พระอาจารย์เปรม และท่านเจ้าอาวาสขณะนั้น หลวงปู่ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยจนเก่งและมีความชำนาญมาก

เมื่อเรียนหนังสือไทยจนเก่งและแตกฉานแล้ว หลวงปู่ก็หันมาเรียนหนังสือขอม กับพระอาจารย์ที่เก่งหนังสือขอมในวัดดาวเรื่อง ท่านมีความวิริยะอุตสาหะพยายามศึกษาเล่าเรียนจนเก่งหนังสือขอมสามารถอ่าน และเขียนหนังสือขอมได้เป็นอย่างดี สามารถเขียนและลงจารอักขระขอมได้
ในสมัยเป็นเด็ก หลวงปู่เป็นคนขี้โรค ไม่ค่อยจะแข็งแรง รูปร่างผอมบาง ท่านจึงอยู่วัดนานที่สุด จนโตเป็นหนุ่มภายในวัด และเมื่อมีอายุครบกำหนดเกณฑ์ทหารหลวงปู่ออกจากวัดดาวเรืองไปรับราชการทหาร เป็นทหารมหาดเล็กหลวง ในรัชกาลที่ 6 รักษาพระองค์ เมื่อพ้นจากราชการทหารแล้วก็กลับมาอยู่วัดบ้าง อยู่บ้านบ้าง
ในที่สุด บิดา-มารดา ก็ได้จัดการสู่ขอภรรยา ให้สมรสกับ นางทองอยู่ ซึ่งเป็นธิดาของนายฉิม-นางชุ่ม นามสกุล บุญมี ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2465 ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 25 ปี เมื่อสมรสแล้วหลวงปู่ได้ประกอบอาชีพทำส่วนผัก ในตำบลเชียงรากใหญ่ บ้านเกิด อยู่นานถึง 6 ปี มีบุตร-ธิดา รวม 2 คน คือ
1. นางทองสุข เนิดน้อย
2. นายปรุยุทธ์ ภูมิจันทร์
พ.ศ. 2469 ตัดสินใจอุปสมบท
ระหว่างปี พ.ศ. 2469-2470 เกิดโรคระบาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า "โรคห่า" (อหิวาตกโรค) หรือโรคท้องร่วง โรคดัง
กล่าวนี้ในสมัย พ.ศ.2469 การแพทย์ยังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน จึงเป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะได้คร่าชีวิตของผู้คนไปมากมาย โดยไม่ละเว้นว่าเป็นคนดีหรือคนไม่ดี เด็กหรือผู้ใหญ่ คนแก่ หรือคนหนุ่มสาว
นางทองอยู่ ภรรยาของหลวงปู่ ถึงแก่กรรมด้วยโรคร้ายนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2469 ทิ้งบุตร ซึ่งยังเล็กมากไว้ 2 คน หลวง
ปู่ขณะนั้นมีความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากภรรยาถึงแก่กรรมได้เพียง 13 วัน หลวงปู่จึงตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดาวเรือง ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านคลุกคลีและเคยอาศัยอยู่มานานกว่าอยู่บ้านตัวเอง
หลวงปู่ได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. 2469 ขณะนั้นมีอายุได้ 29 ปี โดยมี พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์
อำเภอเมืองปทุมธานี และเจ้าคณะตำบลบ้านกลาง เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการเปลื้อง วัดโพธิ์เลื่อน อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเท่ง วัดบางขันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า "ปทีโป" ในเรื่องฉายาของท่าน ท่านได้เล่าให้ฟังว่า เดิมพระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ได้ตั้งไว้ว่า "ปทีโป" หลวงปู่ท่านก็เจ็บออดๆ แอดๆ มาตลอด
จนในที่สุด หลวงปู่เทียนได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า "ปญฺญาพโล" ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่ไหล่ก็ได้หายจากการเจ็บป่วย จึงนับว่าฉายา "ปญฺญาพโล" เป็นนามมงคลของหลวงปู่
เมื่อหลวงปู่อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดดาวเรืองมาโดยตลอด ท่านมีความขยันอุตสาหะ ท่องบ่นสวดมนต์ศึกษาเล่าเรียนทั้งพระปริยัติธรรม และปฏิบัติ รวมทั้งเรียนเวทมนต์ คาถา อยู่โดยมิได้ขาดมีศิลาจารวัตรเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความสงบเสงี่ยมในสมณเพศ
หน้าที่ปกครองและสมณศักดิ์

ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2471 หลวงปู่ไปล่ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดดาวเรือง ทั้งนี้เพราะ พระอธิการขาว ชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกพระอธิการขาวขึ้นเป็นกิตติมาศักดิ์ และให้หลวงปู่ไปล่เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดดาวเรือง ผู้แต่งตั้งในครั้งนั้น คือ พระครูศีลานุโลมคุณ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี และต่อมาได้แต่งตั้งให้หลวงปู่ไปล่เป็นพระกรรมวาจาจารญ์ เป็นพระคู่สวดนาคในการอุปสมบท
พรรษาที่ 8 ปี พ.ศ. 2476 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดาวเรือง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขณะนั้นหลวงปู่ มีอายุ 36 ปี พรรษา 8 ปี พ.ศ. 2505 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระชั้นประทวน ที่พระครูไปล่ ปญฺญาพโล
ต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2524 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่พระครูปัญญาพลคุณ ได้รับเงินนิตยภัตรเดือนละ 60 บาท เป็นประจำทุกเดือน
หลวงปู่ไปล่ ได้ปกครองสงฆ์ ในวัดดาวเรือง ได้เป็นอย่างดี โดยยึดหลัก " เมตตาธรรม" ทั้งพรดะภิกษุ สามเณรอุบาสก อุบาสิกา ชาวบ้านศิษย์วัด ต่างก็ให้การเคารพท่าน เกรงอกเกรงใจท่านหลวงปู่มักจะพูดให้ฟังเสมอว่า "ฉันไม่อยากให้ใครโกรธ และอย่าทำให้คนอื่นโกรธได้เป็นการดี"


ท่านจึงไม่เคยพูดหรือบ่นว่าให้ใครเจ็บซ้ำน้ำใจเลยหลวงปู่จึงเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยสายธารแห่งเมตตาธรรมเป็น เทพเจ้าแห่งความเมตตา
" หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล เป็นศิษย์สาย พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี ผู้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงอันเลื่องลือว่ามีเนื้อ และมวลสารคล้ายสมเด็จบางขุนพรหม
" หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล นับว่าเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งของเมืองปทุมธานีที่คณะศิษย์กลุ่มใหญ่ และประชาชนทั่วไปมีความเคารพ ความศรัทธาเลื่อมใสด้วยความจริงใจด้วยศีลาจารวัตรเสมอต้นเสมอปลายไม่โลดโผน แต่เยือกเย็น จึงได้ฉายาว่า "เทพเจ้าแห่งความเมตตา"
" หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณ พระอริยทัตธสังฆปาโมกข์ พระอาจารย์แห่งความเมตตา
" การสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่น ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง รุ่น 1 พ.ศ. 2500 เหรียญรุ่น 1 พ.ศ. 2519 พระปิดตารุ่น 1 พ.ศ. 2526 ล้วนมีพุทธคุณและประสบการณ์สูง ไม่เคยสร้างความผิดหวังเลย


ที่มา พลังจิตดอทคอม


      

