ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)  (อ่าน 2187 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 08:50:43 »
ตอนที่ 20.... วิมุติปัญญา

      ธรรมญาณ" ของมนุษย์มีพลานุภาพยิ่งใหญ่นัก แต่ที่ด้อยศักยภาพเพราะกิเลสทั้งปวงที่พัวพันและทำให้ด้อยค่าลงไปจึงกลายเป็นปุถุชนที่มีความ "ติดยึด" ทุกสิ่งไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ในสภาพเช่นไร ด้วยเหตุนี้ปัญญาจึงไม่มีอิสระ ความคิดที่เกิดขึ้น จึงปนเปไปตามสภาพของสิ่งที่ "ติดยึด"ทั้งสิ้น
ภาวะ "ธรรมญาณ" จึงไม่อาจปรากฎได้
      ความทุกข์จึงเกาะกุม "ธรรมญาณ" เอาไว้อย่างเหนียวแน่นจนแม้แต่ตัวเองก็ไม่อาจรู้ว่านั่นเป็น "ความทุกข์" เพราะไม่อาจใช้ปัญญาดั้งเดิมรู้ปัญหาได้เลย
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้บอกเอาไว้ว่า
"เมื่อเราใช้ปัญญาดั้งเดิมเพ่งพิจารณาภายในได้ ย่อมเกิดความสว่างไสวแจ่มแจ้งทั้งภายในและภายนอกและอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเองการรู้จักเช่นนี้จึงถือว่าเป็นกาารลุถึงวิมุติคือการหลุดเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ภาวะการลุถึงวิมุติก็คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปัญญา ซึ่งเป็น "ความไม่ต้องคิด" อันหมายถึงการเห็นและรู้สิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน"
การใช้ "ความไม่ต้องคิด" นั้นหมายความว่าใจมิได้กำหนดทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว จึงมิได้ติดอยู่กับภาวะดีหรือชั่ว
      เมื่อ "ธรรมญาณ" ขยับจึงเกิดเป็น "จิต" และไหลเลื่อนกลายเป็นความคิดดีหรือชั่วตามเหตุปัจจัยที่เกาะเกี่ยวเอาไว้ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากเหตุปัจจัยภายนอกทำให้ "จิต" แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแห่งการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงเกิด "ทุกข์" และ "สุข" เสมอ
"ทุกข์" และ "สุข" ที่จิตกำหนดหมายเอาไว้ไม่ยั่งยืนไปได้เพราะความแปลเปลี่ยนของ "จิต" ไม่มีที่สิ้นสุด มี "เกิด" และ "ดับ" อยู่ตลอดเวลา
ภาวะที่เป็นเช่นนี้จึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น "ปัญญาดั้งเดิม" และถ้าใช้พิจารณาภายในของตนเองก็ไม่อาจพบพบความสว่างแจ่มแจ้งภายในได้เพราะเป็นการปรุงแต่งโดยอิทธิพลภายนอกทำให้ไม่อาจมองย้อนส่องตนได้ตามความเป็นจริง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "เมื่อเราใช้"ความไม่ต้องคิด"ธรรมญาณนั้นก็แทรกไปได้ในทุกสิ่งแต่ไม่ติดอยู่ในสิ่งใดเลย สิ่งที่เราต้องทำนั้นมีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่างเพื่อวิญญาณทั้งหกแล่นไปตามอายตนะหก จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมองโดยอารมณ์ทั้งหก เมื่อใด "ธรรมญาณ" ของเราทำหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากอุปสรรคและอยู่ในสถานะที่จะ "มา" หรือ "ไป" ได้โดยอิสระ เมื่อนั้นจึงได้ชื่อว่าเราได้บรรลุ สมาธิฝ่ายปัญญา หรืออิสรภาพสถานะเช่นนี้จึงมีนามว่า การทำหน้าที่ของ "ความไม่ต้องคิด"
      การที่อายตนะหกอันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้รับรสจากวิญญาณทั้งหกย่อมมีความหมายว่า ได้ก่อให้เกิด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ธรรมารมณ์ และ "ธรรมญาณ" รับไปปรุงแต่งภายในย่อมก่อให้เกิดความ "ชอบ" และ "ชัง" เช่น
รูป น่ารักและน่าชัง
รส หวานหรือขม
กลิ่น หอมหรือเหม็น
เสียง ไพเราะหรือหยาบคาย
สัมผัส อ่อนหรือแข็ง
อารมณ์ ดีหรือร้าย
      การกำหนดหมายเอาว่า "ชอบ" หรือ "ชัง" เป็นเรื่องที่ "จิต" ปรุงแต่งไปตามเคยชินและยึดถือเอาไว้แน่นหนา จึงนำความทุกข์ ทำให้ "จิต" เศร้าหมองได้
ถ้าใช้ "ความไม่คิด" ก็คือ การเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็นมิได้ไปกำหนดหมายว่า "น่ารัก" หรือ "น่าชัง" เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่าเราบรรลุถึง "วิมุติปัญญา" เพราะสามารถตัดความยึดมั่นถือมั่นได้เด็ดขาดความเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดเหล่านี้จึงเป็นจริง
แต่ปุถุชนยึดมั่นไม่อาจตัดออกไปได้ "ปัญญา" ที่ใช้ไปจึงเป็นไปตามสภาพแห่งความอยากได้ ถ้ารูปสวยและปฏิเสธถ้ารูปชัง
      เมื่อได้ "รูปชัง" จึงเกิดความทุกข์
      ครั้นได้ "รูปสวย" จึงเกิดความสุข
      แต่ไม่ว่าจะ "สวย" หรือ "น่าเกลียด" ล้วนต้องเสื่อมสลายไปตามสภาพความเป็นจริงแห่งสัจธรรม ดังนั้นจึงเกิดความเศร้าหมอง "ธรรมญาณ" จึงมิได้พบภาวะอิสระ ไม่อาจ "มา" หรือ "ไป" ได้โดยง่ายเพราะติดตรึงอยู่กับอารมณ์ทั้งหก
วิมุติปัญญา เป็นปัญญาอันทำให้เกิดภาวะหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดเหล่านี้ได้โดยมิต้องกำหนดหรือบีบบังคับแต่อย่างใดเลย
เพราะฉะนั้นการภาวนาใดๆ หรือใช้แปดหมื่นสี่พันวิธีเพื่อบีบบังคับหรือกำหนดมิให้ "ธรรมญาณ" ติดตรึงอยู่กับอารมณ์ทั้งหกจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น เมื่อเห็น รูปสวย จิตเกิดภาวะยึดติดแล้วนั่งสมาธิหลับตาเพื่อตัดรูปนั้นจึงเป็นเพียงการเบี่ยงเบน อายตนะภายนอกคือ "ตา" ให้พ้นไปจากรูปนั้น แต่ "จิต" ยังติดพันอยู่จึงตัดไม่ขาด
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "การหักห้ามความคิดถึงสิ่งต่างๆ ให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้ ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้มิให้ปรากฎหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นและข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด"
"วิมุติปัญญา" หรือ "ปัญญาดั้งเดิม" ย่อมเป็นสิ่งเดียวกันอันหมายถึง "ธรรมญาณ" ที่แต่เดิมมาก็ปราศจากการยึดติดในสิ่งใดๆอยู่แล้วนั่นเอง


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=10
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 08:58:46 »
ตอนที่ 21.... ความไม่ต้องคิด

      กายสังขารอันประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลมไฟ ย่อมมีกำเนิดมาจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นมนุษย์เหมือนกัน จุดสิ้นสุดของร่างกายนี้เป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย กลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปตามธรรมชาติ
ส่วน "ธรรมญาณ" ซึ่งอาศัยอยู่ในตัวปลอมมีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภูมิอันเป็นศูนย์พลังแห่งธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งได้ไม่มีที่สิ้นสุดแต่เมื่อมาอาศัยกายมนุษย์ได้สูญเสียศักยภาพไปตามอายตนะหก คือ ตา หู จมูก ปาก กาย และ จิต ดังนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่สามารถคืนกลับสู่
ต้นกำเนิดเดิมได้

      ถ้าเปรียบเทียบ "ธรรมญาณ" เป็นเช่นกระแสไฟฟ้าซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ก็ทำหน้าที่ให้ความเย็น หรือเข้ามาสู่หลอดไฟฟ้าก็ให้แสงสว่าง เช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในมนุษย์ซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน จึงทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน กระแสไฟฟ้าไม่อาจกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเดิมได้เพราะมีการ "ช็อต" ทำให้ไฟฟ้ารั่วจึงอ่อนกำลังลงเช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ไม่อาจคืนกลับแดนอนุตตรภูมิได้เพราะศักยภาพเดิมสูญเสียไปตามกิเลสที่ยั่วย้อมทำลายความสามารถดั้งเดิมลงไปนั่นเอง
ความสมบูรณ์ของ "ธรรมญาณ" อยู่เหนือสภาวะแห่งความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น
      ธรรมญาณ จึงอยู่เหนือปัญญา
      ธรรมญาณ อยู่เหนือ "จิต"