ออฟไลน์ nok2009

  • ที่ปรึกษา
  • *****
  • กระทู้: 1672
  • เพศ: ชาย
  • แท้เทียมอาจคล้ายกันจงเชื่อมั่นในตนเอง
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: >>>หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี<<<
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 ก.ย. 2553, 12:13:17 »
ตอนที่ 2 (ตอนจบ)
การพัฒนา ก่อสร้าง และปฏิสังขรณ์วัดดาวเรือง
ในด้านการพัฒนาก่อสร้างทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาหลวงปู่ได้เอาใจใส่ดูแล ปฏิสังขรณ์ บำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา เช่น ถนนเข้าวัด กุฏิสงฆ์วิหาร สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ สร้างหอสวดมนต์หลังใหม่ งานชิ้นสุดท้ายเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน
งานในด้านการศึกษา ได้หาเงินสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม และสร้างโรงเรียนประถม จากที่ต้องอาศัยศาลาวัดเรียน ให้มีตึกมีอาคารเรียนอย่างเป็นเอกเทศ และได้หาเงินมาบำรุงตลอดเวลา เรียกว่าท่านทำเพื่อชุมชนโดยแท้จริง
พ.ศ. 2528 หลวงปู่ไปล่ มรณภาพ
โดยทั่วไปแล้ว หลวงปู่มีสุขภาพแข็งแรงพอสมควร ถึงแม้ว่าจะมีรูปร่างผอมบางก็ตามแต่ก็สามารถเดินทางไปปฏิบัติกิจของพระศาสนา ได้เป็นอย่างดี แต่มาในระยะหลังๆ นี้ตอนที่ท่านมีอายุมากขึ้น ท่านจึงมีอาการป่วยอยู่เสมอ และได้ไปรับการรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ อาการก็ดีขึ้นเป็นพักๆ
กลางปี พ.ศ. 2528 หลวงปู่มีอาการป่วยหนักอยู่ประมาณ 3 เดือนเศษ แต่อาการไม่ดีขึ้นจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 เวลา 14.05 น. หลวงปู่ได้มรณภาพไปด้วยอาการอันสงบ สิริอายุรวมได้ 88 ปี พรรษา 59 ปกครองวัดดาวเรืองในฐานะสมภารวัดมานานถึง 56 ปีเต็ม
ทางวัดดาวเรือง ได้จัดให้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ไปล่ ไปเรียบร้อยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เวลา 16.3. น. และท่านเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี พระสุเมธาภรณ์ วัดบางหลวงได้เขียนข้อธรรมเป็นอนุสรณ์คาถาสำหนับท่านพระครูปัญญาพลคุณ ไว้ซึ่งจะได้นำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ เพียงเล็กน้อยโดยย่อๆ ดังนี้
"..ท่านพระครูปัญญาพลคุณ เป็นพระเถระที่มีความเมตตาสูง มีความอดทน รักสงบ พูดน้อย ทำมาก มักน้อยสันโดษ มีความจริงใจต่อหน้าที่ในศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอมาตลอดชีวิตของท่านเป็นที่ควร แก่การเคารพกราบไหว้ ของบรรดาศิษยานุศิษย์และท่านที่มีความรู้จักมาสนทนากับท่านแล้ว ย่อมได้รับความสบายใจกลับไปทุกคน ดังนั้นการจากไปของท่านตามกฎธรรมชาติ โดยที่เราท่านทั้งหลายก็ย่อมทราบดีว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยง หรือหลบหนีไม่ได้ก็ตาม แต่ก็อดที่จะเสี่ยดายอาลัยถึงท่านไม่ได้ ...อย่างไรก็ตาม เรายังมีวิธีผ่อนคลายวามอาลัยถึงท่านได้บ้าง โดยขอให้พวกเราศิษยานุศิษย์และท่านที่มีความเคารพนับถือในตัวท่านพระครูฯ ได้ร่วมกันตั้งจิตคิดถึงความดีของท่าน แล้วประพฤติปฏิบัติตามเป็นการปฏิบัติบูชา พร้อมกับสร้างบุญกุศล อุทิศถวายท่านตามคติทางพระพุทธศาสนาต่อไป"