ถ้านำเอาคำกล่าวของเหลาจื่อมาเทียบเคียงแล้วก็จะให้ความหมายอันแท้จริงของ "ธรรมญาณ" กล่าวคือ "ความไม่มีคือภาวะที่แท้ของธรรมะ แต่ความมีเป็นบทบาทของธรรมะ"
ธรรมะ คือความว่างอันไร้ขอบเขต แต่สามารถสร้างสรรพสิ่งแต่สรรพสิ่งทั้งปวงมิใช่ธรรมะ
สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" จึงไม่มี แต่เมื่อเกิดอาการเคลื่อนไหวจึงเป็นจิตที่คิดได้มากมายจนมีสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมิใช่ธรรมะ


      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"บุคคลผู้เข้าถึงวิถีทางแห่ง "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่งและได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกข์พระองค์ได้ดื่มมาแล้ว และย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าต่อไป"
การเข้าถึงสภาวะแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือการคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติเดิมแท้และเป็นตัวตนที่แท้จริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปลักษณ์ใดๆ เลย

ความไม่มีอันแท้จริงเท่านั้นจึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจังแต่สิ่งที่เป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" อันมีสภาวะเป็น "จิต" นั้นจึงตกอยู่ในกฎแห่งการเกิด-ดับ ไม่มีที่สิ้นสุด เหตุไฉน "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่ง
เหตุเพราะ "ความไม่ต้องคิด" เป็นสภาวะแห่งความว่างดั้งเดิมตามธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้
สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมีรากฐานมาจากความว่างอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครเข้าถึง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือ การคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" ของตนซึ่งตรงต่อสภาวะของต้นกำเนิดเดิม จึงได้ดื่มรสเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทั้งปวงเช่นกัน

      ผู้ที่คืนสู่สภาวะแห่ง"ธรรมญาณ" ของตนย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไปนั้น ถ้านำเอา ปณิธาน ของพระพุทธองค์ในสมัยที่เกิดเป็น สุเมธดาบส มาเทียบเคียงก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเพราะในครั้งนั้น พระพุทธทีปังกร พุทธเจ้าเสวยอายุปกครองธรรมกาลอยู่นั้นได้เสด็จไปพร้อมกับสาวกสู่นครแห่งหนึ่ง ชาวพระนครกำลังตระตรียมปัดกวาดบ้านเมืองเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า สุเมธดาบสรู้ข่าวจึงเข้าร่วมงานบุญนี้ด้วย พอดีพระพุทธทีปังกรเสด็จมาถึง แต่หนทางยังไม่เสร็จ สุเมธดาบส จึงสละกายตนทอดเป็นสะพานให้พระพุทธทีปังกรเสด็จเหยียบไปบนหลังของตนเอง พร้อมกันนั้น ได้ตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง

พระพุทธทีปังกรทรงทราบได้ด้วยพระญาณจึงทรงพยากรณ์ไว้ว่า ดาบสผู้นี้จักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์
ถ้าสุเมธดาบสมได้ดื่มรสแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ซึ่งหมายถึง "ธรรมญาณ" ของตนเองแล้ว เหตุไฉนจึงมีจิตตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"ผู้ที่ได้รับคำสอนของอาตมาจะให้สัจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่ศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตตนเองทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง "สำนักฉับพลัน" โดยไม่ย่อท้อถอยหลังอันเป็นความตั้งใจขนาดเดียวที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เขาก็จักบรรลุถึง วิสุทธิมรรคาโดยไม่มีความล้มเหลวเป็นแน่แท้"

      ในขณะเดียวกันพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ถ่ายทอดคำสอน "รู้อย่างฉับพลัน" ต่อๆ กันไป โดยไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นแม้แต่น้อยแต่สำหรับบุคคลผู้อยู่ในนิกายอื่นซึ่งมีความเห็นและจุดมุ่งหมายผิดไปจากนี้ไม่ควรถ่ายทอดหลักธรรมะนี้ให้ เพราะจักเกิดผลร้าย เพราะเกรงว่าพวกคนเขลาเหล่านี้ นอกจากไม่เข้าใจแล้วยังจะให้ร้ายป้ายสีหลักธรรมะอันจักเป็นผลร้ายทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะให้เหือดแห้งเป็นหมันไปหลายร้อยกัลป์พันชาติ

"ความไม่ต้องคิด" จึงเป็น "ความว่างอันสมบูรณ์" เพราะฉะนั้นจึงเป็นการยากนักที่ผู้ไม่ใช้ปัญญาจะทำความเข้าใจได้และยังหัวเราะเยาะทำลายคุณธรรมของตนลงไปแต่กลับสร้างบาปกรรมโดยไม่รู้ตัวด้วย


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=11

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 10:31:57 »
ตอนที่ 22.... พ้นโง่-พ้นฉลาด

      ผู้ปฏิบัติธรรมหรือศึกษาพระพุทธศาสนามีความเข้าใจว่ามนต์อันเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ นำมาท่องบ่นแล้วเกิดความศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลปัดเป่าสิ่งร้ายๆ ให้พ้นไปจากตนเองได้
มนต์จึงกลายเป็นความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พึ่ง
ความจริงแล้วมีคำกล่าวที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า คนที่สวดมนต์ดีกว่าไม่สวด คนที่เข้าใจความหมายของมนต์ดีกว่าคนสวดมนต์ แต่คนที่สามารถปฏิบัติตามมนต์ได้ย่อมดีกว่าคนที่เข้าใจความหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ประทานโศลกอันกล่าวถึง "นิรรูป" เพื่อให้ท่องบ่นกันทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ในโศลกนี้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร แม้จดจำถ้อยคำของท่านได้ก็เสียเปล่า
คำว่า "นิรรูป" หมายถึง ไม่มีรูปและกล่าวได้ว่าสิ่งที่รู้รูปนั้นก็คือ "ธรรมญาณ" เพราะฉะนั้นความหมายแห่งโศลกนี้จึงเป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" ที่จะนำพาคนทั้งหลายได้พ้นไปจากบาปกรรมทั้งปวง
     
 พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กล่าวว่า
"อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรมรวมทั้งคำสอนในนิกายธยานะอาจเปรียบได้ดังดวงอาทิตย์กำลังแผดแสงจ้าอยู่กึ่งกลางนภากาศ
บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไรนอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" เพียงอย่างเดียวและตั้งใจในการที่ท่านกลับมาสู่โลกนี้ก็เพื่อขจัดพวกความเห็นผิด"
 
คำสอนอันเกี่ยวกับ "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกว่า "นิรรูป" เพราะฉะนั้นการอธิบายสิ่งที่ปราศจากรูปลักษณ์จึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งนัก คำสอนทั้งปวงพระอริยเจ้าจึงพุ่งตรงที่จิต เพราะภาวะ "นิรรูป" จึงเป็นสัจธรรมที่นำพาให้ธรรมญาณคืนกลับไปสู่สถานเดิมได้
แต่เพราะเข้าใจยากจึงมีความเห็นผิดเกี่ยวกับภาวะ "ธรรมญาณ" เป็นเรื่องโต้แย้งได้ไม่มีที่สิ้นสุด
ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์สามารถทำให้ท้องฟ้าสว่างไสวได้ฉันใดปัญญาของพระอริยเจ้าย่อมทำให้คนหลงที่ไม่งมงายจนเกินไปอาจพ้นไปจากเมฆหมอกแห่งกิเลสตัณหาบดบังฉันนั้น เพราะแท้ที่จริงทุกคนต่างมี "ธรรมญาณ" เหมือนกันทั้งนั้นเพียงแต่ว่าใครมีเมฆแห่งกิเลสบังเอาไว้หนาทึบมากกว่ากันเท่านั้นเอง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวโศลกต่อไปว่า
      "แม้แบ่งแยกธรรมปฏิบัติออกเป็นชนิด "ฉับพลัน" และ "เชื่องช้า" ได้โดยยากก็จริง แต่ก็ยังมีคนบางพวกที่รู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นเพราะคำสอนของระบอบนี้ มุ่งให้เห็นแจ้ง "ธรรมญาณ" ซึ่งระบอบที่คนโฉดเขลา เข้าใจไม่ได้"
ความหมายแห่งโศลกตอนนี้มีคำอธิบายได้ว่า

การถ่ายทอดจาก "จิต" สู่ "จิต" นัน้เป็นลักษณะของฉับพลันแต่พื้นฐานของบุคคลเหล่านี้กล่าวได้ว่าต้องมีการปฏิบัติธรรมาอย่างลึกล้ำหลายชาติ ผ่านมาจนบารมีสูงส่งพอรับรู้ก็สว่างไสวในทันทีทันใดเช่นเดียวกับการถูกตบหน้า "ธรรมญาณ" ก็สว่างโพลงฉับพลัน
แต่ผู้ที่ไร้รากฐานทางธรรมะซึ่งเปรียบได้ดังหญ้าที่ปราศจากรากแม้ได้รับน้ำฝนมากแค่ไหน หญ้านั้นก็ไม่อาจปริหน่อเจริญเติบโตเลยบุคคลเหล่านี้แม้ในกายตนมี "ธรรมญาณ" เช่นกัน แต่ไม่มีบารมีเพียงพอที่จะรับได้เพราะกิเลสร้ายบดบังเยี่ยงเดียวกับเมฆบดบังพระอาทิตย์ฉะนั้น

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยืนยันว่า "เราอาจอธิบายหลักธรรมระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้งหมื่นวิธี แต่คำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้นในดวงหทัยอันมืดมัว เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น ต้องดำรงแสงสว่างแห่งปัญญาเอาไว้เนืองนิจ"
การที่อารมณ์ครอบงำ "ธรรมญาณ" ซึ่งหมายถึงภาวะสติปัญญามิได้เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ก่อให้เกิดกรรมเวรมากมายซึ่งห่อหุ้มจาก "ธรรมญาณ" มืดมิด แต่แสงสว่างแห่งปัญญาจึงเปรียบเสมือนหนึ่งประทีปที่ทำให้ความมืดหายไป เพราะฉะนั้นใครที่มั่นคงในปัญญาย่อมมีโอกาสที่สว่างไสวด้วย "ธรรมญาณ" ของตนเอง

      "ความเห็นผิดย่อมทำให้เราจมปลักอยู่ในห้วงกิเลส
ส่วนสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นถูกย่อมเปลื้องเราให้พ้นไปจากกองกิเลสนั้น
แต่เมื่อใดก็ตามที่เราอยู่ในฐานะที่พ้นไปจาก "ความเห็นผิด" และ "ความเห็นถูก"
เมื่อนั้นเราจักบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด"

      ความเห็นถูกย่อมสร้างผลผูกพันความถูกเอาไว้เช่นเดียวกับ "ความเห็นผิด" ย่อมสร้างผลผิดเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าความเห็นนั้นอยู่ในลักษณะใดก็ตามก็เกิดความยึดมั่นถือม่น เพราะฉะนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่อาจมีภาวะแห่งความบริสุทธิ์โดยเด็ดขาดได้เลย
"ความถูก" ก็เป็นกิเลสอย่างหนึ่งซึ่งเราหลงติดยึดโดยไม่รู้ตัวอย่างเช่นคนยึดติดในการท่องบ่นมนต์ โดยไม่เข้าใจความหมายอันแท้จริงแต่มุ่งมั่นว่าต้องศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาลลาภผล โดยที่ตนเองไม่ต้องลงเรี่ยวแรงประกอบการงานเลย
ความเชื่อเช่นนี้จึงเป็นความงมงายที่แท้จริง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 11:56:31 »
ตอนที่ 23.... มองหาความผิดตนเอง

      ผู้มีปัญญาอันแท้จริงย่อมค้นหาปัญญาของตนเองมากกว่าที่จะไปค้นหาจากภายนอก เพราะปัญญาภายนอกมิอาจแก้ไขปัญหาทุกข์ของตนได้เลย
โศลกหรือคาถาของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเอาไว้ชัดเจนว่า
"โพธิ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายใน "ธรรมญาณ" ของเรา
คนเขลาเท่านั้นที่พยายามมองหาโพธิจากที่อื่น
เช่นเดียวกับจิตอันบริสุทธิ์ หาพบได้ภายในจิตที่ไม่บริสุทธิ์ของเรานั่นเอง"

      โพธิ หมายถึงปัญญาแห่งการรู้แจ้งของตนเองซึ่งมีมาแล้วตามธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาความทุกข์ของคนในโลกนี้ล้วนต้องพึ่งพาปัญญาของตนเองทั้งสิ้น แต่คนที่ไม่ศรัทธาตนเอง ตนเองจึงมองหาแต่ที่พึ่งจากที่อื่นเสมอไปและเชื่อว่า ผู้อื่นจักช่วยให้ตนเองบริสุทธิ์พ้นไปจากบาปกรรม
ตัวอย่างที่เห็นกันทั่วไปคือผู้ที่ไปอาศัยน้ำมนต์ น้ำหมาก ดอกบัว และเครื่องรางของขลังทั้งปวง ล้วนเป็นผู้ที่ขาดศรัทธาในตัวเองสิ้นเชิงจึงฝากอนาคตแห่งชีวิตไว้กับสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็น "เดรัจฉานวิชา"
วิชาเหล่านี้เป็น "มิจฉาปัญญา" เพราะพาผู้คนให้หลงใหลงมงายพ้นไปจากวิถีแห่งการใช้ปัญญาของตนเองให้รู้แจ้ง จิตญาณจึงต้องไปเวียนว่ายในภูมิวิถีหกไม่มีที่สิ้นสุด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวโศลกต่อไปว่า
"ทันทีที่เราดำรงจิตถูกต้อง เราย่อมเป็นอิสระจากสิ่งบดบังทั้งสามประการคือ กิเลส เวรกรรม และการตกนรก
ถ้าเดินอยู่ในหนทางแห่งการตรัสรู้
เราไม่จำเป็นต้องกลุ้มใจต่ออุปสรรคที่ทำให้เราสะดุดล้ม
ถ้าเราคอยสอดสายตา ระวังความผิดของตนเองอยู่เสมอ
เราก็จะไม่เดินไถลออกไปจากหนทางที่ถูกต้อง"

      การดำรงจิตให้ถูกต้องหมายถึงตรงต่อสัจธรรมแห่ง "ธรรมญาณ" ซึ่งสภาวะเช่นนั้นมิได้ฝักไฝ่ทั้งความดีหรือความชั่ว ดังนั้นจิตที่อยู่ในหนทางแห่งทางสายกลางย่อมไม่มีบาปกรรมปรากฎขึ้นในจิต เพราะไม่มีเจตนาใดๆ เกิดขึ้นเลย

หนทางชีวิตที่ถูกทาง หมายถึงการเดินอยู่ในปัญญาของตนเองเพื่อใช้ศักยภาพของปัญญาให้รู้แจ้งในความทุกข์ แม้มีอุปสรรคขัดขวางอย่างไร การใช้ปัญญาของตนเองย่อมผ่านพ้นสิ่งขัดขวางนั้นไปได้

อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งคือ มนุษย์เรามีมักไม่เห็นความผิดชั่วของตนเอง แม้มีผู้เมตตาชี้ให้เห็นก็ไม่ยอมรับ แต่ความผิดบาปของผู้อื่นล้วนเห็นกระจ่างชัดและพยายามที่จะช่วยเขาเหล่านั้นโดยอ้างว่าเป็น "ความเมตตา" การเห็นความผิดบาปของคนบาปจึงกลายเป็นอุปสรรคของตนเองเพราะในที่สุดก็ทำให้จิตเศร้าหมองและพ้นไปจากวิถีแห่งการรู้ตนเอง

      ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ซูตงพอเป็นกวีเอก และมีฝ่าอิ้นต้าซือเป็นสหาย ทั้งสองมักสนทนาธรรมกันอยู่เนืองๆ และทุกครั้งซูตงพอพ่ายแพ้แก่ ฝ่าอิ้นต้าซือ เสมอจึงรู้สึกไม่พอใจมาก
      วันหนึ่ง ซูตงพอ จึงถาม พระอาจารย์ฝ่าอิ้นว่า
"ถามจริงๆ เถอะ ท่านเห็นผมเป็นอะไร"
"อมิตาพุทธ อาตมาเห็น ท่านซูตงพอเป็นพุทธะ"
      เมื่อตอบแล้วพระอาจารย์ฝ่าอิ้น จึงถามซูตงพอบ้างว่า
"แล้วท่านเห็น อาตมาเป็นอะไร"
      ซูตงพอหัวเราะก่อนที่จะตอบกลับไปด้วยความพออกพอใจยิ่งว่า
"ท่านแน่ะเรอ ขี้หมากองเดียว"
      พระอาจารย์ฝ่าอิ้นได้แต่ยิ้มแล้วไม่ตอบว่ากระไรเลย ซูตงพอดีใจนักที่เอาชนะหลวงพ่อฝ่าอิ้นได้จึงกลับไปเล่าเรื่องให้น้องสาวฟังโดยละเอียด
"ตั้งแต่เถียงกันมา วันนี้พี่เพิ่งได้ชัยชนะ" ซูตงพอคุยด้วยความภูมิใจ
"วันนี้ก็แพ้อีกแล้ว" น้องสาวตอบ
"แพ้ยังไง ก็พี่เป็นพุทธะ พอพี่บอกว่าท่านเป็น ขี้หมากกองเดียวก็เงียบกริบเลย"
"ภายในจิตของหลวงพ่อฝ่าอิ้น ท่านเป็นพุทธะ เพราะฉะนั้นจึงมองใครๆ เป็นพระพุทธะ แต่ภายในจิตของพี่มีแต่กองขี้หมาจึงเห็นผู้อื่นเป็นกองขี้หมา อย่างนี้มิใช่หรือ"
      คำชี้แจงของน้องสาวย่อมเป็นเครื่องชี้ว่า ภายในจิตของตนเองเป็นอย่างไร ย่อมเห็นผู้อื่นเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นการค้นหาผิดบาปของคนอื่นได้มากเท่าไหร่ก็ย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนถึงผิดบาปของตนเองที่สถิตอยู่ภายในจิตมากเท่านั้น
การค้นหาความผิดบาปของผู้อื่นนับเป็นการเสียเวลาอย่างแท้จริงเพราะไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลง ผิดบาป ของคนอื่นได้เลย เพราะเราไม่อาจรู้ซึ้งถึงเหตุแห่งบาปของเขาเหล่านั้น
 