วัตถุมงคลหลวงปู่ไปล่
ในสมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ได้สร้างวัตถุมงคลทั้งประเภทเหรียญ พระผง รูปหล่อ ตะกรุด ไว้หลายอย่างแต่ละอย่าง หลวงปู่ทำด้วยคงวามตั้งใจทำ จึงมีความขลังและศักดิ์สิทธ์ ทุกรุ่น มีพุทธคุณ และมีประสบการณ์ก่ออภินิหารไว้มากมาย
แม้ว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่จะมีอายุการสร้างมานานนักก็ตาม แต่ทุกรุ่นจัดว่าเป็นของใหม่ที่มีผู้เสาะหากันมากในวงการ ซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นอย่างๆ ไปดังต่อไปนี้
พระสมเด็จเนื้อผง รุ่นแรก พ.ศ. 2500
ปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่ไปล่ อายุ 60 ปี พรรษา 31 หลวงปู่ได้จัดสร้างพระสมเด็จเนื้อผงขึ้นมาเป็นครั้งแรก จะเรียกว่าเป็นรุ่นแซยิด ฉลองอายุ 60 ปี 5 รอบก็ว่าได้ ท่านได้รวบรวมผงไว้หลายปี ประกองไปด้วย ผงอิทธิเจ ผงปัทมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห ผสมว่าน 108
พระผงสมเด็จรุ่นแรกนี้สร้างจำนวนน้อยมากประมาณ 200 องค์เท่านั้น ปัจจุบันหายากมาก ขนาดขององค์พระกว้าง 2.5 ซม. สูง 4.1 ซม. องค์พระหนา .6 ซม.
ว่ากันว่าหลวงปู่ไปล่ ได้ผงที่หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ผู้เป็นอุปัชฌาย์ มาผสมด้วยดังนั้นจึงจัดได้ว่าพระผงสมเด็จหลวงปู่ไปล่ รุ่นแรกนี้ มีเนื้อมวลสารดี องค์พระแกร่ง แม้จะมีอายุการสร้างนับถึงปัจจุบันเพียง 29 ปีเท่านั้น
พุทธลักษณะ ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหูบายศรี ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้ว เช่น เดียวกับพระพิมพ์สมเด็จทรงนิยมโดยทั่วไป ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไปล่ ในท่าสมาธินั่งบนฐาน ภายในซุ้มเรือนแก้ว 2 ชั้น ใจรูปหลวงปู่มีข้อความวา "พระครูไปล่" สันนิษฐานว่าหลวงปู่ไปล่ คงทำเลียนแบบพระสมเด็จที่หลวงปู่เทียนสร้าง แต่ขนาดองค์พระเล็กกว่าที่หลวงปู่เทียนสร้าง
พระผงสมเด็จรุ่นแรกนี้หลวงปู่ทำและแจกบรรดาศิษย์ไว้ใช้ติดตัว ปรากฏในเวลาต่อมาว่า พระผงสมเด็จรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์มากในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ อาทิเช่น นายจาริก สุวรรณโรจน์ ภูมลำเนาอยู่ตำบลบางพูด อำเภอเมืองปทุมธานีได้ขับรถมาสด้า 2 แถว ไกธุระกับเพื่อนหลายคน เมื่อวันที่ 24 สิ่งหาคม พ.ศ. 2525 ขณะรถวิ่งด้วยความเร็วสูง ยางหน้ารถเกิดระเบิด รถพลิกคว่ำหลายตลบ แถวบริเวณอ้อมน้อย ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เดินทางไปด้วยได้รับบาดเจ็บแขนหักบ้าง หน้าแตกบ้าง ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลกันเป็นแถวอันตรายใดๆ เลยเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากปรากฏว่า นายจาริก พกพระผงสมเด็จหลวงปู่ไปล่ รุ่นแรกไปองค์เดียว ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ของพระผงสมเด็จนี้เองจึงทำให้นายจาริกแคล้วคลาดจาก อันตรายทุกอย่างจากอุบัติเหตุรถคว่ำ
ในปีเดียวกันนี้เอง หลวงปู่ได้สร้างพระรอดเนื้อผงขาวประมาณ 200 องค์ เช่นเดียวกับพระผงสมเด็จรุ่นแรก พ.ศ. 2500 และปัจจุบันหายากมากเช่นกัน