แต่การค้นหา ผิดบาป ของตนเองย่อมก่อให้เกิดความสำเร็จเพราะสามารถสำนึกแก้ไขตัวเองได้ ประการสำคัญ เราย่อมรู้เหตุแห่ง "ผิดบาป" ของตนเองได้ชัดแจ้งที่สุดเปรียบเสมือนหนึ่งเห็นขยะภายในบ้านของเรา ย่อมปัดกวาดทำความสะอาดได้ไม่ยากนัก เว้นเสียแต่ว่าไม่ยอมจัดการเท่านั้นเอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้ามาปัดกวาดทำความสะอาดบ้านของเราได้ดีกว่าตัวเรา

      การเห็น "ความผิด" ของตนเองจึงเป็น "ปัญญา" อันแท้จริงและยิ่งใหญ่ที่สุดเฉกเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ เห็นทุกข์ของตนเองและกำจัดทุกข์ได้เด็ดขาดนั่นเอง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 12:17:46 »
ตอนที่ 24.... ทางที่ถูกต้อง

      มนุษย์ในโลกนี้สับสนต่อหนทางแห่งการแก้ไขทุกข์ของตนเองเพราะเอาหนทางของกายมาแก้ไขทุกข์ของจิต ความทุกข์จึงไม่อาจดับได้
หนทางของการดับทุกข์ของ "จิต" มีอยู่แปดหมื่นสี่พันวิธี แต่หนทางที่ถูกต้องเป็นอย่างไรล้วนเป็นปัญหาสำหรับผู้แสวงหาความหลุดพ้น

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวถึงปัญหานี้ไว้ในโศลก "นิรรูป" ว่า
"เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆ แบบย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมันเองทุกแบบ ฉะนั้น ชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่ายหรือกระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  แต่ถ้าเราผละไปจากทางชนิดที่เป็นของเราไปแสวงหาทางอื่นเพื่อรอดพ้น เราจะไม่พบความรอดพ้นได้เลย แม้ว่าเราจะหาเรื่อยไป จนกระทั่งความตายมาถึง ในที่สุดเราจะพบแต่ความรู้สึกเสียใจภายหลังว่าเราทำพลาดไปแล้ว"

ความทุกข์แต่ละคนก่อรูปและสั่งสมเอาไว้ด้วย "กรรมเฉพาะตน" จึงทำให้ตนเองแตกต่างไปจากผู้อื่นซึ่งพิจารณาได้จากพระพุทธวจนะว่า
      "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและปราณีตได้"

เพราะเหตุนี้ ทุกชีวิตจึงกำหนดเส้นทางของตนเอาไว้แล้ว ในท่ามกลางของการเวียนว่ายในวัฏจักร์อันประมาณมิได้ แต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันด้วยตนเอง และปณิธานของแต่ละคนที่ตั้งใจเอาไว้ก็แตกต่างกันเพราะฉะนั้น การที่เข้าไปก้าวก่ายวิถีชีวิตของแต่ละคนเพื่อให้ใช้วิธีกาารอย่างเดียวกันโดยตลอดจึงเป็นการฝืนต่อสัจธรรม

      แต่ละชีวิตจึงมีหนทางแห่งการบำเพ็ญแตกต่างกัน แต่ต้องเป็นหนทางเฉพาะของตน ตัวอย่างต่อไปนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้น

      ครั้งหนึ่งมีผู้บำเพ็ญดีเดินทางผ่านกระท่อมแห่งหนึ่ง พลันก็พบกับแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้าออกมาจากกระท่อมนั้น จึงคิดว่าภายในกระท่อมย่อมมีผู้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จแล้วจึงเข้าไปเพื่อทักทายแลกเปลี่ยนธรรมะกัน ผู้เปิดกระท่อมออกมาพบปะกลายเป็นหญิงชราคนหนึ่ง
"โอ ยายเป็นผู้บำเพ็ญดีมาก มีวิธีการอย่างไรหรือ" ท่านผู้บำเพ็ญชายถามไถ่
"ยายไม่ได้ปฏิบัติอะไรหรอก นอกจากท่องมนต์อยู่บทเดียวเท่านั้น"
"บอกหน่อยได้ไหมครับ"
"ยายท่อง "อมิตาพด" เพียง 20 ปีเท่านั้นแหละ"
"โอ คุณยายท่องผิดเสียแล้วละ ที่ถูกต้องคือ อมิตาพุทธ" ท่านผู้บำเพ็ญบอก

      หญิงชรารู้สึกผิดหวังมากและเป็นกังวลที่ตนเองได้ท่องมนต์ผิดมา 20 ปี พอแก้การท่องใหม่ใจก็อดคิดไม่ได้ว่าตนเองได้ทำผิดมานานแล้วผ่านไปอีกไม่กี่เดือนท่านผู้บำเพ็ญก็ผ่านมาที่กระท่อมอีกครั้งหนึ่ง แต่แล้วก็ต้องประหลาดใจเพราะกระท่อมนั้นปราศจากแสงสว่างแห่งธรรมโดยสิ้นเชิง จึงแวะเข้าไปเยี่ยมเยือน

      ครั้งพบหน้าหญิงชราซึ่งมีความเศร้าหมองมาก ท่านผู้บำเพ็ญก็รู้ทันทีว่าตนเองได้กระทำผิดอย่างมหันต์ จึงได้กล่าวขอโทษต่อหญิงชราแล้วบอกว่า
"คราวที่แล้ว กระผมจำผิดเอง แท้ที่จริงคุณยายท่องมา 20 ปีน่ะถูกต้องแล้ว"
นับจากนั้นมาแสงสว่างแห่งธรรมก็ปรากฏขึ้นที่กระท่อมอีกครั้งหนึ่ง เพราะคุณยายมีจิตเป็นหนึ่ง จึงเปล่งประกายอานุภาพแห่งธรรมให้ปรากฏได้

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ร่ายโศลกต่อไปว่า
"ถ้าท่านปรารถนาค้นหาทางที่ถูกต้อง การทำให้ถูกวิธีจริงๆ เท่านั้น จึงจะนำท่านตรงดิ่งไปถึงได้แล้วถ้าไม่มีความดิ้นรนเพื่อบรรลุถึงพุทธภูมิ ท่านก็มัวคลำอยู่ในที่มืด ซึ่งไม่มีโอกาสพบได้เลย ผู้ที่ด่วนเดินมุ่งแน่วไปตามทางที่ถูกต้องนั้นย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้ ถ้าเราพบความผิดของบุคคลอื่นเราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเองในการที่จะไปรื้อค้นหาความผิด โดยการสลัดนิสัยที่ชอบค้นหาความผิดของคนอื่นออกไปเสียจากสันดานเราย่อมตัดวิถีทางการมาของกิเลสได้เป็นอย่างดี เมื่อใดความชังและความรักไม่กล้ำกลายใจของเรา เราหลับสบาย"

      หนทางที่ถูกต้องจึงเป็นหนทางของตนเองซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย เพราะถ้าเอาใจใส่พฤติกรรมของคนอื่น เราก็พ้นไปจากวิถีจิตและลืมพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตของตนเองโดยสิ้นเชิง การปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จนั้น พระวจนะของท่านจอมปราชญ์ ขงจื้อ น่าพิจารณาอย่างยิ่งซึ่งมีข้อความดังนี้
      "จงยกโทษให้ผู้อื่นเยี่ยงเดียวกับที่ยกโทษให้แก่ตนเอง แต่จงลงโทษตนเองเฉกเช่นเดียวกับต้องการลงโทษผู้อื่น"
ใครที่ปฏิบัติได้ เช่นนี้ย่อมเป็นผู้ที่เดินหนทางที่ถูกต้องด้วยตนเองอย่างแท้จริง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 12:26:26 »
ตอนที่ 25.... มหาธรรมนาวา

      เหตุที่มีผู้กราบไหว้พระพุทธองค์ยาวนานจนประมาณเวลาแห่งความสิ้นสุดมิได้เพราะพระพุทธเจ้าทรงชี้หนทางแห่งการสิ้นเวียนว่ายของจิตญาณ ให้แกเวไนยสัตว์ทั้งปวง  แม้ยังไปไม่พ้นจากทะเลทุกข์แต่เวไนยสัตว์เหล่านั้นได้มีโอกาสสร้างบุญสัมพันธ์กับพระพุทธองค์เป็นอเนกประการ ก่อให้เกิดกุศลจิตอันเป็นเหตุปัจจัยให้เขาเหล่านั้นได้วนเวียนเจริญอยู่ในพระพุทธศาสนา เพื่อเสรมสร้างเหตุปัจจัยให้สมบูรณ์พร้อมจนกว่ามีโอกาสได้รู้แจ้งวิถีจิตแห่งตนพ้นเวียนว่ายในธรรมกาลยุคสุดท้าย
 
      พระพุทธองค์จึงทรงเป็นบรมครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงเพราะทรงมีวิธีฝึกมนุษย์ให้รู้แจ้งด้วยตนเองได้
ครั้งหนึ่งสมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี มีสองพี่น้องมาบวชศึกษาธรรม พี่ชายชื่อมหาปันถกมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ปัญญาไว ส่วนน้องชายชื่อว่า จุลปันถกแสนโง่ทึบสอนอะไรก็จำไม่ได้

      พระมหาปันถกแสนเบื่อหน่ายจึงบริภาษพระน้องชายและขับไล่ให้สึกเพราะบวชไปก็เป็นบาปเวรกรรม มิอาจเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้
ความล่วงรู้ถึงพระพุทธองค์จึงมีพุทธบัญชา ให้พระน้องชายมาเข้าเฝ้าแล้วพระพุทธองค์ทรงเมตตาสอนให้ขัดถูผ้าผืนหนึ่ง ทำเช่นนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
      พระจุลปันถกพากเพียรขัดถูผ้าจนกระทั่งจิตหนึ่งรวมอยู่ในหนทางสายกลางและในที่สุดก็บรรลุธรรรมด้วยการขัดถูผ้านี่เอง
      พระพุทธองค์จึงเป็นเฉกเช่น "มหาธรรมนาวา" ขนสรรพสัตว์ให้พ้นไปจากทะเลทุกข์อย่างแท้จริง พระองค์ทรงมีวิธีฉุดช่วยเวไนยสัตว์อย่างแยบยลที่สุด
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวเอาไว้ในโศลก "นิรรูปว่า" ว่า
"บุคคลใดตั้งใจเป็นครูสอนคนอื่น เขาเองควรมีความคล่องแคล่วในวิธีอันเหมาะสมนานาประการที่จะนำผู้อื่นเข้าถึงความสว่าง เมื่อศิษย์พ้นไปจากความสงสัยสนเท่ห์โดยประการทั้งปวง ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า เขาพบ ธรรมญาณ ของตนเองแล้ว จักรวรรดิ์ของพระพุทธเจ้าอยู่แต่ในโลกนี้ ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้ในเขตนั้น      การแสะแสวงหาความสว่างในที่อื่นจากโลกนี้ เป็นของพิลึกกึกกือเหมือนการหาหนวดเต่าเขากระต่าย"

ความหมายแห่งโศลกนี้ได้ยืนยันให้เห็นความเป็นจริงว่าแม้เวไนยสัตว์มี "ธรรมญาณ" เหมือนกันหมดแต่เพราะกิเลสที่หนาบาง และสั่งสมมาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงมีกลุ่มคนที่ "รู้ก่อน" และ "รู้ตาม"

ผู้รู้ก่อนจึงมีภาระหน้าที่ทำให้ผู้อื่นรู้ตามและใครที่ทำหน้าที่เช่นนี้ย่อมต้องใช้ความรู้ความสามารถฉุดช่วยผู้ไม่รู้ได้พ้นไปจากทะเลทุกข์ การทำหน้าที่เช่นนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็น "ครู" ซึ่งจำต้องพิจรณาให้กระจ่างชัดถึงวิธีที่จะช่วยให้คนเหล่านั้นได้สำนึกรู้ได้ด้วยตนเองและมิได้หมายความว่าตนเองเป็นผู้เก่งกาจกว่าผู้อื่นใด เพราะใครก็ตามสิ้นความสงสัยแล้วพบ "ธรรมญาณ" แห่งตนเขาย่อมอยู่ในสภาวะเยี่ยงเดียวกับ พุทธะ ทั้งปวง
ด้วยเหตุนี้ผู้เป็นครูจึงเป็นเพียงผู้ชี้แนะหนทางเท่านั้นส่วนการเดินทางไปพบ พุทธะ ล้วนต้องเดินด้วยตนเองทั้งสิ้น
ดินแดนพุทธะจึงอยู่ในตนเองและต่างสามารถเข้าไปเฝ้าพระพุทธะของตน โดยไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาพระพุทธะจากที่ไหนเลย
ใครปฏิบัติผิดไปจากนี้จึงเป็นหนทางแห่งความหลงโดยแท้จริง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "เลิศเหนือโลก"
ส่วนความเห็นผิด เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "ติดอยู่ในโลก"
เมื่อใดก็ตาม ความเห็นทั้งสองประการไม่ว่า ถูก หรือ ผิด ถูกสลัดทิ้งไป เมื่อนั้น โพธิ แท้ย่อมปรากฏ"

      ความหมายแห่งโศลกนี้ได้ให้ปัญญาแก่สาธุชนทั้งปวงได้รับรู้ว่าใครก็ตามที่ติดอยู่กับความเห็นไม่ว่า "ถูก" หรือ "ผิด" ล้วนไม่พบปัญญา อันแท้จริง หรือ ปัญญาอันแท้ตามธรรมชาติจักไม่สำแดงออกมาได้เลย เพราะติดอยู่ที่ "ถูก" กับ "ผิด" เป็นกำแพงขวางกั้น
"โศลกนี้ถูกขนานนามว่า "มหาธรรมนาวา" เพื่อแล่นข้ามฝั่งวัฏสงสาร กัลป์แล้วกัลป์เล่า ตกอยู่ภายใต้ความมืดบอดแต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น ก็เข้าถึงพุทธภูมิ"

      คำกล่าวของพระธรรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ชี้ให้เห็นว่า อันความรู้แจ้งไม่จำเป็นต้องใช้เวลายาวนาน เสมือนหนึ่ง ถ้ำที่มืดมานานเป็นแสนปีเมื่อจุดแสงสว่างภายในถ้ำนี้ขึ้นมาฉับพลันก็สว่างไสว
"ธรรมนาวา" ย่อมแตกต่างไปจาก "โลกียนาวา"
ทุกคนต่างมี "ธรรมนาวา" ที่ต้องภายไปด้วยตัวเอง จึงจักพ้นไปจากทะเลแห่งทุกข์ แต่ "โลกียนาวา" วนเวียนอยู่ในทะเลทุกข์เพราะอาศัยคนอื่นพาย จึงไม่อาจพ้นไปจากทะเลแห่งทุกข์ได้เลย

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 07:56:59 »
หลักการพึ่งตนเอง
[youtube=425,350]R9fb3rPq3Tc[/youtube]

ความเพียรชนะโชคชะตา
[youtube=425,350]Gh5FHcA1dQo[/youtube]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 ก.พ. 2554, 07:58:47 โดย ทรงกลด »

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 22 ก.พ. 2554, 08:09:34 »
บุญเป็นเครื่องชะล้างบาป
[youtube=425,350]1tyZlZX8zls[/youtube]


ตอนที่ 26.... ติดบุญ-บาปพัวพัน

ความหลงได้ทำให้มนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าการสร้างบุญเป็นหนทางแห่งการพ้นเวียนว่ายตายเกิด แท้ที่จริงกลับเป็นการถากถางทางการเวียนเกิด-ตาย ไม่สิ้นสุดนั่นเอง
วันหนึ่งเมื่อข้าหลวงอุ๋ยได้ถวายภัตตาหารเจแด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแล้ว ข้าหลวงอุ๋ยได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า
"หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าแสดงไปแล้วนั้นเป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พระโพธิธรรมได้วางหลักธรรมสำคัญนี้ไว้มิใช่หรือ"
"ถูกแล้ว" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบ
      "แต่กระผมได้สดับมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสนทนากันเป็นครั้งแรกกับฮ่องเต้ เหลียงอู่ตี้ จึงถามพระโพธิธรรมว่าพระองค์จักได้รับกุศลอะไรบ้างจากการที่พระองค์ได้ก่อสร้างพระวิหารการอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้นพระสังฆปริณายกโพธิธรรมถวายพระพรว่า การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย บรรดาข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุไฉนพระโพธิธรรมจึงตอบดังนั้น"
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า
"ถูกแล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ขออย่าได้มีความสงสัยในคำตอบนี้ของพระโพธิธรรมเลย พระเจ้าเหลียงอู่คตี้เองต่างหากที่มีความเข้าใจผิดและพระองค์ไม่ได้ทรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้องตามแบบแผนการกระทำ เช่น การสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกุศล กุศลมีได้ก็แต่ในธรรมกายซึ่งไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจเลย"
คำกล่าวของพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ยืนยันให้เห็นความจริงว่า คำกล่าวของพระโพธิธรรมเมื่อครั้งกระนั้นถูกต้องเพียงแต่มิได้อธิบายหรือมีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลให้พระเจ้าเหลียงอู่ตี้สดับได้เพราะเพียงได้ยินคำกล่าวว่า ไม่เป็นบุญกุศลโทสะจริตก็ครอบงำพระหฤทัยจึงขับไล่พระโพธิธรรมออกไปจากพระราชวัง