ปี พ.ศ. 2519 หลวงปู่ไปล่ จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก
ปี พ.ศ. 2519 ขณะนั้นหลวงปู่ มีอายุได้ 79 ปี พรรษา 50 หลวงปู่ได้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก เป็นเหรียญทองแดงรมดำ รูปไข่หูในตัว ขนาดกว้าง 2.5 ซม. สูง 3.5 ซม.
ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ไปล่เต็มองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงปู่มีข้อความเป็นภาษาไทยว่า "พระครูไปล่ ปัญญาพโล" ข้างเหรียญยกขอบเป็นเส้นเล็กเส้นเดียวโดยรอบเหรียญ
ส่วนด้านหลัง ด้านบนเป็นรูปยันต์ตรีนิสิงเห ใต้รูปยันต์ มีข้อความเป็นภาษาไทยว่า "วัดดาวเรือง ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี พ.ศ. 2519 รุ่น 1" ข้างเหรียญยกขอบเป็นเส้นหนาโดยรอบเหรียญเช่นเดียวกับด้านหน้า
เหรียญรุ่นแรกดังกล่าวนี้สร้างจำนวน 2 ครั้งด้วยกัน คือ
ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2519 จำนวน 5,000 เหรียญ ปรากฏว่า ไม่พอแจก หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว
ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2519 ปีเดียวกัน นำบล๊อคเดิมจัดสร้างเพิ่มขึ้นอีก 5,000 เหรียญ เหรียญที่จัดทำเพิ่มครั้ง 2 นี้ปรากฏว่ามีประสบการณ์มากในวงการเช่าหากันในราคาหลักครึ่งพันขึ้นไป และแจกหมดไปอีกเช่นกัน
ปัจจุบันเหรียญรุ่นแรกทั้ง 2 ครั้ง ไม่มีเหลือเลยสักเหรียญเดียวที่วัดดาวเรือง จะยังพอหาได้ก็ตามลูกศิษย์ของหลวงปู่ และชาวป้านตำบลบางพูดเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันหลวงปู่ได้มรณภาพไปแล้วใครมีเหรียญรุ่นนี้ไว้ตั้งแต่แรกต่างก็ หวงแหน ไม่ยอมปล่อยกัน แม้ว่าจะให้ราคาสูงขึ้นอีก 1 เท่าตัวก็ตาม
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ไปล่ ก่ออภินิหารช่วยเด็กรอดจากการจมน้ำตาม
นายสมบุญ บ้านอยู่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ได้รับเหรียญ รุ่น 1 ของหลวงปู่ไปล่ไปแล้วนำไปห้อยคอบุตรสาวที่กำลังเริ่มคลานเก่ง ด้วยความเผลอของผู้เป็นแม่ ลูกสาวคลานตกน้ำไป โดยไม่มีใครทราบ เพราะเวลานั้นเป็นฤดูน้ำท่วมพอดี เมื่อนึกถึงลูกได้ ผู้เป็นแม่เที่ยววิ่งหาลูกกันวุ่น พบลูกลอยคอป๋ออยู่ในน้ำไม่ได้รับอันตรายและเด็กก็ไม่ร้อง จึงได้ทราบว่า เพราะเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ไปล่ ช่วยคุ้มครองลูกสาว รอดจากการจมน้ำตาย