ดังนั้นถ้าพิจารณาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าเหลียงอู่เต้ย่อมประจักษ์ถึงสัจธรรมแห่งการทำบุญว่ามิใช่หนทางแห่งการพ้นไปจากการเวียนเกิด-ตาย เลย แต่กลับกลายเป็นการเวียนเกิดมารับผลบุญของตนเองไม่มีที่สิ้นสุด

      สมัยหนึ่งมีวัดแห่งหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็นสองคณะและต่างก็แข่งขันกันในอันที่ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ก่อนนั้น
พระคณะเหนือตื่นก่อนและสวดมนต์ได้ทันเวลา แต่พระคณะใต้ตื่นสายไม่ทันการณ์
เณรองค์หนึ่งแห่งคณะใต้มีความสงสัยจึงมาแอบดูว่าเป็นเพราะเหตุใดพระคณะนี้จึงตื่นได้
ทันเวลาเสมอ จึงเห็นไส้เดือนตัวหนึ่งเลื้อยขึ้นมาจากใต้ดินส่งเสียงร้อง ปลุกพระคณะเหนือ เณรจึงไปต้มน้ำร้อนมาราดฆ่าไส้เดือนตัวนั้นเสีย
แต่เป็นเพราะจิตญาณของไส้เดือนเต็มไปด้วยบุญจึงได้ไปถือกำเนิดเป็นชายตัดฟืนและความใจบุญยังคงติดอยู่ในกมลสันดาน ชอบซ่อมแซมสาธารณะสมบัติไม่ว่าจะเป็นสะพานที่ชำรุดหรือศาลาพักร้อนก็ซ่อมแซมให้พ้นจากสภาพทรุดโทรมและชนทั่วไปสามารถใช้การได้เสมอ

      วันหนึ่งชายตัดฟืนเดินเข้าไปในป่าตามปกติ พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งตั้งตากแดดตากฝนอยู่เพราะเพิงได้พังทลายลงไปเสียแล้ว ชายตัดฟืนจึงบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและไปเก็บดอกไม้มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปเสมอมา
แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชายตัดฟืนแปลกใจเป็นยิ่งนัก เพราะผลไม้หรือดอกไม้นั้นหายไปเสมอ วันหนึ่งหลังจากนำผลไม้มาถวายพระพุทธรูปแล้วก็แอบดู จึงเห็นลิงตัวหนึ่งมาขโมยผลไม้แลละดอกไม้ไป ชายตัดฟืนเกิดโทสะ ไล่จับลิงแต่ลิงก็วิ่งหนีไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง
ชายตัดฟืนจึงขนหินมาปิดปากถ้ำขังลิงไว้เจ็ดวันก็ถึงแก่ความตาย
ลิงซึ่งเคยเป็นเณรฆ่าไส้เดือน ตายจากลิงแล้วจึงไปเกิดเป็นโหวจิ่งแม่ทัพแคว้นเว่ย

      ส่วนชายตัดฟืนเมื่อสิ้นอายุขัยได้ไปถือกำเนิดเป็นพระเจ้าเหลียงอู่ตี้เพราะผลบุญของการสร้างสาธารณะสมบัติเป็นแรงส่งให้ได้เสวยผลบุญของตน
และจิตที่เต็มอิ่มไปด้วยบุญในชาติที่เป็นพระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงใจบุญสนับสนุนให้มีการสร้างวัดมากมาย โดยเฉพาะพระองค์เองได้สร้างวัดไว้อย่างประมาณมิได้  เดินทางไปห้าสิบลี้ก็สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นวัดหนึ่ง ครั้นถึงร้อยลี้ก็สร้างวัดใหญ่ๆ
การสร้างบุญจึงเป็นเสมือนหนึ่งการสะสมเงินตราเอาไว้เป็นธนาคารของตนเอง สามารถเบิกจ่ายมาใช้สอยให้ชีวิตมีความสุข
คนใจบุญจึงต้องเวียนว่ายไปเกิดเพื่อรับผลบุญของตนเอง
      เมื่อติดอยู่ในบุญแต่เพียงอย่างเดียว ในจิตจึงมีอกุศลตามมาเสมอเพราะบาปเวรกรรมมิได้กำจัดไป เพราะฉะนั้นจึงต้องเผชิญต่อบาปที่ตนเองก่อเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
พระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงถูกโหวจิ่งแม่ทัพของเมืองเว่ยปิดล้อมพระราชวัง จนอดอาหารตายเช่นเดียวกับสมัยที่เป็นชายตัดฟืนแล้วขังลิงเอาไว้ในถ้ำนั่นเอง
การสร้างบุญจึงทำให้จิตใจอิ่มเอิบ แต่มิได้มีกุศลอันเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงในจิต สร้างบุญมากเท่าไหร่แต่อารมณ์ทั้งปวงมิได้ถูกกำจัด
ฉะนั้นคนใจบุญจึงยังพัวพันกับบาปไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตจึงยังคงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับบาปและบุญตลอดไปนั่นเอง

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 23 ก.พ. 2554, 02:15:21 »
ตอนที่ 27.... อหังการ

      บุญ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดกิเลสในจิตฟูขึ้นจึงกลายเป็นความถือดีอวดดี ทำให้จิตหลงทางได้ง่ายที่สุด
      กุศล เป็นเครื่องตัดกิเลสมิให้ฟูขึ้น เพราะฉะนั้นจึงแสวงหาได้จากธรรมญาณ ซึ่งเป็นเรื่องภายใน
ผู้สร้างบุญมิอาจตัดความยะโสโอหังได้เพราะเป็นสิ่งภายนอกที่ยั่วย้อมให้จิตหลงใหลลืมตัวและเป็นเรื่องที่สร้างได้ง่ายดายนัก
ส่วนกุศลเป็นเรื่องที่ต้องค้นพบธรรมญาณแห่งตนจึงเป็นเรื่องยาก
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"การเห็นแจ้งในธรรมญาณเรียกว่า "กง"ส่วนการที่สามารถกระทำให้คงที่สม่ำเสมอเรียกว่า "เต๋อ" และเมื่อใดจิตที่เคลื่อนไหวแคล่วคล่องตามภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งทำหน้าที่อย่างประหลาดลี้ลับของใจเราเอง เมื่อนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่ง กงเต๋อ" คำว่า "กงเต๋อ" มีความหมายว่า คุณธรรม หรือ กุศลกรรม เพราะการค้นพบธรรมญาณของตนเองเป็นการงานที่ต้องจัดการปัดกวาดกิเลสนานาประการออกไปให้หมดและสภาวะแห่งธรรรมญาณปรากฎจึงเรียกว่าคุณธรรม
การอธิบาย "กงเต๋อ" จึงมิใช่เรื่องยาก แต่การกระทำให้ปรากฏขึ้นมาจนเป็นธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยากนัก
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"การระวังจิตภายในให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากอหังการจึงเป็น "กง" แต่ที่เป็นภายนอกเกี่ยวกับการวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทางจึงเป็น "เต๋อ"
การที่ว่าทุกสิ่งที่แสดงออกจากธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิตซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงจึงเรียกว่า "เต๋อ"
การที่ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งเตลิดไปจาก ธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง"
แต่การที่ใช้จิตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เผลอทำให้จิตมืดมัวเสียก่อนจึงเรียกว่า "เต๋อ"
      สภาวะของจิตที่มีกุศลธรรรมจึงล้วนกระทำออกไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงเพราะยอมรับว่าทุกคนล้วนแต่มีสภาวะแห่งธรรมญาณเหมมือนกันหมด
และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจึงเปรียบได้เช่นน้ำพร่องแก้วสามารถเติมน้ำได้ตลอดเวลา แต่คนที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเช่นน้ำล้นแก้ว ไม่อาจเพิ่มเติมน้ำได้อีก
ผู้ที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่อาจสร้างบุญกุศลใดๆ ได้เลยเพราะมีแต่ยโสโอหังดูแคลนผู้อื่นว่าต่ำกว่าตนเสมอ
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"ถ้าแสวงหากุศลภายในธรรมกายและทำตามที่ได้กล่าวนี้จริงๆ กุศลที่ได้รับย่อมเป็นกุศลจริงผู้ปฏบัติเพื่อกุศลจะไม่หมิ่นผู้อื่นและในทุกที่ทุกโอกาสเขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยำเกรงนับถือ ผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปกตินิสัยย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปได้แสดงให้เห็นว่าเขาขาดซึ่ง "กง" ดังนั้น เขาจึงไม่อาจแจ้งต่อธรรมญาณของตนเองส่อสำแดงให้เห็นว่าเขายังขาด "เต๋อ"
คำกล่าวของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนถึงภาวะจิตของคนที่มีกุศลธรรมคือ "กงเต๋อ" ย่อมเป็นคนที่มีมารยาทยกย่องผู้อื่น คนเหล่านี้ย่อมได้รับการยกย่องนับถือตอบกลับคืนไป แต่คนที่เย่อหยิ่งจองหองล้วนได้รับความดูหมิ่นหรือตอบแทนด้วยความรังเกียจของชนทั้งปวง
คนสมัยนี้ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเทคโนโลยีที่เจริญกลายเป็นกิเลสทำให้เขาลืมตัวว่าเก่งกาจกว่าใครๆ ที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คนเหล่านี้จึงเจริญด้วย อหังการ
เพราะฉะนั้นคนในยุคที่เจริญด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นผู้ที่อวดดีโดยปราศจากความดีและไร้มมารยาทและพร้อมที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและกลายเป็นผู้ที่ประจบสอพลอต่อผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าเขา
โลกจึงตกต่ำและตกอยู่ในอันตรายเพราะ "คุณธรรม" มิได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกต่อไป แต่อำนาจแห่ง "อหังการ" ครอบงำโลกเอาไว้
ผู้ที่บ้าคลั่งแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นคนหลงอย่างแท้จริงเพราะเขาเกิดความเข้าใจผิดว่าการครอบครองเทคโนโลยีจึงกลายเป็นผู้ทที่มีอำนาจอันแท้จริงสามารถบงการชีวิตของผู้อื่นได้ ความจริงเขาเหล่านั้นแม้ชีวิตของตนเองยังไม่อาจบงการได้เลย
และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวล้ำหน้าไปเท่าไรแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างต้นหญ้าจริงๆ หรือแม้แต่มดตัวน้อยสักตัวหนึ่งได้ มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจของวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความมืดมนอย่างแท้จริงและน่าสงสารนัก
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเกี่ยวกับ "กงเต๋อ" ว่า
"เมื่อใดความเป็นไปแห่งจิตทำหน้าที่โดยไม่มีติดขัดเมื่อนั้นเรียกว่ามี "กง" เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่โดยตรงแน่ว เมื่อนั้นเรียกว่ามี "เต๋อ"
เพราะฉะนั้น กุศล จึงเป็นเรื่องของการแสวงหาภายในจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณ และหาไม่ได้ด้วยการโปรยทาน ถวายภัตตาหารเจจึงต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความปิติอิ่มใจกับกุศลกรรมอันแท้จริง"
การสร้างบุญกับ แสวงหากุศลจึงไม่เหมือนกันจริงๆ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 23 ก.พ. 2554, 12:38:50 »
ตอนที่ 28.... ดินแดนแห่งอมิตาภะ