เรื่องนี้เป็นที่เลื่องลือกันมาก ในตำบลเชียงราก และตำบลบางพูด ในขณะนั้น อีกเรื่องหนึ่ง นายสาโรจน์ คราประยูร อายุ 18 ปี ห้อยเหรียญหลวงปู่ไปล่รุ่นแรก ติดตัวเป็นประจำ วันหนึ่งไปบ้านลุง ที่ตำบลบางพูดซึ่งปลูกบ้านอยู่ชายคลอง ใต้ถุนบ้านมีเรือจอดอยู่หลายลำนายสาโรจน์ออกมานอกชานบ้าน จะด้วยเหตุใดไม่ทราบกระดานลื่นหัวทิ่มคะมำตกลงไปในเรือซึ่งจอดอยู่ใจ้ถุน เรือน ศีรษะปักลงถูกกราบเรือนอนแผ่ไม่ได้สติ ทุกคนลงความเห็นว่า คอหักแน่ แต่เปล่าไม่ได้รับอันตรายเลยแม้แต่น้อย เพียงสลบไปสักครู่เท่านั้น เพราะเหรียญหลวงปู่ไปล่ช่วยคุ้มครองจึงรอดตาย
เหรียญหลวงปู่ไปล่ รุ่น 2 พ.ศ. 2522
เนื่องจากเหรียญรุ่นแรก พ.ศ. 2519 ได้ทำถึง 2 ครั้ง รวม 10,000 เหรียญ และได้หมดไปในปีนั้นเอง แต่ประชาชนชาวบ้าน บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ ส่วนใหญ่ยังมีความต้องการเหรียญมากแต่หาไม่ได้หลวงปู่ไปล่จึ้งได้จัดสร้าง เหรียญรุ่น 2 ขึ้นมาอีกรุ่นหนึ่งในปี พ.ศ. 2522 เป็นเหรียญทองแดงรูปไข่ เช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรก
บล๊อคด้านหน้าเป็นบล๊อคเดียวกับเหรียญรุ่นแรก แต่บล๊อคด้านหลังเปลี่ยนใหม่รูปยันต์ตรีนิสิงเหใหญ่กว่าเหรียญรุ่นแรก และด้านล่างใต้รูปยันต์ มีข้อความว่า "วัดดาวเรือง ต.บางพูด อ.เมือง จ.ปทุมธานี พ.ศ. 2522 รุ่น 2 " เหรียญรุ่น 2 นี้สร้างจำนวน 5,000 เหรียญขณะนี้ก็หมดไปจากวัดเช่นกัน
หลวงปู่ไปล่ สร้างพระปิดตาเมตา รุ่น 1 ปี พ.ศ. 2526
จากผงเก่าที่เหลือจากการสร้างพระสมเด็จรุ่นเดียวในปี พ.ศ. 2500 หลวงปู่นำมาบดรวมกับพระหัก พระชำรุด แล้วนำมาสร้างพระปิดตาเมตตา รุ่น 1 ในปี พ.ศ. 2526 ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 86 ปี พรรษา 57 จำนวนการสร้างประมาณ 2526 องค์ เท่ากับปี พ.ศ. ที่สร้าง
มวลสารต่างๆ ที่สร้างประกอบด้วย
1. ผงพระหัก พระชำรุดต่างๆ
2. ผงอิทธิเจ
3. ผงปัถมัง
4. ผงตรีนิสิงเห
5. ผงมหาราช
6. ผงดอกมะลิแห้ง
7. ผงว่าน 108
8. ผงสังเวชนียสถาน จากอินเดีย
9. ผงใบลานเก่าๆ อายุ 100 ปี

ลักษณะของพระปิดตารุ่นเมตตานี้ เป็นรูปพระภควัมบดี ปิดตาขนาดกว้าง วัดที่ฐานได้ 1.9 ซม. ส่วนบนขององค์
พระมนเล็กน้อย จัดทำเป็น 2 เนื้อด้วยกันคือ เนื้อสีขาว ไม่ได้ผสมผงใบลาน และเนื้อสีดีผสมใบลานนอกจากนี้ยังได้นำผงล้วนๆ ทำพระปิดตาพระภควัมบดีองค์เล็กจิ๋ว ส่วนหนึ่งเพื่อแจกเด็กๆ (ดูภาพประกอบ) พระปิดตา รุ่น 1 นี้ทราบว่าขณะนี้ไม่มีเหลือที่วัดเลย หมดไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ปี 2526 ปีเดียวกันนี้เอง ครูบุญเรือง จันทบาล ครูโรงเรียนวัดดาวเรือง ได้นำแผ่นตะกั่ว ให้ หลวงปู่ไปล่ ลงอักขระ เพื่อทำตะกรุดในไตรมาส จำนวนประมาณ 40 ดอก และยังได้นำเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกอีกถึง 5 อุโบสถตะกรุดนี้มิได้ทำเพื่อออกเผยแพร่ แต่ประการใด
ครูบุญเรือง ซึงเป็นศิษย์ของหลวงปู่คนหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มาตลอด ได้ขอให้หลวงปู่ทำให้เพื่อแจกญาติสนิท
มิตรสหายไว้ใช้ป้องกันตัวท่านนั้น
หลวงปู่ไปล่ ทำพระปิดตาผงรุ่น 2 ปี พ.ศ. 2527 แจกเป็นทานบารมี
ปลายปี พ.ศ. 2526 ดวงตาของหลวงปู่ไปล่ มืดสนิท แต่ด้วยอำนาจบุญกุศลที่หลวงปู่ทำไว้มาก หลวงปู่ได้อธิฐานขอให้หาย จะสร้างพระแจกเป็นท่านบารมี จักษุที่มืดกลับเห็นได้ ปี พ.ศ. 2527 หลวงปู่จึงสร้างพระผงปิดตา แจกฟรีตามที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้
ลักษณะเป็นพระปิดตาพระภควัมบดี คล้ายพระปิดตา เมตตา รุ่น 1 แต่องค์โตกว่าเล็กน้อย ซึ่งวัดที่ฐานได้กว้าง 2.4 ซม. สูง 2.5 ซม. ส่วนบนมนเล็กน้อย ด้านหลังเป็นรูปยันต์น้ำเต้า และมีข้อความอยู่ด้านล่างว่า "หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง"
ปี 2527 หลวงปู่สร้างมงคลวัตถุเป็นครั้งสุดทาย
เหมือนกับจะล่วงรู้ว่า วาระสุดท้ายกำลังจะมาถึง หลวงปู่ไปล่ได้จัดสร้างวัตถุมงคล ขึ้นมาอี 1 ชุดใหญ่ เป็นครั้งสุดท้ายของการสร้าง ซึ่งประกอบด้วยมงคลวัตถุต่างๆ ดังนี้