      พระพุทธองค์ตรัสย้ำให้ทรงปฏิบัติแต่ปัจจุบันกาลมากกว่าอดีตและอนาคตกาลเพราะทั้งสองการเวลานั้นหาได้เกิดประโยชน์โภคผลแต่ประการใดไม่
รู้อดีตก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
อนาคตที่มาถึงอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ปัจจุบันกาลจึงเป็นตัวกำหนดอนาคตที่แท้จริงเพราะฉะนั้นการเอาใจใส่ต่อปัจจุบันจึงเป็นผู้ไม่ประมาท

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ตอบปัญหาของข้าหลวงอุ๋ยที่สงสัยว่าบรรพชิตและฆราวาสต่างเอ่ยพระนามของพระอมิตาภะโดยหวังว่าจะไปบังเกิดในดินแดนทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนบริสุทธิ์ได้หรือไม่ว่า

"เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสพระสูตรที่กรุงสาวัตถีเป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า แดนบริสุทธิ์นั้นมิได้อยู่ไกลไปจากที่นี่เลย เพราะถ้าติดตามระยะทางเป็นไมล์ก็ได้ 108,000 ไมล์เท่านั้น ซึ่งความหมายที่แท้จริงของระยะทางนี้คือ อกุศล 10 และ มิจฉัตตะ 8 ภายใน ตัวเรานั่นเอง สำหรับพวกที่มีใจต่ำมันย่อมอยู่ไกลแสนประมาณ แต่สำหรับพวกมีใจสูงอยู่ใกล้นิดเดียว"

อกุศล 10 ประการนั้นเกิดจาก จิต ถึงสามประการคือ โลภ โกรธ หลง เกิดจากวาจา มีถึงสี่ประการคือ โกหก หยาบ นินทา และเพ้อเจ้อ และกายกระทำชั่ว สามอย่างคือ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักขโมยและผิดในกามตัณหา

      ส่วนมิจฉัตตะหมายถึงหนทางที่ตรงกันข้ามกับ มรรคมีองค์แปดคือมิจฉาปัญญา มิจฉาสมาธิ มิจฉาสติ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวาจา เป็นต้น
เพราะฉะนั้นในขณะที่คนมีปัญญาชำระใจของตนเองให้บริสุทธิ์เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า
"เมื่อใจบริสุทธิ์ดินแดนแห่งพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์พร้อมกัน"

      แต่คนที่ไร้ปัญญาต่างพากันออกนามพระอมิตาภะและอ้อนวอนขอไปเกิดในแดนบริสุทธิ์ย่อมเป็นไปมิได้
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายอย่างแยบยลว่า
"แม้เป็นชาวตะวันออก ถ้าใจบริสุทธิ์ก็ย่อมเป็นคนไม่บาปแต่ต่อให้เนชาวตะวันตกเสียเองแต่ใจโสมมก็ไม่อาจช่วยให้เป็นคนหมดบาปได้ ถ้าในกรณีที่เป็นคนตะวันออกทำบาปแล้วออกนามพระอมิตาภะแล้วอ้อนวอนเพื่อให้ไปเกิดทางทิศตะวันตก แต่ถ้าคนบาปนั้นเป็นชาวตะวันตกเสียเอง เขาจะอ้อนวอนให้ไปเกิดที่ไหนอีกเล่า"

"คนสามัญและคนโง่ไม่เข้าใจในธรรมญาณ และไม่รู้จักว่าแดนบริสุทธิ์มีอยู่พร้อมแล้วในตัวของตัวเอง ดังนั้นจึงปรารถนาไปเกิดทางทิศตะวันออกบ้าง ทางทิศตะวันตกบ้าง แต่สำหรับคนที่มีปัญญาแล้วที่ไหนๆก็เหมือนกันทั้งนั้น ตามที่พระพุทธองค์ ตรัสเอาไว้ว่า "เขาจะไปเกิดที่ไหนไม่สำคัญเขาคงมีความสุขและบันเทิงรื่นเริงอยู่เสมอ"
 
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"เมื่อใจบริสุทธิ์จากบาป ทิศตะวันตกก็อยู่ไม่ไกลจากที่ตรงนี้แต่มันลำบากอยู่ที่คนใจโสมมต้องการไปเกิดที่นั่น"
"สิ่งที่ควรทำเป็นข้อแรกก็คือ จัดการกับอกุศล 10 ประการเสียให้หมดสิ้นเมื่อนั้น ก็เป็นอันว่าเราได้เดินทางเข้าไปแล้ว 100,000 ไมล์ขั้นต่อไปเราจัดการกับมิจฉัตตะ 8 เสียให้เสร็จสิ้นก็เป็นอันว่าหนทางอีก 8,000 ไมล์นั้นเราได้เดินผ่านทะลุไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แดนบริสุทธิ์จะหนีไปไหน ถ้าเราสามารถเห็นแจ้งชัดในธรรมญาณอยู่เสมอ และดำเนินการตรงแน่วอยู่ทุกขณะแล้ว พริบตาเดียวเราก็ไปถึงแดนบริสุทธิ์ได้และพบอมิตาภะอยู่ที่นั่น"
พระวจนะตรงนี้น่าจะเป็นเครื่องยืนยันว่าการเข้าถึงดินแดนอันบริสุทธิ์ถูกต้องนั้นอยู่ที่การบำเพ็ญให้เห็นแจ้งชัดในธรรมญาณของตนเองเพียงสถานเดียวจึงเป็นการที่ตนเองอย่างแท้จริงตรงตามพระพุทธวจนะที่กล่าวว่า ตนเองเป็นที่พึ่งแห่งตน

แต่ความเข้าใจของสาธุชนในสมัยปัจจุบันเชื่อว่า ผู้อื่นสามารถพาเราไปยังแดนบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงคลั่งไคล้ใหลหลงต่อผู้ที่มีวัตรปฏิบัติแปลกประหลาดมหัศจรรย์มากกว่าที่หันมาบำเพ็ญตเองโดยหวังผู้วิเศษเหล่านั้นจักนำพาเข้าไปสู่แดนสวรรค์โดยที่ตนเองมิต้องบำเพ็ญปฏิบัติแต่อย่างใด