1. พระกริ่งรูปเหมือนรุ่น 1 เป็นพระกริ่งรูปเหมือนขนาดเล็กเนื้อทองแดง ขนาดวัดที่ฐานได้กว้าง 1.4 ซม. สูง 2.5
ซม. ใต้ฐานบรรจุเม็ดกริ่งและตอกโค้ดไว้
2. พระรูปเหมือนบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว รุ่น 1 ลักษณะเหมือนกับพระกริ่งรูปเหมือน
3. พระปิดตาเจริญลาภ รุ่น 1 (เนื้อนวโลหะ) ลักษณะเป็นพระปิดตา ประทับนั่งบนฐานบัว ด้านหน้ามีตัวอุณา
โลม ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้า และมีข้อความว่า "หลวงปู่ไปล่" ที่ฐาน
4. พระประทานมงคล เนื้อผง ขนาดกว้าง 2 ซม. สูง 3.1 ซม. ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทานพรประทับนั่ง
บนฐานบัว 2 ชั้น ด้านหลังเป็นรูปยังต์น้ำเต้า และมีข้อความใต้รูปยันต์ว่า "หลวงปู่ไปล่ จ.ปทุมธานี"
5. พระสมเด็จพิมพ์นิยมรุ่นพิเศษ ขนาดกว้าง 2.4 ซม. สูง 3.8 ซม. ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิหูบายศรี
ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไปล่ครึ่งองค์ พิมพ์ลึกลงในเนื้อพระและมีข้อความใต้รูปหลวงปู่ว่า "รุ่นพิเศษ หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง จ.ปทุมธานี"
6. รูปเหมือนหยดน้ำ เนื้อผง ขนาดองค์พระวัดที่ฐานได้กว้าง 2.1 ซม. สูง 2.7 ซม. ด้านหน้า เป็นรูปหลวงปู่ไปล่
ในท่านั่งสมาธิ ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฏิ คาดประคตเอว ใต้รูปหลวงปู่มีข้อความว่า "หลวงปู่ไปล่" ด้านหลังเป็นรูปยันต์น้ำเต้า ด้านล่างใต้รูปยันต์มีข้อความว่า "จ.ปทุมธานี" และด้านหลังจะนูนเป็นหลังเต่า
7. พระชุด 5 องค์ บรรจุกล่อง สำหรับพระชุด 5 องค์ บรรจุกล่อง ประกอบด้วยพระผงและเหรียญรวม 5 องค์ คือ
7.1 พระสมเด็จปรกโพธิ์รุ่นพิเศษ ขนาดองค์พระเท่ากับพระสมเด็จรุ่นพิเศษ ด้านหลังเหมือนกับพระสมเด็จรุ่น
พิเศษทุกอย่าง ผิดกันที
7.2 พระสังกัจจายน์ เนื้อผง ลักษณะกลม ด้านหน้าเป็นรูปพระสังกัจจายน์ นูนและคมชักมาก ส่วนด้านหลังเป็น
รูปยันต์น้ำเต้า และมีข้อความใต้รูปยันต็ว่า "หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง" และด้านหลังนูนเป็นหลังเต่าเช่นเดียวกับพระรูปเหมือนใบโพธิ์ขนาดของพระ สังกัจจายน์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซม.
7.3 พระปิดตาพระควัมบดีเนื้อตะกั่ว ลักษณะเป็นพระปิดตา พระภควัมบดี เช่นเดียวกับพระปิดตาพระควัมบดี
เนื้อผง ด้านหลังเป็นยันต์น้ำเต้า และมีข้อความใต้รูปยันต์ว่า "หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง"
7.4 เหรียญรุ่นพิเศษ เป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงหูในตัว ขนาดกว้าง 2.3 ซม. สูง 3 ซม. ด้านหน้าเป็นรูปหลวง
ปู่ไปล่ ครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงปู่มีข้อความว่า "หลวงปู่ไปล่" ด้านหลังตรงกลางเหรียญเป็นรูปพระปิดตาพระภควัมบดีรอบเหรียญมีข้อความว่า "วัดดาวเรือง ต.บางพูด อ.เมือง รุ่นพิเศษ 14 พฤษภาคม 27"
7.5 พระปรกใบมะขาม (เนื้อทองแดง) ขนาดองค์พระกว้าง 1 ซม.สูง 2 ซม. ด้านหลังเป็นชื่อ "หลวงปู่ไปล่"
เหรียญหยดน้ำหลวงพ่อโสธร ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงหลวงปู่ไปล่ พ.ศ. 2529
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ไปล่ ทางวัดได้จัดสร้างเหรียญแจกเปนที่ระลึก เป็นเหรียญรูปหยดน้ำ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อโสธร จำลอง ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไปล่ครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดสังฆาฏิ และหลวงปู่ไปล่สวมแว่นตา ใต้รูปหลวงปู่ไปล่มีข้อความว่า "พระครูปัญยาพลคุณ วัดดาวเรือง อ.เมือง จ.ปทุมธานี" ที่น่าสังเกตของเหรียญรุ่นนี้คือ คำว่า พระครูปัญญาพลคุณ ในเหรียญเขียนว่า พระครูมัญญาพลคุณ เข้าใจว่าช่างแกะบล๊อคคงเข้าใจผิด หรือแกะผิด เหรียญรุ่นนี้สร้างจำนวน 2,000 เหรียญและแจกหมดในวันงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ไปล่
วัตถุมงคลที่สร้างในปี พ.ศ. 2527 ดังกล่าว ทางวัดดาวเรืองได้นำออกให้สาธุชนได้สักการะบูชาในวันงานพระราชทานเพลิง วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ขณะนี้ยังพอมีเหลืออยู่ที่วัดจำนวนไม่มากนัก ท่านที่สนใจเชิญติดต่อได้ที่
วัดดาวเรือง ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ทางไปวัดดาวเรือง ลงรถที่รังสิต แล้วเช่ารถ 2 แถวไปหรือถ้ามารถส่วนตัว พอถึงรังสิตแล้ว เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางสร้างใหม่รังสิต จังหวัดปทุมธานี เกือบถึงสะพานบางพูน ระยะทางจากแยกรังสิตประมาณ 4 ก.ม. เลี้ยวขวาไปทางเส้นทางลูกรังอีก 6 ก.ม. ก็ถึงวัดดาวเรือง
ขอย้ำในตอนก่อนจบเรื่องว่า วัตถุมงคลหลวงปู่ไปล่ ปญฺญาพโล ทุกอย่างล้วนมีพุทธคุณสูง ทั้งนี้เพราะเกิดจากญาณของพระอริยสงฆ์คือหลวงปู่ไปล่ ที่ได้บรรจุพลังพุทธคุณลงไป
" หลวงปู่ไปล่ ปญฺญพโล เป็นศิษย์ส่ายพระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี ผู้สร้างพระสมเด็จเนื้อผงอันเลื่องลือว่ามีเนื้อ และมวลสารคล้ายสมเด็จบางขุนพรหม


ที่มา พลังจิตดอทคอม

ออฟไลน์ ๗๗๗

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 448
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: >>>หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี<<<
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 ก.ย. 2553, 06:53:37 »
ขอร่วมแจมกับท่าน nok2009 ด้วยนะครับ :095: :095: :095:




ออฟไลน์ ~เสน่ห์ต้นน้ำ~

  • ลูกบางพระ
  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 3234
  • เพศ: ชาย
  • แก้งค์ ศาลา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: >>>หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี<<<
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 30 ก.ย. 2553, 08:31:53 »
ขอบคุณพี่นก กับพี่๗๗๗ครับ อ่านเพลินเลยครับ :027:

ออฟไลน์ NONGEAR44

  • นวมะ
  • ****
  • กระทู้: 669
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - en2005f@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: >>>หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี<<<
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 30 ก.ย. 2553, 08:43:53 »
ชอบคุณมากครับที่มาแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ครับ