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ถ้าท่านทั้งหลายเพียงแต่ประพฤติกุศล 10 ประการเท่านั้นท่านก็หมดความจำเป็นที่จะต้องไปเกิดที่นั่น ในฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าท่านไม่จัดการกับอกุศล 10 ประการให้เสร็จสิ้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ไหนเล่าที่จะพาท่านไปที่นั่นถ้าท่านเข้าใจหลักธรรมอันกล่าวถึงธรรมชาติที่ไม่มีการเกิด ก็จะพาท่านไปให้เห็นทิศตะวันตกได้ในอึดใจเดียว แต่ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะไปถึงที่นั่นด้วยลำพังการออกนามพระอมิตาภะได้อย่างไรกันหนอเพราะหนทาง 108,000 ไมล์นั้นมันไกลไม่ใช่เล่น"

      หลักธรรมอันกล่าวถึงการไม่เกิดนั้นเป็นสิ่งที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งร่างกายสังขารมีวันเกิดจากพ่อแม่ แต่ธรรมญาณของเราซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริงนั้นไม่มีวันเกิดเพระฉะนั้นจึงไม่มีวันดับ ความเข้าใจเช่นนี้ย่อมทำให้เข้าใจถึงการเวียนว่ายตายเกิดและหักวงจรของการเวียนว่ายเช่นนี้เสียได้
การหลุดพ้นไปจากการเวียนว่ายจึงมิได้อยู่ที่การทำบุญแต่อยู่ที่การปฏิบัติตนเองให้พบสภาวะแห่งธรรมญาณอันเป็นธรรมชาติแท้ที่ไม่เกิดดับและที่ตรงนั้นในตัวเราจึงเป็นดินแดนแห่งอมิตาภะซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นอมตะนิรันดรนั่นเอง


ที่มา
http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=118&page=14


ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง (2)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 23 ก.พ. 2554, 12:47:24 »
ตอนที่ 29.... มนุษย์นคร
 
      ความว่างก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ถ้าปราศจากความว่างเสียแล้วสรรพสิ่งมิอาจถือกำเนิดขึ้นมาได้เลย เพราะฉะนั้นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ดาวน้อยใหญ่ในจักรวาลนี้ล้วนมีความว่างเป็นปัจจัยสำคัญ จึงกำเนิดขึ้นมาและดำรงอยู่ได้
ธรรมญาณของมนุษย์ก็เฉกเช่นเดียวกัน เพราะมีความว่างจึงสามารถปรุงแต่งสรรพสิ่งได้มากมายจนมิอาจประมาณได้เลย
ใครสามารถเข้าถึงความสามารถเดิมแท้แห่งธรรมญาณได้ก็จักเข้าใจจักรวาลนี้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจการปรุงแต่งมิได้แตกต่างไปจากความว่างอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติเลย

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวเปรียบเทียบเอาไว้อย่างน่าศึกษาว่า
"ตัวของเรานี้เป็นนครแห่งหนึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น เป็นเฉกเช่นประตูเมือง ประตูนอกมี 4 ประตู ซึ่งเป็นอำนาจการปรุงแต่งสำหรับนึกคิด
ใจนั้นเป็นแผ่นดิน ส่วนธรรมญาณเป็นเช่นพระเจ้าแผ่นดินอาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ ถ้าธรรมญาณยังอยู่ข้างในก็หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินยังอยู่ กายและใจของเราก็ยังคงอยู่ แต่เมื่อธรรมญาณออกไปเสียแล้วซึ่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินมิได้อยู่ กายและใจของเราก็แตกสลายสาบสูญไป"


ถ้อยความเปรียบเทียบเช่นนี้ย่อมเห็นชัดเจนว่า สิ่งที่เป็นตัวตนแท้ที่จริงของมนุษย์นั้นคือ ธรรมญาณ ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอันแท้จริงตามธรรมชาติเดิมแท้และมีความบริสุทธิ์สะอาดชัดเจนชนิดที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกเลย แต่เพราะตกอยู่ในอำนาจของความดีชั่ว มืดสว่างแห่งโลกนี้ กิเลสทั้งปวงที่วิ่งเข้าสู่ประตูทั้ง 4 จึงก่อให้เกิดการปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด จนลืมเลือนธรรมญาณอันแท้จริงของตนเองไปเสียสิ้น
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"เราต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นพุทธะในภายในธรรม ญาณและจักไม่แสวงหาธรรมญาณในที่อื่นนอกจากตัวเราเอง
 
ผู้ที่ถูกเขลาครอบงำมองไม่เห็นธรรมญาณนั้นจัดเป็นคนสามัญปุถุชน
ผู้ที่มีความสว่างมองเห็นธรรมญาณของตนเองจัดเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง .
ผู้ที่มีความเมตตากรุณาย่อมเป็นพระอวโลกิเตศวร
ผู้ที่มีความเพลินเพลินในการโปรยทานย่อมเป็นพระมหาสถามะอันเป็นพระโพธิสัตว์อีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งคู่กับพระโพธิสัตว์กวนอิม
ผู้ที่สามารถทำให้ชีวิตบริสุทธิ์ก็คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า
ผู้ที่มีความสม่ำเสมอตรงแน่วคือพระอมิตาภะ"

อานุภาพแห่งธรรมญาณที่เปล่งประกายออกมาเช่นนี้ย่อมดำเนินอยู่บนเส้นทางแห่งพระพุทธพระโพธิสัตว์โดยแท้จริง แต่ถ้าตกอยู่ในอำนาจการปรุงแต่งทางด้านอบายคติย่อมกลับกลายเป็นภัยอันใหญ่หลวงของตนเอง
      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงเปรียบเทียบว่า
"ผู้ที่ติดอยู่ในตัวตนและความมีความเป็น คือเขาพระสุเมรุ
ใจที่สามารถต่ำช้าได้แก่ มหาสมุทร มีกิเลสเป็นระลอกคลื่นมีความชั่วเป็นเช่นมังกรร้าย ความเท็จคือผีห่า อารมณ์ภายนอกเป็นเช่นสัตว์น้ำต่างๆ
ความโลภและโกรธคือ นรกโลกันต์
อวิชชาและความมัวเมาทั้งปวงคือสัตว์เดรัจฉานทั่วไป"
อำนาจการปรุงแต่งจึงมีกำลังอยู่สองประการคือ ร้ายกับดี เพราะฉะนั้นขณะที่มีกายอยู่จึงมิต้องแสวงหา สวรรค์ นรก นอกกายเลย แต่จงค้นหาภายในจิตของตนเอง

      ครั้งหนึ่งมีนายพลท่านหนึ่งสะพายดาบเข้าไปหาพระอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่งชอบแสดงธรรมเกี่ยวกับนรกสวรรค์โดยกล่าวกับพระอาจารย์ท่านนั้นว่า
"วันนี้หลวงพ่อต้องแสดง นรก สวรรค์ ให้ชัดเจนมิเช่นนั้นจักต้องได้เห็นดีกันแน่แท้"
"เธอหรือคือนายพล รูปร่างอ้วนพีดั่งหมูตัวหนึ่งแล้วจักสำแดงฝีมือขับไล่ศัตรูได้อย่างไร"
นายพลได้ยินพระอาจารย์กล่าวดังนี้ บันดาลโทสะเพราะถูกสบประมาท จึงชักดาบออกจากฝัก พระอาจารย์ยกมือขึ้นแล้วกล่าวว่า
"อมิตาพุทธ ประตูนรกเปิดแล้วเชิญท่านเดินเข้าไปได้"
นายพลได้สติหากฆ่าฟันพระอาจารย์ถึงแก่มรณภาพย่อมมีนรกเป็นที่ไปจึงสอดดาบกลับคืนสู่ฝัก พระอาจารย์จึงกล่าวต่อไปว่า
"อมิตาพุทธ ประตูสวรรค์เปิดแล้ว เชิญท่านก้าวเข้าไปได้"
นิทานเรื่องนี้จึงชี้ให้เห็นความจริงว่า ตราบใดกายสังขารยังอยู่ นรกย่อมอยู่ในอกสวรรค์ย่อมอยู่ในใจ อาการที่จิตสำแดงออกมานั้นเป็นไปตามความเคยชินแห่งการอาศัยอยู่ในนรกและสวรรค์อย่างแท้จริง

      พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ถ้าประพฤติในกุศล 10 ประการอย่างมั่นคง แดนสุขาวดีก็ปรากฏแก่ตัวเราทันทีเมื่อขจัดความเห็นแก่ตัวตนและปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่ทิ้งไปเสียภูเขาพระสุเมรุก็พังทลายลงมา เมื่อใดจิตพ้นไปจากความชั่วน้ำในมหาสมุทรย่อมเหือดแห้งไปสิ้น เมื่อเป็นอิสระอยู่เหนือกิเลสทั้งปวงคลื่นลมทั้งหลายก็สงบเงียบ เมื่อใดความชั่วมิกล้าเผชิญหน้า เมื่อนั้นปลาร้ายมังกรร้ายก็ตายสิ้น"

ผู้มีปัญญาจึงแสวงหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์ภายในธรรมญาณของตนเองแต่เพียงสถานเดียว